FA-AKSORN JOURNAL YEAR 15 VOL.1

Page 1

YEAR 15 VOL.1

FA-AKSORN JOURNAL

OTHER

Linguistics Things x Think Recommend Interviews Techno Scope WhySpread! Art's Side Short Story

- ness

Faculty of Arts, Silpakorn University


FA-AKSORN JOURNAL Faculty of Arts, Silpakorn University

เคยไหมเมื่อ รู้สึก ว่าตัวเองกลายเป็น “คนอื่น” ของคนที่คุ้นเคย เพียงคิดถึงเรื่องนี้ หลายคนอาจจะกลัวและยอมรับไม่ได้ แต่ทราบหรือไม่ว่า ในโลกปัจจุบน ั มีผท ู้ ถ ี่ กู ทําให้เป็นอืน ่ และถูกหยิบยืน ่ “ความเป็นอื่น” ให้เยอะมาก เพี ย งหลั บ ตาคิ ด ถึ ง กลุ่ ม ที่ เ รี ย กว่ า “คนชายขอบ” ไม่ ว่า จะเป็ น ชาวเขา คนไร้สัญชาติ คนพิการ คนยากจน คนบ้า จิตเภท ผู้อพยพ ฯลฯ คนเหล่านี้ ถู กทำ�ให้เป็นอื่นในสังคมของเรา ในขณะที่เราเองก็อ าจจะกลายเป็น อื ่ น ในบางสังคมเช่นเดียวกัน เรื ่ อ งราวของ “ความเป็ น อื่ น ” กลายเป็ น ความขั ด แย้ ง ในสั ง คม คนที่ถูกมองว่า “เป็นอื่น” ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกันกับคนอีกกลุ่ม ที่เราถือว่าเป็น “พวกเรา”

ean’s letter

D

ในความรั บ รู ้ ข องคนบางกลุ ่ ม “ความเป็ น อื ่ น ” ไม่ ใ ช่ ป ั ญ หานั ก แต่ในอีกด้านหนึ่ง กลับกลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติหรือแม้แต่ในระดับโลก เพราะการสร้าง “ความเป็นอื่น ” ให้กับคนบางกลุ่มเกิ ดจากความต้องการ สร้างความเหนือกว่าให้เกิดขึ้นกับกลุ่มของเรา ในฐานะของผู้เรียนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เราจึงควร เรียนรู้ว่า เราจะจัดการกับ “ความเป็นอืน ่ ” และ “การถูกทําให้เป็นอืน ่ ” ได้อย่างไร เราควรลดการทำ�ให้เกิดความเป็นอื่นลง มองทุกคนอย่างเท่าเทียม และเป็นธรรม เราควรเริม ่ ต้นจากสังคมเล็กๆ ของเรา และขยายขึน ้ สู่สังคมใหญ่ เพื่อช่วยกันลดปัญหารอบตัวเรา วารสารฟ้ า อั ก ษรฉบั บ นี ้ จ ึ ง นำ�เสนอเรื ่ อ งของ “ความเป็ น อื่ น ” เพื่ อ เตื อ นใจทุ ก ท่ า นที่ ไ ด้ อ ่ า นให้ ต ระหนั ก ถึ ง การอยู ่ ร่ ว มกั น ในสั ง คม อย่างมีความสุข ลด ละ เลิก การสร้าง “ความเป็นอื่น ” และมองคนทุกกลุ่ม ในสังคมอย่างเท่าเทียมเพื่อเพิ่มความสุขเล็กๆ ให้กับสังคมของเรา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ คณบดีคณะอักษรศาสตร์


Year 15 Vol.1 Otherness

ditor’s note

E

หากจะกล่าวว่าความเป็นอืน ่ เกิดขึน ้ รอบตัวเราตลอดเวลาก็คงจะไม่ผิด เพราะตั ้ ง แต่ อ ดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บ ั น เราได้ เ ห็ น ได้ เ รี ย นรู ้ ได้ อ ่ า น ได้ ส ั ม ผั ส เหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้นจากความเป็นอื่นนับไม่ถ้วน ไม่วา่ จะเป็นการสูร้ บ แย่งชิงดินแดน การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สงครามโลก การต่อสู้เพื่ออิสรภาพ ของคนผิวสี ผูห ้ ญิง และกลุ่มผูม ้ ค ี วามหลากหลายทางเพศ การต่อสูท ้ างการเมือง ระหว่างสองฝ่ายที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ฯลฯ ในโลกปัจจุบน ั ทีค ่ วามหลากหลายดูจะกลายเป็นสิ่งทีเ่ ราต่างก็คุ้นเคย กันอย่างดี และดูเหมือนว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากความเป็นอื่นในหลาย ศตวรรษก็ ย ั ง คงดำ�รงอยู ่ บ้ า งก็ เ ปลี่ย นตั ว ละครผู ้ ก ระทำ�-ผู ้ ถ ู ก กระทำ� เรามีปญ ั หากันในเรือ่ งเดิมๆ เราไม่เหมือนกัน เธอไม่ใช่พวกฉัน ฉันไม่ใช่พวกเธอ เพียงเพราะเราแตกต่างกัน... เหตุการณ์ต่างๆ ได้ให้บทเรียนมากมายแก่สังคม บ้างเราก็ตระหนัก และพยายามปรับปรุงแก้ไขเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เหล่านั้นเกิ ดขึ้นอีก บ้าง เราก็นิ่งเฉยราวกับว่าเรามองว่ามันเป็นเรื่อ งปกติไปแล้ว บ้างเราก็ แ ทบ ไม่เคยเหลียวมองมัน วารสารฟ้ า อั ก ษรฉบั บ นี ้ จ ึ ง ขอพาทุ ก คนไปสำ�รวจความเป็ น อื ่ น ในมุมมองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี ดนตรี ภาพยนตร์ ศิลปะ หรือแม้แต่ภายในจิตใจของตัวเอง รวมไปถึงการสำ�รวจ ในอีกพื้นทีห ่ นึ่งในสังคม พืน ้ ทีช่ ายขอบของคนชายขอบที่เราอาจไม่ค่อยได้เห็น หรือตระหนักถึงการมีอยู่มากเท่าไหร่นัก เพื่อให้เราเข้าใจและตระหนัก ในความเป็นอืน ่ ทีอ่ ยูร่ อบตัวเรามากขึน ้ และเพือ่ ทีจ่ ะสามารถอยูก ่ บ ั ความแตกต่าง เหล่านี้ได้อย่างมีความสุข หวั ง ว่ า วารสารฉบั บ นี ้ จ ะช่ ว ยขยายมุ ม มองความหลากหลาย ของคนในสั ง คมและช่ ว ยให้ ท ุ ก คนเข้ า ใจในความแตกต่ า งหลากหลาย ของมนุษย์ไม่มากก็น้อย แด่ความหลากหลายอันสวยงามของมนุษย์ ปรเมษฐ์ เอี่ยมสอาด บรรณาธิการวารสารฟ้าอักษร


C

ONTRIBUTORS

ONTACT กองบรรณาธิการวารสารฟ้าอักษร ชั้น 1 อาคาร 36 ปี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม 73000 วารสารฟ้าอักษร FA-AKSORN Journal Faaksonjournal@gmail.com medium.com/@faaksornjournal

Executive Editor

Editor

Prasitchai Jirapasittinon

Poramet Aiemsa-ard

Advisors

Editorial Staff

Naowarat Patipatpakdee Weena Wutthichamnong

Pawornrat Tiensirirerk

Contributors

Art Director

Arphanan Binsukaimee Jaruwan Sudaduong Katharin Chankasem Panadda Aukahadsee Phitchayapat Wimonsate Ployrung Sibplang Poramet Aiemsa-ard Roipim Poopakhun

Cholticha Loyfa

Graphic Designers Parinda Wongcharoen Pawornrat Tiensirirerk Pemika Potprasat Praewpan Hansapan

Roongthip Binead

Proofreaders

Coordinators

Bussakorn Taemeerassamee Natcha Thipbumrung Pinsuda Panmongkol

Kwanjit Janjan Prapassorn Charoenphrom

Tamonwan Supanukanon

Secretary

Public Relations Officer

Kwanjit Janjan

Piyaphorn Srisattaya


CONTENTS CONTENTS Linguistics 6

วาทกรรมแย่งแยกความเหมือน

8

Things x Think

กลุ่มชาติพันธุ์กับมุมมองความเป็นอื่น

ใดใดในโลกล้วนเป็นอื่น

11

19

Another Side

Recommend

17

Look Around

21

Techno Scope

27

Short Story

32

เป็นเด็กแว้นมันผิดตรงไหน?

Interview:

Other Thoughts

23

WhySpread!

29

จริงหรือไม่ ใช่หรือเปล่า?

Art’s Side

30

ผนัง สเปรย์ คนมือบอน

เราหลงลืมอะไรไปหรือเปล่า?

Social Media: ยอมรับความหลากหลาย หรือยิ่งทำ�ลายความแตกต่าง

He is a 52-Hz whale.


เราต่างคือนักอพยพ เด็กน้อยจับปอยผมของผู้เป็นแม่มาดม “ผมคุณแม่หอมจังเลยค่ะ” แม่หันมายิ้มให้เด็กน้อย ภาพในจอโทรทัศน์ตัดจากโฆษณาเป็นข่าวเที่ยงวัน “โรฮีงญาคือใครคะคุณแม่ น่าสงสารจัง” “ลูกยังเด็กเกินไปนะจ๊ะ ยังมีอีกหลายอย่างที่ลูกยังไม่รู้ความจริง” “คุณแม่รู้ความจริงหรือคะ” “ไม่หรอกจ้ะ แม่ก็ยังไม่รู้ทั้งหมด” “แต่หนูสงสารเขานี่คะ” “ถ้าอย่างนั้นหนูต้องตั้งใจเรียนนะลูก” “ทำ�ไมหรือคะ” “หนูจะได้ช่วยพวกเขายังไงล่ะจ๊ะ” “โลกใบใหญ่มากมาก” เด็กน้อยผายมือสุดแขน “ทำ�ไมเขาไม่มีที่อยู่ล่ะคะ” นครคนนอก, พลัง เพียงพิรุฬห์


Linguistics วาทกรรมแบ่งแยกความเหมือน

โดย trois étoiles

ต่อมาจึงมีการใช้คำ�ว่า กลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic Group) ในการเรียกกลุม ่ ชนทีม ่ ลี กั ษณะแตกต่างกันทางวัฒนธรรมแทน คือ กลุม ่ คน ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน ผู้ที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน จะมีความรู้สึกผูกพันทางสายเลือดและทางวัฒนธรรม เป็นความรู้สึก ผูกพันที่ช่วยเสริมสร้างอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ เป็นการบ่งบอกตัวตน ว่ามาจากไหน บรรพบุรษ ุ คือใคร ระบบองค์รวมทางวัฒนธรรมเป็นแบบไหน เพือ่ หลีกเลีย่ งความหมายในเชิงดูถกู เหยียดหยามทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ ยังช่วยให้คนปรับเปลีย ่ นแนวคิดและความสนใจไปศึกษาถึงต้นกำ�เนิด ความเป็นชาติพันธุ์ของพวกเขามากขึ้น

ภาษาถือเป็นหัวใจหลักในการสื่อสารของมนุษย์ ไม่ว่าคน ชาติไหนก็จะต้องมีภาษาที่เป็นสื่อกลางที่ถ่ายทอดสารไปสู่ผู้รับสาร และยังเป็นเครื่องสะท้อนคติหรืออคติของผู้พูด ภาษาจึงมีอิทธิพล อย่างมากต่อความคิดของมนุษย์จนเรียกได้ว่าแทบจะเป็นสิ่งเดียวกัน ผู้ใช้ภาษาที่มีไวยากรณ์ต่างกันก็จะแสดงให้เห็นถึงการมองโลกและ ประเมินโลกภายนอกแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ผูท ้ พ ่ี ด ู ภาษาเดียวกัน ก็ใช่ว่าจะมีทัศนคติที่เหมือนกันทุกประการ ภาษาเดียวกันก็ยังแสดง ให้เห็นถึงความแตกต่างในการใช้ คุณจะรูส ้ ก ึ อย่างไรหากคำ�สองคำ�ทีม ่ ี ความหมายในเชิงเดียวกัน แต่เมื่อกล่าวออกมาแล้วกลับให้ความรูส ้ ก ึ ทีไ่ ม่เหมือนกัน ความแตกต่างของความเหมือนนีน ้ อกจากในเรือ ่ งของ ความหมายแล้ว ยังเกีย ่ วเนือ ่ งไปถึงบริบทในสังคมนัน ้ ๆ ทีส ่ ง่ ผลให้เกิด การแบ่งแยกออกจากสังคมและถูกตัดสินว่าแปลกต่างจากผู้อื่น

นอกจากนีย ้ งั มีอก ี คำ�อีกกลุม ่ หนึง่ ทีเ่ ต็มไปด้วยความอ่อนไหว ทางด้านความรูส ้ ก ึ นัน ่ คือคำ�ทีใ่ ช้ระบุเพศ แม้ในปัจจุบน ั โลกยุคโลกาภิวต ั น์ จะหมุนไปไกลและเริม ่ มีการยอมรับความหลากหลายทางเพศมากขึน ้ ตามสือ ่ สาธารณะต่างๆ แต่ปญ ั หาการเหยียดเพศก็ยงั คงปรากฏให้เห็น ในสังคมและทำ�ให้บุคลคลเหล่านั้นถูกมองให้กลายเป็นคนชายขอบ เพราะเป็นเรื่องที่บางคนมองว่าไม่ปกติ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วถือเป็น เรื่องของรสนิยมส่วนตัวแต่ละบุคคล ดังนั้นเราจึงควรรู้จักเลือกใช้คำ� ที่จะไม่สื่อความหมายไปในเชิงเหยียด

ดังที่เรียกกันว่า “คนชายขอบ” ในภาษาไทยคำ�ว่า ชาย ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง ส่วนริมหรือปลายของ บางอย่าง ส่วนทีส ่ ด ุ เขต/ริม เช่น ชายฝัง่ ชายแดน ความหมายนีจ้ ะมีนย ั ไปในทางกายภาพหรือภูมิศาสตร์ คนชายขอบ หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มคนที่สังคมไม่สนใจ เหลียวแล ถูกทิ้งขว้างแปลกแยกจากสังคมกระแสหลัก เช่น ชาวเขา ชนกลุม ่ น้อย ผูห ้ ญิงขายบริการ กลุม ่ รักร่วมเพศ หรือคนพิการ นอกจากนี้ คนชายขอบยังรวมถึงผู้ที่ถูกสังคมส่วนใหญ่ปฏิเสธ ไม่ใช่แค่คนที่อยู่ ชายขอบแบบที่อยู่ตามชายแดนระหว่างประเทศเท่านั้น แต่หมายถึง คนทีถ ่ ก ู คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นคนส่วนน้อยในสังคมซึง่ ก่อให้เกิดช่องว่าง ทางวัฒนธรรมอีกด้วย

ก่อนอืน ่ เราต้องทำ�ความเข้าใจความแตกต่างของคำ�ว่า “เพศ” ก่อน คำ�แรกคือ เพศสรีระ (Sex) หมายถึง สรีระร่างกาย หรืออวัยวะ ที่บ่งบอกว่าเป็นเพศอะไร เพศภาวะ (Gender) หมายถึง ภาวะแห่ง เพศที่ถูกขัดเกลาและถูกประกอบสร้างทางสังคม ก็คือความเป็นหญิง และความเป็นชาย ดังนั้นในอีกแง่มุมหนึ่ง เพศภาวะจึงเป็นเรื่องของ บทบาทในเรือ ่ งต่างๆ ทีส ่ งั คมกำ�หนดให้กบ ั สถานะทางเพศ และเพศวิถี (Sexuality) หมายถึง วิถีชีวิตทางเพศที่ถูกหลอมสร้างจากค่านิยม บรรทัดฐาน ระบบวิธีคิด วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับความปรารถนาและ การแสดงออกทางเพศ ซึง่ เป็นระบบความคิดและพฤติกรรมทีส ่ ม ั พันธ์ กับมิติทางสังคมและวัฒนธรรม

คนชายขอบตามนัยภูมิศาสตร์ที่ก่อให้เกิดการสร้าง ความแบ่งแยกนัน ้ คือคำ�ว่า ชนกลุม ่ น้อย (Minority Group) ซึง่ หมายถึง ชนต่างเผ่าหรือต่างเชือ ้ ชาติทม ่ี เี ชือ ้ ชาติ ภาษา และวัฒนธรรมแตกต่าง ไปจากคนส่วนใหญ่อาศัยรวมกันกับชนเผ่าอืน ่ หรือเชือ ้ ชาติอน ่ื ทีม ่ จี ำ�นวน มากกว่าและคำ�ว่า ชาวเขา (Hill Tribe) หมายถึง ชนเผ่าทีอ ่ าศัยอยูใ่ น เขตบริเวณทีส ่ งู กว่าระดับพืน ้ ดิน ซึง่ โดยปกติจะมีภาษาพูดและวัฒนธรรม แตกต่างกับคนไทยโดยทั่วไป เช่น ชาวอาข่า ม้ง เย้า กะเหรี่ยง ลีซอ ทั้งคำ�ว่า “ชนกลุ่มน้อย” และ “ชาวเขา” ล้วนมีความหมายที่แสดงถึง ความเป็นอื่นและความด้อยกว่าคนส่วนใหญ่ทั้งในเชิงอำ�นาจและเชิง วัฒนธรรม คำ�เหล่านี้แสดงนัยการเรียกกลุ่มคนที่ยังไม่ถูกกลืนเป็น ส่วนหนึง่ ของสังคมใหญ่ ยังไม่ได้เป็นทีย ่ อมรับและมักตกอยูใ่ นฐานะที่ ถูกเหยียดและได้รับการปฏิบัติไม่เท่าเทียมกับคนกลุ่มใหญ่

6


อาจารย์ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงคำ�ที่ไม่เหมาะสมหากจะใช้เรียก กลุ่มคนรักเพศเดียวกันว่า “โดยหลักการแล้ว การเรียกกลุ่มคนรัก เพศเดียวกัน ไม่ควรใช้คำ�ในลักษณะทีม ่ ก ี ารตีตรา เหมารวม เหยียดหยาม ความเป็นมนุษย์ ด้วยการใช้คำ�ในเชิงดูถก ู รสนิยมทางเพศทีแ่ ตกต่างกับ บรรทัดฐานกระแสหลัก เช่น วิปริต ผิดเพศ ผิดปกติ โรคจิต ฯลฯ รวมไปถึง การดูถูกคุณลักษณะทางด้านสรีระร่างกายที่ไม่สอดคล้องกับอุดมคติ เช่น กะเทย “ควาย” เป็นต้น”

ในปัจจุบน ั นีค ้ ำ�ทีพ ่ ด ู ออกมาได้ในเชิงบวกทีส ่ ด ุ น่าจะเหมาะกับ คำ�ว่า กลุม ่ คนทีม ่ ค ี วามหลากหลายทางเพศ หรือ LGBT ซึง่ ย่อมาจาก Lesbian, Gay, Bisexual, และ Transgender ซึ่งเป็นกลุ่มทาง สังคมที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิทางเพศ เป็นคำ�ที่แสดง ให้เห็นถึงความหลากหลายของเพศวิถีและลักษณะการแสดงเพศ ทางสังคมได้มากที่สุด เพราะภาษามีวิวัฒนาการไปตามโลก มีการพัฒนาและ เปลีย ่ นแปลงอยูเ่ สมอ ภาษาจึงไม่ใช่สง่ิ ทีถ ่ ก ู ผูกขาดการตีความและไม่ได้ จำ�กัดอยูแ่ ค่ความหมายเดียวเท่านัน ้ ทุกๆ ปีโลกของเรามีคำ�ศัพท์ใหม่ๆ เพิม ่ ขึน ้ เสมอ การรูจ้ ก ั สรรคำ�เพือ ่ การประนีประนอมจะทำ�ให้เราสามารถ อยู่ร่วมกันในความต่างได้ นี่คือความเป็นเอกลักษณ์ของวรรณศิลป์ และความมีวาทศิลป์ในการใช้คำ�ให้เหมาะสมกับผู้ฟังและบริบททาง สังคมเพือ ่ การอยูร่ ว่ มในวัฒนธรรมทีเ่ ต็มไปด้วยความหลากหลายของ ความเป็นมนุษย์ได้อย่างลงตัว

