Blpd Newsletter Volume 77

Page 1

BLPD Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 77 เดือน พฤษภำคม 2558

BLPD Corner : นาฬิกาชีวิต ลดฤทธิ์ของโรคภัย เปิ ดประตูส่อู าเซียน: การปฏิบตั ิตนในการเดินทางประเทศต่างๆ ในอาเซียน BLPD Article : มารู้จกั วิธีปฐมพยาบาล Hyperventilation syndrome กันเถอะ! Q & A : การรับสมัครฝึ กอบรมออนไลน์ แนะนาหลักสูตร : New Course Coming this August 2015 Science Update : งานวิจยั ด้ านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกบั ความเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศ

โปรดส่งข้อคิดเห็น คำแนะนำหรือคำถำมที่ blpd@dss.go.th โทร. 02-2017425 โทรสำร 02-2017429 หำกต้องกำรยกเลิกกำรรับข่ำวสำร กรุณำแจ้งที่ blpd@dss.go.th ข้อมูลเพิ่มเติม http://blpd.dss.go.th/


สวัสดีค่ะ สมาชิก พศ. สาร ทุกท่าน ตอนนี้อากาศมีทั้งร้อนจัด บางขณะก็มีฝนตกลงมาอย่างหนัก ขอให้ทุกท่าน ดูแลสุขภาพร่างกายนะค่ะ สาหรับ พศ. เรากาลังพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆ อีกหลากหลายหลักสูตรเพื่อให้ทุกท่านได้รับ ความรู้ และที่สาคัญสามารถนาไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ เตรียมพบกับหลักสูตรใหม่ๆ ได้เร็วๆ นี้ ที่ http:// blpd.dss.go.th

หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น T011 B006 Q010 M009 C009

เทคนิคการจัดเตรียมตัวอย่างดินและน้าสาหรับการวิเคราะห์ การกาจัดของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ ความสอบกลับได้ของการวัด การเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์อ้างอิง การทวนสอบผลการสอบเทียบเครื่องมือวัด

16 - 17 มิถุนายน 2558 17-18 มิถุนายน 2558 18 มิถุนายน 2558 23-24 มิถุนายน 2558 24 มิถุนายน 2558

สถำนที่อบรม อำคำรสถำนศึกษำเคมีปฏิบัติ กรมวิทยำศำสตร์บริกำร รายละเอียดเพิ่มเติม และสมัครออนไลน์ได้ที่ http://blpd.dss.go.th/ ติดต่อสอบถาม : คุณจรวยพร แดงจิ๋ว โทรศัพท์ : 087 095 7475 0 2201 7460, 094 336 3455 2 |BLPD NEWSLETTER

