Music Journal July 2019

Page 1


วารสารเพลงดนตรี MUSIC JOURNAL

สวัสดีผู้อ่านเพลงดนตรีทุกท่าน... ในเดือนที่ผ่านมา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ได้จดั พิธไี หว้ครูประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๖๒ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มิถุนายน โดยใน พิธไี หว้ครูได้แบ่งเป็นพิธไี หว้ครูและพิธไี หว้ ครูดนตรี ซึง่ ความเป็นมาและความส�ำคัญ ในพิธไี หว้ครูดนตรี สามารถพลิกไปอ่านได้ ในเรื่องจากปก Dean’s Vision ในเดือนนี้ น�ำเสนอ เรือ่ งราวความส�ำคัญของดนตรีบำ� บัดในการ ช่วยฟืน้ ฟูและบรรเทาอาการทางสุขภาพทัง้ ในวัยเด็กและวัยสูงอายุ และหลักสูตรการ ศึกษาด้านดนตรีบ�ำบัดของทางวิทยาลัย ส�ำหรับผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์ Voice Performance ในเดือนนี้ น�ำเสนอ บทความน่าสนใจ เรือ่ ง Permissions โดย ในบทความจะกล่าวถึงการยินยอมให้ตวั เอง

ISSN 0858-9038

Volume 24 No. 11 July 2019

Volume 24 No. 11 July 2019

Volume 24 No. 11 July 2019

เจ้าของ

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

บรรณาธิการ

ฝ่ายภาพ

ฝ่ายสมาชิก

ฝ่ายศิลป์

ส�ำนักงาน

คนึงนิจ ทองใบอ่อน

ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ

จรูญ กะการดี นรเศรษฐ์ รังหอม

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

พิสูจน์อักษรและรูปเล่ม

ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ

เว็บมาสเตอร์

นิธิมา ชัยชิต

สนอง คลังพระศรี Kyle Fyr

ธัญญวรรณ รัตนภพ

ภรณ์ทิพย์ สายพานทอง

ออกจากกรอบทีแ่ ต่ละคนก�ำหนดไว้ในชีวติ และเชื่อมโยงประสบการณ์ในชีวิตกับการ ฝึกฝนในชีวิตของศิลปิน บทความด้านดนตรีไทย น�ำเสนอ ประวัตคิ วามเป็นมาของปีพ่ าทย์มอญ คณะ ส. ศิลปบรรเลง และวัฒนธรรมของการใช้ เครือ่ งดนตรีประเภทเคาะในดนตรีพนื้ บ้าน ภาคใต้ นอกจากนี้ ยังมีบทความทางด้าน ดนตรีทหี่ ลากหลาย เช่น การใช้โปรแกรม ทางด้านเทคโนโลยีดนตรี และรีวิวงาน แข่งขันกีตาร์ระดับนานาชาติ เชิญติดตามในเล่มค่ะ

สุพรรษา ม้าห้วย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (วารสารเพลงดนตรี) ๒๕/๒๕ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ต�ำบลศาลายา อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๓๑๑๓ โทรสาร ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๓๐ musicmujournal@gmail.com

ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ

พิมพ์ที่

หยินหยางการพิมพ์ โทรศัพท์ ๐ ๒๙๐๓ ๘๖๓๖ ๐ ๒๔๔๓ ๖๗๐๗

จัดจ�ำหน่าย

ร้านค้าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๒๕๐๔, ๒๕๐๕

กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ส�ำหรับข้อเขียนที่ได้รับการ พิจารณา กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุงเพื่อความเหมาะสม โดยรักษาหลักการและแนวคิดของผู้เขียนแต่ละท่านไว้ ข้อเขียน และบทความที่ตีพิมพ์ ถือเป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ขอรับผิดชอบบทความนั้น


สารบั ญ Contents Dean’s Vision

04

ดนตรีบ�ำบัด ณรงค์ ปรางค์เจริญ (Narong Prangcharoen)

Cover Story

Music Entertainment

Music Technology

“เรื่องเล่าเบาสมองสนองปัญญา” เพลงไทยสากลอิงท�ำนอง เพลงต่างชาติ (ตอนที่ ๔) กิตติ ศรีเปารยะ (Kitti Sripaurya)

Sound Synthesis: Pop Synth Michael David Brice (ไมเคิล เดวิด ไบรซ์)

20

Thai and Oriental Music

46

Interview

30

ปี่พาทย์มอญ คณะ ส. ศิลปบรรเลง ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน (Dhanyaporn Phothikawin)

52 08

พิธีไหว้ครู วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจ�ำปี ๒๕๖๒ ณัฐิดา นุ่มปราณี (Nuttida Numpranee)

Getting Ready

18

Pedagogy Tools for Applied Music Teachers: Creating Unique Paths Joseph Bowman (โจเซฟ โบว์แมน)

34

เครื่องเคาะและวัฒนธรรม ประโคมฆ้อง-กลอง ในดนตรีถิ่นใต้ ทรงพล เลิศกอบกุล (Songpon Laedkobkune)

สุเชาว์ หริมพานิช: ความส�ำคัญและการเปลี่ยนแปลง ของพิธีไหว้ครูดนตรี จากอดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต กันต์ อัศวเสนา (Kan Asvasena)

Review

Voice Performance

42

Permissions Haruna Tsuchiya (ฮารุนะ ซึชิยะ)

58

Thailand Isan International Guitar Festival & Competition 2019 นลิน โกเมนตระการ (Nalin Komentrakarn)


DEAN’S VISION

ดนตรีบ�ำบัด เรื่อง: ณรงค์ ปรางค์เจริญ (Narong Prangcharoen) คณบดีวท ิ ยาลัยดุรย ิ างคศิลป์ ​มหาวิทยาลัยมหิดล

วิ

ทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล ได้ก่อตั้งขึ้นด้วยแนวคิด ที่จะสร้างดนตรีบ�ำบัดให้เกิดขึ้นใน ประเทศไทย เพื่อส่งเสริมเรื่องการ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่สังคม ผสมผสานศิลปะทางด้านดนตรีเข้า กับการแพทย์ เนือ่ งจากมหาวิทยาลัย มหิดลมีชื่อเสียงทางด้านการแพทย์ มาตัง้ แต่ในอดีต การสร้างคณะต่างๆ จึงควรสร้างเสริมอัตลักษณ์ที่ส�ำคัญ ให้แก่มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความ เข้มแข็งและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นให้ แก่มหาวิทยาลัย เพราะในยุคปัจจุบนั มหาวิทยาลัยทีม่ ลี กั ษณะเฉพาะจะเป็น 04

มหาวิทยาลัยที่มีผู้เรียนเลือกเข้ามา ศึกษามากกว่ามหาวิทยาลัยที่สร้าง ความรูแ้ บบองค์รวม (Comprehensive University) เหมือนยุคก่อน ปัจจุบนั สังคมเกิดการตืน่ ตัวทาง ด้านสุขภาพมากขึ้น ดนตรีบ�ำบัด จึงเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ใช้เสริมใน การสร้างความเป็นอยูท่ ดี่ ขี องสังคม รวมไปถึงการเยียวยาความเจ็บป่วย ที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน การท�ำดนตรี บ�ำบัดคือการใช้กิจกรรมดนตรี ไม่ ว่าจะเป็น การเล่นดนตรี การฟัง เพลง การร้องเพลง รวมไปถึงการ แต่งเพลง เพื่อเป็นสื่อในการบ�ำบัด

โดยมีการออกแบบกิจกรรมทีเ่ หมาะ สมส�ำหรับผู้เข้ารับการบ�ำบัดแต่ละ คน โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยฟื้นฟู หรือพัฒนาทักษะทางด้านต่างๆ เช่น ทางด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านอารมณ์ และด้านสติปัญญา ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะไม่มุ่งเน้น เพือ่ สร้างหรือพัฒนาทักษะทางด้าน ดนตรี ไม่มเี ป้าหมายให้เล่นดนตรีเก่ง แต่จะได้ประโยชน์อย่างอื่นจากการ บ�ำบัดด้วยกิจกรรมทางด้านดนตรี ซึง่ กิจกรรมในรูปแบบดนตรีบำ� บัดนี้ ได้มงี านวิจยั รองรับมาอย่างยาวนาน ในต่างประเทศ งานวิจัยดังกล่าวได้


แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพและ ผลลัพธ์อนั น่าพึงพอใจกับบุคคลทีไ่ ด้ รับการบ�ำบัดในทุกวัย ตัง้ แต่เด็กเล็ก ไปจนถึงผู้สูงอายุ สร้างพัฒนาการ ที่ดีขึ้นให้แก่เด็กออทิสติก เด็กวัย เรียน ผู้ใหญ่ที่มีอาการเครียด โรค ซึมเศร้า หรือแม้กระทัง่ ผูป้ ว่ ยระยะ สุดท้าย เมือ่ ผูร้ บั การบ�ำบัดได้รบั ค�ำ วินจิ ฉัยจากแพทย์ให้รบั การบ�ำบัดได้ ก็จะมีการจัดตารางและออกแบบ กิจกรรมทีเ่ หมาะสมส�ำหรับบุคคลที่ จะรับการบ�ำบัด เพือ่ สร้างโปรแกรม ที่เหมาะสมเฉพาะบุคคลให้แก่ผู้รับ การบ�ำบัดท่านนั้น วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดหลักสูตรทาง ด้านดนตรีบ�ำบัด ในหลักสูตรศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต ซึง่ จะมีระยะเวลา ในการเรียน ๒ ปี โดยเน้นเนื้อหา ที่เกี่ยวกับทฤษฎีและหลักการของ ดนตรีบ�ำบัด โดยครอบคลุมไปถึง ดนตรีบ�ำบัดส�ำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะในการปฏิบัติ ดนตรีบ�ำบัด สร้างเทคนิคให้เกิด ความเชี่ยวชาญและสามารถน�ำไป ใช้ในการบ�ำบัดได้อย่างมีหลักการ และความถูกต้อง ผูเ้ รียนด้านดนตรี บ�ำบัดมักจะเป็นผูท้ มี่ คี วามปรารถนา ที่จะช่วยเหลือผู้อื่น เพราะในการ

