วันเล่าเรื่อง

Page 1




วันเล่าเรื่อง นิทรรศการเชิดชูเกียรติ รองศาสตราจารย์พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา ออกแบบปกและจัดวางรูปเล่ม: รองศาสตราจารย์อาวิน อินทรังษี ถ่ายภาพผลงาน: อาจารย์ ดร.ไพโรจน์ พิทยเมธี พิสูจน์อักษร: มุกดา จิตพรมมา ฟอนต์: ZaBing โดย ไพโรจน์ ธีระประภา และ DB Soda X โยย ดีบี พิมพ์ที่: บริษัท โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จ�ำกัด กุมภาพันธ์ 2561 จัดพิมพ์โดย: คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ. 2561 โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ห้ามคัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ท�ำซ�้ำ จัดพิมพ์ หรือกระท�ำอื่นใดโดยวิธีการใด ๆ ในรูปแบบใด ๆ ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้เพื่อเผยแพร่ในสื่อทุก ประเภท หรือเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ นอกจากจะได้รับอนุญาต Copyright © 2018 by Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University, Thailand. All rights reserved. No part of this publication may be reproduced, distributed, or transmitted in any form or by any means, including photocopying, recording, or other electronic or mechanical methods, without the prior written permission of the publisher.


นิทรรศการเชิดชูเกียรติ รองศาสตราจารย์พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา 7 มีนาคม - 8 เมษายน 2561 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ “ สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้เป็นเรื่องเล่า และข้าพเจ้าเป็นผู้เล่าเรื่อง ข้าพเจ้าจึงขออนุญาตเขียนเล่าทุกอย่างเป็นภาษาพูด ”


หญิงเก่ง รศ.พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา ผมขอแสดงความยินดีที่มหาวิทยาลัยศิลปากรได้อนุมัติปริญญาศิลปดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ให้แก่รองศาสตราจารย์พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา และได้ก�ำหนดจัดงานแสดงนิทรรศการผลงานเพื่อเชิดชูเกียรติ ระหว่าง วันที่ 7 มีนาคม - 8 เมษายน 2561 นี้ และความชื่นชมยินดีไม่เพียงแต่เพราะผม ได้รับเกียรติเชิญเป็นประธานเปิดงานนิทรรศการ หากแต่มีความยินดีที่รุ่นน้องร่วม สถาบันคนหนึ่งประสบความส�ำเร็จในชีวิต  ในการท�ำหน้าที่ใช้วิชาความรู้ที่เรียนมา จนได้เป็นครูบาอาจารย์และเป็นผู้บริหารในมหาวิทยาลัย โดยส่วนตัวผมรู้จัก  รศ. พรรณเพ็ญ  มาตั้งแต่ปีแรกที่  น.ส. พรรณเพ็ญ เป็นนักเรียนหญิงสอบเข้าเรียนปี 1 ของโรงเรียนศิลปศึกษา เตรียมมหาวิทยาลัย ศิลปากร แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม รุ่นที่ 7 เป็นรุ่นน้องผมหนึ่งรุ่น ในปีนั้น มีปรากฎการณ์ของโรงเรียนศิลปศึกษา กล่าวคือ นักเรียนปี 1 รุ่นที่ 6 สอบตกเกือบ ครึ่งชั้น จึงรับนักเรียนใหม่ได้เพียง 18 คน และ รศ. พรรณเพ็ญ เป็นเพียง 1 ใน 2 ของนักเรียนหญิงที่สอบเข้ามาได้ ด้วยจ�ำนวนนักเรียนศิลปะมีจ�ำนวนไม่มาก  เราจึงรู้จักและสนิทสนมกันทั้ง โรงเรียน และเราก็เรียกพี่เรียกน้องกันได้สนิทปากสนิทใจ ผมเรียก รศ.พรรณเพ็ญ ว่า ‘เปี๊ยก’ และ รศ.พรรณเพ็ญเรียกผมว่า ‘พี่ชวน’ ตลอดมา ไม่ว่าใครจะมีฐานะ ต�ำแหน่งอะไร


เมื่อจบเตรียมศิลปศึกษา รศ.พรรณเพ็ญ ไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยศิลปากร และไปเรียนปริญญาโทที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สร้างผลงานจนมีชื่อเสียง และ ได้รับทุนเรียนต่อในมหาวิทยาลัยจนจบการศึกษา  รศ.  พรรณเพ็ญ  ได้ใช้ความรู้ ประสบการณ์เป็นประโยชน์ยิ่งแก่นักศึกษาด้านมัณฑนศิลป์ รศ.พรรณเพ็ญ เป็นทั้ง อาจารย์ผู้สอนทฤษฎีในหลักสูตรและเป็นนักปฏิบัติที่มีผลงานปฏิบัติจริง แม้จะเกษียณ ราชการแล้ว แต่ประสบการณ์และความรู้มีคุณค่ายิ่งในการถ่ายทอดให้กับนักศึกษา รุ่นต่อ ๆ มา จึงมีความคิดเสมอว่า รศ.พรรณเพ็ญจะได้ใช้สมบัติล�้ำค่าคือ ความรู้และ ประสบการณ์ถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นต่อ ๆ ไป ผมจึงหวังว่าผลงานจากนิทรรศการใน ครั้งนี้จะมีคุณค่าไม่เพียงแสดงผลงานอันเป็นความรู้ความสามารถของ รศ. พรรณเพ็ญ เท่านั้น แต่ยังเป็นต�ำราเรียนส�ำหรับวิชาด้านมัณฑนศิลป์อีกด้วย

นายชวน หลีกภัย


สารจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร รองศาสตราจารย์พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา เริ่มรับราชการในต�ำแหน่งอาจารย์ ประจ�ำที่คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 และเกษียณอายุ ราชการในต�ำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ 9 เมื่อปี พ.ศ. 2545 ท่านเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์  และจัดท�ำหลักสูตรการออกแบบนิเทศศิลป์ขึ้นเป็น แห่งแรกของมหาวิทยาลัยไทย เปิดท�ำการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2519 นับเป็น หลักสูตรที่สองของคณะมัณฑนศิลป์ต่อจากสาขาตกแต่งภายใน ซึ่งปัจจุบันหลักสูตร การออกแบบนิเทศศิลป์เป็นที่นิยมเปิดสอนกันอย่างแพร่หลายทั้งในมหาวิทยาลัย ของรัฐและเอกชน ตลอดระยะเวลาเกือบ 30 ปีของการปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ผู้สอนด้านศิลปะ การออกแบบในคณะมัณฑนศิลป์  นอกจากท่านเป็นผู้รับผิดชอบสอนโดยตรง ในรายวิชาบังคับของภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์และอีกหลายรายวิชาในสาขานี้ แล้ว ท่านยังมีผลงานวิชาชีพทางการออกแบบตกแต่งภายใน และการจัดสวนในบริษัท เอกชนก่อนเข้ารับราชการ ท่านจึงได้รับการมอบหมายจากทางคณะมัณฑนศิลป์ให้ รับผิดชอบการจัดท�ำค�ำอธิบายรายวิชา และรับผิดชอบสอนรายวิชาพันธุ์ไม้เพื่อการ ตกแต่ง และรายวิชาการจัดสวนให้กับภาควิชาตกแต่งภายในอีกด้วย ท่านมีผลงาน สร้างสรรค์ในเชิงวิชาการและวิชาชีพทั้งทางด้านการออกแบบนิเทศศิลป์และการจัด สวนเป็นทีย่ อมรับของคณาจารย์เพือ่ นร่วมงาน ลูกศิษย์ในคณะมัณฑนศิลป์ คณะอืน่ ๆ ในมหาวิทยาลัยศิลปากร หน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน และบุคคลทั่วไป ด้านการบริหาร ท่านเคยด�ำรงต�ำแหน่งหัวหน้าภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณบดี คณะมัณฑนศิลป์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่ม ก่อตั้งสมาคมนักศึกษาเก่าคณะมัณฑนศิลป์ และได้เคยด�ำรงต�ำแหน่งนายกสมาคม รวมสองสมัย


นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ผลิตบัณฑิตให้กับมหาวิทยาลัยศิลปากร แล้ว ท่านได้อุทิศตนเพื่อก่อประโยชน์ต่อสังคมมาโดยตลอด อาทิ หนังสือเผยแพร่ ผลงานวิชาการด้านการจัดสวนและพรรณไม้เพื่อการตกแต่งหลายเล่มที่มีการตีพิมพ์ ซ�้ำหลายครั้ง การรับเชิญเป็นวิทยากร และอาจารย์พิเศษในหลายสถาบัน เป็นคณะ กรรมการพิจารณาขอเปิดด�ำเนินการหลักสูตรและรับรองมาตรฐานของสถาบัน การศึกษาเอกชนให้กับทบวงมหาวิทยาลัย  เป็นประธานคณะกรรมการด�ำเนินงาน จัดการประกวดโฆษณายอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย  ซึ่งเป็นความร่วมมือกันจัดงาน ระหว่าง 3 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  หัวหน้าโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการและจัดอบรมเพื่อ พัฒนางานศิลปหัตถกรรมให้กับศูนย์ศิลปาชีพบางไทร  ประธานโครงการจัดอบรม เชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบสินค้าที่ระลึกและตกแต่งร้านค้าให้กับการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย  เป็นประธานโครงการออกแบบและพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรม ชนบทเพื่อการท่องเที่ยวให้กับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  วิทยากรฝึกอบรมปรับปรุง ภู มิ ทั ศ น์ แ ละตกแต่ ง ร้ า นค้ า ของที่ ร ะลึ ก อุ ท ยานแห่ ง ชาติ ทั่ ว ประเทศให้ กั บ กรม ป่าไม้  ผลงานล่าสุดของท่านคือเป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดสวนสมุนไพรเพื่อการ เรียนรู้โรงเรียนสวนป่าเขาชะอางค์ อ�ำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี ในนามของมหาวิทยาลัยศิลปากร ขอแสดงความยินดีที่รองศาสตราจารย์ พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา ได้รวบรวมผลงานที่เป็นเกียรติประวัติจากความมุ่งมั่นที่จะก่อ ประโยชน์ด้านการออกแบบต่อวงการศึกษาและสังคมของประเทศไทย มาจัดแสดง ให้สาธารณชนได้ชื่นชม และเป็นแรงบันดาลใจให้นักออกแบบรุ่นใหม่สามารถยึดถือ เป็นแบบอย่างต่อไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย สุทธะนันท์


สารจากคณบดีคณะมัณฑนศิลป์ สิ่งที่เป็นมงคลในชีวิตที่ผมระลึกถึงอยู่เสมอคือพระคุณของรองศาสตราจารย์ พรรณเพ็ญ  ฉายปรีชา  ผู้ซึ่งมอบโอกาสให้ผมได้ก้าวเข้ามาสู่ร่มชายคาของคณะ มัณฑนศิลป์ในฐานะอาจารย์ ด้วยคุณวุฒิที่ไม่ได้จบการศึกษามาทางด้านการออกแบบ โดยตรง  แต่ด้วยวิสัยทัศน์ของท่านขณะด�ำรงต�ำแหน่งหัวหน้าภาควิชาออกแบบ นิเทศศิลป์ในขณะนั้นนั่นเองที่ต้องการจะให้นักศึกษาของภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ ได้เรียนรู้ถึงคุณลักษณะของสื่อโสตทัศนูปกรณ์และสื่อภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบ ของวิดีโอซึ่งจัดได้ว่าเป็นสื่อใหม่ในช่วงเวลานั้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการออกแบบของ นักศึกษาให้ครอบคลุมสื่อทุกประเภท ผมจึงได้รับโอกาสที่ดียิ่งนี้ คุณูปการของท่านรองศาสตราจารย์พรรณเพ็ญ  ฉายปรีชา  ต่อคณะ มัณฑนศิลป์ตลอดระยะเวลา 16 ปีที่ผมได้มีโอกาสรับรู้และเรียนรู้จากท่านในหลาย ๆ เรื่องที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น ด้านการสอนและการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย มี การริเริ่มเปิดสอนรายวิชาใหม่ ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการประกอบวิชาชีพของนักศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม อันได้แก่ รายวิชาการเขียนบทความและ บทโฆษณา และรายวิชาการน�ำเสนอผลงาน ให้กับหลักสูตรของภาควิชาออกแบบ นิเทศศิลป์ รายวิชาการจัดสวน และรายวิชาพันธุ์ไม้เพื่อการตกแต่งให้กับหลักสูตร การออกแบบตกแต่งภายใน นอกจากนี้ท่านยังได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษ และผู้ ร่างและวิพากษ์หลักสูตรด้านการออกแบบให้กับสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและ เอกชนอีกด้วย ด้านการบริการวิชาการต่อสังคม และท�ำนุบ�ำรุงศิลปะวัฒนธรรม ท่านเป็นผู้ผลักดันให้คณะมัณฑนศิลป์ได้เข้าเป็นเจ้าภาพร่วมกับ 3 สถาบัน คือ คณะ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ด�ำเนินงาน จัดการประกวดโฆษณายอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย (TACT Awards) ขึ้นเป็นประจ�ำ


