Muse Mag ฉบับที่ 9

Page 1

ฉบับที่ 9 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2559

Thai Illustrator แชมป์–ทีปกร ‘นักวาดเรื่อง’ ภาพประกอบวันนี้ หมุนรอบตัวเรา


ฉบับที่ 9 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2559

Contents

Muse Plus

22 28

Pimm Teaspoon สตูดิโอ ตามใจฉัน

Muse Chat

3

Muse Opinion

Muse Idol

4

Muse Forward

34

14

Muse Check in

38

สารจาก ผอ.

แชมป์-ทีปกร วุฒิพิทยามงคล นักวาดเรื่อง

Muse Latitude

World of Illustrations งานภาพประกอบหมุนรอบตัวเรา

กองบรรณาธิการ สุขุมาล ผดุงศิลป์ ภูษิต ช่วยชูฤทธิ์ ปิ่นมุข หนูนุ่ม ถิรดา วนศาสตร์โกศล ธนพร หมู่เจริญทรัพย์

Gang Cartoon การ์ตูนไทย ในใจฉัน

ภาพยนตร์น่าดู หนังสือน่าอ่าน

‘พม่าระยะประชิด’

นิตยสารเสริมแรงบันดาลใจ สร้างสรรค์การเรียนรู้ โดย มิวเซียมสยาม | สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ : 0 2225 2777 โทรสาร : 0 2225 2775 www.museumsiam.org, www.facebook.com/museumsiamfan

ร่วมสร้างสรรค์เนื้อหาและออกแบบศิลปกรรม โดย

บริษัท เปเปอร์คอรัส จ�ำกัด 32/9 ถนนพุทธมณฑลสายสาย 2 ซอย 21 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 โทร. 08 1919 5315 / 08 1513 4971 -2-


: เรื่อง ยาม ียมส มิวเซ

chat ย้อนกลับไปสมัยที่เรายังเป็นเด็ก เราต้องมีการเรียนรู้ส่งเสริมพัฒนาการในด้าน ต่างๆ ทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน ถ้าลองสังเกตดีๆ ทุกทักษะที่กล่าวมานั้น มักจะ มีสิ่งหนึ่งที่เข้ามามีส่วนช่วยในการส่งเสริมการเรียนรู้เสมอ นั่นคือ สิ่งที่เรียกว่า ภาพประกอบบทเรียน ถ้าลองมองตัวเองในตอนเป็นเด็ก นิทานที่พ่อแม่อ่านให้ฟัง การ์ตูนที่ดู หรือแม้แต่ เกมทีเ่ ราเล่นกัน ล้วนมีภาพเข้ามาเสริม เพือ่ เพิม่ ความเข้าใจในสิง่ นัน้ มากขึน้ ภาพ ในหนังสือท�ำให้เด็กๆ เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น ถ้าจ�ำได้ แบบเรียนวิชาภาษาไทยนั้น มานะ มานี ปิติ ชูใจ จากตัวละครเพียงไม่กี่ตัว เราสามารถรู้จักอะไรอีกมากมาย หากเราอ่านออกแต่ไม่มองภาพ เราคงไม่รู้ว่า สิ่งนั้นมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ปัจจุบัน การเล่าเรื่องด้วยภาพนั้นมีประโยชน์ต่อผู้คนทุกเพศทุกวัย ไม่ใช่แค่การ วาดเพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ตามที่ แชมป์-ทีปกร วุฒิพิทยามงคล ได้บอกไว้ว่า “นักวาดภาพประกอบที่ดีคือต้องเอาตัวหนังสือนั้นมาย่อยให้ถึงที่สุด แล้วให้มิติ ใหม่ๆ กับตัวหนังสือนั้น” Muse Mag ฉบับนี้ จะพาทุกคน ไปรูจ้ กั กับการวาดภาพประกอบ ทีน่ อกจากความ สวยงามแล้ว ยังสามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ในการเสริมให้คอนเทนต์น่าอ่านและ เพิ่มความเข้าใจเนื้อหาผ่านภาพได้ด้วย แต่...พวกเขามีวิธีคิดและการสร้างสรรค์ อย่างไร กว่าจะได้เป็นนักวาดภาพประกอบ พวกเขาต้องเรียนอะไร มาถึงจุดนี้ได้ อย่างไร นักวาดภาพประกอบต่างกับนักวาดภาพอย่างไร แล้วเราเกี่ยวพันกันงาน ภาพประกอบมากขนาดไหน ทุกค�ำถามของคุณ... Muse Mag พร้อมให้ค�ำตอบแล้วครับ

ราเมศ พรหมเย็น ผู้อ�ำนวยการมิวเซียมสยาม -3-


-4-


สนิท า ดำ� วิภาส ภ ร ี ว : บุญ เรื่อง นาวรัตน์ :เ ภาพ

idol

แชมป์-ทีปกร วุฒิพิทยามงคล นักวาดเรื่อง เรามีเวลาให้ คุณ 5 วินาที ถ้าคุณได้เห็นภาพวาดลายเส้นของผู้ชายคนนี้

แชมป์-ทีปกร วุฒิพิทยามงคล

เราแอบเชือ่ ว่าคุณต้องมีอาการอมยิม้ อ่านภาพรูเ้ รือ่ ง และอาจเผลอคิดในใจว่า คน อะไร เอาเรื่องยากๆ มาอธิบายให้เข้าใจง่าย (ได้ง่ายจัง) ไม่เพียงแต่เรื่องแมวๆ ที่เขาถนัดนัก แต่แชมป์ยังถนัดเล่าเรื่องทั้งในหมวด วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงิน เลยเถิดไปถึงวัฒนธรรม เขาสามารถหยิบยก และตีความข้อมูลเหล่านั้น และถ่ายทอดให้ผู้อ่านใช้เวลาเข้าใจกับศาสตร์เหล่านั้น ได้ในไม่กี่วินาทีด้วยลายเส้นน้อยๆ ลงสีสนุกๆ (เขาคือเจ้าของลายเส้นในรายการ ยอดนิยมที่หลายคนพูดถึง วัฒนธรรมชุบแป้งทอด) นี่คือพลังและหน้าที่ที่นักวาดภาพประกอบคนหนึ่งจะท�ำได้ และนี่เป็นเหตุผลให้ เราต้องมานั่งคุยกับเขาในวันนี้

-5-


สนใจการวาดรูปตั้งแต่เด็กๆ เลยหรือเปล่า ผมวาดตั้งแต่ประถมเลยครับ ก่อนหน้านั้นตอนอนุบาล ผมเชื่อว่าเด็กทุกคนวาดรูป อยู่แล้ว แต่คนส่วนใหญ่มักจะหยุดวาดรูปไปตอนเรียนช่วงประถมหรือมัธยม เพราะ เขาอาจรู้สึกว่าตัวเองวาดรูปไม่สวย ผมไม่ได้รสู้ กึ ว่าตัวเองวาดรูปไม่สวย ทัง้ ทีจ่ ริงๆ ผมก็ไม่ได้วาดรูปสวยนะ ผมแค่ไม่รสู้ กึ ว่าตัวเองต้องหยุดวาดรูปเท่านั้นเอง (ใครงงกับประโยคนี้ กรุณาอ่านซ�้ำอีกครั้ง ) ตอนประถมผมชอบอ่านการ์ตูนโดราเอมอน แล้วก็รู้สึกอยากเขียนการ์ตูนตั้งแต่ ตอนนัน้ ผมเริม่ ต้นเขียนการ์ตนู ให้เพือ่ นในห้องวนกันอ่าน โดยใช้เพือ่ นในห้องเป็นตัว ละคร ฉีกสมุดเรียนเอามาวาด เราก็ดึงกระดาษคู่กลางจากสมุดเรียนออกมาหลายๆ คู่ ใช้ไม้บรรทัดตัดๆ แล้วพับ แล้วก็ส่งวนกันอ่านทั่วห้อง ท�ำให้เราฝึกทักษะการเล่า เรื่องไปในตัว ถึงแม้ว่ารูปที่วาดจะไม่ได้สวยงาม แต่มันก็ท�ำให้เราฝึกจินตนาการ เอา เรื่องของคนนั้นคนนี้มาผูกเป็นเรื่องราวของเรา ผมเขียนการ์ตูนมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ ป.1-ป.6 ความยาวทั้งหมดน่าจะ 200-300 ตอน ตอนละ 32 หน้า เขียนชุ่ยๆ เอาเรื่องไม่ได้เน้นรูป แต่มันสนุกตรงที่ได้เห็นปฏิกิริยา เพื่อนในห้องหัวเราะ เขียนเรื่อยๆ จนถึงมัธยมก็ยังเขียนการ์ตูนอยู่ ผมไม่เคยไปลงคอร์สเรียนศิลปะที่ไหนเลย เวลาสอบศิลปะตอนเด็กๆ ผมก็มักได้ เกรดไม่ค่อยดี เพราะว่าวาดไม่ถูกสัดส่วน ไม่ได้วาดตามทฤษฎีที่ครูสอนมา อาจ จะเป็นปัญหาของการสอนศิลปะในห้องเรียนไทย เช่น การวาดแจกันคุณก็ต้อง วาดให้เหมือนเป๊ะ โอเคเป็นการฝึกทักษะพื้นฐานเบื้องต้นของเด็กๆ แต่อีกทางมัน ก็เป็นการจ�ำกัดจินตนาการหรือจ�ำกัดขอบเขตให้เราคิดเหมือนกัน สมมติว่าวาดรูป หน้าคนเหมือน ผมจ�ำได้เลยว่าผมใช้วิธีแบ่งเป็นรูปเหลี่ยมแล้วค่อยๆ แรเงาทีละจุด ภาพที่ออกมาจะคล้ายๆ โพลิกอน (สไตล์รูปวาดหลายเหลี่ยม) คล้ายๆ ภาพที่เกิด จากคอมพิวเตอร์ เป็นเหลี่ยมๆ ผลคืออาจารย์ไม่ชอบและบอกว่านี่ไม่ใช่การวาด ภาพเหมือน ซึง่ ผมก็เข้าใจนะ แต่วา่ ในอีกมุมหนึง่ ผมรูส้ กึ ว่า ถ้าวันนัน้ อาจารย์บอกว่า ภาพแบบนี้ถือเป็นสไตล์หนึ่ง เคยมีคนท�ำงานแบบนี้ด้วย ไหนลองไปศึกษาของคนนี้ เพิ่ม แล้วจัดทักษะให้เหมาะกับเด็กแต่ละคน มันอาจจะท�ำให้เด็กได้เติบโตมากกว่า คุณพูดว่าหลายๆ คนหยุดวาดรูป คุณรูจ้ ากคนใกล้ตวั หรือสังเกตได้อย่างไร สังเกตเลยว่าในตอนอนุบาล การวาดรูปจะเป็นกิจกรรมหลักของเด็กหลายๆ คน เวลา ว่างก็จะวาดรูปอย่างเดียว แล้วรูส้ กึ ว่ามันเป็นกิจกรรมทีท่ ำ� แล้วเพลิดเพลิน เมือ่ โตขึน้ สักประถม คนเริ่มไม่ใช้การวาดรูปเป็นกิจกรรมหลักแล้ว แต่หันไปเล่นเกม ดูทีวี ดู หนัง เล่นกับเพื่อน เตะบอล ซึ่งมันก็น่าสนใจว่าท�ำไมถึงหยุดการวาดรูป แล้วพอไป ถามหลายๆ คน เขาก็บอกว่า “ก็ผมวาดรูปไม่สวย ก็ฉันวาดรูปไม่ได้” ในความคิด ของผม ไม่มีใครวาดรูปไม่ได้ แต่การกลัวว่าถ้าวาดออกไปแล้วคนจะต่อว่า นี่แหละ ที่ท�ำให้เขาหยุดวาดรูป น่าจะคล้ายๆ กับการร้องเพลงมีถูกคีย์ผิดคีย์ บางคนอาจจะ รู้สึกไม่เพราะ เลยหยุดร้อง มันก็น่าเสียดายเหมือนกัน -6-

“รู ป วาดเป็ น สื่ อ อย่ า ง หนึ่ ง ที่ ทำ � ให้ เ ราบอก ค ว า ม คิ ด ข อ ง เ ร า ไ ด้ อย่างรวดเร็วที่สุด แล้ว ก็เป็นมิตรที่สุด”


นั่นแปลว่า ต่อให้คุณวาดรูปไม่สวย คุณก็จะไม่กลัว และไม่หยุด

มีคนบอกว่าผมวาดรูปไม่สวย แต่รูปที่ผมวาดมันเล่าเรื่อง นี่อาจจะ เป็นเหตุผล เรารู้สึกว่ารูปวาดมันเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่ท�ำให้เราบอก ความคิดของเราได้อย่างรวดเร็วที่สุด แล้วก็เป็นมิตรที่สุด แล้วจุดไหนที่ท�ำให้คุณคิดว่า ตัวเองไม่เคยรู้สึกว่าต้องหยุด วาดรูป เมื่อการ์ตูนของผมกลายเป็นประเด็นในโรงเรียนสมัยเรียนมัธยม ตอนนั้นมีอาจารย์ท่านหนึ่งในโรงเรียนที่ผมรู้สึกว่าท่านท�ำไม่ถูก จรรยาบรรณ คือเอาข้อสอบไปบอกในคลาสเรียนพิเศษของเขาเอง ผมก็เลยเอาไปเขียนเล่าเป็นการ์ตูนที่ไม่ได้ระบุชื่อหรือสื่อถึงเขา ตรงๆ คล้ายว่ามีนักเรียนร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับความไม่ดี ปรากฏ ว่าการ์ตูนเรื่องนี้มันวนไปถึงอาจารย์คนนั้น เขาก็เลยเรียกผมไปที่ ห้องฝ่ายปกครองถามว่า...ท�ำไมเธอถึงท�ำแบบนั้น เรื่องราวใหญ่โต จนผมเกือบจะถูกไล่ออก แต่มีเพื่อนผมมาเป็นพยานว่าอาจารย์ท�ำ แบบนี้จริงๆ สุดท้าย ฝ่ายที่โดนตักเตือนเป็นตัวอาจารย์แทน นั่น เป็นจุดที่ท�ำให้ผมเริ่มรู้สึกว่าการ์ตูนหรือภาพวาดมันสามารถใช้เพื่อ สื่อประเด็นเหล่านี้ได้ด้วย ข้อดีของการ์ตูนคือมันเป็นสื่อที่ไม่มีพิษภัย แพร่กระจายได้ง่าย คน พร้อมที่จะอ่านเพราะว่าดูง่าย ใช้เวลาไม่นานในการเสพ ในขณะ เดียวกันประเด็นที่สื่อสารออกไปก็สามารถเป็นประเด็นที่หนักได้ เช่นกัน -7-


ตอนจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย ผมเคยคิดจะสอบสถาปัตย์ฯ แต่ว่า ตอนนั้นผมมีความถนัดด้านคอมพิวเตอร์ด้วย ก็เลยไปต่อที่ภาค วิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ซึ่งการเรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ กลับยิ่งท�ำให้ ได้ใช้ผลงานเกี่ยวกับการวาดของตัวเองได้หลากหลายมากขึ้น ผม ได้ลองท�ำเกม ซึ่งดีมากเลยเพราะได้เห็นภาพที่เราวาดเคลื่อนไหว ในลักษณะที่คนบังคับได้ หลังจากนั้นก็เริ่มมาสนใจทางด้านการท�ำ เว็บไซต์ ซึ่งมันก็เชื่อมกับเรื่องศิลปะอีก ทุกอย่างถึงแม้ว่าเราจะท�ำ อะไรก็ตาม เราจะจับมันมาผูกกับเรื่องที่เราชอบคือภาพวาด การ วาด รวมไปถึงศิลปะได้เสมอ โปรไฟล์ในเฟซบุ๊กของคุณตอนนี้บอกว่า คุณคือนักวาดภาพ ประกอบ นักเขียน และพิธกี ร จากเด็กเรียนวิศวกรรมศาสตร์ ในวันนั้น เข้าสู่จุดเปลี่ยนในการมาเป็นนักวาดภาพประกอบ ได้อย่างไร สิง่ หนึง่ ทีเ่ ปลีย่ นมากๆ แล้วท�ำให้เราท�ำงานสร้างสรรค์ได้หลากหลาย มากขึน้ หรือว่าท�ำแล้วมีคนดูมากขึน้ ก็คอื อินเทอร์เน็ต ผมเป็นผูก้ อ่ ตัง้ เว็บบล็อก exteen.com ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยปี 2 ตอนนั้นอายุ 20 ปี ได้ ท�ำไป 8-9 ปี มีคนเข้ามาในเว็บ 300,000 คนต่อวัน เราเป็น เว็บมาสเตอร์ของเว็บบล็อก เราก็ใช้บล็อกในการปล่อยงานของเรา ปล่อยตัวรูปวาด ปล่อยผลงานเขียนออกไป ซึ่งก็เริ่มมีคนอ่านมาก ขึ้นจากตรงนั้น แล้วหลังจากนั้นมันจะเริ่มเข้าสู่ยุคของเฟซบุ๊ก ซึ่งใน ปัจจุบนั มีเพจทีเ่ ป็นการ์ตนู เต็มไปหมด ตอนแรกๆ ผมท�ำเพจการ์ตนู ‘พูดอะไรไม่ได้ให้หมีเขี่ย’ คอนเซ็ปต์เป็นการ์ตูนแก๊ก พูดประเด็น ข่าวประเด็นเสียดสีสังคมโดยน�ำหมีสองตัวเป็นตัวแทนมาคุยกัน และอีกหนึ่งเพจ ‘รอบหน้าจริงกว่านี้อีก’ เป็นเพจภาพประกอบที่ ล้อเลียนอินโฟกราฟิก เช่น หัวข้อ ‘10 สิ่งที่น่าร�ำคาญเมื่อไปงาน หนังสือ’ ‘เป้าหมายปีใหม่ล้มเหลวยอดฮิต’ โดยทั้งหมดที่เราสื่อสาร ออกมาล้วนมาจากความคิดเห็นของเราทั้งหมด เสียดสีนิดๆ หยิบ ความจริงมาพูด อยากให้เล่าถึงแนวคิดในการสร้างสรรค์งานในสไตล์ของ คุณสักนิด Illustrator บางคนเลือกที่จะสร้างคาแรกเตอร์ เฉพาะตัว ให้เห็นปุ๊บแล้วรู้ปั๊บว่านี่คืองานของใคร ท�ำไมคุณ ถึงไม่สร้างบ้างล่ะ เมื่ อ ก่ อ นผมมี ค าแรกเตอร์ ที่ ใ ช้ แ ทนตั ว เอง แต่ รู ้ สึ ก ว่ า การมี คาแรกเตอร์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือท�ำให้คนจ�ำเราได้มากขึ้น แต่ข้อเสียคือมันจะไม่มีความกลางๆ ซึ่งผมชอบความกลางๆ มาก เลย เวลาที่เห็นคนเอาไปใช้ในบริบทใหม่ ผมจะรู้สึกโอเค ใครก็ สามารถจะเชื่อมโยงกับตรงนี้ได้ แต่ถ้ามันเป็นคาแรกเตอร์ของเรา -8-


ก็จะมี ‘ความเป็นเรา’ ติดไปในภาพด้วย แต่ผมเป็นคนที่พยายาม วาดรูปเพื่อเอาไปใช้ได้หลายที่มากที่สุด ลายเส้นของศิลปินบางคน เขาอาจจะวาดรูปหนึ่งมา แล้วรูปแบบนี้บางทีเหมาะกับการปริ้นท์ เท่านั้น แต่ไม่เหมาะกับวิธีอื่นๆ แต่ผมจะพยายามท�ำให้แต่ละรูป สามารถแตกเป็นหลายแขนง อาจเพราะว่าผมท�ำงานหลายอย่างเลย คิดว่าท�ำรูปแล้วก็ให้สามารถเอาไปใช้ได้หลายๆ ที่ อะไรคือความจ�ำเป็นที่โลกนี้ต้องมีนักวาดภาพประกอบ ส่วนตัวผมไม่ได้เป็นคนวาดภาพประกอบที่เน้นความสวยงามมาก แต่สิ่งที่เน้นคือข้อมูลและมุมมองที่อยู่ในรูป อย่างภาพประกอบ บางเล่มที่ท�ำไป ไม่ได้เน้นว่ารูปต้องสวยมาก แต่จะเน้นว่าต้องเล่า เรื่องให้เหมาะไปกับเรื่องที่เขาจะท�ำด้วย ผมสังเกตเหมือนกันว่า งานทีผ่ มท�ำส่วนใหญ่มกั จะเป็นภาพประกอบ ของหนังสือหรือสารคดีที่มีเนื้อหาเฉพาะ เช่น ผมท�ำภาพประกอบ ให้สารคดีวัฒนธรรมชุบแป้งทอด ซึ่งรูปที่วาดไม่ได้ท�ำหน้าที่แค่ค่ัน จังหวะ แต่ต้องท�ำหน้าที่เล่าเรื่อง พยายามบอกคอนเซ็ปต์ที่สารคดี ไม่สามารถออกไปถ่ายท�ำให้คนเข้าใจได้ เช่น รัฐมีส่วนช่วยส่งเสริม ด้านการศึกษาอย่างไร ส�ำรวจมนุษย์หุ้น เราต้องเอาแนวคิดตั้งต้น ตรงนี้มาแตกให้เป็นรูปแล้วค่อยๆ สื่อสารออกไป ในขณะเดียวกัน ก็ต้องสื่อสารอย่างเป็นมิตร อะไรคือสิ่งส�ำคัญที่นักวาดภาพประกอบต้องหมั่นฝึกฝน ผมอาจจะไม่เหมือนนักวาดภาพประกอบท่านอื่นที่เขาอาจเรียนมา ทางด้านวิจิตรศิลป์ หรือเรียนคณะศิลปกรรม สถาปัตย์ฯ แต่ผม เรียนวิศวะ แต่สิ่งได้จากการเรียนวิศวะคือการคิดเป็นโครงสร้าง เป็นระบบ มี input เข้ามา ระบบท�ำงานอย่างไร และมี output อย่างไร ซึ่งวิธีคิดแบบนี้ เมื่อน�ำมาใช้ในภาพประกอบแล้วมันจะได้ ภาพประกอบอีกรสชาติหนึ่ง เช่น ถ้ามีเรื่องราวแบบนี้ที่ต้องการน�ำ เสนอ ถ้าเรามองมันเป็นระบบ เราจะมองอย่างไร จะเห็นว่าในเพจ ของผมเองส่วนใหญ่ก็จะเป็นรูปวาดเชิงข้อมูล มีกราฟบ้างเพื่อท�ำให้ สนุกและน่าสนใจ กราฟแท่ง กราฟเส้นเยอะมาก คือเวลาคนทีด่ มู นั ก็ได้ใช้เวลาคิดด้วยว่ากราฟแบบนีค้ อื อะไร มุกทีซ่ อ่ นอยูค่ อื อะไร ผม คิดว่านี่คือสิ่งที่ได้มาจากวิศวกรรม ดังนัน้ ส�ำหรับผมการฝึกฝนไม่ใช่แค่การวาดรูป แต่คอื การฝึกมุมมอง การพลิกประเด็นให้เป็นอีกแบบหนึ่ง เลือกที่จะเสียดสีและหยิบอีก มุมมองหนึง่ มาเล่า ผมจึงพยายามทีจ่ ะฝึกสือ่ สาร ถ้าไม่มเี รือ่ งอะไรให้ สือ่ สารก็เริม่ จากตัวเรานีแ่ หละ วันหนึง่ ๆ เรารูส้ กึ อะไร แล้วถ้าอยาก ตีความเรือ่ งนีใ้ ห้เป็นภาพประกอบ เราจะท�ำอย่างไร สมัยนีม้ เี ฟซบุก๊ -9-


“ผมก็ไม่ใช่คนวาดรูปสวยนะ ผมแค่ ไม่ รู้ สึ ก ว่ า ตั ว เองต้ อ งหยุ ด วาดรู ป เท่านั้นเอง”

-10-


พอเราคิด เราเขียน เราโพสต์ เราก็รู้ทันทีว่าแบบนี้ใช่หรือไม่ใช่ ฮิต หรือไม่ฮิต แต่เมื่อมีเฟซบุ๊กแล้วบางทีต้องชั่งใจเหมือนกันว่าสิ่งที่คน ชอบอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราท�ำได้ดีที่สุด นั่นคือถ้าเรามัวแต่ไปพอใจกับ ตรงนั้น เราอาจจะไม่ไปถึงจุดที่เราดีที่สุดก็ได้

ในขณะที่อ่าน comic ของฝรั่ง เราจะรู้สึกเหมือนดูนิยายภาพ มีการ บรรยายฉาก เล่าถึงการด�ำเนินเรื่องของตัวละคร ซึ่งผมใช้เครื่องมือ ของญี่ปุ่นและน�ำมาปรับใช้กับลายเส้นแบบฝรั่ง ท�ำให้ได้รสชาติที่ แปลกใหม่

