Drawing With Interior Designer

Page 1

การวาดเส้นกับมัณฑนากร Drawing With Interior Designer ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส / Nathrathanon Thongsuthipheerapas ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน / Department of Interior Design คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร / Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University

บทคัดย่อ การวาดเส้นนั้นเป็นเครื่องมือหลักๆ

ของการประกอบวิชาชีพมัณฑนากรทีส่ ร้างสรรค์งานออกแบบ

ภายใน ที่เป็นงานที่มองเห็นด้วยตา สามารถสัมผัสได้ มีที่ว่างเป็น 3 มิติ ดังนั้นการสื่อสารเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ นั้นจะต้องใช้การวาดเส้นเครื่องมือในการแสดงออกหรือสื่อสารความรู้สกึ นึกคิด จินตนาการ ของผู้สร้างสรรค์ มัณฑนากรนั้นควรจะต้องฝึกฝนทักษะการวาดเส้นให้มีความชานาญเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ ใน ศึกษา และบันทึกข้อมูล ถ่ายทอดจินตนาการ พัฒนาผลงาน การเขียนแบบ การนาเสนอผลงาน การแก้ไขปัญหางาน ก่อสร้าง และยังนาไปประยุกต์ใช้ในงานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย เมื่อมัณฑนากรมีความชานาญในการวาดเส้น

สามารถสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการเขียนก็จะ

สามารถสร้างงานวาดเส้น งานนาเสนอ และงานออกแบบภายในที่มีความพิเศษ เป็นความสามารถในการแสดง ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ สุนทรียภาพ ความงาม ที่มีความแตกต่างหลากหลาย ส่งเสริมพัฒนางานออกแบบ ภายในให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้ บทนา การวาดเส้น เป็นวิธีการสื่อความหมายทางการมองเห็นของมนุษย์ นอกเหนือไปจากการแสดงปฏิกิริยา ด้วยร่างกาย หรือการสื่อสารด้วยประสาทสัมผัสอื่นๆ และด้วยการที่มนุษย์มีความคิดอ่าน มีอารมณ์ความรู้สึก นึกคิด

จึงทาให้มนุษย์ต้องการสื่อสารความรู้สึกจากส่วนลึกภายในจิตใจ

จึงทาให้เกิดการแสดงออกที่มี

ความหมายทางการสร้างสรรค์ โดยมนุษย์ให้วิธีการทางศิลปะเป็นเครื่องมือในการแสดงออก การวาดเส้นเป็นพื้นฐานที่สาคัญสาหรับการเริ่มต้นการเรียนรู้ในสาขาวิชาด้านศิลปกรรม

ซึ่งงาน

ออกแบบภายในนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของงานทัศนศิลป์ มัณฑนากรควรต้องฝึกฝนให้เกิดความชานาญ เพราะ เป็นเครื่องมือสาคัญในการศึกษา ในการผลักดันจินตนาการจากภายในให้ออกมาให้ผู้อื่นได้สัมผัส และเข้าใจใน ความหมายของสิ่งที่มัณฑนากรกาลังคิดสร้างสรรค์อยู่

เมื่อเข้าใจและมีความชานาญแล้วสามารถนาไป

ประยุกต์ใช้กับเครื่องมือต่างๆ เพื่อการทางานออกแบบภายใน การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการออกแบบ


การเก็บข้อมูลเพื่อการออกแบบ การพัฒนางานออกแบบ นาเสนอแนวความคิด การแก้ไขปัญหาในงาน ก่อสร้างต่างๆ ที่สามารถนาไปปรับใช้ได้ ในปัจจุบันการวาดเส้นในงานออกแบบภายในถูกนาไปใช้หลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบการเรียนการ สอนในสถาบันการศึกษา การทางานในวิชาชีพ การประยุกต์ในแง่มุมต่างๆ ด้วยความที่เป็นงานสร้างสรรค์ ซึ่ง สามารถแบ่งลักษณะของการฝึกฝน

