japan only! ญี่ปุ่นเขาจัดบ้านกันแบบนี้ไง

Page 1


Jiapan only!

ญี่ปุ่นเขาจัดบ้านกันแบบน  ้ี ไง

กรุงเทพมหานคร  ส�ำนักพิมพ์มติชน  2559



ค�ำน�ำ

พยายามเก็บกวาดเท่าไร ไม่นานบ้านก็กลับมารกอยู่ดี  หากบ้านเป็นเช่นนี้ก็ไม่ใช่  ความผิดของคุณแล้วละ คนทีค่ วรจะรับผิดชอบคือผูท้ อี่ อกแบบบ้านให้คณุ มากกว่า เพราะใน  ระหว่างออกแบบ เขาดันลืมเรื่องส�ำคัญซึ่งความจริงแล้วต้องใส่ใจแต่เนิ่นๆ อย่าง “กลไก  การจัดระเบียบบ้าน” ไปเสียสนิท ถึงอย่างนัน้ คุณก็อย่าไปต�ำหนิเขาเลย เขาพยายามสร้าง “บ้านทีด่ ”ี  อย่างเต็มทีแ่ ล้ว  แต่ระหว่างออกแบบ เขาหลุดโฟกัสเรือ่ งฟังก์ชนั การใช้งานในชีวติ ประจ�ำวัน เช่น การจัดวาง  หรือจัดเก็บข้าวของ ไปให้ความส�ำคัญเรื่องรูปลักษณ์หรือต้นทุนค่าใช้จ่ายมากกว่าหน่อย  ซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งในการออกแบบที่อยู่อาศัย ส� ำ หรั บ คนที่ รีบ ร้ อ นอยากให้บ ้า นกลับ มาเป็นระเบียบในเร็ว วัน ผมต้องขออธิบายให้เข้าใจก่อนว่า เพียงแค่คุณอ่านหนังสือเล่มนี้จบ ไม่มีทางที่ห้อง  รกรุงรังจะกลับมาเป็นระเบียบเรียบร้อยทันทีราวกับต้องมนตร์ หรือสามารถตัดสินใจเด็ดขาด  ทิง้ ของทีไ่ ม่กล้าทิง้ มานานหลายปีได้ ซึง่ ผมต้องขออภัยไว้ลว่ งหน้าหากบางท่านก�ำลังฝันหวาน  ถึงเรือ่ งแบบนัน้  เพราะหนังสือเล่มนีค้ งไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคุณได้  ความ  จริงปัจจุบันนี้มีหนังสือดีๆ หลายเล่มที่เขียนถึงทั้งเชิงทฤษฎี การปฏิบัติ และด้านจิตใจ  ว่าต้องท�ำเช่นไรถึงจะจัดระเบียบห้องรกให้กลับมาเรียบร้อยได้ คุณลองซื้อหามาอ่านได้ครับ

3


หนังสือเล่มนี้ในมือคุณจะเล่าเกี่ยวกับปัญหาก่อนหน้านั้น กล่าวคือ รวมความรู้  เกีย่ วกับหลักการออกแบบแผนผังบ้าน วิธปี ระยุกต์ใช้ รวมถึงเล่าสาเหตุเบือ้ งหลังของปัญหา  ต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่า “บ้านที่เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอต้องสร้างอย่างไร”  หาก  เปรียบกับการสร้างบ้าน สิ่งเหล่านี้ก็คือรากฐานและโครงสร้างบ้านนั่นเอง  อาจจะดูธรรมดา  ไม่คอ่ ยน่าสนใจ แต่ตราบใดทีค่ ณุ ต้องอยูใ่ นบ้านทีส่ ร้างโดยไม่ใส่ใจเรือ่ งเหล่านี ้ ความพยายาม  ในการจัดระเบียบบ้านของคุณจะไม่มีวันสัมฤทธิผล ไม่ต่างจากการพยายามตักน�้ำใส่ถังที่มี  รูรั่ว  ไม่มีใครอยากเป็นแบบนั้นใช่ไหมครับ  ดังนั้น หากต้องการผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับที่  ลงแรงไป คุณควรกลับมาทบทวนเรื่องการสร้างบ้านตั้งแต่เริ่มแรกอีกครั้ง “ทบทวนเรือ่ งการสร้างบ้าน” ไม่ได้หมายความถึงสิง่ อืน่  แต่หมายถึง “การพิจารณา  ในมุมผู้อยู่อาศัย”  หากมองในแง่การจัดระเบียบบ้าน อย่างน้อยเราก็ต้องทราบขั้นตอนของ  ทั้งกระบวนการ เริ่มตั้งแต่ “ผู้ใช้งานจะน�ำของลักษณะใดเข้ามาในบ้าน จะใช้งานและเก็บ  อย่างไร” ซึง่ กระบวนการจะเปลีย่ นไปตามสถานการณ์ทแี่ ตกต่าง เช่น ตามเวลา ตามฤดูกาล  ตามผู้ใช้งาน…เราจึงต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้อย่างครอบคลุม ปรับครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อให้  เหมาะกับแต่ละครอบครัว จนในที่สุดก็จะได้ภาพโครงร่างของบ้านที่จัดระเบียบง่าย หนังสือเล่มนี้กล่าวถึง 26 มุมมองตามแต่ละหัวข้อ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นส�ำหรับมอง  ย้อนไปพิจารณาเรือ่ ง “บ้าน = ผูอ้ ยูอ่ าศัย” อาจไม่มไี อเดียทีน่ า่ ตืน่ ตาตืน่ ใจอะไร แต่สำ� หรับ  ผู้ที่ก�ำลังคิดจะสร้างบ้านหรือรีโนเวทบ้าน หนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นเสมือนเครื่องมือตรวจสอบ

