Faakson Journal

Page 1

JOURNAL

VOL. 1

THE OLD X THE NEW

FA FA-AAKKSSOONN

YEAR 14

INTERVIEWS

2 GENERATION THOUGHTS

LINGUISTIC Music Art

Things x Think

Techno Scope

Books Quotes SILPAKORN UNIVERSITY

1

FACULTY OF ARTS

THAILAND

2017


Faculty of Arts Silpakorn University

DEAN’s LETTER สังคมไทยของเรานั้น เราผ่านช่วงเวลาของความขัดแย้ง ย้อนแย้ง และการไม่ลงรอยกันทางความคิดระหว่างแนวคิดแบบเก่ากับ แบบใหม่ จนเกิดเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ท�ำลายเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจมาแล้วหลายครั้ง แต่ปรากฏการณ์ครั้งส�ำคัญ ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่ก่ีปีมานี้ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งและความย้อนแย้งระหว่างความเป็นสมัยใหม่กับจิตวิญญานของช่วงที่ถูกเรียกว่า สมัยจารีตทีย ่ งั คงสืบทอดและด�ำรงอยู่มาอย่างยาวนานอย่างชัดเจน เรานิยามกลุ่มทีอ ่ ยู่ตรงข้ามกับเราด้วยถ้อยค�ำต่างๆ ราวกับว่าจะไม่ยอมรับ ในความแตกต่างนั้น หากวิเคราะห์ดูให้ดี จะพบว่ายุคสมัยใหม่หรือความเป็นสมัยใหม่ที่เกิดขึ้น ไม่สามารถกวาดล้างสิ่งเก่าหรือยุคเก่าไปได้อย่างสิ้นซาก อย่างที่หลายคนปรารถนา จริงอยู่ที่มีบางอย่างสูญสลายไป บางสิ่งก็ยังคงอยู่ และการปะทะระหว่างยุคเก่ากับยุคใหม่กลับท�ำให้เกิดการสร้าง สิ่งใหม่บางอย่างให้เกิดขึ้นมาเสียอีก ไม่ว่าเราจะยอมรับหรือไม่ หรือเราจะเห็นว่ามันควรจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่เกิดจากการปะทะ สังสรรค์ระหว่างยุคเก่ากับยุคใหม่ก็ได้เกิดขึ้นในสังคมของเรา จึงเป็นเรื่องที่เราควรจะคิดต่อไปว่าเราจะเรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างระหว่างยุคเก่ากับยุคใหม่ และสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่อันเนื่องจาก การปะทะสังสรรค์ของคนทั้งสองยุคนี้ได้อย่างไร เราจะอยู่ร่วมกันและยอมรับความแตกต่างในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้ได้อย่างไร วารสารฟ้าอักษร ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 ในหัวข้อ THE OLD x THE NEW ในมือผู้อ่านฉบับนี้ก�ำลังน�ำเสนอเรื่องราวของยุคสมัยเก่า ที่ปะทะกับยุคสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด ความเชื่อ ผู้คน ด้วยจุดมุ่งหมายอันส�ำคัญคือ ต้องการให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจว่าเราสามารถ เรียนรู้และเข้าใจกันได้แม้เราจะอยู่ในโลกทีแ่ ตกต่างกัน คณะอักษรศาสตร์หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า วารสารฉบับนีจ้ ะจุดประกายความคิดให้แก่ผ้อ ู ่าน เพื่อให้เห็นว่า แม้จะแตกต่างแต่ก็อยู่ร่วมกันได้ ประคับประคองกัน เข้าใจกัน เพื่อร่วมกันท�ำให้สังคมส่วนรวมสงบสุขได้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ คณบดีคณะอักษรศาสตร์

YEAR 14 VOL.1 2017

2

FA A


AKSON

EDITOR’s NOTE หากต้องให้ตอบคาํ ถามว่าระหว่างโลกยุคเก่ากับโลกยุคใหม่ เราชอบยุคไหน มากกว่ากัน ... ตอบยากเหมือนกันนะคะ – เราคิดว่าโลกยุคเก่านั้น มีเสน่ห์เพราะได้ผูกโยง เกีย ่ วใยเข้ากับความทรงจาํ ต่างๆ โลกยุคเก่านัน ้ ช่วยเก็บประสบการณ์ชวี ต ิ ทีม ่ ค ี ณ ุ ค่า ควรแก่การคิดถึงเมื่อเราได้เดินผ่านสิ่งเหล่านั้นมาแล้ว แต่ถงึ อย่างนัน ้ ในโลกยุคใหม่ทม ่ี ค ี วามซับซ้อนและคลุมเครือมากยิง่ ขึน ้ ทุกสิง่ ทุกอย่างได้หมุนเวียนเปลีย ่ นผ่านไปอย่างรวดเร็ว ด้วยมาจากเทคโนโลยีทพ ี่ ฒ ั นาอย่าง ก้าวกระโดด หลายคนอาจไม่ชอบใจนัก แต่สําหรับเราแล้วกลับมองเห็นว่าโลกแบบนี้ ก็มีเสน่ห์อยู่เหมือนกัน เพราะการคาดเดาไม่ได้ก็สร้างความตื่นเต้นและเปิดโอกาสให้ คนได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ ดูเป็นเรื่องน่าสนุกอยู่ไม่น้อยใช่ไหมคะ วารสารฉบับนี้เองก็อยากบอกเล่าเรื่องราวถึงโลกยุคเก่าและโลกยุคใหม่ที่ ตอนนี้เริ่มเห็นการปะทะกันมากขึ้น ซึ่งหากมองดูแล้วนั้น ทั้งวารสารฟ้าอักษรและ คณะอักษรศาสตร์แห่งนี้ก็เป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนอยู่พอควร ถึงเรื่องราวทั้งเก่าและ ใหม่ที่ได้ปะทะและผสมผสานกัน สําหรับวารสารฟ้าอักษร – ขณะนี้เข้าสู่ปีที่ 14 แล้ว ในยุคสมัยเก่านั้นเรา เริม ่ ต้นด้วยการเป็นจดหมายข่าวบอกเล่าความเป็นไปในคณะอักษรศาสตร์แล้วค่อยๆ เติบโตเป็นวารสารเล่มเล็กๆ และเติบโตขึ้นไปอีกขั้นเป็นรูปเล่มที่ใหญ่ขึ้น จนในวันนี้ วารสารฟ้าอักษรถึงเวลาก้าวไปอีกขั้น เปลี่ยนแปลงรูปร่างหน้าตาไปอีกหน เราเองก็ เฝ้ามอง และสัมผัสได้ว่าวารสารฟ้าอักษรนั้นดูราวกับมีชีวิต และมีหัวใจที่อยากจะ พัฒนา และเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเรื่อยๆ เป็นคนใหม่ในอีกหลายๆ หน เดินทางไป จนกว่าจะค้นพบตัวตน แต่ก็ไม่ลืมว่าในยุคเก่านั้นเราเริ่มต้นมาด้วยหัวใจแบบไหน และสําหรับคณะอักษรศาสตร์แห่งนี้ – เดินทางผ่านกาลเวลามาถึง 50 ปี อาคารเก่าๆ อาจารย์คนเก่าๆ พนักงานคนเก่าๆ พวกเขายังคงอยู่และยังเฝ้ามอง การเปลี่ยนแปลงภายในสถานที่แห่งนี้ ส่วนบรรดานักศึกษาแห่งอักษรศาสตร์ แม้จะ ก้าวเข้ามาอยู่ในบ้านสีฟ้าชั่วระยะเวลาสั้นๆ เพียงสี่หรือห้าปี เป็นเสมือนผู้มาใหม่ที่ คอยหมุนเวียนเปลี่ยนผ่าน นําพาโลกใหม่เข้ามาให้รู้จัก ด้วยเหตุผลนี้เราเลยมองว่า ณ ที่แห่งนี้เองที่การผสมผสานโลกยุคเก่ากับโลกยุคใหม่นั้นเป็นไปอย่างสมบูรณ์และ สวยงาม เป็นที่ที่ความเก่าและความใหม่ได้โคจรมาพบกันและเกิดความลงตัว ความงามของเวลาคือการทีเ่ รามีอดีต ปัจจุบน ั และ อนาคต เรามีทงั้ ความเก่า และความใหม่ สิ่งเหล่านี้ล้วนทําให้ เรารู้สึกว่าเรื่องราวรอบตัวนั้นมีคุณค่า หัวใจส�ำคัญของความเก่าและความใหม่นั้น อาจไม่ใช่การแบ่งแยกฉีกขาด ออกจากกัน แต่คือการเรียนรู้ที่จะเข้าใจแนวคิด มุมมอง ทัศนคติของกันและกัน โลกของคนยุคเก่ากับโลกของคนยุคใหม่ต่างก็เป็นโลกใบเดิม แค่เราหันหน้ากันคนละ ทิศ มองกันคนละทาง ความเข้าใจเกิดจากเราเริ่มต้นที่จะเรียนรู้และเข้าใจกันและกัน พูดคุยด้วยเหตุผล ไม่ว่าจะเป็น “เด็กสมัยนี้” หรือ “ผู้ใหญ่สมัยนี้” ต่างก็เป็นมนุษย์ที่ ใช้ชวี ต ิ บนโลกเฉกเช่นเดียวกัน ถ้าเรามัวแต่แบ่งแยก ขัดแย้ง ไม่รบ ั ฟังกัน ยังปล่อยให้ ความแตกต่างที่มีต้นเหตุเพียงแค่การเกิดก่อนหรือเกิดทีหลังมาแบ่งแยก แล้วเมื่อไหร่เราถึงจะเข้าใจกัน

3

พลอยรุ้ง สิบพลาง บรรณาธิการวารสารฟ้าอักษร


C

ONTRIBUTORS

Executive Editor -

Linguistics 7

Prasitchai Jirapasittinon

มันก็จะ ก็ นิด ก็ หน่อย...เห็น ก็ บ่อยๆ “ก็” เป็นมายังไงกันนะ

Advisors - Naowarat Patipatpakdee - Weena Wutthichamnong Editor - Ployrung Sibplang Contributors - Charnchanan Pensowaphan - Nattanan Ploypradab - Panumas Jabang - Savaris Sririttipradit - Saharat Suksuwan - Supitcha Thamkanma - Apirada Krongpianlert

CONT

Proofreaders - Natcha Thipbumrung - Tamonwan Supanukanon - Bussakorn Taemeerassamee - Poramet Aiemsa-ard - Pinsuda Panmongkol Art Director

-

Niramon Kooha

Photographers - Niramon Kooha - Chularak Sintasut

Techno Scope 26

Secretary - Saowalak Nongnuew Accountant

-

Prapassorn Charoenphrom

Public Relations

-

Saowalak Nongnuew

Coordinator

-

Prapassorn Charoenphrom

C

Pirates in 21st Century

Why? 28

ontact

เพราะอะไร อ�ำนาจถึงยังคง หยั่งรากลึก ในสังคมมนุษย์

กองบรรณาธิการวารสารฟ้าอักษร ชั้น 1 อาคาร 36 ปี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม 73000 ( www.facebook.com/Faakson ) 4


Whatever 9 ย้อนร�ำลึก 5 เพลงฮิตที่ทรงอิทธิพล กับโลกในยุคทรานซิสเตอร์

Interviews (Part I) 12

Short Story 10

ชีวิตทีละขั้นและมุมมอง “รุ่นเก่า” ที่ไม่เคยล้าหลัง ของ กาญจนา ชัยจินดา

“รุ่นน้อง”

ENTS

FOCUS 16 ผู้ใหญ่สมัยนี้ vs เด็กสมัยนี้

Status 23

Interviews (Part II) 18

What’s on your mind?

เก่า และ ใหม่ ความกลมกล่อมในคนเดียว ของ ศรัณรักษ์ สุขศรี

Things x Think 24 It isn’t just covers 5


“ Old things are better than new things, because they’re got stories in them ”

Quote

– Kami Garcia

6


LINGUISTICS มันก็จะ ก็ นิด ก็ หน่อย... เห็น ก็ บ่อยๆ “ก็” เป็นมายังไงกันนะ โดย อภิรดา ครองเพียรเลิศ

ก็ วารสารฟ้าอักษรฉบับนี้ชวนคุณมาตั้งค�ำถามเกี่ยวกับภาษาเก่า และภาษาใหม่ ดังทีท ่ ก ุ คนทราบกันดีว่าภาษาเปลีย ่ นแปลงไปทุกยุค ทุกสมัย แต่จะมีคำ� ใดบ้างทีอ ่ ยู่ยน ื ยงมาตัง้ แต่ยค ุ ก่อนและยังมีใช้อยู่ ต่อไป คิดค�ำตอบเอาไว้ในใจก่อน… เพราะเรามีค�ำตอบที่ดีอีกหนึ่ง ค�ำตอบมามอบให้คุณค่ะ “ค�ำหนึ่งค�ำ อย่างน้อยที่สุดก็ตอ ้ งประกอบด้วยพยัญชนะต้นและ สระ” ครูภาษาไทยบอกไว้อย่างนัน ้ แต่ดฉ ิ น ั มัน ่ ใจว่ามีคำ� ค�ำหนึง่ ทีจ่ ะ ท�ำให้คลังความรู้ในสมองของคุณต้องสั่นสะเทือน ด้วยรูปเขียนที่ ชวนให้ตั้งค�ำถามเรื่องอักขรวิธี แถมยังมีความถี่ในการใช้สูง ดิฉัน ก�ำลังพูดถึงค�ำว่า “ก็” ค�ำที่มีรูปเขียนแปลกที่สุดค�ำหนึ่ง และค�ำว่า “ก็” จะมีที่มาที่ไปอย่างไร เราไปท�ำความรู้จักค�ำค�ำนี้ ให้มากขึ้นกันค่ะ

“ก็” เป็นใคร มาจากไหน ข้อมูลจากวิทยานิพนธ์ของวิยะดา สอ้านวงศ์ ( 2554 )

เรื่อง “การแสดงความหมายของค�ำ ก็ ในภาษาไทย” ได้ระบุว่า หลักฐานเก่าแก่ทส ี่ ด ุ ทีพ ่ บค�ำว่า “ก็” คือศิลาจารึกพ่อขุนรามค�ำแหง

เมื่อพิจารณาความหมายโดยรวมแล้ว ค�ำว่า “ก็” ในสมัยนั้น น่าจะเขียนว่า “ก่” ซึ่งคุณวิยะดาได้สันนิษฐานว่า คงจะออกเสียง ในท�ำนองเดียวกับค�ำว่า “บ่” ในภาษาอีสานนั่นเอง อย่างไรก็ตาม มีผ้ต ู งั้ ข้อสังเกตว่า “ก่” อาจไม่ได้ออกเสียง เช่นนัน ้ เพราะภาษาเขมรมีเครือ ่ งหมายคล้ายกัน เรียกว่า “รัสสัญญา” ใช้วางบนตัวสะกดเพือ ่ ท�ำให้เสียงของค�ำนัน ้ สัน ้ ลง เช่น บาก่ เป็น บัก ดังนั้น “ก่” บนศิลาจารึก อาจไม่ได้ออกเสียงยาวว่า ก่อ แต่อาจจะ ออกเสียงสั้น (เกาะ) คล้าย “ก็” (เก้าะ) ในปัจจุบันก็ได้ แล้วท�ำไม...ต้องตั้งข้อสังเกตเชื่อมโยงกับภาษาเขมร? เป็นที่ทราบกันว่าภาษาไทยมีค�ำยืมจากภาษาต่างประเทศมากมาย แต่จากการเฟ้นหาค�ำว่า “ก็” ในหลากหลายต�ำรา พบว่านอกจาก ในภาษาไทยแล้ว ค�ำค�ำนี้ก็มีใช้ในภาษาเขมรอีกเพียงภาษาเดียว เท่านั้น จึงน่าศึกษาต่อไปว่าค�ำที่ถือสองสัญชาติค�ำนี้ แท้จริงแล้ว มีพื้นเพมาจากชนชาติใดกันแน่... เพื่อให้คลายข้อสงสัย คุณวิยะดาจึงศึกษาจารึกอักษรขอมที่มี ผู้ถ่ายถอดเสียงเป็นภาษาไทยไว้ แต่กย ็ งั ไม่พบจารึกใดทีม ่ ค ี ำ� ว่า “ก็” ปรากฏอยู่ ท�ำให้เรายังมิอาจสรุปได้ว่าค�ำค�ำนี้มีใช้ในภาษาใดก่อน เพราะยังมีจารึกภาษาเขมรอีกมากที่ยังไม่มีผู้ถ่ายถอดค�ำอ่าน หรือ ยังไม่มค ี ้นพบ หลักฐานทีเ่ ก่าแก่ทส ี่ ด ุ ในตอนนีจ้ งึ ยังคงเป็นศิลาจารึก พ่อขุนรามค�ำแหงเช่นเดิม

ท�ำไม ก็ จึงเขียนด้วย ก + ไม้ไต่คู้

ค�ำถามชวนปวดหัวที่ตอบยากยิ่งกว่าเรื่องไก่กับไข่อะไร เกิดก่อนกันในข้อนี้ แม้ยงั เป็นปริศนาอยู่ แต่บทความเรือ ่ ง “ไม้ไต่ค้”ู บนเว็บไซต์ของส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภาก็ให้ข้อมูลที่น่าสนใจกับ เรา โดยในบทความอธิบายเรื่องการใช้เครื่องหมาย “เลขอสฺฎา” (คล้ายไม้ไต่คู้) ในภาษาเขมรว่า เครื่องหมายนี้ไม่ปรากฏในอักขรวิธี ของภาษาเขมรโบราณ ท�ำให้อนุมานได้ว่าภาษาเขมรรุ่นหลังคงจะ เขียนตามอย่างไม้ไต่ค้ขู องเรา ซึง่ ตรงกับข้อสันนิษฐานของคุณวิยะดา ที่ว่าภาษาเขมรในสมัยหลังอาจยืมลักษณะการเขียน และรูปแบบ การใช้คำ� ว่า “ก็” ไปจากภาษาไทย สังเกตได้จากการใช้เครือ ่ งหมาย ไม้ไต่คู้ซึ่งมีใช้ในค�ำไทยหลายค�ำ ขณะที่ในภาษาเขมรปรากฏใช้ใน เพียงค�ำสองค�ำเท่านั้น คือ “ก็” กับ “ฎ็” (เพราะยืมมาจึงไม่มีใช้ใน ค�ำทั่ว ๆ ไป) ในปัจจุบัน เครื่องหมายไม้ไต่คู้ท่ีใช้วางบนตัวอักษรเพื่อ ก�ำกับให้เสียงสระสั้นลง เช่นเดียวกับค�ำว่า “ก็” ซึ่งมาจากการใช้ ไม้ไต่ค้เู พือ ่ ลดรูปสระออ ออกเสียงว่า เก้าะ ตามพจนานุกรมไทยของ อาจารย์เปลือ ้ ง ณ นคร ท�ำให้สน ั นิษฐานได้ว่า หากค�ำว่า “ก็” มีทม ี่ า จากค�ำว่า “ก่” บนจารึกจริง “ก็” อาจถูกเปลี่ยนรูปเขียนเพื่อให้เข้ากับ อักขรวิธีไทยดังกล่าวภายหลัง และได้ออกเสียงเพี้ยนจากเสียงของ วรรณยุกต์เอกมาเป็นเสียงวรรณยุกต์โทดังเช่นทุกวันนี้

การใช้ค�ำว่า ก็ จากอดีตถึงปัจจุบัน แล้วค�ำว่า “ก็” แต่ก่อนกับเดี๋ยวนี้ใช้เหมือนกันหรือไม่

เพื่อตอบค�ำถามนี้ คงต้องย้อนกลับไปไล่เรียงข้อมูลบนศิลาจารึก พ่อขุนรามค�ำแหง ซึง่ คุณวิยะดาพบเข้าหลาย “ก็” ทีเดียว โดยแบ่ง ได้เป็น 2 รูปแบบ คือ “ก็” และ “ก็ดี” โดย “ก็” ใช้เป็นค�ำสันธาน เพือ ่ เชือ ่ มข้อความเข้ากับข้อความทีจ่ ะกล่าวต่อไป ดังความตอนหนึง่ ในไตรภูมิพระร่วงที่ว่า “ยมบาลจึงถือเครื่องไล่แทงไล่ตีฝูงคนนรก ด้วยสิ่งนั้น เขาก็เจ็บปวดเวทนา” และ “ก็ดี” ใช้เป็นค�ำวิเศษณ์เพื่อ แสดงความหมายว่า เสมอ ทัดเทียมกัน ดังความอีกตอนหนึ่งใน ไตรภูมพ ิ ระร่วง คือ “...แลเมือ ่ ท่านเสด็จ ลงไปเอาปฏิสนธิในครรภ์ พระมารดาก็ดี แลเมื่อท่านสมภพจาตุโกรธรนั้นก็ดีแล...”

