Music Journal March 2018

Page 1


Volume 23 No. 7 March 2018 สวัสดีผอู้ า่ นทุกท่าน เดือนมีนาคมนี้ วิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกลุ่ม บริษัท คิง เพาเวอร์ จัดกิจกรรมการประกวด วงดุริยางค์เครื่องเป่านานาชาติแห่งประเทศไทย (TIWSC 2018) การประกวดนี้เริ่มแข่งขันมา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยรอบชิงชนะเลิศจะจัด ขึ้นวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๑ นี้ ที่หอแสดงดนตรี มหิดลสิทธาคาร งานนีม้ ผี เู้ ข้าร่วมแข่งขันมากมาย จากทัว่ ประเทศและต่างประเทศ มีกรรมการผูท้ รง คุณวุฒิเข้าร่วมการตัดสินหลากหลายท่าน เชิญ พลิกไปอ่านความคิดเห็นต่างๆ จากคณะกรรมการ ได้ในเรื่องจากปก นอกจากบทสัมภาษณ์คณะกรรมการของการ แข่งขันในครัง้ นีแ้ ล้ว อีกหนึง่ ท่านทีเ่ ป็นผูส้ นับสนุน หลักในการจัดงานครัง้ นี้ คือ กลุม่ บริษทั คิง เพาเวอร์ ผู้น�ำด้านค้าปลีกสินค้าปลอดภาษีอากร ซึ่งทาง คุณอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ผู้ด�ำรงต�ำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทคิง เพาเวอร์ ได้ให้เกียรติมาขึน้ ปก และให้สมั ภาษณ์ถงึ แนวทาง

เจ้าของ

กองบรรณาธิการ

บรรณาธิการบริหาร

ฝ่ายภาพ

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล สุกรี เจริญสุข

ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ สนอง คลังพระศรี

ผู้ช่วยบรรณาธิการ ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ Kyle Fyr นิธิมา ชัยชิต

นพีสี เรเยส พงศ์สิต การย์เกรียงไกร คนึงนิจ ทองใบอ่อน

ฝ่ายศิลป์

จรูญ กะการดี นรเศรษฐ์ รังหอม

พิสูจน์อักษรและรูปเล่ม ธัญญวรรณ รัตนภพ

การสนับสนุนกิจกรรมด้านดนตรีในครั้งนี้ พร้อม ทั้งให้แนวคิดต่อวงการดนตรีของเด็กไทยอีกด้วย ส�ำหรับผูอ้ า่ นทีส่ นใจในประวัตคิ วามเป็นมา ของการศึกษาดนตรีในประเทศไทย ติดตามได้จาก “ศาลายาน่าอยู่” โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข จะมาเล่าเรื่องราวของการศึกษาด้าน ดนตรี ตั้งแต่สมัยอดีต ก่อนที่จะมีใบปริญญาทาง ด้านดนตรี มาถึงช่วง พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๓๐ ที่มี ปริญญาตรีด้านดนตรีเป็นครั้งแรกในประเทศไทย กระทัง่ ยุคปัจจุบนั ทีก่ ารศึกษาด้านดนตรีมถี งึ ระดับ ปริญญาเอก ปิดท้ายด้วยบทความรีวิวการแสดงของวง TPO ในรอบเดือนที่ผ่านมา และบทความสาระ ความรูด้ า้ นดนตรีตา่ งๆ จากนักเขียนประจ�ำ เช่นเคย

เว็บมาสเตอร์

ภรณ์ทิพย์ สายพานทอง

ฝ่ายสมาชิก

สุพรรษา ม้าห้วย

ส�ำนักงาน

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (วารสารเพลงดนตรี) ๒๕/๒๕ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ต�ำบลศาลายา อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐

ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ

โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๓๑๑๓ โทรสาร ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๓๐ musicmujournal@gmail.com

พิมพ์ที่

หยินหยางการพิมพ์ โทรศัพท์ ๐ ๒๙๐๓ ๘๖๓๖

จัดจ�ำหน่าย

ร้านค้าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๒๕๐๔, ๒๕๐๕

กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ส� ำหรับข้อเขียนที่ได้รับการพิจารณา กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่ จะปรับปรุงเพื่อความเหมาะสม โดยรักษาหลักการและแนวคิดของผู้เขียนแต่ละท่านไว้ ข้อเขียนและบทความที่ตีพิมพ์ ถือเป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการ ไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ขอรับผิดชอบบทความนั้น


สารบั ญ Contents ศาลายาน่าอยู่

Getting Ready

04

Pedagogy Tools for Applied Music Teachers: Chamber Music Entrepreneurship: An Interview with Sam Pilafian

พัฒนาการดนตรี ในมหาวิทยาลัยไทย

สุกรี เจริญสุข (Sugree Charoensook)

Cover Story

10

คิง เพาเวอร์ คิง ออฟ ดิวตี้ฟรี แต่ไม่ฟรี ออฟ ดิวตี้ เพื่อคนไทย กองบรรณาธิการ

28

Interview

Joseph Bowman (โจเซฟ โบว์แมน)

60

Music Entertainment

ปรีดี ตันสุวรรณ (Preedee Tansuwan)

32

๕ เสียง-แค่เพียงนี้ สร้างดนตรีได้ไพเราะ (ตอนที่ ๔)

จากเขาชนไก่ถึง TIJC

64

Interview Questions: Fabrizio Bosso

กิตติ ศรีเปารยะ (Kitti Sripaurya)

Pongsit Karnkriangkrai (พงศ์สิต การย์เกรียงไกร)

Voice Performance

Review

46

El Viento de Andalucíia Reflections of My Flamenco Journey (Part 2)

14

Haruna Tsuchiya (ฮารุนะ ซึชิยะ)

สัมภาษณ์คณะกรรมการ TIWSC 2018

Music Technology

Music Theory

Audio Dynamics: Compression Basics

นิธิมา ชัยชิต (Nitima Chaichit)

24

Searching for Bach’s original instrument in Partita No. 3, in E major, BWV 1006, Prelude (Part 1) Tachinee Patarateeranon (ธาชินี ภัทรธีรานนท์)

50

66

Tattoo Colour กับ ทีพีโอ สร้างปรากฏการณ์ กรี๊ดสนั่น “สิทธาคารฮอลล์”

นฤตย์ เสกธีระ (Narit Sektheera)

Michael David Brice (ไมเคิล เดวิด ไบรซ์)

Alumni News and Notes

The Bach Journey

นักศึกษารางวัลพระราชทาน… เกียรติยศอันยิ่งใหญ่ วิษณ์กมล ชัยวานิชศิริ

52

ตามรอยเส้นทาง Bach (ตอนที่ ๑๔) ฮิโรชิ มะซึชิม่า (Hiroshi Matsushima)

72

นิธิมา ชัยชิต (Nitima Chaichit) ณัฐรดา เกียรติบุตร (Natharada Kietibutr) ณัฐมณ จารุเมธาวิทย์ (Nattamon Jarumethavit)


ศาลายาน่าอยู่

พัฒนาการดนตรี ในมหาวิทยาลัยไทย เรื่อง: สุ กรี เจริญสุ ข (Sugree Charoensook) ผู้อ�ำนวยการศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ต�ำนานการศึกษาดนตรี

การศึกษาดนตรีเดิมนั้น ดนตรีอยู่ ตามบ้าน ตามวัด และอยูใ่ นรัว้ ในวัง เมือ่ อยู่ตามบ้านเพราะเป็นมหรสพของชาว บ้าน ดนตรีช่วยให้ชาวบ้านได้มีการรวม ตัวกัน หลังจากตรากตร�ำท�ำงาน เมื่อ หมดฤดูกาลท�ำนาท�ำไร่กจ็ ะจัดงานสังสรรค์ รืน่ เริง ซึง่ เป็นกิจกรรมของสังคมทีพ่ บได้ โดยทั่วไปในสังคมกสิกรรม ขงจื้อ นักปราชญ์ชาวจีน ได้สอน เอาไว้ว่า “ดนตรีสร้างความสามัคคีของ ปวงชน” แต่ดนตรีที่อยู่กับชาวบ้านนั้น อยู่ได้โดยวิถีธรรมชาติ อยู่ได้ด้วยวิถีชีวิต

04

และความเป็นไปของชุมชนสังคม ส่วนดนตรีทอี่ ยูต่ ามวัดนัน้ เนือ่ งจาก วัดเป็นศูนย์กลางของจิตใจคน ดนตรีจึง อยู่ในรูปของพิธีกรรม พิธีกรรมทุกชนิด จะมีดนตรีซอ่ นอยู่ เพราะเสียงดนตรีเป็น เรื่องของอ�ำนาจ อ�ำนาจของเสียงท�ำให้ พิธีกรรมของวัดมีความศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่า จะเป็น เพลงสวด (บทร้อง) ฆ้อง กลอง ระฆัง กังสดาล ตะโพน และกลองทัด ล้วน เป็นเสียงทีเ่ กือ้ หนุนความศักดิส์ ทิ ธิท์ งั้ สิน้ ในส่วนของราชส�ำนัก (วัง) ก็เป็น ศูนย์กลางของอ�ำนาจทุกชนิด เป็นที่ รวบรวมจิตใจของปวงชนเอาไว้ด้วยกัน

ดังนัน้ ดนตรีทมี่ อี ำ� นาจ ทัง้ กายและจิต ก็ อยูใ่ นพิธกี รรมของราชส�ำนักไปสิน้ ตัง้ แต่ การประโคมดนตรีเพือ่ บอกเวลา “ย�ำ่ ยาม ตุ้มโมง” การตีฆ้อง (หนึ่งโมง สองโมง) เพื่อบอกเวลากลางวัน และการตีกลอง (หนึง่ ทุม่ สองทุม่ ) เพือ่ บอกเวลากลางคืน ซึ่งยังคงเหลืออยู่ในภาษาพูดว่า “หก โมงเช้า” หรือเวลา “หนึ่งทุ่ม” เป็นต้น นอกจากนี้ ดนตรียังใช้เพื่อความบันเทิง ใช้ในพิธกี รรม ในพระราชพิธอี นั ศักดิส์ ทิ ธิ์ สูงสุดก็ต้องใช้ดนตรี ทัง้ นี้ ข้าราชบริพารในราชส�ำนักยังได้ เรียนรูแ้ ละสืบทอดหน้าทีพ่ นักงานประโคม


และพนักงานพิธอี ย่างมีมาตรฐานและเป็น ระบบ ซึง่ เป็นศาสตร์เฉพาะของราชส�ำนัก ที่ยังคงถือปฏิบัติมากระทั่งทุกวันนี้ การศึกษาดนตรีทเี่ ป็นเรือ่ งของชาว บ้านและเรือ่ งของวัด ซึง่ เป็นเรือ่ งดนตรีใน สังคม ไม่มรี ะบบทีจ่ ะสืบทอดอย่างมีหลักการ นัก เนือ่ งจาก “บ้านกับวัด” มีความหลาก หลาย มีความแตกต่าง มีการแลกเปลีย่ น และมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ พืน้ ทีย่ งั มีความกระจาย ขึน้ อยู่ กับภูมปิ ระเทศและบริบทของสังคม ความ จริงแล้วก็ขนึ้ อยูก่ บั ต่างคนต่างท�ำ ไม่ได้มี ระบบอะไรที่ชัดเจนแน่นอนนัก

ดนตรีก่อนมีใบปริญญา

การศึกษาดนตรีในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในมหาวิทยาลัยไทย มี ความเจริญงอกงามมากขึ้น โดยรวมเอา ความรู้ของ “ชาวบ้านและวัด” ไว้ศึกษา และสืบทอด ทัง้ ในด้านคุณภาพการศึกษา และปริมาณของนักศึกษา ปัจจุบันผู้ที่ สมัครเข้าเรียนวิชาดนตรีก็มีสถาบันการ ศึกษาของไทยเปิดสอนดนตรีในทุกสาขา วิชา ทุกเครื่องมือ (ดนตรี) และในทุก ระดับปริญญา (ตรี โท เอก) อย่างน้อยผูท้ ี่ ต้องการศึกษาวิชาดนตรีในมหาวิทยาลัย ไทยก็สามารถที่จะเข้าศึกษาในประเทศ ได้และเป็นที่ยอมรับ โดยไม่จ�ำเป็นว่าจะ ต้องไปศึกษาในต่างประเทศอย่างแต่กอ่ น การศึกษาดนตรีในมหาวิทยาลัยไทย ได้รับการยอมรับจากหลายฝ่ายมากขึ้น แต่กอ่ นนัน้ นักดนตรีไทยทีม่ าจาก “บ้าน เครื่อง” มีวงดนตรีไว้รับงาน นักดนตรีที่ บ้านจึงแข็งแกร่งกว่านักดนตรีที่มาจาก โรงเรียน ส่วนดนตรีสากลนั้น จะอยู่ที่ กองทัพ (บก เรือ อากาศ ต�ำรวจ) ใน ส่วนของราชการ กรมศิลปากร นักดนตรี ที่อยู่กับกรุงเทพมหานครและอยู่ในกรม ประชาสัมพันธ์ จะเก่งดนตรีปฏิบัติมาก เพราะมีการศึกษาดนตรี มีการฝึกสอนการ เล่นเครือ่ งดนตรี และมีวงดนตรีแสดงอยู่ ตลอด ทั้งนี้ก็เพื่อรองรับงานพระราชพิธี และงานในพิธีต่างๆ ของราชการ ซึ่งนัก ดนตรีเหล่านี้ล้วนเป็นคนเก่ง เป็นคนที่มี