และการนาไปประยุกต์ใช้ในด้านการออกแบบภายในได้เป็นหัวข้อต่างๆ

ดังนี้ 1. ทักษะกับการวาดเส้น 2. การศึกษาและบันทึกข้อมูลผ่านการวาดเส้น 3. เครือ่ งมือในการถ่ายทอดจินตนาการ 4. การพัฒนางานโดยการวาดเส้น 5. วาดเส้นกับการเขียนแบบ 6. วาดเส้นในการนาเสนอผลงาน 7. วาดเส้นในการแก้ไขปัญหาหน้างานก่อสร้าง 8. ลักษณะเฉพาะตนในการวาดเส้น 1. ทักษะกับการวาดเส้น การวาดเส้นเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีความสาคัญมากในการสร้างงานออกแบบภายใน

มัณฑนากร

จาเป็นต้องมีทักษะที่ดีในการวาดเส้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการส่งผ่านความคิดและจินตนาการ เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาที่ว่าง พัฒนาองค์ประกอบ พัฒนารายละเอียดในงานออกแบบภายใน เป็นเครื่องมือในการ ถ่ายทอดกระบวนการ ขั้นตอน ความเป็นมาในการออกแบบ เป็นเครื่องมือในการศึกษา เรียนรู้และสร้าง ประสบการณ์เพื่อใช้เป็นข้อมูลในออกแบบ การวาดเส้นนั้นจึงนับเครื่องมือที่ขาดไม่ได้ในการประกอบวิชาชีพ มัณฑนากร 1.1 การฝึกทักษะในการมองเห็น การมองนับเป็นก้าวแรกสาหรับการวาดเส้นเรามักฝึกฝนด้วยการเขียนเลียนแบบธรรมชาติ หรือ สิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น วัตถุหุ่นนิ่ง ภูมิทัศน์ ธรรมชาติ สถาปัตยกรรม ฯลฯ ผู้เขียนจะต้องมองให้ออกว่า วัตถุ บริบท อาคารสถานที่ บรรยากาศ ธรรมชาติทกี่ าลังมองอยู่นั้นมีลักษณะที่วา่ งความเป็นสามมิติ มีความงามอย่างไร เรามองเห็นอะไรในพื้นที่นั้นและจะนาสิ่งที่คิดถ่ายทอดออกมาได้อย่างไร เมื่อสามารถวาดในสิ่งที่ตาเห็นได้แล้ว จึงค่อยวาดสิ่งที่คิดจินตนาการให้ออกมาเป็นรูปธรรมได้


1.2 ทัศนียวิทยา ความถูกต้องในการเขียนตามหลักการเขียนทัศนียภาพทั้งเส้นระดับสายตา

ระยะหน้า-หลัง

มุมมองความสูงของการเขียน จุดรวมวัตถุ (Vanishing point) และจุดรวมสายตา (Center of vision) รวมทั้ง แสงเงาที่เกิดขึ้นกับวัตถุตามหลักทัศนียวิทยา ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งสาคัญลาดับแรกๆ ของการฝึกทักษะการวาดเส้น ของมัณฑนากรเพราะงานออกแบบภายใน เป็นงานที่ใช้การทัศนียภาพ การมองเห็น การใช้งาน การสัมผัส สีสัน แสงและเงา ในการสร้างที่ว่างดังนั้นความถูกต้องตามหลักทัศนัยภาพจึงเป็นเรื่องสาคัญมากสาหรับการ วาดเส้น 1.3 โครงสร้างสัดส่วนของวัตถุ1 ด้วยงานออกแบบภายในเป็นงานที่มีประโยชน์ใช้สอยประกอบกับความงาม ความถูกต้องแม่นยา ในงานออกแบบจึงเป็นสิ่งจาเป็น ทั้งระยะ สัดส่วน โครงสร้างของวัตถุ ที่ว่าง องค์ประกอบต่างๆ นับเป็นทักษะ สาคัญที่มัณฑนากรทุกคนควรมี เพื่อให้การถ่ายทอดจินตนาการผ่านการวาดเส้นเป็นไปด้วยความถูกต้องชัดเจน 1.4 เส้น การใช้ลักษณะของเส้นให้ถูกต้องเป็นสิ่งจาเป็นในการวาดเส้นเพราะเส้นต่างๆ