แล้วเราจะใช้คำ�ว่าอะไรถึงจะเหมาะสมในการระบุเพศของ แต่ละบุคคล ประเทศไทยมีคำ�สำ�หรับเรียกกลุ่มคนเหล่านี้มากมายจน เป็นคำ�ติดหูทั้ง ตุ๊ด กะเทย เกย์ ทอม ดี้ ฯลฯ ซึ่งคำ�เหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กบ ั การใช้ ถ้าใช้ในระดับภาษาและบริบททีผ ่ พ ู้ ด ู ผูฟ ้ งั เข้าใจตรงกันก็ไม่มป ี ญ ั หา แต่บางคนทีอ ่ าจใช้โดยไม่รต ู้ วั ว่ามีความหมายเชิงลบซ่อนอยูอ ่ าจทำ�ให้ ผูฟ ้ งั เกิดความข้องใจได้ จนมีคำ�ว่า เพศที่ 3 ซึง่ หมายถึงคนรักเพศเดียวกัน หรือบุคคลทีม ่ ค ี วามต้องการทางเพศกับบุคคลทีม ่ เี พศเดียวกัน ซึง่ คำ�นี้ ก็เป็นเหมือนการแบ่งแยกคนอื่นๆ ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่ต่างกับ เพศกำ�เนิด นอกจากนีก ้ ารเรียกว่าเพศที่ 3 ยังเปรียบได้กบ ั การจัดลำ�ดับ ความสำ�คัญทางเพศ โดยมีผช ู้ ายเป็นเพศที่ 1 และผูห ้ ญิงเป็นเพศที่ 2 ซึ่งแสดงให้เห็นความตํ่ากว่าของเพศที่ 3

รายการอ้างอิง กฤตยา อาชวนิจกุล. เพศวิถีที่กำ�ลังเปลี่ยนแปลงไปในสังคมไทย. เข้าถึงเมือ ่ 12 พฤษภาคม. เข้าถึงได้จาก http://www2.ipsr. mahidol.ac.th/ConferenceVII/Download/2011-Ar ticle-03.pdf กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี. ‘ตุ๊ด เกย์ ทอม ดี้’ เรียกอย่างไร ไม่เหยียดเพศ?. เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม. เข้าถึงได้จาก https://www.voicetv.co.th/read/156477 จตุพร วิศษ ิ ฏ์โชติองั กูร. (2549). “ชาวเขา” กับ “อคติ” ทางชาติพน ั ธุ.์ เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม. เข้าถึงได้จาก https://www. gotoknow.org/posts/27099 วิชุดา สร้อยสุด. (2556). บทความวิชาการเรื่อง คนชายขอบ. เข้าถึงเมือ ่ 10 พฤษภาคม. เข้าถึงได้จาก http://sd-group1. blogspot.com/2013/01/53242551.html Hima [นามแฝง]. ทำ�ไมผมถึงไม่สนับสนุนคำ�ว่า เพศทางเลือก หรือ เพศที่สาม. เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม. เข้าถึงได้จาก https://medium.com/@himatako_th/ทำ�ไมผมถึงไม่ สนับสนุนคำ�ว่าเพศ-เพศทางเลือก-หรือ-เพศที่สาม-35bd1 505f559

ส่วนคำ�ว่า เพศทางเลือก ให้ความหมายถึงกลุ่มคนที่มี ความหลากหลายทั้งด้านอัตลักษณ์ทางเพศ ด้านรสนิยมทางเพศและ ด้านการแสดงออกทางเพศ ฟังแล้วน่าจะให้ความรู้สึกที่ดีกว่าคำ�แรก เพราะคำ�นีเ้ ป็นการเปิดโอกาสให้ทก ุ คนสามารถเลือกทีจ่ ะเป็นได้ ไม่จำ�กัด หรือถูกลดค่า แต่สามารถเป็นอะไรก็ได้โดยไม่ต้องมีใครมากำ�หนด เช่นเดียวกับคำ�ว่า กะเทย ซึ่งเป็นเหมือนการนิยามเพศ เพศหนึง่ ไม่ได้มน ี ย ั ยะว่าสูงตํา่ กว่าเพศใด แต่เมือ ่ เราใช้ อาจจะกระทบ กระเทือนความรูส ้ ก ึ ผูฟ ้ งั บางคนได้ จึงมีคำ�ว่า สาวประเภทสอง เข้ามา ทดแทน ให้ความรูส ้ ก ึ สุภาพกว่า ไม่แสดงอารมณ์ของการเยาะเย้ยและ ให้ความใกล้เคียงกับความเป็นผู้หญิง อย่างไรก็ตามคำ�นี้ก็สามารถ ตีความถึงความไม่เท่าเทียมได้เช่นกันเพราะยังมีการแบ่งประเภทที่ 1 ที่ 2 เหมือนการใช้คำ�ว่าเพศที่ 3 อยู่ดี

7


xThink

Things

กลุ่มชาติพันธุ์กับมุมมองความเป็นอื่น (Ethnic groups and otherness) โดย พิชญาน์พัทธ์ วิมลเศรษฐ

ใครบางคนอาจเคยต้องประสบกับความรู้สึกเหงาเหมือนอยู่คน เดียวบนโลก ความเป็นส่วนเกินจากคนรอบข้าง หรือการไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมที่ อาศัยอยู่ ซึ่งนั่นก็เป็นความรู้สึกที่สามารถสร้างความบั่นทอนจิตใจได้อย่างเหลือขนาด จนในบางครั้ง ความรู้สึก ‘เพราะคนไม่จำ�เป็นก็ต้องเดินจากไป’ ก็ได้ผุดขึ้นมาในเสี้ยว ความคิด แต่หากลองมองย้อนกลับไป มนุษย์เราได้สัมผัสถึงความเป็นอื่นมาอย่างเนิ่น นานแล้ว ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกท่านมาย้อนประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ที่กว่าจะเดินทางผ่าน อุปสรรคต่างๆ จนกระทั่งมาลงเอยเหมือนในปัจจุบันนั้น ต้องผ่านสิ่งใดมาบ้าง

1.กะเหรี่ยง กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่ถูก จัดอยู่ในตระกูลทิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) ถูกสันนิษฐานว่าเดิมอาศัยอยู่ทางด้านตะวันออก ของทิเบต และก็เข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศจีน ต่อมาได้ถูกกษัตริย์ราชวงศ์จิ๋นของจีนรุกราน จึง หนีลงมาตามแม่น้ำ�แยงซี และได้ถอยลงมาอยู่ ตามลำ�นํ้ า โขงกั บ แม่ นํ้ า สาละวิ น ในเขตประเทศ พม่า ชาวกะเหรี่ยงได้พากันอพยพไปอยู่ตามป่า ลึกและบนภูเขา เนือ ่ งจากตอนอยูบ ่ นทีร่ าบมักถูก รุกรานอยูเ่ สมอ และเมือ ่ เกิดศึกสงครามจะได้หลบ หนีไปได้งา่ ย เพราะเหตุนจ้ี งึ เป็นการยากที่เจ้าของ ประเทศจะเข้า ไปปกครองหรื อ เข้ าไปแทรกแซง นั่นเอง ชาวกะเหรี่ ย งจำ�นวนมากอพยพเข้ า มาอาศัยอยูใ่ นประเทศไทย เนือ ่ งจากมีความขัด แย้ ง ทางด้ า นการเมื อ งกั บ ชาวพม่ า ที่ต้อ งการให้ กะเหรีย ่ งอยูภ ่ ายใต้การปกครอง แต่กะเหรีย ่ ง ต้องการเป็นรัฐอิสระ จึงทำ�ให้เกิดศึกสงครามกัน โดยตลอด อีกทั้งยังโดนกดขี่และยังถูกบังคับให้ เสียภาษีรายบุคคลโดยต้องจ่ายเป็นของป่าแทน การรับใช้ชาวพม่าอีกด้วย

2. ลีซอ ปั จ จุ บั น ชาวกะเหรี่ ย งกระจายตั ว อยู่ในประเทศพม่าและประเทศไทย ซึ่งสำ�หรับ ประเทศไทยแล้ ว ชนเผ่ า กะเหรี่ ย งนั บ ว่ า เป็ น เผ่ า ชาวเขาที่มีประชากรมากที่สุดถ้าเทียบกับชนเผ่า ชาวเขาอื่นๆ กะเหรี่ยงในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่ กะเหรี่ยงสะกอ กะเหรี่ยงโป กะเหรี่ยงบเว (คยา) และกะเหรี่ยงตองซู (ปะโอ) ซึ่งกะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด ชาวกะเหรี่ยงมักมีอุปนิสัยประจำ�กลุ่ม คือ รักสันโดษ มีความสมถะ มีความเกรงใจและ เก็บความรู้สึก ไม่นิยมใช้วาจาก้าวร้าว มักจะ หลีกเลี่ยงและปลีกตัวออกจากความขัดแย้งเสมอ และไม่ยอมรับอิทธิพลจากคนภายนอกกลุ่ม ไม่ ยอมให้ อิ ท ธิ พ ลจากภายนอกมาเปลี่ ย นแปลง ธรรมเนียมประเพณีของตนเองได้โดยง่าย แต่ใน บางกลุ่มอาจมีการติดต่อแลกเปลี่ยนสิ่งของ เช่น แลกข้าวกับเสื้อผ้า

8

กลุ่มชาติพันธุ์ลีซอมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ต้นแม่นํ้า สาละวินและแม่นํ้าโขงทางตอนเหนือของประเทศทิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือมณฑลยูนนานในประเทศ จีน ต่อมาได้อพยพลงไปทางใต้ เพราะเกิดการสู้รบกับ กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ชาวลีซอจึงได้อพยพลงไปเรื่อยๆ จน กระทั่งชาวลีซอได้แตกกระจายกันอยู่ในประเทศพม่า ประเทศจีน ประเทศอินเดีย และประเทศไทยในที่สุด กลุ่มชาติพันธุ์ลีซอแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ ลีซอลาย (ลีซูผิว์-ผิว์ แปลว่า ลูกผสม) และ ลีซอดำ� ชาวลีซอที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยส่วนใหญ่ จะเป็นชาวลีซอลายซึ่งกระจายอยู่ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา กำ�แพงเพชร เพชรบูรณ์ และสุโขทัย ส่วนชาวลีซอดำ�ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในประเทศพม่า และประเทศจีน ในปัจจุบันมีชาวลีซออาศัยอยู่ในประเทศไทย จำ�นวนประมาณ 50,000 คน โดยส่วนมากประกอบ อาชีพทางการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ แต่ก็มักจะปลูกพืช ไว้บริโภคเองในครอบครัวมากกว่านำ�ไปขาย เป็นกลุ่ม ชนที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านงานหัตถกรรม เช่น การ สานเก้าอี้หวาย กระบุง อุปกรณ์ดักสัตว์ การทำ�เครื่อง ประดับโลหะ การเย็บผ้า เป็นต้น


3. แม้ว กลุ่มชาติพันธุ์แม้วจัดเป็นกลุ่มตระกูลจีน-ทิเบต (Sino-Tibetan) จากหลักฐานที่ปรากฏ ชาวแม้วเคยอาศัยอยู่ใน บริเวณลุ่มแม่นํ้าเหลือง ต่อมาได้มีการปะทะและทำ�สงครามกับ ชาวจีน ต่อมาก็ได้ค่อยๆ อพยพไปยังประเทศเวียดนาม ประเทศ ลาว และประเทศไทยในที่สุด โดยเคลื่อนย้ายกันมา 3 เส้น ทาง คือ บริเวณชายแดนติดต่อกับประเทศลาวทีจ่ งั หวัดเชียงราย จังหวัดน่าน และจังหวัดเลย โดยกระจายอยู่ใน 13 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ กำ�แพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำ�ปาง สุโขทัย และเลย มีประชากร จำ�นวน 151,080 คน คิดเป็นร้อยละ 16.52 ของจำ�นวน ประชากรชาวเขาทั้งหมดในประเทศไทยซึ่งเป็นจำ�นวนที่มากเป็น อันดับสองรองจากกะเหรี่ยง กลุ่มชาติพันธุ์แม้วในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่ แม้วนํ้าเงิน แม้วขาว และแม้วถั่ว ส่วนใหญ่จะ อาศัยรวมกลุ่มกันเป็นหมู่บ้านและประกอบอาชีพเกษตรกร ใน ปัจจุบันชาวแม้วได้อพยพเข้าไปอยู่ในเมืองเป็นจำ�นวนมาก เนื่อง ด้วยนิสัยที่ขยันขันแข็งเป็นทุนเดิม ทำ�ให้ชาวเผ่าแม้วเริ่มมีอาชีพ ที่หลากหลายกว่าในอดีต อย่างการค้าขาย การทำ�กิจการด้าน การท่องเที่ยว รวมถึงข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจอีกด้วย

5. อะบอริจิน อะบอริจิน (Aborigin) เป็นชนพื้นเมืองที่ คาดว่าอยู่ในออสเตรเลียมาประมาณ 20,000 ปีแล้ว ซึ่งขณะนั้นเป็นยุคสมัยที่เอเชียและออสเตรเลียเชื่อมต่อ กัน โดยได้เดินทางย้ายมาจากเอเชียนั่นเอง ต่อมาในปี ค.ศ. 1788 มีนักบุกเบิกชาวอังกฤษเข้ามารุกรานชาวอะ บอริจิน และต่อมาในปี ค.ศ. 1857 ชนยุโรปก็เข้ามาแย่ง พื้นที่ทำ�กินทั้งหมด และไล่ชาวอะบอริจินออกจากพื้นที่ จนไม่เหลือแม้แต่คนเดียว ต่อมาชาวอะบอริจินก็อพยพ ไปอยู่ในเขตทะเลทราย แต่ก็ถูกเจ้าของถิ่นขับไล่ รวมถึง ความไม่คุ้นชินกับสภาพทุรกันดาร จึงทำ�ให้ชาวอะบอริจิ นอดอยากเป็นอย่างมาก ในเวลาต่อมาชาวอะบอริจินก็ได้พบกับความวิบัติ ครั้งใหญ่จากโรคไข้หวัดใหญ่ หัด อีสุกอีใส และวัณโรคที่ ติดมาจากชาวยุโรป เนื่องด้วยชาวอะบอริจินไม่เคยเป็น โรคเหล่านี้มาก่อน จึงทำ�ให้ไม่มีภูมิคุ้มกัน และล้มตาย ไปเป็นจำ�นวนมาก ด้วยเหตุนี้จึงทำ�ให้รัฐบาลออสเตรเลีย เริ่มตระหนักถึงภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อชาวโลก เพราะได้ทำ� โหดร้ายทารุนต่อเจ้าถิ่นเดิม จึงสั่งประกาศห้ามยิงชาว อะบอริจิน แต่ถึงกระนั้นชาวอะบอริจินก็ยังคงถูกมองว่า ไม่เท่าเทียมกับชาวผิวขาวเหมือนเดิม

9


4. ยิปซี กลุ่มชาติพันธุ์ยิปซีมาจากลุ่มแม่น้ำ�สินธุทางแถบเหนือ ของประเทศอินเดีย ซึ่งต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานมาสู่ยุโรปตะวันตก โดยทีก ่ ลุม ่ หนึง่ ได้เดินทางมาทางตอนกลางของยุโรป และอีกกลุม ่ หนึง่ ได้เดินทางเลียบชายฝัง่ แอฟริกาเหนือ ในช่วงระหว่างศตวรรษที่ 10-15 ชาวยิปซีได้กระจัด กระจายเร่รอ ่ นไปเป็นหลายเผ่าด้วยกัน และต่อมาได้รวมตัวเป็น ชุมชนขึน ้ ทางตอนใต้ของยุโรปประมาณปี ค.ศ. 1417 และได้ กระจายไปทัว่ ในหลายพืน ้ ที่ ซึง่ ในช่วงแรกชาวยุโรปก็ต้อนรับ ชาวยิปซีเป็นอย่างดี แต่ต่อมาได้ก็มีข่าวการก่อความวุ่นวาย การลักขโมยของชาวยิปซีขึ้น ชาวยุโรปจึงพากันต่อต้าน ชาวยิปซี และในบางประเทศได้ออกกฎหมายจำ�กัดสิทธิยิปซี อีกด้วย ชาวยิปซีได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์นักเดินทางร่อนเร่ มีความสามารถในด้านการทำ�นายดวงชะตา การแสดงท้องถิน ่ และ ตำ�ราสมุนไพรต่างๆ ซึ่งปัจจุบันประชากรชาวยิปซีที่กระจายอยู่ ทั่วโลกมีจำ�นวนประมาณกว่า 15 ล้านคน และแม้เวลาจะล่วง ผ่านไปเนิ่นนาน แต่ภาพลักษณ์ของชาวยิปซีในสายตาของชาว ยุโรปก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

6. เติร์ก เติร์กเป็นชาติพันธุ์ที่เคยเป็นชนเร่ร่อนอยู่ในทะเล ทรายในแถบเอเชียกลาง มีความสามารถในเรื่องการใช้ธนู และขี่ม้าทำ�สงครามเป็นอย่างมาก ต่อมาได้ทำ�สงครามรุกราน ประเทศจีนมาจนถึงสมัยราชวงศ์ถัง ถึงแม้ว่าจะมีการกระทบ กระทั่งกับจีนอยู่มาก แต่ก็มีช่วงเวลาที่ได้เจริญสัมพันธไมตรี ต่อกันด้วย ในสมัยราชวงศ์ถังของจีน จักรพรรดิได้มีนโยบาย ขยายดิ น แดนเพื่ อ สร้ า งความเป็ น จั ก รวรรดิ ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ใ ห้ แ ก่ ประเทศจีน จึงได้รุกรานดินแดนของพวกเติร์กในมองโกเลีย และเอเชียกลาง ทำ�ให้พวกเติร์กต้องอพยพแยกย้ายไปทาง ตะวันตก และไปหยุดอยู่แถบดินแดนเปอร์เซีย ต่อมาดินแดน เปอร์เซียได้ตกอยู่ใต้อำ�นาจของอาณาจักรอิสลามสมัยราชวงศ์ อับบาซิด (อับบาซิยะฮ์) ชาวเติร์กที่ได้เริ่มรวมตัวจนเข้มแข็งก็ เข้ามามีบทบาทในดินแดนเปอร์เซียมากยิ่งขึ้น ประชาชนได้หัน มานับถือศาสนาอิสลาม โดยกลุ่มที่มีอำ�นาจและบทบาทที่สุด ในระยะแรกคือพวกเซลจุกเติร์ก พวกเซลจุกเติร์กมีอำ�นาจในราชสำ�นักอิสลามในดิน แดนเปอร์เซีย ก่อนจะขยายอำ�นาจจนตัง้ จักรวรรดิของตนเอง โดยมีอำ�นาจครอบครองตั้งแต่เทือกเขาฮินดูกูชไปจนถึงอ่าว เปอร์เซีย หลังจากสิน ้ อำ�นาจของเซลจุกเติรก ์ ก็ยงั ปรากฏเติรก ์ กลุม ่ ใหม่ๆ ขึน ้ มาเรือ ่ ยๆ อย่างกลุม ่ ทีร่ จู้ ก ั กันในนามออตโตมัน เติรก ์ ทีเ่ ข้าไปครอบครองกรุงคอนสแตนติโนเปิลสำ�เร็จและตัง้ จักรวรรดิออตโตมันขึน ้ มา

7. นิวกินี ชาวนิวกินเี ป็นกลุม ่ ชาติพน ั ธุท ์ อ ่ี าศัยอยูใ่ นเกาะนิวกินซ ี ง่ึ เป็น เกาะทีม ่ ขี นาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และมีชนเผ่าต่างๆ อาศัยอยูม ่ ากกว่า 700 เผ่า โดยทีช่ าวนิวกินก ี ระจัดกระจาย อยูท ่ ว่ั เกาะและไม่ขน ้ึ อยูก ่ บ ั ใคร ไม่สนใจโลกภายนอก สนใจแค่ ในอาณาบริเวณไม่เกิน 10 กิโลเมตร หากเผ่าใดรุกรานเข้ามา ก็จะมีการต่อสูก ้ น ั ได้ และด้วยเหตุนท ้ี ำ�ให้แต่ละเผ่ามีธรรมเนียม ศาสนา ภาษาพูดทีแ่ ตกต่างกันไป ถึงขนาดทีเ่ ผ่าทีใ่ หญ่ทส ่ี ด ุ ยัง อาจมีประเพณีทแ่ี ตกต่างกันในแต่ละหมูบ ่ า้ นอีกด้วย ทีน ่ า่ สนใจของชาวนิวกินค ี อ ื มีการต่อสูร้ บราฆ่าฟัน เพือ ่ ชิงพืน ้ ทีท ่ ำ�กินและต่อสูร้ ะหว่างคูอ ่ ริกน ั อย่างบ่อยครัง้ ถ้าหาก ฆ่าศัตรูได้แล้ว จะนำ�เอาศีรษะของศัตรูกลับมาประดับศาลประจำ� หมูบ ่ า้ น บางเผ่าถึงกับเห่ศพของศัตรูกลับมา และทำ�พิธฉ ี ลอง ชัยชนะโดยการร่วมกันกินศพ แต่ในบางครัง้ ก็จบ ั ข้าศึกมาทัง้ ที่ ยังไม่ตาย แล้วนำ�มาฆ่าในพิธก ี อ ่ นจะร่วมกันกินศพก็มี แต่ไม่ใช่ ทุกเผ่าทีจ่ ะกินศพของศัตรู บางเผ่าก็จะกินเฉพาะศพของพวก เดียวกัน ซึง่ เรือ ่ งนีถ ้ อ ื ว่าเป็นเรือ ่ งปกติของชาวนิวกินท ี เ่ี ห็นกัน จนชินตา ไม่ตา่ งอะไรกับการกินข้าวปกติ ซึง่ ในปัจจุบน ั ก็มก ี ารสัง่ ห้ามการกินเนือ ้ มนุษย์ไปแล้ว

