Music Journal May 2018

Page 1


Volume 23 No. 9 May 2018 วารสารเพลงดนตรี MUSIC JOURNAL Volume 23 No. 9 May 2018

ISSN 0858-9038

Volume 23 No. 9 May 2018

สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน รูปหน้าปกที่ผู้อ่านถืออยู่ เป็นผลงานชิ้นที่ ๑๐๙ ของอาจารย์ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) จากโครงการ “๘๙/๗๐/๔๔๔๗+ = ๙ --> ๑๐” โดยผลงานชิน้ นี้ จะน�ำมาติดตัง้ ด้านหน้าตึกพิพธิ ภัณฑ์ดนตรีอษุ าคเนย์ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ความหมาย ของชือ่ โครงการและแรงบันดาลใจในการผลิตชิน้ งาน ติดตามได้จากบทสัมภาษณ์อาจารย์ปรีชา เถาทอง ใน Cover Story ส�ำหรับบทความคุยกับคนดุริยางคศิลป์ อาจารย์สกุ รี เจริญสุข ได้ให้แนวคิดทีน่ า่ สนใจแก่ทกุ คนในวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ จากประสบการณ์กว่า ๒๓ ปีทอี่ าจารย์ได้บริหารวิทยาลัย ซึง่ อาจารย์ได้ให้ ข้อคิดทีน่ า่ สนใจ โดยกล่าวถึงการขจัดความขัดแย้ง ความแตกแยก ยอมรับในความแตกต่าง และท�ำ หน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ พร้อมทั้งให้วิสัยทัศน์ ทิศทางอนาคตของวิทยาลัย ในมุมมองของอาจารย์

เจ้าของ

กองบรรณาธิการ

บรรณาธิการบริหาร

ฝ่ายภาพ

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล สุกรี เจริญสุข

ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ สนอง คลังพระศรี

ผู้ช่วยบรรณาธิการ ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ Kyle Fyr นิธิมา ชัยชิต

นพีสี เรเยส พงศ์สิต การย์เกรียงไกร คนึงนิจ ทองใบอ่อน

ฝ่ายศิลป์

จรูญ กะการดี นรเศรษฐ์ รังหอม

พิสูจน์อักษรและรูปเล่ม ธัญญวรรณ รัตนภพ

ด้าน Thai and Oriental Music อาจารย์ สนอง คลังพระศรี น�ำเสนอเรือ่ งราวของเครือ่ งดนตรี แคน ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการค้นพบการใช้เครื่อง ดนตรีแคน ไปจนถึงพัฒนาการของเครื่องดนตรี ชิ้นนี้ในแต่ละประเทศในภูมิภาคอุษาคเนย์ ส�ำหรับ Piano Society ถือเป็นบทความ ประวัตศิ าสตร์ทไี่ ด้รวบรวมบทสัมภาษณ์ครูเปียโนที่ มีชอื่ เสียงระดับต�ำนานในประเทศไทยเข้าไว้ดว้ ยกัน โดยอาจารย์แต่ละท่านได้แสดงความคิดเห็นเกีย่ วกับ คอนเสิรต์ ของวง London Symphony Orchestra และนักเปียโน Yefim Bronfman ไว้อย่างน่าสนใจ และน่าติดตาม นอกจากนี้ ยังมีบทความด้านดนตรีบ�ำบัด ทฤษฎีดนตรี พร้อมทัง้ บทความจากนักเขียนประจ�ำ น�ำเสนอให้ผู้อ่านอีกเช่นเคย

เว็บมาสเตอร์

ภรณ์ทิพย์ สายพานทอง

ฝ่ายสมาชิก

สุพรรษา ม้าห้วย

ส�ำนักงาน

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (วารสารเพลงดนตรี) ๒๕/๒๕ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ต�ำบลศาลายา อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐

ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ

โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๓๑๑๓ โทรสาร ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๓๐ musicmujournal@gmail.com

พิมพ์ที่

หยินหยางการพิมพ์ โทรศัพท์ ๐ ๒๙๐๓ ๘๖๓๖

จัดจ�ำหน่าย

ร้านค้าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๒๕๐๔, ๒๕๐๕

กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ส� ำหรับข้อเขียนที่ได้รับการพิจารณา กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่ จะปรับปรุงเพื่อความเหมาะสม โดยรักษาหลักการและแนวคิดของผู้เขียนแต่ละท่านไว้ ข้อเขียนและบทความที่ตีพิมพ์ ถือเป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการ ไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ขอรับผิดชอบบทความนั้น


สารบั ญ Contents ศาลายาน่าอยู่

04

คุยกับคนดุริยางคศิลป์

สุกรี เจริญสุข (Sugree Charoensook)

Cover Story

Getting Ready

24

Pedagogy Tools for Applied Music Teachers: Chamber Music Recordings: An Interview with Sam Pilafian and Jose Sibaja Joseph Bowman (โจเซฟ โบว์แมน)

Music Entertainment

28

Mode กับเพลงไทยสากล (ตอนที่ ๑) กิตติ ศรีเปารยะ (Kitti Sripaurya)

Thai and Oriental Music

54

อุษาคเนย์ แหล่งเครื่องเป่าเสียงประสาน เก่าแก่ของโลก สนอง คลังพระศรี (Sanong Klangprasri)

Review

Piano Society

12

36

London Symphony Orchestra ร.๙ – ๘๙/๗๐/๔๔๔๗+ = ๙ & Yefim Bronfman นิธิมา ชัยชิต (Nitima Chaichit) ใจแจ่ม วรรณพัฒน์ (Jaijam Wannapat)

อรปวีณ์ นิติศฤงคาริน (Onpavee Nitisingkarin)

Music Theory

44

20

Searching for Bach’s original instrument in Partita No. 3, in E major, BWV 1006, Prelude (Part 2) Tachinee Patarateeranon (ธาชินี ภัทรธีรานนท์)

Voice Performance The Real Connections (1) Haruna Tsuchiya (ฮารุนะ ซึชิยะ)

Music Therapy

46

Book Review: Music Therapy Handbook วิพุธ เคหะสุวรรณ (Wiputh Kehasuwan)

50

การบ�ำบัดความคิดและพฤติกรรม เพื่อลดความวิตกกังวล ในการแสดงดนตรี [Cognitive Behavior Therapy for Music Performance Anxiety] (ตอนที่ ๑) กฤษดา หุ่นเจริญ (Gritsada Huncharoen)

62

เทศกาลดนตรีอมตะสยาม: การน�ำเสนอดนตรีพื้นบ้านในมิติใหม่ ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน (Dhanyaporn Phothikawin)


ศาลายาน่าอยู่

คุยกับคนดุริยางคศิ ลป์ เรื่อง: สุ กรี เจริญสุ ข (Sugree Charoensook) ผู้อ�ำนวยการศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เมื่อ ๒๑๖ วันผ่านไป

เมือ่ วันที่ ๒๓-๒๔ เมษายน ๒๕๖๑ ผู้ บริหารวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล ได้เชิญไปพูดคุยกับคนท�ำงาน ใน ฐานะอดีตคณบดี โดยมีพนักงานของ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล จ�ำนวน ๒๐๙ คน เป็นผูฟ้ งั ทีโ่ รงแรมฮิลตัน หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา อ�ำเภอ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเรื่อง ที่จะพูดก็เป็นเรื่องที่โหยหาอดีตทั้งผู้พูด และผู้ฟัง แต่ก็พยายามพูดในฐานะนัก วิชาการทีป่ ระกอบด้วยความรูส้ กึ นึกคิดที่ มีตอ่ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย

04

มหิดล รู้สึกนั้นเป็นปัจจุบัน นึกถึงอดีต และคิดถึงอนาคต หลังจากเริ่มจัดตั้งวิทยาลัยและได้ บริหารวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล มายาวนาน ๒๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๓๗) ซึง่ ก็นานเกินสมควร อาจจะเป็นคณบดีที่ ด�ำรงต�ำแหน่งยาวนานทีส่ ดุ ในมหาวิทยาลัย ไทย ก็วา่ ได้ จึงถึงเวลาทีจ่ ะต้องส่งต่อให้แก่ คณบดีคนใหม่ (ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ) เพราะว่าหมดวาระ หมดยุค หมดเวลา และหมดมุกที่จะคิดท�ำสิ่งใหม่แล้ว ถึง เวลาที่คนรุ่นใหม่จะได้รับช่วงต่อไป ซึ่งก็ ถือว่าเป็นการวางแผนไว้ตามเงือ่ นไขของ

สังคมในระบบการศึกษาไทย คนรุ่นใหม่ ก็มักจะกระแนะกระแหนเสมอว่า ให้ไป เลี้ยงหลานได้แล้ว เมื่อวันเวลาผ่านไปแล้ว ๒๑๖ วัน นับจากการพ้นวาระการท�ำงาน เมื่อ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๐ เป็นต้นมา ได้ใช้ เวลาส่วนใหญ่อยูท่ อี่ าคารมิวสิกมิวเซียม (Music Museum) เป็นอาคาร ๗ ชั้น มี พืน้ ที่ ๒๗,๐๐๐ ตารางเมตร (เริม่ ก่อสร้าง ตั้งแต่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓) ใช้เวลา มาแล้ว ๘ ปี ซึ่งยังขาดงบประมาณอีก ๔๐๐ ล้านบาท หากมีโอกาสจะช่วยอะไร ได้ ก็ตั้งใจจะช่วยให้มิวสิกมิวเซียมเสร็จ


การไปอยู่ที่อาคารมิวสิกมิวเซียม เพื่อท�ำหน้าที่ด้านวิชาการ แม้อาคารยัง ไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่กพ็ อจะเดินขึน้ ไปห้อง ท�ำงานได้ ฝ่ายออกแบบและฝ่ายก่อสร้าง ได้ท�ำห้องท�ำงานไว้ให้อย่างหรู โดยเริ่ม เข้าไปนัง่ ท�ำงานวันแรก ๒ มีนาคม ๒๕๖๑ ซึ่งมีเครื่องอ�ำนวยความสะดวกเท่าที่จะ พึงมี ยกเว้นลิฟต์ที่จะขึ้นไปถึงชั้น ๕ ซึ่ง เป็นห้องท�ำงาน ก็ตอ้ งเดินทุกเช้า เดินทุก วัน บางวันก็เดินหลายรอบ ท�ำให้นึกถึง อาคารหลังแรกที่ก่อสร้างยังไม่เสร็จแล้ว ต้องย้ายเข้าไปอยู่ก่อน เพราะอาศัยอยู่ บ้านเช่าที่วิทยาลัยนานาชาติ ก็อยากจะ อยู่บ้านของตัวเอง เนื่องจากความสูงระหว่างชั้น (๗ ชั้น) ของอาคารมิวสิกมิวเซียมไม่เท่ากัน จากชัน้ หนึง่ ถึงชัน้ สองห่าง ๖ เมตร มีหอ้ ง

โถงสูงในชัน้ ล่าง ชัน้ สองถึงชัน้ สามห่าง ๕ เมตร มีพื้นที่กว้างขวางอลังการ และใน ชัน้ ต่อๆ ไปห่างกัน ๔ เมตร ท�ำให้การเดิน แต่ละชัน้ กว่าจะถึงชัน้ ห้าก็ได้เหงือ่ เหมือน กัน ถ้าเดินจากภายนอกอาคารด้านทิศ ตะวันตก มีบันได ๑๓๕ ขั้น ส�ำหรับคน ทีก่ ลัวความสูงก็จะหวาดเสียว แต่ถา้ เดิน จากภายในอาคาร ก็ไม่รสู้ กึ ถึงความสูงมาก จะมีขนั้ บันไดถีก่ ว่า ๑๖๔ ขัน้ เมือ่ เดินขึน้ มาถึงห้องท�ำงานแล้ว หากไม่จ�ำเป็นก็ จะไม่เดินลง ในระยะแรกห้องน�้ำที่ชั้นห้า ยังไม่เสร็จเรียบร้อย ก็ต้องเดินลงไปเข้า ห้องน�้ำที่เรือนศิลปิน ดังนั้น การเดินขึ้น ก็ต้องเตรียมตัวเข้าห้องน�้ำเสียก่อน เพื่อ จะได้ไม่ต้องเดินขึ้นเดินลงบ่อย จนวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๑ ห้องน�้ำชั้นห้าก็แล้ว เสร็จ สามารถที่จะอยู่ท�ำงานข้างบนได้

ทั้งวัน คนขึ้นไปหาก็น้อยลง เพราะเดิน เหนือ่ ย หากไม่จำ� เป็นจริงๆ ต่างก็บอกว่า ขอพบข้างล่างจะสะดวกกว่า เมื่อถูกเชิญไปพูดให้พนักงานของ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ฟงั ก็ตอ้ งเตรียมตัว พูดในสิง่ ทีเ่ ห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ เพือ่ น�ำไปใช้ในการท�ำงานต่อไป ไม่เช่นนัน้ ก็จะ เป็นการบ่นของคนแก่ซงึ่ ไม่คอ่ ยมีประโยชน์ ใดๆ นัก

การขจัดความขัดแย้ง

เรือ่ งแรกทีอ่ ยากจะพูดถึง คือ “ความ ขัดแย้ง” ซึง่ เป็นเรือ่ งทีส่ ำ� คัญมากส�ำหรับ ผู้บริหารบุคลากรและการบริหารองค์กร เนือ่ งจากองค์กรประกอบด้วยผูค้ นจ�ำนวน มาก เมือ่ มีคนจ�ำนวนมากในองค์กร คนก็ จะมีความแตกต่างและมีความหลากหลาย

05


ถ้าหากคนในองค์กรทีม่ คี วามแตกต่างและ หลากหลาย พัฒนาไปจนเกิดความขัดแย้ง ขึน้ ก็จะสร้างปัญหาให้กบั องค์กร ส�ำหรับ ความขัดแย้งนัน้ “เกิดง่ายหายยาก” เมือ่ ความขัดแย้งเกิดขึ้นแล้ว จะสร้างความ เสียหายประมาณค่าไม่ได้ ที่เห็นชัดเจน ก็คือการท�ำให้องค์กรเสียโอกาส ความขัดแย้งทีจ่ ะเกิดขึน้ มีได้ทกุ เรือ่ ง ตั้งแต่ความเห็นที่แตกต่างกัน การตัดสิน ปัญหาทีแ่ ตกต่างกัน การมีวถิ ชี วี ติ ความ เชือ่ ภาษา (พูด) อารมณ์ และพฤติกรรม ทีแ่ ตกต่างกัน ผลลัพธ์ทไี่ ด้จากพฤติกรรมที่ แตกต่างท�ำให้เกิดความขัดแย้ง ไม่ชอบกัน ในขณะเดียวกัน ความขัดแย้งสามารถพัฒนา เพิ่มให้ยิ่งขัดแย้งสูงขึ้นได้ทุกเมื่อ ดังนั้น ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กรอาจจะ ลุกลามน�ำไปสู่เรื่องอื่นๆ ได้อีกมากมาย หากความขัดแย้งในองค์กรไม่ได้ถกู จัดการ ในเวลาและโอกาสที่เหมาะสม

06

ความแตกแยก

เมือ่ คนในองค์กรเกิดความขัดแย้งและ ไม่ได้รบั การแก้ไขให้ทนั ท่วงทีหรือในเวลา ที่เหมาะสม คนในองค์กรก็จะเกิดความ ไม่ไว้วางใจกัน ระแวงกัน ยิ่งระแวงก็ยิ่ง แตกแยก แตกแยกในความคิดทีแ่ ตกต่าง กันโดยธรรมชาติ แตกแยกเพราะมีความ เห็นทีต่ า่ งกัน แตกแยกเพราะมีความเห็น แยกพวกเป็นฝักเป็นฝ่าย แตกแยกเพราะ ขัดผลประโยชน์ แตกแยกด้วยเหตุใดเหตุ หนึง่ ได้รบั ความรักหรือได้รบั ความเมตตา ที่รู้สึกว่าแตกต่างกัน ซึ่งความแตกแยก สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทั้งนี้ เพราะมี ความขัดแย้งมาก่อน ผู้บริหารจ�ำนวนหนึ่งเลื่อมใสระบบ ที่ “แบ่งแยกแล้วปกครอง” หากผูบ้ ริหาร นับถือลัทธิแบ่งแยกแล้วปกครอง ซึง่ เป็น อีกวิธีการหนึ่งที่พบเห็นโดยทั่วไป คนใน องค์กรก็จะขัดแข้งและขัดขากันเองอยูร่ ำ�่ ไป ผูบ้ ริหารเองก็รวู้ า่ หากมีความขัดแย้งและ แบ่งแยกแล้วปกครอง ทุกฝ่ายก็จะเอาใจ

ผู้บริหาร เพื่อจัดให้เข้าพวกของตน ทั้งนี้ ก็เพราะคาดหวังผลประโยชน์ที่จะได้จาก ฝ่ายบริหารเป็นสิง่ ตอบแทน การแบ่งแยก แล้วปกครองเป็นความนิยมของผูบ้ ริหาร ที่ไม่เสียสละท�ำงานให้กับองค์กร