7


มันก็จะ “ก็” นิด “ก็” หน่อย...เมื่อ “ก็” เดินทางมาถึง ยุค Social Network การเดินทางของค�ำว่า “ก็” ยังคงด�ำเนินต่อไปเมือ ่ เข้าสู่ยค ุ ของ

นักวิชาการหลายท่านกล่าวว่า ภาษาทีย ่ งั ไม่ตาย คือภาษาทีม ่ ก ี ารเปลีย ่ นแปลง หน้าทีท ่ เี่ ปลีย ่ นไปของ “ก็” แสดงให้เราเห็นว่า ชีพจรของภาษาไทยยังคงเต้น และ จะยังด�ำรงอยู่ต่อไป ไม่มีวันล้าสมัยและถูกลืม

จะเห็นได้ว่า ด้วยวิวัฒนาการของการสื่อสาร อาจท�ำให้ค�ำว่า “ก็” ได้รบ ั มอบหมายหน้าทีเ่ ช่นนีม ้ ากขึน ้ เนือ ่ งจากผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก ต้องการความรวดเร็วและประดิษฐ์ถ้อยค�ำให้หลากหลาย อย่างไรก็ตาม หน้าทีก ่ ารเป็นบทเชือ ่ มความของ “ก็” จะยังคง อยู่ เพราะยังไม่มีค�ำไหนจะมีความหมายแทนที่ค�ำค�ำนี้ได้ เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับชีวประวัติของค�ำว่า “ก็” ค�ำค�ำนี้ ส�ำหรับดิฉันแล้ว แม้จะไม่มีชีวิตแต่ก็เหมือนมีชีวิต เพราะมีพัฒนาการ และเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เหมือนมนุษย์คนหนึ่งเลยทีเดียว แต่ว่าจะเป็น มนุษย์อมตะหรือไม่ คงไม่มีใครคาดเดาได้ และดิฉันยังคงคิดว่าด้วย อิทธิพลของโซเชียลเน็ตเวิร์กอาจท�ำให้ “ก็” ปรับตัวจนอยู่ยงคงกระพัน แล้วคุณล่ะคะ คิดเหมือนกันหรือไม่

โลกไร้พรมแดน โซเชียลเน็ตเวิร์กเพิม ่ พืน ้ ทีใ่ นการสือ ่ สารและเป็นตัวแปร ส�ำคัญที่ท�ำให้ภาษาเปลี่ยนแปลง ค�ำว่า “ก็” เองก็ได้รับอิทธิพลนี้ และ ท�ำหน้าทีล ่ ะรูปประโยคทีซ่ บ ั ซ้อน เช่น สเตตัสในเฟซบุก ๊ สัน ้ ๆ ทีค ่ ณ ุ มักตัง้ อย่าง “ก็แล้วไง” (อาจหมายถึงการแสดงออกว่าไม่สนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง) หรือ ค�ำพูดไม่ยี่หระเวลายักไหล่ อย่าง “ก็แล้วแต่” ( อาจหมายถึง

....................

ตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.) ส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2556). ไม้ไต่คู้. เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม 2560. เข้าถึงได้จาก http://www.royin.go.th/?knowledges=ไม้ไต่คู้-๔กันยายน-๒๕๕๖

การจ�ำยอมต่อเหตุการณ์ ) รวมทั้งการเข้ามาของวลีฮิต “มันก็จะ... หน่อยๆ” ทีไ่ ม่ร้ต ู ้นสายปลายเหตุทแี่ น่ชด ั แต่กเ็ ป็นสีสน ั และเป็นส่วนหนึง่ ที่ท�ำให้ค�ำว่า “ก็” ยังมีใช้อยู่ต่อไป

รายการอ้างอิง วิยะดา สอ้านวงศ์. (2524). การแสดงความหมายของค�ำ “ก็” ในภาษาไทย. (The use of the expression “ko” in Thai language). วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย (ภาควิชาภาษา

คุณ วิยะดาไม่ ลืม ที่จะสืบ หา “ก็ ” ในสมัย ต่ อ มา ซึ่ง พบว่า โดยทั่วไปความหมายและบริบทการใช้ยังคงเดิม จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 เราพบค�ำว่า “ก็” ที่ท�ำหน้าที่ ฉีกแนวทางต่างจากบรรพบุรุษ คือสามารถบ่งบอกอารมณ์ของผู้พูดได้ ไม่ ใช่ เพีย งค�ำ ที่มีไว้ เชื่อ มความอีก ต่อ ไป ดัง ข้ อ ความตอนหนึ่ง ที่ใน พระราชนิพนธ์เรือ ่ ง “ไกลบ้าน” ทีว่ ่า “ดอกไม้อะไรก็ไม่เท่ากุหลาบ” หรือ “อันที่จริงบ้านเรือนแกก็ดี” และอีกหน้าที่หนึ่ง คือ การใช้เพื่อละส่วนที่ เข้าใจกันดี เช่น “เขานัด พ่อก็ตกลง” (แสดงความเป็นเหตุเป็นผลกันของ ทั้งสองประโยค เพราะหากไม่มี “ก็” อาจท�ำให้ไม่เห็นความเชื่อมโยง เป็นต้น ปัจจุบน ั ค�ำว่า “ก็” ยังคงท�ำหน้าทีเ่ ป็นบทเชือ ่ มความเช่นเดิม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปี พ.ศ. 2554 ระบุค�ำว่า “ก็” เป็น ค�ำสันธาน หมายถึง แล้ว จึง ย่อม แต่ความพิเศษของค�ำค�ำนี้ คือ สามารถแสดงอารมณ์และเจตนาของผู้พด ู ได้ จึงท�ำให้คำ� ว่า “ก็” มีบทบาท มากขึ้น กลายเป็นค�ำสั้นๆ ที่จ�ำเป็นต้องใช้ และวนเวียนอยู่ในวิถีชีวิต ของเราอย่างไม่มีทีท่าว่าจะหายไปนั่นเอง

I Got You (I Feel Good) / James Brown (1965) “So good, So good, I got you.” ผลงานเลื่องชื่อของ Godfather of Soul ชิ้นนี้ อยู่ในอันดับที่ 75 ของ 100 Greatest Rock and Roll Dance Song ความสำ�เร็จของเขาส่งผล ให้ดนตรีโซลอันเป็นเหมือนจิตวิญญาณของ คนแอฟริกันได้รับการยอมรับในระดับโลก ด้วยเสียงร้องและลีลาเร้าใจชาวโลก เจมส์ บราวน์ (James Brown) จึงกลายเป็นต้นแบบให้ศิลปิน รุ่นต่อมา รวมทั้งเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำ�คัญ ในการคิดค้นท่าเต้น Moonwalk ของไมเคิล แจ็กสัน (Michael Jackson) อีกด้วย

Whatever 8


ย้อนรำ�ลึก 5 เพลงฮิต ที่ทรงอิทธิพลต่อโลกใน โดย อภิรดา ครองเพียรเลิศ

ยุคทรานซิสเตอร์ Dancing Queen / ABBA (1976)

ฟ้าอักษรฉบับนี้ ขอชวนคุณมา

พักผ่อนสายตา ให้เวลาสมอง นั่งไทม์แมชชีนท่องโลก ยุคทรานซิสเตอร์ไปกับเราผ่าน 5 เพลงฮิตเขย่าโลก ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงและแรงสั่นสะเทือนยิ่งกว่า ระเบิดปรมาณู (หรือเปล่าก็ไม่ทราบนะคะ) จะมีเพลงอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยค่ะ

“You can dance, you can live, having the time of your life. See that girl, watch that scene, diggin’ the Dancing Queen.” ผลงานจากวงดนตรี สัญชาติสวีเดนชิ้นนี้ได้รับ เสนอชื่อเข้าหอเกียรติยศ Grammy Hall of Fame ความโด่งดังของ Dancing Queen ทำ�ให้เพลงนี้กลาย เป็นเพลงประจำ�วง และทำ�ให้ แอ็บบาเป็นศิลปินกลุ่มแรก จากประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ที่ประสบความสำ�เร็จสูงสุด

Jailhouse Rock / Elvis Presley (1957) “Let’s rock, everybody, let’s rock. Everybody in the whole cell block. Was dancin’ to the Jailhouse Rock.”

Let It Be / The Beatles (1970) “Let it be, let it be, let it be, let it be, Whisper words of wisdom, let it be.”

ผลงานฮิตติดหูที่กลายเป็น signature ของ ราชาเพลงร็อกแอนด์โรล ด้วยท่าเต้นที่เป็น เอกลักษณ์และชวนให้บรรดาสาวกต้องขยับขา ทำ�ให้เพลงนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 500 เพลงบน The Rock and Roll Hall of Fame ทราบหรือไม่ว่า แท้จริงแล้ว Jailhouse Rock คือเพลงประกอบ ภาพยนตร์ในชื่อเดียวกันที่เอลวิสนำ�แสดง เรียกได้ว่าทั้งเพลงและภาพยนตร์สามารถดึง เขาให้ขึ้นไปถึงจุดสูงสุดของการเป็นนักร้อง ระดับโลกอย่างไม่มีใครเทียบได้เลย

ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายก่อนที่สมาชิกเดอะบีทเทิลส์จะแยกย้ายกันไป และแม้ว่าเพลงนี้จะถูกวิจารณ์ในด้านลบบ้าง แต่ความดังของ Let It Be ก็เป็นที่จดจำ�มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะมวลความเศร้าจาก การประกาศแยกวง แต่ต้องยอมรับว่าเนื้อเพลงยังคงสุดยอด ตามแบบฉบับเดอะบีทเทิลส์ของแท้

We Are the World / รวมศิลปินอเมริกัน ในชื่อ USA for Africa (1985) “We are the world. We are the children. We are the ones who make a brighter day. So let’s start giving.” ผลงานการกุศลเพื่อหารายได้สมทบกองทุนผู้ประสบภาวะขาดแคลนอาหารในแอฟริกา โดยไมเคิล แจ็กสัน (Michael Jackson) ได้แต่งขึ้น ร่วมกับไลโอเนล บร็อกแมน ริชชี (Lionel Brockman Richie) และขับร้องโดยศิลปินชาวอเมริกัน 45 คน เพลงนี้ติดท็อปชาร์ตและขายเร็ว ที่สุดในประวัติศาสตร์ รางวัลและเกียรติยศมากมายของเพลงนี้ ไม่เพียงทำ�ให้ศิลปินเป็นที่รู้จักเท่านั้น แต่ยังเป็นกระบอกเสียงให้ชาวโลกหันมา ตระหนักถึงปัญหาของเพื่อนมนุษย์ เรียกได้ว่า We Are the World 9คือหนึ่งในเพลงที่ดีที่สุดตลอดกาลอย่างแท้จริง


หนุ่มสาวเนื้อตัวเปื้อนเปรอะมากมายนั่งเรียงกันเป็นแถวเต็มพื้นที่ไปหมด ใบหน้าแต่ละดวงดูมอมแมมและเลอะเทอะไปด้วยสิ่งที่ดูคล้าย ‘โคลน’ ซึ่งไม่ต่างจาก เนื้อตัวเท่าไรนัก พวกเขาแต่ละคนมีสีหน้าเหนื่อยล้า บางคนก็ออกจะดูเหนื่อยหน่ายใจ อยู่ไม่น้อย “เอ้าๆๆๆๆ นั่งหงอยกันอยู่ได้! พักแค่นี้ก็น่าจะหายเหนื่อยกันแล้วนะ พวกพี่ เตรียมงานกันหนักแทบตายยังหายแล้วเลย พวกน้องยังจะเหนื่อยกันลงอีกเหรอ เอ้า พวกผู้ชาย ลุกขึ้นเดี๋ยวนี้!” เด็กหนุ่มรุ่นราวคราวเดียวกันที่ตั้งตนเป็นหัวหน้าของ กิจกรรม ‘รับน้อง’ ในครั้งนี้ประกาศด้วยเสียงแข็งกร้าวและท�ำหน้าตาดุดัน จนรุ่นน้องที่ นั่งอยู่บางคนถึงกับสะดุ้งเพราะไม่ทันตั้งตัว สิ้นค�ำสั่งเฉียบขาดของ ‘รุ่นพี่’ เหล่าเด็กหนุ่มก็ทยอยกันลุกมายืนเรียงแถว อย่างเป็นระเบียบข้างหน้าในทันที ท่ามกลางสายตาพึงพอใจของเหล่ารุ่นพี่ที่เฝ้ามอง อยู่ รุ่นน้องผู้ชายทุกคนถูกสั่งให้ถอดเสื้อ แม้หลายคนดูจะไม่เต็มใจ แต่ก็ไม่มีใครกล้า ขัดขืน จนเด็กสาวรุ่นเดียวกันที่นั่งดูอยู่ต่างพากันก้มหน้าก้มตาด้วยความอาย ไม่อยาก เงยหน้าขึ้นมองสิ่งที่ก�ำลังด�ำเนินอยู่ “ท�ำกิจกรรมมาทั้งวัน คงจะหิวกันแล้วสินะ แต่ถึงจะไม่หิวก็ช่าง เพราะนี่คือ อาหารมื้อพิเศษที่จัดเตรียมมาให้น้องๆ ที่รักโดยเฉพาะ” รุ่นพี่สามสี่คนที่คอยท่าอยู่ รีบ ประคองกะละมังขนาดใหญ่ที่ภายในบรรจุอาหารเละๆ สีเหลืองหม่น หน้าตาไม่น่า พิสมัยอย่างมากเข้ามาหน้าแถว รุ่นพี่คนเดิมไม่รอช้า บรรจงตักอาหารนั้นเข้าปากรุ่น น้องคนแรกทันที... “กรี๊ดดดดดดดด!!”

