ผู้เขียน ลีเมียงซิก บรรณาธิการ นอร์แมน ธอร์ป ผู้แปล กุลชีพ วรพงษ์
ประวั ต ิ ขบวนการ
ประชาธิปไตย เกาหลี The History of the Democratization Movement in Korea
ค�ำอุทิศของผู้แปล แด่ รองศาสตราจารย์ ดร.อภิญญา รัตนมงคลมาศ ครูผู้เป็นมิตร และ มิตรผู้เป็นครู
ประวัติ
ขบวนการ ประชาธิปไตย เกาหลี
ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี ผู้เขียน ลีเมียงซิก บรรณาธิการ นอร์แมน ธอร์ป ผู้แปล กุลชีพ วรพงษ์ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data
ลีเมียงซิก. ประวัตขิ บวนการประชาธิปไตย.-- กรุงเทพฯ : พี.เพรส , 2555. 160 หน้า. 1. เกาหลี--ประวัตศิ าสตร์. 2. เกาหลี--การเมืองและการปกครอง. I. กุลชีพวรพงษ์, ผู้แปล. II. . 951.9 ISBN 978-974-7216-82-0
ฉบับภาษาไทย พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม ๒๕๕๕ จัดพิมพ์โดย สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย 273/11 ซ.พงษ์เพชรนิเวศน์ ถ.ประชาชื่น แขวง/เขต จตุจักร กทม. 10900 รูปเล่ม ปฏิภาณ สานแสงอรุณ พิมพ์ที่ บริษัท พี.เพรส จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐-๒๗๔๒-๔๗๕๔-๕ โทรสาร ๐-๒๓๓๑-๕๑๐๗ ราคา ๑๕๐ บาท 4 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ผู้เขียน ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) ลีเมียงซิก จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกาหลี เป็นนักกิจกรรมที่อุทิศตนให้กับขบวนการประชาธิปไตยในช่วง ปลายทศวรรษที่ ๑๙๗๐ และช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ และได้รับการ ยกย่องเชิดชูในฐานะที่มีคุณูปการต่อประชาธิปไตยจากเหตุการณ์การ ลุกขึ้นสู้ของประชาชนกวางจูเมื่อ ๑๘ พฤษภาคม เขาเป็นหนึ่งในคณะ บริหารหน่วยเยาวชนเพือ่ ขบวนการประชาธิปไตยในช่วงกลางทศวรรษที่ ๑๙๘๐ และในระหว่างปี ๒๕๔๓-๒๕๔๕ เขาด�ำรงต�ำแหน่งเป็นรองโฆษก พรรคประชาธิปไตย (Democratic Party) ปัจจุบนั เขาด�ำรงต�ำแหน่งเป็น ผูอ้ ำ� นวยการบริหารสถาบันส�ำนึกในการกระท�ำ ซึง่ จัดตัง้ ขึน้ เพือ่ สืบทอด เจตนารมณ์ของอดีตประธานาธิบดีคิมแดจุงผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขา สันติภาพในปี ๒๕๔๓
บรรณาธิการ นอร์แมน ธอร์ป (Norman Thorpe) นอร์แมน ธอร์ป เป็นผูส้ อื่ ข่าวประจ�ำกรุงโซลของหนังสือพิมพ์ ดิอาเซียนวอลสตรีทเจอร์นัล ซึ่งติดตามการเคลื่อนไหวของขบวนการ ประชาธิปไตยในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๗๐ และต้นทศวรรษที่ ๑๙๘๐ จบ การศึกษาปริญญาโททางด้านเกาหลีศึกษา จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ปัจจุบนั สอนหนังสือเกีย่ วกับเกาหลีทมี่ หาวิทยาลัยวิธเวอร์ท รัฐวอชิงตัน และที่มหาวิทยาลัยฮันคุก กรุงโซล
ผู้แปล กุลชีพ วรพงษ์ สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 5
ค�ำน�ำ แม้จะต้องเผชิญกับความยากล�ำบากในช่วงสงครามเกาหลี, ความแตกแยกภายในชาติ, และทีต่ งั้ ทางภูมริ ฐั ศาสตร์ของคาบสมุทรเกาหลีเป็น ด่านหน้าของสงครามเย็น แต่ประชาชนเกาหลีกไ็ ด้ตอ่ สูอ้ ย่างไม่ลดระครัง้ แล้ว ครัง้ เล่ากับผูป้ กครองเผด็จการและน�ำพาประเทศเข้าสูห่ นทางประชาธิปไตย ได้ในทีส่ ดุ ประเทศชาติจะไม่มวี นั บรรลุถงึ ความเป็นประชาธิปไตยและสังคม ที่มีพลวัติถ้าหากไม่มีผู้เสียสละอันสูงส่งในบรรดานักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และขบวนการต่อต้านเผด็จการที่เกิดขึ้นอย่างไม่ขาดสาย พวกเขาเหล่านัน้ ได้โค่นล้มรัฐบาลเผด็จการซิงมันรีในระหว่างการ ปฏิวตั เิ ดือนเมษายน ต่อสูค้ ดั ค้านรัฐบาลปักจุงฮีในประเด็นการเจรจาสงบศึก กับญี่ปุ่น คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยืดระยะเวลาการครองต�ำแหน่ง ประธานาธิบดี คัดค้านการเข้าควบคุมครอบง�ำมหาวิทยาลัยโดยผ่านการ อบรมวิชาทหาร คัดค้านรัฐธรรมนูญยูชนิ ทีเ่ ป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ ขบวนการ ประชาธิปไตยได้ลกุ ขึน้ ต่อสูก้ บั เผด็จการทหารในระหว่างการลุกขึน้ สูท้ เี่ มือง กวางจู และการเคลื่อนไหวระลอกแล้วระลอกเล่าในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ ซึ่งน�ำมาสู่การลุกขึ้นสู้ในเดือนมิถุนายน ๒๕๓๐ เราอยากจะแบ่งปันประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ของการต่อสู้เพื่อ สร้างสรรค์ประชาธิปไตยที่อาบด้วยเลือดเนื้อและน�้ำตาของคนนับล้าน นี้กับเพื่อนมิตรในที่ต่างๆ ทั่วโลก ด้วยหวังว่าจะช่วยเผยแพร่ความทรงจ�ำ ทางประวั ติ ศ าสตร์ อั น ชอบธรรมของเราในหมู ่ ผู ้ อุ ทิ ศ ตนใหั กั บ คุ ณ ค่ า ประชาธิปไตยทั่วทุกมุมโลก ส�ำหรับนักประชาธิปไตยเกาหลี เราก็หวังว่า นี่จะเป็นรากฐานของการย้อนทบทวนความเป็นมาของตนเอง 6 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อให้ชาวต่างชาติได้เข้าใจง่ายๆ และถูกต้องถึง การเปลีย่ นแปลงไปสูป่ ระชาธิปไตยของเกาหลี พร้อมกับช่วยให้มองเห็นสภาวะของ สังคมและประชาธิปไตยในปัจจุบนั หนังสือเล่มนีจ้ ะฉายภาพให้เห็นถึงความจ�ำเป็น ทางประวัตศิ าสตร์ของการเคลือ่ นไหวประชาธิปไตยในเกาหลีโดยล�ำดับเหตุการณ์ที่ เป็นพัฒนาการส�ำคัญในแต่ละช่วงและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลัง เหตุการณ์เหล่านั้น รวมทั้งจะอธิบายถึงทั้งผลส�ำเร็จและข้อจ�ำกัดของการพัฒนา ประชาธิปไตยในช่วงก่อนปี ๒๕๓๐ ตลอดจนความท้าทายในอนาคตที่เผชิญหน้า ประชาธิปไตยในเกาหลี เหตุการณ์รว่ มสมัยเหล่านัน้ เมือ่ ได้กลายเป็นส่วนหนึง่ ของประวัตศิ าสตร์ จะเป็นบ่อเกิดของการทบทวนส�ำรวจตน และเป็นพืน้ ฐานของการก้าวไปข้างหน้า เรา หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะท�ำให้ประวัติศาสตร์ขบวนการประชาธิปไตยที่เราภาคภูมิใจ กลายเป็นสมบัติที่มีค่าของมนุษยชาติที่ปรารถนาจะเห็นโลกที่ดีกว่านี้ เราหวังว่า ผู้อ่านทั่วโลกมีจะความสนใจในหนังสือเล่มนี้และให้ความ เอาใจใส่อย่างต่อเนื่องในการพัฒนาประชาธิปไตยและสันติภาพของเกาหลี และ ของโลก สุดท้ายนี้ เราขอส่งความปรารถนาดีและเห็นอกเห็นใจกับผู้ที่ก�ำลัง อุทิศตนและเสียสละเพื่อบรรลุซึ่งประชาธิปไตยในที่ต่างๆ ทั่วโลก เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ บาทหลวงเซอุง ฮัม ประธานมูลนิธิประชาธิปไตยเกาหลี ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 7
สารบัญ ภาคที่ ๑ บทน�ำ
พลังน�ำในขบวนการประชาธิปไตย พัฒนาการของขบวนการประชาธิปไตย ผลส�ำเร็จและสิ่งท้าทายขบวนการประชาธิปไตย
ภาคที่ ๒
๑๒ ๑๕ ๑๘ ๒๐
สังคมเกาหลีและขบวนการประชาธิปไตย ๒๒ ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๖๐ (๒๕๐๓-๒๕๑๒) การปลดแอก การแบ่งแยก และสงครามเกาหลี ๔ การคอรัปชั่น ความไร้ประสิทธิภาพ ๒๗ ของรัฐบาลซิงมันรี และความไม่พอใจของประชาชน ๒๙ การโกงเลือกตั้ง ๑๕ มีนาคม ๒๕๐๓ และการปฎิวัติเดือนเมษายน สาธารณรัฐที่สอง : การเติบโตของประชาธิปไตย ๓๖ และการรัฐประหาร ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๐๔ การจัดตั้งรัฐบาลปักจุงฮี ๓๙ และการประท้วงคัดค้านสนธิสัญญาเกาหลี-ญี่ปุ่น การให้สัตยาบันสนธิสัญญาเกาหลี-ญี่ปุ่น ๔๓ สงครามเวียดนาม และกฤษฎีกาส่งทหารประจ�ำการ การทุจริตเลือกตั้ง ๘ มิถุนายน ๒๕๑๐ และการ ๔๕ แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยืดเวลาครองอ�ำนาจของปักจุงฮี 8 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ภาคที่ ๓
ขบวนการประชาธิปไตยในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๗๐ (๒๕๑๓-๒๕๒๒) ๕๐ ลักษณะเด่นของขบวนการประชาธิปไตย ๕๒ ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๗๐ การเลือกตั้งในปี ๒๕๑๔ และการระเบิดขึ้น ๕๔ ของความขัดแย้งทางสังคม แถลงการณ์ร่วมของสองประเทศเกาหลี ๕๘ และการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญยูชิน ขบวนการประชาธิปไตยภายใต้การปกครอง ๖๑ โดยรัฐธรรมนูญยูชิน กฤษฎีกาภาวะฉุกเฉินฉบับที่ ๑ และ ๔ ๖๒ และการปราบปรามขบวนการประชาธิปไตย กฤษฎีกาภาวะฉุกเฉินฉบับที่ ๙ ๖๖ และขบวนการประชาธิปไตย การขยายตัวของขบวนการประชาธิปไตย ๖๙ การสิ้นสุดของการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญยูชิน ๗๔ รัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง คณะทหารชุดใหม่ ๘๒ และฤดูใบไม้ผลิของกรุงโซล
ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 9
ภาคที่ ๔
ขบวนการประชาธิปไตยในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ (๒๕๒๓-๒๕๓๒) ๘๔ ปฐมบทก่อนจะถึงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ ๘๗
การลุกขึ้นสู้ของประชาชนเมืองกวางจู การขึ้นครองของอำนาจของรัฐบาลชุนดูฮวาน การฟื้นตัวของขบวนการประชาธิปไตย ๑๐๓ การเติบใหญ่ของขบวนการประชาธิปไตย ๑๐๖ และการเลือกตั้งรัฐสภาปี ๒๕๓๐ พัฒนาการของการต่อสู้อย่างมีแนวร่วม ๑๑๐ การเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๑๑๕ และวิกฤตในขบวนการประชาธิปไตย การเสียชีวิตจากการทรมาน ๑๒๐ และค�ำปฏิเสธแก้ไขรัฐธรรมนูญของชุนดูฮวาน การลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายน และค�ำประกาศวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๑๒๖
10 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ภาคที่ ๕
การเติบโตและสิ่งท้าทายของขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี นับแต่การลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายน รัฐบาลโรแตวู : ช่วงเปลี่ยนผ่านการปกครอง จากโดยทหารมาเป็นพลเรือน รัฐบาลคิมยองซัม : ผลส�ำเร็จและข้อจ�ำกัด ของการปฏิรูปโดยรัฐบาลพลเรือน รัฐบาลคิมแดจุง : ผลส�ำเร็จและข้อจ�ำกัด ของรัฐบาลของประชาชน รัฐบาลโรมูฮยุน : ผลส�ำเร็จและข้อจ�ำกัด ของรัฐบาลที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
ภาคที่ ๖
บทสรุป พัฒนาการอย่างมีพลวัตรของขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี ความท้าทายของประชาธิปไตยเกาหลี
๑๓๒ ๑๓๔ ๑๓๘ ๑๓๙ ๑๔๑
๑๔๔ ๑๔๖ ๑๕๐
ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 11
Najin
Tu
m
an
Fushun Shenyang
Ch'ongjin
Yalu
Kanggye
NORTH KOREA
Sin≤iju
Hamh≤ng
PYONGYANG
Wonsan
SEOUL
SOUTH KOREA
Taejon
ng
Inch'on to
YELLOW SEA
SEA OF JAPAN
Kangn≤ng
Nak
Oki-Shotò
Taegu Chonju
Kwangju
Masan
Pusan
Mokp'o
JAPAN
Hiroshima
Ko rea St ra it
Tsushima
Kitakyùshù Sasebo
Cheju-Do
EAST CHINA SEA 0 km
100
200
Gotò-Rettò
300 km
GEOATLAS - Copyright1998 Graphi-Ogre
12 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
Nagasaki
Okayama
Matsuyama Òita
Kumamoto
Kyùshù Kagoshima
ภาคที่ บทน�ำ
๑
ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 13
ภาคที่
๑
บทน�ำ
ภายหลังจากการปลดแอกจากการปกครองแบบอาณานิคมของญี่ปุ่น ในปี ๒๔๘๘ เกาหลีต้องต่อสู้ดิ้นรนท่ามกลางความแตกแยกในชาติ สงคราม ระหว่างพี่น้องร่วมชาติ และการปกครองภายใต้อ�ำนาจเผด็จการอย่างยาวนาน จนในที่สุดประเทศเกาหลีจึงได้เปลี่ยนมาเป็นชาติที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ มีประชาธิปไตยที่มีชีวิตชีวา อันเป็นผลส�ำเร็จที่อีกหลายประเทศซึ่งได้รับเอกราช ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ปรารถนาจะบรรลุถึงเช่นเดียวกันแต่ไม่อาจท�ำได้
การลุกขึ้นสู้เดือนเมษายน ๒๕๐๓
14 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
เบื้องหลังประวัติศาสตร์อันน่าตื่นตาตื่นใจนี้คือประชาชนจ�ำนวนมาก ที่เป็นวีรชนนิรนามผู้หลั่งเลือด หยาดเหงื่อและคราบน�้ำตาสร้างความมหัศจรรย์ แห่งลุม่ น�ำ้ ฮัน บนเถ้าถ่านจากสงครามและการโค่นล้มผูป้ กครองทรราชย์ทกี่ ดขี่ คอรัปชัน่ และไร้ประสิทธิภาพครั้งแล้วครั้งเล่า ความส�ำเร็จของประชาธิปไตยในเกาหลีเกิดขึ้นจากการต่อสู้นานนับ ครึ่งศตวรรษ โดยมีจุดส�ำคัญคือ การปฏิวัติเดือนเมษายน ปี ๒๕๐๓ การเคลื่อนไหว ต่อต้านการปกครองระบอบยูชินในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๗๐ (๒๕๑๓-๒๕๒๒) การ ลุกขึ้นสู้ของประชาชนชาวกวางจูในปี ๒๕๒๓ และการลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายน ปี ๒๕๓๐ ประชาชนหลายสิบล้านคนได้เข้าร่วมการต่อสู้นี้ และคนจ�ำนวนมาก ได้เสียสละชีวิตและเลือดเนื้อไป
พลังน�ำในขบวนการประชาธิปไตย
นักศึกษาเป็นผูม้ บี ทบาทน�ำในขบวนการประชาธิปไตย ด้วยจิตใจบริสทุ ธิ์ ความศรัทธาและมุ่งมั่นเพื่อความยุติธรรม นักศึกษาจึงเป็นพลังที่เหนียวแน่นที่สุด ในสังคมในยามที่ขบวนการประชาสังคมยังไม่เติบใหญ่เข้มแข็ง และนักการเมือง ยังไม่แข็งแกร่งพอที่จะเผชิญกับอ�ำนาจเผด็จการที่โหดร้ายได้ ในปี ๒๕๐๓ นักศึกษามหาวิทยาลัยและนักเรียนมัธยมได้จุดประกาย การต่อสูท้ ลี่ ามไปสูก่ ารโค่นล้มประธานาธิบดีคนแรกของประเทศคือ ซิงมันรี ซึง่ ครอง ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 15
อ�ำนาจมายาวนานถึง ๑๒ ปี ทั้งในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๖๐ (๒๕๐๓- ๒๕๑๒) และ ทศวรรษที่ ๑๙๗๐ (๒๕๑๓-๒๕๒๒) นักกิจกรรมในมหาวิทยาลัยก็เป็นกองหน้าของ การต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการปักจุงฮี ในปี ๒๕๒๒ การชุมนุมประท้วงของนักศึกษา ในเมืองปูซานและเมืองมาซานทางตอนใต้ของเกาหลีเหมือนกับเป็นการสั่นระฆัง มรณะให้กบั การปกครองภายใต้รฐั ธรรมนูญยูชนิ ของปักจุงฮี ในปี ๒๕๒๓ คนหนุม่ สาว ก็เป็นกองหน้าของการต่อต้านการรัฐประหารโดยชุนดูฮวาน และเป็นแถวหน้า ในการลุกขึ้นสู้ของประชาชนชาวกวางจู และในปี ๒๕๓๐ นักศึกษาก็เป็นผู้น�ำ การชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดบนท้องถนนซึ่งน�ำประชาธิปไตยทางการเมือง กลับคืนมาสู่เกาหลีในที่สุด อย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยได้รับชัยชนะมิใช่ด้วยพลังนักศึกษาเพียง อย่างเดียวตลอดช่วงประวัติศาสตร์นี้ การเสียสละในเบื้องต้นของนักศึกษาท�ำให้ นักวิชาการปัญญาชน นักการเมือง และประชาชนพลเมืองที่มีความโกรธแค้น พา กันเข้าร่วมขบวนการต่อสู้ เมื่อประชาชนทุกสาขาอาชีพจับมือร่วมกันก็สามารถ จะโค่นล้มเผด็จการลงได้ ในระหว่างการปฏิวัติเดือนเมษายน ๒๕๐๓ สื่อมวลชนและปัญญาชน นักวิชาการต่างมีบทบาทส�ำคัญ โดยเฉพาะอาจารย์มหาวิทยาลัยซึ่งได้ลุกขึ้นต่อสู้ ก่อนหน้าทีป่ ระธานาธิบดีซงิ มันรีจะลงจากอ�ำนาจ ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๖๐ (๒๕๐๓๒๕๑๒) ปัญญาชนนักวิชาการ นักเขียน และกลุม่ ศาสนาต่างก็ได้เข้าร่วมการประท้วง อย่างกว้างขวางคัดค้านการฟื้นคืนความสัมพันธ์ทางการทูตปกติกับประเทศญี่ปุ่น อดีตเจ้าอาณานิคม ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๗๐ (๒๕๑๓-๒๕๒๒) ประชาชนผู้ใช้แรงงานได้ ระเบิดความโกรธแค้นต่อการด�ำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่กดขี่เอารัดเอาเปรียบพวก เขา มีเหตุการณ์สำ� คัญทีเ่ ป็นสัญญลักษณ์ ๒ ครัง้ ทีป่ ลุกนักศึกษาให้เห็นถึงความทุกข์ ยากเดือดร้อนของประชาชนภายใต้ร่มเงาของการเติบโตทางเศรษฐกิจ คือ การ ประท้วงคัดค้านของคนจนเมืองเขตกวางจูชานกรุงโซล (ไม่ใช่เมืองกวางจูทางตอนใต้ เกาหลีที่เป็นจุดการลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่ในปี ๒๕๒๓) และการฆ่าตัวตายของชุนแตอิล (Chun Tae-il) กรรมกรโรงงานตัดเย็บเสือ้ ผ้าทีม่ สี ภาพแวดล้อมการท�ำงานทีห่ นักหนา สาหัสในกรุงโซล หลังจากนั้นเป็นต้นมานักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยก็ได้น� ำเอา 16 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
นักเรียนมัธยมเป็นกองหน้าของการเคลื่อนไหวประท้วงคัดค้านการเลือกตั้งสกปรกปี ๒๕๐๓
ประเด็นปัญหาชีวติ ความเป็นอยูข่ องชนชัน้ ล่างเข้ามาเป็นข้อเรียกร้องด้วย กลุม่ และ องค์กรทางศาสนาโดยเฉพาะพวกคริสเตียนก็มีส่วมร่วมอย่างแข็งขันในขบวนการ ประชาธิปไตยและยังได้ชูประเด็นความยุติธรรมทางสังคมอีกด้วย ส่วนในเวทีการเมือง นักการเมืองฝ่ายค้านเริม่ มีบทบาทมากขึน้ ในช่วงการ หาเสียงเลือกตัง้ ประธานาธิบดีปี ๒๕๐๔ จนได้รบั การยอมรับว่าเป็นทางเลือกอีกทาง ทีม่ คี วามหมายนอกเหนือจากรัฐบาลทีเ่ หยียบย�ำ่ ประชาธิปไตย การทีม่ ผี นู้ ำ� ฝ่ายค้าน คนส�ำคัญ ๒ คนคือ คิมแดจุง(Kim Dae-jung) และ คิมยังซัม (Kim Young-sam) ซึง่ ได้ผนึกก�ำลังกันกับขบวนการประชาธิปไตยและน�ำไปสูก่ ารเข้าร่วมการเคลือ่ นไหว ของประชาชนพลเมืองอย่างกว้างขวาง กลายเป็นพลังท้าทายเผด็จการทหาร ที่น่าเกรงขามอันแสดงให้เห็นจากเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงในเมืองปูซานและ มาซาน และการลุกขึ้นสู้ของชาวเมืองกวางจู รวมทั้งการลุกขึ้นสู้เพื่อประชาธิปไตย ในเดือนมิถุนายน ๒๕๓๐ ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 17
ที่ส�ำคัญกว่าก็คือ นักกิจกรรมนักศึกษาในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๖๐ และ ๑๙๗๐ เมื่อได้เข้าไปท�ำงานประกอบอาชีพในส่วนต่างๆ ของสังคมก็ได้สร้าง ความเข้มแข็งและความหลากหลายให้กับขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย ภายหลังจากการลุกขึ้นสู้ของพลเมืองชาวกวางจูปี ๒๕๒๓ ไม่ประสบความส�ำเร็จ นักเคลือ่ นไหวเพือ่ ประชาธิปไตยได้พยายามเข้าหาสร้างความเข้าใจในหมูป่ ระชาชน ทัว่ ไป ความพยายามนีไ้ ด้บรรลุผลในเดือนมิถนุ ายน ๒๕๓๐ เมือ่ ประชาชนกลุม่ ต่างๆ แทบทุกส่วนในสังคมได้ผนึกก�ำลังกันร่วมกับนักศึกษา พลเมือง นักการเมืองฝ่ายค้าน ภายใต้การน�ำขององค์กรประชาธิปไตยที่มีฐานมวลชนกว้างขวางที่มีชื่อว่า ศูนย์ บัญชาการการเคลื่อนไหวเพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Movement Headquarters to Win a Democratic Constitution)
พัฒนาการของขบวนการประชาธิปไตย
การเคลื่อนไหวของนักศึกษาที่จุดประกายการปฏิวัติเดือนเมษายน ๒๕๐๓ ซึ่งบีบบังคับให้ซิงมันรีต้องออกจากต�ำแหน่งนั้น เป็นการเคลื่อนไหวที่มี ลักษณะเป็นไปเอง โดยเริ่มต้นจากการประท้วงเล็กๆ ของนักเรียนมัธยมคัดค้าน การแทรกแซงการบริ ห ารจั ด การสถานศึ ก ษาของรั ฐ บาลและพั ฒ นาไปเป็ น การประท้วงการโกงเลือกตั้งอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นการลุกขึ้นสู้เพื่อปกป้อง หลักการประชาธิปไตยทีอ่ ำ� นาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เมือ่ ต�ำรวจใช้กำ� ลังปราบปราม นักศึกษาอย่างรุนแรงและรัฐบาลใส่ร้ายป้ายสีการเคลื่อนไหวของนักศึกษาว่า เกิ ด จากการยุ ย งปลุ ก ปั ่ น ของพวกคอมมิ ว นิ ส ต์ ยิ่ ง ท� ำ ให้ ป ระชาชนพลเมื อ งมี ความโกรธแค้น และเมือ่ มีการพบศพนักศึกษาทีถ่ กู สังหารโดยฝีมอื ต�ำรวจทีเ่ มืองมาซาน การประท้วงต่อต้านก็ลกุ ลามกลายเป็นการปฏิวตั เิ ดือนเมษายน กล่าวได้วา่ ความเรียกร้อง ต้องการความยุติธรรมของนักเรียนนักศึกษาสามารถโค่นล้มอ�ำนาจเผด็จการของ ซิงมันรีลงได้ ช่วงเวลาหนึ่งปีระหว่างการปฏิวัติเดือนเมษายนจนถึงการรัฐประหาร ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๐๔ โดยนายพลปักจุงฮีเป็นช่วงเวลาส�ำคัญทีช่ าวเกาหลีมโี อกาส จะสะสมประสบการณ์ประชาธิปไตยและคิดถึงปัญหาส�ำคัญของชาติซึ่งรวมทั้ง การรวมประเทศกับเกาหลีเหนือ ความส�ำนึกเรือ่ งเอกราชของชาตินยี้ งิ่ เพิม่ ทวีมากขึน้ เมื่อเกิดการรณรงค์ต่อต้านความพยายามผลักดันของรัฐบาลปักจุงฮีที่จะฟื้น 18 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ความสัมพันธ์ทางการทูตระดับปกติกับญี่ปุ่น ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๗๐ (๒๕๑๓-๒๕๒๒) กลุ่มพลังประชาธิปไตย ได้เริ่มให้ความสนใจกับปัญหาความทุกข์ยากของคนจนผู้ใช้แรงงาน พวกเขาได้ เข้าไปมีส่วนร่วมกับการต่อสู้เรียกร้องของคนงานในโรงงาน เกษตรกร คนจนเมือง ซึ่งเท่ากับเป็นการขยายขบวนการประชาธิปไตยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ภายใต้การปกครองเผด็จการอย่างโจ่งแจ้งของระบอบยูชนิ ขบวนการประชาธิปไตย ก็ขยายตัวเติบใหญ่ทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ เมื่อต้องต่อสู้กับความพยายามที่ จะครองอ�ำนาจอย่างยาวนานของปักจุงฮีท�ำให้ขบวนการประชาธิปไตยจ�ำเป็นต้อง ท�ำความเข้าใจกับความขัดแย้งทางโครงสร้างในสังคมและความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศที่เกี่ยวข้องกับคาบสมุทรเกาหลี รัฐบาลปักจุงฮีได้จับกุมคุมขังและทรมาน นักศึกษา นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ และผู้น�ำศาสนาจ�ำนวนมากโดยใช้กฎหมาย ภาวะฉุกเฉินทีใ่ ห้อำ� นาจอย่างมาก แต่ความยากล�ำบากนีก้ ลับหล่อหลอมนักกิจกรรม เหล่านี้ให้มีความเข้มแข็งแน่วแน่ซึ่งต่อมาพวกเขาได้กลายเป็นผู้น�ำขบวนการ ประชาธิปไตยในส่วนต่างๆ ของสังคม การลุกขึ้นสู้ที่กวางจูในปี ๒๕๒๓ ที่จบลงด้วยความพ่ายแพ้ได้ช่วย ให้ขบวนการประชาธิปไตยมีความเข้าใจมากขึ้นทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติ นักประชาธิปไตยได้ตระหนักแล้วว่า ส�ำหรับประเทศเกาหลี ความเป็นประชาธิปไตย มิอาจแยกออกจากปัญหาความเป็นเอกราชของชาติและการรวมประเทศได้ การ เคลื่อนไหวต่อต้านอเมริกาเริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ (๒๕๒๓-๒๕๓๒) จาก ความสงสัยถึงบทบาทของทางการวอชิงตันในการปราบปรามการลุกขึ้นสู้ที่กวางจู อย่างนองเลือด ประสบการณ์อันขมขื่นจากความพ่ายแพ้ครั้งนั้นยังให้บทเรียน กับกลุ่มพลังประชาธิปไตยด้วยว่า เราไม่อาจจะเอาชนะเผด็จการทหารด้วยการ ต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวในท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ได้ ทั้งยังเห็นถึงความส�ำคัญของการเข้า ร่วมของประชาชนพลเมืองอีกด้วย ขบวนการประชาธิปไตยได้เริ่มสร้างพันธมิตร แนวร่วมกับกลุ่มการเมืองกลุ่มสังคมกลุ่มศาสนาต่างๆ ทั่วทุกภาคส่วนของสังคม อันน�ำไปสู่ชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ในปี ๒๕๓๐
ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 19
ผลส�ำเร็จและสิ่งท้าทายขบวนการประชาธิปไตย
นั บ แต่ ก ารปฏิ วั ติ เ ดื อ นเมษายนปี ๒๕๐๓ จนถึ ง การลุ ก ขึ้ น สู ้ เดือนมิถุนายน ปี ๒๕๓๐ นักกิจกรรมนักศึกษาเป็นพลังขับเคลื่อนส�ำคัญของการ เปลี่ ย นแปลงไปสู ่ ป ระชาธิ ป ไตยในเกาหลี ไม่ เ พี ย งแต่ จ ะช่ ว ยให้ ข บวนการ ประชาธิปไตยมีขีดความสามารถในการจัดตั้งจัดองค์กรเท่านั้น แต่พวกเขายังได้ ก้าวไปเป็นผู้น�ำขบวนการสังคมต่างๆ อีกด้วย แต่กระนั้นขบวนการประชาธิปไตย จะก้าวหน้าต่อไปได้ก็ต่อเมื่อมีประชาชนจากทุกสาขาอาชีพเข้ามาร่วมด้วยเท่านั้น บาดแผลจากความแตกแยกในชาติ สงครามเกาหลีและการเผชิญหน้า ระหว่างสองประเทศเกาหลีมีผลให้กลุ่มพลังการเมืองที่เป็นตัวแทนผู้ใช้แรงงาน ไม่สามารถเติบโตได้อย่างเต็มที่ ภายใต้สภาพการณ์เช่นนี้ ดอกผลแห่งชัยชนะของ ขบวนการประชาธิปไตยในปี ๒๕๐๓ และ ๒๕๓๐ จึงถูกแย่งชิงไปโดยนักการเมือง ฝ่ า ยค้ า นในขณะนั้ น นี่ เ ป็ น สาเหตุ ห นึ่ ง ที่ ท� ำ ให้ ใ นปั จ จุ บั น ประเทศเรายั ง ไม่ มี ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริง ภายหลั ง จากการลุ ก ขึ้ น สู ้ เ ดื อ นมิ ถุ น ายน ปี ๒๕๓๐ ขบวนการ ประชาธิ ป ไตยได้ ก ้ า วสู ่ ขั้ น ตอนใหม่ ข องการพั ฒ นาที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด การเลื อ กตั้ ง ประธานาธิบดีโดยประชาชนโดยตรง และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กบั กระบวนการ ประชาธิปไตย เมื่อประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งสองคนได้บริหารประเทศ คือ โรแตวู และ คิมยังซัม จนครบวาระ การปกครองโดยพลเรือนก็ลงหลักปักฐาน อย่างมั่นคง ท�ำให้ไม่มีโอกาสที่คณะทหารจะเข้ามาแทรกแซงการเมืองได้อีก และ เมือ่ มาถึงสมัยของประธานาธิบดีคมิ แดจุง และประธานาธิบดีโรมูฮยุน การมีสว่ นร่วม ของประชาชนก็ขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว มีกลุ่มประชาสังคมเกิดขึ้นจ�ำนวนมาก และเข้มแข็งขึ้น โดยเฉพาะรัฐบาลโรมูฮยุนได้กระจายอ�ำนาจที่เคยรวมศูนย์อยู่ที่ ประธานาธิบดีไปให้หน่วยงานของรัฐต่างๆ รับผิดชอบตามหลักประชาธิปไตย แม้เกาหลีจะประสบผลส�ำเร็จในการสร้างประชาธิปไตยทางการเมือง แต่ ก็ยงั ล้าหลังประเทศอืน่ ทีม่ ขี นาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกันในแง่ของความสนใจเรือ่ งส่วนรวม ความเท่าเทียมกัน ระบบสวัสดิการสังคม หรือในแง่มุมต่างๆ ของประชาธิปไตย ทางเศรษฐกิจและสังคม ช่องว่างทางรายได้และความแตกต่างอย่างสุดขัว้ ของคนใน สังคมได้ทวีความเลวร้ายมากขึ้นในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมานับแต่ประเทศเปลี่ยนมา 20 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
เป็นประชาธิปไตย ภูมิหลังทางการศึกษาและระดับรายได้ของพ่อแม่ผู้ปกครอง ส่งผลต่อโอกาสก้าวหน้าทางการศึกษาของลูกๆ อย่างมาก ซึ่งท�ำให้พลิกความเชื่อ พื้นฐานที่ว่า เมื่อประเทศก้าวไปสู่ความเป็นสมัยใหม่แล้วก็จะยุติความได้เปรียบ ของชนชั้นน�ำในสังคมที่สามารถธ�ำรงรักษาฐานะได้เปรียบเดิมที่เป็นมรดกตกทอด มาจากสมัยศักดินาได้ นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในปัจจุบันก�ำลังเผชิญกับสิ่งท้าทายใหม่ ความก้าวหน้าของประชาธิปไตยทางการเมืองไม่ได้แผ่ขยายไปสู่ปริมณฑลทาง เศรษฐกิจและสังคม ตรงกันข้าม ความมัง่ คัง่ และอภิสทิ ธิก์ ลับกระจุกตัวในหมูช่ นชัน้ สูงส่วนน้อยในสังคม นอกจากนี้ การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างสอง ประเทศเกาหลีทเี่ คยเฟือ่ งฟูสมัยประธานาธิบดีคมิ แดจุงและประธานาธิบดีโรมูฮยุน ก็ลดน้อยถอยลง ท�ำให้ประเด็นเรื่องเอกราช ประชาธิปไตยและการรวมประเทศ ที่เคยเป็นวาระแห่งชาติในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ ยังไม่บรรลุผล สถานภาพของ ประชาธิปไตยในปัจจุบัน และความยากจนของผู้ใช้แรงงาน และความชะงักงัน ของการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเกาหลี เช่นนี้แสดงให้เห็นว่า ขบวนการประชาธิปไตยมิใช่เป็นเรื่องของอดีต หากแต่เป็นภารกิจในปัจจุบัน
ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 21
22 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ภาคที่
๒
สังคมเกาหลี และขบวนการ ประชาธิปไตยในช่วง ทศวรรษที่ ๑๙๖๐ (๒๕๐๓-๒๕๑๒)
ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 23
ภาคที่
๒
สังคมเกาหลี และขบวนการประชาธิปไตยในช่วง ทศวรรษที่ ๑๙๖๐ (๒๕๐๓-๒๕๑๒) การปลดแอก ความแตกแยก และสงครามเกาหลี
เกาหลีได้รับการปลดแอกจากการปกครองแบบอาณานิคมของญี่ปุ่น ในวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๘๘ เมือ่ ญีป่ นุ่ ประสบความพ่ายแพ้ตอนสิน้ สุดสงครามโลก ครัง้ ทีส่ อง แต่ไม่สามารถน�ำพาประเทศไปสูก่ ารก�ำหนดอนาคตของตนเองทางการเมือง หลังจากได้รับเอกราชได้ ยังผลให้เกิดการแบ่งแยกเป็นสองประเทศอย่างน่าเศร้า หลังจากที่ญี่ปุ่นยอมรับความพ่ายแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตรแล้ว ทหารอเมริกันและ สหภาพโซเวียตก็เข้ายึดครองดินแดนส่วนใต้และส่วนเหนือของคาบสมุทรเกาหลี โดยมีเส้นขนานที่ ๓๘ เป็นเส้นแบ่งแยก สหภาพโซเวียตได้เข้าปกครองดินแดนเกาหลี ส่วนเหนือโดยทางอ้อม แต่ในภาคใต้กองทัพสหรัฐอเมริกาได้เข้าปกครองโดยตรง โดยใช้อดีตข้าราชการและต�ำรวจที่เคยรับใช้ญี่ปุ่นในสมัยอาณานิคม เพื่ออาศัย ความช�ำนาญและประสบการณ์ในการปราบปรามนักต่อสูเ้ พือ่ เอกราชให้เป็นประโยชน์ ในการปราบปรามกลุ่มฝ่ายซ้ายที่มีพลัง สหรัฐอเมริกาผู้ยึดครองได้น�ำเอาซิงมันรี (Rhee Syng-man) ซึง่ พ�ำนักอาศัยอยูใ่ นสหรัฐอเมริกาและสนับสนุนนโยบายขวาจัด กลับมาเกาหลีเพือ่ ให้ดำ� เนินการบ่อนท�ำลายฐานทางการเมืองของกลุม่ พลังฝ่ายซ้าย ยังมีกลุ่มการเมืองสายกลางที่พยายามด�ำเนินการป้องกันมิให้เกิดความ แตกแยกในชาติโดยพยายามหาทางให้มกี ารเจรจาระหว่างภาคใต้กบั ภาคเหนือ แต่ ก็ไม่มีพลังเพียงพอที่จะยับยั้งการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มการเมืองที่มีอุดมการณ์ สุดขั้วทั้งสองขั้วซึ่งมีพลังมากกว่าได้ 24 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ภาคใต้ได้ท�ำลายความหวังที่จะมีรัฐบาลเดียวลงโดยการประกาศจัดตั้ง สาธารณรัฐเกาหลีเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๙๑ โดยมีซิงมันรีเป็นประธานาธิบดี คนแรก แล้วภาคเหนือก็ประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๔๙๑ คิมกู (Kim Gu) ซึ่งเป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาล คนสุดท้ายที่มีฐานในสมัยอาณานิคมอยู่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ได้คัดค้านหัวชนฝาต่อการ จัดตั้งรัฐบาลแยกกันในภาคใต้ เขาคาดการณ์ว่า “นี่จะน�ำไปสู่ความแตกแยก อย่างยาวนานภายในชาติและก่อให้เกิดสงครามระหว่างพี่น้องร่วมชาติอย่าง น่าเศร้า” ความกังวลของเขากลายเป็นความจริงเมื่อเกิดสงครามเกาหลีขึ้นใน วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๙๓ สงครามที่กินเวลาสามปีนี้ได้คร่าชีวิตผู้คนจ�ำนวนมาก ท�ำลายล้างบ้านเมืองทัว่ ทัง้ คาบสมุทรเกาหลี และทิง้ รอยบาดแผลทีไ่ ม่อาจลบเลือน ในใจคนทัง้ สองฝ่าย การแบ่งแยกประเทศระหว่างสองชาติเกาหลีกลายเป็นสิง่ ถาวร คนเกาหลีในแต่ละภาคสะสมความเป็นศัตรูอย่างลึกซึง้ ต่อคนอีกภาค ความขัดแย้งนี้ ท�ำให้ประธานาธิบดีซิงมันรีสามารถรวบอ�ำนาจมาไว้ในมือตนมากขึ้นโดยการอ้าง อุดมการณ์ต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างสุดลิ่มและอาศัยการสนับสนุนอย่างเต็มที่จาก สหรัฐอเมริกาจนสามารถครองอ�ำนาจเผด็จการอย่างยาวนาน การดิน้ รนของประธานาธิบดีซงิ มันรีทจี่ ะครองอ�ำนาจต่อไปอีกได้เริม่ ขึน้ ในนครปูซานซึ่งเป็นเมืองหลวงชั่วคราวในปี ๒๔๙๕ ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 25
เมือ่ ซิงมันรีได้รบั เลือกตัง้ เป็นประธานาธิบดีในปี ๒๔๙๑ นัน้ โดยผ่านการลง คะแนนเสียงของสมาชิกรัฐสภาตามบทบัญญัตใิ นรัฐธรรมนูญฉบับแรก ครัน้ เมือ่ ระยะ เวลาการด�ำรงต�ำแหน่งประธานาธิบดีใกล้จะหมดลง โอกาสที่เขาจะได้รับเลือกใหม่ มีน้อยมาก ดังนั้น ในระหว่างสงครามเกาหลีนั้นเอง ซิงมันรีก็ประกาศกฎอัยการศึก และบีบบังคับให้รฐั สภาแก้ไขรัฐธรรมนูญเพือ่ ให้มกี ารเลือกตัง้ ประธานาธิบดีโดยตรง และเตรียมการรองรับแผนการนีโ้ ดยให้คนของเขาตัง้ พรรคเสรีนยิ ม (Liberal Party) ขึ้นแล้วเข้าควบคุมรัฐสภา ขณะเดียวกันรัฐบาลก็กวาดล้างจับกุมสมาชิกรัฐสภา ฝ่ายค้าน บ้างก็โดนจับกุมด้วยข้อหามีส่วนเกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์ประมาณ ๑๐ คน ส่วนที่เหลือก็ต้องหลบหนีไป เมื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญส�ำเร็จผ่านพ้นไป ซิงมันรีก็ลงสมัครและได้รับ เลือกเป็นประธานาธิบดีอย่างท่วมท้นเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๔๙๕ หลังจากนั้น เขาก็ได้ขับผู้ไม่เห็นด้วยกับเขาในพรรคเสรีนิยมออกไปและตั้งมือขวาของเขาคือ ยิกิปัง (Yi Gi-bung) เป็นผู้น�ำหมายเลขสอง พอถึงปี ๒๔๙๗ ซิงมันรีก็เสนอแก้ไข รัฐธรรมนูญอีกเพือ่ หาทางหลีกเลีย่ งข้อก�ำหนดห้ามการด�ำรงต�ำแหน่งประธานาธิบดี เกินกว่าสองสมัย ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ซิงมันรีต้องการให้การด�ำรงต�ำแหน่ง ประธานาธิบดีสมัยแรกของเขาเป็นข้อยกเว้นไม่นับ เพื่อให้เขาครองอ�ำนาจต่อไป ได้อีกยาวนาน ก่อนการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาในปี ๒๔๙๗ พรรคเสรีนิยมของเขา บังคับให้ผสู้ มัครทุกคนต้องท�ำสัญญาเป็นลายลักษณ์อกั ษรว่าจะสนับสนุนการแก้ไข รัฐธรรมนูญดังกล่าว พรรครัฐบาลชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๙๗ อย่างท่วมท้นจากการที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงสนับสนุนผู้สมัคร พรรครัฐบาลอย่างเต็มที่ ยิ่งกว่านั้นพรรคยังดึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็น ผู้สมัครอิสระเข้ามาร่วมอีก ๓๐ คน เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีเสียงสนับสนุนรัฐบาล ๑๓๖ คน หรือสองในสามของจ�ำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด ๒๐๓ คน อันเป็นจ�ำนวนที่ ต้องการให้ความเห็นชอบเมื่อมีการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ นี้ถูกเสนอเข้าที่ประชุมรัฐสภาในเดือนกันยายน ๒๔๙๗ และมีมติไม่เห็นชอบเมื่อ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ เนือ่ งด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีไม่ถงึ ๑๓๖ เสียง อันถือเป็นจ�ำนวนสองในสามของสมาชิกรัฐสภาทัง้ หมดโดยขาดไป 26 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
๑ เสียง วันรุ่งขึ้นพรรครัฐบาลแสดงการไม่ยอมรับผลการลงมติโดยอ้างว่า จ�ำนวน สองในสามของ ๒๐๓ ทีถ่ กู ต้องแท้จริงคือ ๑๓๕.๓๓๓ และควรจะปัดเศษส่วนให้เป็น ๑๓๕ พรรครัฐบาลประกาศว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา แล้วหลังจากที่สมาชิกฝ่ายค้านประท้วงเดินออกจากที่ประชุม เหตุการณ์ครั้งนั้นซึ่ง รู้จักกันในนาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยการปัดเศษส่วน เป็นเหตุการณ์อัปยศที่สุด อันหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองเกาหลี
การคอรัปชั่น ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลซิงมันรี และความไม่พอใจของประชาชน
หลังจากปูทางไปสูก่ ารปกครองด้วยอ�ำนาจเบ็ดเสร็จแล้ว รัฐบาลซิงมันรี กลับตกต�ำ่ ถล�ำลึกด้วยปัญหาคอรัปชัน่ ความไร้ประสิทธิภาพ ไม่สนใจไยดีกบั ปัญหา ความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนอันเนื่องมาจากสงคราม เหล่านี้ท�ำให้ความ ไม่ พ อใจรั ฐ บาลของประชาชนมี เ พิ่ ม มากขึ้ น ดั ง จะเห็ น ได้ จ ากการเลื อ กตั้ ง ประธานาธิบดีครั้งต่อมาในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๙ กระแสความนิยมในหมู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไปในทางลบต่อรัฐบาลที่ครองอ�ำนาจอยู่ ในเดือนมีนาคมพรรครัฐบาลได้เสนอชื่อ ซิงมันรีเป็นผู้สมัครชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดีอีกสมัยหนึ่ง และเสนอชื่อ ยิกิปัง เป็น รองประธานาธิบดี ส่วนพรรคประชาธิปไตยฝ่ายค้านเสนอชื่อ ชิน อิกฮี (Shin Ik-hi) เป็นประธานาธิบดีและจังเมียน (Jang Myeon) เป็นรองประธานาธิบดี ในการ รณรงค์หาเสียงฝ่ายค้านใช้ค�ำขวัญว่า “ทนไม่ไหวแล้ว ถึงเวลาเปลี่ยนแปลง” ซึง่ ได้ผลอย่างน่าประหลาดใจ คะแนนนิยมของฝ่ายค้านเพิม่ สูงขึน้ อย่างมาก แต่แล้ว ชิน อิกฮี ผูส้ มัครชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดีของฝ่ายค้านกลับเสียชีวติ อย่างกระทันหัน ในระหว่างการรณรงค์หาเสียง ท�ำให้ผสู้ มัครอิสระอีกคนคือ โจบองอัม (Jo Bong-um) กลายมาเป็นคู่แข่งคนส�ำคัญของซิงมันรี ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าซิงมันรีชนะ การเลือกตัง้ ได้เป็นประธานาธิบดีดว้ ยคะแนนเสียง ๕.๔ ล้านคน ในขณะทีโ่ จบองอัม พ่ายแพ้ด้วยคะแนนเสียง ๒.๑๖ ล้านคน และมีผู้ลงคะแนนเสียงให้ชินอิกฮีที่เสีย ชีวิตไปแล้วถึง ๑.๘๕ ล้านคน เฉพาะในกรุงโซลเมืองหลวงมีผู้ลงคะแนนเสียง ให้กับชินอิกฮีมากกว่าประธานาธิบดีซิงมันรีเสียอีก ส่วนในการแข่งขันต�ำแหน่ง ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 27
รองประธานาธิบดีปรากฏว่าผู้สมัครฝ่ายค้านคือ จังเมียน ชนะผู้สมัครพรรครัฐบาล ด้วยคะแนนเสียงมากกว่า ๒๐๐,๐๐๐ คะแนน เมื่อเป็นเช่นนี้ พรรคเสรีนิยมของซิงมันรีจึงชนะการเลือกตั้งเพียงครึ่ง เดียว ทัง้ ความมีอายุมากของประธานาธิบดีซงิ มันรีทมี่ อี ายุได้ ๘๑ ปีแล้วท�ำให้รฐั บาล ตกอยูใ่ นทีน่ งั่ ล�ำบาก ถ้าหากประธานาธิบดีเสียชีวติ ลงหรือไม่สามารถปฏิบตั หิ น้าทีไ่ ด้ รองประธานาธิบดีซึ่งมาจากฝ่ายค้านจะได้ขึ้นท�ำหน้าที่ประธานาธิบดีแทน ประธานาธิบดีซงิ มันรีและพรรครัฐบาลกีดกันรองประธานาธิบดีจงั เมียน ทุกวิถีทางมิให้เกี่ยวข้องกับการบริหารประเทศทุกอย่าง ในวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๔๙๙ จังเมียนถูกมือปืนลอบยิงได้รบั บาดเจ็บเล็กน้อยในระหว่างการประชุมพรรค ขณะเดียวกันในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน อดีตผู้สมัครชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดี อิสระคือ โจบองอัมและผู้สนับสนุนได้ประกาศจัดตั้งพรรคก้าวหน้า (Progressive Party) มีนโยบายแบบสังคมประชาธิปไตยและสนับสนุนการรวมประเทศอย่างสันติ ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้เป็นเรื่องต้องห้ามทางการเมืองนับแต่สงครามเป็นต้นมา พอถึง ปี ๒๕๐๑ กลุม่ การเมืองทีท่ า้ ทายประธานาธิบดีซงิ มันรีนกี้ ถ็ กู กวาดล้างจับกุมในข้อหา เป็นสายลับให้กับเกาหลีเหนือ หลังจากนั้นไม่นานโจบองอัมก็ถูกประหารชีวิตใน วันที่ ๓๑ กรกฎาคมปีถัดมา การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๐๑ เต็มไปด้วยการทุจริตอย่างมากมายและการใช้ก�ำลังข่มขู่คุกคามคู่แข่งของต�ำรวจ และอันธพาลการเมืองที่รัฐบาลจ้างมา แม้กระนั้นพรรคประชาธิปไตยฝ่ายค้านก็ยัง ได้รบั ชัยชนะในเมืองใหญ่ๆ รวมทัง้ กรุงโซลซึง่ นักการเมืองฝ่ายค้านชนะการเลือกตัง้ ใน ๑๔ เขตจากทั้งหมด ๑๖ เขต ในทางตรงกันข้ามพรรคเสรีนิยมฝ่ายรัฐบาลได้รับ ชัยชนะส่วนใหญ่ในชนบทซึ่งรัฐบาลมีอิทธิพลและการซื้อเสียงกระท�ำได้ง่าย แต่ ผลการเลือกตัง้ ก็ชใี้ ห้เห็นว่าพรรคของซิงมันรีจะไม่สามารถครองอ�ำนาจต่อไปได้อกี ภายใต้การเลือกตั้งโดยปกติ ซิ ง มั น รี แ ละพรรคเสรี นิ ย มปั ก ใจเชื่ อ ว่ า ความไม่ พ อใจรั ฐ บาลของ ประชาชนเกิดจากการโหมกระพือของสือ่ มวลชนทีว่ พิ ากษ์วจิ ารณ์รฐั บาล เพือ่ เตรียม รับการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี ๒๕๐๓ รัฐบาลหาทางเพิ่มมาตรการควบคุม สื่อมวลชนอย่างเข้มงวดเข้าไปในกฎหมายความมั่นคงภายใน รวมทั้งหาทางยกเลิก 28 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
การเลือกตั้งท้องถิ่น ให้อ�ำนาจรัฐบาลกลางในการแต่งตั้งหัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่น มาตรการเหล่านี้จะช่วยให้รัฐบาลสามารถแทรกแซงบงการการเลือกตั้งได้ง่ายขึ้น สมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้านต่อสูค้ ดั ค้านการแก้ไขกฎหมายความมัน่ คงภายในนีด้ ว้ ยการ นัง่ ประท้วงภายในห้องประชุมรัฐสภาท�ำให้รฐั สภาเป็นอัมพาตไม่สามารถประชุมได้ นานนับเดือน ในวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๐๑ พรรครัฐบาลระดมก�ำลังทหาร ๓๐๐ คนมาสลายการประท้วงของฝ่ายค้านและผลักดันให้รัฐสภาผ่านกฎหมายแก้ไข กฎหมายความมั่นคงภายใน ๒ ฉบับไปได้ ซึ่งจะส่งผลร้ายต่อสังคมไปอีกยาวนาน กฎหมายความมั่นคงภายในที่เข้มงวดขึ้นนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือปราบปรามกลุ่มพลัง ประชาธิปไตยเป็นเวลากว่า ๔๐ ปี และการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นก็ถูกยกเลิกไปนาน ถึง ๓๐ ปี กว่าจะรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ก็ภายหลังการลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายน ๒๕๓๐
การโกงเลือกตั้ง ๑๕ มีนาคม ๒๕๐๓ และการปฏิวัติเดือนเมษายน
เดือนมีนาคม ๒๕๐๒ เหลือเวลาอีกหนึง่ ปีจะถึงการเลือกตัง้ ประธานาธิบดี รัฐบาลซิงมันรีเริ่มเตรียมการที่จะสืบทอดอ�ำนาจต่อไปอีกซึ่งเป็นเรื่องยากเย็น กว่าเดิมเมื่อความไม่พอใจของประชาชนต่อการอยู่ในอ�ำนาจอย่างยาวนานของ ซิงมันรีมีมากขึ้น รัฐบาลตั้งคณะท� ำงานพิเศษซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีหกคนรวมทั้ง รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงและยุติธรรมเพื่อหาทางเอาชนะการเลือกตั้งด้วย ทุกวิถีทางรวมทั้งการระดมข้าราชการมาใช้งาน พร้อมกันนั้นประธานาธิบดีซิงมันรี ก็แต่งตั้งคนสนิทที่ภักดีคือ โช อินเกียว (Choe In-gyu) ไปด�ำรงต�ำแหน่งรัฐมนตรี ความมั่นคงภายในเพื่อรับผิดชอบแผนการหาเสียงเลือกตั้ง โช อินเกียวเรียกร้องอย่างเปิดเผยให้ข้าราชการยุ่งเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยบอกในวันแรกทีร่ บั ต�ำแหน่งว่า “เราต้องท�ำทุกอย่างทีจ่ ำ� เป็นเพือ่ ประธานาธิบดี ซิงมันรี” เขาจัดการโยกย้ายนายต�ำรวจชั้นผู้ใหญ่หลายคนและในเดือนพฤษภาคม ก็แต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดคนใหม่แทนคนเก่าอีก ๑๐ จังหวัดเพื่อเตรียมรับการ เลือกตัง้ สมาชิกพรรครัฐบาลอยากจะเลือกให้ยกิ ปิ งั เป็นรองประธานาธิบดี เนือ่ งจาก ซิงมันรีจะมีอายุถึง ๘๔ ปีในปี ๒๕๐๓ แต่เนื่องความนิยมในตัวยิกิปังตกต�ำ่ ลงมาก ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 29
ทั้งยังเคยพ่ายแพ้ต่อจังเมียนในการเลือกตั้งครั้งที่แล้วจึงสร้างความกังวลอย่างมาก ในหมู่สมาชิกพรรครัฐบาล พรรคเสรี นิ ย มได้ เ สนอชื่ อ ซิ ง มั น รี แ ละยิ กิ ป ั ง เป็ น ตั ว แทนของพรรค เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๐๒ และเริ่มระดมก�ำลังกลไกของพรรครณรงค์หา เสียงเลือกตั้งก่อน ในขณะที่ภายในพรรคประชาธิปไตยฝ่ายค้านเกิดปัญหาขัดแย้ง ภายในระหว่างกลุ่มที่นำ� โดย โจเบียงออก (Jo Byeong-0k) กับกลุ่มของ จังเมียน (Jang Myeon) ท�ำให้ยังไม่สามารถเสนอชื่อผู้เป็นตัวแทนของพรรคได้ จนกระทั่ง ในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๒ โจเบียงออก และ จังเมียน จึงได้รบั การเสนอชือ่ เป็น ผู้สมัครชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีตามล�ำดับ ประธานาธิบดีซิงมันรีประกาศในเดือนธันวาคมว่า การเลือกตั้งจะมีขึ้น ก่อนก�ำหนด ซึ่งสร้างความกระอักกระอ่วนให้กับพรรคประชาธิปไตยซึ่งต้องการ เวลาเตรียมตัวรณรงค์เลือกตัง้ มากกว่านี้ โจ เบียงออก กล่าวก่อนเดินทางไปรักษาตัว ที่สหรัฐอเมริกาว่า “การเลือกตั้งเร็วขึ้นก็เหมือนการยิงคน (ฝ่ายค้าน) ข้างหลัง” รัฐบาลไม่ใส่ใจเสียงคัดค้านและประกาศในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๓ ให้มกี ารเลือกตัง้ ประธานาธิบดีในวันที่ ๑๕ มีนาคม ผู้สมัครชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดีของพรรค ฝ่ายค้านเสียชีวติ ลงทีส่ หรัฐอเมริกาในวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ หลังจากทีไ่ ด้ลงทะเบียน สมัครแล้วเพียง ๘ วัน ซึง่ หมายถึงซิงมันรีได้เป็นประธานาธิบดีโดยอัตโนมัติ แต่พรรค รัฐบาลก็ยงั กังวลกับการเลือกตัง้ รองประธานาธิบดี ฝ่ายรัฐบาลจึงด�ำเนินการทีจ่ ะโกง การเลือกตั้งโดยตั้งเป้าที่จะท�ำให้ได้คะแนนเสียงมากกว่า ๘๕ เปอร์เซ็นต์ กลวิธีที่ใช้ มีทั้งการลงคะแนนล่วงหน้าที่มีมากกว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์ของคะแนนทั้งหมด การยัด ใส่บตั รเลือกตัง้ ผี การขนคนลงคะแนนเป็นกลุม่ การใช้อนั ธพาลการเมืองข่มขูค่ กุ คาม ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านและขับไล่ผู้สังเกตการณ์ฝ่ายค้านไม่ให้อยู่ในคูหาเลือกตั้ง การ แทรกแซงบงการผลการเลือกตั้งของรัฐบาลนี้ได้เหยียบย�่ำหลักการอ�ำนาจอธิปไตย ของปวงชนและน�ำระบอบซิงมันรีเข้าใกล้จุดจบอันน่าอนาถ ความไม่ชอบมาพากลในการจัดการเลือกตัง้ ได้จดุ กระแสความโกรธแค้น ในหมู่ประชาชนทั่วไป เมื่อวันเลือกตั้งใกล้เข้ามานักเรียนนักศึกษาผู้มีอุดมการณ์ เป็นกลุ่มแรกที่ลุกขึ้นท้าทายรัฐบาล ในวันที่ ๒๘ และ ๒๙ กุมภาพันธ์นักเรียน โรงเรียนมัธยม ๖ แห่งในเมืองแดกู (Daegu) ได้ก่อหวอดประท้วงหลังจากรัฐบาล 30 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
