งานวิจัย

Page 1



บทที่ 1 บทนา 1. ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ล้านนาไทยมีความเจริญรุ่งเรือง ผู้คนสงบสุขร่มเย็นนับตั้งแต่โบราณกาล รวมถึงความศรัทธา ในพระพุทธศาสนาได้หยั่งรากฝังลึก หล่อหลอมก่อให้เกิดศิลปะและวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม สืบ เนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันชาวล้านนา ได้ยึดถือหลักธรรมและปรัชญาคําสอน ขององค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ มาโดยตลอด วรรณกรรมคําสอน และ บทสวดต่างๆ นักปราชญ์ทั้งหลายได้ลิขิตแต่งสร้างขึ้นมา เพื่อเป็นกุศโลบายในการสั่งสอนชี้นํา แนวทางที่ถูกต้อง ตามทํานองคลองธรรม ในการดําเนินชีวิต มีความหลากหลายในเรื่องราวต่างๆ เช่น พุทธประวัติชาดก นิยายธรรมต่างๆ โดยมีเนื้อหาที่สําคัญคือ กระทําแต่ความดีละเว้นความชั่วทําจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องใส อันเป็นหัวใจ สําคัญของ พระพุทธศาสนา และยังก่อให้เกิดประเพณีพิธีกรรมศิลปวัฒนธรรม อันดีงาม สืบทอด ต่อๆกันมาและเป็นแรงบันดาลใจให้ครูช่างล้านนา สร้างสรรค์ผลงานพุทธศิลป์ล้านนา เช่น จิตรกรรมฝาผนังประติมากรรมปูนปั้น และลวดลายคําหรือลายทอง ประดับตกแต่งอาคารต่างๆ ทาง ศาสนา ที่เป็นลักษณะเฉพาะพื้นถิ่นของล้านนาจากคุณค่าของหลักธรรมคําสอน หลักปรัชญาของพุทธ ศาสนาดังกล่าว ได้ส่งอิทธิพลต่อแนวความคิด ของสล่าหรือช่างนับแต่ครั้งอดีตได้สร้างงานศิลปกรรม แขนงต่างๆ สื่อแสดงออกถึงความศรัทธาใน พุทธศาสนารวมถึงการสร้างงานจิตรกรรม ประติมากรรม และลายคํา จนกลายเป็นสกุลช่างล้านนาที่ มีความเป็นเอกลักษณ์และสืบทอดต่อๆ กันมาจากรุ่นถึงรุ่น งานพุทธศิลป์ล้านนา อาจกล่าวได้ว่าเป็น ศิลปะการช่าง ที่มีความสําคัญและน่าสนใจ มากที่สุดแขนง หนึ่งเพราะนอกจากจะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไข การดํารงอยู่ของสังคมล้านนาในอดีต แล้วยังสามารถบ่งบอกถึงคติความเชื่อ ของชุมชนนั้นๆ เทคนิคและวิธีการตลอดจนการแสดงออกของ ศิลปะบ่งบอกถึงงานช่าง ความรู้สึกนึกคิด และการติดต่อสัมพันธ์กับสังคม วัฒนธรรมอื่น อีกทั้งยังมี ความสําคัญทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีอีกด้วยผลงานจิตรกรรมฝาผนังในล้านนานั้น แสดงให้ เห็นอย่างชัดเจนว่า ตัวตนของล้านนาในด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรม ยังคงสืบเนื่องตลอด มา ภายใต้เงื่อนไขบริบททางด้านสังคม ด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้นจิตรกรรมฝาผนัง ที่ปรากฏในดินแดนล้านนา จึงเป็นหลักฐานที่สามารถแสดงถึงความสืบเนื่อง ของความเป็นล้านนาได้เป็น อย่างดี ดังกรณีศึกษาจิตรกรรมฝาผนังวัดต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้ 1. จิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานศิลปะที่มีความสําคัญใน ฐานะเป็นงานจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะล้านนา ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 หรือราว 500 ปี มาแล้ว อันเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังศิลปะล้านนา ที่เก่าแก่ที่สุดในสมัยราชวงศ์มังราย (พ.ศ. 1839-2101) ที่ เหลือเพียงแห่งเดียวในปัจจุบันอันเป็นผลงานศิลป์ ในยุครุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา ทีแสดงให้เห็น ถึงความสัมพันธ์กับอาณาจักรเพื่อนบ้าน คือ จีนในสมัยราชวงศ์หมิง( Ming Dynasty )และพม่าในสมัย พุกาม ( Pagan ) เป็นต้น 2. จิตรกรรมฝาผนัง ในวิหารลายคํา วัดพระสิงค์อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แสดงออกถึง ลักษณะเด่นทางศิลปะและ สามารถสะท้อนภาพ ความเป็นเชียงใหม่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 เป็น


2 กรณีศึกษา ที่มีความสําคัญแสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ของจิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้ทั้ง ในระดับโครงสร้างหรือภาพรวม แสดงให้เห็นอิทธิพลทางศิลปะหลากหลาย เช่น แบบศิลปะจีนไทย ภาคกลางพม่าและแบบพื้นบ้าน มีการผสมผสาน และสร้างใหม่เป็นแบบฉบับเฉพาะของตนเองนับเป็น ภาพแทนความหลากหลายของวิถีชีวิต กลุ่มสังคมวัฒนธรรมที่มีอยู่อย่างคับคั่งในเชียงใหม่ ในยุคสมัย นั้นอย่างลงตัว แสดงออกผ่านตัวละครจากวรรณกรรมที่นิยมในยุคนั้น คือเรื่องสังข์ทอง และสุวรรณ หงส์ภาพที่แสดงให้เห็นมีลักษณะตรงไปตรงมาในลักษณะเหมือนจริง (realistic) อาทิชีวิตความเป็นอยู่ ของชาวบ้านชาวเมือง หรือชนชั้นเจ้านาย การเกี้ยวพาราสีการละเล่นของเด็ก ตลอดจนสภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติ และบ้านเมือง เป็นต้น 3. จิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอีกกรณีศึกษา ที่มี ความแตกต่างในลักษณะเด่น ของฝีมือช่างไทใหญ่ในล้านนา ซึ่งถือเป็นตัวอย่างงาน จิตรกรรมแบบ ไทใหญ่ที่ดีที่สุดลักษณะ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของจิตรกรรมฝีมือช่างไทใหญ่ซึ่ง สะท้อนให้เห็นถึง การหยิบยืมวัฒนธรรมชั้นสูงของพม่ามาใช้ในงาน คือการเขียนภาพเหมือนบุคคลและ สถาปัตยกรรม โดยช่างเขียนภาพบุคคลชั้นสูง เช่นกษัตริย์หรือตัวเอกของเรื่องให้มีเครื่องทรงอย่างกษัตริย์พม่า รวมถึง รูปแบบปราสาทที่ประทับ ก็จะเป็นอาคารทรงพญาธาตุอันเป็นแบบอย่างสถาปัตยกรรมชั้นสูงของพม่า ภาพบุคคลชั้นรองและชาวบ้าน ก็จะมีรูปแบบอย่างชาวล้านนาทั่วไป ในด้านของเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ ที่นํามาเขียนนั้น มักเป็นเรื่องราวหลักที่นิยมทั่วไป ได้แก่ พุทธประวัติและชาดก เป็นต้น ในการศึกษาภาพจิตรกรรมฝาผนังในล้านนา ในวัดต่างๆ ดังกล่าวจําเป็นต้องศึกษาในทุกมิติ ทุกด้านรวมไปถึง การเชื่อมโยงของรูปแบบศิลปะตลอดถึงเนื้อหาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์สังคมและ วิถวี ัฒนธรรมไปพร้อมๆกัน เพราะจะทําให้เข้าใจถึงที่มาและปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่างๆ เพื่อการพัฒนาต่อ ยอดองค์ความรู้เดิมและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการศึกษาและพัฒนาทุกๆด้าน ของงานจิตรกรรม ฝาผนังในวัดอุโมงค์ วัดพระสิงห์ วัดบวกครกหลวงอย่างเป็นระบบชัดเจนเพื่อประโยชน์ใช้ในการศึกษา การอนุรักษ์มรดก ทางศิลปกรรม และการเผยแพร่ ให้กับสังคมได้รับความรู้ โดยตระหนักถึงปัญหา และแนวทางการแก้ไข และยังเป็นโครงการที่จุดประกายให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเช่น การ นําเอาคุณสมบัติที่พิเศษ ทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก นํามาประยุกต์ใช้ร่วมกับโครงการวิจัย ด้วยการ คัดลอกภาพงาน จิตรกรรมและทําการสันนิษฐานภาพจิตรกรรม ในส่วนที่มีการชํารุดขึ้นมาใหม่ด้วย ภาพลายเส้น จนสามารถมีข้อมูลที่ชัดเจนเพียงพอที่จะสันนิษฐานงานจิตรกรรม ในส่วนที่ชํารุดขึ้นมา ใหม่และข้อมูลเหล่านี้เองจะเป็นพื้นฐาน ในการนําเอาคอมพิวเตอร์กราฟิก เข้ามาช่วยในการสร้างภาพ จิตรกรรม และแก้ไขความชํารุดของภาพขึ้นมาใหม่ จนกระทั่งสามารถได้ภาพจิตรกรรมลายเส้นที่ ใกล้เคียงมากที่สุดกับสภาพเดิม ก่อนการชํารุดการคัดลอกภาพจิตรกรรมดังกล่าว ทําให้ภาพจิตรกรรม ที่ได้มามีการแก้ไข ปรับแต่ง ตกแต่ง และสร้างภาพขึ้นใหม่ด้วยกระบวนการทางคอมพิวเตอร์กราฟิก ในเกิดระบบภาพ 2 มิติเพื่อสามารถนําไปเผยแพร่ และนําไปใช้เป็นต้นแบบ หรืองานทางด้านประยุกต์ ศิลป์ โดยปรับเปลี่ยนแก้ไข ได้อย่างง่ายดายและนําเสนอด้วยงานในระบบมัลติมีเดีย โดยหลักฐานที่ได้ จากกระบวนการศึกษาและการปฏิบัติงานนั้น ยังเป็นพื้นฐานและเป็นต้นแบบของการศึกษาจิตรกรรม ฝาผนังที่มีคุณค่าให้กับสถานที่อื่นๆ ในล้านนา ที่ยังไม่ได้ดําเนินการอีกมากมาย ต่อไป


3 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเผยแพร่คุณค่าของงาน จิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ จิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ และ จิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง ในรูปแบบสื่อ มัลติมีเดีย ให้เป็นคลังความรู้สู่ชุมชน และเป็น สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2. เพื่อนําเทคโนโลยีด้าน Computer Graphic มาประยุกต์ใช้อนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง วัดอุโมงค์ จิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ และ จิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง 3. เพื่อเป็นโครงการต้นแบบสําหรับการศึกษา ด้านการอนุรักษ์ จิตรกรรมฝาผนังแห่ง อื่นๆ โดยใช้เทคโนโลยีด้าน Computer Graphic 4. เพื่อให้ชุมชนเกิดจิตสํานึกรัก และหวงแหน องค์ความรู้งานจิตรกรรมฝาผนังล้านนา 5. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน ต่างๆ 3. กรอบแนวคิดในการวิจัย การศึกษาค้นคว้าวิเคราะห์ข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา แนวคิด รูปแบบ ทางศิลปะ ความหมายสัญลักษณ์ของจิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ จิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ และ จิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20–24 โดยจัดแบ่งประเภทและหมวดหมู่ ของลวดลายอย่างเป็นระบบจากภาพถ่ายเป็นภาพลายเส้นทางด้านคอมพิวเตอร์ และสร้างขึ้นใหม่ด้วย คอมพิวเตอร์กราฟิก ในระบบภาพ 2 มิติ และนําเสนอด้วยระบบมัลติมีเดีย 4. ขอบเขตของการวิจัย 4.1 ขอบเขตทางด้านเนื้อหา การศึกษาค้นคว้าวิเคราะห์ข้อมูลรายละเอียด ทีเ่ กี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมา แนวคิด รูปแบบทางศิลปะ ความหมายสัญลักษณ์ของจิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ จิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ และ จิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงพุทธศตวรรษที่ 20–24 โดยจัดแบ่งประเภทและหมวดหมู่ของ ลวดลายอย่างเป็นระบบจากภาพถ่าย เป็นภาพลายเส้นทางด้านคอมพิวเตอร์ และสร้างขึ้นใหม่ด้วย คอมพิวเตอร์กราฟิก ในระบบภาพ 2 มิติ และนําเสนอ ด้วยระบบมัลติมีเดีย 4.2 ขอบเขตด้านพื้นที่ จิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ จิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ และจิตรกรรมฝาผนังวัดบวก ครกหลวง พื้นที่ภายในจังหวัดเชียงใหม่ 5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 5.1 ได้เผยแพร่คุณค่าของงาน จิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ จิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ และจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง ในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย ให้เป็นคลังความรู้สู่ชุมชน และเป็น สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต 5.2 ได้นําเทคโนโลยีด้าน Computer Graphic ขั้นสูง มาประยุกต์ใช้อนุรักษ์จิตรกรรม ฝาผนังวัดอุโมงค์ จิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ และจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง


4 5.3 ได้โครงการต้นแบบ สําหรับการศึกษา ด้านการอนุรักษ์ จิตรกรรม ฝาผนังแห่งอื่นๆ โดยใช้เทคโนโลยีทางด้าน computer Graphic 5.4 ให้ชุมชนเกิดจิตสํานึกรัก และหวงแหนองค์ความรู้ของงาน จิตรกรรมฝาผนังล้านนา 5.5 ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน


5 บทที่ 2 ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การวิจัยครั้งนี้ ผู้ดําเนินการวิจัย มุ่งที่จะศึกษาเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมาของจิตรกรรม ฝาผนังวัดอุโมงค์จิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ จิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง เพื่อศึกษาถึงแนวคิด รูปแบบทางศิลปะความหมาย ของจิตรกรรมประดับโบราณสถานทางศาสนาล้านนา และบันทึก รวบรวมจิตรกรรมฝาผนังล้านนา วัดพระสิงห์ อย่างเป็นระบบ จากภาพถ่าย มาเป็นภาพลายเส้นด้วย กระบวนการทางคอมพิวเตอร์กราฟิก และนําเสนอด้วยระบบมัลติมีเดีย เพื่อประโยชน์ใช้ในการศึกษา การอนุรักษ์มรดกทางศิลปกรรมและการเผยแพร่ ให้กับสังคมได้รับความรู้ โดยตระหนักถึงปัญหา และ แนวทางการแก้ไข และยังเป็นโครงการที่จุดประกายให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่เข้ามาร่วมกับ งานวิจัย ดังนั้นเนื้อหาของเอกสารที่เกี่ยวข้อง จึงจัดอยู่ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ความเป็นมา จิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ วัดพระสิงห์ วัดบวกครกหลวง บทบาทคอมพิวเตอร์กราฟิก การนาเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ในระบบมัลติมีเดีย ความเป็นมาของจิตรกรรมฝาผนัง วัดอุโมงค์ วัดพระสิงห์ วัดบวกครกหลวง ประวัติวัดอุโมงค์ วัดอุโมงค์ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ บริเวณป่าเชิงดอยสุเทพ จาก ขนาดของวัดที่ค่อนข้างใหญ่ประกอบกับหลักฐานสําคัญ ๒ ส่วนคือเจดีย์ประธานและวิหารที่มีลักษณะ เป็นอุโมงค์ หรือถ้ํา ทําให้พอสันนิษฐานได้ว่าแต่เดิมคงเป็นวัดสําคัญแห่งหนึ่งในเขตอรัญญิก วัดอุโมงค์(อุโมงค์เถรจันทร์) เป็นชื่อเรียกวัดเก่าที่ "พระเจ้ากือนาธรรมิกราช" ทรงสร้างอุโมงค์ ขึ้นเพื่อถวายเพื่อให้พระมหาเถรจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฏกอาศัย วัดอุโมงค์นี้หมายเอาเฉพาะ บริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งมีกําแพงอิฐปรากฏอยู่ทั้งสี่ด้าน ด้านตะวันออกจากขอบสระใหญ่ ด้านเหนือตรงไปทางทิศเหนือโรงพิมพ์ปัจจุบันจรด กําแพงอิฐพอดี ยาวประมาณ 100 วา ด้านเหนือ จากแนวกําแพงเหนือโรงพิมพ์ปัจจุบันทางทิศตะวันตก จนถึงขอบสระหลังวัดอุโมงค์ ยาวประมาณ 100 วา, ด้านตะวันตกจากขอบ สระแนวกําแพงด้านเหนือ ถึงขอบสระใหญ่ใต้พระเจดีย์ ยาวประมาณ 100 วา, ด้านใต้จากขอบสระหลังพระเจดีย์ตรงไปทางตะวันตกออกจรดกําแพงทิศตะวันออกหน้า พระ อุโบสถ ยาวประมาณ 100 วา มีพระอุโบสถขนาดย่อมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีพระเจดีย์ใหญ่ แบบลังกาวงศ์ และอุโมงค์(ถ้ํา) 1 อุโมงค์ มีทางเข้า 3 ทาง ตั้งอยู่ตลอดแนววัดด้านตะวันตกและมีศาลา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจากหน้าอุโมงค์ไปประมาณ 1 เส้น คิดเป็นเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 25 ไร่ พระเจ้ามังรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ตกลงพระทัยที่จะสร้างเมืองใหม่ที่ป่า เลาคา (ต้นเลาคา และต้นหญ้าคา) ระหว่างแม่น้ําปิงกับดอยสุเทพแล้วได้แต่งตั้งราชบุรุษถือ


6 พระราชสาส์น ไปทูลเชิญพระสหายร่วมน้ําสาบานทั้งสองคือ พระเจ้ารามคําแหงมหาราช เจ้าผู้ครองนครสุโขทัย และพระเจ้างําเมือง เจ้าผู้ครองนครพะเยา มาปรึกษาการสร้างเมืองที่ เวียง เหล็ก ( ที่ตั้งวัดเชียงมั่นทุกวันนี้) หลังจากที่สามกษัตริย์ได้ตกลงกันว่า ควรสร้างราชธานีใหม่ กว้าง 800 วา ยาว 1000 วาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวจากตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตกแล้วก็ทําพิธีฝังเสาหลัก เมืองในวันพฤหัสบดี เดือนแปดเหนือ ( เดือนหกใต้ ) ปีวอก พ.ศ. 1839 ฝังหลักเมืองแล้วใช้พลเมือง 5 หมื่นคน ช่วยกันก่อสร้างพระราชเวศน์มณเฑียรสถาน อีก 4 หมื่นคน ช่วยกันขุดคูเมือง และ กําแพงเมือง ก่อสร้างอยู่เป็นเวลา 4 เดือน ก็แล้วเสร็จหลังจากฉลองเมืองใหม่เป็นการใหญ่ 7 วัน 7 คืนแล้ว กษัตริย์ทั้งสามก็พร้อมใจกันตั้งนามเมืองใหม่ว่า เมืองนพบุรี ศรีนครพิงค์ เชียงใหม่ หลังจาก สร้างราชธานีเรียบร้อยแล้ว พระเจ้ามังรายมหาราชได้ทรงสร้างวัดสําคัญฝ่ายคามวาสี (วัดสําหรับ ภิกษุที่ชอบอยู่ในเมือง เพื่อเรียนพุทธวจนะ)ประจําเมืองทั้ง 4 ทิศพร้อมทั้งวัดภายในพระราชวังด้วย และทรงสร้างวัดฝ่ายอรัญวาสี (วัดสําหรับภิกษุที่เรียนพุทธวัจนะแล้ว ออกไปหาความสงบในป่า บําเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน) บริเวณชานพระนครขึ้นหลายวัด เช่น วัดเก้าถ้าน เป็นต้น พระเจ้ามังรายมหาราช ทรงทํานุบํารุงพระศาสนาและพระภิกษุสามเณร ทั้งฝ่ายคามวาสี และ อรัญวาสีด้วยปัจจัยสี่ ให้มีกําลังใจศึกษา และปฏิบัติพระธรรมวินัยตามความสามารถแห่งตนอย่างดียิ่ง ทั้งสองฝ่าย กาลต่อมาพระองค์ได้ทรงทราบว่า พระเจ้ารามคําแหงมหาราช พระสหายผู้ครองนคร สุโขทัย ได้ส่งคนไปนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองลังกาที่มาจําพรรษา อยู่เมืองนครศรีธรรมราช มาสั่งสอน พระพุทธศาสนา ทั้งฝ่ายปริยัติ และฝ่ายปฏิบัติแก่ชาวเมืองสุโขทัยปรากฏเกียรติคุณว่า พระสงฆ์ลังกา แตกฉานพระไตรปิฎกเคร่งครัดในพระธรรมวินัยยิ่งกว่าพระไทยที่มีอยู่เดิมเกิดศรัทธาเสื่อมใส ประสงค์ จะได้พระลังกามาเป็นหลักพระพุทธศาสนา ในเมืองเชียงใหม่บ้าง จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ขอพระสงฆ์ลังกา จากพระเจ้ารามคําแหงมหาราชมา 5 รูปเมื่อได้พระลังกา 5 รูปอันมีพระมหากัสสปะเถระ เป็นหัวหน้า มาสมพระประสงค์แล้ว เกิดลังเลพระทัยไม่ทราบว่าจะนําพระลังกา 5 รูป นี้ไปอยู่วัดไนดี จะนําไปอยู่ กับพระไทยเดิมทั้งฝ่ายคามวาสี ก็เกรงว่าพระลังกาจะไม่สบายใจ เพราะว่าระเบียบประเพณีในการ ประพฤติอาจจะไม่เหมือนกัน ในที่สุดได้ตกลงพระทัยสร้างวัดฝ่ายอรัญวาสีเฉพาะพระลังกา ขึ้นวัดหนึ่ง ต่างหากที่บริเวณป่าไผ่ 11 กอ (สถานที่ซึ่งเรียกว่าวัดอุโมงค์ สวนพระพุทธธรรมทุกวันนี้) การสร้างวัด ไผ่ 11 กอ ครั้งนั้นพระองค์มีประสงค์จะสร้างเป็นอนุสรณ์ในการ นําพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ มา ประดิษฐานในลานนาไทยเป็นครั้งแรก จึงขอให้พระมหากัสสปะเถระ เป็นผู้วางแผนผังวัดให้ถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย และประเพณีอันดีงามของชาวพุทธจริงๆ เมื่อพระมหากัสสปะเถระวางแผนผังวัด ออกเป็นเขตพุทธาวาส (สถานที่เกี่ยวกับพระ พุทธเจ้า เช่น พระเจดีย์ พระอุโบสถ) และสังฆาวาส (สถานที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ เช่น สาลาแสดงธรรม กุฏิพระโรงฉัน) เรียบร้อยแล้วพระเจ้ามังรายมหาราช ได้เป็นผู้อํานวยการสร้างวัดใหม่ตามแผนผัง นั้น โดยยึดเอาแบบอย่างการสร้างวัด ของเมืองลังกาเป็น แบบฉบับแม้พระเจดีย์ใหญ่อันเป็นหลักชัยของวัด ก็สร้างทรวดทรงแบบพระเจดีย์ในเมืองลังกาทั้งหมด (พระเจดีย์ที่พระเจ้ามังรายสร้างอันเดียวกับพระเจดีย์ใหญ่ที่ปรากฏอยู่ในวัด อุโมงค์สวนพุทธธรรมทุก วันนี้ แต่ของเดิมย่อมกว่าที่ใหญ่ขึ้นยังไม่เก่านัก และมองเห็นลวดลายทีส่ วยงามชัดเจน เป็นพระ เจ้ากือนาธรรมิกราชรัชกาลที่ 9 และราชวงศ์มังรายทรงบูรณะขึ้นมาใหม่ ด้วยการพอกปูนทับของเก่า พร้อมกับการสร้างอุโมงค์ให้พระมหาเถรจันทร์อยู่ระหว่าง พ.ศ. 1910-1930) สร้างวัดเสร็จเรียบร้อย


