Music Journal December 2019

Page 1


วารสารเพลงดนตรี MUSIC JOURNAL

ISSN 0858-9038

Volume 25 No.4 December 2019

Volume 25 No. 4 December 2019

เวลาในแต่ละปีล่วงเลยไปอย่าง รวดเร็ว ขอต้อนรับผู้อ่านเพลงดนตรีใน เดือนส่งท้ายปี ด้วยบทความทางดนตรี อันหลากหลายแนวที่น่าสนใจ เริ่มด้วยบทความจากทางสาขา music therapy ทีบ่ รรยายถึงการเข้าร่วม งานประชุมวิชาการ International AsiaPacific Music Therapy Conference 2019 (IAPMTC 2019) ทีจ่ ดั ณ กรุงปักกิง่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ทีผ่ า่ นมา โดยการประชุมในครัง้ นีเ้ ป็นการรวมตัวของ วิทยากรนักดนตรีบ�ำบัดผู้ทรงคุณวุฒิใน กลุม่ ภูมภิ าคเอเชียแปซิฟกิ (Asia-Pacific) เพื่อมาแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านดนตรี บ�ำบัดจากประเทศต่าง ๆ ส�ำหรับผู้สนใจทางด้านเทคโนโลยี ดนตรี บทความน�ำเสนอวิธีสร้าง digital emulation ทีละขั้นตอน ด้วย Space Designer ในโปรแกรม Logic Pro X

Volume 25 No. 4 December 2019

เจ้าของ

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

บรรณาธิการ

ฝ่ายภาพ

ฝ่ายสมาชิก

ฝ่ายศิลป์

ส�ำนักงาน

คนึงนิจ ทองใบอ่อน

ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ

จรูญ กะการดี นรเศรษฐ์ รังหอม

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

พิสูจน์อักษรและรูปเล่ม

ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ

เว็บมาสเตอร์

นิธิมา ชัยชิต

สนอง คลังพระศรี Kyle Fyr

ธัญญวรรณ รัตนภพ

ภรณ์ทิพย์ สายพานทอง

ด้านบทความทางดนตรีไทยและ ดนตรีตะวันออก น�ำเสนอข้อมูลความเป็น มาและความส�ำคัญของงานบันทึกเสียงชุด “The Merry Angel Opus 11” ซึ่ง เป็นการบันทึกเสียงด้วยแตรวงชาวบ้าน ความพิเศษของแผ่นเสียงชุดนีเ้ ป็นอย่างไร พลิกไปอ่านในเล่ม ส่วนผู้อ่านที่พลาดคอนเสิร์ตและ กิจกรรมต่าง ๆ ของวิทยาลัย รวมถึง คอนเสิร์ตเปิดฤดูกาลที่ ๑๕ ของวง Thailand Philharmonic Orchestra สามารถติดตามบรรยากาศและข้อมูลย้อน หลังได้จากบทรีวิว สุขสันต์ชว่ งวันส่งท้ายปี... แล้วพบ กันใหม่ปีหน้าค่ะ

สุพรรษา ม้าห้วย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (วารสารเพลงดนตรี) ๒๕/๒๕ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ต�ำบลศาลายา อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๓๑๑๓ โทรสาร ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๓๐ musicmujournal@gmail.com

ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ

พิมพ์ที่

หยินหยางการพิมพ์ โทรศัพท์ ๐ ๒๙๐๓ ๘๖๓๖ ๐ ๒๔๔๓ ๖๗๐๗

จัดจ�ำหน่าย

ร้านค้าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๒๕๐๔, ๒๕๐๕

กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ส�ำหรับข้อเขียนที่ได้รับการ พิจารณา กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุงเพื่อความเหมาะสม โดยรักษาหลักการและแนวคิดของผู้เขียนแต่ละท่านไว้ ข้อเขียน และบทความที่ตีพิมพ์ ถือเป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ขอรับผิดชอบบทความนั้น


สารบั ญ Contents Dean’s Vision

04

Thai and Oriental Music

Music Therapy

ปี่พาทย์มอญ คณะ ส.ประสบศิลป์ ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน (Dhanyaporn Phothikawin)

International Asia-Pacific Music Therapy Conference 2019 Conference Review (ตอนที่ ๑) กฤษดา หุ่นเจริญ (Gritsada Huncharoen)

24 28

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์: เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ท�ำงานรับใช้สังคม ณรงค์ ปรางค์เจริญ (Narong Prangcharoen)

