5 Year Designer of Year

Page 1



ครึ่งทศวรรษนักออกแบบไทยแห่งปี The 5th for Designer of the Year โดย รองศาสตราจารย์เอกชาติ จันอุไรรัตน์

www.thaidesignerawards.com


Prologue The Designer of the Year Project was the brainchild of the Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University and has been successfully organized for five consecutive years. All Designer of the Year winners receive praise and admiration from society; their works are publicized and accrue sizeable interest. Students and young-blood designers alike have an opportunity to observe and be inspired by extraordinary design achievements. I have had a hand in this annual event organized by the Faculty of Decorative Arts from the outset. Each year, the development and creativity of the winners’ designs coupled with efficient organization are manifested. After annual selection, I usually follow up on feedback from the media and witness acceptance and admiration of the winners’ talents. Their efforts have helped to invigorate an attentive design circle that has no equal in the past. I have a strong belief that the mission of the Faculty of Decorative Arts is already on the right track. I give the “Designer of the Year” organizing committee total support and hope the award will continue to cut and polish new generations of designers for the global platform, in accordance with the initial objectives of the project. For the next stage, I hope the Faculty of Decorative Arts shall internationalize the Designer of the Year Award to become a sought-after and well-known achievement in Southeast Asia and beyond. I wish this mission great success. I hope it will become well-recognized and continue to identify qualified and creative leaders in Thailand’s design circle for the years to come.

Nithi Sthapitanonda National Artist

2


คำ�นำ� โครงการเส้นทางสู่ระดับสากลของนักออกแบบไทยแห่งปีของคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร ซึ่งได้ดำ�เนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลา 5 ปี นับได้ว่าเป็นโครงการที่ประสบความสำ�เร็จอย่างดียิ่ง ด้วย นักออกแบบที่ได้รับการเชิดชูเกียรติในทุกๆ ปี ได้รับยกย่องในสังคม ผลงานต่างๆ ที่ได้รับเผยแพร่ออกไปใน วงการได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง นักเรียนนักศึกษาและนักออกแบบรุ่นใหม่ๆ ได้มีโอกาสศึกษาหาความ รู้ มีโอกาสได้เห็นผลงานที่ดีๆที่มีคุณค่า ช่วยจุดประกายให้นกั ออกแบบรุน่ ใหม่ๆ มุง่ มัน่ สร้างสรรค์ผลงานทีด่ ๆี มากยิง่ ขึน้ การทีท่ างคณะมัณฑนศิลป์ ได้จดั กิจกรรมนีม้ าอย่างต่อเนือ่ ง กอปรกับผมได้มสี ว่ นร่วมในโครงการ มาตัง้ แต่ตน้ ได้เห็นพัฒนาการของการบริหารจัดการโครงการที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพขึ้นทุกๆปี รวม ทั้งได้เห็นผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัลในแต่ละปี มีความหลากหลายในเชิงสร้างสรรค์และได้มาตรฐานที่เป็น สากลมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุกๆครั้งที่ได้มีการตัดสินคัดเลือกผลงาน และมีโอกาสได้เผยแพร่ออกสู่สายตา สาธารณชน ผมได้เฝ้าติดตามถึงผลลัพธ์ต่างๆ จากทางสื่อหลายๆแขนง ทำ�ให้ทราบว่าสังคมให้การยอมรับ และมีความเลื่อมใสศรัทธาในความสามารถของนักออกแบบทุกๆคน ในทุกๆแขนง ผลงานของทุกๆ ท่านเหล่า นี้ มีส่วนช่วยปลุกกระแสให้วงการวิชาชีพออกแบบดูมีชีวิตชีวา มีความคึกคักขึ้นกว่าในยุคก่อนๆ ผมค่อนข้าง มั่นใจว่า ภารกิจที่ทางคณะมัณฑนศิลป์ได้ดำ�เนินการมานี้ได้ไปถูกทางแล้ว ผมขอสนับสนุนและเป็นกำ�ลังใจให้ คณะกรรมการดำ�เนินงานในเรื่องนี้ได้มุ่งมั่นจัดการให้รางวัล“Designer of the Year Award” นี้ ให้ดำ�เนิน ต่อไป เพื่อสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ๆ ให้ก้าวไปสู่ในระดับสากล ตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของการจัด ทำ�โครงการนี้ตั้งแต่แรกเริ่ม การก้าวเดินต่อจากนี้ไปผมหวังเป็นอย่างมากว่า ทางคณะมัณฑนศิลป์ จะผลัก ดันให้การให้รางวัล “Designer of the Year” มีความเป็นสากลมากยิ่งๆ ขึ้น เป็นที่รู้จักทั้งในภูมิภาคเอเซีย อาคเนย์และในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก เป็นรางวัลที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่ใฝ่ฝันของนักออกแบบผลิตภัณฑ์ทุกๆ คน ผมขออวยพรให้ภารกิจอันสำ�คัญนี้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป และมีชื่อเสียงขจรขจาย ควบคู่ ไปกับการผลิตบัณฑิตที่ดี มีคุณภาพ มีมาตรฐานที่เป็นสากล และมีความคิดสร้างสรรค์ที่กว้างไกลให้กับ วงการและประเทศชาติตลอดไป

นิธิ สถาปิตานนท์ ศิลปินแห่งชาติ

3


Commendation On the occasion of the Fifth Anniversary of Designer of the Year Award Project, annually organized by of the Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University, I am delighted to witness the successful continuity of the event. As an alumnus who partly propped up the project from the beginning, I realize that Silpakorn University plays a significant role in nurturing creative thinking talent for a certain period of time and takes part in creating cultural trends in Thai society. Unlike the last century, current globalization is a major system which grows larger and more complicated daily. We have to systematically look at ourselves as individuals or organizations. Research and development are tools for enhancing creativity and they require systematic practice for generating ultimate benefits. The “Designer of the Year� project has played a role in fostering creative people for one simple reason, the individual dies but society lives forever. In this connection, we have to produce and transfer creative work continuously to develop a collectivity society that can serve as a textbook repository of creative ideas for latter generations to learn from and adapt to suit ever-changing social contexts. We need to know that we live in a dynamic society. Those who work in creative careers need to update and expand their knowledge horizons regardless of whether they are in, for example, economics or innovative technology fields (particularly the design-driven production process) in order to create a brave new world for design economy. This will equip us with the potential to survive in the international arena. I would like to offer my felicitations to all winners of the Designer of the Year Award. I hope you enjoy seeking knowledge and improving your competency and your own competitive advantage while pursuing your creative dreams. You should be proud to be a part of inspiring a creative and livable society.

Bannanat Chaiyapan

4


คำ�นิยม เนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ปี โครงการเส้นทางสู่ระดับสากลของนักออกแบบไทย ซึ่งจัดขึ้น โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผมเองมีความยินดีทเ่ี ห็นโครงการนี้ ทำ�มาอย่างต่อเนือ่ ง ตัวผมเอง เคยเป็นศิษย์เก่าของทีน่ ้ี และมีส่วนในการสนับสนุนโครงการนี้ ด้วยเห็นว่าสถาบันนี้เป็นสถาบันที่ผลิตบุคลากร ในการปรุงแต่งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มาอย่างยาวนานและเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างสรรค์วัฒนธรรมให้กับ สังคมไทย ปัจจุบันนี้เรากำ�ลังอยู่ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีความแตกต่างกับศตวรรษที่ 20 ด้วยโลกปัจจุบัน นี้เป็น Globalization จึงเป็นสิ่งที่จำ�เป็นอย่างยิ่งที่เราต้องหันมามองตัวเราเองในฐานะบุคคลหรือองค์กร อย่างเป็นระบบ ดังนั้นเทคนิคในการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) จึงป็นเครื่องมือ ที่ช่วยในการพัฒนาของขบวนการ Creativity และกิจกรรมทั้ง 2 นี้ จำ�เป็นต้องนำ�มาใช้อย่างเป็นระบบถึง จะนำ�มาให้ได้เป็นประโยชน์สูงสุด ในการสร้างบุคลากรในการมีเจตจำ�นงค์ในการปรุงแต่งอย่างมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์(Creativity) โครงการ Designer of the Year เป็นส่วนหนึ่งในขบวนการนี้ เหตุผลง่ายๆคือ ใน ฐานะบุคคล หรือ ปัจเจกชนเรานั้นต้องตายไปเป็นธรรมดา แต่ตัวสังคมนั้น ยังคงอยู่ตลอดไป ดังนั้นเรา จำ�เป็นต้องผ่องถ่าย สืบทอดและผลิตผลงานสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อจะสร้าง Collectivity Society เพื่อเป็นบทเรียนและเป็นเสมือนห้องสมุดของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ เรียนรู้ และปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัยที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดไป เราต้องตระหนักว่า สังคมที่เราอยู่มันเป็น Dynamic Society เราผู้ที่ทำ�งานความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ จำ�เป็นอย่างยิ่งที่เราต้อง Update ตัวเราเอง และในขณะเดียวกันเราต้อง ขยายองค์ความรู้ให้ รอบด้านไม่ว่าจะเป็นสาขาเศรษฐศาสตร์หรือTechnologyใหม่ๆ ฯลฯ เพื่อที่เราจะมีศักยภาพในการต่อสู้ใน ระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจุบันการผลิตโดยหลัก Design Driven บริษัทต่างๆให้ความสนใจ เพื่อสร้าง Design Economy ผมขอแสดงความยินดี กับผู้ที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ ขอให้สร้างสรรค์งานอย่างต่อเนื่อง หาความรู้ ปรับปรุงตัวเองให้มีความสามารถแข่งขันในระดับโลกได้อย่างสง่างาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความภาค ภูมิใจที่มีส่วนสร้างสังคมไทยให้มีคุณภาพเต็มไปด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีส่วนช่วยให้สังคมไทยเป็น สังคมที่น่าอยู่

บรรณนาท ไชยพาน

5


Commendation The way of art creation by the artists commenced through the practice, experiment and technical study to have more development in their works under the value of thought and creative skill as same as the creative works of designers who need to practice and progress their creations to accumulate more tangible thought. The project “Designer of the Year” has continually established since 2004 in the purpose of selecting the new generation designers who have high creative capability in Thai society, in a meanwhile, its intends to encourage and promote their works to the public and also widely distribute the knowledge and understanding in art of design to the society. Nowadays, “Designer of the Year” maintains own responsibility in selecting the best designer. As I am an artist and a part of establishers, I am very pleasure to the continuous progression in the field of design. By this reason, I can compare the project “Designer of the Year” as same as the National Exhibition of Art Competition that is concerned as the national stage for the artists and designers in Thailand. The value of designed creation must regard to own identity of designers, its cannot evaluate only the beauty of any objects or the qualities of equipments, as a result, their works will be concerned in an artistic value and price by the public. It is comparable with the immortal art that cannot realize only the beauty and techniques of artistic and meticulous works but is necessary to communicate individual concept and philosophy to the society as an intention of the artists through visual art and commercial art. They expect that their works are worth and can be the public properties in the future. Finally, I hope “Designer of the Year” will be the potency of encouragement and support to the new generation designers in the urban and have more progression in all designed creations in Thailand.

Assoc.Prof. Thavorn Ko-Udomvit

6


คำ�นิยม เส้นทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของศิลปินมากมาย เริ่มต้นจากการฝึกฝน ทดลอง และเรียนรู้ เทคนิคการพัฒนาผลงานให้ลึกซึ้ง ด้วยคุณค่าทางความคิดและทักษะในการแสดงออก เฉกเช่นเดียวกันกับการ สร้างสรรค์ผลงานของนักออกแบบ ที่ต้องเริ่มต้นด้วยการฝึกฝน ทดลอง และพัฒนาทักษะในการทำ�งาน เพื่อ เพิ่มพูนความลุ่มลึกทางความคิดให้ปรากฏขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม โครงการ Designer of the Year หรือ โครงการคัดสรรนักออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี เป็นโครงการ ต่อเนื่องที่ริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยมีเป้าประสงค์อยู่ที่การเฟ้นหานักออกแบบรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ ในการสร้างสรรค์อันโดดเด่นในสังคมไทย เพือ่ สนับสนุนและส่งเสริมการนำ�เสนอผลงานต่อสาธารณะชน ตลอด จนเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านศิลปะการออกแบบให้ขยายไปสู่การรับรู้ของสังคมในวงกว้างจวบจนปัจจุบัน โครงการคัดสรรนักออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี ก็ยังคงรักษาพันธกิจแห่งการค้นหานักออกแบบผู้มีแนวความ คิดในการสร้างงานอันน่าจับตา และในฐานะส่วนหนึ่งของผู้ริเริ่มโครงการนี้ ผมจึงมีความรู้สึกยินดีอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเกิดขึ้นในวงการออกแบบ อีกทั้งในฐานะของศิลปินคนหนึ่งที่ผูกพันใกล้ชิดอยู่ ในวงการศิลปะ ทำ�ให้ผมมองโครงการคัดสรรนักออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี เป็นเสมือนการประกวดศิลปกรรม แห่งชาติสำ�หรับนักออกแบบ ซึ่งถือเป็นเวทีใหญ่ระดับประเทศสำ�หรับศิลปินและนักออกแบบในเมืองไทย การสร้างสรรค์งานออกแบบให้ทรงคุณค่า มิได้มีเป้าประสงค์อยู่เพียงแค่ความสวยงามของวัตถุ หรือคุณสมบัติอันพร้อมสรรพของเครื่องมือเครื่องใช้ หากแต่จำ�เป็นต้องมีความพิเศษอันเป็นอัตลักษณ์ จากตัวตนของผูส้ ร้างงาน ซึง่ จะทำ�ให้ชน้ิ งานเป็นทีย่ อมรับแก่สาธารณะชนทัง้ ในทางคุณค่าและมูลค่าทีส่ ง่ เสริม กันและกัน เฉกเช่นเดียวกันกับงานศิลปะอันเป็นอมตะ ซึ่งไม่ได้มีแค่ความงามหรือเทคนิคการสร้างงานที่ ละเอียดอ่อนประณีต หากแต่จำ�เป็นต้องมีแนวความคิดและปัจเจกปรัชญาที่ให้สาระทางความรู้สึกแก่สังคม สมดัง่ เจตจำ�นงของบุคคลทีพ่ งึ ปวารณาตนเป็นคนทำ�งานศิลปะ ไม่วา่ ในสายงานทัศนศิลป์หรืองานพาณิชย์ศลิ ป์ ซึ่งมุ่งหวังให้การสร้างสรรค์ผลงานของตนมีคุณค่าและเป็นสาธารณะสมบัติของสังคมต่อไปในอนาคตและ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการคัดสรรนักออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี จะเป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุนสำ�หรับนัก ออกแบบรุ่นใหม่ในเมือง เพื่อให้เกิดการพัฒนางานสร้างสรรค์ให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไปในประเทศไทยของเรา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ถาวร โกอุดมวิทย์

7


Commendation Five years passed like a lie and the next period of several years has not arrived. The project was established and its became the memorable past and the next project will be the anticipation of futurity. The admiring words are without any usefulness unless we are able to be accepted in the field of design through five years. Therefore, we need to study from all mistakes and give an inspiration to the people in the society since the roles and functions of design are significant to the art and cultural development and innovation. I am appreciative to an intention of project committee and establisher who planned the systematic processes and faced to the difficulty in collecting several designed works. We have to understand that the determination of screening jury members are an essential process of consideration, the prizes award winners are proud with their obligations, some awards are very hard to perform. I personally think that any awards are not the most important of this activity but they are essential to the participants. Finally, the continuous workaholic has creativity, earnestness and can apply in design, its has more important than any awards. Many designers have never gotten any awards through their life, the jury is a process of supposition, not for all truths but is only suitable to this situation. Most significant awards of designers and artists are happiness and enjoyable with their creations including they have an opportunity to progress from their intangible to tangible concepts. The award hanged on the wall and placed on the mantle. It is partly defaced and became to be proud-hearted and impression to the past. The awarded artwork can bring happiness to the people. I hope all prizes award winners, the designers who almost get the awards and one are hard to get the awards including one have never wanted the awards will be enjoyable with their creations . Especially, I wish the establishers and teamwork through five years of this project are healthy and have success in their creation to develop the designed works as the intellectual heritage of nation from the new generation of nation. Finally, I expect that all designs can solve the problems to the human, animals on air, earth and under water, additionally, overall environmental situation of world in which full of rubbishes will likely revive and can participate to get the award of goodness and beauty throughout the year.

Chukiet Likhitpanyarat

8


คำ�นิยม ระยะเวลาห้าปีได้ผ่านไปเหมือนโกหก และระยะเวลาอีกหลายต่อหลายปีที่ยังมาไม่ถึง งานที่ถูกจัดขึ้น นั้น มันได้กลายเป็นอดีตกาลที่ถูกจารึกไว้ และงานที่จะจัดต่อไปเป็นการคาดหวังของอนาคตกาล คำ�นิยมนั้น คงไม่มีประโยชน์อันใด ถ้าในระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมาเราไม่สามารถสร้างความนิยมอะไรเลยให้กับวงการงาน ออกแบบขึ้นมาได้ หวังใจว่าเราคงได้รับการเรียนรู้จากความผิดพลาด และได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คน ในสังคมต่อๆไป เนื่องด้วยการออกแบบนั้น มีบทบาท หน้าที่ และความสำ�คัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการ เปลี่ยนแปลงของ ศิลปะ วัฒนธรรม ผมต้องขอแสดงความชื่นชมในแนวทางความตั้งใจของคณะกรรมการ ผู้จัดงาน และผู้คิดริเริ่มโครงการ ระบบ ระเบียบในการเตรียมการ ความลำ�บากในการจัดหา และ จัดเตรียม ข้อมูล รวมถึงผลงานการออกแบบมากมาย การตัดสินใจของกรรมการ และผู้มีส่วนรวมในการตัดสิน เรา คงต้องทำ�ความเข้าใจกับการตัดสินผลงานซึ่งเป็นขบวนการสำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดการให้ และการรับรางวัลนั้นเป็น ทั้งความภาคภูมิใจ และมันก็มาพร้อมกันกับภาระ หน้าที่ รางวัล บางรางวัลก็หนักอึ้งเอาการ โดยส่วนตัวผมมองว่ารางวัลนั้นมิได้เป็นความสำ�คัญที่สุดของการจัดกิจกรรมนี้ แน่นอนว่ามันคงมี ความสำ�คัญอยู่มาก แต่ในที่สุดการทำ�งานหนัก ต่อเนื่อง ความคิดสร้างสรรค์ ความตั้งใจจริง และ การนำ� มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ของนักออกแบบนั้นมีความสำ�คัญมากกว่ารางวัลใดๆ นักออกแบบหลายท่าน อาจไม่ได้ รางวัลอะไรเลยชั่วชีวิต ด้วยว่าการตัดสินความใดๆนั้นไม่สามารถถูกต้องเต็มร้อย ขบวนการต่างๆบางครั้ง เป็นเพียงสภาวะสมมุติ เป็นเพียงที่เหมาะสมกับกาละและเทศะนั้นๆ รางวัลชีวิตที่สำ�คัญสุดของนักออกแบบ และ ผู้สร้างสรรค์งาน นั้นน่าจะเป็นความปิติสุขที่ได้คิด และสนุกอยู่กับวิธีคิดนั้น ตลอดจนมีโอกาสพัฒนา แนวความคิดนั้นจากนามธรรมเป็นรูปธรรมที่ลูบคลำ�ได้ รางวัลนั้นจะถูกแขวน ไว้บนผนัง ตั้งอยู่บนหิ้ง และ ก็จะลบเลือนไป กลายเป็นความประทับใจ และ ภาคภูมิใจในอดีต ส่วนผลงานที่ทำ�ให้ได้รางวัลนั้นได้นำ�พาความสุขมากมายมายังผู้คน ท้ายสุดแต่อาจจะไม่ใช่สุดท้าย ผมหวังว่าผู้ได้รับรางวัล ผู้ที่เกือบได้รางวัล ผู้ที่ห่างไกลกับการได้ รางวัล ผูท้ อ่ี ยากได้รางวัลสุดๆและผูท้ ไ่ี ม่เคยอยากได้รางวัลอะไรเลย จะมีความสนุกสนานในการสร้างงานต่อๆไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ริเริ่ม และผู้คนที่อยู่เบื้องหลัง เบี้องหน้า ผู้จัดเตรียมความสำ�เร็จทั้งปวงในการจัดงาน ที่ผ่านพ้นห้าปีแห่งความหลัง ทั้งรัก ทั้งชัง และขมขื่น จะมีสุขภาพจิต สุขภาพกาย และ สวมวิญญาณแห่ง การสร้างสรรค์ เพื่อจะสร้างและพัฒนางานดีๆเช่นนี้ต่อไป เพื่อเป็นมรดกทางปัญญาให้กับอนาคตคลื่นลูกใหม่ ของประเทศชาติ ด้วยความหวังว่าในทีส่ ดุ งานออกแบบจะช่วยแก้ปญ ั หา ให้ฝงู มนุษย์ ฝูงสัตว์บนอากาศ บนพืน้ ดิน ใต้ผิวน้ำ� และสภาวะแวดล้อมโดยรวมของโลกที่เต็มไปด้วยขยะใบนี้ จะมีโอกาสฟื้นคนชีพและได้ร่วมรับรางวัล ความดีและงดงามตลอดปี

ชูเกียรติ ลิขิตปัญญารัตน์

9


Commendation Designer of the Year A Treasured Award for Thailand’s Design Circle A Reward for Designers not for Design Work The Output is an Indication of Perseverance Proficiency, Commitment, Talent and Continuity… Many Can Step onto the Global Stage Become Known and Recognized because of this Award The Designer of the Year Awards – this tradition of excellence must persist within the Thai design circle in perpetuity.

Sakkachat Sivabovorn

10


คำ�นิยม รางวัลอันทรงคุณค่าของวงการนักออกแบบของเมืองไทย รางวัลสำ�หรับนักออกแบบ ไม่ใช่ สำ�หรับผลงานการออกแบบ ผลงานเป็นเพียงสิ่งที่แสดงให้เห็นถึง “ร่องรอย” ของความอุตสาหะ ฝีมือ ความทุ่มเท พรสวรรค์และความต่อเนื่อง... นักออกแบบหลายท่านได้มีโอกาสยืนขึ้นสู่เวทีที่กว้างไกลมากขึ้น มีผู้คนรู้จักและยอมรับมากขึ้น ก็จากรางวัลนี้ รางวัล “DESIGNER OF THE YEAR” ต้องอยู่และยิ่งใหญ่ คู่วงการออกแบบของไทยตลอดไปครับ

สักกฉัฐ ศิวะบวร

11


Commendation When the Department of Export Promotion obtained approval from the Cabinet in May 2010 for the establishment of the Thailand Design Center, the first of its kind in the country, it realized that the designer is the most crucial factor in the successful packaging of design concepts. In this connection, the Department of Export Promotion initiated various projects to increase the potential of Thai designers in targeted export industries including garments and textiles, jewelry, furniture, leatherware, home decoration and related businesses. This resulted in outstanding design and manufacturing processes that have been received very positively by foreign trading partners. Over the past five years, Silpakorn University has initiated the “Designer of the Year” Project to publicly honor the skills of Thai designers. Annual selection highlights the quality of Thai designers’ outputs that match international standards. Silpakorn University is the oldest and most reputable higher education institution in the country to offer extensive knowledge in design arts. The Faculty of Decorative Arts provides full collaboration to government entities including the Department of Export Promotion. The Faculty’s mission to identify the Designer of the Year generates pride among Thailand’s virtuosos in the design circle. As Thailand’s design promoter, I am grateful for the commitment of the Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University, designers, lecturers and the adjudicating committee who jointly drive development in the professional design circle. You have my wholehearted support in this endeavor.

Supattra Srisuk

12


คำ�นิยม เมื่อกรมส่งเสริมการส่งออกได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในการจัดตั้งศูนย์ออกแบบแห่ง แรกของประเทศไทยในเดือน พฤษภาคม ปี 2533 หนึ่งในปัจจัยสำ�คัญในการขับเคลื่อนการออกแบบผลิตภัณฑ์ ของประเทศ คือนักออกแบบ นั่นเอง ด้วยตระหนักในความสำ�คัญดังกล่าว กรมส่งเสริมการส่งออกจึงได้จัดทำ�โครงการต่างๆ ในการ พัฒนานักออกแบบของไทยให้มีศักยภาพ เป็นที่ยอมรับของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในการส่งออกได้แก่ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับอัญมณี เฟอร์นิเจอร์ เครื่องหนัง ของใช้ของตกแต่งบ้าน และสินค้า อุตสาหกรรมทีเ่ กีย่ วข้อง ทำ�ให้มกี ารเชือ่ มโยงนำ�ไปสูก่ ารออกแบบและการผลิต ทีโ่ ดดเด่น เป็นทีย่ อมรับของคูค่ า้ ในประเทศต่างๆอย่างกว้างขวาง และเมื่อ 5 ปี ที่แล้ว มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ริเรื่มทำ�โครงการเส้นทางสู่ ระดับสากลของนักออกแบบไทยแห่งปี (Design of the year) ขึ้น เพื่อเชิดชูวิชาชีพด้านการออกแบบของไทย เผยแพร่สู่สาธารณชน ซึ่งการคัดสรรนักออกแบบในทุกๆปี แสดงให้เห็นถึงความมีคุณภาพของผลงานของ นักออกแบบไทย ที่สามารถแข่งขันได้ในเวทีสากลเพิ่มมากขึ้นตามลำ�ดับ จะเห็นได้วา่ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึง่ นับได้วา่ เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านศิลปะการออกแบบทีเ่ ก่าแก่ และมีชื่อเสียงที่สุดของประเทศ โดยคณะมัณฑณศิลป์ ได้เห็นความสำ�คัญในจุดนี้และทำ�งานสนับสนุนต่อยอด จากผลการทำ�งาน ของหน่วยงานของรัฐคือ กรมส่งเสริมการส่งออก ได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งในการคัดเลือกนักออกแบบเข้าสู่ขบวนการ เป็นไปด้วยความตั้งใจอันดีมีรายละเอียดข้อมูลเพื่อประกอบ การตัดสินใจคัดเลือก มีความเที่ยงธรรม และทำ�ให้เชื่อแน่ได้ว่า นักออกแบบที่ผ่านการคัดเลือกจะเป็นตัวอย่าง ที่ดีของความภูมิใจ ในวิชาชีพนี้ ดิฉันในฐานะของการเป็น Design Promoter ของประเทศตลอดมา ขอแสดงความชื่นชมในการ ดำ�เนินการของคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นักออกแบบ คณาจารย์ และคณะกรรมการคัดเลือก นักออกแบบ ที่ร่วมกันสนับสนุนผลักดันให้วิชาชีพนักออกแบบมีความพัฒนารุ่งเรือง เป็นกำ�ลังใจและร่วมใน การต่อยอดกิจกรรมส่งเสริมนักออกแบบ ให้มีความมั่นคง ยั่งยืน สืบไป

นางสุพัตรา ศรีสุข

13


Commendation It’s very admirable that the Designer’s Path to International Project (Designer of the Year) was initiated by the Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University, the oldest by the most well known art and design university in Thailand. It’ s main purpose aims to honor, and publicize Thai designers, so that Thai designers may continue to produce internationally-recognized work. As one of the reviewing committee members, I am very impressed by the improvement of Thai design that has been moving toward international standard. Some of those outstanding characteristics which distinguish Thai design from other international design are the unique sense of aesthetic and the quality of the art and craft skill derived from our own cultural heritage for more than thousand years which clearly manifests itself on many contemporary design pieces. I would like to congratulate the Faculty of Decorative Arts and the related organizations that have contributed and supported the Designer’s Path to International Project. I believe that by supporting Thai designers to understand their roles in business, social and cultural aspects, material and technology with the respect and concern of environment the project will definitely move toward more and more success and Thai design will be glorified on international level as intended by the visionaries at the Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University.

Assoc.Prof.Pisprapai Sarasalin Dean of Academic Affairs

14


คำ�นิยม เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่โครงการเส้นทางสู่ระดับสากลของนักออกแบบไทยแห่งปี (Designer of the Year) เป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นโดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึง่ เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะทีเ่ ก่าแก่ และมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย อันมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูเกียรตินักออกแบบของไทยให้เป็นที่รู้จักและเพื่อ ส่งเสริมศักยภาพของนักออกแบบไทยรุ่นใหม่ให้สร้างสรรค์ผลงานออกแบบทัดเทียมมาตรฐานระดับนานาชาติ ดิฉันในฐานะที่ได้รับเกียรติให้มีส่วนร่วมเป็นกรรมการตัดสินในโครงการนี้ มีความประทับใจเป็น อย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเห็นการพัฒนาคุณภาพผลงานออกแบบสร้างสรรค์ของนักออกแบบรุ่นใหม่ กำ�ลังก้าวไปสู่ มาตรฐานระดับนานาชาติ ผลงานออกแบบร่วมสมัยจำ�นวนหลายชิ้น มีเอกลักษณ์โดดเด่น จากงานออกแบบ ในระดับนานาชาติอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในด้านความงดงามทางสุนทรียศาสตร์ที่ไม่เหมือนใคร รวมทั้ง ความประณีตในศิลปะและฝีมือช่าง ที่เป็นมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมมานานนับพันปี ดิฉันจึงขอแสดงความยินดี ต่อคณะมัณฑนศิลป์ และทุกหน่วยงานที่ได้ให้การสนับสนุนในโครงการ เส้นทางสู่ระดับสากลของนักออกแบบไทยแห่งปีและดิฉันมีความเชื่อว่า การส่งเสริมและสนับสนุนนักออกแบบ ไทยให้เข้าใจในบทบาทของตน ทั้งในด้านธุรกิจ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านวัสดุและเทคโนโลยี และด้าน ความเคารพในสิ่งแวดล้อม จะทำ�ให้โครงการเส้นทางสู่ระดับสากลของนักออกแบบไทยแห่งปีประสบความ สำ�เร็จยิ่งๆขึ้น ในการที่จะได้เห็นผลงานนักออกแบบของไทยเป็นที่ยกย่องเชิดชูในระดับนานาชาติ สมดัง เจตนารมณ์ และวิสัยทัศน์ของคณะผู้บริหารของคณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร

รองศาสตราจารย์พิศประไพ สาระศาลิน คณบดีคณะศิลปะและการออกแบบ

15


Commendation Designers: Key Instruments in the National Economy After the end of the Second World War in 1946, Thailand’s manufacturing sector commenced Original Equipment Manufacturing (OEM) for European and US companies. Thirty years after the war, Thai designers were not in demand as European and US entrepreneurs had moved to developing countries, including Thailand, because of cheap labor, inexpensive industrial raw materials, land availability and low construction costs and business taxes. Compared with products manufactured in Europe or the US, production costs in developing countries were far cheaper. From 1987 to 1992, China opened up and changed from its socialist economic system to market liberalization; it also entered into a number of Free Trade Agreements. European and the US companies once again moved their manufacturing bases to China for cheaper labor. The Thai government spearheaded by the Ministry of Commerce, the Ministry of Industry and the Federation of Thai Industries changed national policy by promoting quality products under indigenous trademarks, curbing OEM service and marketing products and services in-country and overseas. After 1987, designers became key instruments of quality. They developed skills and potential to become small clusters of nationally-renowned professionals. More and more capable designers in various fields were in high demand. In 2005 Silpakorn University designated the Faculty of Decorative Arts to offer the Designer of the Year Award on an annual basis. This is the best-fit of space and time as it creates advantages and benefits for Thai designers by offering opportunities and platforms for showcasing their talent to the design circle and to the public at large. The award also creates awareness among industrialists that designers are essential partners in the manufacturing business. Capable designers also ensure development in the industrial sector on par with leading industrial countries in Europe and North America, as Thai products are known for quality in taste, design and production. As such the national economy flourishes and so does the well-being of Thai citizens. The government should give support to and make the Designer of the Year Award an international-level event.

Assoc. Prof. Sone Simatrang Director, Art Center, Silpakorn University

16


คำ�นิยม “นักออกแบบ คือ ต้นน้ำ�ของเศรษฐกิจชาติ” นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่2 เมื่อพ.ศ. 2489 ธุรกิจการผลิตสินค้าของไทย เริ่มต้นในรูป แบบรับจ้างพ่อค้าชาวยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทำ�การผลิตสินค้าตามแบบที่พ่อค้ากำ�หนดให้กระบวนการผลิต สินค้าในระยะเวลาประมาณ 30 ปี หลังสงครามโลกฯ จึงไม่ต้องการนักออกแบบผลิตภัณฑ์ เหตุที่พ่อค้า ชาวยุโรปและสหรัฐอเมริกามาว่าจ้างผลิตสินค้าในประเทศด้อยพัฒนา รวมถึงประเทศไทยด้วย เพราะค่าแรง คนงาน ค่าวัสดุดิบ ค่าที่ดิน ค่าก่อสร้างอาคารโรงงาน และค่าภาษีธุรกิจ รวมค่าใช้ทุกรายการแล้วเป็นต้น ทุนผลิตสินค้ายังจัดว่าราคาถูกมากเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนผลิตสินค้ารายการเดียวกันในประเทศยุโรปและ สหรัฐอเมริกา ประมาณพ.ศ. 2530-2535 ประเทศจีนได้เปิดประเทศและปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มาเป็นเสรีนิยม และลงนามเข้าเป็นประเทศการค้าเสรี พ่อค้าชาวยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้ย้ายฐานการผลิต สินค้าจากประเทศด้อยพัฒนารวมถึงประเทศไทยไปตั้งฐานการผลิตใหม่ในประเทศจีน ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำ� กว่าประเทศไทย รัฐบาลไทยโดยกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรมและสภาอุตสาหกรรม ต้องปรับเปลี่ยน นโยบายระดับชาติให้ส่งเสริมการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมีเครื่องหมายการค้าของคนไทย ลดการรับจ้างผลิต เพื่อออกจำ�หน่ายทำ�การตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ นักออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นต้นน้ำ�แห่งคุณภาพ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2530 นักออกแบบได้พัฒนาทักษะและศักยภาพเป็นมืออาชีพ มีชื่อเสียงระดับชาติจำ�นวนหนึ่ง ไม่มากนัก ประเทศชาติยังต้องการนักออกแบบผลิตภัณฑ์มืออาชีพอีกจำ�นวนมาก การที่มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ริเริ่ม และมอบให้คณะมัณฑนศิลป์ ดำ�เนินการโครงการเชิดชูเกียรติ “The Best Designers of The Year” ต่อเนือ่ งมาตัง้ แต่ พ.ศ. 2548-2553 เป็นจำ�นวน 5 ครัง้ จัดเป็นโครง การฯที่ดีมาก เหมาะสมแก่เวลาและสถานการณ์ จะเป็นคุณประโยชน์ต่อนักออกแบบคนไทย ได้มีเวทีและโอกาส แสดงความสามารถต่อวงการศิลปะออกแบบและสาธารณะ จะสร้างมโนสำ�นึกนักอุตสาหกรรมได้เห็นความ สำ�คัญของนักออกแบบ ว่าความจริงนักออกแบบคือหุน้ ส่วนธุรกิจของธุรกิจการผลิต มีผลทำ�ให้ภาคอุตสาหกรรม เจริญทัดเทียมประเทศอุตสาหกรรมในยุโรปและสหรัฐอเมริกา เพราะสินค้าของไทยมีคุณภาพมีรสนิยม มีการออกแบบที่ดี และการผลิตที่ดี สุดท้ายเศรษฐกิจของชาติจะมั่งคั่ง ประชาชนมีรายได้ตามอัตภาพ รัฐควรสนับสนุนให้โครงการฯ นี้ดำ�เนินต่อเนื่องและยกฐานะให้เป็นงานระดับชาติ

รองศาสตราจารย์สน สีมาตรัง ผู้อำ�นวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

17



สารบัญ คำ�นำ� / Prologue 2 คำ�นิยม / Commendations 4 สารบัญ / Contents 19 บทสรุป / Epilogue 20 บทนำ� / Introduction 24 งานสร้างสรรค์ของนักออกแบบไทยและภูมิปัญญาไทย / Creativity of Thai Designers and Local Intelligence 27 การพลิกวิกฤตเป็นโอกาสหลังปี 2540 / ความคิดและการสร้างสรรค์ / ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยและ ลักษณะภูมิปัญญาไทย / ที่มาของนักออกแบบไทยรุ่นใหม่ / สถานที่แจ้งเกิดของนักออกแบบไทยรุ่นใหม่ Turn Crisis into Opportunity after 1997 Economic Turmoil / Thinking and Creativity Local Intelligence and Its Traits / Origin of Thai Design New Bloods / Where a Star is Born! ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในการส่งออก / Popular Export Products 37 ประเภทเครื่องเรือน และผลิตภัณฑ์ต่างๆ / Furniture and Accessories ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบผลิตภัณฑ์ / Influential Factors for Change in Product Design 50 พลวัตทางสังคม เศรษฐกิจ / กระแสวัตถุนิยม วัฒนธรรมบริโภค / รูปแบบการดำ�รงชีพวิถีตะวันตก / ค่านิยมศิลปะการออกแบบ Socio-Economic Dynamism / Materialistic Trend, Consumerism Culture Western’s Way of Life / Social Value and Design ศิลปะการออกแบบและศิลปวัฒนธรรม / The Art of Design and Cultural Arts 51 ศิลปวัฒนธรรมตะวันออก / ศิลปะการออกแบบตะวันตก / ศิลปะการออกแบบยุคโลกาภิวัตน์ The Art of Design in the Eastern World / The Art of Design in the Western World The Art of Design in the Globalized Era แนวทางการส่งเสริมการตลาดและผลิตภัณฑ์งานออกแบบไทย / Marketing and Design Product Promotion 56 กลยุทธ์ขององค์กรภาครัฐ / Government Strategies ภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ของไทย / Image of New Products ประเภทงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ / เครื่องเรือนจักสานส่งออกของไทย / รูปแบบแนวใหม่ของผลิตภัณฑ์ไทย ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ / เครื่องปั้นดินเผา / ประเภทผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน / เครื่องประดับ / สิ่งทอและเส้นใย Furniture Design / Export Wickerwork Furniture / New Trends of Thai Products Other Products / Ceramics / Home Decorative Arts / Jewelry / Fabric and Textile นักออกแบบแห่งปี 2004-2009 / Designer Directory 2004-2009 โครงการนักออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี 2004-2009 / Designer of the year Project 2004-2009 คณะกรรมการตัดสิน ปี 2004-2009 / The Jury for Designer of the Year Awards 2004-2009 คณะกรรมการดำ�เนินงานปี 2010 / Designer of the Year Committee 2010

80 175 184 187


Epilogue Half a Decade of Designer of the Year Silpakorn University kick-started the annual presentation of the Designer of the Year Award in 2004. In 2009, it obtained cooperation from the Thailand Creative & Design Center (TCDC) and the Department of Export Promotion to honor Thai designers who brought prestige to the country. It also conceptualized a national gallery as a learning center to inspire new generations of designers and the general public. Design works were divided into five categories: Furniture Design Ceramics Design Product Design Jewelry Design Textile and Fabric Design Each category represents outstanding development and export income from the products is satisfactorily high. Establishing Original Design Manufacturers (ODM) and Original Brand Manufacturers (OBM) has been mooted as well. In recent years Thailand and other countries in all corners of the world have encountered economic challenges such as the economic crisis of 1997 and the attacks on the World Trade Center in New York and their after-effects. These incidents were drastic events, yet they offered new opportunities for creativity. During this period, technology has also advanced spectacularly, in particular international linkages via the Internet. Eastern and western cultures have been blended generating new creations in arts and design, using new inputs such as petrochemical byproducts as well as natural products, which have resulted in considerable interest. In Thailand, intelligent selection of locality has been developed and blended to fit ever-changing global trends. Opting for natural materials, conventional design and enhancement of local resources inspired the One Tambon One Product (OTOP) Project that has helped to generate extra income for communities nationwide. Such motivation has assisted Thai designers in various fields. However, they are scattered and have yet to receive the full benefits of development opportunities. Many of them worked for Original Equipment Manufacturing (OEM) entrepreneurs, which provided less scope to showcase their proficiency in original design. In this connection, the Designer of the Year Project, the brainchild of Silpakorn University in cooperation with profession organizations, was initiated to foster

20


and support national- and world-renowned role models for Thai designers. The project was initiated in 2004, the adjudicating selection panel comprising prominent Thai and foreign designers from Italy, Japan and England. This was the first step for acknowledging Thai designers before advancing their outputs to the international level and was partly responsible for making Thailand a design hub in the region. Nevertheless, some factors have influenced changes in and development of products; for instance, materialistic trends and the culture of consumerism that has mixed western culture with indigenous skills and created glocal (global + local) art forms that are truly representative of design in the globalization era. To enhance the skills and potential of Thai designers, there has been joint cooperation to strategize marketing promotion for Thai design products in the global marketplace. These strategies were formulated by the government sector to answer the burgeoning national and international needs for high quality and exquisite design products, in cooperation with various organizations to promote industries and export, introduce OTOP products to the world and address issues in the manufacturing process. Major markets for Thai furniture and designers’ products are the United States (US), China, India and the European Union. Exports are generally showing a positive trend, with a few drawbacks, which include designer deficiency as most of our business is in the OEM sector. It is important to increase the potential and competency of Thai designers, focusing on building our own brands especially in furniture, wickerwork furniture, home decorative arts, household utensils, ceramics, jewelry and fabrics and textiles. All of these efforts are intended to promote Thai designers in the global design arena.

21


สรุปย่อ นับตัง้ แต่ปี 2003 มหาวิทยาลัยศิลปากรได้จดั โครงการนักออกแบบยอดเยีย่ มแห่งปี (Designer of the Year) ขึน้ เป็นประจำ�ทุกปี ต่อมาในปี 2009 ได้รบั ความร่วมมือจาก TCDC ศูนย์การเรียนรูแ้ ละสร้างสรรค์ งานออกแบบของไทย และกรมส่งเสริมการส่งออก ยกย่องนักออกแบบไทยทีน่ ำ�ชือ่ เสียงสูป่ ระเทศ โดยมีแนวคิด ทีจ่ ะจัดตัง้ แกลเลอรีเ่ พือ่ เป็นแหล่งเรียนรูแ้ ละการพัฒนาผลงานของนักออกแบบไทย เพือ่ เป็นประโยชน์ตอ่ ไปแก่ผู้ สนใจและคนรุน่ หลังต่อไป ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่นักออกแบบไทยได้รับการยอมรับได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเคลือบดินเผา ผลิตภัณฑ์ เครื่องประดับ เส้นใยและงานสิ่งทอ ผลงานแต่ละประเภทนอกจากมีพัฒนาการด้านการออกแบบที่โดดเด่นแล้ว รายได้จากการส่งออก สินค้าดังกล่าวยังอยู่ในระดับดีที่น่าพอใจ จึงทำ�ให้มีแนวคิดที่จะสร้างงานที่มีลักษณะการออกแบบเป็นของ ตนเองในระบบที่เรียกว่า ODM (Original Design Manufacture) และสร้างตราสินค้าหรือแบรนด์ OBM (Original Brand Manufacture) เป็นของตนเองด้วย ช่วงเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยและทุกภูมิภาคทั่งโลกประสบการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจหลายรูปแบบ เช่น วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 การโจมตีตึกวอลล์สตรีตในสหรัฐอเมริกา ทั้งหมด ล้วนเป็นวิกฤตขั้นรุนแรง แต่ทั้งนี้ก็ทำ�ให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ขึ้นมากมายเช่นกัน ในช่วงเวลาดัง กล่าวเทคโนโลยีได้พัฒนาก้าวไกลไปอย่างมาก ประเทศต่างๆ ในโลกเชื่อมถึงกัน มีการผสมผสานวัฒนธรรม ตะวันตกและตะวันออกอย่างมากมาย เกิดวัสดุใหม่ๆ ในงานศิลปะและงานออกแบบต่างๆ ทั้งวัสดุเหลือใช้จาก การกลั่นปิโตรเลียม และวัสดุธรรมชาติที่นำ�มาดัดแปลงเพื่อการออกแบบในงานศิลปะประเภทต่างๆ และได้รับ ความนิยมอย่างแพร่หลาย ในประเทศไทยได้นำ�เอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาให้กลมกลืนเข้ากับเทรนด์ความนิยมของโลกที่ เปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งการสรรหาวัสดุต่างๆ ตามธรรมชาติมาใช้งาน และการออกแบบที่มีมาตั้งแต่ ปู่ย่าตายาย และจากการนำ�ภูมิปัญญาไทยมาพัฒนาต่อยอดนี่เอง จึงได้เกิดโครงการหนึ่งตำ�บลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ขึ้นเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ จากมูลเหตุต่างๆ ดังกล่าว จึงได้เกิดนักออกแบบไทยในงานต่างๆ มากขึ้น แต่นักออกแบบเหล่านี้ ยังกระจัดกระจาย ไม่ได้รับการส่งเสริมพัฒนา อีกทั้งส่วนมากยังทำ�งานในหน่วยงานที่รับจ้างผลิต ยังไม่มี โอกาสสร้างผลงานออกแบบสินค้าให้เป็นผลิตภัณฑ์ของตนเอง ด้วยเหตุนี้เองโครงการ Designer of the year (นักออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี) ของมหาวิทยาลัยศิลปากรโดยความร่วมมือขององค์กรวิชาชีพต่างๆ จึง

22


มีแนวคิดสนับสนุนให้กำ�ลังใจและสร้างต้นแบบของนักออกแบบไทย (Thai Designer)ให้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ทั้งในไทยและระดับโลก โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2547 มีคณะกรรมการคัดเลือกนักออกแบบทั้งชาวไทยและ ต่างประเทศ เช่น อิตาลี ญี่ปุ่น และอังกฤษ เข้าร่วมกันตัดสินและเป็นสักขีพยานในความสำ�เร็จดังกล่าวที่จะ ก้าวขึ้นสู่สากลในวันข้างหน้าเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางงานด้านการออกแบบแห่งภูมิภาคต่อไป อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ เช่น กระแสวัตถุนิยมและวัฒนธรรมการบริโภค ทำ�ให้เกิดการผสมผสานหลอมรวมวัฒนธรรมตะวันตกกับ งานศิลปะพื้นถิ่น เกิดงานในลักษณะที่เรียกว่า Glocal (Global+Local) พัฒนามาสู่ Global Style นับเป็น ศิลปะการออกแบบในยุคโลกาภิวัตน์อย่างแท้จริง และเพื่อให้นักออกแบบไทยที่มีฝีมือได้มีผลงานก้าวไกล ได้มีความร่วมมือวางแนวทางกส่งเสริมการ ตลาดและผลิตภัณฑ์งานออกแบบของไทยสู่เวทีโลก โดยเป็นกลยุทธ์จากภาครัฐที่หาวิธีการตอบสนองความ ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและทั่วโลก ร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ทั้งในด้านส่งเสริมอุตสาหกรรมและส่ง เสริมการส่งออก ผลักดันสินค้า OTOP สู่ตลาดโลก และแก้ไขปัญหาต่างๆ ในกระบวนการผลิต ตลาดใหญ่ของผลิตภัณฑ์เฟอร์นเิ จอร์และงานออกแบบต่างๆ ของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย และสหภาพยุโรป แนวโน้มการส่งออกของไทยดีขน้ึ เรือ่ ยๆ แต่ยงั มีปญ ั หาทีเ่ ราไม่มนี กั ออกแบบมากนัก งานส่วน มากจึงเป็นการรับจ้างผลิตตามแบบ ดังนัน้ จึงเป็นความสำ�คัญยิง่ ทีจ่ ะพัฒนาและส่งเสริมนักออกแบบของไทย เพือ่ ให้เราได้มผี ลิตภัณฑ์ของเราเอง โดยเน้นงานทีเ่ ป็นภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ของไทยทีก่ ำ�ลังพัฒนาอย่าง ต่อเนือ่ ง ได้แก่ งานออกแบบเฟอร์นเิ จอร์ เครือ่ งเรือนจักสาน ของตกแต่งบ้าน ของใช้ตา่ งๆ เครือ่ งปัน้ ดินเผา เครือ่ งประดับ และงานจากเส้นใยและการถักทอ ทั้งหมดนี้เพื่อส่งเสริมนักออกแบบไทยให้มุ่งสู่เวทีโลกต่อไป