ทุกปี และท่านเป็นผู้ริเริ่มจัดการประกวดผลงานการออกแบบระดับชาติ ครั้งที่ 1 ในงาน มัณฑนศิลป์ 27 ที่คณะมัณฑนศิลป์มีการจัดแสดงผลงานสร้างสรรค์ของ ทุกภาควิชาออกเผยแพร่สู่สาธารณชนภายนอกสถาบันเป็นครั้งแรก ณ สวนอัมพร โดยท่านอดีตคณบดี อาจารย์จักร ศิริพานิช ครั้นเมื่อรองศาสตราจารย์พรรณเพ็ญ ฉายปรีชาขึ้นด�ำรงต�ำแหน่งคณบดีคณะมัณฑนศิลป์ก็มีนโยบายขยายขอบเขตการ บริการวิชาการ และท�ำนุบ�ำรุงศิลปะวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการ ออกแบบสู่สังคมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะกับองค์กรภายนอกที่มีนัยส�ำคัญ อาทิเช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ทบวงมหาวิทยาลัย และองค์กรในระดับจังหวัดอีกหลายหน่วยงาน ด้วยปรัชญาการท�ำงานที่มุ่งมั่นอุทิศตนให้กับงานในหน้าที่รับผิดชอบตาม พันธกิจของอาจารย์ในสังกัดมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง  ทุกสิ่งที่ท่านตัดสินใจลงมือ ท�ำแล้วจะใส่ใจอย่างเต็มความสามารถ  และต้องท�ำให้ดีที่สุด  ท่านจึงได้รับการ เสนอชื่อจากสภามหาวิทยาลัยศิลปากรเข้ารับพระราชทานปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ ประจ�ำปีการศึกษา 2559 เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแก่ท่านรองศาสตราจารย์พรรณเพ็ญ  ฉายปรีชา คณะมัณฑนศิลป์จึงมีความภาคภูมิใจจัดนิทรรศการแสดงงานในครั้งนี้ให้แก่ท่าน ซึ่งเป็นการรวบรวมสิ่งดีดีจากประสบการณ์ตลอดชีวิตการท�ำงานของท่านในคณะ มัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และผลงานอื่น ๆ ในปัจุบันของท่าน ออกเผยแพร่ ให้สาธารณชนได้ชื่นชม

อาจารย์ ดร.ธนาทร เจียรกุล


สารจากอดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผมโชคดีที่ได้มีโอกาสรู้จักกับสุภาพสตรีแข็งแกร่งที่ชื่อพรรณเพ็ญ ฉายปรีชา เมื่อครั้งผมยังท�ำงานอยู่ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ตั้งแต่สุภาพสตรีท่าน นี้ยังด�ำรงต�ำแหน่งหัวหน้าภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร ดูเหมือนจะประมาณปี พ.ศ. 2526 จนท่านผู้นี้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณบดีคณะ มัณฑนศิลป์ และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัยศิลปากรในปีต่อ ๆ มา ใน ระยะนั้น ททท. มีหน้าที่ความรับผิดชอบส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศและ นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางท่องเที่ยวกันทั่วประเทศ จึงจ�ำเป็นต้องแสวงหาจุดเด่นของ แต่ละสถานที่ในท้องถิ่นเพื่อน�ำมาใช้เป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวซึ่งนอกจากธรรมชาติ อันสวยงามและสถานที่ทางโบราณคดีประวัติศาสตร์และศาสนา  ก็หนีไม่พ้นเรื่องของ ภูมิปัญญาท้องถิ่นปราชญ์ชุมชน อันเป็นต้นแบบของชาวบ้านที่สั่งสมกันมายาวนานเป็น ของแท้ดั้งเดิม เคล้าด้วยมนต์เสน่ห์แทรกตัวอยู่กับชุมชนจนเป็นวิถีชีวิตประจ�ำวัน สุดแต่ ว่าจะมีใครสังเกตเห็นสัมผัสได้ หรืออย่างน้อยก็รู้สึกได้ในสุนทรียภาพของสิ่งซึ่งซ่อน เร้นอยู่นั้น เรื่องอย่างนี้บางทีเราไม่ได้รับการฝึกฝนมา เราก็อาจมองผ่านไปหรืออาจ หยิบมาใช้บ้างอย่างฉาบฉวยแต่อาจจะไม่รู้หรือเข้าใจคุณค่าอย่างแท้จริงของสรรพสิ่ง นั้นเลยก็ว่าได้ ที่ ททท. มีศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศิลปากรอยู่หลายคน และนี่ก็ช่วยเป็นสะพาน ให้ ททท. สามารถน�ำตนเองเชื่อมโยงไปสู่ผู้รู้ที่เหนือกว่าหรือดีกว่าเรา อย่างเช่น คณะ มัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผมจ�ำได้แม่นย�ำว่า ท่านคณบดีในระยะนั้นก็คือท่าน อาจารย์จักร  ศิริพานิช  ท่านไม่รีรอเลยที่จะหยิบยื่นความร่วมมือช่วยเหลือให้แก่เรา ด้วยการระดมสรรพก�ำลังของนักวิชาการหลากหลายมิติหลายท่านเข้ามาร่วมด�ำเนิน งาน ผมยังจ�ำท่านทั้งหลายได้อย่างมิรู้ลืม และหนึ่งในนั้นก็คืออาจารย์พรรณเพ็ญ ฉาย ปรีชาสุภาพสตรีที่ผมก�ำลังเขียนถึง นับเป็นองคาพยพที่เหนียวแน่นระหว่าง ททท. และ มหาวิทยาลัยศิลปากรตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และเนื่องจากอาจารย์พรรณเพ็ญฯ ลงสนาม กับเราบ่อยครั้งผมก็เลยฉวยโอกาสเกาะติดอาจารย์พรรณเพ็ญฯ  โดยไม่ยอมปล่อย ตั้งแตบัดนั้นจนกระทั้งบัดนี้


ผมเห็นความตั้งใจดี ความพยายามและความขยันขันแข็งของอาจารย์พรรณเพ็ญฯ ที่มาช่วยผลักดันชี้น�ำงานสร้างสรรค์ นานาประการให้แก่ ททท. ในการท�ำงานร่วมกับชาวบ้านหลายต่อหลายปีติดต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบหรือพัฒนารูปแบบสินค้า ของที่ระลึกทั้งทางภาคเหนือและภาคใต้หลายจังหวัด  การให้ความช่วยเหลือแนะน�ำในการจัดภูมิทัศน์แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท อ�ำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา หรือช่วยชี้แนะแนวทางการอนุรักษ์บ้านโบราณที่อ�ำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก และท่ามกลางการ เดินทางที่แสนยากล�ำบาก ใครจะรู้บ้างว่าอาจารย์พรรณเพ็ญฯ น�ำใครต่อใครหลายคณะไปเยี่ยมชาวบ้านอ�ำเภออุ้มผาง มาแล้วไม่ น้อยกว่า 20 ครั้ง หมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว เช่น ที่บ้านขาม อ�ำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านยางทอง อ�ำเภอ โพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง บ้านนาตาโพ อ�ำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี บ้านทุ่งหลวงและบ้านนาต้นจั่น อ�ำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย บ้านโพธิ์กอง อ�ำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น ก็ล้วนแล้วแต่ผ่านการสัมผัสของอาจารย์พรรณเพ็ญฯมาแล้วทั้งนั้น ผมเคยได้รับเกียรติเชิญให้ไปชมงาน “นิทรรศการภู่กันเก่า” เมื่อปลายปี 2560 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลป หรือที่ เรียกกันว่าหอศิลปเจ้าฟ้า เลยพึ่งทราบว่าอาจารย์พรรณเพ็ญฯ นอกจากจะมีผลงานวรรณกรรมและงานออกแบบสร้างสรรค์มากมาย เช่น เขียนหนังสือเรื่องการจัดสวน หนังสือพรรณไม้เพื่อการตกแต่ง หนังสือท่องสวนโลกสร้างสวนบ้าน และบทความทั้งในหนังสือ และบทความทางวิชาการแล้ว ยังเป็นศิลปินที่มีผลงานจิตรกรรมบนปลายพู่กันที่ค่อนข้างเฉียบขาด มากด้วยอารมณ์และความรู้สึก ยากทืั้จะคาดเดาได้ว่าจินตนาการของศิลปินผู้เขียนมีอยู่อย่างไร  ผมสังเกตเห็นว่ามุมมองของอาจารย์พรรณเพ็ญฯ  แตกต่างจาก สายตาของบุคคลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการมองตรง มองข้าง มองจากบนลงสู่ล่าง หรือมองจากล่างไปสู่บน ความเคลื่อนไหวของสรรพสิ่ง แสงเสียงและสีแห่งธรรมชาติ ดูเหมือนอาจารย์พรรณเพ็ญฯ จะสามารถเก็บอารมณ์และสะท้อนจิตวิญญาณของภาพที่ปรากฏออก มาได้อย่างหมดจดงดงาม ทั้งที่คาดเดาได้หรือไม่มีทางจะคาดเดาได้ งาน ”วันเล่าเรื่อง” ที่จัดขึ้น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลป (หอศิลปเจ้าฟ้า) ระหว่าง 7 มีนาคม - 8 เมษายน พ.ศ. 2561 เป็นงานนิทรรศการที่จัดขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติท่านรองศาสตราจารย์พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา ซึ่งจะมีผลงานที่ท่านคัดเลือกน�ำ มาจัดแสดงหลายประเภท ทั้งงานภาพพิมพ์ (กราฟฟิกอาร์ต) งานจิตรกรรม งานออกแบบจัดสวน งานภาพถ่าย และงานที่เกี่ยวกับ หนังสือที่ท่านเขียนไว้หลายเล่ม ท่านอาจารย์คงจะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับภูมิหลังหรือที่มาที่ไปของผลงานของท่านด้วยตนเองอย่างแจ่ม กระจ่างและเราคงไม่ต้องคาดเดาอะไรต่อมิอะไรให้เคลือบแคลงสงสัยอีกต่อไป ขอแสดงความชื่นชมยินดีในผลงานที่มีคุณค่าของอาจารย์พรรณเพ็ญฯ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และที่จะมีต่อ ๆ ไปในอนาคต และขอแสดงความยินดีอย่างยิ่งต่อเกียรติศักดิ์ทิี่ท่านได้รับจากมหาวิทยาลัยศิลปากร  ที่ได้ประสาทปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์ สาขานิเทศศิลป์ ให้แก่ท่านเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 จากใจ...และจากความทรงจ�ำ ของอดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

นายเสรี วังส์ไพจิตร



สารจากรองศาสตราจารย์พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา จากที่คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เสนอชื่อข้าพเจ้าให้สภามหาวิทยาลัย พิจารณาอนุมัติดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ ประจ�ำปีการศึกษา 2558 และได้รับพระราชทานปริญญาบัตรไปแล้วเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2559 บัดนี้ คณะได้จัดให้มีงานนิทรรศการเชิดชูเกียรติให้แก่ข้าพเจ้า เพื่อข้าพเจ้าจะได้น�ำผลงานทางศิลปะและ การออกแบบที่ผ่านมาเผยแพร่ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษาของประเทศ อันประกอบด้วย นักเรียน นิสิต นักศึกษาและ ประชาชนทั่วไป  ได้มีโอกาสเรียนรู้หรือต่อยอดองค์ความรู้และประสบการณ์  ข้าพเจ้าก็เห็นชอบและยินดีที่จะเผยแพร่ผล งานที่ได้ท�ำมาบางส่วน เพื่อเป็นการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านมาให้ทุกท่านได้รับทราบตลอดช่วงชีวิตของข้าพเจ้า ตั้งแต่เด็ก จนถึงปัจจุบันนี้ นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ยาวนาน ข้าพเจ้าได้เดินทางผ่านวันเวลาและวัยมาหลายช่วงชีวิต วัยเด็กคือวัยที่ต้องเรียนรู้ พอโตมาหน่อยก็ต้องเป็นวัยที่ต้องศึกษาหาความรู้  เพื่อจะได้เป็นผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบต่อตนเองและสังคมได้  นั่นคือวัยท�ำงาน จนมาถึงวัยเกษียณอายุ ที่เป็นช่วงเวลาที่ไม่ต้องไปดิ้นรนต่อสู้ จะเป็นเวลาที่เราได้พัก เป็นเวลาที่เราเลือกเองได้ ไม่ว่าจะท�ำ อะไรก็ตาม ดังนั้น เวลานี้น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ควรเล่าเรื่อง เล่าประสบการณ์ที่ผ่านมามากกว่า ข้าพเจ้าจึงขอใช้ชื่อของงาน วันนี้ว่า “วันเล่าเรื่อง” ถ้าเราจะเล่าเรื่องแค่ค�ำพูดอาจจะไม่ชัดเจนพอเท่ากับการได้เห็นภาพด้วย ข้าพเจ้าจึงได้น�ำผลงานที่ ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเท่าที่เห็นสมควรและเหมาะสมกับสถานที่ มาแสดงหรือเล่าให้ทุกท่านได้ทราบและอาจน�ำไปใช้ประโยชน์ ได้ ผลงานที่น�ำมาแสดงแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ งานภาพพิมพ์ งานจิตรกรรม งานออกแบบจัดสวน งานถ่ายภาพ และงานเขียน หนังสือ งานแต่ละประเภทท�ำในช่วงเวลาที่ต่างกัน งานภาพพิมพ์จะเป็นช่วงปี 2514 - 2516 สมัยที่ข้าพเจ้าเรียนปริญญาโท อยู่ที่อเมริกา งานจิตรกรรมท�ำในช่วงปี 2557 - ปัจจุบัน งานออกแบบจัดสวนตั้งแต่ปี 2517 - ปัจจุบัน แต่ข้าพเจ้าน�ำมาแสดง จะเป็นผลงานในช่วง 20 ปีหลัง 2540 - 2560 ส�ำหรับงานถ่ายภาพข้าพเจ้าเริ่มถ่ายภาพอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2507 จนถึงทุกวันนี้ และข้าพเจ้าก็น�ำมาแสดงเฉพาะผลงานในช่วง 20 ปีหลังเช่นกัน ส่วนงานเขียนหนังสือก็มีตั้งแต่ปี 2537 - 2557 อย่างที่เรียนให้ทราบว่า ผลงานของข้าพเจ้าที่น�ำมา อาจหลากหลายกาลเวลา จึงมีผลงานในยุคแรก ๆ เช่นงาน Graphic หรือภาพพิมพ์ที่จะมีน้อยและอาจจะมีการช�ำรุดและเสียหายบ้าง แต่จ�ำเป็นต้องน�ำมาประกอบการเล่าเรื่องก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย แต่หวังว่าผลงานเหล่านี้คงจะพอเล่าเรื่องราวต่าง ๆ และเกิดประโยชน์แก่การศึกษาทั้งนักเรียน นิสิต นักศึกษาและ ประชาชนที่สนใจทั่วไปได้ สุดท้ายนี้  ก็ต้องขอขอบคุณคณะมัณฑนศิลป์และทุกก�ำลังใจจากทุกท่านทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมและสนับสนุนในการจัด นิทรรศการครั้งนี้ “วันเล่าเรื่อง”

พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา


เรื่องของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเกิดมาในครอบครัวที่มีคุณแม่ คุณป้า และคุณลุงเป็นครู คุณแม่ นอกจากเป็นครูแล้วยังก่อตั้งโรงเรียนเล็ก ๆ ที่รับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียน รัฐบาล ทั้งบริหาร ทั้งสอนเอง โดยมีคุณป้าที่เป็นพี่สาวช่วยสอนด้วย ส�ำหรับคุณลุง ตั้งแต่ข้าพเจ้าจ�ำความได้ ก็เห็นคุณลุงเดินสายเป็นครูใหญ่หลายต่อหลายโรงเรียน ตามต�ำแหน่งที่สูงขึ้น  จนท้ายสุดก่อนเกษียณอายุราชการ  ก็ไปเป็นผู้บริหารใน กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ข้าพเจ้าไม่ได้มีโอกาสศึกษาในโรงเรียนของเราเอง แต่พี่สาวคนเดียวของ ข้าพเจ้าที่มีอายุห่างกันเกือบ 9 ปี ยังโชคดีที่มีโอกาสได้เรียน นั่นเป็นเพราะหลัง จากที่ข้าพเจ้าเกิดไม่นานคุณแม่ก็เริ่มป่วย และไม่สามารถบริหารโรงเรียนได้ เลย ต้องหยุดด�ำเนินการ และคุณแม่ต้องจากข้าพเจ้าไปตั้งแต่ข้าพเจ้าอายุเพียง 3 ขวบ ทิ้งให้ข้าพเจ้าต้องอยู่กับคุณพ่อ ซึ่งเป็นพนักงานอยู่ที่กรมรถไฟ กับพี่สาวที่อายุ 12 ขวบ ข้าพเจ้านับว่ายังเล็กอยู่มากยากที่คุณพ่อจะดูแลเองได้ เพราะยังมีพี่สาวที่ต้อง ดูแลอีกคน ซึ่งก็ยังเป็นเด็กเหมือนกันและคุณพ่อก็ต้องไปท�ำงานทุกวัน ข้าพเจ้าจึง ต้องแยกบ้านมาอยู่ในความดูแลของคุณป้า  แต่ครอบครัวเราไม่ได้อยู่ตามล�ำพัง เพราะทางพี่น้องของคุณแม่ ยังมีลุงมีป้าอีกหลายคน เราจึงมีบ้าน 4-5 หลัง ปลูก อยู่ในรั้วเดียวกัน เด็ก ๆ จะเติบโตมาเป็นรุ่น ๆ ตามล�ำดับ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงมีพี่ ป้า น้า อา และยังมีเพื่อนเล่นในวัยเดียวกัน ความอบอุ่นที่ได้รับจากพี่ ป้า น้า อา ท�ำให้ ข้าพเจ้าไม่ได้รู้สึกถึงความเป็นเด็กก�ำพร้าที่แม่ต้องจากไปในวัยเด็กมากนัก


ข้าพเจ้าเริ่มเข้าเรียนตั้งแต่อายุ 4 ขวบ ที่โรงเรียนอนุบาลบ้านนายตลับ จากนั้นก็มาเข้าเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอภิชาต  และสตรีวุฒิ ศึกษา ตามล�ำดับ ข้าพเจ้าเรียนอยู่ในระดับปานกลางขึ้นไป แต่มีวิชาหนึ่งที่ข้าพเจ้า เรียนเก่งและท�ำคะแนนได้ดีที่สุดในห้อง คือวิชาวาดเขียน แต่การที่วิชาวาดเขียน เป็นวิชาที่ข้าพเจ้ารักที่สุด แต่ก็เป็นต้นเหตุให้ข้าพเจ้าถูกดุ และโดนท�ำโทษบ่อยครั้ง เมื่อเวลาที่คุณป้าตรวจเช็คสมุดจดงานและการบ้านเพราะถ้าสมุดจดงานมีหน้าไหน เหลือพื้นที่ว่าง โดยเฉพาะตอนท้าย ๆ บท ก็มักจะถูกแทนที่ด้วยรูปการ์ตูน สิงห์สา ราสัตว์ ต้นไม้ดอกไม้ไปตามเรื่อง ผู้ใหญ่ก็คงคิดว่าเราชอบท�ำสมุดสกปรกเลอะเทอะ แต่เด็กอย่างเรามีความสุขและสนุกจะตายไป เลยถูกท�ำโทษแล้วไม่รู้จักจ�ำ และนั่น ก็คือการเริ่มต้นของเส้นทางเดินให้ข้าพเจ้าก้าวเข้ามาสู่ในเส้นทางศิลปะ  แต่ก็ยัง เป็นโชคดีของข้าพเจ้า เพราะถึงแม้คุณป้าจะดูเป็นคนเข้มงวดกวดขัน และละเอียด ลออกับความเป็นอยู่และการเล่าเรียนของข้าพเจ้า แต่กลับให้อิสระในการตัดสินใจ เมื่อถึงเวลาที่ต้องศึกษาต่อเมื่อจบมัธยมศึกษา ตอนนั้นข้าพเจ้าสอบติดถึง 3 สถาบัน แต่ข้าพเจ้าเองก็เลือกเรียนที่โรงเรียนศิลปศึกษา  (ต่อมาก็คือโรงเรียนช่างศิลป์ วิทยาลัยช่างศิลป์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ในปัจจุบัน) ตอนนั้นโรงเรียนศิลป ศึกษาเปรียบเสมือนโรงเรียนเตรียมของมหาวิทยาลัยศิลปากร ถึงแม้จะมีหลักสูตร 3 ปี แล้วได้วุฒิ ปวช. แต่ถ้าเรียนเพียง 2 ปี ก็สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัย ศิลปากรได้ เมื่อข้าพเจ้าก้าวเข้าไปเรียนในเส้นทางของศิลปะอย่างจริงจัง สิ่งแรกก็คือ เราต้องครอบครู และครูที่ครอบให้พวกเราในตอนนั้นคือ ท่านอาจารย์เลิศ พ่วง พระเดช ผู้ที่สอนศิลปะลวดลายไทย ที่นี่ข้าพเจ้าได้พบการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญใน การเรียน จากที่เคยเก่งวิชาศิลปะที่สุดในห้องจากโรงเรียนเดิม และวิชาสามัญอยู่ ในระดับปานกลางขึ้นไป กลายเป็นว่าวิชาสามัญของข้าพเจ้าสูงเป็นอันดับต้น ๆ และ วิชาศิลปะตกลงมาอยู่กลางแถว วิชาศิลปะหรือวาดเขียนที่เราเคยเรียน แตกแขนง ไปอีกมากมาย เช่น วิชาวาดเส้น จิตรกรรม ประติมากรรม ลายไทย สถาปัตยกรรม ไทย โปรเจคชั่น และประวัติศาสตร์ศิลป์ เป็นต้น คณาจารย์ที่สอนความรู้ทางศิลปะ ให้กับพวกเรา ล้วนเป็นศิลปินที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญทางศิลปะ ส่วนรายวิชา สามัญเราก็ได้คณะอาจารย์จากโรงเรียนนายร้อย จปร. มาสอนให้ ภายหลังก็มี อาจารย์ล้วน และอาจารย์สุพจน์ มาสอนเพิ่มอีก 2 ท่าน


2 ปี ในโรงเรียนศิลปศึกษา ข้าพเจ้าได้รับความรู้ทางศิลปะและวิชาการ เพิ่มขึ้นอีกมาก แต่ที่ส�ำคัญที่สุดคือเราได้รู้จักตัวของเราเอง ว่าแท้จริงแล้ว เรามี ความชอบ ความถนัด และความสามารถทางไหนแน่ ข้าพเจ้าชอบคิดชอบท�ำในสิ่ง แปลก ๆ ใหม่ ๆ ชอบคิดปรับ คิดเพิ่มในสิ่งที่เห็นให้ดูดีขึ้นหรือแปลกออกไป เรา น่าจะเป็นนักออกแบบมากกว่าที่จะเป็นศิลปิน ดังนั้นเมื่อเรียนจบในชั้นปีที่ 2 จาก โรงเรียนศิลปศึกษาแล้ว จึงเลือกสอบเข้าที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ในขณะนั้น มหาวิทยาลัยศิลปากร มีเพียง 4 คณะวิชาเท่านั้น คือคณะจิตรกรรม ประติมากรรม คณะสถาปัตยกรรมไทย คณะโบราณคดี และคณะมัณฑนศิลป์ ข้าพเจ้าเลือกสอบ เข้าคณะมัณฑนศิลป์ ในปี 2503 ซึ่งเป็นนักศึกษารุ่นที่ 5 ของคณะฯ ในตอนนั้นคณะ มัณฑนศิลป์ มีสาขาวิชาเดียวคือออกแบบตกแต่งภายใน หลักสูตร 4 ปี จบแล้วก็จะ ประกอบวิชาชีพเป็นมัณฑนากร และที่นี่เราก็ต้องครอบครูเป็นครั้งที่สอง ครั้งนี้ท่าน อาจารย์หลวงวิศาลศิลปกรรมเป็นผู้ครอบครูให้กับพวกเรา จากรายวิชาพื้นฐานทางศิลปะ ที่เราได้เรียนจากโรงเรียนศิลปศึกษาคราวนี้ ขยายรายวิชาออกไปอีกมาก ตามสายวิชาชีพที่เราเลือกเรียน ตอนนี้วิชาหลักหรือ วิชาเอกของเราคือออกแบบตกแต่งภายใน ก็จะมีวิชาตกแต่งภายในหรือ Interior Design เรียนทุกชั้นปี จากง่ายไปจนยากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปี 4 และก็ยังมีวิชาโทซึ่ง เป็นวิชาประกอบ เช่น วิชา Projection วิชา Perspective วิชา Construction วิชา Carpenter วิชาสถาปัตยกรรมไทย และพันธุ์ไม้ เป็นต้น ส่วนวิชาศิลปะที่เราเคย เรียน ตอนนี้เพิ่มความเข้มข้นขึ้นและขยายรายวิชาออกไปอีกเช่นวิชาประวัติศาสตร์ ศิลป์ คราวนี้มาเน้นให้เห็น Style ทั้งของสถาปัตยกรรม และงานศิลปะชัดเจนขึ้น ในสมัยนั้นมหาวิทยาลัยศิลปากร  มีความเป็นอยู่เหมือนครอบครัวใหญ่ (ที่พ้นมาจากบ้านของเรา) เรารุ่นพี่รุ่นน้อง รู้จักนับถือกันทั้ง 4 คณะวิชา วิชาสามัญ เราจะเรียนรวมกัน ส่วนวิชาเฉพาะของคณะก็จะแยกไปตามความเหมาะสม คณะที่ มีธรรมชาติคล้ายคลึงกัน เช่น คณะมัณฑนศิลป์ และคณะจิตรกรรม ประติมากรรม ซึ่งท่านอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้มองเห็นว่าศิลปะที่เรียนอยู่และธรรมชาติของผู้ เรียนนั้นมีทั้ง Fine Arts และ Decorative Arts ท่านจึงได้แยกออกไปเป็นอีกคณะ ที่ชัดเจนคือคณะมัณฑนศิลป์ (Decorative Arts Department) ดังนั้น 2 คณะนี้เรา จะใช้อาจารย์สอนร่วมกันในหลายรายวิชาทางศิลปะ และท่านอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ก็เป็นคณบดีคนแรกของคณะมัณฑนศิลป์ของเราด้วย