The Merry Angel opus 11 งานบันทึกเสียงแตรวงชาวบ้าน ปรากฏการณ์ชาวสามัญ สู่ตลาดสากล จิตร์ กาวี (Jit Gavee)

Cover Story

International Relations

08

Thailand Philharmonic Orchestra Season 15: New Horizons “ขอบฟ้าใหม่” ณัฏฐา อุทยานัง (Nuttha Udhayanang)

Music Entertainment

12

“เรื่องเล่าเบาสมองสนองปัญญา” เพลงไทยสากลที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “ปีใหม่” กิตติ ศรีเปารยะ (Kitti Sripaurya)

32

International Relations Trip - Vienna, Austria and Turin, Italy 4-9 November, 2019 Joseph Bowman (โจเซฟ โบว์แมน)

36

Participating in the Singapore Saxophone Symposium with the Salaya Saxophone Ensemble Shyen Lee (ชีเยน ลี)

Music Technology

38

How To: Create Impulse Responses and Digitally Emulate A Portable Speaker Using Convolution Reverb Software Michael David Brice (ไมเคิล เดวิด ไบรซ์)

46

Review

50

Thailand Philharmonic Orchestra Season 15 Opening Concert วริศ วสุพงศ์โสธร (Waris Vasuphongsothon)

56

Just Stand Joseé Carreras: Farewell Bangkok - Prelude to Development Haruna Tsuchiya (ฮารุนะ ซึชิยะ)

60

2019 International Music & Culture Festival วรรณภา ญาณวุฒิ (Wannapha Yannavut)


DEAN’S VISION

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์: เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ท�ำงานรับใช้สังคม เรื่อง: ณรงค์ ปรางค์เจริญ (Narong Prangcharoen) คณบดีวท ิ ยาลัยดุรย ิ างคศิลป์ ​มหาวิทยาลัยมหิดล

ารเรียนรูจ้ ากบทเรียนทีถ่ า่ ยทอด จากผู้สอนเป็นหลัก คงจะเป็น เรื่องที่คุ้นเคยในยุคที่การศึกษาขาด โอกาสในการเข้าถึงข้อมูล แต่ในยุค ปัจจุบนั ข้อมูลเป็นเรือ่ งทีเ่ ข้าถึงได้ใน หลายรูปแบบและหลายแง่มมุ ไม่วา่ อยากเรียนรู้เรื่องอะไรก็ตาม มักจะ มีข้อมูลที่สามารถเรียนรู้ได้โดยไม่ จ�ำเป็นต้องเข้าเรียนจากห้องเรียน อีกต่อไป ในแง่ของการเรียนรู้ทาง ด้านดนตรีเป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่ สามารถเรียนรู้ได้จากในห้องเรียน เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเรียนรู้จาก ประสบการณ์ด้วยเช่นกัน การได้ ฝึกฝน ได้เล่น ได้ท�ำงาน จะท�ำให้มี ความเชีย่ วชาญทีม่ ากขึน้ มีฝมี อื ทีเ่ ก่ง ขึน้ และท�ำให้สามารถประกอบอาชีพ ในด้านที่ตนมีความสามารถได้มาก 04

ขึน้ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ เห็นความ ส�ำคัญของการฝึกฝนในรูปแบบต่าง ๆ ให้แก่นักเรียนและนักศึกษาอย่าง สม�่ำเสมอ ด้วยความเข้าใจว่า การ เรียนดนตรีตอ้ งมีความเป็นมืออาชีพ สูง (professional) ต้องมีอาจารย์ทเี่ ป็น แบบอย่าง และต้องอยูใ่ น profession นัน้ เพือ่ จะได้นำ� ประสบการณ์ทมี่ มี า สอนให้นกั ศึกษาสามารถต่อยอดและ สร้างความเชีย่ วชาญเพือ่ ให้สามารถ แข่งขันกับต่างชาติได้ ด้วยเหตุนี้ ท�ำให้ทางวิทยาลัยมุง่ เน้นในการสร้าง กิจกรรมให้กบั อาจารย์ นักเรียน และ นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ผ่านมา วิทยาลัย ดุรยิ างคศิลป์ได้รบั เกียรติให้รว่ มแสดง ในการรับเสด็จสมเด็จพระสันตะปาปา