23


บทนำ� ประเทศไทยว่างเว้นโอกาสในการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบจากเหล่า บรรดาดีไซน์เนอร์ในการที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำ�แห่งวงการดีไซน์ในแถบอาเซียนมา นานนับหลายสิบปี ทั้งๆเราที่มีนักออกแบบบ่มเพาะเป็นของตนเองมาตั้งแต่ครั้ง อดีตสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่เราคุ้นเคยกันในภาษาของวงการประณีตศิลป์ว่า “ช่าง” การปฏิวัติรัฐประหารเมื่อปีพ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ได้จำ�กัดสิทธิ เสรีภาพ รวมถึงปิดกั้นการสร้างสรรค์และแสดงออกทางวัฒนธรรมในการดำ�รงชีวิตของ ประชาชนหลายวงการ ขณะที่วงการออกแบบเองก็หยุดนิ่งอยู่กับที่ จะมีบ้างก็เป็น เพียงการออกแบบตกแต่งสถานที่สำ�คัญของทางราชการอันมีลักษณะรูปแบบไทย ประยุกต์ จนกระทั่งเมื่อมีการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่1 พ.ศ. 2497 จัดตั้งขึ้นโดยมหาวิทยาลัยศิลปากร ริเริ่มขึ้นโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ใน ครั้งนั้นได้รวมเอาการประกวดงานออกแบบไว้ด้วย แต่ครั้งต่อมาก็เหลือเพียง งานศิลปะ เวทีในการแข่งขันด้านการออกแบบจึงหยุดชะงักลงในแวดวงการ ประกวด ขณะที่คณะมัณฑนศิลป์เพิ่งได้เริ่มก่อตั้งสาขาการออกแบบภายใน อัน เป็นสาขาแรกที่รวมงานออกแบบแต่ละแขนง จนต่อมาแยกออกเป็น นิเทศศิลป์ ผลิตภัณฑ์ ประยุกต์ศิลป์ เซรามิค เครื่องประดับและสิ่งทอตามมา บทบาทของ นักออกแบบไทยจึงได้เริ่มขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาโดยมีสถาปนิกและมัณฑนากรจาก ค่ายต่างๆ ได้เริม่ ออกแบบขยายตัวกระจัดกระจายไปตามสำ�นักงาน โรงงานพร้อมๆ กับการเจริญเติบโตของอสังหาริมทรัพย์ และการเกิดของ โรงแรม สถานบันเทิง ร้านอาหาร และหมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ สถานภาพขณะนั้นเริ่มมีการจัดประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์ทางภาค รัฐบ้างประปราย ในขณะที่ภาคเอกชนเองยังไม่มีการประกวดเป็นชิ้นเป็นอัน พร้อมๆไปกับมีการจัดงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน ณ สวน อัมพรอยู่เป็นประจำ�ทุกปี แต่อย่างไรก็ตามเฟอร์นิเจอร์แต่ละงานที่ถูกออกแบบ สั่งทำ�ขึ้นตามสถานที่สาธารณะต่างๆก็ได้รับการยอมรับถึงความงามความร่วม สมัยในวงกว้างอย่างเห็นได้ชัด โดยนักออกแบบที่ถนัดไปตามสไตล์ของแต่ละคน โดยเริ่มมีบริษัทนำ�เข้าเฟอร์นิเจอร์สำ�เร็จรูปสมัยใหม่รวมไปถึงชุดครัวเข้ามาขาย เช่น ร้าน มีดี ย่านลาดพร้าว ส่วนเฟอร์นิเจอร์หวายและไม้สำ�เร็จรูป จะอยู่ในย่าน สุขุมวิทและเริ่มขยายตัวมากขึ้นเป็นที่ต้องการของชนชั้นกลางและชั้นบน ขณะที่ ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมาเศรษฐกิจไทยเริ่มเติบโตอย่างเห็นได้ชัดจากการวางรากฐาน ทางการเมืองที่นิ่งอย่างต่อเนื่องมายาวนานอย่างน้อย 8 ปีโดยมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีก่อนที่จะถึงยุค พลเอกชาติชาย ชุนหะวัณ และ นายบรรหาร ศิลปอาชา ที่เศรษฐกิจไทยเจริญสูงสุดอย่างเป็นประวัติการณ์ก่อน ถึงสถานการณ์ฟองสบู่

24

การล้มพังพินาศของปราสาทเศรษฐกิจที่พังครืนระเนระนาดอย่างทั่ว หน้าในบรรดาอุตสาหกรรมหนักและเบา พ.ศ. 2540 อันมีต้นน้ำ�ลำ�ธารไหลมา จากประเทศไทยในนาม “ต้มยำ�กุ้งดีซีส” พิษเศรษฐกิจฟองสบู่แตก จากประเทศ เฟื่องฟู ดัชนีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นถึงร้อยละ 10 ชาวบ้าน ผู้คน และรัฐใช้เงินกันอย่างฟุ่มเฟือยไม่บันยะบันยัง แถมยังกู้หนี้ยืมสินเงินนอกประเทศ ด้วยเหตุผลดอกเบี้ยต่ำ�เพื่อการขยายอาณาจักรใหม่ให้เป็นหนึ่งในเสือเศรษฐกิจ ของอาเซียน(Nics) จนถึงการเปิดตลาดเงินตราต่างประเทศ ที่ทำ�ให้นักลงทุน ร่ำ�รวยมหาศาล จนทำ�ให้ชาวต่างชาติเข้ามาทุ่มเงินทุบตลาดการเงินของไทยจน รั้งไว้ไม่อยู่ ก่อให้เกิดเศรษฐกิจล่มสลายในทุกภาคส่วนธุรกิจ รวมไปถึงประเภท อสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนัก โครงการหลายโครงการ ที่กำ�ลังก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างด้วยการขยายเมือง อาคารสำ�นักงาน ถนนหนทาง สาธารณูปโภคต่างๆต้องหยุดชะงักคาราคาซัง โรงงานอุตสาหกรรมการผลิต สินค้าส่งออก เช่น เสื้อผ้า เหล็กกล้า เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ฯลฯ ต้องปิดตัว พร้อมกับการล้มละลายไปอย่างนับไม่ถ้วน รัฐบาลของ ฯพณฯ ชวน หลีกภัยทีร่ บั ทอดต่อจาก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ โดยมีขุนคลังที่ช่ำ�ชองอย่างท่านธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ได้พยายามอัดฉีดเม็ด เงินกู้จากสถาบัน IMFจำ�นวนมหาศาลเพื่อหล่อเลี้ยง ธนาคาร และอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ในการส่งทอดสายป่านต่อไปสู่ลูกจ้างและผู้ประกอบการรายย่อยที่ กำ�ลังรอคอยอย่างกัดก้อนเกลือกิน แต่อย่างไรก็ตาม เม็ดเงินมหาศาลเหล่านั้น ก็ยังวนเวียนอยู่กับธุรกิจขนาดใหญ่รวมไปถึงธนาคารฯและบรรษัทเงินทุนอย่าง เลือดไหลไม่หยุด จนต้องปิดตัวลงถึง 50 กว่าแห่ง และไม่สามารถส่งต่อเม็ดเงิน ลงไปสู่ชนชั้นกลางและชาวนา ชาวบ้านผู้ยากไร้ได้ การเน้นนโยบายส่งสินค้าออก สู่ต่างประเทศเพื่อนำ�รายได้กลับมาทดแทนในอัตราแลกเปลี่ยนที่แสนสาหัสเฉลี่ย ราว 50 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐในขณะนั้น ก่อนเกิดวิกฤติการณ์เงินเฟ้อขยาย ตัวสูง ค่าเงินบาทอ่อนตัวทำ�ให้เดือดร้อนกันทั่วหน้า เมื่อเข้าสู่ยุค พ.ตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้ พยายามพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสด้วยการเปิด มุมมอง วิสัยทัศน์ใหม่ๆ ที่แตกต่าง จากรัฐบาลเดิม นโยบายต่างๆถูกหยิบยกนำ�มาปรับใช้ในแต่ละโครงการ รัฐมนตรี ว่าการทำ�งานตามความคิดอันเฉลียวฉลาดฉับพลันแทบตามไม่ทัน เม็ดเงิน จำ�นวนมหาศาลถูกบริหารจัดการผ่านรัฐมนตรีแต่ละกระทรวง ทบวง กรม เพือ่ อัดฉีดลงสูร่ ากหญ้า ชาวบ้านชาวนาเริม่ ลืมตาอ้าปาก โครงการใหม่ๆใหญ่ๆ ด้วยเม็ดเงินมหาศาล(ที่มีการเล็ดลอด)ถูกโปรยกระจายไปทั่วประเทศ (ยกเว้น อำ�เภอหรือจังหวัดที่ไม่ได้เลือกพรรคพลังประชาชน)ก็ต้องรอช้าหน่อยเท่านั้นเอง แต่ อ ย่ า งไรก็ ต ามโครงการต่ า งๆที่ รั ฐ บาลนำ�เสนอสู่ ภ าคประชาชนระดั บ ล่ า ง


ต่างพากันให้ชาวบ้านได้ลืมตาอ้าปากอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เช่น โครงการ กองทุนหมู่บ้าน สามสิบบาทรักษาทุกโรค SME หนึ่งตำ�บลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ที่อัดเม็ดเงินมหาศาลเพื่อนำ�มาซึ่งการแข่งขันด้านภูมิปัญญาและฝีมือที่ถือว่ายัง บริหารกันได้แบบสะเปะสะปะ ซ้ำ�ซากลอกเลียนแบบซึ่งกันและกัน ด้วยกลวิธีการ แข่งขันจนถึงขนาดใครเก่งกล้าสามารถกว่าผู้นั้นก็อยู่รอดได้ แต่อย่างไรก็ตามโครงการหนึ่งในระดับชาวบ้านที่นับว่าเป็นโครงการที่ มีความสำ�เร็จได้แก่ โครงการหนึ่งตำ�บลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่รัฐลงทุนเม็ดเงินจำ�นวน มหาศาลอันนำ�มาซึ่งผลิตภัณฑ์หลากหลายซึ่งสามารถทำ�ให้เงินหมุนไหลเวียน ภายในประเทศได้ ผู้คนหันมามองสินค้าคุณภาพของไทยและใช้ของไทยกันมาก ขึ้น เลือดค่อนข้างจะหยุดไหลมีการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ โดยภาครัฐส่ง บุคลากรเข้าไปอบรมทั้งวิธีการผลิตจนถึงการออกแบบให้สอดคล้องกับความ ต้องการของตลาดและสามารถส่งออกได้เองเรียกได้ว่า เป็นโครงการที่ก่อให้เกิด จุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์ชาวบ้านโดยการสนับสนุนจากกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ ลงไปถึงกรมส่งเสริมการส่งออกที่มีไว้รองรับสำ�หรับชาวบ้าน ที่มีศักยภาพเพียงพอ สำ�หรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่เกี่ยวข้องกับเฟอร์นิเจอร์ และของแต่งบ้านภาครัฐโดยกรมส่งเสริมการส่งออกก็ได้พยายามทุกวิถีทางในการ ยกระดับสินค้าจากภูมิปัญญาไทยที่มีงานออกแบบเป็นของตนเองเข้ามาเร่งจัดงาน สินค้าส่งออก ระดับนานาชาติอย่างเช่น งาน BIG&BIH (Bangkok International Gift & Houseware Fair) ซึ่งระยะเริ่มต้นการจัดงานจะไม่ใหญ่โตนักเป็นเพียง แค่งาน BIG เริ่มจัดที่ศูนย์สิริกิติ์แห่งชาติซึ่งเป็นงานไม่ใหญ่โตอะไรเท่าไหร่นัก จน กระทั่งการขยายตัวของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์เริ่มกลับมาเติบโตขึ้นมาก มีนัก ออกแบบจำ�นวนมากส่งสินค้าทีมีการออกแบบของตนเองเข้าไปในงานทำ�ให้งาน ใหญ่มากขึ้น จนต้องแยกออกมาเป็นงาน TIFF (Thailand International Furniture Fair) โดยต่างแยกกันจัดตั้งศูนย์แสดงสินค้าไบเทค บางนาที่มีพื้นที่ ขนาดใหญ่โตมากขึ้น จนกระทั่งมาถึง ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี ทีมีพื้นที่โตกว่า ด้วยกำ�ลังขยายอัตราการเจริญเติบโตของขนาดงานที่พยายาม ทัดเทียมแข่งขันกับฮ่องกง สิงคโปร์ ฟิลิปินส์ เพื่อชิงตำ�แหน่งเจ้าแห่งผลิตภัณฑ์ ที่ทั้งราคาถูกและมีดีไซน์ จนทำ�ให้นักออกแบบหน้าใหม่ทั้งหลายตื่นตัวหันมาจับ ตลาดสินค้า เฟอร์นิเจอร์ ของแต่งบ้านกันอย่างล้นหลาม โดยการงัดเอากลยุทธ์ หลากหลายที่มีทั้งหมดมานำ�เสนอแปรรูปสู่สายตาประชาชนทั้งชาวต่างชาติและ ชาวไทยและมีการขยายการจัดงานปีละ 2 ครั้ง ส่วนภาคเอกชนก็ไม่น้อยหน้า ไม่ ว่ารุ่นพี่ยักษ์ใหญ่อย่างงานสถาปนิกแฟร์ที่แข็งแร่งในด้านวัสดุก่อสร้างที่ขายผู้คน ในประเทศก็หันมาเอาใจใส่ในแสดงสินค้าเพื่อการส่งออกด้วยเช่นกัน รวมไปถึงงาน แฟร์ ที่เริ่มบูมกันมากขึ้น จนแม้กระทั่งเจ้าตลาดนิตยสารชื่อดังอย่างบ้านและสวน ก็หันมาจัดงานแสดงสินค้าจนประสบความสำ�เร็จอย่างล้นหลาม รวมไปถึงวัสดุ ตกแต่งบ้านอย่างงาน Interior Intrend ก็เช่นกัน ยังไม่นับรวมงานแสดงสินค้า กรมส่งเสริมการส่งออก ของแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์เล็กๆน้อยๆที่ต่างจัดขึ้นกัน อย่างประปรายในประเทศอีกหลายครั้งในแต่ละปี

ไม่ เ พี ย งเท่ า นั้ น เมื่ อ สิ น ค้ า ระดั บ ดี ไ ซน์ ที่ ไ ด้ มี ก ารรวมตั ว กั น จั ด ตั้ ง เป็นกลุ่ม (Design Object)ที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มผู้ผลิตสินค้าแนวดีไซน์ได้แก่ สินค้าเฟอร์นิเจอร์เซรามิค เครื่องประดับและผลิตภัณฑ์ของแต่งบ้านขยายตัว ออกไปยังต่างประเทศโดยเริ่มต้นจากมี Buyer (ผู้สั่งซื้อ)นำ�เข้าไปขายยังงานแฟร์ ชื่อดังทั่วโลกอย่าง เช่น Maison &Object หรือ Milan Fair เป็นต้น จนทำ�ให้ นักออกแบบไทยทั้งหลายทนไม่ไหวจึงได้ร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออกขอติดต่อ สถานที่เช่าบูธของเมืองไทยเองบ้าง ซึ่งก็ได้รับความสำ�เร็จตามสมควรเนื่องด้วย จำ�เป็นต้องแข่งกับนักออกแบบระดับโลกที่พรั่งพร้อมไปด้วยวัสดุอุปกรณ์และ เทคโนโลยีในการผลิต แต่ถึงอย่างไรนักออกแบบหนุ่มไฟแรงของชาวไทยทั้งรุ่น เก่าและเกิดขึ้นใหม่จากหลากหลายสาขาไม่ว่าจะเป็น ศิลปิน นักออกแบบตกแต่ง ภายใน นักโฆษณาหรือนักออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างก็ไม่ได้ย่อท้อ บ้างจัดสรรหาที่ เช่าเองด้านนอกแฟร์และมีพื้นที่สำ�หรับนักออกแบบรุ่นใหม่ทั้งในนามสถาบันและ ส่วนตัวนำ�ผลิตภัณฑ์ของตนมาแสดงกันอย่างคับคั่ง สามารถยกระดับผลงาน ออกแบบจนได้รับการยอมรับสถานะและผลงานออกแบบเช่นเดียวกับนักออกแบบ ต่างชาติด้วยภูมิปัญญาไทย จนทำ�ให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ ด้วยเหตุนม้ี หาวิทยาลัยศิลปากรในนามคณะมัณฑนศิลป์ในปีค.ศ. 2003 จึงเห็นควรยกย่องเหล่าบรรดานัก ออกแบบไทยให้ได้รับเกียรติอันทรงคุณค่า เพื่อพัฒนาต่อยอดสินค้าให้สูงยิ่งขึ้นต่อไป จึงมีมติจัดโครงการนักออกแบบ ยอดเยี่ยมแห่งปี (Designer of the Year) ขึ้นเป็นประจำ�ทุกปี ต่อมา ค.ศ. 2009 ได้รับความร่วมมือจากTCDC ศูนย์การเรียนรู้และสร้างสรรค์งานออกแบบของ ไทย และกรมส่งเสริมการส่งออกในการยกย่องนักออกแบบไทยในการนำ�ชื่อเสียง สู่ประเทศซึ่งนับเป็นปีที่ 6 โดยมีแนวคิดในการจัดตั้งGallery เพื่อเป็นแหล่งเรียน รู้พัฒนาการของผลงานนักออกแบบไทยไว้เป็นประโยชน์ต่อไปแก่ผู้สนใจและคนรุ่น หลังถึงที่มาที่ไป ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่นักออกแบบไทยได้รับการยอมรับได้แก่ - เฟอร์นิเจอร์ - เครื่องเคลือบดินเผา - ผลิตภัณฑ์ - เครื่องประดับ - เส้นใยและงานสิ่งทอ ซึ่งผลงานแต่ละประเภทนอกเหนือจากเริ่มมีพัฒนาการทางด้านดีไซน์ที่ โดดเด่นแล้ว นอกจากนี้ยังมีผลรายได้มวลรวมในการส่งออกอยู่ในระดับต้นๆอีก ด้วย จึงทำ�ให้มีการตื่นตัวกันอย่างมากในการสร้างสินค้าที่มีดีไซน์เป็นของตนเอง ในระบบที่เรียกว่า ODM (Original Design Manufacture) และสร้างแบรนด์เป็น ของตัวเอง OBM (Original Brand Manufacture)

25


26


งานสร้างสรรค์ของนักออกแบบไทยและภูมิปัญญาไทย การพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสหลังปี พ.ศ. 2540 หลังจากที่สภาวะย่ำ�แย่ทางเศรษฐกิจ แนวคิดการพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ได้กอ่ กำ�เนิดขึน้ ในรัฐบาลนายกฯทักษิณ ชินวัตรทีใ่ ช้พลังขับเคลือ่ นสถานการณ์ตา่ งๆ ด้วยการจัดตั้งโครงการ SME พร้อมอัดฉีดเม็ดเงิน ลงสู่รากหญ้าและธนาคาร ต่างๆเพือ่ ปล่อยกูแ้ ก่เจ้าของกิจการขนาดเล็กและขนาดกลาง ก่อเกิดนักธุรกิจรุน่ ใหม่ ไม่วา่ จะเป็นกิจการ อาหาร สมุนไพร ของใช้และของทีร่ ะลึกต่างๆ ชิน้ ส่วนยานยนต์ อิเลคทรอนิค เหล่านี้ล้วนก่อเกิดแรงกระตุ้นให้ผู้คนหันมาสนใจลงทุน ก่อเกิด ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆขึ้นมากมาย โดยเฉพาะประเภทของใช้ของตกแต่งบ้าน งานเฟอร์นิเจอร์ เซรามิค จักสาน ที่ใช้วัตถุดิบธรรมชาติหาได้ตามท้องถิ่น เช่น ผักตบชวาที่กลายเป็นวัสดุ ยอดฮิตในการนำ�มาผลิตเครื่องเรือน ของใช้และในงานประเภทอื่นๆ เช่น สิ่งทอ เป็นต้น อีกหลายอย่างที่สามามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ ผ่านเทศกาลการจัด งานแฟร์ตา่ งๆทีร่ ฐั บาลสนับสนุนเป็นประจำ�ทุกปี และมีการขายสินค้าผ่านทางเว็บไซท์

ความคิดและการสร้างสรรค์ หลังจากที่เทคโนโลยีได้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าอย่างสูงภายในระยะเวลา อันสั้นได้อย่างรวดเร็วและถึงกันทั่วทุกทวีป สังคมโลกได้หล่อหลอมรวมตัวกัน ทั้งด้านวัฒนธรรมสังคมของแต่ละประเทศเชื่อมโยงกันถึงหมด ทั้งเอเซีย ยุโรป อเมริกา รวมทั้งยักษ์ใหญ่อย่างจีนที่หลับใหลอยู่ในระบอบสังคมนิยมมาช้านาน และในที่สุดนโยบาย4 ทันสมัยของท่านประธานาธิบดี เติ้ง เสี่ยว ผิง ก็บรรลุ ความสำ�เร็จ มีการเปิดประเทศแถมรับเอาเกาะฮ่องกงศูนย์กลางการค้าแห่งเอเซีย คืนจากอังกฤษ โดยแต่ละประเทศ อาณาเขตปกครอง เมืองเล็กเมืองน้อยต่างๆ ต่างพากันงัดเอาวัฒนธรรมของตนมาสร้างสรรค์เป็นวัฒนธรรมใหม่ ที่จะกลาย เป็นมรดกของโลกในอนาคต มิใช่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งแต่ละประเทศต่าง พากันงัดกลเม็ดเด็ดพรายในการแสดงออกเอกลักษณ์แห่งตัวตนผสมผสานกับ ความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก เท่ากับป็นการขายวัฒนธรรมผ่านผลิตภัณฑ์ สินค้า สารพันเหตุการณ์ตา่ งๆทีเ่ กิดขึน้ บนโลกในเชิงลบไม่วา่ จะเป็น ต้มยำ�กุง้ ดีซสี สงครามในอิรัก วันตึกถล่ม 911 สภาวะโลกร้อน ปรากฏการณ์เปลี่ยนแปลงทาง ธรรมชาติบอ่ ยครัง้ สังคมตึงเครียดมีการแข่งขันสูงด้านเทคโนโลยีและการสือ่ สารฯลฯ รวมทั้งการรับเอาจากวัฒนธรรมตะวันตกแทนประเพณี วัฒนธรรมดั้งเดิมอย่าง กะทันหัน เทคโนโลยีต่างพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยมีวัตถุดิบทั้งเก่าและใหม่ ต่างผสมผสานพัฒนาและผลักดันไปได้ไกลก่อเกิดวัสดุใหม่ๆ

โดยเฉพาะวัสดุที่ได้และเหลือจากการกลั่นน้ำ�มันประเภท ปิโตรเคมี พลาสติก ไฟเบอร์ และเส้นใยจากการผสมผสานทางเคมีของโพลีเมอร์ประเภทต่างๆ รวมถึงการนำ�กลับมาใช้ใหม่ สิ่งต่างๆเหล่านี้ส่งเสริมและก่อเกิดการพัฒนาที่ หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานทางด้านสถาปัตยกรรมและงาน ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดูเหมือนจะโดดเด่นเห็นชัดกว่าด้านอื่นๆ เนื่องจากมีการนำ� วัสดุสมัยใหม่เช่น ไททาเนียม ฯลฯมาใช้แปรรูปเป็นงานออกแบบที่มีภาษาของงาน ศิลปะ ประติมากรรม ที่ได้รับความนิยมก่อนหน้าจากการปลูกฝังของผู้ผลิตและ ผู้ออกแบบเพื่อความมีรสนิยม แทนการผลิตเป็นจำ�นวนมาก ขณะที่สังคมนิยมแฟชั่นก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ผู้นำ�แฟชั่นเช่น ปารีส นิวยอร์ค ลอนดอน มิลาน อันเป็นแหล่งรวมเหล่าบรรดาแฟชัน่ ดีไซน์เนอร์ ทั้งหลายต่างก็ออกแบบเสื้อผ้าแนวใหม่ที่ก่อเกิดขึ้นหลังจากยุคมิลเลนเนียมขึ้นมา ในแต่ละฤดูกาล ประเทศไหนมีดไี ซน์แปลกใหม่เกิดขึน้ จนได้รบั ความนิยมคลัง่ ไคล้ ประชาชนในประเทศต่างๆก็พากันหันมาสนใจเลียนแบบไม่วา่ จะเป็น เสือ้ ผ้า หน้าผม ของใช้ เครื่องประดับ เครื่องแต่งกายในรสนิยมที่เราเรียกกันว่า Trend ซึ่งจะ เปลี่ยนไปเร็วมากในโลกปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีกลุ่มย่อยๆที่มีรสนิยมเดียวกัน ในความหลากหลายหันมาสนใจในเฉพาะสิ่งมากกลุ่มขึ้นทุกที โดยมีการรวมตัว กันทั้งใน อินเตอร์เน็ตและสถานที่ต่างๆทั่วโลก เป็นลักษณะพหุรสนิยมที่เปิดกว้าง ยอมรับและเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสสังคมที่เวลาผ่านมาและผ่านไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่อาจมีใครคาดคะเนได้ว่าอะไรสิ่งไหนจะกลายเป็นเทรนด์ใหม่ในอนาคตและ ระยะเวลาอันใกล้ที่ผ่านมาทุกๆวัน เหล่านี้ทำ�ให้ดีไซน์เนอร์ชั้นนำ�ทั้งในและต่างประทศต่างพากันฉวยโอกาส ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แนวใหม่ โดยมีโรงงานอุสาหกรรมที่เติบโตแพร่หลาย ในประทศที่มีแรงงานและต้นทุนการผลิตต่ำ�อยู่ทั่วโลก โดยผลิตภัณฑ์1 ชิ้นจะถูก ออกแบบจากแบรนด์หนึ่งซึ่งได้วัตถุดิบในราคาถูกจากอีกประเทศหนึ่ง พร้อมส่ง วัตถุดิบและรูปแบบเหล่าไปยังโรงงานที่มีค่าแรงต่ำ�ในอีกซีกโลก นำ�กลับมาประทับ ตราสิ น ค้ า ที่ ต้ น ตอแล้ ว ส่งออกจำ �หน่ายไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าอยู่ใน สังคมบริโภค และ วัตถุนิยมในปัจจุบัน บ้างส่งสินค้าขายทั่วโลก บ้างเปิดตลาด ใหม่ ทำ�ให้เกิดการแข่งขันด้านดีไซน์และรายได้สูงอย่างมาก เหล่าดีไซน์เนอร์ต่าง พากันต่อยอดพลิกแพลงไอเดียใหม่ๆในการทยอยสร้างสรรค์ผลงานออกมาทั้ง เดี่ยวและคอลเลคชั่นกันทุกเทศกาลงานแฟร์ จนเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจในหลาก หลายประเทศ เกิดการแตกลายขยายประเภทของสินค้าที่เดิมมีเฉพาะเสื้อผ้ามาสู่ เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านกันมากขึ้นโดยลำ�ดับ และไม่ได้จำ�กัดอยู่เพียงเฉพาะ นักออกแบบประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น ซึ่งแนวคิดนี้ก่อเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออก สู่สายตาชาวโลกอยู่ตลอดเวลา เท่ากับว่าเป็นการข้ามพรมแดนแห่งวงการดีไซน์

27


ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย รากเหง้าภูมิปัญญาที่ถูกฝังและสั่งสมมานาน ได้ถูกหันกลับมา พิจารณาถึงคุณค่า คุณประโยชน์ ความเฉลียวฉลาด ในกลเม็ดเด็ดพรายที่ ได้สร้างอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำ�รงชีวิตประจำ�วันมานับร้อยพันปี ุ ค่าต่อสังคมไทยโดยไม่ เลือนหายไป สิ่งต่างๆเละเอียดเล็กๆน้อยๆเหล่านีล้ ว้ นมีคณ บ้างเก็บอยูใ่ นพิพิธภัณฑ์ บ้างอยู่ในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเช่น จ่าสิบเอก ทวี บูรณเขตต์ ฯลฯ ที่เก็บสั่งสมเครื่องมือเครื่องไม้ เครื่องจักสาน ของเล่นในอดีตไว้ได้อย่างดี บ้างสะสมโดยชาวบ้านเป็นมรดกตกทอดของปู่ ย่า ตา ทวด ผู้ยังเห็นในคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นของชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ สำ�หรับบางส่วนสลายไปกับกาลเวลาเนื่องจากวัสดุ ส่วนใหญ่ทำ�ขึ้นด้วยไม้และเครื่องจักสานเป็นส่วนมาก บางส่วนถูกนำ�ไปประยุกต์ เป็นของตกแต่งบ้าน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่สนใจในศิลปะพื้นบ้านของไทย เช่น จิม ทอมป์สัน และอีกหลายท่าน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้บรรดาเหล่านักออกแบบไทยจึงหันกลับมาค้นหารากที่เป็น ทุ น ทางวั ฒ นธรรมกอรปกั บ ความนิ ย มในศิ ล ปวั ฒ นธรรมตะวั น ตกที่ หั น มา สนใจในคุณค่า ประเพณีตะวันออก จนถึงกับเป็นกระแสแพร่หลายไปทั้งยุโรป และ อเมริกา มีผลต่อการสนใจสั่งซื้อสินค้าจากซีกโลกตะวันออกเป็นจำ�นวนมาก นับเป็นการสร้างวิกฤติเป็นโอกาสของนักออกแบบไทยที่ได้พัฒนาสินค้าของตนสู่

28

ตลาดสากล แต่อย่างไรก็ตามการหยิบนำ�วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาก็เป็น ดาบสองคมเช่นเดียวกัน เนื่องจากบางท่านมองเห็นว่า เป็นการลบหลู่พุทธศาสนา แต่อย่างไรก็ตามเมื่อโลกได้ก้าวผ่านการหล่อหลอมอารยธรรมในการ เปลี่ยนผ่านสหัสวรรษใหม่ กระแสของการนิยมของแปลกใหม่และไม่เคยปรากฏ มาก่อน เท่ากับเป็นการสะท้อนวิถีชีวิต(Life style)ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว เท่าทันและทั่วถึงกันในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน การผสมผสาน วัฒนธรรมและอารยธรรม นับเป็นการก้าวแรกแห่งการเริ่มต้นของมวลมนุษย์ใน ยุคศตวรรษที่21 ที่แทบทุกอย่างจะไหลไปตามกระแสสังคมจนขาดรสนิยมของ ตนเองไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะครอบคลุมไปทั่วทุกประเทศ พร้อมกับมีการแตก แขนงทางด้านเทคโนโลยีและมีการค้นพบวิทยาการอันก้าวหน้า ทางด้าน นาโน เทคโนโลยีที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นยังค้นพบ เส ตมเซลล์ ดีเอ็นเอ การโคลนนิ่ง ที่ยังเป็นสิ่งต้องห้ามและถกเถียงกันในวงวิชาการ จึงกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีชีวภาพและวิทยาศาสตร์ทางกายภาพและการ สื่อสารกำ�ลังเข้ามาสืบสานต่อในโลกยุคปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ใน วิถีการดำ�รงชีวิตของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แน่นอนว่าวิทยาการเหล่านี้จะ เป็นกระแสใหม่ที่พาเราก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วและเป็นการยากที่จะทำ�นาย อนาคตได้


ลักษณะภูมิปัญญาไทย ในซีกโลกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้ชื่อว่าเป็นแคว้นสุวรรณภูมิ ซึ่งรวม ถึงประเทศไทยที่นับได้ว่าเป็นใจกลางอารยธรรมตั้งแต่อดีตในยุคทองตั้งแต่อยุธยา และเส้นทางการค้าทั้งทางบกคือทางผ่านของเส้นทางสายไหมที่พ่อค้าต้องมาแวะ แลกเปลี่ยนสินค้า ไม่ว่าจะเป็นสมุนไพร งาช้าง ฯลฯ (Silk Road)และทางทะเลเส้น ทางสายเครื่องเทศ(Spice route) ที่มีทั้งพริกไทย ขมิ้น ผลไม้ เป็นต้น ด้วยข้อ ได้เปรียบทางสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ใจกลางของเส้นทางดังกล่าวของชาวตะวันตก และตะวันออก ขณะที่มีแก่นพุทธศาสนาเป็นศูนย์กลางจิตใจของชาวไทยในดิน แดนสยามท่ามกลางความเห็นอกเห็นใจ รักสงบ อ่อนน้อมถ่อมตน แขกไปใครมา ก็ต้อนรับขับสู้อย่างขมีขมัน ซื่อสัตย์ รวมทั้งประเพณีการไหว้บวกกับรอยยิ้มไม่ ถือตัว ทำ�ให้กลายเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทย ที่ชาวต่างชาตินิยมค้าขายมาตั้งแต่ อดีตถึงปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามด้วยความเป็นไทยทีม่ ลี กี ษณะของการรับเอาวัฒนธรรม อื่นๆเข้ามาผสมผสานจึงปรากฎพิธีกรรมต่างๆอันเกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ และวัฒนธรรมฮินดูซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์อันเป็นสมมติเทพ ในพระราชพิธีต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่มากกับผู้คน เช่น การตั้งศาลพระภูมิ เป็นต้น พร้อมกับความเชื่อของกลุ่มชนชาติพันธุ์อันหลากหลายในทั่วทุกภูมิภาค ที่นำ�ติดตัวเข้ามา รวมถึงชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากอยู่ก่อนหน้าและชาวเผ่า ต่างๆทางภาคเหนือตอนบนของประเทศ ทำ�ให้ไทยมีเสน่ห์ทางวัฒนธรรมอยู่หลาย อย่างที่รวมอยู่ด้วยกัน ผสมผสาน กลมกลืน รักกันเหมือนพี่เหมือนน้อง ไม่ว่าจะ เป็นประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง ด้วยความหลากหลายทั้งชาติพันธ์ วัฒนธรรม เชื้อชาตินี้เองที่ทำ�ให้เกิดภูมิปัญญามากมายซุกซ่อนอยู่ในแต่ละชุมชนซึ่งแม้กระทั่ง ปัจจุบันก็ยังค้นพบได้ไม่หมด ภูมิปัญญาไทย ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรูค้ วามสามารถ วิธีการผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวม และจัดเป็น ความรู้ ถ่ายทอด ปรับปรุง จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลิตผล ที่ดี งดงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ สามารถนำ�มาแก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตได้ แต่ละหมู่บ้าน แต่ละชุมชนไทย ล้วนมีการทำ�มาหากินที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ มีผู้นำ�ที่มีความรู้ มีฝีมือทางช่าง สามารถคิดประดิษฐ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาของ ชาวบ้านได้ ผู้นำ�เหล่านี้ เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ทรงภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาไทยสามารถสะท้อนออกมาใน 3 ลักษณะที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกัน คือ • 1. ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันระหว่างคนกับโลก สิ่งแวดล้อม สัตว์ พืช และธรรมชาติ • 2. ความสัมพันธ์ของคนกับคนอื่นๆ ที่อยู่ร่วมกันในสังคม หรือใน ชุมชน • 3. ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิ่งเหนือธรรมชาติ ตลอด ทั้งสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้ทั้งหลาย ทั้ง 3 ลักษณะนี้ คือ สามมิติ ของเรื่องเดียวกัน หมายถึง ชีวิตชุมชน สะท้อนออกมาถึงภูมิปัญญา

ในการดำ�เนินชีวิตอย่างมีเอกภาพ เหมือนสามมุมของรูปสามเหลี่ยม ภูมิปัญญาจึงเป็นรากฐานในการดำ�เนินชีวิตของคนไทยมาโดยตลอด โดยเฉพาะวิถีชนบท ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม • ภูมป ิญ ั ญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ สิง่ แวดล้อม และคนกับสิง่ เหนือธรรมชาติ • ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน • ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และ การเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม • ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำ�คัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ใน เรื่องต่างๆ • ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง • ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทาง สังคม

ภูมิปัญญาไทยจากโครงการ "หนึ่งตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์" (One Tambon One Product : OTOP) เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการจั ด ตั้ ง กองทุ น หมู่ บ้ า นและชุ ม ชนเมื อ งภายใต้ นโยบายแก้ ไ ขปั ญ หาเศรษฐกิ จ และความยากจนของประเทศด้ ว ยการกระตุ้ น เศรษฐกิจในระดับรากหญ้าของรัฐบาล โดยเน้นพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจในชุมชน หรือวิสาหกิจชุมชนให้มีรายได้เป็นของตนเอง สามารถพึ่งตนเองได้และมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการกำ�หนดให้แต่ละชุมชนหรือตำ�บลหนึ่งๆ มีผลิตภัณฑ์หลัก อย่างน้อย 1 ประเภท ซึ่งได้มีการนำ�ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ทรัพยากรในท้องถิ่น มาปรับใช้ในการผลิตและพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของแต่ละชุมชน รวมไป ถึงสถานที่ท่องเที่ยว ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมของชุมชน แล้ว แต่ว่าชุมชนใดจะมีวัตถุดิบในด้านใดเป็นหลัก และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นให้ เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์พร้อมทั้งเชื่อมโยงให้เกิดการพัฒนาร่วมกันทั้งระบบ ระหว่างวิสาหกิจชุมชนหรือท้องถิ่น ทั้งนี้ กรมการพัฒนาชุมชนได้ตั้งเป้าหมาย ไว้ว่าภายในเดือนมิถุนายน 2546 ทุกจังหวัดจะต้องมีการก่อตั้งวิสาหกิจชุมชน อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง เพื่อให้เกิดเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนและให้ชุมชน สามารถพึ่งตนเองได้ โดยโครงการ OTOP มีเป้าหมายให้ประชาชนในชุมชน/ ท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้ไม่ต่ำ�กว่า 2 หมื่นบาท/คน/ปี และให้ชุมชนที่ เข้าร่วมโครงการร้อยละ 60 สามารถสร้างความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ภายใน ปี 2549 โครงการ OTOP ได้เริ่มดำ�เนินงานมาตั้งแต่ปี 2544 มาถึงปัจจุบัน สินค้าจากโครงการสามารถสร้างรายได้แก่ชุมชนในระดับที่น่าพอใจ ชุมชนต่างๆ สามารถผลิตสินค้าได้หลายประเภท อาทิ ผลิตภัณฑ์กลุ่มผลิตผลทางการเกษตร

29


อาหาร หัตถกรรมและเครื่องจักสาน สมุนไพรและแชมพู เป็นต้น ปัจจุบันสินค้า จากโครงการ OTOP ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากไม่เพียงแต่ตลาดภายใน ประเทศเท่านั้น ขณะนี้ตลาดต่างประเทศบางแห่งได้ให้ความสนใจในสินค้า OTOP ของไทยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะญี่ปุ่น เนื่องจากผลิตภัณฑ์จากOTOPของไทย มีความสวยงาม มีเอกลักษณ์ แปลกใหม่ จึงสามารถดึงดูดความสนใจจาก ตลาดต่างประเทศได้ในเวลาอันรวดเร็ว รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำ�คัญของสินค้า จากโครงการ OTOP จึงได้ออกนโยบายและแผนงานต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อ สนับสนุนและส่งเสริมให้สินค้าจากโครงการ OTOP ได้มีโอกาสขยายตลาดออกสู่ ต่างประเทศให้มากขึน้ เป็นการใช้ทรัพยากรและวัตถุดบิ ของประเทศอย่างคุม้ ค่า และ เพิ่มแนวทางในการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศ รวมถึงการช่วยกระตุ้น และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในระยะยาว ล่าสุด หลัง จากที่ครม. ได้ผ่านความเห็นชอบการจัดทำ�แผนแม่บทหรือแผนส่งเสริม SMEs ปี 2547-2549แล้ว สำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้กำ�หนด 6 ยุทธศาสตร์หลักเพื่อนำ�ไปสู่แผนปฏิบัติการ SMEs ซึ่งถือเป็น แผนปฏิบัติการ SMEs ฉบับแรกของไทย โดย 1 ใน 6 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ เสริมสร้างศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการแก้ไขปัญหาความยากจนและ กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ซึ่งกำ�หนดให้มีผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้า สู่ตลาดสากลไม่ต่ำ�กว่า 1 พันรายการภายในปี 2549 และมีการสร้างศูนย์การ ตลาดและกระจายสินค้าของชุมชนสู่ตลาดในประเทศไม่ต่ำ�กว่า 20 แห่ง และตลาด ต่างประเทศอีกไม่ต่ำ�กว่า 10 แห่ง และแนวทางการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อการส่งออก จึงเชื่อว่าจะมีส่วนร่วมในการเพิ่มพูนรายได้จากการส่งออกของ ประเทศเพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวและเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน ขณะที่สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ (สศช.) ได้สรุปผลการดำ�เนินโครงการ OTOP ในระยะที่ผ่านมาตั้งแต่ ปี 2544-2545 ดังนี้ การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ มีผลิตภัณฑ์ดีเด่นตามหลัก เกณฑ์ของคณะกรรมการอำ�นวยการโครงการหนึ่งตำ�บลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่ง

30

ชาติ (กอ.นตผ.) จำ�นวน 7,753 ผลิตภัณฑ์ จาก7,255 ตำ�บลทั่วประเทศ เป็น ผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับจังหวัดรวม 925 ผลิตภัณฑ์ หรือร้อยละ 11.9 ของ ผลิตภัณฑ์ OTOP ดีเด่น ผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับชาติ 461 ผลิตภัณฑ์ หรือ ร้อยละ 5.9 ของผลิตภัณฑ์ OTOP ดีเด่น การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ในโครงการ OTOP ได้รับมาตรฐาน 3,654 ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย มาตรฐานฮาลาล มาตรฐาน อย. และมาตรฐานอื่นๆ เช่น ลิขสิทธิ์ทางปัญญา เครื่องหมายรับรองสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เกียรติบัตร ต่างๆ เป็นจำ�นวน 30 ผลิตภัณฑ์ 1,722 ผลิตภัณฑ์ และเกือบ 2,000 ผลิตภัณฑ์ ตามลำ�ดับ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 47.1 ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด การส่งเสริมช่องทางการจำ�หน่ายสินค้าและการตลาด นับตั้งแต่เริ่มดำ�เนิน โครงการจนถึง ณ เดือนตุลาคม 2545 การจัดหาสถานที่จำ�หน่ายได้ 17,630 แห่ง อาทิ ศูนย์จำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ ร้านค้าชุมชน ร้านค้าทั่วไป ศูนย์สาธิต การตลาด การจัดทำ�ข้อมูลหนึ่งตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์ในเว็บไซต์ thaitambon. com รวมเป็นผลิตภัณฑ์จำ�นวน 16,797 รายการจาก 5,054 ตำ�บล โดยเป็น ผลิตภัณฑ์ประเภทหัตถกรรมมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ประเภทอาหาร โดย คิดเป็นร้อยละ 59.2 และ 2.06 ของผลิตภัณฑ์รวมทุกประเภท ตามลำ�ดับ และสามารถดำ�เนินการทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Commerce ได้ จำ�นวน 1,181 ผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการตลาด มีการจัดทำ�โครงการแสดง และจำ�หน่ายสินค้าทั้งในระดับภูมิภาคและประเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น งานแสดง สินค้า Made in Thailand 2001 งานมหกรรมหนึ่งตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์ งานสุดยอดหมู่บ้านอุตสาหกรมและผ้าทอไทย ฯลฯ นอกจากนี้ หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องได้ดำ�เนินการด้านต่างๆ ในการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ตามแผนแม่บทที่ กอ.นตผ. กำ�หนดไว้อย่างสอดคล้องกันในหลายๆด้าน ทำ�ให้ ยอดจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ในช่วงเดือนมกราคม-ธันวาคม 2544 ที่มี จำ�นวน 215.55 ล้านบาท เพิ่มเป็น 1.90 หมื่นล้านบาท ในช่วงเดือนมกราคมตุลาคม 2545


ที่มาของนักออกแบบไทยรุ่นใหม่

กว่า 30 ปีที่ประเทศไทยว่างเว้นจากนักออกแบบผลิตภัณฑ์มืออาชีพ อย่างจริงจัง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเติบโตจากเหล่าบรรดาช่าง ตามโรงงานและผลิต ตามแบบที่สั่งจากนอก ก่อนที่สถาบันการศึกษาจะเริ่มทยอยผลิตนักออกแบบเข้า สู่ตลาด แรกเริ่มเดิมทีก็เป็นลักษณะของการพัฒนารูปแบบและพลิกแพลงแต่งเติม จากแบบตะวันตก จนเริ่มมีความหลากหลาย โดยในบรรดาเหล่าผลิตภัณฑ์สินค้า ส่งออกของไทยถือกำ�เนิดมาจากแหล่งโรงงานดั้งเดิมที่มีจำ�นวนไม่มากนัก ส่วน ใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมไม้สัก ไม้อัด ไม้ยาง จากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ของ ไทยที่ให้การสนับสนุน พร้อมๆไปกับช่วงเวลาการบ่มเพาะจากสถาบันการศึกษา ต่างๆ ที่เริ่มจากนักออกแบบสมัครเล่นและเริ่มมีเวทีประกวดเกิดขึ้นหลายเวทีจาก ภาครัฐและเอกชนให้ประลองความสามารถ จนกระทั่งเชี่ยวชาญและเริ่มแยกตัว ไปออกแบบเป็นของตัวเองโดยเริ่มออกงานแฟร์ขนาดเล็กในประเทศเป็นของตัวเอง บ้างรับออกแบบอิสระให้กับริษัทและโรงงานส่งออก ผลิตภัณฑ์ จากการสั่งสม ประสบการณ์ในประเทศมายาวนานจนกระทั่งเวทีโลกเปิดกว้าง ทำ�ให้นักออกแบบ มือสมัครเล่นเหล่านี้มีความชำ�นาญและมีไอเดียใหม่ๆ กอปรกับการสนับสนุน การส่งเสริมด้านการออกแบบของกรมส่งเสริมการส่งออกที่จัดหานักออกแบบ ชาวต่างชาติมาเปิดฝึกอบรมให้ความรู้โดยการบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการ

ร่วมกับนักออกแบบผลิตภัณฑ์มืออาชีพและครูบาอาจารย์จากสถาบันต่างๆที่สอน เกี่ยวกับสาขาอาชีพนี้ในมหาวิทยาลัย เช่น เจ้าคุณทหารลาดกระบัง จุฬาฯ หรือ ศิลปากร ฯลฯ ทำ�ให้ดีกรีของความเป็นนักออกแบบมืออาชีพเริ่มฉายแววเปล่ง ประกาย นอกจากนี้ยังมีนักออกแบบที่สำ�เร็จการศึกษาจากสถาบันออกแบบต่าง ประเทศจำ�นวนหนึ่งเข้ามาริเริ่มสร้างสรรค์รูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆในแบบสากล ภายในประเทศ ทำ�ให้มีอาชีพนักออกแบบไทยรุ่นใหม่เกิดขึ้นอีกจำ�นวนหนึ่ง ในช่วงขณะที่เศรษฐกิจตกต่ำ� ต้มยำ�กุ้งดีซีส ครีเอทีฟ ศิลปิน และ นั ก ออกแบบสาขาต่างๆพากันหันมาสนองตอบนโยบายรัฐบาลในการส่งสินค้า ออกเพื่อนำ�รายได้เข้าประเทศทดแทนการนำ�เข้าเช่นก่อนหน้า กอปรกับช่องทาง ธุรกิจนี้ยังเป็นหนทางที่จะนำ�พาเงินจากนอกประเทศ และยังมีช่องทางและโอกาส อีกมากในการแสวงหาอาชีพใหม่เพื่อการใช้ชีวิตในอนาคตจากการเงินคงคลัง ที่ร่อยหรอเกือบหมด จึงทำ�ให้เกิดกลุ่มนักออกแบบทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ที่ มีประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพของตนเอง หันมาพลิกแพลง แสวงหาวัตถุดิบ ใหม่ๆรวมถึงดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยในการผลิตสินค้าที่เริ่มจากกิจการ เล็กๆมาสู่กิจการที่ใหญ่โตขึ้น

31


ส่วนผู้ประกอบการที่ยังยืนหยัดรับกับสถานการณ์เศรษฐกิจระยะนั้นก็ มาทั้งชาวไทยและต่างประเทศเช่น อิตาลี ญี่ปุ่น และอังกฤษ ฯลฯ เข้าร่วมกัน เริ่มหันมาสนใจ ปรับฐานการผลิตจากการรับออร์เดอร์ตามสั่งจากต่างประเทศที่ ตัดสินและเป็นสักขีพยานในความสำ�เร็จดังกล่าวที่จะก้าวขึ้นสู่สากลในวันข้างหน้า เคยทำ�มานาน มาเป็นการเริ่มแสวงหานักออกแบบประจำ�เป็นของตนเองเพื่อสร้าง เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางงานด้านการออกแบบแห่งภูมิภาคต่อไป ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์สินค้าส่งออกที่ทยอยออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ทดลอง ตลาด ซึ่งเท่ากับเป็นการกล้าหาญชาญชัยและตัดสินใจที่จะเปลี่ยนสถานะจาก สถานที่แจ้งเกิดของนักออกแบบไทยรุ่นใหม่ OEM (Original equipment manufacture) มาเป็น OBM (Original brand ความเป็นนักออกแบบของไทยนั้นมีอยู่ในสายเลือดสังเกตได้จากผลงาน manufacture) เป็นการเปิดศักราชใหม่ในธุรกิจที่ยอมรับและมีการว่าจ้างนัก อันเป็นสิง่ ทีจ่ ดุ ประกายให้นกั ออกแบบรุน่ เครือ่ งไม้ใช้สอยในอดีตทีถ่ กู ประดิษฐ์ขน้ึ ออกแบบไทยอย่างเป็นจริงเป็นจังเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ จากที่ ม าทั้ ง สามส่ ว นหลั ก ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น จึ ง ปรากฏนั ก ออกแบบ ใหม่ของไทยจากหลายสาขามองแล้วเกิดจินตนาการต่อยอด ทดลองประดิษฐ์ คิด เฟอร์นิเจอร์และนักออกแบบผลิตภัณฑ์หน้าใหม่ของวิชาชีพการออกแบบไทยเกิด สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆจนกลายเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาคนทั้งโลก และแน่นอน ขึ้นและเป็นที่ยอมรับถึงความเชี่ยวชาญและแสดงความเป็นอัตลักษณ์ทั้งในและ ที่สุดเมื่อเกิดจินตนาการพร้อมกับการสนับสนุนของรัฐบาลไทยที่จัดงานประกวด ต่างประเทศว่าโดดเด่นมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง มีกลิ่นไอของของไทยใน ผลงานขึ้นหลายประเภท ส่งผลให้นักออกแบบรุ่นใหม่ได้ทดสอบความสามารถ แบบสากลสามารถตอบสนองประชาชนได้ทั่วไปโดยไม่จำ�กัดเฉพาะอยู่ในเพียง และความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตผลงานของตนเองเพื่อยกระดับให้ทัดเทียม ประเทศ และยังพัฒนาสินค้าใหม่ๆออกงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ กับชาวตะวันตก โดยนำ�ผลงานทั้งที่ไดรับรางวัลและผลงานที่ไม่ได้ส่งประกวด เป็นประจำ�ทุกปี ขณะเดียวกันพร้อมกับเป็นแบบอย่างให้นักออกแบบรุ่นน้องๆ เข้าสู่กระบวนการตลาดแสดงสินค้าส่งออก ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของ ที่จบการศึกษาใหม่หันมาเอาใจใส่ในธุรกิจประเภทนี้จนมีนักออกแบบที่มีความ ผลิตภัณฑ์ไทยที่ออกสู่สายตาชาวโลก โดยงานแสดงสินค้าส่งออกของไทยที่ได้รับ สามารถเพิ่มขึ้นในทุกปีและด้วยเหตุนี้เองโครงการ Designer of the year การยอมรับเช่น งาน BIG&BIH และ TIFF นอกจากนี้ยังมีนักออกแบบอิสระเข้า (นักออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี) ของมหาวิยาลัยศิลปากรโดยความร่วมมือของ ร่วมส่งผลงานแสดงยังแฟร์ชื่อดังต่างประเทศอีก เช่น Mason&Object ประเทศ องค์กรวิชาชีพต่างๆจึงมีแนวคิดสนับสนุนให้กำ�ลังใจและสร้างต้นแบบของนัก ฝรั่งเศส มิลานแฟร์ ที่อิตาลี และอีกหลายแห่งจนได้รับการยอมรับจากชาวต่าง ออกแบบไทย (Thai Designer)ให้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในไทยและระดับโลก ชาติถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของทั้งนักออกแบบและผลงานในปัจจุบัน โดยเริ่มต้นโครงการตั้งแต่ปีพ.ศ.2547 เป็นต้นมา มีคณะกรรมการคัดเลือกที่เชิญ 32