บ�ำบัดนั้นต้องใช้พลังงานทั้งทาง ด้านร่างกายและจิตใจ ต้องมีความ อดทนในการท�ำงาน เพราะในการ บ�ำบัดบางครั้งอาจจะมีพัฒนาการ ของผู้รับการบ�ำบัดที่ช้า จ�ำเป็น อย่างมากที่ต้องมีความเข้าใจ ใส่ใจ และค่อยๆ ติดตามพัฒนาการของ ผู้รับการบ�ำบัดอย่างละเอียดและ ใกล้ชิด แน่นอนผู้ที่จะเข้าเรียนทาง ด้านดนตรีบำ� บัดต้องเป็นผูท้ มี่ คี วาม สามารถทางด้านดนตรี มีทักษะใน การเล่นดนตรี ร้องเพลง และความรู้ ทางด้านทฤษฎีดนตรีมากพอที่จะ สามารถเล่นดนตรีโดยอิสระ โดยไม่ ต้องกังวลในการเล่นดนตรี เพราะ

ต้องมีการสังเกตผู้รับการบ�ำบัดใน ขณะทีเ่ ล่นดนตรีไปด้วย เพราะอย่าง ที่ทราบแล้วข้างต้นว่า ดนตรีบ�ำบัด ใช้กจิ กรรมทางด้านดนตรีเป็นสือ่ ใน การบ�ำบัด จึงต้องมีความเชีย่ วชาญ ทางด้านดนตรีด้วยเช่นกัน ในขณะนี้ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ผลิตนักดนตรี บ�ำบัดจ�ำนวนมากเข้าสูส่ งั คม โดยมี การท�ำงานที่หลากหลายในสถาบัน ต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ในโรงพยาบาล โรงพยาบาลจิตเวช สถานบ�ำบัดฟืน้ ฟู รวมไปถึงโรงเรียน ซึง่ นอกเหนือจาก สถานทีด่ งั กล่าว วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ ได้เปิดให้การบ�ำบัดทีศ่ นู ย์ศกึ ษาดนตรี ส�ำหรับบุคคลทั่วไปในศูนย์การค้า เพื่อให้เกิดความสะดวกในการรับ บริการส�ำหรับบุคคลทัว่ ไปทีม่ คี วาม ต้องการในการรับการบ�ำบัดอีกด้วย เนือ่ งจากดนตรีบำ� บัดเป็นทีต่ อ้ งการ มากในสังคมยุคปัจจุบนั จึงเกิดการ ขาดแคลนส�ำหรับการผลิตนักดนตรี บ�ำบัดเพื่อให้บริการในสังคม ซึ่งไม่ ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย แต่ ยังเกิดขึน้ ในประเทศทีม่ กี ารผลิตนัก ดนตรีบ�ำบัดมาอย่างยาวนานเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงท�ำให้เป็นเรื่องยากใน การทีจ่ ะหาอาจารย์เพือ่ เข้ามารองรับ

05


ในการสอนและผลิตนักดนตรีบำ� บัด ในประเทศไทย เพราะนักดนตรี บ�ำบัดที่จบการศึกษามีทางเลือก มากมายหลายแบบ ท�ำให้การเข้า ท�ำงานในสถานศึกษาจึงไม่ใช่ทาง เลือกแรกส�ำหรับการเข้าท�ำงานของ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ ประกอบกับ การที่มหาวิทยาลัยในประเทศไทย ต้องการมีอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญา เอกทีม่ อี ายุนอ้ ย จึงท�ำให้เกิดความ ยากล�ำบากในการหาบุคลากร เพื่อ เข้ามาสอนและฝึกนักศึกษา เพื่อ พัฒนาการเรียนการสอนทางด้าน ดนตรีบ�ำบัดให้มีมาตรฐานสูงขึ้น วิ ท ย า ลั ย ดุ ริ ย า ง ค ศิ ล ป ์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความมุ่ง หวังที่จะเปิดหลักสูตรปริญญาตรี ในด้านดนตรีบ�ำบัดในอนาคตอัน ใกล้ดว้ ยเช่นกัน เนือ่ งจากการเรียน ดนตรีบ�ำบัดในหลักสูตรปริญญาโท อาจจะมีเวลาทีไ่ ม่มากพอในการทีจ่ ะ สร้างความเชี่ยวชาญในช่วงที่ก�ำลัง 06

ศึกษาอยู่ แน่นอนการรับนักศึกษา ปริญญาโทมีข้อดีในแง่ความพร้อม ทางด้านวัยวุฒิและจิตใจ เนื่องจาก ผูเ้ รียนจะมีประสบการณ์ชวี ติ มาพอ สมควร เพราะต้องผ่านการเรียน ในระดับปริญญาตรีมาแล้ว แต่ก็ มีเงื่อนไขของเวลาเพียง ๒ ปี ซึ่ง อาจจะต้องการการฝึกฝนและสร้าง ทักษะเพิม่ ขึน้ จึงต้องออกไปฝึกงาน

ภายนอกหลังจากได้ศกึ ษาแล้ว การ เปิดหลักสูตรปริญญาตรีจงึ เป็นการ ปลดล็อกปัญหาดังกล่าว เพราะจะมี เวลาในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น มีโอกาส ไปฝึกจิตใจของผู้ที่ต้องการเป็นนัก ดนตรีบำ� บัดให้มคี วามพร้อมเพิม่ ขึน้ ด้วยเช่นกัน ในขณะนี้มหาวิทยาลัย มหิดลได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็ม ที่ในการสร้างหลักสูตรปริญญาตรี


เนื่องจากเข้าใจถึงความจ�ำเป็นทาง สังคม เพื่อดูแลสุขภาวะของสังคม และประชาชนในประเทศไทยให้มี สภาวะที่ดีขึ้น ท�ำให้สังคมมีความ พร้อมทัง้ ทางด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อพัฒนาประเทศให้เดินหน้าไป ด้วยความมั่นคง ซึ่งในตอนนี้ได้ มีการพัฒนาหลักสูตรโดยมีผู้ทรง คุณวุฒทิ างด้านดนตรีบำ� บัดจากต่าง ประเทศให้ความร่วมมือในการพัฒนา หลักสูตรปริญญาตรี เพือ่ สร้างให้เป็น หลักสูตรเฉพาะทีเ่ หมาะสมกับบริบท ของสังคมไทย สามารถน�ำไปใช้ได้ อย่างเหมาะสม รวมไปถึงเชื่อมโยง กับหลักสูตรในระดับนานาชาติ เพือ่ ให้ผเู้ รียนสามารถน�ำปริญญาทีไ่ ด้รบั ไปศึกษาต่อได้ในต่างประเทศ สร้าง

คุณค่าและการยอมรับของปริญญา ในระดับสากล แน่นอนการพัฒนาสังคมต้อง เกิดจากความต้องการพัฒนาของ สังคมก่อน ในตอนนี้คงไม่สามารถ ปฏิเสธได้วา่ สังคมมีการเปลีย่ นแปลง เป็นอย่างมาก คนในสังคมมีความ ต้องการที่จะพัฒนาสุขภาวะของ ตนเองมากขึ้น มีความต้องการที่ จะหาทางเลือกใหม่ๆ ในการดูแล ร่างกายและจิตใจของตนเอง การ รักษาพยาบาลในรูปแบบเดิมอาจจะ ไม่เพียงพอทีจ่ ะรองรับความต้องการ ของสังคม จึงท�ำให้ดนตรีบำ� บัดเป็น อีกหนึง่ ทางเลือกทีส่ ำ� คัญของสังคม และประเทศ การพัฒนาทางด้านนี้ ไม่ใช่เพื่อสร้างการศึกษาให้เกิดขึ้น

ในประเทศเท่านั้น แต่จะเป็นการ พัฒนาเพื่อสร้างความโดดเด่นของ ประเทศ สร้างเศรษฐกิจที่ดีให้แก่ ประเทศด้วยเช่นกัน ซึ่งวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งในการ สร้างความเปลีย่ นแปลงและพัฒนา ทางด้านนี้ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อดูแลประเทศไทยทั้งทางด้าน ร่างกายและจิตใจให้มีสุขภาวะที่ สมบูรณ์ในอนาคต

07


COVER STORY

พิธีไหว้ครู วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจ�ำปี ๒๕๖๒ เรื่อง: ณัฐิดา นุ่มปราณี (Nuttida Numpranee) นักศึกษาปริญญาเอก หลักสู ตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ดนตรี) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

พิ

ธีไหว้ครู วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถูกจัด ขึ้นเป็นประจ�ำของทุกปีการศึกษา เพื่อต้อนรับศิษย์ใหม่ ซึ่งวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยาลัยดนตรี ดังนั้น การจัด พิธีไหว้ครูจึงประกอบไปด้วย การ ไหว้ครูสามัญ และไหว้ครูดนตรี ทัง้ นี้ พิธไี หว้ครูประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๖๒ 08