ช น บ า ง ก ลุ่ ม ก ว่ า จ ะ ร ว ม ม า เป็ น กลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ เ หมื อ นในปั จ จุ บั น ได้นั้นต้องผ่านอะไรมาอย่างมากมายอย่างการเดินทาง

ผ่ า นอุ ป สรรคที่ค อยเป็ น เครื่อ งขั ด ขวางความราบรื่น ใน การดำ�รงเผ่าพันธุซ์ ง่ึ ปัจจัยหนึง่ ทีส ่ ำ�คัญก็คอ ื ปัจจัยทางด้าน การขัดแย้งระหว่างสังคม หรือการถูกกดดันจากสังคม รอบข้าง ในหลายๆ ชาติพน ั ธุม ์ ก ี ารปรับตัวต่อสภาพสังคม และถิน ่ ฐานทีเ่ ผ่าพันธุข์ องตนได้เข้าไปอาศัยอยู่ รวมถึง ความพยายามทีจ่ ะเข้าไปมีปฏิสม ั พันธ์กบ ั กลุม ่ ชาติพน ั ธุก ์ ลุม ่ ใหญ่หรือชนพืน ้ เมืองเดิมเพือ ่ ให้สมาชิกในกลุม ่ สามารถอยู่ รอด บางกลุม ่ ชนทีเ่ ข้มแข็งก็สามารถดำ�รงเผ่าพันธุใ์ ห้คงอยู่ ต่อไปได้ แต่ในบางกลุม ่ ชนทีอ ่ ดทนต่อแรงต้านทานไม่ไหว ก็อาจจะกระจัดกระจายและสูญสลายหายไปในทีส ่ ด ุ

ซึ่ ง ทั้ ง ห ม ด นี้ อ า จ ส ะ ท้ อ น ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง สัญชาตญาณการเอาตัวรอดของมนุษย์ที่ถึงแม้ จะถู ก กี ด กั น จากการเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในส่ ว นใหญ่ แต่มนุษย์นั้นก็ต้องเอาตัวรอดเพื่อที่จะดำ�รงชีพ และเผ่าพันธุ์ของตนเอาไว้ แม้ว่าจะต้องเป็นส่วน น้อยจากทุกส่วนก็ตาม

รายการอ้างอิง รัตนา อรชุน. เผ่าแม้ว. เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/deevaku/phea-maew สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของขาวไทยภูเขาในประเทศไทย. ชนเผ่าลีซู (LISU). เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม. เข้าถึงได้จาก http://impect.or.th/?p=14991 ส�ำนักงานเลขานุการคณะกรรมการปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ. (2519). ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร. อุดร จารุรัตน์. (2554). ชนเผ่าลึกลับกับประเพณีประหลาด. นนทบุรี: บ้านรัก.

10


ใดใดในโลก ล้วนเป็นอื่น โดย FA-AKSORN TEAM

ความเป็นอื่น (Otherness) เมื่อได้ยิน ได้ฟ งั ค�ำนี้ แ ล้ว หลายคนคงมี ข ้อ สงสั ย ในใจว่า ค�ำนี้ มี ค วามหมายว่า อย่า งไร แล้ว อะไรคื อ ความเป็น อื่ น แต่แท้ทจี่ ริงแล้วนัน ้ หากลองมองย้อนกลับไป ความเป็นอืน ่ นั้ น เ กิ ด ขึ้ น แ ล ะ ด�ำ ร ง อ ยู ่กั บ โ ล ก ข อ ง เ ร า เ รื่ อ ย ม า ไม่ว่าจะในประเทศที่เราอาศัยอยู่ สังคมที่เราเติบโตมา คนรอบข้างที่เราสนิทชิดเชื้อ หรือแม้กระทั่งภายในตัว ของเราเอง นอกจากนี้ความเป็นอื่นยังมีความเกี่ยวโยง กั บ ประเด็ น ต่า งๆ ในสั ง คมอย่า งไม่ส ามารถมองจาก แง่มุ ม เดี ย วได้ ไม่ว ่า จะเป็น การเมื อ ง ประวั ติ ศ าสตร์ เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ

แน่นอนว่าความเป็นคนชายขอบเหล่านี้ไม่ได้ เกิดขึ้นเฉพาะในสังคมไทยเท่านั้น หากเกิดขึ้นในหลาย สังคมทั่วโลก วารสารฟ้าอักษรฉบับนีจ้ งึ อยากเชิญชวนทุกคน มาส�ำรวจและท�ำความรู้จักกับความเป็นอื่นให้มากขึ้น ผ่า นเหตุ ก ารณ์ท างประวั ติ ศ าสตร์แ ละเหตุ ก ารณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในสั ง คมปัจ จุ บั น เพื่ อ ที่ เ ราจะได้เ ข้า ใจและ สามารถอยู่ร่วมกับความเป็นอื่นได้อย่างมีความสุข ว่าแล้วเราก็มาเริม ่ ต้นส�ำรวจความเป็นอืน ่ กันเถอะ! 11


แนวคิดของเวเบอร์ได้น�ำไปสู่ข้อถกเถียงมากมายของนักคิด แต่ล ะส�ำนั ก นอกจากนี้ แ นวคิ ด ดั ง กล่า วยั ง ได้ท�ำให้ม นุ ษ ย์พ บกั บ พรมแดนระหว่าง “โลกทีม ่ นุษย์เป็นอิสระจากข้อผูกมัดทางสังคม” กับ “โลกทางวัตถุและการกระท�ำทีเ่ กิดขึน ้ บนนิยามของเหตุผล” ความแตกต่าง ระหว่า งสั ง คมที่ อ ยู ่ภ ายใต้ก ฎเกณฑ์กั บ สั ง คมที่ ด�ำรงอยู ่ท ่า มกลาง ความแตกต่างได้ท�ำให้เกิดข้อถกเถียงเรื่อง “พัฒนาการ” ของแต่ละ สังคมที่ไม่เท่ากัน ไปจนถึงเรื่องการเปรียบเทียบว่ามนุษย์อยู่ในล�ำดับ ขั้นที่ไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น การมองว่าคนกลุ่มหนึ่งมีฐานะที่สูง กว่าคนอีกกลุ่มหนึ่งหรือการมองว่าคนอีกกลุ่มหนึ่งล้าหลัง ไม่ศิวิไลซ์ การแบ่งแยกดังกล่าวได้ท�ำให้เกิดการแบ่งแยก เปรียบเทียบ และ การยกย่องว่าสังคมตนเองนัน ้ มีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าอีกสังคม หนึ่ง แนวคิ ด ทั้ ง หมดที่ ไ ด้ก ล่า วมานี้ ท�ำให้เ กิ ด แนวคิ ด เรื่ อ ง “ความเป็นอื่น” ซึ่งมีอิทธิพลต่อยุคอาณานิคมและสืบเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน

ย้อนรอยความเป็นอื่น

เพื่ อ ที่ จ ะเข้า ใจพั ฒ นาการความเป็น มาของแนวคิ ด เรื่ อ ง ความเป็นอืน ่ เราจ�ำเป็นต้องย้อนกลับไปมองประวัตศ ิ าสตร์กน ั สักหน่อย ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลังจากที่โลกตะวันตกได้ก้าวผ่านยุคกลางที่ศาสนาเข้ามามีอิทธิพล ต ่อ ชี วิ ต ค น ส มั ย นั้ น อ ย ่า ง ม า ก จ น ศิ ล ป ะ แ ล ะ วิ ท ย า ก า ร ต ่า ง ๆ เริ่มเสื่อมโทรม โลกตะวันตกก็ได้เข้าสู่ยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปะและ วิทยาการหรือที่เรามักเรียกกันว่ายุคเรอเนซองส์ (Renaissance) และยุคแห่งเหตุผลในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที​ี่ 20 ที่ทุกสิ่งอย่างอยูภ ่ ายใต้หลักเหตุผล วิทยาศาสตร์ ได้เข้ามามีบทบาทแทนที่ศาสนามากขึ้นจนท�ำให้ผู้คนเริ่มมีมุมมอง ต่อโลก ต่อศาสนา ต่อสิ่งรอบตัว และต่อตัวเองเปลี่ยนไปจากเดิม ผู้คนเริม ่ ใช้หลักเหตุผลในการอธิบายสิง่ ต่างๆ ทีเ่ กิดขึน ้ รอบตัวจนเกิด องค์ความรู้ และเริ่มมองถึงความก้าวหน้าของชีวิต นอกจากนี้ในด้าน นักคิด นักวิชาการก็ได้มก ี ารพัฒนาและน�ำเสนอแนวคิดต่างๆ มากมาย เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมทั้งหลาย มั ก ซ์ เวเบอร์ (Max Weber) นั ก สั ง คมวิ ท ยาและ นั ก เศรษฐศาสตร์ก ารเมื อ งชาวเยอรมั น ได้เ สนอแนวคิ ด เกี่ ย วกั บ การเป็นมนุษย์ที่เชื่อว่ามี “ธรรมชาติ” ของมนุษย์ที่เป็นสากลและ แนวคิดเรื่องความเป็นเหตุเป็นผล (Rationalization) โดยแนวคิด ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางความคิด ทัง้ ในด้านศาสนาและด้านวิทยาศาสตร์ โดยเชือ ่ ว่าวิทยาศาสตร์จะเข้ามา แทนที่ ค วามเชื่ อ ทางศาสนาและสร้า งมาตรฐานใหม่แ ทนศาสนา ซึ่งทั้งหมดนี้จะท�ำให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีกว่า

12

สรุปแล้ว ความเป็นอื่น คืออะไรกันแน่?

หากจะสรุ ป ความหมายของความเป็น อื่ น อ ย ่า ง ค ร ่า ว ๆ นั้ น “ ค ว า ม เ ป ็น อื่ น ” คื อ แ น ว คิ ด ที่ ม อ ง ว ่า ค น อื่ น ไ ม ่เ ท ่า เ ที ย ม กั บ ต น เ อ ง แ ต ก ต ่า ง กั บ ต น เ อ ง / พ ว ก ข อ ง ต น ม อ ง ว ่า ค น อื่ น นั้ น ด ้อ ย กว่า หรื อ มองว่า ตนเองนั้ น สู ง กว่า ดี ก ว่า คนอื่ น เช่น เดี ย วกั น กั บ การที่ ม องว่า ตนเองนั้ น ด้อ ยกว่า คนอื่ น ซึง่ ทัง้ หมดนีน้ �ำไปสู่ทศั นคติและการเลือกปฏิบัติต่อคน/กลุ่มคน ที่ (ถูกท�ำให้) เป็นอื่นต่างๆ ตามมา


หากนึกถึงดินแดนแห่งเสรีภาพ ประเทศที่ให้ความส�ำคัญ เรื่ อ งความเสมอภาคของมนุ ษ ย์ เชื่ อ ว่า หลายคนคงนึ ก ถึ ง ประเทศสหรัฐอเมริกา ครัง้ หนึง่ ในประวัตศ ิ าสตร์ อเมริกาก็ได้เกิด การเหยี ย ดสี ผิ ว และการใช้แ รงงานผิ ว สีเยี่ยงทาส การมองว่า เพศทางเลือกเป็นบุคคลทีผ ่ ด ิ แปลกไปจากสังคม และการกีดกันบทบาท ด้านการท�ำงานของผู้หญิงที่มักถูกมองว่าไม่มีความสามารถหรือ หากมี ค วามสามารถก็ ไ ม่ส ามารถทั ด เที ย มผู ้ช ายได้ จนถึ ง ขั้ น มีการชุมนุมเรียกร้องความเสมอภาคของผู้คนเหล่านัน ้ ในเวลาต่อมา และถึงแม้ว่าในปัจจุบันบุคคลเหล่านี้จะได้รับการยอมรับในสังคม มากขึน ้ แต่กม ็ ค ี นจ�ำนวนหนึง่ ทีย ่ งั มีทศ ั นคติไม่ดต ี ่อบุคคลเหล่านัน ้ แน่นอนว่าเรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เฉพาะอเมริกา เท่านั้น หากแต่เกิดขึ้นในทุกประเทศ ทุกสังคมทั่วโลกอีกด้วย

วาทกรรมสร้างความเป็นอื่น

ค�ำกล่าวที่ว่า “ภาษามีอิทธิพลความคิดและการกระท�ำ ของมนุษย์” นั้นท�ำให้เรามิอาจปฏิเสธได้ว่า “วาทกรรม” ก็ได้เข้ามา มีอิทธิพลต่อตัวเราเช่นเดียวกัน วาทกรรมเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคม มาอย่างยาวนาน หลายครัง้ เราก็ถก ู วาทกรรมครอบง�ำความคิดและ การกระท�ำของเราโดยที่เราไม่รู้ตัว หากกล่าวถึงวาทกรรม เราคงเลีย ่ งทีจ่ ะไม่พด ู ถึง มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) นั ก ปรั ช ญาชาวฝรั่ ง เศสไม่ไ ด้ ฟู โ กต์ไ ด้ ให้ค วามหมายของ “วาทกรรม” ไว้ว ่า ระบบและกระบวนการ ในการสร้างหรือการผลิตเอกลักษณ์และความหมายให้กบ ั สิง่ ต่างๆ ในสังคมที่ห่อหุ้มเราอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความจริง อ�ำนาจ หรือ ตัวตนของเราเอง แล้ววาทกรรมเกี่ยวข้องกับความเป็นอื่นอย่างไร?

กลับมาที่ปัจจุบัน วาทกรรมบางอย่างก็ยังคงอยู่ในแต่ละ สังคม และในหลายๆ ครั้ง มนุษย์เราก็ได้สร้างวาทกรรมใหม่ขึ้นมา เรือ ่ ยๆ ในบทความนีจ้ ะขอยกตัวอย่างวาทกรรมทีส ่ ร้างความเป็นอืน ่ ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น และวนเวี ย นอยู ่ใ นสั ง คมไทยที่ เ รามั ก ได้ยิ น ได้ฟ ัง กั น ยกตัวอย่างเช่น “เด็กทีเ่ รียนสายวิทย์-คณิตเรียนหนังสือเก่งกว่าเด็กสายศิลป์” “เด็กที่เรียนปวช. ปวส. เป็นเด็กที่เรียนหนังสือไม่เก่ง” “เด็กทีจ่ บมหาวิทยาลัยทีม ่ ชี อ ื่ เสียง ติดอันดับมหาวิทยาลัย ชั้ น น�ำจะได้รั บ โอกาสในการรั บ เข้า ท�ำงานมากกว่า เด็ ก ที่ จ บจาก มหาวิทยาลัยเอกชนหรือมหาวิทยาลัยทีไ่ ด้รบ ั ความนิยมรองลงมา” “การเกิดมาเป็นเพศที่สามถือว่าเป็นบาป” “อย่าไปยุ่งกับคนคุก” “คนที่มีรอยสักเป็นคนน่ากลัว หัวรุนแรง” หรือแม้กระทั่งวาทกรรมทางการเมืองที่ว่า “เสียงของคนกรุงเทพมหานครมีคณ ุ ภาพมากกว่าเสียงของ คนต่างจังหวัด” และอี ก สารพั ด วาทกรรมที่ ไ ม่ส ามารถกล่า วได้ทั้ ง หมด ภายในบทความนี้

เราจะเห็ น ได้ว ่า วาทกรรมเป็น สิ่ ง ที่ อ ยู ่ร อบตั ว เราอย่า ง ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และวาทกรรมก็ได้สร้างมายาคติบางอย่าง วาทกรรมชุดหนึ่งสามารถชี้น�ำให้มนุษย์มีทัศนะต่อเรื่อง ให้แก่คนในสังคม จนในที่สุดคนบางกลุม ่ ก็ถูกท�ำให้กลายเป็นอื่น ใดเรื่องหนึ่งไปในทางที่ผู้สร้างวาทกรรมต้องการ และอาจน�ำไปสู่ ในที่สุด การกระท�ำบางอย่างในทางทีไ่ ม่ดไี ด้ ยิง่ ไปกว่านัน ้ บางครัง้ มนุษย์เรา ก็หลงไปกับวาทกรรม คิดว่าวาทกรรมนั้นๆ เป็นความจริง ในยุคล่าอาณานิคมภายใต้แนวคิดจักรวรรดินิยมตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา หลายประเทศในยุโรปก็ได้สร้าง วาทกรรมที่ว่า “ตนที่เป็นชนผิวขาวนั้นอยู่เหนือกว่าผู้อื่น” ซึ่งเป็น วาทกรรมที่ ก ่อ ให้เ กิ ด อคติ ท างชาติ พั น ธุ ์แ ละยั ง เป็น ปัจ จั ย หนึ่ ง ทีส ่ ่งเสริมให้เกิดการล่าอาณานิคมไปทัว่ โลกในขณะนัน ้ ไม่ว่าจะเป็น ทวีปแอฟริกา เอเชีย อเมริกา และตามหมู่เกาะต่างๆ นอกจาก การล่าอาณานิคมแล้ว ตัวอย่างของการสร้างความเป็นอืน่ ผ่านวาทกรรม ยังสามารถเห็นได้จากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว กรณีเขมรแดง ของพอลพต หรือแม้กระทั่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในทวีปแอฟริกา เป็นต้น 13


ถูกท�ำให้เป็นชายขอบ หากพูดถึงค�ำว่า “ชายขอบ” หลายคนอาจนึ ก ถึ ง ส่ว นที่ อ ยู ่ริ ม หรื อ ปลายซึ่ ง มี ค วามหมายใน เชิ ง ภู มิ ศ าสตร์ห รื อ เชิ ง กายภาพ ยกตั ว อย่า งเช่น ชายขอบทวี ป ชายขอบทะเล ชายแดน ชายผ้า ขอบฟ้า ขอบประตู ฯลฯ หากแต่ ค�ำว่า “ชายขอบ” ในบริ บ ทของ ความเป็น อื่ น นั้ น หมายถึ ง พื้ น ที่ เชิ ง สั ง คม นอกจากความเป็น อื่ น จะถู ก สร้า งขึ้ น จากวาทกรรมแล้ว การสร้า งความเป็น อื่ น ในเรื่ อ งใด เรื่องหนึ่งก็ได้ผลักให้คนกลุ่มหนึ่ง กลายเป็น คนชายขอบของสั ง คม โดยปริยาย

“คนชายขอบ” หมายถึง บุคคลทีถ ่ ก ู แยกตัวตนออกจากศูนย์กลางบนความเชื่อ หรือวาทกรรมชุดหนึ่งที่ถูกอธิบายโดยกลุ่ม ผู้มีอ�ำนาจในสังคมหรือผู้ที่อยู่บนศูนย์กลาง ของโครงสร้างสังคม