มีการ์ตูนที่ชอบไหม นอกจากโดราเอมอน ผมชอบเดธโน้ต (Death note) เพราะเป็น การ์ตูนที่เน้นเรื่องราว ทุกตอนมันเคลื่อนไปข้างหน้า หรือใน comic จะชอบการ์ตนู เรือ่ ง Injustice เป็นการ์ตนู ซูเปอร์ฮโี ร่ทพี่ ดู ถึงการต่อสู้ กันระหว่างแบทแมนกับซูเปอร์แมน แต่ว่ามันมีประเด็นที่ซับซ้อน กว่านั้น เป็นประเด็นทางด้านการเมือง สิ่งเหล่านี้สนุกตรงที่ว่า อ่าน ตอนเป็นเด็ก เราจะได้รบั รสชาติเลเยอร์หนึง่ อ่านตอนโตเป็นผูใ้ หญ่ แต่ถ้าบางเรื่องมีข้อมูล ข้อเท็จจริงมาครบ ผมจะรู้สึกว่าการวาดรูป สามารถเชื่อมโยงกับโลกในปัจจุบัน ก็จะได้สารอีกเลเยอร์หนึ่ง ในงานนั้นเหมือนการเล่น puzzle ต่อจิ๊กซอว์อยู่เลยล่ะ แล้วดูว่าเรา จะเปรียบเทียบเรือ่ งนีก้ บั สิง่ นีเ้ ป็นอย่างไรให้มนั ลงตัวพอดีกบั สิง่ ทีเ่ ขา ใครคื อ นั ก วาดภาพประกอบที่ ท� ำ ให้ คุ ณ เห็ น แล้ ว อยากจั บ ปากกาทันที ต้องการน�ำเสนอ เพื่อให้คนดูงานเข้าใจในข้อมูลนั้นๆ ด้วย นักวาดภาพประกอบชาวญี่ปุ่นครับ ชื่อ โยริฟุจิ บุนเป เขาท�ำงานที่ ผมคิดว่างานที่ท�ำให้วัฒนธรรมชุบแป้งทอดทั้งหมดเป็นงานที่ผม แตกทุกอย่างออกมาเป็นข้อมูล แล้วถ้าไปดูอินโฟกราฟิกของเขา ก็ ภูมใิ จ เพราะว่าแต่ละตอนไม่ได้มเี วลาในการคิดโจทย์เยอะ แล้วก็เป็น จะใช้วิธีวาดรูป ซึ่งมันเท่มากเลย เช่น เขาอธิบายหนังสือตารางธาตุ โจทย์ทยี่ าก อย่างเช่นบางตอนพูดถึงเรือ่ งประชาธิปไตย บางตอนพูด เขาจะอธิบายธาตุทกุ ตัวเป็นคาแรกเตอร์ สมมติวา่ ธาตุนหี้ นัก ธาตุนี้ เรื่องคอร์รัปชั่น ซึ่งจะวาดตรงๆ ได้ไหม ก็ได้ อย่างเช่นนักการเมือง ก็อาจจะอ้วนหน่อย ซึ่งมันท�ำให้คนเข้าใจง่ายมาก เขาท�ำหนังสือ รับเงิน แต่ว่าบางทีเราก็เลือกที่จะวาดอย่างอื่น หลายเล่ม เช่น หนังสือทีส่ ำ� นักพิมพ์แซลมอนแปลชือ่ ว่า ‘สูตรสุขคติ’ คุยเรื่องสไตล์ลายเส้นของคุณบ้าง สไตล์ ‘น้อยแต่มาก’ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการมองความตายของคนในชาติต่างๆ เขาตีความ ว่าชีวติ ของคนคือเส้นทาง แล้วเขาก็วาดเป็นเส้นทางเดินเป็นถนนเส้น แบบนี้เป็นแบบนี้ตั้งแต่เด็กๆ เลย หรือว่าค่อยๆ พัฒนา เป็นลายเส้นทีค่ อ่ ยๆ พัฒนามา แต่ถา้ มองดีๆ จะรูว้ า่ เป็นคนเดียวกัน หนึง่ แล้วเขาก็มองว่าจุดจบของถนนนีข้ องแต่ละชาติมนั เป็นอย่างไร คือเมือ่ เราไปเห็นงานของคนนัน้ คนนี้ เราก็จะค่อยๆ ปรับไปตามงาน เช่น การวนกลับมาที่ถนนเส้นเดิมใหม่ คือการเวียนว่ายตายเกิด ลักษณะที่เราชอบ ผมมีความคิดส่วนตัวว่าผมไม่อยากให้งานดูเป็น หรือว่าเป็นการสลายไปเลย หรือว่าเป็นการขึ้นสวรรค์ลงนรก ซึ่ง ฝรั่งหรือญี่ปุ่นมากเกินไป แต่อยากให้ภาพวาดสื่อออกมาเป็นสากล ผมรู้สึกว่านี่แหละคือวิธีคิดที่เราอยากไปถึง แต่สังเกตดีๆ บางรูปอาจจะดูไปทางญี่ปุ่น บางแบบเราก็ถอดมา หรือว่า นี่คือหน้าที่ของนักวาดภาพประกอบ... คล้ายๆ กับการ์ตูนฝรั่งเหมือนกัน คนอาจจะไปติดกับค�ำว่าประกอบ ‘ประกอบ’ แปลว่ามันอาจจะแค่ คุณก�ำลังจะบอกว่า...คุณเป็นนักเล่าเรื่อง ใช่ครับ ผมคิดว่าตัวเองเป็นนักเล่าเรื่อง โดยการวาดรูปเป็นการ สื่อสารอย่างหนึ่ง เวลามีข้อมูลยากๆ มา ผมรู้สึกท้าทายมาก อยาก ท�ำให้มันเข้าใจง่าย แต่ก็ต้องยอมรับว่าในประเทศไทย ผมอยากเอา ข่าวมาวาดรูปมาก แต่บางทีข้อมูลที่ได้มาไม่ครบ ไม่พอที่จะเอามา พลิกเพื่อเล่าอีกมุมหนึ่งได้ ซึ่งก็อาจจะท�ำให้ไม่ค่อยสนุก

ลายเส้นสองแบบนี้ต่างกันอย่างไร ต่างกันตรงที่การออกแบบคาแรกเตอร์ แม้ว่าในปัจจุบันจะค่อน ข้างรวมกันมากขึ้น สไตล์ลายเส้นญี่ปุ่นจะเน้นการขับคาแรกเตอร์ บางอย่างออกมาให้มีความชัดเจน มีภาษาการ์ตูนที่ใช้ เห็นปุ๊บแล้ว ร้องอ๋อ...ว่าตัวการ์ตูนนั้นรู้สึกอะไร เช่น เหงื่อตกแปลว่ากังวล มี เส้นเลือดปูดแปลว่าโกรธอยู่ มีควันพุง่ คือโกรธมาก ผมคิดว่ามันเป็น ภาษาการ์ตูนที่พอวาดปุ๊บคนเข้าใจทันที การ์ตูนญี่ปุ่นใช้สามเฟรม เพื่อเล่าเรื่องราวใน 1 วินาที

ท�ำหน้าที่ให้ตัวหนังสือไม่เหงาหรือเปล่าซึ่งบางทีมันไม่ใช่ นักวาดภาพประกอบที่ดีคือต้องเอาตัวหนังสือนั้นมาย่อยให้ถึงที่สุด แล้วให้มิติใหม่ๆ กับตัวหนังสือนั้น อย่างเช่นของบุนเป เขาบอกว่า ความตายในศาสนาพุทธคือการเวียนว่ายตายเกิด แล้วก็วาดแค่เวียน ว่ายตายเกิดก็ได้ แต่เขาไม่ เขามองว่าชีวติ เป็นถนน ซึง่ มันไม่มใี นตัว หนังสือ แล้วตรงนี้มันท�ำให้คนเข้าใจตัวหนังสือนี้ในอีกความหมาย หนึ่ง ในบริบทที่มันกว้างขึ้นด้วย ซึ่งผมคิดว่าถ้าท�ำได้ขนาดนั้น มัน จะเป็นภาพประกอบที่มีคุณค่ามาก

-11-


แล้วถ้าเป็นนักวาดภาพประกอบไทย คุณชื่นชอบใคร ผมชอบหนังสือของ เรณู ปัญญาดี มาก เขาอาจจะไม่ได้ท�ำภาพ ประกอบเองทัง้ หมด แต่วา่ มันเป็นการใช้ภาพประกอบเก่าในมุมมอง ใหม่ ซึง่ ท�ำไม่งา่ ย เขาต้องหาภาพทีม่ นั ใช่มาประกอบกับสิง่ ทีถ่ กู ต้อง ไหนจะต้องตีความใหม่อกี ผมรูส้ กึ ว่านัน่ เป็นการ์ตนู การเมืองทีด่ มี าก บางเรือ่ งอาศัยการพูดเฉียดๆ อ้อมๆ แต่เมือ่ ใดทีพ่ ดู อ้อมๆ มันจะอยู่ กับเรานาน เพราะว่าเราจะต้องคิดถึงมันเยอะ อีกคนผมชื่นชอบงานของพี่โตโต้ หัวแตงโม นอกจากชื่นชมผลงาน ผมยังรู้จักกับพี่เขาเป็นการส่วนตัว เขาสอนเรื่องวิธีการมองโลก วิธี การคิด การใช้ชีวิต หรือเพื่อนๆ น้องๆ รุ่นใหม่ที่รู้จักจาก exteen. com เพราะยุคนัน้ เว็บนีม้ นี กั วาดภาพประกอบอยูใ่ นนัน้ หลายคนมาก อย่างมุนินฺ สะอาด เขาท�ำบล็อกใน exteen.com ด้วยกันมาก่อน แล้วถ้าเป็นเด็กรุ่นใหม่ๆ ยุคนี้ล่ะ ถ้าคุณจะชื่นชอบผลงาน ใครสักคน คุณจะวัดจากอะไร ตอนนี้ เวลาผมดูภาพประกอบในนิตยสารต่างๆ ผมรู้สึกว่าเด็กรุ่นนี้ เก่งมาก มีเซนส์ที่ดีมาก แต่ว่าบางทีเราจะรู้สึกว่าดูแล้ว เราก็แค่รู้ ว่าเขาท�ำสวย แต่วา่ มันสวยในแบบทีเ่ ราเคยเห็นแล้ว ไม่ใช่ทกุ คนนะ ครับ คนที่ท�ำแล้วมีลายเส้นตัวเองไปเลยก็มี แต่ผมรู้สึกว่ายุคนี้เรา หาแรงบันดาลใจจากอินเทอร์เน็ตได้ง่ายมาก นักวาดภาพประกอบ ทุกคนจะต้องเข้าเว็บ pinterest เพื่อที่จะดูว่าสไตล์ภาพประกอบมี แบบไหน แล้วบางทีการหยิบมาใช้โดยที่เราไม่ได้มาผสมกับความ เป็นตัวเราเอง มันก็อาจจะท�ำให้ไม่เกิดอะไรใหม่ๆ ด้วยเหมือนกัน เหมือนที่เราจะเห็นว่ากระทู้พันทิป ทุกคนแต่งภาพเหมือนกันหมด ทุกคนท�ำปกเหมือนกันหมด คือสวยดีนะครับ แต่วา่ เขาไม่คอ่ ยได้ใส่ input ของตัวเองเข้าไป ผมคิดว่าอาจจะต้องผสมผสานกันระหว่างสิง่ ที่เรารู้ว่าท�ำแบบนี้แล้วสวยแน่ๆ ดีแน่ๆ แต่อาจจะต้องยั้งคิดนิดหนึ่ง ย้อนกลับไปสมัยประถม ยังเก็บหนังสือการ์ตูนของตัวเอง ไว้อยู่หรือเปล่า ดังนั้นผมจะชอบดูงานที่เห็นแล้วรู้เลยว่าคนนี้ท�ำ น่าจะหายไปแล้วครับ (หัวเราะ) แต่ถ้าพูดถึง มันเหมือนจุดเริ่มต้น ตอนนี้ ผมไม่ได้มองที่วาดสวยหรือไม่สวยแล้วนะ แต่มองว่าคุณให้ ที่ส�ำคัญมาก ถ้าตอนนั้นเราเขียนการ์ตูนวนให้คนในห้องอ่านแล้ว อะไรกับคนดูได้แค่ไหน คุณไม่ต้องชนะด้านการวาดสวยอย่างเดียว ไม่มีใครสนใจ เราก็คงหมดก�ำลังใจ แต่เพราะได้เห็นผลตอบรับ คุณอาจจะประสบความส�ำเร็จด้านการสื่อสารที่ดีที่สุด ตลกที่สุด ของคนที่อ่านเลย เห็นว่าหน้าของเพื่อนยิ้ม ตรงกับที่เราวางแผนให้ ถูกใจคนทีส่ ดุ พูดตรงใจคนทีส่ ดุ หรือมีการพลิกมุมทีแ่ หวกแนวทีส่ ดุ เขายิ้มพอดี เรารู้ว่ามาถึงตรงนี้จะข�ำแล้ว แล้วก็ได้ยินเสียงหัวเราะ ก็ได้ ถ้าคุณบอกว่าวิ่งทางสายวาดสวยอย่างเดียว มันก็มีคนชนะได้ จริงๆ ผมรู้สึกมันเติมเต็มบางอย่าง วาดไปวาดมาก็เติมเต็มชีวิตผม อยู่ไม่กี่คน คุณต้องสร้างสนามแข่งใหม่ของคุณขึ้นมาเอง มาถึงตอนนี้ (ยิ้ม) -12-


แชมป์-ทีปกร วุฒิพิทยามงคล

ชายหนุ่มผู้มีแมวเป็นเพื่อนสนิท มีงานเขียนเล่นๆ เป็นเรื่องวาด เจ้าของผลงาน กว่า 11 เล่ม อาทิ Cat Study, Draw Something, 100 ขั้นตอนสู่ความล้มเหลว, ยูนิเวอร์เศร้า ฯลฯ โดยส�ำนักพิมพ์แซลมอน เจ้าของโลโก้และผู้สร้างสรรค์ ภาพประกอบในรายการ ‘วัฒนธรรมชุบแป้งทอด’ สร้างสรรค์ภาพประกอบในซีรสี ์ ‘เงินทองต้องวางแผน’ โดยตลาดหลักทรัพย์ และปัจจุบนั รับหน้าทีเ่ ป็นเว็บมาสเตอร์ ดูแลและบริหารเว็บไซต์ Minimore.com เว็บไซต์เผยแพร่คอนเทนต์ออนไลน์และ ร้านหนังสือออนไลน์ ติดตามภาพวาดวันละนิด ของเขาได้ใน https://www.facebook.com/tpagon

-13-


เรื่อง

n

ana

an : Ch

e d u t i t la

World of Illustrations งานภาพประกอบหมุนรอบตัวเรา โลกของภาพประกอบนั้นยิ่งใหญ่… ยิ่งใหญ่อย่างไรมาดูกัน ภาพประกอบท�ำให้โลกของการอ่านและการมองเห็นเต็มเปี่ยมด้วยอารมณ์และสีสัน บางครัง้ ภาพประกอบทีผ่ า่ นการคิดอย่างดีเยีย่ มก็สามารถท�ำหน้าทีเ่ ล่าเรือ่ งและสร้าง คุณค่าให้กับตัวเองไปอีกขั้น ภาพประกอบหนึ่งภาพ แทนอารมณ์ของคนนับล้านได้โดยไม่ต้องพูด วันนี้ โลกของการวาดภาพประกอบไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เมือ่ งานวาดภาพประกอบ เคลื่อนตัวจากกระดาษและวัสดุที่จับต้องได้เข้ามาอยู่บนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ยิ่ง ท�ำให้นักวาดภาพประกอบเล่นแร่แปรธาตุสร้างสรรค์งานได้สนุกเหนือจินตนาการ และต่อไปนี้คือเทรนด์ของการวาดภาพประกอบที่น่าสนใจ ในปี 2016 -14-


