งานสร้างสรรค์ด้วยแสง

Page 1



งานสร้างสรรค์ด้วยแสง (CREATIVE LIGHTING)

อาจารย์นิรันดร์ ไกรฤกษ์ อดีตคณบดีคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และอดีตหัวหน้าภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

อ้างอิงได้จาก :

นิรันดร์ ไกรฤกษ์. “งานสร้างสรรค์ด้วยแสง CREATIVE LIGHTING.” ใน นิทรรศการศิลปนิพนธ์ ครั้งที่ 29, 10. งานแสดงนิทรรศการศิลปนิพนธ์คณะมัณฑนศิลป์ ครั้งที่ 29 ณ หอศิลปะและการ ออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, 18 มีนาคม 2542 - 20 พฤษภาคม 2542. ม.ป.ท., 2542.



1

งานสร้างสรรค์ด้วยแสง (CREATIVE LIGHTING) อาจารย์ นิรันดร์ ไกรฤกษ์ จากประสบการณ์ที่ทาการออกแบบตกแต่งภายในมาระยะหนึ่ง พอเข้าใจได้ว่าการออกแบบตกแต่งภายใน ที่สมบูรณ์นั้นจาเป็นต้องมีการออกแบบและกาหนดการใช้แสงสว่างเป็นส่วนสาคัญประกอบควบคู่อยู่ด้วย มัณฑนากร จึงจาเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ คุณสมบัติ ข้อมูลทางเทคนิค และติดตามความก้าวหน้าของอุปกรณ์ ให้ทันสมัย อยู่เสมอ เมื่อทางานมาได้ระยะหนึ่งก็รู้สึกว่าผลงานออกแบบตกแต่งภายในถูกกาหนดขอบเขตแห่งความคิดความความ จาเป็นที่ต้องใช้วัสดุและอุปกรณ์มาตรฐานที่ใช้กันอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป ผลงานแต่ละแห่งเกิดความรู้สึกซ้าซากจาเจ เหมือนกันไปหมดทาให้ผลงานดูไม่มีคุณค่า และไม่น่าสนใจ ทาให้เกิดความรู้สึกเซ็ง เบื่อหน่าย จึงทาให้เกิดความคิดที่จะ หาทางเลือกใหม่ในการออกแบบแสงสว่าง (ALTERNATIVE LIGHTING) โดยการนาเอาความจาเป็นของการใช้ไฟและ แสงสว่าง มาประกอบกับความรู้ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะมาผสมผสานกัน โดยให้มีการใช้แสง สว่างเป็นองค์ประกอบหลักสร้างสรรค์ ในรูปแบบของผลงานทางศิลปะมาใช้เป็นจุดเด่นในการออกแบบตกแต่งภายใน เมื่อค้นพบวิธีการและนามาประกอบการออกแบบตกแต่งภายในบ่อยๆเข้า ทาให้เกิดความมั่นใจจนถือได้ว่าจะยึดทางเลือก ใหม่ (ALTERNATIVE LIGHTING) นี้เป็นแนงทางในการออกแบบตกแต่งตลอดมา และขอเรียกการออกแบบแสงสว่าง ในงานตกแต่งภายในด้วยวิธีการนี้ว่า CREATIVE LIGHTING การที่จะทาการออกแบบด้วยวิธีการนี้ได้นั้นจาเป็นต้อง มีความรู้ความสามารถจากองค์ประกอบต่างๆเหล่านี้ คือ 1. ความรู้ความเข้าใจอย่างดีในเรื่อง ประเภท ชนิด ขนาด และคุณสมบัติทางเทคนิคของวัสดุอปุ กรณ์ที่ให้ แสงสว่าง ที่มีอยู่ในท้องตลาดอย่างครบถ้วน ยิ่งมีความรอบรู้กว้างขวางมากเท่าไร ก็จาทาให้สามารถ สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างดีเลิศ 2. ต้องมีความรู้ ความเข้าใจอย่างดี ถึงคุณสมบัติและข้อกาหนดทางเทคนิคของวัสดุที่นามาประกอบใน การสร้างสรรค์ผลงาน เช่น ความทนทาน ทนความร้อน การรับแรง ทนต่อน้าหนัก การสะท้อนหรือ หักเหของแสง ผลจากการมองเห็นจากการสะท้อนของผิว 3. ต้องมีความรู้ ความสามารถ ในงานศิลปะอย่างดี เช่น องค์ประกอบศิลป์ (COMPOSITION) ทฤษฏี สี (THEORY OF COLOUR) ทฤษฏีแสงและเงา (LIGHT & SHADOW) เพื่อจะได้สามารถ สร้างสรรค์ผลงานแสงในรูปแบบของงานศิลปะได้ทุกชนิด ทุกประเภท ทุกมิติ 4. มีความสามารถที่จะกาหนดแนวความคิด (CONCEPT) ในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อที่จะสามารถทาให้ งานมีคุณค่า มีจุดเด่นสาคัญ และสามารถสร้างเอกลักษณ์ในการออกแบบแห่งตน 5. ต้องมีความรู้ในเรื่องงานช่าง ค่าแรงงาน ค่าวัสดุอุปกรณ์ ทุกประเภท เพราะเป็นองค์ประกอบสาคัญที่ จะสร้างสรรค์งานศิลปะ อันเป็นสื่อแสดงความฝันอันสวยงามให้เป็นความจริง