ความเกลียดชัง

เมื่อความขัดแย้งพัฒนาไปสู่ความ แตกแยกได้แล้ว สิ่งที่พัฒนาต่อไปก็คือ “ความเกลียดชัง” ที่จะเกิดขึ้นในล�ำดับ ตามมา เมื่อใดก็ตามที่องค์กรสามารถ พัฒนาความเกลียดชังให้เกิดขึ้นได้ ก็ถึง เวลาทีอ่ งค์กรไม่สามารถทีจ่ ะพัฒนาไปข้าง หน้าได้อกี ต่อไป ได้แต่รอคอยความตกต�ำ่ ขององค์กร เอียงไปข้างซ้าย เอียงไปข้าง ขวา เอียงไปข้างหน้า หรือเดินถอยหลัง ชาวบ้านจะพูดเสมอๆ ว่า คนไทยนัน้ เหตุทไี่ ม่สามารถพัฒนาไปอยูใ่ นแนวหน้า ของประเทศในอาเซียนได้ ก็เพราะ “ยาม ศึกเรารบ ยามสงบเราก็รบกันเอง” เป็น ประวัตศิ าสตร์ทไี่ ม่มใี ครจ�ำ ไม่มใี ครเรียนรู้


และไม่มใี ครน�ำไปปฏิบตั ิ เพือ่ จะแก้ปญ ั หา ความแตกแยกได้ ทั้งๆ ที่ประวัติศาสตร์ ของสังคมก็ได้ยอ้ นกลับมาให้เห็นอยูท่ กุ เมือ่ วิถีการบริหารองค์กรวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ใน อดีตนั้น ได้พยายามที่จะด�ำเนินเพื่อให้ ได้ผลงานหรือการท�ำงานให้สำ� เร็จ แม้จะ ทราบดีวา่ การขจัดความขัดแย้งเป็นเรือ่ ง ยาก แต่ถา้ สามารถลดความขัดแย้งให้เกิด น้อยลง แก้ไขความขัดแย้งตั้งแต่ต้นทาง ความแตกแยกก็จะไม่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ ความเกลียดชังนั้น หากได้ก่อตัวขึ้นแล้ว ก็ยากที่จะขจัดให้หมดไปจากองค์กร อย่างไรก็ตาม วิธกี ารแก้ปญ ั หาความ ขัดแย้งก็พอจะมีข้อเสนอไว้เพื่อพิจารณา เพราะเป็นปัญหาของทุกคนในองค์กร ซึง่ เป็นเรือ่ งต้นทางทีส่ ามารถแก้ปญ ั หาได้ ดังนี้

การรับคนมาท�ำงาน ไม่ได้รบ ั คนมาสร้างปั ญหา หากจะมองไปที่ต้นเหตุของการ รับคนมาท�ำงาน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์

มหาวิทยาลัยมหิดล มีงานที่จะต้องท�ำ อยูจ่ ำ� นวนมาก เพือ่ ให้บรรลุพนั ธกิจ การ รับคนเพิม่ ก็คอื การรับคนมาช่วยแบ่งเบา ภาระในการท�ำงานให้งานแล้วเสร็จเร็วขึน้ เน้นย�้ำว่า วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ไม่ได้มี วัตถุประสงค์ใดทีจ่ ะรับคนมาสร้างปัญหา แต่เป็นการรับคนมาช่วยท�ำงานและมาช่วย แก้ปัญหา หากมีคนที่สร้างปัญหาขึ้น ก็ เท่ากับว่า องค์กรรับคนมาผิดวัตถุประสงค์ ท�ำให้องค์กรเสียคน เสียงาน เสียเวลา และเสียเงิน ในขณะเดียวกันคนในองค์กร จะต้องท�ำงานให้ส�ำเร็จ เพราะงานที่ดี งานที่ส�ำเร็จ จะเข้าไปแทนที่จิตใจของ คนทีว่ า่ งเปล่า คนท�ำงานก็จะรูส้ กึ อิม่ เอิบ จากความส�ำเร็จในงานที่ท�ำ คนในวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องท�ำงานในหน้าทีข่ องตน ให้สมบูรณ์ทสี่ ดุ ไม่มหี น้าทีไ่ ปสร้างปัญหาให้ กับใคร ความส�ำเร็จของงานเป็น “เจ้านาย ตัวจริง” ของทุกคน

ยอมรับความแตกต่าง

การท�ำงานในองค์กรจะต้องเรียนรู้ และยอมรับว่าคนแต่ละคนมีความแตกต่าง ไม่ได้มแี ต่ “ความเหมือน” เพราะในความ เหมือนนั้นก็มีความแตกต่างและมีความ เป็นคน ในแต่ละคนก็มรี ายละเอียดทีแ่ ตก ต่างกัน ทั้งในด้านความสามารถ ฐานะ ทางเศรษฐกิจ การศึกษา อุปนิสัยใจคอ วิถชี วี ติ และความเป็นอยู่ ซึง่ การมีความ แตกต่างกันนั้น ถือเป็นเรื่องธรรมดา ถ้า คนในองค์กรทุกคนยอมรับความแตกต่าง ได้ องค์กรก็จะน่าอยู่ เสน่หข์ องความเป็น คนคือความแตกต่าง ความแตกต่างเป็นเสน่หข์ ององค์กร ในต�ำบลหมูบ่ า้ นทัว่ โลก ขายความแตกต่าง เพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสินค้าที่ส�ำคัญ ของโลก ประเทศทีเ่ จริญขายความแตกต่าง วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล มีลกั ษณะวิชา (ดนตรี) ทีแ่ ตกต่าง ไปจากคณะวิชาอืน่ อยูแ่ ล้ว ยังมีบรรยากาศ สิง่ แวดล้อม ต้นไม้ คลอง สะพาน แม้แต่ การออกแบบอาคาร ห้องเรียนของวิทยาลัย

07


ดุริยางคศิลป์ ก็มีรูปลักษณ์ที่แตกต่างไป จากส่วนงานอื่นในมหาวิทยาลัยมหิดล

ความแตกต่างไม่ใช่ความ แตกแยก

ความแตกต่างเป็นต้นทุนของคน และองค์กร องค์กรใดมีความแตกต่างที่ หลากหลาย ทุกคนยอมรับความแตกต่าง ได้ องค์กรนั้นก็จะเป็นองค์กรที่มีความ ลงตัว อยู่กันอย่างแตกต่าง อยู่กันอย่าง ลงตัว ความแตกต่างจึงไม่ใช่ความแตกแยก ซึ่งเป็นเหตุส�ำคัญที่ผู้มาเยี่ยมวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล รู้จัก และประทับใจในความแตกต่าง ส�ำหรับหน้าทีก่ ารงานทีต่ อ้ งท�ำ แต่ละ คนก็ท�ำหน้าที่แตกต่างกัน เหมือนกับวง ซิมโฟนีออร์เคสตร้า นักดนตรีแต่ละคน เล่นเครื่องดนตรีที่แตกต่างกัน ท�ำหน้าที่ ต่างกัน เล่นเสียงต่างกัน แต่ก็เล่นเพลง เดียวกัน อยูใ่ นวงเดียวกัน มีผคู้ วบคุมวง คนเดียวกัน และมีผู้ฟังกลุ่มเดียวกัน นัก ดนตรีกเ็ ล่นดนตรีพร้อมกันแต่คนละหน้าที่

08

ผลลัพธ์ที่ออกมาก็คือความไพเราะของ เสียงดนตรีในเพลงเดียวกัน เพราะความแตกต่าง ท�ำให้บริษัท โฆษณาสินค้าขอเข้ามาใช้พื้นที่ถ่ายท�ำ สินค้าเพือ่ การโฆษณา ซึง่ ก็เป็นประโยชน์ใน การประชาสัมพันธ์วทิ ยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ท�ำให้เป็นที่รู้จักใน สังคมมากขึ้น

ต้องรักษาคนเก่งและคนดี

วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล จะต้องรักษาคนเก่งและคนดีเอาไว้ ในองค์กรให้ได้ การเปิดรับคนเก่งและคนดี เพื่อท�ำงานให้กับองค์กร จะท�ำให้องค์กร มีความก้าวหน้า การที่จะพัฒนาก้าวไป ข้างหน้าได้นั้น ต้องอาศัยคนเก่ง อาศัย คนที่มีฝีมือ อาศัยคนที่มีความสามารถ และต้องอาศัยคนดีเพือ่ สร้างความรูส้ กึ ทีด่ ี ความรู้สึกก้าวหน้า และเป็นภาพลักษณ์ ที่ดีส�ำหรับองค์กร

“คนดีอยูใ่ นสังคมเหล่าใด ความสุข ความเจริญก็จะเกิดขึน้ กับสังคมเหล่านัน้ ” จารึกทีห่ บุ เขาช่องคอย (นครศรีธรรมราช) หากองค์กรไม่พยายามที่จะรักษา คนเก่ง ไม่รักษาคนดี หรือองค์กรไม่เปิด โอกาสรับคนเก่งและคนดี ก็จะท�ำให้องค์กร พัฒนาได้ช้า ยิ่งในองค์กรมีคนใดคนหนึ่ง เก่งหรือดีแต่เพียงผู้เดียว ในไม่ช้าความ แตกแยกและความหายนะก็จะบังเกิดกับ องค์กรนัน้ อย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ การท�ำงาน ที่ดีจะต้องสร้างพื้นที่ให้คนในองค์กรได้มี พื้นที่ยืน ได้มีพื้นที่ท�ำงาน หากทุกคนได้ ท�ำงานเต็มความสามารถ องค์กรก็จะก้าว ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว การมีพื้นที่ท�ำงานของคนอยาก ท�ำงาน เป็นเรือ่ งทีด่ สี ำ� หรับองค์กรทีม่ คี น อยากท�ำงาน เพราะความส�ำเร็จของงานที่ ท�ำ จะเป็นกระบอกเสียงให้กบั องค์กรด้วย

ทฤษฎี ๑%

ทฤษฎี ๑% เป็นเรือ่ งเก่าทีใ่ ช้เยียวยา ชีวติ ตลอดเวลาทีท่ ำ� งานรับราชการ เพราะ


ทุกคนคิดว่าตนเองไม่มโี อกาส เพราะโอกาส อยู่ที่อื่น คนอื่นมีโอกาสมากกว่า ความ จริงแล้ว โอกาสของทุกคนอยู่ที่ตัว แม้มี โอกาสน้อยแต่โอกาสก็ยังมี อาจจะเป็น แค่ครึ่งของโอกาส หรือเสี้ยวของโอกาส ก็ตาม แต่ก็คือยังมีโอกาสในการท�ำงาน ทุกคนที่ท�ำงานก็จะบ่นเรื่องปัญหา รดน�ำ้ พรวนดิน ใส่ปยุ๋ เพือ่ ให้ปญ ั หาเจริญ เติบโต อยู่กับปัญหา กินอาหารเช้ากับ ปัญหา กินอาหารเที่ยงกับปัญหา กิน อาหารเย็นกับปัญหา นอนกอดปัญหา ฝัน ถึงปัญหา ชีวิตทั้งชีวิตเต็มไปด้วยปัญหา แต่ปญ ั หาไม่เคยมีครบ ๑๐๐% อย่างมาก สุดอาจจะมีปัญหาได้ถึง​๙๙% หากมีปญ ั หาสูงถึง ๙๙% อย่างน้อย ก็ยงั มีอกี ๑% ทีไ่ ม่มปี ญ ั หา ก็สามารถทีจ่ ะ ย้ายตัวเองไปอยูใ่ นพืน้ ทีใ่ หม่ทไี่ ม่มปี ญ ั หา ทีส่ ำ� คัญก็คอื ตัวเราต้องหาพืน้ ที่ ๑% นัน้ ให้เจอ เมือ่ เจอพืน้ ทีแ่ ล้ว ก็ให้เริม่ ท�ำงานที่ ชอบบนพืน้ ทีท่ ไี่ ม่มปี ญ ั หา ความสุขความ เจริญก็จะเกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนั้นทันที

ในอนาคตอีก ๕ ปีข้างหน้า

๑. การศึกษาดนตรี ต้องสร้างมือ อาชีพ หากจะถามว่า อีก ๕ ปีข้างหน้า วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะเป็นอย่างไร เท่าทีพ่ อจะมองเห็นนัน้ ก็ มีเรือ่ งการจัดการศึกษาดนตรี ซึง่ วิทยาลัย ดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะเป็น สถาบันที่ส�ำคัญด้านวิชาการดนตรีของ ภูมภิ าค กิจกรรมดนตรีทจี่ ดั ขึน้ ก็จะกลาย เป็นงานอาชีพมากขึน้ เนือ่ งจากผูบ้ ริหาร วิทยาลัยดนตรีเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ นักศึกษาดนตรีที่จะเข้าเรียนที่วิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็จะ เป็นบุคลากรชั้นน�ำของภูมิภาคอาเซียน บุคลากรดนตรีในระดับชาติและในระดับ นานาชาติก็จะมีศิษย์เก่าของวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น ผู้น�ำมากขึ้น ๒. มิวสิกมิวเซียม การพัฒนามิวสิกมิวเซียม (Music Museum) ให้เป็นศูนย์กลางของการศึกษา

วิจยั องค์ความรูด้ นตรี โดยเฉพาะอย่างยิง่ องค์ความรูท้ มี่ อี ยูแ่ ล้ว ซึง่ เป็นดนตรีทอ้ งถิน่ ดนตรีพนื้ บ้านทุกชนิด ดนตรีทอี่ ยูใ่ นภูมภิ าค อุษาคเนย์ ในขณะที่สถาบันการศึกษา ดนตรีทั้งในประเทศและในภูมิภาค ยังไม่ เห็นความส�ำคัญของดนตรีท้องถิ่นหรือ ดนตรีพื้นบ้านเหล่านี้ โดยสร้างให้เป็น พื้นที่ของชาวบ้านได้มีโอกาสแสดงดนตรี ที่มิวสิกมิวเซียม วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล จะต้องพัฒนาองค์ความรูใ้ นมิตติ า่ งๆ ในการจัดแสดงดนตรีที่มิวสิกมิวเซียม ซึง่ เป็นเรือ่ งทางวิชาการทีน่ า่ ตืน่ เต้นอย่าง ยิง่ เพราะเป็นเรือ่ งของท้องถิน่ เป็นเรือ่ ง ที่อยู่ใกล้ตัว ซึ่งคนท้องถิ่นเองก็ไม่สนใจ เท่าใดนัก ดังนั้น การน�ำเรื่องพื้นบ้าน มาสร้างให้เป็นองค์ความรู้ จึงเป็นเรื่อง ที่ยิ่งใหญ่ และเป็นต้นทุนที่ส�ำคัญของ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล ในอนาคต มิวสิกมิวเซียม สามารถจะแบ่งเป็น ๕ ห้องย่อย ดังนี้ ๒.๑ ห้องอ�ำนาจเหนือธรรมชาติ ขวัญ เป็นเครือ่ งหมายทีต่ ดิ ตัวมนุษย์ มาแต่เกิดอยูท่ กี่ ลางกระหม่อม มีเส้นผม เวียนเป็นรูปก้นหอย เรียกว่า “จอมขวัญ” เพราะในส่วนต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ยงั มี ขวัญอยูป่ ระจ�ำกายอีก ขวัญมีทงั้ ทีเ่ ป็นอยู่ เรือนกาย เช่น ขวัญมือ ขวัญเท้า ขวัญ หน้า ขวัญตา และขวัญที่ไม่อยู่ในรูปร่าง เช่น ขวัญใจ ขวัญดี ขวัญร้าย ขวัญอ่อน ขวัญหนี ขวัญหาย เป็นต้น ความเชือ่ เรือ่ งขวัญ เป็นคติเรือ่ งของ ความตาย เพราะชาวอุษาคเนย์ไม่รู้จัก ความตาย เพียงแต่ขวัญได้ออกจากร่าง “ขวัญหาย” จึงต้องท�ำพิธีเรียกขวัญเพื่อ ให้ขวัญกลับสูร่ า่ ง เสียงทีไ่ ด้รบั ความนิยม ท�ำพิธเี รียกขวัญคือเสียงทีไ่ พเราะหรือเสียง ดนตรี ยิง่ ไพเราะกังวานมาก ขวัญจะได้ยนิ และจะกลับมาสูร่ า่ ง พิธที ำ� ขวัญหรือเรียก ขวัญท�ำโดยเจ้าพิธีที่เรียกว่า “หมอขวัญ หรือหมอผี”