7 และทําการฉลองแล้ว ทรงขนานนามว่า วัดเวฬุกัฏฐาราม (วัดไผ่ 11 กอ) จากนั้น ก็นิมนต์คณะสงฆ์ จากลังกาเข้าอยู่จําพรรษาเพื่อบําเพ็ญสมณธรรม และเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป ภายหลังจากทรง สร้างวัดถวายคณะสงฆ์ลังกาวงศ์แล้วทรงสนพระทัยในการพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทรงโปรดให้ความ อุปถัมภ์แก่พระสงฆ์ไทย และพระสงฆ์ลังกาด้วยปัจจัยสี่และหมั่นมาฟังธรรมเทศนาจากพระสงฆ์เสมอ การใดที่ทําให้พุทธศาสนาเจริญแล้วจะทรงกระทําการนั้นทันที นอกจากจะสนพระทัยพระพุทธศาสนา เป็นการส่วนพระองค์แล้ว ยังทรงแนะนําชักชวนพระบรมวงศานานุวงศ์ และประชาชนให้สนใจศึกษา พระพุทธศาสนา โดยพากันมาวัดในวันพระเพื่อให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม เทศนาจากพระสงฆ์และ เจริญภาวนาหาความสงบใจอีกด้วย วัดที่พระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนศรัทธาเลื่อมใส สนใจไปให้ทาน รักษาศีลฟังธรรมเทศนา และเจริญภาวนามากที่สุดในสมัยนั้น คือ วัดเวฬุกัฏฐาราม (วัดไผ่ 11 กอ) ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะพระลังกาที่มาจําพรรษาอยู่มีความรู้ในธรรมวินัยดี มีความสามารถ ในการแสดงธรรมมาก มีความประพฤติเรียบร้อยและเคร่งครัดในระเบียบวินัยมากกว่าพระอื่นๆ ความ ดีงามของพระลังกาในครั้งนั้น เป็นเหตุให้กุลบุตรสมัครเข้ามาบรรพชา อุปสมบทเป็นภิกษุสามเณร มากมาย ยิ่งนับวันเกียรติคุณของพระลังกาวงศ์ขจรขจายไปทั่วทิศ เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาแบบ ลังกาวงศ์เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วและตั้งหลักได้มั่นคงในล้านนาไทยเป็นครั้งแรกในสมัยของพระองค์ ครั้นถึงสมัยนั้น พระเจ้าผายู เป็นกษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1877 การพระศาสนา จึงค่อยกลับเจริญขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพราะพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ทรงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม สัมมา ปฏิบัติ ยึดหลักพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือในการปกครองประเทศ งานศาสนาชิ้นแรกที่ทรงทําคือ โปรด ให้ราชบัณฑิตไปอาราธนาพระมหาอภัยจุฬาเถระ กับพระสงฆ์ 10 รูป จากเมืองหริพูนชัย (ลําพูน) มา เป็นสังฆราชครองวัดลีเชียงพระ (วัดพระสิงห์) ซึ่งทรงสร้างขึ้น การที่พระเจ้าผายูต้องแต่งตั้งพระมหา เถระในจังหวัดลําพูนเป็นพระสงฆ์ในลานนาไทยไม่ได้แต่งตั้งพระมหาเถระในเชียงใหม่นั้น แสดงว่าพุทธ ศาสนา และคณะสงฆ์ในเชียงใหม่ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองอย่างมากทั้งสยามวงศ์และลังกาวงศ์ เมื่อ 40 ปี ก่อนโน้น เสื่อมลงอย่างน่าใจหาย พระเจ้าผายูทํานุบํารุงประเทศชาติและพระพุทธศาสนาได้ประมาณ 33 ปี ก็สวรรคตในปี พ.ศ. 1910 หลังจากพระเจ้าผายูสวรรคตแล้ว เสนาอมาตย์ทั้งหลายได้ไปอันเชิญ เจ้าท้าวกือนา จากเมืองเชียงแสน (ที่ต้องไปอยู่เมืองเชียงแสน เพราะพระราชบิดาให้ไปครองเมืองตาม ธรรมเนียมรัชทายาท) มาราชาภิเษกเป็นกษัตริย์องค์ที่ 9 (ของราชวงศ์มังราย) ครองเมืองเชียงใหม่ ต่อไปตามประเพณีในปี พ.ศ. 1910 (เสวยราชย์เมื่อพระชนม์มายุได้ 40 พรรษา) เนื่องจากพระเจ้า กือนา ทรงใฝ่พระทัยในการศึกษาวิชาการงานต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรมตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ประการหนึ่ง ทรงฝึกหัดวิชาการรบต่างๆ ไว้อย่างชําชิชํานาญประการหนึ่ง ทรงเชี่ยวชาญในการ ปกครองบ้านเมืองสมัยครองเมือง เชียงแสนประการหนึ่ง ทรงมีน้ําพระทัยตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม เหมือนพระราชบิดาประการหนึ่ง ทรงสนพระทัยในเรื่องพระพุทธศาสนา ตามพระราชบิดาเป็นอย่าง มากประการหนึ่ง และทรงมีพระชนม์มายุในขั้นเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวที่ประการหนึ่ง เมื่อเสวยราชย์แล้วจึง ทํานุบํารุงบ้านเมืองและพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองได้ อย่างรวดเร็ว ระยะเวลา 21 ปี (1910-1931) ที่พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ครองราชย์สมบัติ ได้ทรงจัดการ ปกครองบ้านเมืองอย่างดีเยี่ยมข้าราชการผู้ใหญ่และประชาชนเคารพรักและนับถือพระองค์มาก


8 เจ้าเมืองอื่นไม่กล้ายกกองทัพมารุกราน เพราะรู้ดีว่าพระองค์เป็นนักรบที่เก่งกล้า เมื่อบ้านเมืองปรกติ สุขความยุ่งยากไม่มีเช่นนี้พระองค์ก็ใช้เวลาส่วนมากทํานุบํารุงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง จนปรากฏ ว่าพระพุทธศาสนาในวานนาไทยเจริญรุ่งเรืองที่สุดในยุคของพระองค์ งานศาสนาชิ้นแรกที่ทรงทําเมื่อ เสวยราชย์ คือ ส่งราชบัณฑิตไปอาราธนาพระมหาสวามีอุทุมพรบุบผา พระมหาเถระชาวรามัญ เชื้อ สายลังกาวงศ์ ผู้แตกฉานพระธรรมวินัยที่เมืองเมาะตะมะ (ที่ทรงเจาะจงเลือกพระชาวลังกาวงศ์คงจะ เป็นเพราะทรงทราบประวัติความดีงามของพระลัง ที่พระเจ้ามังรายนํามาประดิษฐานพุทธศาสนาใน ลานนาไทย ระหว่าง พ.ศ. 1839-1860 เป็นแน่) แต่พระมหาสวามีเจ้าไม่ยอมคงมอบศิษย์ 10 รูป มี พระอานนท์ (พระอานนทเถระ) เป็นประธานมาแทน เมื่อพระรามัญเชื้อสายลังกาวงศ์มาถึงแล้วได้ทรง อาราธนาพักที่ วัดโลก (ปัจจุบันเป็นที่ทําการสัตว์แพทย์เชียงใหม่ ) แล้วขอให้ทําพินัยกรรมสมมติ และ อุปสมบทกุลบุตร พระรามัญทั้ง 10 รูปไม่อาจปฏิบัติ เพราะการบรรพ๙าอุปสมบทกุลบุตรในประเทศ ไทยแบบลังกาวงศ์นั้นพระมหาสวามีอุทุมพรบุปผา มอบอํานาจให้พระมหาสุมูนเถระและพระอโนมทัส สีเถระ เป็นผู้กระทําเพียงสองรูปเท่านั้น (พระเถระสุโขทัยสองรูปนี้ ไปเรียนพระไตรปิฎกที่อยุธยาก่อน แล้วกลับไปเรียนต่อที่เมาะตะมะกับมหาสวามีอุทุมพรบุปผาเป็นเวลา 4 ปี จากนั้น ได้กลับมาที่สุโขทัย นําพระที่ฉลาดอีก 10 รูปกลับไปสวดญัติเป็นภิกษุแบบลังกาวงศ์แล้วพระมหาสวามีอุทุมพรบุปผา ได้ มอบอํานาจให้พระมาเถระทั้งสองเป้นหัวหน้านําลัทธิลังกาวงศ์มาเผยแผ่ในเมืองไทย)เมื่อ พระ เจ้ากือนาธรรมิกราช ทรงทราบเช่นนั้นแล้วได้ตั้งให้ หมื่นเงินกอง 1 ปะขาวยอด 1 ปะขาวสาย 1 รวม 3 นาย เชิญราชสาส์นและเครื่องบรรณาการการไปถวาย พระมหาธรรมราชาไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่ง ราชวงศ์สุโขทัย (ครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ. 1890-1919) เพื่ออาราธนาพระมหาสุมนเถระ วัดอัมพะวัน (ภายหลังเรียกว่าวัดป่าแก้ว) ไปสืบศาสนาในนครพิงค์ เชียงใหม่ พระมหาธรรมราชาลิไท ทราบแล้วได้ ทรงอนุญาตให้พระมาสุมนเถระ ไปสืบสาสนาที่พระนครพิงค์เชียงใหม่ด้วยความยินดี ขณะที่พระมหา สุมนเถระเดินทางจากสุโขทัยมาเชียงใหม่นั้น พระเจ้ากือนาธรรมิกราชได้เสด็จไปคอยรับที่ วัดพระยืน จังหวัดลําพูน ได้ขอให้พระมหาสุมนเถระอุปสมบทกุลบุตรเป็นภิกษุที่นั่นก่อน แล้วจึงอาราธนามาพักที่ วัดบุปผาราม (วัดสวนดอก) เชียงใหม่ เนื่องจากพระมหาสุมนเถระแตกฉานพระไตรปิฎก เคร่งครัดใน พระธรรมวินัย มีศีลวัตรน่าเลื่อมใสยิ่งกว่าภิกษุอื่น พระองค์จึงแต่งตั้งให้เป็น มหาสามีบุพรัตนะ เป็น พระประธานสงฆ์ลังกาวงศ์ในลานนาไทยต่อไป ลัทธิลังกาวงศ์ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองมาครั้งหนึ่งสมัยพระ เจ้ามังรายมหาราช และได้เสื่อมทรามไปเกือบ 70 ปีนั้น ได้กลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกในสมัยพระ เจ้ากือนาธรรมิกราช หลังจากทรงจัดการนําพระมหาสุมนเถระชาวสุโขทัย เชื้อสายลังกาวงศ์มาเป็น หลักศาสนาในลานนาไทยแล้ว พระองค์ได้หันไปบูรณะถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา ซึ่งบรรพบุรุษได้ ทรงสร้างไว้โดยทั่วถึง อันใดควรซ่อมก็ซ่อมแซมให้ดีขึ้น อันใดความสร้างใหม่ก็ทรงสร้างด้วยช่างฝีมือ ชั้นเยี่ยม ถาวรวัตถุที่ทรงบูรณะสร้างไว้ การบูรณะวัดเวฬุกัฎฐาราม ซึ่งพระเจ้ามังรายทรงสร้างไว้ การ บูรณะ วัดเวฬุกัฎฐาราม (วัดไผ่ 11 กอ) ทรงสร้างด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง การพอกปูน ซ่อมแซมใหม่ทับของเก่า (ถ้าท่านไปดูรอยแตกของพระเจดีย์วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรมในขณะนี้ จะเห็น ชัดเจนว่าเปลือกเจดีย์มี 2 ชัน้ )ได้ทรงรักษาทรวดทรงเดิมไว้ทั้งหมดส่วนรูปภาพสีน้ําที่เขียนไว้ในอุโมงค์ เจดีย์ที่พระเจ้ากือนาทรงสร้างใหม่ เมื่อทรงบูรณะเจดีย์ใหม่เสร็จแล้ว พระองค์ได้ทรงสร้างอุโมงค์ ขนาดใหญ่ ถัดจากฐานพระเจดีย์ด้านเหนือขึ้นหนึ่งอุโมงค์ อุโมงค์ที่ทรงสร้างขึ้นใหม่นี้ทั้งใหญ่และ สวยงามมากมีทางเข้าออก 4 ช่อง แต่ละช่องเดินติดต่อกันได้ทั่วถึงข้างฝาผนังด้านในอุโมงค์เจาะช่อง


9 สําหรับจุดประทีปให้เกิดความสว่างเป็นระยะ สะดวกแก่พระเดินจงกรม และภาวนาอยู่ข้างใน เพดาน อุโมงค์เขียนภาพต่างๆ ด้วยสีน้ํามันไว้ตลอดทั้ง 2 ช่อง ฝีมือที่เขียนดูจะเป็นช่างจีนผสมช่างไทยเมื่อ สร้างอุโมงค์เสร็จและทําการฉลองแล้ว ได้ทรงขนานนามว่า วัดอุโมงค์ ชื่อวัดอุโมงค์จึงปรากฏมาตั้งแต่ ครั้งนั้น เหตุที่พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ทรงสร้างอุโมงค์ใหญ่โตสวยงาม ละเอียดประณีตเป็นพิเศษ เกิดมาจากพระองค์ทรงศรัทธาเป็นพิเศษในพระมหาเถระชาวลานนาผู้แตกฉานพระไตรปิฎกมีปฏิภาณ โต้ตอบปัญหาอยู่เป็นเยี่ยมรูปหนึ่ง พระมหาเถระรูปนั้นมีชื่อว่าพระมหาเถระจันทร์ ตํานานพิสดาร เกี่ยวกับพระมหาเถระรูปนี้กล่าวไว้ว่า ในรัชสมัยของพระเจ้ากือนานั้น มีพระเถระรูปหนึ่งเป็น ผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก และมคธภาษา อย่างหาตัวจับยากในยุคนั้น พระ เถระชาวล้านนารูปนี้ มีนามว่า พระมหาเถระจันทร์ ในตํานานกล่าวต่อไปว่าพระมหาเถระจันทร์นี้ แต่เดิมเป็นเด็กอยู่บ้านเมืองวัว เมื่ออายุได้ 16 ปี ก็ได้ไปขอบรรพชาเป็นสามเณรกับพระเถระวัดไผ่ 11 กอ ต่อมาได้ออกมาอยู่จําพรรษาที่ วัดโพธิ์น้อย ในเวียงเชียงใหม่ 3 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และ จําพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์น้อยอีก 3 พรรษา ในขณะนั้นครูบาเจ้าอาวาสวัดไผ่ 11 กอ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ ได้ล้มป่วย มีอาการหนัก พระภิกษุจันทร์ได้ไปเยี่ยมและเฝ้าพยาบาลอาจารย์ ท่านอาจารย์จึงได้มอบ คัมภีร์ศาสตร์ประเภท ชื่อมหาโยคีมันตระประเภทให้ และแนะนําให้เอาไปทําพิธีเล่าเรียน ในที่สงัด บอกว่าเมื่อท่องบ่นมนต์นั้นจบแล้ว จะทําให้เป็นผู้มีสติปัญญา เฉลียว ฉลาด เฉียบแหลม สามารถเล่า เรียนและรอบรู้วิทยาการและพระธรรมได้โดยรวดเร็วเมื่อได้มอบคัมภีร์นั้นให้แก่ภิกษุจันทร์แล้ว ครูบา ผู้เป็นอาจารย์ก็ถึงมรณภาพ หลังจากที่ได้จัดการฌาปนกิจศพพระอาจารย์แล้ว พระภิกษุจันทร์ก็ได้ เที่ยวแสวงหาสถานที่ที่สงัด เพื่อจะทําพิธีศึกษาเวทมนตร์จากพระคัมภีร์ ที่ท่านอาจารย์มอบให้ พระภิกษุจันทร์ได้ถามชาวบ้านและวานชาวบ้านให้ส่งไปยังสถานที่อันสงัดบนดอยสุเทพ ซึ่งชาวบ้านก็ ได้ไปส่ง ณ ศาลาฤาษีสุเทพ ซึ่งอยู่ห่างจากวัดไผ่ 11 กอ ประมาณ 2,000 วา (4 ก.ม.) ครั้นถึงที่นั่นแล้ว พระภิกษุจันทร์ก็บอกชาวบ้านให้กลับ ส่วนตัวท่านเองก็เริ่มทําพิธีท่องมันตระประเภทให้ได้ครบพัน คาบ สมจิตตสูตร ห้าร้อยคาบ มหาสมัยสูตรห้าร้อยคาบ ธรรมจักรสูตรห้าร้อยคาบ พอถึงราตรีที่สาม ท่านก็สวดมนต์มหาสมัยสูตรอีกห้าร้อยคาบ พอสวดถึงตอนที่ว่า เขมิยาตุสิตายามา ท่านก็มองเห็นแสง สว่างตรงมาข้างหน้าแสงนั้นเคลื่อนใกล้เข้ามาๆ จนแลเห็นชัด ปรากฏเป็นรูปคล้ายมนุษย์และสวยงาม อย่างยิ่งมายืนอยู่ตรงหน้าท่านแล้วถามว่า ท่านมาทําอะไร และปรารถนาอะไร พระภิกษุจันทร์ตอบว่า “เรามาทําศาสตรเภท เพื่ออยากได้สติปัญญาอันเฉียบแหลม เฉลียวฉลาด”ผู้ประหลาดนั้นจึงถามอีกว่า ท่านจะอยู่ในพรหมจรรย์ตลอดชีวิตหรือ หรือว่ายังจะลาสิกขาไปเป็นฆราวาสเมื่อเรียนศาสตร์เภทจบ แล้ว พระภิกษุจันทร์ตอบว่า “เราถวายชีวิตของเราแล้วเพื่อพระพุทธศาสนา” ผู้ประหลาดนั้นจึงพูดว่า “เราจะถวายของสิ่งหนึ่งให้แก่ท่าน ท่านจงยื่นมือมารับเอาเถอะ” แล้วก็ส่งของสิ่งหนึ่งให้ (ในตํานาน กล่าวว่าสิ่งนั้นเป็นหมากเคี้ยวคือหมากที่ทําเป็นคําๆ) แก่พระภิกษุจันทร์ๆ แลเห็นแขนและมือที่ยื่นส่ง ของมานั้นสวยงามผุดผ่องและนิ่มนวลก็จับเอาทั้งมือทั้งหมากรูปประหลาดนั้น (เทวดาแปลง) ก็กล่าว เป็นคําคาถาว่า อสติกโรติ “ท่านจงหาสติมิได้เถิด”แล้วก็หายวับไปทันที แต่นั้นมาท่านภิกษุจันทร์ก๊ก ลายเป็นคนหลงๆ ลืมๆคล้ายกับคนเสียสติ เป็นไปด้วยเดชคําสาปของเทวดาแปลงนั้น เมื่อเห็นว่าถูก ทําลายพิธี และตนเองก็กลายเป็นคนสติเผลอไผลไปเช่นนี้ พระภิกษุจันทร์ก็กลับลงมาจําพรรษาอยู่ ณ วัดโพธิ์น้อยตามเดิม (วัดนี้ไม่ทราบว่าอยู่แห่งใด) เวลามีสติสัมปชัญญะดี สามารถเรียนพระไตรปิฎก ได้แม่นยํารวดเร็วมาก เรียนพระวินัยจบในเวลา 1 เดือน เรียนพระสูตรจบในเวลา 1 เดือน เรียนพระ