ได้ถูกจัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา พิธีไหว้ครูประจ�ำปี ๒๕๖๒ ได้ เริ่มด�ำเนินงานตามแผนการตั้งแต่ วันจันทร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๒ โดยการยืมข้าวของเครื่องใช้บาง ส่วนจากวัด โดยนักศึกษาสาขา วิชาดนตรีไทยและดนตรีตะวันออก และในวันอังคารที่ ๒๕ มิถุนายน

๒๕๖๒ ฝ่ายสถานที่จัดการแสดง และโสตทัศนูปกรณ์ ฝ่ายอาคาร สถานที่และยานพาหนะ และฝ่าย จัดการโครงการ เป็นผู้ดูแลการจัด อุปกรณ์พร้อมตกแต่งปะร�ำพิธี ปูผา้ ขาว วันพุธที่ ๒๖ มิถนุ ายน ๒๕๖๒ เป็นวันจัดเตรียมสถานที่และมีการ ซ้อมใหญ่เกิดขึ้น ในช่วงเช้าถึงเย็น เป็นการจัดเตรียมตกแต่งอุปกรณ์


สถานที่ โดยเจ้าหน้าที่จากฝ่าย ต่างๆ ร่วมด้วยนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนอาจารย์ประจ�ำสาขาวิชา ดนตรีไทยและดนตรีตะวันออก ใน ช่วงบ่ายวันเดียวกันนั้นได้มีการฝึก ซ้อมวงดนตรีที่ใช้บรรเลงถวายมือ ภายในงาน และวงดนตรีทใี่ ช้รว่ มพิธี เมื่อเวลาล่วงเข้ามาถึงเช้าวัน พฤหัสบดีที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๒ ซึง่ เป็นวันไหว้ครูประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๖๒ ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันงานได้ถกู แบ่งกิจกรรมออกเป็น ๔ ส่วนส�ำคัญ ด้วยกัน คือ ๑) ช่วงเช้า เป็นการ ไหว้สงิ่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ๒) พิธสี งฆ์ ๓) พิธี ไหว้ครูสามัญ ๔) พิธีไหว้ครูดนตรี ช่วงเช้า เวลา ๖ โมงเช้าโดย ประมาณ ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ทีท่ างวิทยาลัยได้ปฏิบตั สิ บื ต่อกันมา คือ การไหว้เจ้าทีเ่ จ้าทาง อันเป็นสิง่ ศักดิ์สิทธิ์ ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาว มหิดลและวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ ทัง้ ๓ ที่ ได้แก่ ศาลเจ้าพ่อขุนทุ่ง ศาล พระภูมบิ ริเวณเรือนไทยมหิดล และ ครูมแี ขก ในช่วงเช้าของวันงาน เพือ่ ขอพรให้ช่วยอ�ำนวยอวยชัยให้งาน ผ่านไปได้อย่างราบรืน่ ตามความเชือ่ ของชาวไทย ทั้งนี้ ทางวิทยาลัยได้ เรียนเชิญคุณหรินทร์ กลิ่นนิรันดร์ เป็นตัวแทนไหว้ ถวายอาหาร และ พวงมาลัย ขณะเดียวกัน พิธที อี่ ยูท่ าง ด้านวิทยาลัย ตัวแทนเจ้าหน้าที่ได้ ถวายข้าวพระพุทธ ซึง่ จัดวางอาหาร ในขันโตก ที่โต๊ะหมู่บูชาบริเวณเวที ณ หอแสดงดนตรี MACM พร้อมกัน นัน้ พระสงฆ์ได้มาฉันเช้าทีร่ า้ นอาหาร มิวสิคสแควร์ วงเครือ่ งสายบรรเลง เพื่อขับกล่อมประกอบบรรยากาศ เมือ่ ได้เวลาทีก่ ำ� หนดโดยประมาณ ๖.๔๕ น. พิธสี งฆ์จงึ เริม่ ขึน้ วงปีพ่ าทย์ ซึง่ อยูบ่ ริเวณพิธบี นเวที ได้เริม่ บรรเลง เพือ่ ต้อนรับผูบ้ ริหาร คณาจารย์ และ

นักเรียนเตรียมอุดมดนตรี ระดับชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ ด้วยบทเพลง ล่องแม่ปงิ มีการน�ำเครือ่ งดนตรีสะล้อ และซึง ซึง่ เป็นเครือ่ งดนตรีประเภท เครือ่ งสายของภาคเหนือมาบรรเลง ร่วมในวง เพือ่ เป็นการเพิม่ อรรถรส และกลิน่ อายให้เข้ากับท่วงท�ำนองเพลง มากยิง่ ขึน้ และในเวลา ๗.๐๐ น. พระสงฆ์ ถึงหอแสดงดนตรี วงปีพ่ าทย์จงึ หยุด บรรเลง ตามด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ชยั ปิฎกรัชต์ ประธานในพิธี (ช่วงพิธีสงฆ์) ขึ้นจุดธูปเทียนบูชา พระรัตนตรัย วงปี่พาทย์บรรเลง เพลงสาธุการ เพลงสาธุการ เป็นประเภทเพลง หน้าพาทย์ชั้นสูง แต่โบราณถือเป็น ธรรมเนียมประเพณีวา่ การบรรเลง เพลงเพือ่ เคารพบูชาหรือน้อมสักการะ ต้องบรรเลง “เพลงสาธุการ” ซึง่ ถือ เป็นเพลงครู ส�ำหรับใช้บรรเลงบูชาสิง่ เคารพนับถือ เสมือนถวายธูปเทียน ดอกไม้ แต่นั้นมาก็ใช้เพลงสาธุการ ในการเคารพนมัสการในพิธสี งฆ์เป็น ล�ำดับแรกตลอดมา (งานท�ำนุบำ� รุง ศิลปวัฒนธรรม ส่วนกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, ๒๕๔๑; น. ๒๒ และครูเงิน, ๒๕๔๒; น. ๑๒๖) หลังจากนัน้ พระสงฆ์จงึ เริม่ เจริญ พระพุทธมนต์ ประธานในพิธไี ด้ลกุ ขึน้ เพือ่ จุดเทียนน�ำ้ มนต์ ก่อนถึงช่วงของ การถวายสังฆทาน ตัวแทนนักเรียน เตรียมอุดมดนตรีได้เดินวนเพือ่ น�ำชุด สังฆทานให้คณาจารย์ นักเรียน และ แขกในงานยกขึ้นจบหรือการน�ำชุด สังฆทานนัน้ ยกขึน้ เหนือศีรษะ เพือ่ เป็นการเคารพต่อสิง่ ทีก่ ำ� ลังจะถวาย แด่พระสงฆ์ เมือ่ เสร็จสิน้ ประธานใน พิธี ผูบ้ ริหาร คณาจารย์ เป็นตัวแทน ๙ ท่าน ถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่ พระสงฆ์จ�ำนวน ๙ รูป ดังนี้ ๑) รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ชัย

ปิฎกรัชต์ ๒) อาจารย์กติ ติ ศรีเปารยะ ๓) คุณสุหตั ถ์ สังชญา ๔) อาจารย์ กฤษติ์ บูรณวิทยวุฒิ ๕) อาจารย์ อนรรฆ จรัณยานนท์ ๖) ศาสตราจารย์ เกียรติคณุ นายแพทย์พนู พิศ อมาตยกุล ๗) อาจารย์นลิน โกเมนตระการ ๘) อาจารย์ริชาร์ด ราล์ฟ ๙) อาจารย์ วิศิษฏ์ จิตรรังสรรค์ หลังจากประธานในพิธี ผูบ้ ริหาร และคณาจารย์ ถวายจตุปัจจัย ไทยทานแด่พระสงฆ์เรียบร้อย จึง เข้าสู่ขั้นตอนของการกรวดน�้ำ เพื่อ อุทิศส่วนกุศลแด่บูรพคณาจารย์ผู้ ล่วงลับ พร้อมทั้งรับศีล รับพรเป็น ขวัญก�ำลังใจและสิรมิ งคล หลังจาก กรวดน�้ำ รับพร พระสงฆ์ซึ่งเป็น ประธานได้ลงจากอาสนะและเดิน ประพรมน�ำ้ มนต์ให้แก่ประธานในพิธี ผูบ้ ริหาร คณาจารย์ นักเรียน ตลอด จนนักดนตรีและผูอ้ ยูภ่ ายในงานทุก คน ระหว่างนัน้ ปีพ่ าทย์บรรเลงเพลง ประกอบ หลังจากนัน้ พระสงฆ์ทงั้ ๙ รูป ลงจากอาสนะเพือ่ เดินทางกลับ วัด ปีพ่ าทย์บรรเลงส่งพระด้วยเพลง เชิด จึงถือเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีสงฆ์ พิธีสงฆ์ในช่วงเช้าเสร็จสิ้นลง เวลา ๘.๐๐ น. จึงท�ำให้มีเวลาใน การเคลียร์พ้ืนที่พิธีสงฆ์ และจัด เตรียมพืน้ ทีส่ ำ� หรับพิธไี หว้ครูสามัญ หน้าที่ดังกล่าวถูกมอบหมายให้ สโมสรนักศึกษาและเจ้าหน้าที่บาง ส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบ หลังจากนั้น นักเรียนเตรียมอุดม ดนตรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๑ ตัวแทนถือพานของแต่ละสาขา และระดับชั้น ทยอยเข้าสู่หอแสดง ดนตรีเพื่อเตรียมตัวในพิธีไหว้ครู สามัญ หรือทีน่ กั เรียนนักศึกษาเรียก กันติดปากว่า “ไหว้ครูปาเจรา” ซึ่ง มาจากค�ำกล่าวขึ้นต้นของการไหว้ ครู เป็นล�ำดับต่อไป ในระหว่างนี้ 09