ความช�ำนาญสูง แต่ไม่ได้มรี ะบบปริญญา รองรับมาก่อน การเป็นนักดนตรีแต่ก่อนนั้น ไม่ได้ เป็นอาชีพ แต่มีหน้าที่เป็นเจ้าพนักงาน เป็นช่าง ปฏิบัติหน้าที่เล่นดนตรีและ ประโคมดนตรี เจ้าพนักงานเหล่านี้ “ไม่ เก่งแต่ช�ำนาญ ไม่เชี่ยวชาญแต่เคยมือ” ท�ำหน้าทีป่ ระจ�ำกรม ประจ�ำกอง ประจ�ำ ฝ่าย รับเงินเดือนประจ�ำ หากมีเวลาว่าง พนักงานดนตรีกอ็ อกไปรับงานแสดงดนตรี ข้างนอก เพือ่ หารายได้เสริม นอกจากจะ ได้เงินแล้วยังได้รับการยอมรับจากสังคม สูงด้วย การทีพ่ นักงานดนตรีออกไปท�ำงาน ข้างนอก เป็นการสร้างอาชีพให้กับนัก ดนตรี ท�ำให้กลายเป็นคนเก่งดนตรีในสังคม ซึ่งจะพบว่านักดนตรีวงลูกทุ่ง ลูกกรุง นักดนตรีทเี่ ล่นอยูใ่ นร้านอาหาร เล่นอยูใ่ น ไนต์คลับ เล่นอยูใ่ นบาร์ รวมทัง้ ในโรงแรม ชั้นน�ำ ล้วนเป็นนักดนตรีที่มีฝีมือมาจาก ส่วนงานราชการทั้งสิ้น ดนตรีกลายเป็นวิชาชีพมากขึน้ ส�ำหรับ สังคมไทย เพราะเห็นว่าเล่นดนตรีแล้วมี รายได้ สามารถทีจ่ ะเลีย้ งครอบครัวได้ การ มีรายได้ท�ำให้นักดนตรีเงยหน้าอ้าปากได้ แม้จะไม่มตี น้ แบบ (Idol) เล่นดนตรีแล้ว มีชื่อเสียง สร้างฐานะ และร�่ำรวยได้ ถึง จะไม่มีต้นแบบที่ชัดเจนแต่ก็มีนักดนตรี อาชีพเพิม่ มากขึน้ เพราะแม้จะหาเช้ากินค�ำ่ อย่างน้อยก็มีงาน (อาชีพดนตรี) ที่เป็น งานสุจริตท�ำ และยิง่ มีใจรักดนตรี ท�ำแล้ว ก็มีความสุข ข้อด้อยของนักดนตรีที่เก่งในสังคม ไทยนั้น ทั้งนักดนตรีไทยที่อยู่ตามบ้าน และนักดนตรีสากลทีไ่ ด้ทำ� งานอย่างอาชีพ เหล่านีไ้ ม่มใี บปริญญา จึงมีความก้าวหน้า น้อย ซึง่ กลายเป็นเรือ่ งใหญ่ของการศึกษา ไทย เพราะส่วนราชการต้องการครูผทู้ มี่ ใี บ ปริญญา ต้องการพนักงานทีม่ ใี บปริญญา ดังนัน้ คนทีไ่ ม่มใี บปริญญาก็ไม่สามารถที่ จะบรรจุเป็นครูดนตรีได้ ไม่สามารถทีจ่ ะรับ ราชการได้ แม้จะมีความสามารถสูงก็ตาม เมื่อบรรจุเป็นข้าราชการครูดนตรี ไม่ได้ คนเก่งเหล่านี้ก็จะถูกบรรจุให้เป็น

ครูดนตรีในต�ำแหน่งใหม่ อาทิ ต�ำแหน่ง ภารโรง ครูพิเศษ แต่มีหน้าที่สอนดนตรี ในชั้นเรียน ครูพเิ ศษดนตรีเหล่านี้ ก็ชอบทีไ่ ด้เป็น ส่วนหนึ่งของราชการ (ครู) แม้เงินเดือน จะน้อย แต่กอ็ ย่างน้อยมีเงินเดือนประจ�ำ มี สวัสดิการในยามเจ็บป่วยอยูบ่ า้ ง เนือ่ งจาก อาชีพดนตรีทเี่ คยมีในสังคม ทีเ่ คยมีในวัด ก็ลดน้อยลง อายุกม็ ากขึน้ จะออกเดินทาง ไปแสดงอย่างในวัยหนุม่ สาวก็ยากขึน้ ยิง่ เป็นนักดนตรีแสดงในยามค�ำ่ คืนด้วยแล้ว ก็ท�ำได้ยากมากขึ้นด้วย ทุกคนจึงมุ่งสู่ ใบปริญญา ใบปริญญาจึงเป็นค�ำตอบที่ เบ็ดเสร็จ

การผลิตปริญญาดนตรี

หลายฝ่ายผูท้ เี่ ห็นความส�ำคัญเรือ่ ง การศึกษาดนตรี ต่างก็พยายามทีจ่ ะผลักดัน วิชาดนตรีให้มกี ารเรียนการสอน และให้มี ใบปริญญา ผู้ใหญ่ในวงการศึกษาบางคน (ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี) ที่ไม่ เห็นด้วยกับการศึกษาดนตรีให้มใี บปริญญา ได้ตงั้ ข้อสงสัยไว้วา่ “วิชาฉิง่ ฉาบเรียนเป็น ปริญญาได้ด้วยหรือ (อ้างค�ำพูดอาจารย์ ก�ำธร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา พ.ศ. ๒๕๑๔) ระยะแรกเริม่ ของการผลิตปริญญาตรี ดนตรี (พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๓๐) ด�ำเนินไป อย่างยากล�ำบากมาก เนื่องจากอาจารย์ สอนวิชาดนตรีทมี่ ใี บปริญญามีอยูจ่ ำ� นวน น้อย มีแต่นักดนตรีที่เล่นดนตรีเก่ง ขณะ เดียวกัน ระบบการศึกษาไม่ยอมรับคนเก่ง ดนตรีที่ไม่มีใบปริญญา ท�ำให้การเป็นครู สอนดนตรีตดิ ขัดเป็นอย่างยิง่ โชคดีทสี่ มัย นั้นกฎเกณฑ์ต่างๆ ยังไม่รุนแรงเท่ากับ ปัจจุบนั การมีระบบเหมาคิดเอง (มคอ.) ของส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อย่างปัจจุบัน ก็กลายเป็นดาบสองคม คมหนึง่ เป็นเรือ่ งดี ทีม่ เี กณฑ์ในการ เข้าสูต่ ำ� แหน่งการเป็นอาจารย์ผสู้ อนดนตรี ในสถาบันอุดมศึกษา อีกคมหนึง่ เป็นเรือ่ ง ที่เป็นปัญหา เมื่อพบว่า คนที่เก่งดนตรี นักดนตรีทอี่ ยูใ่ นภาคสนามเล่นดนตรี “นัก ดนตรีอาชีพ” คนเหล่านีไ้ ม่ได้แยแสต่อใบ ปริญญาแต่ประการใด เมื่อสถาบันการ

05


ศึกษาไม่เอื้อต่อความสามารถที่มีอยู่ คน เก่งเหล่านีต้ า่ งก็เบือนหน้าหนี ไม่ตอ้ งการ ที่จะยุ่งเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาอีกต่อ ไป มหาวิทยาลัยไทยจึงเปิดสอนดนตรี ให้มีใบปริญญา แต่เล่นดนตรีไม่ได้ เข้า ท�ำนอง “สอนให้เป่าปี่ในสมุด” มหาวิทยาลัยไทยสามารถทีจ่ ะสอน ให้ความรูแ้ ละรับรองโดยการมีใบปริญญา แต่ก็ยังมีข้อด้อยของมหาวิทยาลัยไทยก็ คือ ใบปริญญาไม่สามารถที่จะรับรองได้ ว่าเป็นนักดนตรีที่เก่ง

ดนตรีเปิดสอนถึงปริญญาเอก ในช่วงเวลาต่อมา (หลังปี พ.ศ. ๒๕๓๐) สถาบันอุดมศึกษาของไทยได้ พัฒนาเพือ่ จะสร้างครูดนตรีให้มใี บปริญญา อย่างแข็งขัน สถาบันอุดมศึกษาไทยเปิด สอนวิชาเอกดนตรีที่มีใบปริญญาถึง ๕๐ กว่าสถาบัน มีตงั้ แต่ปริญญาตรี เริม่ ตัง้ แต่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมาเปิดสอนปริญญาโท ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ และมีปริญญาเอก ใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นมา การเปิดสอน

06

ดนตรีให้มใี บปริญญา ถือเป็นความก้าวหน้า ที่ส�ำคัญมากส�ำหรับการศึกษาของไทย ใบปริญญาได้รบั การยอมรับสูง ผูท้ ี่ มีใบปริญญาสามารถที่จะเข้ารับราชการ ได้ ไม่วา่ จะเป็น พนักงานดนตรี ครูดนตรี หรือจะเป็นข้าราชการในกองดุรยิ างค์ทหาร ก็สามารถอาศัยใบปริญญาทางดนตรีทตี่ น ส�ำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษา เข้าท�ำงานได้ ใบปริญญาสามารถคุ้มครองอาชีพ ดนตรี โดยการเข้ารับเป็นราชการ แม้ว่า ผู้ที่เรียนจบแล้วและมีใบปริญญาจะมี ความสามารถทางดนตรีหรือไม่ เก่งหรือ ไม่เก่ง มีฝีมือน่าเชื่อถือหรือไม่ ก็เป็นอีก เรื่องหนึ่ง แต่สิ่งที่ประสบความส�ำเร็จก็ คือ เรียนวิชาดนตรีแล้ว สามารถที่จะ เรียนในมหาวิทยาลัยได้ และสามารถทีจ่ ะ มีใบปริญญาได้ เท่าเทียมกับวิชาชีพอืน่ ๆ ในสังคมไทย ในยุคแรกของการมีใบปริญญาดนตรี สังคมตัง้ ข้อสงสัยว่า เก่งหรือเปล่า มีความ สามารถจริงหรือเปล่า โดยที่นักดนตรี

ตามบ้านทั้งดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้าน เก่งกว่าผู้ที่เรียนจบมีใบปริญญา ในกรณี ดนตรีสากล นักดนตรีทเี่ ล่นอยูใ่ นไนต์คลับ ในร้านอาหาร หรืออยู่กับวงดนตรีอาชีพ ก็เป็นผู้ที่มีความสามารถ

เพิ่ ม ความสามารถในใบ ปริญญา

เมือ่ วิชาดนตรีสามารถมีใบปริญญา ได้เหมือนกับวิชาชีพอืน่ จากนีไ้ ปการเปิด สอนวิชาดนตรีจะต้องเพิม่ ศักยภาพความ เป็นเลิศในการเล่นเครื่องดนตรีให้สูงขึ้น เพือ่ รักษาความ “ศักดิส์ ทิ ธิ”์ ของวิชาชีพ ดนตรี เพราะนักดนตรีทเี่ ก่งเท่านัน้ ทีจ่ ะได้ รับการยกย่องและการยอมรับ ปรัชญาการศึกษาดนตรีจึงเกิด แนวคิดใหม่ “พรสวรรค์สร้างได้ ไม่ต้อง คอยเทวดา” เพราะแต่ก่อนในสังคมไทย เชื่อว่า คนที่เล่นดนตรีได้ หรือเล่นดนตรี เก่ง ก็ต้องมีพรสวรรค์เท่านั้น คนที่เล่น ดนตรีไม่เก่งก็ได้ยอมรับว่า “เพราะไม่มี พรสวรรค์” สวรรค์จึงเป็นข้อยกเว้นให้


กับทุกคน ท�ำให้ทุกคนปลอดภัย เพราะ สามารถที่จะโทษสวรรค์ได้ เมื่อมีการศึกษาวิจัยเพิ่มขึ้น ก็พบ ว่า “คนเก่งดนตรีได้ ต้องมาจากการฝึก” การมีครูดนตรีท่ีเก่ง เมื่อครูเก่งนักเรียน ก็จะเก่งด้วย นอกจากนี้ อาชีพดนตรีใน สังคมไทย (พ.ศ. ๒๕๖๑) กลายเป็นอาชีพ ทีส่ ามารถจะหาเงินได้ ไม่แพ้อาชีพอืน่ แต่ อย่างใด อาชีพดนตรีเริม่ มีผทู้ ปี่ ระสบความ ส�ำเร็จจากอาชีพ ท�ำให้คนที่อยากเก่งมา เข้าเรียนดนตรีมากขึ้น ประเทศไทยสมัยใหม่ (๔.๐) เป็น ประเทศทีจ่ ะต้องพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และสร้างมนุษย์ทมี่ จี นิ ตนาการ เพือ่ ใช้ความ คิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาประเทศ ต้อง อาศัยจินตนาการใหม่ในการเปลีย่ นแปลง ประเทศ ซึง่ สิง่ เหล่านีต้ อ้ งอาศัยวิชาดนตรี และวิชาศิลปะเป็นพืน้ ฐานของความคิดทัง้ สิน้ ไม่วา่ จะเป็น การบริหารความเปลีย่ นแปลง ทิศทางของความเปลี่ยนแปลง เพราะใน ที่สุดแล้ว ความเปลี่ยนแปลงคือผู้ชนะ

มีศาสตราจารย์ดนตรี

ในอดีต การเข้าสู่ต�ำแหน่งทาง วิชาการดนตรี ต้องอาศัยความรู้ ต้อง อาศัยผลงานวิจัย ส่วนใหญ่เป็นผลงาน กระดาษ ผู้ทรงคุณวุฒิทางดนตรีก็กลาย เป็น “ศาสตราจารย์กระดาษ” เพราะว่า ความรู้และต�ำแหน่งที่ควบคู่กับความรู้ที่ มีเหล่านั้น ผู้บริหารการศึกษาของไทย ได้น�ำวิธีการเข้าสู่ต�ำแหน่งวิชาการแบบ เดียวกับสถาบันการศึกษาทางตะวันตก แต่เนื่องจากความรู้ที่เห็นเป็นใบปริญญา มีตรี โท เอก ความรู้ได้ต�ำแหน่งทาง วิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ รอง ศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ดังนั้น ต�ำแหน่งศาสตราจารย์จึงกลายเป็นชั้น ยศทีเ่ ป็นความก้าวหน้าในอาชีพ แต่วนั นี้ ในประเทศไทย สถาบันการศึกษาไทยมี ศาสตราจารย์ดนตรีแล้ว ศาสตราจารย์ดนตรีเป็นสิง่ ใหม่และ เป็นสิง่ สูงสุดทีไ่ ด้รบั การยอมรับจากสังคม วิชาการ ซึง่ ยังเข้าถึงได้เฉพาะในบางสาขา ต�ำราเท่านัน้ อาทิ ดนตรีศกึ ษา ดนตรีวทิ ยา