การรับน้องในสมัยนั้นเราจะรับร่วมกันทั้ง 4 คณะวิชา และจะจัดขึ้นเพียงวันเดียว ช่วงเช้าก็จะมีพีธีสงฆ์และพิธีครอบครู ตอนบ่ายก็จะเป็นรับน้อง ซ่อมน้อง ตอนค�่ำก็จะเป็นงานเลี้ยงสังสรรค์และการแสดงบนเวที แต่ละคณะก็จะส่งการแสดงมาคณะ ละอย่าง ในยุคนั้นการแสดงยอดฮิตของเราคือ โมเดิร์นแดนซ์ (Modern Dance) รุ่นพี่ที่เชี่ยวชาญ และเป็นผู้ฝึกสอนการแสดง ประเภทนี้ให้พวกเราคือพี่ไพบูลย์ สุวรรณกูฎ ซึ่งพวกเรามักเรียกว่า “ท่านกูฏ” สถาบันที่เป็นเพื่อนซี๊และส่งเสบียงมาร่วมงาน เสมอคือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันนั้นทั้งวันพวกเราพี่ ๆ น้อง ๆ และเพื่อน ๆ จะสนุกสนานกันเต็มที่ อบอุ่นเป็นที่สุด  สถานที่ เดียวที่เราใช้จัดกิจกรรมทุกอย่างของมหาวิทยาลัยคือสนามสี่เหลี่ยมหลังอาคารกรมศิลปากร  และหน้าอาคารจิตรกรรม อาคารประติมากรรม และอาคารคณะมัณฑนศิลป์ (ปัจจุบัน) ยังไม่มีอนุสาวรีย์อาจารย์ศิลป์ เพราะตอนนั้นอาจารย์ศิลป์ท่าน ยังอยู่กับพวกเรา ช่วงชีวิต 4 ปี ในมหาวิทยาลัยเป็นช่วงชีวิตที่มีคุณค่าน่าจดจ�ำที่สุด เราอยู่ในวัยที่เริ่มจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่  เราเริ่มใช้ ความคิดอ่านของตัวเองสามารถแสดงความคิดเห็น เริ่มใช้เหตุและผลให้เป็นประโยชน์ แต่เรายังไม่ต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูตัวเอง เพราะเรายังมีคนคอยช่วยเหลือเลี้ยงดูเราอยู่ ตลอดเวลา 4 ปี ที่หล่อหลอมให้ข้าพเจ้าเจริญเติบโต มีความรู้ความสามารถ และ แข็งแรงพอที่จะไปสู่ยุทธจักรของการเป็นนักออกแบบในโลกภายนอกสถาบันได้ ความภาคภูมิใจที่ข้าพเจ้าได้เข้ามาศึกษาอยู่ในรั้วสีเวอริเดียน 4 ปี ข้าพเจ้ามีอาจารย์ที่มีความรู้ ความสามารถ และ มีเมตตา สอนให้ข้าพเจ้ามีความรู้ความสามารถจนถึงทุกวันนี้ และอีกความภูมิใจคือ ได้เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ที่ได้เรียน ไม่ว่าจะเป็นวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ ทฤษฎีสีหรือ กายวิภาค ข้าพเจ้าจ�ำได้ไม่เคยลืม ข้าพเจ้าต้องกราบส�ำนึกในบุญคุณของอาจารย์ทุกท่าน ไว้ ณ ที่นี้ด้วย และที่สุดของความภาคภูมิใจ และเป็นมงคลที่สุดในชีวิตของข้าพเจ้า คือปริญญาบัตรใบแรกที่ข้าพเจ้าได้รับ ได้รับ จากพระหัตถ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ท่านเสด็จมาพระราชทานปริญญาให้กับมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2507 ข้าพเจ้าสุดปลาบปลื้มและส�ำนึกน้อมในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ตราบจนทุกวันนี้


วันนี้เป็นวันที่พวกเราตื่นเต้นเป็นที่สุด  เพราะเป็นวันประกาศผลสอบเพื่อ จบการศึกษา พวกเราทะยอยมาดูประกาศของคณะฯ ข้าพเจ้าก็เช่นกันเมื่อเห็นว่า มีชื่อสอบผ่าน ตอนนั้นข้าพเจ้ารู้สึกดีใจ โล่งใจ และมีความสุขมาก ตั้งใจจะรีบกลับ บ้านเพื่อแจ้งข่าวดี แต่ยังเดินออกมายังไม่พ้นตึกจิตรกรรม ก็พบกับอาจารย์เขียน ยิ้มศิริ (ซึ่งเป็นผู้สอนวิชาสุนทรียศาสตร์ ให้กับพวกเรา) ท่านถามว่า “เป็นไง สอบ ผ่านไม๊” เมื่อข้าพเจ้าตอบว่าผ่าน ท่านก็ถามว่าแล้วจะไปท�ำงานที่ไหน ข้าพเจ้าตอบ ว่าหนูเพิ่งทราบผลเมื่อกี้นี้เอง ยังไม่มีโอกาสสมัครงานที่ไหนเลย ท่านก็บอกว่าถ้างั้น พรุ่งนี้ไปบริษัทจุฬานิยมพบคุณธาดา เกียรตินาวี บอกอาจารย์เขียนให้มาพบ และ แล้ววันรุ่งขึ้นข้าพเจ้าก็ได้งานเป็นพนักงานออกแบบที่นั่น นับเป็นครั้งแรกในชีวิต ที่ ข้าพเจ้าจะได้ใช้ความรู้ความสามารถที่ได้เรียนมาเริ่มต้นที่นั่น  หน้าที่คือออกแบบ ของที่ระลึก การ์ดส�ำหรับใช้ในโอกาสและงานต่าง ๆ จัด Window Display ของ บริษัท นับเป็นข่าวดีติดกัน 2 ครั้งเลย ข้าพเจ้าก็ต้องขอกราบขอบพระคุณท่าน อาจารย์เขียน ยิ้มศิริ ไว้ ณ ที่นี้อีกครั้ง ข้าพเจ้าท�ำงานอยู่ 3 เดือน ก็นึกว่าเรายังไม่ได้ออกแบบตกแต่งภายใน ตรง ๆ เลย เห็นเพื่อนและรุ่นพี่ท�ำกันอยู่ คิดอยากท�ำบ้างและตอนนั้นบริษัทมีการ ปรับเปลี่ยนธุรกิจ ข้าพเจ้าเลยขอลาออกและไปสมัครงานที่บริษัทพัฒนช่าง ซึ่งเป็น บริษัทรับออกแบบตกแต่งบ้านและอาคาร มีโรงงานท�ำเฟอร์นิเจอร์เอง ในยุคนั้น บริษัทพัฒนช่างนับเป็น 1 ใน 10 ของร้านเฟอร์นิเจอร์ที่มีคุณภาพทีเดียว ตอนนั้น ข้าพเจ้าก็ได้เป็นนักออกแบบตกแต่งบ้านสมใจ และที่นี่ข้าพเจ้าก็ได้เรียนรู้บางอย่าง ที่ท�ำให้ความคิดและมุมมองของข้าพเจ้าเปลี่ยนไป นอกเหนือจากที่เราคิดว่า เรามี


ใบปริญญามาแล้ว เราเก่ง เราสามารถออกแบบโน่น นี่ นั่น ได้ แต่ช่วงที่ข้าพเจ้า เริ่มท�ำงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม่นาน  มีบ้านลูกค้าที่ต้องไปตกแต่ง  ข้าพเจ้า ออกแบบโต๊ะอาหารที่เราคิดว่าสวยงามแล้ว หัวหน้าช่างมาบอกข้าพเจ้าว่าโต๊ะตัวนี้ พนักเล็กไปหน่อยอาจจะไม่แข็งแรงและอาจโยกได้ ควรเพิ่มหน้าไม้ให้ใหญ่ขึ้น แต่ ความรั้น และความเชื่อมั่นว่า design แบบนี้เราคิดว่าดีแล้ว สวยแล้ว ก็เลยไม่ยอม เปลี่ยน สุดท้ายผลออกมาโต๊ะก็โยกจริงๆ ต้องเสียเวลาท�ำการแก้ไขใหม่ ข้าพเจ้า ก็ได้พบว่าอันที่จริงใบปริญญาแค่นั้นไม่เพียงพอส�ำหรับการอยู่ในยุทธจักรวิชาชีพ ประสบการณ์ก็ส�ำคัญไม่แพ้กันจากนั้นข้าพเจ้าก็เริ่มที่ศึกษาและเรียนรู้จากช่างผู้นั้น อย่างไม่มีเงื่อนไขใด ๆ พอลดอีโก้ลงได้ ความส�ำเร็จในการท�ำงานก็เข้ามาแทนที่ ผ่านมา 5 – 6 ปี ข้าพเจ้าเริ่มรู้สึกเบื่อกับการออกแบบตกแต่ง บ้านแล้ว บ้านเล่า ที่คล้ายคลึงกัน นาน ๆ จะมีร้านอาหาร ร้านเสริมสวย หรือ office มา ให้ออกแบบแก้เซ็งบ้าง ตอนนั้นงานจัดสวนก็ไม่ค่อยมีมา เลยคิดอยากไปศึกษาต่อ เปลี่ยนแนวทางใหม่บ้าง บังเอิญข้าพเจ้าได้มีโอกาสพบ มจ. ยาใจ จิตรพงศ์ ซึ่งท่าน เป็นอดีตคณบดีคณะมัณฑนศิลป์ แต่ในช่วงนั้นท่านเป็นอธิบดีกรมศิลปากร พอท่าน ทราบเรื่องท่านก็แนะน�ำว่าให้ไปเรียน Graphic เพราะตอนนั้นยังขาดบุคลากรด้านนี้ อีกมาก จะได้กลับมาใช้ประโยชน์ในบ้านเราได้ ท�ำให้ข้าพเจ้าเกิดมีเป้าหมายในการ เลือกเรียนชัดเจนขึ้น แต่การจะไปเรียนเราต้องสอบ Toefl ก่อน ข้าพเจ้าก็ไม่ได้เก่ง ภาษาอังกฤษเท่าไหร่นัก แต่เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ข้าพเจ้าจึงตัดสินใจเดินทาง ไปเรียนภาษาอังกฤษที่ Louisiana State University พวกเราจะเรียกย่อว่า LSU อยู่ที่เมือง Baton Rovge รัฐ Louisiana ประเทศอเมริกา ข้าพเจ้าเรียนอยู่ 1 เทอม เริ่มไขว้เขวในการเลือกเรียนต่อ เพราะที่ LSU มีคณะวิชาใหม่ ที่มาแรงมาก คือ Landscape Architect หลังจากข้าพเจ้าได้เอา Transcript ของคณะมัณฑนศิลป์ ให้ดูแล้ว Dean ของคณะ Landscape Architect บอกว่าข้าพเจ้าต้องเรียนวิชา Contruction เพิ่มอีก 2 Course เพราะของยูเรียนมาตัวเดียว ก็เลยล้มเลิกความ ตั้งใจเพราะเราต้องยืดเวลาเรียนอีก 2 เทอม เราก็จะต้องเสียเวลาและใช้จ่ายเงินอีก ไม่น้อย เงินที่มีอยู่เราก็ต้องประหยัดอยู่แล้ว ในช่วงนั้นข้าพเจ้าก็ส่งใบสมัครไป 1-2 มหาวิทยาลัย ระหว่างรอค�ำตอบก็ชวนเพื่อนไป Texas เพราะเป็นรัฐที่ติดกับ Louisiana นั่งรถประจ�ำทางไปได้ ข้าพเจ้าไปยื่นใบสมัครไว้ที่ Texas A&I University ด้วยตัวเองครั้งนี้ได้ผลเร็วมากภายใน 1 อาทิตย์ก็ตอบรับแล้ว คราวนี้คงเป็นช่วง เวลาที่ต้องผจญภัยด้วยตัวเองแล้ว เพราะเพื่อนนักเรียนไทยที่มาเรียนภาษาอังกฤษ อยู่ด้วยกัน 1 เทอม ต่างก็แยกย้ายกันไปเรียนตามมหาวิทยาลัยที่ตนเองสมัครไว้ ระยะทางที่จะเดินทางจากเมือง Baton Rouge มาเมือง KingsVille ต้องใช้เวลา 19


