16STANDARDSMA4KU68TAS37(2552)Added Accounting Standard.pdf

Page 22

10 ประมาณการและใช้ วิจารณญาณส่วนบุคคลในการพิ จารณาว่า หนี้สิ นเกิดขึ้นแล้วหรือไม่ หรือ เกิดขึ้นในจํานวนเท่าไร (รศ.ดร.ศศิวิมล มีอําพล , 2553 : (14-1)-(14-2)) FASB ได้ให้ความหมายของหนี้สินไว้ดังนี้ “Probable future sacrifices of economic benefits arising from present obligations of a particular entity to transfer assets or provide services to other entities in the future as a result of past transactions or events” ตามความหมายในแม่ บ ทการบัญชีหมายถึง ภาระผูก พันในปัจจุบันของกิ จการโดยภาระ ผูกพันดังกล่าวเป็นของเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งการชําระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิ จการต้อง สูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ (รศ.ดร.ธารินี พงศ์สุพัฒน์ , 2553 ; (1-1)) ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการที่จะโอน สินทรัพย์หรือบริการให้แก่กิจการอื่นในอนาคต ซึ่งภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลจากเหตุการณ์ใน อดีต การชําระภาระผูกพันนั้นจะส่งผลให้กิจการต้องสูญเสียทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจ จากข้อความข้างต้น สรุปได้ว่า หนี้สินเกิดจากภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการเป็นผลมา จากเหตุก ารณ์ใ นอดีต ซึ่ง ภาระผูก พั นดังกล่าวนั้ นคาดว่าจะทําให้กิ จการต้องเสีย ประโยชน์เชิ ง เศรษฐกิจในอนาคต การประเมินหนี้สิน (พิมพ์ชนก สรรพรัตน์ , 2553 : 2-3) การประเมินหนี้สินของกิจการเป็นสิ่งที่มีความสําคัญต่อ การวิเคราะห์ถึงการเติบโตและความสามารถในการอยู่รอดของกิจการ กิจการอาจก่อหนี้สินโดยมี ความจําเป็นที่แตกต่างกัน กิจการบางแห่งอาจก่อหนี้สินเพื่อนําไปใช้ในการดําเนินงาน บางแห่งอาจ ก่อหนี้สินซึ่งเป็นผลมาจากการตัดสินใจในการจัดหาเงิน ซึ่งการก่อหนี้สินทั้ง 2 ประเภทนั้นเป็น หนี้สินที่ปรากฏในงบแสดงฐานะการเงิน (On Balance Sheet) แต่ยังมีหนี้สินบางส่วนที่ยังไม่เข้า เงื่อนไขการรับรู้รายการ ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน ทําให้ผลกระทบของรายการนั้นยังไม่ ปรากฏอยู่ในงบแสดงฐานะการเงินแต่อย่างใด


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.