phayaorath77

Page 1

Vol.77 ราคา 10 บาท

phayaorath.net

จะเลือกไผ...?


รอบเมืองพะเยา

2

เดือน พฤศจิกายน 2554

ติ ด ตามครู ส อนดี พ ะเยา พอใจท้ อ งถิ่ น มี ส ่ ว นร่ ว ม

20 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ที่โรงแรมพะเยาเกทเวย์ มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา ร่วมกับภาคีและหน่วยงานที่ด�ำเนินงานด้านการ คุ้มครองผู้บริโภค จัดเวทีสภาผู้บริโภค “อนาคตที่รออยู่ข้างหน้ากับองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” มีผู้แทนกลุ่มภารกิจด้าน การคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม , แกนน�ำเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดพะเยา , ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน , ผู้แทน สถาบันการศึกษา , ผู้ประกอบการและสื่อมวลชนจ�ำนวนทั้งสิ้น กว่า 140 คน เข้าร่วมเวทีสภาผู้บริโภคในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมได้มีความ รู้ ความเข้าใจต่อ พรบ.อิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค อีกทั้งเกิดการแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค และให้ข้อเสนอ แนะทางออกต่อประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันพบว่า ผู้บริโภคจังหวัดพะเยา ก�ำลังเผชิญสถานการณ์ปัญหาด้านต่างๆ เช่น ด้านโทรคมนาคม , ด้านสินค้าและบริการ , ด้านอาหารและยา เป็นต้น ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่สาเหตุมาจากผู้บริโภคขาดความ รู้ ความเข้าใจ และไม่เท่าทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงขาดกลไกที่เป็นอิสระในการคุ้มครองผู้บริโภคที่จะท�ำหน้าที่คุ้มครองสิทธิให้กับผู้ บริโภค

เผยตัวคนจุนอ้วนเกินพิกัด สอ.ฟิตจัดจับอบรมความรู้ ประชาชนมีนายไพรั ช วงศ์จุมปูสาธารณสุขอ�ำเภอจุน จังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า จากข้อมูลสภาวะสุขภาพอ�ำเภอจุน ปี 2553 พบว่า การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังจ�ำนวนมากเพิ่มขึ้นทุกปี ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจหลอดเลือดและโรค

อัมพฤกษ์อัมพาต ปัจจุบันมีจ�ำนวนรวมทั้งสิ้น 3,608 ราย ซึ่งท�ำให้เกิดผลกระทบต่อตัวผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนในการรักษา ดูแล ฟื้นฟูสภาพ ท�ำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลเป็นจ�ำนวนมาก ในปี 2553 อ�ำเภอจุนได้คัดกรองสุขภาพประชาชน ที่มีอายุ ตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป จ�ำนวน 23,462 คน พบเป็นโรคเบาหวาน 682 คน โรคความดันโลหิตสูง 1,770 คน ภาวะอ้วนลงพุง 541 คน ปัจจัย ส�ำคัญที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวสาเหตุมาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารที่มีรส หวาน มัน เค็มและออก ก�ำลังกายไม่เพียงพอ มีอารมณ์เครียด รวมทั้งดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ และจากรายงานทางการแพทย์ พบว่า คนที่อ้วนลงพุง โดย รอบเอวที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 5 เซนติเมตร จะเพิ่มโอกาสเกิดโรคเบาหวาน 3 – 5 เท่า จากปัญหาดังกล่าวจึงมอบให้นางแสงเทียน กันทะวงศ์ นักวิชาการสาธารณสุขช�ำนาญการ ประสานกับโรงพยาบาลจุน เพื่อจัด อบรมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อกลุ่มโรคเมตาบอลิก หรือกลุ่มโรคอ้วนลงพุง เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในกลุ่มโรคเรื้อรัง โรคอ้วนลงพุงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม ลดอัตราการป่วยเรื้อรังของโรคดังกล่าว ประการส�ำคัญก็คือ เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามโครงการสนองพระราชหฤทัยในหลวง ทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ของประชาชนอ�ำเภอจุนตามนโยบายปี 2554 ของกระทรวงสาธารณสุขอีกทางหนึ่งด้วย นายไพรัช วงศ์จุมปู กล่าวต่อว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การออกก�ำลังกายอย่างสม�่ำเสมอ การรับประทาน อาหารให้พอดี รวมทั้งการลด ละ เลิก เครื่องดื่มอัลกอฮอล์และบุหรี่ เป็นแนวทางการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดี จะส่งผลต่อการป้องกัน โรคอ้วนลงพุง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจหลอดเลือดและโรคอัมฤกษ์ อัมพาต ซึ่งจะเป็นผลดีในอนาคตต่อไป

ส� ำ นั ก งานส่ ง เสริ ม สั ง คมแห่ ง การเรี ย นรู ้ แ ละคุ ณ ภาพ เยาวชน (สสค.) ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนปฏิรูปประเทศไทย โดยมติคณะ รัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554 ด�ำเนินการในโครงการ สังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชูยกย่อง “ครูสอนดี” ได้ส่ง คณะติดตามผลการด�ำเนินงานของคณะกรรมการระดับท้องถิ่นและ จังหวัดในพื้นที่จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทย ที่ด�ำเนินงานบนพื้นฐานปัญหาโครงสร้างของคณะกรรมการ และ ขณะนี้การด�ำเนินงานคัดเลือกครูสอนดีรอบแรกเสร็จเรียบร้อยและ ส่งรายชื่อให้ สสค.แล้ว นายวัชระ ศรีค�ำตัน ประธานคณะกรรมการคัดเลือกครูสอน ดีจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า ตามที่ สสค. ได้ก�ำหนดกระบวนการ วิธีการคัดเลือกครูสอนดีให้ด�ำเนินงาน โดยได้ร่วมกับ 71 องค์กร ปกครองท้องถิ่นทั้ง อบต.และเทศบาลในจังหวัดพะเยา จัดตั้ง คณะท�ำงานระดับท้องถิ่นขึ้นเพื่อสรรหา“ครูสอนดี”ให้ได้ตามโควต้า ที่ สสค.ก�ำหนดให้ คือรางวัล 10,000 บาท ส�ำหรับครูสอนดี 150 คน และทุนครูสอนดี 500,000 บาท ส�ำหรับ ครูสอนดี 4 คน ซึ่ง ขณะนี้จังหวัดพะเยา ได้ส่งรายชื่อทั้งหมดไปให้ สสค.พิจารณาเพื่อ ประกาศผลรอบแรกแล้ว ดร.รุ่งเรือง สุขาภิรมย์ น�ำคณะจากสสค.ติดตามการด�ำเนิน งานโดยสัมภาษณ์คณะกรรมการระดับจังหวัด คณะกรรมการระดับ ท้องถิ่นคือ เทศบาลเมืองพะเยา เทศบาลต�ำบลบ้านต๋อม และ อบต.บ้านตุ่น อ.เมืองพะเยา พร้อมนี้ก็ได้สัมภาษณ์ผู้บริหารสถาน ศึกษา ครู ผู้ปกครองและนักเรียนที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีซีเทค แปซิฟิค โรงเรียนบ้านต๋อม โรงเรียนบ้านตุ้มท่า และโรงเรียน อนุบาลวิทยา “รู้สึกพึงพอใจในการด�ำเนินงานของคณะกรรมการจังหวัด พะเยาที่ยึดหลักการส�ำคัญ “สอนเป็น เห็นผล คนยกย่อง” โดย เฉพาะการสรรหาครูสอนดีจากกรรมการท้องถิ่น ไม่เน้นให้ครูท�ำ เอกสารทางวิชาการและสมัครด้วยตนเองเป็นกระบวนการที่ตรงกับ ขั้นตอนวิธีการตามเจตนารมณ์ของ สสค. และชื่นชมคณะกรรมการ ระดับจังหวัดที่มีจุดเด่นในด้าน“การมีส่วนร่วม” จากองค์กรท้องถิ่น และประชาชน

กรมชลฯจ้ า งที่ ป รึ ก ษา ศึ ก ษาท่ ว มแล้ ง ลุ ่ ม น�้ ำ อิ ง

4 ตุลาคม 2554 ที่ภูซางเฮือนไทยรีสอร์ท อ.ภูซาง กรมชลประทาน และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ ได้ประชุมปฐมนิเทศ โครงการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาแหล่งน�้ำเพื่อบรรเทา ปัญหาการขาดแคลนน�้ำและอุทกภัยล�ำน�้ำอิง ที่ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงราย เพื่อให้ตัวแทนประชาชนและ องค์กรต่างๆในพื้นที่ลุ่มน�้ำอิงได้รับทราบถึงแนวทางและวิธีวางแผน พัฒนาแหล่งน�้ำอย่างมีส่วนร่วม มีส่วนราชการ ผู้แทนองค์กร พัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน และ สื่อมวลชนในจังหวัดพะเยาและเชียงราย เข้าร่วมการประชุม กว่า 200 คน

13 ตุลาคม 2554 ที่ห้องประชุมภูกามยาว ศาลากลางจังหวัดพะเยา ส�ำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด พะเยา เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประเด็นสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มีตัวแทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมเข้าร่วม เพื่อ แลกเปลี่ยนความรู้และแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่จะน�ำมาก�ำหนดเป็นนโยบายสาธารณะของจังหวัด ซึ่งมี ประเด็นที่ส�ำคัญจ�ำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ 1.การจัดการปัญหาการฆ่าตัวตาย(สุขใจ...ไม่คิดสั้น) 2.ความปลอดภัยทางอาหาร : การจัดการ น�้ำมันทอดซ�้ำเสื่อมสภาพ 3.การจัดการปัญหาโฆษณายาและอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณยา ที่ผิดกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่น เคเบิ้ลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม 4.การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง 5.การบริหารจัดการทรัพยากรลุ่มน�้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืน โดย กระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและภาคีทุกภาคส่วน และ 6.การเข้าถึงบริการอาชีวอนามัยเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของคน ท�ำงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ เป็นต้น

เมืองก็ดี วัดวาอารามก็ดี บ้านสวนก็ดี เฮือนก็ดี กันจักแป๋งเฮือนอยู่นั้น อย่าหื้อซื่อสายน�้ำมาต้อง


เดือน พฤศจิกายน 2554

บรรณาธิการ

3

VOL 77

ภายใต้โครงการสื่อสารสาธารณะ สถาบันปวงผญาพยาว • โครงการบ่มเพาะหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เพื่อสร้างหนังสือพิมพ์ชุมชน และส่งเสริมความเป็นพลเมือง สนับสนุนโดย สถาบันอิศรา สสส. และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม • ภาคีความร่วมมือ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา • ภาคีสาขาสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ด้านการอบรมทักษะการผลิตสื่อ เรื่องเล่าจากชุมชน • เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ จังหวัดพะเยา • เครือข่ายนักข่าวพลเมือง ทีวีไทย • สำ�นักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพะเยา ผู้ก่อตั้ง : ชัยวัฒน์ จันธิมา แบบอย่างความคิด : พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) วัดศรีโคมคำ� พ่อครูเอื้อ มณีรัตน์, สยมชัย วิจิตรวิทยาพงศ์ นักเขียน : วิมล ปิงเมืองเหล็ก, ชัยวัฒน์ จันธิมา, มนตรา พงษ์นิล, ภัทรา บุรารักษ์, สหัทยา วิเศษ, สมเกียรติ เขื่อนเชียงสา,สายอรุณ ปินะดวง สงกรานต์ ปัญญา บรรณาธิการ : วัชระ ศรีคำ�ตัน สำ�นักงาน : 242/2 หมู่ 4 ต.หย่วน อ.เชียงคำ� จ.พะเยา 56110 โทร.054-451059 e-mail : phayaorath@hotmail.com พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์เจริญอักษร โทร.054-431576

