GOLDPF : Annual Report 2014 TH

Page 1

รายงานประจำปี

กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ (GOLDPF)

กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ (GOLDPF) สำหรับระยะเวลาตัง้ แต่วนั ที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557

รายงานประจำปี

ณ 31 ธันวาคม 2557


สารบัญ

สาส์นจากบริษัทจัดการ รายงานของบริษัทจัดการเกี่ยวกับสภาวะตลาดของเซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ ปี 2556 ผลการดำเนินงานของ เดอะ เมย์แฟร์ แมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์ ของกองทุน ผลการดำเนินงานของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ รายการแสดงทรัพย์สินแยกตามประเภท สรุปมูลค่าทรัพย์สิน ทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน รายละเอียดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ รายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แต่ละรายการในรอบปีบัญชี รายละเอียดเกี่ยวกับการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แต่ละรายการในรอบปีบัญชี รายละเอียดเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินของกองทุนรวม ข้อมูลเกี่ยวกับการประกันรายได้และผู้รับประกันรายได้ของกองทุนรวม แบบแสดงค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ รายงานความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์ รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ประวัติการจ่ายเงินปันผล รายชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีการทำธุรกรรม รายชื่อผู้จัดการกองทุน

1 4 14 15 16 16 17 18 18 18 18 19 20 21 42 42 42


สาส์นจากบริษัทจัดการ

เรียน ท่านผู้ถือหน่วยลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด ขอนำส่งรายงานประจำปี 2557 ของ

กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ ภายใต้การจัดการของบริษัทสำหรับการดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2557 มายังผู้ถือหน่วยลงทุนทุกท่าน โดยในรายงาน ประจำปีฉบับนี้ประกอบด้วย รายละเอียดการลงทุน รายงานผลการดำเนินการ รายละเอียดทรัพย์สิน ข้อมูลเกี่ยวกับการประกันรายได้และผู้รับประกันรายได้ของกองทุน และงบการเงินที่ ได้รับการ ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี นอกจากนี้ ในรายงานประจำปีฉบับนี้ก็ยังได้นำเสนอข้อมูลสภาวะตลาด ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ เพื่อให้ท่านได้ทราบข้อมูลของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์โดยรวมในปี 2557 ที่ผ่านมาอีกด้วย ปี 2557 เศรษฐกิ จ ไทยขยายตั ว ชะลอตั ว เหลื อ ร้ อ ยละ 0.7 จากร้ อ ยละ 2.9 ในปี ก่ อ น เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในประเทศทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองส่งผลกระทบเศรษฐกิจ ไทยในครึ่งปีแรก แม้ว่าในครึ่งปีหลังหลังมีรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ เศรษฐกิจจะทยอยปรับ ตัวดีขึ้น จะส่งผลดีกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจ แต่การฟื้นตัวยังเป็นไปอย่างล่าช้า จากที่ หดตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสแรก มาขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสสอง 0.6 ในไตรมาสสาม และ 2.3 ในไตรมาสสี่ แม้ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมในเดือนกุมภาพันธ์ และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้าออกมาได้บ้าง แต่ก็ยังต่ำกว่าเป้าหมายเนื่องจากมีขั้นตอน การตรวจสอบและรอความชัดเจนและความต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐ ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ ฟื้นตัวไม่แข็งแกร่งนักนำโดยสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัว ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เตรียมจะทยอยลด

การผ่อนคลายอย่างมากลงทำให้เกิดความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายเป็นระยะ แม้ว่าจะมีปัจจัย สนับสนุนจากราคาน้ำมันที่ร่วงลงแรงตั้งแต่กลางปีเนื่องจากมีอุปทานส่วนเกินในตลาดในระดับสูง ทำให้นโยบายการเงินในหลายประเทศลดความเข้มงวดลงได้บ้าง ไตรมาสแรก เศรษฐกิจไทยยังคงอ่อนแอลงต่อเนื่องมาหดตัวลงร้อยละ 0.5 เทียบกับปีก่อน เนื่องจากมีการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปลายปีก่อน ซึ่งความขัดแย้ง ทางการเมื อ งที่ ยื ด เยื้ อ และไม่ มี ท างออก ทำให้ กิ จ กรรมเศรษฐกิ จ บางส่ ว นเกิ ด การหยุ ด ชะงั ก

ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่าย ลงทุนและท่องเที่ยว ขณะที่การส่งออกสินค้ายังคงฟื้น ตั ว อย่ า งเปราะบาง โดยการส่ ง ออกไปยั ง ตลาดกลุ่ ม จี 3 เริ่ ม กลั บ มาขยายตั ว ได้ บ้ า งซึ่ ง เป็ น

สัญญาณที่ดี ได้ช่วยชดเชยการส่งออกไปจีนและอาเซียนที่ ไม่สดใสนัก เนื่องจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัว จากผลจากความพยายามแก้ปัญหาธนาคารเงาของจีน อย่างไรก็ตาม การนำเข้าหดตัวกว่าการส่งออก ตามอุปสงค์ในประเทศที่ซบเซา ประกอบกับดุลบริการและเงินโอนเกินดุล จึงส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัด ในช่วงดังกล่าวเกินดุลสูงถึง 8.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ได้ช่วยชดเชยเงินทุนไหลออกจากตลาด


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ เงิ น ทุ น ไทยเนื่ อ งจากความกังวลต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ ยั ง คงยื ด เยื้ อ รวมทั้ ง การ

ทยอยถอนลดวงเงินการซื้อคืนพันธบัตรของธนาคารกลางสหรัฐฯ จึงส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น

เล็กน้อยมาปิดที่ 32.4 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นเดือนมีนาคมจาก 32.8 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

ณ สิ้นเดือนธันวาคม แม้ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพิ่มเติมอีกร้อยละ 0.25 มาที่ 2.0 ในการประชุมในช่วงกลางเดือนมีนาคม เพื่อประคองการเติบโต เศรษฐกิจให้เติบโตต่อเนื่องในช่วงที่นโยบายการคลังมีข้อจำกัดในช่วงที่มีสุญญากาศทางการเมือง ไตรมาสสอง เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดในไตรมาสแรกมาขยายตัวร้อยละ 0.4

หลั ง จากที่ ห ดตั ว ไปในไตรมาสแรก เป็ น ผลมาจากสถานการณ์ ก ารเมื อ งเริ่ ม คลี่ ค ลายตั้ ง แต่

ปลายเดือนพฤษภาคม เป็นต้นมา มีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้มากขึ้น

ส่ ง ผลให้ เ ครื่ อ งชี้ เ ศรษฐกิ จ สำคั ญ ทยอยฟื้ น ตั ว จากจุ ด ต่ ำ สุ ด ในไตรมาสแรก อาทิ การบริ โ ภค

ภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐซึ่งได้รับการปลดล็อคจากปลายปีก่อน อาทิ มีการเร่งจ่ายเงินจำนำข้าวที่ค้างชำระคืนชาวนา ทำให้การใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจกลับมา หมุนเวียนมากขึ้น ขณะที่การส่งออกแทบไม่เติบโต เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญฟื้น ตัวอย่างเปราะบาง รวมทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์ซบเซา ขณะที่การนำเข้าหดตัวร้อยละ 14 ทำให้ ไทยยังคงเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะหดตัวร้อยละ 13 เนื่องจากหลายประเทศมีคำเตือนในการเดินทางมาไทยจากเหตุความขัดแย้งทางการเมืองก็ตาม

อีกทั้งในเดือนพฤษภาคมจะมีเงินทุนไหลออกจากตลาดตราสารหนี้และตราสารทุนรวมกันสูงราว

1 แสนล้ า นบาท เนื่ อ งจากความกั ง วลต่ อ สถานการณ์ ก ารเมื อ งของนั ก ลงทุ น ต่ า งชาติ ห ลั ง มี

การรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคมจึงนำเงินออกไปก่อน ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงชั่วคราวไป

ต่ำสุดที่ 32.8 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมจาก 32.3 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ สิ้นเดือน เมษายน ก่ อ นจะทยอยแข็ ง ค่ า ขึ้ น มาปิ ด ที่ 32.5 บาท/ดอลลาร์ ส หรั ฐ ณ สิ้ น เดื อ นมิ ถุ น ายน

หลังสถานการณ์การเมืองคลี่คลาย ทำให้มีเงินทุนไหลกลับมาลงทุนตราสารหนี้ ไทยกว่า 3 หมื่น ล้านบาทอีกครั้ง อย่างไรตาม คณะกรรมการนโยบายการเงินยังคงนโยบายการเงินผ่อนคลาย

ด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับต่ำที่ร้อยละ 2.00 ตามคาดการณ์ของตลาดในการประชุม เดือนเมษายนและมิถุนายนเพื่อประคองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้มีความมั่นคง ไตรมาสสาม เศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องแต่ยั งคงล่ า ช้ า กว่ า คาดการณ์ ข องตลาด

โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 จากปีก่อน มีการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชน

ที่ ฟื้ น ตั ว ชั ด เจนมากขึ้ น ตามความเชื่ อ มั่ น ผู้ บ ริ โ ภคและธุ ร กิ จ ที่ ป รั บ ตั ว ดี ขึ้ น ภายหลั ง การเมื อ งมี เสถียรภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเบิกจ่ายภาครัฐยังคงล่าช้ากว่าคาดโดยเฉพาะการเบิกจ่าย

งบลงทุ น เนื่ อ งจากรอความชัดเจนจากนโยบายรัฐบาลที่เริ่ม เข้ า มาบริ ห ารประเทศตั้ ง แต่ เ ดื อ น กันยายน ขณะที่การส่งออกยังคงไม่สดใสตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างเปราะบาง ราคาสินค้า เกษตรตกต่ำและข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการผลิต ส่วนการนำเข้าเริ่มฟื้นตัวกลับมาทรงตัว สอดคล้องอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวแต่ยังคงเปราะบาง ส่วนภาคการท่องเที่ยวทยอยฟื้นตัวอย่าง


ต่อเนื่องจากช่วงกลางปี โดยเฉพาะหลังมีนโยบายยกเว้นวีซ่าให้แก่นักท่องเที่ยวจีนในช่วงเดือน สิงหาคม-ตุลาคมเข้ามาเพิ่มเติมได้จูงใจนักท่องเที่ยวจีนกลับมาท่องเที่ยวในไทยมากขึ้น แม้ว่ากฎ อัยการศึกจะยังคงอยู่ก็ตาม ทางด้านเงินทุนเคลื่อนย้ายค่อนข้างผันผวน โดยเงินทุนเริ่มไหลกลับมา ลงทุนในเดือนกรกฎาคม หลังสถานการณ์การเมืองดีขึ้น แต่ก็ ไหลออกอีกครั้งในเดือนสิงหาคมกันยายน เช่นเดียวกับภูมิภาคเนื่องจากความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรปและแนวโน้ม อัตราดอกเบี้ยสหรัฐ ส่งผลให้เงินบาทผันผวนและกลับไปปิดที่ 32.42 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้น เดือนกันยายน ใกล้เคียงกับไตรมาสสอง อนึ่ง หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

เข้ามาดูแลค่าครองชีพตั้งแต่เดือนมิถุนายน ตลอดจนราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับลงตามราคา ตลาดโลกและการปรับโครงสร้างราคาพลังงานในประเทศส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลง

ต่อเนื่องจากร้อยละ 2.62 ในเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นระดับสูงสุดของปีนี้ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.75

ในเดือนกันยายน ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวที่ราวร้อยละ 1.7 ซึ่งจะราวค่ากลางของเป้าหมาย เงินเฟ้อของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ยังคงเอื้อต่อการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายได้ต่อไป ด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับต่ำที่ร้อยละ 2 เพื่อประคองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้มี ความมั่นคงมากขึ้น ไตรมาสสี่ เศรษฐกิจไทยขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากร้อยละ 0.6 ไตรมาสก่อน