เป็นต้น ส่วนดนตรีในสาขาปฏิบัติยังต้อง ใช้เวลาทีจ่ ะพัฒนาในล�ำดับต่อไป เชือ่ ว่าใน ระยะ ๕-๑๐ ปีข้างหน้า (พ.ศ. ๒๕๗๐) มหาวิทยาลัยไทยสามารถมีศาสตราจารย์ ดนตรีในสาขาดนตรีปฏิบัติได้ วันนั้นวิชา ดนตรีก็จะเป็นวิชาชีพที่มีความก้าวหน้า ครบทุกด้าน ไม่แพ้การศึกษาในสาขาอื่น กระบวนการศึกษาและการพัฒนา อาชีพดนตรีนั้นต้องใช้เวลา เพราะดนตรี เป็นวิชาชีพที่อาศัยฝีมือ การพัฒนาฝีมือ การพัฒนารายได้ พัฒนาการยอมรับของ สังคม ซึง่ เวลาจะช่วยให้เกิดการเปลีย่ นแปลง ที่ลงตัวมากขึ้น ส�ำหรับระยะเวลา ความ รวดเร็ว ความล่าช้า หรือความล้าหลัง เป็นกลไกทีข่ นึ้ อยูก่ บั การปรับตัวของคนใน สังคม ในทีส่ ดุ ก็เชือ่ ว่า วิชาดนตรีสามารถ ที่จะก้าวไปสู่อาชีพมาตรฐานเหมือนวิชา ชีพอื่นๆ ได้

ดนตรีเป็นสิ นค้าชนิดใหม่

ดนตรี คือ งานศิลปะของเสียง เป็น ความไพเราะของเสียง เป็นความงดงาม

07


และลงตัว มนุษย์เป็นผู้สร้างเสียงดนตรี ซึง่ เป็นเสียงทีส่ ะท้อนออกมาจากจิตใจของ มนุษย์ หากมองในทางเศรษฐกิจที่นับว่า ดนตรีเป็นสินค้าชนิดใหม่แล้ว ดนตรีกเ็ พิง่ จะเริม่ ตัง้ ตัวในสังคมไทย ดนตรีได้พฒ ั นา มาจากอุปกรณ์ของวณิพกทีใ่ ช้สำ� หรับการ ขอทาน ดนตรีได้กลายเป็นสินค้าทีม่ รี าคา ถูก ต้องอาศัยความสามารถ ต้องอาศัย ฝีมือ ต้องอาศัยการฝึกซ้อม และการ เอาจริงเอาจังอย่างมาก สถาบันอุดมศึกษาของไทยสามารถ ทีจ่ ะผลิตสินค้าด้านดนตรีออกไปสูต่ ลาดได้ ๓ รูปแบบด้วยกัน รูปแบบแรก เป็นการ ผลิตศิลปินออกไปท�ำงานรับจ้าง ผูส้ ำ� เร็จ การศึกษาทีจ่ ะออกไปรับจ้าง ไม่วา่ จะออก ไปเป็นนักร้อง นักดนตรี หรือท�ำงานทีเ่ กีย่ ว กับดนตรี การผลิตศิลปินนั้นจะต้องผลิต นักดนตรีที่มีฝีมือเท่านั้น เป็นนักดนตรีที่ มีความสามารถร่วมเล่นกับวงดนตรีตา่ งๆ ได้ในทุกรูปแบบ รูปแบบทีส่ อง เป็นการสร้างบุคลากร ดนตรี (ศิลปิน) ที่จะออกไปสร้างผลงาน

08

ป้อนตลาดดนตรี สร้างเพลงใหม่ สร้างวง ดนตรีใหม่ สร้างพื้นที่เวทีของการแสดง ดนตรี สร้างนักประพันธ์ดนตรี เพื่อจะ ออกไปแต่งเพลงประกอบงานต่างๆ ที่มี อยูใ่ นสังคม ดนตรีประกอบสารคดี ดนตรี ประกอบภาพยนตร์ ดนตรีประกอบโฆษณา หรือการสร้างเพลงเพื่อขาย เป็นต้น รูปแบบที่สาม เป็นการผลิตครู ดนตรีออกไปสอนในโรงเรียนในทุกระดับ ทั้งโรงเรียนที่อยู่ในประเทศและโรงเรียน นานาชาติในภูมิภาคอาเซียน ครูดนตรี เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีความต้องการสูง ส�ำหรับโรงเรียนในประเทศนั้น อาชีพครู ดนตรี ค่าจ้างไม่อยู่ในความสนใจของคน ท�ำงานมากนัก เพราะการรับราชการเป็น ครูดนตรี (ค่าจ้างต�่ำ) แตกต่างไปจาก ครูดนตรีของโรงเรียนนานาชาติ ซึ่งเป็น อาชีพทีอ่ ยูใ่ นความสนใจของครูดนตรีทกุ คน ทัง้ นี้ การผลิตบุคลากรดนตรีตอ้ งเป็น ครูดนตรีที่มีความสามารถสูง ทั้งในการ สอนและการเล่นดนตรีด้วย

ไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษา ดนตรี

ช่วง ๒๐ ปีหลัง (พ.ศ. ๒๕๔๐๒๕๖๐) การศึกษาดนตรีในประเทศไทย ได้ขยับคุณภาพไปสู่ความเป็นมาตรฐาน นานาชาติสูงขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล ติดล�ำดับ ๑ ใน ๒๐๐ ล�ำดับของ สถาบันดนตรีนานาชาติ ท�ำให้การศึกษา ดนตรีในภูมิภาคพัฒนาสูงขึ้นอย่างมาก สัมผัสได้จากคุณภาพของนักศึกษาทีเ่ รียน ดนตรีในประเทศต่างๆ ทั่วภูมิภาค มีนัก ดนตรีในภูมิภาคเก่งขึ้น รวมทั้งสถาบัน การศึกษาดนตรีในประเทศไทยด้วย โดยมี ข้อสังเกตทีน่ า่ สนใจ ดังนี้ มีคนนิยมเรียน วิชาดนตรีมากขึ้น ค่าเรียนดนตรีสูงมาก ขึน้ คนทีเ่ รียนดนตรีมฐี านะทีด่ กี ว่าแต่กอ่ น นักเรียนดนตรีใช้เครือ่ งดนตรีทมี่ คี ณ ุ ภาพ สูงและราคาแพง คนเรียนดนตรีมีความ เฉลียวฉลาดมากขึ้น เป็นต้น ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ วิ ท ยาลั ย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้


ริเริม่ จัดประชุมระดับนานาชาติขนึ้ ต่อมา ได้จดั ตัง้ เป็นสมาคมคณบดีดนตรีนานาชาติ (Southeast Asian Directors of Music, SEADOM) เป็นก้าวส�ำคัญในการน�ำทาง วิชาการดนตรีในภูมภิ าค เป็นการสนับสนุน ความสามัคคีและช่วยประคับประคอง ทิศทางการศึกษาดนตรี เพื่อสร้างโอกาส การศึกษาดนตรีในภูมภิ าค และเปิดโอกาส ให้เกิดการแลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ะหว่างคณบดี ดนตรีกันมากขึ้นด้วย ซึ่งก็เป็นประโยชน์ ต่อทุกฝ่ายให้หันหน้าเข้าหากัน วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล เป็นตัวอย่างการสร้างอาคารเรียน

ดนตรี การพัฒนาอุปกรณ์การศึกษาดนตรีที่ สมบูรณ์ เพือ่ ให้สถาบันการศึกษาดนตรีอนื่ ๆ ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้ ทัง้ ในด้านงบประมาณ คุณภาพของอาคาร การจัดกิจกรรมดนตรี คุณภาพของนักศึกษาดนตรี เพือ่ ทีจ่ ะเป็น ข้อมูลในการเสนองบประมาณต่อรัฐหรือ ฝ่ายบริหาร ในการจะพัฒนาการศึกษา ดนตรีต่อไป นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดตั้งวงดนตรีอาชีพขึ้น (วงดุริยางค์ ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย) เพื่อที่ จะเป็นตัวอย่างให้แก่สถาบันอุดมศึกษา

อื่น และท�ำให้เกิดอาชีพนักดนตรีให้เห็น เป็นตัวอย่าง ท�ำได้จริง เป็นได้จริง อยูไ่ ด้ จริง เพราะการเป็นนักดนตรีอาชีพก็เป็น เป้าหมายของการศึกษาดนตรีที่แท้จริง เดือนกันยายน ๒๕๖๐ วิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับ การประเมินผ่านในฐานะที่เป็นสถาบันที่ มีมาตรฐานเท่าเทียมกับสถาบันดนตรีใน ทวีปยุโรป (MusiQuE) ซึง่ นับเป็นครัง้ แรก ทีส่ ถาบันในภูมภิ าคอาเซียน (โดยเฉพาะ จากประเทศไทย) ได้รบั การประเมินผ่าน ด้วยคะแนนที่สูง การจัดตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ขึ้นในมหาวิทยาลัยมหิดลนั้น เป็นความ ก้าวหน้าที่ข้ามขั้นเร็วมาก เนื่องจาก มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่ ส�ำคัญของชาติ มีความเข้มแข็งทางการ แพทย์ สังคมเชือ่ ว่า มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วยคนฉลาดและมีฐานะทาง สังคมสูง ท�ำให้เป็นที่น่าเชื่อถือในสังคม จึงเป็นส่วนประกอบส�ำคัญที่ท�ำให้วิชา ดนตรีที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการยอมรับสูงไปด้วย

09


Cover Story

10


คิง เพาเวอร์ คิง ออฟ ดิวตี้ฟรี แต่ไม่ฟรี ออฟ ดิวตี้ เพื่อคนไทย เรื่อง: กองบรรณาธิการ

ลุม่ บริษทั คิง เพาเวอร์ เริม่ ก่อตัง้ ใน ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ในนามบริษทั ดาวน์ ทาวน์ ดี.เอฟ.เอส. (ไทยแลนด์) จ�ำกัด เป็นการลงทุนร่วมกับการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย ด้านธุรกิจจ�ำหน่ายสินค้า ปลอดอากรแห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้ ชื่อบริษัทร่วมลงทุน บริษัท ททท. สินค้า ปลอดอากร จ�ำกัด และมีการด�ำเนินการ มายาวนานกว่า ๒๘ ปี จวบจนปัจจุบัน เป็นบริษัทของคนไทย ที่มุ่งสนับสนุนและ พัฒนาส่งเสริมศักยภาพของคนไทยมาช้านาน นอกเหนือจากหลายกิจกรรมทีก่ ลุม่ บริษทั คิง เพาเวอร์ สนับสนุนแล้ว การประกวด TIWSC 2018 (Thailand International Wind Symphony Competition 2018) หรือการประกวดวงดุริยางค์เครื่องเป่า นานาชาติแห่งประเทศไทย ประจ�ำปี ๒๕๖๑ ยังเป็นกิจกรรมใหม่อกี กิจกรรมหนึง่ ทีก่ ลุม่ บริษทั คิง เพาเวอร์ สนับสนุน โดยร่วมกับ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องในโอกาสนี้ทางวารสารเพลง ดนตรีได้รบั เกียรติสมั ภาษณ์ทา่ นประธาน

เจ้าหน้าทีบ่ ริหาร (ซีอโี อ) กลุม่ บริษทั คิง เพาเวอร์ คุณอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ถึงแนวความคิดในการสนับสนุนการประกวด TIWSC 2018 ซึง่ ถือเป็นหนึง่ ในหลักการ ของกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ภายใต้ชื่อ Campaign ที่ว่า “KING POWER THAI POWER” ด้านดนตรีหรือ Music Power

แนวคิดในการด�ำเนินโครงการ KING POWER THAI POWER กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ บริษัท คนไทย เน้นการพัฒนาและต่อยอด ร่วม สร้างสรรค์ ช่วยพัฒนาศักยภาพให้แก่ คนไทย เพื่อประเทศไทยเข้มแข็ง มุ่งมั่น ด�ำเนินโครงการเพือ่ สังคม ภายใต้แนวคิด “KING POWER THAI POWER พลังคน ไทย” เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีมีประโยชน์ให้ แก่สังคมไทย ผ่านการสร้างและส่งผ่าน พลังความดีให้แก่คนในสังคมทุกระดับ โดยเฉพาะ “เยาวชน” ซึ่งถือเป็นก�ำลัง ส�ำคัญในการช่วยกันพัฒนาขับเคลื่อน ประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าในอนาคต

โดย “KING POWER THAI POWER พลังคนไทย” ประกอบด้วย ๔ ด้านหลัก ได้แก่ ๑) Sport Power ๒) Music Power ๓) Community Power และ ๔) Health & Education Power อันน�ำไปสู่ การด�ำเนินโครงการเพือ่ สังคมตัง้ แต่ระดับ บุคคล ชุมชน ประเทศชาติ ไปจนถึงระดับ สากล เพื่อสร้างสังคมไทยยั่งยืน

เหตุผลในการสนับสนุนการ ประกวด TIWSC 2018 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มุ่งมั่นเป็นส่วน หนึง่ ในการสืบสารอนุรกั ษ์ศลิ ปวัฒนธรรม ไทยทีม่ คี ณ ุ ค่า โดยกลุม่ บริษทั คิง เพาเวอร์ มีโรงละครอักษราซึง่ เป็นโรงละครไทยร่วม สมัย ทีไ่ ด้รบั การตกแต่งอย่างประณีต ด้วย ลวดลายอันวิจิตรของงานจิตรกรรมไทย ทั้งมีเทคนิคด้านการแสดง แสง สี เสียง ที่ทันสมัยได้มาตรฐาน เทียบเคียงกับโรง ละครชัน้ น�ำระดับโลก และมีหนุ่ ละครเล็ก ของอาจารย์สาคร ยังเขียวสด ศิลปินแห่ง ชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย)

11


สาขาย่อยหุ่นละครเล็ก ประจ�ำปี ๒๕๓๙ ส�ำหรับในปีนี้ได้มีการต่อยอดด้านดนตรี จากการที่ในประเทศไทยมีนักดนตรีมาก ความสามารถที่ได้ไปแสดงฝีมือในระดับ นานาชาติ จึงต่อยอดโครงการด้านดนตรี “MUSIC POWER” โดย คิง เพาเวอร์ ร่วม กับ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล จัดโครงการแข่งขันวงดุรยิ างค์เครือ่ ง เป่านานาชาติแห่งประเทศไทย ประจ�ำปี ๒๕๖๑ (Thailand International Wind Symphony Competition 2018) เพื่อ เป็นเวทีให้เยาวชนไทย ตลอดจนคน ไทย ได้แสดงความสามารถด้านดนตรี ในระดับสากล เรามองว่าคนไทยมีศกั ยภาพในทุกๆ ด้าน และดนตรีกเ็ ป็นอีกด้านหนึง่ ทีส่ ำ� คัญ ซึง่ จะเห็นได้จากคนไทยทัง้ เยาวชน นักเรียน นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย สามารถไป แข่งขันในต่างประเทศ และคว้ารางวัลกลับ มาได้ในหลายรายการ แสดงให้เห็นถึงความ สามารถด้านดนตรีของคนไทย ซึง่ ตรงกับ กลุม่ บริษทั คิง เพาเวอร์ พอดี ทีใ่ ห้ความ ส�ำคัญในการสืบสานศิลปะทางดนตรีมา อย่างยาวนาน จึงต้องการสนับสนุนให้คน ไทยได้มเี วทีระดับโลกในการโชว์ศกั ยภาพ จึงเป็นที่มาในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้

หลักเกณฑ์การคัดเลือก รอบคัดเลือก คัดเลือกจากผลงานที่ ส่งเข้ามาแข่งขัน ไลฟ์สดการคัดเลือกผ่าน Facebook วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ หรือ King Power Thai Power พลังคนไทย วันที่ ๑๓-๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ประกาศ ผลผูท้ ผี่ า่ นเข้ารอบรองชนะเลิศ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ทางเว็บไซต์ www. music.mahidol.ac.th หรือ Facebook: King Power Thai Power พลังคนไทย รอบรองชนะเลิศ วันที่ ๑๙-๒๒ มีนาคม ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัย มหิดล

12

รอบชิงชนะเลิศ วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๑ ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัย มหิดล วงทีไ่ ด้รบั รางวัลชนะเลิศจะได้แสดง คอนเสิร์ตในวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๑ ณ โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์ เวลา ๑๙.๐๐-๒๐.๓๐ น.

