พัฒนาการของกระจกแก้วสีในสิมอีสาน

Page 1

พัฒนาการของกระจกแก้วสี ในสิมอีสาน Development of Colour glass of Isan Buddhist Architecture นิตยา ป้องกันภัย1 ดร.กิตติสันต์ ศรีรักษา2 ผศ.ดร.ปัญญา นาแพงหมื่น3 บทคัดย่อ

การวิจยั ครัง้ นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของกระจกแก้วสีในสิมอีสาน ตามสถาปัตยกรรมแบบรัตนโกสินทร์ แบบล้านช้าง แบบเวียดนามและแบบพื้นถิ่นอีสาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีการรวบรวมเอกสาร การเก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้ แบบส�ำรวจภาคสนาม แบบสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบสนทนากลุ่ม น�ำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในเชิงพรรณนา ได้ผลการศึกษา ดังนี้ จากการศึกษาพัฒนาการของกระจกแก้วสีในสิมอีสาน ผู้ศึกษาได้แบ่งรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของสิมออกเป็น 4 รูปแบบ คือ สิมแบบรัตนโกสินทร์ สิมแบบล้านช้าง สิมแบบญวน (ญวน) และสิมแบบอีสานพืน้ ถิน่ นอกจากนี้ ยังแบ่งช่วงระยะเวลาในการสร้าง สิมออกเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 สิมที่ก่อสร้างก่อน พ.ศ. 2475 ช่วงที่ 2 สิมที่ก่อสร้างระหว่าง พ.ศ. 2475-2500 ช่วงที่ 3 สิมที่ก่อสร้างระหว่าง พ.ศ. 2501-2534 และช่วงที่ 4 สิมที่ก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน ผลการวิจัย รายละเอียด ดังนี้ 1. พัฒนาการของกระจกแก้วสีในสิมอีสานที่สร้างตามรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบรัตนโกสินทร์ พบว่า ได้รับอิทธิพลจากสมัยอยุธยาตอนปลาย การน�ำกระจกแก้วสีมาใช้มาใช้ในการประดับศาสนาคารในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีมาอย่างต่อเนื่อง แต่มคี วามรุง่ เรือ่ งมามากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้านัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 3 ทีม่ กี ารรับเอาวัฒนธรรมและศิลปกรรมจากจีนเข้ามาอิทธิพล ด้านการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ จึงปรากฏอาคารและ ศาสนาคารหลายแห่งมีรูปแบบศิลปกรรมจีนผสมผสานอยู่ไม่น้อย รวมถึงน�ำกระจกแก้ว สีมาใช้ในการประดับตกแต่งศาสนาคาร 2. พัฒนาการของกระจกแก้วสีในสิมอีสานที่สร้างตามรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบล้านช้าง พบว่า รูปแบบการ ประดับกระจกแก้วสีแบบล้านช้างและวัฒนธรรมลาวได้เข้ามาในภาคอีสานของประเทศไทยพร้อมกับการเคลือ่ นย้ายของชุมชนชาวลาวจากฝัง่ ซ้าย เข้ามาอยูใ่ นดินแดนอีสานด้วยสาเหตุความขัดแย้งทางการเมือง โดยกลุม่ คนทีถ่ กู กวาดต้อนมามีกลุม่ ช่างสกุลช่างหลวงล้านช้างรวมอยูด่ ว้ ย เมือ่ ได้ ท�ำการสร้างวัดจึงได้นำ� เอาศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบลาวมาใช้เป็นแบบในการก่อสร้าง สืบทอดรูปแบบในเชิงช่างมาจากวัฒนธรรมหลวงล้านช้าง การประดับกระจกแก้วสีในสถาปัตยกรรมศาสนาคารในปัจจุบนั ได้รบั อิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง ทีเ่ ห็นได้ชดั คือ มีการน�ำต้นแบบ มาจากสิมวัดเชียงทอง ใน สปป. ลาว 3. พัฒนาการของกระจกแก้วสีในสิมอีสานที่สร้างตามรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบญวน เริ่มตั้งแต่กลุ่มช่างชาว ญวนเข้ามาในอีสานตัง้ แต่ประมาณปี พ.ศ. 2460-2500 โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2488-2489 ทีเ่ ป็นการอพยพครัง้ ใหญ่ของกลุม่ ชาวญวนทีไ่ ด้อพยพ มาอยูใ่ นภาคอีสานบริเวณแถบจังหวัดหนองคาย นครพนม มุกดาหาร โดยในปี พ.ศ. 2463 เมือ่ ฝรัง่ เศสเข้ายึดครองเวียดนาม ท�ำให้ชาวเวียดนาม หนีภัยข้ามฝั่งมาอยู่ในอีสานจ�ำนวนมากและอาชีพหนึ่งที่โดดเด่นของชาวเวียดนามในยุคนั้นคือช่างก่อสร้าง การประดับกระจกแก้วสีในสิมแบบ ญวนยังคงมีมาอย่างต่อเนือ่ ง โดยกระจกทีใ่ ช้ในการประดับสิมแบบญวนมักเป็นกระจกทรงกลมจากตลับแป้งพัฟ มีการประดับตกแต่งมากในส่วน ของหน้าบันสิม และซุ้มประตู ซึ่งเป็นลวดลายปูนปั้นแบบนูนต�่ำ เขียนสี เป็นภาพต่างๆ ทั้งภาพทางพุทธศาสนา ความเชื่อ ประเพณีหรือความ เป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น 4. พัฒนาการของกระจกแก้วสีในสิมอีสานที่สร้างตามรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบพื้นถิ่นอีสาน ได้รับอิทธิพล การประดับกระจกแก้วสีในสิมอีสานจากกการน�ำเอาศิลปกรรมล้านช้างมาผสมผสานกับศิลปกรรมพื้นถิ่นอีสาน สิมอีสานในยุคก่อน พ.ศ. 2475 ในภาคอีสานมีอิทธิพลศิลปะสถาปัตยกรรมแบบอย่างวัฒนธรรมลาวล้านช้างเป็นวัฒนธรรมกระแสหลัก โดยเฉพาะการน�ำกระจกแก้วสีมาใช้ นักศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ประจ�ำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3 อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ประจ�ำสาขาวิชานวัตกรรมและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 1 2

1020


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.
พัฒนาการของกระจกแก้วสีในสิมอีสาน by ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKU Culture Center) - Issuu