1
ชุดดาวเทียมแลนด์แซต เรียบเรียงโดย กนกลดา ท้าวไทยชนะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.รภ.มหาสารคาม
บทนา นับเป็นเวลากว่าสิบๆ ปีที่ผ่านมา โลกเผชิญกับปัญหาประชากรเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ความต้องการอาหาร และทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้นตามตัว รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่มีความรุนแรงขึ้น จาก รายงานแนวโน้มโลกปี 2030 (the National Intelligence Council’s Global Trends 2030) กล่าวไว้ว่าความ ต้องการอาหารและน้าระดับโลกคิดเป็นหนึ่งในแปดตามที่คาดการณ์ไว้อีกทศวรรษหน้าซึ่งความต้องการอาหารจะ เพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อยที่สุดร้อยละ 35 ของปี 2030 ในขณะที่ความต้องการน้าจะสูงขึ้นร้อยละ 40 ประชากร ประมาณครึ่ งหนึ่งของโลกที่อาศัยอยู่ในบริเวณต่าง ๆ จะขาดแคลนน้าอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในอัฟริกาและ ตะวันออกกลางจะมีภาวะขาดแคลนน้าและอาหารรุนแรง แต่จีนและอินเดียวจะเกิดภาวะความไม่มั่นคงทางน้าและ อาหาร แม้ว่าพื้นผิวโลกมีประมาณ 150 ล้านตารางกิโลเมตร แต่ประมาณร้อยละ 29 ที่เป็นพื้นดิน นอกจากนี้ยังมี พื้นที่ปกคลุมด้วยน้าแข็ง อีกมากกว่าร้อยละ 75 เป็นพื้นที่มนุษย์อยู่อาศัย ประมาณร้อยละ 40 เป็นทุ่งหญ้าและ เกษตรกรรม การเผชิญกับสิ่งท้าทายเหล่านี้เริ่มขยายตัวไปเรื่อยๆ ผู้ที่มีส่วนในการตัดสินใจจาเป็นต้องมีข้อมูลเชิง พื้นที่และเวลาที่เกี่ยวข้องกับการการใช้ที่ดิน ข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมจึงเป็นข้อมูลสาคัญในการนามาวิเคราะห์ ร่วมกับข้อมูลร่วมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณลักษณะของหิน ดิน และพืชพรรณ สิ่งปกคลุมดินรวมไปถึง หิมะ น้าแข็ง และน้าจืด เป็นต้น ข้อมูลสาหรับศึกษาการใช้ดิน (Land Image) จากปี 1972 ถึงปัจจุบัน ข้อมูลดาวเทียมรายละเอียดปานกลางของชุดดาวเทียมแลนด์แซต ได้ทาหน้าที่ บันทึกข้อมูลพื้นผิวโลก ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ทาให้เราได้เข้าใจสิ่งปกคลุมดิน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่การเกษตร ป่า ไม้ การกลายเป็นเมือง อุทกวิทยา ที่อยู่อาศัย พิบัติภัย และการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ บนโลกของเรา ทั้งในระดับโลก ภูมิภาค และประเทศ ที่ประชากรโลกกว่า 7 พันล้านคนในปัจจุบันภายในปี 2050 จะเพิ่มขึ้นเป็น 9 พันล้านคน ย่อมส่งผลกระทบต่อการจัดการที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพที่จาเป็นต้องเลี้ยงดูประชากรและป้องกันโลกของเราไป พร้อมๆกัน แลนด์แซต 6 ได้ล้มเหลวในการส่งขึ้นไปโคจรเมื่อปี 1993 แลนด์แซต 5 ออกแบบไว้ 5 ปี แต่ก็ยังสามารถโคจรได้นานกว่าที่คานวณไว้ แต่จะปลดประจาการในปี 2013 แลนด์แซต 7 ประสบปัญหาระบบเครื่องมือ ETM+ ที่ไม่สามารถสแกนได้อย่างแม่นยาจึงทาให้สูญเสีย ข้อมูลไปร้อยละ 25 ของภาพ แลนด์แซต 8 ได้เพิ่มระบบ LDCM (Landsat Data Continuity Mission) (รูปที่ 1) จาก http:// landsat.usgs.gov/about_mission_history.php. แลนด์แซต 9 อยู่ในช่วงระหว่างเตรียมการ