Faaksorn Journal

Page 1

FA-AKSORN JOURNAL

Dystopia

Thistopia

Year 14 Vol. 2

Dystopia x Thistopia.indd 1

Linguistics / Playlist / Things x Think / Interview Techno Scope / Art’s Side / WhySpread! / Short Story

Faculty of Arts 1 Silpakorn University

1/2/2561 0:23:47


Faculty of Arts, Silpakorn University

FA-AKSORN

D

Dystopia

ean’s letter

Dystopia หรือดิสโทเปีย เป็นคําที่ไม่คุ้นหู เราเท่ากับคําว่า Utopia หรือยูโทเปีย ที่ หมายถึง โลกในจินตนาการ เป็น ชื่อหนัง สือที่เซอร์โธมัส มอร์ เขียนขึ้นใน ค.ศ.1516 กล่าวถึงสังคมอันเป็นแบบแผน ชีวต ิ ในสังคมอันสวยงาม ไร้ความขัดแย้ง คนในสังคม มีความคิดไปในทิศทางเดียวกัน ใช้ชีวิตอย่างสงบสุข แต่ในความเป็นจริงแล้ว ช่วงเวลาที่เซอร์โธมัส มอร์ มีชีวิตอยู่คือ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงเกือบ กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ยุโรปในสมัยนั้น ไม่ได้ มี สังคมแบบยูโทเปียแต่กลับเต็มไปด้วยเรือ ่ งราวอันเลวร้าย วุน ่ วาย ผูค ้ นไม่ได้รบ ั ความยุตธิ รรม ขาดความเท่าเทียม ชาวบ้านมี ชีวิตอย่างยากลําบาก ด้ว ยสัง คมแบบนั้น จึงนํามาสูค ่ วามต้องการสังคมในอุดมคติ ซึง่ เราทุกคน ทราบว่า ไม่มท ี างเป็นจริงไปได้ และสังคมแบบทีเ่ คยเกิด ในยุคกระโน้นก็ยังคงเกิดขึ้นในปัจจุบัน

วารสารฟ้าอักษร ปีท่ี 14 ฉบับที่ 2 ต้องการ สะท้อนให้เห็นโลกในปัจจุบันที่ไม่มีทางไปถึงยูโทเปีย แต่อาจจะไปในทางตรงข้ามคือดิสโทเปีย (Dystopia) เสียมากกว่า เราเผชิญความดํามืดของสังคม วิกฤต ทางการเงิน สงครามที่แผ่ออกไปทุกภูมภ ิ าค ดูเหมือนว่า เราคงอยูใ่ นโลกอย่างไร้ความหวัง ทว่า...หากย้อนกลับมา

It’s a sad commentary on our age that we find Dystopias a lot easier to believe in than Utopias: Utopias we can only imagine; Dystopias we’ve already had. - Margaret Atwood

พิจารณาจากคําสอนของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดา แห่งพระพุทธศาสนา ทุกอย่างย่อมเป็นอนิจจัง มี ด ี ย่อมมีรา้ ย มีคนเลวย่อมมีคนดี เหมือนมีสขี าวก็ยอ ่ ม มีสีดํา และแน่นอนมีสีเทา ดังนั้น แม้โลกจะไปไม่ถึง ยูโ ทเปีย แต่กระนั้นก็คงไม่ไปถึงดิสโทเปียด้วยเช่นกัน เพราะคนในโลกคงไม่ยอมให้เหลวแหลกจนถึงจุดนั้น เราจึงมี Thistopia แบบที่เป็นจริงในโลกทุกวันนี้ เพราะชีวิตยังมีความหวัง ในนามคณะอักษรศาสตร์อยากจะขอชืน ่ ชม ความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาทีร่ ว่ มกันผลิตวารสาร ฟ้าอักษรฉบับนี้ขึ้นมา เพื่อให้ผู้คนทั้งหลายหันมามอง ตนเองและมองคนรอบข้าง นึกถึงโลก ประเทศ และ สังคมที่ตนอาศัยอยู่ เผื่อว่าจะร่วมกันทําให้เข้าไปใกล้ ยูโทเปียมากกว่าดิสโทเปีย และจะได้ไม่เป็นไปดังเช่น Quotation ที่ยกมา ..............

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ ( คณบดีคณะอักษรศาสตร์ )

2

Dystopia x Thistopia.indd 2

1/2/2561 0:23:54


N JOURNAL

E

ditor’s ตลอดปี 2017 ที่ผ่านมา เราสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ไม่วา่ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับโลก การเปลี่ยนแปลงระดับสังคมรอบตัว หรือ การเปลีย่ นแปลงของตัวเอง ซึง่ การเปลีย่ นแปลงเหล่านี้ ได้พาเรากลับมาตัง้ คําถาม กลับมามองจุดยืนของตัวเองว่าอยู่ตรงไหน เราเห็น ว่า สังคมเริ่มเดินทางไปสู่รูปแบบอนุรักษ์ นิยมอีกครั้ง เราเห็น การมาถึง ของประธานาธิ บ ดีส หรั ฐ อเมริกาคนปั จ จุ บั น ที่ส ร้ า งสารพั ด เรื่อ งราว ให้เราได้แต่แปลกใจ เราพบเหตุการณ์ Brexit เราพบเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ การเหยียดเพศ เชือ้ ชาติ สีผวิ ทีป ่ ะทุขน ้ึ มา เราเห็นผูค ้ นพยายามต่อสู้ แน่นอน... เราเห็น การต่อสู้ กับระบอบเผด็จการในไทยด้วย แต่ต้องยอมรับว่าท้ายที่สุดก็ล้มเหลว การต่อสูน ้ เ้ี ป็นดัง่ นํา้ ทีก่ ระเพือ ่ มเพราะหินทีโ่ ยนลงไป แต่ทา้ ยทีส่ ด ุ ก็กลับไปเงียบสงบ ดังเดิม และสุดท้าย เราเห็นว่าตัวเราเองค่อยๆ เฉยชา และ “ชิน” กับเรือ ่ งทีเ่ กิดขึน ้ ไปโดยปริยาย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ว่ามานี้ทําให้เรานึกถึงโลกดิสโทเปีย ด้วยเช่นกัน หากตามข่าวเมือ ่ ช่วงตัง้ แต่ตน ้ ปี 2017 หลายคนคงเห็นว่ากระแสดิสโทเปีย ได้กลับมาเป็นทีร่ จู้ กั และเฟือ ่ งฟูอกี ครัง้ นัน ่ อาจเป็นเพราะเรือ ่ งราวในโลกทีเ่ คยคิดว่า มีเพียงแต่ในจินตนาการกําลังพ้องพานกับโลกความจริง หนังสือเมือ ่ หลายสิบปีกอ ่ น กลับนําเสนอเหตุการณ์ได้แม่นยําดังตาเห็น ทําให้เรารูส ้ ก ึ ว่าการกลับมาของตัวบท แนวดิสโทเปียสามารถสะท้อนอะไรได้หลายอย่าง วารสารฟ้าอักษรฉบับนี้ จึงขอพาทุกคนไปทําความรูจ้ กั กับโลก Dystopia และลองนําไปเปรียบเทียบกับ Thistopia กันว่าสิ่งที่เราหวาดกลัวนั้นเป็นเรื่องที่ แค่คด ิ ไปเอง หรือจริงๆ แล้ว เรือ ่ งแต่งในหน้ากระดาษกําลังก่อร่างสร้างตัวกลายเป็น เรื่องจริงบนโลก และหากจะกล่าวกันอย่างตรงไปตรงมาแล้ว จุดประสงค์ของวารสารฉบับนี้ ไม่ได้ต้องการให้ทุกคนเปลี่ยนแปลงโลก หรือสิ้นหวังว่าโลกนี้ช่างโหดร้ายเกินไป แต่เพียงอยากกระตุกทุกความเคยชินของทุกคน กระตุกให้ทุกคนหันกลับมามอง สังเกต และตั้งคําถามกับตัวเองดูว่าวิถีชีวิตประจําวันเช่นนี้คือเรื่องปกติธรรมดา ทีเ่ ราควรคุน ้ ชินจริงหรือไม่ แน่นอนว่าทุกคนมีสท ิ ธิท ์ จ่ี ะเชือ ่ ในสิง่ ทีค ่ ด ิ แต่กอ ่ นทีจ่ ะเชือ ่ เราอยากให้ทก ุ คนตัง้ คําถามกับตัวเองบ่อยๆ การตัง้ คําถามจะทําให้เราไม่หลงทาง บนโลกทีข่ อ้ มูลข่าวสารล้นทะลัก และการตัง้ คําถามอาจพาเราเข้าไปใกล้โลกยูโทเปีย มากยิ่งขึ้น วารสารฉบับนีไ้ ม่ได้จด ั ทําขึน ้ เพือ ่ มุง่ ร้ายต่อใคร หากแต่อยากเป็นหนึง่ ใน ผูจ้ ด ุ ประกายคําถามเล็กๆ และชวนทุกคนมาตัง้ คําถามด้วยกัน เพือ ่ ขจัดนิสยั เคยชิน ที่เริ่มเกาะติดเราไม่ไปไหน

Thistopia

NO TE

Volume 14 / 2 Dystopia x Thistopia

มีนักเขียนชาวอเมริกันนาม Ursula K. Le Guin เคยกล่าวว่า “The only questions that really matter are the ones you ask yourself.” หลังจากอ่านวารสารเล่มนีจ้ บแล้ว ลองกลับมาตัง้ คําถามกับตัวเองกันดูนะคะ ว่าคิดเห็น อย่างไรกันบ้าง พลอยรุ้ง สิบพลาง บรรณาธิการวารสารฟ้าอักษร 3

Dystopia x Thistopia.indd 3

1/2/2561 0:23:54


C

ONTACT กองบรรณาธิการวารสารฟ้าอักษร ชั้น 1 อาคาร 36 ปี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม 73000 วารสารฟ้าอักษร

ONTRIBUTORS Executive Editor

Editor

Prasitchai Jirapasittinon

Ployrung Sibplang

Advisors Naowarat Patipatpakdee Weena Wutthichamnong

Editorial Staff Savaris Sririttipradit

Contributors

Art Director

Apirada Krongpianlert Arphanan Binsukaimee Charnchanan Pensowaphan Jaruwan Sudaduong Katharin Chankasem Kittipod Sahawiriyasakul Natthakan Jampasri Nattanan Ploypradab Nichapa Maneewan Panadda Aukahadsee Penpim Promngam Phitchayapat Wimonsate Roipim Poopakhun Roongthip Binead Saharat Suksuwan Supitcha Thamkanma

Niramon Kooha

Proof-Readers

Public Relation Officer

Bussakorn Taemeerassamee Natcha Thipbumrung Pinsuda Panmongkol Poramet Aiemsa-ard Tamonwan Supanukanon

Saowalak Nongnuew

Graphic Designers Cholticha Loyfa Parinda Wongcharoen Pawornrat Tiensirirerk Pensini Iamsam-ang Wannarat Rongwararoj

Photographer Chularak Sintasut

Secretary Prapassorn Charoenphrom

4

Dystopia x Thistopia.indd 4

1/2/2561 0:23:59


CONTENTS

7 What happened มีอะไรเกิดขึ้นบ้างในปี 2017

11 Playlist for

9ภาษากำ Linguistics หนดความคิด 12

Dystopia

Things x Think

ความเชื่อเกี่ยวกับโลกยูโทเปียในศาสนาต่างๆ

14

Interview

อาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง กับความหวังในวันที่โลกใกล้เป็นดิสโทเปีย

Whatever!

One day in Thistopia

25

People

หรือว่าความสัมพันธ์ของมนุษย์คือศัตรูของโลกดิสโทเปีย

Dystopia x 20 Thistopia 26

29 Why?

Techno Scope

ทำไมต้องกลัวเผด็จการ?

เมื่อ AI มีอิทธิพลเหนือความกลัว

28

โลกแบบไหนที่คุณต้องการ

33

31

Youtopia

Art’s Side

ที่ทางของศิลปะในวันที่โลกล่มสลาย

NEED YOU KNOW

ความเป็นส่วนตัวของเราหายไปไหน

34

35

Short Story Ape Age

WhySpread!

ลองถามตัวเองกันดูอีกครั้ง?

Dystopia x Thistopia.indd 5

15

5

1/2/2561 0:24:00


คนผูงนันบมิตำบมิสูงบมิพีบมิผอม ดูงามสมควรนัดกคนผูงนันเรียวแรงอยูชู คนแกคนหนุมเถิงเถาบมิรูถอยกำลงเลยแล คนชาวอุดรกุรุนันหาความกังวลบมิใดด้วยจ ทำใรใถนาคาขายวายลองทำมาหากินดังงนั้น เลยสักคาบอันนิงชาวอุตรกุรุนันเขาบหอน จรูรอนรูหนาวเลยแลมิมีใหฺญ่ขาวแลรินร้าน หานยุงแลงูเงียวเบียวของทังหลายเลยแล สารพสตวอันมีพิดดบหอนจรูทำรายแกเขา เลยทังลมแลมผนกบหอนจทำรายแกเข้า ทังแดดกบหอนจรู้ร้อนตัวเขาเลยเขาอยู แหงนันมิเดิอนวันคืนบหอนจรู้หลากสักคาบ นึงเลยแลชาวอุดรกุรุนันบหอนจรู้ร้อนเนีอ เดิอดใจด้วยถ้อยความสิงอันใดบหอนจมีสักคาบ – ไตรภูมิกถา, พระยาลิไทย 6

Dystopia x Thistopia.indd 6

1/2/2561 0:24:41


2017 เป็ น อี กปี ท ี ่ ม ี เรื่องราวเด่นๆ ไม่ด้อย ไปกว่า เหตุก ารณ์ท ี่เ คย เกิ ด ขึ ้ น ในปี ที่ ผ่ านมา เริ่ ม จากช่ ว งต้ น ปี ที่ มี ก า ร เ ปลี่ ย นแปลงข อ ง ผู ้ นํ า ประเทศยักษ์ ใหญ่ อย่ า ง สห ร ั ฐ อเ ม ริ ก า เหตุ การณ์ ท างการเมื อ ง และทหารในประเทศไทย รวมถึ ง การก่ อการร้ า ย หลังงานคอนเสิร์ตใหญ่ ในประเทศอังกฤษ หรือ การฉลองครบรอบตาม ช่ว งเวลาในชุ ด หนั ง สื อ ชือ่ ดังอย่าง แฮร์ร ่ี พอตเตอร์

20 17

what happened

01

02

20 มกราคม โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) เข้ารับตําแหน่ง ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

16 กุมภาพันธ์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้ม.44 เข้าตรวจค้นวัดธรรมกาย และบุกค้นเพื่อจับกุมพระธัมมชโย แต่ไม่ประสบความสําเร็จ

03

17 มีนาคม วิสามัญฆาตกรรม นายชัยภูมิ ป่าแส เยาวชนนักกิจกรรมชาวลาหู่ สาเหตุการตายยังเป็นปริศนา

04

มีอะไรเกิดขึ้นบ้างในปี 2017 โดย เพ็ญพิมพ์ พรหมงาม

Dystopia x Thistopia.indd 7

6 เมษายน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

7

1/2/2561 0:24:54


06

05

22 พฤษภาคม เกิดเหตุระเบิดพลีชพ ี หลังคอนเสิรต ์ ของ อาเรียนา แกรนเด(Ariana Grande) และทําให้เธอจัดคอนเสิรต ์ One Love Manchester เพือ่ ช่วยเหลือเหยือ ่ ที่ได้รับผลกระทบ

1 มิถุนายน โดนัลด์ ทรัมป์ประกาศให้สหรัฐอเมริกาถอนตัวจากข้อตกลงปารีส (The Paris Agreement)

08

07

25 กรกฎาคม การปะทะกันเรื่องการพัฒนา AI ของ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) และ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg)

09

11 สิงหาคม เกิดขบวนเหยียดสีผิวในเมืองชาร์ล็อตส์วิลล์โดยกลุ่มผู้ชุมนุม ชาตินิยมผิวขาว (Alt-Right)

10

1 กันยายน “19 ปีต่อมา” กับการรวมตัวของแฟนแฮร์รี่ พอตเตอร์

26 ตุลาคม วันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร

12

11

22 พฤศจิกายน นักเรียนเตรียมทหาร กับปรากฏการณ์ซ่อมจนเสียชีวิต

21 ธันวาคม Apple ออกมายอมรับว่าตัง้ ใจปรับให้ไอโฟนช้า เพือ ่ ยืดระยะการใช้งาน

8

Dystopia x Thistopia.indd 8

1/2/2561 0:25:11


LINGUISTICS วาทกรรมในวัยเด็กที่คุณถูกครอบงําโดยไม่รู้ตัว!

โดย เต้าหู้นมสด

คุณคิดว่าคําพูดของคนคนหนึง่ สามารถกําหนดความคิด ของใครอีกคนหนึง่ ได้หรือไม่ หลายคนอาจคิดว่าไม่มท ี างเป็นไปได้ แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้วสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจริง บ่อยครั้ง ที่ความคิด การใช้ชีวิต รวมถึงตัวตนของคนเราถูกกําหนดหรือ สร้างขึ้นจากคําพูดของใครคนหนึ่ง หากจะให้ ย กตั ว อย่ า งว่ า คํ า พู ด มี ผ ลต่ อ ความคิ ด การใช้ชีวิต และตัวตนของคนได้อย่างไร ขอยกตัวอย่างกรณี เมื่อหลายปีก่อน ที่มีการทดลองอย่างลับๆ เกี่ยวกับการศึกษา ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ โรงเรียนแห่งนี้แบ่ง นักเรียนที่อยู่ชั้นเดียวกันออกเป็นสองห้องเรียน โดยแบ่งจาก ผลการสอบประจําปีตอนปลายภาคการศึกษา ในการทดลองนี้ จะไม่มีการประกาศผลสอบให้นักเรียนสําหรับปีการศึกษาหน้า ทราบ มีเพียงครูใหญ่และนักจิตวิทยาเท่านั้นที่ทราบความจริง เด็ ก ที่ ส อบได้ ที่ ห นึ่ ง ถู ก จั ด ให้ อ ยู่ ห้ อ งเดี ย วกั น กั บ เด็ ก ที่สอบได้ที่สี่ ห้า แปด เก้า สิบสอง และสิบสาม ตามลําดับ ส่ ว นเด็ ก ที่ ส อบได้ ที่ ส องและสามถู ก จั ด ให้ อ ยู่ ห้ อ งเดี ย วกั น กั บ เด็กที่สอบได้ที่หก เจ็ด สิบ และสิบเอ็ด ตามลําดับ กล่าวได้ว่า ด้วยวิธก ี ารแบ่งเช่นนีท ้ าํ ให้เด็กๆ ทัง้ สองห้องมีความเท่าเทียมกัน ในด้านความสามารถ คุณครูผส ู้ อนเด็กๆ ในปีการศึกษาหน้าได้รบ ั การคัดเลือกอย่างพิถีพิถันเพื่อให้มีความสามารถทัดเทียมกัน แม้แต่อป ุ กรณ์การเรียนในห้องเรียนทัง้ สองก็เหมือนกัน ทัง้ สองห้อง มีทก ุ สิง่ ทุกอย่างเท่าเทียมกันหมด ยกเว้นสิง่ เดียวคือ ห้องเรียนหนึง่ ถูกเรียกว่า “ห้อง ก” ส่วนอีกห้องหนึ่งถูกเรียกว่า “ห้อง ข” ความจริงห้องเรียนทั้งสองมีนักเรียนที่มีความสามารถ ทัดเทียมกัน แต่ตามความรู้สึกของทุกคน นักเรียนห้อง ก เป็น เด็กฉลาด ส่วนนักเรียนห้อง ข นั้นไม่ค่อยฉลาดนัก ผู้ปกครอง บางคนของนักเรียนห้อง ก ทัง้ ประหลาดใจและพอใจทีล ่ ก ู ๆ ของ ตนสอบได้ดีมาก เลยตอบแทนด้วยการให้รางวัลและคําชมเชย ยกย่อง ในขณะที่ผู้ปกครองบางคนของนักเรียนห้อง ข ดุด่า ว่ากล่าวลูกของตนว่าไม่เอาไหน แม้แต่คุณครูห้อง ข ก็สอน นักเรียนห้อง ข ด้วยวิธีการที่แตกต่างจากนักเรียนห้อง ก คือ ไม่คาดหวังอะไรนักหนาจากนักเรียนห้อง ข ภาพลวงตานีถ ้ ก ู รักษา ไว้เป็นความลับตลอดปีการศึกษาจนกระทั่งสอบปลายภาค

ผลการสอบที่ปรากฏค่อนข้างน่าตกใจเลยทีเดียว นักเรียนห้อง ก สอบได้ดีกว่านักเรียนห้อง ข มาก ราวกับว่านักเรียนห้อง ก ในปีนี้เป็นนักเรียน ที่ ไ ด้ ค ะแนนสู ง ครึ่ ง แรกของชั้ น เรี ย นในการสอบประจํ า ปี ก ารศึ ก ษาที่ แ ล้ ว เขาได้กลายเป็นเด็กนักเรียนห้อง ก ไปจริงๆ ส่วนนักเรียนอีกกลุ่มหนึ่งนั้น แม้ว่าจะมีความสามารถทัดเทียมกับนักเรียนห้อง ก ในปีที่แล้ว บัดนี้ก็ได้ กลายเป็นนักเรียนห้อง ข ไปจริงๆ ตามคําพูดที่ตอกยํา้ ตลอดหนึ่งปีที่ผา่ นมา เห็นได้ชัดว่าคําพูดมีอิทธิพลต่อความคิด การใช้ชีวิต และตัวตนของคนเป็น อย่างยิ่ง และคําพูดที่มีผลหรือสามารถกําหนดความคิดของผู้อื่นได้นั้นก็คือ “วาทกรรม” นั่นเอง มิเชล ฟูโกต์ (Michael Foucault) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ได้ให้ ความหมาย “วาทกรรม” ไว้ว่า วาทกรรมไม่ได้เป็นเพียงแค่การเขียน หรือ การพูด แต่ยงั รวมถึงระบบและกระบวนการในการสร้างหรือการผลิตเอกลักษณ์ และการให้ความหมายกับสิ่งต่างๆ ในสังคมที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็น ความคิด ความรู้ ความจริง หรือแม้กระทั่งตัวตนของเราเอง นอกจากวาทกรรมจะทําหน้าทีด ่ งั กล่าวแล้ว ยังทําหน้าทีย ่ ด ึ ตรึงสิง่ ที่ สร้างขึ้นให้ดํารงอยู่และเป็นที่ยอมรับของสังคมต่อไป และยังทําหน้าที่ปิดกั้น ไม่ให้เอกลักษณ์หรือความหมายอื่นเกิดขึ้น หรือไม่ก็ทําให้เอกลักษณ์และ ความหมายของบางสิ่งที่เคยดํารงอยู่ในสังคมเลือนหายไป กล่าวได้วา่ “วาทกรรม” เป็นรูปแบบการใช้ภาษาทีส ่ ม ั พันธ์กบ ั อํานาจ และมี ผ ลทํ า ให้ ผู้ อ ยู่ ใ ต้ อํ า นาจของวาทกรรมเกิ ด ความเชื่ อ และปฏิ บั ติ ต าม แนวทางที่วาทกรรมกําหนด อิทธิพลของวาทกรรมที่มีต่อผู้อยู่ใต้อํานาจของ วาทกรรมนั้นจะสัมฤทธิผลเพียงใด ขึ้นอยู่กับความแยบยลของกระบวนการ ผลิตวาทกรรมและการสื่อสารวาทกรรมไปสู่ผู้คน หากวาทกรรมนั้นเกิ ด ผลสัมฤทธิส ์ งู ก็จะส่งผลให้ผต ู้ กอยูใ่ ต้อาํ นาจของวาทกรรม มองสิง่ ทีว่ าทกรรม สร้างขึ้นว่าเป็น “ความจริง” ทั้งนี้วาทกรรมจะสามารถแสดงบทบาทหน้าที่ ดังกล่าวได้โดยอาศัยช่องทางในการเข้าถึงผู้คนในสังคม หรือสถาบันต่างๆ ไม่วา่ จะเป็น สือ ่ มวลชน โฆษณา ศาสนา การเมือง การศึกษา หรือแม้แต่ครอบครัว วาทกรรมอาจฟังดูเป็นเรือ ่ งเข้าใจยากและไกลตัว แต่ในความเป็นจริง คุณอาจพบเจอกับวาทกรรมบ่อยเสียจนมองว่ามันเป็นเรื่องปกติ เพราะหาก ลองพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่าวาทกรรมปรากฏอยู่ในทุกสังคม ทุกชนชั้น และทุกช่วงเวลา นั่นหมายความว่าคุณอาจพบวาทกรรมมาตั้งแต่ เด็กๆ เลยก็ว่าได้ ฉะนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าวาทกรรมในวัยเด็กที่คุณอาจเคย พบเจอและถูกครอบงําโดยไม่รู้ตัวนั้นมีอะไรบ้าง

