คู่บ้าน ฉบับที่ 32

Page 1




Editor’s Talk

เรียนรู้ชีวิต เรียนรู้ธรรมชาติ จากมหาอุทกภัย 2554 นอกจากความเสียหาย ทางชีวิต ทรัพย์สินแล้ว สิ่งหนึ่งที่ภัยพิบัติทิ้งไว้ นั่นคือ ให้มนุษย์ ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้ อย่างกลมกลืน โดยมีจิตส�ำนึกต่อสิ่งแวดล้อมและ สิ่งรอบข้าง เพราะธรรมชาติศักดิ์สิทธิ์เสมอ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทั้งผู้บริหาร พนักงาน และประชาชนทั่วไป ทางบริษัท ปูนซีเมนต์ นครหลวง จ�ำกัด (มหาชน) และทีมอินทรีอาสา มีความ ตั้งใจจะช่วยเหลืออย่างเต็มก�ำลังความสามารถ เพราะ คนไทยย่อมไม่ทิ้งกัน มนุษย์จะอยูอ่ ย่างแยกส่วนไม่ได้อกี แล้ว ชีวติ ต่อไป ทุกคนจะต้องกลับคืนสู่ธรรมชาติที่เรียบง่าย รักการ

แบ่งปัน และคิดในด้านบวกมากขึ้น เพราะนี่คือเทรนด์ ใหม่ ของโลกในปี 2012 ฉะนั้น ทั้งไลฟ์สไตล์ การอยู่อาศัย จะเริ่มเปลี่ยนแปลง เพราะโลกมนุษย์ต้องรับมือกับภาวะ โลกร้อน แนวโน้มบ้านปูนเปลือย แบบโปร่ง โล่ง คงได้ฮิต กันแรงๆ อีกครั้ง ผมขอแสดงความยินดีต่อทีมสถาปนิกไทยคนรุ่นใหม่ ที่สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศมาครองได้ส�ำเร็จ ในงาน โฮลซิมอวอร์ดส 2011 ระดับเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจัดขึ้น ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2554 ด้วยการน�ำเสนอโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ที่น่าสนใจ นับเป็นครั้งแรกของตัวแทนจากประเทศไทย ในเวทีโลก สุพจน์ ว่องไววิทย์ บรรณาธิการ

4



บ้านนี้มีอะไร

นิตยสารในกลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ปีที่ 7 ฉบับที่ 32 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2554

8

Hi-light & Contents 16

Cover Story 8 Trend 2012 กลับสู่ธรรมชาติ เรียบง่าย แบ่งปัน และคิดบวก 12 เทรนด์แฟชั่น แรงบันดาลใจจากเก่าสู่ใหม่ 14 Loft Lifestyle 16 Green LOFT บ้านปูนเปลือย ดิบ เท่ เรียบง่าย 22 Minimalism Innovative Design เหลือไว้แต่ชีวิตช้า ๆ มาเยือน 28 เอเซีย คอนกรีต แพลนท์ (สงขลา) บอสใหญ่ สมเกียรติ พิทยาธรรม

32

“ตอนนี้แฮปปี้มาก แค่พลิกวิธีคิด ชีวิตผมก็เปลี่ยน” CEO ชัยรัตน์ ธรรมพีร เปิดสูตรส�ำเร็จ PCM “แรงใจผู้น�ำและพนักงานเป็นพลังขับเคลื่อน”

Good Design 36 Holcim Awards 2011 เอเชียแปซิฟิก

22

ชาวเยอรมันคว้าเหรียญทองสร้างโรงเรียนจากวัสดุธรรมชาติ

40

สถาปนิกไทยคว้ารองแชมป์เอเชียแปซิฟิก

เปลี่ยนโรงงานเป็นการเกษตรชนบทเพื่อชุมชน

46

The Rizt Carlton Experience

28 32

6


36

52 80

Special Report 52 อินทรีอาสา ฟื้นฟูหลังน�้ำลด รณรงค์เก็บขยะ ซ่อมแซมบ้านเรือน Book Alert 64 ห้องสมุดสุดปลายจมูก ตอนที่ 5 การ์ตูนสุดปลายจมูก ปั้นฝันผู้ ให้ ปันฝันผู้รับ Power Mind 60 Zero Waste to Landfill Health&Safety 72 16 ข้อปฏิบัติความปลอดภัย ส�ำรวจบ้านหลังน�้ำท่วม Dr. Cement 74 ตรวจโครงสร้างบ้านหลังน�้ำลด ดวงคู่บ้าน 76 หมอช้าง ซินแสไฮโซ แนะฮวงจุ้ยบ้านหลังน�้ำลด ชิมนอกบ้าน 80 Bacco อร่อยในอารมณ์โมเดิร์นลอฟต์ 84 ชิล ๆ ที่เลอโนต 86 อร่อยวิถีไทย เที่ยวไปชิมไป เที่ยวนอกบ้าน 88 อียิปต์ อารยธรรมแบบเหนือๆ

คณะที่ปรึกษา จันทนา สุขุมานนท์ สุทธิพันธ์ วัชโรภาส ศิวะ มหาสันทนะ ร.ท.คันธนิธิ์ สุคนธทรัพย์

บรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

สมยศ อุดมสินกุล, เจริญ อัศวรุ่งเรืองชัย, ยงยุทธ สง่างาม, ภัชฎา หมื่นทอง, สิริกาญจน์ บุณยเกียรติ, จิตราภรณ์ ศรกุล, ชนม์ภัสส์ กาญจนวิศิษฐ์, ชนินันท์ สิรินันทน์, พรธิดา ยืนสุข, อดิศักดิ์ ยิ้มวัน, ปัทมา วรรณวีระ, สุวิมล อิ่มเฮง, วิมล ก�ำธร, สุกัญญา โชติอภิสิทธิ์กุล, ศาสวัต ชูโชติถาวร, ณัฐวินี แท่นนิล, วิชา วุตติด�ำรงธรรม

สุพจน์ ว่องไววิทย์

บรรณาธิการฝ่ายศิลป์

อมร ลังเมือง, เปรมวิไล มนตรีพิศุทธิ์, สรศักดิ์ ชนวัฒน์, กาญจน์แก้ว พุฒิอนันต์

86 88

เจ้าของ

บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จ�ำกัด (มหาชน) อาคารคอลัมน์ทาวเวอร์ ชั้น 7-12 199 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทรศัพท์ : 0-2797-7000 โทรสาร : 0-2797-7765 เว็บไซต์ : www.siamcitycement.com อีเมล : koobaan@sccc.co.th

ทรรศนะและความเห็นใด ๆ ของผูป้ ระพันธ์ ทีอ่ าจก่อให้เกิดความเข้าใจ ชัดแจ้งหรือไม่แน่ชดั ตามทีป่ รากฏในนิตยสารคูบ่ า้ น ถือเป็นความคิดเห็น ส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงไม่จ�ำเป็นต้อง เห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ๆ

7


Cover Story

Text & Photo : : ฐิติพร ภัทร

ดีไซน์และบรรยากาศทีด่ เู งียบสงบและสดชืน่ เฟอร์นเิ จอร์สเี อิรท์ โทนธรรมชาติแบบเท่ๆ

8


Back to EcoTrend กลับสูธ่ รรมชาติ เรียบง่าย

ถึงแม้โลกจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยมีเทคโนโลยี เป็นตัวขับเคลือ่ น แต่ปญ ั หาจากสภาพแวดล้อม ภาวะ โลกร้อน ปัญหาเศรษฐกิจ ส่งผลต่อพฤติกรรมของ ผู้บริโภคให้กลับคืนสู่ความเรียบง่าย เน้นอยู่ร่วมกับ ธรรมชาติ การแบ่งปัน โดยมีจติ ส�ำนึกของการอยูร่ ว่ มกัน ในสังคมมากขึ้น จากข้อมูลเจาะเทรนด์โลก 2012 ของ TCDC พบว่า แนวโน้มการบริโภคสินค้าในปี 2012 ผูบ้ ริโภค จะพิจารณาความคุ้มค่ามากขึ้น จากที่เคยนิยม แบรนด์เนมชือ่ ดัง เสือ้ ผ้าราคาแพง จะหันกลับไป สูค่ วามเรียบง่าย เลือกสินค้าที่ให้คณ ุ ค่าเหมาะสม กับราคา การผลิตทีไ่ ม่ทำ� ลายสิง่ แวดล้อม ค�ำนึงถึง ประโยชน์ ใช้สอยอย่างแท้จริง และให้ความส�ำคัญ ต่อแบรนด์ทเี่ น้นคืนก�ำไรสูส่ งั คม บอกถึงทีม่ าของ สินค้าจากต้นน�้ำสู่ปลายน�้ำอย่างชัดเจน แนวโน้มนี้ส่งผลให้การออกแบบแนว Minimalism กลับมาอีกครัง้ เพราะดูเรียบง่าย น้อยชิน้ ให้ความรูส้ กึ อ่อนโยนแต่ทนั สมัย ฉะนัน้ ผลิตภัณฑ์ ที่ดูดี ดูเนี้ยบแต่เรียบง่าย ใช้ประโยชน์ ได้คุ้มจะ ได้รับความนิยมมากขึ้น รวมถึงการออกแบบที่ เน้นใช้งานได้หลากหลาย เช่น หม้อที่แปลงเป็น จานเสิร์ฟได้ วิทยุใช้ ในห้องน�้ำที่ออกแบบให้เข้า กับของใช้อื่นๆ เพื่อลดพื้นที่ใช้สอย เทรนด์การออกแบบจะมุ่งเน้นเรื่องการน�ำ วัสดุกลับมาใช้ ใหม่ โดยยึดความยั่งยืนเป็นหลัก เช่น กล่องรองเท้าของพูม่า ไม่ ใช่กระดาษสิ้น เปลือง โดยบรรจุภณ ั ฑ์ ใช้การพับแทนการติดกาว

ลดการพิมพ์และกระดาษรักษารูปทรง ท�ำให้ลด น�้ำหนักในการขนส่ง และสามารถใช้เป็นถุงบรรจุ ของ หรือใช้ปลูกต้นไม้ รองเท้า Timberland รุ่น EarthKeepers พื้น รองเท้าเป็น Green Rubber ใช้พลาสติกรีไซเคิล 42% เชือกผูกและที่บุรองเท้าด้านในท�ำมาจาก ขวด PET การออกแบบจะเกีย่ วข้องกับอารมณ์ความรูส้ กึ ที่ดี การให้คุณค่ากับความประณีตของช่างฝีมือ ท้องถิน่ และสินค้าหรือบริการทีส่ ร้างประสบการณ์ ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ สร้างชีวิตความเป็นอยู่ ที่ดี

สถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่น

รวมถึงด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบจะ ไม่เน้นความงามที่ปรุงแต่ง การผสมผสานของ สิง่ ของตรงกันข้าม ความดิบกับความหรูทอี่ ยูค่ กู่ นั อย่างลงตัว เช่น การน�ำอาคารเก่ามาสร้างให้เป็น โรงแรมหรูหรา โดยยังหลงเหลือร่องรอยของอดีต ไว้ เพิม่ ฟังก์ชนั ใหม่ทหี่ รูหรา อุปกรณ์แต่งบ้านทีท่ �ำ จากวัสดุธรรมชาติ ทั้งวัสดุ และสีใช้ย้อม

9


Cover Story

เทรนด์ของบ้านในปี 2012 เน้นความเรียบง่าย ลดสิง่ ของไม่จำ� เป็น ให้คณ ุ ค่ากับสิง่ ของที่ให้ความ รู้สึก หรือของท�ำมือ สตรีทแฟชั่นจะโดดเด่นขึ้นมาพอๆ กับแฟชั่น บนแคตวอล์ก ผู้บริโภคตัวจริงจะส�ำคัญกว่า นางแบบ สินค้าระดับกลางจะมีบทบาทมากขึ้น ถูกท�ำให้มีคุณภาพและหรูหรามากขึ้น ช่องทางจ�ำหน่ายของธุรกิจค้าปลีก จะต้องผสม ผสานกับช่องทางในโลกออนไลน์ social network และบล็อกเกอร์

เน้นความสุข คิดบวก

ยิ่งต้องเจอกับวิกฤต แรงบีบคั้นต่างๆ มาก เท่าใด ผู้บริโภคยุคใหม่ก็ยิ่งมองหา “ความสุข” มากขึน้ เท่านัน้ “การคิดบวก” เน้นคุณค่าทางจิตใจ ความต้องการใช้ชีวิตที่ผูกกับกฎเกณฑ์น้อยลง ความเป็นอยู่ที่สุขสบายกว่าเดิม แสวงหาความ สุขความอบอุ่นจากบ้าน การสังสรรค์และการอยู่ ร่วมกันมากขึ้น สินค้าเริ่มเปลี่ยนรูปแบบ เน้นคุณค่าการ แบ่งปัน การใช้งานร่วมกัน เนื่องจากคนในสังคม เรียนรู้ที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันในเรื่องต่างๆ การ อยู่ในชุมชนเดียวกัน สังคมแห่งการคิดบวกก�ำลัง เป็นที่ต้องการ ธุรกิจต้องกลับสู่ความมีส�ำนึกและ จริยธรรม ผู้บริโภคยุคใหม่จะมองหาสินค้าที่ให้ ความส�ำคัญต่อสังคม มีความเห็นอกเห็นใจ การออกแบบผลิ ตภั ณ ฑ์ ต้ อ งเน้ น ความ ต้องการด้านจิตใจ และความเป็นอยู่ที่ดี ให้ความ รู้สึกอบอุ่นและเป็นมิตร เช่น i-wing ที่ออกแบบ โดย Bionic Motion ไม่ได้เป็นแค่พัดลม แต่เป็น เครือ่ งระบายอากาศเพือ่ ให้อากาศหมุนเวียน เงียบ สงบ และผ่อนคลาย

10

การตกแต่งภายใน ต้องสื่อถึงความเป็น มิตร เช่น การออกแบบตกแต่งของ Base ศูนย์ โทรคมนาคมของเบลเยียม ที่สื่อถึงคุณค่าหลัก ของแบรนด์ด้วยความเป็นมิตรต่อผู้ ใช้ ด้วยการ ออกแบบชอปเน้นความเรียบง่าย ทลายความเป็น สินค้าไฮเทค โดยเน้นแสงสว่าง สีโทนอ่อน เพดาน สูง เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว ดิสเพลย์ติดล้อเลื่อน รูปแบบความต้องการบ้านพักอาศัยยุคนี้ จะเน้นความอบอุ่น อ่อนโยน คนเมืองต้องการ ใช้ชีวิตช้าลง สัมผัสธรรมชาติมากขึ้น แต่ยังต้อง ทันสมัย ต้องการระบบ home entertainment ที่เน้นการอยู่ร่วมกัน

บ้านที่ดูอ่อนโยน

แนวคิดของการคิดบวก ยังน�ำมาซึ่งความ ต้องการการตกแต่งบ้านทีร่ ว่ มสมัย และซับซ้อน น้อยลง หยิบเอาความเป็นธรรมชาติมาเป็นส่วน ผสม แต่ยังใส่ความแปลกใหม่และหรูหรา การ ออกแบบจะอยูก่ งึ่ กลางระหว่างความละเอียดอ่อน แบบอังกฤษ กับความเรียบง่ายแบบสแกนดิเนเวียน การออกแบบห้องครัวให้เป็นเหมือนห้องรับแขก เพื่อให้คนใช้งานร่วมกัน สตูลบาร์ที่ดูเท่ จะถูก แทนที่ด้วยเก้าอี้นั่งสบายมากขึ้น เฟอร์นิเจอร์ชิ้นเก่าที่ตกทอดมา กลายเป็น ของสะสมมีคา่ ที่ให้ความรูส้ กึ ถึง “ความเป็นบ้าน และครอบครัว” ที่ให้ความอบอุ่นและมีเรื่องราว

ต้องใจดี

ผลจากวิกฤต และภัยธรรมชาติ โดยเครือข่าย สังคม อย่างเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ยูทิวบ์ สร้างการ รับรู้ข้อมูลที่ถูกแบ่งปันอย่างทันทีทันใด ก่อให้ เกิดแนวคิดของการแบ่งปัน เน้นการอยู่ร่วมกัน


มากยิ่งขึ้น และเป็นแนวโน้มใหม่ที่ส�ำคัญในปี 2012 ถึงแม้ที่ผ่านมา หลายธุรกิจจะเน้นการสร้าง ภาพลักษณ์ที่ดี ให้แก่องค์กรด้วยเครื่องมือที่ เรียกว่า CSR ย่อมาจาก Corporate Social Responsibility หรือ การด�ำเนินธุรกิจควบคู่ไป กับความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่สร้างผลกระทบ ต่อสิง่ แวดล้อม ซึง่ เป็นแผนระยะยาวทีท่ �ำคูไ่ ปกับ แผนธุรกิจขององค์กร จึงจะท�ำให้คนรับรู้ ได้อย่าง แท้จริง แต่ดว้ ยความต้องการของคนทีม่ มี ากขึน้ การ ด�ำเนินธุรกิจด้วยแนวทาง CSR อาจไม่เพียงพอ จึงเริ่มมีแนวคิดธุรกิจใจดี นอกจากท�ำตัวเป็น ประโยชน์ต่อสังคมแล้ว ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ ผู้บริโภคด้วย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจด้านบวก โดยเชื่อว่าแนวคิดธุรกิจใจดีจะท�ำให้องค์กรได้ รับความรูส้ กึ ด้านบวกขึน้ มากกว่าแค่การท�ำ CSR ขณะเดียวกันจะเกิดผูบ้ ริโภคยุคใหม่ ทีเ่ รียก ว่า Generation G (Generosity) หรือ ยุคคนใจดี คนกลุ่มนี้จะมีมากขึ้นในสังคม โดยพวกเขาจะ เลือกแสวงหาสิง่ ที่ให้คณ ุ ค่า และส่งผลดีตอ่ สังคม การท�ำดีจงึ กลายเป็นกระแส ผูผ้ ลิตสินค้าจึง หันมาสร้างแคมเปญเพือ่ แข่งกันท�ำดี ท�ำให้รปู แบบ การส่งเสริมการขายเปลี่ยนไป จากซื้อหนึ่งแถม หนึ่ง ถูกเปลี่ยนไปเป็น ซื้อหนึ่งให้หนึ่ง เช่น หาก ซื้อรองเท้า 1 คู่ รองเท้าอีก 1 คู่จะถูกจัดส่งไปให้ เด็กยากจน หรือ ซือ้ แว่นตา 1 ชิน้ อีกชิน้ จะถูกน�ำ ไปบริจาคให้องค์กรการกุศล องค์กรขนาดใหญ่ บางแห่งถึงกับจัดตั้งหน่วยงานเพื่อแสดงออก ถึงความเป็นพลเมืองที่ดี ช่วยเหลือสังคม เช่น หน่วยงาน Corporate Citizenship เพื่อสอน การใช้คอมพิวเตอร์ ในประเทศที่ขาดแคลน และ

บริจาคคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ ให้แก่องค์กร ทั่วโลกโดยไม่หวังผลก�ำไร

วัฒนธรรม DIY

ท่ามกลางสินค้าอุตสาหกรรมทีผ่ ลิตสินค้าออก มาคราวละมากๆ ท�ำให้ทางเลือกของผูบ้ ริโภคถูก จ�ำกัด ตรงกันข้ามกับความเป็นปัจเจกบุคคลทีเ่ พิม่ สูงขึ้น การแสดงออกถึงตัวตนของคนยุคนี้ท�ำให้ ผู้ผลิตสินค้าต้องปรับตัว เพื่อตอบสนองความ ต้องการเฉพาะกลุม่ หรือ customization มากขึน้ บางผลิตภัณฑ์หาทางออกเกีย่ วกับเรือ่ งนีด้ ว้ ย การให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการออกแบบสินค้า เพิ่มเติมเพื่อสร้างความแตกต่าง เช่น ร้านขาย เสือ้ ผ้าทีอ่ อกแบบเสือ้ ผ้าเหมือนกัน แต่มสี ติกเกอร์ แบบรีดติดเสือ้ ไว้เพือ่ สร้างความแตกต่างและตอบ สนองความต้องการเฉพาะบุคคล หรือกรณีของ รองเท้า “ไนกี้” ออกรุ่น Nike ID ให้ลูกค้าเลือกสี และส่วนประกอบได้ตามต้องการ หรือการวาง ขายรุ่นยอดนิยม ราคาสูง เช่น Air Force โดยให้ บริการปรับตามความต้องการเฉพาะคู่ จ�ำหน่าย ในร้าน 21 Mecer ร้านระดับพรีเมียมของไนกี้ใน นิวยอร์กเท่านั้น กระเป๋าถือยี่ห้อ Freltag ที่ท�ำจากผ้าใบรถ บรรทุก สร้างเว็บไซต์ ให้มีฟังก์ชัน F-Cut เพื่อให้ ลูกค้าออกแบบกระเป๋า โดยเลือกตัดผ้าใบในแต่ละ ผืนเพื่อให้สีและลายออกมาตามที่ต้องการ นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ต และโซเชียลมีเดีย ยังท�ำให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล วิธีการท�ำในสิ่ง ต่างๆ การสอนท�ำอาหาร การท�ำเฟอร์นิเจอร์ การ สอนดนตรี แนะน�ำการแต่งตัว วิธีการตกแต่งบ้าน ยังเป็นตัวกระตุ้นให้วัฒนธรรม DIY แพร่หลาย มากยิ่งขึ้น

11


Cover Story

เจนนา แคคโควา Product Trend Analyst จากคอตตอน อินคอร์เปอร์เรท (Cotton Incorporated)

Trend แฟชัน่

แรงบันดาลใจจากเก่าสูใ่ หม่ แรงบันดาลใจในการออกแบบมักเกิดจากการ สังเกตสิง่ รอบตัว เช่นเดียวกับวัตถุดบิ และเทรนด์ แฟชัน่ ทีก่ ำ� ลังเกิดขึน้ ใน Spring/Summer 2012 ที่ คอตตอน ยูเอสเอ และคอตตอน อินคอร์เปอร์เรท ได้คาดการณ์เทรนด์สีและสไตล์เสื้อผ้าในปีหน้า มาให้ผป ู้ ระกอบการอุตสาหกรรมสิง่ ทอไทยน�ำไป ใช้เป็นไอเดียในการเตรียมหาแรงบันดาลใจ และหา วัตถุดบิ เพือ่ น�ำมาผลิตเป็นผลงานแฟชัน่ ให้ตรงใจ “แฟชัน่ นิสต้า” ในช่วงฤดูรอ้ นทีจ่ ะมาถึงนี้ เจนนา แคคโควา Product Trend Analyst จากคอตตอน อินคอร์เปอร์เรท เล่าว่า การคาด การณ์เทรนด์แฟชัน่ จะมาจากวิถชี วี ติ ทัศนคติ การ ด�ำเนินชีวิต รวมถึงแรงบันดาลใจของผู้คนจาก ทัว่ ทุกมุมโลก โดยเทรนด์สที มี่ าแรงในฤดูรอ้ น 2012 แบ่งออกเป็น 5 เทรนด์ จะเน้นไปทีอ่ ารมณ์ ความ รูส้ กึ และความเป็นธรรมชาติ ผสานความแตกต่าง ระหว่างนวัตกรรมกับความคลาสสิก น�ำไปสูก่ าร ออกแบบลวดลายบนเนือ้ ผ้าทีเ่ ป็นการผสมผสาน ระหว่างยุคคลาสสิก แต่แฝงไปด้วยความแปลกใหม่ และไอเดียสร้างสรรค์ ซึง่ สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ ของผูค้ นในยุคปัจจุบนั ทีไ่ ม่เคยหยุดนิง่

เทรนด์ “Haunted” ความงามทีซ่ อ่ นเร้น

ความลีล้ บั และความน่าสะพรึงกลัวยังเป็นเสน่ห์ ดึงดูดให้คนเข้าไปค้นหา โทนสีกลุ่มนี้จะเน้นสื่อ อารมณ์ความเร้นลับ แต่แฝงไว้ดว้ ยเสน่หเ์ ย้ายวนน่า ค้นหา เช่น สีเขียวเข้ม (Murky Green) หรือสีซเี ปีย

12

(Sepia) ลายพิมพ์ดอกไม้สำ� หรับเสือ้ ผ้าท่อนบนเข้า กันกับกางเกงหรือกระโปรงสีแวมป์ (Vamp) แทนสีดำ� เนือ้ หาในเทรนด์นจี้ ะมีความหลากหลาย ทัง้ ผ้าถัก ผ้าตาข่ายเนือ้ หนา เช่น ผ้าก๊อซ ทีโ่ ปร่ง เบา สบาย โดยใช้เทคนิคมัดย้อม ส่วนผ้าทอ อย่างผ้า ด็อบบี้ ผ้าทอลายเรขาคณิตที่ใช้เทคนิคการพิมพ์ เปียกท�ำให้เกิดคราบ การพิมพ์นนู และการท�ำให้ เกิดความวาว และผ้าเดนิมทอแบบซาติน

เทรนด์ “Road Trip” ความทรงจ�ำเมือ่ ครั้งผจญภัย

เทรนด์นไี้ ด้แรงบันดาลใจมาจากความโหยหา ความทรงจ�ำอดีตในช่วงทศวรรษ 70 เมือ่ ครัง้ ท่อง ไปในโลกกว้างพร้อมกับมิตรสหาย ความสนุกสนาน ความสดใสยังคงตราตรึงไม่รลู้ มื โทนสีของเทรนด์นี้ จะเน้นความจัดจ้านและสว่างกว่าแม่สปี กติ เพือ่ ให้ ความรูส้ กึ สนุกสนาน ร่าเริง ใช้ ได้ทงั้ ในเสือ้ ผ้าบุรษ ุ สตรี เสือ้ ผ้าเด็ก และเสือ้ ผ้ากีฬา ส่วนเนือ้ ผ้าจะใช้ผา้ ถัก มองทะลุได้ และผ้าทอ ผ้าลูกฟูกที่ดูเบาสบาย แต่แฝงความไม่ธรรมดา ด้วยลวดลายยับย่นอยู่ในตัว รวมถึงการน�ำเทคนิค การมัดย้อมและการพิมพ์แบบญีป ่ นุ่ มาใช้ ได้ทงั้ ใน เสือ้ ผ้าบุรษ ุ และสตรี

เทรนด์ “Atlas” มุมมองจากธรรมชาติ

ความงามจากทัศนียภาพอันกว้างไกลจากการ ท่องเทีย่ วธรรมชาติในวัยเด็ก กลายเป็นแรงบันดาลใจ

หยิบความเป็นธรรมชาติในมุมกว้างจากทีส่ งู เสมือน ภาพวาดแผนที่ในอดีต เป็นทีม่ าของเทรนด์ Atlas ที่ เน้นโทนสีธรรมชาติ สีลาเวนเดอร์ ซึง่ แสดงถึงความ สงบร่มเย็น สีนำ�้ ตาลแดงของแผนทีโ่ บราณ สีเขียว หัวเป็ด สีนำ�้ เงินสดทีป่ รากฏอยูต่ ามแผนที่ GPS เนือ้ ผ้าใช้ผา้ สเวตเตอร์ ตารางห่างๆ ใช้ดา้ ยสองสี เมือ่ น�ำมาทอแล้วจะเกิดเป็นจุดบนเนือ้ ผ้าคล้ายปรากฏ บนแผนที่ ผ้าอายเลตทีเ่ ป็นรูๆ น�ำไปท�ำดิจติ อลพรินต์ ให้ผา้ สวยงามเพิม่ ความเป็นผูห้ ญิงมากขึน้

เทรนด์ “Energy” พลังแห่งความคิด สร้างสรรค์

เทรนด์นี้ได้แรงบันดาลใจมาจากการเรียนรู้ พลังงานภายในและสิง่ รอบตัว และเทคโนโลยีการ ถ่ายภาพ ท�ำให้เกิดมุมมองใหม่ๆ ทีล่ กึ ซึง้ โทนสี ของเทรนด์นม ี้ ที งั้ กลุม ่ สีพาสเทล (pastel) แสดง ถึงพลังแห่งความอ่อนเยาว์และเย้ายวน สีเทาอ่อน และสีเขียวอ่อน ดูผู้ ใหญ่ขนึ้ แต่ยงั คงความทันสมัย สีเหลือง ความสดใสและให้รู้สึกถึงพลัง โดยใช้ เทคนิคการผสมสีระหว่างสีซดี กับสีสด เช่น ชมพู กับเขียว เมือ่ เกิดการเคลือ่ นไหว ผ้าจะสลับท�ำให้ เกิดความแตกต่าง สะท้อนพลังแห่งสีสนั ได้ลงตัว

เทรนด์ “Metamorphosis”

การเปลีย่ นแปลงถ่ายทอดแรงบันดาลใจ เทรนด์นี้ได้มาจากการถ่ายทอดแรงบันดาล ใจในการสร้างสรรค์งานต่อเนื่องไม่รู้จบ กลุ่มสี ที่ใช้จะเป็นการใช้สผี สมผสานไม่ยดึ แบบแผนเดิม แต่จะใช้สที แี่ สดงความเป็นหมูค่ ณะ และเป็นกลุม ่ สีทสี่ ะท้อนความเป็นตัวเอง มีทงั้ ความแข็งแกร่ง อ่อนหวาน และสดใส เนื้อผ้าจะเป็นลวดลายมันวาว จับเป็นจีบได้ ให้ความรูส้ กึ พลิว้ ไหวของสายน�ำ้ และใช้สเี รืองแสง การจับจีบ การใช้ลายสกอต ลายตาราง รวมถึงสไตล์ การแต่งตัวแบบโบฮีเมียน



Cover Story

Text : ศ.ดร.บัณฑิต จุลาสัย Photo : กองบรรณาธิการ

Loft Lifestyle

ทุกวันนี้ ใคร ๆ ก็พดู ถึง “ลอฟต์” อีกทัง้ เรียกขาน อะไร ๆ ก็ลอฟต์ กันทัว่ บ้านทัว่ เมือง ไม่วา่ จะเป็น โรงแรมลอฟต์ หรือตกแต่งบ้านแบบลอฟต์ แม้แต่รา้ นขายไวน์กม็ ไี วน์ลอฟต์ ยังมีสนิ ค้าลอฟต์ เก้าอีล้ อฟต์ ของตกแต่งแบบลอฟต์ และกลายเป็นหัวข้อสนทนาแบบ เรือ่ งเล่าเช้านี้ ทีไ่ ม่มใี ครรูว้ า่ “อะไร คือ ลอฟต์” 14


แสงจากธรรมชาติ

เมื่อ “ลอฟต์” มาจากค�ำอังกฤษ “Loft” ย่อม หมายความว่า ลอฟต์ถอื ก�ำเนิดจากบ้านเขา เป็นเรือ่ ง ของบ้านเขา ไม่ใช่เรือ่ งของบ้านเรา บ้านเรา (ไทย) เวลาปลูกบ้านสร้างเรือน สมัยทีค่ นเรายังฉลาดอยู่ และรูว้ า่ ฝนจะตก น�ำ้ จะท่วม ปลวกจะขึน้ บ้าน ก็เลย ยกพืน้ บ้านสูง ทุกบ้านเลยมีพนื้ ที่ใต้ถนุ ส�ำหรับกอง เก็บทรัพย์สมบัตทิ ไี่ ม่มคี า่ มาก หรือมีคา่ แต่ไม่ได้ ใช้ บ่อย หรือไม่ใช้แล้วแต่ยงั ไม่อยากทิง้ บ้านเขา (ฝรัง่ ) เวลาปลูกบ้านสร้างเรือน เขารูว้ า่ หิมะจะตก อากาศจะหนาว ดินแห้งแล้งและแข็ง ไม่มี ปลวก ก็เลยสร้างบ้านบนดิน ทุกบ้านเลยไม่มพ ี นื้ ที่ ใต้ถนุ เก็บของแบบบ้านเรา เลยต้องเอาของไปเก็บ ไว้ ใต้หลังคา จนเป็นทีม่ าของห้องใต้หลังคา Attic บ้านสัตว์หรือโรงนาของเขาก็คล้ายกัน เพราะ สัตว์กห็ นาวเหมือนกับคน ตอนอากาศสบายก็ปล่อย วัวม้าให้กนิ หญ้ากลางทุง่ พอหิมะมาอากาศเย็นก็เลย ต้อนม้าวัวมาอยู่ในโรงนา ส่วนทุง่ หญ้าก็ปกคลุมด้วย ความเยือกเย็น ดังนัน้ ตอนอากาศดีฝนตกก็รบี ปลูก หญ้าให้สตั ว์กนิ บ้าง เก็บไว้ ให้สตั ว์กนิ ภายหลังบ้าง จึงต้องมีพื้นที่เก็บหญ้าแห้งไว้ ให้สัตว์กินตลอดฤดู หนาว ก็เลยต้องสร้างชั้นลอยในโรงนาส�ำหรับเก็บ หญ้าแห้งและเป็นทีม่ าของ Hay Loft นอกจากโรงนา ทีเ่ ป็นสิง่ ก่อสร้างขนาดใหญ่แล้ว หมูบ่ า้ นฝรัง่ มักจะมีโบสถ์ทเี่ ป็นอาคารหลังใหญ่ ใน โบสถ์กจ็ ะมีออร์แกนขนาดใหญ่ เหนือออร์แกนมัก จะมีชนั้ ลอย หรือพืน้ ทีเ่ อาไว้เก็บของ เลยเป็นทีม ่ า ของ Organ Loft ถ้าเอาไว้ ให้เด็กวัด (โบสถ์) ทีม่ หี น้าที่ ร้องเพลง อยูอ่ าศัยบ้าง ก็จะเรียกขานว่า Choir Loft หลังปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อเขา (ฝรั่ง) เริ่ม กิจการงานแบบใหม่ ไม่ใช่การท�ำไร่ทำ� นาแบบเดิม ก็เลยมีการสร้างโรงงานหลังใหญ่สำ� หรับผลิตสิง่ ของ เครือ่ งมือเครือ่ งใช้ตา่ งๆ จากหมูบ่ า้ นเกษตรกรรม มาเป็ น เมื อ งอุ ต สาหกรรม และต่ อ มาเป็ น เมื อ ง พาณิชยกรรม เพราะผลิตอะไรมาเยอะก็ต้องรู้จัก ท�ำมาค้าขาย จากงานฝีมอื ทีเ่ ดิมอาศัยแรงคน กลายเป็นงาน อุตสาหกรรมทีอ่ าศัยแรงเครือ่ งจักรกล พลังความ ร้อนจากถ่านหินมาเป็นไฟฟ้า แบบว่าบ้านเมืองเจริญ ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงตลอดมา จนถึงยุคดิจิตอล ในปัจจุบนั ด้วยเหตุนี้ ตัวโรงงานก็ตอ้ งปรับเปลีย่ นรูปแบบ อยูเ่ สมอ ส่งผลให้เกิดโรงงานเดิมทีล่ า้ สมัยใช้การไม่ ได้ มีการสร้างโรงงานใหม่ในนิคมอุตสาหกรรม (แต่ ไม่ได้เลือกทีต่ งั้ น�ำ้ ท่วมแบบบ้านเรา) ส่งผลให้เมือง ฝรั่งส่วนใหญ่มีโรงงานหรืออาคารขนาดใหญ่ร้าง มากมายจนกลายเป็นสถานที่ถ่ายท�ำภาพยนตร์ ฮอลลีวดู ประเภทยิงกันจนพรุน ระเบิดกันจนพัง หรือ กลายเป็นแหล่งเสือ่ มโทรม จุดนัดพบของมิจฉาชีพ ขณะเดียวกัน บรรดาศิลปิน ไม่วา่ จะเป็นสาขา

ไหน มักจะใช้ชวี ติ อิสระ ไม่อยู่ในกฎเกณฑ์ ทัง้ การ กิน (ส่วนใหญ่ไม่คอ่ ยมีกนิ ) การนอน (ส่วนใหญ่ นอนไม่เป็นเวลา) การท�ำงานทีเ่ สียงดัง (นักดนตรี) เลอะเทอะ (นักวาดรูป) เกะกะ (นักปัน้ ) เป็นต้น เลย อยูอ่ าศัยร่วมกับชาวบ้านทัว่ ไปไม่ได้ ต้องหาทีท่ าง เป็นของตนเอง อุปสงค์และอุปทานมาเจอกันพอดี ศิลปินกับพืน้ ทีโ่ รงงานร้าง หรือชัน้ บนสุดใต้หลังคา ทีม่ พ ี นื้ ทีก่ ว้างขวาง จึงตอบรับกันพอดี ศิลปินก็เลย กัน้ ห้องเติมชัน้ ลอยไว้อยูอ่ าศัย ท�ำ Studio ลอฟต์ ไว้ทำ� งาน หรือ Gallery ลอฟต์ ไว้แสดงผลงาน หากมีศลิ ปินหลายคนในอาคารเดียวกัน ก็จะ เป็นอาคารลอฟต์ จนเป็นย่านลอฟต์ มีศนู ย์ศลิ ปะ ลอฟต์ อันเป็นเหตุให้ลอฟต์ไปเกีย่ วข้องกับศิลปะ อี ก กระแสหนึ่ ง นั้ น เกิ ด ขึ้ น ในยุ ค สงคราม เวียดนาม หนุ่มสาวอเมริกันที่ไม่อยากไปตายใน สงครามก็เลยต่อต้านสงคราม ส่วนหนึง่ หันหาสันติ ธรรมะ และธรรมชาติ เลยอยู่กันแบบง่ายๆ เป็น ธรรมชาติแบบเรียบง่าย อุปสงค์ดงั กล่าวจึงมาเจอ อุ ป ทานอี ก เช่ น กั น จึ ง ท� ำ ให้ นั ก ต่ อ ต้ า นนิ ย ม อาศัยอยู่ ในลอฟต์แบบเรียบง่าย คือ ไม่ตกแต่ง ประดับประดา และเป็นทีม่ าของสภาพพืน้ ที่ วิถชี วี ติ เครือ่ งใช้ ไม้สอย ทีเ่ รียกขานกันว่า “ลอฟต์” เมื่ อ กลายเป็ น กระแสนิ ย ม มี ผู ้ ค นชมชอบ ลอฟต์กันมากขึ้น ก็เลยมีการสร้างหรือตกแต่ง เลียนแบบโรงงาน หรือชั้นใต้หลังคาอาคารเก่า เกิดมีลอฟต์แท้ Hard Loft และลอฟต์เทียม Soft Loft ขึน้ มา ดังนัน้ อะไรคือ ลอฟต์ หรือ ลอฟต์ คืออะไร คงสรุปได้ว่า พื้นที่ใช้สอยกว้างใหญ่ ไม่มีเสาถี่ๆ เพดานสูง อยู่ใต้หลังคา สภาพเป็นไปตามสภาพ อาคารเดิม (โรงงาน) ที่ไม่มีการตกแต่ง มักจะมี โครงเหล็กหรือไม้ ที่เดิมไว้ติดตั้งเครื่องจักรกล ต่างๆ การใช้สอยต่างๆ รวมอยู่ในพืน้ ทีเ่ ดียว อาจ มีการกัน้ ด้วยผนังเบา กระจก หรือผ้าม่าน แต่สว่ น ใหญ่จะเปิดโล่ง อาจมีการกัน้ ชัน้ ลอยเพือ่ เก็บของ หรือใช้ประกอบกิจกรรมส่วนตัว เช่น ห้องนอน ส�ำหรับเมืองไทย คงจะต้องมีค�ำอธิบายเพิ่ม ด้วย ร้านขายของกระจุกกระจิกส�ำหรับเด็กวัยรุน่ ทีไ่ ม่ตอ้ งท�ำงานหาเงิน แต่ชอบใช้เงินซือ้ ของกระจุก กระจิก ชือ่ ลอฟต์ ตัง้ อยู่ในศูนย์การค้าวัยรุน่ ส่งผล ให้เกิดกระแสลอฟต์ขนึ้ มาในหมูว่ ยั รุน่ บ้านเรา ดังนัน้ “อะไรคือ ลอฟต์” หรือ “ลอฟต์ คืออะไร” ถ้าสรุปแบบไทยๆ จะต้องเพิ่มว่า “อะไรที่ กระจุกกระจิก ฉาบฉวย คิกขุ ใช้งานไม่ค่อยได้ ดูกิ๊บเก๋ (เหมือนในแมกกาซีนต่างประเทศ) และ ราคาแพง นัน่ คือ ลอฟต์ไทย” ต่อไปนี้ เห็นค�ำว่า “ลอฟต์” ได้ยนิ ค�ำว่า “ลอฟต์” ต้องเข้าใจก่อนว่า หมายถึง ลอฟต์แท้ หรือ ลอฟต์ เทียม และเป็นลอฟต์ฝรัง่ หรือลอฟต์ไทย (ฮา)

