16STANDARDSMA4KU68TAS37(2552)Added Accounting Standard.pdf

Page 73

61 ในมาตรฐานการบั ญชี ฉบั บ ที่ 10 (ปรับปรุง 2552) เรื่องเหตุก ารณ์ภายหลังรอบระยะเวลา รายงาน นั้นได้กําหนดวัตถุประสงค์สรุปได้ 2 ข้อดังต่อไปนี้ 1. เพื่อกําหนดว่าเมื่อใดกิจการต้องนําเหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงานมาปรับปรุง รายการในงบการเงิน 2. เพื่ อกํ า หนดให้กิ จการต้ องเปิด เผยวัน ที่ไ ด้รับอนุมัติใ ห้ ออกงบการเงิ นและเหตุก ารณ์ ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน โดยก่ อ นที่ จะศึ ก ษาเพิ่ ม เติม ในรายละเอีย ดจะนํ าเสนอความหมายของคํ าว่ า “เหตุ ก ารณ์ ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน” ซึ่งหมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสิ้นงวดที่รายงานกับวันที่ ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นไปในทางดีหรือไม่ดี ซึ่งผู้ให้การอนุมัติงบ การเงินนั้นควรหมายถึงกรรมการผู้มีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลนั้นๆ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือ รับรองของนิติบุคคล หรือบุคคลซึ่งได้รับมอบอํานาจเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรรมการผู้มีอํานาจ ลงนามตามกฎหมาย หรือบุคคลซึ่งได้รับมอบอํานาจจากที่ ประชุมของคณะกรรมการบริษัทโดยมี การระบุการมอบอํานาจไว้อย่างชัดเจนในรายงานการประชุมของคณะกรรมการบริษัท เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงานจะสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทและมีหลักปฏิบัติ สรุปได้ดังนี้ 1. เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงานที่ต้องปรับปรุง คือเหตุการณ์ที่เป็นหลักฐาน ยืนยันว่าสถานการณ์ได้มีอยู่ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานหรืออธิบายได้ว่าเหตุการณ์ นั้นกิจการได้ทราบเรื่องมาแล้ว ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 2. เหตุก ารณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงานที่ไ ม่ต้องปรับปรุง (กล่าวคือไม่ต้องกลับไป บันทึกรับรู้รายการในงบการเงินรวมถึงไม่ต้องปรับปรุงจํานวนที่รับรู้ในงบการเงิน) คือ เหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์ได้เกิดขึ้นภายหลังวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานหรื อ อธิ บ ายไว้ว่ า เหตุก ารณ์ นั้น กิ จ การไม่ เคยทราบเรื่ องมาก่ อน ณ วัน สิ้น รอบระยะเวลา รายงาน


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.