Newit2

Page 1

เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

เล่าสู่กันฟัง

ชี วิ ต คื อ ก า ร เ ดิ น ท า ง

นิวิต หะนนท์ เรามีอายุกันมาถึงปูนนี้ น่าจะเห็นได้ว่า “ชีวิตเป็นการเดินทาง” จริงๆ การเดินทางของบางคนอาจสั้นเพราะลาจากพรรคพวก กันไปหลายสิบปีแล้ว บางคนมาได้ถึงครึ่งทางคือ เพิ่งจากกันไป หลัดๆ นี้เอง เราๆที่อยู่มาได้ถึงทุกวันนี้ถือว่ามาได้ไกลพอสมควร แต่จะไกลต่อไปมากน้อยแค่ไหนนั้นแล้วแต่ องค์ประกอบร่วม หลายอย่าง ความเห็นของเรานะ คิดว่ามี ๑.สุขภาพกาย ๒.สุขภาพจิต, และ ๓.สุขภาพวิถีชีวิต : way of life ผสมผสานกัน ด้วยความเชื่อเช่นนี้, หลังเกษียณฯแล้วในปี พ.ศ.๒๕๔๒, ใน ต�ำแหน่งหลังสุด คือ อาจารย์ ๓ ระดับ ๘ ศิลปศึกษา รร.วรนารี เฉลิม, สงขลา เราจึงลงมือเขียนรูปทั้งสีน�้ำและสีอครีลิค (นึกข�ำ ขึ้นมาได้ว่าแรกสีนี้มาถึงเมืองไทยใหม่ๆออกเสียงเรียกกันว่า “สี อะครายลิค :acrylic”.....ก็ไม่ว่ากัน พอๆกับที่สมัยเรียนเพาะช่าง เรียนเรื่อง Seven Painters กัน จิตรกรหนึ่งในเจ็ดคนนั้นคือ Jan van Eyck เราก็ออกเสียงกันว่า “แจน แวน อีค” ตามที่คิดว่า มันควรจะเป็น,เพราะเรายึดการออกเสียงตามส�ำเนียงอังกฤษเป็น หลัก ลูกศิษย์เราคนหนึ่งแต่งงาน กับชาวดัชท์,เขาบอกว่าเสียงที่ ถูกต้องตามส�ำเนียงดัชท์คือ “ยัน ฟัน ไอค์”) ที่ลงมือเขียนรูป ทันทีเพราะว่า “อั้น” มานาน ช่วงท�ำงานสอนศิษย์, เห็นท้องฟ้า ครึ้มฝนทีไร, เราคันไม้คันมืออยากเขียนสีน�้ำขึ้นมาทีนั้น แต่ ก็เขียนไม่ได้,เพราะช่วงเวลาว่างไม่ยาวพอให้ท�ำงานต่อเนื่องได้ สะดวก เกษียณฯแล้วไม่มีภาระงานประจ�ำ,จึงท�ำตามใจรักได้ เสียที รวมกลุ่ม “บ้าเขียนรูป” กันได้ ๕ คน,เป็นครูศิลปะเก่าสอง คน, สถาปนิกสองคน, และช่างถ่ายรูปหนึ่งคน นัดกันวันเสาร์-

เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

อาทิตย์,ตระเวนไปตามท้องทุ่ง, ภูเขา, ย่านชานเมือง, ท่าเรือ, ท้อง นาฯ เขียนตรงสถานที่จริงจะเป็นสีน�้ำเสียส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งถ่าย รูป และสเก็ตช์ study สิ่งละอันพันละน้อย ไว้เป็นข้อมูลมาเขียน สีอครีลิคที่บ้าน สามปีผ่านไป รวมกลุ่มกับอาจารย์ศิลปะด้วยกัน แสดงงาน ณ หอศิลป์ในเมืองหาดใหญ่ ช่างบังเอิญอะไรเช่นนั้น รวมกันได้เจ็ดคนพอดิพอดีเป็น Seven Painters ตอนแก่ จริงๆ แล้วที่เกษียณฯ มีเราคนเดียว นอกนั้นเป็นอาจารย์สอน ม.สงขลา นครินทร์ปัตตานีสองคน อาจารย์สอนม.ราชภัฏสงขลาสองคน สอ นม.ทักษิณหนึ่งคน และสอนรร.หาดใหญ่วิทยาลัยอีกหนึ่งคน ใน งานนี้เราขายรูปสีน�้ำขนาดใหญ่ ๕๐ x ๘๐ ซ.ม. ชื่อ “เสน่ห์อันดามัน : Glistening Andaman” ไปได้หนึ่งรูปในราคา ๑๐,๐๐๐ บาท เขียนรูปสบายๆ อยู่ได้ราวห้าหกปี รวมกลุ่มจัดนิทรรศการศิลปะ ก็หลายครั้ง ฝีมือจากน�้ำพักน�้ำแรงและ ความรู้ที่ได้จากเพาะช่าง มีคนพอใจ อยู่บ้างพอสมควร จึงขายรูปไปได้ร่วม ๒๐ กว่ารูป ที่พออ้างอิงเป็นหลักได้คือ รูป ”โบสถ์ที่เพชรบุรี” สีอครีลิค, ชาว เสน่ห์อันดามัน มาเลเซียซื้อไปขึ้นบ้านใหม่ เป็นรูปแรก ที่ขายได้ “เรือประมงสงขลา” สีอครีลิค, หอศิลป์จามจุรีของจุฬาฯ ซื้อไว้ อีกสองรูปเป็น ทิวทัศน์เช่นกัน สีอครีลิคหนึ่งรูปและสีน�้ำ หนึ่งรูป ลูกศิษย์ที่มีแฟนเป็นชาวดัชท์ซื้อกลับไปประเทศ ล่วงมา ถึงวันนี้ซึ่งมีอายุร่วมเจ็ดสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ เราก็หวนกลับมาเขียน รูปอีกครั้งหนึ่ง, ในลักษณะ “กลอนพาไป” เนื่องจากเมื่อปี ๒๕๕๘ ประมาณเดือนสิงหาคมไปสมัครเรียน “หลักสูตรครูสมาธิ” ของ สถาบันพลังจิตตานุภาพของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวิริยังค์ แห่ง วัฒธรรมมงคล, กรุงเทพมหานคร (ซ.๑๐๑สุขุมวิท) ที่สาขา ๕ วัด ดอนรัก,เมืองสงขลา พรรคพวกร่วมรุ่นรู้ว่าเราเคยเป็นครูศิลปะ ก็อยากให้สอนเขา รวมกลุ่มกันได้ เจ็ดแปดคนก็สอนกันมาได้ร่วม


เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

เพื่อนฝูงมาเยี่ยมด้วย ! ประสบการณ์ของเรา เอง การออกก�ำลังกายควรจะได้ทั้งสองเรื่อง คือ หนึ่งปอด และหัวใจได้ท�ำงานมากขึ้น : aerobics สองอย่างนี้แข็งแรงขึ้นได้ จากการ เดิน, การวิ่ง, ขี่จักรยาน ฯลฯ เป็นการออก ก�ำลังต่อเนื่องยาว นาน ๒๐-๓๐ นาทีขึ้นไป สองแบบ “แอนะโรบิค” คือ ออกก�ำลังท�ำแล้วหยุดหยุดแล้วท�ำ เพื่อ ท�ำให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายแข็งแรง,ชัดที่สุดคือ “ฟิตเนส” ซึ่งเดี๋ยว นี้มีทั่วไปตามสถานที่สาธารณะ เพียงให้เราไปเล่นเท่านั้น เช้าตรู่ เราขับรถไปส่งผบ.ทบ. (ผู้บังคับบัญชาที่บ้าน,แฮ่ะๆ, ไม่ได้กลัวแต่ เกรงใจ !) ที่สนามกีฬาจังหวัดเพื่อร�ำมวยจีน แล้วตัวเองต่อไปเดิน ขึ้น “เขาน้อย” ซึ่งเป็นเขาลาดเนินเตี้ยๆ ใกล้แหลมสมิหลาราวครึ่ง ชั่วโมง ช่วยกระตุ้นหัวใจให้เหนื่อยเร็วกว่าเดินพื้นราบนิดหน่อย ท�ำประจ�ำหัวใจจะได้แข็งแรงขึ้นตามประสบการณ์การออกก�ำลังว่า “ทีละเล็กละน้อย : gradually ระยะยาวหลายเดือนหลายปีกจ็ ะสะสม มากขึน้ เอง ขับรถ ต่อไปเล่น “ฟิตเนส” ที่ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรี วิชัย, อยู่กลางแจ้งใต้ร่มไม้ เราขอรับรองว่ามือไม้แขนแมนอกไหล่ ฯลฯ จะปึ๋งปั๋งขึ้นตามวันเดือนปีน้องๆ ของลูกหลานเชียว (ยกเว้น รอยเหี่ยวย่นหลังมือ) หลายคนอาจค้านในใจว่าแนะน�ำอะไรไม่รู้, อายุป่านนี้แล้ว ! อย่าดูถูกตัวเอง, ร่างกายมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิต ต้องเคลื่อนไหวและวิวัฒน์ได้อยู่เสมอ ชาร์ลส์ ดาร์วิน เจ้าของ ทฤษฎีวิวัฒนาการ : Survival of the Fittest ยังยืนยันไว้ว่า “อะไร” ที่ใช้บ่อย, สิ่งนั้นจะเจริญขึ้นสุภาพบุรุษหลายท่านอาจค้านอยู่ในใจ ว่าไม่จริงว่ะ! แม้แต่ด้านสมอง, เดี๋ยวนี้ก็มีทฤษฎีใหม่ที่คุณหมอบ อกว่า สมองคนชราก็ยังแตก กิ่งก้านสาขาได้ตลอดหากคุณยัง ขวนขวายเรียนรู้

ส่วนด้านสุขภาพจิต อย่างที่บอกไว้แต่ตอนต้นนอกจากอย่างอื่นแล้ว เราไปเรียน “การท�ำสมาธิ” กับสถาบันพลังจิตตานุภาพ, เสาร์-อาทิตย์ เป็นเวลาหกเดือน ก็ได้วิธีท�ำใจให้สงบเบาสบายในชีวิตประจ�ำวัน ท�ำครั้งละห้านาที,สิบนาที,แต่ไม่ควรเกินครึ่งชั่วโมง (อาจารย์มั่น ภูริ ทัตโต ซึ่งเป็นต้นก�ำเนิดของสายนี้ ท่านแนะน�ำไว้อย่างนั้น, ส�ำหรับผู้ ฝึกใหม่) ท่านอาจารย์วิริยังค์เล่าให้ฟังว่ามีฝรั่งแคนาดาคนหนึ่งเรียน จบ หลักสูตร รับประกาศนียบัตรแล้ว วันหนึ่งน�ำใบประกาศนียบัตรมา คืน, บอกว่าท�ำสมาธิแล้วไม่เห็นได้อะไร ! หลังจากนั้น วันหนึ่งมีคน ขับรถปาดหน้าเขาในถนน, เฉียดจะชนกัน เขาโกรธจัดเดินถือปืนลง ไปตั้งใจจะยิงอีกฝ่าย แต่มีสติระลึกได้ว่ายิงเขาตายแล้วตัวเองก็ติดคุก, ได้อะไรขึ้นมาจึงกลับมาขอใบประกาศนียบัตรคืนไป ท่านสอนว่าการ ท�ำสมาธิเป็นการสะสมพลังจิตนานไปๆ พลังจิตของเราจะมากขึ้นๆ ตามวันเดือนปี มีพลังแห่งความนึกคิดที่รอบคอบ, มีเหตุผลมากขึ้น, เมตตากรุณามากขึ้น ให้อภัยต่อผู้อื่นได้ง่ายขึ้น พลังจิตนั้นท่านบอก ว่า เพียงเริ่มค�ำบริกรรม “พุท-โธ” ค�ำแรกมันก็เกิดขึ้นแล้ว เหมือนน�้ำ หยดลงถัง “ติ๋ง” เดียวแต่หยดไม่หยุดในที่สุดพักใหญ่น�้ำก็เต็มถัง, กลาย เป็นสองถังสามถัง, ตุ่มใหญ่, ไปตามวันเวลา แม้เราจะยังไม่สงบนิ่งถึง ขั้นเกิดความสงบ, เบาสบาย, สุขยิ่งกว่าความสุขใดๆในทางโลกก็เถอะ หนึ่งในอานิสงส์ของการท�ำสมาธิสิบสองข้อคือ “ปิดอบาย” คือปิดทาง ไปนรก เมื่อเราไปเยี่ยมใครๆ ที่โรงพยาบาล จะเห็นภาพคนบาดเจ็บ คนป่วยด้วยโรคสารพัดร้อยแปด มีสายโน่นสายนี่ระโยงระยาง นอน พะงาบๆ อยู่ก็มี นึกดูว่าถ้าเป็นเราไปอยู่ในสภาพอย่างที่ว่านี้ พูดไม่ ออกบอกไม่ได้ (ความเป็นไปได้มีอยู่เสมอ ) สิ่งที่ยังเดินอยู่ในร่างกาย นี้คือความคิดความรู้สึก คนไม่เคยฝึกจิตจะอลหม่านว้าวุ่นสักแค่ไหน หากสิ้นใจลงตอนนั้น,การเดินทางไกลไปสู่ปรโลกจะเป็นไปตามบุญ ตามกรรมหรือน�ำไปสู่อบายภูมิคือนรกได้ แต่คนฝึกจิตมาแล้วเพียง


เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

สองเดือนกว่าแล้ว,ในวันอาทิตย์ครั้งละสามชั่วโมง “นักเรียน” มีทั้งอาจารย์ที่ “เออร์ลี่” แล้ว และยังท�ำงานอยู่, ข้าราชการ มหาวิทยาลัย, แม่บ้าน, ข้าราชการประจ�ำวัยท�ำงานและก�ำลัง จะทยอยกันเข้ามาเรื่อยๆ รับเด็กๆ ด้วยเพราะเราบอกพ่อ แม่เขาว่า งานศิลปะเป็นเรื่องสไตล์ใครสไตล์มัน เราสอนหลัก วิชาให้ เขาก็เดินของเขาไปได้เอง ลูกศิษย์เรียนเขียนภาพ หลังห้าปีที่หยุดเขียนรูปก็ลงมือแปลหนังสือหนังสือที่ว่านี้คือ หนังสือศิลปะที่เราสั่งซื้อมาจากอังกฤษบ้าง อเมริกาบ้าง (ขอแคต ตาล็อกเขาไปก่อน) หลายคนอาจแปลกใจว่า “นายกล้าหาญชาญชัย ยังไงที่ไปแปลหนังสือ?” เฉลยในที่นี้ว่า เรากับภาษาอังกฤษถูกใจกัน มาแต่ไหนแต่ไร แต่สมัยเรียนมัธยมโน่น, ทั้งภาษาไทยด้วย (จาก ผลงานเขียนในหนังสือ “เพาะช่าง ๑๐๐ ปี” รู้สึกพวกเราทั้งรุ่นน้องรุ่น พี่หลายคนแต่ง โคลง. ฉันท์, กาพย์, กลอน, กันดีเป็นว่าเล่น คิดว่า เพราะจิตรกรรม, ประติมากรรม, วรรณกรรม, นาฏกรรม, และคีต กรรม คือวิจิตรศิลป์ห้าอย่างนั้นมีแก่นสารสาระเหมือนกัน ที่เกี่ยวข้อง กับความละเอียดอ่อน, ความงาม, ความไพเราะ ฯ ซึ่งพวกเราจะมี sense อยู่แล้วโดยธรรมชาติ จึงอาจข้ามห้วยไปเล่นเรื่องใดก็ได้ อีก ประการหนึ่ง, ซึ่งส�ำคัญมากเช่นกันคือสมัยเป็นครูใหม่ๆ เราไม่มีวุฒิ ครูเพราะเราจบวิจิตรศิลป์ เมื่อท�ำงานเราจึงสมัครสอบชุดครู พ.ป., พ.ม. ได้หมด แล้วจึงสมัครเรียนต่อภาคค�่ำระดับปริญญาตรี กศ.บ. ที่ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, สงขลา ในปี ๒๕๑๓ โดยเลือกวิชาเอกภาษา อังกฤษและโทภาษาไทย ตั้งแต่เกษียณฯ เราก็แปลมาเรื่อยๆ หมด เล่มหนึ่งขึ้นเล่มสอง, หมดเล่มสองขึ้นเล่มสาม จริงๆ แล้วสมัยยัง ท�ำงานอยู่เราก็แปล พิมพ์จ�ำหน่ายทั่วประเทศมาแล้ว ๑๐ กว่าเล่ม, ใครๆ รู้จักมากที่สุดคือ การเขียนสีน�้ำ (ของจอห์นไพค์) จนสิบเจ็ดปี ให้หลังนี่, เรามีงานที่แปลเสร็จพร้อมพิมพ์ได้ ๘ เล่ม และยังมีเรื่อง

เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

นั้นบ้างเรื่องนี้บ้างที่เริ่มต้นไว้แต่ยังไม่เสร็จอีกสี่ห้าเรื่อง ณ วันนี้ ที่ ก�ำลังเขียนเล่าอยู่นี่, เรื่องที่พิมพ์เสร็จวางจ�ำหน่ายทั่วประเทศแล้วคือ การวาดภาพฉบับสมบูรณ์ : The Complete Book of Drawing ใครๆ พวกศิลปะด้วยกันที่เห็นแล้วซื้อไปแล้วต่างออกปากชมกันเป็นเสียง เดียวว่า “พิมพ์ดีมาก รูปเล่มสวย เนื้อหาสาระน่าอ่าน, มีคุณภาพสูง” จัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ Triple Education : www.tripleed.com ซึ่งรับงานพิมพ์ทุกชนิด (คลิกเข้าไปดูตัวอย่าง ได้) ที่เล่ามาแล้วทั้งหมดนี้ เราคิดว่าอยู่ในหัวข้อ ๓. คือ สุขภาพวิถีชีวิต ตรงไปตรงมาที่สุดคือ วันๆ คุณท�ำอะไร บ้าง แต่ละปีจะมีศิษย์เก่า (สาวน้อยสาวใหญ่ทั้งหลาย, เพราะเราสอนโรงเรียนสตรีฯ) นัดกันมาเลี้ยงรุ่น, แล้ว เชิญคุณครูเก่าแก่ไปร่วมด้วย เสร็จสรรพก็ขอให้คุณครู อวยพรอะไรท�ำนองนั้น เราจะเตือนพวกเขาเสมอว่า เกษียณฯ แล้ว หรือ “เออร์ลี่” แล้วอย่าอยู่เฉยๆ สิ่งที่ ควรท�ำคือ ออกก�ำลังกายและหาอะไรท�ำ อะไรที่ิอยากท�ำให้หาท�ำนั่น คือ สิ่งที่ถูกกับจริตของตน ท�ำแล้วเพลิดเพลินสบายใจ ไม่ใช่งานที่ ต้องเป็นภาระมากมาย ส่วนออกก�ำลังกายนั้นเปรียบให้พวกเขาฟัง ว่า เหมือนนักมวยต่อสู้กันบนสังเวียน คนทีเอาแต่ตั้งรับ : passive ปล่อยให้อีกฝ่ายออกหมัดชกซ้ายป่ายขวาไม่หยุด : active ในที่สุด ก็จะต้องโดนน็อค ไม่ด้วยหมัดที่หนึ่งก็หมัดที่สิบ, ต้องพลาดเข้าสัก หมัดจนได้ บอกเขาว่าในเรื่องสุขภาพกายเราต้องคิดเชิงรุก ไม่ใช่ เอาแต่ตั้งรับ วันๆ นั่งๆ นอนๆ กล้ามเนื้อไม่ได้ท�ำงาน ข้อต่อไม่ได้ ท�ำงาน โลหิตหมุนเวียนทั่วร่างกายน้อย สมองไม่ได้คิดอะไรจึงแก่ เร็ว, ไร้เรี่ยวแรง เฉื่อยชาแล้วในที่สุดวันหนึ่งโรคร้ายก็จะน็อคเราได้ ใครไม่รู้พูดค�ำคมตลกๆ ไว้ว่า รุ่นพวกเรานี่แขกที่จะมาเยี่ยมเยียน บ่อยคือคุณ “เบาหวานและคณะ” พี่แกไม่ได้มาคนเดียวยังใจดีพา


เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

เอียงไปสู่นิพพาน” คือกิเลสเบาบางลงเรื่อยๆ จนถึงความสิ้นทุกข์ ในที่สุด ค�ำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่อง มรรค ๘ นั้น ท่านสรุปลงให้เป็น ภาคปฏิบัติเพื่อจ�ำง่ายคือ ทาน-ศีล – ภาวนา ที่เราชาวบ้านพูดกัน ว่าท�ำแล้ว “ได้บุญ” และท่านผู้รู้ก็ให้อรรถาธิบายต่อไปว่าทั้งสาม ขั้นตอนนี้ “ได้บุญ” ไม่เท่ากัน ทาน, นั้นได้บุญระดับหนึ่ง ศีล, ได้บุญระดับสอง และภาวนา, ได้บุญระดับสามคือได้บุญสูงสุด เพราะภาวนา (ท�ำให้เจริญ) อันแยกเป็น “สมาธิภาวนา”คือท�ำจิตให้ สงบ, และ ”วิปัสสนาภาวนา” คือน�ำจิตที่สงบนั้นมาพิจารณาให้เห็น ไตรลักษณ์ เป็นการท�ำความดีให้แก่ตนเองถึงระดับจิตวิญญาณ เปลี่ยนแปลงตัวเองจาก “ปุถุชน –คนมีกิเลสหนา” ให้เป็น “อริยชนคนประเสริฐ” ได้ วิปัสสนาภาวนามีแต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น เขียนยาวมาจนถึงตรงนี้, ด้วยเจตนาดีอยากให้เพื่อนๆ หันมาสนใจ “สมาธิภาวนา” กันมากขึ้น ตามก�ำลังความสามารถ อย่าให้เสียที ที่เราเกิดในประเทศไทย และได้พบพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า ตรัสเปรียบเทียบไว้ว่าการเกิดมาเป็นคนนี้แสนยาก เหมือนเต่า ตาบอดอยู่ก้นทะเลลึก, แล้วลอยขึ้นมาเหนือผืนน�้ำ ให้โผล่ได้ตรง ช่องกลางห่วงยางที่ลอยอยู่ในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ ความยาก อย่างที่สองคือเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ได้พบ “พระพุทธศาสนา” นี่ ก็ถือว่า “มีบุญหรือโชคดี” ขั้นที่สอง เดี๋ยวนี้ฝรั่งมังค่าหันมาสนใจ พุทธศาสนากันมากขึ้นๆ และเขาก็เรียนรู้จริงจัง, ปฏิบัติจริง พุทธ ศาสนาเป็นศาสนาแห่งเหตุผลและการพึ่งตนเองค�ำสอนในพระพุทธ ศาสนาท้าให้พิสูจน์ ท่านจึงเรียกว่า “ปัจจัตตัง” คือรู้ได้เฉพาะตน เราอ่านเรื่องของไอน์สไตน์ในหนังสือ “ไอน์สไตน์พบพระพุทธเจ้า เห็น” ของทันตแพทย์สม สุจีรา ไอน์สไตน์, ซึ่งนับถือกันว่าเป็นนัก วิทยาศาสตร์เอกของโลก และเป็นอัจฉริยะบุคคลแห่งศตวรรษคน

เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

หนึ่งรับรองไว้ว่า หากจะมีศาสนาใดสักศาสนา หนึ่งเป็นศาสนาสากลละก็ ศาสนาพุทธนี่แหละ เป็นอย่างนั้น สรุปว่า, การเดินทางของชีวิตนี้ ที่จะเป็นไปได้ อย่างดี ราบรื่น, ปลอดภัย, เป็นสุข และคุ้มค่ากับ การได้เกิดมา เราต้องรักษาสุขภาพร่างกายให้ แข็งแรง รักษาใจหรือสุขภาพจิตให้ดี และมีวิถีชีวิตประจ�ำ วันที่สร้างสรรค์เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและคนรอบข้าง ซึ่งสิ่ง เหล่านี้ส่วนหนึ่งอยู่ในอ�ำนาจของเรา ที่จะบันดาล ให้เป็นไป ไม่ ได้ขึ้นอยู่กับฝนฟ้า, เทวดา, ผีสางที่ไหน กรรมคือการกระท�ำ ของเรานี่แหละเป็นต้นก�ำเนิดของทุกเรื่อง ชีวิตนี้จึงอยู่ก�ำมือ ของเราจริง ๆ นิวิต หะนนท์ ,มือถือ ๐๘๕-๐๗๗-๐๒๓๗ บ้าน ๐๗๔-๓๒๔๒๕๓ Email : newithanon@gmail.com


เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

ภาวนา “พุท-โธ” ไว้จิตเบาสบายสงบเย็น สุคติก็เป็นอันหวังได้ เสมือน ยึ ด แสงเที ย นส่ อ งทางไว้ ไ ม่ ส ะเปะสะปะอยู ่ ใ นความมื ด เสี ย ที เ ดี ย ว สถาบันพลังจิตตานุภาพใน กทม. มีร่วมสิบสาขา มีหลักสูตรชิมลาง หนึ่งวันทุกวันอาทิตย์ที่ ๓ ของเดือนด้วย ดร.สาทิส อินทรก�ำแหง ผู้ ให้ก�ำเนิด “ชีวจิต” ให้หลักส�ำหรับประเมินสุขภาพตัวเองทั้งกายและ จิตไว้ จ�ำเป็นภาษาอังกฤษง่ายๆว่า FASJAMM : ฟาสแจม ขยาย ความได้ดังนี้ F = fatigue:ฟา-ติก ความเหนื่อยอ่อน ไม่มีเรี่ยวมีแรง,ท�ำอะไร เหนื่อยง่าย โผเผ แสดงว่าสุขภาพไม่ดีแต่ถ้าเรารู้สึกกระฉับกระเฉงอยู่ เรื่อย ท�ำโน่นท�ำนี่ คุณยังสุขภาพดีอยู่ A = appetite : แอ๊ปปิไต๊ท์ ทานอาหารอร่อย กินอะไรก็อร่อยไป หมดแสดงว่าคุณสุขภาพดี แต่หากเบื่ออาหาร, ทานอะไรไม่เป็นรส ! เป็นชาติ, ส่อว่าคุณมี something wrong แล้ว S = sleep : สลีพ การนอนหลับ หลับง่าย, หลับยาก หรือหลับ ทีเดียวยาวไปจนถึงรุ่งเช้า J = joy : จอย สนุกสนาน, ร่าเริง,มีอารมณ์ขัน หรือหน้าบอกบุญ ! ไม่รับ, พรุ่งนี้โลกจะแตกยังงั้น A = alert : อ-เลิร์ท เป็นคนตื่นตัว, กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ, ทันข่าว, คุยอะไรกับชาวบ้านเขาได้หมด M = memory: เม้ม-โมรี่ ความจ�ำดี, จ�ำสิ่งส�ำคัญๆ ได้ หลงลืมเล็กๆ น้อยๆ เรื่องสัพเพเหระ, นั้นถือว่าปกติ M = morality: โม-แร้ลลิตี้ มีคุณธรรม, เมตตากรุณา, รู้ผิดชอบชั่วดี, เสียสละแบ่งปัน, ไว้ใจได้ วัยปลายชีวิตอย่างพวกเรานี้, ที่ต้องตระหนักอยู่เสมอ คือจะตายวัน ตายพรุ่งไม่รู้แต่ต้องตายแน่ๆ เคยมีพระภิกษุชรารูปหนึ่งท่านพูดไว้น่า คิดว่า หากคนเราในโลกนี้เกิด, แก่, เจ็บ แล้วไม่ตายจะเป็นเรื่องน่า สมเพชเวทนาสักเพียงไร ความตายจึงเท่ากับมาตัดความสมเพช

เวทนานั้นให้สิ้นไปเสีย ท่านอาจารย์พุทธทาสแห่งสวนโมกขพลา ราม, ท่านเคยเตือนเรื่อง “ตายก่อนตาย” คือให้มองความตายว่าเป็น เรื่องธรรมดา, เราจะคุ้นเคยกับความตายมากขึ้น ความตายไม่ใช่คน แปลกหน้า แต่เป็นทางผ่านที่เราจะต้อง เดินไป พระพุทธองค์ ตรัสสอน “อภิณหปัจจเวกขณ์” คือสิ่งที่เราควรพิจารณาเนืองๆ ไว้ มี ๕ ข้อดังนี้ ๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๒. เรามีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้ ๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๔. เราจักต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ,๕. เรามีกรรมเป็นของของตนเราท�ำกรรมใดไว้,ดีก็ตามชั่วก็ตาม เราจักต้องรับผลของกรรมนั้น บางคนอาจจะหมั่นไส้, พูดอะไรก็ไม่รู้, เรื่องดีๆ สนุกสนานไม่มีแล้ว หรือถึงได้มาพูดเรื่องตาย ถามว่าในที่สุดแล้วเราหนีได้ไหม ? ในเมื่อ เราจะต้องเจอะเจอแน่นอน, เราต้องกล้าสู้, เผชิญหน้ากับมัน ชีวิต เป็นการเดินทางอย่างที่ว่าไว้และเป็นการเดินทางไกลข้ามภพข้าม ชาติ ตราบใดที่เรายังไม่หมดกิเลสตราบนั้น เรายังต้องเวียนว่ายตาย เกิดอยู่ร�่ำไปที่เรียกว่า “วัฏสงสาร” (วัฎฎะคือวงกลม,สงสาร-การ ท่องเที่ยวไป คือ เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย-เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ฯลฯ ) เรา จะตัดวงจรนี้ได้ก็ต่อเมื่อเราหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์เท่านั้น ซึ่ง เป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญส�ำหรับคนส่วนใหญ่ ที่เราพอท�ำได้ไม่ เหลือบ่ากว่าแรงคือสร้างกรรมดี ภาษาพระท่านว่าเป็น “กัลยาณ ปุถุชน” คนมีกิเลสนี่แหละแต่จัดอยู่ในประเภทดี, พอพูดกันรู้เรื่อง, แล้วใจเราจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เห็นแก่ตัวน้อยลง, เสียสละมากขึ้น เส้น ทางชีวิตก็จะสูงขึ้นๆ ภาษาท่านอาจารย์พุทธทาสท่านเรียกว่า “ลาด


มีโอกาสอย่างมนุษย์เรา จึงควรภูมิใจในการเป็นมนุษย์ จะท�ำการ สิ่งใดก็ต้องมีสติ ระลึกรู้ อะไรควรไม่ควร น้อมน�ำเอาค�ำสอน ธรรมะ ของพระพุทธเจ้ามาประพฤติปฏิบัติ เพื่อความสุขกายสบายใจ มี ความเข้าใจในธรรมชาติคือเรื่องของการเกิดแก่เจ็บตายมันเป็น เรื่องธรรมดา ไม่โศกเศร้าเสียใจจนเกินควรจนเสียงานเสียการดัง นิทานชาดกเรื่องหนึ่ง เรื่ อ งมี อ ยู ่ ว ่ า มี พ ราหมณ์ ค นหนึ่ ง ไปพบลู ก ชายที่ อ อกไป ไถนาแล้วถูกงูเห่ากัดตาย พราหมณ์คนนั้นจึงเอาใบไม้มาปิดร่าง ของลูกชายเอาไว้แล้วก็ออกไปไถนาต่อจนเสร็จ ต่อจากนั้นได้เดิน ทางเข้าไปในหมู่บ้านไปบอกให้นางพราหมณีรู้ว่าลูกชายถูกงูกัด ตายแล้ว พอญาติรู้ก็มาช่วยกันเผาศพ พระอินทร์ที่อยู่บนสวรรค์ เฝ้าสังเกตดูการกระท�ำของพราหมณ์อยู่ ได้ปรากฏกายขึ้นพร้อม กับถามทุกคนว่า ท�ำไมจึงไม่โศกเศร้าเสียใจ พราหมณ์ตอบว่า “เขาเป็นลูกชายที่ท�ำหน้าที่ได้อย่างดีแล้ว เป็น ลูกที่ดี ประพฤติดี เลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่า เมื่อเขาตายก็เป็นเรื่อง ธรรมดาที่ทุกคนจะต้องตายเหมือนกัน” นางพราหมณีตอบว่า “ตั้งแต่เขาอยู่ในท้องไม่ได้ท�ำให้แม่ทน ทุกข์ทรมาน คลอดง่ายเลี้ยงง่าย ว่านอนสอนง่าย เมื่อโตขึ้นมาก็ ตอบแทนบุญคุณที่ให้ก�ำเนิดมา เมื่อเขาตายก็เป็นธรรมดา” ภรรยาตอบว่า “ พี่เขาเป็นสามีที่ดี ดูแลลูกเมียเป็นอย่างดี ไม่เคย ท�ำร้าย ตีด่าให้เจ็บช�้ำน�้ำใจ ไม่นอกใจ ไม่เล่นการพนัน เขาท�ำหน้าที่สามีที่ดีทุกอย่าง เมื่อเขา ตายก็ไม่เสียใจที่เป็นภรรยาเขา” ถามพี่น้องก็ไม่เสียใจเพราะท�ำตัวเป็นพี่เป็นน้องที่ดี ถาม

ญาติก็ตอบว่า เขาไม่ลืมเครือญาติ ไปมาหาสู่ เกื้อกูลทุกคนด้วย ดี ฯ เมื่ อ ทุ ก คนไม่ เ สี ย ใจในการจากไปของเขาเพราะเป็ น เรื่ อ ง ธรรมดาของสัตว์โลกที่จะต้องตายเหมือนกัน พระอินทร์จึงกล่าวค�ำสรรเสริญและให้พรแด่ทุกคน ขอให้ มีความสุขความเจริญโดยทั่วกัน สาธุ

สาธุ

สาธุ

ฉันนั่งฟังธรรมะแล้วซึ้งพยายามเก็บความมาเล่า คนแก่ท�ำได้ แค่นี้แหละ กลับมาแล้วรีบเขียนทันทีเพราะ .............. เนาะ

“ของกินไม่กินมันเน่า ของเก่าไม่เล่าก็จะ ลืม” สนอง โกศัย

ผู้เขียน

๑๖ มกราคม ๒๕๕๙


ภาพประกอบ : ชีวิตคือการเดินทาง jpg งานเลี้ยงรุ่นของศิษย์เก่าที่เกษียณฯในปีนี้,ครู ๓ คนนั่ง.2638 .กลาง ศิษย์รุ่นนี้มีทั้งอธิการบดี, ดร อาจารย์, แม่บ้าน, นักธุรกิจ ฯลฯ เป็นความอบอุ่นระหว่างครูกับ ศิษย์ในวัยสูงอายุ (นายบีบภาพ เข้าไปอีกก็ได้เพื่อให้เห็นใบหน้าชัดขึ้น,เท่าที่เป็นไป ได้) 2682.jpg เรากับคณะสามคนเป็นตัวแทนไปมอบทุนอุปถัมภ์เด็ก ก�ำพร้า,ของ อ.วศิน อินทสระ,นักเขียน ธรรมะชื่อดัง (อาจารย์ของเราเอง) ณ โรงเรียนวัดป่า ขวาง (ประถมศึกษา) สนับสนุนให้เยาวชน มีก�ำลังใจพัฒนาตนได้มากยิ่งขึ้น (เอาตามนี้ก็น่าจะได้ )แล้ว jpg ถ่ายร่วมกับ “ลูกศิษย์”ที่เรียนเขียนภาพวันอาทิตย์กลุ่ม.2775 -“สร้างศิลป์เสริมสุข” ณ โรงสีแดง,สัญ ลักษณ์เมืองเก่า “สงขลา” มีการแสดงภาพสีน�้ำของสอง ศิลปิน เพิ่มประสบการณ์เรียนรู้ในเรื่อง ศิลปะให้มากขึ้น (ช่วย close ภาพเข้าไปอีก- ข้างบนให้ ติด “สงขลาเมืองมรดกโลก” ข้างล่าง,คนเห็นตั้ง )แต่สะเอวขึ้นไปก็พอแล้ว jpg หลังเดินเพิ่มก�ำลังหัวใจขึ้น “เขาน้อย” เราก็มา ฟิตเนส ที่.2826 นี่,สม�่ำเสมอแต่ก็ไม่ถึงกับทุกวัน ขอ รับรองด้วย “เชื่อหัวไอ้เรืองเถอะ” ว่า นี่คือ “ยาอายุวัฒนะ”

