ชื่อแซ่

Page 1


ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่

อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน



ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่

อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน ถาวร สิกขโกศล

ราคา ๒๐๐ บาท


ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่  อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน • ถาวร สิกขโกศล พิมพ์ครั้งแรก : สิงหาคม ๒๕๕๙ ราคา ๒๐๐ บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรม ถาวร สิกขโกศล. ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่.  อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๙. ๒๓๒ หน้า.  -  -  (วัฒนธรรม-ประเพณี). ๑. ชาวไทย  -  -  จีน  -  -  ประวัติ.  ๒. ชาวไทย  -  -  จีน  -  -  ความเป็นอยู่ และประเพณี.  ๓. นามสกุล  -  -  ประวัติ.  I. ชื่อเรื่อง. 305.89510593 ISBN 978 - 974 - 02 - 1503 - 5

• ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : อารักษ์ คคะนาท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, นงนุช สิงหเดชะ • ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : รุจริ ัตน์ ทิมวัฒน์, อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ • บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ์ บุนปาน • บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : พัลลภ สามสี • หัวหน้ากองบรรณาธิการ : มณฑล ประภากรเกียรติ • พิสูจน์อักษร : โชติช่วง ระวิน | พัทน์นลิน อินทรหอม • รูปเล่ม : อรอนงค์ อินทรอุดม • ศิลปกรรม - ออกแบบปก : นุสรา สมบูรณ์รตั น์ • ภาพหน้าปก : ปัญจพร ภู่ขวัญ | กมลชนก ค�ำเสมอ • ประชาสัมพันธ์ : ตรีธนา น้อยสี

หากสถาบันการศึกษา หน่วยงานต่างๆ และบุคคล  ต้องการสั่งซื้อจ�ำนวนมากในราคาพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องธรรมชาติ และสุขภาพของผู้อ่าน

บริษัทมติชน จ�ำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘ แม่พิมพ์สี-ขาวด�ำ : กองงานเตรียมพิมพ์ บริษทั มติชน จ�ำกัด (มหาชน) ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐  โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒ พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุขาประชาสรรค์ ๒  ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗ จัดจ�ำหน่ายโดย : บริษัทงานดี จ�ำกัด (ในเครือมติชน)  ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd. 12 Tethsabannarueman Rd., Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand


สารบัญ

ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่ อัตลักษณ์สำ�คัญเบื้องต้นของคนจีน

ค�ำน�ำ

(๗)

ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่ อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน

แซ่และระบบตระกูลแซ่ของจีน

ความรู้เบื้องต้นเรื่องแซ่  ๖ รูป-ความหมายของอักษรแซ่และอักษรสื้อ  ๘ ความเป็นมาของแซ่-สื้อ ๑๒ ที่มาของชื่อแซ่  ๓๘ เปรียบเทียบแซ่กับนามสกุล และค�ำเรียกวงศ์ตระกูลของคนไท  ๔๒ ความแปรเปลี่ยนของแซ่  ๔๕ แซ่กับจีนยุคใหม่  ๔๙ แซ่มีเท่าไร  ๔๙ แซ่ในประเทศไทย ๕๒

แซ่และระบบตระกูลแซ่กับการรวมชาติจนี

แซ่กับการรวมญาติชนชาติจีน  ระบบตระกูลแซ่กับความเป็นจีน  ผลพวงหลายประการของวัฒนธรรมตระกูลแซ่

๕๖

๕๘ ๖๒ ๘๒

อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน

(5)


สรุปวัฒนธรรมตระกูลแซ่ของจีน

๙๐

สังเขปวัฒนธรรมตระกูลแซ่ของจีน ๙๑ ผลทางด้านวัฒนธรรมสังคมของระบบตระกูลแซ่ ๙๖

ชื่อบุคคลในวัฒนธรรมจีน

๑๐๘

หมิง (名) : ชื่อประจ�ำมิ่งหรือชีวิต  ๑๑๒ จื้อ (字) : ชื่อรอง  ๑๓๔ เฮ่า (號) : นามพิเศษ ๑๕๓ ไว่เฮ่า (外号) : ฉายา  ๑๖๕ จุนเฮ่า (尊号) : พระอภิไธย  ๑๗๒ สื้อเฮ่า (谥号) : สมัญญา  ๑๗๗ เมี่ยวเฮ่า (庙号) : เทพบิดรนาม  ๑๘๙ เหนียนเฮ่า (年号) : รัชศก  ๑๙๙ นามเรียกขานประเภทอื่น  ๒๐๓ การตั้งชื่อของคนจีน ๒๐๖ ชื่อตัว ชื่อรอง สมญา เคล้าคละปะปนกัน  ๒๑๓

ภาคผนวก

บันทึกเรื่องชื่อ “ป๋วย” จากนิตยสาร วิทยาสาร

๒๑๘

บรรณานุกรม ๒๒๑

(6) ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่


คำ�นำ�

ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่ อัตลักษณ์สำ�คัญเบื้องต้นของคนจีน

ถ้าเราพบคนที่ใช้แซ่และมีชื่ออย่างจีน เรารู้ได้ทันทีว่าเป็นคนจีน  หรือลูกหลานจีน จึงถือได้ว่าชื่อและแซ่เป็นอัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้น  ของคนจีน   ที่ส�ำคัญยิ่งกว่านั้นซึ่งคนทั่วไปไม่ค่อยรู้คือ ระบบตระกูลแซ่เป็น  ปัจจัยส�ำคัญประการหนึ่งในการหลอมรวมคนต่างเผ่าต่างชาติพันธุ์ให้  กลายเป็นจีน เห็นได้จากอนารยชนเผ่าต่างๆ ที่เข้าปกครองจีน ภาย  หลังก็เปลี่ยนไปใช้ชื่อแซ่แบบคนจีนแล้วกลายเป็นจีนไปหมด  คนจีน  ภาคใต้ทั้งจีนกวางตุ้ง แคะ ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว และไหหล�ำ ก็ล้วนเป็นชน  พืน้ เมืองทีถ่ กู จีนกลืนผ่านระบบตระกูลแซ่ การศึกษา และการปกครอง   ระบบตระกูลแซ่ยังเป็นโครงสร้างหลักของสังคมจีน เช่นเดียว  กับที่ระบบวรรณะเป็นโครงสร้างหลักของสังคมอินเดีย  ระบบมูลนาย-  ไพร่เป็นโครงสร้างหลักของสังคมไทยก่อน พ.ศ.  ๒๔๔๘ ขึ้นไป การเมืองการปกครองของจีนก็อาศัยระบบตระกูลแซ่เป็นราก  ฐานส�ำคัญ  ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมแซ่และระบบตระกูลแซ่ จึงเป็น  พื้นฐานส�ำคัญในการศึกษาวัฒนธรรมอื่นของจีน ส่วนชื่อของคนจีนตามวัฒนธรรมเก่ามีหลายประเภท มีลักษณะ  ที่น่าสนใจและชวนฉงนอยู่ไม่น้อย  เป็นต้นว่า ฮ่องเต้จีนท�ำไมชื่อมีค�ำ  ซ�้ำกันและมักลงท้ายด้วยค�ำว่า ตี้ จู่ หรือจง เช่น ฮั่นเหวินตี้ สุยเหวินตี ้ ฮั่นเกาจู่ ถังเกาจู่ ซ่งไท่จู่  ชื่อผู้หญิงจีนท�ำไมลงท้ายด้วยค�ำว่า ซี หรือ  สี เช่น นางอุยซี นางเอียนซี งอซี ในเรื่องสามก๊ก  นางเต็งสี ซิมสี ตั้งสี  อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน

(7)


ที่ยังพบได้ในปัจจุบัน  ที่ใกล้ตัวเข้ามาบางคนก็พบว่า เตี่ย หรือบิดาของตน มีชื่อจริง  ใช้ถึง ๒ ชื่อ  พี่น้องพ่อแม่เดียวกันหรือปู่เดียวกัน (ลูกผู้พี่ผู้น้อง) แต่  มักมีชื่อซ�้ำกันอยู่พยางค์หนึ่ง เช่น บุ้นเจี่ย (เหวินเจิ้ง) บุ้นตง (เหวินจง)  บุ้นหุย (เหวินฮุ่ย) ซิ่วเอ็ง (ซิ่วอิง) ซิ่วฮั้ว (ซิ่วหัว)  เรื่องเหล่านี้ถ้าได้ศึกษาก็จะช่วยให้เข้าใจคนจีนดีขึ้น และช่วยลูก  หลานจีนให้เข้าใจวัฒนธรรมจีนที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง  การรู้วัฒนธรรม  ของบรรพชนนับได้ว่าเป็นความกตัญญูอย่างหนึ่ง เพราะจะช่วยให้เรา  ปฏิบัติต่อท่านได้เหมาะสมถูกต้องตามประเพณีมากยิ่งขึ้น หนังสือเล่มนี้จึงเขียนขึ้นเพื่อช่วยให้ลูกหลานจีนเข้าใจเรื่อง ชื่อ-  แซ่ ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด และเพื่อช่วยให้คนทั่วไปเข้าใจวัฒนธรรม  จีนด้านนี้ อันจะเป็นพื้นฐานส�ำคัญในการศึกษาวัฒนธรรมด้านอื่นๆ  ของจีน เรื่องนี้เขียนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ในชื่อ “แซ่หลีและชื่อ  กวงหยง”  หลังจากนั้นปรับปรุงเพิ่มเติมตามชื่อเรื่องที่เปลี่ยนไปอีก  หลายครั้ง  สุดท้ายปรับขยายครั้งใหญ่ลงในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม  แล้วจึงรวมเล่มดังที่เห็นอยู่นี้  นอกจากค้นข้อมูลจากหนังสือแล้ว ผู ้ เขียนยังได้ไปศึกษาจากชีวิตจริงในชนบทของจีนแต้จิ๋วหลายครั้ง จน  ความรู้ตกผลึก เขียนด้วยความเข้าใจ จึงหวังว่าพอเป็นประโยชน์ต่อ  ผู้อ่านอยู่บ้าง ถาวร สิกขโกศล ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๘