4


ให้คุณได้พิจารณาที่อยู่อาศัยในมุมมอง “การจัดระเบียบบ้าน” ดูบ้าง เช่น ผังห้องนั่งเล่น  แบบนี้จะจัดระเบียบยากหรือเปล่า ฟังก์ชันไหนในครัวที่ใช้งานไม่สะดวกได้รับการแก้ไข  หรือยัง  ผมอยากให้คุณลองมานั่งพินิจพิเคราะห์อีกครั้ง พลางนึกถึงใบหน้าของคนใน  ครอบครัวที่จะมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยกันในบ้านหลังนี้ไปด้วย หากคุณยังไม่มีแพลนจะสร้างบ้านหรือรีโนเวทบ้านก็ไม่เป็นไร  แม้ยังไม่มีโอกาส  ปรับเปลีย่ นตัวบ้านจริงๆ แต่คณุ ก็จะได้คลายความสงสัยต่างๆ ทีข่ บคิดมานานปีวา่  “ท�ำไม  บ้านเรามันรกจัง” โดยมองจากทฤษฎีการก่อสร้าง ซึ่งความรู้เหล่านี้จะเพิ่มสีสันให้ไอเดีย  การตกแต่งห้องหรือจัดบ้านใหม่ได้แน่นอน  ยิ่งกว่านั้นยังเป็นโอกาสอันดีที่คุณจะได้ทราบ  สาเหตุซึ่งอยู่เบื้องหลังปัญหาว่า “ท�ำไมเก็บบ้านเท่าไรก็กลับมารกเหมือนเดิม” และมีโอกาส  กลับไปท�ำความเข้าใจการเคลือ่ นทีแ่ ละพฤติกรรมมนุษย์ รวมทัง้ ฟังก์ชนั การใช้งานส่วนต่างๆ  ของบ้านด้วยกันอีกครั้ง การจัดระเบียบบ้านนับเป็นก้าวแรกของการเข้าใจตัวเองให้มากขึ้น เพราะบ้าน  เป็นพืน้ ทีท่ สี่ ะท้อนตัวตนของเรา และยังเป็นกิจกรรมทีฟ่ น้ื ฟูความสัมพันธ์ระหว่างเรากับบ้าน  ให้ดียิ่งขึ้น  ผมหวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะเปิดอ่านหน้าต่อไปด้วยมุมมองเช่นนั้น

* สัดส่วนตัวอย่างในเล่มใช้หน่วยวัดความยาวเป็นมิลลิเมตร หากเป็นหน่วยอื่นจะเขียนก�ำกับไว้ตามจุด

5



สารบัญ

ค�ำน�ำ

ไปรู ้ จั ก รู ป แบบการเคลื่อ นที่ ของคนกั น เถอะ

3

13

[ บ้านที่เป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นยังไงกันนะ ] เมืองที่ใช้ชีวิตได้สะดวกสบายต้องมีที่จอดรถเพียงพอ