ในบริบทของการพัฒนาของสังคม เมื อ ง เราอาจกล่า วได้ว ่า คนที่ อ ยู ่ห ่า งไกล จากศูนย์กลางความเจริญถูกท�ำให้กลายเป็น คนชายขอบ เช่นเดียวกับคนที่อาศัยอยู่ใน พื้นที่แออัดของกรุงเทพมหานครที่ถึงแม้ว่า จะอาศัยอยู่ใจกลางเมืองหลวงแต่ก็ถูกมอง ท ่า ม ก ล า ง โ ล ก ที่ แ ป ร เ ป ลี่ ย น ว่าเป็นคนชายขอบเช่นเดียวกัน เป็น สั ง คมเมื อ งซึ่ ง มี ค วามเจริ ญ ทางด้า น เ ท ค โ น โ ล ยี แ ล ะ วิ ท ย า ศ า ส ต ร ์ม า ก ม า ย ในบริ บ ททางศาสนา กลุ ่ม ผู ้มี รวมไปถึ ง ระบบเศรษฐกิ จ แบบทุ น นิ ย ม ความหลากหลายทางเพศก็ ถู ก ท�ำให้เ ป็น ได้มี ก ารสร้า งวั ฒ นธรรมกระแสหลั ก ค่า คนชายขอบ เนื่ อ งจากความเชื่ อ เรื่ อ งเพศ นิ ย ม ความเชื่ อ กฎเกณฑ์ใ นสั ง คม และ ในศาสนาที่ว่า การเกิ ดมาเป็นเพศเหล่านี้ แบบแผนพฤติกรรมทีเ่ ป็นศูนย์กลางมากมาย นั้นเป็นบาป เกิดขึ้น หากใครที่ผิดแปลกไปจากนี้ก็จะถูก มองว่าเป็นพวกแปลกแยกหรือคนชายขอบ นอกจากนี้ ในบริบทเกีย ่ วกับสถานะ ถูกลดคุณค่าในตัวตน และถูกเลือกปฏิบตั ิ ทางสังคม กลุ่มชาติพน ั ธุ์ ผู้อพยพ คนเก็บขยะ แล้วคนชายขอบในสังคมไทยล่ะ? คนเร่ร่อน กลุ่มผู้ใช้แรงงาน พ่อค้าแม่ขาย แน่น อนว่า เราไม่ส ามารถระบุ นักโทษ คนในเรือนจ�ำ คนสักลาย คนพิการ ชั ด เจนตายตั ว ได้ว ่า ใครบ้า งที่ ถื อ ว่า เป็น เด็กออทิสติก ฯลฯ ก็มักจะถูกมองว่าเป็น “คนชายขอบ” ดั ง นั้ น การที่ จ ะหาค�ำตอบ ค น ช า ย ข อ บ ข อ ง สั ง ค ม แ ล ะ มั ก ไ ด ้รั บ เกี่ยวกับคนชายขอบต้องอาศัยการพิจารณา การปฏิบต ั ท ิ แี่ ตกต่างออกไปจากคนส่วนใหญ่ จากแต่ละบริบท ในสังคม

14

นีเ่ ป็นเพียงส่วนหนึง่ ของคนทีถ่ กู มอง หรือถูกท�ำให้เป็นคนชายขอบในสังคมไทย แท้จริงแล้วนัน ้ ยังมีคนอีกหลายกลุ่มทีถ ่ ก ู จัด ให้อยู่ในกลุ่มของ “คนชายขอบ”. แ น ่น อ น ว ่า ค ว า ม เ ป ็น ค น ช า ย ขอบเหล่า นี้ ไ ม่ไ ด้เ กิ ด ขึ้ น เฉพาะในสั ง คม ไทยเท่านั้น หากแต่เกิดขึ้นในหลายสังคม ทั่วโลก


”เราต่างล้วน “เป็นอื่น

ในมุมหนึง่ ขณะทีเ่ ราก�ำลังสร้างความเป็นอืน ่ ให้แก่บค ุ คลอืน ่ ในทางกลับกันตัวเราเองต่า งก็ เ ป็น อื่ น ในมุ ม มองของบุคคลนั้นๆ ด้ว ยเช่น เดี ย วกั น เราทุ ก คนล้ว นแล้ว แต่เ ป็น อื่ น ซึ่ ง กั น และกั น ไม่มีใครที่สามารถเป็นเหมือนคนอื่นได้ทุกประการ

แม้แต่ตวั เราเองก็ร้ส ู ก ึ ถึง “ความเป็นอืน ่ ” เรารู้สก ึ แปลกแยก รู้สึกถึงความเป็นคนนอกระหว่างที่อยู่กับเพื่อน ระหว่างที่อยู่กับ ครอบครั ว ระหว่า งที่ เ รี ย นในคณะที่ ไ ม่ช อบแต่ก็ ต ้อ งทนเรี ย น ระหว่างที่ก�ำลังท�ำงานอยู่ในออฟฟิศ ระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ต่างแดน ฯลฯ

ความเป็นอื่นเกิดขึ้นและอยู่รอบตัวเรา เพราะเราทุกคนล้วนแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นชาติพันธุ์ สีผิว รูปร่างหน้าตา วิถีชีวิต ความคิดความเชื่อ ศาสนา ทัศนคติ ความรู ้สึ ก ฯลฯ ความแตกต่า งของมนุ ษ ย์เ หล่า นี้ ไ ด้ส ร้า ง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมให้กับสังคมมนุษย์เป็นอย่างมาก ช่างเป็นเรื่องน่าเศร้าที่เรามักจะมีอคติ มีทัศนคติที่ไม่ดีกับคน ที่ไม่เหมือนเรา มองว่าพวกเขานั้นประหลาด ไม่เหมือนกับเรา ไม่ เป็นพวกเดียวกันกับเรา เพียงแค่เพราะพวกเขานั้น “แตกต่าง” ไปจากเรา ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว พวกเขาก็เป็นคนคนหนึ่ง เป็น พลเมื อ งคนหนึ่ ง ที่ อ ยู ่ใ นสั ง คมเดี ย วกั น กั บ เรา อยู ่ใ นโลก ใบเดียวกันกับเรา

อยู่กับความเป็นอื่น ในเมื่อเราทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นอื่น แล้วเราจะจัดการ กับความเป็นอื่นอย่างไรดีล่ะ? ตั้ ง แ ต ่อ ดี ต จ น ถึ ง ป ัจ จุ บั น เ ร า ไ ด ้เ ห็ น ผ ล ลั พ ธ ์จ า ก การปฏิบัติต่อบุคคลที่ถูกท�ำให้กลายเป็นอื่นในทางที่ไม่ดีมากมาย และท่ามกลางโลกปัจจุบันที่ทุกสิ่งอย่างล้วนมีความหลากหลาย ในตั ว ของมั น เอง คงเป็น ไปได้ย ากหากเราเลื อ กจะผลั ก คนที่ ไม่เหมือนเราและใช้ชวี ต ิ ร่วมกับคนทีเ่ หมือนกับเราเพียงอย่างเดียว


ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะเรียนรู้ที่จะอยู่กับความเป็นอื่น? ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะยอมรับและเคารพความเป็นอื่น?

ไม่ส�ำคัญหรอกว่าโลกของเราจะแบ่งคนออกเป็นกี่พวก กี่ประเภท กี่กลุ่ม ใครเป็นพวกใคร ใครที่แตกต่างกับเรา ฯลฯ สิ่งส�ำคัญคือเราจะอยูก ่ ับความเป็นอื่นที่เกิดขึ้นรายล้อมตัวเราได้อย่างไรท่ามกลางความหลากหลายภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม บนโลกใบนี้

. . .

เพราะเราทุกคนล้วนเป็นอื่นซึ่งกันและกัน...

รายการอ้างอิง ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2549). วาทกรรมการพัฒนา: อ�ำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: วิภาษา. ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. (2545). ชีวต ิ ชายขอบ: ตัวตนกับความหมาย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรน ิ ธร (องค์การมหาชน).


Recommend By พิชญาน์พัทธ์ วิมลเศรษฐ และ ปิ๋ม

คุณเคยรู้สึกถึงความเป็นอื่นบ้างไหม? เราเชื่อว่าความเป็นอื่นนั้นสามารถ เกิดขึ้นกับใครและเมื่อไหร่ก็ได้ คอลัมน์นี้จะพาคุณไปสำ�รวจ “ความเป็นอื่น” ผ่าน บทเพลง หนังสือ และภาพยนตร์ที่เราคัดสรรมาแนะนำ�ให้กับคุณผู้อ่าน เพื่อให้คุณ เข้าใจในความเป็นอื่นมากขึ้น

เพลง แตกต่างเหมือนกัน- GETSUNOVA “บนเส้นทางที่ต่าง มีใครสักคนมั้ย ที่มองเห็นทุกอย่าง เข้าใจที่ฉันเป็น เลือกเดินก้าวผ่าน ทางเดียวเหมือนกันกับฉัน แตกต่างเหมือนกัน”

เป็นเพลงที่มีท่วงทำ�นองแบบวนลูป และใช้ Disco Beat เพื่อตอกย้ำ�ความเจ็บปวด ปนความไม่เข้าใจที่ติดตรึงอยู่ในส่วนลึกอันยากจะหาผู้ใดมาเข้าใจ อีกทั้งยังสื่อความหมายถึง การตั้งคำ�ถามของสังคมที่มักจะคอยตัดสินคนที่แตกต่างว่าสิ่งที่พวกเขาทำ�นั้นมันผิด จนเกิ ด มาเป็ น ความเรี ย กร้ อ งเพื่ อ ค้ น หาใครสั ก คนที่ เ ข้ า ใจและพร้ อ มจะเดิ น ไปด้ ว ยกั น บนเส้ น ทางที่ แตกต่าง

17


พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำ�ของทรงจำ�ของแมว กุหลาบดำ� - วีรพร นิติประภา

“โศกนาฏกรรมของผู้คนบนประเทศไร้ความทรงจำ�”

พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำ�ของทรงจำ�ของแมวกุหลาบดำ� ของคุณ วีรพร นิตป ิ ระภา เป็นนวนิยายทีเ่ ล่าเรือ ่ งราวชะตากรรมของ ครอบครัวชาวจีน อพยพที่ตามหา “บ้าน” ที่เป็นทั้งสิ่งปลูกสร้าง และ “บ้าน” ที่อยู่ภายในจิตใจ นอกจากชื่อเรื่องจะเด่นสะดุดตาแล้ว การเล่าเรื่องของนวนิยายเล่มนี้ยังมี เอกลักษณ์ด้วยการนำ�ความทรงจำ�ที่แหว่งวิ่น คลุมเครือ กระจัดกระจาย ไม่ ปะติดปะต่อกันของตัวละครแต่ละตัวนำ�มาร้อยเรียงเคียงคู่ไปกับเหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์ได้อย่างน่าสนใจ เมื่ออ่านไปเรื่อยๆ เราจะเห็นกราฟชะตา ชีวิตของตัวละครแต่ละตัวที่ค่อยๆ ไต่ระดับความพีคไปเรื่อยๆ และที่สำ�คัญ คือความรู้สึกแปลกแยกทั้งภายในและภายนอกของแต่ละตัวละครที่สุดท้าย แล้วไม่ว่าจะทำ�อย่างไรก็ยังคงรู้สึก “แปลกแยก” และ “เป็นอื่น” อยู่ดี

The Shape of Water - Guillermo del Toro หากเรามองผ่านๆ เราคงคิดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเป็นภาพยนตร์รักโรแมนซ์ปกติ (ที่อาจจะดูพิเศษหน่อยตรงที่มันเป็นความรักระหว่างคนกับสิ่งมีชีวิตครึ่งบกครึ่งนํ้า) แต่หากเรา มองลึกลงไปและมองให้กว้างกว่านี้อีกสักนิด เราจะเห็นเรื่องราวความเป็นอื่นและการปฏิบัติ ต่อคนที่เป็นอื่น/คนชายขอบได้อย่างมากเลยทีเดียว นอกจากนี้แล้วด้วยฉาก สถานที่ และสภาพสังคมของอเมริกาซึ่งอยู่ในช่วง 1960s ยิ่งช่วยให้เราเข้าใจการกระทำ�ของแต่ละตัวละครได้ดีอีกด้วย

จากบทเพลงยอดนิยม หนังสือทีไ่ ด้รบ ั คำ�วิจารณ์อย่าล้นหลาม หรือแม้กระทัง่ ภาพยนตร์ท่ี ได้รางวัลออสการ์หลายสาขาทีเ่ รายกตัวอย่างขึน ้ มา ทัง้ หมดนีค ้ งทำ�ให้คณ ุ พอจะเข้าใจแล้วว่าความ เป็นอืน ่ ไม่ได้เป็นส่งิ ทีแ่ ปลกใหม่หรือไกลตัวเราเลย มิหนำ�ซํา้ ความเป็นอืน ่ ยังอยูใ่ กล้ตวั กว่าทีเ่ ราคิด อีกด้วย หวังว่าคอลัมน์นี้จะช่วยให้คุณมองเห็นความเป็นอื่นที่อยู่รอบตัวเรามากขึ้น

18


Another Side: น น น น น น น น ้ น ว น ้ แ ว แ น ่ ว น ่ แ ว แ น ว น แแ ว อร์ไซค์)

ครื่องยนต์มอเต

ารเป็นเสียงเ (โปรดจินตนาก

หากนึกถึงเด็กแว้น-สก๊อย เรามักนึกถึงอะไรกัน?

เสียงเครือ ่ งยนต์ทด ่ี งั แสบแก้วหูในตอนกลางคืน? ท่าขีม ่ อเตอร์ไซค์ทน ่ี อนขนานพืน ้ โลก? การปิดถนนในตอนกลางคืน เพือ ่ ประลองความเร็ว? แผลเป็นทีข ่ า้ งขาอันเปรียบเสมือนเครือ ่ งยืนยันความเป็นนักรบแห่งท้องถนน? แฟชัน ่ ทีแ ่ หวกแนว อย่างเสื้อลายไฟ? ภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ รูปแบบการสะกดคำ�ที่อ่านออกได้ยาก? จังหวะดนตรีตื๊ดๆ? ยาเสพติด? ฯลฯ

ทุกสังคมล้วนมีอต ั ลักษณ์เป็นของตนเอง เช่นเดียวกัน กับสังคมของเด็กแว้นที่มีการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มตนเอง ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย ภาษาที่ใช้ในโลกอินเทอร์เน็ต แนวเพลง หรือแม้กระทั่งไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หากมองในแง่พน ้ื ทีท ่ างสังคม เรามักจะเห็นว่าเด็กแว้น นั้นกลายเป็นกลุ่มคนที่ถูกผลักออกจากพื้นที่หลักของสังคม กลายเป็นคนชายขอบในสังคมไปในทีส ่ ด ุ และถึงแม้วา่ กลุม ่ คน เหล่านีจ้ ะต้องการการยอมรับจากสังคมมากเท่าไหร่ แต่ดเู หมือนว่า สังคมก็ไม่ได้ให้การยอมรับในตัวตนของพวกเขามากนัก เรามักจะได้เห็นข่าวในด้านที่ไม่ค่อยจะดีของกลุ่ม เด็กแว้นเหล่านีอ ้ ยูต ่ ลอด มากไปกว่านัน ้ บางคนอาจเคยประสบ พบเจอปัญหาเหล่านี้เองกับตัว จากภาพลักษณ์ของเด็กแว้น ทีเ่ ราทัง้ ได้เห็นจากสือ ่ และจากประสบการณ์ของแต่ละคนได้นำ� ไปสู่มุมมองและทัศนคติต่อกลุ่มคนเหล่านี้ในแง่ลบ บ้างก็ว่า “เด็กแว้นเป็นปัญหาสังคม สร้างความวุน ่ วายไปเรือ ่ ย” “เด็กแว้นควรหมดไปจากสังคมไทยเสียที” “เด็กแว้น #%#$@$#%^#” ฯลฯ หากมองกลั บ กั น เด็ ก แว้ น ก็ ค งอยากจะตอบกลั บ กลุ่มคนเหล่านี้ด้วยเนื้อเพลงของคุณเจินเจินที่ว่า “เป็นฉัน มันผิดตรงไหน” และอีกหลายความคิดเห็น อย่างเช่น “พวกเราแค่อยากมีพื้นที่ในการแสดงออก” “พวกเราไม่ได้ฆ่าใครตายสักหน่อย” “ถนนก็เป็นของเราเหมือนกัน ถ้าไม่ให้เราขี่บนถนน แล้วจะให้เราไปขี่ที่ไหน?” ฯลฯ

ในที่นี้ ผู้เขียนมิได้มีเจตนากล่าวว่าการมีอคติต่อ เด็กแว้นนัน ้ เป็นเรือ ่ งผิดหรือการทีเ่ ด็กเหล่านีส ้ ร้างความวุน ่ วาย เป็ น สิ ่ งที ่ ถ ู ก ต้ อ ง หากเพี ย งต้ อ งการให้ ผ ู ้ อ ่ า นได้ มองปัญ หา ในอีกมุมมองหนึ่ง ความคิ ด เห็ น เกี ่ ย วกั บ ประเด็ น ดั ง กล่ า วทั ้ ง ในโลก ออนไลน์และโลกความจริงทีว่ า่ “เราควรกำ�จัดเด็กแว้นให้หมด ไปจากสังคมไทยเสียที” ทำ�ให้เกิดการถกเถียงมากมายในสังคม ถึงวิธีการจัดการกับปัญหาเด็กแว้น นอกเหนือจากการผลักไส กลุม ่ คนเหล่านีอ ้ อกไปจากสังคมเพือ ่ ไม่ให้มท ี ย ่ี น ื ในสังคมแล้วนัน ้ หากมองในอีกมุมหนึ่ง เด็กแว้นเหล่านี้ก็คือผลผลิตที่เกิดจาก สั ง คมของเรามิ ใ ช่ ห รื อ ? และการที ่ เ กิ ด ปั ญ หาเด็ ก แว้ น นั ้ น นอกจากที่เราจะชี้ชัดว่าคนผิดคือเหล่าเด็กแว้น เราได้มอง สาเหตุ อ ย่ า งรอบด้ า นแล้ ว หรื อ ยั ง ? อย่ า งเช่ น ปั จ จั ย ด้ า น ความเหลื่อมลํ้าภายในสังคม การศึกษา โอกาสในการเข้าถึง ทรัพยากร ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้หรือเปล่าที่เป็นตัวผลักดันให้ เด็กแว้นมีพฤติกรรมดังกล่าว และถึงแม้ว่าเด็กแว้นจะแว้น เราก็ควรจะมีมาตรการในการจัดการปัญหานีม ้ ากกว่าการผลักไส พวกเขาหรือเปล่า? วลีทว่ี า่ “ปลูกอะไรก็จะได้อย่างนัน ้ ” หากจะยกมาใช้ ในบริบทนีก ้ ค ็ งจะไม่ผด ิ และจากประเด็นดังกล่าว ผูเ้ ขียนคิดว่า เราควรที่จะหันกลับมามองปัญหาและตั้งคำ�ถามกับตัวเอง อีกครั้งหนึ่ง

19


เป็นเด็กแว้นมันผิดตรงไหน?

โดย ปิ๋ม

‘เพราะสิ่งที่น่าสนใจกว่าคำ�ถามที่ว่า เราควรจัดการกับกลุ่มคนเหล่านี้อย่างไร คือเราจะจัดการกับสังคมของเราอย่างไรต่างหาก’


Look Around

เราหลงลืมอะไร ไปหรือเปล่า? โดย ปิ๋ม

ในขณะทีโ่ ลกเดินไปข้างหน้าตลอดเวลา คนบางกลุ่ม กลับถูกหลงลืมและถูกทิ้งไว้ข้างหลังภายใต้ความเป็นอื่น ความเป็นคนชายขอบในสังคม บทความนี้จะชวนทุกคน มามองผู้คนในสังคมที่อยู่รอบตัว และส�ำรวจตัวเองว่า เราได้หลงลืมผู้คนเหล่านี้ไปหรือเปล่า

คนพ้นโทษ “นี่ รู้หรือเปล่า ไอ้คนนีม ้ น ั เพิง่ ออกจากคุกมา อย่าไปยุ่ง กับมันเลยดีกว่า” “ออกจากคุกมาได้ไม่นาน เดี๋ยวก็กลับเข้าไปใหม่อีก เชื่อสิ” เชือ ่ ว่าคนส่วนใหญ่คงไม่มใี ครไม่อยากได้รบ ั การยอมรับ จากสังคม เช่นเดียวกับผู้ที่พ้นโทษออกมาจากเรือนจ�ำ ที่ต้องการการยอมรับจากสังคมอีกครั้งหนึ่ง ทว่าการเผชิญหน้ากับการถูกสังคมประณาม มีอคติ และการผลักออกจากสังคมหลังออกจากเรือนจ�ำยิ่งเป็น ตัวการที่ท�ำให้บุคคลเหล่านี้รูส ้ ึกแปลกแยกไปจากสังคม ไร้ค่า และกลายเป็นคนชายขอบทีส ่ งั คมไม่ต้องการในทีส ่ ด ุ การมีความผิดติดตัวและถูกน�ำตัวย้ายไปอยู่ในโลก อีกใบหนึ่งที่เรียกว่า “เรือนจ�ำ” คงไม่ต่างอะไรกับการมี ชนักติดตัวตลอดเวลา มิหน�ำซ�ำ้ ในหลายๆ ครัง้ ชนักทีว่ ่า ก็ได้กลายมาเป็นฝันร้ายที่คอยหลอกหลอนพวกเขา ส�ำหรับพวกเขาแล้ว คงไม่มีอะไรที่พวกเขาต้องการ มากไปกว่าการยอมรับจากสังคม...

