วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2

Page 1

สารบัญ 1

บทบรรณาธิการ การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ วิจิตร ศรีสอ้าน กัณทิมา ศิริจีระชัย เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ บุญชัย วิจิตรเสถียร สุนิติยา เถื่อนนาดี อิศรา ประมูลศุข

43

เหลียวหลัง แลหน้า การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เอกราช แก้วเขียว

64

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ณัชติพงศ์ อูทอง

78

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของสถานประกอบการ: กรณีศึกษา บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด ธีรศักดิ์ สงวนมานะศักดิ์

97

Workshop on Development of Cooperative and Work-Integrated Education in Thailand Wichit Srisa-an

109

Current State and Challenges of Industry-University Cooperative Education in ASEAN Countries: What can Japan learn as a late starter? Wichit Srisa-an

119

การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วิจิตร ศรีสอ้าน วีรพงษ์ พลนิกรกิจ อิศรา ประมูลศุข นฤมล รักษาสุข บุรทิน ข�ำภิรัฐ นงเยาว์ สุค�ำภา

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2016

29

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี บุญชัย วิจิตรเสถียร กมลวรรณ บัณฑิตสาธิสรรค์ ศิริรัชนี ฉายแสง และ ผ่องพัตรา บุญระมาตร

วารสาร

www.tace.or.th

สหกิจศึกษาไทย

Thai Journal of Cooperative Education

ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2016

กองบรรณาธิการวารสารสหกิจศึกษาไทย สมาคมสหกิจศึกษาไทย

เลขที่ 111 ถนนมหาวิทยาลัย ต�ำบลสุรนารี อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000 โทรศัพท์ 044-223-058 โทรสาร 044-223-053 E-mail: tace@sut.ac.th Website: www.tace.or.th _16-0782 cover(P2).indd 1

8/3/59 BE 9:15 AM


วารสารสหกิจศึกษาไทย Thai Journal of Cooperative Education

Thai Journal of Cooperative Education

เจ้าของ: สมาคมสหกิจศึกษาไทย ที่ปรึกษา: นายกสมาคมสหกิจศึกษาไทย (ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน) วัตถุประสงค์: เพื่ อ เป็ น สื่ อ กลางเผยแพร่ ผ ลงานประเภทบทความวิ จั ย และบทความวิ ช าการด้ า นสหกิ จ ศึ ก ษาของอาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศ ตลอดจนเป็นแหล่งข้อมูลส�ำหรับผู้สนใจ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านสหกิจศึกษา บรรณาธิการ: ดร.นฤมล รักษาสุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กองบรรณาธิการ: การศึกษา 1. รองศาสตราจารย์ ดร.ไทย ทิพย์สุวรรณกุล นักวิชาการอิสระ 2. ดร.สุเมธ แย้มนุ่น นักวิชาการอิสระ 3. ดร.อลงกต ยะไวทย์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล การจัดการ และการท่องเที่ยว 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลลดา มงคลวนิช มหาวิทยาลัยสยาม 2. อาจารย์ ดร.สรียา วิจิตรเสถียร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัชนี นนทศักดิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา เกษตรศาสตร์ 1. ดร.พิพัฒน์ วีระถาวร นักวิชาการอิสระ 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ทีฆชุณหเถียร บริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) 3. รองศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์ พวงงามชื่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.วีรพงษ์ พลนิกรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรา อั่งสกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 3. อาจารย์ปรัชญาพร เลี้ยงสุทธิสกนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ภาษาอังกฤษ 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศรา ประมูลศุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 2. ดร.เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 3. ดร.พัชราพร รัตนวโรภาส มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิศวกรรมศาสตร์ 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญชัย วิจิตรเสถียร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 2. ดร.ธีระสุต สุขก�ำเนิด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 3. ดร.กิตติวัณณ์ นิ่มเกิดผล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ฝ่ายจัดการและธุรการ: นางสาวเกศินี เกิดถาวร ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ กองบรรณาธิการวารสารสหกิจศึกษาไทย สมาคมสหกิจศึกษาไทย 111 ถนนมหาวิทยาลัย ต�ำบลสุรนารี อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000 โทรศัพท์: 0 4422 3105 โทรสาร: 0 4422 3053 เว็บไซต์: www.tace.or.th อีเมล์ : tace@sut.ac.th

Owner: Thai Association for Cooperative Education Honorary Consultant: President of Thai Association for Cooperative Education (Professor Dr. Wichit Srisa-an) Objective: To become a medium for disseminating academic and research articles in the field of cooperative education produced by local and international lecturers, academics, and graduate students, as well as to be a resource for interested people to keep themselves updated with the development in cooperative education. Editor-in Chief: Dr.Narumol Ruksasuk Suranaree University of Technology Editors: Agricultural Science 1. Dr.Pipat Weerathaworn Independent Academic 2. Assistant Professor Dr.Thawatchai Teekachunhatean CP ALL Public Company Limited 3. Associate Professor Dr.Jukkaphong Poungngamchuen Maejo University Education 1. Associate Professor Dr.Thai Tipsuwannakul Independent Academic 2. Dr.Sumate Yamnoon Walailak University 3. Dr.Alongkot Yawai Vongchavalitkul University Engineering 1. Assistant Professor Dr.Boonchai Wichitsathian Suranaree University of Technology 2. Dr.Terasut Sookkumnerd Suranaree University of Technology 3. Dr.Kittiwann Nimkerdphol Rajamangala University of Technology Thanyaburi English 1. Assistant Professor Dr.Issra Pramoolsook Suranaree University of Technology 2. Dr.Ketwadee Buddhabhumbhitak Naresuan University 3. Dr.Patcharaporn Ratthanawaropad Sripatum University Information Technology 1. Associate Professor Dr.Weerapong Polnigongit Suranaree University of Technology 2. Assistant Professor Dr.Thara Angskun Suranaree University of Technology 3. Ms. Prachyaporn Liangsutthisakon King Mongkut’s University of Technology North Bangkok Management and Tourism 1. Assistant Professor Dr.Chollada Mongkhonvanit Siam University 2. Dr.Sareeya Wichitsathian Suranaree University of Technology 3. Assistant Professor Patchanee Nontasak Burapha University Publishing Editor: Miss Kesinee Kerdthaworn The Center for Cooperative Education and Career Development Suranaree University of Technology All inquiries should be sent to the editor Thai Journal of Cooperative Education Office Thai Association for Cooperative Education (TACE) 111 University Avenue, Sub District Suranaree, Muang District, Nakhon Ratchasima 30000, THAILAND Tel.: +66 44 223105 Fax: +66 4422 3053 Website: http://www.tace.or.th E-mail: tace@sut.ac.th

_16-0782 cover(P2).indd 2

บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารได้ผ่านการตรวจสอบเชิงวิชาการจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่านต่อบทความ ลิขสิทธิ์ของบทความที่ลงพิมพ์ในวารสารฉบับนี้เป็นของสมาคมสหกิจศึกษาไทย

All articles are subject to peer review prior to publication. The Thai Association for Cooperative Education owns the copyright of all the articles published in this journal.

8/3/59 BE 9:15 AM


i

สารบัญ บทบรรณาธิการ การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ วิจิตร ศรีสอ้าน กัณทิมา ศิริจีระชัย เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ บุญชัย วิจิตรเสถียร สุนิติยา เถื่อนนาดี อิศรา ประมูลศุข

หน้า 1

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี บุญชัย วิจิตรเสถียร กมลวรรณ บัณฑิตสาธิสรรค์ ศิริรัชนี ฉายแสง และ ผ่องพัตรา บุญระมาตร

29

เหลียวหลัง แลหน้า การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เอกราช แก้วเขียว

43

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ณัชติพงศ์ อูทอง

64

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของสถานประกอบการ: กรณีศึกษา บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด ธีรศักดิ์ สงวนมานะศักดิ์

78

Workshop on Development of Cooperative and Work-Integrated Education in Thailand Wichit Srisa-an

97

Current State and Challenges of Industry-University Cooperative 109 Education in ASEAN Countries: What can Japan learn as a late starter? Wichit Srisa-an การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วิจิตร ศรีสอ้าน วีรพงษ์ พลนิกรกิจ อิศรา ประมูลศุข นฤมล รักษาสุข บุรทิน ข�ำภิรัฐ นงเยาว์ สุค�ำภา

119

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(000)P2.indd 1

8/3/59 BE 9:15 AM


ii

บทบรรณาธิการ นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2536 ที่ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้านได้น�ำระบบการศึกษา “สหกิจศึกษา” มาใช้ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จนถึงปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าการจัด สหกิจศึกษาภายในประเทศประสบผลส�ำเร็จอย่างดียิ่ง เนื่องจากส่งผลให้บัณฑิตที่จบการศึกษา หลักสูตรสหกิจศึกษา “รูจ้ กั ตน รูจ้ กั คน รูจ้ กั งาน” และ “รูช้ ดั ปฏิบตั ไิ ด้” สามารถท�ำงานตอบสนอง ความต้องการของตลาดแรงงานภายในประเทศ และเพือ่ เป็นการเตรียมบัณฑิตให้พร้อมเข้าสูต่ ลาด แรงงานยุคใหม่ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและประชาคมโลก สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย หลายแห่งได้เริม่ จัดสหกิจศึกษานานาชาติเพือ่ สร้างประสบการณ์การท�ำงาน ณ สถานประกอบการ ในต่างประเทศให้กับนักศึกษา เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจและเห็นภาพการจัดสหกิจศึกษานานาชาติมากยิ่งขึ้น วารสาร สหกิจศึกษาไทยฉบับนี้จึงได้เสนอบทความที่เกี่ยวข้องกับการจัดสหกิจศึกษานานาชาติเป็นหลัก อันประกอบด้วย “การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ” ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและความจ�ำเป็น ในการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ รูปแบบการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ และแนวปฏิบัติการจัด สหกิจศึกษานานาชาติ ส่วนอีก 3 บทความเสนอกรณีศึกษาการจัดสหกิจศึกษานานาชาติของ สถาบันอุดมศึกษา 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยมี 1 บทความเสนอการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ ของสถานประกอบการคือบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด กองบรรณาธิการหวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากบทความที่น�ำเสนอในวารสาร ฉบับนี้ และจะมีส่วนร่วม ในการส่งเสริมให้วารสารสหกิจศึกษาไทยได้ท�ำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้โดยการส่งบทความมาตีพิมพ์และติดตามวารสารฉบับต่อๆ ไป

ดร.นฤมล รักษาสุข บรรณาธิการ

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(000)P2.indd 2

8/3/59 BE 9:15 AM


วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559) ISSN 1906 - 6864

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education วิจิตร ศรีสอ้าน กัณทิมา ศิริจีระชัย เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ บุญชัย วิจิตรเสถียร สุนิติยา เถื่อนนาดี อิศรา ประมูลศุข Wichit Srisa-an Guntima Sirijeerachai Ketwadee Buddhabhumbhitak Boonchai Wichitsathian Sunitiya Thuannadee Issra Pramoolsook Abstract International cooperative education involves the placement of cooperative education students in workplaces abroad with the aim to prepare them for the ASEAN Economic Community (AEC) and the world community. International cooperative education can be provided through a variety of channels, namely; 1) by an institution alone, 2) by an institution but through an agency, 3) by an institution through an international business company that has offices or facilities in Thailand, 4) by an institution through a Thai business company that has offices or facilities abroad, and 5) between a Thai and an institution abroad on the reciprocity basis. To prepare cooperative education students for this international placement, an institution should equip them with cross cultural communication knowledge and skills, the work culture, and the way of life of the target country of their placement. In addition, it is necessary that the responsible cooperative education personnel and the student have to thoroughly understand the rules and regulations concerning the immigration and work permit of the target country, which vary from country to country, for their smooth placement. Keywords: International Cooperative Education, Channels of International Cooperative Education

_16-0782(001-028)P2.indd 1

8/3/59 BE 9:16 AM


2

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education

บทคัดย่อ การจั ด สหกิ จ ศึ ก ษานานาชาติ เ ป็ น การจั ด ให้ นั ก ศึ ก ษามี ป ระสบการณ์ ก ารท� ำ งานใน สถานประกอบการ ณ ต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเตรียมบัณฑิตให้พร้อมในการ เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและประชาคมโลก การจัดสหกิจศึกษานานาชาติสามารถ ด�ำเนินการได้หลายรูปแบบ ได้แก่ 1) สถาบันอุดมศึกษาด�ำเนินการจัดสหกิจศึกษานานาชาติด้วย ตนเอง 2) สถาบันอุดมศึกษาด�ำเนินการจัดสหกิจศึกษานานาชาติโดยผ่านหน่วยงานกลาง 3) การ จัดสหกิจศึกษานานาชาติผ่านสถานประกอบการต่างประเทศที่มีส�ำนักงานหรือการประกอบการ ในประเทศไทย 4) สถาบันอุดมศึกษาจัดสหกิจศึกษานานาชาติผ่านสถานประกอบการไทยที่มี ส�ำนักงานหรือการประกอบการในต่างประเทศ และ 5) การจัดสหกิจศึกษานานาชาติแบบต่าง ตอบแทน (Reciprocity) ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาควรเตรียมความพร้อมให้แก่ นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติในด้านความสามารถในการสือ่ สารและความพร้อมด้านวัฒนธรรม การท�ำงานและความเป็นอยู่ โดยนักศึกษาและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความส�ำคัญในการ ศึกษาระเบียบและวิธกี ารเข้าเมือง ตลอดจนการขออนุญาตปฏิบตั งิ านในฐานะนักศึกษาสหกิจศึกษา ในแต่ละประเทศเป้าหมายซึ่งมีแนวปฏิบัติและรายละเอียดในการด�ำเนินงานแตกต่างกัน ค�ำส�ำคัญ: สหกิจศึกษานานาชาติ รูปแบบการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ 1. เหตุผลและความจ�ำเป็นในการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ การจัดสหกิจศึกษาในระดับอุดมศึกษา เริ่มต้นจากการจัดให้นักศึกษาในสาขาวิชาการและ วิชาชีพต่างๆ ได้มีประสบการณ์ตรงโดยการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการเป็นระยะเวลา หนึ่งก่อนส�ำเร็จการศึกษาภายในแต่ละประเทศเพื่อการอุดมศึกษาของประเทศนั้นๆ ต่อมาเมื่อมี การจัดการศึกษาหลักสูตรนานาชาติเพือ่ ให้มคี วามเป็นสากลมากขึน้ จึงขยายการจัดสหกิจศึกษาใน ประเทศไปสูน่ านาชาติ โดยจัดให้นกั ศึกษาไปมีประสบการณ์การท�ำงานสลับกับการเรียนในประเทศ เป้าหมายทีส่ ถาบันการศึกษามีความพร้อมและนักศึกษาสนใจทีจ่ ะไปปฏิบตั สิ หกิจศึกษาในประเทศ นั้นๆ จึงเกิดการจัดสหกิจศึกษานานาชาติโดยมีการท�ำความตกลงกับสถาบันอุดมศึกษาและ สถานประกอบการในต่างประเทศเพื่อร่วมกันจัด ในกรณีของประเทศไทย ได้มีการจัดสหกิจศึกษา มาแล้วตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2536 โดยการริเริม่ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี และด้วยการสนับสนุน ของรัฐบาลผ่านส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ การจัดหลักสูตร สหกิจศึกษาจึงได้ขยายไปสู่สถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนทั่วประเทศ ซึ่งในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา ในแต่ละปีมีสถาบันอุดมศึกษาประมาณ 100 แห่ง และสถานประกอบการประมาณ

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(001-028)P2.indd 2

8/3/59 BE 9:16 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน กัณทิมา ศิริจีระชัย เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ บุญชัย วิจิตรเสถียร สุนิติยา เถื่อนนาดี อิศรา ประมูลศุข

3

10,000 แห่งได้ร่วมกันจัดสหกิจศึกษา และมีนักศึกษาประมาณ 30,000 คนที่ผ่านการปฏิบัติงาน สหกิจศึกษา ปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ มีการเปลี่ยนแปลงในประชาคมโลกอย่างรวดเร็ว เป็นสังคมฐาน ความรู้ (Knowledge - based Society) ที่มีการใช้ความรู้และนวัตกรรมเป็นปัจจัยส�ำคัญของ การเปลี่ยนแปลง โดยมีทั้งความร่วมมือและการแข่งขัน (Collaboration and Competition) ทีเ่ ข้มข้นขึน้ มีความเป็นสากลและนานาชาติ รวมทัง้ มีการรวมกลุม่ ประเทศและกรอบความร่วมมือ ในระดับภูมิภาค (Internationalization and Regionalization) มากขึ้น อาทิ ประชาคมยุโรป (European Union - EU) ประชาคมอาเซียน (Association of South East Asian Nations ASEAN) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิค (Asia – Pacific Economic Cooperation APEC) ความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Forum for East Asia – Latin America Cooperation - FEALAC) และการประชุมเอเชียยุโรป (Asia Europe Meeting - ASEM) เป็นต้น มีการจัดระบบและการท�ำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน มีสภาพเสมือนโลกไร้พรมแดน (Borderless World) มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม และเศรษฐกิจในประชาคมโลกอย่างรวดเร็วหลายประการ โดยเฉพาะด้านระบบเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศที่เป็นการค้าเสรีและมีมาตรฐานร่วมที่มีความเป็นสากลมากขึ้น มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ของตลาดแรงงานและความต้องการก�ำลังคนและการเตรียมแรงงานความรู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน ยุคใหม่ทั้งด้านความรู้และทักษะการท�ำงาน เครื่องมืออุปกรณ์ เทคโนโลยี ภาษา สังคมและ วัฒนธรรม การท�ำงานข้ามวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายแรงงานความรู้ข้ามประเทศ ในตลาดเสรี รัฐบาลไทยโดยส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้มีนโยบายและแผนสนับสนุน ให้สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ จัดสหกิจศึกษา โดยเฉพาะสหกิจศึกษานานาชาติให้กว้างขวางขึ้น โดยก�ำหนดในแผนการด�ำเนินการส่งเสริมสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2556 - 2558 เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) และการ เคลื่อนย้ายแรงงานความรู้สู่ประชาคมโลก 2. การสร้างความรู้และประสบการณ์ให้บัณฑิตโดยการปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ นอกเหนือจากการปรับปรุงหลักสูตรการผลิตบัณฑิตให้มคี วามเป็นสากล เพือ่ ตอบสนองต่อ ความต้องการก�ำลังคนยุคใหม่ทั้งด้านสาระ ความรู้ ทักษะ เจตคติ ภาษา สังคม และวัฒนธรรมการ ท�ำงานของยุคโลกาภิวัตน์แล้ว การพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้ “รู้ชัดและปฏิบัติได้” ในการท�ำงาน ข้ามวัฒนธรรม โดยการจัดให้มีประสบการณ์การท�ำงานก่อนส�ำเร็จการศึกษาในรูปสหกิจศึกษา

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(001-028)P2.indd 3

8/3/59 BE 9:16 AM


4

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education

ในสถานประกอบการในประเทศเป้าหมาย จึงเป็นทางเลือกหนึง่ ทีจ่ ะช่วยสร้างความพร้อมให้บณ ั ฑิต ท�ำงานในสถานประกอบการข้ามชาติได้ทันทีที่จบการศึกษา การจัดสหกิจศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต ประกอบด้วย แนวทางส�ำคัญดังนี้ 1) จัดให้สหกิจศึกษามีมาตรฐานสากลมากขึ้น ทั้งด้านความรู้ ทักษะ ภาษา สังคม และ วัฒนธรรม การท�ำงานข้ามวัฒนธรรม มาตรฐานดังกล่าว ควรสอดคล้องเทียบเคียงได้กบั มาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพของประเทศเป้าหมาย 2) พัฒนาหลักสูตรสหกิจศึกษานานาชาติ ให้เป็นส่วนหนึง่ ของหลักสูตรการผลิตบัณฑิตของ สถาบันอุดมศึกษา โดยเน้นการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาด้านภาษาอังกฤษและ ภาษาอื่นที่ใช้เป็นทางการในประเทศเป้าหมาย การตระหนักรู้ในวิถีชีวิตและวัฒนธรรม การท�ำงานในประเทศเป้าหมาย การสร้างความสัมพันธ์กบั องค์กรและบุคลากรทีเ่ กีย่ วข้อง เพื่อให้ “รู้เขา รู้เรา” ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เพื่อให้ได้ทั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติด้าน สหกิจศึกษานานาชาติ 3) จัดให้นักศึกษามีประสบการณ์การท�ำงานทั้งในสถานประกอบการในประเทศเป้าหมาย และในสถานประกอบการของต่ า งประเทศที่ มี ที่ ตั้ ง ท� ำ การในประเทศไทยและ สถานประกอบการของประเทศไทยมีที่ตั้งท�ำการในต่างประเทศ 4) จัดให้มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและคณาจารย์สหกิจศึกษากับประเทศเป้าหมายให้ กว้างขวางขึ้น การให้นักศึกษาและคณาจารย์ได้ใช้ชีวิตความเป็นอยู่ และการเรียนรู้ ร่ ว มกั น ก่ อ นไปปฏิ บั ติ ส หกิ จ ศึ ก ษานานาชาติ จ ะช่ ว ยให้ ก ารไปปฏิ บั ติ ส หกิ จ ศึ ก ษา ในประเทศเป้าหมายประสบความส�ำเร็จดีขึ้น 3. การส่งเสริมการสร้างบัณฑิตที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ในยุคโลกาภิวัฒน์ สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในยุคโลกาภิวัตน์คือการสร้างความเป็นสากลและความเป็น นานาชาติ (Internationalization) ในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมีผลต่อการปฏิรูป การศึกษาให้ทนั สมัยและก้าวทันโลก นอกจากนี้ ยังมีการรวมกลุม่ ประเทศเป็นประชาคมในภูมภิ าค ต่างๆ ทั่วโลก เพื่อการร่วมมือภายในภูมิภาคและการแข่งขันระหว่างภูมิภาค เกิดระบบการค้าเสรี และการเป็นตลาดร่วม อาทิ การจัดตั้งประชาคมอาเซียน ทั้งด้านความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรม และเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 การรวมตัวดังกล่าวจะประสบความส�ำเร็จได้ยากหากไม่ใช้ การศึกษาเป็นปัจจัยส�ำคัญประการหนึ่งของการขับเคลื่อน ทุกกลุ่มประเทศจึงได้ปฏิรูปการศึกษา ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของประชาคม เช่น การจัดให้มีระบบการเทียบเคียงคุณภาพและ

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(001-028)P2.indd 4

8/3/59 BE 9:16 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน กัณทิมา ศิริจีระชัย เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ บุญชัย วิจิตรเสถียร สุนิติยา เถื่อนนาดี อิศรา ประมูลศุข

5

มาตรฐานการศึกษา (Harmonization of Standard and Quality) ของประเทศสมาชิกเพื่อ การส่งเสริมการตระหนักรู้ในวิถีชีวิต ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมการท�ำงานในแต่ละประเทศ รวมทั้งการท�ำความตกลงในการให้การยอมรับ (Mutual Recognition Agreement) มาตรฐาน ของวิชาชีพต่างๆ ทั้งระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อให้การเคลื่อนย้ายช่างฝีมือและแรงงาน ความรู้เป็นไปอย่างกว้างขวางในประชาคมภูมิภาคและประชาคมโลก การจัดสหกิจศึกษานานาชาติในระดับสถาบันอุดมศึกษา เพื่อเตรียมพัฒนาคุณภาพบัณฑิต เข้าสูป่ ระชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและประชาคมโลก นอกเหนือจากการจัดให้มหี ลักสูตรทีเ่ หมาะสม การเตรียมคณาจารย์ นักศึกษา การจัดให้มีหน่วยงานและบุคคลรับผิดชอบงานด้านสหกิจศึกษา แล้ว สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ควรด�ำเนินการเพิ่มเติมดังนี้ 1) เสนอให้ประชาคมอาเซียนและสถาบันอุดมศึกษาในประชาคมร่วมมือกันจัดสหกิจศึกษา นานาชาติ อาจจัดท�ำในรูปข้อตกลง (MOU) ระหว่างหน่วยงานการศึกษาของแต่ละ ประเทศ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและระหว่างสถานประกอบการกับสถาบันอุดมศึกษา โดยอาจจัดให้มีคณะกรรมการประสานและส่งเสริมสหกิจศึกษานานาชาติในประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วยผูแ้ ทนภาครัฐ สถาบันอุดมศึกษา สถานประกอบการและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรูปพหุภาคี 2) รัฐและสถาบันอุดมศึกษาที่จัดสหกิจศึกษานานาชาติ ควรจัดตั้งกองทุนเงินยืมหรือ ให้เปล่า สนับสนุนนักศึกษาทีจ่ ะไปปฏิบตั สิ หกิจศึกษาในประเทศเป้าหมาย ในกรณีทตี่ อ้ ง ใช้ค่าใช้จ่ายสูงหรือมิได้รับค่าตอบแทนจากสถานประกอบการเพียงพอ 3) พัฒนาความร่วมมือระหว่างกระทรวง และหน่วยงานของรัฐทีเ่ กีย่ วข้อง รวมทัง้ หน่วยงาน ของรัฐทั้งในต่างประเทศและในประเทศกับสถาบันอุดมศึกษา เพื่อส่งเสริมการจัด สหกิจศึกษานานาชาติ ให้ความสะดวกในการเดินทางเข้าประเทศ การปฏิบัติงาน ระยะสั้นเป็นการชั่วคราว การเสียภาษี (ถ้ามี) เป็นต้น 4) พัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผูป้ ระกอบการ และเครือข่ายความ ร่วมมือในการจัดสหกิจศึกษาทัง้ ในและต่างประเทศ เพือ่ ร่วมกันเตรียมความพร้อมให้แก่ บัณฑิตและร่วมกันจัดสหกิจศึกษานานาชาติให้แพร่หลายยิ่งขึ้น 4. รูปแบบการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ การจัดสหกิจศึกษานานาชาติสามารถด�ำเนินการได้หลายรูปแบบ ได้แก่ 1) สถาบันอุดมศึกษา ด�ำเนินการจัดสหกิจศึกษานานาชาติด้วยตนเอง 2) สถาบันอุดมศึกษาด�ำเนินการจัดสหกิจศึกษา นานาชาติโดยผ่านหน่วยงานกลาง 3) การจัดสหกิจศึกษานานาชาติผ่านสถานประกอบการ

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(001-028)P2.indd 5

8/3/59 BE 9:16 AM


6

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education

ต่างประเทศที่มีส�ำนักงานหรือการประกอบการในประเทศไทย 4) สถาบันอุดมศึกษาจัดสหกิจ ศึกษานานาชาติผ่านสถานประกอบการไทยที่มีส�ำนักงานหรือการประกอบการในต่างประเทศ และ 5) การจัดสหกิจศึกษานานาชาติแบบต่างตอบแทน (Reciprocity) ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งแต่ละรูปแบบมีรายละเอียดดังนี้ 4.1 สถาบันอุดมศึกษาด�ำเนินการจัดสหกิจศึกษานานาชาติด้วยตนเอง กระบวนการสหกิจศึกษานานาชาติประกอบด้วยกระบวนการก่อน ระหว่าง และหลัง การปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษาเช่นเดียวกับการจัดสหกิจศึกษาภายในประเทศ แต่เนือ่ งจากต้องใช้เวลา ในการด�ำเนินงานมาก เช่น การประสานงาน การหาสถานประกอบการ และการหางานคุณภาพ การคัดเลือกและการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา และการขออนุญาตเข้าเมือง เป็นต้น สถาบัน อุดมศึกษาจึงควรด�ำเนินการล่วงหน้าก่อนเป็นเวลานานกว่าการจัดการสหกิจศึกษาภายในประเทศ ขั้นตอนส�ำคัญในการด�ำเนินงานสหกิจศึกษานานาชาติ มีดังนี้ 1) การเตรียมความพร้อมทางด้านบุคลากร ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการจัด สหกิจศึกษานานาชาติควรมีความสามารถในการประสานงาน มีความรูค้ วามสามารถในการติดต่อ สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สือ่ สารในการติดต่อสือ่ สาร สามารถวางแผนจัดหางานให้นกั ศึกษา มีความรูค้ วามเข้าใจในระเบียบ วิธีการเข้าเมืองทั้งของประเทศไทยและประเทศกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการส่งนักศึกษาไปปฏิบัติงาน ทราบเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา การติดตามนักศึกษา การประเมินผล และการ จัดกิจกรรมหลังกลับจากการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 2) การเตรียมความพร้อมทางด้านทรัพยากรต่างๆ ที่จ�ำเป็น ได้แก่ ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร งบประมาณ เอกสาร คู่มือสหกิจศึกษาภาคภาษาอังกฤษส�ำหรับ สถานประกอบการ รวมทั้งแบบประเมินผลต่างๆ ฉบับภาษาอังกฤษ เป็นต้น 3) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ สถาบันอุดมศึกษา อาจหาสถานประกอบการผ่านเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ ดังนี้ (1) ผ่านสถาบันอุดมศึกษาที่มีความร่วมมือในการจัดสหกิจศึกษานานาชาติหรือ การบูรณาการการเรียนรู้กับการท�ำงาน (Work- Integrated Leaning) ในรูปแบบอื่นๆ หรือที่มี ความร่วมมือด้านอื่นๆ อยู่แล้ว (2) ผ่านสถานประกอบการนานาชาติที่มีการประกอบการในประเทศไทย (3) ผ่านคณาจารย์ที่เคยเป็นศิษย์เก่าของสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศหรือ มีเครือข่ายงานด้านวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ (4) ผ่านการเจรจาความร่วมมือกับสถานประกอบการด้วยตนเอง

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(001-028)P2.indd 6

8/3/59 BE 9:16 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน กัณทิมา ศิริจีระชัย เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ บุญชัย วิจิตรเสถียร สุนิติยา เถื่อนนาดี อิศรา ประมูลศุข

7

4) การคัดเลือกและการเตรียมความพร้อมให้นกั ศึกษาทางด้านความสามารถในการ ท�ำงาน ทักษะการสื่อสารและการท�ำงานข้ามวัฒนธรรม 5) การจัดระบบดูแลและติดตามนักศึกษาขณะปฏิบัติงานสหกิจศึกษา สามารถ ด�ำเนินการได้โดยผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6) การจัดให้คณาจารย์ไปนิเทศ ณ สถานประกอบการหากมีงบประมาณเพียงพอ หรือจัดการนิเทศผ่านระบบทางไกลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือขอให้ หน่วยงานกลางหรือสถาบันอุดมศึกษาที่มีความร่วมมือเป็นผู้นิเทศแทน

สถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทย

นักศึกษา

สถาบันอุดมศึกษาและ สถานประกอบการ ในต่างประเทศ สถานประกอบการ ในต่างประเทศ

แผนภาพที่ 1: การจัดสหกิจศึกษานานาชาติโดยสถาบันอุดมศึกษาด�ำเนินการด้วยตนเอง 4.2 สถาบันอุดมศึกษาด�ำเนินการจัดสหกิจศึกษานานาชาติโดยผ่านหน่วยงานกลาง การจัดสหกิจศึกษาในรูปแบบนี้ เป็นการติดต่องานผ่านหน่วยงานกลางในประเทศที่ ท�ำหน้าทีใ่ นการจัดหางานจากต่างประเทศให้กบั นักศึกษา ตัวอย่างของหน่วยงานกลางทีม่ สี ำ� นักงาน อยู่ในประเทศไทย ได้แก่ The International Association for the Exchange of Students for Technical Experiences (IEASTE), International Association of Students in Agricultural and Related Sciences (IAAS), WACE-ISO@SUT หรือหน่วยงานกลางที่มีส�ำนักงานอยู่ ต่างประเทศ เช่น Center for International Mobility (CIMO) เป็นต้น การด�ำเนินงานผ่าน หน่วยงานกลางประกอบด้วยขั้นตอนที่ส�ำคัญ 4 ประการ ดังนี้ 1) การแจ้งความจ�ำนงในการส่งนักศึกษาสหกิจศึกษาไปให้หน่วยงานกลางทราบและ ด�ำเนินการ พร้อมส่งประวัตินักศึกษา ในการนี้ สถาบันอุดมศึกษาต้องศึกษากรอบเวลา คุณสมบัติ และวิธกี ารคัดเลือกซึง่ หน่วยงานกลางแต่ละแห่งอาจก�ำหนดแตกต่างกันไป เช่น IEASTE หรือ IAAS มักก�ำหนดกรอบเวลา คุณสมบัตแิ ละวิธกี ารคัดเลือกนักศึกษา ทัง้ นี้ สถาบันอุดมศึกษาควรประสาน

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(001-028)P2.indd 7

8/3/59 BE 9:16 AM


8

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education

ไปยังหน่วยงานกลาง พร้อมทัง้ ศึกษาวิธกี ารพร้อมเงือ่ นไขเวลา เพือ่ จัดการเรือ่ งแลกเปลีย่ นนักศึกษา ส่วน CIMO ไม่มกี ารก�ำหนดกรอบเวลาและวิธกี ารในการคัดเลือกนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาเพียง แจ้งความจ�ำนงในการส่งนักศึกษาพร้อมประวัตนิ กั ศึกษาไปให้ CIMO จะส่งใบสมัครของนักศึกษาไป ให้สถานประกอบการที่สามารถรับนักศึกษาได้ แล้วให้สถานประกอบการนัดหมายในการคัดเลือก นักศึกษาเอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นการสอบสัมภาษณ์ผ่านระบบทางไกลและสถาบันอุดมศึกษา อาจต้ อ งประสานเพิ่ ม เติ ม เรื่ อ งการดู แ ลรั บ ส่ ง นั ก ศึ ก ษาเมื่ อ เดิ น ทางไปถึ ง และการนิ เ ทศงาน ส่วน WACE-ISO@SUT ด�ำเนินการประกาศรับสมัครผ่านสถาบันสมาชิกและจัดต�ำแหน่งงาน (Placement) ในสถานประกอบการในประเทศสมาชิกทั่วโลกเป็นประจ�ำทุกปี 2) การคัดเลือกและการเตรียมความพร้อมให้นกั ศึกษาทางด้านความสามารถในการ ท�ำงาน ทักษะการสื่อสารและการท�ำงานข้ามวัฒนธรรม 3) การจัดระบบดูแลและติดตามนักศึกษาขณะปฎิบัติงานสหกิจศึกษา สามารถ ด�ำเนินการได้โดยสะดวกโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร หรือผ่านคณาจารย์นเิ ทศของ สถาบันที่มีข้อตกลงร่วมกัน 4) การจัดให้คณาจารย์ไปนิเทศ ณ สถานประกอบการหากมีงบประมาณเพียงพอ หรือจัดการนิเทศผ่านระบบทางไกลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือขอให้ หน่วยงานกลางหรือสถาบันอุดมศึกษาที่มีความร่วมมือเป็นผู้นิเทศแทน สถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทย

นักศึกษา หน่วยงานกลาง

สถานประกอบการ ในต่างประเทศและ สถาบันอุดมศึกษา ในต่างประเทศ

แผนภาพที่ 2: การจัดสหกิจศึกษานานาชาติผ่านหน่วยงานกลาง 4.3 การจัดสหกิจศึกษานานาชาติผา่ นสถานประกอบการต่างประเทศทีม่ สี ำ� นักงานหรือ การประกอบการในประเทศไทย การจั ด สหกิ จ ศึ ก ษารู ป แบบนี้ เ กิ ด จากการที่ ส ถานประกอบการต่ า งประเทศที่ มี ส�ำนักงานอยู่ในประเทศไทยมีความประสงค์ที่จะส่งเสริมการจัดสหกิจศึกษานานาชาติและ รับนักศึกษาต่างชาติมาปฏิบตั งิ านในสถานประกอบการตนเอง ตัวอย่างเช่น บริษทั เวสเทิรน์ ดิจติ อล (ประเทศไทย) จ�ำกัด (Western Digital Thailand Co, Ltd.) ได้รับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(001-028)P2.indd 8

8/3/59 BE 9:16 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน กัณทิมา ศิริจีระชัย เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ บุญชัย วิจิตรเสถียร สุนิติยา เถื่อนนาดี อิศรา ประมูลศุข

9

ซินซินเนติ (University of Cincinnati) ประเทศสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยวิคตอเรีย (University of Victoria) ประเทศแคนาดา มาปฏิบัติงานที่บริษัท โดยมีข้อแลกเปลี่ยนว่า มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งดังกล่าวจะต้องรับนักศึกษาไทยไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในจ�ำนวนที่ เท่ากันตามหลักต่างตอบแทน (Reciprocity) ด้วย ซึ่งสถานประกอบการจะประสานงานให้ สถาบันอุดมศึกษาไทยที่มีความร่วมมือในการจัดสหกิจศึกษาอยู่แล้ว เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี มหาวิทยาลัยสยาม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นต้น ให้จดั ส่งนักศึกษา ไทยไปปฏิบัติงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา โดยทั้งมหาวิทยาลัยซินซินเนติ และมหาวิทยาลัยวิคตอเรีย จะจัดหาสถานประกอบการให้นักศึกษาไทยและดูแลนักศึกษาไทย ระหว่างปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ในท�ำนองเดียวกันมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจะดูแลนักศึกษา ต่างชาติในลักษณะและรูปแบบเดียวกัน นอกจากนี้สถาบันอุดมศึกษาไทยที่ร่วมโครงการยัง ร่ ว มกั น ดู แ ลนั ก ศึ ก ษาต่ า งชาติ ที่ ม าปฏิ บั ติ ง านในประเทศไทย โดยมี ข ้ อ สั ง เกตที่ น ่ า สนใจว่ า มหาวิทยาลัยในประเทศไทย เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้เสนอความ ช่วยเหลือจัดทีพ่ กั ในมหาวิทยาลัย และดูแลนักศึกษาต่างชาติให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี และ มหาวิทยาลัยสยามเพิ่มเติมด้วย กรณีดังกล่าวนับเป็นความร่วมมือการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ ในรูปแบบพหุภาคีรูปแบบหนึ่ง สิ่งที่สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยจะต้อ งด�ำ เนินการในการจัด สหกิ จศึ กษา นานาชาติรูปแบบนี้คือ 1) การหาสถานประกอบการในต่างประเทศให้รับเป็นหน่วยงานกลางหรือเจ้าภาพ สถาบันอุดมศึกษาอาจขอความร่วมมือจากสถานประกอบการที่ร่วมจัดสหกิจศึกษาในประเทศ อยู่แล้ว และควรขยายผลให้มีจ�ำนวนสถานประกอบการเพิ่มมากขึ้นทุกปีการศึกษา 2) การคัดเลือกและการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาทางด้านความสามารถใน การท�ำงาน ทักษะการสื่อสาร และการท�ำงานข้ามวัฒนธรรม 3) การจัดระบบดูแลและติดตามนักศึกษาขณะปฏิบัติงานสหกิจศึกษา สามารถ ด�ำเนินการได้โดยสะดวกผ่านระบบ ICT หรือขอให้มหาวิทยาลัยต่างชาติทรี่ ว่ มโครงการเป็นผูต้ ดิ ตาม ดูแลนักศึกษา 4) การจัดให้คณาจารย์ไปนิเทศ ณ สถานประกอบการหากมีงบประมาณเพียงพอ หรือจัดการนิเทศผ่านระบบทางไกลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือขอให้ สถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศที่ร่วมโครงการเป็นผู้ติดตามดูแลนักศึกษา

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(001-028)P2.indd 9

8/3/59 BE 9:16 AM


10

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education

สถาบันอุดมศึกษา ในต่างประเทศหนึ่ง หรือหลายสถาบัน

นักศึกษา

สถานประกอบการ ต่างประเทศ ในประเทศไทย

สถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทยหนึ่ง หรือหลายสถาบัน

แผนภาพที่ 3: การจัดสหกิจศึกษานานาชาติผ่านสถานประกอบการต่างประเทศ 4.4 สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาจั ด สหกิ จ ศึ ก ษานานาชาติ ผ ่ า นสถานประกอบการไทยที่ มี ส�ำนักงานหรือการประกอบการในต่างประเทศ การจั ด สหกิ จ ศึ ก ษารู ป แบบนี้ เ กิ ด จากการที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ขอความร่ ว มมื อ กั บ สถานประกอบการไทยทีม่ สี ำ� นักงานหรือการประกอบการอยูใ่ นต่างประเทศให้รบั นักศึกษาไทยไป ปฏิบัติงานสหกิจศึกษายังสถานประกอบการของตนในต่างประเทศ สถาบันอุดมศึกษาอาจขยาย ความร่วมมือกับสถานประกอบการไทยทีร่ ว่ มมือในการจัดสหกิจศึกษาในประเทศไปสูส่ หกิจศึกษา นานาชาติเพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีส่งนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยี การผลิตพืชไปปฏิบัติงานที่บริษัทเจียไต๋ ประเทศจีนซึ่งเป็นบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นต้น สิ่งที่สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยจะต้อ งด� ำเนิ นการในการจั ดสหกิจศึก ษา นานาชาติรูปแบบนี้คือ 1) การแสวงหาสถานประกอบการไทยที่ มี ส�ำ นั ก งานหรื อ การประกอบการใน ต่ า งประเทศที่ จ ะร่ ว มจั ด สหกิ จ ศึ ก ษานานาชาติ ใ นรู ป แบบนี้ แ ละควรขยายผลให้ มี จ� ำ นวน สถานประกอบการเพิ่มขึ้นในแต่ละปีการศึกษา 2) การคัดเลือกและเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาทางด้านความสามารถในการ ท�ำงาน ทักษะการสื่อสาร และการท�ำงานข้ามวัฒนธรรม 3) การจัดระบบดูแลและติดตามนักศึกษาขณะปฏิบัติงานสหกิจศึกษาสามารถ ด�ำเนินการได้โดยสะดวกผ่านระบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4) การจัดให้คณาจารย์ไปนิเทศ ณ สถานประกอบการหากมีงบประมาณเพียงพอ หรือจัดการนิเทศผ่านระบบทางไกลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(001-028)P2.indd 10

8/3/59 BE 9:16 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน กัณทิมา ศิริจีระชัย เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ บุญชัย วิจิตรเสถียร สุนิติยา เถื่อนนาดี อิศรา ประมูลศุข

สถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทย

นักศึกษา สถานประกอบการ ส�ำนักงานใหญ่ ในประเทศไทย

11

สถานประกอบการไทย ในต่างประเทศ

แผนภาพที่ 4: การจัดสหกิจศึกษานานาชาติผ่านสถานประกอบการไทยในต่างประเทศ 4.5 การจัดสหกิจศึกษานานาชาติแบบต่างตอบแทนระหว่างสถาบันอุดมศึกษา การจัดสหกิจศึกษานานาชาติแบบต่างตอบแทน (Reciprocity) เป็นวิธีการที่สะดวก และสามารถเริม่ ต้นปฏิบตั ไิ ด้งา่ ย โดยด�ำเนินการตามกระบวนการสหกิจศึกษาผ่านสถาบันอุดมศึกษา ในต่างประเทศที่มีการตกลงความร่วมมืออื่นๆ อยู่แล้ว (ในที่นี้อาจเรียกว่าสถาบันอุดมศึกษา พันธมิตร) และขยายผลไปยังความร่วมมือในการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ หรืออาจจัดเป็นความ ร่วมมือเฉพาะสหกิจศึกษานานาชาติก็ได้สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยอาจตกลงร่วมมือ แลกเปลี่ยนนักศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาพันธมิตรในต่างประเทศ โดยต่างฝ่ายต่างแลกเปลี่ยน จ�ำนวนนักศึกษาในจ�ำนวนทีเ่ ท่ากัน และดูแลนักศึกษาของอีกฝ่ายขณะปฏิบตั งิ านในระดับเดียวกัน เช่น การหางานและสถานประกอบการคุณภาพ การหาที่พักที่สะดวกและปลอดภัย การรับส่ง นักศึกษาระหว่างท่าอากาศยานและสถานประกอบการ การปฐมนิเทศนักศึกษา การติดตามดูแล ระหว่างปฏิบัติงานและการนิเทศงาน เป็นต้น สิ่งที่สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยจะต้อ งด�ำ เนินการในการจัด สหกิ จศึ กษา นานาชาติรูปแบบนี้ คือ 1) การแสวงหาความร่วมมือในการจัดสหกิจศึกษานานาชาติกับสถาบันอุดมศึกษา ในประเทศกลุม่ เป้าหมาย โดยตกลงความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาพันธมิตรในการแลกเปลีย่ น นักศึกษาอย่างน้อยในจ�ำนวนที่เท่ากัน และดูแลนักศึกษาของแต่ละฝ่ายในระดับเดียวกัน 2) การคัดเลือกและการเตรียมความพร้อมให้นกั ศึกษาทางด้านความสามารถในการ ท�ำงาน ทักษะการสื่อสาร และการท�ำงานข้ามวัฒนธรรม 3) การจัดระบบดูแลและติดตามนักศึกษาขณะปฏิบัติงานสหกิจศึกษา สามารถ ด�ำเนินการได้โดยสะดวกผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือมอบให้สถาบัน อุดมศึกษาพันธมิตรเป็นผู้ด�ำเนินการแทน

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(001-028)P2.indd 11

8/3/59 BE 9:16 AM


12

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education

4) การจัดให้คณาจารย์ไปนิเทศ ณ สถานประกอบการหากมีงบประมาณเพียงพอ หรือจัดการนิเทศผ่านระบบทางไกลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือมอบหมาย ให้สถาบันอุดมศึกษาพันธมิตรเป็นผู้ด�ำเนินการแทน

สถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทย

นักศึกษา

สถาบันอุดมศึกษา ในต่างประเทศ

ข้อตกลงความ ร่วมมือเป็นพันธมิตร (MOU)

