วิธีการจัดการเรียนการสอน

Page 1

วิธีการจัดการเรียนการสอน เรื่อง การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method หรือ 5Es) โดย นายนุกูล ปัญญา รหัสนักศึกษา 60170329 สาขาหลักสูตรและการสอน


คานา ความรู้วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความจริงหรือข้อเท็จจริงที่มีอยู่หรือ เป็นอยู่ ซึ่งได้จากการตรวจสอบ การค้นคว้าทดลองอย่างเป็นระบบ โดยใช้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แต่ปรัชญาวิทยาศาสตร์แนวใหม่ ความรู้ วิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากการสรรสร้างของแต่ละบุคคล ซึ่งมีอิทธิพลมา จากความรู้หรือประสบการณ์เดิม และสิ่งแวดล้อมหรือบริบทของสังคมของแต่ละ คน นักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างมาแล้ว ไม่มากก็น้อย ก่อนที่ครูจะจัดการเรียนการสอนให้เน้นว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นด้วย ตัวของผู้เรียนรู้เอง และการเรียนรู้เรื่องใหม่จะมีพื้นฐานมาจากความรูเ้ ดิม ดังนั้น ประสบการณ์เดิมของนักเรียนจึงเป็นปัจจัยสาคัญต่อการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง กระบวนการเรียนรู้ (Process of Leaning) ที่แท้จริงของนักเรียนไม่ได้เกิด จากการบอกเล่าของครู หรือนักเรียนเพียงแต่จดจาแนวคิดต่าง ๆ ที่มีผู้บอกให้ เท่านั้น แต่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎี Constructivism เป็น กระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้นเสาะหา สารวจตรวจสอบ และค้นคว้าด้วย วิธีการต่างๆ จนทาให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมี ความหมาย จึงจะสามารถเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ใน สมองได้อย่างยาวนาน สามารถนามาใช้ได้เมือ่ มีสถานการณ์ใด ๆ มาเผชิญหน้า ดังนั้นการที่นักเรียนจะสร้างองค์ความรู้ได้ ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่ หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process)


สารบัญ เรื่อง ............................................................ หน้า ความหมาย......................................................... 1 ระดับของการสืบเสาะหาความรู้........................... 3 รูปแบบการเรียนการสอนแบบ ............................. 4 ขั้นตอนที่ 1 ........................................................ 5 ขั้นตอนที่ 2 ........................................................ 6 ขั้นตอนที่ 3 ........................................................ 7 ขั้นตอนที่ 4 ........................................................ 8 ขั้นตอนที่ 5 ........................................................ 9 ปัจจัยสาคัญ ....................................................... 10 แหล่งอ้างอิง ....................................................... 11


ความหมาย การสืบเสาะหาความรู้เป็นแนวคิดทีม่ ีความซับซ้อนและมีความหมาย แตกต่างกันไปตามบริบทที่ใช้และผู้ที่ให้คาจากัดความ โดยศูนย์กลางของการ เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้นั้น มีต้นกาเนิดจากนักวิทยาศาสตร์ ครู และ นักเรียน (Budnitz, 2003) การสืบเสาะหาความรู้ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ตาม ทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ซึ่งกล่าวไว้ว่าเป็นกระบวนการที่ นักเรียนจะต้องสืบค้น เสาะหา สารวจตรวจสอบ และ ค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ จนทาให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ และ เกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมอง ได้อย่างยาวนาน สามารถนามาใช้ได้เมือ่ มีสถานการณ์ใดๆ มาเผชิญหน้า (สาขา ชีววิทยา สสวท., 2550) การสืบเสาะหาความรู้ คือ การถามคาถามที่สงสัยและเป็นปัญหา ที่สามารถสืบค้นหาคาตอบได้ และสื่อสารคาตอบออกมาได้ (คณะศึกษานิเทศก์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการ จัด การศึกษา สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1, 2549; Budnitz, 2003; และ Wikipedia, 2007)