จ�ำนวนวงทีผ ่ า่ นเข้ารอบคัดเลือก ทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกจะต้อง บรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เพลงประจ�ำชาติ บทเพลงที่ทางวงเลือก ตามที่ผู้จัดก�ำหนด - Class A: สมาชิกในวง ๔๕-๘๐ คน (รวมวาทยกรด้วย) ไม่จ�ำกัดอายุ สามารถเข้าแข่งขันได้ทุกวัย คัดเข้ารอบ จ�ำนวน ๑๒ วง - Class B: สมาชิกในวง ๔๕-๘๐ คน (รวมวาทยกรด้วย) ก�ำลังศึกษา ไม่ เกินระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า คัด เข้ารอบจ�ำนวน ๑๒ วง - Class C: สมาชิกในวง ๔-๑๕ คน (รวมวาทยกร หากมี) ไม่จ�ำกัดอายุ สามารถเข้าแข่งขันได้ทุกวัย คัดเข้ารอบ จ�ำนวน ๒๑ วง - Class D: สมาชิกในวง ๔-๑๕ คน (รวมวาทยกร หากมี) ก�ำลังศึกษา ไม่เกินระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า คัดเข้ารอบจ�ำนวน ๒๑ วง วงเงินในการสนับสนุนและ การพัฒนาที่อยากเห็นในด้าน ของดนตรี ส�ำหรับการสนับสนุนจะแบ่งเป็น หลายส่วน หลักๆ คือ ค่าใช้จ่ายในการ ด�ำเนินการจัดแข่งขัน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท และเงินรางวัล ๔,๓๓๐,๐๐๐ บาท โดย ทีมทีช่ นะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ ๑ รอง ชนะเลิศอันดับ ๒ จะได้รบั ถ้วยรางวัลและ

เงินสนับสนุน ในส่วนของรางวัลป็อปปูลาร์ โหวตจะได้รบั เงินสนับสนุน ฯลฯ เพือ่ เป็น แรงจูงใจในการเข้าร่วมการแข่งขัน ทัง้ ยัง ถือเป็นเงินทีส่ ามารถน�ำไปต่อยอดในการ พัฒนาศักยภาพด้านดนตรีให้เพิม่ ขึน้ ด้วย

มุมมองในอนาคตทางด้านดนตรี ของเด็กไทย ส�ำหรับอนาคตทางด้านดนตรีของ เด็กไทย ผมเชือ่ มัน่ ว่าเด็กไทยจะต้องก้าว ไกลสู่เวทีระดับโลก และกลับมาช่วยกัน พัฒนาศักยภาพของคนไทยด้านดนตรีให้ แก่ประเทศไทยต่อไป เนื่องจากปัจจุบัน เด็กไทยให้ความสนใจด้านดนตรีเพิ่มขึ้น ผูป้ กครองให้การสนับสนุน และมีสถาบัน ทางด้านดนตรีเปิดสอนโดยตรงเพือ่ พัฒนา ให้เป็นนักดนตรีคุณภาพ มุมมองต่อวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และการ ประกวด TIWSC 2018 วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล เป็นสถาบันการศึกษาทีร่ วบรวมคน เก่งและมีความสามารถด้านดนตรีชั้นน�ำ ของประเทศไทย และเป็นสถาบันที่ผลิต นักดนตรีที่เป็นต้นแบบให้แก่คนรุ่นต่อไป ส�ำหรับการประกวด TIWSC 2018 ในครั้งนี้ จะเป็นอีกเวทีหนึ่งที่ให้เหล่า นักดนตรีจากสถาบันต่างๆ ที่มีความ สามารถได้แสดงผลงานและพัฒนาความ คิดสร้างสรรค์ทางด้านดนตรี



Cover Story

สั มภาษณ์คณะกรรมการ

TIWSC 2018 เรื่อง: นิธิมา ชัยชิต (Nitima Chaichit)

ารประกวด TIWSC 2018 (Thailand International Wind Symphony Competition 2018) หรือรายการ ประกวดวงดุรยิ างค์เครือ่ งเป่านานาชาติแห่ง ประเทศไทย ประจ�ำปี ๒๕๖๑ เป็นการร่วมมือ กันระหว่าง บริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์ เนชัน่ แนล จ�ำกัด และวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล รายการประกวดนีเ้ ปิด รับนักดนตรีทกุ คนทีส่ นใจ ไม่จำ� กัดอายุหรือ

14

สัญชาติ โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ส่งเสริมวง ดุรยิ างค์เครือ่ งเป่าในประเทศไทย นอกจาก นีย้ งั เป็นการเปิดโอกาสให้นกั ดนตรีจากทัว่ ทุกมุมโลกมารวมตัวกัน ถือเป็นการส่ง เสริมด้านศิลปวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดทาง ดนตรีและพัฒนาไปจนถึงระดับนานาชาติ การแข่งขันมีถว้ ยและเงินรางวัลรวมมูลค่า ๔,๓๓๐,๐๐๐ บาท โดยวงที่ชนะเลิศการ แข่งขันจะได้แสดงที่โรงละครอักษรา คิง

เพาเวอร์ ในวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๑ ในรอบออดิชนั่ TIWSC 2018 ครัง้ นี้ วารสารเพลงดนตรีได้รบั เกียรติให้สมั ภาษณ์ ตัวแทนคณะกรรมการกิตติมศักดิ์ ถึงมุมมอง ด้านวงการดนตรีวงดุริยางค์เครื่องเป่า ในประเทศไทย และฝีมือนักเรียนดนตรี ของประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับ นักเรียนดนตรีตา่ งชาติ รวมถึงค�ำแนะน�ำ ที่เป็นประโยชน์ด้านอื่นๆ ส�ำหรับผู้อ่าน


ผูเ้ ข้าประกวด และนักดนตรี นอกจากคณะ กรรมการชาวไทยแล้ว ทางวารสารมีโอกาส ได้สมั ภาษณ์ Dr. Michael Robinson Jr. กรรมการชาวอเมริกันอีกด้วย ซึ่งท�ำให้ ตระหนักถึงการพัฒนาของวงการดนตรี ในประเทศไทยที่ก้าวไปอีกขั้น

การได้มาเป็นคณะกรรมการ ตัดสิ นการประกวดครั้งนี้ กรรมการแต่ละท่านมีความ คิดเห็นอย่างไรถึงคุณภาพ ทางด้านดนตรีของเด็กไทย

พ.อ. ประทีป สุพรรณโรจน์: เป็นคน รุน่ ใหม่ไฟแรง มีความตัง้ ใจ และเอาจริงเอาจัง ในการเรียนดนตรี เสียงดนตรีทที่ กุ คนเล่น ออกมา แสดงถึงความแน่วแน่และมุง่ มัน่ ในการฝึกซ้อม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ แต่ละคนตัง้ ใจไว้ ซึง่ สิง่ นีเ้ ป็นหัวใจส�ำคัญใน การเป็นนักดนตรีอาชีพทีป่ ระสบผลส�ำเร็จ อ.สุรสีห์ ชานกสกุล: แน่นอนทีส่ ดุ เด็กๆ ของเราเก่งขึน้ เกิดจากความรู้ ความ สามารถ และประสบการณ์ ความตัง้ ใจของ ผูฝ้ กึ สอน รวมไปถึงการสนับสนุนของหน่วย งานทางการศึกษา ในการสนับสนุนอุปกรณ์ ทีม่ คี วามจ�ำเป็นต่อการพัฒนา การช่วยกัน แบบนีจ้ ะท�ำให้คณ ุ ภาพดนตรีของเด็กไทย มีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อไปได้มากยิ่งขึ้น อ.สุรพล ธัญญวิบูลย์: มาตรฐาน การบรรเลงของเด็กไทย มีความรู้ความ เข้าใจในพื้นฐานเป็นอย่างดีมากขึ้น อ.เมธวัชร์ (เทวัญ) ทรัพย์แสนยากร: ในเชิงปฏิบตั ถิ อื ว่ามีความสามารถสูงกว่า เด็กสมัยก่อน ซึ่งการพัฒนานี้เป็นการ พัฒนาด้านเทคนิค โดยอาจจะมีเทคนิค ใหม่ๆ ส�ำหรับการสอนด้วย ไม่เหมือนคน รุ่นเก่าที่จะสอนกันอีกแบบ คือ ครูสมัย ก่อน อย่างครูท่ีสอนพี่ เป็นครูคนเดียว สอนทุกด้านเลย สอนละเอียด สอนแม้ กระทัง่ การถือคทาดรัมเมเยอร์ แต่ปจั จุบนั พัฒนาไปเยอะมาก ท�ำให้สะดวกต่อการ เล่น เทคนิคต่างๆ ที่ได้รับการถ่ายทอด กันมาก็สมบูรณ์แบบขึน้ กว่าเมือ่ ก่อนเยอะ

อ.ภัทราวุธ พันธุ์พุทธพงษ์: เด็ก ไทยส่วนใหญ่ที่เข้ามาแข่งขันมีพื้นฐาน ทางดนตรีทดี่ ใี นระดับหนึง่ แต่เป็นปกติที่ ในแต่ละ section ของทุกๆ วง จะมีฝมี อื ที่ค่อนข้างแตกต่างกัน โดยรวมถือว่าดี อ.อนุพงษ์ อมาตยกุล: มีทักษะใน การปฏิบัติเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ สูงขึ้น มาก เพลงทีเ่ ลือกส่งเข้ามาประกวดมีหลาก หลายแนวเพลง การประพันธ์บทเพลงและ การเรียบเรียงเพลงมีคุณภาพสูง ผศ.ชูวิทย์ ยุระยง: นักดนตรีรุ่น ปัจจุบนั มีพนื้ ฐานทีด่ ขี นึ้ กว่าในอดีต มีครูที่ มีความรู้ ได้รบั การแนะน�ำ ได้รบั ค�ำสอนที่ เป็นขัน้ ตอนถูกต้องมากขึน้ มีสอื่ ออนไลน์ ต่างๆ ที่เข้าถึงได้สะดวก หาแหล่งอ้างอิง ข้อมูลได้ไม่ยาก ท�ำให้มาตรฐานทางด้าน ดนตรีอยู่ในระดับมาตรฐานเทียบเคียงได้ กับนานาอารยประเทศ

มุมมองต่อความเหมือนและ ความต่างของวงดุริยางค์ เครือ่ งเป่ าของเรากับต่างชาติ

อ.อนุพงษ์: ด้านเทคนิคการเล่น ไม่แตกต่างกันมาก ความแตกต่างจะไป เด่นชัดในด้านทักษะการบรรเลงร่วมกัน เป็นทีม การตีความบทเพลง และการ ถ่ายทอดลีลาเพลง ผศ.ชูวทิ ย์: ในกลุม่ เครือ่ งเป่า อุปกรณ์ เครือ่ งดนตรีทนี่ กั เรียนและนักศึกษาใช้สว่ น ใหญ่เป็นเครือ่ งทีม่ มี าตรฐานในระดับดี แต่ ขณะเดียวกัน การซ่อมบ�ำรุง การปรับ แต่งเครื่องดนตรีให้มีความสมบูรณ์ เป็น สิง่ ทีย่ งั ท�ำได้ไม่ทวั่ ถึง และยังไม่ได้รบั การ ดูแลอย่างจริงจัง อ.สุรพล: ถ้าเปรียบเทียบมาตรฐาน กับต่างชาติ วงของไทยเรามีมาตรฐานที่ เทียบเคียงกับต่างชาติได้เลย

พ.อ. ประทีป สุพรรณโรจน์

15


อ.สุรสีห์ ชานกสกุล

อ.สุรสีห:์ ไม่วา่ จะน�ำเราไปเทียบกับ ชาติใด ผมเข้าใจว่าเราอยูใ่ นระดับมาตรฐาน สากล คุณภาพเสียงออกมาค่อนข้างดี ไม่ ต้องอับอายใครเลย อ.เมธวัชร์: เราจะต้องมองลึก เข้าไปว่า การสู้กับต่างชาติ หรือสู้กันเอง ก็เป็นเรือ่ งหนึง่ แต่ธรรมชาติของมนุษย์ที่ กระจายกันอยูต่ ามโซนต่างๆ นีก่ แ็ ตกต่าง กันแล้ว จากเมื่อก่อนนี้เราพยายามคิด ว่าเราต้องเลียนแบบจากต้นฉบับ เครื่อง เป่าทองเหลืองมีรากฐานมาจากฝั่งทวีป ยุโรปและอเมริกา ดังนั้น การเขียนเพลง จึงมีส�ำเนียงของทางฝั่งตะวันตก พอเรา น�ำเพลงของเขามาเล่น ถ้าเป็นในสมัย ก่อน เราต้องพยายามเล่นเลียนส�ำเนียง ให้ใกล้เคียงกับแม่แบบ แต่ปจั จุบนั ผูเ้ ล่น ในแต่ละพืน้ ทีก่ จ็ ะเล่นโดยทีม่ สี ำ� เนียงเป็น เอกลักษณ์ของตัวเอง เช่น ญีป่ นุ่ หรือจีน ดังนั้น ไทยเราก็ต้องพยายามเล่นให้เป็น ส�ำเนียงของเรา มากกว่าจะพยายามเค้น เสียงให้เหมือนกับส�ำเนียงของทางตะวันตก