15


Cover Story

Text : นับวงศ์ ช่วยชูวงศ์ Photo : ภูมิ นริศชาติ

Green LOFT

บ้านปูนเปลือย ดิบ เท่ เรียบง่าย ดูเหมือนว่าปัญหามหาอุทกภัย 2554 ได้กลายเป็นแรงผลักดันให้ สังคมไทยกลับคืนสูค่ วามเป็นธรรมชาติและเรียบง่ายยิง่ ขึน้

16


พืน้ ทีน่ งั่ เล่นปูพนื้ ไม้เพือ่ ผิวสัมผัสทีเ่ ป็นธรรมชาติ และมุมท�ำงานอดิเรกภายในบ้านเปิดโล่งเชือ่ มต่อกัน ประตูไม้สโี อ๊กแบ่งเป็นส่วนห้องนอนพักผ่อน

17


Cover Story

เพราะโลกสีเขียวเป็นมิตรต่อมนุษย์เสมอ คนหัวใจสีเขียวก็ตอ้ งเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อมด้วย ครั้นหลังน�้ำลด ผมได้รับโจทย์ ให้เยี่ยมบ้าน ตัวเอง บ้านที่ไม่มีอะไร นอกจากความเรียบง่าย แต่มีใจที่รักและผูกพันเต็มเปี่ยม หากน�้ำท่วม ผมคงสามารถหยิบย้ายสิ่งของ ได้ง่าย และไม่เหนื่อย เพราะข้าวของเครื่องใช้ เฟอร์นเิ จอร์ โต๊ะ เก้าอีเ้ ป็นแบบลอยตัวหมด เรียกว่า ชีวิตผมชอบที่จะสร้างสรรค์และไม่ยึดติด ยิ่งในวันที่ราคาค่าเช่าและราคาซื้อขายบ้าน ในเมืองใหญ่แพงขึน้ จนหยิบจับไม่ลง ท�ำให้ผม ู้ อง หาบ้านเป็นของตัวเองหาทางออกโดยเลือกที่จะ ซื้ออาคารเก่ามาปรับปรุงใหม่ หรือสร้างใหม่ ใน ราคาที่จับต้องได้ โดยเน้นใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างบ้านแบบเรียบง่าย แต่เท่ในสไตล์ ลอฟต์ ก็คงไม่ยาก บ่อยครั้งที่ผมเห็นคนที่มีแรงบันดาลใจเรื่อง การอนุรกั ษ์อาคารเก่า เช่น โรงเรียน โรงแรม โกดัง หรือแม้แต่โบสถ์เก่าทีเ่ ลิกใช้งานแล้ว มาดัดแปลง ให้เป็นสิ่งใหม่พร้อมอยู่อาศัย นับเป็นเรื่องที่ผม ปลืม้ มาก เพราะยังคงรักษาสภาพดัง้ เดิมของอาคาร ไว้ และอาคารเหล่านี้ก็ถูกออกแบบโดยสถาปนิก ให้เป็นอาคารโล่ง โปร่ง ว่าง เพดานสูง เป็นการ ประหยัดงบประมาณ บ้านสไตล์ LOFT จึงได้รับความนิยมมากใน ยุคสมัยใหม่

เจ้าของบ้านกับแมวตัวโปรดในบรรยากาศสบายๆ มุมพักผ่อนกลางบ้าน ที่ใช้รบั แขก ดูทวี ี ท�ำงาน กินข้าว และกิจกรรมต่างๆ ภายในบ้าน

รูปทรงของบ้านภายนอกทีเ่ รียบ ง่ายในแบบบ้าน Loft ปลูกต้นไม้ รอบบ้านช่วยป้องกันความร้อนและฝุน่ ละอองทีม่ ากับลมได้อย่างดี

18

ใช้โครงสร้างหน้าต่าง แบบโรงงานอุตสาหกรรม ช่วยให้ประหยัดและ แข็งแรงทนทาน


ห้องนอนโล่ง โปร่งสบาย เลือกโทนสีให้สว่างนุม่ นวลเหมาะแก่การพักผ่อน

ห้องบนสุดชัน้ ลอย ส่วนของฝ้าเพดานทีเ่ ป็นผ้าใบ ออกแบบมาช่วยเรือ่ งการประหยัดและลดน�ำ้ หนักของ โครงสร้างอาคาร

โจทย์ของบ้าน LOFT คือความประหยัดและพืน้ ที่ อยู่อาศัยที่ยดื หยุ่น เนือ่ งจากไม่มกี ารแบ่งสัดส่วน ของพื้นที่ภายในบ้านออกเป็นห้องๆ เหมือนบ้าน ทั่วไป Function ต่างๆ ในบ้านจึงไม่ถูกแบ่งแยก ออกจากกันโดยชัดเจนนัก ไม่มีผนังกั้นระหว่าง ครัวกับห้องรับแขก ไม่แยกระหว่างส่วนพักผ่อน กับส่วนท�ำงาน และบางทีอาจจะไม่แยกกระทั่ง ห้องน�้ำออกจากห้องนอน ด้วยลักษณะเฉพาะของบ้าน LOFT ผูอ้ ยูอ่ าศัย จึงต้องปรับพฤติกรรมบางอย่างให้เหมาะกับบ้าน เช่น ต้องพร้อมทีจ่ ะนัง่ ท�ำงานข้างๆ แพนทรีเตรียม อาหาร ต้องก�ำหนด FUNCTION ของพืน้ ทีด่ ว้ ยการ ใช้งาน ไม่ใช่ดว้ ยผนังกัน้ ห้อง หรือต้องนัง่ เอนกาย พักผ่อนในทีท่ มี่ องเห็นทุกคนในบ้าน และทุกคนใน บ้านก็มองเห็นคุณตลอดเวลา ฉะนั้นบ้าน LOFT อาจจะไม่ ใช่บ้านที่เหมาะ ส�ำหรับทุกๆ คน ครอบครัวใหญ่ที่มีสมาชิกมาก หน้าหลายตา อาจจะไม่มคี วามสุขนักในบ้านทีข่ าด ความเป็นส่วนตัวแบบนี้ บ้าน LOFT มีจดุ เด่นอยูท่ คี่ วามยืดหยุน่ ในการ จัดพืน้ ทีแ่ ละการรวมเอา Function ทีห่ ลากหลายไว้ ด้วยกันในพืน้ ทีเ่ ดียว การโยกย้าย จัดปรับต�ำแหน่ง ของเครื่องเรือนท�ำได้ง่าย และ “สนุก” ด้วยความ โล่งโปร่งของพื้นที่ เป็นเสมือนสนามเด็กเล่นของ ผูท้ ชี่ มชอบการจัดปรับ ย้ายต�ำแหน่งสิง่ ของเครือ่ ง ประดับต่างๆ ในบ้าน รวมไปถึงการย้ายที่ท�ำงาน จากตรงนี้ไปตรงโน้น มุมท�ำงานอดิเรก จัดโต๊ะท�ำงานเครือ่ งประดับบางครัง้ มีเรือ่ งของการเผาและเชือ่ มวัสดุ ใช้หน้าต่างเหล็ก ขนาดใหญ่แบบโรงงานอุตสาหกรรม เพือ่ เปิดรับแสงธรรมชาติและระบายอากาศให้ถา่ ยเทได้สะดวก

19


Cover Story

การออกแบบผนังภายในบ้านทีโ่ ล่ง กว้าง ช่วยให้การ ท�ำงานเป็นเวลานานต่อเนือ่ งไม่รสู้ กึ อึดอัด

ผนังก�ำแพงอิฐมอญขนาดใหญ่แบ่งส่วนท�ำงานและห้องนอน ช่วยลดความกระด้างของผนังปูน และเป็นผนังทีเ่ หมาะกส�ำหรับแขวนภาพอีกด้วย ส่วนเตรียมอาหารภายในบ้าน สามารถเปิด หน้าต่างส่งอาหารจากครัวไทยภายนอกได้ ด้านล่างอ่างล้างจานจัดแยกประเภทขยะ รอรถมารับซือ้ ส่วนเศษอาหารใช้ฝงั กลบ ท�ำปุย๋ หมัก และมีสว้ มส�ำหรับแมว

20


พืน้ ทีท่ ำ� งานเชือ่ มกับมุมพักผ่อน ออกแบบเพดานสูง ใช้หน้าต่างจ�ำนวนมากเพือ่ ให้แสง และอากาศถ่ายเทได้สะดวก ช่วยลดความชืน้ ความร้อน และประหยัดพลังงาน

ในบ้านควรจัดเก็บของให้เป็นระเบียบ สบายตา เพราะพืน้ ทีต่ า่ งๆ เชือ่ มต่อถึงกัน

วันนีอ้ ยากย้ายโต๊ะกินข้าวไปข้างหน้าต่าง หรือ หน้าโทรทัศน์ ก็ทำ� ได้ตามใจ เราจึงมักจะเห็นเครือ่ ง เรือน Furniture ที่มีล้อเลื่อนเพื่ออ�ำนวยความ สะดวกในการเคลื่อนย้าย อยู่คู่กับการแต่งบ้าน สไตล์ LOFT เสมอ การประหยัดงบประมาณในการตกแต่ง ท�ำให้ บ้าน LOFT ส่วนใหญ่เปิดเปลือยวัสดุก่อสร้างไว้ ไม่ทาสี ไม่ปิดผิว แสดงเนื้อแท้ของวัสดุออกมา อย่างไม่กลัวจะถูกค่อนขอดว่า “ราคาถูก” หรือ “ท�ำไม่เสร็จ” บางครัง้ การไม่ปดิ บังวัสดุ หรือโครงสร้างเดิม นีเ้ อง ท�ำให้การซ่อมบ�ำรุงบ้าน LOFT ทีถ่ กู ดัดแปลง มาจากอาคารเก่าหรือสร้างใหม่ท�ำได้ง่ายขึ้นด้วย เมื่อรู้แล้วว่าโจทย์ของบ้าน LOFT เป็นเช่นนี้ การตัดสินใจจะเลือกอยู่บ้านสไตล์ LOFT หรือไม่ น่าจะง่ายขึน้ และต้องตอบตัวเองให้ ได้วา่ บ้าน LOFT ตอบโจทย์ของ Life Style คุณหรือไม่ ถ้าใช่... ก็ขอต้อนรับเข้าสู่ LOFT HOUSE ครับ... บ้านผมเป็นบ้านชั้นเดียว สร้างบนเนื้อที่ 200 ตารางวา บริเวณทางขึ้นพระธาตุดอยค�ำ ใกล้ๆ สวนราชพฤกษ์ ในจังหวัดเชียงใหม่ และก่อสร้าง โดยช่างท้องถิ่นครับ แนวออกแบบจะเน้นเพดานสูงโปร่ง เพื่อ รองรับงานอดิเรกที่ผมชื่นชอบ เช่น การถ่ายภาพ ภาพประดับในบ้านเลยไม่ต้องไปซื้อหาที่ไหน งานฝีมือเกี่ยวกับการท�ำเครื่องประดับก็เป็นสิ่งที่ ผมหลงใหล ถึงขั้นยอมลงทุนซื้อเครื่องรีดเงิน รีดทองไว้ประกอบแหวน ฯลฯ แม้จะเป็นบ้านชั้นเดียว แต่บ้านหลังนี้มี “ชั้น ลอย” ไว้ ให้พักผ่อนได้อีก และพร้อมจะเป็นห้อง รับแขกด้วย ส�ำหรับห้องนอนจะเน้นส่วนตัว นิดหนึ่งจึงแยกไปอยู่อีกโซนหนึ่ง ด้วยความทีบ่ า้ นตัง้ อยูบ่ นเชิงเขา การก่อสร้าง บ้านจึงต้องลาดเอียง ท�ำให้ ได้ ใต้ถุนบ้านมาแบบ บังเอิญ ผมเลยมีสถานทีไ่ ว้ส�ำหรับท�ำงานไม้ ต่อตู้ ท�ำโต๊ะไว้ ใช้ และยังท�ำเป็น “ห้องมืด” ไว้ล้างฟิล์ม จากภาพที่ผมถ่ายไว้เอง รอบๆ บ้านจะมีตน้ ไม้หลากหลายพันธุท์ ซี่ อื้ หา และลงมือปลูกเอง เรียงรายต้อนรับโลกสีเขียว ยามลมหนาวพัดผ่าน ผมสุขใจทุกครั้ง บ้านลอฟต์หลังนี้จึงเป็นสิ่งใหม่ที่มาเติม เต็มในเรื่องการใช้ชีวิต ทั้งในวันท�ำงานและวัน พักผ่อนของผมได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะบ้าน คือวิมานของเรา ผูเ้ ขียน : คุณนับวงศ์ ช่วยชูวงศ์ หนุม่ กราฟิก ดีไซเนอร์ เป็นคนกรุงเทพฯ แต่ขอเลือกใช้ชวี ติ ที่จงั หวัดเชียงใหม่ เพราะหลงใหลเสน่หแ์ ละ ความเรียบง่ายของเมืองเหนือ อีกทัง้ ชอบบ้าน เปิดโล่งโชว์วัสดุพื้นผิวปูนเปลือย

21


Cover Story

Text & Photo : นิธิกานต์

Noble Minimalism Innovative Design ด้วยความต่างและมุง่ มัน่ ไม่มเี ขว แม้สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะหันเหไป ทางไหน สไตล์การด�ำเนินธุรกิจและการออกแบบทีอ่ ยูอ่ าศัยของกลุม่ บริษทั โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน) ที่ก่อตั้งมาครบ 20 ปีในปี 2554 ยังคงเน้น ความเป็นตัวของตัวเอง โดยไม่ยดึ ติดกับกระแส ท�ำให้โครงการแบรนด์ Noble ดูเฉีย่ ว และนิง่ แตกต่างจากคู่แข่งในตลาดอย่างเห็นได้ชัด ทั้ง คอนเซ็ ป ต์ การออกแบบ และการท� ำ ตลาด คอนโดมิ เ นี ย มทั้ ง เก่ า และใหม่ ข องค่ า ยนี้ จึ ง มี ความทั น สมั ย บนความเรี ย บง่ า ย เป็ น สไตล์ Minimalism Innovative Design ที่โดนใจคน รุน่ ใหม่ผรู้ กั อิสระ ไม่ยดึ ติด และชืน่ ชอบการใช้ชวี ติ ที่แตกต่าง จนกลายเป็นแรงบันดาลใจของตลาด

22

เฉพาะในกลุ่มลูกค้าบริษัทเอเยนซี นักสื่อสาร นัก โฆษณา ครีเอทีฟ และสถาปนิก หลายๆ โครงการจึงประสบความส�ำเร็จ เช่น โนเบิล ไลท์, โนเบิล รีมิกซ์, โนเบิล รีเฟลกซ์, โนเบิล รีวลี , โนเบิล รีไฟน์, โนเบิล รีฟอร์ม, โนเบิล รีดี และโนเบิล รีเวนต์ บ่อยครั้งที่คุณธงชัย บุศราพันธ์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด

(มหาชน) เปรียบตัวเองเป็น Niche Player ที่มี ไลฟ์สไตล์เป็นของตัวเอง ซึ่งเขาเชื่อว่าในตลาด ยั ง มี ก ลุ ่ ม ลู ก ค้ า ที่ ช อบเหมื อ นเขาและต้ อ งการ สินค้าในสไตล์ Noble ที่มีเอกลักษณ์แฝงไว้ด้วย รสนิยม ซึ่งไม่ ใช่สิ่งที่สร้างหรือเลียนแบบได้ง่าย แต่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ มี อ ยู ่ ใ นตั ว ของคนคนนั้ น โนเบิ ล ฯ จึงเป็นเหมือน Trend Setter มากกว่า


Noble Unite เหลือไว้แต่ชวี ติ ช้าๆ ... สมกับเป็นคอนโดฯ แนวใหม่ที่เน้นการใช้ชีวิตที่ แตกต่าง พร้อมตอกย�ำ้ คอนเซ็ปต์ “เหลือไว้แต่ชวี ติ ช้าๆ...” ก็ยงิ่ ท�ำให้โครงการใหม่ของค่ายโนเบิลฯ ดูโดดเด่นขึน้ คอนโดมิเนียมโครงการใหม่ขนาด 31 ชั้น ย่ า นถนนสุ ร ศั ก ดิ์ ยั ง คงแนวดี ไ ซน์ ที่ เ ฉี ย บ เท่ ทันสมัย เน้นการตกแต่งแบบน้อยชิ้น ดูแล้วเป็น ธรรมชาติ ที่ โ นเบิ ล ฯ บอกว่ า เหลื อ ไว้ แ ต่ ชี วิ ต ช้ า ๆ ...ตีความหมายได้หลายอย่าง อย่างแรก คนอยูอ่ าศัยในคอนโด โครงการนี้ ไม่จำ� เป็นต้องตืน่ แต่เช้ามืด จนเป็นโรคนอนไม่พอ เพราะบ้านไกล การเลือกท�ำเลติดรถไฟฟ้าและห่างจากสถานี

สุรศักดิ์เพียง 160 เมตร เป็นอีกความตั้งใจของ ผู้บริหารบริษัทฯ ที่ต้องการรณรงค์ ให้คนไทย ช่วยกันลดภาวะโลกร้อน ลดการใช้รถส่วนตัว แล้วหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทน การเลือก ที่อยู่อาศัยใกล้โรงเรียนและที่ท�ำงานจึงเป็นการ ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่ลงตัว เพื่อเอาเวลาที่เหลือหันมาดูแล “สุขภาพ” และอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างไม่เครียด ราคาต่อยูนติ เริม ่ ต้นที่ 3.9 ล้านบาท โดยเปิดจอง ไปแล้วที่ส�ำนักงานขายสุรศักดิ์เมื่อเร็วๆ นี้

23


Cover Story

โมเดลกราฟฟิกโครงการใหม่ยา่ นสีแ่ ยกเพลินจิต

24


Noble Ploenchit ชีวติ อนาคต...ส�ำหรับคนทีม่ องเห็น การเปิดฉากแบบเงียบๆ ในการซือ้ ทีด่ นิ แปลงใหญ่ขนาด 9 ไร่ในท�ำเลทีด่ ที สี่ ดุ อยูต่ ดิ สถานีรถไฟฟ้าเพลินจิต ท�ำให้ชอื่ ของ บมจ.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ ดังกระหึม่ เพราะ เป็นการซือ้ ทีต่ อ่ จากคุณสมพร จึงรุง่ เรืองกิจ นักธุรกิจหญิงแกร่งในวงการอุตสาหกรรม และเป็นเจ้าของนิตยสารกอสสิป “Who” ทีโ่ ด่งดังในสังคมไฮโซ ด้วยราคาประมาณ 4,000 ล้านบาท ทันทีที่กลุ่มโนเบิลฯ เดินเครื่องบุกการลงทุน คอนโดมิ เ นี ย มในเมื อ ง โดยเฉพาะท� ำ เลติ ด รถไฟฟ้ า บี ที เ อส “โนเบิ ล เพลิ น จิ ต ” จึ ง เป็ น มหาโปรเจกต์กลางสี่แยกเพลินจิต ราวกับเป็นคู่ แฝดโครงการปาร์ก เวนเจอร์ ทีเ่ น้น Eco Building การเปิดตัวในวันเดียวของ “โนเบิล เพลินจิต” ก็ สร้างสถิติใหม่กวาดยอดขายกว่า 7,000 ล้านบาท เมื่อกลางปีที่ผ่านมา

คอนเซ็ปต์ที่ ใช้คือแนวคิดประหยัดเวลาใน การเดินทาง “แค่ก้าวใกล้ๆ ก็ใช้ชีวิตได้ทุกที่”

น้อยที่สุด...คือมากมายมหาศาล

Minimalism คือปรัชญาของวงการศิลปะที่ ยังคงส่งกระแสต่อเนื่องไม่ตกยุค การเผยตัวตนที่แตกต่างของโนเบิลฯรอบนี้ จึงเป็นอาคารสูงระฟ้า 51 ชัน้ ท่ามกลางสวนสวย

ขนาดใหญ่ 4 ไร่กลางเมืองเพลินจิต ให้ผู้อยู่อาศัย สูดอากาศสะอาดให้เต็มปอดได้ทุกๆ วัน ท�ำเลโครงการอยู่ ใกล้กับห้างเซ็นทรัลชิดลม เซ็นทรัลเวิลด์ สยามพารากอน เซ็นทรัล เอ็มบาสซี จึงเป็นอีกจุดขายราวกับมีสวนสวยขนาดใหญ่กว่า 4 ไร่ประกบชิด

25


Cover Story

คอนโดฯดีไซน์แนวลอฟต์ยา่ นเอกมัย

26


คอนโดฯ ติดรถไฟฟ้า ช่วยลดภาวะ โลกร้อน เพราะโครงการอยูห่ า่ งจากสถานีรถไฟฟ้าเอกมัยเพียง 200 เมตร ใกล้ท�ำเลสุขุมวิท-ทองหล่อ คนที่อยู่ในคอนโดมิเนียม ขนาดความสูง 27 ชั้น ในโครงการโนเบิล รีวีล จึงไม่จ�ำเป็น ต้องใช้รถส่วนตัวให้สนิ้ เปลืองพลังงาน โดยโครงการออกแบบ ชั้นที่จอดรถไว้ถึงชั้น 1-5 และชั้น 6 เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และสิง่ อ�ำนวยความสะดวก ส่วนชัน้ 7-27 เป็นห้องชุดพักอาศัย โครงการนีด้ ไี ซน์ ได้สวยเฉียบ โดดเด่นมากในย่านเอกมัย ด้วยสีทมึ ตามแบบฉบับ Noble และการออกแบบเหมือนสไตล์ ลอฟต์ที่ดูทันสมัย คือเน้นความเรียบง่าย อบอุ่น และมีมูลค่า ปัจจุบันเจ้าของโครงการได้ทยอยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด แล้วตั้งแต่เดือนกันยายน 2554 ที่ผ่านมา

ชื่อ : ธงชัย บุศราพันธ์ การศึกษา : ปริ ญ ญาตรี คณะพาณิ ช ยศาสตร์ แ ละการบั ญ ชี จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ปริญญาโท : บริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ ประสบการณ์ : - ผู้ก่อตั้งบริษัท เพลย์กราวนด์ สโตร์ จ�ำกัด - กรรมการผู ้ จั ด การและรั ก ษาการผู ้ ช ่ ว ยกรรมการผู ้ จั ด การ สายปฏิบัติการโครงการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน) บิดา-มารดา : คุณวงศ์ชัย-คุณธิดา บุศราพันธ์ คู่สมรส : คุณนุ่น ทวีศรี บุศราพันธ์

27


มาเยือน

Text & Photo : กองบรรณาธิการ

คุณสมเกียรติ พิทยาธรรม ยืนยิม้ ภูมิใจกับครอบครัว คุณแม่และภรรยา

28


บอสใหญ่ สมเกียรติ พิทยาธรรม เอเซีย คอนกรีต แพลนท์ ( สงขลา ) “ตอนนีแ้ ฮปปีม้ าก แค่พลิกวิธคี ดิ ชีวติ ผมก็เปลีย่ น” น่ายินดีไม่นอ้ ย หากคนคนหนึง่ สามารถ “ชนะใจ” ตัวเองได้ และท�ำให้คนทีอ่ ยูก่ บั เขา มีความสุขอย่างทีไ่ ม่เคยเป็นมาก่อน เพราะบางครัง้ คนเราอาจไม่รวู้ า่ ณ ขณะนัน้ ตัวเอง ก�ำลังถล�ำลึกไปกับสิง่ ใดและมากเกินไปหรือเปล่า ? น่ายินดีไม่นอ้ ย หากคนๆ หนึง่ สามารถ “ชนะใจ” ตัวเองได้ และท�ำให้คนทีอ่ ยูก่ บั เขามีความสุขอย่าง ไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะบางครั้งคนเราอาจไม่รู้ ว่า ณ ขณะนัน้ ตัวเองก�ำลังถล�ำลึกไปกับสิง่ ใดและ มากเกินไปหรือเปล่า ? คูบ่ า้ นฉบับนีท้ ม ี งานขอพาท่านผูอ้ า่ นลงใต้ ฝ่า กระแสลมฝนอีกครั้ง เพื่อพบกับชายนักสู้แห่ง จังหวัดสงขลา คุณสมเกียรติ พิทยาธรรม กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท เอเซีย คอนกรีต แพลนท์ จ�ำกัด ผูบ้ ริหารรุน่ ใหม่ทปี่ ระสบความส�ำเร็จด้วยความมุง่ มั่น ตั้งใจและเรียนรู้ชีวิตเรียนรู้ธุรกิจจนประสบ ความส�ำเร็จอย่างน่าภาคภูมิใจ หนุม ่ ปีกนุ คุณสมเกียรติ ปัจจุบนั อายุ 40 ปี เป็นพีค่ นโตในจ�ำนวนพีน่ อ้ ง 4 คน ชายสองหญิง สอง (คุณถาวร-คุณอุษณีย-์ คุณจิราพร พิทยาธรรม) เป็นศิษย์เก่าหาดใหญ่วทิ ยาลัย จบปริญญาตรีดา้ น บริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ดีกรีมนิ เิ อ็มบีเอ มอ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต่อด้วย MPA นิดา้ รุน่ 8 พืน้ ฐานธุรกิจครอบครัวท�ำ เหมืองแร่ดบี กุ ในนาม “Livong Group” เป็นคนที่ ท�ำงานมาตัง้ แต่เด็ก เพราะต้องคอยติดตามคุณพ่อ (คุณปราโมทย์ พิทยาธรรม) ทุกวัน ทั้งวันเสาร์ และวันอาทิตย์ จากประสบการณ์ตรงนี้ ถือว่ามี คุณค่ามาก “ตอนนั้นธุรกิจป๊ามีหุ้นส่วน 2 คนคือป๊ากับ เพื่อนชื่อคุณวิวัฒน์ วัฒนยนต์กิจ ผมยอมรับว่า

ผมได้อะไรจากพ่อเยอะ และเพือ่ นพ่อด้วย ทัง้ การ เห็น การฟัง และการตัดสินใจ เพราะวิธคี ดิ วิธกี าร ท�ำงานของทั้ง 2 ท่านไม่เหมือนกัน เพื่อนป๊าจะ เป็ น คนคิ ด เร็ ว ตั ด สิ น ใจเร็ ว ค่ อ นข้ า งใจร้ อ น ส่ ว นป๊ า เป็ น คนสุ ขุ ม คิ ด รอบคอบ เยื อ กเย็ น เปรียบแล้วเหมือนหยิน-หยาง ดังนั้น ทูอินวันจึง อยู่ที่เรา” คุณสมเกียรติ กลั้วหัวเราะชอบใจใหญ่ หลังเล่าถึงความประทับใจและบทสรุปประสบการณ์ ในวันนี้ “กว่าคนเราจะก้าวถึงจุดที่ใช่ ก็ไม่ง่ายเลยนะ ชีวติ ผมมีแต่งาน รู้ ไม่รกู้ ค็ ดิ และท�ำอย่างเดียว ลอง ผิดลองถูกมาตลอด และเป็นคนท�ำงานไม่มีวัน หยุด เรียกว่า 99% ในชีวติ คืองาน งานและงาน จะ หยุดแค่วันกรรมกร วันปีใหม่ ตรุษจีนเท่านั้น” จ�ำได้ว่า คุณพ่อเสียปี 2541 ตอนนั้นผมอายุ 27 ปี ผมและน้ อ งๆ ต้ อ งสานต่ อ ธุ ร กิ จ ของ ครอบครั ว ซึ่ ง ตอนนั้ น ธุ ร กิ จ ของเราท� ำ ธุ ร กิ จ เหมืองแร่ดีบุก, ยางพารา, ปาล์มน�้ำมัน หลังจาก เริ่มมาดูแลธุรกิจหลักและมองเห็นช่องทางของ ธุรกิจอันใหม่ ซึ่งเราก็มีแหล่งวัตถุดิบก็เป็นทราย และหิน จึงท�ำธุรกิจจัดส่งวัตถุดิบไปยัง Plant ปูน เรื่อยๆ มา จาก Plant 1 ก็เป็น 2,3,4,5 และเกือบ ทุก Plant ในจังหวัดสงขลา ตัวเลขก็น่าสนใจเลย ที เ ดี ย ว จากนั้ น ก็ มี เ พื่ อ นมาชี้ ช วนให้ ท� ำ ธุ ร กิ จ Plant คอนกรีต ตอนนัน้ คิดเพียงแค่วา่ เอาหิน เอา ทราย เอาปูนมาผสมกัน หาซือ้ รถโม่มาส่ง ก็สามารถ

•• คุณสมเกียรติ พิทยาธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเซีย คอนกรีต แพลนท์ จ�ำกัด

29


มาเยือน

คุณจิราพร-คุณอุษณีย์ พิทยาธรรม

บอสใหญ่กบั พนักงานทีอ่ าคารส�ำนักงานบริษทั แม่ทพ ั อินทรีในสงขลา

ขายได้แล้ว ตัวเองไม่มคี วามรู้ ความเข้าใจในธุรกิจนี้ เลยสักนิดเดียว ในทีส่ ดุ ผมถึงรูต้ วั เองว่า เราไม่รอู้ ะไรเลย ท�ำๆ อย่างเดียว เหมือนหลงทิศหลงป่าโดยเราไม่รู้ว่า หลง เรามันแค่เป็นคนมีวัตถุดิบ แต่โนวฮาวด้าน ธุรกิจวัสดุจริงๆ ไม่มีเลย งมอยู่ 4-5 ปี ถือว่าชีวิต ตอนนั้นผิดพลาด เป็นผู้ที่ไม่ได้เรียนรู้และเข้าใจ ธุรกิจของตัวเองอย่างถ่องแท้ โอกาสเสียหายก็สงู คนรอบข้างก็เครียด วันที่เราผิดพลาดมากก็ไม่รู้จะไปปรึกษาใคร จนคิ ด ว่ า จะต้ อ งไปชุ ม พรแล้ ว ไปหาเพื่ อ นที่ ชื่ อ “สานิตย์” (ซึง่ เป็นทัง้ เพือ่ นและอาจารย์) เป็นเพือ่ น ที่รู้จักแค่ 2 ครั้ง ไปถาม ไปปรึกษาว่าคีย์ซัสเซส อยู่ตรงไหน โนฮาวคืออะไร “ผมซึ้งมาก เขาไม่หวงวิชาเลย สอนผมทุก อย่าง เล่าให้ฟังหมด เปิดบัญชี ให้ดู สรุปแล้ว ปัญหาที่เกิดกับผมคือเก็บเงินไม่ได้ มีคนท�ำงาน ให้ เก่งแต่โกง เราก็อยู่ไม่ได้ ผมถึงต้องเรียนรู้ ทุกอย่างจากข้อผิดพลาด จากนั้น 4 ปี ผมเริ่ม เรียนรู้ ใหม่ทุกอย่างด้วยความเข้าใจที่มีมากขึ้น เรื่อยๆ จนถึงวันนี้ ผมก็ยังต้องหาความรู้ เรียนรู้ และเข้าใจเพิ่มอีกต่อๆไป ส่วนเรื่องการตัดสินใจ ผมได้จากป๊ากับเพื่อนป๊า”

30

แพลนต์อนิ ทรีคอนกรีตแห่งที่ 2 ทีบ่ างกล�ำ่ สงขลา

เพราะผมอยากท�ำธุรกิจให้ยั่งยืน วันหนึ่งเมื่อ ติดต่อบริษทั ปูนซีเมนต์นครหลวง จ�ำกัด (มหาชน) ผู้ผลิต “ปูนอินทรี” เป็นแฟรนไชส์ 3 ปี ก็เหมือน เราต้องเรียนรู้ ใหม่ เอาสิ่งที่ตัวเรามีเข้าไปผสม ผสาน แต่สงิ่ ทีเ่ ราขาดคือความรูแ้ ละประสบการณ์ ตั้ ง แต่ นั้ น มาผมก็ พ ยายามศึ ก ษาและเรี ย นรู ้ ตรงไหนไม่ Get ไม่เข้าใจ ก็ต้องท�ำให้เข้าใจ นี่คือ การตั้งเป้าในชีวิตผม “เราต้องรูจ้ ุดอ่อนในมุมของเราด้วย อะไรคือ อุปสรรคของผู้น�ำ ทั้งหมดนี้คือความรับผิดชอบ ของเรา ที่ส�ำคัญเราต้องมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพที่ ท�ำด้วย ต้องขอบคุณปูนอินทรีทไี่ ด้จดั สัมมนา จัด อบรมให้ความรู้แก่คู่ค้า ผมกับทีมงานได้เรียนรู้ อย่างมหาศาล ซึง่ การท�ำธุรกิจต้องมีวธิ คี ดิ และท�ำ เป็นระบบ เพราะทุกอย่างอยู่ที่คน” ในความเชื่ อ ของคุ ณ สมเกี ย รติ “ธุ ร กิ จ ออกแบบได้” ไม่วา่ อาชีพอะไร เราสามารถออกแบบ ธุรกิจของเราให้เป็นไปตามเป้าหมายทีเ่ ราต้องการ ได้สำ� เร็จและสมบูรณ์แบบ รวมถึงการตัง้ เป้าหมาย ของชีวติ และการงาน เราสามารถจัดการวางระบบ ได้หมด แต่ทสี่ ำ� คัญเราต้องรูจ้ กั ตัวเราเอง และต้อง ท�ำชีวติ 6 ด้านให้สมดุล ทัง้ การงาน ชีวติ ครอบครัว สุขภาพ จิตวิญญาณ และสังคม

คุณสมเกียรติ-คุณวนิดา พิทยาธรรม


พวกเราคือครอบครัวอินทรี

ปัน่ จักรยานคือกีฬาโปรด

“คุณเชื่อมั๊ย เมื่อหลายปีก่อน ผมบ้างานจน ไม่รู้วันเวลา อารมณ์ก็ร้อน แถมดื้อด้วย วันหนึ่ง ภรรยาของผมก็ตามผม และขอให้ผมปรับปรุง ชีวิตใหม่ ให้สมดุลระหว่างงานกับครอบครัวและ ตัวผมเอง ไม่งั้นเธอจะไป เท่านั้นแหละ ผมอึ้งไป เลย เพราะคุณหวุน (คุณวนิดา พิทยาธรรม) เป็น เพือ่ นทีร่ จู้ กั กันมานานร่วม 12 ปี หลังแต่งงาน ผม ก็ทำ� งานมากเกิน จนไม่มเี วลาให้ครอบครัว ตอน นัน้ ยังหาชีวิตตัวเองไม่เจอ เมื่อเธอพูดก็ท�ำให้เรา เปลีย่ นวิธคี ดิ ใหม่ จัดสมดุลชีวติ ใหม่ นีก่ เ็ พิง่ ฉลอง เวดดิ้งไปเมื่อ 14 พย.ที่ผ่านมา” คุณสมเกียรติ เปิดใจให้ฟังด้วยน�้ำเสียงของคนที่มีความสุข ปัจจุบันคุณสมเกียรติมีบุตรชายหญิง 2 คน ชื่อน้องวิน (Win) ด.ช.ธาวิน พิทยาธรรม, น้องนิว (New) ด.ญ.มณินทร พิทยาธรรม โดยมีคุณหวุน คอยดูแล หลังลาออกจากงานประจ�ำด้านไฟแนนซ์ มาท�ำหน้าทีแ่ ม่บา้ นเต็มตัวและดูแลคุณสมเกียรติ ทุกวันนีค้ ณ ุ สมเกียรติจะขยันดูแลสุขภาพมาก กิจกรรมโปรดคือการปั่นจักรยาน เพื่อเรียกเหงื่อ และสร้างกล้ามเนือ้ ให้แข็งแรง วันนัน้ คุณสมเกียรติ ได้เปลี่ยนชุดและปั่นให้ดูเป็นตัวอย่าง พร้อมเชิญ ชวนให้ทุกคนออกก�ำลังกาย “ตอนนีผ้ มแฮ็ปปีม้ าก ครอบครัวผมพร้อมหน้า