ขยะแขยง “เด็กพวกนี้เล่นอะไรกันอยู่ แทบจะอ้วก ถ้าท้องเสียขึ้นมาจะท�ำอย่างไร” “ถึงกับบังคับถอดเสื้อเลยเหรอ” “อายุมากกว่ากันสักเท่าไรเชียว วางท่าอย่างกับเป็นผู้ใหญ่เสียเต็มประดา” “แค่เข้ามาเรียนก่อนปีเดียว ก็มีอภิสิทธิ์ขนาดนี้เลยเหรอ!” “เอาล่ะครับทุกคน” วุฒิชัยตัดบท “ก็เพราะแบบนี้พวกเราถึงต้องรวมตัวกัน เพื่อท�ำให้การรับน้องถูกต้องและเข้าที่เข้าทางอย่างที่ควรจะเป็น แต่ไหนๆ วันนี้เรามี สมาชิกใหม่มาเข้าร่วมด้วย ผมจะขออธิบายเท้าความเสียหน่อย คงไม่ว่ากันนะครับ” ประธานการประชุมเว้นวรรคหายใจ พลางมองสมาชิกคนอื่นพยักหน้ายินยอม “คืออย่างนี้นะครับคุณพรรณี ปัญหาที่พวกเราเผชิญในตอนนี้คือ มีรุ่นพี่บาง กลุ่มในมหาวิทยาลัยได้จัดการรับน้องอย่างไม่เหมาะสมขึ้น” วุฒิชัยหันไปพูดกับพรรณี โดยตรง “อย่างที่คุณเห็นน่ะครับ มีการเล่นกิจกรรมที่สกปรกเลอะเทอะ เสี่ยงต่อการ ติดเชื้อโรคและอันตราย มีการกระท�ำที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลต่างๆ นานา บังคับให้รุ่น น้องรับประทานอาหารที่น่าขยะแขยง บางครั้งก็ถึงขั้นกระท�ำพฤติกรรมที่ล่อแหลมทาง เพศอีกด้วย... แต่โชคยังดีที่ในกรณีของเราไม่มีเรื่องอย่างหลังสุด รุ่นพี่พวกนี้มักยกค�ำสวยหรูอย่างการละลายพฤติกรรม หรือการสร้างความ สัมพันธ์อันดีระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องมาอ้าง แต่ถ้าดูจากพฤติกรรมการบังคับข่มขู่รุ่นน้องให้ เชื่อฟังตนเองที่อาวุโสกว่าโดยห้ามมีข้อแม้ มันก็คือระบบโซตัสดีๆ นี่เองครับ” “ระบบโซตัสเหรอคะ ดิฉันคิดว่าเคยได้ยินมาอยู่บ้าง แต่ก็ไม่น่าเป็นการท�ำ อะไรพิสดาร หรือกินอะไรที่ชวนแหวะแบบนี้นี่คะ” พรรณีกล่าวแย้ง “ก็ใช่ครับ” วุฒิชัยพยักหน้าเห็นด้วย “แต่เดิมระบบโซตัสถูกสร้างขึ้นเพื่อ เสริมสร้างการเคารพระเบียบวินัย สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และรักษาประเพณี อย่างเข้มแข็ง โดยมีรุ่นพี่ที่ได้รับคัดเลือกว่ามีวุฒิภาวะเหมาะสมเป็นผู้น�ำ ซึ่งโดยนัย ของมันก็คือการเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโสกว่าเพื่อสร้างบรรทัดฐานอันดีในสังคม แต่ทุกวันนี้ค�ำว่า ‘โซตัส’ ถูกน�ำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้รุ่นน้องเชื่อฟังรุ่นพี่ อย่างไม่มีเงื่อนไข แม้รุ่นพี่นั้นจะไร้เหตุผลหรือไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีก็ตามที ถ้าหาก รุ่นน้องไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกกลั่นแกล้ง ยุยงให้เป็นที่เกลียดชังของเพื่อนร่วมรุ่น ท�ำให้ เกิดความเสียหายทั้งทางกายและจิตใจกับเด็กๆ เข้าใหม่เป็นอย่างมากครับ และเหตุผลหลักที่รุ่นพี่เหล่านี้สรรหาวิธีแปลกประหลาดมากลั่นแกล้งรุ่นน้อง ก็เพื่อจะระบายความอัดอั้นที่ตนเคยถูกรุ่นพี่ของตัวเองกลั่นแกล้งมาก่อน เป็นการแก้ แค้นจากรุ่นสุ่รุ่น วนเวียนกันเป็นวงจรอุบาทว์อย่างนี้ไม่รู้จบ” พูดจบวุฒิชัยก็ถอนหายใจ เสียงดังอย่างไม่ปิดบัง เขารู้สึกไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมของเด็กกลุ่มนี้อย่างชัดเจน “ไม่รู้ไปเอาแบบอย่างความคิดแย่ๆ นี่มาจากไหนกัน” สมาชิกผู้หนึ่งพึมพ�ำ “เรื่องนี้ใหญ่กว่าที่คิดนะครับ เพราะการรับน้องแบบผิดๆ เคยท�ำให้มีเด็ก เสียชีวิตมาแล้ว” สมาชิกอีกคนหนึ่งเสริม “ใช่ครับ พวกเราได้แต่หวังว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นกับบุตรหลานของ เราเป็นอันขาด ทางมหาวิทยาลัยเองก็ช่วยสอดส่องดูแลได้ไม่ทั่วถึงนัก เราจึงได้ช่วย เหลือกันเองนี่แหละครับ” วุฒิชัยกล่าวสรุป “แต่ครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็นการประชุมเพื่อประกาศข่าวดีเลยก็ว่าได้ เพราะคลิป วิดีโอที่คุณชาติถ่ายมาได้นี้ ถือเป็นหลักฐานส�ำคัญที่จะชี้ตัวพวกรุ่นพี่ที่กระท�ำผิดได้ อย่างดิ้นไม่หลุดเลยทีเดียว” วุฒิชัยพูดอย่างตื่นเต้นยินดี “เห็นชัดเจนทั้งใบหน้า ค�ำพูด การกระท�ำ ผมว่าคราวนี้เราสามารถเอาผิด พวกนั้นเรียงตัวได้แน่นอนครับ!”

เด็ก

….......................................................... พลันเสียงกรีดร้องแหลมยาวของผู้หญิงดังขึ้น ยุติทุกสิ่งลงในฉับพลัน ภาพใน จอโทรศัพท์มือถือที่เปิดอยู่ดับวูบ ท่ามกลางสีหน้าแตกตื่นของผู้คนที่ผุดลุกขึ้นด้วย ความตกใจ “เป็นอะไรครับคุณพรรณี!” ผู้ชายวัยกลางคนผมสีดอกเลา ผู้เป็นคนปิดคลิป วิดีโอในโทรศัพท์มือถือเมื่อครู่ถามขึ้นอย่างกังวล เมื่อจู่ๆ หนึ่งในสมาชิกที่ล้อมวงดูกัน อยู่ก็กรีดร้องขึ้น เจ้าตัวได้แต่ส่ายหัวอย่างรับไม่ได้ “เด็กคนนั้นๆ ก�ำลังจะเอา เอ้อ เอาไอ้สิ่งนั้นป้อนรุ่นน้องนะคะคุณชาติ!” “เรื่องนั้นสบายใจได้ครับคุณพรรณี มันไม่ใช่ของจริงหรอกครับ แค่ของท�ำ เลียนแบบ ถึงผมจะรู้สึกว่ามันไม่สะอาดและไม่น่ารับประทานเข้าไปอย่างยิ่งก็เถอะ...” ชายอีกคนพูดปลอบ เขาสวมชุดสูทเต็มยศและดูภูมิฐานอย่างยิ่ง ในที่นี้ วุฒิชัยเป็น ประธานการประชุมเฉพาะกิจที่พวกผู้ปกครองของเหล่ารุ่นน้องรวมตัวกันจัดขึ้น เป้าหมาย คือ รวบรวมหลักฐานการรับน้องที่พวกเขามองว่า ‘เกินกว่าเหตุ’ เพื่อไปร้อง เรียนต่อทางมหาวิทยาลัย “ผมขอโทษแทนภรรยาด้วยครับคุณวุฒิ เธอเซ้าซี้ขอมาด้วยให้ได้ ทั้งที่ผมก็ บอกแล้วว่าอาจจะมีภาพที่ไม่น่าดูอยู่สักหน่อย” สามีของพรรณีขอโทษขอโพยประธาน และสมาชิกในกลุ่ม พลางประคองภรรยาผู้แตกตื่นกลับไปนั่งที่ “ไม่เป็นไรครับ ตอนที่ผมดูครั้งแรกก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน เอ่อ ไม่ได้ หมายความว่าผมกรี๊ดแบบนี้นะครับ อย่าเพิ่งจินตนาการกันไปไกล” เมื่อได้ยินมุกตลก สมาชิกก็พากันผ่อนคลายขึ้นและกลับไปนั่งประจ�ำที่เดิม อีกครั้ง แม้จะยังไม่วายบ่นพึมพ�ำเห็นด้วยกับพรรณีว่าช่างเป็นการกระท�ำที่ชวน 10


Short Story “ รุ่นน้ อง ” โดย ชัญชนันท์ เพชรสวพันธ์

พูดจบก็ยืนขึ้น ปรบมือไปทางชายผมสีดอกเลา ผู้ก้มตัวลงอย่างขวยเขิน ทุกคนจึงพา กันร่วมปรบมือแสดงความชื่นชมอย่างเปิดเผย รวมทั้งพรรณีกับสามีด้วย “ครั้งนี้คุณชาติต้องลงทุนลงแรงไปมาก และผลที่ออกมาก็ดีเกินคาด พวกเรา ทุกคนซาบซึ้งในการเสียสละของคุณมากครับ… เอาล่ะ เวลาของเรามีน้อย ผมขอสรุป และนัดแนะขั้นตอนการด�ำเนินการร้องเรียนเลยแล้วกันนะครับ พวกเราจะได้มาเจอกัน อีกครั้งและร่วมส่งเอกสารกับทางมหาวิทยาลัยด้วยกัน...” หลังจากตกลงกันเป็นที่เรียบร้อย สมาชิกแต่ละคนก็ร�่ำลากันด้วยความชื่นมื่น เมื่อสิ่งที่พวกเขาเฝ้าเพียรพยายามต่อสู้ใกล้สัมฤทธิ์ผล ผลดีที่จะเกิดขึ้นก็ตกอยู่ที่ตัวลูก หลานพวกเขาเอง รวมถึงเด็กรุ่นต่อๆ ไปที่จะเข้ามาศึกษา ณ ที่แห่งนี้ด้วย ก่อนกลับ พรรณีได้เข้าไปขอบคุณชาติด้วยตนเอง เธอรู้สึกทึ่งที่ชายมีอายุผู้ สงบเสงี่ยมสามารถลงมือหาหลักฐานชิ้นส�ำคัญได้ด้วยตัวคนเดียว เขาเล่าให้เธอฟังว่า ถึงกับต้องปลอมตัวไปเป็นคนท�ำความสะอาดในค่ายที่จัดกิจกรรมรับน้องเพื่อแอบถ่าย วิดีโอหลักฐานมาเลยทีเดียว “โห ตามไปถึงต่างจังหวัดเลยเหรอคะ อย่างนี้คงต้องลางานหลายวัน ล�ำบาก แย่เลย” พรรณีพูดด้วยความรู้สึกทึ่ง เพราะรู้ดีว่าสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มล้วนหาเวลา ว่างตรงกันได้ยากนัก ทุกคนต่างมีงานประจ�ำและหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ “ฉันชื่นชมใน ความเสียสละของคุณจริงๆ ค่ะ” ชายวัยกลางคนได้แต่ยิ้มเจื่อนๆ ก่อนขอตัวจากไปเช่นเดียวกับสมาชิกคนอื่น

“ ในองค์กรไหนๆ ก็เป็น แบบนี้ทั้งนั้นแหละคุณ คนที่เข้ามาทีหลัง ก็เหนื่อยหน่อย เป็นธรรมดา ”

….......................................................... “ในที่สุดก็วางใจได้สักที” พรรณีถอนหายใจพลางร�ำพึงร�ำพันขณะเดินทาง กลับ “ฉันละเป็นห่วงตาหนูอยู่ทุกวัน กว่าจะได้หลักฐานก็แทบแย่นะคะคุณ” “แหม พูดอย่างกับคุณช่วยอะไรอย่างนั้นล่ะ ประชุมก็เพิ่งจะมาคราวแรก ผม บอกว่าไม่ต้องมาก็ไม่เชื่อ พอมาก็ท�ำเอาทุกคนแตกตื่นไปหมด” เมื่อถูกสามีค่อนขอด พรรณีก็หันขวับมาค้อน “แล้วคุณท�ำอะไรบ้างคะ หลัก ฐานสักชิ้นก็หาไม่ได้ นี่ถ้าไม่ได้คุณชาติ ป่านนี้ก็ยังงมเข็มในมหาสมุทรอยู่เลยมั้ง” พรรณีเถียง “เขาช่างเป็นคนดีจริงๆ ขันอาสาไปล�ำบากล�ำบน ลงทุนลางานติดตามเด็กๆ เป็นอาทิตย์ๆ ดิฉันไม่รู้จะตอบแทนเขาอย่างไรดี” พรรณีพูดต่อไม่หยุด จนสามีอดไม่ได้ ต้องหันมาขัด “ล�ำบากล�ำบนน่ะใช่ แต่จะบอกว่าขันอาสาก็ไม่ถูกหรอกคุณ ก็รู้กันอยู่ว่า แต่ละคนงานรัดตัวกันขนาดไหน แล้วคุณก็เห็น คุณชาติเขาอายุปูนนั้นแล้ว ต�ำแหน่ง หน้าที่ก็ไม่ได้สูงอะไร คุณคิดว่าเขาจะอยากลางานไปเป็นอาทิตย์ๆ ให้โดนเจ้านายหัก เงินเดือนเล่นงั้นหรือ เขาโดนกดดันให้ต้องท�ำต่างหากคุณ!” “คุณหมายความว่าอย่างไร!” พรรณีงุนงง “แน่นอนล่ะสิ ก็ไม่มีใครอยากท�ำงานนี้นี่ ใครจะกล้าเอาหน้าที่การงานมา เสี่ยงกันเล่าคุณ ถึงจะห่วงเด็กๆ ก็เถอะ...” เขาถอนใจ “หวยมาออกที่คุณชาติ ก็ไม่ใช่ว่าพวกผมกับคุณวุฒิไปกลั่นแกล้งอะไรเขา หรอกนะ อย่ามองผมแบบนั้นสิคุณ! ...ความจริงก็คือ คุณชาติเขามาเข้าร่วมกับเรา ทีหลังสุด เปรียบง่ายๆ ก็เหมือนเป็นรุ่นน้องของพวกเรานี่ล่ะ ในเมื่อไม่มีใครยอมอาสา คนที่เข้ามาทีหลังก็ต้องรับหน้าที่ไป ไม่งั้นงานก็เดินต่อไม่ได้สักที... ในองค์กรไหนๆ ก็ เป็นแบบนี้ทั้งนั้นแหละคุณ คนที่เข้ามาทีหลังก็เหนื่อยหน่อยเป็นธรรมดา...” 11


INTERVIEWS

12


INTERVIEWS ชีวิตทีละขั้นและมุมมอง “รุ่นเก่า” ที่ไม่เคยล้าหลัง ของ กาญจนา ชัยจินดา โดย ศวริศ ศรีฤทธิประดิษฐ์ / ภาพ จุฬาลักษณ์ สินทะสุทธิ์

ทุกคนมีทางเดินชีวิตที่แตกต่างเป็นของตัวเองซึ่งอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมหรือค่านิยมในสังคม ส�ำหรับ “เด็กรุ่นใหม่” อาจต้องการชีวิตที่หวือหวา กล้า และกระหาย ที่จะใช้ชีวิต ส่วน “คนรุ่นเก่า” ด้วยข้อจ�ำกัดและความจ�ำเป็นต่างๆ การใช้ชีวิตที่มั่นคงจึงน่าจะเหมาะสมกว่า ผมจึงอยากชวนให้ลองเปิดมุมมอง รับฟังความคิดเห็นของคนรุ่นพ่อ รุ่นแม่ของเราว่า เหตุใดเขาจึงเลือกทางเดินที่อาจจะดูน่าเบื่อเกินไปส�ำหรับหนุ่มสาวยุคดิจิทัล

ผมนัดสัมภาษณ์พี่ กาญจนา ชัยจินดา เลขานุการคณะอักษรศาสตร์ หรือ พี่ต๋อย ตัวแทนคนรุ่นเก่าที่จะมาเผยวิธีคิดเกี่ยวกับการใช้ชีวิต ความใฝ่ฝัน และความส�ำเร็จ ให้กับเราในครั้งนี้ บ่ายวันนั้นก่อนเริ่มสัมภาษณ์ ผมรู้สึกประหม่าเพราะไม่เคยรู้จักมักคุ้นกันมาก่อน อีกทั้งยังเกรงวัยวุฒิและต�ำแหน่งเลขานุการคณะฯ พานให้คิดไปว่า “ท่าน” ต้อง วางตัวเข้าถึงยาก แต่แล้วความรู้สึกทั้งหลายก็ได้สลายไปเมื่อ “พี่” ต๋อยเข้ามาทักทายผม และยกเก้าอี้มาให้เด็กไม่รู้ความคนหนึ่งที่มาขอสัมภาษณ์ น�ำ้ ใจและความใส่ใจต่อผู้อน ื่ เพียงเล็กน้อยคือสิง่ แรกทีผ ่ มประทับใจ และยิง่ เมือ ่ ได้สม ั ภาษณ์ ได้พด ู คุย ผมก็ยงิ่ รู้สก ึ เคารพและชืน ่ ชมในแนวคิดและแง่งามใน “วิธ”ี ก้าวย่าง แต่ละขั้นของชีวิต ท�ำให้ภาพเดิมๆ ของวิถีคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ อาจไม่ได้ “ล้าหลัง” อย่างที่เด็กรุ่นใหม่กล่าวหา… พี่ต๋อยคือหนึ่งใน “คนรุ่นเก่า” ที่เลือกใช้ชีวิตและการท�ำงานที่มั่นคงเฉกเช่นคนทั่วไปในสมัยนั้น โดยเข้ารับราชการตั้งแต่ พ.ศ. 2522 โดยเริ่มท�ำงานต�ำแหน่งพนักงาน ธุรการ นักวิชาการศึกษา จนก้าวขึ้นมาดูแลงานการศึกษาเต็มตัวในฐานะหัวหน้างานบริการการศึกษาซึ่งถือเป็นหัวใจของคณะฯ และก้าวขึ้นสู่ต�ำแหน่งในปัจจุบัน รวมเวลาทั้งสิ้นถึง 38 ปี

ถ้าน�ำส่วนที่ดี ของคนรุ่นใหม่ และน�ำส่วนที่ดี ของคนรุ่นเบบี้บูมอย่างพี่ เอามาผนวกกัน มันจะท�ำให้ เกิดประโยชน์สูงสุด

สาเหตุที่เข้ารับราชการ “ครัง้ แรกพีไ่ ปท�ำงานเอกชนก่อน พอจบใหม่ๆ ไปท�ำงานให้กบ ั ปูนซีเมนต์ไทยซึง่ เป็นเครือปูนซีเมนต์เกีย ่ วกับการส่งออก แต่ดว้ ยเรามีความรูม ้ าทางสายอาชีพ ทัง้ ภาษาอังกฤษ เราก็ด้อย เรื่องการติดต่อสื่อสารเราก็ไม่ถนัด ฉะนั้น จึงเกิดความอึดอัดในการท�ำงาน พอถึงวันหนึ่งที่เราต้องไปท�ำงานมันก็ทุกข์ จะต้องคุยกับฝรั่ง จะต้องคุยกับหัวหน้าที่เขา ร่างหนังสือมาเป็นภาษาอังกฤษทั้งฉบับ ทีนี้เรารู้ตัวแล้วว่าไม่เหมาะกับงานประเภทแบบนี้”

13


“ต่อมาพี่ก็สอบติดราชการ มีหนังสือเรียกเข้ามารายงานตัว ก็เลยตัดสินใจบอก หัวหน้างานว่าเราประสงค์จะมาบรรจุเป็นข้าราชการ แล้วเขาตั้งค�ำถามว่า ท�ำไม เราชอบ งานราชการเหรอ เราก็คิด ว่า เป็น งานที่มีค วามมั่น คง และเราได้ช่ว ยประเทศชาติใน ระดับหนึ่ง ช่วยให้ราชการก้าวหน้า นี่คือความมุ่งมั่นแรกที่มารับราชการ สิ่ง นี้ก็ได้รับ การบอกกล่า วมาจากผู้ ใหญ่ ว่า การรับ ราชการเป็น น�้ำ บ่อ ทราย ใช้ไปเหอะ ไม่มีหมด จนกระทั่งเราเกษียณแล้ว ราชการก็ยังเลี้ยงดูเรา นี่คือสิ่งที่เราได้รับ การสั่งสอนมาจากผู้ใหญ่ แต่เขาก็ไม่ได้ชี้แนะว่าจะต้องมาเป็นข้าราชการ เพียงแต่เป็น การตัดสินใจของเราเอง”