สไตล์งานวาดแบบอเมริกันย้อนยุคกับงานคราฟต์ คราฟต์

ประสบการณ์การท�ำงานในฐานะนักออกแบบอาวุโสบริษทั เดอะพาร์ตเนอส์ ท�ำให้ คีธ แฮนค็อกซ์ ออกมาบอกว่า คราฟต์เบียร์ แผ่นเสียงไวนิล และยุคที่ทุกอย่าง ต้องเกี่ยวข้องกับกาแฟไม่มีทีท่าจะสิ้นสุดลงง่ายๆ และไม่ว่าหลังจากนี้อะไรจะ เกิดขึ้น งานวาดภาพประกอบจะเข้ามาอยู่ในสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับ ไลฟ์สไตล์ละเมียดและงานคราฟต์มากขึ้น เช่นเดียวกับตัวอย่างสไตล์ศิลปะ ย้อนยุคทีเ่ กีย่ วข้องกับประวัตศิ าสตร์ ความรักชาติ การหวนค�ำนึงถึงภูมปิ ญ ั ญาและ มรดกทางวัฒนธรรมแบบอเมริกนั (Americana-tinged retro style) ทีป่ รากฏบน กระป๋องเบียร์ บรรจุภัณฑ์ งานตกแต่ง และของที่ระลึกของบริษัทฟอร์ต พอยท์ เบียร์ (Fort Point Beer) ภาพประกอบอ้างอิง : manualcreative.com/project/fort-point-beer-company -15-


งานวาดภาพประกอบที่ผสมผสานกับภาพถ่าย

เคท โมรอส ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์ นักออกแบบ และนักวาดภาพประกอบผู้มี ชื่อเสี ย งในลอนดอนได้ คาดการณ์ แ ละพยากรณ์ ว ่ า นี่ คือ ช่ วงปี ที่ยิ่ ง ใหญ่ของการ สร้างสรรค์งานวาดภาพประกอบรูปแบบใหม่และหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคนิคการใช้ภาพถ่ายผสมกับการวาดหรือเขียนภาพให้ออกมาเป็นผลงานทีส่ นุกใหม่ สไตล์งานของแฮตตี สจ๊วต นักวาดภาพประกอบชื่อดังที่จะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ซึ่งเป็นที่จดจ�ำกันได้ว่าเป็นงานที่มีความกล้าแสดงออกและขี้เล่นเป็นเอกลักษณ์ ทั้ง ยังขยายผลไปเป็นทั้งในงานแฟชั่น (ที่มากกว่างานภาพประกอบนิตยสาร) ไปจนถึง ศิลปะ ร่วมงานกับนักออกแบบดังอย่าง ‘มาร์ค บาย มาร์ค เจค็อบส์’ ‘เฮาส์ ออฟ ฮอลแลนด์’ ‘อาดิดาส’ และผลงานนิทรรศการในเมืองใหญ่หลายเมืองทั่วโลกทั้ง ไมอามี นิวยอร์ก ลอนดอน และเบอร์ลิน และอีกหนึ่งผลงานที่ไม่ควรพลาดจับตาใน ปีนี้ คืองานสร้างสรรค์ภาพประกอบจากโครูซ ที่ได้พูดถึงผลงานของตัวว่า “มันเป็นงานที่ใช้มือท�ำด้วยวัสดุโลว์เทคมากๆ เกี่ยวข้องกับศิลปะแอพโพรพริเอชั่น ทีห่ ยิบยืมภาพในอดีตของศิลปินทีม่ อี ยูแ่ ล้วหรือแม้แต่ในประวัตศิ าสตร์มาเล่าใหม่ ใช้ วัสดุบางอย่างจุ่มสีและแปะบนภาพ รวมถึงงานลงสี โดยมีธีมการท�ำงานที่แข็งแกร่ง โดดเด่นเกี่ยวกับความรู้สึกทางเพศ ความแตกต่างทางเพศ และความงาม” ภาพประกอบอ้างอิง : hattiestewart.com และ jcruz.co.uk -16-


งานวาดภาพเวกเตอร์ที่เหนือชั้น

ภาพเวกเตอร์เป็นงานภาพวาดแบบลายเส้นด้วยคอมพิวเตอร์เหมือนที่ศิลปิน นักวาดภาพประกอบในต�ำนานประสบการณ์กว่า 30 ปี อย่างสตีฟ ซิมป์สัน ได้ออกแบบและสร้างตัวการ์ตนู สุดคูลตัวนีข้ นึ้ ส�ำหรับนิตยสาร Wired (ผลงาน ของเขายังปรากฏตัง้ แต่บนสแตมป์แผ่นเล็กจิว๋ ไปจนถึงจอโฆษณาใหญ่ยกั ษ์ใน ไทม์สแควร์ ทั้งบนขวดวิสกี้ บอร์ดเกม และหนังสือของเด็กๆ จนถึงเวลานี้ ภาพประกอบแบบเวกเตอร์ยังคงมีประสิทธิภาพและมีบทบาทส�ำคัญในงาน ภาพประกอบ ซึ่งไม่ได้มีแค่ศิลปินนักวาดภาพประกอบมือฉมัง อลิส โมโลนีย์ ออกมาเรียกร้องให้มกี ารสร้างสรรค์งานเวกเตอร์ทมี่ คี ณ ุ ภาพอย่างต่อเนือ่ ง เช่น เดียวกับที่ นิค ฟินนีย์ แห่งสตูดโิ อทีเ่ ชีย่ วชาญด้านแบรนด์และการสือ่ สารอย่าง เอ็นบีสตูดิโอที่กล่าวว่า “มันเห็นง่ายมากเลยกับการท�ำงานเวกเตอร์ที่ดูไม่ตั้งใจออกมาสักชิ้นหนึ่ง ค�ำถามต่อไปคือจะท�ำอย่างไรให้งานของเราพิเศษและแตกต่างเหนือคนอืน่ ๆ” นี่คือสิ่งที่นักวาดภาพประกอบสไตล์นี้ต้องน�ำกลับไปคิดและผลิตงาน ภาพประกอบอ้างอิง : stevesimpson.com

-17-


งานวาดภาพประกอบแบบเคลื่อนไหว

เหมือนอย่างที่ เจนนิเฟอร์ กอนซาเลซ แห่งฮูโก้แอนด์มารีกล่าวไว้วา่ เธอรูว้ า่ การเคลือ่ นไหวและเสียงสามารถ จับความรูส้ กึ และดึงความสนใจของผูค้ นได้มปี ระสิทธิภาพอย่างมาก และบางครัง้ ในบางสถานการณ์กท็ ำ� หน้าที่ เก็บรายละเอียดอารมณ์ความรู้สึกได้ดีกว่าภาพนิ่ง ซึ่ง นิโคลาส เมนาร์ด และแจ๊ค ซารชส์ ได้ท�ำให้เราได้เห็น เป็นรูปธรรมด้วยการเชือ่ มโยงงานทัง้ งานวาดภาพประกอบและงานแอนิเมชัน่ ออกมาได้อย่างน่าทึง่ และน่าสนใจ ส�ำหรับเหตุผลที่คุณควรรู้จักนิโคลาส เมนาร์ด ศิลปินกราฟิกชาวแคนาดา-ฝรั่งเศส คือ ผลงานของเขาปรากฏ อยู่ในทั้งนิวยอร์กไทม์ วานิตี้แฟร์ และงานโฆษณาแบรนด์โฆษณาสินค้าอีกหลายแบรนด์ดัง รวมถึงเรย์แบนด์ และถ้าพูดถึงงานของแจ๊ค ซารชส์ นักวาดภาพประกอบและนักสร้างงานแอนิเมชั่น 3 มิติ ซึ่งผลงานหลายชิ้น ของเขาจะท�ำให้คุณร้องอ๋อ ได้ง่ายๆ เช่น ผลงานในเอ็มทีวี นิตยสาร i-D และทางช่อง BBC ฯลฯ ภาพประกอบอ้างอิง : nicolasmenard.com และ jacksachs.co.uk -18-


งานภาพประกอบในยุควันวาน

ในวัยทีเ่ ราอาจยังไม่รจู้ กั ว่าภาพประกอบคืออะไรและมีความส�ำคัญอย่างไร ภาพประกอบก็ได้ทำ� หน้าทีน่ นั้ อย่าง เต็มประสิทธิภาพ ทัง้ ยังกลายเป็นต�ำนานอย่างภาพประกอบชือ่ ดัง มานะ มานี ปิติ ชูใจ ในแบบเรียนภาษาไทย ระดับประถมศึกษาชุด (ซึ่งใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2521-2537 เขียนเรื่องโดยรัชนี ศรีไพรวรรณ) ฝีมือ เตรียม ชาชุมพร นักวาดภาพประกอบไทยที่เราอยากให้หลายคนได้รู้จักไม่น้อยไปกว่า นักวาดภาพประกอบระดับโลก ด้วยลายเส้นและการลงสีที่เป็นมิตร เล่าเรื่อง และมีกลิ่นอายความเป็นไทย และความเป็นชนบทอย่างชัดเจน ยิง่ เมือ่ บวกกับความหลงใหลในอดีตของผูท้ เี่ คยผ่านประสบการณ์เดียวกันใน แบบเรียนที่ว่านี้ เมื่อเวลาผ่านไปจึงท�ำให้ภาพประกอบดังกล่าวถูกน�ำมาพูดถึงอีกครั้ง เตรียม ชาชุมพร วาด ภาพในชัยพฤกษ์การ์ตนู ชือ่ หนังสือการ์ตนู ทีร่ วบรวมบรรดานักวาดการ์ตนู ในยุคนัน้ และเร็วๆ นีก้ ระแสในโลก ออนไลน์ก็ได้แชร์อย่างแพร่หลาย เกี่ยวกับการเปิดให้ดาวน์โหลดหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ชุดมานะ-มานี กระตุ้นต่อมย้อนอดีตของหลายๆ คนอีกครั้ง ภาพประกอบอ้างอิง : th.wikipedia.org/wiki/เตรียม_ชาชุมพร -19-


งานภาพประกอบ 3 มิติที่เกินกว่าจินตนาการ

แน่นอนว่ามันคือภาพประกอบ แต่ไม่ใช่อย่างทีเ่ ราเคยรูจ้ กั และยังสร้างสรรค์เอามากๆ อย่างผลงานของ ซาราห์ อิลเลนเบอร์เกอร์ ศิลปินทีส่ ร้างงานจากวัสดุในชีวติ ประจ�ำวัน นักออกแบบและช่างภาพทีพ่ ำ� นักในเบอร์ลนิ และ ไคลี บีน ศิลปินงานประดิษฐ์นักเล่นจินตนาการ ที่ท�ำให้ผลงานออกมาเป็นที่จับต้องได้อย่างแปลกประหลาด และน่าทึ่ง และล่าสุดในโฆษณาแคมเปญรถยนต์ล่าสุดของบริษัทรถยนต์นิสสัน โอเวน กิลเดอร์สลีฟ ศิลปิน งานตัดและพับกระดาษก็ได้ลงมือเนรมิตรถยนต์ด้วยศิลปะโอริกามิสามมิติขนาดใหญ่เท่าของจริง จนกลาย เป็นผลงานที่แสนสนุกและน่าจดจ�ำจนทุกคนต้องพูดถึงรถรุ่นนี้ ภาพประกอบอ้างอิง : sarahillenberger.com และ kylebean.co.uk และ owengildersleeve.com -20-


งานภาพประกอบที่ตอบสนองกับเหตุการณ์ปัจจุบันแบบทันใจ

ความส�ำเร็จอันล้นหลามของภาพวาดประกอบ สันติสุขเพื่อปารีส พร้อมแฮชแท็ก #prayforparis หลังเหตุการณ์ความรุนแรงในกรุงปารีส ในวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2558 เปิดโอกาสให้เราได้ท�ำความ รู้จักกับศิลปินนักวาดภาพประกอบชาวฝรั่งเศส ฌ็อง จูเลียน มากขึ้น ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่ารูปสัญลักษณ์ หอไอเฟลด้วยลายเส้นง่ายตรึงใจ และที่ส�ำคัญคือทันท่วงทีกับเหตุการณ์ จะท�ำให้ผู้คนทั่วโลกที่ก�ำลังมีความ รู้สึกร่วมต่างพากันแชร์ภาพนี้นับไม่ถ้วนในเสี้ยววินาที และไม่พลาดที่จะ ‘กูเกิล’ หาข้อมูลของนักวาดภาพ ประกอบคนนีใ้ นอินสตาแกรมและเว็บไซต์ผลงานส่วนตัวของเขา ความชัดเจนเดียวของงานภาพประกอบทีว่ า่ นี้ คือความรวดเร็วทันใจ ตอบสนองสถานการณ์ได้อย่างฉับพลัน และมากไปกว่านัน้ ต้องมีความเป็นสากลในการ สือ่ สารสูงจนเป็นทีย่ อมรับและกลายมาเป็นปรากฏการณ์ทผี่ คู้ นจดจ�ำจนถึงเวลานี้ ลายเส้นน้อยแต่ทำ� ให้เรารูส้ กึ ได้มาก ซึ่งหลังจากนั้นภาพประกอบที่ว่านี้ยังได้กลายมาเป็นสินค้าเพื่อจ�ำหน่ายกันแพร่หลายในโลกออนไลน์ จนต้องมีการตั้งค�ำถามเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และความเหมาะสมในการน�ำความโศกเศร้ามาใช้เพื่อท�ำก�ำไร ขณะ เดียวกันเราก็จะสามารถเห็นภาพประกอบแบบเรียลไทม์ตอ่ เหตุการณ์สำ� คัญมากขึน้ จากการเข้าถึงเทคโนโลยี และเครื่องมือสร้างงานที่ง่ายเพียงใช้ปลายนิ้วมือ ภาพประกอบอ้างอิง : jeanjullien.com เนื้อหาอ้างอิงของบทความนี้ http://www.creativebloq.com/illustration/8-huge-illustration-trends-2016-11618888 -21-


“ สิ่งสำ�คัญไม่ใช่ความแปลกใหม่ แต่คือการสร้างงานที่เป็นตัวของตัวเอง ”