� 1. ขอติดผนังรูปนอต สำ�หรับแขวนผ้าพันคอหรือหมวก ทำ�จากพลาสติกเอบีเอส หัวนอต ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.3-8 เซนติเมตร ส่วนเกลียว ยาว 10 เซนติเมตร ออกแบบโดย คุณธิติ อมรพัชระ หนึ่งชุดมี 3 ชิ้น มีให้เลือก 3 สี ได้แก่ สีขาว สีเทา และสีดำ� � 2.โคมไฟตั้งโต๊ะโครงเหล็กชุบสี ไส้หลอดไฟมีลายให้เลือกหลายแบบ 3. เก้าอี้อะลูมิเนียม ออกแบบโดย คุณศิริลักษณ์ มหาจันทนาภรณ์ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากรูปทรงของกีตาร์ � 4. เก้าอี้ทำ�จากสเตนเลสเกรด A แบบเดียวกับที่ใช้ทำ�ภาชนะ มีความเหนียว ไม่ฉีกง่าย ขอบโค้งเรียบไม่มีคม� 5. พัดลมเหล็ก ออกแบบโดย คุณศิริลักษณ์ มหาจันทนาภรณ์ ช่วยคลายร้อนแถมยังมีดีไซน์สวยด้วย� 6. สตูลไม้ ทำ�จากไม้จริงเคลือบเงา ให้อารมณ์เหมือนนั่งอยู่บนท่อนไม้ 7.โคมไฟตั้งโต๊ะรุ่น “Pantagon” ทำ�จากอะคริลิก สอบถามราคาได้ที่ร้าน � 8. โคมไฟห้อยเพดาน ทำ�จากสเตนเลส ออกแบบโดย คุณศุภพงศ์ สอนสังข์ เป็นผลงานชนะเลิศการออกแบบ Thainox เมื่อต้นปีที่ผ่านมา � 9. โคมไฟห้อยเพดาน โครงทำ�จากไม้สักสีธรรมชาติ ตัวโป๊ะทำ�จาก rice paper ทนน้ำ� ทนชื้นได้ดี� 10. โคมไฟตั้งพื้น โครงทำ�จากไม้สักสีธรรมชาติ ตัวโป๊ะทำ�จาก rice paper ทนน้ำ� ทนชื้นได้ดี � 11. เทียนรูปเหยือกน้ำ� สูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีให้เลือก 2 สี ได้แก่ สีขาวและสีดำ�� 12. ม้านั่ง เบาะเป็นผ้าใบพิมพ์ลาย โครงขาทำ�จากเหล็กชุบสี 33


13. สตูล เบาะเป็นผ้าใบพิมพ์ลาย โครงขาทำ�จากเหล็กชุบสี 14. สตูลไม้กลม “Monroe” ทำ�จากไม้มะม่วง ทำ�สีธรรมชาติ ออกแบบโดย คุณธิติ อมรพัชระ� 15. โมบายล์รูปนกฮูก ทำ�จากเซรามิก ออกแบบโดย อาจารย์ปรีชา ปั้นกล่ำ� มีให้เลือก3 สี ได้แก่ สีขาว สีเทา และสีดำ� � 16. นาฬิกาแขวนผนังบุผ้าสีเมทัลลิก ให้ความรู้สึกคล้ายโลหะ เข็มบอกเวลาเป็นรูปเกล็ดหิมะ ออกแบบโดย คุณศิริลักษณ์ มหาจันทนาภรณ์ 17. ตัวหนีบรูปนก ทำ�จากพอลิเอสทีลีน ออกแบบโดย คุณปิติทัศน์ ไววิริยะ มีให้เลือก3 สี ได้แก่ สีเขียว สีขาว และสีแดง สอบถามราคาได้ที่ร้าน� 18. ขอติดผนังสำ�หรับแขวนผ้าพันคอหรือหมวก ทำ�จากไม้มะม่วงย้อมสี ออกแบบโดย คุณธิติ อมรพัชระ � 19. หมอนอิงนกฮูก ทำ�จากผ้าสักหลาด เฉพาะปลอกหมอน� 20. เบาะนั่งรุ่น “Mossy” หุ้มด้วยผ้าพอลิเอสเตอร์ � 21.ทุ่นลอยน้ำ�ทำ�จากพลาสติกพีวีซี สูง160 เซนติเมตร ฐาน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง 25 เซนติเมตร ออกแบบโดย คุณปิติทัศน์ ไววิริยะ ภายในสามารถ บรรจุน้ำ�ได้ แล้วนำ�ไปวางในสระว่ายน้ำ� เมื่อวางจำ�นวนมาก ก็จะดูคล้ายไม้น้ำ� ช่วยสร้างบรรยากาศ สอบถามราคาได้ที่ร้าน� 22. พรมลายดอกไม้ ทำ�จากผ้าสักหลาดคละสี คละลาย � 23. เทียนรูปกิ่งไม้ สูง 50 และ 20 เซนติเมตร สร้างบรรยากาศภายในบ้านให้ดูอบอุ่นและเป็นธรรมชาติ ที่มา:www.baanlaesuan.com 34


35


36


ประเภทผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในการส่งออก ผลิตภัณฑ์ที่มีปรากฏอยู่ในท้องตลาดบ้านเรานั้นมีอยู่มากมายหลาย ประเภท ทัง้ ทีผ่ ลิตในประเทศและนำ�เข้าจากต่างประเทศ จนอาจกล่าวได้วา่ เมืองไทย เป็นแหล่งรวบรวมเครื่องเรือนและของแต่งบ้านในภูมิภาคที่หลากหลายที่สุดใน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ก็ว่าได้ เนื่องจากการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ ทำ�ให้เกิดความต้องการบ้านพักอาศัยในปริมาณสูง รวมถึง ภายในอาคารสำ�นักงานและธุรกิจประเภทร้านอาหารที่ต้องการโต๊ะ เก้าอี้ไว้คอย บริการลูกค้า ขณะทีอ่ ตุ สาหกรรมการผลิตเครือ่ งเรือนเพือ่ การส่งออกนัน้ ทำ�รายได้เข้า ประเทศปีละกว่าหมื่นล้านบาทเป็นช่วงระยะเวลานานหลายปีติดต่อกัน นอกจาก นี้ยังมีเครื่องเรือนที่ผลิตโดยฝีมือชาวบ้านในแต่ละภูมิภาคของประเทศที่นำ�เอา วัสดุที่หาได้ในแต่ละท้องถิ่นมาผลิตวางขายกันอยู่เรียงรายตามบริเวณริมถนน ข้างทาง เช่น เครื่องเรือนที่ทำ�จากไม้ไผ่ ไม้ตาล ไม้ขนุน หรือ ไม้จำ�ปา รวม ไปถึงเครื่องเรือนไม้สักแกะสลักลวดลายในบริเวณภาคเหนือของประเทศและที่ ได้รับความนิยมอีกประเภทหนึ่งคือการนำ�เอาของใช้ในอดีตที่ทำ�ด้วยไม้ เช่น ล้อ เกวียน คันไถ มาดัดแปลงเป็นเครื่องเรือนเครื่องใช้ในปัจจุบัน ด้วยความ หลากหลายนี้เองทำ�ให้คนไทยมีรสนิยมหลากหลายในการใช้เครื่องเรือนมากที่สุด ประเทศหนึ่งก็อาจเป็นได้จะเห็นได้ว่าสินค้าและแหล่งผลิตจำ�หน่ายเครื่องเรือนนั้น อยู่กระจัดกระจายตามสถานที่ต่างๆทั้งแถบบริเวณรอบชานเมือง ต่างจังหวัดและ ใจกลางกรุงเทพ โดยเครื่องเรือนที่กลับมาได้รับความนิยมสูงสุดในด้านรูปแบบ เรียงตามลำ�ดับ ดังนี้

ประเภทเครื่องเรือน ผลิตภัณฑ์ของแต่งบ้าน เครื่องประดับ สิ่งทอและเส้นใย เครื่องเรือนของแต่งบ้านที่มีปรากฏอยู่ในท้องตลาดบ้านเรานั้นมีอยู่ มากมายหลายประเภท ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำ�เข้าจากต่างประเทศ จนอาจ กล่าวได้ว่าเมืองไทยเป็นแหล่งรวบรวมเครื่องเรือนในภูมิภาคที่หลากหลายที่สุด เนื่องจากการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทำ�ให้เกิดความ ต้องการบ้านพักอาศัยในปริมาณสูง รวมถึงภายในอาคารสำ�นักงานและธุรกิจ ประเภทร้านอาหารที่ต้องการโต๊ะ เก้าอี้ไว้คอยบริการลูกค้า ขณะที่อุตสาหกรรม การผลิตเครื่องเรือนเพื่อการส่งออกนั้นทำ�รายได้เข้าประเทศปีละกว่าหมื่นล้าน บาทเป็นช่วงระยะเวลานานหลายปีติดต่อกัน นอกจากนี้ยังมีเครื่องเรือนที่ผลิต โดยฝีมือชาวบ้านในแต่ละภูมิภาคของประเทศที่นำ�เอาวัสดุที่หาได้ในแต่ละท้องถิ่น มาผลิตวางขายกันอยู่เรียงรายตามบริเวณริมถนนข้างทาง เช่น เครื่องเรือนที่

ทำ�จากไม้ไผ่ ไม้ตาล ไม้ขนุน หรือ ไม้จำ�ปา รวมไปถึงเครื่องเรือนไม้สักแกะสลัก ลวดลายในบริเวณภาคเหนือของประเทศ และที่กำ�ลังได้รับความนิยมคือการนำ� เอาของใช้ในอดีตที่ทำ�ด้วยไม้ เช่น ล้อเกวียน คันไถ มาดัดแปลงเป็นเครื่องเรือน เครื่องใช้ในปัจจุบัน ด้วยความหลากหลายนี้เองทำ�ให้คนไทยมีรสนิยมแตกต่างใน การใช้เครื่องเรือนมากที่สุดประเทศหนึ่งก็อาจเป็นได้ จะเห็นได้ว่าสินค้าและแหล่ง ผลิตจำ�หน่ายเครื่องเรือนนั้นอยู่กระจัดกระจายตามสถานที่ต่างๆทั้งแถบบริเวณ รอบชานเมือง ต่างจังหวัดและใจกลางกรุงเทพ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นหลาย ประเภทต่อไปนี้

จักสาน ( Wicker Furniture ) วัสดุจากธรรมชาติ ได้แก่ หวาย ผักตบชวา ย่านลิเภา ปอ แฝก ฯลฯ วัสดุจากใยสังเคราะห์ เช่น พลาสติก ไนล่อน ฯลฯ ไม้ แบ่งเป็น แบบพื้นบ้าน แบบโบราณ แบบร่วมสมัย โลหะ ได้แก่ เหล็ก สเตนเลส อลูมิเนียม ไฟเบอร์กลาส พลาสติก ( โพลีคาร์บอเนต ) กระจก บุนวม แผ่น Particle Board และวัสดุสังเคราะห์

ประเภทจักสาน เป็น งานฝีมือประเภทงานหัตถกรรมที่สนองประโยชน์การใช้สอยของ มนุษย์ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในอดีตการผลิตเครื่องเรือนจะใช้วัสดุที่ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นมาประกอบเป็นรูปแบบง่ายๆ อย่างเช่นนำ�วัสดุไม้ไผ่มาทำ�เป็นเครื่องเรือน เช่น แคร่ ต่อมาได้มีการพัฒนามา ผลิตเป็นเก้าอี้ และเครื่องเรือนประเภทต่างๆ ปัจจุบันนี้เครื่องเรือนจักสานได้รับ ความนิยมอย่างมากทั้งภายในและต่างประเทศ จนทำ�ให้วัตถุดิบประเภทหวาย ไม่เพียงพอต่อการผลิต ทางผู้ผลิตเองจึงต้องนำ�เข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ อย่างเช่นประเทศจีน และประเทศพม่าเป็นต้น จึงทำ�ให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำ�ให้เกิดแนวทางใหม่ในการผลิตเครื่องเรือนจักสาน โดยหาวัสดุมาทดแทนวัสดุ 37


ดังกล่าวอย่างเช่น ปอ ผักตบชวาและยังมีวัสดุประเภทใยสังเคราะห์พวกพลาสติก และไนล่อนที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิต ปัจจุบันนี้เครื่องเรือนจักสานมีการพัฒนา รูปแบบ โครงสร้าง ลวดลาย ให้มีคุณค่าและความเหมาะสมกับการใช้สอย มี การผลิตมากขึ้นในลักษณะหัตอุตสาหกรรม มีการใช้วัสดุผสมผสาน และมีการ พัฒนาการรูปแบบใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการยกระดับสินค้าเครื่องเรือนจักสาน ให้มีความทันสมัยที่เอื้อประโยชน์ในการใช้งานและผสมผสานกลมกลืนกับเครื่อง เรือนสมัยปัจจุบัน และมีการผลิตเพื่อส่งจำ�หน่ายต่างประเทศ เครื่องเรือนจักสาน สามารถจำ�แนกประเภทได้ดังนี้ วัสดุจากธรรมชาติที่นำ�มาทำ�เครื่องเรือนจักสานได้แก่ หวาย ผักตบชวา ย่านลิเภา ปอ แฝก และวัสดุใยสังเคราะห์ ได้แก่ พลาสติก และไนล่อน

เครื่ืองเรือนจักสานที่ใช้วัสดุธรรมชาติ การผลิตเครื่องเรือนจักสานเป็นการพัฒนาต่อเนื่องมาจากเครื่อง จักสานของไทยที่ใช้ในการดำ�รงชีวิต เช่น อุปกรณ์จับปลา โดยการเรียนรู้จาก ธรรมชาติและสั่งสมเป็นประสบการณ์อย่างต่อเนื่องมาช้านาน มีการสืบทอดของ บรรพบุรุษ จากปากต่อปาก จากการจดจำ�ลอกเลียนแบบ จากการฝึกหัดจนเกิด ความชำ�นาญ ในอดีตชาวบ้านมักจะจักสานกันในช่วงเวลาที่ว่างจากงานหลัก ซึ่ง มีข้อจำ�กัดในเรื่องปริมาณทำ�ให้ไม่สามารถผลิตได้ตามความต้องการของตลาด และแบบก็ขึ้นกับความพอใจของช่าง วัสดุที่ใช้ในการผลิตจะมาจากธรรมชาติที่ สามารถหาได้ในแต่ละท้องถิ่นจำ�พวก ไม้ไผ่และหวาย แต่ต่อมาวัสดุจากหวายมี ปริมาณไม่เพียงพอ ทำ�ให้ต้องมีการนำ�เข้า ทางผู้ผลิตจึงคิดหาวัสดุแหล่งใหม่จาก ธรรมชาติมาพัฒนาทดแทน อย่างเช่น ปอ ผักตบชวา ย่านลิเภา เพื่อตอบสนอง ต่อความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีการพัฒนารูปแบบให้มีความทัน สมัยสอดคล้องกับลักษณะการใช้งานและส่งออกต่างประเทศจนเป็นที่นิยมของ ชาวต่างชาติ ด้วยการเน้นด้านการออกแบบใหม่ๆและพิถีพิถันกับคุณภาพจนเป็น ที่รู้จักของลูกค้าในระดับกลางและระดับบนของตลาดเอเชียและยุโรป คุณค่าของ เครื่องเรือนจักสานสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ คุณค่าความงามและคุณค่า ทางประโยชน์ใช้สอย คุณค่าทางความงาม เครือ่ งเรือนจักสานนับเป็นคุณค่าทางศิลปหัตถกรรม ประเภทหนึ่งที่แตกต่างจากเครื่องเรือนประเภทอื่นโดยมีองค์ประกอบหลักคือ เรื่องของรูปทรง โครงสร้างและลวดลาย ลักษณะพิเศษของโครงสร้างสามารถ นำ�หวายมาดัดโค้งได้ตามความต้องการจึงไม่มีปัญหาในการออกแบบรูปทรงให้ เกิดความอ่อนช้อยและเหมาะกับการใช้งานได้เป็นอย่างดี โครงสร้างของเครือ่ ง เรือนจักสานโดยทั่วไปจะเป็นโครงสร้างที่ใช้หวายขนาดใหญ่(เส้นผ่าศูนย์กลาง1”ขึ้น ไป)เป็นโครงสร้างหลักในตัว ส่วนโครงสร้างเสริมจะเป็นหวายขนาดรองยึด ด้วยการผูกมัด รัด และสาน การผูกและการรัดด้วยหวายเส้นเล็กจะช่วยให้รอย ต่อแข็งแรงขึ้น จึงทำ�ให้โครงสร้างหวายมีน้ำ�หนักค่อนข้างเบากว่าโครงสร้างไม้ และโลหะ เครื่องเรือนจักสานบางชนิดได้รับการออกแบบให้ลวดลายการสานเป็น ตัวบังคับให้รูปทรงอยู่ได้โดยลวดลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างทั้งนี้ลักษณะ

38

เครื่องเรือนดังกล่าวมีการออกแบบเป็นส่วนที่รับน้ำ�หนักมากๆเพราะจะมีผลต่อ อายุการใช้งาน ลักษณะลวดลายจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทคือ ชนิดลายขัด ธรรมดา ชนิดใช้โครงสร้างในตัวเองด้วยหวาย ชนิดโครงสร้างในตัวเองด้วยการ สาน โครงสร้างที่สานขัดกันซ้ำ�ไปซ้ำ�มาเป็นแผ่นนั้นทำ�ให้เกิดแรงยึดเกาะระหว่างกัน ได้อย่างดี คุณค่าทางประโยชน์ใช้สอย การทำ�เครื่องเรือนหวายมีการพัฒนารูป แบบและวิธีการผลิต โดยเริ่มเอาไม้มาผสมกับหวาย อย่างโครงสร้างที่อยู่ด้าน ใน ทำ�ให้เกิดความแข็งแรงให้ความสวยงาม มองดูแล้วภูมิฐาน มีน้ำ�หนักมาก แต่ใช้งานทนทาน การตกแต่งบ้านด้วยเครื่องเรือนจักสานอาจถือได้ว่าเป็นการ นำ�ธรรมชาติให้เข้ามามีส่วนร่วมกับการอยู่อาศัยได้ง่ายและแนบเนียนกว่าเครื่อง เรือนอื่น เครื่องเรือนจักสานเมื่อขึ้นโครงแล้วสามารถใช้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆอย่าง เช่นเบาะที่ทำ�จากฟองยางฟองน้ำ�และนุ่นจะเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน และสามารถหุ้มวัสดุจำ�พวกผ้า และหนังเพื่อสร้างมูลค่าให้กับเครื่องเรือนอีก ทางหนึ่ง เครื่องเรือนจักสานวัสดุจากธรรมชาติที่เป็นที่นิยมและติดตลาดต่าง ประเทศ มีดังนี้

หวาย หวายเป็นผลผลิตจากธรรมชาติที่อยู่ในป่าทึบ ถูกนำ�มาพัฒนาเป็น เครื่องใช้และเครื่องเรือนเป็นเวลานาน แต่ในปัจจุบันหวายเป็นวัสดุที่หายากและ ราคาค่อนข้างสูง ทำ�ให้ต้องหันไปนำ�เข้าวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่น


ประเทศในช่วงเวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมา จนทำ�ให้บริษัทโยธกา ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการ ทำ�เครื่องเรือนจากผักตบชวาตลอดระยะเวลากว่า20 ปีที่ได้พัฒนารูปแบบและ คุณภาพงานเครือ่ งเรือนประเภทนีเ้ ป็นทีร่ จู้ กั และยอมรับจากชาวต่างชาติ ซึง่ ในอดีต จะผลิตเน้นเพือ่ การส่งออก โดยมีการพัฒนารูปแบบให้สอดคล้องกับความต้องการ ของตลาดต่างประเทศ ปัจจุบนั มีการผลิตเพือ่ จำ�หน่ายภายในประเทศด้วย โดย ผลิตภัณฑ์จะไม่เน้นที่ลวดลายแต่ให้ความสำ�คัญกับการออกแบบของโครงสร้ า ง รูปทรง สัดส่วนและ การผสมผสานวัสดุ การนำ�วัสดุจากธรรมชาติที่เป็นผัก ตบชวามาทำ�เครื่องเรือนจักสาน จะให้ความงามที่แตกต่างจากเครื่องเรือน ในอดีต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแนวความคิดของนักออกแบบที่ทำ�ให้ รูปลักษณ์ของ ผลิตภัณฑ์มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ส่วนระดับชาวบ้านทางหน่วยงาน ราชการ เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ช่วยเหลือด้านการพัฒนาคุณภาพ อินโดนีเซีย จีน อินเดีย และประเทศพม่า ซึ่งส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์สูงขึ้น จึงเกิด การนำ�เอาวัสดุสังเคราะห์มาใช้แทนเช่น ไนล่อน พลาสติก แต่อย่างไรก็ตามคุณค่า และความนิยมเครื่องเรือนจักสานหวายก็ไม่ได้ลดลงไป รูปแบบเครื่องเรือนหวาย ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในท้องตลาดจะขึ้นอยู่กับกับช่างผู้มีความชำ�นานในการทำ�หวาย มาช้านานจนเป็นผู้ที่เข้าใจถึงคุณสมบัติและกรรมวิธีในการผลิตได้อย่างดี เครื่องจักสานหวายโดยส่วนใหญ่โครงสร้างจะใช้หวายน้ำ�ผึ้งของไทยที่มี ความแข็งแรงทนทานดี เนื้อสวย ดัดโค้งไม่หักง่าย ส่วนหวายที่ใช้สานจะเป็นหวาย กาหลงที่นำ�เข้าจากต่างประเทศ เช่นประเทศจีน กับประเทศอินเดีย เนื่องจากมี ความเหนียวไม่แตกหักง่ายเวลามัดหรือพัน โดยทั้งนี้รูปแบบของลวดลายจะขึ้นอยู่ กับลักษณะของหวายที่นำ�มาสานซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะคือ การสานด้วย เส้นหวายจะมีรูปแบบลวดลายไม่มากนักซึ่งโดยมากนิยมลายขัดแต่สามารถใช้งาน ได้ 2 ด้าน ส่วนการสานด้วยผิวหยาบจะสามารถคลี่คลายลวดลายได้มากแบบ กว่าแต่จะใช้งานได้เพียงด้านเดียว การผลิตเครื่องเรือนหวายในขณะนี้มีอยู่ด้วย กัน 2 ลักษณะคือ การผลิตในลักษณะอุตสาหกรรมในครัวเรือน มีขั้นตอนและ เครื่องมือที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ส่วนการผลิตในลักษณะโรงงานอุตสาหกรรมจะใช้ เทคโนโลยีเครื่องจักรเข้ามาช่วยเสริมลดขั้นตอนและระยะเวลา เช่นการตัดหวาย การปอกผิวหวาย การตัด การขัด การดัดและการอบ จนสามารถสร้างสินค้าให้ มีมาตรฐานมากขึ้น ปัจจุบันเครื่องเรือนหวายได้ถูกพัฒนารูปแบบขึ้นจากเดิมจน เป็นที่ต้องการทั้งตลาดในและต่างประเทศ ของผลิตภัณฑ์จนทำ�ให้บางหมู่บ้านได้รับรางวัล หมู่บ้านอุตสาหกรรมดีเด่น ปี 2542 เช่น หมู่บ้านนิลเพชร จังหวัดนครปฐม หมู่บ้านดอนแฟบ จังหวัด ผักตบชวา นครปฐม, หมูบ่ า้ นทองค้า จังหวัดชัยนาท, บ้านบางตาแป้น จังหวัดอ่างทอง, บ้าน ห้วยหวาย จังหวัดสุพรรณบุรี ผักตบชวาเป็นไม้น้ำ�ชนิดหนึ่งที่คนไทยเรียกผักตบ เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติ โตทั้งในน้ำ�นิ่งและน้ำ�ไหลมีลำ�ต้นสูง 80-100 ซ.ม. ผักตบชวาจะมีแถบ ย่านลิเภา พื้นที่ภาคกลางอย่างเช่น จังหวัดอยุธยา สุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท และนครปฐม ชาวบ้านได้มีการนำ�ผักตบชวามาจักสานทำ�เครื่องเรือนเครื่องใช้ เป็นพืชประเภทเถาวัลย์มีลักษณะเป็นเถามีอยู่ตามป่าละเมาะ ชอบเลื้อย ต่างๆ แต่ยังไม่มีคุณภาพที่ดีพอ และแบบก็ยังไม่มีการพัฒนา ส่วนใหญ่ทำ�ตาม เป็นวัสดุที่มีแหล่งกำ�เนิดมาจากภาคใต้ ย่านลิเภามีคุณสมบัติพิเศษคือ มีลำ�ต้น แบบที่ลูกค้าสั่งมาอีกที ผักตบชวาเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากต่าง เหนียวทนทานใช้ผกู มัดสิง่ ของทัง้ ยังมีใยเนือ้ หลายสีคอื สีนาก สีดำ� และสีนำ้ �ตาลแก่ 39


เมื่อนำ�มาเป็นเครื่องจักสานจะมีความสวยงามมาก ย่านลิเภาที่พบในภาคใต้มีอยู่ 2 ชนิดคือ 1. ย่านพองหยองหรือชาวบ้านเรียกว่า ย่านบางหยองหรือเรียกกัน เล่นๆว่า ย่านเพายุง ไม่เหมาะมาทำ�จักสานส่วนของลำ�ต้นชาวบ้านจึงมักใช้แทน หวายหรือตอกผูกมัดเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ 2. ย่านลิเพา หรือ ย่านลิเภา มีลำ�ต้นใหญ่กว่าไม้ขีดไฟเล็กน้อย คุณสมบัติเหมาะที่จะมาทำ�เครื่องจักสาน คือ เปลือกเหนียวทนทาน การทำ� เครื่องจักสานย่านลิเภาส่วนมากจะต้องมีโครงโดยใช้ไม้ไผ่เป็นโครงเสียก่อนเพื่อ

มากนัก เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการสานนาน ความต้องการตลาดยังไม่มาก และราคาค่อนข้างสูง ย่านลิเภาได้รับการพัฒนารูปแบบมาโดยตลอดด้วยพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถให้การอุปถัมภ์จนทำ�ให้เป็นที่เลื่องลือของ ชาวต่างชาติในด้านความละเอียดประณีตที่วิจิตรบรรจง บริษัทโยธกาเป็นผู้ริเริ่ม นำ�ย่านลิเภามาสานเป็นเก้าอี้เพื่อการส่งออกและได้รับการตอบรับจากตลาดเป็น อย่างดีแต่มีข้อจำ�กัดในการผลิตเป็นจำ�นวนมาก

ให้ได้รูปร่างที่ต้องการแล้วจึงใช้ย่านลิเภาสาน การสานย่านลิเภาจะต้องใช้ความ ละเอียดประณีตมาก และส่วนมากจะสานเป็นลายเป็นดอกต่างๆได้ โดยการสลับ สีกัน เพราะผิวด้านนอกกับด้านในของย่านลิเภาจะต่างกัน ด้านในจะสีอ่อนกว่า ด้านนอก การนำ�ย่านลิเภามาทำ�เป็นเครื่องจักสานนั้น จะเริ่มด้วยการคัดเลือก ย่านลิเภาเอาเฉพาะที่มีลำ�ต้นตรงใหญ่และมีความยาวพอสมควร ก่อนจะนำ�ไปสาน ต้องขูดเกลาเป็นเส้นดอกย่านลิเภาให้สะอาดเรียบร้อย ด้วยการขัดเส้นย่านลิเภา ลงในรูสังกะสี เรียกว่า “เลียด” หลังจากได้เส้นตอกย่านลิเภาแล้วจึงนำ�มาสาน การสานย่านลิเภาส่วนมากนิยมสานเป็นเครื่องใช้ เช่น กระเป๋าถือ กล่องยาเส้น เชี่ยนหมาก พาน และเครื่องใช้อื่น ยังไม่ค่อยมีใครนิยมนำ�มาสานเป็นเครื่องเรือน

ปอ

40

ปอเป็นพืชที่ปลูกในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยโดยใช้เมล็ด ในการเพาะพันธุ์ ปอที่เรานิยมมาใช้งานมีปอแก้วกับปอกระเจา การจะเอาปอมา ใช้งานจะต้องนำ�ปอมาแช่น้ำ�อยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วจึงนำ�มาลอกเอาเปลือก ออก(อาจจะใช้วิธีการตี)ก็จะได้ใยของปอแล้วจึงนำ�มาฟอก สมัยก่อนปอเรานำ�มา ทำ�เป็นเชือกหรือมาทอเป็นกระสอบ แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาขึ้น โดยนำ�ปอมา ทำ�เป็นวัสดุในการจักสานเป็นเครื่องเรือนสมัยใหม่ คุณอุดม อุดมศรีอนันต์ เป็น ผูร้ เิ ริม่ นำ�ปอมาจักสานทีม่ แี นวความคิดและแรงบันดาลใจทีไ่ ด้จากรูปทรงธรรมชาติ ผสมผสานกับความพิเศษทางด้านวัสดุและลวดลายที่ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ มี


ความเป็นอิสระ เป็นลักษณะรูปทรง Sculpture Form จึงสอดคล้องกับตลาด มาทำ�กระเป๋า ม่านและพัด มีการริเริ่มนำ�แฝกเข้ามาพัฒนาเป็นเครื่องเรือนจักสาน และแนวโน้มสินค้าในปัจจุบัน โดยคุณ สุวรรณ คงขุนเทียน จากบริษัทโยธกา โดยผสมผสานกับเส้นใยอื่นเพื่อ แก้ปัญหาวัสดุที่ค่อนข้างจะกรอบ แฝก

วัสดุใยสังเคราะห์

เป็นพันธุ์ไม้ประเภทหญ้าชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายหญ้าคาหรือตะไคร้ แต่ขนาดใหญ่กว่า เป็นหญ้าอายุยืนขึ้นเป็นกอแน่นขนาดใหญ่ ถิ่นกำ�เนิดเดิมอยู่ใน เป็นวัสดุที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตจำ�พวกพลาสติกและไนล่อนนำ�มา อินเดียและศรีลังกา ชอบอากาศร้อนชื้น ขึ้นได้ในดินทุกชนิด มีลำ�ต้นใต้ดินซึ่งแตก จักสานเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อทดแทนวัสดุธรรมชาติที่มีการขาดแคลน ผลิตภัณฑ์

แขนงและมีเนื้อหยุ่นๆอยู่ภายในลำ�ต้น ส่วนที่ชูขึ้นเหนือดินสูง 0.5-1.5 เมตร ใบ ยาวแคบและแข็ง แผ่นใบเกลี้ยง รากแฝกมีกลิ่นหอมคล้ายไม้จันทน์ หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลาย ของหน้าดิน และรักษาความชื้นของดินไว้เป็นพืชที่ปลูกง่าย ปลูกโดยไม้ต้องดูแล รักษามาก ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่น นอกจากนี้หญ้าแฝกยังมีประโยชน์ต่อสิ่ง แวดล้อมและระบบนิเวศวิทยา อาทิ ช่วยดักตะกอนดินหรือกรองน้ำ�เสียจากขยะ มูลฝอยไม่ให้ไหลสู่แม่น้ำ�คลอง ป้องกันแม่น้ำ�ลำ�คลองตื้นเขิน ใบอ่อนของหญ้า แฝกนำ�มาบดเลี้ยงปลาและเป็นอาหารสัตว์ได้ ต้นและใบนำ�มาทำ�ปุ๋ยหมัก ส่วนใบ แห้งนำ�มาสานเรียงเป็นตับใช้มุงหลังคาบ้าน ร้านค้า หญ้าแผกเป็น 1 ในโครงการ พระราชดำ�ริให้ปลูกป้องกันการกัดเซาะ พังทลายของผิวดิน และทรงให้พัฒนา ผลิตภัณฑ์ของหญ้าแฝก โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงนำ�มาทอผสมกับวัสดุอื่นๆทำ�เป็น ผลิตภัณฑ์ อย่างเช่น ที่รองจาน เสื่อ รวมถึงวัสดุบุเครื่องเรือน ชาวบ้านนำ�แฝก

จะมีความทนทานต่อการใช้งาน มีน้ำ�หนักเบา มีราคาไม่สูงมาก อย่างเช่น กล่องจักสานจากพลาสติกใส่ของใช้ในครัวเรือน หรือตะกร้า และมีเครื่องเรือน จักสานจากไนล่อนจำ�พวกเก้าอี้ ทีใ่ ช้วสั ดุอย่างอืน่ ทำ�เป็นโครง อย่างเช่นโครงจาก อลูมิเนียมใช้ไนล่อนสานทำ�เก้าอี้ ส่วนมากนิยมทำ�เป็นเครื่องเรือนสมัยใหม่ที่ผลิต และนำ�เข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิตค่อนข้างสูง และสามารถใช้เป็นเครื่องเรือนภายนอกอาคารได้

ไม้ ไม้ เ ป็ น ทรั พ ยากรทางธรรมชาติ ที่ อ ยู่ ค วบคู่ กั บ มนุ ษ ย์ ม าตั้ ง แต่ ส มั ย ดึกดำ�บรรพ์ มนุษย์ใช้ไม้ในการประดิษฐ์เครื่องใช้ไม้สอย สิ่งปลูกสร้างตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันรวมไปถึงการทำ�เครื่องเรือน เนื่องจากหาง่ายมีอยู่ทั่วไปในสภาพ

41


แวดล้อมของแต่ละท้องถิ่นอย่างเช่น ไม้ไผ่ ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้แดง ไม้ขนุน ไม้ จำ�ปา ไม้นับเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่มนุษย์เราคุ้นเคยมากที่สุดชนิดหนึ่งจนถึง ขั้นมีการพัฒนาจนเกิดเป็นองค์ความรู้และภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นในการ ประดิษฐ์คิดค้นวิธีการต่างๆเพื่อการใช้งาน การผลิตในช่วงแรกจะผลิตเพื่อ ประโยชน์ใช้สอย แต่เมื่อมีผู้นิยมมากขึ้นการผลิตจึงเริ่มพัฒนารูปแบบให้เกิด ความทันสมัยเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในท้องตลาดมากขึ้น ปัจจุบันไม้ เป็นวัสดุที่หายากและมีราคาสูง ทั้งนี้ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมามนุษย์ตัดไม้ทำ�ลาย ป่ากันเป็นจำ�นวนมากจนกระทั่งส่งผลต่อสภาพแวดล้อมเช่น อากาศแปรปรวน เกิดอุทกภัยฯ ในการนำ�ไม้มาใช้จึงต้องคำ�นึงถึงการไม่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อมและมี การปลูกทดแทน เครื่องเรือนที่ทำ�ด้วยวัสดุไม้นั้นมีด้วยกันหลายประเภทดังนี้ ไม้ภายในประเทศ จะเห็นได้ว่าในบ้านเรือนของไทยในอดีตจะมีเครื่องเรือนที่ทำ�จากวัสดุไม้ สักมาประกอบตบแต่งอยู่ในบ้านตลอด ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เตียง ฯลฯ ต่อมาได้มี การนำ�ไม้สักมาออกแบบเป็นเครื่องเรือนสมัยใหม่ที่ใช้ในชีวิตประจำ�วันตามที่เรา เห็ น ในแถบต่ า งจั ง หวั ด เช่นการนำ�ไม้สักชิ้นใหญ่มากลึงและประกอบเป็นเครื่อง เรือนในลักษณะต่างๆ เช่นโต๊ะกินข้าว เก้าอี้ เป็นต้น เครื่องเรือนดังกล่าวมี น้ำ�หนักมากไม่เหมาะกับการใช้งานในปัจจุบัน สร้างปัญหาการตัดไม้ทำ�ลายป่าส่ง ผลให้เกิดการอนุรักษ์ไม้เกิดขึ้น จนเกิดแนวความคิดใหม่เอาไม้ชนิดอื่นมาผลิต เป็นเครื่องเรือนเป็นที่นิยมของผู้บริโภคอย่างเช่น ไม้ยาง, ไม้แดง, ไม้ตะแบก, ไม้ตะเคียนทอง, ไม้ชิงชัน, ไม้ประดู่ลาย, ไม้มะค่า ไม้ขนุน ฯลฯ แหล่งจำ�หน่าย ตามร้านขายเฟอร์นิเจอร์ไม้ หรือร้านค้าข้างทางตามจังหวัดต่างๆ เช่น จังหวัด ปราจีนบุรี กาญจนบุรี เป็นต้น

แบบพื้นบ้าน แบบโบราณ แบบร่วมสมัย แบบพื้นบ้าน (Folk Furniture) เป็นเครื่องเรือนที่นำ�เอาวัสดุท้อง ถิ่ น ที่ บ างครั้ ง ไม่ ส ามารถใช้ ง านได้ แ ล้ ว มาดั ด แปลงทำ�เป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ นเกิ ด ประโยชน์ใช้สอย บางครั้งมีการนำ�เอาวัสดุที่เหลือใช้หรือไม่ได้ใช้จากการเกษตร และอุตสาหกรรมในอดีต เช่น คันไถ ล้อเกวียน รางข้าวหมู กระบะไม้ต่างๆ มาดัดแปลงใช้เป็นเครื่องเรือนภายในอาคารและภายนอกอาคาร ทำ�ให้เกิดรูป ลักษณะของเครื่องเรือนที่มีเสน่ห์แปลกตาและมีคุณค่า เนื่องจากไม้ที่นำ�มาใช้ เป็นไม้สักขนาดใหญ่และเก่าแก่ที่หาไม่ได้ในปัจจุบันมีลักษณะเนื้อไม้ซึ่งจะสร้างความ 42

สวยงามยิ่งขึ้น การใช้งานนิยมใช้สีธรรมชาติ ข้อเสียของเครื่องเรือนดังกล่าว มี น้ำ�หนักมากยากต่อการขนย้ายแต่เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติมาก ลักษณะ เด่ น ของเครื่องเรือนดังกล่าวจะผลิตได้ทีละไม่มากแต่ละชิ้นมีความแตกต่างกัน เนื่องจากไม้ที่นำ�มาใช้เป็นไม้เก่าแก่ นอกจากนี้ยังมีไม้ประเภทต่างๆอีกมากที่ชาว บ้านนำ�มาทำ�เป็นเครื่องเรือนได้แก่

ไม้ไผ่ เป็นเครื่องเรือนที่มีมาช้านาน เป็นวัสดุที่หาง่ายเกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติ สามารถทำ�เครื่องเรือนได้หลายรูปแบบมีลำ�ต้นที่ยาวและกลม เมื่อ แก่เต็มทีแ่ ล้วจะแข็งแรง มัน่ คงเหมาะกับการใช้งาน ไม้ไผ่มคี วามสวยงามในตัว มีผวิ ที่ เรียบเป็นมันสวยงามหรือว่าจะเป็นผิวทีม่ สี ที ต่ี า่ งกัน เครือ่ งเรือนไม้ไผ่มใี ช้กนั อยูห่ ลาย ประเภทแม้บางชนิดจะดูเหมือนทำ�ง่ายๆไม่มีราคามากนัก แต่ประโยชน์ใช้สอย เหมาะสม จนกระทั่งมีการพัฒนารูปแบบในการผลิตเครื่องเรือนไม้ไผ่ได้อย่าง มีคณ ุ ค่าและมีราคาสูง ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่แตกต่างจากวัสดุอื่นเนื่องจากไม่สามารถใช้ เครือ่ งจักรทำ�งานได้หมดตลอดชิน้ งาน ในขัน้ ตอนการผลิตไม้ไผ่ยงั จำ�เป็นต้องผ่าน มือและไม้ไผ่แต่ละลำ�ก็มเี อกลักษณ์ของตัวเองไม่เหมือนกันในแต่ละชิน้ ซึง่ นับเป็นข้อดี ของผลิตภัณฑ์ แต่จะลำ�บากในการผลิตเป็นระบบอุตสาหกรรม เป็นวิจารณญาณ ของผู้ผลิตที่จะพิจารณาว่าไม้ไผ่แต่ละส่วนของลำ�ต้นจะนำ�มาทำ�เป็นส่วนใด ไม้ไผ่ ยังสามารถนำ�มาแปรรูปโดยใช้ไม้ไผ่เส้นตรงมาจักเป็นปื้นบางๆ หรือเหลาเป็น เส้นแล้วสามารถทำ�เครื่องจักสานนานาชนิดทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เนื้อไม้ มีความยืดหยุ่นและคืนสู่สภาพเดิมได้ ไม้ไผ่จึงมีคุณสมบัติพิเศษกว่าวัสดุอื่นๆที่ นิยมนำ�มาทำ�เป็นเครื่องจักสาน ไผ่มีอยู่ด้วยกันหลายชนิดอย่างเช่น ไผ่ตง ไผ่โปก ไผ่ฮก ไผ่เลี้ยง ไผ่บง และไผ่สีสุก ไผ่ที่นำ�มาทำ�เครื่องเรือนส่วนใหญ่จะเป็นไผ่เลี้ยง มากกว่า ไผ่ตงและไผ่โปก แม้ไผ่จะโตเร็วและปลูกง่ายก็ตาม ถ้านำ�ไม้ไผ่มาใช้อย่าง ฟุ่มเฟือยก็อาจเป็นวัตถุดิบที่ขาดแคลนได้ ปัจจุบันเครื่องเรือนไม้ไผ่มีการพัฒนามากขึ้น เป็นทั้งงานแบบสมัยใหม่ ที่แตกต่างจากงานไม้ไผ่พื้นบ้านโดยทั่วไปอย่างเช่น ไผ่โปกเป็นไผ่ที่ทำ�ชิ้นงานได้ง่าย อยู่แถวจังหวัดทางภาคเหนือจะมีลักษณะคล้ายไผ่ตงเนื้อจะแกร่ง ข้อจะถี่กว่าไม้ไผ่ อื่นๆทั่วไป ลำ�ต้นใหญ่ประมาณที่เส้นผ่าศูนย์กลาง 6”-10” ก็มี มอดไม่ชอบกิน


43


เพราะเป็นไผ่เนื้อแข็ง จึงนำ�มาผลิตเป็นเครื่องเรือนไม้ไผ่ที่มีรูปแบบน่าสนใจ อีกทั้ง ยังมีการพัฒนางานที่ผสมผสานกับวัสดุต่างชนิดเช่น โลหะ หนัง กระจก หรือ วัสดุอน่ื ๆเพือ่ เพิม่ ความทันสมัยแปลกตา สามารถใช้ภายในบ้านร่วมกับเครือ่ งเรือน วัสดุประเภทอื่นๆ ได้อย่างกลมกลืน เครื่องเรือนไม้ไผ่ปัจจุบันมีการออกแบบให้ สอดคล้องกับความต้องการตลาดรสนิยมของผู้บริโภคมากขึ้น สามารถที่ จะพัฒนาทั้งด้านประโยชน์ใช้สอยและความงามได้อีกมากเนื่องจากความเป็น ธรรมชาติและความงดงามของวัสดุ ไม้ฉำ�ฉา เป็นไม้ราคาค่อนข้างถูกส่วนใหญ่เป็นไม้ที่เคยใช้งานมาแล้ว คือเป็นลังใช้บรรจุสินค้านำ�เข้าจากต่างประเทศแล้วนำ�มารื้อออกขายเป็นแผ่น สามารถนำ�มาประกอบเป็นเครื่องเรือนได้อย่างสวยงามเนื่องจากเนื้อไม้จะมีสี ขาวสะอาด เครื่องเรือนไม้ฉำ�ฉามักจะมีขนาดกะทัดรัดด้วยความยาวและขนาด ค่อนข้างจำ�กัด ต้องมีการออกแบบคำ�นวณอย่างดี เพื่อให้ใช้ไม้แผ่นสั้น ๆ ได้อย่าง มีประโยชน์สูงสุด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไม้ฉำ�ฉา เช่น ชั้นวางของ โต๊ะ เก้าอี้

ก้านตาล ชาวบ้านได้นำ�ก้านตาลที่แห้งคาต้นและใบสีน้ำ�ตาลกึ่งเขียว เท่านั้นที่มาผลิตเป็นเครื่องเรือน จนบางชิ้นงานมีความสวยงาม และมีความแข็ง แรงโดยส่วนใหญ่จะใช้ลิ่มจากไม้มาช่วยประกอบ ข้อดีของก้านตาลคือจะไม่มีแมลง มอดกัดกิน ซึ่งต่างจากไม้ไผ่มาก ก้านตาลไม่จำ�เป็นต้องอบ แค่เอามาเรียงตาก แดดไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ในแดดจัด ๆ เพื่อให้แห้งสนิท เวลานำ�ไปใช้จะไม่หดหรือ แตกตัว สามารถลงแล็คเกอร์เพื่อให้มีความมันเงาเหมือนการทาบนเนื้อไม้ทั่วไป หรือจะไม่ทาน้ำ�ยาเคลือบผิวใดๆเลยก็ได้ แต่ถ้าทาแล็คเกอร์จะสามารถใช้งานกลาง แจ้งได้ เครื่องเรือนที่ทำ�จากก้านตาลจะมี โต๊ะ เก้าอี้ เก้าอี้นั่งเล่น เป็นต้น แบบโบราณ นอกจากคุณค่าทางด้านประโยชน์ในการใช้สอยแล้ว ความงามก็ยังคงมีคุณค่าต่อจิตใจของมนุษย์อยู่ตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องเรือนแบบโบราณของทั้งประเทศตะวันตกและตะวันออก สำ�หรับเครื่อง เรือนไทยเดิม ส่วนมากจะทำ�จากไม้เป็นส่วนใหญ่อย่างเช่น เตียง ตู้ ตั่ง และได้ รับอิทธิพลจากจีนโดยเครื่องเรือนดังกล่าวเริ่มเข้ามาใช้ในรั้วในวังตั้งแต่สมัยพระ นารายณ์และเรื่อยมาจนกระทั่งสมัยรัชกาลที่5 ที่มีการติดต่อกับชาติตะวันตก ทำ�ให้เกิดความนิยมในการใช้เครือ่ งเรือนลักษณะต่างๆมากขึน้ ตามบ้านเจ้าขุนมูลนาย