บริเวณชัน้ ล่างของหอแสดงดนตรีมี วงดนตรีอสี าน แคนวง บรรเลงเพือ่ ต้อนรับแขกผูม้ เี กียรติและนักศึกษา เวลาประมาณ ๘.๓๐ น. เมื่อ คณาจารย์ นักศึกษา และนักเรียน พร้อมแล้ว ดร.ณรงค์ ปรางค์ เจริญ คณบดีวทิ ยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึง่ เป็นประธาน ในพิธไี หว้ครูสามัญได้ขนึ้ จุดธูปเทียน เพื่อบูชาพระรัตนตรัย ปี่พาทย์ บรรเลงเพลงสาธุการ เพื่อเป็นสื่อ สัญลักษณ์ทางดนตรีที่กล่าวแล้วใน ข้างต้น หลังจากนั้นผู้แทนนักเรียน นักศึกษาที่คัดเลือกไว้แต่ละระดับ ชั้นและสาขาวิชา น�ำพาน ดอกไม้ ธูป เทียน ขึ้นไหว้ครูบนเวทีตาม ล�ำดับ ตั้งแต่นักเรียนเตรียมอุดม ดนตรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชัน้ ปีที่ ๑ มหาบัณฑิตระดับปริญญาโท จนถึง ระดับดุษฎีบณ ั ฑิต ทัง้ นี้ ครูอาจารย์ ถูกจัดให้นั่งเป็นคู่ รวมกันเป็น ๓ คู่ ครบตามจ�ำนวนผูแ้ ทนถือพาน และ ครูอาจารย์จะสลับเวียนกันขึน้ มานัง่ แถบหน้าเพือ่ ให้ตวั แทนถือพานได้มอบ พานและพูดคุยทักทายกันได้อย่าง ทัว่ ถึง หลังจากเสร็จสิน้ การน�ำพาน มาไหว้ครูอาจารย์ พิธที ถี่ อื ได้วา่ เป็น เอกลักษณ์ของพิธีไหว้ครู วิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นอย่างมาก คือ พิธีผูกข้อมือรับ ขวัญ ในพิธดี งั กล่าว ครูอาจารย์ทอี่ ยู่ บนเวทีจะเป็นผูท้ ผี่ กู ข้อมือรับขวัญให้ กับนักเรียนและนักศึกษาใหม่ทกุ คน ไม่มีการส่งตัวแทนแต่อย่างใด ทั้งนี้ ผู้เขียนมีความเห็นว่า พิธีการผูก ข้อมือรับขวัญจากครูอาจารย์ให้แก่ (บน) ประธานในพิธี และคณาจารย์ ถวายจตุปัจจัยไทยทานแก่พระสงฆ์ นักเรียนและนักศึกษาที่เข้ามาใหม่ (กลาง) ประธานในพิธี และตัวแทนคณาจารย์ทั้ง ๙ ท่าน ร่วมกรวดน�้ำ (ล่าง) พระสงฆ์ประพรมน�้ำมนต์เพื่อเป็นสิริมงคล แก่คณาจารย์ นักเรียน ทัง้ มัธยมศึกษาปีที่ ๔ และปริญญาตรี นักศึกษา และผู้ร่วมพิธี ชัน้ ปีที่ ๑ เป็นสิง่ ทีม่ เี อกลักษณ์เป็น (ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล) อย่างมาก โดยพิธีดังกล่าวได้ถูกจัด ขึน้ เมือ่ ไม่นานมานี้ ถูกคิดขึน้ โดยงาน 10


กิจการนักศึกษา และสโมสรนักศึกษา วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล ผูเ้ ขียนได้สมั ภาษณ์เพิม่ เติม กับอาจารย์กลั ย์ธรี า สุภนิธิ อาจารย์ ประจ�ำสาขาวิชาการศึกษาทั่วไป และผูด้ แู ลสโมสรนักศึกษา วิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับพิธีดังกล่าวที่เกิดขึ้น ได้ใจ ความว่า เดิมทีเกิดจากการท�ำบายศรี รับน้องของรุน่ พีเ่ มือ่ นานมาแล้ว แต่ ทางวิทยาลัยเห็นว่าเป็นสิง่ ทีด่ ี ควร สืบสานต่อ จึงต้องการท�ำให้พธิ นี เี้ ป็น ทางการมากขึน้ แต่การท�ำบายศรีสู่ ขวัญนัน้ มีขนั้ ตอนทีค่ อ่ นข้างละเอียด อ่อน ซับซ้อน ต้องมีพราหมณ์มา ด�ำเนินพิธี และต้องใช้เวลาหลายวัน ทางวิทยาลัยจึงน�ำมาเฉพาะพิธผี ขู้ อ้ มือรับขวัญ มาใช้ในพิธไี หว้ครูเท่านัน้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการต้อนรับ นักเรียนนักศึกษาใหม่สู่รั้ววิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถัดมาเป็นช่วงของการปฏิญาณ ตน โดยนางสาวนภสร เชื้อหน่าย นายกสโมสรนักศึกษา วิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นตัวแทนนักศึกษาขึ้นกล่าวค�ำ ปฏิญาณตน และนักเรียนนักศึกษา กล่าวตาม ดังนี้ “ข้าพเจ้า จะให้ความเคารพ และความกตัญญู แก่ครูอาจารย์ ข้าพเจ้า จะปฏิบัติตนตาม คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ในวิชาชีพ ข้าพเจ้า จะมุ่งมั่นศึกษาเล่า เรียน เพื่อให้เป็นคนดนตรี ที่เป็น ทั้งคนดีและคนเก่ง และจะยึดมั่น ค�ำปฏิญาณนี้ไว้ ตราบชั่วชีวิต” ค�ำปฏิญาณตนในข้างต้น เขียนขึน้ โดยอาจารย์กลั ย์ธรี า สุภนิธิ อาจารย์ ประจ�ำสาขาวิชาการศึกษาทั่วไป วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย

(บน) พิธีมอบพานไหว้ครู (กลาง) พิธีผูกข้อมือรับขวัญ (ล่าง) ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล ให้โอวาทแก่นักเรียนนักศึกษา (ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

11


มหิดล หลังจบค�ำกล่าวปฏิญาณตนของ นักเรียนนักศึกษา ประธานในพิธี ซึง่ คือ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดี วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล ได้ขึ้นกล่าวให้โอวาทแก่ นักศึกษา จึงถือเป็นการเสร็จสิน้ พิธี ไหว้ครูสามัญ เมื่อเวลาล่วงเข้า ๙.๓๐ น. โดยประมาณ จึงเป็นช่วงของพิธี ไหว้ครูดนตรี หลังจากเสร็จสิ้นพิธี ช่วงเช้า ทั้งพิธีสงฆ์และพิธีไหว้ครู สามัญเรียบร้อย ผูบ้ ริหาร คณาจารย์ นักศึกษาปริญญาตรีชนั้ ปีที่ ๑ นักเรียน เตรียมอุดมดนตรี ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๔ และแขกผู้เข้าร่วมงานเริ่ม ทยอยกลับเข้าสู่หอแสดงดนตรีอีก

ครั้ง ทั้งนี้ เมื่อได้เวลาอันเหมาะสม พร้อมเพรียง พิธกี รในช่วงพิธไี หว้ครู ดนตรีได้อธิบายถึงความส�ำคัญของ พิธไี หว้ครูดนตรี ซึง่ พิธกี รในครัง้ นี้ คือ นายกันต์ อัศวเสนา และนางสาว ณัชชา เตชะอาภรณ์ชัย พิธีไหว้ครู ดนตรีเริ่มขึ้น ผู้อ่านโองการในพิธี ไหว้ครูดนตรี วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจ�ำปีการ ศึกษา ๒๕๖๒ ครั้งนี้ คือ อาจารย์ สุเชาว์ หริมพานิช อาจารย์ประจ�ำ สาขาวิชาดนตรีไทยและดนตรีตะวัน ออก หรือที่นักศึกษาในสาขาวิชา เรียกกันติดปากว่า “ครูสุเชาว์” ผู้ เขียนได้สอบถามนักศึกษาบางคน ถึงค�ำเรียกที่แตกต่างกันของค�ำว่า “ครู” และ “อาจารย์” นักศึกษาได้

ครูสุเชาว์ หริมพานิช ผู้อ่านโองการพิธีไหว้ครูดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจ�ำปี การศึกษา ๒๕๖๒ (ที่ ม า: งานประชาสั ม พั น ธ์ วิ ท ยาลั ย ดุ ริ ย างคศิ ล ป์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