๒.๒ ห้องไม้ไผ่ ไม้ไผ่ ถือเป็นวัชพืชทีม่ อี ยูอ่ ย่างอุดม ในภูมิภาคอุษาคเนย์ ไม้ไผ่ใช้ท�ำเครื่อง ใช้ไม้สอย ใช้ท�ำอุปกรณ์ในการเลี้ยงชีพ การท�ำมาหากิน การเกษตร การประมง การจับปลา เครื่องมือดักสัตว์ การท�ำ ที่อยู่อาศัย บ้านเรือน รวมไปถึงการท�ำ เครื่องดนตรีเพื่อใช้ในพิธีกรรมและเพื่อ ความบันเทิง อาทิ ขลุ่ย ปี่ แน โหวด กรับ แคน ระนาด เกราะ โกร่ง อังกะลุง ตระกูลซอ สะล้อ เป็นต้น วัฒนธรรมไม้ไผ่เป็นวิถชี วี ติ ทีอ่ าศัย ธรรมชาติอยู่มาก อาศัยความมืด ความ เงียบ และความสงบเป็นพืน้ ฐาน วัฒนธรรม ที่อยู่กับธรรมชาติและวิถีชีวิตก็ขึ้นอยู่ กับธรรมชาติของท้องถิ่นมากขึ้น เมื่อ มนุษย์มีเครื่องมือมากขึ้น น�ำไม้เนื้อแข็ง ซึง่ เป็นความอุดมสมบูรณ์มาท�ำเครือ่ งมือ เครื่องใช้แทนไม้ไผ่ เพราะไม้เนื้อแข็งต้อง ใช้เครือ่ งมือทีพ่ ฒ ั นามากกว่าไม้ไผ่ ไม้เนือ้ แข็งมีความขลัง เสียงดังกังวาน และก้อง ไกลกว่าไม้ไผ่ ๒.๓ ห้องโลหะ วัฒนธรรมโลหะ เป็นพัฒนาการของ สังคมทีก่ า้ วไปไกลมากขึน้ มนุษย์สามารถ ผลิตโลหะขึ้นใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ จากวัฒนธรรมไม้ไผ่เป็นวัฒนธรรมไม้เนือ้ แข็ง จากวัฒนธรรมไม้เนือ้ แข็งก็พฒ ั นาเป็น วัฒนธรรมโลหะ โลหะเป็นเรื่องที่หายาก และท�ำได้ยาก ใครมีโลหะไว้ครอบครองก็ จะกลายเป็นผู้น�ำ เครือ่ งดนตรีทที่ ำ� ด้วยโลหะก็มกี ลอง มโหระทึก (กลองทอง กลองกบ) ท�ำด้วย สัมฤทธิ์ (ทองแดงผสมกับดีบกุ ) ตีมเี สียง ดังกังวาน มีความศักดิส์ ทิ ธิเ์ พราะท�ำด้วย โลหะ ใช้ตใี ห้มเี สียงดังเพือ่ ประกอบในการ ท�ำพิธีกรรม ซึ่งหน้ากลองจะมีลวดลาย สลักไว้เป็นการบันทึกเรื่องราวของสังคม รอบตัวกลองก็วาดลายเส้นเป็นรูปบอก เรื่องราวของสังคม นอกจากนีย้ งั มีตระกูลฆ้องทีท่ ำ� ด้วย โลหะ ฆ้องหุย่ ฆ้องราง ฆ้องราว ฆ้องวง ฆ้องมอญ โหม่ง (หนังตะลุง) ระฆัง เป็นต้น

09


๒.๔ ห้องการค้าโลก ห้องทีน่ ำ� เสนอแลกเปลีย่ นวัฒนธรรม ผ่านการค้า เมื่อมีการเดินทางด้วยเรือ ส�ำเภา เรือกลไฟ เพื่อการค้นหาดินแดน ใหม่ การเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ ใหม่ การผจญภัย หรือเพือ่ การท่องเทีย่ ว ก็ตาม จากเมืองหนึ่งไปสู่อีกเมืองหนึ่ง ขณะเดียวกันก็เป็นการแลกเปลีย่ นความรู้ แลกเปลีย่ นวิถชี วี ติ วิธคี ดิ และมีการแลก เปลีย่ นทางวัฒนธรรมเกิดขึน้ ใครมีความรู้ มากกว่า มีความเจริญมากกว่า ย่อมมี วัฒนธรรมทีแ่ ข็งแรงกว่า เพราะวัฒนธรรม ทีแ่ ข็งแรงกว่าก็จะมีอทิ ธิพลต่อวัฒนธรรม ที่อ่อนแอกว่าโดยธรรมชาติ วัฒนธรรมจีนในอุษาคเนย์ วัฒนธรรม อินเดีย วัฒนธรรมอาหรับ และวัฒนธรรม ยุโรป ที่อยู่ปะปนในวัฒนธรรมอุษาคเนย์ โดยเครือ่ งดนตรีตา่ งวัฒนธรรมทีผ่ สมปน อยูใ่ นวัฒนธรรมอุษาคเนย์ อาทิ กลองแขก กลองฝรั่ง กลองจีน กลองมะริกัน แตร สังข์ กังสดาล ซอแขก ซอไวโอลิน เปียโน

10

หีบเพลงชัก ฮาร์โมนิกา กีตาร์ เครื่อง ไฟฟ้า ออร์แกน เป็นต้น ยังมีบทเพลงที่ เข้ามาพร้อมกับเครือ่ งดนตรีซงึ่ เป็นหุน้ ส่วน ที่ส�ำคัญยิ่ง ๒.๕ ดนตรีหลังการปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม การปฏิวัติอุตสาหกรรมของโลก เกิดขึ้นจากการพัฒนาก�ำลังผลิต จาก เดิมผลิตเพื่อการท�ำมาหากิน ต่อมาก็มี การผลิตเพื่อการแลกเปลี่ยนเพื่อให้เกิด ความหลากหลายมากขึ้น ต่อมามนุษย์ ก็คดิ ผลิตเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ทนุ่ แรงเพือ่ ให้ ท�ำงานง่ายขึ้นและผลิตได้มากขึ้น การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ อาหาร เครือ่ งนุง่ ห่ม ยารักษาโรค และทีอ่ ยูอ่ าศัย เพือ่ ขาย เพราะมนุษย์สะสมและแสวงหา ความร�่ำรวย ซึ่งรวมถึงความสุขสบาย ท�ำให้มนุษย์ตอ้ งล่าและท�ำลายล้างเพือ่ ให้ได้ สิง่ ทีต่ นปรารถนา มนุษย์จงึ คิดเครือ่ งจักร ขึน้ มาท�ำงานแทนคน คิดอุปกรณ์เครือ่ งใช้ เพือ่ อ�ำนวยความสุข อ�ำนวยความสะดวก สบาย เพื่อให้มีชีวิตที่ดีกว่าเดิม

การปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมท�ำให้ดนตรี เปลีย่ นโฉมไป จากเครือ่ งดนตรีธรรมชาติ กลายเป็นเครื่องไฟฟ้า จากดนตรีที่ต้อง เล่นสดแสดงสด ก็กลายเป็นการบันทึก เสียง เก็บดนตรีเอาไว้ฟังซ�้ำได้อีก การ ท�ำเครือ่ งขยายเสียง การท�ำห้องเก็บเสียง การสื่อสารสมัยใหม่ผ่านดาวเทียม ผ่าน เทคโนโลยีที่สามารถหาฟังเสียงดนตรีได้ พร้อมภาพการแสดงจากทั่วทุกมุมโลก ๓. วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่ง ประเทศไทย วงดุ ริ ย างค์ ฟ ี ล ฮาร์ โ มนิ ก แห่ ง ประเทศไทย (Thailand Philharmonic Orchestra) เป็นทรัพย์สินทางปัญญา ชิ้นส�ำคัญของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นขุมทรัพย์ ของประเทศไทย เป็นวงดนตรีที่ได้รับงบ ประมาณส่วนหนึง่ จากรัฐบาลและอีกส่วน หนึ่งต้องหาจากเงินรายได้ เป็นวงดนตรี ที่พัฒนาขึ้นจากอุดมการณ์ว่าจะต้องเล่น เพลงไทย เพลงอาเซียน เพลงใหม่ และ


เพลงคลาสสิกในระดับนานาชาติ วงดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่งประเทศ ไทย มีบทบาทในการพัฒนาและสร้างสรรค์ บทเพลงในภูมภิ าคให้สามารถเผยแพร่ไป สู่สากลได้ เปิดโอกาสและเป็นเวทีของ เด็กไทยรวมทั้งศิลปินรุ่นใหม่ทั้งไทยและ นานาชาติให้ได้ใช้เป็นเวทีแสดงศักยภาพ ความเป็นเลิศทางดนตรี เป็นทั้งผลงาน และหน้าตาของประเทศในเวลาเดียวกัน วงดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่งประเทศ ไทย เป็นสถาบันดนตรีคลาสสิกทีเ่ ข้มแข็ง เป็นตัวอย่างของวงดนตรีคลาสสิกในอาเซียน ทีม่ มี าตรฐานนานาชาติ นักดนตรีคนเก่งใน อาเซียนต้องการทีจ่ ะแสดงร่วมกับวงดุรยิ างค์ ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย และเป็นวง ดนตรีคลาสสิกที่เป็นขวัญใจของปวงชน อาเซียน ออกไปแสดงเพือ่ สร้างมิตรภาพ และเผยแพร่บทบาทผู้น�ำด้านวัฒนธรรม เพลงให้เป็นที่ประจักษ์ในอาเซียน ๔. กิจกรรมดนตรีระดับชาติและ นานาชาติ เนื่องจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีกจิ กรรมระดับชาติ และระดับนานาชาติที่ได้ลงทุนท�ำงานมา แล้วจ�ำนวนมาก จ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้อง พัฒนากิจกรรมเหล่านัน้ ไปสูย่ ทุ ธศาสตร์ชาติ ที่เป็นแนวทางในการน�ำรายได้สู่ประเทศ เพื่อใช้ดนตรีน�ำการพัฒนาการท่องเที่ยว ดนตรีพฒ ั นาอุตสาหกรรมเพลงและความ บันเทิง ดนตรีกบั เทคโนโลยีเสียง ดนตรีที่ เกีย่ วข้องกับเทศกาล อาทิ ดนตรีพนื้ บ้าน ดนตรีคลาสสิก ดนตรีแจ๊ส ดนตรีสมัย นิยม ดนตรีกับภาพยนตร์ การขยายความสนใจของดนตรีไป สู่งานสุขภาพ อาทิ ดนตรีกับเพลงสวด ในศาสนา ดนตรีพิธีกรรม ดนตรีบ�ำบัด ความเจ็บป่วย ดนตรีเพือ่ การรักษาความ พิการทางกาย ความพิการทางจิต ดนตรี เพือ่ การพัฒนาเด็กและเยาวชน ดนตรีเพือ่ พัฒนาจิตใจ ดนตรีเพื่อสร้างจิตวิญญาณ ใหม่ให้กับนักโทษ เด็กที่ไร้ญาติขาดมิตร วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล เป็นต้นแบบของการศึกษาทั้งใน ประเทศและในภูมภิ าคอาเซียน เพือ่ ให้เด็ก

ผลงานคุณภาพไม่สามารถทีจ่ ะสร้างได้ดว้ ยคนใด คนหนึ่งเพียงคนเดียว วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นองค์กรสาธารณะทปี่ ระกอบด้วย คนจ�ำนวนมาก มีหนุ้ ส่วนจ�ำนวนมาก ความสามัคคี เท่านั้นที่จะท�ำได้ส�ำเร็จ

ในอาเซียนมีโอกาสเข้าศึกษาในวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๕. โครงการสอนดนตรีส�ำหรับ บุคคลทั่วไป โครงการสอนดนตรีส�ำหรับบุคคล ทัว่ ไป ซึง่ ได้เริม่ โครงการก่อนทีจ่ ะมีวทิ ยาลัย ดุรยิ างคศิลป์นนั้ ขณะนีไ้ ด้ขยายโครงการ อยูท่ ศี่ นู ย์การค้า ๓ แห่งด้วยกัน ในไม่ช้า ธุรกิจของการสอนดนตรีในศูนย์การค้าก็ จะซบเซา สิ่งที่ตามมาที่ส�ำคัญก็คือ ค่า เช่าและค่าใช้จา่ ยจะท�ำให้ดำ� เนินกิจการไม่ ไหว ถึงแม้จะมีเด็กที่เรียนอยู่ถึง ๒,๕๐๐ คนก็ตาม มีพนักงานคนท�ำงานหลายคน เป็นพื้นที่ส�ำหรับนักศึกษาฝึกสอนดนตรี และสร้างรายได้ให้เป็นทุนการศึกษา และ ทีส่ ำ� คัญก็คอื สร้างมวลชนคนรักดนตรีเพิม่ ขึ้น ท�ำให้ประชาชนคนทั่วไปเข้าถึงการ ศึกษาดนตรีของวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ได้ ในอีก ๕ ปีข้างหน้า วิทยาลัย ดุรยิ างคศิลป์จะต้องพัฒนาพืน้ ทีก่ ารศึกษา ส�ำหรับบุคคลทัว่ ไปเป็นแบบอืน่ คือ การ สร้างสถาบันออร์เคสตร้า (Orchestra Academy) ซึง่ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ได้รบั บริจาคพื้นที่ (๕๐ ไร่) ที่พัทยา เพื่อจัด สร้างให้เป็นพืน้ ทีเ่ ข้าค่ายทีย่ งั่ ยืน เป็นการ จัดการศึกษาระยะสัน้ ทีไ่ ม่ตอ้ งการใบปริญญา ซึง่ เชือ่ ว่าจะเป็นอนาคตใหม่ของการศึกษา ดนตรีในประเทศไทยด้วย

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียง ตัวอย่างเท่าทีค่ ดิ ได้ ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นงานที่ ได้เริม่ ต้นเอาไว้แล้ว เพียงแต่นำ� ไปพัฒนา ให้เกิดความต่อเนือ่ งและสร้างความส�ำเร็จ ทีก่ ว้างขวางมากขึน้ สิง่ ส�ำคัญทีต่ อ้ งร�ำลึก ไว้เสมอก็คือ การสร้างงานที่มีคุณภาพ เท่านั้น ผลงานคุณภาพไม่สามารถที่จะ สร้างได้ด้วยคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียว วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นองค์กรสาธารณะที่ประกอบด้วยคน จ�ำนวนมาก มีหนุ้ ส่วนจ�ำนวนมาก ความ สามัคคีเท่านั้นที่จะท�ำได้ส�ำเร็จ อย่าลืมว่า วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันการศึกษา ดนตรีของชาติ มีศักยภาพและคุณภาพ ในระดับนานาชาติอยู่แล้ว มีพื้นฐาน ทุกอย่างพร้อมแล้ว เหลือเพียงต้องใช้ วิธีบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ น�ำพา องค์กรไปข้างหน้าให้ได้ เพราะว่าเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ก็คือความเป็นมืออาชีพ นอกจากจะเป็นความส�ำเร็จของชาติแล้ว วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ยังเป็นต้นแบบใน การจัดการศึกษาดนตรีให้กบั เพือ่ นบ้านใน อาเซียนด้วย

11


Cover Story


ร.๙ - ๘๙/๗๐/๔๔๔๗+ = ๙ เรื่อง: นิธิมา ชัยชิต (Nitima Chaichit) ใจแจ่ม วรรณพัฒน์ (Jaijam Wannapat)

ปิดชื่อเรื่องมาด้วยชื่อผลงานอันเลื่อง ชื่อล่าสุดของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ ประจ�ำปี ๒๕๕๒ ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงคร�่ำหวอดทางด้าน ศิลปะจิตรกรรมในประเทศไทยมาช้านาน และเกียรติประวัตคิ วามสามารถทางศิลปะ จิตรกรรมของศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ ปรีชา เถาทอง ตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ จวบจนปัจจุบนั ยกตัวอย่างเช่น ผลงานที่สร้างชื่อเสียง สูงสุดด้านทฤษฎีแสงและเงาทีช่ อื่ “รูปทรง ของแสงบนเนื้อที่ของเงา” ได้รับรางวัล เกียรตินยิ มอันดับ ๑ เหรียญทอง ประเภท จิตรกรรม จากการแสดงศิลปกรรมแห่ง ชาติ ครั้งที่ ๒๕ พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นรางวัล ส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ได้รบั การยกย่องให้เป็นศิลปิน ชัน้ เยี่ยม ประเภทจิตรกรรม คนที่ ๑๔ ได้ รับรางวัลที่ ๑ จากการประกวดจิตรกรรม ฝาผนังตึก Escape กรุงเทพฯ และตึก ธนาคารแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนีย้ งั ได้รบั รางวัลอีกมากมายทัง้ ใน ระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนเป็น ๑ ใน ๘ ศิลปินที่ได้มีโอกาสถวายงานเขียน ภาพประกอบหนังสือพระมหาชนก พระ ราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ และได้เขียนภาพจิตรกรรม “ป่าหิมพานต์ ตามพระราชเสาวนีย”์ เพือ่ จัดนิทรรศการ ทูลเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙

ด้วยอุดมการณ์ในการด�ำเนินชีวติ และ การสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เอกลักษณ์ ของแสงเงาหรือสีทองเป็นส่วนประกอบ ใช้วัตถุที่มีความแวววาวเพื่อสื่อความคิด ของความเป็นไทย วิธกี ารในการแสดงออก สะท้อนถึงสาระทางพุทธปรัชญา เพือ่ ชีน้ ำ� และพัฒนาสังคม อีกทัง้ สร้างสรรค์ผลงาน ใหม่ๆ อยู่เสมอ จนเป็นที่ประจักษ์ของ วงการศิลปะว่าเป็นผูม้ คี ณ ุ ปู การต่อวงการ เป็นแรงบันดาลใจ และเป็นแบบอย่างทีด่ ี แก่คนรุ่นหลัง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปรีชา เถาทอง จึงได้เข้ารับพระราชทาน โล่และเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใน ฐานะศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช ๒๕๕๒ ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ การที่วารสารเพลงดนตรีได้รับ เกียรติสมั ภาษณ์ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ ปรี ช า เถาทอง ในครั้ ง นี้ เนื่ อ งมา จากผลงานประติมากรรมชุด ร.๙ ๘๙/๗๐/๔๔๔๗+ = ๙ ผลงานชิ้นที่ ๑๐๙ ซึง่ เป็น 9th edition หรือองค์หล่อ ที่ ๙ ตรงกับรัชกาลที่ ๙ ของอาจารย์ จะได้มาตัง้ ตระหง่านอยูบ่ นผืนน�ำ้ บริเวณ ด้านหน้ามิวสิกมิวเซียมอุษาคเนย์ วิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วย แนวคิดของผลงานที่ต้องการจะแสดง ถึงทุกอย่างที่ตกผลึกมาจากทั้งชีวิตของ