9

Dystopia x Thistopia.indd 9

1/2/2561 0:25:11


เริ่มกันที่วาทกรรมสุดคลาสสิกอย่าง เรียนสายวิทย์คณิตไปได้ไกล กว่าสายศิลป์ แน่นอนว่าสักครั้งหนึ่งในชีวิต โดยเฉพาะตอนที่คุณยังเป็น นักเรียนมัธยม คุณจะต้องได้ยินวาทกรรมนี้ ไม่ว่าจะจากครูแนะแนว พ่อแม่ ผู้ใหญ่คนอื่นๆ หรือแม้แต่เพื่อนๆ และเชื่อเถอะว่าคุณเองก็อาจจะคิดเช่นนี้ ทัง้ ทีห ่ ากลองทบทวนกันดูดๆ ี แล้วจะพบว่า คําพูดนีไ้ ม่ใช่เรือ ่ งจริงเลยด้วยซํา้ เพราะไม่วา่ จะเรียนสายวิทย์คณิตหรือสายศิลป์ ก็สามารถประสบความสําเร็จ ได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีความตั้งใจมากแค่ไหนต่างหาก สิง่ ทีน ่ า่ สนใจคือ เพราะอะไรผูใ้ หญ่ถงึ คิดว่าเรียนสายวิทย์คณิตแล้ว ไปได้ไกลกว่าสายศิลป์ ซึง่ คําตอบก็แน่นอนอยูแ ่ ล้วว่าผูใ้ หญ่เองก็เคยเป็นเด็ก มาก่อน และคงได้รับการปลูกฝังด้วยวาทกรรมนี้เช่นเดียวกัน จึงไม่ใช่เรื่อง แปลกเลยที่ความเชื่อนี้จะได้รับการส่งต่อและครอบงําสังคมมาโดยตลอด วาทกรรมเรี ย นสายวิ ท ย์ ค ณิ ต แล้ ว ไปได้ ไ กลกว่ า สายศิ ล ป์ นี้ ยั ง แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ค่ า นิ ย มของคนไทยที่ มั ก เชิ ด ชู อ าชี พ หรื อ สายงานที่ เกีย ่ วกับวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิง่ อาชีพหมอ เห็นได้ ชัดเจนจากความคิดของคนโดยทัว่ ไปของสังคมไทย ทีม ่ ก ั จะบอกว่าคนทีส ่ ามารถ สอบเข้าหมอได้หรือคนที่เป็นหมอคือคนเก่ง นั่นทําให้เด็กรุ่นใหม่พยายาม อย่างยิ่งเพื่อให้ได้เรียนหมอ มีโฆษณาอาหารเสริมบํารุงสมองยี่ห้อหนึ่งที่ สร้างวาทกรรม อยากเป็นหมอ ขึ้นมา นับว่าเป็นวาทกรรมลูกของวาทกรรม เรียนสายวิทย์คณิตแล้วไปได้ไกลกว่าสายศิลป์ที่แสดงให้เห็นว่า วาทกรรมนี้ ประสบความสําเร็จในการครอบงําความคิดของผู้คนมากแค่ไหน อีกหนึง่ วาทกรรมทีส ่ ะท้อนให้เห็นค่านิยมของคนไทยได้เป็นอย่างดี คือโตไปให้เป็นเจ้าคนนายคน วาทกรรมที่มักจะมาในรูปแบบของคําอวยพร ทีผ ่ เู้ ฒ่าผูแ ้ ก่มก ั จะยํา้ เตือนลูกหลานของตนอยูเ่ สมอ และแน่นอนว่าวากรรมนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงค่านิยมของคนไทยที่ชมชอบการเป็นข้าราชการได้อย่าง ดีเยี่ยม หลายคนอาจสงสั ย ว่ า เป็ น ข้ า ราชการเกี่ ย วอะไรกั บ การเป็ น เจ้าคนนายคนอย่าลืมว่าสังคมไทยสมัยทีผ ่ ค ู้ นยังไม่ได้รบ ั การศึกษาอย่างทัว่ ถึง ผู้ที่สอบข้าราชการได้นับเป็นเรื่องน่ายินดี ยิ่งไปกว่านั้นข้าราชการหรือในอีก ความหมายหนึ่งคือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ทําหน้าที่ดําเนินตามนโยบายของ รัฐ และมีอํานาจเหนือชาวบ้านทั่วไป เนื่องจากชาวบ้านต้องพึ่งพาอาศัย ทําตามกฎหมาย หรือแจ้งร้องเรียนผ่านข้าราชการเท่านั้น ชาวบ้านจึงมอง ว่าข้าราชการคือผู้มีอํานาจ เป็นเจ้าคนนายคน หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า คนไทยมองว่าการเป็นข้าราชการคือการได้เป็นเจ้าคนนายคนนั้นสังเกตได้ จากวาทกรรมอย่าง เป็นข้าราชการแล้วสบาย หรือ เป็นข้าราชการแล้วมัน ่ คง นั่นเอง

หากลองสังเกตดีๆ จะพบว่าวาทกรรมทัง้ หลายทีก ่ ล่าว มาข้างต้น ล้วนเป็นวาทกรรมทีแ ่ สดงให้เห็นค่านิยมของผูใ้ หญ่ใน สังคมไทยทัง้ สิน ้ อีกทัง้ ยังสะท้อนความคาดหวังหรือความต้องการ ของพวกเขาต่อเด็กรุ่นใหม่อีกด้วย นอกเหนือจากนี้ยังมีการใช้ วาทกรรมเพือ ่ รักษาอํานาจของคนรุน ่ ก่อนไว้อก ี ด้วย ยกตัวอย่างเช่น วาทกรรม เป็นเด็กเป็นเล็กห้ามเถียงผูใ้ หญ่ ซึง่ เห็นได้ชด ั ว่าวาทกรรม นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรักษาอํานาจของคนที่มีอายุมากกว่า เป็น วาทกรรมทีป ่ อ ้ งกันไม่ให้เด็กมีอาํ นาจทัดเทียมกับผูใ้ หญ่ โดยจํากัด สิทธิ์ทั้งในเรื่องการพูด การแสดงความคิดเห็น หรือการโต้แย้ง คําพูดของผู้ใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีวาทกรรมทีใ่ ช้ในการลงโทษผูท ้ ล่ี ะเมิดหรือ ไม่ปฏิบต ั ต ิ ามสิง่ ทีต ่ นยึดถือ ซึง่ สร้างขึน ้ เพือ ่ รักษาความชอบธรรม ของคนรุ่นก่อนหน้าดังที่กล่าวมาข้างต้นอย่างเด็กสมัยนี้ไม่รู้จัก กาลเทศะ ที่ผู้ใหญ่ทั้งหลายมักพูดอยู่เสมอในยามที่เด็กรุ่นใหม่ กระทําการหรือแสดงพฤติกรรมที่ดูเหมือนจะเป็นการต่อต้าน และเมื่อการต่อต้านนั้นเป็นไปอย่างชัดเจน เช่น ปฏิเสธการใช้ อํานาจของคนรุ่นก่อนที่ไม่ชอบธรรม ก็มักจะมีวาทกรรมที่โยน ความผิดให้กับเด็กรุ่นใหม่อย่าง เด็กสมัยนี้ไม่มีความอดทน เพื่อรักษาอํานาจและความชอบธรรมในการใช้อํานาจของตนไว้ นั่นเอง เห็นแล้วใช่ไหมว่าวาทกรรมนัน ้ อยูใ่ กล้ตวั มากกว่าทีค ่ ด ิ เพียงแต่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยเสียจนคุณอาจมองว่ามันเป็นเรื่อง ปกติ หรืออาจจะถูกครอบงําโดยไม่รู้ตัวเลยด้วยซํ้า ซึ่งหากยัง ไม่เชื่อก็ขอให้ลองพิจารณาดูวา่ ชีวิตในวัยเด็กของคุณ เคยได้ยิน และเชือ ่ ตามวาทกรรมเหล่านีห ้ รือไม่ อย่างไรก็ตาม แม้วา่ วาทกรรม อาจดูน่ากลัวในแง่ที่สามารถครอบงําความคิดของคุณได้ แต่ วาทกรรมก็เป็นเพียงคําพูด หากเรารู้จักไตร่ตรองและวิเคราะห์ ข้อเท็จจริงของมันอย่างลึกซึ้งวาทกรรมเหล่านี้ก็คงไม่สามารถ ทําอะไรคุณได้อย่างแน่นอน

รายการอ้างอิง อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2552). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์: จากวาทกรรมของอัตบุคคล ถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา. เชียงใหม่: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

10

Dystopia x Thistopia.indd 10

1/2/2561 0:25:12


P L A Y L I S T F O R

เชื่อว่าการฟังเพลงต้องเป็นหนึ่งในกิจกรรมยามว่างของเพื่อนๆ หลายคน สําหรับวารสาร ฉบับนี้ เรามีเพลงเพราะๆ ที่น่าเก็บไว้ เป็นเพลย์ลิสต์ในโลกดิสโทเปียให้ฟังกันค่ะ ไม่ว่าผู้อ่านจะเป็นสายหวาน หรือสายร็อกก็ฟงั ได้ ฟังเพลินๆ ฟังเอามันส์ จะฟังแบบไหนก็พาใจให้บนั เทิงได้แน่ๆ

ฟ้าอักษร

“Tender Mind” – Hariguem Zaboy (ฮารึกึ่ม ซาโบ๊ย) “Where I should be I should be found Leaving to be free Needing to be seen Dreaming to be keen” Tender Mind เป็นเพลงแนว Shoegaze (ชูเกซ) ซึ่งมีจุดเด่นคือเสียงเอฟเฟกต์กีตาร์ ท่วงทำนอง ที่ล่องลอยชวนฝันและเสียงร้องอันละมุน ที่จะทำให้ ผู ้ ฟ ั งรู ้ ส ึ กฟุ ้ ง หม่ น และล่ อ งลอยไปกั บ บทเพลง ราวกั บโลกนี ้ ไ ม่ มี อ ยู ่ จ ริ ง ซึ ่ ง เหมาะเป็ น อย่ า งยิ ่ ง สํ า หรั บ ผู้ ที่ ต้ อ งการพั ก จิ ต ใจจากโลกอั น โหดร้ า ย ของดิสโทเปีย เนื้อหาของเพลงนั้นก็ตามชื่อเพลง คื อ จิ ต ใจที่ อ่ อ นไหวซึ่ ง ไร้ จุ ด หมายว่ า ต้ อ งทํ า อะไร และอยากหลบหนีไปจากโลกใบนี้

“Y” จาก DCNXTR (De Connextor / เดอ คอนเน็กซ์เตอร์) วงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อซินธ์ (เครื่องสังเคราะห์เสียง) ให้เข้ากับโลก แห่งจินตนาการและสร้างสรรค์เสียง จากโลกอนาคต ฟังแล้วให้ความรู้สึก เหมือนกำลังใช้ชีวิตอยูอ ่ ก ี มิตห ิ นึง่ เพราะถึงแม้เพลงนีจ ้ ะไม่มเี นือ ้ เพลงแต่ เสียงดนตรีกข็ บ ั เคลื่อนร่างกายของเรา ให้สนุกตามได้อย่างไม่น่าเชื่อ

“อำนาจเจริญ” – BOMB AT TRACK “ความผิดของพวกมึงมันมีล้นหลาม แต่ว่าพวกกูทำอะไรไม่ได้ เพราะว่าพวกกูไม่ใช่ศาล ความผิดเหล่านี้ เป็นเพราะว่าพวกมึงแม่งไม่มีสันดาน พวกอันธพาลที่ใส่เครื่องแบบพวกมันก็คือพวกมึง”

Dystopia x Thistopia.indd 11

โดย Petite

ถ้าวันไหนคุณทนไม่ไหว อยากปลดปล่ อ ยอารมณ์ ใ ห้ เ ต็ ม ที ่ ก็ ข อเชิ ญ ชวนมาฟั ง เพลงกระแสใหม่ ที ่ วิจารณ์สังคมอย่างถึงพริกถึงขิง นั่นคือเพลง “อำนาจเจริญ” เพลงแนวแร็ปเมทัล ที่มีเนื้อหาสะท้อน สั ง คมอย่ า งตรงไปตรงมาด้ ว ยภาษาที ่ ค ่ อ นข้ า งรุ น แรงแต่ ต รงจุ ด และอยู ่ ห มั ด ฟั ง แล้ ว อาจทํ า ให้ หลายคนฉุกคิดได้ว่าเรากำลังถูกเอาเปรียบในหลายๆ เรื่องโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือเปล่า แต่ข้อควรระวังสำหรับ การฟังเพลงนี้คือ ถ้าอยากฟังอาจต้องแอบๆ กันสักหน่อย ถ้าฟังในที่สาธารณะขึ้นมาอาจจะถูกอุ้มหายไป อีกโลกแน่ๆ

D Y S T O P I A N 11

1/2/2561 0:25:38


Things x Think โดย รอยพิมพ์ ภูผาคุณ

ยูโทเปียในศาสนาต่างๆ

่ดีกว่าโลกในตอนนี้ “ ถ้าคุมีณโลกที คิดว่ามันจะเป็นยังไง

12

เชือ ่ ว่าเกิดมาสักครัง้ ในชีวต ิ ทุกคน คงเคยตั้งคําถามประมาณนีก ้ บ ั ตัวเอง ทําไม ต้องเกิดมาทํางาน ทําไมต้องเกิดมาเรียน แล้วถ้ามีโลกที่ดีกว่าล่ะ มันจะดีกว่าตอนนี้ หรือเปล่า แน่นอนว่ายุคนีไ้ ม่ใช่ยค ุ ทีเ่ พิง่ ฮิตกับ การตัง้ คําถามแบบนีเ้ ป็นครัง้ แรก แต่เพราะ คําถามนีไ้ ด้รบ ั การบันทึกในรูปแบบของศาสนา มาตั้งนานแล้ว

Dystopia x Thistopia.indd 12

วัลฮัลลา ดินแดนแห่งนักรบในศาสนาอาซาทรู ถ้าพูดถึงศาสนาอาซาทรูซง่ึ เป็นศาสนาเก่าแก่ ที่ ต ายไปนานแล้ ว อาจจะไม่ ค่ อยคุ ้ น หู ก ั น เท่ าไร แต่ถา้ พูดถึงชาวนอร์สหรือชาวไวกิง้ ทุกคนคงเคยได้ยน ิ กันมาบ้าง ชาวนอร์สเชือ ่ ว่า มีดน ิ แดนแห่งสรวงสวรรค์ ทีจ่ อมเทพโอดินจะพิจารณาให้คนทีต ่ ายอย่างมีเกียรติ ในสนามรบและคนที่ ทํ า หน้ า ที่ ได้ ดี ที่ สุ ดไปอยู่ ดินแดนนีเ้ ป็นเหมือนสนามเตรียมพร้อมของนักรบทีจ่ ะ เป็นกองกําลังสําคัญคอยร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กบ ั เทพเจ้าในวันสิน ้ โลกทีค่ วามชัว่ ร้ายทัง้ หลายจะมาทําลาย สรรพสิ่งในโลกให้สิ้นไป

ชี วิ ตในวั ล ฮั ล ลา คื อสวรรค์ ในอุ ด มคติ ของชาวนอร์ส แต่ละวันนักรบจะประลองฝีมอ ื กันด้วย ศาสตราวุธต่างๆ บาดแผลที่ได้รับระหว่างการต่อสู้ จะหายไปเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน คนที่ตายไประหว่าง การต่อสูก ้ จ็ ะฟืน ้ คืนชีพอีกครัง้ ยามคํา่ คืนนักรบทุกคน จะได้เข้าร่วมงานสังสรรค์ทท ่ี อ ้ งพระโรงของวัลฮัลลา ที่มีอาหารและสุราชั้นเลิศให้ทุกคนได้ดื่มกินกันไม่มี ทีส ่ ิ้นสุด อุดมคติแบบนีถ ้ ก ู สร้างขึน ้ มาเพือ ่ ให้ชาวไวกิง้ มี แ รงบั น ดาลใจในการแล่ นเรื อ ฝ่ า คลื่ น ลมและ ความโหดร้ายของทะเลทีไ่ ม่มใี ครกล้าผ่านไปได้ และเป็น นักรบที่แข็งแกร่งชนิดสู้หัวชนฝา ไม่กลัวตายแม้แต่ นิดเดียว

1/2/2561 0:25:42


แดนของเทพโอซิริส สวรรค์ของศาสนา อียิปต์โบราณ ศาสนาอียป ิ ต์เป็นศาสนาโบราณที่ตายไป นานแล้วและเป็นศาสนาทีพ ่ ด ู ถึงโลกหลังความตาย เป็นศาสนาแรก โดยจะมีแต่คนที่ทําแต่ความดี เท่านั ้น ที่จ ะได้ ไปอยู ่ ในแดนสวรรค์ท ี่ เ ป็นของ เทพโอซิรส ิ ซึง่ เป็นเทพผู้พพ ิ ากษาความผิดและเป็น เทพเจ้าแห่งความสงบ แต่สวรรค์ของอียป ิ ต์ไม่มี อะไรหวือหวามาก เป็นแค่ทงุ่ นาตัดผ่านไปมาด้วย ลําคลองทีม ่ น ี า้ํ เต็มฝัง่ มีตน ้ มะเดือ ่ ใหญ่รม ่ รืน่ ขึน ้ อยู่ เต็มพืน ้ ที่ ชาวสวรรค์ ไม่ได้อม ่ิ ทิพย์ ต้องทํามาหากิน เหมือนคนปกติ ไม่มสี ท ิ ธิพเิ ศษอะไร แต่ทกุ คนก็อยูก ่ น ั อย่างสงบสุข ไม่แย่งชิงและอยู่กันอย่างสันโดษ

สวรรค์ของชาวอียป ิ ต์อาจจะเป็นยูโทเปีย ทีใ่ กล้เคียงกับความคิดเรือ ่ งยูโทเปียในโลกของเรา มากทีส่ ด ุ ก็เป็นได้ สะท้อนว่าชาวอียป ิ ต์อาจไม่ตอ ้ งการ โลกยูโทเปียทีส ่ วยหรูในด้านของกายภาพมากนัก แต่ พวกเขาให้ ค วามสํ า คั ญ กั บ ความสงบสุ ข ทางจิ ต ใจมากกว่ า ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ ดิ น แดน แห่งสวรรค์อน ั สงบสุขทีม ่ เี ทพโอซิรส ิ เป็นผูป ้ กครอง

ทุ่งเอลิเซียม แหล่งพักพิงสุดท้ายของ ชาวกรีกโบราณ ศ า ส น า ก รี ก โ บ ร า ณ ไ ม่ มี คั ม ภี ร์ บั น ทึ ก เป็นชิน ้ เป็นอัน มีแค่บน ั ทึกกวีของโฮเมอร์ท่ี ถือเป็นหลักฐานสําคัญ โฮเมอร์พด ู ถึงทุง่ เอลิเซียม เอาไว้วา่ เป็ น พืน้ ทีข่ องเทพฮาเดส เทพแห่งนรกที่ อยูใ่ ต้โลกของเรา เป็นที่ที่จะมีแต่คนดีเท่านั้นที่จะ ได้อาศัยเมือ ่ ตายไป ทุง่ เอลิเซียมเป็นทุง่ ทีส ่ วยงาม และเงียบสงบและมีแต่ความสุข คนที่ได้อยู่จะมี เทพเจ้ า คอยช่ ว ยเหลือ ทุ กอย่ า ง มีแ ม่ นํ้ า เลธี (แม่นํ ้ าแห่งการให้อภัย)ไหลผ่านทุ่ งดอกไม้ทองคํา อากาศก็ ส ดชื่ น ไม่มีมลพิ ษ เหมื อ นในโลกของ เรา ไม่มีภาวะโลกร้อน และมีกลิ่นหอมฟุ้งอยู่ใน อากาศ และทีส ่ าํ คัญทีส ่ ด ุ คือ ทุกคนทีอ ่ าศัยในทุง่ นี้ จะไม่มเี รือ่ งทุกข์ใจ ไม่ตอ ้ งเครียดเรือ ่ งเรียน เรือ ่ งงาน ทุกคนจะคิดถึงแต่อดีตทีส ่ วยงามสมัยยังมีชวี ต ิ อยู่ เท่านั้น

สวรรค์ 8 ชั้นของศาสนาอิสลาม ศาสนาอิสลามเชือ่ ในวันสิ้นโลกและเชือ่ ว่า พระอัลเลาะห์ทรงสร้างสวรรค์ในวันศุกร์สําหรับ คนทีม ่ ศ ี รัทธาในพระองค์ทง้ั หมด 8 ชัน ้ และทุกชัน ้ มี น างฟ้ า ไว้ ค อยรั บ ใช้ อ ิ ห ม่ า มคนละ 72 นาง แต่ ล ะนางก็ ส วยยิ่ ง กว่ า นางงามคนไหนในโลก และยั ง มี ก ลิ ่ น หอมที่ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ เ ฉพาะตั ว บนสวรรค์กเ็ ต็มไปด้วยสิง่ ทีน ่ า่ สนใจ เช่น มีนา้ํ ทิพย์ ทีด ่ ม ่ื แล้วจะไม่กระหายอีก ลําธารก็ไม่ได้เป็นเพียง แค่นา้ํ เปล่าธรรมดา แต่เป็นเหล้าองุน ่ ก้อนหินก็เป็น แก้ว เป็นอัญมณี มีนกทีร่ อ ้ งเพลงไพเราะ ไม่บน ิ หนี พร้อมยอมให้จับกินอีกด้วย

กฤตยุค ยูโทเปียของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู กฤตยุ ค หรื อ สั ต ยยุ ค ถื อ เป็ น ยุ ค ทอง ตามความเชื่ อ ของศาสนาพราหมณ์ - ฮิ นดู เป็นยุคทีค ่ นได้ใกล้ชดิ กับเทพเจ้ามากทีส่ ด ุ โลกจะได้รบ ั การปกครอง ด้ ว ยพระพรหมเพี ยงองค์ เ ดี ย ว คนทีอ่ ยูด ่ ว้ ยกันต่างก็เป็นคนดี ไม่มค ี นชัว่ ใครอยากได้ อะไรก็แค่คิด แล้วจะได้สิ่งที่ตัวเองต้องการทันที ในยุคนีไ้ ม่ตอ ้ งทําการค้าขาย ซึง่ คล้ายอุตรกุรท ุ วีป ของพระพุทธศาสนา ผูค ้ นไม่รจู้ ก ั ความเศร้าเสียใจ ไม่มีโจรหรืออาชญากรรม ทุกคนฝักใฝ่ในธรรม อย่างแรงกล้า คนทีเ่ กิดในยุคนีไ้ ด้ชอื่ ว่าเป็น “สัตยบุรษ ุ ” ทั้งหมด ไม่มีใครเป็นอันธพาลแม้แต่คนเดียว

จะเห็นได้วา่ ถึงแม้ชาติพน ั ธุจ์ ะแตกต่างกัน รวมถึงมีความคิดและการใช้ชวี ต ิ ทีแ ่ ตกต่างกันไป แต่สง่ ิ ทีท ่ กุ ความเชือ่ มีรว่ มกันคือโลกทีม ่ แี ต่ความสงบสุข ทุ ก คนเป็ น คนดี แ ละได้ ใ กล้ ช ิ ด พระเจ้ า ของตน ตลอดไป รวมทั้งยังกล่าวถึงความสวยงามของ สถานทีใ่ นฝันทีม ่ แ ี ต่ความสะดวกสบาย ทัง้ หมดนี้ ล้ ว นเป็ น โลกที่ ม นุ ษ ย์ เ ฝ้ า รอและยั ง ไม่ เ กิ ด ขึ ้น แสดงว่าลึกๆ แล้วในใจของมนุษย์ทุกคนต่างก็ ปรารถนาถึงชีวิตที่ดีกว่า ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า ยังมีโลกใหม่ทด ี่ ก ี ว่านี้ หรือแท้จริงแล้วเป็นเพราะว่า โลกของเรามันโหดร้ายเกินกว่าจะอยู่ได้กันแน่

อุตรกุรุทวีป ดินแดนในพระไตรปิฎก ในศาสนาพุทธมีการกล่าวถึงโลกในอุดมคติ ไว้ได้น่าสนใจไม่ต่างกับศาสนาอื่น โลกนั้ นก็คือ อุตรกุรุทวีป ซึ่งเป็นดินแดนที่เชื่อว่ามีแต่ผู้มีบุญ เท่านั ้ นจะได้อยู่อาศัย ทุกคนในอุตรกุรุทวีปล้วน เป็นคนดี ไม่มค ี วามเห็นแก่ตวั มีอายุขย ั ทีแ ่ น่นอน สภาพแวดล้อมสวยงาม สะอาดสะอ้าน ทําให้สข ุ ภาพ ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย และสิง่ ทีท ่ าํ ให้ดน ิ แดนนี้ เป็ น โลกในอุ ด มคติ ข องชาวพุ ท ธก็ เ นื่ อ งจากมี ต้นกัลปพฤกษ์ศกั ดิส์ ท ิ ธิท ์ คี่ อยอํานวยความสะดวกให้กบ ั ผู้คนทุกอย่าง หากอยากได้สิ่งใดก็แค่อธิษฐาน และยังสามารถดลบันดาลไม่ให้สต ั ว์รา้ ยมารบกวน ผู้คน นอกจากนี้ ผู้คนในดินแดนอุตรกุรุทวีปก็ไม่ ต้องทํางานหาเลี้ยงชีพใดๆ อีกด้วย

13

Dystopia x Thistopia.indd 13

1/2/2561 0:25:44


W

hatever! One Day in Thistopia

โดย สุพิชชา ธรรมกันมา

05.30 น. “ขอให้เป็นวันที่ดี” เสียงนา_ิกาแจ้งเตือนบ่งบอกว่าเช้าวันใหม่อันแสน ‘สดใส’ ได้เริ่มต้นขึ้น เป็นเวลาที่ใครหลายคนต้องตื่นนอน ใช่ คุณต้องตื่นแล้ว... หลังจากที่ตื่น คุณลุกขึ้น รีบไปอาบน้ำแต่งตัว เพื่อเตรียมไป ทําหน้าที่ของประชาชนอันเป็นที่รักของประเทศ คุณเลือก สวมเสื้อคอปกแขนยาวสีชมพูอ่อนกับกระโปรงทรงเอสีดํา จากนั้นก็สวมรองเท้าส้นสูง คุณไม่ชอบสีชมพูเลยสักนิด... แต่ตั้งแต่จำความได้คุณก็มีแต่ข้าวของเครื่องใช้สีชมพู คุณไม่ชอบสีชมพูเลยสักนิด...

คุณได้รับการบอกล่าวว่าเกษตรกรเป็นหน้าที่ ทีส่ ำคัญต่อประเทศมากทีส่ ด ุ เป็น ‘กระดูกสันหลัง ของชาติ’ คุณมองไปที่ภาพเหล่านั้น ก่อนจะ ละสายตาไปทางอื่น คุณขยับได้เพียงดวงตา เพราะร่ า งกายของคุ ณ ถู ก เบี ย ดอั ด ด้ ว ย มวลชนรอบด้าน และท่ามกลางตึกสูงใหญ่ คุ ณ ก็ อ ่ า นข้ อ ความเดิ ม ๆ ที ่ พ บทุ ก วั น ใน เช้าก่อนทำงาน เป็นป้ายขนาดใหญ่ตง้ั ตระหง่าน อยู่บนตึกสูงแห่งหนึ่ง มีข้อความเขียนไว้ว่า

08.00 น. “ขณะนี้เวลา แปดนา_ิกา...” เสี ย งเตื อ นคุ ้ น หู ด ั ง ออกมาจากลํ า โพง บอกเวลาที ่ เ ราทุ ก คนต้ อ งเตรี ย มยื น ตรง เพื่อทำความเคารพประเทศของเราเป็นเวลา 2 นาทีต่อจากนี้

“ที่นี่ ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว”

07.00 น. หลังจากที่จัดการตัวเองเสร็จสรรพ คุณเดินไปขึ้นรถโดยสารพร้อมกับ คนอืน ่ ๆ ผู้คนหลายสิบคนยืนเบียดเสียด กันเต็มทุกอณู พ ื ้ น ที ่ ทิ ว ทั ศ น์ รอข้าง เต็มไปด้วยตึกสีเทาทึบให้ร่มเงา น้ำสีดำไหล ผ่านคูคลอง ถังขยะสามสีที่ล้นไปด้วย สิ่งปฏิกูล บนรถโดยสารมีโฆษณา เป็นภาพทุ่งกว้างใหญ่สีเหลือง มีเกษตกร กำลังยืนยิ้มอย่างมีความสุขภายใต้ริ้ว รอยที่อยู่บนใบหน้า ผิวไหม้เกรียมแดด และร่างซูบผอมไร้เนื้อหนัง

08.03 น. หัวหน้าผู้สวมชุดสูทสีดำเดินเข้ามาเพื่อ พูดคุยและอัพเดตเรื่องราวในบริษัท ทุกคน นั่งฟังอย่างตั้งใจ สายตาจดจ้องไปที่หัวหน้า ตาแทบไม่กะพริบ “เราทำงานเพื่อประเทศชาติ” เมื่อหัวหน้าพูดจบทุกคนจึงเริ่มปฏิบัติหน้าที่ หันใบหน้าเข้าสู่จอสี่เหลี่ยมที่ตั้งอยู่ตรงหน้า ของแต่ละคน มือทั้งสองระรัวลงบนแป้น ที่มีตัวอักษรอยู่เรียงราย ทั้งห้องเงียบงัน มีเพียงเสียงนิ้วกระทบแป้นพิมพ์เท่านั้น คุณเองก็นั่งลงทำงาน....

