phayaorath 75

Page 1

ทรงพระเจริญ

ภาพ : สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ เสด็จพระราชด�ำเนินไปเยี่ยมราษฎร บริเวณบ้านต๋อม ต�ำบลบ้านต๋อม อ�ำเมือง จังหวัดพะเยา ทรงซักถามมารดาของเด็กพิการที่มาเฝ้าฯรับเสด็จฯและทรงชวนให้มาเรียนศิลปาชีพพิเศษ เพื่อหารายได้มาเลี้ยงดูบุตรชาย (๑๘ มกราคม ๒๕๒๗)

Vol.75

ราคา

10

บาท

www.phayaorath.net

เม

น ย ี ซ เ า อ ม ค า ช ะ ร งสู่ป า ่ ย ว า ้ ก บ ั ก า ย เ ะ อื งพ

) 8 5 5 2 . ศ 919 ปี (พ.

5ในจังสถานี รถไฟ หวัดพะเยา

20 ปี มจร.พะเยา“ปักธงธรรม”ศาสนา/การศึกษาลุม่ แม่นำ�้ โขง


2

ปวงผญาพยาว

เดือน สิงหาคม 2554

สลากผีขุนห้วย...ทานไปหาเจ้าป่าเจ้าเขา เช้านี้...อากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน เหมือนดังว่าอีกไม่นาน ฝนอาจ จะตกและมันก็ตกลงมาจริงๆ ชาวบ้านสวมเสื้อกันฝน บ้างก็กางร่ม สวมหมวก โดย มีถุงและชะลอมไม้ไผ่หิ้วมาคนละใบสองใบ ต่างมุ่งหน้ามาพบ กัน ณ ศาลาไม้หลังเก่า เหนืออ่างเก็บน�้ำห้วยข้าวก�่ำ อันเป็น แหล่งน�้ำส�ำคัญของชาวต�ำบลห้วยข้าวก�่ำ อ�ำเภอจุน จังหวัด พะเยา วันนี้ชาวบ้านที่นี่มารวมตัวกันเพื่อท�ำพิธี ทานข้าวสลากผี ขุนห้วย อันถือปฏิบัติเป็นประเพณีมากว่า 30 ปีแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวบ้านที่มาร่วมงาน เล่าให้ฟังว่า ประเพณี สลากขุนห้วย ก็เหมือนประเพณีท�ำบุญสลากภัตต์ประจ�ำปีของ ทางภาคเหนือ ที่ชาวพุทธจะน�ำสังฆทานหรือของกินของทานไป ท�ำบุญกับพระสงฆ์เพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่บรรพบุรุษผู้วายชนม์ หรือเจ้ากรรมนายเวรไว้ไป ภายภาคหน้า โดยการจัดลงในชะลอมหรือตะกร้าแยกของใครของมัน จากนั้นน�ำมารวมกันเพื่อให้คณะกรรมการวัด จัดท�ำเส้นสลาก (หมายเลข) เพื่อแจกจ่ายพระสงฆ์โดยไม่ระบุการถวายว่าจะเป็นพระเณรหรือภิกษุสงฆ์ การประยุกต์ประเพณีกินข้าวสลากมาใช่กับการถวายทานผีขุนห้วยเป็นการริเริ่มของพระครูวิทิตธรรมโสภณ หรือ พระครู บาไต้อ๋อง เจ้าอาวาสวัดดอยกู่ไก่แก้ว ต.ห้วยข้าวก�่ำ อย่างไรก็ตามแม้พิธีกรรมนี้จะเหมือนกับการทานข้าวสลากทั่วไป คือมีการสวดตามพิธีพุทธและอ่านธรรม แต่ทว่ามีที่ พิเศษกว่าคือ การอ่านธรรมพญาปลาช่อน ธรรมพญาคางคาก (คางคก) เป็นต้น พระครูบาไต้อ๋อง เล่าว่า การท�ำบุญเพื่อถวายทานไปให้คนตายชาวพุทธก็ท�ำกันทุกปีและท�ำตลอด แต่การท�ำบุญให้ผีในป่า ซึ่งเราเชื่อกันว่ามีจริง เช่น ผีเทวดา เจ้าป่า เจ้าเขา ฯ ดังนั้นการท�ำบุญให้กับเจ้าป่าเจ้าเขา จึงไม่ใช่สิ่งที่ผิดปกติของชาวพุทธที่ชอบ ท�ำบุญเป็นชีวิตจิตใจ พ่ออุ้ยผาย สมฤทธิ์ วัย 76 ปี เล่าว่า หลังเข้าพรรษาในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี ชาวบ้านจะนัดกันท�ำบุญสลากขุน ห้วยข้าวก�่ำ เพื่อต้องการให้ผลบุญไปยังเจ้าป่าเจ้าเขาที่ปกป้องรักษาป่าขุนน�้ำห้วยข้าวก�่ำ ท�ำให้น�้ำฟ้าน�้ำฝนตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านได้ท�ำนา ท�ำไร่ตามฤดูกาล ไม่พบความแห้งแล้ง ถึงวันงาน แม้ฝนจะตก แดดจะออก ทุกคนโดยเฉพาะชาวบ้านในหมู่ที่ 4 และ 7 ต.ห้วยข้าวก�่ำ จะมาตั้งแต่เช้า มาช่วย กันจัดเตรียมบริเวณที่จะท�ำพิธี คือศาลาข้างอ่างเก็บน�้ำห้วยข้าวก�่ำ บ้างก็จะน�ำเสื่อมาปู บ้างก็จะช่วยเตรียมน�้ำส�ำหรับเลี้ยงผู้ มาร่วมท�ำบุญ บางคนก็น�ำอาหารมาเพื่อถวายเพลพระสงฆ์ และเผื่อแผ่ไปยังผู้ร่วมท�ำบุญด้วย ก็คือได้บุญเหมือนกันทุกคนถ้วน หน้า” ....ฝนหยุดตกไปแล้วเมื่อไหร่ไม่รู้เหมือนกัน แสงแดดส่องมากระทบผิวน�้ำในอ่างเก็บน�้ำห้วยข้าวก�่ำสะท้อนระยิบระยับ ผืน ป่าเขียวชอุ่มและชุ่มช�่ำด้วยน�้ำฝน เหมือนทุกอย่างต่างยินดีปรีดากับ “ผลบุญ” ที่เกิดขึ้นรายรอบบริเวณแห่งนี้

ธรรมะแนวทางใช้ชีวิต จาก พระอุบาลีคุณูปมาจารย์(ปวง ธมฺมปญฺโญ) วัดศรีโคมค�ำ หากผู้ใดได้ปฏิบัติตาม ย่อมเกิดผลเป็นมงคลแก่ชีวิตโดยแท้


เดือน สิงหาคม 2554

บรรณาธิการ

3

Vol.75 ภายใต้โครงการสื่อสารสาธารณะ สถาบันปวงผญาพยาว • โครงการบ่มเพาะหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เพื่อสร้างหนังสือพิมพ์ชุมชน และส่งเสริมความเป็นพลเมือง สนับสนุนโดย สถาบันอิศรา สสส. และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม • ภาคีความร่วมมือ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา • ภาคีสาขาสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ด้านการอบรมทักษะการผลิตสื่อ เรื่องเล่าจากชุมชน • เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ จังหวัดพะเยา • เครือข่ายนักข่าวพลเมือง ทีวีไทย • สำ�นักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพะเยา ผู้ก่อตั้ง : ชัยวัฒน์ จันธิมา แบบอย่างความคิด : พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) วัดศรีโคมคำ� พ่อครูเอื้อ มณีรัตน์, สยมชัย วิจิตรวิทยาพงศ์ นักเขียน : วิมล ปิงเมืองเหล็ก, ชัยวัฒน์ จันธิมา, มนตรา พงษ์นิล, ภัทรา บุรารักษ์, สหัทยา วิเศษ, สมเกียรติ เขื่อนเชียงสา,สายอรุณ ปินะดวง บรรณาธิการ : วัชระ ศรีคำ�ตัน สำ�นักงาน : 242/2 หมู่ 4 ต.หย่วน อ.เชียงคำ� จ.พะเยา 56110 โทร.054-451059 e-mail : phayaorath@hotmail.com พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์เจริญอักษร โทร.054-431576

กลุ่มเยาวชนต้นน�้ำ รอบน�้ำ ท้ายน�้ำกว๊านพะเยา และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมเวทีสานเสวนาหาทางออกปัญหาการพัฒนากว๊านพะเยา ที่ชุมชนสันแกลบด�ำ บ้านบุญยืน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ที่ผ่านมา จัดโดย สถาบันปวงผญาพยาว สนับสนุนโดย สถาบันพระปกเกล้า และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

“วันภาษาไทย”

บรรณาธิการ วัชระ ศรีคำ�ตัน vatchara_4@hotmail.com

29 กรกฏาคมของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ แรกๆผมก็ออกอาการงง ว่าท�ำไมหรือจ�ำเป็นอย่างไรที่จะต้องมีวันภาษาไทยแห่ง ชาติ เมื่อเราเป็นคนไทย พูดภาษาไทยอยู่แล้ว แต่มาคิดดูอีกทีว่า ถ้าคนไทยไม่รักและหวงแหนภาษาไทยหรือความเป็นไทย ต่อไปภาษาไทยก็ มีโอกาสที่จะเพี้ยน เปลี่ยนไปจากที่เป็นอยู่แน่ๆ สืบเนื่องจากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความส�ำคัญของภาษาไทย และมี ความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย รวมถึงเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตส�ำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและ ความส�ำคัญของ ภาษาไทย และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เห็นชอบให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ส�ำหรับเหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ นั้นเพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชด�ำเนินไปเป็นประธาน และทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ “ปัญหาการใช้ค�ำไทย” กิจกรรมส�ำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ คือ กระทรวงวัฒนธรรมจะคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคลด้าน ภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น และผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น เป็นประจ�ำทุกปี ในปีนี้ก็มีหลายสิบคน ขอแสดงความยินดีกับ พงษ์เทพ กระโดน ช�ำนาญ หรือน้าหมู นักดนตรีนักร้องเพลงเพื่อชีวิตก็ติดกับเขาด้วย ผมไม่รู้ว่า คณะกรรมการมีตัวบ่งชี้อะไรบ้างในการคัดเลือกคนใช้ภาษาไทยดีเด่นทั้งหลาย ผมดูรายชื่อที่ประกาศแล้วรู้สึกผิดหวังอย่างแรง คนที่น่าจะได้รับการยกย่อง ซึ่งมีผลงานเด่นชัดที่ผมประทับใจจดจ�ำจนวันตายกลับไม่ได้รับการพิจารณา ช่างเถอะครับ คณะกรรมการอาจตาถั่ว ตัดสินซี้ซั้ว “พะเยารัฐ” ขอประกาศอย่างภาคภูมิใจ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชนของชาติในที่นี่ก็แล้วกัน รางวัลปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ได้แก่ นายเชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส. พรรคเพื่อไทย (บัญชีรายชื่ออันดับที่ 100) กล่าววาจาลั่นสภา “กูไม่ฟังมึง” และ “เสือกอะไรไอ้จรกา” รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ได้แก่ นายวิเชียร ขาวข�ำ ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย “โห่หาพ่อมึงเหรอ กูอยู่ในเหตุการณ์โว้ย”

นึกถึงภัยความยากจน นึกถึงผลของความขยัน


รายงานพิเศษ

4

เดือน สิงหาคม 2554

๙๑๙ปีเมืองพะเยา พะเยาเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน หากนับจากยุคต�ำนานการสร้างบ้านแปงเมือง พ.ศ.1639 (อ้างอิงจากต�ำนานเชียงแสนและต�ำนานสุวรรณโคมค�ำ) นั่นหมายความว่า พะเยาจะมีอายุครบรอบ 919 ปี ในปี พ.ศ.2558 ตัวเลข 919 มีความหมายอย่างไร ต่อการสร้างจิตส�ำนึกของคนพะเยาด้านการพัฒนา ซึ่งเป็นช่วงเวลาประจวบเหมาะกับวาระที่ประเทศไทย จะต้องเข้าไปสู่ประชาคมอาเซียน พอดิบพอดี ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า ประชาคมอาเซียนจะมีผลกระทบ ต่อประชาชนชาวไทยมิเพียงแค่ 60 กว่าล้านคนเท่านั้น แต่หมายถึงประชากรกว่า 600 ล้านคนของ 10 ประเทศในภูมิภาคนี้ นี่เป็นข้อมูลเบื้องต้นก่อนที่ “พะเยารัฐ” จะได้น�ำเสนอประเด็นการพัฒนาจังหวัดพะเยา กับก้าวที่เราต้องเดินเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในฉบับต่อไป....

