สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เดือนกันยายน 2016

Page 1

ปีท่ี 14 ฉบับที่ 9 ประจำ�เดือนกันยายน 2016

ชุมชน ความเชือ่ .... ด้วยรักแห่งศรัทธา....

1

สู่ 100 ปี วัดซางตาครูส้ น. วิถชี มุ ชนวัด...

ชุมชนคริสตชนย่อย ทีบ่ างบอน...

กางเขนของพระเยซู กางเขนของคริสตชน

4

น.

8

น.

“บางคนอาจหลงทาง อีกบางคนอาจถูกนำ�ให้หลงผิด ดังนัน้ เรา จึงต้องการระบบเตือนภัยฝ่ายจิต เพือ่ จะติดตามหาเขา และคงติดต่อ สัมพันธ์กับสมาชิกชุมชนความเชื่อของเราที่หลงหาย ที่ตีใจออกห่าง ที่ตีจากไป หรืออย่างน้อยที่สุดก็ในการอธิษฐานภาวนาเพื่อพวกเขา และในกรณีเช่นนี้ คงจะต้องบอกว่า ไม่มที ๆ่ี จะอนุญาตให้มกี ารกระทำ� ใดๆ ก็ตาม ทีจ่ ะเป็นการเหยียบย่�ำ กันจนคนหนึง่ คนใดต้องสูญเสียไป กระนั้น ก็ ดี ยั ง มี บ างสิ่ง บางอย่ า งทำ � นองนี้ท่ีเ ป็ น การเสื่อมศีลธรรม มากกว่าการหายหน้าหายตาไปเป็น เวลานาน หรือแม้กระทัง่ การตีจากไป นัน่ คือการเหยียบย่�ำ ซ้�ำ เติมกัน นีเ่ ป็นการฆ่าพระเจ้าองค์ความรัก” วาทะพระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช บทเทศน์ฉลองอารามคณะพระหฤทัยฯ วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน 2016

เจาะลึกพิเศษ...คุณพ่อวรวุฒิ กิจสกุล

วั

ดซางตาครู้ส เป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่ง ของอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ มีประวัติ ความเป็นมาโดยสรุปดังนี้... วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2312 ตรงกับรัชสมัย ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี คุณพ่อ ฌาคส์ กอรร์ สงฆ์มิชชันนารี ชาวฝรั่งเศส ที่ได้ลี้ภัย สงครามไปอยู่กัมพูชา เมื่อครั้งที่กรุงศรีอยุธยา เสียกรุงให้แก่พม่า ครั้งที่ 2 ได้เดินทางกลับมา สยาม พร้อมกับคริสตชนชาวเวียดนาม และชาว ไทยจำ�นวนหนึ่ง เนื่องจากทราบว่าได้มีการตั้ง เมืองหลวงใหม่ขึ้นที่กรุงธนบุรี จากนั้นคุณพ่อได้ พบกับชาวโปรตุเกส และได้พากันไปเฝ้าสมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรี เพื่อขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ได้รับพระราชทานเงิน รวมถึงเรือพาย อีก 1 ลำ� ไว้ใช้งาน ต่อมาด้วยความวิริยะของคุณพ่อ จึงสามารถรวบรวมคริสตชนที่กระจัดกระจาย จากภาวะสงครามมาอยู่รวมกันประมาณ 400 คน ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายโปรตุเกส


วันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2312 ตรงกับวัน “ฉลองเทิดทูนไม้กางเขน” สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรง พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งแด่คุณพ่อกอรร์ เพื่อให้กลุ่มคริสตชนอาศัยอยู่ ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์สำ�คัญ ครั้งนั้น คุณพ่อกอรร์ จึงตั้งชื่อที่ดินผืนนี้รวมถึงวัดน้อยที่สร้างขึ้นว่า “Santa Cruz” เป็นภาษาโปรตุเกส แปลว่า “ไม้กางเขนศักดิ์สิทธิ์” วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงเสด็จพระราชดำ�เนินมาเยี่ยม คุณพ่อกอรร์ ณ ที่ๆ ได้พระราชทานที่ดินให้นี้ เมื่อทรงทอดพระเนตร เห็นว่า วัดน้อยไม่มีข้างฝา มีแต่เพียงหลังคาและเสา จึงทรง พระราชทานข้างฝาวัดให้ (สันนิษฐานว่าเป็นวัดไม้) และได้ใช้ประกอบศาสนกิจเรื่อยมาจนกระทั่งถึงรัชสมัยของ รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มิสซังสยามขณะนั้นปกครอง โดยพระสังฆราชอังตวน การ์โนลต์ ได้สร้างสาม เณราลัย พร้อมด้วยโรงพิมพ์แห่งแรกของสยามขึ้น ณ วัดซางตาครู้ส แห่งนี้ (ในเวลาต่อมา สามเณราลัย และ โรงพิมพ์ได้ย้ายไปอยู่ที่วัดอัสสัมชัญ) ในสมัยของพระสังฆราช ฌัง-ปอล กูร์ เวอ ซี ต่อมาได้มอบหมายให้คุณพ่อ ฌอง-บัปติส ปัลเลอกัวส์ สร้างวัดหลังใหม่ แทนหลังเดิม ที่ใช้มาถึง 65 ปี โดยวัดหลังใหม่สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2379 ด้วยสถาปัตยกรรมตามแบบสมัยรัชกาลที่ 3 ที่มีรูปทรงประยุกต์จีน-ไทย ก่ออิฐถือปูน และมีลวดลายแกะสลัก แบบจีน-ไทย และฝรั่งเศส กลมกลืนอยู่บนตัวอาคารโบสถ์ด้านหน้า วัดแห่งนี้จึงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดกุฎีจีน” ต่อมา คุณพ่อ กูเลียลโม กิ๊น ดากรู้ส (สงฆ์ชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.2456 เล็งเห็นว่า วัดหลังที่สองที่ใช้งานมานานถึง 81 ปีแล้ว มีความทรุดโทรมลงอย่างมาก เกินกว่าจะซ่อมแซมได้ จึงดำ�ริที่จะสร้างวัดหลังใหม่ขึ้นแทนวัดหลังเดิม ได้ทำ�การก่อสร้าง และใช้เวลาก่อสร้างถึง 2 ปีกับ 3 เดือนจึงแล้วเสร็จ ตัวอาคารทั้งภายในและภายนอกของวัดหลังใหม่ ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรม เรเนสซองส์และนีโอ-คลาสสิค และในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2459 พระสังฆราช เรอเน แปร์รอส ได้ประกอบ พิธีเสกวัดอย่างสง่า และใช้วัดหลังนี้ ประกอบศาสนกิจต่างๆ เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน ในปี พ.ศ.2537 คุณพ่อสมศักดิ์ ธิราศักดิ์ เจ้าอาวาสในขณะนั้น ได้ทำ�การบูรณะวัด โอกาสฉลอง 80 ปี ของวัด (บริษัท มรดกโลก เป็นผู้ดำ�เนินการบูรณะทั้งภายในและภายนอก ได้เปลี่ยนกระจกสี Stained-Glass เป็นภาพ เล่าเรื่องต่างๆ จากพระคัมภีร์ โดยร้าน ประกายแก้ว ประเทศไทย) ในปี พ.ศ.2559 ถือเป็นปีอันสำ�คัญ ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรมและเนื่องด้วยครบ 100 ปี ของการ เสกและใช้วัดหลังที่ 3 นับเป็นความภาคภูมิใจของคริสตชนลูกวัดซางตาครู้สทุกๆ คน ที่ได้มีวัดซึ่งยาวนานด้วย ประวัติศาสตร์-ศิลปกรรมที่ทรงคุณค่า ที่ตั้งตระหง่านริมน้ำ�เจ้าพระยา จารึกไว้ถึง พระเมตตาของพระเป็นเจ้า ที่ทรงมี ต่อคริสตชนในประเทศไทย รวมถึงบอกเล่าเรื่องราวความเชื่อของเหล่าคริสตชนมากมายที่ถูกหล่อหลอมรวมไว้ ณ ย่าน ฝั่งธนบุรี ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ และศึกษาสืบต่อไป 2 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 14 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2016


เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและโมทนาคุณพระเป็นเจ้า โอกาสปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม และโอกาส 100 ปี ของวัด คุณพ่อเจ้าอาวาส คุณพ่อปลัด สภาภิบาล สัตบุรุษวัดซางตาครู้ส และบรรดาคริสตชน ที่มาร่วมสรรเสริญพระเจ้า ณ วัดซางตาครู้สนี้ ได้จัดให้มีตรีวาร คือ 3 ครั้ง คือ 3 เดือน ก่อนฉลองวัดประจำ�ปี ในเดือนกันยายน ได้จัดให้ พระสงฆ์เทศน์เตรียมจิตใจสำ�หรับการฉลองวัด วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2016 ได้เชิญคุณพ่อเดชา อาภรณ์รัตน์ มาเทศน์เตรียมจิตใจ ได้เชิญชุมชนที่ อาศัยใกล้เคียงกับชุมชนกุฎีจีน มาร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ หลังพิธีบูชาขอบพระคุณ ได้จัดอาหารเลี้ยงทุกคน ที่มาร่วมพิธี ได้จัดมอบเสื้อผ้า เครื่องอุปโภค-บริโภคที่จำ�เป็นแก่ทุกคน จัดให้มีผู้แทนสัตบุรุษนำ�สิ่งของเครื่องใช้ที่จำ�เป็น ไปมอบให้กับคนเจ็บ-คนป่วยที่แผนกอนาถา โรงพยาบาลศิริราช ได้เยี่ยมเยียนและมอบสิ่งจำ�เป็นให้กับผู้เจ็บป่วย ในโรงพยาบาลประมาณ 60 คน วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม 2016 จัดตรีวารครั้งที่ 2 เชิญคุณพ่อศรีปราชญ์ ผิวเกลี้ยง มาเทศน์เตือนใจ ได้เชิญ ชุมชนที่อาศัยใกล้เคียงมาร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ และจัดอาหารเลี้ยงและมอบเครื่องอุปโภค-บริโภค ที่จำ�เป็นแก่ทุกคน ดังเช่นตรีวารครั้งแรก และได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนและมอบสิ่งของจำ�เป็นแก่ทหาร ที่เจ็บป่วยประมาณ 100 คน ที่โรงพยาบาลทหารผ่านศึก วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม 2016 จะจัดตรีวารครั้งที่ 3 และจะทำ�เช่นเดียวกับครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 และจะเดินทางไป เยี่ยมทันฑสถานหญิงที่ปทุมธานี เพื่อให้กำ�ลังใจ และมอบสิ่งของเครื่องใช้ที่จำ�เป็นด้วย จะจัดให้มีการฉลองภายใน วันเสาร์ที่ 17 กันยายน 2016 มีพิธีบูชาขอบพระคุณ โมทนาคุณ พระเป็นเจ้า 100 ปี หลังพิธีมิสซาอัญเชิญพระธาตุ กางเขนแห่ไปรอบๆ หมู่บ้าน ผ่านหน้าบ้านของ สัตบุรุษทุกคน เพื่อเชิญชวนให้ทุกคนสรรเสริญ และ โมทนาคุณพระเป็นเจ้า สำ�หรับพระพรต่างๆ มากมาย ที่ทรงประทานให้ตลอด 247 ปี ของชุมชนริมสายน้ำ� แห่งนี้ วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2016 ขอเรียน เชิญพี่น้องสัตบุรุษทุกท่าน บรรดาพระสงฆ์-นักบวช และผู้มีใจศรัทธาทุกท่าน มาร่วมฉลองวัดเทิดเกียรติ พระเป็นเจ้า และโมทนาขอบพระคุณพระเป็นเจ้า พร้ อ มกั น เชิ ญ มาคารวะพระธาตุ ก างเขน และ รั บ พระคุ ณ การุ ณ ย์ ค รบบริ บู ร ณ์ โ อกาสปี ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แห่งเมตตาธรรมด้วย พระคุณเจ้า พระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็น ประธานงานฉลอง เวลา 10.30 น. (จอดรถได้ที่ โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์, โรงเรี ย นแสงอรุ ณ , โรงเรี ย นอนุ บ าลวรรณบู ร ณ์ ศึกษา, วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร, วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร, ริมถนนอรุณอัมรินทร์, ริมถนนในซอย และที่สำ�นักงานเทศกิจ ธนบุรี) สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 14 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2016 3