อาจารย์ทมี่ ตี อ่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช และสะท้อนให้ เห็นถึงความจงรักภักดีของชาวไทยทุก คน ผู้อ่านทุกท่านสามารถมาร่วมชื่นชม ประติมากรรมชิน้ นีท้ มี่ วิ สิกมิวเซียมอุษาคเนย์ ได้ ในเร็วๆ นี้

แรงบันดาลใจและความหมาย ของผลงานประติมากรรมชุดนี้

งานชุดนีไ้ ด้รบั แรงบันดาลใจมาจาก ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ซึง่ ผมได้ทำ� งานส่วน ตัวเกีย่ วกับความในใจจากในหลวงรัชกาล ที่ ๙ มาเกือบ ๒๕ ปีแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นต้นมา งานที่ท�ำช่วงแรกๆ ชุดแรกเกือบ ๕๐ ชิ้น เป็นงานเกี่ยวกับ การถวายพระเกียรติ เป็นพระราชประวัติ สดุดีในหลวง เป็นภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับ พระราชกรณียกิจที่ทรงงานต่างๆ ไปทั่ว ประเทศ ส่วนมากผมจะท�ำให้กบั หน่วยงาน ต่างๆ เช่น หน่วยงานราชการ หรือสถานทูต ไทยประจ�ำกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย หรือลักษณะภาพโมลอนใหญ่ (ภาพพระ ราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช) ทีห่ อประชุม เฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา หรือภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงพระราช ประวัติและพระราชกรณียกิจต่างๆ ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ล อดุลยเดชตัง้ แต่เสด็จขึน้ ครองราชย์เช่นกัน

13


ที่หอเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช ทีห่ อสมุด แห่งชาติ ท่าวาสุกรี งานพวกนี้เป็นชุด ไอเดียที่ท�ำเพื่อถวายในหลวง แล้วก็งาน ส่วนตัวทีท่ ำ� เกีย่ วกับสิง่ ทีใ่ นหลวงทรงคิด เรื่องตู้แห่งความเพียร วิริยะบารมี แม้ ไม่เห็นฝั่งก็จะว่ายต่อไป การท�ำงานชุด เหล่านี้เป็นความรู้สึกส่วนตัวที่ท�ำเพื่อ เทิดพระเกียรติในหลวง มีประมาณ ๕๐ กว่าชิ้น อยู่ที่บ้านจังหวัดเชียงราย ซึ่งมี คนมอบที่ดินมาให้ ใช้เป็นบ้านที่ท�ำงาน เพื่อในหลวง มีการออกแบบทั้งตัวบ้าน อาคาร สิง่ แวดล้อม มีงานศิลปกรรม ทีน่ นั่ กลายเป็นที่สเก็ตช์งานพระมหาชนก ผม เป็นหนึง่ ในแปดของศิลปินทีร่ ว่ มถวายงาน ออกแบบภาพประกอบในหนังสือพระมหา ชนก นั่นเป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจมาก ก็เลยมี อาคารหลังนี้ขึ้นมา ในอาคารนี้ก็มีรูปชื่อ ตูแ้ ห่งความเพียร มีรปู ประติมากรรม รูป ที่เกี่ยวกับในหลวง นั่นเป็นชุดแรก ส่วนชุดที่สอง มาจากวันที่ ๑๓

14

ตุลาคม ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นวันสวรรคตของ พระองค์ท่าน เป็นเหตุท�ำให้เกิดความ รูส้ กึ ทีบ่ อกไม่ถกู มีความสะเทือนอารมณ์ อย่างแรง เหมือนอย่างที่คนไทยทุกคน รู้สึก ในฐานะคนเป็นศิลปินที่เคยถวาย งานพระองค์ท่าน เลยเกิดงานชุดนี้ที่ชื่อ ว่า “ระเบิดจากภายใน” เป็นที่มาของ คอนเซปต์ของโครงการนี้ ชือ่ ว่า โครงการ “๘๙/๗๐/๔๔๔๗+ = ๙ --> ๑๐” (อาจารย์ ปรีชาเรียกชื่อโครงการว่า แปดสิบเก้า สแลช เจ็ดสิบ สแลช สีส่ สี่ เี่ จ็ดบวก เท่ากับ เก้า สู่ สิบ) ตัวเลข ๘๙ ความหมาย คือ พระชนมพรรษาของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ตัวเลข ๗๐ คือ ๗๐ ปี แห่งการครอง ราชย์ และตัวเลข ๔๔๔๗+ คือ กว่า ๔,๔๔๗ โครงการ ที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงท�ำ ส่งมอบสูแ่ ผ่นดินในรัชกาลที่ ๑๐ งานชุดนีเ้ ริม่ ตัง้ แต่วนั ที่ ๑๓ ตุลาคม เป็นต้นมา ผมท�ำทุกวันไม่หยุด ได้งานอีก ๕๐ กว่าชิน้ ท�ำเช้า สาย บ่าย ค�ำ่ ท�ำงาน ตลอด งานทัง้ หมดทัง้ ของเก่าของใหม่รวม

แล้วได้ประมาณ ๑๑๑-๑๑๒ ชิ้น ชุดแรก ที่ผมได้ชี้แจงมา จึงชื่อโครงการรวมว่า “๘๙/๗๐/๔๔๔๗+ = ๙ --> ๑๐” ซึง่ งาน ทัง้ หมดทีท่ ำ� ร้อยกว่าชิน้ นัน้ มีความหลาก หลาย มีรปู แบบวิธกี ารทีไ่ ม่ซำ�้ กันเลย ผม ท�ำไปทั้ง drawing paint ใช้เทคนิคผสม อะไรก็ตาม เพือ่ ถวายพระเกียรติ เพือ่ รับใช้ ความรูส้ กึ ทีม่ ตี อ่ ในหลวงในประเด็นต่างๆ นัน่ เป็นไฮไลต์ของงานนี้ จุดส�ำคัญอยูท่ งี่ าน ชิน้ นี้ ชิน้ ทีเ่ ป็นประติมากรรมเทคนิคผสม นี้ เป็นชิ้นที่ ๑๐๙ พอดี ผมได้ไอเดียเป็น ภาพสเก็ตช์ชิ้นเล็กๆ ขึ้นมาชิ้นหนึ่ง แล้ว ก็เอามาขยายใหญ่ สเก็ตช์นี่ผมก็ท�ำ มี หน่วยงานการกุศลของมูลนิธิหอธรรม พระบารมี จังหวัดฉะเชิงเทรา พระท่าน อยากได้เอาไปท�ำ edition ที่ ๑๐๙ น�ำไป จ�ำหน่าย ได้เงินมาก็สร้างหอปฏิบตั ธิ รรม แต่ว่าโครงการที่จะติดตั้งที่มหาวิทยาลัย มหิดลเป็น edition ที่ ๙ เหตุผลของคอนเซปต์งานชุดนีก้ ค็ อื ต้องการสรุปความคิดเกี่ยวกับในหลวง


รัชกาลที่ ๙ ออกมาเป็นงานสามมิติ ทัง้ ที่ ผมก็ไม่ได้เป็นคนเก่งทีม่ คี วามสามารถใน ด้านประติมากรรมเลย แต่อยากท�ำ อยาก ท�ำประติมากรรม และประติมากรรมผมก็ แฝงไว้ดว้ ยสัญญะ เป็นสัญลักษณ์ทแี่ ปลก ไม่เหมือนงานประติมากรรมทีอ่ นื่ ซึง่ ต้อง เรียนไว้กอ่ นว่าสิง่ นีเ้ ป็นงานประติมากรรม ไม่ใช่งานอนุสาวรีย์ งานประติมากรรม อย่างนี้จะน�ำไปตั้งที่ไหนก็ได้ ดังนั้น งาน ประติมากรรมก็จะไปตัง้ ในจุดต่างๆ ๙ จุด เป็นประติมากรรมทีม่ คี วามหมาย ความ หมายของชิน้ งานนีป้ ระกอบด้วย รูปสัญญะ ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ประทับนัง่ อยูบ่ น บัลลังก์ จุดเด่นต่อมา คือ บนพระพักตร์ ซีกด้านขวาของพระองค์ท่านจะดูหนุ่ม ซีกด้านซ้ายจะดูทรงพระชรา แบ่งครึง่ กัน พระวรกายครึง่ ขวาก็จะทรงเครือ่ งกษัตริย์ ครึง่ ซ้ายจะทรงชุดสากลธรรมดาอย่างทีเ่ รา เคยเห็น แล้วก็ใส่เสือ้ คอเปิด แขวนกล้อง ไว้ทพี่ ระศอ บนพระเพลาก็จะทรงพระภูษา สองแบบ คือ ครึง่ ขวาของพระองค์ทา่ นก็ จะเป็นทรงชุดโจงกระเบน ฉลองพระบาท เชิงงอน ครึ่งซ้ายทรงชุดสากล กางเกง สแล็ค ฉลองพระบาททรงแบบปกติ บางคน ถ้าไม่สังเกตจะไม่เห็น จุดเด่นผมจะเน้น เฉพาะพระพักตร์ ทีเ่ น้นความเหมือนจริง เป็น realistic ที่สุด แต่ตั้งแต่ใต้พระศอ ลงมา ในส่วนของพระวรกายภาพจะไม่ ชัดเจน เหมือนกับเอาน�้ำโคลนมาทับบน พระวรกาย ภาพไม่ชัดไปจนถึงบัลลังก์ที่ ประทับด้วย เหตุผลก็มาจากความหมาย ทีผ่ มคิดก็คอื พระองค์ทา่ นทรงมีพระนาม ว่า ภูมิพล เหมือนเป็นพลังแผ่นดิน ผม ก็ตีความว่า เป็นผู้มาจากดิน ขึ้นมาจาก ผืนแผ่นดิน น�้ำก็จะไหลผ่านพระวรกาย จะชัดที่พระพักตร์ ส่วนอื่นก็จะเห็นเพียง ว่าเป็นเครือ่ งทรง แต่กจ็ ะดูไม่คอ่ ยชัดเจน ผมขึน้ แบบเหมือนจริง แล้วก็ปน้ั ให้ซอฟต์ ลงไป จุดส�ำคัญอีก ๒ จุด อยู่ที่พระบาท ด้านขวาและด้านซ้าย พระบาทด้านขวา ของพระองค์จะมีรูปคุณทองแดงหมอบ อยู่ และแหงนมองพระพักตร์ของพระองค์ ความหมายของคุณทองแดงก็สอื่ ถึงความ กตัญญู ความซื่อสัตย์ เหมือนกับความ

กตัญญู ความซื่อสัตย์ในตัวพระองค์ ท่าน ซึ่งท�ำให้พระองค์มีความสุขในการ บริหารแผ่นดิน ด้านซ้ายเป็นพาน บน พานมีหนังสือพระมหาชนกขนาดเท่าเล่ม จริงวางอยู่ หมายถึง ศาสตร์พระราชา หมายถึง องค์ความรู้ หมายถึง ๔,๔๔๗ โครงการ กับ ๒๓ วิธที รงงานทีพ่ ระองค์ทรง พระราชทานให้ หนังสือเล่มนีเ้ ป็นสัญญะ โดยรวมของประติมากรรมชิน้ นีท้ มี่ คี วาม หมายหมด เท่ากับเป็นการสรุปความคิด “๘๙/๗๐/๔๔๔๗+ = ๙ --> ๑๐” เป็น โครงการในหลวงทีผ่ มท�ำมาทัง้ หมด ๒๕ ปี โดยงานในช่วงหลังจะเป็นช่วงที่ใช้ชื่อนี้ และประติมากรรมชิ้นนี้ก็ถือว่าเป็นงาน สรุป ชิ้นที่ ๑๐๙ ก็ว่าได้ แต่บังเอิญที่ ท�ำงานเกินจากชิน้ นี้ คือ ท�ำไปแล้วติดลม

พอจะแสดงงานก็มีไอเดียขึ้นมาเรื่อยๆ ก็ ท�ำงานชุดดนตรี ได้แซกโซโฟนจากสมาคม ดนตรีจากทีพ่ ระองค์ทรง ก็เอาแซกโซโฟน มา ร่วมกับให้ชาวบ้านขึ้นไปเขียนความ ในใจเกี่ยวกับในหลวงบนเฟรมสีเหลือง ผมก็มาร์กต�ำแหน่งไว้ให้เขียนประมาณนี้ เขียนเสร็จแล้วผมก็เอาแซกโซโฟนไปติด แล้วผมก็ drawing เส้นทับ outline บน ต�ำแหน่งที่ผมวาดไว้ให้คนมาลงชื่อถวาย พระพรในหลวง shape นั้นก็กลายเป็น shape พระวรกายในหลวงพอดี ยืนท่า ทรงแซกโซโฟน ท�ำให้ภาพนี้เป็นภาพที่ ๑๑๐ แล้วภาพที่ ๑๑๑ ก็เป็นภาพเกีย่ วกับ คนทั่วประเทศ วันนั้นเป็นวันครบหนึ่งปี สวรรคต มีพิธีท�ำบุญวันสวรรคต ผมก็ ท�ำภาพภาพนี้ แล้วก็คนให้มาเขียนถวาย

15


พระพร และเขียนความระลึกถึง บน พระบรมสาทิสลักษณ์ที่ผมเตรียมเอาไว้ ชิ้นนี้ก็เป็น interactive painting กลาย เป็นงานถึง ๑๑๑ ชิ้น

ปณิธานของศาสตราจารย์ เกียรติคณ ุ ปรีชา เถาทอง ถึง ผลงานประติมากรรมชิ้นนี้ ทีจ่ ะน�ำมาตัง้ หน้าอาคารมิวสิก มิวเซียมอุษาคเนย์

ผมตั้งใจว่า อยากจะให้งานชุดนี้ กว่า ๑๑๐ ชิ้น ไม่มีการจ�ำหน่าย แต่ละ ชิ้นผมท�ำด้วยใจ เพื่อถวายพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ โดยที่ ไม่กำ� หนดรูปแบบ ไม่กำ� หนดทิศทาง มัน เป็นการระเบิดจากข้างใน อยากท�ำอะไรก็ ท�ำ ผมถือว่า Heart กับ Place ก็คือ ใจ กับความรูส้ กึ ทีบ่ ริสทุ ธิ์ ด�ำริชอบแล้ว คิด ชอบแล้ว ท�ำชอบแล้ว ท�ำแบบไหนก็ได้ จะ ใช้เทคนิควิธอี ะไรก็ได้ งานชุดนีก้ ค็ อื ท�ำด้วย ความพอใจ ไม่มี order มีความรู้สึกว่า อยากท�ำไปถวาย แล้วสรุปเป็นองค์ความรู้ ผมก็ถอดรหัสเป็นหนังสือ วิเคราะห์ไว้ ทั้งหมดเลย ๑๑๑ ชิ้นนั้น หมายถึงอะไร มาจากไหน แล้วทุกชิ้นไม่จ�ำหน่าย ผม เก็บสะสมไว้ที่หอศิลป์ ๒ ที่ คือ ศูนย์ ศิลปแสงเงา จรัญสนิทวงศ์ ๓๗ และศูนย์ ศิลป์ แสงธรรมสุวรรณภูมิ จรัญสนิทวงศ์ ๑๓ และประติมากรรมชิ้นนี้ ชิ้นที่ ๑๐๙ เป็นงานที่ผมตั้งใจว่าจะให้เป็นเรื่องของ ธรรมะจัดสรร คิดว่าท�ำแล้วรอคนมีบุญ ที่จะได้เอางานไปติด ผมไม่อยากให้เป็น บุคคล อยากให้เป็นหน่วยงาน หน่วย งานไหนอยากได้ มาจองก็จะได้ไป แต่ ต้องเสียเงินค่าหล่อ ค่าด�ำเนินการให้โรง หล่อ ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็น เนือ้ ราคาตามนัน้ อยูแ่ ล้ว ส่วนค่าครีเอทีฟ ค่าอื่นๆ ผมไม่ได้คิด ทุกที่ที่ได้ไปก็คือจะ เป็นราคาเดียวกันหมด คือ ราคาค่าหล่อ ค่าเซ็ต ค่าติดตัง้ ส่วนรูปแบบฐานจะเป็น อย่างไรก็แล้วแต่เจ้าของทีจ่ ะดีไซน์ หาทีต่ งั้ นั่นก็เป็นเหตุให้มหาวิทยาลัยมหิดลมี ความโชคดี ได้ชิ้นงานนี้ไปหนึ่งชิ้น ใน จ�ำนวน ๙ edition

16

อุปสรรคในการรังสรรค์ ประเทศทางด้านประติมากรรมก็มกั จะไป หล่อที่นี่ แกอาสาบอกยินดีช่วยเลยครับ ประติมากรรมชุดนี้ อุปสรรคน่าจะเป็นอุปสรรคทางความ คิดมากกว่า เพราะว่าพอเริ่มท�ำจริงๆ ก็ มีไอเดีย เหมือนเป็นความทะยานอยาก อยากได้โน่นนีม่ ากมาย แล้วความคิดมันไม่ ค่อยตก เป็นอุปสรรคในเรือ่ งตัวผมมากกว่า ส่วนอุปสรรคในเรื่องข้างนอก ไม่มีหรอก เพราะว่าผมไม่ได้ท�ำจ�ำหน่าย แล้วก็ท�ำ เสร็จตามเป้าหมาย ได้โรงหล่อของคุณ ถวัลย์ เมืองช้าง ที่เป็นมือหล่อมือหนึ่ง ในยุคใหม่นี้ หล่ออย่างดี ศิลปินดังๆ ของ