919 ปีพะเยากับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ประชาคมอาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อ ตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดย ไทย มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการ ลงนามใน “ปฏิญญากรุงเทพ” อาเซียนได้ถือก�ำเนิดขึ้นโดยมี รัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศปัจจุบัน กฎบัตร อาเซียน ได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งท�ำให้ อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้า เสรีอาเซียน ได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และก�ำลัง ก้าวสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ใน ปี พ.ศ. 2558 ทั้งนี้เป็นที่รู้กันว่า อาเซียนกลายเป็นภูมิภาค ที่มีการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเป็นตัวอย่างของ การรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีพลังต่อรอง ในเวทีการเมือง และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ความก้าวหน้าของอาเซียนมี ปัจจัยส�ำคัญจากความไว้ใจกันระหว่าง รัฐสมาชิก อันก่อให้ เกิดบรรยากาศที่สร้างสรรค์และเอื้อต่อการเพิ่มพูน ความร่วม มือระหว่างกัน ไม่นานมานี้ ผู้น�ำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ ร่วมกันก�ำหนดเป้าหมายให้ภายในปี 2558 อาเซียนสามารถ รวมตัวกันเป็น “ประชาคมอาเซียน” ทั้งในแง่การเมืองความ มั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม โดยยึดประโยชน์สุขของ ประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้ประชาคมอาเซียน จะประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ 1. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Security Community–ASC) มีวัตถุประสงค์ที่จะท�ำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่อย่าง สันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธี และยึดมั่น ใน หลัก ความมั่นคงรอบด้าน เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย การ ลักลอบ ค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ และการ ขจัดอาวุธ ที่มีอานุภาพท�ำลายล้างสูง 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ก�ำหนดวัตถุประสงค์เพื่อ มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า การบริการ การ ลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหา ความยากจนและความเหลื่อมล�้ำทางสังคม การจัดตั้งให้ อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิต โดยจะริเริ่มกลไก และมาตรการใหม่ๆ ในการปฏิบัติตามข้อริเริ่มทางเศรษฐกิจที่ มีอยู่แล้ว รวมถึงการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือ CLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนา และช่วยให้ประเทศเหล่า

นี้เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน นอกจากนี้ยังส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงิน และเศรษฐกิจมหภาค ตลาดการเงิน และตลาดเงินทุน การ ประกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ การคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนา ความร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการยกระดับการศึกษาและการ พัฒนาฝีมือ ระหว่างนี้ผู้น�ำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการรวม กลุ่มสินค้าและบริการส�ำคัญจ�ำนวน 11 สาขา ให้เป็นสาขา น�ำร่อง ได้แก่ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่ง ทางอากาศ (การบิน) 3.ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) เน้นการส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ อาทิ การ พัฒนาสังคมโดยการ ยกระดับความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาส และผู้ที่อาศัยในถิ่นทุระกันดาร และส่งเสริมการมีส่วนร่วม อย่างแข็งขันของกลุ่มต่างๆ ในสังคม การพัฒนาการฝึก อบรม การศึกษาระดับพื้นฐานและสูงกว่าการพัฒนา ทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างงาน และการคุ้มครอง ทางสังคม การส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุขโดย เฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เช่น โรคเอดส์ และโรคทางเดินหายใจ เฉียบพลันรุนแรง การจัดการปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างนักเขียน นักคิดและศิลปินในภูมิภาค เช่น สร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทร โดยเน้น การแก้ไขปัญหาความยากจน เสริมสร้างความเสมอภาค และ การพัฒนามนุษย์ อาทิ การพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน การ ส่งเสริม สวัสดิการสังคม การพัฒนาชนบทและ ขจัดความ ยากจน การพัฒนาการศึกษา และสาธารณสุข และการเสริม สร้างความมั่นคงของมนุษย์ (human security) ในด้าน ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการปราบปรามอาชญากรรม ข้ามชาติและการ ป้องกันและจัดการภัยพิบัติ การแก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวม ตัวทางเศรษฐกิจ โดยสร้างฐานทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถ แข่งขันได้ดีและ มีระบบการป้องกันทางสังคมที่เพียงพอ โดย ให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมแรงงาน และเสริม สร้าง ความร่วมมือ ในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สวัสดิการ สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาธารณสุข (ปัญหา

ที่มากับโลกาภิวัต เช่น โรคระบาด โรคอุบัติใหม่และอุบัติซ�้ำ) การส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการจัดการ ดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง โดยมีกลไกที่พัฒนาอย่างสมบูรณ์ ส�ำหรับ จัดการและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ตลอดจน การป้องกันและขจัดภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างรากฐานที่จะน�ำไปสู่ประชาคมอาเซียน ในปี ค.ศ.2020 ซึ่งจะเป็นภูมิภาคที่ประชาชนตระหนักถึงอัต ลักษณ์ (identity) ร่วมกันของภูมิภาคท่ามกลางความหลาก หลายทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ด้วยการส่งเสริม ความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับและวงการต่างๆ การ เรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกันและกัน และการ รับรู้ข้อมูลข่าวสารของกันและกัน (การส่งเสริมด้านวัฒนธรรม และสนเทศ) ส�ำหรับด้านการศึกษา ประเทศไทยได้วางแผน ยุทธศาสตร์ ๙ ประการ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน ภายในปี ๒๕๕๘ ดังนี้ 1.)การสร้างความ ตระหนักรู้ของประชากรในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2.) ความร่วมมือในการพัฒนาภาษาที่ให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษา กลาง 3.)การแลกเปลี่ยนครูและนักเรียน 4.)ส่งเสริมเทคโนโลยี ทางการศึกษาของกลุ่มประเทศอาเซียน 5.) ส่งเสริมความเป็น เลิศของบุคลากรประเทศภาคีในกลุ่มอาเซียน เพื่อการแลก เปลี่ ย นช่ ว ยเหลื อ กั น ในการพั ฒ นาศั ก ยภาพของประชาคม อาเซียนให้สามารถแข่งขันกับประชาคมโลกต่อไปได้ 6.)ธ�ำรงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของประชากรในแต่ละ ภูมิภาค โดยเฉพาะการดูแลภาษาแม่ของแต่ละประเทศให้มี ความเข้มแข็ง ถึงแม้ว่าจะใช้ภาษาอังกฤษก็ตาม 7.)การเชื่อม โยงด้านวัฒนธรรมของแต่ละประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน 8.)ร่วมมือแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาในแต่ละระดับ 9.)เชื่อม โยงการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียนและรัฐมนตรีศึกษาแห่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทุก 2 ปี โดยสรุปคือ ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบทั้งด้าน บวกและลบที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะท้อง ถิ่นตามหัวเมืองต่างๆ ที่มีพื้นฐานการผลิตภาคเกษตร การ แข่งขันด้านการค้า ราคาสินค้าและบริการ แรงงาน สิ่ง แวดล้อม วัฒนธรรม ประเด็นก็คือ พะเยาซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ หัวเมือง ชายแดนหนึ่ ง ที่ ติ ด ต่ อ และมี โ ครงข่ า ยการคมนาคมกั บ ประเทศลาว จีน พม่า เช่น การเกิดขึ้นของถนนอาร์ 3 เอ และเส้นทางรถไฟ การเปลี่ยนผ่านของระบบผลิตข้าว สู่ ยางพารา และอื่นๆ เหล่านี้ คือ สิ่งที่คนพะเยาจะต้องร่วม ก�ำหนดทิศทางการพัฒนาตนเอง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ...เห็นทีเราต้องเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้แล้ว

นึกถึงการประกอบสัมมาอาชีพของคนที่มีฐานะที่ดี เรียกว่าหัวใจเศรษฐี คือ อุ อา กะ สะ


เดือน สิงหาคม 2554

ครูสอนดีพะเยา

ครูสอนดี มีอุดมการณ์ บนถนนคนการศึกษา เอี่ยม มังคลาด ศึกษานิเทศก์ สพป.พะเยา เขต 1 โรงเรียนของเราน่าอยู่คุณครูใจดีทุกคน เด็กๆก็ไม่ ซุกซน พวกเราทุกคนชอบมาโรงเรียนๆๆๆ... จากเนื้อหา ในบทเพลงโรงเรียนของเราน่าอยู่นี้ อาจ กล่าวได้ว่าคุณครู นักเรียน หรือแม้กระทั่งผู้ปกครอง คงจะ ร้องเพลงนี้กันได้ทุกคน และไม่ต้องบรรยายอะไรมากเกินกว่า ความสุขของเด็กๆนักเรียน ที่ได้อยู่และมีโรงเรียนเป็นอย่างนี้ แม้นแต่ในปัจจุบันนี้ ทุกภาคส่วนได้ให้ความส�ำคัญของการ ท�ำหน้าของครูเป็นอย่างมาก โดยสนับสนุนให้คุณครูได้รับการ พัฒนาวิชาชีพและมีค่าตอบแทนเป็นรายได้ที่สูงขึ้น นอกจาก นี้ยังได้มีกิจกรรมการยกย่องครูผู้สอนที่ท�ำหน้าที่เป็นครูสอน ดี มีอุดมการณ์ จากหน่วยงานต้นสังกัดฯ และทุกภาคส่วนที่ เกี่ยวข้อง ดังที่จะได้น�ำมาบอกเล่าเพื่อการประชาสัมพันธ์ 2 รายการ ดังนี้ 1. กระทรวงศึกษาธิการ โดยส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ได้จัดโครงการ “ตามรอย เกียรติยศครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู” เพื่อเป็นการ ยกย่องให้ครูที่มีความเป็นครูด้วยจิตวิญญาณ ทั้งปฏิบัติตน และปฏิบัติงานเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมและสร้างค่านิยม ให้สังคมยอมรับ เพื่อผลักดันให้ครูมีกระบวนทัศน์ใหม่ ใฝ่รู้