แต่การฟื้นตัวยังคงเปราะบางทั้งการบริโภคภาคเอกชน การใช้จ่ายภาครัฐและการส่งออก โดยการ บริโ ภคภาคเอกชนมีการฟื้นตัวอย่างเปราะบาง เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำกระทบกำลังซื้อ

ในภูมิภาค และประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายเนื่องจากภาระหนี้ครัวเรือนที่สูง แม้ว่ารัฐบาลจะมี จ่ายเงินชดเชยให้กับเกษตรกรที่ปลูกข้าวและยางบางส่วน แต่การเบิกจ่ายยังค่อนข้างล่าช้า จึงไม่ มากพอจะช่วยเพิ่มแรงส่งให้กับการใช้จ่ายภาคเอกชนได้มากนัก ขณะที่การเบิกจ่ายภาครัฐยังมี ความล่าช้าโดยเฉพาะงบลงทุนที่เบิกจ่ายได้ ไม่ถึงร้อยละ 10 จากเป้าหมายร้อยละ 25 ส่งผลให้การ ใช้จ่ายภาครัฐยังคงมีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันใน ตลาดโลกที่ปรับลดลงร้อยละ 25 จากไตรมาสสาม มาเหลือเฉลี่ยที่ 76 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลใน ไตรมาสสี่ เนื่องจากอุปทานส่วนเกินในระดับสูงในตลาดน้ำมันโลก จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เฉลี่ยปรับลดลงมาเหลือร้อยละ 1.1 ในไตรมาสสี่จากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสสาม แต่อัตราเงินเฟ้อ พื้นฐานยังที่ทรงตัวที่ร้อยละ 1.7 ซึ่งยังอยู่ราวค่ากลางของเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 0.5-3.0 ทำให้ คณะ กรรมการนโยบายการเงิน ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2 ต่อเนื่องในการประชุมช่วงเดือน พฤศจิกายน และธันวาคมตามคาดการณ์ของตลาด เพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจท่ามกลาง

ความผันผวนของตลาดการเงินโลกหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ ทยอยลดความผ่อนคลายนโยบาย

การเงินในระยะต่อไป ตลอดจนคาดหวังว่า นโยบายการคลังจะเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มากยิ่งขึ้นหลังมีรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้ ในไตรมาสสี่ ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงกว่า 9.8 พันล้านเหรียญ ดีขึ้นจากไตรมาสสามที่ขาดดุล 1.5 พันล้านเหรียญ เนื่องจากมูลค่านำเข้าน้ำมันลดลงมากตามราคาน้ำมันโลก และการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ ทำให้เงินบาทไทยอ่อนค่าลงเล็กน้อยมาปิดที่ 32.90 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นเดือนธันวาคม เนื่องจากค่าดอลลาร์สหรัฐมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นๆ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐในระยะต่อไปหลังเศรษฐกิจฟื้นตัวมาต่อเนื่อง สุดท้ายนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด ขอขอบคุณท่านผู้ถือหน่วยลงทุน ที่ ให้ความไว้วางใจบริษัทในการบริหารเงินลงทุนของท่าน ทั้งนี้บริษัทยังคงมุ่งมั่นพัฒนาการให้ บริการที่ ให้ความสะดวกสบายสูงสุด พร้อมทั้งรักษามาตรฐานในการบริหารกองทุนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนตลอดไป

รายงานของบริษัทจัดการเกี่ยวกับสภาวะตลาดของเซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ ปี 2557

ตลาดเซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ในกรุงเทพมหานคร ปี 2557 ตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ยังคงปรับตัวดีขึ้นจากปี 2556 เนื่องจากการเติบโต

อย่ า งต่ อ เนื่ อ งของจำนวนชาวต่ า งชาติ ที่ อ าศั ย อยู่ ใ นกรุ ง เทพฯ และการเพิ่ ม ขึ้ น ของจำนวน

นักท่องเที่ยวเนื่องจากความเชื่อมั่นในสถานการณ์ทางการเมืองที่มีทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ส่ ง ผลให้ อั ต ราการเข้ า พั ก เฉลี่ ย เพิ่ ม ขึ้ น เมื่ อ เที ย บกั บ ไตรมาสที่ สี่ ข องปี ที่ ผ่ า นมา โดยเซอร์ วิ ส

อพาร์ทเม้นท์ในเขตกรุงเทพมหานครมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยที่ 80.8% เพิ่มขึ้น 1.2% เมื่อเทียบกับ อัตราการเข้าพักเฉลี่ยของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงการแข่งขันจากธุรกิจโรงแรม

ในอนาคต รวมทั้งสภาวะเศรษฐกิจโลก แนวโน้มสภาพตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ โดยรวมใน

ระยะยาวยังคงทรงตัว โดยมีกลุ่มแรงงางชาวต่างชาติเป็นตัวแปรหลัก อุปทานของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ปี 2557 มีอุปทานของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์เข้าสู่ตลาดลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดย

ณ สิ้นปี 2557 มีจำนวนอุปทานของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในจำนวนรวมทั้งสิ้น 15,297 หน่วย ลดลงเพียง 22 หน่วย หรือ 0.1% จากจำนวน 15,319 หน่วยในปี 2556

โดยสามารถจำแนกเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ตามคุณภาพของโครงการ โดยจำนวนห้องพักของเซอร์วิส

อพาร์ทเม้นท์ เกรดเอ และ เกรดบี มีทั้งสิ้น 7,733 หน่วย และ 7,564 หน่วย ตามลำดับ


Supply of Serviced Apartments in Downtown Bangkok by Area, 2007-Q4 2014 Silom/ Central Riverside/ % Change

Year

Sukhumvit 2007 5,850 2008 6,621 2009 7,305 2010 8,305 2011 8,816 2012 9,077 2013 9,068 1Q 2014 9,038 2Q 2014 9,038 3Q 2014 9,038 4Q 2014 9,038 %Change Q-o-Q 0.00% %Change Y-o-Y -0.3%

Sathon 2,045 1,779 2,087 2,087 2,087 2,087 2,063 2,083 2,083 2,023 2,023 0.00% -1.9%

Lumpini Rama III Pathumwan Other 2,007 735 2,086 735 497 2,205 730 497 2,442 730 595 321 2,493 730 595 321 2,576 730 595 321 2,542 730 595 321 2,542 730 595 321 2,542 730 595 321 2,542 730 595 321 2,542 730 643 321 0.00% 0.00% 8.1% 0.00% 0.00% 0.00% 8.1% 0.00%

Total Y-o-Y 10,637 21.2% 11,718 10.2% 12,824 9.4% 14,480 12.9% 15,042 3.9% 15,368 2.3% 15,319 -0.4% 15,309 -2.9% 15,309 0.3% 15,249 -0.4% 15,297 -0.1% 0.3% -0.1%

ที่มา : CBRE Research & Consulting Services

ที่มา : CBRE Research & Consulting Services


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ Supply of Grade A and B Serviced Apartment by Area, 4Q 2014 Location Total Grade A Grade B Market Share Silom/Sathorn Central Lumpini Sukhumvit Riverside/Rama III Pathumwan Other GRAND TOTAL

2,023 2,542 9,038 730 643 321 15,297

ที่มา : CBRE Research & Consulting Services

1,067 1,989 4,403 - 146 128 7,733

956 553 4,635 730 497 193 7,564

13.2% 16.6% 59.1% 4.8% 4.2% 2.1% 100%

บริ เ วณสุ ขุ ม วิ ท ยั ง คงเป็ น ย่ า นที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มของธุ ร กิ จ เซอร์ วิ ส อพาร์ ท เม้ น ท์ โดยมี

ส่วนแบ่งถึง 59.1% ของตลาดทั้งหมด รองลงมาได้แก่ย่านลุมพินี และย่านบริเวณสาทร ที่มี

ส่วนแบ่งตลาด 16.6% และ 13.2% ตามลำดับ ส่วนในย่านพระรามสาม ได้รับความนิยมน้อยกว่า ย่านอื่นๆ เนื่องจากผู้ประกอบการเข้าใจดีว่าชาวต่างชาติส่วนใหญ่เลือกที่จะพักอาศัยในทำเล

ที่มีความสะดวกสบายกว่า ทั้งในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก สถานบันเทิง ร้านอาหาร และ

การเดินทาง เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์เกรด บี มีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมด (49.45%) ซึ่งส่วนมาก

ตั้งอยู่บริเวณสุขุมวิท ในขณะที่ ใจกลางเมืองบริเวณลุมพินี มีเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์เกรด เอ

เป็นสัดส่วนมากที่สุดถึง 78.3% ของจำนวนเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในบริเวณนั้น เนื่องจากเป็นย่าน ศูนย์กลางธุรกิจซึ่งแวดล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ศูนย์การค้า และสถานฑูต

ที่มา : CBRE Research & Consulting Services


จำนวนแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดย ณ สิ้นปี 2557 ตัวเลขแรงงานชาวต่างชาติในไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 139,213 คน เพิ่มขึ้น 3.39% จากจำนวน แรงงานชาวต่างชาติในปี 2556 โดยแบ่งเป็นแรงงานที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 77,600 คน และอีกจำนวน 61,613 คนเป็นแรงงานที่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด Number of Expatriates in Thailand

Year 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014

Bangkok 35,665 40,132 44,166 49,794 55,923 61,058 65,651 76,052 60,554 61,032 57,307 64,552 74,641 77,600

Provincial 15,703 29,232 35,415 40,726 45,188 51,736 57,252 64,225 44,830 47,085 43,334 49,111 60,013 61,613

Total 51,368 69,364 79,581 90,520 101,111 112,794 122,903 140,277 105,384 108,117 100,641 113,663 134,654 139,213

ที่มา : กรมแรงงาน

ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวของไทยจำนวนนักท่องเที่ยวยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใน

ปี 2557 ตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทยมีจำนวนถึง 24,779,768 คน หรือ ลดลงร้ อ ยละ 6.66 จากเหตุ ก ารณ์ รั ฐ ประหารในช่ ว งกลางปี 2557 โดยเฉพาะนั ก ท่ อ งเที่ ย ว

จากประเทศจีน และญี่ปุ่น ซึ่งมีจำนวนลดลงจากปีก่อนหน้า 0.29% และ 17.65% ตามลำดับ

โดยนักท่องเที่ยวจากทั้งสองประเทศนี้รวมกันแล้วคิดเป็นสัดส่วนถึง 23.77% ของจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งหมด และมากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากแถบอเมริกาและเอเชียใต้รวมกัน นอกจากปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ ปัญหาเศรษฐกิจโลกยังคงส่งผลให้จำนวน

นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากกลุ่มประเทศในยุโรป มีจำนวนลดลงจาก 6,305,945 ในปี 2556 มา อยู่ที่จำนวน 6,156,132 ลดลงคิดเป็นร้อยละ 2.38


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย กรมการท่องเที่ยว

ที่มา : กรมการท่องเที่ยว


ปริมาณการเข้าพักและอัตราการเข้าพัก (Take-up and Occupancy Rate) ปริมาณการเข้าพักของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ในทุกบริเวณของกรุงเทพมหานครมีอัตราที่

เพิ่มขึ้น จาก 12,317 หน่วยในไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 เป็น 12,390 หน่วย ในไตรมาสสุดท้าย ของปีนี้ หรือเพิ่มขึ้น 1.1% เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในบริเวณปทุมวัน มีปริมาณการเข้าพักเติบโตสูงกว่าย่านอื่นๆ (35.4%) เมื่อเทียบปีต่อปี ตามด้วยย่านลุมพินี และสีลม/สาทร ที่ 13.6%และ 3.9 % ตามลำดับ ในขณะที่ ย่านริมแม่น้ำเจ้าพระยา/พระราม3 และสุขุมวิทมีปริมาณการเข้าพักลดลง ที่ 6.5% และ 3.7% Take-up of Serviced Apartments by Area, 2011-2014