บทความ...ทีมงานวิถีชุมชนวัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ารทำ�ให้เกิดชุมชนคริสตชนย่อยในงานวิถีชุมชนวัดมีหลายแนวทาง ชุมชนบางบอนซึ่งได้รวมตัวกันในแบบชุมชน คริสตชนย่อยมาได้ระยะเวลาหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นรูปแบบการรวมตัวแบบหนึ่งที่น่าสนใจ วันนี้จึงขอแบ่งปันถึงชุมชนนี้ โดย พ่อได้ขอให้คุณชวลิต ศิริยงวัฒนา หนึ่งในผู้ประสานงานกับชุมชนนี้ ได้มาช่วยแบ่งปันถึงชุมชนคริสตชนย่อยที่บางบอนดังนี้ครับ “ทุกวันนี้เราต้องพยายามให้คริสตชนคาทอลิกได้อ่านพระวาจา (พระคัมภีร์) ทุกวันเพื่อให้พระวาจาของพระเจ้านำ�ทางใน ชีวิตประจำ�วันของเราพระคัมภีร์คือพระวาจาของพระเจ้าซึ่งเป็นคำ�สอนที่ไม่เปลี่ยนแปลงไม่ล้าสมัย เป็นสิ่งดีงามเป็นความถูกต้อง ดังนั้น ความถูกต้องและดีงามจึงใช้ได้ทุกกาลเวลาไม่ว่าอดีตปัจจุบันและอนาคต เมื่อปีคริสตศักราช 2008 พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้จัดพิมพ์พระคัมภีร์คาทอลิกภาคพันธสัญญาใหม่แจก ครอบครัวคริสตชนครอบครัวละหนึ่งเล่มในโอกาสฉลอง 25 ปีสมณศักดิ์พระคาร์ดินัลของพระคุณเจ้า การอ่านพระคัมภีร์และการภาวนารำ�พึงไตร่ตรองพระวาจาของพระเจ้าไม่ใช่เรื่องยากในการอ่านพระวาจาในการประชุม วิถชี มุ ชนวัดหรือในประสบการณ์ชวี ติ ของผูเ้ ขียน เพียงแต่เราอ่านพระวาจาและพบคำ�ทีป่ ระทับใจและนำ�วลีค�ำ นัน้ มาไตร่ตรอง และ ดำ�เนินชีวิตตามพระวาจาในวันนั้นอย่างดี ทั้งโดยส่วนตัวและโดยทำ�ร่วมกันในชุมชนคริสตชนย่อยของเราวันนี้ผู้เขียนจะขอเล่าถึง ความเป็นมาของชุมชนคริสตชนย่อยที่บางบอนซึ่งจุดเริ่มต้นเป็นครอบครัวของญาติพี่น้องที่อยู่ใกล้ๆ กัน ได้รวมตัวกันโดยการ สวดภาวนาและอ่านพระวาจาในทุกๆ วันอาทิตย์ ชุมชนคริสตชนย่อยนี้ได้รวมตัวกันในพี่น้องลูก-หลาน-เหลน ของคุณพ่อยอแซฟ ไอสิ่ง แซ่ตั้ง และคุณแม่มารีอา จู แซ่ฉั่ว (ครอบครัวตั้งธนอำ�รุง) คุณพ่อมีลูก 13 คน ลูกสาวสองท่านเป็นซิสเตอร์คณะคามิลเลียนทำ�งานอยู่ในสังฆมณฑลราชบุรี และ ลูกอีก 11 คนมีครอบครัวแล้ว มี 5 ครอบครัวบ้านอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันและบางครอบครัวก็อยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนใหญ่ ทุกวันอาทิตย์หลังจากกลับจากวัด พี่น้องก็จะไปรวมตัวกันที่บ้านคุณพ่อคุณแม่รับประทานอาหารเย็นด้วยกัน หลังจากนั้น ก็จะสวดภาวนาค่ำ�พร้อมกันและร้องเพลงสดุดีพระเจ้า และด้วยการนำ�เสนอของคณะกรรมการสภาภิบาลวัดได้เล็งเห็นความเป็น หนึ่งเดียวและลูกๆ บางคนมีบ้านใกล้กับบ้านคุณพ่อทำ�ให้รวมตัวกันทำ�วิถีชุมชนวัดง่ายขึ้นเป็นชุมชนคริสตชนย่อยมีละแวกบ้าน ใกล้กัน โดยร่วมกันประชุมในรูปแบบของวิถีชุมชนวัดเดือนละครั้งทุกวันอาทิตย์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน ชุมชนคริสตชนย่อยที่บางบอนเริ่มประชุมในรูปแบบวิถีชุมชนวัดในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2015 มีสมาชิก 35 คนส่วนใหญ่ เป็นลูก-หลาน-เหลนของคุณพ่อไอสิ่งและทุกครั้งที่ประชุมวิถีชุมชนวัดคุณพ่อและคุณแม่จะลงมาร่วมอ่านพระวาจาและแบ่งปัน ประสบการณ์สมาชิกในกลุ่มเข้าใจถึงการมีพระวาจาในการดำ�รงชีวิตประจำ�วันให้ความร่วมมืออย่างดี เป็นครอบครัวที่พี่น้องรัก ใคร่กลมเกลียวกัน ทุกครั้งในการประชุมวิถีชุมชนวัด เริ่มจากการภาวนาเชิญพระเยซูเจ้าเสด็จมาประทับกับสมาชิกอ่านพระวาจาอ่านพร้อม กันเลือกวลีที่ประทับใจในพระวาจาที่อ่านกล่าวให้สมาชิกฟังอย่างชัดถ้อยชัดคำ� เงียบและฟังพระตรัสกับเรา จนถึงช่วงแบ่งปัน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ใหญ่จึงแยกเป็น 3-4 กลุ่มย่อยซึ่งจะไม่ใช้เวลามากเกินไป หนึ่งปีที่ได้ทำ�วิถีชุมชนวัดในกลุ่มนี้สมาชิกได้แบ่งปันว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น อาทิเช่น ได้นำ�พระวาจาของพระเจ้าใน แต่ละวันมาดำ�เนินชีวิต มีความรักความสามัคคีความเมตตาการแบ่งปันแก่ผู้ด้อยโอกาส มีความอดทนอดกลั้นแม้ประสบปัญหา หรืออุปสรรคต่างๆ ก็สามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี การอยู่ร่วมกันกับเพื่อนหรือผู้ร่วมงานที่ต่างความเชื่อก็สามารถแบ่งปันพระ วาจาสั้นๆ ในสถานการณ์นั้นๆ ได้ ปัจจุบันทุกวันอาทิตย์สมาชิกได้ร่วมกันสวดภาวนาค่ำ�พร้อมกันเลือกพระวาจาสั้นๆ อ่านและร่วมกันไตร่ตรอง” พี่น้องที่รัก รูปแบบของวิถีชุมชนวัดของชุมชนคริสตชนที่บางบอนก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจครับ โดยการรวมตัวกัน อาจจะเริ่มจากครอบครัวญาติพี่น้องที่บ้านอยู่ใกล้กัน 2-3 ครอบครัวมาอ่านพระวาจาและทำ�กิจศรัทธาด้วยกัน จากนั้นก็พัฒนา เป็นวิถีชุมชนวัดต่อไป โอกาสนี้พ่อขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนพี่น้องทุกท่านทั้งผู้นำ�วิถีชุมชนวัด สมาชิกในชุมชนคริสตชนย่อย และพี่น้อง สัตบุรุษทุกท่านที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมวัน “รวมพลวิถีชุมชนวัด” และรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์โอกาสปีศักดิ์สิทธิ์แห่ง เมตตาธรรม ในวันเสาร์ที่ 17 กันยายน ค.ศ.2016 ณ วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา เวลา 09.00 - 15.30 น. ในภาคเช้าจะ เป็นกิจกรรมและการแบ่งปันประสบการณ์วิถีชุมชนวัด ในภาคบ่ายจะมีพิธีมิสซาเพื่อขอพรพระเจ้าสำ �หรับงานวิถีชุมชนวัด และ สำ�หรับพี่น้องทุกท่านที่มาร่วมพิธี โดย อุปสังฆราช คุณพ่อยอแซฟ วุฒิเลิศ แห่ล้อม พี่น้องที่จะมาร่วมงานขอท่านได้แจ้งชื่อกับ คุณบุญหลาย บุญทา เบอร์โทรศัพท์ 0872219725 4 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 14 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2016