12

กล่าวว่า เป็นค�ำเรียกทีใ่ ห้ความหมาย เหมือนกัน แต่ความรู้สึกต่างกัน ค�ำว่าอาจารย์ ใช้เรียกผู้ที่ประสิทธิ์ ประสาทวิชาเหมือนกัน แต่ความ รูส้ กึ ไม่สนิทสนมเท่าค�ำว่าครู ส่วนค�ำ ว่าครูนนั้ เป็นค�ำทีเ่ รียกผูท้ ใี่ ห้ความรู้ บ่มเพาะ ปลูกฝัง และเปรียบเสมือน พ่อแม่คนที่ ๒ ไปด้วยกลายๆ กล่าว คือ ตามความเห็นของผูเ้ ขียนเห็นว่า ค�ำว่าครูนนั้ ลูกศิษย์จะเรียกเมือ่ รูส้ กึ สนิทใจ อยากฝากตัวเป็นศิษย์ และ เคารพเหมือนผูป้ กครองคนหนึง่ แต่ ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั ช่วงเวลาและโอกาสที่ ใช้ในการเรียก “ครูสเุ ชาว์” เกิดในครอบครัวนัก ดนตรี ครูดนตรีคนแรกของท่านคือ บิดา รวมทั้งครูบุญยงค์ เกตุคง ครู บุญยัง เกตุคง และอีกหลายๆ ท่าน ปัจจุบัน ครูสุเชาว์ ถือเป็นผู้อาวุโส ทีส่ ดุ ในสาขาวิชาดนตรีไทยและดนตรี ตะวันออก ทั้งนี้ ครูสุเชาว์ได้รับ มอบการอ่านโองการจากครูบุญยัง เกตุคง ซึ่งครูสุเชาว์ หริมพานิช ได้ ให้สัมภาษณ์กับผู้เขียนถึงการรับ เลือกการมอบโองการและพิธีไหว้ ครูดนตรีไว้ ดังนี้ “...พิธไี หว้ครูดนตรี ถูกแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ เชิญเทพมาเพื่อถวาย และขอศีล ขอพร ขออภัยที่ปีหนึ่ง เราผิดพลาดไป นี้คือเทพ และก็ครู มนุษย์ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ครูที่สร้าง เครือ่ งดนตรี ครูทสี่ บื ทอดเพลงการ ทัง้ หลาย เป็นครูมนุษย์ผลู้ ว่ งลับ เรา จะท�ำพิธไี หว้เพือ่ ร�ำลึกถึงท่าน เพราะ ไม่มีอะไรที่จะคิดถึงนอกจากท�ำบุญ ตามศาสนา แล้วก็เชิญครูเทพมา แล้ว ครูโบราณก็คดิ ประดิษฐ์เพลงส�ำหรับ เชิญเทพมาก็ทำ� ให้ความศักดิส์ ทิ ธิใ์ น พิธีเกิดขลังขึ้น แล้วก็ถวายเครื่อง สังเวยที่สรรหามา หมู เห็ด เป็ด ไก่ อะไรก็แล้วแต่ เสร็จแล้วก็มีการ สรงน�ำ้ ครู ประหนึง่ ว่าครูมาเพือ่ สรง


น�้ำ นานทีจะได้มา เหมือนเราสรง น�้ำสงกรานต์ผู้ใหญ่ แล้วก็มีโปรย ข้าวตอกดอกไม้เพือ่ ให้เกิดสิรมิ งคล แก่เครื่องดนตรี แต่โบราณเขามีอีก เขามีไม้ เรียกว่าไม้ตกเบ็ด สมัยครู จะผูกทอง เป็นสายสิญจน์ผูกทอง แล้วเอาไปเคาะกับเครื่องดนตรี ให้ เกิดมงคล ให้เงินทองไหลมาเท มา แต่ปัจจุบันมันหายไป เด็กก็ไม่ เข้าใจ พอท�ำพิธีเสร็จ ก็ส่งครูกลับ เข้าที่ แล้วก็ลาเครื่องสังเวย... ครู ผู้ท�ำพิธีก็เช่นกัน สมควรที่จะเป็น คนที่เรียนรู้ดนตรีได้สูงแล้ว วัยวุฒิ คุณวุฒิ มีความรู้ด้านดนตรีเป็นที่ นับหน้าถือตา เขายกย่องว่าเป็นครู วัยวุฒิก็คือ ๖๐ ปี ขึ้นไปแล้ว หรือ ๗๐ ปีกด็ ี แต่ตอ้ งมีสติสมั ปชัญญะที่ ไม่เลอะเลือน พูดรูเ้ รือ่ ง รูก้ าละเทศะ ชาติวุฒิไม่จ�ำเป็นต้องศักดาสูง...” (สัมภาษณ์โดยนางสาวณัฐิดา นุ่ม ปราณี วันที่ ๒๖ มิถนุ ายน ๒๕๖๒) พิธีไหว้ครูดนตรี ถูกด�ำเนินไป ตามขัน้ ตอน ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ นายแพทย์ พู น พิ ศ อมาตยกุ ล ประธานในพิธี ขึ้นจุดธูปเทียนบูชา พระรัตนตรัย จุดเทียนชัย เทียนทอง

และเทียนเงิน วงดนตรีที่ใช้บรรเลง คือวงปี่พาทย์เครื่องห้า ส่วนเพลง ที่บรรเลงประกอบการใช้ไหว้ครูนั้น แต่ละสถานทีอ่ าจมีการก�ำหนดเพลง เรียงตามล�ำดับไม่เหมือนกัน ซึง่ พิธี ไหว้ครูดนตรี วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจ�ำปี ๒๕๖๒ นี้ ผูอ้ า่ นโองการเรียกเพลงตามล�ำดับ พิธี ดังนี้ ๑. เพลงพราหมณ์เข้า - เชิญ ครูเข้าสู่พิธี ๒. เพลงมหาชัย - เพือ่ เอาฤกษ์ เอาชัยในพิธี ผู้อ่านโองการกล่าวว่า เมื่อทุก อย่างพร้อมแล้ว เราจะเริม่ ไหว้ครูกนั ... ๓. เพลงพระเจ้าเปิดโลก และ ตระกริ่ง - บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บูชา พระรัตนตรัย ๔. เพลงสาธุการกลอง และ ตระเชิญ - บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และ เชิญพระอิศวร ๕. เพลงพระปัญจสีขร - เชิญ พระปัญจสีขร ๖. เพลงตระวิษณุกรรม - เชิญ พระวิษณุกรรม ๗. เพลงตระพระปรคนธรรพ -

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล ประธานในพิธี ขึ้นจุด ธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จุดเทียนชัย เทียนทอง และเทียนเงิน (ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

เชิญพระปรคนธรรพ ๘. เพลงตระพระพิฆเนศ - เชิญ พระพิฆเนศ ๙. เพลงองค์พระพิราพเต็ม องค์ - เชิญครูพระพิราพ ๑๐. เพลงตระสันนิบาต - เชิญ ครูมาร่วมประชุมทุกองค์ ในช่วงนี้ ผู้อ่านโองการกล่าว เชิญครูเทพ วิญญาณครูผู้ล่วงลับ และครูผีต่างๆ ๑๑. เพลงเสมอผี - เชิญครูที่ เป็นวิญญาณทั้งหลาย ล�ำดับต่อไป เป็นการถวาย เครือ่ งเซ่นสังเวย ระหว่างนัน้ ตัวแทน นักศึกษาจะเฉือนเครือ่ งเซ่น และน�ำ ธูป ๑ ดอก ปักลงบนเครือ่ งเซ่นแต่ละ จาน ทุกจาน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ การอัญเชิญสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ สี่ งิ สถิตอยู่ ณ ที่นั้นๆ มากินเครื่องเซ่นสังเวย ส�ำหรับการจัดเครื่องเซ่นสังเวยนั้น จะจัดออกเป็น ๓ ชุด คือ ๑) ส่วนของพระมหาเทพ เทวดา นางฟ้า เป็นอาหารสุก ๒) ส่วนของพระครูฤาษี พระ ปรคนธรรพ เป็นอาหารสุก ๓) ส่วนของพระพิราพ ซึง่ เป็น เทพอสูร เป็นอาหารดิบ ๑๒. เพลงนั่งกิน เซ่นเหล้า เชิญครูทมี่ าประชุมทุกองค์กนิ เครือ่ ง สังเวย และดื่มสุรา ในระหว่างนี้ เป็นช่วงที่ครูเทพ เทวดา ครูฤาษี ครูผี ครูอสูร ก�ำลัง ฉันอาหาร ดังนั้น ตามธรรมเนียม ปฏิบตั กิ ารไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ ช่วง ถวายเครือ่ งสังเวยมักจะมีการแสดง ดนตรีหรือนาฏศิลป์ เพื่อขับกล่อม ถวายขณะครูก�ำลังฉัน ในครั้งนี้ สาขาวิชาดนตรีไทยและดนตรีตะวัน ออก ได้จดั รายการแสดงดนตรีเพลง ชุด “ราชบุรีศรีสยาม” มีรายนามผู้ บรรเลง ดังนี้

13


จะเข้ - นางสาวอรจิรา อุดมจรรยา ขิม - นางสาวสุพรรณิการ์ คันทะทรัพย์ ซอด้วง - นายปัณกฤด ถิรสุทธิ์ภาธร ระนาดเอก - นางสาวญาณิศา วรรณวัตร์ ฆ้องวงใหญ่ - นางสาวธนวรรณ พึ่งต�ำบล เครือ่ งประกอบจังหวะและเครือ่ งหนัง โดยนักศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท และศิษย์เก่าของวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ควบคุมการฝึกซ้อมโดย อาจารย์ สุเชาว์ หริมพานิช