Location

Sukhumvit Silom/Sathorn Central Lumpini Riverside/Rama III Pathumwan Other TOTAL

2014 2011

2012

2013

Q1

Q2

%Change Q3

Q4

7,624 7,853 7,590 7,610 6,914 7,136 7,310 1,699 1,622 1,497 1,572 1,419 1,447 1,555 1,668 1,940 1,864 2,105 1,927 2,092 2,116 449 585 658 609 540 560 562 511 439 431 449 466 561 593 244 279 277 273 251 263 276 12,196 12,588 12,317 12,617 11,517 12,060 12,390

Y-o-Y -3.7% 3.9% 13.6% -6.5% 35.4% -0.3% 1.1%

ที่มา : CBRE Research & Consulting Services

เมื่อพิจารณารายไตรมาส จะเห็นได้ว่าปริมาณการเข้าพักของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์

เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ตั้งแต่ ไตรมาสแรก และลดลงในบางบริเวณในไตรมาสที่สอง ในปีนี้จึงเห็น อั ต ราการเข้ า พั ก เติ บ โตขึ้ น เพี ย งเล็ ก น้ อ ยจากอั ต รา 80.4% ในไตรมาสสุ ด ท้ า ยของปี 2556

เป็น 80.9% ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2557


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ Supply, Demand, and Occupancy Rates of Serviced Apartments in Downtown Bangkok, 2003-4Q 2014 Occupancy Change* 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 1Q14 2Q14 3Q14 4Q14

Supply 7,096 7,780 8,007 8,778 10,637 11,718 12,824 14,480 15,042 15,386 15,319 15,309 15,309 15,249 15,297

Take-up 5,956 6,976 7,036 7,303 8,105 8,470 9,893 9,738 12,196 12,588 12,317 12,617 11,517 12,060 12,372

Rate 83.9% 89.7% 87.9% 83.1% 76.2% 72.3% 77.1% 67.3% 81.1% 81.8% 80.4% 82.2% 75.2% 79.1% 80.9%

Note : *Change in percentage points is calculated as occupancy (t) – Occupancy (t-1). ที่มา : CBRE Research & Consulting Services

10

Y-o-Y -3.2% 5.7% -1.8% -4.8% -6.9% -3.9% 4.9% -9.8% 3.9% 0.8% -2.2% 1.8% -7.2% -3.3% 2.3%


ที่มา : CBRE Research & Consulting Services

เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในบริเวณทุมวันมีอัตราการเช่าสูงเป็นอันดับหนึ่งที่ 90.7% ส่วนเซอร์วิส

อพาร์ทเม้นท์ในบริเวณลุมพินีมีอัตราการเช่าปรับตัวขึ้นค่อนข้างมากเช่นเดียวกัน โดยมีอัตราการ เช่าที่ 83.3% โดยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.9% จากปีก่อน ในขณะที่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา/ พระราม3 กลับมีอัตราการเช่าลดลงจาก 83.8% ในปี 2556 มาอยู่ที่ 77.0% ในปีนี้ Supply, Demand, and Occupancy Rates of Serviced Apartments by Area, 4Q-2014 Location Supply Take-up Occupancy Rate %Change %Change

Silom/Sathon 2,023 1,555 76.9% Central Lumpini 2,542 2,116 83.3% Sukhumvit 9,038 7,310 80.9% Riverside/Rama III 730 562 77.0% Pathumwan 643 583 90.7% Other 321 276 86.1% GRAND TOTAL 15,297 12,372 80.9%

QoQ 5.3% 0.9% 1.9% 0.2% 3.5% 4.2% 2.1%

YoY 4.3% 9.9% -2.1% -5.4% 18.3% -0.2% 1.2%

ที่มา : CBRE Research & Consulting Services 11


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ จากการที่ อั ต ราการเช่ า ของเซอร์ วิ ส อพาร์ เ ม้ น ท์ โ ดยรวมมี ก ารปรั บ ตั ว สู ง ขึ้ น ผลั ก ดั น ให้

อัตราค่าเช่าของเซอร์วิสอพาร์เม้นท์เกรด เอ มีการปรับตัวลดลงเป็น 1,051 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน หรือลดลง 3.1% เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสสุดท้ายของปีนี้กับปีก่อนหน้า โดยในปี 2557 เซอร์วิส

อพาร์เม้นท์เกรด เอ ในเขตกรุงเทพมหานครมีอัตราค่าเช่าเฉลี่ยลดลงเป็น 1,051 บาทต่อตารางเมตร ต่อเดือน จากอัตรา 1,084 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ในปี 2556 และ 1,095 บาทต่อตารางเมตร ต่อเดือน ในปี 2555 Average Achieved Rents of Grade A Serviced Apartments (all types) by Area, 2003-4Q 2014 Year Silom/Sathorn Central Lumpini Sukhumvit Average 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 1Q14 2Q14 3Q14 4Q14 % Change Q-o-Q % Change Y-o-Y

837 851 1,055 906 966 995 876 924 940 955 969 926 923 928 929 0.1% -4.1%

953 1,000 1,052 1,109 1,189 1,249 1,005 1,019 1,130 1,175 1,109 1,043 1,032 1,075 1,075 0.0% -3.0%

892 926 1,015 1,123 1,056 1,161 1,061 1,040 1,085 1,156 1,175 1,154 1,128 1,144 1,148 0.4% -2.3%

894 926 1,041 1,046 1,071 1,135 980 994 1,052 1,095 1,084 1,041 1,028 1,049 1,051 0.2% -3.1%

หน่วย: บาท/ตารางเมตร/เดือน ที่มา : CBRE Research & Consulting Services

12


Average Achieved Rents/m2 of Grade A Units by Area and Room Type, 4Q 2014 Room Type Sukhumvit Silom/Sathon Central Lumpini

Studio One-bedroom Two-bedroom

Q4 2011 1,340 1,172 1,091

Q4 2012 1,364 1,126 950

Q4 2011 Q4 2012 - - 1,032 1,013 891 866

Q4 2011 Q4 2012 1,309 1,362 1,162 1,126 940 929

หน่วย: บาท/ตารางเมตร/เดือน ที่มา : CBRE Research & Consulting Services

แนวโน้มในปี 2558 จากการประมาณการของบริษัท ซีบี ริชาร์ด เอลลิส จำนวนอุปทานในปี 2558 คาดการณ์

ว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเพียง 201 หน่วย หน่วย ซึ่ง ซีบี ริชาร์ด เอลลิส คาดว่าโครงการ Civic Horizon และ Klapsons The River Residences จะก่อสร้างแล้วเสร็จในไตรมาสแรกของปี 2558

นอกเหนือจากสองโครงการนี้ ไม่ ได้มีการแจ้งรายละเอียดออกมา Future Serviced Apartment Projects in Downtown Bangkok Project Name Location Grade A Civic Horizon Sukhumvit 63 Marriott Surawong Road Centre Point Thonglor Total Grade A 2014 Grade B Klapsons The River Residences Charoen Nakorn Total Grade B 2014 GRAND TOTAL (A AND B)

Total Completion Units Date

Status

109 N/A N/A 109

Q1 2015 N/A N/A

Construction Construction Planning

92 92 201

Q1 2015

Decoration

ที่มา : CBRE Research & Consulting Services

13


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ แนวโน้มธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ในระยะยาวรวมทั้งในปี 2557 นี้ คาดว่าจะมีแนวโน้ม ทรงตัวจากแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น แต่อุปทานที่ลดลง ด้านจำนวนแรงงานชาวต่างชาติ

ที่เข้าพักอาศัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยว ที่เริ่มหลั่งไหลกลับเข้ามาจากปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความชัดเจน และมั่นคง มากขึ้น ทั้งนี้อุปสงค์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจะต้องเผชิญกับการแข่งขันทางด้านราคาจากกลุ่มธุรกิจ โรงแรมที่ ค าดว่ า จะมี ค วามเข้ ม ข้ น ขึ้ น เพื่ อ กระตุ้ น รายรั บ ที่ ซ บเซาจากช่ ว งรั ฐ ประหาร และ

การชุมนุมทางการเมือง ซึ่งจะกระทบต่ออัตราค่าเช่าของตลาดเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในระยะสั้น อย่ า งไรก็ ต าม เซอร์ วิ ส อพาร์ ท เม้ น มี ข้ อ ได้ เ ปรี ย บเหนื อ โรงแรมเนื่ อ งจากมี ฐ านผู้ เ ช่ า ซึ่ ง เป็ น

กลุ่มแรงงานชาวต่างชาติระยะยาวที่ค่อนข้างมั่นคง ซึ่งทำให้แนวโน้มของธุรกิจกลุ่มนี้ยังคงมี

แนวโนมโตขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือมีเสถียรภาพมากกว่า ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในปี 2558 ได้แก่ความสามารถของภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาอย่างเนื่อง รวมถึงความชัดเจนของ การเลือกตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเกิดขึ้นในปี 2559 ผลการดำเนินงานของ เดอะ เมย์แฟร์ แมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์ ของกองทุน ในปี 2557 ที่ผ่านมา แม้ว่าอุปสงค์ของธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์จะได้รับผลกระทบโดยตรง จากปัจจัยภายนอกประเทศ เช่น ต้องเผชิญกับความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกรวมถึงเศรษฐกิจประเทศจีน ที่ชะลอตัวลง การเปลี่ยนผู้นำในประเทศสำคัญหลายประเทศ รวมถึงความไม่มั่นคงของรัฐบาลไทย ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจที่มีการจ้างแรงงานชาวต่างชาติซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของธุรกิจเซอร์วิส

อพาร์ทเม้นท์ ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ ได้ แต่ธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์สามารถปรับตัวดีขึ้น ในช่วงครึ่งปีหลัง ส่งผลให้ธุรกิจโดยรวมมีแนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนหน้า โดยปริมาณการเข้าพัก ของกลุ่มเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ณ สิ้นปี 2557 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 12,372 หน่วย เพิ่มขึ้นจาก

ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 1.2%แสดงให้เห็นถึงสัญญาณที่ธุรกิจมีแนวโน้มสดใสขึ้น อย่างไรก็ดี

แนวโน้มการฟื้นตัวเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเริ่มต้นในบางส่วนโดยเฉพาะกลุ่มเซอร์วิส

อพาร์ทเม้นท์เกรด บี ที่ ได้รับผลดีจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน และอินเดีย ในส่วนของอัตราค่าเช่าเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีสัญญาณของ การลดลงจากอัตราค่าเช่าเฉลี่ยที่ลดลงจากปีก่อนหน้า 3.1% โดยอัตราค่าเช่าเฉลี่ยของเซอร์วิส

อพาร์ทเม้นท์ ในย่านลุมพินีซึ่งเป็นที่ตั้งของโครงการ เดอะ เมย์แฟร์ แมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์ ของกองทุน มีอัตราค่าเช่าเฉลี่ยลดลงจากค่าเฉลี่ยของปี 2556 ที่ 1,109 บาทต่อ

ตารางเมตรต่อเดือน เป็น 1,075 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน หรือลดลงละร้อยละ 3.00 สำหรับการดำเนินงานของ โครงการ เดอะ เมย์แฟร์ แมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์ ในปีที่ผ่านมานั้น ผู้บริหารโครงการยังคงใช้กลยุทธ์ทางการแข่งขันโดยการรักษาระดับอัตราค่าเช่า ต่อเนื่องจากปีก่อนหน้าเพื่อรักษาฐานลูกค้า และดึงดูดลูกค้าใหม่เพิ่มเติม ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด ในช่วงเริ่มต้นของการฟื้นตัวที่ผู้ประกอบการมักจะเรียกอัตราการเช่าไว้ก่อน และปรับอัตราค่าเช่า 14


เพิ่มในภายหลัง โดยหากพิจารณาค่าเฉลี่ยของปี 2557 จะพบว่าโครงการฯ มีอัตราค่าเช่าเฉลี่ยที่ 1,220 บาทต่ อ ตารางเมตรต่อเดือน ซึ่งสูงกว่าอัตราค่าเช่า เฉลี่ ย ของเซอร์ วิ ส อพาร์ ท เม้ น ท์ ใ น

ย่านลุมพินีที่ 1,075 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ทั้งนี้ อัตราค่าเช่าที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด

ในย่านเดียวกันอาจสะท้อนนัยได้ว่า โครงการฯอาจสามารถเรียกค่าเช่าได้สูงเทียบเท่ากับเซอร์วิส

อพาร์ทเม้นท์ใหม่ที่เข้าสู่ตลาดในช่วงที่ผ่านมา โดยในปีที่ผ่านมา โครงการเดอะ เมย์แฟร์ แมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์ ของกองทุน สามารถเรียกอัตราการเข้าพักเฉลี่ยได้ 72.08% ต่ำกว่า อัตราการเข้าพักเฉลี่ยของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์เกรด เอในย่านลุมพินีที่ 84.0% ผลการดำเนินงานของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ ผลการดำเนินงานของกองทุนสำหรับงวดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 กองทุนมีรายได้จากการลงทุนทั้งสิ้น 67.49 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ค่าเช่าซึ่งประกอบด้วย ค่าเช่าที่ ได้รับจากผู้เช่าช่วงจำนวน 67.2 ล้านบาท และรายได้อื่น 0.294 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันนี้ กองทุนมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 18.48 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น ค่าธรรมเนียมต่างๆ 7.73 ล้านบาท และ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและบริหาร 10.74 ล้านบาท ส่งผลให้กองทุนมีรายได้จากการลงทุนสุทธิ สำหรับงวดนี้ รวมทั้งสิ้น 49.01 ล้านบาท ทั้งนี้ ในปี 2557 กองทุนมีรายการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น จากเงินลงทุนจำนวน 230.94 ล้านบาท จากมูลค่าที่ลดลงจากการประเมินค่าทรัพย์สินของกองทุน ทำให้ ในรอบการดำเนินงานประจำปี 2557 กองทุนมีการลดลงในสินทรัพย์สุทธิทั้งสิ้น 181.92 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 กองทุนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิทั้งสิ้น 2,026.62 ล้านบาท หรือ 9.8380 บาทต่อหน่วย ในรอบการดำเนินงานของปี2557 ที่ผ่านมากองทุนได้จ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงาน ของกองทุนประจำปี2557 ทั้งสิ้นรวม 1 ครั้ง โดยเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2557 กองทุนได้

จ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึง

วันที่ 30 มิถุนายน 2557 แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนที่อัตรา 0.095 บาทต่อหน่วย รวมเป็นเงินปันผล สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2557 ทั้งสิ้นจำนวน 19.57 ล้านบาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนที่ ร้อยละ 0.95 ต่อปี เมื่อเทียบราคาเมื่อจัดตั้งกองทุนที่ 10 บาทต่อหน่วยลงทุน ทางด้านผลการดำเนินงานตลอดปี 2557 กองทุนมีรายได้ค่าเช่า 67.19 ล้านบาท ลดลง

จากปี 2556 ประมาณ 87.8 ล้านบาท ทำให้อัตราเฉลี่ยของรายได้ต่อจำนวนห้องพักที่มีจำหน่าย

ลดลงจาก 3,257.73 บาท ในปี 2556 มาอยู่ ณ ระดับ 2,745.12 บาท ในปีนี้ นอกจากนี้

การประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่มีการประเมินมูลค่าลดลง จากการปรับการประมาณอัตราค่าห้องพัก เฉลี่ยที่ลดลง ทำให้กองทุนต้องรับรู้การขาดทุนสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการปรับการประเมิน จึง เป็นสาเหตุให้ ในปี 2557 กองทุนมีสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงานติดลบ 181.92 ล้านบาท หรือ -0.8831 บาทต่อหน่วย และทำให้ทางกองทุนไม่สามารถประกาศจ่ายเงินผันผลแก่ผู้ถือหน่วยใน รอบผลการดำเนินงานนี้ ได้ 15


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ เพื่อเป็นการจ่ายคืนสภาพคล่องส่วนเกินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนจากการที่กองทุนมีรายการ ขาดทุนจากราคาประเมินทางบัญชี ซึ่งเป็นรายการทางบัญชี ซึ่งไม่มีการจ่ายกระแสเงินสดออกไป จริงตามรอบการดำเนินงาน ทางกองทุนจึงจำเป็นต้องลดเงินทุนจดทะเบียนครั้งที่ 1 เป็นจำนวน เงิน 33,375,440 บาท คิดเป็นทุนจดทะเบียน 0.162 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้มูลค่าหน่วยลงทุนที่ ตราไว้ลดลงจาก 10.00 บาทต่อหน่วยเป็น 9.838 บาทต่อหน่วย

รายละเอียดแสดงทรัพย์สินแยกตามประเภท กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ ณ 31 ธันวาคม 2557

ประเภท เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เงินสดและเงินฝากธนาคาร เงินฝากประจำ รายได้ค่าเช่าค้างรับ ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี รวมทรัพย์สิน หนี้สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ

มูลค่าเงินลงทุน 1,980,000,000.00 41,924,909.60 - 6,198,879.06 120,405.29 2,028,244,193.95 (1,619,632.19) 2,026,624,561.76

สรุปมูลค่าทรัพย์สิน ทรัพย์สินสุทธิ และมูลค่าหน่วยลงทุน กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

16

มูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ จำนวนหน่วย มูลค่าต่อหน่วยลงทุน

2,028,244,193.95 2,026,624,561.76 206,000,000.0000 9.8379

ร้อยละของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 97.70 2.07 0.00 0.31 0.01 100.09 (0.08) 100.00

บาท บาท บาท บาท

อัตราส่วนหมุนเวียนการลงทุนของกองทุนรวมทุน (PTR) : N/A


รายละเอียดเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ (GOLDPF) กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ ได้ลงทุนในสิทธิการเช่าที่ดินและอาคาร และ ลงทุนในเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ในโครงการเดอะ เมย์แฟร์ แมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์ โดยมี รายละเอียดของการลงทุน ดังนี้

เดอะ เมย์แฟร์ แมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์

ประเภทการใช้งาน อาคารพักอาศัยประเภทเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ที่ตั้ง เลขที่ 60 ซอยหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โฉนดที่ดินเลขที่ 2494 และ 3770 พื้นที่รวม (ไร่) 1-2-58 เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและ บริษัท โกลเด้น แลนด์ (เมย์แฟร์) จำกัด สิ่งปลูกสร้าง ลักษณะการถือกรรมสิทธิ ์ เช่าที่ดินและอาคาร รวมถึงระบบสาธารณูปโภคพร้อมทั้งส่วนควบ และเฟอร์นิเจอร์ ของกองทุนรวมฯ และอุปกรณ์ ระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุด ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2580 โดยผู้ ให้เช่าให้

คำมั่นว่ากองทุนมีสิทธิที่จะต่ออายุสัญญาเช่าได้อีก 30 ปี นับจากวันครบกำหนด

ระยะเวลาเช่า จำนวนห้องพัก 162 ห้อง ขนาดพื้นที ่ พื้นที่รวม 26,424 ตร.ม. พื้นที่ใช้สอยประมาณ 16,000 ตร.ม. ราคาประเมินจากการสอบทาน 1,980,000,000 บาท ครั้งล่าสุดโดย บริษัท (ประเมิน ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2557 ) 15 ที่ปรึกษาธุรกิจ จำกัด วิธีการประเมินราคา วิธีคิดลดจากกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow Approach) รายได้ค่าเช่าสำหรับระยะเวลา 67,195,043.66 บาท 1 มกราคม 57 – 31 ธันวาคม 57 ภาระผูกพัน - กองทุนมีสิทธิที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าจากโกลเด้น แลนด์ (เมย์แฟร์) ณ วันที่ครบกำหนดสัญญาเช่าในปีที่ 30 ในราคา 405 ล้านบาท หรือ ปีที่ 60 ในราคา 984 ล้านบาท ตามรายละเอียดที่จะได้ระบุไว้ ในสัญญา

ให้ สิ ท ธิ ใ นการซื้ อ ที่ ดิ น และอาคาร ระหว่ า ง โกลเด้ น แลนด์ (เมย์ แ ฟร์ )

กับกองทุน - กองทุ น ได้ น ำอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ แ ละทรั พ ย์ สิ น ที่ ล งทุ น ออกหาประโยชน์ โ ดย

การให้ เ ช่ า ช่ ว งแก่ บ ริ ษั ท แกรนด์ เมย์ แ ฟร์ จำกั ด (ผู้ เ ช่ า ช่ ว ง) เป็ น ระยะ

เวลาประมาณ 16 ปี นับแต่วันที่ลงนามในสัญญาเช่าช่วง จนถึงวันที่ 15

มี น าคม 2566 เพื่ อ ให้ ด ำเนิ น กิ จ การโครงการ เดอะ เมย์ แ ฟร์

แมริ อ อท เอ็ ก เซคคิ ว ที ฟ อพาร์ ท เม้ น ท์ โดยกองทุ น สามารถใช้ สิ ท ธิ ต่ อ

อายุ สั ญ ญาเช่ า ช่ ว งได้ อี ก 10 ปี ภายหลั ง สิ้ น สุ ด ระยะเวลาการเช่ า ตาม

รายละเอี ย ดและเงื่ อ นไขที่ ไ ด้ ร ะบุ ไ ว้ ใ นสั ญ ญาเช่ า ช่ ว งที่ ดิ น และอาคาร

และสัญญาเช่าเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ ระหว่างกองทุนกับผู้เช่าช่วง 17


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ รายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์แต่ละรายการ ในรอบปีบัญชี ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา ไม่มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ รายละเอียดเกี่ยวกับการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์แต่ละรายการ ในรอบปีบัญชี ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา ไม่มีการจำหน่ายหรือโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ รายละเอียดเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินของกองทุนรวม กองทุนรวมไม่มีการกู้ยืมเงิน ข้อมูลเกี่ยวกับการประกันรายได้และผู้รับประกันรายได้ของกองทุนรวม กองทุนรวมได้หมดการรับประกันรายได้เมื่อปี 2554

18


แบบแสดงค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม ของรอบระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557

ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุน* (Fund's Direct Expense) ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ (Trustee Fee) ค่านายทะเบียน (Registrar Fee) ค่าที่ปรึกษาการลงทุน (Advisory Fee) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของโครงการอสังหาริมทรัพย์ (Operation Fee) ค่าตรวจสอบบัญชี (Audit Fee) ค่าใช้จ่ายในการประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ (Market Valuation Fee) ค่าภาษี โรงเรือน (Property Tax) ค่าเบี้ยประกัน (Insurance Expense) ค่าโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการขาย ในช่วงเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก ค่าโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการขาย ภายหลังเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (Other Expenses)** รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด (Total Fund’s Direct Expenses)***

จำนวนเงิน ร้อยละของมูลค่า (พันบาท) ทรัพย์สินสุทธิ 5,859.12 0.27 703.09 0.03 1,171.82 0.05 ไม่มี ไม่มี 6,313.14 302.00

0.29 0.01

124.82 2,919.08 769.49

0.01 0.13 0.04

ไม่มี

ไม่มี

ไม่มี 314.94 18,477.50

ไม่มี 0.01 0.84

* ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่หักจากกองทุนรวมได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ** ค่าใช้จ่ายอื่นที่ < ร้อยละ 0.01 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ *** ไม่รวมค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการซื้อขายหลักทรัพย์

19


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์

รายงานความเห็นของผู้ดูแลผลประโยชน์

เสนอ ผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ ตามที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ดูแลผลประโยชน์กองทุนรวมสิทธิการเช่า อสังหาริมทรัพย์โกลด์ ซึ่งมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด เป็นผู้จัดการกองทุนได้ ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผลประโยชน์กองทุนดังกล่าว สำหรับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2557 แล้วนั้น ธนาคารฯ เห็นว่า บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด ได้ปฏิบัติหน้าที่ ในการ จัดการกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ โดยถูกต้องตามที่ควร ตามวัตถุประสงค์ที่ ได้ กำหนดไว้ ใ นโครงการจั ด การที่ ไ ด้ รั บ อนุ มั ติ จ ากสำนั ก งานคณะกรรมการกำกั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละ ตลาดหลักทรัพย์ และภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ขอแสดงความนับถือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (นางสาวสิรี จริงจิตร) ผู้จัดการสายปฎิบัติการธุรกรรมการเงินและหลักทรัพย์ ผู้ดูแลผลประโยชน์