44

อย่างเช่น โต๊ะเครื่องแป้ง โต๊ะเขียนหนังสือฝาเปียโน และอื่นๆ เครื่องเรือนโบราณ ที่ได้รับการดูแลรักษาไว้อย่างดีปัจจุบันยังได้รับความนิยมสูง เครื่องเรือนแบบเก่า นี้ส่วนมากนำ�มาใช้ผสมผสานกับเครื่องเรือนสมัยใหม่ส่งผลให้เกิดความงามใน แบบร่วมสมัย ลักษณะของเครื่องเรือนโบราณโดยทั่วๆไปมีคุณค่าความงามและ ความประณีตแตกต่างกันไปตามฐานะของผู้ใช้ ช่างผู้สร้างและออกแบบในอดีตจะ เป็นบุคคลเดียวกันและมีความเชื่อต่อพระมหากษัตริย์ตลอดจนขุนนางผู้สูงศักดิ์ และพ่อค้าวานิชผู้มั่งคั่ง โดยจะทำ�เครื่องเรือนเพื่อรับใช้บุคคลดังกล่าว โดยจะคำ�นึง ถึงความงามกระการตาเป็นสำ�คัญและประโยชน์ใช้สอยมักจะเป็นรอง สำ�หรับ เครื่องเรือนโบราณที่คนไทยนำ�มาประยุกต์ใช้ ได้แก่ - เครื่องเรือนไทยประยุกต์ ผลิตขึ้นในรัชกาลที่ 5 และ 6 ลักษณะของ เครื่องเรือนมีระดับความงามและคุณภาพแตกต่างกันไปตามฐานะของผู้ใช้โดย ส่วนใหญ่ทำ�ขึ้นใช้ในรั้วในวังทำ�ด้วยไม้สักกลึงและฉลุลวดลายอย่างงดงาม ย้อมสี โอ๊คเข้ม ถ้าเป็นคนระดับชั้นกลางหรือชนชั้นธรรมดาจะใช้เครื่องเรือนที่ค่อนข้าง เรียบง่ายไม่มีการแกะและฉลุลายมากนัก บางครั้งจะมีการนำ�มาผสมผสานกับ ขาคู้แบบจีน - เครื่องเรือนยุโรป สไตล์ Art Nouveau หรือ Art Deco ซึ่งมี อยู่มากในยุคอดีตนั้น ปัจจุบันก็ยังมีจำ�หน่ายในลักษณะเครื่องเรือนโบราณ ส่วนใหญ่มีสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์มากนัก ต้องมีการซ่อมแซม แต่ย่างไรก็ตาม นักสะสมเครื่องเรือนโบราณก็ยังแสวงหาเพราะนอกจากใช้งานแล้วยังสามารถ มาตกแต่งบ้านในตัว และยังเป็นของสะสมสำ�หรับผู้นิยมของเก่า เครื่องเรือน โบราณดังกล่าวส่วนใหญ่นำ�เข้าจากต่างประเทศ เช่น สาธารณรัฐเช็ค ฝรั่งเศส อิตาลี เป็นต้น แหล่งจำ�หน่ายส่วนมากอยู่แถวสุขุมวิท ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้และ ร้านขายเครื่องเรือนโบราณทั่วไป - เครื่องเรือนกลุ่มสแกนดิเนเวียน เป็นเครื่องเรือนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยลักษณะของงานจะเป็นการประสานกลมกลืนกันระหว่าง การใช้พื้นผิวที่สวยงามของไม้บวกกับความปราณีตของการดัดและเหลาไม้ได้ อย่างอ่อนช้อยงดงาม เช่น ไม้โอ๊ค ไม้สัก ไม้วอลนัท ไม้มะฮอกกานี ไม้พะยุง ไม้ แอช ไม้บีช ช่วงศตวรรษที่ 19 ตอนต้น ศิลปะในการสร้างเครื่องเรือนคำ�นึงถึง แต่ความสวยงามเป็นสำ�คัญประโยชน์ใช้สอยจะเป็นรอง เมื่อกล่าวถึงลักษณะรูป แบบสมัยของเครื่องเรือนสแกนดิเนเวียนนั้นจะเน้นที่การตกแต่งพื้นผิวและเส้น สายของของรูปทรงโดยมีนักออกแบบอยู่หลายท่านอย่างเช่น ฮานซ์ แวกเนอร์, บอร์ก โมเกนเชน ร้านค้าที่นำ�มาจำ�หน่ายได้แก่ ร้าน Y 50 - เครือ่ งเรือนจีนโบราณ เป็นเครือ่ งเรือนทีท่ ำ�จากไม้มะเกลือ, ไม้ฮวงฮัว๊ หลี ในราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง ประเทศไทยมีการนำ�เข้าทั้งเครื่องเรือนจีนเก่า และเครื่องเรือนใหม่เป็นจำ�นวนมาก มีทั้งแบบไม้แกะสลักลวดลายและไม้ฝังมุก ร้านค้าที่จำ�หน่ายเช่น ร้านหมิงเฟอร์นิเจอร์ และร้านขายเครื่องเรือนโบราณ - เครื่องเรือนหลุยส์ นับเป็นเครื่องเรือนที่บ้านเรานิยมมาประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา ในยุคเฟื่องฟูเฟอร์นิเจอร์สำ�หรับตกแต่งบ้าน โดยเฉพาะลูกค้า ที่ชอบลวดลายแกะสลักบางครั้งมีการปิดทอง เครื่องเรือนดังกล่าวได้รับความ นิยม โดยเฉพาะผู้มีรายได้และฐานะ การสั่งทำ�โดยการลอกเลียนแบบของช่างส่วน


ใหญ่ในปัจจุบันนั้นค่อนข้างจะมีปัญหา เนื่องจากขาดความเข้าใจในรูปทรง ขนาด สัดส่วนและลวดลายเป็นอย่างดี เครื่องเรือนหลุยส์มีด้วยกันหลายสมัย เช่น Queen Ann สมัยพระเจ้าหลุยส์ ในประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมีเครื่องเรือนสมัยใหม่แต่ทำ�ลวดลายแบบโบราณโดยใช้ เทคโนโลยีในการผลิตมาช่วยทำ�ให้มีความปราณีตมากขึ้น อย่างเช่น เครื่องเรือน รูปแบบสไตล์ต่างๆที่นำ�เข้าจากประเทศอเมริกา ขณะที่เมืองไทยมีการลอกเลียนรูป แบบเครื่องเรือนสไตล์โบราณวางจำ�หน่ายอยู่มาก โดยเฉพาะในแถบย่าน บางโพ ที่สามารถเลือกสีของไม้ ลายของผ้าบุได้ตามต้องการ แต่ยังขาดความงามด้าน สัดส่วน ( Propotion ) แบบร่วมสมัย เป็นเครื่องเรือนอีกประเภทหนึ่งที่เรายังพบเห็นกันใน ท้องตลาดบางทีอาจจะทำ�จากไม้ล้วนหรืออาจจะเป็นการผสมผสานวัสดุอื่นที่ มีการออกแบบที่ทันสมัยมากขึ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ในการใช้สอย ในช่วงระยะ เวลา2-3 ปีที่ผ่านมาความนิยมในสไตล์ตะวันออก (Oriental Style) มีบทบาท มากในวงการออกแบบ นักออกแบบไทยผู้มีบทบาทในการบุกเบิกเครื่องเรือน ตะวันออกคือ คุณอู้(นพปฎล พหลโยธิน) ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับมากมายใน ต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องเรือนชุด Nest ที่นำ�เอาลกษณะเฉพาะ ของเครื่องเรือนจีนโบราณมาประยุกต์ให้เข้ากับปัจจุบัน รูปทรงออกมาจะมีความ แปลกตาทันสมัยและใช้เทคโนโลยีช่วยในการผลิต สำ�หรับไม้ที่นำ�มาผลิตโดยมาก มักเป็นไม้สักและไม้อัดสัก

โลหะ โลหะเป็นเครือ่ งเรือนประเภทหนึง่ ทีใ่ ช้กนั ในอดีตและปัจจุบนั เครือ่ งเรือน ประเภทนี้จ ะมีความคงทนแข็ง แรงมี อ ายุ ก ารใช้ ง านนานสามารถนำ�มาดั ด และ ทำ�ลวดลายได้ง่ายราคาไม่สูงมากวัสดุส่วนมากที่นำ�มาใช้คือเหล็กชุบโครเมี่ยม เครื่องเรือนโลหะสามารถใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่เช่น โรงแรม สำ�นักงานและสถานที่ ราชการ รวมทั้งใช้งานภายในอาคารและภายนอกอาคารได้ อีกทั้งยังมาประกอบ และผสมผสานกับวัสดุอื่นๆได้อีกเช่น แผ่นพาติเคิลบอร์ด หนัง กระจก เพื่อให้เกิด ประโยชน์ในการใช้สอยควรจะเลือกโลหะให้เหมาะสมกับการใช้งาน โลหะที่เราจะนำ� มากล่าวถึงในการทำ�เครื่องเรือนโลหะก็คือเหล็ก สเตนเลส และ อลูมิเนียม เหล็ก เป็นเครื่องเรือนส่วนใหญ่ที่ใช้กับงานภายในอาคารและภายนอก อาคารได้ เครื่องเรือนในอาคารจะเป็นงานที่ใช้การตกแต่งภายในสถานที่ค่อนข้าง จะมีความโอ่อ่าหรูหราเป็นพิเศษอย่างเช่น โรงแรม บ้านพักอาศัยของผู้มีฐานะ ดีและรวมถึงเครื่องเรือนเหล็กต่างๆ ส่วนงานเหล็กที่ใช้ภายนอกอาคารจะมีการ เคลือบสีเป็นสีเขียวซึ่งทำ�สีเหมือนสีของเครื่องเรือนโบราณหรือสีกันสนิม และ สีลายงา เหล็กที่มาทำ�เครื่องเรือนมักจะชุปด้วยโครเมียม ซึ่งเป็นวัสดุที่มีสี ขาวนวล สุกใส ไม่ขุ่นมัว เมื่อชุบแล้วจะช่วยป้องกันสนิม เพิ่มความสวยงาม ทนต่อการผุกร่อน และยังเป็นการเพิ่มความหนาให้โลหะ เหล็กชุปโครเมียม สามารถนำ�มาใช้ทำ�โครงสร้างเครื่องเรือนประเภทโครงของเก้าอี้และโต๊ะ หรือจะ เป็นเครื่องเรือนสำ�เร็จรูป บางทีจะพ่นสีหรือเคลือบสีให้เกิดความสวยงามส่วน

ใหญ่จะใช้ในสำ�นักงาน ห้องประชุม ร้านอาหาร ค่อนข้างจะเป็นเครื่องเรือนที่ ทันสมัย ราคาย่อมเยา นอกจากนี้ยังมีเครื่องเรือนประเภทเหล็กดัดที่สามารถ ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร สเตนเลส เป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมากหลังช่วงการพัฒนา อุตสาหกรรมราวต้นคริสศตวรรษที่ 20 โดยมากมักเป็นงานออกแบบของ สถาปนิกและศิลปินมีชื่ออย่างเช่น Charles Eames , Mies Van der Rohe หรือ Le Corbusier เป็นวัสดุในยุคของการพัฒนาอุตสาหกรรมที่นำ�มาผลิต เป็นเครื่องเรือนสมัยใหม่ที่มีความทนทานไม่เป็นสนิม หรือบางทีมีการผสมผสาน วัสดุอย่างอื่น จำ�พวกพลาสติก หนัง ปัจจุบันยังเป็นเครื่องเรือนที่ได้รับความ นิยมมาก สามารถทำ�ผิวได้ทั้งมันเงาและด้านขนแมว มีความทนทานในการใช้งาน สูงแต่ราคาค่อนข้างแพงกว่าปกติ ส่วนมากมักมีปัญหาด้านความไม่เรียบร้อยที่ บริเวณรอยต่อ อลูมิเนียม เป็นโลหะที่นำ�มาทำ�เป็นเครื่องเรือนบ้าง โดยแต่เดิมเป็น เครื่องใช้ในครัวเรือนที่มีราคาถูก ประกอบขึ้นใช้เองในโรงงาน เช่น ตู้กับข้าว ชั้นวางของ ราวตากผ้า เป็นต้น เนื่องจากมีน้ำ�หนักเบาราคาย่อมเยา ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนารูปแบบและเทคโนโลยีในการผลิตโดยนำ�อลูมิเนียมมาออกแบบเป็น เครื่องเรือนที่ใช้ได้ทั้งภายในและนอกอาคารทำ�ให้ได้รับความนิยมอย่างมากโดยนำ� มาผสมผสานกับวัสดุชนิดอื่น เช่น หวาย หรือ พลาสติก ส่วนเครื่องเรือนนั้น ได้แก่ เก้าอี้ โต๊ะข้าง และชุดสนาม ข้อดีอลูมิเนียมนั้นคือ มีน้ำ�หนักค่อนข้างเบา ซ้อนเก็บได้และเคลื่อนย้ายสะดวก

45


46


ไฟเบอร์กลาส ( Fiber Glass )

ไฟเบอร์ ก ลาสนั บ เป็ น วั ส ดุ ช นิ ด หนึ่ ง ที่ เ ป็ น ผลผลิ ต จากกระบวนการ อุตสาหกรรมได้รับความนิยมมากในช่วงระยะเวลา20ปีที่ผ่านมา มีลักษณะ เป็น เส้น ใยสังเคราะห์โดยการนำ � มาวางเรี ย งซ้ อ นกั น เป็ น ชั้ น บนแม่ แ บบ(mold) หรืออาจจะเรียกว่าผลิตภัณฑ์พลาสติกเสริมแรง ซึ่งปัจจุบันนี้เริ่มมีผู้นิยมนำ� พลาสติกกลับมาทำ�เป็นผลิตภัณฑ์ เพราะทนต่อการผุกร่อนหรือสนิม น้ำ�หนัก เบา สามารถออกแบบได้ตามต้องการ จึงมีการปรับปรุงเสริมความแข็งแรงของ พลาสติกให้ใช้งานเท่าเทียมกับโลหะ ทำ�ได้โดยใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติที่ทั้ง แข็ง และ เหนียว มาเสริมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันขึ้นเป็นรูปร่าง พลาสติกที่ได้รับการปรับปรุง ดังกล่าวจะเรียกว่า พลาสติกเสริมกำ�ลัง และวัสดุเสริมที่เหมาะที่สุดที่นำ�มาเสริม กำ�ลังให้พลาสติกคือ ใยแก้ว ซึ่งมีลักษณะอ่อนนุ่มแต่เหนียว ทนต่อการผุกร่อน ได้ดี ทนความร้อนได้สูงเป็นฉนวนไฟฟ้า ทนสารเคมี พลาสติกที่ใช้ต้องเนื้อแข็ง ถ้าไม่มีการเสริมแล้วจะเปราะ เป็นพลาสติกประเภท เทอร์โมเช็ตติ้ง มาใช้งานซึ่ง ได้แก่ โพลีเอสเทอร์เรซินและอีพอกซี่เรซิน พลาสติกจำ�พวกนี้เป็นพลาสติกเหลว เมื่อผสมกับตัวช่วยเร่งปฏิกริยาจะเปลี่ยนเป็นพลาสติกแข็งและจะไม่คืนรูปอีก การ สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาโดยใช้วิธีการดังกล่าว เรียกว่า พลาสติกเสริมแรงด้วยใย แก้ว หรือ ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กล๊าส ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับความนิยมอย่าง รวดเร็วอย่างน่าพอใจ จากผลิตภัณฑ์ชดเชยการนำ�เข้าได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ส่ง ออกนำ�รายได้จำ�นวนมากเข้าประเทศ ในการทำ�ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กล๊าส ทางผู้ผลิตจะต้องรู้ถึงความ ต้องการของการใช้งานเพื่อจะได้เลือกกรรมวิธีการผลิตให้ได้งานที่ถูกต้องตาม ความประสงค์ แข็งแรง สวยงามมากที่สุดและราคาต้นทุนที่ต่ำ� ก่อนที่จะได้ ผลิตภัณฑ์จากไฟเบอร์กล๊าสจะมีต้นแบบและตัวแม่แบบแล้วถึงจะมาเป็นชิ้นงาน ชิ้นงานจากไฟเบอร์กล๊าสจะมีวิธีการผลิตแบบใช้มือทา แบบใช้เครื่องพ่น แบบ อัด และแบบฉีด ผลิตภัณฑ์นี้สามารถนำ�ไปทำ�ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อย่างกว้าง ขวาง แล้วเฟอร์นิเจอร์ก็เป็นผลติภัณฑ์หนึ่งที่ได้จากไฟเบอร์กล๊าส อย่างประเภท เก้าอี้DAR ผลิตในปี ค.ศ. 1948 เก้าอี้ TULIP ผลิตในปี ค.ศ. 1956 เก้าอี้ DSS ผลิตในปี ค.ศ. 1949 เก้าอี้รูปทรงแปลกตา ค.ศ. 1960 เป็นต้น

แบบที่ไม่งดงามหรือไม่สะดวกในการใช้สอยโดยการทำ�แบบหล่อใหม่จนเป็นที่พอใจ นับได้ว่าการทำ�เครื่องเรือนพลาสติกนั้นค่อนข้างสะดวก ปั จ จุ บั น ปั ญ หาด้ า นราคาวั ส ดุ ที่ ใ ช้ ใ นการทำ�เครื่ อ งเรื อ นเป็ น ปั ญ หา สำ�คัญที่นักออกแบบจะต้องคำ�นึงถึงมาก เพราะค่าวัสดุแพงขึ้นขณะเดียวกัน ผู้ใช้ต้องการซื้อของในราคาที่ต่ำ�ลง การนำ�พลาสติกมาใช้ในการทำ�เครื่องเรือน สามารถแก้ปัญหาได้ พลาสติกเป็นสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติหล่อเป็นรูป ต่างๆ ทำ�เป็นใยได้ พลาสติกมีความใสเช่นเดียวกับกระจกทนต่อน้ำ�ยาเคมี และชนวนไฟฟ้า พลาสติกมีทั้งพลาสติกอ่อนและพลาสติกแข็ง ชนิดอ่อนเมื่อได้ รับความร้อนจะเหลว จนนำ�มาปั้มหรือหล่อได้และหลอมเหลวใหม่ได้ และแข็งตัว เมื่อเย็น พลาสติกชนิดแข็งเมื่อได้รับความร้อนสูงมากจะอ่อนตัวและใช้แรงกดดัน จะแข็งตัวเมื่อเย็นและไม่กลับคืนตัว ปัจจุบันเครื่องเรือนพลาสติกส่วนใหญ่นิยม พบเห็นได้จาก เก้าอี้ในร้านอาหาร และแผงลอยต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี ในการผลิตและวัสดุการผลิตพลาสติกมีขั้นตอนและขบวนการรวมทั้งเทคโนโลยี ก้าวหน้ามาก นอกเหนือจากพลาสติกที่ขึ้นรูปในการพิมพ์ โดยแม่พิมพ์ และยังมี พลาสติกในรูปการเป่า ที่มีการออกแบบเป็นเครื่องเรือนที่ทันสมัยโดยการเพิ่ม ดีไซน์เข้าไปจนทำ�ให้เครื่องเรือนพลาสติกมีมูลค่ามากขึ้น อย่างเช่นเก้าอี้รูปฟัน ของร้าน Propaganda นับเป็นการเพิ่มมูลค่า (value added) ให้กับพลาสติก ข้อดีของเครื่องเรือนพลาสติกนั้นสามารถใช้ได้ดีทั้งภายในและ อย่างน่าสนใจ ภายนอกอาคาร

พลาสติก คุ ณ สมบั ติ ข้ อ ดี ข องพลาสติ ก คื อ สามารถที่ จ ะหล่ อ เป็ น เครื่ อ งเรื อ น ชนิดต่างๆ ตามความเหมาะสมกับการใช้สอยและสามารถทำ�สีได้อย่างงดงาม ได้จำ�นวนมากและรวดเร็ว สะดวกและประหยัดจึงไม่น่าแปลกใจที่เรามักพบเครื่อง เรือนพลาสติกเป็นที่นิยมอยู่ในปัจจุบันเนื่องจากราคาย่อมเยาว์ แต่อายุการใช้งาน ไม่นานนัก พลาสติกเป็นวัสดุที่จะทำ�การหลอมเป็นของเหลวได้และสามารถจะเท เข้าแบบหล่อเป็นรูปร่างต่างๆได้งา่ ย การหล่อพลาสติกเป็นเครือ่ งเรือนโดยเฉพาะ เก้าอี้ โต๊ะ โดยหล่อเป็นชิ้นเดียว หรือหลายชิ้นและมาประกอบกันก็สามารถทำ�ได้ ง่ายและได้รูปร่างงดงามเหมือนกับแบบ เครื่องเรือนที่ออกแบบโดยใช้พลาสติกเป็น วัสดุหลัก นักออกแบบสามารถพัฒนารูปแบบออกไปได้โดยง่ายโดยสามารถแก้

บุนวม เป็นเครื่องเรือนที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เครื่องเรือนดังกล่าวที่มี ความทันสมัยสร้างความสะดวกสบายและและเอื้อประโยชน์ในการใช้งานมีทั้งโซฟา และเก้าอี้ ผลิตในประเทศและนำ�เข้าจากต่างประเทศ เครื่องเรือนบุนวมโดยทั่วไป ประกอบด้วยวัสดุหุ้มบุด้านนอก เพื่อให้เกิดความสวยงามอย่างเช่นหนังสัตว์ แผ่น หนังเทียม ผ้า และวัสดุภายในเป็นวัสดุยืดหยุ่น เช่นแผ่นขนสัตว์เคลือบยาง ฟอง 47


ยางธรรมชาติ และฟองยางสังเคราะห์ นุ่น ปุยนุ่น เป็นต้น วัสดุเหล่านี้จะมีการ หมดอายุการใช้งาน เสื่อมสภาพการใช้งานจึงจำ�เป็นต้องมีการซ่อมแซมด้วยการ เสริมด้วยวัสดุใหม่เข้ามาแทนที่ รูปลักษณะของเบาะรอง มีความแตกต่างกันตาม ความต้องการของการใช้งาน ซึ่งจะมีเบาะรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส สี่เหลียมผืนผ้า เบาะ รูปกลม การผลิตเครื่องเรือนประเภทบุนวมนี้ ส่วนใหญ่จะทำ�ให้ตัวเฟอร์นิเจอร์ เกิดความสวยงาม คือการจัดทำ�ลอนแนวโค้ง กุ้นขอบ สักลายบนส่วนรองนั่ง และส่วนพนักพิงของเฟอร์นิเจอร์ และยังมีวัสดุอื่นอีกมาเป็นส่วนประกอบให้เครื่อง เรือนบุนวมมีอายุการใช้งานได้ดี จำ�พวก สปริง แผ่นเหล็กลัดสปริง ห่วงรัด วัสดุ เสริมขอบ เป็นต้น

แผ่น Particle Board MDF Particle Board แผ่นLaminate กระดาษหรือ Foil เป็นวัสดุ สังเคราะห์ที่มีความต้องการสูงหลังจากเริ่มมีการขาดแคลนวัสดุจำ�พวกไม้จาก ธรรมชาติ ขณะเดียวกันเหมาะกับงานประเภทอุตสาหกรรมที่รวดเร็วในการผลิต และผลิตได้ในปริมาณมาก โดยนิยมนำ�มาใช้ทง้ั ในประเภทเครือ่ งเรือนสำ�นักงานและ เครื่องเรือนใช้ภายในบ้าน ช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศไทยมีความเจริญเติบโตทาง ธุรกิจสูงมากขึ้นในเมืองใหญ่ๆ จึงทำ�ให้เกิดสำ�นักงานต่างๆขึ้นมากมาย ดังนั้น เครือ่ งเรือนสำ�นักงานจึงมีความจำ�เป็นต่อธุรกิจ เครือ่ งเรือนสำ�นักงานทีด่ นี น้ั ต้อง มีการออกแบบที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำ�งานให้สูงสุดอีกรวมทั้งการออกแบบ แผนผังสำ�นักงานก็เป็นสิ่งสำ�คัญในการสร้างบรรยากาศของที่ทำ�งานเป็นที่พึง พอใจต่อพนักงาน รวมไปถึงแนวทางการจัดวางตกแต่งสำ�นักงาน จำ�พวกเก้าอี้ โต๊ะ ตู้ใส่เอกสาร เป็นต้น เครือ่ งเรือนสำ�นักงานทีน่ ำ�เข้า รูปแบบของผลิตภัณฑ์สามารถใช้ประโยชน์ ร่วมกันได้หลายรูปแบบ การดีไซน์มีความทันสมัย ตอบสนองต่อพื้นที่การใช้งาน และใช้วัสดุจากใยสังเคราะห์มาเพิ่มประสิทธิภาพ เครื่องเรือนสำ�นักงานภายในประเทศซึ่งในอดีตเราจะใช้เหล็กทำ �เป็น เครื่องเรือนสำ�นักงาน เช่น บริษัทศรีเจริญ มักใช้ในสถานที่ราชการ ปัจจุบันมีการ ผลิตรูปแบบเครื่องเรือนสำ�นักงานแบบสมัยใหม่จะมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีดีย่งิ 48

ขึน้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานโดยใช้ Particle Board และมีการปิดทับด้วย แผ่นLaminate แผ่น Foil หรือกระดาษ นอกจากจะนำ�มาผลิตเป็นเครื่องเรือนที่ ใช้ในสำ�นักงานแล้ว วัสดุประเภทดังกล่าวยังนำ�มาผลิตเป็นเครื่องเรือนที่ใช้ภายใน บ้านอีกด้วยเช่น โต๊ะอาหาร ชั้นวางทีวื ตู้เสื้อผ้า เป็นต้น

วัสดุสังเคราะห์ ช่ ว งที่ ป ระเทศไทยเข้ า สู่ ยุ ค โลกาภิ วั ฒ น์ แ ละมี ก ารเจริ ญ เติ บ โตทาง อสังหาริมทรัพย์ในช่วงปี พ.ศ. 2530-2545 เป็นระยะ 15 ปีที่ผ่านมาเริ่มมีการ ยอมรับการใช้เครื่องเรือนสมัยใหม่มากขึ้นโดยเฉพาะนักธุรกิจที่ประสบความ สำ�เร็จรุ่นใหม่ๆ ประกอบกับการส่งเสริมให้มีการค้าเสรีทำ�ให้สินค้าประเภทเครื่อง เรือนมีการนำ�เข้าจากต่างๆ ประเทศมากขึ้น ซึ่งความเจริญด้านอุตสาหกรรม เครื่องเรือนดังกล่าวส่งผลให้มีเครื่องเรือนที่ใช้วัสดุหลากหลายที่ใช้เทคโนโลยีสมัย ใหม่ในการผลิตเข้ามาผสมผสาน ได้แก่ ปรอท และยังมีวัสดุสมัยใหม่จำ�พวก เทคโนเจลทีน่ ำ�มาผลิตเป็นเก้าอี้ ซึง่ สร้างสีสนั ให้ผลิตภัณฑ์ให้มคี วามเด่นและสะดุด ตา อย่างเช่น เก้าอี้ Voyager ใช้วัสดุหลักไม้และอลูมิเนียม เบาะนั่งทำ�จาก เทคโนเจลหรือโพลียูรีเทนชนิดหนึ่ง สามารถกระจายน้ำ�หนักกดทับได้อย่างทั่วถึง และสม่ำ�เสมอคงทนไม่เปลี่ยนรูปทรงง่าย ดูดซับความร้อนได้ดี นุ่มสบาย มีความ ยืดหยุ่นสูง ในปัจจุบันกำ�ลังเป็นที่นิยมกันมากในประเทศและ ต่างประเทศซึ่งอายุ การใช้งานและความคงทนกว่าวัสดุอื่น นอกจากสินค้าประเภทเครื่องเรือนที่เคย เป็นที่นิยมสำ�หรับส่งออกแล้ว ต่อมาได้เริ่มมีผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องตกแต่งบ้าน ที่ประเทศไทยยังขาดเทคโนโลยีและการส่งเสริมการผลิตเพื่อใช้งานเองและสำ�หรับ ส่งออกไปยังต่างประเทศ จึงทำ�ให้นักออกแบบผลิตภัณฑ์เริ่มหันมาสนใจผลิตของ ตกแต่งบ้านแนวใหม่ โดยมีการยกระดับแนวความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดการดึงดูด สายตาต่อผู้บริโภค เช่น โคมไฟ ปลอกหมอน เครื่องปรุงเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ฯลฯ รวมไปถึงแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สง่ ออกเดิมในรูปแบบของรับจ้าง ผลิต (OEM) ให้เกิดมูลค่าเพิ่มด้วยแนวทางการออกแบบแนวคิดใหม่ๆ พร้อมทั้ง ยังได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐและเอกชน กระตุ้นให้เกิดการผลิตมีดีไซน์เป็นของ ตนเอง ได้แก่ เครื่องประดับ เซรามิค และสินค้าประเภทเส้นใยต่างๆ อีกด้วย


49


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบผลิตภัณฑ์ พลวัตทางสังคม เศรษฐกิจ

ที่ไม่ตกเทรนด์และไม่วิ่งตาม แต่พร้อมที่จะเป็นผู้ชี้นำ�วงการด้วยการบริโภคข้อมูล ข่าวสารและนำ�มาวิเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา เนื่องจาก หลังเกิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที1่ ตัง้ แต่พ.ศ. 2504 เป็นต้น ความเป็นตัวตนของคำ�ว่า “กระแส” นั้นเปลี่ยนแปลงในช่วงระยะเวลาอันสั้นและ มาสังคม เศรษฐกิจ การค้าของประเทศได้เติบโตขึ้นโดยลำ�ดับ ระบบการผลิต พร้อมที่จะหันเหไปสู่ทิศทางใหม่ๆในการบริโภคอย่างรวดเร็ว จากชาวบ้านเพื่อการยังชีพอย่างพอมีพอกินและพิถีพิถันด้วยจำ�นวนพอดีไปสู่พลัง ขับเคลื่อนการผลิตแบบอุตสาหกรรมที่มีขั้นตอน เครื่องจักรเร่งผลิตสินค้าใน รูปแบบการดำ�รงชีพวิถีตะวันตก ปริมาณมากแข่งขันกับเวลา นำ�มาซึ่งทำ�รายได้ทั้งจากตลาดในและนอกประเทศ ที่พัฒนามาสู่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีเน้นการแข่งขัน พลิกผันสังคมไทยให้ แบบอย่างอารยธรรมตะวันตกทีถ่ กู ปลูกฝังว่ามีคณ ุ ค่าสูงกว่าอารยธรรม ทันสมัยเจริญก้าวหน้าในแบบตะวันตก เกิดพฤติกรรมแบบบริโภคนิยมทางวัตถุ ใดๆ ได้เข้าสู่สังคมไทยเป็นระลอกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาต้น การดำ�เนินชีวิตแบบสังคมเมืองหลวงที่กลืนกินวิถีชีวิตท้องถิ่น เร่งพัฒนาสู่ความ กรุงรัตนโกสินทร์ และช่วงการล่าอาณานิคมจากต่างชาติรายล้อมรอบดินแดน ทันสมัย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อการสลายวัฒนธรรมชุมชนดั้งเดิม สุวรรณภูมิสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 คงเหลือเพียงประเทศไทยที่รอดพ้นการตก ให้ค่อยๆเหือดหายไปจากสังคมไทยในแต่ละภูมิภาค คงเหลือเพียงคราบร่องรอย เป็นเมืองขึ้นมาได้ แต่อย่างไรก็ตามการปรับตัวเปิดรับวัฒนธรรมนับเป็นความ จักสานเพียงบางส่วนที่แขวนห้อยอยู่ตามคานใต้ถุนบ้านไทยที่เต็มไปด้วยหยากไย่ จำ�เป็นอย่างยิ่งต่อการรักษาเอกราชของประเทศไว้ แม้จะต้องเสียดินแดนไปบ้าง และบ้างถูกรวบรวมจัดเก็บไว้ให้เห็นอยู่ในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน บางส่วนก็ตาม จนกระทั่งระลอกคลื่นกระแสนิยมตะวันตกสมัยใหม่ที่ไหลบ่าเข้า ผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สังคม ส่งผลต่อรูปแบบจักสานที่ สู่สังคมไทยครั้งใหญ่ช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 ในแผน เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ ด้อยคุณค่าทางความงามลอกเลียนแบบตามๆกัน พัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ต่อมาในช่วงการพัฒนาสู่ประเทศอุตสาหกรรม จนขาดเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และถูกกลืนกินไปกับผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ทั่วไป ใหม่ (NICs) และล่าสุดการเปลี่ยนผ่านของสหัสวรรษที่วัฒนธรรมต่างหลั่งไหล รวมกันในสังคมไร้พรมแดน ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงในแต่ยุคสมัย เกิดการ กระแสวัตถุนิยม วัฒนธรรมบริโภค ซ้อนทับระหว่างวัฒนธรรมเดิมและใหม่ทั้งตะวันตกและตะวันออก กลายเป็น สภาวะสังคมวุ่นวาย (Chaos) หลากหลายมิติในปัจจุบัน หลังการก้าวสู่สังคมสมัยใหม่ในโลกวัตถุนิยมเป็นต้นมา เทคโนโลยีและ อุตสาหกรรมต่างหลั่งไหลสู่สังคมโลกอย่างไม่ขาดสาย จากเดิมที่เคยมีกระแสหลัก ค่านิยมศิลปะและการออกแบบ (Mainstream) ในทิศทางของการออกแบบทีม่ ภี าษาและแนวทางหลากหลายมากขึน้ ขณะเดียวกันได้ละลายเส้นแบ่งทางวัฒนธรรมของแต่ละเชื้อชาติและหลอมรวม การพัฒนารูปแบบเครื่องจักสานไทยที่ผ่านมาอยู่ใน 2 ลักษณะคือแบบ แต่ละซีกโลกเข้าหากันได้อย่างอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เกิดการไหลเวียนถ่ายเท อนุรกั ษ์และลอกเลียนแบบของใหม่ มากกว่าการพัฒนารูปแบบด้วยตนเอง ส่งผล ทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น กลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่เป็นสากล ผสม ให้เครื่องจักสานไทยมีรูปแบบที่ไม่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เมื่อเทียบกับความ ผสานความเจริญก้าวหน้าเทคโนโลยีไว้อย่างกลมกลืน และมีผลกระทบต่อการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำ�ลายล้างวัฒนธรรมเดิมให้หมดสิ้นไปโดยปริยาย จากคำ�ว่า Glocal (Global+ ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำ�คัญที่ส่งอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ผลงานและค่านิยมการ Local) พัฒนามาสู่ Global Style กลายเป็นอารยธรรมใหม่ในงานออกแบบของ บริโภคอย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำ�วันของแต่ละทศวรรษ การนำ�ภูมิปัญญาและ สังคมโลกที่เน้นการบริโภควัฒนธรรมต่อจากวัตถุ เกิดรูปแบบงานดีไซน์ที่ตั้งอยู่ เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์ให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่สามารถสนองตอบ บนฐานการนำ�เสนอสินค้าและรูปแบบทางวัฒนธรรม ประโยชน์และความหลากหลายในรสนิยมที่เหมาะสมสอดคล้องกับวิถี ชีวิต กระแสของวงการออกแบบที่ไม่สามารถหยุดนิ่งอยู่กับที่ได้ ไหลไปตาม ในสังคมปัจจุบัน เป็นอีกแนวทางหนึ่งของการพัฒนาคุณค่างานจักสานไทยสู่ ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เกิดการสร้างค่านิยม สากล โดยการศึกษาปัจจัยที่มา แนวคิด อิทธิพลที่มีรากฐานต่อวงการศิลปะ ในผลิตภัณฑ์จากเจ้าของแบรนด์สินค้า และการทุ่มโฆษณาทางการตลาดในการ และการออกแบบที่ครอบคลุมอยู่ในสังคมโลก สร้างภาพพจน์ ที่นักออกแบบจำ�เป็นจะต้องรู้เท่าทันพฤติกรรมของผู้บริโภคชนิด

50


ศิลปะการออกแบบและศิลปวัฒนธรรม ศิลปวัฒนธรรมในแบบตะวันออก

Oriental Style ความเป็นตะวันออกโดยมีรากฐานจากวัฒนธรรมจีน อินเดีย และอาหรับ จากปรัชญาความเชื่อมั่นศรัทธาในลัทธิ ศาสนา และศาสดา ซึ่งพบเห็นได้แพร่ หลายทั่วไปในงานศิลปะและการออกแบบบนพื้นที่ต่างๆในเอเชีย เช่น ขงจื้อ เต๋า พุทธ ฮินดู มุสลิม เป็นต้น วั ฒ นธรรมตะวั น ออกซึ่ ง มี ร ากฐานมาจากการเคารพสรรพสิ่ ง ใน ธรรมชาติ สอดคล้องกับปรัชญาความเชื่อทางศาสนาที่ได้รับค่านิยมอยู่ในสังคม ปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัฒนธรรมชาวตะวันตก ล้วนมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต ผู้คน และวงการศิลปะและการออกแบบที่สอดแทรกและซึมซับอยู่ในพฤติกรรม การดำ�เนินชีวิตของคนในสังคม รูปแบบแนวคิดศิลปะแบบตะวันออกนั้นพัฒนา มาจากวัฒนธรรม ประเพณี และศาสนา โดยแนวคิดที่ได้รับการยอมรับอย่าง กว้างขวาง ทั่วโลกนอกจากพุทธ และมุสลิม แล้วยังปรากฏพุทธศาสนานิกาย เซน (Zen) อันเป็นจารีตของการสอนและการปฏิบัติ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นที่ประเทศ จีนและเผยแผ่อิทธิพลและเติบโตในญี่ปุ่น1 ยึดหลักปรัชญาแนวคิดที่ว่าสิ่งใดก็ตาม ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่ ล้วนปรากฏอยู่ในชุมชนทางจิตวิญญาณและสรรพสิ่งล้วน มีจุดหมายปลายทางเดียวกันคือนิพพาน แม้ว่ารูปกายภายนอกทุกสิ่งทุกอย่าง จะแตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วคือสิ่งเดียวกัน และในช่วงที่ศาสนาพุทธ นิกายมหายานเดินทางจากอินเดียสู่จีนมายังญี่ปุ่น ก็ได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบ ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมความเชื่อดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่นที่นับถือและในที่สุด ก็พัฒนาเป็นพุทธศาสนาลัทธินิกายเซน2ขณะเดียวกันนิกายเถรวาทก็แยกเข้าสู่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว เป็นต้น วัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่นและเซนได้หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันและมี อิทธิพลในการสร้างสรรค์รูปแบบทางศิลปะการออกแบบหลายแขนง เช่น การจัด ดอกไม้ การจัดสวน กวีนิพนธ์ การคัดลายมือ พิธีชงชา และงานสถาปัตยกรรม

จิตและแก่นแท้ของเซนเน้นถึงความเรียบง่าย ความบริสุทธิ์ และความเป็น ธรรมชาติ3 เซนจึงไม่ใช่เพียงแนวทางการจัดการและตกแต่งห้อง การออกแบบ และการปลูกต้นไม้ หรือการเตรียมอาหารเท่านั้น ในความจริงแล้วเซนสามารถ เป็นแนวทางการปฏิบัติในทุกขั้นตอนของการดำ�เนินชีวิตเพื่อให้จิตตื่นตัวอย่างมี สติ ขณะที่การสร้างสภาพแวดล้อมของสวนญี่ปุ่น มีทั้งการปล่อยตามธรรมชาติ การปรุงแต่ง และการจำ�ลอง สำ�หรับศิลปะและการออกแบบตะวันออก ภายใต้เงื่อนไขของสภาพ ภูมิศาสตร์ แนวความคิดและวัสดุในท้องถิ่น ลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดประการ หนึ่งคือประเพณีการปลูกบ้านปรุงเรือนของชาวตะวันออก ด้วย การใช้วัสดุ ธรรมชาติที่ไม่ได้ตกแต่งและไม่มีเครื่องเรือนขนาดใหญ่เพื่อให้มีพื้นที่ว่างสำ�หรับ ทำ�กิจวัตรประจำ�วันและการใช้เสื่อปูพื้นทั้งสำ�หรับนั่งเล่นและนอน สำ�หรับการ ใช้เครื่องเรือนจำ�นวนน้อยและสามารถถอดเก็บได้เมื่อไม่ต้องการใช้งานหรือการ แบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆโดยใช้ผนังหรือบานประตูเลื่อนหรือบานเฟี้ยมนั้น เป็นความ เรียบง่ายที่สะท้อนถึงอิทธิพลแนวคิดของศาสนา ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่ของ ตะวันตกกับตะวันออกต่างกัน คือ ชาวตะวันตกให้คำ�จำ�กัดความเกี่ยวกับพื้นที่ ภายในโดยมีแนวคิดการกำ�หนดฟังก์ชั่นที่มีวัตถุประสงค์การใช้สอยเฉพาะ เช่น ห้องรับประทานอาหาร ห้องนั่งเล่น แต่แนวคิดตะวันออกพื้นที่ภายในบ้านทั้งหมด (ยกเว้นบริเวณครัวและห้องน้ำ�) ถือเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ของครอบครัว คือ เป็นทั้งห้องนั่งเล่น ห้องอาหาร และห้องนอน4 ที่ใช้ร่วมกันแต่ละช่วงเวลาและไม่ กำ�หนดตายตัว ช่วงปลายทศวรรษที่ 90 ความเป็นตะวันออกเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับ ชาวตะวันตก ได้สัมผัสเสน่ห์ทางวัฒนธรรม ความละเมียดละไมของวิถีชีวิต กลิ่นอายของวัสดุเส้นใยจากธรรมชาติ และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆของ แต่ละท้องถิ่นทั่วทุกภูมิภาคของแต่ละประเทศ ที่ถูกยกมาให้เห็นคุณค่าความ งาม และความศิวิไลซ์ภายใต้สังคมโลกาภิวัตน์ เริ่มจากญี่ปุ่น จีน อินเดีย บาหลี ไทย ฯลฯ ที่ผสมผสานอยู่ในการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน เช่น เสื้อผ้า อาหาร เครื่องประดับ หรือแม้แต่การบำ�บัดดูแลรักษาตามครรลองของธรรมชาติ อัน เนื่องมาจากความประณีตละเอียดอ่อนในด้านหัตถกรรม (Craft) ที่ฝังอยู่ ในจิตใจและผลงาน ความเป็นโอเรียลทัลนั้นสร้างสีสันให้กับวงการศิลปะและ งานออกแบบได้อย่างน่าหลงใหล ด้วยการใช้สัญลักษณ์แทนค่าในงานออกแบบ ที่เรียบง่าย สีย้อมไม้ในโทนออกธรรมชาติ แสดงให้เห็นสัจจะของวัสดุผสาน ด้วยเส้นใยและงานฝีมืออันประดิษฐ์ประดอยต่างๆที่ถูกนำ�มาประดับตกแต่ง ใน บรรยากาศของความอบอุ่นต้อนรับเป็นกันเอง ที่สอดคล้องไปกับวัฒนธรรม ตัวอย่างของงานออกแบบตกแต่งเช่นโรงแรม รีสอร์ทและสปา ที่มักนำ�เสนอรูป แบบการดูแลรักษาสุขภาพ ควบคู่ไปกับวิถีเรียบง่าย

51


ขณะที่รูปแบบเทคนิคโบราณในการผลิตเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่ง บ้านของชาวตะวันออกจำ�นวนมาก เช่น งานเคลือบ เครื่องกระเบื้อง สิ่งทอ โลหะ เครื่องรักและงานจักสานซึ่งมีเสน่ห์ลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นเฉพาะด้าน ส่วนตัวอย่างแนวคิดทฤษฎีการใช้สีของจารีตจีนนั้นผูกพันกับความเชื่อเรื่อง ความสัมพันธ์ในวิถีการดำ�เนินชีวิต โดยมีสีหลัก 5 สี คือ สีฟ้า สีแดง สีเหลือง สีขาวและสีดำ� ซึ่งมีความหมายถึงไม้ ไฟ แผ่นดิน โลหะและน้ำ� โดยสีแดงมี ความเป็นหยางซึ่งเกี่ยวข้องกับความโชคดีและเหมาะสำ�หรับต้องการการตัดสินใจ หรือ สีเขียวและสีฟ้ามีความเป็นหยินเหมาะสมกับห้องที่ต้องการใช้ความคิด ต้องการสมาธิ เป็นต้น5 จิตวิญญาณของความเป็นตะวันออกสอดแทรกอยู่ในแวดวงศิลปะและ การออกแบบสาขาต่างๆ เช่น วงการแฟชั่นเสื้อผ้าที่นำ�เอาเทคนิคและวิธีการตัด เย็บKimonoไปพัฒนา วิธีการพับแบบOrigamiที่นำ�ไปประยุกต์ใช้ในงานบรรจุภัณฑ์ โครงสร้างที่ถักทอของลวดลายจักสานที่สามารถรับน้ำ�หนัก ความเชื่อและศรัทธา ในพุทธศาสนานิกาย Zen ที่ปรากฏอยู่ในงานสถาปัตยกรรม ออกแบบภายใน และเครื่องเรือน ตัวอย่างเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการก้าวข้ามศตวรรษ และพรมแดนอารยธรรมแห่งความแตกต่างหลากหลายทางด้านเทคโนโลยีและ ก่อให้เกิด ภูมิปัญญาในงานออกแบบที่บูรณาการองค์ความรู้ในแต่ละสาขา แรงบันดาลใจในนวัตกรรมใหม่ๆ การออกแบบที่สอดคล้องกับรสนิยมของผู้ บริโภค ขณะที่มนต์ขลังในทางศาสนา เช่น รูปลักษณ์ทางพระพุทธรูปที่มีสถานะ เป็นตัวแทนของความเคารพ (Idol) ก็ถูกหยิบยกมาตีค่าความหมายในสังคม บริโภคกระแสสังคมโลกาภิวัตน์ และรวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำ�วันที่มี ลักษณะเป็นงานหัตถกรรม(Craft) และงานทำ�ด้วยมือ (Handmade) เช่นกัน

52

ศิลปะและการออกแบบตะวันตก แนวคิดและรูปแบบศิลปะและการออกแบบตะวันตกมีบทบาทต่อสังคม ไทยหลากหลายแนวทางด้วยกัน เช่น โกธิก ศิลปกรรมทางศาสนา เรเนสซองส์ (Renaisance) หรือฟืน้ ฟูศลิ ปวิทยา ทีน่ ำ�เอาศิลปะคลาสสิคในอดีต เช่น กรีก โรมัน กลับมาสร้างคุณค่าใหม่ มาจนถึงสไตล์บาโรค (Baroque) รอคโคโค (Rococo) วิคตอเรียนในยุคสมัยรัชกาลที่ 4 ก่อนที่จะมาถึงยุคอาร์ตนูโว (ArtNouveau) หรือนูด๊ เดิล้ สไตล์ ทีไ่ ด้รบั อิทธิพลจากธรรมชาติดว้ ยลวดลายพรรณพฤกษาใน รัชกาลที่ 5 มาถึงงานสไตล์อาร์ต เดคโค (Art Deco) ในสมัยรัชกาลที6่ และ 7 ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองภายในประเทศในปีพ.ศ. 2475 หลัง จากนั้นเป็นต้นมาแนวคิดอิทธิพลของศิลปะร่วมสมัยที่รากฐานโดยศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้น จนถึงงานศิลปะและการออกแบบ สมัยใหม่ (Modern) ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก ซึ่งมีรากฐานมาจากแนวคิดการผลิต เพื่อ มวลชน (Mass Product) ผ่านกระบวนการขั้นตอนเทคโนโลยีการผลิตในรูปแบบ อุตสาหกรรม(ซึ่งเน้นบทบาทลัทธิบริโภคนิยมให้โดดเด่นขึ้นในเวลาต่อมา) เน้น ความเป็นเครื่องจักรกลในผลงาน จากสถาบันบาวเฮ้าส์ ประเทศเยอรมัน (ค.ศ. 1919-1933) แหล่งรวมศิลปิน สถาปนิก นักออกแบบและช่างฝีมือ โดยมีสถาปนิก ผู้บุกเบิก ชื่อดัง วอลเทอร์ โกรเปียซ เป็นผู้อำ�นวยการคนแรก และวิศวกรอย่าง มีส แวน เดอร์ โรว์ (Mies Van der Rohe) โดยมีปรัชญามุ่งเน้นผสมผสาน สุนทรียะแห่งศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบและงานฝีมือ ที่สามารถ ผลิตจำ�นวนมาก ด้วยการแสวงหาวิถีทาง หรือทฤษฎีใหม่ๆที่ไม่ยึดติดกับรูปแบบ เดิมๆ โดยมีความเชือ่ ว่างานออกแบบควรทำ�หน้าทีต่ อบสนองรองรับการใช้งานของ มนุษย์เป็นสำ�คัญ ผ่านแนวคิดว่าประโยชน์ใช้สอยมาก่อนรูปทรง (Form Follow


Function) นอกจากด้านศิลปะแล้ว ยังส่งอิทธิพลต่องานออกแบบแขนงต่างๆเน้น เพิ่มพูนทักษะในเชิงช่าง วัสดุเทคโนโลยีและกระบวนการสร้างสรรค์ใหม่ๆ เพื่อ ความเข้าใจในเชิงการออกแบบที่เอื้อต่อการผลิตผลอุตสาหกรม ผลงานศิลปะและการออกแบบสมัยใหม่เน้นความทันสมัยที่การลดราย ละเอียดของรูปทรง โครงสร้างสูค่ วามเรียบง่ายทางเรขาคณิตผสมผสานวัตถุดบิ ประเภทโลหะ กระจก หนังและพลาสติก กับเทคโนโลยีการใช้สอยครอบคลุมงาน ศิลปะ สถาปัตยกรรมและออกแบบทุกสาขา เช่น เครื่องเรือน ของใช้ของประดับ ตกแต่ง เสื้อผ้า ฯลฯ นับเป็นรากฐานแห่งศิลปะและการออกแบบสมัยใหม่จน กระทั่งปัจจุบัน ของนักออกแบบรุ่นใหม่ที่รับกระแสวัฒนธรรมตะวันตกสมัยใหม่ เช่นผลงาน ประเภท Modern, Post Modern, Deconstruction, Minimal เป็นต้น ทีส่ ง่ อิทธิพลถึงศิลปะและงานออกแบบในประเทศไทยปลายศตวรรษที่ 20 ก่อนที่จะถึงกระแสนิยมของโอเรียลทัล (Oriental) ในการย่างก้าวสู่ศตวรรษใหม่ ในยุคโลกาภิวัตน์ กล่ า วได้ ว่ า อิ ท ธิ พ ลแนวคิ ด ศิ ล ปะและการออกแบบของตะวั น ตกส่ ง ผลต่อวงการออกแบบในประเทศไทยในทุกสาขา เช่น ศิลปะ สถาปัตยกรรม เครื่องเรือน เสื้อผ้า ฯลฯ จากการที่ได้ทำ�การติดต่อการค้าระหว่างโปรตุเกสกับ สยามประเทศตัง้ แต่สมัยอยุธยาเมือ่ ครัง้ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และพัฒนา มาอย่างต่อเนื่องถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 แบบอย่างตะวันตกเจริญก้าวหน้าและเป็นรากฐานของการปลูกฝังรูปแบบสไตล์ คลาสสิก เป็นต้นมาจนกระทัง่ รูปแบบสมัยใหม่ของไทยทีป่ รากฏขึน้ ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขณะที่กระแสโลกาภิวัฒน์ในสหัสวรรษใหม่ในปี ค.ศ. 2001 ได้ทำ�ลายกำ�แพงวัฒนธรรมของแต่ละชนชาติ ส่งผลให้เกิดการหล่อหลอม วัฒนธรรมของประเทศต่างๆทั้งทางยุโรป อเมริกา และเอเซีย เข้าหากัน เกิด กระแสรสนิยมการบริโภคสินค้าของผู้คนหลากหลายกลายเป็นวัฒนธรรมบริโภค นิยมในที่สุด