บอกข่าวเล่าสาร

แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ

พิธบี วชพระสงฆ์ใหม่ สังฆานุกรใหม่ ในปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรม

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2016 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จดั พิธบี วชพระสงฆ์ สังฆานุกร พิธบี ชู าขอบพระคุณ โดย พระคาร์ดนิ ลั เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พร้อมด้วย พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู และพระสังฆราชกิตติคุณ สังวาลย์ ศุระศรางค์ พร้อมด้วยคณะสงฆ์ บรรดา ญาติมิตรมาร่วมยินดีจำ�นวนมาก ณ หอประชุมพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 สามเณราลัยนักบุญยอแซฟ

พิธีบวชสังฆานุกร พิธีแต่งตั้งผู้ช่วยพิธีกรรม และผู้อ่านพระคัมภีร์ วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม 2016 พระสังฆราช ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ เป็นประธานพิธีบูชาขอบพระคุณ โอกาสแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกาย และวิญญาณ พิธีบวชสังฆานุกร พิธีแต่งตั้งผู้ช่วยพิธีกรรม และผู้อ่านพระคัมภีร์ ณ อาคารมารดาพระผู้ไถ่ บ้านเณรใหญ่แสงธรรม

ฉลองอาสนวิหารอัสสัมชัญ 2016 พิธีมิสซาโอกาสสมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ และฉลองอาสนวิหารอัสสัมชัญ ประจำ�ปีคริสตศักราช 2016 วันที่ 15 สิงหาคม 2016 โดยพระคาร์ดินัล เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธาน ท่ามกลางพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษที่มาร่วมพิธีเป็นจำ�นวนมาก

150 ปี ชุมชนแห่งความเชื่อ "ปากลัด" วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2016 พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานพิธีบูชาขอบพระคุณ โอกาสฉลองวัดดวงหทัยนิรมลของ แม่พระ ปากลัด และฉลอง 150 ปี ชุมชนแห่งความเชื่อ เมืองนครเขื่อนขันธ์ ก่อนพิธีบูชาขอบพระคุณ พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็น ตัวแทนคริสตชน กล่าวถวายพระพร เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ มีสัตบุรุษมาร่วมเป็นจำ�นวนมาก สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 14 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2016 5


พิธีมิสซาปลงศพ คุณแม่อธิการิณี มาร์ธา แห่งพระแม่สากลสงเคราะห์ วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2016 พิธีมิสซาปลงศพ คุณแม่อธิการิณี มาร์ธา แห่งพระแม่สากลสงเคราะห์ (เย็นจิต สมานจิต) ณ อาราม คาร์แมล สามพราน พระคาร์ดินัล เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธาน

อบรมผู้นำ� BEC เขต 2 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม 2016 อบรมผู้นำ� BEC เขต 2 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ "ความเข้าใจพื้นฐานเรื่องวิถีชุมชนวัด" โดย คุณพ่อวิทยา แก้วแหวน คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช ซิสเตอร์กัลยา ศรีโสภา และทีมงานวิถีชุมชนวัด จากส่วนกลางของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นวิทยากร ณ วัดแม่พระฟาติมา ดินแดง

ฉลอง "แม่พระ แห่ง เบธาราม" วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม 2016 คุณพ่อ มีคาแอล ติดคำ� ใจเลิศฤทธิ์ อธิการคณะ เบธาราม แขวงประเทศไทย เป็นประธานพิธี บู ช าขอบพระคุ ณ ร่ ว มกั บ คุ ณ พ่ อ สมชั ย พิทยาพงศ์พร คุณพ่อสมพร เส็งเจริญ โอกาสฉลองแม่พระแห่งเบธาราม ณ บ้าน การีกอยส์ คณะเบธาราม สามพราน มี พระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษ มาร่วมเป็น จำ�นวนมาก

ค่ายพระคัมภีร์ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 3 แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายบุคลาภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัดค่ายพระวรสาร ตามคำ�บอกเล่าของนักบุญลูกา โดยมีคุณพ่อสมเกียรติ ตรีนิกร เจ้าหน้าที่ของแผนกพระ คัมภีร์ แผนกคริสตศาสนธรรม แผนกเยาวชน อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และคุณครูคำ�สอน ร่วมมือกันในการจัดค่ายพระคัมภีร์ฯ นี้ เมื่อวันที่ 5-7 สิงหาคม 2016 ณ บ้านผู้หว่าน มี นักเรียนจาก 13 โรงเรียน จำ�นวน 113 คน คุณครูและทีมงาน 19 คน รวมทั้งหมด 132 คน

งานเสวนาสองขอบฟ้าที่สัมพันธ์กัน การเคารพศักดิ์ศรีมนุษย์และสิ่งสร้าง วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม 2016 คณะ กรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม แผนกสตรีภายใต้สภาประมุขบาทหลวง คาทอลิกแห่งประเทศไทย คณะแห่งพระ เยซูเจ้า (เยสุอิต), คณะอูร์สุลิน, สมาคม สตรี ไ ทยคาทอลิ ก และสมาคมอนุ รั ก ษ์ ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม จัดงาน "สอง ขอบฟ้าที่สัมพันธ์กัน การเคารพศักดิ์ศรี มนุษย์และสิ่งสร้าง" โดยได้นำ�พระสมณสาสน์ Laudato si' on Care for Our Common Home การดูแลรักษาโลก บ้านที่เราอาศัยอยู่ร่วมกัน และพระสมณสาสน์ Amoris laetitia on Love in the Family ความรักในครอบครัว มาร่วมเสวนาในครั้งนี้ ณ สวนสันติวนา ดอนเมือง กรุงเทพฯ 6 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 14 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2016