12.00 น. เที่ยงตรงเป็นเวลาพักกลางวัน ต่างคน ต่ า งรี บ พรวดพราดออกจากโต๊ ะ ที่ ป ฏิ บั ติ หน้าที่อ ย่ า งเร่ ง รี บ คุ ณ มี เ วลาพั ก กิ น ข้ า ว เพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น และคุณก็ “เลือก” นั่งกินข้าวที่เดิม เพราะใกล้ที่ทำงานที่สุด

18.00 น.

19.30

เลิกงาน

บนรถโดยสาร เป็น อีก ครั้ ง ที่ค ุณเห็น ป้า ย ขนาดใหญ่ที่เขียนข้อความ

คุณไหลไปตามมวลชน ไปรวมกันตาม ห้างร้านต่างๆ เดินเที่ยวช้อปปิ้งตามอิสระ ยิ่งในคืนวันศุกร์ ผู้คนยิ่งครึกครื้นเป็นพิเศษ คุณทานข้าว แล้วรีบกลับเพื่อไปสะสางงาน อื่นต่อ

“ที่นี่ ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว” แต่คุณก็มองเลยผ่านไป

20.30 น. คุณเปิดโทรทัศน์ค้ า งไว้ ใ ห้ ห้ อ งไม่ เ งี ย บเหงา เสียงเพลงเดิมๆ ลอยมาตามสาย เป็นเพลง ที่ให้คำสัญญาซ้ำไปซ้ำมา ก่อนจะเริ่มรายการ พิ เ ศษคื น วั น สุ ข กั บ หน้ า ตาของผู้ บ ริ ห าร ประเทศที่คุณเห็นจนชินตา คุณลุงที่มีท่าทาง ตลก ใครๆ ก็กล่าวเช่นนั้น

22.00 น. หลังจบรายการพิเศษ รายการโทรทัศน์ เข้าสู่ช่วงปกติ คุณเปิดดูข่าว ข่าวฆาตกรรม ข่าวฆ่าข่มขืน ข่าวคนแก่ไม่มีบ้าน ข่าวสุนัขฉลาด ข่าวต้นไม้ออกผลรูปร่างหน้าตาประหลาด ข่าวดาราแยกทางกัน ข่าวดาราแต่งงานกัน ประเดประดังเข้ามาไม่ขาดสาย

“ผมเลือกเข้ามาทำ ผมเสียสละ เพื่อความมั่นคงของประเทศ”

คุณดูข่าวพวกนี้พร้อมก่นด่าพวกโจร เห็นใจ ยายแก่ ประณามพวกชาวบ้านที่งมงาย และสุขสมกับการได้รู้เรื่องดาราเป็นพิเศษ

14

Dystopia x Thistopia.indd 14

23.00 น. คุณสวดมนต์ ขอให้พรุ่งนี้เจอแต่สิ่งดีๆ ………………..

05.30 น. “ขอให้เป็นวันที่ดี” เสียงนา_ิกาแจ้งเตือน+บ่งบอกว่าเช้าวันใหม่ อันแสน ‘สดใส’ ได้เริ่มต้นขึ้น เป็นเวลาที่ ใครหลายคนต้องตื่นนอน ใช่ คุณต้องตื่นแล้ว...

1/2/2561 0:26:30


อาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง กับความหวังในวันที่โลกใกล้เป็นดิสโทเปีย โดย พิชญาน์พัทธ์ วิมลเศรษฐ และ ปนัดดา อรรคฮาตสี ภาพโดย จุฬาลักษณ์ สินทะสุทธิ์

INTERVIEWS คุณคิดว่าโลกในปัจจุบันดําเนินไปตามอย่างที่คุณต้องการ หรือไม่ อะไรคือสิ่งที่ทุกคนถวิลหา อะไรคือสิ่งที่ทุก คนไม่อยาก เผชิญหน้า วันนีเ้ ราจะพาทุกคนมาเปิดมุมมองเกีย่ วกับ Dystopia /ดิส-โท-เปีย/ โดยอาจารย์ประจําภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นคอลัมนิสต์ประจําหนังสือพิมพ์ มติชนสุดสัปดาห์ ในคอลัมน์ผี พราหมณ์ พุทธ ซึ่งแน่นอนว่า จะเป็นใครไปไม่ ไ ด้ น อกจาก “อาจารย์ ค มกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ” ที่เรารู้จักนั่นเอง ในเที่ ย งวันนั้นพวกเราได้เดินทางไปยังภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร แม้จะรูส ้ ก ึ ประหม่าไม่นอ้ ย แต่ด้วยความเป็นกันเองของอาจารย์ ก็ ทํ า ให้ การสั ม ภาษณ์ ในครั้งนี้เป็นไปอย่างราบรื่น ตลอดการสนทนามันทําให้เรารู้สึก ชื่นชมในความคิดอันแยบคายของอาจารย์คมกฤช และทําให้ เราต้องหันมามองโลกที่เราอยู่ในมุมมองที่ไม่อาจคาดคิด

ถ้าให้อาจารย์อธิบายโลกดิสโทเปียทางปรัชญา ในความคิดของอาจารย์เป็นยังไง คือดิสโทเปียมันก็เป็นคําคําหนึ่งที่เป็นคําตรงข้ามกับ ยูโทเปียอย่างนี้ใช่ไหมครับ แต่จริงๆ แล้วก็ไม่ต้องพูดถึงมิติ ทางปรัชญาก็ได้ คล้ายๆ ว่า เดิมเนีย่ ไม่วา่ จะเป็นสังคมตะวันตกหรือ ตะวันออก มันมีความเชือ่ เรือ ่ งความสมบูรณ์ของโลกที่ปราศจาก ความทุกข์ เช่น ในคริสต์ศาสนาพูดถึงอาณาจักรของพระเจ้า วันที่พระเจ้าทรงเสด็จมาพิพากษา ถ้าเป็น พระพุทธศาสนาก็ พูดถึงโลกของพระศรีอริยเมตไตรยอะไรประมาณนี้ ตรงนี้เรา เรียกว่ายูโทเปีย ซึ่งถ้าเป็นความหมายในเชิงที่นอกเหนือจาก ศาสนา ในเชิงสังคมการเมือง มันก็จะหมายถึงความเชื่อที่คิดว่า วันหนึง่ มันจะมีความสงบสุขของสังคมประมาณนีอ ้ ะครับ อันนีอ ้ ะ ยูโทเปีย ผมพูดว่าดิสโทเปียเนี่ยก็คือตรงกันข้าม ตรงกันข้าม ในความหมายที่ว่า มันเป็นโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ แล้วก็ มีแต่ความเสื่อมสลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องเผชิญ เพราะวันนี้ มันก็ต้องเกิดดิสโทเปีย ก็ต้องเกิดความพินาศ ความไร้ระเบียบ ทุกอย่างก็จะพังพินาศหมด อันนีก ้ ค ็ อ ื ความหมายของดิสโทเปีย ก็คด ิ ว่ามันเป็นทัง้ เรือ ่ งสังคมการเมืองด้วย แล้วก็เป็นเรือ ่ งศาสนา มาก่อนด้วย

15

Dystopia x Thistopia.indd 15

1/2/2561 0:26:57


มันเหมือนกับอยู่ในโลกดิสโทเปีย แต่ผมก็เชื่อว่ามันไม่เป็นอย่างนี้ตลอดไปหรอกฮะ วันหนึ่งมันก็อาจจะกลับมาปกติ แล้วมันก็จะกลับไปเสื่อมโทรมอีก อาจจะดีขึ้นมาอีก

คิดว่าสังคมทีเ่ ป็นอยูท ่ ก ุ วันนี้ มีความเป็นดิสโทเปีย บ้างไหม ผมคิดว่าถ้าเราใช้ดสิ โทเปียในความหมายความเสือ่ มโทรม ลงเนี่ย มันก็เป็นเรื่องปกติ ที่ทุกๆ สังคมก็ต้องมีทั้งดีขึ้น แล้วก็ เลวลง แล้วแต่ช่วงเวลาของสังคมนั้นๆ ผมคิดว่าทั้งดิสโทเปีย และยูโทเปียมันเป็นจินตนาการ ถ้าถามส่วนตัวผม ผมก็ไม่เชื่อ ว่าโลกจะเป็นอย่างนี้ตลอดไป มันจะไม่เป็นดิสโทเปียตลอด และมันก็จะไม่เป็นยูโทเปียชัว่ นิรน ั ดร์ มันก็จะขึน ้ ๆ ลงๆ เพียงแต่ ผมว่าสังคมการเมืองในปัจจุบันมันมีลักษณะที่ค่อนไปทางขวา ก็คอ ื มันเริม ่ มีความรีเทิรน ์ ไปสูใ่ นช่วงอนุรก ั ษ์นย ิ ม ซึง่ อันนีม ้ น ั คือ กระแสที่เปลี่ยนไปในโลกทั้งตะวันตกและตะวันออก อาจเป็นเพราะว่าโลกได้ผา่ นระบบทุนนิยมมาได้ระยะหนึง่ แล้ว ทํ า ให้ ค นคิ ด ว่ ามั น ไม่ ไ ด้ ม ี อ ะไรพั ฒ นาให้ ส ั ง คมสงบสุ ข ขึ ้ น มันก็เริ่มเรียกหาความเป็นอนุรกั ษนิยมมากขึน ้ แต่ถา้ ย้อนกลับมา ที่สั ง คมไทย ผมคิ ด ว่ าเราอยู่ ใ นโลกของดิ ส โทเปี ยมากขึ้น ด้วยเหตุผลทีว่ า่ สังคมไทยมันเหมือนกับโดนดอง มันอยูใ่ นสภาวะ ที่ขยับเขยื้อนไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ไม่วา่ จะเป็น เรือ ่ งการเมือง ไม่วา่ จะเป็นเรือ ่ งการศึกษา หรือเรือ่ งอืน ่ ๆ ทัว่ ๆ ไป ความรู้สึกที่เหมือนอยู่ในโลกของดิสโทเปียมันถึงรุนแรง ผมว่า หลายคนคงคิดว่ามันคงจะจบสิ้นแน่นอนเลย สังคมไทยเนี่ย เพราะว่ามันไปไหนไม่ ถู ก แต่อย่างที่ผมบอกตั้งแต่ แ รก โอเค มันเหมือนกับอยูใ่ นโลกดิสโทเปีย แต่ผมก็เชือ ่ ว่ามันไม่เป็นอย่างนี้ ตลอดไปหรอกฮะ วันหนึ่งมันก็อาจจะกลับมาปกติ แล้วมันก็จะ กลับไปเสื่อมโทรมอีก อาจจะดีขึ้นมาอีกก็วา่ ไปครับ

แล้วถ้าเกิดว่าโลกกลายเป็นดิสโทเปียจริงๆ อาจารย์ คิดว่าความสัมพันธ์ของคนจะเป็นอย่างไรบ้ าง คือผมคิดว่าประการทีห ่ นึง่ มันก็จะเกิดคนขึน ้ หลายกลุม ่ นะครับ แล้ วมันก็จะมีกลุ่มทีม ่ ันมีความเหลือ่ มลํา้ ทางอํานาจสูง ซึ่งต่อให้ไม่ดิสโทเปียมันก็เป็นอยู่แล้วใช่ไหมครับ แต่ว่าในโลก ดิสโทเปียนีค ้ นจะมีความแตกต่างกันสูงโดยเฉพาะเรือ ่ งของอํานาจ เพราะฉะนัน ้ คนก็จะสัมพันธ์ในเชิงอํานาจ เช่น ผู้มอี าํ นาจก็จะกระทํา กับผู้มีอํานาจน้อยกว่าอยู่เสมอ อันนี้มน ั เป็นความสัมพันธ์หลักๆ ในโลกดิสโทเปีย และนอกจากนี้ผมคิดว่าในดิสโทเปี ยมันไม่ เป็นมิตรกันอะ คุณมีความเห็นต่างกัน คุณก็จะโดนผลักไปเป็น คนอื่นน่ะครับ อันนี้มันเป็นปรากฏการณ์ประจํ า แล้วพอเป็น คนอื่นปุ๊บ มันก็จะมีดีกรีที่จากคนเห็นต่างก็จะกลายเป็นศัตรู หรือเป็นคนทีเ่ ราควรจะหวาดระแวง แล้วเราก็พร้อมที่จะใช้กําลัง หรือกระทําความรุนแรงต่อบุคคลทีเ่ ป็นคนอืน ่ ได้ อันนีค ้ อื ความสัมพันธ์ ที่ปรากฏชัดๆ ในโลกดิสโทเปีย

16

Dystopia x Thistopia.indd 16

1/2/2561 0:27:26


แล้วในมุมมองของอาจารย์ อะไรทีท ่ าํ ให้เกิดนิยาย หรือหนังที่เป็นดิสโทเปีย ความหวาดกลัวของมนุษย์ทเ่ี ป็นจุดร่วมกันคืออะไร แล้วทําให้เกิ ดภาพดิสโทเปียไปในทางเดียวกัน หรือเปล่า ผมคิดว่าอย่างนี้ครับ วัฒนธรรมมนุษย์ที่มีการสร้าง มายาวนานเนีย ่ มันพยายามที่จะสถาปนาสิง่ ทีเ่ รียกว่าเป็นระเบียบ หรือกฎเกณฑ์ขึ้นในสังคม โดยคิดว่าสิ่งเหล่านี้มันทําให้คนเรา อยู่ร่วมกันได้ โดยไม่ฆา่ กัน แต่วันหนึ่งเมื่อมันมีอํานาจที่ฉ้อฉล ไม่ว่าจะเป็นอํานาจของอะไรก็ตามแต่เนี่ย มันก็ทําให้ระเบียบ มันเป็นไปเพื่อประโยชน์ของอํานาจนั้น เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่า มนุษย์สว่ นใหญ่กลัวความไร้ระเบียบในสังคม อยูๆ ่ คุณจะลุกขึน ้ มา ฆ่า กัน เมื่อ ไหร่ ก็ ไ ด้ อยูๆ ่ คุณ จะละเมิด กฎหมายยัง ไงก็ ไ ด้ เมื่อกฎหมายตีความให้อยู่ในฝ่ายคุณเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันภายใต้ความหวาดกลัวความไร้ระเบียบ ลึกๆ มันก็คอ ื การหวาดกลัวอํานาจทีฉ ่ อ ้ ฉลอะ แล้วอํานาจทีฉ ่ อ ้ ฉล ก็บน ั ดาลความไร้ระเบียบอีกทีหนึง่ ผมคิดว่านีค ่ อ ื ความหวาดกลัว ที่ทุกสังคมมีร่วมกัน เพราะว่า เมื่อใดก็ตามที่มันไร้ระเบียบ สุดท้ายมนุษย์ก็จะควบคุมอะไรไม่ได้ สังคมก็จะพังพินาศ อันนี้ คือความหวาดกลัวร่วมกันของสังคมมนุษย์นะครับ แล้วผมคิดว่าถ้าพูดถึงในเรือ ่ งปัจเจกบุคคล ผมเข้าใจว่า มนุษย์ที่เกิดมาในโลกสมัยใหม่มันมีอิสรภาพบางอย่างที่เชื่อว่า มันติดตัวเรามา เพราะฉะนัน ้ เมือ ่ วันหนึง่ ทีอ ่ ส ิ รภาพมันถูกลิดรอน เราก็จะกลัวว่าจะต้องเสีย มันไป คนก็จะยอมแลกมัน มาเพื่อ อิ ส รภาพนั ้ น มั น จะเรี ย กว่ า ความกลั ว หรื อ เปล่ า ก็ ไ ม่ รู ้ น ะ แต่สุดท้ายแล้วมันก็จะมีบางคนที่ไม่กลัว แล้วลุกขึ้นมาทําอะไร บางอย่างขึ้น แต่สุดท้ายนั่นแหละครับ ผมว่าเรื่องแรกสุดก็คือ เรือ ่ งของระเบียบ มนุษย์กลัวความไร้ระเบียบ ซึง่ ระเบียบสถาปนา ความมั่นคง ความปลอดภัยขึ้นในสังคม

ผมคิดว่ า งี้ครับ ในฟังก์ชันของหนัง หรือวรรณกรรม ทีม ่ น ั เป็นดิสโทเปียเนีย ่ ผมคิดว่าในแง่หนึง่ มันเป็นการสะท้อนต่อ ปรากฏการณ์ทเ่ี กิดขึน ้ ในสังคมจริงๆ เช่ นอย่างทีเ่ ราได้ดเู หตุการณ์ ทีอ ่ ยูใ่ นโลก อย่างเช่นทีม ่ ขี า่ วกราดยิงทีส่ หรัฐอเมริกา ซึง่ มีบอ่ ยมาก ช่วงนี้ หรือเรือ ่ งทีม ่ ก ี ารจับกุม ขังคนทีม ่ ค ี วามคิดต่างจํานวนมาก ทั้งในช่วงนีและก่ ้ อนหน้านี้ ก็เข้าใจได้ ไม่ยากว่าปรากฏการณ์นี้ ก็เป็นการกระตุ้นคนที่อยู่ในแวดวงวรรณกรรมหรือภาพยนตร์ สร้างออกมาจากความรู้สึกของการเจอเหตุการณ์แบบนั้น และนอกจากนี้ผมคิดว่าความรูส ้ กึ ของดิสโทเปียลึกๆ แล้ว มันก็มาจากศาสนาครับ เพราะศาสนามักจะพูดถึงช่วงเวลาที่มี ความเสื่อมถอยของมนุษย์ เช่น ถ้าเราเรียนเรื่องพุทธพยากรณ์ ก็จะรูว้ ่า 5,000 ปี พระพุทธศาสนาจะเสื่อม แต่มันก็ไม่ใช่แค่ พระพุทธศาสนาเสื่อม แต่โลกนี้มันก็เสื่อมด้วย แล้วตอนนี้มันก็ กึ่งหนึ่งแล้ว คือ 2,500 ปี อะครับ ชาวคริสต์ก็มีอะไรแบบนี้ มุสลิมก็มอ ี ะไรแบบนี้ มันก็ทาํ ให้เรารูส ้ กึ ถึงดิสโทเปียมันฝังอยูใ่ น วัฒนธรรม แล้วมันก็ออกมาสู่รูปวรรณกรรม สู่รูปของภาพยนตร์ ได้อีกทางหนึ่ง

ในนิยายหลายเรื่องมักจะใช้ภาษาเป็นเครื่องมือ ในการกําหนดความคิดของผู้คน อาจารย์คิดว่า ในความเป็ น จริ ง ภาษา ที่ เ ราใช้ ม ั น กํ า หนด ความคิดเราได้จริงไหม คือผมคิดว่าถ้าพูดแบบปรัชญา นักปรัชญารุน ่ หลังที่ บอกว่าเราคิดในกรอบภาษา เราไม่เคยคิดอะไรที่มันไม่เป็นไป ในกรอบภาษาใช่ไหมครับ เพราะภาษาเป็นตรรกวิทยาของเรา เวลาบอกว่าฉันกินข้าว แล้วก็ฉันมานั่งเรียงลําดับอย่างนี้เหมือน เลขคณิตศาสตร์ มนุษย์เนี่ยคิดในกรอบภาษา มนุษย์ไม่คด ิ ออกจาก กรอบภาษา เพราะฉะนั้นภาษามันจึงมีอํานาจต่อระบบความคิด ของมนุษย์ ใช่ไหมครับ ในทางกลับกันอะนะ มันก็เลยมีอํานาจ กับระบบความคิดของมนุษย์ และในแง่นี้เนี่ยผมเข้าใจว่าเวลา เราไปกําหนดความหมายใหม่ทางภาษา หรือเราไปแย่งชิง การนิยามความหมายทางภาษาเนีย ่ มันถึงมีอาํ นาจต่อกัน ต่อผูค ้ น ผมว่ามันก็ใช่นะครับ ตัวอย่างเช่น สมมติวา่ ผมไปเปลีย่ น ไปบิดความเข้าใจ อะไรบางอย่างต่ อคํ า บางคําอย่างนี้ เช่น เอ่อ...เช่นอะไรดีล่ะ เช่น ผมนิยามการทําผิดบางเรื่องว่ามันเป็นความจําเป็นอย่างนี้ แล้วผมก็แพร่ความจําเป็นอันนี้ออกไปในสังคม ปรากฏว่ามีคน กลุ่มหนึ่งหรือจํานวนมากเลยแหละที่คิดคล้อยตามได้ว่าเรื่องนี้ คือความจําเป็น เพราะงั้นนักปกครองหรือทรราชหรืออะไร ก็ตามแต่ พอเข้ามามีอํานาจปุ๊บ สิ่งที่ต้องจัดการคือเรื่องภาษา เช่น ที่ฉันกําลังทํ า สิ่งนี้กําลังเรียกว่าความสงบเรียบร้อย ที่ฉัน กํ า ลั ง ทํ า สิ ่ ง นี ้ เ รี ย กว่ า การปฏิ ร ู ป คื อ ใช้ ภ าษาเป็ น อํ า นาจ ในการสร้างความหมาย ทีเ่ ราก็ใช้...เราก็เรียนเรือ ่ งวาทกรรมใช่ไหมครับ มันก็ เป็นเรื่องของการแย่งชิงอํานาจความหมาย เพียงแต่ว่าการให้ ความหมายอั นนี้ ในโลกดิ ส โทเปี ย มัน มาทางเดียว คือมันจะมี ขั้วอํานาจ ผู้มีอํานาจเนี่ยบังคับเราให้ใช้ความหมายอันนี้ แต่ใน โลกที่มันควรจะเป็นเนี่ย การนิยามความหมายของคําหรือภาษา เนี่ย มันต้องเท่ากันกับทุกกลุ่ม เช่น กลุ่มหนึ่งบอกความหมาย อันนี้มันหมายถึงอันนี้ ปฏิรูปหมายถึงอันนี้ อีกกลุ่มก็อาจจะ แย้งว่าปฏิรูปมันไม่ได้หมายถึงอันนี้ แต่ทุกวันนี้มันไม่ใช่ในโลก ดิสโทเปีย มันถึงมีอาํ นาจมาก เพราะว่าภาษามันไหลจากบนลงล่าง

17

Dystopia x Thistopia.indd 17

1/2/2561 0:27:45


คือเวลาคนพูดแนวคิดเรื่องยูโทเปียน่ะครับ ถ้าเรา วิเคราะห์ ในเชิงสั งคมศาสตร์ มันก็คล้ายๆ กับเป็นความคิด สังคมมนุษย์นะครับ คือศาสนาเนี่ยมันมีลักษณะอย่างหนึ่งก็คือ มันมุ่งเน้นสิ่งทีเ่ รียกว่า “Other world” มันก็คือโลกอื่น โดยเชื่อว่า โลกที่เราอยู่นี้มันแย่ เช่น มันมีความทุกข์ มันมีความตาย มันมี สงคราม มันมีความรุนแรงเพราะงั้นมันต้องมี Other world อะไรก็ได้นะครับ ในโลกที่มันปราศจากสิ่งเหล่านี้ ผมคิดว่าใน ทางหนึ่งคนเขาวิเคราะห์ว่าศาสนาสร้างแนวคิดยู โทเปีย ขึ้นมา เพื่อให้มน ั เป็น Other world ให้คนมันหวัง ให้คนมันฝันนะครับ ว่าไอ้สภาพสังคมที่มันเป็นอยู่เนี่ยมันจะต้องดีขึ้นในที่สุด แต่เพียงแต่ว่าศาสนาจะต่าง คือจริงๆ นักการเมืองหรือ คนที่คิดในเชิง สังคมเนี่ยเขาก็คิดเรื่องยูโ ทเปียนะฮะ เขาก็มี จินตภาพของยูโทเปียนะ สมมติ...ไม่รู้นะว่าเราจะเรียกว่ายูโทเปีย ได้ไหม อย่างเช่นมาร์กซ์เนีย่ เขาอาจจะคิดว่าไอ้โลกที่สุดท้ายแล้ว ระบบนายทุนมันพังลงอ่ะ แล้วชนชั้นกรรมาชีพสามารถปฏิวัติ ได้สําเร็จ มันก็อาจจะเป็นยูโทเปียในแบบมาร์กซ์ใช่ไหมล่ะ เพียงแต่ว่าไอ้ยูโทเปียแบบนั้นมันจะต่างจากศาสนานิดนึง ตรงที่ ศาสนาเชื่อว่ายูโทเปียจะเกิ ดขึ้น โดยพระศาสดา พระเจ้าหรือ ผู ้ ม ี บ ุ ญ เนี ่ ย ผมก็ ค ิ ด ว่ า อั น นี ้ ต ่ า ง แต่ ถ ้ า เรามองยู โ ทเปี ย ใน เชิงสังคม มันก็เป็นความคิดฝันแบบหนึง่ นะครับ มันมาจากสภาพ สังคมที่ถูกประเมินว่ามันแย่ เพียงแต่ในทางสังคมอาจจะเป็น ยูโทเปียทีส ่ ร้างโดยมนุษย์ โดยคนในสังคมไม่ใช่ศาสดาหรือพระเจ้า

แล้วคิดว่าบทบาทของตัวอาจารย์เองในโลกดิสโทเปีย จะทําหน้าที่อะไร ก็เน่ า ตายไงฮะ ผมคิดว่าใน...คือถ้าในแง่ ห นึ่ง ก็จ ะมี หลายท่านนําเสนอว่าถ้าเราอยู่ในโลกดิสโทเปียจริงก็ยอมมันซะ ก็ทํามาหากิ นไป แล้วก็ดูแ ลลูกเมียไปอะไรอย่างนี้ ใ ช่ ไ หม ผมคิดว่าในแง่หนึ่งก็มีคนที่บอกอย่างนั้นจริงๆ อะนะ แล้วก็เชือ ่ อย่างนั้นจริงๆ แต่ผมคิดว่า...คือผมเนี่ย หลายครั้งที่พยายาม จะไปมีส่วนร่วมในการที่อยากให้ส ังคมดี ขึ้น ใช่ไหมครับ ไม่วา่ จะไปร่วมกิจกรรมกับพวกอาจารย์ที่อื่น ด้วยความหวังว่าสังคม มันจะดีขึ้น แต่วา่ อีกทางหนึ่งที่ผมคิดว่าผมทําได้ คือผมไม่แน่ใจ นะครับว่าสมมติถา้ เรามองว่าสังคมไทยเป็นดิสโทเปียมันจะดีขึ้น เมื่อไหร่ เพราะฉะนั้นในสิ่งที่ผมทําในเชิงกิ จกรรมทางสังคม การเมืองมันก็เรื่องนึง แต่ อก ี สิง่ หนึ่งนะ สําหรับผมซึ่งเป็น คนไม่ได้กล้าหาญ อะไรมากเนี่ย ผมคิดว่าในฐานะอาจารย์ ผมก็จะคุยกับนักศึกษา แล้วก็ลองเสนอความคิดให้เขาแล้ว ผมคิดว่าอันนี้เป็นบทบาท ที่ผมทําได้โดยตรงในระยะยาวนะครับ คุยกับเขา นําเสนอว่า สังคมนี้มันมีความคิดอย่างอื่น สั ง คมนี้มันมีวิธีที่เราจะมองโลก อีกแบบนึงนะครับ ซึ่งมันก็เป็นบทบาทของอาจารย์ด้วย แล้วก็ จะทําอย่างนี้ไปเรื่อยๆ อีกทางหนึ่ง ก็อาจจะเป็นเรื่องของงานเขียนที่ผมทํา ผมคิดว่างานเขียนของผมส่วนหนึ่ง แม้ว่าจะเขียนเรื่องศาสนา หรือวัฒนธรรมเนี่ย มัน ก็น่ าจะแทรกความคิด ที่ จะทําให้เรา ตั้งคําถามกับโลกที่เราอยู่ได้ หรือวัฒนธรรมสังคมที่เราเป็นได้ อันนี้กน ็ า่ จะเป็นสิ่งทีผ ่ มทําได้ แล้วนอกนั้นก็เน่าตายไงฮะ ก็ไม่มี อะไร แต่อย่างทีผ ่ มบอก ผมไม่เชื่อว่าดิสโทเปียจะมีอยู่ตลอดไป แล้วก็ไม่เชื่อว่ามียูโทเปียด้วย แต่โลกมันดีขึ้นได้แล้วก็เลวลงได้ เพียงแต่เราต้องหวังว่าโลกมันอาจจะดีขึ้น มันไม่มีวันที่มันจะเน่า ไปตลอดกาลนะฮะ ผมเชื่ออย่างนั้น