แค่พลิกมุมคิด วิธีคิด ชีวิตผมก็เปลี่ยน ทุกอย่าง อยู่ที่ทัศนคติที่เป็นบวกและความตั้งใจ เมื่อเรา เฟิรม ์ เรือ่ งครอบครัว การท�ำงานก็มนั่ ใจ องค์กรก็ เข้มแข็ง เดี๋ยวนี้ลูกน้องโอเคหมดแล้ว พร้อมที่จะ ลุยงานเต็มที่ เพื่อชีวิตที่ดีมีความสุข” ส�ำหรับการบริหารกิจการนั้น คุณสมเกียรติ ยึดหลักว่า จะต้องเป็นคู่ค้าที่ดีต่อกัน ต้องแชร์ ความรู้กัน ต้องซื่อสัตย์ต่อกัน ฉะนั้นลูกค้าที่มา ซื้ อ คอนกรี ต หรื อ ซื้ อ ปู น อิ น ทรี จ ากเราไป ผมก็ ต้องการให้เขาได้สนิ ค้าทีด่ ี ปูนทีด่ ไี ปก่อสร้างบ้าน ของเขาให้มั่นคงแข็งแรงและยั่งยืน สรุ ป ง่ า ยๆ คื อ เราตั้ ง ใจและเลื อ กที่ จ ะขาย ของดีมีคุณภาพให้แก่ลูกค้า พร้อมบริการด้วย ความจริงใจ ธุรกิจเราก็จะเจริญรุ่งเรือง ก่อนลากลับคุณสมเกียรติได้พาทีมงานไป เยี่ยมชม Plant อินทรีคอนกรีต 2 แห่งที่ อ.เมือง และ Plant ใหม่ ล ่ า สุ ด ต.บางกล�่ ำ จ.สงขลา ท่ามกลางพายุฝนที่พัดกระหน�่ำในภาคใต้ เขาทิ้ง ท้ายว่า “บริษัทเพิ่งผ่านพ้นจากภัยน�้ำท่วมมาใน ระดั บ 1-1.5 เมตร ผมจึ ง เห็ น ใจคนไทยที่ ถู ก น�ำ้ ท่วมใหญ่ พวกเราต้องเป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม ดู แ ลธรรมชาติ แ ละสั ง คม เพื่ อ รุ ่ น ลู ก รุ ่ น หลาน ในอนาคต”

31


มาเยือน

Text & Photo : : จี๋ วิชากร

คุณชัยรัตน์ ธรรมพีร ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร บริษทั พีซเี อ็ม คอนสตรัคชัน่ แมททีเรียล จ�ำกัด (PCM)

32


เปิดสูตรส�ำเร็จ PCM ชัยรัตน์ ธรรมพีร ซีอโี อยุคใหม่ “แรงใจผูน้ ำ� และพนักงาน เป็นพลังขับเคลือ่ น” น่าภาคภูมใิ จมาก เมือ่ “พีซเี อ็ม คอนสตรัคชัน่ แมททีเรียล”ผูผ้ ลิตและจ�ำหน่ายแผ่น พืน้ ผนังส�ำเร็จรูป และเสาเข็ม ในฐานะคูค่ า้ วัสดุกอ่ สร้าง หนึง่ ในครอบครัวปูนอินทรี จากทีเ่ คยต้องล้มลุกคลุกคลาน แต่สามารถพลิกฟืน้ องค์กรและธุรกิจมายืนอยูแ่ ถว หน้าของวงการได้ ทัง้ ท�ำรายได้อย่างมัน่ คงแข็งแรงต่อเนือ่ ง ด้วยเคล็ดลับของการใช้ หลักบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเข้าใจถ่องแท้ เป็นทีร่ บั รูก้ นั แล้วว่า ความส�ำเร็จของธุรกิจใน ยุคสมัยนีไ้ ม่ได้วดั กันทีก่ ารมีเครือ่ งจักรดีเลิศ หรือ เทคโนโลยีล�้ำหน้า เพราะสิ่งเหล่านี้ขอให้มีเงินทุน ไม่ว่าใครก็หาซื้อมาได้ ความส�ำเร็จของธุรกิจในโลกยุคใหม่ตา่ งต้อง เผชิญกับความซับซ้อนของตลาดและพฤติกรรม ผู้บริโภค การแพ้ชนะจึงอยู่ที่การบริหารจัดการ “คน” ที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนส�ำคัญ ต่อให้ต้อง ประสบขวากหนามเพียงใด ก็สามารถวิ่งสู่เส้นชัย แห่ ง ความส� ำ เร็ จ ได้ ด้ ว ยแรงใจของผู ้ น� ำ และ พนักงานเป็นพลังขับเคลื่อน สูตรการบริหารคนของคุณชัยรัตน์ ธรรมพีร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีซีเอ็ม คอนสตรัคชั่น แมททีเรียล จ�ำกัด หรือ PCM สามารถ มัดใจพนักงานได้ทุกระดับ และตั้งแต่ท�ำงานมา ร่ ว ม 10 ปี ที่ PCM ขณะนี้ บุ ค ลากรทั้ ง อาคาร ส�ำนักงานใหญ่ย่านเมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ และ ที่โรงงานย่านปทุมธานีได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร่วม 200 ชีวิตแล้ว เมือ่ บริหารงานด้วยใจ จึงส่งผลให้ธรุ กิจทีเ่ คย มีตวั เลขติดลบกลับมายืนขึน้ ได้อกี ครัง้ ด้วยก้าวที่ แข็งแรง ถึงแม้คุณชัยรัตน์จะไม่มีความรู้ด้าน “เอนจิเนียร์” หรือวิศวกรรม แต่กไ็ ม่ได้เป็นปัญหา ความรู้

ด้านกฎหมาย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยรามค�ำแหง ที่ คุณชัยรัตน์รำ�่ เรียนจบมา จนคว้าปริญญาตรีมาได้ 2 ใบ และปริญญาโท MBA จากสหรัฐอเมริกา ช่วย ให้เขาแก้ปญ ั หาภายในองค์กรของพีซเี อ็มได้อย่าง ลุล่วง น่าพอใจ หลังประสบปัญหาขาดทุนอย่าง หนัก นอกจากต้องเจอกับวิกฤตเศรษฐกิจจากพิษ ค่าเงินบาทปี 2540 ทีผ่ า่ นมายังมีปญ ั หาคอร์รปั ชัน ภายในองค์กรผสมอยู่ด้วย เป็นผลให้เกิดการ กัดกร่อนฐานะองค์กรจนต้องเจอภาวะขาดทุน สิ่งแรกที่คุณชัยรัตน์ลงมือแก้ปัญหา นั่นคือ เร่งการล้างคอร์รัปชันให้หมดสิ้นไป ด้วยการพูด คุยสร้างความเข้าใจกับพนักงานกว่า 100 ชีวิต ที่ ส่วนใหญ่เป็นระดับคนงาน ผู้บริหารระดับกลาง และล่างมีแค่บางส่วน “พอตรวจสอบได้วา่ คนไหนทุจริต ผมจะพูดคุย ดีๆ ขอให้เขาลาออกไปเอง ถ้าเขาไม่ออกเราก็จะใช้ มาตรการทางกฎหมาย ซึง่ คนทีท่ จุ ริตก็เริม่ กลัว” เมือ่ ต้องสร้างทีมใหม่ ก็เป็นเรือ่ งละเอียดอ่อน การรับพนักงานใหม่จะรับเฉพาะส่วนที่ขาดและ จ�ำเป็นจริงๆ ถึงจะมีคนใหม่เข้ามา ก็ต้องให้สิทธิ แก่คนเก่าก่อน ยกเว้นไม่มีศักยภาพจริงๆ จึงจะ เปิดโอกาสให้คนใหม่เข้ามา และคนใหม่ก็ต้อง พิสูจน์ตัวเองให้ ได้ว่าเข้ากับคนเก่าได้

•• คุณชัยรัตน์ ธรรมพีร ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร บริษทั พีซเี อ็ม คอนสตรัคชัน่ แมททีเรียล จ�ำกัด

33


มาเยือน

วางโครงบล็อก

วัสดุแผ่นพืน้

เตรียมการจัดส่งสินค้า

คุณชัยรัตน์บอกว่า ช่วงแรกต้องยอมเสียเวลา สั ม ภาษณ์ รั บ สมั ค รพนั ก งานด้ ว ยตั ว เอง เพื่ อ ให้ ไ ด้ ค นที่ เ หมาะสมที่ สุ ด กั บ งานมาร่ ว มสร้ า ง “ทีมเวิร์ก” ใหม่ “ผมเห็นมาหลายองค์กรแล้ว พอมีคนใหม่ เข้ามา คนเก่าก็จะรูส้ กึ แย่ ปัญหาแตกแยกก็ตามมา ผมต้องให้คนเก่าและคนใหม่อยู่ด้วยกันได้อย่าง มีความสุข” คนเก่าที่มีศักยภาพจะได้รับการพัฒนา โดย น�ำระบบ “เทรนนิง่ ” มาใช้ เพือ่ เสริมเรือ่ งความคิด และการมีส่วนร่วม ให้รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ เคล็ดลับอีกข้อของซีอโี อ PCM คือ “กิจกรรม” ซึ่งคุณชัยรัตน์ ให้ความส�ำคัญมากๆ เขาบอกว่า “ผมใช้ ได้ผลมาแล้ว” โดยเป็น “เกม” ที่สร้าง ทัศนคติในการอยู่ร่วมกัน เป็น “ทีมเวิร์ก” จริงๆ ไม่ ใช่เพื่อเอาชนะกัน เพราะเมื่อท�ำงานแบบขาด ทีมเวิร์ก คนที่แพ้ที่สุดคือ “องค์กร” “อย่าง เกมลูกปัด ผมให้เขาแบ่งทีมเพื่อแข่ง กันร้อยลูกปัดให้เป็นสีเดียวกัน ใครร้อยได้เร็วกว่า ชนะ ตอนแรกเขาก็แย่งกัน ไม่ยอมให้แลกสีกัน บ้าง ในที่สุดเขาก็รู้ว่า คนชนะอาจไม่ใช่คนที่ร้อย ลูกปัดได้ยาวที่สุดหรือเร็วที่สุด แต่เป็นคนที่ ให้

34

ความร่วมมือมากที่สุดต่างหาก” ทีส่ ำ� คัญกิจกรรมจะเห็นผลได้ชดั เจน ผูบ้ ริหาร ต้ อ งลงมาร่ ว มเล่ น “กิ จ กรรม” ด้ ว ย เขายก ตัวอย่างงานปี ใหม่ของที่นี่ ไม่ ใช่งานเลี้ยงแบบ ทัว่ ไปทีป่ ระกาศนโยบายปีหน้า เลีย้ งข้าว จับฉลาก แจกของรางวัล ซึ่งวิธีแบบนี้ไม่ได้ ใจ แต่ผู้บริหาร ต้องร่วมท�ำกิจกรรมร่วมกับพนักงาน ไม่ต้องแปลกใจถ้าจะเห็นผู้บริหารแปลงกาย เป็นเด็กเสิร์ฟอาหาร และน�้ำให้แก่คนงานระดับ ล่างหรือลูกจ้างรายวัน ซึ่งมีกว่าร้อยคนถึงโต๊ะ อาหาร “พนักงานเขาเหนื่อยมาทั้งปี ผู้บริหารลงมา แค่ปลี ะครัง้ พอพนักงานเขาเห็นว่าผูบ้ ริหารลงทุน ท�ำให้เขาได้ถึงขนาดนี้ แน่นอนความประทับใจ ความเป็นกันเอง และความสุขจะค่อยๆ เกิดขึ้น” คุ ณ ชั ย รั ต น์ ย�้ ำ ว่ า องค์ ก รต้ อ งขั บ เคลื่ อ น แบบนีถ้ งึ จะ “ได้ ใจ” พนักงาน และเมือ่ ได้ ใจไปแล้ว ต่อให้งานหนักแค่ไหน ทีมงานก็จะไม่มีวันถอย นอกจากกิจกรรม เคล็ดลับอีกข้อหนึง่ ทีถ่ อื ว่า ส�ำคัญไม่ยงิ่ หย่อนคือเรือ่ ง “สวัสดิการ” จะเป็นตัว ช่ ว ย “บิ ล ต์ อั พ ” ให้ พ นั ก งานรู ้ สึ ก ถึ ง ความมี ส่วนร่วม เพราะเมือ่ พนักงานรูส้ กึ ว่าได้รบั การดูแล

ผนังส�ำเร็จรูปทีด่ สู วยงาม


“ผมเชือ่ เรือ่ งคน และเชือ่ อีกว่า องค์กรไหนไม่คดิ เรือ่ งคน องค์กร นัน้ จะโตได้แป๊บเดียว” โรงงานผลิตแผ่นพืน้ ผนังส�ำเร็จรูปที่ อ.ล�ำลูกกา จ.ปทุมธานี เบือ้ งหลังความส�ำเร็จ

อย่ า งดี จ ากองค์ ก ร พวกเขาก็ พ ร้ อ มให้ ค วาม ร่วมมือ PCM ได้ลงทุนสร้างตึกให้พนักงานพัก อาศัยโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า ให้ชุดพนักงาน มีค่า รั ก ษาพยาบาล เงิ น ทุ น ส� ำ รองเลี้ ย งชี พ แม้ แ ต่ ลูกจ้างรายวันก็ให้ทุนการศึกษาเป็นสวัสดิการ มี ห้องสมุด และศูนย์กีฬา เพราะมนุษย์ทุกคนรักครอบครัวและอยากมี ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ซีอีโอ PCM เปิดสูตรส�ำเร็จที่ เขาคิดว่าส�ำคัญที่สุดในแง่การบริหารจัดการ นั่น คือ “ความจริงใจ” สไตล์การบริหารของคุณชัยรัตน์ จะสวมหลายบทบาท เป็นทัง้ เจ้านาย ทัง้ พี่ ทัง้ เพือ่ น ทั้ ง พ่ อ เวลาพนั ก งานมี ป ั ญ หาก็ ส ามารถเดิ น เข้ามาหาปรึกษาได้หมดทั้งเรื่องงานและปัญหา ส่วนตัว “ผมเชือ่ เรือ่ งคน และเชือ่ อีกว่าองค์กรไหนไม่ คิดเรื่องคน องค์กรนั้นจะโตได้แป๊บเดียว” แนวคิ ด นี้จึ งเข้ากันได้ดี ในการมาเป็นคู่ค ้า ของบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จ�ำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจ�ำหน่าย “ปูนอินทรี” ซึ่งนอกจากจะ สนับสนุนในเรือ่ งความรูด้ า้ นสินค้าแล้ว คุณชัยรัตน์ ยอมรับว่าผู้บริหารปูนอินทรีถือเป็นตัวอย่างที่ดี

เป็นแม่แบบในการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าอย่างไม่มี การวางฟอร์ม ให้ความรูส้ กึ จริงใจ และเป็นกันเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจมาตลอด “มี อ ยู ่ ค รั้ ง หนึ่ ง ในงานเลี้ ย งขอบคุ ณ ลู ก ค้ า ปูนอินทรี ผู้บริหารระดับสูงต่างเทใจสุดๆ ยอม แต่งตัวเป็นซูเปอร์สตาร์ ดาราหนัง เช่น เป็นเจมส์ บอนด์ เป็นมาริลีน มอนโร เป็นอินทรีแดง แม้แต่ เป็นไอ้แมงมุมก็ทำ� มาแล้ว งานครัง้ นัน้ ได้ทงั้ ความ สนุกและประทับใจ เราเป็นคู่ค้าก็มองเห็น” ที่ ส� ำ คั ญ การตอบแทนคื น สู ่ สั ง คมและ ธรรมชาติ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้บริหารระดับสูง ของ PCM ท่านนี้ ให้ความส�ำคัญไม่ยิ่งหย่อนไป กว่าเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ เช่น ในช่วงที่เกิดมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ บริษัท PCM ก็ ใ ห้ ค วามช่ ว ยเหลื อ พนั ก งาน ลู ก ค้ า และผู ้ ที่ เดือดร้อนจากน�้ำท่วมบ้าน ส่ ว นตั ว คุ ณ ชั ย รั ต น์ จ ะชอบปลู ก ต้ น ไม้ ม าก อย่างที่ออฟฟิศย่านเมืองทองธานี มุมสวนเล็กๆ หน้าบริษัทเขาก็เป็นคนจัดการเองโดยยกต้นไม้ มาจากบ้านแล้วมาลงดินที่นี่ เพราะอยู่กับงาน บริหาร งานก่อสร้าง เราก็ต้องการพื้นที่สีเขียว ส�ำหรับพักผ่อนหย่อนใจบ้างเป็นธรรมดา

35


Good Design

Text & Photo : : กองบรรณาธิการ

โครงการหนึง่ ในสิงคโปร์ สถาปัตยกรรมและธรรมชาติทไี่ ปด้วยกันได้

36


คณะทัวร์จากโฮลซิมและแขกผูม้ เี กียรติรว่ มถ่ายรูป

Holcim Awards 2011 Asia Pacific สถาปัตยกรรมนวัตกรรม เน้นโครงสร้างพืน้ ฐานเพือ่ ชุมชน เมือ่ วันที่ 24-25 พ.ย. 2554 ประวัตศิ าสตร์ตอ้ งบันทึกอีกครัง้ เมือ่ มูลนิธโิ ฮลซิม ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผูถ้ อื หุน้ ในบริษทั ปูนซีเมนต์ นครหลวง จ�ำกัด (มหาชน) ได้จดั งานใหญ่ Holcim Awards 2011 ในระดับภูมภิ าค เพือ่ ตัดสินการประกวดงานโครงการออกแบบ ของสถาปนิกในแถบเอเชียแปซิฟกิ ณ ประเทศสิงคโปร์ โจทย์หลักของแนวคิดระบุว่า จะต้องเป็นโครงการ ก่อสร้างและมีวิสัยทัศน์แบบยั่งยืน ทั้งยังเป็นนวัตกรรม ที่เน้นโครงสร้างพื้นฐานส�ำหรับชุมชนเป็นหลัก ทันทีทคี่ ณะกรรมการตัดสินในภูมภ ิ าคเอเชียแปซิฟกิ ประกาศรายชื่ อ ผู ้ ไ ด้ รั บ รางวั ล โฮลซิ ม อวอร์ ด สด้ า น โครงการการก่อสร้างและวิสัยทัศน์แบบยั่งยืนจากเอเชีย แปซิฟิก รางวัลโฮลซิมอวอร์ดสนานาชาติครั้งที่ 3 ได้สิ้น สุดลง เงินรางวัลจ�ำนวน 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐมอบ ให้โครงการจ�ำนวน 12 โครงการทีโ่ ดดเด่นในงานทีจ่ ดั ขึน้ ในประเทศสิงคโปร์ โครงการที่ได้รับรางวัลแสดงให้เห็น ว่าแนวทางแบบยัง่ ยืนของโครงสร้างพืน้ ฐานส�ำหรับชุมชน และสถาปั ต ยกรรมนวั ต กรรมนั้ น มี ส ่ ว นพั ฒ นาสิ่ ง แวดล้อมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างแท้จริง มูลนิธิโฮลซิมในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อการ ก่อสร้างทีย่ งั่ ยืน ทีจ่ ดั ให้มกี ารแข่งขันโฮลซิมอวอร์ดสนัน้ ก็เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความยั่งยืนร่วมสมัยในด้าน เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

จากอาคารและการก่อสร้างทั้งมวล ปรากฏว่ามีโครงการ เข้าร่วมแข่งขันกว่า 6,000 โครงการจาก 146 ประเทศ โดยมี เ งิ น รางวั ล ทั้ ง หมด 2 ล้ า นเหรี ย ญสหรั ฐ ในรอบ 3 ปี

สรุปรางวัลโฮลซิมอวอร์ดส 5 รางวัล

พิธีมอบรางวัลโฮลซิมอวอร์ดสส�ำหรับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟกิ ทีจ่ ดั ขึน้ ในประเทศสิงคโปร์ ประกอบไปด้วย 5 รางวัล ตามด้วยการน�ำเสนอของผู้ ได้รับรางวัลใน Casablanca, Milan, Buenos Aires และ Washington D.C. โครงการ ที่ได้รับรางวัลที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในแต่ละภูมิภาคจะมีสิทธิ์ เข้าร่วมแข่งขันระดับโลกที่จะจัดขึ้นในปี 2012 นอกจากนั้น โครงการที่ได้รับรางวัลทุกโครงการใน ระดับภูมภ ิ าค รวมทัง้ รางวัลชมเชยและผู้ ได้รบั รางวัล “คน รุ่นใหม่” จะมีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันส�ำหรับรางวัลนวัตกรรม ระดับโลกด้วย ทัง้ นีจ้ ะประกาศชือ่ ผู้ ได้รบั รางวัลทัว่ โลกใน เดือนเมษายน 2012

37


Good Design

Mr. Rolf Soiron ประธานกลุม่ โฮลซิม และกรรมการทีป่ รึกษา มูลนิธโิ ฮลซิม

รางวัล “โฮลซิมอวอร์ดส” มองหาโครงการ ก่อสร้างแบบยัง่ ยืนทีจ่ บั ต้องได้ มุง่ เน้นอนาคตและ มี น วั ต กรรม โดยได้ รั บ ความร่ ว มมื อ จาก มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง เช่น Swiss Federal Institute of Technology (ETH Zurich), ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์; Massachusetts Institute of Technology (MIT) ใน Cambridge, Massachusetts สหรัฐอเมริกา; Universidad Iberoamericana (UIA) ในเมื อ งเม็ ก ซิ โ ก ประเทศ

เม็กซิโก ; École Supérieure d’Architecture de Casablanca (EAC) ประเทศโมร็อกโก; Indian Institute of Technology (ITT Bombay) ในมุมไบ ประเทศอิ น เดี ย ; Tongji University (TJU) ในเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน; Universidade de São Paulo (USP), (USP) ประเทศบราซิ ล และ University of the Witwatersrand (Wits) ในโยฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ มูลนิธิโฮลซิมได้รับการสนับสนุนจากบริษัท

โฮลซิม จ�ำกัด และบริษัทในกลุ่มมากกว่า 70 ประเทศ และเป็นอิสระจากผลประโยชน์ทางธุรกิจ และโฮลซิ ม เป็ น หนึ่ ง ในบรรดาผู ้ จ� ำ หน่ า ย ปู น ซี เ มนต์ แ ละคอนกรี ต ผสมชั้ น น� ำ ของโลก (หินบด กรวด และทราย) รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ เช่น คอนกรีตผสมส�ำเร็จรูปและยางมะตอย รวม ทั้งการบริการอื่นๆ

••

ผู้ทรงคุณวุฒิ

คณะกรรมการตัดสินของการแข่งขันรางวัลโฮลซิมอวอร์ดสนานาชาติ ครั้งที่ 3 นี้ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญอิสระจากนานาประเทศที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านสังคม กระบวนการก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง และโครงการก่อสร้าง สมาชิกคณะกรรมการตัดสินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีดังนี้ • Wowo Ding (หัวหน้าคณะกรรมการตัดสิน) คณบดี School of Architecture, Nanjing University • Uday Athavankar ศาสตราจารย์ดา้ นสถาปัตยกรรมและการออกแบบ Indian Institute of Technology (IIT Bombay), มุมไบ ประเทศอินเดีย • Olivia la O’ Castillo คณะกรรมการตัดสิน คณะกรรมการที่ปรึกษาแห่งเลขาธิการใหญ่ องค์การสหประชาชาติในด้านน�ำ้ และสุขาภิบาล, ประธานและสมาชิก ผู ้ ก ่ อ ตั้ ง , การแก้ ป ั ญ หาการพั ฒ นาแบบยั่ ง ยื น ในเอเชี ย แปซิ ฟ ิ ก กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ • Paul Hugentobler สมาชิกคณะกรรมการบริหาร กลุ่มโฮลซิมในเอเชียแปซิฟิก จาก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

38

• • • • •

Momoyo Kaijima อาจารย์ ใหญ่ Atelier Bow-Wow, โตเกียว; รองศาสตราจารย์ Momoyo Kaijima Lab., University of Tsukuba, ประเทศญีป่ นุ่ Ashok B Lall ครูใหญ่ Ashok B Lall - Architects; ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ในด้านสถาปัตยกรรม Guru Gobind Singh Indraprastha University, นิวเดลี ประเทศอินเดีย Valérie Portefaix ผู ้ อ� ำ นวยการ MAP Office; ศาสตราจารย์ อ าคั น ตุ ก ะ Department of Architecture, Hong Kong Polytechnic University, ประเทศจีน Hans-Rudolf Schalcher ศาสตราจารย์ (จุลชีพเฉพาะทาง) ภาควิชาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมส�ำรวจและข้อมูลผิวโลก Swiss Federal Institute of Technology (ETH Zurich) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ Gunawan Tjahjono ศาสตราจารย์ ด ้ า นสถาปั ต ยกรรม คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย เดโปะ ประเทศอินโดนีเซีย


ประธานโฮลซิม (ที่ 6 จากซ้าย) และประธานตัดสินฯ (ซ้ายสุด) ร่วมแสดงความยินดี

ผูช้ นะเลิศ คว้ารางวัล 1 แสนเหรียญสหรัฐ

รางวัลชนะเลิศ Gold Award อาคารโรงเรียนทีท่ ำ� จากซังข้าวโพด และไม้ไผ่ในปากีสถาน ผู้ ได้รับรางวัลโฮลซิมอวอร์ดส รางวัลที่ 1 จ�ำนวนเงิน 100,000 เหรียญสหรัฐ จากโครงการ ออกแบบอาคารโรงเรียนทีท่ ำ� ด้วยซังข้าวโพดและ ไม้ ไ ผ่ ที่ ห าได้ ในท้ อ งถิ่ น Jar Maulwi จาก ปากีสถาน คือ Eike Roswag, Ziegert Roswag Seiler Architekten Ingenieure, ประเทศ เยอรมนี โครงการนี้ได้ยกระดับวิธีการก่อสร้างแบบ ดั้ ง เดิ ม โดยใช้ เ ทคโนโลยี น ้ อ ยที่ สุ ด โดยผ่ า น วิ ศ วกรรมและการออกแบบ ท� ำ ให้ พ วกเขาได้ ครอบครองเงินรางวัลชนะเลิศและความภูมิใจใน วิชาชีพ

The Earthen School Tipu Sultan Merkez อยู่ในหมูบ่ า้ นเล็กๆ ใกล้ Lahore ในปากีสถาน ได้ รับการออกแบบโดยสถาปนิกกลุ่มนี้ซึ่งเป็นชาว เยอรมั น ภายในโครงการเป็ น โรงเรี ย นที่ มี 7 ห้องเรียนสร้างใหม่ส�ำหรับเด็กผูห้ ญิงด้อยโอกาส ที่น่าสนใจและโดดเด่นคือตัวอาคารโรงเรียน ก่อสร้างด้วยซังข้าวโพดที่หาได้ ในท้องถิ่น (ดิน เหนียว ทราย น�้ำ และฟาง) ชั้นล่างและชั้นบนท�ำ ด้วยก�ำแพงไม้ ไผ่ที่ท�ำด้วยดิน จากการวิ จั ย เชิ ง ลึ ก ในการก่ อ สร้ า ง พบว่ า ซั ง ข้ า วโพดท� ำ ให้ เ กิ ด ความแข็ ง แรงและคงทน และท�ำให้มีระยะการบ�ำรุงรักษาที่ยาวนานขึ้น อีก

เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเดิมๆ Wowo Ding หัวหน้าคณะกรรมการตัดสิน และคณบดีคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยนานกิง ประเทศจีน กล่าวชมเชยโครงการนีว้ า่ เป็นโครงการ ที่ ส ่ ง เสริม การใช้ วิ ธีก ารก่ อ สร้ า งโดยประชากร เกษตรกรรมและปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจท้องถิน่ อย่างน่าชื่นชม เธอกล่าวว่า “วิธกี ารก่อสร้างแบบใหม่นแี้ สดง ให้เห็นถึงชุมชนชนบทที่สามารถท�ำได้ ในราคา ทีไ่ ม่แพง มีคณ ุ ภาพชีวติ สูง และคงทน เมือ่ เปรียบ เทียบกับวิธีที่ ใช้กันแพร่หลายแต่ราคาสูงและใช้ วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมน้อย”

39


Good Design

สถาปนิกไทยคว้ารางวัล Silver Award

วัฒนธรรมเมืองใหม่ ยึดหลักพอเพียง เปลีย่ นโรงงานเป็นการเกษตรชนบทเพือ่ ชุมชน

ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต

ทีมสถาปนิกไทยผูค้ ว้ารางวัลรองชนะเลิศ

40

เสียงปรบมือทีด่ งั กึกก้องบอกถึงความตืน่ เต้น และดีใจ เมือ่ สถาปนิกไทยคว้ารางวัลใหญ่ได้เป็นครัง้ แรกของประเทศไทยในงานโฮลซิมอวอร์ดส 2011 ภาคพืน้ เอเชียแปซิฟกิ ผู้แทนบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จ�ำกัด (มหาชน) ผูผ้ ลิตและจ�ำหน่าย “ปูนอินทรี” และคณะ ทีเ่ ดินทางมาจากประเทศไทย ล้วนแสดงความดีใจ เช่นเดียวกับแขกระดับวีไอพีที่มาจากทุกมุมโลก หลังลุน้ รางวัลและร่วมให้กำ� ลังใจตัง้ แต่วนิ าทีแรก เมือ่ งานเริม่ คณะกรรมการตัดสิน และผูป้ ระกาศบนเวทียมิ้ รับ พร้อมประกาศว่า “รางวัลโฮลซิมอวอร์ดสรางวัล ที่ 2 (Silver Award) ได้แก่ ทีมสถาปนิกคนไทย น�ำโดย คุณอิศวเรศ ตโมนุท จาก TTH Trading” นับเป็นจุดเริม่ ของแรงบันดาลใจและตอกย�ำ้ ว่า “คนไทยท�ำได้” หลักการและแนวคิด - สถาปนิกไทยคนรุน่ ใหม่ กลุม่ นีไ้ ด้นำ� เสนอแนวคิดในการเปลีย่ นโรงงานสิง่ ทอ เก่าและที่ดินที่อยู่ติดกันประมาณ 10 ไร่ ในเขต ราษฎร์บรู ณะ ย่านธนบุรี ของกรุงเทพมหานครใน ประเทศไทยให้เป็นแหล่งผลิตและศูนย์การค้าปลีก ทีช่ อื่ ว่า The Urban Farm Urban Barn ด้วยท�ำเลที่ตั้งที่ดินแปลงดังกล่าวยังคงกลิ่น

อายความเป็นชนบทอยู่ และอยู่ใกล้เขตเมืองมาก โดยสภาพภายในโรงงานและทีด่ นิ รอบข้างยังเป็น ร่องสวน เป็นพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมทีม่ ตี น้ ไม้หลากหลาย พันธุ์ แนวคิดของการปรับเปลีย่ นจึงเริม่ ขึน้ เมือ่ คุณ อิศวเรศ ตโมนุท ในฐานะเจ้าของทีด่ นิ เป็นอีกคน หนึง่ ทีร่ กั สิง่ แวดล้อมและมีหวั ใจสีเขียวเป็นทุนเดิม แสดงวัตถุประสงค์จะพัฒนาการใช้ทดี่ นิ แบบผสม ผสาน โดยน�ำ “หลักเศรษฐกิจพอเพียง” มาปรับใช้ ในภาคการผลิตและบริโภค พร้อมยังคงไว้ซงึ่ สภาพแวดล้อมภาคการเกษตร ภายใต้สงั คมทีเ่ ปลีย่ นแปลง นับเป็นโจทย์ทที่ า้ ทาย ยิง่ ในชีวติ ของสถาปนิกหนุม่ ท่านนี้ ลักษณะการพัฒนาจะเน้นเชิงผสมผสาน โดย ปรับย้ายทีท่ ำ� การและโรงงานสิง่ ทอเดิมขึน้ ไปอยูบ่ น อาคารทีม่ อี ยูแ่ ล้ว และพัฒนาพืน้ ทีด่ า้ นล่างเป็นแหล่ง จับจ่ายใช้สอยสินค้าทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม โดย จะแบ่งพืน้ ทีอ่ อกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกจะก่อสร้างเป็น คอมมูนติ มี อลล์ 3 ชัน้ ด้านหน้าทางเข้าโรงงาน รวม พืน้ ที่ใช้สอยประมาณ 2,000 ตารางเมตร จุดเด่นบริเวณนี้จะเป็นพื้นที่เปิดโล่ง รับลม ธรรมชาติ ลดการใช้พลังงาน และเชือ่ มต่อถึงกัน หมด ทีส่ ำ� คัญเจ้าของโครงการยังยืนยันถึงจุดยืนที่


จะเก็บรักษาต้นไม้ ใหญ่ไว้ พร้อมกับสระน�ำ้ ขนาดใหญ่ทที่ างครอบครัวหวงแหน การปรับภูมทิ ศั น์ให้ดสู วยงามโดยไม่ทำ� ลายสิง่ แวดล้อมสามารถกระท�ำได้โดย เพิม่ พืน้ ทีเ่ พาะปลูก เน้นความเป็นธรรมชาติดงั้ เดิม ท่ามกลางสถาปัตยกรรมเพือ่ ความยัง่ ยืนและพัฒนาคุณภาพชีวติ ทีด่ ตี อ่ ชุมชน จุดส�ำคัญของโครงการทีต่ งั้ อยู่ใกล้แม่นำ�้ เจ้าพระยา รวมถึงเจ้าของโรงงาน ผูกพันกับสายน�ำ ้ ซึง่ เป็นทรัพยากรส�ำคัญของโลก ท�ำให้ทมี สถาปนิกผูค้ ว้ารางวัล รองชนะเลิศในเอเชียแปซิฟกิ วางแนวคิดและยืนยันถึงการให้ความส�ำคัญต่อเรือ่ ง ทรัพยากรน�ำ้ เป็นล�ำดับต้นๆ ด้วยระบบการเก็บน�ำ้ ทีไ่ ด้มาตรฐาน การกระจายน�ำ้ เพือ่ พื้นที่เพาะปลูก และการเก็บเกี่ยวผลผลิตในเชิงท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์ เพื่อให้ วัฒนธรรมการด�ำรงชีวติ ของคนในท้องถิน่ และผูม้ าเยือนอยูร่ ว่ มกันได้อย่างมีความ สุข ท่ามกลางธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมทีย่ งั่ ยืน โครงการได้รบั ค�ำชมจากคณะกรรมการตัดสินว่า “เป็นโครงการทีม่ ศี กั ยภาพ ในการสร้างวัฒนธรรมเมืองใหม่ ท�ำให้ชมุ ชนเห็นผลกระทบของนิเวศวิทยา รวมทัง้ เสนอแนวคิดเมืองทีเ่ ปลีย่ นแปลงได้”

••

Team Work

ผู้ได้รบั รางวัลโฮลซิมอวอร์ดส รางวัลที่ 2 จ�ำนวนเงิน 50,000 เหรียญสหรัฐ การแปลงโรงงานและเกษตรกรรมเมือง กรุงเทพฯ ประเทศไทย ผู้คิดค้นหลักคือ อิศวเรศ ตโมนุท, บริษัท TTH Trading จ�ำกัด ประเทศไทย ผู้ร่วมคิดค้นคือ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต, บริษัท โอชิชุ จ�ำกัด ประเทศไทย, คุณจริยาวดี เลขะวัฒนะ, คุณพุทธิพรรณ อัศวกุล, คุณวิชายุทธ มณีพันธุ์, คุณมนัสศักดิ์ เสนาจักร์, คุณมาริสา จารุ ศิ ล าวงศ์ บริ ษั ท Architect Kidd จ� ำ กั ด ประเทศไทย คุณชัยยศ พินิจจิตรสมุทร, บริษัท ซี-อินไซท์ จ�ำกัด ประเทศไทย คุณไพโรจน์ ชัยมงคลกุล, บริษัท Weint Engineering and Management Co., Ltd. ประเทศไทย

Bronze Award อาคารค้าปลีกและพาณิชย์ เชิงนิเวศในมาเลเซีย

รางวัลโฮลซิมอวอร์ดสรางวัลที่ 3 เป็นของทีมที่น�ำโดยสถาปนิก Ken Yeang of T R Hamzah & Yeang International ส�ำหรับอาคารพาณิชย์และค้าปลีก 14 ระดับ ที่ตั้งอยู่ในเมือง Putrajaya ของมาเลเซีย อาคารนี้มี การน�ำเทคโนโลยีชั้นสูงที่เหมาะสมมาใช้กับตึกสูง 2 ตึกที่เชื่อมติดต่อกัน ตึกนี้ใช้พืชเป็นการลดการใช้ พลังงานและให้ร่มเงาจากแสงอาทิตย์ คณะกรรมการตัดสินยกย่องโครงการนี้ ในด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบอาคาร ที่โดดเด่น โดยใช้วิศวกรรมผสมผสานในการสร้างอาคารที่มีการออกแบบที่ใช้การปฏิบัติที่เป็นเลิศ

ผูค้ ว้ารางวัลที่ 3

Dr.Kenneth King Mun Yeang

41


Good Design

ผูช้ นะรางวัลชมเชยที่ 1

ผูร้ บั รางวัลชมเชยที่ 2

โครงการในอินโดนีเซีย อินเดียและญีป่ นุ่ คว้ารางวัล Acknowledgements 6 โครงการได้รับรางวัลชมเชย ประกอบด้วย 3 โครงการในอินโดนีเซีย 2 โครงการในอินเดีย และ 1 โครงการในญี่ปุ่น เป็นโครงการ 1 ใน 3 หมูบ่ า้ นทางตอนกลางและตะวันตกของชวา น�ำทีม โดย Yandi Yatmo จากมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ซึง่ ใช้กระบวนการก่อสร้างเพือ่ ส่งเสริมการรวมตัว และการพัฒนาของชุมชน โรงเรียนในชนบทที่มี การท�ำงานร่วมกันในสังคม Sukoharjo น�ำโดย Dian Susilo จาก deesignhandmade ประกอบ ไปด้วย อาคารโรงเรียน พื้นที่เกษตรกรรม และ ตลาดที่เกี่ยวข้องกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อแบ่งปัน ผลประโยชน์ ข องโครงสร้ า งพื้ น ฐานโรงเรี ย น อาคารแนวดิง่ ได้รบั การออกแบบโดยทีมทีน่ ำ� โดย