ฟรานซิส นับว่าเป็นการเสด็จมาเยือน ประเทศไทยอย่างเป็นทางการเป็นครัง้ แรกในรอบ ๓๕ ปี หลังจากสมเด็จ พระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ ๒ เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึง่ ในการแสดง ครัง้ นีไ้ ด้ใช้วง Thailand Philharmonic Pop Orchestra ในการบรรเลง โดย วงนี้ประกอบไปด้วยอาจารย์และ นักศึกษาของวิทยาลัย เป็นวงที่ตั้ง ขึ้นใหม่ตามนโยบายของกรรมการ บริหารวง Thailand Philharmonic Orchestra ที่มีความมุ่งหมายจะ ขยายการแสดงให้อยู่ในรูปแบบที่ หลากหลาย โดยสร้าง branding ให้กบั วงทีม่ คี วามสามารถทีแ่ ตกต่าง กัน เพราะเมือ่ กล่าวถึงวง Thailand Philharmonic Orchestra ในด้าน ของ branding คงชัดเจนในแง่ของ


ความเป็นเลิศทางด้านดนตรีคลาสสิก และจุดมุ่งหมายทางด้านการศึกษา และพัฒนาสังคม ส่วนวง Thailand Philharmonic Pop Orchestra จะ มุง่ เน้นในการเล่นดนตรีทหี่ ลากหลาย และเล่นดนตรีร่วมสมัย ซึ่งที่ผ่าน มาได้รับเกียรติให้ไปเล่นในงาน ส�ำคัญต่าง ๆ รวมไปถึงร่วมแสดงใน คอนเสิรต์ กับศิลปินทีม่ ชี อื่ เสียง เช่น ในคอนเสิรต์ ใหญ่ของคุณปู พงษ์สทิ ธิ์ คัมภีร์ เป็นต้น การได้เข้าร่วมแสดง อย่างสม�่ำเสมอจะท�ำให้การพัฒนา ของวงและนักดนตรีในวงเข้มแข็ง ขึ้น ท�ำให้นักศึกษามีประสบการณ์ จริงในการท�ำงาน ไม่ใช่แค่เรียนใน ห้องเรียนเท่านั้น ซึ่งการเรียนใน รูปแบบนี้ ถือได้ว่าเป็นการศึกษาที่ แตกต่างจากหลาย ๆ สถาบันการ ศึกษาทั้งในและต่างประเทศ นอกเหนือจากการศึกษาเพื่อ สร้างนักศึกษาที่มีความสามารถ แล้ว การศึกษายังต้องช่วยเหลือ ชุมชนอีกด้วย หากมหาวิทยาลัย เป็นเพียงสถานศึกษาระดับสูง แต่ ไม่ได้สร้าง impact ให้แก่สังคมและ ประเทศ ก็คงไม่สามารถอยู่รอดได้

ในยุคปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้สถาบัน การศึกษาในระดับอุดมศึกษาจึงมี ภารกิจทีห่ ลากหลายเพือ่ สร้างความ เปลี่ยนแปลงให้แก่สังคม พัฒนา สังคมไปในทางที่ดีด้วยเช่นกัน นั่น คือเหตุผลที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ได้ร่วมกับบริษัท Alcopop และ บริษทั Universal Studio ในการท�ำ คอนเสิรต์ Harry Potter in Concert ซึ่งการแสดงดังกล่าวได้แสดงดนตรี จากภาพยนตร์เรือ่ ง Harry Potter and the Philosopher’s Stone การแสดงในครัง้ นีถ้ อื ว่าประสบความ

ส�ำเร็จเป็นอย่างสูง บัตรเข้าชมการ แสดงขายหมดภายใน ๓๐ นาทีหลัง การเปิดจ�ำหน่าย มีผู้ชมเข้าร่วม ชมการแสดงเป็นจ�ำนวนมาก และ เป็นการแสดงทีไ่ ด้อรรถรสทีแ่ ตกต่าง จากการชมคอนเสิรต์ หรือชมภาพยนตร์ เพียงอย่างเดียว เพราะเป็นการ แสดงที่รวมทั้งสองสิ่งเข้าด้วยกัน ท�ำให้ผู้ชมได้ประสบการณ์ที่แปลก ใหม่ ไม่เหมือนที่เคยมีมาก่อน ใน แง่ของการศึกษาเป็นเรื่องส�ำคัญ ที่ จะให้ผชู้ มได้เห็นภาพวงออร์เคสตรา บรรเลงสดบนเวทีประกอบภาพยนตร์