คนพิการ หากพูดถึงความสะดวกสบาย ไม่ว่าใครก็ต้องการ คนพิการก็ต้องการสิ่งอ�ำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต เช่นกัน ลองมองไปที่สิ่งก่อสร้า งรอบตั ว เรา ถนน ทางเท้า ทางลาด หรืออย่างการเดินทางไปไหนมาไหน แล้วลอง จินตนาการว่าหากเราเป็นคนพิการที่ต้องเดินทางไปยัง สถานที่ แ ห่ง หนึ่ ง เราจะล�ำบากขนาดไหนเมื่ อ เจอกั บ การออกแบบที่ไม่ได้อ�ำนวยความสะดวกแก่เราเสียเลย รถเมล์ที่ไม่มีทางขึ้นส�ำหรับคนพิการ พื้นถนนที่ปูกี่รอบ ก็ปูไม่เรียบ เบรลล์บล็อก-ทางเดินส�ำหรับคนตาบอดที่ ปูแล้วเดินไม่ได้จริง การไปยังสถานที่ที่มีแต่บันได ไม่มี ทางลาด ฯลฯ หากนี่เป็นเพียงอุปสรรคเดียวที่พวกเขาต้องเผชิญ แค่คิดก็ปวดหัวแล้ว...

21


ตั ว อย่า งข้า งต้น นี้ เ ป็น เพี ย งส่ว นหนึ่ ง ที่ ค นเหล่า นี้ ต้องเผชิญ ยังมีอก ี หลายสิง่ ทีค ่ นเหล่านีต ้ อ ้ งใช้ชวี ต ิ ไปกับมัน และแน่น อนว่า สิ่ ง ที่ ทุ ก คนต้อ งการเหมื อ นกั น นั่ น ก็ คื อ ความเข้าใจในตัวตนของเขา และ การปฏิบัติต่อเขา เช่นคนปกติ หวังว่าบทความนี้จะช่วยขยายมุมมองของ คนในสังคมที่เราอาจหลงลืมไปไม่มากก็น้อย

คนไร้สัญชาติ รายการอ้างอิง

คุณจะรู้สึกอย่างไร หากคุณไม่ได้รับสิทธิ์บางอย่าง ที่ส�ำคัญต่อตัวคุณเนื่องจากคุณเป็นบุคคลไร้สัญชาติ... “เด็กเก่ง มีความสามารถ แต่ไม่สามารถเดินทางไป แข่งขันทีต ่ ่างประเทศได้เนือ ่ งจากไร้สญ ั ชาติ” เราคงได้เห็น พาดหัวข่าวท�ำนองนีห ้ ลายครัง้ แล้ว ไม่นานหลังจากทีข่ ่าว แพร่กระจายออกไป ผู ้ค นก็ เ ริ่ ม ให้ค วามสนใจมากขึ้น และท้ายที่สุดแล้วข่าวนี้ก็จะเงียบหายเข้าไปในกลีบเมฆ ราวกับว่าไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นอกจากนั้นแล้ว การไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานอย่าง สิทธิพน ื้ ฐานด้านสาธารณสุข การเข้าถึงการรักษาพยาบาล อย่างครอบคลุม สวัสดิการในการท�ำงาน การได้รบ ั การศึกษา ฯลฯ นั่นยิ่งท�ำให้ชีวิตของพวกเขาล�ำบากขึ้นไปอีก แม้ว่าปัญหาการเป็นคนไร้สัญชาตินั้นจะไม่สามารถ แก้ไขได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว แต่การมีสญ ั ชาติบนบัตร ประชาชนหรือเอกสารราชการถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คนไร้ สัญชาติต่างเฝ้ารอคอยให้วันนั้นของตัวเองมาถึง เพื่อที่ พวกเขาจะสามารถใช้สิทธิ์ในสิ่งที่พวกเขาพึงได้รับ...

กัญศจี วงศาวัฒนากุล. ชีวิตหลังออกจากคุก กับภาพหลอนในใจ “แผลเป็นชีวิต”ที่รอวันจาง. เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม. เข้าถึงได้จาก https://workpointnews.com/2018/02/19/ ชีวิตหลังออกจากคุก-กับ-2/ คชรักษ์ แก้วสุราช. ท�ำไมคนพิการจึงกลายเป็น ‘คนอื่น’. เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม. เข้าถึงได้จาก https://thisable.me/content/2017 /03/78 ณิชากร ศรีเพชรดี. เพราะความสงสาร จึงสร้างความเป็นอื่น. เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม. เข้าถึงได้จาก https://waymagazine.org/ saowalak/ อภิรดา มีเดช. คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ชีวิตที่ไร้หลักประกัน. เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม. เข้าถึงได้จาก https://waymagazine.org/ stateless/

22


e i v r e t In “ O t h “

“เคยรู้สึกว่าตัวเองแปลกแยกบ้างหรือเปล่า?” จากหน้ากระดาษที่ผ่านๆ มา ผู้อ่านคงทราบแล้วว่า “ความเป็นอืน ่ ” หมายถึงอะไร แน่นอนว่าความเป็นอืน ่ ไม่ได้เกิดขึน ้ แค่ในระดับมหภาคเพียงอย่างเดียว แต่เกิ ดขึ้นตลอดเวลาขณะที่ เราดำ�เนินชีวิต ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในความคิดของเราหรือในความคิด ของคนอื่น อย่างในวงสนทนาที่มีคนพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องที่เรา ไม่ เ คยรู ้ ม าก่ อ นจนไม่ ก ล้ า พู ด แทรกอะไร รสนิ ย มการแต่ ง ตั ว ที่แหวกแนวไม่เหมือนชาวบ้าน สีผมที่โดดเด่นกว่าสีผมธรรมชาติ ของคนทัว่ ไป หรือความหลงใหลในอะไรบางอย่างทีม ่ แ ี ค่เราเท่านัน ้ ที่สนใจ เรามาลองอ่านความคิดเห็นของคนในสังคมกันบ้างดีกว่า ว่าพวกเขาเคยสัมผัสความเป็นอื่นบ้างหรือไม่

?

“สำ�หรับเราไม่เคยค่ะ แต่คิดว่าความแปลกแยกคือไม่ เหมือนกับคนอื่น มันมีหลายสถานการณ์อย่างเวลาเข้ากับคนอื่น ไม่ได้”

- นุช อายุ 20 ปี นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

“อ๋อ ไม่คอ่ ยนะ ไม่คอ่ ยรูส้ กึ แต่กม ็ บ ี า้ งเวลาทีไ่ ปสถานทีแ่ ปลกๆ”

“เคยค่ะ แบบว่าแต่งตัวแปลกๆ แตกต่างจากคนอื ่ น แล้ ว คนอื ่ น จะมอง หรื อ ว่ า ทำ�อะไรแปลกๆ คนอื่นก็มอง”

“เคยรู้สึกว่าตัวเองแปลกแยกบ้างหรือเปล่า ”

- เจม อายุ 21 ปี นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

- นันทวัน อายุ 22 ปี นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

“ก็มบ ี า้ งนะ แต่กพ ็ อเข้าใจว่าแต่ละคนหรือหลายๆ คนมัน “รู้สึกว่าตัวเองบ้า รู้สึกบางครั้งก็เข้ากับคนอื่นไม่ได้ แบบ ไม่เหมือนกัน บางคนก็ ม ี เ อกลั กษณ์ เ ป็ น ของตั ว เอง บางคนก็มี เจอกันครั้งแรก ไม่เคยเจอกันอะไรแบบนี้” อะไรที่เหมือนกันอะค่ะ” - เด็กคนหนึ่ง อายุ 20 ปี นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

- แพร อายุ 21 ปี นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

“เคยรู้สึกค่ะ บางทีก็ชอบอยู่คนเดียวแต่ก็ชอบเข้าสังคม “คำ�ถามยากมากเลยอะ แปลกแยกไหมเหรอ ก็มีบ้างนะ กั บ เพื อ ่ น งงไหม? ก็คอ ื บางอารมณ์เงียบๆ ก็จะอยูค ่ นเดียว เพื่อนก็ เวลาทีเ่ พือ ่ นเก่งกว่าอะ เฮ้ย คือความกดดันในคณะมันก็มีไง” ่ ย อยากเก็ บ – SuperImp อายุ 21 ปี จะคิดว่า เอ๊ะ เราเป็นอะไรหรือเปล่าวะ เปล่า เราเหนือ พลั ง งาน ก็ จ ะนั ่ ง เงี ย บๆ อยู ่ ค นเดี ย ว แต่ ป กติ ก ็ เ ป็ น คนร่ า เริ ง นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เหนือ ่ ยก็จะอยูเ่ งียบๆ คนอืน ่ จะมี Energy เท่ากันตลอดเวลา แต่เรา “เวลาแต่งตัวแปลกๆ ออกจากบ้าน แล้วคนอื่นก็มองค่ะ” จะสูงไปเลยและจะดรอปลงมาเลย ก็เป็นไบโพล่าร์อะไรแบบนั้น” – TAK อายุ 21 ปี - หวาน อายุ 21 ปี นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

23

นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


ee rw ” s t h g u o s ’Th เกษม

ะคัทริน จันทร

์ บินสุไกมี แล โดย อาภานันท

“ก็รู้สึก อย่างในชีวิตปกติตั้งแต่ปี 1 ถึง ปี 4 ประมาณว่า มีเพือ ่ นน้อยอะค่ะ เป็นพีก ่ ลุม ่ แต่มเี พือ ่ นน้อย คบแต่พก ่ี ลุม ่ ด้วยกันเอง มีเพือ ่ นไม่เยอะแต่กด ็ แี ต่มน ั ก็จะติดแบบว่าเวลาอยากไปไหนมาไหน เขาก็จะติดธุระของเขา ถ้าให้ทำ�ความรู้จักกับคนอื่นมันก็ยาก เพราะส่วนตัวเป็นคนไม่ค่อยพูด”

- เกด อายุ 22 ปี นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

“สำ�หรับพี่ พีว่ า่ พีไ่ ม่ได้แปลกแยกนะ สำ�หรับความแตกต่าง ทุกคนเกิดมาเพือ ่ แตกต่าง ไม่มใี ครเหมือนใครได้ ไม่รอ ู้ ะ”

- อ้อม อายุ 26 ปี

“ไม่นะ... ไม่เคยอะ จะรู้สึกก็แค่ว่ากลุ่มเขาจะไม่สุงสิงกับ กลุ่มไหนเลย แบบเห็นกลุ่มนั้นกลุ่มนี้คุยทักทายกันปกติ แต่นี่แบบ ไม่อะ (ถาม: แบบ สถานการณ์อด ึ อัดไรงีก ้ ไ็ ม่เคยเป็นป่ะ เข้ากับคนอืน ่ ไม่ได้ไรงี)้ อ๋อย เหมือนเคยตอนม.4 อะ นีโ่ ดนจับแยกห้องแบบไกลเชีย่ ๆ ละห้องนั้นอะ มันมีแต่กลุ่มเพื่อนกลุ่มเดิมมากัน ละเขาไม่สามารถ อยูไ่ ด้ ไปไม่รอดจริงๆ เครียด ร้องไห้ ต้องการย้ายห้องสุดๆสุดท้าย เขามีเรื่องให้ย้ายห้อง ก็เลยได้ย้าย สุ่มห้องแบบเชี่ยมาก ตอนนั ้ น คือจิตตก มันจับกันเป็นกลุ่มมาตั้งแต่ม. 3 ละอะ เข้าไปอยู่ในกลุ่ม ด้วยยาก ละแต่ละกลุ่มไม่ใช่ไทป์เขาเลย”

“รู้สึกตลอดเวลา ทั้งรสนิยม ความคิด ระบบกาทำ�งาน แล้วทุกคนเหมือนกันหมดด้วยนะอย่างตอนกินข้าวก็จะคุยกันแต่ เรื่องละครช่องวัน ซึ่งเราไม่ได้ดู ไม่ก็เรื่องปัญหาความรัก ไม่กส ็ อ ่ ง ผูช ้ ายไปวันๆ คนนัน ้ หล่อ คนนีห ้ ล่อ คนนีเ้ ป็นแฟนกับคนนัน ้ คุยแต่ เรื่องชาวบ้าน แล้วบางคนดูมีสาระ คุยการเมือง ซึ่งเราไม่ได้สนใจ - แป้ง อายุ 21 ปี ถ้าอยู่กับเพื่อนผู้หญิงจะรู้สึกแปลกแยกมากเพราะชอบพูดแต่เรื่อง นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผูช ้ ายกับปัญหาจุกจิก อยูก ่ บ ั เพือ ่ นผูช ้ าย ไม่คอ ่ ยรูส ้ ก ึ มันไม่คอ ่ ยคุย ไร้สาระ มีแต่เรือ ่ งเกมกับหนังกับเพลง แล้วก็ดา่ คนนูน ้ คนนีไ้ ปเรือ ่ ย “น่าจะรูส ้ ก ึ แปลกแยกทางความคิดมากกว่า ส่วนมากจะเป็น (หัวเราะ)” เรื ่ อ งของระบบการจั ดการความคิด ว่าเราคิดแบบนี้เพราะมันง่าย - น้องแมงมุม อายุ 21 ปี แล้ ว ก็ Solve ได้ ไ วกว่ า ในขณะทีค ่ นอืน ่ เลือกทางทีม ่ น ั อ้อม Solve นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ เ หมื อ นกั น แต่ ท ำ�ไมต้ อ งทำ�ให้ ม น ั ยุ ง ่ ยาก ไรงี ” ้ - Perception อายุ 24 ปี พนักงานบริษัท “เรารู้สึกแตกต่างจากคนอื่นตลอดเวลา รู้สึกว่าไม่มีใคร ที่เป็นเหมือนกันไปทุกอย่าง อย่างมากก็แค่คล้ายๆ เราเลยรู้สึกว่า “แบบเวลาอยูก ่ น ั เป็นกลุม ่ ทุกคนขำ�ในเรือ ่ งเดียวกัน แต่ เ รา ทุกๆ คนมีความแตกต่างกันทั้งหมด มันเลยไม่แปลกแยกอะไร ไม่ขำ�อะ แบบไม่เข้าใจว่าทำ�ไมเขาขำ�กันงี้อะ สุ ด ท้ า ยก็ จ ะมี ซ ี น ที ่ มากเท่าไหร่” - squiddyaki อายุ 23 ปี กราฟิกดีไซน์เนอร์ ต้องขำ�ตามนํา้ แต่แบบ อะไรวะ มันเหมือนทุกคนเข้าใจละเราไม่เข้าใจอะ เหมือนไม่สามารถคุยเรื่องเดียวกับเขาได้” - ยุ้ย อายุ 26 ปี ธุรกิจส่วนตัว “รู้สึกว่าตัวเองแตกต่างจากคนอื่น แต่ไม่ได้แปลกแยก เพราะโดยพื้นฐานทั่วไปของคนเราแล้วทุกคนเกิ ดมาต่างกันอะ แต่อยู่ร่วมกันได้ไม่แปลกแยกค่ะ”

- สตางค์ อายุ 23 ปี นักศึกษาสำ�นักวิชาจีนวิทยา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

24


“เคยรู้สึกแปลกแยกหรือแตกต่างจากคนอื่นเหมือนกัน บางทีก็รู้สึกไม่เหมือนเพื่อนในกลุ่มตัวเอง หรือกลุ่มเพื่อนสนิท ไม่ว่าจะเป็นคำ�พูด ลักษณะนิสัย หรือไลฟ์สไตล์ที่เราแตกต่างจาก เพื่อน แบบเพื่อนไปแบบนี่เราไม่ค่อยชอบ เหมือนเราคุยไม่ค่อย เหมือนพวกเขา หรือเรื่องที่เค้าอินกัน อย่างเช่น เรื่องล่าสุด เรื่อง เป่าเปา เราคิดว่า หมอคนหยิกคือผิดนะทีอ ่ ยูๆ ่ ไปทำ�ลูกเขา และเรา ก็มองว่านีเ่ ป็นตัวอย่าง การเลีย ้ งลูกของดาราทีค ่ วรเลีย ้ งยังไงหลังจากนี้ ควรจะเซฟลูกยังไง ส่วนเพือ ่ นในกลุม ่ เรามองว่า แม่เป่าเปาดูโอเวอร์ ฮาร์ดเซลลูกตัวเอง หากิ นกับลูกตัวเอง แบบแค่โดนหยิกจะอะไร หนักหนา อยากเป็นกระแสดังๆ จะได้ขายลูกได้ ซึง่ เราได้ฟงั ก็รส ู้ ก ึ ขัดแย้งอยูใ่ นใจ เราไม่ได้เป็นคนโลกสวยนะ แต่ เ ราไม่ ไ ด้ ม องโลกอะไรลบขนาดนั ้ น อะ คื อ เรื ่ อ งมั น เกิ ด จาก คนในสั ง คมไป Bully หรื อ ตามกระแสให้ ม ั น ดู โ อเวอร์ พ่ อ แม่ แต่ละคนมีสท ิ ธิทจ่ี ะปกป้องลูก เขาอาจจะแสดงออกไม่เหมือนกัน เรารูส ้ ก ึ แตกต่างจากกลุม ่ เพือ ่ นอยูต ่ ลอดไม่วา่ จะเป็นความคิด การกระทำ� แต่ เ ราไม่ เ สี ย ความเป็ น ตั ว เองนะ เพราะแต่ ล ะคน ถู ก สอนถู ก อบรมมาต่ า งกั น การเลี ้ ย งดู แ ละประสบการณ์ ช ี ว ิ ต ไม่เหมือนกัน และบางทีที่เรารู้สึกแปลกแยกจากกลุ่มเพื่อนเหมือน ว่าเราอาจจะอยูผ ่ ด ิ กลุม ่ เรามองโลกในแง่ดี แต่ในขณะทีก ่ ลุม ่ เพือ ่ น เรามองทุกอย่างไปในทางลบหมด เราไม่รู้หรอกว่าอันไหนมันดี ไม่ดี แต่เราเห็นเพื่อนเราไม่เคยจะมีความสุขจากความคิดพวก นั้นเลย และพวกนั้นก็มองว่าเราไม่เหมือนเพื่อน จริงๆ พวกนั้น จะรู้สึกไหมว่ามึงก็ไม่ได้เหมือนคนอื่นเหมือนกัน”

“ก็เคยค่ะ แบบไม่รจู้ ะคุยอะไร พอเขาคุยกันแล้วเราก็เงียบ”

- ศิริลักษณ์ อายุ 22 ปี นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

“ไม่เคยค่ะ แต่ความแปลกแยกนี่หมายถึงเราเข้ากับเขา ไม่ได้ใช่หรือเปล่าคะ”

- ดาว อายุ 22 ปี นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

“เคยรูส ้ ก ึ แปลกแยกจากคนอืน ่ เพราะบ่อยครัง้ ได้ยน ิ คำ�พูด จากหลายๆคนบอกว่ า เราเป็ น คนแปลกๆ คิ ด ไม่ เ หมื อ นคนอื ่ น ทำ�อะไรไม่เหมือนคนอื่น มันเลยทำ�ให้เราหันกลับมามองบ่อยๆ ว่าเราแปลกจริงมั้ย ซึ่งมันก็คงจริง แต่ก็รู้สึกโอเคที่อย่างน้อยเราก็ เข้ากับคนอื่นได้ง่ายอะ ใช้ชีวิตก็ปกติเหมือนคนอื่น คนอื่นก็ทำ�ตัว ปกติ ก ั บ เรา ถึ ง บางครั ้ ง จะคิ ด มากว่ า คนอื ่ น จะมองเราไม่ ด ี ม ั ้ ย แต่สด ุ ท้ายเราก็คด ิ ไปเองทัง้ นัน ้ แบบ อาจจะมองว่าเราแปลก แต่เขา ก็ไม่ได้มองว่าแย่อะ มองว่าตลกเฉยๆ งี้ เราก็ไม่ได้รู้สึกแย่อะไร ที่ถูกมองแบบนั้น เพราะพอใจที่จะเป็นตัวเอง ถ้าใครมาพูดอะไร แย่ๆ เราก็คด ิ ซะว่าเขาเป็นแค่คนทีโ่ ลกแคบอะ ไม่ตอ ้ งไปอะไรด้วย” (หัวเราะ)

- หทัยเนตร พุ​ุ่มโพธิ์ อายุ 21 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