ชุมนุมเพื่อกระแสเรียกสงฆ์และนักบวชสังฆมณฑล วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2016 ชุมนุมเพื่อกระแสเรียกสงฆ์และนักบวชสังฆมณฑล กิจกรรมประกอบด้วยการให้ความรู้เรื่องกระแสเรียกสงฆ์ และนักบวชของสังฆมณฑล พร้อมทั้งเป็นการรับพระคุณการุณย์โอกาสปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม ระหว่างเวลา 09.30 – 15.00 น. ณ อาคาร นักบุญ สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ สามพราน

ประชุมผู้อภิบาลกระแสเรียก วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2016 เวลา 14.00 น. หลังจากพิธีบูชาขอบพระคุณและ พิธีบวชพระสงฆ์ใหม่ ทางคณะผู้ให้การอบรมในบ้านเณรก็ได้มีการจัดกิจกรรมการ ประชุมเรื่อง "ผู้อภิบาลกระแสเรียก" ขึ้น โดยมี คุณพ่อไชโย กิจสกุลและบราเดอร์ อัครนนท์ กิจเจริญเป็นพิธีกร และมีบรรดาผู้ปกครองสามเณร ผู้สนับสนุนกระแสเรียก มาเข้าร่วมการประชุมด้วย โดยมีการแบ่งปันประสบการณ์ในการอบรมจากบรรดาคุณพ่อ ผู้ปกครองสามเณร และผู้สนับสนุนกระแสเรียกและรับการอบรมจากพี่เณรใหญ่และน้อง เณรเล็ก มีการแสดงศักยภาพดนตรีจากน้องเณรเล็กอีกด้วย กิจกรรมวันแม่ วัดโรงหมู 2016 วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม 2016 ทางวั ด แม่ พ ระปฏิ ส นธิ นิ ร มลแห่ ง เหรียญอัศจรรย์ ท่าเรือคลองเตย (วั ด โรงหมู ) ได้ จั ด กิ จ กรรมวั น แม่ ขึ้น ก่อนพิธีมิสซาได้มีการอ่านบท อาเศียรวาท ถวายราชสดุดแี ด่สมเด็จ พระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ และร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระ บารมี และเพลงสดุ ดี ม หาราชา ต่ อ จากนั้ น เป็ น พิ ธี มิ ส ซาตามปกติ หลั ง พิ ธี มิ ส ซา ทางเยาวชนได้ จั ด กิ จ กรรมวั น แม่ โดยให้ ลู ก ได้ ม า กลัดดอกมะลิบนหน้าอกและกราบ ผู้เป็นแม่ พร้อมทั้งมีการร้องเพลง เพื่อสำ�นึกถึงพระคุณของแม่ด้วย

ปฏิทินกิจกรรม เดือนกันยายน 2016 7-8 ก.ย. เข้าเงียบพระสงฆ์ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ประจำ�เดือน 17 ก.ย. รวมพลวิถีชุมชนวัด อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ครั้งที่ 2 วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา 24-25 ก.ย. แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายบุคลาภิบาล จัดอบรมเสียงประกาศกแห่ง ความเมตตา ณ บ้านผู้หว่าน

เสียงประกาศกแห่งความเมตตา ครั้งที่ 1 วันที่ 30-31 กรกฎาคม 2016 แผนก พระคัมภีร์ ฝ่ายบุคลาภิบาล อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ นำ�โดยคุณพ่อสมเกียรติ ตรีนิกร ผู้จัดการแผนก จัดโครงการ อบรมพระคัมภีร์ และฟื้นฟูจิตใจเสียงประกาศกแห่งความเมตตา ครั้งที่ 1 โดยคุณพ่อสมเกียรติ ตรีนิกร ให้ความรู้ เกี่ยวกับประกาศก อิสยาห์ อาโมส โฮเชยา มีคาห์ และมีคุณพ่อสมชัย พิทยาพงศ์พร มา ฝึกจิตภาวนา และสมาธิให้ด้วย ช่วงค่ำ�มีการ ภาวนาแบบเทเซ่ โดยทีมงานจากแผนกเยาวชน กรุงเทพฯ มีผู้สนใจมาอบรมครั้งนี้จำ�นวนกว่า 80 คน ณ ศูนย์ฝกึ อบรมงานอภิบาล บ้านผูห้ ว่าน และครั้งที่ 2 จะจัดวันที่ 24 - 25 กันยายน 2016 ท่านใดสนใจสามารถติดต่อคุณมนต์สิงห์ ไกรสมสุข แผนกพระคัมภีร์ได้

สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 14 ฉบับที่ 9 เดือนกันยายน 2016 7