แล้วถ้าเกิดว่าอาจารย์ตอ ้ งอยูใ่ นโลกดิสโทเปียจริงๆ อาจารย์คิด ว่ าต้องทําอย่ างไรถึงจะมีความสุ ข ในโลกนั้ น สองคําตอบครับ หนึ่งก็คืออย่างที่บอกไป ก็คือไม่ตอ ้ ง สนใจมันแล้วก็ทาํ งานหาเลีย ้ งชีพไป แล้วก็คณ ุ ก็อยู่ในระบบที่คุณ ไต่เต้าไปสูอ ่ าํ นาจในระดับที่คุณอยู่สบาย อันนั้นคือทางหนึ่งที่จะ มี ค วามสุข ไม่ รู้ จ ะมี ค วามสุ ข จริง หรือเปล่า นะครั บ ในโลก ดิสโทเปีย ซึง่ ก็มีคนทีท ่ าํ ให้เห็นเยอะแยะนะครับ ไม่ต้องสนใจว่า สังคมมันจะเป็นยังไง ก็อยู่ๆ ไป ทํามาหากินไปน่ะครับ กับอีกแบบนึงก็คอื ต้องไม่ยอม แต่มันไม่ได้เป็นความสุข ในทันทีทนั ใดแน่นอนถ้าเลือกทางนีน ้ ะครับ ก็คือหนึ่ง ก็ต้องเห็นว่า มันดิสโทเปียยังไง สอง มันมีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงใน สั งคมกันยั งไงนะครับ แต่ม ั นอาจจะเป็นความสุขในบั น ้ ปลาย หรือมันอาจจะเป็นความสุขในระยะยาว หรือมันอาจจะเป็นแค่ความสุข ในคติธรรม ซึ่งมันจะเป็นคนละแบบกับแบบแรก อันนี้สองทาง ต้องเลือกถ้าอยู่ในดิสโทเปีย

สุดท้ายแล้วอาจารย์คด ิ ว่าโลกดิสโทเปียมีขอ ้ ดีไหม คือ ผมคิดว่าถ้าเรามองเห็นว่าสังคมมันเป็นดิสโทเปีย หรือเราไปจินตนาการว่าสังคมมันเป็นดิสโทเปียเนีย ่ แล้วเราไม่ได้ เป็นแบบที่หนึ่ง คือคิดแค่ว่าในเมื่อมันวุ่นวายแล้ว กูก็อย่าไป สนใจเลย กูก็อยู่ๆ ไป ทํามาหากินเลี้ยงลูกเลี้ยงเมีย อันนั้นเนี่ย ผมคิดว่ามันไม่ใช่ขอ้ ดีของการอยู่ในดิสโทเปียใช่ไหมครับ แต่ถ้า เห็นว่า เออ สั งคมตอนนี้ จินตนาการว่าอยู่ในโลกดิสโทเปีย เต็มไปด้วยอํานาจการกดขี่ เต็มไปด้วยความฉ้อฉล แต่ถา้ เราไม่เชื่อ ว่าดิสโทเปียจะดํารงอยู่ตลอดไปนะครับ แล้วเราลุกขึ้นมาเพื่อ จะทําอะไรเพื่อจะเปลี่ยนดิสโทเปีย แล้วมันก็เข้าใกล้ความเป็น ปกติ หรือถ้าฝันไปกว่านั้นก็คือเข้าใกล้ยูโทเปียเนี่ย ผมคิดว่า อันนัน ้ คือข้อดีของดิสโทเปีย คือต้องตระหนักว่ามันเป็นสิ่งที่จริง ที่เกิดขึ้นในสังคม สอง ก็คือมั นเปลี่ยนได้ ถ้าเราเชื่อและเรามี พลังนะครับ และผมคิดว่าอันนั้นอาจจะเป็นสิ่งดี คือถ้าเราฝันว่า สังคมเรามันดีงามอะ ตอนนี้แล้วมันจะเปลี่ยนอะไรไม่ได้เลยฮะ

ผมคิดว่าความรู้สึกของดิสโทเปีย ลึกๆ แล้วมันก็มาจากศาสนาครับ เพราะศาสนามักจะพูดถึงช่วงเวลา ที่มีความเสื่อมถอยของมนุษย์

ในแต่ละศาสนาที่มียูโทเปียอย่างที่อาจารย์พูด ก่อนหน้านี้ อาจารย์คด ิ ว่าเขาสร้างขึ้นมาเพือ ่ อะไร

18

Dystopia x Thistopia.indd 18

1/2/2561 0:27:46


19

Dystopia x Thistopia.indd 19

1/2/2561 0:28:13


DYSTOPIA X THISTOPIA โดย FA-AKSORN TEAM

20

Dystopia x Thistopia.indd 20

1/2/2561 0:31:06


DYS A TO PI

ในช่วงที่ผ่านมานี้หลายคนอาจจะคุ้นหูกับคำว่า “ดิสโทเปีย” (Dystopia) กันมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าด้วยเรื่องราวทางการเมืองในระยะหลังมานี้ดูใกล้เคียงกับเรื่องราวใน นวนิยายหรือภาพยนตร์แนวดิสโทเปียจนหลายๆ คนอดไม่ได้ที่จะหยิบยกคำคำนี้มาพูดถึง แล้วดิสโทเปียคืออะไร และมีความเป็นมาอย่างไร

เมื่อย้อนกลับไปดูตามรากศัพท์แล้ว Dystopia นั้นมาจากภาษากรีก คำว่า Dys ( δυσ-) มีความหมายว่า เลวร้าย และ Topia นั้นก็มีที่มาจากคำว่า Topos (τόπος) ซึ่งแปลว่า สถานที่ เมื่อรวมกันแล้วจึงหมายถึง “สถานที่ที่เลวร้าย” คำคำนี้ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นคำปฏิปักษ์กับคำว่า Utopia โดยยูโทเปียมีการเล่นคำพ้องเสียงกับคำว่า Eutopia ที่มาจากรากศัพท์ Eu (εὖ-) ในภาษากรีก แปลว่า ดี รวมกับ topia เกิดเป็นความหมายว่า “สถานที่ที่ดี” (คำพ้องเสียงในอีกความหมายหนึ่งก็คือ οὐτόπος แปลว่า ดินแดน ที่ไม่มีอยู่จริง) จากมุมของวรรณกรรมหรือภาพยนตร์ คำว่า “ดิสโทเปีย” นั้นนับได้ว่าเป็นประเภทหนึ่งของนวนิยาย Sci-Fi เนื่องจากส่วนใหญ่จะกล่าวถึงโลกในอนาคตที่ห่างไกล ออกไป เน้นเรื่องเทคโนโลยีที่เจริญมากยิ่งขึ้นและมีบทบาทสำคัญ สาเหตุที่วรรณกรรมแนวดิสโทเปียเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเพราะในสมัยที่วรรณกรรมแนวดิสโทเปียเริ่มเป็นที่ รู้จักและมีการเขียนกันอย่างล้นหลามมากนั้นเป็นช่วงที่ตรงกับยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมพอดี นักเขียนหลายคนจึงพยากรณ์ว่าในอนาคตเทคโนโลยีจะมีส่วนสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ และอาจถึงขั้นกลับมาควบคุม หรือทำร้ายมนุษย์ได้เลยทีเดียว ซึ่งหลายคนมองว่าวรรณกรรมดิสโทเปียโด่งดังได้จากความหวาดกลัวต่อเทคโนโลยี แต่จริงๆ แล้ววรรณกรรม ดิสโทเปียยังนำเสนอสังคมในรูปแบบอื่นๆ ด้วย ทั้งธรรมชาติของมนุษย์ และระบอบการปกครองที่ไม่เป็นธรรม เมื่อย้อนกลับไปถึงวรรณกรรมดิสโทเปียเล่มแรก อาจยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดมากนัก แต่หากอ้างอิงตามวิกิพีเดียแล้ว Gulliver’s Travels (1726) ของนักเขียน ชาวไอริชนาม โจนาธาน สวิฟต์ (Jonathan Swift) นั้น นับเป็นวรรณกรรมดิสโทเปียเล่มแรกที่โลกรู้จักกัน เป็นเรื่องราวการเดินทางของกัลลิเวอร์ที่ได้ไปยังเมืองต่างๆ ซึ่งใน เรื่องนั้นต้องการจะวิพากษ์วิจารณ์ธรรมชาติของมนุษย์ วรรณกรรมเรื่องนี้นอกจากเป็นดิสโทเปียแล้วยังนับเป็นงานเสียดสีสังคมที่โด่งดังมากเลยทีเดียว นอกจากนวนิยายเรื่องดังกล่าวแล้ว หากนับเรื่องที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง แน่นอนว่าต้องเอ่ยถึง Brave New World (1932) ของ อัลดัส ฮักซลีย์ (Aldous Huxley) ที่กล่าวถึงการสร้างอารยธรรมใหม่ของมนุษย์ โดยมีการแบ่งชนชั้นวรรณะกัน นอกจากนี้ยังมี 1984 (1949) ของ จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) ที่หลาย คนคุ ้ น เคยกั น ดี หรื อ จะเป็ น Fahrenheit 451 (1953) ของ เรย์ แบรดบิ ว รี่ (Ray Bradbury) ที่ ก ล่ า วถึ ง สั ง คมที่ ห นั ง สื อ เป็ น สิ่ ง ต้ อ งห้ า ม และล่ า สุ ด กั บ เรื่ อ ง The Handmaid’s Tale (1985) ของ มาร์กาเร็ต แอทวูด (Margaret Atwood) ที่กล่าวถึงโลกดิสโทเปียของผู้หญิงที่โดนกดขี่ ซึ่งได้นำไปสร้างเป็นซีรีส์ทางช่อง Hulu แล้ว หากกล่าวถึงภาพรวมของวรรณกรรมดิสโทเปียนั้น ส่วนใหญ่จะมีจุดร่วมกันได้แก่ ระบอบการปกครองแบบรัฐเผด็จการ สังคมที่ยอมอยู่ภายใต้การปกครองจากการ โฆษณาชวนเชื่อ หรือความหวาดกลัวต่อโลกภายนอกที่อาจทำให้อารยธรรมของมนุษย์ล่มสลาย การเข้ามาของเทคโนโลยีที่ถูกนำไปใช้เพื่อควบคุมประชาชน ซึ่งปกติแล้วผู้คนใน วรรณกรรมดิสโทเปียจะมองเห็นว่าสังคมทีเ่ ขาอยูน ่ น ั้ เป็นสังคมทีด ่ ี เป็นโลกยูโทเปีย แต่เราในฐานะคนอ่านนัน ้ อาจจะเห็นว่าสังคมในวรรณกรรมดิสโทเปียนัน ้ เลวร้าย แม้แต่นวนิยาย เรื่อง Utopia (1516) ของ โทมัส มอร์ (Thomas More) เองนั้นก็มีหลายคนที่มองว่าเป็นการนำเสนอภาพดิสโทเปียแทนที่จะเป็นยูโทเปียตามชื่อเรื่อง สิ่งเหล่านี้ก็สะท้อนให้เราเห็นว่า เมื่อเทียบกับโลกปัจจุบัน เราในฐานะคนที่อยู่ในสังคมอาจจะมองไม่เห็นว่าตัวเองนั้นถูกครอบงำ กดขี่ หรือถูกควบคุมอย่างไร หลายคน อาจมองว่าสังคมที่เป็นอยู่ตอนนี้ดีอยู่แล้ว แต่หากเราลองถอยห่างออกมาหนึ่งก้าวแล้วมองกลับเข้าไป เราอาจจะค้นพบว่าแท้จริงแล้วเราเองก็ไม่ต่างอะไรกับตัวละครใน โลกดิสโทเปียเลยแม้แต่น้อย วารสารฟ้าอักษรฉบับนี้จึงอยากเชิญชวนทุกคนมาอ่านสังคมกันใหม่ เปรียบเทียบ Dystopia กับ Thistopia ว่าแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร ดิสโทเปียเป็นเพียงแค่โลกใน จินตนาการหรือไม่ หรือจริงๆ แล้วก็คือโลกที่เราอาศัยอยู่นี่เอง

21

Dystopia x Thistopia.indd 21

1/2/2561 0:31:57


THISTOPIA “

หากเราดึงเอาลักษณะที่เป็นสิ่งสำคัญในโลกดิสโทเปีย ถอดออกมาเป็นส่วนๆ แล้วนำเอาเหตุการณ์ในปัจจุบันไป เปรียบเทียบ บางครั้งเราก็เห็นว่าโลกในปัจจุบันก็อาจจะ เคยเป็น ยังเป็น หรือกำลังจะเป็นโลกดิสโทเปียเข้าไปทุกที

ดินแดนเผด็จการ จุดร่วมอย่างหนึ่งที่เด่นชัดที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องการนำเสนอภาพลักษณ์ของ ‘รัฐเผด็จการ’ อย่างเช่นใน 1984 ของ จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) กล่าว ถึงประเทศ Oceania ที่มีการปกครองแบบระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ มี Party เป็นก ลุ่มผู้ปกครองที่มีอำนาจสูงสุด คอยควบคุมทั้งเรื่องการเมืองและชีวิตของประชาชน เป็นผู้กำหนดทุกกิจกรรมและข้อมูลที่จะส่งต่อให้ประชาชนรับรู้ หากใครเป็นผู้เห็นต่างก็ จะถูกจับในข้อหาอาชญากรรมทางความคิด (thoughtcrimes) หรือในเรื่อง The Handmaid’s Tale ของ มาร์กาเร็ต แอทวูด (Margaret Atwood) นั้นก็เป็นรัฐเผด็จการเช่นกัน โดยมีการบังคับให้ผู้คนใช้ชีวิตตามหน้าที่ ทีต ่ นได้รบ ั หากใครทีค ่ ด ิ ต่างก็จะได้รบ ั บทลงโทษเป็นการแขวนคอ แม้กระทัง่ คนทีเ่ ป็นคน รักร่วมเพศ เป็นนักวิชาการ เป็นนักบุญ ต่างก็เป็นสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับและได้รับการ ลงโทษให้ถึงแก่ชีวิต

ในโลกของเรานี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า เคยมี และยังคงมีประเทศที่เป็นเผด็จการ แม้ว่าบางประเทศจะไม่ได้ใช้วิธีการเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ แต่บางการกระทำก็ ทำให้เห็นการใช้อำนาจในการควบคุมประชาชน ยกตัวอย่างเหตุการณ์ในอาร์เจนติน่า เมื่อปี ค.ศ. 1966 นั่นก็คือเหตุการณ์ La Noche de los Bastones Largos เมื่อรัฐบาลเผด็จการนำโดยนายพล ฆวน การ์โลส อนกาเนีย การ์บาโย (Juan Carlos Onganía Carballo) โค่นอำนาจรัฐบาลที่มาจาก การเลือกตั้ง แล้วเริ่มจับตัวนักศึกษาและอาจารย์ ในมหาวิทยาลัย Buenos Aires มาทำร้ายร่างกายหรือจับขังคุก ทำให้เกิดนักวิชาการหลายคนต้องหลบหนี ออกนอกประเทศ ในประเทศเกาหลีเหนือที่เรารู้จักกันดีว่าเป็น ‘รัฐเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ’ นั้น ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าโลกวรรณกรรมและโลกความจริงนั้น ซ้อนทับกันอยู่ ประชาชนในเกาหลีเหนือเชื่อว่าประเทศของตนนั้นอุดมสมบูรณ์และมีความสุข มีผู้นำที่น่ารัก แต่หากมองตามคำบอกกล่าวของชาวเกาหลีเหนือที่ หลบหนีออกมาจะพบว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเป็นเรื่องตรงกันข้าม หรือหากขยับเข้ามาใกล้ตัวอีกนิด ประเทศไทยในยุคสมัย 6 ตุลา พ.ศ. 2519 เองก็มีการจับคนที่มีความคิดเห็นต่างไปทำร้ายหรือทำให้ถึงแก่ชีวิต แม้แต่ ในปัจจุบันก็มีการเรียก ‘ปรับทัศนคติ’ บางคนถูกขังจำคุกเพียงเพราะมีความเห็นต่าง ดังกรณีของ ไผ่ ดาวดิน นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นนักกิจกรรม ที่ประท้วงขับไล่รัฐบาลทหารในปัจจุบันที่ยังคงอยู่ในห้องขังมาตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

22

Dystopia x Thistopia.indd 22

เพราะ ‘รัฐเผด็จการ’ เช่นนี้ไม่อนุญาตให้คนเห็นต่าง เราจึงต้องกลายเป็นผู้ที่เชื่อฟังเพื่อความอยู่รอด

1/2/2561 0:32:32


ไม่มีพื้นที่ส่วนตัวสำหรับคุณ “Big Brother is watching you.” คื อ วลี ฮิ ต ในวรรณกรรม เรื่อง 1984 ที่คอยเป็นป้ายเตือนว่าคุณกำลังถูกจ้องมองอยู่ และอย่าได้ทำผิด นอกจากนีใ้ นนวนิยาย The Circle (2013) ของ เดฟ เอกเกอร์ส (Dave Eggers) ก็ยิ่งทำให้เราเห็นว่าในโลกออนไลน์ที่บางครั้งเราคิดว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัว แท้จริงแล้ว เรากำลังถูกคนบางกลุ่มบันทึกกิจกรรมความเคลื่อนไหวเอาไว้อยู่ตลอดเวลาเพื่อนำ ไปสร้างผลประโยชน์ หรือในหนังไตรภาค The Hunger Games หากใครได้ดูก็ คงจะนึกภาพออกว่าประธานาธิบดีสโนว์เองก็สอดส่องดูผเู้ ข้าแข่งขันในเกมได้จากทุก มุม หรือคอยจ้องมองประชาชนในทุกๆ เขตจาก Capital เรื่ อ งราวเหล่ า นี้ ก็ ไ ม่ แ ตกต่ า งไปจากกรณี ข อง เอ็ ด เวิ ร ์ ด สโนว์ เ ดน (Edward Snowden) เมื่อปี 2013 ที่ออกมาเปิดเผยว่าในสมัยรัฐบาลของ ประธานาธิบดีบารัค โอบามานั้น พวกเขาสามารถสอดส่องทุกการกระทำของ ประชาชนได้ จ ากกล้ อ งวงจรปิ ด ในทุ ก ๆ ที่ หรื อ สอดส่ อ งจากกล้ อ งแท็ บ เล็ ต และกล้องโทรศัพท์มอ ื ถือทุกๆ เครือ ่ ง ข้อมูลการใช้เครือ ่ งมือหรือแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น เฟซบุก ๊ ทวิตเตอร์ ฯลฯ ก็สามารถนำมาตรวจสอบได้หมด จนเกิดกระแสวิพากษ์ วิจารณ์ และประณามการกระทำทีเ่ ป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือหาก พูดถึงในสถานการณ์ปัจจุบัน หากยังจำกันได้นั้น รัฐบาลคสช.ได้เสนอโครงการ Single Gateway โดยอ้างถึงความมัน ่ คงของประเทศ แต่อย่างทีเ่ ราทราบกันดีว่า ภายนอกที่ฉาบด้วยเรื่องของชาติ กลับมีเรื่องราวการพยายามเข้ามาสอดแนม และควบคุมประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยนั่นเอง นอกจากนีเ้ ฟซบุก ๊ เองก็ใช้ระบบ Facial Recognition ไว้สำหรับการแท็ก โดยอัตโนมัติ ซึ่งก็เท่ากับว่าใบหน้าของเราสามารถถูกตรวจพบได้ง่ายยิ่งขึ้น หรือ อย่างในประเทศจีน รัฐบาลก็พัฒนาเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าเข้ามาใช้ตรวจจับ ผู ้ ล ะ เ มิ ด ก ฎ ห ม า ย ต า ม ท ้ อ ง ถ น น พื้ น ที่ ส า ธ า ณ ะ ร ว ม ถึ ง ส ถ า น ที่ อื่ น ๆ ของรัฐอีกหลายแห่ง นอกจากการสอดส่องแบบ Big Brother แล้ว สิ่งที่หลายๆคนอาจ ไม่เคยรูส ้ ก ึ ว่ากำลังถูกจับจ้องอยูก ่ ค ็ อ ื ข้อมูลและพฤติกรรมของเราบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะในเฟซบุ๊กที่มีข้อมูลเราในหลายๆ ด้านที่เรากรอกไว้เมื่อตอนสมัคร แม้ว่า ข้อมูลเหล่านี้อาจปลอมแปลงขึ้นใหม่ได้ แต่สิ่งที่เฟซบุ๊กได้จากเราแน่ๆ คือพฤติกรรม การใช้งาน ลองสังเกตดูว่าถ้าเรากำลังสนใจสิ่งใดอยู่ หรือเรากำลังอยากได้สินค้า ตัวไหน เพียงเราบ่นลงสเตตัส โฆษณาเกีย ่ วกับสิง่ นัน ้ ๆ ก็ปรากฏบนหน้าฟีดราวเทวดา รูใ้ จ ซึง่ ไม่วา่ เราจะทำอะไรบนอินเทอร์เน็ตก็จะมีการเก็บข้อมูลและสอดส่องพฤติกรรม ของเราอยู่เสมอ รวมถึงการแสดงความคิดเห็นบนโซเชียลเน็ตเวิร์กของเราเอง ก็ย่อมมี Big Brother เฝ้ามองอยู่

ความจริงที่ไม่จริง ในยุคสมัยนี้ ใครเป็นผู้ควบคุมสื่อนับว่ามีอำนาจมากที่สุด ดังในเรื่อง 1984 ที่มี Ministry of Truth คอยแก้ไขข้อมูลหรือข่าวสารให้เป็นไปตามที่ผู้นำ ต้องการ เช่นภายในเรื่องนั้นประชาชนทุกคนรับทราบว่า Oceania กำลังมีสงคราม กับ Eastasia แต่วันต่อมา ผู้นำอาจแจ้งให้เปลี่ยนข่าวเป็น Oceania กำลัง ทำสงครามกับ Eurasia แทน หากมีการตกลงผลประโยชน์กันได้ระหว่างประเทศ นั้นๆ หรือแม้แต่ในท้ายที่สุดเมื่ออ่านจนจบเล่ม เราอาจสงสัยว่าหรือจริงๆ แล้ว Oceania ไม่ ไ ด้ ทำสงครามใดเลย เพี ย งแต่ เ ป็ น คำขู ่ ใ ห้ ป ระชาชนหวาดกลั ว และอยู่อย่างสงบเท่านั้นเอง สิ่งเหล่านีท ้ ำให้เราเห็นว่าผู้ที่กุมอำนาจไว้สามารถเปลี่ยน ความจริงได้เสมอ

นอกจากนี้ยังมีคำกล่าวในนวนิยายว่า “Who controls the past controls the future. Who controls the present controls the past.” กรณีเช่นนี้ก็ไม่แตกต่างกับในสังคมโลกที่เราอยู่ ผู้ที่เขียนประวัติศาสตร์ย่อมปกปิด เลือกสรร บิดเบือน กระทัง่ แต่งประวัตศ ิ าสตร์ขน ึ้ ใหม่และเผยแพร่ให้ประชาชนยึดถือ ว่าเป็นความจริง เช่น เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 รัฐบาลในสมัยนั้นได้พยายาม ปลุกปั่นให้ประชาชนเกลียดนักศึกษา โดยอ้างว่าเหล่านักศึกษาต้องการล้มระบอบ กษัตริยแ์ ละเป็นพวกคอมมิวนิสต์ และในยุคต่อๆ มา รัฐบาลทีเ่ ข้ามาควบคุมก็พยายาม กลบเกลื่อน ซุกปัญหาไว้ใต้พรม ไม่เอ่ยถึงเหตุการณ์ 6 ตุลามากนัก แม้แต่ใน หนังสือเรียนก็แทบจะไม่เอ่ยถึง ทำให้ผู้คนหลงลืมประวัติศาสตร์ ไม่เห็นความสำคัญ ของอาชญากรรมที่เคยเกิดขึ้นจากนํ้ามือของรัฐบาลเผด็จการทหารเลย นอกจากการสร้างข่าวลวงแล้ว ยังมีการใช้โฆษณาชวนเชือ ่ (Propaganda) ทำให้ประชาชนคล้อยตามสิ่งที่ผู้ปกครองต้องการ ดังในเรื่อง 1984 ก็ปรากฏ ประโยคสำคัญ คือ “War is peace, Freedom is slavery, Ignorance is strength.” ซึ่ ง ค่ อ ยๆ กล่ อ มประชาชนให้ ค ล้ อ ยตามคำกล่ า วและยอมอยู ่ ใ ต้ การควบคุม หรือในเรื่อง Fahrenheit 451 รัฐก็ค่อยๆ ทำให้ประชาชนเบื่อและ เกลียดหนังสือ รวมถึงทำให้ประชาชนไม่เห็นความสำคัญของการแลกเปลีย ่ นความรู้ โดยใช้วธ ิ ก ี ารประโคมความบันเทิงให้แก่ประชาชนจนลืมทีจ ่ ะคิดถึงความทุกข์เกีย ่ วกับ ชีวิตความเป็นอยู่ ในเรื่อง The Hunger Games ก็จะเห็นการนำเสนอเพียงภาพ ดีๆ ความเจริญ และความสวยงามให้แก่คนในแคปิตอล คอยกล่อมให้ชาวแคปิตอล เห็นว่าการส่งบรรณาการมนุษย์ของแต่ละเขตเข้ามาสังหารกัน เป็นเพียงเกมและเป็น ประเพณีที่สำคัญ เป็นวัฒนธรรมที่ดีงาม รัฐบาลเผด็จการทีค ่ วบคุมสือ ่ ให้นำเสนอเพียงภาพดีๆ ทีต ่ นต้องการกล่อม เกลานั้น พอจะเห็นได้จากรัฐบาลของประเทศเกาหลีเหนือ ที่มีสื่อเดียวซึ่งเป็นของรัฐ คอยนำเสนอความเจริ ญ งอกงามของพื ช พรรณ การทำงานอย่ า งแข็ ง ขั น และความสามารถของท่านผูน ้ ำ หรือการทีร่ ฐั เองก็ประกาศว่าประเทศเกาหลีเหนือคือ ประเทศที่ประชาชนมีความสุขอัน ดั บ ต้ น ๆ ของโลก และยั ง มี อี ก หลายประเทศที่ ผู้นำคอยออกมาป่าวร้องว่าประเทศของตนนั้นดีกว่านานาประเทศอย่างไร คอยนำ เสนอว่าบ้านเมืองนี้เป็นดินแดนอุดมสมบูรณ์ ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว สงบร่มเย็น ดังนั้น เราอาจจะต้องกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราสุขเพราะเรามี ความสุขจริงๆ หรือเพราะมีคนควบคุมให้เราคิดว่าเรามีความสุขอยู่ –เพราะเหล่าวาท กรรมในสังคมที่มีการแชร์ต่อๆ กัน เช่น 9 เหตุผลที่ประเทศเราน่าอยู่ที่สุด 10 ข้อที่ ทำให้รู้ว่าเราโชคดีแค่ไหนที่ได้เกิดในแผ่นดินนี้ ก็อาจเป็นขั้นแรกของสังคมมายา อุดมคติจากการที่คนในประเทศถูกกล่อมเกลาผ่านวิธีต่างๆ จนเราหลงลืมมองโลก ความจริงกันจริงๆ