ชั่วโมง ถ้าเราเดินทางกลางวันก็จะไปถึงกลางคืน ดังนั้นจึงเลือกเดินทางกลางคืน เพื่อให้ไปถึงตอนกลางวันและต้องมาเปลี่ยนรถที่เมือง Houston ประมาณตี 1 ได้ ยืดเส้นยืดสายซักพักก็เดินทางต่อ ข้าพเจ้าเดินทางถึงเมือง KingsVille ประมาณ 11 โมง จะไปมหาวิทยาลัยคงต้องพึ่งแท็กซี่แล้ว เพราะจะให้ไปเองคงจ�ำทางไม่ได้ และ ที่นี่ข้าพเจ้าก็เจอสังคมอีกแบบ ขณะที่ข้าพเจ้าก�ำลังรอแท็กซี่ก็มีสาวชาวอเมริกันมา ถามว่า ยูจะไปไหน พอบอกว่าเราจะไป Texas A&I University เค้าก็บอกว่าเค้าจะ ไปเหมือนกันถ้างั้นเราไปด้วยกันจะได้ช่วยแชร์ค่าแท็กซี่กัน ข้าพเจ้าตอบตกลง เราก็ เดินทางไปมหาวิทยาลัยด้วยกัน ดูเป็นสังคมที่เรียบง่าย สบาย ๆ และชัดเจนดี ตอน ที่ข้าพเจ้ามาถึงเมือง KingsVille มหาวิทยาลัยยังไม่เปิด หอพักก็ยังไม่เปิดเหมือน กัน  ทางมหาวิทยาลัยจึงพยายามติดต่อนักศึกษาไทยที่มีบ้านพักให้ข้าพเจ้าได้พัก ก่อนซัก 2-3 คืน ซึ่งข้าพเจ้า ก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากนักเรียนไทยทั้ง 2 คน และยังท�ำอาหารให้ข้าพเจ้าทานอีก ข้าวหมูพริกไทยกระเทียมอร่อยมาก และ เป็นอาหารมื้อแรกในเมือง KingsVille ที่ข้าพเจ้าได้ทาน นักเรียนไทยที่มีน�้ำใจทั้ง สองท่านคือ คุณติ๋มและคุณเล็กข้าพเจ้ายังจ�ำได้ไม่ลืม หอพักเปิด มหาวิทยาลัยเปิด ก็เป็นการเริ่มต้นการเรียน ข้าพเจ้าเรียน Major ที่คณะ Arts และเรียน Minor คณะ Industrial Arts ที่ Texas A&I University ในตอนนั้นมีนักเรียนไทยเรียนอยู่ประมาณ 19 คน ส่วนคณะ Arts นอกจากไม่มีนักเรียนไทยแล้ว  แม้กระทั่งนักเรียนต่างชาติก็ยังมีข้าพเจ้าเพียง คนเดียว คณบดีคือ Dr. Richard Schepereel ท่านเลยเป็น Advisor ให้ข้าพเจ้า ตอนพบครั้งแรกดูท่านเป็นผู้ใหญ่ น่าเกรงขามและเหมือนจะดุด้วย ตอนนั้นก็นึกถึง ท่านอาจารย์ศิลป์ แต่พอท่านเริ่มสอน ท่านให้ค�ำแนะน�ำ ท่านกลับดูเป็นผู้ใหญ่ที่มี ความเมตตามาก ส�ำหรับนักศึกษาปริญญาโท ท่านรับผิดชอบวิชาที่ส�ำคัญที่สุดคือ Graduate Studio และ Philosophy of Arts วิชา Graduate Studio จะต้องให้ เวลาเรียน 3 เทอมถึงจะจบ เป็นวิชาที่เราจะต้องเอาผลงานที่เราท�ำมาวิเคราะห์ หา ข้อมูลเพื่อท�ำงานให้มีคุณภาพขึ้นไปอีก เป็นวิชาที่เราต้องไปค้นคว้าหาข้อมูล หรือ เรื่องราวที่มีประโยชน์และน่าสนใจ มาสนทนากันในชั้นเรียน อาจารย์จะพิจารณา จากพื้นฐานการศึกษาและธรรมชาตินักศึกษาแต่ละคน และมอบหมายงานให้เรา ไปศึกษา เพื่อเป็นความรู้เสริม และนักศึกษาจะต้องส่งรายงานปลายเทอมคล้าย ๆ Individual Study ข้าพเจ้าถูกมอบหมายให้ไปศึกษาเรื่องและผลงานของศิลปินชาว อเมริกันท่านหนึ่ง ชื่อ AUDUBON นอกจากค้นคว้าในห้องสมุดแล้ว ตอนปิดภาค เรียนข้าพเจ้าได้เดินทางไปถึงเกาะ Key West ที่เป็นจุดใต้สุดของประเทศอเมริกา รัฐฟลอริดา และวิชานี้ข้าพเจ้าสามารถเรียนจบได้ภายใน 2 เทอม ก็เลยประหยัด


เวลาไปได้ 1 เทอม วิชา Graphic Arts ก็ต้องเรียนควบคู่กับวิชานี้ เพราะเป็นวิชาหลักต้องเรียน 2 เทอมเช่นกัน โดย Prof. Thompson เป็นผู้สอน แรก ๆ ข้าพเจ้าก็ติดที่จะใช้ Subject แบบไทย ๆ แต่อาจารย์ก็ขอให้ข้าพเจ้าใช้ Subject ที่อยู่ใน สิ่งแวดล้อมในเท็กซัสหรือในอเมริกา เพื่อจะได้เปรียบเทียบผลงานกับทุกคนในชั้นเรียนแบบเสมอภาคกัน และเป็นวิชาที่ข้าพเจ้า ได้เกรด A นับว่าพื้นฐานที่ข้าพเจ้าได้มาจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีคุณภาพไม่แพ้ใคร ส�ำหรับคณะ Industrial Arts ข้าพเจ้าเลือกเรียนเป็น Minor ข้าพเจ้าเรียนวิชา Lapidary กับ Prof. Mallard เรียน Audio Visual AIDS กับ Prof. Hedrick เรียน Design Seminar กับ Dr. Gross ซึ่งท่านเป็นคณบดีของคณะ Industrial Arts ในเวลานั้น ข้าพเจ้ามีความสุข สนุกสนานกับการเรียน มีความประทับใจและภาคภูมิใจใน Texas A&I University ไม่แพ้ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่คณะ Arts เมื่อข้าพเจ้าเรียนได้เกือบ 2 เดือน ท่านคณบดี Dr. Schepereel เสนอชื่อให้ข้าพเจ้ารับ ทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเป็นกรณีพิเศษ เพราะที่มหาวิทยาลัยนี้ไม่มีนโยบายให้ทุนนักเรียนต่างชาติ แต่ข้าพเจ้ากลับได้รับ โอกาสที่ดีนี้ จากความเมตตาของอาจารย์ Dr. Schepereel ตอนนี้ข้าพเจ้าก็เป็นนักเรียนทุนไปแล้ว ท่านมอบหมายหน้าที่ให้ ข้าพเจ้าเป็นผู้เตรียมการสอนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ให้กับอาจารย์ในระดับปริญญาตรี และเมื่อข้าพเจ้าเรียนจบตามหลักสูตร ปริญญาโทแล้ว ท่านขอให้ข้าพเจ้าเรียน Education 1 Course เพื่อบรรจุเป็นอาจารย์สอนที่ Texas A&I University ในเวลา นั้นข้าพเจ้าตั้งใจว่าอยากจะไปลองหาประสบการณ์อื่น ๆ อีก โดยคาดว่าจบแล้วจะไปลองท�ำงานออกแบบก่อน แล้วค่อยมาคิด เรื่องการท�ำงานที่เป็นหลักแหล่งอาจารย์ก็ไม่ว่าอะไร  ยังออกหนังสือรับรองจากมหาวิทยาลัยให้ข้าพเจ้าฝึกงานได้โดยไม่ต้อง กลัวเรื่อง Immigration อีกด้วย เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าแสดงผลงานที่แกลอรี่ของมหาวิทยาลัยเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ศิลปินจะต้อง จ่ายให้มหาวิทยาลัย  25% ส�ำหรับงานที่ขายได้ แต่งานของข้าพเจ้ามีคนซื้อไปเยอะมาก แต่ทางมหาวิทยาลัยกลับไม่หักเอาไว้ แต่ให้ข้าพเจ้าไว้ใช้จ่ายเดินทางไปหาประสบการณ์ต่อ อาทิตย์สุดท้ายก่อนที่ข้าพเจ้าจะเดินทางไปเมือง Long Beach รัฐ California Dr. Schepereel พาข้าพเจ้าไปเลี้ยงส่งกับครอบครัวท่าน Prof. Magruder ผู้ที่สอนวิชา Sculpture ก็เลี้ยงส่งข้าพเจ้าที่บ้าน โดยให้ภรรยาท่านเป็นผู้ท�ำอาหาร เลี้ยง และอาจารย์ยังซื้องาน Sculpture ชิ้นสุดท้ายของข้าพเจ้าไปไว้ที่บ้านอีก วัน ที่จะเดินทาง ในช่วงเช้าข้าพเจ้าก็เดินทางไปที่คณะเพื่อร�่ำลาทุกคนอีกครั้ง อาจารย์ ทั้งคณะน�ำโดยท่านคณบดี Dr. Schepereel พากันมาเลี้ยงส่งที่ UNION ของ มหาวิทยาลัย เป็น Tea Party อีกครั้ง แล้วท�ำไมข้าพเจ้าจะไม่ซาบซึ้งใจในทุกน�้ำใจ และความปรารถนาดีของทุก ๆ คนที่นั่น โดยเฉพาะ Advisor ของข้าพเจ้า Dr. Richard Schepereel ที่ข้าพเจ้ายังร�ำลึกถึงพระคุณท่านอยู่เสมอ ความประทับใจและความภาคภูมิใจที่คณะ Industrial Arts ก็มีเหมือนกัน Dr. Schepereel ข้าพเจ้าเรียนวิชา Lapidary วิชานี้ก็คือออกแบบเครื่องประดับนั่นเอง แต่ออกแบบ แล้วก็ต้องเข้าห้อง lab ท�ำด้วย การเรียนอาจารย์ก็จะเลคเชอร์ และก็มอบหมาย งานให้ท�ำ พวกเราต้องออกแบบแล้วเอาไปให้อาจารย์ Approve ก่อน ถ้าผ่าน ก็เข้าห้อง lab ได้ แต่ถ้าไม่ผ่านก็ต้องปรับแก้ใหม่จนผ่าน ส�ำหรับข้าพเจ้า design


ผ่านทุกครั้ง พอ 3 ครั้งผ่านไปอาจารย์ก็เลยประกาศในชั้นว่า ต่อไปนี้ถ้าใครจะให้แก Approve และแกไม่อยู่หรือต้องรอคิว นาน ให้ผ่านพรรณเพ็ญก็ได้ หลังจากข้าพเจ้าเรียนจบ course นี้แล้ว อาจารย์ยังขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ช่วยสอนใน course ต่อไป ด้วย และใน course นั้นมีนักศึกษาไทยมาเรียน 2 คน อาจารย์ก็มอบหมายให้ข้าพเจ้าเป็นผู้สอนและแนะน�ำเรื่องออกแบบแก่ นักศึกษาไทยทั้ง 2 คน ด้วย และสาเหตุนี้ท�ำให้หลังจากที่ข้าพเจ้ากลับเมืองไทยมาแล้ว เพื่อนนักเรียนไทยที่ยังเรียนอยู่บอกว่า กลับไปแล้วดังใหญ่เลยเรานะ  มีคนมาถามหานักศึกษาไทยที่ชื่อพรรณเพ็ญบ่อยมาก เพราะเวลาที่ Prof. Mallad สอนมักจะ เอ่ยถึงชื่อพรรณเพ็ญและผลงานอยู่บ่อย ๆ เลยอยากรู้จักสักหน่อย วิชา Design Seminar มี Dr. Gross เป็นผู้สอน ในบางครั้ง พวกเราต้องใช้พลังกันเต็มที่ อาจารย์ให้พวกเรานั่งเป็นวงกลม นักศึกษาในชั้น ประมาณ 20 คนก็วงใหญ่พอสมควร อาจารย์จะ ให้โจทย์พวกเรา Sketch งาน ในช่วงนั้นประมาณ 5 นาที อาจารย์ก็จะชี้ให้แต่ละคนโชว์งานที่ออกแบบ และอธิบาย Concept ทันทีในชั้นเรียนด้วย ข้าพเจ้าก็ได้น�ำวิธีการสอนนี้มาสอนที่คณะมัณฑนศิลป์ เช่นกัน แต่นักศึกษาเรามากกว่า ข้าพเจ้าจึงต้อง ปรับใช้ให้เหมาะสมโดยให้ท�ำงาน Project ละ 10 นาที 1 ชั่วโมงก็จะท�ำ 6 ชิ้น ทุกคนก็ต้องใช้ความรู้ความสามารถและทักษะ ที่ตนมีออกมาใช้ได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาข้อมูลจากที่อื่น วิชา Audio Visual AIDS กับ Prof. Hedrick เป็นผู้สอนวิชานี้ ข้าพเจ้าก็ได้น�ำมาใช้ประโยชน์ในการสอนที่คณะ มัณฑนศิลป์เช่นกัน  เพราะเป็นวิชาที่มี Project เยอะมาก แต่ Lesson Plan ที่อาจารย์ให้ไว้ท�ำให้เราเรียนได้อย่างสะดวก และ พร้อมที่จะเรียน และแน่นอนทุกวิชาในคณะ Industrial Arts ข้าพเจ้าก็ได้เกรด A ทุกวิชาเหมือนกัน หลังจากจบปริญญาโทแล้ว ข้าพเจ้าก็เดินทางออกจากรัฐเท็กซัสมาท�ำงานเป็น Interior Designer อยู่ที่ Long Beach, California อีกประมาณ 3 เดือน ก่อนจะเดินทางกลับมาเมืองไทย ในเดือน ตุลาคม 2516 และได้มาเป็นอาจารย์ที่ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี 2517