ปี ที่ 7 ฉ บั บ ที่ 7 7 เ ดื อ น พ ฤ ษ ภ ำ ค ม 2 5 5 8


BLPD Corner : นำฬิกำชีวิต ลดฤทธิ์ของโรคภัย เรียบเรียงโดย ดร.ณัฏฐกานต์ เกตุคุ้ม

ชีวิตของเราจะดีหรือ เจ็บป่วยขึ้นอยู่กับคุณลักษณะ 3 ประการ คือ 1. ถ้าป่วยเราต้องหยุดรับในสิ่งที่ไม่ดี 2. นาสิ่งที่ ดีเข้าสู่ชีวิต 3. และถ้าพบสิ่งตกค้างของเสียในร่างกายต้องรีบ ถ่ายเทออก ปรับเปลี่ยนชีวิตประจาวัน ปรับเปลี่ยนนิสัยการ กิน เพื่อสร้างขุมกาลังหรือ ปัจจัยให้แก่ระบบภูมิคุ้มกันของ ร่างกาย จะเห็นได้ว่า การกินอาหาร ถือเป็นปัจจัยสาคัญใน การดารงชีวิตโดยปราศจากโรคภัย ก่อนที่เราจะนาอะไรเข้า ปาก นอกจากจะต้องรู้ว่า ควรนาสิ่งใดเข้า ต้องรู้ช่วงเวลาของ นาฬิกาชีวิตด้วยว่าควรจะกินช่วงไหน เวลาใด เพราะแต่ละ ช่วงเวลา อวัยวะในร่างกายเรามีหน้าที่ และตอบสนองการ ทางานที่ต่างกัน ในคั ม ภี ร์ อ ายุ ร เวทศาสตร์ แ ห่ ง อิ น เดี ย ระบุ ว่ า การ ทางานของกายและจิตของมนุษย์จะถูกควบคุมโดยพลังงาน พื้ น ฐาน 3 ส่ ว น เรี ย กว่ า "ไตรโทษะ หรื อ ตรี โ ทษ (Tri Dosha)" ได้ แ ก่ วาตะ (Vata) ปิ ต ตะ (Pitta) และ กผะ (Kapha) ระบุว่า ร่างกายประกอบขึ้นจากธาตุทั้ง 5 คือ ดิน น้า ลม ไฟ อากาศ ทางานประสานสัมพันธ์กัน องค์ประกอบ พื้นฐาน ไม่ได้อยู่อย่างโดดๆ อายุรเวทได้ว างวิถีปฏิบัติของ ธาตุแต่ละธาตุออกเป็น 3 ลักษณะ

ละเอียดอ่อนเข้าสู่ระบบการดูดซึม 2. ปิตตะ (ไฟ) รวมระหว่างธาตุไฟกับน้า มีหน้าที่เผา ผลาญอาหารและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย รวมทั้งช่วยใน เรื่องการมองเห็น ควบคุมการย่อยอาหาร การดูดซึม การดูด ซั บ ธาตุ ส ารอาหาร กระบวนการเผาผลาญอาหารให้ เ กิ ด พลังงานอุณหภูมิของร่างกาย สีผิว ความสุกใสแวววาวของ ดวงตา รวมทั้งความฉลาด ความสามารถในการเรียนรู้ สรีระ วิทยาส่วนกายภาพ 3. กผะ (นำ) รวมระหว่างธาตุน้ากับดิน มีหน้าที่เป็น โครงสร้างของร่างกาย เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและ ให้ความชุ่มชื้น รวมทั้งช่วยในการหล่อลื่นของส่วนต่าง ๆ ใน ร่า งกาย เช่น ของเหลวที่อ ยู่ ตามข้อ ต่อ ของกระดูก ต่ าง ๆ หรื อ ตามเยื่ อ บุ ต่ า งๆ กผะช่ ว ยให้ ก ารประสานของธาตุ สมบูรณ์ ทาความชุ่มชื้นให้ กับผิ ว หนัง ช่ว ยสมานบาดแผล เติมพื้นที่ว่างของร่างกาย ให้กาลังทางชีววิทยาของร่างกาย แข็งแกร่ง เกิดกาลังและเสถียรภาพ รักษาพื้นที่ความทรงจา ให้พลังงานแก่หัวใจ ปอดและระบบภูมิคุ้มกันหลัก

1.วำตะ (ลม) รวมระหว่างธาตุลมกับอากาศ มีหน้าที่ ควบคุ ม การเคลื่ อ นไหวของส่ ว นต่ า งๆ ในร่ า งกาย วาตะ หมายถึง ลมของร่างกาย มีลักษณะคล้ายพลังที่บอบบางซึ่ง ควบคุมการเคลื่ อนไหวของชีว เคมี ทาให้ เกิดการส่ งผ่ านที่

อ่ำนต่อหน้ำที่ 4 BLPD NEWSLETTER

ปี ที่ 7 ฉ บั บ ที่ 7 7 เ ดื อ น พ ฤ ษ ภ ำ ค ม

2558

| 3


นำฬิกำชีวิต ลดฤทธิ์ของโรคภัย (ต่อจำกหน้ำที่ 2) ทั้ง 3 กลุ่มนี้เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสรรพสิ่ง แบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 4 ชั่วโมง กลางวัน 3 ช่วง และกลางคืน 3 ช่วง ช่วงกลำงวัน 6-10 นาฬิกา เป็นช่วงกผะ ช่วงเวลาขับถ่าย และเวลาอาหารเช้า ควรกินอาหารมื้อเบาๆ เน้น ผัก ผลไม้ อาหารย่อย ง่าย เพื่อขจัดสารพิษ 10-14 นาฬิกา เป็นช่วงของปิตตะ ช่วงเวลาของการย่อยอาหาร กาหนดเป็นมื้อหลักของวัน 14-18 นาฬิกา เป็นช่วงวาตะ ช่วงเวลาของการดูดซึมสารอาหาร เกิดการเคลื่อนไหวพลังงาน อาหารที่กินควรเป็น อาหารย่อยง่าย ไม่หนักและไม่ควรกินหลัง 18.00 นาฬิกา