14

[ จุดรับแขกหน้าบ้าน ] ขนาดท่าเรือต้องเหมาะสมกับโกดังขนาดใหญ่

18

[ ผนังบ้าน ] กระจกบานใหญ่มักพึ่งพาอะไรไม่ค่อยได้

22

[ ห้องนั่งเล่น ] โต๊ะมีสารพัดประโยชน์ แต่ไม่ควรใช้งานมากเกินไป

26

[ ห้องครัว ] พอไปถึงโชว์รูมห้องครัว ให้ดูตรง “จุดนั้น” ก่อน

30

7


[ เคาน์เตอร์กลางครัว ] ข้างหลังก็ไม่ดี ข้างหน้าก็ไม่ดี

36

[ มุมท�ำงาน ] พบแล้ว! พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่จ�ำเป็นต้องจัดระเบียบ

40

[ จุดทิ้งขยะ ] ขอฉันอยู่กับคุณจนกว่าจะถึงวันจากลา

46

[ ตู้ฝังผนัง ] มีแต่นักซูโม่ที่ช่วงแขนยิ่งยาวยิ่งดี

50

[ ห้องอาบน�้ำ ] ลาก่อน เจ้าเชื้อรา

54

[ ห้องน�้ำ ] ไพ่ใบสุดท้ายของการแก้ปัญหาพื้นที่เก็บของ

58

[ ห้องโดมะและห้องเกยะ ] ของที่ไม่อยากเก็บไว้ทั้งในและนอกบ้าน เชิญทางนี้

62

[ ลอฟท์ ] เชิญพบกับช่องว่างใต้พื้นบ้าน

8

66


ของทุ ก ชิ้ น มีที่อ ยู่

73

[ งานซักผ้า ] หลัง “ตากผ้า” ก่อน “พับผ้า”

74

[ เสื้อผ้า ] “เลือกซื้อตู้เสื้อผ้า” การตัดสินใจครั้งส�ำคัญ

80

[ สารพัดผ้า ] ทีมงานเบื้องหลังที่ควรอยู่ท่ามกลางแสงสว่าง

84

[ อาหาร ] อาหารไม่ได้มีชีวิตอยู่แค่ในตู้เย็นเท่านั้น

88

[ โซฟา ] ที่บ้านมีชายร่างใหญ่แอบเกาะคุณกินอยู่หรือเปล่า

92

[ เปียโน ] ครอบครัวแยกย้ายแล้วก็ยังกลุ้มใจเรื่องที่วางอยู่ดี

96

[ หิ้งเทพและแท่นบูชาพระ ] หาที่ให้แท่นบูชาพระยากกว่าหิ้งเทพเสียอีก

100

9


[ ของสะสม ] มาจัดเวทีไว้อวดกัน

106

[ จักรยาน ] คนละชาม คนละคัน

110

[ สุนัข ] อีกหนึ่งความยุ่งยากของบ้านเลี้ยงสุนัข

114

[ แมว ] สิ่งส�ำคัญที่มองไม่เห็นด้วยตาแต่มีกลิ่น...

118

[ เสียง ] ยิ่งเป็นบ้านสมัยนี้ยิ่งรกง่าย

122

[ แสงสว่าง ] สิ่งที่ห้ามเอาออกจากห้อง

126

COLUMN ผั ง ครั ว ในฝั น 44 บ้ า นเล็ ก หน่ อ ยก� ำ ลังดี 70 ฟั ง ก์ ชั น เก็ บ ของในบ้า นระดับ มาสเตอร์พีซ 104 คุ ณหมอที่ ไ ม่ รัก ษาสุข ภาพตัวเอง นัก ออกแบบที่... 130

10

บทส่งท้าย

132

ประวัติผู้เขียน

135


Jiapan only!

ญี่ปุ่นเขาจัดบ้านกันแบบน  ้ี ไง



ไปรู้จักรูปแบบ การเคลื่อนที่ของคนกันเถอะ


บ้านที่เป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นยังไงกันนะ เมืองที่ใช้ชีวิตได้สะดวกสบายต้องมีที่จอดรถเพียงพอ