ล้วนมีอารมณ์

ความรู้สึกที่แตกต่างกัน มัณฑนากรควรควบคุมการใช้เส้นของตนเองได้ ทั้งน้าหนัก ขนาดของเส้น ลักษณะของ เส้น ประกอบกับการเลือกอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อให้ได้งานวาดเส้นที่สะท้อนแนวคิด บุคลิกภาพเฉพาะของงานหรือ แม้แต่ลักษณะเฉพาะตนของมัณฑนากรเองให้ปรากฏออกมาเด่นชัด 1.5 ความชานาญ มัณฑนากรควรฝึกฝนการวาดเส้นอย่างสม่าเสมอ เมื่อมีทักษะที่ดีและมีความชานาญในการวาด เส้นแล้วไม่ว่าจะคิด จินตนาการ ถึงสิ่งใดก็สามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างใจคิด การฝึกทักษะความชานาญ สาหรับการวาดเส้นบางคนอาจทาโดยการลอกแบบจากรูปงานวาดเส้น ที่นักออกแบบหรือมัณฑนากรอาชีพที่มี ความชานาญได้เคยเขียนไว้ เพื่อศึกษาถึงรูปแบบวิธีการเขียนว่าเขียนได้อย่างไร ก็พัฒนาทักษะความชานาญ ด้วยการลอกแบบมีข้อควรระวังเรื่องการลอกอย่างไม่มีเป้าหมาย เราควรลอกเพื่อศึกษากระบวนการของผู้วาด

1

พิษณุ ศุภนิมิตร. วิชาพื้นฐานทางศิลปะมีความสาคัญอย่างไรกับคนเรียนศิลปะ. ใน สูจิบัตรนิทรรศการ “10 Steps” Fundamental Arts Exhibition. (กรุงเทพฯ : คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554), 60.


มิใช่การเลียนแบบผลผลิตที่ออกมาแล้ว2

เมื่อลอกแบบพร้อมเข้าใจกระบวนการแล้ว

ทาได้เองต่อไปและ

สามารถพัฒนาต่อยอดให้เกิดรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะตนได้ 2. การศึกษาและบันทึกข้อมูลผ่านการวาดเส้น ในการออกแบบภายในมัณฑนากรจะต้องศึกษาโจทย์ วิเคราะห์ วางแผนและพัฒนาผลงาน ก่อนการ ทางานโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ โดยอาศัยประสบการณ์จากการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หรือจากประสบการณ์ทางานที่สะสมมาระยะเวลาหนึ่ง การจินตนาการภาพให้ออกมานั้นจาเป็นต้องมีจินตภาพเป็นวัตถุดิบเก็บไว้ในสมอง มัณฑนากรก็สามารถนาออกมาใช้งานได้ทันที3

เพื่อพอถึงเวลา

หากปราศจากวัตถุดิบการสร้างสรรค์ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้

การศึกษาเพื่อสร้างประสบการณ์สร้างคลังแห่งจินตภาพเป็นสิ่งจาเป็นในการทางานออกแบบภายใน วัตถุดิบที่ ดีจึงเป็นสิ่งจาเป็น

หากได้ศึกษาผ่านการวาดในสถานที่

ทีม่ ีคุณค่าทางความงามแล้วก็จะช่วยทาให้งาน

สร้างสรรค์ของมัณฑนากรเป็นงานที่มีคุณค่าด้วยเช่นกัน

ภาพที่ 00 พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรี ภาส 2

จอห์น ฮาวกินส์. นิเวศของความสร้างสรรค์ : ที่ซึ่งการคิดกลายเป็นงาน. แปลโดย คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์. (กรุงเทพฯ : ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ, 2553), 55.

3

Zumthor, Peter. Thinking Architecture. (Baden Switzerland : Lars Müller Publishers, 2000), 59.