(8) ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่


ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่

อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน


ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่

อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน


ชื่อและแซ่เป็นลักษณะส�ำคัญเบื้องต้นที่บ่งบอกความเป็นจีน ระบบตระกูลแซ่เป็นโครงสร้างหลักของสังคมจีน เช่นเดียวกับระบบ วรรณะของอินเดีย ระบบมูลนาย-ไพร่ของไทย  ระบบตระกูลแซ่เป็น ดั่งตาข่ายที่ครอบคลุมสังคมจีนไว้ในโครงสร้างเดียวกัน จากตระกูลแซ่ แผ่ขยายกว้างออกไปกลายเป็นชนชาติและรัฐอาณาจักรจีน มีความ ผูกพันกันสูงยิ่งด้วยวัฒนธรรมตระกูลแซ่ ท�ำให้จีนเป็นเอกภาพด้วย ส�ำนึกร่วมของความเป็นชนชาติเดียวกันอย่างเหนียวแน่นตลอดมาจน ปัจจุบัน การจะเข้าถึงความเป็นจีนและเข้าใจวัฒนธรรมจีนได้ชัดเจน ต้องอาศัยความรู้เรื่องแซ่และระบบตระกูลแซ่เป็นปฐมฐาน น�ำไปสู่ ความเข้าใจเรื่องชื่อและวัฒนธรรมจีนด้านอื่นอีกสารพัด  หากปราศจาก ความรู้เรื่องนี้เป็นพื้นฐานแล้วจะไม่สามารถเข้าใจจีนได้ลึกซึ้งพอ ส่วนภาษาและอักษรก็มีบทบาทส�ำคัญต่อความเป็นจีนในแง่มุม ต่างออกไป ซึ่งจะเขียนแยกไว้เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่ง  ในเล่มนี้ขอ กล่าวถึงเรื่อง แซ่ ระบบตระกูลแซ่ และชื่อของคนจีนไว้เป็นความรู้ เบื้องต้นก่อน

อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน

3


แซ่และระบบตระกูลแซ่ของจีน


แซ่และระบบตระกูลแซ่เป็นวัฒนธรรมส�ำคัญยิ่งประการหนึ่ง ของจีน เป็นรากฐานส�ำคัญที่สุดของสังคมจีน มีส่วนส�ำคัญในการสร้าง ชาติจีน ร้อยรวมหัวใจคนจีนให้มีความผูกพันกันว่าเป็น “ญาติร่วม บรรพชน คนร่วมเผ่าพันธุ์” กลายเป็นจิตส�ำนึกร่วมทางประวัติศาสตร์ ว่าเป็นชนชาติเดียวกัน เป็นพื้นฐานส�ำคัญในการสร้างรัฐอาณาจักร (Kingdom State) ในอดีตซึง่ พัฒนามาสู่รฐั ประชาชาติ (Nation State) ในปัจจุบัน แซ่และระบบตระกูลแซ่ท�ำให้คนจีนมีความผูกพันเป็น ชนชาติเดียวกันเหนียวแน่นมาก ยากที่คนอื่นจะแบ่งแยกหรือ กลืนให้กลายเป็นอื่นได้ แม้บางช่วงจะอ่อนแอบอบช�้ำ แต่ส�ำนึกร่วม ในความเป็นชนร่วมชาติ ญาติร่วมบรรพชนเป็นพลังให้ร่วมกันต่อสู้ อุปสรรค จนกลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกได้ตลอดมา และผงาดขึ้นมาเป็น มหาอ�ำนาจได้อย่างรวดเร็วในปัจจุบัน คนจีนถือว่าพวกตนล้วนเป็น “ลูกหลานเหยียนตี้และหวงตี้” กษัตริย์สองพี่น้องผู้ยิ่งใหญ่ในยุคบรรพกาล  ทุกแซ่ล้วนสืบเชื้อสาย มาจากกษัตริย์ ๒ องค์นี้ และล้วนมีปูมประวัติ (族譜) บันทึกสืบต่อ กันมา  สมาชิกในแซ่สามารถตรวจสอบได้ว่า ตนเป็นอนุชนรุ่นที่เท่าไร ในแซ่  และนั บ จากเหยี ย นตี้ ห รื อ หวงตี้ ม าเป็ น รุ ่ น ที่ เ ท่ า ไร เช่ น  คุ ณ ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ เป็นคนแซ่ฉั่ว (ไช่ 蔡) รุ่นที่ ๑๐๕ ปฐมวงศ์ แซ่ฉั่วสืบเชื้อสายจากหวงตี้มาเป็นรุ่นที่ ๒๘ (นับหวงตี้เป็นรุ่นที่ ๑) ฉะนั้นคุณก่อศักดิ์เป็นวงศ์หวงตี้รุ่นที่ ๑๓๒ คนต่างแซ่กส็ ามารถนับญาติกนั ได้ โดยล�ำดับนับชัน้ จากเหยียนตี้ และหวงตี้ลงมา เช่น ผู้เขียนเรื่องนี้ (ถาวร สิกขโกศล) เป็นคนแซ่ลิ้ม (หลิน 林) รุ่นที่ ๑๑๗ ปฐมวงศ์แซ่ลิ้มเป็นวงศ์หวงตี้รุ่นที่ ๓๓ นับถึง ผู้เขียนเป็นรุ่นที่ ๑๕๐  ฉะนั้นผู้เขียนอ่อนอาวุโสในวงศ์หวงตี้กว่าคุณ ก่อศักดิ์ ๑๘ รุ่น เรื่องนี้แม้ไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นความจริงอย่างแน่นอน แต่ก็ยอมรับกันว่าเป็นจริงโดยคตินิยม ตามระบบที่ปรากฏตั้งแต่ยุค ปลายราชวงศ์โจว และชัดเจนแพร่หลายในยุคราชวงศ์ฮั่น ท�ำให้คนจีน อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน

5


มีความผูกพันเป็นชนชาติเดียวกันยาวนานมากว่าสองพันปี  ถือว่า ทุกคนเป็นเพื่อนร่วมชาติ ญาติร่วมบรรพชน ต้องสามัคคีกันเพื่อผล ประโยชน์ของประเทศชาติเหนือสิ่งอื่นใด ผลด้านลบของวัฒนธรรมแซ่และระบบตระกูลแซ่ก็มีอยู่ไม่น้อย ความรู้เรื่องแซ่ ระบบตระกูลแซ่ และผลดีผลร้ายต่อสังคมจีนล้วนเป็น เรื่องน่ารู้น่าศึกษา เพื่อน�ำไปสู่ความเข้าใจจีนอย่างรอบด้านและลึกซึ้ง ยิ่งขึ้น จึงขอน�ำเสนอเรื่องทั้งหมดดังต่อไปนี้

ความรู้เบื้องต้นเรื่องแซ่

ในภาษาจีนปัจจุบันมีค�ำที่แปลว่า “นามสกุล” ใช้แพร่หลายอยู่ ๒ ค�ำ คือ ค�ำว่า แซ่ (姓) กับ สี (氏) ตามเสียงจีนแต้จิ๋ว เสียงจีน กลางว่ า ซิ่ง  (xìng) กับ  สื้อ  (shì)  ค�ำ แรกใช้ น�ำ หน้ า ชื่อ สกุ ล  เช่ น แซ่ฉั่ว แซ่ลิ้ม ค�ำหลังนิยมใช้ตามหลังชื่อสกุล เช่น ลิ้มสี ฉั่วสี  วิธีนี้ นิยมใช้เรียกชื่อผู้หญิงแทนชื่อตัว ท�ำให้ผู้ไม่เข้าใจคิดว่าเป็นชื่อตัว ดังในนิยายอิงพงศาวดารจีนเรื่องห้องสินตอนหนึ่งว่า “ครั้นนานมาลิเจ้ง ได้นางฮืนสีเป็นภรรยา” ความหมายที่ถูกต้องคือ “ลิเจ้งได้หญิงแซ่ฮืน เป็นภรรยา” ปัจจุบันเราอาจพบแจ้งความในหนังสือพิมพ์ เช่น “งานฌาปนกิจ ศพนางเต็งสี” หมายความว่าผู้วายชนม์คือ หญิงแซ่เต็ง ชื่ออะไรไม่รู้ เพราะตามวัฒนธรรมเก่าของจีนผู้หญิงมีสถานภาพต�่ำ รู้แค่เป็นคนแซ่ อะไรก็พอแล้ว ไม่จ�ำเป็นต้องรู้ชื่อตัว ปัจจุบันค�ำว่า แซ่ (ซิ่ง) กับ สี (สื้อ) เป็นไวพจน์ (Synonym) มีความหมายเหมือนกัน ใช้แทนกันได้ แต่ในสมัยโบราณ ๒ ค�ำนี้ มี ความหมายต่างกัน ใช้แทนกันไม่ได้ ค�ำทั้งสองนี้ต่อไปจะใช้ค�ำ “แซ่” ตามที่คุ้นเคยกันในภาษาไทย ส่วนสีจะใช้ตามเสียงจีนกลางว่า “สื้อ”  ชื่อของแซ่ก็จะใช้ตามเสียงจีน กลาง แต่จะใส่เสียงแต้จิ๋วที่คนไทยคุ้นเคยไว้ในวงเล็บด้วย เช่น แซ่ไช่ (ฉั่ว) แซ่เจิ้ง (แต้) ถ้าไม่มีวงเล็บก�ำกับแสดงว่าเสียงจีนกลางกับแต้จิ๋ว 6 ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่


สัญลักษณ์ประจ�ำตระกูลแซ่ (จากซ้าย ไปขวา) แซ่จาง (เตีย), แซ่หวาง (เฮ้ง), แซ่หลี่ (หลี) อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน

7


เหมือนกันหรือต่างกันน้อยมาก หนังสือทงจื้อของเจิ้งเฉียว (พ.ศ. ๑๖๔๗-๑๗๐๕) คนยุคราชวงศ์ ซ่งใต้ บรรพสื้อจู๋ (โคตรตระกูล) อธิบายความแตกต่างของค�ำทั้งสองนี้ ไว้ว่า “ในยุคราชวงศ์โบราณทั้งสาม (เซี่ย ซาง โจว) แซ่ และสื้อแยก เป็นสอง. ชายใช้สื้อ หญิงใช้แซ่. สื้อจ�ำแนกความเป็นไพร่-ผู้ดี, ผู้ดีมี สื้อใช้, ไพร่ไม่มีสื้อมีแต่ชื่อ. ...พวกเจ้า (ราชตระกูล) มีแซ่, ไพร่ไม่มี แซ่... แซ่ก�ำหนดจ�ำแนกการสมรส, ฉะนั้นจึงแยกเป็นแซ่เดียวกัน แซ่ เกี่ยวดอง (แซ่ต่าง) แซ่ (คน) อื่น. สื้อเดียวกันแต่คนละแซ่สมรสกัน ได้. แซ่เดียวกันแต่คนละสื้อสมรสกันไม่ได้. หลังจากราชวงศ์โบราณ ทั้งสามแซ่กับสื้อรวมเป็นหนึ่งเดียว ล้วนใช้ก�ำหนดจ�ำแนกการสมรส” เดิมทีแซ่-สื้อเป็นวัฒนธรรมของชนชั้นสูง ปรากฏเป็น ระบบชัดในยุคราชวงศ์โจวตะวันตก (๕๐๓-๒๒๗ ปีก่อน พ.ศ.) ถึงยุคชุนชิว (๒๒๗ ปีก่อน พ.ศ.-พ.ศ. ๖๗) ชาวบ้านยังไม่มีแซ่ใช้ ดังปรากฏในประวัติขงจื๊อตอนหนึ่งว่า ขงจื๊อพบชาย ๓ คน มีแต่ชื่อ ไม่มีแซ่  ต่อมาในยุคจั้นกั๋ว (พ.ศ. ๖๗-๓๒๒) แซ่-สื้อเริ่มสับสนปนกัน และแพร่ไปสู่ชาวบ้าน ถึงยุคต้นราชวงศ์ฮั่น สื้อกลายเป็นแซ่และแพร่ หลายใช้กันทั่วหน้า สืบต่อมาจนปัจจุบัน แซ่-สื้อมีมาแต่โบราณก่อนจีนเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์มีอักษรใช้ หลักฐานเก่าสุดเกี่ยวกับแซ่พบในจารึกยุคราชวงศ์ซาง (๑๐๕๗-๕๐๓ ปีก่อน พ.ศ.) ถึงราชวงศ์โจว และหนังสือเก่ายุคชุนชิว-จั้นกั๋วปลาย ราชวงศ์โจว  จากข้อมูลดังกล่าวประกอบการสันนิษฐานได้ข้อสรุป เบื้องต้นว่า แซ่คือโคตรวงศ์เก่าแต่บุราณโพ้น สื้อคือตระกูลย่อย ที่แยกสาขามาจากแซ่หรือโคตรวงศ์โบราณ

รูป-ความหมายของอักษรแซ่และอักษรสื้อ

อักษรแซ่ในจารึกกระดูกกระดองยุคราชวงศ์ซางยืมอักษร 生  (เซิง-shēng) ซึ่งหมายถึงเกิดมาใช้ เช่น ค�ำว่า 百生 (ต้องอ่านไป่ซิ่ง) ตามข้อความในจารึกหมายถึง “ตระกูลทั้งหลายของพวกผู้ดี” เพราะ 8 ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่


สมัยนั้นพวกไพร่ไม่มีแซ่  การยืมอักษร “เกิด 生” มาใช้แสดงว่าแซ่ ต้องเกี่ยวข้องกับก�ำเนิดของคน  ค�ำว่า เกิด กับค�ำว่าแซ่ก็เสียงใกล้กัน จีนกลาง “เกิด-เซิง shēng” “แซ่-ซิ่ง xìng”  แต่ภาษาแต้จิ๋ว ๒ ค�ำนี้ เสียงสระและพยัญชนะเดียวกัน ต่างแต่วรรณยุกต์  “เกิด” ออกเสียง ว่า แซ สระนาสิกขึ้นจมูก  “แซ่” ออกเสียงว่า แส่ (สระนาสิกขึ้นจมูก เหมือนกัน) จึงสันนิษฐานได้ว่าทั้งค�ำและอักษร “แซ่” เปลี่ยนเสียงและ ขยายความหมายมาจากค�ำว่า “แซ (นาสิก) 生” ที่แปลว่า เกิด นั่นเอง ต่อมาในยุคชุนชิว (๒๒๗ ปีก่อน พ.ศ.-พ.ศ. ๖๗) ครึ่งแรก ของราชวงศ์โจวตะวันออก อักษรแซ่ในจารึกโลหะของแคว้นฉีเขียน เอาอักษรคน (人) แปลงรูปเป็น 亻 ก�ำกับอักษรเกิด (生) เกิด เป็นอักษรใหม่ เพื่อแยกความหมายกันให้ชัดและเสียงก็คงต่างกันด้วย ถึงยุคจั้นกั๋ว (พ.ศ. ๖๗-๓๒๒) อักษรแคว้นฉินเขียน   เอาอักษร หญิง (女) ประกอบอักษรเกิด (生) ต่อมาอักษรลี่ซู  ต้นราชวงศ์ฉิน จึงปรับปรุงย้ายข้างอักษรหญิงเป็น 姓 ใช้สืบต่อกันมาจนปัจจุบัน เนื่องจากอักษรแซ่ (姓) ที่ใช้แพร่หลายกันมานานกว่า ๒,๐๐๐ ปี ประกอบด้วยอักษรหญิง (女) กับอักษรเกิด (生) ต�ำราของจีนทั้งใน อดีตและปัจจุบันหลายเล่มจึงอธิบายค�ำแซ่ไปในทางเกี่ยวข้องกับความ หมายของอักษร ๒ ตัวนี้ เช่น หนังสืออรรถกถาคัมภีร์เก่า (经典释文) ของลู่เต๋อหมิง (ราว พ.ศ. ๑๐๙๓-๑๑๗๓) ยุคราชวงศ์ถังกล่าวว่า “เกิด จากหญิงเรียกว่าแซ่” หลิวฮุ่ยซุน นักวิชาการสมัยใหม่ อธิบายขยาย ความต่อว่า “ถ้อยค�ำตอนนี้ของลู่เต๋อหมิงอธิบายชัดเจนว่า คนแซ่เดียว กันล้วนสืบเชื้อสายมาจากบรรพสตรีเดียวกัน  แซ่คือค�ำบอกความ สัมพันธ์ทางสายโลหิตของกลุ่มชนตั้งแต่ยุคมาตาธิปไตย...” นักวิชาการยุคปัจจุบันเป็นอันมากอ้างอิงข้อมูลเหล่านี้แปลความ หมายของอักษรแซ่ 姓 ตามกันว่า “เกิดจากหญิง” และอธิบายทีม่ าของ แซ่คล้ายๆ กันว่า มีที่มาจากชื่อเผ่าของกลุ่มชนซึ่งอยู่รวมกันตามเครือ ญาติข้างมารดาในยุคมาตาธิปไตย (Matriarchy)  บางคนอธิบายโยง ไปไกลว่าสัญลักษณ์ประจ�ำเผ่าเป็นที่มาของชื่อแซ่แต่ละแซ่โดยได้เรื่อง โทเท็ม (Totem สัญลักษณ์ประจ�ำเผ่า) กับชื่อเผ่าของชาวอินเดียนแดง อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน

9


ในต�ำราฝรั่งเป็นแนวเทียบ ค�ำแปลดังกล่าวและทฤษฎีนี้แพร่หลายมาก แต่ก็มีหนังสือวิชาการหลายเล่มมีความเห็นต่าง ที่โดดเด่นมาก คือ ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง “วิจัยระบบแซ่ในยุคต้นของจีน” ของ เอี้ยนเสีย  เธอค้านว่าอักษรแซ่ 姓 ไม่ได้แปลว่า “เกิดจากหญิง” เดิม ค�ำว่า “แซ่” ยืมอักษร 生 (แซ shēng) ที่แปลว่า “เกิด” มาใช้ เป็นการ ขยายความหมายของตัวอักษรออกไป  ต่อมาจึงเอาอักษร “คน 人” แปลงรูปเป็น “亻” เข้าก�ำกับเป็น “ ” อักษร 姓 เป็นอักษรรุ่นหลัง กว่า  ดังนั้น อักขรานุกรมซัวเหวินเจี่ยจื้อ (说文解字-อธิบายลายสือ วิเคราะห์อักษร) อักขรานุกรมเล่มแรกของจีนซึ่งสี่ว์เซิ่นเขียนเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๖๖๔ จึงนิยามและอธิบายอักษร “姓 แซ่” ไว้ว่า 姓 แซ่ (ซิ่ง xìng) : มูลก�ำเนิดของคน. พระมารดรผู้ศักดิ์สิทธิ์ ในยุคบรรพกาล สัมผัสพลังจากฟ้าแล้วให้ก�ำเนิดบุตร จึงเรียกบุตรนั้น ว่า “ลูกฟ้า (โอรสสวรรค์)”.  อักษรนี้ประกอบด้วยอักษร 女 (หญิง) กับอักษร 生 (เกิด), อักษร 生 (เกิด) เป็นเสียงอ่านด้วย.  พงศาวดาร จั่วจ้วนอรรถกถาคัมภีร์ชุนชิวกล่าวว่า “พระมหากษัตริย์พระราชทาน แซ่ตาม (มูล) ก�ำเนิดของคน (ผู้เป็นต้นแซ่)”. อักขรานุกรมเล่มนี้นิยามความหมายของค�ำและอักษรแซ่ว่ า “มู ล ก� ำ เนิ ด ของคน” นั่ น คื อ ความหมายตามรู ป อั ก ษรแซ่ ตั ว เก่ า ซึ่ ง ประกอบด้ ว ยอั ก ษรคน 亻 กั บ อั ก ษรเกิ ด  生 รวมกั น แล้ ว หมายถึ ง “ก�ำเนิดของคน (ผู้เป็นต้นแซ่)”  เกิดเพราะมารดาสัมผัสพลังจากฟ้า ในลักษณะใดหรือเกิดที่ไหนซึ่งสรุปลงให้กระชับได้ว่า “มูลก�ำเนิดของ คน (ต้นแซ่)” กษัตริย์ยุคโบราณจึงพระราชทานแซ่แก่ผู้สืบเชื้อสายมา จาก “ลูกฟ้า” ในอดีตตามต�ำนานก�ำเนิดหรือที่เกิดของลูกฟ้าผู้เป็นต้น แซ่เหล่านั้น ส่วนที่บอกว่า “อักษรนี้ประกอบด้วยอักษร 女 (หญิง) กับอักษร 生 (เกิด)” นั้น เป็นการวิเคราะห์รูปอักษรที่ใช้กันอยู่ มิใช่ อธิบายความหมาย คนที่เอาค�ำอธิบายตอนนี้ไปขยายความต่อว่า แซ่ (姓) หมายถึงเกิดจากหญิงนั้น ใช้ข้อมูลผิดฝาผิดตัว หลงเข้าพงเข้ารก ไปเลย 10 ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่


