การออกแบบนิเทศศิลป์กับการสร้างแบรนด์

Page 36

ภาพที่ 9 แสดงการออกแบบอัตลักษณ์ของ บริษัท ITI โดย HeyDays เพื่อใช้ในจุดสัมผัส แบรนด์ต่างๆ

3. ออกแบบและพัฒนาคู่มือมาตรฐาน2 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ ออกแบบสื่อต่าง ๆ คู่มือมาตรฐานนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น Brand book, Visual Identity Guidlines, Graphic Identity Manual, Corporate Identity Manaul ส�ำหรับใช้ภายในองค์กร และผู้ผลิตรับช่วง (Supplier) เพื่อควบคุมให้งานออกแบบมีมาตรฐานเดียวกัน 4. วางแผนการเผยแพร่สู่สาธารณชน โดยเผยแพร่ภายในองค์กร ก่อนเพื่อสร้างการรับรู้และยอมรับ หากมีข้อเสนอแนะหรือปัญหาจะได้ท�ำ การปรับปรุงแก้ไขก่อนการเผยแพร่สู่สาธารณชนภายนอก 5. ก่อนที่จะน�ำเสนอสู่สาธารณชน  ควรตรวจสอบรายละเอียด ต่าง ๆ  ให้มีความถูกต้องด้วยความละเอียดรอบคอบ เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิด พลาดที่จะเกิดขึ้นในงานออกแบบ  การสะกดค�ำผิดเพียงเล็กน้อยในงานก็ สามารถสื่อถึงความไม่เป็นมืออาชีพ สร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อองค์กรได้ งานออกแบบอัตลักษณ์ที่ดี 1. สะท้อนความเป็นตัวตนของแบรนด์ได้  ทั้งในด้านคุณค่าและ บุคลิกภาพของแบรนด์ องค์ประกอบต่าง ๆ ของงานออกแบบจะต้องสื่อสาร ค�ำมั่นสัญญาที่แบรนด์มีต่อลูกค้า เช่น ความรวดเร็ว ความทันสมัย ใน ขั้นตอนการวิจัยจึงมีส่วนส�ำคัญที่จะท�ำให้ผู้ออกแบบได้ค�ำตอบว่า “สาร” ที่ จะสื่อออกไปคืออะไร รวมทั้ง “ไอเดีย” ที่ใช้ในการออกแบบสามารถที่จะ สื่อสารได้หรือไม่ 2 ดูรายละเอียดเนื้อหาในคู่มือมาตรฐานได้ในภาคผนวกท้ายเล่ม

34

ภาพที่ 10 ภาพคู่มือมาตรฐานอัตลักษณ์ แบรนด์ AGMA ออกแบบโดย Influence Design Associates Limited


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.