สรุปผลการประชุมประจำปี 56 ของ สศช เส้นทางประเทศไทยสู่ac

Page 1

เอกสารแนบ สรุปผลการประชุมประจาปี 2556 ของสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ เรื่อง “เส้นทางประเทศไทย...สู่ประชาคมอาเซียน” วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2556 เวลา 9.00 – 16.00 น. ณ ห้องรอยัล จูบิลี ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี การประชุมประจาปี 2556 ของสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ เรื่อง “เส้นทางประเทศไทย...สู่ประชาคมอาเซียน” จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2556 ณ ห้องรอยัล จูบิลี บอลรูม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดยมี นายกรัฐมนตรีเป็นประธานและมีผู้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวจากทุกภาคส่วนในสังคม ประมาณ 1,000 คน สรุปสาระสาคัญจากการประชุม 1. การประชุมประจาปี 2556 ของสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ เรื่อง “เส้นทางประเทศไทย...สู่ประชาคมอาเซียน” มีวัตถุประสงค์เพื่อกาหนด แนวทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 และรายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ พร้อมทั้งสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคม อาเซียน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยได้บูรณายุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของประเทศในปี 2558 และยุทธศาสตร์ประเทศ พ.ศ. 2556-2561 เข้าด้วยกัน พร้อมทั้งใช้เป็น กรอบในการจัดสรรงบประมาณประจาปี 2557 2. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง รัฐบาลกับการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน โดย นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึง พันธสัญญาของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ที่จะรวมตัวกันเป็น ประชาคมอาเซียน โดยแบ่งออกเป็น 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community: APSC) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปัจจุบัน ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค (Global and Regional Trends) ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศไทย อาทิ เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนและมีความซับซ้อนมากขึ้น ทาให้เกิดความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาค ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย พฤติกรรมของผู้บริโภคทีเ่ ปลี่ยนแปลงไป การเข้าสู่สังคมวัยชรา (Aging Society) เทคโนโลยีมีความซับซ้อน มากขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนและความร่วมมือกับ เขตเศรษฐกิจอื่นๆ เป็นต้น ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งทางด้านโครงสร้างเศรษฐกิจที่ยังคงพึ่งพาการส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศ ประเทศไทยจึงจาเป็น ต้องสร้างมูลค่าให้กับสินค้ามากขึ้น (Value Creation) โดยเน้นการผลิตสินค้าในช่วงกลางน้าและปลายน้า การรักษาตลาดที่มีอยู่ และการแสวงหาตลาดใหม่ๆ ให้กับสินค้าไทย ทั้งนี้ รัฐบาลจะอานวยความสะดวก ด้านการค้าและการลงทุน โดยทีใ่ นปี 2568 สังคมไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวจึงจาเป็นที่จะต้อง ปฏิรูประบบสวัสดิการของรัฐ รวมทั้งวางแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว นอกจากนี้ รัฐบาลจะ ดาเนินการปรับปรุงกฎระเบียบให้มีความทันสมัยมากขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น สาหรับการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รัฐบาลได้จัดทา ยุทธศาสตร์ประเทศ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน 2) การสร้าง โอกาสความเสมอภาคเท่าเทียมกันทางสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย 3) การสร้างการเติบโต บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 4) การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ


-2– 3. การอภิปรายเรื่อง “เส้นทางประเทศไทย...สู่ประชาคมอาเซียน” ได้กล่าวถึงโอกาส และจุดอ่อนของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจากมุมมองของภาครัฐและภาคเอกชน โดยผู้อภิปรายประกอบด้วย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ศาสตร์จารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พาณิช นายกสมาคมมหาวิทยาลัยมหิดล นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จากัด (มหาชน) และ ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จากัด (มหาชน) ซึง่ โอกาสของประเทศไทย ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คือ การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค และขนาดของ GDP เป็นอันดับที่ 2 ในอาเซียน รองจากอินโดนีเซีย ในขณะที่จุดอ่อนของประเทศไทย ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย ทีย่ ังไม่เพียงพอ และคุณภาพของคนไทย โดยเฉพาะด้านการศึกษา ดังนั้น ประเด็นเร่งด่วนที่ประเทศไทยต้องเร่งดาเนินการก่อนปี 2558 ได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจ เพิ่มประสิทธิภาพระบบคมนาคมขนส่งเพื่อลดต้นทุนการประกอบธุรกิจ และเชื่อมโยง ความใกล้ชิดระหว่างไทยกับอาเซียน 2) ด้านสังคมและวัฒนธรรม พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษและภาษาสาคัญ ในอาเซียน นาร่องการยอมรับมาตรฐานหลักสูตรร่วมกับประเทศอาเซียน ให้การคุ้มครองทางสัมคม และ บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมกับประเทศอาเซียน และ 3) ด้านการเมืองและความมั่นคง พัฒนาระบบยุติธรรม และปรับปรุงกฎหมาย ส่งเสริมธรรมาภิบาลในภาครัฐและภาคเอกชน ต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรม ข้ามชาติ และลักลอบเข้าเมือง เร่งพัฒนาระบบ E-Government และ E-Service เร่งจัดตั้ง ASEAN Unit และพัฒนาบุคลากรให้พร้อมประสานงานกับประเทศอาเซียน นอกจากนี้ ประเทศไทยควรให้ความสาคัญกับการพัฒนาบุคลากรภายในประเทศ โดยการปฏิรูปการศึกษาให้พัฒนาอย่างรอบด้าน และให้เป็นการศึกษาเพื่อสร้างผู้นา พร้อมทั้งส่งเสริม การทาวิจัยและการพัฒนา (Research and Development: R&D) อย่างจริงจัง โดยภาคเอกชนมีความเห็นว่า ประเทศไทยจาเป็นต้องสร้างตราสินค้า (Brand) ของประเทศที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น (High Value Added) ให้กับสินค้า ส่งเสริม R&D อย่างจริงจัง และสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน พร้อมกันนี้ ต้องมีการปรองดองกันภายในประเทศ 4. การประชุมกลุ่มย่อย เรื่อง “การเตรียมความพร้อมด้านการเงิน การคลัง และการค้า การลงทุนเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยจากการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนในด้านต่างๆ ดังนี้ (1) ผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้า อาทิ การส่งออกและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพการผลิตมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โครงสร้างการผลิตในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ มีแนวโน้นที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น และในภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มในการปรับเปลี่ยน โครงสร้างการผลิตจากสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเป็นสินค้าที่ใช้ทุนและเทคโนโลยีเข้มข้น เป็นต้น (2) ผลกระทบจากการปรับลดอัตราภาษีศุลกากร ทาให้ปริมาณการส่งออกและผลิตภัณฑ์ มวลรวม (GDP) ขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ไม่สูงมากนัก เนื่องจากโครงสร้างการผลิตและสินค้าในอาเซียนมี ความใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะ ประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ซึง่ มีอัตราภาษีศุลกากรต่า อยู่แล้ว ในขณะที่มูลค่าการค้ากับประเทศที่มีโครงสร้างการผลิตที่แตกต่างจากประเทศไทยค่อนข้างมาก และมีอัตราภาษีสูง อาทิ ประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา มีมูลค่าการค้ากับไทยอยู่ในระดับต่า เพียงร้อยละ 1.4 ร้อยละ 1.0 และร้อยละ 0.8 ตามลาดับ จึงทาให้เมื่อปรับลดอัตราภาษีศุลกากรแล้ว ปริมาณการส่งออก ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นไม่มากนัก