บังคับให้โรงเรียนจัดสอบในวันอาทิตย์เพื่อป้องกันมิให้นักเรียนไปร่วมการชุมนุม ปราศรัยหาเสียงของฝ่ายค้าน หลังจากนั้นไม่นานการประท้วงเรียกร้องความเป็น อิสระในการบริหารจัดการโรงเรียนก็พฒ ั นาไปเป็นขบวนการประชาธิปไตยเรียกร้อง สิทธิเสรีภาพและการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมในขอบเขตทั่วประเทศ เกิดการ ชุมนุมประท้วงในกรุงโซลเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ที่เมืองแดเจิน ในวันที่ ๘ มีนาคม และ ตามเมืองใหญ่ๆ เช่น ปูซาน แดเจิน ซูวอน เชิงจู ชุงจู เป็นต้น ในระหว่างวันที่ ๑๐-๑๔ มีนาคม ตอนเริ่มแรกนั้นการประท้วงน�ำโดยนักเรียนมัธยม พวกเขาวิพากษ์ วิจารณ์นกั ศึกษามหาวิทยาลัยทีท่ นนิง่ เฉยต่อความอยุตธิ รรมในสังคม ผลการเลือกตัง้ ในวันที่ ๑๕ มีนาคมพรรครัฐบาลได้รบั ชัยชนะอย่างท่วมท้น ซึง่ ยิง่ สร้างความโกรธแค้น ให้ กั บ ผู ้ เ ลื อ กตั้ ง และจุ ด ชนวนการประท้ ว งต่ อ ต้ า นอย่ า งรุ น แรงโดยเฉพาะที่ เมืองมาซาน ในวันเลือกตั้งนั้นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยฝ่ายค้านได้คัดค้านการ ลงคะแนนเสียงที่ผิดกฎหมายของพรรครัฐบาลเมื่อเวลา ๑๐.๓๐ น. สาขาพรรค ประชาธิปไตยประจ�ำท้องถิ่นได้เรียกร้องให้คว�่ำบาตรการเลือกตั้ง พอถึงเวลา บ่ายโมงครึ่งสาขาพรรคประจ�ำจังหวัดได้ประกาศให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ นักเรียน นักศึกษาและประชาชนได้เข้าร่วมการชุมนุมประท้วงที่น�ำโดยพรรคประชาธิปไตย ฝ่ายค้านเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ ครั้นเวลาหนึ่งทุ่มครึ่งจ�ำนวนผู้ประท้วงเพิ่ม ขึ้นมากกว่าหนึ่งหมื่นคน เมื่อผู้ประท้วงเดินขบวนไปหน้าศาลากลางจังหวัดต�ำรวจ ก็เปิดฉากยิงใส่ฝูงชน ผู้ประท้วงซึ่งโกรธแค้นได้บุกเข้าไปในส�ำนักงานหนังสือพิมพ์ ฝ่ายรัฐบาล ส�ำนักงานหาเสียงเลือกตั้งพรรคเสรีนิยมและป้อมต�ำรวจหลายแห่ง ในระหว่างการปะทะกันนี้มีประชาชนเสียชีวิตไป ๙ คน และบาดเจ็บไม่น้อยกว่า ๓ คน มีผู้ถูกจับกุมและถูกต�ำรวจทุบตีแก้แค้นอีก ๒๕๓ คน ทางการกล่าวหาว่า ผูป้ ระท้วงเป็นกลุม่ หัวเอียงซ้ายทีบ่ งการโดยองค์กรคอมมิวนิสต์ใต้ดนิ ต�ำรวจแถลงว่า สมาชิกพรรคประชาธิปไตยระดับท้องถิ่นเป็นสายลับคอมมิวนิสต์และเป็นตัวการ วางแผนก่อเหตุความไม่สงบนี้ ค�ำแถลงนีท้ ำ� ให้ประชาชนหวาดกลัวไปชัว่ ขณะ แต่เมือ่ คณะสอบสวนของพรรคประชาธิปไตยซึ่งประกอบด้วยนักกฎหมายเปิดเผยว่า สาเหตุของการประท้วงมาจากการทุจริตการเลือกตัง้ และต�ำรวจใช้กำ� ลังรุนแรงเกิน กว่าเหตุรวมทัง้ การยิงปืนใส่ประชาชนอย่างไม่เลือกหน้าด้วย หลังจากการเปิดเผยนี้ ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 31
รัฐมนตรีความมั่นคงภายในก็ลาออกจากต�ำแหน่งในวันที่ ๓๐ มีนาคม อัยการ ก็แถลงว่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีคอมมิวนิสต์อยูเ่ บือ้ งหลังการประท้วงทีเ่ มืองมาซาน การประท้วงเกิดขึ้นอีกในที่ต่างๆ อย่างประปราย และถ้าหากไม่มีคลื่น ลูกที่สองของการประท้วงที่เมืองมาซานแล้ว ผลการเลือกตั้งครั้งนั้นอาจจะไม่มีใคร โต้แย้งได้ ในวันที่ ๑๑ เมษายนที่เมืองมาซานมีการพบศพลอยน�้ำมาติดท่าเรือ นั ย น์ ต าข้ า งซ้ า ยของร่ า งผู ้ นี้ มี วั ต ถุ ที่ เ หมื อ นกระสุ น ก๊ า ซน�้ ำ ตาฝั ง อยู ่ ใ นเบ้ า ตา หลังจากนั้นไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงฝูงชนที่มีทั้งนักเรียนนักศึกษาประชาชนก็พากันมาที่ ท่าเรือ ไม่นานนักก็พิสูจน์ทราบว่าเป็นศพของ คิมจูเยิล (Kim Ju-yeon) นักเรียน โรงเรียนมัธยมที่หายไปตั้งแต่การประท้วงวันที่ ๑๕ มีนาคม ผู้คนพากันโกรธแค้น ที่ได้รู้ว่า คิมจูเยิล ถูกฆ่าตายในระหว่างประท้วงและต�ำรวจพยายามจะปกปิดการ ตายโดยการน�ำร่างเขาไปโยนทิง้ ทะเล การค้นพบนีก้ ระตุน้ ให้เกิดการชุมนุมประท้วง ขนานใหญ่บนท้องถนน แถวหน้าของผูป้ ระท้วงคือบรรดาญาติพนี่ อ้ งครอบครัวของ ผู้เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ถึงเวลาหกโมงเย็นผู้ประท้วงเพิ่มจ�ำนวนเป็นกว่า ๓๐,๐๐๐ คน และ เคลื่อนขบวนไปตามถนนทั่วเมืองบุกโจมตีป้อมยามต�ำรวจและบ้านนักการเมือง ฝ่ายรัฐบาล ต�ำรวจก็เปิดฉากยิงผู้ประท้วงเหมือนครั้งก่อนสังหารประชาชนตาย ไป ๒ คน การประท้วงยังคงด�ำเนินต่อไปอีกสองวัน ต�ำรวจก็กล่าวหาเหมือนเดิม ว่าคอมมิวนิสต์มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ยิ่งสร้างความโกรธแค้นให้กับพลเมืองมาซาน ทีต่ อนนีไ้ ด้กลายเป็นส่วนหนึง่ ของผูป้ ระท้วงแล้ว ขณะเดียวกันการประท้วงแผ่ขยาย ออกไปเนื่องจากนักเรียนนักศึกษาในเมืองปูซานและจินจูที่อยู่ใกล้เคียงได้ออกมา ประท้วงบนท้องถนนด้วย ในกรุงโซลก็เช่นกัน นักศึกษามหาวิทยาลัยซึ่งนิ่งเฉยมาตลอดได้เริ่ม เข้าร่วมการประท้วง ในวันที่ ๑๘ เมษายนนักศึกษามหาวิทยาลัยเกาหลีได้ก่อการ ประท้วงด้วยการนั่งชุมนุมหน้ารัฐสภาแห่งชาติเรียกร้องค�ำอธิบายจากรัฐบาล เรื่องการทุจริตการเลือกตั้ง ในท้ายสุดพวกเขายอมยุติการประท้วงตามค� ำขอร้อง ของอธิการบดีและการปล่อยตัวนักศึกษาบางคนที่ถูกจับกุม อย่างไรก็ดีในขณะที่ นักศึกษาก�ำลังเดินทางกลับไปที่มหาวิทยาลัยก็ถูกดักทุบตีโดยอันธพาลการเมืองที่ เกีย่ วข้องกับรัฐบาล มีผไู้ ด้รบั บาดเจ็บประมาณ ๒๐๐ คน ในจ�ำนวนนี้ ๒๐ คน บาดเจ็บ 32 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
สาหั ส การใช้ ค วามรุ น แรงนี้ เ ป็ น ข่ า วพาดหั ว หนั ง สื อ พิ ม พ์ วั น ต่ อ มายิ่ ง สร้ า ง ความโกรธแค้นให้กับประชาชนมากขึ้น วั น ที่ ๑๙ เมษายน แถลงการณ์ เรี ย กร้ อ งให้ นั ก ศึ ก ษารวมพลั ง กั น เคลื่อนไหวต่อสู้ถูกปิดประกาศไปทั่วมหาวิทยาลัย เมื่อเวลา ๐๘.๕๐ น. ครั้นถึง เวลา ๐๙.๒๐ น. นักศึกษาจากวิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย แห่งชาติกรุงโซลซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นน�ำของประเทศได้เดินขบวนออกมายัง ท้องถนนพร้อมกับสมทบด้วยนักศึกษาจากโรงเรียนกฎหมายและวิทยาลัยวิจติ รศิลป์ นักศึกษาประมาณ ๓,๐๐๐ คนไปรวมตัวกันที่รัฐสภา ในเวลาเดียวกันนักศึกษา หลายพันคนจากมหาวิทยาลัยคอนคุก มหาวิทยาลัยเกาหลี มหาวิทยาลัยดองกุก มหาวิทยาลัยยอนเซ มหาวิทยาลัยชุนกังก็ชุมนุมเดินขบวนประท้วง และการ ประท้วงก็ยกระดับขึ้นเมื่อนักศึกษามหาวิทยาลัยดองกุกเดินขบวนไปหน้าท�ำเนียบ ประธานาธิบดีเมื่อเวลา ๑๑.๕๐ น. และยิ่งมีนักศึกษาจ�ำนวนมากหลั่งไหลมา ตามถนนที่ไปสู่ท�ำเนียบประธานาธิบดีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การประท้วงคัดค้านการโกง การเลือกตั้งก็กลายเป็นขบวนการปฏิวัติที่เรียกร้องให้ประธานาธิบดีลาออก เวลา ๑๓.๔๐ น. ต�ำรวจก็เปิดฉากยิงใส่ผู้ประท้วงหน้าท�ำเนียบประธานาธิบดีสังหาร ประชาชนไป ๒๑ ราย และบาดเจ็บอีก ๑๗๒ ราย เวลา ๑๔.๓๐ น. จ�ำนวนผู้ป ระท้วงในเมืองหลวงเพิ่มขึ้นเป็นกว่า ๒๐๐,๐๐๐ คน และสามารถท�ำลายแนวต้านทานของต�ำรวจหลายจุด เวลา ๑๔.๕๐ น. ต�ำรวจยิงใส่ผู้ชุมนุมย่านใจกลางเมือง และกราดยิงอย่างไม่เลือกหน้าใส่ประชาชน หน้าร้านขายปืนใกล้กับที่ท�ำการรัฐบาลผู้ประท้วงตายไปอีก ๘ คน พร้อมกันนั้น รัฐบาลก็ดำ� เนินมาตรการหลายอย่างเพือ่ หาทางควบคุมการประท้วง เวลา ๑๔.๔๐ น. รัฐบาลประกาศมาตรการก่อนใช้กฎอัยการศึกในกรุงโซล ครั้นเวลา ๑๗.๐๐ น. ก็ประกาศกฎอัยการศึกในกรุงโซลและเมืองใหญ่อกี ๔ เมือง ต�ำรวจเป็นผูร้ บั ผิดชอบ โดยตรงต่อการทุจริตการเลือกตัง้ และหันไปใช้ความรุนแรงเพือ่ ควบคุมการประท้วง แต่กองทัพยังคงนิ่งเฉยและวางตัวเป็นกลางจึงไม่เกิดความเสียหายมากไปกว่านี้ การประท้วงอย่างขนานใหญ่และการปะทะนองเลือดที่เกิดขึ้นในหลาย จังหวัดรวมทั้งกรุงโซล ในเมืองกวางจูนักเรียนมัธยมได้เริ่มต้นเดินขบวนประท้วง เมื่อเวลา ๑๐.๔๐ น. จนกระทั่งผู้ประท้วง ๕,๐๐๐ คน ได้เผชิญหน้ากับต�ำรวจ ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 33
ที่ย่านใจกลางเมือง การชุมนุมประท้วงยังคงด�ำเนินต่อไปแม้จะมีการประกาศใช้ กฎอัยการศึกและห้ามออกนอกบ้านในยามวิกาลแล้ว เวลา ๒๑.๒๐ น.ต�ำรวจยิงใส่ ผู้ชุมนุมประท้วงท�ำให้มีผู้เสียชีวิต ๖ ราย และบาดเจ็บ ๗๐ ราย ที่เมืองปูซานนักเรียนมัธยมเริ่มการเดินขบวนเมื่อเวลาหลัง ๑๑.๐๐ น. แล้วประชาชนก็เข้าร่วม พอถึงตอนบ่ายการประท้วงลุกลามเป็นความรุนแรง ผู้ประท้วงจุดไฟเผารถจิ๊ปต�ำรวจและเดินขบวนไปยังสถานีต�ำรวจ เมื่อถูกต�ำรวจ ยิงกราดด้วยปืนกลท�ำให้ประชาชนเสียชีวิตไป ๑๓ คน และบาดเจ็บอีกกว่า ๖๐ คน การประท้วงยังเกิดขึ้นในเมืองแดกู เชิงจู อินชอน และเมืองอื่นๆ อีกหลายเมือง สหรัฐอเมริกาซึ่งได้ให้การสนับสนุนซิงมันรีเริ่มจะเปลี่ยนท่าทีหลังจากมี การใช้กฎอัยการศึกและมีพลเรือนเสียชีวติ จ�ำนวนมาก วันที่ ๒๐ เมษายน กระทรวง ต่างประเทศสหรัฐอเมริกาออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลเกาหลีใช้มาตรการ เพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตย วันรุ่งขึ้น รัฐมนตรีทั้งหมดและข้าราชการการเมืองสังกัดพรรคเสรีนิยม ได้ลาออกทั้งหมด วันที่ ๒๓ เมษายน ยิกิปังแสดงเจตนารมณ์ที่จะไม่รับต�ำแหน่ง รองประธานาธิบดีที่เพิ่งจะได้รับเลือกตั้งวันที่ ๒๔ เมษายน ประธานาธิบดีซิงมันรี ประกาศว่า เพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายเขาจะวางมือไม่ยุ่งเกี่ยวกับการแข่งขัน ทางการเมือง แต่เขายังไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชนที่เรียกร้องให้เขา ลาออก และลงโทษผูเ้ กีย่ วข้องกับการยิงประชาชนโดยต�ำรวจและการทุจริตในการ เลือกตั้งและให้มีการเลือกตั้งใหม่ หลั ง จากวั น ที่ ๑๙ เมษายน ซึ่ ง เรี ย กกั น ว่ า “วั น อั ง คารเลื อ ด” การชุมนุมประท้วงมีสัญญานว่าจะแผ่วลง แต่แล้วการชุมนุมประท้วงของอาจารย์ มหาวิทยาลัยในวันที่ ๒๕ เมษายน ก็กระตุ้นให้เกิดการประท้วงอย่างกว้างขวาง อีกระลอกและกระหน�่ำใส่ประธานาธิบดีซิงมันรีอย่างหนัก ในวันดังกล่าวอาจารย์ มหาวิทยาลัย ๓๐๐ คน ได้ชุมนุมกันที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซลและมีมติ ออกแถลงการณ์สนับสนุนการเคลื่อนไหวของนักศึกษา เรียกร้องให้ประธานาธิบดี สมาชิกรัฐสภา และผูพ้ พิ ากษาศาลสูงลาออกทัง้ หมด ให้มกี ารเลือกตัง้ ประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดีใหม่ ให้มกี ารลงโทษผูเ้ กีย่ วข้องกับการโกงการเลือกตัง้ หลังจาก ที่แถลงแล้วอาจารย์ทั้งหมดก็เดินขบวนออกจากมหาวิทยาลัยโดยมีนักศึกษาอีก 34 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
๕๐,๐๐๐ คน มาร่วมสมทบในทันที วันรุ่งขึ้น ๒๖ เมษายน จ�ำนวนประชาชนชุมนุมบนถนนในกรุงโซลเพิ่ม ขึ้นเป็น ๑๐๐,๐๐๐ คน หลังจากมีการปะทะหน้าสถานีตำ� รวจดองแดมุนประชาชน เสียชีวติ จากการถูกยิงเพิม่ ขึน้ อีก ๔ ราย และบาดเจ็บอีก ๓๑ ราย และสถานีตำ� รวจ ถูกเผาวายวอดไป เวลานั้นทหารที่มาตามค�ำสั่งกฎอัยการศึกไม่มีท่าทีเป็นปฏิปักษ์ กับขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตย เด็กวัยรุ่นบางคนยังปีนขึ้นไปบนรถถังของ ทหารและตะโกนว่า “ทหารอยู่ข้างเรา” ประธานาธิบดีซิงมันรีรู้แล้วว่าไม่มีทหาร ออกมาปกป้องรัฐบาลอีกแล้ว เวลา ๑๐.๐๐ น. ตัวแทนนักศึกษาประชาชนได้เข้า พบซิงมันรีที่ท�ำเนียบประธานาธิบดีและได้รับค�ำแถลงเขียนว่า ข้าพเจ้าจะลาออก จากต�ำแหน่ง ถ้าหากเป็นความต้องการของประชาชน ๒๐ นาทีตอ่ มากองบัญชาการ กฎอัยการศึกประกาศว่า ประธานาธิบดีก�ำลังจะลาออก และมีการออกข่าว การลาออกทางวิทยุในเวลา ๑๐.๓๙ น. การปฏิวตั เิ ดือนเมษายนซึง่ เริม่ ต้นจากการประท้วงการโกงเลือกตัง้ แต่ลกึ ไปกว่านั้นมีสาเหตุมาจากความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายของสังคมเกาหลี นับแต่ สงครามเกาหลีเป็นต้นมา เกาหลีได้ทวีความเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว ชาวชนบทจ�ำนวน มากพากันละทิง้ บ้านเกิดทีล่ ำ� บากยากเข็ญเข้ามาหางานท�ำในเมืองโดยเฉพาะกรุงโซล ประชากรในเมืองเพิ่มจ�ำนวนจาก ๓.๔๗ ล้านคน ในปี ๒๔๘๘ เป็น ๕.๒๘ ล้านคน ในปี ๒๔๙๘ การศึกษาขัน้ สูงก็พฒ ั นาไปอย่างรวดเร็ว จ�ำนวนนักศึกษาในวิทยาลัยและ มหาวิทยาลัยได้เพิม่ ขึน้ ๑๕ เท่าจาก ๗,๘๐๐๐ คน ในปี ๒๔๘๘ เป็น ๑๔๐,๐๐๐ คน ในปี ๒๔๙๘ ผลก็คือเกิด “จิตส�ำนึกสาธารณะอย่างวิพากษ์วิจารณ์” ร่วมกันในหมู่ ประชาชนน�ำโดยนักศึกษา นักหนังสือพิมพ์ และปัญญาชนทีม่ าบรรจบกันในกรุงโซล และเมืองอื่นๆ ในช่วงปลายทศวรรษที่ ๑๙๕๐ การเกิดขึ้นของกลุ่มประชาสังคมใน เมืองเหล่านี้คือผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติเดือนเมษายน ผู้มีบทบาทหลักคือนักศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวในสังคมที่สามารถก่อปฏิบัติการรวมหมู่ขนาดใหญ่ได้ การปฏิ วั ติ ถู ก จุ ด ชนวนขึ้ น จากการประท้ ว งของนั ก ศึ ก ษาเมื อ งแดกู ในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ แล้วขยายตัวไปยังเมืองมาซานในวันที่ ๑๕ มีนาคม กลายเป็นการ ลุกขึ้นสู้ทั่วประเทศในวันที่ ๑๙ เมษายน ซึ่งถูกเรียกว่า วันอังคารเลือด จนในที่สุด น�ำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลซิงมันรีในวันที่ ๒๖ เมษายน ซึ่งเรียกกันว่า วันอังคาร ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 35
แห่งชัยชนะ นั้นมาจากการเสียสละอันสูงส่งของนักศึกษาที่สร้างความสะเทือนใจ ให้กบั ประชาชนลุกขึน้ มาต่อต้านขับไล่รฐั บาลเผด็จการทีค่ รองอ�ำนาจมายาวนานถึง ๑๒ ปี กดหัวก�ำราบประชาชนด้วยอุดมการณ์ตอ่ ต้านคอมมิวนิสต์ สร้างความเสียหาย ให้กับประเทศชาติจากปัญหาคอรัปชั่นและความไร้ประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับ เจตนารมณ์การเคลือ่ นไหวของขบวนการเอกราช ๑ มีนาคม ๒๔๕๒ ทีเ่ ป็นการลุกขึน้ สู้ ครั้งใหญ่ของประชาชนต่อต้านการยึดครองของญี่ปุ่นในอดีต เจตนารมณ์ของการ ปฏิวัติเดือนเมษายนนี้ได้ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ เป็นพื้นฐานทางจิตวิญญานของ ขบวนการประชาธิปไตยในเวลาอีก ๓๐ ปีต่อมา
สาธารณรัฐที่สอง: การเติบโตของประชาธิปไตย และการรัฐประหาร ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๐๔
Military forces occupying downtown Seoul
วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๓ รัฐสภาได้ผ่านความเห็นชอบร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญเพื่อกลับไปใช้ระบบคณะรัฐมนตรีที่มาจากรัฐสภา เมื่อมีการเลือกตั้ง ทั่วไปในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พรรคประชาธิปไตยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ได้ที่นั่งในรัฐสภา ๑๗๕ จากจ�ำนวนทั้งหมด ๒๓๓ ที่นั่ง 36 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ในระหว่ า งช่ ว งเวลาหลั ง การปฏิ วั ติ เ ดื อ นเมษายนตั้ ง แต่ วั น ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๐๓ ถึง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๐๔ ชาวเกาหลีได้ลิ้มลองเสรีภาพและ ประชาธิปไตยอย่างมากทีส่ ดุ นับแต่มกี ารจัดตัง้ สาธารณรัฐในปี ๒๔๙๑ ทว่านักศึกษา ไม่สามารถเข้ามามีสว่ นร่วมโดยตรงในกระบวนการทางการเมือง ทัง้ รัฐบาลทีน่ ำ� โดย พรรคประชาธิ ป ไตยมี ข ้ อ จ� ำ กั ด ไม่ ส ามารถที่ จ ะผลั ก ดั น การเปลี่ ย นแปลงตาม เจตนารมณ์ของการปฏิวัติได้ หลังจากการปฏิวัติเดือนเมษายนรัฐบาลเฉพาะกาล ชั่วคราวยังน�ำโดยนักการเมืองกลุ่มซิงมันรี พรรคประชาธิปไตยได้ขึ้นครองอ�ำนาจ หลังจากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อกลับมาใช้ระบบคณะรัฐมนตรีที่มาจากรัฐสภา แต่รฐั บาลในสมัยสาธารณรัฐทีส่ องซึง่ ประกอบด้วยนักการเมืองอนุรกั ษ์นยิ มมุง่ เน้น แต่การพัฒนาเศรษฐกิจโดยละเลยปัญหาทางการเมืองทีเ่ ป็นความเรียกร้องต้องการ ของการปฏิวัติ ประชาชนพลเมืองต่างไม่พอใจที่เกิดความล่าช้าในการด�ำเนินการ เอาผิดลงโทษผูเ้ กีย่ วข้องกับการโกงการเลือกตัง้ และการทุจริตคอรัปชัน่ เพียงแต่เมือ่ รัฐบาลทนต่อแรงกดดันทีม่ ากขึน้ ของสาธารณชนไม่ไหวจึงเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดทางให้สามารถออกกฎหมายพิเศษเพื่อลงโทษผู้ทรยศต่อชาติ ตลอดจน นักธุรกิจและเจ้าหน้าที่ที่ทุจริตได้เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ ความเรียกร้องต้องการของประชาชนวงการต่างๆ ทีถ่ กู ปิดกัน้ มานานจน มาปะทุขนึ้ หลังจากการปฏิวตั แิ สดงให้เห็นว่า สังคมเกาหลีถกู กดทับบิดเบีย้ วภายใต้ ระบอบเผด็จการซิงมันรีที่เต็มไปด้วยการคอรัปชั่นเล่นพรรคเล่นพวกอย่างมาก ซึ่ง ผู้น�ำการรัฐประหาร ๑๖ พฤษภาคมก็ได้ใช้ความปั่นป่วนโกลาหลเป็นข้ออ้างในการ ยึดอ�ำนาจ โดยอ้างว่าความปั่นป่วนวุ่นวายนี้เกิดจากความต้องการของประชาชน ที่ต้องการให้สอบสวนการสังหารพลเรือนในระหว่างสงคราม การลอบสังหารคิมกู (Kim Gu) และกรณีของโจบองอัมและพรรคก้าวหน้า ตลอดจนการพยายามลอบ สังหารจังเมียน (Jang Myeon) ข้อเท็จจริงในเรือ่ งดังกล่าวนีค้ วรจะได้รบั การเปิดเผย โดยการสอบสวนของรัฐสภาแต่แล้วก็ถูกกลบฝังไปอีกภายหลังการรัฐประหาร ขบวนการแรงงานได้เติบโตขยายตัวมากหลังการปฏิวัติเดือนเมษายน ทีเ่ ห็นได้ชดั คือ ครูอาจารย์ซงึ่ ประสบพบเห็นความเสียสละของนักศึกษาได้เคลือ่ นไหว จัดตั้งองค์กรของตนเอง เริ่มจากการจัดตั้งสหพันธ์ครูอาจารย์เมืองแดกูเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๓ จากนัน้ กระแสนีก้ ล็ ามไปทัว่ อย่างรวดเร็วยังผลให้มกี ารประกาศ ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 37
จัดตั้งสันนิบาตสหพันธ์ครูเกาหลีแห่งชาติเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๓ ในช่ ว งหลั ง การปฏิ วั ติ นี้ ประเด็ น การรวมประเทศกั บ เกาหลี เ หนื อ ซึง่ เคยเป็นเรือ่ งต้องห้ามในสมัยรัฐบาลซิงมันรีได้ผดุ ขึน้ มาเป็นประเด็นวาระแห่งชาติ ก่อนหน้านี้ในสมัยรัฐบาลพรรคเสรีนิยม โจบองอัมซึ่งชูประเด็นการรวมประเทศ อย่างสันติก็ถูกประหารชีวิตและพรรคก้าวหน้าของเขาก็ถูกประกาศให้เป็นพรรค นอกกฎหมาย แต่หลังจากการปฏิวตั เิ ดือนเมษายนนักการเมืองและนักศึกษาฝ่ายก้าวหน้า ก็หยิบยกประเด็นการรวมประเทศขึ้นมาถกเถียงอย่างหลากหลาย รวมทั้งข้อเสนอ จัดตั้งรัฐที่รวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวและเป็นกลาง และเรียกร้องให้รัฐบาลจังเมียน อย่าปิดกั้นขัดขวางการถกเถียงประเด็นนี้ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๐๔ กลุ่มหัวก้าวหน้าก่อการประท้วงคัดค้านสนธิสัญญาทางเศรษฐกิจระหว่าง เกาหลีกับสหรัฐอเมริกา คัดค้านร่างกฎหมายต่อต้านคอมมิวนิสต์ คัดค้านแผนการ ออกกฎหมายควบคุมการประท้วง ระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมนักศึกษา ขยายการเคลื่อนไหวสนับสนุนการรวมประเทศ และเมื่อนักศึกษามหาวิทยาลัย แห่งชาติกรุงโซลได้เดินขบวนอย่างเงียบสงบไปตามเส้นทางทีเ่ คยเดินเมือ่ ปีทแี่ ล้วในวาระ ครบรอบหนึง่ ปีของการปฏิวตั เิ ดือนเมษายน พวกเขาก็เรียกร้องให้มกี ารแลกเปลีย่ น นักศึกษาและจัดการประชุมนักศึกษาของสองประเทศเกาหลีตรงเส้นแบ่งพรมแดน พวกเขาประกาศการต่อสู้ต่อต้านระบบศักดินา การแทรกแซงจากต่างชาติและ นายทุนนายหน้า ในระหว่างการชุมนุมเตรียมการจัดตัง้ องค์การนักศึกษาระดับชาติ ในวันที่ ๕ พฤษภาคม ผูแ้ ทนสภานักศึกษา ๑๙ แห่งได้เสนอให้จดั การประชุมนักศึกษา สองประเทศเกาหลีทหี่ มูบ่ า้ นปันมุนจอมทีต่ งั้ คร่อมพรมแดนภาคเหนือ-ภาคใต้ อย่างไร ก็ดี การเคลือ่ นไหวเพือ่ การรวมประเทศทีข่ ยายตัวอย่างรวดเร็วก็ถกู บดขยีล้ งในเวลา ไม่กี่วันหลังรัฐประหารที่น�ำโดยปักจุงฮี การรัฐประหาร ๑๖ พฤษภาคมมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนไหวรวม ประเทศหรือเพราะความไม่สามารถของรัฐบาลจังเมียน หากแต่คณะทหารได้เริ่ม พูดคุยถึงการก่อกบฏหลังจากการปฏิวัติเดือนเมษายนได้ไม่นาน นายทหารบางคน ทีจ่ บจากโรงเรียนนายร้อยมีความไม่พอใจคุกกรุน่ อยูแ่ ล้วจากการทีไ่ ม่ได้รบั การเลือ่ น ต�ำแหน่งเพราะเหตุที่จ�ำนวนทหารประจ�ำการเพิ่มขึ้นอย่างมากในระหว่างและหลัง สงคราม คิมจองปิล (Kim Jong-pil) เสนาธิการคนส�ำคัญที่วางแผนยึดอ�ำนาจได้ดึง 38 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