- นํ้าฝน อายุ 21 ปี นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

“เคยรูส ้ ก ึ ค่ะ แต่ตอนนีไ้ ม่แล้ว อย่างช่วงม.ต้นเพือ ่ นในกลุม ่ ทุกคนขาวมากยกเว้นเรา เราก็นอยด์ๆ นิดนึงเพราะเพื่อนชอบเอา แขนเราไปเทียบ แต่เราไม่ได้มค ี วามรูส้ กึ ไม่ชอบสีผวิ เรานะคะ แต่แค่แบบ “ไม่นะ ความแปลกแยกมันเป็นความรู้สึกทางใจมากกว่า อ่า สีผวิ เราเข้มสุดเลย จนเราเรียนมหา’ลัย เรายิง่ ชอบสีผวิ เราเข้าไปอีก ว่าเราจะรูส ้ ก ึ แปลกแยกจากคนอืน ่ ไหม” ทุกอย่างมันสวยในแบบของมันค่ะ เรามัน ่ ใจและชอบสีผวิ เรามาก” - แจม อายุ 20 ปี - ปิยมน อายุ 20 ปี นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

“เคยแต่แบบอยู่ท่ามกลางคนที่ไม่สนิทมันก็จะ Awkward “แตกต่างเพราะว่าเราเหมือนคนไม่เต็ม รูส ้ ก ึ ว่าเราสมาธิสน ้ั นิดนุง (หัวเราะ)” เกินไปที่จะอยู่ในสังคมนี้” ธัญชญา ศิริอำ�พล อายุ 21 ปี นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

25

- แป้ง อายุ 21 ปี นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


“รู้สึกแปลกแยกเพราะมาอยู่ที่ญี่ปุ่นนี่แหละค่ะ เหมือน ทุกคนเขาเป็นพวกเดียวกันอยู่แล้ว บ่อยเลย แบบเขาคุยกันเรื่อง ที่เราไม่รู้เรื่องน่ะ แต่ว่าเราไม่ได้รู้สึกแปลกแยกรุนแรงมากนะคะ แค่แบบว่าเออ เราต่างชาตินี่นา ก็ยอมรับได้อะ (ถาม: เหมือน คนญีป ่ น ุ่ เขาแบ่งคนนอกคนในไรงีด ้ ว้ ยใช่ไหมคะ) อืม ้ เขาไม่ได้แบ่งนะ (หมายถึงคนที่เราเจออะ) แค่แบบว่าเรารู้สึกไปเองบางทีว่าเรา เข้าไม่ถึง แหะๆ” - เม อายุ 29 ปี พนักงานบริษัท

“เราเรียนห้องคิงค่ะ เป็นห้องพิเศษ แต่ก่อนเราเคยอยู่อีก ห้องหนึ่ง แล้วโดนย้ายขึ้นมาอยู่ห้องคิง พวกเขาจะเป็นเด็กเก่งที่ ขยันกันสอบ ส่วนเราคือหัวช้าย้ายขึ้นมาได้ก็เพราะขยันล้วนๆ แต่ คือมันก็ไม่พอ เรามักจะน้อยใจเรื่องคะแนนสอบอยู่เรื่อยๆ เพื่อน ในกลุ่มเราได้คะแนนดีกันหมดแต่เราคือได้คะแนนน้อยที่สุดใน ห้องก็เคย เราก็คิดน้อยใจว่า เนี่ย พยายามแล้วแต่ทำ�ไมทำ�ไม่ได้ เพือ ่ นบางคนก็เคยพูดใส่เราแบบ “ได้เท่านีจ้ ริงดิ” คือ เราเสียใจค่ะ มันพูดด้วยทำ�นองเล่นๆ แต่คือเรากดดันตัวเองมาก รู้สึกตัวเอง แปลกจากเพือ ่ น เพือ ่ นบางคนทีไ่ ม่ขยันเรียนกลับได้คะแนนดีกว่าเรา “อ่า อาจจะไม่ได้แตกต่างจากคนอื่นแต่อาจจะแค่ไม่อิน ด้วยซํา้ ทำ�ไมเราไม่หวั ดีเหมือนคนอืน ่ เขาบ้าง อารมณ์ประมาณนีค ้ ะ่ ” ในกลุ่มเพื่อน เช่น คือ ในกลุม ่ เพือ ่ นจะมีคนทีเ่ ราไม่โอเคหรือไม่ชอบ - นาเดียร์ อายุ 16 ปี นักเรียน ใช่ไหมคะ แล้วเพื่อนทุกคนจะชอบแบบคุยเรื่องนู้น นินทา แต่เวลา อยู่ต่อหน้าก็จะคุยด้วยปกติ แล้วก็จะแบบไม่อินไม่ค่อยเข้าใจว่า ทัง้ หมดนีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของการสัมภาษณ์กลุม ่ คนหลายรูปแบบ อ้าว ไม่ชอบแล้วทำ�ไมต้องคุย ทำ�ไมต้องยิ้มให้ แต่ลับหลังคือก็ว่า ทัง้ นักเรียน นักศึกษา หรือผูท ้ ม ่ี ป ี ระสบการณ์การทำ�งานแล้ว ต่างก็มี หรือหัวเราะเขาประมาณนี้ค่ะ หรือบางอย่างที่แบบเรารู้ว่า อ้าว ความคิดทีแ่ ตกต่างกันคนละแบบ ไม่วา่ จะเป็นด้านความคิด การวิเคราะห์ ควรห้ามเพือ ่ น แต่สว่ นใหญ่ในกลุม ่ สนับสนุน เราก็จะแบบ “อ้าวหรอ ความแตกต่างในการเรียน การทำ�งาน ซึ่งความแตกต่างในส่วนนี้ บางคนก็จะมองว่าทุกคนมีความแตกต่าง แต่ไม่แปลกแยก จึงอยูร่ ว่ มกับ ได้หรอ”อยู่คนเดียวประมาณนี้อะค่ะ คนอื่นอาจจะมีโมเมนต์นี้ ทุกคนได้อย่างมีความสุข แต่เมือ่ ความแตกต่างกลายเป็นความแปลกแยก เหมือนกันกับเรา” ่ ไม่ได้ ก็อาจส่งผลให้เกิดความทุกข์ ไม่สบายใจ - อีฟ อายุ 23 ปี ครูสอนพิเศษ เข้ากับคนอืน แต่ถงึ อย่างไรแล้ว ทุกคนก็ลว้ นมีความแตกต่าง ขึน ้ อยูก ่ บ ั ว่า ตั ว บุ ค คลนั ้ น มองความแตกต่ า งของตนเองในทางบวกหรื อ ทางลบ “หมายถึงว่านิสย ั เหรอ เราคิดว่าเราเหมือนคนธรรมดานะ แต่คนอืน ่ ชอบบอกว่าเราปากหมามากเกินไป (หัวเราะ) จริงๆ ไม่คอ่ ย เพราะสังคมต้องการความแตกต่าง อย่างความแตกต่างทางอาชีพ ่ ให้อยูร่ ว่ มกันในสังคมได้ มีหรอก เป็นคนไม่คอ ่ ยคิดมากกว่า แต่ว่ามันแปลกแยกไหมอะสรุป ทางกายภาพ หรือทางบุคลิก เพือ ไม่สิ เราเหมือนคนปกติ” - พิม อายุ 22 ปี นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

“ก็เคยครับ เวลาเข้ามหาวิทยาลัยแล้วความชอบแต่ละคน ไม่เหมือนกัน คนนัน ้ ชอบเล่นกีฬา คนนีช้ อบฟังเพลง บางทีเราอาจจะ ชอบในสิง่ ทีเ่ พือ ่ นสนิทเราไม่ชอบหรือเพือ ่ นๆ เราไม่ชอบเลยดูเหมือนว่า เราแตกต่างกับเขาหรือเราไม่ได้คย ุ เรือ ่ งเดียวกับเขาครับ”

– เบส อายุ 21 ปี นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

26


โดย PS.

Social Media ยอมรับความหลากหลาย หรือยิ่งทำ�ลายความแตกต่าง

Techno Scope

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคนี้การใช้โซเชียลมีเดียกลายเป็น เรื่องสามัญเฉกเช่นการตื่นนอน อาบนํ้า หรือกิ นข้าว กิ จกรรมนี้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงงานอดิเรก แต่มันคือวิถีชีวิตของมนุษย์ยุคใหม่ ไปเสียแล้ว ซึ่งหลายคนก็อาจจะเคยนึกประหลาดใจและตั้ งคำ�ถามกับ ตั ว เองบ่ อ ยครั ้ ง ว่ า ช่ ว งเวลาที ่ ไ ม่ มี โ ซเชี ย ลมี เ ดี ย มั น เป็ น อย่ า งไร (ซึ่งก็ทำ�ให้เกิดการท่องเที่ยวพาย้อนยุค ย้อนวัยต่างๆ แต่...กิจกรรม เหล่านี้ก็ไม่วายถูกอัพผ่านไอจีให้เห็นอยู่ดี) ในห้วงเวลานี้อาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงปะทะของโลกเก่ากับ โลกใหม่อย่างแท้จริง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เทคโนโลยีหลายๆ อย่าง ทีพ ่ งุ่ เข้าหาเราอย่างรวดเร็วนัน ้ ต้องถูกตัง้ คำ�ถามอยูบ ่ อ่ ยๆ ถึงความปลอดภัย หรือข้อดี-ข้อเสียของเทคโนโลยีเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักมี การตัง้ คำ�ถามกับประโยชน์ของโซเชียลมีเดียทีก ่ ลายเป็นปัญหาโลกแตก อีกหนึ่งคำ�ถามให้เราได้ถกเถียงด้านจริยศาสตร์กัน สำ�หรับคอลัมน์ในวันนี้ไม่ได้จะมาเถียงกันเรือ ่ งโซเชียลมีเดีย นัน ้ ดีหรือแย่ (เพราะถ้าพูดกันตามตรงแล้ว อะไรดี อะไรแย่ ก็ขน ึ้ อยูก่ บ ั ผู ้ ใ ช้ จ ะเป็ น คนนิ ย ามด้ ว ยตั ว เอง) แต่ เ ราจะพาไปตั ้ ง คำ�ถามกั บ ความหลากหลายบนสังคมในโซเชียลมีเดีย ซึ่งคำ�ว่าโซเชียลมีเดีย ที่เราจะพูดถึงในวันนี้ เราขอหยิบยกเพียงสามแอปดังทีห ่ ลายๆ คน น่าจะได้ใช้กนั นัน ่ คือ Facebook Twitter และ Instagram

ดียช่วยทำ�ให้เราได้พบกับ “ โซเชียลมีสังเคมที ่หลากหลาย?

ขอแอบทิ้งเครือ่ งหมายคำ�ถามไว้หลังประโยคภาษาไทยข้างบน เพราะอยากให้เห็นว่าเรากำ�ลังตั้งคำ�ถามกับคำ�พูดนี้จริงๆ 27

ในแอปโซเชียลมีเดียต่างๆ ผู้ ใช้มักจะได้เห็นว่าผู้ ให้บริการ พยายามนำ�เสนอการเชื่อมต่อผู้ ใช้เข้ากับคนทั่วโลก ดังเช่นประโยคที่ พวกเขาพยายามอธิบายรูปแบบและจุดมุง่ หมายของแอปต่างๆ เช่น -Facebook: Our mission is to give people the power to build community and bring the world closer together. -Twitter is what’s happening in the world and what people are talking about right now. -Instagram is a simple way to capture and share the world’s moment. ดังนั้นหากมองจากมุมผู้ให้บริการแล้ว ‘เรา’ ซึ่งหมายถึงผู้ใช้ ก็ควรจะได้พบกับสังคมทีห ่ ลากหลายและเปิดกว้างขึ้น ซึ่งนัน ่ ควรตามมา ด้วยการได้เห็นความแตกต่างแล้วยอมรับหรือเข้าใจความแตกต่างนัน ้ แต่ว่ามันคือเรื่องจริงหรือเปล่า สิง่ ทีท ่ ำ�ให้เกิดคำ�ถามนีข้ น ้ึ มา เนือ่ งจากคิดว่าใครหลายคนอาจจะ เคยได้ยน ิ กันมาแล้วว่าในแอป Facebook นัน ้ ผู้ให้บริการได้ใช้อลั กอริทม ึ ติดตามความเคลือ ่ นไหวการใช้แอปของเราเพือ ่ นำ�เสนอสิง่ ทีเ่ ราชอบ สิ่งที่เราสนใจ และผลักสิ่งอื่นๆ ที่เราเลื่อนจอผ่านไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงผลักสิ่งทีแ่ ตกต่างจากสังคมของผู้ใช้ออกไปหรือแม้แต่การ Block หรือ Mute สิ่งที่เราไม่ชอบให้พ้นไปจากสายตาซึ่งไม่ได้กล่าวหาว่า การกระทำ�แบบนีเ้ ป็นสิ่งผิด เพราะแน่นอนว่าการกระทำ�เช่นนั้นได้ยน ื อยู่ บนพืน ้ ฐานของการใช้สท ิ ธิและเสรีภาพ แต่สงิ่ ทีน ่ ่าสนใจคือท้ายทีส่ ุดแล้ว โซเชี ย ลมี เ ดี ย อาจไม่ ใ ช่ ค ำ�ตอบของการพาเราไปสู ่ ค วามเข้ า ใจ ความหลากหลาย ยิง่ ไปกว่านัน ้ บางทีกก็ ลับกลายเป็นว่าเราใช้โซเชียลมีเดีย เป็นเครื่องมือเพื่อรังแกคนที่แตกต่างมากกว่าเดิมขึ้นไปอีก?


ยกตัวอย่างไม่ใกล้ไม่ไกลนั่นคือการพยายามนิยามตัวตนของ ผู้ใช้ในแต่ละแอป และผลักไสคนที่ไม่เข้าพวกหรือเล่นโซเชียลเหล่านี้ แบบทีไ่ ม่สอดคล้องกับกลุม ่ ของตนให้กลายเป็นอืน ่ หลายคนอาจจะเคย ได้ยน ิ กันว่า Facebook คือแหล่งรวมพวกโลกสวย เด็กสก๊อย พวกชอบก๊อป คำ�พูดคนอื่น และพวกที่ไม่ได้เข้าใจเรื่องราวต่างๆ จริงๆ ในขณะที่ Instagram คือพืน ้ ทีข่ องคนทีช่ อบอวดตัวเอง และต้องเป็นพืน ้ ทีท ่ ม ่ี แี ต่ การอัพรูปสวยๆ ลงเท่านัน ้ ส่วน Twitter คือแหล่งรวมพวกหัวรุนแรง หรือคนที่โลกส่วนตัวที่อยากบ่นขิงบ่นข่าไปเรื่อยๆ รวมถึงเป็นพื้นที่ ของแฟนคลับสายต่างๆ1 ผู ้ ใ ช้ ในแต่ ละแอป ต่างฝ่ ายต่ างผลักความเป็นอื ่น ให้ก ัน และกันและพยายามตัง้ วิธกี ารเล่นของตัวเองแล้วจึงรวมพรรคพวกเข้ามา กดดันคนนอกหรือยิ่งไปกว่านั้นคือกีดกันคนนอกเหล่านั้นให้ออกไป ในทันทีทก ่ี า้ วเท้าเข้ามากลายเป็นว่าแทบไม่มพ ี น ้ื ทีใ่ ห้คนใหม่ๆ ทีเ่ พิง่ เข้ า มาใช้ โซเชียลมีเดียต่างๆ ได้เรียนรู ้ ไม่มพ ี ืน ้ ทีใ่ ห้คนทีม ่ วี ธิ กี ารเล่น ทีแตกต่ ่ างออกไป สิ ่ ง เหล่ า นี ้ ย ิ ่ ง บ่ ม เพาะให้ ผ ู ้ ใ ช้ ไ ม่ ย อมรั บ ความแตกต่ า ง ซึ่งออกจะผิดวัตถุประสงค์ (ในโลกของความดีงาม) ของผู้ให้บริการ ที่อยากจะชักชวนให้ทุกคนบนโลกที่มีความแตกต่างได้มาพบปะกัน และหนักไปกว่าการกีดกันคือการไปถล่มหรือเกิดเป็น Cyberbullying จนส่งผลกระทบต่อตัวบุคคลจริงๆ ให้เขาเกิดความอับอายและสุดท้าย ก็อาจนำ�ไปสู่โศกนาฏกรรมโดยที่ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้

ทั ้ ง หมดทั ้ ง มวลนี ้ ไ ม่ ไ ด้ เ ป็ น การกล่ า วโทษโซเชี ย ลมี เ ดี ย เพราะเบือ้ งหลังการใช้โซเชียลมีเดียนัน ้ ก็คอื มนุษย์ผู้มสี มองและความรูส ้ ก ึ แต่โซเชียลมีเดียก็เป็นเหมือนโทรโข่งที่ป่าวประกาศความเป็นมนุษย์ ของเราให้ขจรขจายไปไกล ดังนั้นหาก “เรา” ซึ่งเป็นมนุษย์ยังไม่อาจ เปลี ่ ย นพื ้ น ฐานความคิ ด ให้ เข้ า ใจและยอมรั บ ความแตกต่า งนี้ไ ด้ การใช้โซเชียลมีเดียในลักษณะนี้กเ็ ปรียบเหมือนไวรัสที่ยิ่งแพร่กระจาย ออกไปให้กลายเป็นปัญหาใหญ่ เพราะต้องไม่ลืมว่าโซเชียลมีเดีย ทำ�ให้ผคู้ นหลากหลายมาพบกัน และหากการมาพบกันนัน ้ เป็นการตอกยํา้ ว่าสิง่ ทีต่ นคิด สิง่ ทีต ่ นเชือ ่ เป็นสิง่ ที่ “ใครๆ ก็ทำ�” นัน ่ ก็ยง่ิ ทำ�ให้ความเข้าใจ ซึ่งกันและกันอยู่ในสถานะที่ยิ่งเลวร้ายลง กลับกันถ้า “เรา” ซึ่งเป็นผู้ใช้อยากให้สังคมเดินไปสู่ทิศทาง ที่ดีกว่าเดิม ไม่มีการกลั่นแกล้ง ไม่มีการแบ่งแยก ไม่มก ี ารเหยียดกัน และกัน ก็คงเป็นหน้าที่ของ “เรา” ที่จะแสดงให้เห็นว่าเราเข้าใจและ ยอมรับความแตกต่างที่มอ ี ยู่ทั่วไปบนโลกโซเชียลมีเดียได้ และมันไม่ใช่ เรื่องยาก ไม่ได้เป็นสิ่งประหลาดที่ทุกคนจะทำ�ไม่ได้ เหตุการณ์นจ้ี ะเกิดขึน้ ได้หรือไม่ คำ�ตอบอยูใ่ นใจของแต่ละคนแล้ว :)

1

28

รวบรวมจากโพสต์/ทวีตในเว็บไซต์ Facebook และ Twitter


Wh Wh Wh Spread! Spread! Spread! Spread! Spread! Spread! - ทำ�ไมเราถึงมองว่ามนุษยศาสตร์ อักษรศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ด้อยกว่าวิทยาศาสตร์ ขึ้นชื่อว่า “ศาสตร์” ก็คือระบบวิชาความรู้ แต่ที่ศาสตร์หนึ่งๆ มีสถานะด้อยกว่า อีกศาสตร์หนึ่ง อาจเพราะมีการให้คุณค่าในแต่ละศาสตร์แตกต่างกัน ปัจจุบันมนุษย์ มักให้ความสำ�คัญกับความสุขสบาย แม้เพียงผิวเผินก็ไม่อาจละทิ้งได้ ดังนั้นมนุษย์จึง ประดิษฐ์คด ิ ค้นเครือ ่ งมือมากมายเพือ ่ อำ�นวยความสะดวกในการดำ�เนินชีวต ิ เมือ ่ ความสนใจ พุ่งเป้าไปที่ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการ วิทยาศาสตร์จึงมีสถานภาพโดดเด่น ในยุคดิจท ิ ล ั แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์กลับละเลยในเรือ ่ งของคุณค่า ความงาม ความสุนทรี และการใช้ เ หตุ ผ ล บ้ า งก็ ไ ม่ แ ยแสต่ อ การพั ฒ นาจิ ต ใจตนเอง ดั ง นั ้ น อั ก ษรศาสตร์ จึงมีสถานภาพด้อยลงมา ทว่าเราจะมุ่งเน้นแต่ความสะดวกสบาย เป็นมนุษย์แต่ไม่เข้าใจ ความเป็นมนุษย์ต่อไปเช่นนี้น่ะหรือ? - มนุษยศาสตร์ อักษรศาสตร์เป็นศาสตร์ไม่ทำ�เงิน? ในการเรียนอักษรศาสตร์มีแนวทางการประกอบอาชีพมากมาย เช่น งานด้าน การพัฒนา งานด้านการท่องเที่ยว และงานด้านสื่อสารมวลชน หากทำ�เงินหมายความ ตรงตัวว่าคือการทำ�มาหากิน ไม่ว่าจะเรียนจบศาสตร์ใดแล้วออกมาทำ�งานก็ล้วนทำ�เงิน ได้ทั้งสิ้น ทว่าหากทำ�เงินสื่อความถึงกำ�ไรขาดทุนจากการดำ�เนินการของงบประมาณ รายจ่ายประจำ�ปีก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งก็น่าคิดว่าคำ�กล่าวที่ว่า “อักษรศาสตร์เป็นศาสตร์ ไม่ทำ�เงิน” นัน ้ ไม่ทำ�เงินให้ใครกันแน่ ระหว่างตัวผูศ ้ ก ึ ษาหรือสถาบันทีเ่ ปิดการเรียนการสอน ในศาสตร์นี้ - ทำ�ไมคนทีเ่ รียนมนุษยศาสตร์ อักษรศาสตร์จงึ ถูกมองว่ามีโอกาสประสบความสำ�เร็จ น้อยกว่าคนที่เลือกเรียนศาสตร์อื่น นั ่ น อาจเป็ น เพราะคนส่ ว นใหญ่ ค ิ ด ว่ า ผู ้ ส ำ�เร็ จ การศึ ก ษาด้ า นอั ก ษรศาสตร์ จะทำ�อะไรได้มากไปกว่าเป็นล่าม มัคคุเทศก์ หรือทำ�งานกับสำ�นักพิมพ์ ประกอบกับ ในแต่ ล ะปี ก ็ ม ี บ ั ณ ฑิ ต จบการศึ ก ษาจากศาสตร์ น ี ้ ม ากกว่ า ที ่ น ั ่ ง รองรั บ ในตำ�แหน่งงาน ดังกล่าว คนทีเ่ รียนอักษรศาสตร์จงึ ถูกมองว่าจบมาแล้วจะต้องไม่มงี านทำ� จบมาแล้วจะต้อง ได้ ท ำ�งานไม่ ต รงสายกั บ ที ่ เ รี ย นมา หรื อ จบมาแล้ ว จะได้ ท ำ�งานในสายงานที ่ ม ี โ อกาส ก้าวหน้าต่ำ� เงินเดือนน้อยกว่าเลือกเรียนศาสตร์อน ่ื อันจะทำ�ให้มโี อกาสประสบความสำ�เร็จ ในชี ว ิ ต ยากขึ ้ น อย่ า งไรก็ ด ี ค ำ�ว่ า “ประสบความสำ�เร็ จ ” ของแต่ ล ะคนก็ ไ ม่ เ หมื อ นกั น ขึน ้ อยูก ่ บ ั ความพอใจของปัจเจกบุคคล แต่ทม ่ี น ั ดูดอ ้ ยค่าก็เพราะผูอ ้ น ่ื ตัดสินไปเองไม่ใช่หรือ?