ช่วงกลำงคืน 18-22 นาฬิกา กลับมาเป็นช่วงกผะ เตรียมตัวผ่อนคลาย 22-2 นาฬิ ก า กลั บ มาเป็ น ช่ ว งของปิ ต ตะ เป็ น การย่ อ ยอาหารระดั บ ละเอี ย ด (เมตาบอลิ ซึ ม ) ตั บ หลั ง จากสะสมสารอาหารไว้ จะเริ่ ม แจกจ่ า ยสารอาหาร และพลั ง งานไปยั ง อวั ย วะต่ า งๆ และเป็ น ช่ ว ง ฮอร์โมนเมลาโทนิน ควบคุมระบบการทางานของภูมิคุ้มกันและระบบรักษาตัวเองได้ดีที่สุด (ควรปิดไฟในห้องให้ สนิทอย่ามีแสงสว่าง) 2-6 นาฬิกา กลับมาเป็นช่วงวาตะ ลมจะเพิ่มมากขึ้น ทาให้เกิดการเคลื่อนไหว ปลุกให้ตื่นจากการนอน เอกสำรอ้ำงอิง 1. “โรคบนดาวเคราะห์น้อย” บริษัท โกลเด้นไทม์ พริ้นติ้ง จากัด 2. “กินดี สุขภาพดี” ดร. ทวีทอง หงส์วิวัฒน์ สานักพิมพ์ แสงแดด 3. “ธรรมชาติช่วยชีวิต” Dr. Tom Wu ผู้แปล เรืองชัย รักศรีอักษร สานักพิมพ์ นานมีบุคส์ 4. "ตรีโทษ (Tri Dosha) หรือ วาตะ ปิตตะ กผะ" คืออะไร? (ออนไลน์) (เข้าถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2557 : http://www.yesspathailand.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8% A3%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%97/%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%82% E0%B8%97%E0%B8%A9-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0% B9%84%E0%B8%A3.html

4 |BLPD NEWSLETTER

ปี ที่ 7 ฉ บั บ ที่ 7 7 เ ดื อ น พ ฤ ษ ภ ำ ค ม

2558


เปิดประตูสู่อาเซียน: การปฏิบัตติ นในการเดินทางประเทศต่ างๆ ในอาเซียน เรียบเรียงโดย เบญจพร บริสุทธิ์