เลี้ยงเราให้ง่อยและอ่อนแอเกินกว่าจะกบฏ ในโลกนีม ้ วี ธ ิ อ ี ยูม ่ ากมายทีท ่ ำให้พลเมืองไม่รต ู้ วั ว่าอำนาจของตนถูกลิดรอน แต่ละวิธี นัน ้ บางครัง้ ก็แยบคายมากจนกว่าทีเ่ ราจะรูต ้ ว ั อำนาจก็ตกไปอยูใ่ นมือของผูค ้ วบคุม อำนาจเสียแล้ว วิธสี ามัญธรรมดาทีส่ ด ุ คือการปิดกัน้ การเข้าถึงความรู้ ใน Fahrenheit 451 มีการออกกฎว่า หนังสือคือสิ่งต้องห้าม เป็นอันตรายร้ายแรง หากใครครอบครอง จะต้องถูกลงโทษ ประชาชนจะไม่ได้รับรู้ในสิ่งที่นอกเหนือไปจากสิ่งที่รัฐต้องการให้รู้

23

Dystopia x Thistopia.indd 23

1/2/2561 0:32:40


ซํ้าร้ายยิ่งกว่านั้น ในเรื่องยังบรรยายถึงสถาปัตยกรรมที่ออกแบบ ให้ผู้คนไม่มีพื้นที่สำหรับใช้ความคิด เก้าอี้ม้าโยกที่ไว้นั่งคิดเพลินๆ หายไป ระเบี ย งนั่ ง จิ บ กาแฟร่ ว มวงสนทนาก็ ห ายไป และกล่ า วหาว่ า การคิ ด เป็ น เรื่องไร้สาระ การสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้คือสิ่งที่เพ้อเจ้อ เรื่องเล่าจาก อดีตกาลคือเรือ ่ งปรัมปราเชือ ่ ถือไม่ได้ ฉะนัน ้ แล้ว ความรู้ ความคิด หรือคอน เซปต์ในการใช้ชีวิตที่นอกเหนือจากสิ่งที่ผู้ปกครองต้องการให้เป็นจึงไม่มีอยู่ ในหัว นับได้ว่าเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จที่ปิดกั้นตั้งแต่ความคิด ซึ่งก่อนหน้าที่มนุษย์โลกจะเข้าถึงสื่ออย่างในปัจจุบัน สมัยก่อน หนั ง สื อ คื อ แหล่ ง อุ ด มความรู ้ ที่ เ ป็ น ดั่ ง ขุ ม ทรั พ ย์ และเมื่ อ ใดที่ ป ระชาชนมี ความรู้ การปกครองให้อยูใ่ ต้อำนาจทีฉ ่ อ ้ ฉลก็จะยิง่ ยากมากขึน ้ นัน ่ ทำให้ผน ู้ ำ เผด็จการหลายคนเลือกที่จะทําลายหนังสือทิ้งเสีย ดังการนําเสนอในงาน The Parthenon of Books ของนิทรรศการ Documenta ในประเทศ เยอรมนี ศิ ล ปิ น ที่ เ ป็ น ผู ้ ริ เ ริ่ ม คื อ มาร์ ต า มิ นู คิ น (Marta Minujín) ชาวอาร์ เ จนติ น ่ า ที่ นำเอาหนั ง สื อ ที่ เ คยถู ก เผาในอดี ต มาสร้ า งเป็ น วิ ห าร พาร์เธนอนขนาดจริ ง โดยหนั ง สื อ เหล่ า นี้ เ คยเป็ น หนั ง สื อ ต้ อ งห้ า มทั้ ง ใน เหตุ ก ารณ์ La Noche de los Bastones Largos หรือในยุคสมัยที่ นาซีเรืองอำนาจและจัดการเผาหนังสือมากกว่าสองหมื่นเล่ม โดยสถานที่จัด งานก็เป็นสถานที่เดียวกันกับที่ฮิตเลอร์สั่งให้มาเผาหนังสือนั่นเอง แม้ แ ต่ ยุ ค มื ด ของไทยในสมั ย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรั ช ต์ ช่ ว งปี พ.ศ. 2501 นั้น ได้มีการสั่งจับกุมนักคิดนักเขียนฝ่ายก้าวหน้าจำนวนมาก ทำให้นอกจากนักเขียนหลายคนต้องลี้ภัย บางคนนั้นก็ต้องเปลี่ยนไปเขียน นิยายแนวพาฝันเพื่อให้มีชีวิตรอด ทำให้ไม่มีหนังสือที่คอยกระตุ้นความคิด ประชาชนออกมาอีก ซึ่งการแบนหนังสือในปัจจุบันก็ยังมีอยู่มาก แม้แต่ใน ประเทศไทยก็ยงั คงมีหนังสือต้องห้ามจากรัฐบาล เช่น The Devil’s Discus (1964) ของ เรย์นี่ ครูเกอร์ (Rayne Kruger) หรือในประเทศมาเลเซีย มี ก ารแบนหนั ง สื อ เซ็ ต Fifty Shades (2012) เนื่ อ งจากนำเสนอ ความซาดิสม์ และเรื่องผิดศีลธรรม ในขณะที่การลดทอนอำนาจประชาชนอีกรูปแบบคือการแบ่งแยก “พวกเรา” อย่างเช่นในภาพยนตร์ซีรีส์ Divergent (2014) ที่สร้างมาจาก นวนิยายของ เวอโรนิก้า รอธ (Veronica Roth) ก็ให้ภาพการแบ่งแยก ประชาชนของรัฐออกอย่างชัดเจน ทุกๆ คนต้องดำรงและปฏิบัติตามกลุ่มที่ ตนเลือก และต้องยึดถือว่ากลุ่มสำคัญกว่าครอบครัว ตัดขาดอารมณ์ความ รู ้ สึ ก ของความเป็ น มนุ ษ ย์ หากใครก็ ต ามที่ แ ตกต่ า ง ไม่ คิ ด ไม่ เ ชื่ อ เช่ น นั้ น ก็จะนับว่าเป็นภัยต่อการควบคุม และรัฐจำเป็นต้องกำจัด ใน Brave New World ก็ปรากฏการแบ่งแยกมนุษย์ออกเป็น กลุม ่ ต่างๆ เพือ ่ ประโยชน์ในการใช้สอยและการควบคุม ซึง่ ทำได้แนบเนียนกว่า เพราะมีการแบ่งตั้งแต่มนุษย์ยังเป็นเพียงตัวอ่อน โดยจะมีการกำหนดว่า ตัวอ่อนมนุษย์ตัวใดจะเติบโตขึ้นเป็น Alpha ซึ่งเป็นกลุ่มที่ฉลาดที่สุด ไล่ลง ไปเป็น Beta, Gamma, Delta และชนชั้นล่างสุด คือ Epsilon ซึ่งเป็นก ลุ่มที่มีสติปัญญาตํ่าที่สุดและมีหน้าที่เป็นผู้ใช้แรงงาน โดยผู้คนใน Brave New World นั้นได้รับการเลี้ยงดู และปลูกฝังความเกลียดต่างๆ เช่น กลุ่ม Beta จะชื่นชมพวก Alpha และเกลียดกลุ่มอื่นๆ ที่ตํ่ากว่า หรือกลุ่ม Epsilon จะเกลียดกลัวหนังสือและการเรียนรู้ เป็นต้น

แม้แต่การสร้างความเกลียดชังที่เกิดขึ้นในโลก ไม่ว่าจะเป็นการ เหยียดผิว เหยียดเพศ เหยียดศาสนา ก็เป็นตัวอย่างการแบ่งแยกทีท ่ ำให้ใคร หลายคนหลงลืมหรือลดทอนความเป็นมนุษย์ในตัวบุคคลอื่นไป จนสามารถ ทำร้ายกันได้โดยไม่มีสำนึกของความเสียใจ การแบ่ ง แยกเช่ น นี้ ทำให้ ค นในสั ง คมไม่ อ าจรวมเป็ น กลุ ่ ม ก้ อ นที่ สามัคคีและต่อสู่กับผู้ปกครองที่ฉ้อฉลได้ เพราะต่างฝ่ายต่างไม่มีใครเห็นใจ กันและกัน เรื่องราวเหล่านี้เป็นเพียงการยกประเด็นเหตุการณ์มาเปรียบเทียบ เพียงบางส่วน ยังมีอีกหลายเรื่องราวที่ไม่ได้หยิบยกมากล่าวถึง ไม่ว่าจะ เป็ น การไม่ ย อมรั บ เพศอื่ น ๆ เรื่ อ งของสิ่ ง แวดล้ อ ม การปิ ด กั้ น เสรี ภ าพ สิ่ ง ต่ า งๆ เหล่ า นี้ ไ ม่ ไ ด้ มี เ พี ย งในนวนิ ย าย แต่ ยั ง เกิ ด ขึ้ น ในโลกที่ เราใช้ชีวิตอยู่ด้วยเช่นกัน

ลองถอยออกมาหนึ่งก้าว แล้วเราอาจจะค้นพบว่าตัวเราเอง ก็อาจจะยืนอยู่บนแผ่นดิน แห่งดิสโทเปียก็เป็นได้

สิง่ เหล่านีไ้ ม่ได้แตกต่างไปจากกลุม ่ ชนชัน ้ แรงงานทีไ่ ม่ได้รบ ั การศึกษา ในสังคมที่ยังคงแบ่งแยกความเป็นชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง โดยแต่ละชนชั้นก็จะได้รับการปฏิบัติจากรัฐบาลต่างกัน ชนชั้นล่างมักจะถูก กดขี่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ในขณะที่สังคมที่เป็นอยู่ก็ส่งเสริมให้ชนชั้นกลาง พยายามตะเกียกตะกายเป็นชนชั้นสูง และดูถูกหรือไม่เหลียวแลชนชั้นล่าง ซึ่ ง การแบ่ ง แยกเช่ น นี้ ทำให้ ไ ม่ มี ใ ครเห็ น ใจหรื อ พยายามช่ ว ยเหลื อ ซึ่งกันและกัน

24

Dystopia x Thistopia.indd 24

1/2/2561 0:32:42


- PEOPLE หรือว่าความสัมพันธ์ของมนุษย์คอ ื ศัตรูของโลกดิสโทเปีย? โดย ณัฐกานต์ จําปาศรี

ความสัมพันธ์ในหมู่มนุษย์ที่ใครๆ ก็มองเป็นเรื่องธรรมชาติ สามารถเกิดขึ้นได้เองเมื่อคนมีปฏิสัมพันธ์ พูดคุยรู้จักกัน และกลายเป็นครอบครัว เป็นเพื่อน เป็นคู่ชีวิต ความ สัมพันธ์เหล่านี้ถูกเชื่อมโยงด้วย “ความรู้สึก” แต่เมื่อเข้าสู่สังคมดิสโทเปีย สังคมที่ประชาชนไร้สิทธิ์ในการทําสิ่งต่างๆ ตามต้องการนอกเหนือจากสิ่งที่ถูกกําหนดเอาไว้ เรื่องทางกายภาพ ภายนอกที่ถูกบังคับ ยังพอเข้าใจ แต่ความสัมพันธ์ของคนเราที่เป็นความคิดในใจล่ะ มันจะบังคับกันได้จริงๆ หรือ แล้วทําไมในโลกดิสโทเปียถึงต้องพยายามบังคับให้คนไร้ความรู้สึก ต่อกันด้วย ซึ่งคําตอบที่ได้รับเมื่อเรามองกลับไปที่วรรณกรรมหรือภาพยนตร์นั่นก็เป็นคําตอบที่ชัดเจนดีไม่น้อย

ในภาพยนตร์ The Lobster ของ ยอร์ก อส ลานธิ ม อส (Yorgos Lanthimos) เป็นโลกดิสโทเปีย ทีส่ ร้างกฎและตีกรอบให้คนแต่งงาน หรือคนมีคู่ กีดกันและตามฆ่าพวกคนโสดที่เป็น พวกนอกรีตกฎสังคม บังคับประชาชนให้เข้ามาอยู่ ในค่า ยหาคู ่ ซึ่ ง จะมี ก ารเซ็ น สั ญ ญาว่า ต้อ งหาคู่ ให้ได้ใน 45 วัน หากทําไม่ได้ก็ต้องกลายร่างเป็น สัตว์ไป โดยเลือกเอาได้ว่าอยากเป็นสัตว์ชนิดใด ดังนั้นความสัมพันธ์จึงเริ่มต้นจากการจํายอมทํา เป็นการถูกบังคับให้ร้สู ก ึ ไม่ใช่การสร้างความสัมพันธ์ ด้วยความรู้สก ึ ทีเ่ กิดขึน ้ เอง และการบังคับผู้คนอาจ จะนํ า ไปสู ่ก ารไม่รู ้สึ ก และไม่มี ค วามนํ้ า หนึ่ ง ใจ เดียวกันก็เป็นได้

หรือในเรือ ่ ง The Handmaid’s Tale ของ มาร์กาเร็ต แอทวูด (Margaret Atwood) ก็ ไ ด้ก ล่า วถึ ง บทบาทของเหล่า Handmaid ผู ้มี ห น้า ที่ ร าวกั บ เป็น หุ ่น ยนต์ผ ลิ ต เด็ ก ให้ผู ้เ ป็น เจ้านายของพวกเธอ ผู้หญิงในเรื่องถูกลดคุณค่า ความเป็น มนุ ษ ย์ล ง(Dehumanize) เนื่ อ งจาก การตีความคัมภีร์ใหม่ โดยการนําเอาบท Genesis, 30: 1-3 ที่กล่าวว่า “And when Rachel saw that she bare Jacob no children , Rachel envied her sister; and said unto Jacob, Give me children, or else I die.” มาใช้ เป็นแรงขับให้รฐั ในเรือ ่ ง The Handmaid’s Tale ที่ประสบปัญหาขาดแคลนประชากร ต้อง สร้า งมาตรการเพื่ อ ให้เ ด็ ก กํ า เนิ ด ขึ้ น มาเสมอๆ ทําให้นอกจากผู้หญิงจะถูกกดขี่แล้ว ความสัมพันธ์ หรือ เรื่องบนเตียงก็กลายเป็นโซ่ตรวนที่ถูกกักขัง ห้ามผู้คนมีความรู้สึกต่อกัน และทําให้เซ็กส์เป็น เพี ย งแค่พิ ธี ก รรมหนึ่ ง ที่ ไ ร้ซึ่ ง อารมณ์เ ข้า มาเป็น ส่วนประกอบ ไม่มค ี วามรักเข้ามาเกีย่ วข้องแม้แต่น้อย

นอกจากนี้ ในเรื่ อ ง Brave New World ของ อัลดัส ฮักซ์ลีย์ (Aldous Huxley) ที่ สั ง คมดู ส มบู ร ณ์แ บบไปหมด ไม่มี เ รื่ อ งเซ็ ก ส์ เข้ามาเกี่ยวข้อง เด็กๆ เกิดจากเทคโนโลยีลํ้าสมัย ตั ว ละครหลั ก อย่า งเบอร์น าร์ด จึ ง เกิ ด ความรู ้สึ ก ไม่พอใจอยู่บ้าง เพราะธรรมชาติในความเป็นคน ของเขาเรียกร้องและบอกว่านี่คือสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่เนือ ่ งจากสังคมตัดขาดและกีดกันการมีเพศสัมพันธ์ การมีลก ู การมีความรักอย่างเป็นธรรมชาติออกไป ความรู้สึกกลายเป็นเรื่องต้องห้ามและถูกมองว่า เป็นสิ่งที่คนไร้อารยธรรมเท่านั้นที่จะมีได้ โดยรัฐ พยายามผลักดันให้ “ความรู้สก ึ ” เป็นเรือ ่ งน่าละอาย และผลักดันให้ออกไปอยู่นอกวงของการเป็นมนุษย์ เสีย

ความรู้สก ึ เป็นเสมือนตัวแทนของความมีอส ิ ระเสรี เพราะไม่มใี ครทีจ่ ะบังคับ หรือกีดกันความรู้สก ึ เหล่านัน ้ ได้อย่างเต็มที่ ความรู้สก ึ จึงเป็นเสมือนวัตถุทเี่ ลือ ่ นไหลอย่าง อิสระ และคําว่า “อิสระ” ก็ทําให้ผู้นําหรือรัฐเผด็จการ โดยเฉพาะในโลกดิสโทเปียเข็ดขยาด การบังคับ “ความรู้สึก” ของมวลชนจึงนับเป็นหมุดหมายสําคัญของรัฐด้วยเช่นเดียวกัน การที่ รัฐสามารถควบคุมธรรมชาติเจตจํานงเสรีของมนุษย์ได้ ก็เป็นนัยยะสําคัญว่าเขาสามารถเข้าควบคุมได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ฉะนั้นสังคมดิสโทเปียที่เห็นในภาพยนตร์และวรรณกรรมจึงไม่ปล่อยให้เราได้มีความสัมพันธ์ที่เป็นอิสระธรรมชาติเหมือนมนุษย์อย่างเราๆ ท่านๆ เป็นแน่ มนุษย์ถูกควบคุมให้ ทําตามหน้าที่ ห้ามมีความรู้สึก ห้ามสงสัย มนุษย์จะไม่ต่างจากหุ่นยนต์หรือสัตว์เศรษฐกิจใต้อาณัติของเจ้านายหรือเจ้าของฟาร์มเลย สังคมดิสโทเปียจะล้างสมองประชากรให้ทุกคนต้อง มอบความเชื่อ ความศรัทธา และความภาคภูมิต่อรัฐเพียงเท่านั้น เพราะเป็นการรวมอํานาจเข้าสูศ ่ ูนย์กลางเพื่อความมั่นคงของรัฐ ดังนั้นเมื่อมีกฎ ข้อห้าม ข้อปฏิบัติกันขนาดนี้ แล้ว ความสัมพันธ์และความรักระหว่างมนุษย์มันจะเกิดขึ้นได้อย่างไรล่ะ หากกลับมาเทียบกับสังคมในปัจจุบน ั ก็ยงั มีการกีดกันความสัมพันธ์ในหลายรูปแบบ ซึง่ ผู้เขียนมองในฐานะเป็นสังคมดิสโทเปียในโลกปัจจุบน ั เช่น การใช้กฎหมายศาสนาลงโทษ และฆ่าคนรักร่วมเพศ การคลุมถุงชนที่มีอยู่ในหลายประเทศ (สังคมไทยในอดีตเคยมีมาก่อน) รวมถึงการแบ่งแยกและการเหยียดทุกประเภท การทําให้คนทะเลาะเบาะแว้งกัน หรือ ไม่มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็เป็นเครื่องมือสําคัญที่ทําให้ประชาชนไม่รู้จักการลุกฮือต่อสู้เพื่อสิ่งที่ตนรัก เราอาจคิดว่าสังคมดิสโทเปียเป็นเพียงเรื่องสมมติในภาพยนตร์และวรรณกรรมที่ดูไกลตัวและเพ้อฝัน แต่ในไม่ช้าเรื่องราวเหล่านี้อาจเป็นเรื่องจริงบนโลกของเราที่อยู่ใกล้ตัว 25 และยังเดินหน้าควบคุมมนุษย์ในสังคมในปัจจุบันต่อไปก็เป็นได้

Dystopia x Thistopia.indd 25

1/2/2561 0:33:25


Techno Scope เมื่อ Ai มีอิทธิพล เหนือความกลัว โดย Meraki

หากใครเคยมีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง I, Robort คงจะจำได้ว่าหนังเรื่องนี้เปิดตัวด้วยกฎสามข้อของหุ่นยนต์แทนที่ จะเป็นหน้าหล่อๆ ของพระเอก วิล สมิธ (Will Smith) เสียอีก โดย ไอแซค อสิมอฟ (Isaac Asimov) นักเขียนนวนิยาย วิทยาศาสตร์ได้นิยาม “Three Laws of Robotics” หรือกฎของหุ่นยนต์ไว้ 3 ข้อ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 สมัยที่หุ่นยนต์ยังเป็นเรื่องที่ได้แต่ฝันถึงสำหรับคนทั่วไปและไม่ใช่สิ่งที่สามารถจับต้องได้ง่ายเช่นใน อนาคต กฎ 3 ข้อนี้เกิดมาจากจินตนาการเกี่ยวกับอนาคตของหุ่นยนต์ พฤติกรรมของหุ่นยนต์ที่ควรจะเป็นเพื่อให้อยู่กับมนุษย์ได้ อย่างสงบสุข กฎ 3 ข้อนี้ได้แก่

กฎข้อที่หนึ่ง – หุ่นยนต์จะต้องไม่ทำอันตรายแก่มนุษย์ หรือนิ่งเฉยปล่อยให้มนุษย์ตกอยู่ใน อันตรายได้ กฎข้อทีส่ อง – หุน ่ ยนต์จะต้องเชือ ่ ฟังคำสัง่ ของมนุษย์ ยกเว้นคำสัง่ นัน ้ จะขัดแย้งกับกฎข้อทีห ่ นึง่ กฎข้อที่สาม – หุ่นยนต์จะต้องปกป้องตัวเอง ด้วยวิธีการใดๆ ก็ได้ ตราบเท่าที่วิธีการนั้น ไม่ละเมิดกฎข้อที่หนึ่งและกฎข้อที่สอง

26

Dystopia x Thistopia.indd 26

1/2/2561 0:33:32


จะเห็นได้ชัดว่าอิทธิพลความกลัวหุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์ (AI) นั้นมีมาตั้งแต่ยุค 40s เห็นได้จากการสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาควบคุม ไม่ให้หน่ ุ ยนต์ทำอันตรายและป้องกันไม่ให้เป็นภัยต่อมนุษย์ แต่ถงึ อย่างนัน้ แล้ว แม้ความกลัวต่อหุ่นยนต์ หรือปัญญาประดิษฐ์จะมีมานาน แต่มนุษย์ก็ ยั ง ไม่ ห ยุ ด พั ฒ นาและพยายามต่ อ ยอดความฉลาดของสิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ เหล่านี้ขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง อะไรเป็นแรงผลักดันให้มนุษย์ยังคง ต่อยอดในสิ่งที่กลัว

ความเชื่อ (Belief) นักวิทยาศาสตร์หลายคนมีความเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถควบคุม ในสิ่ ง ที่ ต นเองประดิ ษ ฐ์ ขึ้ น มาได้ เ หมื อ นพ่ อ ที่ ส ามารถควบคุ ม ลู ก การสร้ า งปั ญ ญาประดิ ษ ฐ์ ก็ เ หมื อ นการใส่ ห นั ง สื อ เข้ า ไปในห้ อ งสมุ ด ขนาดใหญ่ ใส่ความรูค ้ วามเชีย ่ วชาญต่างๆ ผูใ้ ส่ยอ ่ มรูแ้ น่ชด ั ว่าห้องสมุดนั้น มี ค วามเชี่ ย วชาญและขอบเขตความสามารถอยู ่ ม ากน้ อ ยเพี ย งใด ความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองจึงเป็นหนึ่งในแรงผลักดันที่ ทำให้มนุษย์มองข้ามความหวาดกลัวและภัยพิบต ั ใิ นอนาคต ดังความเห็น ของ เอริก ชมิดต์ (Eric Schmidt) CEO ของบริษัท Alphabet และอดีต CEO ของ Google ที่เคยกล่าวว่า “เราไม่ควรแตกตื่นกับ เรื่องของ AI” นอกจากนี้ยังมองในแง่บวกว่า AI จะมาช่วยเติมเต็ม งานของมนุษย์และช่วยพัฒนากันและกันอีกด้วย

ความกลัว (Fear) ไม่มอ ี ะไรจะผลักดันให้มนุษย์ทำในสิง่ ทีก ่ ลัวมากเท่าพลังแห่งความกลัว อีกแล้ว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณกลัวสิ่งใดมากกว่ากัน เห็นได้ชัดจากการที่ ยังมีการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์อย่างต่อเนือ ่ ง นัน ่ ช่วยตอกยํา้ ว่ามนุษย์ กลั ว การยํ่าอยู ่ กั บ ที่ ม ากกว่ า การเดิ นไปตกหลุมพรางที่ตนเองพลาด ขุด เอาไว้ มี ผู ้ นําเทคโนโลยี ม ากมายที่ออกมาเตือนถึงความก้าวหน้า (มากเกินไป) ของปัญญาประดิษฐ์ ความกังวลนี้กล่าวถึงความกลัว ที่ว่าเมื่อวันหนึ่งเครื่องจักรมีความฉลาดมากกว่าเราและมีวิวัฒนาการ จนสามารถควบคุมตัวเองได้ เมื่อวันหนึ่งมนุษย์กลายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น อีกต่อไป ก็คงถึงคราวทีม ่ นุษย์จะกลายเป็นผูถ ้ ก ู ควบคุมแทน แต่อย่างไร ก็ตาม ถึงแม้จะมีกระแสเช่นนี้เรื่อยมา แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งกาต่อยอด ความรู ้ เพื่ อ ความสะดวกสบายของบรรดานักพัฒนาทัง้ หลายได้ นีไ่ ม่ใช่ เพราะธรรมชาติของนักพัฒนาหรือวิศวกรที่ไม่เคยหยุดนิ่ง แต่เป็นเพราะ ธรรมชาติของมนุษย์ที่ไม่เคยพอใจในปัจจุบัน

ผลลัพธ์ (Result) บางครั้งความกลัวก็ถูกกดให้เป็นตัวเลือกรอง ได้ ห ากมี ผ ลลั พ ธ์ อั น น่ า พึ ง พอใจวางรออยู ่ ต รงหน้ า ปั ญ ญาประดิ ษ ฐ์ น อกจากจะเป็ น เครื่ อ งอำนวย ความสะดวกของมนุษย์ อีกนัยหนึ่งยังเป็นขุมพลัง อํ า นาจของผู ้ ค รอบครองอี ก ด้ ว ย มี คํ า กล่ า วว่ า มนุษย์ไม่ได้กลัว AI แต่กลัวมนุษย์ด้วยกันที่มี AI เป็นอาวุธต่างหาก ลองจินตนาการถึงกองทัพ AI ที่มีความสามารถไร้ขีดจำกัด กับกองทัพมนุษย์ที่มี เลือดเนื้อเชื้อไขอาจช่วยให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น เป็น เรื่องง่ายมากที่จะคาดเดาผลแพ้ชนะตั้งแต่ยังไม่เริ่ม ต้น เช่นนั้นเอง ผลลัพธ์ของการพัฒนา AI เพื่อ เป็นเครื่องมือโยงไปสู่อำนาจจึงเป็นเรื่องที่น่าเสี่ยง ด้วยไม่น้อย แม้ว่าความผิดพลาดของขั้นตอน การพัฒนาอาจนำไปสู่มหันตภัยร้ายต่อโลกเลย ก็ว่าได้ ในความเป็นจริงแล้วกาลเวลาไม่ใช่สิ่งที่ พาทุกอย่างไปข้างหน้า แต่มนุษย์ต่างหากที่เป็น ปัจจัยหลักของการพัฒนา ไม่มีสิ่งใดที่อยู่กับที่ ได้ในเมื่อมนุษย์ยังไม่พอใจ ซึ่งความพอใจของ มนุ ษ ย์ เ ปรี ย บเหมื อ นระยะอนั น ต์ ที่ ไ ม่ มี วั น สิ้ น สุ ด การพั ฒ นาและการวิ วั ฒ นาการของ สิง ่ ต่างๆ เป็นเรือ ่ งทีเ่ ราไม่อาจหยุดยัง ้ แต่สามารถ ควบคุ ม ให้ อ ยู ่ ใ นกฎเกณฑ์ ที่ พ อดี แ ละเหมาะสม กั บ ช่ ว งเวลานั้ น ๆ ได้ และเมื่ อ เราได้ ต ระหนั ก ถึ ง ปัญหาที่รออยู่ข้างหน้า สิ่งที่เราทำได้ในตอนนี้ก็คือ การศึกษาปัญหาและหาแนวทางการควบคุมก่อนที่ มันจะเกิดขึ้น หากลองคิดในอีกแง่มุมหนึ่ง นี่เป็นเวลา หลายหมืน ่ หลายแสนปีแล้วทีม ่ นุษย์สถาปนาตัวเอง เป็นสัตว์ประเสริฐผูป ้ กครองโลกและควบคุมสิง่ มีชวี ต ิ และทรัพยากรต่างๆ อย่างถือสิทธิ์โดยเสรี อาศัย ความทะเยอทะยานและความเห็ น แก่ ตั ว เป็ น แรง ขั บ เ ค ลื่ อ น แ ล ะ เ มื่ อ ถึ ง เ ว ล า ห นึ่ ง ที่ ม นุ ษ ย ์ เ กิ ด อาการกลั ว การคุกคามจากสิง่ ประดิษฐ์ทฉ ี่ ลาดกว่า แข็งแกร่งกว่า และยิ่งกว่านั้นยังเป็นสิ่งที่มนุษย์ ไม่อาจต้านทานได้ ชั่วขณะนั้นเราเองก็คงได้แต่ ตั้งคำถามว่า ยุคสมัยของมนุษย์นั้นกำลังจะจบลง และ AI อาจจะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อโลกมากกว่า มนุษย์ หรือ AI อาจเป็นอีกขั้นหนึ่งของมนุษย์ที่ ได้รับการวิวัฒนาการแล้ว เฉกเช่นเดียวกับที่มนุษย์ วิวัฒนาการมาจากลิงเมื่อหลายล้านปีก่อนหน้านี้

หรือจริงๆ แล้ว AI คือยุคใหม่ที่โลก กำลังรอคอยอยู่? .................

