ict km

Page 1

CONCEPT PAPER ชื่อ-สกุล สาขา ชื่อเรื่อง

นภัสกร ธรรมดี การจัดการการศึกษา รูปแบบการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการความรู้ใน บริษัทการบินไทย จากัด (มหาชน)

1.1ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายและการสื่อสาร เป็ นผลมาจากการ สร้างสรรค์ความรู้ของมนุษย์ ได้ทาให้โลกก้าวเข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจและสังคมที่อยู่บนฐานความรู้ (Knowledge-Based Economy and Society) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่อาศัยการสร้าง การกระจายและการ ใช้ความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ทาให้เกิดความเติบโต สร้างความมั่ง คั่ง (บุญดี, 2547: 6) ดังนั้น การที่องค์กรทั้งหลายจะสามารถดารงอยู่ได้ ความรู้จึงเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพ อย่างยิ่งในการตัดสินใจและมีอิทธิพลหรือบทบาทในการตัดสินใจและเพิ่มอานาจในการแข่งขัน มากขึ้นสาหรับโลกยุคปัจจุบัน (บุญดี, 2547: 15) นอกจากนี้ความรู้ยังเป็นทรัพยากรหลักที่มีค่ายิ่งซึ่ง แตกต่างปัจจัยการผลิตอื่นๆ เนื่องจากความรู้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและสร้างขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา (พรธิดา, 2547: 19) ความรู้เป็นทรัพยากรที่ใช้ไม่มีวันหมด ยิ่งมีการใช้และแบ่งปันมากเท่าไร ก็ยิ่งทา ให้ความรู้ในองค์กรมีมากขึ้นเท่านั้น ความรู้ที่ใหญ่สุดคือ ความรู้ที่อยู่ในตัวคน ในสมองของเรา อย่างไรก็ตามความรู้ที่ได้หรือนามาใช้ควรเป็นความรู้ที่ผ่านการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ ความรู้ที่เกิดประโยชน์สูงสุดและใช้ได้จริง (บุญดี , 2547: 15) การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Education) ทาให้เกิดสังคมการเรียนรู้หรือการดารงความเป็นองค์กรอัจฉริยะ ซึ่งคนในองค์กรมีการ เรียนรู้ตลอดเวลา (น้าทิพย์, 2547: 67) ความท้าทายของการจัดการความรู้คือจะเอาความรู้นั้นออกมา ใช้ประโยชน์ได้อย่างไร จะต้องหาวิธีถ่ายทอดความรู้นั้นออกมาให้ได้ เอามาใช้ประโยชน์ พัฒนา องค์ก ร ปรับปรุงบริการ สร้างคนในองค์ก ร องค์ก รยุคใหม่จะใช้เทคโนโลยี สารสนเทศมาเป็น เครื่องมือในการสร้าง จัดเก็บ และเผยแพร่ความรู้ โดยมีเป้าหมายที่จะทาให้คนในองค์กรเกิดการ เรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ สะสมความรู้ ตลอดจนสามารถสร้างความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมที่ เป็น ทรัพย์สินที่มีค่ายิ่งสาหรับการแข่งขัน หรือเกิดแนวทางการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด (Best Practices) มีผล ทาให้องค์กรมีกระบวนการทางาน (Work Process) ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ทั้งนี้ องค์กรจาเป็นต้องรวบรวมความรู้ขององค์กรที่มีอยู่ โดยจัดเก็บให้เป็นระบบและสามารถนาไป ประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ต่อองค์กรการจัดการความรู้ (Knowledge Management) นับได้ว่าเป็นกล