-3– (3) ผลกระทบจากการกระจายผลประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้า แม้ว่าการเปิดเสรี ทางการค้าจะทาให้เศรษฐกิจขยายตัวและทาให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจของครัวเรือนเพิ่มขึ้น แต่มีแนวโน้มที่จะ ส่งผลกระทบด้านลบต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจของผู้มีรายได้น้อย เนื่องจากกิจกรรมการผลิตที่ใช้ทุนและ เทคโนโลยีเข้มข้นได้รับประโยชน์มากกว่าสินค้าแรงงานเข้มข้น ค่าตอบแทนแรงงานโดยเปรียบเทียบกับ ค่าตอบแทนทุนปรับตัวลดลง (Relative Factor Price) และราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น (4) ผลกระทบจากการลงทุน การลงทุนในภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่มีแนวโน้ม อยู่ในระดับจากัด เนื่องจากความตกลงการเปิดเสรีด้านการลงทุนยังจากัดอยู่ใน 2 สาขา ได้แก่ การเพาะเลี้ยง สัตว์น้า และการเพาะขยายและปรับปรุงพันธ์พืช ความสัมพันธ์ระหว่างการค้ากับการลงทุนในอาเซียน มีลักษณะเป็นการลงทุนนาการค้า และขีดความสามารถในการดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของไทย ในกลุ่มสินค้าทุนและเทคโนโลยีจะได้รับแรงกดดันจากประเทศที่มีโครงสร้างการผลิตคล้ายกัน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม (5) ผลกระทบต่อภาคการเงินการคลัง อาทิ - โครงสร้างการออมและการลงทุนจะเกิดประสิทธิภาพการออมและการลงทุนที่ดีขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของภาคการเงิน แต่ในขณะเดียวกัน ระดับการออมและการลงทุนจะลดลง เนื่องจาก แรงจูงใจในการออมเพื่ออนาคตลดลง เพราะประชาชนสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้สะดวกขึ้น มีการส่งเสริม การบริโภคมากขึ้น และมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในอนาคตมากขึ้น - สาหรับการเคลื่อนย้ายเงินทุน การเคลื่อนย้ายเงินทุนจะสะดวก รวดเร็วและมีต้นทุน ที่ต่าลง แต่อาจเกิดความผันผวนในการเคลื่อนย้ายเงินทุนรุนแรงขึ้น เมื่อเกิดความตื่นตระหนักหรือพฤติกรรม แห่ตามกัน (Herding) - เสถียรภาพและประสิทธิภาพ สถาบันการเงินสามารถสร้างเครือข่าย ขยายฐานลูกค้า เพิ่มการแข่งขันและการเข้าถึงบริการทางการเงิน เกิดการควบรวมกิจการเพื่อลดต้นทุนและประหยัดจากขนาดได้ แต่ในขณะเดียวกัน สถาบันการเงินที่ทาธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสูง อาจเกิดความเสี่ยงจากคู่สัญญา (Counter Party Risk) ขาดสภาพคล่อง และธนาคารในประเทศสูญเสียส่วนแบ่งการตลาด - เสถียรภาพและประสิทธิภาพของตลาดทุน มีการส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน ต้นทุนในการระดมทุนลดลง ลดการพึ่งพาระบบธนาคารพาณิชย์ ยกระดับมาตรฐานตลาดทุนอาเซียนสู่ระดับ สากล เชื่อมโยงระบบซื้อขายหลักทรัพย์ แต่ในขณะเดียว ยังมีข้อจากัดด้านกฎระเบียบและระดับการพัฒนา ตลาดทุนที่ต่างกันในแต่ละประเทศ จึงมีความเสี่ยงที่ตลาดทุนที่มีระดับการพัฒนาที่ต่ากว่าประเทศอื่นจะถูก ลดความสาคัญลง อีกทั้ง ตลาดทุนจะมีความอ่อนไหวกับสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกมากยิ่งขึ้น - ภาคการคลัง กระทรวงการคลังได้ดาเนินการลดภาษีศุลกากร แต่รายรับจาก ภาษีเงินได้ไม่สามารถชดเชยรายได้ที่ลดลงจากภาษีศุลกากร จึงเกิดการแข่งขันทางภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุน ของประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันเอง ทาให้ต้องหารายได้จากภาษีอื่นๆ ซึ่งอาจทาให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้า ทางสังคมได้ (6) การดาเนินนโยบายการเงินและการคลัง การเปลี่ยนแปลงด้านการดาเนินนโยบาย ทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลังจะมีความคล่องตัวน้อยลงและ มีข้อจากัดมากขึ้น ซึ่งการตัดสินใจทางนโยบายเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่งจะส่งผลกระทบต่อ ประเทศสมาชิกมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเป้าประสงค์ของนโยบายการเงินและการคลังให้มี ความสอดคล้องกับแนวนโยบายของประเทศสมาชิก ซึ่งจะมีความสาคัญมากขึ้นในการรักษาเสถียรภาพของ ประเทศและกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน นอกจากนี้ อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีของประเทศไทย ให้มีความใกล้เคียงกับประเทศสมาชิกมากขึ้น ซึ่งจะอาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้ภาครัฐที่มีแนวโน้มลดลง ดังนั้น ภาครัฐควรมุ่งเน้นการปฏิรูปโครงสร้างภาษีทั้งระบบเพื่อรักษาสถานะการคลังของประเทศให้อยู่ในระดับ ที่เหมาะสม


-4นอกจากนี้ ยังมีการเสนอแนวทางการดาเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและการเงิน ซึ่งครอบคลุมด้านนโยบายการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ นโยบายการเงินและสถาบันการเงิน นโยบายการคลัง และนโยบายด้านแรงงาน อาทิ การอานวยความความสะดวกทางการค้าเพื่อลดต้นทุน ของผู้ส่งออก การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อย่างต่อเนื่อง การเตรียมการรองรับผลกระทบที่เกิดจากการลดลงของรายได้ภาครัฐ โดยการปรับลดรายจ่าย ภาครัฐ หรือการแสวงหารายได้อื่นทดแทน สร้างความร่วมมือกันหรือหาความตกลงร่วมกันทางด้านนโยบาย ภาษีกับประเทศสมาชิก การพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้ม ความได้เปรียบเพิ่มขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ แนวทางการดาเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและการเงินของการประชุมกลุ่มย่อยฯ ส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และมาตรการภายใต้ยุทธศาสตร์กระทรวงการคลังด้านการเงินการคลัง เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงร่างยุทธศาสตร์ฯ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ และมีความเชื่อมโยงกันภายในมาตรการมากยิ่งขึ้น สาหรับผลที่ได้รับจากการประชุมประจาปี 2556 นั้น สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะนาไปประมวลผล เพื่อนาเสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และจะใช้เป็นแนวทางในการหารือกับประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุด จากการเป็นประชาคมอาเซียนต่อไป __________________________ สานักงานเศรษฐกิจการคลัง สานักการเงินการคลังอาเซียน 19 กันยายน 2556


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.