ขอแสดงความยินดีกับกลุ่มเยาวชนข้าวหนึกงา ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของประเทศ ในโครงการสื่อ สร้างสรรค์สารคดีประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า จากวิทยาลัยปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า โดยกลุ่มข้าว หนึกงาเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่ 4 ต�ำบล คือต�ำบลบ้านปิน ต�ำบลบ้านถ�้ำ ต�ำบลคือเวียง และ ต�ำบลหนองหล่ม

บรรณาธิการ

“คันหู”

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เพลงลูกทุ่งของไทย เป็นเพลงที่มีคนสนใจติดตามในโลกไซเบอร์ว่อน เน็ต ท�ำสถิติถล่มทลาย มีคนเข้าดูกว่า 10 ล้านคน ก็ “เพลงคันหู” วงเทอร์โบ นั่นแหละครับ วัชระ ศรีคำ�ตัน ผมเองก็อดใจไม่ไหว ต้องเข้าไปเพิ่มสถิติคนดูให้กับเขาดูเหมือนกัน vatchara_4@hotmail.com แม้แต่ตัวจากข้ อมูลเพลงนี้มีมานานแล้ว แต่มาดังเอาตอนที่วงเทอร์โบน�ำไปร้อง อีกทั้งโชว์สดใน เวทีต่างจังหวัด เพลงดังกล่าว ซึ่งเนื้อหาในเพลงดังกล่าวมีลักษณะสองแง่ สองง่าม จึงถูกถามถึงและก�ำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันหลากหลาย แต่ที่เป็นประเด็นข่าวขึ้นมา คือ การน�ำเพลง “คันหู ไปร้องบนเวที ลีลาการแสดงบนเวที เมื่อร้องเพลงคันหู แต่ท่าทาง กลับแสดงอาการคันที่อวัยวะ อื่น เสียงร้อง ก็ยั่ว อาการหื่นของหลายคนได้เป็นอย่างดี งานนี้ก็ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า เพลง คันหู จะถูกด�ำเนินการจากกระทรวงวัฒนธรรม อย่างไรหรือ ไม่ เช่นเดียวกับคุณระเบียบรัตน์ ก็หายเงียบไป ไม่รู้ว่าเข็ดกับการขึ้นโรงขึ้นศาลหรือเปล่า ขณะที่หลายๆคนอาจจะมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่อีกกลุ่มหนึ่งกลับมองว่า นี่ก็เป็นอาชีพหนึ่งของเขาที่ใช้ท�ำมาหากิน คนที่ต้องการความสนุก และ ความเพลิดเพลินจากการฟังเพลง หลายๆคนที่ฟังและดูเพลงนี้อาจจะคิดว่ามันเป็นเพียงแค่เรื่องที่สนุกสนานเพียงแค่นั้น หากไม่คิดมากจนเกินไป จะว่าไปแล้ว ดีหรือไม่ดีนั้นก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง จะไปตราหน้านักร้องสาวว่าเลวเสียทีเดียวก็คงไม่ได้ ต้องดูที่บริบทของสังคมปัจจุบัน ว่าเป็นอย่างไร ค่านิยมของคนรุ่นใหม่ที่เห็นเงินส�ำคัญกว่าเกียรติยศและศักดิ์ศรี มันเกิดจากอะไร สังคมที่ถือว่า เงินคือแก้วสารพัดนึก เงินคือพระเจ้า มีเงินเสียอย่างท�ำอะไรก็ได้ ท�ำอะไรก็ไม่ผิด ไมต้องสนใจว่าจะได้เงินมาด้วยวิธีใด ขอให้มี เงินเสียอย่าง ก็เชิดหน้าชูตาอยู่ในสังคมอย่างภาคภูมิใจอย่างไม่ต้องอับอายใคร ตัวอย่างวงการการเมืองบ้านเราขณะนี้ เยอะแยะที่ขายเกียรติยศและศักดิ์ศรี เพื่อเงิน โกงบ้านโกงเมือง เผาบ้านเผาเมือง ค้ายาเสพติด ค้าผู้หญิง หรือท�ำชั่วช้าสารพัดอย่างไรก็ไม่ว่า ยังมีชูหน้าสลอนในสภาผู้แทน ท�ำให้เด็กเยาวชน เอาเป็นเยี่ยงอย่างว่า ถ้าอยากมีเงิน เป็นใหญ่เป็นโตในบ้านเมือง ไม่ต้องเรียนหนังสือให้ปวดหัว ท�ำตัวเป็นอันธพาลเข้าไว้ เดี๋ยวดีเอง เรื่องคุกตารางก็ไม่ต้อง หวั่น ก็คนเขาพูดกันจนเบื่อแล้วว่า “คุกมีไว้ขังคนจนกับหมา” ก็แค่นักร้องคันหู แต่ไปเกาผิดที่ กลายเป็นเรื่อง เป็นราวใหญ่โต แต่ทีนักการเมืองเกาไม่ถูกที่คันเยอะไป ไม่เห็นเป็นไร น�้ำท่วมบ้าน ท่วมเมือง ประชาชนยากแค้นแสนสาหัส ยังมีหน้าพากันไปเตะฟุตบอลถึงเมืองเขมร ขะแมร์ ท�ำเพื่ออะไร ไม่ต้องบอก คนเด่นคนดัง คนหนีคุกหนีตะรางทั้งหลายเห็น กันเกลื่อน ทั้งที่ไม่กี่วันก่อนหน้าผู้น�ำเขมรบอกไม่มี ไม่เคยช่วยใคร แล้วอย่างนี้จะคบกันไปเพื่ออะไร เพื่อไทย หรือเพื่อเขมร.

ถมสมุทร มี ๕ ประก๋าร คือ ๑. ถมบ่อน�้ำ ๒. ถมสระหนอง ๓. ถมเมืองถมฝาย ๔. ถมตี้พระเจ้าพระสงฆ์ ๕. ถมตี้เทวดาหื้อเป๋นตี้อยู่ บ่ดี มักฉิบหายแล


คน/ความคิด

4

เดือน พฤศจิกายน 2554

คนนอกสายตา สหัทยา วิเศษ kungwises@hotmail.co.th “กว๊านพะเยา” เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เชิดหน้าชูตาคน พะเยา มีคนบอกหลายคนอย่างนั้น... พ่อค้า แม่ค้าที่ขายของในบริเวณกว๊านพะเยา มีหลายกลุ่ม ในอดีตที่พอจ�ำความได้ มาเที่ยวกว๊านพะเยาจะมีแม่ค้าขายผลไม้ ของดอง ถั่วต้ม อ้อยควั่น หาบกระบุงเดินขายบริเวณชายกว๊าน อีกอย่างที่ลืมไม่ได้ คือ ปลาหมึกปิ้งที่พ่อค้าพ่วงข้างจักรยานขาย บริเวณชายกว๊านเช่นกัน สมัยนั้นร้านอาหารยังไม่มีมากมาย กว๊านพะเยาพ.ศ.นี้ถูก เปลี่ยนแปลง จากพนังไม้เก่าๆ กลายเป็นพนังคอนกรีตที่แข็งแรง ต้นสนที่เคยลู่ลมถูกฟันทิ้ง กลายมาเป็นต้นปาล์ม ต้นมะพร้าวบ้าง ไม้ประดับนานาชนิด สนามหญ้าเขียว มีก้อนหินมาจัดภูมิทัศน์คู่กับ ป้ายกว๊านพะเยาให้นักท่องเที่ยวถ่ายภาพ วันดีคืนดีมีน�้ำพุดนตรี มี พญานาค 2 ตัว และเจดีย์เล็กๆ โผล่ขึ้นบริเวณหน้าพ่อขุน พร้อมๆ กับการปรับเปลี่ยนจากบ้านเรือนมาเป็นร้านค้าขายอาหาร ขาย ของช�ำ ขายกาแฟ ขายไอศกรีม ร้านเหล้ากันให้พรึบ พ่อค้าแม่ค้าแบบเดิมที่เคยหาบกระบุงได้หายไป รถ จักรยานพ่อค้าปลาหมึกเปลี่ยนมาเป็นรถจักรยานยนต์พร้อมติด เครื่องเสียง เปิดเพลงฮิตดังกังวานเพื่อดึงดูดลูกค้า มีแม่ค้าที่ใช้รถ จักรยานยนต์ขายปลาส้มของฝากจากพะเยา หนังปลากรอบเพิ่ม มากขึ้น รวมไปถึงแม่ค้าขายกุ้งเต้นที่ใช้รถจักรยานยนต์เร่หาลูกค้า พร้อมบริการเสื่อฟรีให้นั่งบริเวณสนามหญ้าหน้ากว๊านพะเยา มีเมนูอาหารมาน�ำเสนอ เช่น กุ้งเต้น ปลานิลเผา ไก่ย่าง ส้มต�ำ น�้ำตก ข้าวเหนียว ฯลฯ ช่วงหลังไม่กี่ปีที่กาแฟโบราณก�ำลัง ได้รับความนิยม ก็มีรถขายกาแฟโบราณทั้งรถพ่วงและรถกระบะ จอดขายบริเวณหน้าสวนสุขภาพ อนุสาวรีย์พ่อขุนง�ำเมือง ช่วง เทศกาลไม่ว่าจะเป็นลอยกระทง ปีใหม่ สงกรานต์ หรือวันหยุด หลายๆ วัน คนมาท่องเที่ยวมาก ก็ได้ขายของมาก รายได้เพิ่มขึ้น กันทั่วหน้า “กว๊านพะเยา” แหล่งชีวิตแหล่งท�ำมาหา(เช้า)กิน(ค�่ำ) ของ อาชีพแม่ค้า “เป็นแม่ค้ามาตั้งแต่เป็นสาว เมื่อ 20 ปีก่อน ขายของที่ กว๊านมาตลอด เรียกว่าเป็นอาชีพหลักก็ว่าได้ ส่งลูกจนจบปริญญา ตรี ก็ยังขายของ” ต่อมาไม่นานเทศบาลเมืองพะเยาในยุคนั้นเห็น ว่ารถเข็นขายอาหารบังทิวทัศน์ของกว๊านพะเยา และท�ำให้สถานที่

ขอแสดงความยินดีกับนางบัวหลี ขันทอง อดีตประธานกลุ่มพัฒนาสตรีอ�ำเภอเชียงค�ำ จิตอาสาพัฒนาชุมชนและนักจัดรายวิทยุพะเยารัฐ กับสองรางวัลเกียรติยศแทนคุณแผ่นดิน 2554 และนักประชาสัมพันธ์ชุมชนดีเด่น กรมพัฒนาชุมชน ปี 2554