คิดราคาทุน รวมทั้งค่าหล่อ ค่าวัสดุติด ตัง้ เขาอยากจะช่วยท�ำบุญด้วย เป็นช่อง ทางที่เขาช่วยได้ ดังนั้น อุปสรรคคิดว่า ถ้ามีก็มีในส่วนสเก็ตช์แบบ พัฒนาแบบ ว่าจะเอาอย่างนี้ดีไหม ก็อีกใจหนึ่งก็กลัว เหมือนกันว่า ถ้าท�ำไปแล้ว จะมีคนหาว่า หมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือเปล่า เอา ในหลวงมา เอาโคลนมาราดพระองค์ทา่ น หรืออีกประเด็นก็กลัวว่า เอาในหลวงมา เล่นปาหี่หรือเปล่า เอามาแต่งองค์แบบ


ครึง่ หนึง่ ทรงหนุม่ อีกครึง่ หนึง่ ทรงพระชรา ครึ่งหนึ่งทรงชุดกษัตริย์ อีกครึ่งหนึ่งทรง ชุดสามัญแบบบ้านๆ ธรรมดา แล้วยังเอา น�ำ้ เหมือนเอาน�ำ้ โคลนมาราดองค์พระราชา แต่สดุ ท้ายผมก็เลยตัดสินใจว่า เรามีความ บริสุทธิ์ใจ เพื่อถวายพระเกียรติในหลวง แล้วเราไม่ได้ทำ� ตาม order ไม่ได้ท�ำไป ขายใคร ก็คิดว่าเป็นงานประติมากรรม หนึง่ ชิน้ เพือ่ เทิดพระเกียรติพระองค์ทา่ น ไม่ได้ท�ำเป็นอนุสาวรีย์ ไม่น่ามีปัญหา ก็ ตัดสินใจท�ำ คิดหนักอยู่พอสมควร เป็น ปัญหาทางด้านความคิด

ครั้งแรกกับการสร้างสรรค์ ประติมากรรม

อาจจะเรียกว่าเป็นครัง้ ทีส่ อง แต่ถา้ ปั้นหมดก็เป็นครั้งแรก ครั้งแรกผมหล่อ รูปตัวเอง แล้วก็เอามานั่งพรีเซนต์เป็น Interactive painting กับงานศิลปะของ ผม ชื่อชุดว่า แสงสุวรรณภูมิ แสงแห่ง ปัญญา คือ อ้างอิงถึงความคิด แนวทาง ของการสร้างงานศิลปะทีเ่ ป็นภูมปิ ญ ั ญาหนึง่ วิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม ของ AEC ของสุวรรณภูมิ ที่มีอายุมาตั้ง เป็น ๔-๕ พันปี บ้านเชียง บ้านเก่า ที่ แยกออกมาเป็น ๑๐ ประเทศอาเซียน ผมก็เอาเอกลักษณ์ของสุวรรณภูมิ เอา ความหมายของวิธีคิดในการปรับโครง สร้างของสถาปัตย์ เอาความหมายการ ใช้ชีวิตมาประกอบในงาน ครั้งนั้นก็เวิร์ค ในลวดลาย ๑๐ ประเทศ ผมเอามารวม ตัวกัน กลายเป็นภาพชือ่ “แสงสุวรรณภูมิ แสงแห่งปัญญา” จึงเป็นที่มาของงานชุด นั้น หลังจากนั้นก็คือ พัฒนามาเรื่อยๆ จนกลายเป็นท�ำงานถวายพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั พระองค์ทา่ นพระราชทาน นามค�ำว่า สุวรรณภูมิ ทีส่ นามบินสุวรรณภูมิ ท่านมีแนวคิดว่าเมืองไทยเป็นศูนย์กลาง ของอาณาจักรสุวรรณภูมทิ มี่ คี วามรุม่ รวย เป็นประเด็นที่น�ำมาสร้างงานชุดนั้น ต่อ มาก็สร้างงานชุด “๘๙/๗๐/๔๔๔๗+ = ๙ --> ๑๐” ไปด้วย มันก็จะผสมผสานกัน อยู่นะครับ แต่ต้องแยกให้ชัดเจน เพราะ ถ้าคนไม่เข้าใจ ก็อาจจะท�ำให้เข้าใจผิดได้

เหมือนกับโปรโมตให้ในหลวงเป็น King of the King เหนือพระเจ้าสุวรรณภูมิ แต่วา่ พระองค์ท่านท�ำเพื่อแผ่นดินนี้ แผ่นดินนี้ หมายถึงในอาณาจักรขวานทอง หรือจะ มากกว่านั้นก็แล้วแต่ใครจะตีความเอา

ความเหมือนและความแตก ต่างของผลงานต่างประเทศ และไทย ผมคิดว่าในหลักการแล้วไม่แตกต่าง เพราะในงานศิลปะนัน้ ทัง้ ในประเทศและ ต่างประเทศ ทัง้ ในอดีตและปัจจุบนั ทัว่ โลก โครงสร้างของมันประกอบด้วย ๓ ฐาน ได้แก่ Heart คือ ใจ Head คือ ความคิด และ Hand คือ การกระท�ำ เพราะฉะนั้น Heart กับ Head ก็คือ แรงบันดาลใจใน การสร้าง ผมว่าในต่างประเทศเขาอาจ จะมีค�ำบรรยายที่ต่างออกไป แต่เขาก็มี

ความบริสทุ ธิใ์ จในการทีจ่ ะสร้างความเป็น จริง ความจริงใหม่ คือไม่ใช่ความเป็นจริง ความดีใหม่ ก็คอื เป็นความดีทเี่ ป็นทฤษฎี วิธคี ดิ ของเขา ของศิลปินแต่ละคน ตัง้ แต่ อดีตถึงปัจจุบนั ความงามใหม่ ความงาม ทีไ่ ม่ใช่ความสวย ความงามหมายถึงความ งามตามความรู้สึกก็ได้ ความงามในเชิง ความคิด ความงามในเทคนิควิธีการ ใน การประกอบสร้าง voice ความงามใน การประกอบสร้าง element เป็นภาพ นาฏศิลป์ ความงามในการเป็นโครงสร้าง ทีอ่ ยูอ่ าศัย ความงามดีไซน์เสือ้ ผ้าอาภรณ์ ไปจนถึงความงามของการประกอบสัมมา อาชีพ วัฒนธรรม การใช้ชวี ติ ต่างๆ ถ้าพูด เช่นนีแ้ ล้ว ค�ำตอบทีค่ อ่ นข้างยาว ก็คอื ว่า ศิลปินทัว่ โลก ทัง้ ตะวันตกและไทย ไม่ตา่ ง กัน มี Heart Head แล้วก็ Hand มีความดี ความงามที่เหมือนกัน แต่ที่จะมีต่างทาง

17


มาเป็นไทยได้ ไทยก็คอื เราเป็นผูส้ ร้างเอง หรือจะเอา media ของเครือ่ งดนตรีสากล มาผสมกับเครือ่ งดนตรีไทย หรือเอาเครือ่ ง ดนตรีอาเซียนทั้งหมดมาย�ำรวมกัน แต่ ถามว่าเพลงชุดนัน้ ภาพเขียนชุดนัน้ งาน ศิลปกรรมชุดนั้น มันจะบอกเป้าหมาย อะไร บอกเลือดเนื้อ บอก spirit อะไร อันนี้ผมพูดในภาพรวมนะ

มุมมองถึงมิวสิ กมิวเซียม อุษาคเนย์

รูปแบบลัทธิกค็ อื วิธคี ดิ ในการสร้างทฤษฎี โน่นนีน่ นั่ ขึน้ มา เป็นรูปแบบขึน้ มา เราก็มี วิธคี ดิ ของเรา มีสนุ ทรียะของคนในเอเชีย หรือในสุวรรณภูมิ มีหลักคิดหลักปฏิบัติ ซึ่งจากที่ผมท�ำงานมานานมาก ผมขอ ยืนยันว่า มันไม่มีอะไรที่ต่างกัน มันคือ จุดเดียวกัน ความงาม ความจริง ความดี มันเป็น unity เป็นเอกภาพ อยูท่ ไี่ หน ฟัง ดู เห็น มอง ถ่ายทอด เข้าใจ ว่าอันนี้ สวย อันนี้งาม ต้องเหมือนกัน อาจจะ เป็นความสวยงามของคนในยุโรป คนใน อเมริกา คนในแอฟริกา คนในสุวรรณภูมิ คนสุวรรณภูมิเองก็อาจจะมีอะไรที่ไม่ได้ เหมือนกันเป๊ะ เขาเรียกว่า หนึง่ วิสยั ทัศน์ คือ วิสยั ทัศน์รวมๆ เป็นอย่างไร หนึง่ อัตลักษณ์ อัตลักษณ์รวมๆ เป็นอย่างไร หนึง่ ประชาคม ประชาคมรวมๆ เป็นอย่างไร มันก็เหมือนกัน แต่ทงั้ หมดก็ประชาคม วิสยั ทัศน์ อัตลักษณ์ ระเบิดออกมาแล้วคนทั่วโลกเขาจะได้ดู อ๋อ มันมีความหมายนะ มีความงามนะ มี ความดี มีความจริง มีสนุ ทรียะในแบบของ มัน คราวนี้ ถ้ามีความคิดทีเ่ หมือนกันแล้ว สิง่ ทีจ่ ะต่างก็คอื media ทีจ่ ะใช้ รูปลักษณ์ อะไรบางอย่างทีจ่ ะใช้เรียกว่า Hand เรียกว่า

18

Process เพราะฉะนั้น Hand Process จริงๆ มันต่างกันแน่นอน แต่ความ เป็นสากลหรือว่าความเป็นไทย คือตัว เดียวกันแน่นอน ถ้าเรามีความระเบิดจาก ภายใน ที่ผมท�ำงานชุดในหลวงนั้น ผม ไม่สนใจ เพราะว่าผมมีความบริสุทธิ์ใจก็ คือ มโนคติ คือความคิดในใจ มโนภาพ คือภาพในใจ และมโนส�ำนึก ก็คือการ วิเคราะห์สังเคราะห์ในใจ จนออกมา เป็นมโนทัศน์ เป็น Concept แล้วก็เป็น แนวคิด แล้วก็เกิดเป็น Process ในการ กระท�ำ คือ Heart เยอะมากเลย Heart กับ Head ส่วน Hand นี่มาทีหลัง Hand เป็น Process นีค่ อื ความเชือ่ ของผม ถ้า เป็นเช่นนีแ้ ล้ว ผมคิดว่ามันเหมือนกันทัว่ โลก ต่างกันที่ Process วิธกี ารท�ำ ซึง่ วิธี การท�ำก็ไม่นา่ เป็นเหตุปจั จัยทีม่ าคุกคาม ว่า คนที่มี Heart มี Head ที่บริสุทธิ์ มี อัตลักษณ์ มีตวั ตนทีช่ ดั เจน หยิบ media อะไรขึ้นมาท�ำก็ได้ จะท�ำเรื่องของดนตรี สักชิ้นหนึ่ง หรืออาจจะเล่นใช้เปียโน ใช้ ไวโอลิน ใช้เครื่องดนตรีที่เป็นสากล เป็น ตะวันตกก็ได้ แต่เราสามารถเอามาแสดง ด้วย Spirit ด้วย Heart ด้วย Head ออก

ผมยังไม่ได้เข้าไปเลย ผมออกแบบ เสาให้เขาไว้ตน้ หนึง่ จนอาจารย์สกุ รี (รอง ศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข) บอกว่า เนีย่ ไม่เคยโผล่มาเยีย่ มเยียน ผมบอก ถ้า ให้ผมเยี่ยม ต้องหาเหตุ ถ้ามาบอกปกติ แล้วผมไม่มีเวลา ผมผ่านตลอดแหละ ไปนครปฐม เพราะศิลปากรเขาย้ายไป อยู่นครปฐม ซ่อมเสร็จแล้วก็จะกลับมา ที่นี่ ขับผ่านไปก็นั่งมอง ไม่ได้เข้าไป ผม ก็บอกอาจารย์สุกรีไปว่า หาเหตุให้ผม เข้าไปสิ ผมจะเข้าไป ส่วนมุมมองต่อมิวเซียมที่อาจารย์ สุกรีทำ� นัน้ ดีอยูแ่ ล้ว ดีมากๆ ผมเองก็ได้ รับเกียรติให้งานศิลปกรรมหนึง่ ชิน้ ในสาย ทัศนศิลป์ไปร่วมแสดงอยู่ด้วย เริ่มช่วย อาจารย์สุกรีตั้งหลายโปรเจกต์ ผมถือว่า งานศิลปกรรมต้องบูรณาการกัน ต้องร่วม ด้วยช่วยกัน ต้องใช้วิธีข้ามศาสตร์ ต้อง แชร์กนั ผมว่าดีแน่นอน แล้วหอศิลป์หรือ ว่าพิพธิ ภัณฑ์ทมี่ รี ปู แบบอย่างนี้ เพราะว่า มันไม่ได้เป็นหอศิลป์ เป็นพิพธิ ภัณฑ์ทที่ าง ฝรั่งหรือทางอเมริกาเขาคิดอย่างเดียว ผมจึงอยากให้เป็นอีกแบบหนึ่ง เป็นหอ ศิลป์ที่อยู่กับบ้าน อยู่กับชุมชน เป็น life style หอศิลป์ทเี่ มืองไทยมีเยอะมาก แต่ ว่ากระทรวงวัฒนธรรมหรือคนเขาไม่เข้าใจ บอกว่าคิดจะท�ำหอศิลป์ตอ้ งคิดเป็นแบบแผน ส�ำเร็จรูป แบบที่ต่างประเทศคิด วิธีต่าง ประเทศไม่ผิด ที่เขาเป็นอย่างนั้นเพราะ เขาไม่สามารถมีแหล่งผลิตงานได้ ดังนั้น หอศิลป์ที่มีอยู่ในพื้นที่ทั่วประเทศไทย ที่ มีความเป็น life style เป็นชีวิต อันนั้น เป็นหอศิลป์อกี แบบหนึง่ อย่างพิพธิ ภัณฑ์


นั้น เพราะฉะนั้น ๙ องค์ที่ผมได้ชี้แจง ไป ที่ศูนย์ศิลป์ แสงธรรมสุวรรณภูมิ จรัญสนิทวงศ์ ๑๓ ที่เชียงราย ที่งาน กาชาด ที่มหิดล ไม่เหมือนกันเลย วิธี น�ำเสนอระเบิดเถิดเทิงเลย ตามใจชอบ มีสิทธิ์ที่จะท�ำอะไรก็ได้ เพราะนั่นเป็น งานประติมากรรม เราสามารถคิดฐาน คิดอะไรได้เอง

ข้อความถึงผู้อ่าน

ทีม่ หาวิทยาลัยมหิดลทีอ่ าจารย์สกุ รีทำ� ก็ ดี life style ของชีวิตก็คงไม่ใช่เอาโน้ต เพลงมาตัง้ แห้งๆ แต่ตอ้ งท�ำให้เห็นว่าเด็ก ท�ำงาน ประพันธ์งานดนตรี เล่นดนตรี แสดงดนตรี ศิลปินทางด้านมัณฑนศิลป์ ที่ออกแบบ คิด ท�ำ และสร้างรูป ตรงนี้ ต้องแสดงให้เห็น ไม่ใช่เป็นแบบส�ำเร็จรูป แล้วไปติดไว้ ไม่ได้เป็นเพลงส�ำเร็จรูปแล้ว เปิดเป็นเทปเพลงแห้งๆ ไว้ใช่ไหม อันนี้ ผมถึงเห็นด้วย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ดีมากๆ

ความคิดเห็นต่อประติมากรรม ทีจ่ ะน�ำมาติดตัง้ ไว้ทก ี่ ลางน�้ำ บริเวณด้านหน้ามิวสิกมิวเซียม อุษาคเนย์

ก็ดี ผมบอกว่า ประติมากรรมหนึ่ง ชิน้ ไม่ใช่อนุสาวรียน์ ะ ประติมากรรมชิน้ นี้ ผูท้ ซี่ อื้ ไป ผูท้ รี่ บั อนุเคราะห์ไป อยากเอาไป โชว์ทไี่ หนได้เลย ให้สมพระเกียรติ เหมาะ กับคอนเซปต์ แล้วแต่ไอเดียของเจ้าของ เจ้าของบ้านหลังนั้น หรือเจ้าของพื้นที่