สถานประกอบการ ในต่างประเทศ

แผนภาพที่ 5: การจัดสหกิจศึกษานานาชาติแบบต่างตอบแทนระหว่างสถาบันอุดมศึกษา 5. แนวปฏิบัติการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ ในการจัดสหกิจศึกษานานาชาติมีแนวปฏิบัติที่ส�ำคัญหลายประการโดยมีรายละเอียดดังนี้ 5.1 แนวปฏิบัติการท�ำให้นักศึกษา คณาจารย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรอบรู้ข้อมูล ส�ำคัญเกี่ยวกับตนเองและต่างชาติที่เป็นประเทศเป้าหมายสถานการณ์ปัจจุบันและความรู้ รอบตัวต่างๆ ก่อนไปสหกิจศึกษานานาชาติ สถาบันอุดมศึกษาควรจัดกิจกรรมหรือประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและสม�ำ่ เสมอให้ นักศึกษา คณาจารย์ และเจ้าหน้าทีส่ หกิจศึกษามีความรอบรูข้ อ้ มูลพืน้ ฐาน ข้อมูลส�ำคัญและข้อมูล ที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับสถานศึกษาของตน จังหวัดที่ตนพ�ำนักอยู่ ข้อมูลประเทศไทย เช่น จ�ำนวน ประชากร จ�ำนวนจังหวัด ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product – GDP) ศิลปะและวัฒนธรรม ฯ เพื่อเผยแพร่หรือถ่ายทอดได้ นอกจากนี้ นักศึกษา อาจารย์และเจ้าหน้าที่ สหกิจศึกษาควรรอบรู้เกี่ยวกับประเทศเป้าหมาย สถานการณ์ปัจจุบันและความรู้รอบตัวต่างๆ โดยสามารถรวบรวมเป็นแนวปฏิบัติได้ดังนี้ 1) รวบรวมและจัดท�ำข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลส�ำคัญและข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และ เผยแพร่ผา่ นสือ่ ออนไลน์ตา่ งๆ หรือรวบรวมลิงค์ (Link) ของเว็ปไซต์ (Website) ทีส่ ำ� คัญทีน่ กั ศึกษา หรือบุคลากรสามารถเข้าไปสืบค้นด้วยตนเองได้ 2) จัดกิจกรรมสร้างความรู้เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลส�ำคัญและข้อมูลที่จ�ำเป็น เช่น การถ่ายทอดรายการข่าวหรือกิจกรรมที่ส�ำคัญภายในประเทศและต่างประเทศ การส่งเสริม

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(001-028)P2.indd 12

8/3/59 BE 9:16 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน กัณทิมา ศิริจีระชัย เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ บุญชัย วิจิตรเสถียร สุนิติยา เถื่อนนาดี อิศรา ประมูลศุข

13

ให้ทุกคนอ่านข่าวเศรษฐกิจ การเมืองและต่างประเทศ การชมสารคดีและภาพยนตร์ การแข่งขัน ตอบปัญหา การท�ำกิจกรรมที่สะท้อนอัตลักษณ์ไทยและท�ำนุบ�ำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย เป็นต้น 3) จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานที่ควรทราบเกี่ยวกับ อาเซียนและประชาคมโลกและผลกระทบที่มีต่อนักศึกษาและบุคลากร เช่น การถ่ายทอดรายการ ข่าวต่างประเทศ การจัดฉายภาพยนตร์จากต่างประเทศ การจัดให้มีสื่อสิ่งพิมพ์จากต่างประเทศ การแข่งขันตอบปัญหา การสนทนาและการวิเคราะห์สถานการณ์โลกต่างๆ เป็นต้น 4) จัดให้มีรายวิชาบังคับหรือวิชาเลือกให้นักศึกษาเรียนเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และประชาคมโลกก่อนจบการศึกษา โดยรายวิชานี้ต้องจัดให้นักศึกษาได้มีโอกาสวิเคราะห์ สถานการณ์ของโลกทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและวัฒนธรรม เช่น รายวิชาอาเซียน ศึกษา รายวิชาประชาคมโลก (World Community) เป็นต้น 5) ส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมต่างชาติ เช่น จัดโครงการวัฒนธรรมส�ำคัญของ ประเทศต่างๆ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาต่างชาติกบั นักศึกษาไทยผ่านการท�ำกิจกรรม ต่างๆ เช่น ค่ายอาสาพัฒนา ค่ายศิลปะและวัฒนธรรม และการร่วมกิจกรรมกับสถานทูตต่างๆ เป็นต้น 6) สร้างบรรยากาศความเป็นสากลในสถานศึกษา ในการสร้างความรอบรู้ให้นักศึกษานั้นสามารถด�ำเนินการได้ตั้งแต่นักศึกษาเข้ามา ศึกษาในปีแรก และด�ำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงจบการศึกษา 5.2 แนวปฏิบัติการคัดเลือก และการเตรียมความพร้อมทักษะส�ำคัญให้นักศึกษา ก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ 5.2.1 การสมัครและการคัดเลือกนักศึกษา สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาต้ อ งก� ำ หนดคุ ณ สมบั ติ ข องนั ก ศึ ก ษาที่ มี สิ ท ธิ์ ส มั ค รไป ปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติและก�ำหนดเกณฑ์การคัดเลือกให้ชัดเจน โดยคุณสมบัติที่ก�ำหนด อาจประกอบด้วย 1) ต้องมีผลการศึกษา (GPAX) ไม่น้อยกว่า 2.50 ณ วันที่สมัครงาน 2) ต้อง ยื่นใบสมัครตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ของชั้นปีที่ สอง 3) ต้องผ่านความเห็นชอบจากภาควิชา โดยประธานคณาจารย์นิเทศ และอาจารย์ที่ปรึกษาในภาควิชาที่นักศึกษาสังกัด และ 4) ต้องมี หนังสือได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง ส�ำหรับการคัดเลือกนักศึกษาไปปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษานานาชาติอาจก�ำหนด เกณฑ์ที่ประกอบด้วย 1) ต้องมีผลคะแนนการสอบโทอิค (Test of English for International

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(001-028)P2.indd 13

8/3/59 BE 9:16 AM


14

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education

Communication – TOEIC) ไม่น้อยกว่า 500 คะแนน 2) ต้องผ่านรายวิชาเตรียมความพร้อม สหกิจศึกษา และ 3) ต้องผ่านการอบรมในกิจกรรมเฉพาะส�ำหรับผู้ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา นานาชาติครบถ้วนตามที่สถาบันอุดมศึกษาก�ำหนด ในกรณี ที่ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษามี ก ารส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น งบประมาณให้ นักศึกษาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าครองชีพเบื้องต้น เช่น กองทุนสนับสนุนส�ำหรับ นักศึกษาทีม่ ผี ลการเรียนดีเยีย่ ม กองทุนเงินให้กยู้ มื เป็นต้น สถาบันอุดมศึกษาอาจก�ำหนดคุณสมบัติ และเกณฑ์การคัดเลือกที่เข้มข้นขึ้น เช่น ผลการศึกษา (GPAX) ไม่น้อยกว่า 2.75 คะแนนโทอิค ไม่น้อยกว่า 600 คะแนน เป็นต้น 5.2.2 การเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาควรจัดให้มีการเตรียมความพร้อมแก่นักศึกษาที่จะไป ปฏิ บั ติ ง านสหกิ จ ศึ ก ษานานาชาติ เ พิ่ ม เติ ม จากหลั ก สู ต รเตรี ย มความพร้ อ มที่ จั ด ให้ นั ก ศึ ก ษา ปฏิบัติงานในประเทศ การเตรียมความพร้อมควรจัดล่วงหน้าเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นทักษะต้องใช้ เวลาในการฝึกฝน โดยอาจจัดเป็นรายวิชาหรือจัดเป็นโครงการเฉพาะก็ได้ ส�ำหรับหัวข้อในการ เตรียมความพร้อมอาจแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ ดังนี้ 1) ความสามารถในการสื่อสาร นั ก ศึ ก ษาควรมี ทั ก ษะการใช้ ภ าษาอั ง กฤษเพื่ อ การสื่ อ สารอย่ า งมี ประสิทธิภาพตั้งแต่การพูด การอ่าน การเขียน และการน�ำเสนอ ทั้งนี้ เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็น ภาษากลางทีใ่ ช้กนั ทัว่ โลก ดังนัน้ สถาบันอุดมศึกษาจึงควรเตรียมให้นกั ศึกษาได้มโี อกาสฝึกฝนการใช้ ภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมต่างๆ ตัง้ แต่ศกึ ษาอยูใ่ นชัน้ ปีการศึกษาทีห่ นึง่ ในบางกรณีอาจต้องศึกษา ภาษาอื่นที่ใช้เป็นทางการในประเทศเป้าหมายด้วย นอกจากนี้ นักศึกษาควรตระหนักรู้ด้วยว่าความแตกต่างของภาษาและ การใช้ภาษาแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม กล่าวคือ การใช้ภาษาสามารถสะท้อนถึงโครงสร้างลึกๆ ของวัฒนธรรมได้ เช่น ภาษาของชาวอเมริกันมีความตรงของภาษา (Degree of Directness) ในลักษณะที่คนไทยเรียกว่า “ขวานผ่าซาก” คือมีความชัดเจนและตรงของค�ำพูด โดยคนอเมริกัน ส่วนใหญ่หลีกเลีย่ งทีจ่ ะพูดอ้อมค้อมซึง่ ถ้าเขาหมายถึง “ไม่” เขาจะพูดโดยไม่ลงั เล ความตรงของการ ใช้ภาษามักถูกมองจากคนในวัฒนธรรมอืน่ ว่าเป็นการไม่คำ� นึงถึงผูอ้ นื่ สามารถน�ำไปสูค่ วามไม่พอใจ และท�ำร้ายความรู้สึกของคนที่มาจากวัฒนธรรมอื่นที่ไม่ได้เชิดชูค่านิยมของการสื่อสารแบบตรงๆ ได้ อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมส่วนมากในโลกโดยเฉพาะชาวเอเชียและชาวแอฟริกนั มักนิยมใช้ภาษา ในลักษณะอ้อม (Indirect) เพื่อการรักษาเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ความรู้สึกและหน้าตาของผู้อื่น โดย การพูดที่ใชัค�ำน้อยแต่แฝงไว้ด้วยความสละสลวยของภาษาวัฒนธรรม เช่น ในวัฒนธรรมจีน ญี่ปุ่น

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(001-028)P2.indd 14

8/3/59 BE 9:16 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน กัณทิมา ศิริจีระชัย เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ บุญชัย วิจิตรเสถียร สุนิติยา เถื่อนนาดี อิศรา ประมูลศุข

15

เกาหลีและไทย ผู้คนมักใช้ภาษาอย่างระมัดระวังเพราะไม่ใคร่ชอบการแสดงออกทางด้านลบและ การโต้ตอบด้วยค�ำพูดเมือ่ มีการเผชิญหน้า บ่อยครัง้ ทีค่ ำ� พูดของชาวเอเชียตะวันออกจะเน้นถึงความ ส�ำคัญและความต้องการของกลุ่มมากกว่าบุคคล (จุฑาพรรธ์ (จามจุรี) ผดุงชีวิต, 2551: 286-288) ในแต่ละวัฒนธรรมมีการก�ำหนดสิ่งที่ควรพูดและไม่ควรพูดแตกต่างกัน เช่น ในวัฒนธรรมไทยมี การก�ำหนดว่าเราควรพูดอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อไหร่และอย่างไร ตัวอย่างเช่น นักเรียนไทยต้อง พูดกับครูโดยใช้ภาษาที่สุภาพและแสดงความมีสัมมาคารวะในทุกที่และทุกสถานการณ์ ซึ่งเป็นผล มาจากค่านิยมที่ว่าครูย่อมเป็นครูเสมอ ในขณะที่นักเรียนของวัฒนธรรมอื่น เช่น ทางตะวันตกต้อง พูดด้วยภาษาที่สุภาพต่อหน้าอาจารย์ในชั้นเรียนเพื่อให้เกียรติแต่อาจเรียกชื่อเล่นหรือพูดภาษาสะ แลงกับครูนอกชัน้ เรียน นอกจากนี้ ชาวอเมริกนั ไม่ชอบให้ถามเรือ่ งส่วนตัว เช่น อายุ น�ำ้ หนัก รายได้ ชาวตะวันออกกลางห้ามพูดนินทา ชาวอาหรับไม่ชอบให้ทักทายเกี่ยวกับความงามของสตรี โดยเฉพาะภรรยาของตน เป็นต้น (เมตตา วิวัฒนานุกูล, 2548: 171-172) 2) เตรียมความพร้อมด้านวัฒนธรรมการท�ำงานและความเป็นอยู่ สถาบันอุดมศึกษาควรต้องให้ความรู้แก่นักศึกษาในเรื่องต่อไปนี้ (1) สร้างความตระหนักรู้ถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมการท�ำงานและ การยอมรับในความแตกต่างและการให้เกียรติวัฒนธรรมอื่นๆ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการเกิดความ ตระหนกทางวัฒนธรรม (Culture Shock)* โดยทั่ วไปการตรงต่ อ เวลาในการท� ำ งานและ การนัดหมายเป็นข้อก�ำหนดพืน้ ฐานทีถ่ อื ปฏิบตั กิ นั ทัว่ ไปในสังคมการท�ำงานของทุกวัฒนธรรม ดังนัน้ สถาบันอุดมศึกษาจึงควรปลูกฝังให้นักศึกษามีคุณสมบัติข้อนี้และถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ส�ำหรับ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้านชีวิตความเป็นอยู่นั้นเกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง เช่น วัฒนธรรมมี อิทธิพลกับการจัดทีน่ งั่ ซึง่ มักสัมพันธ์กบั สถานภาพและบทบาทของคนในสังคม การจัดเฟอร์นเิ จอร์ และการใช้พื้นที่ ระดับความดังของน�้ำเสียงที่พูด การรักษาระยะห่างระหว่างคู่สนทนาและ การจ้องตาคู่สนทนา เป็นต้น

*

ความตระหนกทางวัฒนธรรม (Culture Shock) เป็นความไม่สบายกายและไม่สบายใจเมื่อพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ในวัฒนธรรมหนึ่งๆ ต่างไปจากสิ่งที่เคยเจอเป็นประจ�ำในวัฒนธรรมเก่าของตน ซึ่งอาจท�ำให้นอนไม่หลับ รู้สึก โดดเดี่ยว เหงาใจ สิ้นหวัง และวิตกกังวลเป็นต้น ความตระหนกทางวัฒนธรรมอาจท�ำให้บางคนเจ็บป่วยและต้องการ กลับบ้านเกิดทันที ขณะที่บางคนสามารถปรับตัวได้ในระยะเวลา 4-5 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่าง วัฒนธรรมเดิมและวัฒนธรรมใหม่

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(001-028)P2.indd 15

8/3/59 BE 9:16 AM


16

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education

ในประเทศเกาหลีการจ้องตาในกลุ่มคนที่มีความไม่เท่าเทียมกันหมายถึง การแข่งขันซึ่งถือเป็นการกระท�ำที่ไม่เหมาะสม ในไนจีเรียและแอฟริกาใต้คนมักจะสบตาขณะฟัง ผูอ้ นื่ พูด คนจีน อินโดนีเซียและคนลาตินอเมริกนั จ�ำนวนมากมักจะมองต�ำ่ เพือ่ แสดงถึงความเคารพ โดยเชือ่ ว่าการสบสายตามากเกินไปเป็นมารยาททีไ่ ม่ดี ในขณะทีช่ าวอาหรับจะจ้องตาคูส่ นทนานาน เพราะเชื่อว่าเป็นการแสดงถึงความสนใจในคู่สนทนาและสามารถประเมินความจริงใจจาก ค�ำพูดของคู่สนทนาได้ ส�ำหรับการสัมผัสของคู่สนทนาพบว่าวัฒนธรรมที่มีการสัมผัสกันมากและ มีระยะห่างระหว่างคู่สนทนาน้อย เช่น ลาตินอเมริกา ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออกและ ยุโรปใต้ ในขณะที่ อเมริกา เอเชียและยุโรปเหนือเป็นวัฒนธรรมที่มีการสัมผัสกันน้อยและ มีระยะห่างระหว่างคู่สนทนามาก (เมตตา วิวัฒนานุกูล, 2548: 191-194) ในการเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่นักศึกษา เกีย่ วกับวัฒนธรรมทีแ่ ตกต่างอาจใช้วธิ กี ารฝึกอบรมเพือ่ ให้ความรูเ้ กีย่ วกับคนต่างวัฒนธรรม ลักษณะ วัฒนธรรม พิธีกรรม ค่านิยม และสถาบันทางสังคมที่ส�ำคัญต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักเรื่อง การไม่ยึดติดกับค่านิยมเดิมของตนเอง ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปรับตัวดังส�ำนวนไทยที่ว่า “เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม” หรือส�ำนวนของต่างประเทศที่ว่า “Do as the Romans do” รวมทั้งเพื่อฝึกฝนกิริยา มารยาทและการประพฤติปฏิบัติในสถานการณ์ต่างๆ เมื่ออยู่ต่างประเทศ ตลอดจนเพื่อฝึกฝนการพูดคุยจริงกับชาวต่างชาติ (2) ให้ความรูเ้ กีย่ วกับประเทศเป้าหมายทีต่ อ้ งการไปปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษา เช่น ภาษาทีใ่ ช้เป็นทางการของแต่ละประเทศ ศาสนา ประชากร ผูน้ ำ� ทางการเมือง ระบบการเมือง การปกครอง สภาพภูมิศาสตร์ ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ สกุลเงินที่ใช้ รวมถึงระบบมาตราชั่ง ตวง วัด และระบบจราจร ตลอดจนวิถีชีวิตของประชาชนภายในประเทศ เป็นต้น (3) ทักษะการใช้ชีวิตในต่างแดน (Survival Skill) สถาบันอุดมศึกษา ควรปฐมนิเทศหรือจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะการใช้ชีวิตในต่างแดนให้แก่ นักศึกษา โดยอาจเชิญนักศึกษาที่เคยไปปฏิบัติงานหรืออาจารย์ที่เคยไปศึกษาต่างประเทศมา ถ่ายทอดประสบการณ์และให้ข้อคิดเกี่ยวกับการเตรียมตัวไปต่างประเทศและสิ่งที่ต้องระมัดระวัง ในการใช้ชีวิตในต่างประเทศซึ่งเกี่ยวข้องกับการเตรียมเสื้อผ้า สิ่งของที่ควรและไม่ควรน�ำไป วิธีการจัดกระเป๋า น�้ำหนักกระเป๋า เอกสารส�ำคัญ การเข้าออกสนามบิน การต่อเครื่องบิน การหาที่พัก การคบเพื่อนต่างชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ ควรแนะน�ำแนวทางในการแก้ไขปัญหา หรื อ เมื่ อ เกิ ด เหตุ ฉุ ก เฉิ น เพื่ อ ให้ นั ก ศึ ก ษาได้ เข้ า ใจล่ ว งหน้ า เช่ น หากเอกสารส� ำ คั ญ เช่ น หนั ง สื อ เดิ น ทาง (Passport) หายควรท� ำ อย่ า งไร หากเกิ ด เจ็ บ ป่ ว ยหรื อ ประสบอุ บั ติ เ หตุ ควรท�ำอย่างไร ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดท�ำเอกสารระบุหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อของ

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(001-028)P2.indd 16

8/3/59 BE 9:16 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน กัณทิมา ศิริจีระชัย เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ บุญชัย วิจิตรเสถียร สุนิติยา เถื่อนนาดี อิศรา ประมูลศุข

17

ส�ำนักตัวแทนดูแลนักเรียนไทย สถานกงสุลไทย รวมถึงหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินต่างๆ ในประเทศ นั้นๆ นอกจากนี้ นักศึกษาควรรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ ที่อาจส่งผลให้ การใช้ชวี ติ ต่างวัฒนธรรมมีปญ ั หา เช่น กฎระเบียบทีม่ บี ทลงโทษรุนแรงหากฝ่าฝืน หรือข้อห้ามต่างๆ เช่น ประเทศสิงคโปร์ไม่อนุญาตให้นำ� หมากฝรัง่ เข้าประเทศและจะถูกปรับหากถ่มน�ำ้ ลายลงพืน้ ถนน ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่อนุญาตให้น�ำผลิตภัณฑ์จากเนื้อวัวและหมูเข้าประเทศ เป็นต้น (4) ทักษะการสืบค้นสารสนเทศ ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา นักศึกษา ต้องท�ำรายงานเชิงวิชาการเพือ่ รายงานผลการด�ำเนินโครงงานเสนอสถานประกอบการและสถาบัน อุดมศึกษาซึง่ ต้องอ้างอิงข้อมูลทีน่ า่ เชือ่ ถือ ถูกต้องและทันสมัย ดังนัน้ ทักษะการสืบค้นข้อมูลจึงเป็น ทักษะส�ำคัญทีส่ ถานศึกษาต้องปลูกฝังให้แก่นกั ศึกษาโดยการพัฒนาให้นกั ศึกษามีการรูส้ ารสนเทศ (Information Literacy) ตามมาตรฐานซึง่ ประกอบด้วย ความสามารถในการก�ำหนดลักษณะและ ขอบเขตของความต้องการสารสนเทศ ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่าง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถประเมินสารสนเทศและแหล่งที่มาอย่างมีวิจารณญาณ รวมทั้งเชื่อมโยงสารสนเทศที่เลือกมาให้เข้ากับความรู้เดิมและระบบคุณค่า สามารถใช้สารสนเทศ ได้อย่างมีประสิทธิผลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และเข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจ กฎหมาย และสังคมที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศและการเข้าถึงสารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย (Association of College and Research Library: 2000) 5.2.3 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรฐานของการไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ ในแต่ละประเทศ และการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่มาตรฐาน มาตรฐานสหกิจศึกษา หมายถึงข้อก�ำหนดของกิจกรรมหรือกระบวนการ การด�ำเนินงานสหกิจศึกษาทีห่ ากได้ดำ� เนินการตามระบบและแผนทีไ่ ด้กำ� หนดไว้แล้ว จะท�ำให้เกิด ความเชื่อมั่นว่าผลผลิตที่ได้จากการด�ำเนินงานสหกิจศึกษามีคุณภาพตามลักษณะที่พึงประสงค์ มาตรฐานการด�ำเนินงานสหกิจศึกษานานาชาติของแต่ละประเทศมีความ แตกต่างกัน การส่งนักศึกษาไทยไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ ต่างประเทศควรยึดมาตรฐาน การด�ำเนินงานอย่างน้อยเท่ากับมาตรฐานการด�ำเนินงานสหกิจศึกษาในประเทศ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมักจัดให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาเพียงหนึ่งครั้งในชั้นปีที่ 4 เป็นส่วนใหญ่ ท�ำให้สถานประกอบการต่างชาติคาดหวังว่านักศึกษาจะมีศักยภาพในการท�ำงานสูง เนื่องจาก ใกล้จะส�ำเร็จการศึกษา สถาบันอุดมศึกษาไทยควรตระหนักในการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา สหกิจศึกษาอย่างเต็มที่และท�ำการคัดเลือกนักศึกษาที่มีความพร้อมในการท�ำงาน ณ ต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน เมื่อสถาบันอุดมศึกษาไทยต้องรับนักศึกษาต่างชาติมาปฏิบัติงานในประเทศไทย

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(001-028)P2.indd 17

8/3/59 BE 9:16 AM


18

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education

นั้น สถาบันอุดมศึกษาไทยต้องศึกษาและด�ำเนินการตามมาตรฐานการด�ำเนินงานสหกิจศึกษา นานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาหรือของประเทศนั้นๆ การด�ำเนินงานสหกิจศึกษานานาชาติตาม กรอบมาตรฐานการด�ำเนินงานสหกิจศึกษาปรากฏรายละเอียดในตารางข้างล่างนี้ กิจกรรม

รายละเอียด

ขั้นตอนก่อนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ การส�ำรวจความต้องการไป สหกิจศึกษานานาชาติ

เพือ่ ส�ำรวจความต้องการของนักศึกษาทีม่ คี วาม ประสงค์จะไปสหกิจศึกษานานาชาติ

การก�ำหนดและตรวจสอบคุณสมบัติ นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ และ เกณฑ์ในการคัดเลือก

เพือ่ คัดเลือกนักศึกษาทีม่ คี ณ ุ สมบัตเิ หมาะสมใน การไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ และ ระบุวิธีการคัดเลือกซึ่งอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ และการทดสอบ โดยให้อิสระและเปิดโอกาสให้ มีการแข่งขันในการสมัครงาน

การรับรองคุณภาพงาน สหกิจศึกษานานาชาติ

เพือ่ ให้งานสหกิจศึกษานานาชาติมคี ณ ุ ภาพและ ตรงตามสาขาวิชา

การเลือกสถานประกอบการ/ สมัครงานสหกิจศึกษานานาชาติ

เพื่อให้นักศึกษาสมัครงานตามความสมัครใจ ทั้ ง นี้ คณาจารย์ ค วรให้ ค� ำ แนะน� ำ เกี่ ย วกั บ ต�ำแหน่งงานที่มีความเหมาะสมกับความรู้และ ความสามารถของนักศึกษา ตลอดจนการเลือก ประเทศเป้าหมาย

การเตรียมความพร้อม นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจบทบาทของตนเองและมี ความพร้อมทั้งทางวิชาการและความสามารถ ในเชิ ง ปฏิ บั ติ ง านได้ จ ริ ง ก่ อ นไปปฏิ บั ติ ง าน สหกิจศึกษานานาชาติ รวมทัง้ ความสามารถด้าน การสื่อสารภาษาต่างประเทศ และการท�ำงาน ข้ามวัฒนธรรม

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(001-028)P2.indd 18

8/3/59 BE 9:16 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน กัณทิมา ศิริจีระชัย เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ บุญชัย วิจิตรเสถียร สุนิติยา เถื่อนนาดี อิศรา ประมูลศุข

กิจกรรม

19

รายละเอียด

ขั้นตอนก่อนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ ●

การเตรียมตัวเดินทางไปต่างประเทศ

เพือ่ จัดเตรียมเอกสารส�ำคัญประกอบการขอวีซา่ จากสถานทูต การจองตั๋วเครื่องบิน การยืนยัน การเดินทาง หลังจากได้รบั วีซา่ และการประกัน สุขภาพและอุบัติเหตุ ตลอดจนระเบียบและวิธี การเข้าเมืองและการขออนุญาตในการปฏิบัติ งานในฐานะนักศึกษาสหกิจศึกษา

ค่าใช้จ่ายที่นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ เพือ่ ให้นกั ศึกษาทราบค่าใช้จา่ ยทีต่ อ้ งรับผิดชอบ ต้องรับผิดชอบ ในการไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศ ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาควรพิจารณาจัดให้มี เงินสนับสนุนหรือเงินกู้ยืม เพื่อให้โอกาสแก่ นักศึกษาทีม่ ศี กั ยภาพทุกคนได้ไปปฏิบตั งิ านสห กิจศึกษาในต่างประเทศ ●

ขั้นตอนระหว่างการปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ ●

การรายงานตัวที่สถานประกอบการ

เพื่อให้นักศึกษารายงานตัวต่อฝ่ายบุคคลและ ผู้นิเทศงาน

การวางแผนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

เพื่อให้นักศึกษาวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกับ ผู้นิเทศงาน และส่งให้คณาจารย์นิเทศเพื่อขอ ความเห็นชอบ

การติดตามความก้าวหน้าและ การนิเทศงานโดยคณาจารย์นิเทศ ●

เพือ่ ติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบตั งิ านและ การไปนิเทศงาน ณ สถานประกอบการ หรือ การนิเทศงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(001-028)P2.indd 19

8/3/59 BE 9:16 AM


20

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education

กิจกรรม

รายละเอียด

ขั้นตอนระหว่างการปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ การน�ำเสนอผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เพื่อรายงานความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการ และการน� ำเสนอผลการปฏิ บั ติ ง านต่ อ สถาน ประกอบการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสือ่ สาร คณาจารย์นเิ ทศควรเข้าร่วมกิจกรรม นี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงการให้ความส�ำคัญและ ท�ำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับสถาน ประกอบการแน่นแฟ้นขึ้น ●

ขั้นตอนหลังการปฏิงานสหกิจศึกษานานาชาติ การส่งรายงานและน�ำเสนอ ผลการปฏิบัติงาน ณ สถาบันอุดมศึกษา ●

เพื่อน�ำเสนอผลการปฏิบัติงานต่อที่ประชุมของ คณาจารย์ในสาขาวิชาและนักศึกษาสหกิจศึกษา เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้

การประเมินผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เพือ่ ประเมินศักยภาพด้านความรู้ ความสามารถ ของนักศึกษา ตลอดจนให้นักศึกษาได้วิเคราะห์ ตนเองและพัฒนาตนเองต่อไป

5.2.4 การบริ ห ารจั ด การเพื่ อ การส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การจั ด สหกิ จ ศึ ก ษา นานาชาติของสถาบันอุดมศึกษา การจัดสหกิจศึกษานานาชาติในสถาบันอุดมศึกษาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ผู้บริหารระดับสูง คณาจารย์ และบุคลากรในสังกัดหน่วยงานที่รับผิดชอบและหน่วยงานอื่นๆ ซึ่ ง จ� ำ เป็ น ต้ อ งได้ รั บ การสนั บ สนุ น จากหน่ ว ยงานต่ า งๆ ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา และเพื่ อ ให้ นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติสามารถไปปฏิบัติงาน ณ ต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สถาบันอุดมศึกษาจ�ำเป็นต้องมีการบริหารจัดการเพือ่ การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสหกิจศึกษา นานาชาติ โดยด�ำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องดังนี้

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(001-028)P2.indd 20

8/3/59 BE 9:16 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน กัณทิมา ศิริจีระชัย เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ บุญชัย วิจิตรเสถียร สุนิติยา เถื่อนนาดี อิศรา ประมูลศุข

21

1) การก� ำ หนดนโยบายสหกิ จ ศึ ก ษานานาชาติ เป็ น การประกาศความ มุง่ มัน่ ของผูบ้ ริหารระดับสูงและการมีนโยบายทีช่ ดั เจนทีจ่ ะน�ำไปสูก่ ารก�ำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบ ภารกิจและหน้าที่ของหน่วยงานสหกิจศึกษา 2) การก�ำหนดหน่วยงานรับผิดชอบการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ สถาบัน อุดมศึกษาสามารถก�ำหนดสถานภาพและโครงสร้างหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารจัดการ สหกิจศึกษานานาชาติได้ตามความเหมาะสมของแต่ละสถาบัน ขึ้นอยู่กับปริมาณงานและความ สะดวกรวดเร็วในการประสานงาน ซึ่งหน่วยงานรับผิดชอบอาจเป็นหน่วยงานกลางระดับสถาบัน ระดับคณะ หรือ ระดับสาขาวิชา ทั้งนี้สถาบันอุดมศึกษาอาจใช้หน่วยงานที่รับผิดชอบการจัด สหกิจศึกษาในประเทศอยู่แล้วเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบสหกิจศึกษานานาชาติก็ได้ 3) การก�ำหนดบุคลากรรับผิดชอบการด�ำเนินงานสหกิจศึกษานานาชาติ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสหกิจศึกษานานาชาติในสถาบันอุดมศึกษาประกอบ ด้วยบุคคลส�ำคัญ 5 กลุ่มคือ 1) ผู้บริหารระดับสูงในสถาบันอุดมศึกษา 2) ผู้รับผิดชอบหน่วยงาน สหกิจศึกษา 3) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 4) คณาจารย์นิเทศ และ 5) ผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่สนับสนุนการด�ำเนินงานสหกิจศึกษานานาชาติ 4) การเตรียมความพร้อมให้บุคลากรทั้งคณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับการด�ำเนินงานสหกิจศึกษานานาชาติ สถาบันอุดมศึกษาสามารถด�ำเนินการโดย ต้องพัฒนากลุ่มคนดังกล่าวให้มีสมรรถนะในระดับมาตรฐานสากล และมีการเตรียมความพร้อม นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติตามมาตรฐานและความคาดหวังของสถานประกอบการของประเทศ เป้าหมาย 5) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดสหกิจศึกษานานาชาติในรูปแบบ ต่าง ๆ สามารถด�ำเนินการ ดังนี้ (1) พัฒนาความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศเป้าหมายเพื่อ การแลกเปลี่ยนนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติและคณาจารย์ โดยอาจท�ำความตกลงกับสถาบัน อุดมศึกษาในประเทศเป้าหมายในรูปต่างตอบแทน หรือรูปแบบอื่นๆ เพื่อร่วมกันจัดสหกิจศึกษา นานาชาติ (2) พัฒนาความร่วมมือกับสถานประกอบการไทยทีม่ สี ำ� นักงานหรือมีการ ประกอบการในต่างประเทศให้ร่วมจัดสหกิจศึกษานานาชาติ (3) พัฒนาความร่วมมือกับสถานประกอบการต่างประเทศที่มีส�ำนักงาน หรือมีการประกอบการในประเทศไทยให้ร่วมจัดสหกิจศึกษานานาชาติ (4) ด�ำเนินการผ่านองค์กรกลางหรือสมาคมทีม่ หี น้าทีใ่ นการรับแลกเปลีย่ น นักศึกษา เช่น IEASTE, WACE ISO@SUT, CIMO เป็นต้น Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(001-028)P2.indd 21

8/3/59 BE 9:16 AM


22

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education

6) การส่งเสริมและสนับสนุนด้านงบประมาณและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับ การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ มีประเด็นที่ต้องค�ำนึงถึงดังนี้ (1) การจั ด สหกิ จ ศึ ก ษานานาชาติ จะมี ค ่ า ใช้ จ ่ า ยที่ เ พิ่ ม จากการจั ด สหกิจศึกษาในประเทศในเรื่องการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา การจัดให้อาจารย์ไปสร้างความ ร่วมมือและการส่งอาจารย์ไปนิเทศ ณ สถานประกอบการ (2) การจัดสรรทุนสนับสนุนให้นักศึกษาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าครองชีพเบื้องต้น เช่น กองทุนสนับสนุนส�ำหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเยี่ยม กองทุน เงินกู้ยืมส�ำหรับสหกิจศึกษานานาชาติ เป็นต้น (3) การจัดเตรียมระบบโครงสร้างด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร ส�ำหรับการด�ำเนินงานสหกิจศึกษานานาชาติ เช่น ระบบการประชุมทางไกล (Teleconferences) เป็นต้น 5.2.5 ระเบียบและวิธกี ารเข้าเมือง และการขออนุญาตปฏิบตั งิ านในฐานะนักศึกษา สหกิจศึกษาในแต่ละประเทศเป้าหมาย เมื่อนักศึกษาต้องไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ ณ ต่างประเทศนั้น หนังสือเดินทางของนักศึกษา (Passport) ต้องได้รับการตรวจลงตราหรือวีซ่า (VISA) ดังนั้น สิ่งที่สถาบันอุดมศึกษาต้องค�ำนึงถึงเป็นอันดับแรกในการจัดสหกิจศึกษานานาชาติคือระเบียบ วิธีการเข้าเมือง ซึ่งระเบียบดังกล่าวอาจคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยทั่วไป แล้ว ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์หรือฝ่ายกิจการต่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษาจะเป็นหน่วยงานส�ำคัญ ในการประสานงานหลัก เช่น การอ�ำนวยความสะดวกในการขอวีซ่าจากสถานเอกอัครราชทูต ประเทศทีน่ กั ศึกษาจะไปปฏิบตั งิ านทีป่ ระจ�ำ ณ ประเทศไทย หากสถาบันอุดมศึกษาไม่มหี น่วยงาน ดังกล่าว เจ้าหน้าที่สหกิจศึกษาจ�ำเป็นต้องศึกษาระเบียบข้อมูลส�ำคัญที่เกี่ยวข้อง และช่วยอ�ำนวย ความสะดวกแก่นักศึกษา เพราะแต่ละประเทศมีกฎระเบียบที่ไม่เหมือนกัน แม้ว่าระเบียบการ เข้าเมืองของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไปในรายละเอียด แต่ข้อมูลส�ำคัญคล้ายคลึงกันทั่วโลก ในการขอวีซ่านั้นสถาบันอุดมศึกษาต้องทราบประเด็นส�ำคัญดังต่อไปนี้ 1) การจัดเตรียมเอกสารรับรองสถานภาพของนักศึกษา ขั้ น ตอนส� ำ คั ญ ของการขอวี ซ ่ า ในกรณี ที่ นั ก ศึ ก ษาไปปฏิ บั ติ ง าน สหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการในต่างประเทศ คือการยืนยันจากสถานศึกษาว่านักศึกษา มีสถานะเป็นผู้ลงทะเบียนเรียนอยู่ ณ สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย และจะกลับมายัง ประเทศไทยหลังจากไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาแล้ว โดยสถาบันศึกษาจะออกหนังสือลงนามโดย อธิการบดี หรือรองอธิการบดีฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายวิชาการ หรือฝ่ายพัฒนากิจการต่างประเทศ

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(001-028)P2.indd 22

8/3/59 BE 9:16 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน กัณทิมา ศิริจีระชัย เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ บุญชัย วิจิตรเสถียร สุนิติยา เถื่อนนาดี อิศรา ประมูลศุข

23

(ถ้ามี) โดยในหนังสือควรระบุรายละเอียดเกี่ยวกับนักศึกษา รายละเอียดเกี่ยวกับการไปปฏิบัติงาน สหกิ จ ศึ ก ษาว่ า เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการพั ฒ นาศั ก ยภาพและทั ก ษะวิ ช าชี พ ของนั ก ศึ ก ษาและ เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษา ระบุระยะเวลาไปและเวลากลับที่แน่นอน อาจต้องระบุ หรือแนบเอกสารเพิ่มเติมว่า สหกิจศึกษาคืออะไร และนักศึกษาไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาใน ต�ำแหน่งใด เพื่อให้ข้อมูลแก่สถานเอกอัครราชทูตด้วย นอกจากนี้ หนังสืออาจระบุถึงจ�ำนวนเงินที่ สถาบันอุดมศึกษาให้การสนับสนุนแก่นักศึกษาในการเดินทางไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาครั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาสามารถขอความอนุเคราะห์กระทรวงการต่างประเทศให้ออกหนังสืออ�ำนวย ความสะดวกในการขอวีซ่าส�ำหรับนักศึกษาสหกิจศึกษาได้อีกทางหนึ่ง นอกจากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยจะมีบทบาทในการรับรอง สถานภาพนักศึกษาเพื่อการขอวีซ่าแล้ว ปัจจุบันสถานเอกอัครราชทูตในหลายประเทศก�ำหนดว่า นักศึกษาที่ประสงค์ขอวีซ่าเพื่อไปฝึกประสบการณ์หรือภาคปฏิบัติการ ณ สถานประกอบการ ต้องมีเอกสารรับรองจากสถานศึกษาภายในประเทศดังกล่าว ดังเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยต้องมีการประสานงานกับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศ สหรัฐอเมริกาให้รับรองสถานภาพของนักศึกษาว่าเป็นนักศึกษาภายใต้ความร่วมมือและพัฒนา ทางวิชาการระหว่างสองสถาบัน และจะดียิ่งขึ้นหากการด�ำเนินการดังกล่าวอยู่ภายใต้ข้อตกลง ความร่วมมือที่มีการลงนามแล้ว (Signed Memorandum of Understanding) ในบางประเทศ สถาบั น อุ ด มศึ ก ษามี บ ทบาทส� ำ คั ญ ในช่ ว ยการประสานงานกั บ ทั้ ง หน่ ว ยงานรั บ ผิ ด ชอบด้ า น การตรวจคนเข้าเมืองและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประเทศสิงคโปร์ หากสถาบันอุดมศึกษา ในประเทศสิ ง คโปร์ จ ะด� ำ เนิ น การรั บ นั ก ศึ ก ษาสหกิ จ ศึ ก ษาจากประเทศอื่ น ต้ อ งด� ำ เนิ น การ ขออนุญาตจากกระทรวงแรงงาน (Ministry of Manpower) ของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ สถานประกอบการที่จะรับนักศึกษาสหกิจศึกษาในประเทศสิงคโปร์ก็ต้องลงทะเบียนกับกระทรวง ดังกล่าวก่อนเช่นกัน สถานเอกอัครราชทูตหลายประเทศก�ำหนดให้ใช้จดหมายเชิญ (Invitation Letter) ประกอบการขอวีซ่า ซึ่งจดหมายเชิญดังกล่าวคือเอกสารที่ออกโดยสถาบันอุดมศึกษาใน ต่างประเทศทีร่ ะบุคำ� เชิญให้สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยส่งนักศึกษาไปปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษา โดยระบุวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานรวมถึงระยะเวลาการปฏิบัติงาน เช่น ในประเทศไต้หวัน สถานศึกษาในประเทศไต้หวันจะออกหนังสือเชิญนักศึกษาสหกิจศึกษาให้มาปฏิบัติงานเป็นผู้ช่วย วิจัยในมหาวิทยาลัย เช่นเดียวกับในประเทศญี่ปุ่น สถานประกอบการหรือสถานศึกษาในประเทศ ญี่ปุ่นจะเป็นผู้สมัครเพื่อขอหนังสือรับรองสถานภาพการพ�ำนัก (Certificate of Eligibility) จาก ส�ำนักตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงยุติธรรม ประเทศญี่ปุ่น ให้แก่นักศึกษา สหกิจศึกษาต่างชาติ

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(001-028)P2.indd 23

8/3/59 BE 9:16 AM


24

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education

ที่มีวัตถุประสงค์ในการพักอาศัยมากกว่า 90 วัน เป็นเอกสารประกอบการขอวีซ่าเพื่อการฝึกงาน ภาคปฏิบัติ เพื่อประกอบการขอตรวจลงตราเข้าประเทศญี่ปุ่น จดหมายเชิญของสถานประกอบ การในการรับนักศึกษาอาจระบุหรือไม่ระบุสวัสดิการและการจ่ายค่าตอบแทนให้ หากมีการระบุวา่ นักศึกษาได้รับค่าตอบแทนนักศึกษาอาจจะต้องขอใบอนุญาตท�ำงาน (Work Permit) โดย สถานประกอบการจะยื่นสมัครให้ การที่สถานศึกษาในประเทศผู้ส่งออกนักศึกษาและประเทศผู้รับเข้า นักศึกษาไปปฏิบตั งิ านเข้ามามีบทบาทในการรับรองสถานภาพของนักศึกษาสหกิจศึกษานัน้ ท�ำให้ การขอวีซ่าเป็นไปโดยสะดวกมากขึ้น สามารถขอระยะเวลาได้ตรงหรือใกล้เคียงตามระยะเวลา ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (4 เดือน) 2) การตรวจสอบประเภทวีซา่ ส�ำหรับนักศึกษาทีไ่ ปปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษา ประเภทวีซ่าส�ำหรับนักศึกษาที่ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษามักถูกก�ำหนด ให้อยู่ในประเภทวีซ่าธุรกิจแบบเดินทางเข้าออกประเทศครั้งเดียว (Business Visa/Single Entry) ในบางประเทศอาจก�ำหนดให้อยู่ในประเภทวีซ่านักศึกษา โดยอาจมีระดับย่อยของประเภทวีซ่า อืน่ ๆ อีก เช่น วีซา่ ฝึกงาน วีซา่ ปฏิบตั งิ านระยะสัน้ ดังเช่นในประเทศเดนมาร์คและในประเทศเยอรมนี เป็นต้น ดังนัน้ สถาบันอุดมศึกษาต้องศึกษาว่าควรสมัครวีซา่ ประเภทใดส�ำหรับนักศึกษาสหกิจศึกษา สถาบันอุดมศึกษาอาจหารือไปยังสถานเอกอัครราชทูตประเทศที่นักศึกษาจะไปปฏิบัติงานสหกิจ ศึกษาที่ประจ�ำอยู่ ณ ประเทศไทย กรณี ป ระเทศที่ ไ ม่ เ คยมี นั ก ศึ ก ษาสหกิ จ ศึ ก ษาสมั ค รไปปฏิ บั ติ ง าน สถานเอกอัครราชทูตประเทศดังกล่าวที่ประจ�ำอยู่ ณ ประเทศไทยจะหารือไปทางหน่วยงานต้น สังกัดที่รับผิดชอบการตรวจคนเข้าเมืองเพื่อแนะน�ำประเภทวีซ่าที่นักศึกษาควรสมัคร ประเภท วีซ่าและเงื่อนไขที่ระบุในวีซ่าอาจแตกต่างกันไปหากเจ้าหน้าที่พิจารณาการขอรับการตรวจ ลงตรา (Immigration Case Officer) มีความเห็นที่แตกต่างกัน ดังที่เคยปรากฏกับนักศึกษา สหกิจศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวรในการขอวีซ่าไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา กรณีนี้ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจ�ำประเทศไทยระบุว่าให้สมัครวีซ่าประเภท นักศึกษา (J1) และให้ระยะเวลาพ�ำนักเพียง 3 เดือน โดยเมื่อใกล้ครบก�ำหนด 3 เดือนนักศึกษา จะต้องขอต่อวีซ่าในประเทศสหรัฐอเมริกาและเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม (สถานศึกษาในประเทศ สหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้พานักศึกษาไปขอต่อวีซ่า) แต่ต่อมาเมื่อส่งนักศึกษาสหกิจศึกษาผ่านไป จ�ำนวน 3 รุ่น สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ขยายระยะเวลาพ�ำนักของนักศึกษาสหกิจศึกษาเป็น 4 เดือน นอกจากนี้ อีกหน่วยงานที่สามารถช่วยแนะน�ำประเภทวีซ่าที่นักศึกษาควรสมัครคือ หน่ ว ยงานรั บ ผิ ด ชอบด้ า นสหกิ จ ศึ ก ษาในสถาบั น การศึ ก ษาต่ า งประเทศที่ เ คยให้ ก ารรั บ รอง

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(001-028)P2.indd 24

8/3/59 BE 9:16 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน กัณทิมา ศิริจีระชัย เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ บุญชัย วิจิตรเสถียร สุนิติยา เถื่อนนาดี อิศรา ประมูลศุข

25

นักศึกษาสหกิจศึกษาจากประเทศไทย เช่น มหาวิทยาลัยนันยาง (Nanyang Technological University) ประเทศสิงคโปร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์น (North Eastern University) ประเทศ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น สถาบันอุดมศึกษาไม่ควรแนะน�ำให้นักศึกษาใช้สิทธิการตรวจลงตรา เมื่อมาถึงประเทศ (Visa on Arrival) ส�ำหรับประเทศที่ออกสิทธิตามข้อตกลงทางการทูต ให้แก่ประเทศไทย ซึ่งมักมีระยะเวลาพ�ำนักน้อย (30 ถึง 90 วัน) เนื่องจากวีซ่าประเภทดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อการท่องเที่ยวหรือเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและไม่ได้เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับ วัตถุประสงค์ของการไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาซึ่งอาจน�ำไปสู่การท�ำผิดกฎหมายการเข้าออกเมือง และการส่งตัวกลับประเทศไทย (Deportation) 3) การจัดเตรียมเอกสารอื่นๆ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาขอรับการ ตรวจลงตรา ในการขอวีซ่าเข้าประเทศต่างๆ นักศึกษาและเจ้าหน้าที่สหกิจศึกษา ควรให้ความส�ำคัญและมีความแม่นย�ำเรื่องเอกสารที่ใช้เพื่อการประกอบการพิจารณาและความ ละเอียดรอบคอบในการกรอกใบสมัครเพื่อขอวีซ่าพร้อมหลักฐานการจ่ายค่าธรรมเนียมการสมัคร สถานเอกอัครราชทูตญีป่ นุ่ และสหรัฐอเมริกาจะไม่รบั พิจารณาใบสมัครวีซา่ ในกรณีทลี่ มื กรอกข้อมูล ใดข้อมูลหนึ่ง หรือไม่มีเอกสารประกอบการพิจารณาครบถ้วน นอกจากนี้ นักศึกษาต้องจัดเตรียม เอกสารส�ำคัญดังต่อไปนี้ (1) หนังสือเดินทางที่มีอายุไม่น้อยกว่า 6 เดือน และอาจต้องมีหน้า พาสพอร์ตเหลืออย่างน้อย 2 หน้าส�ำหรับการตรวจลงตรา (2) รูปถ่ายที่ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน สถานทูตแต่ละแห่งมีข้อก�ำหนดเรื่อง รูปถ่ายแตกต่างกัน สถาบันอุดมศึกษาต้องศึกษาข้อก�ำหนดและให้นกั ศึกษาเตรียมรูปถ่ายให้ถกู ต้อง (3) ในบางประเทศอาจก�ำหนดให้นกั ศึกษาต้องเตรียมหลักฐานเพิม่ เติม เช่น ก. ใบรับรองการตรวจสุขภาพว่ามีสุขภาพแข็งแรงจากสถานพยาบาล ที่สถานทูตก�ำหนดหรือรับรอง ข. หลักฐานการประกันสุขภาพและอุบัติเหตุโดยองค์กรที่ได้รับการ รับรองจากสถานทูตหรือหากไม่ระบุไว้กค็ วรเป็นองค์กรทีไ่ ด้รบั การ ยอมรับในประเทศที่นักศึกษาจะไปปฏิบัติงาน 4) ข้อควรค�ำนึงในการขอรับการตรวจลงตรา ระเบี ย บและพิ ธี ก ารเข้ า เมื อ งในแต่ ล ะประเทศมี ค วามแตกต่ า งกั น ระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาวีซ่าก็มีความแตกต่างกัน นักศึกษาสหกิจศึกษาและเจ้าหน้าที่

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(001-028)P2.indd 25

8/3/59 BE 9:16 AM


26

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education

สหกิจศึกษาจะต้องเผื่อเวลาที่ใช้ในการเตรียมเอกสารอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป ในบางประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาก�ำหนดให้นักศึกษาผู้ขอวีซ่าไปสมัครและสัมภาษณ์ด้วยตนเองและ ทราบผลการพิจารณาทันที ในขณะที่ประเทศอังกฤษจะทราบผลการพิจารณาอีก 1 ถึง 2 สัปดาห์ หลังจากยื่นขอวีซ่า เอกสารอ้างอิง จุฑาพรรธ์ (จามจุรี) ผดุงชีวิต. (2551). วัฒนธรรม การสื่อสารและอัตลักษณ์. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2548). การสื่อสารต่างวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิจิตร ศรีสอ้าน. (2556). ทิศทางสหกิจศึกษาไทยสู่ประชาคมอาเซียน [สไลด์พาวเวอร์พอยต์]. วิจิตร ศรีสอ้าน. (2555). สหกิจศึกษากับการพัฒนาบัณฑิตสู่ตลาดแรงงานเศรษฐกิจอาเซียน [สไลด์พาวเวอร์พอยต์]. วิจิตร ศรีสอ้าน. (2556). สหกิจศึกษานานาชาติ [สไลด์พาวเวอร์พอยต์]. วิจิตร ศรีสอ้าน. (2555). สหกิจศึกษาส�ำคัญอย่างไรต่ออุดมศึกษาและการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน [สไลด์พาวเวอร์พอยต์]. วิจิตร ศรีสอ้าน. (2556). แนวทางการสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสหกิจศึกษานานาชาติ ในกลุ่มประเทศอาเซียน [สไลด์พาวเวอร์พอยต์]. ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2555). แผนการด�ำเนินการส่งเสริมสหกิจศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2556-2558. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักงาน. Association of College and Research Library. (2000). Information Literacy Competency Standards for Higher Education. Retrieved from http://www.ala.org/acrl/ standards/informationliteracycompetency. Buckley, Joan, & Amoud, Lyndsey EL. Undergraduate Work Placement Programmer in Ireland : Issues and Solutions of University College Cork. Retrieved from http://reap.ie/wp-content/uploads/Work-Placement-presented-by-Joan Buckley-Lyndsey-El-Amoud.pdf .