-22-


เซีย พูฟิว วิภาส ม ช : ุญ เรื่อง วรัตน์ บ า น เ : ภาพ

+

Pimm Teaspoon สตูดิโอ ตามใจฉัน พิม จงเจริญ ผู้ก่อตั้ง Teaspoon Studio สตูดิโอศิลปะที่มีอายุ 5 ปี สร้างสรรค์ งานคราฟต์ งานกระดาษ สร้างลวดลายได้เหนือจริง ที่เพี้ยน สนุก และมักสาด กลิ่นอายแบบ Fairy Tale ลงไปในชิ้นงานอยู่เสมอ (ในฐานะคนเสพงาน เรารู้สึก เช่นนั้น แม้เจ้าตัวจะบอกว่า ในฐานะคนสร้างงาน เธอไม่สามารถนิยามสไตล์ของ ตัวเองได้กต็ าม) งานของพิมอวดสายตาคนคอเดียวกันไปจนถึงกลุม่ คนหลากหลาย ตัง้ แต่กระดาษห่อของขวัญ จานชาม ดิสเพลย์จวิ เวลรีแ่ บรนด์ ภาพประกอบบนหน้า นิตยสาร การ์ดแต่งงาน นามบัตร ไปจนถึงแพ็กเกจของขวัญบิวตี้แบรนด์สักชิ้น ในเมื่อ Muse ฉบับนี้ อยากนั่งคุยกับนักวาดภาพประกอบสักคน เราจึงอยากนั่ง คุยกับเธอ คนสร้างงานในรูปแบบทีห่ ลากหลาย และเมือ่ ยิง่ ได้นงั่ คุยก็ยงิ่ สนุกไปอีก เมื่อเธอบอกว่า เอนทรานซ์ไม่ติดคณะศิลปกรรมศาสตร์ที่ใฝ่ฝัน แถมสอบได้ 20 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 และเธออยากให้เรื่องราวของเธอเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับนักเรียนศิลปะในยุคนี้ ว่าวันหนึ่งเธอเคยไม่ส�ำเร็จอย่างที่ใจฝัน แต่วันนี้ เธอ มีสตูดิโอเล็กๆ ตามใจฝันได้ ขอเพียงอย่าหยุดท�ำและอย่าหยุดวาดรูปเท่านั้นเอง -23-


นักเรียนข้างก�ำแพง

“ตัง้ แต่สมัยมัธยม พิมชอบหันหน้าเข้าก�ำแพงแล้วแปะกระดาษบนผนัง โดนครูวา่ ให้ แกะออก จนโดนคุณครูเขียนในสมุดพกฟ้องผูป้ กครองบ่อยๆ ว่าเราท�ำผนังหลังห้อง เต็มไปด้วยกระดาษ…แม้แต่พื้นที่เล็กๆ เราก็ไม่เว้น เรามีความสุขกับพื้นที่เล็กๆ” พิมเล่าให้ฟังถึงที่มาว่าท�ำไมมุมโต๊ะท�ำงานของเธอในวันนี้จึงเต็มไปด้วยกระดาษจาก ทุกสารทิศแปะทีผ่ นัง และไม่มพี นื้ ทีว่ า่ งเว้นเหลือให้ผนังเปลือยเปล่า ทัง้ กล่องใส่ขนม โปสการ์ด การ์ดเชิญ ภาพวาดต่างๆ ที่ชวนสะดุดตามากที่สุดเห็นจะเป็นลวดลายของสุนัขจิ้งจอก นกฮูก เห็ดสีแดงและ สีน�้ำเงินทะมึนแต่น่าค้นหา บรรยากาศเหมือนก�ำลังอ่านหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ คาแรกเตอร์ทกี่ ลัน่ กรองโดยไม่รตู้ วั เหล่านี้ กลายเป็นลายเซ็นของเธอไปโดยอัตโนมัติ เรารู้สึกว่าเมื่อใดชมผลงานของเธอ ช่างละม้ายคล้ายกับว่าก�ำลังดูภาพยนตร์ของ เวส แอนเดอร์สัน* ลายเส้นเหนือจริง เต็มไปด้วยจินตนาการ ลงสีจัดจ้าน และให้ ความส�ำคัญในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ถ้าคุณมีโอกาสไปส่องไอจีของ Teaspoon คุณจะเห็นความหลากหลายของงาน ทั้งแพตเทิร์นของลวดลายสีน�้ำที่ถูกสแกนและ แปลงโฉมเป็นกระดาษห่อของขวัญ หมวกกระดาษ แบ็กดรอปกระดาษรูปทรงต้นไม้ สับปะรดกระดาษมีตา เห็นบรรยากาศจัดเวิร์กช็อปของคนรักงานกระดาษทั้งหลาย นี่คงเป็นสิ่งการันตีได้ว่า เธอเข้าข่าย Paper Mania มากแค่ไหน “พิมชอบเก็บสะสมกระดาษ ชอบเข้าร้านขายกระดาษ ชอบดมกลิ่นกระดาษ ชอบ สัมผัส และได้ดูงานออกแบบของกระดาษ ชอบดูแบรนด์ดิ้ง และมีความฝันว่า วันหนึ่งเราจะมีร้านขายกระดาษและร้านขายเครื่องเขียนเป็นของตัวเอง” ความฝัน วัยเด็กของเธอคือมุ่งมั่นที่จะศึกษาปริญญาตรีด้านศิลปกรรม แม้ไม่เคยเรียนศิลปะ เป็นพื้นฐานมาก่อน “จ�ำได้ว่าตอนสอบเอนทรานซ์ นักเรียนทุกคนจะนั่งกับพื้นแล้ววาดภาพบนกระดาน คนละแผ่น วิชานีล้ อกใครไม่ได้ ท�ำให้เราเห็นคนรอบข้างดรอว์องิ้ สวยมาก ครูให้วาด ภาพเหมือนของตัวเอง คนอืน่ วาดจนจะเสร็จแล้ว เรายังวาดได้แค่โครง ตอนนัน้ คิดใน ใจว่า นี่เรามีเวลาแค่ 3 ชั่วโมง เป็น 3 ชั่วโมงที่จะตัดสินอนาคตอีก 4 ปีเลยหรือนี่ “แล้วผลสุดท้ายก็เอนท์เข้าคณะศิลปกรรมศาสตร์ไม่ตดิ สอบได้ 20 คะแนน เต็ม 100 คะแนนเราไม่ถึง ท�ำให้รู้สึกว่าเราเรียนไม่เก่งมาโดยตลอด” ความล้มเหลวในวันนั้น ท�ำให้เธอเบนเข็มและศึกษาต่อด้านรัฐศาสตร์ เมื่อเรียนจบ ได้เริ่มงานในต�ำแหน่ง เออีในบริษัทดีไซน์สตูดิโอ ชื่อ Be Our Friend ความมั่นใจที่จะท�ำงานในฐานะ นักออกแบบยังไม่มี เพราะเธอเชื่อว่าตัวเองไม่มีพอร์ตสะสม และเมื่อไม่มี ก็ต้องสร้าง พิมตัดสินใจบินไปเรียนต่อหลักสูตรด้านกราฟิกที่ London College of Communication (LCC) ที่ประเทศอังกฤษ และที่นั่นก็ท�ำให้โลกของเธอ ไม่เหมือนเดิมอีกเลย *Wes Anderson ผู้ก�ำกับ นักเขียนบท นักแสดง และโปรดิวเซอร์ ชาวอเมริกัน -24-


ห้องเรียนที่ไร้ขอบเขต

พิมเล่าว่า เธอเคยแอบสงสัยมากว่า การบินข้ามน�้ำข้ามทะเลมาเรียนต่อที่อังกฤษ ท�ำไมคุณครูถงึ ให้ความส�ำคัญกับการเรียนการสอนในห้องเรียนน้อยกว่าทีเ่ ธอคาด หวัง คลาสเรียนทีอ่ งั กฤษให้ความส�ำคัญกับการออกไปวิจยั นอกห้องเรียนมากกว่า และเธอก็ค้นพบค�ำตอบในวันที่นักเรียนทั้งห้องต้องส่งชิ้นงาน ‘ความสนุกคือ นักเรียนทุกคนส่งงานไม่เหมือนกันเลย’ “ตอนเราอยู่อังกฤษ ความสนุกคือเขาให้ไปหาเอง เราคิดได้แค่วาดรูป แต่เพื่อน ฝรั่งล�้ำกว่า ทุกคนส่งงานไม่ซ�้ำกัน ไม่มีถูกผิด ครูไม่ได้สอนว่าต้องท�ำอย่างไร โปรเจ็กต์วาดภาพ บางคนวาดรูปไม่เป็น แต่เลือกท�ำภาพประกอบจากการเดิน ถ่ายรูป ข้ามแม่น�้ำ ตึกเก่า และสร้างเรื่องราว บางคนยืนอยู่ในรถไฟใต้ดิน ถือ ปากกากับกระดาษไว้ เวลารถเขย่ามันจะเกิดเส้นสายขึ้น พิมตัดกระดาษไปส่ง อยากท�ำภาพ illustration ที่เป็นกระดาษ” พิมเล่าว่า สิ่งแรกที่เธอท�ำทันทีที่เธอกลับถึงเมืองไทย คือ การตระเวนไปคุยกับ ดีลเลอร์ขายกระดาษทุกเจ้า ไปคุยกับโรงพิมพ์ ท�ำความรู้จักกระดาษ เพื่อให้การ พิมพ์กระดาษห่อของขวัญตามใจฝันเกิดขึน้ ได้ แต่โปรเจ็กต์ตอ้ งพักชัว่ คราว เพราะ เมื่อลงลึกในรายละเอียด นี่เป็นต้นทุนที่สูงมาก เธอจึงหันกลับมาตั้งหลัก เลือก ท�ำงานศิลปะโดยผสานทั้งสองด้านร่วมกันคือ รับงานคอมเมอร์เชียลโดยใช้ความ สามารถทางศิลปะในทุกด้านที่นอกเหนือจากกระดาษ และตั้งกฎเล็กๆ ให้ตัวเอง ว่า จะต้องจัดนิทรรศการส่วนตัวของตัวเองทุกปี (หากยังนึกไม่ออกว่านิทรรศการ ของเธอเป็นอย่างไร ก็แค่มีเก้าอี้ที่พนักเป็นกรรไกร มีเต็นท์ที่ขยับได้เท่านั้นเอง) ในนิทรรศการนัน้ ไม่มกี ารเชิญนักข่าว เพราะไม่รวู้ า่ เขาอยากจะมาไหม แต่มเี พือ่ น ตั้งแต่สมัยเด็ก เพื่อนประถม ไปจนถึงนักศึกษาที่นั่งแท็กซี่มาดูงานเป็นกลุ่มๆ “เท่านี้เราแฮปปี้แล้วนะ” เธอเล่าพร้อมรอยยิ้ม -25-


“ยุคนี้ไม่ว่าจะเป็นภาพสีน�้ำ หรือภาพจาก ไอโฟน ก็แทบจะไม่แตกต่าง ไม่มีอะไร ท�ำให้คนว้าวได้อีกแล้ว สิ่งที่จะสู้กันนั้นคือ เนือ้ หาข้างใน ความเป็นเนือ้ ใน นัน่ คือสิง่ ที่ เราเล่าไปจากตัวเราจริงๆ”