รูปแบบศิลปะตะวันตกที่เข้ามาในประเทศไทยมีหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ งานสไตล์คลาสสิค คุ้นเคยต่อคนไทยในสไตล์หลุยส์ เริ่มขึ้นในรั้วในวังสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น จนกระทั่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่เสด็จประพาส มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และยุโรป ได้ทรงนำ�แบบอย่างศิลปะแบบตะวันตก เข้ามาประยุกต์ใช้ในสถาปัตยกรรมเมืองไทย เริม่ จากการสร้างพระราชวังพระทีน่ ง่ั ต่างๆ เช่น พระทีน่ ง่ั จักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังทีน่ ำ�เอาศิลปะตะวันตก กับรูปแบบสถาปัตยกรรมของไทยมาประยุกต์ใช้ได้อย่างงดงาม พร้อมกับการเชิญ สถาปนิก วิศวกรชาวอังกฤษ เยอรมันและอิตาลีเข้ามาทำ�การออกแบบในประเทศ เช่น วังเทวเวศน์ที่ออกแบบโดย คาร์ล ดอริ่ง (Carl Doring) วิศวกรชาวเยอรมัน ในสไตล์แบบบาโรก (Baroque) ทีต่ อ่ มามีการต่อเติมโดยสถาปนิกชาวอิตาลี ในสไตล์ อาร์ต นูโว (Art Nouveau) รวมไปถึงงานออกแบบในสไตล์เรเนสซองส์ (Renaisance) ของพระที่นั่งอนันตสมาคม และนีโอ-คลาสสิค (Neo-classic) ที่สถานีรถไฟหัวลำ�โพง เป็นต้น เริ่มมีสถาปัตยกรรมทรงขนมปังขิง หลังคา ปั้ น หยาแบบตะวั น ตกผสมผสานกั บ โครงสร้ า งและลวดลายฉลุ ไ ม้ สั ก ของไทย ที่แพร่หลายในสมัยรัชกาลที่ 6 และ 7 รวมไปถึงเครื่องเรือนไทยประยุกต์ไม้ สักกลึงประดับเสาหัวเม็ดและลายฉลุ กรุกระจกโบราณลายดอกพิกุล นอกจาก นั้นมีสถาปัตยกรรมตะวันตกในสไตล์อาร์ต เดคโค โผล่ขึ้นหลายแห่งเช่น กรม ไปรษณีย์ สนามมวยราชดำ�เนิน อาคารริมถนน 2 ฝั่งราชดำ�เนินกลาง เป็นต้น หลังจากที่วัฒนธรรมตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตสังคมไทย อย่างแพร่หลายยาวนาน รูปแบบศิลปะ สถาปัตยกรรม และงานออกแบบก็เข้า มามีบทบาทมากขึ้นโดยลำ�ดับ จนกระทั่งเข้าสู่กระแสสังคมโลกาภิวัตน์ในปลาย ศตวรรษที่ 20 กลิ่นอายความเป็นตะวันออกได้จุดประกายรสนิยมของผู้บริโภค ให้ตื่นตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสน่ห์ในงานศิลปหัตถกรรมแนวตะวันออกที่ ได้รับความนิยมมากจากผู้บริโภคชาวตะวันตก

53


ศิลปะและการออกแบบยุคโลกาภิวัตน์

การหลอมรวมและไหลเวียนของวัฒนธรรมต่างๆ ผ่าน ข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี ในยุคโลกาภิวัตน์

หลังการครอบงำ�ของอารยธรรมตะวันตกมายาวนาน และส่งผ่ามายัง วัฒนธรรมตะวันออก ก่อนข้าสู่ยุคมิลเลนเนียมที่เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม เจริญก้าวหน้าอย่างคาดไม่ถึง โดยฝากรอยแผลเป็นทางวิกฤติ เศรษฐกิจปี พ.ศ.2540 อันเป็นบทเรียนอันยิ่งใหญ่อยู่ในสังคมไทย พร้อมกับ กระแสพระราชดำ�รัส เศรษฐกิจพอเพียงจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความเป็นสังคมโลกาภิวัตน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ได้ปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์วัฒนธรรมของวิถีชีวิตผู้คนและวงการศิลปะออกแบบสู่มิติใหม่ที่ แตกต่าง หลากหลาย เด่นชัด ปัจเจก เป็น แฟชั่นและสู่สากลมากขึ้น บนสังคม ไร้พรมแดน ผ่านเทคโนโลยีไร้สาย ในข้อมูลข่าวสาร ของพื้นที่ว่างและความจริง เสมือนของโลกไซเบอร์ เกิดการค้นพบเทคโนโลยีชีวภาพดีเอ็นเอ เสต็มเซลล์ และ เสาะแสวงหาพลังงานทดแทน การนำ�กลับมาใช้ใหม่ ขณะที่ผู้คนต่างตระหนักใน คุณค่าของธรรมชาติและโหยหาคุณค่าความงามของอารมณ์อันประณีตละเอียด อ่อน เอื้ออาทรของจิตใจ รวมถึงสาระในด้านต่างๆของวิถีการดำ�รงชีวิตอย่าง มีคุณภาพ ขณะทีโ่ ลกได้พฒ ั นาอย่างไร้ขดี จำ�กัด มนุษย์ได้กดั กร่อนตัวเองโดยทำ�ลาย ทรัพยากร สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างมหาศาลเช่นกัน ก่อเกิดปัญหา มลภาวะปฏิกิริยาเรือนกระจก และสภาวะโลกร้อน อารยธรรมโลกต่างหล่อหลอม วนเวียนทับซ้อนอยู่ในยุคบริโภคข้อมูลข่าวสารที่ไม่เว้นแต่ละวัน แม้แต่งาน สถาปัตยกรรมก็หลอมรวมเอาเทคโนโลยีทุกแขนงเพื่อตอบสนองวัฒนธรรมการ ดำ�เนินชีวิตของคนยุคใหม่ทั้งในอาคารสาธารณะและที่พักอาศัย นับเป็นช่วงก้าว กระโดดของวงการสถาปัตยกรรมและการออกแบบทีส่ ามารถสือ่ สาร (Interactive) 54

และถ่ายทอดจินตนาการ ความฝันและแรงบันดาลของมนุษย์ได้อย่างไร้ขีดจำ�กัด เป็นสถาปัตยกรรมอันชาญฉลาดสำ�หรับมนุษยชาติ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงโครงสร้าง อาคารที่ประกอบไปด้วยพื้น ผนัง เพดาน และงานระบบ ที่นำ�มาประกอบ เข้าหากัน แต่กลายเป็นเส้นสายโลหิต เนื้อหนัง และลมหายใจของชีวิตก็ว่าได้ ซึ่ง ปรัชญาแนวคิดยุคใหม่ก็ต่างมีแนวทางต่างกันออกไป งานออกแบบในทศวรรษ ใหม่ต่างจากในยุคสมัยที่ผ่านมาที่เน้นปริมาณการผลิต (Mass Production) ใน การตอบสนองคนส่วนใหญ่ยุคอุตสาหกรรมในอดีต มาสู่ความเป็นUnique ของ ผลิตภัณฑ์เป็น (Mass Customization) ที่สามารถสร้างรสนิยมตอบสนอง รสนิยมความเป็นปัจเจกบุคคล(Individualist)ของผู้บริโภค ในระบบเศรษฐกิจเสรี นิยมของสังคมโลกได้เป็นอย่างดี ศิลปะและการออกแบบในสาขาต่างๆยุคโลกาภิวัตน์มีบทบาทต่อการ ดึงดูดโน้มน้าวจิตใจผู้คนในสังคม และได้ก้าวรุดหน้าอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับ วงการแฟชั่นที่ขึ้นอยู่กับวิถีการใช้ชีวิตของสังคมรุ่นใหม่ที่มีทางเลือกหลากหลาย ความแตกต่างทางรสนิยมของผู้บริโภคกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่ที่มีอยู่ในปัจเจกบุคคล โดยพร้อมที่ก้าวกระโจนไปกับการบริโภคสิ่งใหม่ๆที่ท้าทายตามกระแสนิยมที่เกิดขึ้น อยู่ตลอดอยู่ทุกลมหายใจในปัจจุบันและอนาคต (Endnotes) 1. สุสุกิ ไดเซตซ์ ที, เซนกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น (กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2518)./ 2. เรื่อง เดียวกัน, 49./ 3. Baholyodhin, Ou, Living with Zen, 11-40./ 4. Baholyodhin, Ou, Living with Zen (Duncan Baird Publishers, 2000)./ 5. Freeman, Michael, Sian Evans and Mimi Lipton, In the Oriental Style : A source of Decoration and Design (Singapore : Thames & Hudson, 2001) .


55


แนวทางการส่งเสริมการตลาดและผลิตภัณฑ์งานออกแบบไทย กลยุทธ์ขององค์กรภาครัฐ 1. การตอบสนองความต้องการตลาด การผลิตเครื่องมือเครื่องใช้จากงานจักสานดั้งเดิมสนองตอบความ ต้องการใช้สอยในการประกอบอาชีพและดำ�รงชีวิตประจำ�วันของแต่ละชุมชน ในสังคมเกษตรกรรม ทำ�ให้เครื่องจักสานมีความผูกพันกับชาวบ้านอย่างลึก ซึ้ง การถ่ายทอดภูมิปัญญาความรู้ด้วยวิธีการบอกกล่าว การสังเกตและฝึกหัด ลองผิดลองถูกจนเกิดความชำ�นาญในการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่คนรุ่น ทำ�ให้ เครือ่ งจักสานสามารถดำ�รงเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นได้ต่อเนื่องยาวนาน แต่ ทั้งนี้ลักษณะการถ่ายทอดและเรียนรูก้ ารทำ�เครือ่ งจักสานในสังคมเกษตรกรรมเป็น ไปในลักษณะการเรียนรูอ้ ย่างค่อยเป็นค่อยไป ใช้ระยะเวลาในการฝึกหัดจนเกิดความ สามารถสร้างสรรค์รปู แบบใหม่ๆครอบคลุมถึงความเพียรพยายาม การผลิตเครือ่ ง จักสานส่วนมากปราศจากการเร่งรีบ จะทำ�เมือ่ มีเวลาว่างจากอาชีพหลัก คือ การทำ� นาทำ�สวนทำ�ไร่ และไม่มขี อ้ จำ�กัดของตารางเวลา ทำ�ให้การผลิตเครือ่ งจักสานแต่ละ ชิน้ ขึน้ อยูก่ บั ความพึงพอใจในผลงาน เต็มไปด้วยความประณีตงดงามและคงทนใน การใช้สอย แต่ทง้ั นีก้ ารเสือ่ มถอยและสูญสลายทางวัฒนธรรมมีผลมาจากขาดผู้ สืบทอดวิชาความรู้ ทำ�ให้งานจักสานอันมีคณ ุ ค่าทางศิลปะและภูมปิ ญ ั ญาค่อยๆจาง หายไปจากสังคมไทย เมื่อวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป การดำ�เนินชีวิตแบบ พอมีพอกินจากสังคมเกษตรกรรมได้ก้าวเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมใหม่ กอปรกับ การเข้ามาของพ่อค้าคนกลางและนักลงทุนต่างชาติ ส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยมี อัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยระบบทุนนิยมส่งผลให้เกิดวัฒนธรรม บริโภค (Consumerism) ที่แพร่หลายในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง การเร่ง ส่งเสริมปริมาณการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดโลก นโยบาย ของรัฐบาลไทยจึงมีแนวโน้มไปสู่การส่งเสริมสินค้าอุตสาหกรรมและการส่งออก จากความไม่แน่นอนของผลผลิตทางการเกษตรและรายได้ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพภูมิ อากาศ อันเป็นปัจจัยต่อปริมาณสินค้าและราคาในท้องตลาดขณะนั้น จึงเป็นแรง ผลักดันให้แรงงานชนบทไหลทะลักเข้าสูร่ ะบบโรงงานอุตสาหกรรมเพือ่ มีรายได้ประจำ� จากนั้นมางานหัตถกรรมเครื่องจักสานดั้งเดิมของไทยได้เข้าสู่ระบบการ ผลิตสินค้าอุตสาหกรรม กระบวนการ ขั้นตอนการผลิตที่ต้องแข่งขันกับเวลา เพื่อสามารถผลิตสินค้าเครื่องจักสานปริมาณมากในระยะเวลาอันสั้น ขาดการ ส่งเสริมพัฒนาในด้านรูปแบบที่สัมพันธ์สอดคล้องกับการดำ�เนินชีวิตในแต่ละยุค สมัย รูปแบบดั้งเดิมกลายเป็นตัวแทนงานประดิษฐ์กรรมทางวัฒนธรรมในแบบ ของที่ระลึกที่ผลิตออกสู่จำ�หน่ายในท้องตลาดในและต่างประเทศ เพื่อสนองความ ต้องการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยมีรูปแบบซ้ำ�ซาก ขาดความประณีต งดงามและเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น ในที่สุดก็เกิดสภาวะสินค้าเครื่องจักสานล้น 56

ตลาด ขาดคุณภาพและราคาตกต่ำ� นอกจากนั้นการผลิตในปริมาณมากส่งผล ให้ขาดความสมดุลทางธรรมชาติและสภาวะของระบบนิเวศน์ ปริมาณวัสดุที่หา ได้เริ่มลดลง จนกระทั่งเกิดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบที่ไม่เพียงพอต่อกำ�ลังการ ผลิตและแรงงานที่ล้นเหลือ ซึ่งแก้ปัญหาโดยการนำ�เข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ และผลิตวัสดุสังเคราะห์ขึ้นทดแทน การผลิตเครื่องจักสานในระบบอุตสาหกรรมที่เน้นปริมาณการผลิต จำ�นวนมากทำ�ให้ขาดการเอาใจใส่ในด้านรูปแบบและคุณภาพเท่าที่ควรกระบวนการ ผลิตดังกล่าวส่งผลให้คุณค่าในตัวเครื่องจักสานลดลง ขาดเอกลักษณ์ท้องถิ่นและ ความชำ�นาญของช่างในการเลือกสรรวัสดุ เพื่อรังสรรค์ผลงาน ทั้งในด้าน รูป ทรงลวดลายสีสันและความงดงามคงทน ในขณะเดียวกันได้เกิดกระแสการส่งเสริมและอนุรักษ์คุณค่าในงาน หัตถกรรมเครื่องจักสานดั้งเดิมของไทย ซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาและวัฒนธรรม โดยเน้นความวิจิตรประณีตและงดงาม ก่อให้เกิดการรวบรวมเหล่าช่างฝีมือที่ หลงเหลืออยู่เพื่อสืบสานคุณค่าเอกลักษณ์งานศิลปหัตถกรรมดั้งเดิมของไทยให้ ดำ�รงอยู่คู่กับสังคมต่อไป เกิดโครงการพระราชดำ�ริในพระบาทสมเด็จพระบรม ราชินีนาถคือโครงการศิลปาชีพพิเศษฯขึ้นด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เริ่มต้นใน ปี พ.ศ. 2519 ที่วังสวนจิตรลดา จนถึงก่อตั้งศูนย์ศิลปาชีพบางไทรในปี พ.ศ.2523 ส่งผลให้งานหัตถกรรมได้รับการฟื้นฟูภูมิปัญญาและฝีมือชาวบ้านให้เป็นมรดก ทางศิลปวัฒนธรรมของประเทศ ต่อมาในสมัยรัฐบาลนายกทักษิณฯ พ.ศ. 2545 ได้ริเริ่มโครงการ หนึ่งตำ�บลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP)เพื่อพัฒนาลักษณะเด่นของสินค้าแต่ละตำ�บล โดยโครงการดังกล่าวได้แนวคิดมาจาก One village One Product (OVOP) ประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้รวมไปถึงงานหัตถกรรมจักสาน มีการจัดสรรงบประมาณ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และส่งเสริมให้มีการออกร้านในโครงการ หนึ่งตำ�บลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในงานแสดงสินค้า เพื่อให้เกิดแรงกระตุ้นต่อกำ�ลังการ ผลิต และขยายฐานความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศให้กว้างยิ่ง ขึ้น นับเป็นการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานไทยสู่ผู้บริโภค ด้วยการเพิ่ม ปริมาณผลิตภัณฑ์มวลรมของประทศที่มีดัชนีชี้วัดด้วย GDP (Gross Domestic Product) 2. การสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ จากนโยบายของรัฐที่ต้องการเสริมสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนหลัง จากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ� โดยเน้นการสร้างงานในชนบทและส่งเสริมให้ผู้ว่าง งานมีงานทำ� รวมทั้งสามารถนำ�เงินตราเข้าสู่ประเทศ ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม จักสานที่มีทั้งฝีมือ ภูมิปัญญา และเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย เริ่มมีตลาดรองรับ อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งหน่วยงานของรัฐหลายแห่ง


ต่างสนับสนุนโครงการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานมากขึ้น รวมทั้งประสานงานกับองค์กรต่างๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ทั้งนี้โครงการของรัฐ ในการส่งเสริมรูปแบบและถ่ายทอดความรู้ใน เชิงศิลปะเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานของไทยสู่ชาวบ้านให้ดำ�รงคุณค่า ด้านความงามทางศิลปะและประโยชน์ใช้สอยที่สอดคล้องกับความต้องการตลาด ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ จำ�เป็นระมัดระวังอย่างรอบคอบในด้านการใช้วัสดุ อย่างคุ้มค่า คำ�นึงความประณีตหลากหลายในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ศึกษา พิจารณาการพัฒนาอย่างสมดุลที่ไม่ทำ�ลายคุณค่าระบบวัฒนธรรมชุมชนเพิ่ม ประสิทธิภาพของผลผลิตและอนาคตของผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไทยให้มีคุณค่า ต่อความรู้สึกจิตใจ การใช้งานของยุคสมัย และสุนทรียภาพ ซึ่งเป็นการเพิ่ม มูลค่า (Value Added) ของผลิตภัณฑ์ในการส่งออกในการลดปัญหาสภาวะ สินค้าล้นตลาดคุณภาพและราคาที่ต่ำ�ลง วัตถุประสงค์ของการสร้างรูปแบบและประโยชน์ใช้สอยใหม่ นับเป็น กลยุทธ์สำ�คัญต่อผูป้ ระกอบการด้านการผลิตหัตถกรรมจักสาน ทีต่ า่ งได้รบั ความ ร่วมมือจากหน่วยงานส่วนราชการหลายแห่งที่มีนโยบายสนับสนุนและพัฒนาส่ง เสริมผลิตภัณฑ์ ดังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น 2.1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มีบทบาด้าน การส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการภายในประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) อุตสาหกรรมชุมชน เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการค้า ตลอดจนสร้าง ผู้ประกอบการใหม่ในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ในตลาดการค้าโลกต่อไป สำ�นักพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม มีภาระหน้าที่ ในการศึกษาวิจัยสภาวะตลาดวิสาหกิจชุมชนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมให้สอดคล้องกับควาต้องการ ของตลาดพร้อมกับศึกษาวิเคราะห์รปู แบบผลิตภัณฑ์ทเ่ี ป็นเอกลักษณ์และภูมปิ ญ ั ญา ท้องถิ่น และแนวทางการสืบทอดการผลิตหัตถกรรมคุณภาพสูงเพื่อการอนุรักษ์ และต่อยอดภูมิปัญญาในเชิงพาณิชย์ 2.2 กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ มีภารกิจเกี่ยวกับ การส่งเสริมการขยายตลาดสินค้าและบริการของไทย พัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่ม ของสินค้าและบริการส่งออก ให้ข้อมูลการค้าและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของ ผู้ส่งออกไทยในตลาดโลก ส่งเสริมและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความ ต้องการแต่ละประเทศ เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สินค้าของไทยและบริการข้อมูล การค้าที่เกี่ยวกับการส่งออกในประเทศต่างๆ 2.3 สำ�นักบริการส่งออก ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนารูปแบบ ผลิตภัณฑ์ บริการ เสนอแนะและเผยแพร่ข้อมูลด้านความเคลื่อนไหวและแนวโน้ม การออกแบบเพื่อการส่งออก 2.4 สำ�นักกิจกรรมการส่งออก พัฒนาและบริหารจัดการแสดงสินค้า ในประเทศและต่างประเทศ 2.5 กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ส่งเสริมและพัฒนา

ศักยภาพของประชาชน ผู้นำ�ชุมชน องค์กรชุมชน และเครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อ ให้มีส่วนร่วมและเกิดการรวมกลุ่มให้สามารถพึ่งตนเองได้ 2.6 สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยเสนอแนะนโยบายแผนงานการศึกษาและวิจัยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาล ส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อ พัฒนาศักยภาพและขยายขอบข่ายความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมกว้างสู่ชนบท 3. ส่งเสริมสินค้าเพื่อการส่งออก ขณะที่กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ มีนโยบายส่งเสริม ผู้ผลิตและเผยแพร่สินค้าหัตถกรรมให้มีตลาดรองรับสินค้าที่ผลิตขึ้นอย่างกว้าง ขวางทั้งตลาดท่องเที่ยวในประเทศ และตลาดต่างประเทศ เช่น งานด้านการ ตลาดและการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานแสดงสินค้าของ โดยกรมส่งเสริมการ ส่งออกได้จัดประเภทของงานแสดงสินค้าไว้หลายประเภทด้วยกัน คือ General Trade Fair เป็นงานแสดงสินค้าหลายๆ ชนิดรวมกัน ไม่ เจาะจงสินค้าบริการ หรืออุตสาหกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อ การสั่งซื้อและเสนอขายสินค้า เช่น งานแสดงสินค้า Thailand’s Brand เป็นต้น Specialized Trade Fair เป็นงานแสดงสินค้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ การสั่งซื้อและเสนอขายสินค้า เช่นเดียวกับงานแสดงสินค้าประเภทแรก ต่างกัน ที่งานแสดงสินค้าประเภทนี้เน้นกลุ่มสินค้าอย่างชัดเจน จัดเฉพาะกลุ่มสินค้าและ บริการ หรือเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น งานเครื่องหนัง ก็จะมีแต่ผลิตภัณฑ์ที่ ทำ�จาก หรืองานเสื้อผ้าก็จะมีแต่เสื้อผ้าสำ�เร็จรูปจำ�หน่าย เป็นต้น air งานแสดงสินค้าประเภทนี้จัดขึ้นเพื่อการจำ�หน่ายปลีก โดยเปิดให้ ประชาชนผู้สนใจทั่วไปเข้าชมและเลือกซื้อสินค้าได้ เช่น งาน Made in Thailand Solo Trade มุ่งที่ลูกค้ารายใหม่ ไม่เปิดรับผู้แสดงสินค้าทั่วไป หากงาน มีขนาดเล็กจะเป็น Mini Exhibition/Fair) ทั้งนี้การผุดขึ้นและแพร่หลายของงานแสดงสินค้าที่สำ�คัญสำ�หรับผู้ ส่งออกนั้น หน่วยงานของรัฐได้ดำ�เนินการสนับสนุนส่งเสริมผู้ผลิตและเผยแพร่ สินค้าให้มีตลาดรองรับกว้างขวางทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ โดยทางกรม ส่งเสริมการส่งออกได้ดำ�เนินการจัดและเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์และ ของตกแต่งบ้าน เพื่อส่งเสริมการผลิตและขยายตลาดสินค้าแต่ละประเภทรวมถึง งานหัตถกรรมจักสาน ที่มีช่องทางการตลาดสำ�คัญ ได้แก่ งานแสดงสินค้าภายในประเทศ 1. Thailand International Furniture Fair (TIFF) 2. Bangkok International Gift&Houseware (BIG) 3. Made in Thailand 4. OTOP

57


บูธริเริ่มโครงการOTOP ของไทยที่ได้คัดสรรนำ�ผลิตภัณฑ์ผลงานชาวบ้านมาจัด แสดงในงาน BIG บนพื้นที่กว่า 200 ตารางเมตร

งานแสดงสินค้าในต่างประเทศ 1. Int’l Houseware Show, Chicago, USA. 2. Abiente, Frankfurt, Germany 3. Tokyo Int’l Gift Show Spring, Tokyo, Japan 4. Asia Expo, London, England 5. Intergift, Madrid, Spain 6. Maison&Object, Paris, France

ผลิตภัณฑ์ OTOP ได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้ซื้อ ทำ�ให้ภาครัฐมีแนวคิดที่จะ ขยายตลาดออกไปยังต่างประเทศเพื่อเพิ่มจำ�นวนการผลิตและมูลค่าการจำ�หน่าย ผลิตภัณฑ์ เห็นได้จากการที่ภาครัฐได้ตั้งเป้าหมายที่จะผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศภายใน 5 ปี โดยปี 2546 มีงบประมาณในการผลักดันถึง 800 ล้านบาท และในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า รัฐบาลได้คาดหมายให้ผลิตภัณฑ์ OTOP พัฒนามาตรฐานสู่ระดับสากลและเป็น หัวใจสำ�คัญในการเพิ่มรายได้และความแข็งแกร่งแก่ชุมชน ตลอดจนเพิ่มรายได้และ GDP ของประเทศให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์และแผนดำ�เนินงานโครงการ OTOP ของหน่วย 4) การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อการส่งออก งานที่เกี่ยวข้อง อาทิ แผนดำ�เนินงานของโครงการ OTOP ในปี 2546 - 2547 นับจากที่รัฐบาลได้ให้ความสำ�คัญกับผลิตภัณฑ์ OTOP ยอดจำ�หน่าย ของ กอ.นตผ. จะมีการดำ�เนินงาน 2 ยุทธศาสตร์พร้อมกัน คือ ยุทธศาสตร์ ผลิตภัณฑ์ OTOP ในประเทศช่วงเดือนมกราคม-ธันวาคม 2544 เมื่อเปรียบ เทียบกับช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2545 เพิ่มขึ้นสูงถึง 90 เท่า โดย กระทรวงอุตสาหกรรมได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี 2546 จะผลักดันผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มียอดจำ�หน่ายเพิ่มขึ้นเป็น 2 หมื่นล้านบาท และกรมการพัฒนา ชุมชน รายงานว่า ในช่วง 9 เดือนทีผ่ า่ นมา (ตุลาคม 2545-มิถนุ ายน 2546) ผลิตภัณฑ์ OTOP มียอดขายรวม 2.3 หมื่นล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 115 ของ ประมาณการในปีงบประมาณ 2546 (2 หมื่นล้านบาท) และคาดว่าจะสามารถ ผลิตภัณฑ์งานฝีมือOTOPของไทยที่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบร่วมสมัยและอนุรักษ์แบบท้องถิ่น ทำ�ได้ถึง 2.5 หมื่นล้านบาท จากจำ�นวนยอดจำ�หน่ายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า 58


การเสริมสร้างศักยภาพและคุณภาพของการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และ ยุทธศาสตร์สนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเชื่อมต่อการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งชุมชน ในปี 2546 จะมุ่งเน้นการทำ�กิจกรรมการตลาดเป็นหลัก ส่วนในปี 2547 จะให้ความสำ�คัญกับการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการ พัฒนารูปแบบการเชือ่ มโยงสูอ่ ตุ สาหกรรมท่องเทีย่ ว ยุทธศาสตร์ดา้ นอุตสาหกรรม ช่วง 5 ปี (2545-2549) ของกระทรวงอุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์หนึ่งคือการ พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชน โดยพัฒนาการตลาดด้วยการ สร้างโอกาสและช่องทางการตลาดทั้งระดับท้องถิ่นภายในและต่างประเทศ พร้อม ทั้งการสนับสนุนการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความต้อง การของตลาด กรมการค้าต่างประเทศ ได้เร่งสนับสนุนผลิตภัณฑ์ OTOP ออก สูต่ ลาดโลกมากขึน้ โดยขณะนีก้ ำ�ลังศึกษาและจัดหมวดผลิตภัณฑ์พร้อมกับจำ�แนก ให้เห็นถึงผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) จากประเทศคูค่ า้ และประกาศให้ผผู้ ลิตทราบเพือ่ ให้ผผู้ ลิตเข้ามาขอใบรับรองเพือ่ ใช้ สิทธิในการส่งออกภายใต้ GSP ไปประเทศต่างๆ เนื่องจากมีผู้ส่งออกมาขอใช้ สิทธิน้อยมาก โดยเฉพาะการส่งออกไปยังเขตการค้าเสรีอาเซียนภายใต้ข้อตกลง ว่าด้วยการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (CEPT) ที่จะได้รับส่วนลดหย่อน หรือยกเว้นภาษีนำ�เข้า ซึ่งทุกประเทศในอาเซียนให้สิทธิพิเศษภายใต้ CEPT อัตรา 0-5% ยกเว้นส่งออกไปยังประเทศสมาชิกใหม่ เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม และ เมีย้ นมาร์ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ทข่ี อสิทธิสง่ ออกภายใต้ CEPT อาทิ ผ้าไหมพืน้ เมือง ผ้าทอพื้นเมือง ผ้าสำ�เร็จรูป และสิ่งประดิษฐ์จากผ้า และล่าสุดญี่ปุ่นได้ปรับปรุง การให้สทิ ธิ GSP ในปีงบประมาณ 2546 (1 เมษายน 2546 - 31 มีนาคม 2547) ด้วยการเพิ่มรายการสินค้าที่ให้สิทธิ GSP กับประเทศด้อยพัฒนาและพัฒนา น้อยจำ�นวน 198 รายการ ประเทศกำ�ลังพัฒนาจำ�นวน 119 รายการ โดยประเทศ ไทยจะได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวในฐานะประเทศกำ�ลังพัฒนา จึงถือเป็นโอกาสอันดี ในการที่จะเร่งส่งเสริมการส่งออกแก่ผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ OTOP ยังมีปัญหาหลายด้านที่ควรเร่ง แก้ไขก่อนที่จะเร่งขยายตลาดเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะปัญหาที่ กลายเป็นอุปสรรคที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์บางประเภทยังไม่ได้มาตรฐาน มีการผลิตที่ซ้ำ�/เลียนแบบกัน นอกจากนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ยัง มีความเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับ OTOP ขณะนี้ คือ รูปแบบบรรจุภัณฑ์ยังไม่ได้ มาตรฐานและไม่โดดเด่นพอทีจ่ ะดึงดูดความสนใจของผูซ้ อ้ื จึงจำ�เป็นต้องแก้ไขอย่าง เร่งด่วนเพื่อสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพสามารถ แข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นได้ และสามารถพัฒนาสู่การผลิตเพื่อส่งออกได้ในอนาคต ภาครัฐและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจึงได้ดำ�เนินการปรับปรุงและแก้ไขปัญหา ต่างๆ เพือ่ ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ให้เป็นทีย่ อมรับและน่าเชือ่ ถือ ยิง่ ขึน้ เพือ่ โอกาสในการส่งออกทีส่ ดใสต่อไป ทีส่ ำ�คัญสรุปได้คอื การจัดทำ�มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ แนวทางการดำ�เนินงานตามโครงการมี 4 ด้าน ได้แก่ การกำ�หนด มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยการจัดทำ�ข้อกำ�หนดที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ ชุมชนและวิธีการผลิตของชุมชน โดยคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

(กมช.) จะพิจารณาจากผลิตภัณฑ์ทอ่ี ยูใ่ นบัญชีของ กอ.นตผ. ใน 5 กลุม่ ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอ กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานและเส้นใยพืช กลุ่ม ผลิตภัณฑ์อาหารและสมุนไพร กลุม่ ผลิตภัณฑ์เครือ่ งปัน้ ดินเผา และกลุม่ ผลิตภัณฑ์ ศิลปประดิษฐ์และหัตถกรรม และในการกำ�หนด มผช. นั้น สมอ. จะพิจารณา โดยใช้ข้อมูลจากผู้ผลิตชุมชน ผู้บริโภค และนักวิชาการทั่วประเทศ การรับรอง คุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นการให้การรับรองด้วยการมอบเครื่องหมายแสดง มาตรฐานแก่ผลิตภัณฑ์หรือเครือ่ งหมาย มผช. เป็นรูปมือประสานกัน ซึง่ หมายถึง การใช้มือในการผลิตของชุมชนที่มีการรวมกลุ่มกันและจะทำ�การตรวจติดตามผล อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาผู้ผลิตในชุมชน โดยการส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้คำ�ปรึกษา แนะนำ� ณ สถานที่ผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต เตรียมพร้อมที่จะ ขอใบรับรอง และการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ ด้วยการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อรองรับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน และเป็นทีย่ อมรับด้านความปลอดภัยและส่งเสริมให้เกิดภาพลักษณ์ทด่ี ตี อ่ ผลิตภัณฑ์ OTOP และเชื่อว่าหากผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรอง มผช. จาก สมอ. แล้วจะทำ�ให้ สามารถขยายตลาดมากขึ้นและสร้างรายได้และความแข็งแกร่งแก่วิสาหกิจชุมชน โดยผู้ที่จะยื่นคำ�ขอการรับรอง มผช. ต้องเป็นผู้ผลิตในโครงการ OTOP ที่ผ่าน การคัดเลือกจาก กอ.นตผ. แล้วหรือเป็นกลุม่ /สมาชิกของกลุม่ เกษตรก สหกรณ์ หรือกลุม่ อืน่ ๆ ตามกฎหมายวิสาหกิจชุมชน เช่น กลุม่ อาชีพก้าวหน้า กลุม่ ธรรมชาติ เป็นต้น และจะได้รับการรับรองต่อเมื่อได้ผ่านการตรวจประเมิน และได้รับการรับ รองจากคณะกรรมการ มผช. แล้ว ใบรับรองดังกล่าวมีอายุ 3 ปีนับตั้งแต่วันที่ ระบุในใบรับรอง และจะมีการติดตาม/ประเมินผลโดยการสุม่ ตัวอย่างมาตรวจสอบ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และ สมอ. สามารถยกเลิกใบรับรองได้หากตรวจและ ติดตามผลแล้วพบว่าไม่เป็นไปตาม มผช. 2 ครั้ง 5) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์ ปัญหาสำ�คัญของผลิตภัณฑ์จาก OTOP ทีค่ วรเร่งแก้ไขอีกประการหนึง่ คือ รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ยังไม่ได้มาตรฐานและไม่โดดเด่นพอที่จะดึงดูดความสนใจ ของลูกค้า/ผู้บริโภคได้ ซึ่งบรรจุภัณฑ์นับเป็นปัจจัยสำ�คัญอันดับแรกในการดึงดูด ความสนใจของผูบ้ ริโภค และภาคธุรกิจเริม่ หันมาให้ความสนใจกับรูปแบบบรรจุภณ ั ฑ์ มากขึ้นโดยมองว่าการออกแบบ/รูปแบบบรรจุภัณฑ์มีผลต่อยอดขายอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคได้เห็นและมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ/ไม่ซื้อของผู้บริโภค นอกจากนี้ กสอ. ยังได้เสนอข้อคิดเห็นว่าบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนยังมี ความจำ�เป็นต้องปรับปรุงอีกมากเพื่อสร้างความน่าสนใจในตัวสินค้าและสามารถ สร้างผลสำ�เร็จได้ในอนาคต เนื่องจากบรรจุภัณฑ์มีบทบาทสำ�คัญหลายประการ เช่น การรองรับและลดความเสียหายแก่ผลิตภัณฑ์ การช่วยเพิม่ มูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์ ทำ�ให้ยอดจำ�หน่ายสูงขึ้น ซึ่งบรรจุภัณฑ์ที่ดีต้องมีรูปแบบที่ดึงดูดความสนใจของ กลุม่ เป้าหมายได้ ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ มีฉลากบอกรายละเอียด ครบถ้วน เช่น ชือ่ ผลิตภัณฑ์ วัน/เดือน/ปีทผ่ี ลิตและหมดอายุ สถานทีผ่ ลิต เป็นต้น ดังนั้น ความสำ�คัญของบรรจุภัณฑ์จึงไม่อาจละเลยได้ ภาครัฐได้จัดตั้ง หน่วยงานที่ดำ�เนินงานด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของภาครัฐ

59


และเอกชนในการปรับปรุงและรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตลอดจนให้ บริการข้อมูลเกีย่ วกับบรรจุภณ ั ฑ์ อาทิ ส่วนบรรจุภณ ั ฑ์ สำ�นักพัฒนาอุตสาหกรรม สนับสนุน กสอ. ศูนย์การบรรจุหบี ห่อไทย สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (วท.) สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทยศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ กรม ส่งเสริมการส่งออก เป็นต้น ส่วนบรรจุภัณฑ์ กสอ. ให้บริการคำ�แนะนำ�และ ปรึกษาด้านบรรจุภัณฑ์แก่ผู้ผลิต และให้บริการออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์และ รูปแบบของผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ สำ�หรับศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย ซึ่งเป็น ศูนย์การบรรจุหีบห่อแห่งชาติได้กำ�หนดแผนการสร้างคุณภาพบรรจุภัณฑ์ของ ผลิตภัณฑ์ OTOP ให้ได้รับการยอมรับในตลาดสากลตามแนวทางของรัฐบาล ที่ต้องการสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ OTOP ก้าวสู่ตลาดโลกให้มากที่สุดโดยการ พัฒนาในทุกๆ ด้านทั้งคุณภาพและบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ผลิตในชุมชน ตลอดจนการส่งออกของประเทศ โดยศูนย์การบรรจุหีบห่อไทยตั้งเป้าหมาย 1 ปีแรกจะมีผลิตภัณฑ์ OTOP จำ�นวน 40 ประเภททีไ่ ด้รบั การพัฒนาด้านบรรจุภณ ั ฑ์ ระดับสากลโดยเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและหัตถกรรมในช่วงแรก รัฐบาลตัง้ เป้าหมายว่าหากมีการพัฒนาสินค้าจากโครงการ OTOP อย่างสมบูรณ์ ในด้านคุณภาพ รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม ทันสมัย คาดว่าจะสามารถสร้าง มูลค่าขายได้กว่า 1 แสนล้านบาท/ปี ในอนาคตได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ กสอ. ยังได้ริเริ่มโครงการบรรจุภัณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยให้ผู้ผลิตสินค้า OTOP มีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามและต้นทุนต่ำ�อีกด้วย โครงการ OPC ปูทางสู่การส่งออก นอกจากโครงการ มผช. ทีเ่ กีย่ วข้องกับการกำ�หนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP การพัฒนาบรรจุภณ ั ฑ์เพือ่ การส่งออกแล้ว ภาครัฐยังได้กำ�หนดให้มโี ครงการ OTOP Product Champion (OPC) หรือการคัดเลือกสุดยอดผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อดำ�เนินการหาผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นเลิศจากระดับจังหวัด ภาค และประเทศ รวมทัง้ มีการจัดระดับชัน้ ของผลิตภัณฑ์ไปพร้อมๆ กัน เพือ่ จะได้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวอยูใ่ นระดับใดเพือ่ ประโยชน์ในการกำ�หนดแนวทางการพัฒนาและเลือกสรร ผลิตภัณฑ์ก่อนนำ�ไปสู่ช่องทางการตลาดในต่างประเทศต่อไป โครงการ OPC มี วัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนได้พัฒนามาตรฐานและแก้ไขข้อ บกพร่องของผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างโอกาสในการส่งออก และคัดเลือกผลิตภัณฑ์ เพื่อจำ�หน่ายให้กับประชาชนและตลาดต่างประเทศ โดยผลิตภัณฑ์ที่ดำ�เนินการคัด เลือกมี 6 ประเภท ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่ง ศิลปะประดิษฐ์และของทีร่ ะลึก ผ้าและเครือ่ งแต่งกาย และสมุนไพรทีไ่ ม่ใช่อาหาร/ยา การดำ�เนินการด้านอื่นๆ การจำ�หน่ายของผลิตภัณฑ์ OTOP ในระยะ แรกเน้นการจำ�หน่ายภายในประเทศโดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชน เท่านั้น โดยที่ผ่านมาภาครัฐได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและเพิ่มช่องทางการ จำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP อย่างต่อเนื่องตามที่กล่าวมาแล้วในช่วงแรก มีการนำ� ผลิตภัณฑ์ OTOP มาจัดแสดงและคัดเลือกกลุ่มผู้ผลิตที่มีศักยภาพเข้าร่วมงาน เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ OTOP ให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการ ขยายช่องทางการจำ�หน่ายและกระจายสินค้าในประเทศ อาทิ การร่วมมือกับ ภาคเอกชนในการจัดหาสถานที่จำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP โดยล่าสุด กอ.นตผ.

60

ได้ลงนามร่วมกับคณะอนุกรรมการส่งเสริมการตลาด และผูบ้ ริหารห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก และสถานีบริการน้ำ�มันเชื้อเพลิง 14 ราย รวม 383 ร้านสาขา เพื่อวางจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP โดยจะแบ่งออกตามระดับผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง เหมาะสำ�หรับซื้อหาเป็นของฝาก จะวางจำ�หน่ายในร้านสะดวกซื้อ สถานีบริการน้ำ�มัน ส่วนผลิตภัณฑ์ระดับสูงขึ้น มาทีส่ ามารถพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ระดับประเทศได้จะวางจำ�หน่ายในซูเปอร์สโตร์ ชั้นนำ� ส่วนผลิตภัณฑ์พรีเมียมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เช่น ผ้าไหมทอมือ หรืองานหัตถกรรมที่มีราคาค่อนข้างสูงจะวางจำ�หน่ายในห้างสรรพสินค้า การ จัดตั้ง Outlet สำ�หรับป้อนผลิตภัณฑ์ OTOP เข้าสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยในประเทศจะจัดเป็น 4 ลักษณะ คือ ขนาดใหญ่แบบ Plaza จะจัดตัง้ ในจังหวัด ใหญ่ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น หนองคาย กรุงเทพ ชลบุรี ขนาดกลาง จัด ตัง้ ตามสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว 4 แห่ง ได้แก่ จตุจกั ร เกาะสมุย วัดพระแก้ว และไทยแลนด์ เอ๊กซ์ปอร์ตมาร์ท ส่วนขนาดเล็ก จัดตั้งตามห้างขนาดเล็กและสถานีบริการน้ำ�มัน ในลักษณะ OTOP Corner เป็นต้น การจัดงาน ภูมปิ ญ ั ญาไทยสูส่ ากล หนึง่ ตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2546 โดยมีเป้าหมาย คัดเลือกผลิตภัณฑ์ชั้นดีที่ได้รับการพัฒนาทั้งคุณภาพและบรรจุภัณฑ์นำ�เข้าสู่ช่อง ทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ การจัดงาน สุดยอดหมู่บ้านอุตสาหกรรม และผ้าทอไทย เมื่อ 25 กรกฎาคม - 12 สิงหาคม 2546 เป็นต้น ผลจากการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตประกอบกับมีการ ประสานงานระหว่างหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องเป็นอย่างดี ตลอดจนได้รบั ความช่วยเหลือ จากหน่วยงานต่างประเทศ เช่น องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JETRO) ซึ่งได้เข้ามาดูแลและพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP อย่างต่อเนื่องและได้ ทำ�การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ OTOP หลายรายการให้เหมาะสมกับการใช้งานและ ตรงกับความต้องการในตลาดญีป่ นุ่ ทำ�ให้ปจั จุบนั มีการผลิตและจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ออกไปญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น โดยข้อมูลจากกรมการค้าต่าง ประเทศที่ระบุไว้เมื่อต้นปีพบว่าผลิตภัณฑ์ OTOP ได้ทยอยออกสู่ตลาดทั้งในและ ต่างประเทศกว่า 700 รายการ ทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องประดับ ของใช้ใน บ้าน เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ได้รับความสนใจในตลาดต่างประเทศ อาทิ ผ้าทอและผลิตภัณฑ์ เช่น ผ้าพันคอ เสือ้ ผ้าสำ�เร็จรูป ผลิตภัณฑ์จกั สานจากเส้นใย พืชและจากผ้าทอผสมเส้นใยพืช เช่น ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ผักตบชวา ย่านลิเภา ผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผา ดอกไม้ประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์จากไม้ เช่น เครื่อง ใช้บนโต๊ะทำ�จากไม้ตาล ผลิตภัณฑ์จากไม้เนื้อหอม ผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา กระดาษสับปะรด เป็นต้น ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเผยว่า แผนการส่งออกผลิตภัณฑ์ OTOP ของกระทรวงพาณิชย์จะมีการกำ�หนดตลาดเป้าหมายอย่างชัดเจนเป็นราย ประเทศ โดยจะพิจารณาว่าตลาดประเทศนั้นนิยมสินค้าประเภทใด รูปแบบและ บรรจุภัณฑ์อย่างไร เพื่อจะได้ดำ�เนินการส่งออกให้สอดคล้องกับตลาด และภาครัฐ ได้ทำ�การส่งเสริมด้านการตลาดต่างประเทศและขยายช่องทางการจำ�หน่าย ผลิ ต ภั ณ ฑ์ OTOP หลากหลายขึ ้ น อาทิ การจั ด ตั ้ ง บริ ษ ั ท SME TRADE PROMOTION (STP) หรือ บริษัท ส่งเสริมการค้าเอสเอ็มอี จำ�กัด โดย สสว.