อยากจะฝากว่า ผมคิดว่างาน ศิลปกรรมชุดนี้ ๑๑๑ ชิน้ และประติมากรรม ชิน้ สรุป ชิน้ ที่ ๑๐๙ นี้ เป็นเพียงความรูส้ กึ ของศิลปินคนหนึง่ หรือคนไทยคนหนึง่ ที่ รับรู้ ศรัทธา เข้าใจ เข้าถึง ในพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ก็อยากจะบอกให้มาช่วยกัน พินจิ พิจารณาผลงานชุดนี้ ว่าน่าจะเป็นตัว กระตุน้ เตือนให้เราเห็นว่าในหลวงรัชกาล ที่ ๙ ท่านสั่งท่านสอนท่านท�ำอะไรไว้บน แผ่นดินนีจ้ นมากมาย ทัง้ สัง่ ทัง้ สอน ทัง้ ท�ำ สั่ง-สอน-ท�ำ จนเกิดเป็นวิธีการท�ำงานที่ เป็นระบบ ๒๓ วิธที ที่ า่ นทรงงาน รูปแบบ ของกิจกรรมทีเ่ ป็นโครงการถึงกว่า ๔,๔๔๗ โครงการที่ยังประโยชน์แก่คนทั่วแผ่นดิน สยามตลอดระยะเวลา ๗๐ ปีทที่ รงครอง ราชย์ ผมอยากจะกราบเรียนว่า น่าจะให้ เข้าใจเข้าถึงที่พระองค์ได้ท�ำไว้ และช่วย กันสานต่อ สานต่อสิ่งที่พระองค์ได้ถาง ไว้แล้ว ให้โครงการเหล่านี้ไม่ได้สูญเปล่า หายไปพร้อมกับพระชนม์ชพี ของพระองค์ ท่าน และยังมีการน�ำมาสานต่อ มาสืบ ต่อ เพื่อให้สิ่งเหล่านี้มันมีมรรค มีผล มี คุณปู การกับตัวท่านเอง ตัวคนไทยทุกคน กับประเทศชาติของเรา ถ้าท่านน�ำหลัก คิด แนวคิด หลักปฏิบัติ แนวปฏิบัติ ที่ พระองค์ท่านพระราชทานทั้งสั่งทั้งสอน ทั้งอบรมมาสืบสานต่อ น่าจะท�ำให้เมือง ไทยก้าวข้ามยุคที่เป็นยุคถิ่นกาขาวสู่ยุค ชาววิไลแน่นอน

19


Review

เทศกาลดนตรีอมตะสยาม: การน�ำเสนอดนตรีพ้ืนบ้านในมิติใหม่ เรื่อง: ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน (Dhanyaporn Phothikawin) อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาดนตรีศึกษา และภัณฑารักษ์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เท

ศกาลดนตรีอมตะสยาม (Siam Living Music Festival 2018) จัดขึ้นในวันที่ ๒๖-๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล เป็นโครงการทีว่ ทิ ยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึน้ ร่วมกับกระทรวง วัน / เวลา

การท่องเทีย่ วและกีฬา เพือ่ เปิดโอกาสให้นกั ดนตรีและศิลปินพืน้ บ้านทีป่ ระกอบอาชีพ โดยอาศัยฝีมอื และความสามารถทางดนตรี เป็นหลัก ได้น�ำเสนอความเป็นตัวตน ได้ สร้างผลงานที่ยอดเยี่ยม โดยการน�ำอดีต มารับใช้ปจั จุบนั และสร้างผลงานใหม่ให้เกิด สถานที่

วันจันทร์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. หอแสดงดนตรี (MACM)

ขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมเพื่อพัฒนา วงการดนตรีในประเทศไทย ทัง้ ในด้านการ แสดงและด้านวิชาการ โดยการน�ำเสนอ ศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ซึ่งในงาน เทศกาลดนตรีอมตะสยามได้มีการแสดง ที่หลากหลายตามวันและเวลาดังต่อไปนี้

รายการแสดง รัสมี อีสานโซล (Rasmee Isan Soul)

วันอังคารที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น. หอแสดงดนตรี (MACM) คณะเจิมศักดิ์ ส.บัวสวรรค์ เวลา ๑๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. หอแสดงดนตรี (MACM) คณะตั้ม เศกศิลป์ พูลทรัพย์ วันพุธที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. หอแสดงดนตรี (MACM) วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๖.๐๐-๑๖.๓๐ น. หอแสดงดนตรี (MACM) เวลา ๑๖.๓๐-๑๗.๐๐ น. หอแสดงดนตรี (MACM) เวลา ๑๗.๐๐-๑๗.๓๐ น. หอแสดงดนตรี (MACM) เวลา ๑๗.๓๐-๑๘.๐๐ น. หอแสดงดนตรี (MACM) วันศุกร์ที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๔.๐๐-๑๖.๐๐ น. ศาลาครูมีแขก เวลา ๑๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. เรือนศิลปิน

วงรัตนคีตนาฏยการ คณะจงกล โปร่งน้ําใจ คณะวาสนานาฏศิลป์ คณะวันดีนาฏศิลป์ ลูกสาวครูพูน เรืองนนท์ คณะธิดาพรหมสุวรรณ คณะดุริยกวี คณะโนราธรรมนิตย์สงวนศิลป์

วันเสาร์ที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๖.๐๐-๑๘.๐๐ น. อาคารมหิดลสิทธาคาร คณะทวีป-ชัยณรงค์ วงศ์เทวัญ

62


รัสมี เวระนะ

รัสมี อีสานโซล

การแสดงในวันนี้ ได้เชิญวงของคุณ รัสมี เวระนะ หรือทีร่ จู้ กั กันในนาม “รัสมี อีสานโซล” คุณรัสมีกำ� เนิดมาในครอบครัว ที่มีพ่อเป็นนักแต่งเพลงและนักดนตรี เจรียงกันตรึม ท�ำให้มพี นื้ ฐานในด้านของ ภาษาเขมรและอีสาน ซึ่งการแสดงที่น�ำ มาแสดงในเทศกาลดนตรีอมตะสยามนัน้ เป็นการร้องเพลงในภาษาเขมรและเพลง หมอล�ำอีสาน โดยน�ำเสนอการร้องในแบบ เพลงสมัยนิยมผสมแนวแจ๊ส ประกอบกับ การบรรเลงกีตาร์ โดยคุณสาธุการ ทิยาธิรา มือกีตาร์คู่ใจ จึงท�ำให้บทเพลงที่น�ำมา แสดงเป็นการแสดงที่ผสมกลมกลืนทาง วัฒนธรรมกันได้อย่างลงตัว ซึ่งบทเพลง ของวงรัสมี อีสานโซล นั้นเป็นบทเพลง ทีม่ คี วามหมาย บางบทเพลงเป็นวิถชี วี ติ ของคนในเมืองและคนในชนบท บางบทเพลง เกิดจากการได้ไปพบเห็นสิ่งใหม่ที่เป็น

ประสบการณ์ จึงถ่ายทอดสิ่งที่พบเจอ เหล่านั้นออกมาเป็นเพลง จนเกิดเป็น ความไพเราะ เป็นความสร้างสรรค์ของ บทเพลง ดังนี้ เด็กหญิง เพลงนีเ้ ป็นเพลงทีเ่ ล่าถึงความแตกต่าง

ของคนในเมืองและคนในชนบท ผ่านเรือ่ ง ราวของเด็กผูห้ ญิงสองคนทีเ่ ป็นพีน่ อ้ งกัน เด็กหญิงทัง้ สองซึง่ จบ ป.๖ แล้วไม่ได้เรียน ต่อ ต้องออกมาช่วยทางบ้านท�ำงานหาเงิน จุนเจือครอบครัว โดยพวกเธอมีความ กลัวอยู่หนึ่งอย่าง คือ รถโรงเรียน เมื่อ

รัสมี อีสานโซล

63


คุณสาธุการ มือกีตาร์ วงรัสมี อีสานโซล

รถโรงเรียนก�ำลังมุ่งหน้ามาทางที่เธอทั้ง สองก�ำลังหาบน�ำ้ กลับบ้าน พวกเธอจะวิง่ หลบซ่อนข้างทางเพือ่ ให้รถโรงเรียนผ่านไป ก่อน พร้อมกับความสงสัยว่า ท�ำไมพวก เธอจึงไม่ได้อยู่ในรถโรงเรียนนั้น มายา บทเพลงนีแ้ ต่งขึน้ เพือ่ ผูห้ ญิง ผูห้ ญิง ทีห่ ลงเข้าไปในสภาพทีต่ อ้ งทรมานเพราะ โดนมายาเข้าครอบง�ำ ผู้หญิงที่ต้องการ มีชอื่ เสียง มีบา้ น มีรถ และต้องการครอบ ครองวัตถุนอกกายที่มีค่ามาเป็นของตน โดยเอาตัวเข้าแลกเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งของ เหล่านั้น บทเพลงนี้มีเพียงตัดพ้อต่อว่า ว่าสิ่งที่ท�ำถูกหรือผิด แต่บทสรุปสุดท้าย อยากให้ผู้หญิงที่ก�ำลังหลงอยู่ในมายา เห็นถึงคุณค่าความงามของจิตวิญญาณ ที่แท้จริงของตนเอง ความงามและความเหงา เพลงนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากการ ที่ผู้แต่งอยู่บนเครื่องบนที่ก�ำลังบินข้าม มหาสมุทรอันกว้างใหญ่ และได้สังเกต เห็นก้อนเมฆก้อนหนึง่ ทีล่ อยอยูอ่ ย่างโดด เดีย่ ว เป็นความโดดเดีย่ วทีท่ ำ� ให้ผพู้ บเห็น รู้สึกถึงความเหงา แต่ก้อนเมฆที่ลอยอยู่ ก้อนเดียวนั้น ก็มีความงามซ่อนอยู่ เป็น ความงามและความเหงาในขณะเดียวกัน อันก่อให้เกิดช่วงเวลาที่เป็นสุข ซึ่งยากที่ จะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจ

64

เก็บไว้ด้วยปลายปากกา เพลงนี้รัสมีได้เล่าถึงอารมณ์ในช่วง ที่เธอนั่งรถไฟกับแฟนของเธอจากเมือง เซวีญ่า ประเทศสเปน มายังกรุงมาดริด โดยที่มีคุณแม่ของแฟนมาส่งที่สถานี รถไฟ ในขณะทีร่ ถไฟก�ำลังเคลือ่ นออกจาก ชานชาลาอย่างช้าๆ แฟนของเธอก็ได้เห็น ว่าแม่ของตนยืนดูรถไฟจนหายลับไปกับ ตา เธอรับรู้ถึงความเศร้าที่เกิดขึ้น แต่ใน ขณะเดียวกัน บรรยากาศภายนอกรถไฟ ก็งดงามราวภาพวาดอิมเพรสชันนิสม์ เนือ่ งจากตลอดทัง้ สองข้างทางถูกแต่งแต้ม ด้วยสีสนั ของดอกไม้นานาพันธุ์ พร้อมกับ แสงยามเย็นของฤดูใบไม้ผลิ สุดท้ายรถไฟ ก็มาถึงปลายทาง และชีวิตของทุกคน ก็ต้องด�ำเนินต่อไป เธอจึงได้เพียงเก็บ ความรู้สึกนี้ไว้ด้วยปลายปากกา บาป-บน เพลงนีเ้ ป็นเพลงภาษาเขมร เขียนโดย คุณพ่อของรัสมี ซึง่ มุง่ หมายให้คนรุน่ หลัง ได้ตระหนักถึงบาปบุญคุณโทษ และอยาก ให้เห็นความส�ำคัญของศาสนาทีส่ ามารถ น�ำมาใช้ในการด�ำเนินชีวิตได้ อ้ายอยู่ไส ในยุคของเขมรแดง ผู้คนมากมาย ถูกกวาดต้อนออกจากเมืองเพื่อไปท�ำนา การที่คนรักต้องพลัดพรากจากกันเป็น สิ่งที่เกิดขึ้นในยุคนั้น และขณะแต่งเพลง นี้ รัสมีเห็นภาพขาวด�ำตลอดเวลา เป็น ภาพของผู้หญิงยืนคอยสามีหรือคนรัก และพร�่ำพรรณนาถึงสิ่งเรียบง่ายที่เคย ท�ำด้วยกัน ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ท�ำในชีวิต ประจ�ำวัน เช่น การท�ำอาหารรอสามี ในเพลงมีประโยคที่ว่า “น้องแกงแมวไว้ ท่าพี่” มิได้มีเจตนาจะส่งเสริมให้คนฆ่า แมว หรือถึงแม้ว่ามีเจตนาอย่างนั้น ก็ คงไม่มีใครท�ำอย่างนั้นแน่ในยุคปัจจุบัน แต่การฆ่าแมวเป็นอาหารนัน้ เกิดขึน้ จริง ในชนบทที่ติดชายแดนเขมรบ้านเกิดของ รัสมี จึงอยากถ่ายทอดประสบการณ์จริง ที่เกิดขึ้นเท่านั้น ล�ำดวน ล�ำดวนเป็นผูห้ ญิงทีเ่ ศร้าทีส่ ดุ ทีร่ สั มี เคยรูจ้ กั ล�ำดวนต้องทุกข์ทรมานจากชาย

คนรัก ที่บางครั้งเขาพาผู้หญิงมานอนที่ บ้าน ทัง้ ๆ ทีล่ กู เมียก็อยู่ บางครัง้ ล�ำดวน ก็ได้ไปขอภรรยาคนใหม่ให้กบั สามีตนเอง เธอทุกข์ทรมาน และเสียชีวติ ตอนอายุ ๔๒ ปี เพราะตรอมใจ ในช่วงชีวิตวัยเด็กของ รัสมีนนั้ ได้มโี อกาสอยูก่ บั ยายล�ำดวนไม่กี่ ปีกอ่ นท่านจะเสียชีวติ เนือ้ หาของเพลงไม่ ได้เอ่ยแค่ความเศร้าของล�ำดวนเพียงอย่าง เดียว แต่ยังแสดงถึงความแตกต่างของ ผู้ชายและผู้หญิงในยุคนั้น เรื่องราวเกิด ขึ้นในชนบทห่างไกลความเจริญ หรือที่ หลายๆ คนเรียกว่า บ้านนอก เพลงรักของบุญเริญ หลายปีแล้วที่ได้ฟังเพลงนี้ครั้งแล้ว ครั้งเล่า เป็นบทเพลงของชายคนหนึ่งที่ เขียนถึงคนรักของเขา ซึ่งคนรักของเขา นั้นจากบ้านนอกเข้าไปท�ำงานในเมือง กรุง และเขาสัญญากับเธอว่าจะกลับมา สู่ขอเธอ แต่สุดท้ายเขาก็ลืมสัญญาที่ว่า เดิมทีนั้นเพลงนี้เป็นเพลงของผู้ชายแต่ง ให้ผู้หญิง แต่รัสมีได้เปลี่ยนแปลงเพลงนี้ ให้เป็นจากหญิงถึงชาย ตอนที่ผู้ชายคน หนึ่งแต่งเพลงนี้ เขาไม่ได้เขียนชื่อเพลง ไว้ คนแต่งชื่อ นายบุญเริญ เพลงนี้เลย ได้ชื่อว่า เพลงรักของบุญเริญ ผู้ชายคน ที่ว่านี้ คือ พ่อของรัสมีเอง สวยไท เพลงนีร้ สั มีได้แรงบันดาลใจมาจาก เพื่อนคนหนึ่งที่มาขอให้ช่วยแต่งเพลงให้ งานวิจัยที่ตนก�ำลังศึกษา เรื่องเกี่ยวกับ การใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อให้ผิวขาวในกลุ่มวัย รุน่ ซึง่ มีผลข้างเคียงทีเ่ ป็นอันตราย เพลง นีไ้ ม่ได้ตอ้ งการทีจ่ ะบอกว่าผิวสีไหนดีกว่า กัน แต่ตอ้ งการให้เห็นว่า แต่ละคนมีอสิ ระ (ไท) ที่จะสวยในแบบของตนเอง จะผิว สีไหนก็สวยได้ โดยในเพลงได้หยิบยกผิว สีขาวเทรนด์เกาหลีมาใช้ในการบอกเล่า เรื่องราวนี้ เด้อนางเด้อ เพลงนี้เป็นเพลงของต่าย อภิรมย์ เพื่อนของรัสมี ซึ่งวงรัสมีได้น�ำมาเล่นสด ในแบบฉบับของตนเองบ่อยครัง้ พร้อมทัง้ ให้เครดิตว่าเป็นเพลงของต่าย อภิรมย์ ทุก ครั้งที่เล่น และตนไม่ใช่เจ้าของเพลง ไม่


ได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ใดๆ ขอกันมาเล่นแบบ เพื่อนกัน เพลงนี้เล่าถึงสาวอีสานเมื่อมา อยู่เมืองกรุงก็ไม่อยากที่จะพูดภาษาบ้าน เกิดของตน พยายามพูดไทยกลาง ซึง่ ท�ำ ให้หนุ่มๆ ที่รู้จักกันฟังแล้วรู้สึกระคายหู และดูวา่ สาวเจ้านัน้ จะพยายามมากเกินไป เลยอยากจะบอกว่า เจอกันพูดกันก็อย่า ลืมพูดภาษาบ้านเรา (เด้อ) นะ รัสมีได้นำ� มาร้องในแบบทีผ่ หู้ ญิงต้องการบอกผูช้ าย ย่านหลาย เพลงนี้เป็นเพลงแอฟริกันที่รัสมีได้ น�ำมาเล่นสดอยู่หลายครั้ง โดยได้แต่ง เนื้อร้องเข้าไปใหม่ ซึ่งมีทั้งภาษาอีสาน และเขมร รวมทั้งดัดแปลงท�ำนองดนตรี หลายอย่าง ย่านหลายเป็นภาษาอีสาน แปลว่า กลัวมาก ในเนื้อเพลงหญิงสาว ได้พดู ว่า ใหม่ๆ พีก่ ม็ าหาน้อง แต่พอนาน ไป น้องก็กลัวว่าพีจ่ ะลืมน้อง แล้วเปลีย่ น ใจไปมีคนใหม่