สิ่งที่ทุกคนควรทราบก่อนการเดินทางเข้าสู่ประเทศต่างๆในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปทางาน หรือ ท่องเที่ยวก็ตาม เราต้องพึงระลึกเสมอว่า เราเข้าไปสู่ประเทศที่มีชีวิตความเป็นอยู่ เชื้อชาติ ศาสนา และกฎหมายที่แตกต่าง กับเรา ดังนั้นจึงควรทาความเข้าใจและเรียนรู้ในสิ่งต่างๆเหล่านี้ให้พร้อมก่อนเดินทาง เพราะเรื่องบางอย่างมีกฏระเบียบที่ ประเทศไทยทาได้ แต่สาหรับในประเทศอื่นๆ แล้ว อาจจะทาให้เกิดความไม่เหมาะสม ซึ่งเราถูกมองด้วยสายตาที่ไม่พึงพอใจ ไม่เป็นมิตร และบางทีอาจถึงขั้นมีความผิดจนติดคุกได้ ถ้าเช่นนั้นขอให้มาลองดูตัวอย่างของบางประเทศที่มองดูว่าเป็นเรื่อง ธรรมดาปกติในการปฏิบัติสาหรับเรา แต่เป็นสิ่งที่เราต้องพึงระวังในการปฏิบัติตน เริ่มที่ประเทศมาเลเซีย ถึงแม้การทักทายในการจับมือจะเป็นสิ่งปฏิบัติในธรรมเนียมสากลก็ตามไม่ว่าจะเป็นทั้งชาย และหญิง แต่สาหรับผู้หญิงมุสลิมบางคนแล้วอาจเลือกทักทายผู้มาเยือนที่เป็นผู้ชายด้วยการพยักหน้าเล็กน้อยและยิ้มเท่านั้น ดังนั้นถ้าผู้ชายที่ประสงค์จะทักทายในการพบปะกัน ควรให้ผู้หญิงเป็นผู้เริ่มจับมือทักทายก่อน นี่เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังและ สารวมให้มากขึ้น และสาหรับบางคนที่คุ้นชินชอบให้ทิปพนักงานในร้านอาหารและสถานที่ต่างๆ ที่เราไปใช้บริการเราไม่สามารถทา แบบนี้ได้ในประเทศอินโดนีเซีย เพราะประเทศนี้ถือว่าเงินที่ได้จากการใช้บริการคือสิ่งที่แลกเปลี่ยนแล้ว ดังนั้นไม่จาเป็นที่ เราจะต้องให้เงินพิเศษเพิ่มเติมอีก และสิ่งสาคัญสาหรับการปฏิสัมพันธ์กับคนของประเทศนี้ เช่น กรณีการรับ -ส่งของ ควรใช้ มือขวาแทนมือซ้าย ไม่ควรใช้นิ้วชี้ เพราะถือว่าไม่สุภาพและไม่ให้เกียรติ รวมทั้งการลูบศีรษะเด็กน้อยที่เราชอบทากันด้วย ความเอ็นดู สาหรับชาวอินโดนีเซียแล้วถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติกัน ส่วนใครบางคนที่ชอบเป็ นคนพบปะสังคม แต่มีนิสั ยส่ว นตัวที่ชอบมาสายหรือให้ ผู้อื่นรอ อาจจะรู้สึกดีเมื่อเข้า ประเทศฟิลิปปินส์เพราะสังคมวัฒนธรรมของผู้คนประเทศนี้ในการพบปะกัน ถือว่าการไปสายกว่าเวลา 30 นาที เป็นการ สุภาพและแสดงถึงการมีมารยาทมากกว่าการไปตรงตามเวลานัดหมาย เพื่อให้เจ้าภาพได้มีเวลาเตรียมพร้อม แต่ขอให้จาไว้ ว่าวัฒนธรรมแบบนี้ใช้ได้แค่ประเทศฟิลิปปินส์ประเทศเดียวเท่านั้น ที่กล่าวทั้งหมดนี้เป็นเพียงสองสามตัวอย่างของการปฏิบัติตนในประเทศต่างๆ อาเซียน เรายังมีข้อที่ควรระวังของ การปฏิบัติตนมากมายที่ต้องศึกษาอย่างใฝ่รู้ จะได้ปฏิบัติตัวให้ถูกต้องตามวัฒนธรรมและสังคมของประเทศนั้นๆ เพื่อทาให้ การเดินทางไปทางาน ท่องเที่ยวของเราเป็นไปอย่างราบรื่นและมีความสุขได้ตลอดของเดินทางในช่วงนั้น

BLPD NEWSLETTER

ปี ที่ 7 ฉ บั บ ที่ 7 7 เ ดื อ น พ ฤ ษ ภ ำ ค ม

2558 | 5


BLPD Article : มำรู้จักวิธีปฐมพยำบำล Hyperventilation syndrome กันเถอะ! เรียบเรียงโดย วิภัทรา วงศ์พยัคฆ์