“คนเล็กคนน้อย” ริมกว๊านพะเยา

สกปรก จึงได้จัดสถานที่ให้แม่ค้ากลุ่มนั้นน�ำรถเข็นมาขายอาหาร บริเวณด้านหลังของสวนสมเด็จย่า แต่ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาซื้อ และรายได้ลดลงเป็นอย่างมาก จะขายได้ก็ช่วงเทศกาลเท่านั้น แม่ค้าจึงใช้วิธีการ“หาลูกค้า”โดยใช้รถจักรยานยนต์ตระเวน หานักท่องเที่ยวที่มาจอดรถบริเวณหน้าพ่อขุนฯ โดยแม่ค้าจะ เข้าไปถามพร้อมกับน�ำเสนอเมนูอาหารเด็ดของกว๊านพะเยา ได้แก่ กุ้งเต้น ปลานิลเผา ไก่ย่าง ส้มต�ำ และอาหารอื่นๆ อีกหลายประเภท เมื่อได้ลูกค้า แม่ค้าจะน�ำเสื่อมาบริการให้ฟรี และกลับไป

ท�ำอาหารมาส่ง แม่ค้าเล่าว่าการขายของที่ผ่านมา มีความยากล�ำบาก หลายอย่าง บางครั้งถูกนักท่องเที่ยวโกง กินแล้วหนีไม่จ่ายเงิน แต่ แม่ค้าได้แก้ไขปัญหาโดยเก็บเงินหลังจากที่ส่งอาหาร บางครั้งก็โดน นักท่องเที่ยวต่อว่าไม่เชื่อใจ จึงต้องเอาใจลูกค้า กลัวลูกค้าจะไม่ ซื้อของตนเอง อย่างไรก็ตามยังมีรถพ่วงที่ออกไปขายของหน้าพ่อ ขุนฯ โดยเฉพาะในช่วงเย็นที่มีนักท่องเที่ยวจ�ำนวนมาก บางครั้งก็ มีเทศกิจมาไล่ไม่ให้ขาย

ให้แพทย์ตรวจอยู่ดีและเตรียมเงินสดค่าตรวจไปพอสมควร ด้วย วันนั้นเป็นวันเสาร์แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่อาจไม่เพียงพอ พยาบาลที่ท�ำการตรวจผมเบื้องต้นบอกว่าอาจต้องใช้เวลารอพบ แพทย์นานถึงสามชั่วโมง คิดในใจว่าต้องทรมานอย่างนี้อีกสามชั่วโมงเลยหรือ เราคงทราบกันดีถึงเรื่องเล่าที่ว่า โรงพยาบาลในต่าง ประเทศนั้นทั้งช้า ทั้งแพง และการดูแลไม่ค่อยนัก แต่ไม่ว่าด้วย เหตุใดก็ตามผมรอเพียงประมาณหนึ่งชั่วโมง แพทย์หญิงท่านหนึ่ง ว่างพอดีและเรียกผมเข้าไปตรวจ แพทย์หญิงท่านนี้สอบถามอาการ ให้ยาแก้ปวดชนิด รุนแรงก่อนในเบื้องต้น สอนการออกก�ำลังกายคอและหลัง และ

ให้ใบสั่งยาในที่สุด ซึ่งแพทย์หญิงบอกว่าผมไม่น่าจะเป็นอะไรมาก เพียงแต่กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมีปัญหา และแนะน�ำให้ผมลางานสัก พักหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ผมรู้สึกดีขึ้นมากแล้ว ประเด็นคือว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับผมถือว่าเป็นสิ่งที่เล็กน้อย มาก เมื่อเทียบกับบางท่านที่มาท�ำงานหาเงินในต่างแดน ใช้ชีวิต ในการท�ำงานอย่างหนักราวกับว่าร่างกายตัวเองเป็นเครื่องยนต์กล ไกล ไม่พักผ่อนให้เพียงพอ หรือเมื่อร่างกายส่งสัญญาณผิดปกติ ก็ไม่สนใจ ยังมีพ่อแม่พี่น้องเราอีกมากมายที่มาใช้ชีวิตแบบ “ขุด ทอง” ในต่างแดนโดยไม่สนใจสุขภาพของตัวเองเลยแต่มุ่งท�ำงาน หาเงินอย่างเดียว ผมอาจจะโชคดีที่ไม่เจ็บป่วยมาก แต่บางท่านที่เคยได้ยิน

เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ โดย ฐวลัญชน์ สุขยิ่ง tsookying@hotmail.com

สุขภาพ กับ เงินทอง ผมเป็นคนหนึ่งที่มาเรียนและท�ำงานหากินในต่างแดน เพื่อ หวังว่าจะได้มีเงินทองเช่นเดียวกับคนอื่นเขาบ้าง แต่ก็ตั้งหน้าตั้งตา เรียน และท�ำงานไปด้วยพร้อมกัน แต่ผมมีประสบการณ์ตรงเรื่องหนึ่งที่ผมอยากน�ำมาเล่าสู่ กันฟัง เกี่ยวกับการท�ำงานในต่างแดน ผมท�ำงานในร้านขนมเค้ก แห่งหนึ่ง มีหน้าที่จัดเตรียมเค้กตามใบสั่งของ ก่อนส่งต่อให้คนขับ รถไปส่งให้ลูกค้าตามร้านต่างๆ งานไม่ค่อยหนัก แต่บางจังหวะต้อง มีการแบกหามยกของและลังต่างๆ เช้าวันหนึ่งผมไปท�ำงานตามปกติ แต่หลายเดือนที่ผ่านมา ผมเริ่มรู้สึกแล้วว่าหลังและคอเริ่มมีอาการผิดปกติ ผมมักปวดหลัง และคอเสมอเวลาก้มเงยและยกของ วันนั้นเองอาจจะเป็นเพราะ ผมรีบ หรือยกของผิดท่า ซึ่งผมเองก็ไม่ทันรู้ตัวเอง สักพักหนึ่งผม รู้สึกปวดร้าวที่ต้นคออย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในชีวิตนี้ เกร็งกล้าม เนื้อคอไม่ได้ หันคอไปมาแทบไม่ได้ ผมทรมานอย่างนั้นอยู่นานหลายชั่วโมง แต่ก็ทนท�ำงาน ไปจนให้หมดกะ(ซึ่งแท้จริงแล้วคือผมยังอยากได้ชั่วโมงเยอะและ อยากได้เงินเงินนั้นเอง) กลับมาถึงบ้านอาการแย่ลงไปอีก ปวดคอมากขึ้นและปวด ร้าวลงไปถึงปีกและกลางหลัง จนทนไม่ไหวในที่สุดผมจึงตัดสินใจ ไปโรงพยาบาล ซึ่งผมยังเป็นห่วงค่ารักษาพยาบาล เพราะขณะนั้น ประกันสุขภาพนักเรียนหมดอายุไปนานแล้วและยังไม่ได้ต่อ เพราะ คิดว่าตัวเองไม่น่าจะเจ็บไข้ได้ป่วยแต่อย่างใด แต่ก็ไปโรงพยาบาล

แม่น�้ำก๊ดไปก๊ดมา ขุดลัดเสียหื้อมันซื่อ ก็ขึดมาก นักแล


เดือน พฤศจิกายน 2554 “รายได้ลดลงมาก จากแต่ก่อนที่เคยขายของริมถนนเคย ได้วันละ 2-3 พันบาท หลังจากที่ถูกย้ายที่ขายของได้เพียงวันละ 2-3 ร้อยบาท” เพราะสถานที่ที่จัดให้ด้านหลังสวนสาธารณะ ไม่ เหมาะสมส�ำหรับขายอาหาร เทศบาลเมืองพะเยาไม่ได้จัดสถานที่ ขายอาหารให้เป็นสัดส่วน ปล่อยให้เป็นไปตามสภาพ เป็นหลุมเป็น บ่อ และไม่มีป้ายบอกว่าข้างในสวนสาธารณะมีร้านอาหาร ท�ำให้ นักท่องเที่ยวไม่เห็น ถ้าจะออกไปตั้งขายข้างหน้า เทศกิจก็มาจับ และปรับ เพราะท�ำผิดประกาศของเทศบาลฯ “ทุกวันนี้เทศบาลฯ และจังหวัดก็ไม่รับรองเรา จึงไม่ สามารถกู้เงินในระบบได้” เมื่อไม่มีอะไรมาค�้ำประกัน ไม่มีหลักทรัพย์ แม่ค้าหลาย คนเข้าสู่วงจรกู้นอกระบบ ร้อยละ 20 เพื่อมาลงทุนและให้เสื้อขาว ไปโรงเรียน คนชาย (ขอบ) กว๊านพะเยา เมื่อมองตามแนวคิด “คนชายขอบ” (Marginal people) ในสถานการณ์ของสังคมปัจจุบัน ทุกคนอาจเป็นส่วนหนึ่งของการ สร้างคนชายขอบ แต่ขณะเดียวกันทุกคนก็อาจเป็นคนชายขอบโดย ไม่ทันรู้ตัว เพราะสังคมไทยประกอบด้วยคนหลากหลายเชื้อชาติ วัฒนธรรม ชนชั้น ศาสนา อีกทั้งยังมีปัญหาสังคมต่างๆ มากมาย รวมทั้งความทันสมัยของความรู้ข่าวสารเทคโนโลยี ซึ่งเป็นส่วน หนึ่งในการสร้าง สังคมชายขอบให้เกิดขึ้น ในกรณีนี้ แม่ค้าเหล่านี้ถูกผลักดันให้เป็นคนชายขอบ จาก กลุ่มภาครัฐที่มองว่ากลุ่มนี้ไม่ท�ำตามกฎหมาย ขัดขืนต่อระเบียบ ค�ำสั่งของราชการ อีกกลุ่มหนึ่งมาจากร้านค้าริมกว๊านที่มองว่าแม่ค้ากลุ่มนี้ มาแย่งลูกค้า ท�ำให้แม่ค้ากลุ่มนี้ถูกท�ำให้กลายเป็นคนอื่น ถูกทอด ทิ้ง ถูกกีดกันไม่ให้เข้าถึงทรัพยากร คนเหล่านี้อยู่นอกสายตา และไม่เคยถูกเล็งที่จะให้ได้รับการช่วยเหลือ ทั้งๆที่แต่ ก่อนเขาไม่เคยถูกกีดกันแบบนี้มาก่อน แต่การเปลี่ยนแปลงทาง สังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อมได้เป็นปัจจัยเร่งที่ท�ำให้ กระบวนการเปลี่ยนเป็นชายขอบ (Marginalization) ของแม่ค้า กลุ่มนี้ เป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น แม่ ค ้ า กลุ ่ ม นี้ จึ ง เป็ น อี ก กลุ ่ ม หนึ่ ง ของคนเล็ ก คนน้ อ ย ชาย(ขอบ)กว๊านพะเยาที่ต้องอดทนต่อสภาพที่เกิดขึ้น และตั้งรับ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อมที่เกิด ขึ้นตลอดเวลา ชั่วชีวิต โดยไม่มีทางเลือกอื่น เพราะจนเงิน จนอ�ำนาจ และจนโอกาส คนเหล่านี้ต้องเผชิญการแก่งแย่งแข่งขัน เพื่อการเข้าถึง ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจ�ำกัดอีกทั้งยังถูกกีดกัน และถูกเอารัดเอา เปรียบจากกลุ่มคนส่วนใหญ่ มาถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อ หรือเจ็บป่วยด้วยอาการร้ายแรงต่างๆ หรือบางท่านอาการหนักจนต้องกลับเมืองไทยไปเลยก็มี เงินทองที่เราหามาและสะสมจากหยาดเหงื่อแรงงานจะมี ค่าอะไร เมื่อร่างกายเราต้องเจ็บป่วยและเสียหายไปจากการท�ำงาน หาเงินนั้น หากเป็นเช่นนี้ ก็เท่ากับว่าเงินที่เราหามาได้ก็เพื่อเตรียม ไว้ในยามที่เราเจ็บป่วยเท่านั้นเอง และจะมีประโยชน์อันใดที่เรา เอาแต่ตั้งหน้าตั้งกันอย่างบ้าคลั่งในการท�ำงานหาเงิน บางท่านบอกว่าจ�ำเป็นต้องใช้เงิน ต้องส่งน้องเรียน พ่อแม่ ที่บ้านไม่สบาย คนที่บ้านไม่พอใช้ ตัวเองไม่พอกิน ต้องการสิ่งนั้น อยู่ สิ่งนี้ก็ยังไม่มี ทุกอย่างนานาจิตตัง คนเราต่างมีความคิดเป็น ของตนเอง เราจึงยึดติดกับความคิดนั้นๆ แต่หากเราคิดพอ เราก็ ไม่จ�ำเป็นต้องเสียเวลาหาเงินทองให้มากมาย เราก็จะมีเวลาไปใช้ ชีวิตในมุมมองอื่นบ้าง ร่างกายและสุขภาพก็ดี ท�ำให้เรามีชีวิตอยู่ ไปอีกนาน หรือหากเราคิดไม่พอ เราก็กลายเป็นเพียงหนูปั่นจักรตัว หนึ่ง ที่วิ่งวนอยู่จักรแงระบบการท�ำงานอย่างไม่รู้จบ จนในที่สุดก็วิ่ง จนหมดแรงและต้องถูกหามตัวออกมา หรือไม่เราก็กลายเป็นเพียงนอตเล็กๆตัวหนึ่งที่คอยท�ำงาน ให้ระบบขับเคลื่อนไป ซึ่งเมื่อวันหนึ่งนอตมีปัญหาและใช้การไม่ได้ ระบบก็ถอดนอตตัวเก่าออกและเปลี่ยนนอตตัวใหม่เข้าสู่ระบบเดิมๆ และวงจรนี้ก็ด�ำเนินต่อไป ...และอะไรคือแก่นสารของชีวิตการท�ำงาน เราทุกคนต่างติดกับดัดหลุมพรางของระบบทุนนิยม และ กลายเป็นกลุ่มวัตถุนิยมกันทั่วหน้า ต่างตั้งหน้าตั้งตาท�ำงานหาเงิน ระหกระเหินเดินทางไปทุกทิศทั่วประเทศและทั่วโลกเพื่อแสวงหา เงินตรา และตีราคากันว่าใครยิ่งมีมากยิ่งดี ใครยิ่งมีวัตถุมากยิ่งดี เราจึงแข่งขันกันสะสมทรัพย์เรื่อยไป ต่างแข่งขันกันมีวัตถุเพื่อมา เสริมตัวตนให้เป็นที่โดดเด่นกว่าใคร โดยไม่ได้มองถึงสภาพและมุม มองอื่นในชีวิตบ้างเลย เราต่างด�ำเนินชีวิตกันอย่างนี้มาโดยตลอด สิ่งที่เราควรคิดคือ จะมีสุขภาพที่ดีหรือมีทรัพย์สินมากมาย