เอาปักจุงฮี (Park Chung-hee) ลุงเขยของตนมาเข้าร่วมแผนการด้วย อีกทัง้ ประธานาธิบดีจงั เมียนยังล้มเหลวในการควบคุมก�ำกับกองทัพ แต่ ปัจจัยแห่งความส�ำเร็จของคณะรัฐประหารมาจากการได้รบั การรับรองอย่างรวดเร็ว จากทางการวอชิงตันซึ่งมีอ�ำนาจควบคุมสั่งการปฏิบัติการของทหารเกาหลี กลุ่มนายทหารหนุ่มที่ยึดอ�ำนาจมีความคิดต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่าง สุดโต่ง ปักจุงฮีกเ็ ชือ่ เช่นเดียวกับกลุม่ นายทหารหนุม่ ของญีป่ นุ่ ทีร่ งั เกียจนักการเมือง พลเรือนและรัฐสภาแล้วพยายามก่อรัฐประหารในญี่ปุ่นในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๙ ดังนัน้ เพือ่ สร้างความชอบธรรมให้กบั การรัฐประหารปักจุงฮีจงึ เน้นย�ำ้ ถึงการ สร้างระบบต่อต้านคอมมิวนิสต์ทแี่ ข็งกร้าว เขาด�ำเนินการกวาดล้างจับกุมนักการเมือง และนักเคลื่อนไหวฝ่ายก้าวหน้าจ�ำนวนมากที่สนับสนุนการร่วมมือระหว่างสอง ประเทศเกาหลี ภายใต้ข้ออ้างว่าเพื่อสร้างสังคมที่บริสุทธิ์ คณะทหารได้กวาดล้าง จับกุมกลุม่ การเมืองต่างๆ และลงโทษผูเ้ กีย่ วข้องกับการโกงเลือกตัง้ เมือ่ ๑๕ มีนาคม แต่ฝ่ายก้าวหน้าโดนเล่นงานหนักกว่าอดีตเจ้าหน้าที่รัฐบาลซิงมันรีที่เกี่ยวข้องกับ การคอรัปชั่นและการทุจริตเลือกตั้ง ในวันที่ ๔ กรกฎาคม ผู้นำ� รัฐประหารได้ออก กฎหมายปราบปรามคอมมิวนิสต์และจัดตั้งหน่วยข่าวกรองกลางเกาหลี (Korean Central Intelligence Agency-KCIA) อันทรงอิทธิพล คณะทหารได้สร้าง การปกครองแบบขวาจัดต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่เข้มงวดกว่าระบอบซิงมันรี ในการนี้ ปักจุงฮีตอ้ งการจะสร้างความประทับใจให้กบั สหรัฐอเมริกาทีค่ ลางแคลงใจในตัวเขา ที่เคยเกี่ยวข้องกับกิจกรรมฝ่ายซ้ายในอดีตเมื่อปี ๒๔๙๑ การรั ฐ ประหารจึ ง เป็ น ความต่ อ เนื่ อ งของระบอบเผด็ จ การต่ อ ต้ า น คอมมิวนิสต์และทรยศต่อการปฏิวัติเดือนเมษายน ในขณะที่นักศึกษาหนุ่มสาวซึ่ง เป็นพลังขับเคลือ่ นส�ำคัญของการปฏิวตั ไิ ม่สามารถยกระดับการจัดตัง้ ของตนเองไป เป็นพลังทางการเมืองได้ กองทัพจึงสามารถยึดอ�ำนาจและสร้างก�ำแพงปิดกั้นไม่ให้ สังคมเกาหลีได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างปกติได้
การจัดตั้งรัฐบาลปักจุงฮีและการประท้วงสนธิสัญญาเกาหลี-ญี่ปุ่น
การลงประชามติในเดือนธันวาคม ๒๕๐๕ ได้ให้ความเห็นชอบกับการ แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยนไปเป็นระบอบประธานาธิบดี แล้วผู้น�ำรัฐประหารก็ ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 39
ตระบัดสัตย์ที่เคยสัญญาว่าจะกลับกรมกองเมื่อภารกิจฟื้นฟูความสงบเรียบร้อย บรรลุแล้ว แต่กลับยึดกุมอ�ำนาจไม่ยอมปล่อย หลังจากได้ปราบปรามฝ่ายก้าวหน้าและจ�ำกัดการเคลือ่ นไหวของนักการเมือง ที่มีชื่อเสียงแล้ว ผู้น�ำรัฐประหารก็ได้จัดตั้งพรรคการเมืองของตนเองคือ พรรค สาธารณรัฐประชาธิปไตย (Democratic Republican Party) โดยมีหน่วย ข่าวกรองทหาร KCIA มีบทบาทส�ำคัญอยูเ่ บือ้ งหลัง พอวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๐๖ พรรคก็เสนอชื่อปักจุงฮีเป็นผู้สมัครชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดีที่จะมีขึ้นในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ยุนโปเซิน (Yun Bo-seon) ผู้สมัครตัวแทนพรรคฝ่ายค้านได้โจมตีปักจุงฮี ในเรื่องที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อกบฏของทหารฝ่ายซ้ายก่อนจะเกิดสงคราม แต่ วิธีการการโจมตีอุดมการณ์ฝ่ายซ้ายนี้กลับมีผลในทางตรงกันข้ามท�ำให้ปักจุงฮีได้ รับคะแนนเสียงเพิ่มขึ้นโดยไม่คาดหมายจากจังหวัดภาคใต้ซึ่งเป็นฐานส�ำคัญของ ฝ่ายซ้าย ปักจุงฮีชนะเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงมากกว่าคู่แข่ง ๑๕๐,๐๐๐ คะแนน ทว่าเมื่อค�ำนึงถึงว่าขนาดทหารควบคุมสังคมทุกส่วนยังชนะได้เพียงแค่นี้ แสดงว่า ผู้ชนะที่แท้จริงคือยุนโปเซินแต่ไม่ได้อ�ำนาจในการบริหารประเทศ ในการเลือกตั้ง สมาชิกรัฐสภาวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ผูส้ มัครจากพรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตยของ ปักจุงฮีชนะการเลือกตัง้ ๘๘ เขตจากทัง้ หมด ๑๓๑ เขต และเมือ่ รวมกับสมาชิกแบบ สัดส่วนอีก ๒๒ คนท�ำให้พรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตยมีที่นั่งทั้งหมด ๑๑๐ ที่นั่ง อย่างมั่นคงในรัฐสภา ชัยชนะในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาของฝ่ายรัฐบาลมีสาเหตุ ส�ำคัญมาจากความแตกแยกในฝ่ายค้าน ปักจุงฮีเข้ารับต�ำแหน่งประธานาธิบดี ในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๖ ส่วนผู้ร่วมก่อรัฐประหารคนอื่นก็เข้ารับต�ำแหน่ง ส�ำคัญในส�ำนักงานประธานาธิบดีที่เรียกว่า เจิงวาแด (Cheong Wa Dae) และใน หน่วยข่าวกรองกลาง (KCIA) และในพรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตย (DRP) เมื่อ ได้เป็นประธานาธิบดีปักจุงฮีให้ความส�ำคัญกับการสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ ซึ่งจ�ำเป็นต้องได้เงินทุนที่จ�ำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจจากญี่ปุ่นนอกเหนือจาก ความช่วยเหลือที่ได้รับจากสหรัฐอเมริกา การเจรจาเพื่อรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศญี่ปุ่นซึ่งเคย เป็นเจ้าอาณานิคมเกาหลีมาก่อนได้เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลซิงมันรี การประชุม ครัง้ แรกมีขนึ้ ทีก่ รุงโตเกียวในเดือนธันวาคม ๒๔๙๔ ได้ยตุ ลิ งเมือ่ หัวหน้าคณะผูแ้ ทน 40 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ญีป่ นุ่ พยายามทีจ่ ะบิดเบือนว่า การปกครองแบบอาณานิคมของญีป่ นุ่ เป็นประโยชน์ ต่อเกาหลี นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังตกลงกันไม่ได้ในเรื่อง “เส้นสันติภาพ” หรือ เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างสองประเทศในทะเล และกรรมสิทธิเ์ หนือดินแดนหมูเ่ กาะ ด๊อกโด (Dokdo Islets) รวมทัง้ เรือ่ งการเยียวยาและค่าชดเชย ในขณะทีซ่ งิ มันรีนำ� เอา ผูน้ ยิ มญีป่ นุ่ หลายคนมาเข้าร่วมรัฐบาลแต่กใ็ ช้ประโยชน์จากความรูส้ กึ ต่อต้านญีป่ นุ่ ของคนเกาหลีมาสร้างเสริมอ�ำนาจของตน รัฐบาลจังเมียนพยายามจะด�ำเนินการ เจรจากับญี่ปุ่นต่อ แต่ก็ยุติไปเมื่อเกิดรัฐประหาร คณะทหารของปักจุงฮีกระตือรือล้นทีจ่ ะผลักดันการเจรจาให้สำ� เร็จเพือ่ ชดเชยสิ่งที่ตนขาดความชอบธรรมในการปกครองประเทศ ปักจุงฮีส่งคิมจองปิล (Kim Jong-pil) ไปญี่ปุ่นในฐานะทูตพิเศษของรัฐบาลทหารในเดือนตุลาคมและ พฤศจิกายนปี ๒๕๐๕ เพื่อเจรจาลับกับรัฐมนตรีต่างประเทศมาซาโยชิ โอฮิร่าของ ญีป่ นุ่ การเจรจานีด้ ำ� เนินไปอย่างรวดเร็วเมือ่ ถึงต้นปี ๒๕๐๗ หลังการเข้ารับต�ำแหน่ง ของประธานาธิบดีปกั จุงฮี ในค�ำปราศรัยเนือ่ งในวันปีใหม่ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๐๗ ประธานาธิบดีคนใหม่ประกาศค�ำมั่นว่า จะผลักดันนโยบายการทูตที่เน้นเศรษฐกิจ เชิงรุกเพือ่ ดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศให้เพิม่ ขึน้ โดยมีสงิ่ จูงใจทีด่ ขี นึ้ และยังประกาศ อีกว่า จะผลักดันการเจรจาฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตกับญี่ปุ่นให้ส�ำเร็จโดยเร็ว โดยค�ำนึงถึงเป้าหมายทีก่ ว้างกว่าคือการสร้างสันติภาพและความมัน่ คงของภูมภิ าค เอเชียตะวันออกไกลด้วยการร่วมมืออย่างใกล้ชิดในหมู่ประเทศโลกเสรี พรรคการเมืองฝ่ายค้าน ผู้น�ำศาสนา ผู้น�ำทางสังคมได้ร่วมกันจัดตั้ง แนวร่วมคัดค้านการเจรจาแต่ฝ่ายเดียวกับญี่ปุ่นของปักจุงฮี โดยกล่าวหาว่าเป็น “การทูตที่น่าอัปยศ” ต่อมานักศึกษาได้เข้าร่วมการรณรงค์ทั่วประเทศนี้ แม้จะมี เสียงคัดค้านเพิ่มขึ้นจากพรรคฝ่ายค้านและสาธารณชนแต่คิมจองปิลก็เดินทางไป ญีป่ นุ่ อีก เขาประกาศทีโ่ ตเกียวในวันที่ ๒๓ มีนาคมว่า ประเทศทัง้ สองจะลงนามสนธิ สัญญาตอนต้นเดือนพฤษภาคม วันรุ่งขึ้นนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซลได้ เผาหุ่นของคิมจองปิลและนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นักศึกษาประมาณ ๕,๐๐๐ คนจาก มหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซล มหาวิทยาลัยเกาหลีและมหาวิทยาลัยยอนเซได้เดิน ขบวนไปตามถนนในกรุงโซล การประท้วงยุติลงโดยไม่มีการปะทะ นักศึกษาอ้างว่า พวกเขาไม่ได้ต่อต้านรัฐบาลและทางการอนุญาตให้เดินขบวนอย่างสงบได้ การเดิน ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 41
ขบวนครั้งนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดนับแต่วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๐๓ เมื่อการประท้วง แผ่ขยายไปทั่วประเทศรัฐบาลก็เรียกตัวคิมจองปิลกลับมาอย่างกระทันหันและ ตั้งนักการทูตอาชีพไปแทน การเจรจาได้ยุติลง และการประท้วงของนักศึกษาก็เบาบางลง แต่แล้ว ในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม การประท้วงร่วมกันของนักศึกษาทีม่ หาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซล ได้กลายเป็นการประท้วงต่อต้านรัฐบาล แนวร่วมองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัย ต่างๆ ได้จัดพิธีศพหลอกเพื่อไว้อาลัยให้กับนโยบาย “ประชาธิปไตยแห่งชาติ” ของรัฐบาลที่น�ำมาซึ่งอุดมการณ์การเมืองที่สับสน ความปั่นป่วนวุ่นวายไร้ระเบียบ ไม่มีที่สิ้นสุด การด�ำเนินการทางการทูตที่ตกเป็นเบี้ยล่าง และความไร้ทิศทาง ไร้ ความเป็นอิสระ ไร้ภาวะผู้น�ำ นี่เป็นการท้าทายโดยตรงต่อนโยบาย “ประชาธิปไตย แห่งชาติ” ของปักจุงฮีและคณะรัฐประหาร นักศึกษายังกล่าวหารัฐบาลว่าตามก้นญีป่ นุ่ และตามก้นอเมริกา เช้าตรู่วันต่อมาทหารพลร่มกลุ่มหนึ่งบุกเข้าไปในศาลเพื่อให้ ออกหมายจับนักศึกษาผู้ประท้วง วันที่ ๒๕ พฤษภาคม นักศึกษาจัดการชุมนุม ประท้วงที่มหาวิทยาลัย ๒๖ แห่งทั่วประเทศ วันต่อมาสภาอาจารย์มหาวิทยาลัย แห่งชาติกรุงโซลได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้กองทัพวางตัวเป็นกลาง เรียกร้อง ความเป็นอิสระของสถาบันการศึกษา และปลดปล่อยนักโทษที่ถูกจับกุม วันที่ ๓๐ พฤษภาคม นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซลกลุ่มหนึ่งเริ่มอดอาหารประท้วง เรียกร้องให้รัฐบาลลาออกและยุติการปราบปราม การอดอาหารประท้วงซึ่งมีการ อ่านบทกวี เล่นละคร การแสดงท้องถิ่น ได้มีบทบาทส�ำคัญในการกระตุ้นให้เกิด การประท้วงในขอบเขตทั่วประเทศ การปะทะแตกหักเกิดขึ้นในวันที่ ๓ มิถุนายน เมื่อนักศึกษาประมาณ ๑๕,๐๐๐ คนจาก ๑๘ มหาวิทยาลัยในกรุงโซลได้ออกมา ประท้วงท่ามกลางสายฝนในเช้าวันนั้นพร้อมกับที่อื่นๆ ในเมืองต่างๆ นักศึกษา ตะโกนค�ำขวัญ “ปักจุงฮีออกไป” แล้วฝ่าด่านต�ำรวจย่านใจกลางเมืองมุ่งหน้า ไปยังเจิงวาแด ทีท่ ำ� การประธานาธิบดี พร้อมกับบุกเข้าโจมตีสถานีตำ� รวจหลายแห่ง คืนนั้นเองประธานาธิบดีก็ประกาศกฎอัยการศึกทั่วทั้งกรุงโซล ยุติการประท้วง ที่ดำ� เนินมากว่า ๒ เดือนลงโดยสิ้นเชิง
42 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
การให้สัตยาบันสนธิสัญญาเกาหลี-ญี่ปุ่น สงครามเวียดนาม และกฤษฎีกาส่งทหารประจ�ำการ
การปะทะในวันที่ ๓ มิถุนายนแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าครั้งใหญ่ ของขบวนการนักศึกษาซึ่งมีการจัดตั้งที่ดีขึ้นและมีความตระหนักในเป้าหมายที่ ชัดเจนกว่าการปฏิวัติเดือนเมษายน พวกเขารับรู้เข้าใจในธาตุแท้ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ ประชาธิปไตยและประเทศชาติของระบอบปักจุงฮี ประธานาธิบดีฉวยโอกาสจาก เหตุการณ์ ๓ มิถุนายนท�ำการปราบปรามกลุ่มการเมืองฝ่ายค้านและเสริมอ�ำนาจ ของตนเองให้แข็งแกร่งขึน้ หลังจากประกาศกฎอัยการศึกรัฐบาลได้ทำ� การกวาดล้าง จับกุม ผูน้ ำ� กลุม่ ก้าวหน้าครัง้ ใหญ่ตงั้ ข้อหาว่าฝ่าฝืนกฎหมายความัน่ คงภายใน และยัง พยายามจะออกกฎหมายควบคุมกิจกรรมนักศึกษาและสือ่ มวลชนทีเ่ ข้มงวดมากขึน้ อย่างไรก็ดกี ฎหมายนีถ้ กู แขวนการพิจารณาในรัฐสภา กฎหมายควบคุมสือ่ มวลชนแม้ จะผ่านรัฐสภาแล้วแต่เนือ่ งจากเสียงคัดค้านของเจ้าของธุรกิจสือ่ มวลชนจึงไม่อาจน�ำ มาใช้ในทางปฏิบัติได้ หน่วยข่าวกรองกลาง (KCIA) แถลงเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคมว่า ได้เข้าทะลายทีต่ งั้ ของพรรคประชาชนปฏิวตั แิ ละจับกุมสมาชิก ๔๗ คนในข้อหาจัดตัง้ พรรคตามแนวทางนโยบายของพรรคกรรมกรเกาหลีเหนือ และพยายามก่อกบฏ และพยายามจะเชือ่ มโยงผูต้ อ้ งหานีก้ บั การเคลือ่ นไหวต่อต้านการเจรจาเกาหลี-ญีป่ นุ่ แต่ความพยายามนีล้ ม้ เหลวเมือ่ อัยการปฏิเสธทีจ่ ะฟ้องผูต้ อ้ งหาด้วยข้อหาทีเ่ สกสรร ปัน้ แต่งขึน้ โดยให้เหตุผลว่าไม่มหี ลักฐานเพียงพอ ทัง้ ยังขูว่ า่ จะลาออกถ้าโดนบีบด้วย การเจรจาเกาหลี-ญีป่ นุ่ กลับมาเริม่ ต้นใหม่หลังจากนายกรัฐมนตรีเออิซากุ ซาโตะของญีป่ นุ่ เข้ารับต�ำแหน่งในเดือนธันวาคม ๒๕๐๗ ทัง้ สองฝ่ายได้สรุปข้อตกลง เบือ้ งต้นเมือ่ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๘ และสามารถตกลงกันได้ในเรือ่ งค่าเยียวยา ซึ่งประกอบด้วยเงินให้เปล่า ๓๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เงินกู้ภาครัฐบาล ๓๐๐ ล้าน เหรียญสหรัฐฯ และเงินกู้ภาคเอกชนอีก ๓๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม ความก้าวหน้าในการเจรจาท�ำให้พลังการเคลื่อนไหวต่อต้านอ่อนก�ำลัง ลง แนวร่วมกลุ่มต่อต้านสนธิสัญญาได้นัดประชุมอีกครั้งและจัดการชุมนุมในสนาม กีฬาเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคมโดยมีผู้ร่วมชุมนุมประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน การประท้วง ต่อต้านยังเกิดขึน้ ในเมืองต่างๆ อีก ๒๒ เมืองระหว่างวันที่ ๒๗ มีนาคมถึง ๓ เมษายน พอถึงเดือนเมษายนนักศึกษาก็เริ่มเคลื่อนไหวประท้วงมากขึ้นท�ำให้เกิดการปะทะ ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 43
กับต�ำรวจบ่อยครั้ง วันที่ ๑๕ เมษายนนักศึกษามหาวิทยาลัยดองกุกชื่อ คิมจุงแบ (Kim Jung-bae) เสียชีวิตลงหลังจากถูกต�ำรวจฟาดด้วยกระบองระหว่างประท้วง บนถนนเมื่อสองวันก่อน ความตายของนักศึกษายิ่งเพิ่มทวีความโกรธแค้นให้กับ ผู้ประท้วงมากขึ้น นักศึกษากฎหมายของมหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซล ๕๐ คน ได้อดอาหารประท้วง วันต่อมาคือ ๑๗ เมษายน นักศึกษาประชาชนในนามของ แนวร่วมกลุ่มพลเมืองได้จัดการเดินขบวนครั้งใหญ่ ที่มีผู้เข้าร่วมถึง ๔๐,๐๐๐ คน รัฐบาลตอบโต้โดยการสั่งปิดมหาวิทยาลัยชั่วคราว มีข่าวลือด้วยว่า ทหารได้เข้ามา ประจ�ำการตามสถาบันการศึกษาต่างๆ การเคลื่อนไหวต่างๆ จึงยุติลง วันที่ ๒๒ มิถุนายน รัฐมนตรีต่างประเทศของเกาหลีและญี่ปุ่นได้ลงนาม ในสนธิสัญญาหลักพร้อมกับความตกลงร่วมกันอีก ๓๐ ฉบับ และเอกสารแนบที่ กรุงโตเกียว สนธิสัญญานี้ละเว้นที่จะไม่กล่าวถึงความรับผิดชอบต่อการกระท�ำผิด ในอดีตของญี่ปุ่นอย่างชัดเจน ทั้งยังระบุด้วยว่าเมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญา นี้แล้วประเด็นการชดใช้ค่าเสียหายเป็นอันยุติ ซึ่งท�ำให้รัฐบาลญี่ปุ่นใช้เป็นข้ออ้าง ในการปฏิเสธการชดใช้ค่าเสียหายของพลเรือนในเวลาต่อมา การลงนามในสนธิสญ ั ญาส่งผลให้เกิดการประท้วงขึน้ มาอีก โดยนักศึกษา เกือบจะทุกมหาวิทยาลัยออกมาชุมนุมประท้วง กลุ่มพลเมืองและประชาสังคม ต่างก็แสดงการคัดค้านการให้สัตยาบัน วันที่ ๑๑ กรกฎาคมนายทหารชั้นนายพล ที่เคยมีต�ำแหน่งหน้าที่ส�ำคัญที่เกษียณแล้ว ๑๑ คน ได้ออกค�ำแถลงสนับสนุนการ เคลื่อนไหวคัดค้านสนธิสัญญา ตัวแทนจากวงการวิชาการ ศาสนา ธุรกิจ ศิลปิน ตลอดจนทหารผ่านศึกจ�ำนวน ๒๕๐ คน ได้ร่วมกันจัดตั้งสมัชชาแห่งชาติเพื่อ ต่อต้านสนธิสัญญา แต่พรรคการเมืองฝ่ายค้านที่ส�ำคัญเกิดความแตกแยกกันในประเด็นนี้ วั น ที่ ๑๔ กรกฎาคมรั ฐ บาลก็ เ สนอญั ต ติ ใ ห้ สั ต ยาบั น สนธิ สั ญ ญานี้ พ ร้ อ มกั บ ร่างกฎหมายอนุมตั ใิ ห้สง่ ทหารไปรบในสงครามเวียดนาม ด้วยการตกลงลับๆ กับสมาชิก ฝ่ายค้านสายกลางรัฐบาลก็สามารถผ่านกฎหมายส่งทหารไปเวียดนามได้ในวันที่ ๑๓ สิงหาคม และผ่านการให้สัตยาบันสนธิสัญญาเกาหลี-ญี่ปุ่นได้ในวันที่ ๑๔ สิงหาคม หลังจากนักศึกษากลับเข้ามหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นสุดการปิดเทอมฤดูร้อน ก็ได้เริม่ การเคลือ่ นไหวเพือ่ ยกเลิกการให้สตั ยาบันอีก ในวันที่ ๒๓ และ ๒๔ สิงหาคม 44 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
พวกเขาก็เดินขบวนออกมาบนถนน ประกาศให้การให้สัตยาบันเป็นโมฆะ และ เรียกร้องให้ยุบสภาซึ่งควบคุมโดยพรรครัฐบาลเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา ใหม่ วันที่ ๒๖ สิงหาคมรัฐบาลประกาศกฤษฎีกาส่งทหารประจ�ำการ และส่งทหาร เข้าไปประจ�ำตามมหาวิทยาลัยต่างๆ และเริ่มการไล่ล่าจับกุมผู้น�ำการประท้วง ขนานใหญ่ ทั้งสั่งปิดมหาวิทยาลัยเกาหลีและมหาวิทยาลัยยอนเซ เนื่องจากมัวแต่สนใจเรื่องสนธิสัญญาเกาหลี-ญี่ปุ่น พรรคฝ่ายค้านและ กลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ จึงไม่ได้ให้ความสนใจเพียงพอกับปัญหาส�ำคัญยิ่งอีกเรื่องคือ การส่งก�ำลังทหารไปเวียดนาม ซึ่งท�ำให้รัฐบาลปักจุงฮีกระชับความสัมพันธ์อย่าง เหนียวแน่นกับทางการวอชิงตันและวางพื้นฐานที่แข็งแกร่งส�ำหรับการรวบอ�ำนาจ เผด็จการของปักจุงฮีโดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเวลาต่อมา เงินดอลล่าร์ที่ได้มา จากการแลกด้วยเลือดของทหารเกาหลีทหี่ ลัง่ ในสงครามเวียดนามเป็นเงินทุนทีห่ นุนส่ง การพัฒนาเศรษฐกิจ แต่การที่เกาหลีมีส่วนร่วมในสงครามที่ไม่เป็นธรรมนั้นเป็น รอยด่างของประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจลบเลือนได้
การทุจริตเลือกตั้ง ๘ มิถุนายน ๒๕๑๐ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยืดเวลาครองอ�ำนาจของปักจุงฮี
มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีและสมาชิกรัฐสภาในปี ๒๕๑๐ ปักจุงฮี ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีต่ออีกสมัยหนึ่งด้วยคะแนนเสียงที่ชนะคู่แข่ง มากถึง ๑.๑๖ ล้านเสียง อิทธิพลของฝ่ายค้านได้ลดลงและยุนโปเซินเป็นผู้สมัคร ฝ่ายค้านที่มีอายุมากและไม่เป็นที่นิยมของผู้ออกเสียง ความเติบโตทางเศรษฐกิจก็ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำ� ให้ปักจุงฮีชนะการเลือกตั้งอย่างง่ายดาย การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาก�ำหนดจะมีขึ้นในวันที่ ๘ มิถุนายน ซึ่ง ปักจุงฮีตั้งเป้าว่าจะกวาดที่นั่งให้ได้สองในสามของทั้งหมดเพื่อให้เพียงพอกับการ แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้เขาสามารถสมัครชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สามได้ รัฐธรรมนูญในขณะนัน้ จ�ำกัดการด�ำรงต�ำแหน่งประธาธิบดีไม่ให้เกินสองสมัย ปักจุงฮี และรัฐบาลของเขาได้แทรกแซงการเลือกตั้งเช่นเดียวกับที่ประธานาธิบดีซิงมันรี กระท�ำในการเลือกตัง้ ปี ๒๔๙๗ ก็เพือ่ จะแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อเวลาครองอ�ำนาจออก ไป ปักจุงฮีได้เริม่ เดินสายหาเสียงในต่างจังหวัดตัง้ แต่วนั ที่ ๑๘ พฤษภาคมโดยโฆษณา ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 45
ถึงโครงการพัฒนาต่างๆ รัฐมนตรีต่างๆ ก็รีบออกต่างจังหวัดเพื่อบีบข้าราชการให้ สนับสนุนพรรครัฐบาล จากการใช้วธิ กี ารทุกอย่างนับแต่การใช้อำ� นาจรัฐ อ�ำนาจเงิน และโครงการหาเสียงต่างๆ พรรครัฐบาลจึงชนะการเลือกตั้งอย่างขาดลอยโดยได้ ที่นั่ง ๑๐๓ จากทั้งหมด ๑๓๑ เขต เมื่อบวกกับการย้ายข้างของสมาชิกบางคนและสมาชิกแบบสัดส่วนอีก ๒๓ คนท�ำให้พรรครัฐบาลมีเสียงรวม ๑๓๐ เสียงในรัฐสภาซึง่ เพียงพอทีจ่ ะผ่านความ เห็นชอบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ พรรคฝ่ายค้านมีเสียงเพียง ๔๕ เสียง อย่างไร ก็ตาม การเลือกตัง้ ครัง้ นีเ้ ป็นการเลือกตัง้ ทีม่ ปี ญ ั หามากทีส่ ดุ เป็นอันดับสองรองจาก การเลือกตั้ง ๑๕ มีนาคม ๒๕๐๓ นักศึกษาและพรรคฝ่ายค้านและกลุ่มทางสังคม ได้ประณามการเลือกตั้งที่สกปรกนี้และก่อการประท้วงแทบทุกวัน พรรคฝ่ายค้าน คือพรรคประชาธิปไตยใหม่ (New Democratic Party) ได้ประกาศให้การเลือก ตั้งเป็นโมฆะและจัดการชุมนุมใหญ่ในวันที่ ๑๘ มิถุนายน อย่างไรก็ดี ในวันที่ ๑๖ มิถุนายนรัฐบาลก็สั่งปิดมหาวิทยาลัย ๓๐ แห่งกับโรงเรียนมัธยมอีก ๑๔๘ แห่ง เป็นการชั่วคราว หน่วยข่าวกรองกลางเกาหลี (KCIA) พยายามจะหันเหความสนใจ ของสาธารณชนไปจากการเลือกตั้งโดยแถลงเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคมว่า ได้ทะลาย เครือข่ายสายลับเกาหลีเหนือทีม่ ฐี านอยูท่ เี่ บอร์ลนิ ได้ และใช้การสร้างเรือ่ งนีก้ ล่าวหา ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลกว่า ๑๐๐ คนรวมทั้ง ยุนอิซัง (Yun I-sang) นักดนตรีชื่อ ก้องโลก แต่เมือ่ ผูป้ ระท้วงไม่ได้ออ่ นก�ำลังลงรัฐบาลก็หนั มาใช้วธิ กี ารประนีประนอม เพื่อที่จะลดทอนความไม่พอใจรัฐบาลลงพรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตยที่มีปักจุงฮี เป็นประธานได้ขับสมาชิกรัฐสภาฝ่ายรัฐบาลที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งออกจากพรรค ๑๓ คน และรัฐบาลยังได้ปลดเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตการ เลือกตั้งในเดือนกันยายน พอถึงเดือนพฤศจิกายนรัฐสภาก็สามารถท�ำงานได้ตาม ปรกติ และการประท้วงก็ยุติลง ปักจุงฮีกับผู้สนับสนุนรอเวลามาอีกหนึ่งปีจึงได้เริ่มเคลื่อนไหวแก้ไข รัฐธรรมนูญเป็นครั้งที่สาม วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๑๑ ยุนชียอง (Yun Chiyong) รักษาการประธานพรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตย (DRP) แถลงข่าวว่า ถ้าหากประชาชนต้องการพรรคก็จะผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้ ประธานาธิบดีเป็นต่ออีกสมัยเป็นสมัยที่สามได้ ความพยายามของปักจุงฮีที่จะต่อ 46 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