ดุษฎีนพิ นธ์เรื่อง “วิจยั ระบบ แซ่ ใ นยุ ค ต้ น ของจี น ” โดย เอี้ยนเสีย

สมัยราชวงศ์โจวมีจารีตนิยมว่า หญิงต้องใช้แซ่บอกให้รู้โคตร วงศ์ของตนเพื่อก�ำหนดการมีคู่ครอง ไม่ให้เป็นคนแซ่เดียวกัน  ส่วน ผู้ชายใช้สื้อเพื่อบ่งบอกสถานะทางสังคม เช่น ยศศักดิ์ หน้าที่การงาน และอวดเกียรติที่สูงต�่ำต่างกันตามศักดิ์ของสื้อเหล่านี้ด้วย เนื่องจากแซ่เป็นค�ำบอกโคตรวงศ์เพื่อก�ำหนดการมีคู่ครองของ หญิงเป็นส�ำคัญมายาวนาน  ถึงยุคจั้นกั๋วอักษรแซ่ของแคว้นฉินจึง เปลี่ยนมาใช้อักษร 女 (หญิง) แทนอักษร 亻 (คน) จาก   กลาย เป็น   และ 姓 ตามล�ำดับ แล้วใช้แพร่หลายสืบต่อมาจนปัจจุบัน เอี้ยนเสียจึงสรุปความหมายของแซ่ตามรูปอักษร 姓 ว่าไม่ได้หมายถึง “เกิดจากหญิง” แต่ควรจะหมายถึง “ก�ำเนิดของหญิง” คือ “ค�ำที่หญิง ใช้แสดงวงศ์ตระกูลก�ำเนิดของตน” เพื่อก�ำหนดจ�ำแนกการสมรสตาม จารีตของราชวงศ์โจว ส่วนอักษร “สื้อ” ในจารึกกระดูกกระดองยุคราชวงศ์ซางและ อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน

11


จารึกโลหะยุคราชวงศ์โจว เขียน  ส่วนรูป 氏 ที่ใช้ในปัจจุบันเริ่ม ปรากฏในอักษรลี่ซูของราชวงศ์ฉิน  ความหมายของอักษรนี้มีผู้อธิบาย ต่างกันหลายอย่าง  ที่แพร่หลายคือที่หลินอี้กวงอธิบายไว้ในหนังสือ “เหวินหยวน (文源 ต้นธารอักษร)” ของเขาว่าหมายถึง “รากไม้” ซึ่ง มีแขนงแตกย่อยออกไป  ต่อมาความหมายขยายตัว หมายถึงสาขา ที่ แ ยกออกไปจากแซ่ ด ้ ว ย  ค� ำ อธิ บ ายนี้ม หาอั ก ขรานุ ก รมอั ก ษรจี น (汉语大字典) อักขรานุกรมวิเคราะห์รูปและความหมายของอักษรจีน (汉字形音义分析字典) ของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และหนังสือจีนอีก มากต่างก็อ้างอิงไปใช้ เป็นที่ยอมรับในวงวิชาอักขรวิทยา (文字学) ของจีนในวงกว้างตลอดมา หนังสือทงเจี้ยนไว่จี้ (通鉴外纪) ของหลิวซู่ (พ.ศ. ๑๕๗๕๑๖๒๑) คนยุ ค ราชวงศ์ ซ ่ ง เหนื อ อธิ บ ายค� ำ แซ่ แ ละสื้ อ ในแง่ ข องวิ ช า กุลวงศ์วิทยา (姓氏学) ว่า “แซ่ รวมแหล่งที่มาของบรรพชน  สื้อ จ�ำแนกสาขาของอนุชนที่แยกออกไป”  แซ่คือแหล่งก�ำเนิดหรือที่มา ร่วมของวงศ์ตระกูล  สื้อคือสาขาที่แยกย่อยจากวงศ์ตระกูลออกไป เทียบกับต้นไม้  แซ่คือรากแก้ว สื้อคือรากฝอยที่แตกแขนงออกจาก รากแก้วเดียวกัน หรือแซ่คือล�ำต้น สื้อคือกิ่งก้าน

ความเป็นมาของแซ่-สื้อ

ความเป็นมาของแซ่-สื้อจากแบบเก่าจนกลายเป็นแซ่แบบใหม่ ในยุคราชวงศ์ฉิน สมบูรณ์ลงตัวในยุคราชวงศ์ฮั่นนั้น แบ่งได้เป็น ๓ ช่วง ดังนี้  แซ่-สื้อโบราณยุคก่อนราชวงศ์โจว แซ่-สื้อศักดินายุคราชวงศ์โจวตะวันตก แซ่-สื้อในช่วงเปลี่ยนผ่านเป็นแซ่แบบใหม่

แซ่-สื้อโบราณยุคก่อนราชวงศ์โจว

คนจีนเริ่มใช้แซ่ใช้สื้อเมื่อไรไม่ทราบชัด  แซ่-สื้อของบุคคลใน

12 ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่


ยุคต�ำนาน เช่น เหยียนตี้ หวงตี้ เหยาตี้ ซุ่นตี้ นั้นปรากฏในหนังสือยุค ชุนชิว-จั้นกั๋วของราชวงศ์โจวตะวันออก ห่างจากยุคสมัยของคนเหล่า นั้นมานานนับพันปี จึงมีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่งเท่านั้น  หลักฐาน เรื่องแซ่และสื้อเริ่มมีปรากฏในจารึกกระดูกกระดองของราชวงศ์ ซาง และปรากฏชัดขึ้นในวรรณกรรมยุคราชวงศ์โจวเป็นต้นมา นักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยาของจีนส่วนมากมีความ เห็นตรงกันว่า แซ่ มีที่มาจากชนเผ่ายุคมาตาธิปไตย (Matriarchy) ส่วนสื้อปรากฏชัดเมื่อสังคมจีนพัฒนาเข้าสู่ยุคปิตาธิปไตย (Patriarchy) คนจีนยุคดึกด�ำบรรพ์ยังไม่รู้จักอยู่กินเป็นครอบครัว หนังสือ หลี่ว์สื้อชุนชิว (吕氏春秋) ปลายยุคจั้นกั๋วกล่าวว่า “มนุษย์ยุคบุราณ โพ้น ไม่มีเจ้าไม่มีขุน อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นฝูง รู้จักแต่แม่ไม่รู้จักพ่อ” ลูกหลานที่เกิดมาอยู่กับข้างแม่ เกิดเป็นชุมชนที่ยกย่องผู้หญิงเป็นใหญ่ (มาตาธิปไตย) ขึ้น แรกทีเดียวคนเหล่านี้คงจะสมพงศ์ในวงศ์ญาติใกล้ชิดกันบ้าง แล้วก็พบว่าลูกที่เกิดมาไม่สมบูรณ์ จึงเกิดข้อห้าม ห้ามสมพงศ์ในพวก เดียวกันเอง และตั้งชื่อหรือหาสัญลักษณ์ประจ�ำหมู่คณะของตนเป็น เครื่องหมายให้รู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน ชื่อหรือสัญลักษณ์ประจ�ำหมู่คณะนี้ พัฒนาเป็นชื่อเผ่า เป็นที่มาของแซ่ มีจุดมุ่งหมายส�ำคัญเพื่อบอกพงศ์ เผ่าตามเชื้อสาย และเป็นเครื่องหมายห้ามสมพงศ์กันเอง  ยุคที่ความรู้ เรื่องพันธุกรรมยังไม่ดีคงถือกันเข้มงวด ต่อมาเมื่อความรู้ดีข้ึน ว่าห่าง กันหลายชั่วคน ผลร้ายค่อยๆ ลดลงจนหมดไป ข้อห้ามข้อนี้คงคลายลง แต่น่าจะถือสืบต่อกันมาเข้มบ้างหย่อนบ้าง ยุคมาตาธิปไตยแซ่สืบทางข้างแม่ ในยุคปิตาธิปไตยจึงเปลี่ยน ไปสืบทางข้างพ่อ และยังมีแซ่ใหม่เกิดขึ้นอีกบ้างแต่ไม่มากนัก  กลุ่ม ชนที่รวมตัวกันเป็นชนเผ่าใหม่ในยุคนี้มักมีคนต่างเชื้อสายรวมอยู่ด้วย เป็นหมู่คณะแบบสื้อ  ถึงยุคเหยียนตี้และหวงตี้จีนเข้าสู่ยุคปิตาธิปไตย ชัดเจนแล้ว มีเรื่องแซ่ของคนเหล่านี้ปรากฏอยู่ในหนังสือโบราณ เป็น แซ่รุ่นเก่าแก่มากของจีน อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน

13


ส่วนที่มาของสื้อนั้น ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “วิจัยระบบแซ่ในยุคต้น ของจีน  ( 中国早期姓氏制度研究)” ของเอี้ย นเสีย กล่ าวว่ า  ถึง ปลายยุคมาตาธิปไตยแต่ละแซ่ขยายใหญ่มีสมาชิกมาก แบ่งกลุ่มย่อย กันตามตระกูลซึ่งแยกมาจากโคตรวงศ์หรือแซ่เดียวกัน เริ่มแยกทรัพย์ สินซึ่งเดิมเป็นของกลางออกเป็นแต่ละตระกูล จึงต้องมีชื่อตระกูลหรือ หมู่คณะย่อยที่ชัดเจนเพื่อจ�ำแนกหมู่พวกและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ชื่อกลุ่มย่อยที่แสดงหมู่พวกนี้เป็นต้นก�ำเนิดสื้อของคนจีน ถึงยุคปิตา ธิปไตย สื้อขยายตัวและมีพัฒนาการไปอีกมาก ปลายยุคมาตาธิปไตยคนจีนรู้จักอยู่กินเป็นครอบครัวกับฝ่าย หญิงก่อน จากครอบครัวขยายเป็นกลุ่มเครือญาติของตน เกิดเป็นหมู่ คณะย่อย หรือสื้อยุคแรก เมื่ออยู่กินเป็นครอบครัว รวมกันเป็นกลุ่ม เครือญาติ มีทรัพย์สินของกลุ่ม ต้องอาศัยผู้ชายเป็นก�ำลังส�ำคัญใน การท�ำมาหากิน ต่อสู้ศัตรูเพื่อคุ้มครองทรัพย์สิน พวกพ้อง และขยาย อ�ำนาจของหมู่คณะ เพราะเพศชายแข็งแรงกว่าเพศหญิง  สถานะของ ผู้ชายจึงสูงขึ้น พัฒนาไปสู่สังคมปิตาธิปไตย แยกกลุ่มย่อยเป็นสื้อ ต่างๆ กัน บ้างก็ขยายอ�ำนาจออกไปเป็นสื้อใหญ่ขึ้น มีการรบพุ่งแย่งชิง ที่ท�ำกิน ทรัพย์สิน และผู้คนกัน คนในสื้อที่แยกสาขาไปจากแซ่ต่างๆ เหล่านี้ยังคงใช้แซ่เดิมของ ตนเพื่อบอกเชื้อสาย แต่ก็มีสื้อบอกหมู่คณะของตนด้วย สือ้ ทีแ่ ยกจากแซ่ไปนี ้ เมือ่ แรกสมาชิกล้วนร่วมเชือ้ สายกัน อย่าง ที่วิชามานุษยวิทยาเรียกว่า Gens หรือ Sib คือกลุ่มเครือญาติ  ต่อมา มีคนต่างเชื้อสายที่ตกอยู่ในอ�ำนาจหรือสมัครใจเข้ามารวมอยู่ด้วย เช่น ข้าทาสบริวารหญิงชาย ทหาร  คนเหล่านี้มาจากต่างแซ่ต่างเผ่ากัน แต่ มารวมเป็นพวกเดียวกันก๊กเดียวกัน กลายเป็นหมู่คณะแบบ Clan บางกลุม่ ขยายวงกว้างออกไปอีกตามก�ำลังอ�ำนาจ เกิดเป็นหมูค่ ณะใหญ่ สมาชิกมากหลากพวก แต่อยู่ในหน่วยการปกครองเดียวกัน มีลักษณะ เป็น Politicolocal Group กลายเป็นชนเผ่าที่มีพื้นฐานมาจากการ ขยายตัวของวงศ์ตระกูล  ภาษาจีนเรียกว่า สื้อจู๋ (氏族) ซึ่งปกติมีคน ต่างแซ่อยู่รวมกัน ค�ำนี้ขอแปลว่า โคตรตระกูล 14 ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่


ชนเผ่าตามเชื้อสายหรือแซ่ และชนเผ่าต่างเชื้อสายหรือสื้อจู๋ (โคตรตระกูล) เหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างมิตรบ้างศัตรูบ้าง รวมกัน โดยสมัครใจหรือรบแพ้สิ้นเผ่า ถูกรวมเข้ากับเผ่าที่มีอ�ำนาจมากกว่า ผู้ถูกผนวกรวมเข้ามาจะมีสถานภาพต�ำ่  กลายเป็นชนชัน้ ล่าง นานหลาย ชั่วคนเข้าก็ลืมชื่อเผ่าหรือแซ่-สื้อดั้งเดิมของตน  ผู้ชนะที่เป็นชนชั้น ปกครองจึงจะมีแซ่-สื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแซ่ ต้องเป็นผู้น�ำที่สืบสถาน ภาพมาจากผู้น�ำเผ่าเก่าแก่จึงจะรักษาไว้ได้  ถึงยุครัฐอาณาจักร แซ่จึง เหลือแต่ในหมู่พวกเจ้า หรือเชื้อสายประมุขในอดีต  กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ พวกผู้ดีเก่าเท่านั้น  ส่วนสื้อมีในชนชั้นปกครองหรือผู้ดีทุกระดับ ชาวบ้านไม่มีทั้งสื้อและแซ่  จึงกล่าวได้ว่าแซ่สื้อเป็นวัฒนธรรมของ ชนชั้นปกครองมาแต่โบราณ ชื่อของแซ่โบราณนั้นส่วนมากตั้งตามถิ่นที่อยู่  ชื่อชนเผ่า หรือ ต�ำนานก�ำเนิดของแซ่นั้น หนังสือกั๋วอี่ว์ (เรื่องของแคว้นต่างๆ) ยุค จั้นกั๋วกล่าวว่า “หวงตี้เติบโตที่แม่น�้ำจี (กี) เหยียนตี้เติบโตที่แม่น�้ำเจียง (เกียง) โต (ต่างถิ่น) จึงต่างพวกกัน หวงตี้เป็นพวกจี (กี) เหยียนตี้เป็น พวกเจียง (เกียง)”  ตามข้อความนี้ชื่อแซ่จี (กี 姬) แซ่เจียง (เกียง 姜) ตั้งตามชื่อเผ่าซึ่งเรียกตามถิ่นฐาน  หนังสือยุคหลังมักตีความข้อความ ตอนนี้ว่า หวงตี้เกิดและโตที่แม่น�้ำจี (กี) จึงได้แซ่จี (กี) เหยียนตี้เกิด และเติบโตที่แม่น�้ำเจียง (เกียง) จึงได้แซ่เจียง (เกียง)  ประวัติซุ่นตี้ ก็ว่าเกิดและมีถิ่นฐานอยู่ที่บ้านโนนเหยาจึงใช้แซ่เหยา (เอี้ยว 姚)  แต่ ต่อมาได้ธิดาของเหยาตี้ประธานสหพันธ์เผ่าแล้วไปตั้งภูมิล�ำเนาที่แม่น�้ำ กุย (妫) ลูกชายเกิดที่นั่นจึงใช้แซ่กุย (妫) ตามที่เกิด แสดงว่าแซ่ยุค โบราณตั้งใหม่ตามที่เกิดได้ เรื่องนี้นักประวัติศาสตร์ศึกษาวิเคราะห์ว่า เกิดและตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ใดแล้วเจริญรุ่งเรืองเป็นหัวหน้าเผ่าของที่นั้น จึงจะตั้งแซ่ใหม่ต่างจากแซ่เดิมของตนได้ เพราะอยู่ในฐานะต้นวงศ์ของ ชนเผ่านั้น หากไม่เจริญรุ่งเรืองมีอ�ำนาจเป็นหัวหน้าเผ่าก็ไม่มีแซ่ใหม่ ของตัว เนื่องจากแซ่โบราณเก่าแก่มาก บางแซ่จึงได้ชื่อตามต�ำนานก�ำเนิด เชิงปาฏิหาริย์ของผู้เป็นต้นวงศ์ว่ามารดาสัมผัสพลังจากฟ้า เช่น แซ่จื่อ อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน

15


ของเซี่ย (契)  ต้นวงศ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ซาง มีต�ำนานก�ำเนิดว่านาง เจียนตี๋ (简狄) มารดากินไข่นกด�ำ ซึ่งบินลงมาจากฟ้า (สวรรค์) แล้ว ตั้งครรภ์ให้ก�ำเนิดบุตร เป็นคนปรีชาสามารถ ได้เป็นซือถูเสนาบดีของ ราชาซุ่นตี้และครองเขตซาง  ซุ่นตี้ประทานแซ่จื่อ (子) ซึ่งในที่นี้หมาย ถึงไข่นก-ลูกนกให้ตามมูลก�ำเนิดของเขา  นกด�ำนี้นักประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าคือ นกสีด�ำตามธรรมชาติชนิดหนึ่งเมื่อเริ่มตั้งท้อง นาง คงจะอยากกินไข่นก แล้วได้กินไข่นกด�ำซึ่งบินลงมาวางไข่กับพื้น ท�ำให้ เข้าใจว่าสวรรค์ (ฟ้า) ประทานลงมา  ต่อมาคนในเผ่านี้บูชานกด�ำเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจ�ำเผ่า  แต่หม่ายงค้านไว้ในบทความเรื่อง “วิวัฒนาการ แห่งระบบแซ่ของจีน” ว่าการแปลแซ่จื่อว่า ไข่นก เป็นการลากเข้าความ ถึงชนเผ่าซางจะบูชานกด�ำ แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าชื่อของแซ่นี้ หมายถึงไข่นก แม้กระนั้นก็พอจะเห็นได้ว่า ที่มาของแซ่โบราณมักเกี่ยวข้อง กับมูลก�ำเนิด คือถิ่นฐานหรือต�ำนานก�ำเนิดของคนผู้เป็นต้นแซ่นั้น อักขรานุกรมอธิบายลายสือวิเคราะห์อักษรจึงนิยามความหมายของค�ำนี้ ว่า “มูลก�ำเนิดของคน”  และขยายความว่า “พระมารดรผู้ศักดิ์สิทธิ์ ในยุคบรรพกาล สัมผัสพลังจากฟ้าแล้วให้ก�ำเนิดบุตร จึงเรียกบุตรนั้น ว่า ‘ลูกฟ้า (โอรสสวรรค์)’” ดังก�ำเนิดของเซี่ยเป็นตัวอย่าง ซึ่งราชาซุ่นตี้ ประมุขในยุค “สามพญาห้าราชัน” ก็พระราชทานแซ่ให้ตามมูลก�ำเนิด จึงมีข้อความอธิบายค�ำ “แซ่” เสริมตอนท้ายว่า “พระมหากษัตริย์พระ ราชทานแซ่ตามมูลก�ำเนิดของคน (ผู้เป็นต้นแซ่)” ส่วนสือ้ นัน้ ในยุคแรกมักตัง้ ตามชือ่ ตามหัวหน้ากลุ่มของตน เมือ่ แยกออกจากแซ่  หัวหน้ามักจะมีชื่อใหม่มีค�ำว่าสื้อก�ำกับอยู่ด้วย  ดังที่ หนังสือโบราณเรียกหวงตี้ว่า ซวนหยวนสื้อ เหยียนตี้เกาถังสื้อ ซุ่นตี้ โหย่วอี๋ว์สื้อ  ต่อมาชื่อของสื้อมีหลายอย่างต่างไปอีกมาก นี่คือ แซ่-สื้อดั้งเดิมในยุคชนเผ่าถึงแคว้นสหพันธ์เผ่า (Chiefdom)  จากนั้นจีนพัฒนาเข้าสู่ยุครัฐอาณาจักร (Kingdom) ในสมัย ราชวงศ์เซี่ย (๑๕๒๗-๑๐๕๗ ปีก่อน พ.ศ.) มีกษัตริย์ซึ่งเรียกว่า “หวาง 16 ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่