คน/ความคิด

5 มะหินเกิดกับท่า วิมล ปิงเมืองเหล็ก www.vimon.co.cc

สัจธรรมน�้ำท่วม จศ.1373 ตัว ผมเห็นข่าวภาพน�้ำท่วมว่ากันตั้งแต่เขตบนสุดคือจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ล�ำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ก�ำแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยาและกรุงเทพฯ เห็นภาพสัจธรรมของสังคมไทยเด่นชัดมากขึ้น ๆ และมากขึ้น ภาพที่ผมเห็นก็คือ สังคมไทยก�ำลังถูกธรรมชาติลงโทษอย่างรุนแรงและสาสมอีกครั้งหนึ่ง สังคมไทยเป็นสังคมที่อ่อนแอไม่ พร้อมที่จะเผชิญกับภัยธรรมชาติอย่างรุนแรงในอนาคต สังคมไทยเป็นสังคมที่มีแต่ขอและรอรับจากการให้ของสังคมภายนอก สังคม ไทยเป็นสังคมที่ไม่มีระเบียบวินัยและใร้สติในการสู้กับภัยธรรมชาติ และสังคมไทยโดยเนื้อแท้แล้วยังไม่มีความรักสามัคคีกันอย่างภาพ ที่เห็น และเสียงที่โพนทะนา คนสมัยโบราณการสร้างบ้านแปงเมืองเขาจะยึดชัยภูมิที่เหมาะสมคือ ที่ตรงนั้นมีภูเขา มีแม่น�้ำและมีที่ราบเพื่อท�ำไร่ไถนาเป็น ส�ำคัญ การตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น�้ำเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ได้รับการสั่งสอนกันมาดั่งที่พูดไว้ข้างต้น และการอยู่ใกล้แม่น�้ำทั้งสาย เล็กสายใหญ่ย่อมหนีไม่พ้นที่จะเกิดน�้ำท่วมในฤดูกาลน�้ำหลากและพบกับความแห้งแล้งในฤดูร้อนไร้ฝน นี่คือสัจจธรรมของวิถีมนุษย์ จะเห็นได้จากบริเวณที่ถูกน�้ำท่วมจะมีชื่อหมู่บ้านเกี่ยวกับน�้ำทั้งสิ้น เช่น บ้านริมปิง บ้านน�้ำก็อด บ้านน�้ำปาด บ้านปากน�้ำโผล่ (ปากน�้ำโพ)เป็นต้น มนุษย์อยากจะอยู่กับน�้ำก็ต้องปรับตัวให้สมดุลกับวิถีน�้ำ และถ้าอยากจะอยู่กับป่าก็ต้องปรับตัวกับวิถีป่าให้ได้อย่างลงตัว เมื่ออยู่ไปกลับมีความโลภและไปแหกกฎโบร�่ำโบราณที่ว่า “ เมืองก็ดี วัดวาอารามก็ดี บ้านสวนก็ดี เฮือนก็ดี กั๋นจักแป๋งเฮือน อยู่นั้น อย่าหื้อซื่อสายน�้ำมาต้อง ตัดสายกองใหญ่น้อยมาต�๋ำ ตั้ดสายตาพระเจ้า และสายตาแม่ยักขิณี ..บ่ดีและบ่วุฒิฉิบหายแล” (การสร้างเมือง วัดวาอาราม บ้านสวน เรือน อย่าให้ตรงกับสายน�้ำไหล ท�ำถนนทั้งสายเล็กสายใหญ่อย่าตรงกับสายตาพระพุทธ รูป สายตาของยักษ์ ไม่ดีและไม่เจริญเกิดความฉิบหายแก่ตนเอง) เพราะนี่เป็นค�ำสอนของคนโบราณล้านนาที่สั่งสมประสบการณ์จากการอาศัยอยู่ในภูมิประเทศมีทั้งแม่น�้ำและภูเขา ถ้าใครฝืด กฎของค�ำสอนเขาเรียกว่า “มันขึด” จุลศักราช 1373 (พ.ศ. 2554) เมืองพะเยาไม่เจอน�้ำท่วมเหมือนกับจังหวัดอื่น ซึ่งท�ำให้หลายคนกล่าวกันว่าเมืองพะเยาเป็น เมืองน่าอยู่ หรือภาษาพระเรียกว่าเป็น “ปฏิรูปเทสวสะ” คืออยู่ในดินแดนที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตตนเอง จึงนับว่าโชคที่น�้ำไม่ท่วมในปี นี้ แต่ในอดีตเมืองพะเยาเคยเจอกับน�้ำท่วมใหญ่มาหลายครั้ง แต่ที่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานเห็นจะมี 2 ครั้ง คือ น�้ำท่วมในปี พ.ศ. 2448 และ พ.ศ. 2516 เหตุการณ์น�้ำท่วมในปี พ.ศ. 2448 บันทึกโดยพระนักประวัติศาสตร์บ้านนอกคือหลวงปู่ท่านพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะ แขวงเมืองพะเยาในสมัยนั้น ได้บันทึกไว้ว่า “29 กันยายน 2448 เวลากลางคืน มหาเมฆตั้งขึ้นร้องครางเสียงดังน่าอัศจรรย์มาก ฝนตกลงมาห่าใหญ่น่ากลัวมาก ตกอยู่ ตลอดคืนไม่มีขาด วันที่ 30 กันยายน 2448 เวลาโมงเช้า ได้ยินเสียงน�้ำตกที่ดอยหนอกมีเสียงดังใหญ่ ท�ำให้แม่น�้ำต่าง ๆ นอง คือ แม่ใส แม่นา เรือ แม่ตุ่น แม่ต๋อม แม่ต�่ำ แม่เหยี่ยน แม่จว้า แม่สุก แม่ใจ แม่ปืม แม่ต�๊ำ แม่ร่องช้าง แม่พุง แม่อิง... น�้ำกว๊านเอ่อถึงประตูเหล็ก ถึง เรือนเจ้าสวย เรือนเจ้าเทพ น�้ำลึกถึงเอว บ้านแม่ต�๋ำลึกถึงอก นายแสนบุญยงค์เล่าว่า ได้ยินเสียงน�้ำทะลุมาข้าผู้เป็นพ่อจึงเรียกหาลูก 4 คน ผู้หญิง 3 ชาย 1 เก็บข้าวของเตรียมตัวจะลงจาก เรือนไปอยู่ที่ไกล ๆ ไปได้ประมาณ 15 วา มีขอนไม้ซุงใหญ่มาปะทะ ท�ำให้แตกพลัดจากกัน ข้าคว้าได้ลูกคนโตซึ่งเป็นหญิง ลากไว้บน ขอนซุง แล้วกลับไปเอาลูกหญิงคนที่สอง ครั้นจับได้แล้ว น�้ำพัดท�ำให้หลุดมือไป แต่ไหลไปค้างอยู่บ้านท้าวพิงยศ ห่างประมาณ 500 วา ท้าวพิงยศจับไว้ได้รอดชีวิต ว่ายน�้ำไปตามหาลูกสาวคนที่สาม ไม่พบ ภายหลังพบไปตายอบู่บนโข่ (พุ่มไม้) ไกล 200 วา ..” ผมพยายามปรับส�ำนวนจากภาษาล้านนาแท้ ๆ ของหลวงปู่ท่านให้เป็นภาษาที่พอจะอ่านเข้าใจในปัจจุบัน เพื่อจะได้ให้เห็นว่า เมืองพะเยาเจอน�้ำท่วมครั้งนั้นสาหัสสากรรจ์แค่ไหน แต่ทุกคนที่หลวงปู่ท่านสัมภาษณ์มานั้น เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปสักพักใหญ่ ต่างมีสติและนิ่งสงบยอมรับสภาพที่เกิดขึ้นโดยนั่ง ยอง ๆ ยกมือท่วมหัวทอดสายตามองไปที่พระเจ้าตนหลวง ซึ่งท่านยังนั่งสงบนิ่งท่ามกลางน�้ำท่วมถึงหัวเข่าในพระวิหารโกโรโกโส หลังจากนั้นอีก 68 ปี คือในปี พ.ศ. 2516 เมืองพะเยาก็เกิด “อุทกภัยยัง ทุกขังเจ่นล�้ำ หัวอกสลั้งสะต้อนอกอิ๋ด จะคิดฉันใดเมื่อ น�้ำไหลท่วม วัดศรีโคมค�ำสัณฐานใหญ่กว้าง เหมือนกับทะเลสาบน้อย..” เกิดน�้ำท่วมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง คราวนี้การบันทึกเหตุการณ์ด้วยฉันทลักษณ์เป็น “ค่าว” ของหลวงปู่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺญมหาเถระ)เจ้าอาวาสวัดพระเจ้าตนหลวง และบอกว่าเหตุการณ์ครั้งนั้น ทั้งชาวบ้านชาววัดต่างไม่ได้กินข้าวกินปลาหลายวัน กันเลยทีเดียว “..ธุเจ้าอยู่วัดมองบ่หันไผ บ่ช่างจะใดกฎเกณฑ์เณรน้อย เพื่อหื้อติดไฟต้มน�้ำ พ่องรีบดังไฟ พ่องไปเอาน�้ำไหลสอดดั้นประปา พอไปเปิดก๊อกไหลเท่าน�้ำตา ไหลรินมาบ่พอยะสร้าง ใส่หม้อข้าวหุง จะปรุงแต่งสร้าง แก๋งหน่อบงซางใส่จิ้น แต่น�้ำบ่มี เลยต�๋ำน�้ำพริก ผัดจ่าวขั้วแก๋มมัน พอหื้ออิ่มท้องประทังวิถี ประทังชีวีหื้อทนอยู่ได้ เหมือนกันทุกคนมนุษย์ลุ่มใต้ บ่มีใผคนใดหลีกป้น นานปี๋มีหนจึงจะ จวบพบ อดใจ๋เที่ยงหมั้นเนอนาย..” ครับ..เหตุการณ์เกิดจากภัยธรรมชาติ มนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ทิศเหนือ ทิศใต้ บนและล่าง หนีไม่พ้นมันไปได้ สิ่งที่ควรท�ำดีที่สุดใน ขณะนี้คือ “อดใจเที่ยงมั่น” ดั่งค�ำสอนของหลวงปู่ทิ้งเป็นสัจธรรมไว้ตอนสุดท้าย...