05


เนื่องจากหลายคนไม่เคยทราบว่า วงที่เล่นเพลงที่พวกเขาชื่นชอบใน ภาพยนตร์ มีลักษณะและหน้าตา ของวงเป็นวงออร์เคสตรา เมื่อได้ เห็นลักษณะวงจะท�ำให้เกิดการ รับรูว้ า่ วงแบบนีส้ ามารถเล่นเพลงที่ ฟังง่ายและสร้างความต้องการในการ อยากกลับมาชมคอนเสิรต์ ของวงใน ลักษณะนีใ้ นรูปแบบอืน่ ๆ ต่อไป เมือ่ ได้รบั รูก้ จ็ ะเกิดความเข้าใจทีแ่ ตกต่าง ว่า ดนตรีในรูปแบบวงออร์เคสตรา ก็สามารถรับฟังและเข้าใจได้ ไม่ตอ้ ง ปีนบันไดฟังอีกต่อไป ผลพลอยได้จากการแสดงใน ครั้งนี้ คือ ท�ำให้มีประชาชนเข้ามา ที่มหาวิทยาลัยมหิดลมากขึ้น และ สร้างภาพลักษณ์ทดี่ ขี องมหาวิทยาลัย ให้แก่สังคมในวงกว้าง หลายคนไม่ เคยทราบว่ามหาวิทยาลัยมหิดลมี หอประชุมที่สามารถแสดงดนตรีใน ระดับสูงได้ เมือ่ ได้เข้ามารับชม ต่าง ก็มคี วามประทับใจในคุณภาพของสิง่ 06

อ�ำนวยความสะดวกของมหาวิทยาลัย มหิดล ท�ำให้อยากกลับเข้ามาเพือ่ ชม การแสดงอืน่ ๆ ในมหาวิทยาลัยต่อ ไป นอกจากนีย้ งั มีคนทีช่ ว่ ยกันแชร์ โลเคชัน่ ทางสือ่ ออนไลน์ ท�ำให้คนทีไ่ ม่ ได้มารับชมคอนเสิรต์ ก็สามารถรับรู้ ข่าวสารเรือ่ งดี ๆ ของมหาวิทยาลัย และสร้างความสนใจให้อยากเข้า

มาทดลอง เพื่อได้รับประสบการณ์ ที่ดีในภายหน้า ในการแสดงครั้งนี้ ได้แสดงให้เห็นความสามารถของวง Thailand Philharmonic Orchestra อย่างมาก เพราะเมือ่ ไม่ได้สงั เกตว่า วงที่บรรเลงภายใต้ภาพยนตร์นั้น เป็นวงอะไร เราไม่สามารถแยกได้ ว่าเพลงที่เล่นถูกบรรเลงมาจากวง


ของต่างประเทศ หรือมาจากวงของ วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล เพราะเสียงทีไ่ ด้รบั ฟังนัน้ ไม่มี ความแตกต่างจากวงทีเ่ ล่นประกอบ ในภาพยนตร์ จนท�ำให้หลายคนสงสัย ว่า บรรเลงจริงหรือไม่ ซึ่งวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ขอบอกไว้ด้วยความ ภูมิใจว่า เป็นการบรรเลงสดจริง

ทั้งหมด และบรรเลงได้ดีจนผู้ชม ประทับใจมาก จากตัวอย่างทัง้ สองกิจกรรม จะ เห็นความพยายามในการปรับตัวและ พัฒนาของวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ เพือ่ ให้เข้ากับยุคสมัยและชุมชนมากขึน้ การปรับโปรแกรมของคอนเสิรต์ เพือ่ มุง่ เน้นความส�ำเร็จในด้านการเรียนรู้