10 อภิธรรมจบภายในเวลา 1 เดือนกับ 15 วัน เมื่อเวลาสติท่านไม่สู้จะปรกติท่านจะเที่ยวจาริกไปในที่ สงบสงัด เพื่อบําเพ็ญภาวนาตามลําพัง ในสมัยนั้น มีพระเถระผู้ทรงคุณวุฒิและรอบรู้ในพระไตรปิฎก อยู่ 6 องค์ด้วยกันคือ พระธัมมะเทโวเถระ พระติกขปัญโญเถระ สององค์นี้จําพรรษาอยู่ ณ วัดสวน ดอก พระอาเมทะเถระ พระจักปัญโญคุฑะเถระ เป็นพระเถระชาวพุกาม จําพรรษาอยู่ ณ วัดเสขาน (ไม่ทราบว่าอยู่แห่งใด) พระพุทธติสโสริยะเถระ พระโสมาติสโสริยะเถระ สององค์นี้เป็นพระชาวใต้ (ไทยกลาง) จําพรรษาอยู่ ณ วัดปุยันโต (ไม่ทราบว่าอยู่แห่งใด) พระเถระทั้ง 6 รูปนี้ แม้จะรอบรู้ใน พระไตรปิฎกก็จริง แต่ก็สู้ท่านมหาจันทร์ไม่ได้ ในครั้งนั้นมักจะมีพระเถระจากต่างเมืองมาถาม ปัญหา ธรรมอยู่เสมอ และทุกครั้งที่มีการถกเถียงปัญหาธรรมที่ลึกซึ้ง ก็ต้องอาศัยพระเถระจันทร์เป็นผู้เฉลย ปัญหานั้นให้ด้วยความเชี่ยวชาญ และรอบรู้ของท่านมหาเถระจันทร์นี้เองทําให้ พระเจ้ากือนาธรรมิก ราชทรงโปรดปราน เป็นอันมาก แต่พระมหาเถระจันทร์ชอบจาริกอยู่ตามป่าดง เพื่อหาที่สงบสงัด บําเพ็ญภาวนาอยู่เป็นนิจ ไม่มีที่อยู่ที่แน่นอน เวลาต้องการตัวโต้ตอบปัญหาหรือศึกษาข้อธรรม มักจะ ตามไม่ค่อยพบ หรือพบได้ยากมาก พระเจ้ากือนาธรรมิกราชประสงค์จะให้พระมหาจันทร์อยู่เป็นที่ สะดวกต่อการติดต่อและพบปะง่าย จึงโปรดให้สร้างอุโมงค์ใหญ่ขึ้นที่ด้านเหนือฐานพระเจดีย์ใหญ่ในวัด เวฬุกัฏฐาราม สร้างเสร็จแล้วให้เป็นที่อยู่ของพระมหาจันทร์ มหาชนทั้งหลายจึงเรียกกันว่า “วัดอุโมงค์ เถรจันทร์” ตั้งแต่บัดนั้นมาถึงทุกวันนี้ พระมหาจันทร์อยู่จําพรรษาเจริญศรัทธาพระมหากษัตริย์ บรมวงศานุวงศ์ และประชาชน อยู่ที่วัดอุโมงค์หลายสิบปี ในที่สุดก็ มรณภาพ ลงด้วยอายุได้ประมาณ 77 ปี วัดพระสิงห์วรวิหาร วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เป็นพระอารามหลวงชั้น เอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตําบลพระสิงห์ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัดสําคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นประดิษฐานพระสิงห์ (พระ พุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนาพระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสน รู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง" ประวัติการสร้างวัด พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๘๘ ขั้นแรก ให้สร้างเจดีย์สูง ๒๓ วา เพื่อบรรจุพระอัฐิ ของพญาคําฟู พระราชบิดา ต่อมาอีกสองปีจึงสร้างพระ อาราม เสนาสนวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร และกุฎิสงฆ์เรียบร้อย ทรงตั้งชื่อว่า "วัดลี" ต่อมา บริเวณหน้าวัดมีตลาดเกิดขึ้นชาวบ้านเรียกว่า "ตลาดลีเชียง" แล้วเรียกวัดว่า "วัดลีเชียง" และ "วัดลี เชียงพระ" ระหว่างปี พ.ศ. ๑๙๓๑ - ๑๙๕๔ สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ขึ้นครองนครเชียงใหม่โปรดให้ อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงราย เมื่อขบวนช้างอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาถึงหน้าวัดลีเชียง ก็ไม่ยอมเดินทางต่อพระเจ้าแสนเมืองมาจึงให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐาน วัดลีเชียงประชาชน ทางเหนือนิยมเรียก"พระพุทธสิหิงค์" สั้นๆ ว่า "พระสิงห์" จึงเรียกชื่อวัดตามพระพุทธรูปว่า "วัดพระ สิงห์" เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๓๕๔ พระเจ้ากาวิละได้โปรดฯ ให้สร้างอุโบสถ และหอไตรขึ้นโดยมีลักษณะเป็น


11 อาคารทรงล้านนาขนาดใหญ่ ตรงกลางอาคารมีกู่ซึ่งแต่เดิมคงเป็นสถานที่ที่ประดิษฐานพระประธานใน พงศาวดารโยนก ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า ท้าวมหาพรหมซึ่งเป็นพระอนุชาของพระญา แสนเมืองมาไม่พอพระทัยที่พระองค์ได้ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ จึงยกกองทัพมาหมายจะยึดเมืองแต่ก็ พ่ายแพ้แก่พระญาแสนเมืองมา ท้าวมหาพรหมจึงหนีไปอยู่ที่เมืองกําแพงเพชรชั่วคราว ภายหลัง พระองค์ได้นําพระพุทธสิหิงค์มาถวายแด่พระญาแสนเมืองมาซึ่งพระญาแสนเมืองมาก็มิได้ผูกพยาบาท รับเอาพระพุทธสิหิงค์ไว้และนําไปประดิษฐานที่วัดลีเชียงพระ และเปลี่ยนชื่อวัดตามชื่อพระพุทธรูป ดังกล่าว อนึ่ง มีหลักฐานเพิ่มเติมว่าในสมัยของพระเมืองแก้วกษัตริย์ลําดับที่๑๑ ในราชวงศ์มังราย ผู้ ครองเมืองเชียงใหม่ระหว่างปี พ . ศ . ๒๐๓๘ – ๒๐๖๘ พระองค์ได้บูรณะวัดพระสิงห์โดยการสร้าง วิหารการเปรียญ กุฏิสงฆ์และกู่ลายขึ้น ครั้นถึงสมัยของพระเมกุฏวิสุทธิวงศ์กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่ง ราชวงศ์มังราย ก่อนที่จะเสียเอกราชให้แก่พม่าในปี พ . ศ . ๒๑๐๑ มีการค้นพบข้อความว่าพระเมกุฏ ฯ ได้อาราธนาสมเด็จเจ้าศรีนันทะแห่งวัดพระสิงห์ พระมหาสังฆราชวัดไชยพระเกียรติและพระรัต ปัญญา วัดแม่กิ ออกถวายการต้อนรับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง และหลังจากนี้ เชียงใหม่ก็ตกอยู่ ภายใต้อํานาจของพม่าถึงสองร้อยกว่าปีเมื่อพระญากาวิละได้เข้าทําการกอบกู้เมืองเชียงใหม่ได้สําเร็จ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ วัดพระสิงห์ก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา คือในปี พ . ศ . ๒๓๖๐ พระญาธัมม ลังกาหรือเจ้าช้างเผือก อนุชาของพระเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ลําดับที่ ๒ แห่งราชวงศ์เจ้า เจ็ดตน โปรดให้บูรณะพระอุโบสถและพระเจดีย์ขึ้น ดังปรากฏใน ตํานานพื้นเมืองเชียงใหม่ ว่า “ อยู่ มาในสกราช ๑๑๗๙ นั้นองค์พระเปนเจ้ามหาเสตหัตถิสุวัณณปทุมาเจ้าช้างเผือกดอกบัวคํา มีพระราช เจตนาบุญญาภิสังขาร พระเป็นเจ้ามีอาชญาปล่าวเตือนเจ้านายลูกหลานเสนา อามาจจ์ไพร่ราษฎอร ทังหลาย ตัดฟันยังไม้เสาขื่อแปเครื่อง พร้อมแล้ว เถิงเดือน ๖ ออก ๑๓ ค่ํา เมงวัน ๕ ไทร้วงไส้ ยามตูด เช้า ลคนาเถิงมีนอาโปราสี ค็ปกวิหารหลวงจอมทองยามนั้น ยกมัณฑัปปะหออินทขีล แลแรกก่อเจติย ธาตุเจ้ายังวัดพระสิงห์ตั้งกลางโรงอุโบสถภิกขุนี ค็วันเดียวยามเดียวนั้น ” และในปีต่อมา ทรงโปรดให้ บรรจุพระบรมธาตุในเจดีย์ของวัดพระสิงห์ซึ่งสร้างขึ้นใหม่นั้น ดังข้อความที่ปรากฏในเรื่องเดียวกันว่า “ เถิงสกราช ๑๑๘๐ปลีเปิกยี พระเปนเจ้าค็เอาพระชินธาตุเข้าประจุในเจติยะส้างใหม่ที่วัดพระสิงห์ใน วัน ๕ เดือน ๘ออก ๑๐ ค่ํา ” ต่อมาในปีศักราช ๑๑๘๒ (พ.ศ. ๒๓๖๓ ) พระญาธัมมลังกา เจ้าผู้ครอง นครเชียงใหม่ ลําดับที่ ๒ แห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ได้โปรดให้สร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่งขึ้น เพื่อ ประดิษฐานที่วิหารวัดพระสิงห์ ดังข้อความใน ตํานานพื้นเมืองเชียงใหม่ ว่า “ ในสกราช ๑๑๘๒ ตัว ปลีกดสี สกราชเดียวนี้พระเปนเจ้าส้างพระพุทธรูปเจ้าองค์หลวงในวิหารวัดพระสิงห์แรกก่อเดือน ๑๒ เพง เมงวัน ๕ ไทเปิกเส็ด หั้นแล ”ครั้นถึงสมัยของพระญาคําฝั้น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ลําดับที่ ๓ แห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน( พ . ศ . ๒๓๖๖ – ๒๓๖๘ ) ทรงโปรดให้บูรณะกู่ลายซึ่งพระเมืองแก้วทรงสร้าง เอาไว้โดยให้ช่างขุดตกแต่งกู่ขึ้นใหม่ ซึ่งในครั้งนั้น มีการค้นพบโบราณวัตถุล้ําค่าจํานวนมาก เช่น หีบ ทองคําบรรจุพระพุทธรูปเงิน พระพุทธรูปทองคํา พระพุทธรูปทองแดง แก้วอันมีค่าและออมทองคํา เป็นต้น จากนั้นในสมัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ( พ . ศ . ๒๕๑๖ – ๒๔๓๙ ) มีการซ่อมแซมวิหาร ลายคํา และในสมัยของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ ( พ . ศ . ๒๔๔๔ – ๒๔๕๒ ) มีการบูรณปฏิสังขรณ์ วิหารหลวงขึ้นอีกครั้งหนึ่งใน พ . ศ . ๒๔๔๙ ต่อมาในปี พ . ศ . ๒๔๖๗ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนคร เชียงใหม่องค์สุดท้าย พร้อมด้วยครูบาศรีวิชัยและปราชาชนชาวเชียงใหม่ได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์วัด พระสิงห์ขึ้นใหม่ โดยในครั้งนั้นมีการขุดพบสิ่งของมีค่ามากมาย เช่น แผ่นทองคําจารึกเรื่องราวต่างๆ


12 จํานวนหลายสิบชิ้น โกศบรรจุอัฐิ ( สันนิษฐานว่าเป็นอัฐิของพระญาคําฟู ) เป็นต้น แต่สิ่งของเหล่านี้ได้ สูญหายไปในช่วงที่เกิดสงครามเอเชียบูรพา อนึ่ง เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระนางเจ้ารําไพพรรณี ได้เสด็จประพาสเชียงใหม่ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จมานมัสการพระ พุทธสิหิงค์ และร่วมเป็นประธานกับเจ้าแก้วนวรัฐปฏิสังขรณ์หอพระไตรปิฎกรวมทั้งโรงอุโบสถของวัด นี้ ซึ่งบูรณะเสร็จในปี พ . ศ . ๒๔๗๒ และมีการจัดงานเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ ต่อมาในปี พ . ศ . ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วัดพระสิงห์เป็นพระอาราม หลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ซึ่งในปัจจุบันนี้วัดพระสิงห์วรมหาวิหารก็ยังคงฐานะเป็นพระอาราม หลวง อีกทั้งเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุด มีภิกษุสามเณรมากกว่าวัดอื่นๆในจังหวัดเชียงใหม่ สืบเนื่องมาจากการ ทีก่ ษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ นับตั้งแต่ราชวงศ์มังรายมาจนถึงวงศ์เจ้าเจ็ดตน ได้ให้ความอุปถัมภ์วัด พระสิงห์มาโดยตลอด โบราณวัตถุสถาน พระวิหารหลวงมีขนาดใหญ่หลังคาซ้อนลดชั้น ๓ ชั้น ๓ ตับ ตัวอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าเจาะช่องประตู ๓ ช่อง ประตูกลางใหญ่กว่าประตูด้านซ้ายและขวา ด้านสกัดมีหน้าต่างด้าน ละ ๗ ช่อง ประตูทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีลายปูนปั้นรูปนาคราชแผ่พังพาน ประดับที่เชิงบันได หอไตร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งอยู่บนฐานศิลาขาว สูง หลังคาทั้งด้านหน้าและด้านหลังลด ชั้น ๒ ชั้น ๒ ตับ ตัวอาคารแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนส่วนล่างเป็นปูน ด้านข้างแต่ละด้านเจาะหน้าต่างเป็น ๔ ช่อง ระหว่างช่องหน้าต่างประดับด้วยลายปูนปั้นเป็นเทพพนมยืน ด้านบนและด้านล่างนี้มีลายปูน ปั้นเป็นรูปสัตว์ หิมพานต์ ส่วนที่สองเป็นไม้ มีลายสลักไม้ตีกรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีลายเขียน ตรงส่วนบน ส่วนล่างปิดกระจกเป็นรูปดอกไม้ พระอุโบสถ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขโถงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีหน้าต่างขนาดใหญ่ ตีเป็นช่อง ๆ แบบไม้ระแนง แต่ภายในเป็นหน้าต่างจริง หลังคาทั้งด้านหน้าและหลัง ลด ๓ ชั้นๆ ละ ๒ตับ ซุ้มประตูทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แกะไม้ปิดทองเป็นรูปพญานาค ๒ ตัว เศียรนาค แผ่ไปเป็น ฐานสามเหลี่ยม ส่วนลําตัวนั้นเกี่ยวพันกันอยู่ภายในกรอบสามเหลี่ยมนี้ แล้วให้หางนาคมาบรรจบกัน ที่ส่วนยอดของซุ้ม วิหารลายคํา เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขโถงทางด้านหน้า หลังคาด้านหน้าลดชั้น๓ชั้น ๒ ตับ ด้านหลังลดชั้น ๒ ชั้น ๒ ตับซุ้มประตูแกะสลักไม้ปิดทองภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ และ ฝาผนังด้านในมีภาพเขียนอยู่โดยรอบ ซึ่งแปลกไปจากภาพเขียนที่อื่น คือ เป็นนิทานชาดก เรื่องสังข์ ทองและสุวรรณหงส์ โดยถ้ายึดเอาพระพุทธรูปประธานในวิหารเป็นหลัก ผนังด้านซ้ายจะเขียน เรื่องสังข์ทอง ส่วนผนังด้านขวาเขียนเรื่องสุวรรณหงส์


13 ประวัติวัดบวกครกหลวง วัดบวกครกหลวง เป็นวัดในสังกัดมหานิกาย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ๒๔ บ้านบวกครกหลวง ถนน สายเชียงใหม่-สันกําแพง หมู่ที่ ๑ ตําบลท่าศาลา อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วัดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แม้จากการสอบถามชาวบ้านและผู้เฒ่าผู้ แก่ก็ ไม่ทราบประวัติความเป็นมา และไม่ทราบว่าสร้างมาแต่ครั้งใด ทราบแต่เพียงว่าก่อนที่จะเปลี่ยน มาเป็น วัดบวกครกหลวงในปัจจุบัน วัดนี้เดิมชื่อ วัดม่วงคํา ส่วนชื่อว่า บวกครกหลวง นี้เป็นภาษา พื้นเมือง คําว่า บวกครก แปลว่า หลุม คําว่า หลวง แปลว่า ใหญ่ ซึ่งอาจเป็นการตั้งชื่อตามชื่อ หมู่บ้านหรือสภาพพื้นที่หรือสภาพแวดล้อม หรืออาจมาจากนิทานพื้นบ้านของหมู่บ้านที่เล่าต่อมาว่า นานมาแล้วหมู่บ้านบวกครกหลวงแห่งนี้ ได้เกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนอดอยาก ดังนั้นเจ้านาย ทางเชียงใหม่จึงนําข้าวออกมาจากท้องพระคลัง และได้ขุดหลุมขนาดใหญ่เพื่อตําข้าวแจกจ่ายแก่ ประชาชน ซึ่งอาจเป็นที่มาของการตั้งชื่อวัดจากเรื่องราวในนิทานพื้นบ้านก็เป็นได้ วัดบวกครกหลวงนี้ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เมื่อราว พ.ศ.๒๔๘๖ สมัยเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผูค้ รอง นครเชียงใหม่องค์สุดท้าย มีความสําคัญในแง่ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ซึง่ ได้แก่ พระวิหารที่มีภาพ จิตรกรรมฝาผนังที่งดงาม จากลักษณะทรวดทรง และประดับลวดลายของพระวิหาร รวมทั้งภาพ จิตรกรรมพอจะประมาณได้ว่าคงสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๔๐๐ ลงมา เจ้าอาวาสที่เคยบริหารและปกครองวัดบวกครกหลวงที่ทราบนามคือ ๑. พระอธิการหลวงแก้ว ๒. พระอธิการบุญยืน ๓. พระอธิการทองสุข ๔. พระอธิการมานิตย์ ๕. พระอธิการสมศักดิ์ กิติโก ๖. พระอธิการทวีศักดิ์ ๗. พระครูแดง สุธัมโม (ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๔ เป็นต้นมา) พระวิหาร วิหารวัดบวกครกหลวงเป็นสถาปัตยกรรมล้านนา สกุลช่างเชียงใหม่ มีอายุ ประมาณ ๑๐๐ กว่าปีมาแล้ว วิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก จากคําบอกเล่าของท่านพระครู แดง สุธัมโม กล่าวว่าวิหารแห่งนี้ เจ้าภาตินัยแผ่นฟ้าซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงรัชกาลที่ ๕ เป็นพระญาติวงศ์ กับเจ้าแก้วนวรัฐเป็น ผู้อุปถัมภ์ให้สร้าง ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน มีขนาดกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาว ๒๕ เมตร เหนือผนังปูนขึ้นไป เป็นลูกกรงไม้กลึงเป็นช่องแสงตลอดแนว แสงที่ผ่านเข้ามาทางนี้เป็นแสงสะท้อนจากลานทราย ภายนอก จึงทําให้ความสว่างภายในเป็นบรรยากาศนุ่มนวลกว่าแสงตรงทั่วไป อีกทั้งยังมีหน้าต่างที่มา เจาะเพิ่มขึ้น ในคราวบูรณปฏิสังขรณ์ วิหารในปี พ.ศ.๒๔๖๘ ภายในวิหารจึงไม่มืดนัก แต่การเจาะ


14 หน้าต่างภายหลังนี้ ก็ทําให้ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่มีอยู่ต้องถูกทําลายลงไป ต่อเนื่องและขาดหายไป

เรื่องราวในภาพจึงไม่

จิตรกรรมวัดบวกครกหลวงนี้เป็นงานฝีมือของช่างไทใหญ่ ที่ได้ถ่ายทอดถึงชีวิตพื้นบ้าน รูปแบบสถาปัตยกรรม และการแต่งกายแบบพม่า และไทใหญ่ไว้ด้วย เช่น ถ้าเป็นการแต่งกายของ ชาวบ้านจะมีลักษณะเป็นแบบคนพื้นเมือง แต่ถ้าเป็นเจ้าก็จะเป็นการแต่งกายแบบพม่าหรือไทใหญ่ รวมถึงข้าวของเครื่องใช้แบบชาวเมืองก็ยังมีให้เห็นอยู่ในภาพด้วย เช่นจุนโอ๊ก, ขันซี่ (ขันเงิน, ขันทอง) ซึ่งเป็นเครื่องใช้ของชาวล้านนา ผ้าซิ่นแบบคนเมือง หรือผ้าห่มคลุมตัวเวลาหนาวที่เรียกว่า ตุ๋ม แผนผังวิหารแห่งนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าและด้านหลังมีการลดขนาดความกว้าง ของห้องเป็น ๓ ช่วงเพื่อให้สอดคล้องกับชั้นลดของหลังคา ด้านหลังทําเป็นฐานชุกชีไว้ประดิษฐานพระ ประธานและพระพุทธรูป ด้านข้างเป็นที่ตั้งธรรมาสน์คาดว่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างวิหาร ธรรมาสน์มีลักษณะเฉพาะตามแบบล้านนา เป็นรูปทรงปราสาท ประดับตกแต่งด้วยลายพันธุ์พฤกษา และยังมีสิ่งที่ ถือว่าเป็นองค์ประกอบสําคัญอย่างหนึ่งที่จะพบได้ในวิหารล้านนาทั่วไปคือ สัตตภัณฑ์ อันเป็นเครื่องสักการบูชาภูเขาทั้ง ๑๔ ในไตรภูมิตามความเชื่อของชาวล้านนา จะใช้กันในวันพระ หรือวันสําคัญทางศาสนาโดยชาวบ้านจะนําเทียนมาจุดบนสัตตภัณฑ์นี้ มีลักษณะสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ตรงกลางทําเป็นรูปเทพพนมและมีลายพันธุ์พฤกษา ด้านหลังรูปเทพพนมประดับด้วยแก้วอังวะ (กระจกจีน) ด้านข้างทําเป็นรูปมกรคายนาคสัตตภัณฑ์นี้จะตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธานอีกทีหนึ่ง วิหารวัดบวกครกหลวงเดิมทีเป็นอาคารโถงเช่นเดียวกับอาคารล้านนาทั่วไป ซึ่งสถาปัตยกรรม ล้านนาส่วนใหญ่จะเน้นให้เห็นโครงสร้างของไม้ และเครื่องบนหลังคาใช้เสาในการรับน้ําหนักของ หลังคาทั้งหมด โดยเฉพาะโครงสร้างไม้แบบม้าตั่งไหม ซึ่งเป็นการสร้างตามคติดั้งเดิมอันเป็น ลักษณะเฉพาะของล้านนา จึงจะเห็นว่าภายในวิหารวัดบวกครกหลวงนี้จะมีเสาขนาดใหญ่อยู่กลาง วิหารถึง ๑๒ ต้น ภายหลังจึงได้มีการทําผนังทึบขึ้นมา ๓ ด้าน คือ ด้านข้างและด้านหลัง แต่มิได้ เป็นการรับน้ําหนักอาคาร ส่วนด้านหน้าเปิดโล่งไว้ และต่อมาได้มีการสร้างประตูบานใหญ่ขึ้นด้านหน้า เพื่อป้องกันโจรผู้ร้าย ประตูนี้ มีการแกะสลักเป็นรูปทวารบาลปิดทองอย่างงดงาม หลังคาวิหารเป็นหลังคาซ้อนกัน ๓ ชั้น ประดับด้วยกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าและหางหงส์เป็น รูปนาคตามคติชาวล้านนาที่เชื่อว่า วิหารเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ ต้องมีนาคคอยเฝ้าดูแลอยู่ จึงมี การประดับตกแต่งตัววิหารด้วยนาค ส่วนลานทรายที่อยู่รายรอบวิหารหรือศาสนสถานอื่นๆ ของ ล้านนาเปรียบเสมือนว่าเป็นน้ําหรือนทีสมุทร ดังนั้นจะเห็นว่า ทางเข้าด้านหน้าวิหารทําเป็นราวบันได รูปมกรคายนาคด้วยและนาคที่นี่ก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวคือ เป็นนาคปากนกแก้วซึ่งมีเพียงแห่ง เดียว ส่วนมุขโถงด้านหน้าวิหารเป็นการสร้างขึ้นมาใหม่ในสมัยที่มีการบูรณะ หน้าบันวิหารเป็นหน้า บันสลักไม้แบ่งเป็นช่องแบบฝาปะกน แต่ละช่องแกะลายประดับกระจกสวยงาม และมีจารึกบอกปี พ.ศ.๒๔๖๘ สันนิษฐานว่าเป็นปีที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์ ผนังด้านนอกของตัวอาคารจะมีปูนปั้นรูปเทพพนมประดับอยู่ตามมุม ด้านบนเป็นคันทวย ลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ทําด้วยไม้ มีอยู่ ๒ ลายคือ คันทวยด้านหน้าทั้งสองข้างทําเป็นรูปหนุมาน เหยียบเมฆ ส่วนในตําแหน่งอื่นๆ จะเป็นลายเมฆไหลเท่านั้น