บ้านทีอ่ ยูส่ บายและเก็บกวาดง่ายเป็นบ้านแบบไหนนะ  คนส่วนใหญ่มกั ตอบว่า “ต้อง มีที่เก็บของเยอะๆ ไง”  ความจริงก็ไม่ผิด แต่บางบ้านแม้มีที่เก็บของเต็มไปหมดก็ยังรก เช่นเดิม  เราพยายามยัดทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในตู้ใบใหญ่เพื่อให้รู้สึกว่า “แค่นี้ทั้งห้องนอนห้อง นัง่ เล่นก็ดสู บายตาแล้วละ” แต่ไม่นานก็กลับมารกอีก  ท�ำไมกันล่ะ  ค�ำตอบคือ “เพราะบ้าน หลังนั้นไม่ได้ออกแบบพื้นที่เก็บของไว้ด้วย” เมือ่ ขับรถถึงจุดหมาย เราย่อมมองหาทีจ่ อด  ถ้าบริเวณนัน้ มีทจี่ อดรถกว้างๆ ก็สบาย ไป แต่หากที่จอดรถไกลจากที่หมายของเรา ความสุขคงลดเหลือเพียงครึ่งเพราะเสียดาย ว่า “ท�ำไมไม่มีที่ให้จอดใกล้ๆ นะ”  เห็นชัดได้ว่าเราย่อมใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย ตราบใดที่เตรียมสิ่งจ�ำเป็นไว้ในสถานที่ที่จ�ำเป็น

14


CHAP.

เกิดอะไรขึ้นเมื่อ “ที่จอดรถ” ไม่พอ

บ้านที่เป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นยังไงกันนะ

1

อยากจอดก็จอดไม่ได้

รถทุกคันต่อแถวเรียงราย มุ่งหน้าสู่ที่จอดรถเพียงแห่ง เดียว  บางคันขับขึน้ มาจอดบนทางเท้าเพราะคิดว่า “แค่ เราคันเดียวคงไม่เป็นไร” ซึ่งกีดขวางทางสัญจร ทั้งคน ทั้งเมืองมีแต่บรรยากาศน่าหงุดหงิด

อยากวางก็ ไ ม่ มี ที่ให้วาง

ของหลายชิ้นเราอยากวางไว้ในห้องครัว แต่เอาเข้าจริงกลับไม่มที ที่ เี่ หมาะสม ไม่รู้ จะวางตรงไหน แล้วจะท�ำยังไงดีนะ…

ใช้ชีวิต ด้วยของน้อยชิ้นก็ล�ำบาก

ถ้าเราลดจ�ำนวนของใช้ซงึ่ เป็นตัวการท�ำให้ “บ้านรก” ได้ บ้านที่ไร้ระเบียบคงดูดีขึ้นระดับหนึ่ง แต่ต้องอึดอัดกับ การบังคับใจตนเองว่าห้ามซื้อของใช้ในบ้านเพิ่มไปทั้งปี ถ้าใจไม่แข็งพอก็ไม่น่าจะท�ำได้ตลอดรอดฝั่ง

15


ที่จอดรถกับที่เก็บของ

ชั้ น วางของขนาดเล็ก

ชีวิตจะสะดวกขึ้นเมื่อมีชั้นขนาด ย่อมไว้ตั้งของที่ใช้ทุกวัน

เคาน์เตอร์ก ลางครัว

เตรียมอาหารคล่องตัวขึ้นเมื่อ ห้องครัวมีจุดพักของชั่วคราว

ห้ อ งเก็ บ ของ

สิ่งของจะไม่เคลื่อนที่ไปไหนสักพักเมื่อเก็บไว้ในห้องนี้

วอล์ ค อิ น คลอเซ็ ท

เก็บของรวมกันไว้จุดเดียว ใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า * พื้นที่ใต้หลังคาหรือใต้ชั้นเล่นระดับ

16

ลอฟท์*เก็บของ

ประยุกต์ใช้พนื้ ทีใ่ ห้เกิดประโยชน์


CHAP.

เมืองน่าอยู่กับบ้านน่าอยู่

บ้านที่เป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นยังไงกันนะ

1

ไม่ว่า จะในเมืองหรือในบ้าน

หากออกแบบให้ทุกจุดที่ต้องการเก็บของ มีพื้นที่ที่ควรมีไว้แต่แรก ของใช้ต่างๆ ก็ จะไม่ “ติดขัด” เหมือนการจราจร บ้าน จะเป็นระเบียบเรียบร้อยสบายตาอยูเ่ สมอ

ดังนั้น… บ้านที่เป็นระเบียบเรียบร้อยคือบ้านที่คาดการณ์ไว้แล้วว่าใน  ชีวิตจริงต้องมีการจัดเก็บสิ่งของ และเตรียมรับมือไว้พร้อม  ถ้าออกแบบพื้นที่เก็บของได้ดี  การเก็บกวาดบ้านก็ทั้งง่าย  และสนุก

17


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.