29

จรงิ หรอ ื ไม่ ใชห ่ รอ ื เปลา่ ?

โดย ปนัดดา อรรคฮาตสี


ART’S SIDE ผนัง สเปรย์ คนมือบอน โดย Meraki

กราฟฟิตี้ถือเป็นศิลปะร่วมสมัย ที่ เ กิ ด ขึ ้ น โดยความปรารถนาอั น แรงกล้ า ของเหล่าหนุ่มสาวในสังคมที่ต้องการแสดง ความเป็นตัวตน ความคิดเห็นและทัศนคติ ภายใต้แรงกดดันทางสังคม รวมถึงกฎหมาย และแน่นอน ท้าทายต่อผู้พิทักษ์สน ั ติราษฎร์ อย่างทหารและตำ�รวจ จากหนังสือ Freight Train Graffiti1 ให้นิยามคำ�ว่ากราฟฟิตี้ ไว้ว่า “เป็นวัฒนธรรมนอกกระแสทีเ่ ปรียบได้กบ ั สัญลักษณ์ของความเป็นขบถ มันให้ความรูส้ กึ ซาบซ่าน เป็นสุข เมื่อยามที่ศิลปินกราฟฟิตี้ ได้ทา้ ทายต่ออำ�นาจของเจ้าหน้าทีร่ ฐั ทีพ ่ ยายาม กีดกันกำ�จัดกราฟฟิตี้ให้หมดไป”

กราฟฟิตี้คือการปลดปล่อย บางอย่างในตัว คือการเอาส่วนหนึ่ง ของเราใส่ไปในงาน

การทำ�กราฟฟิตน ้ี น ้ั เกิดจากการสัง่ สมประสบการณ์ทางด้านศิลปะ อุดมคติต่างๆ รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขียนทีถ่ กู เรียกว่า Writer กลุม ่ คนทีท ่ ำ�กราฟฟิตม ี้ ต ี ั้งแต่ทำ�เดี่ยวๆ ไปจนถึงรวมกลุ่มกัน เพื่อถ่ายทอด ทัง้ ความเป็นตัวของตัวเอง ความคิดและจุดประสงค์ทม ่ี รี ว่ มกัน อาจพูดได้วา่ การทำ�กราฟฟิ ต ี ้ ส ่ ว นใหญ่ เ ป็ น ไปเพื ่ อ สนองความต้ อ งการของเหล่ า นักสร้างสรรค์ผลงานโดยผลงานกราฟฟิตี้นั้นมักสะท้อนภูมิหลังของ เหล่าผู้เขียน อารมณ์ ความนึกคิด และในบางครั้งก็ยงั สะท้อนปัญหาสังคม ปัจจุบน ั ในมุมมองของนักเขียน โดยที่ปัญหานั้นอาจเป็นสิ่งที่ผู้มีอำ�นาจ พยายามทีจ่ ะปิดบัง ปกปิด หรือแม้กระทัง่ จะกำ�จัดให้หายไปจากกระแสสังคม และเพือ ่ ให้แน่ใจว่ามันจะไม่เป็นไปตามที่ผู้มีอำ�นาจต้องการ เหล่านักเขียน กราฟฟิตจ้ี งึ ทำ�หน้าทีส ่ ะท้อนสังคมในรูปแบบของตนเองด้วยการพ่นสเปรย์ ลงบนกำ�แพงในที่สาธารณะเพื่อให้สาธารณชนรับรู้ปัญหาเช่นกัน กราฟฟิตี้จัดเป็นงานศิลปะชนิดหนึ่ง เพียงแต่ศิลปะชนิดนี้ไม่ ได้อยู่บนเฟรมวาดรูป หรือใส่กรอบทองสวยงามอยู่ในหอศิลป์เฉกเช่น ศิลปะอื่นๆ การที่กราฟฟิตี้มีพื้นที่จัดแสดงอยู่ในที่สาธารณะ อยู่บน กำ�แพงที่ผู้คนผ่านไปสามารถมองเห็นได้ง่าย สามารถวิพากษ์วิจารณ์ ได้ง่าย จึงทำ�ให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างกันมากมาย ไม่เพียงแต่ใน สังคมไทย แต่ยังรวมไปถึงสังคมต่างประเทศ และสิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับ เลยก็คือในหลายๆ ประเทศยังประกาศให้การพ่นสเปรย์บนกำ�แพงนั้น ถือเป็นการกระทำ�ซึ่งขัดต่อกฎหมายอีกด้วย เชือ่ ว่าหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยน ิ ชือ่ ของ BANKSY ศิลปินผูโ้ ด่งดัง จากการสร้างงานกราฟฟิตี้ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและสไตล์เฉพาะตัว ที ่มค ี วามชัดเจนในความเป็น BANKSY ซึ ่ งบุคคลอื ่น เลี ย นแบบได้ ย าก โดยเฉพาะเนื้อหางานพ่นที่มีการเสียดสีสังคม สะท้อนภาพการเมือง การเรียกร้องอิสรภาพต่างๆ แต่มก ี ารนำ�เสนอด้วยอารมณ์ขน ั แบบตลกร้าย แกมประชดประชันเสมอ และนั่นเองที่ทำ�ให้ BANKSY กลายเป็นหนึ่งใน ตำ�นานของวงการกราฟฟิ ต ี ้ โลก ผลงานของ BANKSY มีความหมาย และน่าค้นหาเช่นเดียวกับตัวเขาเนือ ่ งจาก BANKSY ไม่เคยเปิดเผยตัวตน ที่แท้จริงของเขาออกสู่สาธารณชนแม้กระทั่งยามที่ออกมาพ่นกราฟฟิตี้ ด้วยเหตุผลทีว่ า่ ในประเทศอังกฤษ การพ่นกราฟฟิตต ้ี ามกำ�แพงสาธารณะ ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมายอยู่ อีกทั้งเหตุผลส่วนตัวที่เขาคิดว่าตัวเขาไม่ได้ หน้าตาดี เช่นนัน ้ เขาจึงอยากให้ผคู้ นชืน ่ ชมเขาทีผ่ ลงานมากกว่าทีห ่ น้าตา

1 Freight Train Graffiti เขียนโดย Roger Gastman, Darin Rowland และ Ian Sattler เป็นหนังสือที่เล่าถึงเรื่องราวของกราฟฟิตี้ในอเมริกาและทั่วโลก โดยภายในมีภาพกราฟฟิตี้ประกอบ และมีการสัมภาษณ์ศลิ ปิน 125 คน และยังเล่าถึงการทำ�งานกราฟฟิตต ี้ ามเส้นทางขนส่ง เช่น ทางรถไฟ เป็นต้น

30


Q : สวัสดีค่ะ A : สวัสดีครับ Q : ทำ�กราฟฟิตี้มานานหรือยัง? A : ก็ปีนี้เข้าปีที่ห้าแล้วครับ Q : ทำ�ไมถึงชอบทำ�กราฟฟิตี้? A : ชอบทำ�เพราะว่าท้าทายดี ในเรื ่องของเวลา สภาพอากาศ ผู ้ ค นที ่ ผ ่ า น สถานที ่ เราคิ ด ว่ า มันน่าสนใจทุกครั้งทีท ่ ำ�งาน สภาพหลายๆ อย่าง ไม่เหมือนกันสักครั้งเลย Q : คิดว่าอะไรเป็นเสน่ห์ของงานกราฟฟิตี้? A : เสน่ห์ของงานคืออยากทำ�ตรงไหนก็ทำ�ในที่ ทีค ่ นผ่านเยอะๆ แล้วทำ�ยังไงให้งานเนีย๊ บ ตัดเส้นคม มีนํ้าหนักในตัวงาน Q : กราฟฟิตี้ก็คือศิลปะ? A : มันก็ใช่ แต่กไ็ ม่ใช่ศล ิ ปะโดยตรง เพราะภาษา จิ ต รกรรมมั น คื อ ภาษาภาพ แต่ อ ั น นี ้ เ ราชอบ ตัวอักษร แต่ก็มองว่าภาษาเป็นสิง่ ทีค ่ นเข้าใจง่าย ยิ ่ ง กว่ า นั ้ น สิ ่ ง ที ่ อ อกไปคื อ ชื ่อเราติดอยู ่ท ุกที่ ทีเ่ ราพ่นด้วย แต่เรามองว่าศิลปะเนีย่ มันสำ�คัญตรง วิธีคิด ถ้าเราพ่นแค่ชื่อตัวเอง สิ่งทีอ ่ อกไปก็แค่ ชือ ่ ตัวเอง แต่ถ้าเราเพิ่มวิธีคด ิ เข้าไปมันก็นา่ สนใจ มากขึ น ้ และกราฟฟิต ี ม ้ ันก็เป็น วิธ ก ี ารแสดงออก ทางความคิด ได้ให้ศลิ ปะออกเสียงแทนคนทีไ่ ม่ได้พด ู หรือพู ด ไม่ ไ ด้ แล้ ว อี ก อย่ างการพ่นตามกำ�แพง คือผูค ้ นจะเสพศิลปะได้งา่ ยขึน ้ ไม่ ต ้ อ งหาเวลาไป หอศิลป์กม ็ องเห็นศิลปะได้ เราคิดว่าตรงนีม ้ น ั สำ�คัญ Q : การออกเสียงแทนคนที่พูดไม่ได้คือ? A : คื อ กราฟฟิ ต ี ้ ม ั น ถู ก ทำ�เพื ่ อ การตอบสนอง ตัวคนพ่นน่ะ ได้แสดงความคิดเห็นในสิ่งที่เรา ไม่สามารถพูดได้ แล้วถ้ามันไปตรงกับความคิด ของคนส่วนใหญ่ด้วยมันก็เหมือนตอบสนองต่อ สังคม Q : มีความคิดยังไงกับกราฟฟิตแี้ ละความเป็นอืน่ A : สำ�หรับเมืองไทยคงเป็นไปได้ยากทีจ่ ะยอมรับ เรา เพราะติดกับคำ�ว่ามือบอน แต่ถ้ามีโอกาส... สำ�หรับคนทำ�งาน เราก็อยากเป็นทีย ่ อมรับสักวันหนึง่ ไม่รู้หรอกว่าวันไหนเหมือนกันนะ คงเป็นเหมือน ภาพจำ�ไปแล้ ว ที ่ คนไทยติด กับ มองกราฟฟิ ต ี ้ เป็นพวกมือบอน คล้ายกับทีค ่ ำ�ว่าเด็กช่างเป็นพวก ชอบต่อยตีอะไรแบบนี้

31

Q : ถ้าเป็นไปได้อยากให้สังคมทำ�แบบไหนกับ ศิลปะประเภทกราฟฟิตี้? A : สำ�หรับเราก็อยากให้ภาครัฐจัดสรรพื้นที่ สำ�หรับศิลปะนะ เพราะบางทีมน ั ไม่ได้แค่เพราะ ความอยาก แต่ประโยชน์ก็มีแบบทำ�ตึกเก่าๆ โทรมๆ ให้มันดูดีขึ้นมาได้ จะเห็ น ได้ ว ่ า แม้ แ ต่ ศ ิ ล ปิ น นอกกรอบ ก็ ย ั ง ยากที ่ จ ะได้ร ั บการยอมรั บ และศิลปะของ คนมือบอนอย่างกราฟฟิตก้ี ย็ งั แอบซ่อนไปด้วยข้อดี และทัศนคติดีๆ ของผู้สร้างสรรค์ หากเพียงแค่ ผู ้ชมอย่ า งเราลองเปิ ด ใจให้ ศล ิ ปะชนิ ด นี ้ ส ั ก นิ ด อาจจะสามารถเปลีย ่ นมุมมองจากความรกหูรกตา เป็นมองเห็นคุณค่าของความสวยงามในอีกรูปแบบ หนึง่ มองเห็นความสดใสของสีสน ั ทีไ่ ด้รบ ั การบรรจง สรรค์ ส ร้ า งขึน ้ มาในทีส ่ าธารณะก็ได้ เหมือนกับ คำ�กล่าวหนึง่ ที่บอกว่า

“ แค่เปลี่ยนมุมมอง ศิลปะก็ถือกำ�เนิด

ในส่วนของสั งคมไทยการทำ�กราฟฟิต ี้ ก็ถ อ ื ว่ าเป็นสิ ่ งผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัต ิ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของบ้านเมือง พ.ศ 2535 มาตรา 12 ซึง่ ได้กล่าว ไว้ว่า “ห้ามมิให้ผู้ ใดขูด กระเทาะ ขีด เขียน พ่นสี หรือทำ�ให้ปรากฏด้วยประการใดๆ ซึ่งข้อความ ภาพ หรื อ รู ป รอยใดๆ ที ่ ก ำ�แพง ที ต ่ ด ิ กับถนน บนถนน ที ่ตน ้ ไม้ หรือส่วนหนึ ่ งส่วนใดของอาคาร ทีอ่ ยูต่ ดิ กับถนนหรืออยูใ่ นทีส่ าธารณะฯ” ด้วยเหตุนเ้ี อง จึงทําให้กราฟฟิตี้ไม่ได้รบ ั การสนับสนุนจากภาครัฐ ศิลปินส่วนใหญ่ยงั คงต้องทำ�งานกันอย่างหลบซ่อน หรื อ อาจกล่ า วได้ ว ่ า พวกเขาเป็ นศิลปินใต้ ด ิ น ประกอบกับทัศนคติของสังคมทีย่ งั มองว่ากราฟฟิตี้ เป็นเพียงรอยพ่นสีบนกําแพงของเหล่าเด็กมือบอน ปฏิเสธทีจ่ ะยอมรับกราฟฟิต ี ้ ในฐานะของงานศิลปะ ชนิดหนึ ่ง ทั ง้ ที ง่ านกราฟฟิต ี ้ เ ป็ น อี ก หนึ ่ ง วิ ธ ี ใ น การแสดงความสามารถ ปลดปล่อยความเป็นตัวตน ของเหล่าวัยรุ่นในประเทศไทยซึ่งหอศิลป์มท ี จี่ ำ�กัด ประเทศไทยทีย่ กย่องแต่ศลิ ปะชัน ้ สูง ศิลปะร่วมสมัย อย่างกราฟฟิตจี้ งึ ถูกกีดกันจากสังคม ทัง้ ทีค่ วามจริง แล้วกราฟฟิตก ้ี เ็ ป็นเหมือนศิลปะประเภทอืน ่ ทีต ่ อ ้ ง ผ่านการคิด การสร้างสรรค์ และเป็นเครือ่ งมือ ในการแสดงความคิดเห็นแทนคำ�พูด หากมองศิ ลปะในแง่ของหน้าที ่ใ น การสะท้อนสังคม กราฟฟิตี้อาจจะเป็นศิลปะที่ สะท้อนภาพสั งคมได้ ด ี ท ี่ ส ุดเมื ่อเที ยบกั บ ศิลปะ ชนิดอื่ น ๆ เนื ่องจากความมี อ ิ ส ระทางความคิด ไม่ ม ี ก ารจำ�กั ด ทางด้ า นรู ป แบบและไม่ เ คร่ ง ในเรื อ ่ งของความเหมาะสมมากนัก รวมทั้ งยังมี ผูส ้ ร้างสรรค์ท ีห ่ ลากหลายจากทุกชนชัน ้ ของสังคม กราฟฟิ ต ี ้ น ั ้ น ถื อ เป็ น ศิ ล ปะที ่ ค นทั ่ ว ไปสามารถ จับต้องได้ งานทีแ่ สดงออกมาสูส ่ ายตาเป็นงานที ่ สามารถสะท้ อ นความหลากหลายและปัญหา ความเป็นไปของสังคมได้อย่างชัดเจน อย่างทีเ่ ห็น บ่อยครัง้ ในประเทศไทยทีเ่ หล่าศิลปินลงมือพ่นสเปรย์ บนกำ�แพงเป็นสัญลักษณ์ตา่ งๆ ทีส ่ ะท้อนให้เห็นถึง การเรียกร้องความเป็นธรรมในเรือ ่ งต่างๆ จากภาครัฐ อาทิ เสือXXX และบ่อยครั้งเช่นกันที่กราฟฟิตี้ เหล่านั้นถูกตามลบทิ้งในเวลาอันรวดเร็ว วั น นี ้ ฟ ้ า อั ก ษรมี บ ทสั ม ภาษณ์ ส ั ้ น ๆ ของหนึ ่งในไรท์ เ ตอร์ ก ราฟฟิ ต ี ้ ซ ึ ่ ง เป็ น นักศึกษา ในรัว้ มหาวิทยาลัยศิลปากรของเรานีเ่ อง โดย Secret Guest จะมาบอกเล่าถึงมุมมองในการทำ�งานศิลปะ ชนิดนี ้ รวมถึงความคิดเห็น เกี ่ ย วกั บ กราฟฟิ ต ี ้ ในสังคมไทยทีจ่ ะมาสร้างความเข้าใจในความเป็น กราฟฟิตี้มากขึ้น


SHORT STORY

He is a 52-Hz whale.