เมื่อเดือนธันวาคม 2545 เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการอำ�นวยความสะดวกแก่ ผลิตภัณฑ์ OTOP เพือ่ การส่งออก การจัดแสดงสินค้าในต่างประเทศ เพือ่ สนับสนุน ด้านการดำ�เนินการด้านต่างประเทศและการส่งออก เช่น งานแสดงสินค้า Fukuoka Gift Show 2003 ที่ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 11-14 กันยายน 2546 งาน แสดงสินค้า Asia Expo 2004 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ระหว่าง 7-10 กุมภาพันธ์ 2547 การนำ�ผลิตภัณฑ์จำ�หน่ายบนเครื่องบินของการบินไทย และมีแผนที่จะขยายไปสู่สายการบินพันธมิตรอื่น การจัดตั้งโชว์รูมผลิตภัณฑ์ OTOP ในต่างประเทศ โดยความร่วมมือของ กสอ. การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย (ททท.) และสำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ภายในปีหน้า โดยมีโครงการนำ�ร่อง ณ สำ�นักงาน ททท. เมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นแห่ง แรก ซึ่งแสดงผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทเครื่องจักสานไม้ไผ่และผ้ามัดย้อมสี ธรรมชาติเป็นผลิตภัณฑ์หลัก เป็นต้น และในการประชุมเอเปกที่เชียงใหม่และ กรุงเทพฯ นีจ้ ะมีการนำ�ผลิตภัณฑ์ OTOP ทีไ่ ด้รบั เลือกให้เป็นสุดยอด OTOP จาก โครงการ OPC มาจัดแสดงในงานประชุมครั้งนี้ด้วยเพื่อเป็นแนวทางในการขยาย ตลาดส่งออกไปต่างประเทศต่อไป ซึ่งรัฐบาลคาดว่าภายใน 2-3 ปีข้างหน้า ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ได้รับรางวัลรวมถึงที่ผ่านการคัดสรรแล้วจะสามารถนำ�ออก ไปจำ�หน่ายตามร้านค้า ห้างสรรพสินค้า และภัตตาคารทั่วโลกโดยเฉพาะร้าน อาหารไทยได้ อย่างไรก็ตาม การส่งออกผลิตภัณฑ์ OTOP ของไทยในปัจจุบันยังอยู่ ในระยะเริ่มต้น ต้องอาศัยระยะเวลาในการศึกษาตลาดผลิตภัณฑ์และพัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด แต่คาดว่าการส่งออก ผลิตภัณฑ์ OTOP ของไทยในอนาคตน่าจะมีลู่ทางที่แจ่มใสไม่แพ้สินค้าส่งออก ประเภทอื่นๆ หากได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมในแต่ละด้านอย่างสอดคล้องกับ ภาวะการค้าโลกในยุคปัจจุบัน และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงาน

อื่นที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนแก้ไขอุปสรรคปัญหาที่มีผลกระทบต่อการ ส่งออกผลิตภัณฑ์ OTOP อาทิ การผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดต่าง ประเทศ การพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการจัดการระบบข้อมูลข่าวสาร อันจะเป็นประโยชน์ต่อการตลาดต่างประเทศ เป็นต้น สรุป ในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศต่างกำ�ลังแข่งขันกันอย่างมากทั้งด้าน การค้า การลงทุน และการสื่อสาร ท่ามกลางบรรยากาศของกระแสโลกาภิวัตน์ และความก้าวหน้าของวิทยาการแขนงต่างๆ การพัฒนาเพือ่ การส่งออกผลิตภัณฑ์ OTOP นับเป็นกลไกในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึง่ ทีส่ อดคล้อง กับยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลกด้วย การอาศัยการพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศควบคู่กันด้วย ซึ่งการที่ จะพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ OTOP มีลู่ทางการส่งออกสดใสจำ�เป็นที่ภาครัฐต้องให้ การสนับสนุนและแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับสร้าง จุดแข็งและเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อดึงดูดความสนใจจากตลาดต่าง ประเทศให้มากขึน้ ซึง่ นอกจากจะเป็นส่วนหนึง่ ของการเสริมรายได้ ส่งเสริมการใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสร้างความแข็งแกร่งแก่ชุมชนระดับฐานรากแล้ว ในระดับ มหภาคยังเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศให้ เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนมากขึ้น ดังนั้น การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อ การส่งออกจึงเป็นแนวทางสำ�คัญที่จะช่วยสนับสนุนภาคการส่งออกของไทยให้ ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องควบคู่กับการพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันในเชิง เศรษฐกิจทุกๆ ด้าน เพื่อก้าวให้ทันกับความเคลื่อนไหวในตลาดโลกอันจะนำ�ไปสู่ การสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในภาย หน้า และจะเป็นช่องทางการสร้างนักออกแบบรุน่ ใหม่ดว้ ยภูมปิ ญ ั ญาไทยในวันข้างหน้า

61


62


ภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ของไทย 1) ประเภทงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เฟอร์นเิ จอร์และชิน้ ส่วนอุปกรณ์ประกอบ เป็นหนึง่ ในกลุม่ สินค้าเป้าหมาย ทีภ่ าครัฐให้การสนับสนุนและเร่งพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน เนือ่ งจาก เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทและความสำ�คัญต่อระบบ เศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในส่วนที่ก่อให้เกิดการจ้างงานเป็นจำ�นวนมาก และเป็น อุตสาหกรรมที่สามารถทำ�รายได้เข้าสู่ประเทศในปีหนึ่งๆ เป็นมูลค่าหลายหมื่น ล้านบาท โดยเฉพาะจากการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ ซึ่งมีมูลค่าส่งออกมากกว่า 45% ของมูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดของไทย ปัจจุบัน การส่งออก เฟอร์นิเจอร์ของไทยต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงกับสินค้าของจีนและ เวียดนามในตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ที่ มีมูลค่าการส่งออกรวมกันมากกว่า 70% ของ มูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ ทั้งหมดของไทย โดยสินค้าของจีนและเวียดนามมีความได้เปรียบในด้านต้นทุน การผลิตที่อยู่ในระดับต่ำ�กว่า ในขณะที่ไทยมีต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นทั้ง ต้นทุนด้านวัตถุดิบและต้นทุนค่าขนส่ง ทำ�ให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนไทย จำ�เป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ให้ สามารถแข่งขันในตลาดโลกต่อไปได้ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นผู้ ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็ก ชิ้นส่วนและเฟอร์นิเจอร์ไทย จัดเป็นอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่ง ออกเป็นสำ�คัญ โดยมีสดั ส่วนสูงถึง 65% ของการผลิตทัง้ หมด ส่วนทีเ่ หลือ 35% จะถูกวางจำ�หน่ายภายในประเทศ ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนในประเทศไทย มีประมาณ 2,600 ราย ในจำ�นวนนี้ เป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนกับ กรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว 151 ราย และมีผปู้ ระกอบการรายใหญ่ทจ่ี ดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำ�นวน 5 ราย ได้แก่ บริษัท โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ฟ จำ�กัด (มหาชน) บริษัท แฟนซีวู๊ดอินดัสตรีส จำ�กัด (มหาชน) บริษัท สยามสตีล อินเตอร์เนชั่นแนล จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ซันวู้ดอินดัสทรีส์ จำ�กัด (มหาชน) และบริษัท ร้อกเวิธ จำ�กัด (มหาชน) ส่วนที่เหลือจะเป็นผู้ผลิตขนาดกลางและ ขนาดเล็กซึ่งเป็นผู้ผลิตส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรม มีการจ้างงานทั้งสิ้นประมาณ 300,000 คน โดยอยู่ในภาคการผลิตเพื่อการส่งออก 215,000 คน และอีก 85,000 คน เป็นแรงงานผลิตเพื่อตลาดภายในประเทศ ทั้งนี้ อุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วนถือเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการจ้างงานเป็นจำ�นวน มาก เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก (Labor Intensive) ขณะที่การตลาดในประเทศมีการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยมีอัตราการ แข่งขันทีร่ นุ แรงมากขึน้ เฉพาะอย่างยิง่ การแข่งขันด้านราคา ทัง้ จากสินค้าทีผ่ ลิต ได้ภายในประเทศด้วยกันเองและ จากสินค้าที่นำ�เข้าจากต่างประเทศ เช่น จีน และ เวียดนาม ที่ปัจจุบันมีนักลงทุนจากต่างประเทศ ได้ย้ายฐานการผลิตเข้าไปเป็น จำ�นวนมาก เพราะมีความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำ�กว่า ขณะที่ทางด้าน

ผู้ประกอบการไทยต้องประสบกับปัญหาต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบ รวม และต้นทุนค่าขนส่งที่ปรับตัวเพิ่มตามราคาน้ำ�มัน ประกอบกับการชะลอตัว ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยต้องประสบกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ขึ้นในตลาดเฟอร์นิเจอร์ ทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ตลาดระดับบน ซึ่งเป็นตลาดรองรับ สินค้านำ�เข้าหรือกึ่งนำ�เข้า การแข่งขัน มักเน้นในรูปแบบและคุณภาพ ตลาดระดับ กลาง เป็นตลาดรองรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ (Local Brand) โดยใช้วัตถุ ดิบและอุปกรณ์ผสมระหว่างในประเทศกับต่างประเทศ และตลาดระดับล่าง เป็นกลุม่ ผูบ้ ริโภคในต่างจังหวัดซึง่ รองรับสินค้าทีผ่ ลิตได้ภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ไม่เน้น สินค้าที่มี Brand ทั้งนี้ สินค้าของผู้ประกอบการรายใดที่จะได้รับความนิยมจาก ผู้บริโภคเพียงใดนั้น มักขึ้นอยู่กับคุณภาพและราคาสินค้าเป็นสำ�คัญ สร้างความแตกต่าง…ด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลาย จากความต้องการ สินค้าในแต่ละตลาดทีแ่ ตกต่างกัน ส่งผลให้ผปู้ ระกอบการจำ�เป็นต้อง ใช้กลยุทธ์ใน ด้านต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความเป็นผู้นำ�ในตลาด สำ�หรับกลยุทธ์ ที่ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกใช้ยังคงเป็นกลยุทธ์ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design) ซึ่งมีลักษณะเป็นการแข่งขันกันในการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสูต่ ลาดอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ พัฒนาคุณภาพและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งเพื่อให้สามารถสนอง ความต้องการของลูกค้าที่แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังมุง่ เน้นการปรับปรุงและพัฒนาการบริการ ซึง่ เป็นสิง่ ทีท่ ำ�ให้ผบู้ ริโภค เกิดความมั่นใจในคุณภาพและไว้วางใจในตัวผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการ เลือกใช้ยังมีอีกหลายวิธี อาทิ การเปิดสาขาและอาคารแสดงสินค้าใน เมืองใหญ่ ตามภูมิภาค การจัดรายการส่งเสริมการขาย การแข่งขันด้านราคา และการเป็น พันธมิตร กับองค์กรเอกชนและหน่วยงานราชการ เป็นต้น โดยเป้าหมายสำ�คัญ ของการนำ�กลยุทธ์เหล่านี้มาใช้ ก็เพื่อเพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของตนไว้ ในด้ า นการส่ ง ออกเริ ่ ม หดตั ว หลั ง ถู ก จี น -เวี ย ดนามตี ต ลาดหลั ก อุตสาหกรรมเฟอร์นเิ จอร์และชิน้ ส่วนเพือ่ การส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นการผลิต ตามคำ�สั่งซื้อของลูกค้า หรืออาจกล่าวได้ว่า การออกแบบเองแทบไม่มีเลย ทั้งนี้ เนื่องจากไทยยังขาดผู้ชำ�นาญด้านการออกแบบ ประกอบกับเมื่อทำ�การออกแบบ เองแล้วจะต้องทำ�การทดสอบคุณภาพการใช้งานและต้องทดสอบความต้องการ ของตลาดอีกด้วย ทำ�ให้ต้องเสียต้นทุนสูงกว่าการผลิตตามรูปแบบของผู้สั่งซื้อ สำ�หรับประเภทของเฟอร์นเิ จอร์และชิน้ ส่วนทีส่ ง่ ออกไปจำ�หน่าย ยังต่างประเทศนัน้ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ คือ เฟอร์นิเจอร์ไม้ เฟอร์นิเจอร์โลหะ ที่นอน หมอนฟูก เฟอร์นเิ จอร์อน่ื ๆ และชิน้ ส่วนเฟอร์นเิ จอร์ ซึง่ มากกว่า 45% จะส่งออก ในรูปของเฟอร์นิเจอร์ไม้ โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่ทำ�มาจากไม้ยางพารา สำ�หรับในช่วงครึง่ แรกของปี 2550 การส่งออกเฟอร์นเิ จอร์และชิน้ ส่วน ของไทยไปยังตลาดต่างประเทศมีมลู ค่าทัง้ สิน้ 21,977.2 ล้านบาท ลดลงจากระยะ เดียวกันของปีก่อน 3.80% ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศคู่ค้าที่สำ�คัญ เช่น สหรัฐ

63


อเมริกา และญี่ปุ่น ได้ลดปริมาณการสั่งซื้อลงประกอบกับภาวะการแข่งขันที่ทวี ความรุนแรงขึ้นจากคู่แข่งอย่างประเทศจีนและเวียดนามที่สามารถขายสินค้าได้ใน ราคาที่ถูกกว่า เพราะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ�กว่าไทย เฉพาะอย่างยิ่งด้านแรงงาน ขณะที่ ไม้ยางพาราซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ของไทยมีราคาสูงขึ้น มาก ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังมีตลาดส่งออกรายใหม่ เช่น อินเดีย ที่มีแนว โน้มขยายตัวเพิม่ ขึน้ ตามการเติบโตของธุรกิจก่อสร้างภายในประเทศ ทัง้ โครงการ ก่อสร้างที่อยู่อาศัยและโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีเพิ่มมากขึ้น ตลาดส่ง ออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนที่สำ�คัญมากที่สุด 3 อันดับแรกในช่วงครึ่งแรกของปี นี้ คือ สหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งตลาด25.34% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด สหภาพยุโรป 24.19% และญี่ปุ่น 23.77% โดยทั้งสามตลาดนี้มีมูลค่าส่งออกรวม กันมากกว่า 70% ของมูลค่าส่งออกเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดของไทย สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดใหญ่อันดับหนึ่งสำ�หรับการส่งออก เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทย โดยในปี 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการส่งออก เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนไปยังสหรัฐอเมริกาเป็น มูลค่า 5,569.7 ล้านบาท ลดลง 20.70% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวของธุรกิจ ภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา จึงทำ�ให้การนำ�เข้าลดลง ประกอบกับการ ส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยยังต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจาก ประเทศคู่แข่งที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ�กว่า เฉพาะอย่างยิ่ง จากจีนและเวียดนาม ซึ่ง มีความได้เปรียบด้านค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ�กว่าและเป็นคู่แข่งที่สำ�คัญในตลาดระดับ ล่าง แม้ว่า สินค้าจีนจะถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti Dumping) จากสหรัฐอเมริกา ก็ยังไม่สามารถกระตุ้นการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของไทยไปยัง ตลาดสหรัฐอเมริกาให้มีมากขึ้นได้ ทั้งนี้ เพราะภาคการส่งออกไทยยังคงได้รับผล กระทบที่ค่อนข้างรุนแรงจากการแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องของเงินบาท 64

สหภาพยุโรป เป็นตลาดส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนที่มีความสำ�คัญ อีกแห่งหนึ่ง โดยการส่งออกในปี 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 5,317 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7.02% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สหภาพยุโรปเป็นตลาดที่นิยม เฟอร์นเิ จอร์ไม้คอ่ นข้างสูง ในสัดส่วนทีม่ ากกว่า 60% ของมูลค่าตลาดเฟอร์นเิ จอร์ ทั้งหมดของสหภาพยุโรป รวมทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคในสหภาพยุโรปโดยทั่วไป จะนิยมเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ทุก 2-3 ปี จึงส่งผลให้มีการเลือกสินค้าที่ราคาไม่สูง นัก แต่มีคุณภาพดี ดังนั้น เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำ�คัญ ของไทย จึงมีโอกาสขยายการส่งออกไปยังตลาดแห่งนี้ได้มากขึ้น สำ�หรับตลาดที่สำ�คัญของไทยในสหภาพยุโรป คือ สหราชอาณาจักร รองลงมา ได้แก่ อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ในปี 2550 (ม.ค.-มิ.ย.) ไทย ส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนไปยังญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 5,223.1 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 2.93 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะการแข่งขันที่ ทวีความ รุนแรงมากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่ง การแข่งขันด้านราคาในตลาดระดับล่าง โดยใน ช่วงที่ผ่านมา ไทยต้องสูญเสียตลาดเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนระดับล่างให้กับจีนไป ค่อนข้างมาก การส่งออกสินค้าของจีนได้รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อ กระบวนการส่งออกสินค้าและการจัดงานแฟร์ของไทยอย่างเห็นได้ชัด การขาด แคลนวัตถุดิบเช่น ไม้ยางพารา ยังคงเป็นปัญหาอื่นๆ นอกจากนี้ อุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนของไทยยังมีปัญหาสำ�คัญที่กระทบต่อความสามารถใน การแข่งขันอยู่หลายประการ ในกรณีของไม้ยางพารา เนื่องจากชาวสวนยางชะลอการตัดโค่นต้นยาง ก่อนที่จะมีการปลูกทดแทนใหม่ออกไปอีกระยะหนึ่ง หลังจากที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ของราคาน้ำ�ยางพารา ส่งผลให้ไม้ยางพาราแปรรูปที่จะนำ�มาใช้ใน อุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์มีปริมาณลดลงและมีคุณภาพต่ำ� เพราะมีการกรีดน้ำ�ยางพาราเกิน


กว่าระยะเวลาที่กำ�หนด ทำ�ให้เนื้อไม้เสื่อมคุณภาพและจะมีผลต่อชิ้นงานหลังการ แปรรูปอีกด้วย แนวโน้มปี’ 50 อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนในปี 2550 คาด ว่า จะมีมูลค่าการส่งออกขยายตัวประมาณร้อยละ 3 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลง ร้อยละ 6 เมื่อปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เนื่องจากการสั่งซื้อในตลาดส่งออกแห่งใหม่ ของไทยทีม่ กี ารปรับตัวเพิม่ ขึน้ ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้าง ทีเ่ พิม่ มากขึน้ ในตลาดต่างประเทศ ไม่วา่ จะเป็น อินเดีย แอฟริกาใต้ หรือตะวันออกกลาง ประกอบกับการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ที่ทำ�จากจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ กก ผักตบชวา ยังคง ได้รับความสนใจจากตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ที่มา : ฝ่ายวิจัยธนาคารนครหลวงไทย อย่างไรก็ตาม การส่งออกเฟอร์นิเจอร์และ ชิ้นส่วนของไทยยังคงต้อง เผชิญกับภาวะการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดย เฉพาะจากประเทศคู่แข่ง เช่น จีน และเวียดนาม ซึ่งมีความได้เปรียบในด้านต้นทุน ทีอ่ ยูใ่ นต่ำ�กว่า ขณะที่ ไทยมีตน้ ทุนในการผลิตปรับตัวสูงขึน้ เฉพาะอย่างยิง่ วัตถุ ดิบหลักอย่าง ไม้ยางพารา นอกจากนัน้ ยังมีปจั จัยกดดันจากการแข็งค่าขึน้ อย่าง ต่อเนื่องของเงินบาท ทำ�ให้ ผู้ประกอบการไทยจำ�เป็นต้องให้ความสำ�คัญต่อการ บริหารต้นทุนเพื่อสร้างความได้เปรียบด้านราคา รวมทั้งการพัฒนาสินค้าให้มี คุณภาพสูงขึน้ เพือ่ สร้างมูลค่าเพิม่ และยกระดับสินค้าสูต่ ลาดระดับบน เพือ่ หลีกเลีย่ ง การแข่งขันที่รุนแรงในตลาดระดับล่าง ทั้งนี้ เพื่อให้สินค้าเฟอร์นิเจอร์ไทยสามารถ ยืนหยัดในเวทีการค้าโลกต่อไปได้ แต่อย่างไรก็ตามนักออกแบบของไทยก็ได้คิดค้นวัสดุใหม่ๆสำ�หรับ เฟอร์นิเจอร์ที่เน้นด้านการออกแบบ เช่น พลาสติก โลหะ รวมไปถึงการพัฒนา รูปแบบเฟอร์นิเจอร์ประเภท หวาย ผักตบชวา หรือแม้แต่ย่านลิเภา ซึ่งดูว่าจะเป็น ทางออกที่ดีที่สุดของวงการเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไทยให้ก้าวไกล ถึงแม้จะมี การลอกเลียนแบบสูงก็ตามสำ�หรับอนาคตของเฟอร์นิเจอร์ไทย 2) เครื่องเรือนจักสานส่งออกของไทย เครื่องเรือนจักสานนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมสูงมากในช่วง เวลา 5-10 ปีที่ผ่าน อันที่จริงเดิมมีการทำ�อยู่ก่อนแล้วในลักษณะอุตสาหกรรม ครัวเรือน แหล่งผลิตเพือ่ การส่งออกทีม่ ชี อ่ื เสียงจะอยูท่ จ่ี งั หวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ชลบุรี เป็นต้น มูลค่าการส่งออกไม่ค่อยสม่ำ�เสมอ ทั้งนี้เพราะต้อง แข่งขันกับประเทศผู้ผลิตอื่น โดยเฉพาะประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและ ฟิลิปปินส์ ทั้งในด้านราคา และคุณภาพการส่งออก ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบ เพือ่ สอดคล้องกับความต้องการของตลลาดต่างประเทศโดยมีนกั ออกแบบผูบ้ กุ เบิก อย่างเช่น โยธกา อโธยา และพลาเน็ตที่จับกลุ่มรวมตัวกันเป็นผลิติภัณฑ์แนว ดีไซน์ที่มีความหลากหลาย ทำ�ให้ความต้องการผลิตภัณฑ์ประหวายภาย และ ผักตบชวาที่มีมาแต่เดิมในประเทศส่วนใหญ่กลายเป็นที่นิยมสูง งานผลิตภัณฑ์จะ เป็นประเภทเฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักสานและของใช้ในบ้าน เครื่องประดับบ้าน ใน ขณะที่ตลาดต่างประเทศจะนิยมผลิตภัณฑ์หวายและผักตบชวาในรูปแบบของ เฟอร์นิเจอร์ เป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งพัฒนาการนำ�วัสดุทดแทนเช่น โพลิเมอร์ต่างๆ โลหะ ยาง โมเสก ฯลฯเข้ามาใช้อย่างหลากหลายรูปแบบมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อสนอง

ตอบต่อผู้บริโภคและสินค้าประเทศต่างๆอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันได้มีการนำ� เครื่องจักรเข้ามาช่วยเพิ่มเทคนิครูปแบบในการผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งเฟอร์นิเจอร์ที่ผลิต โดยเครื่องจักรนี้จะมีคุณภาพมาตรฐานกว่าอดีต โดยนิยมใช้สำ�หรับการปอกผิว หวาย การอบหวาย การรมหวายด้วยความร้อนให้แห้งเพือ่ ป้องกันมอดและแมลง เป็นต้น เริ่มแรกอาจจะทำ�เพื่อประโยชน์ใช้สอยมากกว่าการทำ�ให้ประณีตสวยงาม แต่ปัจจุบันมีการคำ�นึงถึงเรื่องความแปลกใหม่เพื่อประโยชน์ทางการค้ามากขึ้นและ การผลิตเฟอร์นิเจอร์หวายในลักษณะอุตสาหกรรมที่มีการใช้เครื่องจักรส่วนใหญ่ จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการส่งออกมากกว่าที่จะผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศ ความต้องการเฟอร์นิเจอร์หวายในตลาดต่างประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นตามลำ�ดับ เนื่องจากชาวต่างชาติให้ความสนใจงานฝีมือมากกว่างานสำ�เร็จรูปจากเครื่องจักร อีกทั้งกระแสความนิยมธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้น จึงส่งผลให้เฟอร์นิเจอร์หวายที่ยัง คงสภาพของธรรมชาติก้าวเข้ามามีบทบาทในการส่งออกในที่สุด ผลิตภัณฑ์ เครือ่ งจักสานของประเทศไทยนัน้ มีมากมายขึน้ อยูก่ บั แหล่งวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ในการผลิต และการถ่ายทอดความรู้ความสามารถในการผลิตสืบทอดต่อกันมา ตามภาค ต่างๆ ต่อไป รูปแบบแนวใหม่ของผลิตภัณฑ์ไทย

เฟอร์นิเจอร์หวายและโลหะ ขนาด สัดส่วนของความเป็นตะวันออก

65


เครื่องจักสานหวายลายอิสระแต่สร้างความตื่นเต้นด้วยรูปทรงใหม่ของเก้าอี้ที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อน

66


ประเภทผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน

67


3) ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือนทำ�ด้วยไม้ เช่น จาน ชาม ถาด เขียง ช้อนส้อม เป็นต้น นับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมสูงประเภทหนึ่งในต่าง ประเทศ การผลิตสินค้าประเภทนี้โดยทั่วไปจะมีทั้งการผลิตในรูปอุตสาหกรรม ครัวเรือนและอุตสาหกรรมโรงงาน มีแหล่งผลิตทีส่ ำ�คัญในภาคเหนือและภาคกลาง แต่ก่อนผลิตภัณฑ์ประเภทนี้จะผลิตจากไม้สัก แต่ในระยะหลังเมื่อไม้สักขาดแคลน ผู้ผลิตก็หันมาใช้ไม้ชนิดอื่นทดแทนกันมากขึ้น ในด้านการส่งออกสูงขึ้นเป็นลำ�ดับ กล่าวคือ จากมูลค่า ๑,๘๗๓.๒ ล้านบาท ในพ.ศ. ๒๕๓๕ เพิ่มขึ้นเป็น ๒,๔๕๘.๓ ล้านบาท ในพ.ศ. ๒๕๓๗ ตลาดส่งออกที่สำ�คัญคือสหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักรและอิตาลี การผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องประดับชนิด ต่างๆ มีลกั ษณะการผลิตทัง้ ในรูปอุตสาหกรรมในครัวเรือน และโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการใช้แรงงานเป็นจำ�นวนมากแหล่งผลิตที่สำ�คัญอยู่ที่จังหวัดลำ�ปาง เชียงใหม่ นครราชสีมา นครปฐม ราชบุรี และกรุงเทพฯ ลักษณะของสินค้าที่ผลิตในแต่ละ จังหวัดจะต่างกัน เพราะศิลปวัฒนธรรมและจินตนาการของผู้ผลิตแต่ละภาค การผลิตเพื่อการส่งออกส่วนใหญ่จะผลิตตามรูปแบบของผู้สั่งซื้อเป็นหลัก มูลค่า การส่งออกมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผลิตภัณฑ์จักสานที่ใช้เทคนิคการทอพรมในรูปทรงเรียบง่ายทันสมัยกับยุคสมัย

แจกันดอกไม้ รูปทรงเรียบง่ายคล้ายโอ่งใบใหญ่สำ�หรับตกแต่งบ้านที่เป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างชาติ

68

4) เครื่องปั้นดินเผา เครือ่ งดินเผาในประเทศไทย ได้มวี วิ ฒ ั นาการมา เช่น เดียวกับศิลปกรรม แขนงอื่น กล่าวคือ เริ่มต้นจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้พบหม้อดินเผาเป็น แห่งแรกที่บ้านเชียง อำ�เภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี มีอายุประมาณ ๖,๐๐๐ ปี ต่อมาคือ สมัยทวาราวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสน และสมัย สุโขทัย ซึ่งมีการทำ�ถ้วยชามที่เคลือบสีเขียวแบบหยก หรือเขียว ไข่กา เรียกว่า เครื่องสังคโลก มีคุณลักษณะคือรูปทรงภายนอกงดงามมาก นอกจากนี้แล้วยัง มีการทำ�หม้อไห และเครื่องประกอบงานสถาปัตยกรรม เตาที่ใช้เผาเรียกว่า “เตา ทุเรียง” ต่อจากนี้ก็ถึงสมัยอู่ทอง สมัยอยุธยา ซึ่งมีเครื่องดินเผาที่ควรจะกล่าว ถึง คือ เครื่องเบญจรงค์และลายน้ำ�ทอง ซึ่งมีหลายสี เกิดจากการประดับตกแต่ง เป็นเครื่องถ้วยที่สั่งทำ�จากประเทศจีน แต่ลวดลายและสีเป็นฝีมือเขียนของช่างไทย และสมัยสุดท้ายคือ สมัยรัตนโกสินทร์ (สมัยกรุเทพฯ) ซึง่ มีววิ ฒ ั นาการสืบต่อมา จากสมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓) นับเป็นยุคสุดท้าย ของเครื่องเบญจรงค์และลายน้ำ�ทอง เพราะต่อจากนี้เป็นสมัยที่นิยมเครื่องดินเผา จากยุโรป จีนและญี่ปุ่น ในสมัยนี้มีการเขียนสีและเขียนลายไทยทับบนเครื่องลาย ครามจีนด้วย ในปัจจุบัน ยังคงมีการทำ�เครื่องดินเผากันอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ วัตถุประสงค์เดิมที่ทำ�ขึ้นเพื่อใช้สอยกันภายในหมู่บ้าน ก็เปลี่ยนแปลงไปทำ�เพื่อการ จำ�หน่าย ทำ�ให้การสร้างงานหัตถกรรมต้องอาศัยเครื่องจักรมากขึ้น ชาวบ้านที่ เคยชินอยู่กับวิธีการเดิมต้องพยายามต่อสู้กับความเจริญทางเทคโนโลยีใหม่ๆที่เข้า มามีบทบาท วิธีการทำ�แบบเดิม ก็จะค่อย ๆ เลือนหายไป ตามกระแสแห่งความ เจริญ (ทางวัตถุ) ดังกล่าว กระแสแห่งความเจริญจึงมีผลกระทบต่อการอนุรักษ์ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ - ภาคกลาง มีการทำ�หัตถกรรมเครือ่ งดินเผากันมากทีจ่ งั หวัดราชบุรแี ละนนทบุรี ผลงานที่ขึ้นหน้าขึ้นตา คือ ครก หม้อ โอ่ง และไห - ภาคใต้ มีทำ�หม้อน้ำ�ดื่มหวด (สำ�หรับนึ่งข้าว) และหม้อหุงต้ม ฯลฯ ที่หมู่บ้าน ตำ�บลสทิงหม้อ อำ�เภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ตามความเป็นจริงแล้ว ชาวบ้าน ในตำ�บลนั้น มีอาชีพหลักในการทำ�น้ำ�ตาลโตนด อีกแห่งหนึ่งคือ ที่ตำ�บลเกาะยอ ซึ่งอยู่ในทะเลสาบสงขลา ชาวบ้านทำ�หม้อ ไห และโอ่งต่าง ๆ - ภาคอีสาน หมู่บ้านที่อำ�เภอหนองหานและอำ�เภอบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี มี การทำ�โอ่งน้ำ�กันมาแต่เดิมแล้ว ใช้ดินเหนียวจากบริเวณใกล้ ๆ กับหมู่บ้านนั้นเอง ที่ตำ�บลด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา มีการตีหม้อโดยใช้วิธีฟื้นบ้านเดิม - ภาคเหนือ ทีจ่ งั หวัดเชียงใหม่มกี ารปัน้ คนโทน้ำ� หรือ “น้ำ�ต้น” ซึง่ ชาวเหนือนิยม ใส่น้ำ�เอาไว้ดื่ม และใส่ดอกไม้ในเวลามีงานเทศกาลสลากภัต ทำ�กันที่ตำ�บลบ้าน เหมือนกุงโดยใช้วิธีบีบและขด เช่นเดียวกับมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ได้เคยทำ�กัน มาก่อน วิธบี บี และขดนีไ้ ด้ผลดีสำ�หรับงานทางศิลปะ แต่ไม่เหมาะกับงานอุตสาหกรรม ที่ต้องการผลิตเป็นจำ�นวนการผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องประดับชนิด ต่างๆ มีลกั ษณะการผลิตทัง้ ในรูปอุตสาหกรรมในครัวเรือน และโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการใช้แรงงานเป็นจำ�นวนมากแหล่งผลิตที่สำ�คัญอยู่ที่จังหวัดลำ�ปาง เชียงใหม่ นครราชสีมา นครปฐม ราชบุรี และกรุงเทพฯ ลักษณะของสินค้าที่ผลิตกันแต่ละ จังหวัดจะไม่เหมือนกัน เพราะศิลปวัฒนธรรมและจินตนาการของผูผ้ ลิตแต่ละภาค


69


จะไม่เหมือนกัน การผลิตเพื่อการส่งออกส่วนใหญ่จะผลิตตามรูปแบบของผู้สั่งซื้อ เป็นหลัก มูลค่าการส่งออกมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ จากมูลค่า ๓,๒๓๖.๙ ล้านบาทใน พ.ศ. ๒๕๓๕ เพิ่มขึ้นเป็น ๔,๗๒๖.๔ ล้านบาท ในพ.ศ. ๒๕๓๗ ตลาดส่งออกทีส่ ำ�คัญคือ สหรัฐอเมริกา ญีป่ นุ่ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี เป็นต้น

เครือ่ งปัน้ ดินเผาทีผ่ ลิตในประเทศไทยมีอยูห่ ลายชนิดด้วยกัน ซึง่ สามารถ แบ่งออกได้ 5 ประเภทตามลักษณะของเนื้อดิน ดังนี้ ก. เทอร์ราคอตตา (TERRA COTTA) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อหยาบ สีออกแดงน้ำ�ตาล มีทั้งชนิดเคลือบ และไม่เคลือบ เช่น กระถางต้นไม้ แจกันดิน โอ่งมังกร เป็นต้น ข. เอิร์ทเธนแวร์ (EARTHERNWARE) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อดินแน่น ทึบแสง เคลือบมัน ส่วนใหญ่ผลิตเป็นเครื่องถ้วยชาม ค. สโตนแวร์ (STONEWARE) เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อแข็งทึบแสง มี เนือ้ ดินผสมมาก ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ ได้แก่ เครือ่ งใช้และเครือ่ ประดับบ้าน ง. พอร์ชเลน (PORCELAIN) เป็นผลิตภัณฑ์ชน้ั ดีมเี นือ้ แกร่งโปร่งแสง เคลือบเป็นมัน เคาะดูมเี สียงกังวาน ไม่ดดู น้ำ� ผลิตเป็นของใช้ประจำ�วัน งานแพทย์ วิทยาศาสตร์และเครื่องประดับชนิดต่างๆ จ. โบนไชน่า (BONE CHINA) เป็นเครือ่ งปัน้ ดินเผาชนิดทีด่ ที ส่ี ดุ ราคา แพงที่สุด มีความขาวและวาวมาก เนื้อบางเบาแข็งแกร่ง มีการใช้เถ้า จากกระดูกสัตว์ผสม เพือ่ ให้ผลิตภัณฑ์มคี วามเบาและเงางาม ผลิตเป็น เครื่องใช้ และเครื่องประดับชนิดต่างๆ พัฒนาการเครื่องปั้นดินเผาและงานเซรามิคของไทยในปัจจุบันได้มี วิวัฒนาการการออกแบบได้หลากหลายประเภทโดยมีทั้งแบบร่วมสมัยและทันสมัย ส่วนใหญ่จะเป็นเครือ่ งประดับและเครือ่ งใช้บนโต๊ะอาหารทีอ่ อกคอลเลคชัน่ มาเป็นชุด รวมไปถึงแจกัน ซึ่งสามามารถส่งออกนำ�รายได้เข้าประเทศเป็นจำ�นวนมหาศาลมี การตั้งและขยายโรงงานเป็นจำ�นวนมากทั้งที่ ลำ�ปาง สุโขทัย ด่านเกวียนและบ้าน

70

เชียง นอกจากนี้ยังมีโรงงานรับผลิตโดยตรงจากต่างประทศเป็นจำ�นวนมากทั้งนี้ เพราะชื่อเสียงในด้านคุณภาพความประณีต ผลิตภัณฑ์เซรามิคนอกจากจะเป็นผลิตภัณฑ์แล้วยังมีการออกแบบเป็น ลักษณะของงานศิลปะไว้ประดับบ้านโดยทุกๆปีจะมีการประกวดงานแสดงเครือ่ งปัน้ ดินเผาแห่งชาติ เป็นการส่งเสริมนอกเหนือจากเน้นทางด้านอุตสาหกรรมเพียง อย่างเดียว 5) เครื่องประดับ เครื่องประดับนับเป็นสินค้าหัตถกรรมที่มีความสำ�คัญอันดับสองรอง จากเพชรพลอยเจียระไนสินค้าเครื่องประดับที่ส่งออกของไทยประกอบด้วยเครื่อง ประดับทอง เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับจากโลหะมีค่าชนิดอื่นๆ เช่น ทองคำ�ขาวเป็นต้นมูลค่าการส่งออกเครื่องประดับมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือจากมูลค่า 16,038.9 ล้านบาทในพ.ศ. 2535 เพิม่ ขึน้ ถึง 18,502.1 ล้าน บาทในพ.ศ. 2537 ตลาดส่งออกที่สำ�คัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน และ สวิตเซอร์แลนด์เครือ่ งเงินไทย เป็นศิลปหัตถกรรมทีม่ คี า่ ในตัวเอง คือทำ�ด้วยโลหะ เงินและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำ�ขึ้นโดยช่างฝีมือที่มีความรู้ ความชำ�นาญและความ ประณีตพิเศษ ทั้งในด้านรูปทรงและลวดลายที่ประดิษฐ์ ซึ่งแสดงถึงวิจิตรกรรม และวัฒนธรรมของชาติไทยอย่างชัดเจน สินค้าเครื่องเงินไทยจึงเป็นที่นิยมในหมู่ ของคนไทย ชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเทีย่ วซึง่ มีสว่ นช่วยเผยแพร่ชอ่ื เสียง เครื่องเงินไทยให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางออกไป ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงในด้านการ


ออกแบบให้ทันสมัย และตรงตามรสนิยมของชาวต่างประเทศมากขึ้นเครื่องเงิน ไทยในที่นี้ประกอบด้วยเครื่องเงิน 2 ประเภท ได้แก่ 1. ผลิตภัณฑ์เครือ่ งเงินประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของขวัญของชำ�ร่วย เช่น เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร แจกัน กรอบรูป ขัน พานรอง เชิงเทียน ของขวัญ ของชำ�ร่วย ฯลฯ ผู้ผลิตเครื่องเงินของไทย ส่วนใหญ่มีความรู้ ความชำ�นาญ เกี่ยวกับโลหะเงินที่ผลิตเป็นอย่างดี ตั้งแต่การผลิต การออกแบบ เทคโนโลยี พื้นบ้านและอื่น ๆ ซึ่งเป็นภูมิปัญญา ความรู้ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ สินค้าเครื่องเงินประเภทนี้จึงแฝงด้วยวัฒนธรรมและคุณค่าอยู่ในงานฝีมือนั้น เนื่องจากสินค้าเครื่องเงินประเภทนี้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เน้นงานฝีมือ และความเป็น เอกลักษณ์ ความต้องการของตลาดภายในประเทศจึงยังอยู่ในวงจำ�กัด เพราะเป็น สินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูงและจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย กลุ่มผู้ที่นิยมซื้อหรือผู้สะสม ส่วนใหญ่ จะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้ค่อนข้างสูง นอกจากนี้เครื่องเงินไทยยังรักษายาก เพราะจะเกิดเป็นฝ้าคล้ำ�ดำ�ได้ง่าย ความต้องการส่วนใหญ่แต่เดิมมักเป็นไปเพื่อ งานมงคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานมงคลสมรสหรืองานบวช เป็นต้น รวมถึงนิยม มอบเป็นของที่ระลึกให้กันและกันทั้งในช่วงเทศกาลต่าง ๆ และรางวัลสำ�หรับการ แข่งขันกีฬาด้วย ดังนั้นการผลิตส่วนใหญ่จึงเป็นการผลิต เพื่อจำ�หน่ายให้แก่นัก ท่องเที่ยวชาวต่างประเทศและส่งออกเป็นหลัก ในปัจจุบันความต้องการบริโภคเครื่องเงินได้เปลี่ยนไป เนื่องจากภาวะ เศรษฐกิจ และความนิยมสินค้ารูปแบบตะวันตก ผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปซื้อเนื่องใน โอกาสใด ๆ ก็ได้ตลอดทั้งปี ไม่มีเทศกาลเฉพาะ คนรุ่นใหม่ที่มีชีวิตส่วนใหญ่เร่งรีบ อยู่กับการทำ�งาน การให้ของขวัญชุดเครื่องเงินหรูหราในวันแต่งงานนั้น มีน้อย ลงมาก สินค้าเครื่องเงินรูปแบบเก่าหรือรูปแบบเดิม เปลี่ยนไปเป็นสินค้าที่มีดีไซน์ ที่ทันสมัย หรูหรา แปลกตา และใช้งานได้จริง ในขณะที่เศรษฐกิจถดถอยนิยมลด ต้นทุนด้านราคา โดยใช้โลหะเงินผสมโลหะอื่น ๆ หรือ โลหะปิดด้วยแผ่นเงินบางๆ (Laminate) หรือเป็นเพียงส่วนประกอบที่มีชิ้นเงินร่วมประดับ มากกว่าสินค้าที่

ทำ�จากเงินทั้งหมดแบบดั้งเดิมที่เหมาะสำ�หรับตั้งในตู้โชว์เท่านั้น ทั้งนี้สืบเนื่องมา จากรูปแบบการดำ�เนินชีวติ ทีม่ คี วามจำ�เป็น รายได้ เวลา และอืน่ ๆ จำ�กัดมากขึน้ อีกประการหนึ่งสินค้าเครื่องเงินเป็นสินค้าที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษและคนรุ่นใหม่ ไม่มีเวลาอยู่บ้านมากนักจึงเป็นผลให้ผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน จำ�เป็นจะต้องปรับปรุง พัฒนาให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ เวลา และความต้องการของผูบ้ ริโภคอยูเ่ สมอ 2. ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเงินประเภทแหวน กำ�ไลข้อมือ สายสร้อย ต่างหู จีห้ อ้ ยคอ ฯลฯ เครือ่ งประดับเงินเป็นผลิตภัณฑ์ทม่ี อี นาคตทีด่ ี เพราะตลอด ช่วงเวลาส่วนใหญ่ของทศวรรษทีผ่ า่ นมา สีออ่ นเป็นทีน่ ยิ มมาโดยตลอด และเครือ่ ง ประดับเงินก็เข้ากันได้ดีกับสีในโทนอ่อนจาง ในแง่ศิลปะเครื่องประดับได้ให้โอกาส ศิลปินแสดงความรู้สึกของตนในรูปแบบดั้งเดิม หรือร่วมสมัยผ่านการประดิษฐ์ เครื่องประดับแต่ละชิ้น เครื่องประดับเงินไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ใด ๆ ที่ผิวหนัง ดังนั้น ผู้หญิงจึงสามารถซื้อหาเครื่องประดับเงินได้โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้ ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเงิน มีการผลิตสืบเนื่องมาแต่โบราณในสมัยบรรพบุรุษ เช่นกัน เดิมการผลิตเครื่องประดับเงินของไทยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัว เรือนเป็นการผลิตและจำ�หน่ายในประเทศเท่านั้น ต่อมาได้มีการพัฒนาจาก ผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิม กรรมวิธีการผลิตแบบเก่าพัฒนาให้ทันสมัย เพื่อให้ได้การ ผลิตทีร่ วดเร็ว มีมาตรฐาน สามารถสนองความต้องการของตลาดทีเ่ พิม่ มากขึน้ เมื่อขนาดกิจการเริ่มมีการขยายตัว ได้มีการพัฒนาการผลิตโดยอาศัยเครื่องจักร เข้ามาช่วย เพื่อให้การผลิตง่ายและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันมีเครื่องประดับเงินจำ�นวน มากที่มีดีไซน์หรูในรูปแบบแปลกใหม่ออกสู่ตลาด ซึ่งส่วนใหญ่มีโลหะเงินเป็นส่วน ผสม และได้รับการตอบรับจากตลาดค่อนข้างดี ในระยะหลังได้รับความนิยม มากกว่าสินค้าเครื่องเงินที่เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยรสนิยมของผู้บริโภคนิยม ประดับร่างกายที่ทันสมัยมากขึ้นในหมู่วัยรุ่น ทั้งนี้รวมทั้งการนำ�เอาลูกปัดหรือ หินสีมาประกอบเข้ากับเครื่องประดับเงินด้วย

71


72


ทัศนะและแนวโน้มเครื่องประดับเงิน ในทัศนะของผู้ผลิตเครื่องประดับเงินที่มีชื่อเสียงระดับโลก ได้ให้ความ สำ�คัญของเครื่องประดับเงินเป็นอย่างมาก โดยให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเครื่องประดับ เงินไว้ ดังนี้ - เดิมทีหลายคนในวงการมองว่าความนิยมในเครื่องประดับเงินนั้น เป็นเพียงช่วงหนึ่งของกระแสแฟชั่นเท่านั้น แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นความนิยม คลาสสิกไปแล้ว ด้วยโอกาสทำ�กำ�ไรที่สูง ยอดขายดีและ รูปลักษณ์ที่เป็นสากล เครื่องประดับเงินได้รับความนิยมมายาวนานเช่นนี้ เพราะมีระดับราคาที่แข่งขันได้ การรับรู้คุณค่าว่าเป็นโลหะมีค่า และสามารถปรับเปลี่ยนตามทิศทางแฟชั่นและ ออกแบบได้หลากหลายรูปแบบ - เครือ่ งประดับเงินเป็นตลาดทีม่ ขี นาดใหญ่และมัน่ คงสำ�หรับผูค้ า้ ปลีก เครื่องประดับรายย่อยทั้งหลายที่มองเห็นข้อดีของโลหะประเภทนี้ และนำ�มาใช้เป็น วัตถุดิบในการผลิต เครื่องประดับเงินมีจุดเด่นตรงที่สามารถเป็นได้ทั้งเครื่อง ประดับระดับบน (High — end jewellery) และเครื่องประดับแฟชั่น (costume jewellery) การนำ�โลหะเงินมาใช้จึงสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ผลิตเครื่องประดับได้ ดีทีเดียว - สีขาวเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำ�หรับโลหะมีค่า ประกอบกับสภาวะที่ ราคาทองคำ�และแพลทินัมขยับตัวสูงขึ้นมาก จึงทำ�ให้โลหะเงินถูกนำ�มาใช้มากขึ้น เมื่อก่อนนี้ร้านขายเครื่องประดับมักลังเลที่จะนำ�เครื่องประดับเงินใส่โชว์ในตู้หน้า ร้าน เนื่องจากโลหะเงินจะหมองเร็วมากและยังใช้เวลาอีกหลายชั่วโมงในการทำ� ความสะอาด ผู้จำ�หน่ายหลายรายได้นำ�โลหะนิเกิล หรือโลหะ อื่น ๆ มาหุ้มหรือ เคลือบโลหะเงินเอาไว้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองได้เมื่อสวมใส่ ปัจจุบันจึง นิยมเคลือบด้วยโรเดียม ซึ่งไม่หลุดลอก - ควรมีการเสริมสร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่เครือ่ งประดับเงิน ยกระดับ เครื่องประดับเงินให้มีคุณภาพ และความประณีตเทียบเท่าเครื่องประดับทองคำ� 18 กะรัต โดยด้านหลังตัวเรือนจะต้องประณีตเหมือนด้านหน้า และต้องมีดีไซน์ ที่โดดเด่นแปลกตา ดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและความประณีตในการผลิตมี ความสำ�คัญต่อตลาดเครื่องประดับเงินในปัจจุบัน - เครื่องประดับเงินสามารถเข้ากับการแต่งกายทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะ เป็นสไตล์หรูหราหรือแบบเกาะกระแสแฟชั่น แนวโมเดิร์นหรือคลาสสิก เครื่อง ประดับเงินสามารถสร้างสรรค์ได้หลากหลายสไตล์ ทั้งแบบชิ้นงานที่เป็นเนื้อโลหะ ทึบ หรือเป็นลวดลายแบบแกะสลัก หากพิจารณาผลงานการออกแบบในปัจจุบัน จะเห็นว่าเหล่าดีไซน์เนอร์ ออกแบบชิ้นงาน ให้มีโครงสร้างหลากหลายลักษณะทั้ง การถักทอ และการแกะเป็นลวดลายต่าง ๆ รวมไปถึงการเคลือบชิน้ งานขัน้ สุดท้าย หลากหลายเทคนิค - โลหะเงินมีคุณสมบัติหลายประการที่เอื้อต่อการออกแบบและงาน แกะสลัก หากเปรียบเทียบกับโลหะมีคา่ อืน่ ๆ อย่างทองคำ�และแพลทินมั ซึง่ มีความ แข็งกว่าและมีราคาสูงเกินไป ด้วยคุณสมบัติของเงินที่เป็นโลหะอ่อน จึงสามารถ ตีหรือทำ�เป็นรูปทรงต่างๆได้ตามแบบ จะกดม้วนหรือแกะเป็นลายได้โดยไม่ต้องนำ� ไปหลอม

- เครื่องประดับเงินเหมาะอย่างยิ่งสำ�หรับสุภาพสตรีที่แต่งกายสไตล์ ลำ�ลอง และไม่ตอ้ งการเครือ่ งประดับทีม่ รี าคาสูง รวมไปถึงคนทีช่ อบเปลีย่ นเครือ่ ง ประดับบ่อย ๆ ชอบสวมเครื่องประดับหลาย ๆ ชิ้น และต้องการเครื่องประดับที่ สวมใส่ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน - ผู้ที่เป็นลูกค้าหลักของเครื่องประดับเงินคือ กลุ่มวัยรุ่น ทุกวันนี้ กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นคนรุ่นใหม่ เป็นผู้กำ�หนดทิศทางตลาดมีการใช้จ่ายที่อิสระชอบ ทดลองสิ่งใหม่ ๆ และต้องการให้ตนเองดูดีภายใต้เครื่องประดับรุ่นล่าสุด เช่น ชุด เครื่องประดับเงินเงาวับ ประเภทสร้อยคอ สร้อยข้อมือ กระดุมเสื้อ สร้อยข้อเท้า สร้อยที่สวมใส่ตามร่างกายส่วนต่าง ๆ แหวนที่สวมพร้อมกันหลาย ๆ วง สร้อย คอที่มีลักษณะเป็นลวดลาย และต่างหูคู่ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ผู้ชายอาจกลายเป็น กลุ่มลูกค้าของเครื่องประดับเงินที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดได้ ทั้งการจับจ่ายเพื่อ มอบเป็นของขวัญหรือเพื่อสวมใส่เอง - ผู้ชายหันมาซื้อเครื่องประดับมากขึ้น เพราะปัจจุบันไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ผู้ชายจะสวมแหวนเงิน แม้ว่าผู้ชายจะซื้อเครื่องประดับไม่กี่ชิ้น และไม่นิยมเปลี่ยน บ่อย ๆ เท่าผู้หญิง รูปแบบเครื่องประดับเงินที่ผู้ชายนิยมว่าเป็นแบบที่ทำ�ออกมา เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงอารมณ์ขัน และความทันสมัย เช่น แหวน กระดุมข้อมือ เสื้อ กำ�ไลข้อมือ สร้อยคอ และจี้สำ�หรับสายสร้อยหรือสายหนัง - ผู้หญิงในชนบท มักจะชอบเครื่องประดับเงินที่มีน้ำ�หนักมาก แต่คน ในเมืองจะชอบเครือ่ งประดับทีม่ นี ำ้ �หนักเบาและละเอียดประณีต สำ�หรับโลหะทีใ่ ช้ทำ� ผลิตภัณฑ์เครือ่ งเงินมาตรฐานสากล จะเป็นเงินสเตอร์ลงิ ซึง่ ผูผ้ ลิตเครือ่ งประดับ ใช้กันโดยทั่วไปนั้นมีความบริสุทธิ์อยู่ที่ร้อยละ 92.5 การตลาดเครื่องเงิน ปัจจุบันมีผู้ผลิตเครื่องเงินและเครื่องประดับเงินของไทยอยู่เป็นจำ�นวน มาก ซึง่ มีทง้ั ผูผ้ ลิตสำ�หรับตลาดภายในประเทศและผูผ้ ลิตสำ�หรับส่งออก โดยการ ผลิตเพือ่ การส่งออกจำ�เป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิตทีส่ งู กว่าการผลิตสำ�หรับ ตลาดภายในประเทศ เนือ่ งจากต้องแข่งขันกับคูแ่ ข่งในต่างประเทศทัง้ ในด้านรูปแบบ คุณภาพและราคาสินค้า ในอดีตอุตสาหกรรมเครื่องเงินของไทย ส่วนใหญ่เป็น อุตสาหกรรมในครัวเรือน และเป็นการผลิตเพื่อจำ�หน่ายภายในประเทศเท่านั้น ต่อ มาได้มีการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ผลิตภัณฑ์เครื่องเงินที่ผลิต ในรูปแบบของเครื่องประดับ จะมีการนำ�เพชรพลอยทั้งแท้และเทียมมาเป็นส่วน หนึ่งของตัวเรือนหรือชิ้นงาน โดยการผลิตเครื่องประดับที่นำ�อัญมณีมาประกอบ กับตัวเรือนโลหะเงิน ต้องอาศัยความรู้อย่างดีในด้านศิลปะ และความชำ�นาญใน กระบวนการผลิต ตั้งแต่การออกแบบ การผลิตต้นแบบและแม่พิมพ์ การขึ้นรูป โลหะ การหล่อ การประกอบตัวเรือน รูปพรรณ การฝังอัญมณีเข้ากับตัวเรือน ไปจนถึงการตกแต่งขั้นสุดท้าย สำ�หรับตลาดเครื่องเงินของไทยนั้น ประกอบด้วย 2 ตลาด คือตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ ตลาดภายในประเทศมี สัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณผลผลิตทั้งหมด และตลาดต่างประเทศ หรือตลาดส่งออกมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 80 ของผลผลิตทั้งหมด