ขนานแท้และดั้งเดิมของมนุษยชาติ (นายโคลสเข้าไปอีก,ข้างล่างเห็นเหนือเข่าขึ้นไป จะได้เห็น หน้าชัดๆนิด,เพราะหน้าโพลนอยู่กลางแดดเช้า) 2854.jpg “ลูกศิษย์” ก�ำลังมีสมาธิกับการวาดต้นไม้ในแสงเงาตอนเช้าตี เก้าครึ่ง (เรียนกัน ๙.๐๐ – ๑๒.๐๐) บนเขาน้อย,ท่ามกลางธรรมชาติจริง มีลมพัดเย็นระรื่นและ เสียงนกร้องกล่อมบรรเลงด้วย ผู้ เรียนมีทั้งอาจารย์เพิ่งเกษียณฯมาหมาดๆ,หนุ่มสาวรุ่น ท�ำงาน,และแม่บ้านที่ชอบทางด้านนี้ (เอา ตามนี้เลยไม่ต้องย่อหรือขยายแล้ว ยังไงนายดูอีกทีก็ได้) 2859.jpg หนังสือผลงานการแปลเล่มล่าสุดของเรา การวาดภาพฉบับ สมบูรณ์ : The Complete Book of Drawing เขียนโดยจิตรกรชาวสเปน,ผู้เก่งทั้งปริยัติและปฏิบัติ ใครๆที่อยากเขียนภาพ,ทั้งเป็น งานอดิเรกและเอาจริงเอาจัง,แม้จิตรกรมืออาชีพจะได้ ประโยชน์คุ้มค่า เพราะยังไม่มีหนังสือ เล่มใดในเมืองไทยเรากล่าวถึง “วัสุดอุปกรณ์”ไว้ได้พิสดาร มากเท่านี้ (ตามนี้เลย หรือนายอาจตัด ที่เป็นพื้นม้าหินลายออกเสีย ) รูปสุดท้าย ภาพ “เสน่ห์อันดามัน : Glistening Andaman” ที่ขายไปได้ ราคา ๑๐,๐๐๐ บาท เป็นสีน�้ำ แต่ ภาพนี้เป็นสีอครีลิค น�้ำทะเลของอันดามันเขียวมรกตสดใส อย่างกับสีในหลอดยังไงยังงั้น ! สวยจริงๆใครยังไม่เคยไปลองหาโอกาสไปชม ทะเลไทยเราสวย ไม่แพ้ใครจริงๆ (ตามต้นฉบับ)


เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

นอนที่บ้านเพื่อนนั่นแหละ ใจสั่นเหมือนกันเพราะไม่เคยขึ้นเวที ซ้อมร้องแล้วร้องอีก เดินไปเดินมา เมื่อไรจะถึงคิวตัวเองเสียที คนแล้วคนเล่า จนเริ่มมี ลมพัดอ่อนๆเข้ามา แหละแล้ว วินาทีที่มีเสียงเรียกชื่อฉัน ท้องฟ้าเริ่มปั่นป่วน ในทันทีทันใดนั้นเอง ฝนก็เทลงมาอย่างรวดเร็ว แถมมีเสียงฟ้าผ่าดัง กึกก้องด้วย เปรี้ยงๆๆๆๆผู้คนวิ่งหนีไปคนละทิศละทางเพื่อนคว้า มือฉันกระโดดหนีสายฟ้า แบบไม่คิดชีวิต อนิจจา...... ชีวิตการเป็นนักร้องก็ดับวูบลงทันที ม่ายงั้น ป่าน นี้ไผเป็นไผ ใครจะรู้ สนอง โกศัย ผู้เขียน ๑๐ มิย ๒๕๕๙

เป๊ะเลย ฉันนั่งอยู่เบาะหลังในรถเก๋งคันใหม่ของเพื่อนในบ่ายวันศุกร์กลาง เดือนกันยายนที่ผ่านมาเราพูดคุยกันอย่างเป็นกันเอง หลายเรื่องเรื่องที่คุย กันของเราวันนั้นไม่ต้องทายหรอกคือธรรมชาติคนแก่ มักชอบกินของขม ชมสาวๆและเล่าความหลังกัน มันมีความสุขดีนะ เพราะเรื่องราวในอดีต ที่ผ่านมา มันจารึกไว้อยู่ในหัวใจ โดยเฉพาะเรื่องราวสมัยเป็นเด็ก มันเป็นช่วงระยะที่ดูดซับเอา วัฒนธรรมของชีวิตไว้อย่างเหนียวแน่น จนไม่สามารถแกะเอาออกจาก ความทรงจ�ำทั้งหมดที่มีอยู่ตลอดชีวิตไปได้เลย ฉันนั่งฟังเขาเล่าอย่างสงบ ในใจอิ่มเอมและเป็นปลื้มกับชีวิตที่ ผ่านไปของผู้เฒ่าที่อยู่ด้านหน้า กว่าจะมาเป็นคนแก่ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ได้ผ่านร้อนผ่านหนาวมา หลายอย่าง หลายรูปแบบใช้เวลา ใช้ความอดทน ความพยายาม เขาถึงว่า กันว่า ชีวิตไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ฉันชอบเรื่องราวชีวิตจริง ดังนั้นฉันจึงฟัง จึงอ่าน จึงเขียนเรื่อง อย่างนี้ ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เล่าว่า ท่านไม่ได้ส่งลูกของท่านไป เมือง นอกตั้งแต่เด็กๆ เพราะว่า เด็กจะได้ซึมซับวัฒนธรรมไทยไว้ในตัว คือเป็น ไทยทั้งกายทั้งใจ ท่านไม่กลัวว่า ลูกจะพูดฝรั่งส�ำเนียงไทยเหมือนคนอื่น ที่ต้องการให้ลูกพูดเหมือนฝรั่ง ซึ่งผลตามมาก็ได้เหมือนที่คิดคือลูกคิด แบบฝรั่ง ท�ำแบบฝรั่ง ซ�้ำร้ายได้แต่แบบอย่างที่ไม่ดีมา พระธรรมปิฏก (ประยุทธ) เขียนในหนังสือมงคลสารว่า “ความจริงการเอาอย่างกัน ถ้า เป็นการเอาอย่างที่ดี ก็ดีมีประโยชน์ โดยเฉพาะการเอาอย่างลักษณะนิสัย


เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

ความฝันที่หายไป ส่วนใหญ่คนแก่มักจะเล่าเรื่องความหลังอย่างมีความสุข ไม่ ชอบพูดถึงอนาคตเพราะพูดแล้วก็ห่อเหี่ยว หลายคนกลัวความตาย ใครพูดเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ดูเหมือนว่า ตัวเองก็เป็นเหมือนกัน ใคร ว่าอะไรดีก็หามากิน ใครว่าหมอนวดที่ไหนดีก็ไปนวด ใครว่าหมอ ฝังเข็มที่ไหนดีก็ไปฝังเข็ม บางคนอัดเสียงตัวเองเอาไว้กลัวว่าใครจะ อ่านประวัติตัวเองไม่ดีไม่ถูก ตอนอยู่บนเมรุ บางคนก็ท�ำหนังสือไว้ก่อน(ขอโทษนะครับ)กลัวว่าคนจะไม่รู้ ดีเท่าตัวเอง บางคนกลัวว่าชาติหน้าจะไม่อยู่ดีมีสุข ก็ไปปฏิบัติธรรม เอาไว้ก่อน(สาธุ) ก็แล้วแต่จะคิดจะท�ำไป ฉันเองก็ได้แต่ฟัง ได้แต่ดู(เฟส ไลน์)บางทีก็เหริญ คือ เอ้อๆ อ้าๆกับค�ำพูด กับภาพที่คนส่งมาให้ดู ไปโน่น ไปนี่ ท�ำกิจกรรมนั่น นี่ แต่งตัวชุดโน้นชุดนี้ ไปงานแต่งงาน ไปงานศพ ไปงานบวช งาน ขึ้นบ้านใหม่ ท่องเที่ยวไปกับโลกกว้างฯ ก็ดีนะเทคโนโลยีท�ำให้โลก แคบ พบปะกันได้แม้อยู่คนละซีกโลก บางคนบอกว่าดูแล้วท�ำให้ จิตตก ท�ำให้เกิดทุกข์ มีโลภะ โทสะ โมหะ ความสุขใดจะเสมอเท่า ความสงบไม่มี แล้วปฏิเสธเทคโนโลยี มองคนสมัยนี้อย่างสมเพช น่าเกลียดน่าชัง เพราะเขาเหล่านั้นไม่ได้สนใจใครเลย ก้มหน้าก้มตา ดูแต่มือถือ จิ้มไปจิ้มมา จะเดินจะกิน จะนั่งจะนอน แม้แต่ในงานสังคมก็ท�ำ โอ แม่ เจ้า การใช้สื่อสังคมออนไลน์ไม่จ�ำกัดจริงๆ บางคนใช้สื่อใน ทางผิดๆ เช่นหลอกลวง โกหก ท�ำมิจฉาชีพต่างๆ เปรียบเปรย

เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

ด่าทอ จนท�ำให้เกิดการทะเลาะวิวาท เข้าใจผิดและแตกความสามัคคี แต่ ในทางสร้างสรรค์ก็มีอเนกอนันต์แทบไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถท�ำได้ เช่นใน ทางธุรกิจ การเงิน การค้า การลงทุน การแพทย์ การเกษตรฯ ฉันเห็นเขา ท�ำการค้าที่ตลาดประตูน�้ำ โดยเช่าที่แค่๔ตารางเมตรบนชั้น ๖ เขาขายของ ออนไลน์ ใช้โทรศัพท์ส่งไลนไปยังลูกค้า พอลูกค้าสั่งก็จ้างคนไปเอาตาม ร้านค้าชั้นล่างตามที่ตนไปถ่ายรูปส่งไปให้ลูกค้าดู ค่าจ้างแค่ชุดละ ๒๐ บาท เอามาบรรจุกล่อง ตามชื่อผู้สั่งส่งทางไปรษณีย์ วันหนึ่งๆได้เงินหลายพัน บาท แม่ค้าท�ำขนม พ่อค้าขายอาหารต่างประเทศเรียนตามแบบยูทูป โดย ไม่ต้องไปเรียนที่ไหน ขายจนร�่ำรวย กูเกิ้ลมีทุกอย่าง ถ้าเราประสงค์จะเรียนรู้หรือหาช่องทางท�ำมา หากิน อยากเรียนรู้เรื่องใด ก็สามารถหาได้ แก้ปัญหาให้เราได้ มีการใช้ งานหลายแง่มุม อยากดูหนัง ฟังเพลง ดูละคร กีฬา เกมส์ ทั้งเก่าใหม่ ย้อน หลัง ดูที่ไหนก็ได้ ทั้งห้องนอนห้องน�้ำก็ได้ มันมหัศจรรย์จริงๆ ฉันว่าคนแก่จะไม่เหงาเลย ถ้าแสวงหา และ ไม่สายเกินไปที่จะเรียนรู้ มีนักล่ารางวัลเป็นนักร้องลูกทุ่งคนหนึ่ง บอกว่า ไม่ได้ไปเรียน การร้องเพลงจากที่ไหน เมื่อก่อนไม่ได้สนใจเพลงลูกทุ่งเลย บังเอิญเพื่อน ชวนไปดูหนังเรื่องเกี่ยวกับประวัติของ “ พุ่มพวง ดวงจันทร์” ราชินีลูกทุ่ง มี ความประทับใจว่า แม้จะเป็นคนบ้านนอก ยากจน อ่านหนังสือไม่ออก แต่ ก็ฝึกฝนตนเองจนเป็นนักร้องแนวหน้า เธอจึงกลับมาเปิดอินเตอร์เน็ตหา วิธีการร้อง แล้ว ฝึกฝนจนได้รับรางวัลจากการประกวดมากมาย ฉันนั่งดูเขาเล่าแล้วน�้ำตาไหลพราก สงสารตัวเองที่อยากจะเป็น นักร้องสมัยที่ยังเป็นหนุ่มน้อย สมัยนั้นมันไม่มีเครื่องมือสื่อสารอย่าง นี้ แม้แต่วิทยุยังไม่มีเลย อาศัยเพื่อนจดเอามาจากบ้านเอามาร้องกันยาม ว่าง เพื่อนฉันอีกคนหนึ่งก่อนเกษียณ เป็นนายอ�ำเภอแก้งคล้อบ้านอยู่แถว ตลาดพลู เรียน ปม.ช ห้องเดียวกัน ชอบร้องเพลงเหมือนกัน ชวนฉันให้ ไปประกวดร้องเพลงงานวัดแถวตลาดพลู จัดแจงไปสมัครให้เสร็จ คืนนั้น



เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

ที่ดีของคนชาติต่างๆ เช่น การตรงต่อเวลาของฝรั่ง การเคร่งครัดต่อระเบียบวินัยของคนญี่ปุ่น ความขยันขันแข็ง ของคนจีน เป็นต้น เป็นสิ่งที่ควรเอาอย่าง แต่ถ้าเรายังเอาอย่างฝรั่งทุก อย่างไป โดยไม่ค�ำนึงถึงชาติภูมิของตนเองแล้ว สักวันหนึ่งประเทศไทย ก็คงจะมีแต่ชื่อ จะไม่มีศิลปวัฒนธรรมหลงเหลืออยู่เลย” ฉันแอบชอบอาจารย์ท่านหนึ่งที่เขียนเล่าในเฟสว่า ปลาค้าว ที่ขัยนาทอร่อย น้องชายเห็นพี่ชอบ พอรู้ข่าวว่าพี่จะมาเยี่ยมจึงไปซื้อ ปลาค้าวมาให้ ฉันว่ามันเป็นความรักผูกพันระหว่างพี่น้อง อีกเรื่องหนึ่งอาจารย์เล่าว่า มีความคิดในสมัยเด็กว่า แม่รัก น้องชายมากกว่าเพราะตัวเองเป็นผู้หญิง มาซาบซึ้งว่าแม่รักก็ตอนที่ เจ็บป่วยจากการคลอดลูก พอฟื้นขึ้นมาเห็นแม่นั่งเฝ้าอยู่เพียงล�ำพัง จึงรู้ว่าแม่รักและห่วงใยตนเองเพียงใด ฉันว่ามันเป็นข้อเขียนที่กินใจ ที่เข้าใจในพระคุณของแม่ว่า แม่ให้ความรักต่อลูกทุกคน ไม่ว่าลูกจะ เป็นอย่างไร อาจารย์ เกษียณท่านหนึ่งเป็นศึกษานิเทศก์ที่เกษียณอายุ ราชการแล้วมาเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ท่านเอาเปลือกไข่มาเขียน ลายไทยสวยมาก นอกจากนั้นยังเอาตอไม้ ฝักคูน เศษวัสดุ มาเขียนลายไทยเพื่อเพิ่มมูลค่า ท่านไม่ได้ขายแต่ เอามาเป็นของที่ระลึก ท่านเล่าเรื่องในอดีตให้ฉันฟังว่าเรียนจบชั้นมัธยมแล้วไม่รู้ว่า ตัวเองจะไปเรียนต่ออะไร จนครูที่สอนศิลปะบอกว่า ชอบศิลปะให้ไป เรียนที่เพาะช่าง ไปลอบเข้าก็ไม่ได้ จึงไปเรียนกวดวิชาวาดเขียนอยู่ สองปีไปลอบเข้าก็ไม่ได้อีก ดีแต่ว่าครูสอนกวดวิชาให้ไปลองสอบวาด เขียนตรีปีแรกและวาดเขียนโทปีต่อมา จึงเอาวุฒิไปสอบบรรจุ เลยได้ เป็นครู ต่อมาเมื่อสอบวาดเขียนเอกได้จึงไปสอบเรียนใหม่ ถึงเข้าได้ ชีวิตล�ำบาก ต้องต่อสู้ดิ้นรน กว่าจะได้เรียนปริญญาตรีที่ประสานมิตร และปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาเป็นศึกษานิเทศก์ มีเรื่อง ราวมากมาย ถ้าเล่าก็เป็นเหมือนนิยาย ที่ตื่นเต้น สนุกสนาน เศร้าผิด

เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

หวัง สมหวัง สารพัด ฉันชอบหนังสือ “ บ้านเล็กในป่าใหญ่” ของแอนเดอรสัน และ เรื่อง “ลูกอีสาน”ของ ค�ำพูน บุญทวี เพราะเป็นเรื่องเล่าให้เห็น ภาพของคนในยุคนั้น เป็นยุคบุกเบิก ที่เต็มไปด้วยอุปสรรคนานา ประการ ฉันว่ามันเป็นประวัติศาสตร์มากกว่าเป็นนิยาย ผู้ประพันธ์ เขียนเล่าได้อย่างสนุก ไม่น่าเบื่อ ได้สาระ มีเรื่องที่น่าประทับใจ หลายตอน ฉันไม่ใช่นักเขียนมืออาชีพ แต่ก็มีหัวใจที่อยากจะเล่า พยายาม เขียนเล่าตามที่พบเห็นมา ไม่กลัวว่าใครจะติติงอย่างไร แต่ก็อยาก จะรู้(ผลการประเมิน)นะว่า เป็นอย่างไร จึงเอ่ยปากถามคนในรถ “อ่านเรื่องที่ผมเขียนหรือเปล่า “ ฉันถาม “อ่าน” เสียงคนในรถตอบ “ลุงว่าเป็นอย่างไร จะได้ปรับปรุง “ ถามผู้เฒ่า “สนอง คือใคร “ ผู้เฒ่าสรุป อิอิ (อายเขาไหมเล่า อยู่ดี ไม่ว่าดี) เป๊ะเลย สนอง โกศัย ผู้เขียน ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙


เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

เมื่อกลับมาถึงบ้าน ฉันก็ยังพูดถึงความซาบซึ้งใจกับวัดนี้อยู่ จน น้องๆ หลานๆ ชมว่าฉันคงท�ำบุญมาหลายภพหลายชาติแล้ว จึงสัมผัสรับรู้ ได้กับรสพระธรรม ถ้าได้มาปฏิบัติต่อคงจะบรรลุแน่ๆเลย ฉันเลยไขปริศนาในใจให้ฟัง เชื่อไหมว่า ฉันเป็นคนกลัวพระที่สุด เลย พูดแล้วก็เหมือนคน มีบาปเยอะ เพราะเห็นพฤติกรรมที่กระท�ำผ่านๆมา แม้กระทั่งแม่ชีก็เกิดความกลัว พอพูดจบเท่านั้นแหละ ทั้งน้องทั้งหลานระดมใส่ฉันอย่างไม่ยั้งเลย แบบว่า “ชั่วช่างชีดีช่างสงฆ์ เป็นเรื่องของท่าน ใครท�ำกรรมอะไรไว้ ก็ จะได้รับกรรมนั้นเองแหละ” ฉันฟังแล้วยังซักต่อเรื่องนั้นเรื่องนี้อย่างเรื่องการวิปัสสนากรรมฐาน เห็นโน่นเห็นนี่ จริงหรือเปล่า ฉันเลยได้รับความรู้มากมาย ในใจก็ดีใจนะที่มี คนสืบทอดพระพุทธศาสนามากขึ้น เราศึกษาน้อยก็รู้น้อย ใครที่ศึกษามากก็รู้มาก ใครปฏิบัติก็ได้กับ ตัวเอง อกาลิโกไม่จ�ำกัดเวลา ฉันกลับมาที่โคราชยังมีสะพานบุญทอดมาให้อีก คือได้รับซีดีหลวงพ่อ ปราโมทย์จากผู้หวังนิพพาน ท่านอธิบายดีมาก ท่านแนะน�ำธรรมมะหลาย อย่างให้พิจารณาเช่น อะไรที่มีสาระหรือไม่มีสาระ สาระอะไรที่มีประโยชน์ หรือไม่มีประโยชน์ ประโยชน์อะไรที่เกี่ยวกับตัวเราหรือไม่เกี่ยวกับตัวเราแล้ว ให้มีสติ รู้จ�ำ ไม่ลืม ขันฑ์ (รูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ) เป็นผู้แสดง จิตเป็นผู้ดู ต้องเป็นกลาง ตั้งมั่น มีสมาธิ รู้รูป รู้นาม ทุกข์ สุข บังคับไม่ได้ สั่ง ไม่ได้ ไม่จีรัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปตามสภาวธรรม ฉันเปิดซ�้ำๆหลาย ครั้ง ฟังแล้วตัวฉันเองยังอีกน้านนาน นานมากๆ อย่างไรก็ตาม ก็ยังแสวงหา ความรู้เกี่ยวกับ ทุกข์ สุข ทั้งทางโลกทางธรรมอย่างกับทางโลก มหาวิทยาลัย ฮาวาร์ด แนะวิธีสร้างนิสัยแห่งความสุข ๒๐ ข้อ ดังนี้

๑. ส�ำนึกบุญคุณ ๒. เลือกเพื่อนอย่างชาญฉลาด ๓. ฝึกฝนความ เห็นอกเห็นใจ ๔. หมั่นเรียนรู้ ๕. หัดเป็นนักแก้ปัญหา ๖. ท�ำในสิ่งที่ชอบ ๗. อยู่กับปัจจุบัน ๘. ฝึกการให้อภัย ๙. กล่าวค�ำขอบคุณเสมอ ๑๐. สร้าง ความสัมพันธ์ลึกล�้ำ ๑๑. รักษาค�ำพูด ๑๒. ท�ำสมาธิ ๑๓. ตั้งมั่นในสิ่งที่ท�ำ ๑๔. มองโลกในแง่ดี ๑๕. รักอย่างไม่มีเงื่อนไข ๑๖. ไม่ยอมแพ้ ๑๗. ท�ำสิ่ง ที่ดีที่สุดแล้วอย่ายึดติด ๑๘. ดูแลตัวเอง ๑๙. คืนให้สังคม ๒๐. หัวเราะ บ่อยๆ อ้าวพวกเรา หัวเราะพร้อมกัน ฮ่าๆๆๆๆ ฮิๆๆๆๆๆ..........ฮิ้วววว

สนอง โกศัย ผู้เขียน ๑๙ เมย. ๒๕๕๙


เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

ผ้าเก้าอี้เอนนอนตัวเก่าขาดแล้ว ฉันจึงตัดมันทิ้งไปแล้วเอาเชือก ไนล่อนมาสานแทน ถึงจะไม่สวยแต่ก็ใช้เอนนอนได้ ที่ใต้ต้นมะขามข้างบ้าน ฉันลงนอนบนเก้าอี้เก่าตัวนั้น ภายใต้ร่ม เงาที่มีแสงมะลางมะเลือง ลมพัดอ่อนๆ แม้จะเป็นลมร้อนแต่ก็สบาย ฉันกลัวอยู่คนเดียวเพราะมีคนชอบมาทักว่าตอนนี้อยู่คนเดียว เหงาไหมเขาว่า “ อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับหมู่มิตรให้ระวังวาจา” คืออยู่กับหมู่เพื่อนอย่าพูดจาจนคนอื่นไม่ได้พูดแสดงตัวว่า รู้ทุก อย่าง ฉลาดกว่าคนอื่นๆจนเพื่อนร�ำคาญทนไม่ได้จึงขัดคอว่า “ รู้สึกว่าแกจะ รู้ทุกเรื่องนะ แกไม่รู้สักเรื่องจะได้ไหม” ส่วนอยู่คนเดียวให้ระวังความคิดเพราะจะคิดเรื่อยเปื่อย ไม่รู้ จบจนจับต้นชนปลายไม่ได้ แต่....บรรยากาศมันอ�ำนวยเหลือเกิน พอฉัน เอนตัวลงนอนปับ ฉันก็คิดทันที อยากจะไปท่องเที่ยวเหมือนกับเพื่อนที่ไปต่างจังหวัด ไปเที่ยวป่า เที่ยวเขา น�้ำตก ทะเล ชมวัดชมสวน ไปดูดอกไม้ ดูวิว ไปกินอาหารที่อร่อยๆ ร้านโน้นร้านนี้ หรือไปต่างประเทศ ไปยืนถ่ายรูปมาอวดเพื่อนๆ ไปฮ่องกง เกาหลี ญี่ปุ่น อิตาลี ฝรั่งเศส อเมริกา พม่า ลาว อยากไปรอบโลก คิดไม่ จบ ไม่คิดอีกแล้วไปเข้าวัดดีกว่า ไปท�ำสมาธิ วัดไหนดีนะ วัดป่า วัดในเมือง วัดต่างจังหวัด เหนือหรือใต้ดี อีสานเขาก็ว่าดี มีอาจารย์ดีๆเยอะไปสักห้าวัน เจ็ดวันจะเป็นไรไป เอ๊ะแล้วเราจะไปอย่างไร เรายังมีบ้าน มีสิ่งที่เรายังห่วง อยู่ เราทิ้งยังไม่ได้ เราเป็นคฤหัสถ์ไม่ใช่บรรพชิต ถ้าเราไป ใครจะดูแลหลาย คนไปแล้วมีปัญหาตามมา ผู้หญิงก็หาว่าไปสอยพระ ผัวอยู่บ้านก็มีเมียน้อย ผู้ชายไปก็หาว่าไปหาคู่ ไปมีกิ๊ก ไม่รับผิดชอบ หนีไปสบายเพียงล�ำพัง คิดไม่ จบอีกแล้ว ไม่คิดดีกว่า พักเถอะนอนๆๆ นอนก็ไม่หลับ คิดถึงสมัยเรายังเป็นเด็กดีกว่ามีความสุขดี กิน เล่น นอนหลับสบาย กลางวันเวลานานมาก มีเวลาเหลือเฟือให้เราไปยิงนก

เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ เดือนเมษาเป็นเดือนขึ้นปีใหม่ไทย เราจึงเริ่มท�ำแต่สิ่งดีๆ เช่นท�ำบุญ ใส่บาตร รดน�้ำด�ำหัว ขอพรผู้ใหญ่ตลอดจนท�ำกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อ สังคมและประเทศชาติ เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม๒๕๕๙ ฉันได้ไปท�ำบุญครบ ๑๐๐ วันให้พี่สาว ที่วัดอุตรดิตถ์ธรรมมาราม อ�ำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นวัดป่าจึงดูเรียบ ง่าย สะอาด สงบ มีความประทับใจกับวัดและหลวงพ่อ กานต์ วรธรรมโม เจ้าอาวาส ที่ด�ำเนินวิถีพุทธตามแนวทางพุทธศาสนา จึงเอาบุญเชิงประจักษ์ มาเล่าให้ฟัง ทางวัดได้แยกส่วนที่ถวายอาหารกับสถานที่ปฏิบัติธรรมออกจาก กัน ดังนั้นเมื่อเอาอาหารไปจัดถวายแล้วก็มาที่ศาลาปฏิบัติธรรมซึ่งจัดไว้เป็น สัดส่วน มีพระพุทธรูป เป็นประธาน มีอาสนะสงฆ์ และจัดที่ไว้ส�ำหรับผู้ที่มา ร่วมท�ำบุญ เรียงเป็นแถวเป็นแนว พร้อมกับบทสวดมนต์แปล มีเบาะรองนั่งปู บนพรมด้วย ฉันเข้าไปนั่งอย่างสงบพร้อมกับญาติธรรมทั้งหลาย ท�ำสมาธิ ส�ำรวม กายใจ จึงไม่รู้ว่ามีคนมานั่งเต็มแล้ว พอเผยอตามองไปทางด้านหน้าก็เห็น พระคุณเจ้านั่งเต็มอาสนะ ฉันรู้สึกเย็นไปทั้งตัวที่ไม่เคยได้รับการสัมผัสเช่นนี้มา ก่อน คือเงียบเสียจนระทั่งเสียงก้าวเดินก็ไม่ได้ยิน การสวดมนต์ก็เป็นไปอย่างพร้อมเพียง พิธีการเรียบง่ายครบถ้วน วันนั้น ได้ฟังธรรมะจากหลวงพ่อเรื่องการปฏิบัติตนตามแบบพุทธศาสนา คือการน�ำ เอาหลักธรรมมาใช้ในชีวิตประจ�ำวัน เพื่อความสุข ความเจริญโดยเน้นการท�ำ สมาธิ การปฏิบัติธรรม การท�ำจิตใจให้สงบ การรักษาศีล และการท�ำความดีทั้ง ปวง


สิงห์สาราสัตว์อยากให้ถึงบ้านเพื่อนเร็วๆ พอถึงบ้านเพื่อนก็โล่งใจ แต่ก็คิดในใจว่าเขาอยู่ได้อย่างไร ชาวบ้าน ปลูกบ้านอยู่ริมห้วย ไหล่เขา ในป่า ต้องขึ้นเนินลงเนิน อยู่ห่างๆกัน เงียบก็ เงียบเปลี่ยวก็เปลี่ยว ใช้น�้ำในล�ำธารใสมองเห็นเม็ดทราย ฉันตื่นเต้นที่มอง เห็นเม็ดทองเป็นก้อนเล็กๆปนอยู่กับเม็ดทราย ส่องแสงระยิบระยับ จนอด ไม่ได้ที่จะเก็บมาอวดเพื่อนๆที่บ้านเกิด มีความสุขที่สนุกสมัยเด็กๆมันบริสุทธิ์ ประทับใจไม่มีวันลืม ยาม เราแก่คิดถึงทีไรก็มีความสุข ใช่แล้ว. มันเป็นความสุขจริงๆ สมัยเริ่มท�ำงานใหม่ๆก็มีเพื่อนครูหนุ่มๆหลายคนอยู่ด้วยกัน ตอน นี้ก็มีครอบครัวแยกย้ายไปคนละถิ่นละที่ มีเพื่อนคนหนึ่งตอนนี้เขาอยู่ อเมริกา ไม่ได้เจอกัน ๔๐กว่า ปี เลยนัดแนะกันอยากพบอยากเจอ อยาก เล่าเรื่องเก่าๆที่เมื่อก่อนเราอยู่บ้านพักครู ไปเรียนภาคค�่ำ ฉันเรียนที่ ประสานมิตร เขาเรียนที่บางแสน หลังจากเลิกสอนแล้วก็ไปเรียนกัน ตอน ค�่ำก็กลับมานอนที่บ้านพักนัดเจอกันที่ล๊อค ๖ ค ห้วยขวาง แล้วเดินผ่านทุ่ง นาไป ๑ กิโลเมตร อยู่แถวศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยปัจจุบัน สมัย นั้นเป็นทุ่งนา หน้าน�้ำต้องไปเรือหางยาว เมื่อสร้างโรงเรียนใหม่ๆเขาท�ำ ถนนดินไม่มีลูกรัง หน้าฝนต้องถอดรองเท้า นักเรียนบางคนก็หกล้มตัว มอมแมม ครูที่อยู่ในกรุงเทพฯไปสอนใหม่ๆร้องไห้ว่ามาท�ำงานล�ำบาก แต่ ครูหนุ่มๆชอบตอนกลางคืนเดินกลับบ้านพักสามารถถอดเสื้อถอดกางเกง เดินได้เลยเพราะกลัวเปื้อนโคลน ไม่มีแสงไฟจึงไม่มีคนเห็น อิๆ พอคุยกันได้ที่ฉันก็แอบกระซิบเบาๆว่า “เดี๋ยวนี้แกยังแก้ผ้าเดิน อยู่หรือเปล่าวะ” มันหัวเราะแล้วตะโกนถามเมียมันว่า “ไอ้หนองสงสัยว่า เดี๋ยวนี้ผมยังเดินแก้ผ้าอยู่หรือเปล่า” แล้วมันก็หัวเราะฮ่าๆๆๆๆ” เมื่อไม่นานมานี้มีเหตุการณ์ที่คิดไม่ถึงกับครอบครัวฉัน ในยาม หน้าสิ่วหน้าขวานเช่นนี้ฉันมองหาญาติพี่น้อง พี่ป้าน้าอาไม่เจอเลย แต่ ยังดีที่มีเพื่อนแสนดีคนหนึ่งอยู่ข้างเคียงฉันตลอด คอยเป็นห่วงเป็นไย แวะ เวียนถามไถ่อยู่เสมอ อยู่อย่างไร กินอย่างไร มีอะไรจะให้ช่วยไหม ถ้าไม่มา ก็โทรมา เช้ามา กลางวันมา เย็นมา ใช่. ฉันจะจดจ�ำเขาไว้ตลอดชีวิต

ขณะที่มือซ้ายฉันกุมมือเธอไว้ข้างหนึ่ง มือขวาลูบ ศีรษะเธอเบาๆปากก็พร�่ำสวดมนต์เพื่อให้เธอสู่สุคติ มีลูกสาว คนหนึ่งยืนอยู่เคียงข้างฉัน ถัดไปเป็นเพื่อนผู้แสนดีอีกคนหนึ่ง นอกนั้นมองหาเพื่อนไม่มีเลย หลังจากนั้นไม่นานก็ติดต่อ หมอและเจ้าหน้าที่ ทั้งสามคนลงลิฟต์มาพร้อมกับร่างที่ไร้ วิญญาณ พอส่งเธอแล้วฉันก็จูงมือลูกสาวกลับบ้าน โดยไม่มี น�้ำตา เพี ย งแค่ เ ห็ น ฉั น หลั่ ง น�้ ำ ตาออกมาหรื อ แม้ แ ต่ เ สี ย ง สะอื้นไห้ ลูกก็จะปล่อยโฮ เพื่อนก็จะเสียขวัญ ฉันต้องฝืนเก็บ น�้ำตาซ่อนไว้ภายในอย่างระทมใจที่สูญเสียคนที่รักไป มิให้ผู้ ใดเห็น วันนั้นฉันเห็นสัจธรรมที่ว่า “เพื่อนกินหาง่าย เพื่อน ตายหายาก” ใช่. ฉันจะจ�ำเพื่อนคนนี้ไว้ตลอดชีวิต สนอง โกศัย ผู้เขียน ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๘


ผ้าเก้าอี้เอนนอนตัวเก่าขาดแล้ว ฉันจึงตัดมันทิ้งไปแล้วเอา เชือกไนล่อนมาสานแทน ถึงจะไม่สวยแต่ก็ใช้เอนนอนได้ ที่ใต้ต้นมะขามข้างบ้าน ฉันลงนอนบนเก้าอี้เก่าตัวนั้น ภายใต้ ร่มเงาที่มีแสงมะลางมะเลือง ลมพัดอ่อนๆ แม้จะเป็นลมร้อนแต่ก็สบาย ฉันกลัวอยู่คนเดียวเพราะมีคนชอบมาทักว่าตอนนี้อยู่คนเดียว เหงาไหมเขาว่า “อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับหมู่มิตรให้ระวัง วาจา” คืออยู่กับหมู่เพื่อนอย่าพูดจาจนคนอื่นไม่ได้พูดแสดงตัวว่า รู้ทุก อย่าง ฉลาดกว่าคนอื่นๆจนเพื่อนร�ำคาญทนไม่ได้จึงขัดคอว่า “รู้สึกว่าแก จะรู้ทุกเรื่องนะ แกไม่รู้สักเรื่องจะได้ไหม” ส่วนอยู่คนเดียวให้ระวังความคิดเพราะจะคิดเรื่อยเปื่อย ไม่รู้จบ จนจับต้นชนปลายไม่ได้ แต่....บรรยากาศมันอ�ำนวยเหลือเกิน พอฉัน เอนตัวลงนอนปับ ฉันก็คิดทันที อยากจะไปท่องเที่ยวเหมือนกับเพื่อนที่ไปต่างจังหวัด ไปเที่ยว ป่าเที่ยวเขา น�้ำตก ทะเล ชมวัดชมสวน ไปดูดอกไม้ ดูวิว ไปกินอาหารที่ อร่อยๆ ร้านโน้นร้านนี้ หรือไปต่างประเทศ ไปยืนถ่ายรูปมาอวดเพื่อนๆ ไปฮ่องกง เกาหลี ญี่ปุ่น อิตาลี ฝรั่งเศส อเมริกา พม่า ลาว อยากไปรอบ โลก คิดไม่จบ ไม่คิดอีกแล้วไปเข้าวัดดีกว่า ไปท�ำสมาธิ วัดไหนดีนะ วัด ป่า วัดในเมือง วัดต่างจังหวัด เหนือหรือใต้ดี อีสานเขาก็ว่าดี มีอาจารย์ ดีๆเยอะไปสักห้าวัน เจ็ดวันจะเป็นไรไป เอ๊ะแล้วเราจะไปอย่างไร เรายัง มีบ้าน มีสิ่งที่เรายังห่วงอยู่ เราทิ้งยังไม่ได้ เราเป็นคฤหัสถ์ไม่ใช่บรรพชิต ถ้าเราไป ใครจะดูแลหลายคนไปแล้วมีปัญหาตามมา ผู้หญิงก็หาว่าไป สอยพระ ผัวอยู่บ้านก็มีเมียน้อย ผู้ชายไปก็หาว่าไปหาคู่ ไปมีกิ๊ก ไม่รับ ผิดชอบ หนีไปสบายเพียงล�ำพัง คิดไม่จบอีกแล้ว ไม่คิดดีกว่า พักเถอะ นอนๆๆ