ความหมาย การสืบเสาะหาความรู้ เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย คือ การถามคาถาม ออกแบบการสารวจข้อมูลการสารวจข้อมูล การวิเคราะห์ การสรุปผล การคิดค้นประดิษฐ์ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสื่อสาร คาอธิบาย (Wu & Hsieh, 2006) การสืบเสาะหาความรู้เป็นกระบวนการทีน่ ักวิทยาศาสตร์ใช้ศึกษา อธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐาน ของหลักฐานหรือ เหตุผลต่างๆ และอีกความหมายคือเป็นกระบวนการที่นักเรียนใช้ในการ ค้นคว้า หาคาตอบอย่างมีระบบเพื่ออธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ที่ต้องการศึกษา กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียน การสอน ผู้สอนสามารถเลือกจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่าน กระบวนการต่างๆ ในการสืบเสาะหาความรู้ตามบริบทของผู้สอน ผู้เรียน โรงเรียน และแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ตามความเหมาะสมโดยครูเป็นผู้สนับสนุน ให้นักเรียนได้สารวจปรากฏการณ์ต่างๆและกระตุ้นให้นักเรียนสร้างความ เข้าใจ ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง (Hogan & Berkowitz, 2000) ดังนั้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry process) เป็น กระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรูใ้ หม่ด้วยตนเอง โดยผ่าน กระบวนการคิดและปฏิบัติ และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ


ระดับของการสืบเสาะหาความรู้ (Level of inquiry) 1) การสืบเสาะหาความรู้แบบยืนยัน (Confirmed Inquiry) เป็น การสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้ตรวจสอบความรู้หรือแนวคิด เพื่อยืนยัน ความรู้หรือแนวคิดที่ถูกค้นพบมาแล้ว โดยครูเป็นผู้กาหนดปัญหาและคาตอบ หรือ องค์ความรู้ที่คาดหวังให้ผู้เรียนค้นพบ และให้ผู้เรียนทากิจกรรมที่กาหนดใน หนังสือหรือใบงาน หรือตามที่ครูบรรยายบอกกล่าว 2) การสืบเสาะหาความรูแ้ บบนาทาง (Directed Inquiry) เป็น การสืบเสาะหาความรู้ที่ให้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้ กาหนดปัญหา และสาธิตหรืออธิบายการสารวจตรวจสอบ แล้วให้ผู้เรียน ปฏิบัติการสารวจตรวจสอบตามวิธีการที่กาหนด 3) การสืบเสาะหาความรู้แบบชีแ้ นะแนวทาง (Guided Inquiry) เป็นการสืบเสาะหาความรู้ทใี่ ห้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดย ผู้เรียนเป็นผู้กาหนดปัญหา และครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทางการสารวจตรวจสอบ รวมทั้งให้คาปรึกษาหรือแนะนาให้ผู้เรียนปฏิบัติการสารวจตรวจสอบ 4) การสืบเสาะหาความรู้แบบเปิด (Open Inquiry) เป็นการสืบ เสาะหาความรู้ทใี่ ห้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนมี อิสระในการคิด เป็นผู้กาหนดปัญหา ออกแบบ และปฏิบัติการสารวจตรวจสอบ ด้วยตนเอง


รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycles (5Es) นักการศึกษากลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Study) ได้นาวิธีการสอนแบบ Inquiry มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรวิชา วิทยาศาสตร์ โดยเสนอขั้นตอนในการเรียนการสอนเป็น 5 ขั้นตอน เรียกว่า การ เรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle หรือ 5Es ได้แก่ Engage Explore Explain Elaborate และ Evaluate กระบวนการเรียนการสอน ในแต่ละ ขั้นตอนการสอน ของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5Es)


ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความสนใจ (Engage) เป็นการนาเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจาก ความสงสัยหรือความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายภายใน กลุ่ม เรื่องที่นา่ สนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กาลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือ เป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรูเ้ ดิมทีเ่ พิ่งเรียนมารู้มาแล้วเป็นตัวกระตุ้นให้นกั เรียน สร้างคาถาม กาหนดประเด็นที่จะศึกษา ในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครู อาจะจะจัด กิจกรรมหรือสถานการณ์เพือ่ กระตุ้น ยั่วยุ หรือท้าทายให้นักเรียน ตื่นเต้น สงสัย อยากรู้อยากเห็น หรือขัดแย้ง เพื่อนาไปสู่การแก้ปัญหา การศึกษา ค้นคว้า หรือการทดลอง แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือปัญหา ที่ครูกาลังสนใจ เป็นเรื่องที่จะศึกษา ทาได้หลายแบบ เช่น สาธิต ทดลอง นาเสนอข้อมูล เล่าเรื่อง/เหตุการณ์ ให้ค้นคว้า/อ่านเรื่อง อภิปราย/พูดคุย สนทนา ใช้เกม ใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ สร้างสถานการณ์/ปัญหาที่นา่ สนใจ ที่นา่ สงสัยแปลกใจ