เมืองชุดด�ำ เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ รัสมีได้มโี อกาส ไปแสดงคอนเสิร์ตในเมืองปารีส คนส่วน ใหญ่ใส่ชดุ ด�ำ เดินทางไปไหนมีแต่แจ็กเกต ด�ำเต็มไปหมด จึงเกิดแรงบันดาลใจกลับ มาแต่งเพลงเมืองชุดด�ำ “สีวนั ใหม่เข้ามา แล้ว จงอย่าเศร้า ขอให้เมืองนี้เปิดใจรับ สีสัน และจังหวะใหม่ๆ ที่พึงข้ามน�้ำข้าม ทะเลมา จงมารืน่ เริงและเต้นร�ำกับฉันเถอะ เมืองชุดด�ำ เด้อ เด้อ อ้ายเด้อ” อารมณ์ เพลงอารมณ์เป็นเพลงที่พูดถึง อารมณ์ล้วนๆ เป็นอารมณ์ของผู้หญิงที่ จะขึ้นๆ ลงๆ โดยไม่ต้องมีเหตุผล เมื่อ เธอเจอสายลมและแสงแดดในยามเช้า ณ หาดทรายขาวของทะเลสีฟา้ ใส เธอก็เต็ม ไปด้วยความรืน่ รมย์ ตกบ่ายมาอารมณ์ก็ แปรเปลีย่ น อาจเป็นด้วยอากาศทีร่ อ้ นระอุ กลายเป็นความเกรีย้ วกราดทีท่ ำ� ร้ายจิตใจ

ของคนทีเ่ ธอรัก โดยทีเ่ ธอควบคุมมันไม่ได้ เพลงนีร้ สั มีตอ้ งการให้ผฟู้ งั ตีความของค�ำ ว่า “อารมณ์” ตามแต่ที่ตนรู้สึก การแสดงของวงรัสมีนั้น เป็นการ สร้างสรรค์บทเพลงผ่านท่วงท�ำนองที่มี ความหลากหลาย ไม่ลมื ความเป็นรากเหง้า วัฒนธรรมของตนเอง ทัง้ แบบเก่าและใหม่ จนเกิดเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมทาง ดนตรีที่ส่งผลให้วงรัสมีเป็นวงดนตรีที่มี เอกลักษณ์เป็นของตนเอง และเป็นวงที่ ได้รบั การกล่าวถึงเป็นอย่างมากในปัจจุบนั

คณะเจิมศักดิ์ ส.บัวสวรรค์

คณะเจิมศักดิ์ ส.บัวสวรรค์ น�ำโดย ณรงค์เดช เชื้อเมืองพาน หรือ “แมน บ้านบัว” เป็นนักสีซอเขมร อยู่ที่ต�ำบล จระเข้มาก อ�ำเภอประโคนชัย จังหวัด บุรรี มั ย์ ณรงค์เดช เชือ้ เมืองพาน เคยเข้า ประกวดเยาวชนดนตรีแห่งประเทศไทย

คณะเจิมศักดิ์ ส.บัวสวรรค์

65


อนุรักษ์ลิเกไทยเพื่อสืบสานให้ลูกหลาน ต่อไป นอกจากนี้ยังให้ความส�ำคัญกับ การอนุรักษ์ฉากลิเกที่ท�ำมาจากผ้า แล้ว ใช้การลงสีนำ�้ จนเป็นเรือ่ งราวต่างๆ ซึง่ ใน ปัจจุบนั หาดูได้ยากและค่อยๆ สูญหายไป จึงส่งผลให้ตมั้ เศกศิลป์ พูลทรัพย์ ได้รบั การขนานนามว่า “พระเอกนักพัฒนา ราชา ๑๐๐ ฉาก” ฉากแต่ละฉากบรรจงวาดได้

คุณแม่เพชรวิไล เพชรเยาวชน และนายภูมิภาค เพชรเยาวชน

ในระดับมัธยมศึกษา ที่จัดโดยวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ได้กอ่ ตัง้ วงมโหรีของอีสานใต้ โดยรับงาน ที่เกี่ยวกับพิธีกรรม พิธีของหมอผี เพื่อ เสริมความขลัง และการแสดงเพื่อความ บันเทิง การแสดงทีน่ ำ� มาแสดงในครัง้ นี้ ได้ น�ำการแสดงเกีย่ วกับพิธเี รียกขวัญคูบ่ า่ วสาว ซึ่งจะมีการเรียกขวัญ หลังจากนั้น จะเป็นการเฉลิมฉลองด้วยเพลงกันตรึม โดยเพลงมงคลจองได เพลงประซอง

ลิเก คณะตั้ม เศกศิลป์ พูลทรัพย์

66

เพลงกัจประตวล และเพลงซาปรุดาน รวม ทั้งได้เชิญคุณแม่เพชรวิไล เพชรเยาวชน และนายภูมิภาค เพชรเยาวชน ศิลปิน พื้นบ้านที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาร่วมแสดง ในครั้งนี้ด้วย

้ เศกศิลป์ พู ลทรัพย์ คณะตัม

ลิเก คณะตั้ม เศกศิลป์ พูลทรัพย์ เป็นคณะลิเกทีก่ อ่ ตัง้ ขึน้ มาจากความรักใน การแสดงลิเก และความต้องการในการ

ตั้ม เศกศิลป์ พูลทรัพย์


อ้อม มณีรัตน์ รัตนัง

อย่างวิจิตรพิสดารเหมือนจริง ปัจจุบัน คณะตั้ม เศกศิลป์ พูลทรัพย์ แสดงอยู่ ที่วัดโบสถ์ดอนพรหม จังหวัดนนทบุรี ส�ำหรับการแสดงในเทศกาลดนตรีอมตะ สยาม ได้คัดเลือกบทละครเรื่องต�ำนาน ชาละวัน ตอนปราบไกรทอง มาแสดง ซึง่ การแสดงในครัง้ นีเ้ ป็นการแสดงทีผ่ สม ผสานความเป็นลิเกในแบบดัง้ เดิมเข้ากับ ลิเกในยุคสมัยใหม่ได้อย่างกลมกลืน

แสดงอันมีค่านี้สู่ช่างซอรุ่นใหม่ รวมทั้ง การน�ำเอาศิลปะการแสดงแบบดัง้ เดิมมา บรรเลงร่วมกับดนตรีสมัยใหม่ เพื่อปรับ ให้ของเก่าสามารถด�ำเนินอยู่ในทุกช่วง ชีวิตของคนล้านนาในยุคใหม่ได้ ทั้งยัง น�ำเสนอพัฒนาการของเพลงซอพื้นบ้าน ที่ได้น�ำมาปรับให้เป็นบทเพลงร่วมสมัย ประกอบการฟ้อนร�ำที่อ่อนช้อย อันเป็น

เอกลักษณ์ที่งดงามของชาวล้านนา การแสดงในรายการแรก พ่อครูแม่ครู ได้มาขับขานเพลงซอพืน้ บ้าน เพือ่ ให้เห็น ถึงศิลปะการแสดงอันทรงคุณค่า เป็นการ ขับซอในท�ำนองตัง้ เจียงใหม่ จักปุ ละม้าย เงีย้ ว อือ่ และพม่า โดยมีเนือ้ หาเกีย่ วกับ สังคมในยุคปัจจุบันว่ามีความแตกต่าง จากโบราณอย่างไร และได้บรรยายถึง

วงรัตนคีตนาฏยการ

วงรัตนคีตนาฏยการ เป็นวงดนตรีที่ รวมเอาศิลปินพืน้ บ้านทีม่ ชี อื่ เสียง น�ำโดยพ่อ ครูบญ ุ ศรี รัตนัง แม่ครูลำ� จวน เมืองพร้าว พ่อครูอุ่นเรือน หงส์ทอง พ่อครูเรวัฒน์ พรหมรักษ์ พ่อครูอานนท์ หล้าบุญมา ครู เสน่ห์ เสาร์แก้ว อ้อม รัตนัง (ศิลปินล้านนา ร่วมสมัย) ร่วมกับวงก้องฟ้าลายเมือง และช่างฟ้อนสาวงามล้านนา ซึ่งการ แสดงในชุดนี้ เป็นการน�ำเสนอการแสดง ในแนวคิด “ใหม่ก่เอา เก่าก่บ่าละ” รับ ฟังการขับขานเพลงซอพื้นบ้านผ่านช่าง ซอรุ่นบรมครู และการส่งต่อศิลปะการ

พ่อครูบุญศรี รัตนัง แม่ครูล�ำจวน เมืองพร้าว

67


คณะจงกล โปร่งน�้ำใจ

วัฒนธรรมล้านนาที่จะส่งต่อให้ลูกหลาน ในรุ่นหลัง การแสดงล�ำดับต่อไปเป็นการ ขับซอร่วมสมัยกับวงก้องฟ้าลายเมือง ซึง่ เป็นการรวมวงกันระหว่างวงปีพ่ าทย์พนื้ เมือง คือ วงก้องฟ้าล้านนา และวงเครื่องสาย ล้านนา คือ วงลายเมือง โดยมีศลิ ปินช่าง ซอของล้านนาอีกสองคนมาร่วมขับซอ ประกอบกับดนตรีล้านนาร่วมสมัยด้วย นั่นคือ ชลธิศ แสนศรี หรือชื่อในวงการ ว่า จั๋นติ๊บ จ๋อมตอง ช่างซอหนุ่มรุ่นใหม่ ไฟแรงทีม่ ากด้วยความสามารถและมีใจรัก ในศิลปะการขับขานล้านนา และสุพรรณี ดวงแก้ว หรือชื่อในวงการว่า น้องพรรณี แม่แต๋ง ช่างซอสาวชือ่ ดังแห่งล้านนา เป็น ผูข้ บั ในท�ำนองจักปุ ท�ำนองละม้าย ท�ำนอง เงี้ยวเสเลเมา และท�ำนองพม่า

คณะจงกล โปร่งน�้ำใจ

คณะจงกล โปร่งน�้ำใจ เป็นคณะ ละครชาตรีในย่านถนนหลานหลวง คณะ จงกล โปร่งน�ำ้ ใจ เกิดในตรอกละคร แต่สบื

68

เชือ้ สายละครชาตรีมาจากตระกูลอากาศ โปร่ง ทีอ่ พยพมาจากพัทลุง ในช่วงรัชกาล ที่ ๖ และจากทางปู่ย่า ซึ่งมาจากอ�ำเภอ ท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ รับงานประจ�ำเป็นละครร�ำแก้บนที่ศาล ท่านท้าวมหาพรหม (โรงแรมเอราวัณ ย่านราชประสงค์) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จวบจนปัจจุบนั ซึง่ การร�ำละครชาตรีของ คณะนัน้ มีทงั้ ทางดัง้ เดิมแบบทางใต้ และ ทางฝ่ายที่ปรับเป็นละครนอกของภาค กลางแบบพระนครศรีอยุธยา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้ตั้งคณะละครขึ้น จึงเริ่ม รับงานร�ำละครแก้บนที่ศาลพระพรหม เอราวัณ รวมทั้งปรับการร�ำเป็นละคร ชาตรีเครื่องใหญ่ การแสดงละครชาตรีของคณะจงกล โปร่งน�ำ้ ใจ ในวันนี้ได้แสดงเป็นคณะแรก โดยมีล�ำดับการแสดงดังต่อไปนี้ ๑) พิธี บูชาครู ๒) โหมโรงบรรเลงเพลงสาธุการ โดยวงปี่พาทย์เครื่องห้า ได้แก่ ระนาด เอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด ปี่

ฉิ่ง ฉาบ กรับ เมื่อจบเพลงสาธุการต่อ ด้วยการโหมโรงในรูปแบบของละครชาตรี ด้วยเครื่องดนตรี ได้แก่ ชาตรี กลองตุ๊ก โทน ปี่ ฉิง่ กรับ ๓) ร้องประกาศหน้าบท (ร้องกาศครู) เป็นการร้องประกาศหน้าบท ด้วยท�ำนองเพลงก�ำพรัด เพือ่ บูชาและขอ พรจากครูละครและทวยเทพ เพื่อความ เป็นสิริมงคลในการแสดง ๔) ร�ำซัดไหว้ ครู (ซัดหน้าเตียง) เป็นการร�ำเพือ่ ป้องกัน เสนียดจัญไร เรียกว่า ชักใยแมงมุม หรือ ชักยันต์ และร�ำซัดตอนแสดงจบอีกครั้ง หนึง่ ว่าอาคมร�ำถอยหลังเวียนขวา เรียก ว่า คลายยันต์ เป็นการถอนอาถรรพ์ (ซึง่ ในปัจจุบัน เรื่องคาถาอาคมไม่มี ร�ำเพื่อ บูชาครูเป็นหลักส�ำคัญ) ๕) ร�ำถวายมือ (เพลงช้า-เพลงเร็ว) เป็นการบูชาสักการะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของบริเวณที่จะแสดงละคร ชาตรี เพื่อขออนุญาตและบอกกล่าว เจ้าที่เจ้าทางก่อนการแสดง


คณะวาสนานาฏศิลป์

คณะวาสนานาฏศิลป์

คณะวาสนานาฏศิลป์ จากจังหวัด ราชบุรี เป็นคณะละครที่สืบเชื้อสายมา จากละครชาตรีของจังหวัดเพชรบุรี โดย สืบทอดมาจากนางรวด วรสิทธิ์ ซึ่งเป็น หัวหน้าคณะละครชาตรีแถวหัวสะพาน จังหวัดเพชรบุรี การแสดงละครชาตรีของ ราชบุรนี นั้ ยังคงไว้ซง่ึ ประเพณีและพิธกี รรม โบราณ จึงท�ำให้การแสดงมีความวิจิตร พิสดารแตกต่างกันไปในแต่ละคณะ การ แสดงของละครชาตรีคณะวาสนานาฏศิลป์ ในวันนี้ จึงเป็นการน�ำเอาการประกาศโรง หรือการบูชาครูในแบบฉบับดัง้ เดิมจากที่ ได้รบั การถ่ายทอดมาน�ำเสนอ และน�ำการ แสดงละครเรือ่ งขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวย แตกทัพ มาร่วมแสดงด้วย

สายมาจากมโนราห์เมืองนครศรีธรรมราช ตัง้ แต่ครัง้ สมัยรัชกาลที่ ๓ โดยตัง้ บ้านเรือน และคณะละครที่ถนนหลานหลวง ต้น ตระกูล คือ พระศรีชุมพลเฉลิม (เรือง) ซึง่ รับราชการทีเ่ มืองนครศรีธรรมราช เป็น

ครูสอนมโนราห์ ต่อมา นายพูน เรืองนนท์ ซึ่งเป็น ทายาทของพระศรีจมุ พล (ฉิม) และนายเรือง ได้ถา่ ยทอดความรูด้ า้ นการละครให้แก่บตุ ร หลานทุกคน โดยมีนายทองใบ เรืองนนท์

คณะวันดีนาฏศิ ลป์ ลูกสาว ครูพูน เรืองนนท์

คณะวันดีนาฏศิลป์ ลูกสาวครูพูน เรืองนนท์ เป็นคณะละครทีไ่ ด้รบั การสืบเชือ้

คณะวันดีนาฏศิลป์ ลูกสาวครูพูน เรืองนนท์

69


ได้รับการสืบทอดกิจการต่อจากบิดา ประกอบอาชีพการแสดง ซึง่ ชีวติ และผลงาน ทางด้านศิลปะของท่านเป็นที่ประจักษ์ จึงท�ำให้นายทองใบ เรืองนนท์ ได้รับการ เชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขา ศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย ละคร ชาตรี) ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และต่อมา นางวันดี เรืองนนท์ ซึ่งเป็นบุตรสาวของ นายพูน เรืองนนท์ ได้ตั้งคณะละครของ ตนขึ้น โดยใช้ชื่อว่า คณะวันดีนาฏศิลป์ ลูกสาวครูพูน เรืองนนท์ คณะวันดีนาฏศิลป์ ลูกสาวครูพูน เรืองนนท์ เป็นคณะละครชาตรีทมี่ ปี ระวัติ ความเป็นมายาวนาน และสืบทอดความรู้ ทางละครชาตรีมาหลายชัว่ อายุคน ปัจจุบนั แสดงอยูท่ ศี่ าลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร และในวันนี้ได้น�ำละครเรื่องพระสังข์ทอง ตอนสลักชิน้ ฟัก มาแสดง น�ำโดยนางสาว กนิษฐา สมสาย ซึง่ เป็นบุตรสาวเพียงคน เดียวทีส่ บื ทอดและดูแลคณะต่อมาจนถึง ปัจจุบันมาร่วมแสดงด้วย

คณะธิดาพรหมสุวรรณ

70

คณะธิดาพรหมสุ วรรณ

คณะธิดาพรหมสุวรรณ เป็นคณะ ละครทีไ่ ด้รบั การสืบเชือ้ สายมาจากละคร ชาตรีของของเพชรบุรี เริ่มก่อตั้งขึ้นจาก นายบุตร จันทรสุข ซึ่งเป็นหลานของ หลวงอภัยพลรักษ์ ได้ส่งบุตรชาย นาย สะอิง้ จันทรสุข ไปฝึกหัดการร้อง การร�ำ และแสดงละครกับแม่ทองอยู่ โพธิสวัสดิ์ (ย่าอยู)่ ซึง่ ละครคณะนีเ้ ป็นละครทีไ่ ด้รบั การฝึกหัดมาจากหม่อมเมือง ลูกสาว ของหลวงอภัยพลรักษ์ เมื่อเติบใหญ่จน มีครอบครัวจึงตั้งคณะละครขึ้นเอง โดย น�ำชือ่ ของย่าชือ่ “พรหม” และน�ำชือ่ ของ อา “สุวรรณ” มาตัง้ เป็นชือ่ คณะว่า “คณะ พรหมสุวรรณ” ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ นายสะอิง้ จันทรสุข ได้เสียชีวติ ลง นายไพฑูรย์ จันทรสุข ซึ่งเป็นบุตรชายคนโต จึงได้สืบทอดคณะ ละครต่อมาจนถึงปัจจุบนั นอกจากนี้ นาง สอาด จันทรสุข ซึง่ เป็นบุตรสาวของนาย สะอิง้ จันทรสุข และเป็นผูด้ แู ลคณะพรหม สุวรรณมาตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ยังได้กอ่