เข้าใกล้ ช่วงหน้ าร้ อนของประเทศไทยเข้ามาทุกที ด้ว ย อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นหลายคนอาจจะประสบเข้ากับปัญหาการเป็น ลมได้ แต่ทว่ามีอยู่หลายครั้งที่เกิดการเข้าใจผิดเกี่ยวกับการปฐม พยาบาลผู้ป่วยที่เป็นลม กับผู้ป่วยที่มีลักษณะอาการใกล้เคียงกับ การเป็นลม หากแต่มีอาการเกร็ง มือเท้าของผู้ป่วยจีบนิ้วเข้าหากัน ซึ่งก็คือ กลุ่มอาการหายใจเกิน (Hyperventilation syndrome) กลุ่มอาการหายใจเกิน (Hyperventilation syndrome) เกิดจากการหายใจมากเกินไป โดยอาจจะเกิดจากการหายใจตื้นๆ ถี่ๆ หรือ หายใจไม่ถี่มากแต่ลึก หรือทั้งหายใจถี่และลึกก็ได้ จนทา ให้เกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด และเกิดภาวะเลือดเป็น ด่างจากการหายใจ ซึ่งผลติดตามมาก็คือ เกิดการหดตัวของเส้น เลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่สมอง อีกทั้ง ฮีโมโกลบินยังจับตัวแน่นกับออกซิเจน ทาให้การปลดปล่อย ออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ที่เลือดไหลเวียนผ่านลดลง ส่งผลให้เกิด อาการเวียนศีรษะ รู้สึกตื้อทึบ มึนงง สับสน หน้ามืด จะเป็นลม ตา พร่ามัว หายใจขัด หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น และมือเท้าเย็น แน่นอนว่า อาการเหล่านี้มีลักษณะคล้ายกับอาการเป็นลมโดยปกติ และเมื่อ ผู้ป่วยเกิดอาการเหล่านี้ ความตกใจ และความกลัวจะยิ่งทาให้ หายใจหอบมากขึ้น ภาวะเลือดเป็นด่างสูงกว่าเก่า ยังผลให้ แคลเซียมอิออนซึ่งเป็นตัวออกฤทธิ์ในเลือดลดลง เกิดอาการเหน็บ ชาบริเวณริมฝีปาก ชาตามมือเท้า กล้ามเนื้อเกร็ง ต่อมานิ้วจะ เหยียดเกร็งถ้ามากจะมีอาการมือจีบในที่สุด เมื่อเกิดอาการเหล่ านี้ การปฐมพยาบาลจะต่างจากการ เป็นลมที่เน้นให้ได้รับอากาศถ่ายเทสะดวก แต่ผู้ปฐมพยาบาลต้อง ทาให้ผู้ป่วยหายใจได้น้อยลง ซึ่งอาจจะทาได้โดยวิธีดังต่อไปนี้ - การใช้ถุงกระดาษ หรือกระดาษทาเป็นรูปกรวย เปิดรูตรงปลายกรวยไว้ประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร - การคลุมโปงหายใจในผ้าห่ม ใช้หลักการเดียวกับการ ครอบถุงกระดาษ - การฝึกหายใจด้วยท้องโดยมุ่งความสนใจมาที่ท้อง ให้ ท้องโป่งออกเวลาหายใจเข้าท้องแฟบลงเวลาหายใจออก 6 |BLPD NEWSLETTER

- การกลั้นหายใจ นับ 1-4 ในใจ แล้วจึงหายใจออกทาซ้าๆ ไปเรื่อยๆ - การควบคุมลมหายใจด้วยการฝึกสมาธิ วิธีที่เสนอมาจะช่วยในเรื่องการควบคุมการหายใจไม่ให้ หายใจมากเกินไป ทาให้ร่างกายค่อยๆ สะสมคาร์บอนไดออกไซด์ ขึ้นมา ส่งผลให้อาการต่างๆค่อยๆหายไป ในบางครั้งถ้าผู้ป่วยไม่ สามารถควบคุมตนเองให้ หายใจน้อยๆได้ให้นาส่งแพทย์ แพทย์ อาจให้ยาคลายกังวลเพื่อให้จิตใจสงบลงและหายใจช้าลงเองได้

แหล่งที่มำ http://www.doctor.or.th/article/detail/3687 http://www.inf.ku.ac.th/article/nurse/480311/ https://sites.google.com/site/nuttun18661866/ kar-pen-lm