42

Steven Brunsmann จาก nunc architects ใน เนเธอร์ แ ลนด์ ซึ่ ง เป็ น นโยบายบ้ า นที่ ไ ม่ เ ป็ น ทางการในจาการ์ ต าในการแก้ ป ั ญ หาน�้ ำ ท่ ว ม ส่งเสริมการรีไซเคิลขยะ รักษาความเป็นเอกภาพ ทางสังคม และให้ที่อาศัยแบบราคาย่อมเยา ศู น ย์ อ นามั ย ขั้ น พื้ น ฐาน ที่ อ ยู ่ ใ กล้ Dharmapuri ในภู มิ ภ าคร้ อ นและกึ่ ง แห้ ง แล้ ง ใน Andhra Pradesh ในอิ น เดี ย ออกแบบโดย Rajesh Renganathan และ Iype Vernperampil จาก Flying Elephant Studio ประกอบด้วยทีน่ งั่ คอยทีร่ ม่ เย็นและอากาศระบายได้ดี ผสมผสานกับ การแพทย์ชั้นสูง วงจรขนส่งในเมืองแบบใหม่นี้ ออกแบบโดย Madhav Raman และ Vaibhav

Dimri of Anagram Architects ซึ่งได้เปลี่ยน ทางรถไฟวงแหวนทีม่ กี ารใช้ประโยชน์นอ้ ยมาเป็น พื้นที่จราจรที่ ใช้ประโยชน์ ได้หลากหลายภายใน โครงสร้างเมืองนิวเดลี เพื่อท�ำให้ชีวิตบนถนน มีชีวิตชีวาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอินเดีย โครงการบูรณะบ้านหลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดิน ไหวในโกเบ ประเทศญี่ ปุ ่ น โดย Masaaki Takeuchi จาก uzulab and Shihoko Koike of Osaka City University ได้ยกระดับโครงสร้าง คอนกรีตที่ใช้วิธีง่ายๆ ในการรวมอาคารค้าปลีก ทีอ่ ยูช่ นั้ ล่าง สวนภายนอก และโครงสร้างด้านนอก ที่ปลูกผักเป็นการใช้พื้นที่เมืองให้ดีขึ้น


ที่ 1 หนุม่ ชาวจีนคนรุน่ ใหม่

ที่ 2 นักศึกษาหญิงจากอินเดีย

ที่ 3 Julia King จากอังกฤษ

รางวัล Next Generation วิสยั ทัศน์ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา การแข่งขันรางวัลโฮลซิมอวอร์ดสเล็งเห็น ความส�ำคัญของการรวมมืออาชีพแห่งอนาคตใน ด้านการก่อสร้างแบบยั่งยืนผ่าน “คนรุ่นใหม่” ซึ่ง ร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์และความคิดของนักศึกษา บัณฑิตศึกษา รางวัลที่ 1 เป็นของ August Liau จาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) สหรัฐอเมริกา เป็นโครงการทีส่ ง่ เสริมการ ใช้จกั รยานในการเดินทางใน Beijing ประเทศจีน

โครงการนี้สนับสนุนพลังงานที่เกิดจากการปั่น จักรยานเป็นพลังงานทางเลือกในการขนส่งใน เมือง และท�ำให้ร�ำลึกถึงศักยภาพเมืองหลวงที่มี การปั่นจักรยานดั้งเดิมของโลก รางวัลที่ 2 เป็น ของนักศึกษาอินเดีย Mishkat Ahmed จาก University of California, Berkeley สหรัฐอเมริกา เป็นแนวคิดในการวางผังเมืองที่ เน้นการอธิบายตามตัวบริบทไปสูก่ ารวางผังเมือง

ในระดั บ ใหญ่ เ พื่ อ การฟื ้ น ฟู แ ละพั ฒ นาเมื อ ง Navi Mumbai ทั้งนี้ Julia King จาก London Metropolitan University ประเทศอั งกฤษ ได้รับรางวัลที่ 3 ในด้านการวิจัยที่ดีที่น�ำไปสู่การ แก้ปัญหาเร่งด่วน โดยสร้างระบบสุขาภิบาลแบบ ไม่รวมศูนย์ ใน Savda Gehvra ชานเมืองที่อยู่ ห่ า งจากนิ ว เดลี ไ ปทางตะวั น ตกเป็ น ระยะทาง 30 กิโลเมตร

43


Good Design

Text & Photo : กองบรรณาธิการ

ค�ำ่ คืนแห่งความสุข @ สิงคโปร์ Holcim Awards Gala Dinner 2011 สุดปลื้ม – ผู้แทนจากประเทศไทยในนาม บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จ�ำกัด (มหาชน) น�ำ โดย คุณฟิลิป อาร์โต้ กรรมการผู้จัดการ (ที่ 2 จากซ้าย) และคุณจันทนา สุขมุ านนท์ รองประธาน บริหาร (การตลาดและการขาย) ของบริษทั ฯ (ที่ 4 จากซ้าย) ร่วมแสดงความยินดีกับทีมสถาปนิก ไทย น�ำโดยคุณอิศวเรศ ตโมนุท (ที่ 3 จากขวา) และ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต (ที่ 3 จากซ้าย) พร้อม ทีมงานคุณภาพทีไ่ ด้รบั รางวัลรองชนะเลิศโฮลซิม อวอร์ดส 2011 ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก พร้อมเงิน รางวัล 50,000 เหรียญสหรัฐ (1.55 ล้านบาท) ในโครงการ Urban Farm Urban Barn ซึ่งเป็น โครงการดัดแปลงโรงงานทอผ้าเดิมและบริเวณ ใกล้เคียง ทางฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็น แหล่งผลิตและขายปลีกพืชผลเกษตรกรรมใกล้ ใจกลางเมืองหลวง

อบอุ่นหรูหรา – บรรยากาศในงานเลี้ยงกาลาดินเนอร์มื้อพิเศษของมูลนิธิโฮลซิม สวิตเซอร์แลนด์ เพือ่ แสดงความขอบคุณคณะผูบ้ ริหาร แขกวีไอพีจากทัว่ โลก และสือ่ มวลชน ทีเ่ ข้าร่วมงานโฮลซิม อวอร์ดส 2011 ระดับภูมภิ าค พร้อมแสดงความยินดีกบั ผู้ ได้รบั รางวัล ออกแบบโครงการก่อสร้างเพื่อความยั่งยืนทั้ง 15 รางวัล ณ โรงแรม The Ritz – Carlton ประเทศสิงคโปร์ เมื่อคืนวันที่ 25 พ.ย. 2554 เชิดสิงโตฉลองชัย - เป็นธรรมเนียมของคนสิงคโปร์เชือ้ สายจีนทีเ่ ปิดงานต้อนรับ แขกจากมูลนิธโิ ฮลซิม สวิตเซอร์แลนด์ และผูแ้ ทนระดับสูง ด้วยการเชิดสิงโตให้พรทุกท่าน ได้รับแต่ความโชคดีมีชัยรับเทศกาลคริสต์มาส และปีใหม่ 2555 44

น้องเก่งจริงๆ – ศ.ดร.บัณฑิต จุลาสัย คณบดี คณะ สถาปัตย์ จุฬาฯ (ขวาสุด) คุณธีรานุช กรรณสูต คุณพิชัย วงศ์ ไวศยวรรณ สถาปนิกแห่ง A49 (1-2 จากซ้าย) ร่วมดื่ม ยินดีกบั น้องสถาปนิกคนรุน่ ใหม่ คุณอิศวเรศ ตโมนุท เจ้าของ โปรเจกต์รางวัลรองชนะเลิศ


ยินดี – คุณจันทนา สุขุมานนท์ รองประธานบริหาร (การตลาดและ

การขาย) บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง (ซ้ายสุด) และ ศ.ดร.บัณฑิต จุลาสัย คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมแสดง ความยินดีกับ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต สถาปนิกด้านสิ่งแวดล้อมชื่อดัง และคุณจริยาวดี เลขะวัฒนะ แห่งสถาปนิกคิดดี ที่ได้รับรางวัลร่วมกับทีม สถาปนิกคนรุน่ ใหม่ หน้าบอร์ดแสดงโครงการ Urban Farm Urban Barn

ซึ้ง – ชายสูงอายุ ผู้เชี่ยวชาญเครื่องดนตรีแบบโบราณคล้ายซอด้วง

บ้านเรา สีเพลงได้ ไพเราะจับใจมาก

เป็นเกียรติ - คุณจันทนา สุขมุ านนท์ รองประธาน

กลองสะบัดชัย – ทันทีที่ได้ยินเสียงตีกลองในงานเลี้ยง ทุกคนรู้สึก

หัวใจพองโต

ศิ ล ปะบนผื น ทราย

ตื่นตาตื่นใจมาก เมื่อมี ศิลปินสาวมาวาดรูปเป็น สัญลักษณ์ของประเทศ สิงคโปร์ การวาดของเธอ นัน้ ไม่ได้ ใช้หมึกหรือปากกา แต่ใช้วาดบนผืนทรายผ่าน จอโปรเจกเตอร์

บริหาร (การตลาดและการขาย) บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง ร่วมถ่ายภาพกับภรรยาคุณฟิลิป อาร์โต้ กรรมการ ผู้จัดการของบริษัทฯ ที่เดินทางมาร่วมในงานเลี้ยงด้วย

ร้องด้วยใจ

นักร้องเสียงดีชาวฟิลปิ ปินส์ ที่ได้รับเชิญมาร้องเพลง กล่อมแขกในงานในสไตล์ แจ๊ซด้วยใจ เสียงเธอนัน้ ช่าง แสนกังวาล

45


Cover Story

Text & Photo : กองบรรณาธิการ

ต้นคริสต์มาสตัง้ ตระหง่านใจกลางโรงแรม ห้องนอนน่านอน

46

เฟอร์นเิ จอร์เรียบง่าย


ทางเชือ่ มเข้าห้องอาหาร ดูมมี ติ ิ

The Ritz

สถาปัตยกรรมงดงาม

Carlton Experience มหัศจรรย์ทางสถาปัตยกรรมของสิงคโปร์กบั เส้นขอบ ฟ้าบนเกาะเล็กๆ แห่งนี้ เข้ามาทักทายพวกเราทันทีที่ เดินทางมาถึง The Ritz - Carlton, Millenia สิงคโปร์ เพือ่ ร่วมงานโฮลซิมอวอร์ดส 2011 ระดับเอเชียแปซิฟกิ ที่จัดโดยมูลนิธิโฮลซิม สวิตเซอร์แลนด์ และบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จ�ำกัด (มหาชน) เช่นเดียวกับ ผูบ้ ริหารระดับสูงและแขกวีไอพี ทัง้ นักวิชาการในวงการ ออกแบบและก่อสร้างจากทั่วโลก

นอนดูววิ ในอ่างน�ำ้ หรู จากห้องมองเห็นวิวกว้างไกล

ความงดงามของศิลปะสมัยใหม่ดเู ข้ากันดีกบั ทางโค้งถนนรถแล่นเข้าโรงแรมทีเ่ ปรียบเป็นประตู ด่านแรก ภายใต้โอเอซิสที่หรูหราในพื้นที่เกือบ 25% ของสถานที่พัก ในย่านศูนย์กลาง Marina Bay ที่เดินเล่นชมวิวธรรมชาติได้แบบบูรณาการ บนห้องพักทุกห้องจาก 608 ห้อง จะมองเห็น ทัศนียภาพอันงดงามทีห่ ลากหลายของเมืองทีม่ ชี วี ติ ชีวาที่สุดในโลกอีกแห่งหนึ่ง พวกเราสัมผัสได้ถึง ความรูส้ กึ ของนิยามใหม่ทสี่ ง่างามและอมตะ อัน เป็นแรงบันดาลใจของ The Ritz - Carlton แบบ ดั้งเดิมที่เน้นให้บริการระดับโลกทั้งที่อเมริกา, ปารีสและลอนดอน สิง่ อ�ำนวยความสะดวกและบันเทิงครบ มีทวี ี LED ติดผนังขนาด 46 นิ้ว, อินเทอร์เน็ตไร้สาย

ความเร็วสูง, ระบบแสงสว่างแบบ Dual, ห้องน�้ำ หินอ่อนที่มองเห็นวิวแบบพานอรามาและฝักบัว ขนาดยักษ์ที่ให้ความรู้สึก “เหมือนเราก�ำลังอาบ น�้ำฝน” การตกแต่งแบบร่วมสมัยบนห้องพักที่เน้นสี เอิรท์ โทนให้ความรูส้ กึ อบอุน่ โดยมีเทคโนโลยีและ ความอลังการของเมืองสิงคโปร์เป็นจุดขาย ซึง่ เป็น ประสบการณ์ทดี่ ที นี่ กั ธุรกิจจากทัว่ โลกต่างโหยหา หนึ่งคืนในสิงคโปร์ก่อนคริสต์มาสที่ The Ritz-Carlton, Millenia ได้ฝากรอยประทับใจ ไว้มากมาย แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เหมือนที่ นักออกแบบคนไทยได้ขึ้นเวทีคว้ารางวัลเหรียญ เงินเป็นครั้งแรกของประเทศไทยในงานโฮลซิม อวอร์ดส 2011 ช่างน่าประทับใจจริงๆ

47


Good Idea

Text & Photo : กองบรรณาธิการ

นวัตกรรมห้องพักเก็บเสียง

ทัศนียภาพของเมืองสิงคโปร์

ได้รบั ความสนใจจากคณะทัวร์มาก

ศูนย์วจิ ยั HDB

โครงสร้างบันไดในทีแ่ คบ

ลิฟต์อดั ลม ประหยัดพลังงาน

Sustainable Construction Tours HDB ศูนย์วจิ ยั วัสดุกอ่ สร้างอาคาร ทริ ป แรกหลั ง รู ้ ผ ลการชิ ง รางวั ล ชนะเลิ ศ โฮลซิมอวอร์ดส 2011 เอเชียแปซิฟกิ ทางเจ้าภาพ โฮลซิม สวิตเซอร์แลนด์ ได้พาคณะทัวร์ดูงานที่ แรก ณ ศูนย์วิจัยวัสดุก่อสร้างอาคารที่อยู่ภายใต้ การดูแลของคณะกรรมการที่อยู่อาศัยและการ พั ฒ นา (Housing Development Board Center of Building Research) หรือ HDB ของ สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เชี่ยวชาญในด้าน การออกแบบและก่ อสร้ างจากทั่ ว โลก รวมถึ ง ตัวแทนจากประเทศไทย ในนามบริษทั ปูนซีเมนต์ นครหลวง จ�ำกัด (มหาชน) น�ำโดยคุณจันทนา สุขุมานนท์ รองประธานบริหาร (การตลาดและ การขาย) และนั ก วิ ช าการ สถาปนิ ก วิ ศ วกร

48

นักธุรกิจเพื่อสังคม สื่อมวลชน ฯลฯ HDB ในสิงคโปร์ คล้ายกับการเคหะแห่งชาติ ในบ้านเรา ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1 ก.พ. 2503 ถือเป็น อาคารต้ น แบบด้ า นอนุ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ มที่ มี ชื่อเสียงในด้านความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนา การออกแบบ และการใช้งานได้จริงของวงการ ก่อสร้างโดยเป็นมิตรต่อธรรมชาติ เนื่องจาก สิงคโปร์เป็นประเทศที่อยู่กลางน�้ำ มีสภาพเป็น เกาะขนาดเล็กแต่ ใช้พื้นที่ก่อสร้างเต็มพื้นที่ ถึง ขั้นต้องถมทะเลสร้างเมืองเพื่อรองรับการขยาย ตัวของเศรษฐกิจ ทุกตารางนิ้วบนเกาะสิงคโปร์ จึงเต็มไปด้วยตึกสูงระฟ้าแน่นเอี้ยดเต็มไปหมด เมืองที่อัดแน่นไปด้วยสิ่งปลูกสร้าง ยิ่งต้อง คิดค้นนวัตกรรมก่อสร้างใหม่ๆ เพื่อตอบสนอง

ความต้องการของประเทศทีเ่ จริญด้วยอาคารในแนว ดิง่ สิงคโปร์จงึ ชัดเจนในนโยบายเรือ่ งความยัง่ ยืน โดยทุม่ ลงทุนด้าน R&D อย่างเป็นเรือ่ งเป็นราว ภายใต้นโยบายการสร้างที่อยู่อาศัยราคาไม่ แพงทีม่ คี ณ ุ ภาพและคุม้ ค่า, เน้นสร้างเมืองทีม่ สี สี นั สดใสและยั่งยืน, ส่งเสริมการสร้างของชุมชนที่มี คุณภาพและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ทกุ คน ฉะนัน้ วัสดุทุกชิ้นจะผ่านการคิดอย่างรอบคอบ เช่น ผนัง โครงเหล็ก ห้องพักเก็บเสียง ลิฟต์ที่ใช้พลังลม ที่ จอดรถลอยฟ้า การปลูกต้นไม้ ในแนวดิ่ง รวมถึง ประตู หน้าต่าง แม้แต่ราวตากผ้า เพื่อให้เหมาะกับ การใช้งานส�ำหรับห้องชุดและอพาร์ตเมนต์ขนาดเล็ก โดยเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน


ผูบ้ ริหารต่างสนใจฟังค�ำบรรยาย

เขือ่ นยักษ์ทเี่ ป็นหัวใจในการป้องกัน น�ำ้ ท่วมและน�ำ้ ขาดแคลน

แบบจ�ำลองเขือ่ น การตกแต่งทีเ่ น้นดีไซน์

พัฒนาเป็นแหล่งท่องเทีย่ วด้วย

ผังไฮเทคทีบ่ อกเรือ่ งราวโครงการพัฒนาเรือ่ งน�ำ้

Marina Barrage

ศูนย์บริหารจัดการน�ำ้ และแหล่งท่องเทีย่ ว สิ ง คโปร์ เ ป็ น ประเทศหนึ่ ง ที่ ก ล้ า ประกาศ ตั ว เองว่ า “พร้ อ มที่ จ ะเรี ย นรู ้ เ รื่ อ งการบริ ห าร จั ด การน�้ ำ และหวงแหนน�้ ำ เป็ น ที่ สุ ด ” โดยการ รณรงค์ ข องรั ฐ บาลให้ ป ระชาชนไม่ ทิ้ ง ขยะและ ปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรม เขื่ อ นมารี น าจึ ง เป็ น โครงการขนาดใหญ่ ที่ ตอกย�้ำว่าสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางด้านน�้ ำ โดย วางแผนและบูรณาการหมุนน�้ำรอบเมืองอย่าง ยั่งยืน โดยจัดการเก็บกักน�้ำธรรมชาติจากน�้ำฝน และน�้ำทะเลมาผันโดยผ่านเทคโนโลยีอย่างเป็น ระบบให้เป็นน�้ำกินน�้ำใช้ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็น โครงสร้างพืน้ ฐานทีป ่ ระเทศนี้ให้ความส�ำคัญมาก มู ล นิ ธิ โ ฮลซิ ม จั ด โปรแกรมดั ง กล่ า วไว้ ใน หมายงานและดูเหมือนจะสอดคล้องกับกระแส

โลก ยิ่งประเทศไทยเพิ่งผ่านภาวะภัยพิบัติจาก มหาอุทกภัยที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี ท�ำให้ คณะผู้บริหาร นักวิชาการ และแขกผู้มีเกียรติ ได้ เ ข้ า ใจแล้ ว ว่ า “มนุ ษ ย์ ส ามารถอยู ่ ร ่ ว มกั บ ธรรมชาติได้ หากเราเข้าใจและรูถ้ งึ วิธกี ารจัดการ ด้วยความเป็นมิตรต่อกัน” แต่กว่าสิงคโปร์จะชนะเรือ่ งการขาดแคลนน�ำ้ และแก้ปัญหามลพิษในแม่น�้ำ รัฐบาลต้องขับ เคลื่อนวิสัยทัศน์และลงทุนวิจัยอย่างหนักหน่วง ในเรื่องเทคโนโลยี โดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี ตั้งแต่สมัยรัฐบาลลีกวนยู ที่ส�ำคัญที่นี่ยังเป็นศูนย์กลางจัดการระบาย น�้ำและการควบคุมน�้ำท่วมด้วย หลักการง่ายๆ คื อ ใช้ วิ ธี ผั น น�้ ำ เข้ า -ออกโดยมี เ ขื่ อ นยั ก ษ์ เ ป็ น

แผงกั้ น และมี ร ะบบควบคุ ม เปิ ด -ปิ ด เขื่ อ นที่ มี ประสิ ท ธิ ภ าพพร้ อ มกั ก เก็ บ น�้ ำ ไว้ ใช้ ในยาม ขาดแคลน โดยเน้นการตรวจสอบและบันทึกการ ระบายน�้ำทุกระยะ เพื่อเฝ้าระวังป้องกันปัญหา น�้ำท่วม หากน�้ำทะเลหนุนหรือมีพายุพัดกระหน�่ำ นอกจากนี้ ภายในอาคารยังจัดเป็นพิพธิ ภัณฑ์ สิง่ แวดล้อมทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับเรือ่ งน�ำ ้ พร้อมส่งเสริม ให้เป็นแหล่งท่องเทีย่ ว ซึง่ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ทีโ่ ดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมแปลกใหม่นา่ ตืน่ เต้น โดยใช้ วั ส ดุ เ หลื อ ใช้ น� ำ เสนอแนวคิ ด เช่ น ขวด พลาสติก กระดาษหนังสือ น�้ำจากธรรมชาติ และ มุมจ�ำลองวิธีการท�ำงานของเขื่อนป้องกันน�้ำท่วม ที่เรียกความสนใจได้มาก

49


Good Idea

อาคารประหยัดพลังงานทีเ่ น้นความสดใส

คณะทัวร์จากประเทศไทยตัง้ ใจฟัง

อาคารชัน้ บนสุดรับลมดีมาก

การออกแบบมีลวดลายและสีสนั มาก

กรีนแอเรียกับอาคารสมัยใหม่

BCA แกลเลอรี Zero Building หลายคนตืน่ เต้น เมือ่ จะได้ ไปเยีย่ มชมอาคาร ประหยัดพลังงาน 100% หรือ Zero Energy Building แห่งแรกของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็น อาคารของหน่วยงาน BCA ( Building Construction Authority Gallery ) ภายใต้กระทรวงการ พัฒนาแห่งชาติ ด้วยโครงสร้างสถาปัตยกรรม โครงสร้าง พื้นฐาน และสภาพแวดล้อม นับว่าที่นี่เน้นความ ทันสมัย สดใสในแนวโมเดิร์น เน้นกิจกรรมสร้าง ชุมชนน่าอยู่ มีลานกีฬา มุมออกแบบเพือ่ คนพิการ

50

แสดงการใช้เทคโนโลยีล�้ำสมัย โดยใช้สีจัดจ้าน ในการตกแต่ง ในห้องฟังค�ำบรรยายจะมีนิทรรศการแสดง จุ ด ยื น และเรื่ อ งราวของแนวคิ ด การประหยั ด พลังงาน ผ่านสิ่งปลูกสร้างภายนอกและภายใน ตัวอาคาร ทั้งท�ำเลที่ตั้ง ทิศทางลม การใช้แผง โซล่าร์เซลล์ เผอิญว่าวันนั้น 25 พ.ย.ที่ผ่านมา เกิดฝนตก ท้องฟ้ามืดครึ้ม แสงในอาคารจึงดู สลัว ไม่เจิดจ้าเหมือนวันที่แดดสาดเปรี้ยง BCA แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย

การให้ ทั ก ษะเพื่ อ สร้ า งการเรี ย นรู ้ ในการเป็ น แบบอย่างในแนวพัฒนาสร้างสรรค์การอยู่อาศัย อย่างจริงจังและยัง่ ยืน ทีน่ จี่ งึ เปรียบเป็นแกลเลอรี ชีวิตจริงของการอยู่ร่วมกันในสังคม เน้นเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีหัวใจสีเขียวเป็นธงน�ำ สรุ ป การดู ง านรอบนี้ ใ ห้ ค วามรู ้ แ ละเข้ า ใจ ธรรมชาติมากขึ้น รู้ถึงวิธีคิดและวิธีการต่อสู้ของ มนุ ษ ย์ ที่ ต ้ อ งการเอาชนะธรรมชาติ ด ้ ว ยความ นุ่มนวลและลุ่มลึก ผ่านสิ่งก่อสร้างธรรมดาๆ โดย ไม่ท�ำลายทรัพยากรของโลกมากกว่าที่เป็นอยู่



Special Report

Text : พิจิตรา Photo : ธานี

อินทรีอาสา

ฟืน้ ฟูหลังน�ำ้ ลด รณรงค์เก็บขยะ ซ่อมแซมบ้านเรือน วัดบางเพลิง อ�ำเภอบางปะหัน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา เป็นอีกสถานทีห่ นึง่ ทีถ่ กู น�ำ้ ท่วมหนักสูงกว่า 4 เมตร และ นีค่ อื อีกหนึง่ ภารกิจส�ำคัญที่ “อินทรี อาสา”น�ำทีมโดย คุณจันทนา สุขมุ านนท์ รองประธานบริหาร (การตลาดและการ ขาย) บริษทั ปูนซีเมนต์นครหลวง จ�ำกัด (มหาชน) ลงพืน้ ทีใ่ ห้ความช่วยเหลือ ทั้งวัดและชุมชนในบริเวณใกล้เคียง เพราะคนไทยต้องไม่ทงิ้ กัน

คุณจันทนา สุขมุ านนท์

52

ทีมอินทรีอาสา ก�ำลังเทียบท่าเข้าวัดทีน่ ำ�้ ท่วมสูง


53


Special Report

จุดเทียนไหว้พระ

ในวัดน�ำ้ ท่วมสูงเกิน 4 เมตร น�ำ้ ดืม่ อินทรี

ช่วยกัน

นมบริจาค

ทยอยขนน�ำ้ ดืม่ จากเรือปูนอินทรี

54


พระสงฆ์ตอ้ ง โดยสารเรือตลอด อินทรีอาสามาแล้วครับ

พีแ่ มวแจกน�ำ้ ดืม่ แก่ผปู้ ระสบภัย

ส่งต่อ

เก็บขยะใส่ถงุ

ด้วยระดับน�้ำที่สูง ท�ำให้ทีมงานต้องวางแผน การเดินทางอย่างรอบคอบ โดยนัดเวลาล้อหมุน 6 โมงเช้าของวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554 ณ อาคารคอลัมน์ ส�ำนักงานใหญ่ปูนอินทรี เพราะ ต้องเผื่อเวลาส�ำหรับการโดยสารด้วยเรือยนต์ เป้ า หมายคื อ พวกเราตั้ ง ใจจะเข้ า ไปช่ ว ย บรรเทาทุกข์ของผู้คนกว่า 70 ชีวิตที่มีทั้งเด็ก ผู้หญิง และคนชรา จากปัญหาพืน้ ที่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังประสบกับมหาอุทกภัยครั้งใหญ่นับตั้งแต่ เดื อ นกั น ยายนเป็ น ต้ น มา ส่ ง ผลให้ ป ระชาชน เดือดร้อนถ้วนหน้า ไม่เว้นแม้แต่อาคารบ้านเรือน สัตว์เลี้ยง และวัดวาอาราม โบราณสถาน ความยากล�ำบากเข้าซ�้ำเติมอีก เมื่อวัดบาง เพลิงพื้นที่เป้าหมายนั้นเป็นสถานรับเลี้ยงเด็ก ก�ำพร้าอายุ 5-15 ปี ครั้นเกิดน�้ำท่วมใหญ่ ท�ำให้ เด็ก ๆ กว่า 60 ชีวิตต้องไร้ที่อยู่ และต้องอพยพ ออกจากพื้นที่ทันทีหลังมวลน�้ำบุกโจมตีไม่ทัน ตั้งตัว วัดเก่าแก่ โบสถ์วหิ ารอายุกว่า 200 ปี ต้องจม น�้ำอย่างน่าเสียดาย ความเสียหายไม่สามารถ ประเมินค่าได้ ซึง่ ทางเจ้าอาวาสวัดบางเพลิงได้นบั วันรอให้ระดับน�้ำลดลงเร็ว ๆ เพื่อเตรียมเข้ามา ส�ำรวจความเสียหายและเร่งฟืน้ ฟูซอ่ มแซมให้ทุก อย่างกลับมาเหมือนเดิมให้มากทีส่ ดุ จนเวลาผ่าน ไปร่วม 2 เดือน มวลน�ำ้ ก็ยงั ไม่ลดและหมดไปจาก วัด การสัญจรของผู้คนจึงล�ำบากมาก พระครูปลัดแฉล้ม ฐานวโร เจ้าอาวาสวัดบาง

เพลิง เล่าให้ฟังว่า หลังได้รับการแจ้งเตือนเมื่อ วันที่ 3 ตุลาคม 2554 ว่าจะมีมวลน�้ำขนาดใหญ่ เข้าท่วมพื้นที่อ�ำเภอบางปะหันภายใน 12 ชั่วโมง ยังไม่ทันได้เตรียมการทั้งย้ายสิ่งของและอพยพ น�้ำก็เข้าท่วมวัดแล้วอย่างรวดเร็ว ซึ่งวัดระดับน�้ำ ได้ 4 เมตรกว่า ขณะนั้นการพักอาศัยค่อนข้าง ทุลักทุเล เพราะพื้นศาลา เรือนนอน กุฏิ ต่างถูก น�ำ้ ท่วมถึงพืน้ ทัง้ หมด หลังจากนัน้ วันที่ 5 ตุลาคม ทางเจ้ า หน้ า ที่ ก ระทรวงการพั ฒ นาสั ง คมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ได้ประสานงานผ่านทีม ข่าวช่อง 3 มาช่วยอพยพเด็กๆ ให้กลับไปอยู่ ภูมิล�ำเนาเดิมชั่วคราวเพื่อความปลอดภัย ในวั น ที่ ที ม อิ น ทรี อ าสาไปถึ ง วั ด บางเพลิ ง ปริมาณน�้ำถือว่าลดลงบ้างแล้ว แต่ยังสูงอยู่ถึง 2 เมตรกว่า ขณะเดียวกันท่านเจ้าอาวาสประเมินว่า มวลน�ำ้ น่าจะลดระดับลงไปเรือ่ ย ๆ ไม่ปลายเดือน พฤศจิกายนก็คาบเกี่ยวเดือนธันวาคม 2554 “ท่านเจ้าอาวาสติดต่อโดยตรงมาที่พี่ว่าทาง วัดและชุมชนเดือดร้อน เพราะพีเ่ คยมาท�ำบุญทอด ผ้าป่า ณ วัดแห่งนี้ ศาลาใหญ่หน้าวัดก็สร้างจาก เงิ น ที่ บ ริ ษั ท ปู น ซี เ มนต์ น ครหลวงร่ ว มบริ จ าค มาให้ มูลค่ากว่า 1.4 ล้านบาท พอเดินทางมาถึง ครั้งแรกเห็นสภาพวัดแล้วก็รู้สึกว่าความเสียหาย ทีเ่ กิดกับวัดมีมากจริง ๆ จึงคิดและบอกต่อๆ กันว่า พวกเราอินทรีอาสา ต้องร่วมมือร่วมใจช่วยเหลือ เต็มที่” คุณจันทนา สุขุมานนท์ หรือ “พี่แมว” ของ น้อง ๆ ทีมอินทรีอาสา เล่าถึงการเข้ามาให้ความ ช่วยเหลือที่วัดบางเพลิง

55


Special Report

ทีมอินทรีอาสา กว่า 70 ชีวิตเดินทางมาที่ อ�ำเภอบางปะหันด้วยเรือยนต์ของบริษัทฯ ที่ร่วม บริจาคมา และเรือของกองทัพบกที่อ�ำนวยความ สะดวกให้อย่างดี กว่า 10 นาทีของการเดินทาง ท� ำ ให้ พ วกเรามองเห็ น สภาพพื้ น น�้ ำ ที่ ท ่ ว มมิ ด ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอาณาเขตที่กว้างใหญ่ราวกับ ทะเลสาบที่ถูกลืม แม้เวลาจะผ่านไปร่วม 2 เดือน แล้ว ระดับน�ำ้ ก็ลดลงเพียงครึง่ เดียว ขนาดต้นตาล ทีไ่ ด้ชอื่ ว่าเป็นต้นไม้ทมี่ คี วามสูงพิเศษ ระดับน�้ำยัง แทบจะท่วมไปถึงยอดตาล การฟื ้ น ฟู ชี วิ ต และจิ ต ใจของชาวชุ ม ชนวั ด บางเพลิงได้ถูกด�ำเนินไปด้วยพลังใจของ “อินทรี อาสา” ข้าวสาร อาหารแห้ง น�้ำดื่ม และถุงยังชีพ ถูกแจกจ่ายอย่างทั่วถึง โดยมีข้าวเหนียวหมูทอด เป็นอาหารกลางวันแสนอร่อย “พีแ่ มว” พร้อมทีมงานยังได้รว่ มท�ำบุญ ถวาย ภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุภายในวัด พร้อมมอบ ถุงยังชีพแก่ประชาชนย่านนัน้ รวมถึงผูป ้ ระสบภัย ที่ใช้อาคารเรียนชั้น 2 ของโรงเรียนวัดบางเพลิง (คงสกุลมากอุทิศ) เป็นศูนย์พักพิง ระหว่างการ เดิ น ทางด้ ว ยเรื อ พี่ แ มวยั ง ได้ น� ำ ของใช้ จ� ำ เป็ น น�้ำดื่ม และอาหารพร้อมรับประทานไปแจกถึงมือ ประชาชนตามหมูบ่ า้ นต่าง ๆ ทีอ่ ยู่ใกล้เคียงกับวัด บางเพลิงอีกด้วย นอกจากนี้ ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร บมจ. ปูนซีเมนต์นครหลวง ที่ต้องการปลูกฝังและสร้าง จิตส�ำนึกแก่ชมุ ชนด้วยการเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม ปัญหาอุทกภัยเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มนุษย์ต้องไม่ลืมและแก้ ไขที่ตัวเรา ปริมาณขยะจ�ำนวนมหาศาลที่ไหลบ่าลอยมา ตามน�ำ้ จึงถือเป็นอีกภารกิจหนึง่ ทีท่ กุ คนในชุมชน ต้องช่วยกันเก็บและก�ำจัด แม้เราจะไม่ ใช่ผู้ทิ้ง ก็ตาม โดยแนะและสอนให้เด็กๆ ในชุมชนเห็น คุณค่าของจิตส�ำนึกนี้ ด้วยการเก็บขยะที่มีทั้ง กล่องโฟม ขวด และถุงพลาสติก ฯลฯ มาแลก สิ่ ง ของที่ ที ม งานอิ น ทรี อ าสาจั ด เตรี ย มไว้ เช่ น ข้าวสาร นมกล่อง ฯลฯ ปรากฏว่าได้รบั การตอบรับ ดีเกินคาด และพวกเราขอให้เยาวชนบอกต่อใน การช่วยกันเก็บขยะอย่างต่อเนือ่ งแม้นำ�้ จะไม่ทว่ ม แล้วก็ตาม เพื่อสุขอนามัยของทุกคน อย่างไรก็ตาม “ทีมอินทรีอาสา” จะท�ำงานช่วย สังคมอย่างต่อเนื่อง เพราะเห็นแล้วว่า นับตั้งแต่ เกิดวิกฤตน�้ำท่วมครั้งใหญ่ ในประเทศไทย เริ่ม จากที่ จั ง หวั ด นครสวรรค์ ทางผู ้ บ ริ ห าร บมจ. ปูนซีเมนต์นครหลวงพบว่าปัญหาส่งผลกระทบ มากทุกส่วน ทัง้ คูค่ า้ พันธมิตร ชุมชน และพนักงาน ซึ่งนโยบายบริษัทฯ ตั้งใจช่วยเหลือเต็มที่ โดยเริม ่ ต้นช่วยเหลือคนใกล้ตวั ก่อน เช่น การ หาที่พักพิงให้คู่ค้า ให้พนักงานพร้อมครอบครัว เพือ่ ตัดความกังวลในเรือ่ งการอยูอ่ าศัยในเบือ้ งต้น