เกร็ดความรูค้ �ำ สอน...คุณพ่อสมหมาย มธุรสสุวรรณ

สวัสดีพน่ี อ้ งทีร่ กั เราเริ่ ม เดื อ นกั น ยายนด้ ว ยความยิ น ดี ที่ พระศาสนจั ก รประกาศแต่ ง ตั้ ง นั ก บุ ญ คุ ณ แม่ เทเรซาแห่งกัลกัตตา ในวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2016 พ่อเชื่อว่าพี่น้องหลายท่านติดตามการ ถ่ า ยทอดพิ ธี มิ ส ซาการแต่ ง ตั้ ง นี้ จ ากกรุ ง โรม โดยสื่อมวลชนคาทอลิกแห่งประเทศไทยเป็นผู้ ดำ�เนินการ การประกาศแต่งตั้งคนใดคนหนึ่งเป็น นักบุญนอกจากจะนำ�ความยินดีสู่พระศาสนจักร สากลยังเป็นการตอกย้ำ�ว่าพระเจ้ายังคงอยู่ใน ชีวิตของเรา พระองค์เลือกสรรและส่งคนในยุค สมัยของเรามาเป็นเครื่องหมายและเป็นพยานว่า พระยังคงรักโลก รักมนุษย์อยู่เสมอ ผ่านบรรดา นักบุญคนแล้วคนเล่าต่างช่วงเวลาต่างอายุต่าง สถานะทางสังคม ฯลฯ แต่ละคนมีจุดเด่นใน คุ ณ ธรรมซึ่ ง สามารถนำ � มาเป็ น ตั ว อย่ า งในการ ดำ�เนินชีวิตประจำ�วันของเราได้อย่างชัดเจน นั ก บุ ญ ไม่ ใช่ ผู้ ที่ พ ระเจ้ า โยนมาจากสวรรค์ แต่เป็นผู้ที่พระเรียกพวกเขาจากโลกใบเดียวกัน กับที่เราอยู่ พระเจ้าเรียกคนมากมายแต่ไม่ใช่ ทุกคนตอบรับคำ�เรียก บางคนตอบรับแต่เพียง แค่เพื่อความโชคดีของตน บางคนเพียงเพื่อจะ ได้รางวัลตอบแทน แต่ก็มีไม่น้อยที่ตอบรับคำ� เรียกของพระ และออกไปทำ�ความดีเพื่อคนอื่น โดยไม่คำ�นึงถึงตนเอง แต่ด้วยสำ�นึกว่าพระรักเขา เขาจึงออกไปหาคนอื่นเพราะสำ�นึกในความรักที่ พระทรงมีต่อเขา พีน่ อ้ งทีร่ กั นักบุญไม่ใช่คนอืน่ คนไกลเป็นคน เหมือนกับเรา มีรัก มีโกรธ มีดีใจ เสียใจ สมหวัง ท้อแท้ สงสัย ฯลฯ และท่านก็ต่อสู้กับความ อ่อนแอที่ตนเองมีเหมือนเรา ที่สำ�คัญก็คือเรา ทุกคนกำ�ลังเดินทางสู่การเป็นนักบุญพร้อมกับ ความอ่อนแอที่เรามี ชีวิตคริสตชนของเราได้รับ การเชื้อเชิญให้เป็นนักบุญ ในชีวิตประจำ�วันของ เราแม้เรายังมีข้อบกพร่องมากมายยังมีข้อกำ�จัด หรืออาจจะยังมีข้อขัดขวางใดก็ตาม แต่พระเจ้า ก็เรียกเราให้เป็นนักบุญในชีวิตที่ดำ�เนินอยู่ของ เรา พระเจ้ายังคงเรียกคนบางคนให้ร่วมงานกับ พระองค์เป็นพยานถึงความรักของพระองค์แก่ คนทั่วไปเหมือนนักบุญเทเรซาแห่งกัลกัตตา ขอ ให้เรากล้าที่จะตอบรับและเริ่มทำ�ความดีแก่คนที่ อยู่รอบข้าง นี่คือการเริ่มต้นสู่การเป็นนักบุญและ นี่คือกระแสเรียกการเป็นคริสตชนของเรา “เราไม่จำ�เป็นต้องทำ�สิ่งที่ยิ่งใหญ่ก็ได้ แค่ ทำ�สิ่งเล็กๆ ด้วยความรักอันยิ่งใหญ่ก็พอ” นักบุญเทเรซาแห่งกัลกัตตากล่าวไว้ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกท่าน