และรู้คิดได้อย่างรวดเร็ว ด�ำเนินงานประสบความส�ำเร็จและ พัฒนาการศึกษาของประเทศ สภาพของชุมชน สังคมที่มีความ แตกต่าง ทางวัฒนธรรม มีความยากล�ำบาก มีภัยคุกคามทาง สังคม ความมั่นคงของชาติ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการมอบรางวัลนี้ ให้กับคุณครูจูหลิง ปงกันมูล เป็นรายแรก ในปี 2550 ในการนี้ สพฐ. จึงเปิดโอกาสและเชิญชวนทุกภาคส่วน และประชาชน ร่วมเสนอชื่อครูที่มีความศรัทธาใน วิชาชีพ มีความอดทน รับผิดชอบ เสียสละ รักและปรารถนาดีต่อลูก ศิษย์ และเป็นต้นแบบ ที่ดีของสังคม เพื่อคัดเลือกเข้ารับการ ประกาศเกียรติคุณผู้รับรางวัล “ยอดครูผู้มีอุดมการณ์” ใน โครงการตามรอยเกียรติยศครู ผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณ ครู ครั้งที่ 6 พ.ศ.2555 ซึ่งครูที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับรางวัล เงินสด 3 แสนบาท เข็มเสมาทองค�ำ โล่รางวัล และเกียรติบัตร ในวันครูปี 2555 รายละเอียดในเรื่องนี้ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ เว็ป ไซด์ ส�ำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. 2. ส�ำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพ เยาวชน (สสค.) ภายใต้แผนปฏิบัติการปฏิรูปประเทศไทย ด้าน การศึกษา โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ ยกย่อง เชิดชู “ครูสอนดี” พ.ศ. 2554 เพื่อระดมความร่วมมือของ ทุกภาคส่วนในการปฏิรูปค่านิยมที่สังคมมีต่อครู ด้วยการร่วม กันเชิดชูและมอบรางวัลให้แก่ครูสอนดีเพื่อเป็นต้นแบบให้แก่ ครูทั้งประเทศและเป็นก�ำลังใจให้ผู้ที่ก�ำลังท�ำหน้าที่ “ครูทั้งใน เครื่องแบบ” และ “ครูนอกเครื่องแบบ” ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ และสติปัญญาให้ลูกศิษย์ ส�ำหรับโครงการนี้ ในส่วนของจังหวัดพะเยา ครูที่ได้

เลือกครูสอนดีพะเยาเดินหน้าสู่การปฏิรูปการศึกษา

นายวัชระ ศรีคำ�ตัน ประธานคณะกรรมการคัดเลือกครูสอนดีจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า ตามแผนปฏิรูปประเทศไทย และมติคณะรัฐมนตรี ให้จัดตั้งสำ�นักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน หรือ สสค. เพื่อดำ�เนินการตามแผน ปฏิรูปประเทศ ในโครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์เชิดชู ยกย่อง “ครูสอนดี” ซึ่งเป็นการกระจายอำ�นาจให้ท้องถิ่น โดย ถือว่าท้องถิ่นเป็นตัวจักรสำ�คัญในการขับเคลื่อน สำ�หรับการสรรหาครูสอนดีมี 2 ระดับ ได้แก่ระดับท้องถิ่น และระดับจังหวัด โดย ระดับจังหวัดนั้น จะมีศูนย์อำ�นวยการคัดเลือกครูสอนดีที่สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 อ.จุน ประธานคณะกรรมการคัดเลือกครูสอนดีจังหวัดพะเยา กล่าวถึงขั้นตอนการสรรหาครูสอนดีว่า มาจากคณะกรรมการ 2 ชุด คือ ครูในสถานศึกษาสรรหาโดย 4 ภาคี ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียนและผู้ปกครอง และครูนอกสถานศึกษา เช่น โฮมสกูล ครูจิตอาสา หรือครูที่สอนเด็กด้อยโอกาส จะให้ท้องถิ่นเป็นผู้สรรหา ส่วนกลไกในการสรรหาครูสอนดีนั้นต้อง “สอน เป็น เห็นผล คนยกย่อง” โดยคณะกรรมการระดับจังหวัด ได้ก�ำหนดตัวชี้วัดให้คณะกรรมการระดับท้องถิ่นเป็นแนวทางในการ สรรหาครูสอนดี และเน้นย�้ำให้ทุกท้องถิ่นประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบและมีส่วนร่วมมากที่สุด ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการระดับจังหวัด ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ขึ้นจ�ำนวน 1 ชุด ประกอบด้วยสื่อหนังสือพิมพ์ สื่อวิทยุ กระจายเสียงหลักและวิทยุชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ โดยหลังจากที่คณะกรรมการระดับจังหวัด ท�ำความเข้าใจกับท้องถิ่นต่าง ๆ ครบถ้วนแล้ว ก็ได้ก�ำหนดปฏิทินการปฏิบัติ งาน โดยมอบหมายให้ทุกท้องถิ่นจัดล�ำดับครูสอนดี จากนั้นให้ส่งไปที่ศูนย์อ�ำนวยการคัดเลือกครูสอนดีระดับจังหวัด โดยก�ำหนด ส่งตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปถึง 1 กันยายน 2554 ทั้งนี้คณะกรรมการระดับจังหวัดจะด�ำเนินการสรรหาให้ทุนครูสอนดีจังหวัดพะเยา จ�ำนวน 4 คน รางวัลทุนละ 5 แสนบาท และรางวัลครูสอนดีอีกจ�ำนวน 150 คน รางวัลคนละ 10,000 บาท

นึกถึงอาหารที่ต้องหามาเลี้ยงชีพ

5 รับการคัดเลือกจะได้รับรางวัลครูสอนดี และทุนครูสอนดีโดย จะมอบให้ในวันครูประจ�ำ ปี 2555 จ�ำนวน 150 คน รางวัล ละ 1 หมื่นบาท และครูผู้ได้รับทุนครูสอนดี จ�ำนวน 4 คน เป็นเงิน 5 แสนบาท ทั้งนี้คณะกรรมการจะได้ด�ำเนินการคัด เลือกครูสอนดี ระดับจังหวัด ตามขั้นตอน หลักเกณฑ์และวิธี การที่ สสค.ก�ำหนด และมีหลักเกณฑ์การพิจารณาครูสอนดี และครูผู้รับทุนครูสอนดี ประจ�ำปี 2554 ดังนี้ 1. จัดกระบวนการเรียนรู้ได้ดี (สอนเป็น) 1.1มีการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเ นื่อง โดยจัดการเรียนการสอนทั้งในและ นอกห้องเรียน เน้น ทักษะกระบวนการ ที่เหมาะสมกับลักษณะผู้เรียน ตลอดจน สามารถแก้ไขปัญหาให้กับผู้เรียนที่แตกต่างกันได้เป็นผลดี 1.2. คิดค้นวิธีการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพดี ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงการผลิตสื่อ อุปกรณ์ เพื่อช่วยในการเรียน การสอน 1.3.ติดตามประเมินผลผู้เรียนและน�ำผลของการประเ มินมาพัฒนาผู้เรียนและตนเองอย่างสม�่ำเสมอ 1.4.ติดตามประเมินผลผู้เรียน และน�ำผลของการ ประเมินมาพัฒนาผู้เรียนและตนเองอย่างสม�่ำเสมอ 2.มี ผ ลการสอนที่ ท�ำ ให้ ลู ก ศิ ษ ย์ ป ระสบความส�ำ เร็ จและความก้าวหน้าในทางการเรียน หน้าที่การงานและ การด�ำเนินชีวิต (เห็นผล) 2.1ผู้เรียนได้ผ่านการประเมินความรู้ทางวิชาการตา มเกณฑ์ประเมินคุณภาพมาตรฐาน หรือได้รับรางวัล ด้าน วิชาการ ด้านจริยธรรม หรือด้านศิลปวัฒนธรรม 2.2ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดี มี ความสุขที่จะเรียนรู้ และมีความสุข ที่จะไปเรียน 2.3 ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการค้นคว้าหาความ รู้เพิ่มเติม ตลอดจนมีทักษะในการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง 2.4 ศิษย์เก่าส่วนใหญ่ประสบผลส�ำเร็จในชีวิตด้านการ เรียน ด้านอาชีพ หรือด้านการด�ำเนินชีวิต โดยสะท้อนได้ว่า เป็นผลมาจากการสอนของครู 3.เป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นที่ยกย่องของลูกศิษย์ เพื่อนครู และชุมชน (คนยกย่อง) 3.1 เป็นแบบอย่างที่ดีเป็นที่เคารพนับถือของศิษย์และ สังคมทั้งในด้านความเป็นครู และเป็นต้นแบบการด�ำเนินชีวิต ที่ดีมีคุณธรรม และความพอเพียง 3.2 เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในชุมชน เป็นที่ยกย่อง ของผู้บริหาร เพื่อนครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชน 3.2 มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยไม่เห็นแก่ลาภยศหรือผลตอบแทน 3.3 เอาใจใส่ อุทิศเวลา และเป็นที่พึ่งให้ผู้เรียนทั้งด้าน การเรียนและการด�ำเนินชีวิตอย่างเสมอต้น เสมอ ปลายและทั่วถึง 3.4 มีความภาคภูมิใจในการเป็นครู และมีความสุขใน การประกอบวิชาชีพครู ส�ำหรับการเสนอครูสอนดีนั้น ครูสอนดีจะได้รับการ สรรหาและเสนอชื่อจากบุคคล 4 ฝ่าย ร่วมกันสรรหา คือ สนั บ สนุ น จากผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาหรื อ ผู ้ บ ริ ห ารองค์ ก ร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่ ข้อมูลสนับสนุนจากเพื่อนร่วม งาน ข้อมูลสนับสนุนจากตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน ข้อมูล สนับสนุนจากตัวแทนผู้เรียนหรือศิษย์เก่า โดยครูที่มีสิทธิได้ รับการ สรรหานั้นจะต้องไม่เป็นผู้ประกอบอาชีพครูสอนพิเศษ เป็นอาชีพหลัก เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งและให้ รวมถึง ครูอัตราจ้าง หรือลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งปฏิบัติการสอน ในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา หรือระดับประโยค วิชาชีพด้วย ดูรายละเอียดแบบเสนอชื่อครูสอนดีได้ที่ http:// www.QLF.or.th/ www.sorndee.com/ จากเรื่องที่น่าสนใจทั้ง 2 รายรายดังกล่าวนั้นนับ ได้ว่าเป็นเรื่องที่มีความส�ำคัญต่อการส่งเสริมและให้ก�ำลัง ใจ ต่อวิชาชีพครูเป็นอย่างยิ่ง จึงขอเป็นก�ำลังใจให้คุณครู ทุกคน ให้เป็นครูที่สอนดี มีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู แม้นไม่ได้รับการยกย่องหรือได้รับรางวัลอย่างที่ได้น�ำเสนอ นั้นก็ตาม แต่หวังอย่างว่าสิ่งที่คุณครูจะภูมิใจคือการที่ได้ให้ ความรัก เมตตาและปรารถนาดีต่อศิษย์ สามารถด�ำรงชีวิต อยู่ในสังคมอย่างมีความสุขได้อย่างยั่งยืน ดังที่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้ประพันธ์ไว้อย่างน่า สนใจ และให้ข้อคิดที่ดีมากต่อการเป็นครูที่ดีว่า...การเป็นครู นั้นไซร้ไม่ล�ำบาก แต่สอนดีนั้นยากเป็นหนักหนา เพราะต้อง ใช้ศิลปวิทยา อีกมีความเมตตาอยู่ในใจ.