นอนก็ไม่หลับ คิดถึงสมัยเรายังเป็นเด็กดีกว่ามีความสุขดี กินเล่น นอนหลับสบาย กลางวันเวลานานมาก มีเวลาเหลือเฟือ ให้เราไปยิงนกตกปลา เล่นน�้ำ ปีนเขา ลงหนองเก็บฝักบัว เข้าป่า เก็บมะกอกป่า เล็บเหยี่ยว ตะขบ นมวัวกินอร่อยเพราะไม่มีขนมกิน เหมือนสมัยนี้ ฉันมีเพื่อนคนหนึ่งบ้านมันอยู่ขุนฝาง ไกลมาก มันชวนไป เที่ยวตอนปิดเทอม มันมาเรียนที่บ้านฉัน เพราะมันเป็นหลานแม่ชี ใบ ลูกชายแม่ชีใบไปเป็นครูอยู่ที่นั่นเลยได้เมียมีลูกคือเพื่อนฉันนี่ แหละ ที่ว่าไกลเพราะอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ฉันกับเพื่อนและแม่ชี ใบต้องขึ้นรถโดยสารจากบ้านฉันมา อ�ำเภอสวรรคโลก นั่งรถไฟไป ถึงชุมทางบ้านดาราขึ้นเหนือไปลงบ้านปากฝาง เหนืออุตรดิตถ์และ ศิลาอาสน์ขึ้นไปประมาณสามสถานี แล้วเดินอีก๖-๗กิโลไปบ้าน เหล่าป่าสา พักค้างคืนหนึ่งคืน ที่นี่เป็นบ้านลูกชายแม่ชีใบอีกคน หนึ่งที่มามีครอบครัวบ้านเหล่าป่าสา ตอนกลางคืนหนาวมากเพราะ อยู ่ ใ กล้ กั บ ภู เ ขาเทื อ กเขาผี ป ั น น�้ ำ เป็ น เขตติ ด ต่ อ ระหว่ า งจั ง หวั ด สุโขทัย อุทยานเวียงโกศัยจังหวัดแพร่ ฉันนอนโดยไม่มีผ้าห่ม เสื้อ หนาวก็ไม่มี มีผ้าขาวม้าผืนเดียว บ้านเขาฐานะไม่ค่อยดีและมีลูก หลายคนจึงไม่มีผ้าห่มมาแบ่งปัน ฉันนอนไม่หลับเลยทั้งคืน ต้อง นอนขดซุกไออุ่นกับเพื่อน มันเป็นคืนที่หนาวเหน็บมากคืนหนึ่งใน ชีวิตที่ฉันไม่เคยลืมเลย (เมื่อมาอ่านเรื่องเด็กหญิงกับไม้ขีดไฟ จึง เข้าใจถึงความหนาวอย่างซาบซึ้ง) รุ ่ ง เช้ า ออกเดิ น ทางแต่ เ ช้ า เพราะว่ า จะต้ อ งเดิ น อี ก ๖-๗ กิโลเมตรตามทางรถลากไม้ สมัยก่อนรัฐบาลให้ประมูลตัดไม้ได้ สินค้าส่งออกของไทยมีข้าวกับไม้เป็นหลัก จึงให้ตัดไม้ได้ทุกภูเขา คิดไม่ถึงเลยว่าจะโล่งเตียนถึงขนาดนี้ ฉันเดินต้องคอยหลบรถลาก ไม้ที่สวนมา ตาก็ดูป่า ดูนก ดูไก่ป่าวิ่งบ้างบินบ้าง เสียงชะนีโหยหวน อยู่บนยอดไม้ บางทีก็ได้ยินเสียงกวาง เสียงสัตว์ป่าดังมากระทบหู เพื่อนมันชินไม่เห็นตื่นเต้นอะไร แต่ฉันตื่นเต้นกับป่าที่รกครึ้ม เสียง


เล่าสู่กันฟัง 2

เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

“ชีวิตหลังเกษียณ”

ั ก�ำธร อินทรพิชย เกษียณ แปลตามพจนานุกรม คือ ปลดจากงานเมื่ออายุ ครบ 60 ปี แต่ส�ำหรับตัวเองแล้ว ค�ำว่า เกษียณ ลืมไปเลยเพราะ เคยปฏิบัติภารกิจประจ�ำวันก่อนเกษียณอย่างไร หลังเกษียณก็ ด�ำเนินต่อไปเหมือนเดิม ไม่น้อยไปกว่าเดิมเลย บางเวลาอาจ มากกว่าเดิมอีก แต่สิ่งหนึ่งที่ที่บอกกับตัวเองอยู่เสมอ เรื่องของ “เวลา” ทุก อย่างต้องท�ำออกมาให้ส�ำเร็จในเวลาเร็วที่สุดและตรงตามเป้า หมายที่ได้ก�ำหนดไว้ ในหลายๆ ครั้งต้องพบกับปัญหา อุปสรรค หลายอย่าง ต้องแก้ไขให้ทันกับเวลา ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย เลย แต่ก็สามารถผ่านมาได้ทุกครั้ง ในอาชีพท�ำเครื่องประดับอัญมณี มีลูกค้าทั้งคนไทยและ ต่างประเทศ (ฝรั่งเศส เยอรมัน อเมริกา แคนนาดา ญี่ปุ่น) ชอบ มาสั่งท�ำ ออกแบบเครื่องประดับแบบที่ตัวเองชอบ และต้องการ ให้งานเสร็จเร็วๆ ซึ่งในการท�ำเครื่องประดับให้ออกมาได้สวยงาม ตรงตามใจที่ลูกค้าต้องการ มีชั้นตอนที่ละเอียด ยิ่งขั้นตอนการท�ำ ที่ต้องอาศัยงานด้านฝีมือ ช่างต้องเก่งและมีประสบการณ์ความ ช�ำนาญมาก (ส่วนมากมักจะเป็นผู้สูงอายุเหมือนเราๆ) หลายครั้ง ถ้าช่างไม่อยู่ในห้วงอารมณ์อยากท�ำงาน เค้าก็จะไม่ท�ำเพราะถ้า ฝืนท�ำไปงานออกมาไม่สวย (เหมือนกับศิลปินผู้สร้างงานศิลปะ ถ้า ไม่อยู่ในอารมณ์ที่จะท�ำงานแล้วผลงานที่ออกมาบนแผ่นกระดาษ หรือผืนผ้าใบก็ไม่สวย) มันเป็นอะไรที่ท้าทาย ให้เราคิด ท�ำ และแก้ ปัญหาให้ทุกอย่างออกมา ดี สวยถูกใจลูกค้าในเวลาที่ก�ำหนดให้ได้ ในปี พ.ศ. 2549 ตัวเองได้ไปท�ำธุระในมหาวิทยาลัย

เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

รามค�ำแหง เห็นทางมหาวิทยาลัยฯ เปิดการเรียนสาขาการ แพทย์แผนไทย ท�ำให้เกิดความสนใจและอยากศึกษา สาเหตุ จะเพราะตัวเราเองตอนสมัยเด็กที่บ้านขายยาส�ำเร็จรูป จึง มีความชอบและสนใจเป็นทุนเดิม และคิดว่าถ้าเรามีความรู้ การแพทย์แผนไทยในเชิงกว้างและถูกต้อง เราน่าจะน�ำไปใช้ ประโยชน์ อย่างน้อยก็ดูแลคนรอบๆ ตัวเราได้ และคงได้ท�ำ อะไรตอบแทนคืนสังคมได้บ้าง จึงตัดสินในไปสมัครลงเรียน อยากจะบอกเพื่อนๆ ว่า การเรียนปริญญาตรี สาขา แพทย์แผนไทย ครั้งนี้เหมือนบททดสอบชีวิตที่ส�ำคัญครั้ง หนึ่งในชีวิตก็ว่าได้ ต้องเข้าเรียนสัปดาห์ละ 5 วัน เรียน 17.00 - 21.00 น. ทุกวันต้องตื่นขึ้นมาแต่เช้ามืด อ่าน เขียน ท่องต�ำรา ต้องออกไปฝึกงานจริง ได้มีเพื่อนใหม่ทุกเพศ ทุกวัย แก่กว่าเราก็ มี เริ่มต้นเรียนกัน 100 กว่าคน เรียนไปสัก 1 ปีเหลืออยู่ 50 คน เป้าหมายของทุกคนต้องการเป็นหมอทางการแพทย์แผนไทย การเรียนทุกวิชายากมากไม่เคยคิดว่า การแพทย์แผนไทยเนื้อหา จะเยอะและยากมากขนาดนี้ เรียนอยู่ 4 ปี จบ ได้ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาแพทย์แผนไทย ด้วยความที่หลงเสน่ห์แพทย์แผนไทยและต�ำรับยาแผน ไทย อยากมีความรู้ในเชิงลึกและต้องการที่น�ำความรู้ มาช่วย เหลือผู้ป่วยและคนรอบๆ ตัวเรา จึงได้ศึกษาต่อปริญญาโท ที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะแพทย์ศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ สุขภาพ การเรียนปริญญาโทไม่ใช่ง่ายๆ เลย เราสนใจพืชวงศ์ ขิง ต้องท�ำวิจัยตามหลักสูตรของคณะฯ พืชวงศ์นี้พบทางภาค เหนือที่ ดอยอินทนนท์ แม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใน ประเทศเพื่อนบ้านที่จะพบพืชวงศ์นี้คือ ประเทศ ลาว พม่า เขมร เวียดนามและจีน จะพบว่าพืชวงศ์นี้มักขึ้นในป่าบนภูเขาสูงกว่า ระดับน�้ำทะเล 1,500 - 2,000 เมตรสาเหตุที่ท�ำให้สนใจพืชชนิดนี้ ก็เพราะ มีอยู่ครั้งหนึ่งได้มีโอกาสไปเดินป่าไป พบกับชาวเขาเผ่า


เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

จักม่า ได้เล่าให้ฟังว่าเวลาพวกเขาแขนหัก พวกชาวเขาจะน�ำพืช ชนิดนี้มาต�ำพอกแขนที่หักท�ำให้หายเป็นปกติได้ และที่อีกครั้งได้ เห็นคนมีอาการบ้านหมุน พวกชาวเขาได้เอาพืชชนิดนี้มาต�ำ พอก หัว ให้นอนสักพักอาการบ้านหมุนก็หาย จึงมีความสนใจและคิดว่า ถ้าเราน�ำพืชวงศ์นี้มาท�ำวิจัยตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ น่า จะผลิตยาออกมารักษาผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวได้เยอะ และน่าจะ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้ ก็คงจะดี แต่ทุกอย่างไม่ง่ายอย่างที่คิด เราต้องเดินทางไปหาต้นไม้ ชนิดนี้ ในการเดินทางแต่ละครั้งต้องเตรียมทีมที่เดิน ทางไปด้วย มีทั้งท่านผู้รู้ด้านต้นไม้วงศ์นี้โดยตรง ช่าง ถ่ายรูป ช่างวาดรูป ผู้ช่วย คนน�ำทาง สาเหตุที่ต้อง ไปกันหลายคน เพราะการจะได้ข้อมูลของต้นไม้จะ ต้ อ งท� ำ ตามหลั ก สู ต รที่ ท างมหาวิ ท ยาลั ย ฯก� ำ หนด ต้องเดินทางไปหลายรอบมาก เพราะเราต้องติดตาม ต้นไม้ชนิดนี้ ทุกๆ ปีในช่วงฤดูฝน สุดท้ายก็ผ่านมาได้ ส�ำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม) สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สิ่งที่ตั้งใจ จะน�ำความรู้ที่ได้มา น�ำมาเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ส�ำหรับผู้ป่วย อาจจะช่วยได้มากหรือน้อยก็ไม่เป็นไร ขอเริ่ม จากคนใกล้ตัวไปเรื่อยๆ หรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ในการให้เข้า ดูแลสุขภาพในช่วงเริ่มต้นหรือที่เรียกว่า ดูแล สุขภาพในชั้นปฐมภูมิ ก่อนที่จะส่งต่อถึงโรงพยาบาล สุดท้าย สิ่งที่เราคิดเสมอตลอดเวลา ว่าเวลาของเราเหลือ น้อยลงไปทุกวัน อะไรที่เราจะสามารถท�ำให้กับคนรอบตัว ญาติ เพื่อน สังคม เราจะท�ำโดยความเต็มใจ ด้วยความรู้ ความสามารถ ที่เรามีอยู่ อย่างไม่ลังเล เร็วที่สุด และต่อเนื่อง และคิดถึงเสมอ

ก�ำธร อินทรพิชัย 31 ตุลาคม 2559


เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

เล่าสู่กันฟัง 2

ชีวิตหลังเกษียณ

รอง ทองดาดาษ แดง-ด�ำ ฉันคิดถึงเธอเสมอ และตั้งใจจะเขียนบันทึกเกี่ยวกับชีวิต หลังเกษียณของฉันให้เธออ่านมานานแล้ว แต่เพราะฉัน เอาแต่จินตนาการอะไรต่อมิอะไรมากเกินไป บางครั้งก็หวน คิดถึงอดีตที่มีทั้งสมหวัง ผิดหวัง ขมขื่น หอมหวาน สุข ทุกข์ คลุกเคล้ากันไป ละครชีวิตของฉัน มันได้ปิดฉากลงแล้ว วันนี้โอกาสดีมาก ฉันจึงตัดสินใจเขียนถึงเธอ รู้ไหม? บางวัน ฉันเฝ้ามองท้องฟ้า ตั้งแต่พระอาทิคย์ขึ้น เช้า สาย แล้วก็บ่าย ค�่ำ คืนวันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ดูเหมือนเวลาส�ำหรับ ชีวิตของฉันนั้นบ่ายคล้อยมากแล้ว ไม่มีอะไรที่น่ารื่นรมย์ จะมีก็แต่แสงสาดส่องท้องฟ้ายามสายันต์เท่านั้นที่ชวนมอง เพราะวันนี้ อายุของฉัน เลขเจ็ดน�ำหน้าก�ำลังจะหมดไป เลข แปดก�ำลังจะมาแทนที่ นี่คือ ผู้สูงวัยมิใช่หรือ แต่ก็ยังดีนะ ที่ วันนี้ยังมีชีวิต ยังมีลมหายใจ ยังพอรับรู้ พรุ่งนี้อาจจะไม่มี ก็ได้ ส่วนคนที่สิ้นไปแล้ว ไม่มีวันนี้และพรุ่งนี้ แดง-ด�ำ ฉันหันกลับมาทบทวน เกี่ยวกับชีวิตของคนเรา จากที่เคย ได้ยินจนคุ้นหูอยู่เสมอว่า "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป" หรืออีก ส�ำนวนหนึ่ง "เกิด แก่ เจ็บ แล้วก็ตาย" ไม่มีอะไรนอกจากนี้ ฉันมักจะถามตนเอง ชีวิตคนเราก็เพียงเท่านี้เองหรือ แล้วอะไร คือ ความหมายของชีวิต ส�ำหรับฉัน ชีวิตคือ สิ่งมหัศจรรย์ที่สุดของโลก

เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

---

เหล่าวิหคนกกา ฝูงปลาน้อยใหญ่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย ดอกไม้ใบหญ้า ชูช่อไสว ที่มีความรู้สึกรับรู้ได้ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว นี่แหละ คือ ชีวิต

---

ชีวิต คิอ การเดินทางไปข้างหน้า ไม่ใช่ถอยหลังหรืออยู่กับที่ ชีวิตคือการต่อสู้ตลอดกาลของ กลุ่มชน เชื้อชาติ ชนชาติ และศาสนา ชีวิตคือสิ่งบอบบาง แฝงเร้นในจิตใจ ความ อิจฉา ริษยา ความเร่าร้อน อารมณ์ ความหวาดกลัว ความ พึงพอใจ และความกระวนกระวาย ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ยังมีอีกมากมาย ล้วนแต่เป็นชีวิตโดยทั่วไป เรามักจะเตรียม ตนเองให้เข้าใจเพียงมุมเล็กๆ ของชีวิตเท่านั้น

แดง-ด�ำ ฉันคิดว่า แต่ละคนย่อมมีมุมมองของชีวิตเป็นของตนเอง ฉันก็มีมุมมองเล็กๆ ของชีวิตเช่นกัน ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ จะใช้ปัญญา และเวลาให้เกิดประโยชน์ เกิดคุณค่าอย่าง สูงสุด เมื่อชีวิตสิ้นไปแล้ว ลูกหลานจะได้คิดถึง และภูมิใจ ในสิ่งที่ฉันได้ศึกษา ค้นคว้า น�ำมาบันทึกไว้ อาทิ

- ค�ำปู่ "หนูเอย สูเจ้า จงเอากระดาษห่อเก็บไว้ วันหนึ่ง ข้างหน้า เวลามาถึง เจ้าจะรู้ เจ้าจะเห็นจริง ค�ำปู่ได้พูด" อย่างไรก็ตาม บางครั้งเหมือนกัน ฉันฟังไม่ได้ศัพท์จับเอา มากระเดียด เช่น เรื่องชีวิตของมนุษยชาติ ฉันเห็นว่า คง ไม่มีปํญหาใด ๆ ในโลกที่มีความส�ำคัญยิ่งไปกว่า ปัญหา ชีวิตของมวลมนุษย์เรา

กับประสาน จรังรัตน์ เพื่อนแดงด�ำ๙๙ นักปรัชญาเมธี และเจ้าลัทธิศาสนาทั้งหลาย ได้พยายาม


เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

เล่าสู่กันฟัง 2

เล่าสู่กันฟัง 2

ชีวิตหลังเกษียณ

ชีวิตหลังเกษียณ

สงบ ลาดประเสริฐ

รัชนี บูรณสมภพ

หลังเกษียณแล้ว มีเวลาได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อนๆ พา กันไปเที่ยว ไปท�ำบุญ ไปเยี่ยมอาจารย์ และเยี่ยมเพื่อนต่าง จังหวัดตามแต่โอกาสจะอ�ำนวย รู้สึกอบอุ่นที่มีแต่เพื่อนๆ ที่ แสนดี ปัจจุบันนี้ร่างกายของเราเริ่มอ่อนแอลง แต่ยังพึ่งพาตัว เองได้ ไม่ค่อยได้ออกไปไหน มีความสงบเหมือนชื่อเรา อยู่บ้าน ใช้ชีวิตเรียบง่าย

อยู่อย่างพออยู่พอใช้ สุขตามที่มี พอดีตามที่ได้ พอใจไม่เกินตัว เอื้อเฟื้อแบ่งปันสร้างสุขส่วนรวม ตามแนวพระราชด�ำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จากพ่อหลวงอันเป็นที่รักยิ่งอย่างหาที่สุดมิได้ ของปวงชนชาวไทย

รักและคิดถึงเพื่อนเสมอ สงบ ลาดประเสริฐ โทรฯที่บ้าน 02-5265809 มือถือ 081-6655690 บ้านเลขที่ 68 หมู่ 2 หมู่บ้านศรีพรสวรรค์ ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

หลังเกษียณราชการมีงานท�ำ กิจกรรมผู้สูงอายุแสนสุขใส นั่งสวดมนต์สังสรรค์ร้องร�ำไป วันหยุดลูกลูกมีน�้ำใจพาไปเลี้ยง สุขภาพแคล่วคล่องยังว่องไว คาราโอเก๊ะยังได้ไปใช้เสียง เปลี่ยนอากาศถิ่นใกล้ไกลใจพร้อมเพรียง คนข้างเคียงและลูกสุขส�ำราญ

คิดถึงเพื่อนทุกๆคน

รัชนี บูรณสมภพ


เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

ค้นคว้า เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์อย่างเอาเป็นเอาตาย แม้จะใช้ เวลา ศึกษา ค้นคว้า ทั้งชีวิต และศึกษาต่อ ๆ กันมาก็ตาม ก็ไม่อาจจะรู้ได้แจ่มแจ้ง ยังมีความคิดเห็นแตกต่างกัน จึง สามารถแบ่งได้ 3 ทาง คือ ทางที่ 1 เห็นว่า ชีวิตนี้เป็นความทุกข์ ความล�ำบาก ทางที่ 2 เห็นว่า ชีวิตนี้ เป็นความสุข ความสงบ ทางที่ 3 เห็นว่า ชีวิตนี้ ไม่มีความหมายอะไร

เรื่องของชีวิต นับเป็นเรื่องส�ำคัญ ยากที่จะ ก�ำหนดลงไปว่าทางใด หรือลักษณะใดเป็นทางของชีวิต ที่ดี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเลือกหลัก ทางที่ 1 คือ ในชีวิตนี้ ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นความทุกข์ ดังพุทธ พจน์

" ชาติปิ ทุกขา ชราปิ ทุกขา มรณัมปิ ทุกขัง เพื่อนร่วมห้องที่พบกันประจ�ำ จากซ้าย ความเกิดเป็นทุกข์ ความเติบโต แก่เฒ่าลงไป ก็ มงคล-สุชาติ-ประพิศ-รอง เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์"

---

มีผู้ทูลถามพระพุทธเจ้า ว่า "จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ใจนี้ หวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ ทั้งใน กิจที่ยังไม่เกิด และในกิจที่เกิดแล้ว ถ้าความไม่ต้องสะดุ้งมี อยู่ ขอพระองค์จงตรัสบอกสิ่งนั้นเถิด" พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า "เว้น ปัญญา ความเพียร การส�ำรวมอินทรีย์ และความ

เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

ปล่อยวางโดยประการทั้งปวง เรา(ตถาคต)มองไม่เห็น ความ สวัสดีของสัตว์ทั้งหลายเลย" (พระไตรปิฎก เล่ม 15 ข้อ 265)

ปัญญา คือ ความฉลาด ความรอบรู้ รู้เหตุรู้ผล รู้ผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักประมาณตน รู้จักกาละเทศะ รู้จัก ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ ฯลฯ ตัวอย่างเกี่ยวกับสติ ปัญญา มีมากมายในทางพุทธศาสนา ในที่นี้ขอน�ำเอาเรื่องเบาๆ พอ ให้เห็นถึงผู้มีปัญญา มีเรื่องเล่าว่า...

...มีศาสตราจารย์คนหนึ่ง มีความรู้ความสามารถมาก เป็นที่ ยกย่องของลูกศิษย์ลูกหาและคนทั่วไป ที่บ้านแกเลี้ยงแมวไว้ 2 ตัว ตัวหนึ่งใหญ่ ตัวหนึ่งเล็ก มันคอยเข้าๆ ออกๆ ห้อง ท�ำงานของแกเป็นประจ�ำ แกต้องคอยเปิด-ปิดประตูให้แมว 2 ตัว เข้า-ออก จึงเกิดความร�ำคาญและเสียสมาธิในการท�ำงาน วันหนึ่งแกก็เกิดความคิด จึงเรียกคนรับใช้มาพบ นี่เธอช่วยเจาะ ฝาผนังห้องสัก 2 ช่อง ช่องใหญ่ส�ำหรับแมวตัวใหญ่ลอดได้ ช่องเล็กส�ำหรับแมวตัวเล็กลอดเข้าออกได้พอดี เมื่อคนรับใช้ งานเข้าอย่างนั้น ก็คิดอยู่ครู่หนึ่ง จึงเสนอเจ้านายว่า "ท่านครับ ผมคิดว่าไม่ต้องเจาะถึง 2 ช่องหรอกครับ เจาะช่องเดียวก็พอ เจาะให้ตัวใหญ่ลอดได้ ตัวเล็กก็จะลอดตามไปได้" ศาสตราจารย์ ถึงกับอึ้ง คงคิดว่า คนรับใช้คิดได้ยังไง แสดงถึงสติปัญญานั้น ส�ำคัญมาก "มีสติไว้แก้ปัญหา มีปัญญาไว้ตัดสินใจ"

แดง-ด�ำ เธอคงพอจะรู้แล้วว่า ฉันท�ำอะไรบ้างหลังเกษียณ เมื่อก่อน เวลาเป็นนายเรา ตอนนี้เราเป็นนายของเวลา ดังค�ำว่า "ชีวิต ที่ดีคือ ต้องมีเวลา" ฉันอยากจะท�ำอะไรก็ท�ำ บางอย่างก็หา สาระอะไรไม่ได้ บางทีก็มีสาระมากมายเหมือนกัน อย่างไร


เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง 2

ก็ตามฉันมีสิ่งเล็กๆ น้อยๆ มาฝาก เกี่ยวกับชีวิตหลังเกษียณ หวังว่าคงได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย ให้ระลึกอยู่เสมอว่า

---อย่าเอาแรงกดดันมาเป็นแรงขับเคลื่อน ใช้ร่างกายจนเกิน ก�ำลัง สุขภาพที่ดี คือต้นทุนทางร่างกาย ถ้าไม่แข็งแรงจะใช้ชีวิตอย่าง มีความสุขได้อย่างไร ---อย่าเห็นชื่อเสียง ลาภยศ สรรเสริญ เป็นสิ่งส�ำคัญที่สุดในชีวิตสิ่งเหล่านั้นเปรียบเหมือน หมอกควัน สุดท้ายก็มลายสูญ ---อย่าคิดว่าการทักทายของใครๆ เป็นสิ่ง น่าร�ำคาญ คนที่ส่งข้อความให้เราเสมอ เพราะเรา ยังอยู่ในใจของเขา ---อย่าคิดว่าหมอจะช่วยชีวิตเราได้ หมอที่ ดีคือ ตัวเรา เราดูแลชีวิตดีกว่าให้ใครมาช่วยดูแล ---อย่ามองข้ามคนที่มี บุญสัมพันธ์ เมื่อให้ ร่วมกับเพื่อนแดงด�ำ๙๙ เยี่ยมอ.ปราณีที่ รพ. สิ่งของกับใครแล้ว ไม่ต้องรอให้เขาตอบแทนบุญคุณ ---จงระลึกอยู่เสมอว่า สิ่งที่เราแสวงหา คือทรัพย์สินเงินทอง คิดว่ามีค่ามากที่สุด สิ่งเหล่านั้นส่งได้แค่โรงพยาบาล ส่วนสามี ภรรยา ลูกหลาน ญาติมิตร พี่น้อง ส่งได้แค่เชิงตะกอน ---สุดท้ายทุกคนหนีไม่พ้น อนิจจัง เมื่อมีชีวิตให้หมั่น คิดดี พูดดี ท�ำดี นี่คือ คุณค่าแห่งชีวิต

ด้วยรักและคิดถึง รอง ทองดาดาษ

ปล.ขอขอบคุณ ผศ.มงคล แก้วพวงงาม และผู้เกี่ยวข้องทุกคน ที่จัดท�ำหนังสือเล่มนี้ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย






Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.