เจ้าหน้าที่และนักศึกษาเตรียมอุปกรณ์เพื่อจับมือ ฆ้อง โดยวางฆ้องวงใหญ่ ๑๐ วง หน้าเวที ระหว่าง นัน้ ปีพ่ าทย์บรรเลงเพลงมหาชัย ผูอ้ า่ นโองการประกอบ พิธเี จิมและท�ำพิธคี รอบให้แก่ผเู้ ข้าร่วมพิธี แต่พธิ คี รอบ นัน้ จะท�ำเมือ่ ผูค้ รอบต้องการและบอกผูอ้ า่ นโองการด้วย ตนเอง แต่หลักๆ แล้ว คือ การเจิม และการจับมือฆ้อง โดยล�ำดับการครอบครู มีดังนี้ ๑) ผู้บริหารและคณาจารย์รับขันครอบครู พร้อม เตรียมเงินค่าก�ำนลครูจ�ำนวน ๔๐ บาท และเดินขึ้น เวทีครั้งละ ๑๐ คน เพื่อท�ำพิธีเจิมหน้าผาก ๒) นักเรียนเตรียมอุดมดนตรี ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ ๔ และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๑ เดินขึ้น เวทีครัง้ ละ ๑๐ คน รับขันครอบครู ท�ำพิธเี จิมหน้าผาก เมื่อเสร็จจากการเจิมหน้าผากเดินมารับขันครู ณ จุด วางขันฆ้อง และเดินลงด้านล่างไปหาครูฆ้อง ส่งขันให้ ครูฆ้อง และครูฆ้องรับขันพร้อมหันหลังวางขันบนเวที ครูท�ำพิธีจับมือฆ้อง

วงดนตรีถวายมือ ชุด “ราชบุรีศรีสยาม” (ที่มา: นางสาวณัฐิดา นุ่มปราณี ถ่ายเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๒)

เมือ่ วงดนตรีบรรเลงถวายมือเสร็จเรียบร้อย ผูอ้ า่ น โองการจึงเชิญแขกผูใ้ หญ่ขนึ้ สรงน�ำ้ เทพ ซึง่ ประกอบไป ด้วย ๔ ท่าน คือ ๑) ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ นายแพทย์ พูนพิศ อมาตยกุล ๒) คุณสุหตั ถ์ สังชญา ๓) อาจารย์ ดริน พันธุมโกมล ๔) อาจารย์ณัฐชยา นัจจนาวากุล ขณะนั้นวงปี่พาทย์บรรเลงประกอบ หลังจากสรงน�้ำ เทพเสร็จ ผู้อ่านโองการเรียกเพลงต่อ ๑๓. เพลงโปรยข้าวตอก - ประกอบการโปรย ข้าวตอก ดอกไม้ เครื่องหอม เพื่อความเป็นสิริมงคล แก่พิธี อาจารย์ผใู้ หญ่ทงั้ ๓ ท่าน ขึน้ โปรยข้าวตอก ดอกไม้ บนเวที ๑) คุณสุหตั ถ์ สังชญา ๒) อาจารย์ดริน พันธุมโกมล ๓) อาจารย์ณัฐชยา นัจจนาวากุล หลังจากนั้นจึง เป็นการลาเครื่องสังเวย ผู้อ่านโองการกล่าวขอเชิญ เทพครูอยู่ต่อเพื่ออ�ำนวยอวยพร อวยชัย ๑๔. เพลงปลายเข้าม่าน และลา ๒ ชั้น - เชิญ ครูเทพเสด็จเข้าสู่พระวิสูตร เพื่อเตรียมเสด็จสู่มณฑล พิธีตามค�ำกล่าวทูลอัญเชิญ 14

(บน) นักเรียนนักศึกษาเข้าพิธีเจิมหน้าผาก (ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล) (ล่าง) นักศึกษาร่วมพิธีจับมือฆ้อง (ที่มา: นางสาวณัฐิดา นุ่มปราณี ถ่ายเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๒)


ในเวลานี้ เมือ่ คณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ท�ำพิธเี จิมและจับมือฆ้อง ครบทุกคนแล้ว จึงเป็นแขกทีม่ าร่วม งาน ร่วมทัง้ เจ้าหน้าทีข่ องวิทยาลัย ที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมพิธีขึ้น เจิมหน้าผากได้ หลังจากนั้น ผู้เข้า ร่วมงานจึงทยอยเดินทางกลับ และ ขั้นตอนหลังจากนี้มักเป็นสิ่งที่ไม่ ค่อยมีใครให้ความสนใจเพราะถือ กันว่าหมดช่วงของพิธีการที่ส�ำคัญ แล้ว แต่ในทางกลับกัน นักเรียนและ นักศึกษาสาขาวิชาดนตรีไทยและ ดนตรีตะวันออก รวมทั้งครูผู้อ่าน โองการ ยังคงท�ำหน้าที่ของตน ซึ่ง คือขัน้ ตอนของการกล่าวลา ขอโทษ ทีอ่ าจจะอัญเชิญครูแต่ละองค์ แต่ละ ตน ไม่ทวั่ ถึง พร้อมทัง้ ขอพรจากครู

“ข้าพเจ้า ขอพรแก่ท่าน มี สติสมั ปชัญญะ มีความจ�ำดี พลานามัย ดี กิจการรุ่งเรือง ตลอดกาลนาน ด้วยเทอญ” และกล่าวส่งครูเป็นการ ปิดท้าย ผู้อ่านโองการเรียกเพลง ๑๕. เพลงพราหมณ์ออก - เชิญ ครูก้าวออกจากพิธี ๑๖. เพลงเสมอเข้าที่ - เชิญ ครูกลับที่ประทับ ๑๗. เพลงเชิด กราวร�ำ - เพือ่ ความเป็นสิริมงคลและส่งครูกลับ เมือ่ เพลงสุดท้ายบรรเลงจบ จึง เป็นการเสร็จสิน้ พิธไี หว้ครู วิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจ�ำปีการศึกษา ๒๕๖๒ อย่าง สมบูรณ์ ทัง้ นี้ ผูเ้ ขียนมีความเห็นว่า พิธี

ไหว้ครูของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสิง่ ทีม่ คี วาม ส�ำคัญและเป็นลักษณะเฉพาะ สิ่งที่ ผู้เขียนมองว่าเป็นลักษณะเด่นของ การไหว้ครูของวิทยาลัย นัน่ คือ พิธี ผูกข้อมือรับขวัญ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่ นานมานี้ ตามที่ผู้เขียนได้กล่าวไป แล้วข้างต้น แต่ทั้งนี้พิธีดังกล่าวได้ สอดคล้องกับลักษณะความเชือ่ ของ กลุ่มคนในแถบอุษาคเนย์ คือความ เชื่อเกี่ยวกับขวัญ สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้เขียนอธิบายไว้วา่ ขวัญเป็นความ เชือ่ ของศาสนาผี ซึง่ เกิดก่อนศาสนา พุทธ หมายถึงส่วนทีไ่ ม่เป็นตัวตนของ คน เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น จับต้องไม่ ได้ พิธีกรรมเกี่ยวกับขวัญนั้น เรียก ได้หลายอย่าง ทั้งท�ำขวัญ สู่ขวัญ เรียกขวัญ และรับขวัญ พิธกี รรมดัง กล่าวเป็นการแสดงถึงความผูกพัน และความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติ และระหว่างบุคคลกับสังคมนัน้ ๆ แต่ เมือ่ ภายหลังจากทีร่ บั ศาสนามาจาก อินเดียแล้ว พิธกี รรมดังกล่าวได้ถกู ปรับเปลี่ยนให้ซับซ้อนมากขึ้น โดย การรับคติพราหมณ์กับพุทธเข้ามา ประสมประสาน (สุจิตต์ วงษ์เทศ, ๒๕๖๐) ด้วยเหตุนเี้ อง ทางวิทยาลัย ดุรยิ างคศิลป์จงึ น�ำมาเฉพาะขัน้ ตอน การผูกข้อมือรับขวัญ เพือ่ ยังคงเป็น สัญลักษณ์ทางความเชื่อที่ว่า เมื่อ ตัวแทนนักเรียนนักศึกษาน�ำพาน ดอกไม้ธูปเทียนมาไหว้ครูอาจารย์ หลังจากนั้นครูอาจารย์แต่ละท่าน จะเป็นผูท้ ผี่ กู ข้อมือรับขวัญด้วยสาย สิญจน์สขี าวให้แก่นกั เรียนนักศึกษา ใหม่ทกุ คน ผูเ้ ขียนได้สมั ภาษณ์นางสาว สุพรรณิการ์ คันทะทรัพย์ นักศึกษา ปริญญาตรีชนั้ ปีที่ ๒ สาขาวิชาดนตรี ไทยและดนตรีตะวันออก ถึงความ (บน) วงปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบพิธีไหว้ครูดนตรี (ล่าง) คณาจารย์ นักเรียน และนักศึกษา สาขาวิชาดนตรีไทยและดนตรีตะวัน รู้สึกที่นักศึกษาได้รับเมื่อเข้าพิธีผู้ ข้อมือรับขวัญ ไว้ว่า ออก กล่าวลาและส่งครูกลับ (ที่มา: นางสาวณัฐิดา นุ่มปราณี ถ่ายเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๒)

15


พิธีผูกข้อมือรับขวัญนักศึกษาใหม่ (ที่มา: นางสาวณัฐิดา นุ่มปราณี ถ่ายเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๒)