พะเยาปริทัศน

มจร.พะเยา“ปักธงธรรม”การศึกษา ในโอกาสที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร.) วิทยาเขตพะเยา ได้ก่อตั้งมาครบ 20ปี และถือว่าเป็นสถาบันการศึกษาของสงฆ์ชั้นสูงของเมืองพะเยา และยังขยายเครือข่ายการศึกษาไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคลุ่มน�้ำโขงด้วย “พะเยารัฐ” ได้มีโอกาสสนทนากับ อาจารย์วิมล ปิงเมืองเหล็ก ในฐานะรองผู้อ�ำนวยการศูนย์แลกเปลี่ยนพระนิสิต นักศึกษา พุทธศาสนา การศึกษา ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมประเทศภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขง” ถึงความเป็นไปเป็นมาของโครงการแลกเปลี่ยนพระนิสิตระหว่างไทย กับจีน ลาว และพม่า เพื่อเปิดประตูไปสู่ความเข้มแข็งในกลุ่มประชาคมอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม อันไปก้าวที่ท้าทายและมีความหมายส�ำคัญซึ่งก�ำลังรออยู่ใน ปี 2558

• โครงการแลกเปลี่ยนพระนิสิตฯนี้เริ่มต้นอย่างไร? จริง ๆ แล้ว โครงการนี้ต้องขอบคุณท่านบวร รัตน ประสิทธิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ในสมัยที่ท่านด�ำรง ต�ำแหน่ง ปี 2547 ที่ได้มีการท�ำบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU. ให้จังหวัดพะเยาเป็นบ้านพี่เมืองน้องกับเมืองเชียงรุ่ง เขต ปกครองตนเองสิบสองปันนา ประเทศสาธารณรัฐประชาชน จีน ซึ่งตอนนั้นมี อ้ายจอม เป็นผู้ว่าการเมืองเชียงรุ่ง โดยเนื้อหา ในการตกลงกันนั้นได้เน้นถึงการแลกเปลี่ยนเรื่อง การค้า การ ท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การศึกษา การกีฬา และ ศิลปะวัฒนธรรม • มีอะไรบ้างที่เป็นรูปธรรม? ในปี พ.ศ. 2549 สมัยท่านเรืองวรรณ บัวนุช เป็นผู้ว่า ราชการจังหวัดพะเยา ก็ได้ส่ง นักศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนีพะเยา อาจารย์จากวิทยาลัยเทคนิคพะเยา ไป เรียนด้านสาธารณสุข และภาษาจีนถึงเมืองคุนหมิง ที่มหา วิทยาชาติพันธุ์และมหาวิทยาลัยแพทย์ ส่วนด้านศาสนา เรา แยกออกมาท�ำข้อตกลงปลีกย่อยกับสถาบันสงฆ์ที่เมืองเชียงรุ่ง กันต่างหาก ทางจังหวัดพะเยามี พระราชวิริยาภรณ์ ในฐานะ เจ้าคณะจังหวัดพะเยาและรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงฆ์ พะเยาเป็นผู้ลงนาม ส่วนฝ่ายจีนมีท่านครูบาจอมหลวงเมือง ประธานสงฆ์ของมณฑลยูนานซึ่งอยู่ที่วัดป่าเจต์ เมืองเชียงรุ่ง เป็นผู้ลงนาม

ขั้นตอนแรกเราส่งพระสงฆ์ของเราจ�ำนวน 9 รูป ไป ปฏิบัติศาสนากิจก่อน ตั้งใจไว้ว่าจะให้อยู่นานถึง 6 เดือน ด้วย เหตุเป็นเรื่องใหม่และมีปัญหาด้วยเอกสาร ท�ำให้อยู่ได้เดือน กว่าก็ต้องกลับ และปีต่อมาทางฝ่ายจีนได้ส่งพระสงฆ์กลุ่มแรก จ�ำนวน 6 รูปเข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยสงฆ์พะเยา โดยเริ่ม เรียนตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ซึ่งพระกลุ่มนี้ปัจจุบันอยู่ปีที่ 4 แล้ว และ จากนั้นก็เริ่มทะยอยมาเรียนกันทุกปี ๆ 1 รูปบ้าง 2 รูปบ้าง ทางพระผู้ใหญ่ฝ่ายจีนบอกว่า พระที่มาเรียนในเมืองพะเยาได้ ประสบการณ์ในด้านศาสนาค่อนข้างดี เพราะจะได้พบพิธีกรรม ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากในเมืองจีนที่ก�ำลัง ฟื้นฟูพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ได้หายไปนาน

ค่อนข้างง่าย ยิ่งพูดภาษาล้านนายิ่งเข้าใจกันมากขึ้น ต่อไป จะต้องรณรงค์เรื่องนี้ให้เข้าใจมากกว่านี้ และเชื่อว่ารุ่นต่อไป จะมีอาสาสมัครเข้าไปปฏิบัติศาสนกิจหลายรูป ประการที่ 3 เนื่องมาจากพระกลุ่มแรกไปแล้วอาจจะมีความเป็นอยู่ค่อน ข้างล�ำบาก เพราะเมืองจีนเพิ่งฟื้นฟูพระพุทธศาสนาหลังจาก อยู่ในการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์มานานกว่า 60 ปี เพราะฉะนั้น การจะบิณฑบาตก็ดี การมีกิจนิมนต์พื่อจะหาการ เปรียบเทียบไทย-จีนก็ดีจึงไม่มี อย่างวันแรกที่ไปบิณฑบาต ไม่ ได้ข้าวแม้แต่ก้อนเดียว เพราะผู้ไปบิณฑบาตก็ไม่รู้ไปท�ำอะไร โดยเฉพาะพระจีน ส่วนชาวบ้าน แม้แต่ไทลื้อ ก็มองพระสงฆ์ว่า เดินมาท�ำอะไร • จากเมืองพะเยากับจีน ท�ำไมถึงมาเป็นโครงการแลก เปลี่ยนพระสงฆ์แถบประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขง? เรื่ อ งนี้ ต ้ อ งกราบขอบพระคุ ณ พระเดชพระคุ ณ ท่ า น พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย ที่ท่านเล็งเห็นความส�ำคัญของพระพุทธศาสนา ในภูมิภาคนี้ว่าจะต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างชาวพุทธ และ ท่านคิดว่าต่อไป ปี พ.ศ. 2558 ประเทศกลุ่มอาเซี่ยนจะต้อง เป็นหนึ่งอยู่แล้ว เมื่อเห็น มจร. วิทยาเขตพะเยาก�ำลังท�ำงาน ด้านนี้อยู่จึงเข้ามาช่วยเหลือ เริ่มแรกได้ส่งอาจารย์และเจ้า หน้าที่ส่วนกลาง เข้าร่วมกิจกรรมที่จีนและอันดับต่อมาจึงได้ มอบภารกิจด้านแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องพระพุทธศาสนาของ ประเทศจีน สิบสองปันนา ประเทศเมียนมาร์ และประเทศ สปป. ลาว ด้านแขวงหลวงพระบาง บ่อแก้ว ไชยบุรีและหลวง น�้ำทาอยู่ในความรับผิดชอบของวิทยาเขตพะเยา โดยตั้งงบ ประมาณให้ส่วนหนึ่ง และให้ตั้งเป็น “ศูนย์แลกเปลี่ยนพระ นิสิต นักศึกษาและการศึกษาพระพุทธศาสนา ประวัติสาสตร์ วัฒนธรรมในประเทศภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขง” ให้ดูแลความเป็น อยู่ การเรียน และแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของพระนิสิตฯ และพิจารณาการคัดเลือกพระสงฆ์จากมหาวิทยาลัยไปปฏิบัติ ศาสนกิจที่เมืองจีน เมืองหลวงพระบางและเมี่ยนมาร์

• ทางพะเยาได้ส่งพระสงฆ์ไปเรียนหรือไปปฏิบัติศาสนกิจ ที่จีนอีกไหม? นี่คือปัญหาของพวกเรา ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ ประการที่ 1 พระสงฆ์ของเราเมื่อส�ำเร็จจากมหาวิทยาลัยสงฆ์แล้ว ต้องการ ปฏิบัติศาสนากิจใกล้วัดตนเอง โดยสมัครสอนตามโรงเรียน ต่าง ๆ ภายในหมู่บ้านหรือโรงเรียนมัธยมในเมือง ประการที่ 2 พระสงฆ์ของเรากลัวว่าจะมีปัญหาเรื่องภาษาที่ใช้ในเมืองจีน จึง ไม่กล้าที่จะไป ความจริงเรื่องนี้เราได้เลือกพื้นที่โครงการแลก เปลี่ยนที่ตัดปัญหาด้านนี้ไปแล้ว คือเลือกสิบสองปันนา เพราะ • ระบบการปกครองของประเทศต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้มีข้อ คนส่วนใหญ่เป็นไทลื้อ และพระสงฆ์ก็เป็นลัทธิเถรวาทที่ได้รับ แตกต่างกัน จะเกิดปัญหาของการท�ำงานหรือไม่ อิทธิพลจากพระพุทธศาสนาล้านนา จึงสามารถสื่อสารกันได้ มีเหมือนกัน เช่นประเทศจีน ตอนแรกทางคณะสงฆ์