ยุทธ์การบริหารอย่างหนึ่งที่จะช่วยสร้างให้เกิดห่วงโซ่แห่งคุณค่าแก่องค์กร ยิ่งถ้าองค์กรมีการนา ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคลากรมาจัดเก็บไว้ได้อย่างเหมาะสม และนามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการ ดาเนินงาน หรือแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรจะสามารถสร้างความได้เปรียบทางการ แข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่งขันในยุคสังคมโลกาภิวัฒน์ที่มีการแข่งขันสูง การให้ความสาคัญกับความรู้ ของคนในองค์กร เป็นการเปลี่ยนความสาคัญจากการจัดการวั ตถุดิบ มาเป็นการจัดการทรัพยากร บุคคล (น้าทิพย์, 2547: 72) ทั้งนี้ในการจัดการความรู้ องค์ประกอบที่สาคัญของการจัดการความรู้ คือ คน เทคโนโลยี และกระบวนการความรู้ (Knowledge Process) (บุญดี, 2547: 8) ซึ่งคนหรือ บุคลากรถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สาคัญที่สุดที่จะนาองค์กรไปสู่ความสาเร็จ ทั้งนี้เพราะเป็นแหล่ง ความรู้และเป็นผู้ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้เกิดการ เชื่ อ มโยงระหว่า งสารสนเทศกั บ คนส าหรั บ กระบวนการนั้ น เป็ น ขั้ น ตอนการบริ ห ารจั ด การที่ ก่อให้เกิดการปรับปรุง และพัฒนากระบวนการทางานให้มีประสิ ทธิภาพ โดยองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนจาเป็นต้องบูรณาการเข้าด้วยกันอย่างถูกต้องและเหมาะสมในแต่ละองค์กร บริษัทการบินไทย จากัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านสายการบิน พบว่า ความรู้ของพนักงาน และความรู้ในองค์กรเป็นแบบเฉพาะด้าน (Specialize) อีกทั้งยังมีตาราที่จะให้ ข้อมูลสาหรับการศึกษาหาความรู้เพียงเล็กน้อย และผู้ที่ทางานในองค์กรปัจจุบันแยกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 พนักงานที่ทางานกับบริษัทเป็นระยะเวลานาน พนักงานเหล่านี้จะมีประสบการณ์ ในการทางานเป็นระยะเวลานานแต่จะขาดความรู้ในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งความรู้ส่วนมากจะเป็น ความรู้เฉพาะตัวของพนักงาน (Tacit Knowledge) ซึ่งนับว่าเป็นความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์ใน การทางานที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลานานแต่พบว่ายังขาดการถ่ายทอดมาเป็นคาพูด หรือลายลักษณ์ อักษร และความรู้ในเชิงลึกในส่วนที่ตนเองมีประสบการณ์ ประเภทที่ 2 พนักงานรุ่นใหม่ ที่ขาด ประสบการณ์ในการทางาน แต่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งความแตกต่างระหว่างรุ่น (Generation Gap) นี้ส่งผลให้เกิดปัญหาของประสิทธิภาพในการทางาน และการตอบสนองความ ต้องการของลูกค้า รวมทั้งก่อให้เกิดช่องว่างของความรู้ (Knowledge Gap) การเก็บความรู้ไว้กับ ตัวเอง ซึ่งบางครั้งได้มาจากการลองผิดลองถูกแต่ไม่ได้ถ่ายทอดให้กับคนอื่น รวมทั้งการแบ่งปัน ประสบการณ์ต่างๆ ให้กับผู้อื่น ซึ่งทาให้บริษัทต้องสูญเสียทรัพยากร และค่าใช้จ่ายในการทางาน โดยไม่จาเป็นจากการที่ต้องมาลองถูกลองผิดซ้าเหตุการณ์เดิม รวมใช้ระยะเวลาในการทางานมาก ขึ้นดังนั้นเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน รวมทั้งลดมูลค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นจาก ความผิดพลาดในการทางาน ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการรวบรวมความรู้ที่อยู่กระจัดกระจายในแต่ละบุคคล, มาตรฐาน ในการทางาน และเทคนิคในการแก้ไขปัญหาที่ไม่ มีในตารามารวบรวมไว้ที่ศูนย์กลางเดียว คือ


ฐานข้อมูลด้านความรู้ในองค์กร ซึ่งทางบริษัทฯเองก็เห็นถึงความสาคัญของระบบฐานข้อมูลความรู้ (Knowledge Database) จึง มี แนวคิดในการนาเอาระบบสารสนเทศเข้ามาเพื่ อช่วยปรับปรุ ง ประสิทธิภาพการทางานในบริษัท ให้สามารถนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ตลอดเวลา และพร้อมที่ จะแข่ ง ขั น กั บ องค์ ก รอื่ นๆ ทั้ ง ภายในและภายนอกประเทศในยุ ค เศรษฐกิ จ และสัง คมที่ อ ยู่ บ น ฐานความรู้ได้อย่างยั่งยืน 1.2คาถามการวิจัย 1.2.1สภาพในปัจจุบันของระบบฐานข้อมูลในการจัดการความรู้ ในบริษัทการบินไทย จากัด (มหาชน)เป็นอย่างไร 1.2.2รูป แบบการพั ฒนาระบบฐานข้อมูล ในการจัดการความรู้ในบริษั ทการบินไทย จากัด (มหาชน)ควรเป็นอย่างไร 1.3วัตถุประสงค์การวิจัย 1.3.1เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของระบบฐานข้อมูลในการจัดการความรู้ในบริษัทการบิน ไทย จากัด (มหาชน) 1.3.2เพื่อนาเสนอรูปแบบการพัฒนาระบบฐานข้อมูลในการจัดการความรู้ในบริษัทการ บินไทย จากัด (มหาชน) 1.4ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 1.4.1ได้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้ในบริษัทการบินไทย จากัด (มหาชน) 1.4.2สามารถเป็นศูนย์กลางที่รวบรวมข้อมูลความรู้ต่างๆ ไม่ให้กระจัดกระจายออกไป รวมทั้งเป็นฐานข้อมูลความรู้ไว้ใช้ในการศึกษาหาความรู้, การแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น, กรณีศึกษาที่ เกิดขึ้นในองค์กรให้กับทุกหน่วยงานของบริษัท 1.4.3สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในการติดต่องานกับพนักงานของบริษัท รวมทั้งลดข้อร้องเรียนจากลูกค้าที่เกิดจากความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน บรรณานุกรม บุญดี บุญญากิจ และคนอื่น ๆ. (2547). การจัดการความรู้จากทฤษฎี...สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส จากัด น้าทิพย์ วิภาวิน. (2547). การจัดการความรู้กับคลังความรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พรธิ ด า วิ เ ชี ย รปั ญ ญา. (2547). การจั ด การความรู้ จ ากทฤษฎี : พื้ น ฐานการประยุ ก ต์ ใ ช้ KNOWLEDGE MANAGEMENT. กรุงเทพฯ: เอกเปอร์เน็ท


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.