ของทัง้ วงดนตรี นักดนตรี นักเรียน นักศึกษา และสังคม เป็นจุดเปลีย่ น ส�ำคัญทีจ่ ะท�ำให้การแสดงในรูปแบบ นีข้ ยายไปในวงกว้างและท�ำให้มคี วาม สนใจเพิ่มขึ้นในสังคมด้วยเช่นกัน เมื่อวิทยาลัยดุริยางคศิลป์เป็นส่วน หนึง่ ทีช่ ว่ ยเหลือสังคม สร้าง social impact ให้แก่สังคม ก็จะสามารถ ช่วยพัฒนาและขับเคลื่อนสังคมได้ อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้นี้ เพราะการพัฒนาควรต้องด�ำเนินการ ไปเรื่อย ๆ ปรับตัวไปเรื่อย ๆ และ เข้าใจว่าสังคมต้องการความช่วย เหลือในด้านใด เรียนรู้และถอดบท เรียนจากการร่วมงานจริง ท�ำงาน จริง เพื่อเป็นตัวอย่างการเรียนรู้ใน รูปแบบใหม่ ไม่ใช่การเรียนรูจ้ ากการ คาดเดา ไม่ใช่การเรียนรู้เพียงแต่ใน ห้องเรียนจากผูส้ อนคนเดียวอีกต่อไป

07


COVER STORY

Thailand Philharmonic Orchestra Season 15: New Horizons “ขอบฟ้าใหม่” เรื่อง: ณัฏฐา อุทยานัง (Nuttha Udhayanang) ผู้จัดการการตลาดและประชาสั มพันธ์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

“New Horizons” กับฤดูกาลที่ ๑๕ ของวง Thailand Philharmonic Orchestra ทีจ่ ะขับเคลือ่ นงานดนตรี ส�ำหรับออร์เคสตราให้มคี วามก้าวหน้า โดยการแสวงหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ดนตรีใหม่ ๆ การผสมผสานสิง่ ใหม่ และขอบฟ้าแห่งจินตนาการใหม่ ๆ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ วิทยาลัย 08

ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กอ่ ตัง้ วงดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่ง ประเทศไทย (Thailand Philharmonic Orchestra, Thailand Phil) ขึ้น โดยมีเป้าหมายเพือ่ การพัฒนาศิลป วัฒนธรรม สังคม และคุณภาพชีวติ ของคนไทยผ่านดนตรี และเพือ่ สร้าง เป้าหมายของการศึกษาดนตรีและ

อาชีพดนตรี Thailand Phil เปิดการ แสดงครั้งแรกที่หอประชุมกองทัพ เรือ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในงานคอนเสิรต์ เฉลิมฉลอง การประชุมของสมาคมวิชาชีพนัก ทรัมเป็ตนานาชาติ นักดนตรีของ วง Thailand Phil ประกอบไปด้วย อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาของ


วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล รวมถึงนักดนตรีชาวไทยและ ชาวต่างชาติที่มีความสามารถจาก ภายนอก นับตั้งแต่การก่อตั้งวงจนถึง ปัจจุบัน วง Thailand Phil ได้รับ เกียรติจากวาทยกรระดับโลกหลาย ท่านมาเป็นผูค้ วบคุมวง เช่น Gudni Emilsson, Claude Villaret, Shuichi Komiyama, Leo Phillips, Michalis Economou, Jeannine Wagar, Dariusz Mikulski, Ligia Amadio และ Christopher Hughes ตลอดจนผูแ้ สดงเดีย่ วดนตรีจากทัว่ ทุกมุมโลก ทีไ่ ด้แวะเวียนมาเยือนวง ดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย รวมถึง Jens Lindemann, Lambis Vassiliadis, Boris Brovtsyn, Alexandros Economou, Tomas Strasil, Reinhold Friedrich, Cristina Bojin, Karina Di Virgilio, Mischa Maisky, Yoon Jin Kim,

Jura Margulis, Christopher Espenschied, Dimitri Ashkenazy, Ara Malikian, Serouj Kradjian, Robyn Schulkowsky, Lucia Aliberti และ Otto Schilli นอกจากนี้วง Thailand Phil ยังเปิดการแสดงใน ระดับนานาชาติ ผ่านโครงการ “TPO Asian Tour” ซึ่งเปรียบเสมือนทูต ทางวัฒนธรรมของประเทศไทย รวม

ทัง้ ยังได้รบั เกียรติแสดงดนตรีตอ่ หน้า พระพักตร์พระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ จากการแสดงคอนเสิรต์ มากกว่า ๓๐๐ รายการแสดงทั้งในและต่าง