ตรวจตรามรดกหรือทุนรอนที่เป็นกรรมสิทธิ์ทรัพย์


น์

พะเยารัฐ เดือนสิงหาคม 2554

ของกินจากหลวงพระบาง ผมนั่งปั่นต้นฉบับนี้อยู่ริมแม่น�้ำโขง (น�้ำแม่ของ) ของเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว นับว่าโก้ชะมัด สาเหตุมาจากเจ้าของผู้จัดการใหญ่ของหนังสือพิมพ์ พะเยารั ฐ นฉบับและให้ส่งไวๆ จะปิดเล่มแล้ว เพราะ วิมล ปิงเมืองเหล็ก/www.vimon.co.cc เหลือแต่ผทวงต้ มเพียงผู้เดียว ผมนั่งอยู่ร้านขายขนมเบื้องลาว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ร้าน “แหนมเหลือง”ของเพื่อนผมเองชื่อ อ้ายแล และ นางสร้อย ร้านของทั้งสองคนผัวเมียตั้งอยู่ริมแม่น�้ำโขงตรงข้ามวัดโพนชัยชนะสงครามและอยู่เยื้องของวังเจ้ามหาชีวิตซึ่ง ปัจจุบันนี้ได้จัดเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งเมืองหลวงพระบางไปแล้ว ขนมเบื้องลาวของเจ้าแล นางสร้อยนี้ เป็นที่ขึ้นชื่อในเมืองหลวงพระบางทีเดียว ขนาดรายการโทรทัศน์ของไทย ประเภทหาของกินแปลกๆ อร่อยๆ ให้ชาวบ้านชมในเมืองไทยยังไปถ่ายท�ำออกเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เจ้าของร้านเล่าให้ผมฟังว่า ตัวเขาเองได้เรียนรู้การท�ำขนมเบื้องลาวมาจากชาววังเจ้ามหาชีวิตช่วงสังคมเก่าก�ำลัง รุ่งเรืองและเมียเขาเองก็เป็นลูกสาวของครูใหญ่อยู่โรงเรียนในหลวงพระบางนั่นเอง ความจริงขนมเบื้องลาวลักษณะก็คล้ายๆ ขนมเบื้องไทยของไทย แต่ที่ต่างกันออกไปคือไข่ที่น�ำมาเจียวนั้นจะต้อง ผสมกับขมิ้นที่ป่นละเอียดเสียก่อนๆ ที่จะน�ำมาเจียวเป็นแผ่นเพื่อห่อหุ้มต้อนหอมและผักบุ้งพื้นบ้านจากแม่น�้ำคาน สนนราคาก็จานละ 10,000 กีบ หรือ 40 บาท คงจะคิดค่าอร่อยตรงที่ต้องเจียวไข่ที่สุกเหลืองกับดุ้นฟืนแบบ โบราณ ใครไปเมืองหลวงพระบางลองแวะไปทานดู นับว่าไม่ผิดหวัง ใกล้ๆ กันกับร้านขนมเบื้องลาวนี้ ตั้งอยู่ตรงหัวโค้งถนนเป็นร้านกาแฟโบราณที่ขึ้นชื่อของเมืองหลวงพระบางอีกร้าน หนึ่งที่คนไทยนิยมไปกินกันตอนเช้า หลังจากตักบาตรข้าวเหนียวกับสาธุและจั่ว (พระสามเณร)เรียบร้อยแล้ว คือร้านกาแฟ ประชานิยม กาแฟเขาหอมจริง ๆ หวานด้วยนมข้นพอดี ที่โต๊ะยาวๆ มีปลาท่องโก๋ขนาดใหญ่แต่นิ่มวางบนจานเรียงรายบริการ ลูกค้าอย่างเต็มที่ ตอนนี้กาแฟที่ดีที่สุดของลาวคือกาแฟยี่ห้อ “ดาว” เขาบอกว่าปลูกแถวปากเซ ราคาจอก (แก้ว)ละ 3,000 กีบ (7 บาท) ปลาท่องโก๋คู่ละ 1,000 กีบ (2.50 บาท) บนโต๊ะผมเห็นมีสมุดบันทึกเยี่ยมชม (ดื่ม) อยู่หลายเล่ม เลยถือโอกาสมาอ่านเล่นเล่มหนึ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทย ที่เขียนบันทึกความประทับใจของบรรยากาศของหลวงพระบางและความอร่อยของกาแฟร้านประชานิยมอย่างหลากหลาย ความรู้สึก บังเอิญวันนี้ผมนั่งดื่มกาแฟกับคนสิงคโปร์สองคนนัยว่าจะเป็นผู้เพิ่งเกษียณอายุมาเที่ยวสนุกสนานกันฐานะเพื่อน ซี้ ผมถามเขาว่าอยู่หลวงพระบาง2-3 วันนี้คุณประทับใจเรื่องอะไรมากที่สุด เขาตอบอย่างไม่ลังเลว่า “วิถีชีวิต วัดและวัง ที่ เรียบง่าย สงบและไร้จริต” ซึ่งผมก็เห็นด้วยกับเขาทุกประการ แต่ที่แปลกก็ตรงโต๊ะกาแฟขนาดใหญ่เป็นรูปครึ่งวงกลมนั้นนอกจากพวกผมและคนสิงคโปร์ดังกล่าวแล้ว ยังมีคน ไทยน่าจะมาจากกรุงเทพฯอยู่ประมาณ 5 คน และคนหลวงพระบางอายุอยู่ในวัยกลางคน 4 คน คนไทยนั่งละเลียดกาแฟพร้อมเม่อมองดูสายน�้ำโขงไหลเอ่ยๆ อ้อยอิงสวยงามเพราะช่วงนี้น�้ำก�ำลังได้ระดับพอดี คน สิงคโปร์ถามผมเรื่องมือที่มองไม่เห็นกับความงามของเมืองกาญจนบุรี ส่วนคนลาวหลวงพระบาง กลับคุยกันเรื่องการตั้ง รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรีของไทยอย่างสนุกและจริงจัง ทุกคนรู้จักนักการเมืองของไทยเกือบจะ ทุกคน รู้ด้วยว่าใครเป็นลูกผู้ดีตีนแดง ใครเป็นลูกชาวนา ใครเป็นลูกพ่อค้า ใครเป็นนายทุน และใครเป็นอ�ำมาตย์ สรุปแล้ว ผมสังเกตดูว่าคนหลวงพระบางจะชื่นชมคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่ไม่น้อย เพื่อนผมที่เป็นคนหลวง พระบางบอกว่า วันเลือกตั้งและโทรทัศน์ไทยบอกผลของเอ็กซิท โพล ว่าคุณยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยชนะแบบถล่ม ทลาย คนที่นี้ถึงกับปรบมือและโห่เสียงดังสนั่นทั้งเมืองเหมือนกับการเลือกตั้งของประเทศตนเอง ตกตอนสายผมนั่งเรือเล็กข้ามแม่น�้ำโขงไปยังอีกฟากหนึ่ง เพื่อจะไปดูวัดที่เจ้ามหาชีวิตจะมาผนวชก่อนขึ้นครอง ราชย์ คือ วัดร่องคูณ อยู่ตรงข้ามกับวัดเชียงทอง วัดที่มีพระวิหารสวยงามดั่งหงส์บินพอดิบพอดี วัดร่องคูณ เป็นวัดที่ผมเคยมาเพียงครั้งเดียวหลายปีก่อน และประทับใจความงดงามของพระวิหาร กุฎี หอกลอง และที่เดินจงกลมของเจ้ามหาชีวิตเป็นอย่างมาก ที่ผมสนใจวัดร่องคูณเอามาก ๆ ก็เพราะวัดนี้มีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ เจ้ามหาชีวิตลาวหลวงพระบางนับตั้งแต่เจ้าสักรินทร์ฤทธิ์ (ศตวรรตที่ 24) เจ้าศรีสว่างวงศ์จนถึงเจ้าศรีสว่างวัฒนา เจ้ามหา ชีวิตองค์สุดท้ายของราชวงศ์ (พ.ศ. 2518) เรื่องประวัติของวัดร่องคูณนี้ผมจะเล่าให้ในโอกาสหน้า เพราะผมจะได้ “ปักกะตืน” ของวัดจากสาธุเจ้า อาวาส เพียงแต่ตอนนี้ให้เขาถ่ายเอกสารอยู่ แต่สิ่งที่ผมได้มาคราวนี้คือ ลูกมะม่วงแก้ว (หมากม่วงคุ) สุกคาต้น ซึ่งเป็นพันธุ์มะม่วง แก้วหัวหลึบ (มะม่วงแก้วหัวหลบ?) มีรส หวานอร่อย เย็นฉ�่ำ ได้กลิ่นมะม้วง…มะม่วง สาธุเจ้าอาวาสที่วัดร่องคูณบอกว่า เป็นมะม่วงที่เจ้ามหาชีวิตสักรินทรฤทธิ์เป็น ผู้ทรงปลูกขึ้นที่วัดแห่งนี้ พร้อมกับต้นไม้อื่น ๆ อีกมากมายเช่นต้นมะปราง ต้นมะพร้าว ต้นมะขาม เป็นต้น แต่ละต้นสูงใหญ่ ดู ตระหง่านปกคลุมพื้นที่ของวัดร่มรื่นมาก เมื่อผมกลับมาที่พัก ยามหยิบมะม่วงแก้ว หัวหลึบมาปลอกกิน จึงยกมือท่วมหัว หัวใจหวน กระหวัดถึงเจ้ามหาชีวิตทั้งหลาย ถึงผมจะไม่เคย ได้ชมพระบารมีแต่ได้กินมะม่วงเสวยก็ถือว่าเป็น บุญมหาศาล.

มะหินเกิดกับท่า

าลุม่ แม่นำ�้ โขง ทางโน้นยังไม่รับปากจะส�ำเร็จหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ต้องได้รับ อนุมัติจากรัฐบาลส่วนกลาง คือปักกิ่ง เมื่อส่งเรื่องไปให้รัฐบาล ที่ปักกิ่ง เขาก็รับรองก็ถือว่าปัญหานี้หมดไป ส่วนทาง สปป. ลาว ก�ำลังเริ่มต้นในการแลกเปลี่ยนและมีการพูดคุยกันเบื้อง ต้นกับผู้บริหารชั้นสูงของฝ่ายรัฐ คือ เจ้าแขวงและฝ่ายสงฆ์ คือประธานและรองประธานสงฆ์หลวงพระบาง ก็เชื่อว่าต่อ ไปคงจะมีการท�ำข้อตกลงกันได้ ที่มีปัญหามาก คือ ประเทศ เมี่ยนมาร์ เพราะประเทศเขาเข้มงวดเรื่องของพระสงฆ์มาก ตอนแรกนี้เราก็เพียงสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับพระสงฆ์แถบเมือง ท่าขี้เหล็ก จากนั้นเข้าเมืองเชียงตุง แล้วค่อยพบกับผู้บริหาร ประเทศของเขาต่อไป • เป้าหมายใหญ่ของโครงการนี้คืออะไร? ก็คือการสร้างจิตส�ำนึกของคนในภูมิภาคนี้ว่าแท้จริง แล้ว ทุกคน คือ มนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ทุกคนเคยเป็น พี่เป็นน้องกันมาแต่แต่ดึกด�ำบรรพ์ ทุกคนมีจิตวิญญาณมาจาก การหล่อหลอมจากค�ำสอนของพระพุทธศาสนาเหมือนกัน ควร ที่จะมีความเป็นพี่เป็นน้องด้วยหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ซึ่งหลักอื่นพวกเรายังมองไม่เห็นเพราะมันมีเรื่องผลประโยชน์ เข้ามาเกี่ยวข้อง • โอกาสครบรอบ มจร. วิทยาพะเยา 20 ปี ทางศูนย์แลก เปลี่ยนฯ มีกิจกรรมอะไรบ้าง? เนื่องจากมีการท�ำ MOU. กันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา เรายังไม่มีการประเมินโครงการกันเลย เราจึงถือ โอกาสนี้มาประเมินโครงการเพื่อดูความก้าวหน้า ความส�ำเร็จ และปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ โดยจะจัดในรูปการสัมมนาชื่อ ว่า “สถานะภาพของพระพุทธศาสนาในประเทศภูมิภาคลุ่ม แม่น�้ำโขง” ซึ่งได้เตรียมตัวเรียนเชิญผู้บริหารฝ่ายรัฐและนัก วิชาการทางศาสนาของ 4 ประเทศ มาน�ำเสนอถึงความรู้สึก และน� ำ เสนอบทความทางวิ ช าการของแต่ ล ะประเทศในที่ สัมมนา พร้อมกับอาราธนาพระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจาร ย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยได้บรรยายพิเศษในโอกาสนี้ด้วย ซึ่ง เชื่อว่าพอจะเห็นแนวทางในการเดินหน้าโครงการของพระพุทธ ศาสนาแถบนี้ต่อไป จัดในวันที่ 20 สิงหาคม 2554 ที่ห้องพุด ตาล โรงแรมเกตเวย์ เริ่มบ่ายโมง เป็นต้นไป