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(001-028)P2.indd 26

8/3/59 BE 9:16 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน กัณทิมา ศิริจีระชัย เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ บุญชัย วิจิตรเสถียร สุนิติยา เถื่อนนาดี อิศรา ประมูลศุข

27

Campbell, Matthew, & Zegwaard, Karsten E. (2011). Ethical Considerations and Workplace Values in Cooperative and Work-integrated Education. In International Handbook for Research and Practice (pp. 363-369). Lowell, M.A.: WACE. Coll, Richard K. (2003). The Internationalization of Cooperative Education : A Thailand Perspective. Retrieved from http://www.apjce.org/files/ APJCE_04_2_1_6.pdf. Coll, Richard K., & Levinia, Paku. (2006). International Students’ Co-op Placements: The Co-op Experience, Conference Proceedings: New Zealand Association for Cooperative Education Annual Conference, Queenstown, 27-28 April, 2006. Retrieved from http://www.nzace.ac.nz/wp-content/files/conferences/2006/ Paku_Coll.pdf Coll, Richard K., & Zegwaard, Karsten E. (2011). The State of the Art and Future Issues for Cooperative and Work-integrated Education. In International Handbook for Research and Practice (pp. 387-390). Lowell, M.A.: WACE. Hansford, Michelle, & Stonely, Paul. (2011). WACE, the Global Network of Networks: Advancing Cooperative and Work-integrated Education. In International Handbook for Research and Practice (pp. 381-386). Lowell, M.A.: WACE. McRae, Norah, & Ramji, Karima. (2011). Enhancing Cultural Intelligence through Cooperative and Work-integrated Education. In International Handbook for Research and Practice (pp. 347-353). Lowell, M.A.: WACE. Patrick, Carol-Jay, & Kay, Judie. (2011). Establishing a New Nationwide Network for Promoting Cooperative and Work-integrated Education. In International Handbook for Research and Practice (pp. 371-380). Lowell, M.A.: WACE. Taylor, Susanne. (2011). Cooperative and Work-integrated Education in Emerging Economies. In International Handbook for Research and Practice (pp. 355-361). Lowell, M.A.: WACE. Ward, N., & Associates. (2004). International Cooperative Education: The European Experience for Students in Chemistry, Asia-Pacific Journal of Cooperative Education. Retrieved from www.apjce.org/files/APJCE_05_1_27_34.pdf.

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(001-028)P2.indd 27

8/3/59 BE 9:16 AM


28

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education

Ward, N., & Associates. (2013). Co-operative Education, University of Waterloo, Canada. Retrieved from https://uwaterloo.ca/co-operative-Educational-job opportunities. Ward, N., & Associates. (2013). Faculty Visits - University of Limerick-Cooperative Education. Retrieved from http://www.ul.ie>CECD>Coop>Faculty.

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(001-028)P2.indd 28

8/3/59 BE 9:16 AM


วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559) ISSN 1906 - 6864

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี International Cooperative Education of Suranaree University of Technology บุญชัย วิจิตรเสถียร1 กมลวรรณ บัณฑิตสาธิสรรค์ ศิริรัชนี ฉายแสง และ ผ่องพัตรา บุญระมาตร Abstract Cooperative Education is an education system which systematically alternates the student’s learning between in the classroom on campus and in the workplace. It was first provided in Thailand at Suranaree University of Technology (SUT) in the academic year of 1993. As for SUT’s international Cooperative Education, it started in 1995, and since then SUT has sent out 152 students to overseas placements and received 78 international students for placements in Thailand. International Cooperative Education at SUT is provided through 4 main channels, namely; 1) through networks of partner institutions or faculty members, 2) through an agency, 3) between SUT and institutions abroad on the reciprocity basis, and 4) through a Thai business company that has offices or facilities abroad. Keywords: International Cooperative Education, Suranaree University of Technology

ผู้อ�ำนวยการศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี E-mail: boonchai@sut.ac.th 1

_16-0782(029-042)P2.indd 29

8/3/59 BE 9:16 AM


30

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี International Cooperative Education of Suranaree University of Technology

บทคัดย่อ สหกิจศึกษาเป็นระบบการศึกษาที่จัดให้มีการเรียนการสอนในสถานศึกษาสลับกับการ ไปหาประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการอย่างมีระบบ จัดขึ้นเป็น ครัง้ แรกทีม่ หาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี (มทส.) ตัง้ แต่ปกี ารศึกษา 2536 ส�ำหรับการจัดสหกิจศึกษา นานาชาติ มทส. ได้ส่งนักศึกษารุ่นแรกไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศและรับนักศึกษา ต่างชาติมาปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในประเทศไทยตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 นับจนถึงปัจจุบันได้ ส่งนักศึกษาไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศจ�ำนวน 152 คน และรับนักศึกษาต่างชาติ มาปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในประเทศไทยจ�ำนวน 78 คน กระบวนการด�ำเนินงานสหกิจศึกษา นานาชาติได้ใช้กระบวนการเดียวกับการจัดสหกิจศึกษาในประเทศใน 4 รูปแบบคือ 1) การด�ำเนินการ ด้วยตนเอง โดยผ่านเครือข่ายความร่วมมือของมหาวิทยาลัยและเครือข่ายของคณาจารย์ 2) การ ด�ำเนินการผ่านหน่วยงานกลาง 3) การด�ำเนินการแบบต่างตอบแทน และ 4) การด�ำเนินการ ผ่านสถานประกอบการไทยที่มีส�ำนักงานในต่างประเทศ ค�ำส�ำคัญ: สหกิจศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 1. แนวคิดและความเป็นมา สหกิจศึกษา (Cooperative Education) เป็นระบบการศึกษาที่จัดให้มีการเรียนการสอน ในสถานศึกษาสลับกับการไปหาประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบ การอย่างมีระบบ ด้วยความร่วมมือจากสถานประกอบการและทุกฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้อง จัดเป็นระบบการ ศึกษาที่ผสมผสานการเรียนกับการท�ำงาน (Cooperative and Work-Integrated Education : CWIE) และถือเป็นพันธกิจสัมพันธ์ (University Workplace Engagement) ระหว่างสถานศึกษา กับสถานประกอบการรูปแบบหนึ่ง (วิจิตร ศรีสอ้าน, 2557) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) โดยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ผู้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยได้น�ำการศึกษาระบบสหกิจศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับ ปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2536 ซึง่ นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ที่จัดสหกิจศึกษาภายในประเทศ โดยในช่วงแรกได้จัดเป็นรายวิชาเลือก และต่อมาในปีการศึกษา 2540 ได้ก�ำหนดให้สหกิจศึกษาเป็นรายวิชาบังคับของทุกหลักสูตร (ศูนย์สหกิจศึกษาและ พัฒนาอาชีพ, 2556) ยกเว้นหลักสูตรแพทยศาสตร์และพยาบาลศาสตร์ นับจนถึงปัจจุบนั มีนกั ศึกษา ที่ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศจ�ำนวนมากกว่า 19,000 คน

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(029-042)P2.indd 30

8/3/59 BE 9:16 AM


บุญชัย วิจิตรเสถียร กมลวรรณ บัณฑิตสาธิสรรค์ ศิริรัชนี ฉายแสง และ ผ่องพัตรา บุญระมาตร

31

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้เริ่มจัดสหกิจศึกษานานาชาติพร้อมๆ กับการจัดสหกิจ ศึกษาภายในประเทศ โดยได้ส่งนักศึกษารุ่นแรกไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ ต่างประเทศในปี พ.ศ. 2538 ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยได้ก�ำหนดกลยุทธ์ให้สหกิจศึกษานานาชาติเป็นกลไกหลักในการ เพิม่ ศักยภาพให้กบั นักศึกษาและน�ำมหาวิทยาลัยสูค่ วามเป็นนานาชาติ ด้วยมีแนวคิดว่าบัณฑิตของ มหาวิทยาลัยไม่อาจหลีกเลี่ยงผลกระทบของการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี (Free flows of skilled labor) จากการที่ประเทศไทยเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประสบการณ์ การปฏิบตั งิ าน ณ สถานประกอบการในต่างประเทศของนักศึกษาจะช่วยเพิม่ ความพร้อมให้บณ ั ฑิต ในการประกอบอาชีพ (Employability) ทัง้ ในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก ทัง้ นี้ เนือ่ งจาก นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้สถานการณ์การท�ำงานจริง ปรับตัวและใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมและ วัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมทั้งได้ฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่นอื่นๆ อันจะ เป็นประโยชน์ต่อการสื่อสารเพื่อการท�ำงานในต่างแดน 2. วิธีการด�ำเนินงาน การด�ำเนินงานสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้ยึดแนวทาง เช่นเดียวกับการด�ำเนินงานสหกิจศึกษาในประเทศซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ กระบวนการก่อน กระบวนการระหว่าง และกระบวนการหลังการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ดังนี้ 2.1 กระบวนการก่อนส่งนักศึกษาไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ ก่อนส่งนักศึกษาไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศ ศูนย์สหกิจศึกษาและ พัฒนาอาชีพซึง่ รับผิดชอบด้านบริหารจัดการสหกิจศึกษาต้องด�ำเนินงานทีเ่ กีย่ วข้องกับ การส�ำรวจ ความต้องการของนักศึกษาในการไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศ การรับสมัครนักศึกษา การรับรองคุณภาพงาน การสัมภาษณ์งาน และการเตรียมความพร้อมนักศึกษาซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 2.1.1 การส�ำรวจความต้องการไปสหกิจศึกษานานาชาติ เป็นการส�ำรวจความต้องการของนักศึกษาที่มีความประสงค์จะไปปฏิบัติงาน สหกิจศึกษาในต่างประเทศเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการ การเตรียมความพร้อม และการ จัดหางานสหกิจศึกษา ในการด�ำเนินงานได้ใช้วิธีการแจ้งให้นักศึกษาทราบโดยการประชาสัมพันธ์ ผ่านเว็ปไซต์ศนู ย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ ผ่าน Facebook และส่งหนังสือแจ้งไปยังส�ำนักวิชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบในช่วงของ การเตรียมความพร้อมนักศึกษาสหกิจศึกษาชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(029-042)P2.indd 31

8/3/59 BE 9:16 AM


32

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี International Cooperative Education of Suranaree University of Technology

2.1.2 การรับสมัครนักศึกษา นักศึกษาที่ต้องการสมัครไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศต้องมี คุณสมบัติและด�ำเนินการตามเงื่อนไขที่ก�ำหนด (สมาคมสหกิจศึกษาไทย, 2556) ดังนี้ (1) มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่น้อยกว่า 2.50 (2) มีผลคะแนนการสอบ TOEIC (Test of English for International Communication) ไม่น้อยกว่า 500 คะแนน หรือผลคะแนนการทดสอบวัดความสามารถด้าน การใช้ภาษาอังกฤษตามมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าในระดับเดียวกัน (3) ยื่นใบสมัครล่วงหน้าก่อนการเดินทางไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 1 ปี การศึกษา (4) ผ่านความเห็นชอบจากสาขาวิชาโดยประธานคณาจารย์นิเทศ (Coop Advisor) (5) มีหนังสือได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง และ (6) ผ่านการเตรียมความพร้อมก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ ครบถ้วนตามที่ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพก�ำหนด 2.1.3 การจัดหางานและรับรองคุณภาพงาน ในการจั ด หางานส� ำ หรั บ ให้ นั ก ศึ ก ษาไปปฏิ บั ติ ณ สถานประกอบการ ในต่างประเทศนั้น ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพใช้วิธีการติดต่อผ่านสถาบันอุดมศึกษา พันธมิตรในต่างประเทศให้ช่วยติดต่อประสานงานกับสถานประกอบการในประเทศนั้นๆ เพื่อ จัดหางานคุณภาพและตรงตามสาขาวิชาให้แก่นกั ศึกษา ทีผ่ า่ นมาลักษณะงานทีส่ ถานประกอบการ เสนอให้นักศึกษาไปปฏิบัติมักเป็นงานแก้ปัญหาของสถานประกอบการและงานเชิงวิจัยวิชาการ ได้แก่ การจัดท�ำแผนการตลาด การบ่งชี้อันตรายและการประเมินความเสี่ยงเครื่องจักรกลใน โรงเครื่องมือกล การศึกษาการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพริกหวานโดยใช้วัสดุปลูกจาก ทะเลสาบอินเล การศึกษาการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราด้วยจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เป็นต้น โดยงานเหล่านั้นต้องผ่านการรับรองจากประธานคณาจารย์นิเทศ 2.1.4 การสัมภาษณ์งาน เมื่อประธานคณาจารย์นิเทศให้การรับรองงานและเห็นชอบให้นักศึกษา ไปปฏิบัติงานตามที่สถานประกอบการเสนอแล้วมิได้หมายความว่านักศึกษาจะได้ไปปฏิบัติงาน โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้เนื่องจากสถานประกอบการบางแห่งต้องการสัมภาษณ์นักศึกษาก่อนตัดสินใจ ตอบรับเข้าท�ำงาน ตามปกติการสัมภาษณ์มักด�ำเนินการผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร เช่น การใช้โปรแกรม Skype หรือ Google Hangout ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ผ่านมาผู้ที่

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(029-042)P2.indd 32

8/3/59 BE 9:16 AM


บุญชัย วิจิตรเสถียร กมลวรรณ บัณฑิตสาธิสรรค์ ศิริรัชนี ฉายแสง และ ผ่องพัตรา บุญระมาตร

33

ท�ำหน้าทีส่ มั ภาษณ์นกั ศึกษาจากทางด้านสถานประกอบการมักได้แก่ ผูน้ เิ ทศงานและผูป้ ระสานงาน โดยประเด็นที่สถานประกอบการมักถามนักศึกษา ได้แก่ ความรู้ความสามารถในการสื่อสาร ภาษาอังกฤษ ความรูค้ วามสามารถในการปฏิบตั งิ านทีจ่ ะได้รบั มอบหมาย และความสนใจด้านอืน่ ๆ ของนักศึกษา และมักใช้เวลาในการสัมภาษณ์ประมาณ 20 - 40 นาที มีบางกรณีทสี่ ถานประกอบการ ให้ นั ก ศึ ก ษาบั น ทึ ก เทปแนะน� ำ ตั ว เองและส่ ง เป็ น ไฟล์ วิ ดี โ อไปให้ พิ จ ารณาเพิ่ ม เติ ม ประกอบ การสัมภาษณ์ เมือ่ นักศึกษาได้รบั การตอบรับแล้วศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพจะประสานงาน กับสถานประกอบการในรายละเอียดเรื่องต่างๆ เช่น กระบวนการและขั้นตอนเกี่ยวกับการขอ อนุมัติวีซ่า เอกสารต่างๆ ที่จ�ำเป็นต่อการด�ำเนินการด�ำเนินการเรื่องวีซ่า การเดินทาง และการ รับส่งนักศึกษาจากสนามบิน 2.1.5 การเตรียมความพร้อมนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมและความสามารถในเชิงปฏิบัติงานได้จริง นักศึกษาที่จะไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศต้องผ่านกระบวนการเตรียมความพร้อม เช่นเดียวกับนักศึกษาที่จะไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาภายในประเทศ กระบวนการเตรียมความ พร้อมนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารีประกอบด้วยการบรรยาย โดยวิทยากรในห้องเรียนขนาดใหญ่เป็นเวลา 30 ชั่วโมงซึ่งมีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต หัวข้อในการ บรรยายประกอบด้วย ทักษะการเขียนจดหมายสมัครงาน เทคนิคการสัมภาษณ์งาน การบริหาร คุณภาพ วัฒนธรรมองค์กร การเขียนรายงานและการน�ำเสนองาน การพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นต้น การบรรยายดังกล่าวจัดให้นักศึกษาที่จะไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศรับฟังพร้อมกับ นักศึกษาที่จะไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาภายในประเทศ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังได้จัดให้มีการ อบรมเพิ่มเติมส�ำหรับนักศึกษาที่จะไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศ เพื่อพัฒนาทักษะ การใช้ภาษาอังกฤษ และให้ความรู้เกี่ยวกับการท�ำงานข้ามวัฒนธรรม ระเบียบและวิธีการเข้าเมือง การจัดเตรียมเอกสารส�ำคัญส�ำหรับใช้ประกอบการขอวีซ่าจากสถานทูต การจองบัตรโดยสาร เครื่องบิน การจองที่พัก และการท�ำประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ เป็นต้น 2.2 กระบวนการระหว่างการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 2.2.1 การรายงานตัวของนักศึกษา เมื่อนักศึกษาได้รับการตอบรับให้ปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการอย่าง เป็นทางการแล้ว ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพจะประสานงานกับสถานประกอบการหรือ หน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบการแลกเปลีย่ นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศทีต่ อบรับนักศึกษา เกี่ยวกับการเดินทางของนักศึกษา การรับ-ส่งนักศึกษาที่สนามบิน ตลอดจนการรายงานตัวต่อ สถานประกอบการ ในการรายงานตัวต่อสถานประกอบการของนักศึกษานั้น ศูนย์สหกิจศึกษา

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(029-042)P2.indd 33

8/3/59 BE 9:16 AM


34

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี International Cooperative Education of Suranaree University of Technology

และพัฒนาอาชีพจะประสานงานกับสถานประกอบการหรือหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบการแลกเปลีย่ น นักศึกษาเกี่ยวกับรายละเอียดการเดินทาง เช่น เที่ยวบิน วันและเวลาเดินทาง เมื่อนักศึกษา เดินทางถึงปลายทางและเข้ารายงานตัวแล้วนักศึกษาจะมอบเอกสารการประเมินผลการปฏิบตั งิ าน ให้กับผู้นิเทศงาน พร้อมทั้งส่งอีเมล์แจ้งกลับมาที่ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสรุ นารี เพือ่ รายงานให้ทราบว่าการเดินทางเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและได้รายงานตัว ต่อสถานประกอบการเรียบร้อยแล้ว 2.2.2 การติดตามความก้าวหน้า และการนิเทศงานของคณาจารย์นิเทศ เมื่ออาจารย์นิเทศได้รับทราบจากศูนย์สหกิจศึกษาฯ ว่านักศึกษาเดินทางไป ถึงประเทศที่จะปฏิบัติงานสหกิจศึกษาเรียบร้อยแล้ว อาจารย์นิเทศจะเริ่มติดตามความเป็นอยู่ และการปรับตัวของนักศึกษาและเมื่อนักศึกษาเริ่มท�ำงานอาจารย์จะติดตามว่านักศึกษาสามารถ ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือไม่และมีความก้าวหน้าอย่างไร อาจารย์นิเทศจะเดินทาง ไปนิเทศงานนักศึกษา ณ สถานประกอบการประมาณสัปดาห์ที่ 5-12 โดยศูนย์สหกิจศึกษาฯ จัดงบประมาณสนับสนุนส�ำหรับประเทศที่มีค่าใช้จ่ายไม่เกินค่าใช้จ่ายสูงสุดของการนิเทศงาน ภายในประเทศ ส�ำหรับประเทศทีใ่ ช้งบประมาณเกินกว่านัน้ อาจารย์มกั ใช้งบประมาณการเดินทาง ร่วมกับการไปน�ำเสนอผลงานในต่างประเทศ ในกรณีที่อาจารย์ไม่สะดวกเดินทางไปนิเทศงาน ด้วยตนเอง ศูนย์สหกิจศึกษาฯ จะติดต่อให้อาจารย์ทกี่ ำ� ลังศึกษาต่อในประเทศนัน้ ๆ (ถ้ามี) ท�ำหน้าที่ นิเทศงานแทนหรือนิเทศงานผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2.3 กระบวนการหลังกลับจากการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 2.3.1 การสัมมนาวิชาการ นั ก ศึ ก ษาที่ ก ลั บ จากการปฏิ บั ติ ง านสหกิ จ ศึ ก ษานานาชาติ ไ ด้ รั บ การจั ด ให้นำ� เสนอผลการปฏิบตั งิ านต่อทีป่ ระชุมของคณาจารย์ในสาขาวิชาพร้อมกับนักศึกษาทีป่ ฏิบตั งิ าน สหกิ จ ศึ ก ษาภายในประเทศ โดยใช้ ภ าษาอั ง กฤษหรื อ เป็ น ไปตามข้ อ ตกลงของสาขาวิ ช าใน การน�ำเสนอ พร้อมส่งรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษให้อาจารย์ พิจารณาให้คะแนน 2.3.2 การประเมินผลการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติได้รับการประเมิน จากอาจารย์นิเทศและผู้นิเทศงานในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ความรู้ความสามารถทางวิชาการ และ ความสามารถในการเรียนรู้และประยุกต์วิชาการ บุคลิกภาพ การวางตัว และการปรับตัวเข้ากับ สังคม เป็นต้น โดยสัดส่วนการประเมินแบ่งออกเป็นสถานประกอบการร้อยละ 50 (ผลการปฏิบตั งิ าน ร้อยละ 40 และรายงานสหกิจศึกษาร้อยละ 10) และสาขาวิชาร้อยละ 50 (การกรอกข้อมูล online

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(029-042)P2.indd 34

8/3/59 BE 9:16 AM


บุญชัย วิจิตรเสถียร กมลวรรณ บัณฑิตสาธิสรรค์ ศิริรัชนี ฉายแสง และ ผ่องพัตรา บุญระมาตร

35

เพื่อรายงานความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานครบถ้วนตรงตามก�ำหนดเวลาร้อยละ 10 การประเมิน จากอาจารย์นิเทศร้อยละ 20 และการน�ำเสนอผลงานในการสัมมนาหรือนิทรรศการ ร้อยละ 20) นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติจะได้รับผลการประเมินในระดับผ่าน (Satisfy – S) เมื่อได้คะแนน มากกว่าร้อยละ 80 หรือไม่ผ่าน (Unsatisfy – U) เมื่อได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 80 นอกจากนี้ ศูนย์สหกิจศึกษาฯ ได้จัดให้นักศึกษาได้สะท้อนภาพตนเอง (Reflection) เกี่ยวกับการเรียนรู้ จากการไปปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษาในต่างประเทศ เพือ่ ประโยชน์ในการน�ำไปใช้เป็นแนวทางปรับปรุง ตนเองเพื่อการประกอบอาชีพต่อไป 3. รูปแบบการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารีจดั สหกิจศึกษานานาชาติผา่ น 4 รูปแบบ ได้แก่ การด�ำเนินการ ด้วยตนเอง การด�ำเนินการผ่านหน่วยงานกลาง การด�ำเนินการผ่านสถานประกอบการไทยที่มี ส�ำนักงานในต่างประเทศ และการด�ำเนินการแบบต่างตอบแทน 3.1 การด� ำ เนิ น การด้ ว ยตนเอง โดยรู ป แบบนี้ ศู น ย์ ส หกิ จ ศึ ก ษาฯ จะติ ด ต่ อ ไปยั ง มหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมีความร่วมมือในการท�ำข้อตกลง ร่วมกัน หรือมหาวิทยาลัยที่คณาจารย์ของ มทส. จบการศึกษามา โดยขอความร่วมมือให้ มหาวิทยาลัยเหล่านั้นติดต่อสถานประกอบการให้อีกทอดหนึ่ง ตัวอย่างของมหาวิทยาลัยกลุ่มนี้ ทีเ่ คยช่วย มทส. ติดต่อหาสถานประกอบการให้ ได้แก่ Mie University และ Nagaoka University of Technology ประเทศญี่ปุ่น University Utara Malaysia สหพันธรัฐมาเลเซีย Durban University of Technology สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และ Hunan University of Humanity, Science and Technology สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น 3.2 การด�ำเนินการผ่านหน่วยงานกลาง หน่วยงานกลางทีม่ หาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี ใช้ในการหาสถานประกอบการส�ำหรับนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ ได้แก่ ส�ำนักงานสหกิจศึกษา โลกรองรับภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก (WACE-ISO@SUT), The International Association for the Exchange of Students for Technical Experiences (IAESTE), International Association of Students in Agricultural and Related Sciences (IAAS), Center for International Mobility (CIMO) โดย มทส. ได้จัดส่งนักศึกษาไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ ผ่านหน่วยงานเหล่านี้แล้วจ�ำนวน 17 คน จ�ำแนกเป็น WACE-ISO@SUT จ�ำนวน 6 คน IAESTE จ�ำนวน 3 คน IAAS จ�ำนวน 3 คน และ CIMO จ�ำนวน 5 คน และรับนักศึกษามาปฏิบัติงานใน ประเทศไทยจ�ำนวน 30 คน จ�ำแนกเป็น WACE-ISO@SUT จ�ำนวน 23 คน IAESTE จ�ำนวน 3 คน และ CIMO จ�ำนวน 4 คน

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(029-042)P2.indd 35

8/3/59 BE 9:16 AM


36

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี International Cooperative Education of Suranaree University of Technology

3.3 การด� ำ เนิ น การผ่ า นสถานประกอบการไทยที่ มี ส� ำ นั ก งานในต่ า งประเทศ สถานประกอบการไทยที่มีส�ำนักงานในต่างประเทศที่ มทส. ส่งนักศึกษาไปปฏิบัติงาน ได้แก่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งส่งนักศึกษาไปปฏิบัติงานที่ Xichang Chiatai Wine & Spiirts Co., Ltd. รวมจ�ำนวน 11 คน และ บริษัท กรีนเวิลด์เจเนติกส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด ส่งนักศึกษาไป ปฏิบัติงานที่ Green World Genetics Sdn. Bhd. รวมจ�ำนวน 5 คน เป็นต้น นอกจากนี้ มทส. ยังได้มีการติดต่อประสานงานกับสถานประกอบการในต่างประเทศโดยตรงเพื่อส่งนักศึกษาไป ปฏิบัติงาน ได้แก่ Big M Group จ�ำนวน 2 คน Kemaman Bitumen Co., Sdn., Bhd. (KBC) จ�ำนวน 4 คน JKS Engineering Pty. Ltd. จ�ำนวน 1 คน Lao Art Media Co., Ltd. จ�ำนวน 4 คน และ Malaysia-Thailand Joint Authority จ�ำนวน 5 คน เป็นต้น 3.4 การด� ำ เนิ น การแบบต่ า งตอบแทน เป็ นการติ ดต่ อ สถานศึ ก ษาในต่ า งประเทศ ที่มีความร่วมมือกันให้ช่วยหาสถานประกอบการในประเทศนั้นๆ ส�ำหรับให้นักศึกษา มทส. ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา โดย มทส. จะช่วยหาสถานประกอบการในประเทศไทยส�ำหรับให้ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งนั้นมาปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในจ�ำนวนที่เท่ากัน ที่ผ่านมา มทส. ได้ดำ� เนินการตามรูปแบบนีก้ บั มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แก่ University of Victoria ประเทศแคนาดา Royal Melbourne Institute of Technology (RMIT) ประเทศออสเตรเลีย Durban University of Technology สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ Hunan University of Humanities, Science and Technology สาธารณรัฐประชาชนจีน University Utara Malaysia (UUM) สหพันธรัฐ มาเลเซีย Mie University และ Nagaoka University of Technology ประเทศญี่ปุ่น โดยได้ส่ง นักศึกษาไปปฏิบัติงานจ�ำนวน 23 คน จ�ำแนกเป็น University of Victoria จ�ำนวน 1 คน RMIT จ�ำนวน 1 คน, Durban University of Technology จ�ำนวน 3 คน, Hunan University of Humanities, Science and Technology จ�ำนวน 5 คน University Utara Malaysia จ�ำนวน 7 คน Mie University จ�ำนวน 5 คน Nagaoka University of Technology จ�ำนวน 1 คน (ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ, 2558) และรับนักศึกษามาปฏิบัติงาน จ�ำนวน 33 คน จ�ำแนกเป็น University of Cincinnati จ�ำนวน 2 คน University of Victoria จ�ำนวน 5 คน RMIT จ�ำนวน 5 คน, Durban University of Technology จ�ำนวน 4 คน, Hunan University of Humanities, Science and Technology จ�ำนวน 8 คน, University Utara Malaysia (UUM) จ�ำนวน 2 คน, Mie University จ�ำนวน 6 คน, Nagaoka University of Technology จ�ำนวน 1 คน (ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ, 2558) จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นว่า มทส. รับนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ ของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมาปฏิบัติงาน ในประเทศไทยมากกว่าจ�ำนวนนักศึกษาที่ส่งไป ทั้งนี้ เนื่องจากนักศึกษาของ มทส. ยังขาดความ

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(029-042)P2.indd 36

8/3/59 BE 9:16 AM


บุญชัย วิจิตรเสถียร กมลวรรณ บัณฑิตสาธิสรรค์ ศิริรัชนี ฉายแสง และ ผ่องพัตรา บุญระมาตร

37

พร้อมด้านทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและผู้ปกครองจ�ำนวนหนึ่งไม่อนุญาตให้นักศึกษาเดินทาง ไปท�ำงานในต่างประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นที่ศูนย์สหกิจศึกษาฯ ต้องหาวิธีการพัฒนานักศึกษาและ ท�ำความเข้าใจกับผู้ปกครองต่อไป 4. ผลการด�ำเนินงาน นับตั้งแต่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีส่งนักศึกษารุ่นแรกจ�ำนวน 3 คนไปปฏิบัติงาน สหกิจศึกษานานาชาติในปี พ.ศ. 2538 ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยเป็นนักศึกษาจากสาขา วิชาวิศวกรรมเคมี 2 คน และสาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม 1 คน (ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนา อาชีพ, 2556) จนถึงปัจจุบันมีนักศึกษาไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศจ�ำนวน 152 คน (ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ, 2558) จ�ำแนกตามทวีปดังแสดงในภาพที่ 1 จ�ำแนกตาม ประเทศดังแสดงในภาพที่ 2 และรับนักศึกษาต่างชาติมาปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในประเทศไทย จ�ำนวน 78 คน (ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ, 2558) จ�ำแนกตามประเทศดังแสดงในภาพที่ 3

ภาพที่ 1: จ�ำนวนนักศึกษาที่ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาจ�ำแนกตามทวีป (พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2558)

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(029-042)P2.indd 37

8/3/59 BE 9:16 AM


38

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี International Cooperative Education of Suranaree University of Technology

ภาพที่ 2: จ�ำนวนนักศึกษาที่ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาจ�ำแนกตามประเทศ (พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2558)

ภาพที่ 3: จ�ำนวนนักศึกษาต่างชาติจ�ำแนกตามประเทศ ที่ มทส. รับมาปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ในประเทศไทย (พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2558)

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(029-042)P2.indd 38

8/3/59 BE 9:16 AM


บุญชัย วิจิตรเสถียร กมลวรรณ บัณฑิตสาธิสรรค์ ศิริรัชนี ฉายแสง และ ผ่องพัตรา บุญระมาตร

39

5. การสะท้อนความคิดของนักศึกษา เมื่อนักศึกษาเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยได้ก�ำหนดให้มี การสัมมนาหลังกลับจากการปฏิบัติงาน โดยนักศึกษาต้องน�ำเสนอผลการปฏิบัติงานต่อคณาจารย์ ประจ�ำสาขาวิชา เพือ่ นๆ นักศึกษาทีไ่ ปปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษาในภาคการศึกษานัน้ ๆ และนักศึกษา รุน่ น้อง ในภาพรวมนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติทงั้ หมดได้สะท้อนความคิดเห็นถึงประโยชน์ของ การไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศ ซึ่งในที่นี้ จะขอยกตัวอย่างของบางคน ดังนี้ นายอาทิตย์ คูณศรีสุข สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ส�ำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาภาคการศึกษาที่ 2/2539 ระหว่างเดือนกันยายน ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2539 ต�ำแหน่ง ผู้ช่วยวิจัยห้องปฏิบัติการ Two Phase Flow Laboratory ณ Technical University of Nova Scotia (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Dalhousie University) ประเทศแคนาดา “ผมโชคดีที่มีโอกาสไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศ การไปครั้งนี้ ช่วยเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับผม ท�ำให้ผมได้เห็นว่าชีวิตในต่างแดนเป็นอย่างไร ได้เรียนรู้และเห็นวัฒนธรรมการท� ำ งานและการใช้ ชี วิตที่ ต ่ า งไป ...นอกจากนี้ การได้ท�ำงานในฐานะผู้ช่วยวิจัยยังท�ำให้ผมได้เรียนรู้วิธีการท�ำงาน เทคโนโลยี และ เครื่องมือวัดที่เป็นประโยชน์แก่ตัวผมมาจนถึงปัจจุบัน” (ศูนย์สหกิจศึกษาและ พัฒนาอาชีพ, 2556) นายหัสดี พิมพ์สุวรรณ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาภาคการศึกษา 1/2554 ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 ณ Bitmanagement Software GmbH, Berg, Munich สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี “การปฏิ บั ติ ง านสหกิ จ ศึ ก ษาท� ำ ให้ ผ มได้ รั บ ประสบการณ์ ที่ ช ่ ว ยส่ ง เสริ ม การท�ำงานในปัจจุบัน ท�ำให้ผมได้เรียนรู้วัฒนธรรมการท�ำงานที่แตกต่างกัน ท�ำให้ ผมต้องฝึกการปรับตัวเพื่อท�ำงานร่วมกับองค์กรที่แตกต่างกัน การไปปฏิบัติงาน สหกิจศึกษาในครั้งนี้ ผมได้รู้จักเพื่อนในสาขาวิชาชีพเดียวกัน ท�ำให้ผมได้รับข้อมูล ข่าวสารในวงการท�ำงานอย่างรวดเร็ว ซึ่งบางครั้งเป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูล โดยตรงด้วย ซึ่งผมถือว่าเป็นข้อได้เปรียบส�ำหรับการท�ำงาน” (ศูนย์สหกิจศึกษาและ พัฒนาอาชีพ, 2556)

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(029-042)P2.indd 39

8/3/59 BE 9:16 AM


40

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี International Cooperative Education of Suranaree University of Technology

นายวิวัฒน์ อั่วกลาง สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี ส�ำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาภาคการศึกษา 2/2554 ระหว่างเดือนกันยายน ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 ณ Kemaman Bitumen Company Sdn Bhd. (Refinery), Terengganu ประเทศ มาเลเซีย “...ผมได้ รั บ ประสบการณ์ ม ากมายจากการไปปฏิ บั ติ ง านสหกิ จ ศึ ก ษา ในต่างประเทศ ทั้งในเรื่องประสบการณ์การท�ำงาน การปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่ๆ ทีผ่ มไม่เคยเจอมาก่อน และภาษาอังกฤษซึง่ ผมมีพฒ ั นาการในการสือ่ สารดีขนึ้ มีทกั ษะ ในการน�ำเสนอผลงานดีขึ้น อีกทั้งได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศ มาเลเซียด้วย การไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในครั้งนี้มีส่วนช่วยส่งเสริมการท�ำงาน ในปัจจุบัน กล่าวคือ ผมมีโอกาสได้เรียนรู้ทักษะการท�ำงาน รู้จักบทบาทและหน้าที่ ของหัวหน้า รู้จักการใช้ชีวิตและการท�ำงานร่วมกันในสังคม ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้ ผมได้เรียนรู้จากหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน ท�ำให้ผมมีความพร้อมและมีทักษะ ในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น รู้จักวางตนอย่างเหมาะสมส�ำหรับการเป็นผู้น�ำและ ผู้ตามที่ดีด้วย” (ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ, 2556) นายเกรียงศักดิ์ ริ้วกลาง สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ส�ำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาภาคการศึกษา 3/2555 ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2556 ณ Kemaman Bitumen Company Sdn. Bhd., Terengganu ประเทศมาเลเซีย “ประโยชน์ที่ได้จากการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ ประเทศมาเลเซีย เช่น การเรียนรูว้ ฒ ั นธรรมต่างชาติ การปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรทีแ่ ตกต่างจากไทย การฝึกประสบการณ์ทำ� งานร่วมกับเพือ่ นชาวต่างชาติ การพัฒนาตนเองในด้านการใช้ ชีวิต การรู้จักการท�ำงานกับหัวหน้างานที่เป็นชาวต่างชาติ และการฝึกทักษะในด้าน การสื่อสาร และการใช้ภาษาอังกฤษส�ำหรับการสื่อสารในเชิงวิชาการซึ่งพื้นฐานและ ประสบการณ์ที่ดีเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการท�ำงานในภายภาคหน้า”

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(029-042)P2.indd 40

8/3/59 BE 9:16 AM


บุญชัย วิจิตรเสถียร กมลวรรณ บัณฑิตสาธิสรรค์ ศิริรัชนี ฉายแสง และ ผ่องพัตรา บุญระมาตร

41

นายพฤกษ์ บ่อยกระโทก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ส�ำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาภาคการศึกษา 3/2556 ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 ณ University of Malaya ประเทศมาเลเซีย “ในส่วนของการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา สิ่งหนึ่งที่ได้รับมากที่สุดนั่น คือ การรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจ�ำเป็นต้องใช้ทั้งความรู้ที่ได้เรียน และการใช้ทักษะต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการท�ำกิจกรรมนอกหลักสูตร ซึ่งผลที่ได้รับ กลับมาคือประสบการณ์ตรง ท�ำให้เราสามารถน�ำมาปรับใช้และประยุกต์เข้ากับ ชีวิตประจ�ำวันได้ ส�ำหรับโครงงานที่รับผิดชอบ เป็นโครงงานชิ้นหนึ่งที่ผมยอมรับ ว่าต้องใช้ทักษะการติดต่อประสานงานกับส่วนงานต่างๆ ภายในสถานประกอบการ อย่างมาก มีทั้งภาษาถิ่นและภาษาอังกฤษ จึงท�ำให้งานนี้ฝึกความท้าทาย ความ เป็นผู้น�ำ การเจรจา การประสานงาน รวมไปถึงความละเอียดรอบคอบ โดยทั้งหมด ที่กล่าวมา ท�ำให้เราสามารถท�ำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส�ำคัญส�ำหรับ การท�ำงานในอนาคต” นางสาวนิชดา จิมขุนทด สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ส�ำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาภาคการศึกษา 1/2557 ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557ณ Big M Group Service Co., Ltd. สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า “การตัดสินใจไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศ นอกจากจะได้น�ำ ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตพืชที่เรียนมาใช้ในการท�ำงานจริง ยังได้เปิดโลกทัศน์ จากการเรียนในห้องเรียน ได้เรียนรู้และลงมือท�ำงานจริง แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ได้พฒ ั นาศักยภาพของตัวเองทัง้ ด้านภาษาอังกฤษและเมียนมาร์ รวมถึงประสบการณ์ ชีวิตอื่นๆ การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เรียนรู้วัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ ที่แตกต่าง ซึ่งการใช้ชีวิตในต่างแดนท�ำให้เราโตเป็นผู้ใหญ่ มีความรับผิดชอบ มีสติ ในการใช้ชีวิตมากขึ้น”

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(029-042)P2.indd 41

8/3/59 BE 9:16 AM


42

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี International Cooperative Education of Suranaree University of Technology

6. ปัญหาและอุปสรรค นับตัง้ แต่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารีจดั สหกิจศึกษานานาชาติมาตัง้ แต่แรกจนถึงปัจจุบนั พบว่าปัจจัยส�ำคัญที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการด�ำเนินงานสามารถประมวลได้ ดังนี้ 1) บางประเทศอนุญาตให้นกั ศึกษาปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษาน้อยกว่า 4 เดือน ท�ำให้นกั ศึกษา ต้องปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในประเทศเพิ่มเติม 2) กระบวนการและขัน้ ตอนการยืน่ ขอวีซา่ ให้แก่นกั ศึกษาเพือ่ ไปปฏิบตั งิ านในแต่ละประเทศ มีความหลากหลายและแตกต่างกัน ซึง่ ขึน้ อยูก่ บั ระเบียบของประเทศนัน้ ๆ ดังนัน้ จึงควรด�ำเนินการ ร่วมกับหน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัยทีร่ บั ผิดชอบในเรือ่ งกิจการต่างประเทศซึง่ มีความเชีย่ วชาญ ในเรื่องนี้ 3) กฎหมายและระเบี ย บปฏิ บั ติ ใ นการด� ำ เนิ น การรั บ นั ก ศึ ก ษาต่ า งชาติ ม าปฏิ บั ติ ง าน สหกิจศึกษาในประเทศไทย เช่น การขอวีซ่า และการขอใบอนุญาตท�ำงาน Work Permit 4) การส่งนักศึกษาไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศ ไม่เป็นไปตามที่หน่วยงาน ในต่างประเทศต้องการ มีข้อจ�ำกัดเรื่องภาษา และการแข่งขันกับนักศึกษาของสถานศึกษา ในต่างประเทศ 5) นักศึกษาขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นอุปสรรคในการเดินทางไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ในต่างประเทศ มหาวิทยาลัยจึงจัดตั้งกองทุนสหกิจศึกษา เพื่อส่งเสริมและช่วยเหลือนักศึกษาที่มี ศักยภาพได้ออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศ เอกสารอ้างอิง วิจิตร ศรีสอ้าน. (2557). ปรัชญาสหกิจศึกษา. [สไลด์พาวเวอร์พอยต์]. สมาคมสหกิจศึกษาไทย. (2556). ประมวลสาระสหกิจศึกษานานาชาติ. นครราชสีมา: สมาคม สหกิจศึกษาไทย. ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ. (2556). รายงานพัฒนาการสหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ. (2558). สหกิจศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี. [สไลด์พาวเวอร์พอยต์].

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(029-042)P2.indd 42

8/3/59 BE 9:16 AM


วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559) ISSN 1906 - 6864

เหลียวหลัง แลหน้า การจัดสหกิจศึกษานานาชาติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ The International Cooperative Education of Walailak University: Looking Back and Looking Forward เอกราช แก้วเขียว1 Ekkarat Kaeokhiao Abstract Walailak University started the cooperative education program in 2001 and started the international cooperative education in 2002 when 6 students were sent to Malaysia. Up until now, there have been a total of 208 international students in 15 majors participating in the international cooperative education program. They were placed to work in 51 workplaces in 15 countries which are India, Malaysia, Singapore, Australia, Hungary, People Republic of China, Taiwan, Vietnam, Canada, Laos, New Zealand, Indonesia, South Africa, Japan and Germany. The workplaces are Thai government offices, private companies and universities, respectively. Jobs assigned to these students are both routine works and special projects. The problems and obstacles for this international cooperative education are the visa and work permit application, and the financial constraints of the students. However, since 2015, Walailak University has provided a 50,000 - Baht scholarship each for any student who wants to undergo international cooperative education.

