อาจดูเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนต่างจังหวัดที่ต้องพลัดพรากจากแหล่งกำเนิดเพื่อไปทำงานในเมืองใหญ่ แต่เชื่อหรือไม่ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจนเป็นปกติเหล่านั้นล้วนเกิดจากความแปรผันมานับแต่ยอดจากพีระมิด จุดหักเหสารพัดจากเหตุการณ์ทางการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ที่ยับยั้งพัฒนาการทางสังคม จนทำแค่ให้การเดินทางกลับบ้านเกิดในช่วงเทศกาล เป็นมหกรรมชีวิตที่ต้องเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเสมอมา
“ภู กระดาษ” นักเขียนหนุ่มเลือดอีสานผู้เคี่ยวกรำการเขียนมานับตั้งแต่เป็นนีกกิจกรรม จึงทุ่มเทขีดเขียนนวนิยายที่บรรยายถึงอารมณ์และสภาพความเป็นจริงของคนพื้นถิ่น บอกเล่าการเดินทางด้วยภาษาอันเป็นเอกลักษณ์ในการเขียนหนังสือของนักเขียนหนุ่มผู้นี้ ภายใต้นวนิยายชื่อ “เนรเทศ”
ด้วยเนื้อหาของนวนิยาย นอกจากจะเน้นการบรรยายด้วยภาษาพื้นถิ่นแล้ว เค้าประเด็นที่ให้น้ำหนักมิใช่แค่เรื่องเล่าในชนบทเท่านั้น หากให้ความสำคัญกับบรรยากาศแวดล้อม เชื่อมโยงถึงปรากฏการณ์ทางการเมืองและสังคม ส่งสะท้อนไปยังระบบการขนส่งของประเทศอันเป็นดุจกระจกมหัศจรรย์ที่ฉายให้เห็นความจริงอีกหลายด้าน
เป็นความจริงที่ฉาบนอกสวยงาม ทว่าภายในกลวงโหวงว่างเปล่า ราวกับความวิเศษที่แสงเสียงท