(王 อ๋อง)” กุมอ�ำนาจสูงสุด แต่ยังไม่มีอักษรบันทึกเรื่องราวเป็นประวัติ ศาสตร์  แซ่-สื้อในยุคนี้เป็นอย่างไรไม่มีหลักฐานชั้นต้นให้ศึกษา  มี ปรากฏอยู่บ้างในเอกสารยุคราชวงศ์โจวถึงราชวงศ์ฮั่นว่า กษัตริย์ราช วงศ์นี้แซ่ซื่อ (สื่อ 姒) แยกสาขาออกไปหลายสื้อ เช่น เปา (เพา 褒) เฟ่ย (หุ่ย 费) ซิน (ซิง 辛) หมิง (เม้ง 冥) ฉี่ (กี้ 杞)  เหอเสี่ยวหมิง มีความเห็นว่าสื้อยุคราชวงศ์เซี่ยมาจากชื่อแคว้นในอาณาจักรนี ้ ไม่ใช่ ชื่อชนเผ่าอย่างในอดีต ต่อมาในยุคราชวงศ์ซาง (๑๐๕๗-๕๐๓ ปีก่อน พ.ศ.) จีนเข้าสู่ ยุคประวัติศาสตร์  มีอักษรบันทึกเรื่องราวอยู่ในจารึกกระดองเต่ากระดูกสัตว์ และภาชนะสัมฤทธิ์ เป็นแหล่งข้อมูลส�ำคัญเรื่องแซ่-สื้อ ในยุคนี้ มีข้อมูลจากหนังสือยุคราชวงศ์โจวเสริมอีกบ้าง ในจารึกกระดูกกระดองของราชวงศ์ซางมีค�ำว่า 百生 ซึ่งในที่นี้ ต้องอ่านว่า “ไป่ซิ่ง” แปลว่า “แซ่ทั้งหลาย” ในคัมภีร์ซูจิงหรือซ่างซู (ต�ำรับโบราณ) ของราชวงศ์โจว บรรพผานเกิงก็มีข้อความ 百姓王族  ไป่ซิ่งหวางจู๋ หมายถึง “แซ่ทั้งหลายของพวกเจ้า”  ฉะนั้นค�ำ “百生 ไป่ซิ่ง” ในจารึกราชวงศ์ซางจึงหมายถึง “แซ่ทั้งหลายของพวกเจ้าหรือ พวกผู้ดี” แสดงว่ายุคนี้ไพร่ไม่มีแซ่ใช้ เอี้ยนเสียกล่าวไว้ใน “วิจัยระบบแซ่ในยุคต้นของจีน” ว่าในจารึก ราชวงศ์ซางเมื่อกล่าวถึงผู้หญิงจะใช้ค�ำว่า “婦 ฟู่-หญิง” อยู่หน้าหรือ หลั ง แซ่ ข องหญิ ง นั้ น  เช่ น  “ 婦姬 ฟู่จี ”  “ 姜婦 เจี ย งฟู่”  ซึ่ ง หมายถึ ง นางจี นางเจียง นั่นเอง  อักษรที่เป็นชื่อแซ่ของผู้หญิงจะมีอักษร “女 หญิง” ก�ำกับอยู่ด้วยเสมอ  และแซ่ของเธอเหล่านั้นก็คือ ชื่อเผ่าที่ใช้ อักษร “女 หญิง” ก�ำกับเพื่อบอกให้รู้ว่าเป็นหญิงเผ่าใด เช่น “姜婦” ก็คือหญิงจากเผ่าเจียง  แต่เวลากล่าวถึงชายก็จะใช้ชื่อเผ่านั้นตามปกติ โดยไม่มีอักษร “女 หญิง” ก�ำกับ เช่น “羌奴 เจียงหนู” ทาสจากเผ่า เจียง  อักษร 羌 จีนกลางปัจจุบันอ่านเชียง (qiāng) เป็นชื่อชนเผ่า ประกอบด้วยอักษร “แพะ 羊” กับอักษร “คน 人”  เอาแพะไว้บน คนไว้ล่างเป็น 羌 หมายถึง “ชนเผ่าเลี้ยงแพะแกะ”  แต่เวลาเรียกหญิง เผ่านี้ในจารึกราชวงศ์ซางจะเปลี่ยนอักษร 羌 โดยเอาอักษร “女 หญิง” อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน

17


ไปไว้ข้างล่างแทน  อักษร “คน 人” กลายเป็น 姜 หมายถึง หญิงจาก ชนเผ่าเจียง (หรือเชียงในปัจจุบัน) กลายเป็นที่มาของแซ่เจียง เป็น หลักฐานสนับสนุนว่าแซ่มีที่มาจากชื่อชนเผ่าเก่าแก่ตั้งแต่ยุคบรรพกาล การใช้อักษร “女 หญิง” ก�ำกับแซ่ของหญิงแต่ของชายไม่ใช้ ท�ำให้แซ่เดียวกันเขียนต่างกัน เช่น แซ่ “子 จื่อ” ของกษัตริย์ราชวงศ์ ซางเวลาใช้กับชายเขียน 子  แต่เมื่อใช้กับหญิงจะมีอักษร “女 หญิง” ก� ำ กั บ เป็ น  “ 好” แต่ ต ้ อ งอ่ า นจื่ อ  เช่ น  “ 婦好 ฟู่จื่ อ ” ชายาของอู ่ ติ ง กษัตริย์องค์ที่ ๒๒ ของราชวงศ์ซาง ฟู่จื่อ ก็หมายถึง “พระนางแซ่จ่ือ” นั่นเอง  การใช้อักษร “女 หญิง” ก�ำกับเช่นนี้ก็เพื่อย�้ำว่าเป็นแซ่ของ หญิงคนนั้นนั่นเอง สนับสนุนความเห็นที่ว่าอักษร “แซ่ 姓” ที่มีอักษร หญิงก�ำกับนี้ก็ควรจะหมายถึง “สิ่งที่หญิงใช้แสดงวงศ์ตระกูลก�ำเนิด ของตน” มากกว่าแปลว่า “เกิดจากหญิง” และแซ่นิยมใช้กับหญิงมาก กว่าชาย  แต่ในสมัยราชวงศ์ซาง แซ่เดียวกันแต่งงานกันได้ เพราะฟู่จื่อ ชายาองค์หนึ่งของราชาอู่ติงก็แซ่จ่ือเช่นเดียวกับสามี คงเป็นเพราะแยก ห่างกันมาหลายชั่วคน ไม่มีผลร้ายทางพันธุกรรมต่อลูกหลานแล้ว ซึ่ง ก็สอดคล้องกับที่หนังสือ “หานซือไว่จ้วน” กล่าวว่า “สมัยราชวงศ์เซี่ย และราชวงศ์ซาง พ้น ๕ ชั่วคนไปแล้วสมรสกันได้” ส่วนสื้อสมัยราชวงศ์ซางส่วนหนึ่งคงมาจากชื่อแคว้น ดังมีข้อ ความในจารึกกระดูกกระดองตอนหนึ่งว่า “อาวาห์หญิงเติ้ง” หมายถึง เอาหญิงจากแคว้นเติ้งมาแต่งงาน  หนังสือ “วิจัยระบบแซ่ในยุคต้นของ จีน” กล่าวว่าชื่อสื้อที่พบในจารึกราชวงศ์ซางเป็นชื่อโคตรหรือตระกูล และยังมีไม่มากนัก หนังสือ “แซ่ สื้อ สมญา ฉายา (姓氏·名号·别称)” ของ วางซู่เจ๋อกล่าวว่า แซ่-สื้อของราชวงศ์ซางคล้ายกับราชวงศ์เซี่ย คือ สื้อ เป็นสาขาแยกมาจากแซ่  แต่ที่ต่างคือมีค�ำว่า “จู๋ 族” ใช้  ค�ำนี้คงจะ หมายถึง “ตระกูล” หรือ “เครือญาติ”  ข้อความ “หวางจู๋ 王族” ใน จารึ ก กระดู ก กระดองก็ ห มายถึ ง ตระกู ล ของพระราชา “จื่ อ จู ๋  子族” ก็หมายถึงตระกูลของราชบุตร  พงศาวดารจั่วจ้วนก็บันทึกไว้ว่า เมื่อ 18 ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่