คิดอย่างไรกับเด็กรุ่นใหม่ที่เขาไม่ได้อยากเป็นข้าราชการ “พี่มองตรงนี้ว่ามัน คือ คนละเจเนอเรชั่น กัน นะ เด็กรุ่นใหม่มีลักษณะที่มีความ ก้าวหน้าอีกแบบหนึ่ง คือเขาคิดว่าการท�ำธุรกิจหรือสิ่งต่างๆ ที่เขาชอบ เป็นงานอิสระซึ่ง ไม่เป็นลูกจ้างใคร แต่มน ั ก็มผ ี ลเสียในแง่ว่าถ้าหากเราไม่มค ี วามรู้หรือเราไม่ได้ร้อ ู ย่างแท้จริง ในธุรกิจอันนัน ้ เราก็ไม่อาจประสบความส�ำเร็จได้ แต่ถ้าบางคนทีเ่ ขามีความก้าวหน้าเขาก็ ประสบความส�ำเร็จในเรื่องของธุรกิจ เราจะมีความต่างตรงนี้”

เหมือนเด็กรุ่นนี้จะไม่ได้มีการวางแผนละเอียดเหมือนรุ่นพี่ “ของรุ่นพี่มันเป็นการสะสมมาทีละเล็กทีละน้อย เพียงแต่เด็กรุ่นใหม่เขาได้ ทุกอย่างมาโดยง่ายดายทัง้ หมด เพราะฉะนัน ้ มุมมองจึงไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนคนรุ่นเก่า รุ่นของพีจ่ ะมองชีวต ิ ยาว มองชีวต ิ ไปข้างหน้า เด็กรุ่นใหม่จะใช้ชวี ต ิ วันนีเ้ ลย มีความเสีย ่ ง สูง คนรุ่นใหม่เขาก็มีความก้าวหน้า พูดง่ายๆ ว่าเขาจะสามารถก้าวไปได้เร็วกว่า คนรุ่นเก่า สามารถสร้างเนื้อสร้างตัว ความส�ำเร็จในธุรกิจก็จะมีสิ่งต่างๆ ได้รวดเร็วกว่า คนรุ่นเก่า อย่างเช่นตัวพี่กว่าจะมีทรัพย์สิน พูดง่ายๆ นะ ตลอดชีวิตราชการ ตอนพี่อายุ สัก 50 ปี พี่เพิ่งจะมีรถมีบ้าน ค่อยๆ สร้างทีละส่วนๆ ขึ้นมา แต่น้องสมัยนี้ อายุแค่ 20 กว่า 30 กว่าก็มีหมดแล้ว เขาจะเติบโตได้ไวกว่า”

ส�ำหรับเรื่องมีบ้านมีรถ... “คือ สมัย ก่อนเนี่ย เราไม่ ได้ คิด ไปถึง ขนาดนั้น แต่ เราคิด ว่า เมื่อ สิ้น สุดของ การรับราชการ เราจะต้องมีทรัพย์พวกนีท ้ เี่ ป็นปัจจัยในยามแก่เฒ่า เราจะได้อยู่กบ ั สิง่ พวกนี้ ในระดับหนึง่ เราไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องมีบ้านใหญ่โตมีอะไรมากมาย แต่เราคิดถึงอนาคต ข้างหน้าว่าท�ำอย่างไรให้เรามีความสุขในชีวิตบั้นปลายหลังเกษียณ” 14


พี่คิดว่าอะไรคือความส�ำเร็จในชีวิตของพี่ “ความส�ำเร็จของพี่ คือ เมื่อพี่ได้รับมอบหมายหน้าที่อะไร พี่จะท�ำใน สิ่งนั้นให้ดีที่สุด พี่ไม่ได้คาดหวังว่ามันจะเป็นที่พึงพอใจของคนอื่นหรือไม่ แต่เรา คิดว่าถ้าเราท�ำเต็มที่แล้ว เรามีการวางแผนงานที่ดี งานก็จะประสบความส�ำเร็จ แต่ทงั้ นี้ ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนรอบข้างด้วยนะคะ ไม่ใช่ว่าตัวเราคนเดียว จะท�ำส�ำเร็จ”

แล้วเป้าหมายในชีวิตของพี่เคยคิดไหมว่าอายุสักเท่าไหร่ควรจะ ส�ำเร็จอะไร หรือมีอะไร

คิดอย่างไรที่เด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยคิดหรือวางแผนเรื่องครอบครัว ไม่ เหมือนสมัยพี่ที่จะคิดวางแผนว่าสักอายุเท่านี้ๆ จะแต่งงาน จะมีลูก

“อาจจะด้วยเรื่องของสังคมที่เปลี่ยนไปเยอะ คุณภาพชีวิตมันต�่ำลง มันด้อยลง ต�่ำลงแบบสุดๆ แล้ว มัน ก็เลยไม่ค่อ ยอยากจะมีลูก คือเราเกิดมา อนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เราต้องคิดถึงคนที่ก�ำลังจะเกิดมา อันนี้มันเป็น สายสัมพันธ์นะว่าเราต้องดูแลเขา ท�ำยังไงเขาจะเติบโตมาในสิ่งที่ดีที่สุด พอเรา เห็นสังคมทุกวันนีเ้ ราก็จะเกิดปัญหาว่า จะอยู่ยงั ไง อนาคตจะไปไหน ความห่วงใย มันมี”

เหมือนการรับผิดชอบเลี้ยงดูลูก มันจะยากขึ้น

“ไม่เคยคิดถึงเป้าหมาย มันเป็นไปตามระยะเวลา”

พี่ไม่ได้มีเป้าหมายที่หวือหวา และหวังว่าจะมีความสุขตอนบั้นปลาย “ใช่ เราอยากท�ำอะไรเราท�ำ แต่พก ี่ ไ็ ม่ใช่คนทีเ่ ก็บตัวอยู่กบ ั ที่ พีช่ อบเทีย ่ ว พี่เป็นคนชอบไปศึกษา ไปดูที่นู่นที่นี่ เห็นอะไรที่แตกต่างไปจากบ้านเมืองเรา ก็หมายถึงว่าถ้าเราจะเที่ยว เราต้องเก็บเงินไว้ส่วนหนึ่งส�ำหรับที่เราจะเตรียมตัว ไปเที่ยว พรุ่งนี้เราจะมีเป้าหมายอะไร เราจะวางแผนอย่างไรเพื่อให้เงินเราจะ ไม่ช็อต”

เหมือนกับว่าพี่ค่อยๆ ใช้ชีวิตไป แล้วพอก�ำลังเราพร้อมก็ค่อยมอง หาว่าจะท�ำอะไร “ความส�ำเร็จของพีก ่ ค ็ อ ื การทีท ่ ำ� เป็นระยะๆ ไม่ได้มองไกลเกินก�ำลังเรา ต้องพูดอย่างนี้ว่าบางครั้งก็ไปไม่ถึงมันก็จะท�ำให้เรารู้สึกผิดหวัง เราจึงค่อยๆ ท�ำ ไปทีละสเต็ป”

พี่ยังมองหาอะไรอีกไหมครับ หรือว่าคาดหวังว่าชีวิตต่อจากนี้จะเป็น อย่างไร “คือความคาดหวังหลังจากที่เกษียณแล้วเนี่ย พี่ก�ำลังมองไว้ว่า พี่เป็น คนชอบท�ำอาหาร ชอบเรียนรู้ในเรื่องของงานศิลปะ พี่ก็จะไปใช้ยามว่างหลังจาก เกษียณไปศึกษาสิ่งพวกนี้ ท�ำให้เราไม่ได้นั่งอยู่เฉยๆ แล้วเราก็รักในสิ่งที่เราท�ำ”

“ยากขึน ้ แค่ตวั เองก็จะรับผิดชอบไม่ไหว เรายังไม่มน ั่ คงเท่าคนสมัยก่อน นะ พูดกันง่ายๆ คือเรายังไม่พร้อมทีจ่ ะมี พร้อมทีจ่ ะรับผิดชอบคนอืน ่ ชีวต ิ ของ คนอื่น”

คิดว่าเป็นเรื่องน่ากังวลไหมที่เด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยคิดจะมีครอบครัว “ต่อไปประชากรมันก็จะลดน้อยลงเนาะ เพราะทุกคนก็คด ิ อย่างนีไ้ ง ว่า ฉันอยู่ของฉันคนเดียวดีกว่า สบายกว่า ประชากรวันนีก ้ น ็ ้อยลงแล้วนะ ผู้สงู วัยจะ เยอะขึ้น”

จากมุมมองเมื่อครู่ ถ้าจะมีปัจจัยที่ท�ำให้คนสมัยนี้ไม่มีครอบครัว ก็ คือการไม่ค่อยวางแผนกับไม่ค่อยมีความมั่นคง

“ใช่”

พี่รู้สึกยังไง เมื่อโตจนคนเรียกว่า “รุ่นเก่า” ค�ำว่ารุ่นเก่าที่รุ่นพวกผม เรียก พี่รู้สึกยังไง มันมีความรู้สึกอะไรบ้าง “พีไ่ ม่มค ี วามรู้สก ึ อะไรเลย เพราะพีม ่ ค ี วามรู้สก ึ ภาคภูมใิ จในสิง่ ทีเ่ ราเป็น สิ่งที่เรากระท�ำ ทุกอย่างเราไม่ได้ไปมองเจตนาของคนอื่นเลย เพราะมุมมองของ คนอื่นอาจต่างจากเรา มองไม่เหมือนกัน”

แล้วที่เด็กรุ่นใหม่เวลาท�ำงานแล้วทัศนคติไม่ตรงกันก็มักจะพูดว่า “คนรุ่นเก่าล้าหลัง”

ความฝันตอนนี้พี่อยากท�ำอะไรให้ส�ำเร็จ “พี่คิดว่าความฝันของพี่ตอนนี้ส�ำเร็จทุกอย่างแล้ว จากนี้ก็ใช้ชีวิตอย่าง เรียบง่าย”

กลับมาที่เด็กสมัยนี้ พี่คิดว่าคนรุ่นพวกผมขาดสิ่งใด เมื่อเทียบกับคน รุ่นเก่า “ขาดความเคารพ คือคนสมัยก่อนหน้าอย่างพวกพี่จะถูกสั่งสอนมาว่า เวลาเราเจอผู้ใหญ่เราต้องท�ำอย่างไร กิริยามารยาท ไม่ยืนค�้ำหัวผู้ใหญ่ เราถูก สั่งสอนมาหลายอย่าง เพราะฉะนั้นเวลาเราเจอคุณครูเนี่ยเราจะต้องเคารพแบบ นอบน้อมอย่างมากเลย เราจะไม่กล้ากับคุณครูหรือผู้ใหญ่ทอ ี่ าวุโสกว่าเรา เราจะ ให้ความเคารพ ลักษณะของการท�ำงานสมัยก่อน เขาจะนับถือคนทีอ ่ าวุโส เข้ามาใหม่ๆ เป็นเด็กเนีย ่ เป็นรุ่นน้อง พีก ่ ต ็ ้องเคารพคนทีม ่ อ ี ายุมากกว่า เราก็จะยกมือทักทาย ด้วยความเคารพ แต่สมัยนี้มันมีความต่าง คือเรียกว่า ต่างคนต่างอยู่ ต่างคน ต่างท�ำ มันไม่ได้เป็นไปในลักษณะเหมือนพี่เหมือนน้อง เด็กรุ่นใหม่รุ่นของน้องๆ เขาจะมีความคิดอีกแบบหนึง่ ว่า ขอท�ำงานตามหน้าที่ เขาไม่จำ� เป็นจะต้องนับถือ ความอาวุโสอะไรกันมากมาย”

คิดอย่างไรกับค่านิยมของคนรุ่นพี่ (รุ่นพ่อแม่พวกผม) คาดหวังให้ลูก หลานต้องท�ำงานที่มั่นคง มีเงินเดือน “เขาเรียกว่ามีอาชีพทีเ่ หมาะสม สามารถเลีย ้ งดูตวั เองได้ แล้วส่วนหนึง่ ไม่ร้เู ด็กสมัยนีเ้ ป็นกันหรือเปล่า คือพีไ่ ด้รบ ั เงินเดือนเนีย ่ พีจ่ ะแบ่งให้คณ ุ พ่อคุณแม่ เดีย ๋ วนีเ้ ป็นกันรึเปล่าก็ไม่ร้น ู ะ แต่ถ้าใครท�ำได้กจ็ ะเป็นสิง่ ทีด ่ ี ให้เถอะ เงินเพียงเล็ก เพียงน้อยก็ท�ำให้ท่านมีความชื่นใจ มันเป็นสิ่งที่เรียกว่า...”

ตอบแทนบุญคุณ “มันไม่ใช่การตอบแทนบุญคุณ แต่มน ั เป็นความรู้สก ึ ที่ คุณพ่อคุณแม่จะ รู้สึกดีใจมากเลยที่ลูกนึกถึง”

15

“อันนีพ ้ จี่ ะบอกเลยว่าคนรุน ่ ใหม่เนีย ่ เขามีไฟแรง ความคิดความอ่านเขา ก้าวไปเยอะมากแล้วเทคโนโลยีเขาเก่งกว่าเราเยอะ แต่คนรุน ่ เก่า ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีคุณ ภาพ จะด้อย หรือ ไม่มีคุณค่า ส�ำหรับคนอื่นเลย มันก็ไม่ใช่ คนรุ่นเก่าเขาจะมีประสบการณ์ ประสบการณ์จาก การท�ำงาน ประสบการณ์จากสิ่งที่เขาพบเห็น ทุกอย่างนี้ คือสิ่งที่หล่อหลอมให้ การท�ำงานมันออกมาได้ มันประสบความส�ำเร็จ ถ้าน�ำส่วนที่ดีของคนรุ่นใหม่ และน�ำส่วนที่ดีของคนรุ่นเบบี้บูมอย่างพี่ เอามาผนวกกัน มันจะท�ำให้เกิดประโยชน์สงู สุด เพราะบางอย่างเนีย ่ ถ้าไม่ได้รบ ั การสัง่ สอนจากรุ่นพวกพี่ คุณจะท�ำได้ด้วยเส้นทางทีม ่ น ั ถูกต้อง มันก็ไม่ได้ใช่ไหม ยิ่งงานราชการมีความละเอียด มีขั้นมีตอน เพราะฉะนั้น มันต้องมีสองส่วนมา ผสมผสานกันให้เกิดประโยชน์มากที่สุด”

มีเสียงว่า คนรุ่นเก่าครองงาน จนมีที่ว่างไม่พอให้คนรุ่นใหม่เข้ามา ท�ำงาน แล้วนโยบายยืดเวลาการเกษียณอีก หรือการต่ออายุราชการ โดยอ้างประสบการณ์ที่มากกว่าให้ตนมีสิทธิอยู่ต่อ “ในความคิดพี่ พีค ่ ด ิ ว่า การรับราชการทีอ ่ ายุ 60 นี่ มันเหมาะสมกับวัย หลังจากนีไ้ ปแล้ว ความเสือ ่ มถอยทัง้ ร่างกาย และความเสือ ่ มถอยต่างๆ มันค่อยๆ เสื่อมไปตามสเต็ปของแต่ละคน ถ้าสุขภาพไม่ดี การท�ำงานก็ถดถอย การท�ำงาน ก็จะไม่มีประสิทธิภาพ ส่วนการต่ออายุ พีก ่ ไ็ ม่เห็นด้วยนะ ถึงราชการจะขอให้พอ ี่ ยู่ถงึ อายุ 65 พี่ก็อาจจะลาออกเมื่ออายุ 60 เพราะในความคิดของพี่ เราไม่ควรจะท�ำงานต่อ อัน นี้พูด ถึง ในเรื่อ งของงบประมาณ เพราะรุ่น เก่าๆ นั้น เงิน เดือ นค่อ นข้า งสูง งบประมาณตรงนี้จึงสูงมาก ถ้าพี่ต่ออายุราชการต่อ งบประมาณในอีกห้าปีมัน จะเท่าไหร่ ถ้าเขาเอางบประมาณส่วนนี้ไปจ้างเด็กรุ่นใหม่ก็น่าจะมีการพัฒนา มากกว่า และเราก็ต้องคิดว่า ในส่วนตัวของเราเองมันไม่ได้พัฒนาไปมากกว่าที่ เราเป็น แต่คนรุ่นใหม่ก็อาจจะมีอะไรบางอย่างที่ท�ำให้เกิดความก้าวหน้าขึ้นได้ มันอาจจะดีกว่า ตรงนี้คือมุมมองของพี่นะ แต่คนอื่นอาจจะไม่ได้คิดแบบพี่ อุ๊ย! อยู่ต่อไปอีกจน 65 ฉันก็ยังสบาย เพราะยังไงการท�ำงานเขาก็อยู่แค่นี้ เขา ไม่ไป เขาไปไม่มากกว่าตอนนีแ้ น่นอน ใช้ประสบการณ์ใช้ตำ� แหน่งอ้างว่าจะอยู่ต่อ ปัญหาคือตรงนี้ที่มาถกเถียงกันว่า ท�ำไมไม่คิดที่จะพัฒนาคนรุ่นใหม่ขึ้นมาให้ เติบโต เรายังมาจระเข้ขวางคลองอยู่ใช่ไหม อันนั้นน่ะไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น งานอะไรที่เราคิดว่ามันสมควรแก่เวลา เราก็ควรอัญเชิญตัวเราไปจากตรงนี้ซะ” .........................


ผู้ใหญ่สมัยนี้ “เด็กสมัยนี้นะ...” คิด ว่า ใครหลายคนคงคุ้นหูกับวลีนี้เป็นอย่างดี และแน่นอนว่าประโยคทีต ่ ามหลังย่อมไม่ใช่เรือ ่ งดีเป็นแน่แท้ ถ้าลองเอาค�ำว่าเด็กสมัยนีไ้ ปค้นหาในกูเกิล ้ สิง่ แรกๆ ทีโ่ ชว์ ขึ้นมาบนหน้าจอก็จะได้แก่...

– ท�ำไมเด็กสมัยนี้ออกตัวกันแรงจัง? – ท�ำไมเด็กสมัยนี้แก่แดดกันจังเลย – ท�ำไมเด็กสมัยนี้ถึงอยากไปเรียนนอก แม้รู้ทั้งรู้ว่าครอบครัวจะต้องเหนื่อยแค่ไหน?