ภาพที่ 00 ชุมชนท่าช้าง ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรี ภาส เราจะต้องสังเกตถึงลักษณะคุณค่าทางความงามธรรมชาติของสถานที่ที่เราศึกษานั้นว่ามาความงามอย่างไร มีความประทับใจหรือชื่นชอบในส่วนใด ซึ่งอาจแยกวัตถุประสงค์ออกเป็นดังนั้น - รูปแบบของที่ว่าง - สัดส่วนและโครงสร้างของอาคาร - รายละเอียดและส่วนประกอบของอาคารสถานที่ - วัสดุและพื้นผิว - แสงเงา - บรรยากาศและความรู้สึก - วิถีชีวิตของผู้คนต่อสถานที่ ต้องระวังและแยกแยะระหว่างการวาดเพื่อศึกษากับการวาดเพื่อลอกเลียนแบบ4 ผู้ศึกษาจะต้องสานึก รู้ถึงจุดหมายของการวาดเส้น

หากไม่มีจดุ หมายในการวาดเส้นผลงานนั้นก็จะเป็นเพื่อการฝึกฝนฝีมือเท่านั้น

เมื่อมีจุดมุ่งหมายที่แน่ชัดแล้วเราก็สามารถศึกษาและสร้างคลังจินตภาพ ทางานสร้างสรรค์ได้ 4

ชะลูด นิ่มเสมอ. วาดเส้นสร้างสรรค์. (กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2553), 43.

ในสมองเพื่อเป็นเครื่องมือในการ


3. เครื่องมือในการถ่ายทอดจินตนาการ วาดเส้นเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการถ่ายทอดความคิด

ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูปเล่น

การเขียนเพื่อ

ทดลองด้วยวิธีการต่างๆ การผสมผสานกับเครื่องมือบางชนิด เป็นการถ่ายทอดงานสร้างสรรค์ที่ใช้เวลารวดเร็ว5 การบันทึกความคิดที่ผ่านเข้ามาในช่วงเวลาหนึ่ง

เพื่อคาดคะเนแนวทางความคิดพัฒนาจากความคิดจาก

นามธรรมสู่รูปธรรมที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ6 และเพื่อการทดลองสร้างที่ว่างในกระดาษผ่านการวาดเส้น

ภาพที่ 00 ภาพร่างงานออกแบบภายในโรงแรม Sofitel So Bangkok โดย PIA INTERIOR ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=lP5Zns_z1do

ภาพที่ 00 ภาพร่างแนวความคิดในการออกแบบภายใน ที่มา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอกพงษ์ ตรีตรง

5

เอกพงษ์ ตรีตรง. HOTEL DESIGN. (กรุงเทพฯ : เนชั่น พริ้นติ้งท์ เซอร์วิส, 2554), 174.

6

ชะลูด นิ่มเสมอ. วาดเส้นสร้างสรรค์. (กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2553), 33-39.


ภาพที่ 00 การพัฒนารูปแบบงานออกแบบภายในผ่านลายเส้นแบบ ISOMETRIC ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรี ภาส 4. การพัฒนางานโดยการวาดเส้น การวาดเส้นนั้นถือเป็นเครื่องมือสาคัญในการพัฒนารูปแบบงานออกแบบภายใน ด้วยงานที่มีลักษณะ ทางกายภาพเป็นที่ว่าง ที่มีรูปร่างรูปทรงเป็น 3 มิติ การวาดเส้นทั้งแบบรูปทัศนียภาพ 3 มิติและแบบ 2 มิติ สามารถถ่ายทอดสิ่งที่คิดให้ออกมาเพื่อดูลักษณะงานให้เห็นเป็นรูปธรรม การทดลองสร้างที่ว่างในรูปแบบต่างๆ ด้วยการสเกตซ์ เป็นหนึ่งในกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์งานออกแบบภายใน มัณฑนากรอาจนาเอาภาพ ร่างไปใช้เพื่อแสดงกระบวนการออกแบบในการนาเสนอผลงานได้