อายุประธานาธิบดีของตนเองถูกต่อต้านคัดค้านในทันที แม้แต่จากภายในพรรค ของเขาเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคิมจองปิลซึ่งช่วยปักจุงฮีวางแผนท�ำรัฐประหารและ คาดหวังว่าตนเองจะเป็นทายาทสืบต่อจากปักจุงฮีไม่พอใจการเคลื่อนไหวแก้ไขรัฐ ธรรรมนูญครั้งนี้ แต่ฐานะทางการเมืองของคิมจองปิลก็ตกต�่ำลงนับแต่คนของเขา ถูกถอดถอนออกจากต�ำแหน่งส�ำคัญในพรรคในเดือนพฤษภาคม ๒๕๑๑ พรรคฝ่ายค้านที่สำ� คัญคือพรรคประชาธิปไตยใหม่ (New Democratic Party) ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษปกป้องรัฐธรรมนูญขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๑๒ และในเดือนพฤษภาคมพรรคประชาธิปไตยใหม่และกลุม่ ประชาสังคมต่างๆ ก็ได้ร่วมกันต่อต้านคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นักศึกษาก็เริ่มต้นจัดการประท้วง บนท้องถนนอย่างแข็งขัน ต้นเดือนกรกฎาคมรัฐบาลได้สั่งให้มหาวิทยาลัยและ วิทยาลัยต่างๆ ปิดท�ำการสอนเพื่อป้องกันการประท้วง และนักศึกษาก็เริ่มหยุด พักผ่อนปิดเทอมฤดูรอ้ น แม้กระนัน้ พันธมิตรพรรคฝ่ายค้านกับกลุม่ ประชาสังคมก็ได้ จัดการชุมนุมหมุนเวียนตามเมืองต่างๆ เริ่มจากกรุงโซลในวันที่ ๑๔ กรกฎาคม แต่ แม้จะมีเสียงคัดค้านมากมายแต่พรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตยก็ได้เสนอญัตติให้มี การลงประชามติในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคมโดยมีสมาชิก รัฐสภาร่วมลงชื่อ ๑๒๑ คน วันต่อมาสมาชิกฝ่ายค้านได้เริ่มการนั่งประท้วงภายใน ห้องประชุมรัฐสภา ขณะที่มหาวิทยาลัยได้เปิดเทอมภาคฤดูใบไม้ร่วงนักศึกษาก็ ก่อหวอดการประท้วงขึน้ มาใหม่ มหาวิทยาลัยจึงถูกปิดชัว่ คราวอีกครัง้ หนึง่ วันที่ ๑๔ กันยายน สมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตยได้จัดการประชุมกัน ที่อาคารข้างห้องประชุมรัฐสภาและผ่านมติให้มีการลงประชามติโดยไม่มีสมาชิก ฝ่ายค้านเข้าร่วมประชุม พรรคประชาธิปไตยใหม่ประท้วงโดยเดินขบวนออกไป บนท้องถนนและการชุมนุมประท้วงอย่างดุเดือดก็เกิดขึ้นตามมหาวิทยาลัยต่างๆ รัฐบาลก็เตรียมการส�ำหรับการลงประชามติโดยเพิ่มทวีการปราบปราม ส่งก�ำลัง ทหารไปประจ�ำตามมหาวิทยาลัยและปิดมหาวิทยาลัยอีกครัง้ หนึง่ ผลการลงประชามติ ปรากฏว่ า มี ผู ้ ใ ห้ ความเห็นชอบกับ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๖๕.๑ เปอร์เซ็นต์ ของผู้มาใช้สิทธิ์ซึ่งคิดเป็นจ�ำนวน ๗๗.๑ เปอร์เซ็นต์ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง เท่ากับเป็น การให้ ค วามชอบธรรมแก่ ป ั ก จุ ง ฮี ใ นอั น ที่ จ ะยื ด ระยะเวลาการครองอ� ำ นาจ ต่อไปอีก ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 47
สมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้านนั่งประท้วงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อยืดเวลาครองอ�ำนาจของประธานาธิบดีปักจุงฮี
ปัจจัยส�ำคัญอย่างหนึ่งของชัยชนะของปักจุงฮีในการลงประชามติคือ นโยบายเศรษฐกิจ หลังจากที่ปักจุงฮีใช้ก�ำลังยึดอ�ำนาจโดยการรัฐประหารที่ผิด กฎหมาย เขาก็พยายามสร้างความชอบธรรมให้กับตนเองโดยการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้วยแผน ๕ ปี รัฐบาลปักจุงฮีเดินตามแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งไปยังการค้า ต่างประเทศ เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ยุทธศาสตร์นี้ปรากฏว่า ได้ผลอย่างเห็นได้ชัด ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจห้าปีฉบับแรก (๒๕๐๕-๒๕๐๙) ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ม วลรวมประชาชาติ ข องเกาหลี เ พิ่ ม ขึ้ น โดยเฉลี่ ย ๘.๓ เปอร์ เซ็ น ต์ ต่อปี และในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจห้าปีฉบับที่สอง (๒๕๑๐-๒๕๑๔) เศรษฐกิจ เติบโตในอัตรา ๙.๗ เปอร์เซ็นต์ต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ ๗ เปอร์เซ็นต์ต่อปี ความส�ำเร็จทางเศรษฐกิจนีไ้ ด้เสริมความเข้มแข็งทางการเมืองให้กบั ปักจุงฮี ช่วยให้ เขาสามารถชนะการเลื อ กตั้ ง ประธานาธิ บ ดี อ ย่ า งท่ ว มท้ น รวมทั้ ง การแก้ ไข รัฐธรรมนูญเปิดทางให้เขาครองอ�ำนาจต่อเป็นสมัยที่สาม 48 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ระบอบปักจุงฮี โดยเนื้อแท้ก็คือ เผด็จการทหาร ที่สืบทอดต่อจาก เผด็จการต่อต้านคอมมิวนิสต์ของซิงมันรี รัฐบาลปักจุงฮีอาจจัดอยู่ในประเภท เผด็จการทีโ่ หนกระแสการพัฒนา เป็นระบอบเผด็จการทีน่ ำ� เอาการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเป้าหมายเชิงบวกมาบังหน้าแทนที่การต่อต้านคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นเป้าหมาย เชิงลบ และเกณฑ์เอาประชาชนชนทุกคนกับใช้ทรัพยากรของชาติเพื่อบรรลุ เป้าหมายนี้
ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 49
50 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ภาคที่
๓
ขบวนการ ประชาธิปไตยในช่วง ทศวรรษที่ ๑๙๗๐ (๒๕๑๓-๒๕๒๒)
ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 51
ภาคที่
๓
ขบวนการประชาธิปไตยในช่วง ทศวรรษที่ ๑๙๗๐ (๒๕๑๓-๒๕๒๒) ลักษณะเด่นของขบวนการประชาธิปไตย ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๗๐ (๒๕๑๓-๒๕๒๒)
การปกครองด้วยก�ำปั้นเหล็กของระบอบปักจุงฮี และการต่อต้านอย่าง ทรหดอดทนของกลุ่มพลังประชาธิปไตยเป็นลักษณะส�ำคัญของการเปลี่ยนแปลง ทางการเมืองในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๗๐ รั ฐ บาลปั ก จุ ง ฮี ซึ่ ง เกิ ด จากการรั ฐ ประหารปี ๒๕๐๓ ที่ โ ค่ น รั ฐ บาล ประชาธิปไตยอันเกิดจากการปฏิวัติของประชาชนเดือนเมษายนได้เสริมอ�ำนาจ ของตนทันทีด้วยการใช้อุดมการณ์ต่อต้านคอมมิวนิสต์และกระตุ้นการเติบโตทาง เศรษฐกิจ ในปี ๒๕๐๓ นั้นประชาชนพลเมืองทั่วไปต่างมีความคาดหวังว่า รัฐบาล ปักจุงฮีแม้จะมาจากการยึดอ�ำนาจด้วยก�ำลังแต่ก็จะช่วยปกป้องระบบที่ไม่เป็น คอมมิวนิสต์ ฉุดดึงประเทศให้พน้ จากความยากจนทีส่ ดุ ซึง่ เป็นเป้าหมายส�ำคัญทีส่ ดุ ของประเทศภายหลังจากสงครามเกาหลี รัฐบาลปักจุงฮีได้โหนกระแสการพัฒนา เศรษฐกิจอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์นี้เอาชนะการเลือกตั้งสองครั้งที่ผ่านมาใน ช่วงทศวรรษที่แล้วได้ อย่างไรก็ดี เมือ่ ย่างเข้าทศวรรษที่ ๑๙๗๐ รัฐบาลเริม่ เผชิญกับความเป็นจริง อันใหม่คือ การต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่เบาบางลง การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าลง การเกิดขึ้นของฝ่ายค้านที่มีพลัง และความเรียกร้องต้องการทางสังคมที่ประทุขึ้น 52 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
จ�ำนวนมาก เหล่านี้ท�ำให้รัฐบาลต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ ภาวะวิกฤตนี้ ด้านหนึ่งก็เปิดโอกาสที่เกาหลีจะหลุดพ้นจากอ�ำนาจเผด็จการทหารและพัฒนาไป สู่ประชาธิปไตยได้ แต่ปักจุงฮีและพวกนายพลของเขาไม่ยินยอมให้สิ่งนี้เกิดขึ้น หลังจากปักจุงฮีชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยที่สามในปี ๒๕๑๔ แล้วก็ยงั คงไม่สนใจไยดีกบั ความเรียกร้องต้องการของประชาชนทีจ่ ะมีประชาธิปไตย ตรงกันข้ามระบอบปักจุงฮีกลับเริ่มด�ำเนินแผนการที่สืบทอดอ�ำนาจต่อไปและ ยึดกุมอ�ำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๑๕ ปักจุงฮีได้ท�ำรัฐประหาร ตัวเองโดยการงดใช้รฐั ธรรมนูญ และประกาศใช้รฐั ธรรมนูญยูชนิ แทน (Yushin แปล ว่า ฟื้นชีวิต) นับแต่นั้นมาจนกระทั่งปักจุงฮีเสียชีวิตในวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๒๒ ขบวนการประชาธิปไตยก็เคลื่อนไหวต่อสู้กับระบอบปกครองที่กดขี่ปราบปราม อย่างทารุณโดยมาตรการอ�ำนาจฉุกเฉินของประธานาธิบดี ในการเคลื่อนไหวต่อสู้ ครั้งนี้นักศึกษาก็เป็นกองหน้าอีกครั้งหนึ่ง โดยมีปัญญาชนที่มีจิตส�ำนึกผนึกก�ำลัง ร่วมมือกัน ผู้ใช้แรงงาน กรรมกร เกษตรกร และคนจนเมืองเริ่มตื่นตัวต่อสู้กับ ผูก้ ดขีป่ ราบปราม ความส�ำนึกแห่งยุคสมัยทศวรรษที่ ๑๙๗๐ คือการต่อสูก้ บั ระบอบ ยูชินเพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตย การอุทิศตนและการยืนหยัดต่อสู้อย่างเข้มข้นของ นักประชาธิปไตยเกาหลีในยุคนี้ได้ฝากรอยประทับไว้ในประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตยของโลก ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 53
การเลือกตั้งในปี ๒๕๑๔ และการระเบิดขึ้นของความขัดแย้งทางสังคม
ต้ น ศตวรรษที่ ๑๙๗๐ ประธานาธิ บ ดี ป ั ก จุ ง ฮี ต ้ อ งเผชิ ญ กั บ ความ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สงครามเย็นก�ำลังจะหมดไป และโลกก�ำลังเดินไปสู่ยุคของการปรองดอง การเจรจาลดอาวุธยุทธศาสตร์ระหว่าง สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก�ำลังด�ำเนินไป ทางการวอชิงตันกับทางการปักกิ่ง ซึ่งเคยรบกันในสมัยสงครามเกาหลีก็สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันของสหรัฐฯได้ประกาศนโยบายการทูตใหม่ ในปี ๒๕๑๒ ซึ่งสั่นคลอนความมั่นคงของระบอบปักจุงฮีอย่างรุนแรง เนื่องจาก นโยบายใหม่ของสหรัฐฯ ตามลัทธินิกสันนั้นจะจ�ำกัดการแทรกแซงในความขัดแย้ง ภายในภูมิภาคเอเซียลงรวมถึงจ�ำกัดการส่งก�ำลังทหารเข้าแทรกแซงด้วย สหรัฐฯ เรียกร้องให้พันธมิตรประเทศอื่นร่วมรับผิดชอบต่อความมั่นคงของประเทศตน ทางการวอชิงตันได้ถอนก�ำลังทหารสหรัฐฯ ในเกาหลีที่มีอยู่ ๖๐,๐๐๐ คน กลับไป หนึง่ ในสามในระหว่างปี ๒๕๑๓-๒๕๑๔ ความเปลีย่ นแปลงดังกล่าวกระทบต่อฐานะ ของปักจุงฮีอย่างมากเนื่องจากปักจุงฮีอ้างความชอบธรรมให้กับระบอบเผด็จการ ของตนด้วยการเน้นย�้ำถึงภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของเกาหลีก็ช้า ลงและเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย อัตราการเติบโตได้ลดลงจาก ๑๓.๘ เปอร์เซ็นต์ในปี ๒๕๑๒ มาเป็น ๙.๔ เปอร์เซ็นต์ในปี ๒๕๑๔ และเป็น ๕.๘ เปอร์เซ็นต์ในปี ๒๕๑๕ การเจริญเติบโตที่ชะงักงันลงนี้ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความอ่อนแอทางโครงสร้าง เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยการส่งออกและเงินกู้ต่างประเทศในปี ๒๕๑๕ หนี้เงินกู้ ต่างประเทศมีถึง ๒.๖ พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเท่ากับ ๒๖.๕ เปอร์เซ็นต์ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ เมือ่ ก�ำหนดช�ำระหนีท้ กี่ มู้ าอย่างไม่ระวังมาถึงก็สง่ ผล ต่อเศรษฐกิจของประเทศ รวมทัง้ การทีส่ หรัฐฯ ได้จำ� กัดการน�ำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม เบาจากเกาหลีก็ท�ำให้เกิดการปิดกิจการ ล้มละลาย จนธนาคารเจ้าหนี้ต้องเข้ามา บริหารกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กเหล่านี้ เมื่อสองเสาหลักของระบอบปักจุงฮี คือการต่อต้านคอมมิวนิสต์และ การเติบโตทางเศรษฐกิจเริ่มสั่นคลอน ปักจุงฮีก็หาทางที่จะได้รับการเลือกตั้ง 54 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
เป็นประธานาธิบดีสมัยที่สามได้อีก เดิมคาดว่าจะเป็นการเลือกตั้งที่ได้รับชัยชนะ อย่างง่ายดาย แต่เมือ่ การรณรงค์หาเสียงด�ำเนินไปการแข่งขันกลับเป็นไปอย่างสูสมี าก ผู้สมัครฝ่ายค้านคือ คิมแดจุง (Kim Dae-jung) กลายเป็นคู่แข่งที่น่าเกรงขาม เขา ได้รบั การเสนอชือ่ เป็นตัวแทนของพรรคประชาธิปไตยใหม่ (NDP) ในเดือนกันยายน ๒๕๑๓ โดยเอาชนะคู่แข่งคือ คิมยังซัม (Kim Young-sam) ซึ่งเสนอข้อเรียกร้อง ให้การเมืองมีผู้นำ� รุ่นใหม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางอย่างเฉียดฉิว
คิมแดจุงให้ค�ำมั่นว่าจะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนที่มิใช่เรื่องการเมือง กับเกาหลีเหนือภายใต้การรับประกันความมั่นคงของคาบสมุทรเกาหลีโดยสี่ชาติ มหาอ�ำนาจคือ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน รัสเซีย ซึ่งสร้างความแตกต่างระหว่างเขากับ ปักจุงฮีที่ยังยึดติดกับต�ำราต่อต้านคอมมิวนิสต์ ในด้านเศรษฐกิจ คิมแดจุงก็ท้าทาย นโยบายเน้นแต่การเติบโตทางเศรษฐกิจก่อนของปักจุงฮี โดยเสนอ “เศรษฐกิจของ ประชาชน” ที่มุ่งแก้ไขเศรษฐกิจที่รัฐควบคุมเสียใหม่ ลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับ คนจน และสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และครอบครัวที่มีรายได้ น้อย แม้วา่ ฝ่ายรัฐบาลจะใช้วธิ กี ารก่อกวนการหาเสียงของฝ่ายค้าน ใช้การแจกเงินซือ้ เสียง และการให้รา้ ยป้ายสีเพือ่ สร้างความรูส้ กึ ดูหมิน่ ระหว่างภาค แต่คมิ แดจุงก็ได้รบั ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 55
คะแนนความนิยมอย่างมากในการเลือกตัง้ ๒๗ เมษายน ๒๕๑๔ โดยประธานาธิบดี ปักจุงฮีชนะคิมแดจุงเพียง ๙๔๐,๐๐๐ คะแนน พรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตยและ หน่วยข่าวกรองกลางเกาหลีซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากในการเลือกตั้งตระหนักดี ว่า ประธานาธิบดีปักจะพ่ายแพ้การเลือกตั้งอย่างแน่นอน ถ้าหากมีการเลือกตั้งที่ บริสุทธิ์ยุติธรรม ฝ่ า ยค้ า นยั ง ได้ รั บ ที่ นั่ ง เพิ่ ม ขึ้ น มากในการเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก รั ฐ สภา เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พรรคประชาธิปไตยใหม่ได้รับเลือกตั้ง ๘๙ คนท�ำให้เสียง ข้างมากของพรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตยเหลือเพียง ๑๓๑ ทีน่ งั่ ซึง่ ไม่เพียงพอกับ การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยล�ำพัง น่าสังเกตว่าพรรคประชาธิปไตยใหม่ชนะการเลือกตัง้ ๑๘ ที่นั่งจากจ�ำนวน ๑๙ ที่นั่งในเขตกรุงโซล และชนะการเลือกตั้ง ๔๗ เขตจาก จ�ำนวน ๖๔ เขตในเมืองใหญ่อื่นๆ ผลการเลือกตั้งทั้งสองนี้แสดงถึงความเอาใจออก ห่างรัฐบาลในหมู่ประชาชน แต่ฝ่ายผู้ปกครองที่เริ่มกังวลกับวิกฤตที่มาใกล้ตอบโต้ ด้วยการเสริมอ�ำนาจเผด็จการมากขึ้นไปอีก ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ประธานาธิบดี คิมแดจุงผูส้ มัครฝ่ายค้านได้เตือนว่า ถ้าหากปักจุงฮีชนะการเลือกตัง้ จะเท่ากับเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งสุดท้าย เพราะปักจุงฮีจะครองอ�ำนาจ ไปตลอดกาล สัญญานเตือนในทางร้ายนี้ปรากฏเป็นจริงขึ้นในอีกหนึ่งปีถัดมา ขณะเดี ย วกั น ความขั ด แย้ ง ทางสั ง คมที่ ส ะสมมานานก็ เริ่ ม ระเบิ ด ออกมา เมื่อชุนแตอิล (Chun Tae-il) คนงานโรงงานทอผ้านรกที่ตลาดเปียงวาใน กรุงโซลได้จุดไฟเผาตัวเองในวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๓ พร้อมกับร้องตะโกนว่า “เรามิใช่เครือ่ งจักร” “จงท�ำตามกฎหมายแรงงาน” การเสียชีวติ ของชุนแตอิลชีใ้ ห้เห็น ถึงความยากล�ำบากที่คนงานได้รับจากค่าแรงต�่ำ เวลาท�ำงานยาวนาน และสภาพ แวดล้อมที่ท�ำงานที่เสื่อมโทรมภายใต้เงาระบบเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เดื อ นสิ ง หาคม ๒๕๑๔ มี ช าวบ้ า นกว่ า ๑๔๐,๐๐๐ คนถู ก ขั บ ไล่ อ อกจาก ชุมชนแออัดในกรุงโซลให้ไปอยู่ที่พื้นที่รกร้างนอกเมืองกรุงโซลในบริเวณกวางจู จังหวัดเกียงกี พวกเขาได้กอ่ การประท้วงขึน้ เมือ่ ทางการกรุงโซลผิดสัญญาทีร่ บั ปากว่า จะช่วยจัดหาที่อยู่อาศัยให้
56 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ผู้คนจ�ำนวนมากมาร่วมพิธีศพชุนแตอิล คนงานโรงงานทอผ้านรกที่เผาตัวเองประท้วง
กลุ่มอื่นๆ ก็ได้รับความล�ำบากในการท�ำงานภายใต้การควบคุมของ รัฐบาล เดือนเมษายน ๒๕๑๔ ธุรกิจสือ่ สารมวลชนรวมทัง้ หนังสือพิมพ์ดองอาอิลโบ ทีม่ ผี อู้ า่ นมากทีส่ ดุ ได้รณรงค์เรียกร้องเสรีภาพของหนังสือพิมพ์เพือ่ ต่อต้านแรงกดดัน จากรัฐบาล เดือนกรกฎาคมผู้พิพาษาศาลชั้นต้นได้ลาออกเป็นจ�ำนวนมากเพื่อ ประท้วงการแทรกแซงกระบวนการยุตธิ รรมของรัฐบาล เดือนสิงหาคมกลุม่ อาจารย์ มหาวิทยาลัยก็รณรงค์เรียกร้องความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัย แต่ที่สร้างความหนักใจให้กับรัฐบาลมากที่สุดคือการประท้วงอย่างไม่ หยุดหย่อนของนักศึกษา ประเด็นส�ำคัญในเวลานัน้ คือการเรียกร้องของนักศึกษาให้ ยกเลิกการบังคับเรียนวิชาทหารในโรงเรียนซึง่ ตัง้ แต่ภาคฤดูรอ้ นปี ๒๕๑๔ รัฐบาลได้ เพิม่ ชัว่ โมงเรียนและส่งครูฝกึ ทหารมาประจ�ำโรงเรียน นักศึกษาได้ตอ่ ต้านมาตรการ นีอ้ ย่างสุดเหวีย่ งเพราะเห็นว่าเป็นความพยายามทีจ่ ะปิดกัน้ จิตส�ำนึกประชาธิปไตย ระหว่างการรณรงค์คัดค้านการฝึกทหารตอนต้นเดือนตุลาคม นักศึกษาบางคนได้ จัดท�ำบัญชีรายชือ่ ชนชัน้ อภิสทิ ธิท์ คี่ อรัปชัน่ มากทีส่ ดุ ในชาติซงึ่ รวมผูน้ ำ� ทหารบางคน ไว้ด้วย รัฐบาลตอบโต้โดยส่งก�ำลังทหารเข้าไปควบคุมโรงเรียน ในวันที่ ๑๗ ตุลาคม รัฐบาลประกาศกฤษฎีกาส่งทหารประจ� ำการทั่วทั้งกรุงโซล และส่งก�ำลังทหาร ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 57
เข้าประจ�ำการที่มหาวิทยาลัย ๘ แห่ง ควบคุมนักศึกษามาสอบสวน ๑,๘๙๙ คน และจับกุมตัวไป ๑๑๙ คน กระทรวงศึกษาธิการออกค�ำสั่งไล่ออกผู้น�ำการประท้วง ๑๗๗ คนจากโรงเรียน ๒๓ แห่งแล้วบังคับเกณฑ์เป็นทหาร ด้วยวิธีการดังกล่าว รัฐบาลจึงสามารถบัน่ ทอนการเคลือ่ นไหวของนักศึกษาให้ออ่ นก�ำลังลงก่อนหน้าการท�ำ รัฐประหารยูชินในปีต่อมา ยิ่งไปกว่านั้นในวันที่ ๒๑ ธันวาคมรัฐบาลได้ประกาศ ภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศโดยอ้างว่าเกาหลีเหนือได้ยกระดับการเตรียมพร้อมเพื่อ รุกราน วันเดียวกันนั้นรัฐบาลก็เสนอกฎหมายพิเศษเพื่อความมั่นคงที่ให้อ�ำนาจ ประธานาธิบดีในภาวะฉุกเฉินอย่างกว้างขวางต่อรัฐสภา พรรครัฐบาลได้ผลักดัน กฎหมายฉบับนีผ้ า่ นรัฐสภาในอีกสัปดาห์ตอ่ มาโดยไม่มฝี า่ ยค้านเข้าร่วมพิจารณา ใน สภาวการณ์ที่ด�ำเนินไปเช่นนี้ ความเรียกร้องต้องการประชาธิปไตยของประชาชน จึงถูกปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงและประเทศชาติก็ตกอยู่ภายใต้เมฆทะมึนของเผด็จการ
แถลงการณ์ร่วมของสองประเทศเกาหลี และการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญยูชิน
หลังจากที่มีประสบการณ์จากการเลือกตั้งปี ๒๕๑๔ รัฐบาลปักจุงฮีก็รู้ แล้วว่าตนไม่อาจจะปกครองประเทศต่อไปภายใต้การเลือกตั้งโดยปกติได้ จึงได้เริ่ม วางแผนการใหม่ที่จะครองอ�ำนาจอย่างถาวร โดยโหมการต่อต้านคอมมิวนิสต์และ การรักษาความมัน่ คงเพือ่ สร้างความชอบธรรมให้กบั ระบอบทีไ่ ม่เป็นประชาธิปไตย แต่เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสการเมืองระหว่างประเทศที่เปลี่ยนไป รัฐบาลจึงได้ เปลี่ยนท่าทีและหันมาใช้ประโยชน์จากการเจรจาระหว่างสองประเทศเกาหลีเพื่อ ขยายอ�ำนาจของตน การเปลี่ยนแปลงใหญ่ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศก�ำลังเริ่มต้น ขึ้น เดือนกรกฎาคม ๒๕๑๔ ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันของสหรัฐฯ ประกาศ ว่าจะเดินทางไปเยือนประเทศจีนในตอนต้นปี ๒๕๑๕ เพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ ทางการทูตระหว่างประเทศทั้งสอง การตัดสินใจเปิดการเจรจากับเกาหลีเหนือ ของประธานาธิบดีปักจุงฮีส่วนหนึ่งเป็นการตอบสนองค�ำแนะน�ำของนิกสันซึ่ง หลังจากการเยือนกรุงปักกิง่ ก็แนะน�ำให้ทงั้ สองเกาหลีเปิดการเจรจากันเพือ่ ลดความ ตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี 58 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
สภากาชาดของทั้ ง สองเกาหลี ไ ด้ จั ด การประชุ ม เตรี ย มการใน เดือนกันยายน ๒๕๑๔ การประชุมครั้งแรกไม่ได้ผลสรุปอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน แต่ ทางการกรุงโซลและกรุงเปียงยางก็ตกลงทีจ่ ะจัดตัง้ ช่องทางการเจรจาทางการเมือง และแลกเปลีย่ นการเยีย่ มเยือนเมืองหลวงของทัง้ สองฝ่าย วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๑๕ ลีฮูรัก (Lee Hu-rak) หัวหน้าหน่วยข่าวกรองกลางเกาหลี (KCIA) ได้ไปเยือน กรุงเปียงยางอย่างลับๆ และได้พบปะหารือกับคิมอิลซุง (Kim Il-sung) ผู้น�ำ เกาหลีเหนือสองครัง้ ในวันที่ ๒๙ พฤษภาคมรัฐมนตรีตา่ งประเทศเกาหลีเหนือก็เดิน ทางมากรุงโซลเพือ่ พบปะกับประธานาธิบดีปกั จุงฮี หลังจากเจรจาอย่างลับๆ ในทีส่ ดุ ผู้น�ำทั้งสองเกาหลีก็สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๑๕ แถลงการณ์ร่วมระบุว่า เอกราช สันติภาพ และความเป็นเอกภาพในชาติ เป็นหลักการของการรวมประเทศ ไม่ว่าผู้น�ำทั้งสองเกาหลีจะคิดอย่างไรในใจ แต่แถลงการณ์ร่วมก็สร้าง ความหวังในการรวมประเทศแก่ประชาชนทั้งสองฟากของพรมแดน และหลักการ สามข้อดังกล่าวก็เป็นพื้นฐานส�ำคัญของการแก้ไขปัญหาระหว่างสองเกาหลี ไม่น่า แปลกใจที่ชาวเกาหลีใต้ต่างงุนงงกับความเปลี่ยนแปลงนี้ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากผู้สมัคร ประธานาธิบดีคนหนึ่งถูกประหารชีวิตด้วยข้อหาเป็นสายลับเกาหลีเหนือเพียง ๑๐ ปี และประชาชนจ�ำนวนมากถูกลงโทษอย่างรุนแรงด้วยข้อหาเคลื่อนไหวสนับสนุน คอมมิวนิสต์ รั ฐ บาลยั ง สร้ า งความประหลาดใจแก่ ส าธารณชนเพิ่ ม ขึ้ น อี ก เมื่ อ วันที่ ๓ สิงหาคม รัฐบาลได้สั่งระงับการจ่ายหนี้เงินกู้ของบริษัทใหญ่ซึ่งเรียกกันว่า เป็น “การรัฐประหารทางการเงิน” หรือ “ระบอบยูชนิ ทางเศรษฐกิจ” รัฐบาลได้เข้า แทรกแซงธุรกิจภาคเอกชนโดยอ้างว่าปัญหาทางการเงินของบริษทั เอกชนเป็นวิกฤต ของชาติ รัฐบาลแก้ปญ ั หาวิกฤตนีโ้ ดยให้ความช่วยเหลือทางการเงินจ�ำนวนมหาศาล แก่บริษทั ขนาดใหญ่ การทีร่ ฐั เข้าไปแบกรับภาระหนีส้ นิ นีท้ �ำให้รฐั บาลสามารถสร้าง พันธมิตรที่แนบแน่นกับกลุ่มแชโบล (Chaebol) ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่มี เครือข่ายมากที่สุด เป็นการวางฐานทางการเงินให้กับการรัฐประหารยูชินที่จะมีมา ในสถานการณ์ขณะทีป่ ระเทศยังไม่ทนั ฟืน้ ตัวจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน รัฐบาลก็ประกาศระงับการใช้รัฐธรรมนูญในวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๑๕ และประกาศ ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 59