ตัง้ คณะละครเพิม่ ขึน้ อีกคณะหนึง่ โดยน�ำ ค�ำว่า “ธิดา” มาเพิม่ เติม เพือ่ ไม่ให้ซำ�้ กับ คณะของพี่ชาย โดยใช้ชื่อว่า “คณะธิดา พรหมสุวรรณ” การแสดงละครชาตรีของเพชรบุรนี นั้ นับได้วา่ เป็นรากฐานทีส่ ำ� คัญในการสืบทอด ละครชาตรีแบบดั้งเดิมเอาไว้ได้ และยัง เผยแพร่ไปยังจังหวัดใกล้เคียง เป็นการ เผยแพร่ทางวัฒนธรรมที่หาได้ยากยิ่ง การแสดงของละครชาตรีคณะธิดาพรหม สุวรรณในวันนี้ ได้นำ� การประกาศโรงหรือ การบูชาครูในแบบฉบับดัง้ เดิมของเพชรบุรี มาน�ำเสนอ และน�ำการแสดงละครเรื่อง ตะเพียนทอง ตอนรบไวยกัณฑ์ มาร่วม แสดงด้วย น�ำโดย นางสอาด จันทรสุข เป็นผู้บอกบทของการแสดง

คณะดุริยกวี

คณะดุรยิ กวี เริม่ ก่อตัง้ มาประมาณ ๒๕ ปี ภายใต้การน�ำของครูสเุ ชาว์ หริมพานิช อาจารย์และนักดนตรีรนุ่ ใหญ่ทที่ มุ่ เทกาย ใจเพือ่ สร้างผลงานทางดนตรีให้เป็นทีร่ จู้ กั


คณะดุริยกวี

นักดนตรีสว่ นใหญ่ของคณะดุรยิ กวีเป็นกลุม่ ลูกศิษย์ทมี่ ใี จรักผูกพันในเสียงดนตรี รวม ทัง้ มีปณิธานทีย่ ดึ มัน่ ในดนตรีไทย จึงเป็น แรงบันดาลใจให้มารวมตัวกันอย่างมัน่ คง เป็นก�ำลังหลักในการบรรเลงดนตรีในงาน ต่างๆ ทั้งงานมงคล งานอวมงคล และ งานบันเทิงตลอดมา การแสดงของคณะดุริยกวีในวันนี้ เป็นการแสดงทีศ่ าลาครูมแี ขก (พระประดิษฐ ไพเราะ) ทีม่ นี ำ�้ โอบล้อม บรรยากาศเย็น สบาย และศาลานีไ้ ด้ออกแบบไว้เพือ่ รองรับ การแสดงของวงปีพ่ าทย์ โดยใช้ไม้ทำ� ศาลา เพือ่ ให้เสียงปีพ่ าทย์ตดี งั ลงไปในน�ำ้ และให้ น�ำ้ เป็นตัวน�ำเสียงและขยายเสียงไปสูผ่ ฟู้ งั ท�ำให้เกิดความไพเราะเสนาะยิ่งนัก และ ในงานเทศกาลอมตะสยามในครัง้ นี้ คณะ ดุริยกวีได้จัดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่มาน�ำ เสนอ และเตรียมบทเพลงส�ำเนียงมอญมา แสดง เริม่ ต้นเพลงแรกเป็นบทเพลงบูชา ครู ทีถ่ อื เป็นขนบธรรมเนียมในการบรรเลง

เป็นการไหว้ครู บูชาครู ทีส่ งั่ สอนวิชาต่างๆ เป็นวัฒนธรรมที่ได้สืบทอดต่อกันมา ต่อ ด้วยการบรรเลงเพลงนางหงส์ เอกฉัตร เพลงกระต่ายเต้น เพลงเตลงร�ำพึง เพลงรามัญบันเทิง เพลงย�่ำค�่ำ ย�่ำฆ้อง เพลงนางหงส์ มหาฉัตร เพลงพม่าทวี เพลงโยคีจ�ำแลง เพลงชเวดากอง ซึ่ง บทเพลงทีไ่ ด้นำ� มาบรรเลงในครัง้ นี้ เป็นการ คัดสรรบทเพลงแบบพิเศษจากครูสุเชาว์ หริมพานิช เพือ่ แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรม ทางดนตรีของปี่พาทย์มอญในปัจจุบัน

โดยได้รบั การถ่ายทอดการบรรเลงและการ แสดงดนตรีจากโนราสาโรช นาคะวิโรจน์ ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ เป็นผูด้ แู ลและถ่ายทอดความรู้ ต่างๆ ให้แก่นกั ศึกษา แต่เดิมเมือ่ ประมาณ ๓๐ ปีทแี่ ล้ว ได้มกี ารเปิดสอนวิชาโนราที่

คณะโนราธรรมนิตย์สงวน ศิลป์

คณะโนราธรรมนิตย์สงวนศิลป์ เริม่ ก่อตัง้ เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นคณะโนราที่ แสดงเพือ่ ความบันเทิงและประกอบการเรียน การสอนเพือ่ อนุรกั ษ์และเผยแพร่ในสถาบัน การศึกษา ตามแบบฉบับโนราสายตระกูล ท่านขุนอุปถัมภ์นรากร (โนราพุ่ม เทวา)

ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์

71


คณะโนราธรรมนิตย์สงวนศิลป์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ต่อมาจึงย้าย มาทีค่ ณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาศิลปะการ แสดง มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา ท�ำให้โนรามีทอี่ ยูใ่ หม่ในมหาวิทยาลัยเพือ่ เผยแพร่ศลิ ปะพืน้ บ้าน ซึง่ ในงานเทศกาล ดนตรีอมตะสยามครัง้ นี้ คณะโนราธรรมนิตย์ สงวนศิลป์ ได้น�ำเครื่องดนตรี ได้แก่ ทับ กลอง โหม่ง-ฉิ่ง ปี่ และแตระ มาร่วม บรรเลงประกอบการร�ำ ดังนี้ ร�ำบทประถม โนราประถมหรือโนราแม่บท เป็นการ ร�ำพืน้ ฐานไปใช้ในการร�ำขัน้ สูงในบทอืน่ ท่า ร�ำโนราจะเลียนแบบธรรมชาติ สัตว์ และ เกี่ยวข้องกับความเชื่อในศาสนาต่างๆ ผู้ ร�ำจะฝึกปฏิบตั เิ หมือนกันทัง้ หญิงและชาย ร�ำกระบี่ตีท่า เป็นการร�ำพื้นฐานโนราที่มีการ พัฒนาท่าร�ำบทประถม เนื้อร้องที่กล่าว ถึงกระบีต่ ที า่ มาพัฒนาเป็นกระบวนการ ร�ำให้ชัดเจนและน่าสนใจ ผู้ร�ำจะร�ำท่าลิง

72

๒ ตัว สู้รบกัน โนราตัวอ่อน เป็นการร�ำโนราที่เกิดจากการคัด เลือกหรือน�ำท่าโนราพื้นฐานบางท่าและ

เครื่องดนตรี

ท่าตัวอ่อนซึ่งได้จัดรูปแบบขึ้นใหม่ มา เรียงร้อยและเชื่อมโยงท่าร�ำเข้าด้วยกัน ตามความคิดสร้างสรรค์และความถนัด ของผู้ร�ำ เพื่อที่จะให้เป็นเอกลักษณ์และ


คณะทวีป-ชัยณรงค์ วงศ์เทวัญ

อวดความสามารถพิเศษเฉพาะตัว โดยใช้ การร�ำแม่ทา่ ทีม่ ที า่ ร�ำแสดงถึงลักษณะตัว อ่อน อันเป็นคุณสมบัตอิ ย่างหนึง่ ของผูฝ้ กึ ร�ำโนรา มี ๒ ท่า คือ ท่าขีห้ นอน และท่า แมงมุมชักใย ซึง่ เป็นแม่ทา่ ทีฝ่ กึ ร�ำยากมาก ทั้งยังเป็นท่าที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ เฉพาะตัวอันส�ำคัญยิ่งของการร�ำโนรา ตัวอ่อนอีกด้วย การแสดงในชุดนี้ ได้น�ำ เด็กๆ ในระดับอนุบาลและประถมศึกษามา ฝึกหัดและน�ำมาแสดง เป็นการแสดงทีห่ า ดูได้ยาก เด็กๆ ทีแ่ สดงนัน้ ก็ตอ้ งได้รบั การ ฝึกฝนอย่างหนัก โดยการให้ดดั ตัว ดัดขา ดัดแขน และต้องสามารถประคับประคอง ตัวอยู่ภายในถาดให้ได้ เพื่อแสดงให้เห็น ถึงความพลิ้วไหวของร่างกาย ประกอบ เสียงดนตรี ร�ำพราน หรือออกพราน พรานเป็นตัวตลกของคณะโนรา ท่า ร�ำมุง่ ให้เกิดอารมณ์ขนั เมือ่ ออกร�ำจะสวม หน้ากากที่เรียกว่า หน้าพราน หรือหัว

พราน ลักษณะท่าร�ำโดยทัว่ ไป คือ ย่อตัวร�ำ หลังแอ่น อกยืน่ นวยนาดเล่นยกแขนและ ชี้นิ้ว เวลาเดินจะก้าวไปข้างหน้า ๒ ก้าว ถอยหลัง ๑ ก้าว โยกหน้า เล่นหน้าท้อง การไหว้จะยกมือประนมขึน้ เหนือหัว ทุก ท่ามีความมัน่ คงเข้ากับลีลาจังหวะดนตรี ที่หนักแน่นและกระชับ ร�ำเฆี่ยนพราน-เหยียบลูกมะนาว ใช้รำ� เฉพาะในการแข่งขันเพือ่ ประกอบ พิธไี สยศาสตร์ เป็นการตัดไม้ขม่ นามฝ่าย ตรงข้าม และสร้างขวัญก�ำลังใจให้ฝ่าย ตน ผู้ร�ำ คือ โนราใหญ่ การแสดงในชุดนี้ เป็นการแสดงทีห่ าดูได้ยากยิง่ ในปัจจุบนั มี เพียงผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ธรรมนิตย์ นิคม รัตน์ เท่านัน้ ทีย่ งั คงเป็นผูท้ แี่ สดงในชุดนี้ ได้ (ที่มา: ปรีชา นุ่นสุข. ๒๕๓๗. โนรา. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.)

คณะทวีป-ชัยณรงค์ วงศ์ เทวัญ

คณะทวีป-ชัยณรงค์ วงศ์เทวัญ เป็น คณะลิเกที่มีชื่อเสียงของอ�ำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ก่อตัง้ ขึน้ โดยหัวหน้าคณะ คือ นายณรงค์ อุสภุ ะ (พระเอกชัยณรงค์ รุ่งเรือง) และนางทวีป อุสุภะ (นางเอก ทวีป วงศ์เทวัญ) การแสดงของลิเกคณะ ทวีป-ชัยณรงค์ วงศ์เทวัญ ในช่วงแรกมี ชัยณรงค์ รุง่ เรือง เป็นพระเอกประจ�ำคณะ และทวีป วงศ์เทวัญ เป็นนางเอกประจ�ำ คณะ โดยมีญาติพี่น้องของทั้งชัยณรงค์ และทวีปร่วมแสดง จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๔๐ นายสุธิราช อุสุภะ (กุ้ง สุธิราช วงศ์เทวัญ) บุตรของณรงค์และทวีป และ นางสาวสุรางค์ ผิวอ่อน (จิง้ หรีดขาว วงศ์ เทวัญ) น้องสาวของทวีป เป็นผู้แสดงใน เวลาต่อมา เมือ่ ยุคสมัยมีการเปลีย่ นแปลง ไป ผู้ชมลิเกส่วนใหญ่นิยมฟังเพลงลูกทุ่ง ประกอบกับพระเอกและนางเอกประจ�ำ

73


มีโอกาสได้รบั ฟังดนตรีทมี่ คี ณ ุ ภาพสูงจาก ศิลปินทีไ่ ด้รบั การยอมรับจากสังคมดนตรี เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนและคน ดนตรีรุ่นใหม่ในการมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง ต่อไปในอนาคตในการเป็นนักดนตรีหรือ บุคลากรด้านดนตรีที่มีทั้งความสามารถ และจริยธรรมในการประกอบอาชีพ และ เป็นการจุดประกายเพื่อให้เกิดการขยาย ผลทัง้ ในเชิงธุรกิจและในเชิงวิชาการ ท�ำให้ เกิดกิจกรรมการศึกษาด้านดนตรีที่เป็น ประโยชน์ต่อไปในอนาคต ซึ่งจะเป็นการ พัฒนาระบบการศึกษาดนตรีในประเทศไทย ให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน กุ้ง สุธิราช วงศ์เทวัญ

คณะเป็นนักร้องลูกทุ่งที่มีชื่อเสียง ลิเก คณะทวีป-ชัยณรงค์ วงศ์เทวัญ จึงปรับ รูปแบบการแสดงจากการแสดงลิเกเพียง อย่างเดียว เป็นมีการแสดงคอนเสิรต์ ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เมื่อจิ้งหรีดขาว วงศ์เทวัญ แยกตัวไปตั้งคณะลิเกและวง ดนตรีของตนเอง จึงเปลีย่ นนางเอกประจ�ำ คณะอีกครั้ง จากจิ้งหรีดขาวมาเป็นบุตรี ของณรงค์และทวีป นางสาววิรดา อุสภุ ะ (วิ วิรดา วงศ์เทวัญ - วิรดา วงศ์เทวัญ อาร์สยาม) แสดงน�ำคู่กับกุ้ง สุธิราช มา จนถึงปัจจุบัน การแสดงลิเกคณะทวีป-ชัยณรงค์ วงศ์เทวัญ เป็นคณะลิเกคณะแรกที่ได้ เข้ามาแสดงที่อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการเปิดโลกทัศน์ ทางการแสดงลิเกเป็นอย่างมาก ท�ำลาย กรอบความคิดของสังคมคนส่วนใหญ่ทขี่ ดี กัน้ ว่าการแสดงลิเกนัน้ จะต้องแสดงตามเวที งานวัดเท่านัน้ ในงานเทศกาลดนตรีอมตะ สยามนี้ จึงได้นำ� การแสดงลิเกเข้ามาแสดง

74

ในสถาบันการศึกษา และยังสามารถแสดง ในอาคารมหิดลสิทธาคาร ซึ่งเป็นอาคาร ทีม่ คี วามพร้อมทุกด้านในมาตรฐานระดับ โลกได้เป็นอย่างดีดว้ ย แม่ยกและพ่อยกทัง้ หลายต่างมีความดีใจและปลาบปลืม้ ทีไ่ ด้เข้า มาชมการแสดงทีน่ ี่ โดยการแสดงในวันนี้ วิ วิรดา วงศ์เทวัญ ได้นำ� เพลงรอเพราะรัก เพลง เต่างอย มาร้อง และกุง้ สุธริ าช วงศ์เทวัญ ได้ น�ำเพลงเทพีบา้ นไพร เพลงทาสมนต์คนดี และเพลงมาลัยน�้ำใจซึ่งร้องคู่กับวิรดา วงศ์เทวัญ นอกจากนีย้ งั น�ำการแสดงลิเก เรือ่ งยอดรักนักรบมาร่วมแสดงกับศิลปิน อีกหลายท่าน จากการแสดงในเทศกาลดนตรีอมตะ สยาม (Siam Living Music Festival 2018) ณ วิ ท ยาลั ย ดุ ริ ย างคศิ ล ป์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะเห็นได้ว่า งาน เทศกาลดนตรีอมตะสยามนี้ เป็นการเปิด โอกาสในการสร้างผลงานให้แก่ศิลปินได้ สร้างอาชีพทางดนตรีให้ยงั คงอยูใ่ นสังคม ไทย และเพือ่ เปิดโอกาสให้ผทู้ สี่ นใจในดนตรี

อ้างอิง

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (๒๕๔๙). ดนตรี บวงสรวงเทพารักษ์: เจ้าพ่อขุนทุง่ . วารสารเพลงดนตรี ปีที่ ๑ ฉบับ ที่ ๕ ประจ�ำเดือนสิงหาคม ๒๕๔๙ หน้า ๔๒-๔๓. พิชชาณัฐ ตู้จินดา. (๒๕๕๘). กันตรึม อีสานใต้ บุรีรัมย์. สูจิบัตรมหรสพ สมโภชบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๘. หยินหยาง การพิมพ์: นนทบุรี. วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (๒๕๖๑). สูจิบัตรงานเทศกาล ดนตรีอมตะสยาม (Siam Living Music Festival 2018). หยินหยาง การพิมพ์: นนทบุรี. อัลบั้มวงรัสมี อีสานโซล


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.