16

จะท�ำให้การเล่นมีเสน่ห์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ความต้องการของผู้ฝึกสอนด้วย ถ้าเป็น ตัวพี่จะชอบในลักษณะที่มีความแตกต่าง มีส�ำเนียงของเรา ดังนั้น ถ้าเราใช้เล่น แบบไทยเดิม ก็เล่นให้เป็นแบบไทย เล่น ในธรรมชาติของเรา ก็จะฟังดีขนึ้ มาเอง ที่ เห็นในวันออดิชนั่ บางวงอาจจะไม่พร้อม เท่าไหร่ แต่บางวงเขาตั้งใจ แล้วเตรียม ตัวมาอย่างดีเลย เหมือนเป็นทีมเวิร์กที่ สมบูรณ์แบบ อันนัน้ ต้องชืน่ ชมครับ ทัง้ คน ที่ฝึกสอนและผลักดันทีมเหล่านั้นเข้ามา จริงๆ มีหลายทีมเลยครับ อ.ภัทราวุธ: สิง่ ทีว่ งซิมโฟนิกแบนด์ ต่างชาติจะมีก็เช่น ผู้ควบคุมวงที่มีความ สามารถสูงกว่าคนไทยโดยเฉลีย่ , โน้ตเพลง ที่มีความหลากหลายกว่า, ครูผู้สอนที่มี ความสามารถสูงกว่า, ระบบการจัดการ ต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง, นักดนตรีได้ รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน มากกว่าในไทย, โอกาสทางการศึกษามี มากกว่า เช่น การจัดอบรมเชิงปฏิบัติ

การต่างๆ และจัดค่ายดนตรี, มีวงดนตรี ที่มีมาตรฐาน มีประวัติความเป็นมาอัน ยาวนาน และมีฝมี อื ดี, การแข่งขันสูงกว่า ในทุกระดับ รวมทัง้ การมีตวั เลือกทีม่ ากกว่า ทีก่ ล่าวมาทัง้ หมดคือความแตกต่างระหว่าง วงดุริยางค์เครื่องเป่าของไทยกับระดับ นานาชาติ หากจะเปรียบเทียบความ คล้ายคลึงกันก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับการให้ ความสนใจในการแข่งขัน ดูได้จากทุกปี ที่ จะมีจำ� นวนผูเ้ ข้าร่วมแข่งขันมากขึน้ และ เรือ่ งวินยั ในการซ้อม รวมถึงระบบการฝึก ซ้อมทีเ่ ราเรียนรูจ้ ากต่างประเทศ แล้วน�ำ มาพัฒนาวงดุริยางค์เครื่องเป่าของไทย ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับวงระดับ นานาชาติมากขึ้น พ.อ. ประทีป: ความเหมือน คือ ทุกคนมีจติ ใจทีร่ กั และศรัทธาในเสียงดนตรี อย่างจริงจัง ซึง่ ทุกๆ คนได้แสดงออกผ่าน เสียงดนตรีที่มีความสมัครสมานสามัคคี เป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความต่าง คือ วงดนตรีในต่างประเทศจะมีส�ำเนียงการ บรรเลงและการตีความหมายบทเพลง แตกต่างไปจากวงดนตรีในประเทศไทย ซึง่ สิง่ เหล่านีไ้ ม่ใช่เรือ่ งแปลก แต่เนือ่ งจาก แต่ละภูมิภาคพื้นเพของวัฒนธรรม วิถี ชีวิต และการเรียนการสอนที่ต่างกัน จึง ท�ำให้ส�ำเนียงดนตรีมีความแตกต่างและ ไม่คนุ้ หูคนไทยนัก แต่เราจะได้เรียนรูจ้ าก ความหลากหลายที่เกิดขึ้น

สิ่ งทีเ่ ป็นข้อได้เปรียบของนัก ดนตรีเด็กไทยคืออะไร

อ.เมธวัชร์: เด็กไทยได้เปรียบ คือ เพลงไทยเดิมของเราไม่ธรรมดา เพลง ไทยเดิมของเรามีความกว้างอยูใ่ นตัว ถ้า เราเข้าใจ เราจะรูเ้ ลยว่าเพลงไทยเดิมนัน้ เป็นการผสมผสานส�ำเนียงดนตรีเกือบทัว่ โลกมาอยู่ในดนตรีไทย พี่เป็นคนที่ชอบ ค้นหาสิ่งเหล่านี้ เลยเป็นคนที่เข้าใจอะไร แบบนีม้ าแต่ไหนแต่ไร เราก็จะดึงออกมาได้ คนทีไ่ ม่เข้าใจก็จะคิดไม่ออก คนทีเ่ ข้าใจก็ จะรูว้ า่ ส�ำเนียงแบบนี้ ท�ำนองแบบนี้ เป็น เพลงมาจากชาตินนี้ ะ ซึง่ เพลงไทยเดิมนัน้ ถูกดัดแปลงมา แม้แต่การตั้งชื่อ บางทีก็


ข้อเสี ยเปรียบของเด็กไทยมี อะไรบ้าง

อ.ภัทราวุธ พันธุ์พุทธพงษ์

ยังบอกเลยว่าเพลงจีนนูน่ จีนนี่ มีลาวนูน่ ลาวนี่ เขมรนูน่ เขมรนี่ อะไรต่างๆ เหล่า นี้ เขาไม่ได้เอาตัวท�ำนองตรงๆ มา เขา เอาตัวส�ำเนียงของแต่ละส�ำเนียงมา แต่ ก็ยังบอกได้ว่าเป็นส�ำเนียงของชาติไหน ฉะนั้นเราต้องเข้าใจ ต้องแยกแยะได้ จึง จะไปถึงการสร้างสรรค์ต่อไป อ.สุรพล: ข้อได้เปรียบของวงเด็ก ไทยจะเด่นเรือ่ งการท�ำงานเป็นทีม เพราะ ระบบของเราจะเน้นการซ้อม Sectional และ Part อ.ภัทราวุธ: เด็กไทยมีระบบการซ้อม ทีค่ อ่ นข้างมีวนิ ยั สูง และระบบพีส่ อนน้อง ท�ำให้มนี กั ดนตรีเพิม่ ขึน้ ได้คอ่ นข้างรวดเร็ว อ.สุรสีห์: เก่ง และมีความขยัน หมัน่ เพียร อยูใ่ นระเบียบวินยั ตัง้ ใจฝึกฝน เด็กไทยโชคดีที่ได้เรียนกับครูไทยเก่งๆ ที่ มีความตัง้ ใจท�ำงาน หรืออาจจะมีครูตา่ ง ชาติบ้าง ถือเป็นโอกาสที่ดีเข้าไปอีก เด็ก ไทยโชคดีที่เรามีครูต้นแบบที่บุกป่าฝ่าดง ลุยบุกเบิกมาให้ก่อนโดยใช้เวลา ๓-๔

ทศวรรษ เด็กๆ จึงได้ความรู้ทางดนตรีที่ ถูกทันที โดยไม่ต้องไปลองผิดลองถูกให้ เสียเวลากันอีก พ.อ. ประทีป: นักดนตรีของไทย ได้เปรียบตรงที่เรามีแม่แบบในการเป็น นักดนตรี คือ เรามีพระมหากษัตริย์ที่ ทรงเป็นแบบอย่างในการเป็นนักดนตรีที่ ดี ซึ่งไม่ใช่แค่เล่นดนตรีอย่างเดียว แต่ ยังมีศาสตร์ด้านอื่นๆ ที่ต้องเรียนรู้ควบคู่ ไปด้วยในการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน เช่น หลักธรรมและการอยูร่ ว่ มกันในสังคม ซึง่ ท�ำให้เด็กไทยมีการปรับตัวและสามารถ ท�ำงานร่วมกับผูอ้ นื่ ได้ดกี ว่านักดนตรีจาก ต่างประเทศ อ.อนุพงษ์: มีเวลาฝึกซ้อมร่วมกัน มาก ได้รบั การสนับสนุนให้เข้าร่วมประกวด จากสถาบันต้นสังกัดเป็นอย่างดี

อ.ภัทราวุธ: เรายังขาดบุคลากร ที่มีคุณภาพ เครื่องดนตรีที่ดี และแหล่ง เรียนรู้อีกมาก อ.สุรพล: วงต่างชาติคอ่ นข้างมีจดุ เด่นเฉพาะบุคคล เพราะระบบของเขาจะ มีการเรียนเดี่ยวตัวต่อตัวกันเกือบทุกคน ท�ำให้คุณภาพโดยส่วนตัวจะโดดเด่น ผศ.ชูวทิ ย์: เด็กไทยใช้เวลาทุม่ เทกับ กิจกรรมดนตรีมาก แต่มกั จะใช้เวลาในการ เรียนเป็นกลุม่ และฝึกซ้อมรวมวงเป็นส่วน ใหญ่ การเรียนทักษะส่วนบุคคลเป็นการ เรียนทีจ่ ะช่วยพัฒนาและแก้ปญ ั หาพืน้ ฐาน ในด้านต่างๆ เป็นเรื่องส�ำคัญส�ำหรับการ ปฏิบัติดนตรี ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องให้ความ ส�ำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน อ.เมธวัชร์: ถ้าปัจจุบันแล้ว ไม่น่า จะมีการเสียเปรียบนะครับ เผลอๆ จะ ได้เปรียบด้วยซ�้ำ เพราะเราเปิดรับกว้าง มากในประเทศไทย ดนตรีทั่วโลกอยู่ใน ประเทศไทย พ.อ. ประทีป: นักเรียนดนตรีใน ประเทศไทยมีข้อเสียเปรียบ ๒ ประการ คือ ๑. คนที่เรียนดนตรีแล้วไม่มีงาน ดนตรีรองรับ ต้องไปเป็นครูดนตรี หรือ ทีมสนับสนุนด้านการสอนดนตรี ๒. คน ที่สอบเข้าเรียนในสาขาอื่นๆ ไม่ได้ หรือ ไม่รจู้ ะเรียนอะไร ก็ไปเรียนดนตรีในระดับ มหาวิทยาลัย เมื่อเรียนจบมีคุณวุฒิ ปริญญาตรีแล้วไม่รู้จะไปท�ำงานอะไร ก็ สมัครไปเป็นครูสอนดนตรี ซึ่งท�ำให้เป็น เหมือนแม่ปูลูกปู อ.สุรสีห์: อาจจะเรียนเยอะเกินไป ถ้าได้มีเวลาฝึกซ้อมดนตรีมากขึ้น จะยิ่ง ท�ำให้มีคุณภาพดนตรีดีมากขึ้นอีก และ หากมีงบประมาณมากขึน้ นักเรียนอาจจะ ได้เรียนปฏิบัติเครื่องดนตรีแบบ Private Lesson ซึ่งจะช่วยพัฒนาดนตรีแบบราย บุคคลได้มากขึน้ อีก แต่กต็ อ้ งใช้งบประมาณ อีกพอสมควร อ.อนุพงษ์: ความเข้าใจอย่างลึกซึง้ เกี่ยวกับดนตรีตะวันตกยังมีข้อจ�ำกัดอยู่ บ้าง แม้ในปัจจุบนั ประเทศไทยจะมีสถาบัน

17


สอนดนตรีในระดับอุดมศึกษาเพิ่มมาก ขึน้ แต่ยงั ไม่สามารถเข้าใจดนตรีตะวันตก ได้อย่างลึกซึ้ง อาจจะเป็นเพราะความ แตกต่างของลักษณะทางสังคม สภาพ ความเป็นอยู่ ภาษาที่ใช้ ความเป็นมา ของประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมก็เป็น ได้

แต่ละท่านมองอนาคตด้าน ดนตรีของเด็กไทยอย่างไร

อ.สุรสีห:์ เด็กเหล่านีจ้ ะเป็นผูพ้ ฒ ั นา ดนตรีตอ่ จากเรา บรรยากาศการประกวด ประชันดนตรีในปัจจุบนั เป็นบรรยากาศทีด่ ี ครูไทย นักเรียนไทย ยอมรับข้อคิดเห็นจาก คณะกรรมการมากขึน้ เมือ่ ความไม่เคยรู้ กลายมาเป็นความรู้ ก็เกิดการยอมรับซึง่ กันและกันในสังคม ผมเชือ่ ว่าการยอมรับ ฟังความคิดเห็นนัน้ เป็นสิง่ ทีฉ่ ลาดอย่างยิง่ ผมเชื่อว่าการประกวดครั้งนี้จะส่งผลถึง อนาคตของลูกหลานเราอย่างแน่นอน

และเป็นแนวโน้มที่ค่อนข้างดี อ.อนุพงษ์: ปัจจุบันมีสถาบันสอน ดนตรีในระดับอุดมศึกษาเพิม่ มากขึน้ เชือ่ ว่าจะมีพัฒนาการที่สูงขึ้นในอนาคต พ.อ. ประทีป: มีอนาคตสดใส แน่นอน เพราะทุกหน่วยงานของรัฐและ เอกชนต้องใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในงาน ประชาสัมพันธ์และงานด้านส่งเสริมการ ขาย แต่นักดนตรีต้องมีความสามารถใน ระดับมืออาชีพและต้องพูดภาษาอังกฤษ ได้ จึงจะได้รับงานที่มีค่าตอบแทนสมน�้ำ สมเนือ้ และเลีย้ งชีพได้ทดั เทียมกับอาชีพ ชั้นน�ำในสังคม ผศ.ชูวิทย์: ทุกวันนี้มีสถาบันการ ดนตรีที่รองรับความต้องการอย่างกว้าง ขวาง แต่ก็ท�ำให้ตลาดหลังจบการศึกษา มีการแข่งขันทีเ่ ข้มข้นขึน้ ทุกคนต้องผ่าน การคัดสรรมากขึน้ ดังนัน้ ระดับมาตรฐาน อาจไม่เพียงพอกับความต้องการในตลาด ต้องมีความพิเศษโดดเด่น ซึ่งจะต้องเริ่ม