ค�ำนึงถึงบรรพบุรุษว่าท่านด�ำรงชีวิตและวงศ์สกุลมาได้อย่างไร


8

รอบเมืองพะเยา

เดือน สิงหาคม 2554

เปิดแผนทีร่ ถไฟสายเด่นชัย-พะเยา-เชียงราย ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ที่ศาลากลางจังหวัดพะเยา การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของ ประชาชน เพื่อศึกษาทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสม ของ โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-พะเยา-เชียงรายเชียงของ โดยมีนายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการจังหวัด พะเยา เป็นประธาน ส�ำหรับแนวเส้นทางโครงการทางรถไฟสายเด่นชัยพะเยา-เชียงราย-เชียงของ ผ่านพื้นที่ทั้งหมด 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ล�ำปาง พะเยา เชียงราย ซึ่งแนวเส้นทางโครงการจังหวัด พะเยา ผ่านพื้นที่ 3 อ�ำเภอ ได้แก่ อ�ำเภอเมือง ผ่าน ต�ำบล แม่กา ต�ำบลจ�ำป่าหวาย ต�ำบลท่าวังทอง,อ�ำเภอดอกค�ำใต้ ผ่าน ต�ำบลห้วยลาน ต�ำบลดอกค�ำใต้, และอ�ำเภอภูกามยาว ผ่าน ต�ำบลดงเจน ต�ำบลแม่อิง ต�ำบลห้วยแก้ว ส่วนจังหวัด พะเยามีจ�ำนวนสถานี 5 แห่ง ได้แก่ สถานีบ้านหม้อแกงทอง, สถานีบ้านโทกหวาก, สถานีพะเยา, สถานีบ้านร้อง,สถานีบ้าน ใหม่ คาดว่า โครงการดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งด้าน พลังงาน ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน และประชาชน ในพื้นที่มีทางเลือกในการใช้บริการด้านการขนส่ง โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงรายเชียงของ ได้เริ่มด�ำริขึ้นโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ ปี ๒๕๐๓ ต่อมาได้ท�ำการส�ำรวจเส้นทางเบื้องต้นในปี๒๕๑๒ จากสถานี เ ด่ น ชั ย -แพร่ - สอง-เชี ย งม่ ว น-ดอกค� ำ ใต้ - พะเยาป่าแดด-เชียงราย ระยะทางรวม ๒๗๓ กิโลเมตร และในปี ๒๕๓๗–๒๕๓๘ การรถไฟฯ ได้ท�ำการว่าจ้างที่ปรึกษาท�ำการ ทบทวนผลการศึกษาเดิม โดยผลการศึกษาสรุปว่า โครงการ มีความเหมาะสมในการด�ำเนินงานผ่านแนวเส้นทางเด่นชัยแพร่-สอง-งาว-พะเยา-เชียงรา ในปี ๒๕๓๙–๒๕๔๑ การรถไฟฯได้ว่าจ้างบริษัทที่ ปรึกษาท�ำการส�ำรวจออกแบบรายละเอียดทางรถไฟทางเดี่ยว รวมถึงด�ำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามแนวสาย ทางที่เหมาะสมดังกล่าว รวมระยะทางจากเด่นชัย-เชียงราย เป็นระยะทาง ๒๔๖ กิโลเมตร และในปี ๒๕๔๗ ได้มีการจ้าง ที่ปรึกษาท�ำการทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสม ของการ ก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงรายอีกครั้ง พร้อมท�ำการ ศึกษาความเหมาะสมของการต่อขยายเชื่อมโยงกับประเทศ จีนตอนใต้ ซึ่งผลการศึกษาสรุปว่า แนวทางที่ได้ท�ำการส�ำรวจ ออกแบบไว้ ยังเป็นเส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด จนกระทั่งในปัจจุบัน ได้มีนโยบายในการพัฒนาโครง ข่ายระบบรางและการให้บริการรถไฟ ซึ่งการรถไฟฯได้เสนอ แผนการลงทุ น โครงสร้ า งพื้ น ฐานของการรถไฟฯ๒๕๕๓– ๒๕๕๗ ต่อคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เห็นชอบกับแนวทางดังกล่าว จาก นั้นคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวัน ๒๗ เมษายน ๒๕๕๓ เห็นชอบ แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟสายฯระยะเร่ง ด่วน ส�ำหรับโครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนลงทุนฯ ระยะเร่งด่วนดังกล่าว ดังนั้นใน ปี ๒๕๕๔ การรถไฟฯ จึงได้รับงบประมาณในการจัดจ้างบริษัท ที่ปรึกษาเพื่อการศึกษาและออกแบบเพื่อเตรียมการก่อสร้าง งานรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทางรวม ประมาณ ๓๒๖ กิโลเมตร โดยได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัท ที่ปรึกษา เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๔ ระยะเวลาศึกษา ๑๔ เดือน เพื่อท�ำการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมส�ำรวจและจัดท�ำแบบ รายละเอียดเพื่อการก่อสร้างประมาณราคาค่าก่อสร้าง และจัด ท�ำเอกสารประกวดราคา

ภูมิใจในภาวะที่ได้เกิดเป็นมนุษย์อุดมชาติ


รอบเมืองพะเยา

เดือน สิงหาคม 2554

9

เอกชนพะเยาเร่งตัง้ รับเศรษฐกิจลุม่ น�ำ้ โขง

จังหวัดพะเยาตั้งรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจกับกลุ่ม ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน�้ำโขง ผลักดันด่านชั่วคราวบ้านฮวก อ.ภูซาง เป็นด่านสากล พร้อมน�ำเสนอโครงการ 1 วีซ่าสู่จุด หมาย 6 ประเทศ ในขณะที่ท่าเรือเชียงแสนก�ำหนดก่อสร้าง เสร็จสมบูรณ์ภายในเม.ย.ปีหน้า นายจรัส สุทธิกุลบุตร ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัด ภาคเหนือตอนบน 2 หรือกลุ่มล้านนาตะวันออก เปิดเผยว่า ผู้ ประกอบการในพื้นที่ 4 จังหวัดล้านนาตะวันออก ซึ่งประกอบ ด้วยจังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และจังหวัดน่าน เตรียมตั้ง รับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่ม แม่น�้ำโขง โดยเฉพาะประเทศจีน ปัจจุบันพบว่ามีผู้ประกอบ การจากจีนเข้ามาปักหลักท�ำธุรกิจด้านบริการ อาทิโรงแรม รวมทั้งเข้ามาค้าขาย น�ำสินค้าเข้ามาจ�ำหน่ายในประเทศ สหภาพพม่า ประเทศ สปป.ลาว รวมทั้งประเทศไทยมาก ขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการตั้งรับกับการขยายตัวดังกล่าว จังหวัด พะเยา โดยหอการค้าจังหวัดพะเยา จึงร่วมกันผลักดันด่าน ชั่วคราวชายแดนของไทย ให้เป็นด่านถาวรหรือด่านสากล ซึ่งจะส่งผลให้การติดต่อทางภาคธุรกิจ การค้า การท่องเที่ยว ไปสู่ประเทศอื่นๆ ในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขงได้ สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งจากการส�ำรวจ พื้นที่จากอ�ำเภอภูซาง ไปยังเมืองคอบ แขวงไชยะบุรี ประเทศ สปป.ลาว จนถึงแม่น�้ำโขงพบว่า ได้มีนักธุรกิจชาวจีนเข้ามารับ ซื้อสินค้าทางภาคการเกษตรที่เมืองคอบ แขวงไชยะบุรีแล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจใน กลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น�้ำโขง หอการค้าจังหวัดพะเยา จึงได้ร่วมผลักดันให้มีการเปิดชั่วคราวชายแดนไทยบ้านฮวก อ�ำเภอภูซาง จ.พะเยา เป็นด่านสากล โดยจะน�ำเรื่องเข้าสู่ที่ ประชุมของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน หรือ กรอ. จังหวัดพะเยาต่อไป ด้านนายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานคณะกรรมการ เพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เปิดเผยถึงการผลักดัน โครงการ 1 วีซ่า สู่จุดหมายปลายทาง 6 ประเทศว่า ได้ร่วมผลัก ดันโครงการดังกล่าวในที่ประชุมในระดับต่าง ๆ รวมทั้งการ ประชุมที่จังหวัดพะเยา เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยขั้นแรกคณะกร รมการฯ ได้ก�ำหนดให้กัมพูชาเป็นต้นแบบ แต่เนื่องจากเกิด ปัญหาข้อพิพาทขึ้น คณะกรรมการจึงได้ดัดแปลงโครงการฯ โดยน�ำโครงการดังกล่าวมาน�ำร่องในพื้นที่ภาคเหนือของไทย เชื่อมต่อไปยังภาคเหนือของ สปป.ลาว และสู่จีนตอนใต้ หาก

จรัส สุทธิกุลบุตร นักท่องเที่ยวหากถือวีซ่าตามโครงการดังกล่าว สามารถเข้ามา ท่องเที่ยวในพื้นที่ทั้ง 3 ประเทศได้ ซึ่งขณะนี้ได้เตรียมยื่นเรื่อง ให้สภาพัฒน์ฯ เป็นผู้น�ำเสนอเข้าที่ประชุมของคณะรัฐมนตรีชุด ใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ นายพัฒนาฯ ยังกล่าวอีกว่า หากรัฐบาลใหม่เห็น ด้วยกับโครงการดังกล่าวแล้ว เชื่อว่าจะส่งผลให้การท่องเที่ยว ในพื้นที่น�ำร่องคึกคักมากขึ้น จนสามารถขยายโครงการ SIX COUNTRIES ONE VISA ONE DESTINATION สู่ประเทศ สหภาพพม่า กัมพูชาและเวียดนามต่อไป ส�ำหรับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าเรือเชียงแสน เป็นโครงการของรัฐบาลไทย ที่ได้ท�ำการก่อสร้างเพื่อใช้เป็น ขนถ่ายสินค้า อาทิการขนถ่ายยางพารา ยางแผ่นรมควัน ล�ำไยอบแห้ง รวมทั้งการขนถ่ายน�้ำมัน ซึ่งรัฐบาลจีนมีโครงการ ก่อสร้างคลังน�้ำมันเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ ประเทศ ดังนั้นคาดว่าท่าเรือเชียงแสนจะเป็นจุดขนถ่าย

น�้ำมันที่ส�ำคัญเพื่อส่งต่อไปยังประเทศจีนตอนใต้ ส�ำหรับ ระยะเวลาการก่อสร้างท่าเรือเชียงแสน มีก�ำหนดก่อสร้างแล้ว เสร็จภายในเดือนมีนาคมและเปิดใช้อย่างเป็นทางการในเดือน เมษายน ปี 2555 พร้อมกันนี้ นายพัฒนาฯ ยังได้กล่าวถึงการก่อสร้าง สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ว่าการก่อสร้างสะพาน มิตรภาพไทย-ลาว เป็นโครงการร่วมระหว่างรัฐบาลไทย จีน และรัฐบาล สปป.ลาว ซึ่งขณะนี้ ติดปัญหาทางด้านงบ ประมาณทางฝ่ายจีน ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายทางด้านงบ ประมาณของจีนได้กำ� หนดจ่ายงบประมาณให้เฉพาะผู้รับเหมา คู่สัญญาระหว่างจีน กับ สปป.ลาว เท่านั้นไม่ได้ครอบคลุมถึง คู่สัญญาระหว่างไทยกับผู้รับเหมาของจีน ดังนั้นจึงต้องรอให้ มีการแก้กฎหมายของฝ่ายรัฐบาลจีนก่อน กรณีดังกล่าวจะส่ง ผลให้การก่อสร้างสะพานล่าช้าต่อไปอีก คาดว่าจะแล้วเสร็จ ภายในปี 2556

พะเยาผู้รับเหมารุ่ง-ธุรกิจอื่นร่อแร่ พัฒนาธุรกิจการค้า-ออมสินช่วย

จี้ผู้ว1 สิ่างหาคม ฯแก้ ไ ขราคาล� ำ ไยร่ ว ง 2554 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00

นายบุญรัตน์ บุ้นมัจฉา หัวหน้าส�ำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดพะเยา เปิดเผยถึงสถิติการจดทะเบียนธุรกิจของ นิติบุคคลในจังหวัดพะเยาว่า ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการขอจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่เป็นนิติบุคคล ที่มี ส�ำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดพะเยา จ�ำนวน 7 ราย แยกเป็นห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด 5 ราย บริษัทจ�ำกัด 2 ราย มีเงินทุนจดทะเบียน 11 ล้าน 5 แสนบาท ส่วนใหญ่เป็นกิจการรับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจขายส่ง ขายปลีก ในขณะเดียวกันพบว่า ได้มีผู้ประกอบการ จดทะเบียนเลิกนิติบุคคลในช่วงเดือนเดียวกัน จ�ำนวน 4 ราย ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีทายาทสานต่อธุรกิจ รวมทั้งบางธุรกิจถูกตรวจ สอบว่าขาดส่งงบการเงิน และบางธุรกิจประสบภาวะขาดทุน จึงจ�ำเป็นต้องเลิกกิจการ ส�ำหรับสถิติการแจ้งจดทะเบียนนิติบุคคลของจังหวัดพะเยา ข้อมูล ณ วันที่ 22 ก.ค. 2554 มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 788 ราย แยก เป็นห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด 623 ราย บริษัทจ�ำกัด 160 ราย ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 5 ราย มีทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกิจการรับเหมาก่อสร้าง 41% รองลงมาเป็นธุรกิจขายส่งขายปลีก 31% กิจการในสาขาการผลิต 7.5% และธุรกิจอื่น ๆ 20.5% หัวหน้าส�ำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดพะเยา ยังได้กล่าวแนะผู้ประกอบการที่จะยื่นจดทะเบียนนิติบุคคลว่า ก่อน อื่นผู้ประกอบการต้องท�ำความเข้าใจถึงข้อแตกต่างระหว่างนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาก่อน อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบการมี ข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ส�ำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทุกจังหวัด นอกจากนี้ผู้ประกอบการใดสนใจจะเข้าร่วมสัมมนาตามโครงการเพิ่มหลักประกันให้กับ SMEs ในวันที่ 23 ส.ค.นี้ ที่โรง แรมเกทเวย์ เริ่มตั้งแต่เวลา 13.00-16.00 น. โดยส�ำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดพะเยา ร่วมกับ บสย.(บรรษัทประกันสินเชื่อ อุตสาหกรรมขนาดย่อม) ซึ่งจะได้รับความรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติในการยื่นขอจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล รวมทั้งจะได้รับความรู้เกี่ยว กับแหล่งที่มาของเงินทุน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ทางด้านธนาคารออมสิน ได้ปล่อยสินเชื่อส�ำหรับผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจ ยื่นขอสินเชื่อธุรกิจและSMEs (ธุรกิจขนาด กลางและขนาดย่อม) โดยผู้ยื่นขอกู้ต้องมีอายุไม่ต�่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นนิติบุคคล ผู้ประกอบการที่สนใจติดต่อสอบถาม ได้ที่ ธนาคารออมสินทุกสาขา หรือติดต่อสอบถามได้ที่ 1115 หรือเข้าดูรายละเอียดได้ที่ www.gsb.or.th