“...รู้สึกว่าศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น เหมือนเราเป็นศิษย์มคี รูอย่างเต็มตัว ถ้าไม่มีพิธีนี้ก็เหมือนไหว้ครูทั่วไปที่ แค่ผา่ นไปแต่ละปีไปเรือ่ ยๆ ทุกปีหนู จะเก็บสายสิญจน์นไ้ี ว้ทหี่ งิ้ พระทีบ่ า้ น เพือ่ เตือนใจเราว่า เราเป็นศิษย์มคี รู นะ เมื่อเข้ามาเรียนที่นี่แล้ว” จากค�ำสัมภาษณ์ดังกล่าว ผู้ เขียนมองว่า พิธผี กู ข้อมือรับขวัญนี้ ประสบความส�ำเร็จในจุดมุง่ หมายทีต่ งั้

ไว้เป็นอย่างมาก เนือ่ งจากนักศึกษา เข้าใจในสิง่ ทีว่ ทิ ยาลัยก�ำลังสือ่ สารถึง สายใยทีม่ ตี อ่ กันระหว่างศิษย์กบั ครู และด้วยเหตุทวี่ ทิ ยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยาลัย ดนตรี จึงท�ำให้เกิดพิธีไหว้ครูดนตรี รวมอยูด่ ว้ ย พิธไี หว้ครูซงึ่ เป็นมรดก ทางวัฒนธรรมทีป่ ฏิบตั สิ บื ทอดกันมา อย่างยาวนาน เป็นสิ่งที่แสดงออก ถึงความรัก ความเคารพ เป็นการ

สร้างสายใยความผูกพันที่ศิษย์มี ต่อครูผู้ซ่ึงประสิทธิ์ประสาทวิชาน�ำ ไปประกอบอาชีพในภายภาคหน้า ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลที่ผู้เขียนได้เล่า ถึง ล้วนเป็นเหตุการณ์ท่ีเกิดขึ้นใน พิธีไหว้ครู วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจ�ำปีการ ศึกษา ๒๕๖๒

เอกสารอ้างอิง ครูเงิน. (๒๕๔๒). เพลงไทยตามนัยประวัต.ิ กรุงเทพฯ: บริษัท เอส พี เอฟ พริ้นติ้ง กรุ๊ป จ�ำกัด. งานท�ำนุบำ� รุงศิลปวัฒนธรรม ส่วนกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี. (๒๕๔๑). สาธุการ พิธกี รรม ไหว้ครูดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ปิ่นเกล้าการพิมพ์. สุจิตต์ วงษ์เทศ. (๒๕๖๐, ๓ กรกฎาคม). “ขวัญ” ความเชื่อในศาสนาผี “ขรรค์ชัย-สุจิตต์” ชวนฟังปี่พาทย์ สาธิต “ท�ำขวัญนาค” รับเข้าพรรษา. มติชนออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/ education/news_595280.

16



REVIEW

Thailand Isan International Guitar Festival & Competition 2019 ง

เรื่อง: นลิน โกเมนตระการ (Nalin Komentrakarn) อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชากีตาร์คลาสสิ ก วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

าน Thailand Isan International ๒-๓ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล ๒๑ Guitar Festival & โคราช จังหวัดนครราชสีมา ลักษณะ Competition 2019 หรืองาน ของงานประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ เทศกาลดนตรีและการแข่งขันกีตาร์ (๑) การแข่งขันกีตาร์ (รวมถึงการ ระดับนานาชาติ เป็นงานที่จัดต่อ ประกวดการประพันธ์เพลงส�ำหรับ เนือ่ งมายาวนานกว่า ๑๐ ปี ส�ำหรับ กีตาร์) (๒) การแสดงคอนเสิรต์ (๓) ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้ จัดขึ้นเมื่อวันที่ การออกร้านของช่างท�ำกีตาร์ไทยและ ๑-๒ มิถนุ ายน ทีเ่ ทอร์มนิ อล ฮอลล์ หนังสือส�ำหรับกีตาร์ 58

ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้ มีสิ่งที่น่า สนใจเพิ่มจากปีก่อนๆ คือ การน�ำ เสนอบทประพันธ์เพลงที่แต่งขึ้น ใหม่ จากผลงานของอาจารย์บญ ุ รัตน์ ศิรริ ตั นพันธ ในบทเพลงคอนแชร์โต “กบกินตะเวน เพ็ญแขไขส่อง” (Concerto “Solar Eclipse | Full Moon”) ส�ำหรับฟลุต วงกีตาร์


ควอเท็ต (Guitar Quartet) วง ดุรยิ างค์กตี าร์ (Guitar Orchestra) วงมโหรีโคราช วงโปงลาง เครื่อง เพอร์คสั ชันตะวันตก และคอมพิวเตอร์ ผู้ประพันธ์อธิบายไว้ว่า เหตุผลที่ เรียกบทเพลงนีว้ า่ เป็นคอนแชร์โตนัน้ เพราะมีเครื่องดนตรีมา “ประชัน” กันอย่างหลากหลาย และมีการเดีย่ ว “คาเดนซา” (Cadenza) เพือ่ อวด ฝีมือของนักดนตรีอีกด้วย ท่อนทีห่ นึง่ ตะวันฉาย (Ray of the Sun) เริม่ จากเสียงกระทืบเท้า (Stomp) ของนักดนตรีบนเวที และ คอร์ดกีตาร์ แสดงถึงความร้อนแรง ของดวงตะวัน จากนัน้ เป็นช่วงคาเดน ซาสั้นๆ ที่ประชันกันระหว่างเครื่อง ดนตรีเดี่ยวต่างๆ ของวง ทั้งกีตาร์ พิณ ซอ โปงลาง และฟลุต ตาม ด้วยเสียงโซโลทุ้มต�่ำจากคอนทราอัลโตฟลุต (Contra-alto Flute) บรรเลงโดย อาจารย์ชชั พล เจียมจรรยง

นับเป็นเครื่องดนตรีที่ดูโดดเด่นบน เวทีของงานนี้ จากนัน้ เป็นท่อนฟิวก์ (Fugue) ของกีตาร์โซโลควอเท็ต บรรเลงโดย อาจารย์เผด็จ เนตรภักดี อาจารย์ภูนที ทาค�ำ อาจารย์นลิน โกเมนตระการ และอาจารย์สกล ศิริพิพัฒนกุล ความแห้งแล้งจาก ดวงสุริยาท�ำให้ชาวบ้านต้องท�ำพิธี เรียกฝน เสียงเพลงแห่นางแมว ดังขึ้น ซึ่งเป็นบทเพลงโบราณของ โคราช ขับร้องโดย คุณสมโชค คนยัง้ โดยมีเสียงซอและแคนบรรเลงคลอ ก่อนที่จะจบท่อนนี้ด้วยเสียงขบวน แห่นางแมวจากคอมพิวเตอร์ที่ ค่อยๆ เบาลง ท่อนทีส่ อง กบกินตะเวน (Solar Eclipse) พรรณนาเรื่องราวการ เกิดสุริยุปราคา ท่อนนี้นับเป็น ท่อนที่เร้าใจที่สุด เริ่มจากวงกีตาร์ บรรเลงอย่างน่าตื่นเต้น ตามด้วย กีตาร์โซโลต่างประสานกันเข้ามา มี

การใช้บาร์ตอกพิซซิคาโต (Bartok Pizzicato) เป็นเทคนิคการดึงสาย กีตาร์ให้เกิดเสียงแตก มีการถูสาย กีตาร์ให้เกิดเสียงเอี๊ยดอ๊าด แสดง ถึงความตืน่ เต้นของชาวบ้านต่อข่าว เกีย่ วกับเรือ่ งนี้ จนมาถึงช่วง “กบกิน ตะเวน” หรือช่วงทีฟ่ า้ มืดตอนกลาง วันทีผ่ คู้ นต่างหวาดกลัว ดนตรีจะฟัง ดูลกึ ลับ หลังจากนัน้ ชาวบ้านจะเริม่ “ไล่กบ” ดนตรีจะมีเสียงเคาะต่างๆ วงกีตาร์จะประสานเสียงกันในแบบ แปลกหู มีเสียงปี่เข้ามา และดนตรี เริ่มคลี่คลายลง ท่ อ นที่ ส าม คื น สงั ด เงี ย บ (Nocturne) ขึน้ ต้นด้วยเสียงฮาร์โมนิก ของกีตาร์ และการดีดสายช่วงใกล้ ลูกบิด เกิดเสียงเหมือนใบไม้กระทบ กัน ตามด้วยกีตาร์โซโลเล่นท�ำนองนิง่ ๆ จังหวะช้าๆ ตามด้วยซอและท�ำนอง เสียงต�่ำของคอนทรา-อัลโตฟลุต เสียงกีตาร์และเสียงโหวดแทรกขึน้ มา

59


จากนั้นท�ำนองนิ่งๆ ช้าๆ ของกีตาร์ กลุ่มโซโลก็เข้ามาอีกครั้ง ประสาน กับวงโปงลาง และปิดท้ายด้วยวง มโหรีโคราช ท่อนทีส่ ี่ เพ็ญแขไขส่อง (Full Moon) บรรเลงต่อเนื่องจากท่อน ที่ ๓ ด้วยจังหวะสนุกสนานของวง กีตาร์ ตามด้วยเสียงร้องบทเพลง “ช้าเจ้าหงส์ ดงล�ำไย” อันเป็นเพลง โบราณของโคราช บทเพลงร้อยเรียง ประสานเสียงสลับไปมาระหว่างวง มโหรีโคราช และวงโปงลาง วงกีตาร์ และกลุ่มโซโลกีตาร์ เสียงพิกโคโล เข้ามา และเสียงร้องเข้ามาอีกครั้ง ปิดช่วงท้ายด้วยเสียงกระทืบเท้า และวงกีตาร์ ผู้ประพันธ์สามารถสร้างสรรค์ บทเพลงนี้ให้มีกลิ่นอายของความ เป็นไทยอีสานได้ดี ทั้งนี้ต้องยก เครดิตให้วงศิลป์สาธร ซึ่งเป็นวง มโหรีโคราช และอีกวงคือวงโปงลาง จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช 60

มงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา ส่วนเสียงของวงกีตาร์ก็สร้างความ น่าตื่นตาตื่นใจ ผู้บรรเลงวงกีตาร์ เดินทางมาจากหลายที่มารวมกัน อีกทั้งยังมีผู้พิการทางสายตาร่วม บรรเลงด้วย และได้อาจารย์วรเทพ รัตนาอัมพวัลย์ มาช่วยฝึกซ้อมวง ให้ นับเป็นงานที่ไม่ง่ายเลยส�ำหรับ วาทยกร ซึ่งก็คือ อาจารย์บุญรัตน์ ผู้ประพันธ์งานนี้เอง การแสดงของวันทีส่ องเป็นการ แสดงของเหล่าจอมยุทธ์กตี าร์ทงั้ แนว คลาสสิกและฟิงเกอร์สไตล์ ต่างงัด เอาจุดเด่นของตนเองมาอวดกัน เริม่ ด้วยการแสดงของผูไ้ ด้รบั รางวัล ชนะเลิศงานนี้ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ประเภทคลาสสิก คือ คุณธนพต เลิศธรรม ซึ่งปัจจุบันเป็นนักศึกษา ชั้นปีที่ ๔ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และประเภท ฟิงเกอร์สไตล์ คือ อาจารย์พฒ ุ นิ นั ท์ เขตเจริญ ปัจจุบนั เป็นอาจารย์สอน

ทีม่ หาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ตาม ด้วยการแสดงกีตาร์ของ Alessio Monti และคุณปนิชชา ยิ่งยง ใน เครื่องดนตรีอินเดีย บทเพลงที่ฟัง แล้วสงบเย็บ คุณปนิชชาเล่าว่า ตั้ง เสียงเครื่องดนตรีในความถี่ ๔๓๒ เฮิรตซ์ เพื่อให้เกิดเป็นดนตรีบ�ำบัด ตามด้วยเพลงหวานๆ โดย Billy Arcila จากสหรัฐอเมริกา ต่อด้วย เพลง Mallorca ของ Albéniz จากฝีมือนักกีตาร์ชาวอเมริกันแต่ ไปสอนกีตาร์ที่อินเดีย คือ Matt

Bacon

เปลี่ยนบรรยากาศมาฟังกีตาร์ โปร่งจาก Earl Sullivan ต่อ ด้วย Reeve Jia Ming จาก มาเลเซีย การแสดงของวง Maria Duo โดย Shinobu Sugawara และ Yoko Fujimori ทั้งสองคู่หู บรรเลงเข้ากันได้ดมี าก ด้วยแนวคิด เพื่อความสุข เพื่อความรักตาม ที่มาของชื่อวง อาจารย์บุญชอบ


ถนอมวงศ์ธนา มาบรรเลงต่อด้วยเพลง Windy and Warm ในแบบของ Tommy Emmanuel และเพลง อื่นๆ ตามด้วย อาจารย์พิจักษณ์ วีระไทย (อาจารย์ เฟิร์น) แชมป์จากการประกวด “Singha Legend Eric Clapton 2011” สลับมาฟังกีตาร์คลาสสิกโดย Anton Baranov แชมป์งาน Guitar Foundation of America (GFA) Competition 2013 บรรเลง เพลง Variations on a Theme of Sor, Op. 15 ของ Miguel Llobet ได้อย่างพลิ้วน่าดูน่าฟัง ปิดท้ายด้วย Hikaru Tanimoto จากญี่ปุ่น มีการ เล่นกีตาร์ฟิงเกอร์สไตล์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ งานนี้นอกจากมีการแสดงจากเวทีใหญ่แล้ว ยังมี การแสดงจากเวทีด้านหน้างานอีกด้วย เป็นการเปิด โอกาสให้นกั แสดงได้ผลัดกันมาขับกล่อมบทเพลงด้วย เสียงกีตาร์ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างดี ส่วนการ แข่งขัน ผู้ชนะเลิศในกีตาร์คลาสสิก รุ่นอายุ ๑๘ ปี ขึ้นไป กีตาร์ฟิงเกอร์สไตล์ รุ่นอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป กีตาร์ Ensemble รุน่ เยาวชน การประพันธ์เพลง ได้รบั ถ้วย พระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อันทรง เกียรติ ซึ่งผลการแข่งขันมีดังนี้

กีตาร์คลาสสิก รุ่นอายุไม่เกิน ๑๒ ปี ชนะเลิศ - ณัฏฐชัย ชัยวณิชย์ รองชนะเลิศอันดับ ๑ - พิมพ์ชนก เกตุมี รองชนะเลิศอันดับ ๒ - นิธิโรจน์ ผาใหญ่ กีตาร์คลาสสิก รุ่นอายุไม่เกิน ๑๗ ปี ชนะเลิศ - เปรมบุญ เลิศอริยานันท์ รองชนะเลิศอันดับ ๑ - พัชรพร จิระสานต์ รองชนะเลิศอันดับ ๒ - ภาณุวัฒน์ รัตนกุล กีตาร์คลาสสิก รุ่นอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป ชนะเลิศ - สุรเชษฐ์ วงษ์แย้ม รองชนะเลิศอันดับ ๑ - รวิสุต ปฏิพัทธ์วศิน รองชนะเลิศอันดับ ๒ - ปองณัฐ จั่นจ�ำรัส กีตาร์ฟิงเกอร์สไตล์ รุ่นอายุไม่เกิน ๑๒ ปี ชนะเลิศ - อณาวิล ศิลป์ประกอบ รองชนะเลิศอันดับ ๑ - นิธิโรจน์ ผาใหญ่ รองชนะเลิศอันดับ ๒ - ธนธร ศรเฉลิม

61


กีตาร์ฟิงเกอร์สไตล์ รุ่นอายุไม่เกิน ๑๗ ปี ชนะเลิศ - นที ไชยวุฒิ รองชนะเลิศอันดับ ๑ - กิจกวิน กุลสรรค์ศุภกิจ รองชนะเลิศอันดับ ๒ - กันติพิชญ์ ศุภสิทธิ์ กีตาร์ฟิงเกอร์สไตล์ รุ่นอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป ชนะเลิศ - ณัฐกฤตย์ เปลี่ยวจิตร์ รองชนะเลิศอันดับ ๑ - พงศธร บุญธิมา รองชนะเลิศอันดับ ๒ - ธีระศักดิ์ นีอ�ำมาตย์ กีตาร์ Ensemble รุ่นเยาวชน ชนะเลิศ - Blue Melody (กวินทิพย์ นามทัศน์, ศุภวิชญ์ สุดดวง, ธนธร ศรเฉลิม, แมธทิว ทิพวัจนา เจนเซ่น) รองชนะเลิศอันดับ ๑ - สุขสบาย (ธนพนธ์ รัตนะธาดา, ธนวัฒน์ รัตนะธาดา)

เปรมิกา เลิศปิติวัฒนา, พัชรพร จิระสานต์) รองชนะเลิศอันดับ ๒ - The Blind KGD (โกศล เพชรประกอบ, ณัฐพงษ์ ประดิษฐ์) การประพันธ์เพลง ชนะเลิศ - เพลง Long Shadow ผู้ประพันธ์

Brian Mills

รองชนะเลิศอันดับ ๑ - เพลง Memories of Siam ผู้ประพันธ์ Mark Houghton รองชนะเลิศอันดับ ๒ - เพลง Petrichor ผู้ ประพันธ์ วริศ คนธปฏิภาค

งานนีใ้ นยุคแรกเริม่ ต้นจากงานทีจ่ ดั ในวันเดียว แล้ว ขยายมาเป็น ๒ วัน การจัดงานกีตาร์ในส่วนภูมภิ าคคือ ทีโ่ คราช เป็นการเผยแพร่ดนตรีแก่เยาวชนและประชาชน ทัว่ ไป นับเป็นโอกาสอันดี อาจารย์สนั ติ แก้วใจ ประธาน จัดงานได้ตอ่ สูม้ าตลอด ซึง่ ย่อมมีอปุ สรรค เป็นเรือ่ งปกติ กีตาร์ Ensemble รุ่นประชาชนทั่วไป ของการท�ำงาน ต้องขอขอบคุณผู้สนับสนุนจากหน่วย ชนะเลิศ - SVGQ (วิชยุตม์ นิลรัต, กีรติ ราชพัฒน์, งานต่างๆ ทีท่ ำ� ให้เยาวชนได้รบั โอกาสและประสบการณ์ เอกภพ บุญศรัทธา, บวรพงศ์ ธีระเถกิง) อันดี รวมถึงช่างท�ำกีตาร์ไทยด้วย รองชนะเลิศอันดับ ๑ - Six Times Four [ขอขอบคุณรูปภาพจาก Facebook Terminal Ensemble (ต้นนํ้า ไกรศรีสวัสดิ์, พชร สีหะเนิน, 21 Korat] 62


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.