หัวหน้าฝ่ายสหกิจศึกษา ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ E-mail: kekkarat@wu.ac.th 1

_16-0782(043-063)P2.indd 43

8/3/59 BE 9:16 AM


44

เหลียวหลัง แลหน้า การจัดสหกิจศึกษานานาชาติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ The International Cooperative Education of Walailak University: Looking Back and Looking Forward

To strengthen the international cooperative education program, Walailak University has collaborated with World Association for Cooperative Education (WACE) and its International Satellite Office at Suranaree University of Technology (WACE-ISO@SUT). Key words: Cooperative Education, International Cooperative Education, Walailak University บทคัดย่อ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด�ำเนินการส่งนักศึกษาสหกิจศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2544 และ จัดส่งนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติครั้งแรกในปี พ.ศ. 2545 โดยนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ รุน่ แรกจ�ำนวน 6 คน ปฏิบตั งิ าน ณ ประเทศมาเลเซีย นับถึงปัจจุบนั มีนกั ศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ 208 คน จาก 15 หลักสูตรที่ได้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน 51 แห่งใน 15 ประเทศ ประกอบด้วย 1) ประเทศมาเลเซีย 2) อินเดีย 3) สิงคโปร์ 4) ออสเตรเลีย 5) ฮังการี 6) จีน 7) ไต้หวัน 8) เวียดนาม 9) แคนาดา 10) สปป.ลาว 11) นิวซีแลนด์ 12) อินโดนีเซีย 13) แอฟริกาใต้ 14) ญี่ปุ่น และ 15) ประเทศเยอรมนี สถานประกอบการสหกิจศึกษานานาชาติ ประกอบด้วย หน่วยงานราชการไทย ในต่างประเทศ สถานประกอบการเอกชนในต่างประเทศ และมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ลักษณะงานของนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ ประกอบด้วยงานประจ�ำที่ได้รับมอบหมายจาก พนักงานที่ปรึกษาและโครงงานพิเศษ (Project) ปัญหาอุปสรรคส�ำคัญในการจัดสหกิจศึกษา นานาชาติคือความยุ่งยากเกี่ยวกับระเบียบและพิธีการเข้าเมืองของแต่ละประเทศและข้อจ�ำกัด ด้านงบประมาณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ โดยจัดสรรทุนกู้ยืมส�ำหรับนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติรายละไม่เกิน 50,000 บาท ในปี การศึกษา 2558 และร่วมมือกับ สมาคมสหกิจศึกษาโลก (WACE) และส�ำนักงานสหกิจศึกษาภูมภิ าค เอเชีย-แปซิฟิก (WACE-ISO@SUT) ในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติระหว่างกัน ค�ำส�ำคัญ: สหกิจศึกษา สหกิจศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 1. บทน�ำ 1.1 แนวคิดและความเป็นมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) น�ำระบบสหกิจศึกษาใช้เป็นกลยุทธ์ส�ำคัญในการ จัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรี เพือ่ พัฒนาคุณภาพนักศึกษาในลักษณะ

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(043-063)P2.indd 44

8/3/59 BE 9:16 AM


เอกราช แก้วเขียว

45

บูรณาการเรียนกับการท�ำงานจริง (Work Integrated Learning) มวล.รับนักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2541 โดยมหาวิทยาลัยฯ พิจารณาว่า ระบบสหกิจศึกษาเป็นเครื่องมือส�ำคัญ ทีช่ ว่ ยพัฒนานักศึกษาให้เป็นบุคคลทีม่ คี วามรูท้ กั ษะประสบการณ์ และความพร้อมสูงในการท�ำงาน ระยะแรกของการจัดสหกิจศึกษา มวล. ได้ศึกษาดูงานการจัดสหกิจศึกษาและเข้าร่วมประชุม สหกิจศึกษานานาชาติ ครั้งที่ 22 ระหว่างวันที่ 25 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ณ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี ปีพ.ศ. 2544 มวล. ส่งนักศึกษาสหกิจศึกษารุ่นแรกจ�ำนวน 495 คน ปฏิบัติ งานในสถานประกอบการ จ�ำนวน 299 แห่ง ปัจจุบัน มวล. ส่งนักศึกษาปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ทั้งในประเทศและสหกิจศึกษานานาชาติ ปีละประมาณ 1,400 คน จาก 33 หลักสูตร มวล. ส่งนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติรุ่นแรก ปี พ.ศ. 2545 จ�ำนวน 6 คน ณ ประเทศ มาเลเซีย ในสถานประกอบการ 3 แห่ง จาก 3 หลักสูตร รายละเอียดดังนี้ 1) Malaysia - Thailand Joint Authority Kuala Lumpur 2 คน (หลักสูตรระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ) 2) ส�ำนักงาน Tourism Authority of Thailand 2 คน (หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ) 3) ส�ำนักงานส่งเสริมการค้าไทยในต่างประเทศ (Thai Trade Center) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ 2 คน (หลักสูตรการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ) จากนั้น มวล. ส่งนักศึกษาไปปฏิบัติงาน สหกิจศึกษานานาชาติอย่างต่อเนื่องไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน สอดคล้องกับ (วิจิตร ศรีสอ้าน, 2556: 44) ที่ได้ระบุว่าการพัฒนาสหกิจศึกษานานาชาติสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนและประชาคมโลก จะส่งผลให้เกิดการท�ำงานร่วมกันในระหว่างภูมิภาคมากขึ้น ทั้งนี้ ปีพ.ศ.2558 มวล. ก�ำหนดให้การส่งนักศึกษาไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในประเทศกลุ่มอาเซียน เป็นกลยุทธ์สำ� คัญของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาในระดับสากล เสริมสร้างบรรยากาศความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยและยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ใหโดดเดน และเปนตนแบบการจัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษาในตางประเทศ (มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์, 2558: 29) 1.2 หน่วยงานที่รับผิดชอบ ระยะเริ่มแรกของการจัดสหกิจศึกษาในปีการศึกษา 2542 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้ง หน่วยงานรับผิดชอบงานด้านสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยมีสถานะเป็นโครงการ “โครงการ สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ” โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.อนุชิต ชินาจริยวงศ์ เป็นผู้บริหาร คนแรก มีคณะกรรมการบริหารโครงการสหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพก�ำหนดนโยบาย และ วางหลักเกณฑ์การด�ำเนินงาน ให้ความเห็นชอบแผนการปฏิบัติงานประจ�ำปี ให้ข้อเสนอแนะ และประเมินผลการด�ำเนินงาน ต่อมาสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้พิจารณาปรับสถานะ โครงการ สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพเป็น “ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ” โดยประกาศใน

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(043-063)P2.indd 45

8/3/59 BE 9:16 AM


46

เหลียวหลัง แลหน้า การจัดสหกิจศึกษานานาชาติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ The International Cooperative Education of Walailak University: Looking Back and Looking Forward

ราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์ สุขสอาด เป็นผู้อ�ำนวยการศูนย์สหกิจศึกษาฯ บริหารงานภายใต้การก�ำกับของ รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ มีคณะกรรมการประจ�ำศูนย์ ฯ ก�ำกับด้านนโยบาย โดยมีอธิการบดีเป็นประธาน รองอธิการบดีฝา่ ยวิชาการเป็นรองประธาน ผูแ้ ทนคณาจารย์จากส�ำนักวิชาต่างๆ และผูท้ รงคุณวุฒิ จากส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสถานประกอบการภายนอกเป็นกรรมการ มีวาระการด�ำรงต�ำแหน่งคราวละ 2 ปี ศู น ย์ ส หกิ จ ศึ ก ษาและพั ฒ นาอาชี พ มี บุ ค ลากรทั้ ง สิ้ น 10 อั ต รา ประกอบด้ ว ย ผู้บริหาร 1 อัตรา บุคลากร 9 อัตรา จ�ำแนกตามคุณวุฒิ ประกอบด้วย ระดับปริญญาเอก 1 คน (ร้อยละ 10) ระดับปริญญาโท 5 คน (ร้อยละ 50) ระดับปริญญาตรี 4 คน (ร้อยละ 40) จ�ำแนกตาม ต�ำแหน่งงาน ประกอบด้วย ผู้อ�ำนวยการศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ 1 คน หัวหน้าฝ่าย สหกิจศึกษา 1 คน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 คน และพนักงานธุรการ 1 คน โดยมีการจัด โครงสร้างงานภายใน 3 ฝ่ายงานดังนี้ 1.2.1 ฝ่ายพัฒนางานสหกิจศึกษา (บุคลากร 3 คน) มีภารกิจในการพัฒนาระบบ งานสหกิจศึกษาให้ทันสมัย ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดสหกิจศึกษาที่เน้นรูปแบบโครงงาน (Project based Learning) โครงงานวิจัย (Research based) หรือการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning - PBL) ศึกษาการจัดสหกิจศึกษามากกว่า 1 ครั้ง จัดท�ำรายงาน วิจัยสถาบันในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการด�ำเนินงานสหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพพัฒนาระบบ สารสนเทศเพื่อรองรับและสนับสนุนการด�ำเนินงานสหกิจศึกษาให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย รวมทั้งจัดท�ำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ 1.2.2 ฝ่ายสหกิจศึกษา และพัฒนาทักษะวิชาชีพ (บุคลากร 5 คน) มีภารกิจหลัก ในการจัดหาต�ำแหน่งงานสหกิจศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมกับหลักสูตร ส�ำนักวิชา ในการเข้าพบสถานประกอบการเพือ่ สร้างความเข้าใจก่อนจัดส่งนักศึกษาเข้าปฏิบตั งิ านโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในประเด็นการมอบหมายงานคุณภาพแก่นักศึกษา โดยยึดกรอบมาตรฐานการด�ำเนินงาน สหกิจศึกษาไทยและแนวปฏิบัติการจัดประสบการณ์วิชาชีพตามข้อก�ำหนดของสภาวิชาชีพที่ เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อประสิทธิภาพในการประสานงานกับต่างประเทศ โดยมหาวิทยาลัยได้อนุมัติ อัตราก�ำลังบุคลากรทีม่ คี วามช�ำนาญด้านภาษาต่างประเทศจ�ำนวน 1 คนส�ำหรับปฏิบตั งิ านในฝ่ายนี้ 1.2.3 ฝ่ายพัฒนาอาชีพ (บุคลากร 1 คน) มีภารกิจในการจัดการเรียนการสอน รายวิชาเตรียมสหกิจศึกษา จัดฝึกอบรมในหัวข้อเรือ่ งทีจ่ ำ� เป็นกับการท�ำงานและการใช้ชวี ติ ในสภาพ การณ์ปัจจุบันแก่นักศึกษาและศิษย์เก่าตลอดจนเป็นศูนย์ประชาสัมพันธ์ข่าวสารการรับสมัครงาน แก่ศิษย์เก่าร่วมกับหลักสูตร ส�ำนักวิชาและสถานประกอบการ

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(043-063)P2.indd 46

8/3/59 BE 9:16 AM


เอกราช แก้วเขียว

47

2. ขั้นตอนและวิธีการด�ำเนินงาน การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของ มวล. มีกระบวนการด�ำเนินงานเป็น 3 ระยะเช่นเดียวกับ การจัดสหกิจศึกษาในประเทศ คือระยะก่อนปฏิบัติงานสหกิจศึกษาระยะปฏิบัติงานสหกิจศึกษา และระยะหลังการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาโดยมีรายละเอียดดังนี้ 2.1 ระยะก่อนปฏิบัติงานสหกิจศึกษา นักศึกษาที่มีความสนใจปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติต้องยื่นเรื่องเพื่อแจ้งความ จ�ำนงต่อศูนย์สหกิจศึกษาฯ ล่วงหน้า 1 ปีการศึกษาจากนั้นเจ้าหน้าที่จะประชุมนักศึกษาเพื่อ ก�ำหนดแนวทางการจัดหาต�ำแหน่งงาน ร่วมกับอาจารย์ผปู้ ระสานงานสหกิจศึกษาประจ�ำหลักสูตร (มวล.ก�ำหนดให้ มีคณาจารย์ 1 คนท�ำหน้าที่ประสานงานระหว่าง ศูนย์สหกิจศึกษา ฯ และ หลักสูตร โดยด�ำรงต�ำแหน่งคราวละ 1 ปีการศึกษา) นักศึกษาต้องจัดท�ำใบสมัครเป็นภาษาอังกฤษ จดหมายแนะน�ำตัว (Cover Letter) ประวัติย่อส่วนบุคคล (Resume) พร้อมใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ทั้งนี้ นักศึกษาควรมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต�่ำกว่า 2.50 มีความสามารถด้าน ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นที่เป็นภาษาทางการของประเทศที่ไปปฏิบัติงาน สหกิจศึกษามีทักษะ ทางสังคมและการท�ำงานข้ามวัฒนธรรมศูนย์สหกิจศึกษา ฯ มีกระบวนการคัดเลือกและเตรียม ความพร้อมนักศึกษา ดังนี้ 2.1.1 การคัดเลือกนักศึกษา เมื่อนักศึกษายื่นเรื่องสมัครเป็นนักศึกษาสหกิจศึกษา นานาชาติ ศูนย์สหกิจศึกษาฯ จะส่งข้อมูลนักศึกษาให้คณะกรรมการคัดเลือกนักศึกษาสหกิจศึกษา นานาชาติสัมภาษณ์ในขั้นแรกคณะกรรมการประกอบด้วยอาจารย์ประจ�ำหลักสูตร อาจารย์ จากหลักสูตรภาษาอังกฤษและผูอ้ ำ� นวยการหรือเจ้าหน้าทีศ่ นู ย์สหกิจศึกษาฯ จากนัน้ จะส่งใบสมัคร งานของนักศึกษาให้สถานประกอบการพิจารณาต่อไป 2.1.2 การจัดหาสถานประกอบการ ด�ำเนินการโดยเจ้าหน้าที่สหกิจศึกษาและ คณาจารย์ประจ�ำหลักสูตร ทั้งนี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเสนอสถานประกอบการได้ โดยด� ำ เนิ น การผ่ า นการเห็ น ชอบของอาจารย์ ผู ้ ป ระสานงานสหกิ จ ศึ ก ษาประจ� ำ หลั ก สู ต ร สถานประกอบการในต่างประเทศที่มีความร่วมมือร่วมกับ มวล. ระยะแรกเป็นสถานประกอบการ ในประเทศมาเลเซียและประเทศจีนและได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสหกิจศึกษาทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ส�ำนักงานสหกิจศึกษาภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (WACE-ISO@SUT) สมาคม สหกิ จ ศึ ก ษาโลก (WACE) สถานทู ต ไทยและสถานกงสุ ล ไทยในต่ า งประเทศส� ำ นั ก ส่ ง เสริ ม การค้ า ไทยในต่ า งประเทศเช่ น สถานทู ต ไทยในมาเลเซี ย สถานกงสุ ล ใหญ่ ณ เมื อ งปี นั ง สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองคุนหมิง ส�ำนักส่งเสริมการค้าไทยในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ส�ำนักส่งเสริมการค้าไทยในต่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี และส�ำนักงานส่งเสริมการค้าไทยใน

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(043-063)P2.indd 47

8/3/59 BE 9:16 AM


48

เหลียวหลัง แลหน้า การจัดสหกิจศึกษานานาชาติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ The International Cooperative Education of Walailak University: Looking Back and Looking Forward

ต่างประเทศ ณ เมืองบูดาเปส ปีพุทธศักราช 2558 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ลงนามความ ร่ ว มมื อ (MOU) กั บ กรมการค้ า ระหว่ า งประเทศ ท� ำ ให้ ส ามารถส่ ง นั ก ศึ ก ษาไปปฏิ บั ติ ง าน สหกิจศึกษาในส�ำนักงานสคร.ในภูมิภาคอาเซียน จ�ำนวน 9 แห่งใน 8 ประเทศ ประกอบด้วยเมือง (ย่างกุ้ง เวียงจันทร์ พนมเปญ โฮจิมินห์ ฮานอย กัวลาลัมเปอร์ จาการ์ตา สิงค์โปร์ และ มะนิลา) มหาวิทยาลัยก�ำลังเตรียมการจัดส่งนักศึกษาไปปฏิบัติสหกิจศึกษานานาชาติต่อไป 2.1.3 การเตรียมความพร้อมนักศึกษา นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาเตรียมสหกิจ ศึกษาเช่นเดียวกับนักศึกษาสหกิจศึกษาในประเทศ และต้องผ่านการอบรมเสริมเพิ่มเติมเพื่อสร้าง ความพร้อมในการปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษาในต่างประเทศทดสอบความพร้อมด้านวุฒภิ าวะ อารมณ์ และบุคลิกภาพการปรับตัวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น การท�ำงานข้ามวัฒนธรรม การชี้แจงขั้นตอน การเดินทางไปต่างประเทศ เช่น การจัดท�ำหนังสือเดินทางการขอวีซ่า การวางแผนการเดินทาง และจัดหาทีพ่ กั ทัง้ นี้ นักศึกษาทุกคนต้องได้รบั ผลการประเมินผ่านด้วยระดับคะแนนตัวอักษร “S” ในรายวิชาเตรียมสหกิจศึกษาก่อนสมัครไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ 2.1.4 การเตรียมเอกสารส�ำคัญ ศูนย์สหกิจศึกษา ฯ จะประสานงานกับสถานทูตหรือสถานกงสุลในการจัด เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งจัดท�ำประกันสุขภาพและอุบัติเหตุให้นักศึกษาตามเงื่อนไขของ แต่ละประเทศ ทั้งนี้การยื่นขอหนังสือเดินทางและวีซ่านักศึกษาต้องด�ำเนินการด้วยตนเอง 2.2 ระยะปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ระหว่างการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา นักศึกษาต้องส่งข้อมูลประกอบด้วยแผนการ ท�ำงานตลอดระยะเวลา 16 สัปดาห์ที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้นิเทศงาน ข้อมูลพนักงานที่ปรึกษา และข้อมูลสถานที่พักกลับมามหาวิทยาลัยภายใน 2 สัปดาห์แรกของการปฏิบัติงานในระยะ มีกจิ กรรมส�ำคัญคือติดตามการปรับตัว การมอบหมายงานจากสถานประกอบการ การปรับตัวของ นักศึกษาและเตรียมการนิเทศงานนักศึกษาซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 2.2.1 ติดตามและดูแลนักศึกษา มหาวิทยาลัยจัดส่งจดหมายข่าวสหกิจศึกษาให้แก่นักศึกษาสหกิจศึกษา นานาชาติตามที่อยู่ในต่างประเทศประมาณ 2 ครั้ง เพื่อแจ้งข่าวและข้อมูลความเคลื่อนไหว ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย พร้อมให้บริการแบบฟอร์มและข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านเว็บไซต์ ศูนย์สหกิจศึกษาฯ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Facebook ศูนย์สหกิจศึกษาฯ เป็นต้น

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(043-063)P2.indd 48

8/3/59 BE 9:16 AM


เอกราช แก้วเขียว

49

2.2.2 การนิเทศงานนักศึกษา มหาวิ ท ยาลั ย ก� ำ หนดให้ มี ก ารนิ เ ทศงานนั ก ศึ ก ษาสหกิ จ ศึ ก ษานานาชาติ ณ สถานประกอบการจ�ำนวน 1 ครัง้ โดยอาจารย์ประจ�ำหลักสูตรของนักศึกษาทีไ่ ปปฏิบตั งิ านหรือ โดยอาจารย์ของสถาบันเครือข่ายในแต่ละประเทศที่มีความร่วมมือด้านสหกิจศึกษาระหว่างกัน จากนัน้ อาจารย์นเิ ทศจะส่งผลการนิเทศให้อาจารย์ผปู้ ระสานงานสหกิจศึกษาประจ�ำหลักสูตรและ ศูนย์สหกิจศึกษาฯทราบ มหาวิทยาลัยสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โทรศัพท์ อีเมล์ บล็อก (Web-Blog) การประชุมทางไกลหรือสือ่ สังคมออนไลน์ตา่ ง ๆ ในการติดตามนักศึกษา สหกิจศึกษานานาชาติ และก�ำหนดให้นักศึกษาน�ำเสนอผลการปฏิบัติงานต่อสถานประกอบการ เมือ่ สิน้ สุดการปฏิบตั งิ าน โดยสถานประกอบการต้องให้ความเห็นชอบต่อรายงานวิชาการทีน่ กั ศึกษา จัดท�ำ ก่อนการน�ำเสนอให้อาจารย์ที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยพิจารณาพร้อมทั้งส่งผลการประเมิน การปฏิบัติงานของนักศึกษาต่อมหาวิทยาลัย 2.3 ระยะหลังปฏิบัติงานสหกิจศึกษา เมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติงานสหกิจศึกษานักศึกษาเดินทางกลับประเทศไทย นักศึกษา ต้องเข้ารับการสัมภาษณ์ น�ำเสนอผลการปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษานานาชาติตอ่ คณาจารย์ในหลักสูตร พร้อมเพื่อนนักศึกษาที่ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในประเทศ แก้ไขรายงานทางวิชาการตาม ค�ำแนะน�ำของอาจารย์ทปี่ รึกษาสหกิจศึกษา และส่งเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูล รายงานต่อศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ ศูนย์สหกิจศึกษา ฯ ก�ำหนดให้มีกิจกรรมสะท้อน ผลการเรียนรู้ (Reflection) เพื่อทบทวนประสบการณ์การท�ำงานและการใช้ชีวิตระหว่างการ ปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ ซึ่งจะน�ำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาตนเองและสะท้อนข้อมูล ย้อนกลับเพื่อพัฒนากระบวนการจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยต่อไป 3. สถิติและข้อมูลการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ 3.1 ส�ำนักวิชาที่จัดส่งนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ มวล. มีหลักสูตรระดับปริญญาตรีจำ� นวน 33 หลักสูตรจาก 7 ส�ำนักวิชา มวล. ก�ำหนด ให้นกั ศึกษาต้องลงทะเบียนรายวิชาสหกิจศึกษา อย่างน้อย 1 ครัง้ มีคา่ เท่ากับ 7.5 หน่วยกิตทวิภาค ในการปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษาในสถานประกอบการในประเทศหรือนานาชาติ จึงจะส�ำเร็จการศึกษา ส�ำนักวิชาที่จัดส่งนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติประกอบด้วย 1. ส�ำนักวิชาวิทยาศาสตร์ 1) หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์เชิงค�ำนวณ

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(043-063)P2.indd 49

8/3/59 BE 9:16 AM


50

เหลียวหลัง แลหน้า การจัดสหกิจศึกษานานาชาติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ The International Cooperative Education of Walailak University: Looking Back and Looking Forward

2. ส�ำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ 2) หลักสูตร สารสนเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพือ่ การจัดการ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) หลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็น หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการสารสนเทศดิจิทัล 3. ส�ำนักวิชาการจัดการ 4) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 5) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ) (การจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์การ) (การตลาด) 6) หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต 4. ส�ำนักวิชาศิลปศาสตร์ 7) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ 8) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมภิ าคศึกษาปัจจุบนั เปลีย่ นชือ่ เป็น หลักสูตรอาเซียนศึกษา 9) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาจีน 10) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ 5. ส�ำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร 11) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 12) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมีและกระบวนการ 13) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 14) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม 6. ส�ำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร 15) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมเกษตร

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(043-063)P2.indd 50

8/3/59 BE 9:16 AM


เอกราช แก้วเขียว

51

3.2 จ�ำนวนหลักสูตร นักศึกษาและสถานประกอบการสหกิจศึกษานานาชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2558 มีหลักสูตรที่ส่งนักศึกษาปฏิบัติงานสหกิจศึกษา นานาชาติ จ�ำนวน 15 หลักสูตร นักศึกษาจ�ำนวน 208 คน โดยปฏิบัติงานในสถานประกอบการ จ�ำนวน 51 แห่ง ใน 15 ประเทศ นักศึกษาปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติมากที่สุด ในประเทศ มาเลเซีย รองลงมาคือประเทศจีน และล�ำดับที่สาม เท่ากัน 3 ประเทศคือ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศเวียดนาม และประเทศอินเดีย ดังรายละเอียดปรากฏในตารางที่ 1   ตารางที่ 1: จ�ำนวนหลักสูตร นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ และสถานประกอบการ ระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2558 จ�ำนวน ปีการศึกษา หลั กสูตร

นักศึกษา (คน)

หน่วยงาน (แห่ง)

ประเทศ

2545

3

6

3

Malaysia

2546

3

4

2

Malaysia

2547

3

5

2

Malaysia

2548

3

7

4

Malaysia/ India

2549

3

11

7

Malaysia/Singapore/Australia

2550

4

17

7

Malaysia/ Singapore/ India/Hungary/China

2551

4

19

13

Malaysia/ Singapore/ India/China/Taiwan

2552

4

17

8

Malaysia/ Singapore China

2553

5

15

9

Malaysia/ India/ China

2554

6

14

7

Malaysia/Singapore/ India/Vietnam

2555

5

25

10

Malaysia/ Singapore/ Australia/Canada

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(043-063)P2.indd 51

8/3/59 BE 9:16 AM


52

เหลียวหลัง แลหน้า การจัดสหกิจศึกษานานาชาติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ The International Cooperative Education of Walailak University: Looking Back and Looking Forward

จ�ำนวน ปีการศึกษา หลั กสูตร

นักศึกษา (คน)

หน่วยงาน (แห่ง)

ประเทศ

2556

11

33

16

Malaysia/Singapore/China

2557

8

11

6

Indonesia/China/Malaysia/ Vietnam/Laos/Singapore/Japan

15

Indonesia/ Malaysia/Vietnam/ South Africa/China/Germany/ Australia/New Zealand

109 แห่ง (นับซ�้ำ) 51 แห่ง (ไม่นับซ�้ำ)

15 ประเทศ

2558

รวม

7

24

15 หลักสูตร 208 คน

3.3 สถานประกอบการที่รับนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2558 มวล. ส่งนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ จ�ำนวน 51 แห่ง ใน 15 ประเทศ โดยเป็นสถานประกอบการ ในประเทศมาเลเซีย มากที่สุดจ�ำนวน 24 แห่ง รองลงมาเป็นสถานประกอบในประเทศจีน 7 แห่ง อั น ดั บ สาม มี 3 ประเทศเท่ า กั น คื อ ประเทศอิ น เดี ย สิ ง คโปร์ และประเทศเวี ย ดนาม ประเทศละ 3 แห่ง เมื่อจ�ำแนกตามประเภทหน่วยงาน พบว่าเป็นมหาวิทยาลัยและหน่วยงาน ประเภทอื่นในต่างประเทศมากที่สุดจ�ำนวน 19 แห่ง รองลงมาเท่ากันคือ หน่วยงานภาครัฐ ในต่างประเทศ และสถานประกอบการเอกชนในต่างประเทศ 16 แห่ง ดังรายละเอียดปรากฏ ในตารางที่ 2

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(043-063)P2.indd 52

8/3/59 BE 9:16 AM


เอกราช แก้วเขียว

53

ตารางที่ 2: ประเภทสถานประกอบการสหกิจศึกษานานาชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2558 ประเทศ 1. มาเลเซีย

สถานประกอบการ 1. Malaysia - Thailand Joint Authority Kuala Lumpur 2. Tourism Authority of Thailand Kuala Lumpur 3. ส�ำนักงานส่งเสริมการค้าไทย Kuala Lumpur 4. Berkapalan Telok Ewa. Sdn. Bhd เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย 5. สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง 6. สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู 7. ส�ำนักงานแรงงานไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ 8. ALPS International Sdn. Bhd. 9. บริษัท C-Mobile Sdn. Bhd กรุงกัวลาลัมเปอร์ 10. Alaf Semennanjung, Sdn. Bhd. กรุงกัวลาลัมเปอร์ 11. Siam Connection Sdn Bhd. 12. University Malaysia Perlis 13. Evergreen Laurel Hotel, Penang, Malaysia

ประเภทสถานประกอบการ รัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย/อื่น ๆ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(043-063)P2.indd 53

8/3/59 BE 9:16 AM


54

เหลียวหลัง แลหน้า การจัดสหกิจศึกษานานาชาติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ The International Cooperative Education of Walailak University: Looking Back and Looking Forward

ประเทศ 1. มาเลเซีย (ต่อ)

2. สหพันธ์ สาธารณรัฐ เยอรมนี 3. อินเดีย

สถานประกอบการ

ประเภทสถานประกอบการ รัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย/อื่น ๆ ✓

14. Banana Travel & Tour Sdn; Bhd. 15. Department of Chemistry, Faculty of Science University of Malaya 16. Pusat Tuisyen M Wawasa, Kualalumpur 17. Malaysian Hospitality College 18. MH Hotel & Residences ✓ 19. สถานทูตไทยประจ�ำ กรุง Kualalumpur 20. School of Bioprocess Engineering Universiti Malaysia Perlis 21. Environmental Engineering Universiti Malaysia Perlis 22. Pullman Kuala Lumpur Bangsar Hotel 23. University Teknologi MARA 24. University of Malaya 25. Heidelberg University 26. ส�ำนักส่งเสริมการค้าไทย ในต่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี 27. ส�ำนักส่งเสริมการท่องเที่ยว ณ กรุงนิวเดลี

✓ ✓ ✓ ✓

✓ ✓ ✓ ✓ ✓ ✓

✓ ✓

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(043-063)P2.indd 54

8/3/59 BE 9:16 AM


เอกราช แก้วเขียว

ประเทศ

สถานประกอบการ

4. ออสเตรเลีย 28. ส�ำนักงานส่งเสริมการค้าไทย ในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์

ประเภทสถานประกอบการ รัฐ ✓

เอกชน มหาวิทยาลัย/อื่น ๆ

29. Swan Limusine 30. Curtin University, Australia

5. นิวซีแลนด์

31. Massey University

6. สิงคโปร์

32. ส�ำนักงานส่งเสริมการค้าไทย ในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์

33. ส�ำนักงานท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย ณ กรุงสิงคโปร์

34. ส�ำนักงานแรงงานไทย ณ กรุงสิงคโปร์

7. จีน

55

35. Kunming University of Science and Technology, Kunming

36. Yunnan Nationalities University, Kunming

37. Hunan University of Arts and Science

38. School of International Education Yunnan Nationalities University, Kunming

39. Gaungzhou Rongaxin Trading Co., Ltd. 40. สถานกงสุลไทย ณ กรุงปักกิ่ง

41. สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(043-063)P2.indd 55

8/3/59 BE 9:16 AM


56

เหลียวหลัง แลหน้า การจัดสหกิจศึกษานานาชาติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ The International Cooperative Education of Walailak University: Looking Back and Looking Forward

ประเทศ

สถานประกอบการ

ประเภทสถานประกอบการ รัฐ

เอกชน มหาวิทยาลัย/อื่น ๆ

8. ไต้หวัน

42. Cement Thai Inter Trading Co, Ltd

9. เวียดนาม

43. Sitto Vietnam Co., Ltd

✓ ✓

44. Dongthab University 45. Melia Hanoi Hotel

10. แคนาดา

46. Royal Consulate of Thailand Vancouver

11. ฮังการี

47. Thai Trade Center Budapest

12. สปป.ลาว

48. สถานกงสุลใหญ่ ณ แขวงสะหวันนะเขต

13. อินโดนีเซีย 49. Universitas Negari Malang

14. ญี่ปุ่น

50. Department of Applied Physics, Faculty of Engineering, Hokkaido University ✓

15. แอฟริกาใต้ 51. Coastlands Musgrave Hotel รวม 15 ประเทศ

51 หน่วยงาน (ไม่นับหน่วยงานที่ส่งซ�้ำ)

15 แห่ง

17 แห่ง

19 แห่ง

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(043-063)P2.indd 56

8/3/59 BE 9:16 AM


เอกราช แก้วเขียว

57

4. ลักษณะงานที่นักศึกษาปฏิบัติ ลักษณะงานที่นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติประกอบด้วยงาน 2 ลักษณะคือ งานประจ�ำ ที่ได้รับมอบหมายจากพนักงานที่ปรึกษา และหน่วยงานตามแผนการปฏิบัติงานตลอด 16 สัปดาห์ และงานพิเศษซึ่งอาจเป็นโครงงานหรืองานวิจัยที่มอบหมาย ตัวอย่างโครงงานสหกิจศึกษานานาชาติ กรณีที่ 1 นักศึกษาหลักสูตรภูมิภาคศึกษา ส�ำนักวิชาศิลปศาสตร์ ปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ ณ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนังประเทศมาเลเซีย (ปัทมา จันทรไพฑูรย์, 2556) ลักษณะงานที่มอบให้นักศึกษาปฏิบัติ คือ 1. งานประจ�ำวัน การรับค�ำร้อง การจัดท�ำหนังสือเดินทาง การร่างหนังสือรับรองต่างๆ จัดท�ำหนังสือราชการ และงานพิเศษของสถานกงสุล เช่น งานกงสุลสัญจร งานแปลเอกสาร 2. โครงงานพิเศษ คือ จัดท�ำรายงานทางวิชาการ เรื่อง “ความสัมพันธ์ทางด้านการทูต ในระดับประชาชนกับประชาชน” (People - To - People Contact) ซึ่งวัตถุประสงค์ของ รายงานแสดงถึงบทบาทและแนวทางการสนับสนุนการด�ำเนินงานของสถานกงสุลใหญ่ ณ เมือง โกตาบารู ในการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในระดับประชาชนและประชาชนของประเทศไทยและ ประเทศมาเลเซีย ในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม กีฬา รายงานฉบับนี้ได้รวบรวมแนวทาง และ ข้อเสนอแนะส�ำหรับกิจกรรมที่ได้ด�ำเนินการอยู่ซึ่งส่งผลดีต่อแนวทางการส่งเสริมความสัมพันธ์ ในระดับรัฐบาลไทยและประเทศมาเลเซียอันจะสร้างรากฐานที่ดีและความไว้วางใจกันในการ ก้าวสูส่ ว่ นหนึง่ ของประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 และหน่วยงานได้ใช้เป็นข้อมูลพืน้ ฐานส�ำหรับ การด�ำเนินงานของหน่วยงาน กรณีที่ 2 นักศึกษาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ ส�ำนักวิชาการจัดการ ปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ ณ ส�ำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์ (ธิดารัตน์ นิยมเดชา และ ศรัญญา พันธ์ดนตรี, 2554) ลักษณะงานที่มอบให้นักศึกษาปฏิบัติ คือ 1. งานประจ�ำวัน การรับส่งหนังสือ การตอบรับโทรศัพท์ จัดท�ำรายชื่อบริษัท ลงทะเบียน รายชื่อนักลงทุนไทยในงานออกบูธ ลงข้อมูลที่จัดเก็บไว้ ค้นหาและจัดท�ำข้อมูลสินค้า และ งานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(043-063)P2.indd 57

8/3/59 BE 9:16 AM


58

เหลียวหลัง แลหน้า การจัดสหกิจศึกษานานาชาติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ The International Cooperative Education of Walailak University: Looking Back and Looking Forward

2. โครงงานพิเศษ คือท�ำงานวิจัยเรื่อง“ขีดความสามารถในการแข่งขันของผลไม้ไทย ในสิงคโปร์” (The Competitiveness of Thai Fruits in Singapore) โดยมีวัตถุประสงค์ เพือ่ เสนอแนวทางการพัฒนาธุรกิจผลไม้ไทยให้มศี กั ยภาพและสามารถแข่งขันกับประเทศอืน่ ทีเ่ ป็น ผูส้ ง่ ออกผลไม้ให้ประเทศสิงคโปร์ ซึง่ วิธกี ารวิเคราะห์ได้ใช้ตวั แบบการจ�ำลองแบบเพชร (Diamond Model) ได้แก่ ปัจจัยด้านการผลิต ปัจจัยด้านอุปสงค์ในประเทศ โครงสร้าง กลยุทธ์ และปัจจัย ด้านอุตสาหกรรมต่อเนื่องและการสนับสนุน รวมทั้งการวิเคราะห์สว้อท (SWOT Analysis) เพื่อ หาจุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรคและโอกาส พบว่า ประเทศไทยมีศักยภาพมากที่จะท�ำการแข่งขันกับ ประเทศต่าง ๆ ทีเ่ ป็นผูส้ ง่ ออกผลไม้ไปยังประเทศสิงคโปร์ โดยเฉพาะคูแ่ ข่งทีส่ ำ� คัญอย่างอินโดนีเซีย จีน มาเลเซีย และออสเตรเลีย นอกจากนี้ ยังพบว่า ประเทศไทยยังมีความได้เปรียบในการเป็น ประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ท�ำเลที่ตั้ง คุณภาพ แรงงาน โครงสร้างพื้นฐาน ฐานข้อมูลและองค์ความรู้ แหล่งเงินทุนและตลาดการส่งออกของไทย ทีค่ รอบคลุมไปหลายประเทศ เป็นปัจจัยส�ำคัญท�ำให้ผลไม้ไทยมีศกั ยภาพและเป็นการเพิม่ ขีดความ สามารถให้กับผลไม้ไทยเมื่อเทียบกับประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่อื่น ๆ หน่วยงานได้ใช้ผลการศึกษา ในการส่งเสริมและพัฒนาแนวทางการส่งออกผลไม้ของประเทศไทยในปัจจุบัน กรณีที่ 3 นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด ส�ำนักวิชาการจัดการ ปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ ณ บริษัท Sitto Vietnam Co; Ltd. ประเทศเวียดนาม (สุรัตน์ ฐานะกาญจน์ และ ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์, 2555) ลักษณะงานที่มอบให้นักศึกษาปฏิบัติ คือ 1. งานประจ�ำวัน ออกแบบและวางแผนทางการตลาดประจ�ำสาขาในประเทศไทย พบปะ ลูกค้า เก็บข้อมูลลูกค้าประจ�ำสาขาและจัดท�ำวิจัยการตลาด จัดฝึกอบรม และการวิจัยการตลาด ในประเทศเวียดนาม 2. โครงงานพิเศษ ท�ำงานวิจัยทางการตลาดเรื่อง “มุมมองของผู้บริโภคชาวเวียดนาม ต่อตราสินค้าไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของผู้บริโภคชาวเวียดนามต่อตราสินค้า ของประเทศไทย และศึกษาแนวทางเข้าสู่ตลาดประเทศเวียดนามของธุรกิจจากประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ประเทศเวียดนามเป็นตลาดที่มีศักยภาพขนาดใหญ่และมีก�ำลังซื้อสูงอย่าง ต่อเนือ่ งและบริโภคสินค้าจากหลากหลายประเทศ เช่น เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ ญีป่ นุ่ จีน ไต้หวัน อเมริกาและประเทศแถบยุโรป มุมมองของผู้บริโภคชาวเวียดนามที่มีต่อตราสินค้าไทยพบว่า

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(043-063)P2.indd 58

8/3/59 BE 9:16 AM


เอกราช แก้วเขียว

59

ผู้บริโภคชาวเวียดนามเชื่อมั่นตราสินค้าของประเทศไทยมากกว่าตราสินค้าจากประเทศอื่น บริษัทจึงได้น�ำผลการศึกษามาใช้ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าต่าง ๆ ของบริษัทเป็นภาษาไทย เพื่ อจั ด จ�ำหน่ายในประเทศเวียดนาม ผลการศึ ก ษานี้ ถื อ เป็ นโอกาสดี ส� ำ หรั บตราสิ นค้ า จาก ประเทศไทยที่จะเข้าไปลงทุนในประเทศเวียดนามแต่ทั้งนี้ควรศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของ ชาวเวียดนามอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เข้าใจและสามารถวางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5. การสะท้อนความคิดของนักศึกษาที่ผ่านการปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในแต่ละรุ่น มหาวิทยาลัยก�ำหนดให้น�ำเสนอ ผลการปฏิบัติงานต่อคณาจารย์ประจ�ำหลักสูตรและเพื่อนนักศึกษาที่ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ในภาคการศึกษาเดียวกัน โดยมีนักศึกษารุ่นน้องร่วมรับฟังรวมทั้งจัดให้มีการคัดเลือกนักศึกษา สหกิจศึกษาดีเด่นในแต่ละหลักสูตรเพื่อเป็นตัวแทนในการเข้าแข่งขันในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป ข้อความต่อไปนี้เป็นบางส่วนของการสะท้อนความคิดของนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ 1. นางสาวธนพร มานะชนม์ ปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ ณ ส�ำนักงานส่งเสริม การค้าในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์ปัจจุบันท�ำงาน ณ สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์ วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ “การเรียนในห้องเรียนถือเป็นการเก็บเกี่ยวความรู้ แต่การปฏิบัติสหกิจศึกษา เป็นการเก็บเกี่ยวประสบการณ์และการน�ำความรู้ที่มีมาใช้ประโยชน์ และจะคุ้มค่า มากทีส่ ดุ เมือ่ เราน�ำประสบการณ์และความรูท้ มี่ มี าใช้ประโยชน์ในชีวติ การท�ำงานจริง การไปปฏิบัติสหกิจที่ส�ำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ สิงคโปร์ เป็นโอกาสส�ำคัญในการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ซึ่งสามารถ น�ำมาประยุกต์ใช้ได้กับงานปัจจุบันที่กระทรวงการต่างประเทศ สิ่งที่ส�ำคัญที่สุดคือ การได้น�ำความรู้ที่เรียนมาใช้ในการท�ำงาน อาจจะไม่ทั้งหมด แต่เชื่อว่าทุกวิชา สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้กันได้หมด โดยเฉพาะประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน สหกิจศึกษา ถือว่าเป็นส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้เราเรียนรู้และปรับตัวในชีวิตจริงของ การท�ำงานได้เร็วขึ้น”

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(043-063)P2.indd 59

8/3/59 BE 9:16 AM


60

เหลียวหลัง แลหน้า การจัดสหกิจศึกษานานาชาติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ The International Cooperative Education of Walailak University: Looking Back and Looking Forward

2. นางสาวสุภาสินี แอเดียว หลักสูตรภูมิภาคศึกษา ส�ำนักวิชาศิลปศาสตร์ ปฏิบัติงาน สหกิจศึกษานานาชาติ ณ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซียหลังจากส�ำเร็จ การศึกษาได้เข้าท�ำงานในต�ำแหน่งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย เป็นระยะเวลาสองปี ก่อนจะศึกษาไปต่อที่มหาวิทยาลัยไซน์และเป็นนักเรียน แลกเปลี่ยน ณ Camden City, New Jersey ประเทศสหรัฐอเมริกา “สหกิจศึกษาท�ำให้นกั ศึกษาได้มโี อกาสพัฒนาตนเองและเรียนรูก้ ารท�ำงานใน สถานประกอบการต่างๆ ได้มโี อกาสสร้างภูมคิ มุ้ กันและก้าวหน้าในสายอาชีพการงาน ขอขอบคุณบุคลากรของหน่วยงานทีใ่ ห้คำ� แนะน�ำและด�ำเนินการประสานงานในการ ตัดสินใจเลือกสถานประกอบการนั้นๆ เป็นอย่างดี ” 3. นายธนิสร หริรักษ์ หลักสูตร การจัดการสารสนเทศ ส�ำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ ปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติที่ส�ำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ปัจจุบนั ท�ำงานต�ำแหน่ง Assistant Manager Marketing Communication Marketing Communication บริษัท YLG Bullion international Co., Ltd. “สหกิจศึกษาคือการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่น�ำเราเข้าไปสู่การปฏิบัติงาน โดยเข้ า ไปเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ขององค์ ก รในระบบการท� ำ งานจริ ง สถานการณ์ นั้ น ๆ จะสอนให้เราประยุกต์เอาความรู้ในชั้นเรียนออกมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ สหกิจศึกษายังท�ำให้เราสามารถต่อยอดความรู้ที่เราเคยมี ไปสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เป็นเวทีให้นักศึกษาได้แสดงศักยภาพของตนเองอย่างแท้จริงผมมีโอกาสได้ไป สหกิจศึกษา ณ ส�ำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย จากโอกาสในครั้งนั้น ท�ำให้ผมสามารถน�ำมาใช้ในการท�ำงาน เป็นใบการันตีตั้งแต่ สมัครงานว่าครั้งหนึ่งเราได้ผ่านการท�ำงานในองค์กรต่างประเทศ ในการท�ำงาน ผมได้เอาประสบการณ์ที่ได้มาใช้ในองค์กร และเสนอรูปแบบการท�ำงานที่เป็นจุดดีที่ เราเคยประสบมาใช้ นอกจากชีวิตการท�ำงานแล้ว ผมยังได้ประโยชน์จากการใช้ชีวิต ในต่างแดน เข้าใจในวัฒนธรรมและการด�ำเนินชีวิตที่แตกต่าง ท�ำให้เรามองโลก ในแง่ที่ตรงตามความเป็นจริง เรียกว่าการสหกิจศึกษาในครั้งนั้นเปิดโลกทัศน์และ เป็นความคุ้มค่าในชีวิตนักศึกษาอย่างมาก”

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(043-063)P2.indd 60

8/3/59 BE 9:16 AM


เอกราช แก้วเขียว

61

4. นางสาวศรีนา สมาเฮาะนักศึกษาหลักสูตรการจัดการสารสนเทศ ส�ำนักวิชาสารสนเทศ ศาสตร์ ปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษานานาชาติ ณ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันท�ำงานที่ IBM Malaysia Sdn, Cyberjaya, Selangor Malaysia ต�ำแหน่ง Remote Technical Support Professional “สหกิ จ ศึ ก ษา ….เบิ ก ทางสู ่ ค วามส�ำ เร็ จ นั บ ว่ า โชคดี ม ากที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ได้ปูทางในเรื่องการปฏิบัติสหกิจศึกษาในสถานที่จริงก่อนสู่โลกกว้างท�ำให้เราได้ เรียนรู้การท�ำงานจริง การท�ำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร และ ที่ส�ำคัญคือการได้รู้ว่าแท้จริงแล้วใจเราต้องการอะไร เหมาะกับงานแบบไหนและ น�ำไปสู่การตัดสินใจในการท�ำงานในอนาคต ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ได้เรียนรู้จากการไป ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาและเข้าใจตนเองมากขึ้นว่าต้องการอะไร สายไหนที่ตัวเอง ชอบและถนัดและเมือ่ เราท�ำงานในสายงานทีร่ กั ย่อมไปได้ดแี ละประสบความส�ำเร็จ” 6. ปัญหา อุปสรรคและการสนับสนุนการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ แม้ว่า มวล. ด�ำเนินการจัดสหกิจศึกษานานาชาติมานานกว่า 10 ปี ยังพบความยุ่งยาก เกีย่ วกับระเบียบและพิธกี ารเข้าเมืองของแต่ละประเทศทีแ่ ตกต่างกันต้องใช้เวลาด�ำเนินการและปรับ เปลีย่ นบ่อย ท�ำให้นกั ศึกษาจ�ำนวนหนึง่ ขาดโอกาสไปปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษานานาชาติ นอกจากนี้ นั ก ศึ ก ษาต้ อ งมี ค วามพร้ อ มส่ ว นตั ว มุ ่ ง มั่ น มี แรงบั น ดาลใจและการสนั บ สนุ น จากครอบครั ว อย่างมาก มวล.ได้จัดท�ำคู่มือหรือแนวปฏิบัติในการจัดส่งนักศึกษาไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา นานาชาติ จัดเตรียมความพร้อมนักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภูมิภาคศึกษา ทั้งนี้ (ทิพย์วลั ย์ สุทนิ และคณะ, 2556) ได้เสนอผลการวิจยั สถาบันให้ มวล. ก�ำหนดกลยุทธ์เพือ่ ยกระดับ คุณภาพการจัดการศึกษาให้โดดเด่นเป็นต้นแบบด้านการจัดสหกิจศึกษานานาชาติตามยุทธศาสตร์ ด้านอาเซียนของมหาวิทยาลัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสู่สากล ต่อมา ปีพศ.2558 มวล. ได้มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ ดังนี้ 1. จัดตั้งกองทุนกู้ยืมส�ำหรับนักศึกษาที่มีความจ�ำเป็นและมีข้อจ�ำกัดทางการเงินเพื่อเป็น ค่าใช้จา่ ยระหว่างปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษานานาชาติรายละไม่เกิน 50,000 บาท ตัง้ แต่ปงี บประมาณ 2558 เป็นต้นไป 2. จัดสรร “ทุนการศึกษาเพื่อการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาหรือปฏิบัติทักษะวิชาชีพใน ต่างประเทศอัตรารายละ 50,000 บาท” 3. ขยายความร่วมมือกับสมาคมสหกิจศึกษาโลก (WACE) และส�ำนักงานสหกิจศึกษา ภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิกในประเทศไทย (WACE-ISO@SUT) รับเป็น Host University ให้แก่

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(043-063)P2.indd 61

8/3/59 BE 9:16 AM


62

เหลียวหลัง แลหน้า การจัดสหกิจศึกษานานาชาติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ The International Cooperative Education of Walailak University: Looking Back and Looking Forward

Mr. Cameron Long นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติจาก University of Victoria, Canada เข้าปฏิบัติงาน ณ บริษัท เวสเทิร์นดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างวันที่ 15 กันยายน - 20 ธันวาคม 2557 เป็นระยะเวลา 4 เดือน ทั้งนี้ปีการศึกษา 2558 มวล.ได้สง่ นักศึกษาหลักสูตรอุตสาหกรรมท่องเทีย่ ว จ�ำนวน 1 คน ปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษานานาชาติ ณ Coastlands Musgrave Hotel ประเทศแอฟริกาใต้เป็นระยะเวลา 6 เดือน การจัดสหกิจศึกษานานาชาติที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับรางวัลระดับชาติ สถานศึกษาด�ำเนินงานสหกิจศึกษาดีเด่น (พ.ศ.2554) และสถานศึกษาด�ำเนินงานสหกิจศึกษา นานาชาติดีเด่น ระดับเครือข่าย (พ.ศ2557) แสดงถึงความส�ำเร็จและความมุ่งมั่นในการพัฒนา บัณฑิตคุณภาพให้พร้อมเข้าสู่การท�ำงานจริง และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนามาตรฐาน การจัดสหกิจศึกษาทั้งในประเทศและระดับนานาชาติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของสหกิจศึกษา คือ “รู้จักตน รู้จักคน และรู้จักงาน” ตามปณิธานของ ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน อธิการบดี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เอกสารอ้างอิง วิจิตร ศรีสอ้าน (2555). การมองภาพสหกิจศึกษาในอนาคต ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงปัจจัยส�ำคัญที่มีผลกระทบต่อการด�ำเนินงานสหกิจศึกษา. เอกสารประกอบการ สัมมนาการจัดท�ำแผนการด�ำเนินการส่งเสริมและพัฒนาสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปี พ.ศ. 2556-2558. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. ทิพย์วัลย์ สุทิน และคณะ (2556). สถานภาพ กระบวนการ และศักยภาพในการจัดการศึกษา แบบสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.รายงานวิจัยสถาบันศูนย์สหกิจศึกษาและ พัฒนาอาชีพ. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. ธิดารัตน์ นิยมเดชา และ ศรัญญา พันธ์ดนตรี (2554). ขีดความสามารถในการแข่งขันของ ผลไม้ไทยในสิงคโปร์. โปสเตอร์น�ำเสนอในงานวันสหกิจศึกษาสัมพันธ์ เครือข่ายพัฒนา สหกิจศึกษาภาคใต้ตอนบน. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (2558). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2558 - 2560. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.(2556).แผนการด�ำเนินงานส่งเสริมสหกิจศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษาระหว่างปี พ.ศ.2556-2558.กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา.