ถ้าหากเราคือบุคคลที่ถูกเรียกว่า “เด็กสมัยนี้” หรือก็คือเด็กรุ่นหลัง GenY เป็นต้นไป ก็คงจะหงุดหงิด ไม่น้อย และยิง่ คนรุ่นก่อนบ่นมากแค่ไหน เราก็คงรู้สก ึ อยาก ทีจ่ ะต่อต้านมากขึน ้ ท�ำไมกระแสการออกมาแฉ “เด็กสมัยนี”้ มันจึงพุ่งพรวดขึ้นมาได้กันนะ แน่นอนว่าต้นตอที่ท�ำให้ผู้คนได้รับข่าวสารของ เหล่า “เด็กสมัยนี”้ เพราะมีโซเชียลมีเดียเป็นผู้เผยแพร่อยู่ นัน ่ เอง ในสมัยก่อนนัน ้ แม้ว่า “เด็กสมัยนี”้ จะท�ำตัวอย่างไร สุดท้ายแล้วก็มีเพียงเสียงบ่นจากคนใกล้ตัวเท่านั้น แล้วก็ จบเรื่องจบราวกันไป ท�ำอีกก็อาจจะโดนบ่นอีก แต่ความ รู้สึกร่วมที่แพร่กระจายไปทั่วโลก ( อินเทอร์เน็ต ) ก็ไม่ได้ เกิดขึ้นง่ายๆ อย่างเช่นตอนนี้ หลังจากโซเชียลมีเดียสามารถเข้าถึงคนทุกเพศ ทุกวัยได้แล้วนั้น การแชร์เรื่องราวของ “เด็กสมัยนี้” จึง กระจายสู่วงกว้างมากขึน ้ และยิง่ ผู้คนพบว่าเรือ ่ งราวเหล่านี้ เกิด ขึ้น คล้า ยๆ กัน ท้า ยที่สุด แล้ว มัน ก็ก ลายเป็ น การ “เหมารวม” ความเป็นเด็กสมัยนี้ไปโดยปริยาย แล้วท�ำไม “เด็กสมัยนี้” จึงไปขัดใจ “ผู้ใหญ่ สมัยนี้” กันนัก อันดับแรก อาจจะต้องมาดูกันก่อนว่าโลกนั้น เปลีย ่ นแปลงเช่นไร และมันส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ชวี ต ิ ของคนอย่างไร “เด็กสมัยนี้เอาแต่เล่นโทรศัพท์” นี่คือประโยค ฮอตฮิตตลอดกาลในการบ่นเด็กๆ ที่ไม่ยอมท�ำอะไร นอกจากก้มหน้าก้มตาเล่นโทรศัพท์ ว่าแต่... ในโทรศัพท์ มีอะไรที่ท�ำให้เด็กสนใจบ้าง แน่นอนว่าต้องเป็นเรื่องของสังคม – ในโลกที่

VS

เด็กสมัยนี้ โดย พลอยรุ้ง สิบพลาง

เขาสามารถติดต่อใครก็ได้ คุยกับใครก็ได้ ผ่านช่องทาง โซเชียลเน็ตเวิร์ก ท�ำให้เด็กสมัยนี้รู้สึกว่าเขาได้มีสังคมที่ อยู่รอบตัวเขาตลอดเวลา และด้วยพฤติกรรมของวัยรุ่นที่ มักจะชอบอยู่กับคนแวดวงเดียวกัน เพราะรู้สึกถึงความมี อะไร ‘ร่วม’ กันนั้น ก็เป็นหนึ่งเหตุผลที่ท�ำให้เขาเลือกจะ อยู่ในโลกของตัวเองมากกว่าออกมาเจอโลกที่น่าเบื่อ อีกอย่างหนึ่งก็คือ ในโลกอินเทอร์เน็ตนั้น เขา สามารถเลือกชมเลือกดูสงิ่ ทีช่ อบและสนใจได้โดยไม่ต้องรอ หรือบอกใคร การได้อยู่กับสิ่งที่ตัวเองชอบ ท�ำให้มนุษย์มี ความสุข แล้วแบบนี้ท�ำไมเขาถึงจะไม่เลือกอยู่ในโลกแห่ง อินเทอร์เน็ตกัน “เด็กสมัยนีไ้ ม่อดทนเอาเสียเลย” อีกหนึง่ ประโยค ดัง ในการแซะชาวเด็กสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ บอสที่ บริษท ั หรือคุณป้าข้างบ้านผู้รก ั การพูดคุยกับคนอืน ่ ก็มก ั จะ พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เด็กสมัยนี้ช่างไร้ความอดทนเสีย จริง จริงหรือไม่ที่เด็กสมัยนี้ไม่อดทน แล้วการที่เขา ไม่อดทน บอกอะไรได้บ้าง หากให้เทียบวิถชี วี ต ิ ของผู้ใหญ่สมัยนี้ (คนในรุ่น Baby Boomer หรือคน GenX) กับเด็กสมัยนี้ (GenY GenZ และอื่นๆ) สภาพสังคมเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้ ความคิดของทัง้ สองฝ่ายไม่ตรงกัน ผูใ้ หญ่สมัยนีต ้ ้องเผชิญ กับเหตุการณ์สารพัด ไม่ว่าจะเป็นสงครามโลก การเมืองที่ ผันผวน หรือเหตุการณ์ที่ท�ำ ให้ ผู้ ใหญ่หลายคนจ�ำฝังใจ อย่างเหตุการณ์ “ต้มย�ำกุ้ง” เมื่อปี พ.ศ. 2540 การที่ ชีวิตของ “ผู้ใหญ่สมัยนี้” เคยได้เจอกับสภาพเศรษฐกิจที่ ดีสด ุ ๆ จนถึงย�ำ่ แย่สด ุ ๆ ในเวลาใกล้เคียงกัน ท�ำให้การหา หลักยึด และความมั่นคงเป็นเรื่องส�ำคัญที่พวกเขาคิดถึง เสมอ เคยสงสัยไหมคะว่าท�ำไมพ่อแม่หรือญาติๆ มัก บอกให้เด็กๆ เลือกเรียนหมอ เรียนพยาบาล เรียนงานที่ สามารถจบไปท�ำงานราชการได้ นั่นเป็นเพราะพวกเขา เชื่อว่างานราชการจะมอบความมั่นคงให้แก่ชีวิตของลูก หลานที่เขารักนั่นเอง จริงๆ แล้วเหตุผลของผู้ใหญ่ คือ ความเป็นห่วงเป็นใย ซึ่งบางครั้งอาจจะมาในรูปแบบที่ ท�ำให้เราไม่พอใจไปสักนิด และกลายเป็นการทวีช่องว่าง แห่งการท�ำความเข้าใจกันมากขึ้น ซึง่ จริงๆ แล้ววิถชี วี ต ิ ของ “เด็กสมัยนี”้ ค่อนข้าง

16

แตกต่างไปจากคนรุน ่ เก่า การมองโลก ทัศนคติ ความเชือ ่ มัน ่ จึงแตกต่างไปด้วย เพราะเด็กสมัยนี้เติบโตมาในโลกที่ เศรษฐกิจผันผวนตลอดเวลา พวกเขาจึงเคยชินและไม่คด ิ ว่า นัน ่ คือปัญหาใหญ่ อีกทัง้ การเข้ามาของอินเทอร์เน็ตท�ำให้ โลกในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนแปลงไป ช่องทาง ในการท�ำงานก็มีเพิ่มมากขึ้น การเข้ามาของอินเทอร์เน็ต ก็เป็นส่วนส�ำคัญส่วนหนึ่ง อย่างน้อยมันก็เผยแพร่วฒ ั นธรรมการประสบความส�ำเร็จ ในรูปแบบใหม่ นั่นคือการเป็นเจ้านายตนเอง และท�ำตาม สิง่ ทีเ่ ราฝัน เรามีไอดอลอย่าง มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้สร้าง เฟซบุ๊ก หรืออีลอน มักส์ เจ้าของโครงการ SpaceX และ รถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่าง Tesla เป้าหมายชีวิตของชาวเด็กสมัยนี้ จึงไม่ใช่แค่ ท�ำงานมีเงินเดือน ซื้อรถ ซื้อบ้านและสร้างครอบครัว แต่ คือการได้ทำ� ในสิง่ ทีร่ ก ั อยู่กบ ั สิง่ ทีช่ อบ ออกไปค้นหาตัวตน ออกไปท่องโลกกว้าง การท�ำงานของเด็กสมัยนีจ้ งึ เป็นการ ‘เลือกงาน’ มากกว่าแต่ก่อน อย่างน้อยงานนัน ้ ๆ ก็ต้องเข้ากับไลฟ์สไตล์ ของเขาได้ เพราะหากเขารู้สึกเบื่อหรือหมดสนุก เขาก็จะ ไม่เสียดายและพร้อมจะลาออกเพือ ่ ไปค้นหาตัวเองอีกครัง้ ฟังดูแย่ใช่มั้ยคะ? ดูคิดสั้น ไม่นึกถึงผลกระทบ ในอนาคต แต่เพราะชีวต ิ ของเขาเติบโตมากับความผันผวน ทางเศรษฐกิจ ไม่มีอะไรในชีวิตที่แน่นอน สภาพสังคม การเมือง ก็ไม่ได้ท�ำให้ชีวิตของเขารื่นรมย์เท่าไหร่นัก ดังนัน ้ แล้วสิง่ ไหนทีเ่ ขาเลือกได้ เขาก็ไม่ลงั เลทีจ่ ะคว้าสิง่ นัน ้ ไว้ “ผู้ใหญ่สมัยนี้” ครั้งหนึ่งก็เคยเป็น “เด็กสมัยนี้” “เด็กสมัยนี้” ในอีกไม่ช้าก็จะเติบโตไปเป็น “ผู้ใหญ่ สมัยนี”้ ท้ายที่สุดแล้วการบอกกล่าวตามความเชื่อหรือ ทัศนคติของใคร ย่อมเป็นเรือ ่ งทีท ่ ำ� ได้เสมอ แต่สด ุ ท้ายแล้ว เราก็ไม่ควรลืมว่าทุกคนต่างเติบโตและมีชีวิตมาในบริบท ที่แตกต่างกัน ความเชื่อเราต่างกัน วิถีชีวิตเราต่างกัน เรา ไปบังคับใครไม่ได้ แต่เราสามารถท�ำความเข้าใจกันได้ ง่ายๆ แค่เราเรียนรู้ทจี่ ะเห็นมุมมองของกันและกัน


Ageism กันทำ�ไม ในโลกนี้ นอกจากจะมี Racism คือ การเหยียดเชือ ้ ชาติ การเหยียดสีผวิ Sexism การเหยียดเพศ ยังมีสงิ่ ทีเ่ รียกว่า Ageism หรือก็คือ การเหยียดวัย กันด้วย โรเบิร์ต นีล บัตเลอร์ (Robert Neil Butler) จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ และผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยการชราภาพ แห่งสหรัฐอเมริกาคนแรก ได้บัญญัติค�ำว่า “Ageism” เมื่อปี 1969 เพื่อบ่งบอกถึงปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อคนสูงวัย แต่ในปัจจุบันค�ำค�ำนี้ก็ได้ขยายวงกว้างและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยเป็นเรื่องของการเหยียดวัย ไม่ว่าจะเป็นการเหยียดเด็ก (Adultism) หรือการเหยียดคนชรา (Jeunism) หลายคนคงสงสัยว่าการเหยียดวัยท�ำอย่างไร ก่อนอื่นอาจจะต้องขอถามว่ารู้สึกยังไงกับค�ำว่า สาวใหญ่ เฒ่าหัวงู ไม่เจียม สังขาร วัวแก่กน ็ ำ� ไปเป็นมุกตลกจนลืมไปว่า ค�ำเหล่านีช้ ่างเต็มไปด้วยการเหยียด ิ หญ้าอ่อน บ้างคะ เราค่อนข้างคุ้นเคยกับค�ำค�ำนี้ บางทีกน หรือหากใช้ศัพท์สวยหรูก็อาจจะบอกว่าช่างไม่ PC เอาเสียเลย เพราะมันก�ำลังบอกเราว่าคนชราไม่ควรท�ำเช่นนี้! การเหยียดวัย คือ การทีเ่ ราประเมินคุณค่าและเหยียดหยาม รวมถึงการมองและเลือกปฏิบต ั ต ิ ่อคนในวัยต่างๆ ว่าไม่สามารถ ท�ำสิง่ นัน ้ หรือสิง่ นีไ้ ด้เพราะเป็นเรือ ่ งผิดปกติ เช่น หากเป็นคนชรา เราอาจจะมองว่าเขาไม่สามารถท�ำงานอะไรทีส ่ ร้างสรรค์ได้อก ี ไม่เชือ ่ มัน ่ ว่าเขาจะผลิตอะไรที่ดีออกมาได้เพียงเพราะลักษณะภายนอกเขาดูแก่ชรา บางครั้งเราอาจจะบ่นๆ กันว่า “แก่แล้วก็อยู่บ้านไปเถอะ” สิ่งเหล่านี้คือการไม่เห็นและไม่เชื่อมั่นในคุณค่าของคนชรา หากเป็นการเหยียดเด็ก เราก็อาจจะเคยชินกับค�ำว่า “เด็กสมัยนี้...” รวมทั้ง การที่เราไม่เชื่อมั่นในศักยภาพของเด็ก ค�ำพูดที่ว่า ‘เป็นเด็กเป็นเล็กยังท�ำอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้’ หรือการที่เราบอกว่า ‘เรื่องแบบนี้เด็ก ไม่เข้าใจหรอก’ ก็อาจเป็นการเหยียดวัยอยู่เช่นกัน

แม้แต่ภายใต้ ‘ความเมตตา’ ก็มีการเหยียดอยู่ในนั้น เพราะเมือ ่ เราใช้ความเมตตา นัน ่ เท่ากับว่าเราเองมีทศ ั นคติต่อคนอายุน้อยกว่า ว่าเป็นผู้ด้อยประสบการณ์ ไม่มค ี วามสามารถ และต้องได้รบ ั ความช่วยเหลืออยู่เสมอ ความเมตตาบางครั้งจึงอาจจะมาในรูปของแอปเปิ้ลอาบยาพิษก็เป็นได้ ในสังคมของคนไทยนั้น อายุนับเป็นอีกเรื่องที่หล่อหลอมความคิดเราอยู่เสมอ เราสอนต่อๆ กันมาว่าต้องเคารพผู้อาวุโส ในขณะเดียวกันเราก็ยกผู้อาวุโสไว้สูง แตะต้องไม่ได้ ไม่ควรเข้าไปพูดคุยเสวนาด้วย เพราะเขาอาวุโสกว่า เรื่องความอาวุโสนอกจากจะส่งผลกับคนที่โตกว่าแล้ว ยังส่งผลต่อคนที่อายุน้อยกว่า เพราะหลายครั้งเรามักได้ยินการใช้ค�ำว่า “อาวุโส” มาเป็นข้ออ้างให้อีกฝ่ายที่มีอายุน้อยกว่ายอมจ�ำนน เรื่องความอาวุโสในสังคมไทย (และเอเชีย) จึงท�ำให้เรามองเห็น ความเป็น Ageism กันมากขึ้น หากเราอยากลด Ageism หรือการเหยียดวัยนั้น (จริงๆ แล้วสามารถน�ำไปใช้กับทัศนคติหรือแนวคิดทุกชนิดที่เป็นการเหยียด) ก็เพียงแค่ให้เราคิดอยู่เสมอว่า ทุกคนล้วนเป็น “มนุษย์” ทีม ่ ส ี ท ิ ธิและเสรีภาพทีจ่ ะท�ำสิง่ ใดก็ได้(บนพืน ้ ฐานของการไม่เบียดเบียนคนอืน ่ ด้วย) แค่เราเชือ ่ มัน ่ ในศักยภาพของกันและกัน มองทุกคนอย่างเท่าเทียม มองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความเชื่อมั่น แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว

1

Political Correctness (PC) หรือ ความถูกต้องทางการเมือง หมายถึง ค�ำที่ใช้ส�ำหรับภาษา ความคิดเห็น นโยบาย และ พฤติกรรมที่เป็นการหลีกเลี่ยงการดูหมิ่นหรือการสร้างความรู้สึกขุ่นเคืองแก่เพศ ผิว วัฒนธรรม เพศสภาพ (sexual orientation) ผู้พิการ และสิ่งที่เกี่ยวกับผู้มีอายุขัย 17


INTERVIEWS

18


INTERVIEWS เก่า และ ใหม่ ความกลมกล่อมในคนเดียว ของ ศรัณรักษ์ สุขศรี โดย ภาณุมาศ จะบัง / ภาพ จุฬาลักษณ์ สินทะสุทธิ์

หากจะเปรียบ “คนรุ่นใหม่” เป็นเครื่องดื่มสักชนิด เรานึกถึงน�้ำร้อน ที่เต็มเปี่ยมไปด้วย พลังพร้อมจะเดือดและระเหยไปกับอากาศได้ทุกเมื่อ แต่ส�ำหรับ ปอนด์-ศรัณรักษ์ สุขศรี เขาคือ น�้ำร้อนที่ผสมเข้ากับกาแฟรสชาติของ “คนรุ่นเก่า” ที่ขมกับชีวิตมามาก แล้วเติมนมกับน�้ำตาลไป อีกนิดด้วยประสบการณ์ที่เขาออกไปพบเจอ จนกลายเป็นกาแฟแก้วหนึ่งที่ร้อนและกลมกล่อม พอดี เรานั ด สั ม ภาษณ์ป อนด์ท างโทรศั พ ท์ใ นช่ว งดึ ก ซึ่ ง เป็น วั น ที่ เ ขาเพิ่ ง กลั บ ถึ ง บ้า นที่ นครศรีธรรมราชหลังจากเดินทางไปสอนหนังสือเด็กๆ บนดอย เพื่อคุยกันเรื่องชีวิตในอุดมคติและ อนาคตของเด็กหนุ่มเจ้าของรอยยิ้มที่สดใส

ท�ำไมถึงตัดสินใจเรียนอักษร “ผมเป็นคนชอบภาษาอยู่แล้วอะครับ เหมือนมันเป็นศาสตร์ที่ท�ำให้เรา เข้าใจคนมากขึน ้ ได้เชือ ่ มต่อกับคน แล้วผมก็ชอบอ่านหนังสือมาตัง้ แต่มธั ยมปลาย รู้สก ึ ว่าอักษรน่าจะตอบโจทย์ ก็เลยตัดสินใจเลือกอักษร แต่แรงบันดาลใจหลักๆ คือ เรื่องภาษาครับ”

เป็นผู้ชายในสายภาษารู้สึกยังไง “รู้สก ึ เท่ (หัวเราะ) ไม่ใช่ ผมคิดว่าจริงๆ มันก็ตอบโจทย์ตลาดเหมือนกันนะ เราเป็นผู้ชายมีความทะมัด ทะแมงที่จะลงพื้น ที่หรือท�ำงานดึก ๆ ได้ แต่ก็คิดว่า เป็นผู้ชาย บางที่เขาอาจจะไม่ไว้ใจเราเท่าผู้หญิงในเรื่องของความละเอียดอ่อน”