15 นอกจากวิหารแล้วที่วัดบวกครกหลวงแห่งนี้ยังมีอาคารเสนาสนะอื่นๆ ที่น่าสนใจคือ อุโบสถ ที่มีรูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนาศาลาบําเพ็ญกุศลกุฏีสงฆ์ และเจดีย์ทรงปราสาทมีเรือนธาตุ ๔ ด้าน บุด้วยทองจังโกซึ่งอยู่ด้านหลังวิหารด้วย 2. ความเป็นมาของ Computer Graphic ในปี ค.ศ. 1940 คอมพิวเตอร์จะแสดงภาพกราฟิกโดยใช้เครื่องพิมพ์ โดยรูปภาพที่ได้จะเป็น ภาพที่เกิดจากการใช้ตัวอักษรมาประกอบกัน ในปี ค.ศ. 1950 สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาซูเซสต์ (Massachusetts Institue Technology : MIT] ได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหลอดภาพ CRT(Cathode Ray Tube) เป็นส่วนแสดงผลแทนเครื่องพิมพ์ เนื่องจากมีความต้องการที่จะให้การ ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มีความเร็วยิ่งขึ้นในปี ค.ศ. 1950 ระบบ SAGE (Semi Automatic Ground Environment) ของกองทัพอากาศ สหรัฐอเมริกาสามารถแปลงสัญญาณจาก เรดาร์ให้เป็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์ได้ ระบบนี้เป็นระบบกราฟิก เครื่องแรกที่ใช้ปากกาแสง (Light Pen : เป็นอุปกรณ์สําหรับรับข้อมูลชนิดหนึ่ง) สําหรับการเลือกสัญลักษณ์ บนจอภาพได้ ในปี ค.ศ. 1950 - 1960 มีการทําวิจัยเรื่องเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์เป็นจํานวนมาก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น ต้นแบบของระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกสมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1963 วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ของ อีวาน ซูเธอร์แลนด์ (Ivan Sutherland) เป็นการพัฒนาระบบการวาดเส้น ซึ่งผู้ใช้สามารถกําหนด จุดบนจอภาพได้โดยตรงโดยการใช้ปากกาแสง จากนั้นระบบกราฟิกจะสามารถลากเส้นเชื่อมจุดต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน กลายเป็นภาพโครงสร้างรูปหลายเหลี่ยม ระบบนี้ได้กลายเป็นหลักการพื้นฐานของ โปรแกรมช่วยในการออกแบบระบบงานต่างๆ เช่น การออกแบบระบบไฟฟ้า และการออกแบบ เครื่องจักร เป็นต้น ในระบบหลอดภาพ CRT สมัยแรกนั้น เราสามารถวาดเส้นตรงระหว่างจุดสองจุด บนจอภาพได้ แต่ภาพเส้นที่วาดจะจางหายไปจากจอภาพอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีการวาดซ้ําลงที่เดิม หลายๆ ครั้งในหนึ่งวินาที เพื่อให้เราสามารถมองเห็นว่าเส้นไม่จางหายไป ซึ่งระบบแบบนี้มีราคาแพง มากในช่วงต้นปี ค.ศ. 1960 แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1965 จึงมีราคาถูกลงเนื่องจากบริษัท ไอบีเอ็ม (IBM) ได้ผลิตออกมาขายเป็นจํานวนมากในราคาเครื่องละ 100,000 ดอลลาร์ จากการที่ราคาของจอภาพถูก ลงมากนี่เอง ทําให้สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มเป็นที่สนใจของคนทั่วไป ในปี ค.ศ. 1968 บริษัท เทค โทรนิกส์ (Tektronix) ได้ผลิตจอภาพแบบเก็บภาพไว้ได้จนกว่าต้องการจะลบ (Storage - Tube CRT) ซึ่งระบบนี้ไม่ต้องการหน่วยความจําและระบบการวาดซ้ํา จึงทําให้ราคาถูกลงมาก บริษัทตั้งราคาขาย ไว้เพียง 15,000 ดอลลาร์เท่านั้น จอภาพแบบนี้จึงเป็นที่นิยมกันมากในช่วงเวลา 5 ปี ต่อมา กลางปี ค.ศ. 1970 เป็นช่วงเวลาที่อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์เริ่มมีราคาลดลงมาก ทําให้ฮาร์ดแวร์ของระบบ คอมพิวเตอร์กราฟิกมีราคาถูกลงตามไปด้วย ผู้ใช้ทั่วไปจึงสามารถนํามาใช้ในงานของตนได้ ทําให้การ ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มแพร่หลายไปในงานด้านต่างๆ มากขึ้น สําหรับซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกก็ ได้มีการพัฒนาควบคู่มากับฮาร์ดแวร์เช่นกัน ซึ่งมีการเริ่มต้นจาก อีวาน ซูเธอร์แลนด์ ผู้ซึ่งได้ออกแบบ วิธีการหลักๆ รวมทั้งโครงสร้างข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ต่อมาก็มี สตีเฟน คูน (Steven Coons, 1966) และ ปิแอร์ เบเซอร์ (Pierre Bazier , 1972) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเส้นโค้งและ


16 ภาพพื้นผิว ทําให้ปัจจุบันเราสามารถสร้างภาพ 3 มิติ ได้สมจริงสมจังมากขึ้น ในช่วง 10 ปีต่อมาได้มี การพัฒนาวิธีการสร้างภาพมากมายสําหรับใช้ในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก และปัจจุบันเราก็ได้เห็น ผลงานที่สวยงามและแปลกตา ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิจัยต่างๆ ในอดีตนั่นเอง ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์กราฟิก มีการนําคอมพิวเตอร์กราฟิกมาใช้ในงานต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น 1. ใช้แสดงผลงานด้วยภาพแทนการแสดงด้วยข้อความ ซึ่งช่วยให้เข้าใจได้ง่าย และน่าสนใจ มากกว่า หลายหน่วยงานเลือกใช้วิธีนี้สําหรับแนะนําหน่วยงาน เสนอโครงการและแสดงผลงาน 2. ใช้แสดงแผนที่ แผนผัง และภาพของสิ่งต่างๆ ซึ่งภาพเหล่านี้ไม่สามารถแสดงในลักษณะอื่น ได้ นอกจากการแสดงด้วยภาพเท่านั้น 3. ใช้ในการออกแบทางด้านต่างๆ เช่น ออกแบบบ้าน รถยนต์ เครื่องจักร เครื่องแต่งกาย การ แต่งหน้า และเครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆ ซึ่งสามารถทําได้รวดเร็วสวยงามและประหยัดค่าใช้จ่าย โดย เฉพาะงานออกแบบ ที่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเพื่อเปรียบเทียบหาแบบที่เหมาะสมที่สุด การใช้ คอมพิวเตอร์กราฟิกจะช่วยให้เกิดความสะดวก และทําได้รวดเร็วมาก 4. ได้มีการนําคอมพิวเตอร์กราฟิกมาช่วยทางการด้านเรียนการสอน โดยเฉพาะในวิชาที่ต้อง ใช้ภาพ แผนผัง หรือแผนที่ประกอบ บทเรียนคอมพิวเตอร์สามารถแสดงภาพส่วนประกอบและการ ทํางานของเครื่องยนต์ หรือเครื่องมือที่มีความสลับซับซ้อนให้เห็นได้ง่ายขึ้น 5. คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนํามาใช้ในการจําลองสถานการณ์เพื่อหาคําตอบว่า ถ้าสถานการณ์ เป็นอย่างนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ผู้ผลิตรถยนต์ใช้ทดสอบว่าถ้ารถยนต์รุ่นนี้พุ่ง เข้าชนกําแพงด้วย ความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเกิดความเสียหายที่บริเวณไหน ผู้โดยสารจะเป็นอย่างไร การ จําลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกช่วยให้ทราบผลได้รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่ทําให้ เกิดอันตราย 6. คอมพิวเตอร์กราฟิกสามารถนํามาสร้างภาพนิ่ง ภาพสไลด์ ภาพยนต์ และรายการวิดีโอ ได้ มีภาพยนต์แนววิทยาศาสตร์หลายเรื่องใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกสร้างฉากและตัวละคร ซึ่งทําให้ดูสมจริง ได้ดีกว่าการสร้างด้วยวิธีอื่น 7. คอมพิวเตอร์กราฟิกที่มีผู้รู้จัก และนิยมใช้กันมากคงจะได้แก่ เกมส์คอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน นี้คงมีคนจํานวนน้อยเท่านั้นที่ไม่เคยเห็นหรือรู้จักเกมส์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบหนึ่งที่ทําให้เกมส์ สนุกและน่าสนใจก็คือ ภาพของฉากและตัวละครในแกมซึ่งสร้างโดยคอมพิวเตอร์กราฟิก


17 คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงาน การออกแบบกับคอมพิวเตอร์กราฟิก คอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ได้ถูกนํามาใช้ในการออกแบบมาเป็นเวลานาน เราคงจะเคยได้ยินคํา ว่า CAD (Computer–Aided Design) ซึ่งเป็นโปรแกรมสําหรับช่วยในการออกแบบทางวิศวกรรม โปรแกรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ออกแบบหรือวิศวกรออกแบบงานต่างๆได้สะดวกขึ้น กล่าวคือ ผู้ออกแบบ สามารถเขียนเป็นแบบลายเส้นลงสี แสงเงา เพื่อให้ดูคล้ายกับของจริงได้นอกจากนี้แล้วเมื่อผู้ออกแบบ กําหนดขนาดของวัตถุลงในระบบ CAD แล้ว ผู้ออกแบบยังสามารถย่อหรือขยายภาพนั้น หรือ ต้องการหมุนภาพไปในมุมต่างๆได้ด้วย การแก้ไขแบบก็ทําได้ง่ายและสะดวกกว่าการออกแบบบน กระดาษทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนํามาใช้ในการออกแบบ วงจรต่าง ๆ ผู้ออกแบบสามารถแก้ไข ตัดต่อ เพิ่มเติมวงจรได้โดยสะดวก นอกจากนี้ยังมีโปรแกรม สําหรับออกแบบ PCB (Printed Circuit Board) ซึ่งมีความสามารถจัดการให้แผ่นปริ้นต์มีขนาดที่จะ วางอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เหมาะสมที่สุดการออกแบบพาหนะต่าง ๆ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน หรือเครื่องจักรต่าง ๆ ในปัจจุบันก็ใช้ระบบ CAD นักออกแบบสามารถจะออกแบบส่วนย่อย ๆ แต่ละ ส่วนก่อน แล้วนํามาประกอบกันเป็นส่วนใหญ่ขึ้นจนเป็นเครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ต้องการได้ นอกจากนี้ ในบางระบบยังสามารถที่จะทดสอบแบบจําลองที่ออกแบบไว้ได้ด้วย เช่น อาจจะออกแบบรถยนต์แล้ว นําโครงสร้างของรถที่ออกแบบนั้นมาจําลองการวิ่ง โดยให้วิ่งที่ความเร็วต่าง ๆ กันแล้วตรวจดูผลที่ได้ ซึ่งการทดลองแบบนี้สามารถทําได้ในระบบคอมพิวเตอร์และจะประหยัดกว่าการสร้างรถจริงๆ แล้วนํา ออกมาศึกษาทดสอบการวิ่ง การออกแบบโครงสร้าง เช่น ตึก บ้าน สะพาน หรือ โครงสร้างใดๆ ทาง วิศวกรรมโยธาและสถาปัตยกรรม ก็สามารถทําได้โดยใช้ CAD ช่วยในการออกแบบ หลังจากสถาปนิก ออกแบบโครงสร้างในแบบ 2 มิติ เสร็จแล้ว ระบบ CAD สามารถจัดการให้เป็นภาพ 3 มิติ และยัง สามารถแสดงภาพที่มุมมอง ต่างๆกัน ได้ตามที่ผู้ออกแบบต้องการ นอกจากนี้ในบางระบบสามารถ แสดงภาพให้ปรากฏต่อผู้ออกแบบราวกับว่าผู้ออกแบบสามารถเดินเข้าไปภายในอาคารที่ออกแบบได้ กราฟและแผนภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก คอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ถูกนํามาใช้ในการแสดงภาพกราฟและแผนภาพของข้อมูลได้เป็นอย่าง ดี โปรแกรมทางกราฟฟิกส์ทั่วไปในท้องตลาดจะเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพกราฟและแผนภาพ โปรแกรมเหล่านี้ยังสามารถสร้างกราฟได้หลายแบบ เช่น กราฟเส้น กราฟแท่ง และกราฟวงกลม นอกจากนี้ยังสามารถแสดงภาพกราฟได้ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติทําให้ภาพกราฟที่ได้ดูดีและ น่าสนใจกราฟและแผนภาพทางธุรกิจ เช่น กราฟหรือแผนภาพแสดงการเงินสถิติและข้อมูลทาง เศรษฐกิจ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารหรือผู้จัดการกิจการมาก เนื่องจากสามารถทําความเข้าใจกับ ข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเดิม ในงานวิจัยต่าง ๆ เช่น การศึกษาทางฟิสิกส์ กราฟและแผนภาพมี ส่วนช่วยให้นักวิจัยทําความเข้าใจกับข้อมูลได้ง่ายขึ้นเมื่อข้อมูลที่ต้องวิเคราะห์มีจํานวนมาก ระบบ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ หรือ GIS (Geographical Information System) ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการ แสดงข้อมูลในทํานองเดียวกับกราฟและแผนภาพข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกเก็บลงในระบบ


18 คอมพิวเตอร์ แล้วให้ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกจัดการแสดงข้อมูลเหล่านั้นออกมาทางจอภาพในรูป ของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ ภาพศิลป์กับคอมพิวเตอร์กราฟิก การวาดภาพในปัจจุบันนี้ใครๆก็สามารถวาดได้แล้ว โดยไม่ต้องใช้พู่กันกับจานสี แต่จะใช้ คอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์แทน ภาพที่วาดในระบบคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์นี้เราสามารถกําหนดสี แสงเงา รูป แบบลายเส้นที่ต้องการได้โดยง่าย ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์หลายชิ้นก็เป็นงานจากการใช้ คอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพก็คือ เราสามารถแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ ต้องการได้ง่าย นอกจากนี้เรายังสามารถนําภาพต่างๆ เก็บในระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้เครื่อง สแกนเนอร์ (SCANNER) แล้วนําภาพเหล่านั้นมาแก้ไข ภาพเคลื่อนไหวโดยใช้คอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์การ์ตูนและภาพยนตร์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์หรือภาพยนตร์ที่ใช้เทคนิคพิเศษ ต่าง ๆ ในปัจจุบันมีการนําคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาช่วยในการออกแบบและสร้างภาพเคลื่อนไหว (Computer Animation) มากขึ้น เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว และง่ายกว่าวิธีอื่น ๆ นอกจากนี้ ภาพที่ได้ยังดูสมจริงมากขึ้น เช่น ภาพยานอวกาศที่ปรากฏในภาพยนตร์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์ เป็นต้น การใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ช่วยให้ภาพที่อยู่ในจินตนาการของมนุษย์สามารถนําออกมาทํา ให้ปรากฏเป็นจริงได้ ภาพเคลื่อนไหวมีประโยชน์มากทั้งในระบบการศึกษา การอบรม การวิจัยและ การจําลองการทํางาน เช่น จําลองการขับรถ การขับเครื่องบิน เป็นต้น เกมคอมพิวเตอร์หรือวิดีโอเกม ก็ใช้หลักการทําภาพเคลื่อนไหวในคอมพิวเตอร์ กราฟฟิกส์เช่นกัน ภาพยนตร์กับคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ ความสําเร็จในการพัฒนาการแสดงผลเป็นภาพสี ในช่วงปลายทศวรรษที่ 70 ทําให้ คอมพิวเตอร์กราฟิกกลายมาเป็นเครื่องมือสําคัญสําหรับการพัฒนาสื่อประเภทอื่น โดยเฉพาะการสร้าง เป็นภาพยนตร์รวมทั้งนํามาใช้สร้างเทคนิคพิเศษ (Special Effect) ในระยะแรก ๆ ภาพเคลื่อนไหว คอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ถูกนํามาใช้กับโครงการอวกาศ ก่อน เช่น โครงการ วอยเอจเจอร์ (Voyager) ขององค์การบริหารการบินและอวกาศหรือนาซ่า สหรัฐอเมริกาในปลายทศวรรษที่ 70 ภาพเคลื่อนไหว ของโครงการนี้ได้จุดประกายความคิดในการนําคอมพิวเตอร์ กราฟฟิกส์มาใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อแสดง ให้เห็นการเดินทางของยานวอยเอจเจอร์ ที่โคจรผ่านดาวเสาร์และดาวพฤหัสในระยะใกล้ด้วยความเร็ว สูงโดยใช้เวลาจริง 20 ชั่วโมง แต่ภาพที่ปรากฏออกมาในเบื้องต้นไม่เหมาะสมแก่การเผยแพร่นัก เนื่องจากตําแหน่งที่วอยเอจเจอร์บันทึกภาพอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก และเมื่อวอยเอจเจอร์โคจร ผ่านดาวเสาร์ไปทําให้ตําแหน่งของดวงอาทิตย์ไปปรากฏอยู่ด้านหลังดาวเคราะห์ ภาพดาวเสาร์จึง แสดงให้เห็นเงามืดเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่เนื่องจากสัญญาณที่วอยเอจเจอร์ส่งกลับมายังโลกเป็นข้อมูล ดิจิตอล ทําให้นักวิทยาศาสตร์สามารถนําข้อมูลเหล่านั้นมาปรับแต่งสีให้เหมาะกับการนําเสนอทาง


19 โทรทัศน์ จึงทําให้ได้ภาพที่สวยงามและชัดเจนยิ่งขึ้น ต่อมาความสําเร็จจากภาพยนตร์เรื่องสตาร์วอร์ (Star War) ในปี ค.ศ. 1979 ซึ่งมีการนําคอมพิวเตอร์ไปใช้สร้างเทคนิคพิเศษหลายด้านโดยเฉพาะ เทคนิคควบคุมการเคลื่อนกล้องด้วยคอมพิวเตอร์ ทําให้ผู้สร้างภาพยนตร์เล็งเห็นความสําคัญของการ นําคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์มาใช้ ในปี ค.ศ. 1984 บริษัท พิคซาร์ สหรัฐอเมริกา โดย John Lasseter ผู้เป็นทั้งศิลปิน นักโปรแกรมและนักวิจัยคอมพิวเตอร์ ได้ผสมผสานศาสตร์ทางศิลปะและวิทยาศาสตร์ เข้าด้วยกัน โดยสร้างภาพยนตร์เรื่องสั้นคอมพิวเตอรกราฟฟิกส์ที่นําออกฉายเรื่องแรกชื่อ Luxo Jr. โดยตัวละครเป็นโคมไฟตั้งโต๊ะในบทของแม่และลูก ต่อมาบริษัทพิคซาร์ ได้เสนอภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์อีกสองเรื่องคือ Red’s Dream และ Tim Toy ตัวเอกในเรื่องเป็นของเล่นไข ลานนักดนตรี ทําจากสังกะสี ชื่อ Tinny ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์ในสาขาเทคนิค พิเศษการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์ ในปี ค.ศ. 1986 อย่างไรก็ดีภาพยนตร์คอมพิวเตอร์ กราฟฟิกส์ที่ผ่านมายังคงถูกสร้างภาพยนตร์คอมพิวเตอร์สั้น ๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1991 บริษัทพิค ซาร์และวอลดิสนีย์ได้ร่วมกันสร้างภาพยนตร์คอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์เรื่องยาวเป็นเรื่องแรก คือ ทอย สตอรี่ (Toy Story) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์มาเป็นเครื่องมือสําคัญ ในการใช้สร้างภาพยนตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ซึ่งภายหลังได้มีการผลิตภาพยนตร์คอมพิวเตอร์ กราฟิกออกมาอีกหลายเรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิกกับจิตรกรรมฝาผนัง ท่านเคยได้ชมภาพจิตรกรรมตามสถานที่ต่างๆ หรือไม่ นั่นแหละเป็นสื่อการสอนของผู้คนใน อดีต ถ่ายทอดผลงานให้ลูกศิษย์ได้ศึกษา ให้ผู้คนได้ติชม เสมือนกับการจัดแสดงงานศิลปะนิพนธ์ แต่ เหนือกว่าตรงที่สิ่งที่นําเสนอต้องแสดงอยู่ตลอดไปชั่วลูกชั่วหลาน ให้คนในยุคสมัยต่อมาได้ศึกษาต่อไป ไม่เพียงแต่ความรู้ด้านจิตรกรรมเพียงเท่านั้น แต่ยังศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง วัฒนธรรม ประเพณี และด้านอื่นๆอีกมากมาย จิตรกรรมในอดีตจึงไม่เป็นเพียงแค่งานแสดง เหมือนใน ปัจจุบันที่แสดงอยู่บนกระดาษ ผ้าใบ ฯลฯ แล้วก็เก็บเมื่อจบงาน งานจิตรกรรมที่กล่าวถึงก็คือ งาน จิตรกรรมฝาผนังที่มีอยู่ตามวัดวาอาราม รวมถึงเวียงวังต่างๆของเจ้านายในอดีต งานจิตรกรรมเหล่านี้ ได้ยืนหยัด แสดงให้ผู้คนได้ติชม มาเป็นเวลาช้านาน และจะยืนหยัดต่อไปจนกว่าจะเสื่อมสลายไปใน ที่สุด ซึ่งน่าเสียดายในภูมิปัญญา องค์ความรู้ รวมถึงความสุนทรียภาพ ที่จะต้องสลายไปตามการลบ เลือนของภาพจิตรกรรมเหล่านั้น ปัจจุบันได้มีการพยายามอนุรักษ์ รวมถึงการบูรณะให้กลับมาดังเดิมให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ ด้วยกรรมวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ทันสมัยเพียงใด ก็ยังไม่สามารถให้กลับไปดังเดิมได้สมบูรณ์ 100 เปอร์เซนต์ อีกทั้งเมื่อบูรณะซ่อมแซมเสร็จและเปิดให้ผู้คนเข้าชมก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเสื่อม สลายอีกคํารบหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในการชมภาพจิตรกรรม คือบรรยากาศ ในการชม ด้วย ข้อจํากัดของสถานที่ ความทรุดโทรมของอาคาร สิ่งก่อสร้าง เป็นการยากที่จะสัมผัสถึงบรรยากาศ ความรุ่งเรืองในอดีต ว่าอดีตที่รุ่งเรืองนั้นสถานที่แห่งนั้น ภาพจิตรกรรมต่างๆ ที่สมบูรณ์มีสภาพ และ บรรยากาศเป็นอย่างไร จากความต้องการ และจิตนาการ ที่แต่งเติมจากสิ่งที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน


20 ของภาพจิตรกรรมโบราณ โดยอาศัยคอมพิวเตอร์กราฟิก ทําให้สถานที่แห่งนั้น และจิตรกรรมที่ หลับไหล มาเป็นเวลานานได้ตื่นขึ้นมาแสดงความรุ่งเรืองที่ยิ่งใหญ่เมื่อครั้งอดีตกาล อีกครั้งหนึ่ง การนาเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ในระบบ มัลติมีเดีย การนาเสนอแบบมัลติมีเดีย ในปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดําเนินชิวิตของมนุษย์ ความสามารถ ของคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ได้หลายระบบ ไม่ว่าจะใช้ในลักษณะเครื่องเดียวโดยลําพัง หรือใช้งาน เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความสามารถในการใช้สื่อต่างๆร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันนี้ ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ผสานสื่อเหล่านี้ ได้แก่ ภาพ เสียง วีดที ัศน์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆได้อย่างดี ทํา ให้การประยุกต์ใช้งานได้กว้างขึ้น ระบบมัลติมีเดีย เป็นสิ่งหนึ่งที่ทําให้การใช้งานเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงไปอย่าง มาก ไม่จํากัดแต่เพียงข้อความเพียงอย่างเดียวแต่มีการนําสื่อต่างๆมารวมกัน ซึ่งผลที่ได้คือ ความเป็น ธรรมชาติ จึงมีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะนํามัลติมีเดียไปใช้ในงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ข้อมูล การสื่อสาร การฝึกอบรม การเรียนการสอน หรือแม้แต่เพื่อความบันเทิง ซึ่งในการปฏิบัติต่อไป ในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแทบทั้งสิ้น มัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพ เสียงและวีดิทัศน์ มัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟ ภาพศิลป์ (Graphic Art) เสียง (Sound) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และ วีดิทัศน์เป็นต้นถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตามต้องการได้เรียกว่า มัลติมีเดีย ปฏิ-สัมพันธ์ (Interactive Multimedia) มัลติมีเดีย คือ โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนําเสนอโปรแกรม ประยุกต์ซึ่งรวมถึงการนําเสนอข้อความภาพกราฟฟิก (Graphic images) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และภาพยนตร์วีดิทัศน์ (Full motion Video) ส่วน มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) จะเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่รับการตอบสนองจาก ผู้ใช้โดยใช้คีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น สรุปความหมายคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียสรุปได้ว่าบทเรียนมัลติมีเดียหมายถึงการนําคอมพิวเตอร์หรือเครื่อง อิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทําหน้าที่เสมือนสมองกลมาเป็นสื่อช่วยครูในการเรียนการสอนนักเรียน เรียนรู้เนื้อหาบทเรียนซึ่งประกอบด้วยข้อความภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงบรรยาย เสียงดนตรี


21 ประกอบ ทําแบบทดสอบก่อนหลังเรียน คอมพิวเตอร์จะถูกดําเนินไปอย่างเป็นระบบ ตนเอง

และฝึกทักษะจากคอมพิวเตอร์การเรียนการสอนจาก ในรูปแบบที่เหมาะสมและนักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วย

ตัวอักษร (Text) ตัวอักษรถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญในการเขียนโปรแกรมมัลติมีเดีย โปรแกรม ประยุกต์โดยมากมีตัวอักษรให้ผู้เขียนเลือกได้หลาย ๆ แบบ และสามารถที่จะเลือกสีของตัวอักษรได้ ตามต้องการ นอกจากนั้นยังสามารถกําหนดขนาดของตัวอักษรได้ตามต้องการ การโต้ตอบกับผู้ใช้ก็ยัง นิยมใช้ตัวอักษร รวมถึงการใช้ตัวอักษรในการเชื่อโยงแบบปฏิสัมพันธ์ได้ เช่น การคลิกไปที่ตัวอักษร เพื่อเชื่อมโยงไปนําเสนอ เสียง ภาพกราฟิกหรือเล่นวีดีทัศน์ เป็นต้น นอกจากนี้ตัวอักษรยังสามารถนํามาจัดเป็นลักษณะของเมนู (Menus) เพื่อให้ผู้ใช้เลือกข้อมูล ที่จะศึกษาได้ โดยคลิกไปที่บริเวณกรอบสี่เหลี่ยมของมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ ภาพนิ่ง (Still Images) ภาพนิ่งเป็นภาพกราฟิกที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ภาพถ่าย หรือภาพวาด เป็นต้น ภาพนิ่งมี บทบาทสําคัญต่อมัลติมีเดียมาก ทั้งนี้เนื่องจากภาพจะให้ผลในเชิงของการเรียนรู้ด้วยการมองเห็น ไม่ ว่าจะดูโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ จะมีภาพเป็นองค์ประกอบเสมอ ดังคํากล่าวที่ว่า “ภาพ หนึ่งภาพมีคุณค่าเท่ากับคําถึงพันคํา” ดังนั้นภาพนิ่งจึงมีบทบาทมากในการออกแบบมัลติมีเดียที่มี ตัวอักษรและภาพนิ่งเป็น GUI (Graphical User Interface) ภาพนิ่งสามารถผลิตได้หลายวิธีอย่างเช่น การวาด (Drawing) การสแกนภาพ (Scanning) เป็นต้น เสียง (Sound) เสียงในมัลติมีเดียจะจัดเก็บอยู่ในรูปของข้อมูลดิจิตอล และสามารถเล่นซ้ํา (Replay) ได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี การใช้เสียงในมับติมีเดียก็เพื่อนําเสนอข้อมูล หรือสร้างสภาพแวดล้อมให้ น่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น เสียงน้ําหล เสียหัวใจเต้น เป็นต้น เสียงสามารถใช้เสริมตัวอักษรหรือนําเสนอวัสดุ ที่ปรากฏบนจอภาพได้เป็นอย่างดี เสียงที่ใช้ร่วมกับโปรแกรมประยุกต์สามารถบันทึกเป็นข้อมูลแบบ ดิจิตอลจากไมโครโฟน แผ่นซีดี เสียง (CD-ROM Audio Disc) เทปเสียง และวิทยุ เป็นต้น ภาพเคลื่อนไหว (Animation) ภาพเคลื่อนไหวจะหมายถึง การเคลื่อนไหวของภาพกราฟิก อาทิการเคลื่อนไหวของลูกสูบ และวาล์วในระบบการทํางานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ เป็นต้น ซึ่งจะทําให้สามารถเข้าใจระบบการ ทํางานของเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นภาพเคลื่อนไหว จึงมีขอบข่ายตั้งแต่การสร้างภาพด้วย กราฟิกอย่างง่าย พร้อมทั้งการเคลื่อนไหวกราฟิกนั้น จนถึงกราฟิกที่มีรายละเอียดแสดงการเคลื่อนไหว โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหวในวงการธุรกิจ ก็มี Autodesk Animator ซึ่งมีคุณสมบัติดี ทั้งในด้านของการออกแบบกราฟิกละเอียดสําหรับใช้ในมัลติมีเดียตามต้องการ


22 การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Links) การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์จะหมายถึง การที่ผู้ใช้มัลติมีเดียสามารถ เลือกข้อมูลได้ตาม ต้องการ โดยใช้ตัวอักษรหรือปุ่มสําหรับตัวอักษรที่จะสามารถเชื่อมโยงได้จะเป็นตัวอักษรที่มีสีแตกต่าง จากอักษรตัวอื่น ๆ ส่วนปุ่มก็จะมีลักษณะคล้ายกับปุ่มเพื่อชมภาพยนตร์ หรือคลิก ลงบนปุ่มเพื่อเข้าหา ข้อมูลที่ต้องการ หรือเปลี่ยนหน้าต่างของข้อมูลต่อไป วิดีทศั น์ (Video) การใช้มัลติมีเดียในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับการนําเอาภาพยนตร์วีดิทัศน์ ซึ่งอยู่ในรูปของ ดิจิตอลรวมเข้าไปกับประแกรมประยุกต์ที่เขียนขึ้น โดยทั่วไปของวีดิทัศน์จะนําเสนอด้วยเวลาจริงที่ จํานวน 30 ภาพต่อวินาที ในลักษณะนี้จะเรียกว่าวีดิทัศน์ดิจิตอล (Digital Video) คุณภาพของวีดี ทัศน์ดิจิตอลจะทัดเทียมกับคุณภาพที่เห็นจากจอโทรทัศน์ ดังนั้นทั้งวีดิทัศน์ ดิจิตอลและเสียงจึงเป็น ส่วนที่ผนวกเข้าไปสู่การนําเสนอได้ทันที ด้วยจอคอมพิวเตอร์ ในขณะที่เสียงสามารถเล่นออกไปยัง ลําโพงภายนอกได้โดยผ่านการ์ดเสียง (Sound Card) รูปแบบการนาเสนอมัลติมีเดีย โรเซนเบอร์กและคณะได้นําเสนอรูปแบบของมัลติมีเดียสําหรับออกแบบระบบงานมัลติมีเดีย ทั่วๆไป เพื่อใช้ในการเรียนและใช้งานทั่วไปจํานวน 5 รูปแบบได้แก่ 1.แบบเชิงเส้น(Linear Progression) 2.แบบอิสระ(Perform Hyper jumping) 3.แบบวงกลม(Circular Paths) 4.แบบฐานข้อมูล(Database) 5.แบบผสม(Compound) 1. แบบเชิงเส้น (Linear Progression) รูปแบบนี้คล้ายกับการนําเสนอหน้าหนังสือ แต่ละเฟรมจะเรียงลําดับกันไปอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นจนถึงเฟรมสุดท้าย การเข้าถึงระบบงานมัลติมีเดียรูปแบบนี้จึงเหมือนกับ การนําเสนอ ไฮเปอร์เท็กซ์แบบ Guide Tour ที่ใช้ข้อความเป็นหลักในการดําเนินเรื่อง แต่ก็สามารถใส่เสียง ภาพ วีดิทัศน์หรือภาพเคลื่อนไหวลงไปได้ เรียกรูปแบบนี้อีกอย่างหนึ่งว่า Electronic Stories


23 2. แบบอิสระ (Perform Hyper umpping) รูปแบบนี้ ผู้ใช้มีสิทธิ์ในการข้ามไปมาระหว่างเฟรมใดเฟรมหนึ่งได้อย่างอิสระ ซึ่งช่วยกระตุ้น ความสนใจจากผู้ใช้ให้ติดตามระบบงานมัลติมีเดียกระตุ้น ผู้ออกแบบที่ยึดโครงสร้างตามรูปแบบนี้ จะต้องระมัดระวังการข้ามไปมา ซึ่งเป็นจุดอ่อนประการสําคัญเพราะทําให้เกิดการหลงทาง 3. แบบวงกลม (Circular Paths) การนําเสนอแบบวงกลม ประกอบด้วยแบบเส้นตรงชุดเล็กๆหลายๆชุด เชื่อมต่อกันเป็นชุด ใหญ่ เหมาะกับข้อมูลที่สัมพันธ์กันในแต่ละส่วนย่อย 4. แบบฐานข้อมูล (Database) รูปแบบการนําเสนอนี้ ใช้หลักการของฐานข้อมูลมาใช้ ต้องการพัฒนาเตรื่องมือค้นหาข้อมูล ป้อนดัชนีเข้าไปในฐานข้อมูล 5. แบบผสม (Compound) เป็นรูปแบบที่นําเอาจุดเด่นของแต่ละรูปแบบมาผสมผสานกันขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบระบบงาน มัลติมีเดียว่าจะยึดรูปแบบใดเป็น โครงสร้างหลัก และรูปแบบใดเป็นโครงสร้างรอง ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สําหรับจัดการด้านมัลติมีเดียภายใต้ระบบปฏิบัติการซึ่งทํางานสัมพันธ์กับ ตัวเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ การพัฒนาและประยุกต์ ใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ทางการศึกษา เพื่อหวังผลนํามาใช้ใน สถานการณ์การเรียนการสอนให้เกินประสิทธิผลและประสิทธิภาพนั้นสิ่งที่ควรคํานึงถึงคือเรื่องความ จําเป็นทางการศึกษาของหลายหน่วยงาน ที่ต้องการพัฒนาและประยุกต์ใช้สื่อชนิดนี้ ว่ามีความพร้อม ในด้านต่าง ๆ ในการพัฒนาและประยุกต์ใช้แล้วหรือยังปัจจัยที่ต้องคํานึงถึงเรื่องของบุคลากรที่มี ความสามารถที่จะพัฒนาและประยุกต์ใช้สิ่งชนิดนี้ต้องมีพื้นฐานด้านความรู้ ในเรื่องการออกแบบการ สอน (Instructions Design) องค์ความรู้ด้านจิตวิทยา Cognitive psychology องค์ความรู้ในเรื่อง คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ โปรแกรมเรื่องของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ว่า หน่วยงานนั้น มีความพร้อมทั้งด้านเครื่องคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย และซอฟต์แวร์โปรแกรมหรือยังมี จํานวนเพียงพอที่จะใช้ในการพัฒนาและประยุกต์ใช้สื่อชนิดนี้หรือไม่ยังมีปัจจัยสําคัญมากที่ควรนึกถึง คือ เรื่องของการสนับสนุนด้านการเงิน และนโยบายที่ชัดเจน ในการสนับสนุนและลงทุนด้านการ พัฒนาและประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียทางการศึกษา รวมทั้งปัจจัยด้านการศึกษาหรือเนื้อหาที่ ผู้เรียนควรเรียนอะไรที่จะได้จากการพัฒนาและประยุกต์ใช้สื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ปัจจัยดังกล่าว ทั้งหมดต้องเอื้ออํานวยต่อกันและกันหากมีนโยบายเงินทุนและความพร้อมที่จะพัฒนาและประยุกต์ใช้ สื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแล้ว ก็ควรดําเนินการในทันที และต้องมีการทดลองใช้วิจัยหารูปแบบ


24 (Model) เหมาะสมในการพัฒนาและประยุกต์ใช้ในเนื้อหาวิชาแต่ละประเภทเพื่อเผยแพร่แนะนําให้ กว้างขวางต่อไป เพราะเรื่องของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียทางการศึกษาคงเป็นทางเลือกที่จําเป็นสําหรับ การศึกษาในประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาการศึกษาที่เกิดขึ้น และจะเป็นสิ่งชี้วัดถึงการพัฒนาทางการ เรียนการสอนของหน่วยงานนั้น ๆ นอกจากนี้การพัฒนา และประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจะ เป็นสิ่งที่บ่งชี้ และช่วยตัดสินใจในการลงทุนด้วยคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ว่าอะไรควรจะผลิตเองและ อะไรควรจะซื้อมาใช้และจะส่งผลไปถึงการวางนโยบายของหน่วยงาน ในการกําหนดรายละเอียดของ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียทางการศึกษาอีกด้วย


25 บทที่ 3 วิธีการดาเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ผู้ดําเนินการวิจัย มุ่งที่จะศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของจิตรกรรม ฝาผนังวัดอุโมงค์ วัดพระสิงห์ และวัดบวกครกหลวง เพื่อศึกษาถึงแนวคิด รูปแบบทางศิลปะ ความหมาย ของจิตรกรรมประดับ โบราณสถานทางศาสนาล้านนาและบันทึกและรวบรวมจิตรกรรม ฝาผนังวัดบวกครกหลวง วัดพระสิงห์ และวัดอุโมงค์ อย่างเป็นระบบจากภาพถ่ายเป็นภาพลายเส้น ด้วยกระบวนการทางคอมพิวเตอร์กราฟิก และนําเสนอด้วยระบบมัลติมีเดีย ไว้เพื่อประโยชน์ใน การศึกษา และอนุรักษ์มรดกทางศิลปกรรม และสามารถนําไปใช้ต่อยอดสร้างองค์ความรู้ภูมิปัญญา ต่อไปโดย ผู้ดําเนินการวิจัยได้กําหนดแผนในการดําเนินงานวิจัย ดังนี้ 1.วิธีการและเครื่องมือการวิจัย 1.1 ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวกับ 1.1.1 วัดที่มีจิตรกรรมฝาผนัง วัดอุโมงค์ วัดพระสิงห์ และวัดบวกครกหลวง 1.1.2 ช่างฝีมือ ปราชญ์ชาวบ้านและผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนัง 1.1.3 องค์กรที่เกี่ยวข้อง 1.2 วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับ 1.2.1 งานพุทธศิลป์ 12.2 รูปแบบของจิตกรรมฝาผนัง 1.3 จัดแยกประเภท หมวดหมู่ ของจิตกรรมฝาผนัง 1.4 ถ่ายภาพเตรียมการและวางแผนคัดลอกจิตรกรรมฝาผนัง 1.5 นําภาพถ่ายมาจัดทําเป็นภาพลายเส้น ด้วยกระบวนการคอมพิวเตอร์ 1.6 นําข้อมูลมาจัดทําภาพสองมิติและสื่อมัลติมีเดีย 1.6 ประเมินสื่อมัลติมีเดียและปรับปรุงแก้ไข 1.7 สรุปผล รายงานผลการวิจัย 1.8 ถ่ายทอดและเผยแพร่ผลงานวิจัย 2. การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย 2.1 นําผลที่ได้ภาพถ่ายวัดที่มีจิตรกรรมฝาผนัง วัดอุโมงค์ วัดพระสิงห์ และวัดบวกครก หลวง มาทําการวิเคราะห์ แจกแจงและเรียบเรียง จัดหมวดหมู่ และจัดการด้วยกระบวนการ คอมพิวเตอร์กราฟิก และนําเสนอในรูปแบบมัลติมีเดีย สรุปเป็นผลของการทํางาน 2.2 ทําการสังเคราะห์ข้อมูล และผลของการทํางาน เทียบกับทฤษฎีวัตถุประสงค์ กรอบ แนวคิดแล้วสรุปแปรผลเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัย


26 บทที่ 4 ผลการวิจัย ผลการวิจัยครั้งนี้ผู้ดําเนินการวิจัยได้ดําเนินการวิจัยตามกําหนดของแผนในการดําเนินงาน วิจัยตามหัวข้อได้ผล ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลด้านโครงสร้างรูปแบบและลักษณะของ จิตรกรรมฝาผนังวัด บวกครกหลวง จิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ จิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ จิตรกรรมฝาผนังล้านนา เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า แสดงให้เห็นถึงคติความเชื่อ ทั้ง ในเนื้อหาและ รูปแบบ เทคนิควิธีการในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมและการพัฒนาการทาง ศิลปกรรม ในแต่ละยุคสมัยอีกทั้งยังมีความสําคัญในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เช่น ภาพ สถาปัตยกรรม ภาพสิ่งแวดล้อม และภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะในส่วนของภาพวิถีชีวิตความ เป็นอยู่ของผู้คนในพื้นถิ่น การแต่งกาย การละเล่น การเกี้ยวพาราสี และประเพณีวัฒนธรรม ซึ่ง ช่างได้ถ่ายทอดเป็นผลงานจิตรกรรมได้อย่างมีคุณค่า ภาพรวมของจิตรกรรมฝาผนังล้านนาในเชียงใหม่ มีความหลากหลายในสายสกุลช่าง มากกว่า จิตรกรรมไทยของภาคกลาง เช่น จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโมงค์ วัดอุโมงค์เถรจันทร์ จิตรกรรม ภายในวิหารลายคํา วัดพระสิงห์ จิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง หรือจิตรกรรมฝาผนังวัดป่าแดด เป็นต้น ซึ่งจิตรกรรมแต่ละแห่งอยู่พื้นที่ต่างกันและเป็นงานคนละกลุ่ม หรือขณะเดียวกันเราก็อาจพบ งานแบบพม่า กับแบบภาคกลาง ในวัดที่ตั้งอยู่ไม่ไกลกันนัก ดังนั้นรูปแบบมาตรฐานของสกุลช่าง จิตรกรรมฝาผนังล้านนา จึงไม่มีแบบแผนที่แน่นอน แต่สิ่งที่จิตรกรแสดงออกผ่านภาพเขียนนั้น สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ของคนในยุคสมัยนั้นได้อย่างมีชีวิตชีวา มักปรากฏในภาพจิตรกรรม อยู่ทุก แห่งซึ่งนับว่าเป็นลักษณะพิเศษของจิตรกรรมฝาผนังของล้านนา นอกจากจิตรกรรมฝาผนังล้านนา จะมีลักษณะเฉพาะถิ่นแล้ว ยังพบว่ามีได้รับอิทธิพลทาง ศิลปกรรมจากภายนอกอยู่จํานวนไม่น้อย เพราะล้านนาได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับเมืองอื่นที่อยู่โดยรอบ อยู่ตลอดเวลา ในส่วนของจิตรกรรมฝาผนังนั้น ได้นําช่างจากต่างเมืองเข้ามาเขียนด้วย ได้แก่ ช่าง จีน ช่างพม่า ไทใหญ่ ไทลื้อ ลาว และไทยภาคกลาง เป็นต้น จึงทําให้เกิดการผสมผสานรูปแบบของ จิตรกรรมและศิลปกรรมที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นขึ้นมาใหม่ ผลงานของช่างเหล่านี้มีทั้งที่ใช้รูปแบบศิลปะ ของตนโดยตรง และแบบที่ปรับเปลี่ยน หรือประกอบขึ้นใหม่ตามความต้องการของท้องถิ่น แต่สิ่งที่ สําคัญก็คือ ผลงานเหล่านี้ล้วนเป็นแบบอย่างให้อิทธิพลทางศิลปะกับช่างพื้นเมืองทําตามในหลาย รูปลักษณะ และหลายระดับ แล้วแต่พื้นฐานของช่างแต่ละคน เป็นเหตุให้จิตรกรรมฝาผนังล้านนายิ่ง มีความหลากหลายขึ้นไปอีก การศึกษาจิตรกรรมฝาผนังล้านนาในเชียงใหม่นี้ ได้วางขอบเขตของการศึกษา โดยการศึกษา ค้นคว้าวิเคราะห์ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา แนวคิด รูปแบบทางศิลปะความหมาย สัญลักษณ์ของจิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ จิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ และจิตรกรรมฝาผนังวัด บวกครกหลวง พุทธศตวรรษที่ 20 – 24