น. ได้มีกลุ่มเกษตรกรชาวสวนล�ำไย อ.เชียงค�ำ และภูซาง 200 คน ได้เดินทางเข้าพบนายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการ จังหวัดพะเยา เพื่อขอความช่วยเหลือกรณีราคาล�ำไยตกต�่ำ โดยเฉพาะล�ำไยสดร่วง จากราคาเกรด AA ราคากิโลกรัมละ 17 บาท, เกรด A 11 บาท ,เกรด B 5 บาท และเกรด C 2 บาท ขณะที่ปัจจุบันเหลือเพียง ราคากิโลกรัมกิโลกรัมละ 13, 8 ,4 และ 1 บาท ตามล�ำดับ ซึ่งราคาดังกล่าวต�่ำที่สุดในภาคเหนือ ตอนบน ในขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่กิโลกรัมละ 12 บาทแล้ว ท�ำให้เกษตรกรได้รับความเดือนร้อน ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวว่า การแก้ไขเรื่อง ปัญหาราคาล�ำไยตกต�่ำนั้น ทางจังหวัด ไม่สามารถไปก�ำหนด เพดานราคารับซื้อได้ ซึ่งต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของ ตลาด ส่วนมาตรการที่รัฐบาลก�ำหนดนั้น และสามารถช่วย เหลือได้เลยคือ มาตรการเร่งรัดกระจายผลผลิต ด้วยการ ชดเชยค่าขนส่งกิโลกรัมละ 2.50 บาท แต่ราคาผลผลิตเกรด AA จะต้องต�่ำกว่า 15.51 บาทต่อกิโลกรัมลงมา จึงจะสามารถ ใช้มาตรการดังกล่าวได้ ส�ำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา ได้รายงานผลผลิต ล�ำไยของจังหวัดพะเยาในปีการผลิต 2554 นี้ พบว่าจากพื้นที่ การปลูกจ�ำนวน 60,000 ไร่ ให้ผลผลิตล�ำไยจ�ำนวน 20,377 ตัน พื้นที่ปลูกมากที่สุดคือ อ.เชียงค�ำ ขณะนี้ให้ผลผลิตสู่ท้อง ตลาดแล้วร้อยละ 28 หรือจ�ำนวน 5,795 ตัน ขณะที่ผลผลิต ล�ำไยเหลือค้างในพื้นที่ทั้งจังหวัดจ�ำนวน ร้อยละ 72 หรือ ประมาณกว่า 14,000 ตัน โดยช่วงที่ผลผลิตออกมากสุดคือ 15 สิงหาคม 2554....

เทียบเคียงฐานะวิชาและอาชีพของตนว่าเป็นประดุจเพื่อนบ้านหรือไม่ เมื่อยกเอาเทียบเคียงกัน


รอบเมืองพะเยา

10

เดือน สิงหาคม 2554

นิทรรศการศิ ล ปะยาตรา ภาพพระภู ฟ า ้ น้ อ มโน้ ม โลมดิ น วันที่ 4 สิงหาคม 2554 ที่สนามข้างสถานีขนส่งจังหวัดพะเยา นายกาจพล เอิบสุขสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัด

พะเยา พร้อมด้วย นายนิมิต วันไชยธนวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ ศิลปะยาตรา “ ภาพพระภูมิฟ้า น้อมโน้มโลมดิน “ โดยอาจารย์ ธีระพันธุ์ ลอไพบูลย์ หรืออาจารย์กวง ชมรมธุลีไทได้จัดขึ้น เพื่อจัดแสดง นิทรรศการภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคลื่อนที่ไปทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้พสกนิกร ทั่วแผ่นดินไทยได้มีโอกาสร่วมแสดงความจงรักภักดีและส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ นอกจากนี้ยังเปิดให้ประชาชนได้ลง นามถวายพระพรบนจอทัชสกรีน ที่มีการบันทึกภาพใบหน้าและแววตาของผู้ร่วมลงนาม รวมทั้งข้อความที่เป็นลายมือ จาก นั้นจะน�ำข้อมูลที่บันทึกไปจัดท�ำเป็นซีดีรอม เพื่อน�ำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในโอกาสต่อไป ทั้งนี้รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้ ถ่ายรูปลงนามถวายพระพร ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ อีกด้วย

ส รุ ป บ ท เ รี ย น กิ จ ก ร ร ม เมนู ก ารพั ฒ นาเบญจวิ ถี

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2554 ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วย ที่ 31จังหวัดพะเยา จัดประชุมสรุปบทเรียน “เมนูการพัฒนา เบญจวิถี” ประด้วยการด�ำเนินกิจกรรม 5 เมนูสายใยรักแห่ง ครอบครัว ได้แก่ 1)เลี้ยงลูกด้วยนมแม่สุขอนามัยในครัวเรือน 2)พัฒนาอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 3)ครอบครัวอบอุ่น 4)สรรค์สร้างการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี 5)ส่งเสริมการเรียน รู้ตลอดชีวิต และมอบนโยบายให้แก่คณะท�ำงานขับเคลื่อน งานต�ำบลต้นแบบเชิงบูรณาการ ตามโครงการพัฒนาต�ำบล ต้นแบบการพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคม ปี 2554 โดยมี คณะท�ำงานระดับต�ำบลกว่า 100 คน เข้าร่วม ซึ่งการประชุม ในครั้งนี้ โดยมีพื้นที่ด�ำเนินงาน 3 ต�ำบลต้นแบบ ได้แก่ 1) ต้นแบบสายใยรักแห่งครอบครัว ในพื้นที่ต�ำบลจุน อ�ำเภอ จุน 2) ต้นแบบศูนย์บริการทางสังคมแบบมีส่วนร่วม ด�ำเนิน การในพื้นที่ต�ำบลแม่สุก อ�ำเภอแม่ใจ 3) ต้นแบบศูนย์ 3 วัย ด�ำเนินการในพื้นที่เทศบาลต�ำบลเชียงค�ำ ต�ำบลหย่วน อ�ำเภอ เชียงค�ำ การด�ำเนินการที่ผ่านมา คณะท�ำงานเชิงบูรณาการ ระดับต�ำบลได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ พร้อม ทั้ง วิเคราะห์ ปรับปรุง และพัฒนากิจกรรมตามแนวเบญจวิถี เพื่อค้นหากิจกรรมที่เป็น Best Pratice ในระดับต�ำบล ระดับ จังหวัด และระดับภูมิภาคต่อไป

ก� ำ นั28 กรกฎาคม น บ้ าพ.ศ.นเหล่ า -หงส์ หิ น รั บ รางวั ล แหวนทองค� ำ 2554 ที่ท�ำการปกครองจังหวัดพะเยา จัดพีธีมอบรางวัลตามโครงการก�ำนันแหวนทองค�ำ ประจ�ำ

ปี 2554 โดยมีนายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธาน ส�ำหรับโครงการดังกล่าว เป็นการเสริมสร้าง ขวัญก�ำลังใจแก่ก�ำนันที่มีความประพฤติและผลงานดีเด่นเป็นแบบอย่างที่ดี โดยแบ่งกลุ่มการคัดเลือกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ประกอบไปด้วยอ�ำเภอเมืองพะเยา ดอกค�ำใต้ แม่ใจ และ ภูกามยาว จ�ำนวน1 ราย และกลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย อ�ำเภอจุน เชียงค�ำ ปง เชียงม่วน และภูซาง จ�ำนวน 1 ราย ซึ่งผลด�ำเนินการคัดเลือกก�ำนันแหวนทองค�ำประจ�ำปี 2554 ได้แก่ นายเสาร์แก้ว แสนเขียว ก�ำนันต�ำบลบ้านเหล่า อ�ำเภอแม่ใจ และ นายชัย โนชัย ก�ำนันต�ำบลหงส์หนิ อ�ำเภอจุน

สสจ.เตือนยาเร่ขายปนเปื้อนสารสเตียรอยด์

นายฉลอง อัครชิโนเรศ นักวิชาการสาธารณสุข (ด้านส่งเสริมพัฒนา) ระดับเชี่ยวชาญ ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาช่วงฤดูท�ำนาจะมีบริษัทยาหรือผู้แทนจ�ำหน่ายยา น�ำยามาเร่ขายตามหมู่บ้านต่างๆ ซึ่งรูปแบบการขายจะมีทั้ง วางขายตามงานที่มีคนไปร่วมจ�ำนวนมากหรือตลาดนัด โดยอาจใช้รถเปิดเครื่องเสียงประกาศให้คนเดินเร่ขาย หรือฉายหนังขาย ยา โดยยาส่วนใหญ่ที่น�ำมาจ�ำหน่ายจะเป็นยาในกลุ่มแก้ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ยาประดง ยากษัย ยาบ�ำรุงธาตุ ยาหอม และยา ลม ซึ่งจากการสุ่มตรวจยาที่มีการน�ำมาเร่ขาย มักพบสเตียรอยด์ปนเปื้อนทั้งยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนถูกต้องและยาไม่มีทะเบียน โดยในส่วนของยาที่มีทะเบียนส่วนใหญ่มักเป็นการลักลอบเติมลงไปในขณะที่น�ำมาเร่ขาย ซึ่งยาสเตียรอยด์จัดเป็นยาที่มีผลข้าง เคียงสูง เพราะอาจท�ำให้เกิดกระเพาะอาหารทะลุ ไตวาย กระดูกพรุน หน้าบวม แขนขาบวม ภูมิต้านทานร่างกายลดลง อ่อนแอ ป่วยง่าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดไขมันสะสมผิดที่ ดังนั้นผู้บริโภคจึงไม่ควรซื้อยาจากการเร่ขาย นอกจากจะมีความเสี่ยงที่จะได้รับ ยาที่ไม่ปลอดภัยสูงแล้ว เมื่อเกิดปัญหาจะติดตามหาตัวผู้จ�ำหน่ายได้ค่อนข้างยาก หากต้องการใช้ยาอื่นนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง ควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือบุคลากรทางการแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันการใช้ยากินความจ�ำเป็น การใช้ยาซ�้ำซ้อน เพราะ ยาบางชนิดมีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยบางราย หากใช้โดยรุ้เท่าไม่ถึงการณ์อาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