หนั ง สื อ  “แซ่   ชื่อ  สมญา ฉายา” ของ วางซู่เจ๋อ

โจวกงได้รับสถาปนาเป็นสามนตราช (เจ้าผู้ครองนคร) แคว้นหลู่ ได้คน ของราชวงศ์ซาง ๖ ตระกูล (จู๋)  ค�ำว่า “จู๋ 族” ก็หมายถึงโคตรตระกูล เช่นเดียวกับ “สื้อ 氏” นั่นเอง  ๒ ค�ำรวมกันเป็น “สื้อจู๋ 氏族” จึง ควรแปลว่าโคตรตระกูล แซ่-สื้อยุคราชวงศ์ซางพัฒนาไปเป็นแซ่-สื้อแบบศักดินาในยุค ราชวงศ์โจว

แซ่-สื้อศักดินายุคราชวงศ์โจว

เดิมทีราชวงศ์โจวแซ่จี (姬 กี) ครองแคว้นโจวอยู่ใต้อ�ำนาจ ราชวงศ์ซาง  ต่อมาได้พวกแซ่เจียง (姜 เกียง) เป็นพันธมิตรส�ำคัญ โค่นล้มราชวงศ์ซาง ปกครองจีนต่อมา นักประวัติศาสตร์แบ่งราชวงศ์ โจวออกเป็น ๒ ช่วง ๑. ราชวงศ์โจวตะวันตก ๕๐๓-๒๒๗ ปีก่อนพุทธศักราช อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน

19


โฮวจี้   ต้ น ตระกู ล แซ่ จี   (กี ) และคนแซ่ โจว (จิว)

๒. ราชวงศ์โจวตะวันออก ๒๒๗ ปีก่อน พ.ศ.-พ.ศ. ๒๘๗ แบ่ง ย่อยเป็น ๒ ยุค ก. ยุคชุนชิว ๒๒๗ ปีก่อน พ.ศ.-พ.ศ. ๖๗ ข. ยุคจั้นกั๋ว พ.ศ. ๖๗-๓๒๒  ราชวงศ์โจวถูกแคว้นฉินล้มล้างเมื่อ พ.ศ. ๒๘๗ แต่แคว้นฉี สามนตราชของราชวงศ์ โจวถู ก โค่ นล้ มเป็น แคว้น สุ ดท้ ายเมื่อ พ.ศ. ๓๒๒ ยุคจั้นกั๋วจึงยาวกว่าราชวงศ์โจวตะวันออก ๓๕ ปี  ปัจจุบัน วงวิชาการใช้ยุคชุนชิว-จั้นกั๋วมากกว่ายุคโจวตะวันออก ถึงยุคราชวงศ์โจว จีนเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์อย่างสมบูรณ์ มี จารึกและหนังสือบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้พอค้นคว้าเรื่องของราชวงศ์ นี้ได้ ราชวงศ์ โ จวปกครองด้ ว ยระบบศั ก ดิ น าสวามิภั ก ดิ์ (Fuedalism) แบ่งอาณาจักรเป็นแคว้นใหญ่น้อยให้เจ้าผู้ครองนครปกครอง ในฐานะสามนตราช (Fuedal Lord) ของราชวงศ์โจว มีบรรดาศักดิ์ สูงต�่ำกันตามขนาดและศักดิ์ของแคว้นเป็นชั้นกง (เจ้าพระยา Duke) โหว (พระยา Marquis) ป๋อ (พระ Earl) จื่อ (หลวง Viscount) หนัน 20 ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่


(ขุน Baron)  เจ้าผู้ครองนครเหล่านี้มาจากผู้มีความดีความชอบ ๓ กลุ่มคือ ญาติร่วมแซ่ พันธมิตรร่วมรบก่อตั้งราชวงศ์ และเชื้อสาย กษัตริย์ในอดีตตลอดจนราชวงศ์เก่าที่ยอมอ่อนน้อม  ราชวงศ์โจวจะผูก สัมพันธ์กับแคว้นต่างแซ่ทางการแต่งงาน ท�ำให้เป็นญาติทางเกี่ยวดอง แล้วปกครองแคว้นต่างๆ อย่างญาติร่วมครอบครัวใหญ่ โดยใช้ระบบ แซ่เชื่อมความสัมพันธ์  สมัยต้นราชวงศ์โจวมีแคว้นสามนตราชนับร้อย แคว้น หนังสือบางเล่มว่ามี ๒๐๐ กว่าแคว้น สามนตราชเหล่านี้มีอ�ำนาจเด็ดขาดปกครองแคว้นของตน แต่ ต้องส่งบรรณาการให้ราชส�ำนักโจว ยกทัพไปช่วยเมื่อมีศึกหรือถูกเกณฑ์ ที่ส�ำคัญราชวงศ์โจวจะส่งอาลักษณ์ประวัติศาสตร์ (史) ไปประจ�ำทุก แคว้น คอยจดบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ในแคว้นนั้นๆ ทุกด้าน ทั้งปรากฏ การณ์ธรรมชาติ การเมืองการปกครองและพฤติกรรมของเจ้าผู้ครอง นคร รายงานเข้าไปยังราชส�ำนักโจว  แต่ต่อมาในยุคชุนชิวและจั้นกั๋ว อ�ำนาจของราชวงศ์โจวเสื่อมลง แคว้นสามนตราชมีอิสระในการตั้ง อาลักษณ์ประวัติศาสตร์ของตนได้เอง บรรดาสามนตราชเหล่านี้แบ่งที่ดินในแคว้นส่วนหนึ่งให้เป็นเขต ศักดินาของขุนนางผู้ใหญ่เก็บผลประโยชน์  ชนชั้นปกครองเหล่านี้แบ่ง นาให้ราษฎรในสังกัดของตนท�ำ โดยแบ่งนาแต่ละหน่วยเป็น ๙ แปลง คล้ายรูปอักษร “井 จิ่ง-บ่อน�้ำ” แบ่งให้ราษฎร ๘ ครอบครัวท�ำครอบ ครัวละแปลง และทุกครอบครัวต้องช่วยกันท�ำแปลงกลางให้เป็นส่วย แก่รัฐหรือมูลนายของตน  นอกจากนี้ยังอาจต้องเสียส่วยประเภทอื่นอีก ชาวบ้านเหล่านี้อยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านเรียกว่า หลี่ (里) หรือ เส้อ (社) ถนนกลางหมู่บ้านเรียกว่า เจีย (街) มีเนินบูชาเทพแห่งหมู่บ้านเรียกว่า เส้อถาน (社坛) แปลว่า “เนินบูชาพระเสื้อบ้าน” อยู่ประจ�ำทุกเส้อหรือ หมู่บ้าน  ราษฎรทั่วไปในยุคนี้ยังไม่มีแซ่และสื้อใช้ แซ่ - สื้ อ ของชนชั้ น ปกครองยุ ค ราชวงศ์ โ จวเป็ น ไปตามระบบ ศักดินา ราชวงศ์โจวบัญญัติระบบตระกูลแซ่ขึ้น เรียกว่า “จงฝ่า 宗法” ตามรูปศัพท์หมายถึง “กุลนิต”ิ  (อ่านว่า กุน-ละ-นิด) คือ “ระเบียบแบบ แผนของวงศ์ตระกูล”  แต่โดยสาระแล้วคือ “กุลศักดิ์” เพราะเป็นระบบ อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน

21


ศักดินาในวงศ์ตระกูลซึ่งมีสาระส�ำคัญดังนี้ ๑. ลูกเมียหลวงและลูกเมียน้อยมีศักดิ์ต่างกัน  ลูกเมียหลวง เรียกว่า “ตี๋จื่อ (嫡子) แปลว่าบุตรเอก  ลูกเมียน้อยเรียก ซู่จื่อ (庶子) แปลว่า บุตรสามัญ  บุตรเอกคนโต (หรือคนถัดไปในกรณีที่พี่ตาย) เป็นผู้สืบต�ำแหน่งในตระกูลจึงเรียกว่า จงจื่อ (宗子) แปลว่า “กุล ทายาท”  แต่ความจริงคือ “กุลประมุข” เพราะเป็นหัวหน้าของวงศ์ ตระกูล ๒. สายสกุลในวงศ์ตระกูลแยกเป็นต้าจง (大宗) แปลว่าสาย ใหญ่ หรือมหาสาขา กับเสี่ยวจง (小宗) แปลว่าสายเล็กหรืออนุสาขา สายกุลทายาทซึ่งสืบต�ำแหน่งจากบิดาเป็นต้าจง หรือมหาสาขาสืบวงศ์ ตระกูล (แซ่) ตามสายตรงต่อไป  สายของลูกคนอื่นๆ เป็นเสี่ยวจง หรืออนุสาขา แยกจากสายตรงเป็นสาขาย่อยของตระกูล เป็นเช่นนี้สืบ ต่อไปทุกรุ่น คือจะแยกเป็นมหาสาขา (ต้าจง) และอนุสาขา (เสี่ยวจง) ตลอดไปทุกชั่วคน คล้ายต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านออกไปเรื่อยๆ  ๓. ล�ำดับชั้นและประเภทของญาติตามความสัมพันธ์ทางเชื้อสาย ออกเป็น ๓ ประเภท ก. ถงจู๋ (同族 ตจ.ตั่งจ๊ก) แปลเอาความได้ว่า “ญาติร่วมเครือ เรือน” หรือ “ญาติร่วมเทียด” ได้แก่ ญาตินับจากตัวเองขึ้นไป ๔ ชั่วคน ซึ่งร่วมเทียดเดียวกันมา และจากตัวเองลงไปอีก ๔ ชั่วคน ถึงชั้นลื่อ (โหลน) รวม ๙ ชั่วคน ดังนี้ เทียด  ทวด  ปู่  พ่อ  ตัวเอง  ลูก  หลาน   เหลน  ลื่อ (โหลน) ญาติ ๙ ชั่วคนนี้ถือเป็นครอบครัวใหญ่หรือเครือเรือนเดียวกัน มีชุดไว้ทุกข์ให้แก่กันตามล�ำดับชั้นญาติ  สมัยก่อนถ้าท�ำผิดร้ายแรง ก็อาจถูกประหารชีวิตหมด ๙ ชั่วโคตร ข. ถงจง (同宗 ตจ.ตั่งจง) แปลว่า “ญาติร่วมสาขาแซ่” ในยุค ราชวงศ์โจวหมายถึงพวกร่วมอนุสาขาสายเดียวกัน เช่น โจวอู่หวาง มีอนุชาหลายองค์ ลูกหลานของอนุชาแต่ละองค์ถือเป็น “ถงจง-ญาติ 22 ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่