ปี ที่ 7 ฉ บั บ ที่ 7 7 เ ดื อ น พ ฤ ษ ภ ำ ค ม

2558


Q & A : การรับสมัครฝึกอบรมออนไลน์ เรียบเรียงโดย ปัญญา คาพยา

คำถำม หากระยะเวลาในการชาระค่าลงทะเบียนเกินที่กาหนด สามารถชาระค่าลงทะเบียนได้หรือไม่ คำตอบ ไม่สามารถชาระค่าลงทะเบียนได้ จะต้องทาการลงทะเบียนฝึกอบรมในหลักสูตรดังกล่าวใหม่อีกครั้ง และต้องชาระ ค่าลงทะเบียนภายใน 15 วัน นับจากวันที่ลงทะเบียนฝึกอบรม คำถำม หากในระบบสมัครฝึกอบรมออนไลน์จานวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมเต็ม ไม่สามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้ จะมีวิธีการ สมัครเพิ่มเติมได้หรือไม่ คำตอบ ผู้ที่ต้องการสมัครเข้ารับการฝึกอบรม จะต้องคอยตรวจสอบทางหน้าเว็บไซต์การลงทะเบียนออนไลน์ หากมีผู้สมัคร รายอื่นยกเลิกการเข้าอบรม บนเว็บไซต์จะปรากฏที่ว่างให้ผู้ที่ต้องการสมัครรายอื่นสามารถสมัครเรียนแทนที่ได้ ซึ่ง ทางผู้ที่ต้องการสมัครเข้ารับการฝึกอบรม สามารถดาเนินการสมัครออนไลน์ได้ ทั้งนี้ทางสานักฯ ขอสงวนสิทธิ์ไม่รับ สมัครทางโทรสารทุกกรณี คำถำม กรณีมีการพิมพ์ใบแจ้งหนี้ออกจากระบบมาแล้ว แต่ต้องการแก้ไขรายละเอียดในส่วนข้อมูลผู้สมัคร ข้อมูลใน ใบเสร็จรับเงินจะมีการเปลี่ยนแปลงให้หรือไม่ ต้องทาอย่างไร คำตอบ กรณีที่ 1. หากยังไม่ได้ชาระค่าลงทะเบียน มีวิธีการแก้ไขดังนี้ให้ผู้สมัครเข้าระบบ (Login) ใหม่อีกครั้ง เพื่อไปแก้ไข ข้อมูลภายในส่วนผู้สมัคร และต้องทาการยกเลิกใบแจ้งหนี้ใบเก่า แล้วลงทะเบียนหลักสูตรเดิมอีกครั้ง จากนั้นพิมพ์ใบ แจ้งหนี้ใบใหม่ เพื่อนาไปชาระค่าลงทะเบียน กรณีที่ 2. หากชาระค่าลงทะเบียนแล้ว จะแก้ไขที่ใบเสร็จรับเงิน โดยการเงินจะเป็นผู้เซ็นชื่อและประทับตรากรม วิทยาศาสตร์บริการให้เท่านั้น คำถำม ไม่สามารถพิมพ์ใบแจ้งหนี้ได้/ไม่แสดงผลหน้ารายละเอียดใบแจ้งหนี้ คำตอบ ผู้ใช้งานควรเปิดเว็บไซต์นี้ด้วยโปรแกรม IE version 8 ขึ้นไป และต้องเปิดสิทธิ์อนุญาตให้แสดงผล ป๊อบอัพ (Turn on Pop-Up) จึงจะแสดงผลหน้ารายละเอียดใบแจ้งหนี้

BLPD NEWSLETTER

ปี ที่ 7 ฉ บั บ ที่ 7 7 เ ดื อ น พ ฤ ษ ภ ำ ค ม 2 5 5 8

| 7


แนะนาหลักสูตร : New Course Coming this August 2015 เรียบเรียงโดย ดร. ปวีณา เครือนิล