20


รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสนอ ผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบการเงินของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ (“กองทุน”) ซึ่งประกอบด้วยงบดุลและงบประกอบรายละเอียดเงินลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ งบกระแสเงินสด และข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ สำหรับปี สิ้นสุดวันเดียวกัน รวมถึงหมายเหตุซึ่งประกอบด้วยสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญและเรื่องอื่นๆ ความรับผิดชอบของผู้บริหารของกองทุนต่องบการเงิน ผู้บริหารของกองทุนเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำและการนำเสนองบการเงินเหล่านี้ โดย

ถูกต้องตามที่ควรตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในที่ ผู้บริหารพิจารณาว่าจำเป็นเพื่อให้สามารถจัดทำ งบการเงินที่ปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อ

ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบ ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้า ปฏิ บั ติ ต ามข้ อ กำหนดด้ า นจรรยาบรรณ รวมถึ ง วางแผนและปฏิ บั ติ ง านตรวจสอบเพื่ อ ให้ ได้

ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่างบการเงินปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็น สาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีเกี่ยวกับ จำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน วิธีการตรวจสอบที่เลือกใช้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ

ผู้สอบบัญชี ซึ่งรวมถึงการประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระ สำคัญของงบการเงินไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ในการประเมินความเสี่ยงดังกล่าว ผู้สอบบัญชีพิจารณาการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและการนำเสนองบการเงินโดย

ถูกต้องตามที่ควรของกองทุน เพื่อออกแบบวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ ไม่ ใช่ เพื่อวัตถุประสงค์ ในการแสดงความเห็นต่อประสิทธิผลของการควบคุมภายในของกองทุน การตรวจสอบ

รวมถึงการประเมินความเหมาะสมของนโยบายการบัญชีที่ผู้บริหารของกองทุนใช้และความสมเหตุ สมผลของประมาณการทางบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้บริหารของกองทุน รวมทั้งการประเมินการ

นำเสนองบการเงินโดยรวม 21


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ ข้าพเจ้าเชื่อว่าหลักฐานการสอบบัญชีที่ข้าพเจ้าได้รับเพียงพอและเหมาะสมเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ ในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ความเห็น ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงินของกองทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 ผลการดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ กระแสเงินสด และข้อมูลทางการเงินที่ สำคัญ สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงิน (นิรันดร์ ลีลาเมธวัฒน์) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 2316 บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด กรุงเทพมหานคร 23 กุมภาพันธ์ 2558

22


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2556

หมายเหตุ สินทรัพย์ เงินลงทุนตามราคายุติธรรม (ราคาทุน 2,104,800,000 บาท ในปี 2557 และ 2556) 4, 5 เงินฝากธนาคาร 6 ลูกหนี้ค่าเช่า 4 ดอกเบี้ยค้างรับ ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า รวมสินทรัพย์ หนี้สิน เจ้าหนี้อื่น 4 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 4 รวมหนี้สิน สิ นทรัพย์สุทธิ สินทรัพย์สุทธิ ทุนที่ ได้รับจากผู้ถือหน่วยลงทุน 7 กำไร (ขาดทุน) สะสม 7 สินทรัพย์สุทธิ (เท่ากับ 9.8380 บาทต่อหน่วย ในปี 2557 และ 10.9961 บาทต่อหน่วย ในปี 2556 คำนวณจาก จำนวนหน่วยลงทุนที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด 206 ล้านหน่วย)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

31 ธันวาคม 2557 2556 (บาท)

1,980,000,000 2,210,936,000 41,921,386 49,147,309 6,198,879 6,045,469 3,524 172,145 120,405 127,015 2,028,244,194 2,266,427,938 253,180 226,816 1,366,452 1,002,133 1,619,632 1,228,949 2,026,624,562 2,265,198,989 2,060,000,000 2,060,000,000 (33,375,438) 205,198,989 2,026,624,562 2,265,198,989

23


24

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

31 ธันวาคม 2557 31 ธันวาคม 2556 พื้นที่ ร้อยละ พื้นที่ เฉพาะส่วนที่ ของมูลค่า เฉพาะส่วนที่ กองทุนเช่า จำนวนหน่วย ราคาทุน มูลค่ายุติธรรม ยุติธรรม กองทุนเช่า จำนวนหน่วย ราคาทุน มูลค่ายุติธรรม ประเภทเงินลงทุน (หน่วย) (บาท) (บาท) (ร้อยละ) (หน่วย) (บาท) (บาท) เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (หมายเหตุ 5) สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินพร้อม อาคารโครงการ เดอะ เมย์แฟร์ แมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์ 26,424 ตารางเมตร 1,700,000,000 26,424 ตารางเมตร 1,700,000,000 ที่ตั้ง 60 ซอยหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทม. เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ 56,000,000 56,000,000 ค่าตอบแทนในการให้คำมั่นในการต่อสัญญา 258,800,000 258,800,000 รวมเงินลงทุน 2,014,800,000 1,980,000,000 100.00 2,014,800,000 2,210,936,000

กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ งบประกอบรายละเอียดเงินลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2556

100.00

ร้อยละ ของมูลค่า ยุติธรรม (ร้อยละ)

กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ งบกำไรขาดทุน สำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2556

สำหรับปีสนิ้ สุดวันที ่ 31 ธันวาคม หมายเหตุ 2557 2556 (บาท) รายได้จากการลงทุน รายได้ค่าเช่า 4 67,195,044 87,802,543 ดอกเบี้ยรับ 294,044 742,904 รวมรายได ้ 67,489,088 88,545,447 ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมการจัดการ 4 5,859,120 6,007,416 ค่าธรรมเนียมการดูแลผลประโยชน์ 4 703,094 720,890 ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน 4 1,171,824 1,201,484 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและบริหาร 10,743,477 13,531,711 รวมค่ า ใช้ จ า ่ ย 18,477,515 21,461,501 รายได้ 49,011,573 67,083,946 จากการลงทุนสุทธิ รายการกำไร (ขาดทุน) สุทธิจากเงินลงทุน รายการกำไร (ขาดทุน) สุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจากเงินลงทุน 5 (230,936,000) 9,936,000 รวมรายการกำไร (ขาดทุน) สุทธิจากเงินลงทุน (230,936,000) 9,936,000 การเพิ่มขึ้น (ลดลง) ในสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงาน (181,924,427) 77,019,946

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

25


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์

กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2556

สำหรับปีสนิ้ สุดวันที ่ 31 ธันวาคม หมายเหตุ 2557 2556 (บาท) การเพิ่มขึ้น (ลดลง) ในสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงานในระหว่างปี รายได้จากการลงทุนสุทธิ 49,011,573 67,083,946 รายการกำไร (ขาดทุน) สุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจากเงินลงทุน (230,936,000) 9,936,000 การเพิ่มขึ้น (ลดลง) ในสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงาน (181,924,427) 77,019,946 การแบ่งปันส่วนทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน 9 (56,650,000) (61,491,000) การเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิของสินทรัพย์สุทธิระหว่างปี (238,574,427) 15,528,946 สิ นทรัพย์สุทธิต้นปี 2,265,198,989 2,249,670,043 สินทรัพย์สุทธิสิ้นปี 2,026,624,562 2,265,198,989

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ 26


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ งบกระแสเงินสด สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2556

สำหรับปีสนิ้ สุดวันที ่ 31 ธันวาคม หมายเหตุ 2557 2556 (บาท) กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน การเพิ่มขึ้น (ลดลง) ในสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงาน (181,924,427) 77,019,946 รายการปรับกระทบการเพิ่มขึ้น (ลดลง) ในสินทรัพย์สุทธิจาก การดำเนินงานให้เป็นเงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมการดำเนินงาน ส่วนต่ำกว่ามูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตัดจำหน่าย - (3,002) ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าตัดจำหน่าย 996,388 1,299,233 รายการ (กำไร) ขาดทุนสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจากเงินลงทุน 230,936,000 (9,936,000) การจำหน่ายเงินลงทุน - 30,000,000 การเพิ่มขึ้นในลูกหนี้ค่าเช่า (153,410) (155,209) การ (เพิ่มขึ้น) ลดลงในดอกเบี้ยค้างรับ 168,621 (37,220) การเพิ่มขึ้นในค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (989,778) (225,636) การเพิ่มขึ้นในเจ้าหนี้อื่น 26,364 - การเพิ่มขึ้น (ลดลง) ในค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 364,319 (2,432,712) เงิ น สดสุ ท ธิ ไ ด้ ม าจากกิ จ กรรมดำเนิ น งาน 49,424,077 95,529,400 กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน การแบ่งปันส่วนทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน 9 (56,650,000) (61,491,000) เงิ น สดสุ ท ธิ ใ ช้ ไ ปในกิ จ กรรมจั ด หาเงิ น (56,650,000) (61,491,000) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) - สุทธิ (7,225,923) 34,038,400 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 1 มกราคม 49,147,309 15,108,909 6 41,921,386 49,147,309 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

27


28 (8.31)

อัตราส่วนของกำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อจำนวนถัวเฉลี่ย ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิสำหรับปี (ร้อยละ)

1.48

1.87

0.7254 0.2058 0.9312 (0.7766) 11.3158

4.24

0.7219 (0.2461) 0.4758 (0.6790) 11.1612

- 0.01 5.85 46.22 50.32 2,190,044,625 2,244,952,897 2,269,159,808 2,264,754,454 2,311,220,796

2,026,624,562 2,265,198,989 2,249,670,043 2,331,065,821 2,299,225,558 0.84 0.96 0.75 0.80 0.79 3.08 3.94 3.55 7.40 6.43

3.43

0.3083 (0.1456) 0.1627 (0.5578) 10.9207

11.3644 -

2553

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ข้อมูลเพิ่มเติม * มูลค่าการซื้อขายเงินลงทุนระหว่างงวดไม่ ได้รวมเงินฝากธนาคาร เงินลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงิน และการซื้อขายเงินลงทุนโดยมีสัญญาคืนหรือซื้อคืน และ คำนวณโดยใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามระยะเวลาที่มีอยู่ ในระหว่างปี

อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญและข้อมูลประกอบเพิ่มเติมที่สำคัญ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิสิ้นปี (บาท) อัตราส่วนของค่าใช้จ่ายรวมต่อมูลค่าสินทรัพย์สุทธิถัวเฉลี่ยระหว่างปี (ร้อยละ) อัตราส่วนของรายได้จากการลงทุนต่อมูลค่าสินทรัพย์สุทธิถัวเฉลี่ยระหว่างปี (ร้อยละ) อัตราส่วนของจำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของการซื้อขายเงินลงทุน ระหว่างงวดต่อมูลค่าสินทรัพย์สุทธิถัวเฉลี่ยระหว่างปี (ร้อยละ)* มูลค่าสินทรัพย์สุทธิถัวเฉลี่ยระหว่างปี (บาท)

0.3257 0.0482 0.3739 (0.2985) 10.9961

0.2379 (1.1210) (0.8831) (0.2750) 9.8380

รายได้จากกิจกรรมการลงทุน รายได้จากการลงทุนสุทธิ รายการกำไร (ขาดทุน) สุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจากเงินลงทุน รวมรายได้ (ขาดทุน) จากกิจกรรมการลงทุน หัก การแบ่งปันส่วนทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน มูลค่าสินทรัพย์สุทธิสิ้นปี

11.1612 -

10.9207 -

10.9961 -

11.3158 -

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 255 2556 2555 2554 (บาท)

2557

ข้อมูลผลการดำเนินงาน (ต่อหน่วย) มูลค่าสินทรัพย์สุทธิต้นปี บวก ทุนที่ ได้รับจากผู้ถือหน่วยลงทุน

กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2556 กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ หมายเหตุประกอบงบการเงิน วันที่ 31 ธันวาคม 2557