ร่วมอนุสาขา” กัน  ดังอนุชาองค์หนึ่งคือโจวกงมีบุตรหลายคน คนโต ครองแคว้นหลู่ คนอื่นๆ ครองแคว้นสิง ฝาน เจียง หมา จั้ว ไจ้ ฯลฯ พวกนี้ไหว้ศาลโจวกงเป็นปฐมบรรพชนในอนุสาขาของตนร่วมกัน ถือ ว่าเป็น “ถงจง-ญาติร่วมอนุสาขา” สายโจวกง ในปัจจุบันญาติชั้น “ถงจง” คือญาติร่วมสาขาแซ่ที่ใช้ค�ำบอก ล�ำดับรุ่น (Generation name) ชุดเดียวกัน ยังล�ำดับชั้นญาติกันได้ คนแต้จิ๋วเรียกญาติพวกนี้ว่า “กากี่นัง (家己人)” ญาติร่วมสาขาแซ่นี้ อาจแปลเอาความว่า “ญาติร่วมสาแหรก” ค. ถงซิ่ง (同姓 ตจ.ตั่งแส่) คือญาติร่วมแซ่ทั้งหมด ในพิธีบูชาบรรพชนหรือพระเทพบิดรของราชวงศ์โจว อ๋องของ ราชวงศ์โจว ซึ่งเป็นจงจื่อ (กุลทายาท) ผู้สืบสกุลสายมหาสาขาเท่านั้น มีสิทธิ์ท�ำพิธี  ส่วนอนุสาขาที่ร่วมสาขา (ถงจง) กันไหว้ในศาลปฐม บรรพชนของสาขาร่วมกัน เช่น เจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ ซึ่งเป็นลูกหลาน โจวกงไหว้รวมกันในศาลโจวกง  ญาติชั้นร่วมเครือเรือนเดียวกัน (ถงจู๋) ไหว้ในศาลบรรพชนผู้เป็นเทียดร่วมของพวกตน การล�ำดับญาติและการเซ่นไหว้ของคนจีนปัจจุบันยังเป็นไป ตามหลักการนี้ แต่ลดเรื่องศักดิ์ในแซ่ลงมา ถืออาวุโสตามล�ำดับรุ่น (Generation) ในแซ่มากขึ้น ส่วนญาติฝ่ายหญิง คือทางสายแม่และอาหญิงนั้นคนจีนนับญาติ กันเพียง ๓ ชั่วคน คือชั้นพ่อแม่ซึ่งเป็นพี่น้องกัน ชั้นลูกซึ่งเป็นผู้พี่ ผู้น้อง และชั้นหลาน (ลูกของลูกพี่ลูกน้อง) เท่านั้น ถึงชั้นเหลนถือเป็น คนอื่น เพราะสังคมจีนอยู่กับตระกูลข้างพ่อ (Patrilcal Residence) ญาติข้างแม่และอาหญิงอยู่แยกกัน จึงหมดความเป็นญาติเร็ว พ้น ๓ ชั่วคนแล้วถือเป็นคนอื่น ปัจจุบันในจีนยังถือแบบแผนนี้อยู่ ระบบศักดินาของราชวงศ์โจวตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบจงฝ่า (กุลศักดิ์) โอรสองค์โตของมเหสีเอกได้สืบต�ำแหน่งกษัตริย์ (天子) ต่อจากบิดาในฐานะกุลทายาทเป็นมหาสาขาของราชวงศ์ โอรสองค์อื่นๆ เป็นสามนตราช (诸侯) ครองแคว้นต่างๆ ในฐานะอนุสาขาของราชวงศ์ บุตรเอกคนโตของทุกแคว้นจะได้ครองแคว้นสืบต่อจากบิดาเป็นกุล อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน

23


ทายาทและมหาสาขาของแคว้นตน บุตรคนอื่นๆ ได้เป็นขุนนางผู้ใหญ่ (卿大夫) ในแคว้นเป็นอนุสาขา พร้อมทัง้ ได้ดนิ แดนส่วนหนึง่ ในแคว้น เป็นเขตศักดินาเก็บส่วย  ต�ำแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ก็สืบไปทางบุตรเอก คนโตเป็นกุลทายาทและมหาสาขาของขุนนางผู้นั้น บุตรคนอื่นๆ เป็น ขุนนางผู้น้อย (士) ได้รับเบี้ยหวัด ไม่มีเขตศักดินา เพราะขุนนางผู้ใหญ่ ไม่มีสิทธิ์แบ่งดินแดนให้ผู้อื่นต่อ  บุตรเอกคนโตของขุนนางผู้น้อยแต่ละ คนเป็นกุลทายาทสืบต�ำแหน่งของบิดาต่อไป ส่วนคนอื่นๆ กลายเป็น สามัญชน (平民)  ระบบจงฝ่า (กุลศักดิ์) เป็นเกณฑ์การสืบศักดินาของบ้านเมือง อีกด้วย  นอกจากกุลทายาท (จงจื่อ) ผู้สืบต�ำแหน่งสายตรงต่อกันไป ทุกรุ่นเป็นมหาสาขา (ต้าจง) ของวงศ์ตระกูลแล้ว อนุสาขา (เสี่ยวจง) หรือลูกหลานรองๆ ลงไปของทุกรุ่นจะมีศักดินาและสถานะต�่ำลงตาม ล�ำดับจาก กษัตริย์ เป็น สามนตราช ขุนนางผู้ใหญ่ ขุนนางผู้น้อย สามัญชน พงศาวดารจั่วจ้วน วรรณกรรมปลายยุคชุนชิวบันทึกเรื่องที่มา ของแซ่-สื้อสมัยราชวงศ์โจวไว้ว่า “โอรสสวรรค์แต่งตั้งผู้มีคุณงามความดี ครองศักดินา (โดย) พระราชทานแซ่ให้ตาม (มูล) ก�ำเนิด, พระราชทาน ดินแดนให้ปกครอง และให้ใช้ชื่อแคว้นหรือดินแดนนั้นเป็นสื้อ. สามนต ราชใช้ชื่อรองของตนเป็นสมัญญา. (หลังจากล่วงลับไปแล้ว) ลูกหลาน (ของสามนตราช) ใช้สมัญญานั้นเป็นชื่อสกุล (สื้อ) ของพวกตน. พวก ขุนนางมีตำ� แหน่งยศศักดิ์, ลูกหลานน�ำมาใช้เป็นชื่อสกุล. ชื่อเขตศักดินา ของบรรพชนก็น�ำมาใช้เป็นสื้อได้เช่นกัน” ชือ่ รอง (字) คือชือ่ ใช้ในวงสังคมเป็นทางการ ยุคราชวงศ์โจวตัง้ เมื่ออายุ ๒๐ ปี ท�ำพิธีสวมหมวกเข้าสู่วัยผู้ใหญ่  ชื่อตัว (名) ตั้งเมื่อ เด็ก ใช้เฉพาะในครอบครัว  สมัญญา (谥号) คนอื่นตั้งให้หลังจาก ผู้นั้นล่วงลับไปแล้ว โดยดูจากปฏิปทาของผู้วายชนม์  ยุคราชวงศ์โจว เอาชื่อรองมาเป็นสมัญญาได้  คนมีชื่อเสียงยังมีฉายา (外号) ที่คนอื่น 24 ชื่อ แซ่ และระบบตระกูลแซ่


ขงเบ้งแซ่จูกัด ชื่อตัว-เหลียง ชื่อรอง-ขงเบ้ง จึงเรียกจูกัด เหลียง หรือจูกัดขงเบ้ง มี ฉายาว่า “ฮกหลง-มังกรซุ่ม” ได้รับสมัญญาว่า “จงอู่โหว”

ตั้งให้ตอนยังมีชีวิตอยู่อีก เช่น ขงเบ้ง แซ่จูกัด ชื่อตัวเหลียง ชื่อรอง ขงเบ้ง จึงเรียกกันว่าจูกัดเหลียงหรือจูกัดขงเบ้ง  สุมาเต๊กโชตั้งฉายา ให้ว่า “ฮกหลง” แปลว่า “มังกรซุ่ม (Hidden Dragon) ได้รับสมัญญา ว่า จงอู่โหว (ตงบู๊โหว) หมายถึงพระยาภักดิยุทธ์ คือท�ำสงครามด้วย ความจงรักภักดีต่อบ้านเมือง การพระราชทานแซ่ยุคต้นราชวงศ์โจว ส่วนมากให้ใช้แซ่เดิมของ วงศ์ตระกูล ซึ่งตั้งตามมูลก�ำเนิดของบรรพชนของผู้ได้รับพระราชทาน แซ่นั้น แต่พระราชทานซ�้ำเพื่อรับรองสิทธิ์การใช้แซ่นั้นอย่างเป็นทางการ และเพื่อฟื้นฟูแซ่เก่าแก่ที่ตกต�่ำหรือเสื่อมสูญไปขึ้นมาใหม่  แซ่โบราณ สืบมาจากหัวหน้าชนเผ่าเก่าแก่ ถึงยุคราชวงศ์โจวสูญไปมากเพราะเผ่า นั้นถูกผนวกรวมกับเผ่าอื่น  เมื่อลูกหลานมีความดีความชอบจึงพระ ราชทานแซ่เดิมของบรรพชนให้ใหม่ พร้อมกับพระราชทานสื้อให้ตาม อัตลักษณ์ส�ำคัญเบื้องต้นของคนจีน

25


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.