56

ชาวบ้านซึง้ ใจทีมอินทรีอาสา

ขอบคุณครับ

ยิม้ สู้

รับขนมมัย้ คะ

ขอบคุณค่ะ


แบ่งปันน�ำ้ ใจ ยายดีใจได้นำ�้ ดืม่

น�ำ้ ดืม่ เป็นทีต่ อ้ งการมาก

ความหวัง เอาขยะมาแลกของ

รอยยิม้ ประทับใจ

ทัง้ บริจาคของใช้จำ� เป็น และกระจายความช่วยเหลือ สู่ชุมชน เพื่อนบ้าน ตลอดจนชุมชนใกล้เคียง ซึ่ง เป็นเครือข่ายส�ำคัญที่ บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง และทีมอินทรีอาสา ตัง้ ใจจะเข้าช่วยเหลือให้ตรงจุด “เมื่อเราเข้าไปเห็นผู้ประสบภัย ต้องบอกว่า รู้สึกสงสาร หลายคนเป็นเกษตรกร ท�ำนา พอน�้ำ ท่วม นาก็ไม่เหลือ ส่วนเราเป็นพนักงานบริษัทฯ แม้นำ�้ จะท่วมบ้าน แต่เรายังมีงานมีเงินเดือน” คุณ จันทนากล่าว ที่ส�ำคัญ ทางบริษัทฯ ยังได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือ ตามจังหวัดต่าง ๆ เช่นทีจ่ งั หวัดพระนครศรีอยุธยา อยูท่ วี่ ดั โพธิป์ ระสิทธิ์ ต�ำบลบ้านนา อ�ำเภอมหาราช เพื่อกระจายความช่วยเหลือ โดยตั้งโรงครัวท�ำ อาหารส�ำหรับผู้ประสบภัย ทั้งแจกจ่ายในพื้นที่ และส่งไปยังจุดต่าง ๆ โดยเน้นให้ทั่วถึง “เรามี ศู น ย์ อ ยู ่ ใ นทุ ก จั ง หวั ด ที่ น�้ ำ ท่ ว ม ทั้ ง ปทุมธานี กรุงเทพฯ ฯลฯ นอกจากจะท�ำครัวแล้ว บริ ษั ท ฯ ยั ง ประสานในเรื่ อ งการจั ด รถรั บ ส่ ง ประชาชนเพือ่ อ�ำนวยความสะดวกในการเดินทาง ด้วย” แม้ภาวะน�ำ้ ท่วมจะผ่านไปแล้ว และหลายพืน้ ที่ น�้ ำ เริ่ ม ลดลง แต่ ที ม อิ น ทรี อ าสาจะยั ง ไม่ ห ยุ ด ความช่วยเหลือ จะขอเป็นหน่วยงานกลางที่เข้า ร่วมฟื้นฟูหลังน�้ำลด โดยร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือ แรงงาน น�ำช่างฝีมอื ไปอบรมช่างให้รจู้ กั เทคนิควิธี การซ่อมแซมบ้าน เพื่อให้ช่างที่ผ่านการอบรมไป ช่วยแนะน�ำประชาชนในการปรับปรุงซ่อมแซม บ้านอย่างถูกวิธี โดยเริม ่ ทีน่ ครสวรรค์เป็นจังหวัด แรก “ผู้เดือดร้อนยังคาดหวังให้เราท�ำโครงการ ช่วยเหลือต่อไป ในฐานะคนไทยเราต้องร่วมฝ่า วิกฤตนีไ้ ปด้วยกัน เพราะคนไทยรักและเอือ้ อาทร ต่อกันเสมอ” คุณจันทนาสรุปสุดท้าย

57




Happiness

Text & Photo : เปรี้ยวหวาน

ปาริชาติ ศิลปอาชา โยคะพลิกชีวิต วัน เดือน ปีเกิด ประวัติการศึกษา ประวัติการท�ำงาน ประวัติโยคะ เหตุที่ฝึกโยคะ

60

2 พฤศจิกายน 2510 ชื่อเล่น “ยุ้ย” ปริญญาตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท บริหารธุรกิจ (MBA) ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ เจริญโภคภัณฑ์ กรุ๊ป เริ่มฝึกโยคะเมื่อปี 2546 BIKRAM YOGA เป็นโยคะร้อน 26 ท่า ซึ่งพัฒนาโดย มร.บิครัม ชูดูรี (BIKRAM CHOUDHURY) เห็ น ผู ้ ที่ ฝ ึ ก โยคะมี เ ส้ น สายของร่ า งกายที่ ส วยงาม มี สุ ข ภาพที่ แ ข็ ง แรงดู เ ป็ น ศิ ล ปะอย่ า งหนึ่ ง จึ ง อยากฝึ ก ดู บ ้ า ง การพัฒนาเมื่อเริ่มฝึกโยคะร้อนได้ระยะหนึ่ง เห็นว่าร่างกายมีการพัฒนาในการฝึกอย่างรวดเร็ว จึงเกิดก�ำลังใจที่จะศึกษา ให้รู้ลึกยิ่งขึ้น ทั้งจากครูผู้ฝึกสอน และเพื่อนที่มีประสบการณ์ ในการฝึกมากกว่า จึงได้ก้าวไปฝึกโยคะกับสตูดิโอแห่งอื่น เพื่อต่อยอดความรู้ออกไปให้มากยิ่งขึ้น


กองบรรณาธิการ

ศาสตร์นวดมือ

1

ศาสตรการนวดกดจุดสะทอน

ศาสตร์การนวดกดจุดสะท้อน

5

2

3

6

7

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

4

8

Head – ศีรษะ Lung – ปอด Shoulder – บา

Thyroid – ตอมไทรอยด

น�ำ้ ท่วมนัน้ แสนเหนือ่ ยใจ แต่หลังน�ำ้ ลดแล้วแสน เหนืลําอ่ ไสเยกายอย่ างบอกไม่ถกู กระเพาะป ดูทสา่ สาวะจะจริง เพราะการ ล็ก มาเก็ ม บท�ำความสะอาดบ้านหลั กระดูง กสัน� นหลั้ำง ลด ถือเป็น “งาน ก รังไข /ต อัณอาสามาช่ ฑะ ใหญ่ต”อมลูทีกหมาก เ่ จ้า/ มดลู ของบ้ านต่างต้องการจิ วยกัน ลําไสใหญสวนที่ตอกับลําไสใหญสวนทาย สะโพก เก็บ ขน ขัด ถู และกวาดล้างโคลนทีไ่ หลมาตามน�้ำ สองมือจึงต้องอ่อนแรงเป็นธรรมดา! ว่าแล้ววันนี้จึงชวนมาท�ำความรู้จักเรื่องบีบๆ นวดๆ เผื่ออาการอ่อนล้าจะได้หายไป การนวดเป็นศาสตร์บ�ำบัดขนานแท้และเป็น วิธีที่เก่าแก่ที่สุดของไทย เป็นวิธีการของโลก ตะวันออกโบราณที่ได้รับการยอมรับว่า “ช่วย ฟื้นฟูร่างกายได้ดีที่สุด” นอกจากจะช่วยผ่อนคลายแล้ว ยังเรียก ก�ำลังวังชากลับคืนมาได้ โดยใช้เวลาไม่มากนัก อาการอ่อนเพลียอาจจะหายเป็นปลิดทิ้งก็ได้ ยิ่งคนท�ำงานหนักหรือใช้สมองมาก ศาสตร์ การนวดบ�ำบัดสามารถช่วยได้ โดยไม่ต้องพึ่งยา ปฏิชีวนะ กล่าวกันว่า ศาสตร์การนวดกดจุดสะท้อนเป็น

Stomach – กระเพาะอาหาร Pancreas – ตับออน

Kidney – ไต Large intestine – ลําไสใหญ Small intestine – Spleen –

Uterus / Prostate – Sigmoid Colon –

Bladder –

Spine –

Ovary / Testis – Hip –

ศาสตร์ที่ถือก�ำเนิดมาอย่างยาวนาน ในยุคสมัยที่ คนไทยเริ่มตื่นตัวดูแลเรื่องสุขภาพ โดยหันมาพึ่ง วิธีการรักษาแบบโบราณมากขึ้น เช่น การใช้ยา สมุนไพร การฝังเข็ม การประคบสมุนไพร นวด ไทย นวดกดจุดสะท้อน ฯลฯ เพราะท�ำหรือใช้แล้ว ได้ผล ยิง่ พบว่า การบีบนวดช่วยให้รา่ งกายและจิตใจ กระปรี้กระเปร่า ผ่อนคลาย หายเมื่อยล้า หาย ตึงเครียดแล้ว ยังมีผลท�ำให้ธรุ กิจรับนวดขยายตัว รวดเร็ว เพราะผู้ ใช้บริการรูซ้ งึ้ แล้วว่าการนวดตาม จุดส�ำคัญๆ กลายเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่สามารถ เอาชนะโรคภัยได้ดว้ ยการบีบนวดจากฝ่ามือมนุษย์ นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ ใจยิ่งนัก ซึง่ ศาสตร์การนวดกดจุดสะท้อนนัน้ ล้วนมีผล ไปสูร่ า่ งกายและอวัยวะภายใน เช่น Head – ศีรษะ Lung – ปอด Shoulder – บ่า Thyroid – ต่อม ไทรอยด์ Stomach – กระเพาะอาหาร Pancreas – ตับอ่อน Kidney – ไต Large Intestine – ล�ำไส้ ใหญ่ Small Intestine – ล�ำไส้เล็ก Bladder – กระเพาะ

หนึ่งในโยคะสตูดิโอเหล่านั้น คือ YOGA ELEMENTS STUDIO ซึ่งสอนโดย ADRIAN COX ส�ำหรับตัวเอง ADRIAN ถือได้ว่าเป็น ครูที่ดีที่สุดคนหนึ่ง ยุ้ยได้เรียน YOGA TEACHER TRAINING กับ ADRIAN ที่นี่ จนได้รับประกาศนียบัตรครูโยคะจาก YOGA ALLIANCE OF AMERICA ซึ่งเป็นสถาบันครูโยคะที่เป็นที่ยอมรับ ทั่วโลก

ประวัติการสอนโยคะ

- เริ่มสอนโยคะเมื่อปี 2548 จนถึงปัจจุบัน กับโยคะสตูดิโอ หลายแห่ง รวมถึง PRIVATE CLASS สอนโยคะเพื่อเป็นสันทนาการ ส�ำหรับการสัมมนาผู้บริหาร สอนโยคะในลักษณะการท�ำ WORK SHOP ร่วมกับเครื่องส�ำอางแบรนด์ต่างๆ - สามารถสอนได้ทงั้ โยคะร้อน และโยคะธรรมดา ตัง้ แต่ระดับ ง่ายส�ำหรับผูเ้ ริม่ ฝึกและผูส้ งู วัยทีต่ อ้ งการออกก�ำลังกายทีไ่ ม่หนักเกิน ไป จนไปถึงการฝึกโยคะในระดับที่ยากขึ้นไป - แนวการสอนได้ทั้งวินยาสะ (VINYASA) และอัษฎางคโยคะ (ASHIANGA YOGA)

ปัสสาวะ Spleen – ม้าม Spine – กระดูกสันหลัง Uterus / Prostate – ต่อมลูกหมาก / มดลูก Ovary / Testis – รังไข่ / อัณฑะ Sigmoid Colon – ล�ำไส้ ใหญ่ส่วนที่ต่อกับล�ำไส้ ใหญ่ส่วน ท้าย Hip – สะโพก เป็นต้น ตัวอย่างการบีบนวดมือด้วยมือ Caterpilla ขั้นตอนแรกของการนวดกดจุด ท�ำให้เลือดลม เดินได้ดี Head Reflex สามารถช่วยบรรเทาอาการ ปวดศีรษะเสมือนการนวดขมับ Pituitary Reflex นวดเพือ่ ปรับสมดุลของการหลัง่ ฮอร์โมนในร่างกาย Occipital Bone Reflex นวดบรรเทาอาการ ปวดคอและท้ายทอย Upper Spine นวดกดจุด บรรเทาอาการปวดหลังส่วนบน Lower Back Reflex นวดกดจุดบรรเทาอาการเมือ่ ยและปวดหลัง ส่วนล่าง และ Shoulder Reflex บรรเทาอาการ ปวดเมื่อยไหล่ มีเวลาลองบีบนวดกันดู ตามภาพที่แสดงให้ เห็น อย่างน้อยก็ช่วยให้ลืมเรื่องภัยน�้ำท่วมที่ผ่าน มาได้ ไม่มากก็น้อย

เพิ่มเติมส�ำหรับโยคะร้อน

ปี 2547 ได้อันดับที่ 2 ในการเข้าร่วมการแข่งขันโยคะอาสนะ ภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิกที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และท�ำให้มีโอกาสได้เข้าร่วมการ แข่งขันระดับโลกในปี 2548 ทีล่ อสแองเจลิส และสิง่ นีถ้ อื เป็นปัจจัยส�ำคัญทีเ่ ป็นแรง ผลักดันให้เกิดก�ำลังใจในการที่จะก้าวไปในเส้นทางสายโยคะให้ ไกลที่สุด เกือบ 8 ปีเต็มในเส้นทางสายโยคะ ได้สงั่ สมประสบการณ์ ในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะการสอน ENLIGHTEN YOGA จึงถือก�ำเนิดขึ้น

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

สุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพใจดีขึ้นเรื่อยๆ เหมือนพลิกชีวิตตัวเองไปในทาง สร้างสรรค์ คลายความวิตกกังวลและไม่เครียดง่าย การเล่นโยคะกับการท�ำสมาธิ ถือเป็นเรื่องเดียวกัน ทุกท่วงท่าของการฝึกต้องสัมพันธ์กับลมหายใจเข้าและออก เมื่อจิตใจเราก�ำหนดอยู่ที่ลมหายใจ ก็ท�ำให้จิตเราเกิดสมาธิ เมื่อใจเรานิ่ง เรามีสมาธิ จิตมีการจดจ่ออยู่กับลมหายใจ ตรงนี้ก็สามารถเกิด เป็นสมาธิขึ้นในใจ จิตก็สงบ ทุกวันนี้พบสัจธรรมชีวิต ทุกอย่างไม่มีอะไรถาวร เมื่อเรามีชีวิตอยู่ ต้องท�ำ วันนี้ให้ดที สี่ ดุ อะไรทีแ่ น่นอนก็คอื ความไม่แน่นอน ชีวติ เราเปลีย่ นแปลงได้ทกุ วินาที

61


Shopping

Text & Photo : ตุ๊กตุ๊ก

เติมความสนุก ลาย POLKADOT จาก ZeenZone ไม่ว่ายุคสมัยใด กราฟิกลายจุดยังคงนิยมอยู่ในหมู่แฟชั่นเสื้อผ้าที่สาวๆ สามารถ หยิบมาสวมใส่ได้อย่างไม่ตกเทรนด์ แต่แท้จริงแฟชั่นลายจุดได้ขยายวงกว้างไปสู่ สินค้าสิ่งละอันพันละน้อย ที่ท�ำให้ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ดูน่าหยิบจับใช้สอย ไม่ว่า จะเป็นร่ม กระบอกน�้ำต่างขนาด สมุดจดบันทึก กล่องดินสอ กระเป๋า ฯลฯ เป็นการ เติมสีสันให้ชีวิตประจ�ำวันดูสนุกสนาน โดนใจวัยรุ่นมากยิ่งขึ้น เริ่มสนุกได้แล้ววันนี้ ที่แผนก ZeenZone ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ชิดลม, บางนา, ปิ่นเกล้า, พระราม 3, สีลม, แจ้งวัฒนะ, รังสิต และภูเก็ต เพื่อรับขวัญเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง ส่งท้ายปี 2554 สู่ปี 2555 ค่ะ •• ถาดใส่ของลายจุด 350 บาท

•• อัลบั้มรูปสีขาว ลายจุดหลากสี 195 บาท •• ตุ๊กตาน้องกระต่ายลายจุด 120 บาท

62


•• หมูออมสินลายจุด 195 บาท

•• กระเป๋าสะพายสีชมพู ลายจุดขาว 350 บาท

•• กระเป๋าเดินทางลายจุด สอบถามราคาที่ร้าน

•• กรอบรูปสีชมพูลายจุดขาว 195 บาท •• กล่องผ้าสีชมพูลายจุด 275 บาท

63


Book Alert

64

Text & Photo : จิรัฏฐ์ สิริเฉลิมพงศ์


ห้องสมุดสุดปลายจมูก ตอนที่ 5: การ์ตูนสุดปลายจมูก ปั้นฝันผู้ให้ ปันฝันผู้รับ “Do what you feel in your heart to be right - for you’ll be criticized anyway. You’ll be damned if you do, and damned if you don’t. ” Eleanor Roosevelt “จงท�ำในเมือ่ ส�ำนึกบอกว่าถูกต้อง เพราะยังไงคุณก็ถกู วิพากษ์วจิ ารณ์อยูด่ ี ไม่วา่ จะ ท�ำหรือไม่ก็ตาม” เอเลียนอร์ รูสเวลต์ ผมอาจจะโชคดี ในช่วงที่ผมคิด (ในใจ) ว่า ท�ำไมไม่ท�ำหนังสือการ์ตูนสักเล่ม เพื่อแจกจ่าย ไปตามโรงเรียนต่างๆ ชนิดพิมพ์ทีเดียวส่งไปได้ ทั่วทุกจังหวัด ช่วงนั้นผมได้อ่านเจอประโยคเท่ๆ ของภริยาอดีตประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ แล้ว และผมก็ได้จดไว้ ใน ‘สมุดบันทึกของผม’ สมุดบันทึกที่เต็มไปด้วยประโยคทีย่ งิ่ ใหญ่เหล่านี้ มากมาย ส่วนประโยคข้างต้นนัน้ ผมลงไว้วา่ บันทึก เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2010 เพราะ ณ วูบหนึ่งของ ห้วงความคิดมันก็มีบ้างที่จะคิดว่า “เอ็งเป็นใคร อยูด่ ๆ ี มาชวนคนอืน่ ลงเงินท�ำหนังสือการ์ตนู แจก เงินเป็นแสนนะเว้ย แล้วยังจะไปขอให้คนทีไ่ ม่รจู้ กั หน้าค่าตามาวาดการ์ตนู ให้ฟรีๆ เสียอีกนี่ มันจะเป็น ไปได้ ไง” แต่นนั่ แหละครับ ผมโชคดีทนี่ อกจากจะได้ อ่านประโยคนั้นแล้ว ผมยังมีเพื่อนอีกคนหนึ่งที่ เอาด้วยกับโครงการนี้มาตลอด เป็นการเอาด้วย แบบไม่เคยตัง้ ค�ำถาม เอาไงเอากัน อ้อ ค�ำถามเดียว ทีอ่ าจจะมีคอื “จะให้เราช่วยอะไร บอกมา” เพือ่ นที่ ท�ำงานด้วยกันทีป่ นู อินทรีนแี่ หละครับ เพือ่ นคนนัน้ ก็คอื คุณจิบ๊ สิรกิ าญจน์ และอีกคนคือ ว่าทีภ ่ รรยา ผมเองครับ ที่เธอมักจะมีเซอร์ ไพรส์มาเรื่อยๆ ในสิ่งที่ผมไม่คาดมาก่อน เช่น หนูรู้จักคนท�ำ อาร์ตเวิรก์ เขาอาจจะท�ำให้ถกู ๆ หรือ หนูรจู้ กั โรงพิมพ์

ใจดี งานอย่างนีท้ �ำให้แน่ๆ เป็นต้น แล้วก็นนั่ แหละ ครับ ในที่สุดโครงการ ‘ห้องสมุดสุดปลายจมูก’ ก็มีหนังสือเป็นของตัวเองสักที ‘การ์ตูนสุดปลาย จมูก’ คือหนังสือเล่มนั้น หนังสือที่สร้างจากความ เชือ่ ในการให้ของคนกลุม่ เล็กๆ กลุม่ หนึง่ คนกลุม่ เล็กๆ ที่ไม่มัวแต่ตั้งค�ำถาม แต่ท�ำเลย เงินจ�ำนวน 108,000 บาท ส�ำหรับการผลิตการ์ตูนขาว-ด�ำ ความหนา 250 หน้า จ�ำนวน 2,000 เล่มมันเป็นไป ไม่ได้หรอกครับ ถ้าหากไม่ได้กลุ่มนักวาดฝีมือดี และหัวใจดีกลุม ่ หนึง่ ทีร่ จู้ กั ผ่านสายโยงใยในห้วง อวกาศชื่อ World Wide Web บวกเข้ากับส�ำนัก พิมพ์ ใจดีที่ร่วมสนุกกับเรา ส�ำนักพิมพ์ที่คิดค่า จ้างพิมพ์ถูกซะขนาดนั้น แถมจัดอาร์ตเวิร์กโดย ไม่คิดค่าบริการ หนังสือมันจึงถูกผลักดันออกมา ได้ หนังสือทีเ่ กิดจากจิตใต้ส�ำนึกทีบ่ อกว่าถูกต้อง เพราะยังไงก็ยอมรับว่าต้องถูกวิพากษ์วจิ ารณ์อยูด่ ี ไม่ว่าจะท�ำหรือไม่ก็ตาม สิง่ ทีผ่ มได้เรียนรูจ้ ากการท�ำหนังสือเล่มนี้ ก็คอื ‘การให้ การแบ่งปัน’ ยังอยู่ ในสายเลือดคนไทย ยังมีคนกลุม่ หนึง่ ทีพ ่ ร้อมจะแบ่งปันคนละนิดคนละ หน่อย โดยไม่ได้ตอ้ งการอะไรตอบแทนมากไปกว่า ความรูส้ กึ ดีทไี่ ด้เรียนรูก้ ารเป็นผู้ ให้บา้ ง เป็นกลุม่ คน ทีเ่ ชือ่ ว่า ‘รอยยิม้ ของเด็ก’ มีคณ ุ ค่ามากกว่าสายตา

ทีเ่ ห็น การเป็นผู้ ให้แบบไม่ได้อะไรตอบแทน เพราะ เราให้ผทู้ ดี่ อ้ ยกว่า และเป็นผูด้ อ้ ยกว่าทีเ่ ราไม่รจู้ กั เสียด้วยสิ นอกจากนัน้ หนังสือเล่มนีก้ ไ็ ด้ท�ำให้คน ที่เป็น ‘ผู้ ให้’ เป็น ‘ผู้ ได้รับโอกาส’ ไปด้วย ไม่ว่าจะ รูต้ วั หรือไม่กต็ าม เพราะในตอนนัน้ ผมคิดว่าเหล่า นักวาดพวกนี้เขาก็จะได้มีเวทีให้แสดงฝีมือ แล้ว ใครจะรู้ว่าประตูของใครจะเปิดออก มันอาจจะ ฟังดูล่องลอย ณ ตอนนั้น แต่ถ้าคุณยังไม่รู้ผมจะ บอกให้วา่ มีนอ้ งคนหนึง่ ได้โอกาสได้รบั งานทีเ่ ป็น อาชีพแล้วครับ เขาได้ออกหนังสือของตัวเอง แม้ โครงการนี้จะไม่ใช่แรงผลักดันตรงๆ แต่น้องเขา เขียนมาขอบคุณว่า “เพราะหนังสือเล่มนี้แหละที่ ท�ำให้เขาเกิดความเชื่อมั่น หนังสือเล่มนี้แหละที่ สอนให้เขารูจ้ กั ให้และรูส้ กึ ดีกบั ตัวเองและสิง่ รอบ ข้างมากขึ้น” และเมื่อเป็นเช่นนั้น พอโอกาสมาถึง เขาก็ไม่ได้ต้องท�ำอะไรมากไปกว่า แค่ท�ำสิ่งที่เขา ชอบ เรื่องมันก็ง่ายๆ เพียงเท่านี้เองครับ ในล็อตที่ 1 ‘หนังสือการ์ตูนสุดปลายจมูก’ จะ ถูกส่งออกไปยังโรงเรียนต่างๆ โรงเรียนละ 2 เล่ม จ�ำนวน 656 โรงเรียนทัว่ ทุกจังหวัดในประเทศไทย โดยวิธที เี่ ราเลือกคือเราดึงฐานข้อมูลโรงเรียนจาก คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่ง มีถึงสามหมื่นกว่าโรงเรียน เราใช้วิธีเลือกโดย

65


มุ่งไปที่โรงเรียนระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่ม เป้าหมายของการ์ตูนเล่มนี้ และเลือกขนาด โรงเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 300 คน และต้อง ครอบคลุมทุกจังหวัด ดังนั้นตัวเลขเลยออกมา แปลกๆ ที่ 656 โรงเรียนนัน่ เอง และเมือ่ บรรยากาศ เป็นใจ เย็นวันหนึ่งคนสิบกว่าคนในออฟฟิศ ปูนอินทรีกม็ านัง่ ล้อมเป็นสายการผลิตจัดหนังสือ ลงซอง เมื่ อ ทุ กคนท� ำด้ วยความสุ ข มั นก็ เร็ ว ในเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงก็เรียบร้อย แต่ที่เรา ยังไม่ส่งหนังสือออกไปสู่มือน้องๆ (ในวันที่เขียน ต้นฉบับนี้) เพราะเราต้องการส่งออกไปในตอน ที่น�้ำลดแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย กับหนังสือและคงดีไม่น้อยที่เมื่อถึงเวลาที่น้องๆ กลับไปเรียนหนังสือแล้วในห้องสมุดจะมีหนังสือ ดีๆ อย่างน้อยอีก 2 เล่ม เพิ่มเข้าไปในตู้ห้องสมุด ให้น้องได้เลือกอ่าน ในการส่งไปรษณีย์ ค่าส่งอยู่ที่ประมาณ 25 บาทต่อซองน�้ำหนักการ์ตูน 2 เล่ม หรือเป็นเงิน 16,400 บาท (ส่งแบบธรรมดา) ส�ำหรับล็อตแรก ซึง่ เงินทัง้ หมดเรามีพอแล้วครับ แต่เรือ่ งราวมันจะ ไม่ได้จบแค่เพียงหนังสือไปถึงมือน้องๆ เพราะเรา ได้แนบกระดาษเขียนจดหมายไว้ ให้นอ้ งเขียนเล่า เรื่องราวของเขากลับมาที่เรา โดยเราได้สอดซอง ติดแสตมป์ไปพร้อมกันด้วยแล้ว น้องๆ แค่เขียน จดหมายสอดใส่ซองและส่งลงตู้ ได้เลย และเมื่อ มันกลับมาถึงผม พวกเราจะได้มาแบ่งปันกันดูที่ fan page: www.facebook.com/LibraryAt YourNoseTip ซึง่ ก็เป็นผลพลอยได้ 2 ทาง คือ เรา ได้รอยยิม้ น้องได้ฝกึ ฝนการเล่าเรือ่ งและการเขียน เพราะผมเชือ่ เหลือเกินว่าการเล่าเรือ่ งให้คนรูเ้ รือ่ ง ได้ง่ายๆ เป็นหนึ่งในปัจจัยสู่ความส�ำเร็จ หนังสือ อีกส่วนหนึ่งผมจะแบ่งไว้ขายในราคา 200 บาท ซึ่งนั่นหมายความว่า คุณได้ ไป 1 เล่ม ส่วนอีก 1 เล่ม จะบริจาคในนามคุณไปที่โรงเรียนที่คุณ ต้องการโดยผมจะท�ำการส่งให้ แต่หากคุณไม่มี ชื่อโรงเรียนให้ ผมก็จะส่งไปตามต่างจังหวัดเอง

66

เงินที่ได้มาจากการขายมันจะกลายเป็นกองทุน ส�ำหรับท�ำเล่มต่อไป แต่ถา้ ขายไม่ได้มนั จะเป็นไรไป เพราะอย่างไรเราก็มาถึงจุดหมายขัน้ หนึง่ แล้ว (แต่ ผมขายไปได้หลายเล่มแล้วนะครับ มีเงินตุนใน กองทุนหลายตังค์ทีเดียวครับ) ส�ำหรับหนังสือทั่วไปในโครงการ ‘ห้องสมุด สุดปลายจมูก’ ทีเ่ ราส่งไปตามโรงเรียนต่างๆ ตอน นี้ได้ ไปถึงโรงเรียนบ้านป่าครองชีพ จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดที่ 32 แล้ว ในส่วนจังหวัดที่ 33 และ 34 ได้ถูกปักหมุดเอาไว้แล้ว คือจะไปที่ศรีสะเกษ และยะลา ไม่ได้มเี หตุผลอะไรพิเศษ ก็เพียงแค่เป็น จังหวัดทีเ่ ราไม่เคยไปและมีผอู้ าสาจะน�ำไป 2 จังหวัด นี้ให้ เขาเอาหนังสือกลับบ้านเกิด สงสัยต้องตั้ง ‘โครงการพาหนังสือกลับบ้าน’ เป็นโครงการน้อง ชายของ ‘ห้องสมุดสุดปลายจมูก’ ซะแล้ว และใน ส่วนของหนังสือภาษาอังกฤษ ทัง้ หนังสืออ่านเล่น และหนังสืออ่านจริงๆ จังๆ เราก�ำลังจะส่งไปตาม ห้องสมุดในเรือนจ�ำ เพื่อให้นักโทษชาวต่างชาติ

ที่ อ ยู ่ ใ นเรื อ นจ� ำ ได้ มี โ อกาสผ่ อ นคลายจาก การอ่านบ้าง เพราะการทีถ่ กู จองจ�ำก็นา่ จะทรมาน พอแล้ว ยิง่ อยูห่ า่ งไกลบ้านเกิดก็คงไม่มญ ี าติพนี่ อ้ ง แวะมาเยี่ยมเยียน และการพูดคุยกับใครต่อใครก็ คงได้ ไม่มากนัก ความเครียดคงสูงทีเดียว ดังนั้น การได้อา่ นอะไรทีเ่ ป็นภาษาคุน้ เคย ทีเ่ ป็นภาษาถิน่ ก็คงเหมือนการได้พูดคุยกับคนรู้จักและน่าจะลด ความเครียดลงได้บ้าง และเราอาจจะมีความหวัง เล็กๆ ว่า อย่างน้อยสิ่งที่อยู่ในหนังสือ การอ่าน หนังสือ อาจจะได้ขัดเกลาจิตใจเขาให้ห่างออก จากเรื่องราวที่ผ่านมาในชีวิตและสร้างตัวตนใหม่ ที่ดีกว่าเดิมขึ้นมา เล่มหน้าจะเป็นตอนสุดท้ายของ ‘ห้องสมุดสุด ปลายจมูก’ ผมจะมาเล่าให้ฟงั ว่าจริงๆ ผมอยากท�ำ อะไรเล่นสนุกๆ อีกหลายอย่างทีเดียว ผมอาจจะ ไม่มีโอกาสได้ท�ำ แต่เผื่อใครอ่านแล้วอยากเอา ไปท�ำก็ยินดีอย่างยิ่ง และถ้าจะชวนผมไปท�ำด้วย … กลัวที่ไหนล่ะครับ



กฎหมายคู่บ้าน

Text : วรางคนา เจริญเอี่ยม

บ้าน คือ วิมานของเรา .... ปี 2554 เป็นปีที่ “บ้าน” ของพวกเราทุกคนถูก น�้ำท่วมหนัก ถึงแม้น�้ำจะมาประชิด จะโอบล้อมไว้ หรือว่าจะท่วมมิดบ้าน เราก็ยงั ไม่อยากจะจากบ้าน ไปไหน นัน่ เพราะบ้านคือวิมานของเรา จะทุกข์จะสุข จะล�ำบากเหนือ่ ยกายเหนือ่ ยใจป้องบ้านให้พน้ จาก น�้ำอย่างไม่ท้อถอย จะเอาอยู่หรือไม่จะขอสู้เต็มที่ เพือ่ ให้ “บ้าน” ทีเ่ ราเรียกว่า “ประเทศไทย” ของเรา เป็นวิมานที่สวยงามอย่างยั่งยืน บ้านที่ถูกน�้ำท�ำร้ายให้เสียหายทั้งตัวบ้านและ ทรัพย์สินในบ้าน ใครรับผิดชอบ? กรณีที่อยู่อาศัยเกิดความเสียหาย ท่านควร แจ้งบริษทั ประกันภัยทราบในทันทีเท่าทีส่ ามารถจะ กระท�ำได้ หรือหากไม่สามารถแจ้งบริษทั ประกันภัย ได้ทันทีที่เกิดเหตุ ให้ถ่ายรูปความเสียหายไว้โดย กล้องถ่ายรูปหรือโทรศัพท์มอื ถือ เก็บไว้เป็นหลักฐาน และแจ้งการเกิดเหตุไปยังบริษัทประกันภัยภาย หลังโดยเร็วที่สุดเท่าที่สามารถจะท�ำได้ ทั้งนี้การ ขอเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต้องขึ้นอยู่กับภัย ที่กรมธรรม์ ให้ความคุม ้ ครองและเงือ่ นไข รวมทัง้ ขอบเขตความคุม้ ครองของบริษทั ประกันภัยแต่ละ บริษัทด้วย หากท่านไม่แน่ใจว่าท่านได้ท�ำประกัน ภัยทีอ่ ยูอ่ าศัยไว้หรือไม่ หรือท�ำไว้กบั บริษทั ประกัน ภัยแห่งใด ท่านสามารถติดต่อทีส่ มาคมประกันภัย

68

0-2256-6032-6 ทางสมาคมฯ จะท�ำการประสาน หาข้อมูลประกันภัยให้ท่าน กรณีที่ท�ำประกันอัคคีภัยและมีเอกสารแนบ ท้ายคุม ้ ครองภัยน�ำ้ ท่วม แสดงว่ามีความคุม ้ ครอง ความเสี ย หายของตั ว บ้ านที่ ท� ำ ประกั น ภั ย ไว้ ซึ่งต้องดูว่าเงื่อนไขรายการทรัพย์สินที่เอาประกัน ภัยระบุครอบคลุมถึงอะไรบ้าง อาทิ สิ่งปลูกสร้าง ตัวอาคาร รวมเฟอร์นเิ จอร์หรือไม่ (แต่ไม่คมุ้ ครอง ทรัพย์สินมีค่าหรือพวกเงินทอง ฯลฯ) โดยเงื่อนไข ความคุ้มครองอาจจะแยกมูลค่าทุนประกันภัย ของสิ่งปลูกสร้างตัวอาคาร กับเฟอร์นิเจอร์ ออกจากกัน ส่วนการซ่อมแซมทีอ่ ยูอ่ าศัยภายหลังเหตุการณ์ น�้ำท่วม เมื่อได้ส�ำรวจรายการทรัพย์สินที่ได้รับ ความเสียหายเรียบร้อยแล้ว เจ้าของบ้านสามารถ หาบริษัทผู้รับเหมาเพื่อท�ำการประเมินราคาค่า ซ่อมแซมและน�ำเสนอบริษทั ประกันภัยให้พจิ ารณา เห็นชอบต่อไป ซึ่งผู้เอาประกันและบริษัทประกัน ภัยอาจมีการเจรจากันอีกครัง้ หนึง่ ก่อนที่จะมีการ ตกลงค่าสินไหมทดแทนที่เป็นจริง การประเมินและการส�ำรวจความเสียหายทีเ่ กิด จากภัยน�ำ้ ท่วมบริษัทประกันภัยจะต้องรอหลังน�้ำ ลดแทบทัง้ สิน้ ดังนัน้ หลักฐานเท่านัน้ ทีจ่ ะช่วยท่าน

ได้ ไม่วา่ จะเป็นภาพถ่ายบ้าน ข้อมูลข่าวสารในทุก รูปแบบที่เกี่ยวกับเหตุการณ์น�้ำท่วมบ้านของท่าน หากท่านมีหลักฐานก่อนและหลังน�ำ้ ท่วมจนกระทัง่ วันน�ำ้ ลดมาก และละเอียดครบถ้วนจะเป็นประโยชน์ ต่อท่านอย่างมาก ซึง่ บริษทั ประกันภัยได้ด�ำเนินการ จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผเู้ อาประกันภัยบ้านทีอ่ ยู่ อาศัย และรถยนต์ ในพื้นที่ที่น�้ำเริ่มลดระดับ เช่น จังหวัดนครสวรรค์ และลพบุรี ไปบ้างแล้ว ส�ำหรับท่านทีต่ รวจสอบกรมธรรม์ของท่านแล้ว ท่านพบว่าไม่คมุ้ ครองภัยน�้ำท่วม เรามาเตรียมการ ซ่อมบ้านกันดีกว่า ชอบบ้านสไตล์ loft ก็ลยุ เลย ได้ โอกาสปรับเปลี่ยนบ้านครั้งใหญ่เอาให้สะเทินน�้ำ สะเทินบก ประหยัดน�้ำประหยัดไฟ อยู่ได้แม้โดน ตัดน�้ำตัดไฟ ไม่สิ้นเปลืองพลังงาน เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม อยู่ได้อย่างปลอดภัยไร้กังวลในทุก สถานการณ์ และหลังจากซ่อมแซมบ้านเสร็จเป็น ทีถ่ กู ใจแล้ว เราควรต้องเลือกท�ำประกันภัยบ้านที่ อยูอ่ าศัยของเราให้คม ุ้ กันภัยทัง้ ตัวบ้าน ทรัพย์สนิ ภายในบ้าน หรือแม้แต่บคุ คลทีอ่ าศัยอยูภ่ ายในบ้าน เพื่อป้องกันทรัพย์สินและเพื่อให้ ได้รับการชดเชย ค่าเสียหายทีอ่ าจเกิดขึน้ แก่บา้ น รวมทัง้ ค่าเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นแก่บุคคลอื่นหากเขาได้รับบาดเจ็บ จากทรัพย์สินของเรา และดูเหมือนว่าประกันภัย


ทรัพย์สินแบบคุ้มครอง 5 ภัยพิเศษ (น�้ำท่วม ลมพายุ ลูกเห็บ แผ่นดินไหว และภัยก่อการร้าย) ไม่ควรถูกมองข้ามอีกต่อไป เดิมคนไทยไม่ค่อยสนใจจะท�ำประกันภัยน�้ำ ท่วมแม้ว่าเบี้ยจะถูก แต่นับจากปี 2554 เป็นต้น ไป กลายเป็นสิง่ ทีค่ นไทยต้องตระหนักและต้องการ ทีจ่ ะท�ำกันมากขึน้ แต่เรือ่ งนีย้ งั ต้องติดตามกันต่อ ไปว่าทางบริษทั ประกันภัยจะเสนอขายประกันภัย ในรูปแบบอย่างไร เพราะหลังจากที่เกิดปัญหาน�้ำ ท่วมขึน้ ในปีนี้ ส่งผลให้บริษทั ประกันภัยหลายแห่ง ระงับการขายประกันภัยทีเ่ กีย่ วข้องกับภัยน�้ำท่วม แล้ว รวมไปถึงประกันภัยสินเชื่อบ้านที่เกี่ยวข้อง กับภัยน�้ำท่วมด้วย สุดท้ายขอฝากว่าท่านที่จะท�ำประกันภัยบ้าน ควรครอบคลุม 3 สิง่ ต่อไปนี้ คือ ตัวบ้านหรืออาคาร ที่พักอาศัย ทรัพย์สินภายในบ้าน และบุคคลที่ 3 1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บ้าน : สิ่งนี้เป็น เรือ่ งทีป่ ระกันภัยบ้านทุกทีจ่ ะต้องมีให้ทา่ น เช่นใน กรณีทเี่ กิดเหตุวนิ าศภัยกับบ้าน หรือภัยธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้ หรือน�้ำท่วม 2. การสูญเสียทรัพย์สินภายในบ้าน : การ ประกันภัยบ้านสามารถที่จะช่วยป้องกันการสูญ เสียทรัพย์สินของท่านได้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ และ