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ งบการเงินนี้ ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงินจากผู้บริหารของกองทุนเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 1 ข้อมูลทั่วไป กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ “กองทุน” เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน และได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นกองทุนในประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2550 โดยไม่มีการกำหนดอายุโครงการ กองทุนจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อ วันที่ 22 พฤษภาคม 2550 บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหน่วย ลงทุนรายใหญ่ (ถือหน่วยลงทุนร้อยละ 33.01) ซึ่งบริษัทดังกล่าวเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นใน ประเทศไทย กองทุนจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมเงินทุนและนำเงินทุนส่วนใหญ่ ไปลงทุนใน สิ ท ธิ ก ารเช่ า อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ แ ละอุ ป กรณ์ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง กองทุ น ได้ ล งทุ น ในสิ ท ธิ ก ารเช่ า อสังหาริมทรัพย์ คือ โครงการ เดอะ เมย์แฟร์ แมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด เป็นบริษัทจัดการกองทุน โดยมี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุน 2 เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน (ก) เกณฑ์การถือปฏิบัติ งบการเงินนี้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รวมถึงแนวปฏิบัติ ทางการบัญชีที่ประกาศใช้ โดยสภาวิชาชีพบัญชีฯ (“สภาวิชาชีพบัญชี”) กฎระเบียบ และประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง นอกจาก นี้งบการเงินได้จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์และรูปแบบที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 106 เรื่อง “การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน” 29


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์

สภาวิชาชีพบัญชี ได้ออกและปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินหลายฉบับ ซึ่ง เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกองทุน และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2557 ดังต่อไปนี้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 (ปรับปรุง 2555) การเปิ ด เผยข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ บุ ค คลหรื อ กิ จ การที่

เกี่ยวข้องกัน มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 8 ส่วนงานดำเนินงาน (ปรับปรุง 2555)

30

ในเบื้องต้นการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุง ใหม่ข้างต้นนั้นมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีของกองทุนในบางเรื่อง การเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่มีผลกระทบอย่างในสาระสำคัญต่องบการเงิน นอกเหนือจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่ข้างต้น สภาวิชาชีพบัญชี ได้ออกและปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น ๆ ซึ่ง มีผลบังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้น ไป และไม่ ไ ด้มีการนำมาใช้สำหรับการจัดทำงบการเงิ นนี้ มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนได้เปิดเผยใน หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 12 (ข) เกณฑ์การวัดมูลค่า งบการเงินนี้ ได้จัดทำขึ้นโดยถือหลักเกณฑ์การบันทึกตามราคาทุนเดิม ยกเว้น

เงินลงทุนวัดมูลค่าด้วยราคายุติธรรม (ค) สกุลเงินที่ ใช้ ในการดำเนินงานและนำเสนองบการเงิน งบการเงินนี้จัดทำและแสดงหน่วยเงินตราเป็นเงินบาท ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ ใช้ ใน

การดำเนิ น งานของกองทุ น ข้ อ มู ล ทางการเงิ น ทั้ ง หมดมี ก ารปั ด เศษในหมายเหตุ ประกอบงบการเงินเพื่อให้แสดงเป็นหลักพันบาท ยกเว้นที่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น (ง) การประมาณการและใช้วิจารณญาณ ในการจัดทำงบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผู้บริหาร ต้องใช้วิจารณญาณ การประมาณและข้อสมมติฐานหลายประการ ซึ่งมีผลกระทบต่อ การกำหนดนโยบายและการรายงานจำนวนเงินที่เกี่ยวกับ สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างจากที่ประมาณไว้


ประมาณการและข้อสมมติฐานที่ ใช้ ในการจัดทำงบการเงินจะได้รับการทบทวน อย่างต่อเนื่อง การปรับประมาณการทางบัญชีจะบันทึกในงวดบัญชีที่ประมาณการ

ดังกล่าวได้รับการทบทวนและในงวดอนาคตที่ ได้รับผลกระทบ ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การประมาณความไม่ แ น่ น อนและข้ อ สมมติ ฐ านที่ ส ำคั ญ ใน

การกำหนดนโยบายการบัญชี มีผลกระทบสำคัญต่อการรับรู้จำนวนเงินในงบการเงินซึ่ง ประกอบด้วยหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 5 เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 3 นโยบายการบัญชีที่สำคัญ นโยบายการบัญชีที่นำเสนอดังต่อไปนี้ ได้ถือปฏิบัติโดยสม่ำเสมอสำหรับงบการเงิน

ทุกรอบระยะเวลาที่รายงาน (ก) เงินลงทุน เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์ถาวรที่ซื้อและ/หรือลงทุนโดยกองทุน รวมถึงที่ดิน อาคาร เครื่องตกแต่งและติดตั้ง และสินทรัพย์อื่นๆ ของกองทุน จะบันทึก ในบัญชีเงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรมโดยไม่คิดค่าเสื่อมราคา บริษัทจัดการกองทุนกำหนดมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนเริ่มแรกโดยใช้ราคาทุนจาก การซื้ออสังหาริมทรัพย์ จนกว่าจะมีการสอบทานการประเมินหรือการประเมินค่า ทรัพย์สินครั้งต่อไปโดยใช้ราคาประเมินโดยผู้ประเมินราคาอิสระที่ ได้รับความเห็นชอบ จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งบริษัทจัดการ กองทุนจะจัดให้มีการประเมินค่าทรัพย์สินทุกสองปีนับแต่วันที่มีการประเมินค่าเพื่อซื้อ และเช่าอสังหาริมทรัพย์ และจัดให้มีการสอบทานการประเมินค่าทรัพย์สินทุกหนึ่งปี นับแต่วันที่มีการประเมินค่าครั้งล่าสุดไปแล้ว บริษัทจัดการกองทุนจะไม่แต่งตั้งบริษัท ประเมินค่าทรัพย์สินรายใดรายหนึ่งให้ประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่า อสังหาริมทรัพย์เดียวกันติดต่อกันเกินสองครั้ง รายการกำไรหรือรายการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ยุติธรรมของเงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์จะรวมอยู่ ในงบกำไรขาดทุนในงวดที่เกิดขึ้น เงินลงทุนในหลักทรัพย์ เงิ น ลงทุ นในหลักทรัพย์แสดงตามมูลค่ายุ ติ ธ รรม สำหรั บ มู ล ค่ า ยุ ติ ธ รรมของ พันธบัตร คำนวณจากอัตราผลตอบแทนที่ประกาศโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ ไทย ตามลำดับดังนี้ (ก) ราคาหรืออัตราผลตอบแทนจากการซื้อขาย (ข) ราคาหรืออัตราผลตอบแทนเสนอซื้อเฉลี่ย หรือราคาหรืออัตราผลตอบแทน

เสนอซื้อแบบ firm quote จากบริษัทผู้เสนอซื้อเสนอขาย (ค) ราคาหรืออัตราผลตอบแทนที่คำนวณจากแบบจำลอง 31


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์

32

สำหรับมูลค่ายุติธรรมของพันธบัตรที่มีอายุต่ำกว่า 90 วัน คำนวณจากอัตราผล ตอบแทนเมื่ออายุคงเหลือของตราสารเท่ากับ 90 วัน ที่ประกาศโดยสมาคมตราสารหนี้ ไทย หรืออัตราผลตอบแทนที่ ได้มาสำหรับตราสารที่จะครบกำหนดอายุภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ลงทุน รายการกำไรและรายการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ยุติธรรมของเงินลงทุนจะรวมอยู่ในงบกำไรขาดทุนในงวดที่เกิดขึ้น ราคาทุนของเงินลงทุนที่จำหน่ายในระหว่างงวดใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก เงินลงทุนที่ตั้งใจถือไว้จนครบกำหนดซึ่งไม่ ใช่หลักทรัพย์ ในความต้องการของ ตลาดแสดงในราคาทุน (ข) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วย เงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน และออมทรัพย์ (ค) ลูกหนี้ค่าเช่า ลูกหนี้ค่าเช่ารายเดือน แสดงตามรายงานคำนวณค่าเช่า ซึ่งใช้วิธีการและอัตรา ตามที่ระบุในสัญญาเช่าช่วงที่ดินและอาคาร และสัญญาเช่าเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ (ง) ค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี ค่ า ใช้ จ่ า ยรอการตั ด บั ญ ชี ที่ ก ำหนดตั ด บั ญ ชี ค่ า ใช้ จ่ า ยภายใน 5 ปี ได้ แ ก่

ค่าธรรมเนียมในช่วงการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก เช่น ค่าธรรมเนียมการจัด จำหน่ายหน่วย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะทยอยตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่ายตามวิธีเส้นตรง ภายในระยะเวลา 5 ปี (จ) เจ้าหนี้อื่น เจ้าหนี้อื่นแสดงในราคาทุน (ฉ) รายได้ กองทุนรับรู้รายได้ค่าเช่าและรายได้ดอกเบี้ยตามเกณฑ์คงค้าง (ช) ค่าใช้จ่าย กองทุนรับรู้ค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์คงค้าง (ซ) ภาษีเงินได้ กองทุนนี้เป็นกองทุนที่ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย จึงไม่มีภาระ ภาษีเงินได้นิติบุคคลบันทึกไว้ ในงบการเงินนี้


(ฌ) การแบ่งปันส่วนทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน กองทุนมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่เกินปีละสองครั้ง ดังนี้ ในกรณีที่กองทุนมีกำไรสุทธิในแต่ละปี บริษัทจัดการจะจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือ หน่วยลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิประจำปี ในกรณีที่กองทุนมีกำไรสะสม บริษัทจัดการอาจจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสม ทั้งนี้ กำไรสุทธิและกำไรสะสมดังกล่าวจะต้องเกิดขึ้นจริงจากการหาประโยชน์ในทรัพย์สิน ของกองทุนโดยไม่รวมรายการดังต่อไปนี้ (ก) กำไรหรือขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ และ/หรือทรัพย์สินของกองทุน (ข) รายจ่ายในการจัดตั้งกองทุนและรายจ่ายในการเสนอขายหน่วยลงทุน ที่ ได้บันทึก เป็นค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชีและทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลาที่คาดว่า จะได้รับประโยชน์จากรายจ่ายนั้น (ค) การตั้งสำรองค่าใช้จ่ายหรือการลงทุนในจำนวนตามที่บริษัทจัดการเห็นสมควร เพื่อทรัพย์สินของกองทุน บริษัทจัดการจะดำเนินการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่มีการปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายเงินปันผล เว้นแต่กรณีที่ มีเหตุจำเป็นให้ ไม่สามารถจ่ายปันผลได้ ในระยะเวลาดังกล่าว บริษัทจัดการจะแจ้งให้ผู้ ถือหน่วยลงทุนทราบเป็นลายลักษณ์อักษร (ญ) รายงานทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน ผลการดำเนินงานของส่วนงานที่รายงานต่อผู้บริหารกองทุน (ผู้มีอำนาจตัดสินใจ

สูงสุดด้านการดำเนินงาน) จะแสดงถึงรายการที่เกิดขึ้นจากส่วนงานดำเนินงานนั้น โดยตรง 4 กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดทำงบการเงิน กิจการเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันกับ กองทุน หากกองทุนมีอำนาจควบคุมหรือควบคุมร่วมกันทั้งทางตรงและทางอ้อมหรือมี อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อกิจการในการตัดสินใจทางการเงินและการบริหารหรือใน ทางกลับกัน หรือกองทุนอยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันหรืออยู่ภายใต้อิทธิพลอย่างมีนัย สำคัญเดียวกันกับกิจการนั้น การเกี่ยวข้องกันนี้อาจเป็นรายบุคคลหรือเป็นกิจการ

33


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์

ความสัมพันธ์ที่มีกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน มีดังนี้

ชื่อกิจการ ประเทศที่จัดตั้ง ลักษณะความสัมพันธ์ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ไทย เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนรายใหญ่ ซึ่งถือหน่วย ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ลงทุนร้อยละ 33.01 บริษัท โกลเด้น แลนด์ (เมย์แฟร์) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อยทางตรงของผู้ถือหน่วยลงทุน