ตอนนี้มีแผนอะไรในอนาคตไหม เช่น งานที่อยากท�ำ ต้องท�ำให้ได้ “ก็คงเป็นเรื่องสอนพิเศษ ตอนนี้อยากสอนให้มากขึ้น เริ่มอยากหา รายได้ส�ำ รองไว้ก้อ นนึง ก่อ นที่จะเรีย นจบปีสี่ รู้สึก ว่า ปี สี่มันเป็นปีที่เราต้องยืน ด้วยตัวเองได้ อยากมีเงินสักก้อนทีเ่ ก็บไว้ ตอนเราจบมาจะได้ไม่เคว้ง สามารถอยู่ได้ ด้วยตัวเอง”

นอกจากแผนการเตรียมตัวก่อนจะท�ำงาน ปอนด์นึกถึงอะไรระยะไกล ไว้ไหม หรืออยากลองหาไปเรื่อยๆ “จริงๆ ก็ลังเลอยู่เหมือนกันว่าอยากจะเป็นอะไร แต่จริงๆ แล้วผมอะ อยากเป็นครูแต่ว่าผมก็ยังรู้สึกว่ายังมีอะไรหลาย ๆ อย่างที่อยากจะลองท�ำก่อน ก่อนที่จะไปเป็นครูผมเคยคุยกับครูสมัยมัธยมปลาย เขาก็บอกให้ลองท�ำอย่างอื่น ดูก่อนไหม เผือ ่ ไม่ชอบค่อยลองมาเป็นครูทห ี ลัง ผมก็ร้ส ู ก ึ ว่าอาชีพครู มันเป็นอะไร ที่เราท�ำได้ดีนะ แล้วก็มีความสุขดีแต่ก็อยากลองท�ำอาชีพอื่นดูเผื่อชอบ ถ้าชอบก็ อาจจะไปทางสายนี้แต่ช่วงนี้ก็ฝึกสอนเรื่อยๆ ด้วยการสอนพิเศษ”

เหลืออะไรที่อยากลอง “ตอนนี้อยากลองงานสถานทูตอะครับ เมื่อปีที่แล้วผมมีโอกาสได้ทุน ของ YSEALI ไปอเมริกา ท�ำให้ผมมีคอนแทกต์กับสถานทูตเยอะ ได้เห็น กระบวนการท�ำงานของเขา หรือบางทีมีอีเวนต์เขาก็ชวนผมไปช่วย ผมก็รู้สึกว่า งานสถานทูตมันก็ได้ท�ำอะไรหลายอย่างดีนะ สวัสดิการของสถานทูตมันก็ดีเรา ก็ได้ใช้ภาษาด้วย”

ดูเป็นคนวางแผนกับชีวิตระดับหนึ่งเลย

“ก็นิดหน่อยครับ แต่ผมรู้สึกว่าตอนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ความฝันผมนิ่ง กว่านี้ แต่พอมาเรียนอักษร สาขาของเรามันท�ำให้เราไปได้กว้างมากเลย เป็นชีวิต ที่พร้อมจะเติบโตได้ทุกด้านเลย ก็เลยรู้สึกลังเล”

คนเรามันจะมีไฟเยอะสุดก็ช่วงมหาลัย เราต้องลองให้เต็มที่ แล้วเราก็จะได้รู้ ว่าอันไหนมันเหมาะกับเราจริงๆ

พอโตขึ้น ความสามารถมากขึ้น โลกก็กว้างขึ้น ท�ำให้ความฝันของเรา ไม่ค่อยนิ่ง?

“ใช่ครับ ซึ่งผมก็ดีใจนะที่ความคิดมันเริ่มแตกๆ ไปเรื่อย ๆ มีคนเคย บอกว่า คนเรามันจะมีไฟเยอะสุดก็ช่วงมหาลัย เราต้องลองให้เต็มที่แล้วเราก็จะ ได้ร้วู ่าอันไหนมันเหมาะกับเราจริงๆ ไม่งน ั้ พอท�ำงานแล้วเราก็จะไปให้ความส�ำคัญ กับการหาเงินมาเลี้ยงตัวเอง ท�ำงาน ไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง ผมเลยรู้สึกว่าช่วง มหาลัยผมอยากท�ำให้เยอะให้มากที่สุด”

19


ลองครบรึยัง จะหมดเวลาแล้วนะ

“ลองมาเยอะมากเลยครับ ทั้งล่าม ทั้งงานรับ ลูกค้าที่สนามบิน ล่าสุดก็ไปสอนเด็กบนดอย เราก็ชอบนะ”

ระบบการศึกษาไทยมันก็ไม่ค่อยดี ระบบราชการ มันก็ไม่ค่อยโอเค ไม่กลัวหรอ “ตอนนี้ผมอยากเป็นครูเนี่ย 80 เปอร์เซ็นต์ เรา รู้สึกว่าข้าราชการมันมั่นคง แล้วตอนเด็กผมก็สนิทกับครู ค่อนข้างเยอะ แล้วมันเป็นอาชีพที่ถ้าเราชอบพูดชอบสอน เนีย ่ เราอยูไ่ ด้แหละ ซึง่ เวลาพูดให้หลายคนฟังก็ชอบบอกว่า ไม่จริง งานครูหนักมากไม่ได้หยุดเลย แต่อย่างครูโรงเรียนผม แถวบ้านนอกงี้ เขาจะมีปิดเทอมกัน 2 เดือนครึง่ เขาก็จะมี ช่วงที่ท�ำงานช่วงปิดเทอมเดือนนึง อีกเดือนก็จะว่างไปเลย เขาก็จะมีเวลาอยู่กับตัวเองท�ำสวน เขียนหนังสือ ไปเที่ยว ต่างประเทศ แต่ก็ยังได้เงินเดือนอยู่ ผมเลยรู้สึกว่ามันเป็น อาชีพทีห ่ นึ่งปีเนีย ่ เรามีความหวังว่าเราจะได้หยุดและได้ทำ� อาชีพที่เราชอบ อันนีเ้ ป็นส่วนทีช่ อบส�ำหรับระบบราชการ ส่วนที่ มันไม่ดีของข้าราชการผมก็รู้แหละว่ามันต้องเจอ แต่ผมว่า มันต้องอะไรอย่างนี้อยู่แล้ว ไม่มีอาชีพไหนที่สบายตลอด เวลา และทีผ ่ มอยากเป็นครูเพราะจากค�ำพูดของคนคนหนึง่ ว่า เราควรเลือกอาชีพที่เราตื่นเช้ามาแล้วเราไม่เหนื่อย ไม่ รู้สึกไม่อยากไปท�ำงาน ถ้าผมเป็นครูมันก็ต้องมีความรู้สึก เหนื่อยนั่นแหละ แต่ผมว่ามันน่าจะน้อยกว่าอาชีพอื่น อย่างล่าสุดที่ผมไปท�ำงานบริษัท Travex มัน ไม่ใช่ในเชิงฝึกงานแต่มน ั เป็นงานทีใ่ ห้เราเป็นลูกจ้างเลย แล้ว ผมรู้สึกว่าท�ำกับเอกชนแล้วมีความรับผิดชอบเยอะ ถ้าเรา ท�ำอะไรผิดพลาดขึน ้ มา รับลูกค้าวันนึงหกถึงเจ็ดกลุม ่ ถ้าผม เหนื่อยมาก เกิดไปไม่ไหวขึ้นมา ลูกค้าอีกหกเจ็ดกลุ่มก็จะ ไม่มค ี นไปรับเลย เพราะบริษท ั หาคนไม่ทน ั มันเป็นความรู้สก ึ ที่ต้องรับผิดชอบค่อนข้างสูง มันยิ่งตอกย�้ำว่าเป็นครูดีกว่า ไหม เพราะมันค่อนข้างจะมีความยืดหยุ่นในการท�ำงาน”

ถ้าวันนึงไม่ว่าเราจะมีความสุขหรือไม่มี ทั้งหมดมันมาจาก การตัดสินใจของผมเอง พ่อแม่ผมจะสอนแบบนี้ตลอด”

คิดว่าค�ำว่า ประสบความส�ำเร็จ ของคนยุคเก่ากับ คนรุ่นเราๆ ต่างกันไหม ยังไง

ค�ำว่าชีวิตในอุดมคติในมุมมองของปอนด์เป็นยัง ไง “ชีวต ิ ทีม ่ ฐี านะมัน ่ คง มีงานทีส ่ ามารถเลีย ้ งดูพ่อแม่ ได้ ดูแลได้แบบไม่ลำ� บาก แล้วก็ต้องมีเวลาอยู่กบ ั ตัวเองด้วย ก็คงคล้ายคนทั่วไป”

“ต่างกันนะ ในความคิดผม จะต่างจังหวัดหน่อย คนที่จะประสบความส�ำเร็จเขาจะเป็นที่มียศถาบันดาศักดิ์ หรือมีคนนับหน้าถือตา เป็นคนทีม ่ เี กียรติ ความดีความชอบ ส่วนปัจจุบน ั คนเขาไปมองในเรือ ่ งของเงินซะเยอะ คนทีร่ วย มันจะดูเท่กว่า เหมือนมันทุนนิยมมากขึน ้ คนให้ความส�ำคัญ กับเงินมากขึ้น”

อันนี้คือชีวิตในอุดมคติที่ปอนด์อยากได้

แล้วเราล่ะ

“ใช่ครับ”

“ผมว่ามันต้องควบคู่กันไปอะครับ แต่คนรวยๆ ส่วนใหญ่เขาก็ค่อนข้างจะมีคุณธรรม ในระดับหนึ่งรึเปล่า เวลาผมรู้จักคนรวยๆ ในสังคม ผมรู้สึกว่าเขาค่อนข้างมี บุคลิกแบบนั้น เลยท�ำให้เขาเป็นได้แบบนี้ เหมือนคนที่ผม รู้จก ั คือรวยมาก งานมัน ่ คงมาก ผมก็มโี อกาสได้สนิทกับเขา เราก็รู้สึกว่าเพราะเขาเป็นคนแบบนี้แหละ เขาถึงได้มีชีวิต แบบนี้ เขาดูแลทุกคนดีมาก ทัง้ ทีค ่ นระดับเขาไม่จำ� เป็นต้อง ดูแลเราขนาดนี้ก็ได้ ท�ำให้ตอนนี้เขามีคนที่จริงใจกับเขา เยอะมาก ผมว่ามันต้องไปด้วยกัน”

ในอนาคต ต้องไปถึงจุดไหนปอนด์ถึงจะรู้สึกว่าตัว เองประสบความส�ำเร็จ จุดที่มีชีวิตในอุดมคติหรือ เปล่า “ใช่ครับ แต่มันก็เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาครับ บางทีมันก็ขี้เกียจบ้าง”

ถ้ามันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามีวิธีดึงตัวเอง กลับมายังไง “ก็ค วามฝัน อ่ะ ครับ มัน จะมีช่ว งเข้า มหาลัย ที่ ตอนนีเ้ หนือ ่ ยมากไม่อยากอ่านหนังสือเลย แต่ด้วยความฝัน ที่อยากจะเข้าคณะดีๆ ก็พยายามอ่านทุกวันจนมันติดเป็น นิสย ั ก็พยายามอ่านๆ แล้วรู้สก ึ ว่ามันเป็นพลังมากเลย ช่วงที่ รู้สก ึ ว่าขีเ้ กียจ ก็นก ึ ว่า ท�ำให้สำ� เร็จนะ พ่อแม่จะได้ดใี จ น่าจะ เป็นพ่อแม่ด้วยแหละครับ นึกถึงพ่อแม่เยอะๆ แบบพ่อแม่ ท�ำงานหนักกว่าเราเยอะเลยอะ บางทีเขานอนน้อยกว่าเรา ที่ต้องอ่านหนังสืออีกอะ”

คุณพ่อคุณแม่มีความเห็นกับสิ่งที่เราเลือกท�ำยังไง บ้าง “พ่อแม่ผมชิลมากเลยครับ เขาแล้วแต่ผมเลย เป็นอะไรก็เป็นเลย จะได้ไม่มาเสียใจที่หลังว่า เขาเป็นคน ใช้ให้เลือกเรียนนะ เขาอยากให้ผมตัดสินใจเองหมดเลย

20

เราก�ำลังอยู่ในวัยที่ลองผิดลองถูก อยากบอก

อะไรกับคนที่เขาติดอยู่ในโซนปลอดภัยหรือผู้ใหญ่ ที่คอยห้ามไหม

“ถ้าเป็นเด็กนีค ่ อ ื ผมอยากให้เขาเปิดใจออกมาอยู่ นอกโซนปลอดภัยดู คือคนเรามันจะก้าวหน้าไม่ได้ถ้าเรา ยังอยู่ในจุดเดิมๆ อย่างเช่น สมมติว่าถ้าเราอยากได้อะไรที่ ผลลัพ ธ์ มัน ต่า งออกไป เราต้องท�ำ อะไรที่มัน ต่างออกไป เพราะงัน ้ ต้องออกมาจากโซนปลอดภัย มันถึงจะต่างไปจาก เดิม แต่ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ ก็พุ่งออกมา มันต้องค่อยๆ เพราะ แต่ละคนก็มีพื้นฐานของชีวิตมาไม่เหมือนกันครับ อยากให้ เปรียบเทียบตัวเองในวันนีก ้ บ ั ตัวเองในเมือ ่ วานดีกว่า อย่าไป เปรียบเทียบกับคนอื่นเยอะ ส่วนผู้ใหญ่ ผมรู้สก ึ ว่ามันก็ถก ู ทีเ่ ขาเป็นห่วงแต่ว่า ลองเปิดใจให้มากขึ้นอีกสักนิด เพราะว่าโลกมันก็หมุนไป เรือ ่ ยๆ อันดับแรกคือควรจะยอมรับว่าผู้ใหญ่เริม ่ ไม่ทน ั อะไร หลายๆ อย่าง เพราะงั้นควรลองเปิดโอกาสให้ลูกที่เป็นคน ยุคใหม่ให้เรียนรู้อะไรด้วยตัวเองบ้าง”


ปอนด์คิดว่า การมีครอบครัวส�ำคัญไหม

“ส�ำคัญครับ ผมว่าส�ำคัญ ผมรู้สึกว่าคนเรามันต้องพึ่งพากันน่ะ ถ้าเราอยู่คนเดียวมันล�ำบาก เออมันต้องแบบช่วยเหลือพึ่งพากัน เพราะฉะนั้นการมีครอบครัวมันก็เป็นอะไรอย่างหนึ่งที่ท�ำให้ใช้ชีวิต ง่ายขึ้นหรือเปล่า”

เคยคิดเรื่องมีลูกหรือเปล่า

“อ๋อ มีลูก เคย รู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่เป็นความรู้สึกเหมือนกันนะครับ ผมว่า ถ้าเรามีลูกเนี่ยเราก็เหมือนกับว่า มีโซ่คล้องใจกันไปอย่างนี้ (หัวเราะ)”

แต่หลายคนเขามองว่าสังคมมันไม่ดีพอให้เด็กคนนึง เกิดมาอยู่ในสังคมแบบนี้

“อืม ผมว่าแล้วแต่คนมองนะครับ แต่ถ้าผม ผมรู้สึกว่ามันไม่มี สังคมไหนสมบูรณ์แบบตั้งแต่ในอดีตจนถึงทุกวันนี้ มันก็มีจุดด่างพร้อยของแต่ละสังคมตามยุคสมัยนั้นๆ ผมรู้สึกว่าเราสามารถที่จะเลือกสังคม หรือว่าโปรไวด์สิ่งที่จะให้ ลูกเราเนี่ยพร้อมที่จะอยู่ในสังคมนี้ได้ สังคมมันก็ไม่ได้โหดร้ายจนเด็ก เกิดมาแล้ว โห! ฉิบหายแล้ว อยู่ไม่ได้แล้ว ผมว่ามันยังมีอะไรอีกหลายๆ อย่าง อาจจะสอนลูกว่าสังคมนี้มันเป็นยังไง อาจจะแบบเรื่องการศึกษา ก็อาจจะโปรไวด์เขาดีๆ หน่อย อาจจะส่งเข้าโรงเรียนอินเตอร์ อย่างนี้ครับ เพื่อให้ภาษาเขาโอเคขึ้น ผมว่าเราสามารถจัดการอะไรหลายๆ อย่างให้ลูกได้ เหนือสิ่งอื่นใดคืออย่าไป ท�ำทุกอย่างให้มันเป็นคอมฟอร์ตโซนเกินไป ปล่อยให้เขาเรียนรู้บ้าง”

มีความรู้สึกไหมว่าหลายคนก็จะว่าเราเป็นคนหัวโบราณนิดนึง คิด ว่าตัวเองเป็นคนหัวโบราณไหม

“อืม คิดนะ ผมก็คิดว่าผมมีความหัวโบราณอยู่นิดนึง คือด้วยความที่ ผมโตในต่างจังหวัดใช่ไหมครับ สังคมที่ผมอยู่มันค่อนข้างที่จะหลากหลาย ผมโตในชุมชนหนึ่งในมุมมองของคนต่างจังหวัดที่ค่อนข้างที่จะมองอะไร คอนเซอร์เวทีฟหน่อย แต่พอผมไปอยู่เมืองนอก ที่อเมริกา ผมก็จะเจอคนที่ แบบลิเบอรัลมากๆ แล้วคนเหล่านั้นก็มักจะชวนผมให้มีความคิดที่จะปรับเป็น ปัญญาชนจ๋าเลย ฟังแล้ว เขาก็ดูแบบพูดมีเหตุผลเว้ย พอมานั่งเปรียบเทียบกับ สิ่งที่เราเติบโตมา เขาก็ปลูกฝังอีกแบบหนึ่งนะครับ ผมก็เลยรู้สึกว่าผมยังไม่ค่อยกล้าที่จะตัดสินใจไปฝั่งไหนเท่าไหร่ แต่ผมเลือกที่จะมองในสิ่งที่ผมเห็น เฉยๆ พอ โดยที่ไม่เชื่อฟังใคร ร้อยเปอร์เซ็นต์ ประมาณนั้น”

ค�ำถามสุดท้าย คิดยังไงกับค�ำว่า “เด็กสมัยนี้” อย่าง “ท�ำอะไรไม่ได้ เรื่องเลยนะ ก็เพราะเป็นเด็กสมัยเนี่ย” จะแก้ตัวยังไงให้เด็กสมัยนี้

“ผมว่ามันก็แล้วแต่ละยุคสมัย เด็กในแต่ละยุคสมัยมันก็แตกต่างกัน แต่ว่าผู้ใหญ่บางคนอาจจะไม่ชอบเด็กในยุคนี้ หรืออะไรก็ตาม ผมก็มองลบๆ ผมคิดว่าเขาไม่เคยชินกับความเปลี่ยนแปลงที่มันเกิดขึ้นหรือเปล่า แต่ผมไม่ได้หมายความว่าเด็กสมัยนี้เป็นคนที่ถูกต้องหรือดีกว่าผู้ใหญ่ มันก็ไม่ถูกต้องนะครับ มันก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป ผมคิดว่าในอดีตมันก็ต้องมีอะไรที่ประมาณนี้อยู่แล้วครับ เช่นผู้ใหญ่ ที่ยึดในอดีต สมมติเมื่อร้อยปีที่แล้ว วัยรุ่นเมื่อ 100 ปีที่แล้วกับผู้ใหญ่ เมื่อ 100 ปีที่แล้ว เมื่อเปรียบเทียบกัน ผมว่าเขาก็น่าจะมีเคสแบบนี้อยู่แล้ว เพราะโลกมันเปลี่ยนแปลงพัฒนาตลอดอยู่เวลา มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ที่จะรักความเป็นสิ่งที่ตัวเองเติบโตมาตั้งแต่เด็กหรือเปล่าผมว่า เช่นเหมือนผู้ใหญ่ก็อาจจะแบ่งยุคและความเป็นตัวของตัวเองแล้วรู้สึกว่า นั่นคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด และไม่พร้อมเข้ามาเจออะไรแบบนี้เขาก็อาจจะ ไม่ชินหรือเปล่า” .....................