73


ตลาดภายในประเทศ สินค้าประเภทเครื่องเงินและเครื่องประดับเงิน จัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย มีราคาค่อนข้างสูง และขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้บริโภค ส่วนใหญ่ลูกค้าภายใน ประเทศจะเป็นกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มลูกค้าที่ทำ�งาน แล้ว และกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เพราะเป็นกลุ่มที่มีอำ�นาจซื้อสูง รูป แบบของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าเป็นสำ�คัญ โดยเฉพาะสินค้า เครื่องเงินที่เป็นเครื่องประดับจะมีรูปแบบที่หลากหลาย แหล่งจำ�หน่ายหรือแหล่ง การค้าที่สำ�คัญในประเทศ ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ แหล่งผลิตและแหล่ง ท่องเทีย่ วทีถ่ นนวัวลาย อำ�เภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ อำ�เภอบ่อสร้างและสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ อำ�เภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ อำ�เภอคลองลานจังหวัดกำ�แพงเพชร ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัดสวนจตุจกั ร สวนลุมไนท์พลาซ่า ศูนย์ศลิ ปาชีพบางไทร และย่านที่มีนักท่องเที่ยวเดินผ่าน เช่น สีลม สุริวงศ์ บางรัก และร้านขายเครื่อง ประดับในโรงแรม เป็นต้น ตลาดต่างประเทศ การซื้อขายกับตลาดต่างประเทศของเครื่องเงินไทย สามารถทำ�ได้ 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ 1. การที่ผู้ซื้อไปหาผู้ขาย เป็นลักษณะของการที่ผู้นำ�เข้าติดต่อสั่งซื้อ สินค้าเข้าไปจำ�หน่าย ภายในประเทศของตน โดยอาจเป็นการนำ�เข้าไปจำ�หน่ายต่อ ให้แก่ร้านค้าปลีก หรือการที่ผู้นำ�เข้าเป็นผู้จัดจำ�หน่ายเอง 2. การทีผ่ ขู้ ายไปหาผูซ้ อ้ื โดยผูข้ ายจะดำ�เนินการติดต่อกับผูซ้ อ้ื โดยตรง โดยผ่านงานแสดงนิทรรศการและงานแสดงสินค้า หรือวิธีการส่งคณะผู้แทนการ ค้าไปยังตลาดต่างประเทศ และจัดกิจกรรมการส่งเสริมการขายในตลาดต่าง ประเทศในรูปต่าง ๆ จากการได้วิเคราะห์ภาพรวมของการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องเงินและ เครื่องประดับเงินเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มตลาดพบว่าอยู่ในภาวะทรงตัว โดยดูจาก 74

สถิติตัวเลขมูลค่าการส่งออกเปรียบเทียบราย 3 ปีที่ผ่านมา มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียง กัน มีเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อย ในปี 2546 มูลค่าการส่งออกประมาณ 16,177 ล้าน บาท ปี 2547 มูลค่า 18,731 ล้านบาท และในปี 2548 มูลค่า 20,492 ล้าน บาท คาดว่าในช่วงปี 2549 และช่วงเวลาที่เหลือ มีแนวโน้มจะขยายเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง สำ�หรับตลาดส่งออกที่สำ�คัญซึ่งเป็นตลาดหลักประกอบด้วย - สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องเงินที่ใหญ่ที่สุด ของไทย เนื่องจากมีจำ�นวนประชากรมาก และส่วนใหญ่มีกำ�ลังซื้อค่อนข้างสูง ซึ่ง แต่ละปีจะมีมูลค่าการนำ�เข้าเครื่องเงินไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไทยมีส่วนแบ่งใน ตลาดสหรัฐอเมริกาประมาณร้อยละ 22 อยู่ในลำ�ดับที่ 2 รองจากจีน ซึ่งมีส่วน แบ่งการตลาด ร้อยละ 24 - สหราชอาณาจักร เป็นตลาดนำ�เข้าและส่งออกเครื่องเงินมากที่สุดใน สหภาพยุโรป โดยนำ�เข้าเครื่องเงินไทยเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 16 -20 เปอร์เซ็นต์ - สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สินค้าเครื่องเงินที่ไทยส่งออกไปยัง ตลาดนี้ ประมาณร้อยละ 99.9 เป็นสินค้าเครื่องประดับเงิน และอีกร้อยละ 0.1 เป็นสินค้าเครือ่ งใช้บนโต๊ะอาหาร เครือ่ งครัวและเครือ่ งใช้ในบ้าน ไทยส่งออกเครือ่ ง เงินไปเยอรมนี มีมูลค่าเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 28 — 30 เปอร์เซ็นต์ - ญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกสินค้าเครื่องเงินไทยที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ และ นับเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในแถบเอเชียที่มีมูลค่าการนำ�เข้าเครื่องเงินไทยเพิ่มสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 28 — 31 เปอร์เซ็นต์ นอกจากตลาดส่งออกหลักที่สำ�คัญดังกล่าว ยังมีตลาดอื่นๆ อีก เช่น อิตาลี ฝรัง่ เศส ฮ่องกง รัสเซีย อิสราเอล ออสเตรเลีย และประเทศแถบตะวันออก กลาง ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพเพียงพอ ฐานะเศรษฐกิจดี และถือว่าเป็นลูกค้า ประจำ�ที่ไทยมีการส่งออกอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าการส่งออกเครื่องเงินไทยไป ยังตลาดดังกล่าว จะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเครื่องประดับ เงินจัดอยู่ในประเภทหนึ่งของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งเป็น


อุตสาหกรรมที่สำ�คัญของประเทศไทย เนื่องจากการส่งออกโดยรวมของไทยที่ ผ่านมา มีมูลค่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอยูใ่ นอันดับต้น ๆ ของ ประเทศ จึงจัดได้วา่ อุตสาหกรรมประเภทนี้ มีความ สำ�คัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งมียอดการจ้างงาน 1.2 ล้านคน เมื่อพิจารณา การส่งออกเครื่องประดับรายผลิตภัณฑ์พบว่า เครื่องประดับเงิน ไทยมีการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 17 ของมูลค่าการส่งออก อัญมณีและเครื่องประดับรวม และเป็นสินค้าส่งออกรายการสำ�คัญ ด้วยมูลค่า การส่งออกที่ขยายตัวในอัตราคงที่ ในขณะที่เครื่องประดับทองคำ�กลับผันผวน ตลอดช่วงสามปี ที่ผ่านมา แม้ว่าในภาพรวมปี 2548 ทั่วโลกยังประสบปัญหาใน เรื่องภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างชะลอตัว ราคาน้ำ�มันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความหวาดวิตกเรื่องการก่อการร้าย ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในคู่ค้า หลายประเทศได้ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออก เครื่องเงินและ เครื่องประดับเงินไทยยังมีการเติบโตได้ค่อนข้างดี ในขณะที่มูลค่าการนำ�เข้าโลหะ เงิน ขยายตัวในระดับที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน ทั้งนี้ในปี 2549 คาดว่าปัจจัยด้านลบ ของปัญหาสภาวะเศรษฐกิจน่าจะยังคงอยู่ จากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลายๆ รายให้ความเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศหลักๆ ของโลกไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกาหรือจีน น่าจะมีการชะลอตัวลงเล็กน้อย อีกทั้งการขาดดุลทั้งบัญชี เดินสะพัดในปีที่แล้วของสหรัฐอเมริกา อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นในค่าเงินเหรียญ สหรัฐในปีนี้ด้วย รวมถึงปัจจัยในด้านราคาน้ำ�มันที่ยังคงปรับตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องเงินไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิต เพื่อการส่งออกนั้นไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตามคาดว่า มูลค่าการส่งออกจะยัง ปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น ในปี 2549 นี้ บทสรุป ผลิตภัณฑ์เครื่องเงินและเครื่องประดับเงินของไทย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ จำ�เป็นต้องผลิตจากแรงงานทีม่ ฝี มี อื ค่อนข้างสูง เพือ่ สร้างชือ่ เสียงให้เป็นทีย่ อมรับ

ของนานาชาติ อันนำ�มาซึ่งรายได้มหาศาลเข้าสู่ประเทศ ดังนั้นการผลิตเครื่อง เงินไทย จึงต้องมีการพัฒนาทั้งทางด้านเทคโนโลยี และสร้างแรงงานฝีมือที่ ประณีต อีกทั้งควรมีการฝึกฝนแรงงานให้เกิดความชำ�นาญด้วย ปัจจุบันจำ�นวน แรงงานไทยที่มีอยู่ ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะแรงงาน ฝีมือเครื่องประดับเงิน นอกจากนี้ปัจจัยหนึ่งที่สำ�คัญต่อการรองรับการขยายตัว ของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเงินไทยในอนาคตก็คือ นโยบายของภาครัฐ กลไก และมาตรการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการลงทุน มาตรการด้าน ภาษี และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีอากร ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยข้างต้นเป็นกลไกที่เกี่ยว ข้องกับการได้เปรียบการผลิตสินค้าที่มีการนำ�เข้าวัตถุดิบ การผลิตจากต่าง ประเทศค่อนข้างสูง ในส่วนของผูผ้ ลิต ผูป้ ระกอบการไทยเองก็ควรต้องเสริมสร้าง ศักยภาพการแข่งขันในระยะยาว ควรเร่งปรับตัวในการพัฒนาศักยภาพการผลิต ไปสู่การผลิตสินค้าคุณภาพสูงที่มีรูปแบบของตนเอง และจำ�หน่ายภายใต้ตราสิน ค้าของตนเอง นอกจากนี้ควรเร่งพัฒนาบุคลากรด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักออกแบบเครื่องประดับ ส่วนในเรื่องการตลาดนั้น ผู้ผลิต ผู้ประกอบการไทย ควรให้ความสำ�คัญตลาดระดับบนที่เป็นการแข่งขันด้านคุณภาพเป็นหลัก และ เน้นการใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก ทั้งภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกันผลักดัน อุตสาหกรรมเครื่องเงินและเครื่องประดับเงิน ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการ กำ�หนดแผนการตลาดระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบ การในอุตสาหกรรมประเภทนี้ รวมถึงอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เพื่อ ให้เกิดการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ภาครัฐควรให้การสนับสนุน และกระตุ้นให้เกิดการติดตามทิศทางตลาดหรือแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคใน ตลาดสำ�คัญ เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์ และความต้องการของ ผู้บริโภคที่แปรเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย ขณะที่ทองคำ�มีบทบาทสำ�คัญอย่างยิ่งในตลาดอัญมณีและเครื่อง ประดับ ด้วยมีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ ที่สำ�คัญ กล่าวคือ มีความสวยงามในการ 75


นำ�มาทำ�เป็นเครือ่ งประดับ มีความเงางาม คงทนต่อการมัวหมองและการแตกหัก มีความเหนียวและยืดหยุน่ นำ�มาขึน้ รูปเป็นผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ ได้งา่ ย และยังมีคณ ุ ค่า ในตัวของมันเอง ซึ่งทำ�ให้ทองคำ�ได้รับบทบาทในการใช้เป็นสินทรัพย์ (asset) รวมถึงทุนสำ�รองระหว่างประเทศ ควบคู่ไปกับบทบาทของการเป็นเครื่องประดับ อีกด้วยประเทศไทยมีประวัติการผลิตทองคำ�เพื่อใช้เป็นเครื่องประดับมายาวนาน โครงสร้างการผลิตเครื่องประดับทองคำ�ในประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะเป็น อุตสาหกรรมรายย่อยภายในครัวเรือน ร่วมกับผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีโรงงานของตัว เองหรืออาศัยการจ่ายงานให้กบั ผูผ้ ลิตรายย่อยเหล่านัน้ โดยมีตลาดหลักทีร่ องรับ อยู่สองส่วนใหญ่ๆ คือ หนึ่ง เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งการผลิตในส่วนนี้ จะเป็นภาคการผลิตตามคำ�สั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศ โดยใช้เทคโนโลยีการผลิต และรูปแบบของสินค้าตลอดจนมาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองคำ� (fineness) ตามเกณฑ์ของประเทศผู้สั่งซื้อ ซึ่งทำ�ให้สินค้าที่ผลิตได้มีมาตรฐานสูงเป็นที่ ยอมรับในระดับสากล สำ�หรับในส่วนที่สองคือภาคการผลิตสำ�หรับตลาดภายใน ประเทศ ซึ่งค่อนข้างที่จะมีเอกลักษณ์พิเศษที่โดดเด่นและแตกต่างจากประเทศอื่นๆ กล่าวคือ ตลาดในประเทศจะนิยมเครือ่ งประดับทองคำ�ทีม่ ลี กั ษณะเป็นทองคำ�ล้วน หรือทองรูปพรรณความบริสุทธิ์ 96.5% หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า “ทอง ตู้แดง” (ตั้งชื่อตามสีของตู้โชว์ในร้านจำ�หน่ายทอง) หรือ “ทองเยาวราช” ที่เป็น แหล่งจำ�หน่ายทองรูปพรรณ 96.5% ทีม่ ชี อ่ื เสียงมากทีส่ ดุ ) ทองชนิดนีม้ วี วิ ฒ ั นาการ มาจากช่างทองชาวจีนบนพื้นฐานของค่านิยมทองคำ�ที่มีความบริสุทธิ์สูงและมีสี เหลืองสุกสว่างสวยงาม คงทนแข็งแรงพอสมควร จึงมาลงตัวที่ 96.5% ซึ่งเป็น ระบบที่แตกต่างไปจากมาตรฐานสากลที่เป็นระบบกะรัตหรือ K (เช่น 18 K = ทอง 75%) โครงสร้างการผลิตและจำ�หน่ายทองรูปพรรณในส่วนนี้จะมีลักษณะ ของการที่มีผู้ประกอบการรายใหญ่หรือที่เรียกว่า “ร้านค้าส่ง” จำ�นวนหนึ่ง นำ� เข้าทองคำ�ความบริสุทธิ์สูง 99.99% จากต่างประเทศมาแปรรูปให้เป็นทอง 96.5% แล้วแจกจ่ายให้กับผู้ผลิตรายย่อยที่ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน เมื่อผลิต เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะนำ�ไปกระจายให้กับร้านค้าปลีกที่มีอยู่กว่า 6,000 แห่งทั่ว ประเทศเพื่อจำ�หน่ายให้กับลูกค้าต่อไป ลักษณะการผลิตทองรูปพรรณชนิดนี้ส่วน ใหญ่เกือบทั้งหมดจะเป็นงานทำ�มือ (hand-made) ที่อาศัยฝีมือช่างเป็นหลัก จึง สามารถสร้างสรรค์ลวดลายให้มีความวิจิตรสวยงามและมีรูปแบบหลากหลายได้ มากกว่าการใช้เครื่องจักร ประกอบกับการมีกลไกการประกันราคารับซื้อคืนทอง รูปพรรณที่อยู่ในระดับสูง จึงทำ�ให้ทองรูปพรรณชนิดนี้ได้รับความนิยมสูงมาก ภายในประเทศ เพราะผู้บริโภคได้ประโยชน์ทั้งสองด้าน คือ เป็นเครื่องประดับและ เป็นสินทรัพย์ไปพร้อมกันถึงแม้ทองรูปพรรณ 96.5% นี้จะมีความโดดเด่นที่เป็น ข้อดีอยู่ในหลายๆ ด้าน แต่ก็ยังมีข้อจำ�กัดที่สำ�คัญบางประการซึ่งเป็นอุปสรรคต่อ การส่งเสริมให้เป็นที่แพร่หลายและยอมรับกันในวงกว้าง โดยเฉพาะในระดับนานาชาติ ประการแรกคือเรื่องของระดับความ บริสุทธิ์ของทองคำ�ที่ 96.5% ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกซึ่ง เป็นระบบ K (96.5% เทียบเท่ากับ 23.16 K) ประการต่อมาคือการทีท่ องรูปพรรณ ชนิดนี้ใช้ฝีมือคนทำ�เป็นหลักในการสร้างสรรค์ลวดลายและรูปแบบให้สวยงาม มี ชิ้นส่วนปลีกย่อยและรายละเอียดค่อนข้างมาก จึงทำ�ให้ต้องมีการใช้น้ำ�ประสาน ทอง (solder) ที่มีความบริสุทธิ์ของทองคำ�ต่ำ�กว่าเกณฑ์ในการเชื่อมต่อชิ้นส่วน ต่างๆ เข้าด้วยกันค่อนข้างมาก ทำ�ให้เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วจะพบว่าค่าความ 76

บริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์ทั้งชิ้นไม่ได้เป็นไปตามค่า 96.5% ตามที่ระบุไว้ที่สินค้า ซึ่ง ในประเด็นนี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาการระบาดของทองต่ำ�กว่ามาตรฐานมากในอดีต ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายการ สลักเครื่องหมายรับประกันค่าความบริสุทธิ์ของโลหะมีค่า (hallmarking) หรือ กฏหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมความบริสุทธิ์ของเครื่องประดับทองคำ�โดยตรง เหมือนในประเทศอื่นๆ แต่ด้วยความร่วมมือของผู้ประกอบการและหน่วยงานภาค รัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งรวมถึงสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับ แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสำ�นักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ก็ได้ ดำ�เนินมาตรการต่างๆ เพื่อยกระดับมาตรฐานทองรูปพรรณและแก้ปัญหาทอง ต่ำ�กว่ามาตรฐานมาได้เป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่งแล้ว ดังนั้น ถ้าถามว่าในขณะ นี้ทองคำ�ไทยแข่งขันกับทองคำ�ในตลาดโลกได้หรือไม่ ตอบได้ทันทีเลยว่า ในแง่ของ รูปแบบการดีไซน์ ความสวยงาม แข่งขันได้ไม่เป็นรองใคร แต่อาจยังต้องการ ปัจจัยการส่งเสริมด้านการผลิตและการควบคุมมาตรฐานเพื่อสร้างความน่าเชื่อ ถือให้กับผู้บริโภค และยกระดับมาตรฐานให้เทียบเท่าระดับสากลโดยเฉพาะในแง่ ของการนำ�ระบบ hallmark เข้ามาใช้ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึง ความแตกต่าง ความสวยงามและความโดดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ของทองคำ�ไทย ในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ อีกประเด็นหนึ่งที่สมควรได้รับการสนับสนุนเพื่อยกระดับ ทองคำ�ไทย ก็คือ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ของเครื่องประดับทองคำ� ตัวอย่างเช่น การผลิตโลหะผสมของทองคำ� (gold alloy) ให้มีคุณสมบัติที่ดีและ มีสีสันสวยงามตรงตามความต้องการของตลาด เพราะปัจจุบัน ผู้ผลิตในประเทศ ยังขาดความรู้และเทคโนโลยีในส่วนนี้ การผลิตเครื่องประดับทองคำ�ที่มีสีสันหรือ ลักษณะพิเศษตามความต้องการของตลาดโลก เช่น ทองสีชมพู (pink gold) ซึ่งกำ�ลังได้รับความนิยมอย่างมากในหลายๆ ประเทศ ในปัจจุบันผู้ผลิตภายใน ประเทศจะต้องนำ�เข้า alloy ที่เป็น pink gold ที่มีมาตรฐานและคุณสมบัติตรง ตามความต้องการของผู้สั่งซื้อเข้ามาเป็นวัตถุดิบ ซึ่งมีราคาสูงกว่ามูลค่าจริงมาก โดยในส่วนของผู้ประกอบการจะได้ส่วนต่างเพียงแค่ค่าแรงการผลิต ถ้าในทางกลับ กัน ผู้ประกอบการของไทยมี know-how ที่สามารถผลิต alloy เหล่านี้ได้เองตรง ตามมาตรฐานและความต้องการของคำ�สั่งซื้อหรือเหนือกว่า ก็จะเป็นการสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้าและอุตสาหกรรมของประเทศได้อย่างมาก ซึ่งในเรื่องนี้ สถาบันก็ได้มีส่วนร่วมในการผลักดันโดยได้เริ่มดำ�เนินการโครงการวิจัยเรื่องการ พัฒนาการผลิตทองคำ�กะรัตหลากสี (Development of Fancy Colored Karat Gold) เพื่อเฟ้นหาสูตรการผลิตโลหะผสมทองคำ�ให้มีสีสันที่แปลกใหม่ สวยงาม และมีคุณสมบัติที่ดีต่อการนำ�มาขึ้นรูปเป็นผลิต สำ�หรับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆของนักออกแบบไทยรุ่นใหม่เพิ่งเริ่มขึ้นมาได้ มาราว5ปี ที่ ผ่ า นมานี้ เ องหลั ง จากการเปิ ด หลั ก สู ต รสาขาเครื่ อ งประดั บ ที่ มหาวิทยาลัยประสานมิตรและคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทำ�ให้ เกิดนวัตกรรมทางความคิดและการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆมากขึ้นโดยลำ�ดับ โดยไม่เน้นไปทางอุตสาหกรรมการส่งออกมากนัก แต่จะเน้นทางสุนทรียภาพ จึงทำ�ให้มีการสร้างสรรค์ได้มากขึ้น โดยมากมักจะเป็นคอลเลคชั่นที่สรรหาวัสดุ ใหม่ๆมาประดิดประดอยขึ้นเป็นงานศิลปะเครื่องประดับจำ�นวนจำ�กัด


6) สิ่งทอและเส้นใย ในอดีตที่ผ่านมา การทอผ้าใช้เองในครัวเรือนเคยมีความสำ�คัญ มากในสังคมไทย ชุมชนน้อยใหญ่ในหมู่บ้าน และแม้แต่ในเมือง ต่างก็มีธรรมเนียม การทอผ้าไว้ใช้สอยเอง และสำ�หรับมอบให้ผู้อื่นเป็นของขวัญในโอกาสต่างๆ เช่น สงกรานต์ หรือในการไหว้ผู้ใหญ่ในงานแต่งงาน และยังมีประเพณีการทอผ้าถวาย วัด ถวายพระในงานทำ�บุญประจำ�ปีอีก เช่น ในประเพณีทอดผ้ากฐิน และทอด ผ้าป่า เป็นต้นศิลปะการทอผ้าของไทยในภาคต่างๆ ที่ยังมีผู้สืบทอดเทคนิคการ ทอ อนุรักษ์ และพัฒนากันอยู่ ได้แก่ การทอลายขิต คือการคัดเก็บยกเส้นด้ายยืนพิเศษ ให้เกิดเป็นลวดลาย แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งไปตลอดแนวของความกว้างของหน้าผ้าทำ�ให้เกิดลายขิตใน แต่ละแถวเป็นลายขิตสีเดียวกัน การยก เป็นเทคนิคการทอยกลายให้เห็นเด่นชัด มีลักษณะคล้ายกับ การทอลายขิต แต่ใช้เส้นพุ่งพิเศษ เช่น ไหม ดิ้นเงิน ดิ้นทอง มีชาย มีเชิง ซึ่งขั้น ตอนยุ่งยากกว่าผ้าทอลายขิตมาก การจก เป็นเทคนิคการทอลวดลายบนผืนผ้า ด้วยวิธีการเพิ่มด้าย พุ่งพิเศษเข้าไปขณะที่ทอเป็นช่วงๆ ไม่ติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผ้า กระทำ�โดย ใช้ไม้หรือขนเม่นหรือนิ้วมือ ยกหรือจกด้วยเส้นยืนขึ้น แล้วสอดเส้นพุ่งพิเศษต่อไป ตามจังหวะของลวดลาย สามารถสลับสีได้หลากหลายสี การทอลายน้ำ�ไหล เป็นเทคนิคการทอแบบลายขัดธรรมดา แต่ใช้ด้าย หลากสีพุ่งเกาะเกี่ยวกันเป็นช่วงๆ ให้เกิดจังหวะของลายน้ำ�ไหลเป็นลักษณะเฉพาะ ของชาวเมืองน่าน เรียกกรรมวิธีการทอนี้ว่า “ล้วง” แต่ชาวไทลื้อ อำ�เภอเชียงของ และเชียงคำ� จังหวัดเชียงรายเรียกว่า “เกาะ” เทคนิคนี้อาจดัดแปลงพัฒนาเป็นลาย อื่นๆ เรียกว่า ลายผักแว่น ลายจรวด ฯลฯ เป็นต้น การยกมุก เป็นเทคนิคการทอ โดยใช้เส้นยืนพิเศษเพิม่ บนกีท่ อผ้า ลายก บนผ้าเกิดจากการใช้ตะกอลอยยกด้ายยืนพิเศษ ลวดลายที่เกิดจากเทคนิคนี้คล้าย กันมากกับลวดลายที่เกิดจากเทคนิค ขิต จก แทบจะแยกไม่ได้สำ�หรับผู้ที่ไม่เข้าใจ เรื่องเทคนิคการทอผ้าที่ลึกซึ้ง ชาวไทยพวนที่ตำ�บลหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย และ ที่อำ�เภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้เทคนิคนี้ในการทอส่วนที่เป็นตัวซิ่น บางครั้ง อาจจะนำ�เชิงซิ่นมาต่อเป็นตีนจกเรียกว่า ซิ่นมุก การมัดหมี่ เป็นเทคนิคการมัดเส้นพุ่งหรือเส้นยืน ให้เป็นลวดลาย ด้วยเชือกกล้วยหรือเชือกฟางก่อนนำ�ไปย้อมสีแล้วกรอด้ายให้เรียงตามลวดลาย

ร้อยใส่เชือกแล้วนำ�มาทอ จะได้ลายมัดหมี่ที่เป็นทางกว้างของผ้า เรียกว่า มัดหมี่ เส้นพุ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมในบ้านเรา มีการทำ�ผ้ามัดหมี่เส้นยืนบ้างในบางจังหวัดเช่น จังหวัดเชียงใหม่แม่ฮ่องสอน ราชบุรี เพชรบุรี ส่วนใหญ่เป็นผ้าชาวเขา บางผืนใช้ การทอสลับกับลายขิต ซึ่งช่วยเพิ่มความวิจิตรงดงามให้แก่ผืนผ้า ในประเทศไทยและในประเทศเพื่อนบ้านที่มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับ ไทย งานทอผ้าเป็นงานเฉพาะของผูห้ ญิง ผูช้ ายจะทำ�งานหัตถกรรมอืน่ ๆ ทีจ่ ำ�เป็น สำ�หรับครอบครัวและชุมชน เช่น จักสาน ตีเหล็ก ทำ�เครื่องเงิน และแกะสลักไม้ งานหัตถกรรมของทั้งหญิงและชายเหล่านี้ มักจะทำ�ในยามว่างจากการทำ�ไร่ทำ�นา ซึ่งทั้งหญิงและชายมีหน้าที่ออกไปใช้แรงงานร่วมกัน เด็กผูห้ ญิงในหมูบ่ า้ นในสมัยก่อนจะเรียนรูก้ ารทอผ้าจากการเฝ้าสังเกต การทำ�งานของยาย แม่ น้า หรือพี่สาว เมื่อเด็กโตพอจะนั่งกี่สำ�หรับใช้ทอผ้า ได้ ก็จะเริ่มทอผ้าง่ายๆ ก่อน แล้วจึงเริ่มพัฒนาเทคนิคการทอจนสามารถทอผ้า ที่มีลวดลายวิจิตรสำ�หรับงานพิธีได้ การทอผ้าจึงเป็นงานศิลปหัตถกรรมของผู้ หญิงที่เรียนรู้สืบทอดกันภายในครอบครัวต่อมาหลายๆ ชั่วคน นับเป็นการอบรม บ่มนิสัยลูกผู้หญิงให้มีความละเอียด มีระเบียบ อดทน รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์ และรู้จักศิลปะ นอกจากนี้ยังเป็นการสืบทอดเทคนิควิธี และเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรมของครอบครัวและของชุมชนอีกด้วย นับได้ว่าการทอผ้าเป็น บทบาททางสังคมวัฒนธรรมที่สำ�คัญอย่างหนึ่งของผู้หญิงไทยในท้องถิ่นต่างๆ ในอดีต สำ�หรับสังคมเมืองหลวงและเมืองท่าใหญ่ๆ ของไทยนั้นมีการค้าขาย ติดต่อกับดินแดนใกล้ ไกลมาแต่โบราณ จึงมีพ่อค้าจากต่างแดนผ่านไปมานำ�สินค้า แปลกๆ ใหม่ๆ มาขาย มาแลกเปลี่ยน หรือมาเป็นของกำ�นัลแก่ผู้คนในเมืองเหล่า นั้น ซึ่งผ้าสวยๆ ใช้วัสดุและมีลวดลายแปลกตาจากต่างแดนก็นับว่าเป็นสินค้า ล้ำ�ค่าที่พึงปรารถนาอย่างหนึ่ง ดังนั้นคนไทยในเมืองหลวง และเมืองใหญ่ๆ โดย เฉพาะผู้คนชั้นสูงจึงรู้จักใช้ผ้าต่างประเทศ เช่น จากจีน อินเดีย อาหรับ และยุโรป ได้แก่ ผ้าแพรไหม ผ้าสักหลาด ผ้ายก ดิ้นเงินดิ้นทอง และผ้าพิมพ์ เป็นต้น พวก ผู้หญิงในตระกูลขุนนางหรือคหบดีก็มักไม่ทอผ้าเอง แต่จะมีบ่าวไพร่หรือชาวบ้าน รับทอผ้าให้ตามสั่ง เมื่อผ้าต่างชาติได้ใช้กันแพร่หลายในหมู่คนไทยที่ซื้อหาจากต่าง ประเทศ ต่อมาก็มีการลอกเลียนแบบ โดยนำ�มาว่าจ้างให้ช่างทอไทยหัดทอบ้าง ทำ�ให้ศิลปะการทอผ้าของไทยยิ่งมีความวิจิตรมากยิ่งขึ้นเป็นลำ�ดับ

77





นักออกแบบแห่งปี

2004-2009 Designer Directory


Adjana Leelaviwat

อัDesigner จนา of theลีลYearาวิ2005 วัฒ(Product) น์ บริษัท ที เอ็น ซี เทรดดิ้ง จำ�กัด 54/4-5 ซ.รูเบีย ถ.สุขุมวิท 42 พระโขนง คลองเตย กทม. 10110 โทรศัพท์ 02 712 3939 / 081 816 6905 Address : TNC TRADING CO.,LTD. Tel: 02 712 3939 / 081 816 6905 E-mail: adjana@tnc-trading.com

82


Aem-I Leelas

เอมไอ ลี ล าศ Designer of the Year 2005 (Jewelry) ที่อยู่ 26/17 ซ.สุภาพงษ์ ถ.ศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน ประเวศ กทม.10250 โทรศัพท์ 084 111 7532 Address : 26/17 Soi Supapong Srinakarin Rd., Nongbon Prawet Bangkok 10250 Tel: 084 111 7532 E-mail: anunta@tcdc.or.th

83


Anurak Suchat

อนุ ร ก ั ษ์ สุ ช าติ Grand Prizes 2004 (Product) ที่อยู่ บริษัท เอสเทอทิค สตูดิโอ จำ�กัด 40/8 ซ.อินทามระ 8 ถ.สุทธิสารวินิจฉัย สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 081 817 8942 / 089 300 9040 / 02 278 4244 Address : Aesthetic Studio Co., Ltd. 40/8 Indramara 8 Suthisanvinijai Rd. Samsennai Phayathai Bangkok 10400 Tel: 081 817 8942 / 089 300 9040 / 02 278 4244 E-mail: b@aesthetic-studio.com

84


Anon Pairot

อานนท์ ไพโรจน์ Best Designer of the Year 2007 (Furniture, Product) ที่อยู่ บริษัท อานนท์ ไพโรจน์ ดีซายสตูดิโอ จำ�กัด อาคารลุมพินีเพลส นราธิวาส-เจ้าพระยา บล็อคซี ห้อง 1103 78/968 แขวงยานนาวา เขตช่องนนทรี กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 081 735 3352 / 084 560 3232 Address : Anon Pairot Design Studio Lumpini Place, Narathivas-Chaopraya, Block C, Room 1103 78/ 968, Yannawa, Chongnonsi, Bangkok, 10120 Tel: 081 735 3352 / 084 560 3232 E-mail: anon.pairot.design.studio@gmail.com www.anonpairot.com

85


Apinya Boonprakob

ดร. อภิ ญ ญา บุ ญ ประกอบ Excellent prizes 2004 (Jewelly) ที่อยู่ 64 สุขุมวิท 39 วัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 02 218 4496 / 081 860 4953 Address : 64 Sukumwit 39 Wattana Bangkok 10110 Thailand Tel: 02 218 4496 / 08 1860 4953 E-mail: oopinya@msn.com

86


Apirat Boonruangthaworn

อภิ ร ฐ ั บุ ญ เรื อ งถาวร Best Designer of the Year 2009 (Furniture) ที่อยู่ 142/64 ซ.คู้บอน 27 แยก 42 ถ.คู้บอน ท่าแร้ง บางเขน กรุงเทพ 10220 โทรศัพท์ 086 302 2380 / 02 945 0571 Address : 2142/ 64 Soi Khu-bon 27 Yak 42, Khu-bon Rd., Tharaeng, Bangkhen, Bangkok, 10220 Tel: 086 302 2380 / 02 945 0571 E-mail: contact@apiratboonruangthaworn.com

87


Arisara Dangprapai

อริ สรา แดงประไพ Designer of the Year 2008 (Textile and Fabric)

ที่อยู่ 130/99 หมู่ 12 ม.นวลจันทร์ ซ.นวลจันทร์ ถนนรามอินทรา แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ 089 890 8382 Address : 130/99 moo 12 Mb.Nuanchan Soi Nuanchan Ramindra rd. Klongkum Bungkum Bangkok 10230 Tel: 089 890 8382 E-mail: d_matoom2@yahoo.com

88


Chumpon

Utayophat

จุ ม พล อุ ท โยภาศ Designer of the Year 2005 (Product) ที่อยู่ 5/19 ซ. 4 ถ.บางแสนสาย 3 ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20130 โทรศัพท์ 038 748 252 / 081 590 9808 Address : 5/19 Soi 4 Bangsaen Sai 3 T.Sansuk A.Maung Chonburi 20130 Thailand Tel: 038 748 252 / 081 590 9808 E-mail: sudruke@yahoo.com

89


Chanachai Songwattana

ชนะชัย ส่งวัฒนา Grand Prizes 2004 (Product)

ที่อยู่ บริษัท นีโอ คีย์ จำ�กัด ที่อยู่ 66/21 หมู่ 12 ถนนพุทธมณฑลสาย 5 ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม 73210 โทรศัพท์ 02 811 9678 / 080 222 7788 Address : Neo Key Co.,Ltd. 66/21 Moo 12 Phuddamonthol 5 Rd. Raiking ,Sampran,Nakhonpatom 73210 Tel: 02 811 9678 / 080 222 7788 E-mail: admin@ar3.co.th

90


Chavakorn Jirapiriyalert

ชวกร จิ ร ะพิ ร ย ิ ะเลิ ศ Emerging Award 2008 (Product, Furniture) ที่อยู่ 119/74 นวมินทร์ 99 ถ.นวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม. 10240 โทรศัพท์ 02 948 4097 / 081 306 3024 Address : 119/74 Navamin 99 Navamin Rd. Klongkum Bungkum Bkk 10240 Thailand Tel: 02 948 4097 / 081 306 3024 E-mail: whoohmee@hotmail.com

91


Chai Jeamamornrat

ชัExcellent ย เจีPrizes ยมอมรรั ต น์ Award 2004 (Textile, Fabric) ที่อยู่ 49 ซ.สายลม 2 ถ.พหลโยธิน สามเสนใน พญาไท กรุงเทพ 10400 Address : 49 Soi Sailom 2 Pahonyothin Rd. Samsainnai Payathai Bangkok 10400

92


Chaiyut Plypetch

ชั ย ยุ ท ธ พลายเพ็ ช ร์ Excellent Prizes Award 2004 (Product) ที่อยู่ บ. พร็อพพาแกนดิสท์ จำ�กัด 779/210 ถ.ประชาราษฎร์บำ�เพ็ญ สามเสนนอก ห้วยขวาง กรุงเทพ 10320 โทรศัพท์ 02 691 6331 / 089 222 9880 Address : 779/210 Pracharajbumphen Road HuaikhwangBangkok, Thailand 10320 Tel: 02 691 6331 / 089 222 9880

93


Eakachai Panareewattana

เอกชั ย พั น ธ์ อ ารี ว ฒ ั นา Designer of the Year 2005 (Jewelry) ที่อยู่ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถนนหน้าพระลาน เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 02 623 6115 ต่อ 11287 / 086 570 0074 Address : Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Bangkok 10200 Thailand Tel: 02 623 6115 ext. 11287 / 086 570 0074 E-mail: pophotharam@yahoo.com

94


Eggarat Wongcharit

เอกรั ต น์ วงษ์ จ ริ ต Designer of the Year 2005

Honor Award 2007 Best of the Best Designer of the Year 2007 ที่อยู่ บริษัทคราฟท์แฟคเตอร์ จำ�กัด 1028/5 อาคารพงษ์อมร ชั้น 4 ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 089 444 9886 / 02 679 9800 Address : Craft Factor co.,Ltd. 1028/5 Pongamorn Bldg., Rama 4 rd., Sathorn, Thungmahamek,Bangkok 10120 Tel: 089 444 9886 / 02 679 9800 E-mail: customerservice@crafactor.com

95


Ekapong Kosapong

เอกพงศ์ โกษาพงศ์ Designer of the Year 2005 (Product)

ที่อยู่ 1/920 พาร์ควิววิภาวดี ถ.กำ�แพงเพชร 6 แขวงสีกัน ดอนเมือง กรุงเทพ 10210 โทรศัพท์ 081 853 4055 Address : 1/920 Park View Vipavadee Kampangphach 6 Rd. Seekan Donmuang Bangkok 10210 Tel: 081 853 4055 E-mail: kosapong@yahoo.com

96


Fontip Tangviriyamate

ฝนทิพEmerging ย์ Award ตั้งวิ2007รยิ (Jewelry) ะเมธ ที่อยู่ 55/68 แขวงสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 โทรศัพท์ 08-1620-3809 / 0-2994-2464 / 08-1620-3809 Address : 55/58 Saimai,Bangkok,Thailand.10220 Tel: 08-1620-3809 / 0-2994-2464 / 08-1620-3809 E-mail: araicraft@hotmail.com

97


Garan Rojkarnjanarak

การั น ต์ โรจน์ ก าญจนรั ก ษ์ Emerging Award 2009 (Furniture) ที่อยู่ 340 ซ.อ่อนนุช 30 ถ.สุขุมวิท 77 พระโขนง กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ 02 332 6506 , 08 1722 6815 Address : 340 Onnut 30, Sukhumvit 77 Rd., Prakhanong, Bangkok 10250 Thailand. Tel: 02 332 6506, 08 1722 6815 E-mail: garan_idj@yahoo.com

98


House of Goldsmiths

บ้านช่างทอง

Designer of the Year 2007 (Jewelry) วไลพรรณ ชูพันธ์​์ ที่อยู่ 6/366 หมู่บ้านบัวทองเคหะ ต.บางบัวทอง อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110 โทรศัพท์ 08-6977-8381 Valaipan Chupun Address : 6/366 Soi Buathongthani Bangbuathong Nonthaburi 11110 Tel: 08-6977-8381 E-mail: flowornament@hotmail.com สุทธิศักดิ์ สุทธิเกิด ที่อยู่ 34 ม.1 พรุดินนา คลองถม กระบี่ 81120 Suthisak Suthikerd Address : 34 Moo1 Prudinna Kongtom Kabi 81120 E-mail: komese2000@yahoo.com วราวุฒิ วัชรศิริโรจน ที่อยู่ 427 ซ.ลาดพร้าว64 แขวงวังทองหลาง เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10310โทรศัพท์ 08-1494-9853 Warawoot Watcharasiriroj Address :427 Soi Ladpraw64 Wongthonlarng Bangkabi Bangkok 10310 Tel: 08-1494-9853 E-mail: wwdzygn@yahoo.com

99


Jakkai Siributr

จัDesigner กกาย ศิ ร บ ิ ต ุ ร of the Year 2009 (Textile, Fabric) ที่อยู่ 18 สุขุมวิท 28 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 02 661 4683 , 08 1441 7770 Address : 18 Sukhumvit 28 Bangkok 10110 Tel: 02 661 4683 , 08 1441 7770 E-mail: jakkaisiributr@yahoo.com

100


Jarupatcha Achavasmit

จารุพัชร อาชวะสมิต

Designer of the Year 2005 (Textile, Fabric)

ที่อยู่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 1 ถ.ฉลองกรุง ลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 โทรศัพท์ 02 739 2148 / 081 649 1996 Address : Faculty of Architecture, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang Tel: 02 739 2148 / 081 649 1996 E-mail: jarupatcha@yahoo.com

Mae Fah Laung/Doi Tung Autumn/Winter 2005 Collection Fabric design for handwoven production in the golden triangle area. ผลงานการออกแบบผ้าสำ�หรับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ดอยตุง เสื้อผ้า ฤดูใบไม้ร่วงและ ฤดูหนาว 2005 เป็นการออกแบบลายผ้าทอมือ สำ�หรับผู้ทอที่เป็นชาวไทยภูเขาบนที่ราบสูงดอยตุ

101


Jitsing Somboon

จิตต์สิงห์ สมบุญ Excellent Prizes Award 2004 (Fashion) ที่อยู่ 10 ปรีดีพนมยงค์ 33 สุขุมวิท 71 คลองตันเหนือ วัฒนา กรุงเทพ 10110 โทรศัพท์ 02 392 8627 / 08 1870 3503 Address : 10 Predeepanomyong 33 Sukhumvit 71 Klongtoeinua Wattana Bangkok 10110 Thailand Tel: 02 392 8627 / 081 870 3503 E-mail: jitsing1962@yahoo.com

102


Jittrakarn Bunterngpiboon

จิตรกานต์ บรรเทิ ง ไพบู ล ย์ Emerging Award 2009 (Jewelry) ที่อยู่ 102/116 ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำ�บลไทรม้า อำ�เภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02 985 9229 / 08 9680 0700 Address : 102/116 Ratthanathibeth Rd. Traima Muang Nonthaburi 11000 Tel: 02 985 9229 / 08 9680 0700 E-mail: jip833@yahoo.com

103


Jitrin Jintaprecha

จิExcellent ตรินPrizes จินAward ตปรี2004ชา

Designer of the Year 2005 (Furniture) Designer of the Year 2009 (Furniture) ที่อยู่ 56 สุขุมวิท 62 พระโขนง กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 02 741 6034-6, 08 1742 6194 Address : 56 Sukhumvit 62 Phrakanong Bangkok 10260 Tel: 02 741 6034-6 / 08 1742 6194 E-mail: contact@jitrin.com

104


Jiraparn Kittisasikultorn

จิรExcellent พรรณPrizesกิAward ตติศ2004ศิก(Product) ุลธร

ที่อยู่ บริษัท เอเบิ้ล อินทีเรีย เวอร์คชอป 41/70, 41/80 หมู่ 5 ซ.พระราม 2 (69) ถ.พระราม 2 แขวงแสมดำ� บางขุนเทียน กรุงเทพ 10150 โทรศัพท์ 02 892 8414, 081 612 1465 Address : Able Interior Workshop Co.,Ltd. 41/70 , 41/80 moo 5 Rama II (69), Rama II Rd. Samaedum, Bangkhuntien, Bangkok 10150 Tel: 02 892 8414, 081 612 1465 E-mail: ableinter@yahoo.com

105


Jrumchai Singalavanij

จรั ม ชั ย สิ ง คาลวณิ ช Grand Prizes Award 2004 ที่อยู่ 178/7 สุขุมวิท 16 คลองเตย กรุงเทพ 10110 โทรศัพท์ 02 258 1940 Address : 178/7 Sukhumvit 16 Klongtoei Bangkok 10110 Tel: 02 258 1940 E-mail: jrumchai@gmail.com

106


Juthamas Koontragul

จุฑEmerging ามาศAwardคูณ2009ตระกู ล (Jewelry) ที่อยู่ 3131/108 ซอยอุดมสุข ถนนสุขุมวิท บางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 08 9969 2515 Address: 3131/108 Soi Udomsuk Sukhumvit rd. Bangna, Bkk 10260 Tel: 08 9969 2515 E-mail: nesahero1@hotmail.com

107


Kanit Setaruchi

คณิ ต เสตะรุ จ ิ Grand Prizes Award 2004 (Furniture) ที่อยู่ บริษัท OFSCALE จำ�กัด 45/1-2 ซอยสุขุมวิท 31 ถ.สุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 02 259 6212-4 / 081 833 1479 Address : OFSCALE CO. LTD,. 45/1-2 Soi Sukhumvit 31 North Klongtuay Wattana Bangkok 10110 Tel: 02 259 6212-4 / 081 833 1479 E-mail: ofscale@gmail.com

108


Keskarn Arsirarat

เกศกาญจน์ อาศิ ร รั ต น์ Designer of he Year 2008 (Jewelry) ที่อยู่2/21 ซ.บรมราชชนนี 32 แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กทม. 10170 โทรศัพท์ 089 788 0890 / 02 279 0985 Address : 2/21 Soi Baro mratchachinmanee 32 Talingchan Bangkok 10170 Tel: 08 9969 2515 E-mail: keskarna@yahoo.co.uk

109


Korakoth

Kunalungkarn

กรกช คุ ณ าลั ง การ Designer of the Year 2005 (Interior)

ที่อยู่ บริษัท อินทีเรียอาร์คิเทกเชอร์ 103 จำ�กัด 219/44 อาคารอโศกทาวเวอร์ส ซ.สุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 02 260 0160-7 ต่อ 296 Address : Interior Architecture 103 Co.,Ltd. 219/44 Asoke Towers Office Building, Soi Sukhumvit 21 (Asoke), Klongtoey Nua, Wattana, Bangkok 10110 Thailand Tel: 02 260 0160-7 Ext. 296 E-mail: korakoth@ia103.com , office@ia103.com Credit: ภาพโดย กาญจนา วัฒนมงคลศรี นิตยสาร Home&Decor

110


Korakot Aromdee

กรกต อารมย์ ด ี Designer of the Year 2005 (Product)

Best Designer of the Year 2007 (Product) Designer of the Year 2008 (Product)

ที่อยู่ 335 ม.10 ตำ�บลบ้านแหลม อำ�เภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 76110 โทรศัพท์ 089 698 7963 / 032 481 477 Address : 335 m 10 Banlam, Banlam Petchburi 76110 Tel: 089 698 7963 / 032 481 477 E-mail: kappa76110@yahoo.com, korakot.aromdee@yahoo.com

111


Kris Putpim

กฤษณ์ พุ ฒ พิ ม พ์ Emerging Award 2008 (Furniture) ที่อยู่ 132/37 ซ.กรุงเทพฯ-นนทบุรี 33 ถ.กรุงเทพฯ-นนทบุรี บางซื่อ กรุงเทพฯ 10800 โทรศัพท์ 084 1134512 / 02 279 1790 Address : 132/37 Soi Bangkok-Nontaburi33 Bangkok-Nontaburi Rd. Bangsue Bangkok 10800 Tel: 084 1134512 / 02 279 1790 E-mail: kritdesign@hotmail.com

112


Kris Yensudjai

กฤษณ์ เย็ น สุ ด ใจ Designer of the Year 2005 (Textile/Fabric) ที่อยู่ 14 พัฒนาการ ซอย 51 สวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ 081 811 5934 Address : 14 Pattanakan Soi 51 Sounloung Bangkok 10250 Thailand Tel: 081 811 5934 E-mail: kris_yen@hotmail.com

113


Kultirat Meesaiyati

กุBestลDesigner ธิรัตน์of theมีYearสายญาติ 2007 (Jewelry) ที่อยู่ บริษัท กาวาง จำ�กัด เลขที่ 55/521 ต.บางพุด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11200 โทรศัพท์ 02 984 0022 Address : 55/521 Bangpud Parkked Nontaburi 11200 Tel: 02 984 0022

114


Kwanchai Phalajivin

ขวั ญ ชั ย ผลชี ว น ิ Designer of the Year 2005 (Interior) ที่อยู่ บริษัท เบ้นท์ เซเวอริน แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำ�กัด 525/3-4 ชั้น 2 อาคารเอ็นทีเฮ้าส์ ซอยศูนย์วิจัย 4 พระรามเก้า ห้วยขวาง กทม. 10320 โทรศัพท์ 02 719 6815-20 Address : Bent Severin & Associates Co., Ltd. 525/3-4 N.T. House 3rd Floor Soi Soonvijai Rama 9 Road Bangkapi Bangkok, Thailand 10320 Tel: 02 719 6815-20

115


Makorn Chaovanich

มกร เชาวน์ ว าณิ ช ย์ Best Designer of the Year 2007 (Product) ที่อยู่ CEREBRUM DESIGN CO.,LTD 222/1 ชั้น 3 ถ.รัชดาภิเษก-รามอินทรา คลองกุ่ม บึงกุ่ม กรุงเทพ 10230 โทรศัพท์ 0 2 947 9026-7 Address : CEREBRUM DESIGN CO.,LTD 222/1, 3rd Floor, Ratchadapisek-Ramintra Road, Klongkum, Buengkum, Bangkok Thailand 10230 Tel: 0 2 947 9026-7 E-mail: design@studiocerebrum.com

116


Maruay Dusdisunthornskul

มารวย ดุ ษ ฎี ส น ุ ทรสกุ ล Emerging Award 2009 (Product) ที่อยู่ 97/339 ม.6 ซ.โพธิ์แก้ว ถ.นวมินทร์ คลองกุ่ม บึงกุ่ม กรุงเทพ 10240 โทรศัพท์ 08 6890 2882 Address : 97/339 Moo 6 Soi Phokeaw Navamin Rd. Klongkum Buengkum Bangkok 10240 Thailand. Tel: 08 6890 2882 E-mail: maruaydesign@gmail.com

117


Metchanun Suensilpong

เมธชนั น สวนศิ ล ป์ พ งศ์ Designer of the Year 2007 (Furniture) Designer of the Year 2009 (Product)