ใช้กฎอัยการศึกในภาวะฉุกเฉิน ทัง้ ประกาศแผนการทีจ่ ะน�ำเอาระบบการเมืองใหม่ที่ เรียกว่า ระบบยูชนิ มาใช้ (ยูชนิ แปลว่าการฟืน้ ชีวติ ให้กบั รัฐธรรมนูญ) ปักจุงฮีอา้ งว่า เป็นเรือ่ งจ�ำเป็นอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ทจี่ ะต้องใช้ระบบการเมืองใหม่เพือ่ รับมือกับการ เจรจาระหว่างสองเกาหลีและการรวมประเทศ วันที่ ๒๖ ตุลาคม รัฐบาลประกาศ ข้อเสนอให้มีรัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีทางอ้อม การลง ประชามติเพือ่ รับรัฐธรรมนูญใหม่มขี นึ้ ภายใต้กฎอัยการศึกเมือ่ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ผลก็คือมีผู้ให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญใหม่อย่างมากมายถึง ๙๑.๕ เปอร์เซ็นต์ ของผู้มาใช้สิทธิ์ และกฎอัยการศึกก็ถูกยกเลิกไปในวันที่ ๑๓ ธันวาคม ภายใต้ รั ฐ ธรรมนู ญ ใหม่ นี้ ก ารเลื อ กตั้ ง ประธานาธิ บ ดี จ ะกระท� ำ โดย องค์กรใหม่ที่เรียกว่า สภาเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแห่งชาติ (National Conference for Unification) การเลือกตั้งสมาชิกสภาใหม่นี้มีขึ้นในวันที่ ๑๕ ธันวาคม และสภาใหม่นี้ก็จัดการประชุมเลือกประธานาธิบดีในวันที่ ๒๓ ธันวาคม ปักจุงฮีเป็นผู้สมัครเพียงคนเดียว ทั้งไม่มีการปราศรัยหรือแถลงนโยบายแต่อย่างใด ปักจุงฮีได้รับเลือกด้วยคะแนน ๙๙.๙ เปอร์เซ็นต์ การเลือกตั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของระบอบการปกครองที่กดขี่ปราบปราม ทีส่ ดุ ในประวัตศิ าสตร์ การแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ทำ� ให้การปกครองโดยประธานาธิบดี มีอำ� นาจเพียงคนเดียวกลายเป็นสถาบันทีม่ นั่ คง นอกจากจะสร้างระบบการเลือกตัง้ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยแล้ว รัฐธรรมนูญใหม่ยังท�ำให้รัฐสภาแห่งชาติและศาลสูง ตกอยูภ่ ายใต้การควบคุมของประธานาธิบดี ทัง้ ยังอนุญาตให้ประธานาธิบดีสามารถใช้ มาตรการภาวะฉุกเฉินทีเ่ หนือกว่ารัฐธรรมนูญอีกด้วย รัฐธรรมนูญใหม่ไม่อนุญาตให้ มีการคัดค้านหรือต่อต้านใดๆ การแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่นี้เป็นเรื่องท�ำไม่ได้ถ้าหาก ประธานาธิบดีไม่เห็นชอบ ปักจุงฮีอ้างการเจรจาระหว่างสองประเทศเกาหลีเป็น เหตุผลในการน�ำระบอบยูชินมาใช้ แต่การเจรจาต้องหยุดชะงักลงเพราะระบอบที่ กดขีน่ ปี้ ราบปรามประชาชนทีไ่ ม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง ดังนัน้ ปักจุงฮีจงึ หันมาใช้ขอ้ อ้าง ว่ามีภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือและฟื้นอุดมการณ์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ขึ้นมาใหม่
60 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ขบวนการประชาธิปไตยภายใต้ระบอบยูชิน
เมือ่ ระบบการเมืองทีเ่ ผด็จการมากทีส่ ดุ ในประวัตศิ าสตร์เกาหลีถกู น�ำมา ใช้นนั้ แทบจะไม่มกี ารต่อต้านทีม่ พี ลังเลย การลงประชามติกก็ ระท�ำภายใต้กฎอัยการ ศึกหนังสือพิมพ์ถูกควบคุมการเสนอข่าว และการวิจารณ์ใดๆ ต่อระบอบยูชินไม่ อาจกระท�ำได้เลย ที่ส�ำคัญคือขบวนการนักศึกษาได้ถูกท�ำลายลงภายใต้กฤษฎีส่ง ทหารประจ�ำการในปี ๒๕๑๔ อย่างไรก็ตามในปี ๒๕๑๖ ขบวนการต่อต้านเผด็จการ ก็ฟื้นคืนกลับมาใหม่ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยชอนนามในเมืองกวางจู จังหวัด เจิลลาใต้ และมหาวิทยาลัยเกาหลีในกรุงโซลได้แจกใบปลิวประณามแผนการร้าย ของปักจุงฮีที่จะครองอ�ำนาจต่อไป และเรียกร้องให้ยกเลิกระบบยูชินเสีย ในวันที่ ๒๒ เมษายน การชุมนุมต้านระบอบยูชินครั้งแรกก็เกิดขึ้นในระหว่างพิธีทางศาสนา เทศกาลอีสเตอร์ที่ลานแสดงดนตรีกลางแจ้งบริเวณนัมซานซึ่งเป็นเขาสูงในกรุงโซล ตอนกลาง เหตุการณ์นนี้ อกจากจะสะท้อนให้เห็นถึงกระแสการต่อต้านปักจุงฮีทฟี่ น้ื กลับมาใหม่แล้ว ยังแสดงให้เห็นการเกิดขึน้ ของกลุม่ ใหม่ในขบวนการเคลือ่ นไหวเพือ่ ประชาธิปไตยคือ กลุ่มศาสนาคริสเตียน วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๖ หน่วยข่าวกรองกลางเกาหลี (KCIA) ได้แอบ ลักพาคิมแดจุงที่เป็นคู่แข่งส�ำคัญของปักจุงฮีจากกรุงโตเกียว ขณะที่คิมแดจุงก�ำลัง น�ำการเคลือ่ นไหวต่อต้านระบอบยูชนิ ในต่างประเทศ เขาถูกน�ำลงเรือข้ามทะเลเอเชีย ตะวันออกและเกือบจะถูกสังหาร แต่กร็ อดมาถึงกรุงโซลในวันที่ ๑๓ สิงหาคม มีการ เปิดเผยในภายหลังว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้เข้าแทรกแซงช่วยชีวิตไว้ ความพยายามลอบสังหารผูท้ า้ ทายต่อระบอบยูชนิ ทีท่ รงอิทธิพลนีไ้ ด้ปลุกเร้า การต่อต้านระบอบยูชินให้มีพลังขึ้นมาอีก วันที่ ๒ ตุลาคมนักศึกษามหาวิทยาลัย แห่งชาติกรุงโซลได้จดั การชุมนุมประท้วงเป็นครัง้ แรกนับแต่มกี ารประกาศกฤษฎีกา ส่งทหารประจ�ำการเมื่อสองปีก่อน พอเดือนต่อมาการชุมนุมประท้วงต่อต้าน ระบอบยูชินของนักศึกษาก็เกิดขึ้นทั่วประเทศอย่างมากมายที่สุดนับแต่การปฏิวัติ เดือนเมษายน ๒๕๐๓ รัฐบาลเกิดความตืน่ ตระหนกต่อการเคลือ่ นไหวต่อต้านอย่าง เข้มแข็งนี้ จึงหันมาใช้วิธีการประนีประนอมโดยการปล่อยนักศึกษาที่ถูกจับกุมเมื่อ วันที่ ๗ ธันวาคมทั้งหมด ขณะเดียวกันก็วางแผนเตรียมกวาดล้างใหญ่ครั้งใหม่ ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 61
ในขณะทีก่ ารประท้วงของนักศึกษาเบาบางลงเพราะการให้อภัยโทษและ ถึงช่วงปิดเทอมฤดูหนาว วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๖ ผู้นำ� สังคมที่มีชื่อเสียง ๑๑ คน ซึง่ รวมทัง้ พระคาร์ดนิ ลั สตีเฟน คิมซูฮวาน (Cardinal Stephen Kim Su-hwan) ได้ ออกจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ประธานาธิบดีปักจุงฮีฟื้นคืนประชาธิปไตย และ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ผู้น�ำฝ่ายประชาธิปไตยซึ่งรวมทั้ง จังจุนฮา (Jang Jun-ha) และ แบกกีวัน (Baek Gi-wan) ได้เริ่มรณรงค์ล่ารายชื่อเพื่อขอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยจะยืน่ ต่อประธานาธิบดีโดยตรงเนือ่ งจากภายใต้ระบอบยูชนิ มีแต่ประธานาธิบดี คนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๖ กระทรวงวัฒนธรรมและข่าวสารได้ออกมาปรามการรณรงค์นี้โดยอ้างว่า จะสร้าง ความไม่สงบและกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ วันต่อมาปักจุงฮีก็ออก ค�ำแถลงเรียกร้องให้หยุดการรณรงค์โดยทันที แต่กระนั้นนักเขียนและปัญญาชน ๖๑ คน ก็ไม่น�ำพาต่อค�ำขู่ดังกล่าวและได้ออกแถลงการณ์สนับสนุนการรณรงค์ใน วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๑๗ วันรุ่งขึ้นปักจุงฮีได้ออกค�ำสั่งประธานาธิบดีประกาศใช้ กฤษฎีกาฉบับที่ ๑ และ ๒ ซึ่งสั่งห้าม “การกระท�ำใดๆ ที่เป็นการปฏิเสธ คัดค้าน บิดเบือน หรือโจมตีรฐั ธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐเกาหลี” และห้าม “โต้แย้ง เสนอแนะ หรือร้องขอให้มกี ารแก้ไขหรือยกเลิกรัฐธรรมนูญ” ผูใ้ ดก็ตามทีฝ่ า่ ฝืนค�ำสัง่ ดังกล่าวมี โทษสูงสุดถึงจ�ำคุกเป็นเวลา ๑๕ ปี และตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา ๑๕ ปี มีการ จัดตัง้ ศาลทหารชัน้ ต้นและศาลอุทธรณ์เพือ่ พิจารณาคดีพลเรือนทีก่ ระท�ำผิดดังกล่าว
กฤษฎีกาภาวะฉุกเฉินฉบับที่ ๑ และ ๔ และการปราบปรามขบวนการประชาธิปไตย
จังจุนฮาและแบกกีวนั ซึง่ เป็นผูน้ ำ� การรณรงค์เป็นกลุม่ แรกทีถ่ กู จับกุมภายใต้ กฤษฎีกาภาวะฉุกเฉินฉบับที่ ๙ ทั้งสองถูกตัดสินจ�ำคุก ๑๕ ปี วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๑๗ นักอาสาสมัครคริสเตียนกลุ่มหนึ่งได้ออกแถลงการณ์ประณามรัฐธรรมนูญ ยูชินและกฤษฎีกาภาวะฉุกเฉินฉบับที่ ๙ ท�ำให้พวกเขา ๖ คนถูกจับกุม วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ นักเขียน ๕ คนซึ่งได้เข้าร่วมการรณรงค์ก็ถูกจับกุมและตั้งข้อหาว่าเป็น สายลับเกาหลีเหนือ 62 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ในระหว่างการปิดเทอมฤดูหนาวจนถึงการเปิดเทอมใหม่นักศึกษาได้ เตรียมที่จะก่อการประท้วงครั้งใหญ่ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซลในวันที่ ๓ เมษายน แต่หน่วยข่าวกรองกลางเกาหลี (KCIA) ล่วงรู้แผนการนี้ก่อนจึงส่งก�ำลัง ต�ำรวจเข้าประจ�ำในมหาวิทยาลัยก่อนนักศึกษาจะมาถึง แม้การชุมนุมประท้วงจะ กระจัดกระจายไม่เป็นกลุม่ ก้อนแต่นกั ศึกษาก็ได้ออกแถลงการณ์ในนามของสหพันธ์ นักศึกษาเยาวชนประชาธิปไตยแห่งชาติ (National League of Democratic Youth and Students) แจกจ่ายไปทั่ววิทยาเขตต่างๆ ประธานาธิบดีออกค�ำสั่งใช้ กฤษฎีกาฉบับที่ ๔ ให้มีผลทันทีเมื่อเวลา ๒๒.๐๐ น.คืนนั้น ภายใต้อำ� นาจกฤษฎีกา นี้รัฐบาลได้ออกกวาดล้างจับกุมผู้น�ำนักศึกษาขนานใหญ่ พร้อมกับขู่ว่าใครที่ไม่มา รายงานตัวจะได้รับโทษถึงตาย ชินจิกซู (Shin Jik-soo) หัวหน้าหน่วยข่าวกรองกลางเกาหลีแถลงใน วันที่ ๒๕ เมษายนว่า สหพันธ์นักศึกษาเยาวชนประชาธิปไตยแห่งชาติถูกจัดตั้งขึ้น ร่วมกันโดยพรรคประชาชนปฏิวัติ (People’s Revolutionary Party) และกลุ่ม โจชองเนียน (Jochongnyeon) ซึ่งเป็นชาวเกาหลีในญี่ปุ่นที่นิยมเกาหลีเหนือ และ พรรคคอมมิวนิสต์ญปี่ นุ่ ร่วมกับกลุม่ หัวรุนแรงฝ่ายซ้ายในประเทศ ดังนัน้ จึงเป็นพวก ต่อต้านรัฐบาลทีไ่ ม่บริสทุ ธิท์ พี่ ยายามจะโค่นล้มรัฐบาลในวันที่ ๓ เมษายน เนือ่ งจาก ถูกควบคุมบงการโดยพวกต่อต้านรัฐบาลที่ไม่บริสุทธิ์ใช้เป็นบันไดก้าวแรกของการ ก่อการปฏิวัติของแนวร่วมคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ ผู้ใดก็ตามที่เข้าร่วม สนับสนุน ทางการเงิน ยกย่องเชิดชูและชักชวนให้เข้าร่วม หรือพบปะสมาชิกของกลุ่ม จะถูก ลงโทษสูงสุดถึงประหารชีวติ และไม่วา่ จะเกีย่ วพันกับกลุม่ ดังกล่าวหรือไม่ นักศึกษา คนใดที่จัดการชุมนุม ประท้วง วิพากษ์วิจารณ์ หรือนั่งประท้วง ไม่ว่าในหรือนอก โรงเรียนก็จะถูกลงโทษสูงสุดถึงประหารชีวิตเช่นเดียวกัน รัฐบาลพยายามจะใช้กรณีนี้เป็นโอกาสที่จะปราบปรามการเคลื่อนไหว ต่อต้านระบอบยูชินลงให้ได้ ต�ำรวจได้เรียกคนไปสอบสวน ๑,๐๒๔ คน และจับกุม ไว้ ๒๐๓ คน น�ำตัวขึ้นฟ้องศาล ๓๒ คน ศาลทหารชั้นต้นตัดสินลงโทษประหารชีวิต นักศึกษา ๗ คน ศาลทหารชัน้ สูงได้ลดโทษเหลือจ�ำคุกตลอดชีวติ ๖ คนและยืนยันค�ำ ตัดสินประหารชีวติ ๑ คน ขณะเดียวกันนักกิจกรรม ๒๒ คนถูกน�ำตัวขึน้ ศาลในข้อหา ทีป่ น้ั แต่งขึน้ ว่าพยายามฟืน้ พรรคประชาชนปฏิวตั ิ และถูกตัดสินประหารชีวติ ๗ คน ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 63
อย่างไรก็ตาม การปราบปรามอย่างเหีย้ มโหดนีไ้ ม่อาจกดขวัญขบวนการ ประชาธิปไตยลงได้ การประท้วงเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมเกิดขึ้นไปทั่ว โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยและวงการศาสนา การกวาดล้างจับกุมใหญ่นี้ยังกลาย เป็นปัญหาทางการทูตเมือ่ เสียงเรียกร้องจากนานาชาติตา่ งพากันประณามการกระท�ำ ของรัฐบาล และสมาชิกรัฐสภาสหรัฐอเมริกาบางคนเรียกร้องให้ตัดงบประมาณ ความช่วยเหลือทางทหารและเศรษฐกิจที่ให้เกาหลีลงอย่างมากด้วย การปราบปรามของรัฐบาลเกิดผลสะท้อนย้อนกลับเข้าหาตัวเอง แทนที่ จะสามารถตัดรากถอนโคนขบวนการต่อต้านระบอบยูชนิ ได้ แต่กลับท�ำให้กลุม่ พลัง ประชาธิปไตยต่างๆ รวมตัวกันเหนียวแน่นมากขึ้น นักกิจกรรมกว่า ๒๐๐ คน ที่ถูก จับกุมจากทัว่ ประเทศเมือ่ ได้รบั การปล่อยตัวก็รว่ มมือกันสร้างเป็นเครือข่ายและน�ำ การต่อสู้ต่อต้านรัฐบาลในภูมิภาคและวงการต่างๆ อย่างกว้างขวาง พวกเขามี คุ ณู ป การส� ำ คั ญ ต่ อ การพั ฒ นาขบวนการประชาธิ ป ไตย และการสร้างองค์กรระดับชาติ นอกจากนี้ การที่รัฐบาลกล่าวหากลุ่มแคธอลิก โปรแตสแตนท์ และกลุม่ ประชาสังคมอืน่ ๆ ว่าเป็นผูย้ ยุ งปลุกปัน่ นักศึกษาท�ำให้กลุม่ ต่างๆ เหล่านี้เกิดการร่วมมือกัน พัฒนาการที่สำ� คัญคือการจัดตั้งสมาคมบาทหลวง แคธอลิกเพื่อความยุติธรรม (Catholic Priests Association for Justice) เมื่อ วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๑๗ ซึง่ ในอนาคตจะเติบโตเป็นกลุม่ พลังส�ำคัญทีส่ ดุ กลุม่ หนึง่ ที่ท้าทายระบอบยูชิน ขณะเดียวกัน กลุ่มพลังประชาธิปไตยอื่นๆ ก็เกิดขึ้นราวกับดอกเห็ด ใน วันที่ ๒๔ ตุลาคม ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ดองอาอิลโบประกาศการเคลื่อนไหวเรียก ร้องเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ และมีนกั หนังสือพิมพ์จ�ำนวนมากจากค่ายอืน่ เข้าร่วม วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ผู้เกี่ยวข้องกับวงการนักเขียนวรรณกรรมจ�ำนวน ๑๐๑ คน ก็ออกแถลงการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย และในวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ผู้นำ� กลุ่ม ประชาสังคม ๗๑ คนจากวงการต่างๆ ก็ประกาศจัดตั้งสภาแห่งชาติเพื่อฟื้นฟู ประชาธิปไตย (National Council for Democracy Restoration) ซึง่ จะท�ำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางน�ำการเคลื่อนไหวต่อต้านระบอบยูชิน ประกอบไปด้วยผู้แทนจาก พรรคการเมือง กลุม่ แคธอลิก กลุม่ โปรแตสแตนท์ กลุม่ พุทธ สือ่ มวลชน นักวิชาการ นักเขียน นักกฎหมาย กลุ่มสตรี ท�ำให้กลุ่มพลังประชาธิปไตยที่เคยกระจัดกระจาย 64 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
มีการจัดตั้งเป็นองค์กรที่เข้มแข็งมีประสิทธิภาพมากขึ้น รัฐบาลเริ่มกดดันบีบคั้นผู้น�ำสภาฟื้นฟูประชาธิปไตยทันที วันที่ ๒๓ ธันวาคมรัฐบาลใช้วธิ กี ารใหม่กดดันสือ่ มวลชนโดยจ�ำกัดการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ การกดดันของรัฐบาลท�ำให้มีการถอนโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดองอาอิลโบจ�ำนวน มากจนประสบวิกฤตทางการเงิน แต่ก็มีผู้เห็นใจมาลงโฆษณาสนับสนุนจ�ำนวน มากจากกลุ่มพลเมืองและกลุ่มสังคมต่างๆ ที่แสดงความต้องการประชาธิปไตยโดย ผ่านการรณรงค์ช่วยเหลือหนังสือพิมพ์ดองอาอิลโบซึ่งด�ำเนินไปเป็นเวลาสามเดือน จนกระทัง่ ผูบ้ ริหารยอมแพ้เลิกสนใจเสรีภาพและไล่นกั ข่าวออกจ�ำนวนมาก หลังจาก นัน้ หนังสือพิมพ์โชซุนอิลโบก็ท�ำตามอย่าง ต่อมานักข่าวดองอาอิลโบ ๑๖๓ คน ที่ ถูกไล่ออกก็รวมตัวกันเป็นสมาคมเพื่อต่อสู้เรียกร้องเสรีภาพ เช่นเดียวกับนักข่าว โชซุนอิลโบ ๓๓ คน ที่ถูกไล่ออกก็ท�ำอย่างเดียวกัน เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ รัฐบาลยอมอ่อนข้อตามแรงกดดันจากทัง้ ภายใน และนานาชาติ ปล่อยนักศึกษาและนักกิจกรรมทีถ่ กู จับกุมภายใต้กฤษฎีกาฉบับที่ ๔ แต่กลุ่มที่ถูกข้อหาเกี่ยวพันกับพรรคประชาชนปฏิวัติไม่ได้รับการอภัยโทษ การประท้วงของนักศึกษาด�ำเนินต่อไปในภาคเรียนฤดูใบไม้ผลิปี ๒๕๑๘ โดยการเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยรับนักกิจกรรมนักศึกษาทีถ่ กู ปล่อยตัวจากเรือนจ�ำ กลับเข้าไปเรียนดังเดิม วันที่ ๗ และ ๘ เมษายน นักศึกษามหาวิทยาลัยเกาหลี ก่อการชุมนุมประท้วงอย่างดุเดือดเรียกร้องให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญยูชนิ และให้รฐั บาล เผด็จการทหารลาออกทั้งคณะ ปักจุงฮีตอบโต้ด้วยค�ำสั่งกฤษฎีกาฉบับที่ ๗ ซึ่งพุ่ง เป้าไปที่มหาวิทยาลัยอย่างเดียว การประชุมและการชุมนุมในมหาวิทยาลัยถูกห้าม มหาวิทยาลัยต้องปิดตัวลงชั่วคราว ทหารถูกส่งไปประจ�ำตามวิทยาเขตต่างๆ ทั้ง ที่ภายใต้รัฐธรรมนูญยูชินกฤษฎีกาค�ำสั่งพิเศษของประธานาธิบดีจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อ ความมัน่ คงของชาติหรือความสงบเรียบร้อยของสังคมถูกคุกคามเท่านัน้ แต่คราวนี้ ประธานาธิบดีออกกฤษฎีกาเพียงเพือ่ ควบคุมการประท้วงในมหาวิทยาลัยแห่งเดียว ขณะเดียวกัน วันที่ ๘ เมษายนศาลสูงได้ยืนยันตามค�ำตัดสินของศาล ทหารในคดีสหพันธ์นักศึกษาเยาวชนประชาธิปไตยและคดีพรรคประชาชนปฏิวัติ ในกรณีที่ถูกเรียกว่าเป็นการฆาตกรรมโดยกฎหมายนี้ ผู้ต้องหา ๘ คนถูกประหาร ชีวติ ในเช้าวันรุง่ ขึน้ และศพของพวกเขาถูกฌาปนกิจในทันที ครัน้ วันที่ ๑๑ เมษายน ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 65
นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซลชื่อ คิมซังจิน (Kim Sang-jin) ได้กระท�ำ อัตวินติ บาตกรรมโดยการคว้านท้องตนเองในระหว่างการประท้วงต่อต้านรัฐธรรมนูญ ยูชิน สร้างความสะเทือนใจให้กับคนทั่วทั้งประเทศ
กฤษฎีกาภาวะฉุกเฉินฉบับที่ ๙ และขบวนการประชาธิปไตย
ในวันที่ ๓๐ เมษายน เวียดนามใต้ยอมแพ้ให้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งสามารถยึดครองคาบสมุทรอินโดจีนทั้งหมดได้ รัฐบาลปักจุงฮีฉวยโอกาสนี้ โหมกระพือกระแสภัยต่อความมัน่ คง การต่อต้านระบอบยูชนิ จึงหยุดชะงักลงชัว่ คราว ปักจุงฮียังออกกฤษฎีกาฉบับที่ ๙ ก�ำหนดให้การกระท�ำใดๆ ที่เป็นการคัดค้าน รัฐธรรมนูญเป็นการกระท�ำที่ผิดกฎหมาย และห้ามการเสนอข่าวกิจกรรมคัดค้าน รัฐธรรมนูญ ผู้ฝ่าฝืนจะถูกจับกุมโดยไม่ต้องมีหมายจับของศาลและถูกลงโทษจ�ำคุก ได้ กฤษฎีกานีม้ ผี ลบังคับใช้นานถึง ๕ ปีจนกระทัง่ ปักจุงฮีเสียชีวติ ลงในปี ๒๕๒๒ การ ปราบปรามผูเ้ คลือ่ นไหวอย่างโหดเหีย้ ม การปิดกัน้ การเสนอข่าว และการสอดแนม ความเคลือ่ นไหวของพลเมือง กลายเป็นเรือ่ งปกติ ช่วงเวลาอันหดหูน่ ถี้ กู เรียกว่าเป็น ยุคสมัยของกฤษฎีกาภาวะฉุกเฉิน และเยาวชนทีเ่ ข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยช่วงนีถ้ กู 66 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
เรียกว่าเป็น รุ่นกฤษฎีกาภาวะฉุกเฉิน ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลยังผลักดันให้มหาวิทยาลัย กลายเป็นโรงเรียนทหารเพื่อควบคุมนักศึกษาอย่างใกล้ชิด วันที่ ๒๐ พฤษภาคม รัฐบาลประกาศแผนการรื้อฟื้นกองยุวชนทหารซึ่งถูกยุบเลิกไปหลังการปฏิวัติ เดือนเมษายน และเพิ่มการเรียนวิชาทหารมากขึ้น ขบวนการนักศึกษาไม่ได้หวาดหวั่นต่อการปราบปรามที่รุนแรงขึ้น การ ชุมนุมประท้วงครัง้ แรกภายใต้กฤษฎีกาฉบับที่ ๙ มีขนึ้ ในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๑๘ ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซล นักศึกษาประมาณ ๔,๐๐๐ คนได้เดินขบวนแสดง พลังหลังจากพิธไี ว้อาลัยมรณกรรมของคิมซังจิน คณะนาฏศิลป์หน้ากากซึง่ เป็นการ แสดงพื้นบ้านที่เป็นที่นิยมในหมู่นักศึกษาสมัยนั้นได้เข้าร่วมการชุมนุมด้วย รัฐบาล แสดงความดื้อด้านด้วยการควบคุมตัวผู้ชุมนุมมากกว่า ๘๐ คน ไว้สอบสวนและ สั่งคุมขังนักศึกษา ๒๙ คน ในเดือนมิถุนายนกลุ่มนักศึกษาคาธอลิกที่มีเครือข่าย ทั่วประเทศถูกจับกุมขณะเตรียมการประท้วงครั้งใหญ่และถูกคุมขังไว้ ๒๓ คน วันที่ ๑๗ สิงหาคม จังจุนฮา (Jang Jun-ha) ผูจ้ ดั พิมพ์วารสาร “ซาแซงกัย” (Sasanggye) (โลกแห่งความคิด) ที่มีชื่อเสียงในทศวรรษที่ ๑๙๖๐ และ ๑๙๗๐ และเป็นผู้นำ� การ รณรงค์ล่ารายชื่อต่อต้านระบอบยูชินได้เสียชีวิตอย่างปริศนาขณะไปไต่เขา การเสียชีวิตของจังจุนฮาสร้างความตื่นตระหนกและท�ำให้กลุ่มต่อต้าน เคลื่อนไหวหนักขึ้นมีผลให้เกิด “ค�ำประกาศวันที่ ๑ มีนาคมเพื่อประชาธิปไตยและ การกู้ชาติ” ในปี ๒๕๑๙ ค�ำประกาศของผู้น�ำทางสังคมนี้ตรงกับวันครบรอบปีที่ ๕๗ ของขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชจากการยึดครองของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๖๒ ได้เรียกร้องให้ล้มเลิกระบอบยูชิน ฟื้นประชาธิปไตยและรับประกันสิทธิ ของผู้ใช้แรงงาน นอกจากนี้ยังโจมตีการร่วมมือทางเศรษฐกิจกับญี่ปุ่นและนโยบาย การพัฒนาทีพ่ งึ่ พิงเงินกูต้ า่ งประเทศ ค�ำประกาศนีล้ งนามโดยผูม้ ชี อื่ เสียงจากวงการ การเมือง ศาสนา และวิชาการ แต่รัฐบาลกลับป้ายสีว่าเป็นความพยายามที่จะยุยง ให้ประชาชนก่อกบฏโค่นล้มระบบของชาติ และยึดอ�ำนาจทางการเมือง ผูม้ สี ว่ นร่วม ในค�ำประกาศนี้ถูกจับกุมไป ๑๑ คนรวมทั้งคิมแดจุงด้วย หลังเหตุการณ์ดังกล่าวรัฐบาลปักจุงฮีก็ควบคุมการเคลื่อนไหวของกลุ่ม ต่อต้านทุกฝีก้าว ในเดือนสิงหาคม ๒๕๑๙ ทหารรักษาชายแดนเกาหลีเหนือยิง ทหารอเมริกันตายไป ๒ คนในเขตปลอดทหารตรงบริเวณหมู่บ้านปันมุนจอมที่ใช้ ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 67