09


ประเทศ และการบรรเลงบทเพลง คลาสสิกชิน้ เอก บทเพลงไทยเดิมที่ น�ำมาเรียบเรียงขึน้ เพือ่ บรรเลงด้วย วงออร์เคสตรา รวมถึงบทเพลงที่ สร้างสรรค์ขึ้นใหม่จากนักประพันธ์ เพลงชาวไทย ณ หอแสดงดนตรี มหิดลสิทธาคาร (Prince Mahidol Hall) วง Thailand Philharmonic Orchestra ได้ก้าวเข้าสู่ปีที่ ๑๕ ที่ จะขับเคลือ่ นเข้าสูก่ ารน�ำเสนอดนตรี คลาสสิกส�ำหรับวงออร์เคสตราที่ หลากหลายแนว ขยายขอบเขตการ แสดงเพือ่ การเข้าถึงผู้ชมผู้ฟงั ในทุก ระดับ รวมถึงมุง่ เน้นทีจ่ ะผลักดันให้ ดนตรีและวง Thailand Phil มีสว่ น ร่วมต่อชุมชนและสังคมยิ่งขึ้น วันจันทร์ที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ทีผ่ า่ นมา วง Thailand Philharmonic Orchestra ได้จดั งาน แถลงข่าวเปิดฤดูกาลแสดงที่ ๑๕ โดยมี คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิต์ ระกูล ประธาน กรรมการวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิก แห่งประเทศไทย ศาสตราจารย์ 10

นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษา การอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดี วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล และผู้อ�ำนวยการดนตรีวง ดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย กรรมการอ� ำ นวยการวิ ท ยาลั ย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการวงดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่ง ประเทศไทย ผู้สนับสนุน Thailand Phil แขกผูม้ เี กียรติ และสือ่ มวลชน เข้าร่วมงานแถลงข่าว ณ ห้องปัทมชาติ โรงแรมอโนมาแกรนด์ กรุงเทพฯ คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิต์ ระกูล กล่าวในงานแถลงข่าวเปิดฤดูกาล แสดงที่ ๑๕ ในฐานะผู้สนับสนุนวง Thailand Phil ถึงการเจริญเติบโต และการพัฒนาอย่างต่อเนือ่ งของวง ออร์เคสตรา ที่เป็นหนึ่งในตัวแทน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความภาค ภูมิใจของประเทศ รวมทั้งยังกล่าว ถึงคอนเสิรต์ เปิดฤดูกาลที่ ๑๕ ของ วง Thailand Phil กับรายการแสดง

ทีม่ ชี อื่ เดียวกับชือ่ ธีมของฤดูกาลว่า “New Horizons” แปลเป็นไทยว่า “ขอบฟ้าใหม่” เส้นขอบฟ้าที่จะมุ่ง ก้าวเดินต่อไป เพื่อสร้างประโยชน์ ให้แก่สงั คมและประเทศชาติ พัฒนา ศักยภาพของนักดนตรีให้เป็นเลิศ และ เป็นวงดนตรีทมี่ มี าตรฐานระดับโลก พร้อมเปิดโอกาสให้ผคู้ นได้เข้าถึงการ แสดงที่หลากหลายและมีคุณภาพ เผยแพร่และยกระดับดนตรีคลาสสิก ของไทยให้ไปสู่ระดับนานาชาติ สร้างชือ่ เสียงให้แก่ประเทศไทยและ มหาวิทยาลัยมหิดล และสร้างความ มัน่ คงอย่างยัง่ ยืนให้แก่ศลิ ปวัฒนธรรม ของประเทศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ ยังได้รว่ มกล่าวถึงพันธกิจ ของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ส่งเสริม ประยุกต์พฒ ั นาองค์ความรูแ้ ละน�ำไป ใช้เพือ่ ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ และสังคม โดยมิได้มุ่งเน้นทางการ แพทย์และการสาธารณสุขเท่านั้น โดยการสนับสนุนวง Thailand Phil


เป็นการใช้ดนตรีจรรโลงจิตใจ ที่ สามารถบ�ำบัดผู้คนในสังคม ช่วย ฟื้นฟูร่างกายและจิตใจได้ทั้งก่อนระหว่าง-หลังเจ็บป่วย ซึง่ นับเป็นการ ลดภาระทางการแพทย์ ป้องกันก่อน การเจ็บป่วยได้ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดี วิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล ยังกล่าวถึงรายการแสดงทีน่ า่ สนใจของฤดูกาล ๑๕ ที่เตรียมส่ง มอบดนตรีในรูปแบบวงออร์เคสตรา หลากหลายแนว เพื่อเข้าถึงผู้ชมผู้ ฟังในทุกระดับ และมีส่วนร่วมต่อ สังคม เริ่มคอนเสิร์ตเปิดฤดูกาลที่ ๑๕ ในวันที่ ๘-๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยได้นำ� บทประพันธ์ “New Horizon” ของ ดร.ณรงค์ ที่น�ำมา บรรเลงคู่กับซิมโฟนี หมายเลข ๖ อันโด่งดังของกุสตาฟ มาห์เลอร์ และ คอนเสิรต์ ร�ำลึกถึงวันครบรอบวันเกิด ๒๕๐ ปีของยอดคีตกวีเบโธเฟน ซึง่ น�ำบทเพลงซิมโฟนีทั้งหมด ๙ บท ของเบโธเฟนมาจัดแสดง ก็นับเป็น