ขั้นตอนที่ 2 การสารวจและค้นคว้า (Explore) นักเรียนดาเนินการสารวจ ทดลอง ค้นหา และรวบรวมข้อมูล วางแผนกาหนดการสารวจตรวจสอบ หรือออกแบบการทดลอง ลงมือปฏิบัติ เช่น สังเกต วัด ทดลอง รวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ


ขั้นตอนที่ 3 การอธิบาย (Explain) นักเรียนนาข้อมูลที่ได้จากการสารวจและค้นหา มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปและอภิปราย พร้อมทั้งนาเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจเป็นรูปวาด ตาราง แผนผัง ผลงานมีความหลากหลาย สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือโต้แย้ง กับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นทีก่ าหนดไว้ โดยมีการอ้างอิง ความรู้ประกอบการให้สมเหตุสมผล การลงข้อสรุปถูกต้องเชื่อถือได้ มีเอกสาร อ้างอิงและหลักฐานชัดเจน


ขั้นตอนที่ 4 การขยายความรู้ (Evaborate) ครูจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ลึกซึง้ ขึน้ หรือขยายกรอบความคิดกว้างขึน้ หรือเชือ่ มโยงความรู้เดิมสู่ความรูใ้ หม่หรือ นาไปสู่การศึกษาค้นคว้า ทดลอง เพิ่มขึ้น เช่น ตั้งประเด็นเพื่อให้นักเรียน ชี้แจง หรือร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซักถามให้นักเรียน ชัดเจนหรือกระจ่างในความรู้ที่ได้หรือเชื่อมโยงความรู้ทไี่ ด้กบั ความรูเ้ ดิม นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น อธิบายและขยายความรู้เพิ่มเติม มีความละเอียดมากขึ้น ยกสถานการณ์ ตัวอย่าง อธิบายเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เป็น ระบบและลึกซึ้งยิ่งขึ้น หรือสมบูรณ์ละเอียดขึ้น นาไปสู่ความรู้ใหม่หรือความรู้ที่ ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในเรื่องอื่นหรือสถานการณ์อื่นๆ หรือสร้าง คาถามใหม่และออกแบบการสารวจ ค้นหา และรวบรวมเพื่อนาไปสู่การสร้าง ความรู้ใหม่


ขั้นตอนที่ 5 การประเมิน (Evaluate) นักเรียนระบุสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ทงั้ ด้านกระบวนการและผลผลิต นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องของความรู้ทไี่ ด้ เช่น วิเคราะห์ วิจารณ์แลกเปลี่ยน ความรูซ้ ึ่งกันและกัน คิดพิจารณาให้รอบคอบทั้งกระบวนการ และผลงาน อภิปราย ประเมินปรับปรุง เพิ่มเติมและสรุป ถ้ายังมีปัญหา ให้ศึกษา ทบทวนใหม่อีกครั้ง อ้างอิงทฤษฎีหรือหลักการและเกณฑ์ เปรียบเทียบผลกับ สมมติฐาน เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิม นักเรียนทราบจุดเด่น จุดด้อยในการศึกษาค้นคว้า หรือทดลองการ พัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยวิธีการสืบเสาะและสืบสวนหา ความรู้


ปัจจัยสาคัญ วิธีการสอนแบบสืบสอบเป็นวิธีการทีใ่ ห้ผู้เรียนค้นหาความรู้ด้วย ตนเอง ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และมีผู้สอนเป็นเพียงผู้อานวยการ ความสะดวก ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการหาความรู้ ซึ่งผู้เรียนต้อง อาศัยปัจจัยสาคัญ คือ 1. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) หมายถึง ขั้นตอน การหาความรู้โดยเริ่มตั้งแต่การระบุปัญหา การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการ ทดลอง และทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์และสรุปผล 2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skills) ซึ่งหมายถึง ทักษะการคิด ทั้งทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขนั้ พื้นฐาน และ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นผสมทีใ่ ช้ในการดาเนินการทดลอง


บรรณานุกรม https://sites.google.com/site/naranya2010/ เว็ปไซต์เพื่อ การเรียนรู้ของครูวิทยาศาสตร์ เอกสารการอบรมการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน สาขา ชีววิทยา สสวท.




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.