ตั้งแต่การค้นหาความสนใจความถนัด ของตนให้ได้เร็วที่สุด ตอบตัวเองให้ได้ว่า ต้องการเล่นดนตรีไปถึงระดับไหน เป็นเพียง งานอดิเรก กิจกรรมยามว่าง ทักษะพิเศษ ทีต่ ดิ ตัวเอาไว้ หรือต้องการเข้าสูว่ ชิ าชีพนี้ อย่างจริงจัง ในวิชาชีพดนตรีมคี วามหลาก หลายทีต่ อ้ งการความเชีย่ วชาญเฉพาะทาง ค้นหาตัวตนของตัวเองให้พบ ตัง้ เป้าหมาย ให้ชัดเจน มุ่งมั่น ไม่ท้อถอยกับปัญหา อุปสรรค เพือ่ ให้อยูใ่ นแนวทางเป้าหมาย ทีเ่ ราเลือกแล้ว ทุม่ เทฝึกฝนในด้านดนตรี ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาตนเองในศาสตร์ ที่เกี่ยวข้อง ศาสตร์ข้างเคียง บุคลิกภาพ ความอ่อนน้อม ความรูค้ วามเข้าใจเพือ่ น มนุษย์และสังคมรอบตัว จนถึงสังคมโลก อ.เมธวัชร์: มีมาตรฐานขึ้น เป็น อินเตอร์ขนึ้ เล่นกับใครก็ได้ทวั่ โลก ดนตรี ไทยสามารถท�ำได้หมดแล้ว โดยเฉพาะ เครื่องเป่าตอนนี้มีคุณภาพเยอะขึ้นมาก อย่างเช่น การแสดงคอนเสิรต์ เขาไม่ตอ้ ง ยกวงมา แค่สง่ แต่โน้ตมา เราก็ใช้นกั ดนตรี คนไทยเล่นไปเลย ได้มาตรฐานแน่นอน อ.ภัทราวุธ: น่าจะค่อยๆ ดีขึ้น ตามล�ำดับ อ.สุรพล: อนาคตด้านดนตรีในไทย เรา ขณะนี้เริ่มตื่นตัว แต่ก็ยังขาดการ สนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐ ถ้าภาค รัฐหันมามองโดยใช้กจิ กรรมดนตรีเป็นสือ่ ผลักดันพัฒนาเยาวชน จะท�ำให้การพัฒนา มีเสถียรภาพมากขึ้น

อะไรคือปั จจัยในการพัฒนา ด้านดนตรีทส ี่ � ำคัญบ้าง และ อะไรคือสิ่ งที่เรายังขาดอยู่

ผศ.ชูวิทย์ ยุระยง

18

อ.สุรพล: ปัจจัยที่ส�ำคัญ คือ เรา ต้องมามองทัง้ ระบบในการพัฒนาบุคลากร และจัดเวทีหรือจัดกิจกรรมที่เอื้อต่อการ พัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง งบประมาณทีจ่ ดั สรร กับการวางระบบจะช่วยผลักดันให้เกิดการ พัฒนาอย่างครบวงจร จึงเป็นตัวแปรที่ ส�ำคัญในเบื้องต้น อ.เมธวัชร์: ปัจจัยทีส่ ำ� คัญ คือ ความ เข้าใจเกีย่ วกับดนตรีอย่างลึกซึง้ และการ


อ.เมธวัชร์ (เทวัญ) ทรัพย์แสนยากร

สร้างอัตลักษณ์ของดนตรีในประเทศไทย เมือ่ ขาดความเข้าใจและขาดอัตลักษณ์ ท�ำให้ เราพัฒนาไปตามกระแส ไม่มคี วามโดดเด่น ขาดทิศทางในการพัฒนาอย่างชัดเจน อ.ภัทราวุธ: ครอบครัวควรจะต้อง มีสว่ นร่วมในการปลูกฝัง สนับสนุนความ รักในดนตรีให้กบั เด็ก, ตัวเด็กเองก็จะต้อง มีความมุง่ มัน่ ในการฝึกซ้อม พัฒนาทักษะ ทางดนตรี, สภาพแวดล้อมทางดนตรีตอ้ งดี ซึง่ ประกอบไปด้วยสถานทีส่ ำ� หรับการฝึก ซ้อม การแสดง แหล่งเรียนรูต้ า่ งๆ ได้แก่ การอบรมทางดนตรี การแสดงคอนเสิรต์ ของวงทีม่ คี ณ ุ ภาพ เป็นต้น, ประสิทธิภาพ ของเครื่องดนตรีและอุปกรณ์เสริมต่างๆ ต้องมีคุณภาพ ส่วนสิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่ ได้แก่ บุคลากร ครู นักดนตรีที่มีความรู้ความ สามารถ ยังมีจำ� นวนน้อย, ยังขาดระบบ ส่งเสริมการศึกษา และแหล่งเรียนรูต้ า่ งๆ ได้แก่ การจัดอบรมเชิงปฏิบตั กิ าร และจัด

ค่ายดนตรี, ระบบวงโยธวาทิตของโรงเรียน บางแห่งทีค่ อ่ นข้างจะปิดกัน้ ไม่ให้นกั เรียน ได้ออกมาสูส่ งั คมภายนอก รวมทัง้ ภาครัฐ และเอกชนก็ยงั ขาดการสนับสนุนอย่างต่อ เนื่อง พ.อ. ประทีป: ครูคือปัจจัยส�ำคัญ ในการพัฒนาด้านดนตรี เพราะถ้าเราได้ ครูดนตรีที่มีมาตรฐานเหมือนในสถาบัน ดนตรีชั้นน�ำของโลก เราก็สร้างนักดนตรี ระดับโลกได้เช่นกัน ซึ่งสถาบันดนตรีที่มี ในประเทศไทยส่วนใหญ่ยงั ขาดแคลนครูที่ มีคณ ุ ภาพ คนทีอ่ ยากประสบผลส�ำเร็จใน อาชีพดนตรี ก็ตอ้ งไปเรียนต่อต่างประเทศ เพือ่ ให้ได้ความรูท้ มี่ มี าตรฐาน มาประกอบ อาชีพด้านดนตรีดงั ทีต่ งั้ ใจไว้ ดังนัน้ สิ่งที่ เรายังขาดก็คือ ครูดนตรีที่มีมาตรฐาน อ.อนุพงษ์: องค์ประกอบของวงการ ดนตรีตะวันตกที่ครบวงจร เช่น ฝีมือนัก ดนตรี คุณภาพเครือ่ งดนตรี คุณภาพของ เพลงทีบ่ รรเลง สถานทีฝ่ กึ ซ้อมและแสดง

ดนตรี ผู้ให้การสนับสนุน รวมทั้งผู้ฟังที่ เข้าใจ และเข้าถึงความงดงามของดนตรี ตะวันตก ซึ่งยังขาดอยู่ อ.สุรสีห:์ ผมคิดว่าในแต่ละสัปดาห์ เรามีกจิ กรรมทางดนตรีมากมายจนเรียก ได้ว่าไม่สามารถไปดูได้ทัน สิ่งเหล่านั้น เป็นทางลัดในการพัฒนาดนตรีโดยตรง ส�ำหรับเราทุกคน รวมทั้งเด็กๆ ของเรา ด้วย ดนตรีสด การแสดงต่างๆ ครูและ ผูป้ กครองต้องหาโอกาสพานักเรียนไปชม นักเรียนเองก็ตอ้ งหาโอกาสไปดูและฟังให้ มากยิ่งขึ้น เพื่อให้มีเสียงดนตรีที่ดีในหัว จะได้ถ่ายทอดเสียงดนตรีดีๆ ออกมาได้ ทันที ยกตัวอย่าง คุณเคยนั่งดูรายการ มวยอยู่ที่บ้าน แล้ววันหนึ่งรู้สึกว่าอยาก ฝึกหัดมวย คุณก็ไปซื้อหาอุปกรณ์มาจน ครบ มาฝึกซ้อมอยู่ที่บ้าน เสพมวยทาง โทรทัศน์บ้าง YouTube บ้าง เอาวิธีของ ครูคนนี้มาใช้บ้าง คุณออกแรงเตะ ต่อย ด้วยตัวเอง วันหนึง่ คุณอาจจะมีโอกาสชม การต่อยมวยอาชีพจริงๆ ในสนามใกล้บา้ น ได้ยินเสียงเตะ ต่อย คุณจะสัมผัสได้ถึง พลังงานแต่ละหมัดทีน่ กั มวยปล่อยออกไป ได้ระดับหนึง่ เท่านัน้ แต่ถา้ คุณได้ลองต่อย กับบัวขาวสักครัง้ คุณจะรูน้ ำ�้ หนักเตะต่อย และชัน้ เชิงต่างๆ อีกมากมายจากบัวขาว เมือ่ คุณกลับมาบ้าน คุณจะพบว่า น�ำ้ หนัก ที่คุณเตะไปที่กระสอบทราย จะเป็นน�้ำ หนักที่ถูกไตร่ตรองและมีเป้าหมายอย่าง ยิ่ง ผมว่าเราสอนเด็กดนตรีง่ายขึ้นมาก ถ้าเด็กๆ มีเสียงดนตรีในหัวที่ดีๆ

การประกวด TIWSC 2018 นี้ จะน�ำความเปลี่ยนแปลง อะไรมาสู่ วงการดุริยางค์ เครื่องเป่ าของไทย พ.อ. ประทีป: การประกวดครั้งนี้ จะน�ำความตืน่ ตัวในการเล่นดนตรีมาสูค่ น ไทยในทุกสาขาอาชีพ การประกวดนีเ้ ปิด กว้างให้แต่ละกลุม่ แยกออกจากกันชัดเจน ระหว่างนักเรียนนักศึกษาและบุคคลทัว่ ไป ไม่จ�ำกัดอายุ ซึ่งสิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ จะ มีวง Community Band หรือวงดนตรี ชุมชน เกิดขึ้นอย่างมากมาย ท�ำให้คนที่

19


อ.เมธวัชร์: ถ้าในเชิงที่จะพัฒนา ฝีมือให้ดีขึ้น ก็จะได้ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ใน เชิงสร้างสรรค์ยังไม่ชัดเจนนัก เรายัง ต้องพัฒนาในเชิงสร้างสรรค์ให้ควบคู่กัน ไปด้วย มิฉะนั้นจะกลายเป็นการพัฒนา แค่ฝมี อื ต้องมีเพลงสักเพลงทีส่ ร้างสรรค์ แล้วสามารถบอกทัว่ โลกได้วา่ เพลงนีเ้ ป็น เพลงจากเรานะ เป็นเพลงจากนักดนตรี ไทย เมื่อเราพัฒนาฝีมือแล้ว เราต้อง พัฒนาส่วนอื่นๆ ต่อไปด้วย อย่างเช่น จีน เขาก็จะเอาเครื่องดนตรีจีนไปเล่น คลาสสิก นีแ่ หละคือความสร้างสรรค์ มัน แปลกออกไป แต่การสร้างสรรค์เหล่านีก้ ็ ไม่ได้เป็นสิง่ ทีถ่ าวร จะเป็นการขับเคลือ่ น ไปเรือ่ ยๆ การสร้างสรรค์ไม่ใช่การท�ำแล้ว ให้สำ� เร็จไปในทีเดียว แต่วา่ ให้มกี ารริเริม่ เพือ่ ให้พฒ ั นาต่อไปได้ ตอนนีเ้ รายังขาดสิง่ เหล่านีอ้ ยู่ ถึงจะมีอยูบ่ า้ ง ก็เป็นส่วนน้อย อ.ภัทราวุธ: TIWSC จะมีส่วนให้ ประเทศไทยพัฒนาไปสูค่ วามเป็นเลิศทาง ด้านการประกวดระดับนานาชาติ (ภายใน

อ.อนุพงษ์ อมาตยกุล

ประกอบอาชีพอื่นที่เคยเล่นดนตรี แล้ว อยากเล่นดนตรีเพื่อเป็นงานอดิเรก จะมี การรวมตัวและก่อตั้งวงดนตรีขึ้นมามาก ขึน้ เพราะว่ามีเวทีให้แสดงความสามารถ ทางดนตรีมากขึ้น อ.สุรสีห:์ มากถึงมากทีส่ ดุ ไม่วา่ จะ เป็นความเข้มข้นของการตัดสิน สถานที่ แข่งขัน ความโปร่งใส ความเท่าเทียม กัน และบรรยากาศการแข่งขัน หอแสดง ดนตรีทดี่ ๆี จะช่วยส่งเสริมงานศิลปะทาง ดนตรีของประเทศเรา คุณไม่ตอ้ งออกแรง มากมายให้กงั วาน คุณไม่ตอ้ งตะเบ็งเสียง เหมือนทีอ่ นื่ ๆ การได้ยนิ การฟัง การรวม วงกัน จะยอดเยีย่ มมาก เด็กๆ และครูได้ มีเวลาไตร่ตรองในการสร้างงานศิลปะทาง ดนตรีครั้งนี้อย่างมีคุณภาพ อ.อนุพงษ์: มีความตืน่ ตัวสูง มีเป้าหมาย ในการฝึกซ้อมชัดเจน การแข่งขันท�ำให้มี ความมุง่ มัน่ ในการฝึกซ้อม นักดนตรีได้รบั โอกาสในการสร้างเสริมประสบการณ์การ แสดงบนเวทีในระดับนานาชาติ

20

อ.สุรพล ธัญญวิบูลย์


ระยะเวลาอย่างน้อย ๒-๕ ปี) ส่งผลให้ อัตราการแข่งขันกันในแต่ละวงเพิ่มมาก ขึ้น รวมถึงประสิทธิภาพของบุคลากรที่ เกี่ยวข้องก็จะดีขึ้นตามไปด้วย อ.สุรพล: การประกวด TIWSC เป็น เวทีใหญ่ น�ำร่องเปิดพื้นที่ให้กับเยาวชน ได้แสดงผลงาน ถ้าจัดอย่างต่อเนื่อง จะ ท�ำให้เยาวชนได้พัฒนาศักยภาพของตัว เองได้เป็นอย่างดี

ค�ำแนะน�ำหรือความคิดเห็น ให้แก่น้องๆ ที่มาประกวด

อ.ภัทราวุธ: เด็กๆ ยังให้ความส�ำคัญ กับพื้นฐานการบรรเลงไม่มากเท่าที่ควร โดยเฉพาะเรื่อง Tone Quality, Tone Production การเลือกใช้สีสันของเสียง ในส่วนของการให้ความส�ำคัญกับพืน้ ฐาน เช่น ๑) Tone/Sound ๒) จังหวะ ๓) Intonation ๔) องค์ประกอบอื่นๆ เช่น Style, Color, Articulation, Balance ของแต่ละกลุ่มเครื่องดนตรี และในด้าน สุดท้าย คือ บทเพลงที่ใช้ในการประกวด ส่วนใหญ่ไม่คอ่ ยมีเนือ้ หาทางศิลปะมากนัก จะเน้นแต่เรือ่ งความดัง ความเร็ว เสียเป็น ส่วนมาก อ.สุรพล: ส�ำหรับวงดนตรีทผี่ า่ นเข้า รอบโดยส่วนใหญ่ จะมีประสบการณ์ มีการ วางแผน การฝึกซ้อม เข้าใจวิธกี ารฝึกซ้อม ให้ได้ประสิทธิภาพ ผลงานจึงมีมาตรฐาน ในอนาคตอยากให้รายการประกวดเช่นนีซ้ งึ่