เป็นสถานทีพ่ บปะเจรจา รัฐบาลรีบโหมโฆษณาชวนเชือ่ สร้างกระแสความหวาดกลัว ราวกับว่าเกาหลีเหนือก�ำลังจะบุกเข้ามารุกราน ขบวนการนักศึกษาก็อ่อนก�ำลังลง เนื่องจากแกนน�ำหลายคนถูกจับกุมและไล่ออกจากมหาวิทยาลัยจากการกวาดล้าง จับกุมหลายต่อหลายครั้งที่ผ่านมา การควบคุมสื่อมวลชนอย่างเข้มงวดก็ท�ำให้นักศึกษาตกอยู่ในความมืด ไม่รู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยอื่น ดังนั้นแทนที่จะเคลื่อนไหวประท้วง ขนาดใหญ่ นักกิจกรรมนักศึกษาก็หันมาเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลและกระจาย ข่าวสารผ่านใบปลิว และจัดกลุม่ ศึกษาแบบลึกเพือ่ ติดอาวุธความคิดทางด้านทฤษฎี ที่ก้าวหน้าและยุทธศาสตร์ยุทธวิธีให้กับตนเอง ในเวลานั้นนักศึกษาจ�ำนวนมากถูก จับกุมภายใต้กฤษฎีกาฉบับที่ ๙ เนื่องจากแจกจ่ายใบปลิวใต้ดิน การต่อสู้กับอ�ำนาจรัฐที่ใช้กฤษฎีกาภาวะฉุกเฉินที่โหดร้ายเป็นเครื่องมือ ต้องการความเสียสละอย่างมาก นักศึกษามีโอกาสเสี่ยงที่จะถูกจองจ�ำนานหลาย ปีและถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยซึ่งเท่ากับหมดอนาคต ในอันที่จะแสวงหาความ ยุติธรรม พวกเขาจ�ำเป็นต้องท�ำลายความหวังของพ่อแม่ ยอมเสียโอกาสหาความ ส�ำเร็จและความมัน่ คงในชีวติ และต้องทนรับความเจ็บปวดทัง้ ทางกายและทางสังคม ในวันที่ ๘ ธันวาคม นักศึกษากฎหมายปีสุดท้ายของมหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซล เป็นกองหน้าของการประท้วงต่อต้านระบอบยูชิน พวกเขาถูกจับกุมและคุมขังใน ขณะที่เหลืออีกเพียงสองเดือนก็จะจบการศึกษาแล้ว ในขณะที่ขบวนการนักศึกษาซบเซาลง กลุ่มพลเมืองอื่นๆ กลุ่มศาสนา และปัญญาชนต่างก็ต่อสู้คัดค้านกฤษฎีกาอย่างไม่ลดละตามแนวทางค�ำประกาศ ๑ มีนาคม ๒๕๑๙ พระคาร์ดินัลสตีเฟน คิมซูฮวาน ก็ออกค�ำแถลงสนับสนุน ค�ำประกาศในวันที่ ๑๕ มีนาคม และในวันที่ ๒๓ มีนาคมกลุ่มคาธอลิกและ โปรแตสแตนท์กไ็ ด้รว่ มกันจัดตัง้ องค์กรเพือ่ รับมือกับการจับกุมผูน้ ำ� ศาสนาเมือ่ วันที่ ๑ มีนาคม ส่วนสมาคมครอบครัวนักโทษการเมืองก็ถกู จัดตัง้ ขึน้ ในวันที่ ๑๔ ตุลาคม เมือ่ ศาลสูงได้ยกค�ำร้องอุทธรณ์ของ ๑๘ ผูต้ อ้ งหาทีถ่ กู ข้อหาเกีย่ วพันกับ ค�ำประกาศ ๑ มีนาคม ๒๕๑๙ ในวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๒๐ ผูน้ ำ� คนส�ำคัญฝ่ายต่อต้าน รัฐบาล ๑๐ คนรวมทั้งอดีตประธานาธิบดียุนโปเซิน (Yun Bo-seon) ได้ออก แถลงการณ์ฉบับใหม่เรียกร้องให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญยูชิน และยุติการทรมาน การ 68 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ควบคุมสอดส่องและการปราบปรามพลเมืองในทันที แม้วา่ รัฐบาลจะกวาดล้างจับกุมอีก แต่แถลงการณ์นี้ก็แพร่หลายไปอย่างกว้างขวางในหมู่นักศึกษาและประชาชน การปราบปรามของรัฐบาลยังกระทบต่อนักเขียนและปัญญาชนที่มี มโนธรรมส�ำนึก ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๒๐ ยังซุงวู (Yang Sung-woo) กวีและ ครูโรงเรียนมัธยมโดนไล่ออกและถูกจับกุมเนื่องจากได้เขียนบทกวี “สาธารณรัฐ ฤดูหนาว” และ “สมุดบันทึกของทาส” ลิยองไฮ (Li Young-hi) อาจารย์มหาวิทยาลัย ฮันยางทีโ่ ดนไล่ออกผูเ้ ขียน “ตรรกะของการเปลีย่ นแปลงยุคสมัย” และแบ๊กนักเชิง (Baek Nak-cheong) อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซลที่ถูกไล่ออกและ ผู้จัดพิมพ์วารสารฝ่ายก้าวหน้า “สร้างสรรค์และวิจารณ์” ถูกต�ำรวจควบคุมตัวไป สอบสวนในวันที่ ๒๓ และ ๒๖ พฤศจิกายนตามล�ำดับ ลิยองไฮถูกจับกุมคุมขังส่วน แบ๊กนักเชิงถูกแจ้งข้อหาฝ่าฝืนกฎหมายปราบปรามคอมมิวนิสต์ ในวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๒๐ อาจารย์มหาวิทยาลัยที่โดนไล่ออกได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาคมและออก แถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัวและคืนสถานะเดิมให้กับนักศึกษา นักกิจกรรม และอาจารย์ทั้งหมด ในระหว่างครึง่ ปีแรกของปี ๒๕๒๐ การประท้วงขนาดใหญ่มขี นึ้ หลายครัง้ ตามมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ในกรุงโซล วันที่ ๒๒ ตุลาคม นักศึกษามหาวิทยาลัย ยอนเซ ๒,๐๐๐ คนได้เดินขบวนประท้วงบนถนนหน้ามหาวิทยาลัยเป็นเวลา ๔ ชัว่ โมง และผู้ประท้วงถูกจับกุมไป ๗ คน นี่เป็นการประท้วงของนักศึกษาครั้งใหญ่ที่สุด ภายใต้กฤษฎีกาฉบับที่ ๙
การขยายตัวของขบวนการประชาธิปไตย
ย่างเข้าปี ๒๕๒๑ อันเป็นปีที่จะมีการเลือกตั้ง การเคลื่อนไหวต่อต้าน รั ฐ บาลได้ ข ยายตั ว ออกไปมากขึ้ น การเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก สภาแห่ ง ชาติ เ พื่ อ การ รวมประเทศ (National Conference for Unification) ก�ำหนดจะมีขึ้นใน เดือนพฤษภาคม การเลือกตัง้ ประธานาธิบดีคนที่ ๗ จะมีขนึ้ ในเดือนกรกฎาคม และการ เลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาชุดที่ ๑๐ จะมีขึ้นในเดือนธันวาคม ปฏิทินการเมืองดังกล่าว ได้ฟน้ื ความสนใจของประชาชนทีม่ ตี อ่ ความอยุตธิ รรมของระบอบยูชนิ ขึน้ มาอีก และ กระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยอย่างคึกคักขึ้นมาใหม่ ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 69
เดือนกุมภาพันธ์เกิดการปราบปรามอย่างป่าเถื่อนต่อคนงานสตรีที่รวม ตัวเป็นสหภาพแรงงานของโรงงานทอผ้าดองกิล ส่งผลให้เกิดการร่วมมือกันอย่าง ใกล้ชิดระหว่างขบวนการแรงงานและขบวนการประชาธิปไตย ในจ�ำนวนคนงาน ๑,๓๐๐ คนของโรงงานทอผ้าดองกิลที่ตั้งอยู่ในเมืองอินชอนนั้นเป็นผู้หญิงเสีย ๑,๐๐๐ คน ในปี ๒๕๑๕ พวกเขาได้เลือกประธานสหภาพแรงงานทีเ่ ป็นสตรีคนแรก เป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการแรงงานสตรี ผู้บริหารกิจการพยายามทุกวิถีทางที่จะ ท�ำลายสหภาพแรงงานรวมทั้งการจัดตั้งสหภาพแรงงานฝ่ายผู้บริหารขึ้นมาแข่งขัน ด้วย คนงานผู้หญิงเหล่านั้นต้องต่อสู้อย่างหนักหน่วงเพื่อปกป้องสหภาพแรงงาน ของตนโดยต้ อ งใช้ แ ม้ แ ต่ ก ารประท้ ว งกึ่ ง เปลื อ ยกึ่ ง โป๊ วั น ที่ ๒๑ กุ ม ภาพั น ธ์ ๒๕๒๒ เมื่อคนงานสตรีก�ำลังจะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการสหภาพแรงงาน คนงานชายและอันธพาลทีผ่ บู้ ริหารจ้างมาสาดน�ำ้ อุจาระปัสสวะใส่คนงานหญิงเหล่า นั้น และส�ำนักงานใหญ่สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมทอผ้าก็ปลดกรรมการบริหาร สหภาพแรงงานดองกิลออกหมด วันที่ ๒๑ มีนาคม คนงาน อาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ถูกไล่ออก กลุ่มเยาวชน ผู้น�ำศาสนา กลุ่มสิทธิสตรี ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็น คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อรับมือกับเหตุการณ์นี้ท�ำให้รัฐบาลยอมรับปากว่าจะ อนุญาตให้กรรมการบริหารสหภาพกลับเข้าท�ำหน้าที่ได้ แต่รัฐบาลกลับผิดสัญญา วันที่ ๒๖ เมษายน บริษัทได้ไล่คนงาน ๑๒๖ คนออกจากงานและส�ำนักงานใหญ่ สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมทอผ้าก็แจกจ่ายรายชื่อคนงานที่ถูกไล่ออกนี้ไปยัง โรงงานอื่นทั่วประเทศเพื่อป้องกันมิให้คนงานเหล่านี้สมัครงานที่ไหนได้ กลุ่มสังคม อื่นๆ ได้เข้ามาร่วมการต่อสู้คัดค้านการบ่อนท�ำลายสหภาพแรงงานอิสระและการ จัดท�ำบัญชีด�ำ ส่งผลให้เกิดการผูกเป็นพันธมิตรที่แน่นแฟ้นขึ้นระหว่างขบวนการ แรงงานกับขบวนการประชาธิปไตย เดือนเมษายน ๒๕๒๒ ผู้น�ำจ�ำนวนหนึ่งของสมาคมเกษตรกรคาธอลิก เกาหลีสาขาเมืองชุนชอน จังหวัดกังวอน ถูกจับกุมเนือ่ งจากท�ำจดหมายข่าวแจกจ่าย ขณะเดียวกันในระหว่างพิธที างศาสนาคาธอลิกในเมืองกวางจู จังหวัดเจิลลาใต้ เมือ่ วันที่ ๒๔ เมษายน มีเกษตรกรประมาณ ๗๐๐ คนมาชุมนุมเรียกร้องให้รฐั บาลชดเชย ค่าปลูกมันฝรัง่ หวานในบริเวณฮัมเปียงทีอ่ ยูใ่ กล้เคียง ผูป้ ลูกมันฝรัง่ หวานร้องเรียนว่า พวกเขาได้รบั ความเสียหายหลังจากส�ำนักงานสหพันธ์ชมุ นุมสหกรณ์แห่งชาติประจ�ำ 70 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ท้องถิน่ (Nonghyup) ไม่ปฏิบตั ติ ามสัญญาทีจ่ ะซือ้ ผลิตผลทัง้ หมด พวกเขายังเรียกร้อง ให้รัฐบาลหยุดยั้งการคุกคามสมาคมเกษตรกรและปล่อยตัวเกษตรกรที่ถูกจับกุม อีกด้วย พวกเขาขอพบปะหารือกับหัวหน้าสหพันธ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งชาติประจ�ำ จังหวัด เมื่อถูกขัดขวางจากต�ำรวจเกษตรกรบางคนเริ่มการอดอาหารประท้วงและ ส่งจดหมายขอการสนับสนุนไปยังสมาคมเกษตรกรทั่วประเทศ วันที่ ๑ พฤษภาคม ประชาชนจ�ำนวน ๑,๕๐๐ คนรวมทั้งบาทหลวงอีก ๔๐ ท่านได้นัดชุมนุมสวดมนต์ และเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ประท้วงที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้ และพวกเขาได้รวมตัว จัดตั้งเป็นคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อสิทธิมนุษยชนของเกษตรกร เหตุการณ์นี้ ได้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างขบวนการเกษตรกรกับขบวนการ ประชาธิปไตย ปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของคนงานและเกษตรกรได้กลายเป็น ปัญหาส�ำคัญที่ได้รับความสนใจไม่เพียงแต่ในวงการศาสนา กลุ่มสิทธิสตรีและกลุ่ม สิทธิมนุษยชนเท่านั้น แม้แต่ขบวนการนักศึกษาก็ได้เริ่มเข้าร่วมอย่างเต็มที่กับการ เคลื่อนไหวต่อสู้ของคนงานและเกษตรกร ขบวนการนักศึกษาเองก็เริ่มเคลื่อนไหวอย่างคึกคัก วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๒๒ ได้ มี ก ารแจกจ่ า ยใบปลิ ว เรี ย กร้ อ งให้ ต ่ อ สู ้ เ พื่ อ ความเป็ น อิ ส ระของ มหาวิทยาลัยทั่วไปในมหาวิทยาลัยแห่งชาติปูซาน (Pusan National University) เป็นสัญญานของการฟืน้ ตัวของขบวนการนักศึกษาซึง่ ถูกปราบปรามจนสงบราบคาบ เมือ่ ครัง้ ทีม่ กี ารเคลือ่ นไหวของสหพันธ์นกั ศึกษาและเยาวชนประชาธิปไตยแห่งชาติ วันที่ ๘ พฤษภาคม นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซลประมาณ ๑,๕๐๐ คน ได้ ก่อการชุมนุมประท้วงขึน้ เรียกร้องให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญยูชนิ ปลดปล่อยนักกิจกรรม นักศึกษาที่ถูกจับกุม รื้อฟื้นสภานักศึกษาที่ถูกสั่งปิดไป คืนสถานะนักศึกษาให้กับ ผู้ที่ถูกลงโทษ รับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของคนงาน และเสรีภาพของสื่อมวลชน พวก เขายังได้ประกาศแผนปฏิบัติการเคลื่อนไหวซึ่งรวมทั้งการประท้วงไม่เข้าห้องเรียน เพื่อคัดค้านการเลือกตั้งสภาแห่งชาติเพื่อการรวมประเทศ และสนับสนุนการต่อสู้ ของคนงานดองกิล ทั้งจะเพิ่มความพยายามชักชวนนักศึกษาให้เข้าร่วมขบวนการ ประชาธิปไตยมากขึ้น พวกเขาเริ่มต้นการประท้วงไม่เข้าห้องเรียนในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม การประท้วงของนักศึกษายังเกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยสตรีเอ้หวา (Ewha Womans) มหาวิทยาลัยดองกุก มหาวิทยาลัยฮันชิน และที่อื่นๆ ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 71
วันที่ ๑๒ มิถุนายน การประท้วงขนาดใหญ่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัย แห่งชาติกรุงโซลโดยมีผเู้ ข้าร่วมประมาณ ๕,๐๐๐ คน นักศึกษาเสนอให้จดั การชุมนุม ใหญ่ประท้วงรัฐบาลร่วมกับประชาชนพลเมืองที่จัตุรัสกวางวานัม ในเขตกรุงโซล ตอนกลางในวันที่ ๒๖ มิถุนายน และแม้จะถูกข่มขู่คุกคามอย่างหนักจากทางการ แกนน�ำบางคนถูกควบคุมตัวไว้ในบ้าน และการปิดกั้นถนน แต่นักศึกษาประมาณ ๔,๐๐๐ คน ก็สามารถฝ่าด่านต�ำรวจเดินขบวนไปถึงทีช่ มุ นุมย่านกลางเมืองได้จนถึง เวลา ๔ ทุ่ม นับเป็นการเดินขบวนประท้วงบนถนนใจกลางเมืองครั้งแรกนับแต่ปี ๒๕๑๕ เป็นต้นมา ความล้มเหลวของรัฐบาลที่จะขัดขวางการเดินขบวนประท้วงนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความรูส้ กึ ต่อต้านรัฐบาลของประชาชนทีม่ มี ากเกินกว่าจะควบคุม ได้แล้ว การประท้วงของนักศึกษาในภูมิภาคต่างๆ ก็เกิดขึ้นเป็นระยะๆ วันที่ ๒๗ มิถุนายน อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งชาติชอนนาม เมืองกวางจู กลุ่มหนึ่งได้ประกาศแนวทางการศึกษาทางเลือกซึ่งได้วิพาษ์วิจารณ์แผนการศึกษา แห่งชาติที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เรียกร้องให้มหาวิทยาลัยมีความเป็นประชาธิปไตย มากขึ้น ให้ปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกจับกุม และมีการศึกษาที่สร้างจิตส�ำนึก อาจารย์ กลุ่มนี้ทั้งหมดถูกไล่ออกจากงาน และถูกจับกุมตัวไป ๒ คน วันที่ ๒๙ มิถุนายน นักศึกษามหาวิทยาลัยชอนนามได้นั่งประท้วงภายในห้องสมุดเพื่อคัดค้านการ ใช้อ�ำนาจอย่างไม่เป็นธรรมกับอาจารย์ ต�ำรวจได้บุกเข้ามาและขับไล่นักศึกษา แตกกระเจิง นักศึกษาจึงชุมนุมประท้วงบนถนนเป็นเวลา ๒ วัน ตามมาด้วยการ ชุมนุมในมหาวิทยาลัยโชซุนในเมืองเดียวกันในวันที่ ๓ กรกฎาคม ขณะเดียวกันก็มี การแจกจ่ายใบปลิวขององค์กรนักศึกษาเพือ่ ประชาธิปไตยระดับชาติในมหาวิทยาลัย อื่นๆ อีก ๖ แห่ง วันที่ ๕ กรกฎาคม ผู้แทนกลุ่มสังคมวงการต่างๆ ๔๐๒ คนได้ร่วมกัน จัดตั้งสภาแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National Council for Democracy) เพื่อ ท�ำหน้าที่ต่อจากสภาแห่งชาติเพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตย (National Council for Democratic Restoration) ซึ่งตั้งขึ้นในปี ๒๕๑๗ สภาใหม่นี้เป็นความก้าวหน้า อย่างมากด้วยจะเป็นการวมตัวเป็นพันธมิตรอย่างมั่นคงถาวรขององค์กรต่างๆ ที่มี ตัวแทนจากกลุ่มสังคมใหญ่ๆ แต่ละภาคส่วน ๑๒ กลุ่ม เป็นการผนึกก�ำลังกันอย่าง แน่นแฟ้นของกลุม่ ต่างๆ ทีเ่ คลือ่ นไหวต่อต้านระบอบยูชนิ ทุกกลุม่ แม้วา่ จะถูกรัฐบาล 72 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ปราบปรามอย่างหนักแต่อาจารย์มหาวิทยาลัย นักหนังสือพิมพ์ นักเขียน และ นักศึกษาก็ผนึกก�ำลังกันได้อีกครั้งหนึ่ง เนือ่ งจากสมาชิกหลายคนถูกควบคุมตัวในบ้าน สภาใหม่นจี้ งึ ไม่สามารถ จัดการประชุมประกาศการก่อตัง้ ได้แต่กไ็ ด้ออกค�ำประกาศประชาชนประชาธิปไตย (Democratic People’s Declaration) และเปิดเผยชื่อสมาชิกอย่างกล้าหาญ ค�ำประกาศชี้ให้เห็นถึงทิศทางของขบวนการประชาธิปไตยที่มุ่งไปสู่ประชาธิปไตย ประเทศชาติ และความอยู่ดีกินดีของประชาชน ส�ำหรับเป้าหมายเฉพาะหน้านั้นได้ ย�ำ้ ถึงการต่อสูเ้ พือ่ ยุตริ ะบอบยูชนิ และยกเลิกกฎหมายทีไ่ ม่เป็นประชาธิปไตยตลอด จนกลไกรัฐที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ชุมชนชาวคริสเตียนก็เพิ่มระดับการเคลื่อนไหวประท้วง ชาวคาธอลิก ได้จัดการชุมนุมในเมืองเจินจู (Jeonju) ในวันที่ ๕ กรกฎาคม วันต่อมาต�ำรวจก็ บุกเข้าวัดคาธอลิกและท�ำร้ายพระบาดเจ็บสาหัสไป ๑ รูป วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ประชาชนกว่า ๑,๕๐๐ คนรวมทั้งบาทหลวง ๘๐ ท่านได้ประท้วงการกระท�ำที่ รุนแรงของต�ำรวจและบางคนได้ไปเยี่ยมพระที่นั่งประท้วงอยู่ ต�ำรวจก็บุกเข้าทุบตี ผู้ประท้วงอย่างรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง บรรดาพระในเขตสังฆมณฑลเจินจูได้ท�ำการ อดอาหารประท้วงเป็นเวลา ๘ วัน จนกว่าผูบ้ ญ ั ชาการต�ำรวจภูธรจะขอโทษ วันที่ ๑๖ สิงหาคม สมาชิกกลุ่มเยาวชนของโบสถ์เพรสไบทีเรียน ๔๐๐ คน ได้ชุมนุมประท้วง บนถนนหลังจากกระท�ำพิธสี วดเพือ่ สิทธิมนุษยชน ต�ำรวจจับกุมผูป้ ระท้วงไป ๙๘ คน ส่วนที่ยังเหลืออยู่ก็ได้นั่งประท้วงต่อไป การเผชิญหน้าด�ำเนินต่อไปเป็นเวลา ๗ วัน ในระหว่างการเจรจากับผู้น�ำศาสนาและนักสิทธิมนุษยชนต�ำรวจให้สัญญาว่าจะไม่ จับกุมผู้ประท้วงเพิ่มถ้าหากยอมสลายการชุมนุมเอง แต่เมื่อผู้ประท้วงยอมท�ำตาม ต�ำรวจกลับจับกุมผู้ประท้วงเพิ่มอีก ๖ คน และรัฐบาลยังบีบบังคับให้มหาวิทยาลัย ไล่ผู้ประท้วงออกอีกด้วย วันที่ ๔ กันยายน องค์กรและสมาชิกของกลุ่มศาสนาได้ กลับมานั่งประท้วงอีกครั้ง เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการคุกคามขู่เข็ญกลุ่มศาสนาและ ระงับการลงโทษที่เป็นการแก้แค้น การเคลื่อนไหวต่อต้านของนักศึกษาก็เพิ่มมากขึ้นในเดือนกันยายน ใน การชุมนุมประท้วงภายในมหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซลเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน นักศึกษาได้วิพากษ์ประณามอาจารย์บางคนที่ยอมเป็นเครื่องมือรับใช้ระบอบ ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 73
เผด็จการในการเข้าควบคุมมหาวิทยาลัยอย่างเข้มงวด พวกเขาเปิดเผยรายชื่อ อาจารย์เหล่านี้และเรียกร้องให้นักศึกษาต่อต้านไม่เข้าเรียนในวิชาที่สอน นักศึกษา ยังประกาศว่าจะจัดการชุมนุมใหญ่ที่จัตุรัสกวางฮวามุนย่านกลางเมืองในวันที่ ๑๗ ตุลาคมซึ่งเป็นวันครบรอบการประกาศจัดตั้งระบอบยูชิน วันที่ ๑๔ กันยายน นักศึกษามหาวิทยาลัยเกาหลีได้ชุมนุมเดินขบวนออกจากมหาวิทยาลัย เมื่อถูก ขัดขวางจากต�ำรวจปราบจลาจลพวกเขาก็ได้ทำ� ลายป้อมยามต�ำรวจด้านหน้าประตู มหาวิทยาลัย การชุมนุมใหญ่ที่ก�ำหนดจะมีขึ้นในวันที่ ๑๗ ตุลาคมถูกหยุดยั้งขัดขวาง โดยต�ำรวจได้เข้าควบคุมตัวผู้น�ำนักศึกษา ๒๐ คน กักบริเวณผู้น�ำกลุ่มพลเมือง ไม่ให้ออกจากบ้าน ๓๐๐ คน และตั้งด่านสกัดทุกเส้นทางที่ไปสู่สถานที่ชุมนุม วันที่ ๗ พฤศจิกายน นักศึกษาประมาณ ๒,๐๐๐ คน ได้ปะทะกับต�ำรวจบนถนนแดกู และได้ท�ำลายป้อมยามต�ำรวจและรถต�ำรวจเสียหายไป ๘ คัน มีผู้ได้รับบาดเจ็บ จ�ำนวนมากทั้งสองฝ่าย นักศึกษาถูกต�ำรวจควบคุมตัวชั่วคราวประมาณ ๒๐๐ คน
จุดจบของระบอบยูชิน
การเลื อ กตั้ ง สมาชิ ก รั ฐ สภาในวั น ที่ ๑๒ ธั น วาคม ๒๕๒๑ พรรค ประชาธิปไตยใหม่ฝ่ายค้านได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนมากกว่าพรรครัฐบาล ๑.๑ เปอร์เซ็นต์ ทัง้ ทีร่ ฐั บาลควบคุมกลไกสถาบันต่างๆ ในสังคมอย่างเข้มงวด ผลการเลือก ตัง้ เช่นนีจ้ งึ สร้างความสัน่ สะเทือนและแสดงให้เห็นถึงความไม่พอใจการปกครองมา ยาวนานของปักจุงฮี และสร้างขวัญก�ำลังใจให้กับกลุ่มประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาล และพรรคการเมืองฝ่ายค้านซึง่ ได้จดั ขบวนเคลือ่ นไหวใหม่โดยร่วมกันจัดตัง้ พันธมิตร เพือ่ ประชาธิปไตยและความเป็นอันหนึง่ อันเดียวกันแห่งฃาติ โดยมีประธานร่วมคือ ฮั ม ซุ ค เฮิ น (Ham Suk-heon) ยุ น โปเซิ น (Yun Bo-seon) และคิ ม แดจุ ง (Kim Dae-jung) องค์กรพันธมิตรใหม่นปี้ ระกาศตนเป็นศูนย์กลางน�ำการเคลือ่ นไหว ต่อต้านระบอบยูชนิ อย่างแท้จริง ในค�ำประกาศจัดตัง้ นัน้ ได้ระบุเป้าหมายเฉพาะหน้า คือ การก� ำจัดระบอบยูชินและจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยโดยการต่อสู้อย่าง สันติวิธี อีกทั้งยังได้ชูประเด็นการรวมประเทศซึ่งภายใต้ระบอบยูชินไม่ถูกน�ำขึ้นมา เป็นประเด็นสาธารณะ 74 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
รัฐบาลได้สร้างเรื่องปลุกผีคอมมิวนิสต์ขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ปราบปราม ขบวนการประชาธิปไตย ในวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๒๒ หน่วยข่าวกรองกลางเกาหลี (KCIA) ได้สอบสวนสมาชิกสถาบันศึกษาศาสนาคาธอลิก ๓๐ คน และจับกุมตัวไว้ หลายคนในข้อหาเคลื่อนไหวจัดตั้งองค์กรนิยมคอมมิวนิสต์ แต่เมื่อถึงการพิจารณา ในศาลการณ์กลับกลายเป็นว่า ผู้ต้องหาถูกทรมานโดยเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองให้ ยอมรับสารภาพผิด วันที่ ๕ พฤษภาคม โอวอนชุน (Oh Won-chun) เยาวชนอาสาสมัครของ สมาคมเกษตรกรคาธอลิคเกาหลีเขตอันดองได้หายตัวไป เขาเป็นผูน้ ำ� การเคลือ่ นไหว ของเกษตรกรที่เรียกร้องให้รัฐบาลชดเชยราคาข้าวที่ตกต�่ำและปฎิรูปหน่วยงาน สหกรณ์ของรัฐ (Nonghyup) ให้เป็นประชาธิปไตย หลังจากนั้น ๒๙ วันส�ำนักงาน ท้องถิ่นของสมาคมเกษตรกรคาธอลิคเกาหลีได้ประกาศการหายตัวไปของเขาและ เรียกร้องค�ำอธิบายจากต�ำรวจ แต่ต�ำรวจกลับจับกุมบาทหลวงคนหนึ่งและอาสา สมัครอีกหลายคนในข้อหาปล่อยข่าวลือที่ไม่มีมูลความจริง และกล่าวหาว่าเป็น พวกคอมมิวนิสต์ เหตุการณ์นี้ได้ลุกลามกลายเป็นการเผชิญหน้าระหว่างเผด็จการ ทหารกับศาสนจักรคาธอลิค ต่อมาบาทหลวง ๗๐๐ รูปจาก ๑๔ สังฆมณฑลได้ ชุมนุมประท้วงที่โบสถ์เมียงดอง (Myeongdong Cathedral) ซึ่งเป็นวัดคาธอลิค ที่สำ� คัญในกรุงโซล การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาได้ชุบชีวิตใหม่ให้กับพรรคประชาธิปไตยใหม่ ฝ่ายค้านซึ่งไม่อาจมีบทบาทภายใต้อ�ำนาจเผด็จการอย่างโหดร้ายได้ ในการประชุม ใหญ่ของพรรคเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๒ คิมยังซัม (Kim Young-sam) ผู้ซึ่ง เรียกร้องให้ใช้ท่าทีแข็งกร้าวต่อรัฐบาลได้รับเลือกให้เป็นผู้น�ำพรรคโดยชนะคู่แข่งที่ มีท่าทีประนีประนอมกับรัฐบาล ปักจุงฮีจึงต้องเผชิญกับการต่อต้านไม่เพียงจาก นักศึกษาและกลุ่มประชาชนต่างๆ แต่ยังมีปรปักษ์ทางการเมืองที่เข้มแข็งในเวที การเมืองระดับชาติด้วย การเคลื่อนไหวของฝ่ายประชาธิปไตยได้เพิ่มมากขึ้นก่อนหน้าการเยือน กรุงโซลของประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์แห่งสหรัฐอเมริกาในวันที่ ๒๙ มิถุนายน ปักจุงฮีมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทางการวอชิงตันนับแต่ได้ส่งทหารไปร่วมรบใน สงครามเวียดนามช่วงปลายทศวรรษที่ ๑๙๖๐ แต่เริ่มมีปัญหาความห่างเหินในช่วง ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 75