ที่อยู่ บริษัท เคนคูน จำ�กัด เลขที่ 8 ซอยพัฒนาการ 20 แยก 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ 08 9205 9968 / 02 319 1015-6 Address : 8 Soi Pattanakarn 20 Yak 4 Kwang Suanlouang, Khet Suanlouang Bangkok 10250 Thailand Tel: 08 9205 9968 / 02 319 1015-6 E-mail: mark@kenkoon.com

118


Nattaboon Trinathy

ณั ฐ บู ร ไตรณั ฐ ี Emerging Award 2007 (Product) ที่อยู่ 15 ซอย45 ถนนพระราม9 ตัดใหม่ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ 081 439 9000 / 02 720 3560 Address : 15 Soi45 New-Rama 9 Rd. Suanluang Bangkok 10250 Tel: 081 439 9000 / 02 720 3560 E-mail: nattaboon@yahoo.com

119


Nakarin Kamseela

นคริ น ทร์ คำ�สี ล า Emerging Award 2009 (Product) ที่อยู่ 70/ 456 หมู่บ้านประชานิเวศน์ 2 ถ.ประชาชื่น ต.ท่าทราย อ.เมือง นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 08 1362 8406 Address : 70/ 456 Prachanivet 2, Prachauen Rd., Tasai, Muang, Nonthaburi, 11000 Tel: 08 1362 8406 E-mail: mo_re66@hotmail.com

120


Nattapong Charoenkitivarakorn

นัษExcellent ฐพงษ์PrizesเจริAward ญกิ2004ติว(Furniture) รากร

ที่อยู่ 43/156 หมู่ 5 ถ.กาญจนาภิเษก บางบอน กรุงเทพ 10150 Address : 43/156 Moo 5 Karnjanapisek Rd. Bangbon Bangkok 10150

121


Narttawat Thampipit

นาถวั ฒ น์ ธั ม พิ พ ธ ิ Designer of the Year 2005 (Product) ที่อยู่ บ. มอริโอ จำ�กัด 11/386-387 ม.10 ถ.เอกชัย บางบอน กรุงเทพ 10150 โทรศัพท์ 02 895 0911 08 1890 6272 Address : Morio Co.,Ltd. 11/386-387 Moo 10 Akachai Rd, Bangbon,Bangkok 10150 Thailand. Tel: 02 895 0911 08 1890 6272 E-mail: marketing@vision-nex.com

122

DesignerOfYear10.indd 122

11/2/10 10:21 AM


Nojprakorn Tanskun

นจปรากรณ์ ตั น สกุ ล Best Designer of the Year 2007 (Jewelry) ที่อยู่ Gamma Creations 228 ถนนรัชดาภิเษก ช่องนนทรี ยานนาวา กรุงเทพ 10120 โทรศัพท์ 02 285 4630 Address: Gamma Creations Co., Ltd. 228 Ratchadapisek Rd. Chongnonsee Yannawa Bangkok, Thailand 10120 Tel: 02 285 4630 E-mail: yam_design@cox.net

123


Nopchai Phujirakasem

นพชั ย ภู จ ่ ร ิ เกษม Emerging Award 2008 (Furniture)

ที่อยู่ 203/34 ม.1 ม.งามวงศ์วิลล่า ถ.งามวงศ์ประชาพัฒนา ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000 โทรศัพท์ 083 9827774 Address : 203/34 Moo1 Ngarmwong Villa Ngarmwongprachapattana Larkhok Patumtanee 12000 Tel: 083 9827774 E-mail: noppachai-soye@hotmail.com , info@lookyangdesign.com

124


Nutre Arayavanish

นุ ต ร์ อารยะวานิ ช ย์ Designer of the Year 2009 (Jewelry) ที่อยู่ นุตร์ จิวเวลเลอร์ สตูดิโอ 16/205 ซ.วิภาวดีรังสิต 58 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงบางเขน เขตหลักสี่ กทม. 10210 โทรศัพท์ 02 940 8840 / 08 3242 1110 Address : Nutre Jeweller Studio, 16/205 Soi Vibhavadi-Rangsit58 Vibhavadi-Rangsit Road, Bangkhen, Laksi,Bangkok 10210 Thailand Tel: 02 940 8840 / 08 3242 1110 E-mail: mail@nutrejeweller.com http://www.nutrejeweller.com

125


Nuang Fangsrikhum

เนื อ ่ ง แฝงสี ค ำ� Honor Award 2007 (Jewelry)

ที่อยู่ 368 ถ.พาณิชย์เจริญ ต.ท่าลาด อ.เมือง จ.เพชรบุรี โทรศัพท์ 032 428 538 Address: 368 Panichjarean T.Talad A.Muang Petchaburi โทรศัพท์ 032 428 538

126


o-d-a Piti Amraranga, Jutamas Buranajade โอ-ดี-เอ ปิติ อัมระรงค์, จุฑามาส บูรณะเจตน์

Emerging Award 2007 (Furniture) Designer of the Year 2008 (Furniture)

ที่อยู่ เลขที่ 67 ซอยสุขุมวิท 49/14 ถนนสุขุมวิท แขวง/เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 08-1712-9998 / 08-1629-7299 Address : No. 67 Sukhumvit Soi 49/14 Wattana Bangkok 10110 Tel: 08-1712-9998 / 08-1629-7299 E-mail: odaemail@gmail.com

127


Paphop Wongpanich

ปภพ ว่ อ งพาณิ ช ย์ Best Designer of the Year 2007 (Furniture) ที่อยู่ บริษัท มินิสทรี ออฟ สเปซ จำ�กัด เลขที่ 989 ห้อง 415 ชั้น 4 อาคารสยามดิสคัฟเวอรี่ ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 08 3544 4048 / 0 2658 0583 Address : Ministry of Space Co.,Ltd 989 Room 415 Siam Discovery Rama I Road, Pathumwan Bangkok 10330 Tel: 08 3544 4048 / 0 2658 0583 E-mail: tripletype@yahoo.com

128


Panarin Manuyakorn

ภานริ น ทร์ มนุ ญ ากร Designer of the Year 2005 (Interior) ที่อยู่ 89/27 villa 49 พร้อมศรี สุขุมวิท 49 วัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 02 392 0993 / 081 856 8622 Address : 89/27 villa 49 promsri Sukhumvit 49 Wattana Bangkok 10110 Thailand Tel: 02 392 0993 / 081 856 8622 E-mail: panarin@gimdesign.com

129


Paiwate Wangbon

ไพเวช วั ง บอน Best Designer of the Year 2005 (Furniture) ที่อยู่ 111/449 ซ. 11 ถ.นาวงศ์ประชาพัฒนา 19 หมู่บ้านปิ่นเจริญ4 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 081 423 5376 Address : 111/449 Soi 11 Nawongprachapattana 19 Pincharoen 4 Vilage Sigun Donmaueng Bangkok 10120 Tel: 081 423 5376 E-mail: paiwate@hotmail.com

130


Patraorn Na Ranong

ภั ท รอร ณ ระนอง Designer of the Year 2005 (Product) ที่อยู่ 59/188 รามคำ�แหง 140 สะพานสูง กรุงเทพ 10240 โทรศัพท์ 02 373 5913 Address : 59/188 Ramkhumhaeng140 Rd. Sapansoong Bangkok 10240 Tel: 02 373 5913

131


M.L. Pawinee Santisiri

มล. ภาวิ น ี สั น ติ ศ ร ิ ิ Grand Prizes Award 2004 (Product) Honer Award 2007 (Product)

ที่อยู่ บริษัท สหัสชา (1993) จำ�กัด 1028/5 ถ.พระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2679-8634-7 / 08 9831 1970 Address : 1028/5 Rama4 Road, Thungmahamek Sathorn Bangkok 10120 Tel: 0-2679-8634-7 / 08 9831 1970 E-mail: santisirip@yahoo.com, sahacha@truemail.co.th www.sanacha.com

132


Phisanu Numsiriyothin

พิ ษ ณุ นำ�ศิ ร โ ิ ยธิ น Emerging Award 2009 (Furniture)

ที่อยู่ 11/ 1 หมู่ 7 ซ.พุทธบูชา 20 ถ.พุทธบูชา แขวงบางมด เขต จอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 02 428 4370 / 08 4134 6850 Address : 11/ 1 Pudthabucha 20, Pudthabucha Rd., Bangmod, Jomthong, Bangkok, 10150 Tel: 02 428 4370 / 08 4134 6850 E-mail: potterwoodworker@yahoo.co.th

133


Ploenchan Vinyarath

เพลิ น จั น ทร์ วิ ญ ญรั ต น์ Excellent Prizes Award 2004 (Textile/Fabric) ที่อยู่ 23 อาคารสรชัย ชั้น 18 สุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 02 714 3109-11, 081 875 9899 Address : 23 Sorachai Bld. 18th Floor Sukhumvit 63 Kwang Klongton Nua, Khet Wattana Bangkok 10110 Tel. 02 714 3109-11, 081 875 9899 E-mail: mook@beyond-living.com

134


Pornpilai Zou Meemalai

อ.พรพิ ไ ล มี ม าลั ย Grand Prizes Award 2004 (Jewelry) Honor Award 2008 (Jewelry)

ที่อยู่ 162 หมู่ 2 ตำ�บลหนองโพ อ.โพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120 โทรศัพท์ 08-1587-5715 Address: 162Moo2 T.Nongpho A.Photharam Ratchaburi 70120 Tel: 08-1587-5715 E-mail: jidaj@hotmail.com

135


Prapon Gosinpanit

ประพนธ์ โกสิ น ทร์ พ าณิ ช ย์ Excellent Prizes Award 2004 (Product) ที่อยู่ 10/246 ซ.ร่วมใจพัฒนา 8 ถ.โชคชัย 4 ลาดพร้าว กรุงเทพ 10230 Address : 10/246 Soi Ruamjaipattana 8 Chokchai 4 Rd. Ladpraw Bangkok 10230 E-mail: prapon@348decor.com

136


Prapat Jiwarangsan

ประพั ท ธ์ จิ ว ะรั ง สรรค์ Best Designer of the Year 2007 (Ceramic)

Designer of the Year 2008 (Product)

ที่อยู่ 215/11 ถ.บางนา-ตราด บางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 086 988 7713 Address : 215/11 Bangna-Trad Rd. Bangna Bangkok 10260 Tel: 086 988 7713 E-mail: leonews22@hotmail.com www.ligino.com

137


Prutipong Kukanjanas

พฤฒิ พ งษ์ กิ จ กั ญ จนาสน์ Designer of the Year 2005 (Furniture) Honor Award 2009 (Furniture)

ที่อยู่ บริษัท สโตน แอนด์ สตีล จำ�กัด 54 สุขุมวิท 62 พระโขนง กรุงเทพ 10260 โทรศัพท์ 02 741 6034-6 , 08 1804 7774 Address : STONE & STEEL CO.,LTD 56 Sukhumvit 62 Bangkok 10260 Tel: 02 741 6034-6 , 08 1804 7774 E-mail: design@estonesteel.com

138


Rapee Leelasiri

ระพี ลี ล ะสิ ร ิ Designer of the Year 2008 (Textile/Fabric)

Excellent Prizes Award 2004 (Textile/Fabric) ที่อยู่ 9/245 หมู่ 10 ซอยโชคชัย 4/50 ถนนลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ 02 939 8428 / 08 9891 6616 Address : 9/245 Moo 10,Soi Chokchai 4/50, Ladphrao Road, Ladphrao, Bangkok 10230 Thailand. Tel: 02 939 8428 , 08 9891 6616 E-mail: sales@rapeeleela.com

139


Saran Yukongdee

ศรัณย์ อยู่คงดี

Emerging Award 2008 (Product) Designer of the Year 2009 (Product) ที่อยู่ 143/17 ซ.พุทธรักษา 2 ต.บางพึ่ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 10130 โทรศัพท์ 081 644 9702 Address : 143/17 Soi Puttaraksa 2 Bangpung Prapadang Samutprakarn 10130 Tel: 081 644 9702 E-mail: studioek@hotmail.com

140


สพรั่ง

SaPrang Piyawan Norkmuang, Supot Suwannasing

ปิยวรรณ นอกเมือง, สุพจน์ สุวรรณสิงห์

Emerging Award 2007 (Jewelry)

ที่อยู่ 397 หมู่บ้านดีสมโชค ซอย 2 ถ.ลาดพร้าว 107 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทรศัพท์ 081 905 6681 Address : 397 M.Deesomchole Soi 2 Ladprao 107 Rd. Klong Chin,Bangkapi,Bangkok 10240 Tel: 081 905 6681 saprangshop@yahoo.com

141


Sasiwan Dumrongsiri

ศศิ ว รรณ ดำ�รงศิ ร ิ​ิ Grand Prizes Award 2004 (Textile/Fabric) ที่อยู่ บริษัท ชบาติก จำ�กัด 991 อาคารศูนย์การค้าสยามพารากอน ชั้น 4 ห้อง 4-34 เอ ถ.พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 02 129 4530-1 Address : Chabatik Co.,Ltd. 991 Siamparagon Shopping Center, 4Fl., Unit 4-34 A Rama 1 Rd.,Pathumwan, Bkk 10330 Thailand Tel: 02 129 4530-1 E-mail: chabatik@hotmail.com

142


Satit Kalawantavanich

สาธิตHonorกาลวั น ตวานิ ช Award 2008 (Product) ที่อยู่ บริษัท พร็อพพาแกนดิสท์ จำ�กัด 779/210 ถ.ประชาราษฎร์บำ�เพ็ญ สามเสนนอก ห้วยขวาง กรุงเทพ 10320 โทรศัพท์ 086 770 2766 / 02 6904555 ต่อ 7002 Address : Propagandist Co.,Ltd. 779/210 Pracharasbumpen Rd. Samsaennok Hueykhang Bangkok 10320 Tel: 086 770 2766 / 02 6904555 Ext.7002 E-mail: pui@pheno.com

143


Sauwanee Bannasit

เสาวนี ย ์ บั น สิ ท ธิ ์ Honor Award 2007 (Textile / Fabric) ที่อยู่ บ้านไร่ไผ่งาม บ้านเลขที ่ 105 หมู่ที่ 8 ถนนเชียงใหม่-ฮอด ตำ�บลสบเตี๊ยะ อำ�เภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 50160 Address : Baanraipaigarm 105 Moo 8 Jomthong Chiangmai 50160 E-mail: sale@baanraipaigarm.com www.baanraipaigarm

144


Schle Woodthanan

ชเล วุ ฒ ธานั น ท์ Grand Prizes Award 2004 (Textile/Fabric) Honor Award 2008 (Textile/Fabric)

ที่อยู่ 77/191-192 อาคารสินสาทร ชั้น 42 ถ.กรุงธนบุรี คลองสาน กรุงเทพ 10600 โทรศัพท์ 02 440 0955 Address : 77/191-192 Sinsathorn Building 42 Fl. Krungthouburi Rd. Klongsan Bangkok 10600 Thailand Tel: 02 440 0955 E-mail: info@pasaya.com

145


Sedtawat Harnsiriwattana

เศรษฐวั ฒ น์ หาญศิ ร ว ิ ฒ ั นา Excellent Prizes Award 2004 (Product) ที่อยู่ 9/117 หมู่ 7 ถ.พุทธบูชา บางมด จอมทอง กรุงเทพ 10150 Address : 9/117 Moo 7 Pudtabucha Rd. Bangmod Jomthong Bangkok 10150

146


Prof.Em.Sermsak Narkbua

ศ.เสริ ม ศั ก ดิ ์ นาคบั ว Honor Award 2009 (Product) โทรศัพท์ 081 936 1085 Tel: 081 936 1085 E-mail: sn-narkbua@hotmail.com

147


Shinpith Kusumwichit

ชิEmerging นพิชAward ญ์ กุ2008สุม(Furniture) วิจิตร ที่อยู่ 152 จรัลสนิทวงศ์ 91 เขตบางพลัด กทม. 10700 โทรศัพท์ 085 130 6817 Address : 152 Jaransanitwong 91 Bangplad Bangkok 10700 Tel: 085 130 6817 E-mail: minimarts@hotmail.com

148


Singh Intrachooto

สิ ง ห์ อิ น ทรชู โ ต Emerging Award 2007 (Furniture) ที่อยู่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์ 50 พหลโยธิน จตุจักร กรุงเทพ 10900 โทรศัพท์ 02 942 8960 / 089 892 2283 Address : Faculty of Architecture, Kasetsart University, Jatujak, Bangkok 10900 Tel: 02 942 8960 / 089 892 2283 E-mail: singhman@gmail.com

149


Somchai Jongsaeng

สมชาย จงแสง Designer of the Year 2005 (Interior) ที่อยู่ บริษัท เดกา อาทีเรีย จำ�กัด 4/7 อาคารเสนาบดี 1 ซอยพหลโยธิน 11 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 02 279 9285-6 Address : Deca Atelier Co.,Ltd. 4/7 Senabadee Building 1 Soi Phaholyothin 11 Phaholyothin Rd., Samsennai Phayathai Bangkok 10400 Tel: 02 279 9285-6 E-mail: admin@deca-atelier.com , deca_atelier@yahoo.com

150


Somchai Thanapolkiat

สมชาย ธนพลเกี ย รติ Excellent Prizes Award 2004 (Furniture) ที่อยู่ 225/19-20 หมู่บ้านไพโรจน์ บางนา กม. 4 บางนา พระโขนง กทม. 10250 Address : 225/19-20 Mooban Piroj Bangna Km.4 Prakanong Bangkok 10250

151


Somchai Kaewthong

สมชาย แก้ ว ทอง Honor Award 2007 (Textile / Fabric) ที่อยู่ Kai Boutique 187/1 Bangkok Cable Building ถ.ราชดำ�ริ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพ 10330 โทรศัพท์ 02 251 0728 / 081 315 336 Address : Kai Boutique 187/1 Bangkok Cable Building Rajdamri Rd. Lumpini Patumwan Bangkok 10330 Tel: 02 251 0728 / 081 315 336

152


Sompop Chimmung

สมภพ ฉิ ม ม่ ว ง Designer of the Year 2005 (Ceramic) ที่อยู่ Merry Life 645 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอย 65 บางบำ�หรุ บางพลัด กรุงเทพ 10700 โทรศัพท์ 02 886 6849 Address: Merry Life 645 Charansanitwong Rd. Soi 65 Bangbamru Bangpad Bangkok 10700 Thailand Tel: 02 886 6849 E-mail: info@merrylifestyle.com

153


Somluk Pantiboon

สมลั ก ษณ์ ปั น ติ บ ญ ุ Best Designer of the Year 2007 (Ceramic) Honor Award 2007 (Ceramic)

ที่อยู่ 49 หมู่ 6 ต.นางแล อ.เมือง จ. เชียงราย 57100 โทรศัพท์ 053 705 291 / 081 960 6681 Address : 49 moo 6 Tambon Nanglae A.muang Chingrai 57100 Tel: 053 705 291 / 08 1960 6681 E-mail: doyindg@loxinfo.co.th

154


Supaporn Attakomon

สุEmerging ภาพรAwardอรรถโกมล 2007 (Ceramic) ที่อยู่ 123 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 โทรศัพท์ 043 362 046 / 086 799 2738 Address: 123 Faculty of Architecture, Khonkaen University Mitrapab Road,T.Naimuang,A.Muang,Khonkaen 40002 Tel: 043 362 046 / 08 6799 2738 E-mail: bigy_pao@hotmail.com

155


supapong sornsang

ศุExcellent ภพงศ์Prizesสอนสั ง ข์ Award 2004 (Product)

Best Designer of the Year 2005 (Product) ที่อยู่ 264/8 หมู่15 บางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 โทรศัพท์ 081 493 3710 / 02 801 0737 Address : 264/8 Moo 15 Bangwa Pasijarean Bangkok 10160 Tel: 081 493 3710 / 02 801 0737 E-mail: contactredbox@yahoo.com

156


Supavee Sirinkraporn

ผศ.ดร. สุ ภ าวี ศิ ร น ิ คราภรณ์ Best Designer of the Year 2005 (Jewelry) ที่อยู่ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ถนนหน้าพระลาน เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 08-9742-5213 / 0-2623-6115 ต่อ 11287 Address : Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University Bangkok 10200 Thailand Tel: 08-9742-5213 / 0-2623-6115 Ext. 11287 E-mail: pearvee@yahoo.com

157


Suwan Kongkhunthain

สุGrandวรรณ คงขุ น เที ย น Prizes Award 2004 (Furniture) Honor Award 2008 (furniture)

ที่อยู่ บริษัท โยธกา อินเตอร์เนชั่นแนล จำ�กัด 1028/5 อาคารพงษ์อมร ชั้น 3 ถ.พระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กทม. 10120 โทรศัพท์ 08-1814-7048 / 0-2679-8631-2 Address : Yothaka International co.,ltd. 1028/5 3rd Floor Pongamorn Building, Rama 4 rd. Thungmahamek,Sathorn, Bangkok 10120. Tel: 08-1814-7048 / 0-2679-8631-2 E-mail: yothaka@cscoms.com

158


Taweesak Molsawat

ทวี ศ ก ั ดิ ์ มู ล สวั ส ดิ ์ Designer of the Year 2005 (Jewelry) โทรศัพท์ 084 879 0242 Tel: 084 879 0242 E-mail: tmolsawat@hotmail.com

159


Thitiporn Chanawangsa

ฐิDesigner ติพร of theฌานวั ง ศะ Year 2009 (Textile/Fabric) ที่อยู่ 39/356 ซอยประชาอุทิศ 123 ถ.ประชาอุทิศ แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กทม. 10140 โทรศัพท์ 02 815 8067 / 081 123 4433 Address : 39/356 MB.Thatsaneenivet Soi Prachauthit 123 Thungkru Thungkru Bangkok 10140 Thailand Tel: 02 815 8067 / 081 123 4433 E-mail: t_chanawangsa@hotmail.com

160


Thossapol Wachiradisai

ทศพล วชิ ร าดิ ศ ย ั Designer of the Year 2008 (Jewelry) ที่อยู่ 54/146 ม.ปริญลักษณ์ ถ.เอกชัย แขวงบางบอน เขตบางบอน กทม. 10150 โทรศัพท์ 02 899 7849 / 089 223 9165 Address: 54/146 Prinluck Village Ekkachai Rd., Bangbon, Bangkok 10150 Thailand Tel: 02 899 7849 / 089 223 9165 E-mail: totdesire@live.com

161


Tinnart Nisalak

ทิHonorนนาถ นิ ส าลั ก ษณ์ Award 2009 (Textile/Fabric) ที่อยู่ บริษัท อุตสาหกรรมไหมไทย จิมทอมป์สัน โทรศัพท์ 02 762 2531 / 089 223 3310 Address : Jim Thompson Thai Silk Tel: 02 762 2531 / 089 223 3310 E-mail: tinnart@jimthompson.com

162


Trimode Pirada Senivongse na Ayudhya, Shinpanu Athichathanabadee, Paradis Senivongse na Ayudhya

Trimode พิรดา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา, ชินภาณุ อธิชาธนบดี, ภารดี เสนีวงศ์ ณ อยุธยา

Best Designer of the Year 2007 (Product) Designer of the Year 2008 (Jewelry, Furniture) ที่อยู่ 136/3 ถนนเจริญกรุง 82 แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 081 849 9925 / 02 688 0760 Address: 136/3 Charoenkrung 82 Bangkolam Bangkok 10120 Tel: 081 849 9925 / 02 688 0760 E-mail: pirada@trimodestudio.com www.trimodestudio.com

163


Udom Udomsrianan

อุดม อุดมศรีอนันต์ Grand Prizes Award 2004 (Furniture) ที่อยู่ บริษัท PLANET 2001 จำ�กัด 1028/5 พงษ์อมร ถ.พระราม 4 ทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กทม. 10120 โทรศัพท์ 02 679 8525 / 081 826 4742 Address : PLANET2001 CO. LTD,. 1028/5 Pongamorn Praram 4 Rd. Tungmahamek Satorn Bangkok 10120 Tel: 02 679 8525 / 081 826 4742 E-mail: pe@planet2001design.com

164


Vitawan Chunthone

วิ ท วั น จั น ทร Best Designer of the Year 2007 (Fabric/Textile) ที่อยู่ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี 12110 โทรศัพท์ 089 799 7525 Address: Faculty of Fine & Applied Arts, Thammasat University, Pathumthani 12110 Thailand Tel: 089 799 7525 E-mail: oaddao@yahoo.com

165


Viporn Thitivongse

วิBestพDesigner ร ฐิตofิวงศ์ the Year 2007 (Jewelry) ที่อยู่ 42/81 ซอยสวนผัก 58 ถ.พุทธมณฑล 2 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 โทรศัพท์ 081 496 7878 / 02 448 0978 Address : 42/81 Soi Suanpak 58 Budhamonthon 2 Sarathammasop Taveewattana Bangkok 10170 Tel: 081 496 7878 / 02 448 0978 E-mail: vip.design@hotmail.com

166


Watanapoj Boongvang-Anan

วรรธนพจน์ บุ ญ กว้ า งอนั น ต์ Excellent Prizes Award 2004 (Product) ที่อยู่ 636 ซ.11 หมู่บ้านชลนิเวศน์ ถ.ประชาชื่น ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพ 10900 Address: 636 Soi 11 Chonnivaj Villa Prachachuen Rd. Ladyal Jatujak Bangkok 10900

167


Warangkana Toewiwat

วรางคณา โตวิ ว ฒ ั น์ Excellent Prizes Award 2004 (Product) ที่อยู่ 255/8 ถ.มหิดล ต.ช้างคลาน อ.เมือง เชียงใหม่ 50100 Address : 255/8 Mahidol Rd. Changkarn A.Muang Chaingmai 50100

168


Wasinburee Supanichvoraparch

วศิ น บุ ร ี สุ พ านิ ช วรภาชน์ Best Designer of the Year 2007 (Ceramic) ที่อยู่ บริษัทเถ้าฮงไถ่ เลขที่ 234/1 หมู่ 2 ต.เจดีย์หัก อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 โทรศัพท์ 081 880 3600 / 032 323 630 Address: 234/1 Jedeehak Rd. Ratchburi 70000 Tel: 081 880 3600 / 032 323 630 E-mail: wasinburee@hotmail.com

169


Wichai Lailawitmongkhol

วิDesigner ชัย ไลละวิ ท ย์ ม งคล of the Year 2008 (Textile/Fabric) ที่อยู่ 37 ซอยเจริญนคร 57 ถ.เจริญนคร บุคคโล ธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 โทรศัพท์ 02 862 4952 / 085 249 5514 Address : 37 Soi Jareannakorn 57 Jareannakorn Rd. Bukkalo Tonburi Bangkok 10600 Tel: 02 862 4952 / 085 249 5514 E-mail: lwichai@siamcurio.com

170


Winita Kongpradit

วิ น ต ิ า คงประดิ ษ ฐ์ Excellent Prizes Award 2004 (Jewelry) ที่อยู่ 43 รามอินทรา 44 แยก 8 แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230 โทรศัพท์ 081 343 7824 Address: 43 Ramintra 44 Yak 8, Ramintra Kannayoaw Bangkok 10230 Thailand Tel: 081 343 7824 E-mail: winita@yahoo.com

171


Wiriya Wattanayon

วิEmerging ริยะ Award วัฑฒนายน 2008 (Furniture) ที่อยู่ บริษัท เซรามิกอุตสาหกรรมไทย จำ�กัด 33/1 ม.2 ถ.สุวรรณศร ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี 18230 โทรศัพท์ 081 599 2805 Address : 33/1 Moo 2, Suwannasorn Rd., Khokyae, Nongkhae, Saraburi, 18230 Tel: 081 599 2805 E-mail: wiriyaw@scg.co.th

172


Yenn

Yenn Doonyapol Srichan, Siriluck Agukitkul, Wararat Puapairoj

ดุลยพล ศรีจันทร์, ศิริลักษณ์ เอกอุกฤษกุล, วรรัตน์พัวไพโรจน์

Emerging Award 2008 (Product)

ที่อยู่ 486/152-154 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ ราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทรศัพท์ 089 137 6526, 089 131 5512, 086 075 1445 Address: 486/152-154 Pechaburi Rd. Ratchatevee Bangkok 10400 Tel: 089 137 6526, 089 131 5512, 086 075 1445 E-mail: yenndesign@yahoo.com

173


Yuthana Bumrungkit

ยุGrandทธนา บำ�รุ ง กิ จ Prizes Award 2004 (Product) ที่อยู่ 429 ม.1 ต.แม่คำ� อ.แม่จัน เชียงราย 57120 Address : 429 Moo 1 Maekom Maejan Chaingrai 57120

174


โครงการเส้นทางสู่ระดับสากลของนักออกแบบไทย

(Designer of the year)

175


โครงการเส้นทางสู่ระดับสากลของนักออกแบบไทย

(Designer of the year)

ปี 2547-2552

มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายส่งเสริมงานด้านศิลปวัฒนธรรมโดยกิจกรรมหนึ่งที่นับเป็น โครงการสำ�คัญซึ่งฝ่ายศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยได้ริเริ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนนักออกแบบสร้างสรรค์ไทย และได้ประกาศเกียรติคุณรางวัลนักออกแบบไทยครั้งแรกในปี 2547 หลังจากนั้นได้มอบให้คณะมัณฑนศิลป์ ดำ�เนินการต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา 5 ปี ผลสะท้อนที่ปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจน คือการยกระดับด้านมาตรฐานวิชาชีพการออกแบบ และการเผยแพร่ชื่อเสียงผลงานการออกแบบขึ้นในระดับ ชาติ ในการดำ�เนินกิจกรรมทุกปีนั้น มหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน สื่อมวลชน ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องทางศิลปะการออกแบบจำ�นวนมากเป็นประจำ�ทุก ปี องค์กรภาครัฐผู้ให้การสนับสนุนที่สำ�คัญของโครงการ คือ สำ�นักพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าสินค้า กรมส่งเสริมการส่งออก (DEP) และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ(TCDC) สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ ความรู้ นอกจากนี้ ในกระบวนการของโครงการยังเห็นบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในกลุ่ม นักวิชาการ ศิลปิน นักออกแบบ สื่อมวลชนทางศิลปะการออกแบบทั้งจากสถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่อยกระดับการคัดเลือกและคัดสรรผลงาน นำ�ไปสู่การพัฒนามาตรฐานนัก ออกแบบไทยสู่ระดับสากลต่อไป

1. วัตถุประสงค์ของโครงการ 1.1 เพื่อเป็นเวทีให้นักออกแบบไทยได้พัฒนามาตรฐานผลงานการออกแบบสู่ระดับสากล 1.2 เพื่อเชิดชูเกียรตินักออกแบบไทยที่สร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนอัตลักษณ์ร่วมสมัยประจำ�ปี 1.3เพื่ อ สร้ า งเครื อ ข่ า ยด้ า นการออกแบบในกลุ่ ม วิ ช าชี พ และบู ร ณาการระหว่ า งนั ก ออกแบบ มหาวิทยาลัย สถาบันหรือหน่วยงานทางการออกแบบและสังคมภายนอกเพือ่ กำ�หนดมาตรฐานงานการออกแบบ 1.4เพือ่ สนองนโยบายรัฐบาลในการมุง่ ส่งเสริมและสนับสนุนงานทางการออกแบบของไทยให้ได้มาตรฐาน ระดับนานาชาติและเป็นแหล่งฐานความรู้ที่แสดงออกถึงวิวัฒนาการงานออกแบบของไทยในระดับสากล

2. ประเภทของผลงานและรางวัล ประเภทของผลงานที่จะนำ�ไปสูร่ อบการคัดเลือกนักออกแบบยอดเยีย่ มแต่ละปีนบั แต่ปี 2547 เริม่ จาก การจัดกลุม่ รางวัลนักออกแบบเป็น 2 กลุม่ โดยไม่จำ�แนกประเภทผลงาน ต่อมาในปี 2548 คณะกรรมการคัด สรรจากผลงานการออกแบบรอบแรก จึงได้เริม่ แบ่งกลุม่ ประเภทผลงาน เป็นกลุม่ ใหญ่ ๆ 3 กลุม่ คือ ประเภทผลงานสถาปัตยกรรมภายในและงานมัณฑนศิลป์ ประเภทงานออกแบบเครื่องเรือนผลิตภัณฑ์และเครื่องเคลือบดินเผา ประเภทงานออกแบบเครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย ผ้าและเส้นใย

176


และได้กำ�หนดกลุม่ รางวัลในปี 2548 เป็น 2 กลุม่ เช่นเดียวกับปี 2547 แต่ได้กำ�หนดชือ่ รางวัลใหม่ ทัง้ 2 รางวัลเป็น รางวัลนักออกแบบยอดเยี่ยม และรางวัลนักออกแบบแห่งปี ในปี 2549-2550 ได้ขยายประเภทของงานออกแบบ เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ งานออกแบบเครื่องเรือน (Furniture Design) งานออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) งานออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา (Ceramics Design) งานออกแบบเครื่องประดับ (Jewelery Design) งานออกแบบเครื่องแต่งกาย ผ้าและเส้นใย (Fashion and FabricDesign) และได้ขยายรางวัลเป็น 4 ประเภทรางวัล โดยคำ�นึงถึงนักออกแบบผู้ทำ�งานในวงวิชาชีพอย่างต่อเนื่องยาวนาน สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคมการออกแบบ และการส่งเสริมนักออกแบบรุ่นใหม่ ดังนี้ Honor Awards 2007 Best of the Best Designer of the Year 2007 Best Designer of the Year 2007 Emerging Designer Awards 2007 ต่อมาในปี 2551 และปี 2552 ได้ปรับประเภท และรางวัลนักออกแบบแห่งปีคงที่ แล้ว อยูท่ ่ี 4 ประเภทผลงานคือ ประเภทงานออกแบบเครื่องเรือน (Furniture Design) ประเภทงานออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ประเภทงานออกแบบเครื่องประดับ (Jewelry Design) ประเภทงานออกแบบผ้าและเส้นใย (Textile and Fabric Design) และกำ�หนดรางวัลปี 2551 และปี 2552 เป็น 3 ระดับรางวัล คือ Honor Award 2008 / 2009 Designer of the Year 2008 / 2009 Emerging Designer Awards 2008 / 2009

177


ตารางแสดงประเภทผลงานและรางวัลนักออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี

ระหว่างปี 2004-2009

3. กระบวนการคัดสรรและเกณฑ์การตัดสิน กระบวนการคัดสรรนักออกแบบ มีขั้นตอนวิธีการเสนอชื่อนักออกแบบ ระหว่าง ปี 2547-2552 ดังนี้ 3.1 คัดสรรชือ่ นักออกแบบและผลงาน จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทีเ่ กีย่ วข้องกับการออกแบบ 3.2 การเสนอชื่อจากสมาคมวิชาชีพทางการออกแบบ 3.3 การเสนอชื่อจากสื่อสารมวลชนที่เกี่ยวข้อง 3.4 การเสนอชื่อจากสถาบันการศึกษาด้านศิลปะและการออกแบบ 3.5 คัดสรรชื่อนักออกแบบและผลงานจากงานแสดงผลงานการออกแบบระดับชาติ นานาชาติ และงานประกวดทั้งในและต่างประเทศ 3.6 การเสนอชื่อจากนักออกแบบแห่งปีที่เคยได้รับรางวัล 3.7 การเสนอชื่อจากผู้ว่าจ้างงานออกแบบ เพื่อนนักออกแบบ ประชาชนผู้สนใจและชื่นชมในผล งานและบุคคลทั่วไป คุณสมบัติของนักออกแบบและประเภทรางวัล แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 Honor Award เป็นรางวัลเชิดชูเกียรติที่มอบให้แก่นักออกแบบไทยผู้มีประสบการณ์ระดับสูงที่ มีผลงานออกแบบอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 20 ปี และประสบความสำ�เร็จในการประกอบวิชาชีพ เป็นแบบอย่างทีด่ แี ละมีคณ ุ ปู การแก่วงการออกแบบและสังคม โดยมอบรางวัลตามประเภทของผลงานทัง้ 4 ประเภท ประเภทที่ 2 Designer of the year เป็นรางวัลที่มอบให้แก่นักออกแบบไทย ผู้มีประสบการณ์ทำ�งาน มากกว่า 5 ปี มีผลงานออกแบบอย่างต่อเนื่องในสาขาวิชาชีพ และมีผลงานชิ้นสำ�คัญอันโดดเด่นแห่งปี และเป็นที่ประจักษ์ในเชิงพาณิชย์ โดยมอบรางวัลตามประเภทของผลงานทั้ง 4 ประเภท 178


ประเภทที่ 3 Emerging Award เป็นรางวัลที่มอบให้แก่นักออกแบบไทยหน้าใหม่ ที่มีอายุไม่ต่ำ�กว่า 20 ปี มี ผลงานโดดเด่นในรอบปี โดยอาจเป็นผลงานออกแบบเชิงพาณิชย์หรือเป็นผลงานต้นแบบที่มีเอกลักษณ์อันแจ่ม ชัดซึ่งนำ�ไปสู่การพัฒนารูปแบบเป็นเชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคตได้ โดยมอบรางวัลตามประเภทของผลงานทั้ง 4 ประเภท ทุกประเภทรางวัล จะได้รับโล่รางวัลประกาศเกียรติคุณพร้อมเกียรติบัตรและจะได้รับการตีพิมพ์ผลงานใน สูจิบัตรซึ่งจะเผยแพร่ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และตั้งแต่ปี 2550 ได้จัดแสดงนิทรรศการเผยแพร่ใน งาน Interior in Trend 2009 ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน จัดนิทรรศการในงานแสดงสินค้านานาชาติ ภายในประเทศ รวมทัง้ นำ�ผลงานการออกแบบจัดแสดงนิทรรศการถาวรร่วมกับผลงานของนักออกแบบยอดเยีย่ ม และนักออกแบบแห่งปี 2547– 2551 ณ Design Museum Gallery อาคารศิลป์ พีระศรี 3 มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวัง-สนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ที่แสดงถึงแนวคิดและที่มา ของผลงานการออกแบบของนักออกแบบไทยให้เป็นฐานความรู้ในวงการศึกษามากยิ่งขึ้น

กำ�หนดเวลาการตัดสิน การตัดสินทุกปีจะจัดแบ่ง เป็น 2 รอบ คือรอบคัดสรรมุ่งเน้นผลงาน และรอบตัดสินพิจารณา profile และผลงาน องค์ประกอบของคณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ การออกแบบทั้งภายในและต่างประเทศ จากวิชาชีพต่าง ๆดังนี้ ผู้เชี่ยวชาญ ศิลปิน นักออกแบบที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย นักวิชาการด้านการออกแบบ สื่อสารมวลชนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ

หลักเกณฑ์ในการตัดสิน หลักเกณฑ์ในการตัดสิน จะพิจารณาจากกระบวนการคิดในการออกแบบและสร้างผลงานของนักออกแบบไทย ในภาพรวม ดังนี้ 1.เป็นผู้ที่มีแนวคิดการออกแบบอันแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์บนพื้นฐานของภูมิปัญญาตะวันออก เน้นการต่อยอดต้นทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากรของประเทศ เป็นฐานในการสร้างสรรค์ผลงานการ ออกแบบ 2.สร้างสรรค์ผลงานที่มีการผสมผสานระหว่างความสวยงาม ประโยชน์ใช้สอย การผลิต และ โอกาสทางธุรกิจ 3.เป็นผลงานที่ก่อให้เกิดกระบวนทัศน์หรือคุณค่าใหม่ในวงการออกแบบ

4. ผลลัพท์ของโครงการ 4.1. ได้เผยแพร่ชื่อเสียงของนักออกแบบไทยและส่งเสริมนักออกแบบผู้มีผลงานออกแบบยอดเยี่ยม แห่งปีให้สังคมได้สัมผัสทั้งภายในและภายนอกประเทศ 4.2. เป็นการสนับสนุนให้นักออกแบบได้พัฒนาความคิดผลงานเพื่อตอบสนองต่อสังคมโดยส่วน รวมมากยิ่งขึ้น 4.3. สร้างเครือข่ายการออกแบบเพื่อร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร และบุคลากรในวิชาชีพ เพื่อ ร่วมพัฒนาผลงานการออกแบบที่มีคุณภาพต่อมวลชนในระดับนานาชาติเพิ่มมากขึ้น

179


The “Designer of the Year” Project

2004-2009

Silpakorn University has a policy to promote arts and culture. To encourage Thai designers, the university’s Arts and Culture Division initiated the “Designer of the Year” Project. The first award presentation was organized in 2004. The Faculty of Decorative Arts took over the event in 2005 and continued organizing it for five consecutive years. Concrete outputs from the event are upgraded design career standards and enhanced designers’ reputations at the national level. While organizing this yearly event, the university obtains excellent cooperation from educational institutes, public and private organizations, the media and individuals in the design circle. Major public entity supporters include the Office of Product Value Development, the Department of Export Promotion (DEP), the Thailand Creative & Design Center (TCDC) and the Office of Knowledge Management and Development. During project implementation every year, exchange of knowledge and experience among academics, artists, designers and the media in-country and overseas is always observable. This helps to upgrade selection and short-listing, resulting in higher standards among Thai designers who demonstrate excellence and outstanding achievements.

1. Objectives

1.1 Provide a channel for Thai designers to improve their design standards 1.2 Honor Thai designers for the creation of work that reflects contemporary identity 1.3 Create a network of design professionals and forge integration among de signers, universities, educational institutes or designing entities and society to set standards for design work 1.4 Respond to government policy that emphasizes promotion of standardized design and a knowledge center to compile evolution of Thai design achievements.

2. Types of Work and Awards Commencing in 2004, design works were categorized into two types with unspecified. Awards were grouped into two classes, as in 2004, and renamed: Grand Prizes Award and Excellent Prizes Award Later in 2005, the preliminary adjudication committee categorized design works into three groups: Interior architecture and decorative arts design Furniture and ceramics design Jewelry, fashion, fabric design

180


Awards were also grouped into two classes :

Best of the Best Designer 2005 and Best Designer of the Year 2005 In 2006-2007, design works were divided into five categories: Furniture Design Product Design Ceramics Design Jewelry Design Fashion and Fabric Design Awards were classified into four groups, considering designers who had dedicated their lives to creative work and had become role models for their contemporaries as well as new blood. The awards were: Honor Awards 2007 Best of the Best Designer of the Year 2007 Best Designer of the Year 2007 Emerging Designer Awards 2007 Later, in 2008-2009, the awards were adjusted to four categories: Furniture Design Product Design Jewelry Design Fashion and Fabric Design With three types of awards: Honor Awards 2008/2009 Designer of the Year 2008/2009 Emerging Designer Awards 2008/2009

181


Categories of Designing Work for Designers of the Year

2004-2009

3. Selection Procedure and Judging Criteria The Selection Procedure including the nomination process in 2004-2009 followed this sequence:

3.1 Selection of designer names and works from designing-related public and private agencies 3.2 Nominations from professional designing associations 3.3 Nominations from related media 3.4 Nominations from educational institutes with arts and design departments 3.5 Selection of names and works from national, international design symposiums and contests 3.6 Nominations from the former Designer of the Year winners 3.7 Nominations from clients, friends, aficionados and the general public

Qualifications of Designers and Three Types of Award: Type 1: The Honor Award is presented to honorary Thai designers with accumulated experience of over 20 years and successful achievements in their careers, being role models and contributors to the design circle and society. Awards are offered in four categories. Type 2: The Designer of the Year Award is presented to Thai designers with accumulated experience of over five years and regular design achievements with artistic and commercial values. Awards are offered in four categories.

182


Type 3: The Emerging Award is presented to new Thai designers aged over 20 years who have produced outstanding masterpieces, be they designed for commercial purposes or uniquely pre-commercial originals. Awards are offered in four categories. All award winners receive honorary plaques and certificates. Their works will be published in a program disseminated in-country and overseas. Since 2007, displays have been held at Interior in Trend 2009 in the Siam Paragon center, as an international exposition. The winners’ works are showcased, together with the former winners (20042008) at the permanent exhibition of the Design Museum Gallery, Silp Bhirasri Building 3, Silpakorn University (Sanam Chandra Palace Campus), Nakhon Pathom Province. It serves as a center of knowledge that provides concepts and inspiration for designers’ art forms – a useful base of knowledge for the educational domain.

Selection Period

Yearly judgment has two rounds: Preliminary and Final. The Judging Committee comprises eminent national and international scholars in arts and design from various professions. 1. Renowned specialist, artists, designers 2. Design academics 3. Design-related mass media Judging Criteria are based on overall methodology of thinking in design and production: - Express design identity on the basis of eastern wisdom, utilizing national cultural capital and resources as the origin of design. - Create a work of art combining aesthetic beauty and functionality, production and business opportunity. - Lead to a paradigm shift in design or new value in the design circle.

4. Outcome

4.1 Publicize the reputation of Thai designers and introduce “Designer of the Year” winners to national and international communities. 4.2 Encourage designers to strengthen creativity, for greater satisfaction of society at large. 4.3 Establish a design network, in close cooperation with agencies, organizations and individuals to jointly develop quality design work in the international community.

183


The Jury

for Designer of the Year Awards

2004

1. Mr.Enrico Fagone Designer from the Nuova Accademia of Belle Art ( NABA),Italy 2.Prof.Shiro Takahashi The President of Tama Art University,Japan 3.Asst.Prof.Thavorn Ko-Udomvit Honorary Artist of Distinction and Vice President for Art and Culture at Silpakorn University, Thailand

2005

1. Prof. Dr.Collin Gale Head of the School of Fashion and Textiles Birmingham Institute of Art and Design ,University of Central England 2. Prof.Shiro Takahashi The President of Tama Art University, Japan 3. Prof.Luca Buttafava Education Area Coordinator Domus Acadamy,Milano,Italy 4. Prof.Emeritus Sermsak NarkbuaDesign Expert in Ceramic and Applied Art.Thailand

2006-2007

1. Mrs.Coco Funabiki President of Tokyo Design Center inc. and Managing Director of Japan Design Consultants Association, Tokyo; Japan 2. Mr.Nithi Stapitanonda National Artist,Thailand 3. Mr.Suwan Kongkuntian Yotaka International Co.Ltd., Executive Manager

184


2008

1. Mr.Nithi Stapitanonda National Artist,Thailand 2. Ms.Methinee Suwanabun Thailand Interior Design Association,Chairman (TIDA) 3. Mr.Apisit Laistrooklai Thailand Creative&Design Center,Director 4. Ms.Panpilai Biyoke Federation of Design &Construction Service,Vice President 5. M.L.Pawinee Santisiri Yotaka International Co.Ltd., Director Manager

2009

1. Mr.Nithi Stapitanonda National Artist,Thailand 2. Mr.Suwan Kongkuntian Yotaka International Limited,Thailand ,Executive Manager 3. Ms.Methinee Suwanabun The Mall Group Co.Ltd,Project Development 4. Mr.Apisit Laistrooklai Thailand Creative&Design Center,Director 5. Ms.Supatra Srisook Burin Srisook Architect Co.Ltd. 6. Mr.Sakkachat Sivabovorn I-Design Publishing Co.Ltd., Director Manager 7. Mr.Duangrit Bunnag Duangrit Bunnag Architec Limited 8. Mr.Chookiat Likitpunyarut Thailand Interior Design Association (TIDA) 9. Assoc.Prof.Pisprapai Sarasalin Faculty of Art and Design, Dean of Rangsit University

185


186


Designer of the Year 2010,

Committee

1. 2.

Director of Thailand Creative & Design Center Adviser Director of Product Value Promotion Division, Department of Export Promotion Adviser 3. Vice President for Art and Culture ,Silpakorn University Adviser 4. Director of Art Center,Silpakorn University Adviser 5. Asst. Prof.Thavorn Ko-Udomvit Adviser 6. Assoc.Prof.Eakachat Joenurairatana Chairman 7. Asst.Prof.Arwin Intarangsri Vice-Chairman Vice-Chairman 8. Asst.Prof.Terdsak Lekdee 9. Ms.Malinee Wigran Vice-Chairman Committee 10. Mr.Akekapong Treetrong Committee 11. Asst.Prof. Dr. Namfon Laistrooklai 12. Ms.Khemmiga Teerapong Committee 13. Mr.Inthanu Faromkao Committee 14. Mr.Phusit Rathanapanop Committee 15. Mr.Suppapong Sonsang Committee 16. Mr.Visanu Ongsakul Committee 17. Ms.Mantharat Jitmaleerat Committee 18. Ms.Napaporn Thongtavee Committee 19. Ms.Mukda Jitphromma Committee and Secretary 20. Ms.Nanthana Saelea Committee and Assistance-Secretary Khemanucheta 21. Ms.Chantima Committee and Assistance-Secretary

187


188


Designer of the Year 2010: October 19-25, 2010 Š2010 Copyright by The Faculty of Decorative Arts ,Silpakorn University,Bangkok

Special thanks to : Silpakorn University : Mr.Nithi Sthapitanonda : Mr.Apisit Laistrooklai : Asst. Prof. Thavorn Ko-Udomvit : Assoc.Prof. Sone Srimatrang : SCG Experience : Department of Export Promotion (DEP) : Thailand Creative & Design Center(TCDC) Editorial Advisory Board : Assoc.Prof.Eakachat Joenurairatana : Asst. Prof. Dr.Jirawat Wongphantuset : Asst. Prof. Terdsak Lekdee : Asst. Prof. Suebpong Paotai Editors : Asst. Prof.Arwin Intarangsri : Malinee Wigran : Suppapong Sonsang : Visanu Ongsakul Editorial Assistant : Mukda Jitphromma Design & Art work : Khemmiga Teerapong Coordinators : Mantharat Jitmaleerat : Nanthana Saelea : Chantima Khemanucheta : Napaporn Tongtawee Printed by S.O. Full Printing Service CO., LTD. Edition limited 1,000 copies

189






Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.