เป็นการประเมินคุณภาพ อาจจะเพิม่ ช่วง เวลาอบรมสัมมนา ให้ทกุ ๆ วงเข้าร่วมท�ำ กิจกรรมด้วยกัน สร้างมิตรภาพระหว่าง สถาบัน ภายหลังเมือ่ จบการศึกษาออกไป ท�ำงานจะได้มีความสัมพันธ์ที่กว้างขวาง อ.เมธวัชร์: แนะน�ำในสิ่งที่น้องๆ ส่งเข้ามาประกวดกัน ในตอนนี้จะเน้น ไปที่เทคนิคเป็นส่วนมาก ยังไม่มีความ สร้างสรรค์ ในการแข่งขันคราวหน้า ให้ คิดว่าเราจะต้องมีความพิเศษกว่านี้ แรก เริม่ ก็คอื โน้ตทีม่ อี ยูแ่ ล้ว ฉะนัน้ ถ้ามีอกี ตัว เลือกหนึ่งก็คือ เขียนขึ้นมาใหม่ หาจุด ลงตัวให้ดี แล้วก็มาลงแข่งดู ให้มันเกิด ความพิเศษ จะเป่าอย่างไรให้ไม่เป็นแบบ ที่เขาเป็น ให้แตกต่างออกไปให้ได้ ตรงนี้ ต้องไปลองคิดดูครับ อ.อนุพงษ์: ฝึกซ้อมอย่างสม�ำ่ เสมอ ต่อไป เพือ่ พัฒนาทักษะการปฏิบตั เิ ครือ่ ง ดนตรีให้ช�ำนาญยิ่งขึ้น ฝึกทักษะการฟัง เสียงประสาน ฝึกการฟังความกลมกลืน ของเสียงเวลาบรรเลงร่วมกันเป็นทีมให้ มากขึ้น รวมทั้งหมั่นติดตามฟังต้นฉบับ ดนตรีตะวันตกที่บรรเลงโดยนักดนตรี ตะวันตก เพือ่ ให้เกิดความเข้าใจ เกิดความ ซาบซึง้ ในลีลาเพลงของดนตรีตะวันตกให้ มากยิ่งๆ ขึ้นไป ผศ.ชูวทิ ย์: การประกวดต่างๆ เป็น สิง่ ทีท่ ำ� ให้เราได้เรียนรูต้ นเอง มีเป้าหมาย เล็กๆ เกิดขึน้ ในชีวติ ได้รบั รู้ มองเห็นความ เป็นไปในสังคมดนตรี ได้แลกเปลีย่ นเรียนรู้

ซึ่งกันและกัน ตั้งแต่กระบวนการเตรียม เข้าประกวด จนถึงสิน้ สุดกระบวนการ รับ เอาสิง่ ดีๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในกระบวนการเหล่านี้ ละไว้ซึ่งสิ่งขุ่นข้องหมองใจต่างๆ เรียนรู้ จากการเข้าร่วมกิจกรรมประเภทนี้อย่าง มีสติ จะได้รบั ประโยชน์อย่างเต็มทีใ่ นการ เข้าร่วมกิจกรรมประเภทนี้ อ.สุรสีห์: การแข่งขันทุกๆ ครั้งจะ วัดมาตรฐานของเรา และสร้างมาตรฐาน ดนตรีของเราให้มคี วามละเอียดอ่อนมากขึน้ นัน่ หมายความว่า เราได้ฝกึ ฝนและเอาใจ ใส่กบั ทุกๆ รายละเอียด และสามารถน�ำไป พัฒนาทางศาสตร์อนื่ ได้ดว้ ย ขอให้กำ� ลังใจ ทุกๆ ทีมที่เข้าแข่งขัน ไม่ใช่สิ่งที่ง่ายเลย ทีค่ ณ ุ และทีมของคุณ จะได้ผา่ นเข้ามาเล่น ในหอแสดงดนตรีที่ให้คุณภาพเสียงที่ดี ทีส่ ดุ แห่งหนึง่ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แห่งนี้ ที่มีนามว่า “มหิดลสิทธาคาร” พ.อ. ประทีป: ขอให้ผเู้ ข้าประกวด ตระหนักว่า การประกวดครั้งนี้เป็นการ แข่งขันกับตัวเอง ไม่ใช่การเอาชนะซึ่งกัน และกัน เพื่อรางวัล แต่จะเป็นเวทีแห่ง การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และเป็นเวทีแห่งการพบปะสังสรรค์ของ กัลยาณมิตรทางดนตรี เพื่อท�ำให้วงการ ดนตรีของประเทศไทยพัฒนาไปสูใ่ นระดับ อาชีพที่มีมาตรฐานสากลต่อไป

21


What factors do you think we (Thai students or faculty) are still lacking in order to develop in music? Thai music culture is lacking resources. For example, my students don’t own original copies of music like method books, solos, etc. This is a small issue but it’s very important to understand the importance of building your own library. Another factor is the lack of education in the secondary school system. There is a big marching band culture here. Most of my students weren’t taught the fundamentals of their instruments. Music teachers must know how to teach and prepare their students to study abroad and at good music programs such as the College of Music at Mahidol University.

Dr. Michael Leroy Robinson Jr.

What is your perspective on Thai student standards from this TIWSC 2018 competition? My perspective of Thai student standards is that most weren’t prepared. Also, I think there is a slight disconnect on what is high quality and what is not. And if you were to compare between Thai students and foreign students, are there any similarities or differences? I feel the foreign students were more informed and prepared on audition etiquette. The Mahidol students were similar to the foreign students are far as quality and expectations. Is there any advantage that Thai students have over foreign students? The main advantage is being in Thailand and saving cost on shipping the audition materials. Also, since it’s in Thailand, they have the advantage of having fewer foreigners apply.

22

What are the disadvantages Thai students have compared to foreign students? The disadvantages don’t apply to all Thai students, but I feel foreign students have better access to resources than Thai students. Even low-income foreigners who don’t have access in their country have more access than low-income Thai students. How do you see the future of Thai students in music? I think their future is bright if they are open to learning the Western ways and traditions of the arts. Thai music has its own amazing history and importance, but being diverse is what gives every musician that star advantage. I think Thai students can do both and excel to new heights.

Do you think this competition TIWSC 2018 will bring any change to wind symphony culture? I think with more time and exposure it will bring a positive change to wind symphony culture. Having a top notch and world-renowned panel makes a difference. All performers love to get comments and suggestions from the pros. Any comments or suggestions to the competitors or the readers? I would like to suggest that all competitors take this very seriously. In the preliminary rounds, dress was an issue for me. Always look professional when you are auditioning, even if it’s a video round. Make sure that you also record in a good space. Pick a time when there won’t be a lot of outside noise or interference. Remember, this is a competition with a cash prize! Also, make sure you are using a good microphone and video recorder. Next, choose a piece that will show the strengths of your group and get to the point. Lastly, check your recording to make sure everything sounds great!



Review

Tattoo Colour กับ ทีพีโอ สร้างปรากฏการณ์ กรี๊ดสนั่น “สิ ทธาคารฮอลล์” เรื่อง: นฤตย์ เสกธีระ (Narit Sektheera) บรรณาธิการบริหารหนังสื อพิมพ์มติชน

“อาจารย์แซ็ก คิดอะไร อย่ามา ล้อเล่น” เป็นถ้อยค�ำสนทนาตอนหนึง่ ระหว่าง รัฐ พิฆาตไพรี หรือ ริซซี่ กับ หรินทร์ สุธรรมจรัส หรือ ดิม บนเวทีแสดง คอนเสิรต์ “Tattoo Colour X Thailand Philharmonic Orchestra” เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ คอนเสิรต์ ดังกล่าวจัดขึน้ ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๔ กุมภาพันธ์ ณ หอประชุมมหิดล สิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล

66

ดิม นัน้ เป็นนักร้องน�ำของวง Tattoo Colour ส่วน ริซซี่ เป็นมือกีตาร์และร้อง น�ำด้วย วง Tattoo Colour ถือก�ำเนิดเมื่อ ประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ ออกอัลบัม้ มาแล้ว ๕ อัลบัม้ เป็นแนวอินดี-้ ป็อป สร้างความ นิยมในหมูว่ ยั รุน่ มานาน สมาชิกในวงเป็น เด็กขอนแก่นทั้งหมดที่รักดนตรี แม้จะมี เพียงริซซีท่ เี่ รียนดนตรีจากมหาวิทยาลัย ขอนแก่น แต่ดเู หมือนว่าสมาชิกคนอืน่ ก็มี ฝีไม้ลายมือทางดนตรีไม่ธรรมดา

นอกจาก ดิม นักร้องน�ำทีจ่ บการตลาด จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว ยังมี ธนบดี ธีรพงศ์ภกั ดี หรือ จัม๊ พ์ มือเบส ทีจ่ บคณะ วิทยาศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ เอกชัย โชติรุ่งโรจน์ หรือ ตง มือกลอง จบคณะ เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แม้ จั๊มพ์ จะจบจากธรรมศาสตร์ แต่ทุกคนที่เป็นสมาชิกของวง Tattoo Colour ล้วนเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนขอนแก่น วิทยายน ทั้งสิ้น


กลับมาทีค่ ำ� ถาม “อาจารย์แซ็ก คิด อะไร อย่ามาล้อเล่น” ค�ำถามนีเ้ กิดขึน้ หลังจาก “อาจารย์ แซ็ก” ดร.จักรกฤษ เจริญสุข ผูช้ ว่ ยคณบดี ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ติดต่อรัฐไป โดย ระบุว่า อยากจะให้วง Tattoo Colour มาเล่นกับวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่ง ประเทศไทย (Thailand Philharmonic Orchestra ) หรือ ทีพีโอ และเมือ่ อาจารย์แซ็ก ส่งเทียบเชิญ ไป ค�ำถาม “อาจารย์แซ็ก คิดอะไร อย่า มาล้อเล่น” ก็เกิดขึ้น ทั้งนี้ เพราะ Tattoo Colour เป็น วงป็อป ส่วนทีพโี อเป็นวงดนตรีคลาสสิก วง Tattoo Colour ใช้ดนตรีไฟฟ้า ส่วนทีพีโอ ใช้เครื่องดนตรีอะคูสติก ไม่ ใช้ไฟฟ้า ต่างคนต่างอยู่ในแนวของตัวเอง แล้วจู่ๆ “ป็อป” กับ “คลาสสิก” ก็จะมา เล่นด้วยกัน

กระทัง่ วง Tattoo Colour มาพบกับ รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข ผูอ้ ำ� นวยการวงทีพโี อ และบอกแนวคิดทีอ่ ยากให้แฟนเพลงป็อป ฟังเครือ่ งดนตรีคลาสสิก และอยากให้แฟน เพลงคลาสสิกลองฟังเพลงป็อป สมาชิก Tattoo Colour ก็มนั่ ใจว่า เรื่องนี้ไม่ได้ล้อเล่น ทุกคนเปลี่ยนจากความสงสัยมา เป็นความสนใจ และเมือ่ บทเพลงได้รบั การคัดสรร รวม ไปถึงการเรียบเรียงบทเพลงของ Tattoo Colour โดย พ.อ. ประทีป สุพรรณโรจน์ ในรูปแบบส�ำหรับบรรเลงด้วยวงออร์เคสตร้า เสร็จสิ้น สมาชิกวง Tattoo Colour ก็ตั้งใจ ฝึกฝน ฝึกซ้อม จนเวลาแสดงมาถึง วันที่ไปชมคอนเสิร์ต คือ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ แต่ทราบมาก่อนแล้วว่า การ แสดงเมื่อคืนวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์นั้น... สุดฮอต หอประชุมมหิดลสิทธาคาร ซึง่ เป็น

หอฟังดนตรีที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ได้ ต้อนรับผู้ฟังหน้าใหม่จ�ำนวนมาก วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ผู้ชมก็ยังมา ฟังกันเป็นจ�ำนวนมาก ที่นั่งทั้งชั้นล่าง ชั้นที่สอง และชั้นที่ สาม คลาคล�่ำไปด้วยผู้ชม หนุ่มสาววัยโจ๋ ต่างมารวมตัวกัน ที่หอประชุมมหิดลสิทธาคาร เพื่อฟัง คอนเสิร์ตที่ตัวเองอยากฟัง “Tattoo Colour X Thailand Philharmonic Orchestra” คอนเสิ ร ์ ต ครั้ ง นี้ มี ดร.ธนพล เศตะพราหมณ์ หรือ อาจารย์ออม เป็น วาทยกร การแสดงเริ่มต้นด้วยบทเพลง Overture Tattoo Colour ที่ พ.อ. ประทีป ผู้เรียบเรียง บรรจงสร้างสรรค์ ด้วยการน�ำเอาบทเพลง ๓ เพลงของวง Tattoo Colour คือ “อากาศร้อนๆ” จาก อัลบั้ม Hong Ser (พ.ศ. ๒๕๔๙) “เรือ ส�ำราญ” จากอัลบั้ม ตรงแนวๆ (พ.ศ.