27

Dystopia x Thistopia.indd 27

1/2/2561 0:33:39


YOUTOPIA

โลกแบบไหนที่คุณต้องการ? โดย คัทริน จันทรเกษม และ อาภานันท์ บินสุไกมี

“ “โลกแบบไหนที่คุณต้องการ”

หากมีคนมาถามคําถามนีก ้ บ ั คุณผูอ ้ า่ น คุ ณ ผู้อ่า นจะตอบว่ า อย่ า งไรกั น ดี ค ะ เพราะแต่ละคนต่างก็มีโลกในอุดมคติ ที่แตกต่างกันไป แล้วแต่วา่ การนิยาม คํ า ว่ า ‘อุ ด มคติ ’ นั ้ น เป็ น อย่ า งไร แต่ถึงอย่างนั้นคําคํานี้ก็ย่อมทําให้เรา นึกถึงแต่ “โลกที่ดี” ในแบบของเรา กันทั้งนั้น ตอนนี้ คุ ณ ผู้ อ่ า นมี คํ า ตอบในใจหรื อ ยังคะ ถ้าได้คาํ ตอบแล้ว วารสารฟ้าอักษร ฉบั บ นี้ อ ยากจะเชิ ญ ชวนให้ ทุ ก คน มาลองอ่ า นบทสั ม ภาษณ์ จ ากชาว ศิลปากรกันบ้างว่าแต่ละคนนั้นมีโลก ในอุดมคติอย่างไร จะตรงกับคําตอบ ของคุณผู้อ่านหรือไม่ หรือมีความคิด เห็นแตกต่างกันอย่างไร

“โลกที่...มันจะโลกสวยไปไหม แบบว่าเหมือนเป็นโลก ในมโน โลกที่มีสมดุลระหว่างไม่ดีมากกับไม่เลวมาก เป็นโลกที่มีความสมดุลกัน”

นางสาวกนกวรรณ กรุดมินบุรี อายุ 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

“โลกที ่ ผ มต้ อ งการอะนะ โลกเนี ่ ย มั น ต้ อ งสะอาด เราเนี่ยต้องล้างมือไง มือเนี่ยมันสะอาด ถ้าโลกเรา สะอาดเนี ่ ย ทุ ก อย่ า งมั น ก็ ด ี ห มดทุ ก อย่ า งแหละ มันต้องสะอาด ขอให้มันสะอาดพอแล้ว”

นายพัลลภ บุญเมือง อายุ 16 ปี

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร

“โลกแบบที ่ ไ ม่ ม ี ภ าษาญี ่ ป ุ ่ น ล้ อ เล่ น โลกแบบที ่ ไ ม่ ม ี คนทะเลาะกัน ตอนแรกจะบอกว่าโลกแบบไม่มีคนฆ่า สัตว์ แต่ว่าเราจะกินหมูยังไงวะ” นางสาวสายธาร อิ่มจิตร อายุ 20 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

“โลกแบบที่ไม่มีการสอบ ล้อเล่น โลกแบบที่ทุกคนเท่า เทียมกัน คอมมิวนิสต์ 5555”

นางสาวอสมา มะกาว อายุ 19 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

“ต้องเป็นคําตอบเพ้อฝันหรืออะไร ตายแล้ว วันเดอร์แลนด์ ไหม ขอโพย ขอช้อยส์หน่อยได้ไหม คําถามลึกซึง้ นะเนีย ่ ตอบไม่ถก ู เลย อืม... ตอบยากนะเนีย ่ เอาเป็นโลกไม่รอ ้ น แล้วกัน”

นายณัฐกร ตรีชัญญา อายุ 30 ปี

พนักงานร้านสีฟ้า ร้านถ่ายเอกสารประจําคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

“ก็อยู่อย่างสงบเนอะ อยู่อย่างพอเพียง อะไรประมาณ นี้แหละ ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง มีแต่อะไรล่ะ คุยกัน ด้วยดีอะ”

นายนิตย์ เปลี่ยนกริม อายุ 62 ปี คุณลุงเจ้าของหอพักวานิลลา ซอยชยาทิพย์

“ตอนนี้ป้าก็ชอบอยู่แล้ว แล้วยิ่งเราอยู่ในประเทศไทย ด้วย มีความสุขที่สุดที่เกิดมาตอนนี้ คิดว่าเราจะไม่ได้ เจอในช่วงเวลาแบบนี้อีกแล้ว ที่ได้เกิดมาในรัชกาลที่ 9 ที่สุดแล้วล่ะสําหรับป้า” นางชัญลักษณ์ เปลี่ยนกริม อายุ 57 ปี คุณป้าเจ้าของหอพักวานิลลา ซอยชยาทิพย์

“อาจจะติ ด ความคิ ด แบบอุ ด มคติ ม ากเกิ น ไปแต่ ค ิ ด ว่ า การให้เกียรติกับความเห็นที่ต่างกันน่าจะเป็นอีกข้อหนึ่ง ที่คิดว่าถูกให้ความสําคัญลดลง อย่างเช่นในกรณีข่าว ที่เป็นกระแสหลักในสังคมที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยผู้คน มากมายทีเ่ สพข่าวนัน ้ แล้วก็เห็นได้จากคนทีแ ่ สดงความเห็น ทีต ่ า่ งออกไปมักจะโดนโจมตีจากฝ่ายความเห็นหลักเสมอ ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าควรจะยอมรับกับทุกอย่างแล้ว ปล่อยให้มันผ่านเลยไป แต่หมายถึงว่า การวิพากษ์หรือ วิจารณ์สามารถเกิดขึ้นได้แต่ควรตั้งอยู่บนความเป็นเหตุ เป็ น ผลและลดการดึ ง ปั จ จั ย อื ่ น ๆ ที ่ ไ ม่ เ กี ่ ย วข้ อ ง มาร่วมวิจารณ์ แต่ที่บอกว่าเป็นอุดมคติเพราะคิดว่าพื้น ฐานในด้านทุกๆ ด้านของแต่ละคนมีความไม่เท่ากันอยู่ แม้แต่เรื่องเป็นเหตุเป็นผลก็ตาม” นางสาวกานต์ธิดา บุษบา อายุ 20 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

“ถ้าเอาที่ใจป้าชอบ ป้าก็ชอบแบบปกติ ทํางานตามปกติ อะไรอย่างนี้ ชอบแบบทุกวันนี้ เพราะที่ป้าทําไปทุกวันมัน มีความสุขอยู่แล้ว สบายใจอยู่แล้ว” นางสัจกานต์ ศักสมบูรณ์ อายุ 58 ปี คุณป้าแม่บ้านประจําหอพัก KP HOME ซอยทรงพล 3

“ไม่มีนะ มันเป็นแบบที่มันเป็นก็ดีอยู่แล้ว เราไปเปลี่ยน มันไม่ได้ เราไม่สามารถสร้างมันใหม่ได้ เราไม่สามารถ แก้ไขให้มน ั ดีขน ้ึ ได้ ทุกอย่างมันหล่อหลอมมานานแล้ว อันนี้เราเอาความเป็นจริงมาคุยกันนะ ไม่ใช่เอาแบบ เหนือจินตนาการมาคุยกัน ทีนร้ี ป ู แบบไหนเหรอ สังคมไทย มันเป็นแบบนี้ จะให้เปลี่ยนยังไงล่ะ เราอยากเปลี ่ ย น ไหมเราก็ อ ยากเปลี ่ ย น แต่ จ ะเปลี ่ ย นไปเป็ น แนวไหน จะมีใครเห็นด้วยกับเราไหม ก็ไม่รู้อีกล่ะ เป็นแบบนี้น่ะ ดีแล้ว แค่เรานํามาเปลี่ยนมาแก้ไขให้มันดีขึ้นได้ มัน ไม่มีอะไรเพอร์เฟกต์ ทุกอย่างมันเป็นดาบ

“อยากให้เป็นโลกที่แบบว่าเดินไปทางไหนก็เป็นโลกของ ภาษาเกาหลี ครูสอนภาษาเกาหลีใช่ไหม ก็อยากให้เป็น โลกที่ได้ใช้ภาษาเกาหลี ไปไหนก็เจอภาษาเกาหลี เห็น อะไรก็ เ ป็ น ตั ว อั ก ษรเกาหลี เ ต็ ม ไปหมด อะไรแบบนี ้ อยากให้เป็นโลกลักษณะแบบนัน ้ เพราะว่าเราจะได้คลุกคลี อยูก ่ บ ั มัน จะได้เห็นมันตลอดแล้วก็รก ั มัน รักในภาษาเกาหลี จะได้ใช้ภาษาเกาหลีด้วย ประสาทไหม (หัวเราะ)”

สําหรับพีน ่ ะ พีม ่ องว่าโลกตอนนีไ้ ม่วา่ จะทําอะไร จะพูดอะไร จะคิดอะไรมันเป็นดาบสองคมไปหมดเลย เพราะว่าอยู่ ในเรือ ่ งของสือ ่ โซเชียลด้วย เป็นเรือ ่ งของวิวฒ ั นาการด้วย เทคโนโลยี ด ้ ว ย มั น ไม่ ม ี อ ะไรเพอร์ เ ฟกต์ อ ะ มั น เป็ น ของมันแบบนีก ้ ด ็ แ ี ล้วนะ มันไม่แย่ถงึ ขัน ้ มีสงครามก็ดแ ี ล้วนะ ถึงแม้ตอนนีอ ้ าจจะมีสงครามประสาทกันอยูบ ่ า้ ง ในเรือ ่ ง ของการเมือง ขั้วอํานาจอะไรแบบนี้ แต่ว่าถ้าพูดในแนว เพ้อฝันก็อยากให้โลกเป็นแบบสมัยก่อนที่ผู้หลักผู้ใหญ่ รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยที่ดีงามไว้ แล้วก็ อยากให้สงั คมมันเท่าเทียมกันหมดนะ คนรวยคนจนไม่มี เป็นระบบแบบกึ่งๆ คอมมิวนิสต์ แต่มันก็เป็นไปไม่ได้

“ในความเห็นของอาจารย์นะครับ โลกในอุดมคติแน่นอน ว่ามันต้องเป็นโลกที่ดี แต่ว่าโลกที่ดีดังกล่าวมันค่อนข้าง จะเป็นโลกที่ไม่อาจจะเป็นจริงได้ เช่น ทุกคนเท่าเทียมกัน หรือไม่ก็กินดีอยู่ดี แน่นอนว่าเราต้องกลับไปดูขั้นพื้นฐาน เลยก็คอ ื กินดีอยูด ่ ี กินอุน ่ นอนอุน ่ มีความสุขใช่ไหม อันนีก ้ ็ แน่นอน คิดว่าน่าจะเป็นโลกในอุดมคติละ เพราะทุกวันนี้ โลกมันโดนปรุงแต่งไปมากมาย ดังนั้นเราก็ควรจะ Back to basic แต่ Back to basic ในสภาพที่มันเข้ากับโลก ปัจจุบัน ให้ทุกคนเท่าเทียมกันโดยชัดเจนมันยาก

สรุปง่ายๆ เลยก็คืออยากให้รักษาสิ่งดีงามที่บรรพบุรุษ ได้ ส ร้ า งไว้ อยากให้ โ ลกเป็ น แบบนี ้ ไม่ ใ ช่ โ ลกเปลี ่ ย น เราก็เปลีย ่ น ไม่ใช่วา่ เราเป็นเด็กสมัยใหม่กไ็ ม่สนใจอะไรเลย อยากให้ลองไปฟังคุณตาคุณยายคนแก่ๆ ให้เขาเล่า เรื่องสมัยก่อนให้ฟังดูสิ แล้วจะเข้าใจว่าโลกสมัยก่อนดี ยังไง”

นางสาวฐพิชา ปัญจศุภสิน อายุ 31 ปี

เจ้าของร้าน i-fatt ไอแฝด ซอยชยาทิพย์

อาจารย์ ดร.สิรินาถ ศิริรัตน์ อายุ 40 ปี อาจารย์ประจําภาควิชาภาษาเกาหลี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

แต่ถ้าอยู่ดีๆ มันมีพรวิเศษมาสักข้อให้เกิ ดอะไรขึ้นกับ โลกใบนี ้ ก ็ ค งขอให้ ท ุ ก คนมี ค วามสุ ข ตามอั ต ภาพของ ตัวเอง ไม่เบียดเบียนกัน อาจจะดูสวยงามนะ แต่มันก็ ถือว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการแหละ เพราะนี่คือสิ่งพื้นฐาน การไม่มีความขัดแย้ง เคารพซึ่งกันและกัน อาจารย์คิดว่า น่าจะเป็นสิ่งที่โอเคที่สุด”

อาจารย์ศิวพล ชมพูพันธุ์ อายุ 35 ปี อาจารย์พิเศษวิชาการเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

28

Dystopia x Thistopia.indd 28

1/2/2561 0:35:23


Why? ทําไมต้องกลัวเผด็จการ? โดย อภิรดา ครองเพียรเลิศ

WAR IS PEACE FREEDOM IS SLAVERY IGNORANCE IS STRENGTH

O WAR IS PEACE FREEDOM IS SLAVERY IGNORANCE IS STRENGTH

“คุณคิดอย่างไรกับเผด็จการคะ?” ฉันมีโอกาสได้ถามคําถามนี้กับคนอื่นเกิน 10 ครั้งในชีวิต ซึ่งปฏิกิริยาตอบกลับที่ได้รับก็มักไม่ตา่ งจากเดิม “ถามทําไม” “ก็น่ากลัว มั้ง.....ไม่รู้สิ ผมไม่ค่อยสนใจเรื่องการเมืองเท่าไหร่” “(มองซ้ายขวา....เอามือป้องปากแล้วทําเสียงกระซิบ) ถามอะไรแบบนี้ เดี๋ยวก็โดนเรียกไปปรับทัศนคติหรอก” การตั้งคําถามถึงระบอบเผด็จการ เป็นสิ่งที่เรามักทํากันในที่ลับ เพราะนอกจากเผด็จการจะไม่เคยฟังเสียงเราแล้ว ยังจัดการกับชีวิตของเราได้ทุกเมื่อ คงไม่มีใครอยากให้กลุ่มคน น่ากลัวมายืนเคาะประตูบ้าน และคงไม่มีใครอยากถูกคุมขังโดยไม่มีการไต่สวน เมื่อเป็นเช่นนี้ ประเทศที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการจึงมีสภาพไม่ต่างจากโลกดิสโทเปีย ที่ใช้ระบอบเผด็จการเป็นหัวใจสําคัญในการควบคุมคน และแน่นอนว่าพวกเขาจะทําอย่างไรก็ได้เพื่อให้ตนได้ครองอํานาจ โดยไม่มีความจําเป็นต้องชายตามองประชาชน “เผด็จการ” คืออะไร เผด็จการ (Dictatorship) คือ รูปแบบหนึ่งของการปกครองที่รวมอํานาจทุกอย่างไว้ท่ีบุคคลหรือคณะคณะเดียว จุดมุ่งหมายของเผด็จการ คือ ทําให้ผู้นําได้อยู่ในอํานาจนาน ตราบเท่าที่ใจอยากอยู่ โดยที่ประชาชนไม่มีสิทธิ์ตรวจสอบหรือตั้งคําถามถึงความถูกต้องใดๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อโลกภายนอกเริ่มขานรับประชาธิปไตย เผด็จการต้องคิดหาวิธีเข้าครอบครองประเทศซึ่งต่างกับอดีต เพื่อมิให้ประชาชนรู้ตัวและรวมตัวกันขับไล่ กล่าวคือ รัฐบาล เผด็จการที่เดิมทีจะยึดอํานาจโดยไม่สนใจประชาชน

29

Dystopia x Thistopia.indd 29

1/2/2561 0:35:24


หั น มาใช้ก ารโฆษณาชวนเชื่ อ (Propaganda) อย่า งค่อ ยเป็น ค่อ ยไปก่อ นเข้า ยึ ด ครอง เพื่อให้ประชาชนวางใจว่าตนเข้ามาช่วยล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแต่กลับทุจริต หวังดีมาควํา่ กระดานเพือ ่ ล้มหมากทีเ่ ดินผิดกติกา เพราะสิง่ ทีอ ่ าํ นาจเผด็จการเกรงกลัวทีส ่ ด ุ คือ พลัง ลุกฮือของประชาชน พวกเขาจึ ง ต้อ งป้อ งกั น ด้ว ยการบรรจุ ค วามรู ้ค วามเข้า ใจใหม่ๆ เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดแรงต้านจากประชาชน

มาถึงตรงนี้ อยากให้คุณลองตั้งคําถามกับตัวเองว่าหลังจากที่คุณทําความรู้จักกับ เผด็จการแล้ว คุณจะยังกลัวเผด็จการอยู่หรือไม่??

ทําไมต้องกลัวเผด็จการ อาจารย์ประจักษ์ ก้องกีรติ ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ themomentum เกี่ยวกับ งานวิจัยชื่อ A Tales of Three Authoritarianism ว่าเผด็จการจะอยู่ได้ด้วยเครื่องมือ 3 อย่าง คือ การควบคุมด้วยอํานาจดิบ การบริหารเศรษฐกิจที่ทรงตัว และการควบคุม ทางอุดมการณ์

แต่หากคําตอบคือ “ไม่กลัว” ก็คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสาเหตุที่คุณไม่กลัวเผด็จการ เพราะต้อ งการเรี ย นรู ้วิ ธี รั บ มื อ กั บ เผด็ จ การ มิ ใ ช่เ พราะมองไม่เ ห็ น ว่า เผด็ จ การจะรุ น แรง จนต้องกลัวอย่างไร เพราะหากเป็นเช่นนั้น ก็หมายความว่า เผด็จการประสบความสําเร็จใน การใช้เครื่องมือชิ้นที่ 3 ควบคุมคุณเรียบร้อยแล้ว

หากคําตอบคือ “ยังกลัว” คําถามต่อไปคือ ทําไมต้องกลัว เพราะเผด็จการถืออาวุธ คุยกับประชาชน หรือเพราะเผด็จการมีลูกเล่นแยบยลเพื่อจะอยู่ในอํานาจได้อย่างยาวนาน

การควบคุมด้วยอํานาจดิบซึ่งก็คือ ความกลัว ถือเป็นเครื่องมือพื้นฐานของอํานาจ เผด็จการ หากแต่อํานาจดิบมิใช่อํานาจที่ยั่งยืนที่สุด เพราะไม่มีใครชอบการถูกบังคับกดขี่ ตลอดไป ด้วยเหตุนี้ เครื่องมือชิ้นที่ 2 จึงถูกนํามาใช้คือ รัฐบาลเผด็จการจะต้องบริหาร เศรษฐกิจให้อยู่ในระดับทรงตัว ไม่กระทบกับชีวิตของประชาชนมากนัก เพื่อให้ประชาชนยัง รู้สึกว่า แม้จะถูกจํากัดเสรีภาพไปบ้าง แต่ชีวิตก็ยังสะดวกสบาย และสุดท้าย เครื่องมือที่จะ ทําให้อํานาจยั่งยืนที่สุด คือ การควบคุมทางอุดมการณ์ เพื่อให้ประชาชนเชื่อว่า การปกครอง ด้วยระบอบเผด็จการในขณะนี้เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว

น่ากลัวกว่า ‘กลัว’ คือ ‘ไม่กลัว’ “ไม่ก ลั ว ” ในที่ นี้ หมายถึ ง ไม่ก ลั ว เพราะมองไม่เ ห็ น ว่า เผด็ จ การจะทํ า ให้ชี วิ ต ของตนเลวร้ายลง หรือเชื่อว่าเผด็จการจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศ สุรวิชช์ วีรวรรณ แสดงความคิดเห็นในบทความ ทําไมถึงยอมรัฐบาลเผด็จการ ว่า สาเหตุที่คนไทยจํานวนหนึ่งยอมจํานนต่อระบอบเผด็จการ เพราะต้องการใช้ระบอบนี้เป็น เครื่ อ งมื อ ขั บ ไล่รั ฐ บาลที่ ทุ จ ริ ต ทั้ ง ๆ ที่ พ วกเขาเองก็ ไ ม่ไ ด้ส นั บ สนุ น เผด็ จ การแต่อ ย่า งใด สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นการแก้ปัญหาที่น่าเศร้า เหมือนคุณตัดสินใจมีแฟนใหม่เพียงเพราะ อยากเลิกกับแฟนเก่า คุณคบกับเขาเพราะต้องการใช้เขาเป็นเครื่องมือ โดยที่คุณยังไม่รู้จัก เขาดี และไม่รู้แม้กระทั่งว่าใครกันแน่ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือของอีกคน หากมวลชนเหล่านั้นยืนยันว่าตนไม่ใช่ผู้ที่สนับสนุนอํานาจเผด็จการ ก็ต้องนับว่า พวกเขายินดียืนข้างประชาธิปไตย แต่การคาดหวังว่าเผด็จการที่เข้ามานั้นจะเป็นเผด็จการ แบบชั่วคราว ก็ดูจะเป็นความคาดหวังที่เลื่อนลอยเกินไปสักหน่อย เป็นความจริงทีร่ ะบอบเผด็จการในไทยไม่เคยดํารงอยู่ได้อย่างยัง่ ยืน คณะผู้ปกครอง จะต้องคืนอํานาจให้กบ ั ประชาชนในทีส ่ ด ุ ประวัตศ ิ าสตร์การเมืองและจํานวนครัง้ ทีม ่ ก ี ารชุมนุม ในประเทศเราบันทึกไว้เช่นนัน ้ แต่ความจริงที่ “จริงกว่า” ก็คอ ื สิง่ นัน ้ จะเกิดขึน ้ ได้ เมือ ่ ประชาชน รู้สึกตัวจริงๆ ว่ากําลังถูกปกครองด้วยระบอบเผด็จการ

คําถามคือ หากเราเป็นผู้ที่ยืนอยู่ข้างประชาธิปไตย เมื่อเราไม่ควรกลัวเผด็จการ แล้วเราควรทําอย่างไร ในรัฐบาลสมัยของ เอ็ดเวิร์ด ฮีท (Sir Edward Richard George ‘Ted’ Heath) ปีค.ศ. 1916-2005 ประเทศอังกฤษประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างหนัก เกิดการนัดกันหยุดงานของชนชั้นกรรมกร และยังมีปัญหา เรื่องผู้ก่อการร้ายไออาร์เอจากไอร์แลนด์ สถานการณ์เปราะบางเช่นนี้เป็นสภาพการณ์ที่เหมาะแก่การทํารัฐประหารเพื่อการยึดอํานาจเป็นอย่างมาก แต่ความคิดนั้นจะไม่มี ทางประสบความสําเร็จ เพราะคนอังกฤษมีประสบการณ์โชกโชนในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และยืนหยัดในความคิดของตัวเอง ดังนั้นหากจะถามว่า ไม่ควรกลัวเผด็จการ แล้วควรทําอย่างไร คําตอบคือ คุณควรเรียนรู้ทําความเข้าใจการปกครองทุกระบอบ และยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยที่ คุณยึดถือ อย่าให้มีใครหว่านล้อมหรือควบคุมคุณได้ เพราะสิ่งที่น่ากลัวกว่าการตั้งคําถามว่า “ทําไม?” คือ การเชื่อโดยไม่แม้แต่จะตั้งคําถามว่า “ทําไม ?”