-26-


เมื่อโลกนี้ (แทบ) ไม่มีอะไรแปลกใหม่ “เราเป็นคนหนึ่งที่เชื่อว่ายุคนี้แทบไม่มีอะไรใหม่แล้ว ทุกวันนี้ไม่ต้องถามเลยว่าได้แรงบันดาลใจมาจาก ไหน เพราะทั่วโลกเหมือนกันไปแล้ว ยุคนี้ไม่ว่าจะเป็นภาพสีน�้ำหรือภาพจากไอโฟนก็แทบจะไม่แตกต่าง ไม่มีอะไรท�ำให้คนว้าวได้อีกแล้ว สิ่งที่จะสู้กันนั้นคือเนื้อหาข้างใน ความเป็นเนื้อใน นั่นคือสิ่งที่เราเล่าไป จากตัวเราจริงๆ พอเราไม่หลอกตัวเอง เราจะมัน่ ใจในการสือ่ สารออกไป ไม่วา่ จะวาดรูปด้วยอะไร วาดสีนำ�้ วาดด้วยปากกาพิกม่า วาดด้วยจะเมาส์ปากกา สีน�้ำมัน กระดาษคอลลาจ หนังสือพิมพ์ ถ่ายรูปแล้วเอา มาแปะ แต่สิ่งที่เป็นเรา คือ เรื่องราวที่อยู่ในนั้น” หากเป็นยุคก่อน ค�ำว่านักวาดภาพประกอบอาจจะหมายถึงการวาดภาพให้เข้ากับคอลัมน์ในหน้าหนังสือ อ่านเรื่องจบแล้วท�ำภาพประกอบ แต่ทุกวันนี้ นักวาดภาพประกอบไปได้ไกลกว่านั้น เมื่อเอ่ยถึงนักวาด ภาพประกอบที่ชอบ เธอยกตัวอย่างคาแรกเตอร์ ‘มะม่วงจัง’ ของพี่ตั้ม-วิศุทธิ์ พรนิมิตร ที่เหนือกว่าวาด ภาพประกอบไปแล้ว นั่นเพราะงานของตั้มมี story ของภาพประกอบนั้นๆ สาวน้อยมะม่วงจัง จะเล่าเรื่อง ด้วยตัวเอง หรือแม้แต่หนึ่งประโยคที่ท�ำให้คนได้ยิ้ม นี่แหละคือความใหม่ในงาน “สิ่งหนึ่งที่พิมได้หลังจากกลับอังกฤษ คือเรารู้ว่าเราชอบอะไรและไม่ชอบอะไรเท่านั้นเอง นี่คือสิ่งที่ท�ำให้ งานของเราแตกต่างจากคนอื่น ไม่ใช่เรื่องความเก่งหรือไม่เก่ง ความสวยหรือไม่สวย” นี่คือสิ่งที่เธออยาก จะบอกถึงนักศึกษารุ่นใหม่ๆ ทุกคน นั่นคือการรู้จักสิ่งที่อยู่ภายในของตัวเองให้ได้ “แต่ละปีมีเด็กจบศิลปะเยอะมาก แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายมากที่ทุกคนท�ำพอร์ตโฟลิโอเหมือนกันหมด ทุกคน ทัง้ การวางภาพ ทัง้ สไตล์ พิมดูแล้วสามารถรูไ้ ด้เลยว่าน้องมาจากมหาวิทยาลัยไหน และถ้าพิมจะรับ เด็กฝึกงานสักคน พิมจะดูทสี่ มุดสเกตช์ของเขา เคยมีนอ้ งคนหนึง่ พอร์ตเป็นแบบหนึง่ แต่สมุดสเกตช์เป็น อีกแบบหนึ่ง ดาร์กมาก ชัดเจน เราเลยถามเขาว่า ท�ำไมไม่วาดแบบนี้ เขาบอก เพราะครูไม่ชอบ… “พิมอยากจะบอกน้องๆ เหล่านั้นเลยว่า ขอแค่ให้เรารู้ว่าเราท�ำอะไร มีลายเซ็นอย่างไร ใครชอบไม่ชอบ ก็เรือ่ งของเขา แต่ทกุ ก้าวเราอยากเห็นตัวเองในแบบไหน ถ้ารูว้ า่ ชอบวาดรูป แต่ไม่ร้วู า่ จะท�ำอย่างไรต่อ ก็ ขอให้วาดต่อไปอย่างนั้นแหละ แล้ววันหนึ่งก็จะรู้เองว่าต้องท�ำอะไร แค่อย่าหยุดท�ำเฉยๆ” ในฐานะคนท�ำภาพประกอบ เธอใฝ่ฝันว่า คงจะดีที่สุด ถ้าได้ออกแบบสวนสนุกในแบบ Teaspoon และ เร็วๆ นี้ เตรียมผุดโปรเจ็กต์ใหม่ คือการร่วมออกแบบแบรนด์ไอศกรีมไทยแบรนด์หนึ่ง โดยมีโจทย์ชวน สนุกว่า “ร้านไอติมพี่ต้องสวย ไม่ซื้อไม่เป็นไร แต่คนซื้อต้องได้อะไรกลับไป ออกแบบอย่างไรก็ได้ ขอให้ ออกมาเหมือนนิทรรศการของพิมก็พอ” ครบหนึง่ ชัว่ โมงทีเ่ ธอนัง่ พูดคุยกับเรา ก่อนจะขอตัวไปเช็กผลงานล่าสุดจากโรงพิมพ์ทเี่ พิง่ มาถึงสตูดโิ อ นัน่ คือลายเส้นของเธอจะกลายเป็นวอลล์เปเปอร์ของบ้านใครสักคน นี่แหละคือความหลากหลายที่แสนสนุก ที่บรรจุอยู่ในสตูดิโอแห่งนี้

-27-


: it เรื่อง umsan D ok chan

Pim

n o i n i p o

Gang Cartoon การ์ตูนไทยในใจฉัน การ์ตูนเป็นเพื่อนสนิทกับพวกเรามาตั้งแต่เด็ก นิทานเล่มแรกของทุกคนล้วนมีภาพประกอบสีลูกกวาดคอยกล่อม เราให้นอนหลับทุกคืน หนังสือเล่มแรกในห้องสมุดทีเ่ ราหยิบ บางคน เลือกหยิบเพราะภาพประกอบสวย อ่านได้ไม่รู้เบื่อ เชื่อเถอะว่า นอกจากต�ำราเรียน เรายังมีการ์ตูนที่อ่านในวัยเด็ก ช่วยสร้าง จินตนาการ ความฝัน เป็นอีกโลกหนึ่งของเราและเป็นเพื่อนสนิท ที่ไม่หนีไปไหน Muse ฉบับนี้ชวนคนอ่านหยิบคาแรกเตอร์ภาพวาดประกอบของ นักวาดคนโปรด ไปจนถึงการ์ตูนเล่มโปรดสมัยเด็กลงมาจากชั้น หนังสืออีกครั้ง

-28-


โจ้ ปันปัน-ปัณฑร กองตาพันธ์ อายุ 21 ปี นักศึกษา การ์ตูนที่ชอบ อ่านขายหัวเราะตั้งแต่เด็กๆ แม่จะซื้อนิตยสารหญิงไทย ส่วนเราจะร้องเอา ขายหัวเราะ พอโตมาไม่ได้อ่านขายหัวเราะเท่าไร พอไปเดินงานสัปดาห์หนังสือ เจอถัว่ งอกกับหัวไฟ ของทรงศีล ทิวสมบูรณ์ เห็นหน้าปกสวยดีเลยซือ้ มาอ่าน อ่าน แล้วก็ติดตามว่าเมื่อไรจะออกเล่มใหม่ตลอดเลย การ์ตูนไทยที่ชวนให้นึกถึงวัยเด็ก เรื่องปังปอนด์ เด็กผมสามเส้น ท�ำอะไรฮาๆ อ่านปังปอนด์แล้วนึกถึงสพันจ์บ็อบ หรือทอมแอนด์เจอรี่ ถ้านึกถึงนักวาดภาพการ์ตูนไทยจะนึกถึงใคร เพราะอะไรถึงชอบผลงาน ของนักวาดคนนี้ ลุงต่ายแห่งขายหัวเราะ เขียนการ์ตนู ปังปอนด์ แล้วก็เขียนแก๊กในขายหัวเราะด้วย ลายมือเป็นเอกลักษณ์ เราอ่านบ่อยจนลายมือเราคล้ายกับลุงเลย อยากเห็นงานวาดภาพประกอบของไทยไปอยู่ที่ไหนบ้าง อยากให้ปังปอนด์ไปอยู่ในการ์ตูนมาเวล ไปกวนไอรอนแมนดูสักตั้ง

เฟรช-ปิติสุข โลเกศกระวี อายุ 21 ปี นักศึกษา การ์ตูนที่ชอบ ONE-PIECE ถ้านึกถึงนักวาดภาพการ์ตูนไทยจะนึกถึงใคร เพราะอะไรถึงชอบผลงาน ของนักวาดคนนี้ The Duang (เดอะดวง) TUNA Dunn และ สเลดทอย เพราะ The Duang เขียน แนวทีเ่ อาแต่ละเรือ่ งมาประกอบกัน และเฉลยตอนจบได้อย่างน่าแปลกใจ และงาน วาดของเขาสวยดี ส่วน TUNA Dunn ชอบลายเส้นที่เหมือนการ์ตูนฝรั่ง เรียบง่าย แต่มีความดึงดูด มักชอบเขียนเกี่ยวกับมุมมองความรัก ความสัมพันธ์ ซึ่งมุมมอง ของเขาน่าสนใจ และดูเป็นคนที่เข้าใจในเรื่องความสัมพันธ์ ส่วนสเลดทอย ลาย เส้นเขามีความกวนๆ สนุกสนาน เคยอ่านงานเขาแล้วตลก กวนดี อยากเห็นงานวาดภาพประกอบของไทยไปอยู่ที่ไหนบ้าง เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และวงการแฟชั่นระดับโลก -29-


ซัง-นิรดา หวัง อายุ 21 ปี นักศึกษา/นักเรียนศิลปะ การ์ตูนที่ชอบ เรื่องโปรดตอนนี้คือ Gintama เพราะเนื้อเรื่องน่าสนใจและลายเส้น สวย การ์ตูนไทยที่ชวนให้นึกถึงวัยเด็ก ขายหัวเราะและมหาสนุก อ่านตัง้ แต่เริม่ อ่านหนังสือออก ท�ำให้ได้ฝกึ ภาษาและเป็นแรงบันดาลใจให้เริ่มหัดวาดภาพ เคยลองวาดการ์ตูน เป็นช่องๆ แบบในหนังสือตามเขา ถ้านึกถึงนักวาดภาพการ์ตูนไทยจะนึกถึงใคร เพราะอะไรถึง ชอบผลงานของนักวาดคนนี้ นึกถึงพี่เฟน สตูดิโอ ที่วาดลงมหาสนุก ชอบที่เขาวาดสวย และวาด เป็นเรื่องยาวๆ น่าติดตาม มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง อยากเห็นงานวาดภาพประกอบของไทยไปอยู่ที่ไหนบ้าง ในนิตยสารหรือพิพิธภัณฑ์ศิลปะของต่างประเทศ

ป่าน-กตัญญู หลิมรัตน์ อายุ 22 ปี นักศึกษา การ์ตูนที่ชอบ One-Punch Man ไซตามะ เทพบุตรหมัดเดียวจอด เพราะตัวเอก หัวล้านและเก่งมาก การ์ตูนไทยที่ชวนให้นึกถึงวัยเด็ก ถั่วงอกและหัวไฟ เพราะเป็นจุดเปลี่ยนในการด�ำเนินชีวิต ความคิด ต่างๆ มาจากเล่มนี้ ถ้านึกถึงนักวาดภาพการ์ตูนไทยจะนึกถึงใคร เพราะอะไรถึง ชอบผลงานของนักวาดคนนี้ ทรงศีล ทิวสมบูรณ์ เพราะว่าเขามีแนวคิดที่แปลกจากศิลปินคนอื่น และลายเส้นที่ไม่เหมือนใคร การถ่ายทอดที่เป็นเชิงปรัชญา อยากเห็นงานวาดภาพประกอบของไทยไปอยู่ท่ีไหนบ้าง อยู่บนเสื้อ บนก�ำแพง บนตึก บนของเล่น

-30-


ใหม่-เพ็ญพิสุทธิ์ เจริญสุข อายุ 21 ปี นักศึกษา การ์ตูนที่ชอบ ปกติอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น ชอบเป็นพิเศษก็เรื่อง ONE-PIECE การ์ตูนไทยที่ชวนให้นึกถึงวัยเด็ก นิตยสารเพือ่ นรัก เนือ้ หาข้างในมีการ์ตนู เรือ่ งกัลปังหา นิทานกวนๆ ประกวดระบายสี โตมาหน่อยช่วงประถมก็ชอบหนังสือเรื่อง บอย ของ ว.แหวน สนพ. ใยไหม เด็กๆ ทึ่งและรู้สึกว่า เฮ้ย... ท�ำไมตัว ละครในเรื่องเหมือนชีวิตจริงเรามาก ถ้านึกถึงนักวาดภาพการ์ตูนไทยจะนึกถึงใคร เพราะอะไรถึง ชอบงานของนักวาดคนนี้ The Duang (เดอะดวง) ลายเส้นสวย แต่ละเรื่องของเขาดูสะท้อน สังคม ไม่โลกสวย อยากเห็นงานวาดภาพประกอบของไทยไปอยู่ที่ไหนบ้าง บนปกแฮร์รี่ พอตเตอร์ คนเห็นทั้งโลก จริงๆ ถ้าไปอยู่บนสิ่งของ เครื่องใช้ก็เก๋ดีนะ เช่น รองเท้าผ้าใบ Vans ลายน้องมะม่วง

มิ้น-มินตรา ปันปลูก อายุ 27 ปี พนักงานบริษัท การ์ตูนที่ชอบ Kimi ni Todoke ฝากใจไปถึงเธอ กับ Kakanai Mangaka นัก (ไม่) วาดการ์ตูน การ์ตูนไทยที่ชวนให้นึกถึงวัยเด็ก หนูหิ่นอินเตอร์ ตอนเด็กๆ ชอบอ่านมาก ถ้านึกถึงนักวาดภาพการ์ตูนไทยจะนึกถึงใคร เพราะอะไรถึง ชอบงานของนักวาดคนนี้ I C E วาดลายเส้นสีน�้ำได้น่ารักมาก จ๊อด 8 ริ้ว ลายเส้นกวน วาด เสียดสีสังคมสุดๆ พี่เอ๊าะ วาดหนูหิ่นอินเตอร์สนุกมาก ชอบวาด ผู้หญิงหุ่นอวบอึ๋ม อยากเห็นงานวาดภาพประกอบของไทยไปอยู่ที่ไหนบ้าง เป็ น เฟอร์ นิ เ จอร์ ยิ่ ง เป็ น ของนั ก เขี ย นคนที่ ช อบ จะซื้ อ มาแต่ ง ห้องนอนหรือเป็นวอลล์เปเปอร์แต่งห้องก็สวยดี