เสื้อผ้า อย่างไรก็ตาม หลายบริษัทประกันภัยจะมี การจ�ำกัดขอบเขตราคาและประเภทของทรัพย์สนิ ที่จะรับประกัน 3. การประกันภัยบุคคลที่ 3 : เป็นการประกัน ภัยทีป่ กป้องตัวท่านและคนในครอบครัว หรือถ้ามี อุบตั เิ หตุเกิดขึน้ จากสิง่ ของของท่านไปยังบุคคลอืน่ ประเด็นส�ำคัญส�ำหรับผูท้ ที่ �ำประกันภัยบ้าน ก็ คือ จะต้องรูว้ า่ ประกันภัยทีซ่ อื้ มาให้ความคุม้ ครอง อะไรบ้าง และไม่ได้ ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น หลายบริษัทจะไม่ให้ความคุ้มครอง ทรัพย์สินประเภท เงิน ธนบัตร อัญมณี แบบพิมพ์ เอกสารส�ำคัญ สมุดบัญชี ภาพเขียน ยานพาหนะ ต้นไม้ และการจัดแต่งสวน ดังนั้น ก่อนจะซื้อประกันท่านต้องประเมิน ความต้องการของตัวท่าน และอ่านรายละเอียด ของกรมธรรม์ประกันภัยให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจ ซื้ อ ต้ อ งศึ ก ษารายละเอี ย ดของกรมธรรม์ ให้แน่ ใจว่ามีรายการข้อตกลงที่ส�ำคัญที่ตรง ต่อความต้องการของท่าน เช่น (1) วัตถุที่เอา ประกันภัย (2) ภัยใดซึ่งผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง (3) ราคาแห่งมูลประกันภัย ถ้าหากได้ก�ำหนด กันไว้ (4) จ�ำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย (5) จ�ำนวน เบี้ยประกันภัย และวิธีส่งเบี้ยประกันภัย เป็นต้น

อีกอย่างที่ควรปฏิบัติก็คือ ในกรณีที่มีการ ต่อเติมบ้าน ควรจะต้องแจ้งบริษทั ประกัน โดยเฉพาะ ถ้าท่านต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตกแต่งหรือ ต่อเติมเป็นจ�ำนวนมาก เพราะถ้าหากมีความเสียหาย เกิดขึ้น ท่ า นก็ ส ามารถได้ รั บ ค่ า ชดเชยที่ ถู ก ต้ อ ง และครอบคลุมในกรณีที่มีการสูญเสียทรัพย์สิน ภายในบ้าน เราอาจไม่จำ� เป็นต้องมีหลักฐานยืนยัน ต่อทางบริษทั ประกัน เพียงแต่จะต้องให้รายละเอียด ข้อมูลเกีย่ วกับทรัพย์สนิ ทีถ่ กู ท�ำลายหรือได้รบั ความ เสียหายมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่เพื่อเป็นการป้องกันที่ดี เพราะความเป็น จริงแล้ว เมื่อเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดเกิดขึ้น มันเป็นเรื่องยากที่จะจ�ำทุกสิ่งทุกอย่างที่เสียหาย หรือถูกขโมย เพราะฉะนั้นทางที่ดี ส�ำหรับบ้าน ที่มที รัพย์สนิ จ�ำนวนมาก ควรบันทึกวิดโี อรายการ ทรั พ ย์ สิ น ไว้ และควรเก็ บ บิ ล ของสิ่ ง ที่ มี ค ่ า ของท่านไว้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ ไฟฟ้า เป็นต้น ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการประกัน ภัย, สมาคมประกันวินาศภัย, หนังสือพิมพ์ ไทย โพสต์ ฉบับวันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2554 และ allrisksinsure.com

69


Power Mind

Text : นุชิดา รุ่งถาวรวงศ์

Zero Waste to Landfill ลดปริมาณขยะฝังกลบเหลือศูนย์ ขยะมูลฝอย – ภัยใกล้ตัว

ในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ประเทศไทย รวมถึงหลายประเทศในภูมิภาคนี้ประสบมหา อุทกภัยใหญ่ชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อนในรอบ 70 ปี ขยะมูลฝอยจากบ้านเรือนประชาชน โรงงาน อุตสาหกรรม ตลอดจนหลุมฝังกลบถูกน�้ำท่วม และลอยมากับน�้ำมากมาย และทิ้งเป็นปัญหาให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนที่จะ ต้องร่วมกันแก้ ไขต่อไปในช่วงหลังน�้ำลด เป็นทีท่ ราบกันดีวา่ ประเทศก�ำลังพัฒนาหลาย ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ก�ำลังประสบปัญหา การจัดการขยะมูลฝอยทีไ่ ม่เหมาะสม ปริมาณขยะ มูลฝอยเพิม่ มากขึน้ ตามอัตราการเจริญเติบโตของ เมือง ตัวชีว้ ดั ทีส่ �ำคัญคือ ยิง่ มีความเป็นเมืองมาก เท่าไร อัตราการเกิดขยะก็มากขึ้นเท่านั้น จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ ในปี 2553 มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึน้ ทัว่ ประเทศประมาณ 15.16 ล้านตัน หรือวันละ 41,532 ตัน ขยะมูลฝอย ในเขตกรุงเทพมหานครเกิดขึ้นวันละ 8,766 ตัน (ร้อยละ 21) ในเขตเทศบาลเมืองและเมืองพัทยา วันละ 16,620 ตัน (ร้อยละ 40) และในเขตองค์การ บริหารส่วนต�ำบลวันละ 16,146 ตัน (ร้อยละ 39)

70

ส�ำหรับประเทศไทยอัตราการผลิตขยะมูลฝอยโดย เฉลี่ยอยู่ที่ 0.65 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ขยะมูลฝอยจ�ำนวนมหาศาลเหล่านี้มีเพียง ส่วนหนึง่ (น้อยกว่าร้อยละ 40) เท่านัน้ ทีไ่ ด้รบั การ จัดการทีถ่ กู สุขลักษณะ ขยะมูลฝอยส่วนใหญ่ยงั มี การจัดการทีไ่ ม่ถกู สุขลักษณะ เช่น การกองกลางแจ้ง การเผาในทีโ่ ล่ง ท�ำให้เกิดปัญหาอืน่ ๆ ตามมา เช่น การบดบังทัศนียภาพ การรั่วไหลของน�้ำชะขยะ สู่สิ่งแวดล้อม กลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งแพร่ กระจายของพาหะน�ำโรค ตลอดจนมลพิษทางอากาศ เนือ่ งจากการเผาขยะมูลฝอยในทีโ่ ล่งแจ้ง เป็นต้น

หลุมฝังกลบ ทางออกของการจัดการ ขยะมูลฝอยจริงหรือ

จะเห็นว่า “หลุมฝังกลบ” เป็นปลายทางของ ขยะมูลฝอยส่วนใหญ่ของประเทศ และสิง่ ทีน่ า่ ตกใจ คือ หลุมฝังกลบในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นหลุม ฝังกลบที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่มีระบบรวบรวมน�้ำ ชะขยะ ไม่มกี ารปิดคลุมหลุมเพือ่ ป้องกันการแพร่ กระจายของขยะและพาหะน�ำโรค ไม่มรี ะบบดักเก็บ ก๊าซมีเทนซึง่ เป็นสาเหตุของการเกิดสภาวะโลกร้อน และสิง่ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ หลุมฝังกลบไม่สามารถก�ำจัด

ขยะมูลฝอยทีไ่ ม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติ ได้ เช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก ขวดน�้ำพลาสติก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะยังคงอยู่ในหลุมฝังกลบนั้น นานหลายร้อยปีท�ำให้หลุมฝังกลบเป็นแค่การแก้ ปัญหาขยะมูลฝอยเพียงชั่วคราวเท่านั้น และยัง ก่อให้เกิดการปนเปื้อนมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม และ ท้ายที่สุดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของ พวกเราทุกคนในปัจจุบนั และลูกหลานในอนาคต ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม วันนี้ท่านพร้อมหรือยังในการร่วมมือกันหัน มาให้ความส�ำคัญต่อการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่ง เปรียบเสมือนภัยใกล้ตวั เราหากไม่ได้รบั การดูแล อย่างเหมาะสม

การจัดการขยะมูลฝอยตามแนวทาง การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน หรือ “ขยะเหลือ ศูนย์”

หลายหน่วยงานหรือองค์กรในประเทศไทย ได้น�ำแนวทางการจัดการ “ขยะเหลือศูนย์” หรือ เรียกว่า “การจัดการขยะแบบผสมผสาน” ไปใช้ และประสบความส�ำเร็จ การจัดการให้ขยะเหลือ ศูนย์เป็นแนวคิดเชิงวิชาการ ซึ่งปัจจุบันยังปฏิบัติ


ไม่ได้ 100% อย่างไรก็ตาม หากมีการบริหารจัดการ ขยะมูลฝอยทีด่ ี แนวคิดดังกล่าวสามารถลดปริมาณ ขยะได้ถึง 95% เปลี่ยนขยะเป็นปุ๋ยบ�ำรุงดินและ พืช เป็นผลิตภัณฑ์ที่น�ำกลับมาใช้ประโยชน์ ใหม่ และเป็นเชื้อเพลิงทดแทนจากขยะ ขณะเดียวกัน ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม วันนี้ท่านพร้อมหรือยังในการร่วมมือกันคัด แยกขยะทีบ่ า้ น เปลีย่ นขยะเป็นปุย๋ ปรับปรุงสภาพ ดิน เป็นทรัพยากรทีน่ �ำกลับมาใช้ประโยชน์ ใหม่ได้ สร้างรายได้เสริมให้แก่ผคู้ ดั แยก และเป็นเชือ้ เพลิง ทดแทนการใช้ถา่ นหินหรือน�ำ้ มันซึง่ นับวันจะหมด ไป ขณะเดียวกันเป็นส่วนหนึง่ ในการสร้างสังคมที่ ปลอดมลพิษ ยกระดับคุณภาพชีวติ ของชุมชน เพือ่ อนาคตที่สดใสของลูกหลานต่อไป การน�ำขยะมูลฝอยไปหมักท�ำปุ๋ยและการคัด แยกขยะทีส่ ามารถรีไซเคิลได้เป็นกระบวนการทีท่ กุ ท่านคุน้ เคย และมีนกั ปราชญ์ ตลอดจนนักบริหาร ได้ ให้ความรู้ ไว้มากมาย ส่วนการน�ำขยะที่ไม่ย่อย สลายไปแปรรูปเป็น “เชือ้ เพลิงทดแทน” ยังไม่เป็น ที่แพร่หลายมากนัก ในฉบับนี้ จีโอไซเคิล ซึ่งเป็น องค์กรทีม่ ปี ระสบการณ์ดา้ นการแปรรูปขยะทัง้ จาก ชุมชนและอุตสาหกรรมให้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน มากว่า 10 ปี จึงขอแบ่งปันและน�ำเสนอแง่มม ุ ด้าน สิง่ แวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ของการแปรรูป ของทีเ่ ป็นทีน่ า่ รังเกียจ หรือ “ขยะ” เป็น “เชือ้ เพลิง ทดแทน” โดยหวังว่าแนวทางการปฏิบตั ทิ จี่ โี อไซเคิล ด�ำเนินการอยู่จะเป็นประโยชน์ ในการจุดประกาย ความคิดของทุกท่าน และเป็นส่วนหนึ่งที่จะผลัก ดันให้เกิดสังคม “โลกน่าอยู่คู่หัวใจสีเขียว” ต่อไป

องค์ประกอบ ของขยะมูลฝอย

ขยะมูลฝอยกองหนึง่ สามารถแยกออกเป็นขยะเศษอาหาร ขยะรีไซเคิล ขยะทัว่ ไป และขยะอันตราย จะเห็นว่า เพียง 5% เท่านัน้ ทีย่ งั ไม่มวี ธิ กี ารจัดการให้เหลือศูนย์ได้ และยังมีความจ�ำเป็นต้องจัดการด้วย วิธกี ารฝังกลบอย่างปลอดภัย เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดไฟทีแ่ ตกหัก กระป๋องสารเคมี เป็นต้น

การแปรรู ป “ขยะมู ล ฝอยที่ ไ ม่ ย ่ อ ย สลาย” เป็น “เชื้อเพลิงทดแทน” คงปฏิเสธไม่ได้ว่า พวกเราทุกคนยังคงทิ้ง เศษพลาสติก ซองขนมขบเคีย้ ว ถุงพลาสติก ซอง บะหมี่กึ่งส�ำเร็จรูป กล่องโฟม และถุงกระดาษ และอื่นๆ ลงในถังขยะที่บ้าน ซึ่งต่อมามีเจ้าหน้าที่ ส�ำนักงานเขตหรือเทศบาลมาเก็บรวบรวม และส่ง ต่อไปยังสถานที่ฝังกลบที่ถูกสุขลักษณะบ้าง ไม่ ถูกสุขลักษณะบ้าง คนส่วนใหญ่ไม่ได้ ใส่ใจว่าขยะ เหล่านีจ้ ะไปไหน เหตุการณ์น�้ำท่วมใหญ่ครัง้ นีเ้ ป็น เครือ่ งเตือนใจให้เห็นว่า ในเวลาอันใกล้ขยะเหล่านี้ ก็วกกลับมาหาเราในรูปใดรูปหนึ่ง เช่น ก่อให้เกิด น�้ำเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อน ร�ำคาญ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของ มนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว เมื่อการฝังกลบขยะมูลฝอยที่ไม่ย่อยสลาย เหล่านี้ไม่ ใช่ทางออกสุดท้าย จึงได้มีการคิดค้น นวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้น และการเปลี่ยน “ขยะ” เป็น “เชือ้ เพลิงทดแทน” ก็เป็นหนึง่ ในหลายๆ นวัตกรรม ทีเ่ กิดขึน้ ในช่วง 20-30 ปีทผี่ า่ นมา และประเทศไทย ได้มีการปฏิบัติจริงแล้วกว่า 10 ปี ขยะมูลฝอยเกิดขึน้ ในหลายลักษณะไม่สามารถ น�ำไปใช้เป็นเชือ้ เพลิงทดแทนได้โดยตรง จึงมีความ จ�ำเป็นจะต้องผ่านกระบวนการเตรียมหรือการแปรรูป โดยมีหัวใจส�ำคัญ คือ ท�ำให้เป็นเนื้อเดียวกันและ ให้มีคุณภาพตามที่ก�ำหนดจึงจะสามารถน�ำไปใช้ ทดแทนเชื้อเพลิงถ่านหินโดยไม่ส่งผลกระทบต่อ คุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ ที่จีโอไซเคิลมีโรงเตรียม เชื้อเพลิงทดแทน ท�ำหน้าที่ จัดเก็บ บด และผสม ขยะเหล่านั้นให้เป็นเนื้อเดียวกัน และตรวจสอบ คุณภาพด้วยมาตรฐานระดับสากลเพือ่ ให้มนั่ ใจว่า การน�ำ “เชื้อเพลิงทดแทน” ที่ได้จากขยะไปเผาใน

เตาปูนซีเมนต์จะไม่สง่ ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ของมนุษย์และคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทุกภาคส่วนจะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยน “ขยะ” เป็น “เชื้อเพลิงทดแทน” และน�ำไป “เผา ร่วม” ในเตาเผาปูนซีเมนต์ ดังนี้ • ส�ำหรับผูก้ อ่ ให้เกิดขยะ : ขยะทีเ่ กิดขึน้ ถูก เผาอย่างสมบูรณ์ ลดความต้องการพื้นที่ฝังกลบ ลดความเสี่ยงต่อการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ ผู้อื่น และส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม • ส�ำหรับชุมชน : ลดปริมาณขยะที่จะต้อง น�ำไปฝังกลบ เป็นการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไว้ ให้คนรุ่นหลัง สร้างงานให้แก่คนในชุมชน • ส�ำหรับสิ่งแวดล้อม : ลด/ชะลอการน�ำ ทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ ลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ลดการปล่อยก๊าซมีเทนจาก หลุมฝังกลบ ลดโอกาสการปนเปือ้ นสูส่ งิ่ แวดล้อม เนื่องจากการจัดการขยะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ นอกจากนี้ การเผาผลิตร่วมในเตาปูนซีเมนต์ ยังไม่ก่อให้เกิด “ขี้เถ้า” หรือ “สิ่งตกค้าง” เหลือ จากกระบวนการเผาที่จะต้องน�ำไปก�ำจัดต่อไป เนื่องจากขี้เถ้าที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะหลอมรวมเป็น ส่วนหนึ่งของปูนซีเมนต์ บทสรุปส่งท้ายของปี 2554 นีข้ อสรุปฝากเป็น ข้อคิดว่า การแปรรูปขยะให้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน และน�ำไปเผาร่วมในเตาเผาปูนซีเมนต์เป็นกระบวน การจัดการขยะยุคใหม่ด้วยกระบวนการจัดการที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องตามแนวทาง การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสังคมสีเขียวของคน รุ่นปัจจุบันและรุ่นต่อๆ ไป และที่จีโอไซเคิล เรา เริ่มต้นด�ำเนินการแล้ว และจะด�ำเนินการอย่าง ต่อเนื่องต่อไป วันนี้ท่านพร้อมหรือยัง

71


Health & Safety

Text : จินต์นตา ปราสาทหินพิมาย

16 ข้อปฏิบัติ ส�ำรวจบ้านเรือนหลังน�้ำท่วม ณ ช่วงเวลานี้หลายๆ พื้นที่ทั่วทุกภาคของ ประเทศไทยต้ อ งประสบกั บ ปั ญ หาอุ ท กภั ย ที่ รุนแรงที่สุดในรอบกว่า 70 ปีนับจากปี 2485 ซึ่ง นอกจาก “น้องน�้ำ” จะแวะเวียนไหลไปตามไร่นา เรือกสวนแล้ว ก็ยงั เข้าไปสูอ่ าคารบ้านเรือน สถานที่ ราชการต่างๆ อีกด้วย เป็นที่น่ายินดีว่าตอนนี้ระดับน�้ำได้ลดลงแล้ว ในหลายๆ จังหวัด หลายๆ คนคงใจจดใจจ่อที่จะ กลั บ เข้ า บ้ า นตั ว เองเพื่ อ ส� ำ รวจความเสี ย หาย และเริ่ ม ฟื ้ น ฟู บู ร ณะให้ ก ลั บ คื น ดั ง เดิ ม ดั ง นั้ น Health & Safety จึงน�ำบทความทีเ่ ขียนโดยรอง ศาสตราจารย์ ดร.อมร พิมานมาศ สถาบันเทคโนโลยี

72

นานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมโครงสร้าง และสะพาน วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ เขียนบทความเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.eit. or.th เรื่อง “16 ข้อปฏิบัติความปลอดภัยส�ำรวจ บ้านเรือนหลังน�้ำท่วม” เป็นข้อควรระวังในเรื่อง ความปลอดภัยเมื่อต้องก้าวเข้าสู่บ้านเรือนเป็น ครัง้ แรกหลังจากน�ำ้ ท่วม เพือ่ ความปลอดภัยของ ตัวท่านเอง ดังนี้ 1. รอให้นำ�้ ลดลงเสียก่อนจึงเข้าไปตรวจสอบ ภายในบ้ าน อย่ า เข้ า บ้ า นในขณะที่ ร ะดั บ น�้ำ ยั ง สูงอยู่


2. เตรียมดินสอ ปากกา กระดาษ กล้องถ่าย รูป อุปกรณ์ชา่ งต่างๆ เช่น ไขควง ตลับเมตร ท่อน ไม้แห้ง ท่อพีวีซี เพื่อจดหรือบันทึกความเสียหาย ต่างๆ 3. เข้าส�ำรวจบ้านในเวลากลางวันที่มีแสง สว่างเพียงพอเท่านั้น 4. สวมรองเท้าบูต หรือรองเท้าเซฟตี้ และสวม หมวกเซฟตี้ เพื่อป้องกันเศษแก้ว ตะปู และของมี คมต่างๆ ที่น�้ำพัดพาเข้ามาอยู่ในบ้าน 5. ก่อนเดินเข้าบ้านให้เดินส�ำรวจรอบๆ บ้าน เสี ย ก่ อ น และเคลื่ อ นย้ า ยเศษสิ่ ง ของต่ า งๆ ที่ เกะกะออกไปให้พ้นทาง 6. อย่าลืมน�ำไฟฉายติดตัวไปด้วยเมือ่ ต้องการ แสงสว่ า งและเพื่ อ ให้ เ ห็ น สภาพภายในบ้ า นได้ ชัดเจนขึ้น 7. สังเกตว่ามีกลิ่นแก๊สรั่วออกมาจากบ้าน หรือไม่ และห้ามท�ำให้เกิดเปลวไฟ หรือสูบบุหรี่ เด็ดขาด 8. สังเกตสายไฟที่อาจจะห้อยร่วงลงมาในน�้ำ หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีน�้ำขังอยู่ เนื่องจากน�้ำเป็น สื่อไฟอาจท�ำให้ ไฟดูดเป็นอันตรายต่อชีวิต 9. เมื่อเข้ามาภายในบ้าน ห้ามยกสะพานไฟ ขึ้นหรือเปิดแก๊สเด็ดขาด เนื่องจากไม่แน่ ใจว่ามี สายไฟที่ ห ้ อ ยลงมาแช่ อ ยู ่ ใ นน�้ ำ หรื อ ไม่ หาก ต้องการแสงสว่างให้ ใช้ ไฟฉาย 10. หากสังเกตเห็นสะพานไฟ หรือเซอร์กิต เบรกเกอร์เปิดอยูต่ อ้ งปิดโดยเร็ว โดยให้ยนื อยู่ใน จุดทีแ่ ห้งแล้วใช้ ไม้แห้ง หรือท่อพีวซี ี เป็นอุปกรณ์ โยกคันเบรกเกอร์ลง หากไม่แน่ใจอย่าเสีย่ งท�ำเอง ควรเรียกช่างไฟฟ้า 11. ระวังกรณีน�้ำท่วมสูงถึงฝ้าเพดาน ฝ้า เพดานที่อุ้มน�้ำจะมีน�้ำหนักมากและมีโอกาสร่วง ลงมาทับเราได้ ในกรณีเช่นนั้นให้ ใช้ ไม้แหลมๆ เจาะฝ้าเป็นระยะๆ เพื่อให้น�้ำไหลออกมาจะได้ลด น�้ำหนักของฝ้าเพดาน

12. ระวั ง พื้ น ลื่ น เวลาเดิ น อาจลื่ น หกล้ ม เนื่องจากพื้นอาจมีคราบโคลนที่ติดอยู่และยังไม่ แห้งดี ท�ำให้ลื่นได้ง่าย 13. เมื่อเข้าไปภายในบ้านแล้วให้เปิดประตู และหน้าต่างออกให้หมดเพือ่ ให้อากาศถ่ายเทได้ อย่างสะดวก เป็นการช่วยก�ำจัดความชื้นภายใน บ้าน และขจัดแก๊สต่างๆ 14. ระวั ง สั ต ว์ เ ลื้ อ ยคลานต่ า งๆ เช่ น งู ตะขาบ หรือแม้กระทั่งจระเข้ ซึ่งอาจหนีน�้ำเข้า มาอาศัยอยู่ในบ้าน 15. หลีกเลี่ยงอย่าเข้าใกล้ โครงสร้างที่ แตกร้าวเสียหาย เพราะอาคารเหล่านั้นอาจ ถล่มลงมาได้ทุกเมือ่ ควรปรึกษาวิศวกรโดย ด่วนหากพบรอยร้าวรุนแรงในโครงสร้าง 16. หากต้องการข้อแนะน�ำการเข้าตรวจ สอบอาคาร ควรติดต่อโครงการวิศวกร อาสาของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศ ไทยฯ ดูรายละเอียดที่เว็บไซต์ http://www.eit.or.th

อย่างไรก็ตาม ถ้าเรายังสุขสบายอย่าไปเครียด กับเรื่องน�้ำท่วมมากเกินไป พยายามหัวเราะให้ ดัง ๆ สักวันละ 1 - 2 ครัง้ คนเราถ้าหัวเราะได้ดงั ๆ ก็จะดี พบเพือ่ นฝูงทักทายกันก็จะช่วยคลาย เครียดได้เยอะค่ะ ทีมงาคอลัมน์ Health & Safety ขอเป็นก�ำลังใจให้ทุกคน ผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ และ เข้าสูช่ ว่ งปีใหม่ 2555 อย่างมี ความสุขนะคะ ที่มา http://www.eit.or.th http://www.khaosod.co.th/

73


Dr. Cement

Text & Photo : อดิศักดิ์ ยิ้มวัน

ตรวจสอบโครงสร้างบ้าน หลังน�ำ้ ลด

มหาอุทกภัยปี 2554 รุนแรงกว่าทีค่ าดไว้มาก โดยเฉพาะ บ้านทีถ่ กู น�ำ้ ท่วมหนักนัน้ นอกจากจะท่วมมิดทัง้ หลัง หรือท่วมเต็มชัน้ ล่างแล้ว บางหลังบางท�ำเลยังท่วมนาน เป็นเดือน จากกรณีทที่ ว่ มนานขนาดนี้ จึงขอแนะน�ำท่าน เจ้าของบ้านด�ำเนินการตรวจสอบโครงสร้างบ้าน เพื่อความปลอดภัย จุดแรกให้ท่านดูบริเวณใต้ อาคารว่าดินทีอ่ ยูบ่ ริเวณใต้บา้ นทรุดตัวหรือไม่ ถ้า ดินทรุดตัวจนมองเห็นเสาเข็ม ถือว่าเป็นเรื่องน่า ห่วงมาก ควรปรึกษาวิศวกรโครงสร้างเร่งหาวิธี แก้ ไขโดยเร็ว จากนัน้ ให้พจิ ารณาว่าระดับของพืน้ บ้านมีการ ทรุดตัวเพิ่มขึ้นหรือไม่ พื้นบ้านเอียงหรือไม่ ให้ สังเกตว่าโครงสร้างในตัวบ้านนั้นมีรอยร้าวมาก ขึน้ หรือไม่ โดยเฉพาะรอยร้าวบริเวณหัวเสาต่อกับ

74

คานของอาคาร ถ้าพบรอยร้าวแบบนี้ให้รบี ปรึกษา วิศวกรโครงสร้างทันที ควรเฝ้าระวังและตรวจสอบบ้านหลังน�้ำลด เป็นระยะๆ ว่า เหล็กเสริมที่อยู่ภายในโครงสร้าง คอนกรีตเสริมเหล็กได้รับผลกระทบจากการแช่ น�้ำมากน้อยแค่ไหน เช่น มีอาการเหล็กชื้นจนขึ้น สนิมและระเบิดดันจนคอนกรีตแตกออกมา หรือ เกิดคราบสนิมแดงไหลออกมาที่ผิวคอนกรีต ถ้า มีอาการแบบนี้ต้องรีบปรึกษาวิศวกรโครงสร้าง ทันที


1. ท�ำความสะอาดพื้น

วิธีการ 1.1 ให้ล้างพื้นด้วยผงซักฟอกในครั้งแรก 1.2 ให้ล้างพื้นด้วยผงซักฟอกและผสมน�้ำยาเป็ดสีม่วงลงไปใน ปริมาณที่พอเหมาะ (เพราะน�้ำยาแรงมาก) ในครั้งที่สอง หรือจะใช้ผง ซักฟอกและผสมด้วยน�้ำยา Aro ของแม็คโครก็ใช้ ได้เช่นกัน 1.3 ฉีดน�้ำเปล่าล้างตาม 1.4 เช็ดพื้นให้แห้งแล้วฉีดน�้ำยามาจิคลีนเช็ดให้แห้งอีกครั้งเพื่อ ให้พื้นบ้านของท่านมีกลิ่นหอม

2. ท�ำความสะอาดก�ำแพง

โครงสร้างรั้ว

เบื้องต้นเราสามารถใช้ ไม้ค�้ำยันไว้ ได้หากรั้วเอนเล็กน้อย หากเอียงมาก จ�ำเป็นต้องซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน หากรัว้ มีคานคอดิน (คานตัวล่างสุดที่อยู่ใกล้ ระดับดิน) รับน�้ำหนักรั้วอยู่ เมื่อนํ้าลด นํ้าอาจพาดินใต้คานคอดินออกไปด้วย ท�ำให้เกิดรูโพรงใต้คานรั้ว ให้เติมดินอัดกลับเข้าไป เพื่อป้องกันสัตว์ลอดเข้ามา และกันไม่ให้ดินไหลออกจากบ้านสู่ทางสาธารณะ ประตูรั้วที่ท�ำด้วยเหล็กนั้นต้องเป่าลมให้แห้งที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ โดยเฉพาะ รั้วที่เป็นเหล็กกล่องและท่อเหล็ก ต้องแน่ใจว่าไม่มีน�้ำขังอยู่ด้านในของท่อหรือ กล่องเหล็กนั้น ให้ ใช้ ไขควงเหล็กเคาะที่ท่อนเหล็กนั้นๆ เพื่อฟังเสียงว่าภายใน ยังมีน�้ำอยู่หรือไม่ ให้เจาะรูที่บริเวณด้านล่างที่ต�่ำสุดให้น�้ำจากข้างในท่อหรือ กล่องเหล่านั้นไหลออกมาให้หมด ตรวจดูอาการผุกร่อนและจุดที่เป็นสนิมต่างๆ แล้วขัดจุดที่เป็นสนิมออกให้ หมด พร้อมทาสีกนั สนิมและทาสีทบั ชัน้ สุดท้าย ถ้าบานพับประตูหรือรางล้อเลือ่ น เสียหายให้รบี เปลีย่ นใหม่ ระหว่างการเปลีย่ นอุปกรณ์ประตูรวั้ ต้องระวังประตูลม ้ อาจท�ำให้ท่านบาดเจ็บได้ ฉะนั้นต้องขอแรงจากจิตอาสาอย่างน้อยหนึ่งคนมา ช่วยเพราะเรื่องอย่างนี้ต้องอาศัยแรง ถ้าท่านต้องการค�ำปรึกษาเรื่องโครงสร้าง ติดต่อ “วิศวกรอาสา” วิศวกรรม สถานแห่งประเทศไทยฯ ได้ที่หมายเลข 08-0812-3733, 08-0812-3743, 08-0812-2853 ในวันและเวลาราชการ 09.00-17.00 น.

ผนังบ้าน

หากผนังเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูน ควรด�ำเนินการในระบบที่คล้ายกับผนังไม้ คือรอให้แห้ง ท�ำความสะอาดและทาสี แต่อาจต้องทิ้งเวลานานหน่อย เพราะการ ระบายความชืน้ ของผนังก่ออิฐนัน้ ยากกว่าผนังไม้ มีสงิ่ หนึง่ ทีผ่ นังไม้อาจแตกต่าง กับผนังก่ออิฐก็คือ “สิ่งที่อยู่ภายในผนัง” ไม่ว่าจะเป็นสายไฟฟ้า ท่อไฟฟ้า ท่อนํ้า ฯลฯ ควรตรวจสอบสิ่งเหล่านี้ด้วยว่าอยู่ในสภาพเหมือนเดิมหรือไม่ การทาสีบ้านขอให้เป็นสิ่งสุดท้ายหรือเกือบสุดท้ายในการซ่อมแซมบ้าน ปัญหาของสีลอกสีลอ่ นเกิดจากความไม่พร้อมของพืน้ ผิวซึง่ ชืน้ หรือมีสงิ่ สกปรก ติดอยู่ ทาสีทับลงไปอย่างไรก็ลอกออกหมด ดังนั้นไม่ควรทาสีทันทีหลังน�้ำลด ควรท�ำความสะอาด หรือลอกสีเดิมออกให้มากที่สุด แล้วทิ้งไว้ ให้ผนังแห้ง ปลอดจากความชื้น อย่างต�่ำประมาณ 2 สัปดาห์ จากนั้นจึงจะทาสีใหม่ได้ หรือ คิดมุมใหม่ก่ออิฐฉาบปูนเป็นบ้านปูนเปลือยแบบเนี้ยบๆ เท่ๆ สไตล์ลอฟต์แบบ ไทยๆ ก็ดูดีไม่เบา

วิธีการ 2.1 ให้น�ำสบู่ก้อนเล็กๆ ที่เราเก็บมาจากโรงแรมเวลาไปพัก ไปแช่ไว้ ในถังน�้ำ 1 คืนก่อนวันท�ำความสะอาด เพื่อให้เนื้อสบู่ยุ่ย ซึ่ง จะท�ำให้ก�ำแพงมีสีขาวใส ใช้คู่กับสก๊อตไบรท์ที่มีฟองน�้ำเวลาขัดถู 2.2 ใช้น�้ำยาก�ำจัด 12 คราบ ยี่ห้อ Aro ของแม็คโคร ขวดสีชมพู ผสมกับน�้ำตามสัดส่วนที่ก�ำหนด 2.3 เมื่อใช้น�้ำยาตามข้อ 2.1 หรือ 2.2 ราดลงบนก�ำแพงแล้ว ให้ ใช้สก๊อตไบรท์ 3M ที่มีด้ามจับขัดในรอบแรก หลังจากนั้นให้ ใช้ สก๊อตไบรท์แผ่นธรรมดาชุบน�้ำที่ผสมผงซักฟอกขัดเป็นรอบที่ 2 เมือ่ ขัดเสร็จให้ ใช้ฟองน�ำ้ ชุบน�ำ้ เช็ดตามทันที จากนัน้ ให้ฉดี น�ำ้ ล้างตาม อีกครั้ง คราบทั้งหมดจะหลุดออก

3. ถุงมือยาง

ให้เลือกใช้ขนาดที่พอดีกับขนาดของมือเพื่อความกระชับ เพื่อ ป้องกันไม่ให้นำ�้ สกปรกโดนมือ เมือ่ ท�ำความสะอาดส่วนใดเสร็จก็ควร ทิ้งถุงมือทันที แล้วเปลี่ยนถุงมือคู่ใหม่แทน

4. ส�ำหรับพื้นที่ที่เป็นไม้

ใช้สก๊อตไบรท์ชุบน�้ำผงซักฟอกขัด เมื่อขัดเสร็จให้ล้างน�้ำตาม ทันที หากทิ้งไว้จะท�ำให้เกิดคราบหนักกว่าเดิม สิ่งส�ำคัญที่สุดในการ ท�ำความสะอาดคือการใส่แรงกายเข้าไปอย่างเต็มที่ และอย่าลืมล้าง มือทุกครั้งหลังท�ำความสะอาดเสร็จ

ข้อควรระวังในการท�ำความสะอาดบ้าน

- ควรมีการแบ่งเวลาพักท�ำความสะอาดเป็นระยะๆ - ป้องกันเด็กจากพื้นที่ปนเปื้อนขณะท�ำความสะอาด - อย่าขยี้ตา สัมผัสปากหรือจมูกในขณะที่ยังสวมถุงมือยาง - หลังการท�ำความสะอาดทุกครั้ง ควรอาบน�้ำ ฟอกสบู่ให้สะอาด - ควรท�ำความสะอาดเป็นพิเศษในบางพืน้ ที่ ได้แก่ พืน้ ทีท่ ำ� อาหาร พื้นที่เด็กเล่น - สุดท้ายต้องมั่นใจว่า บริเวณที่ท�ำความสะอาดมีการระบาย อากาศที่เพียงพอ - ไม่ควรน�ำเด็ก คนชรา หรือผู้ป่วย เข้าบ้านจนกว่าจะมั่นใจว่า ปลอดภัย ที่มา - บัญญัติ 21 ประการ “บ้านหลังน�้ำท่วม” อาจารย์ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ อดีต นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ - คูม ่ อื จัดการบ้านหลังน�ำ้ ลด โดยคณะท�ำงานอาสาสมัคร สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย วิศวกรรมสถานแห่ง ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ - ข้อมูลในเว็บไซต์ เว็บบอร์ด และเฟซบุ๊ก

75


ดวงคู่บ้าน

Text & Photo : สุวิมล

คุณทศพร ศรีตลุ า คนหนุม่ รุน่ ใหม่แห่งวงการหมอดู

76


“หมอช้าง” แนะปรับฮวงจุย้ บ้านหลังน�ำ้ ลด “หมอช้าง-ทศพร ศรีตลุ า” เจ้าของฉายาซินแส ไฮโซ แนะน�ำการดูแล “ฮวงจุ้ย” บ้านหลังน�้ำลด บ้านเมื่อไม่มี ใครอยู่ ในกรณีที่เจ้าของบ้านย้าย หนีน�้ำ บ้านที่ถูกปิดไว้นานๆ เปรียบแล้วก็เหมือน บ้านร้าง ส่งผลให้พลังงาน หรือ “พลังชี่” ของบ้าน ลดลง หรือหมดลมหายใจ ดังนั้นจึงต้อง “ปั๊มหัวใจ” หรือช็อตไฟฟ้า ให้บ้านกลับมามีชีวิตอีกครั้ง! วิธปี ลุกพลังชีต่ ามหลักของฮวงจุย้ หลังน�ำ้ ลด เมือ่ เข้าบ้านครัง้ แรกเจ้าของต้องน�ำกระสอบทราย ทีเ่ คยกัน้ น�ำ้ อยูอ่ อกให้หมด ไม่ตอ้ งเสียดาย บางคน อาจคิดว่าจะเก็บหรือกัน้ ทิง้ ไว้เผือ่ ปีหน้าเพราะกลัว น�ำ้ จะท่วมอีก โดยยอมปีนเข้า (หน้า) บ้าน ซึง่ หลัก ฮวงจุย้ ถือมากในเรือ่ งห้ามมีสงิ่ กีดขวางทางเข้าบ้าน ไม่เช่นนั้นพลังงานดีๆ จะไม่สามารถเข้าสู่บ้านได้ สิ่งที่ต้องซ่อมแซมและฟื้นฟูก่อนเป็นอันดับ แรก คือ ประตูทางเข้าบ้าน หลังแช่น�้ำนานๆ ประตู จะบวม ฝืด ต้องรีบเปลี่ยนทันที เมื่อเข้าบ้านแล้ว ควรเปิดไฟให้หมดทัง้ บ้าน เพือ่ ใช้ความสว่างกระตุน้ “ชีพจร” ให้กลับคืนมา “หมอช้าง” แนะน�ำว่า ไม่ควรเข้าบ้านแบบ เงียบๆ คนสองคน ทางที่ดีควรไปกันพร้อมหน้า ทั้งครอบครัว ชักชวนพี่น้องเพื่อนฝูงไปด้วย “คน ยิ่งมากยิ่งดี” เปิดประตู หน้าต่าง เปิดเพลงให้ดัง เสียงเพลงจะช่วยปลุกพลังบ้าน เหมือนลมและ แสงจะดึงพลังชีพจรของบ้านให้กลับคืนมามีชีวิต ชีวาอีกครั้ง