ข้าพเจ้าเป็นนักออกแบบมา 10 ปี ไม่เคยคิดว่าจะมาเป็นอาจารย์หรือจะ มาสอนใครได้เพราะข้าพเจ้าเองก็ปฏิเสธการสอนที่ Texas A&I University มา แล้ว แต่อาจเป็นเพราะแรงชวนของเพื่อนและความรักในสถาบัน ถ้าเราตอบแทน คุณให้ได้เราก็ควรท�ำ ถ้าจะเป็นอาจารย์เราควรจะเป็นอาจารย์ที่นี่ นั่นคือการเริ่ม ต้นการเป็นอาจารย์ที่คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยสอนวิชา Basic Design พอปี 2519 คณะได้ขยายภาควิชาเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ภาค คือ ภาควิชา ออกแบบนิเทศศิลป์ หรือ Visual Communication Design คณะจึงต้องคัดเลือก อาจารย์ที่พอจะมีความรู้ความถนัดที่ใกล้เคียงกับภาควิชาใหม่ออกไปช่วยสอน หนึ่ง ในนั้นก็มีตัวข้าพเจ้าด้วย จากนั้นก็สังกัดอยู่ที่ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ตลอดมา ข้าพเจ้าได้น�ำความรู้และประสบการณ์ที่มีโดยเฉพาะการศึกษาจากต่างประเทศ มาใช้ให้เป็นประโยชน์หลายอย่าง โดยเฉพาะการน�ำ Lesson Plan มาใช้ในการ เรียนการสอน ซึ่งแต่เดิมคณะยังไม่เคยมี ในวาระที่เป็นหัวหน้าภาควิชา ข้าพเจ้า พยายามผลักดันให้ภาควิชาได้มีโอกาสไปท�ำกิจกรรมภายนอก เช่น ไปจัดอบรม “นักคิด นักออกแบบและผู้น�ำเสนอที่ดี” ที่โรงแรมมณเฑียร ผลตอบรับกลับมา เป็นที่น่าพอใจมาก ข้าพเจ้าพยายามผลักดันรายวิชาใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น เช่น วิชา Presentation เพราะถ้าเราเป็นนักออกแบบแต่เราน�ำเสนอไม่ได้ต้องให้ผู้อื่นมาน�ำ เสนอให้เราก็อาจจะเป็นเพียง Visualizer หรือการเขียน Articles & Copy Writing ก็เป็นสิ่งส�ำคัญในการโฆษณาเช่นกัน


ในช่วงปี 2522 - ปี 2529 ข้าพเจ้าได้เข้าไปร่วมเป็นคณะกรรมการ จั ด ประกวดโฆษณายอดเยี่ ย มแห่ ง ประเทศไทย  ในนามของคณะมั ณ ฑนศิ ล ป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในวาะครบ 10 ปี ข้าพเจ้า ก็เป็นประธานคณะกรรมการด�ำเนินการจัดประกวด  และหลังจากนั้นข้าพเจ้าก็ เป็นคณะกรรมการตัดสินต่อมาอีกหลายปีจากที่ข้าพเจ้าได้รู้จักและคุ้นเคยกับนัก ออกแบบโฆษณา นักพูด นักเขียน มากมายในยุคนั้น ข้าพเจ้าพยายามเชิญบุคคล เหล่านี้มาให้ความรู้แก่นักศึกษาเสมอในเมื่อมีโอกาส ในขณะที่ข้าพเจ้าสอนอยู่ที่ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์  ข้าพเจ้าก็ยังช่วย สอนให้กับภาควิชาออกแบบตกแต่งภายในด้วย ในรายวิชาพันธุ์ไม้เพื่อการตกแต่ง และการออกแบบจัดสวน  ในช่วงเวลาที่ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์เปิดใหม่ ๆ ข้าพเจ้าในฐานะที่เรียนสาขา Industrial Arts มาด้วยก็ยังไปช่วยอาจารย์โกศล สุวรรณกูฎ ในรายวิชา Jewelry ด้วย แต่ก่อนข้าพเจ้าไม่เคยคิดว่าจะมาเป็นอาจารย์  แต่เมื่อข้าพเจ้าก้าวเข้ามา แล้วข้าพเจ้าก็มีความผูกพันและมีความสุขเมื่อเห็นคณะของเราเติบโตขึ้น  เห็นถึง ความส�ำเร็จของลูกศิษย์ที่จบไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า  แต่ก็ห่วงและเป็นก�ำลังใจให้กับคนที่ ยังต้องต่อสู้อยู่เสมอ โดยนิสัยของข้าพเจ้าแล้วชอบเป็นอาจารย์ธรรมดา ๆ  และท�ำกิจกรรม แปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่เป็นพิเศษมากกว่า ไม่เคยชอบที่จะเป็นผู้บริหาร แต่เส้นทางเดิน ก็ท�ำให้ข้าพเจ้าต้องเป็นผู้บริหารอีกหลายครั้ง ต่อจากหัวหน้าภาค ก็เป็นรองคณบดี เป็นคณบดีของคณะมัณฑนศิลป์ และเป็นรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยศิลปากร ตามล�ำดับ พอข้าพเจ้าพ้นจากต�ำแหน่งบริหารทั้งหลายมาแล้ว ข้าพเจ้าก็รู้สึกโล่งใจ สบายใจมาก คราวนี้คงจะได้ท�ำในสิ่งที่เราน่าจะชอบมากกว่า


ตอนนั้นคณะมัณฑนศิลป์อายุครบ 36 ปี อาจารย์นิรันดร์ ไกรฤกษ์ ซึ่งตอน นั้นท่านเป็นคณบดีมาขอให้ข้าพเจ้าเป็นประธานจัดงาน “เจอกันมัณฑ์ดี” (ครั้งแรก) ข้าพเจ้าก็จัดให้และรวบรวมศิษย์เก่ามาร่วมงานได้เกือบ 800 คน ซึ่งนับว่าประสบ ความส�ำเร็จในระดับหนึ่ง เพราะเรายังไม่เคยจัดรวมพลแบบนี้มาก่อนเลย ก็ต้องขอ ขอบคุณผู้ร่วมทีมงานทุกคน เพราะล�ำพังข้าพเจ้าเองคงไม่มีปัญญาท�ำได้ส�ำเร็จแน่ งานต่อมาครบรอบ 40 ปี คณะมัณฑนศิลป์ อาจารย์พงษ์ศักดิ์ อารยางกูร ท่านเป็น คณบดีในขณะนั้น ได้ขอให้ข้าพเจ้าช่วยเป็นประธานจัดเจอกันมัณฑ์ดีอีกครั้ง และ ใช้โอกาสครบรอบ 40 ปี ตั้งสมาคมนักศึกษาเก่าคณะมัณฑนศิลป์ด้วย ต้องเลือก ตั้งนายกสมาคมเสียก่อน ในวันนั้นเราได้สมาชิกมาร่วมงานเกือบพันคน เหนื่อยมาก แต่ก็เป็นความเหนื่อยที่มีความสุข ก็ต้องขอขอบคุณทีมงานและผู้ช่วยงานทุกคน ถ้า ไม่มีเขาเหล่านั้น ความส�ำเร็จก็คงไม่เกิดขึ้นเช่นกัน และในวันนั้นข้าพเจ้าก็ถูกเลือก ให้เป็นนายกสมาคมนักศึกษาเก่าคนแรก จากความประสงค์ของเพื่อน ๆ และพี่น้อง ศิษย์เก่าทั้งหลาย ข้าพเจ้าจึงต้องเป็นนายกสมาคม 2 สมัยครึ่งคือ 5 ปี ก่อนจะส่ง ต่อให้คุณประสพชัย แสงประภา เพราะนิสัยของเราไม่ใช่ท�ำอะไรแค่ท�ำให้เสร็จ แต่ ต้องท�ำให้ส�ำเร็จ ท�ำให้เราต้องเหนื่อยมาก แต่ก็เป็นความเหนื่อยที่มีความสุข ที่เห็น พวกเราพี่น้องชาวมัณฑนศิลป์ได้มีศูนย์รวมใจรวมกาย ที่เราจะได้มาพบเจอกัน ช่วย กันสร้างเสถียรภาพของเราในยุทธจักรวิชาชีพด้วยกัน ข้าพเจ้าเกษียณอายุเมื่อปี 2545 คิดว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่มีความสุขมาก เพราะทุกวันนี้เรามีความเพียงพอส�ำหรับทุกอย่างแล้ว ไม่จ�ำเป็นจะต้องไปไขว่คว้า หามาอีก และสิ่งที่เราได้กลับมาคือ “เวลา” ตอนนี้เวลาเป็นของเราเอง เป็นเวลาที่ เราเลือกได้ พอใจจะท�ำอะไรก็ได้ จะเดินทางท่องเที่ยว จะท�ำงาน ยังมีมิตรสหาย ที่รักใคร่ชอบพอกัน ยังสามารถท�ำตัวให้เป็นประโยชน์แก่สังคมได้ แค่นี้ก็เพียงพอ แล้ว  ส�ำหรับงานข้าพเจ้า  ก็ยังช่วยเป็นวิทยากรพิเศษให้กับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นกรรมการหลักสูตรให้มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และเป็น อาจารย์ประจ�ำให้กับคณะดิจิทัลอาร์ต  มหาวิทยาลัยรังสิต  ซึ่งก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ ข้าพเจ้าก้าวเข้าไปแล้วรู้สึกอบอุ่นใจ นอกจากนั้นยังให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำและออกแบบ แต่งสวนด้วยในบางโอกาส


ความสุขภายในรั้วบ้านเรา


แต่น่าแปลกที่ชีวิตข้าพเจ้าเหมือนเดินกลับมาสู่บรรยากาศและสิ่งแวดล้อม เดิม ๆ เหมือนตอนเป็นเด็กที่ข้าพเจ้าได้เล่าว่าเมื่อคุณแม่เสียข้าพเจ้าต้องย้ายมาอยู่ กับคุณป้า มีบ้านหลายหลังอยู่ในรั้วเดียวกัน อบอุ่นอยู่ท่ามกลางพี่ ป้า น้า อา แต่ กลับกันตรงที่ว่า ณ ตอนนี้ที่ข้าพเจ้าเป็นผู้อาวุโสอยู่ท่ามกลางหลานน้า หลานย่า ที่ เติบโตมีครอบครัวและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพกันหมดแล้ว มีบ้านหลายหลังอยู่ในรั้ว เดียวกัน มีความสุขและความอบอุ่นใจเช่นกัน นับว่าทุกวันนี้ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์ที่มีความสุขที่สุดคนหนึ่ง ที่มีญาติมีมิตรที่ดี มีอาชีพที่น่าภาคภูมิใจ  มีสังคมและมีสถานภาพในสังคมที่ดี  และคณะมัณฑนศิลป์ ยังท�ำให้ข้าพเจ้าได้รับรางวัลชีวิตที่มีเกียรติและมีคุณค่าที่สุดในยามนี ้ มันพิสูจน์ว่า เรายังรักกัน คิดถึงกัน และเห็นคุณค่าและความส�ำคัญต่อกัน ข้าพเจ้าขอขอบคุณ ทุก ๆ คนด้วยใจ


Palm Trees (Etching)


ผลงาน Graphic Arts งานภาพพิมพ์ที่น�ำมาร่วมงานแสดงในครั้งนี้ เป็นผลงาน ในช่วงปี พ.ศ. 2514 - 2516 สมัยที่ยังศึกษาอยู่ในต่างประเทศ และได้แสดงผลงานเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน - 11 กรกฎาคม 2516 ผลงานมีกว่า 40 เรื่อง และมีชิ้นงานร่วม 100 ชิ้น แต่ในงานแสดงมีการจ�ำหน่ายจึงเหลืองานจ�ำนวนน้อยที่เก็บไว้ได้ ประกอบกับระยะเวลายาวนานกว่า 40 ปี ก็ต้องขออภัย ที่มีงานช�ำรุดเสียหายบ้าง แต่ต้องน�ำมาแสดงประกอบ การเล่าเรื่องให้สมบูรณ์ ว่าในยุคนั้น งาน Graphic Arts นิยมท�ำเทคนิคอะไรบ้าง และเพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้น จึงน�ำงานต้นแบบในบางชิ้นที่เหลืออยู่มาประกอบให้ดูด้วย ศิลปะภาพพิมพ์ในยุคนั้นนิยมท�ำ Woodcut, Linoleum Cut, Etching, Dry Point และ Lithography อันที่จริงยังมี Silk Screen ด้วย แต่ไม่ได้มีผลงานมาร่วมแสดง ในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ศิลปะการพิมพ์ในยุคนี้ ก็จะเปลี่ยนแปลงและแตกต่างไปจากเดิม ตามกาลเวลา


Lily Flowers (Linoleum Cut)


Lily Flowers (Lithography)


Lotus (Woodcut)


Blind man Bluff (Linoleum Cut)


Birds (Lithography)


Butterflies (Woodcut)


Peckker Picker (Woodcut)


Speeding Hound (Woodcut)


Triangular Birds (Linoleum Cut)


Fantasy Umbrella (Woodcut)


Charming Lotus (Lithography in Color)


London Bridge (Dry point)



ผลงาน Painting เป็นผลงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 นี่เอง หลังจากที่ไม่ได้ท�ำงานประเภทนี้ประมาณ 40 ปี ตลอดเวลาที่ผ่านมา ข้าพเจ้าเป็นนักออกแบบมานาน ดังนั้นเวลาท�ำงานแต่ละชิ้น ก็มักจะติดที่จะคิดเพิ่มเติม และสร้างสรรค์องค์ประกอบขึ้นมาใหม่ จากสิ่งที่ได้เห็นและเกิดความประทับใจ ผลงานของข้าพเจ้าที่น�ำมาแสดง จะเน้นองค์ประกอบในภาพเป็นส�ำคัญ สามารถเล่าเรื่องในภาพได้ชัดเจน สบายตา สบายใจ ข้าพเจ้าจัดผลงานของข้าพเจ้าเป็น “Decorative painting”


เมื่อใบไม้เปลี่ยนสี 1 (Oil Painting on Canvas) 60x80 cm.