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(043-063)P2.indd 62

8/3/59 BE 9:16 AM


เอกราช แก้วเขียว

63

สุรัตน์ ฐานะกาญจน์ และศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ (2555).มุมมองของผู้บริโภคชาวเวียดนาม ต่ อ ตราสิ น ค้ า ไทย.โปสเตอร์ น� ำ เสนอในงานวั น สหกิ จ ศึ ก ษาสั ม พั น ธ์ เครื อ ข่ า ยพั ฒ นา สหกิจศึกษาภาคใต้ตอนบน.นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. เอกราช แก้ ว เขี ย ว และคณะ. (2557).การติ ด ตามนั ก ศึ ก ษาสหกิ จ ศึ ก ษาในต่ า งประเทศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในระยะ 10 ปี (พ.ศ.2545-2554). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์.

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(043-063)P2.indd 63

8/3/59 BE 9:16 AM


วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559) ISSN 1906 - 6864

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี International Cooperative Education of Rajamangala University of Technology Thunyaburi ณัชติพงศ์ อูทอง1 Nuchtiphong U-thong Abstract The International Cooperative Education of Rajamangala University of Technology (RMUTT) is one of the university strategies to develop graduate capabilities to work internationally. The International Cooperative Education was initiated in the academic year of 2005 by sending 2 students to Japan. The purpose of this article was to discuss about the concepts, the rationales, backgrounds, the procedures and operations of RMUTT International Cooperative Education. Additionally, there were also the information of companies and countries, and the examples of International Cooperative Education student portfolios. Moreover, this article also discusses about the problems and suggestions for RMUTT International Cooperative Education and budgeting process for students and lecturers to operate International Cooperative Education. Key word: International Cooperative Education, Rajamangala University of Technology, RMUTT

ผู้อ�ำนวยการส�ำนักสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี E-mail : nuchtiphong.o@en.rmutt.ac.th 1

_16-0782(064-077)P2.indd 64

8/3/59 BE 9:16 AM


ณัชติพงศ์ อูทอง

65

บทคัดย่อ การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีเป็นยุทธศาสตร์ หนึ่งในการพัฒนามหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาบัณฑิตให้มีศักยภาพสู่ระดับสากล การด�ำเนินการ ของมหาวิ ท ยาลั ย เริ่ ม จากการส่ ง นั ก ศึ ก ษาจ� ำ นวน 2 คนไปปฏิ บั ติ ง าน ณ ประเทศญี่ ปุ ่ น ในปี ก ารศึก ษา 2548 บทความนี้ก ล่า วถึ ง แนวคิ ด และความเป็ นมาของการจั ดสหกิ จศึ ก ษา นานาชาติของมหาวิทยาลัย ขั้นตอนและวิธีการด�ำเนินงานสหกิจศึกษานานาชาติ ข้อมูลของ สถานประกอบการและประเทศที่รับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยไปปฏิบัติงาน ตัวอย่างผลงาน ของนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา รวมถึง การสนับสนุนด้านงบประมาณของมหาวิทยาลัยส�ำหรับให้นกั ศึกษาไปปฏิบตั งิ านและอาจารย์นเิ ทศ เดินทางไปนิเทศงาน ณ สถานประกอบการในต่างประเทศ ค�ำส�ำคัญ: สหกิจศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มทร.ธัญบุรี 1. แนวคิดและความเป็นมา จากปรัชญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรที มี่ งุ่ เน้นการสร้างบัณฑิตนักปฏิบตั ิ มืออาชีพ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีทักษะความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพ เสริมสร้างทุน มนุษย์ที่มีมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทยและภูมิภาค มหาวิทยาลัยได้ก�ำหนดยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ 1) การสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ (Hands On) 2) การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม (Research and Innovation) 3) การส่งเสริมความเป็นนานาชาติ (Internationalization) และ 4) การบริหารจัดการสมัยใหม่ (Modern Management) ซึ่งการจัดสหกิจศึกษานานาชาติตรง กับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย 2 ด้าน คือการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพและการส่งเสริม ความเป็นนานาชาติ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงสนับสนุนและส่งเสริมให้คณะที่มีการจัดการเรียน การสอนในรู ป แบบของสหกิ จ ศึ ก ษาส่ ง นั ก ศึ ก ษาไปปฏิ บั ติ ง านสหกิ จ ศึ ก ษาในต่ า งประเทศ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของนักศึกษา ให้นักศึกษาได้มีโอกาสซึมซับวัฒนธรรมการท�ำงานของ ต่างประเทศ การท�ำงานข้ามวัฒนธรรม อีกทัง้ เป็นการเตรียมพร้อมเข้าสูก่ ารเป็นประชาคมอาเซียน ในอนาคต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เริม่ ด�ำเนินการส่งนักศึกษาไปปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษา ณ ต่างประเทศตัง้ แต่ปกี ารศึกษา 2548 โดยในระยะแรกได้สง่ นักศึกษาไปปฏิบตั งิ านทีม่ หาวิทยาลัย ในต่างประเทศที่มีความร่วมมือกัน ต่อมาได้ขยายผลไปสู่การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยตรง นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 จนถึงปัจจุบัน (ปีการศึกษา 2558) มีนักศึกษาไปปฏิบัติงาน

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(064-077)P2.indd 65

8/3/59 BE 9:16 AM


66

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี International Cooperative Education of Rajamangala University of Technology Thunyaburi

สหกิจศึกษา ณ ต่างประเทศ จ�ำนวน 117 คน ในสถานประกอบการ จ�ำนวน 47 แห่ง กระจาย อยู่ใน 11 ประเทศ และมหาวิทยาลัยมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษาไปปฏิบัติงาน สหกิจศึกษาต่างประเทศอย่างเต็มที่ โดยจัดงบประมาณสนับสนุนให้นกั ศึกษาส�ำหรับไปปฏิบตั งิ าน สหกิจศึกษาต่างประเทศ รวมถึงค่าใช้จ่ายส�ำหรับการนิเทศงานของอาจารย์นิเทศ 2. ขั้นตอนและวิธีการด�ำเนินงาน ขั้นตอนและวิธีการด�ำเนินงานสหกิจศึกษานานาชาติ ประกอบด้วย 3 กระบวนการ เช่นเดียวกับการจัดสหกิจศึกษาภายในประเทศ คือ กระบวนการก่อนไปปฏิบัติงาน กระบวนการ ระหว่างการปฏิบัติงาน และกระบวนการหลังการปฏิบัติงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 2.1 กระบวนการก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ กระบวนการก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การคัดเลือกนักศึกษา การเตรียมความพร้อมนักศึกษา การหาสถานประกอบการ การจับคู่ นักศึกษากับสถานประกอบการ การท�ำเอกสารส�ำหรับการเข้าเมือง การท�ำประกันอุบัติเหตุ โดยมี รายละเอียดดังนี้ 2.1.1 การคั ด เลื อ กนั ก ศึ ก ษา เพื่ อ ให้ ส ามารถคั ด เลื อ กนั ก ศึ ก ษาที่ มี คุ ณ สมบั ติ เหมาะสมทีจ่ ะปฏิบตั งิ านในต่างประเทศ มหาวิทยาลัยได้กำ� หนดคุณสมบัตพิ นื้ ฐานของนักศึกษาว่า ต้องผ่านรายวิชาภาษาอังกฤษที่ก�ำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตร โดยได้รับระดับคะแนนตัวอักษร ไม่ตำ�่ กว่า “C” เพิม่ เติมจากข้อก�ำหนดพืน้ ฐานทางด้านวิชาการและมีการสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ 2.1.2 การเตรียมความพร้อ มนั ก ศึ ก ษา ได้ จัด อบรมเพื่ อ พั ฒ นาทั ก ษะที่ จ�ำ เป็ น ในการสมัครงานและการใช้ชวี ติ ในต่างประเทศ เช่น การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาทีใ่ ช้ในการสือ่ สาร ในชีวิตประจ�ำวัน การเขียนประวัติย่อเป็นภาษาอังกฤษ การเขียนจดหมายสมัครงาน การเขียน รายงานเป็นภาษาอังกฤษทั้งรายงานผลการปฏิบัติงานและรายงานทางวิชาการ ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมของประเทศที่นักศึกษาต้องไปปฏิบัติงาน รวมทั้งข้อควรปฏิบัติและ ข้อพึงระวังในการใช้ชีวิตในประเทศนั้นๆ 2.1.3 การหางาน/สถานประกอบการให้แก่นกั ศึกษา ได้กระท�ำผ่านช่องทางทีห่ ลาก หลาย ประกอบด้วย การหางานผ่านมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่มีการท�ำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding - MOU) ร่วมกัน หางานโดยผ่านเครือข่ายคณาจารย์ที่ เคยศึกษาในต่างประเทศหรือได้ร่วมประชุมสัมมนาระดับนานาชาติ ผ่านเครือข่ายผู้ปกครองของ นักศึกษา หรือสถานประกอบการไทยที่มีสาขาในต่างประเทศ รวมถึงเครือข่ายสถานประกอบการ ต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทย

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(064-077)P2.indd 66

8/3/59 BE 9:16 AM


ณัชติพงศ์ อูทอง

67

2.1.4 การจั บ คู ่ นั ก ศึ ก ษากั บ สถานประกอบการ ด� ำ เนิ น การโดยมหาวิ ท ยาลั ย พันธมิตรในต่างประเทศเป็นผู้คัดเลือกนักศึกษาให้สถานประกอบการ หรือสถานประกอบการ ที่ ต ้ อ งการรั บ นั ก ศึ ก ษาเป็ น ผู ้ คั ด เลื อ กโดยตรง การคั ด เลื อ กนั ก ศึ ก ษาพิ จ ารณาจากจดหมาย สมัครงาน ประวัติย่อ และเอกสารอื่น ๆ เช่น ผลการสอบวัดความรู้ด้านภาษาอังกฤษจาก ศูนย์ภาษาของมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานด้านภาษาที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่สถานประกอบการ ต้องการสัมภาษณ์นักศึกษา ได้ด�ำเนินการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยการใช้ โปรแกรม Google Hangout เป็นต้น 2.1.5 การท�ำเอกสารการตรวจลงตรา ได้ใช้ช่องทางของการท�ำเอกสารส�ำหรับ การตรวจลงตราเข้าเมืองในลักษณะของการเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนระหว่างมหาวิทยาลัย 2.1.6 การประกันอุบัติเหตุและสุขภาพ มหาวิทยาลัยได้ท�ำประกันอุบัติเหตุและ สุขภาพที่มีผลคุ้มครองทั่วโลกให้แก่นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ในต่างประเทศ 2.1.7 การจัดค่าตอบแทนและสวัสดิการแก่นกั ศึกษา มหาวิทยาลัยได้จดั งบประมาณ สนับสนุนแบบให้เปล่าให้แก่นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติรายละ 20,000 บาท 2.2 กระบวนการระหว่างไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ กระบวนการระหว่างการปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ ประกอบด้วยกิจกรรม ต่าง ๆ ได้แก่ การเดินทางไปสถานประกอบการ การติดตามความก้าวหน้าและการนิเทศงานของ อาจารย์นิเทศ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 2.2.1 การรับส่งนักศึกษา เมื่อนักศึกษาเดินทางถึงสนามบินในต่างประเทศ การ ช่วยเหลือเรื่องการเดินทางไปยังสถานประกอบการสามารถด�ำเนินการได้หลายรูปแบบ เช่น ประสานงานผ่านมหาวิทยาลัยที่มีความร่วมมือ หรือแจ้งสถานประกอบการที่นักศึกษาเข้า ปฏิบัติงานให้มารับนักศึกษาที่สนามบิน 2.2.2 การติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานของนักศึกษา มหาวิทยาลัย ก�ำหนดให้อาจารย์นิเทศของนักศึกษาแต่ละคนติดตามความก้าวหน้าของนักศึกษาอย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และโซเชียลมีเดีย (โปรแกรม Line, Facebook) เป็นต้น ทัง้ นี้ อาจขอความ ร่วมมือจากมหาวิทยาลัยพันธมิตรช่วยท�ำหน้าทีด่ แู ลนักศึกษาเพิม่ เติมระหว่างทีน่ กั ศึกษาปฏิบตั งิ าน ณ สถานประกอบการ 2.2.3 การนิ เ ทศงาน มหาวิ ท ยาลั ย สนั บ สนุ น ให้ ค ณาจารย์ นิ เ ทศเดิ น ทางไป นิเทศนักศึกษา ณ สถานประกอบการที่นักศึกษาปฏิบัติงานอยู่ 1 ครั้ง โดยใช้งบประมาณจาก “กองทุนสหกิจศึกษา” ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบการเดินทางไปราชการต่างประเทศ Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(064-077)P2.indd 67

8/3/59 BE 9:16 AM


68

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี International Cooperative Education of Rajamangala University of Technology Thunyaburi

2.2.4 การเปิดโอกาสให้นกั ศึกษาได้เรียนรูเ้ รือ่ งอืน่ นอกเหนือจากงานสหกิจศึกษาทีร่ บั ผิดชอบปฏิบตั ิ โดยมหาวิทยาลัยได้เจรจากับสถานประกอบการทีร่ บั นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ ให้พยายามหาโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้วัฒนธรรม วิถีชีวิตของประเทศที่นักศึกษาไปปฏิบัติงาน ผ่านทางการศึกษาดูงาน การฝึกอบรมด้านภาษาหรือการพัฒนาด้านอื่น ๆ ที่หน่วยงานสามารถจัด ให้แก่นักศึกษาเพิ่มเติมได้ 2.3 กระบวนการหลังจากการปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ กระบวนการหลังการปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ กิจกรรมหลังกลับจากการปฏิบัติงาน การประเมินผล และการขยายผลสู่การสร้างความ ร่วมมือด้านอื่น โดยมีรายละเอียดดังนี้ 2.3.1 กิจกรรมหลังกลับจากการปฏิบัติงาน เป็นการจัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้หลังกลับจากการปฏิบัติงาน (Experiences Sharing Day) ทั้งในระดับสาขาวิชา คณะ และมหาวิทยาลัย ส�ำหรับเนื้อหาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ก�ำหนดให้นักศึกษาน�ำเสนอทั้งเนื้อหา เกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติและประสบการณ์ที่ได้รับในต่างประเทศ เช่น การท�ำงานข้ามวัฒนธรรม การปรับตัว ทัศนคติที่มีต่อการปฏิบัติงานในต่างแดน และประโยชน์ที่ได้รับ เป็นต้น โดยในการ น�ำเสนอผลการปฏิบัติงานได้ก�ำหนดให้นักศึกษาน�ำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่นักศึกษา ใช้ในการท�ำงานร่วมกับภาษาไทย โดยมีนกั ศึกษาทีไ่ ปปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษาทัง้ ในและต่างประเทศ ในช่วงเวลาเดียวกัน และนักศึกษาที่จะปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในภาคการศึกษาถัดไปร่วมรับฟัง 2.3.2 วิธีและเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ก�ำหนดให้ใช้ วิธีการเดียวกับการประเมินผลนักศึกษาที่ปฏิบัติงานในประเทศ ซึ่งประกอบด้วยคะแนนจาก สถานประกอบการและจากสถานศึกษาร้อยละ 50 เท่ากัน โดยคะแนนในส่วนของสถานประกอบการ มาจากผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน และคะแนนในส่วนของ สถานศึกษามาจากคะแนนการรายงานความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน การนิเทศงานของอาจารย์ นิเทศ การน�ำเสนอผลการปฏิบตั งิ าน และรายงานการปฏิบตั งิ านทีก่ ำ� หนดให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ 2.3.3 การสร้างความร่วมมือต่อยอดจากสหกิจศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาความร่วมมือกับสถานประกอบการในต่างประเทศในรูปแบบของการท�ำ MOU และ มีนโยบายสนับสนุนการน�ำความร่วมมือดังกล่าวสู่การปฏิบัติผ่านช่องทางการบริการวิชาการหรือ การท�ำวิจัยต่อยอดโดยคณาจารย์ นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยได้ให้ความส�ำคัญ ของการจัดสหกิจศึกษานานาชาติด้วยการเดินทางไปเยี่ยมพบสถานประกอบการในต่างประเทศ ด้วยตนเอง

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(064-077)P2.indd 68

8/3/59 BE 9:16 AM


ณัชติพงศ์ อูทอง

69

3. สถานประกอบการที่รับนักศึกษา จากข้อมูลการด�ำเนินงานสหกิจศึกษานานาชาติย้อนหลังตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 ถึง ปีการศึกษา 2557 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรไี ด้สง่ นักศึกษาไปปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษา ใน 7 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เขตปกครองพิเศษไต้หวัน สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรั ฐ เกาหลี สหพั นธ์ ส าธารณรั ฐ เยอรมั นนี สาธารณรัฐเชก ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และสิงคโปร์ โดยภาพที่ 1 แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง จ� ำ นวนของนั ก ศึ ก ษาและจ� ำ นวนของสถานประกอบการที่ รั บ นั ก ศึ ก ษาไป ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศ ระหว่างปีการศึกษา 2555-2558 และตารางที่ 1 แสดงให้ เห็นถึงรายชื่อของสถานประกอบการที่รับนักศึกษาไปปฏิบัติงานโดยแบ่งตามประเทศ

ภาพที่ 1: จ�ำนวนนักศึกษาและจ�ำนวนสถานประกอบการที่รับนักศึกษาไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา นานาชาติ

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(064-077)P2.indd 69

8/3/59 BE 9:16 AM


70

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี International Cooperative Education of Rajamangala University of Technology Thunyaburi

ตารางที่ 1: รายละเอียดสถานประกอบการในต่ า งประเทศที่ รั บนั ก ศึ ก ษาของมหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ประเทศ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน

สาธารณรัฐประชาชนจีน เขตปกครองพิเศษไต้หวัน สหรัฐอเมริกา

สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว สาธารณรัฐเกาหลี

สถานประกอบการ ● Okinawa National College of Technology ● Nagaoka University of Technology ● Kyoto Institute of Technology ● Shanghai Lotus Supermarket Chain Store Co., Ltd. ● Zhejiang University of Technology ● Guangxi International Business Vocational College ● Donghua University ● Shanghai Winful Industrial Development Co., LTD. ● National Pingtung University of Science and Technology ● The King and Prince Beach & Golf Resort ● Bald Head Island Maritime Market ● TukTuk Thai Bistro ● Belterra Casino Resort & Spa ● Harrah’s Council Bluffs Casino &Hotel ● Horseshoe Casino-Council Bluffs ● Hyatt Regency Lake Tahoe Resort ● Big Sky Resort Montana ● DIEP VU Co., Ltd. ● ●

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐเชก ฟิลิปปินส์

● ● ●

Global Institute for Transferring Skills AroiAroi Restaurant Höf University of Applied Sciences Technical University of Liberec De La Salle University

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(064-077)P2.indd 70

8/3/59 BE 9:16 AM


ณัชติพงศ์ อูทอง

ประเทศ อินโดนีเชีย สาธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนาม สิงคโปร์

71

สถานประกอบการ ● Faculty of Industrial Technology, Univer sitas, Islam In-donesia ● VDN University of Science ●

Limelite Productions

4. โครงงานที่นักศึกษาด�ำเนินการ เมื่อนักศึกษากลับจากการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศ มหาวิทยาลัยได้จัดให้มี การน�ำเสนอผลการปฏิบตั งิ านและมีการคัดเลือกผลงานของนักศึกษาสหกิจศึกษา เพือ่ เป็นตัวอย่าง งานให้กับนักศึกษาที่ไปปฏิบัติงานในภาคการศึกษาถัดไป และเป็นการกระตุ้นนักศึกษาให้ไป ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างโครงงานของนักศึกษาที่ไปปฏิบัติงาน ต่างประเทศ มีดังนี้ 4.1 การเปรียบเทียบวิธีการสกัดสารทางเคมีจากผลไม้ประเภทโกจิเบอร์รี่ ชื่อนักศึกษา นายจิรภัทร น�้ำแก้ว สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชื่อสถานประกอบการ Department of Food Science, National Pingtung University of Science and Technology, สาธารณรัฐประชาชนจีน เขตปกครองพิเศษไต้หวัน นักศึกษาได้ท�ำการเปรียบเทียบวิธีการสกัดสารทางเคมีจากผลโกจิเบอร์รี่ ด้วย วิธีการสกัด 3 วิธีคือ Supercritical carbon dioxide extraction, Soxhlet extraction และ Microwave extraction ผลปรากฏว่า การสกัดด้วยวิธี Supercritical carbon dioxide extraction ได้สารสกัดสูงสุดคือ 20% โดยท�ำการสกัดภายใต้ความดัน 4,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ที่อุณหภูมิ 40-50ºC โดยใช้เวลา 3 ชั่วโมง จากการวิเคราะห์องค์ประกอบของสารสกัดที่ได้ ด้วย GC-MS พบว่าสารประกอบส�ำคัญที่พบ ประกอบด้วย กรด Hexadecanoic acid (10.47%), Linoleic acid (9.41%), 9-Octadecenoic acid (Z) (7.18%), 9,12-Octadecadienoic acid (Z) (6.87%) และ Octadecenoic acid (2.75%) ซึ่งสารสกัดที่ได้ เป็นสารสกัดประเภท น�้ำมันหอมระเหยและกรดไขมัน

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(064-077)P2.indd 71

8/3/59 BE 9:16 AM


72

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี International Cooperative Education of Rajamangala University of Technology Thunyaburi

4.2 การออกแบบเสื้อในเซี่ยงไฮ้ ชื่อนักศึกษา นางสาวจิรภา โพธิจักร สาขาวิศวกรรมสิ่งทอ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชื่อสถานประกอบการ Donghua University, Shanghai และ Shanghai Winful Industrial Development Co., LTD. / Shanghai, สาธารณรัฐประชาชนจีน Shanghai Winful Industrial Development Co., LTD. เป็นบริษัทผลิตเสื้อผ้าที่มี ชื่อเสียงในเซี่ยงไฮ้ โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมคือเสื้อโปโลและสินค้าเบ็ดเตล็ดที่ท�ำจากผ้ายืด สถานประกอบการดังกล่าวเป็นโรงงานขนาดกลางที่ใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิต งานที่ นักศึกษาได้รับมอบหมายให้ด�ำเนินการคือการออกแบบเสื้อที่บ่งบอกความเป็นไทยและจีน นักศึกษาได้ศกึ ษารายละเอียดของสินค้าประเภทเดียวกันในประเทศไทยและในประเทศจีน ศึกษา การวางแผนการผลิต ขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต ตลอดจนเทคนิค การตรวจสอบในกระบวนการผลิตโดยใช้เครื่องมือที่ทางสถานประกอบการมีอยู่ โดยค�ำนึงถึง ความเป็นไปได้ทางธุรกิจโดยรวม การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ขั้นตอนในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เริ่มต้นจากการส�ำรวจตลาดในไทยและจีน ศึกษาสารเคมีที่ใช้ในการอบแห้งของเสื้อยืด ขั้นตอนการทดสอบทางเคมี การอบแห้งของเสื้อยืด ในโรงงานและการออกแบบโลโก้ตัวอย่างของ Donghua University, Shanghai สุดท้ายเป็น การค�ำนวณต้นทุนการผลิตเพื่อให้ได้ข้อมูลค่าใช้จ่าย และการวางแผนส�ำหรับการวางตลาด 4.3 การย้อมเส้นใยอะโรมาติกพอลิเอมาย ชื่อนักศึกษา นางสาวพิรมย์รัตน์ เพ็งรุ่ง สาขาวิศวกรรมสิ่งทอ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชื่อสถานประกอบการ Höf University of Applied Sciences, สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี นักศึกษาได้รับมอบหมาย ให้ศึกษาข้อมูลและคุณสมบัติพื้นฐานเกี่ยวกับเส้นใยแบบ อะโรมาติกพอลิเอมาย และคิดวิธีการย้อมส�ำหรับการย้อมเส้นใย อุณหภูมิที่เหมาะสมส�ำหรับ การย้อมเส้นใย จากนั้นท�ำการทดลองย้อมชิ้นงานจริง ด้วยกระบวนการย้อมที่คิดขึ้น จากงาน ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าว ได้ทดลองท�ำการวางแผนเพื่อก�ำหนดระยะเวลาที่ใช้ส�ำหรับการท�ำงาน ทุกกระบวนการ มีการประเมินและการน�ำเสนอต่อผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบของสถานประกอบการ ซึ่งสถานประกอบการมีความพึงพอใจในผลงานที่ได้ เพราะสามารถย้อมเส้นใยออกมาได้อย่าง

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(064-077)P2.indd 72

8/3/59 BE 9:16 AM


ณัชติพงศ์ อูทอง

73

มีประสิทธิภาพโดยมีการทดสอบความคงทน วิธีการย้อมเส้นใยที่น�ำเสนอเป็นวิธีการย้อมเส้นใย แบบใหม่ ท�ำให้เป็นประโยชน์ต่อสถานประกอบการ สามารถเป็นแหล่งข้อมูลส�ำหรับการอ้างอิง สามารถน�ำไปศึกษาและพัฒนาต่อไปในอนาคต 4.4 การการศึกษาเทคนิคการตรวจหาการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในอาหาร ชื่อนักศึกษา นางสาวจิดาภา ภัทรบุญฤทธิ์ และ นายวัชรพล กาพย์พมิ าย สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชื่อสถานประกอบการ National Pingtung University of Science and Technology สาธารณรัฐประชาชนจีน เขตปกครองพิเศษไต้หวัน นักศึกษาได้รับมอบหมายให้ศึกษาเทคนิคการตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ ในอาหารของประเทศไต้หวันในกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มคือกุ้งและนม การตรวจสอบการปนเปื้อน ของจุลินทรีย์ในตัวอย่างกุ้ง ใช้การทดสอบโดยจุลินทรีย์ด้วยวิธีการนับ ผลการศึกษาพบว่า การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ตรวจพบน้อยกว่า 10 CFU/g และจากการตรวจสอบนมโดย ตรวจสอบจาก Escherichia coli และโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ผลการตรวจสอบพบว่าการปนเปื้อน ของ Escherichia coli และแบคทีเรียโคลิฟอร์ม มีมากกว่า 1,100 MPN/ml ผลสรุปการตรวจสอบ ที่ได้ ตัวอย่างกุ้งมีจุลินทรีย์น้อยกว่าค่ามาตรฐานของไต้หวัน แต่ตัวอย่างนมมี Escherichia coli และโคลิฟอร์มแบคทีเรียเกินค่ามาตรฐานของไต้หวัน ทั้งนี้ ความน่าเชื่อถือของวิธีการตรวจสอบ ขึ้นอยู่กับทักษะในการตรวจสอบและประสิทธิภาพของการตรวจสอบ การตรวจการปนเปื้อนของ เชื้อจุลินทรีย์ในอาหารสามารถช่วยคัดกรองอาหารที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานและลดความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการยกเลิกการจัดส่งหรือเรียกคืนผลิตภัณฑ์ 5. การสะท้อนความคิดของนักศึกษาที่ผ่านการปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ จากการสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่ผ่านการปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ ในช่วงของการน�ำเสนอผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการ แลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ะหว่างนักศึกษาและเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ให้นกั ศึกษารุน่ น้องนัน้ ข้อมูล ที่ได้รับคือ นักศึกษาได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนการท�ำงานในวิชาชีพ ของตนในประเทศนั้นๆ รวมถึงการได้ทักษะในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ที่ทันสมัย ได้ซึมซับวัฒนธรรมในการท�ำงานของสถานประกอบการในต่างประเทศ รวมถึงได้

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(064-077)P2.indd 73

8/3/59 BE 9:16 AM


74

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี International Cooperative Education of Rajamangala University of Technology Thunyaburi

ทักษะในการปรับตัวเข้ากับการด�ำรงชีวติ ในต่างประเทศ การปรับตัวให้เข้ากับสังคมข้ามวัฒนธรรม การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ท�ำให้ตนเองมีศักยภาพสูงกว่านักศึกษาทั่วไป 6. ปัญหา อุปสรรคและการสนับสนุนการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ 6.1 ปัญหาและอุปสรรค 6.1.1 การขอและการใช้เอกสารการตรวจลงตรา (VISA) ส�ำหรับการเข้าเมือง ไม่ถูกประเภท ส�ำหรับการเข้าไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ เช่น เข้าประเทศในฐานะ นักท่องเที่ยว โดยต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงานและกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจกับแต่ละประเทศที่รับ นักศึกษาไปปฏิบัติงาน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยใช้เอกสารการตรวจลงตรา (VISA) ในลักษณะของ นักศึกษาแลกเปลี่ยนระหว่างมหาวิทยาลัย 6.1.2 การไม่ยอมรับเพศทีส่ ามปฏิบตั งิ านในประเทศ มีบางประเทศ เช่น ประเทศจีน ไม่ยอมรับคนข้ามเพศหรือเพศที่สามท�ำให้นักศึกษาถูกปฏิเสธมิให้เข้าประเทศ มหาวิทยาลัย ต้องชี้แจงให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และไม่ส่งนักศึกษาเพศที่สามไปยังประเทศ ที่ไม่ยอมรับ 6.1.3 การดูแลตนเองของนักศึกษาไทยที่ไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ นักศึกษา ไทยเมื่อไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ มักมีปัญหาเรื่องการปรับตัวเข้ากับสังคมของประเทศนั้น ๆ นักศึกษาบางคนขาดทักษะการเอาตัวรอด ซึ่งท�ำให้เกิดปัญหาขึ้นระหว่างการปฏิบัติงาน ดังนั้น จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมนักศึกษาเกีย่ วกับเรือ่ งการปฏิบตั ติ นระหว่างเดินทางไปต่างประเทศ และการด�ำรงชีวิตในต่างประเทศ เพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมข้ามวัฒนธรรมได้ 6.1.4 ค่ า ใช้ จ ่ า ยส� ำ หรั บ การปฏิ บั ติ ง านสหกิ จ ศึ ก ษานานาชาติ ข องนั ก ศึ ก ษา มีไม่เพียงพอ ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่างประเทศและค่าใช้จ่ายส�ำหรับการด�ำรงชีวิต ในประเทศนั้น เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทางภายในประเทศ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงจ�ำเป็น ต้องจัดหาสถานประกอบการที่จัดสวัสดิการให้กับนักศึกษาที่เพียงพอต่อการด�ำรงชีวิตประจ�ำวัน และเพื่ อ เป็ น การแบ่ ง เบาภาระของนั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลธั ญ บุ รี ไ ด้ จั ด งบประมาณสนับสนุนแบบให้เปล่าแก่นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ 6.1.5 ทักษะทางด้านการสื่อสารและภาษาต่างประเทศของนักศึกษาที่ไม่เพียงพอ ต้องมีการก�ำหนดเงื่อนไขทางด้านภาษาส�ำหรับนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ และการเสริม ทักษะทางด้านภาษาเพิ่มเติมให้แก่นักศึกษา รวมทั้งต้องมีการเตรียมความพร้อมเรื่องความกล้า ในการสนทนากับเจ้าของภาษา

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(064-077)P2.indd 74

8/3/59 BE 9:16 AM


ณัชติพงศ์ อูทอง

75

6.2 การสนับสนุนการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ เพือ่ เป็นการสนับสนุนการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ได้สนับสนุนงบประมาณส�ำหรับการปฏิบัตงิ านของนักศึกษาและการนิเทศงานของอาจารย์ ดังนี้ 6.2.1 ส�ำหรับการปฏิบัติงานของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้จดั ตัง้ “กองทุนพัฒนานักศึกษา” โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ ของนักศึกษาเพื่อการแข่งขันในระดับนานาชาติ ซึ่งครอบคลุมถึงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษาในต่างประเทศ โดยเป็นทุนสนับสนุนแบบให้เปล่า รายละไม่เกิน 20,000 บาท 6.2.2 ส�ำหรับการนิเทศงานของอาจารย์นิเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ได้จัดตั้ง “กองทุนสหกิจศึกษา” เพื่อส่งเสริมการด�ำเนินงานสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัย เช่น การพัฒนาหลักสูตร การจัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงค่าใช้จา่ ยของอาจารย์ในการเดินทางไปนิเทศงานนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติซงึ่ สามารถ เบิกค่าใช้จ่ายได้ตามที่จ่ายจริงตามสิทธิ์โดยไม่เกินจ�ำนวนเงินของกองทุนที่มี ทั้งนี้ เงินกองทุน ดังกล่าวได้รบั จัดสรรจากค่าบ�ำรุงการศึกษาทีจ่ ดั เก็บจากนักศึกษาในภาคการศึกษาทีอ่ อกปฏิบตั งิ าน สหกิจศึกษา 7. บทสรุป การจัดสหกิจศึกษานานาชาติเป็นกลไกหนึ่งที่ผลักดันให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรีก้าวสู่ความเป็นนานาชาติ โดยมหาวิทยาลัยด�ำเนินการทั้งการส่งนักศึกษาไปปฏิบัติงาน สหกิจศึกษาในต่างประเทศ การส่งอาจารย์ไปนิเทศงาน ณ สถานประกอบการในต่างประเทศ และการรับดูแลนักศึกษาต่างชาติเข้ามาปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในประเทศไทย มหาวิทยาลัยให้ ความส�ำคัญกับการน�ำมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นนานาชาติเป็นอย่างยิ่ง โดยน�ำมาเป็นกลยุทธ์ใน การพัฒนามหาวิทยาลัย ซึ่งได้ด�ำเนินการทั้งการสนับสนุนงบประมาณแบบให้เปล่าแก่นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศ และการจัดสรรงบประมาณให้ แก่คณาจารย์นิเทศเพื่อให้อาจารย์สามารถไปนิเทศงานนักศึกษา สหกิจศึกษาในต่างประเทศได้ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมีนโยบายชัดเจนในการส่งเสริมให้จ�ำนวนของนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ เพิ่มมากขึ้น

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(064-077)P2.indd 75

8/3/59 BE 9:16 AM


76

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี International Cooperative Education of Rajamangala University of Technology Thunyaburi

นักศึกษาที่ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศ มีโอกาสได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง ทั้งทักษะทางด้านภาษา การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม การเอาตัวรอดในต่างประเทศ การปรับตัว เพื่อให้เข้ากับสังคมข้ามวัฒนธรรม รวมไปถึงการได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ในต่างประเทศ ท�ำให้ นั ก ศึ ก ษาที่ ผ ่ า นการปฏิ บั ติ ง านสหกิ จ ศึ ก ษาเป็ น บั ณ ฑิ ต ที่ มี ศั ก ยภาพและเป็ น ที่ ต ้ อ งการของ สถานประกอบการสูงกว่าบัณฑิตทั่วไป ในขณะที่อาจารย์ที่ไปนิเทศงานสหกิจศึกษาที่ต่างประเทศ ได้รบั ทักษะทีเ่ กีย่ วกับการต่างประเทศเพิม่ เติม เช่น การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างประเทศ การเดินทางในต่างประเทศโดยล�ำพัง การใช้ภาษาต่างประเทศ เป็นต้น อีกทัง้ ยังได้เรียนรูเ้ ทคโนโลยี ใหม่ ๆ ในต่างประเทศ ซึ่งสามารถน�ำมาปรับใช้กับกระบวนการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย เอกสารอ้างอิง ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). แผนการด�ำเนินงานส่งเสริมสหกิจศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2556-2558. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ส�ำนักสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร.ี (2557). คูม่ อื สหกิจศึกษา 2557-2558. กรุงเทพมหานคร: ทริบเพิ้ล กรุ๊บ. ส�ำนักสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2556). เอกสารประชาสัมพันธ์ สหกิ จ ศึ ก ษา มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลธั ญ บุ รี ฉบั บ เดื อ นธั น วาคม 2555 พฤษภาคม 2556. กรุงเทพมหานคร: ทริบเพิ้ล กรุ๊บ. ส�ำนักสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2556). เอกสารประชาสัมพันธ์ สหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ฉบับเดือน มิถนุ ายน - พฤศจิกายน 2556. กรุงเทพมหานคร: ทริบเพิ้ล กรุ๊บ. ส�ำนักสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2557). เอกสารประชาสัมพันธ์ สหกิ จ ศึ ก ษา มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลธั ญ บุ รี ฉบั บ เดื อ นธั น วาคม 2556 พฤษภาคม 2557. กรุงเทพมหานคร: ทริบเพิ้ล กรุ๊บ. ส�ำนักสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2557). เอกสารประชาสัมพันธ์ สหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ฉบับเดือน มิถนุ ายน - ธันวาคม 2557. กรุงเทพมหานคร: ทริบเพิ้ล กรุ๊บ.

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(064-077)P2.indd 76

8/3/59 BE 9:16 AM


ณัชติพงศ์ อูทอง

77

ส�ำนักสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2556). ผลงานนักศึกษาสหกิจศึกษา ประจ�ำปี 2555. กรุงเทพมหานคร: ทริบเพิ้ล กรุ๊บ. ส�ำนักสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2557). ผลงานนักศึกษาสหกิจศึกษา ประจ�ำปี 2556. กรุงเทพมหานคร: ทริบเพิ้ล กรุ๊บ. ส�ำนักสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (2558). “ผลงานนักศึกษาสหกิจศึกษา ประจ�ำปี 2557”. กรุงเทพมหานคร : ทริบเพิ้ล กรุ๊บ

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(064-077)P2.indd 77

8/3/59 BE 9:16 AM


วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559) ISSN 1906 - 6864

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติในสถานประกอบการ: กรณีศึกษา บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด International Cooperative Education in Enterprise: A case study of Western Digital (Thailand) Co., Ltd. ธีรศักดิ์ สงวนมานะศักดิ์ 1 Theerasak Sa-nguanmanasak Abstract Western Digital (Thailand) Co., Ltd. began the cooperative education program in 2008 following the concept and support from Dr. Sampan Silapanad, Vice President. In 2012, we began the international cooperative education program by cooperating with The World Association for Cooperative Education-International Sattellite Office at Suranaree University of Technology (WACE-ISO at SUT) and IAESTE Thailand and also getting approached directly by the interested students. Up till now, 111 foreign students from 23 overseas universities from 20 countries participated in the program with the company. The only difference in the process of international cooperative education is the education visas application for foreign students. Majority of co-op students do the assigned project on the design and development of mechanical or other engineering applications in order to solve the problem and support the company’s goals. Once co-op students complete the program, the company has normally conducted final project presentation and discussion among all related parties for its reflection. Keywords: International Cooperative Education, WACE-ISO, Western Digital (Thailand) Co., Ltd. ผู้จัดการฝ่ายสรรหาและว่าจ้าง บริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด E-mail: kku.theerasak@gmail.com 1

_16-0782(078-096)P2.indd 78

8/3/59 BE 9:16 AM


ธีรศักดิ์ สงวนมานะศักดิ์

79

บทคัดย่อ บริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด ได้เริ่มท�ำโครงการสหกิจศึกษากับสถาบัน อุดมศึกษาในปี พ.ศ. 2551 โดยเป็นการด�ำเนินการตามแนวคิดและการสนับสนุนของ ดร.สัมพันธ์ ศิลปนาฎ รองประธานบริษทั ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้เริม่ จัดสหกิจศึกษานานาชาติโดยรับนักศึกษา ผ่าน ส�ำนักงานนานาชาตินอกพื้นที่ของสมาคมสหกิจศึกษาโลก ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (WACE-ISO at SUT) ผ่าน IAESTE Thailand ผ่านโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา และช่องทาง นักศึกษาติดต่อด้วยตนเอง นับจนถึงปัจจุบันได้มีนักศึกษามาปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ ที่บริษัทจ�ำนวน 111 คน จากมหาวิทยาลัย 23 แห่งใน 20 ประเทศ กระบวนการด�ำเนินงานสหกิจ นานาชาติของบริษัทประกอบด้วยกระบวนการก่อน กระบวนการระหว่าง และกระบวนการหลัง การปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษาเช่นเดียวกับการปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษาในประเทศ โดยมีการด�ำเนินการ เกี่ยวกับการขอวีซ่าเพิ่มเติม ส�ำหรับโครงงานที่นักศึกษาปฏิบัติเป็นโครงงานเกี่ยวกับการออกแบบ และพัฒนาเครื่องจักรกลหรืองานวิศวกรรมอื่นๆ เพื่อช่วยการแก้ปัญหาของบริษัท สนับสนุน เป้าหมายของบริษัท เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษาแล้ว บริษัทได้ก�ำหนดให้ มีกจิ กรรมการสะท้อนความคิด (Reflection) ของนักศึกษาในลักษณะการน�ำเสนอและแลกเปลีย่ น ความคิดเห็น โดยมีผู้นิเทศงาน ผู้บริหารระดับผู้จัดการและคณาจารย์นิเทศร่วมรับฟัง ค�ำส�ำคัญ: สหกิจศึกษานานาชาติ เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด 1. แนวคิดและความเป็นมาของสหกิจศึกษาของบริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด เดิมบริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัดได้ด�ำเนินการสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษา ทุกระดับการศึกษามาฝึกงานในหน่วยงานต่าง ๆ ของบริษัทเหมือนกับบริษัทอื่น ๆ ทั่วไป โดยมี ระยะการฝึกงานประมาณ 45 วัน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2551 ดร.สัมพันธ์ ศิลปะนาฎ รองประธาน บริษัทได้มีนโยบายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาปรับรูปแบบการสนับสนุนจากการฝึกงาน มาเป็นสหกิจศึกษา ซึ่งขณะนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบยังไม่รู้จักสหกิจศึกษามากนัก แนวคิดเบื้อง หลังทีท่ ำ� ให้ ดร.สัมพันธ์สนใจสนับสนุนการจัดสหกิจศึกษานัน้ ท่านได้กล่าวกับทีมงานว่า “หากย้อน หลังไปนิดหนึ่งผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนในห้องนี้ตอนเรียนระดับอุดมศึกษาคงเคยมีโอกาสไปฝึกงาน ส�ำหรับตัวผมเองตอนเรียนอยู่ปลายปีที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ไป ฝึกงานในบริษทั หนึง่ เป็นเวลา 45 วัน โดยได้รบั เบีย้ เลีย้ งวันละ 60 บาทซึง่ ถือว่าค่อนข้างมากส�ำหรับ ช่วงเวลานั้น ใน 45 วันดังกล่าวสิ่งที่ผมประสบคือสัปดาห์แรก ๆ แทบไม่ได้ท�ำอะไรเลย มีแต่ การแนะน�ำตัวและปลูกฝังให้รุ่นพี่คนหนึ่งคนใดท�ำหน้าที่ดูแลผม ผมใช้เวลาเป็นสัปดาห์กว่าจะรู้ว่า

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(078-096)P2.indd 79

8/3/59 BE 9:16 AM


80

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติในสถานประกอบการ: กรณีศึกษา บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด International Cooperative Education in Enterprise: A case study of Western Digital (Thailand) Co., Ltd.