30

Dystopia x Thistopia.indd 30

รายการอ้างอิง เอกพล บันลือ. (2559). ‘ทําไมระบอบเผด็จการจึงประสบความสําเร็จในสังคม ไทย งานวิจัยชิ้นใหม่ของ ประจักษ์ ก้องกีรติ. สืบค้นจาก : http://themomentum.co/momentum-feature-dictatorship-prajak

1/2/2561 0:35:52


Art’s Art’s

ศิลปะจะเป็นอย่างไร หากมนุษยชาติก้าวสู่ยุค Dystopia ?

ในภาพยนตร์ที่พูดถึงภัยพิบัติระดับโลกเรื่อง 2012 พวกเขาเก็บรูปตัวจริงของโมนาลิ ซ่า และงานศิลปะชิ้นเอกอื่นๆ ไว้ในที่ที่งานเหล่านี้จะปลอดภัยจากภัยพิบัติที่อาทำลายล้าง อารยธรรมทั ้ งหมดของมนุ ษยชาติ

Side

มนุษย์มก ั จินตนาการอยูเ่ สมอถึงอนาคต ไม่ใช่แค่กบ ั ของตน แต่ของพวกพ้อง ของเผ่าพันธุ์ สะท้อนออกมาในรูปแบบต่างๆ ทั้งภาพยนตร์ รูปวาด เพลง หรือวรรณกรรม แตกต่าง กันไปตามแต่เจ้าของจะจินตนาการขึ้นได้ แม้จินตนาการเหล่ า นี ้ จ ะมี ท ั ้ ง ในด้ า นดี แ ละแย่ ป ะปนกั น ไป แต่ ต ั ้ ง แต่ ข ึ ้ น ศตวรรษที ่ 21 เป็นต้นมา จินตนาการทั้งหลายก็ดูมีแนวโน้มจะเป็นไปในทางที่เลวร้าย ปัญหาสภาพอากาศ ที่ส่งผลต่ อ ผลผลิ ต ทางการเกษตร ปั ญ หาจํา นวนประชากรที ่ เ พิ ่ ม ขึ ้ น จนโลกแออั ด เหตุการณ์ภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้นจนไม่อาจรับมือได้ ปัญหาคุกคามจากเทคโนโลยีที่หันกลับ มาทํ า ลายมนุ ษ ย์ เ อง ฯลฯ ปั ญ หาเหล่ า นี ้ ด ู ม ี ค วามเป็ น ไปได้ ส ู ง ที ่ จ ะเกิ ด ขึ ้ น จริ ง ทั ้ ง นั ้ น หากมองจากสภาพการณ์ปัจจุบัน

ที ่ ท างของศิ ล ปะ ในวั น ที ่ โ ลกล่ ม สลาย

ดังนั้น ในภาพยนตร์เรื่อง 2012 ภาพโมนาลิซ่าและงานศิลปะที่ทรงคุณค่าชิ้นอื่นๆ จึง ถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัย ในฐานะสิ่งบรรจุรากเหง้าทางวัฒนธรรม ที่จะงอกเงยต่อได้ หากมีมนุษยชาติกลุ่มใดเหลือรอดสืบเผ่าพันธุ์ต่อไป มีแนวคิดหนึ่งให้ค่าศิลปะไว้ว่าเป็นเรื่องของชนชั้นสูง เป็นกิจกรรมของสังคมที่อุดม ด้วยอารยะ ศิลปะสะท้อนความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม สังเกตได้ว่าพื้นที่ที่ศิลปะเจริญ รุ่งเรืองจนถึงขีดสุด เช่น อารยธรรมอียิปต์ ยุโรปยุคเรอเนสซองส์ จีนยุคราชวงศ์ฮั่น หรือกระทั่งไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ล้วนเป็นพื้นที่ที่เจริญแล้วทางด้านอื่นๆ ของ สังคม

โดย ณัฐนันท์ พลอยประดับ

ดังเช่นข้อความทีว่ า่ ชนใดไม่มด ี นตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก พระราชนิพนธ์แปลใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห ่ วั รัชกาลที่ 6 จากต้นฉบับของวิลเลีย ่ ม เชคสเปียร์ (William Shakespeare) สะท้อนให้เห็นว่าศิลปะการดนตรีนั้นบ่งถึงความมีอารยะ ของผู้เล่นผู้ฟัง หรือคำกล่าวที่ว่า เมื่อมนุษย์มีทุกสิ่งที่ต้องการแล้ว พวกเขาก็จะเริ่มหันเข้าหาศิลปะ ศิลปะเป็นเหมือนสิ่งบนยอดสูงสุดบนพีระมิดความต้องการของมนุษย์ จะไปถึงหรือ สนใจไขว่คว้า ก็หลังจากที่ฐานอื่นๆ รองลงมาของพีระมิดได้รับการตอบสนองจน เต็มแล้ว งานศิลปะเรียกร้องความรู้ความเข้าใจรอบด้าน ศิลปินต้องมีความรู้ความเข้าใจใน ศาสตร์ต่างๆ เพื่อที่จะสร้างสรรค์ให้งานออกมาดี ทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทฤษฎีศลิ ป์ สุนทรียศาสตร์ และศาสตร์อน่ื ๆ เกีย ่ วกับมนุษย์ กระทัง่ ศาสตราจารย์ศลิ ป์ พีระศรี ก็ยังเคยกล่าวไว้ว่า “จงเรียนรู้ความเป็นมนุษย์เสียก่อน แล้วจึงเรียนศิลปะ” ก็ เ พราะศิ ล ปะเป็ น ปลายทางสุดท้า ยที่ม นุษ ย์จ ะมองหา จึง ไม่แ ปลกหากศิล ปะจะเป็น องค์ประกอบท้ายๆ ที่คนนึกถึงเมื่อต้องจินตนาการถึงโลกที่ล่มสลาย และเป็นไปได้ที่จะ คิดว่าในอนาคตทีม ่ นุษย์อาจยากจนข้นแค้น ขาดแคลนฐานแรกเริม ่ ของความต้องการ อย่างอาหารหรือที่หลับนอน พวกเขาจะหลงลืมละทิ้งสิ่งรื่นเริงบันเทิงใจอย่างศิลปะไป แต่... หากเป็นเช่นนั้น ศิลปะที่ก่อเกิดในหมู่ชนชั้นล่าง ในหมู่ชาวบ้านล่ะ ชาวไร่ชาวนาล่ะ ไม่มี คุณค่าใดเลยหรือ? เสียงโหยหวนในเพลงแจ๊สของคนดำ ลวดลายที่ถักทอลงไปบนผืนผ้าของชาวบ้าน เพลงรำเคียวเกี่ยวข้าวของชาวนา รูปเพ้นท์บนผนังถ้ำโบราณ สีสันที่วาดลงบนตัว ของชนเผ่ า แอฟริ ก ั น สิ ่ ง เหล่า นี้ไม่ม ีค ุณค่า พอให้ย กย่องเป็น ศิล ปะเลยหรือ?

31

Dystopia x Thistopia.indd 31

1/2/2561 0:36:34


Si de

เมื ่ อ มองหาสิ ่ ง ที ่ เ ลยพ้ น ไปจากสั ญ ชาตญาณตามธรรมชาติ แ ล้ ว ศิ ล ปะก็ เ ป็ น หนึ ่ ง ใน สิง่ แรกๆ ทีท ่ ำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ ทำให้มนุษย์เป็นเผ่าพันธุพ ์ เิ ศษต่างจากสิง่ มีชวี ต ิ อืน ่ บนโลก ภาพอารยธรรมมนุษย์ที่ตัดขาดจากศิลปะโดยสิ้นเชิงนั้นยากเย็นเหลือเกินที่จะจินตนาการ ออกมาได้

ในวรรณกรรมไตรภาคเรื่อง The Hunger Games ที่ผู้เขีย นจิน ตนาการโลกที่ถ ูก แบ่งออกเป็นเขตต่างๆ ซึ่งถูกปกครองด้วยแคปิตอล หรือเขตศูนย์กลางที่เป็นเหมือน เจ้าอาณานิคม ซึ่งอยู่ได้อย่างร่ำรวยด้วยของที่เขตอื่นๆ ต้องส่งส่วยมามากจนลำบาก แร้นแค้น ทางแคปิตอลเจริญแล้วด้วยเทคโนโลยีในทุกด้าน ผู้คนแต่งตัวด้วยสีสันฉูดฉาด ที่อยู่อาศัยถูกออกแบบอย่างดงามล้ำสมัย แต่ความเจริญก็ไม่ได้เป็นสิ่งกำหนดการเติบโต ของศิ ล ปะให้ อ ยู ่ แ ต่ ใ นแคปิ ต อล ในหมู ่ เ ขตชาวบ้ า นรอบนอก ผู ้ ค นก็ ย ั ง มี ก ารละเล่ น ตามประเพณีของตน ยังมีการออกแบบที่อยู่อาศัย และร้องรำทำเพลงในแบบของตน โดยเฉพาะเพลงโน้ตสูงต่ำ 4 ตัว ที่ในที่สุดก็กลายมาเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของการ ปฏิวัติ

ในด้านหนึ่ง ศิลปะอาจดูเรียกร้องอะไรมากมาย

กลับมาที่คำถาม ศิลปะจะเป็นอย่างไร หากมนุษยชาติก้าวสู่ยุค Dystopia ?

แต่ในอีกด้าน ศิลปะก็กลับไม่เรียกหาอะไรเลย นอกจากหัวใจที่โหยหาการปลอบประโลม ของมนุษย์เท่านั้น

ก่อนจะตอบคำถามนี้ เราอาจต้องกลับไปย้อนคิดทบทวนว่าเราเลือกเอาศิลปะไว้ที่ไหน บนชั้นสูงสุดของหอคอย? หรือในห้องใต้ดินของจิตใจ?

ในยุคกลางที่สถาบันศาสนาขึ้นเป็นสถาบันใหญ่สุดในสังคมยุโรป ขึ้นเป็นสถาบันที่ชี้ถูกผิด จริงเท็จแทนศาสตร์อื่นๆ ในเวลานั้นศิลปะถูกจำกัดกีดกันลดความสำคัญลงไปเป็นเพียง สิ่งรับใช้ศาสนา แต่ ใ นแสงริ บหรี ่ ศิ ล ปะก็ ค่ อ ยๆ เติ บโตแผ่ ก ิ ่ ง ก้ า นเล็ ก ๆ ตามชายขอบ ซอกซอย จนกระทั่งผลิดอกบานในยุคเรเนสซองส์ได้ในที่สุด

อนาคตของศิลปะนั้น เป็นไปได้หลายทางที่จะจินตนาการ ด้วยเพราะศิลปะเป็นผลผลิตจาก สังคม สิ่งกำหนดความเป็นไปของศิลปะจึงคือ ความเป็นไปของสังคมมนุษย์

ขณะทีศ ่ ล ิ ปะคือสิง่ สูงสุดทีต ่ อบสนองความต้องการของมนุษย์ เราก็ปฏิเสธไม่ได้วา่ ศิลปะเอง เป็นสิ่งพื้นฐานที่สุดของอารยธรรมมนุษย์เช่นกัน ในหลายๆ ครั้ง ศิลปะไม่ได้ทำหน้าที่ เพี ย งเพื ่ อ ความบั น เทิ ง เพื ่ อ สะท้ อ นถึ ง ความคิ ด สลั บ ซั บ ซ้ อ นของยุ ค สมั ย เพื ่ อ แสดง ความยิ่งใหญ่ทางวัฒนธรรม แต่ทำหน้าที่เพื่อปลอบประโลมใจแก่ผู้คนด้วย

ในภาพยนตร์เรื่อง Snowpiercer ที่ผู้เขียนบทจินตนาการโลกอนาคตที่ปกคลุมไปด้วย น้ำแข็ง เพราะความผิดพลาดของสารทำความเย็นลดโลกร้อนที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ

คํ าตอบของคํา ถามนี ้ จ ึ ง อยู ่ ที่เจ้าของจินตนาการว่าวาดภาพ Dystopia แบบไหนไว้ ในบาง Dystopia ศิลปะอาจไม่มีหอคอยโออ่าคอยรองรับ ในบาง Dystopia อาจมองไม่ เห็นว่าเราจะคงอารยธรรมที่เรายึดมั่นไว้อย่างไร แต่หาก Dystopia นั้นยังมีมนุษยชาติหลงเหลืออยู่ด้วย ศิลปะก็คงจะยังไม่ล่มสลาย

ในภาพยนตร์นี้ มนุษย์กลุ่มสุดท้ายอยู่ร่วมกันแบบแบ่งชนชั้นในรถไฟขบวนหนึ่งที่ยังวิ่ง รอบโลกอยู ่ ด ้ ว ยระบบแบบปิ ด ของมั น เอง ที ่ ห ั ว ขบวนคื อ กลุ ่ ม คนรวยที ่ ย อมจ่ า ย ตั๋วแพงขึ้นรถไฟ พวกเขามีทั้งความสะดวกสบายอยู่ในห้องขบวนที่ออกแบบอย่างสวย หรู มีทั้งสิ่งบันเทิงต่างๆ รวมถึงดนตรี ขณะเดียวกัน ที่ท้ายขบวนในหมู่คนจนที่ขึ้นรถไฟ มาฟรี ต้องอยู่อย่างแออัดและสกปรก แต่ในกลุ่มคนจนเหล่านั้นก็มีชายคนหนึ่งที่เลือก จะมีความสุขด้วยการวาดรูปสิ่งต่างๆ ที่ตนเห็นบนรถไฟ แม้สิ่งเหล่านั้นจะคือภาพผู้คนที่ สกปรกไม่น่าดู

32

Dystopia x Thistopia.indd 32

1/2/2561 0:37:06


ความเป็นส่วนตัวของเรา

หายไปไหน โดย นิชาภา มณีวรรณ

หากใครเคยดูหนังในต�านานเรื่ อง 1984 จะต้ องคุ้นเคยกับประโยคสุดฮิต อย่าง “Big Brother is watching you” อย่างแน่นอน ภายในเรื่ องนี ้ คนในเมือง จะรู้สกึ ว่ามีดวงตาของ Big Brother คอยจับจ้ องทุกการกระท�าอยูต่ ลอดเวลา การถูกจับจ้ องนี ้ น�ามาสูค่ วามกลัว และท�าให้ เกิดการจับตามองและตรวจสอบ กัน เองของคนในเมื อ ง ทุก คนอยู่กัน อย่างหวาดระแวง รู้ ตัวอี กที อิสรภาพที่เคยมีก็หายไปเสียแล้ ว

ในสัง คมปั จ จุบัน ที่ เ ราอยู่ก็ไ ม่ไ ด้ ต่า งจากใน 1984 สัก เท่า ไร แม้ ไม่ได้ มีดวงตาของพี่เบิ ้ม Big Brother คอยควบคุม แต่ก็ใช่วา่ เรา จะไม่ถกู จับจ้ องหรือถูกตรวจสอบ เคยไหมทีร่ ้ ูสกึ เหมือนตัวเองถูกจ้ องมอง ตลอดเวลา จะท�าอะไรก็ต้องคอยคิดอยู่ตลอดว่าคนอื่นจะมองอย่างไร ออกไปข้ างนอกไปสถานที่ต่างๆ ก็ต้องพยายามท�าตัวให้ เหมือนคนอื่น จะแต่ง ตัว ก็ ต้อ งคิด ว่า คนอื่ น จะมองอย่า งไร เรากลมกลื น กับ เขาไหม ปฏิบตั ิตวั ผิดแปลกไปจากคนอื่นหรื อเปล่า หรื อแม้ แต่ในโลกออนไลน์ จะโพสต์อะไรก็ต้องคอยค�านึงถึงคนนู้นคนนี ้ ทังๆ ้ ที่เราก็โพสต์ในพื ้นที่ที่เรา คิดว่าเป็ นพืน้ ที่ส่วนตัวของเรา ไม่ว่าจะมีคนคอยจับจ้ องเราอยู่หรื อไม่ แต่เราก็ได้ ปฏิบตั ติ วั เหมือนมีคนก�าลังจ้ องมองและตรวจสอบเราอยูต่ ลอดเวลา พีเ่ บิ ้ม Big Brother ใน 1984 ได้ เปลีย่ นร่างมาอยูใ่ นรูปของจารีตประเพณี และบรรทัดฐานความดีงามต่างๆ มากมายในยุคสมัยนี ้ เราจะพบเห็นคนที่ ท�าหน้ าที่เป็ นผู้ผดุงคุณธรรมและคุณงามความดีต่างๆ ในสังคมมากมาย ผู้ผดุงคุณธรรมจะคอยตรวจสอบสิง่ ต่างๆ รอบตัวทังในโลกออฟไลน์ ้ และออนไลน์ หากพบสิง่ ที่ผิดแปลกไปจากสิง่ ที่เขาคิดว่าควรจะเป็ น ก็สามารถสวมบทบาท ผู้พิทกั ษ์ บรรทัดฐานของสังคมได้ ทนั ที โดยเฉพาะในสมัยนี ้ที่การเป็ นคนดีนนั ้ ง่ายแสนง่าย เพียงแค่มีกล้ องและโซเชียลมีเดีย ก็สามารถบันทึกและเผยแพร่ สิง่ ที่พบเจอได้ ทกุ ที่ทกุ เวลา การบอกว่าการกระท�าของคนอื่นนันไม่ ้ ดีอย่างไร ก็เป็ นการบอกว่าเรานัน้ เป็ นผู้ที่ปฏิบตั ิตรงกันข้ าม เป็ นการบอกว่าตนเป็ นคนดีโดยอัตโนมัติ อย่ า งน้ อ ยที่ สุด ก็ เ ป็ นการสื่ อ สารว่ า เรานัน้ ดี ก ว่ า ผู้ที่ เ ราก� า ลัง ต� า หนิ อ ยู่ ดังตัวอย่างเรื่องสีเสื ้อในช่วงไว้ อาลัยรัชกาลที่ 9 เราจะพบเห็นผู้ทใี่ ส่เสื ้อสีผดิ แปลกไปจาก ผู้อื่น เช่น สีชมพู หรื อสีแดง ถูกถ่ายรู ปมาประจานในโซเชียลมีเดียได้ ค่อนข้ างบ่อยใน ช่วงนี ้ ผู้ที่ถ่ายรู ปมาจะกลายเป็ นคนดี เป็ นคนที่รักพระมหากษัตริ ย์ และปฏิบตั ิตาม บรรทัด ฐานของสัง คมโดยทัน ที ส่ ว นผู้ที่ ถูก ถ่ า ยมาก็ จ ะกลายเป็ นคนชั่ว ไม่ รั ก ชาติ ไม่ร้ ู จกั กาลเทศะไปโดยปริ ยาย และสังคมก็พร้ อมตัดสินทันทีโดยไม่รอค�าอธิบายหรื อ พิจารณาอย่างถี่ถ้วนเสียก่อน เหตุการณ์เช่นนี ้เกิดขึ ้นแทบทุกวันในสังคมที่เราอยู่ เรามีคนที่พร้ อมแสดงตัวเป็ น คนดี ม ากมาย มี ค นที่ ต กเป็ นเหยื่ อ และเป็ นคนไม่ดีโ ดยไม่มี โ อกาสได้ อ ธิ บ ายเช่น กัน เราอยูใ่ นสังคมที่การจับจ้ องและตรวจสอบผู้อื่นเป็ นเรื่ องปกติ และเราเองก็ถกู ปลูกฝั งมา ให้ คอยสอดส่องและจับจ้ องผู้อนื่ เช่นกัน เราถูกท�าให้ ร้ ูสกึ ว่าการจับจ้ องผู้อนื่ เป็ นการกระท�า เพื่อช่วยตรวจสอบสังคมให้ ด�าเนินไปอย่างปกติ ราบรื่ น ดังค�ากล่าวที่วา่ คนในสังคมต้ อง ช่วยกันเป็ นหูเป็ นตา การเป็ นหูเป็ นตานี ้ไม่ได้ จ�ากัดว่าต้ องเป็ นเรื่ องอะไร ไม่มีขอบเขต หรื อเส้ นแบ่งที่แน่นอน การเป็ นหูเป็ นตาหรื อการจับจ้ องจึงกลายเป็ นเหมือนหน้ าที่หน้ าที่ หนึง่ ของคนในสังคมด้ วยซ� ้า

“การตัดสินทางจริยธรรม” ต่อบุคคล สถานที่ หรือต่อเหตุการณ์ทเี่ กิดขึ ้น ใครๆ ก็สามารถมีสว่ นในการตัดสินนี ้ได้ เพราะการแสดงความคิดเห็น ท�าได้ อย่างง่ายดาย และผู้ทถี่ กู ตัดสินอาจเป็ นใครก็ได้ คนทีถ่ กู พูดถึง ไม่ใช่แค่กลุม่ คนดัง ดารา หรือเน็ตไอดอลอีกต่อไป ต่อให้ เป็ นตาสี ตาสา ทังที ้ ่เล่นโซเชียลมีเดีย หรื อไม่ได้ เล่นก็อาจโดนน�ามาเผยแพร่ไว้ ในโลกนี ้ และสามารถกลายเป็ นประเด็นของการพูดถึงไปได้ หมด จนอาจกลายเป็ น คนดัง (ทัง้ ทางที่ ดี แ ละไม่ ดี ) ภายในชั่ ว ข้ ามคื น การถูก เฝ้ าสัง เกต หรื อ จับ จ้ อ งโดยไม่ ร้ ู ตัว และการที่ ผ้ ูค นสามารถขุด เรื่องเก่าๆ ขึ ้นมาพูดถึงซ� ้าได้ อกี นีเ่ อง ได้ กลายเป็ นเครื่องมือ “ควบคุมทางวินยั ” ในสังคมยุคใหม่ที่ท�าให้ ใครก็สามารถ “ควบคุมทางวินยั ” คนในสังคมได้ ไม่เหมือนกับยุคสมัยก่อนทีม่ เี ฉพาะ “ผู้มอี า� นาจ” ทีจ่ ะสัง่ ควบคุมทางวินยั ได้ เราอาจรู้สกึ ว่าการเปลี่ยนรูปแบบทางสังคมนี ้ท�าให้ เราถูกละเมิด มากขึ ้น ทังละเมิ ้ ดจากคนที่เราไม่ร้ ูจกั ทังถู ้ กจับจ้ อง จากผู้อนื่ ทังจากระเบี ้ ยบวินยั และบรรทัดฐาน ของสังคมทีค่ อยกดดันและบีบรัดให้ร้ สู กึ เหมื อ นตัว เราหดแคบลง แต่ ใ นขณะเดี ย วกั น อาจจะเป็ นเราเอง ที่มีสว่ น ในการละเมิดผู้อนื่ เพราะเมือ่ ใครๆ ก็สามารถจับจ้ องคนอื่นได้ และการจับจ้ องเป็ นสิง่ ที่สามารถท�าได้ งา่ ยดาย เราเองก็อาจเป็ น Big Brother ส�าหรับผู้อื่นโดยไม่ร้ ูตวั ว่าแต่..วันนี ้คุณได้ ท�าอะไรผิดแปลกไปจากคนส่วนใหญ่หรื อเปล่า Big Brother มองคุณอยูน่ ะ

YOU Dystopia x Thistopia.indd 33

KNOW

NEED

แล้ว Big Brother จาก 1984 ไปเกีย่ วข้องอะไรกับคนในยุคศตวรรษที่ 21 ล่ะ

การถูกจ้ องมองหรื อจับจ้ องนี ้ไม่ได้ จ�ากัดอยูแ่ ค่การจ้ องมองในโลก แห่งความเป็ นจริงเท่านัน้ การจ้ องมองยังเกิดขึ ้นในสังคมออนไลน์ด้วย แต่กอ่ นผู้คน ใช้ โซเชียลมีเดียเป็ นพืน้ ที่ในการแสดงออกถึงความคิดของตนเมื่อไม่สามารถ แสดงออกในโลกออฟไลน์ได้ พื ้นทีอ่ อนไลน์จงึ ได้มอบอิสระในการแสดงความคิดเห็น แก่เจ้ าของ แต่เมือ่ เวลาผ่านไป จ�านวนประชากรในสังคมออนไลน์เพิม่ ขึ ้น จนเริ่ มแออัด และหนาแน่นไปด้ วยผู้คนไม่ต่างจากโลกออฟไลน์ พฤติกรรมการจับจ้ องจึงเกิดขึ ้นตามมา ท�าให้ เกิดการ “เฝ้าระวัง” อย่า งไม่มี ร ะเบี ย บ ไม่มี ช่ว งเวลาหรื อ การกระท�า ที่ ชัดเจน ในการ“เฝ้าสังเกต” ใคร หรือกลุม่ ใดกลุม่ หนึง่ ซึง่ ท�าให้ ผ้ ทู ถี่ กู เฝ้าสังเกต ไม่สามารถประเมินตัวเองได้ ว่าจะถูกสังเกตเรื่ องไหน ตอนไหน และการทีใ่ ครก็เข้ าถึงสือ่ ได้ งา่ ยในฐานะผู้สง่ สาร ท�าให้ เรายิง่ ไม่ร้ ูวา่ ใครที่ “เฝ้าสังเกต” เราอยู่บ้าง การเฝ้าสังเกตและการจับจ้ องนี ้ สะท้ อนให้ เห็นชัดเจนจากการเกิดขึ ้นของ ”มนุษย์กล้ อง” ทีเ่ ฝ้าสังเกต สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ น้ รอบตัว และน� า มาเผยแพร่ ใ นโลกอิ น เทอร์ เ น็ ต ทัง้ เพื่อความขบขัน แชร์ ประสบการณ์ หรื อเพื่อประจาน

33

1/2/2561 0:37:14


Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why 34

Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Whyลองถามตั Why Why Why Why วเองกันดูอีกครั้ง? ทุ่นดำ Why Why Why WhyโดยWhy Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why

Dystopia x Thistopia.indd 34

WhySpread! ทำไมเราถึงมองว่าคนที่นับถือผี หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ “งมงาย”

Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why Why

ตราบใดที่ความกลัวยังอยู่เคียงข้างมนุษย์ ตราบนั้นก็ยังมีสิ่งที่มองไม่เห็นคอยยึดเหนี่ยวจิตใจตลอดเวลา วิวัฒนาการที่ถูกพัฒนา มาอย่างต่อเนื่องทั้งกายภาพและจิตใจส่งผลทำให้เกิดระบบความคิด ความเชื่อ จนผลิตเป็นศาสนาในที่สุด คนในยุคปัจจุบันบางคนมักมองว่าพวกเขา ไม่รู้จักพึ่งพาตัวเอง เอะอะก็กราบไหว้บนบานศาลกล่าว เจออะไรที่แปลกประหลาดก็เดาไปว่าเป็นของวิเศษ เป็นอิทธิฤทธิ์ของผีบันดาลให้เกิดขึ้น แต่หากลองมองกลับมุมแล้ว การสืบทอดเรื่องราวเหล่านี้อาจหมายถึงการมีตัวตนของสิ่งเหนือธรรมชาติหรือไม่ การเอากรอบวิทยาศาสตร์ มาตัดสินนั้นเป็นการจำกัดขอบเขตการรับรู้ของเราหรือเปล่า และท้ายที่สุด “ความงมงาย” วัดกันที่อะไร มีแต่มนุษย์ที่มี “วัฒนธรรม” เท่านั้น จริงๆ หรือ