เมื่อใบไม้เปลี่ยนสี 2 (Oil Painting on Canvas) 60x80 cm.


เมื่อใบไม้เปลี่ยนสี 3 (Oil Painting on Canvas) 60x80 cm.


เมื่อใบไม้เปลี่ยนสี 4 (Oil Painting on Canvas) 60x80 cm.


แล้วใบไม้ก็จากไป (Oil Painting on Canvas) 60x80 cm.


Burnt Sienna (Oil Painting on Canvas) 60x80 cm.


Summer Light (Oil Painting on Canvas) 60x80 cm.


Magnolia (Oil Painting on Canvas) 60x80 cm.


White Sand (Oil Painting on Canvas) 60x80 cm.


Amazon (Oil Painting on Canvas) 60x80 cm.


Breakfast (Acrylic Painting on Canvas) 60x80 cm.


วัชพืชที่รัก (Acrylic Painting on Canvas) 60x80 cm.


Heading Home (Acrylic Painting on Canvas) 60x80 cm.


พักผ่อน (Acrylic Painting on Canvas) 60x80 cm.


หนาว (Acrylic Painting on Canvas) 60x80 cm.


Happiness (Acrylic Painting on Canvas) 60x80 cm.



ผลงานถ่ายภาพ ข้าพเจ้าไม่เคยเรียนถ่ายภาพมาก่อน และไม่ใช่ช่างภาพมืออาชีพ แต่ข้าพเจ้าชอบถ่ายภาพและเริ่มหัดถ่ายภาพมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 ข้าพเจ้าเป็นนักออกแบบและนักเดินทาง ดังนั้นผลงานถ่ายภาพที่น�ำมาแสดงจะเป็นภาพบันทึกการเดินทาง ในทุกหนทุกแห่งที่ข้าพเจ้าชอบและประทับใจที่ได้มีโอกาสเดินทางไป ในภาพจะเน้นองค์ประกอบของภาพที่สวยงาม สมบูรณ์ เป็นส�ำคัญ เน้นมุมมองที่แตกต่าง จากภาพรวมที่เห็น มาเป็นจุดเด่น ให้ร�ำลึกถึงสถานที่นั้น ๆ ได้อย่างมีความสุข (ผลงานนี้อยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2560)


Africa



Alaska




USA



Australia


Croatia



Hungary


Austria



Baltic Group (Estonia, Latvia, Lithuania)



Myanmar


Canada



Canada




China


Egypt


Jordan


England



England



Greece



Holland



New Zealand



Iceland



Italy



Poland


Czech Republic


Germany




Portugal



Brazil


Peru


Argentina



Spain


Norway



Sweden


Denmark


Turkey



ดวงอาทิตย์ยามเช้าที่เมืองซีอาน (24 กันยายน 2557) | จีน


ใบบัวในสวนที่เมืองซีอาน | จีน


ใบไม้สีแดง | ศรีลังกา


ดอกเดลซี่ (Everlasting Daisy) | ออสเตรเลีย


ยามเช้าที่เมือง Amnan | จอร์แดน


เมืองทรอนไชน์ | นอร์เวย์


หงส์ขาวที่ทะเลสาบวินเดอเมียร์ | อังกฤษ


วิหารอบูซิมเบล | อียิปต์


เลคหลุยซ์ | แคนาดา

Stourhead Garden | อังกฤษ


อาคารสวยจากเมืองโคโดบ้า | สเปน

ALHAMBRA Palace เมืองกรานาด้า | สเปน


นกนางนวล | นิวซีแลนด์

เมืองโบราณ | โมรอคโค


เป็ดในสวนที่เมืองไนแองการา | แคนาดา

นกที่เกาะมิโคนอส | กรีซ


ยามเย็นที่ยะไข่ | พม่า

ยะไข่ | พม่า


น�้ำตกทีลอจ่อ อุ้มผาง | ตาก

สุนัขข้างถนน | ตุรกี


ดอกทานตะวัน | กรุงเทพ

พลับพลึงธาร | ระนอง


ไร่ดอกไม้ที่ดอยอินทนนท์

ยามเย็นที่เมืองน่าน


เพื่อนเดินทางของข้าพเจ้าคือกล้องถ่ายรูป




ผลงานออกแบบจัดสวน ข้าพเจ้าเป็นนักออกแบบจัดสวนมาพร้อม ๆ กับที่เป็นนักออกแบบตกแต่งภายใน แต่สุดท้ายข้าพเจ้าชอบงานออกแบบจัดสวนมากกว่า อย่างน้อยข้าพเจ้าก็ชอบภาพธรรมชาติและต้นไม้ ดอกไม้ มาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ที่ส�ำคัญเป็นงานที่เราควบคุมได้ทั้งคุณภาพและเวลา ไม่เหมือนงานออกแบบตกแต่งภายใน ที่หลังจากเราออกแบบแล้ว เราต้องให้ช่างที่รับเหมามาท�ำให้ บางครั้งอาจจะต้องเป็นคนกลาง ระหว่างเจ้าของบ้านและผู้รับเหมา ส�ำหรับงานจัดสวน เราสามารถด�ำเนินการทุกอย่างได้เอง แนวความคิดที่ข้าพเจ้าใช้ในการออกแบบจัดสวน จะค�ำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย ความเหมาะสมของสถานที่และอาคารเป็นส�ำคัญ ส�ำหรับรายละเอียดอื่น ๆ ก็จะปรับไปให้เหมาะกับงานนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อจัดแล้ว สถานที่นั้น อาคารนั้น จะต้องสวยงามและน่าอยู่มากยิ่งขึ้น เพราะงานจัดสวนเป็นงานที่ยกระดับที่อยู่อาศัยให้น่าดู น่าอยู่ มีบรรยากาศดีขึ้น และมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่จะท�ำในช่วงสุดท้ายของการสร้างบ้าน (งานจัดสวนที่น�ำมาแสดงอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2560)


คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พื้นที่จัดสวนอยู่ด้านหน้าอาคาร  สวนนี้จึงท�ำหน้าที่ประกอบอาคารให้สวยงามน่าอยู่  และยังเป็นที่ศึกษาเรียนรู้พืช สมุนไพรอีกด้วย เนื่องจากคณะเภสัชศาสตร์มีการเรียนการสอนพืชสมุนไพรในหลักสูตรด้วย จึงมีพรรณไม้สมุนไพรที่ทางคณะ จัดปลูกไว้เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักและเรียนรู้มากมายหลายหลายชนิด  ถ้าเราปรับรูปแบบของแหล่งศึกษาที่ปลูกต้นไม้ไว้ให้ด ู เฉย ๆ  มาเป็นรูปแบบของการจัดเป็นสวนสมุนไพรที่สวยงาม  ก็จะท�ำให้เกิดบรรยากาศและแรงจูงใจที่สนุกสนานไปกับการ ศึกษาได้มากกว่า และสวนที่น�ำเสนอมานี้ก็เป็นหนึ่งในสวนสมุนไพรที่จัดท�ำขึ้นมาเป็นแบบอย่าง



คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พื้นที่จัดสวนอยู่ระหว่างอาคาร 2 หลัง สวนนี้จึงท�ำหน้าที่ช่วยเชื่อมอาคารทั้งสองหลังให้อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน  ให้บรรยากาศที่สงบ  ร่มรื่น  และชื่นชมความสวยงามของสวนด้วยกัน  เนื่องจากคณะอักษรศาสตร์  ตั้งอยู่ภายในบริเวณ พระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งมีการตกแต่งปลูกต้นไม้และใช้สอยพื้นที่มานานนับร้อยปี ดังนั้นจึงมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มากมาย สร้างร่มเงาให้กับสถานที่ แสงแดดส่องลงมาไม่ค่อยถึง การออกแบบจัดสวน การเลือกใช้พรรณไม้และวัสดุต่าง ๆ ที่น�ำมาใช้ มีข้อจ�ำกัดอยู่มาก ชนิดของพรรณไม้และหญ้าควรเป็นชนิดที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มร�ำไร หญ้าควรมีให้น้อยที่สุดหรือ เฉพาะจุดที่จ�ำเป็นเท่านั้นบางจุดอาจใช้ไม้คลุมดินที่อยู่ในร่มได้แทน วัสดุอื่น ๆ เช่น หินกรวด และทางเดิน ก็สามารถน�ำมาใช้ ประกอบในสวนเพื่อเพิ่มเรื่องราวและเสน่ห์ให้กับสวนและยังมีประโยชน์ใช้สอยได้อีกด้วย





บ้านคุณสรรค์-คุณผาสุข เชื้อปัญญาวิทย์ จุดประสงค์เบื้องต้นของเจ้าของบ้านคือ  ต้องการมีสวนสวยงามไว้ส�ำหรับพักผ่อนยามเลิกจากงานและกลับมาบ้าน หรือไว้พักผ่อนในวันหยุด  พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ลุ่มเพราะเคยเป็นแปลงปลูกผักและไม้ตัดดอกขายมาก่อน  พื้นที่จึงประกอบไปด้วย ดินและร่องน�้ำใหญ่-เล็กมาก การน�ำดินมาถมแล้วจัดสวนจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินการเป็นอย่างมาก โจทย์ของงาน นี้ก็จะเป็นการจัดสวนที่มีประโยชน์ใช้สอยดังกล่าวในข้างต้น และต้องประหยัดงบประมาณด้วย ดังนั้นแนวคิดในการจัดสวน แห่งนี้จึงเป็นการจัดสวนน�้ำ ซึ่งก็จะตอบโจทย์ที่ต้องการได้ดีที่สุด ไม่ต้องน�ำดินมาถม เพียงขุดดินเดิมขึ้นมาสร้างเกาะแก่ง ก็ยัง ได้น�้ำธรรมชาติเข้ามาประกอบสวนได้เลย พืชพรรณไม้ที่ใช้ในสวนนี้ก็จะเป็นไม้น�้ำและไม้ชายน�้ำเป็นส่วนใหญ่ และสุดท้ายก็ได้ สวนส�ำหรับนั่งพักผ่อน ประหยัดงบประมาณ และยังมีพรรณไม้น�้ำมาให้ชื่นชมและรู้จักได้มากยิ่งขึ้น





บ้านคุณรังสรรค์ (หมู่บ้านร่มรื่น) บ้านหลังนี้แต่เดิมมีสระว่ายน�้ำภายหลังได้รื้อทิ้งไป  ท�ำให้มีหินทรายแดงที่รื้อออกจากสระมามากมายถึงร้อยกว่าก้อน  มีต้นไม้เดิมที่หมดสภาพแล้ว จึงจ�ำเป็นต้องย้ายออกไป แต่เจ้าของบ้านขอให้ช่วยเอาหินที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์บ้างเพราะเสียดาย  สวนนีจ้ งึ เป็นสวนทีม่ โี จทย์ให้ใช้หนิ ประดับสวนมากเป็นพิเศษ การออกแบบสวนนีต้ อ้ งการให้เป็นส่วนประกอบอาคารทีม่ ีบรรยากาศ  น่าอยู่อาศัยและดูอบอุ่นเป็นกันเอง





บ้านสวนร่มเกล้า-สุวรรณภูมิ งานชิ้นนี้เป็นการจัดภูมิทัศน์ในโครงการบ้านจัดสรร ซึ่งประกอบด้วย ส่วน หน้า ส�ำนักงานขาย บ้านตัวอย่าง ถนนเข้าหมู่บ้าน ไปถึงสวนสาธารณะของหมู่บ้าน จนถึงคลับเฮ้าส์ รูปแบบสวนที่น�ำมาให้ชมส่วนแรกเป็นส�ำนักงานขาย จะเป็นสวน ประกอบอาคารส�ำนักงานเป็นสวนหย่อมประกอบด้วย ไม้ดอก ไม้ประดับ ที่สวยงาม ให้บรรยากาศดูอบอุ่นเป็นกันเอง มืสะพานข้ามบ่อน�้ำเชิญชวนให้เดินเข้าไปเยี่ยมชม ในอาคาร  สวนในกลุ่มที่สองเป็นบ้านตัวอย่างที่มีสวนประกอบให้บ้านสวยงามและ น่าอยู่อาศัย โดยเฉพาะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อ