-31-


กรวิชญ์ สุนทรารชุนวิช อายุ 21 ปี นักศึกษา การ์ตูนที่ชอบ Nine Lives, Once Upon a Sometimes ของ ทรงศีล ทิวสมบุญ ที่ชอบคือลายเส้น ภาพแต่ละหน้าเราสามารถเอามาใส่กรอบแต่ง บ้านได้เลยจริงๆ นะ การ์ตูนไทยที่ชวนให้นึกถึงวัยเด็ก หนั ง สื อ การ์ ตู น วรรณคดี ไ ทย พระอภั ย มณี รามเกี ย รติ์ ของ ส�ำนักพิมพ์สกายบุค๊ ส์ ตอนนัน้ เด็กๆ เพิง่ ไปงานหนังสือครัง้ แรก แม่ ซื้อให้ เล่มมันหนาอยู่นะ ผมอ่านก่อนนอนทุกวันจนจบ ถ้านึกถึงนักวาดภาพการ์ตูนไทยจะนึกถึงใคร เพราะอะไรถึง ชอบงานของนักวาดคนนี้ วีระชัย ดวงพลา เป็นการ์ตูนไทยแนวใหม่ที่ได้อ่านเรื่องแรกก่อน ของทรงศีลอีก เรื่อง shockolate ที่เนื้อหา ลายเส้นดิบดุ ไม่เคย เจอแบบนี้มาก่อน อยากเห็นงานวาดภาพประกอบของไทยไปอยู่ที่ไหนบ้าง สื่อทั่วไปในชีวิตประจ�ำวัน เหมือนที่ญี่ปุ่น ไม่ว่าจะท�ำอะไรก็จะมีตัว การ์ตนู แม้แต่ในชุมชนแต่ละทีก่ ย็ งั มีตวั ละครทีเ่ ป็นตัวแทนของทีน่ นั่ น�้ำผึ้ง-ผจงรักษ์ ซ�ำเจริญ อายุ 23 ปี นักศึกษา การ์ตูนที่ชอบ ชอบอ่านหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นหรือมังงะอย่างยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (อ่านมาตั้งแต่สมัยประถม) การ์ตูนไทยที่ชวนให้นึกถึงวัยเด็ก การ์ตนู ขายหัวเราะกับหนังสือการ์ตนู ผีเล่มละบาทห้าบาท เพือ่ นแอบ เอามาอ่านที่ห้อง เราเห็นเพื่อนอ่านเลยขออ่านบ้าง ปรากฏว่าติดใจ ต้องไปหามาอ่านต่อ ไปยืนอ่านฟรีใน 7-11 ก็มี ถ้านึกถึงนักวาดภาพการ์ตูนไทยจะนึกถึงใคร เพราะอะไรถึง ชอบงานของนักวาดคนนี้ ต่าย ขายหัวเราะ กับ ทรงศีล ทิวสมบุญ งานของพีต่ า่ ยมีเอกลักษณ์ ลายเส้นเรียบง่าย บทสนทนาของตัวละครอ่านง่ายสามารถเข้าถึงได้ ทุกเพศทุกวัย ส่วนงานของพี่ทรงศีล เราชอบทั้งลายเส้นและเนื้อหา รู้สึกงานของเขาดูดิบ โหด และเป็นเอกลักษณ์ อยากเห็นงานวาดภาพประกอบของไทยไปอยู่ที่ไหนบ้าง ตามท้องถนน ตามตึก บ้านเรือน อารมณ์แบบสตรีตอาร์ต -32-


ปุ้ย-ศุภณัฐ ครอง อายุ 23 ปี นักศึกษา การ์ตูนไทยที่ชวนให้นึกถึงวัยเด็ก อภัยมณีซาก้า ที่เค้าโครงเรื่องจากวรรณคดีไทยสุนทรภู่ ผู้เขียนคือ คุณสุพจน์ อนวัชกชกร ความรู้สึกตอนอ่านก็คงเป็นความตื่นเต้น ของการน�ำพระอภัยมณีมาตีความใหม่มากกว่า ส่วนอีกเรือ่ งทีน่ กึ ถึง ได้ก็เป็น Executional ของ คุณภานุวัฒน์ วัฒนนุกูล ที่เขียนเรื่อง จากการจ�ำลองเกมออนไลน์ในอนาคต ตัวเอกเอาตัวรอดไปได้แบบ ฉิวเฉียดในทุกเรื่อง ถ้านึกถึงนักวาดภาพการ์ตูนไทยจะนึกถึงใคร เพราะอะไรถึง ชอบงานของนักวาดคนนี้ มาสเตอร์พซี จริงๆ ก็งานวาดการ์ดเกม Summoner Master ของทีม Phenomenon Party ที่วาดออกมาได้อย่างสุดยอดมาก เรียกได้ว่า เป็นงานวิจิตรศิลป์เลยก็ว่าได้ อยากเห็นงานวาดภาพประกอบของไทยไปอยู่ที่ไหนบ้าง อยูต่ า่ งชาติมากกว่าครับ อย่างเช่น งานศิลปะในเกมส่วนฟอร์มยักษ์ เช่น Call of Duty, Resident Evil และ Dead Space ที่มีรายชื่อ คนไทยอยู่ในส่วนหนึ่งของทีมออกแบบ เจ๋งมากๆ

หมิว-โสรยา อัครเดชาวุธ อายุ 27 ปี ท�ำงานอิสระ การ์ตูนไทยที่ชวนให้นึกถึงวัยเด็ก ไม่มี แต่ถ้านึกถึงคาแรกเตอร์ของตัวการ์ตูนจะนึกถึงรายการ เจ้า ขุนทอง อินมาก ต้องรีบตื่นแต่เช้ามาดู ถ้านึกถึงนักวาดภาพการ์ตูนไทยจะนึกถึงใคร เพราะอะไรถึง ชอบงานของนักวาดคนนี้ ‘มุนินฺ’ ข้อความน้อยแต่สื่อด้วยภาพได้ดีมาก ซึ้ง ‘The Duang’ ช่วง หลังๆ กับเพจท�ำไมธรรมะ ชื่นชมในการท�ำงานทั้งส่วนตัวและเพื่อ สังคม ‘ตัม้ -วิศทุ ธิ์ พรนิมติ ร’ น้องมะม่วง นักวาดภาพระดับแนวหน้า ของคนไทย ชอบการสื่อสารที่แสดงออกมา อบอุ่น เข้าใจง่าย ‘จ๊อด 8 ริ้ว’ คนนี้วาดเรื่องราวได้เจ็บแสบตลอด อยากเห็นงานวาดภาพประกอบของไทยไปอยู่ที่ไหนบ้าง อยากให้อยู่ในทุกที่ ในชีวิตประจ�ำวัน เพราะถ้าภาพวาดได้อยู่ในที่ สาธารณะ คนไทยก็จะมีทศั นคติตอ่ การวาดภาพหรือเสพงานศิลปะ ได้ทุกที่ ทุกเวลา -33-


arita

:S เรื่อง

d r a w for

Buppha Arigato หิมะขาว กับสีแดงแห่งเลือด

ieดู v o M นังน่า ห

ต้อม-ยุทธเลิศ สิปปภาค ชุบชีวิตภาพยนตร์สยองโรแมนติกระดับ ต�ำนานให้กลับมาโลดแล่นอีกครั้ง กับเรื่องราวความรักสุดสะพรึงที่ ด�ำเนินผ่านแบ็กกราวนด์ที่หนาวสั่นของหิมะขาวโพลนที่พร้อมเสียด แทงความกลัวให้ดำ� ดิง่ ลึกลงกว่าเคย ภายใต้การน�ำของตัวละครหลักที่ คุณคุน้ เคย ผีบปุ ผาราตรีคนใหม่อย่าง เก้า-สุภสั สรา ธนชาต ทีม่ าสวม บทบาท ‘โรส’ สาวสวยที่เพียบพร้อมในทุกๆ ด้าน อ่อนหวาน น่ารัก กระทั่งถูกแฟนหนุ่มนอกใจ สาวน้อยใจดีกลับแปรเป็นฆาตกรโหดได้ ในชัว่ วูบ โรสหนีการจับกุมไปอยูป่ ระเทศญีป่ นุ่ ในบ้านเช่าทีต่ อ่ มาเหล่า แก๊งเด็กซนจากแฟนฉันอย่าง แน็ก แจ็ค หยก ออฟ อ๋อง และเก็ท เข้า มาพักเพื่อถ่ายท�ำเอ็มวีในราคาประหยัด จากนั้นเรื่องราวขนหัวลุกเกิน คาดเดาตามแบบฉบับบุปผาราตรีก็เริ่มต้นขึ้น ก�ำหนดฉาย : 12 เมษายน 2559

X-Men: Apocalypse

หลังจากทิ้งท้ายไว้อย่างงดงามในเอนด์เครดิตของภาคที่แล้ว X-Men: Days of Future Past เหล่าสาวกเอ็กซ์เมนก็อดรนทนรอกันแทบไม่ ไหว กระทั่งปลายปีที่ผ่านมาก็มีชุดภาพนิ่งและตัวอย่างที่ยิ่งรบเร้าเพิ่ม ความอยากดูให้มากเป็นทวีคูณ ในที่สุดเราจะได้พบกับ อะโพคาลิปส์ (Oscar Isaac) มนุษย์กลายพันธุค์ นแรกและมีพลังอ�ำนาจมากทีส่ ดุ ใน จักรวาล X-Men เพราะสะสมพลังพิเศษของมนุษย์กลายพันธุ์คนอื่นๆ เอาไว้ ท�ำให้เขาเป็นอมตะและคงกระพัน หลังตื่นขึ้นจากการหลับใหลหลายพันปี เขารวบรวมเหล่ามนุษย์กลาย พันธุ์ทรงอ�ำนาจรวมทั้งแม็กนีโต (Michael Fassbender) มาเป็น มือขวาเพื่อช่วยเขาสร้างโลกใหม่ขึ้นมา โลกที่เขาจะเป็นผู้ปกครอง อย่างเบ็ดเสร็จ ภาคนี้เราจึงได้พบตัวละครใหม่อย่าง เรเวน (Jennifer Lawrence) ทีเ่ คยได้รบั ความช่วยเหลือจากศาสตราจารย์เอ็กซ์ (James McAvoy) มาสวมบทฮีโร่สาวน�ำทีม X-Men รุ่นเยาว์ เพื่อต่อกรกับ ศัตรูที่ร้ายกาจที่สุด และช่วยเหลือมนุษย์โลกจากการถูกล้างเผ่าพันธุ์ ก�ำหนดฉาย : 19 พฤษภาคม 2559 -34-


k ่าน o o b ชวนอ ือ

หนังส

The Lunch Box:

Spring-Summer 2016/Coffee Cities

โดย polkadotlover ราคา 395 บาท/ส�ำนักพิมพ์ polkadot กลับมาเป็นฤดูกาลที่ 3 หนังสือรายฤดูกาลกับเรื่องราวเล็กๆ จาก ทุกมุมโลกที่รับประกันผลข้างเคียงท�ำให้หัวใจพองโต พร้อมออก เดินทางกับบรรยากาศอบอุน่ ของฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูรอ้ น ชวนทุกคนไป จิบกาแฟร้อนๆ พร้อมพูดคุยกับบาริสต้ามากความสามารถประจ�ำ คาเฟ่นา่ นัง่ จากเมืองกาแฟทัว่ โลก อาทิ คาเฟ่ไซส์จวิ๋ ทีเ่ น้นขายกาแฟ คู่กับคัพเค้กที่โตเกียว คาเฟ่บรรยากาศดีริมชายทะเลฮาวาย คาเฟ่ มาดขรึมจากบาริสต้าดีกรีแชมป์ที่ไทเป คาเฟ่ที่เอดินบะระที่มี บาริสต้าผู้เชี่ยวชาญที่สามารถวัดอุณหภูมิได้ด้วยการฟังเสียงสตีม นม และอีกหลายคาเฟ่สุดจริงจังทั่วโลกที่น่าไปลองจิบกาแฟแกล้ม บทสนทนาน่าสนใจจากเหล่าบาริสต้าเสียจริงๆ วางจ�ำหน่ายที่ร้านหนังสือชั้นน�ำทั่วประเทศ

How to Be Happy

(Or at Least Less Sad): A Creative Workbook

โดย Lee Crutchley นี่คือ Workbook หรือแบบฝึกหัดการบ้านสุดสร้างสรรค์ที่ช่วยให้ คุณมีความสุขกับตัวเองและชีวิตรอบตัว ในรูปแบบที่ไม่ใช่สไตล์ how-to แต่อย่างใด หากแต่อัดแน่นไปด้วยค�ำถามปลายเปิดให้คุณ ได้เขียนด้วยจินตนาการ และความรู้สึกของตัวเองลงไปตามใจชอบ มีแบบฝึกหัดแบบที่เขียนไว้ว่า Make a Collage of Worries และ Make a Collage of Calm ให้คุณได้เรียนรู้ตัวเองว่าความกังวลใจ ของคุณมีอะไรบ้าง และอะไรกันที่ช่วยให้คุณรู้สึกสงบผ่อนคลาย ลองสละเวลาก่อนนอน ท�ำแบบฝึกหัดเล่มนี้อย่างเป็นประจ�ำจนจบ มัน่ ใจว่าจะช่วยเปิดมุมมองและเปลีย่ นวิธที คี่ ณ ุ มองโลกได้มากทีเดียว

-35-


hot b we เกรี้ยวกราดอย่างนุ่มนวล

ไอซ์-รัตตา อนันต์ภาดา (Ise Ratta Ananphada) ท�ำงานภาพ ประกอบมาตัง้ แต่ปี 2008 เริม่ ต้นจากการรักการวาดรูป และไล่ตาม ความฝันของการเป็นนักวาดประกอบมืออาชีพด้วยการเก็บสะสม งานทีว่ าดเล่นแล้วส่งไปตามนิตยสารต่างๆ ทีอ่ ยากร่วมงานด้วย เวลา ผ่านไป ลูกค้าหลายๆ รายเข้ามา ยิ่งได้ท�ำงานที่หลากหลายมากขึ้น ลายเส้นของไอซ์ก็ชัดเจนมากขึ้นตามล�ำดับ

BEAR School of Visual Specialist

ผลงานชิ้นแรก

www.beartheschool.com

ติดตามชมงานอัพเดตทุกๆ ขั้นตอนได้ที่ iseanan.tumblr.com และ www.behance.net/ISEDieeis แหล่งรวมผลงานของเธอ