ห้องน�้ำ โรงอาหาร หรือห้องประชุมอยู่ตรงไหน บริษัทมีกี่แผนก ออฟฟิศมีกี่ตึก จนสัปดาห์ที่ 2 - 3 ผมจึงมีโอกาสเดินตามคนที่เรียกว่าพี่เลี้ยงเข้าสู่ไลน์การผลิต ผมมีโอกาสได้เข้าห้องทดลองแต่ได้ รับการบอกจากพี่เลี้ยงว่าไม่ต้องแตะหรือท�ำอะไรให้ยืนดูเฉย ๆ จะด้วยเหตุผลของความเป็นห่วง ที่เราไม่รู้อะไรเลย รู้เท่าไม่ถึงการณ์ จะท�ำให้เครื่องมือนั้นเสีย หรือจะท�ำให้งานล่าช้าผมก็ไม่มี โอกาสถามพีเ่ ลีย้ งจนถึงทุกวันนี้ เมือ่ สัปดาห์ที่ 6 ผ่านไปผมก็ได้กระดาษใบหนึง่ จากบริษทั ทีก่ ล่าวถึง คุณงามความดีของผมในช่วงเวลา 6 สัปดาห์ทอี่ ยูท่ บี่ ริษทั และผมก็ได้รบั เกรดจากการฝึกงานผ่านไป ได้ดว้ ยดี” ท่านได้กล่าวเพิม่ เติมว่า “ใครก็แล้วแต่ทมี่ โี อกาสได้สมั ผัสสหกิจศึกษาในเชิงลึกมากกว่านี้ ทุกคนจะติดใจ ทุกคนจะไม่อยากไปฝึกงาน 45 วันอีกต่อไป และนี่คือเหตุผลที่ท�ำไมตัวผมเอง จึงมาท�ำตรงนี้ นี่คือสิ่งจูงใจ นอกจากนี้ ผมได้เห็นชัดเจนว่าประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศในยุโรป ได้ปฏิบัติสหกิจศึกษามากว่า 100 ปี แล้วและไม่มีแนวโน้มว่าจะยกเลิก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี (มทส.) ท�ำมา 16 ปี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) ท�ำมา 10 ปี ท�ำไมคนเหล่านี้ยังคงจัด สหกิจศึกษาอยู่ เขาต้องเห็นประโยชน์จากสหกิจศึกษา” จากนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบจึงได้ค้นหาที่มาและความหมายของค�ำ “สหกิจศึกษา” และพบว่าเป็นค�ำศัพท์ที่บัญญัติโดยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน จากค�ำภาษาอังกฤษ ว่า “Co-operative Education” ซึ่งหมายถึงการศึกษาที่ท�ำร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย กับสถานประกอบการเพื่อให้การศึกษาที่ดี (วิจิตร ศรีสอ้าน, 2545: 1) โดยมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารีได้ขยายความว่า “สหกิจศึกษา” เป็นระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานใน สถานประกอบการอย่างมีระบบ โดยจัดให้มีการเรียนในสถานศึกษาร่วมกับการจัดให้นักศึกษาไป ปฏิบตั งิ านจริง ณ สถานประกอบการทีใ่ ห้ความร่วมมือ ท�ำให้นกั ศึกษาสามารถเรียนรูป้ ระสบการณ์ จากการปฏิบัติงานจริง และท�ำให้นักศึกษามีคุณภาพตรงตามที่สถานประกอบการต้องการ มากทีส่ ดุ เป็นการส่งเสริมให้มคี วามร่วมมือระหว่างสถานประกอบการและสถานศึกษา สหกิจศึกษา เป็นกลไกความร่วมมือทางวิชาการอย่างต่อเนื่องตลอดไปด้วยวิธีการของสหกิจศึกษาจะเน้นความ ร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันสูงสุด (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2549: 107-137) จากความหมายของสหกิจศึกษาดังกล่าวข้างต้นและเพื่อสนับสนุนสหกิจศึกษาให้เกิด ประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Win-Win Situation) บริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล ประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่นิสิตนักศึกษาและคณาจารย์จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ อยู่แล้วจึงได้ ด�ำเนินการร่วมจัด สหกิจศึกษาอย่างเป็นระบบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ทั้งนี้ นิสิตนักศึกษา ที่มาปฏิบัติงานสหกิจศึกษาที่บริษัทต้องมีระยะเวลาปฏิบัติงานอย่างน้อย 4 เดือนเพื่อท�ำโครงงาน ตามความต้องการของบริษัท โดยบริษัทรับผิดชอบจัดผู้นิเทศงานหรือพี่เลี้ยงดูแล และนักศึกษา

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(078-096)P2.indd 80

8/3/59 BE 9:16 AM


ธีรศักดิ์ สงวนมานะศักดิ์

81

ต้องน�ำเสนอผลงานก่อนสิ้นสุดการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ในช่วงเริ่มต้นของการปรับจากการ สนับสนุนการฝึกงานไปสู่การร่วมจัดสหกิจศึกษา บริษัทได้ตั้งเป้าหมายในการร่วมจัดสหกิจศึกษา ไว้ที่ประมาณร้อยละ 80 เพื่อให้สถาบันการศึกษาบางแห่งที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันได้มีเวลา ปรับตัว ปัจจุบันบริษัทได้เปลี่ยนมาเป็นการจัดสหกิจศึกษาเพียงอย่างเดียว และต่อมาได้ส่งเสริม ให้นิสิตนักศึกษาไทยที่เรียนหลักสูตรนานาชาติ (International Program) มาปฏิบัติงาน สหกิจศึกษาโดยมีพนักงานชาวต่างชาติเป็นผู้นิเทศงานและท�ำรายงานเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อจัดสหกิจศึกษาภายในประเทศอย่างเต็มรูปแบบและต่อเนื่องท�ำให้บริษัทมีความ พร้อมด้านหน่วยประสานงานและผู้นิเทศงาน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2555 ที่ ดร.สัมพันธ์ได้รับเชิญ จาก มทส. ให้ไปร่วมประชุมประจ�ำปีของสมาคมสหกิจศึกษาโลก (World Association for Cooperative and Work Integrated Education - WACE) ทีป่ ระเทศเนเธอร์แลนด์ จึงได้มกี ารเจรจา ถึ ง ความร่วมมือในการส่งนัก ศึก ษาต่า งชาติ ม าปฏิ บัติง านสหกิ จศึ ก ษาในสถานประกอบการ ณ ประเทศไทย โดยให้ ส�ำนักงานนานาชาตินอกพื้นที่ของสมาคมสหกิจศึกษาโลก ณ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี (WACE-ISO at SUT) เป็นผู้ดูแลและประสานกับสถาบันการศึกษาไทย โดยสถาบั น การศึ ก ษาไทยที่ เข้ า ร่ ว มโครงการจะได้ รั บ สิ ท ธิ์ ใ นการส่ ง นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาไทยไป ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในสถานประกอบการของประเทศที่ส่งนักศึกษามา จุดเริ่มต้นของการจัด สหกิจนานาชาติของบริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัดจึงเกิดขึ้นนับแต่นั้นเป็นต้นมา 2. กระบวนการและวิธีการด�ำเนินงานสหกิจศึกษานานาชาติ ในปี พ.ศ. 2555 บริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล ประเทศไทยได้ร่วมกับ WACE-ISO at SUT ด�ำเนินโครงการสหกิจศึกษานานาชาติน�ำร่องโดยรับนักศึกษาต่างชาติจากมหาวิทยาลัยซินซินเนติ (University of Cincinnati) ประเทศสหรัฐอเมริกาจ�ำนวน 2 คนและจากมหาวิทยาลัยวิคตอเรีย (University of Victoria) ประเทศแคนาดาจ�ำนวน 2 คนมาปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ บริษัท โดยใช้หลักต่างตอบแทน (Reciprocity) กล่าวคือ มหาวิทยาลัยทีส่ ง่ นักศึกษามาจะต้องรับนักศึกษา ไทยไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในประเทศของตนในจ�ำนวนที่เท่ากัน กระบวนการจัดสหกิจศึกษา นานาชาติของบริษทั เวสเทิรน์ ดิจติ อลได้ใช้กระบวนการเดียวกับการจัดสหกิจศึกษาภายในประเทศ ตามที่ก�ำหนดไว้ในมาตรฐานสหกิจศึกษาซึ่งประกอบด้วยกระบวนการ ก่อน ระหว่าง และหลังการ ปฏิบัติงาน สหกิจศึกษา ดังนี้ (1) กระบวนการก่อนการปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษา ในกระบวนการนี้ บริษทั ได้กำ� หนดให้มี กิจกรรมย่อย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การระดมสมอง (Brainstorming) 2) การพิจารณาและคัดเลือก โครงการ (Project Review and Selection) 3) การเสนอโครงการ (Project Introduction) และ

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(078-096)P2.indd 81

8/3/59 BE 9:16 AM


82

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติในสถานประกอบการ: กรณีศึกษา บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด International Cooperative Education in Enterprise: A case study of Western Digital (Thailand) Co., Ltd.

4) การคัดเลือกผู้สมัคร (Candidate Selection) โดยเริ่มจากบริษัทจัดประชุมวิศวกรที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรรหาผู้นิเทศงานหรือพี่เลี้ยง (Job Supervisor) โดยผู้นิเทศงานจะเป็นผู้ก�ำหนดรายละเอียด ของงาน (Job Description) คุณสมบัติและประสบการณ์ของนักศึกษาที่ต้องการให้มาท�ำงานตาม ทีก่ ำ� หนด จากนัน้ จะส่งข้อมูลไปยัง WACE-ISO at SUT เพือ่ ประสานไปยังเครือข่ายของมหาวิทยาลัย ในต่างประเทศและประชาสัมพันธ์ให้นิสิตนักศึกษาสมัครท�ำงานผ่าน WACE-ISO at SUT เมื่อ มีผู้สมัครงาน WACE-ISO at SUT จะแจ้งข้อมูลให้บริษัททราบและบริษัทจะน�ำข้อมูลผู้สมัคร ให้ผู้นิเทศงานพิจารณาคัดเลือกและนัดสัมภาษณ์โดยผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ (Skype) เพื่อดูความต้องการที่ตรงกันของทั้งสองฝ่ายในหัวข้อของงานหรือประเด็นปัญหาที่ตรงกับสาขา ที่ศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานสหกิจศึกษาที่บริษัทได้อย่างมีความสุข เมื่อคัดเลือกนักศึกษาได้แล้วบริษัทจะแจ้งกลับไปยัง WACE-ISO at SUT เพื่อประสานและ จัดสรรนักศึกษาให้แก่มหาวิทยาลัยในประเทศที่ร่วมโครงการ รวมทั้งประสานกับมหาวิทยาลัย ต้นสังกัดของนักศึกษาเพื่อแจ้งให้นักศึกษาเตรียมตัวเดินทาง ท�ำประกันการเดินทางและประกัน สุขภาพ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยในประเทศที่ร่วมโครงการได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัย กรุงเทพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ศาลายา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขั้นตอน ต่อมาคือการประสานขอหนังสือจากมหาวิทยาลัยและเอกสารรับรองจากบริษัทเพื่อประกอบ การขอวีซ่าเพื่อการศึกษา (Educational Visa/ ED Visa) จัดหาที่พัก ก�ำหนดกรอบและแผนงาน อย่างละเอียดที่นักศึกษาต้องปฏิบัติ โดยระหว่างนี้ผู้นิเทศงานอาจติดต่อให้นักศึกษาใช้เวลาก่อน การเดินทางประมาณ 1-2 เดือนเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับงานที่จะมาปฏิบัติ เช่น การศึกษา โปรแกรมการออกแบบด้านเครื่องกล (Solid Work) (2) กระบวนการระหว่างการปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษา กระบวนการนีเ้ ริม่ โดยการปฐมนิเทศ (Orientation) แก่นกั ศึกษาสหกิจศึกษาเพือ่ ให้ทราบข้อมูลเกีย่ วกับบริษทั เช่น กฎระเบียบ ข้อห้าม วัฒนธรรมองค์กรและวัฒนธรรมไทย รวมถึงตรวจสอบเอกสาร วันประทับวันหมดอายุวซี า่ ท�ำบัตร ประจ�ำตัว และเปิดบัญชีธนาคาร จากนั้นน�ำนักศึกษาไปส่งมอบให้ผู้นิเทศงานเพื่อเริ่มปฏิบัติงาน (Execution) ในการปฏิบัติงานก�ำหนดให้มีการประชุมทุกเดือนเพื่อติดตามความก้าวหน้าของงาน และร่วมกันแก้ไขปัญหาทีอ่ าจมีขนึ้ โดยระหว่างนีห้ ากต้องมีการต่อวีซา่ มหาวิทยาลัยทีเ่ ป็นผูด้ แู ลจะ ประสานมายังบริษทั และนักศึกษาเพือ่ น�ำนักศึกษาไปขอต่อวีซา่ ในพืน้ ทีข่ องมหาวิทยาลัย โดยทัว่ ไป มหาวิทยาลัยมักใช้ช่วงเวลานี้จัดกิจกรรมให้นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติเล่าประสบการณ์ การปฏิบัติงานสหกิจศึกษาให้นักศึกษาไทยในมหาวิทยาลัยฟัง หรืออาจท�ำกิจกรรมอื่น ๆ ตาม

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(078-096)P2.indd 82

8/3/59 BE 9:16 AM


ธีรศักดิ์ สงวนมานะศักดิ์

83

ที่เห็นสมควร สวัสดิการที่บริษัทจัดให้นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ ได้แก่ ค่าครองชีพเดือนละ 9,000 บาท รถรับ-ส่งระหว่างที่พักและบริษัท บริการโรงอาหาร และกิจกรรมการฝึกอบรมตาม หัวข้อที่เป็นประโยชน์กับการปฏิบัติงานและการใช้ชีวิตของนักศึกษา รวมถึงกิจกรรมแลกเปลี่ยน วัฒนธรรม โดยสามารถดูรายละเอียดของหน้าทีค่ วามรับผิดชอบของสถานศึกษาและสถานประกอบ การในภาพที่ 1 และ 2

ภาพที่ 1: แสดงกระบวนการ การจัดสหกิจศึกษาของบริษทั เวสเทิรน์ ดิจติ อล (ประเทศไทย) จ�ำกัด (3) กระบวนการหลังการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา กระบวนการนี้ประกอบด้วยกิจกรรม หลัก 2 กิจกรรมคือนักศึกษาน�ำเสนองานที่ปฏิบัติ (Closing Presentation) ที่บริษัทโดยมี อาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการของมหาวิทยาลัยไทยที่ดูแลนักศึกษาเข้าร่วมรับฟัง และการบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษาและโครงงานที่นักศึกษาปฏิบัติลงในฐานข้อมูล (Co-op Data Banking)

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(078-096)P2.indd 83

8/3/59 BE 9:16 AM


84

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติในสถานประกอบการ: กรณีศึกษา บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด International Cooperative Education in Enterprise: A case study of Western Digital (Thailand) Co., Ltd.

ภาพที่ 2: แสดงหน้ า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบของสถานศึ ก ษาและสถานประกอบการในการจั ด สหกิจศึกษานานาชาติ อนึ่ ง กระบวนการดั ง กล่ า วข้ า งต้ น ใช้ ส� ำ หรั บ นั ก ศึ ก ษาสหกิ จ ศึ ก ษานานาชาติ ที่ ผ ่ า น WACE-ISO at SUT เท่านั้น ปัจจุบันบริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล ประเทศไทยได้เพิ่มช่องทางใน การรับนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติอีก 3 ช่องทาง คือ ช่องทางแรกผ่าน IAESTE Thailand โดยรับนักศึกษาปีละ 10 คนและมีข้อตกลงคล้ายกับช่องทางของ WACE-ISO at SUT แต่นักศึกษา ต้องจ่ายค่าที่พักและต่อวีซ่าเอง ช่องทางที่สองผ่านโครงการแลกเปลี่ยนของมหาวิทยาลัยไทย ซึ่งนักศึกษาต้องจ่ายค่าที่พักเองและมหาวิทยาลัยไทยช่วยประสานในการน�ำนักศึกษาไปขอต่อ วีซ่าให้ พร้อมรับส่งจากสนามบินสู่ที่พัก ส่วนช่องทางสุดท้ายคือการสมัครมาที่บริษัทโดยตรงด้วย ตนเอง ซึ่งนักศึกษาต้องดูแลตัวเองทุกอย่างและบริษัทจะช่วยประสานไปยัง WACE-ISO at SUT หรือ IAESTE Thailand เพื่อขอความอนุเคราะห์ออกหนังสือรับรองส�ำหรับประกอบการขอวีซ่า เพื่อการศึกษา 3. นักศึกษาและสถานศึกษาต่างประเทศที่เข้าร่วมสหกิจศึกษานานาชาติกับบริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด นับตัง้ แต่เริม่ จัดสหกิจศึกษานานาชาติในปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบนั (พ.ศ. 2558) มีนกั ศึกษา มาปฏิบัติงานสหกิจศึกษาที่บริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล ประเทศไทย รวมจ�ำนวนทั้งสิ้น 111 คน จาก 23 มหาวิทยาลัย รวม 20 ประเทศ โดยผ่าน 4 ช่องทาง ได้แก่ 1) WACE-ISO at SUT จ�ำนวน 34 คน 2) โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาจ�ำนวน 31 คน 3) IAESTE Thailand จ�ำนวน 7 คน และ 4) นักศึกษาติดต่อด้วยตนเองจ�ำนวน 35 คน โดยมีมหาวิทยาลัยไทยที่ดูแลนักศึกษา

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(078-096)P2.indd 84

8/3/59 BE 9:16 AM


ธีรศักดิ์ สงวนมานะศักดิ์

85

จ�ำนวนนักศึกษา สาขาวิชา และมหาวิทยาลัยที่ส่งนักศึกษามาปฏิบัติงานดังรายละเอียดปรากฏ ในตารางที่ 1 ส่วนข้อมูลสถิติและแนวโน้มนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติท่ีปฏิบัติงานที่บริษัท ระหว่างปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2558 และปรากฏตามกราฟที่แสดงในภาพที่ 3

ภาพที่ 3: กราฟแสดงจ�ำนวนนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติระหว่างปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2558 ตารางที่ 1: จ�ำนวนและสาขาวิชานักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติที่รับผ่านช่องทางต่าง ๆ ช่องทาง

ชื่อมหาวิทยาลัย จ�ำนวน ที่ดูแลนักศึกษา นักศึกษา

1) WACE-ISO มหาวิทยาลัย at SUT เทคโนโลยีสุรนารี

สาขาวิชา

ชื่อมหาวิทยาลัยและ ประเทศ ที่ส่งนักศึกษา

4

วิ ศ วกรรมเครื่ อ งกล Univ. of Victoria และวิศวกรรมไฟฟ้า ประเทศแคนาดา

2

วิ ศ วกรรมเครื่ อ งกล Univ. of Cincinnati และวิศวกรรมไฟฟ้า ประเทศสหรัฐอเมริกา

5

วิ ศ วกรรมเครื่ อ งกล RMIT และการจัดการโรงงาน ประเทศออสเตรเลีย

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(078-096)P2.indd 85

8/3/59 BE 9:16 AM


86

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติในสถานประกอบการ: กรณีศึกษา บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด International Cooperative Education in Enterprise: A case study of Western Digital (Thailand) Co., Ltd.

ช่องทาง

ชื่อมหาวิทยาลัย จ�ำนวน ที่ดูแลนักศึกษา นักศึกษา

สาขาวิชา

ชื่อมหาวิทยาลัยและ ประเทศ ที่ส่งนักศึกษา

1

วิศวกรรมเครื่องกล Nagaoka Univ. of Technology ประเทศญี่ปุ่น

5

วิศวกรรมระบบ คอมพิวเตอร์

Durban Univ. of Technology ประเทศแอฟริกาใต้

1

วิศวกรรมไฟฟ้า

Univ. of Cincinnati ประเทศสหรัฐอเมริกา

1

วิศวกรรมระบบ คอมพิวเตอร์

Durban Univ. of Technology ประเทศแอฟริกาใต้

1

วิศวกรรมเครื่องกล RMIT ประเทศออสเตรเลีย

มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี

1

วิศวกรรมเครื่องกล Univ. of Victoria ประเทศแคนาดา

มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์

1

วิศวกรรมซอฟแวร์ Univ. of Victoria ประเทศแคนาดา

2

วิศวกรรมระบบ คอมพิวเตอร์

1

วิศวกรรมอากาศยาน RMIT ประเทศออสเตรเลีย

มหาวิทยาลัย สยาม

Durban Univ. of Technology ประเทศแอฟริกาใต้

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(078-096)P2.indd 86

8/3/59 BE 9:16 AM


ธีรศักดิ์ สงวนมานะศักดิ์

ช่องทาง

ชื่อมหาวิทยาลัย จ�ำนวน ที่ดูแลนักศึกษา นักศึกษา มหาวิทยาลัย กรุงเทพ

มหาวิทยาลัย ศรีปทุม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี ราชมงคล รัตนโกสินทร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 2) โครงการ มหาวิทยาลัย แลกเปลี่ยน เทคโนโลยี นักศึกษา พระจอมเกล้า พระนครเหนือ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์

สาขาวิชา

1

วิศวกรรมระบบ คอมพิวเตอร์

1

วิศวกรรมไฟฟ้า

2

วิ ศ วกรรมเครื่ อ งกล และการจัดการโรงงาน วิศวกรรมไฟฟ้าและ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมระบบ คอมพิวเตอร์

2 2

1

87

ชื่อมหาวิทยาลัยและ ประเทศ ที่ส่งนักศึกษา Durban Univ. of Technology ประเทศแอฟริกาใต้ Univ. of Victoria ประเทศแคนาดา RMIT ประเทศออสเตรเลีย Univ. of Victoria ประเทศแคนาดา Durban Univ. of Technology ประเทศแอฟริกาใต้

22

วิศวกรรมเครื่องกล RMIT อัตโนมัติ ประเทศออสเตรเลีย วิศวกรรมเครื่องกล Esslingen Univ. of Applied Sciences ประเทศเยอรมันนี

2

วิศวกรรมไฟฟ้า

3

Univ. Bhayangkara Surabaya ประเทศอินโดนีเซีย วิศวกรรมสิง่ แวดล้อม Univ. Putra และอาชีวอนามัย Malaysia ประเทศมาเลเซีย

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(078-096)P2.indd 87

8/3/59 BE 9:16 AM


88

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติในสถานประกอบการ: กรณีศึกษา บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด International Cooperative Education in Enterprise: A case study of Western Digital (Thailand) Co., Ltd.

ช่องทาง

3) IAESTE Thailand

ชื่อมหาวิทยาลัย จ�ำนวน ที่ดูแลนักศึกษา นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิค พระนครศรีอยุธยา

4

มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี พระจอมเกล้า พระนครเหนือ

1

1 1 1 1 1

1

ชื่อมหาวิทยาลัยและ สาขาวิชา ประเทศ ที่ส่งนักศึกษา วิศวกรรมสารสนเทศ Atlas Nusantara Engineering College ประเทศอินโดนีเซีย วิศวกรรม Univ. Privada อุตสาหการ de Santa Cruz de Sierra ประเทศโบลิเวีย วิศวกรรมเคมี Univ. de Santiago de Compostela ประเทศสเปน วิศวกรรมสื่อสาร Shanghai Univ. และสารสนเทศ ประเทศจีน ไซเบอร์เนติกส์ Czech Technical และหุ่นยนต์ Univ. ประเทศ สาธารณรัฐเช็ก เทคโนโลยีสารสนเทศ Manipal Univ. ประเทศอินเดีย พัฒนาซอฟแวร์ Univ. of Applied Science Rapperswil ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ วิศวกรรมสื่อสาร Ss. Cyril and Methodius Univ. ประเทศสาธารณรัฐ มาซิโดเนีย

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(078-096)P2.indd 88

8/3/59 BE 9:16 AM


ธีรศักดิ์ สงวนมานะศักดิ์

ช่องทาง

ชื่อมหาวิทยาลัย จ�ำนวน ที่ดูแลนักศึกษา นักศึกษา

4) นักศึกษาติดต่อ มหาวิทยาลัยสยาม ด้วยตนเอง มหาวิทยาลัย กรุงเทพ

1

IAESTE Thailand

2

1

Asian Institute of Technology

รัฐศาสตร์และ ประวัติศาสตร์ บริหารธุรกิจ นานาชาติ

4

สาขาเทคโนโลยี สารสนเทศ (ระดับปริญญาโท) จิตวิทยาองค์การ อุตสาหกรรม (ระดับปริญญาเอก) วิศวกรรมอุตสาหการ

5

วิศวกรรมอุตสาหการ

1

เทคโนโลยีการจัดการ

15

วิศวกรรม แมคคาทรอนิกส์ วิศวกรรมสื่อสาร วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรม อิเล็กทรอนิกส์

1

มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี

สาขาวิชา

89

ชื่อมหาวิทยาลัยและ ประเทศ ที่ส่งนักศึกษา Arizona State Univ. ประเทศสหรัฐอเมริกา Univ. of Valenciennes ประเทศฝรั่งเศส ISC Paris Business School ประเทศฝรั่งเศส Bowling Green State Univ. ประเทศสหรัฐอเมริกา Univ. of Atma Jaya Yogyakarta ประเทศอินโดนีเซีย Univ. of Atma Jaya Yogyakarta ประเทศอินโดนีเซีย Univ. of Applied Sciences RavensburgWeingarten ประเทศเยอรมนี Asian Institute of Technology ประเทศศรีลังกา

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(078-096)P2.indd 89

8/3/59 BE 9:16 AM


90

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติในสถานประกอบการ: กรณีศึกษา บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด International Cooperative Education in Enterprise: A case study of Western Digital (Thailand) Co., Ltd.

ช่องทาง

ชื่อมหาวิทยาลัย จ�ำนวน ที่ดูแลนักศึกษา นักศึกษา 1 มหาวิทยาลัยมหิดล

3

ชื่อมหาวิทยาลัยและ สาขาวิชา ประเทศ ที่ส่งนักศึกษา วิศวกรรมสื่อสาร Asian Institute of Technology ประเทศเนปาล วิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยมหิดล (ระดับปริญญาโท) ประเทศกัมพูชา วิศวกรรมเครื่องกล TGGS-KMUTNB (ระดับปริญญาโท) ประเทศสาธารณรัฐ ยูกันดา

บัณฑิตวิทยาลัย 1 วิศวกรรมศาสตร์ นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี พระจอมเกล้า พระนครเหนือ รวม 107 หมายเหตุ: จ�ำนวนนักศึกษาขอท�ำรอบสองมีจ�ำนวน 4 คน ดังนั้นยอดรวมทั้งหมดจึงเป็น 111 คน 4. โครงงานที่มอบหมายให้นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติด�ำเนินการ นั ก ศึ ก ษาสหกิ จ ศึ ก ษานานาชาติ ส ่ ว นมากมั ก มี ห ลั ก สู ต รการปฏิ บั ติ ง านสหกิ จ ศึ ก ษา ที่ก�ำลังศึกษาอยู่มากกว่า 1 ครั้ง โดยมีระยะเวลาปฏิบัติงานประมาณ 4 -12 เดือนต่อครั้ง จึงท�ำให้มีเวลามากพอในการท�ำโครงการเพื่อแก้ปัญหาของบริษัท อีกทั้งนักศึกษาส่วนใหญ่เรียน ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์จึงสามารถท�ำโครงการที่เกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักร หรืองานวิศวกรรมอืน่ ๆ อาทิ การศึกษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การซ่อมบ�ำรุงระบบ ตลอดจน การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยนักศึกษาบางคนอาจรับผิดชอบด�ำเนินโครงการใหญ่ 2-3 โครงการในขณะที่บางคนอาจรับผิดชอบท�ำโครงการย่อยหลายโครงการ แต่ก็มีนักศึกษา ทีเ่ รียนสาขาอืน่ มาปฏิบตั สิ หกิจศึกษานานาชาติเช่นกัน นอกจากนี้ ได้มกี ารก�ำหนดให้นกั ศึกษาไทย ได้ท�ำโครงการร่วมกับนักศึกษาต่างชาติ ซึ่งท�ำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและ

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(078-096)P2.indd 90

8/3/59 BE 9:16 AM


ธีรศักดิ์ สงวนมานะศักดิ์

91

ส่งผลให้นักศึกษาไทยได้มีโอกาสพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษและนักศึกษาต่างชาติได้เรียนรู้และ เข้าใจวัฒนธรรมไทยมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างโครงการของนักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติเพื่อการ แก้ไขปัญหาของบริษัทปรากฏในตารางที่ 2 แต่การยกกรณีตัวอย่างนี้เป็นลักษณะเฉพาะใน อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่มีศัพท์เฉพาะจึงอาจเป็นการยากในการท�ำความเข้าใจอยู่บ้าง ตารางที่ 2: ตัวอย่างรายชื่อโครงงานและวัตถุประสงค์ของโครงงานสหกิจศึกษานานาชาติ ชื่อโครงการ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. Drafting of Crisis Trigger Levels for Business Continuity Systems activation and Development of Business Continuity Training packages for Suppliers.

เป็ น การท� ำ ต้ น แบบร่ า งของการ บริหารจัดการความเสี่ยงของธุรกิจ โดยวางแผนเพื่อพัฒนาไปสู่การได้ รับมาตรฐาน ISO 22301 (BCM) ให้ผู้ผลิตชิ้นส่วน หรือบริการให้กับ บริษัทต่อไป

2. De-Lamination Machine Design, FEA Mode for Optimization.

เป็นการออกแบบเครื่องจักรในการ De-Lamination โดยใช้วิธี Finite Element Analysis

3. Programming a database application for the Indirect Materials division - Written in ASP.NET.

การท�ำฐานข้อมูลใช้กบั วัสดุสนิ้ เปลือง ในแผนก Indirect Materials โดย การเขียนบน ASP.NET.

4. The Cacti Log server project.

เป็นการศึกษาและท�ำโครงการ Cacti Log server เพือ่ เก็บข้อมูลขนาดใหญ่

5. ABFI Work Surface Contamination Solution and DCHD Robustness Improvement.

การหาวิธีการแก้ปัญหา สิ่งสกปรก บนพื้นผิวจากการท�ำงานของเครื่อง ABFI และท�ำการพัฒนาเครือ่ ง DCHD ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น

6. ALT Improvements project.

โครงการพั ฒ นาเครื่ อ ง ALT ให้ มี ประสิทธิภาพดีขึ้น

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(078-096)P2.indd 91

8/3/59 BE 9:16 AM


92

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติในสถานประกอบการ: กรณีศึกษา บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด International Cooperative Education in Enterprise: A case study of Western Digital (Thailand) Co., Ltd.

ชื่อโครงการ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

7. 6S targets of the HSA Tooling Development and WD Core Values in comparison with his project.

การน�ำ 6S และวัฒนธรรมองค์การ ของบริษัทฯ มาปรับใช้ในการพัฒนา เครื่องจักร H SA

8. Making a program to automatically warn of higher than normal Scrap Rates.

เป็นการออกแบบโปรแกรมอัตโนมัติ แจ้ ง เตื อ นเมื่ อ มี ข องเสี ย เกิ น จาก ค่ามาตรฐาน

9. Freeradius Server Project.

เป็นการพัฒนา Freeradius Server ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

10. Study on Tin oxide on Au-Sn connection area in HGA.

เป็นการศึกษา Tin oxide บน Au-Sn ในชิ้นส่วนของ HGA.

11. Particle Detection system circuit, Mag lev System and PCB Design.

เป็นการออกแบบวงจรการตรวจสอบ ปริมาณฝุ่นและออกแบบ PCB เพื่อ การขยายภาพในระบบการวิเคราะห์

5. การสะท้อนผลของการท�ำสหกิจศึกษานานาชาติ 5.1 สะท้อนความคิดของนักศึกษาที่ผ่านการปฏิบัติงานสหกิจศึกษานานาชาติ เมือ่ เสร็จสิน้ การปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษาของนักศึกษาแล้ว บริษทั ได้กำ� หนดให้มกี จิ กรรม การสะท้อนความคิด (Reflection) ของนักศึกษาในลักษณะของการน�ำเสนอต่อผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย มีการร่วมเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างนักศึกษาที่มาปฏิบัติงาน ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยมีผู้นิเทศงาน ผู้บริหารระดับผู้จัดการ และคณาจารย์นิเทศร่วมรับฟัง ตัวอย่างความคิดที่นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติสะท้อนมี ดังนี้ นักศึกษาจากแคนาดาได้สะท้อนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาว่า เป็นการสร้างโอกาส เรียนรู้การท�ำงานจริงโดยการบริหารโครงการที่รับผิดชอบ ได้ฝึกทักษะการสื่อสารกับคนต่างชาติ และได้เรียนรู้วัฒนธรรมการท�ำงานที่แตกต่างกัน เช่น ที่แคนาดาในเวลางานทุกคนท�ำงาน โดยไม่มีการคุยกันนอกเหนือจากเรื่องงานยกเว้นช่วงเวลาพักที่จัดให้ประมาณ 10-20 นาทีหรือ ช่วงพักกลางวัน แต่ที่นี่สามารถคุยกันได้ทุกเวลา ท�ำงานแบบสบายไม่เครียดเหมือนที่แคนาดา

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(078-096)P2.indd 92

8/3/59 BE 9:16 AM


ธีรศักดิ์ สงวนมานะศักดิ์

93

นอกจากนี้ เพื่อนร่วมงานไม่ว่าเป็นพนักงานที่บริษัทหรือเพื่อนนักศึกษาที่ท�ำงานด้วยกันจะมี อัธยาศัยดีมาก จะชวนไปทานข้าวด้วยกัน ชวนไปเที่ยวในวันหยุด หรือสอบถามถึงการต้องการ ความช่วยเหลือ การท�ำงานที่นี่จะมีเพื่อนมากมายจากการร่วมท�ำกิจกรรมที่จัดให้ทุก 2 อาทิตย์ นั ก ศึ ก ษาจากออสเตรเลี ย ได้ ส ะท้ อ นว่ า ได้ เรี ย นรู ้ ม ากมายจากการปฏิ บั ติ ง าน สหกิจศึกษาที่บริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล โดยได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาจากมหาวิทยาลัย ได้ท�ำงานร่วม กันกับพนักงานของบริษัทอย่างเป็นกันเอง มีการให้ความเคารพผู้อาวุโสในที่ท�ำงาน ส�ำหรับความ แตกต่างของการท�ำงานที่บริษัทกับที่ในออสเตรเลียคือที่นี่จะถามว่าอยากท�ำอะไรในขณะที่ ออสเตรเลียจะมีแค่ค�ำสั่งว่าให้ท�ำอะไร นอกจากนี้ นักศึกษาบางคนเมื่อกลับไปประเทศตนแล้วได้ส่งข่าวให้บริษัททราบ เกี่ยวกับความเป็นไปของตนเอง เช่น Mr.Bryan Sullivan แจ้งว่าได้ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ครัง้ ต่อไปทีบ่ ริษทั เวสเทิรน์ ดิจติ อล ประเทศสหรัฐอเมริกาหลังจากมีประสบการณ์จากประเทศไทย หรือ Mr. Ian Welle ได้บอกถึงการเรียนรู้จากพี่เลี้ยงคือ Mr. Robert Neumann ว่าได้สอนเขา อย่างไรระหว่างปฏิบัติงานอยู่ที่บริษัทซึ่งได้ท�ำให้เขาเป็นวิศวกรอย่างเต็มภาคภูมิ Mr. Tyrone Francis นักศึกษาจาก Durban University of Technology ประเทศแอฟริกาใต้สะท้อนว่า เขาได้งานท�ำเพราะผ่านการปฏิบตั งิ านสหกิจศึกษาทีบ่ ริษทั เวสเทิรน์ ดิจติ อลเนือ่ งจากบริษทั ซัมซุง ได้ไปเปิดโรงงานทีแ่ อฟริกาใต้และต้องการคนทีผ่ า่ นงานด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ Mr. Christian Straub จากประเทศเยอรมนีร่วมกับเพื่อนชาวอินโดนีเซียที่เคยมาปฏิบัติงาน สหกิจศึกษาที่บริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล ประเทศไทยด้วยกัน โดยได้มีโอกาสไปเล่าประสบการณ์ และสะท้อนเรื่องราวต่าง ๆ ให้นักศึกษาของ University of Atma Jaya Yogyakarta (UAJY) จ�ำนวน 70-80 คนฟังส่งผลให้ นักศึกษาจ�ำนวน 6 คน จาก University of Atma Jaya Yogyakarta (UAJY) สมัครมาปฏิบัติสหกิจศึกษานานาชาติที่บริษัท 5.2 สะท้อนความคิดของพี่เลี้ยงหรือผู้นิเทศงานที่เข้าร่วมสหกิจศึกษานานาชาติ ส่วนมากจะสะท้อนถึงความรับผิดชอบดี จากการมอบหมายงานให้นักศึกษาต่างชาติ จะไม่ค่อยกังวลเรื่องการส่งมอบงาน เพราะส่วนมากมีความรับผิดชอบสูง มีการวางแผน ท�ำตาม ขั้นตอน และมีการเรียนรู้ด้วยตนเองในการสืบค้นข้อมูลได้เร็ว มีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น และกล้าบอกความรู้สึกที่ขัดแย้งกับความสนใจของตนเองหรือให้ความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา และยอมรับหากมีข้อคิดเห็นอื่นๆ ที่ดีกว่า ช่วยให้เกิดความคิดใหม่ๆ ในการประชุม หรือระดม ความคิดเห็น และสามารถช่วยงานในหน่วยงานได้อย่างมาก อีกทั้งมีการประเมินความคุ้มทุนของ โครงงานจะเห็นว่าเกิดความคุ้มทุนมากกว่า 3 ถึง 4 เท่า และสามรถน�ำมาใช้งานได้จริง

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(078-096)P2.indd 93

8/3/59 BE 9:16 AM


94

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติในสถานประกอบการ: กรณีศึกษา บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด International Cooperative Education in Enterprise: A case study of Western Digital (Thailand) Co., Ltd.

5.3 สะท้อนความคิดของอาจารย์นเิ ทศงานทีเ่ ป็นทีป่ รึกษาร่วมให้นกั ศึกษาสหกิจศึกษา นานาชาติ พบว่าหากอาจารย์นิเทศงานที่เป็นที่ปรึกษาร่วมให้นักศึกษาสหกิจศึกษานานาชาติ ไม่ค่อยได้เข้ามามีส่วนร่วมในระหว่างที่นักศึกษาปฏิบัติงานในบริษัท แต่จะมีบางท่านที่ได้ร่วม ในการฟังการน�ำเสนองานครั้งสุดท้าย ซึ่งส่วนใหญ่จะชื่นชมกับการน�ำเสนอได้ดี มีการเรียนรู้ ทีเ่ ร็ว และสนใจต่อการปฏิบตั สิ หกิจศึกษาเสมือนหนึง่ เป็นพนักงานของบริษทั ได้อย่างสมบูรณ์ และ ผลของโครงงานค่อนข้างท�ำได้อย่างสมบูรณ์กับเวลาจ�ำกัดเพียง 4 ถึง 6 เดือน เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ในการเรียนรู้เพื่อน�ำมาพัฒนากระบวนการการเรียนรู้ของนักศึกษาไทย 6. ปัญหา อุปสรรคและการสนับสนุนการจัดสหกิจศึกษานานาชาติ เป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่าประโยชน์ที่สถานประกอบการได้รับจากการจัดสหกิจศึกษา มีหลายประการ ได้แก่ 1) เกิดความร่วมมือทางวิชาการ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสถาบัน การศึกษา 2) เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสถานประกอบการในด้านการส่งเสริมสนับสนุน การศึกษา 3) สถานประกอบการมีนักศึกษาที่มีความกระตือรือร้นและมีความพร้อมทางวิชาการ ระดับหนึ่งช่วยปฏิบัติงานตลอดทั้งปี 4) พนักงานประจ�ำของสถานประกอบการมีเวลามากขึ้น ที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่อื่นที่มีความส�ำคัญมากกว่า และ 5) สถานประกอบการสามารถใช้เป็น วิธีการหนึ่งในการคัดเลือกนักศึกษาเข้าเป็นพนักงานประจ�ำในอนาคต (อนงค์นาฎ, 2549: 15) นอกจากประโยชน์ดังกล่าวข้างต้น ความส�ำเร็จของการจัดสหกิจศึกษานานาชาติที่บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอลได้รับคือ 1) การได้มุมมองใหม่ ๆ จากการที่นักศึกษาต่างชาติมาท�ำโครงงาน ที่พนักงานของบริษัทไม่มีเวลาศึกษา 2) ท�ำให้พนักงานของบริษัทได้พัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษ เพราะการมีนักศึกษาต่างชาติท�ำงานระดับปฏิบัติการท�ำให้พนักงานระดับล่างและนักศึกษาไทย ที่ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในช่วงเวลาเดียวกันกล้าใช้ภาษาอังกฤษสนทนาด้วย ทั้งนี้ ตามปกติ ชาวต่างชาติทที่ ำ� งานในบริษทั มักเป็นระดับหัวหน้างานทีพ่ นักงานไม่มโี อกาสคลุกคลีดว้ ย การสือ่ สาร ที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการสั่งงานหรือพูดคุยในเรื่องงานเท่านั้น ส�ำหรับปัญหาส�ำคัญของการจัดสหกิจศึกษานานาชาติที่บริษัทประสบจะเกี่ยวข้องกับ การขอวีซ่า เช่น 1) ใช้เวลาค่อนข้างนานในการออกหนังสือรับรองของสถานศึกษาในประเทศที่จะ เป็นผูร้ บั รอง และรับผิดชอบด้านวิชาการเพือ่ ประกอบการขอวีซา่ ประเภทการศึกษา ให้กบั นักศึกษา ต่างชาติ ซึ่งที่ผ่านมา WACE-ISO at SUT และ IAESTE Thailand ได้ช่วยรับผิดชอบด�ำเนินการ ในส่วนนี้ 2) การที่ส�ำนักงานตรวจคนเข้าเมืองลงตราประทับจ�ำนวนวันน้อยกว่าเวลาที่นักศึกษา ได้รับในวีซ่าซึ่งต้องไปให้แก้ไขหรือต่อวีซ่าให้ตรงกับการประทับ การได้วีซ่าประเภทเข้าออกได้

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(078-096)P2.indd 94

8/3/59 BE 9:16 AM


ธีรศักดิ์ สงวนมานะศักดิ์

95

ครัง้ เดียวซึง่ ส่งผลให้นกั ศึกษาไม่สามารถออกนอกประเทศได้กอ่ น 90 วันเพราะจะท�ำให้วซี า่ ประเภท การศึกษาสิน้ สุดและต้องใช้วซี า่ ท่องเทีย่ วแทนท�ำให้สามารถอยูใ่ นประเทศไทยได้เพียง 30 วัน และ การยื่นขอวีซ่าอีกครั้งจะต้องมีระยะเวลาที่เหลืออย่างน้อย 15 วัน 3) ส่วนปัญหาและอุปสรรค เล็กน้อยที่พบมักเป็นเรื่องการปรับตัวของนักศึกษาต่างชาติให้เข้ากับสภาพแวดล้อม อาหาร วัฒนธรรมไทย และการสื่อสารกับคนทั่วไปนอกบริษัท เพราะการใช้ภาษาอังกฤษยังเป็นปัญหา อยู่บ้าง เพื่อให้การจัดสหกิจศึกษานานาชาติประสบผลส�ำเร็จและมีการด�ำเนินการอย่างกว้าง ขวางอันจะส่งผลต่อคุณภาพของบัณฑิตไทยและพลเมืองที่มีศักยภาพของประเทศต่อไป ภาครัฐ โดยเฉพาะ สกอ. ช่วยประสานกับกรมการกงศุล ส�ำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ให้มีการขยายเวลา ในวีซ่าเพื่อการศึกษาจาก 90 วัน ไปสู่ 120 วัน และให้เกิดความร่วมมือกับต่างประเทศให้เกิด ข้อตกลงส่งเสริมสหกิจศึกษานานาชาติกับประเทศไทย และให้ส�ำนักงานนานาชาตินอกพื้นที่ ของสมาคมสหกิจศึกษาโลก ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (WACE-ISO at SUT) สามารถ ออกหนังสือรับรองได้ด้วยตัวเอง เป็น One Stop Service จะท�ำให้ลดเวลาและขั้นตอนลงได้ ในส่วนของบริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล ประเทศไทย ยังคงยืนยันและสนับสนุนการจัดสหกิจศึกษา นานาชาติต่อไปตามกระบวนการที่ก�ำหนดไว้ในมาตรฐานและข้อตกลงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะพยายามคัดสรรผู้นิเทศงานที่มีความเข้าในกระบวนการสหกิจศึกษา มีน�้ำใจช่วยเหลือและ เต็มใจสนับสนุนการปฏิบัติงานของนักศึกษา ตลอดจนประสานให้อาจารย์นิเทศของมหาวิทยาลัย ที่เป็นผู้ดูแลในด้านวิชาการเข้ามามีบทบาทและร่วมมือในการดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด อันเป็น ผลท�ำให้แนวโน้มการท�ำสหกิจศึกษานานาชาติมีจ�ำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เอกสารอ้างอิง วิจิตร ศรีสอ้าน. (2545). คู่มือสหกิจศึกษา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วิจิตร ศรีสอ้าน และคณะ. (2556). เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชา 201101 สหกิจศึกษา: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (2549). รายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการสหกิจศึกษา น�ำร่องของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2545-2547. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา. สมาคมสหกิ จ ศึ ก ษาไทย. (2552). ประมวลสาระชุ ด ฝึ ก อบรมสหกิ จ ศึ ก ษาไทย เล่ ม 1. กรุงเทพมหานคร: สมาคมสหกิจศึกษาไทย.