21


THE OLD THE NEW

22


Status

What’s on your mind?

23


Things x Think

It isn’t Just Covers

โดย สุพิชชา ธรรมกันมา

จากอดีตถึงปัจจุบน ั ด้วยความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีทั้งหลาย ท�ำให้มี หลายสิ่งหลายอย่างได้ แปรเปลี่ยนไปจากเดิม

ซึ่งรวมไปถึงรูปแบบของ หน้าปกหนังสือด้วย โดยในอดีตเนื่องจากทั้งปริมาณ หนังสือและปริมาณผู้อ่านยัง มีไม่มาก บวกกับวิทยาการ

หนังสือเล่มแรกทีไ่ ด้รบ ั การตีพม ิ พ์ในประเทศไทย มีชอ ื่ ว่า “Kham Son Christang (ค�ำสอนคริสตัง)” เป็นการพิมพ์ด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ เลียนเสียงภาษาไทย หรือก็คือภาษาคาราโอเกะที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน หนังสือ เล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์ในช่วงสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) หน้าปกเป็นลักษณะพิมพ์โดยเครื่องพิมพ์อักษรสีทอง ต่อมาเมือ ่ ตัวพิมพ์อก ั ษรไทยได้เข้ามาในประเทศไทย จึงมีการจัดพิมพ์ เป็นภาษาไทยแทนภาษาคาราโอเกะ โดยรูปแบบหน้าปกก็ยงั คงไม่เปลีย ่ นแปลงไป เท่าไหร่นก ั คือมีเพียงชือ ่ หนังสือ ไม่มรี ป ู ภาพใดๆ และหนังสือมักจะเป็นปกแข็ง ขนาดใหญ่

ทางการพิมพ์ที่ยังไม่ก้าวหน้า เท่าทุกวันนี้ จึงท�ำให้หน้าปก หนังสือในอดีตยังไม่หลากหลาย และมีรูปแบบเรียบง่าย

จนในช่วงรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411-2453) หน้าปกหนังสือจึงเพิ่มรูป เข้าไป ซึง่ รูปนัน ้ จะไปในทางเดียวกันกับชือ ่ เรือ ่ ง หรืออาจแฝงนัยยะอะไรบางอย่าง ไว้ที่เกี่ยวพันกับเนื้อหาในเรื่องมากขึ้น แต่สีท่ีใช้พิมพ์ยังเป็นสีเดียวหรืออาจจะ ใช้สีไม่มากอยู่ ส่วนใหญ่จะเป็น สีแดง สีน�้ำเงิน และสีทอง ต่อมาในยุคปลายรัชกาลที่ 7 จึงค่อยมีการน�ำภาพวาดมาประกอบด้วย และเริม ่ แพร่หลายในช่วงรัชกาลที่ 8 ส่วนหนึง่ อาจเป็นเพราะระบบการปกครอง ที่เปลี่ยนแปลง จึงท�ำให้หน้าปกหนังสือมีความหลากหลายมากขึ้น

24 24


ปกหนังสือที่มีภาพวาด ประกอบนั้นมักจะเป็นปกของหนังสือ ประเภทบันเทิงคดี โดยรูปวาดนั้นจะ เป็นรูปวาดเสมือน (Portrait) ของตัวเอก หากเป็นนิยายรักก็มักจะ เป็นภาพของพระ-นาง ลายเส้นของ ภาพจะคล้ายกับแผ่นโฆษณาภาพยนตร์ ในสมัยนั้น หนังสือมีขนาดเล็กลงมาและ หน้าปกเริ่มเป็นปกอ่อนมากขึ้น สีที่ใช้ใน การพิมพ์มีความหลากหลายและสดใส

หน้าปกของหนังสือนิยายวัยรุ่นนั้น จะมีลักษณะคล้ายกับหน้าปกนิยาย ในสมัยก่อนมากที่สุด คือมีภาพวาด เสมือนของตัวเอก โดยต่างกันที่ลายเส้น ในปัจจุบันมีความหลากหลาย และมีความคล้ายตัวการ์ตูนมากกว่า อาจเพราะวัฒนธรรมการ์ตูนญี่ปุ่น ที่เข้ามาและอีกสิ่งที่ต่างคือ เสื้อผ้า และกิริยาต่างๆของตัวละคร ที่มีความทันสมัยมากขึ้นตามยุคสมัย

หนังสืออีกแนวหนึ่งที่ได้รับความนิยม ในกลุ่มผู้อ่านวัยรุ่นคือ นิยายแนว สืบสวนสอบสวนและสยองขวัญ ซึ่งหน้าปกส่วนใหญ่มักจะใช้สีโทนมืด ที่แสดงถึงความลึกลับ และสีแดงซึ่งเป็น สีของเลือดหรือเปลวไฟเป็นส่วนใหญ่

ที่น่าสนใจคือ นิยายจีนแนว ก�ำลังภายในที่ได้รับความนิยมเป็น อย่างมาก หน้าปกจะใช้เป็นตัวละคร เหมือนกับนิยายรัก ต่างกันที่ลายเส้น องค์ประกอบ และเสื้อผ้า หน้าปกของ นิยายจีนก�ำลังภายในนั้น ตัวละครจะมี ลักษณะตามแบบชาวจีน มีผิวขาว ผู้ชายไว้ผมยาว (เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ก็ ขึ้นอยู่กับตัวละครในเรื่องด้วย) และสวม ใส่เสื้อผ้าตามแบบจีน

ผู้อ่านวัยรุ่นตอนปลาย หรือผู้ใหญ่ขึ้นไป (ช่วงอายุประมาณ 18 ปีขึ้นไป) หนังสือจะมีหลากหลายแนวมากขึ้น และการออกแบบปกก็จะมีมิติ น่าดึงดูดและน่าสนใจ การออกแบบปกส่วนใหญ่จะไม่ค่อย ใช้ตัวการ์ตูนอีกต่อไป แต่แทนด้วย ภาพที่ไปในทางเดียวกันกับชื่อ และเนื้อเรื่องหรืออาจเป็นภาพกราฟฟิก สวยๆ ที่ดูทันสมัยแทน

แต่ในปัจจุบัน เนื่องจาก เทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าขึ้น ท�ำให้ การออกแบบหน้าปกนั้นหลากหลาย มากขึ้น ขนาดที่เล็กกะทัดรัด พกพาง่าย ท�ำจากปกอ่อน การพิมพ์หน้าปกด้วย เครื่องพิมพ์อักษรได้เลือนหายไป หน้าปกได้กลายเป็นอีกส่วนที่ส�ำคัญ มากในการที่จะจูงใจผู้อ่านทางด้าน การตลาด โดยคนในสมัยนี้ให้ ความส�ำคัญกับปกหนังสือมากขึ้น ดูได้ จากการที่มีการประกวดออกแบบ ปกหนังสือขึ้นมาควบคู่กับการประกวด งานเขียนเรื่องต่างๆ เป็นต้น รูปแบบ ของหน้าปกนิยายจึงผันแปรไปตาม เนื้อเรื่องและอายุของผู้อ่าน กลุ่มเป้าหมาย หากเป็นหนังสือนิทานที่ มีผู้อ่านเป็นเด็กเล็ก หน้าปกหนังสือก็จะ มีตัวการ์ตูนน่ารัก สีสันสดใส ลายเส้น ไม่ซับซ้อน และมักจะมีสัตว์ต่างๆ มา เป็นส่วนประกอบ

ปกหนังสือถือเป็นส่วนประกอบส�ำคัญอย่างหนึ่งของหนังสือเลยก็ว่าได้ เพราะปัจจุบันมีการผลิตหนังสือมากขึ้นกว่าแต่ก่อน จากข้อมูลของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจ�ำหน่าย หนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) ที่จัดท�ำขึ้นในปี พ.ศ. 2550 ได้แสดงให้เห็นถึงจ�ำนวนการผลิตหนังสือใหม่ออกสู่ท้องตลาดถึงประมาณ 955 เล่มต่อเดือนเลยทีเดียว บวกกับวิถีชีวิต ทีเ่ ร่งรีบและไม่มเี วลา ท�ำให้หน้าปกหนังสือเป็นเสมือนหน้าตาของหนังสือ และเป็น First impression ระหว่างผู้อ่านกับหนังสือ มีผ้ค ู นจ�ำนวนไม่น้อยทีต ่ ด ั สินใจเลือกหนังสือจากหน้าปก หนังสือ จากจุดนี้เองที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ท�ำให้การออกแบบหนังสือในปัจจุบันนั้นมีความหลากหลายสวยงามและน่าสนใจมากขึ้น ในปัจจุบันมีหนังสือที่ออกมาวางขายมากมาย นอกเหนือไปจากเนื้อหาด้านในที่ได้รับการขัดเกลาและกลั่นกรองเรื่องราวมาอย่างดีแล้ว หน้าปกของหนังสือเองก็ได้รับ การออกแบบมาอย่างดีเช่นกัน ปกบางปกอาจบอกอะไรได้มากกว่าชื่อเรื่อง อาจแฝงนัยยะหรือเป็นสัญญะบางอย่างซึ่งอยู่ในหนังสือ และไม่ว่าจะด้วยเทคโนโลยี เทคนิค การใช้กราฟิค หรืออาร์ตเวิร์กต่างๆ ทีพ ่ ฒ ั นามากขึน ้ ทัง้ หมดนัน ้ ก็ล้วนมีส่วนท�ำให้ปกหนังสือในทุกวันนีอ ้ าจจะไม่ใช่เพียงแค่สงิ่ ทีไ่ ว้ใช้ห่อหุ้มเนือ ้ ในของหนังสือเพียงเท่านัน ้ แต่เป็นดัง่ งานศิลปะแขนงหนึง่ จนถึงกับมีการจัดการประกวดการออกแบบปกหนังสือ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

หน้าปกไม่ได้เป็นเพียง “ปก” อีกต่อไป... แต่มันคือ ศิลปะ! 25 25


“ทันทีที่กองทัพยึดครองไปได้ทุกหมู่เกาะ สำ�รวจไปได้ทุกน่านน�้ำ โจรสลัดก็จะไม่มีที่ให้ไปอีก” หากว่าโจรสลัด เป็นตัวแทนแห่งตำ�นานและความลึกลับอันน่าสงสัย และกองทัพเรือ คือตัวแทนของความก้าวหน้าใหม่ๆ ประโยคธรรมดาๆ จากภาพยนตร์ชุดไพเรทส์ออฟเดอะแคริบเบียนประโยคนี้ ก็คงสะท้อนภาพบทบาท ของเทคโนโลยีที่เข้ามาเปิดโลกได้แจ่มชัด

หากว่าโจรสลัดเป็น ตัวแทนแห่งตำ�นาน และความลึกลับ อันน่าสงสัย และ กองทัพเรือ คือ ตัวแทนของ ความก้าวหน้าใหม่ๆ

“ไพเรทส์ออฟเดอะแคริบเบียน” เป็น ภาพยนตร์ซรี ส ี ท ์ ไี่ ด้แรงบันดาลใจมาจากเครือ ่ งเล่น โจรสลัดในสวนสนุกของวอลต์ ดิสนีย์ ผสานกับ ตำ�นานพืน ้ บ้านเกีย ่ วกับท้องทะเล เสนอผ่านเทคนิค ตระการตา ออกมาเป็นเรือ ่ งราวแฟนตาซีผจญภัย สะกดใจผู้ชมทุกเพศวัยราวกับมีมนต์ขลัง และยัง มีแฟนคลับติดตามหนาแน่น จนบททีเ่ คยวางไว้ให้เป็น หนังไตรภาค ถูกต่อเติมเสริมเรือ ่ งมาจนถึงภาคทีห ่ า้ ที่เพิ่งเข้าโรงฉายไปเมื่อกลางปีนี้ แต่ขณะทีห ่ นังเสนอเรือ ่ งราวหลายหลาก ตำ�นานคร�่ำ ครึในยุค ต้ น ศตวรรษที่ 18 ตัว หนัง กลับถูกสร้างขึ้นโดยเทคนิคพิเศษนานา ผ่านทาง เทคโนโลยีล่าสุดของศตวรรษที่ 21 ในศตวรรษที่ 18 แผนที่โลกยังไม่ถูก เติมเต็ม การเดินเรือเพิง่ ได้รบ ั การพัฒนา และไฟฟ้า ยังไม่มีใช้ตามบ้านเรือน ศตวรรษที่มีความเชื่อ จินตนาการ และความจริงผูกโยงเกี่ยวพันเป็นเนื้อ เดียวกัน เรื่องเล่าไม่รู้ที่มาที่ไป ถูกส่งต่อผ่านทาง วงสนทนารอบกองไฟ ในทุกค�่ำคืนใต้แสงจันทร์ กลางสายลมหวีดหวิวเย็นฉาบหลัง บ้างก็เล่าถึง หมึกยักษ์คราเคนกับหนวดเหนียวตะปุ่มตะป�่ำที่รัด พังเรือ ลากกะลาสีหนุม ่ ลงใต้ทอ ้ งทะเล บ้างก็เล่าถึง โจรสลัดโหดเหี้ยมออกปล้นสะดมเรือที่หลงล่องไป ในคืนเดือนมืด บ้างก็ว่าอีกฝั่งฟากหนึ่งของผืนน�้ำ ยาวไกล คือดินแดนของผู้คนต้องสาป ที่ไม่เคย 26

ปล่อยให้ใครเหลือรอดกลับมาหากย่างกรายเข้าไป เสียงแหบพร่า ไล่เรียงถ้อยคำ�ด้วยเสียง ดังสลับเบาตามจังหวะของเนือ ้ เรือ ่ ง กระตุน ้ ให้เด็กๆ นั่งเงียบกริบตั้งใจฟังด้วยความอยากรู้อยากเห็น แม้จะรูด ้ วี า่ หลังจากนัน ้ พวกเขาอาจต้องนอนลืมตา โพลงในความมืดด้วยความหวาดระแวงตลอดค�ำ่ คืน บนความเชื่อ เหนือจินตนาการ ตำ�นาน กรุ่นไอระทึกน่าหลงใหลเหล่านี้ส่งต่อรุ่นสู่รุ่น จวบจนวัน ที่โลกเริ่ม หมุน เร็ว ขึ้น และ เมือ ่ ไหร่ไม่รท ู้ เี่ รือ ่ งเล่ารอบกองไฟค่อยๆ เหือดหายไป เส้นทางเดินเรือเพิ่มจำ�นวน แผนที่ถูก เติมเต็ม ตามมาด้วยการติดต่อ ค้าขาย แลกเปลีย ่ น โลกทัง้ ใบทีเ่ คยแปลกแยกโดดเดีย ่ ว ค่อยๆ เชือ ่ มเข้า ด้วยกัน แสงไฟส่องสว่างแม้ในคืนที่มืดมิดที่สุด คำ�ถามมากมายได้รับการไขกระจ่าง จินตนาการ มากมายกลายเป็นเรือ ่ งล้าหลัง วิทยาศาสตร์ถก ู ต้อง ที่สุดเมื่อต้องตัดสินความจริง โรงงานเริ่มผุดขึ้น บนที่ใดก็ตามที่มันผุดได้ โลกเปลี่ยนมาหมุนด้วย อัตราเร่ง เวลากลายเป็นของมีค่า ท่อเหล็กกับ สายไฟและสายเคเบิลถูกติดตั้งเต็มเมืองใหญ่ และ ความฟุ่มเฟือยถูกเรียกอีกชื่อว่าคุณภาพชีวิต


TECHNOSCOPE

Pirates in 21st Century กองเรือโจรสลัดแห่งศตวรรษที่ 18 ในน่านน�้ำจอหนังยุคศตวรรษที่ 21 โดย ณัฐนันท์ พลอยประดับ

ท่ามกลางหลายแขนทีอ ่ า้ รับอบอุน ่ ยินดี มีบางเสียงต่อต้าน เสาไฟ และสายเคเบิลเหล่านีจ ้ ะพรากเอาศรัทธา จินตนาการ และความแตกต่างพิเศษ ของพวกเราไป

กลับมา โถงใหญ่เรียงรายด้วยเก้าอีไ้ ล่ระดับชัน ้ ขึน ้ ไป ด้านหน้าคือจอกว้าง เกือบเต็มพืน ้ ทีผ ่ นังทัง้ ด้าน แสงไฟสลัวค่อยๆ หรีล ่ งจนห้องมืดสนิท เห็นเพียง แต่ภาพขยับไปมาในจอใหญ่ เสียงดนตรีฮก ึ เหิมดังขึน ้ ตามด้วยภาพธงขาดๆ รูปกะโหลกพืน ้ ดำ�โบกสะบัดล้อลม ส่งสัญญาณว่าตำ�นานทีเ่ ราโหยหากำ�ลังจะ ถูกเล่าอีกครั้ง

เทคโนโลยีส ร้า งกระแสน�้ำ ขึ้น ใหม่ พวกเราไหลไปทางเดียวกัน อย่างช่วยไม่ได้ เราหันซ้ายเหมือนๆ กัน หันขวาตามๆ กัน เราต้องมีเช่น ทุกคนมี คำ�ทำ�นายของเสียงต่อต้านนั้นส่อเค้าจะเป็นจริง