“งานชิน้ แรกทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั น่าจะเป็นชิน้ ทีว่ าดปกให้หนังสือ ‘CG+’ และ งานคอมเมอร์เชียล ทีท่ ำ� เป็นงานแรกคืองานปฏิทนิ ของ SINGHA ปี 2011 ชิ้นงานเด่นๆ ก็มี ADIDAS Library chairs painting, The มาท� ำ ความรู ้ จั ก กั บ โรงเรี ย นส� ำ หรั บ นั ก ออกแบบวิ ช วลอาร์ ต ใน New World (Tiger Translate 2010, Hello Bangkok & Thai อุดมคติทมี่ อี ยูจ่ ริง ก่อตัง้ ขึน้ จากการผนึกก�ำลังของเหล่าวิชวลกราฟิก Airways calendar 2015)” ไอคอนจากอุตสาหกรรมโทรทัศน์ โฆษณา มิวสิกวิดีโอ และวิชวล ดีไซเนอร์แถวหน้าของประเทศไทยที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งใน สไตล์งาน ระดับประเทศและระดับโลก ด้วยวิธีการสอนที่ให้ความส�ำคัญกับ “เริ่มแรกจะชอบวาดพอร์เทรตผู้หญิง และชอบสีหน้าแววตาที่ ทุกรายละเอียด ไม่ใช่แค่การสอนแบบหน้าที่ เปิดเผยและตีแผ่ใน แสดงออกมาให้เห็นถึงความซับซ้อนทางอารมณ์ของเพศหญิง แต่ เชิงลึก ดั่งค�ำว่า ‘แบ’ ที่แปลว่า กางออก ที่เหมือนกับการเปิดเผย งานช่วงหลังจะไม่ได้เน้นไปที่ความเป็นเฟมินินเท่าช่วงแรก ส่วน แบไต๋ ถ่ายทอดความรู้ที่บ่มเพาะมาจากประสบการณ์ของผู้สอนให้ สไตล์งานเป็นแนว maximum element เช่นเดียวกันกับการใช้ เห็นทุกขั้นทุกตอนของการท�ำงานของแท้ที่ไม่ได้มีแค่ในต�ำราเรียน สีสนั ที่หลากหลายในงาน แต่ทั้งหมดทั้งมวลยังคงมีความ harmony อยู่ในตัว” ANIMATION COURSE คือคอร์สเรียนล่าสุดที่คุณจะได้เรียนรู้ พื้นฐานการสร้างงานแอนิเมชั่นผ่านเทคนิคต่างๆ ตั้งแต่การวาด แรงบันดาลใจ Frame by Frame, Cut out Animation ไปจนถึงการประยุกต์เข้าสู่ “มาจากงานศิลปะของศิลปินต่างประเทศหลายคน นอกจากนี้ Digital Animation เบื้องต้น เพื่อสร้างสรรค์งานภาพเคลื่อนไหวที่มี ภาพถ่าย การ์ตูน เกม เพลง ภาพยนตร์ ทั้งหมดทั้งมวลก็สามารถ เอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ในวันที่ 7 พฤษภาคม–25 มิถนุ ายน 2016 สร้างแรงกระตุ้นให้อยากท�ำงานด้วยเช่นกัน”

-36-


Omnivoyeur

art

เสียงจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและงานทัศนศิลป์

จัดแสดงที่ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7 หอศิลป์กรุงเทพฯ วันที่ 1 เมษายน-10 กรกฎาคม 2559 ชมผลงานของสองศิลปิน ที่แสดงออกอย่างแตกต่างแต่เชื่อมโยง สัมพันธ์กนั อย่างใกล้ชดิ คริสตินา่ คูบชิ ศิลปินทางด้านเสียง และ มิติ เรืองกฤตยา ศิลปินไทยผู้ช�ำนาญทางด้านภาพถ่าย ส�ำรวจเรื่องราว ของพื้นที่ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ การท่องเดินในเมืองของ คริสติน่า คูบิช น�ำทางผู้ชมด้วยแผนที่และหูฟังที่ออกแบบมาพิเศษ เพือ่ ดักฟังเสียงคลืน่ แม่เหล็กไฟฟ้าทีไ่ ม่สามารถได้ยนิ ในเวลาปกติ ใน ขณะที่มิติ เรืองกฤตยา บันทึกสิ่งที่สังเกตเห็นในเมืองด้วยการถ่าย ภาพ ดึงเวลาในการรับรูถ้ งึ ชีวติ ทีเ่ ร่งรีบในเมือง สะท้อนความคิดของ เราต่อมีเดียที่แฝงอยู่ทุกที่ ตามสภาพแวดล้อมในยุคแห่งเทคโนโลยี งานของทั้งสองศิลปินสังเคราะห์เข้าด้วยกันในพื้นที่นิทรรศการ ทั้ง การแสดงออกของเสียง และการแปลความทางการมองเห็นสร้าง เป็นเวทีเพื่อส�ำรวจความเป็นไปได้ในประสบการณ์ของมนุษย์ จาก จัดแสดงที่ sora city gallery ซอยสุขุมวิท 26 ที่ผู้ชมถูกรวบรวมให้เป็นส่วนหนึ่งของผลงาน วันที่ 2 เมษายน-31 พฤษภาคม 2559 www.bacc.or.th sora city ร่วมกับ Cultured Creatures เปิดโอกาสให้คนทั่วไป เช่นคุณได้มีนิทรรศการของตัวเองเป็นครั้งแรก! ให้คนรักการเดิน ทางได้แบ่งปันประสบการณ์ เพื่อเฟ้นหาคนมาร่วมแสดงผลงานใน นิทรรศการภาพถ่ายท่องเที่ยวสื่อผสมครั้งแรก

sound i saw

sound i saw บอกเล่าเรื่องราวการเดินทางของคุณผ่าน ‘ภาพ’ และ ‘เสียง’ ด้วยการส่งผลงานเข้ามาประกวด โดยผลงาน 10 ชิน้ ทีด่ ที สี่ ดุ จะถูกน�ำไปอัดขยายใส่กรอบเพื่อจัดแสดงในนิทรรศการ

Sundae Kids

www.soracity.bike

สาวน้อยคนไทย เจ้าของลายเส้นงานภาพประกอบน่า (ชวนให้) รัก เพราะเป็นคนที่ใช้ชีวิตวนเวียนกับอาหารการกินตลอด เรื่องกินจึง ถือเป็นเรื่องใหญ่ (มาก) เมื่อมีผลงานประกอบเป็นของตัวเอง จึง ไม่มีอะไรจะเหมาะไปกว่าค�ำว่า Sundae Kids ที่บ่งบอกไลฟ์สไตล์ งานแบบ ‘เด็กน้อยนั่งกินไอศกรีมซันเด’ พบช่องการ์ตูนสั้นๆ ที่หยิบยกเอาความคิดมากมายรอบๆ ตัว ระบายออกมาด้วยการวาดรูป ลายเส้นเรียบง่ายทว่าแปลกตา เป็น ภาพทีด่ แู ล้วก็รสู้ กึ แฮปปีไ้ ปด้วย อารมณ์เหมือนเวลาได้มองเด็กอ้วน นั่งกินไอศกรีมแบบนั้นเลย www.facebook.com/sundaekidsillustration -37-

hogt e pa


พ: ละภา ิการ แ ง ื อ ่ เร รณาธ บร กอง

n

i k c e ch

หากลองสังเกตสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจ�ำวัน เราอาจพบ ‘พม่า’ อย่าง ใกล้ชิดมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ค่ายโทรศัพท์มือถือออก ‘ซิม’ และ โปรโมชั่นเฉพาะส�ำหรับชาวพม่า ร้านค้า-สถานที่ต่างๆ ในหลาย ย่าน ติดประกาศเป็นภาษาพม่า ไม่ว่าจะเป็นร้านทองค�ำ โชว์รูม จ�ำหน่ายรถยนต์ ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล รถสองแถว ฯลฯ หรือแม้แต่ในวัดก็ยงั ต้องมีศาสนสถานทีแ่ สดงถึงความเป็นพม่าอย่าง เด่นชัด เช่น เจดีย์ชเวดากองจ�ำลอง ในวัดย่านมหาชัย เป็นต้น โดย ชีวิตประจ�ำวันของคนไทยเริ่มมีคนพม่าเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยมากขึ้น โดยไม่รู้ตัว

ประจวบกับย้อนกลับไป มอง ‘พม่า’ เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มี ความสัมพันธ์กับไทยในมิติต่างๆ มาอย่างยาวนาน โดยเคยเป็นคู่ ปรับด้วยมายาคติทางประวัตศิ าสตร์ ประกอบกับปัจจุบนั มีประชากร จากพม่านับล้านคนเข้ามาเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะปรากฏการณ์แรงงานต่างด้าวชาว ‘พม่า’ ทีห่ ลัง่ ไหลเข้ามา ท�ำงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2539 ที่เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่าง เด่นชัด ท�ำให้ชาวพม่ามีส่วนส�ำคัญในภาคเศรษฐกิจไทยอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะกิจการด้านประมงและรับเหมาก่อสร้าง

-38-


แนวคิด

Guest | Guess | Guest’s House

Guest คือ นิยามของชาวพม่า ที่ทันสมัยที่สุดส�ำหรับสถานการณ์ ของประเทศไทยในปัจจุบัน กล่าวคือ รัฐบาลไทยได้ท�ำ MOU เพื่อ เชื้อเชิญชาวพม่าให้เข้ามาท�ำงานในประเทศไทย House คือ สิ่งที่คนไทยมักใช้เปรียบเทียบกับประเทศของตน

จากสถิติของกระทรวงแรงงานในปี พ.ศ. 2553 พบว่ามีแรงงาน ต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายราว 1.3 ล้านคน ในจ�ำนวนนี้ ร้อยละ 82 เป็นชาวพม่า เท่ากับว่าราว 1 ล้านคน ของแรงงาน เหล่านี้เป็นชาวพม่า แต่จากข้อมูลเชิงลึก พบว่านอกจากแรงงาน ขึ้นทะเบียน ยังมีแรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายหลบ ซ่อนตัวท�ำงานในไทยอีกเป็นจ�ำนวนมากที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ น่าสังเกตว่า ความเข้าใจของคนไทยต่อชาวพม่าในไทยยังมีจ�ำกัด ขณะที่การเพิ่มขึ้นของแรงงานชาวพม่ายังมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ การท�ำความเข้าใจชาวพม่าในประเทศอย่างลึกซึ้ง ทั้งในเรื่องชีวิต ความเป็นอยู่ ความใฝ่ฝัน การปรับตัวต่อสังคมไทย จึงเป็นสิ่ง จ�ำเป็นส�ำหรับการอยู่ร่วมกันบนฐานของความสร้างสรรค์และความ เคารพซึ่งกัน

ดังนั้น Guest + House จึงหมายถึง บ้านที่มีแขกที่ได้รับเชิญให้เข้า มาอยู่ในบ้าน ขณะเดียวกัน Guest House ก็เป็นพื้นที่ทางสังคม รูปแบบหนึ่งที่สมาชิกพร้อมที่จะเรียนรู้วัฒนธรรมของคนที่ไม่เคย รูจ้ กั กันมาก่อน เพือ่ เพิม่ พูนประสบการณ์ของตน และค้นหาค�ำตอบ บางอย่างให้กับชีวิต ขณะที่ Guess คือการคาดเดา ซึง่ ค�ำตอบทีไ่ ด้มกั มาจากความเข้าใจ หรืออคติเดิมๆ ซึ่งบ่อยครั้ง มักจะเป็นการ ‘มโน’ ไปก่อนข้อเท็จจริง จะดีกว่าหรือไม่ หากเราได้ไปเยือน Guest’s House หรือบ้านของ เพื่อนเพื่อรับทราบความเป็นจริง

สิ่งที่จะพบในนิทรรศการ

น�ำเสนอกลยุทธ์ในการใช้ชีวิต ในแง่ของการประหยัดอดออมอย่าง ชาญฉลาดเพื่อการสร้างเนื้อสร้างตัวและการท�ำความฝันให้เป็นจริง การด�ำรงอยู่ด้วยสวัสดิการสังคมที่ชาวพม่ามีสิทธิที่จะได้รับ ขณะ เดียวกัน ก็มีการจัดสวัสดิการเพิ่มเติมภายในกลุ่มชาวพม่าเอง เช่น การจัดโรงเรียนส�ำหรับเยาวชนทีย่ ากไร้ การจัดฌาปนกิจสงเคราะห์ นอกจากนี้ ชาวพม่ายังใช้ศาสนาเป็นแกนกลางในการธ�ำรงชาติพนั ธุ์ และการรวมกลุ่มทางสังคม ในส่วนนี้ มิวเซียมสยามได้อัญเชิญ ฉัตรยอดเจดีย์ชเวดากองจ�ำลองมาจากวัดเชิงเขา อ�ำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เพือ่ ให้ยกระดับการท�ำความเข้าใจ มาสูก่ ารเรียน รูว้ ถิ ที างวัฒนธรรม และเปิดโอกาสให้คนไทยได้มปี ระสบการณ์รว่ ม และเป็นส่วนหนึ่งในประเพณีอันยิ่งใหญ่ของชาวพม่า รวมไปถึงน�ำ เสนอบทสัมภาษณ์สนั้ ๆ ของชาวพม่าเพือ่ ให้ขอ้ คิดจากประสบการณ์ ในการท�ำงานในประเทศไทย และทบทวนความฝันและการมองไป ยังอนาคต

นิทรรศการ ‘พม่าระยะประชิด’ นี้ มุ่งเน้นให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ผ่าน ประสบการณ์ น�ำเสนอสิ่งของจากสภาพความเป็นอยู่จริงที่ได้จาก การลงภาคสนาม พร้อมน�ำเสนอสื่อในรูปแบบต่างๆ อาทิ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว อินโฟกราฟิก เป็นต้น นอกจากนี้ตลอดการจัด แสดงนิทรรศการหมุนเวียนยังมีกิจกรรมและโปรแกรมการเรียนรู้ เพือ่ ต่อยอดเนือ้ หาจากนิทรรศการให้ผชู้ มแต่ละช่วงวัยหรือต่างกลุม่ สนใจ ได้เข้ามาร่วมท�ำกิจกรรมเพือ่ ท�ำความเข้าใจนิทรรศการมากขึน้ อาทิ กิจกรรมเสวนาประวัตศิ าสตร์พม่าทีห่ ายไป กิจกรรมละครเวที โดยนักแสดงทีเ่ ป็นเด็กชาวพม่า การแสดงหุน่ กระบอกพม่า เป็นต้น มาท�ำความรู้จักกับพม่า เพื่อนบ้านของเราให้ใกล้ชิดขึ้น วันนี้ ถึง 31 กรกฎาคม 2559 / มิวเซียมสยาม

-39-



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.