สวนดาดฟ้า สวนแห่งนี้เป็นสวนประกอบ Penthouse ที่ตั้งอยู่บนอาคารชั้นที่ 11 พื้นที่ ที่ใช้จัดสวนจริงเป็นส่วนระเบียงของอาคารและดาดฟ้า การท�ำงานควรศึกษาข้อมูล จากบุคคลหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการก่อสร้าง  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในเรื่องความ แข็งแรงของพื้นที่ที่จะจัดเกิดการรั่วซึม  เพราะพื้นที่ต้องแข็งแรงพอที่จะรับน�้ำหนัก วัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของสวน พื้นที่นี้เป็นดาดฟ้าชั้น 11 ที่อยู่สูงอยู่กลางแจ้งและรับแดดเต็มที่  ดังนั้น งานระบบน�้ำ-ไฟ จึงส�ำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งน�้ำจะต้องมี Sprinkler ตั้งเวลา ให้น�้ำเป็นระยะตลอดวัน เพื่อให้ต้นไม้ได้รับความชุ่มชื้นสม�่ำเสมอจะได้เจริญเติบโต และสดชื่นแข็งแรง เมื่ออยู่ที่สูงปัญหาเรื่องลมก็ส�ำคัญเช่นกัน การเลือกใช้ไม้จึงควร เป็นไม้ที่มีลักษณะพุ่มหรือใบสู้กับลมได้ด้วย



บ้านคุณหมอบังอร โอทกานนท์ พื้นที่จัดสวนเป็นส่วนที่เชื่อมอาคารหลังเก่าและหลังใหม่  นอกจากมีหน้าที่เชื่อมอาคารทั้งสองหลังแล้วยังท�ำหน้าที่ ประดับอาคารทั้งสองให้แลดูสวยงามน่าอยู่ และมีประโยชน์ใช้สอยร่วมกันอีกด้วย ช่องว่างระหว่างอาคารเป็นจุดที่มีร่มเงาจาก ตัวอาคารท�ำให้แสงแดดส่องลงไปไม่ถึง การออกแบบจึงน�ำวัสดุอื่น ๆ เช่น หินกรวดและทางเดิน มาช่วยเพิ่มเรื่องราวความ สวยงามและเสน่ห์ให้กับสวน ลดพื้นที่การใช้ต้นไม้ การดูแลรักษาสวนก็จะง่ายขึ้นอีกด้วย




บ้านสิบเก้าไร่ จากชื่อของบ้านก็บ่งบอกได้ว่ามีพื้นที่ทั้งหมด 19 ไร่ มีบ้านพักอยู่ในพื้นที่ 4 หลัง มีการจัดสวนซึ่งเป็นภูมิทัศน์โดยรอบ อยู่บ้างแล้ว แต่บ้านทั้ง 4 หลังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันสวนที่จะน�ำมาแต่งประกอบอาคารก็ควรจะเหมาะสมกับแต่ละ อาคาร แต่เมื่อมองภาพรวมแล้วก็จะสอดคล้องกันไปได้ทั้งหมด บ้านหลังแรกที่ต้องปรับปรุงและตกแต่งใหม่ เป็นบ้านที่ส�ำคัญที่สุด และเป็นบ้านประธานของครอบครัวมีต�ำแหน่งอยู่ ตรงศูนย์กลางของพื้นที่ 19 ไร่เป็นอาคารหลังใหญ่ดูภูมิฐานมั่นคงแข็งแรง การจัดวางผังพื้นที่ใช้สอยประกอบอาคาร ไม่ว่าจะ เป็นถนนวงเวียนและสนามหน้าบ้าน จะเป็นศูนย์กลางสู่ตัวอาคารการจัดสวนที่เหมาะสมที่สุดคือต้องท�ำหน้าที่ส่งเสริม และสร้าง ความโอ่อ่าสง่างามให้กับอาคาร การจัดสวนในรูปแบบนี้คือจะมี Plan และองค์ประกอบของสวนทั้งสองข้างของอาคารเหมือนกัน  (Symmetry) และเนื่องจากสวนดั้งเดิมเคยมีต้นไม้ใหญ่อยู่บ้างแล้ว ถ้าจะจัดลักษณะดังกล่าวข้างต้น จะต้อง Clear พื้นที่เดิม


ออกทั้งหมดและวางผังใหม่ แต่เพื่อจะให้เก็บรักษาต้นไม้ใหญ่ไว้บ้างจึงมีวิธีจัดอีกอย่างแต่ยังคงบรรลุวัตถุประสงค์แบบเดียวกัน  คือการจัดแบบ (Asymmetry) คือ Plan ไม่ได้เหมือนกัน แต่ความสมดุลทั้งสองข้างเหมือนกัน และพรรณไม้ที่น�ำมาใช้เพื่อ การนี้ดีที่สุดคือพรรณไม้ในกลุ่มปาล์ม บ้านหลังที่สองต้องการมีส่วนไว้พักผ่อนเมื่อยามเลิกงานกลับบ้าน หรือในวันหยุดให้มี บรรยากาศคล้ายส่วนญี่ปุ่นมีบ่อปลาสวยงามประกอบสวน ส่วนที่สามเป็นพื้นที่โล่งไม่มีอาคาร แต่มีวัตถุประสงค์ไว้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและพบปะกันในครอบครัวใหญ่ แม้ กระทั่งรับรองแขกที่ต้องการมีที่พักผ่อนสบาย ๆ นอกอาคาร สวนนี้จึงจัดเป็นสวนเลียนแบบธรรมชาติง่าย ๆ เหมาะแก่การดูแล  รักษามีศาลาประกอบสวนอีก 1 หลังเพื่อจะไว้นั่งพักผ่อนหรือพบปะสังสรรค์กัน




โรงเรียนสวนป่าเขาชะอางค์ โรงเรียนสวนป่าเขาชะอางค์ ตั้งอยู่ในอ�ำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี เป็นโรงเรียนสหศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วน จังหวัด มีการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย นอกจากมีการศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรวิชาสามัญทั่วไปแล้ว ทาง โรงเรียนยังมีกิจกรรมพิเศษที่ชื่อ “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” มีความประสงค์ที่จะให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชพันธุ์ไม้ยืนต้น และ พืชสมุนไพรต่าง ๆ  เพื่อให้การศึกษาเรียนรู้น่าสนใจและสนุกสนานในการเรียนมากยิ่งขึ้น  จึงได้น�ำพรรณไม้และพืชสมุนไพร เหล่านี้มาจัดแต่งเป็นสวนสวยงาม เพื่อที่จะได้ศึกษาและชื่นชมพรรณไม้ไปด้วยกัน ปกติเมื่อเราจัดสวนแล้วเราจะต้องดูแลรักษาสวนหลังการจัด เพราะต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตได้สวยได้ป่วยและ หายได้เราจึงต้องดูแลให้อาหารน�้ำปุ๋ยหรือยาเมื่อมีศัตรูพืช เช่น หนอน แมลง หอย หรือเชื้อรา มาท�ำให้ป่วยแต่ศัตรูพืชที่เขา  ชะอางค์จะแปลกกว่าที่อื่นที่เคยไปจัดมา เพราะที่นี่มีฝูงลิงที่ซุกซนจ�ำนวนมาก เพราะฉะนั้นการเลือกต้นไม้และพืชสมุนไพรที่มาจัดแต่งจะต้องลดหรือหลีกเลี่ยง พืชที่ล่อตาล่อใจ เช่น ไม้ผลต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการมีแอ่งน�้ำในสวน ไม้ที่มีฟอร์มสวยแต่กิ่งก้านเปราะบางก็จะต้องท�ำใจ เมื่อพวกเค้าพากันมาเยี่ยมชมสวน แต่ถึง อย่างไรก็ตามสวนแห่งนี้ก็จะมีบรรยากาศแปลกและน่ารักที่สุดแห่งหนึ่งนับตั้งแต่ออกแบบและตกแต่งสวนมา



บ้านคุณณัฐภัทร สุขแดง (บ้านคุณจุ้ม) บ้านพักหลังนี้อยู่ที่จังหวัดเชียงราย  ด้านหลังติดภูเขาและมีพรรณไม้พื้นถิ่นหลากหลายชนิด  การจัดสวนเป็นการจัด สวนประกอบอาคารให้มีบรรยากาศน่าอยู่อาศัย จึงจัดเป็นสวนธรรมชาติหรือเลียนแบบธรรมชาติ (Informal  Style) และจัด  แต่งเน้นให้มีบรรยากาศกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติเดิมที่นั่น ดึงน�้ำจากเชิงเขาเข้ามาเป็น ส่วนประกอบหนึ่งในพื้นที่ของสวนด้วย




บ้านคุณจารุวัฒน์ สุขพันธุ์ถาวร บ้านหลังนี้มีรูปแบบอาคารที่เรียบง่าย  แต่ดูสวยงาม  สบายตา  มีพื้นที่ สามารถจัดสวนประดับอาคารได้หลายแห่ง  มีต้นไม้ขนาดใหญ่ที่น�ำมาปลูกไว้แล้ว มากมาย  แต่ไม่ได้รับการออกแบบให้มีความสัมพันธ์และส่งเสริมอาคารให้น่าอยู่ อาศัย และยังเสียพื้นที่ที่ควรใช้ประโยชน์ที่ดีกว่าไปหลายส่วน การวางงานระบบก็ ไม่ได้ค�ำนึงถึงความสวยงามในภาพรวมเช่นกัน ดังนั้นการจัดแต่งสวนแห่งนี้จึงต้องท�ำงานหลายขั้นตอน  ตั้งแต่  Clear พื้นที่เอาต้นไม้ที่หมดสภาพและไม่เหมาะที่จะใช้ออกไป  ล้อมต้นไม้ใหญ่ที่ยังใช้ได้ ออกจากต�ำแหน่งเดิม  รอการกลับเข้ามาปลูกใหม่ในต�ำแหน่งที่เหมาะสมและดูมี คุณค่ามากกว่า ก�ำหนดเส้นตามการใช้ประโยชน์ในสวนใหม่ ซ่อนความไม่น่าดูของ งานระบบ เช่น ท่อน�้ำ หรือบ่อพักเท่าที่ท�ำได้



การน�ำต้นไม้มาปลูกใหม่ โดยเฉพาะไม้ต้น ก็จะต้องให้เหมาะสมกลมกลืนกับต้นไม้เดิมได้ ทั้งรูปทรง ขนาด โดย เฉพาะความสูง แต่ถ้าน�ำต้นไม้ใหญ่และขนาดแบบเดิมมาอีก ก็จะท�ำให้หนาแน่นไปหมด ดังนั้นต้นไม้ที่มีความสูงทัดเทียมกัน แต่มีทรงต้นสูงโปร่งสามารถประกอบอาคารได้อย่างสวยงาม ก็คือต้นไม้ในกลุ่มปาล์ม สวนแห่งนี้จะมีรูปแบบสวนเป็นสองสมัย ในปัจจุบันก็จะเป็นสวนที่เห็นจากในภาพที่น�ำมาจัดแสดง แต่ใน 3-5 ปีต่อ จากนี้ไป เมื่อปาล์มสูงขึ้น บรรยากาศภายในสวนก็จะโปร่งขึ้น มีแสงแดดส่องลงมาได้มากขึ้น ระดับความสูงของต้นไม้ และรูป ลักษณ์ของสวนก็จะเป็นไปตามแบบที่ Sketch มา งานชิ้นนี้เป็นการออกแบบสวนเพียงครั้งเดียว แต่จะได้รูปแบบของสวนเป็น สองแบบตามช่วงเวลา





ก่อนที่จะเห็นเป็นการจัดสวน


บทความ หนังสือ วิจัย



Bolo Tie คือของสะสมที่ข้าพเจ้าชอบ เพราะนอกจากมีความสวยงาม และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว ยังมีประโยชน์ใช้สอยอีกด้วย ทั้งยังเป็นศูนย์รวมน�้ำใจจากบรรดาญาติและมิตรของข้าพเจ้า


ในโอกาสจัดงานนิทรรศการในครั้งนี้ ข้าพเจ้าขอกราบขอบคุณ และขอบคุณ คุณชวน หลีกภัย คุณเสรี วังส์ไพจิตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์ศักดิ์ อารยางกูร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย สุทธะนันท์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ ดร.ธนาทร เจียรกุล คณบดี คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รองศาสตราจารย์อาวิน อินทรังษี อาจารย์ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส อาจารย์พัฒนา เจริญสุข อาจารย์ ดร.ไพโรจน์ พิทยเมธี ผู้อ�ำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป คุณบุญเลิศ - คุณเจริญศรี เจริญกุล คุณธีรศักดิ์ - คุณสมฤดี เลาหวานิช คุณณัฐพงษ์ เรืองเวช คุณอุดมศักดิ์ ก�ำเนิดโทน เจ้าของบ้านและสถานที่ทุกท่านที่ไว้วางใจให้ข้าพเจ้าสร้างผลงาน และได้น�ำมาร่วมจัดแสดงในครั้งนี้





Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.