รายการวงออร์เคสตราทีเ่ กิดขึน้ น้อย ครั้งมากในโลก นอกจากนี้ เพื่อท�ำให้ดนตรี คลาสสิกเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย ในวันเด็กแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๓ วง Thailand Phil ได้ก�ำหนดจัดการ แสดงคอนเสิรต์ นิทานเพลงเรือ่ งใหม่ “สุดสาคร” ซึง่ ประพันธ์ดนตรีโดยผูช้ ว่ ย ผูอ้ ำ� นวยการดนตรีของวงไทยแลนด์ ฟีล ดร.ธนพล เศตะพราหมณ์ โดยจัด แสดงร่วมกับคณะหุน่ สายเสมา รวม ไปถึงเทศกาลดนตรีแจ๊สนานาชาติเพือ่ การเรียนรู้ (Thailand International Jazz Conference - TIJC) และ คอนเสิรต์ ทีน่ า่ ตืน่ เต้นทีส่ ดุ คือการสาน ต่อความร่วมมือระหว่าง Thailand Phil กับ ALCOPOP จัดฉายภาพยนตร์ พร้อมการบรรเลงดนตรีสดจาก ภาพยนตร์ฮอลลีวูดถึง ๒ เรื่อง คือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับศิลาอาถรรพ์ และภาพยนตร์ชุดดั้งเดิมชุด Star Wars: A New Hope ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปี ของวง

Thailand Philharmonic Orchestra มุง่ หวังเป็นอย่างยิง่ ว่าประสบการณ์ ดนตรีนา่ ตืน่ เต้นใน “New Horizons” “ขอบฟ้าใหม่” นี้ จะตอกย�ำ้ ความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะช่วยยกระดับวัฒนธรรมของชาติ ให้เจริญรุ่งเรือง และส่งเสริมการ สร้างสังคมที่ยั่งยืนผ่านเสียงดนตรี

11


MUSIC ENTERTAINMENT

“เรื่องเล่าเบาสมองสนองปัญญา”

เพลงไทยสากล ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “ปีใหม่” เรื่อง: กิตติ ศรีเปารยะ (Kitti Sripaurya) อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ปี

ใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๓ ใกล้เข้ามา หฤหรรษารอท่าอยู่มากมาย เพื่อให้เหมาะสมกลมกลืนกับสถานการณ์ บทความ ตอนนี้ ผู้เขียนขอน�ำเสนอเนื้อหาตามหัวข้อด้านบน ส่วนเรื่องเพลงไทยสากลที่มาจากเพลงคลาสสิกของทาง ตะวันตกจะขอน�ำเสนอในตอนต่อไปครับ บ้านเมืองเรารับวัฒนธรรมปีใหม่ในลักษณะที่เป็นสากลมาหลายสิบปีแล้ว วันที่ ๓๑ ธันวาคมของทุกปี จักต้องมีการเฉลิมฉลอง ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ประเพณีการนับถอยหลัง (count down) มีให้ได้ยินกันในแทบทุกงาน สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือ เสียงเพลง เสียงดนตรี ทั้งขับร้องและบรรเลง ช่วยเพิ่ม ความครื้นเครงสนุกสนาน เพลงไทยสากลที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ “ปีใหม่” มีอยู่หลายเพลง กลุ่มดนตรีที่สร้างงานเหล่านี้อย่าง เป็นล�่ำเป็นสัน ได้แก่ ชาวคณะสุนทราภรณ์ - มหาต�ำนานแห่งเพลงไทยสากล แต่ที่โดดเด่นสุด ๆ ทุกงาน ฉลองปีใหม่ต้องมีการบรรเลงขับร้องเพลงนี้เป็นเพลงแรกหลังจากนับถอยหลังผ่านเวลาเที่ยงคืน เพลงนั้น คือ พระราชนิพนธ์ “พรปีใหม่” จาก https://web.ku.ac.th › king72 › newyear ระบุว่า เพลงพระราชนิพนธ์อันดับที่ ๑๓ ทรง พระราชนิพนธ์ขนึ้ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ เมือ่ เสด็จนิวตั พระนครและประทับ ณ พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสติ มีพระราชประสงค์ทจี่ ะพระราชทานพรปีใหม่แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์ เพลง ‘พรปีใหม่’ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำ� ร้องเป็นค�ำอ�ำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี ๒ วง คือ วงดนตรีนสิ ติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น�ำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ น�ำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ใน วันปีใหม่ วันอังคารที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๕ เพลงนีม้ อี ายุยา่ ง ๖๘ ปีแล้วนะครับ แต่ยงั คงเป็นทีน่ ยิ มอย่างสูง (top hit) ในหมูป่ วงชนชาวไทย พิจารณา เผิน ๆ จากโน้ตเพลงดังกล่าว มีลกั ษณะเป็นเพลง ๔ ท่อน (song form) จะเห็นความเรียบง่ายของลีลาท�ำนอง ที่มีการเคลื่อนที่ขึ้นลงอย่างเป็นระบบและมีระเบียบ ผู้เขียนขอจ�ำแนกองค์ประกอบคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้

12


13


๑. ลักษณะกระสวนจังหวะ (pattern) ที่พบมากสุด อยู่ในกรอบ ๔ เหลี่ยม ดังภาพต่อไปนี้

๒. ลักษณะช่วงเสียง (range) มีขนาด ๑ อ็อกเทฟ (octave) ต�่ำสุด middle C (C4) สูงสุด C5 ในช่วง เสียงนี้คนปกติทั่วไปขับร้องได้สะดวก เพราะว่าไม่สูง-ไม่ต�่ำเกินไป ๓. ลักษณะขั้นคู่ (intervals) ที่ดูแปลก คือ คู่ ๔ อ็อกเมนเท็ด (augmented 4th) ปรากฏอยู่ที่กลาง ท่อน ๑, ๒ และ ๓ ขั้นคู่ชนิดนี้พบได้น้อยมากในเพลงป็อปปูลาร์ทั่วไป ดังภาพต่อไปนี้

14


๔. พระราชทานให้ปวงชนชาวไทยโดยเฉพาะ (Thai people exclusively) ตามค�ำร้องวรรคหนึง่ บ่งบอกไว้

15


ซึ่งขั้นคู่ augmented 4th ในกรอบตามภาพที่ได้กล่าวถึงไปนั้น มักเป็นอุปสรรคส�ำหรับนักร้องทั่วไป โดย เฉพาะชาวบ้านร้านถิ่น (นักร้องสมัครเล่น) ส่วนขั้นคู่ ๔ หรือ ๕ ปกติพบในเพลงทั่วไป ปฏิบัติขับร้องได้สะดวก ตัวอย่างเช่น

ยังมีเพลงไทยสากลเนื้อหาเกี่ยวกับวันปีใหม่อีกหลายเพลง ผู้เขียนขอน�ำเสนอ ๖ เพลง ที่ยังใช้งานกันอยู่ ดังต่อไปนี้ ๑. เก่าไป ใหม่มา (https://www.youtube.com/watch?v=ZQkhtBeoab0)

16


17


๒. ไชโยปีใหม่ (https://www.youtube.com/watch?v=9K-_FIJ2dYQ)

18


๓. ร�ำวงรื่นเริงเถลิงศก (https://www.youtube.com/watch?v=YbFsME82Yjo)

19


๔. ลาทีปีเก่า (https://www.youtube.com/watch?v=VaIwWDVFQgg)

20


๕. สวัสดีปีใหม่ (https://www.youtube.com/watch?v=qtgNBJcQTas)

21


22


๖. อาลัยปีเก่า (https://www.youtube.com/watch?v=Z4MqBNkAcrE)

ปีใหม่นี้ขอท่านผู้อ่านรวมทั้งวงศ์วานญาติมิตร จงประสบความสุขทั้งกายและใจ

(ทุกภาพส�ำเนาจาก Google ขอบคุณครับ) 23


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.