ทุกสิ่งประดิษฐ์ ทุกองค์ความรู้ท่ีเคยมี รายเรียงรอให้เราหยิบใช้ ทุกการพัฒนาส่งผลให้จินตนาการเราเป็นรูปเป็นร่างดั่งใจ ความรู้ด้านการก่อสร้าง วิทยาการด้านโลจิสติกส์ องค์ความรู้ ทางฟิสิกส์ การแพทย์ พฤกษศาสตร์ สรีระวิทยา ความก้าวหน้าทางแฟชั่น บันทึกทางประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีการถ่ายภาพและวีดิทัศน์ ดนตรี เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอืน ่ ๆ อีกมาก ช่วยต่อยอดจินตนาการสูภ ่ าพยนตร์ ที่ถูกเล่าโดยผู้กำ�กับ ผ่านนักแสดงนับร้อย และทีมงานเบื้องหลังนับพัน เทคโนโลยีไม่ได้สร้างได้แต่เพียงเครื่องอำ�นวยความสะดวกอย่าง ที่เคยเข้าใจ

กองทัพสำ�รวจมาถึงน่านน�ำส ้ ด ุ ท้ายแล้ว และโจรสลัดก็คงต้องถูก กวาดล้าง กระแสเชีย ่ วกรากรุนแรงขึน ้ เราไหลรวมเป็นสายเดียวกัน จวบจน ศตวรรษที่ 21 เราก้าวเข้าใกล้จุดสูงสุด เรามีเครื่องจักรเล็กใหญ่ช่วยทำ�งานหนักๆ มี GPS คอยบอก ทุกครั้งที่เราต้องเลี้ยว เราเห็นหน้าพูดคุยกับเพื่อนที่อยู่อีกฟากโลกได้แค่ นิ้วโป้งไถผ่านจอ เรามีพร้อมทุกอย่างจนแทบไม่ต้องทำ�อะไรเลยนอกจาก กดปุ่มและจำ�รหัส เราสะดวกสบายด้วยสิ่งประดิษฐ์รอบตัว เราไปเร็วจนไม่มเี วลาหยุดพัก แต่ในบางชัว่ ขณะใจลึกๆ กระตุน ้ เตือน โหยหาความรู้สึกเดิม

กระบวนการผลิตแรมปีท่ามกลางเกาะแก่ง และภูเขา ถูกบีบอัด จัดเรียงลงบนแผ่นฟิลม ์ ม้วนยาว พร้อมส่งต่อจินตนาการสูผ ่ ค ู้ น สูส ่ ามชัว่ โมง บนผืนผ้าใบในห้องมืด เราทิ้งข้อเท็จจริงแห่งโลกใหม่ไว้ข้างนอก เพื่อดื่มด�่ำ ความระทึก หวาดกลัว และเสียงหัวเราะ เช่นทีค ่ รัง้ หนึง่ เคยเกิดขึน ้ ผ่านเสียง แหบพร่าใต้แสงจันทร์รอบกองไฟ

ความรูส ้ ก ึ ตืน ่ เต้นปนสงสัย กลิน ่ อายอันทรงเสน่หข์ องตำ�นานจาก บรรพบุรุษ ที่กระตุ้นแววตาให้เป็นประกาย และกระตุ้นหัวใจให้เต้นไม่เป็น จังหวะ ความรู้สึกโหยหาความลึกลับ และเรื่องราวพิศวงเช่นนี้ไม่เคยหายไป จากใจมนุษย์

ศตวรรษที่ 21 กองทัพสำ�รวจทุกหมูเ่ กาะและน่านน�ำ้ แล้ว แต่เขา ไม่ได้ขับไล่โจรสลัดไปไหน กลับเชื้อเชิญให้ร่วมทานมื้อเย็นด้วยกัน

เหมือนลมค่อยๆ เปลี่ยนทิศ ก่อนที่จะถูกสิ่งที่ตัวเองสร้างขึ้น กลืนกิน หมู่มนุษย์ผู้มีเพียบพร้อมแล้วทุกอย่างทางกาย เริ่มมองหาบางสิ่ง ทางใจ เราหันมองรอบตัว คว้าหยิบเทคโนโลยีทั้งหมดที่เรามี ใช้พาโจรสลัด

.................... 27


????????????????????????????????? ????????????????????????????????? ????????????????????????????????? ????????????????????????????????? ????????????????????????????????? ????????????????????????????????? ????????????????????????????????? เพราะอะไรอ�ำนาจถึงยังคงหยั่งรากลึกในสังคมมนุษย์? ????????????????????????????????? ????????????????????????????????? ????????????????????????????????? ????????????????????????????????? ?????????????????????????????????

Why? โดย สหรัฐ สุขสุวรรณ

28


คุณรู้สึกได้ถึง “อ�ำนาจ” กันบ้างหรือเปล่า “อ�ำนาจ” ที่ไม่เคยจางหายไปจากการรับรู้ของผู้คน “อ�ำนาจ” ที่ก่อก�ำเนิดขึ้นพร้อมกับเผ่าพันธุ์ ของพวกเรา ด�ำรงอยู่และปรากฏให้เห็นทุกยุคทุกสมัย กาลเวลาไม่อาจท�ำให้ตัวตนของอ�ำนาจจางหาย ตรงกันข้าม “อ�ำนาจ” กลับหยั่งรากลึกในสังคมมนุษย์ แสดงให้เห็นว่า “อ�ำนาจ” ที่มีมาตั้งแต่อดีต ยังคงอยู่ใน ปัจจุบัน และจะด�ำรงอยู่ต่อไปในอนาคต “อ�ำนาจ” ที่มนุษย์ปรารถนาจะท�ำลาย แต่ใน ขณะเดียวกันก็ปรารถนาที่จะครอบครอง แท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่? มักซ์ เวเบอร์ (Max Weber) นักสังคมวิทยา ชาวเยอรมันได้นิยาม “อ�ำนาจ” ว่าเป็นความสามารถ ในการก�ำหนดให้ผ้อ ู น ื่ เป็น หรือกระท�ำตามความต้องการ ของตนเอง แม้ว่าผู้อื่นจะขัดขืนก็ตาม ความสามารถใน การก�ำหนดนีอ ้ าจไม่จำ� เป็นต้องบีบบังคับด้วยก�ำลัง หรือ ข่มขู่ว่าจะใช้ก�ำลัง ดังนัน ้ “อ�ำนาจ” ในแนวคิดทางสังคมวิทยาจึง มีความหมายครอบคลุมถึงอ�ำนาจทางกายภาพ และ อ�ำนาจทางการเมือง ในภาษาที่ใช้กันในชีวิตประจ�ำวัน ของค�ำว่า “อ�ำนาจ” จึงมีความหมายใกล้เคียงกับค�ำว่า “อิทธิพล” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปีพุทธศักราช 2544 ให้ความหมายค�ำว่า “อ�ำนาจ” หมายถึง อิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้อง ยอมทําตามไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่ ส่วนค�ำว่า “อิทธิพล” หมายถึง อํานาจที่สามารถ บันดาลให้ผู้อื่นต้องคล้อยตามหรือทําตาม การ ใช้ อ�ำ นาจดู เหมือ นจะเกิด ขึ้น เฉพาะกับ มนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะต้องการสังคม และ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เห็นได้ชด ั จากสังคมมนุษย์ยค ุ แรกๆ อย่างยุคหิน ซึ่งระบบสังคมยังไม่ซับซ้อนมากนัก และ แน่นอนว่าการรวมกลุ่มของพวกเขานั้นมีสาเหตุมาจาก ปัจจัยพื้นฐาน คือ อาหาร ความปลอดภัย การสืบพันธ์ุ รวมถึงแรงงาน และแม้ว่าในระบบสังคมจะไม่ซับซ้อน แต่ก็จ�ำเป็นต้องมีกลไกพื้นฐานที่ท�ำหน้าที่ควบคุม ดูแล และรักษากลุ่มไว้ ซึง่ อ�ำนาจคือกลไกระบบความสัมพันธ์ ทางสังคมพื้นฐานที่ท�ำหน้าที่ในส่วนนี้นั่นเอง จริงๆ แล้วการใช้ “อ�ำนาจ” ก็พบได้ในสัตว์ ทุกชนิดที่อยู่รวมกันเป็นฝูง ซึ่งสัตว์ประเภทนี้ – หรือ จะเรียกอีกอย่างว่าสัตว์สังคม ล้วนต้องการอ�ำนาจซึ่ง ท�ำหน้าที่เป็นกลไกทางสังคมที่ท�ำให้ฝูงของมันอยู่รอด การใช้อ�ำ นาจจึง เกิด ขึ้น เพื่อ รักษาผลประโยชน์ของฝูง เอาไว้เช่นเดียวกัน แต่การใช้อ�ำนาจของ “มนุษย์” เกิดขึ้นเพียง เพราะเหตุผลนี้เหตุผลเดียวจริงหรือ? เพื่อให้ทราบถึง สาเหตุของการใช้อ�ำนาจ การพิจารณาที่มาของอ�ำนาจ ดูเหมือนจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการหาค�ำตอบ

จอห์น เฟรนช์ (John French) และ เบอร์ -

ทรัม ราเวน ( Bertram Raven ) นักจิตวิทยา และ นักสังคมวิทยาชาวอังกฤษ ได้ศึกษาที่มาของอ�ำนาจไว้ ในปี ค.ศ. 1959 ผลการศึกษาพบว่าอ�ำนาจมีที่มาจาก สาเหตุดังต่อไปนี้ 1. อ�ำนาจแบบเป็นทางการ ( Legitimate Power ) อ�ำ นาจแบบนี้อาจมาจากการแต่ ง ตั้ง ทาง กฎหมาย หรือรูปแบบอันเป็นทางการต่างๆ ที่ท�ำให้ บุคคลนั้นมีสิทธิในการสั่งการ ดังเช่น ต�ำแหน่งนายก รัฐมนตรี CEO หรือหัวหน้างานในระดับต่างๆ 2. อ�ำนาจในการให้รางวัล ( Reward Power ) อ�ำนาจลักษณะนี้มาจากการที่บุคคลหนึ่งมี ความสามารถในการให้ผลตอบแทนต่อคนอื่นๆ เมื่อ คนเหล่านั้นให้ความร่วมมือ หรือด�ำเนินการสิ่งใดให้ อาจเป็นอ�ำนาจที่ใช้เพื่อองค์กรหรือเพื่อตัวเองก็ได้ 3. อ�ำนาจทีม ่ าจากความเชีย ่ วชาญ ( Expert Power ) อ�ำนาจลักษณะนีจ้ ะเกิดเมือ ่ ใครคนใดคนหนึง่ มีทักษะ ความรู้หรือความสามารถเหนือกว่าคนอื่นๆ เป็นทีเ่ ชือ ่ ถือไว้วางใจจากคนอืน ่ และได้รบ ั การมอบหมาย ให้เขาก้าวขึ้นมาเป็นผู้น�ำนั่นเอง 4. อ�ำนาจที่มาจากความนิยมยกย่อง ( Referent Power ) อ�ำนาจลักษณะนี้มักเกิดจาก การที่บุคคลหนึ่งมีลักษณะน่าดึงดูดใจ สามารถเรียกได้ ว่ามีความประพฤติอันเป็นที่น่ายกย่องนับถือจากกลุ่ม และได้รับการยอมรับในอ�ำนาจจากความนิยมยกย่อง นัน ่ เอง ยกตัวอย่างเช่น ผู้ทไี่ ด้รบ ั การยกย่องจากสังคม ดารา หรือผู้มีชื่อเสียงต่างๆ 5. อ�ำนาจที่มาจากการสามารถลงโทษ ( Coercive Power ) อ�ำนาจลักษณะนี้มาจากการที่ คนอื่นเชื่อว่าบุคคลนี้สามารถที่จะลงโทษเขาได้หากไม่ ยอมท�ำตาม ซึ่งอ�ำนาจในลักษณะนี้สามารถใช้เพื่อตัว เองหรือองค์กรก็ได้เช่นกัน อ�ำนาจจึงมาได้จากหลากหลายแหล่ง ที่มาที่ แตกต่างกัน แสดงให้เห็นถึงบริบทในการใช้อ�ำนาจที่ แตกต่างกัน การใช้อ�ำนาจในสังคมมนุษย์ จึงมีบริบทที่ หลากหลายกว่าสัตว์สงั คมอืน ่ ๆ ถึงแม้จะไม่สามารถชีช้ ด ั ได้ว่าการใช้อ�ำนาจในสังคมมนุษย์เป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ แต่ก็พอจะกล่าวได้ว่า มนุษย์เรานั้นก็ล้วนใช้อ�ำนาจเพื่อ ผลประโยชน์ทงั้ ผลประโยชน์ของเผ่าพันธุ์ ประเทศ สังคม ครอบครัว หรือตัวเอง และก็ไม่สามารถปฏิเสธได้อีก เช่นกันว่า “อ�ำนาจ” ไม่ใช่สิ่งจ�ำเป็น ถ้า “อ�ำนาจ” เป็นสิง่ ทีจ่ ำ� เป็นจริงๆ แล้วท�ำไม คนในสังคมส่วนหนึ่งถึงต่อต้านการใช้อ�ำนาจ สาเหตุ ส�ำคัญมีด้วยกัน 2 ประการ หนึ่งคือความไม่ชอบธรรม ในการใช้อำ� นาจ และสองคือผลประโยชน์ทไี่ ม่เท่าเทียม คนทุกคนมีอ�ำนาจไม่เท่ากัน ซึ่งบางครั้งก็ก่อ ให้เกิดความไม่ชอบธรรมในการใช้อ�ำนาจ ผู้ที่มีอ�ำนาจ มากกว่ามักเอารัดเอาเปรียบผู้ที่มีอ�ำนาจน้อยกว่า ส่วน ผู้ทม ี่ อ ี ำ� นาจมากกว่าย่อมสามารถเข้าถึงทรัพยากร หรือ ผลประโยชน์ได้มากกว่า ความไม่ยุติธรรมจากการใช้

อ�ำนาจทีไ่ ม่ถก ู ต้องจึงเป็นสาเหตุของการต่อต้าน อ�ำนาจ และการเรียกร้องความเสมอภาค การเรียกร้องความเสมอภาคที่ว่านี้คงท�ำให้ ใครหลายๆ คนเกิดตั้งค�ำถามว่า ในสังคมที่เต็มไปด้วย “อ�ำนาจ” ความเสมอภาคเป็นเพียงเรื่องในอุดมคติใช่ หรือไม่

ซึ่งค�ำตอบก็คือทั้งใช่ และไม่ใช่

ทั้ง นี้ก็ขึ้น อยู่กับ เกณฑ์ ในการพิจารณาเรื่อง ความเสมอภาค ซึ่งในสังคมยุคปัจจุบันมีการเรียกร้อง ความเท่าเทียมหรือความเสมอภาคในหลากหลายบริบท ไม่ว่าจะเป็นความเสมอภาคระหว่างเพศ ในบรุษและสตรี ความเสมอภาคระหว่างเพศทัว่ ไปกับเพศทางเลือกหรือ แม้แต่ความเสมอภาคระหว่างสีผวิ คนผิวขาวกับคนผิวสี หากพิจารณาในบริบทเหล่านี้ ก็จะพบว่าแนวโน้มของ ความเสมอภาคเป็นไปในทิศทางทีด ่ ขี น ึ้ ในขณะเดียวกัน การใช้ อ�ำ นาจอย่างไม่ ช อบธรรมที่มีในบริบทเหล่า นี้ก็ เริ่มลดลง แต่หากพิจารณาความเสมอภาคในบริบทของ อ�ำนาจ รวมถึงหน้าที่ที่แต่ละบุคคลมี ก็จะพบว่าความ เสมอภาคไม่เคยมีอยู่จริงและอาจจะ ‘ไม่’ สมควรมีด้วย ทั้งนี้ก็เพราะโครงสร้างทางสังคมที่บุคคลจ�ำที่จะต้องมี ความสัมพันธ์เฉพาะต่อกันเพือ ่ วัตถุประสงค์บางประการ อย่างในองค์กรธุรกิจย่อมมีใครสักคนที่เป็นหัวหน้าโดย คอยท�ำหน้าที่บริหารจัดการและออกค�ำสั่ง ในขณะเดียวกันก็ต้องมีใครอีกหลายๆ คนที่ เป็นลูกน้องคอยรับค�ำสั่งและปฏิบัติตามหน้าที่ของตน คุณลองจินตนาการถึงองค์กรที่ทุกคนนั้น มีอ�ำนาจใน การตัดสินใจอย่างเท่าเทียมดูสิ ลองคิดดูว่ามันจะวุ่นวาย แค่ไหน เพราะฉะนัน ้ ถ้าจะพูดว่าการมีอยู่ของ “อ�ำนาจ” คือหลักฐานทีว่ ่าความเท่าเทียมนัน ้ ไม่มจี ริง ก็คงจะพูดได้ ไม่เต็มปากนัก หากเป็นความเสมอภาคตามอุดมคติก็ คงใช่ แต่หากเป็นความเสมอภาคในความเป็นจริงนั้นก็ เห็นทีว่าจะไม่ สิ่งส�ำคัญที่สุดที่เรารู้คือ “อ�ำนาจ” ยังคงอยู่คู่ กับเผ่าพันธุ์มนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนหนึ่ง เป็นเพราะความต้องการและอีกส่วนหนึง่ คือความจ�ำเป็น “อ�ำนาจ” คือกลไกพื้นฐานของสัตว์สังคมซึ่ง มันคือกลไกหลักที่ท�ำให้ฝูงอยู่รอด ฉะนั้น “อ�ำนาจ” จึง ไม่ใช่สงิ่ ทีเ่ ลวร้ายเสียทีเดียว แต่ขน ึ้ อยู่กบ ั ว่าผู้ทก ี่ า้ วขึน ้ มา สู่อำ� นาจนัน ้ จะสามารถใช้มน ั อย่างถูกต้องและชอบธรรม อย่างไร เพื่อสร้างและรักษาผลประโยชน์กับสังคมตาม หน้าที่หรือเจตนารมณ์เดิมของอ�ำนาจได้มากน้อยเพียง ใด ดังค�ำกล่าวของพระเอกซูเปอร์ฮีโร่ สไปเดอร์แมน “with great power, comes great responsibilities” หรือ “อ�ำนาจอันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบ อันใหญ่ยิ่ง” และตราบใดที่มนุษย์ยังคงได้ชื่อว่าเป็น สัตว์สงั คม “อ�ำนาจ” จะยังคงด�ำรงอยู่ตลอดไป ....................

รายการอ้างอิง ส.รตนภักดิ์. (2559). เราคือสัตว์สังคมจริงหรือ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/602790. French and Raven’s bases of power. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/French_and_Raven%27s_bases_of_power

29


30


Quote “ I am tomorrow, or some future day, what I establish today. I am today what I established yesterday or some previous day ” – James Joyce

31


32


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.