อย่าแป๋งกระแส อย่าแหม่จ็กแม่น�้ำหื้อเป๋นสอง


ภาพจาก www.phayaophotoclub.com

พะเยาป

สถาบันปวงผญาพยาว ร่วมกับ ชมรมพะเยาโฟโต้คลับ จัดกิจกรรม “คนเลนส์กับคนเรือประมงกว๊านพะเยา” เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน


ปริทัศน์

พะเยารัฐ เดือนพฤศจิกายน 2554

นการพัฒนากว๊านพะเยา ติดตามชมภาพสวยๆ ที่เว็บไซต์ phayaophotoclub.com และสรุปข้อเสนอต่างๆ ที่ www.phayaoforum.com


8

การเมืองท้องถิ่น

เดือน พฤศจิกายน 2554

เดิมพันการเมือง “วรวิทย์-ไพรัต

วรวิทย์ บุรณศิริ วรวิทย์ บุรณศิริ ชื่อนี้อาจไม่คุ้นหูนักส�ำหรับคนที่อยู่นอกเมืองพะเยา แต่ในวงการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในพะเยา เขาเป็นคนหนุ่มที่วางบทบาทตนเองค่อนข้างชัดเจนในการท�ำงาน และปูฐาน การเมืองมากว่า 20 ปีที่มาตั้งหลักปักฐานที่อ�ำเภอดอกค�ำใต้ในฐานะเขยคนหนึ่ง อาจจะเป็นเพราะเสี่ยอิ๊ดมีความสัมพันธ์อันดีกับนักการเมืองสายพรรคเพื่อไทยมายาวนาน จึงไม่น่าแปลกใจที่เขาจะได้รับแรงสนับสนุนจากพรรคเพื่อไทยส่งเป็นตัวแทนในสนามเลือกตั้งนายกองค์กา รบริหารส่วงนจังหวัดพะเยา ครั้งนี้ ไม่ต้องเอ่ยว่าเขามีพี่ชาย ที่ชื่อ “วิทยา บุรณศิริ” รัฐมนตรีกระทรวงสาะรณสุข บุคคลส�ำคัญระดับแกนน�ำพรรคเพื่อไทย ในปัจจุบันด้วย ซึ่งวนเวียนมาดูงานในพื้นที่พะเยาก่อนหน้านี้ วรวิทย์ บุรณศิริ เริ่มต้นชีวิตธุรกิจจากการรับเหมาก่อสร้างโครงการของรัฐ และเริ่มเหนื่อยหน่ายต่อวงการที่ต้องใช้เส้นสายทางการเมืองสูง จนต้องหันเหตัวเองมาบุกเบิกเรื่องยางพาราอย่างเป็น ล�่ำเป็นสันในช่วงปี 2546 โดยเข้าไปร่วมผลักดันในเชิงนโยบายในฐานะประธานกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราจังหวัดพะเยา พร้อมกับงานสงเคราะห์ในต�ำแหน่งล่าสุด คือ ประธานสภาสโมสรไลออนส์สากลภาค รวม 310 เอ 2 ประเทศไทย ในระดับชุมชนช่วงที่ผ่านมา วรวิทย์ให้การสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะอย่างเปิดเผย จนเป็นที่จับตาว่า เขาอาจจะลงเล่นการเมืองไม่ในระดับใดก็ระดับหนึ่งของเมืองพะเยา และก็เป็นตามคาด หมาย…เขาออกแจกนามบัตร โดยขออาสาเปลี่ยนแปลงเมืองพะเยาให้ดีขึ้นกว่าเดิม วรวิทย์ โทรศัทพ์ผ่านพะเยารัฐ บอกความไม่พร้อมที่จะให้สัมภาษณ์ในขณะนี้ เนื่องจากไม่อยากสร้างกระแสความขัดแย้งทางการเมืองกับกลุ่มการเมืองและผู้สมัครคนอื่น เพราะยังมีมวลของความ ไม่เข้าใจอีกหลายเรื่องที่ต้องอาศัยกาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ แต่เพื่อความเสมอภาคในพื้นที่สื่อ หนังสือพิมพ์พะเยารัฐได้ขออนุญาตน�ำประวัติโดยย่อของวรวิทย์ ที่เขาเคยให้สัมภาษณ์กับพะเยารัฐในช่วงที่ผ่านมา น�ำเสนอต่อสาธารณชน อันจะเป็นประโยชน์ ต่อการตัดสินใจของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดพะเยา ดังนี้ พะเยารัฐ ฉบับที่ 9 เดือนกรกฎาคม 2546 ได้ลงบทสัมภาษณ์วรวิทย์ บุรณศิริ ได้ฐานะปรานกลุ่มเกษตรกรผุ้ปลูกสวนยางพาราจังหวัดพะเยา ว่า “ทุกวันนี้ รายจ่ายมาเคาะประตูบ้าน มันมาจ่อถึงปากเราทุกวัน กว่า 17 ปีที่ผ่านมาในแวดวงธุรกิจ ผมรับรู้ว่า เป็นไปไม่ได้เลยหากเกษตรกรรากหญ้าไม่มีรายได้ที่แน่นอนแล้วเศรษฐกิจการหมุนเวียน ในตัวเมืองจะดีตลอดเวลา ดังนั้นผมมองเห็นว่า ยางพาราน่าจะเป้นทางเลือกด้านอาชีพที่มั่นคงอีกทางหนึ่งที่จะช่วยเหลือเกาตรกรชาวบ้านได้ เบื้องต้นผมจึงอยากช่วยเหลือเกษตรกร ในฐานะที่ท�ำงานในองค์กรภาคเอกชน คือ สโมสรไลออนส์ ที่เคยช่วยเหลือสังคมแบบสงเคราะห์มาโดยตลอด แต่ไม่มีความยั่งยืน เหตุนี้เองจึงคิดว่า น่าจะ ให้เกษตรกรสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในระยะยาวอย่างมั่นคง ชาวสวนยางพาราจึงเป็นอาชีพหนึ่งที่ผมอยากให้การสนับสนุน ผมคิดว่า การจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสวนยางพารา น่าจะท�ำให้เกิดการพัฒนที่เป็นรูปธรรมที่สุด เพราะหากไม่มีองค์กรรองรับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรเอง ในอนาคตความยั่งยืนจะไม่ เกิดขึ้น สิ่งที่เราคาดหวังไว้ก็คือ เรื่องแรกเป้นเรื่องวิชาการที่เกี่ยวกับการปลูกยางพารา ตั้งแต่การช�ำ การเพาะเมล็ด การติดตรายาง การผลิตต้นกล้า เรื่องที่สองต้องท�ำงานร่วมกับ สกย.(ส�ำนักงานกองทุน สงเคราะห์การท�ำสวนยาง) ที่เข้ามาดูแลควบคุมผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนทุนสนับสนุนต่างๆ เรื่องที่สาม เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของสมาชิก ทั้งด้านการตลาดและการซื้อขายกล้าพันธุ์ ในระยะเริ่มแรกนี้ เราต้องการส่งเสริมการปลูกยางให้มีพื้นที่มากที่สุด ติดตามความก้าวกน้า และรักษาผลประโยชน์ในด้านราคาให้ ผมคิดว่า ทุกอย่างจะเต็มรูปแบบในอีก 3-4 ปีข้างหน้า ผมคิดว่า ท�ำอย่างไรจะท�ำให้เกษตรกรหายจน ใครจะว่าเป็นการเมือง ผมไม่สนใจ ตอนนี้จะประชาธิปัตย์หรือไทยรักไทย เรามาช่วยกันท�ำงานดีกว่า เอาสิ่งดีๆ ให้ชาวบ้าน ยิ่งเป็นข้าราชการยิ่ง ต้องท�ำ ผมคิดว่าในอีก 5-6 ปีข้างหน้า ถ้าเราเริ่มต้นในวันนี้ เงินจะสะพัดในเมืองพะเยาไม่ต�่ำกว่าพันล้านบาท แม้วันนี้เราจะยังใหม่ แต่เรื่องนี้เราเรียนรู้กันได้ ผมคิดว่าเราต้องกล้าที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่เช่นนั้น เราจะตามโลกไม่ทัน ผมไม่เชื่อว่า คนภาคเหนือจะนอนอยู่กับบ้านไม่ยอมไปกรีดยาง ตอนตีสองตีสาม เพราะต้นยาง คือ ตู้เอทีเอ็มดีๆ นี่เอง มีใครบ้างที่ไม่อยากไปกดเอาเงิน” ผ่านมากว่า 7-8 ปีแล้ว ความคิดและแนวทางที่เขาท�ำ จะชนะใจคนพะเยาได้หรือไม่ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2554 ต้องจับตา…อย่ากระพริบ!!!