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(078-096)P2.indd 95

8/3/59 BE 9:16 AM


96

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติในสถานประกอบการ: กรณีศึกษา บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด International Cooperative Education in Enterprise: A case study of Western Digital (Thailand) Co., Ltd.

สมาคมสหกิ จ ศึ ก ษาไทย. (2553). ประมวลสาระชุ ด ฝึ ก อบรมสหกิ จ ศึ ก ษาไทย เล่ ม 2. กรุงเทพมหานคร: สมาคมสหกิจศึกษาไทย. สมาคมสหกิจศึกษาไทย. (2552). มาตรฐานและการประกันคุณภาพการด�ำเนินงานสหกิจศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สมาคมสหกิจศึกษาไทย. สมาคมสหกิ จ ศึ ก ษาไทย. (2555). คู ่ มื อ การจั ด สหกิ จ ศึ ก ษา. กรุ ง เทพมหานคร: สมาคม สหกิจศึกษาไทย อนงค์นาฎ เมฆฉาย. (2549).“การติดตามผลโครงการสหกิจศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์” วิ ท ยานิ พ นธ์ ค รุ ศ าสตร์ อุ ต สาหกรรมมหาบั ณ ฑิ ต สถาบั น เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า พระนครเหนือ. เอกสารท�ำงานของบริษัทเวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด. หมายเลข 80-596071-000. Rev. AG. Proc, Student Trainee Program.

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(078-096)P2.indd 96

8/3/59 BE 9:16 AM


วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559) ISSN 1906 - 6864

Workshop on Development of Cooperative and Work-Integrated Education in Thailand Wichit Srisa-an2 Abstract: The provision of cooperative education in Thailand started at the institutional level at Suranaree University of Technology (SUT) in 1993. SUT employed this education innovation in Thailand as a mechanism for the enhancement of graduate quality to equip its graduates with work knowledge and skills and employability right upon graduation. Once this institutional initiative was proven highly effective and successful, Thailand’s Office of Higher Education Commission (OHEC) in 2002 made a decision to expand cooperative education to the national level. Promotional measures for the expansion by OHEC included allocation of budget to the institutions that provide cooperative education and the 5-year (2008-2012) and the 3-year (2013-2015) strategic plans for the promotion of cooperative education in higher education institutions. Keywords: Cooperative Education, Cooperative and Work-Integrated Education (CWIE), Suranaree University of Technology, Thailand

Presented at Japan Forum for Cooperative and Work-Integrated Education February 6th, 2014, Tokyo, Japan 2 President of Thai Association for Cooperative Education 1

_16-0782(097-108)P2.indd 97

8/3/59 BE 9:17 AM


98

Workshop on Development of Cooperative and Work-Integrated Education in Thailand

บทคัดย่อ: การจัดสหกิจศึกษาในประเทศไทยเริม่ จากระดับสถาบันการศึกษาทีม่ หาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี (มทส.) ในปี พ.ศ. 2536 โดย มทส. ได้ใช้สหกิจศึกษาเป็นกลไกส�ำคัญในการสร้างคุณภาพ นักศึกษาให้มีความความรู้ความสามารถในการท�ำงานและมีความพร้อมเข้าสู่อาชีพเมื่อจบ การศึกษา เมือ่ การจัดการศึกษาสหกิจศึกษาระดับสถาบันการศึกษาทีม่ หาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี ประสบความส�ำเร็จอย่างสูง ในปี พ.ศ. 2545 ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงขยายผล ไปสูร่ ะดับชาติโดยสนับสนุนงบประมาณให้แก่สถาบันอุดมศึกษาทีจ่ ดั สหกิจศึกษา พร้อมก�ำหนดให้ มีแผนการด�ำเนินงานส่งเสริมสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาฉบับ 5 ปี (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555) และฉบับ 3 ปี (พ.ศ. 2556- พ.ศ. 2558) ค�ำส�ำคัญ: สหกิจศึกษา การบูรณาการการเรียนรู้กับการท�ำงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ประเทศไทย This presentation will share and discuss the development of Cooperative and Work-Integrated Education or CWIE in Thailand that spans the period of 21 years from 1993 to 2014. The development of the CWIE will be divided into 2 case studies; namely, 1. Institutional Case Study of Suranaree University of Technology (SUT), which is the birthplace of CWIE in Thailand in 1993 2. National Case Study of Thailand. The first government’s policy and support was given to CWIE in 2002. To begin with Case 1: Institutional Case Study of Suranaree University of Technology (SUT), some background information about SUT is necessary. This university was established in 1990 to respond to Thailand’s shortage of human resource in science and technology with two key characteristics, which are 1. Provincial and regional public autonomous university, the first in Thailand, with a main core function of high quality graduate production 2. Specialised university with emphasis on science and technology i.e. natural sciences, industrial technology, environmental and resource technology, agricultural technology, and social technology. วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(097-108)P2.indd 98

8/3/59 BE 9:17 AM


Wichit Srisa-an

99

As a new university in the countryside, it is necessary for SUT to provide education that has a competitive quality in the labour market. Quality of graduate is, therefore, the vital area. Therefore, SUT decided to integrate CWIE in its undergraduate curriculum and implemented the CWIE programme in 1993, the first university in Thailand to do so, in order to: 1. Develop and improve the quality of its graduates 2. Respond to the new market demand 3. Engage with more community and industry, and 4. Prepare the graduates to be ready for work right after their graduation. As for the design, standards, and structure of CWIE at SUT, 1. CWIE is designed to be an essential part of the academic professional programme. 2. The SUT CWIE requires the students to undertake sufficient work-based experience at senior level. 3. Also, the students have to work full-time for a period of at least 4 months at a work place with academic supervision and assessment, earning not less than 6 credits. The SUT CWIE standards apply to both the university and work places. As for the university, the standards are reflected through the curriculum, academic advising, student, and evaluation whereas for the work places, the CWIE standards are guaranteed by the management of the programme, the academic activities, and the mentoring. Regarding the implementation of the CWIE programme at SUT, the programme is implemented on the university-wide basis, fostering bilateral partnership between the university and work places. All the activities are coordinated by

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(097-108)P2.indd 99

8/3/59 BE 9:17 AM


100

Workshop on Development of Cooperative and Work-Integrated Education in Thailand

SUT’s Cooperative Education and Career Development Centre. From 1995-1998, SUT implemented CWIE as the pilot or elective project. Then, the assessment of the pilot project pointed out its success because the graduates had high employment rate, so the students requested for cooperative education to be compulsory. As a result, cooperative education has been a regular or compulsory programme for SUT students since 1999 until today. In the meantime, CWIE at SUT has been expanded to the global scale as well. The Thai Association for Cooperative Education, or TACE, was established in 2001 to work closely with the World Association for Cooperative Education, or WACE. Also, SUT has been creating international CWIE partnerships with universities and workplaces outside Thailand.

Figure 1 shows the SUT’s statistics of CWIE pilot project between 1995 and 1998 in comparison with the regular programme from 1999 until the present.

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(097-108)P2.indd 100

8/3/59 BE 9:17 AM


Wichit Srisa-an

101

Figure 2 summarises the distribution of CWIE work places during the pilot project, from academic years 1995 to 1998. The most important point which should be highlighted is the educational effect of the CWIE. The beneficial effects can be concluded as the WIN-WIN-WIN situation for the students, the university, and the work places. First, for the benefits for the students, CWIE helps the students: 1. Gain professional experience related to specialisation 2. Obtain higher GPA 3. Attain more self-confidence and self-development 4. Have stronger presentation and communication skills 5. Have a better chance to get a job offer before graduation 6. Have a better chance to choose appropriate career 7. Earn supplementary income, and 8. Reach higher potential to be well-qualified professionals.

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(097-108)P2.indd 101

8/3/59 BE 9:17 AM


102

Workshop on Development of Cooperative and Work-Integrated Education in Thailand

As for the benefits for the university, they include: 1. Fostering good relationship and cooperation with work places 2. Receiving feedback on curriculum and teaching-learning improvement 3. Gaining recognition from work places and industries. Finally, work places also benefit from CWIE. The benefits are: 1. There is a supplementary supply of workforce. 2. Full-time staff has more time to do more important job. 3. CWIE is an appropriate means of selecting and recruiting new staff. 4. Work places create additional collaboration with universities in other areas. 5. Joining the CWIE gives a positive image to the work places. Therefore, to conclude this first part of the case study of SUT, the SUT CWIE assessment results based on 6 years of CWIE experience showed that: 1. CWIE received overwhelming approval from work places and industries. 2. CWIE students received excellent rating in their work and academic reports. 3. Work place personnel and supervisors praised SUT students’ performance and behavior. 4. Students evaluated work experience to instill more professionalism and to help in self-development. 5. SUT earns the top rank in graduate employment rate. The second half of this presentation is about the national case study of the development of CWIE in Thailand from 2002 to present. It started with the first government support of 350USD/Head to the universities, with the total budget of 3,000,000USD for the period of 2002-2004, using the SUT CWIE as the model. In 2008, the Thai government by the Office of Higher Education Commission or OHEC made a 5-year strategic plan for supporting sustainable development of

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(097-108)P2.indd 102

8/3/59 BE 9:17 AM


Wichit Srisa-an

103

CWIE from 2008 to 2012. In this plan, OHEC set five key strategies for the expansion and consolidation of CWIE, which are: 1. Promoting more knowledge and better understanding of CWIE 2. Creating more CWIE standards 3. Strengthening promotion and support of CWIE 4. Increasing international CWIE 5. Enhancing CWIE monitoring and assessment.

Figure 3 shows the growth of CWIE from the pilot period of 2002-2004 to the 5-year strategic plan 2008-2012. Then, just last year OHEC again made the 3-year strategic plan from 20132015 to further support the CWIE operations. This plan emphasises: 1. CWIE quality and quality assurance 2. Readiness and strengths of university CWIE Networks. There are NINE regional networks altogether nationwide. 3. International CWIE and ASEAN CWIE Network 4. CWIE monitoring and assessment.

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(097-108)P2.indd 103

8/3/59 BE 9:17 AM


104

Workshop on Development of Cooperative and Work-Integrated Education in Thailand

To carry out all these tasks, the main organization responsible for the CWIE development in Thailand is the Thai Association for Cooperative Education, or TACE. It was established in 2001 to support the organising of WACE World Conference at SUT. It has the leadership role in CWIE development in Thailand and it has a close partnership with WACE with strong involvement in the governance and in programmes and activities, leading to the establishment of WACE International Satellite Office at SUT or WACE ISO@SUT to serve ASEAN and Asia. Another key partner of TACE is the Office of Higher Education Commission or OHEC, and they work closely together to promote and support CWIE policies and plans. Key activities of TACE include: 1. Trainings for university and work place CWIE personnel 2. Development of CWIE standards and quality assurance 3. Publication of CWIE Journals 4. CWIE research and assessment 5. Consultancy services to universities, work places, and OHEC.

Figure 4 shows the TACE’s statistics of training programmes for university and work place personnel, which started in 2008 until today. วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(097-108)P2.indd 104

8/3/59 BE 9:17 AM


Wichit Srisa-an

105

Finally, this presentation would like to point out the prospects and challenges of CWIE that lie ahead. First, for the past 20 years, universities and work places have expanded CWIE to the point that 75% of all the universities in Thailand offer CWIE.

The next stage is the consolidation of CWIE as set by TACE and OHEC for: 1. Development of CWIE quality 2. Implementation of CWIE standards 3. CWIE quality assurance.

Also, in this consolidation stage, it is time for universities and the CWIE Regional Networks to strengthen themselves for self-reliance and sustainable development. Secondly, the CWIE strength and development from the consolidation stage will be beneficial for the continual and sustainable enhancement of the students, the universities, the work places, and the Thai society as a whole. Lastly, to respond to the needs in the globalisation era, CWIE has been acknowledged as an effective practice to enable Thai students to have international perspectives and qualities by placing them for CWIE in partner work places in their target country in ASEAN and around the world. Question and Answer Session 1. What is the role of academic advisors? The academic advisors prepare the 30-hour preparatory course for the students, visit the work site, talk with mentors, and solve the problems if there is any. They also monitor the progress of the students and evaluate their experience when finished.

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(097-108)P2.indd 105

8/3/59 BE 9:17 AM


106

Workshop on Development of Cooperative and Work-Integrated Education in Thailand

2. Do you have CWIE coordinators? Most of the Thai universities offering CWIE normally designate the roles of academic advisors and CWIE coordinators to their faculty members with the support from the full-time staff members for administrative issues and coordination with work places. 3. Was the transition from the pilot project to the regular programme because SUT students requested it? SUT offered CWIE to its students as an elective component in the curriculum for 4 years during the pilot project. Then, the evaluation results of the project indicating satisfaction from all parties concerned i.e. the students, faculty members, university, and work places, led to the agreement between the students and faculty members to incorporate CWIE as the regular programme in the undergraduate curriculum. 4. How does CWIE contribute to employers’ recruitment? They say it helps for recruitment and selection. Judging only from résumé and interview can lead to a wrong selection. CWIE, on the other hand, allows the work place to get to know the students and to evaluate their work performance after a period of 4 months. This familiarity with the students enables the work place to select the most suitable employees who can start working right away without the work place organising pre-employment training for them. 5. How do you assess the quality of mentors, work places, and academic advisors? CWIE quality assurance is a critical issue, so TACE and OHEC worked closely together to set the CWIE standards for the students, faculty members, work places, and mentors. Besides, the monitoring of student performance is also set as a minimum standard that all parties use for their CWIE provision. The CWIE performance must be assessed using the same criteria as other academic

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(097-108)P2.indd 106

8/3/59 BE 9:17 AM


Wichit Srisa-an

107

courses. Students who participate in CWIE must have better academic records than average, must complete the preparatory course before their placement, and must be evaluated by both the mentor and the academic advisor. Faculty members need to have experience of teaching more than one trimester. As for the work place, commitment from the management and assignment of suitable mentors are the basic requirement. Mentors need to be university graduates and have more than 3 years of work experience. 6. What is the percentage of 103 universities which have CWIE programme among the total number of universities in Thailand? There are 139 universities in Thailand, both public and private, so 75% of the entire number of universities offer CWIE programme. 7. The biggest hurdle in Japan is to change the awareness of the faculty. How about in Thailand? In Thailand, we had the same problem, probably even more difficult. Raising the awareness in the faculty members and creating a correct understanding for their acceptance are crucial. In Thailand, it took 10 years to achieve that by starting the pilot project in a university and then expanding it to the national level by receiving support from the government. Nevertheless, promotion of knowledge about and correct understanding of CWIE has to be done on a continuous basis with all parties concerned through a series of trainings for faculty members and CWIE personnel from universities, work places, and related organisations. These trainings have been offered by TACE for about 10 years and more is on the way to keep these people updated with the changes in CWIE. 8. What is the average payment to CWIE students in Thailand? CWIE students are paid more than the minimum wage which is around 10USD or 300 baht a day. The payment is called a remuneration not a salary. Employers of CWIE students are entitled to 200% tax reduction from the total expenses on CWIE students.   Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(097-108)P2.indd 107

8/3/59 BE 9:17 AM


108

Workshop on Development of Cooperative and Work-Integrated Education in Thailand

References ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). แผนการด�ำเนินงานส่งเสริมสหกิจศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษา. ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2555. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา. ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). แผนการด�ำเนินการส่งเสริมสหกิจศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษา.ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2558. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา.

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(097-108)P2.indd 108

8/3/59 BE 9:17 AM


วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559) ISSN 1906 - 6864

Current State and Challenges of Industry-University Cooperative Education in ASEAN Countries: What can Japan learn as a late starter? Wichit Srisa-an2 Abstract: Thailand has been offering cooperative education for more than 20 years. It began at Suranaree University of Technology (SUT) in 1993 and has proved to be a very successful education innovation as evidenced by the very high employment rate of its graduates. Thailand’s Office of Higher Education Commission (OHEC), therefore, stepped in to promote cooperative education to the national level and also asked for the cooperation from the Thai Association for Cooperative Education (TACE) to promote sustainable development of cooperative education in the country. The OHEC-TACE cooperation brought about various promotional activities such as the creation of Thailand’s Cooperative Education Standard Framework, the trainings for cooperative education personnel, the publication of TACE Journal, and the organization of the Thai Cooperative Education Day (June, 6th) activities. The establishment of the ASEAN Community is posing a great challenge to higher education institutions in the provision of international cooperative education. The experience of cooperative education in Thailand can serve as a useful lesson and guideline for Japan’s provision of cooperative education. Keywords: Cooperative Education, Cooperative and Work Integrated Education (CWIE), International Cooperative Education, Japan Special Lecture given at Japan Forum for Cooperative and Work-Integrated Education February 7th, 2014, Tokyo, Japan 2 President of Thai Association for Cooperative Education 1

_16-0782(109-118)P2.indd 109

8/3/59 BE 9:17 AM


110

Current State and Challenges of Industry-University Cooperative Education in ASEAN Countries: What can Japan learn as a late starter?

บทคัดย่อ: ประเทศไทยได้ จั ด สหกิ จ ศึ ก ษามากว่ า 20 ปี โ ดยเริ่ ม ต้ น ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี สุรนารี (มทส.) ในปี พ.ศ. 2536 เมื่อการจัดสหกิจศึกษาของ มทส. ประสบความส�ำเร็จอย่างดียิ่ง โดยสถิ ติ ก ารได้ ง านท� ำ ของบั ณ ฑิ ต มทส.อยู ่ ใ นระดั บ ค่ อ นข้ า งสู ง ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาจึงได้ส่งเสริมการจัดสหกิจศึกษาระดับประเทศ และขอความร่วมมือสมาคม สหกิจศึกษาไทยด�ำเนินการเพื่อส่งเสริมการจัดสหกิจศึกษาในประเทศไทยให้ยั่งยืนโดยการจัดท�ำ มาตรฐานสหกิจศึกษา จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสหกิจศึกษาให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง จัดท�ำ วารสารสหกิจศึกษา และจัดกิจกรรมในงานวันสหกิจศึกษาไทย ( 6 มิถุนายน) เป็นต้น การเกิดของ ประชาคมอาเซียนท�ำให้การจัดสหกิจศึกษานานาชาติเป็นความท้าทายที่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ต้องพิจารณา ซึง่ ประสบการณ์ของประเทศไทยสามารถใช้เป็นบทเรียนและแนวทางส�ำหรับการจัด สหกิจศึกษาของประเทศญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี ค�ำส�ำคัญ: สหกิจศึกษา สหกิจศึกษานานาชาติ ประเทศญี่ปุ่น This special lecture is divided into four sections, including 1) Current State of Cooperative and Work-Integrated Education (CWIE) in Thailand 2) Transition of CWIE in ASEAN 3) Challenges 4) What can Japan learn from Thailand’s Cooperative and Work-Integrated Education. Firstly, the case of CWIE in Thailand will be elaborated, highlighting the current state of CWIE in the country. Thailand has been doing CWIE for more than 20 years. It started at Suranaree University of Technology (SUT) in 1993 as a key strategy to improve the quality of the graduates to be in line with Thailand’s Qualifications Frameworks and the Professional Standards and also to meet the demand of the new labour market that requires graduates to have firm theoretical knowledge, practical skills, and readiness for employment right after their graduation.

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(109-118)P2.indd 110

8/3/59 BE 9:17 AM


Wichit Srisa-an

111

At the very beginning, SUT implemented the CWIE programme as a four-year pilot project from 1995-1998. Back then, it was an 8-credit noncompulsory programme for 3rd year students with majors who were entering their 4th year. These students were required to work in a work place as full-time employees on assigned jobs or projects related to their major for a minimum period of 4 months. They also received training and supervision from both work place mentors and from SUT academic supervisors. The evaluation result of the pilot CWIE programme from around 500 participating CWIE students found that the university, work places, and students themselves were very much satisfied with the quality of SUT graduates. It also showed that SUT graduates had a high employment rate and they were ready to work right after their graduation without training before job. In essence, the overall result confirmed and emphasized the significance of CWIE for graduates’ employability and career development. Therefore, since 1999 SUT has integrated CWIE as a compulsory component of all of its undergraduate curricula. The success of the CWIE at SUT was evident to the then Ministry of University Affairs (MUA), so in 2002 the MUA made a proposal to the government to support CWIE in both public and private universities in Thailand by asking them to follow “The SUT CWIE MODEL”. Since then, 103 universities out of 139 nationwide have been organising CWIE for their students. Later, the Office of Higher Education Commission (OHEC, formerly The Ministry of University Affairs) requested SUT and the Thai Association for Cooperative Education (TACE) to be in charge of key strategic activities for CWIE enhancement, including: 1. to provide trainings for CWIE personnel in Thailand 2. to set the CWIE standards 3. to produce the Thai Journal of Cooperative Education, and 4. to organise the annual National Cooperative Education Day (June, 6th) Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(109-118)P2.indd 111

8/3/59 BE 9:17 AM


112

Current State and Challenges of Industry-University Cooperative Education in ASEAN Countries: What can Japan learn as a late starter?

All of these activities have been ongoing until today. The following Figures 1-4 provide illustrative outcomes of SUT, OHEC and TACE statistics of CWIE from 1995-2013.

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(109-118)P2.indd 112

8/3/59 BE 9:17 AM


Wichit Srisa-an

113

It has been confirmed and well recognised that the CWIE experience of the Thai universities during the past 20 years has 1) strengthened the universities and work places and 2) equipped them with mutual capacity to jointly produce high-quality graduates. Besides, CWIE has fostered strong and sustainable University-Industry cooperation for quality workforce production to meet the professional standards and respond to the needs of the new labour market. Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(109-118)P2.indd 113

8/3/59 BE 9:17 AM


114

Current State and Challenges of Industry-University Cooperative Education in ASEAN Countries: What can Japan learn as a late starter?

CWIE is thus considered as an effective option for quality workforce production in the fast-changing and highly competitive world of the 21st century. TRANSITION OF CWIE IN ASEAN Thailand, as one of the ten nations in ASEAN, needs to be responsive, proactive, and adaptive to the changes that come with the integration of the ASEAN Community in 2015. One of the three pillars of ASEAN is the ASEAN Economic Community (AEC), which allows and promotes free trade and mobility and free flow of labour and knowledge workers across the member countries. Universities, therefore, must ensure that their graduates have professional content knowledge, practical skills, languages for communication i.e. English and local languages cross cultural work capacity, and ASEAN socio-cultural identities and awareness. Thus, International CWIE is an effective means for quality development of Thai graduates by enriching their work-based learning in a foreign country before graduation. It is fortunate that Thailand’s Office of Higher Education Commission (OHEC) has set a timely policy to promote International CWIE in Thai universities from 2013 to 2015 to provide preparations and support for students interested in doing CWIE in ASEAN countries. Such promotional activities include 1. Scholarships for Thai students to undertake international CWIE in ASEAN countries, 30 scholarships in total, with 800USD each. But for Singapore, students will get 1,600 USD. 2. Funding for TACE to organise the International Conference on International Cooperative and Work-Integrated Education: Expanding Sustainable Networking (ICCW 2011) in Bangkok 3. Survey of International Cooperative & Work-Integrated Education Provision in the ASEAN Countries and Beyond (2012)

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(109-118)P2.indd 114

8/3/59 BE 9:17 AM


Wichit Srisa-an

115

The survey finding points out that some ASEAN countries such as Indonesia, Malaysia, Singapore, The Philippines, and Thailand have already been carrying out domestic and international CWIE. Therefore, with the support from these governments and the ASEAN mechanism, International CWIE will be promoted and expanded further. In the OHEC’s CWIE Strategic Plans (2013-2015), there will be the establishment of the ASEAN CWIE Network. For this establishment, OHEC has requested TACE and WACE International Satellite Office at Suranaree University of Technology (WACE ISO@SUT) to coordinate with potential partner universities in ASEAN to establish the ASEAN CWIE network before the year 2015. Preparations for the establishment are currently being undertaken. Before the ASEAN CWIE Network establishment, many universities in ASEAN and ASEAN Plus countries such as Australia, Indonesia, Japan, Malaysia, Singapore, and Thailand already have an agreement on International CWIE student exchange. Such university initiatives will be strengthened and upgraded to a grander scale once the ASEAN CWIE Network is established. CHALLENGES The world community in the globalisation era is marked with the fast changes, greater competition, and the unprecedented scale of skilled and knowledge workers mobilisation. The main challenges for universities, industries, and business organisations are the preparation of the 21st century workforce to have the desired quality and qualifications for the labour market in the globalised world. CWIE is an effective means to meet those challenges along with other channels for knowledge workforce development.

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(109-118)P2.indd 115

8/3/59 BE 9:17 AM


116

Current State and Challenges of Industry-University Cooperative Education in ASEAN Countries: What can Japan learn as a late starter?

WHAT CAN JAPAN LEARN AS A LATE STARTER? LESSON 1 To embark on some innovative ideas in education, one must make sure that such ideas can really serve the purposes to solve the existing problems and yield improvements. Thai universities faced with the problem of low-quality graduates and ineffective graduate production, resulting in the gap between theory and practice, poor English proficiency, and low readiness for employment. The burden is on the work places who have to train these graduates for 6 months or more before they can know the work and know how to work. Therefore, Thailand decided to promote CWIE to empower the students before they graduate by not ADOPTING but ADAPTING the existing systems from elsewhere to suit the Thai education context. LESSON 2 From the 20-year experience of offering CWIE, it has confirmed that the students must be enriched with work-based experience for an appropriate period of time such as a minimum of 4 months. This is because to get to know the work and to know how to work require a substantial period of time, which is markedly different from the traditional short study visit or work observation. A suitable period of time, it has been found, is not less than 4 months. In some countries, the CWIE is for 8 months or for a year. LESSON 3 The effectiveness of CWIE placement depends on the pre-CWIE student preparations. The students must be ready for job application and doing the work with other workers. For International CWIE, the students need even more preparations in terms of the language, cross-cultural communication, and self-adjustment to a new work culture and work environment.

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(109-118)P2.indd 116

8/3/59 BE 9:17 AM


Wichit Srisa-an

117

LESSON 4 CWIE shares a similar nature to that of internship. Thus, close mentoring and guidance from the work place and academic supervisors are another key to success, which can be given to the students along with the monitoring and assessment activities. LESSON 5 Another key success factor of CWIE is the mutual responsibility between the universities and the work places to support the CWIE students by treating them as temporary full-time employees in their organisations so that they receive valuable work-based experience in accordance with the CWIE standards. In conclusion, the five lessons above are the key success factors for anybody who would like to implement CWIE. They also need to develop the CWIE system that is the most responsive to the problems and needs and the most appropriate and effective for the context of each country. Undoubtedly, it is not too late for Japan to develop the most appropriate and effective CWIE system for your own country. A good beginning will ensure that you will have a perfect ending. I trust without any reservation that with the strong determination from everyone here Japan will be successful and exceptional in this CWIE mission.

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(109-118)P2.indd 117

8/3/59 BE 9:17 AM


118

Current State and Challenges of Industry-University Cooperative Education in ASEAN Countries: What can Japan learn as a late starter?

References Office of Higher Education Commission. (2008). Strategic Plan for the Promotion of Cooperative Education in Higher Education Institutions 2008-2012. Bangkok: OHEC. Office of Higher Education Commission. (2013). Strategic Plan for the Promotion of Cooperative Education in Higher Education Institutions 2013-2015. Bangkok: OHEC. Suranaree University of Technology. (2006). Report on the Evaluation of the Achievement of the Pilot Cooperative Education Project in Thailand 2002-2004. Nakhon Ratchasima: SUT. Thai Association for Cooperative Education. (2009). Standards and Quality Assurance for Cooperative Education Provision. Nakhon Ratchasima: TACE. Thai Association Cooperative Education. (2012). Manual for Cooperative Education Provision. Bangkok: TACE. Thawatchai Teekachunhatean. (1999). Institutional Research Report on Cooperative Education and Career Development Project Results in the Undergraduate Curriculum: Phase I. Nakhon Ratchasima: Suranaree University of Technology. Wichit Sria-an. (2014). Why is CWIE Crucial? Nonthaburi: Wichitlikhit.

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(109-118)P2.indd 118

8/3/59 BE 9:17 AM


วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559) ISSN 1906 - 6864

การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ Benchmarking of University Governance: A Case Study of Suranaree University of Technology, Thepsatri Rajabhat University, and Walailak University วิจิตร ศรีสอ้าน วีรพงษ์ พลนิกรกิจ อิศรา ประมูลศุข นฤมล รักษาสุข บุรทิน ข�ำภิรัฐ นงเยาว์ สุค�ำภา Abstract This study entitled ‘Benchmarking of University Governance: A Case Study of Suranaree University of Technology, Thepsatri Rajabhat University, and Walailak University’ aims to 1) study the methodology of the World Bank’s ‘University Governance Screening Card’ to benchmark universities, 2) adapt such benchmarking methodology to suit the context of Thai universities, 3) conduct benchmarking of governance of the three universities using the adapted methodology, and 4) evaluate the results of this benchmarking. The adaptation of the benchmarking methodology involved translating the original Governance Screening Card into Thai, editing the format, omitting some items, and adding some more. The revised version of the Governance Screening Card consists of 40 questions, targeting 5 dimensions of the university governance; namely, 1) Context, Mission, and Goals, 2) Management Orientation, 3) Autonomy, 4) Accountability, and 5) Participation. This version was administered with the members of the three university councils during September 2013 to April 2014. In total, 21 members from Suranaree University of Technology, 22 from

_16-0782(119-139)P2.indd 119

8/3/59 BE 9:17 AM


120

การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Thepsatri Rajabhat University and 19 from Walailak University responded to the revised ‘University Governance Screening Card’. The results from these three universities showed that the scores obtained for each of the five dimensions are consistent among these three universities. Dimension 3: Autonomy has the highest score, followed by Dimension 4: Accountability, Dimension 2: Management Orientation, and Dimension 1: Context, Mission, and Goals, respectively. Dimension 5: Participation receives the lowest score. Given the generally satisfactory and sufficiently informative results that this study yields, the research team would like to recommend the utilization of the findings from this university governance benchmarking for the improvement of administration and management of universities. Keywords: Benchmarking of University Governance, University Governance Screening Card, Context Mission and Goals, Management Orientation, Autonomy, Accountability, Participation บทคัดย่อ การศึ ก ษาเรื่ อ งการเที ย บระดั บ การบริ ห ารและการจั ด การมหาวิ ท ยาลั ย : กรณี ศึ ก ษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปรับ ใช้ และประเมินวิธีการเทียบระดับการบริหารและการจัดการ มหาวิทยาลัยโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “University Governance Screening Card” แล้วน�ำ มาปรับให้สอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยน�ำแบบสอบถามมาแปลเป็น ภาษาไทย ปรับรูปแบบ เพิม่ ตัวเลือก และตัดค�ำถามข้อทีต่ อ้ งตอบเป็นร้อยละออก แบบสอบถาม ทีไ่ ด้จากการปรับประกอบด้วยค�ำถาม 40 ข้อ แบ่งออกเป็น 5 มิติ ได้แก่ มิตทิ ี่ 1 บริบท พันธกิจ และ เป้าหมาย มิติที่ 2 ทิศทางการบริหาร มิติที่ 3 ความเป็นอิสระ มิติที่ 4 ความรับผิดชอบ และมิติ ที่ 5 การมีสว่ นร่วมแบบสอบถามดังกล่าวถูกน�ำมาใช้กบั กลุม่ ตัวอย่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย 3 สถาบัน ประกอบด้วย คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ�ำนวน 21 คน คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จ�ำนวน 22 คน และคณะกรรมการสภา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ�ำนวน 19 คน โดยด�ำเนินการส�ำรวจระหว่างเดือนกันยายน 2556 เมษายน 2557

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(119-139)P2.indd 120

8/3/59 BE 9:17 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน วีรพงษ์ พลนิกรกิจ อิศรา ประมูลศุข นฤมล รักษาสุข บุรทิน ข�ำภิรัฐ นงเยาว์ สุค�ำภา

121

ผลการใช้วิธีการเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัยโดยใช้ “University Governance Screening Card” กับคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย 3 สถาบัน พบว่า ค่าคะแนน (Score) ทีไ่ ด้จากการวิเคราะห์ขอ้ มูลในแต่ละมิติ มีลำ� ดับค่าคะแนนทัง้ 5 มิติ เหมือนกัน ทั้ง 3 กลุ่มตัวอย่าง กล่าวคือ มิติที่มีคะแนนสูงสุด คือ มิติที่ 3 ความเป็นอิสระ รองลงมา คือ มิติที่ 4 ความรับผิดชอบ มิติที่ 2 ทิศทางการบริหาร และมิติที่ 1 บริบท พันธกิจ และเป้าหมาย ตามล�ำดับ ส่วนมิติที่ 5 การมีส่วนร่วม มีค่าคะแนนน้อยสุด แต่ อ ย่ า งไรก็ ต าม วิ ธี ก ารเที ย บระดั บ การบริ ห ารและการจั ด การมหาวิ ท ยาลั ย โดยใช้ “University Governance Screening Card” เมื่อด�ำเนินการศึกษา ปรับ และใช้เครื่องมือ University Governance Screening Card กั บ สภามหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี สุ ร นารี สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะผู้วิจัยเห็นว่าเครื่องมือ ดังกล่าวเป็นเครือ่ งมือทีน่ า่ จะใช้ในการขยายผลการวิจยั เพือ่ ใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการบริหาร และการจัดการมหาวิทยาลัยต่อไปได้ ค�ำส�ำคัญ: การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย บริบท พันธกิจ และเป้าหมาย ทิศทางการบริหาร ความเป็นอิสระ ความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วม 1. บทน�ำ 1.1 ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา การปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่ก�ำลังเกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลให้มหาวิทยาลัย ทั่ ว โลก มี ห น้ า ที่ จั ด การศึ ก ษาในมิ ติ ใ หม่ ๆ เพื่ อ เพิ่ ม ศั ก ยภาพและความสามารถของบั ณ ฑิ ต การจัดการศึกษานับว่าเป็นสิ่งจ�ำเป็นที่สุดในการพัฒนาเศรษฐกิจ นานาประเทศทั่วโลกจ�ำเป็น ต้องหาวิธีการจัดการอุดมศึกษาของตนให้มีคุณภาพและสามารถแข่งขันได้กับประเทศอื่นทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยกับภาวะ บัณฑิตไม่มีคุณภาพหรือไม่มีงานท�ำ สะท้อนให้เห็นการบริหารและจัดการมหาวิทยาลัยที่อ่อนแอ และต้องการการปรับปรุงอย่างเร่งด่วน การพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาสามารถท�ำได้หลายลักษณะ เช่น การ ปรับปรุงหลักสูตร การเรียน การสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การประกันคุณภาพ (Q.A.: Quality Assurance) และการจัดอันดับ (Ranking) โดยในส่วนของการเทียบระดับการบริหารและ การจัดการมหาวิทยาลัย (Benchmarking of University Governance) ปัญหาส�ำคัญที่กระทบ ต่อคุณภาพคือ ความอ่อนแอของการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย (Weak Governance of

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(119-139)P2.indd 121

8/3/59 BE 9:17 AM


122

การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Universities) จึงต้องปฏิรปู การบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัยให้เข้มแข็ง การจัดท�ำการเทียบ ระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัยเป็นวิธีหนึ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาของมหาวิทยาลัย (วิจิตร ศรีสอ้าน, 28 มีนาคม 2556) Kenneth Edwards ประธาน สมาคมมหาวิทยาลัยแห่งยุโรป (President, Association of European Universities), (2000) กล่าวว่า การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย แม้ว่าจะมีความยากมากกว่า การจัดท�ำ QA แต่มีนัยยะส�ำคัญต่อทั้งนักศึกษา และผู้ใช้บัณฑิต (Employer) และทุกรูปแบบ (Scheme) การเปรียบเทียบข้ามมหาวิทยาลัยทีเ่ ป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ทีต่ อ้ งประเมินมาตรฐาน และสร้างการเทียบระดับการบริหารและการจัดการ เพื่ อ แก้ ป ั ญ หาดั ง กล่ า ว รั ฐ บาลของบางประเทศในภู มิ ภ าคในตะวั น ออกกลางและ แอฟริกาเหนือ (The Middle East and North Africa - MENA) ได้ริเริ่มการปฏิรูปการบริหาร และจัดการมหาวิทยาลัย โดยได้รับความช่วยเหลือจากคณะท�ำงานของธนาคารโลก โดย Centre for Mediterranean Integration ณ เมือง Marseille ได้ท�ำการวิจัยเทียบสมรรถนะการบริหาร และจัดการมหาวิทยาลัย 41 แห่ง (ในประเทศตูนีเซีย เวสต์แบงค์ แอนด์ กาซ่า มอร็อคโค และ อียปิ ต์) โดยใช้เครือ่ งมือทีเ่ รียกว่า University Governance Screening Card ซึง่ เป็นแบบสอบถาม ปลายปิด 45 ข้อ จ�ำแนกตามมิติทั้ง 5 ของการบริหารและจัดการมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มิติที่ 1 : บริบท พันธกิจ และเป้าหมาย (Context, Mission and Goals) มิติที่ 2 : ทิศทาง การบริหาร (Management Orientation) มิติที่ 3 : ความเป็นอิสระ (Autonomy) มิติที่ 4 : ความรับผิดชอบ (Accountability) และ มิติที่ 5 : การมีส่วนร่วม (Participation) ศาสตราจารย์ ดร.วิจติ ร ศรีสอ้าน เข้าร่วมประชุม OECD (The Organisation for Economic Co-operation and Development) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2555 ได้ฟังการบรรยายเรื่อง Benchmarking University Governance โดย Ms. Adriana Jaramillo ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการศึกษา จากธนาคารโลก (World Bank) พร้อมทั้งได้ศึกษาเครื่องมือ และหนังสือ Universities through the Looking Glass ซึ่งแจกให้แก่ผู้ฟังการบรรยาย ต่อมาใน วันที่ 28 มีนาคม 2556 ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ได้บรรยายเกี่ยวกับการเทียบระดับ การบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย ให้กบั คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารีฟงั โดยกล่าวถึงความเป็นมาของโครงการนี้ว่า ธนาคารโลกร่วมมือกับ 4 ประเทศ ในกลุ่มประเทศ ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (The Middle East and North Africa - MENA) ได้แก่ ตูนเิ ซีย ปาเลสไตน์ โมร็อกโก และอียปิ ต์ ท�ำการเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย เป็นโครงการน�ำร่อง ท�ำเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม 2555 รวมทั้งสิ้น 41 มหาวิทยาลัย การเทียบระดับ การบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัยเป็นเครือ่ งมือส�ำคัญในการติดตามและประเมินการบริหาร

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(119-139)P2.indd 122

8/3/59 BE 9:17 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน วีรพงษ์ พลนิกรกิจ อิศรา ประมูลศุข นฤมล รักษาสุข บุรทิน ข�ำภิรัฐ นงเยาว์ สุค�ำภา

123

และการจัดการของมหาวิทยาลัย 5 มิติ ผสมระหว่างการก�ำกับและควบคุมตนเอง (Self - governance) และธรรมาภิบาล (Good Governance) ประกอบด้วยค�ำถาม 5 มิติดังกล่าวข้างต้น ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ได้น�ำเสนอเครื่องมือนี้ต่อสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารีให้ใช้เป็นเครื่องมือในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล ซึ่งสภามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสรุ นารีเห็นว่าโครงการนีจ้ ะเป็นประโยชน์ตอ่ การปฏิรปู สภามหาวิทยาลัยในประเทศไทย สภามหาวิทยาลัยจึงมีมติเห็นชอบให้ทำ� เป็นโครงการน�ำร่อง เพือ่ ทดสอบว่าเครือ่ งมือนีใ้ ช้ประโยชน์ ในการปฏิรูปสภามหาวิทยาลัยได้มากน้อยเพียงใด หรือต้องปรับปรุงประการใด มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏ เทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ร่วมกันจัดประชุม 4 สภามหาวิทยาลัย ประจ�ำปี พ.ศ. 2556 เมือ่ วันที่ 16 - 17 พฤษภาคม 2556 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “Universities Through the Looking Glass of Governance” โดย Ms. Adriana Jaramillo ที่ประชุม 4 สภามหาวิทยาลัยเห็นชอบร่วมกันว่าเครื่องมือนี้เป็น ประโยชน์หากน�ำมาใช้ในประเทศไทย จึงมีมติให้มีการด�ำเนินการเทียบระดับการบริหารและการ จัดการมหาวิทยาลัย (Benchmarking of University Governance) โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารีเป็นผู้ศึกษาวิจัยน�ำร่อง โดยขออนุญาตจากธนาคารโลก จากนั้นได้ขยายผลโครงการวิจัย น�ำร่องอีก 2 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่ อ ศึ ก ษาวิ ธี ก ารเที ย บระดั บ การบริ ห ารและการจั ด การมหาวิ ท ยาลั ย โดยใช้ “University Governance Screening Card” เพื่ อ ปรั บ วิ ธี ก ารเที ย บระดั บ การบริ ห ารและการจั ด การมหาวิ ท ยาลั ย โดยใช้ “University Governance Screening Card” ให้สอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่ อ ใช้ วิ ธี ก ารเที ย บระดั บ การบริ ห ารและการจั ด การมหาวิ ท ยาลั ย โดยใช้ “University Governance Screening Card” กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัย ราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่ อ ประเมิ น วิ ธี ก ารเที ย บระดั บ การบริ ห ารและการจั ด การมหาวิ ท ยาลั ย โดยใช้ “University Governance Screening Card” 1.3 ขอบเขตของการวิจัย การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัยเป็นการศึกษา 3 สถาบัน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(119-139)P2.indd 123

8/3/59 BE 9:17 AM


124

การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

1.4 วิธีด�ำเนินการวิจัย โดยวิธีการเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัยโดยใช้ “University Governance Screening Card” กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงส�ำรวจ โดยใช้แบบสอบถามที่แปลและแปลง จากต้นแบบของธนาคารโลก เป็นเครือ่ งมือการวิจยั และประเมินวิธกี ารเทียบระดับการบริหารและ การจัดการมหาวิทยาลัยดังกล่าว 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1) ได้นวัตกรรมการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย คือ ต้นแบบวิธีการเทียบ ระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัยส�ำหรับสภามหาวิทยาลัยใช้ในการก�ำกับดูแลการ ด�ำเนินงานของมหาวิทยาลัย 2) ได้ผลการวิจัยเพื่อใช้ปรับปรุงคุณภาพการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 1.6 นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย หมายถึง การเทียบระดับ ของการบริหารและการจัดการโดยผสมระหว่างการก�ำกับและควบคุมตนเอง (Self - governance) และธรรมาภิบาล (Good Governance) ประกอบด้วยค�ำถาม 5 มิติ ได้แก่ มิติด้านบริบท พันธกิจและเป้าหมาย (Context, Mission and Goals) มิตดิ า้ น ทิศทางการบริหาร (Management Orientation) มิติด้านความเป็นอิสระ (Autonomy) มิติด้านความรับผิดชอบ (Accountability) และ มิติด้านการมีส่วนร่วม (Participation) บริบท พันธกิจและเป้าหมาย (Context, Mission, and Goals) หมายถึง สถานะหรือ สภาพโดยรวมของสถานศึกษา อาทิ สถานะทางกฎหมาย รวมถึงความมุ่งประสงค์ของสถานศึกษา และความมุ่งหมายเจาะจงให้ได้ตามเจตนาของสถานศึกษา ซึ่งอยู่ในรูปของค�ำแถลงให้บุคลากร ในสถานศึกษาได้ยึดปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุภาระการบริหารจัดการของสถานศึกษา ทิศทางการบริหาร (Management Orientation) หมายถึง การวางแผน การจัดการสถานศึกษา การสรรหาบุคลากร การน�ำ การสั่งการ และการควบคุมสถานศึกษา และการจัดการทรัพยากรด้านต่างๆ เช่น ทรัพยากรบุคคล ทั้งคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ตลอดจน นักศึกษา ทรัพยากรการเงิน และทรัพยากรอื่นๆ เช่น อาคารสถานที่ และสิ่งอ�ำนวยความสะดวก ภายในสถานศึกษา

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(119-139)P2.indd 124

8/3/59 BE 9:17 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน วีรพงษ์ พลนิกรกิจ อิศรา ประมูลศุข นฤมล รักษาสุข บุรทิน ข�ำภิรัฐ นงเยาว์ สุค�ำภา

125

ความเป็นอิสระ (Autonomy) หมายถึง ความเป็นอิสระ ใน 3 ด้านที่ส�ำคัญต่อการ บริหารสถานศึกษาได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านทรัพยากรมนุษย์ และด้านการเงิน ความรับผิดชอบ (Accountability) หมายถึง ความมีเหตุมีผล สามารถอธิบายได้ ในทุกผลของการด�ำเนินงานของสถานศึกษา ซึ่งครอบคลุมถึง คุณภาพของการจัดการศึกษา ความรับผิดชอบต่อสังคมและความโปร่งใสตรวจสอบได้ทางการเงิน การมีสว่ นร่วม (Participation) หมายถึง การเข้ามามีสว่ นร่วมในการตัดสินใจหลักๆ ของการด�ำเนินงานของสถานศึกษา จากผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียทุกภาคส่วน ทัง้ จากนักศึกษา คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ รัฐบาล ตัวแทนจากภาคเอกชน ตัวแทนจากภาคท้องถิ่น สมาคมศิษย์เก่า และ ผู้บริจาคให้แก่สถานศึกษา เป็นต้น 1.7 ระเบียบวิธีวิจัย ประชากร คื อ คณะกรรมการสภามหาวิ ท ยาลั ย ทั้ ง 3 สถาบั น ประกอบด้ ว ย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ�ำนวน 23 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จ�ำนวน 23 คน และ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ�ำนวน 19 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย 3 สถาบัน ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ�ำนวน 21 คน ท�ำการ ส�ำรวจวันที่ 6 กันยายน 2556 มีการจัดประชุม 2 แห่งพร้อมกัน โดยใช้ระบบสื่อสารสองทาง คือ Video Conference ระหว่างห้องประชุมสารนิเทศ อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา และห้องประชุมพจนสาร หน่วยประสานงาน มทส.- กทม. อาคารพญาไทพลาซ่า กรุงเทพมหานคร 2) คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จ�ำนวน 22 คน ท�ำการส�ำรวจ วันที่ 24 มกราคม 2557 ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จ.ลพบุรี 3) คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ�ำนวน 19 คน ท�ำการส�ำรวจวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2557 ณ อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(119-139)P2.indd 125