ภาพที่ 00 การพัฒนาแบบแปลนด้วยการวาดเส้น ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรี ภาส


ภาพที่ 00 งานออกแบบภายในคอนโดมิเนียม ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรี ภาส 5. วาดเส้นกับการเขียนแบบภายใน เมื่อมัณฑนากรมีทักษะความแม่นยาในการวาดเส้นที่ดีแล้ว

การนามาประยุกต์ใช้ในการเขียนแบบ

ภายในจึงไม่ใช่เรื่องยาก เพราะการเขียนแบบภายในนั้นใช้เส้นในการสื่อสาร ใช้เส้นเป็นภาษาในการอธิบาย รูปแบบและลักษณะของงาน โดยอาศัยความแม่นยาในการใช้น้าหนักอ่อน-แก่ของเส้น ขนาดของเส้น และ ลักษณะของเส้นที่เป็นเส้นปะ เส้นตรง เส้นโค้ง ผ่านสัญลักษณ์หรือเครือ่ งหมายเพื่อบอกความหมายของแบบ เพราะฉะนั้นมัณฑนากรที่จะเขียนแบบภายในให้ดีได้นั้นควรต้องเริ่มต้นจากการเรียนวาดเส้นเสียก่อน แม้ว่าในปัจจุบนั การเขียนแบบภายในนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรม Cad ใน รูปแบบต่างๆ เพื่อการเขียนแบบแต่เราก็ยังต้องกาหนดค่าน้าหนักของเส้นและลักษณะของเส้น หรือในอนาคต จะมีรูปแบบของการเขียนแบบที่เป็นไปในลักษณะสามมิติ

หรือการทางานผ่านระบบ

Information Modeling) ซึ่งสิ่งเหล่านี้อย่างไรก็ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ในด้านการวาดเส้น

ภาพที่ 00 แบบร่างรูปด้านงานออกแบบภายใน ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรี ภาส

BIM

(Building


ภาพที่ 00 รูปด้านห้องจัดเลี้ยง พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรี ภาส. นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์ มัณฑนศิลป์ ’54 : 55 ปี แห่ง การสร้างสรรค์นวัตกรรม. (กรุงเทพฯ : คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554), 9.

ภาพที่ 00 แบบขยายรูปตัดการซ่อนไฟ ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรี ภาส ในตัวอย่างภาพที่ 00 แสดงการสเกตซ์แบบการซ่อนไฟในงานออกแบบภายใน ที่ต้องอาศัยการวาด เส้นเป็นเครื่องมือในการเขียนอธิบายด้วยน้าหนัก

ระยะ

สัญลักษณ์ประกอบแบบ

มัณฑนากรต้องใช้

ความสามารถในการวาดเส้นนาความประยุกต์ใช้กับการเขียนแบบภายใน เพื่อพัฒนางานออกแบบระหว่างการ ก่อสร้างได้


6. วาดเส้นในการนาเสนอผลงาน การนาเสนอผลงานการออกแบบภายใน

ในปัจจุบันมักนาเสนอด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์ที่ได้ภาพ

สมจริง เจ้าของโครงการสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนถึงรูปแบบลักษณะของผลงานที่เป็นรูปธรรม แต่ในส่วนของ แบบร่างขั้นต้น

การวาดเส้นก็เป็นเครื่องมือที่ยังได้รับความนิยมในการนาเสนอแบบร่างขั้นต้นให้กับเจ้าของ

โครงการ ในบางโครงการการนาเสนอครั้งสุดท้ายก็ยังคงเป็นการวาดเส้นเพื่อนาเสนอ ด้วยความเป็นธรรมชาติ ของเส้นที่มีชีวิตชีวา ความมีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นงานศิลปะที่มีอารมณ์ความรู้สึก มีสนุ ทรียภาพ มีคุณค่า มากกว่าการนาเสนอด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์

ภาพที่ 00 วาดเส้นสโมสรพนักงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรี ภาส

ภาพที่ 00 วาดเส้นบ้านพักอาศัยคุณเธียรสิน ภู่ธนา ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรี ภาส