ม้างกระแส ก็บ่ดี ฉิบหาย


เดือน พฤศจิกายน 2554

การเมืองท้องถิ่น

9

ตน์”สูบ ่ ลั ลังก์นายก อบจ.พะเยา บุคคลิกนักการเมืองในแบบ “ไพรัตน์ ตันบรรจง” หลายคนเดาไม่ ถูก คิดว่าเป็นปัญหาต่อการท�ำงานไหม ผมเป็นคนพูดตรงไปตรงมา ไม่มีนอกมีใน ไม่ชอบ เสนอหน้า ไม่ชอบไปนั่งโซฟาข้างหน้างานเหมือนนักการเมืองคน อื่นๆ ผมอยากติดดิน ไม่อวดอ้างว่าตนเองดีอย่างโน้นอย่างนี้ โชว์ เดี่ยวผมก็ไม่ท�ำ และที่ส�ำคัญก็ไม่ชอบถือไมค์ ยิ่งไปงานศพ พี่ น้องเขาโศกเศร้าเสียใจ เราไปพูดอะไรก็ไม่รู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเขา เลย ผมเห็นบางคนถือไมค์โปรโมทตนเองในงานศพแล้ว มันเป็น มารยาทที่ไม่ดี

แต่หลายคนก็ไม่กล้าเดินมาพบ เชื่อไหม ผมเป็นนายก อบจ.ที่พบง่ายที่สุดนะ นายก อบจ.บางจังหวัด กว่าจะได้พบให้รอเป็นชั่วโมง แต่ที่ผ่านมาผม เดินออกมานอกห้อง มาร่วมท�ำงานกับพวกเจ้าหน้าที่ ใครมาได้ พบหน้าผมเลย เชื่อมั่นคนพะเยายังมั่นใจไพรัตน์ ผมคิดว่า ทุกวันนี้ประชาชนเขาเลือกตัวแทนนักการ เมืองที่เป็นคนที่พึ่งได้ เขาแยกออกว่าคนไหนการเมืองท้องถิ่น คนไหนการเมืองระดับชาติ เขารู้ว่าใครท�ำบทบาทได้เหมาะสมกว่า กัน แต่เวลานี้ การเมืองเล่นกันทุกระดับ พรรคการเมืองส่งคนลง มาเล่นหมด

ไพรัตน์ ตันบรรจง ตระกูลการเมือง “ตันบรรจง” ผูกพันกับสังคมเมืองพะเยามายาวนาน ตั้งแต่รุ่นพ่อ “เพียว ตันบรรจง” สส.เชียงราย(สมัยนั้น) ผู้เป็นต้นแบบ เรื่อยมาถึงรุ่นลูกอดีต “สส.พวงเล็ก ตันบรรจง” และ “สส.ไพโรจน์ ตันบรรจง” และ “ไพรัตน์ ตันบรรจง” อดีตนายก อบจ.พะเยา ตลอดจนเขย “สว.พงษ์เอก อัครโยธิน” ตระกูลนี้มีที่ยืนแทบทุกระดับและล้วนมีที่มาที่ไปน่าสนใจยิ่ง ไพรัตน์ ตันบรรจง นับเป็นบุคคลหนึ่งที่มีผู้รู้จักกว้างขวาง ชีวิตการเมืองของเขาแทบถอดแบบมาจากพ่อเพียว ตันบรรจง คือ เป็นคนใจกว้าง พูดจาตรงไปตรงมา ไพรัตน์ ตันบรรจง ประกาศยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดก่อนหมดวาระ เดือนมกราคม 2554 และลงสมัครอีกครั้ง ท่ามกลางกระแสการเมืองที่ใช้สัญลักษณ์สีเสื้อและตราพรรคการเมือง ที่ถูกจัดหนักโดยฝ่ายการเมืองตรงข้าม อันเป็นผลมาจากการเลือก ตั้ง สส. เมื่อวันที่ 3 กรกฏาคมที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านั้นไพรัตน์ ตันบรรจง ส่งลูกชาย “ออม-อนุรัตน์ ตันบรรจง” ในนามพรรคภูมิใจไทย ลงพื้นที่ สส.เขต 1 แข่ง บารมีเดิมของพรรคเพื่อไทยและกระแสคนเสื้อแดง แม้ผลจะออกมาว่า “ตันบรรจง”เป็นผู้พ่าย แต่ก็สร้างความหวาดหวั่นต่ออนาคตข้าง หน้าให้เจ้าของพื้นที่ไม่น้อย การประกาศ “เอาคืน” ในสงครามเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้ จึงเป็นการชิงชัยระหว่างตัวแทนพรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดงกลุ่ม หนึ่ง กับไพรัตน์ ตันบรรจง โดยตรง วันที่ 6 พฤศจิกายน 2554 แทบทุกตารางนิ้วของเมืองพะเยาวันนี้ จึงถูกจับตามองอีกครั้งว่า ไพ รัตน์จะรักษาที่มั่นของตนเองได้หรือไม่ …เป็นเดิมพัน “ตระกูลตันบรรจง” บนเส้นทางการเมืองเลยทีเดียว หนักใจกับการเลือกตั้งครั้งนี้มากน้อยแค่ไหน ไม่หนักใจนะ เพราะเมื่อการเลือกตั้งปี 2547 พรรค ไทยรักไทยหรือเพื่อไทยก็ส่งคนลงมาแข่งขัน วันนี้ ก็เคยส่งคน มาแข่งขันเหมือนเดิม ตอนนั้นขึ้นป้ายทั้งชื่อพรรค และมีนักการ เมืองระดับชาติระดับนายกรัฐมนตรียืนขนาบข้าง 4-5 คน แต่เราก็ ชนะ มันไม่เกี่ยวว่า…ใครจะมาช่วยใคร มาถึงวันนี้ผมก็ไม่หนักใจ และน่าจะเบากว่า ปี 2547 เพราะกว่า 10 ปีที่ผ่านมาในฐานะนักการเมืองท้องถิ่น กับต�ำแหน่ง นายก อบจ. 2 สมัย ผมไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้ชาวพะเยา ผมมีผลงานประจักษ์ชัด ประชาชนเห็น จึงมั่นใจไพรัตน์ มีอะไรใหม่ในนโยบายหาเสียงครั้งนี้บ้าง ก็ท�ำเหมือนเดิม นโยบายเดิม คือ ดูแลทุกข์สุขของ พี่น้อง ให้ความส�ำคัญกับการศึกษา ด้านสุขภาพ การเกษตร และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเราท�ำแล้วประชาชนเขาได้รับประโยชน์ ในช่วงที่ผ่านมา และนับจากนี้ที่มันขาดหรือพร่องไป เพราะงบ ประมาณปีหนึ่งๆ มันมีน้อย เราก็จะไปอุดหนุนเพิ่มเติมให้ครบ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น หรือบางพื้นที่ก็ติดเรื่องสถานที่ คือ มีเงินแต่ไม่มี พื้นที่ก็จะหาแนวทางอื่นช่วยเหลือ

มั่นใจแค่ไหน? มั่นใจนะ…เพราะเราท�ำให้เห็นแล้ว ค�ำหาเสียงก็เขียน สั้นๆ ว่า “มั่นใจ...ไพรัตน์” เท่านี้ชาวบ้านก็รู้แล้วว่าเราท�ำอะไร การเลือกตั้งครั้งนี้ มีการสร้างกระแสเสื้อสีและพรรคมาช่วย คิด เรื่องนี้อย่างไร ผมมองไม่ออกว่า สิ่งที่พวกเขาท�ำนั้นต้องการอะไร เพราะสังคมตอนนี้ต้องการความสมานฉันท์ ซึ่งในท้องถิ่นพะเยา เราไม่ได้มีความขัดแย้งรุนแรงอะไร การเมืองในพื้นที่ส่วนใหญ่เขา มองข้ามสีไปแล้ว เขาเลือกนักการเมืองท้องถิ่นเพราะเป็นคนท้อง ถิ่น คนพะเยามีประวัติศาสตร์ที่เคยเลือกคนต่างถิ่นแล้วไม่เห็น หน้า ดังนั้นการเมืองท้องถิ่นมันเป็นเรื่องบุคคล การเลือกตั้งครั้งนี้ คิดว่าเป็นการต่อสู้แบบไหน เป็นเรื่องส่วนตัว สืบเนื่องมาจากการที่ผมส่งลูกชาย ไปแข่งขันสนามใหญ่กับเจ้าของพื้นที่เดิม เอาล่ะ…ผมแพ้ ผมก็ ยอมรับ ผมเองไม่ถือโทษโกรธเคืองใครหรอก เราเป็นลูกผู้ชายต้อง หนักแน่นกับเรื่องนี้ เพราะการเลือกตั้งทุกสนามมันเป็นเรื่องของ การเสนอตัว บุญเรามาแค่ไหนก็แค่นั้น การเมืองไม่มีอะไรแน่นอน

ถมห้วย ถมฮ่อง จ้องน�้ำ บึง วัง ถมคือ ถมน�้ำบ่อบ่ดี

ประเมิ น สถานการณ์ ก ารเอาพรรคเอาเสื้ อ สี ม าต่ อ สู ้ กั น แบบนี้ อย่างไร มันจะสร้างความแตกแยกให้คนในท้องถิ่น ให้คนใน หมู่บ้านต�ำบลเขาโกรธเกลียดกัน เพราะแบ่งสีแบ่งพรรค ทั้งที่ คนในหมู่บ้านต�ำบลเขาแยกแยะเรื่องนี้ออก เรื่องพรรคเรื่องเสื้อนี่ ลองกลับไปดูประวัติของแต่ละท่านสิว่าผ่านพรรคอะไรมาบ้าง ทุก คนก็ผ่านมาหมดแล้ว เสื้อแดงจะมาโกรธผมท�ำไม ก็ในเมื่อผู้สมัคร พรรคเพื่อไทยก็เคยอยู่ประชาธิปัตย์มาก่อน กลับมากลับไป คนเรา มันเปลี่ยนได้ โดยศักยภาพแล้วคุณไพรัตน์ก็เล่นการเมืองระดับชาติได้ แต่ท�ำไม ถึงวางต�ำแหน่งตัวเองอยู่แต่ระดับท้องถิ่น อยากสิ...ผมอยากเล่นการเมืองระดับชาติ แต่มันไม่มี พื้นที่ ก็มันเป็นพวกเดียวกันทั้งนั้น ผมไม่อยากไปแข่งขันกับใคร อีกอย่างเราเองก็ท�ำหน้าที่แบบนี้ถนัดกว่าด้วย แต่เที่ยวหน้าไม่แน่ นะ คิดจะตั้งพรรคการเมืองท้องถิ่นไหม เหมือนพลังชล (ชลบุรี) ผมท�ำได้นะ ผมอาจจะสร้างพรรคพลังพะเยา แต่มัน เหนื่อยนะ อยากพักบ้าง ให้คนอื่นเล่นบ้าง นับจากนี้ไปวางอนาคตตนเองทางการเมืองอย่างไร เคยคิดไว้ว่าจะวางมือการเมืองก่อน 60 ปี บอกภรรยา ประมาณ 55 ก็หยุด ตอนนี้ 54 ก็น่าจะหยุด แต่มันคาบเกี่ยว เลยคิดว่าเอาอีกสมัยเดียวก็พอแล้ว คิดดูบ้านที่สร้างไว้ก็ไม่ได้อยู่ เลย มัวแต่ท�ำงานให้ชาวบ้าน จึงตั้งใจอีกสมัยเดียว หยุดแน่ แต่ถ้ามีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด อยากลงสมัครอีกไหม ตอนนั้นผมคงแก่แล้ว ไม่เอาแล้ว พออายุ 60-70 ปี คิดว่าจะท�ำอะไรต่อ ดูแลธุรกิจต่อ ตอนนี้ให้ลูกดูแล ส่วนใหญ่อยู่ที่เชียงใหม่ วางทายาทการเมือง คือ ออม-อนุรัตน์ มาสืบแทนต่อ คิดแผนไว้ อย่างไร ออมอายุยังน้อย เขาเพิ่ง 26 ปีนี้ ยังอีก 9 ปีนะ ตอน นี้อายุเขาไม่ถึง 35 ปีตามกฏหมายเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น จึงส่ง ออมไปแข่งสนาม สส.แทน สนามน้อยระดับ สจ. หรือ ท้องถิ่นก็ ไม่เอา เพราะเดี๋ยวไปแย่งคนอื่นเขา ออม มีแววเป็นนักการเมืองที่ดี ใช่…ผมรู้สึกภูมิใจในตัวเขามาก