8/3/59 BE 9:17 AM


126

การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ตารางที่ 1: จ�ำนวนกลุ่มตัวอย่าง หน่วยงาน

จ�ำนวน จ�ำนวน ค่าเฉลี่ยผู้ตอบ คณะกรรมการ คณะกรรมการ แบบสอบถาม ทั้งหมด ทีต่ อบแบบสอบถาม (ร้อยละ)

คณะกรรมการสภา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

23

21

91.30

คณะกรรมการสภา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

23

22

95.65

คณะกรรมการสภา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

19

19

100

1.8 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ต้ นแบบของธนาคารโลก (World Bank) ที่มีชื่อเรียกเครื่องมือนี้ว่า “University Governance Screening Card” คณะวิจัยได้น�ำ แบบสอบถามต้นแบบมาแปลโดยคงไว้ตามต้นแบบเป็นหลัก และปรับบางส่วนให้สอดคล้อง กับบริบทของประเทศไทย และบริบทของมหาวิทยาลัย ซึ่งคณะวิจัยเป็นผู้แปลภาษาและปรับ แบบสอบถามดังกล่าว และน�ำเสนอที่ปรึกษาโครงการวิจัย ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เพื่อ ตรวจสอบความเหมาะสม และความถูกต้องในการใช้ภาษา นอกจากนีย้ งั ได้รบั ความอนุเคราะห์จาก ดร.วุฒิ ด่านกิตติกลุ ให้คำ� แนะน�ำในการปรับรูปแบบของแบบสอบถามใหม่ โดยมีสงิ่ ทีเ่ ปลีย่ นแปลง จากแบบสอบถามต้นแบบ ดังนี้ 1) แปลแบบสอบถามจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยทั้ง 5 มิติ 2) ตัดค�ำถามแสดงความคิดเห็นท้ายมิติออก เนื่องจากเป็นค�ำถามปลายเปิดไม่ สามารถน�ำมาประมวลผลเชิงปริมาณได้ 3) ตัดข้อทีต่ อ้ งตอบเป็นร้อยละออก คือ ข้อที่ 21 - 24 และ ข้อที่ 29 จากแบบสอบถาม ต้นแบบ เพราะค�ำถามเหล่านี้เป็นข้อมูลเฉพาะด้าน ผู้ตอบแบบสอบถามบางส่วน อาจไม่ทราบข้อมูลที่แท้จริง เช่น องค์ประกอบบุคลากรสายปฏิบัติการเป็นเช่นไร ท�ำให้จากจ�ำนวนค�ำถาม 45 ข้อ เหลือ 40 ข้อ

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(119-139)P2.indd 126

8/3/59 BE 9:17 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน วีรพงษ์ พลนิกรกิจ อิศรา ประมูลศุข นฤมล รักษาสุข บุรทิน ข�ำภิรัฐ นงเยาว์ สุค�ำภา

127

4) เพิ่มตัวเลือกในข้อที่ 18 ดังนี้ 18.4 มีการต่อวาระได้ และไม่จ�ำกัดวาระ และ 18.5 วาระ 4 ปี 5) ให้เลือกตอบ 0=ไม่ และ 1=ใช่ ซึ่งแบบสอบถามต้นแบบในบางข้อให้เลือกตอบ 0, 1 และ 2 6) ปรับรูปแบบของแบบสอบถามเพื่อความเข้าใจ และความง่ายในการตอบมากขึ้น 1.9 การเก็บรวบรวมข้อมูล คณะวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยเครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ที่ได้กล่าวในข้างต้น กับกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน น�ำอธิบายถึงความเป็นมา และเครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย จากนั้นกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามโดยอิสระ โดยใช้เวลาประมาณ 45 นาที ส่วนกลุม่ ตัวอย่างทีไ่ ม่ได้รว่ มประชุม คณะวิจยั ด�ำเนินการประสานส�ำนักงานสภามหาวิทยาลัย เพือ่ ขอความอนุเคราะห์ให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ร่วมประชุมดังกล่าวตอบแบบสอบถาม และน�ำส่งกลับคณะวิจัย 1.10 การทดสอบความเที่ ย งตรงและความเชื่ อ ถื อ ได้ ข องข้ อ มู ล (Validity and Reliability Test) การตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) และความเชื่อถือได้ (Reliability) ของ แบบสอบถาม มีวิธีการตรวจสอบ ดังนี้ 1) แบบสอบถามถูกแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยคณะวิจัยซึ่งล้วน ประกอบด้วยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ และน�ำแบบสอบถามที่แปลน�ำเสนอต่อที่ปรึกษาโครงการ วิจยั เพือ่ ตรวจสอบความเทีย่ งตรงตามเนือ้ หาจากต้นแบบของธนาคารโลก และความเหมาะสมของ ภาษาที่ใช้ 2) แบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วคณะวิจัยน�ำไปทดสอบหาความเชื่อถือได้ (Reliability) เพือ่ ตรวจสอบคุณภาพของเครือ่ งมือ โดยทดลองใช้กบั ผูบ้ ริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี จ�ำนวน 52 คน ด้วยการทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) ของแบบวัดความสอดคล้อง ภายใน (Internal Consistency Reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) พบว่า เครื่องมือวัด University Governance Screening Card มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.979 บ่งบอกว่าเครื่องมือมีความเชื่อถือได้ (Reliability) อยู่ในระดับ ดีมาก

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(119-139)P2.indd 127

8/3/59 BE 9:17 AM


128

การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

2.1) ระบบการให้คะแนนหรือค่าน�้ำหนัก หนังสือ Universities through the Looking Glass ของธนาคารโลก ได้ระบุระบบการให้คะแนนหรือค่าน�้ำหนัก ไว้ดังนี้ ค� ำ ถามในแบบสอบถามใช้ ตั ว ชี้ วั ด หลั ก และตั ว ชี้ วั ด ย่ อ ยในแต่ ล ะมิ ติ ที่ ต้องการวัด ตัวชีว้ ดั เหล่านีไ้ ด้รบั ค่าน�ำ้ หนัก เมือ่ ค�ำนวนออกมาเป็นค่าตัวเลข ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ตัวชี้วัดแต่ละตัวถูกสมมุติว่าได้รับค่าตัวเลขเดียวกันในแต่ละมิติ เพื่อที่จะ ได้น�ำมาเปรียบเทียบในทางตัวเลขได้ ในแต่ละมิติจะมีระดับของผลลัพธ์ที่ได้ จาก 1 ถึง 5 ดังนั้น น�้ำหนักของแต่ละตัวชี้วัดที่ต้องรวมกันให้ได้ 5 นั้น จึงได้มาโดยการหาร 5 ด้วยจ�ำนวนของตัวชี้วัด ในแต่ละมิติ ตัวอย่างเช่น มิติด้านความเป็นอิสระนั้น มี 3 ตัวชี้วัดหลัก ซึ่งแต่ละตัว ได้รับค่าน�้ำหนัก 1 ใน 3 และ ค่าตัวเลข 5/3 = 1.66 ส่วนตัวชี้วัดย่อยในแต่ละตัวชี้วัดหลักก็ได้รับ ค่าน�้ำหนัก และตัวเลขในสูตรเดียวกัน ดังนั้นคะแนนสูงสุดในแต่ละค�ำถามจะได้มาจากการหารคะแนนสูงสุดของ แต่ละตัวชี้วัดย่อยด้วยจ�ำนวนของค�ำถาม และค�ำตอบในแต่ละค�ำตอบมีค่าเท่ากับการหารค่าของ แต่ละค�ำถามด้วยจ�ำนวนของค�ำตอบที่เป็นไปได้ วิธดี งั กล่าวนีเ้ ป็นเหตุเป็นผลและเป็นกลางทีส่ ดุ และมีขอ้ ดีหลักคือ การท�ำให้ ตัวชี้วัดต่าง ๆ ไม่ขึ้นกับจ�ำนวนค�ำถามที่ต้องการค�ำถาม (Jaramillo, Manuel, & Demenet, et al., 2012, pp. 128-129) 2.2) เกณฑ์การประเมินระดับความเชื่อถือได้ (Reliability) ของค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟา ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) มีค่าอยู่ระหว่าง 0 - 1 ถ้าค่าสัมประสิทธิ์แอลฟามีค่าที่เข้าใกล้ 1 จะมีความเชื่อถือได้ (Reliability) สูง โดยระดับสัมประสิทธิ์แอลฟาที่เปนที่ยอมรับควรมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 0.70 (Nunnally & Bernstein, 1994) อย่างไรก็ตามได้มีการพิจารณาจากเกณฑ์การประเมินระดับความเชื่อถือได้ (Reliability) ของค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ซึ่ง George & Mallory (2003) ได้ระบุมาตรฐานเกณฑ์ การประเมิน ดังนี้ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา > 0.90 = อยู่ในระดับ ดีมาก ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา 0.80 - 0.89 = อยู่ในระดับ ดี ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา 0.70 - 0.79 = อยู่ในระดับ พอใช้

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(119-139)P2.indd 128

8/3/59 BE 9:17 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน วีรพงษ์ พลนิกรกิจ อิศรา ประมูลศุข นฤมล รักษาสุข บุรทิน ข�ำภิรัฐ นงเยาว์ สุค�ำภา

129

ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา 0.60 - 0.69 = อยู่ในระดับ ค่อนข้างพอใช้ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา 0.50 - 0.59 = อยู่ในระดับ ต�่ำ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา < 0.50 = อยู่ในระดับ ไม่สามารถรับได้ 1.11 การวิเคราะห์ข้อมูล คณะวิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรม Microsoft Excel โดยใช้ สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย พร้อมทั้งสร้างแผนภูมิใยแมงมุมเพื่อแสดงและสรุปผล การวิเคราะห์ นอกจากนี้ได้ใช้โปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) ในการหาค่าสัมประสิทธิแ์ อลฟา โดยใช้สตู รสัมประสิทธิแ์ อลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เพื่อประเมินความเชื่อถือได้ (Reliability) ของเครื่องมือในภาพรวมและในแต่ละมิติ ของสภามหาวิทยาลัยทั้ง 3 สถาบัน 2. ผลการศึกษาการรับรู้ตนเอง (Self - Perception) ของคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และคณะกรรมการสภา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 2.1 คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตารางที่ 2: แสดงค่าคะแนนจากการวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละมิติ จากกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มิติ (Dimensions) มิติที่ 1 : บริบท พันธกิจ และเป้าหมาย มิติที่ 2 : ทิศทางการบริหาร มิติที่ 3 : ความเป็นอิสระ มิติที่ 4 : ความรับผิดชอบ มิติที่ 5 : การมีส่วนร่วม

คะแนน (Score) (Maximum = 5) 2.35 2.69 4.48 3.58 1.36

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลท�ำให้ได้ค่าคะแนน (Score) ดังนี้ มิติที่มีคะแนนสูงสุด คือ มิติที่ 3 : ความเป็นอิสระ 4.48 รองลงมา คือ มิติที่ 4 : ความรับผิดชอบ 3.58 มิติที่ 2 : ทิศทางการบริหาร 2.69 และมิติที่ 1 : บริบท พันธกิจ และเป้าหมาย 2.35 ตามล�ำดับ ส่วนมิติที่ 5 : การมีส่วนร่วม Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(119-139)P2.indd 129

8/3/59 BE 9:17 AM


130

การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มีคะแนนน้อยสุด คือ 1.36 โดยสามารถน�ำเสนอผลการศึกษาข้อมูลเป็นแผนภูมิใยแมงมุม (Spider Web Chart) ได้ดังนี้

แผนภูมิที่ 1: ผลการศึกษาในรูปแบบแผนภูมิใยแมงมุม จากกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสภา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 2.2 คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ตารางที่ 3: แสดงค่าคะแนนจากการวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละมิติ จากกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มิติ (Dimensions) มิติที่ 1 : บริบท พันธกิจ และเป้าหมาย มิติที่ 2 : ทิศทางการบริหาร มิติที่ 3 : ความเป็นอิสระ มิติที่ 4 : ความรับผิดชอบ มิติที่ 5 : การมีส่วนร่วม

คะแนน (Score) (Maximum = 5) 2.35 2.58 3.55 2.80 1.77

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(119-139)P2.indd 130

8/3/59 BE 9:17 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน วีรพงษ์ พลนิกรกิจ อิศรา ประมูลศุข นฤมล รักษาสุข บุรทิน ข�ำภิรัฐ นงเยาว์ สุค�ำภา

131

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลท�ำให้ได้ค่าคะแนน (Score) ดังนี้ มิติที่มีคะแนนสูงสุด คือ มิติที่ 3 : ความเป็นอิสระ 3.55 รองลงมา คือ มิติที่ 4 : ความรับผิดชอบ 2.80 มิติที่ 2 : ทิศทางการบริหาร 2.58 และมิติที่ 1 : บริบท พันธกิจ และเป้าหมาย 2.35 ตามล�ำดับ ส่วนมิติที่ 5 : การมีส่วนร่วม มีคะแนนน้อยสุด คือ 1.77 โดยสามารถน�ำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบแผนภูมิใยแมงมุม (Spider Web Chart) ดังนี้

แผนภูมิที่ 2: ผลการศึกษาในรูปแบบแผนภูมิใยแมงมุม จากกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสภา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(119-139)P2.indd 131

8/3/59 BE 9:17 AM


132

การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

2.3 ผลการศึกษาการรับรู้ตนเองของคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตารางที่ 4: แสดงค่าคะแนนจากการวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละมิติ จากกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการ สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มิติ (Dimensions) มิติที่ 1 : บริบท พันธกิจ และเป้าหมาย มิติที่ 2 : ทิศทางการบริหาร มิติที่ 3 : ความเป็นอิสระ มิติที่ 4 : ความรับผิดชอบ มิติที่ 5 : การมีส่วนร่วม

คะแนน (Score) (Maximum = 5) 1.84 2.28 4.04 3.09 1.17

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลท�ำให้ได้ค่าคะแนน (Score) ดังนี้ มิติที่มีคะแนนสูงสุด คือ มิติที่ 3 : ความเป็นอิสระ 4.04 รองลงมา คือ มิติที่ 4 : ความรับผิดชอบ 3.09 มิติที่ 2 : ทิศทางการบริหาร 2.28 และมิติที่ 1 : บริบท พันธกิจ และเป้าหมาย 1.84 ตามล�ำดับ ส่วนมิติที่ 5 : การมีส่วนร่วม มีคะแนนน้อยสุด คือ 1.17 โดยสามารถน�ำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบแผนภูมิใยแมงมุม (Spider Web Chart) ดังนี้

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(119-139)P2.indd 132

8/3/59 BE 9:17 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน วีรพงษ์ พลนิกรกิจ อิศรา ประมูลศุข นฤมล รักษาสุข บุรทิน ข�ำภิรัฐ นงเยาว์ สุค�ำภา

133

แผนภูมิที่ 3: ผลการศึกษาในรูปแบบแผนภูมิใยแมงมุม จากกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสภา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 3. ผลการประเมิ น วิ ธี ก ารเที ย บระดั บ การบริ ห ารและการจั ด การมหาวิ ท ยาลั ย โดยใช้ “University Governance Screening Card” จากการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ University Governance Screening Card โดย ทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) ของแบบวัดความสอดคล้องภายใน (Internal Consistency Reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ซึ่งรายละเอียดเกณฑ์การประเมินระดับความเชื่อถือได้ (Reliability) จากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา และผลจากการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือมีรายละเอียด ดังนี้

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(119-139)P2.indd 133

8/3/59 BE 9:17 AM


134

การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ตารางที่ 5: แสดงค่าที่ได้จากการทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) ในภาพรวมแต่ละสภา มหาวิทยาลัย ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟา

ระดับความเชื่อถือได้ (Reliability)

สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

0.963

ดีมาก

สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

0.980

ดีมาก

สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

0.973

ดีมาก

หน่วยงาน

จากตาราง พบว่า ผลการทดสอบความเชือ่ ถือได้ (Reliability) โดยใช้สตู รสัมประสิทธิแ์ อลฟา ของครอนบาค ทั้ง 3 สภามหาวิทยาลัยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาที่อยู่ในเกณฑ์การประเมินความ เชื่อถือได้ (Reliability) ในระดับ ดีมาก นอกจากการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) ในภาพรวมของแต่ละสภามหาวิทยาลัย คณะวิจยั ได้มกี ารตรวจสอบคุณภาพของเครือ่ งมือในแต่ละ มิติด้วย ซึ่งปรากฏผลการทดสอบ จ�ำแนกตามกลุ่มตัวอย่าง 3 สภามหาวิทยาลัย ดังรายละเอียด ต่อไปนี้ 3.1 สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตารางที่ 6: แสดงค่ า ที่ ไ ด้ จ ากการทดสอบความเชื่ อ ถื อ ได้ (Reliability) ในแต่ ล ะมิ ติ จาก กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟา

ระดับความเชื่อถือได้ (Reliability)

มิติที่ 1 : บริบท พันธกิจ และเป้าหมาย

0.831

ดี

มิติที่ 2 : ทิศทางการบริหาร

0.925

ดีมาก

มิติที่ 3 : ความเป็นอิสระ

0.936

ดีมาก

มิติที่ 4 : ความรับผิดชอบ

0.869

ดี

มิติที่ 5 : การมีส่วนร่วม

0.919

ดีมาก

มิติ (Dimensions)

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(119-139)P2.indd 134

8/3/59 BE 9:17 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน วีรพงษ์ พลนิกรกิจ อิศรา ประมูลศุข นฤมล รักษาสุข บุรทิน ข�ำภิรัฐ นงเยาว์ สุค�ำภา

135

จากตารางแสดงค่าที่ได้จากการทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) ในแต่ละมิติ จากกลุ่ม ตัวอย่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พบว่า ในมิติที่ 2 ทิศทางการบริหาร มิตทิ ี่ 3 ความเป็นอิสระ และมิตทิ ี่ 5 การมีสว่ นร่วม มีคา่ สัมประสิทธิแ์ อลฟาอยูใ่ นเกณฑ์การประเมิน ความเชื่อถือได้ (Reliability) ในระดับดีมาก ส่วนมิติที่ 1 บริบท พันธกิจ และเป้าหมาย และ มิ ติ ที่ 4 ความรับผิดชอบ มีค่าสัมประสิ ท ธิ์ แ อลฟาอยู ่ ในเกณฑ์ ก ารประเมิ นความเชื่ อ ถื อ ได้ (Reliability) ในระดับ ดี 3.2 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ตารางที่ 7: แสดงค่ า ที่ ไ ด้ จ ากการทดสอบความเชื่ อ ถื อ ได้ (Reliability) ในแต่ ล ะมิ ติ จาก กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟา

ระดับความเชื่อถือได้ (Reliability)

มิติที่ 1 : บริบท พันธกิจ และเป้าหมาย

0.787

พอใช้

มิติที่ 2 : ทิศทางการบริหาร

0.936

ดีมาก

มิติที่ 3 : ความเป็นอิสระ

0.947

ดีมาก

มิติที่ 4 : ความรับผิดชอบ

0.920

ดีมาก

มิติที่ 5 : การมีส่วนร่วม

0.973

ดีมาก

มิติ (Dimensions)

จากตารางแสดงค่าที่ได้จากการทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) ในแต่ละมิติ จาก กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี พบว่า ในมิติที่ 2 ทิศทางการบริหาร มิติที่ 3 ความเป็นอิสระ มิติที่ 4 ความรับผิดชอบ และมิติที่ 5 การมีส่วนร่วม มีค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาอยู่ในเกณฑ์การประเมินความเชื่อถือได้ (Reliability) ในระดับ ดีมาก ส่วนมิติที่ 1 บริบท พั น ธกิ จ และเป้ า หมาย มี ค ่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ แ อลฟาอยู ่ ใ นเกณฑ์ ก ารประเมิ น ความเชื่ อ ถื อ ได้ (Reliability) ในระดับ พอใช้

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(119-139)P2.indd 135

8/3/59 BE 9:17 AM


136

การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

3.3 สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตารางที่ 8: แสดงค่ า ที่ ไ ด้ จ ากการทดสอบความเชื่ อ ถื อ ได้ (Reliability) ในแต่ ล ะมิ ติ จาก กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟา

ระดับความเชื่อถือได้ (Reliability)

มิติที่ 1 : บริบท พันธกิจ และเป้าหมาย

0.751

พอใช้

มิติที่ 2 : ทิศทางการบริหาร

0.937

ดีมาก

มิติที่ 3 : ความเป็นอิสระ

0.932

ดีมาก

มิติที่ 4 : ความรับผิดชอบ

0.917

ดีมาก

มิติที่ 5 : การมีส่วนร่วม

0.913

ดีมาก

มิติ (Dimensions)

จากตารางแสดงค่าที่ได้จากการทดสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) ในแต่ละมิติ จาก กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พบว่า ในมิติที่ 2 ทิศทางการบริหาร มิตทิ ี่ 3 ความเป็นอิสระ มิตทิ ี่ 4 ความรับผิดชอบ และมิตทิ ี่ 5 การมีสว่ นร่วม มีคา่ สัมประสิทธิแ์ อลฟา อยู่ในเกณฑ์การประเมินความเชื่อถือได้ (Reliability) ในระดับ ดีมาก ส่วนมิติที่ 1 บริบท พันธ กิจ และเป้าหมาย มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาอยู่ในเกณฑ์การประเมินความเชื่อถือได้ (Reliability) ในระดับ พอใช้ วิธกี ารเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัยโดยใช้ “University Governance Screening Card” เมื่อด�ำเนินการศึกษา ปรับ และใช้กับสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะวิจัยเห็นว่าเครื่องมือ นี้น่าจะใช้ในการขยายผลการวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการบริหารและการจัดการ มหาวิทยาลัยต่อไปได้ 4. สรุปผล คณะผู้วิจัยได้ศึกษาวิธีการเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัยโดยใช้ “University Governance Screening Card” รวมทั้งแปลแบบสอบถาม และปรับให้เข้า วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(119-139)P2.indd 136

8/3/59 BE 9:17 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน วีรพงษ์ พลนิกรกิจ อิศรา ประมูลศุข นฤมล รักษาสุข บุรทิน ข�ำภิรัฐ นงเยาว์ สุค�ำภา

137

กับบริบทของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยเนื้อหาบางส่วนยังคงไว้ตามต้นแบบเป็นหลัก ตลอดจนน�ำเครื่องมือหรือแบบสอบถามใช้กับกลุ่มตัวอย่าง สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และขยายผลโครงการวิจัยน�ำร่องอีก 2 สภามหาวิทยาลัย ได้แก่ สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พบว่า มิติที่ 1 : บริบท พันธกิจและเป้าหมาย ได้คะแนน 2.35 มิติที่ 2 : ทิศทางการบริหาร ได้ คะแนน 2.69 มิติที่ 3 : ความเป็นอิสระ ได้คะแนน 4.48 มิติที่ 4 : ความรับผิดชอบ ได้คะแนน 3.58 และมิติที่ 5 : การมีส่วนร่วม ได้คะแนน 1.36 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี พบว่า มิติที่ 1 : บริบท พันธกิจและเป้าหมาย ได้คะแนน 2.35 มิติที่ 2 : ทิศทางการบริหาร ได้คะแนน 2.58 มิติที่ 3 : ความเป็นอิสระ ได้คะแนน 3.55 มิติที่ 4 : ความรับผิดชอบ ได้คะแนน 2.80 และมิติที่ 5 : การมีส่วนร่วม ได้คะแนน 1.77 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พบว่า มิติที่ 1 : บริบท พันธกิจและเป้าหมาย ได้คะแนน 1.84 มิติที่ 2 : ทิศทางการบริหาร ได้คะแนน 2.28 มิติที่ 3 : ความเป็นอิสระ ได้คะแนน 4.04 มิติที่ 4 : ความรับผิดชอบ ได้คะแนน 3.09 และ มิติที่ 5 : การมีส่วนร่วม ได้คะแนน 1.17 จากการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ University Governance Screening Card โดยทดสอบความเชื่ อ ถื อ ได้ (Reliability) ของแบบวั ด ความสอดคล้ อ งภายใน (Internal Consistency Reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ผลการทดสอบ พบว่า เครื่องมือที่ใช้กับสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.963 อยู่ในเกณฑ์การประเมินความเชื่อถือได้ (Reliability) ในระดับ ดีมาก เครื่องมือที่ใช้กับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.980 อยู่ในเกณฑ์การประเมินความเชื่อถือได้ (Reliability) ในระดับ ดีมาก และเครื่องมือที่ใช้กับ สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีคา่ สัมประสิทธิแ์ อลฟาเท่ากับ 0.973 อยูใ่ นเกณฑ์การประเมินความ เชื่อถือได้ (Reliability) ในระดับ ดีมาก เช่นเดียวกัน เมื่อด�ำเนินการศึกษา ปรับ และใช้เครื่องมือ University Governance Screening Card กับสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และสภามหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ คณะผู้วิจัยเห็นว่าเครื่องมือดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่น่าจะใช้ในการขยายผลการวิจัย เพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัยต่อไปได้

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(119-139)P2.indd 137

8/3/59 BE 9:17 AM


138

การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

5. อภิปรายผล การศึกษาวิจัยครั้งนี้มิได้เป็นการประเมินเพื่อเปรียบเทียบ แต่เป็นการส�ำรวจเพื่อเป็น กระจกเงาสะท้อนในกรอบของบทบาทอ�ำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยในแต่ละสถาบัน อันประกอบด้วย สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และ สภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อประเมินผลตามที่ก�ำหนดเพื่อเทียบระดับระหว่างประสบการณ์ และข้อคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม ตามบริบทของแต่ละสถาบัน จากการศึกษาพบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้ง 3 สถาบัน มีล�ำดับค่าคะแนนเหมือนกัน คือ มิติที่มีค่าคะแนนสูงที่สุด ได้แก่ มิติที่ 3 : ความเป็นอิสระ รองลงมาคือ มิติที่ 4 : ความรับผิดชอบ มิติที่ 2 : ทิศทาง การบริหาร มิติที่ 1 : บริบท พันธกิจและเป้าหมาย และมิติที่ 5 : การมีส่วนร่วมมีคะแนนที่ต�่ำที่สุด ตามล�ำดับ ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลนีส้ ะท้อนให้เห็นว่าเมือ่ วัดด้วยเครือ่ งมือนีท้ ำ� ให้ได้ผลระดับคะแนน ทีแ่ ตกต่างกันตามบริบทของสถาบันแต่ละแห่ง ซึง่ สภามหาวิทยาลัย แต่ละแห่ง อาจน�ำไปพิจารณา ปรับปรุงในมิติใด หรือเรื่องใดตามความประสงค์หรือเห็นว่าเหมาะสม หรือควรปรับปรุงในเรื่องใด เพื่อปรับปรุงการท�ำงานของสภามหาวิทยาลัย จากการตรวจสอบคุณภาพของเครือ่ งมือ โดยทดสอบความเชือ่ ถือได้ (Reliability) ของแบบ วัดความสอดคล้องภายใน (Internal Consistency Reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ผลการทดสอบ พบว่า ทั้ง 3 สภามหาวิทยาลัย มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาที่อยู่ในเกณฑ์การประเมินความเชื่อถือได้ (Reliability) ในระดับ ดีมาก บ่งบอกว่าเครื่องมือที่ใช้มีความเชื่อถือได้ (Reliability) สูง วิธกี ารเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัยโดยใช้ “University Governance Screening Card” สามารถขยายผลให้เป็นส่วนหนึง่ ของการวิจยั เพือ่ น�ำผลมาปรับปรุงการบริหาร และการจัดการมหาวิทยาลัยได้ โดยเฉพาะในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการด�ำเนินงาน ของสภามหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยได้

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(119-139)P2.indd 138

8/3/59 BE 9:17 AM


วิจิตร ศรีสอ้าน วีรพงษ์ พลนิกรกิจ อิศรา ประมูลศุข นฤมล รักษาสุข บุรทิน ข�ำภิรัฐ นงเยาว์ สุค�ำภา

139

เอกสารอ้างอิง วิจิตร ศรีสอ้าน. (มีนาคม 2556). การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย [สไลด์ เพาเวอร์พอยต์]. Edwards, K. (2000). International Aspects of Benchmarking International Conference on Quality Assurance in Higher Education. 41-46. George, D. & Mallery, P. (2003). SPSS for Windows Step by Step : A Sample Guide & Reference. Boston : Allyn & Bacon. Jaramillo, A., Manuel, J., & Demenet, A., et al. (2012). Universities through the Looking Glass. The World Bank. Jaramillo, A.. (2013) Senior Education Specialist of World Bank. Interview, 16 May 2013. Nunnally, J. C., & Bearden, I. H. (1994). Psychometric Theory. (3 rd ed.). New York: McGraw - Hill.

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(119-139)P2.indd 139

8/3/59 BE 9:17 AM


140

ข้อแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียน

ข้อแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียน วารสารสหกิจศึกษาไทยเป็นวารสารที่พิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านสหกิจศึกษา จัดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ต้องมีคุณค่าทางวิชาการอย่างเด่นชัด และต้อง ไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร รายงาน หรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณา ของวารสารอื่น ทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ ได้ผ่านการตรวจสอบเชิงวิชาการจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ การจัดเตรียมต้นฉบับ ผลงานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ต้นฉบับ พิมพ์ในกระดาษขาว พิมพ์หน้าเดียวเว้นขอบซ้ายและขอบขวา 1.5 นิ้ว ระยะบรรทัด แบบ Double-Spacing พร้อมระบุหมายเลขหน้า ความยาวของเรื่องพร้อมตาราง แผนภูมิ และภาพ ประกอบไม่ควรเกิน 15 หน้า ประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้ 1. ชื่อเรื่อง (Title) ควรกะทัดรัด ไม่ยาวจนเกินไป 2. ชื่อผู้เขียน (Authors) ชื่อเต็ม-นามสกุลเต็ม (ไม่ต้องมีค�ำน�ำหน้าชื่อ) ของผู้เขียนครบ ทุกคน ส�ำหรับผู้เขียนที่ให้การติดต่อให้ใส่ชื่อหน่วยงานและ E-mail พร้อมลงเครื่องหมาย ดอกจัน (*) ก�ำกับ 3. บทคัดย่อ (Abstract) จัดท�ำทัง้ ภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยสรุปประเด็นส�ำคัญ ของเนื้อหาบทความ เช่น วัตถุประสงค์ วิธีการและผลลัพธ์ที่ส�ำคัญ ความยาวของบทคัดย่อ แต่ละภาคไม่เกิน 300 ค�ำ 4. ค�ำส�ำคัญ (Keywords) ก�ำหนดค�ำส�ำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษประเภทละ 2-4 ค�ำ 5. เนื้อเรื่องส�ำหรับบทความวิจัย (Research Papers) ใช้หัวข้อดังนี้ 5.1 บทน�ำ (Introduction) เพือ่ อธิบายถึงความส�ำคัญของปัญหาและวัตถุประสงค์ของ การวิจัย รวมถึงการปริทัศน์วรรณกรรม (Literature Review) 5.2 เครื่องมือวิจัยและวิธีการวิจัย (Research Tools and Methodology) อธิบาย เครื่องมือพร้อมวิธีการวิจัยให้ชัดเจน

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(140-144)P2.indd 140

8/3/59 BE 9:17 AM


ข้อแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียน

141

5.3 ผลการวิจัย (Results) เสนอผลการวิจัยอย่างชัดเจน ตรงประเด็น ควรมีรูปภาพ และ/หรือตารางประกอบการอธิบายผลในตาราง รูปภาพ ให้วางรูปภาพใกล้ตำ� แหน่งทีอ่ า้ งถึงในบทความ โดยใส่ชอื่ รูปภาพไว้ใต้ภาพ และใช้เลขอารบิกส�ำหรับเลขที่รูปภาพ ตาราง ให้วางตารางใกล้ต�ำแหน่งที่อ้างถึงในบทความ โดยใส่ชื่อตารางไว้ด้านบน ของตารางและใช้เลขอารบิกส�ำหรับเลขที่ตาราง 5.4 การอภิปรายผล (Discusion) เป็นการอภิปรายผลการวิจยั เพือ่ ให้ผอู้ า่ นมีความเห็น คล้อยตามโดยเปรียบเทียบกับผลการวิจยั ของผูอ้ นื่ เพือ่ เสนอลูท่ างทีจ่ ะใช้ประโยชน์หาข้อยุตใิ นการ วิจัยบางอย่าง ฯลฯ ผลการวิจัยและการอภิปรายผล (Results and Discussion) อาจน�ำมาเขียน ไว้ในตอนเดียวกันก็ได้ 5.5 บทสรุป (Conclusion) สรุปประเด็นและสาระส�ำคัญของงานวิจัย 5.6 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) อาจมีหรือไม่มีก็ได้เพื่อแสดงความ ขอบคุณแก่ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการวิจัยและเตรียมเอกสาร 5.7 เอกสารอ้างอิง (References) รายชื่อเอกสารที่ใช้อ้างอิงในการด�ำเนินงานวิจัย ให้จัดเรียงตามล�ำดับอักษร และน�ำรายการอ้างอิงภาษาไทยขึ้นก่อน การอ้างถึงเอกสารในเนื้อเรื่องของบทความ การอ้างถึงเอกสารในเนื้อเรื่อง (In-text Citations) ให้ใช้ระบบนามปี (Name-year System) คือ เริม่ ด้วยชือ่ ผูแ้ ต่งแล้วตามด้วยปีทเี่ ผยแพร่เอกสารนัน้ ถ้าเป็นเอกสารภาษาอังกฤษใช้เพียง ชือ่ สกุลน�ำหน้าแล้วตามด้วยปีทเี่ ผยแพร่เอกสาร ถ้าเป็นเอกสารภาษาไทยใช้ชอื่ ต้นน�ำหน้าตามด้วย นามสกุลและปีที่เผยแพร่เอกสาร ทั้งนี้ ถ้ามีผู้แต่ง 2 คน ให้ใส่ชื่อให้ครบทุกคนแต่ถ้าเกิน 2 คน ให้ใส่ชื่อเฉพาะคนแรกแล้วตามด้วย “และคณะ” (ถ้าเป็นบทความภาษาอังกฤษใช้ “et al.,”) ตัวอย่าง: ปี ค.ศ. 1906 เฮอร์แมน ชไนเดอร์ (Herman Schneider) ศาสตราจารย์ ด้านวิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย ซินซินนาติ (Cincinnati University) ได้เสนอแนวคิด “การเรียนรู้ด้วยการท�ำงาน” (Work-based Learning) เพื่อแก้ปัญหาความคิดรวบยอดและ ทักษะทีเ่ กีย่ วกับวิชาชีพของนักศึกษาไม่สามารถจัดการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพในชัน้ เรียนและ การท�ำงานนอกเวลาของนักศึกษาในระหว่างเรียนเป็นงานไม่มีคุณภาพ (Knowles and Sovilla, 1988) ซึ่งมหาวิทยาลัยชั้นน�ำของประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลานั้น (Elite Institution) มัก ต่อต้านการจัดการศึกษาที่เน้นการฝึกปฏิบัติ (Ryder, 1987) เนื่องจากมีทัศนคติที่ว่าการให้ความ รู้อยู่ที่มหาวิทยาลัย แต่การฝึกทักษะอยู่ที่ศูนย์ฝึกอาชีพ (Sorg et al., 1996) อย่างไรก็ตาม ลิสต์

Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(140-144)P2.indd 141

8/3/59 BE 9:17 AM


142

ข้อแนะน�ำส�ำหรับผู้เขียน

(List) (1996) เห็นว่ามหาวิทยาลัยต้องให้ความมั่นใจแก่สมาคมการค้าและองค์กรวิชาชีพด้วยว่า ผู้ส�ำเร็จการศึกษาต้องได้รับการฝึกวิชาชีพตามคุณวุฒิที่ส�ำเร็จการศึกษา การเขียนเอกสารอ้างอิง (References) ให้ใช้แบบแผนการอ้างอิงของ American Psychological Association (APA Style th 6 ed.) การส่งต้นฉบับ ส่งต้นฉบับในรูปไฟล์ Word (Microsoft Office) นามสกุล .doc หรือ .docx มาที่ E-mail: tace@sut.ac.th พร้อมยืนยันการจัดส่งที่โทรศัพท์หมายเลข 044-22 3105 หรือโทรสาร หมายเลข 044-223053

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(140-144)P2.indd 142

8/3/59 BE 9:17 AM


Notes for Contributors

143

Notes for Contributors

Thai Journal of Cooperative Education is a biannual official publication of Thai Association for Cooperative Education, aiming to be a medium for disseminating academic and research articles in the field of cooperative education produced by local and international lecturers, academics, and graduate students, as well as to be a resource for interested people to keep themselves updated with the development in cooperative education. Thai Journal of Cooperative Education is open to all schools of thought and methodological approaches. The editors welcome articles for publication in future issues of the journal. Articles must be original and not currently under review elsewhere. Submitted articles are subject to a blind, peer review process. Please adhere to the guidelines below when preparing submission for the journal. - Academic Article 10-20 pages - Research Article 10-25 pages - Article Review 10-25 pages (All manuscripts will be subject to anonymous peer review.) Format of submissions Manuscripts can be in English or Thai. Thai manuscript must be prepared using TH SarabunPSK 16 point, and English manuscript must be prepared using Times New Roman 12 point; 1.0 inch margins. Title: Should be concise and informative. Authors: Give the full name of all authors (no title), their affiliations and addresses. Please specify a corresponding author with an asterisk (*). Abstract: Not exceeding 300 words. Clearly summarize the important findings of the paper. It should contain hard facts such as objectives, methods and major results. (Every manuscript must have both Thai and English versions for title, authors and abstract. The English version is presented before the Thai version.) Thai Journal of Cooperative Education Volume 2 Number 2 (July - December 2016)

_16-0782(140-144)P2.indd 143

8/3/59 BE 9:17 AM


144

Notes for Contributors

Keywords: Provide 4-6 keywords which can be used as an index to direct readers to articles. Figures: Figures must be placed near their references. Caption and number of a figure must be located below the figure. Please ensure that your figures are clear when printed with black and white printers. Tables: Tables must be placed near their references. Caption and number of a table must be located above the table. Acknowledgments (if any): List sources of financial or material support and the names of individuals whose contributions were significant but not deserving of authorship. References: List all works cited in the text and only these. List them in alphabetical order by author name. APA Style 6th version is suggested. In-text Citations: Name-Year Citation Style must be used for citing in the text.

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

_16-0782(140-144)P2.indd 144

8/3/59 BE 9:17 AM


วารสารสหกิจศึกษาไทย Thai Journal of Cooperative Education

Thai Journal of Cooperative Education

เจ้าของ: สมาคมสหกิจศึกษาไทย ที่ปรึกษา: นายกสมาคมสหกิจศึกษาไทย (ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน) วัตถุประสงค์: เพื่ อ เป็ น สื่ อ กลางเผยแพร่ ผ ลงานประเภทบทความวิ จั ย และบทความวิ ช าการด้ า นสหกิ จ ศึ ก ษาของอาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศ ตลอดจนเป็นแหล่งข้อมูลส�ำหรับผู้สนใจ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านสหกิจศึกษา บรรณาธิการ: ดร.นฤมล รักษาสุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กองบรรณาธิการ: การศึกษา 1. รองศาสตราจารย์ ดร.ไทย ทิพย์สุวรรณกุล นักวิชาการอิสระ 2. ดร.สุเมธ แย้มนุ่น นักวิชาการอิสระ 3. ดร.อลงกต ยะไวทย์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล การจัดการ และการท่องเที่ยว 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลลดา มงคลวนิช มหาวิทยาลัยสยาม 2. อาจารย์ ดร.สรียา วิจิตรเสถียร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัชนี นนทศักดิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา เกษตรศาสตร์ 1. ดร.พิพัฒน์ วีระถาวร นักวิชาการอิสระ 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ทีฆชุณหเถียร บริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) 3. รองศาสตราจารย์ ดร.จักรพงษ์ พวงงามชื่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.วีรพงษ์ พลนิกรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรา อั่งสกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 3. อาจารย์ปรัชญาพร เลี้ยงสุทธิสกนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ภาษาอังกฤษ 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศรา ประมูลศุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 2. ดร.เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 3. ดร.พัชราพร รัตนวโรภาส มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิศวกรรมศาสตร์ 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญชัย วิจิตรเสถียร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 2. ดร.ธีระสุต สุขก�ำเนิด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 3. ดร.กิตติวัณณ์ นิ่มเกิดผล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ฝ่ายจัดการและธุรการ: นางสาวเกศินี เกิดถาวร ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ กองบรรณาธิการวารสารสหกิจศึกษาไทย สมาคมสหกิจศึกษาไทย 111 ถนนมหาวิทยาลัย ต�ำบลสุรนารี อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000 โทรศัพท์: 0 4422 3105 โทรสาร: 0 4422 3053 เว็บไซต์: www.tace.or.th อีเมล์ : tace@sut.ac.th

Owner: Thai Association for Cooperative Education Honorary Consultant: President of Thai Association for Cooperative Education (Professor Dr. Wichit Srisa-an) Objective: To become a medium for disseminating academic and research articles in the field of cooperative education produced by local and international lecturers, academics, and graduate students, as well as to be a resource for interested people to keep themselves updated with the development in cooperative education. Editor-in Chief: Dr.Narumol Ruksasuk Suranaree University of Technology Editors: Agricultural Science 1. Dr.Pipat Weerathaworn Independent Academic 2. Assistant Professor Dr.Thawatchai Teekachunhatean CP ALL Public Company Limited 3. Associate Professor Dr.Jukkaphong Poungngamchuen Maejo University Education 1. Associate Professor Dr.Thai Tipsuwannakul Independent Academic 2. Dr.Sumate Yamnoon Walailak University 3. Dr.Alongkot Yawai Vongchavalitkul University Engineering 1. Assistant Professor Dr.Boonchai Wichitsathian Suranaree University of Technology 2. Dr.Terasut Sookkumnerd Suranaree University of Technology 3. Dr.Kittiwann Nimkerdphol Rajamangala University of Technology Thanyaburi English 1. Assistant Professor Dr.Issra Pramoolsook Suranaree University of Technology 2. Dr.Ketwadee Buddhabhumbhitak Naresuan University 3. Dr.Patcharaporn Ratthanawaropad Sripatum University Information Technology 1. Associate Professor Dr.Weerapong Polnigongit Suranaree University of Technology 2. Assistant Professor Dr.Thara Angskun Suranaree University of Technology 3. Ms. Prachyaporn Liangsutthisakon King Mongkut’s University of Technology North Bangkok Management and Tourism 1. Assistant Professor Dr.Chollada Mongkhonvanit Siam University 2. Dr.Sareeya Wichitsathian Suranaree University of Technology 3. Assistant Professor Patchanee Nontasak Burapha University Publishing Editor: Miss Kesinee Kerdthaworn The Center for Cooperative Education and Career Development Suranaree University of Technology All inquiries should be sent to the editor Thai Journal of Cooperative Education Office Thai Association for Cooperative Education (TACE) 111 University Avenue, Sub District Suranaree, Muang District, Nakhon Ratchasima 30000, THAILAND Tel.: +66 44 223105 Fax: +66 4422 3053 Website: http://www.tace.or.th E-mail: tace@sut.ac.th

_16-0782 cover(P2).indd 2

บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารได้ผ่านการตรวจสอบเชิงวิชาการจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่านต่อบทความ ลิขสิทธิ์ของบทความที่ลงพิมพ์ในวารสารฉบับนี้เป็นของสมาคมสหกิจศึกษาไทย

All articles are subject to peer review prior to publication. The Thai Association for Cooperative Education owns the copyright of all the articles published in this journal.

8/3/59 BE 9:15 AM


สารบัญ 1

บทบรรณาธิการ การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ วิจิตร ศรีสอ้าน กัณทิมา ศิริจีระชัย เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์ บุญชัย วิจิตรเสถียร สุนิติยา เถื่อนนาดี อิศรา ประมูลศุข

43

เหลียวหลัง แลหน้า การจัดสหกิจศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เอกราช แก้วเขียว

64

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ณัชติพงศ์ อูทอง

78

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของสถานประกอบการ: กรณีศึกษา บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จ�ำกัด ธีรศักดิ์ สงวนมานะศักดิ์

97

Workshop on Development of Cooperative and Work-Integrated Education in Thailand Wichit Srisa-an

109

Current State and Challenges of Industry-University Cooperative Education in ASEAN Countries: What can Japan learn as a late starter? Wichit Srisa-an

119

การเทียบระดับการบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วิจิตร ศรีสอ้าน วีรพงษ์ พลนิกรกิจ อิศรา ประมูลศุข นฤมล รักษาสุข บุรทิน ข�ำภิรัฐ นงเยาว์ สุค�ำภา

วารสารสหกิจศึกษาไทย ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2016

29

การจัดสหกิจศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี บุญชัย วิจิตรเสถียร กมลวรรณ บัณฑิตสาธิสรรค์ ศิริรัชนี ฉายแสง และ ผ่องพัตรา บุญระมาตร

วารสาร

www.tace.or.th

สหกิจศึกษาไทย

Thai Journal of Cooperative Education

ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2016

กองบรรณาธิการวารสารสหกิจศึกษาไทย สมาคมสหกิจศึกษาไทย

เลขที่ 111 ถนนมหาวิทยาลัย ต�ำบลสุรนารี อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000 โทรศัพท์ 044-223-058 โทรสาร 044-223-053 E-mail: tace@sut.ac.th Website: www.tace.or.th _16-0782 cover(P2).indd 1

8/3/59 BE 9:15 AM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.