เรามักจะชอบบอกว่ามนุษย์เป็นมนุษย์เพราะมีวัฒนธรรม สิ่งมีชีวิตอื่นๆ นั้นป่าเถื่อน แต่หากเราแปลความหมายของคำว่า “วัฒนธรรม” ใจความคื อ สิ่ ง ที่ ป ฏิ บั ติ สื บ ทอดกั น มาจากรุ ่ น สู ่ รุ ่ น เพื่ อ ความเจริ ญ ก้ า วหน้ า ของการดํ า รงชี วิ ต ของมนุ ษ ย์ แล้ ว ธรรมชาติ ที่ อ ยู ่ ร อบข้ า งเราล่ ะ ไม่มีวัฒนธรรมบ้างหรือ เราเองอาจจะใช้กรอบความคิดทางวัฒนธรรมของมนุษย์ไปตีความว่าพวกสัตว์หรือพวกพืชอื่นๆ ไม่มีวัฒนธรรมหรือไม่ เสียงร้องของพวกมันอาจจะเป็นภาษาเหมือนของพวกเรา ต้นไม้อาจจะมีการส่งสัญญาณหากันโดยที่ไม่บอกใคร หรืออื่นๆ อีกมากมายที่เกิดขึ้นวน เรื่อยไป แล้วอะไรกันล่ะคือตัวกำหนดการมีวัฒนธรรมในสิ่งมีชีวิต เราสามารถ “เป็นกลาง” ได้จริงเหรอ

สำหรับความเป็นกลางแล้ว แต่ละคนเองก็มองไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงต้องหาช่องว่างที่ห่างกันพอดีของแต่ละคนกำหนดขึ้นไว้เพื่อป้องกัน ปัญหาทีจ่ ะเกิดขึน้ ทว่าความเป็นกลางทีก่ ำหนดนัน้ มีความเป็นกลางจริงๆ หรือเปล่า หรือแม้แต่ตวั บทกฎหมายทีค่ ด ิ ว่าจะยุตธิ รรมทีส่ ด ุ ยังลำเอียงได้ ระบบการเมืองที่คิดว่าเที่ยงธรรมยังแบ่งขั้วการเมืองออกเป็นซ้ายทีขวาที แม้แต่เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่างฝักต่างฝ่ายก็ยกเอาความคิด ของตัวเองขึ้นมาเพื่อปฏิบัติการอะไรบางอย่างแล้วอ้างว่าเราจำเป็นต้องทำเพราะเราถูกกระทำแบบนั้น โดนโจมตีแบบนี้ หลายครั้งที่เรามักบอกว่าตัว เองเป็นกลาง แต่เราก็เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ โดยจำเป็น แล้วในทีส่ ด ุ ในโลกนีม้ ี “ตรงกลาง” จริงเหรอ แล้ว “ตรงกลาง” ทีว่ า่ นี้ คือตรงกลางของใครกัน จริงหรือไม่ เราทำได้ทุกอย่างแค่ลงมือทำ

อาจจะเป็นคติประจําใจของใครหลายๆ คนในการเดินทางไปสู่ฝันอันยิ่งใหญ่หรือทะลุเป้าหมายที่ท้าทายของตัวเอง คําพูดนี้มีอิทธิพล ต่อสังคมอย่างมากในการทำอะไรหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดียิ่งขึ้น แต่บางครั้งการลงมือ ทำของเรานั้นขัดผลประโยชน์ของใครบางคน บางครั้งการลงมือทำของเราก็ต้องระแวดระวังความเห็นจากคนรอบด้าน เพราะเราอยู่ใน “สังคม” ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว แค่เราลงมือทำก็พอจริงๆ หรือ

1/2/2561 0:37:15


Short Story “Ape Age” โดย ชัญชนันท์ เพชรสวพันธ์

“...เข้ามาสิ อ้อ! เธอนี่เอง นักเรียนใหม่ มานั่งก่อนสิ” ชายวัยกลางคนเงยหน้าขึน ้ จากกองเอกสาร แขนทีป ่ กคลุมด้วยขนสัน ้ สีเทา กวั ก เรี ย กลู ก ศิ ษ ย์ ขนยาวสีดํา ข้า งศีรษะขยับ ไปมาขณะที่อ าจารย์ พยักหน้าทักทาย เด็กหนุ่มรูปร่างสูงใหญ่เดินมานั่งตามคําเชิญอาจารย์ใหญ่ที่ ยิ้มให้พลางมองสํารวจเสื้อแขนยาวแบบมีฮู้ดตัวหลวมสีดํา ท่อนล่าง เป็นกางเกงยีนส์กบ ั รองเท้าผ้าใบ ขนสีนาํ้ ตาลเข้มทีโ่ ผล่พน ้ ชายแขนเสือ ้ สิ ่ ง เหล่า นี ้ ดู ไ ม่ แ ตกต่ า งจากนักเรีย นที่เ คยพบ แต่ส ิ่ง ที่เ ขากัง วลคือ ใบหน้าหลากสีสัน จมูกแดง และแก้มสีน้ําเงินที่ดูโดดเด่นแปลกตา อย่างเห็นได้ชัด “เธอชื่อแดนสินะ เป็นสายพันธุ์...เอ่อ...” อาจารย์ที่ก้มลง ตรวจเอกสารส่งตัวเอ่ยอย่างรีรอ “ครับ ผมเป็นแมนดริล” แดนตอบชัดถ้อยคําจนเขาประหลาดใจ เล็กน้อย แต่กป ็ รับเปลีย ่ นสีหน้าให้ดเู คร่งขรึมเช่นเดิมได้ทน ั “ยินดีต้อนรับนะแดน! ย้ายมากลางเทอมอาจจะฉุกละหุก ไปหน่อย แต่ไม่ตอ ้ งกังวลไป จากผลการเรียนทีด ่ เี ยีย ่ มของเธอ ฉันมัน ่ ใจ ว่าเธอจะไม่มีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับวิชาต่างๆ ที่นี่” อาจารย์พูด อย่างให้กําลังใจ “ส่วนเรื่องสถานที่ต่างๆ ในโรงเรียน ฉันได้เตรียม ผู้ช่วยให้เธอแล้ว” อาจารย์ ใ หญ่ ผ ายมื อ สี เ ทาไปยั ง เก้ า อี ้ ต ั ว เล็ ก ตรงมุ ม ห้ อ ง แดนสะดุ้งเล็กน้อยเพราะไม่ทันสังเกตว่ามีใครอื่นอยู่ด้วย “นี!่ เซธ เพือ ่ นร่วมชัน ้ ของเธอ เขาค่อนข้างจะตัวเล็กไปหน่อย แต่เรียนรุ่นเดียวกับเธอนี่ล่ะ” ชายวัยกลางคนแนะนํา พลางลุกขึ้นจาก เก้าอี้เดินนําแดนไปหาอีกฝ่าย ทว่าเซธกลับไม่มีทีท่ายินดีนัก เขาจ้องแดนอย่างหวาดกลัว ตั ว ที ่ เ ล็ ก อยู ่ แ ล้ ว คล้ า ยจะหดลงไปอีก จนแทบจะหายไปในกํา แพง ด้านหลัง เด็กใหม่ดูไม่แปลกใจกับท่าทางเช่นนี้ ในขณะที่อาจารย์ใหญ่ พยายามกระแอมกระไอให้วานรร่างเล็กแนะนําตัวเองเสียที “ฉ...ฉัน...เซธ ยิน...ยินดี...ที่ได้รู้จัก...” เขาพูดเสียงดังกว่า กระซิบเพียงนิดเดียว อาจารย์ใหญ่ที่คอยทีอยู่จับเก้าอี้ของเซธลาก ออกจากมุมห้อง มาประจันหน้ากับแดนโดยตรง ก่อนโน้มตัวลงไปดึงเขา ขึน ้ มา “สนิทกันไว้ละ่ หนุม ่ ๆ เซธ! เธอพานักเรียนใหม่ไปเดินสํารวจ รอบโรงเรียนนะ บอกเขาด้วยว่าอะไรอยูต ่ รงไหนบ้าง” อาจารย์หน ั มาพูด กับแดนต่อ “เธอไปกับเซธนะแดน ครูลงวิชาเรียนให้เธอเหมือนเซธ ทุกคาบ” เซธส่งเสียงโอดครวญแผ่วเบา “เรียนแบบนี้ไปก่อนละกัน อย่างน้อยก็มีคนดูแล ถ้าอยากปรับเปลี่ยนอะไรก็มาพบครูได้ วันนี้ครู ขอตัวก่อนล่ะ” อาจารย์ใหญ่ตบไหล่แดนเบาๆ แล้วเดินออกจากห้องไป

35

Dystopia x Thistopia.indd 35

1/2/2561 0:37:15


เพือ ่ นร่างเล็กมองตามหางยาวสีเทาเข้มสลับอ่อนของอาจารย์ใ หญ่ จนพ้ น ประตู แ ล้ ว ค่ อ ยหั น มาสบตาแดนอย่ า งเลี ่ ย งไม่ ไ ด้ เด็ ก หนุ ่ ม เห็ น อาการดังนั้น จึงเป็นฝ่ายออกปากชวนคุยก่อน “นายเป็นแฟนทีม D. Monkey เหรอ?” แดนถามแบบสบายๆ พลางชี้ ไ ปที่ เ สื้ อ ยื ด สี ส ดของอี ก ฝ่ า ยซึ่ ง ตั ด กั บ แขนที่ ป กคลุ ม ด้ ว ยขนสี ส้ ม อย่างชัดเจน เมื่อได้ยินชื่อฟุตบอลทีมโปรด ดวงตากลมโตสีดําของเซธ ก็เป็นประกายขึ้นมาทันที “หูยยย...แฟนเหรอ? ฉันเป็นทาสทีมนี้เลยล่ะ! ตามมาตั้งแต่อยู่ เกรด 5 เชียวนะ ไม่เคยทําให้ผิดหวังสักฤดูกาล” เซธพูดอย่างมีความสุข “ว่าแต่...นายดูฟุตบอลด้วยเหรอ?” วานรตัวจ้อยถามกลับบ้าง “อยากให้ โ ชว์ ไ หมล่ ะ ?” แดนหยิ บ พวงกุ ญ แจอั ก ษรย่ อ D.M. อันเก่า เก็ บ มาชู ให้ เ พื ่ อ นดู “เริ ่ ม ตามตอนเกรด 7 อาจไม่ ใ ช่ แ ฟนตั ว ยง เท่านาย แต่ก็ไม่นอกใจทีมนี้แน่นอน” เขาพูดแล้วยิ้มให้อีกฝ่ายที่ท่าทาง หายเกร็งเป็นปลิดทิ้ง “ที่นี่มีสมาคมแฟนคลับทีม D.M. ด้วยนะ เวลารวมตัวกันเชียร์นี่ มันสุดเหวี่ยงเลยล่ะ!” เซธเล่า “ฉันจะพานายไป... เอ้อ! ที่จริงฉันควรจะพา นายสํารวจห้องเรียนก่อนสินะ” เซธพูดเหมือนเพิง่ นึกขึน ้ ได้ เขากระโดดยืดตัวตรง แล้วกึ่งเดินกึ่งกระโดดนําไปอย่างร่าเริง “ตามมาเลยเพื่อน!” ............................................................... โรงเรียนมัธยมแห่งนีก ้ ว้างขวางและเต็มไปด้วยวานรหลากสายพันธุ์ เสียงเจี๊ยวจ๊าวจนถึงขั้นโหวกเหวกตามประสาวัยรุ่นดังขึ้นไม่ขาดสายชวนให้ แดนรูส ้ ก ึ ครึกครืน ้ ตาม เซธชีโ้ น่นนี่ แนะนําไปตลอดทางด้วยท่าทีทเ่ี ปลีย ่ นไปมาก “เลีย ้ วซ้ายตรงโน้นเป็นห้องพยาบาลนะ ถัดไปก็หอ ้ งน้าํ ส่วนนัน ่ ฌอน ก็ไม่ใช่คนเด่นดังอะไรหรอก แต่เขาเป็นอุรงั อุตงั น่ะ นายคงไม่อยากเข้าห้องนํา้ ต่อจากเขาแน่...” เพื่อนร่างเล็กพูดติดตลก เมื่อได้พูดแล้วเขาก็พูดไม่หยุดที เดียว

เซธกระโดดนํามาจนถึงบริเวณตูเ้ ก็บของของนักเรียน ทีม ่ ห ี ลายขนาด เรียงรายเต็มพื้นที่ไปหมด บ่งบอกถึงจํานวนวานรที่มหาศาลตามจํานวนตู้ เขาหยุดหน้าล็อกเกอร์ใบใหญ่ชด ุ หนึง่ แล้วชีท ้ ช่ี น ้ั บน “อันนัน ้ ของนาย ตามสบาย เลยเพื ่ อ น!” แดนดีใจที่มีล็อกเกอร์เท่ๆ ไว้เก็บของส่วนตัว เขาย้ายโรงเรียน ตามพ่ อ แม่ ท ี ่ เ ปลี ่ ย นงานอยู่บ่อ ยครั้ง เคยเจอโรงเรีย นมาแทบทุกรูปแบบ และที่นี่เป็นเหมือนโรงเรียนในฝันจริงๆ ขณะที่แดนกําลังจินตนาการว่าจะตกแต่งข้างในล็อกเกอร์อย่างไร เซธก็เอ่ยปากชวนคุยต่อ “ขึ้นไปอีกชั้นก็ถึงห้องสมาคมแล้วล่ะ ห้องไม่กว้าง มากเท่าไร คือ...เราอยูก ่ น ั แบบอบอุน ่ น่ะ หวังว่านายจะชอบนะ” เซธเงยหน้า มองแดนที ่ ส ู ง กว่า ตั ว เองเกือ บครึ่ง อีกฝ่า ยขยับเคราสีเ หลือ งส้ม ขึ้นเป็น รอยยิ้มอย่างใจดี “ไม่บอกก็รู้ว่ามันต้องเจ๋งแน่!” แดนตอบ “เยี ่ ย มไปเลย!” เซธดี ใ จ “นายนี ่ ไ ม่ เ ลวเลยนะ คื อ ...ฉั น ไม่ เ คย มีเพื่อนเป็นแมนดริล ก่อนหน้านี้ฉันเข้าใจว่าพวกนายออกจะ...” วานรตัวจ้อย กระอักกระอ่วน เมื่อรู้ตัวว่าตนพูดเกินจําเป็นไปเสียแล้ว แต่แดนดูจะไม่ถือสา “ออกจะหน้าตาสีสันสดใสไปหน่อย ก็ไม่เห็นแปลกนี่ ทีนายยังมี วงกลมสีดาํ อยูบ ่ นหน้าเลย” แดนพูดแล้วหัวเราะออกมา เมือ ่ เห็นอีกฝ่ายยกมือขึน ้ จับจมูกกับปากสีดําของตัวเอง “วานรมีหลายสายพันธุ์จะให้หน้าตาเหมือน กันหมดได้ยังไง?” เซธยิ้มเจื่อนๆ ก่อนเปลี่ยนสีหน้ามาร่าเริงอย่างรวดเร็ว “นั่นสินะ! ก็ จ ริ ง ของนาย งั ้ น ไปกั น เถอะ! เผื ่ อ แวะไปสมาคมทั น ก่ อ นเข้ า ห้ อ งเรี ย น อันที่จริง...ทําเลแถวนี้มันไม่ค่อยดีเท่าไรน่ะ” เพื่อนตัวเล็กจบประโยคด้วย เสียงกระซิบกระซาบ เด็กหนุ่มไม่ได้เอะใจคําพูดของเพื่อน จนกระทั่งมีเสียงโหวกเหวก ดังขึ้นจากข้างหลัง “เฮ้ย! เหมือนล็อกเกอร์ข้างนายจะมีเจ้าของใหม่แล้วนะ ฟรอย!” แดนหั น ไปทางต้ น เสี ย งก็ เ ห็ น มั ว ร์ ก ลุ่ ม ใหญ่ เ ดิ น ออกั น เข้ า มา ทุกตัวสวมเสื้อแจ็คเก็ตทีมโรงเรียนทับเสื้อยืด ประกอบกับร่างกายใหญ่โต ท่าทางดุดัน เด็กหนุ่มก็เดาได้ว่าพวกนี้คงเป็นแก๊งนักกีฬาอย่างแน่นอน

36

Dystopia x Thistopia.indd 36

1/2/2561 0:38:12


“เด็กใหม่...ของแปลกเสียด้วย” วานรทีช่ อ ่ื ฟรอยเดินแทรกมาข้างหน้า โหนกคิ้วเป็นสันกับตาสีเหลืองปูดโปนจ้องเขม็ง จากท่าทางคงเป็นหัวหน้า แก๊งกร่างนี่ แดนคิด เด็กนักเรียนใหม่รอบที่สิบสองอย่างเขาเดาได้ไ ม่ย ากว่า จะเกิ ด เหตุการณ์อะไรต่อไป เพียงแต่แสร้งทําเป็นไม่สนใจ “สายแล้วล่ะ ไปเถอะ” เด็กหนุม ่ พูดเสียงเรียบ ทําท่าจะเดินออกไป แต่กลับถูกกลุ่มมัวร์ขวางทางไว้จนมิด “จะไปไหนไอ้ลิงยักษ์?! ไม่อยู่คุยกันก่อนหรือไง ไม่มีมารยาท เลยนะนายน่ะ” ฟรอยพูดเสียงยานคางท่ามกลางเสียงหัวเราะของวานรรอบๆ “มันอาจจะไม่เข้าใจที่นายพูดก็ได้ฟรอย! ฉันได้ยินว่าไอ้พวกนี้ มั น ไม่ ม ี ส มองหรอกหรอก ในหั ว มั น มี แ ต่ ถ ุ ง สี เ หมื อ นหน้ า มั น นั ่ น ละ!” พูดจบทุกคนก็ฮากันครืนใหญ่ แต่ไม่ใช่กับแดน เซธรู้สึกร้อนรน เพราะรู้ดีถึง กิตติศัพท์ของพวกนักกีฬา “เอ่อ...คือ” เซธแทรกขึ้นอย่างกล้าๆ กลัวๆ “เหมือนจะได้เวลา เข้าเรียนคาบแรกกันแล้วนะทุกคน” เขาฉีกยิ้มแหย “นีอ ่ ะไร? เพือ ่ นนายเหรอ?” ฟรอยหันไปถามแดน “หรือว่าอาหารเทีย่ ง ล่ะ? นายมันพวกกินเนือ ้ นี่ อยูใ่ กล้หมอนีม ่ ากๆ ระวังโดนจับไปกินเสียละ...” ประโยคสุ ด ท้ า ยเขาหั น มากระซิ บ บอกเซธ ทํ า เอาวานรร่ า งเล็ ก ตั ว สั ่ น แดนยังคงนิ่งเงียบไม่ตอบโต้ คราวนี้เขาใช้ตัวดันฝ่าวงล้อมออกมาจนได้ โดยไม่ลืมพาเพื่อนตัวจ้อยออกมาด้วย “ให้มันได้อย่างนี้สิวา้ ...” ฟรอยตะโกนตามหลังมา “สีก็เต็มหน้า แต่ตากลับสีขาว!” แดนที่กําลังสาวเท้าออกไปหยุดชะงัก จนเซธต้องเอื้อมมือไปดึง ชายเสื้อเขา “ว่าไม่ได้หรอกฟรอย มันเป็นกรรมพันธุ์นี่!” วานรอีกตัวสําทับ “แทนที่จะถ่ายทอดยีนสีขาวไว้บนหน้าอย่างวานรตัวอื่นเขา ไอ้พันธุ์เห่ยๆ นี่ดันไปถ่ายทอดไว้ที่ตา!” ผัวะ! แดนพุ่งตัวไปประเคนหมัดใส่แก๊งนักกีฬาไม่ยั้ง พวกมัวร์ไม่ยอม ให้เพือ ่ นโดนชกอยูฝ ่ า่ ยเดียว ต่างช่วยกันสวนมือและเท้าเป็นพัลวัน เซธกรีดร้อง แล้ววิง่ หนีลด ั เลาะออกไปตามหว่างขาวานรตัวยักษ์ทง้ั หลาย

เด็กหนุม ่ ไม่โกรธเพื่อน เขาเพียงแต่ครุ่นคิดว่า ทําไมจึงต้องโดน ดูถูกเหยียดหยามไม่จบสิ้น เพียงเพราะใบหน้าของเขามีสีแดงและน้ําเงิน อยู่เท่านั้น ............................................................... “เจอกันเร็วกว่าที่คิดนะแดน” อาจารย์ใหญ่ทําเสียงอ่อนใจ “อ่ า ...ผมก็ ไ ม่ ค าดหวั ง ว่ า จะได้ เ จอกั น ในรู ป แบบนี้ ห รอกครั บ ” เด็กหนุ่มตอบเสียงเบาเพราะเจ็บกราม เขาสังเกตเห็นผ่านตาทีป ่ ด ิ จนเกือบมิดว่านอกจากอาจารย์ใหญ่แล้ว ยั ง มี อ าจารย์ ห ญิ ง อี ก ท่ า นหนึ่ง ยืนอยู่ด้ว ย แขนยาวปกคลุม ด้ว ยขนสีดํา โผล่ พ ้ น จากชุดสูทกระโปรงแบบเรียบ ใบหน้าบ่งบอกถึงความฉลาดอย่างที่ ชิมแปนซีควรเป็น แดนจึงไม่แปลกใจทีเ่ ห็นแขนอีกข้างของเธอโอบอุม ้ หนังสือ เล่มโตอยู่ “นี่อาจารย์ชาร์ล็อต เป็นอาจารย์แนะแนว แล้วก็คอยดูแล ความประพฤติเด็กนักเรียนน่ะ” อาจารย์ใหญ่แนะนํา หญิงสาวยิ้มให้แดน นิดหนึ่งก่อนที่เขาจะพูดต่อ “อันที่จริงการทะเลาะวิวาทจะต้องโดนทัณฑ์บน อย่างไม่ต้องสงสัย แต่อาจารย์ชาร์ล็อตกลับไม่เห็นด้วย และอาสาขอปรั บ พฤติกรรมของเธอด้วยตนเอง ดังนั้นเธอจึงต้องเข้าพบอาจารย์ทุกสัปดาห์ เพื่ อ รายงานความประพฤติ ใ นแต่ ล ะวั น ให้ ท ราบอย่ า งใกล้ ชิ ด เป็นเวลา หนึ่งเดือนจนกว่าจะพ้นโทษ” อาจารย์ใหญ่อธิบาย “เท่านี้...เหรอครับ” แดนกะพริบตาอย่างไม่อยากเชื่อ “เท่านีล ้ ะ่ จ้ะ” อาจารย์สาวตอบแทน “เธอเจ็บปวดมามากพอแล้ว...” ............................................................... ชาร์ ล็ อ ตมองตามแดนที่ ก้ า วออกจากห้ อ งไปด้ ว ยสี ห น้ า เห็ น ใจ “ไม่ยต ุ ธิ รรมเลยนะคะทีม ่ ารังแกกันเพราะสายพันธุต ์ า่ งกันแบบนี้ ฉันไม่โทษเขา ที่คุมอารมณ์ไม่อยู่หรอกค่ะ ว่าแต่...อาจารย์จะไม่เรียกกลุ่มนักกีฬามาพบ หน่อยเหรอคะ?”

37

Dystopia x Thistopia.indd 37

1/2/2561 0:39:09


“ทําแบบนัน ้ ไม่ได้หรอก ใกล้ถงึ ฤดูแข่งขันแล้ว ถ้ามีใครติดทัณฑ์บนล่ะก็ จะหมดสิทธิ์แข่งเอา และถ้าโรงเรียนเราแพ้เพราะเรื่องนี้ ผมคงถูกถล่มยับ” อาจารย์ใหญ่ตอบตามตรง ทําเอาชาร์ล็อตพ่นลมทางจมูกอย่างไม่เห็นด้วย “อาจารย์ก็เห็นแล้วนะคะว่าการให้อภิสิทธิ์กับนักกีฬามีผลยังไง! เทีย ่ วกร่างรังแกเพือ ่ นนักเรียนไปทัว่ ไม่พอคราวนีถ ้ งึ ขัน ้ ทําร้ายร่างกายวานรหน้าสี เลยนะคะ” ครูสาววางหนังสือสิทธิวานรชนลงบนโต๊ะดังปังอย่างมีอารมณ์ “การเหยียดหยามผู้อื่นโดยเฉพาะการเหยียดสายพันธุ์เป็นสิ่งที่ วานรผู้เจริญแล้วไม่กระทําต่อกัน หากนักกีฬาพวกนั้นไม่เข้าใจเรื่องพื้นฐาน เช่นนี้ ฉันคงต้องเสนอต่อคณะกรรมการโรงเรียนให้ถอนชือ ่ พวกเขาออกทัง้ ทีม แล้วล่ะค่ะ!” ชาร์ล็อตถอนใจเฮือกใหญ “เพราะอย่างนีฉ ้ น ั ถึงไม่ชอบนักกีฬายังไงล่ะคะ พวกนีเ้ ป็นเหมือนกัน ไปหมด สวมแจ็คเก็ตเสียหน่อยก็คิดว่าตัวเองเก่ง” หญิงสาวเอื้อมมือไปเก็บ หนังสือขึน ้ มากอดไว้แนบอกดังเดิม “เอาแต่พฒ ั นากล้ามเนือ ้ ไม่พฒ ั นาความรู้ ทางปัญญาเสียบ้าง ถ้าขยันอ่านหนังสือได้ครึ่งหนึ่งของเล่นกีฬาบ้างก็ คงจะดี...”

“ เขาเพียงแต่ครุ่นคิดว่า ทําไมจึงต้องโดนดูถูกเหยียดหยาม ไม่จบสิ้น ”

38

Dystopia x Thistopia.indd 38

1/2/2561 0:39:11


I have found a place of loneliness Lonelier than Lyonesse Lovelier than Paradise; Full of sweet stillness That no noise can transgress Never a lamp distress. The full moon sank in state. I saw her stand and wait For her watchers to shut the gate. Then I found myself in a wonderland All of shadow and of bland Silence hard to understand. I waited therefore; then I knew The presence of the flowers that grew Noiseless, their wonder noiseless blew. And flashing kingfishers that flew In sightless beauty, and the few Shadows the passing wild-beast threw. And Eve approaching over the ground Unheard and subtle, never a sound To let me know that I was found. Invisible the hands of Eve Upon me travelling to reeve Me from the matrix, to relieve Me from the rest! Ah terribly Between the body of life and me Her hands slid in and set me free. Ah, with a fearful, strange detection She found the source of my subjection To the All, and severed the connection. Delivered helpless and amazed From the womb of the All, I am waiting, dazed For memory to be erased. Then I shall know the Elysium That lies outside the monstrous womb Of time from out of which I come.

– Elysium, D. H. Lawrence

39

Dystopia x Thistopia.indd 39

1/2/2561 0:39:14


Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia

Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia

Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia

Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia

Thistopia

40

Dystopia x Thistopia.indd 40

Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia Dystopia 1/2/2561 0:39:26


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.