การเมืองท้องถิ่น

10

เดือน พฤศจิกายน 2554

ท�ำไมต้องเลือก...“โยเสื้อแดง” สีผสมระหว่างแดงกับฟ้า แดงที่มาจากพรรคเพื่อไทยและฟ้าที่มา จากพรรคที่เคยสนับสนุนอ�ำมาตย์ ซึ่งเคยอยู่ตรงข้ามกัน แต่กลับ มาผสมกันกลายเป็นสีช�้ำเลือดช�้ำหนอง ประการที่สอง คือ กลุ่ม คนที่เป็นสีน�้ำเงิน ซึ่งเข้ากับเราไม่ได้อยู่แล้ว เพราะเขาประกาศ ชัดเจนในช่วงที่ผ่านมา และกลุ่มสุดท้าย คือ สีแดงที่มีความ ศรัทธาประชาธิปไตยแบบรากหญ้า เวลานี้ต้องยอมรับว่า การเมืองท้องถิ่นก�ำลังโหนกระแส พรรคและกระแสเสื้อแดง ซึ่งผมไม่มั่นใจเรื่องอุดมการณ์มีมาก น้อยแค่ไหน แต่ในเรื่องนี้ผมอยากจะบอกว่าเสื้อแดงไม่ใช่องค์กร จัดตั้ง แต่เป็นคนที่มาเพราะมีอุดมการณ์ร่วมกัน

โดยส่วนตัวสนใจเล่นการเมืองมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ผมสนใจการเมืองมานานแล้ว ไม่ต้องถามว่ามีความ พร้อมไหม ถ้ารอพร้อมคงต้องรอไปอีกชาติหน้า การเมืองไม่ใช่ เรื่องความพร้อมเหมือนการแต่งงาน คือเราต้องแต่ง เราต้อง พร้อม จริงๆ ผมพร้อมมาตั้งแต่ลงไปราชประสงค์ พร้อมที่เล่น การเมืองอยู่แล้ว เราไม่มีเงิน เราพูดกันถึงเรื่องใจ วันนี้จึงไม่ต้องมีใครมาจ้างลง เรามาเอง เชื่อไหมว่า วันที่เราบอกว่าจะไปรับสมัคร มีคนเสื้อแดง จากแพร่ น่าน เชียงใหม่ บริจาคสนับสนุน 52,000 บาท ตอน นี้ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีคนช่วยบริจาคอีก เป็นค่ารถแห่ ค่ากิน ค่าป้าย ค่าใบปลิว เราจะใช้ยุทธศาสตร์ “นกขมิ้น” ค�่ำไหนนอนนั่น ตั้งเวที ปราศัย สู้จนหมดเงิน

จิรโรจน์ กีรติศักดิ์วรกุล เขาตัดสินใจโกนหัวลงสมัครรับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เป็นคนสุดท้ายในวันสุดท้ายของการรับ สมัคร ด้วยการลงขันของคนเสื้อแดงกลุ่มสภาแดงล้านนา และการสนับสนุนของกลุ่มเครือข่ายจุมแปดล้านนาเพื่อประชาธิปไตย (เสื้อแดงสายนักวิชาการ89จังหวัดภาคเหนือตอนบน) ชื่อ “จิรโรจน์ กีรติศักดิ์วรกุล” หรือ “โย” อาจจะไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างของเมืองพะเยา แต่ชายหนุ่มวัย 47 ปีอย่างเขา ก็ผ่าน ร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร จากเด็กลูกชาวนาบ้านห้วยต้นตุ้ม อ�ำเภอดอกค�ำใต้ สู่รั้ววิทยาลัยครูเชียงรายในระดับปริญาตรี และปริญา โทจากมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา จากพนักงานบริษัทในเครือชินวัตร สู่ผู้จัดการ และลาออกมาท�ำธุรกิจท้องถิ่นขายมือถือในยุคเฟื่องฟู ชื่อร้าน “พะเยาเทเลคอมแอนด์เซอร์วิส” และต้องพับลงหลังเข้าไปต่อสู้กับขบวนการเมืองในช่วงที่ปฏิวัติ 19 กันยายน ที่ผ่านมา “โย” มีบทบาทส�ำคัญในกลุ่มเสื้อแดงบางส่วนของพะเยา สไตล์ห้าวๆ ของเขา เป็นที่รักและชอบพอของแฟนเสื้อแดง ไม่มากก็น้อย การประกาศลงการเมืองท้องถิ่นในนาม “คนเสื้อแดง” มีนัยส�ำคัญอย่างไร ต่อขบวนการต่อสู้ของคนเสื้อแดง ท่ามกลางความ สงสัยของสังคมว่า การเลือกตั้งท้องถิ่นระดับจังหวัดของเมืองพะเยาครั้งนี้ “คนเสื้อแดง” กับ “พรรคเพื่อไทย“แตก” ลงสนามเพื่อแย่งชิง บัลลังก์กันเพราะอะไร…และความคิดคนเล็กๆ อย่างเขาจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ รอลุ้นกันว่า วันที่ 6 พฤศจิกายน 2554 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา แดงโชว์เดี่ยวอย่างเขาจะท�ำได้ ส�ำเร็จหรือไม่? เหตุผลที่แยกตัวเองมาลงสมัครในนาม “คนเสื้อแดง” พะเยา ขออธิบายก่อนว่า คนเสื้อแดงทุกคนเป็นแกนน�ำ มีร้อย คนก็มีร้อยแกนน�ำ เพราะประชาชนคนเสื้อแดงต่อสู้การเมืองมา ด้วยอุดมการณ์ เป็นกับตายเรามีเท่ากัน ถ้าไม่หนักแน่นด้วยกันมา เราไม่มีวันนี้ ต้องยอมรับว่าหากไม่มีทักษิณ ไม่มีพรรคเพื่อไทย และไม่มีคนเสื้อแดง มันจะไม่เกิดปรากฏการณ์ที่เห็นเช่นทุกวันนี้ ที่ผ่านมาเราคนเสื้อแดงได้ต่อสู้ทางการเมืองด้วยจิตส�ำนึกของ ประชาชน ไม่ใช่ผลประโยชน์ การเมืองจึงเป็นความจริงของเรา แต่เมื่อเอาผลประโยชน์มาพูดกัน มันก็ไม่ใช่ความจริง ผมจึงคิด ว่า มาถึงวันนี้สนามการเมืองของจังหวัดพะเยาก�ำลังบิดเบือนความ จริง เหตุผลก็คือ การที่พรรคเพื่อไทยจับตัวแทนที่ไม่ใช่คน เสื้อแดงตัวจริงลงการเมืองโดยไม่ปรึกษาพวกเราคนเสื้อแดงใน พื้นที่ มันท�ำให้เรามึนงงกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะผิดจากที่เราเคย ต่อสู้ทางอุดมการณ์ร่วมกันมา ซึ่งเมื่อเขาไม่เห็นความสัมพันธ์ ทางการเมืองระหว่างคนเสื้อแดง กับคนที่ศรัทธาทักษิณ และกับ พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นเหมือนสามขาหรือฐานสามก้นเส้าที่เกื้อ หนุนกันมาตลอด ผมก็ต้องแยกตัวออกมา

มีนโยบายอะไรจะน�ำเสนอกับชาวเมืองพะเยา ถามผมว่านโยบายผม คือ อะไร ตอบเลยว่าไม่มี เพราะนโยบายของผมจะต้องถามประชาชน ซึ่งจะต้องท�ำให้ เกิ ด กระบวนการที่ ต อบสนองกั บ ความต้ อ งการของประชาชน ไม่ใช่ความต้องการของผม เรื่องนี้ด้านหนึ่งต้องศึกษาทบทวน ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองพะเยา ว่ามันสอดคล้องกับประชาชน หรือไม่ ทั้งนี้มีหลักการกว้างๆ คือ หนึ่ง เราจะท�ำงานเพื่อคน รากหญ้า ที่มีปัญหาความเดือดร้อน สอง เราใช้ยุทธศาสตร์ 2 ขา คือ ให้ความส�ำคัญกับข้าราชการคนท�ำงานที่มีความรู้ความ สามารถแต่ท�ำงานด้านบน และเปิดโอกาสให้ประชาชนด้านล่าง ที่รู้ปัญหาและมีข้อเสนอการพัฒนา ได้มาเจอกัน ท�ำงานร่วม กัน โดยผมจะเปิดส�ำนักงาน 24 ชั่วโมง เพื่อรับเรื่องราวร้องทุกข์ และรับฟังปัญหาหรือข้อเสนอของพี่น้องประชาชน และสร้างการ สื่อสารให้ประชาชนได้เข้าถึงทุกขั้นตอน ผมจะท�ำงานเหมือนไก่ ไม่ใช่เหมือนปลา หมายความว่าอย่างไร คือ ปลาจะวางไข่เงียบๆ ไปเรื่อย แต่ไก่มันจะไข่หรือไข่ ออกมาแล้วทุกครั้งมันจะส่งเสียงร้อง หมายความว่า ผมจะท�ำงาน ให้ประชาชนได้รู้ได้เห็นทุกกระบวนการ เพราะเราไม่ใช่สภาผู้รับ เหมา เราท�ำอะไรต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้

เกิดค�ำถามในใจกับพรรคเพื่อไทย ผมอยากตั้งค�ำถามว่า ท�ำไมไม่มีที่ว่างให้คนเสื้อแดงมี ที่ยืนอย่างมีเกียรติบ้าง เมืองพะเยานี้มีแต่คนโง่หรือ? ท�ำไมไม่มี การตั้งวงคุยกันว่าพรรคมีใคร คนเสื้อแดงมีใคร จะสนับสนุนกันได้ อย่างไร แต่ที่พะเยาไม่มีการพูดเรื่องนี้ ผมจึงต้องออกมาแสดง จุดยืนของคนเสื้อแดงในทางการเมือง เพราะตอนนี้ขาก้นเส้ามันไป คนละทิศละทาง ตั้งหม้อก็ล้ม

คาดหวังอะไรในการลงเลือกตั้งครั้งนี้ ได้บอกความจริง ได้ท�ำในสิ่งที่ตนเองคิดตามอุดมการณ์ ทางการเมืองที่มี ถ้าผมไม่ท�ำต่างหาก มันจะเป็นตราบาปของเรา ว่าท�ำไมเราไม่สู้ ผมอยากบอกว่าคนเสื้อแดง ถึงเวลาที่ต้อง ทบทวนตนเอง เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้มันเป็นบทเรียนส�ำคัญมาก เราหลอกคนอื่นได้ แต่หลอกตนเองไม่ได้