By : Et glass vann

“ ว่ากันว่าในท้องทะเลลึกมีวาฬที่โดดเดี่ยวที่สุดในโลกอยู่ตัวหนึ่ง มันไม่มท ี ง้ั ครอบครัว ทัง้ คูร่ ก ั และเดินทางไปในห้วงมหาสมุทรด้วยตัวเดียว มาตลอดยี่สิบปี เพราะเสียงของมันไม่เคยส่งไปถึงวาฬตัวอืน ่ ๆ…และนักวิทยาศาสตร์ เรียกมันว่า วาฬห้าสิบสองเฮิร์ซ…

เสี ย งเลื ่ อ นเปิ ด ประตู ด ั ง ขึ ้ น ในเช้ า วั น จั น ทร์ เรี ย กให้ ส ายตา ของนักเรียนทุกคนหันไปมองเป็นตาเดียว เพียงแค่รา่ งผอมแห้งของเด็กชาย คนหนึ่งก้าวเข้ามา ความกดดันที่อบอวลอยู่ภายในห้องก็พวยพุ่งเข้าจู่โจม เขาจนต้องก้มหน้าลงหลบสายตาของเพื่อนร่วมห้องแล้วก้าวไปนั่งที่ประจำ� ของตน ทีน ่ ง่ั หลังสุดติดหน้าต่างทีม ่ แ ี ค่เขาแค่คนเดียว ไม่มเี พือ ่ นคนไหน กล้าขยับโต๊ะของตัวเองเข้ามาใกล้

เมื่อเด็กชายเข้าไปนั่งที่ของตัวเองแล้ว บรรยากาศภายในห้อง จึงได้กลับมาเป็นปกติอีกครั้ง เขาทำ�ได้แค่กวาดสายตามองไปรอบๆ แล้ว ถอนหายใจออกมา ทัง้ ทีอ ่ น ั ทีจ่ ริงเขาชินแล้ว ชินแล้วกับการถูกทิง้ ไว้ขา้ งหลัง ชินแล้วกับการไม่ถูกจดจำ�ในฐานะของอะไรเลย

เขาชินแล้วที่ต้องถูกกีดกันออกจากโลกใบนี้...ไม่เชื่อมต่อกับ อะไรสักอย่าง

เอ้า นักเรียนทุกคนนั่งที่ของตัวเองครับ วันนี้เราจะเรียนวิชาภาษาไทยกัน

ชายที่เพิ่งก้าวเข้ามาใหม่ในชุดสีกากีทำ�ให้เสียงจอแจเงียบลง ในที่สุด เด็กชายหยิบหนังสือออกมาเตรียมตัวพลิกหน้ากระดาษเมื่อครู ประจำ�วิชาภาษาไทยจะบอกให้เขาเปิดที่บทเรียนที่กำ�ลังจะสอน แต่แล้ว เขากลับต้องชะงักเนื่องมาจากเสียงของชายหนุ่มเอ่ยขัดเสียก่อน “ครูมีเรื่องจะบอกทุกคนว่าวันนี้คนที่จะสอนวิชาภาษาไทยคือ คุณครูฝึกสอนคนใหม่ คุณครูเข้ามาแนะนำ�ตัวกับนักเรียนหน่อยครับ” หญิงสาวในชุดกระโปรงสีดำ�สนิทยาวกรอมพื้นและฮิญาบสีดำ�สนิททำ�ให้ นักเรียนในห้องเงียบสนิท ในโรงเรียนพุทธทีแ่ ทบไม่เคยเห็นใครในรูปลักษณ์ ปกปิดร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้า หญิงสาวมุสลิมคนนี้กลายเป็นความโดดเด่นที่ทำ�ให้ทุกคน ต้องจับตามองด้วยสายตาแปลกประหลาดจนกระทัง่ ลืมฟังชือ ่ เสียงเรียงนาม ของเธอไปเสียสนิทดวงตาสีดำ�สนิทคู่กลมโตกวาดมองไปรอบห้องก่อนจะ มาหยุดทีเ่ ด็กชายตัวเล็กทีน ่ ง่ั ตัวลีบอยูห ่ ลังห้อง เธอได้แต่เก็บงำ�ความสงสัย เอาไว้ในใจแล้วหันมาสนใจกับการพูดคุยกับครูประจำ�วิชาอยู่ครู่ใหญ่ จนกระทั่งเขาวางใจในหน้าที่ของเธอแล้ว ชายในชุดสีกากีจึงได้เดินจากไป และทิ้งภาระการสอนไว้ให้เธอแทน หญิงสาวหันกลับมามองห้องเรียนชั้น มัธยมต้นที่ตนเองได้รับผิดชอบ รวบรวมความกล้าอยู่สักพักจึงเปล่งเสียง ออกมาได้ “เรามาเริม ่ เรียนกันเลยนะคะ ถ้าอย่างนัน ้ ...ครูจะให้ทก ุ คนจับคู่ กันแปลกลอนในหน้าร้อยสามสิบนะคะ” เด็กชายถอนหายใจเฮือก มองดู ความวุน ่ วายของห้องเรียนเมือ ่ เห็นเพือ ่ นร่วมห้องต่างพากันเฮโลไปจับคูก ่ น ั ทำ�งาน เหลือเพียงเขาที่ยังนั่งอยู่ที่เดิม ไม่กล้าแม้แต่จะขยับตัว...เพราะ เขารู้ดีว่าเขาควรจะทำ�ตัวเป็นธาตุอากาศหายไปซะยังจะดีกว่าการที่ทำ�ให้ เขามีตัวตนแต่พบว่าตัวเองไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของที่นี่ “นักเรียนมีคห ู่ รือยังคะ” เสียงของเธอดังขึน ้ พร้อมกับเสียงฝีเท้า ทีห ่ ยุดลงตรงหน้า เรียกให้เขาเงยหน้ามอง รอยยิม ้ ในดวงตาของเธอดูออ ่ นโยน แต่เขารู้ดีว่ามันคงจะไม่คงทนอยู่ตลอดไป ...เดี๋ยวก็หายไปเหมือนกับคนอื่นๆ ...และปล่อยให้เขาอยู่คนเดียวเหมือนอย่างที่เป็นมา “ผมขอทำ�งานคนเดียวได้ไหมครับ” เขาต่อรองออกไปเบาๆ “ถ้าอย่างนัน ้ ให้กลุม ่ หนึง่ มีสามคนก็ได้คะ่ ” หญิงสาวในชุดฮิญาบ สีดำ�กวาดสายตามองไปทัว่ ห้อง แต่สง่ิ ทีเ่ ธอได้รบ ั กลับเป็นอาการหลบสายตา

32


จากเด็กนักเรียนทั้งห้องและความเงียบกริบไร้เสียงจอแจกันจนผิดวิสัย คุณครูสาวขมวดคิ้วเล็กน้อยแล้วดวงตาของเธอก็กวาดไปรอบห้องอีกครั้ง จนกระทั่งไปสะดุดตากับเด็กชายอีกคนที่นั่งอยู่ไม่ไกลนัก “ถ้ายังไงเธอช่วยรับเพื่อนเข้ากลุ่มอีกคนได้ไหมคะ” “หา! ผมไม่อยากอยู่กลุ่มเดียวกันกับพวกผิดเพศแบบนั้นหรอก ครับ!”ความเงียบน่าอึดอัดคลานกลับเข้ามาในห้องอีกครัง้ บีบอัดให้เด็กชาย ที่นั่งอยู่หลังห้องต้องตัวเล็กลีบลงไปกว่าที่เคย คุณครูคนใหม่เหลือบมอง ร่องรอยหวั่นไหวในแววตาของเขาที่กำ�ลังเต้นระริกไม่มั่นคงคล้ายคนกำ�ลัง จมนํา้ แต่ไม่ตอ ้ งการความช่วยเหลือ หญิงสาวเม้มปากเล็กน้อย เหลือบมอง นาฬิกาบนผนังก่อนจะตัดสินใจพูดออกมา “เอาล่ะค่ะนักเรียน ถ้าอย่างนั้นครูมีการบ้านให้ทุกคนไปทำ�” เธอเดินกลับไปหน้าห้องแล้วประกาศอีกครัง้ “ให้ทก ุ คนเขียนเรียงความเรือ ่ ง สิ่งที่นักเรียนประทับใจในตัวเอง ส่งวันศุกร์นะคะ”

33

นักเรียนทุกคนต่างรับคำ�สัง่ ของคุณครูพร้อมกัน เว้นก็แต่เด็กชาย ตัวผอมทีย ่ งั คงก้มหน้าอยู่ จนกระทัง่ หญิงสาวเดินจากไปเขาก็ยงั ก้มหน้าไม่ กล้าเงยขึน ้ มา เสียงรอบตัวเริม ่ กลับมาคึกคักอีกครัง้ แต่นำ�้ เสียงรังเกียจของ เพือ ่ นร่วมห้องยังติดตรึงอยูใ่ นหัวของเขา แล้วสุดท้ายเขาก็หลับตาลง...มอง หาความภาคภูมใิ จในตัวเองทีค ่ ณ ุ ครูสง่ั ให้ไปค้นหา แต่จนลึกลงไปสุดก้นบึง้ ของหัวใจเขาก็ยงั ไม่สามารถหามันเจอ ...ท่ามกลางฝูงผูค ้ นมากมายรอบตัว ...เขากำ�ลังคิดว่าตัวเขาคือวาฬห้าสิบสองเฮิร์ซตัวนั้น เพียงแต่ ตัวเขาไม่มีแรงกำ�ลังมากพอจะเดินทางไปในท้องทะเลได้ด้วยตัวคนเดียว ...และสุดท้ายก็ตอ ้ งจมอยูใ่ ต้กน ้ ทะเลลึกอย่างเดียวดาย

------------------------------------------------


“...ผมไม่อยากอยูก ่ ลุม ่ เดียวกันกับพวกผิดเพศแบบนัน ้ หรอกครับ!” เขาถอนหายใจเฮือกขณะนั่งมองเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันบน สนามหญ้าของโรงเรียน ในขณะทีเ่ ขาถูกกีดกันออกมาโดยไม่ตอ ้ งใช้คำ�พูด แม้แต่คำ�เดียว เขาแค่กม ้ มองรูปวาดในสมุดของตัวเองแล้วเริม ่ ลงมือวาดมัน อีกครัง้ ...เพราะเขาก็ชน ิ แล้ว “ไม่ออกไปเล่นกับเพือ ่ นล่ะเราน่ะ” เด็กชายสะดุง้ เฮือกขณะเงยหน้า ขึน ้ มองคนพูด เขายกมือขึน ้ ไหว้แทบไม่ทน ั เมือ ่ จูๆ ่ คุณครูสาวก็ทง้ิ ตัวลงนัง่ ข้างตัว รอยยิม ้ อันอบอุน ่ ทีเ่ ขายังจำ�ได้ตด ิ ตากลับมาปรากฏบนใบหน้าของเธอ อีกครัง้ “เป็นอะไรไปจ๊ะ ทำ�ไมมานัง่ อยูต ่ รงนีค ้ นเดียว” “ผมคิดการบ้านเรียงความทีค ่ ณ ุ ครูให้ไม่ออกครับ” เขาเอ่ยปาก ตอบกลับไป พยายามซ่อนสมุดวาดรูปของตนออกห่างสายตาผูใ้ หญ่ แต่กย ็ งั ไม่เร็วเท่ากับทีอ ่ ก ี ฝ่ายจะสังเกตเห็น “อุย ้ เธอวาดรูปสวยเหมือนกันนี”่ เธอเอ่ยปากชม “แล้วทำ�ไมต้อง เป็นรูปวาฬล่ะ” “เพราะผม...ไม่เหมือนพวกเขาครับ” เขามองสบกับดวงตาของคนเป็นครูอยูค ่ รูก ่ อ ่ นเปิดปากพูด “ครูเคยได้ยน ิ เรือ ่ งวาฬห้าสิบสองเฮิรซ ์ ไหมครับทีส ่ ด ุ ท้ายแล้วมัน ก็ต้องโดดเดี่ยวอยู่ในท้องทะเลเพราะเสียงของมันไม่เคยส่งถึงวาฬตัวอื่นๆ ผมคิดว่า...ผมเป็นเหมือนมัน” เด็กชายยิม ้ ออกมาเป็นครัง้ แรก แต่คนข้างตัวกลับรูส ้ ก ึ ว่ารอยยิม ้ ของเขามันขมเกินกว่าจะพูดออกมาได้

“เธอไม่ใช่วาฬห้าสิบสองเฮิร์ซตัวเดียวในโลกหรอกนะ” เธอเลื่อนมือแตะฮิญาบของตนเองแล้วเปิดปากพูดด้วยนํ้าเสียงนุ่มนวล จนแม้กระทัง่ คนฟังยังไม่อยากเชือ ่ ว่าคนอย่างเขาจะสามารถมีสท ิ ธิไ์ ด้รบ ั มัน “มองดูดีๆ สิ ครูก็ไม่เหมือนกับเธอใช่ไหม” เด็กหนุ่มครุ่นคิดอยู่ ครู่ก่อนจะค่อยๆ พยักหน้าลง “ทำ�ไมล่ะจ๊ะ” “เพราะครูนับถืออิสลามล่ะมั้งครับ” “แล้วแบบนีค ้ รูกแ็ ตกต่างจากพวกเขาด้วยใช่ไหม” เขาเลือ ่ นสายตา มองบรรดาเพื่อนร่วมห้องบนสนามหญ้าก่อนจะได้ยินเสียงคุณครูดงั ขึน ้ อีก “ถ้าอย่างนัน ้ ครูกเ็ ป็นวาฬห้าสิบสองเฮิรซ์ เหมือนเธอสิ” เด็กหนุ่มก้มหน้านิ่ง เธอสังเกตได้ว่าศีรษะของเขาสั่นเล็กน้อย พร้อมกับเสียงพึมพำ�เบาๆ “ไม่หรอกครับ...” เธอชั่งใจอยู่ครู่ก่อนจะตัดสินใจยกมือขึ้นลูบศีรษะของเด็กหนุ่ม “ไม่มีใครในโลกนี้จะเหมือนกันได้ทุกคนเราแค่ต้องอยู่กับความแตกต่าง ให้ได้...ทีส ่ ำ�คัญคือตรงนีต ้ า่ งหากล่ะจ๊ะ” มือเรียวชีท ้ ห ี่ วั ใจของตนเองแล้วยิม ้ ให้อีกฝ่าย “โชคดีกับการเขียนเรียงความนะ” หญิงสาวในชุดฮิญาบสีดำ�สนิทเดินจากไปแล้ว เขาหันกลับมา ที่ ภ าพวาดวาฬห้ า สิ บ สองเฮิ ร์ ซ ในมื อ ของตนก่ อ นจะเก็ บ มั น ลงกระเป๋ า ทอดสายตามองเพื่อนร่วมชั้นที่กำ�ลังเล่นกีฬากันบนสนามฟุตบอลก่อนจะ ดึงสายตากลับมาที่สมุดภาษาไทยของตน ...แล้วเริ่มเขียนเรียงความเรื่องคุณค่าในตัวเอง

------------------------------------------------

“ผมชอบผูช้ ายครับ” เด็กหนุ่มลอบมองเสี้ยวหน้าของคนอายุมากกว่าอย่างกล้าๆ กลัวๆ ความผิดหวังเมื่อตอนที่ทุกคนหันหลังเดินจากเขาไปเมื่อรู้ความจริง ความเงียบของคุณครูกำ�ลังบีบอัดเขาให้ตัวเล็กลงเรื่อยๆ แล้วสุดท้าย... เขาก็จะกลายเป็นธาตุอากาศเหมือนที่เคยเป็นมาตลอด

34


วิชาสุดท้ายของวันกำ�ลังจะเริ่มขึ้นเมื่อหญิงสาวในชุดกระโปรง สี ด ำ�ยาวกรอมพื ้ น ก้ า วเข้ า มาในห้ อ ง หั ว หน้ า ห้ อ งบอกทำ�ความเคารพ แต่เธอยกมือปรามแล้วเริ่มบทเรียนของวันนี้อย่างรีบร้อน “ครูจะให้ทุกคนอ่านเรียงความที่ให้ไปเขียนมานะคะ เดี๋ยวเรา เริม ่ กันเลยเพราะเดีย ๋ วเวลาจะไม่ทน ั ” เธอวางหนังสือลงบนโต๊ะแล้วเงยหน้า มองไปรอบห้องพร้อมรอยยิ้มเหมือนทุกครั้ง “ใครจะเริ่มคนแรก” ทั้งห้องตกอยู่ในความเงียบงัน เด็กชาย ที ่ น ั ่ ง อยู ่ ห ลั ง ห้ อ งเม้ ม ปากแน่ น ในใจของเขาเต้ น แรงด้ ว ยความตื ่ น เต้ น เวลาผ่านไปนานพอสมควร เขาก็ได้ยินเสียงตัวเองดังขึ้นเบาๆ ท่ามกลาง ความเงียบ “ผมครับ” คุณครูสาวยังคงส่งยิ้มให้อย่างอบอุ่นเมื่อเขาก้าวมา ข้างหน้าห้องพร้อมกับสองมือที่กำ�ลังสั่นเทาขณะประคองสมุดเล่มบาง เธอส่งไมโครโฟนให้เขาแล้วถอยฉากออกไปยืนที่มุมห้อง ปล่อยให้เขาได้ กลายเป็นเป้าสายตาของคนทั้งห้องอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน “เรียงความเรือ ่ งคุณค่า...ในตัวเอง” เสียงของเขาสัน ่ อย่างรุนแรง เพียงแค่เริม ่ ประโยคแรก เด็กหนุม ่ สูดลมหายใจเข้าให้ลก ึ ทีส ่ ด ุ สายตาระคน ความเคลือบแคลงของเพื่อนร่วมห้องทำ�ให้เขาหายใจไม่ออก สุดท้ายเขาก็ เลือกที่จะก้มหน้าก้มตาอ่านสิ่งที่ตนจดบันทึกมาโดยไม่เงยหน้ามองใคร “เมื่อเทอมก่อนผมได้ยินข่าวลือเกี่ยวกับตัวผมเอง เรื่องที่ว่าผม ไปบอกรักผู้ชายคนหนึ่ง ทุกคนเริ่มสงสัยว่ามันเป็นเรื่องจริงรึเปล่า และ ผมไม่เคยปฏิเสธ...นั่นเพราะมันคือเรื่องจริงครับ” เสียงจอแจดังขึ้นภายใน ห้องทำ�ให้เขาต้องเงยหน้าขึ้นจากสมุดของตนเอง พร้อมกับเปล่งนํ้าเสียง แตกพร่าออกมา สะกดให้ทุกคนตกอยู่ในความเงียบอีกครั้ง “ผมชอบผู้ชายครับ” เด็กชายมองไปรอบห้อง นึกประหลาดใจที่ คราวนี้ไม่มีแววตาเคลือบแคลงจากคนในห้องอีกแล้ว...

35

“ผมเคยเกลียดตัวเอง...ถ้าเลือกได้ผมคงไม่อยากเป็นแบบนี้ ไม่อยาก เกิดมาเป็นใครก็ตามที่ถูกเหวี่ยงออกจากวงโคจรของอะไรก็ตาม ไม่อยาก เกิดมาเป็นคนทีถ ่ ก ู เรียกว่าพวกผิดเพศ ผมแค่อยากเป็นคนธรรมดาเหมือน ทุกๆ คน” เด็กชายทีม ่ ท ี น ่ี ง่ั อยูข่ า้ งหน้าเขาก้มหน้านิง่ ไม่มใี ครรูว้ า่ เจ้าตัวรูส ้ ก ึ ยังไง ...กำ�ลังก่นด่าหรือว่าขอโทษ “แต่ตอนนีผ ้ มกำ�ลังบอกทุกคนว่าผมชอบผูช ้ าย ผมไม่รส ู้ ก ึ เกลียด ตัวเองอีกต่อไปแล้ว” เขาหายใจเข้าให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ วางสมุดจด ข้อความในเรียงความลงแล้วเริ่มพูด...พูดจากใจของเขา “ผมภูมใิ จทีต ่ วั เองกล้ายอมรับในสิง่ ทีต ่ วั เองเป็น ผมดีใจทีค ่ รัง้ หนึง่ ผมกล้ า พอจะเดิ น เข้ า ไปหาผู ้ ช ายคนหนึ ่ ง ในฐานะของมนุ ษ ย์ ท ี ่ ต ้ อ งการ ความรัก...มองข้ามรูปลักษณ์ มองข้ามเพศของเขา และกล้าบอกรักคนคน หนึ่งในฐานะที่เขาเป็นคนที่ผมรักสุดหัวใจ ผมเพิ่งจะค้นพบว่านั่นคือเรื่องที่ ดีทส ่ี ด ุ ในชีวต ิ ของผมครับ” เสียงปรบมือดังขึน ้ จากเด็กหญิงทีน ่ ง่ั อยูข ่ า้ งหน้า สุด ทำ�ให้ทุกคนค่อยๆ ทำ�ตามเธอ และรู้อีกทีเสียงปรบมือก็ดังกระหึ่มไป ทั่วทั้งห้อง ทำ�ให้ในที่สุดเขาก็ยิ้ม และคราวนี้มันไม่ได้ขมปร่าจนกลํ้ากลืน ไม่ลง...แต่มันเปล่งประกายเจิดจ้าเสียจนคนมองต้องยิ้มตามออกมา ...วาฬห้าสิบสองเฮิร์ซตัวนั้นก็ยังคงเป็นวาฬห้าสิบสองเฮิร์ซ ไม่เปลี่ยนแปลง ...เพียงแค่ครั้งนี้มันเรียนรู้ที่จะแหวกว่ายไปพร้อมกับฝูงวาฬใน ท้องทะเลโดยไม่รู้สึกแปลกแยกอีกต่อไป


วารสารฟ้าอักษร ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 ได้รับการสนับสนุนจาก นางสาว นวียา ทิพยางกูร นางสาว สิทธิพร ระวังการ โรงพยาบาลบ่อทอง


OTH

- nes


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.