New Course Coming this August 2015! If you want to improve your laboratory design to meet international standards and Be the showcase for the country, Come and register for B011 Designing and Remodeling for Safer Chemical Laboratories (English Version). This course is for laboratory managers, scientists or workers who are enthusiastic to make their laboratories a safe and happy place with the best possible design. The “B011 Designing and Remodeling for Safer Chemical Laboratories Course” (English Version) will be held at BLPD on 18-19 August 2015. The course objective is to enhance knowledge and understanding on designing for new construction and renovation of chemical laboratories in the aim to minimize risk from chemicals and increase safety for laboratory personnel, including the concern in our neighboring and environment. In addition, it will raise awareness in the relationship of laboratory design to the safety of a chemical laboratory. The course topics include; Essential Issues of Laboratory Design for Safety and Energy Saving; Definition of a Good Laboratory, 4 important things to obtain a Safe and Energy Saving Chemical Laboratory, Optimization of what we have Design Guidelines for Chemical Laboratories; Laboratory Hazards and Risk Reduction, Things to Consider when Designing a Chemical Laboratory Preliminary Hazard Analysis Strategies for Laboratory Remodeling to Improve Safety; Laboratory Arrangement, Laboratory Management Design Standards for Chemical Laboratories; The Importance of Standards, Standard Selection, Standards Regarding Chemical Laboratories Green Chemical Laboratories; “Green” Does Not Mean Only Energy Saving but also Environmental Sentimentals, Design and Selection of Materials and Equipment for Green Laboratories, Practices for Energy Saving in Chemical Laboratories Workshops: Assessment of Hazardous Conditions within Laboratories Including Their Remedial Actions For more information, please call +66 2201 7435, +66 2201 7449 or visit website http://blpd.dss.go.th.

8 |BLPD NEWSLETTER

ปี ที่ 7 ฉ บั บ ที่ 7 7 เ ดื อ น พ ฤ ษ ภ ำ ค ม 2 5 5 8


Science Update : งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับความเติบโต เรียบเรียงโดย สมบัติ คงวิทยา

การเปิ ดตลาด AEC เป็ นตลาดที่ใหญ่มาก นักลงทุน จากต่ า งประเทศพวกเขามี มุ ม มองที่ ก ว้ า งขวางกว่ า และมี ทางเลือกเยอะกว่า ซึ่งเป็นความท้าทายในด้านการลงทุนใน ประเทศไทย ว่ า การลงทุ น นั้ น ต้ อ งมี ค วามสมเหตุ ส มผล สมควรน่าลงทุนหรือไม่ เนื่องจากการลงทุนของต่างชาติจะ เป็นแรงขับเคลื่อนที่สร้างรายได้และสร้างเม็ดเงินพอ ๆ กับการ ส่งออกของประเทศ เมื่อกลับมามองนักลงทุนภายในประเทศ ไทยนั้นพบว่า ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศของตัวเอง โฟกัส ไปที่ ความสามารถของตนเองที่ จะดูแลตัวเองให้อยู่สืบต่อไป ได้ ผลิตสิ น ค้าอุป โภค บริ โ ภคออกสู่ตลาดแล้ ว ขายได้(อย่าง น้อยที่สุด ขายได้เท่าที่เคยขายได้) ตลาดมีการแข่งขันมากขึ้น จึงจาเป็นต้องทาการตลาด เพราะต่างชาติที่เขาเข้ามาลงทุน พวกเขามาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ มี มุมมองการตลาดและความรู้งานวิจัย ถ้าประเทศไทยสามารถ เปลี่ยน supply side(มาตรการที่สาคัญอย่างหนึ่งคือมาตรการ ทางภาษี โดยให้ สิ ท ธิพิเศษทางภาษีเพื่อ ให้ เกิดแรงจูงใจต่ อ หน่วยผลิตให้เพิ่มการลงทุน ซึ่งจะทาให้ potential national income เพิ่มขึ้น)ได้สูงก็มีโอกาสสูง เพราะ supply side เป็น เรื่องที่ใหญ่ การเจริญเติบโตของประเทศไทยจึงต้องอาศัยการ ป รั บ เ ป ลี่ ย น ก า ร พั ฒ น า ข อ ง supply side ใ ห้ เ กิ ด ประสิทธิภาพที่แท้จริง ดังนั้นนักลงทุนภายในประเทศไทยนี้ จะต้องสามารถสร้างความแตกต่างของการลงทุน สร้างและ เพิ่มมูลค่าจากการลงทุน ซึ่งทั้งสองอย่างนี้อาศัยความรู้และ ประสบการณ์ ใ นการท างานความเข้ ม แข็ ง ด้ า นความรู้ ใ น ปัจจุบันที่เป็นอุปสรรคในการขับเคลื่อนการลงทุนเชิงเศรษฐกิจ มีดังนี้ การสื่อสารระหว่างผู้ประกอบการเล็ก ๆ (นักลงทุน) กับนักวิชาการ เพราะนักลงทุนมองว่านักวิชาการไม่รู้และไม่ BLPD NEWSLETTER