27 จิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ จิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานศิลปะที่มีความสําคัญใน ฐานะเป็นงานจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะล้านนา ที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 หรือราว 500 ปี มาแล้ว อันเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังศิลปะล้านนา ที่เก่าแก่ที่สุดในสมัยราชวงศ์มังราย (พ.ศ. 1839-2101)ที่เหลือเพียงแห่งเดียวในปัจจุบันอันเป็นผลงานศิลปะในยุครุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับอาณาจักรเพื่อนบ้าน คือ จีนในสมัยราชวงศ์หมิง ( Ming Dynasty ) และพม่าในสมัยพุกาม ( Pagan ) ที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนัง ลายเขียนสีผนังและเพดาน จัดเป็นงานศิลปะตกแต่งโดยตรง ลักษณะเหมือนเป็นลายผ้าที่เขียนซ้ําๆ ต่อเนื่องกันไปตลอดทั้ง อาคาร ประกอบด้วยรูปดอกไม้ ใบไม้ และภาพนกต่างๆ ที่วาดขึ้นอย่างมีระเบียบแบบแผนแน่นอน การใช้สีเป็นแบบพหุรงค์ มีสีน้ําตาลแดงเป็นสีพื้นทั้งหมดตัวลายต่างๆ จะใช้สีเขียวใบไม้เป็นหลัก และจะแต่งแต้มเพิ่มสีสันหรือจุดสว่างด้วยสีเขียว turquoise สีแดงชาด และสีขาว ส่วนสีดําใช้ สําหรับตัดเส้นทั้งรูปนอกและรายละเอียดเส้นที่ตัดมีขนาดค่อนข้างใหญ่แต่ทว่าประณีต การวางจังหวะ ตัวลายกับช่องไฟได้สัดส่วนลงตัว จิตรกรรมทั้ง 3 อุโมงค์มีรายละเอียดของลวดลายที่แตกต่างกันไป จิตรกรรมฝาผนังใน อุโมงค์ที่ 1 พบว่าเขียนภาพเถาลายดอกโบตั๋นสลับกับภาพนกหลากหลาย จิตรกรรมฝาผนังใน อุโมงค์ที่ 2 เขียนภาพลายบัวสลับกับลายเมฆ จิตรกรรมฝาผนังใน อุโมงค์ที่ 3 เขียนลายบัวสลับกับลายประจํายาม แม้ว่าจิตรกรรมทั้ง 3 อุโมงค์ จะมีรายละเอียดของลวดลายต่างกันไปแต่ว่าทั้งหมดก็มีรูปแบบการจัดองค์ประกอบหรือหลักในการ ออกแบบบนพื้นฐานเดียวกันคือ การออกแบบลวดลายเรียงซ้ําสลับกันไปแบบลายผ้าทั้ง 3 อุโมงค์ นอกจากนั้นแล้วเทคนิคในงานจิตรกรรมนั้นก็เป็นจิตรกรรมที่เขียนด้วยสีฝุ่น ระบายสี และตัดเส้นตาม อย่างจิตรกรรมไทย รูปแบบและลักษณะจิตรกรรมฝาผนังล้านนาภายในวัดอุโมงค์ 1. ภาพลายเมฆลายเมฆ ในจิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ ได้รับอิทธิพลจากเครื่องถ้วยจีน ช่วงต้นราชวงศ์หมิง มีลักษณะขมวดม้วนขดโค้งเป็นก้อน มีขนาดใกล้เคียงกับลวดลายดอกบัว เป็น สัญลักษณ์ของโชคลาภและความสุข 2. ภาพนกชนิดต่างๆ หงส์ เป็นราชาแห่งสัตว์ปีกทั้งมวล ชาวจีนเชื่อว่า นกชนิดนี้เป็น สัตว์มงคล และเชื่อว่าทําหน้าที่ปกป้องภัยจากทางเบื้องบน และสามารถล่วงรู้ความวุ่นวายบนโลก มนุษย์ได้ ดังนั้นจะปรากฏหงส์เมื่อประเทศมีความสงบ หงส์นี้มีขนงามตลอดตัว กล่าวกันว่านกชนิด นี้มีเสียงร้องคล้ายขลุ่ย ไม่กินแมลงมีชีวิต ไม่จิกต้นไม้ที่ยังเขียวสด ไม่อยู่เป็นกลุ่มเป็นฝูง ไม่บิน เร่ร่อนไปในที่ต่างๆ ในภาพจิตรกรรมหรือภาพสลักเล่าเรื่องแนวลายรูปหงส์ช่วยแสดงให้เห็นว่าเป็น เหตุการณ์ที่ดําเนินอยู่บนสวรรค์ นกยูง มีลักษณะบินโฉบเข้าหากันเป็นคู่ๆ ลําตัววาดตัดเส้นเป็นลอนโค้งคล้ายเกล็ดปลา ส่วน หางตัดเส้นเป็นแพนยาวแสดงลักษณะของนกยูงตัวผู้ ขนปีกตัดเส้นเรียงซ้อนกัน เป็นสัญลักษณ์แห่ง เกียรติยศและความงาม


28 นกกระสาและนกกระเรียน ลักษณะของนกคอยาว มีงอยปากแหลม ขาสั้น ปีกมีการตัดเส้น เรียงซ้อนกัน ในวัฒนธรรมจีนเป็นเครื่องหมายของความเป็นมงคล นกแก้ว ลักษณะการวาดเป็นการวาดภาพนกแก้วแบบเป็นคู่ๆ รายละเอียดของภาพไม่มาก นักมีลักษณะเด่นที่ปากจะงุ้มเล็ก 3. ภาพดอกไม้ ลายดอกโบตั๋น ในจิตรกรรมวัดอุโมงค์มีลักษณะเป็นดอกบานขนาดใหญ่ มี กลีบ 9 กลีบ เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ส่วนกลางของดอกมีกลีบขนาดเล็กซ้อนอยู่หุ้มเกสรไว้ มีสีเขียวและ ขาว เป็นสัญลักษณ์ของความสง่างาม ความเด่น ความเป็นเลิศ ความสามารถ ความอุดมสมบูรณ์ มั่ง คั่ง เกียรติยศ ลายดอกบัว มีลักษณะสัณฐานทรงกลม ใจกลางดอกเป็นวงกลมขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วย กลีบบัวปลายแหลมซ้อนสามชั้น และระบายสีดําอมน้ําตาลไส้ในของดอก ภาพโครงสร้างของลวดลาย ลายเขียนสีผนังและเพดานจัดเป็นงานศิลปะตกแต่งโดยตรง ลักษณะเหมือนเป็นลายผ้าที่เขียนซ้ําๆ ต่อเนื่องกันไปตลอดทั้งอาคาร ประกอบด้วยรูปดอกไม้ ใบไม้ และภาพนกต่าง ๆ ที่วาดขึ้นอย่างมีระเบียบแบบแผนแน่นอน แม่ลายที่ใช้เป็นหลักก็คือ ลายช่อดอก โบตั๋น มีใบแซมอยู่โดยรอบ วางในระยะห่างเท่าๆ กัน มีก้านดอกเป็นตัวเชื่อมอยู่ในแนวทแยงจาก ข้างล่างด้านขวาเฉียงขึ้นไปทางซ้าย เป็นแถวๆ เรียงกันไป ช่อดอกในแต่ละแถวจะวางเหลื่อมกันอยู่ ทําให้มีพื้นที่ตรงกลางสําหรับบรรจุภาพนกที่เป็นสัตว์มงคลตามคติจีนหลายชนิดสลับกันไป เช่น หงส์ จีน นกยูง นกกระยาง และห่านป่า เป็นต้น ในแนวกึ่งกลางเพดานจะเป็นแถวของรูปดอกบัวทรง กลม เว้นระยะห่างพอสมควร ใช้เป็นรูปสัญลักษณ์ของดาวเพดาน เป็นต้น จิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ จิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารลายคา วัดพระสิงห์วรวิหาร อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ แสดงออกลักษณะเด่นทางศิลปกรรมในยุคสมัย และสามารถสะท้อนภาพความเป็นเชียงใหม่ในช่วงต้น พุทธศตวรรษที่ 25 แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้ทั้งในระดับ โครงสร้างหรือภาพรวมทั้งเนื้อหาและรูปแบบทางศิลปกรรมแสดงให้เห็นอิทธิพลทางศิลปะหลากหลาย เช่น แบบศิลปะจีน ไทยภาคกลาง พม่า และแบบพื้นบ้าน มีการผสมผสาน และสร้างใหม่เป็นแบบ ฉบับเฉพาะของตนเองนับเป็นภาพแทนความหลากหลายของวิถีชีวิต กลุ่มสังคมวัฒนธรรมในยุคสมัย นั้นอย่างลงตัว แสดงออกผ่านตัวละครจากวรรณกรรมที่นิยมในยุคนั้น คือเรื่องสังข์ทอง และสุวรรณ หงส์ ภาพที่แสดงให้เห็นมีลักษณะตรงไปตรงมา อาทิ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านชาวเมือง หรือ ชนชั้นเจ้านาย การเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว การละเล่นของเด็ก ตลอดจนสภาพแวดล้อมทาง ธรรมชาติ และรูปแบบทางสถาปัตยกรรม เป็นต้น จิตรกรรมเรื่องสังข์ทองเป็นงานที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงในด้านความงดงาม เนื่องจากเป็น ผลงานที่มีความประณีตพิถีพิถัน ทั้งในด้านการออกแบบและฝีมือช่าง ภาพทั้งหมดมีขนาด สัดส่วน และจังหวะที่ประสานสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตลอดทั้งผนัง ตัวภาพบุคคล ฉากเมือง และธรรมชาติที่ เหมือนกับเป็นการจําลองโลกที่เป็นจริงของยุคนั้นออกมาได้อย่างไม่มีที่ติ คนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กษัตริย์ พวกเจ้า เหล่าขุนนาง และชาวบ้านต่างก็มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เป็นไปตามสภาพแวดล้อมของ


29 แต่ละกลุ่มอย่างชัดเจนสมจริง และมีชีวิต ภาพปราสาทราชวัง วาดขึ้นโดยอาศัยแบบศิลปะพม่าเป็น หลัก ขณะที่อาคารบ้านเรือนของประชาชนก็เป็นแบบพื้นเมืองทั่วไป การใช้สีส่วนใหญ่จะยึดถือความ เป็นจริงภายนอกแบบธรรมชาตินิยม และสามารถแสดงให้เห็นระยะใกล้ไกลเป็นลําดับจากล่างขึ้นบน อันเป็นแบบแผนของภาพเล่าเรื่องในงานจิตรกรรมไทยประเพณีทั่วไปด้วย ส่วนจิตรกรรมเรื่องสุวรรณหงส์นั้น สภาพโดยทั่วไปนอกจากจะลบเลือนและหลุดร่วงไปมาก แล้ว เรายังพบร่องรอยของการเขียนทับใหม่ด้วยฝีมือที่หยาบอยู่หลายแห่ง แต่จากงานดั้งเดิมที่เห็น อยู่ก็พอที่จะระบุได้ว่า มีงานที่ใช้แนวทางการวาดแตกต่างกันอย่างน้อย 2 ฝีมือช่าง ฝีมือแรกนั้นจะ เป็นการสร้างองค์ประกอบภาพที่มีชั้นเชิง ตัวภาพต่างๆ วาดขึ้นอย่างสม่ําเสมอ ได้มาตรฐาน การ จัดระยะความสัมพันธ์มีความกระชับ และรับกันอย่างมีจังหวะ นิยมใช้พื้นสีเข้มหรือหนักทึบตัดกับ รูปทรงสีอ่อนและเน้นด้วยสีสดเป็นจุดๆ การระบายสีจะให้ผลในเรื่องความแบนเรียบเป็นแผ่นสีที่มี ขอบเขตชัดเจน ลักษณะดังกล่าวนี้เราจะพบได้ในภาพตอนพระสุวรรณหงส์ลอบเข้าหานางเกศสุริยง จนต้องรบกับท้าวสุวรรณวิกที่เมืองมัตตัง ส่วนอีกฝีมือช่างหนึ่งจะอาศัยพื้นภาพสีอ่อนทําให้ภาพโดยรวมดูโปร่งเบากว่า ลักษณะการ วาดจะนิยมใช้เส้นตัดที่หนาและเป็นธรรมชาติสร้างรูปทรงทั้งหมด แล้วจึงใช้สีสดระบายหรือแต่งแต้ม ให้ดูสดใส ประกอบกับการจัดวางภาพที่ค่อนข้างอิสระและมีระยะเว้นห่างมาก มีผลทําให้ภาพทั้งหมด แสดงมิตอิ ากาศมากกว่าที่จะเป็นการแสดงรูปทรง และโครงสีที่เป็นแผ่นระนาบทึบ เช่น ฝีมือแรกที่ กล่าวมา ลักษณะดังกล่าวนี้เป็นแนวทางการวาดที่พบอยู่ในห้องภาพสุดท้ายด้านทิศใต้ ดังนั้นหากจะ กล่าวโดยรวมแล้ว ภาพเล่าเรื่องสุวรรณหงส์จึงแสดงให้เห็นถึงลักษณะที่คละเคล้ากันไประหว่างฝีมือ ช่างที่เน้นความประณีตกับงานที่มีพื้นฐานการช่างแบบพื้นบ้าน ในขณะที่รูปแบบตัวภาพซึ่งอาศัยงาน ภาคกลางเป็นแบบอย่างก็เป็นเพียงลักษณะสําคัญที่เด่นชัดยังคงเป็นคุณค่าเฉพาะตัวของช่างท้องถิ่นซึ่ง เราสามารถรับรู้ได้อยู่นั่นเอง รูปแบบและลักษณะจิตรกรรมฝาผนังล้านนาภายในวัดพระสิงห์ 1. ภาพ ตัวพระ ตัวนาง ลักษณะของการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ ถือเป็น แบบที่งดงามมีความเป็นเอกลักษณ์ลักษณะเฉพาะของศิลปะเชียงใหม่ คือการเขียนเส้นและสีมีแบบ ฉบับเฉพาะตัว ทั้งการตัดเส้นจมูก ปาก และการใช้กลุ่มสี จิตรกรได้สร้างแบบอย่างสกุลช่างของ ตนเองขึ้นใหม่โดยมีการปรับใช้อิทธิพลทางศิลปะจากภาคกลางและศิลปะแบบพม่า มาพัฒนารูปแบบ และวิธีการเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่นขึ้น ลักษณะท่าทางของตัวพระตัวนาง เป็นลักษณะนาฏลักษณ์ แบบล้านนา แสดงกิริยาอาการตามอารมณ์ ความรู้สึกที่ชัดเจน เช่น ท่าทางเศร้า ดีใจ เสียใจ เป็น ต้น ในด้านการแต่งกาย เครื่องทรงของชนชั้นกษัตริย์ มีลักษณะคล้ายแบบพม่าอาจจะเป็นด้วยเหตุที่ เชียงใหม่ถูกพม่าครอบงําอยู่200 กว่าปี และอิทธิพลจากศิลปะต่างๆ และความรู้สึกนึกคิดบางประการ จึงได้รับจากรูปแบบพม่า และอิทธิพลของรัตนโกสินทร์ เช่น ภาพเจ้าชายผู้ครองแว่นแคว้นต่างๆ ผ้านุ่ง เครื่องแต่งกาย คล้ายแบบของพม่า แต่เครื่องทรงชฎามงกุฎ คล้ายกับของรัตนโกสินทร์ และ ภาพ ขบวนเดินของบรรดาเจ้าชาย เป็นภาพอันงดงามมาก เส้นสายแสดงถึงกิริยาอย่างผู้ดีทางล้านนา เจ้าชายแต่งกายแปลกๆ เช่น เจ้าชายข่า และเจ้าชายในแว่นแคว้นใกล้เคียงแต่งกายแบบกลุ่มชนชาติ พันธุ์ต่างๆในล้านนา พวกผู้ชายนุ่งผ้ายหักรั้งถลกให้เห็นรอยสักที่โคนขา คล้ายกับเป็นกางเกงหรือ


30 สนับเพลา ซึ่งเป็นแฟชั่นที่นิยมกันในสมัยนั้น และสะพายย่ามสีสันงดงาม บ้างก็โพกผ้า บ้างก็ไว้จุก บ้างทําผมเกล้าโน้มมาข้างหน้าแบบมอญ เป็นต้น ส่วนภาพตัวนาง มักจะนุ่งผ้าทอยกดอก มีขมวด ชายพกแผ่ออกด้านข้าง สวมมงกุฎ กรองศอ พาหุรัด ทองกร และสังวาล แต่งตัวคล้ายตัวละครของ ภาคกลาง แต่เป็นลักษณะนาฏลักษณ์แบบล้านนา 2. ภาพเทวดา หรือภาพเทพชุมนุม จิตรกรเขียนขึ้นโดยให้รูปเทวดาหันหน้าเข้าหาพระ ประธาน เพื่อสักการะบูชา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในท่าเหาะอยู่กลางอากาศ แบบนาฏ ลักษณ์ล้านนา มีลักษณะพิเศษไม่เหมือนทางภาคกลาง สวมเครื่องทรง มงกุฎ กรองศอ พาหุรัด ทอง กร และสร้อยสังวาล มือหนึ่งถือดอกบัว 5 ดอก อีกมือหนึ่งถือตุง (ธง) สามเหลี่ยม เทวดาบางองค์ ก็ถือขันดอกไม้ และธูปเทียน บูชา บางลักษณะก็หันหน้าเข้าหากันคล้ายกับเสวนาซึ่งกันและกัน ความ งดงามของลีลาท่าทางทําให้เกิดความรู้สึกถึงสภาวะความเป็นทิพย์ 4. ภาพกาก คือภาพเขียนที่เป็นตัวประกอบในเรื่อง เป็นบุคคลที่ไม่สําคัญ เช่นชาวบ้าน สามัญ แสดงวิถีชีวิตชาวบ้านทั่วไป ภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคํา ปรากฎภาพที่เป็นวิถีชีวิต พื้นบ้านจํานวนมากแสดงออกให้เห็นถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้น ทั้งในด้านของ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกายของชาวบ้าน เช่น ผู้ชายล้านนามักจะนุ่งผ้าต้อยหยักรั้ง คล้ายผ้าขะม้า บางคนนุ่งผ้าเตี่ยวมีผ้าขะม้าพันรอบเอว มักไม่สวมเสื้อมีเพียงผ้าห่มไหล่เท่านั้นและมักนิยมการสักขา หรือสักยันต์ เป็นลวดลายต่างๆ กัน ในจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสุวรรณหงส์ ภาพผู้ชายนุ่งผ้าโจงกระเบน ใส่เสื้อแขนกระบอก คล้ายกับการแต่งกายของภาคกลาง การแต่งกายของผู้หญิงชาวล้านนา นุ่งผ้าซิ่น ไม่สวมเสื้อมีเพียงแต่ผ้าสะหว้ายแหล้ง หรือผ้าสะไบ อย่างหลวมๆเท่านั้น การไว้ทรงผมที่ปรากฏใน จิตรกรรมฝาผนัง ชาวล้านนาในตอนนั้นผู้ชายคงนิยมไว้ผม ทรงมหาดไทย ผู้หญิงมักไว้ผมปีกทั้งปอย ผมลงด้านข้าง แต่สําหรับผู้หญิงพื้นบ้านนิยมไว้ผมยาว และมัดรวบเป็นมวยไว้ด้านหลัง ส่วนกลุ่มคน พม่าและไทยใหญ่นิยมมุ่นมวยผม ทรงผมของเด็กมีทั้งไว้จุกและเปีย คล้ายกับค่านิยมของภาคกลาง เครื่องประดับที่นิยมใช้เป็นตุ้มหู ที่ใช้มักมี 2 ลักษณะ คือ ตุ้มหูแบบห่วงกลมและตุ้มหูแบบม้วนใส่ หรือเรียกว่า ลานใส่หู ซึ่งอาจทําด้วยทองคํา หรือวัสดุโลหะอื่นๆก็ได้ 5. ภาพตัวยักษ์ ยักษ์ มาร จิตรกรเขียนภาพที่แสดงออกด้วยท่าทางที่น่าเกรงขาม แต่ ยังคงลักษณะการเขียนแบบภาคกลาง คือ ผมหยักหยิก จมูกสั้นกลม ตาเบิกโพลง ปากแสยะ เห็นฟัน และเขี้ยว ลําคอเน้นเส้นเป็นกล้ามเนื้อ นอกจากการเน้นกริยาท่าทาง รายละเอียดของมือ เท้า และ ใบหน้าที่ต่างไปจากภาพของมนุษย์แล้ว ยังแสดงภาพความโหดร้าย น่ากลัว การดํารงชีวิตด้วยการจับ และไล่ล่าวัว ควาย แม้กระทั่งเจ้าป่าอย่างเสือ มาเป็นอาหาร การแบ่งชั้นวรรณะ จะไม่มากเหมือน มนุษย์ คือมีระดับกษัตริย์กับขุนนางหรือเหล่าทหารเท่านั้น เน้นความแตกต่างของตัวสําคัญด้วยการ แต่งกายและสีผิว เช่น นางพันธุรัตทรงผมจะสั้นเตียน เหมือนทรงทหาร กายสีฟ้าอ่อน และตัวยักษ์ อื่นๆ มีลักษณะสีผิวที่ต่างๆกันตามระดับของวรรณะ 6. ภาพต้นไม้ การเขียนภาพต้นไม้ ในจิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ มีวิธีการหลากหลายทั้ง ได้รับรูปแบบอิทธิพลศิลปะจากภาคกลางและจิตรกรปรับพัฒนามาเป็นลักษณะของตนเอง การเขียน วิธีการแบบสมัยรัชกาลที่ 5 คือใช้พู่กันและเปลือกกระดังงา เป็นเครื่องมือสําหรับเขียนภาพ การเขียน ต้นไม้ในจิตรกรรมฝาผนัง วัดพระสิงห์ จะให้น้ําหนักค่อนข้างเข้ม เพื่อเป็นการเน้นตัวภาพให้เด่น มากกว่าที่จะเน้นชนิดต่างๆ ของต้นไม้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังคงรักษาหน้าที่ขององค์ประกอบในส่วน