7. วาดเส้นในการแก้ไขปัญหาหน้างานก่อสร้าง ในงานออกแบบภายในมักมีปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ ด้วยรูปแบบการก่อสร้างที่เป็นสิ่งที่ไม่สามารถขาด คิดล่วงหน้าได้ ด้วยเนื้อหาของงานที่มีรายละเอียดมากและประกอบการช่างก่อสร้างอาจมิได้เข้าใจความคิดใน ตัวผู้ออกแบบทั้งหมด การตรวจหน้างานก่อสร้างจึงมักเกิดปัญหาที่ต้องแก้ไขด้วยความรวดเร็ว มัณฑนากรควร มีทักษะในการสื่อสารผ่านการวาดเส้นทั้งในรูปแบบการเขียนทัศนียภาพที่เป็น 3 มิติ และการเขียนแบบภายใน ที่เป็น 2 มิติ เพื่อให้การทางานก่อสร้างดาเนินต่อไปได้อย่างสะดวก ดังนัน้ ความเร็ว ความถูกต้อง ความแม่นยาและไหวพริบในการแก้ไขปัญหา เป็นสิ่งจาเป็นที่มัณฑนากร จะใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาหน้างานก่อสร้าง การมีทักษะที่ดีจะช่วยในส่วนนี้ได้มาก

ภาพที่ 00 การวาดเส้นส่วนต่อเติมห้องอาบน้าภายในบ้านพักอาศัย ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรี ภาส

ภาพที่ 00 การวาดเส้นและลงสีในการออกแบบภายในสานักงานขายดีคอนโด รามคาแหง ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรี ภาส


8. ลักษณะเฉพาะตนในการวาดเส้น โดยปกติแล้วมนุษย์มักจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป ทั้งลักษณะนิสัย รูปร่างหน้าตา ประสบการณ์ในการใช้ชีวิต สิ่งแวดล้อมความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันออกไปทาให้มนุษย์มีมุมมอง มีลักษณะที่ แตกต่างกันโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ลักษณะความแตกต่างเหล่านี้มักปรากฏลงในความคิด จินตนาการ และ ถ่ายทอดลงมาที่การวาดเส้นโดยไม่รู้ตัวอยู่แล้ว เสมือนลายมือในการเขียนแต่ความแตกต่างเหล่านี้จะแสดง ความชัดเจนมากขึ้นเมื่อได้รับการฝึกฝนอย่างถูกต้อง การสร้างลักษณะเฉพาะตัวในการเขียนอาจเริ่มต้นด้วยการสังเกตลักษณะของเส้นหนา-บาง น้าหนัก เข้ม-อ่อน ของผู้เขียนและพัฒนาจากลักษณะการเขียนที่ตนเองชื่นชอบ โดยผู้เขียนจะต้องสังเกตตนเองว่าการ เขียนในลักษณะของตนเหมาะสมกับเทคนิคที่ตนเองเลือกใช้ เช่น คนที่ชอบเขียนเส้นเล็กและบางอาจพัฒนา โดยการเขียนเก็บรายละเอียดมากเพื่อให้ลักษณะเด่นของการเขียนด้วยเส้นเล็กปรากฏออกมาเด่นชัดขึ้น การให้จังหวะของเส้นบ้างคนชอบเขียนเส้นยาวๆ บางคนชอบเขียนเส้นขาดๆ บางคนชอบผสมน้าหนัก เข้ม-อ่อน หรือการหยุดปากกาที่หัวและท้ายเส้นเพื่อให้เส้นมีน้าหนัก อีกส่วนหนึ่งคือลักษณะของเส้น เช่น เส้นตรง เส้นขยัก เส้นสั่น ฯลฯ หากฝึกฝนลักษณะเฉพาะเหล่านี้ ให้เด่นชัดแล้วเมื่อประกอบกับการมองเห็น มุมมอง ความคิด ประสบการณ์และจินตนาการของผู้เขียนแล้วก็จะ สร้างลักษณะพิเศษที่มีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งยากที่จะมีลักษณะที่เหมือนกัน