มีคนพูดว่า “แดงแท้-แดงเทียม” เขาดูกันอย่างไรว่าอะไรคือแท้คือ เทียม เรื่องนี้เป็นการเสี้ยมให้คนเสื้อแดงแตกคอกัน แท้จริง ในความเป็นเสื้อแดง ใครใส่เสื้อแดงคือแกนน�ำทั้งหมด เราเคารพ กันที่อุดมการณ์ จะแท้จะเทียมเรารู้กันเอง คือ ดูกันด้วยตาก็ ทะลุหัวใจ และใครเดินแบบหย่องๆแหย่งๆ หลบสายตานั้นก็พอจะ เข้าใจได้ ผมคิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ใช่การต่อสู้กันของคนเสื้อ แดงกับคนเสื้อแดง แต่เป็นการแข่งขันทางอุดมการณ์ทางการ เมืองที่แตกต่างกัน ประการแรกคือ กลุ่มคนที่มีอุดมการณ์เลือด

ถ้าจะแพ้ แพ้เพราะเงิน หรือแพ้เพราะคนเสื้อแดงด้วยกันเอง ผมสงสัยมาตลอดว่า ท�ำไมนักการเมืองบ้านเราต้องเป็น เสี่ย เป็นพ่อเลี้ยง เป็นคนมีอ�ำนาจ มีปืน มีทุน แล้วศีลธรรมหาย ไปไหน อย่างไรก็ตามคนพะเยาได้พิสูจน์มาแล้วในผลการเลือกตั้ง ครั้งที่ผ่านมาว่า อ�ำนาจเงินที่ปูพรมลงมาไม่สามารถเข้าถึงใจของ ประชาชนได้ วันนี้เราก็มีความเชื่อมั่นเช่นนี้ และเชื่อว่าแผ่นดิน พะเยาสูงขึ้นแน่ ผมยืนยันว่า ไม่ได้ลงตัดคะแนนใคร แต่จะสู้จนน�้ำมัน หยดสุดท้าย น�้ำเหงื่อไม่หมดแน่ น�้ำเลือดไม่หมดแน่…แต่ที่ ส�ำคัญคือคนเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทยต้องทบทวนเรื่องนี้

น�้ำหนองโบกธรณีมีน�้ำอยู่ ป๊อยข่างเสียหื้อแห้งบ่ดี ขึดนึก


รอบเมืองพะเยา

เดือน พฤศจิกายน 2554

21 ตุลาคม 2554 ที่บริเวณศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน�้ำจืดพะเยา จังหวัดพะเยา ได้จัดกิจกรรมเนือ่ งในวันคล้ายวันพระราชสมภพ 111 ปี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยมีนายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธาน พร้อมด้วยข้าราชการ, ทหาร, ต�ำรวจ, นักเรียน นิสิต นักศึกษา พ่อค้า และประชาชนชาวจังหวัดพะเยา ร่วมถวายพานพุ่มดอกไม้สด เพื่อเป็นการน้อมร�ำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า

11

11 ตุลาคม 2554 นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการ จังหวัดพะเยาเป็นผู้แทนพระองค์อัญเชิญพวงมาลาพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพวงมาลาของสมเด็จพระ นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมทั้งพวงมาลาพระราชทานและ พวงมาลาประทานของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ไปวางหน้า หีบศพ สิบต�ำรวจเอกจิระพันธ์ ลียารัตน์ ผู้บังคับหมู่งานป้องกัน และปราบปราม สภ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาสซึ่งเสียชีวิตขณะปฏิบัติ หน้าที่ขับขี่จักรยานยนต์ออกสืบสวนหาข่าวคดีฆาตกรรมและการ ลอบวางระเบิดของกลุ่มก่อการร้ายในพื้นที่ โดยศพ สิบต�ำรวจเอกจิ ระพันธ์ ลียารัตน์ ตั้งบ�ำเพ็ญกุศล ณ บ้านเลขที่ 35 ม.9 ต.บ้านมาง อ.เชียงม่วน จ.พะเยา

พิธีพลีกรรมตักน�้ำศักดิ์สิทธิ์ถวายในหลวง

จังหวัดพะเยาประกอบพิธีพลีกรรมตักน�้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นน�้ำสรงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนือ่ งในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 ณ บ่อน�้ำศักดิ์สิทธิ์ 2 แห่ง ได้แก่ หาดสองแคว ต้นขุนแม่ปืม อ�ำเภอแม่ใจ และขุนน�้ำคะ อ�ำเภอปง โดยน�้ำศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุในคนโท ทั้ง 2 แห่ง จะน�ำไปเก็บไว้ยังพระวิหารวัดศรีโคมค�ำ เพื่อรอประกอบพิธีเสกน�้ำ พระพุทธมนต์ ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2554

29 กันยายน 2554 ที่ศาลากลางจังหวัดพะเยา ที่ท�ำการ ปกครองจังหวัดพะเยา มอบรางวัลโครงการประกวดสื่อศิลปินพื้น บ้านในระดับจังหวัด เพื่อประชาสัมพันธ์บทบาท อ�ำนาจหน้าที่และ ผลงาน ของคณะกรรมการหมู่บ้าน ประจ�ำปีงบประมาณ 2554 รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานซอหน้าที่กรรมการหมู่บ้าน ของนาย อ้วน ขันทะวงศ์ และนักเรียนโรงเรียนพญาลอวิทยาคม อ�ำเภอจุน ส่วนรางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานค่าวอ�ำนาจหน้าที่กรรมการ หมู่บ้าน ของร้อยเอกชนม์เจริญ พีระภาพงศ์ กรรมการสภา วัฒนธรรมจังหวัดพะเยา

5 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ที่ห้องรับรองศาลากลางจังหวัดพะเยา นายกาจพล เอิบสุขสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ให้การต้อนรับ นายลลิต ถนอมสิงห์ ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา พร้อมคณะ ที่ได้เดินทางมาเตรียมความพร้อมในการจัดท�ำประชาพิจารณ์ การ จัดการระบบลุ่มน�้ำกว๊านพะเยา โดยมี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านแผนงานการจัดการระบบลุ่มน�้ำกว๊าน พะเยาร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย 1)แผนงานการจัดการปริมาณน�้ำกว๊านพะเยา 2)แผนงานการจัดการคุณภาพน�้ำกว๊านพะเยา 3)แผนงานการ จัดการสัตว์น�้ำกว๊านพะเยา 4)แผนงานการบริหารระบบลุ่มน�้ำกว๊านพะเยา 5)แผนงานการติดตามตรวจสอบและสร้างแนวทางการปรับปรุง ลุ่มน�้ำกว๊านพะเยา ซึ่งคาดว่าการจัดท�ำประชาพิจารณ์ดังกล่าว จะจัดขึ้นภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2554 นี้

เอาบ้านแป๋งนา เอานาแป๋งบ้าน บ่ดีขึดนักแล อยู่มักฉิบหายจ้ะแล


12

พะเยารักษ์

เดือน พฤศจิกายน 2554

นายหัสนัย แก้วกุล ประธานหอการค้าจังหวัดพะเยา และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพะเยาพร้อมคณะกรรมการ เป็นตัวแทนของประชาชนชาวจังหวัดพะเยา มอบสิ่งของบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน�้ำท่วมจังหวัดนครสวรรค์ โดยมี ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นผู้รับมอบ

ธารน�้ ำ ใจคนพะเยาสู ่ ผู ้ ป ระสบภั ย น�้ ำ ท่ ว ม

หน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดพะเยา ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทุกสาขาอาชีพ ได้ช่วยกันระดมสิ่งของและเงินเพื่อบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์น�้ำ ท่วม ในพื้นที่จังหวัดภาคกลางอย่างเร่งด่วน โดยเริ่มมีการทะยอยเดินทางไปช่วยเหลือเป็นบางส่วน ตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา นายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีภาครัฐ เอกชน ชาวพะเยา หลายภาคส่วน ได้ช่วยกันบริจาคสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อน�ำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยถูกน�้ำท่วม กันเป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งทางจังหวัดได้รวบรวมสิ่งของที่ได้รับบริจาคและส่งออกไปให้ความช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน นายหัสนัย แก้วกูล ประธานหอการค้าจังหวัดพะเยา กล่าวว่า หอการค้าจังหวัดพะเยา ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพะเยา ได้เปิดศูนย์รับบริจาคช่วยผู้ประสบภัยน�้ำท่วมภาคกลางขึ้น เพื่อรับบริจาค เงิน - เครื่องอุปโภค บริโภคที่จ�ำเป็น เช่น น�้ำดื่ม อาหารแห้ง ที่นอนปิกนิก เทียนไข ไฟแช็ก ฯลฯ เพื่อน�ำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยสิ่งของที่ได้รับบริจาคมาทั้งหมดได้น�ำไปแบ่งบรรจุเป็นถุงยังชีพเป็น ชุดส�ำหรับพร้อมแจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยน�้ำท่วมจังหวัดภาคกลาง โดยได้ประสานงานกับทางจังหวัดทหารบก(จทบ.)พะเยา ขอรับการสนับสนุนรถบรรทุกในการขนส่งสิ่งของ นอกจากนี้เงินที่ได้รับบริจาค กว่า 200,000 บาท ก็จะน�ำไปช่วยให้ผู้ประสบภัยด้วย นายเธียรชัย คฤหโยธิน ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลพะเยา เปิดเผยว่า ทางโรงพยาบาลได้จัดทีมแพทย์จ�ำนวน 6 ทีม เพื่อเตรียมเดินทางไปให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน�้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยชุดแรกเดินทางวันที่ 17 ตุลาคม 2554 พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคและเวชภัณฑ์ ยารักษาโรคด้วย น.ส.อณิรา ธินนท์ ที่ปรึกษาเครือข่ายแม่ญิงพะเยา เปิดเผยว่า ทางศูนย์ประชาบดี โดยบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดพะเยา เชียงราย และเครือข่ายแม่ญิงพะเยา ร่วมกันจัดทีมเพื่อท�ำหน้าที่ให้ ค�ำแนะน�ำ ปรึกษาและกิจกรรมการฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ประสบภัยน�้ำท่วม ตลอดจนการส�ำรวจความต้องการของผู้ประสบภัยหลังน�้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จ�ำนวน 3 ทีม เพื่อไม่ให้ผู้ประสบภัยเกิด ความเครียดหรือบรรเทาความเครียดลงอีกทางหนึ่ง นายประพันธ์ เทียนวิหาร นายกสโมสรโรตารีพะเยา กล่าวว่า ทางสโมสรโรตารีจังหวัดพะเยา และมหาวิทยาลัยพะเยา ได้จัดกิจกรรมดนตรีเพื่อหาทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยน�้ำท่วมมีผู้บริจาคกว่า 1.4 แสนบาท โดยมอบให้นักศึกษาเดินทางไปท�ำกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ภาคกลางแล้ว ในขณะที่กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าตลาดสดแม่ทองค�ำ ต.แม่ต�๋ำ โดยนายจรวย ค�ำอินต๊ะ ผู้จัดการตลาดแม่ทองค�ำ ได้ร่วมใจกันกับพ่อค้าแม่ค้าน�ำเอาน�้ำดื่มชนิดขวดจ�ำนวน 1,300 โหลและสิ่งของอื่นๆ จ�ำนวน หลายรายการ มอบให้ น.ส.อรุณี ช�ำนาญยา ส.ส.พท.เขต 1 และ น.ส. ปราณี วงศ์ประจวบลาภ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพะเยา ที่บริเวณหน้าตลาดสดแม่ทองค�ำ เพื่อน�ำเอาไปช่วยเหลือผู้ ประสบภัยถูกน�้ำท่วมด้วย

เอาจ๊อนแลป้ากไปตักน�้ำห้วยน�้ำแม่ ก็บ่ดีขึดนัก


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.