31 นี้ไว้เช่นเดิม คือช่วยแบ่งเรื่องราวของภาพเป็นตอนๆซึ่งเป็นวิธีการอันชาญฉลาดของครูช่างเขียนไทย โบราณ วิธีการและและกระบวนการเขียนภาพต้นไม้การระบาย – ตัด คือการเขียนต้นไม้ที่มีลักษณะ ลําต้นและใบค่อนข้างใหญ่ โดยการระบายสีไปตามรูปทรงของไม้ที่ต้องการ แล้วตัดเส้นเพื่อเน้น รายละเอียดของต้นไม้ชนิดนั้นๆ การเขียนต้นไม้ที่มีลักษณะลําต้นและใบเรียวเล็ก แหลม วิธีการคือใช้ พู่กันจุ่มสีแล้วลากแล้วค่อนๆตวัดพู่กันขึ้นไปตามลักษณะของต้นไม้ชนิดนั้นเพียงครั้งเดียวและอีก วิธีการคือการแตะ – จิ้ม เป็นการเขียนต้นไม้ที่มีลักษณะใบไม่ใหญ่มากนัก คือใบขนาดกลางไม่สามารถ เขียนรายละเอียดของใบได้ โดยใช้พู่กันจุ่มสีแล้วจิ่ม-แตะ อาจใช้ส่วนปลาย หรือตะแคลงพู่กันแล้วแต่ ลักษณะของใบไม้ ชนิดนั้นๆ แล้วยกพู่กันขึ้นไม่ต้องลากตวัด และ วิธีการทิ่ม - กระทุ้ง การเขียนต้นไม้ ที่มีใบเล็ก หรือต้นไม้ระยะไกล ช่างเขียนจะใช้เปลือกไม้ทําเป็นเครื่องในการเขียน ค่อยๆกระทุ้งเป็นพุ่ม ด้วยน้ําหนักอ่อนแก่ แล้วเขียนกิ่ง ก้าน ลําต้น เพิ่มลงไปทีหลังทําให้เกิดมิติในภาพจิตรกรรม 7. ภาพสัตว์ ลวดลายภาพสัตว์ที่นํามาใช้ในงานจิตรกรรมนั้น มักจะใช้ในลักษณะของ “สัญลักษณ์” แทนค่าสิ่งใดในสิ่งหนึ่ง หรือทําหน้าที่พิทักษ์ศาสนสถานหรือแสดงถึงพละกําลัง หรือ แสดงให้เห็นถึงความเป็นธรรมชาติ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เช่น สัตว์ที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ ได้แก่ รูปนกแก้ว นกฮูก เสือ หงส์ ลิง ค่าง เป็นต้น และสัตว์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจากจินตนาการ หรือสัตว์หิม พานต์ ซึ่งมีภาวะระหว่างสัตว์ตามธรรมชาติและสัตว์สวรรค์ ได้แก่กินนร-กินรี เป็นอมนุษย์พวกหนึ่ง ปรากฏในเทพปกรณัมมีรูปร่างครึ่งมนุษย์ ครึ่งสัตว์ และคล้ายคลึงกับคนธรรพ์ คือเป็นนักดนตรี จาก ข้อความในคัมภีร์ปุราณะกล่าวว่า เหล่ากินนร กินรี จะถือพิณ ส่วนคนธรรพ์ ถือพวงมาลัย หรือ แก้วมณีเหาะล่องลอยอยู่ในบรรยากาศ และสัตว์จตุบาท เช่น ตัวมอม ในพจนา นุกรมล้านนา ให้ ความหมายของ มอม ว่าคือ สัตว์ครึ่งลิงครึ่งเสือ และ ตัวลวง ตัวลวงของล้านนามีลักษณะคล้าย มังกรและพญานาครวมกัน จะมีเขา ปีก และขา เชื่อว่าคําว่า “ลวง” เป็นชื่อที่เพี้ยนมาจากคําว่า “เล้ง” ที่แปลว่า มังกร ซึ่งมีความหมายถึงพลัง อํานาจ ความยิ่งใหญ่ เพศชาย เป็นต้น 8. ภาพอาคารสถาปัตยกรรม ภาพอาคารสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง สําหรับภาพ ผนังด้านสังข์ทองนั้น ตัวอาคารที่ปรากฏมีทั้งอาคารปราสาทราชวังและบ้านเรือนของชาวบ้าน อาคาร ทรงปราสาทราชวัง จิตรกรต้องการนําเสนอให้ดูเด่น โดยเน้นอย่างวิจิตรบรรจง มีการปิดทองส่วน เครื่องบนปราสาททั้งการตกแต่งก็ละเอียดลออ ปราสาทราชวังเป็นยอดแบบพม่า หลังคาใช้กระเบื้อง เกล็ดเต่าวงโค้ง ที่มุมประตูเมืองมีศาลาโถงสูงและมีสิงห์ที่เชิงบันไดแบบพม่า ตรงส่วนปลายช่อฟ้าของ ตัวปราสาทห้อยกระดิ่ง มีใบโพธิ์ห้อย ภายในปราสาทมีอัจกลับและโคมแก้วติดผนังเป็นการประดับ ซึ่งเป็นความนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 ตอนต้น สําหรับภาพเขียนฝาผนังด้านสุวรรณหงส์ลักษณะของยอดปราสาทเป็นแบบภาคกลาง ดังนั้น จะเห็นว่าช่างเชียงใหม่เขียนอาคารปราสาทราชวังบางหลัง โดยได้รับอิทธิพลจากรัตนโกสินทร์โดยทํา เป็นยอดปรางค์ปิดทองส่วนอาคารที่เป็นเรือนของชาวบ้าน มีรูปแบบผสมผสาน กับลักษณะบ้านเรือ ของทางภาคกลางเข้าไป เช่น ป้านลมกลับเป็นแบบภาคกลาง แต่ไม่ปรากฏภาพที่มีลักษณะเด่นของ บ้านทางเหนือเช่นกาแลหรือร้านน้ํา ตรงเฉลียงของบ้านก็มีการฉลุไม้คล้ายกับบ้านสมัยรัชกาลที่ 5 6 อันเป็นลักษณะบ้านเรือนแบบภาคกลางมากกว่าบ้านทางล้านนาในยุคสมัยนั้น


32 9. ภาพเครื่องใช้ไม้สอย ภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคํา วัดพระสิงห์ ปรากฏภาพเครื่องใช้สอย ที่จิตรกรได้เขียน ไว้หลายประเภทและรูปแบบที่แตกต่างกันตามการใช้งาน แบ่งตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้ คือ 1. กลุ่มเครื่องสูงของชนชั้นกษัตริย์ และเจ้าเมือง เช่น ขันคํา (พานพระศรี) น้ําต้นคํา (คณโฑ) อองน้ําหมากคํา (กระโถน) ร่ม (จ้อง) ร่มที่พบจิตรกรรมมีทั้งร่มขนาดใหญ่ที่ทําหน้าที่กาง แทนฉัตร เป็นร่มลักษณะชั้นอย่างพม่าใช้กับเจ้านายและตุงที่พบในภาพจิตรกรรมเป็นตุงที่เทวดาเหาะ ถืออยู่ในมือเป็นตุงสามเหลี่ยม การถวายตุงเชื่อกันว่าจะมีอานิสงส์มาก สามารถช่วยให้มนุษย์พ้นจาก นรกได้ เป็นต้น 2. กลุ่มข้าวของเครื่องใช้ ในชีวิตประจําวันของชาวบ้าน เช่นร่ม (จ้อง) ลักษณะเป็นร่มถือแบบ เล็กที่ทําจากกระดาษสา โครงเป็นไม้ไผ่ เปี๊ยด (กระบุง) เป็นกระบุงปากกว้างครอบปากด้วยหวาย ใส่เชือกสอดทั้ง 4 ด้านเอาเงื่อนเชือกผูกรวมกัน เพื่อสอดไม้คานเข้าไป น้ําคุและน้ําถุ้ง เป็นอุปกรณ์ ตักน้ําจากบ่อ มีขาไขว้กัน ผิวทาด้วยน้ํามันยางหรือรักเพื่อป้องกันไม่ให้น้ํารั่ว น้ําถุ้งจะมีขนาดเล็กกว่า น้ําคุ แอ๊บข้าว คือกล่องใส่ข้าวขนาดเล็กสานด้วยไม้ไผ่มีฝาปิดและ ย่าม เป็นถุงย่ามสะพายบ่า มักใช้ เวลาเดินทางเพื่อใส่ของมีสีสันลวดลายตามรูปแบบของกลุ่มชนชาติพันธุ์ เป็นต้น จิตรกรรมฝาผนังล้านนาภายในวิหารวัดบวกครกหลวง จิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอีกกรณีศึกษา ที่มี ลักษณะเด่นเฉพาะพื้นถิ่นของฝีมือช่างไทใหญ่ในล้านนา ถือเป็นตัวอย่างงานจิตรกรรม แบบไทใหญ่ที่ ดีที่สุดลักษณะที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของจิตรกรรมฝีมือช่างไทใหญ่ สะท้อนให้เห็นถึงการได้รับ อิทธิพลทางวัฒนธรรมชั้นสูง ของพม่ามาใช้ในงานคือ การเขียนภาพบุคคล การแต่งกายเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะคล้ายกับ สถาปัตยกรรมของศิลปะพม่า โดยช่าง เขียนภาพบุคคลชั้นสูง เช่น กษัตริย์หรือตัวเอกของเรื่องให้มีเครื่องทรง อย่างกษัตริย์พม่า รวมถึง รูปแบบปราสาทที่ประทับ ก็จะเป็นอาคารทรงพญาธาตุอันเป็นแบบอย่างสถาปัตยกรรมชั้นสูงของพม่า ภาพบุคคลชั้นรองและชาวบ้าน ก็จะมีรูปแบบอย่างชาวล้านนาทั่วไป ในด้านของเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ ที่นํามาเขียนนั้น มักเป็นเรื่องราวหลักที่นิยมทั่วไป ได้แก่ พุทธประวัติและชาดก เป็นต้น ลักษณะองค์ประกอบจะเป็นแบบกลุ่มภาพย่อยภายในกรอบลายหรือห้องภาพที่สัมพันธ์ ต่อเนื่องกันไปทั้งอาคาร โดยลําดับจากเรื่องทศชาติชาดกแล้วต่อด้วยเรื่องพุทธประวัติ ตั้งต้นจาก ตอนหน้าอาคารด้านทิศเหนือเข้าไปและย้อนออกมาทางด้านทิศใต้ เรื่องหลักทั้งสองนอกจากจะเขียน ไม่ครบตลอดทั้งเรื่องแล้ว ในบางช่วงยังมีการสลับตําแหน่งหรือปะปนกันอีกด้วย เช่น การที่ช่างได้ นําเรื่องเวสสันดรชาดก ซึ่งเป็นพระชาติสุดท้ายมาเขียนแทรกไว้ก่อน หรือมีการเขียนภาพตอนประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะแทรกปนอยู่ในห้องภาพเดียวกับเรื่องวิทูรบัณฑิต เป็นต้น โครงสร้างของสีส่วนใหญ่ คือเขียนบนพื้นสีขาวที่เตรียมไว้ ส่วนใดเป็นสีอ่อนก็จะระบายสี อ่อน ๆ คล้ายเทคนิคสีน้ํา สีที่ใช้ และวิธีการใช้ที่ให้ผลทางความรู้สึกต่อคนดูอย่างรุนแรงมากที่สดุ ในจํานวนจิตรกรรมฝาผนังลานนาทั้งหมด ขอให้พิจารณาที่สีที่ใช้มีอยู่ ๖ สี ได้แก่ สีขาว สีดํา สี


33 แดงชาด สีคราม สีน้ําตาล และสีทองคําเปลว สีขาว ใช้เป็นสีพื้นภาพทั่วไป และเป็นสีผิวกายของ ภาพบุคคล สีดําเป็นสีที่ใช้ตัดเส้นภาพทั้งหมดและใช้ระบายถมพื้นที่ภายในกรอบสินเทาเพื่อเน้น ความสําคัญและชักนําความสนใจภาพสถาปัตยกรรม สีแดงชาดบางครั้งก็ใช้ระบายเป็นกรอบสินเทา ซ้อนกรอบสินเทาสีดําไว้อีกชั้นหนึ่ง เป็นการเน้นความสนใจในภาพสถาปัตยกรรมยิ่งขึ้นไปอีก แต่ โดยมากสีแดงชาดจะถูกใช้ป้ายเป็นแถบสีคดเคี้ยวแสดงลักษณะเนินดินและเนินเขา ขณะเดียวกันก็ใช้ สีครามคล้ําเล็กน้อย (สีครามผสมกับสีดํา ซึ่งมีปริมาณน้อยมาก เพียงเพื่อลดความสดใสของสีแต่ไป เพิ่มความเข้มข้นหนักแน่นให้กับสีครามป้ายเป็นแถบสีคดเคี้ยวไปมาแสดงเนินดินและเนินเขาเคียงคู่ กับสีแดงอยู่เสมอ น่าสังเกตว่าปรกติเนินดินและเนินเขานั้น ถ้าถือตามข้อเท็จจริงตามตาเห็น สีที่ควร จะระบาย คือสีน้ําตาล สีน้ําตาลกลับถูกนําไปใช้ระบายแสดงพื้นชานของปราสาท ซึ่งทั่วไปสร้างด้วย ไม้กระดาน สําหรับในจิตรกรรมฝาผนังนี้ช่างเขียนจะเขียนพื้นชานเป็นลายเส้นให้รู้ว่าเป็นพื้นไม้ กระดาน สีทองคําเปลวมีใช้น้อยมาก รูปแบบและลักษณะจิตรกรรมฝาผนังล้านนาภายในวิหารวัดบวกครกหลวง 1. ภาพพระพุทธเจ้าและพระสาวก ลักษณะของการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดบวก ครกหลวง ภาพพระพุทธเจ้าในจิตรกรรมฝาผนังนี้ ตามพระพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปพม่า สมัย มัณฑเลย์ จิตรกรอาจได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากพม่า ดังในภาพจิตรกรรมฝาผนัง ด้านทิศใต้เล่า เรื่องพุทธประวัติตอนทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา และตอนพระอินทร์ทรงดีดพิณสามสาย ถวายนิมิตทางสายกลาง ถวายแด่พระพุทธเจ้า ส่วนภาพของพระสาวก ลักษณะของการนุ่งห่มผ้า คล้ายกับพระภิกษุของพม่า ดังนี้เป็นต้น 2. ภาพเทวดา ที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนัง แสดงภาพเทวดา คือ พระอินทร์ทรงดีดพิณ สามสายถวายนิมิตทางสายกลาง ถวายแด่พระพุทธเจ้า และเทวดาที่ปรากฏในเรื่องราวต่างๆ การแต่ง เครื่องทรงคล้ายลักษณะ เครื่องทรงของกษัตริย์พม่า ผสมผสานกับเครื่องแต่งกายแบบไทใหญ่ ทั้งนี้ เพราะชาวไทยใหญ่นิยมยืมวัฒนธรรมชั้นสูงของพม่ามาใช้ในราชสํานักของตน 3. ภาพ ตัวพระ ตัวนาง ลักษณะของการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง ถือ เป็นแบบที่งดงามมีความเป็นเอกลักษณ์ลักษณะเฉพาะของกลุ่มฝีมือช่างสกุลไทยใหญ่ การใช้พู่กันตัด เส้นที่ขนาดค่อนข้างหนา เส้นที่ตัดภาพมีพลังความแข็งแรงและให้ความรู้สึกสนุกสนานมีชีวิตจิตใจ เช่น เจ้าชายสิทธัตถะ และพระราชาในชาดกจะเขียนให้แต่งเครื่องทรงอย่างกษัตริย์พม่า ทั้งนี้เพราะ ชาวไทยใหญ่นิยมยืมวัฒนธรรมชั้นสูงมาใช้ในราชสํานักของตนส่วนวัฒนธรรมไทยใหญ่แท้ๆ จะปรากฏ อยู่ในชีวิตประจําวัน ในภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้จะเห็นเจ้าชายสิทธัตถะทรงเครื่องต้นอย่างเจ้าชายพม่า เครื่องทรงของเจ้าชายสิทธัตถะปิดทองคําเปลวสุกปลั่งไปทั้งพระองค์ ส่วนลักษณะของภาพตัวนาง จิตรกรได้เขียนแสดงกิริยาอาการ ตามแบบนาฏลักษณ์ของล้านนา เครื่องทรงมักใส่ผ้าซิ่นลุนตยา ซึ่ง มักนิยมนุ่งในราชสํานักพม่า และใช้ผ้าห่มคลุม ไม่นิยมสวมเสื้อและเปิดหน้าอก แต่ใส่เครื่องประดับทั้ง กําไล ตุ้มหู เพื่อแสดงถึงการเป็นชนชั้นเจ้านาย เป็นต้น 4. ภาพข้าหลวง หรือข้าราชบริพารที่เฝ้าแหนอยู่ในพระราชวัง ลักษณะกลุ่มของข้าหลวง ชาย นิยมนุ่งผ้าโจงกระเบนลายดอกแต่ถกขึ้นสูงเปิดให้เห็นการสักลายที่ขา ไม่สวมเสื้อ มีผ้าห่มคลุม


34 แบบลายดอกไว้ทรงผมแบบมหาดไทย เหล่านางสนมนุ่งผ้าซิ่นตีนจกและห่มผ้าสะหว้ายแหล้ง ผ้าที่ ห่มลงเป็นผ้าฝ้ายมีลวดลายและไม่ได้คาดทับหรือห่มมิดชิด คงนํามาพับพาดบ่าอย่างหลวมๆ เท่านั้น แสดงให้เห็นถึง ลักษณะการผสมผสานการแต่งกายของภาคกลางกับล้านนาอย่างชัดเจน 5. ภาพกาก คือภาพเขียนที่เป็นตัวประกอบในเรื่อง เป็นบุคคลที่ไม่สําคัญ เช่นชาวบ้าน สามัญ แสดงวิถีชีวิตชาวบ้านทั่วไป ภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวักบวกครกหลวง ปรากฏภาพที่เป็นวิถี ชีวิตพื้นบ้านที่แสดงออกให้เห็นถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้น ดังในภาพ ยังมีภาพคติ เกี่ยวกับการทําบุญเป็นรูปชาวบ้านเดินเป็นแถวนําข้าวของไปทําบุญที่วัด อีกทั้งในด้านของเครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกายของชาวบ้าน เช่น ผู้ชาย มักใส่ผ้าต้อย หรือผ้าโจงกระเบน แบบสั้น เปิดให้เห็นรอยสัก บนขา แสดงถึงลักษณะความเป็นชายหาญล้านนา ส่วนท่อนบนไม่ใส่เสื้อ ส่วนผู้หญิงใส่ผ้าซิ่นลายก่าน คอควาย ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น ท่อนบนนิยมเปลือยหน้าอก หรือใช้ผ้าสะหว้ายแหล้งแบบเฉียง เป็น ผ้าสไบคลุม ทรงผมนิยมเกล้าผมมวยด้ายหลังและปักปิ่น ใส่ตุ้มหูลาน 6. ภาพตัวยักษ์ ยักษ์ มาร ยักษ์นั้นเขียนตาพอง มีหนวดมีเขี้ยวเหมือนคนจริงๆ คติการ เขียนภาพยักษ์ทางดินแดนล้านนา ไม่เหมือนกับทางภาคกลาง แต่งเครื่องแต่งองค์เป็นคล้ายกับแบบ เทวดาพม่าหรือชนชั้นเจ้านายของพม่า 7. ภาพต้นไม้ การเขียนภาพต้นไม้ ในจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง ได้รับรูปแบบ อิทธิพลศิลปะจากภาคกลางและจิตรกรปรับพัฒนามาเป็นลักษณะของตนเอง คือใช้พู่กันและเปลือก กระดังงา เป็นเครื่องมือสําหรับเขียนภาพ การเขียนต้นไม้ในจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง จะให้ น้ําหนักค่อนข้างเข้ม เพื่อเป็นการเน้นตัวภาพให้เด่น มากกว่าที่จะเน้นชนิดต่างๆ ของต้นไม้ ภาพ โดยรวมของการเขียนต้นไม้จิตรกรมักใช้วิธีการทิ่ม - กระทุ้ง การเขียนต้นไม้ที่มีใบเล็ก หรือต้นไม้ ระยะไกล ช่างเขียนจะใช้เปลือกไม้ทําเป็นเครื่องในการเขียน ค่อยๆกระทุ้งเป็นพุ่มด้วยน้ําหนักอ่อนแก่ แล้วเขียนกิ่ง ก้าน ลําต้น เพิ่มลงไปทีหลังส่วนมากจะเขียนไว้ด้านหลังของเส้นสินเทา เพื่อแบ่งเรื่องราว ของภาพเป็นตอนๆ 8. ภาพสัตว์ ลวดลายภาพสัตว์ที่นํามาใช้ในงานจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงนั้น มักจะ ใช้แสดงให้เห็นถึงความเป็นธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ เช่น สัตว์ที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ ได้แก่ รูปนก ช้าง เสือ ลิง ค่าง เก้ง กวาง เป็นต้น และสัตว์ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจากจินตนาการ หรือสัตว์ หิมพานต์ ซึ่งมีภาวะระหว่างสัตว์ตามธรรมชาติและสัตว์สวรรค์ เช่น พญานาค เป็นต้น สัตว์จตุบาท เช่น ตัวมอม คือ สัตว์ครึ่งลิงครึ่งเสือ เป็นต้น ตัวลวง ตัวลวงของล้านนามีลักษณะคล้ายมังกร และพญานาครวมกัน จะมีเขา ปีก และขา เชื่อว่าคําว่า “ลวง” เป็นชื่อที่เพี้ยนมาจากคําว่า “เล้ง” ที่ แปลว่า มังกร ซึ่งมีความหมายถึงพลัง อํานาจ ความยิ่งใหญ่ เพศชาย เป็นต้น 9. ภาพอาคารสถาปัตยกรรมภาพอาคารสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง ตัวอาคารที่ปรากฏ มีทั้งอาคารปราสาทราชวัง โดยจิตรกรเขียนอย่างวิจิตรบรรจง มีการปิดทองส่วนเครื่องบนปราสาท ทั้งการตกแต่งก็ละเอียดลออ รูปเครื่องบนยอดปราสาทในภาพเขียนเป็นเครื่องบนปราสาทพม่า เครื่องปรุงปราสาทต่างๆ ก็เป็นแบบพม่า ซึ่งได้รับอิทธิพลจิตรกรรมพม่า อาจจะเป็นเพราะว่าพม่าเคย มีอํานาจปกครองดินแดนล้านนามาเนิ่นนาน หลังคาใช้กระเบื้องดินขอ บางอาคารเขียนเป็นเส้นแนว ดิ่งหรือภาพตาราง เป็นต้น ส่วนอาคารบ้านเรือนของชาวบ้านทั่วไป จิตรกรนิยมเขียนให้เรียบง่ายสร้าง ความแตกต่างโดยไม่มีหลังคาแบบซ้อนชั้นอย่างปราสาทราชวัง ลักษณะคล้ายกับบ้านเรือนของไทใหญ่