บ้านที่ต้องปรับปรุงใหม่ ไม่ควรขุดเจาะ หรือ ทุบบ้านโดยเริ่มจากทิศที่ชง หรือทิศไม่ดีของ ปีเถาะ คือทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ควรไป เริ่มขุดเจาะ หรือทุบจากทิศอื่นก่อน แต่หากมา เริ่มปรับปรุงบ้านในปี 2555 วันที่ฮวงจุ้ยเปลี่ยน สู่ปีมะโรง คือวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ทิศที่ชงคือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ จึงไม่ควรเริ่มขุดเจาะ หรือ ทุบบ้านจากทิศนี้ บ้านน�ำ้ ท่วมมักต้องเจอกับความชืน้ นอกจาก เปิดบ้าน เปิดไฟแล้ว อีกวิธีที่ช่วยได้คือ การโรย เกลือ และข้าวสารรอบๆ บ้าน นอกจากดูดความชืน้ ได้แล้ว ในทางฮวงจุย้ ยังช่วยปัดเป่าสิง่ ไม่ดีให้ออก ไปจากบ้าน ซึ่งเป็นวิธีที่ชาวญี่ปุ่นนิยมใช้มานาน ที่ลืมไม่ได้คือ “ตี่จู๋เอี้ย” หรือ ศาลพระภูมิ ของคนจีน ปกติจะวางอยู่บนพื้น หากถูกน�้ำท่วม ควรตรวจสภาพ หากเกิดแตกหักเสียหายก็ควร เปลี่ยนใหม่ ถ้วยน�้ำชา กระถางธูป ถ้าสกปรกก็ ควรเปลี่ยนเช่นกัน ส�ำหรับ “ดวงเมืองปี 2012” หมอช้างเตือนให้ ระวังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เนื่องจาก ดาวเสาร์ ซึง่ แรงมาก จะย้ายราศีในวันที่ 7 ธันวาคม ปี 2011 และอยู่ในราศีนี้จนถึงวันที่ 5 เมษายน 2012 จะย้ายอีกครั้ง ส่งผลให้ระหว่างวันที่ 7 ธันวาคม 2011 ถึง 5 เมษายน 2012 เกิดความ ยุ่งเหยิง ต้องระวังภัยธรรมชาติ น�้ำท่วมให้มาก

ส่วนการเมืองจะเกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ผลจากดาวเสาร์ยังส่งผลไปถึงระดับโลก จะเป็น จุ ด เปลี่ ย นครั้ ง ยิ่ ง ใหญ่ “หมอช้ า ง” บอกว่ า “ทุกอย่างมีสองด้านเสมอ ในด้านบวก จะเป็น จุดเปลี่ยนให้เกิดการสร้างสิ่งใหม่ๆ เช่น การค้น พบยารักษาโรค ระบบการเงิน เกิดนักคิดที่สร้าง โครงการใหม่ ๆ ให้กับคนทั้งโลก” ช่วงนี้ คนที่เกิดในราศีตุลย์ วันที่ 18 ต.ค.16 พ.ย. จะโดนอิทธิพลแรง แต่ก็จะเกิดขึ้นทั้งดี และร้าย ส�ำหรับราศีที่ต้องระวัง คือ ราศีเมษ (14 เม.ย.-14 พ.ค.) ราศีเมถุน (วันที่ 15 มิ.ย.-16 ก.ค.) และราศีพิจิก (17 พ.ย.-15 ธ.ค.) จะมีเรื่อง การเปลีย่ นแปลงในชีวติ ให้ตดั สินใจในปีหน้าเยอะ ส่วนองค์กรต่างๆ หากเลี่ยงได้ ไม่ควรจัดงาน ในช่วงเดือนมีนาคม ให้จดั ช่วงต้นปีตงั้ แต่มกราคม ถึงกุมภาพันธ์ 2555 ถ้าจะให้ดีโครงการไหนที่คิด ไว้แล้วก็ควรรีบลงมือท�ำ ไม่ควรรอจนถึงปลายปี เพราะดาวอังคารจะย้ายราศีอีกครั้งในวันที่ 6 เมษายน โดยวันที่ 7 กันยายนดวงเมืองจะเกิด การเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง และครั้งนี้จะหนักกว่า ช่วงต้นปี วิธีแก้ ไข คือ ไหว้พระ ท�ำบุญ ท�ำจิตใจให้ ผ่องใส ถ้าคิดดี ท�ำดี จิตใจมั่นคงแข็งแรงแล้ว จะมีพลังต้านสิง่ ไม่ดี หรือเปลีย่ นจากร้ายให้กลาย เป็นดีได้

77


เกร็ดคู่บ้าน

Text & Photo : สุกัญญา โชติอภิสิทธิ์กุล

บูทไม้คอนวูด หน้า 1 นิว้ สีธรรมชาติ

78


ไม้ตกแต่งผนังคอนวูดสีธรรมชาติ

การตกแต่งบ้าน Style Green Loft ด้วย “ไม้คอนวูด” เกร็ดคู่บ้านฉบับนี้ขอแนะน�ำการตกแต่งบ้าน Green Loft ด้วย “ไม้คอนวูด” ซึ่งสามารถแปลงโฉมให้บ้าน หรือที่ท�ำงานของคุณให้เป็น Style Loft ที่เน้นฟังก์ชัน การใช้งานได้ตามความต้องการแต่ยงั คงความเรียบง่าย และโปร่งโล่งได้อย่างลงตัว เพียงแค่คุณโชว์พื้นผิว ของวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ไม้คอนวูดสีธรรมชาติ (คล้าย ปูนเปลือย) ก็ได้ความรู้สึกดิบ ๆ แต่แฝงด้วยความ เรียบง่ายไปในตัว

เคาน์เตอร์ไม้คอนวูด หน้า 1 นิว้ สีธรรมชาติ

ด้วยความที่ “ไม้คอนวูด” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ ผลิตโดยเทคโนโลยีเขียวจากสวิตเซอร์แลนด์ กระบวนการผลิตและวัตถุดบิ ทีน่ �ำมาใช้ปราศจาก มวลสารทีก่ อ่ ให้เกิดอันตรายและเป็นพิษ เป็นวัสดุ ทดแทนไม้ทมี่ คี วามสวยงาม ปลวกไม่กนิ ไม่ตดิ ไฟ อีกทั้งยังประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ทัง้ ยังเป็นผลิตภัณฑ์ทสี่ ามารถใช้ ได้ทงั้ ภายในและ ภายนอก เหมาะกับงานออกแบบทีห่ ลากหลาย ว่า แล้วก็ไปชมบ้านและบูททีอ่ อกแบบโดย “ไม้คอนวูด” Style Green Loft กันเลยดีกว่าค่ะ ภาพที่เห็นนี้เป็นบ้านที่ตกแต่งภายนอกด้วย

ไม้ตกแต่งผนังคอนวูด สีธรรมชาติ หรือถ้าอยาก จะตกแต่งภายในก็สามารถท�ำได้ โดยน�ำไม้คอนวูด หน้า 1 นิ้ว สีธรรมชาติมาดัดแปลงเป็นเคาน์เตอร์ หรือบูท โดยผลิตภัณฑ์ทงั้ 2 ตัวนีม้ ลี ายไม้สวยงาม พร้อมเซาะร่องให้คุณเรียบร้อยสามารถติดตั้งได้ โดยไม่ต้องซื้อมาแล้วมาเซาะร่องเองซึ่งอาจจะ เกิดปัญหาท�ำให้ร่องที่เซาะนั้นไม่เสมอกัน แถม งานทีต่ ดิ ตัง้ เสร็จแล้วก็ได้ความดิบและดูเรียบง่าย ไปอีกแบบ หรือถ้าเปลี่ยนใจอยากได้อารมณ์สวย เหมือนไม้ธรรมชาติก็สามารถทาสีทับ เช่น สีโอ๊ก หรือสีอื่นๆ ได้ตามต้องการอีกด้วยนะคะ

79


ชิมนอกบ้าน

บริเวณด้านหน้าร้าน

80

Text & Photo : ฟูแล่ม


บรรยากาศภายในร้านเน้นเรียบหรูแต่ดคู ลาสสิก

อาคารทีต่ งั้ ร้าน BACCO

Bacco Italian Bar & Pizza @ Bludeck อร่อยในอารมณ์ Modern Loft โซนด้านนอก ริมสระน�ำ้ ในช่วงกลางวัน

เลือกใช้โซฟาสีฟา้ สด ให้นงั่ ชิลๆ

Bacco เป็นอีกหนึ่งร้านอาหารอิตาลี สไตล์ Fine Dining ทีผ่ ชู้ นื่ ชอบอาหาร อิตาลีแบบต้นต�ำรับขนานแท้ตา่ งรูจ้ กั กันดี จากฝีมอื ของเชฟชาวอิตาเลียน คุณเซอร์จิโอ โฟร์เต

อีกมุมบริเวณสระน�ำ้

81


ชิมนอกบ้าน

โซนชัน้ สอง กัน้ เป็นห้อง ส�ำหรับผูท้ มี่ ากันเป็นกลุม่ และต้องการเป็นส่วนตัว

Ossobuco Di Vitello

บรรยากาศเน้นสีของไม้ สีดำ� ดูโมเดิรน์ ผสมคลาสสิก

82

ครัวแบบเปิดเพือ่ ให้สมั ผัสได้ ใกล้ชดิ

Diabla (Flambe’) Pizza

เมื่อสาขาแรกในซอยทองหล่อรุดหน้าไปได้ ดี จึงถึงคิวของสาขาที่สองในย่านชานเมือง ฝั่ง ตะวันออกของกรุงเทพฯ ในซอยกิ่งแก้ว 19 ย่าน บางนา-ตราด ร้านอาหารแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณเดียวกันกับ Bludeck Sport Club (บลูเด็ค สปอร์ต คลับ) สาขานี้เลยใช้ชื่อว่า Bacco Italian Bar & Pizza @Bludeck โดยปรับเปลี่ยนแนวการออกแบบ และบริการให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนรุน่ ใหม่และ ครอบครัวสมัยใหม่ คอนเซ็ปต์การตกแต่งร้านเป็นแนว Modern Loft with a Classic Twist ด้วยการเลือกใช้วสั ดุ และโครงสร้างที่ดูทันสมัยแนวโมเดิร์นๆ และดิบ เช่น ไม้เก่า เหล็ก และกระเบือ้ ง ผสมผสานกับการ ตกแต่งในสไตล์คลาสสิกกับโทนสีครีม สีเทา สีขาว

สีด�ำ และสีธรรมชาติของไม้ชนิดต่างๆ การตกแต่งภายในร้านได้แรงบันดาลใจมาจาก การผสมผสานสองสิ่งที่แตกต่างกัน คือ Studio Loft และ Wine Cellar Room เพื่อให้เป็นร้าน อาหารกึ่งสถานที่พักผ่อน เน้นความโปร่ง โล่ง สบายๆ สไตล์ลอฟต์ แต่แฝงไว้ด้วยความหรู ดูโก้ ในบรรยากาศสลัวของห้องเก็บไวน์ ริมผนังด้าน ในตัวร้านยังตกแต่งด้วยขวดไวน์นานาชนิด แถม ยังได้สัมผัสกับการท�ำอาหารอย่างใกล้ชิดกับครัว เปิดโล่ง ซึง่ เป็นทีน่ ยิ มของร้านอาหารในยุคสมัยนี้ อารมณ์ของร้านจึงแตกต่างชัดเจน ระหว่าง บรรยากาศดูนิ่มนวลในตอนกลางวันกับแสงสี สดใสให้อารมณ์สนุกในเวลากลางคืน หากใครที่ชื่นชอบแบบโอเพนแอร์ ทางร้าน จัดโซนริมสระน�้ำไว้ ให้นั่งชิลๆ ด้วยวิวสระน�้ำ และ


ใช้รม่ สีดำ� ขนาดใหญ่ เพิม่ ความ แปลกใหม่ให้กบั การตกแต่ง

ตูเ้ ก็บไวน์ขนาดใหญ่ใช้เป็นผนังกัน้ เรียบง่ายแต่โอ่โถง

Panna Cotta

บาร์เครือ่ งดืม ่ ทีด่ ูโดดเด่น ให้อารมณ์ทผี่ ่อนคลาย และมีความเป็นส่วนตัว ช่วงดึกๆ หลังสี่ทุ่มจะมี ดีเจมาเปิดเพลงขับกล่อมเพิ่มความสนุกสนาน ให้แก่มื้ออาหาร ส่วนเรือ่ งของอาหาร ใครทีเ่ คยชืน่ ชอบรสชาติ อิตาเลียนแท้ๆ สาขาแรกในซอยทองหล่อแล้ว ทีน่ ี่ คุณจะได้สัมผัสกับรสชาติในแบบเดียวกัน เพราะ ทุกเมนู ทัง้ วัตถุดบิ และรสชาติอาหารดูแลโดยเชฟ เซอร์จโิ อ ซึง่ การันตีได้วา่ แม้จะเป็นสาขาทีส่ อง แต่ รสชาติไม่แพ้สาขาแรกในซอยทองหล่อเลยสักนิด แถมบรรยากาศโดยรอบยังดูรื่นรมย์ เพราะอยู่ ท่ามกลางธรรมชาติ ปลอดโปร่งจากท่อไอเสีย ให้ อากาศที่แสนสดชื่น ว่าแล้วขอสั่งเมนูมาชิมกันก่อนดีกว่า อย่าง แรกเป็นเมนูแนะน�ำส�ำหรับช่วงเทศกาลแห่งความ

สุขทั้งคริสต์มาสและต้อนรับปีใหม่ 2555 มีชื่อว่า ออสโซบูโคเนื้อลูกวัว (Ossobuco Di Vitello) ซึ่ง เสิรฟ ์ กับริซอตโตแซฟฟรอน เป็นเนือ้ ลูกวัวทีต่ นุ๋ จน เปือ่ ย ไม่เหนียว ให้รสชาติกลมกล่อม รับประทาน กับข้าวริซอตโตอร่อยเด็ด เมนูถัดมาชื่อว่า Diabla (Flambe') Pizza เป็นเมนูยอดฮิตที่คนชอบพิซซาจะนิยมสั่งเป็น ประจ�ำ พิซซาจานนี้จะใส่ซอสมะเขือเทศ ไส้กรอก อิตาเลียน ซาลามีรสเผ็ด พริกหวาน มะกอก พริก (จุดไฟ) บางคนเลยเรียกเมนูนเี้ ล่นๆ ว่า “พิซซาไฟ ลุก” เพราะจุดเด่นของพิซซาจานเก่ง คือไฟลุกอยู่ บนหน้าพิซซาขณะเสิร์ฟ รสชาติเข้มข้น ไม่เลี่ยน มีความเผ็ดของพริกเล็กน้อย ปิดท้ายด้วยของหวานหน้าตาดี “แพนนา คอตตา” หรือ Panna Cotta เสิรฟ์ กับซอสบลูเบอร์รี

ซึ่งเป็นของหวานยอดนิยมของชาวอิตาลี ท�ำจาก ครีมกับผงเจลาติน เนื้อครีมนุ่มลิ้น รับรองว่า ไม่เหมือนร้านไหนๆ ร้าน Bacco ทีอ่ ยู่ : 189 หมู่ 12 ซอยกิง่ แก้ว 19 ต�ำบล ราชาเทวะ อ�ำเภอบางพลี สมุทรปราการ 10540 โทรศัพท์ : 0-2762-0055 เวลาให้บริการ : จันทร์-ศุกร์ มือ้ กลางวัน 11.30-14.30 น. มื้อเย็น 17.30-22.00 น. เสาร์-อาทิตย์ เปิดทัง้ วัน 11.30-22.00 น. (ไม่มีพัก) Facebook : www.facebook.com/ bacco.restaurant

83


ชิมนอกบ้าน

Text & Photo : สุวิมล

บรรยากาศหน้าร้านสาขาหลังสวน

ภายในดูเนีย้ บ

84

เค้กดีไซน์สวย


Roast Snow fish

เก้าอีโ้ ทนสีมว่ งเด่น

ชิล ๆ ที่ LENÔTRE เพือ่ เฉลิมฉลองรับเทศกาลคริสต์มาสอีฟของชาว ตะวันตก และต้อนรับเทศกาลปีใหม่ตามปีปฏิทนิ 2555 วันนีจ้ ะขอแนะน�ำร้านอาหารสไตล์ตน้ ต�ำรับฝรัง่ เศส ที่เปิดบริการมาครบ 7 ปี จากวันนั้นถึงวันนี้ LENÔTRE ร้านคาเฟ่ สไตล์ เ ก๋ แ บบเรี ย บง่ า ย สบายๆ ในโทน ตกแต่งสีม่วง ยังคงมีเสน่ห์ ให้ความเป็นส่วน ตัว ถูกใจแฟนคลับคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบขนม เค้กเป็นชีวิตจิตใจ นอกจากรสชาติของเค้ก เบเกอรี และ ขนมปังที่แสนอร่อยแล้ว เค้กแต่ละชิ้นของ LENÔTRE ก็ล้วนผ่านความพิถีพิถันในทุก ขั้นตอนทั้งการดีไซน์และสร้างสรรค์ กลาย เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและจดจ�ำ LENÔTRE สาขาหลั ง สวน ด้ า นล่ า ง ของโครงการ Natural Ville Executive Residences ซึ่งเป็นสาขาแรกที่เปิดในเอเชีย ยังคงให้บรรยากาศเป็นกันเอง ง่ายๆ แต่เนี้ยบ เหมือนกับอาหารจานที่ถูกเสิร์ฟออกมาจาก ครัวมีระดับ โดยเชฟประจ�ำร้านจะเลือกสรร วัตถุดิบระดับพรีเมียมที่ไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อม และปลอดสาร

เช่น Seared Scallops, rea tuna, duck Foie Gras and Sushi rice with Yuzu sause ซูชิสไตล์ฝรั่งเศส อาหารฟิวชัน สองสั ญ ชาติร ะหว่ างญี่ปุ ่ น กับฝรั่ ง เศส หรือผสมผสานระหว่างโลกตะวันตกกับ โลกตะวันออก, Roast Snow fish, Wild musrooms cannalloni, Champagne & Cavier Sause อาหารฝรั่งเศสแท้ ที่ ให้รสชาติกลมกล่อมของปลาหิมะราด ด้วยซอสแชมเปญกับคาเวียร์, Pineapple Carpaccio marinated, basil and lemon sherbet ให้รสชาติห วานซ่อ นเปรี้ย ว ตบท้ายด้วยของหวานเพรสทรี เบเกอรี เค้กสวยอมตะรสนุ่มลิ้น ปัจจุบัน LENÔTRE มีสาขาที่สยาม พารากอน และโรงแรมโซฟิเทล สีลม ที่ดีไซน์เป็น LENÔTRE Boutique ส�ำหรับ ซื้อกลับบ้าน

Pineapple Carpaccio marinated

ซูชสิ ไตล์ฝรัง่ เศส ไวน์หลากยีห่ อ้

ข้อมูลร้าน LENÔTRE

ทีอ่ ยู่ : ซอยหลังสวน อาคาร Natural Ville Executive Residences เวลาให้บริการ : 06.00-22.30 น. ทุกวัน โทรศัพท์ : 0-2 250-7050-1

85


ชิมนอกบ้าน

Text & Photo : สุวิมล

สาคูไส้สมุนไพร

ขนมหวานร้านจงรักษ์ขนมไทย

เมีย่ งปลากะพงเผา ร้านอิม่ ทิพย์

เทีย่ วไปชิมไป อร่อยวิถไี ทย ก๋วยเตีย๋ วไก่ฉกี ร้านคุณปุก๊

สภาพอากาศทีอ่ ุณหภูมลิ ดต�่ำลงของ ประเทศไทย เป็นสัญญาณบอกใจเรา แล้วว่า ...น่าจะถึงเวลาที่เราควรจะเก็บ เกี่ยวความสุขเล็กๆ ในช่วงปีใหม่ หลัง จากตรากตร�ำท�ำงานหนักมาตลอดทัง้ ปี การเดินทางเสาะแสวงหาแหล่งท่องเที่ยวและหาของอร่อยๆ รับประทาน ดูจะเป็นความสุขที่เราหาได้รอบตัว ในงาน “สยามพารากอน ดิ อัลติเมต ดรีม เดสติเนชันส์ 2011” มหกรรมการท่องเที่ยวระดับพรีเมียม และเทศกาลสุดยอดอาหาร อร่อยทั่วไทยที่ยกขบวนมาให้ชิมกันกว่า 100 เมนู ณ ลานปาร์ก พารากอน ใจกลางกรุงเทพฯ เป็นอีกจุดหมายปลายทางหนึ่งที่ท�ำให้เรา รู้ว่า “เมืองไทยมีดี”

86


ข้าวเหนียวเบญจรงค์ ร้านพุม่ หิรญ ั

เพราะแต่ละเมนูที่เจ้าภาพคัดสรรมา เรียก ว่า ‘อร่อยขั้นเทพ’ การันตีโดยการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย (ททท. ) ในฐานะผู้สนับสนุนหลัก การแวะชิมอาหารอร่อยๆ ระดับ 5 ดาวจึงช่วย ให้เรารู้ซึ้งถึงวิถีไทย อาหารและขนมพื้นบ้านที่ดู สวยงาม และรสชาติเป็นหนึ่ง ซึ่งคงไว้ด้วยเสน่ห์ มากมาย ว่าแล้วขอพาไปชิมกันดีกว่า! เริ่มต้นกันที่ร้าน ‘นายเต้ ดอกไม้ทอด’ ทีม่ าพร้อมเมนู พิเศษแบบพืน้ บ้านทีห่ าชิม ได้ยาก กับดอกไม้ทอด นานาชนิด ทั้งกุหลาบ เฟื่องฟ้า ลีลาวดี ดาว เรือง ดอกเข็ม อัญชัน และโสน แต่ละสีอุดม

ดอกไม้ทอด ร้านนายเต้

ไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ยิ่งรับประทานคู่กับ น�้ำจิ้ม 3 รสจะได้ครบรสชาติ ‘ข้าวเกรียบปากหม้อ’ อาหารว่างจากร้านป้าโอ๋ วัดไทร เป็นข้าวเกรียบปากหม้อและสาคูมังสวิรัติ ผสมสมุนไพร เหมาะส�ำหรับคนรักสุขภาพ ทีม่ เี นือ้ แป้งบางเหนียวนุ่มหลากหลายสีจากสีธรรมชาติ เช่น สาคูดอกอัญชัน, สาคูงาขาว, งาด�ำ, สาคู กระเจี๊ยบสด, สาคูฟักทอง และสาคูใบเตย ฯลฯ ประกอบกับไส้ ไชโป๊วที่ผัดจนหอมกรุ่น ส่วนเมนูสุขภาพ ‘เมี่ยงปลากะพงเผา ร้านอิ่ม ทิพย์’ เปิดมานานกว่า 20 ปีแล้ว ได้รบั ความนิยมทัง้ ลูกค้าคนไทยและชาวต่างชาติจนต้องติดตามเสาะ หาความอร่อยไปถึงร้านที่มหาชัย กับปลากะพง สดใหม่จากกระชัง ย่างจนหอมกรุ่น รับประทาน คู่ผักสดกรอบ และเส้นหมี่เหนียวนุ่มพร้อมน�้ำจิ้ม ซีฟูดรสแซบ ตามด้วย ‘ร้านข้าวแช่ปา้ เฉลียว’ เมนูต้นต�ำรับ ชาววัง สูตรเครือ่ งเสวยทรงโปรดในรัชกาลที่ 5 ท่าน จะได้ลมิ้ รสข้าวหอมมะลิทมี่ าพร้อมกับ “น�้ำดอกไม้” หอมทั้งกลิ่นมะลิ และกระดังงา เคล็ดลับพิเศษ อยู่ที่ ‘ลูกกะปิทอด’ ซึ่งถือเป็นหัวใจส�ำคัญของ ข้าวแช่ ทีเ่ ลือกใช้กะปิอย่างดีโขลกกับสมุนไพรไทย รับประทานคู่กับเนื้อปลาดุกหรือเนื้อปลาฉลาด ย่าง ยีและผัดกับหัวกะทิด้วยไฟอ่อนๆ, หัวไชโป๊ว ผัดหวาน, หมูสบั , ปลาเค็ม, พริกหยวกสอดไส้, หอม สอดไส้ และเนื้อเค็มฝอย ล้วนเป็นเครื่องเคียง ที่ขาดไม่ได้ ในส�ำรับข้าวแช่

‘ข้าวเหนียวเบญจรงค์’ จากร้านพุม ่ หิรญ ั ทีไ่ ด้ ชือ่ ว่าเป็นข้าวเหนียวสมุนไพรเพือ่ สุขภาพ เด่นด้วย ข้าวเหนียวนุม่ หอมมันหลากสีชวนรับประทาน โดย ใช้สีจากธรรมชาติ เช่น ดอกอัญชัน, ใบเตย และ บีตรูต รับประทานกับหน้าสังขยา หน้าปลาแห้ง หน้ากระฉีก อร่อยจนต้องขอลองอีก ขนมหวานจากร้าน ‘จงรักษ์ขนมไทย’ ของดี ประจ�ำเขตตลิง่ ชันทีส่ บื ทอดการท�ำขนมไทยตระกูล เครือ่ งทองมานานกว่า 2 ชัว่ อายุคน โดยมีเมนูแนะน�ำ ‘เม็ดขนุนเผือก’ เคล็ดลับความอร่อยอยูท่ ไี่ ส้เผือก ที่กวนจนเนียนนุ่ม และรสชาติไม่หวานมาก ‘ขนมเบื้องแม่บุญชู’ ขนมเบื้องโบราณที่เลือก ใช้แป้งถั่วทองคั่วผสมแป้งข้าวเจ้า จนเป็นแป้ง ขนมเบื้องสุดพิเศษที่บางกรอบ มีให้เลือกสรรทั้ง ไส้เค็มและไส้หวาน ‘ร้านก๋วยเตีย๋ วไก่ฉกี คุณปุก๊ ’ ของอร่อยทีม ่ ชี ื่อ เสียงเลื่องลือจากพระนครศรีอยุธยา จังหวัดที่ได้ รับผลกระทบมากที่สุดจากมหาอุทกภัย 2554 ที่ ผ่านมา ไปเที่ยวกันนะคะ เพื่อให้คนท้องถิ่นรู้ว่า คนไทยไม่ทิ้งกัน เพื่อร่วมย้อนความสนุกในวันวาน ‘ร้านกว่า จะเก่า’ เป็นร้านที่คัดเลือกมาให้ชอป ทั้งของเล่น ขนม และข้าวของเครื่องใช้สไตล์โบราณ เช่น หมวกกะโล่, ของเล่นสังกะสี, ตุ๊กตากระดาษ ฯลฯ ให้ ได้หวนระลึกถึงวัฒนธรรมและประเพณี อันดีงามของไทย สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2610-8000

87


เที่ยวนอกบ้าน

Text & Photo : จิรัฏฐ์ สิริเฉลิมพงศ์

อียิปต์

สุดยอดดินแดนอารยธรรมของโลก บนลุ่มแม่น�้ำไนล์

88


ผมชอบฉากท้ายๆ ในหนังเรือ่ ง ‘10,000 BC’ ครับ เรือ่ งราวในช่วง 10,000 ปีกอ่ นคริสตกาล ฉากที่ ตัวเอกเดินทางไปถึงดินแดนทีถ่ กู ปกครองด้วยผูท้ มี่ อี ารยธรรมเหนือกว่า (สะท้อนเป็นสัญลักษณ์ ของเทพเจ้า) ซึง่ กดขีผ่ คู้ นให้เป็นทาส เกณฑ์มาสร้างอาณาจักรอันยิง่ ใหญ่ มีกลุม่ พีระมิดสูงเสียดฟ้า ฉากนีท้ ำ� ให้นกึ ถึงตอนเด็ก ๆ ซึง่ ผมชอบอ่านเรือ่ งราวลึกลับ เรือ่ งของมนุษย์ตา่ งดาว ซึง่ พีระมิดหนึง่ ใน สิง่ มหัศจรรย์ของโลกก็เป็นเรือ่ งหลักในหนังสือเหล่านัน้ พีระมิดจึงถูกผมกาไว้ในใจแต่เด็กว่าจะต้อง ไปเยือนสักครั้ง และมันก็อดคิดไม่ได้ว่า อารยธรรมเหล่านี้จบสิ้นลงไปตามอายุขัยของผู้สร้าง หรือเพียงแต่เขาเหล่านัน้ ได้เดินทางไปจากดาวสีนำ�้ เงินแห่งนี้

วิหารอะบูซมิ เบล สัญลักษณ์ของอ�ำนาจล้นฟ้าและศรัทธาอันยิง่ ใหญ่ทคี่ วรไปชมสักครัง้ ในชีวติ

89


เที่ยวนอกบ้าน

เสาหินสลักงามๆ ทีค่ ณ ุ จะพบในทุกวิหาร

ก�ำแพงวิหารขนาดมหึมาและรูปสลักขนาดไม่แพ้กนั

วิหารคอมออมโบแหล่งความเจริญของความรูท้ างการแพทย์และ ความก้าวหน้าทางวิทยาการ

ผมเดินทางไปอียิปต์ ในช่วงสงกรานต์ ดังนั้น การเดินทางไปสุวรรณภูมินั้นสาหัสทีเดียว และ ต้องหาอะไรฆ่าเวลาอีกนานโขเพราะสายการบินที่ เราไปคือ คูเวตแอร์ ไลน์มนั ออกตี 2 ครึง่ แถมตอน ที่ไปเปลี่ยนเครื่องที่คูเวตก่อนจะต่อไปอียิปต์นั้น จริงๆ เราต้องรอประมาณ 3 ชม. แต่มันดีเลย์ ไป ร่วม 7 ชั่วโมงกว่า ของก็ซื้อไม่ลงเพราะ 1 KD≈ 120 บาท (ณ ตอนนัน้ ) ความน่าหงุดหงิดและท�ำให้ เข้าใจสิง่ ทีค่ นไทยพูดว่า ให้ตแี ขกก่อนตีงู ก็ทสี่ นาม บินมีปา้ ยห้ามสูบบุหรีข่ นาดเบ้อเริม่ มันก็เลือกสูบ ตรงใต้ป้ายนั่นแหละ นั่งๆ นอนๆ จนหายอยาก ก็ถึงเวลาเครื่องออก ใช้เวลาไม่นานนักผมก็ได้ เดินทางมาถึงอียปิ ต์จนได้ มีคนว่าไว้วา่ จะมาเทีย่ ว อียปิ ต์ควรตระเวนจากใต้ ไปเหนือ (เพราะจะได้จบ

90

รูปสลักเทพเจ้าทัง้ 3 พระองค์ทจี่ ะเห็นตลอดใต้จรดเหนือ

ทีแ่ หล่งชอปปิง้ ทีไ่ คโรพอดี) และจากนีค้ อื การเดิน ทางท่องดินแดนอารยธรรมโบราณตามเส้นทาง สายน�ำ้ ไนล์ (NILE) สายน�ำ้ ทีย่ าวทีส่ ดุ ในโลก สายน�ำ้ ที่เราได้ยินชื่อมาตั้งแต่เรียนชั้นประถม การเดิน ทางเริม่ ทีแ่ รกคือ เมืองลุกซอร์ (LUXOR) ขอเตือน ก่อนเลยนะครับว่าบ้านนีเ้ มืองนีอ้ ะไรทีด่ เู ป็นน�้ำใจ น่ารักหยิบยื่นมาให้จากชาวถิ่น อย่าได้รับเชียวนะ ครับ แค่ทชิ ชูเข้าห้องน�ำ้ ก็เถอะ เพราะมันจะมีเสียง หลอนลอยมาว่า “one dollar one dollar” ผม เตือนคุณแล้วนะครับ ผมได้ชมความเป็นอียิปต์ แห่งแรกคือวิหารลุกซอร์ ด้วยความที่มันเป็นจุด แรกที่แวะมาเลยตื่นตาตื่นใจมากถ่ายรูปทุกมุม ที่เจอ ทั้งเสาโอบีลิสก์ (OBELISK) ก�ำแพงที่มี ภาพสลักและอักษรเฮียโรกลิฟ (HIEROGLYPH)

รวมไปถึงรูปปัน้ ฟาโรห์รามเชสที่ 2 (RAMESSES II) องค์มหึมา อีกจุดที่แสดงความยิ่งใหญ่คือ ถนน สฟิงซ์ (SPHINX) เชื่อมระหว่างวิหาร 2 แห่ง คือ ลุกซอร์กับคาร์นัค (KARNAK) เป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ประมาณว่าเดิมถนนนี้มีสฟิงซ์ สองข้างทางจ�ำนวนมากถึง 600 ตัว!!! วันต่อมา ผมออกเดินทางแต่เช้าเพื่อไปที่ ‘หุบเขากษัตริย์’ (VALLEY of the KINGS) ผมจะอธิบายความ ยิ่งใหญ่อย่างไรดี เอาเป็นว่าคุณจะได้เห็นหุบเขา แห้งแล้งมหึมาสุดลูกหูลกู ตา ถ้าใครบังเอิญหล่นตุบ้ มาอยูบ่ ริเวณนีค้ นเดียวก็คงตายเท่านัน้ แต่ทนี่ กี่ ลับ มีสุสานของฟาโรห์นับสิบพระองค์ฝังอยู่ ความยิ่ง ใหญ่คือสุสานของแต่ละพระองค์เป็นสิ่งก่อสร้าง ยิง่ ใหญ่เป็นอุโมงค์เจาะเข้าไปในเขา โดยเริม่ สร้าง


มุมมองของชัน้ 2 ของหมูบ่ า้ นชาวนูเปียนเห็นสันเขือ่ นห่างออกไปไม่มากนัก

ตัง้ แต่เริม่ ขึน้ ครองราชย์ ถ้าพระองค์ไหนครองราชย์ นานก็จะมีสสุ านขนาดมหึมา สุสานของบางพระองค์ ลึกเป็นร้อยเมตร!!! และระหว่างทางซ้ายขวาคือ ห้องเก็บสมบัติทั้งห้องจริงห้องหลอก เมื่ออยู่ใน นัน้ คุณจินตนาการอ�ำนาจบารมีอนั ล้นฟ้าของฟาโรห์ ได้เลย สุสานของฟาโรห์พระองค์หนึ่งที่ถ้ามาถึง แล้วไม่เยือน กลับบ้านโดนล้อจนลูกบวช คือสุสาน ของฟาโรห์ตตุ นั คาเมน (TUTANKHAMEN) ฟาโรห์ ทีค่ รองราชย์สนั้ และสิน้ พระชนม์ ในขณะเจริญพระ ชนมายุเพียง 19 พรรษา แต่มสี มบัตจิ ำ� นวนมหาศาล รูปหน้ากากฟาโรห์ทองค�ำทีเ่ รามักเห็นตามนิตยสาร ต่างๆ ก็เป็นของฟาโรห์พระองค์นี้ ตอนนีไ้ ด้ถกู เก็บ ไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่ไคโร ภายในสุสานของ ตุตันคาเมน ผมโชคดีที่ได้เห็นมัมมี่ของพระองค์ เพราะมัมมี่ของพระองค์คือแหล่งรายได้ชั้นดีของ ประเทศนี้ เพราะมักถูกน�ำไปแสดงตามพิพธิ ภัณฑ์ อืน่ ๆ ทัว่ โลก และเนือ่ งจากมีการสร้างสุสานต่อเนือ่ ง กันมาหลายร้อยปี ดังนัน้ สุสานของฟาโรห์องค์หลังๆ ก็มบี า้ งทีไ่ ปทับอยูบ่ นฟาโรห์องค์กอ่ นๆ โดยไม่ได้ ตัง้ ใจ อย่างกรณีสุสานของตุตันคาเมน ก็ถูกสร้าง ทับจึงเป็นโชคดีทที่ �ำให้เจ้าหัวขโมยหาไม่พบ สมบัติ จึงอยู่ค่อนข้างครบถ้วน ออกจากหุบเขากษัตริย์ เราก็ออ้ มเพือ่ ไปเยือน วิหารฮัตเชปซุต (HATSHEPSUT) แม้จะตื่นตาตื่นใจแต่ความร้อนแห้งที่นี่เข้า ขั้นทารุณ ชุดที่เราใส่จะต้องพร้อม เสื้อแขนยาว หรือเสื้อยืดพร้อมปลอกแขน กางเกงขายาว แว่น ด�ำ หมวก รองเท้าผ้าใบ ผมขอบอกว่า อียปิ ต์ ไม่ใช่ สถานที่ท่องเที่ยวส�ำหรับคนที่ไม่หลงรักกองหิน