67


๒๕๕๓) และ “เผด็จเกิร์ล” จากอัลบั้ม สัตว์จริง (พ.ศ. ๒๕๖๐) มาผสมผสาน บทเพลงบรรเลงด้วยวงทีพีโอส่ง เสียงใสในช่วง Intro แล้วเปิดทางให้ เครือ่ งเคาะอย่างไซโลโฟนถ่ายทอดท�ำนอง “อากาศร้อนๆ” ให้ได้ยิน ลีลาเครือ่ งเคาะคล่องแคล่ว ว่องไว เสียงทีไ่ ด้ยนิ สร้างความคึกคัก ต่อมากลุม่ เครือ่ งเป่าขานรับ กลองชุดและกลุม่ เครือ่ งสาย เข้าร่วมผสม ท�ำให้บทเพลงอากาศร้อนๆ ทีเ่ คยน�ำเสนอในรูปแบบดนตรีปอ็ ปกลาย เป็นบทเพลงจากวงออร์เคสตร้าเต็มตัว จากนั้น บทเพลง Overture เริ่ม เปลี่ยนท�ำนองจาก “อากาศร้อนๆ” เข้า สู่ท�ำนองจากเพลง “เรือส�ำราญ” ช่วงนี้ จังหวะเร่งเร็วขึ้น เครื่องเป่าทองเหลือง เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ความสนุกที่ได้ สัมผัสก็เพิ่มขึ้นด้วย ส่งท้าย บทเพลง Overture ก็น�ำ เสนอท�ำนองจากบทเพลง “เผด็จเกิร์ล” คราวนี้กลุ่มเครื่องเป่าทองเหลือง ออกมาส�ำแดงฤทธิ์เต็มเปี่ยม วงทีพีโอ

68

น�ำบทเพลงเคลื่อนเข้าสู่ช่วงท้าย แต่กอ่ นทีบ่ ทเพลง Overture จะจบ ลง สมาชิกของวง Tattoo Colour ทยอย ออกมาหน้าเวที จังหวะนัน้ เองเสียงปรบมือ ต้อนรับก็ดังขึ้นกึกก้อง ทั้งดิม ริซซี่ จั๊มพ์ และตง เข้า ประจ�ำต�ำแหน่ง นักร้องน�ำ กีตาร์ เบส และกลองชุด และเมือ่ บทเพลง Overture จบลง บทเพลง “เธอต้องมีฉัน” จาก อัลบั้ม POP DAD (พ.ศ. ๒๕๕๗) ก็เริ่มขึ้นทันที คราวนีด้ นตรีบนเวทีเปลีย่ น “ตัวเอก” จากวงทีพีโอ ไปเป็นวงอินดี้ป็อป Tattoo Colour พ.อ. ประทีป ผู้เรียบเรียงเสียง ประสาน อธิบายแนวคิดไว้ในสูจิบัตรว่า การเรียบเรียงในคอนเสิรต์ นี้ ได้คงอัตลักษณ์ ของดนตรีทใี่ ช้เครือ่ งไฟฟ้า และอัตลักษณ์ ของดนตรีที่เป็นอะคูสติกเอาไว้ พ.อ. ประทีป ตัง้ ใจทีจ่ ะใช้แนวทางการ เรียบเรียงแบบคอนแชร์โต (Concerto) ซึง่ เป็นรูปแบบการประพันธ์ของเพลงคลาสสิก

โดยให้วง Tattoo Colour เป็นเสมือนผู้ บรรเลงเดี่ยว หรือโซโล และให้วงทีพีโอ บรรเลงคลอ (Accompaniment ) หลังจากบทเพลง “เธอต้องมีฉัน” จบลง บทเพลง “เปิดเพลงไหน เปิดเมือ่ ไหร่ ก็ยังสวยงาม” จากอัลบั้ม ชุดที่ ๘ จงเพราะ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ก็บรรเลงต่อ เนือ้ เพลงของเพลงบทนีม้ เี สน่หต์ รง ทีก่ ารรวบรวมเอารายชือ่ เพลงทัง้ หมดของ อัลบัม้ Hong Ser ซึง่ เป็นอัลบัม้ แรกของ Tattoo Colour มาใส่ไว้ แล้วน�ำท�ำนอง แบบ Vintage Rock n’ Roll มาขับเคลือ่ น พอบทเพลงนีจ้ บลงก็พบว่า ประกาย แห่งความบันเทิงจุดติดขึ้นมาแล้ว ศิลปินวง Tattoo Colour กล่าว ทักทายผู้ฟัง แนะน�ำวาทยกร ปล่อยมุก ปลุกความสนุกให้เกิดขึ้น และกระจาย ความสุขไปทั่วหอประชุม หลังจากนัน้ บทเพลง “เผด็จเกิรล์ ” ก็เริ่ม ใช่แล้ว บทเพลงนีเ้ ป็นเพลงที่ พ.อ. ประทีป น�ำเอาท�ำนองส่วนหนึง่ ไปเรียบเรียง


ใน Overture เมื่อสักครู่ แต่คราวนีไ้ ม่ได้บรรเลงแบบคลาสสิก หากแต่บรรเลงในรูปแบบวงดนตรีป็อป เครื่องดนตรีไฟฟ้าได้ยินชัด ส่วน เครื่องดนตรีอะคูสติกขับกล่อมเคล้าคลอ เสริมบทเพลงให้น่าฟังขึ้น ต่อมา ผู้ฟังทั้งหอประชุมได้ฟัง บทเพลง “เผลอไป” จากอัมบัม้ POP DAD ซึ่งบรรเลงในจังหวะ Pop R&B กีตาร์ใน มือของริซซี่ ได้โอกาสแสดงบทบาทอย่าง โดดเด่น ท่ามกลางเสียงกลองทีห่ นักแน่น จากฝีมือของตง เมือ่ บทเพลงนีจ้ บลง ริซซีแ่ ละดิมเริม่ เล่าถึงทีม่ าของคอนเสิรต์ “Tattoo Colour X Thailand Philharmonic Orchestra” ค�ำถามทีว่ า่ “อาจารย์แซ็ก คิดอะไร อย่ามาล้อเล่น” ก็ได้ยินในช่วงนี้ หลังจากริซซีแ่ ละดิมเฉลยทีม่ าของ การท�ำคอนเสิร์ตครั้งนี้จนกระจ่าง พวก เขาก็ขอเสียงจากผู้ฟัง แล้วคนหนุ่มสาวทั้งหอประชุมก็ส่ง เสียงจากคนรุ่นใหม่ดังกระหึ่ม

ขณะทีด่ นตรีอนิ โทรบทเพลง “โอกาส สุดท้าย” จากอัลบัม้ “ชุดที่ ๘ จงเพราะ” ดังขึ้น เพลงนี้มีจังหวะช้า ด�ำเนินไปใน ท่วงท่าของ Rock Ballads ขับเน้นเนื้อ ร้องทีพ่ ดู ถึงคนทีไ่ ม่เคยรูต้ วั ว่าได้ทำ� สิง่ ทีผ่ ดิ ลงไป จนต้องเสียคนรัก โดยไม่มวี นั จะได้ ย้อนกลับมาอีก จึงรู้สึกส�ำนึก ฟังแล้วซึ้ง! บรรยากาศในหอประชุมมหิดล สิทธาคารกลายเป็นบรรยากาศของ คอนเสิร์ตเพลงป็อปเต็มพิกัด บทเพลง “กลัว” ซึง่ เป็นเพลงช้าอีกเพลงจากอัลบัม้ Hong Ser ตามมาด้วยบทเพลง “รัก แรกพบ” จากอัลบั้ม “ตรงแนวๆ” ตาม มาติดๆ ในท�ำนอง Soul Pop บทเพลง “รักแรกพบ” นี้ ท�ำให้สมั ผัส ได้ว่า วงออร์เคสตร้าที่บรรเลงเคล้าคลอ อยูด่ า้ นหลังนัน้ มีสว่ นท�ำให้อารมณ์เพลง โดดเด่นขึ้นมาก ยิง่ เมือ่ เข้าสูช่ ว่ งโซโลทีก่ ตี าร์รฟิ แสดง ฝีมือ เมื่อเสียงกีตาร์ไฟฟ้าผสานกับเสียง ของวงทีพีโอ

โอ้ ฟังแล้ว เยี่ยมมาก ชอบ ชอบ เพลงนี้ ทั้งดนตรีไฟฟ้า ทัง้ ดนตรีอะคูสติก ทัง้ เนือ้ ร้อง ผสมผสาน ได้อารมณ์มาก เชือ่ ว่า สมาชิกวง Tattoo Colour ก็ คงรูส้ กึ เช่นนีเ้ หมือนกัน จึงขอเสียงปรบมือ ให้กบั วงทีพโี อเมือ่ บทเพลงบรรเลงจบลง ต่อมาบทเพลง “อากาศร้อนๆ” หวนกลับมาให้ได้ยนิ ในรูปแบบของวงป็อป ตามมาด้วยบทเพลง “เนรมิตเอง” จาก อัลบั้ม “สัตว์จริง” ที่ดิมร้องสลับกับริซซี่ ในแนวดนตรี Groovy Beat ฟังสนุกๆ จากนัน้ บทเพลง “เรือส�ำราญ” อันเร่งเร้า อารมณ์ก็โหมกระพือความมันขึ้น ความจริงแล้ว แค่ดูลีลาของจัมพ์ มือเบส ก็รสู้ กึ มันแล้ว แถมยังได้ยนิ เสียง ริฟกีตาร์ของริซซีอ่ กี ยิง่ เพิม่ ความหรรษา บทเพลงในการแสดงครึง่ แรกจบลง ด้วยเพลงชื่อ “ฟ้า” อัมบั้ม Hong Ser ที่บรรเลงในสไตล์ Blues เพลงนี้ท�ำให้ความพลุกพล่านจาก ความมันค่อยๆ ผ่อนคลาย

69


เนือ้ หาของบทเพลงฟังแล้วซึง้ เมือ่ เนื้อเพลงเคลื่อนมาถึงท่อนที่ว่า... “จะโทษดิน จะโทษน�้ำ จะโทษเดือนและดาว กับเรื่องราว ที่ปวดร้าว ที่เธอมาท�ำแล้วหนีไป” แหม ฟังแล้ว มันร้าวรานเอามากๆ และเมื่อบทเพลงมาถึงท่อนที่ว่า... “โปรดเถิดฟ้า ถ้าไม่ส่งมา ให้เธอมีใจ ก็บอกกันได้ไหม โอว เหตุใดต้องมาท�ำร้ายกัน จากนี้ เรื่องราวที่มี ก็ให้ลืมมันไป อย่าจ�ำได้ไหม ว่ามีใครที่เคยท�ำร้าย ว่ามีใครที่มาท�ำร้าย คนอย่างฉัน” โอ้ มันเจ็บปวดหัวใจสุดสุด บทเพลง “ฟ้า” เป็นอีกบทเพลงที่ วงทีพีโอช่วยขับเน้นความงามออกมาได้ อย่างน่าประทับใจ จากนัน้ การแสดงหยุดพัก ๒๐ นาที

70

หลายคนยังนัง่ อยูใ่ นหอประชุม อีกหลาย คนออกไปยืดเส้นยืดสาย กระทั่งหมดเวลาพัก การแสดงใน ครึ่งหลังเริ่มขึ้น วง Tattoo Colour และ วงทีพโี อ เริม่ ต้นด้วยเพลง “รถไฟ” จาก อัลบัม้ “สัตว์จริง” ซึง่ เป็นอัลบัม้ ที่ ๕ ออก มาเมื่อปีที่แล้ว สูจิบัตรบอกว่า อัลบั้มนี้ได้สร้าง

ปรากฏการณ์ Pre-Order ๕๐๐ แผ่น แรก หมดภายในเวลาเพียง ๔ ชั่วโมง ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ปล่อยเพลงเลยสักเพลง นอกจากนี้ อัลบั้มนี้ยังเป็นอัลบั้ม เพลงไทยทีข่ ายดีทสี่ ดุ บน iTunes อีกด้วย โดยเพิ่งปล่อยซิงเกิ้ลออกมา ๓ เพลง และ ๑ ใน ๓ เพลงก็คือ เพลง รถไฟ นี้เอง


จากเพลงช้า สลับมาเป็นบทเพลง “คืนนี้สบาย” จากอัลบั้ม POP DAD ซึ่ง เป็นเพลงเร็ว และก็กลับไปซึง้ ในบทเพลง “จ�ำท�ำไม” จากอัลบัม้ ชุดที่ ๘ จงเพราะ บทเพลง “จ�ำท�ำไม” ดิม ขอให้ผู้ ฟังใช้โทรศัพท์มือถือเปิดไฟ แล้วโบกมือ ไปมาพร้อมๆ กัน ท�ำให้หอประชุมมหิดล สิทธาคารมีแสงไฟระยิบเหมือน “ทะเลดาว” ขณะที่ “จ�ำท�ำไม” บรรเลง ทั้งนัก ดนตรีบนเวที ทั้งผู้ชมในหอประชุม ต่าง ร่วมกันขับเคลื่อนบทเพลงไปด้วยกัน บรรยากาศทีเ่ กิดขึน้ ท�ำให้คอนเสิรต์ กลาย เป็นคอนเสิร์ตที่ทั้งคนร้อง คนเล่น และ คนฟัง ต่างเสริมส่งกันและกัน ท�ำให้บทเพลง “จ�ำท�ำไม” กลาย เป็นบทเพลงของทุกคนทีอ่ ยูใ่ นหอประชุม ๓ เพลงที่ผ่านไปในการแสดงครึ่ง หลัง ผู้ฟังยังคงนั่งปรบมือ ส่งเสียงเฮ เคาะจังหวะอยู่บนเก้าอี้นั่งตัวเอง แต่ส�ำหรับ ๗ เพลงสุดท้าย เมื่อ ดิม เชิญชวนให้ทุกคนยืน และเชิญชวน ให้ทุกคนเต้น

พร้อมทัง้ ประกาศว่า บทเพลง “ฝากที” จากอัลบัม้ Hong Ser บทเพลง “ลับสุด ยอด” จากอัลบั้ม ตรงแนวๆ บทเพลง “หลับลึก” จากอัลบัม้ สัตว์จริง บทเพลง “โกหก” จากอัลบั้ม ชุดที่ ๘ จงเพราะ บทเพลง “เกาะร้าง...ห่างรัก” จากอัลบัม้ Hong Ser บทเพลง “Cinderella” และ บทเพลง “ขาหมู” จากอัลบั้ม ชุดที่ ๘ จงเพราะ ทุกบทเพลงดังที่กล่าวมานี้ จะ บรรเลงต่อเนื่องแบบ Non stop เท่านั้นเอง ทุกคนในหอประชุมก็ เริม่ เปลีย่ นแปลงอิรยิ าบถ จากนัง่ เป็นยืน จากทีน่ งิ่ ก็เริม่ ขยับ หลายคนจูงมือเพือ่ น ออกไปด้านหน้าเพือ่ ถ่ายภาพศิลปิน และ ร่วมเต้น ร่วมเฮฮา ร่วมร้องเพลงไปด้วยกันอย่างมี ความสุข คอนเสิร์ต “Tattoo Colour X Thailand Philharmonic Orchestra” ด�ำเนินอย่างมันสุดๆ ไปจนถึงเพลงสุดท้าย เหลียวมองไปรอบข้าง ในหอประชุม

มีคนยืนมากกว่านั่ง มีคนเต้นมากกว่า อยู่เฉยๆ ฮ่า ฮ่า ฮ่า มันจริงๆ พับผ่า ปรากฏการณ์ “คลาสสิก” ประสาน “ป็อป” นี่ไม่ธรรมดา คอนเสิรต์ ทีเ่ กิดขึน้ ไม่นา่ จะมีเพียง ครั้งนี้ครั้งเดียว หากแต่ควรจะจัดขึ้นมา อีกบ่อยๆ เพราะจัดแล้วผูช้ มมีความสุข และ เชื่อว่าผู้จัดเอง ก็มีความสุขเช่นกัน

71


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.