35 10. ภาพเครื่องใช้สอย ภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดบวกครกหลวง ปรากฏภาพเครื่องใช้ สอย ที่จิตรกรได้เขียนไว้หลายประเภทและรูปแบบที่แตกต่างกันตามการใช้งาน แบ่งตามลักษณะการ ใช้งาน ดังนี้ คือ 1. กลุ่มเครื่องสูงของชนชั้นกษัตริย์ และเจ้าเมือง มีลักษณะคล้ายกับเครื่องสูงของกษัตริย์พม่า เช่น อูปคํา ขันคํา (พานพระศรี) น้ําต้นคํา (คณโฑ) ขันโตกเครื่องเขิน ขันหมากปิดทอง ร่ม (จ้อง) ร่มที่พบจิตรกรรมมีทั้งร่มขนาดใหญ่ที่ทําหน้าที่กางแทนฉัตร เป็นร่มลักษณะชั้นอย่างพม่าใช้กับเจ้านาย เป็นต้น 2. กลุ่มข้าวของเครื่องใช้ ในชีวิตประจําวันของชาวบ้าน เช่น ร่ม (จ้อง) ลักษณะเป็นร่มถือ แบบเล็กที่ทําจากกระดาษสา โครงเป็นไม้ไผ่เปี๊ยด (กระบุง) เป็นกระบุงปากกว้างครอบปากด้วยหวาย ใส่เชือกสอดทั้ง 4 ด้านเอาเงื่อนเชือกผูกรวมกันเพื่อสอดไม้คานเข้าไป กระทะ เตาไฟ เป็นต้น 11. ภาพลวดลายประดับกรอบภาพเขียน สันนิษฐานว่ากลุ่มช่างไทยใหญ่คงได้ความ บันดาลใจจากภาพปักบนผ้า เป็นศิลปะไทยใหญ่และพม่า ซึ่งนิยมใช้ในงานพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เป็นผ้าห่อพระคัมภีร์ เป็นต้น และยังใช้ในงานพิธีศพ โดยใช้คลุมโลงศพ ภาพปักนี้ทําด้วยผ้าผืน ใหญ่แล้วปักเป็นภาพเล่าเรื่องบ้าง เป็นลวดลายบ้าง และมีการใช้พลอยสีต่าง ๆ และแผ่นเงินแผ่น ทองติดเข้ากับลวดลายปักด้วย ช่างเขียนไทยใหญ่ที่เขียนจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงคงจะรักษา รูปแบบภาพปักฯ จึงเขียนลายกรอบใส่เข้าไปบนผนังด้วย ภาพเขียนวัดบวกครกหลวง มักเขียนเส้น เป็นลายขอบรูปหนา และขอบนั้นล้อมรอบรูปเขียนเป็นสี่เหลี่ยมหรือในกรณีการไม่ยึดกรอบลายเป็น ขอบเขตของภาพอย่างตายตัว ซึ่งพบว่ามีภาพบางส่วนเช่นยอดปราสาทที่ช่างได้เขียนล้ําเข้าไปใน กรอบลาย ทําให้สามารถลดความรู้สึกอึดอัดจากการมีกรอบบังคับลงไปได้เป็นอันมาก รูปแบบลักษณะจิตรกรรมฝาผนังล้านนาภายในวัดอุโมงค์ ลาดับ 1 2 3 4

รูปแบบ โครงสร้างลวดลายวัดอุโมงค์ ภาพสัตว์วัดอุโมงค์ ลายดอกไม้วัดอุโมงค์ ลายเมฆวัดอุโมงค์ รวม

จานวนภาพ 7 13 12 3 35


36 รูปแบบลักษณะจิตรกรรมฝาผนังล้านนาภายในวัดพระสิงห์ ลาดับ 1 2 3 4 5 6 7 8

รูปแบบ กากชายวัดพระสิงห์ กากหญิงวัดพระสิงห์ เครื่องใช้ไม้สอยวัดพระสิงห์ ตัวนางวัดพระสิงห์ เทวดาวัดพระสิงห์ ยักษ์วัดพระสิงห์ สถาปัตยกรรมวัดพระสิงห์ สัตว์วัดพระสิงห์ รวม

จานวนภาพ 53 16 6 14 11 14 16 16 146

รูปแบบลักษณะจิตรกรรมฝาผนังล้านนาภายในวัดบวกครกหลวง ลาดับ 1 2 3 4 5 6 7 7 8 9 10 11

รูปแบบ กากหรือชาวบ้านวัดบวกครก ข้ารับใช้หญิงวัดบวกครก ข้าหลวงชายวัดบวกครก เครื่องใช้วัดบวกครก ต้นไม้วัดบวกครก ตัวนางวัดบวกครก ตัวพระวัดบวกครก เทวดาวัดบวกครก พระพุทธเจ้าและสาวกวัดบวกครก ลวดลายประดับกรอบวัดบวกครก สถาปัตยกรรมวัดบวกครก สัตว์วัดบวกครก รวม รวมทั้งหมด

จานวนภาพ 17 4 4 5 5 6 10 3 8 6 10 19 97 278


37 โครงสร้างลวดลายวัดอุโมงค์ 7 ภาพ


38


39


40


41 ภาพสัตว์วัดอุโมงค์ 13 ภาพ


42


43


44


45


46


47


48 ลายดอกไม้วัดอุโมงค์ 12 ภาพ


49


50


51


52


53


54


55 ลายเมฆวัดอุโมงค์ 3 ภาพ


56


57 กากชายวัดพระสิงห์ 5 ภาพ


58


59


60


61


62


63


64


65


66


67


68


69


70


71


72


73


74


75


76


77


78


79


80


81


82


83


84 กากหญิงวัดพระสิงห์


85


86


87


88


89


90


91


92 เครื่องใช้ไม้สอยวัดพระสิงห์ 6 ภาพ


93


94


95


96

ตัวนางวัดพระสิงห์ 15 ภาพ


97


98


99


100


101


102


103


104 เทวดาวัดพระสิงห์ 11 ภาพ


105


106


107


108


109


110 ยักษ์วัดพระสิงห์ 14 ภาพ


111


112


113


114


115


116


117

2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลด้านการนาเอาคอมพิวเตอร์กราฟิกมามีส่วนร่วมในงานจิตกรรมฝา ผนัง


118 สถาปัตยกรรม วัดพระสิงห์ 16 ภาพ


119


120


121


122


123


124


125


126


127

สัตว์วัดพระสิงห์ 16 ภาพ


128


129


130


131


132


133


134


135


136 กากหรือชาวบ้านวัดบวกครก


137


138


139


140


141


142


143


144


145 ข้ารับใช้หญิงวัดบวกครก


146


147


148 ข้าหลวงชายวัดบวกครก


149


150


151 เครื่องใช้วัดบวกครก


152


153


154 ต้นไม้วัดบวกครก


155


156


157 ตัวนางวัดบวกครก


158


159


160


161 ตัวพระวัดบวกครก


162


163


164


165


166


167 เทวดาวัดบวกครก


168


169 พระพุทธเจ้าและสาวกวัดบวกครก


170


171


172


173 ลวดลายประดับกรอบวัดบวกครก


174


175


176


177 สถาปัตยกรรมวัดบวกครก


178


179


180


181


182


183 สัตว์วัดบวกครก


184


185


186


187


188


189


190


191


192


193 บทที่ ๕ สรุปการอภิปรายผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ สรุปผลการวิจัย การวิจัยเรื่อง กรณีศึกษา จิตรกรรมฝาผนังวัด ในจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง พุทธศตวรรษ ที่ 20-24 ด้วยกระบวนการทางคอมพิวเตอร์กราฟิก ในครั้งนี้มาจากความประทับใจ ความเป็นมาใน แนวคิด รูปแบบของจิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ จิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ และจิตรกรรมฝาผนัง วัดบวกครก และต้องการที่จะอนุรักษ์มรดกทางศิลปกรรม และการเผยแพร่ ให้กับสังคมได้รับความรู้ โดยตระหนักถึงปัญหา และแนวทางการแก้ไข และยังเป็นโครงการที่จุดประกายให้มีการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามามีบทบาท กับงานจิตรกรรมฝาผนัง งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์จากภาพถ่าย และได้นําเอากระบวนการทางComputer Graphicเข้ามามีบทบาทจัดทําเป็นภาพให้เป็นภาพลายเส้น ทางด้านคอมพิวเตอร์เพื่อจะแสดงลายละเอียดและจัดหมวดหมู่ ในส่วนต่างๆของภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดอุโมงค์ วัดพระสิงห์ วัดบวกครกหลวง และนําเสนอด้วยระบบมัลติมีเดีย ผลการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดําเนินการวิจัยตามกําหนดของแผน ในการดําเนินงานวิจัยตาม หัวข้อของการวิจัยโดยเกิดความรู้ความเข้าใจ ในแนวคิด รูปแบบ การสร้างงานจิตรกรรมฝาผนัง และ กระบวน โดยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่กําหนดไว้ ดังนี้ 1. เพื่อเผยแพร่คุณค่าของงาน จิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ จิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ และจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง ในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย ให้เป็นคลังความรู้สู่ชุมชน และเป็น สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2. เพื่อนําเทคโนโลยีด้าน Computer Graphic มาประยุกต์ใช้อนุรักษ์จิตรกรรม ฝาผนัง วัดอุโมงค์ จิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ และจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง 3. เพื่อเป็นโครงการต้นแบบ สําหรับการศึกษา ด้านการอนุรักษ์ จิตรกรรมฝาผนัง แห่ง อื่นๆ โดยใช้เทคโนโลยีด้าน Computer Graphic เข้ามามีบทบาทในการจัดเก็บอนุรักษ์รักษา 4. เพื่อให้ชุมชนเกิดจิตสํานึกรัก และหวงแหน องค์ความรู้งานจิตรกรรมฝาผนังล้านนา 5. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างสถาบันการศึกษา กับชุมชน ต่างๆ ปัญหา การดําเนินงานวิจัยกรณีศึกษา จิตรกรรมฝาผนังวัด ในจังหวัดเชียงใหม่ระหว่าง พุทธศตวรรษ ที่ 20-24 ด้วยกระบวนการทางคอมพิวเตอร์กราฟิก ผู้วิจัยได้ประสบปัญหาในด้านต่างๆ เช่น ปัญหา โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป ที่มีอยู่ในท้องตลาดไม่สามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้ครบถ้วน ปัญหาของตัวภาพจิตรกรรมฝาผนัง ชํารุดเสียหายเสื่อมสภาพ ไปมาก จนภาพบางภาพคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถจัดการให้สมบูรณ์เหมือนต้นฉบับเดิมได้ การอนุรักษ์ รักษา ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ไม่เป็นไป ในแนวทางเดียวกัน จนทําให้ภาพจิตกรรมฝาผนังขาดคุณค่าอย่างที่ควรจะเป็น จนทําให้ไม่สามารถ ดําเนินงานได้ตามแผนงานที่วางไว้บางประเด็น ได้อย่างครบถ้วน


194 อย่างไรก็ตามงานวิจัยในครั้งนี้ ได้ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และได้เล็งเห็นคุณค่าของงาน จิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ จิตรกรรมฝาผนังวัดพระสิงห์ และจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวง และ การนําเอา Computer Graphic เข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัย อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัยเองและ สังคมรอบข้าง ที่จะได้นําไปพัฒนาต่อยอด ทางด้านการจัดเรียนการสอน และ ก่อประโยชน์กับผู้สนใจ ในการที่จะศึกษาค้นคว้างานด้านทางด้าน Computer Graphic กับงานในลักษณะอื่นๆ หลากหลาย แขนง เพื่อเป็นสร้างองค์ความรู้ภูมิปัญญาของตนเอง ของล้านนา และประเทศชาติ ต่อไป


195 บรรณานุกรม จิรศักดิ์ เดชวงค์ญา. ลวดลายปูนปั้นประดับโบราณสถานในเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์เมืองโบราณ, 2545 จิรศักดิ์ เดชวงค์ญาและคณะ.หอไตรวัดพระสิงห์ ประวัติลักษณะศิลปกรรมและแนวาทาง อนุรักษ์. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่, 2539 ฉัตรแก้ว สิมารักษ์. ประติมากรรมปูนปั้นรูปเทพชุมนุมประดับผนังวิหารวัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,2541 ภาณุพงษ์ เลาหสม. จิตรกรรมฝาผนังล้านนา. กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์เมืองโบราณ,2541 น ณ ปากน้ํา.ชุดจิตรกรรมฝาผนังประเทศไทยวัดพระสิงห์.กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์เมืองโบราณ,2526. น ณ ปากน้ํา.ชุดจิตรกรรมฝาผนังประเทศไทยวัดบวกครกหลวง.กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์เมือง โบราณ,2544. ม.ล สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์. เที่ยววัด เที่ยววาชมปูนปั้นล้านนา.กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์สายธาร ,2545. วัชรวีร์ วชิรเมธี,พระ.ประวัติและตานานวัดบวกครกหลวง.เชียงใหม่:ดาวคอมกราฟิก,2550. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์.(2544). วิหารล้านนา.กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์เมืองโบราณ,2544 สุรพล ดําริห์กุล. ลายคาล้านนา. กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์เมืองโบราณ,2544. สันติ เล็กสุขุม. หริภุญชัย – ล้านนา. กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์เมืองโบราณ,2538. สันติ เล็กสุขุม.ความสัมพันธ์ จีน-ไทย โยงใยในลวดลายประดับ. กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์เมือง โบราณ, 2538. สุรชัย จงจิตงาม. “หน้าประวัติศาสตร์ที่หายไปของงานจิตรกรรมล้านนาที่วัดอุโมงค์”. วารสารเมืองโบราณ.(45):ปีที่ 24 ฉบับ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2541. Du Boulay, Antony, Christie’s Pictorial History of Chinese Ceramic, (Oxford : Phaidon, 1984) Jean Boisselier, Thai Painting, (Japan : kodansha, 1976)


196 ภาคผนวก ส่วน ข : ประวัติคณะผู้วิจัย หัวหน้าโครงการวิจัย 1. ชื่อ – นามสกุล (ภาษาไทย) นายถาวร ฝั้นชมภู ชื่อ – นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) Mr. Thaworn Fanchompoo 2. เลขหมายบัตรประจําตัวประชาชน 3-5201-00871-64-0 3. ตําแหน่งปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 4. หน่วยงานที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้สะดวก พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และ e-mail คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ (เจ็ดยอด) เลขที่ 95 หมู่ 2 ตําบลช้างเผือก อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ : 0-5341-4250-2 โทรสาร : 0-5341-4253 5. ประวัติการศึกษา พศ. 2541 ศษ.ม. (เทคโนโลยีทางการศึกษา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พศ. 2533 วท.บ. (เวชนิทัศน์) มหาวิทยาลัยมหิดล 6. สาขาวิชาการที่มีความชํานาญพิเศษ (แตกต่างจากวุฒิการศึกษา) ระบุสาขาวิชาการ คอมพิวเตอร์กราฟิก, การผลิตสื่อมัลติมีเดีย 7. ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดย ระบุสถานภาพในการทําการวิจัยว่าเป็นผู้อํานวยการแผนงานวิจัย หัวหน้าโครงการวิจัย หรือผู้ร่วมวิจัยในแต่ละข้อเสนอการวิจัย 7.1 ผู้อํานวยการแผนงานวิจัย : ชื่อแผนงานวิจัย ไม่มี 7.2 หัวหน้าโครงการวิจัย : ชื่อโครงการวิจัย ไม่มี 7.3 งานวิจัยที่ทําเสร็จแล้ว : วิจัยร่วม สื่อเสริมการสอนด้านการวางแผนและการปฏิบัติการโปรแกรมการ ป้องกันและควบคุมมลพิษทางอุตสาหกรรม ผู้ร่วมโครงการวิจัย 1. ชื่อ – นามสกุล (ภาษาไทย) นายลิปิกร มาแก้ว ชื่อ – นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) Mr. Lipikorn Makaew 2. เลขหมายบัตรประจําตัวประชาชน 35013 00204702 3. ตําแหน่งปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 4. หน่วยงานที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้สะดวก พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และ e-mail คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


197 วิทยาเขตภาคพายัพ (เจ็ดยอด) เลขที่ 95 หมู่ 2 ตําบลช้างเผือก อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ : 0-5341-4250-2 โทรสาร : 0-5341-4253 5. ประวัติการศึกษา พศ. 2546 ศ.ม.( ศิลปมหาบัณฑิต )สาขาศิลปะไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร พศ. 2538 ศ.บ. (ศิลปบัณฑิต) สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยราชมงคล ธัญบุรี 6. สาขาวิชาการที่มีความชํานาญพิเศษ (ตรงวุฒิการศึกษา) ศิลปะไทยศิลปะพื้นบ้านล้านนา 7. ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดย ระบุสถานภาพในการทําการวิจัยว่าเป็นผู้อํานวยการแผนงานวิจัย หัวหน้า โครงการวิจัย หรือผู้ร่วมวิจัยในแต่ละข้อเสนอการวิจัย 7.1 ผู้อํานวยการแผนงานวิจัย : ชื่อแผนงานวิจัย ไม่มี 7.2 หัวหน้าโครงการวิจัย : ชื่อโครงการวิจัย ไม่มี 7.3 งานวิจัยที่ทําเสร็จแล้ว : ไม่มี 7.4 งานวิจัยที่กําลังทํา : ไม่มี


198

บรรณานุกรม จิรศักดิ์ เดชวงค์ญา. ลวดลายปูนปั้นประดับโบราณสถานในเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์เมืองโบราณ, 2545 จิรศักดิ์ เดชวงค์ญาและคณะ.หอไตรวัดพระสิงห์ ประวัติลักษณะศิลปกรรมและแนวาทาง อนุรักษ์. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่, 2539 ฉัตรแก้ว สิมารักษ์. ประติมากรรมปูนปั้นรูปเทพชุมนุมประดับผนังวิหารวัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร,2541 ภาณุพงษ์ เลาหสม. จิตรกรรมฝาผนังล้านนา. กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์เมืองโบราณ,2541 น ณ ปากน้ํา.ชุดจิตรกรรมฝาผนังประเทศไทยวัดพระสิงห์.กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์เมืองโบราณ,2526. น ณ ปากน้ํา.ชุดจิตรกรรมฝาผนังประเทศไทยวัดบวกครกหลวง.กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์เมือง โบราณ,2544. ม.ล สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์. เที่ยววัด เที่ยววาชมปูนปั้นล้านนา.กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์สายธาร ,2545. วัชรวีร์ วชิรเมธี,พระ.ประวัติและตานานวัดบวกครกหลวง.เชียงใหม่:ดาวคอมกราฟิก,2550. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์.(2544). วิหารล้านนา.กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์เมืองโบราณ,2544 สุรพล ดําริห์กุล. ลายคาล้านนา. กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์เมืองโบราณ,2544. สันติ เล็กสุขุม. หริภุญชัย – ล้านนา. กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์เมืองโบราณ,2538. สันติ เล็กสุขุม.ความสัมพันธ์ จีน-ไทย โยงใยในลวดลายประดับ. กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์เมือง โบราณ, 2538.


199 สุรชัย จงจิตงาม. “หน้าประวัติศาสตร์ที่หายไปของงานจิตรกรรมล้านนาที่วัดอุโมงค์”. วารสารเมืองโบราณ.(45):ปีที่ 24 ฉบับ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2541. Du Boulay, Antony, Christie’s Pictorial History of Chinese Ceramic, (Oxford : Phaidon, 1984) Jean Boisselier, Thai Painting, (Japan : kodansha, 1976)

ภาคผนวก ส่วน ข : ประวัติคณะผู้วิจัย หัวหน้าโครงการวิจัย 1. ชื่อ – นามสกุล (ภาษาไทย) นายถาวร ฝั้นชมภู ชื่อ – นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) Mr. Thaworn Fanchompoo 2. เลขหมายบัตรประจําตัวประชาชน 3-5201-00871-64-0 3. ตําแหน่งปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 4. หน่วยงานที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้สะดวก พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และ e-mail คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ (เจ็ดยอด) เลขที่ 95 หมู่ 2 ตําบลช้างเผือก อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ : 0-5341-4250-2 โทรสาร : 0-5341-4253 5. ประวัติการศึกษา พศ. 2541 ศษ.ม. (เทคโนโลยีทางการศึกษา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พศ. 2533 วท.บ. (เวชนิทัศน์) มหาวิทยาลัยมหิดล 6. สาขาวิชาการที่มีความชํานาญพิเศษ (แตกต่างจากวุฒิการศึกษา) ระบุสาขาวิชาการ คอมพิวเตอร์กราฟิก, การผลิตสื่อมัลติมีเดีย 7. ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดย ระบุสถานภาพในการทําการวิจัยว่าเป็นผู้อํานวยการแผนงานวิจัย


200 หัวหน้าโครงการวิจัย หรือผู้ร่วมวิจัยในแต่ละข้อเสนอการวิจัย 7.1 ผู้อํานวยการแผนงานวิจัย : ชื่อแผนงานวิจัย ไม่มี 7.2 หัวหน้าโครงการวิจัย : ชื่อโครงการวิจัย ไม่มี 7.3 งานวิจัยที่ทําเสร็จแล้ว : วิจัยร่วม สื่อเสริมการสอนด้านการวางแผนและการปฏิบัติการโปรแกรมการ ป้องกันและควบคุมมลพิษทางอุตสาหกรรม ผู้ร่วมโครงการวิจัย 1. ชื่อ – นามสกุล (ภาษาไทย) นายลิปิกร มาแก้ว ชื่อ – นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) Mr. Lipikorn Makaew 2. เลขหมายบัตรประจําตัวประชาชน 35013 00204702 3. ตําแหน่งปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 4. หน่วยงานที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้สะดวก พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และ e-mail คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ (เจ็ดยอด) เลขที่ 95 หมู่ 2 ตําบลช้างเผือก อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ : 0-5341-4250-2 โทรสาร : 0-5341-4253 5. ประวัติการศึกษา พศ. 2546 ศ.ม.( ศิลปมหาบัณฑิต )สาขาศิลปะไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร พศ. 2538 ศ.บ. (ศิลปบัณฑิต) สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยราชมงคล ธัญบุรี 6. สาขาวิชาการที่มีความชํานาญพิเศษ (ตรงวุฒิการศึกษา) ศิลปะไทยศิลปะพื้นบ้านล้านนา 7. ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดย ระบุสถานภาพในการทําการวิจัยว่าเป็นผู้อํานวยการแผนงานวิจัย หัวหน้า โครงการวิจัย หรือผู้ร่วมวิจัยในแต่ละข้อเสนอการวิจัย 7.1 ผู้อํานวยการแผนงานวิจัย : ชื่อแผนงานวิจัย ไม่มี 7.2 หัวหน้าโครงการวิจัย : ชื่อโครงการวิจัย ไม่มี 7.3 งานวิจัยที่ทําเสร็จแล้ว : ไม่มี 7.4 งานวิจัยที่กําลังทํา : ไม่มี


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.