โบราณเหล่านี้ ไกด์เล่าว่าเคยมีครอบครัวหนึ่ง คุณพ่อคุณลูกอยากมามากก็เลยลากคุณแม่มา ด้วยและคุณแม่ก็มาระเบิดตูมท่ามกลางอุณหภูมิ 40 กว่าองศาเซลเซียส ว่า “จะดูอะไรกันนักหนา กับก้อนหินพวกนี้ ร้อนก็ร้อน” ดังนั้นอย่าได้คิดว่า จะพาแฟนไปเซอร์ ไพรส์อะไรทีน่ นั่ เชียว ความสง่า งามของวิหารฮัตเชปซุต คือเสาที่เรียงรายเป็น ระเบียบเป็นแถวยาว พอถ่ายรูปออกมาแล้วมันดู เหมือนวิหารกรีกโรมันที่เห็นในรูปบ่อยๆ แต่ที่นี่ เป็นหินทราย ขอบคุณที่มีกล้องดิจิตอลบนโลกนี้ ไม่เช่นนั้นค่าล้างอัดรูปอาจจะได้ตั๋วไปอียิปต์อีก รอบทีเดียว เดิมทีที่ฮัตเชปซุตจะมี 3 วิหารต่อกัน เพราะฟาโรห์แต่ละองค์ค่อยๆ สร้างเพิ่มแต่พังไป ตามกาลเวลาเหลือเพียงหลังกลางให้เราได้ชมกัน ความร้อนสร้างรายได้ ให้คนแถวนี้ได้ดีนักเพราะ โค้กกระป๋องละ 20 Egyptian Pound ซึ่ง 5 Egyptian Pound ≈ 1 USD นั่นหมายถึงโค้ก กระป๋องละแถวๆ 120 บาท เลือดสาดทีเดียว (บอก แล้วเจอแขกให้ตี) จากนั้นเราก็ออกเดินทางเพื่อ มุง่ สูว่ หิ ารคาร์นคั ทีน่ ที่ ำ� ให้ผมร้องในใจว่า “โอ้ เอ็ง จะใหญ่ไปไหน จะศรัทธาอะไรกันนักหนา” ขนาด อันมหึมาประมาณว่าสามารถบรรจุโบสถ์ ใหญ่ๆ ลงไปได้ถงึ 600 หลัง!!! (ทริปนี้ เครือ่ งหมายตกใจ จะเยอะหน่อยนะครับ) ถือเป็นวิหารที่ ใหญ่ที่สุด แถมยังมีเสาหินสูง 29 เมตร ก็ถือว่าสูงที่สุดใน ยุคนั้น วางเรียงเป็นตับ ถามวิศวกร พ.ศ.นี้ยังมึน ว่าขนมายังไง แกะสลักยังไง และเสาโอบีลิสก์ที่มี ขนาดสูงที่สุดก็อยู่ที่นี่ (เสาโอบีลิสก์ก็ไอ้เสาหัว

เหลีย่ มแหลม ทีว่ างกลางกรุงปารีสนัน่ แหละ เพราะ เขาปล้นเอาไปจากอียิปต์) จากนั้นเรามาลงเรือ ส�ำราญเพื่อล่องแม่น�้ำไนล์ (NILE) คนที่ชอบเรียน ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การได้ล่องผ่านแม่น�้ำ สายนีบ้ นแผ่นดินอารยะธรรมทีแ่ สนยิง่ ใหญ่มนั ได้ อารมณ์ดีสุนทรีย์จริงๆ ครับ และยังได้ชอปปิ้ง แบบเร้าใจ เพราะขณะทีค่ ณ ุ ยืนบนดาดฟ้าเรือชัน้ 4 จะมีเรือพายเอาของมาขาย วิธีให้ดูสินค้าคือเขา จะโยนจากเรือพายขึ้นมาดาดฟ้าชั้น 4 เจรจาจน พอใจเราก็เอาเงินใส่ถงุ พลาสติกโยนกลับลงไปให้ เขา แต่ๆๆๆ ต่อราคาให้ตายไปเลยนะครับ เขาตัง้ ราคา 40 USD ผมต่อเหลือ 5 USD ทั้งๆ ที่ผม ไม่ใช่คนต่อราคาเก่งนัก มันร้องโอ้มายก็อด แต่ ดันให้ที่ 7 USD แบบนีแ้ ขกมันควรถูกตีมยั้ ล่ะครับ คืนนั้นเรือต้องล่องผ่านจุดที่ระดับน�้ำ 2 ฝั่งแม่น�้ำ ไม่เท่ากัน เราก็ได้สนุกสนานกับระบบวิศวกรรม ในการถ่ายน�้ำเข้าออกในระหว่างประตูน�้ำเพื่อยก เรือที่เราโดยสารมา จากฝั่งน�้ำระดับต�่ำไปสู่ฝั่งที่ น�้ำระดับสูงเพื่อมุ่งหน้าไปที่เมืองเอ็ดฟู (EDFU) เช้าวันรุ่งขึ้น เมื่อเรือเทียบท่าเราก็ต่อรถม้าเพื่อ ไปชมวิหารเอ็ดฟู ระหว่างทางเจ้าคนขีก่ ช็ ี้ให้ดดู ว้ ย ความภูมิใจว่านี่โรงพยาบาลของเมืองเรา แต่ใน ใจผมคิดว่า “พระเจ้า ขอให้ผมอย่าได้มาป่วยที่ อียิปต์เลยทีเดียวเชียว” ความน่าสนใจของวิหาร เอ็ดฟูคือเป็นวิหารขนาดใหญ่ที่ยังมีหลังคาหลง เหลืออยู่ ในขณะที่ลุกซอร์กับคาร์นัคหลังคาพัง หายไปหมดแล้ว ภายในวิหารเอ็ดฟูมีภาพสลัก เรือ่ งราวการรบของรามเชสที่ 2 แบบค่อนข้าง

91


เที่ยวนอกบ้าน

รูปแกะสลักของอเมนโฮเทปที่ 3

พีระมิดขัน้ บันไดถูกสร้างขึน้ ในยุคก่อนมหาพิระมิดกีซา่

หินสลักองค์รามเชสที่ 2 ขนาดมหึมาในพิพธิ ภัณฑ์

จะสมบูรณ์ (ในระหว่างทริปจะได้ยนิ ชือ่ รามเชสที่ 2 บ่อยมาก เพราะเป็นนักรบนักปกครองทีย่ งิ่ ใหญ่มาก) บนเพดานของวิหารจะเห็นคราบสีด�ำเต็มไปหมด เกิดจากสมัยที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (ALEXANDER THE GREAT) ยกทัพจากยุโรปมาตี อียิปต์ ชาวบ้านหนีตายมาหลบในนี้ แต่เนื่องจาก ตอนนั้นวิหารถูกทิ้งล้างมานานจึงมีทรายถมอยู่ สูง ชาวบ้านที่เข้ามาหลบภัยจุดไฟหุงหาอาหารก็ ท�ำให้เขม่าเกาะไปทั่วเพดานวิหาร และแทบทุก วิหารทีเ่ ราไปจะเห็นรอยสิว่ ทีพ ่ ยายามตอกท�ำลาย ภาพสลักต่างๆ เพราะพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ มหาราชบังคับให้คนมานับถือคริสต์ จึงพยายาม ท�ำลายเรื่องราวศาสนาอื่นที่บันทึกไว้ ช่วงบ่ายเรา เดินทางไปบนแม่น�้ำไนล์อีกครั้งผ่านโค้งน�้ำจุด สวยๆ หลายจุด เห็นเรือท่องเที่ยวรูปร่างแปลกๆ บ้านเรือนสองฝั่งน�้ำที่สร้างชั้นบนไม่เสร็จ (ท�ำให้ เสียภาษีต�่ำลง) และที่สุดท้ายของวันนี้คือ วิหาร คอมออมโบ (KOM OM BO) ทีน่ คี่ อื ทีบ่ นั ทึกความ เจริญของความรูแ้ ละวิทยาการในสมัยนัน้ บนผนัง จะมีการสลักรูปเครื่องมือแพทย์มากมาย รวมไป

92

เสาแกะสลักตลอดต้นมาตรฐานฝีมอื ชาวอียปิ ต์โบราณ

ถึงวิธีการท�ำคลอด มีบ่อน�้ำซึ่งนอกจากจะใช้วัด ระดับน�ำ้ ในแม่นำ�้ (เพราะในสมัยนัน้ อุทกภัยคือภัย พิบัติที่สามารถท�ำลายอารยธรรมได้เลย) และยัง เป็นเครือ่ งมือก�ำหนดอัตราภาษี ถ้าน�ำ้ ดีพชื พรรณ งอกงามก็จะเก็บภาษีสงู หน่อย และยังมีเทคโนโลยี การก่อสร้าง โดยที่รอยต่อของหินจะมีการเซาะ ร่องแล้วเอาลิ่มไม้สอดไว้แล้วก็หยอดน�้ำ พอไม้ บวมน�้ำก็จะอัดให้หินดันตัวเข้าหากัน วันรุ่งขึ้นเรา ออกเดินทางตั้งแต่ตี 5 เพื่อไปเยือนอะบูซิมเบล (ABUSIMBIL) การไปที่อะบูซิมเบลต้องไปเป็น กองคาราวานโดยมีเจ้าหน้าทีต่ ำ� รวจทหารน�ำทางไป เนื่องจากเมื่อหลายปีก่อนกบฏซูดานเคยมีการ ดักยิงปล้นขบวนรถนักท่องเทีย่ ว (เมืองอะบูซมิ เบล อยู่ติดชายแดนซูดาน) เราต้องวิ่งผ่านทะเลทราย ซาฮารา (SAHARA) โอ้ ซาฮาราทะเลทรายที่ใหญ่ ทีส่ ดุ ในโลก ชือ่ ทีค่ นุ้ เคยแต่วยั เด็กไม่แพ้แม่น�้ำไนล์ ภาพทะเลทรายซาฮาราอันเวิ้งว้างตอนเช้าที่ดู เงียบเหงามันท�ำให้รสู้ กึ สงบดีจงั ครับ เมือ่ บวกกับ ภาพพระอาทิตย์ขึ้นกลางทะเลทรายช่างงามหยด ความเวิ้งว้างท�ำให้เส้นขอบฟ้ากว้างและโล่ง

ลองหลับตาแล้วนึกตามดูสิครับ อะบูซิมเบลคือ หนึง่ ในไฮไลต์ของทริปเลยครับ จริงๆวิหารนีต้ อ้ ง จมใต้น�้ำเพราะการสร้างเขื่อน แต่ความยิ่งใหญ่ ของมันท�ำให้ UNESCO ต้องระดมทุนมาตัดวิหาร เป็นส่วนๆ แล้วยกมาประกอบใหม่!!! (ผมเคยดูจาก Discovery มันท�ำให้ผมรูว้ า่ สมองมนุษย์นอี่ ศั จรรย์ เหลือเกิน) แต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เรา ก็พอจะเดาได้ว่าภายใต้เขื่อนนั้นยังมีเรื่องราว ประวัตศิ าสตร์ฝงั อยู่อีกมากมายและกว่าจะได้พบ เราอาจจะต้องผ่านการล้างโลกอีกครั้งกระมัง ด้านหน้าวิหารมีรปู สลักขนาดยักษ์ของเทพ 4 องค์ คือ รามเชสที่ 2, ฮอร์ลัส (HORLUS), อะนูบีส (ANUBESE) เทพความตายหัวสุนัข และ รา (RA) เทพพระอาทิตย์ นัง่ อยูส่ องข้างวิหาร เห็นเท่านีผ้ ม ก็ว่าชีวิตแสนคุ้มแล้วครับ ติดๆ กันก็มีวิหารของ พระนางเนเฟอร์ตารี (NEFERTARY) ซึ่งเป็นพระ มเหสีของรามเชสที่ 2 ซึง่ ตัววิหารยิง่ ใหญ่ไม่นอ้ ยห น้ากว่ากัน หามุมถ่ายรูปให้เห็น 2 วิหารต่อกันแล้ว ไม่วา่ จะเป็นนักถ่ายรูปมือใหม่ขนาดไหนก็จะรักรูป นัน้ วันต่อมาผมได้ ไปเยือนวิหารฟิเล (PHILAE) ซึง่


เขาวิหารเรียงเป็นตับทีว่ หิ ารฟิเล อย่าพลาดประสบการณ์ขอี่ ฐู ชมพีระมิดกีซา่

อยูบ่ นเกาะกลางน�ำ้ อ้อ ระหว่างทางมีแวะประมาณ 10 นาที เพือ่ ลงไปชมพระราชานุสาวรียข์ องกษัตริย์ เมมนอน (COLOSSI of MEMNON) ผมชอบ พระราชานุสาวรียอ์ นั นีม ้ ากมันดูแปลกเพราะเป็น หินแกะสลัก ของอะเมนโฮเทปที่ 3 (AMENHOTEP III) องค์มหึมา 2 องค์ (ท�ำไมต้อง 2 องค์ไม่ทราบได้) นัง่ อยูโ่ ดยไม่มสี งิ่ ก่อสร้างอืน่ เลย มันดูยงิ่ ใหญ่ แต่ เหงาอย่างไรพูดไม่ถูก เหตุการณ์แผ่นดินไหวได้ ท�ำให้หนิ มีรอยแยกเมือ่ ลมพัดผ่านร่องจึงเกิดเสียง เหมือนเสียงร้องด้วยความเจ็บปวด (ไกด์เขาเล่ามา อย่างนัน้ แต่ผมงงว่า อะเมนโฮเทปจะมาโหยหวน ท�ำไม) กลับมาทีฟ ่ เิ ล ความงามอาจจะไม่มอี ะไรโดด เด่นมากนักเมื่อเทียบกับวิหารอื่นๆ ที่ผ่านมา แต่เสน่หข์ องมันทีผ่ มชอบคือเสาทีเ่ รียงรายสองฝัง่ (ผมต้องมีความทรงจ�ำอะไรฝังใจกับเสาแหงๆ เลยครับ) ตรงทางเดินเข้าไป และภายในวิหารจะได้ เห็นอักษรโรมันจ�ำนวนมากทีแ่ กะทับอักษรเดิมร่อง รอยจากสมัยทีย่ โุ รปมารุกรานอียปิ ต์กไ็ ด้เติมเสน่ห์ ทางประวัตศิ าสตร์ ให้วหิ ารนี้ คืนนัน้ เราต้องเดินทาง ไปไคโร (CAIRO) ด้วยรถไฟตูน้ อนเพือ่ มุง่ สูส่ ถานี

มัสยิดหน้าตลาดข่าน

เงาแดดยามอาทิตย์อสั ดงบนก�ำแพงอารยธรรมทีส่ าปสูญ

กิซา (GIZA) ในวันรุง่ ขึน้ ผมลืมบอกไปว่าทัง้ เรือ ส�ำราญ ทัง้ รถไฟตูน้ อนทีอ่ ยี ปิ ต์ความสะดวกสบาย และความสะอาดถือว่าอยู่ในระดับทีด่ เี ลยครับ ทีน่ ี่ ผมได้ ไปเยือนมหาพีระมิดแห่งกิซา 1 ใน 7 สิ่ง มหัศจรรย์ของโลก ผมไม่หาญกล้าอธิบายความยิง่ ใหญ่ของมันหรอกครับ เอาเป็นว่าตอนทีม่ นั ปรากฏ ตรงหน้านัน้ หัวใจผมพองโต มันคือความฝันแต่เด็ก ถ้าคุณได้ ไปเยือนผมอยากให้คณ ุ ซือ้ บัตรเข้าไปชม ความลึกลับภายในของพีระมิด มันไม่มไี สยศาสตร์ อะไรหรอกครับ แต่บรรยากาศในนัน้ มันกดดันความ รู้สึกดีพิลึก และภายในห้องเก็บพระศพมืดสนิท จริงๆ ความกลัวความกังวลท�ำให้อาจารย์ผหู้ ญิง ที่เป็นเพื่อนร่วมทริปท่านหนึ่งเป็นลมล้มทั้งยืน โชคดีที่มีคนรับพี่เขาไว้ทัน และถ้าคุณโชคดีคุณ อาจจะได้เจอคนแปลกๆ ทีเ่ ข้าไปท�ำอะไรเพีย้ นๆ เหมือนทีผ่ มเจอ(ฝรัง่ เข้าไปนัง่ เหมือนท�ำสมาธิรบั พลังอะไรสักอย่าง จนเจ้าหน้าทีต่ อ้ งมาเชิญออก) จริงๆ แล้วทริป 8 วัน 7 คืนนีผ้ มได้บนั ทึกพร้อม ภาพวาดลายมือผมออกมาได้ยาวกว่า 20 หน้าของ สมุดสเกตช์ที่ผมพกไปด้วย แต่ผมคงต้องจบ

เนือ้ หาทริปนีไ้ ว้แค่นเี้ พราะเนือ้ ทีจ่ ำ� กัด นอกจากที่ ผมเล่ามาแล้วผมยังได้ ไปเยือนพิพธิ ภัณฑ์แห่งชาติ ของอียปิ ต์ (EGYPTIAN MUSEUM) ซึง่ แม้สลู้ ฟ ู ร์ (LOUVRE) ไม่ได้แต่ขาดกันไม่กขี่ ดี การล่องเรือเฟลุ กกะ (FELUCCA) และเยือนหมู่บ้านชาวนูเบียน (NUBIAN) ก็สร้างความสุขให้ผมไม่นอ้ ย ความยิง่ ใหญ่ของเขือ่ นอัสวาน (ASWAN DAM) อันเป็น ความภูมิใจของชาวอียป ิ ต์วา่ เป็นสิง่ ก่อสร้างทีย่ งิ่ ใหญ่นบั จากมหาพีระมิดแห่งกิซา และสุดท้ายคือ ตลาดข่าน (KHAN El KHALILI BAZAAR) ทีผ่ ม อยากจะบอกว่าไปอียปิ ต์อย่าจ่ายเงินซือ้ อะไรจนกว่า จะมาถึงตลาดข่านทีไ่ คโร ถ้าเรือ่ งราวทีผ่ มเล่ามา ยังไม่ดึงดูดเพียงพอ ผมก็ขอยืมประโยคของ อาร์โนลด์ ทอยน์บี (Arnold Toynbee) ทีพ ่ ดู ว่า “SEE ANKOR WAT AND DIE” โดยผมขอ แปลงเป็น “DON’T DIE BEFORE SEEING EGYPT”

93


INSEE Society

Text & Photo : นาฏฤดี กฐินเทศ

Green School ปูนอินทรี จิตอาสากับอาคารเรียนสีเขียว “ถ้ามีงานอาสาทีไ่ หน จะตามไปช่วยทุกที่ จะไกลแค่ไหน ล�ำบากแค่ไหนก็จะไป เพราะ สิ่งที่ตอบแทนกลับมาคือ ความภาคภูมิใจในผลงานที่ท�ำขึ้นมาให้ประเทศชาติ พ่อแม่ก็ภาคภูมิใจในตัวผมด้วยครับ” เป็ น ค� ำ บอกเล่ า ถึ ง ความรู ้ สึ ก ในใจของ คุณชนินทร์ ค�ำเทศ นักศึกษา ปวส.ปี 1 สาขาช่าง ก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี ทีไ่ ด้อาสามา สร้างอาคาร “อินทรีอาษา” ณ โรงเรียนต�ำรวจตระเวน ชายแดนมิตรมวลชน 2 อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ตามโครงการ โรงเรียนสีเขียว หรือ Green School ทีไ่ ด้ดำ� เนินการร่วมกับ ส�ำนักงานโครงการสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น โครงการระยะเวลา 3 ปี นอกเหนือจากการสร้าง อาคารเรียนให้แก่น้องๆ เยาวชนในพื้นที่กันดาร ห่างไกล อย่างโรงเรียนต�ำรวจตระเวนชายแดน แล้ว บริษัทฯ ยังเน้นการฝึกอาชีพให้แก่นักเรียน

94

และชุมชนในพื้นที่รอบโรงเรียน เช่น การผลิต บล็อกดินซีเมนต์ หรือประสานความร่วมมือกับ วิทยาลัยสารพัดช่างในพื้นที่ ภายใต้แนวคิดของ โครงการ “โรงเรียนสีเขียว” ทีน่ อกจากสร้างทักษะ ความรู้คู่กับการสร้างความใส่ ใจในสิ่งแวดล้อม ให้แก่เยาวชนของชาติแล้ว ยังเป็นแนวทางการ พัฒนาอย่างยัง่ ยืนในการให้ชมุ ชนรวมถึงพันธมิตร ทุกภาคส่วนได้มสี ว่ นร่วมอย่างจริงจัง และสร้างวิถี แห่งการอยูร่ ว่ มกันเพือ่ การพัฒนาสังคมให้นา่ อยู่ ตาม แนวคิด “Growing Green Together”ของบริษทั ฯ อีกด้วย เรืออากาศโท คันธนิธิ์ สุคนธทรัพย์ รองประธาน

ด้านธุรกิจสัมพันธ์ บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง กล่าวว่า “หัวใจหลักของโครงการนี้คือ การมีส่วน ร่วมของหลายภาคส่วน ในการท�ำความดีเพื่อ สังคม โดยสมาคมสถาปนิกสยามฯ ช่วยอาสามา ออกแบบอาคารทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม ประหยัด พลังงาน ส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ก็สนับสนุนให้นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคในสังกัด ทั้ง ช่างโยธา ช่างก่อสร้าง ไฟฟ้า ฯลฯ มาร่วมสร้าง อาคารจนเสร็จ หรือร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่าง มาฝึกอาชีพให้ครู นักเรียน และชุมชน ให้มีอาชีพ เลี้ยงตนต่อไป เรียกได้ว่าเป็นการรวมพลของคน ท�ำดีได้อย่างเต็มปากเลยนะครับ”


Text & Photo : ณัฐวุฒิ ตราชู

INSEE Society

ทีมอินทรีอาสา

รวมพลังกาย ได้ใจ ช่วยภัยน�ำ้ ท่วม มหาอุทกภัยปี 2554 ส่งผลกระทบต่อประชาชน คนไทยมาก แต่วกิ ฤตนีไ้ ด้เกิดปรากฏการณ์นำ�้ ใจ มหาศาลทีห่ ลัง่ ไหลจากทุกภาคส่วน บริษทั ปูนซีเมนต์นครหลวง จ�ำกัด (มหาชน) หรือ ปูนอินทรี หนึ่งในภาคเอกชนได้ ให้ความ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มก�ำลังโดยกลุ่ม พนักงานอินทรีอาสา น�ำทีมโดยคุณฟิลป ิ อาร์โต้ กรรมการผู้จัดการ และคุณจันทนา สุขุมานนท์ รองประธานบริหาร (การตลาดและการขาย) น�ำอาสาสมัครพนักงานปูนอินทรี (INSEE ASA Rescue Team) ทุม่ เทพลังกายและแรงใจลงพืน้ ที่ ช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยน�ำ้ ท่วม และพนักงานปูนอินทรี คุณฟิลปิ อาร์โต้ กล่าวว่า “พนักงานของเรา ใน ฐานะสมาชิกครอบครัวปูนอินทรี ถือเป็นฟันเฟือง ส�ำคัญทีส่ ดุ ทีท่ ำ� ให้บริษทั เติบโตมาได้ทกุ วันนี้ เมือ่ ครอบครัวของเราได้รบั ความเดือดร้อน เราจึงไม่ รีรอทีจ่ ะให้ความช่วยเหลือในทุกๆ ด้าน” ในเบือ้ งต้น บริษทั ฯ ให้เงินช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยครอบครัวละ 10,000 บาท จัดหาทีพ ่ กั ให้พนักงานและครอบครัว ได้มท ี พ ี่ กั อาศัยระหว่างรอน�้ำลด พร้อมจัดกล่อง

ยังชีพ ของใช้จ�ำเป็น ส่วนพนักงานทีไ่ ด้รบ ั ความ เสียหายอย่างหนักก็จะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ ณ ปัจจุบนั มีพนักงานปูนอินทรีทไี่ ด้รบั ผลกระทบ จากมหาอุทกภัยครัง้ นีก้ ว่า 400 คนแล้ว “ที่ผ่านมา สถานการณ์ถือว่าเข้าขั้นวิกฤต มีพนักงานปูนอินทรีทั้งในเขตกรุงเทพฯและ ปริมณฑลได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ จ�ำนวนไม่นอ้ ย หนึง่ ในนีย้ งั เป็น อินทรีอาสา ซึง่ เคย เป็นอาสาสมัครครอบครัวปูนอินทรีเข้าไปช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยน�้ำท่วมที่พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ฯลฯ แต่กลับกลายเป็นว่าอินทรีอาสาเหล่านี้เป็น ผู้ประสบภัยเสียเอง แม้พวกเขาจะได้รับความ เดือดร้อน แต่กย็ งั เดินหน้าอาสาช่วยผูป ้ ระสบภัย รายอืน่ ๆ รวมถึงเพือ่ นพนักงานอย่างแข็งขันไม่ยอ่ ท้อ” คุณนาถฤดี กฐินเทศ พนักงานฝ่ายกิจกรรม เพือ่ สังคม (CSR) เผยความรูส้ กึ ในใจว่า ไม่รสู้ กึ โดดเดี่ยว แต่ซาบซึ้งในน�้ำใจและความสามัคคี จากครอบครัวปูนอินทรีมาก สมาชิกกลุม่ อินทรีอาสา มีน�้ำใจไปช่วยขนข้าวของเพื่ออพยพเธอและ ครอบครัวมายังที่พักพิงที่บริษัทจัดหาให้ น�้ำใจ

ที่ได้รับจึงแปรเปลี่ยนมาเป็นพลังให้เธอเข้าร่วม เป็นสมาชิกอินทรีอาสา ช่วยเหลือเพือ่ นผูป้ ระสบภัย เป็นแม่ครัวท�ำอาหารกล่อง ช่วยแพกของใส่ถงุ ยังชีพ หรือลงพืน้ ทีท่ กุ ครัง้ ทีม่ โี อกาส คุณพิจกิ พรหมแก้ว ผูจ้ ดั การฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ หัวหน้าทีมอินทรีอาสา ที่ออกช่วยเหลือเพื่อนๆ พนักงานและคนกลุม่ ต่างๆ ตัง้ แต่ตน้ เดือนกันยายน ทีผ่ า่ นมาในพืน้ ทีจ่ งั หวัดลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และกทม. ซึ่งทีมนี้มี ภารกิจหลักคือ ช่วยอพยพครอบครัวพนักงาน ดูแลจัดหาของยังชีพและน�ำ้ ดืม่ ซึง่ มีพนักงานกว่า 125 ครอบครัวได้รบั การช่วยเหลือแล้ว คุณตะวัน วิเศษสุทธิชยั พนักงานแผนก Health Safety & Environment หนึง่ ในทีมอินทรีอาสาซึง่ เป็นผูป้ ระสบภัยด้วย กล่าวว่า “ทุกเช้าเราจะประชุม กันก่อน เพือ่ วางแผนให้รอบคอบ ตราบทีพ ่ นี่ อ้ งชาว ไทยและครอบครัวอินทรียงั เดือนร้อน พวกเราชาว ปูนอินทรีกจ็ ะยืนหยัดพร้อมฝ่าฟันวิกฤตครัง้ นีไ้ ปด้วย กันอย่างไม่ยอ่ ท้อ เพราะบริษทั ฯรับผิดชอบต่อสังคม ห่วงใยสิง่ แวดล้อม ชุมชน และสังคมไทยตลอดมา

95


INSEE Society

ถวายพระพรชัยมงคล

คุณวีระพันธุ์ ทีปสุวรรณ ประธานกรรมการ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จ�ำกัด (มหาชน) เป็ น ประธานพิ ธี จุ ด เที ย นชั ย ถวายพระพรชั ย มงคลแด่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ โดยมี คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และประชาชนร่วมน้อมเกล้าฯแสดงความ จงรักภักดี ณ บริเวณลานหน้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา ส�ำนักงานใหญ่ ถนนพระรามที่ 3

ปูนอินทรี จัดหน่วยช่างเคลื่อนที่ ฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังน�้ำลด

บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง โดย คุณจันทนา สุขุมานนท์ รองประธานบริหาร (การตลาดและ การขาย) พร้อมด้วยคู่ค้า หจก.ชวนิชคอนกรีต นครสวรรค์ ร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวง แรงงาน ร่วมฟื้นฟูที่อยู่อาศัยผู้ประสบภัยหลังน�้ำลด โดยปูนอินทรีจัดทีมวิศวกรและช่างออกบริการ คลินิกเคลื่อนที่ เพื่อให้ค�ำแนะน�ำชาวบ้านในเรื่องการซ่อมแซมบ้านเรือนภายหลังน�้ำลด ณ จังหวัด นครสวรรค์ พร้อมมอบปูนอินทรี 200 ตัน และไม้คอนวูด มูลค่า 40,000 บาท แก่ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.กระทรวงแรงงาน เมื่อเร็วๆ นี้

ส่งมอบอาคาร อินทรีอาษา ‘Green School’ จ. แม่ฮ่องสอน

คุณฟิลป ิ อาร์โต้ กรรมการผูจ้ ดั การ บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง จัดพิธสี ง่ มอบอาคาร “อินทรี อาษา” ในโครงการ Green School แก่กองบัญชาการต�ำรวจตระเวนชายแดน ณ โรงเรียนต�ำรวจตระเวน ชายแดนบ้านแสนค�ำลือ อ. ปางมะผ้า จ. แม่ฮ่องสอน ที่ออกแบบโดยสถาปนิกล้านนา สมาคมสถาปนิก สยามฯ โดยมีพล.ต.ต. โกสินทร์ บุญสร้าง รองผู้บัญชาการต�ำรวจตระเวนชายแดน เป็นผู้รับมอบ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2554 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวัน คล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ 5 ธันวาคม

อินทรีคอนกรีตสนับสนุนการก่อสร้างอาคารเรียนรวมและวิจัย (อาคารวิศวฯ 100 ปี)

อินทรีคอนกรีตได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอาคารเรียนรวมและวิจัย (อาคารวิศวฯ 100 ปี) ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จ�ำกัด (มหาชน) เป็นผู้ ให้การสนับสนุนการก่อสร้างอาคารฯ โดยการสนับสนุนคอนกรีตผสมเสร็จ จ�ำนวน 800 ลูกบาศก์ เมตร มูลค่า 2,000,000 บาท

ร่วมแสดงความยินดี

คุณฟิลปิ อาร์โต้ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผูจ้ ดั การ SCCC บมจ. ปูนซีเมนต์นครหลวง เรืออากาศโทคันธนิธิ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานบริหารบริษทั ฯ คุณสุทธิพนั ธ์ วัชโรภาส ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร บริษทั คอนวูด จ�ำกัด ศ.ดร.บัณฑิต จุลาสัย คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คุณพิชยั วงศ์ไวศยวรรณ A49 คุณธีรานุช กรรณสูต วงศ์ไวศยวรรณ ร่วมยินดีกบั ทีมสถาปนิกไทย โดย คุณอิศวเรศ ตโมนุท และผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ โฮลซิมอวอร์ด ภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมเงินรางวัล 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ (1.55 ล้านบาท) ในโครงการ Urban Farm Urban Barn ซึง่ ผูช้ นะเหรียญทองและเหรียญเงินจะได้ รับพิจารณารางวัลโฮลซิมอวอร์ดระดับโลกจากผูช้ นะในภูมภ ิ าคอืน่ ๆ เพือ่ ชิงรางวัล เงินสดรวมทัง้ สิน้ 350,000 ดอลลาร์สหรัฐ

96


ปูนอินทรีน้อมเกล้าฯ ถวายเรือพระราชทาน

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2554 เวลา 15.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะผู้บริหารของบริษัท ปูนซีเมนต์ นครหลวง จ�ำกัด (มหาชน) เข้าเฝ้าฯ โดย คุณวีรพันธุ์ ทีปสุวรรณ ประธานกรรมการ น้อมเกล้าฯ ถวายเรือไฟเบอร์กลาสติดเครือ่ งยนต์ จ�ำนวน 12 ล�ำ มูลค่า 2,000,000 บาท เพือ่ พระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรผูป ้ ระสบอุทกภัยในภาคเหนือและภาคกลาง ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา โดยมีพระราชด�ำรัสแก่คณะผู้บริหารฯ ว่า “เรือเป็นสิ่ง ที่จ�ำเป็นมากส�ำหรับผู้ประสบอุทกภัย ไม่มีเรือก็ไม่มีอาหาร น�้ำดื่ม และยา เข้าไปได้ถึง มือชาวบ้าน และเรือที่ให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ ก็หายไปเป็นจ�ำนวนมาก จึงขอขอบใจบริษัทฯ ที่น�ำเรือมาถวายในครั้งนี้”

‘คอนวูด’ เร่งขยายทีม i-SERVICE จังหวัดปทุมธานี

คุณสุทธิพันธ์ วัชโรภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทคอนวูด จ�ำกัด กลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์ นครหลวง จ�ำกัด (มหาชน) เซ็นสัญญาขายแฟรนไชส์ i-SERVICE ให้นายอภิรักษ์ จุลสุคนธ์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท โฮมแมททีเรียล จ�ำกัด จัดตั้งทีม i-SERVICE เพื่อให้บริการติดตั้งผลิตภัณฑ์วัสดุ ทดแทนไม้ภายใต้แบรนด์คอนวูดให้แก่ลูกค้าในจังหวัดปทุมธานีและพื้นที่ใกล้เคียง

ปูนอินทรีผู้สนับสนุนหลัก “คอนกรีตแห่งชาติ”

ครอบครัวอินทรี โดย เรืออากาศโท คันธนิธิ์ สุคนธทรัพย์ รองประธานด้านธุรกิจสัมพันธ์ มอบ เงินจ�ำนวน 100,000 บาท เพื่อสนับสนุนการประชุมวิชาการคอนกรีตแห่งชาติ ครั้งที่ 7 ของสมาคม คอนกรีตแห่งประเทศไทยณ โรงแรมระยองรีสอร์ท ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เป็นผู้สนับสนุนหลัก ของการประชุมอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีคอนกรีต โดยปีนี้ เป็นปีที่ 6 แล้ว

อินทรีอะกรีเกต ช่วยบรรเทาภาวะอุทกภัยที่อยุธยา

อินทรีอะกรีเกตให้การสนับสนุนกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และเหมืองแร่ (DPIM) ในการท�ำคัน กัน้ น�ำ้ เพือ่ ป้องกันน�ำ้ ท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยบริจาคหินฝุน่ และหินคลุก จ�ำนวน 100,000 ตัน มูลค่า 2,000,000 บาท จากหน่วยผลิตอินทรีสุพรรณบุรี อ�ำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดย ร่วมมือกับทางกรมการทหารช่าง จังหวัดราชบุรี (ค่ายบุรฉัตร และค่ายภาณุรงั ษี) ในการจัดรถบรรทุก จ�ำนวน 45 คัน พร้อมก�ำลังพล จ�ำนวน 62 นาย มาท�ำการขนวัสดุดังกล่าว เมื่อเร็วๆ นี้

อินทรีอะกรีเกตรับรางวัลโรงโม่ติดดาว 2553

คุณสันติ ยุกตจรงค์ ผูจ้ ดั การทัว่ ไป สายงานอะกรีเกต บริษทั นครหลวงคอนกรีต จ�ำกัด เป็นตัวแทน หน่วยผลิตอินทรีสพ ุ รรณบุรี เข้ารับรางวัลเหมืองหินทีม่ กี ารจัดการสิง่ แวดล้อมอยู่ในเกณฑ์ดเี ยีย่ ม และ รางวัลสถานประกอบการ โรงโม่ บด ย่อยหิน ทีม่ กี ารจัดการสิง่ แวดล้อมอยู่ในเกณฑ์ดี ประจ�ำปี 2553 ซึง่ เป็นรางวัลทีส่ ร้างความภาคภูมิใจให้แก่ชาวอินทรีเป็นอย่างมาก

97


ท้ายบ้าน

เมื่อยึดติดสิ่งใด... ก็เท่ากับเราเอาใจไปผูกไว้กับสิ่งนั้น ใจจึงไม่มีอิสระ... ครั้นสิ่งนั้นถูกกระทบ ใจก็พลอยกระเทือนไปด้วย การฝึกใจให้ฉลาด เราต้องเรียนรู้ธรรมชาติและมองตามเป็นจริง เพราะธรรมชาติคือทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต... พระอาจารย์ ชาญชัย อธิปญฺโญ พระภาวนาเพื่อพัฒนา

มุมนี้มีรางวัล ฉบับนี้ถามว่า “สถาปนิกไทยที่คว้ารางวัล Silver Award จากงานโฮลซิมอวอร์ดส 2011 ภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิก ได้น�ำเสนอแนวคิดด้านใด” 1. อาคารค้าปลีกและพาณิชย์เชิงนิเวศ 2. อาคารโรงเรียนทีท่ ำ� จากซังข้าวโพดและไม้ ไผ่ 3. วัฒนธรรมเมืองใหม่ ยึดหลักพอเพียง รู้ค�ำตอบแล้วรีบส่งมาที่ Email: koobaan@ sccc.co.th พร้อมส่งชื่อ-ที่อยู่มาด้วย ของรางวัลส�ำหรับผู้โชคดี 20 ท่าน ในฉบับนี้ คือ “หมอนไส้กรอกอเนกประสงค์” ใหม่ล่าสุด จากปูนอินทรี

98

เฉลยค�ำตอบคู่บ้านฉบับที่ 31 “Captian James Cook คือใคร?” ค�ำตอบคือ “ผู้ค้นพบออสเตรเลีย” ท่านผู้โชคดีตามรายชือ่ ต่อไปนี้ โปรดเตรียมรับของรางวัล “Gift Voucher ชมภาพยนตร์ที่ Major Cineplex” ทีจ่ ะจัดส่งถึงมือท่านเร็วๆ นี้ 1. 2. 3. 4. 5. 6.

วณิชา เอี่ยมธงชัย จ.นนทบุรี กัลยณัฐ ฉิมภักดี จ.สุราษฎร์ธานี กัญญาณีย์ จริยาประสิทธิ์ กรุงเทพฯ ดวงใจ กลิ่นหวล จ.สิงห์บุรี มาลี นาคทองอินทร์ จ.สุพรรณบุรี รุง่ ทิพย์ เหลืองอร่าม จ.สมุทรสงคราม

7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20.

ศิริพร สุยะพอ จ.พิจิตร ปภัฒสร บุญสุข กรุงเทพฯ เฉลิมพล กุศลสมบูรณ์ จ.เชียงใหม่ ชญาน์นันท์ เกียวประเสริฐ จ.พิษณุโลก ปิยะนุช เฟื่องแก้ว จ.นนทบุรี จิตรประภัสร ประพันธ์พัฒน์ จ.ปทุมธานี วิภาพร คุนาการ จ.ยะลา ปิติพงษ์ ค�ำแก้ว จ.เชียงใหม่ จันทิมา แซ่อึ้ง จ.ตราด เจนจิรา นาคนุ่น จ.นครศรีธรรมราช เรณู จันทร์เจริญ จ.สระบุรี ณัฐฐาพร ถนอมรอด จ.ชลบุรี คฑายุทธ์ มณฑาทิพย์กุล จ.สมุทรปราการ ชูเกียรติ สุขส�ำราญ กรุงเทพฯ




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.