2

ภาพที่ 1 ประติมากรรมแสงบริเวณ LOBBY โรงแรม ที่มา : นิรันดร์ ไกรฤกษ์, “ผลงานประติมากรรมแสง เพื่อประกอบในการตกแต่งสถานที่,” ใน นิทรรศการผลงาน คณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ 2541, งานแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ 2541 ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, 15 กันยายน 2541 - 30 กันยายน 2541 (ม.ป.ท., 2541), 16.

CREATIVE LIGHTING นี้เมือ่ นามาทาการออกแบบในสถานที่ต่างๆตามสภาพและความเหมาะสม ซึ่ง จาแนกได้เป็น 4 ข้อ คือ 1. การให้แสงสว่างในการตกแต่งเพดาน เป็นการผสมผสาน ระหว่างการส่องสว่าง การตกแต่งฝ้าเพดาน และผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะ เรียกว่า LIGHT SCULPTURE ซึ่งสามารถออกแบบได้หลายรูปแบบไม่ มีที่สิ้นสุด ขึ้นอยู่กับ ขนาด เนื้อที่ ความสูง อารมณ์ ความรู้สึก บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อม งาน ประเภทนี้เหมาะสมกับสถานที่บริการสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น ล๊อบบี้โรงแรม โถงธนาคาร ห้องบอลรูม โถงผู้โดยสารท่าอากาศยาน ศูนย์การค้า เป็นต้น 2. การให้แสงสว่างในการตกแต่งพื้น ทั้งบนพื้น และใต้พื้น งานประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นสถานเริงรมย์ ต่างๆ เช่น LOUNGE, PUB, BAR, NIGHT CLUB, DISCOTEQUE สถานที่เหล่านี้ต้องเน้นการสร้าง อารมณ์ ความรู้สึก สิ่งแวดล้อม สร้างความเพ้อฝันแก่ผู้ที่ได้สมั ผัส 3. การให้แสงสว่างบนผนังแบบ CREATIVE LIGHTING ไม่ได้หมายถึง WALL WASH หรือไฟที่ใช้ส่อง รูปภาพบนฝาผนัง หรือไฟกิ่งที่ติดผนังเลย แต่ CREATIVE LIGHTING จะหมายถึงงานสร้างสรรค์