เลิกคบคนเกียจคร้านในการท�ำการท�ำงาน เลือกสมาคมแต่คนขยันซึ่งเป็นตัวอย่างแห่งความหมั่น


รอบเมืองพะเยา

เดือน สิงหาคม 2554

11

ห้วยลานน�ำ “ธรรมะติดล้อ”ซือ่ ตรงโปร่งใส

สภาวัฒนธรรมต�ำบลห้วยลาน อ�ำเภอดอกค�ำใต้ จังหวัดพะเยา นัดเครือข่ายรวมพุทธศาสนิกชนต�ำบลห้วย ลาน จัดโครงการ “ธรรมะติดล้อ ซื่อตรง โปร่งใส” ในปีแห่ง “พุทธชยันตี” 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ ระดมชาวบ้านมาปฏิบัติ ธรรมและนายอ�ำเภอดอกค�ำใต้รณรงค์ลดภาวะโลกร้อนด้วย จักรยานน�ำขบวน นายสมิง ใสสม ประธานสภาวัฒนธรรมต�ำบลห้วย ลาน กล่าวว่า “โครงการธรรมะติดล้อ ซื่อตรง โปร่งใส” จัด ท�ำขึ้นโดยความร่วมมือของเครือข่ายพุทธศาสนิกชนต�ำบลห้วย ลาน ซึ่งประกอบด้วยคณะสงฆ์ต�ำบลห้วยลาน สภาวัฒนธรรม ต�ำบลห้วยลาน โรงเรียนง�ำเมืองวิทยาคม โรงเรียนชุมชนบ้าน ห้วยลาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลห้วยลาน พร้อม ทั้งอุบาสก อุบาสิกาชาวต�ำบลห้วยลาน โดยก�ำหนดหลักการว่า

ปี 2554 เป็นปีแห่ง “พุทธชยันตี” คือครบ 2600 ปีแห่งการ ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จึงได้ร่วมใจกันจัด “โครงการธรรมะ ติดล้อ ซื่อตรง โปร่งใส” ขึ้น “โครงการธรรมะติดล้อ ซื่อตรง โปร่งใส” นอกจากจะ มีกิจกรรมท�ำบุญสืบชะตาหลวงแล้ว ยังจัดให้มีกิจกรรมรณรงค์ ภาวะโลกร้อนด้วยการออกก�ำลังกายเช่น ขี่จักรยานลดการใช้ เชื้อเพลิง ซึ่งต่อไปจะส่งเสริมให้คนในต�ำบลใช้รถจักรยานใน การเดินทางในหมู่บ้าน กิจกรรมต่อต้านสิ่งเสพติด การงดเหล้า เข้าพรรษา การรณรงค์ให้ทุกคนเข้าวัดทุกวันพระ นอกจากนี้ ยังได้เชิญวิทยากรมาจัดเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ “ธรรมะ ติดล้อ ซื่อตรงโปร่งใส” ให้ประชาชนได้รับฟังเป็นความรู้ถึง ความหมายของค�ำว่า “ธรรมะติดล้อ ซื่อตรงโปร่งใส”อีกด้วย พระครูสุวรรณธรรมนิวิฐ รองเจ้าคณะอ�ำเภอ

ดอกค�ำใต้ เจ้าอาวาสวัดแท่นค�ำ ต�ำบลห้วยลาน อ�ำเภอ ดอกค�ำใต้ กล่าวว่า วัดแท่นค�ำนี้เป็นศูนย์เรียนรู้ของต�ำบลห้วย ลาน ได้รับการคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาในการส่งเสริมคุณภาพ ชีวิตและสุขภาพ ในโอกาส “พุทธชยันตี” นี้ ได้รณรงค์ให้ ชาวบ้านเข้าวัดท�ำบุญกันทุกวันพระ และส่งเสริมให้ชาวบ้านใช้ รถจักรยานเดินทางในหมู่บ้านรวมทั้งการมาท�ำบุญที่วัด และ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ประชาชนจึงได้จัดจัดพิธีสืบชะตาหลวงขึ้น ในวัดแท่นค�ำด้วย นายธงชัย ศรีทิพยรักษ์ นายอ�ำเภอดอกค�ำใต้ ประธานพิธี กล่าวว่า โครงการธรรมะติดล้อที่จัดขึ้นนี้ เป็น กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ยิ่งส�ำหรับประชาชนต�ำบลห้วยลาน เพราะได้ทั้งด้านธรรมปฏิบัติ ท�ำให้จิตใจสงบ เกิดสติปัญญา และด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการขี่รถจักรยาน นอกจากจะได้ ความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายแล้ว ยังเป็นการรณรงค์ช่วย ลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่ง จึงขอขอบคุณผู้มีจิตศรัทธามอบ รถจักรยานให้วัดต่างๆในต�ำบล เพื่อใช้ในกิจกรรมธรรมะติดล้อ ซึ่งจะจัดเป็นประจ�ำทุกวันพระ หลังจากนั้นก็มีการแสดงการออกก�ำลังกายโดยฮูล่า ฮูป ของแม่บ้านบ้านห้วยลาน เสร็จแล้วนายธงชัย ศรีทิพย รักษ์ นายอ�ำเภอดอกค�ำใต้ ได้ตัดริบบิ้น ปล่อยขบวนรถ จักรยาน โดยนายธงชัย ศรีทิพยรักษ์ ได้ขี่น�ำไปตามถนนใน หมู่บ้านบ้านห้วยลาน ตามด้วยขบวนเดินรณรงค์ลดภาวะ โรคร้อน เอดส์ ยาเสพติด และขบวนอุ้มขันเข้าวัด ซึ่งเป็น กิจกรรมรณรงค์ให้คนเข้าวัดทุกวันพระ จ า ก นั้ น ก็ กลับมารับฟังการเสวนาทางวิชาการ “ธรรมะติดล้อ ซื่อตรง โปร่งใส” โดย พระครูประสิทธิ์บุญญาคม เจ้าอาวาสวัดกิ่ว พร้าว อ.แม่จัน จังหวัดเชียงราย นายวัชระ ศรีค�ำตัน พุทธศาสนิกชนดีเด่นของจังหวัดพะเยา และนายประพันธ์ เทียนวิหาร ประธานสถาบันครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดพะเยา นายสมิง ใสสม กล่าวต่อว่า โครงการนี้จะจัดต่อ เนื่องกันจนถึงวันออกพรรษา โดยจะขอให้คนที่มาท�ำบุญที่วัด งดใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หันมาใช้รถจักรยานเป็นพาหนะ มาวัดแทน ส่ ว นการขี่ จั ก รยานธรรมะสั ญ จรไปตามวั ด ต่ า งๆใน ต�ำบลนั้น จึงวางแผนและก�ำหนดวันเวลาอีกครั้งหนึ่ง

ว.พลั ง งาน/ม.พะเยา อบรมชี ว มวลที่ แ ม่ ใ จ

เมื่อเร็วๆนี้ ที่กลุ่มเลี้ยงปลาเก้าศรี ต�ำบลแม่ใส อ�ำเภอ เมืองพะเยา วิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย พะเยา จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีการ ท�ำเตาชีวมวลและการผลิตเชื้อเพลิงเขียวจากเปลือกและซัง ข้าวโพด แก่ประชาชนในพื้นที่ต�ำบลแม่ใจและต�ำบลแม่นาเรือ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร รองอธิบดีฝ่าย วิจัยและประกันคุณภาพ เป็นประธาน ดร.รัฐภูมิ พรหมณะ รองผู้อ�ำนวยการวิทยาลัย กล่าว ว่า จุดมุ่งหมายของวิทยาลัยพลังงาน ที่ได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชุมชน ที่เกิดจากการ ขาดแคลนในเรื่องของพลังงานในชุมชน รวมไปถึงเรื่องของการ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เศษวัสดุต่างๆที่เหลือทิ้งจากการเกษตร เอามาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า ดร.พิสิษฏ์ มณีโชติ กล่าวว่า วัสดุเหลือใช้ทางการ เกษตรที่มีปริมาณมากในแต่ละปี ได้แก่ ยอดและใบอ้อย ฟาง ข้าว ก้านทางปาล์มน�้ำมัน ต้นมันส�ำปะหลัง และซังข้าวโพด ผสมกับหญ้านวลน้อยที่เป็นวัชพืชที่พบได้ทั่วไป มาท�ำให้แห้ง และบดให้ละเอียดแล้วจึงใช้แป้งเปียกเป็นตัวประสานก็จะ ท�ำให้ได้ค่าความร้อนของเชื้อเพลิงสูงและให้ต้นทุนในการผลิต ต�่ำลง และเพื่อเป็นการลดปัญหามลพิษทางอากาศได้อีกด้วย ทั้ ง นี้ ก ารใช้ พ ลั ง งานเขี ย วยั ง เป็ น การตอบสนอง ยุทธศาสตร์จังหวัดพะเยาในเรื่องของเกษตรปลอดภัย ท่อง เที่ยวยั่งยืน ซึ่งการใช้พลังงานเขียวสามารถบ่งบอกได้ว่า อาหารที่ ผ ลิ ต จากเตานั้ น ปลอดสารพิ ษ และท� ำ ให้ อ ากาศ บริเวณกว๊านพะเยาบริสุทธิ์ด้วย

เตรี4ยสิงมจั ด งานปอยฮอมผญาก้ า วสู ่ 9 19ปี เ มื อ งพะเยา หาคม 2554 องค์กรภาครัฐ เอกชนจากหลายภาคส่วนในจังหวัดพะเยากว่า 30 คน จัดประชุมแลกเปลี่ยนความ

คิดเห็นและวางแผนการจัดงาน ปอยฮอมผญาก้าวสู่ 919 ปี คนพะเยา ซึ่งก�ำหนดจัดขึ้นในวันก่อตั้งจังหวัดพะเยา ครบรอบปี ที่ 34 ในวันที่ 28 สิงหาคม 2554 ทั้งนี้เพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อให้การจัดงานเป็นไปอย่างเป็นรูปธรรม และ ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม โดยในที่ประชุมได้ก�ำหนดรูปแบบการจัดงานไว้ 2 วัน ในวันที่ 27-28 สิงหาคม 2554 ทั้งนี้ วันที่ 27 สิงหาคม จะเป็นการรวมพลังความคิดในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ส�ำหรับสถานที่จัดงานนั้นในที่ประชุมให้ความเห็นว่า ควร เป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนพะเยาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงได้ก�ำหนดที่วัดศรีโคมค�ำ พระอารามหลวงของจังหวัด พะเยา ส่วนในวันที่ 28 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบการก่อตั้งจังหวัดพะเยานั้น ยังคงมีการท�ำบุญและพิธีสืบชะตาเมืองเหมือน เช่นทุกปี โดยก�ำหนดสถานที่หลักที่ศาลหลักเมือง และประตูเมืองทั้ง 5 แห่ง ได้แก่ ประตูปราสาท ประตูชัย ประตูกลอง ประตู เหล็ก และประตูปู่ยี่ เริ่มตั้งแต่เวลา 07.00 น.เป็นต้นไป ส�ำหรับการจัดงาน ปอยฮอมผญาก้าวสู่ 919 ปี คนพะเยา ทั้ง 2 วันนั้น สถานีวิทยุ สวท.พะเยา FM 95.25 MHz และวิทยุชุมชนในเครือข่าย จะร่วมถ่ายทอดเสียงบรรยากาศการจัดงานให้ประชาชนที่ อยู่ทางบ้านได้รับฟังด้วย

ปลุกใจให้เกิดอุตสาหะเป็นนิจนิรันดร์ ให้ประสบความส�ำเร็จ 4 ประการ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา


12

ผญาท้องถิ่น

เดือน สิงหาคม 2554


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.