เมื่อพูดถึง “กางเขน” คริสตชนบางคนมักคิดถึงสิ่งที่ทำ�ให้เราต้องอดทน ภาระที่ เราต้องแบกรับ และในทางใดทางหนึ่งทำ�ให้เราไม่เป็นอิสระสร้างความลำ�บากใจหรือ ทำ�ให้เราเป็นทุกข์ แต่นนั่ ไม่ใช่ความหมายทีแ่ ท้จริงของ “กางเขน” ของพระคริสตเจ้าหรือ กางเขนคริสตชน “กางเขน” สำ�หรับใครบางคนคือเครือ่ งมือทรมาน เครือ่ งประหารนักโทษเดนตายที่ เจ็บปวดและทรมานที่สุดที่พบในโลกตั้งแต่ในสมัย 600 ปี ก.ค.ศ. ไปจนถึงราว ค.ศ.ที่ 4 นั ก โทษจะถู ก เฆี่ ย นตี ห รื อ บั ง คั บ ให้ แ บกไม้ ก างเขนจนถึ ง สถานที่ ถู ก ตรึ ง ซึ่ ง มั ก เป็ น เนินเขาที่ทุกคนสามารถเห็นได้อย่างเด่นชัดเพื่อประจานและเตือนสอนผู้พบเห็นไม่ให้ เอาเยี่ยงอย่าง และแน่นอนว่าผลสุดท้ายของผู้ถูกตรึงกางเขนคือ “ความตาย” ทำ�ให้ เราเข้าใจกางเขนว่าคือความตายได้ไม่ยาก เราอาจจะเข้าใจความหมายของ “กางเขนของพระเยซูเจ้า” ได้ในบริบทของ พระคัมภีร์ นักบุญยอห์นได้เขียนพระวรสารกล่าวถึงพระเยซูคริสตเจ้าว่าพระองค์เป็น ลูกแกะของพระเจ้า ผูพ้ ลีพระชนม์เพือ่ ยกบาปของโลก (ยน 1: 29) ทำ�ให้เรานึกถึงเหตุการณ์ ปัสกาของชาวยิว (อพยพ 12) พวกเขาถูกสั่งให้ถวายบูชาด้วยลูกแกะไร้มลทิน และ นำ�เลือดของลูกแกะทาไว้ที่ประตูบ้านของตน เลือดนั้นเองเป็นเครื่องหมายให้ทูตแห่ง ความตายผ่านเลยไปทำ�ให้พวกเขารอดชีวติ ยอห์น บัปติสต์ได้ชแี้ สดงขณะทีพ่ ระเยซูเจ้า เสด็จผ่านมาว่า “นี่คือลูกแกะพระเจ้า ผู้ทรงลบล้างบาปของโลก” ทำ�ให้เราเห็นว่า พระเยซูเจ้านีแ้ หล่ะคือผูท้ พี่ ระเจ้าได้ก�ำ หนดให้เป็นเครือ่ งบูชาชดเชยบาปของมวลมนุษย์ ทำ�ไมพระเยซูเจ้าต้องตายบนกางเขน ท้าทายเราให้ทำ�ความเข้าใจเรื่องแผนการ ไถ่กู้ของพระเป็นเจ้า ซึ่งมีบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ทำ�ให้เรารับรู้ว่า พระเจ้าทรงรักมนุษย์ที่ พระองค์ทรงสร้าง และเพราะการยอมตามการชักชวนของปีศาจมนุษย์ได้ทำ�บาป จนมี ผลให้ต้องอยู่อย่างลำ�บากและรับผลของบาปคือความตาย พระเจ้าจึงส่งพระวจนาตถ์ พระบุตรแต่องค์เดียวให้มารับสภาพมนุษย์บังเกิดจากหญิงพรหมจารีย์ผู้หนึ่ง พระเยซู เจ้าได้เอาชนะบาปและความตายเป็นเหมือนเครื่องบูชาชดเชยบาปด้วยการยอมรับ ความตายบนไม้กางเขน เพราะเห็นแก่ความรักต่อพระเป็นเจ้าจึงยอมตามแผนการของ พระองค์ เพราะเห็นแก่ความรักต่อมนุษย์จึงยอมมอบตนรับความตายบนไม้กางเขน กางเขนของพระเยซูเจ้าจึงเป็นเครื่องหมาย “ความรัก” เป็นความรักสูงสุดที่มนุษย์คน หนึ่งสามารถที่จะทำ�ได้คือการยอมตายแทนคนที่ตนรัก เมื่อเรามองดูที่กางเขนเราจึง เห็นความรักของพระเยซูเจ้า เราจึงเห็นความรักของพระเจ้าที่มีต่อเรามนุษย์ กางเขน จึงมีความหมายสำ�หรับเราคริสตชนมากกว่าเป็นเพียงภาระหนักที่ต้องแบก มากกว่าสิ่ง ที่ทำ�ให้เราต้องทรมานจนถึงความตาย อย่างไรก็ดพี ระเยซูเจ้าเองก็ยงั เชิญชวนผูท้ ตี่ ดิ ตามพระองค์ให้ “แบกกางเขน” และ ติดตามพระองค์ไป “ถ้าผูใ้ ดอยากติดตามเรา ก็จงเลิกนึกถึงตนเอง จงแบกไม้กางเขน ของตนและติดตามเรา” (มธ 16:24) เราจึงควรไม่ลืมว่าพระเยซูเจ้าเรียกร้องให้ศิษย์ที่ ติดตามพระองค์รู้จักปฏิเสธตนเอง และรับภาระหรือพันธกิจที่พระองค์ทรงมอบให้ เหมือนกับที่นักบุญเปาโลได้กล่าวไว้ว่า “ข้าพเจ้าได้ถูกตรึงไว้กับพระคริสตเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าเองไม่มีชีวิตอีกต่อไป แต่เป็นพระคริสตเจ้าผู้เจริญชีวิตอยู่ในข้าพเจ้า” ขอให้กางเขนที่เราได้รับกลายเป็นเครื่องหมายแห่งความรักที่เรามอบให้กับพระเจ้าและ กับเพื่อนพี่น้องของเราเสมอ... วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมและข่าวต่างๆ ในระดับวัด เขตและสังฆมณฑล ให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2. เพื่อช่วยฟื้นฟูบทบาทการเป็นผู้มีส่วนร่วมในงานอภิบาลและธรรมทูตในชีวิตของสัตบุรุษ และบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล 3. เพื่อนำ�เสนอเครื่องมือ และแนวปฏิบัติในงานอภิบาลและธรรมทูตให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายงานอภิบาลของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่ปรึกษา : คุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม, คุณพ่อสมหมาย มธุรสสุวรรณ บรรณาธิการ : คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ กองบรรณาธิการ : พฤกษา กิจเจริญ, มัลลิกา กิจบำ�รุง, เพชรี ชาวแพรกน้อย พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพฯ โทร. 0 2233 0523 โทรสาร. 0 2235 1405 สำ�นักงาน : อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม 57 ซอยเจริญกรุง 40 เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 0 2237 7315 โทรสาร. 0 2233 8159 E-mail : webmaster@catholic.or.th


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.