3

ทางศิลปะหลายรูปแบบหลายเทคนิคหลายวิธีการ เช่น ในผลงานประเภท BAS-RLIEF, HIGH RELIEF, ROUND RELIEF บนวัสดุที่มีผิวและสีที่แตกต่างกันเพื่อให้เกิด ค่าน้าหนัก มิติ และแสงเงา ผลงานเหล่านี้ เป็นประเภททึบแสงเน้นผิวหน้า ผลงานอีกประเภทหนึ่งเป็นวัสดุโปร่งใส โปร่งแสง เช่นการสร้างสรรค์ ด้วยกระจกสีประเภทต่างๆ STAINED GLASS กระจกแกะลาย ETCHED GLASS กระจกพ่นทราย SAND BLASTING กระจกเจียรนัย ENGRAVE GLASS ตกแต่งด้วยสีและโลหะ หรืออีกประเภทหนึ่ง คือใช้กระจกเงาประเภทต่างๆ มาจัดประกอบเพื่อให้เกิด การสะท้อนแสงและทาให้เกิดภาพพิสดาร IMAGE OF MIRAGE อีกประเภทหนึ่งคือผลงานที่อาศัยคุณสมบัติพิเศษของ OPTICAL FIBAR หรือขั้น สูงขึ้นไปอีกจนถึงขั้นการสร้างภาพและสีโดยอาศัยการเรืองแสงของสี FLUORESCENT กับรังสี ULTRA VIOLET ซึ่งสามารถจะนามาสร้างสรรค์ผลงานที่นิ่ง หรือ เคลื่อนไหว ใช้แบบแห้งหรือเป็น ของเหลวที่เลื่อนไหลได้ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถแสดงออกถึงงานศิลปะประเภท KINETICS ART ได้อย่าง สมบูรณ์แบบ

ภาพที่ 2 การใช้แสงไฟกับกระจกเพื่อสร้างภาพลวงตาแก้ปัญหาฝ้าเพดานเตี้ย ที่มา : นิรันดร์ ไกรฤกษ์, “ผลงานประติมากรรมแสง เพื่อประกอบในการตกแต่งสถานที่,” ใน นิทรรศการผลงาน คณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ 2541, งานแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ 2541 ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, 15 กันยายน 2541 - 30 กันยายน 2541 (ม.ป.ท., 2541), 16.


4

4. การใช้ CREATIVE LIGHTING เพื่อการแก้ปัญหาและเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ของโครงสร้าง สถาปัตยกรรมเดิม ซึ่งไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับแนวความคิดในการออกแบบตกแต่งภายใน ปัญหาที่พบและทาให้ต้องอาศัย CREATIVE LIGHTING มาแก้ปัญหา คือเพดานสูงเกินไป, เพดานเตี้ย เกินไป เสามากเกินไป, เสาใหญ่เกินไป ฯลฯ การตกแต่งจึงต้องอาศัยการแก้ปัญหาหลายวิธีการ และ วิธีการ และวิธีการที่พิเศษและสาคัญก็คือการนาเอาการสร้างสรรค์ทางศิลปะมาประกอบในการแก้ปัญหา แนวความคิดหลักก็คือ สร้างงานศิลปะขึ้นมาเพื่อดึงดูดความสนใจใหม่ด้วยประติมากรรมแสง “LIGHT SCULPTURE” แทนสร้างเสาเดิมให้ดูน่าตื่นเต้นขึ้น ผนังที่ทึบตันมากๆ ก็ใช้การซ่อนไฟสร้างงานศิลปะ เพื่อเกิดความรู้สึกโล่งโปร่งสบาย ด้วยงานศิลปะบนกระจกแบบต่างๆ ซึ่งมีเทคนิคทางศิลปะให้เลือกใช้ อย่างเหมาะสมมากมาย การใช้ CREATIVE LIGHTING ในการแก้ปัญหาโครงสร้างและตัวอาคารนั้น ไม่มีวิธีการ และหลักเกณฑ์ ที่ตายตัว แต่ต้องอาศัยความเหมาะสม แต่ละวิธีการ แต่ละรูปแบบ แต่ละเทคนิค แตกต่างกันไปแล้วแต่ปัญหาและ แนวความคิดสร้างสรรค์ ผลงานจะดูดีพิเศษได้อย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของ มัณฑนากรผู้ออกแบบนั่นเอง


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.