ภาพที่ 00 ภาพวาดเส้นของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอกพงษ์ ตรีตรง ที่มา : เอกพงษ์ ตรีตรง


ภาพที่ 00 ภาพวาดเส้นของ อาจารย์สมบัติ วงศ์อัศวนฤมล ที่มา : สมบัติ วงศ์อัศวนฤมล

ภาพที่ 00 ภาพวาดเส้นของ อาจารย์ ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส ที่มา : ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพรี ภาส


บทสรุป การวาดเส้นเป็นพื้นฐานสาคัญของการสร้างสรรค์งานออกแบบภายใน ความคิดและผลงานผ่านการสเกตซ์เพื่อศึกษา

เป็นงานที่ต้องพัฒนาความ

เพื่อการออกแบบอย่างมีกระบวนการ

มีการวิเคราะห์

สังเคราะห์ และนาเสนอผลงาน โดยมีงานวาดเส้นตัวช่วยสื่อสารความคิด จินตนาการ ให้ออกมาอย่างมีระบบ เป็นรูปธรรม ในสายวิชาชีพการออกแบบภายในบริษัทต่างๆ

ทั้งในและต่างประเทศหลายบริษทั มักจะขอดูภาพ

สเกตซ์แบบร่างงานวาดเส้นของมัณฑนากรเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของความคิด เจ้าของผลงานสร้างสรรค์ เป็น เครื่องมือในการดู “ฝีมือ” ของมัณฑนากรว่ามีความสามารถมากเพียงใด งานวาดเส้นที่ดีต้องอาศัยทักษะของผู้เขียนที่มีความชานาญ รวดเร็ว และแม่นยา ยิ่งมีลักษณะเฉพาะ ของตนเองด้วยแล้วงานวาดเส้นนั้นจะยิ่งมีความพิเศษมากขึ้นเท่านั้น

ยิ่งในงานที่มีความใส่ใจในรายละเอียด

ตั้งใจทาด้วยความรู้สึกนึกคิด งานวาดเส้นอาจเป็นมากกว่างานนาเสนอผลงานแต่เป็นงานศิลปะที่มีความงาม แสดงสุนทรียภาพของผู้เขียนให้ปรากฏออกมาเด่นชัด มีความแตกต่างหลากหลายในผลงานสร้างสรรค์ ด้วย การวาดเส้นด้วยมือเป็นหัวใจของการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกทีม่ ีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เส้นทุก เส้นล้วนแทนความหมายมากมายที่เรียงร้อยจินตนาการ ความคิด ความรู้สึก และความสุนทรียในงานออกแบบ ภายในที่ไม่มีวนั สิ้นสุด


เอกสารอ้างอิง ภาษาไทย จอห์น ฮาวกินส์. นิเวศของความสร้างสรรค์ : ที่ซึ่งการคิดกลายเป็นงาน. แปลโดย คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์. กรุงเทพฯ : ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ, 2553. ชะลูด นิ่มเสมอ. วาดเส้นสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2553. ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส. “มัณฑนากรกับการทางานในช่วงการก่อสร้าง.” ใน มัณฑนศิลป์ ’54:55 ปี แห่ง การสร้างสรรค์นวัตกรรม, 68. งานแสดงนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะ มัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 14 ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, 15-30 กันยายน 2554. ม.ป.ท., 2554. พิษณุ ศุภนิมิตร. วิชาพื้นฐานทางศิลปะมีความสาคัญอย่างไรกับคนเรียนศิลปะ. ใน สูจิบัตรนิทรรศการ “10 Steps” Fundamental Arts Exhibition. กรุงเทพฯ : คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554. เอกพงษ์ ตรีตรง. HOTEL DESIGN. กรุงเทพฯ : เนชั่น พริ้นติ้งท์ เซอร์วิส, 2554. ภาษาต่างประเทศ Zumthor, Peter. Thinking Architecture. Baden Switzerland : Lars Müller Publishers, 2000.


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.