เข้ าใจการทางานเชิ ง ปฏิ บั ติ ไม่ ส ามารถตอบโจทย์ข องการ ลงทุนได้ โจทย์ในข้อนี้คือ ทาอย่างไรถึงจะนาเอาประสบการณ์ ไปผนวกกับความรู้แล้ว สามารถทางานได้ ทัศนคติที่ตรงกัน ระหว่ า งนั ก ลงทุ น กั บ นั ก วิ ช าการ เพราะในมุ ม มองของ นักวิชาการมองเรื่องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการลงทุนว่าเป็น เพียงการให้คาแนะนา ให้คาปรึกษา แต่มุมมองของนักลงทุน ต้องการให้นักวิชาการมาทางานร่วมกันด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่ เพียงแค่ให้คาแนะนา ให้คาปรึกษา นโยบายและแผนวิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยี แ ละ นวัตกรรมแห่ งชาติฉบับปัจจุบันนี้ มีความเชื่อมโยงกับแผน ต่างๆ ได้แก่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผน ยุทธศาสตร์ระดับกระทรวง โดยได้ให้ความสาคัญกับประเด็น หลักที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศใน 10 ปี ข้างหน้า ได้แก่ สังคมและวิถีชีวิต สุขภาพ การกระจายความ เจริญ เศรษฐกิจและการค้า ภูมิรัฐศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน พลังงานยั่งยืน เกษตรอาหาร และการเปลี่ ย นแปลงด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยี แ ละ นวั ต กรรม รวมทั้ ง ผลการพั ฒ นาประเทศที่ ผ่ า นมา และขี ด ความสามารถในการแข่ ง ขั น ของประเทศไทยในเวที โ ลก แนวนโยบายและมาตรการของกระทรวงวิทยาศาสตร์ ถือว่า เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการในประเทศมี ความหวังและให้ความสาคัญต่อการทางานร่วมกัน เพื่อให้เกิด ความสามารถสร้างความแตกต่างของการลงทุน สร้างและ เพิ่ ม มู ล ค่ า จากการลงทุ น ที่ เ ป็ น เป้ า หมายของการพั ฒ นา ประเทศชาติโดยรวม เอกสารอ้างอิง นางศิริวรรณ ศิลป์สกุลสุข 2558, รายงานเข้าร่วมงานเสวนา CEO Innovation Forum 2015 “Driving R&D Investment to 1% of GDP through Public Private Partnership” วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2558 ณ ห้องแพ ลนนารีฮอล์3 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ปี ที่ 7 ฉ บั บ ที่ 7 7 เ ดื อ น พ ฤ ษ ภ ำ ค ม

2558

| 9


สานักพัฒนาศักยภาพ นักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 Phone: 0 2201 7425

ที่ปรึกษำ ดร. จันทร์เพ็ญ เมฆำอภิรักษ์ บรรณำธิกำร นำงสำวปัทมำ นพรัตน์ กองบรรณำธิกำร นำงชุติมำ วิไลพันธ์ นำงอำรีย์ คชฤทธิ์

Fax: 0 2201 7429 E-mail: blpd@dss.go.th

http://blpd.dss.go.th : http://www.e-learning.dss.go.th

โปรดส่งข้อคิดเห็น คำแนะนำหรือคำถำมที่ blpd@dss.go.th โทร. 02-2017425 โทรสำร 02-2017429 หำกต้องกำรยกเลิกกำรรับข่ำวสำร กรุณำแจ้งที่ blpd@dss.go.th ข้อมูลเพิ่มเติม http://blpd.dss.go.th/


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.