รายใหญ่และเป็นผู้ ให้เช่าที่ดินและอาคาร บริษัท แกรนด์ เมย์แฟร์ จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อยทางอ้อมของผู้ถือหน่วยลงทุน

รายใหญ่และเป็นผู้เช่าช่วงที่ดินและอาคาร

และเช่าเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ไทย เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทย เป็นผู้จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ไทย เป็ น ผู้ ถื อ หุ้ น ของบริ ษั ท จั ด การกองทุ น ซึ่ ง

ถือหุ้นร้อยละ 99.99 และเป็นนายทะเบียน

ของกองทุน บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด ไทย ผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย (มหาชน)

นโยบายการกำหนดราคาสำหรับแต่ละประเภทรายการอธิบายได้ดังต่อไปนี้

รายการ รายได้ค่าเช่า ดอกเบี้ยรับ ซื้อเงินลงทุน ค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน ค่าธรรมเนียมการดูแลผลประโยชน์ ค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชีตัดจำหน่าย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการ

34

นโยบายการกำหนดราคา ตามอัตราที่กำหนดในสัญญา ตามอัตราที่ธนาคารประกาศ ตามราคาที่กำหนดในสัญญาหรือราคาที่ตกลงกัน ตามอัตราที่กำหนดในหนังสือชี้ชวน ตามอัตราที่กำหนดในสัญญา ตามอัตราที่กำหนดในสัญญา ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง


รายการที่สำคัญกับกิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม สรุปได้ดังนี ้

ยอดคงเหลือกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม มีดังนี้

2557 2556 (พันบาท) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม รายได้ค่าเช่า 67,195 87,803 ค่าธรรมเนียมการจัดการ 5,859 6,007 ค่าธรรมเนียมการดูแลผลประโยชน์ 703 721 ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน 1,172 1,201 2557 2556 (พันบาท) ลูกหนี้ค่าเช่า บริษัท แกรนด์ เมย์แฟร์ จำกัด 6,199 6,045 เจ้าหนี้อื่น 253 227 บริษัท แกรนด์ เมย์แฟร์ จำกัด ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด 905 515 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 181 103 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 109 62 รวม 1,195 680

สัญญาสำคัญที่ทำกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (ก) กองทุนได้เข้าทำสัญญาเช่าที่ดินและอาคารกับบริษัท โกลเด้น แลนด์ (เมย์แฟร์) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง ในโครงการที่พักอาศัยและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกัน ของโครงการ เดอะ เมย์แฟร์ แมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์ เป็นระยะเวลา 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2550 ถึง วันที่ 7 พฤษภาคม 2580 โดยบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ของ บริษัท โกลเด้น แลนด์ (เมย์แฟร์) จำกัด ได้เข้าถือหน่วยลงทุนในกองทุน ณ วันที่

ทำสัญญา กองทุนได้จ่ายชำระค่าเช่าทรัพย์สินที่เช่าเป็นจำนวนเงิน 1,700 ล้านบาท ให้แก่บริษัท โกลเด้น แลนด์ (เมย์แฟร์) จำกัด และบริษัทดังกล่าวได้ ให้คำมั่นว่าจะ

ให้ เ ช่ า ทรั พ ย์ สิ น อี ก เป็ น ระยะเวลา 30 ปี โดยกองทุ น ได้ ต กลงจ่ า ยเงิ น เพื่ อ เป็ น

การตอบแทนการให้คำมั่นในการต่อสัญญาอีก 30 ปี เป็นจำนวนเงิน 259 ล้านบาท

35


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์

36

ณ วันที่ทำสัญญานี้ บริษัท โกลเด้น แลนด์ (เมย์แฟร์) จำกัด ได้ตกลงจะรับประกันค่า เช่าของโครงการ เดอะ เมย์แฟร์ แมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์ แก่กองทุน เป็นจำนวนเงิน 107 ล้านบาทสำหรับรอบปีบัญชี 2550 และเป็นจำนวนเงิน 164 ล้านบาท ต่อปีสำหรับรอบปีบัญชี 2551 ถึง 2554 อีกทั้งกองทุนยังมีสิทธิซื้อที่ดินและอาคาร

ดังกล่าว ดังนี้ - เมื่อครบกำหนดสัญญาการเช่าปีที่ 30 กองทุนสามารถใช้สิทธิที่จะซื้อทรัพย์สินที่ เช่าในราคา 405 ล้านบาท - เมื่อครบกำหนดสัญญาการเช่าปีที่ 60 กองทุนสามารถใช้สิทธิที่จะซื้อทรัพย์สินที่ เช่าในราคา 984 ล้านบาท นอกจากนี้ กองทุนได้เข้าทำสัญญาซื้อขายเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ในโครงการ เดอะ เมย์แฟร์ แมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์ จากบริษัท โกลเด้น แลนด์ (เมย์แฟร์) จำกัด เป็นจำนวนเงิน 56 ล้านบาท กองทุนได้เข้าทำสัญญาเช่าช่วงที่ดินและอาคารและสัญญาเช่าเฟอร์นิเจอร์และ อุ ป กรณ์ กั บ บริ ษั ท แกรนด์ เมย์ แ ฟร์ จำกั ด ซึ่ ง เป็ น บริ ษั ท ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั น แห่ ง หนึ่ ง

เพื่อการดำเนินการโครงการ เดอะ เมย์แฟร์ แมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์ เป็นระยะเวลาประมาณ 16 ปี ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2550 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2566 บริษัท แกรนด์ เมย์แฟร์ จำกัด จะจ่ายชำระค่าเช่าทรัพย์สินที่เช่าเป็นรายเดือน ให้แก่กองทุน ในอัตราค่าเช่าคงที่เดือนละ 4 ล้านบาท และค่าเช่าแปรผันตามผลการ ดำเนินงานของบริษัทดังกล่าว ทั้งนี้ กองทุนสามารถใช้สิทธิต่ออายุสัญญาฉบับดังกล่าว ได้อีกเป็นระยะเวลา 10 ปี นอกจากนี้ บริษัท โกลเด้น แลนด์ (เมย์แฟร์) จำกัด ได้วางหลักประกันจำนอง ของทรัพย์สินที่ให้เช่าและจัดให้มีการจำนำหุ้นของบริษัท แกรนด์ เมย์แฟร์ จำกัด ที่ถือ ไว้ ให้แก่กองทุน.รวมทั้งบริษัท.แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (ข) ค่าธรรมเนียมการจัดการ บริษัทจัดการได้รับค่าธรรมเนียมเป็นรายเดือน ในอัตราไม่เกินร้อยละ 1.00 ต่อปี (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือภาษีอื่นใดในทำนองเดียวกัน) ของมูลค่า ทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ ไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท ต่อปี คำนวณโดยบริษัทจัดการ และรับรองโดยผู้ดูแลผลประโยชน์ (ค) ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนได้รับค่าธรรมเนียมเป็นรายเดือน ในอัตราไม่เกิน ร้อยละ 0.05 ต่อปี (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือภาษีอื่นใดในทำนองเดียวกัน)


ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน คำนวณโดยบริษัทจัดการและรับรองโดยผู้ดูแลผล ประโยชน์ (ง) ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน นายทะเบียนหน่วยลงทุนได้รับค่าธรรมเนียมเป็นรายเดือน ในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.075 ต่อปี (ไม่รวมภาษี มูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือภาษีอื่นใดในทำนอง เดียวกัน) ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน คำนวณโดยบริษัทจัดการและรับรอง โดยผู้ดูแลผลประโยชน์

5 เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทุนได้ลงทุนในสิทธิการเช่าในที่ดินและอาคาร (สัญญาเช่าระยะเวลา 30 ปี โดยมี สิทธิในการต่ออายุสัญญาเช่าได้อีก 30 ปี) และซื้อเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ

การดำเนินธุรกิจของโครงการ เดอะ เมย์แฟร์ แมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์

โดยเป็นโครงการของบริษัท โกลเด้น แลนด์ (เมย์แฟร์) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (ดูหมายเหตุ 4 (ก)) ในระหว่างปี 2557 และ 2556 กองทุนได้ ให้ผู้ประเมินราคาอิสระประเมินมูลค่าเงิน ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยใช้วิธีคิดลดจากกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow Approach) ซึ่งกองทุนได้ปรับเงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นมูลค่ายุติธรรมรวมจำนวน 1,980 ล้านบาท (2556: 2,211 ล้านบาท) และรับรู้ขาดสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจากเงินลงทุน จำนวน 230.94 ล้านบาท (2555: กำไรสุทธิที่ยังไม่เกิดขึ้นจำนวน 9.94 ล้านบาท) ในงบ กำไรขาดทุน 6 เงินฝากธนาคาร

2557 2556 อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย จำนวนเงิน ต่อปี จำนวนเงิน ต่อปี (พันบาท) (ร้อยละ) (พันบาท) (ร้อยละ) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ออมทรัพย์ 41,602 0.375 7,831 0.5 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กระแสรายวัน 2 - 2 - ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ. สาขากรุงเทพฯ ออมทรัพย์ 317 1.20 41,314 1.93 รวม 41,921 49,147

เงินฝากธนาคารทั้งหมดของกองทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 เป็นสกุลเงิน 37


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ 7 ส่วนของผู้ถือหน่วยลงทุน มูลค่า 2557 2556 หน่วยลงทุน จำนวนหน่วย จำนวนเงิน จำนวนหน่วย จำนวนเงิน (บาท) (พันหน่วย / พันบาท) ทุนจดทะเบียน 10 206,000 2,060,000 206,000 2,060,000 ทุนที่ได้รับจากผู้ถือ หน่วยลงทุน 10 206,000 2,060,000 206,000 2,060,000 หมายเหตุ 2556 2555 (พันบาท) กำไรสะสม ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 205,199 189,670 บวก การเพิ่มขึ้น (ลดลง) ในสินทรัพย์สุทธิจากการ ดำเนินงานระหว่างปี (181,924) 77,020 หัก การแบ่งปันส่วนทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน 9 (56,650) (61,491) ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม (33,375) 205,199

8 ส่วนงานดำเนินงาน ผู้บริหารกองทุนเห็นว่ากองทุนดำเนินกิจการในส่วนงานเดียว คือ ธุรกิจลงทุนในสิทธิ การเช่าอสังหาริมทรัพย์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นผู้บริหารกองทุนจึงพิจารณาว่ากองทุน มีส่วนงานที่รายงานเพียงส่วนงานเดียว ดังนั้นรายได้จากการลงทุนสุทธิ และสินทรัพย์ ทั้งหมดที่แสดงอยู่ ในงบการเงินจึงถือเป็นการรายงานส่วนงานดำเนินงานแล้ว

38

9 การแบ่งปันส่วนทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน ปี 2557 ในการประชุ ม คณะกรรมการพิ จ ารณาการลงทุ น ของกองทุ น เมื่ อ วั น ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557 มีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลในอัตราหน่วยละ 0.1800 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 37.08 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ ผู้ถือหน่วยลงทุนใน ระหว่างปี 2557 ในการประชุ ม คณะกรรมการพิ จ ารณาการลงทุ น ของกองทุ น เมื่ อ วั น ที่ 25 สิงหาคม 2557 มีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลในอัตราหน่วยละ 0.095 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 19.57 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนใน ระหว่างปี 2557


ปี 2556 ในการประชุ ม คณะกรรมการพิ จ ารณาการลงทุ น ของกองทุ น เมื่ อ วั น ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 มีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลในอัตราหน่วยละ 0.1625 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 33.47 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ ผู้ถือหน่วยลงทุนใน ระหว่างปี 2556 ในการประชุ ม คณะกรรมการพิ จ ารณาการลงทุ น ของกองทุ น เมื่ อ วั น ที่ 16 สิงหาคม 2556 มีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลในอัตราหน่วยละ 0.1360 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 28.02 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนใน ระหว่างปี 2556 10 เครื่องมือทางการเงิน ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่ จะเกิดในอนาคตของอัตราดอกเบี้ยในตลาด สินทรัพย์ทางการเงินที่อาจทำให้กองทุนมี ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย ได้แก่ เงินฝากธนาคาร ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ คือความเสี่ยงที่ลูกหนี้ค่าเช่าไม่สามารถชำระหนี้แก่ กองทุน ตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้เมื่อครบกำหนด มูลค่ายุติธรรม มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ หรือชำระหนี้สินกัน ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนกัน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างอิสระในลักษณะของผู้ที่ ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน

ในการพิจารณามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน กองทุนรวม มีการพิจารณาสถานการณ์ปัจจุบันของต้นทุนที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนหรือชำระหนี้สิน ภายใต้เครื่องมือทางการเงิน ซึ่งมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงิน ของกองทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 และ 2556 ตามที่ปรากฏในงบการเงิน

มีมูลค่าที่ ใกล้เคียงกับมูลค่ายุติธรรม

39


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ 11 เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลาที่รายงาน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการลงทุน ของกองทุน มีมติอนุมัติลดทุนหน่วยละ 0.1620 บาท โดยการลดมูลค่าหน่วยลงทุนที่ ตราไว้จาก 10.00 บาทต่อหน่วย เป็น 9.8390 บาทต่อหน่วย เป็นจำนวนเงินรวม 33.38 ล้านบาท โดยกำหนดจ่ายคืนผู้ถือหน่วยลงทุนในวันที่ 19 มีนาคม 2558 12 มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ยังไม่ได้ใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่หลายฉบับได้มีการ ประกาศและยังไม่มีผลบังคับใช้และไม่ ได้นำมาใช้ ในการจัดทำงบการเงินนี้ มาตรฐาน การรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่เหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน ของกองทุน และถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลัง วันที่ 1 มกราคม ในปีดังต่อไปนี้ กองทุนไม่มีแผนที่จะนำมาตรฐานการรายงานทางการ เงินเหล่านี้มาใช้ก่อนวันถือปฏิบัต ิ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง ปีที่มีผลบังคับใช้ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการ 2558 (ปรับปรุง 2557) ทางบัญชีและข้อผิดพลาด มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 10 เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน 2558 (ปรับปรุง 2557)

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน

เรื่อง

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการ (ปรับปรุง 2557) ที่เกี่ยวข้องกัน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น (ปรับปรุง 2557) และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ส่วนงานดำเนินงาน ฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2557) การตีความมาตรฐานการบัญชี สัญญาเช่าดำเนินงาน-สิ่งจูงใจที่ให้แก่ผู้เช่า ฉบับที่ 15 (ปรับปรุง 2557) การตีความมาตรฐานการรายงาน การประเมินว่าข้อตกลงประกอบด้วย ทางการเงิน ฉบับที่ 4 สัญญาเช่าหรือไม่ (ปรับปรุง 2557)

40

ปีที่มีผลบังคับใช้ 2558 2558 2558 2558 2558


กองทุนได้ประเมินเบื้องต้นถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่องบการเงินของกองทุนจากการ ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่เหล่านี้ ซึ่งคาดว่าไม่มี ผลกระทบที่มีสาระสำคัญต่องบการเงินในงวดที่ถือปฏิบัติ

41


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์

ประวัติการจ่ายเงินปันผล

ครั้งที่ บาท/หน่วย วันจ่ายเงินปันผล ครั้งที่ บาท/หน่วย วันจ่ายเงินปันผล

1 2 3 4 5 6 7 8 0.4906 0.3680 0.3720 0.3700 0.3730 0.3060 0.4366 0.3400 10/3/51 5/9/51 25/3/52 4/09/52 19/3/53 3/9/53 18/3/54 5/9/54 9 0.4053 9/3/55

10 11 12 13 14 รวม 0.1525 0.1625 0.1360 0.1800 0.0950 4.1875 7/9/55 8/3/56 11/9/56 11/3/57 18/9/57

รายชือ่ บุคคลทีเ่ กีย่ วข้องทีม่ กี ารทำธุรกรรมกับกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ สำหรับระยะเวลาตัง้ แต่วนั ที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557

ไม่มีการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบรายละเอียดการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวม ได้ที่บริษัทจัดการโดยตรง หรือที่ website ของบริษัทจัดการที่ http://www.kasikornasset.com หรือที่ Website ของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ http://www.sec.or.th รายชื่อผู้จัดการกองทุน (หลักและสำรอง) ของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ ธนะรัชต์ บุญญะโกศล ชัชชัย สฤษดิ์อภิรักษ์ ชัยพร ดิเรกโภคา มนต์ชัย อนันตกูล ปณตพล ตัณฑวิเชียร กัณฑสิทธิ์ ยงกฤตมุข

42


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์

ประเภทโครงการ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ประเภทไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน อายุโครงการ ไม่กำหนดอายุโครงการ วันที่จดทะเบียนกองทุน 4 พฤษภาคม 2550 มูลค่าโครงการเริ่มแรก ไม่เกิน 2,060 ล้านบาท จำนวนหน่วยลงทุน ไม่เกิน 206 ล้านหน่วย รอบระยะเวลาบัญชี สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อระดมเงินทุนจากนักลงทุนทั่วไป ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งกองทุนจะนำเงินที่ ได้จากการระดมทุนไปซื้อ เช่า และ/หรือเช่าช่วงอสังหาริมทรัพย์ โดยกองทุน จะรับโอนกรรมสิทธิ์ และ/หรือ สิทธิการเช่า และ/หรือสิทธิการเช่าช่วง อสังหาริมทรัพย์ และจัดหา ผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว โดยการให้เช่า ให้เช่าช่วง โอน และ/หรือจำหน่าย อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่กองทุนได้ลงทุนไว้หรือมีไว้ รวมถึงแต่ ไม่จำกัดเพียงการนำอสังหาริมทรัพย์ ออกให้เช่าหรือเช่าช่วงในลักษณะเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ หรือการนำอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่าหรือ เช่าช่วงเพื่อให้ผู้ประกอบการนำอสังหาริมทรัพย์ออกหาประโยชน์ในลักษณะเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ หรือโรงแรม ตลอดจนทำการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง รวมถึงดำเนินการก่อสร้าง และ/หรือ พัฒนา อสังหาริมทรัพย์ โดยรับโอนใบอนุญาตก่อสร้าง และ/หรือดำเนินการขอหรือรับโอนใบอนุญาตอื่นๆ เช่น ใบอนุญาตโรงแรม (ในกรณีที่กฎหมายอนุญาตให้ดำเนินการดังกล่าวได้) และ/หรือดำเนินการ อื่นใดที่เกี่ยวข้องและจำเป็นเพื่อประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์ และเพื่อมุ่งก่อให้เกิดรายได้และผล ตอบแทนแก่กองทุนและผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุน รวมถึงการลงทุนในทรัพย์สินอื่นและ/หรือ หลักทรัพย์อื่น และ/หรือ การหาดอกผลอื่น โดยวิธีอื่นใดตามกฎหมายหลักทรัพย์และ/หรือกฎหมาย อื่นใดที่เกี่ยวข้องกำหนด นโยบายการลงทุน ในการลงทุนครั้งแรกกองทุนจะทำการลงทุนในทรัพย์สินที่ลงทุน ซึ่งโกลเด้น แลนด์ (เมย์แฟร์) เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และได้ ใช้ ในการดำเนินกิจการโครงการเมย์แฟร์แมริออท อยู่ ในปัจจุบัน • สิทธิการเช่าที่ดินและอาคาร ระยะเวลา 30 ปี โดยมีสิทธิที่จะต่ออายุสัญญาเช่าได้ อีก 30 ปี • ลงทุนในเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินธุรกิจของโครงการ 43


กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ •

กองทุนมีสิทธิซื้อทรัพย์สินที่เช่า ณ สิ้นปีที่ 30 ในราคา 405 ล้านบาท และปีที่ 60 ในราคา 984 ล้านบาท นโยบายการจ่ายเงินปันผล โครงการมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่เกินปีละ 2 ครั้ง (1) ในกรณี ที่ ก องทุ น มี ก ำไรสุ ท ธิ ใ นแต่ ล ะรอบระยะเวลาบั ญ ชี ใ ด บริ ษั ท จั ด การจะ

จ่ายเงินปันผล บริษัทจัดการจะจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิ ที่ ไม่รวมถึงกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการประเมินค่าหรือการสอบ ทานการประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ประจำรอบ ระยะเวลาบัญชีนั้น (2) ในกรณี ที่ ก องทุ น มี ก ำไรสะสมในรอบระยะเวลาบั ญ ชี ใ ด บริ ษั ท จั ด การอาจจ่ า ย เงินปันผลจากกำไรสะสมดังกล่าวด้วยก็ ได้ การจ่ายเงินปันผลตาม (1) ต้องไม่ทำให้กองทุนรวมเกิดยอดขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นในรอบ ระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น บริษัทจัดการจะดำเนินการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนภายใน 30 วันนับตั้ง แต่วันถัดจากวันที่มีการปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายเงินปันผล เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็นให้ ไม่สามารถ จ่ายปันผลได้ ในระยะเวลาดังกล่าว บริษัทจัดการจะแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบเป็นลายลักษณ์ อักษร ผู้ดูแลผลประโยชน์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) นายทะเบียน บมจ. ธนาคารกสิกรไทย

44


บลจ. กสิกรไทย จำกัด ประวัต ิ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด เป็นบริษัทในเครือธนาคารกสิกรไทย ที่ ได้รับใบอนุญาต

ให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ประเภทการจัดการลงทุนจากกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2535 ได้รับ

ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในเดือนมิถุนายน 2543 และได้รับใบอนุญาตให้ ประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนส่วนบุคคลในเดือนมีนาคม 2544 ในปัจจุบัน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด เป็นบริษัทจัดการลงทุนที่มีความพร้อมทั้ง

ในด้านการให้บริการ การวิจัย และการจัดการลงทุน โดยดำเนินธุรกิจจัดการกองทุนด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพ

พร้อมกับ ข้อมูล ข่าวสาร ระบบงานและเทคโนโลยี ในการจัดการลงทุนที่ทันสมัย และยึดมั่นในจรรยาบรรณ

อย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาความเป็นบริษัทจัดการลงทุนที่มีคุณภาพตลอดไป สถานที่ตั้งสำนักงาน บลจ. กสิกรไทย จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 400/22 อาคารธนาคารกสิกรไทย ชั้น 6 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร.0 2673 3888 โทรสาร 0 2673 3988 ทุนจดทะเบียน จำนวน 135,771,370.00 บาท แบ่งออกเป็น 27,154,274.00 บาท มูลค่าหุ้นละ 5 บาท เรียกชำระแล้ว 135,771,370.00 บาท ผู้ถือหุ้น บมจ.ธนาคารกสิกรไทย ถือหุ้นร้อยละ 99.99 กรรมการบริษัท 1. นายปรีดี ดาวฉาย ประธานกรรมการ 2. นายจงรัก รัตนเพียร ประธานกรรมการบริหาร 3. นายพงศ์พิเชษฐ์ นานานุกูล กรรมการผู้จัดการ 4. นายประสพสุข ดำรงชิตานนท์ กรรมการ 5. นางนพวรรณ เจิมหรรษา กรรมการ 6. นางรัตนาพรรณ ศรีมณีกุลโรจน์ กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง 1. นายจงรัก รัตนเพียร ประธานกรรมการบริหาร 2. นายพงศ์พิเชษฐ์ นานานุกูล กรรมการผู้จัดการ 3. นางเสาวณีย์ ศรีสุวรรณกิจ รองกรรมการผู้จัดการ 4. นายเกษตร ชัยวันเพ็ญ รองกรรมการผู้จัดการ 5. นางสาวยุพาวดี ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการ 6. นายนาวิน อินทรสมบัติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ 7. นายชัชชัย สฤษดิ์อภิรักษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ 8. นางสาวธิดาศิริ ศรีสมิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ 9. นายเขมชาติ สุวรรณกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ 10. นางสาวเอื้อพันธ์ เพ็ชราภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2557 45



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.