ต้นทศวรรษที่ ๑๙๗๐ เมื่อสหรัฐฯ ประกาศนโยบายลัทธินิกสันและลดก�ำลังทหาร สหรัฐฯ ในเกาหลีลง และความสัมพันธ์ยิ่งตกต�่ำลงเมื่อมีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ยูชิน รอยร้าวในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองดูจะยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อคาร์เตอร์ ซึ่งประกาศนโยบายต่างประเทศที่ให้ความส�ำคัญกับสิทธิมนุษยชนและจะลดก�ำลัง ทหารสหรัฐฯ ในเกาหลีลงอีกมาเป็นประธานาธิบดี กลุ่มพลังประชาธิปไตยได้ แสดงการคัดค้านการมาเยือนของคาร์เตอร์ คิมยังซัมผูน้ ำ� ฝ่ายค้านคนใหม่กล่าวเมือ่ วันที่ ๑๑ มิถุนายนว่าชาวเกาหลีจะผิดหวังอย่างมากถ้าการมาเยือนของคาร์เตอร์ เป็นการช่วยเหลือระบอบยูชิน ผู้สนับสนุนรัฐบาลกลุ่มหนึ่งบุกเข้าโจมตีที่ท� ำการ พรรคประชาธิปไตยใหม่เพือ่ ประท้วงค�ำพูดของคิมยังซัง ในทีส่ ดุ คาร์เตอร์กม็ าเยือน กรุงโซลตามก�ำหนดการ ความตึงเครียดทางการเมืองในกรุงโซลมีมากขึ้นอีกจากการเคลื่อนไหว ประท้วงครั้งใหญ่ของผู้ใช้แรงงานในช่วงฤดูร้อน วันที่ ๙ สิงหาคมคนงานหญิง ของโรงงานทอผ้าวายเอช (YH Corporation) ได้นั่งประท้วงที่ที่ท�ำการพรรค ประชาธิปไตยใหม่ฝ่ายค้านเพื่อคัดค้านการที่นายจ้างปิดโรงงานไม่ให้คนงานกลับ เข้าท�ำงานโดยไม่รู้ตัว ซึ่งพรรคประชาธิปไตยใหม่ให้การสนับสนุนคนงาน วันที่ ๑๑ สิงหาคมเวลาบ่ายสองโมง ต�ำรวจปราบจลาจล ๑,๐๐๐ นาย ได้บุกเข้าสลายการ ชุมนุมในอาคารทีท่ ำ� การพรรคเป็นเหตุให้คนงานหญิงคนหนึง่ เสียชีวติ จากการตกตึก และมีผู้บาดเจ็บอีกเป็นจ�ำนวนมากซึ่งรวมทั้งคนงานหลายราย สมาชิกพรรค ประชาธิปไตยใหม่ ๓๙ คน รวมทั้งสมาชิกรัฐสภาด้วย และนักข่าว ๑๒ คน สมาชิก พรรคประชาธิปไตยใหม่จงึ ได้นงั่ ประท้วงต่อ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ ออกค�ำแถลงซึง่ ไม่คอ่ ยจะเกิดขึน้ ว่า สหรัฐฯ รูส้ กึ เสียใจทีต่ ำ� รวจเกาหลีใช้กำ� ลังอย่าง รุนแรงเกินกว่าเหตุและเรียกร้องให้มีการลงโทษอย่างเหมาะสม รัฐบาลตอบโต้โดย การเกลี้ยกล่อมให้ผู้น�ำสาขาพรรคประชาธิปไตยใหม่ ๓ คนท้าทายคิมยังซัม โดย ในวันที่ ๑๓ สิงหาคมพวกเขาได้ยื่นค�ำร้องต่อศาลแขวงกรุงโซลขอคุ้มครองชั่วคราว ให้คิมยังซัมและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปไตยใหม่หยุดการปฏิบัติหน้าที่ ชัว่ คราว ศาลมีคำ� สัง่ อนุญาตตามค�ำร้องและตัง้ ให้ประธานทีป่ ระชุมพรรคเป็นรักษา การหัวหน้าพรรค พรรคประชาธิปไตยใหม่จึงแตกเป็นสองฝ่าย โดยฝ่ายคิมยังซัมมี จ�ำนวนสมาชิกรัฐสภามากกว่าฝ่ายคูแ่ ข่งทีร่ ฐั บาลหนุนหลัง คิมยังซัมประกาศในวันที่ 76 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
๑๐ กันยายนว่า พรรคจะสามัคคีกบั ทุกคนทีป่ รารถนาประชาธิปไตยและเคลือ่ นไหว กันทัว่ ทัง้ ประเทศเพือ่ โค่นล้มรัฐบาลปักจุงฮี ในการให้สมั ภาษ์หนังสือพิมพ์นวิ ยอร์คไทมส์ เมือ่ วันที่ ๑๕ กันยายน คิมยังซัมเรียกร้องให้ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ถอนการสนับสนุน รัฐบาลปักจุงฮีซึ่งเขาเรียกว่าเป็นเผด็จการที่แปลกแยกจากประชาชนมากขึ้นทุกที พรรครัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาที่รัฐบาลแต่งตั้งได้เสนอญัตติลงโทษคิมยังซัมโดย การขับออกจากรัฐสภา วันที่ ๔ ตุลาคมมีการระดมหน่วยรักษาความปลอดภัยมา ควบคุมการประท้วงของสมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้าน และด�ำเนินการผ่านความเห็นชอบ ขับคิมยังซัมออกจากการเป็นสมาชิกรัฐสภา คิมยังซัมประกาศยืนยันความมุ่งมั่นที่ จะต่อสู้กับรัฐบาลต่อไป และกลุ่มพลังประชาธิปไตยทั้งหมดก็ให้การสนับสนุนผู้น�ำ ฝ่ายค้านอย่างเต็มที่ เมือ่ วิกฤตการณ์ทางการเมืองมีมากขึน้ การประท้วงต่อต้านของนักศึกษา ก็ยงิ่ เพิม่ ขึน้ ในเดือนกันยายนและตุลาคมนักศึกษาได้เคลือ่ นไหวอย่างกว้างขวางทัว่ ประเทศเรียกร้องให้ปกั จุงฮียกเลิกกฤษฎีกาภาวะฉุกเฉินฉบับที่ ๙ ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยูชนิ และลงจากอ�ำนาจ กลางเดือนตุลาคมเกิดการประท้วงหลายครัง้ ในเมืองปูซาน และมาซานที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งสร้างความสั่นสะเทือนอย่างหนักหน่วงรุนแรงที่สุด ต่อรัฐบาล วันที่ ๑๖ ตุลาคม นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติปูซานได้เริ่มการเดิน ขบวนประท้วงเมื่อเวลา ๑๐ โมงเช้า ผู้ประท้วงเพิ่มจ�ำนวนเป็น ๔,๐๐๐ คน อย่าง รวดเร็ว พวกเขาฝ่าด่านกีดขวางของต�ำรวจออกไปยังถนนใหญ่ได้ เวลาบ่าย ๒ โมง ผู้ประท้วงมาชุมนุมกันที่หน้าศาลากลางจังหวัดและร้องตะโกน “ล้มระบอบยูชิน” “เผด็จการจงออกไป” โดยมีประชาชนที่มายืนดูปรบมือให้กำ� ลังใจ ต่อมานักศึกษา มหาวิทยาลัยดองอาก็มาสมทบและตลอดช่วงบ่ายนักศึกษาจากวิทยาลัยสองแห่ง ก็หลอกล่อหลบเลี่ยงการปิดกั้นของต�ำรวจผ่านตรอกซอยเข้ามาร่วมชุมนุมได้ เมื่อ ถึงเวลา ๕ โมงเย็นจ�ำนวนผู้ประท้วงเพิ่มเป็น ๕๐,๐๐๐ คน โดยมีประชาชนที่เลิก งานแล้วเข้ามาร่วม การประท้วงเริม่ รุนแรงขึน้ ผูป้ ระท้วงได้ขว้างก้อนอิฐใส่ปอ้ มยาม ต�ำรวจ สถานีวิทยุโทรทัศน์ ส�ำนักงานหนังสือพิมพ์ และเผารถต�ำรวจ การประท้วง ด�ำเนินไปจนถึงเวลาตี ๒ คืนนั้น ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 77
วันรุง่ ขึน้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติปซู านถูกปิดชัว่ คราว แต่การประท้วงของ นักศึกษาได้ขยายตัวกลายเป็นการลุกขึ้นสู้ของประชาชนแล้ว สถานีต�ำรวจและที่ ตั้งหน่วยงาน สถานที่ราชการ และส�ำนักงานสื่อมวลชนเกือบทั้งหมดถูกโจมตี ใน ระหว่างสองวันของการประท้วง รถต�ำรวจถูกเผาวอดไป ๖ คัน และถูกท�ำลายเสีย หายอีก ๑๒ คัน ป้อมยามต�ำรวจถูกเผาและท�ำลายไป ๒๑ จุด นักศึกษากว่า ๑๐๐ คนและประชาชนและเจ้าหน้าทีต่ ำ� รวจได้รบั บาดเจ็บอีกหลายราย ในจ�ำนวนนีม้ ี ๑๘ คน บาดเจ็บสาหัส รัฐบาลประกาศกฎอัยการศึกทัว่ ทัง้ เมืองในวันที่ ๑๘ ตุลาคมและ ส่งทหารพลร่ม ๕,๐๐๐ คน จากแนวหน้าเข้ามารักษาการณ์ ในขณะที่การประท้วงในเมืองปูซานซาลง การประท้วงขนาดใหญ่ก็เกิด ขึ้นในเมืองมาซานซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่ไกลนักในวันเดียวกันนั้น เริ่มจากนักศึกษา มหาวิทยาลัยยุงนามแล้วมีประชาชนเข้าร่วม ผู้ประท้วงปะทะกับต�ำรวจในย่าน กลางเมืองและเข้าโจมตีสถานีตำ� รวจย่อย อาคารสถานีวทิ ยุโทรทัศน์ และทีท่ ำ� การสาขา พรรครัฐบาล การต่อสู้ทวีความรุนแรงขึ้นในวันต่อมา รัฐบาลเกรงว่าลูกจ้างคนงาน ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกมาซานจะมาเข้าร่วมประท้วงกับนักศึกษาจึงประกาศ ใช้กฤษฎีกาส่งทหารเข้าประจ�ำการ (Garrison Decree) ในเขตเมืองมาซานและ ชังวอนที่อยู่ใกล้เคียงในวันที่ ๒๐ ตุลาคม ในช่วงของการประท้วงเป็นเวลา ๔ วัน นัน้ มีนกั ศึกษาถูกจับกุมตัวไป ๑,๐๕๘ คนในเมืองปูซาน และอีก ๕๐๕ คนถูกจับกุม ในเมืองมาซาน และถูกน�ำตัวขึ้นศาลทหาร ๘๗ คน คนจ�ำนวนมากไม่คาดคิดว่ามหาวิทยาลัยแห่งชาติปูซานจะกลายเป็น จุ ดเริ่ มต้ น ของการลุ ก ขึ้ นสู ้ ค รั้ ง ใหญ่ ข องประชาชนที่ น� ำ ไปสู่จุดจบของระบอบ ปักจุงฮี มหาวิทยาลัยที่เคยถูกเย้ยหยันว่า “มหาวิทยาลัยยูชิน” เนื่องจากนักศึกษา มหาวิทยาลัยนีแ้ ทบจะไม่เคยเคลือ่ นไหวประท้วงภายใต้ระบอบเผด็จการเลย สาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากการที่คิมยังซัมผู้น�ำฝ่ายค้านซึ่งเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของคนภาคนี้ ถูกคุกคามรังแกได้สร้างความโกรธแค้นให้กับพลเมืองชาวปูซาน แต่ที่ส�ำคัญกว่า นั้นคือ การเคลื่อนไหวของนักศึกษาได้จุดชนวนความเคียดแค้นชิงชังเผด็จการที่ ฝังมานานของพลเมืองชาวปูซานและมาซานซึ่งเคยมีบทบาทส�ำคัญในการโค่นล้ม รัฐบาลซิงมันรีในปี ๒๕๐๓ ให้ปะทุขึ้น การลุกขึ้นสู้ที่เมืองปูซาน-มาซานได้แสดงให้ เห็นพลังอันยิ่งใหญ่ของพันธมิตรนักศึกษาประชาชนที่กล้าต่อสู้กับอ�ำนาจเผด็จการ 78 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ที่กดขี่ปราบปราม ดูเหมือนว่าเวลาอีกไม่นานต่อจากนี้ เพลิงแห่งการต่อสู้ของผู้ต่อต้านซึ่ง ถุกจุดขึ้นที่สองเมืองทางภาคใต้จะไหม้ลามไปทั่วประเทศ ที่ร้ายกว่านั้นรอยร้าว ในความสัมพันธ์ระหว่างทางการวอชิงตันกับทางการกรุงโซลจะยิ่งปริแตกมากขึ้น ภายหลังการขับคิมยังซัมผู้น�ำฝ่ายค้านออกจากรัฐสภา เพื่อป้องกันไม่ให้กระแส การประท้วงในเมืองปูซาน-มาซานลุกลามไปยังเมืองอืน่ ๆ ใกล้เคียง รัฐบาลได้สงั่ ปิด มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในเมืองแดกู และจังหวัดเกียงซังเหนือ แต่ปักจุงฮีไม่รู้ว่า ความไม่ลงรอยกันในหมู่คนสนิทใกล้ชิดเขานั้นรุนแรงยิ่งขึ้นในเรื่องที่จะจัดการกับ การประท้วงต่อต้านอย่างไร คิมแจเกียว (Kim Jae-gyu) หัวหน้าหน่วยข่าวกรอง กลางเกาหลี (KCIA) ซึง่ เป็นมือขวาของปักจุงฮีมาช้านานขัดแย้งอย่างหนักกับชาจีเชิล (Cha Ji-cheol) หัวหน้าองครักษ์ประธานาธิบดีซึ่งเป็นสายเหยี่ยว และเมื่อถึงช่วง จุดสูงสุดของความขัดแย้งภายใน คิมแจเกียวได้ยงิ ทัง้ ปักจุงฮีและชาจีเชิลตายทัง้ คูใ่ น ระหว่างที่นั่งรับประทานอาหารค�ำ่ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๒๒ เป็นการสิ้นสุดลง อย่างกระทันหันของระบอบยูชิน คิมแจเกียวในภายหลังได้ปกป้องการกระท�ำของ เขาว่าเป็นการกระท�ำที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อป้องกันมิให้เกิดความสูญเสียใหญ่หลวง
ต�ำรวจปราบจลาจลบุกสลายการชุมนุมประท้วงในที่ท�ำการพรรคฝ่ายค้าน ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 79
รัฐประหารอีกครั้ง คณะทหารชุดใหม่ และฤดูใบไม้ผลิแห่งกรุงโซล
หลังจากสังหารปักจุงฮี คิมแจเกียวตัง้ ใจจะกลับไปทีห่ น่วยข่าวกรองกลาง เกาหลี แต่เมือ่ ได้รบั ค�ำสัง่ จากเสนาธิการทหารบกเขาจึงเดินทางไปทีก่ องบัญชาการ กองทัพบกซึ่งที่นั่นเขาถูกจับกุมตัวเมื่อเวลา ๒๔.๒๐ น. ในเวลา ๐๔.๐๐ น. ทั่วทั้ง ประเทศยกเว้นเกาะเจจูถูกประกาศกฎอัยการศึกและนายกรัฐมนตรีโชเกียวฮา (Choe Gyu-ha) ได้เป็นรักษาการประธานาธิบดี ชุนดูฮวาน (Chun Doo-hwan) หัวหน้ากองอ�ำนวยการรักษาความมั่นคงภายในและหัวหน้าชุดสอบสวนการลอบ สังหารปักจุงฮีของกองบัญชาการกฎอัยการศึก ได้แถลงผลสรุปการสอบสวนใน วันที่ ๖ พฤศจิกายน วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน รักษาการประธานาธิบดีโชเกียวฮาประกาศว่า การเลือกตัง้ ประธานาธิบดีคนใหม่จะมีขนึ้ ภายใต้รฐั ธรรมนูญยูชนิ เดิม และการแก้ไข รัฐธรรมนูญจะกระท�ำโดยประธานาธิบดีคนใหม่ วันต่อมาแนวร่วมเพือ่ ประชาธิปไตย และการรวมประเทศแห่งชาติได้ประณามโชเกียวฮาทีย่ งั จะรักษาระบอบยูชนิ อันขัด ต่อเจตนารมณ์ของประชาชนดังที่ได้แสดงให้เห็นจากกรณีการประท้วงของคนงาน วายเอ็ชและการลุกขึ้นสู้ที่เมืองปูซาน-มาซาน แนวร่วมฯ เรียกร้องให้จัดตั้งองค์กร สถาบันประชาธิปไตยขึ้นใหม่ภายใน ๓ เดือนแล้วจึงจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยเร็วทีส่ ดุ อาจารย์มหาวิทยาลัยทีถ่ กู ไล่ออกและนักเขียนฝ่ายก้าวหน้ารวมถึงอดีต นักหนังสือพิมพ์โชซุนอิลโบและดองอาอิลโบทีถ่ กู ไล่ออกได้รว่ มกันออกค�ำแถลงเรียก ร้องให้ฟื้นคืนประชาธิปไตย วันที่ ๒๒ พฤศจิกายนนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติ กรุงโซลได้ชุมนุมเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเร็วแล้วจึงเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา วันที่ ๒๔ พฤศจิกายนการชุมนุมทางการเมืองครัง้ แรกภายหลังการสังหารปักจุงฮีได้ มีขนึ้ โดยอ�ำพรางเป็นการจัดพิธแี ต่งงานทีห่ อประชุมวายเอ็มซีเอ (YMCA) ในกรุงโซล ในระหว่างการชุมนุมนี้ผู้น�ำสังคมและนักกิจกรรมนักศึกษาได้กล่าวปราศรัยโจมตี การเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยทางอ้อมภายใต้ระบอบยูชินและเรียกร้องให้แก้ไข รัฐธรรมนูญตามเจตนารมณ์ประชาธิปไตยของประชาชน ทหารจากกองบัญชาการ กฎอัยการศึกได้บุกเข้าไปในที่ชุมนุมและจับกุมผู้ชุมนุมไป ๑๔๐ คนและน�ำตัวขึ้น ศาลทหาร ๑๘ คน ส่วนผู้ที่หลบหนีไปได้ก็ถูกออกหมายจับ เหตุการณ์นี้ได้เปิดเผย 80 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ให้เห็นธาตุแท้ทเี่ ป็นปฏิปกั ษ์ตอ่ ประชาธิปไตยและใช้ความรุนแรงของโชเกียวฮาและ คณะทหารชุดใหม่ หลังจากนั้นไม่ถึงสัปดาห์โชเกียวฮาได้รับเลือกจากสภาแห่งชาติเพื่อ การรวมประเทศให้เป็นประธานาธิบดี และชุนดูฮวานก็กระท�ำรัฐประหารใน วันที่ ๑๒ ธันวาคม ในการก่อกบฏนี้ชุนดูฮวานและพรรคพวกซึ่งร่วมอยู่ในสมาคม ฮานาโฮ (สมาคมเพื่อความเป็นหนึ่ง) ซึ่งเป็นสมาคมลับของนายทหารที่ใกล้ชิดกับ ปักจุงฮีได้ปลดชุงเซิงวา (Chung Seung-wa) เสนาธิการทหารบกซึ่งให้สัญญาหลัง การตายของปักจุงฮีว่า “จะคืนประชาธิปไตยให้กับประชาชน” ออกจากต�ำแหน่ง ในระหว่างการรัฐประหารผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯในเกาหลีซึ่งมีอ� ำนาจควบคุม การปฏิบัติการของทหารเกาหลีมิได้ขัดขวางโรแตวู (Roh Tae-woo) สมาชิกคน ส�ำคัญของคณะรัฐประหารที่น�ำทหารกองพล ๙ ของเขาจากแนวหน้าเข้ามายัง กรุงโซลเพื่อใช้ในการก่อกบฏ การวางตัวไม่ยุ่งเกี่ยวของผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯ ก็ มีผลเท่ากับการเห็นชอบโดยนัยกับการเคลือ่ นไหวทางทหารนี้ หลังจากยึดอ�ำนาจใน กองทัพได้ชุนดูฮวานก็เตรียมการสืบทอดอ�ำนาจต่อจากปักจุงฮี กลุ่มฝ่ายค้าน กลุ่ม สังคม และนักศึกษาซึ่งไม่เฉลียวใจถึงความทะเยอทะยานของชุนดูฮวานต่างเกิด ความหวังที่จะเห็นการฟื้นคืนประชาธิปไตยหลังจากพายุแห่งความปั่นป่วนวุ่นวาย ตลอดช่วงทศวรรษที่ ๑๙๗๐ ใกล้จะสงบลง ลักษณะเด่นของขบวนการประชาธิปไตยในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๗๐ คือ การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มศาสนาคริสเตียนซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเครือข่าย ต่างประเทศจึงท�ำให้รัฐบาลไม่กล้าจะใช้ก�ำลังปราบปรามอย่างรุนแรงมากนัก กลุ่ม ศาสนาเหล่านีท้ งั้ ให้การสนับสนุนและเข้าร่วมการเคลือ่ นไหวเรียกร้องประชาธิปไตย บทบาทของกลุ่มศาสนาเริ่มเด่นชัดขึ้นเมื่อศาสนจักรโปรแตสแตนท์และคาธอลิก ได้รว่ มกันท�ำพิธสี วดมนต์เทศกาลอีสเตอร์ในเดือนเมษายน ๒๕๒๐ และได้ประณาม ระบอบยูชนิ อย่างรุนแรง กลุม่ ศาสนายังมีสว่ นส�ำคัญในการสนับสนุนการเติบโตของ ขบวนการทางสังคมอื่นๆ รวมทั้งขบวนการแรงงานในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๗๐ ครึ่งหลังของทศวรรษที่ ๑๙๗๐ เป็นยุคของการเติบใหญ่ขยายตัวของ ขบวนการทางสังคม หลังการเผาตัวตายของชุนแตอิล (Chun Tae-il) การเคลือ่ นไหว จัดตัง้ ของคนงานอุตสาหกรรมและเกษตรกรก็เกิดขึน้ โดยการสนับสนุนของนักศึกษา ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 81
และกลุม่ ศาสนา ขบวนการทางสังคมเติบโตก้าวหน้าอย่างมากในช่วงปลายทศวรรษ ที่ ๑๙๗๐ กิจกรรมการเคลือ่ นไหวของนักศึกษาก็มสี ว่ นสนับสนุนขบวนการทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิง่ สหภาพแรงงานอันเป็นการสร้างรูปแบบใหม่ของความร่วมมือเป็น พันธมิตร นักศึกษาหลายคนได้เข้าไปท�ำงานในฐานะผูใ้ ช้แรงงานในโรงงานต่างๆ และ มีบทบาทส�ำคัญในการจัดตั้งสหภาพแรงงานและองค์กรแรงงานต่างๆ
คิมแจเกียวท�ำแผนประกอบค�ำสารภาพสังหารปักจุงฮี 82 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 83
นักศึกษาประชาชนเมืองกวางจูได้ใช้อาวุธที่ยึดมาได้จากต�ำรวจ ในการปกป้องเมืองจากการบุกโจมตีของทหาร
84 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ภาคที่
๔
ขบวนการ ประชาธิปไตยในช่วง ทศวรรษที่ ๑๙๘๐ (๒๕๒๓-๒๕๓๒)
ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 85
ภาคที่
๔
ขบวนการประชาธิปไตย ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ (๒๕๒๓-๒๕๓๒) เกาหลีในช่วงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง อย่างขนานใหญ่แทบจะทุกๆ ๑๐ ปี ซิงมันรีถูกโค่นล้มในปี ๒๕๐๓ ปักจุงฮีทำ� ลาย ล้างประชาธิปไตยโดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี ๒๕๑๒ และ ๒๕๑๕ เหตุการณ์ ส�ำคัญที่จะส่งผลอย่างมากต่ออนาคตของเกาหลีในภายภาคหน้าก็ก�ำลังจะเกิดขึ้น ในปี ๒๕๒๓ ตรงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์แต่ละครั้งนั้น ความปรารถนา อันแรงกล้าของประชาชนที่เรียกร้องต้องการการเปลี่ยนแปลงถูกบดขยี้ลงอย่างไม่ ปราณีปราศรัยโดยเผด็จการ ประวัติศาสตร์นี้หวนกลับมาซ�้ำรอยอีกในปี ๒๕๒๓ ความล่มสลายของระบอบปักจุงฮีได้จุดความหวังที่จะกลับไปสู่ประชาธิปไตย แต่ แล้ว “ฤดูใบไม้ผลิของกรุงโซล” ซึ่งเป็นชื่อเรียกช่วงเวลาที่มองโลกในแง่ดีขณะ นั้นก็อยู่ได้ไม่นาน ความเรียกร้องต้องการประชาธิปไตยถูกท�ำลายลงโดยการ รัฐประหารครั้งใหม่ที่น�ำโดยนายพลชุนดูฮวาน และเมื่อการลุกขึ้นสู้ของประชาชน เมืองกวางจูถูกปราบปรามอย่างนองเลือด ในที่สุดชุนดูฮวานก็เถลิงอ�ำนาจส�ำเร็จ แต่ ก ารเป็ น ประธานาธิ บ ดี ข องเขาแปดเปื ้ อ นด้ ว ยอาชญากรรมที่ เ มื อ งกวางจู อย่างไม่อาจดิ้นหลุด ในขณะที่ขบวนการประชาธิปไตยก็ถูกหลอกหลอนจาก ความทรงจ�ำที่เจ็บปวดของเหตุการณ์กวางจู แต่เมื่อได้เรียนรู้บทเรียนจากความ พ่ายแพ้ครัง้ นัน้ ขบวนการประชาธิปไตยก็เติบใหญ่เข้มแข็งขึน้ อีก ในแง่หนึง่ การต่อสู้ ของเมืองกวางจูมไิ ด้ยตุ ลิ ง กลุม่ พลังประชาธิปไตยทัง้ หลายยังยืนหยัดขยายการต่อสู้ 86 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ช่วง ๗ วันที่นักศึกษาประชาชนชาวกวางจู ยึดครองเมืองได้
ที่ ช าวเมื อ งกวางจู เ ริ่ ม ต้ น ขึ้ น ไปยังทีอ่ นื่ ๆ ทัว่ ประเทศ เพือ่ น�ำตัว ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบต่ อ การสั ง หารหมู ่ ชาวเมืองกวางจูมาเข้าสูก่ ระบวนการ ยุ ติ ธ รรมให้ จ งได้ และในที่ สุ ด ขบวนการประชาธิปไตยก็ได้รับ ชั ย ชนะเหนื อ ระบอบเผด็ จ การ ทหารเมือ่ เกิดการลุกขึน้ สู้ เดือน มิถุนายน ๒๕๓๐
ปฐมบทก่อนช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐
ช่วงเวลาตั้งแต่การลอบสังหารปักจุงฮีในวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๒๒ จนถึงช่วง “ฤดูใบไม้ผลิของกรุงโซล” ราวต้นปี ๒๕๒๓ เกาหลีถูกปกคลุมด้วยความ ขัดแย้งอย่างตึงเครียดระหว่างพลังสองฝ่าย คือ ฝ่ายทีต่ อ้ งการจะสืบทอดอ�ำนาจของ ระบอบยูชินต่อไป (ชนชั้นปกครอง และกลุ่มที่อ้างตนเป็นทายาททางการเมืองของ ปักจุงฮี) กับฝ่ายที่ต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย (พรรคการเมืองฝ่ายค้าน และขบวนการประชาธิปไตย) การหายไปจากเวทีการเมืองของปักจุงฮีมิได้หมาย ถึงการเกิดขึ้นของประชาธิปไตยในทันที ระบอบปักจุงฮีพังทะลายลงในท่ามกลาง ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 87
แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มที่ไม่พอใจ แต่ไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากการเคลื่อนไหว ต่อต้านของกลุม่ ฝ่ายค้าน ท�ำให้หนทางก้าวหน้าไปสูป่ ระชาธิปไตยมีความเสีย่ งทีจ่ ะ ไปได้หลายทิศทาง สถานการณ์เช่นนีค้ ล้ายคลึงกับช่วงก่อนการปลดแอกจากการเป็น อาณานิคมในปี ๒๔๘๘ ซึ่งเหตุที่ได้รับเอกราชมาจากความยินยอมของมหาอ�ำนาจ ต่างชาติท�ำให้ชาวเกาหลีไม่สามารถจะก�ำหนดชะตากรรมของตนเองได้ และต้อง ตกอยูใ่ นภาวะอับจนเมือ่ เผชิญกับความแตกแยกภายในชาติและสงครามกลางเมือง ที่ตามมา ในท�ำนองเดียวกัน ท่ามกลางความปั่นป่วนวุ่นวายหลังจากการตายของ ปักจุงฮี ขบวนการประชาธิปไตยก็ไม่อาจผนึกก�ำลังกันอย่างเหนียวแน่นและน�ำพา สังคมให้รอดพ้นจากสถานการณ์ที่อับจนนี้ไปได้ การเสียชีวติ ของผูน้ ำ� ทีร่ วบอ�ำนาจทัง้ หมดไว้กบั ตนเองท�ำให้เกิดสูญญากาศ ทางอ�ำนาจที่น่ากลัวในหมู่ชนชั้นปกครอง แต่นั่นไม่ได้หมายถึงการแตกสลายของ ระบอบปกครองเดิม ในขณะทีเ่ ปิดพืน้ ทีท่ างการเมืองอย่างจ�ำกัดให้กบั ฝ่ายค้านบ้าง กลุ่มอ�ำนาจเก่าก็เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเพื่อสถาปนาระเบียบอ�ำนาจใหม่ ขึ้น ส่วน ผูน้ ำ� ขบวนการประชาธิปไตยส่วนใหญ่กม็ คี วามคาดหวังในแง่ดี โดยเชือ่ ว่าประชาชน จะสามารถช่วงชิงอ�ำนาจโดยผ่านการเลือกตั้งอย่างเสรีและด้วยการสนับสนุน จากสหรัฐอเมริกา กลุ่มพลังประชาธิปไตยลังเลที่จะยกระดับการต่อสู้เพื่อสร้าง ประชาธิปไตยที่มั่นคงแข็งแรงด้วยเกรงว่าจะเป็นการยั่วยุฝ่ายทหาร พรรคฝ่ายค้าน พุง่ ความสนใจไปทีก่ ารแก้ไขรัฐธรรมนูญเพือ่ ให้มกี ารเลือกตัง้ ประธานาธิบดีโดยตรง คิมยังซัมและคิมแดจุง สองผู้น�ำฝ่ายค้านที่เก็บความบาดหมางระหว่างกันไว้ก่อน ในขณะที่ต่อสู้กับระบอบยูชินก็เริ่มแข่งขันเพื่อให้ได้รับการเสนอชื่อเป็นตัวแทนชิง ต�ำแหน่งประธานาธิบดีก่อนเวลาอันควร ขณะเดียวกันพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแห่งฃาติและกลุ่มสังคมพลเมืองต่างๆ ก็ยังอยู่ ระหว่างการฟืน้ ตัวจากการถูกปราบปรามอย่างหนักหลังการชุมนุมประท้วงทีแ่ ฝงตัว ในรูปพิธแี ต่งงานปลอมทีว่ ายเอ็มซีเอเมือ่ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๒๒ และยังคงไม่มกี าร เคลื่อนไหวอะไรจนกระทั่งนักศึกษาเริ่มต้นการประท้วงอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๓ ช่วงเดือนมีนาคม ๒๕๒๓ นักศึกษาก�ำลังเพลิดเพลินกับบรรยากาศของ สัญญานใหม่ประชาธิปไตยที่เรียกกันว่า “ฤดูใบไม้ผลิของกรุงโซล” นักศึกษาและ อาจารย์ที่ถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยก็ได้รับสถานะเดิมกลับคืน นักศึกษาเริ่ม 88 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
การรณรงค์สร้างประชาธิปไตยในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ก่อตั้งสภาองค์การ นักศึกษาขึ้นมาใหม่ และกดดันให้ปลดอาจารย์ที่ร่วมมือสมคบกับระบอบยูชินออก จากต�ำแหน่ง ช่วงแรกๆ นักศึกษาพยายามหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่รุนแรงซึ่งจะ มีผลร้ายย้อนกลับและเชื้อเชิญให้ทหารเข้ามาแทรกแซง แต่หลังจากที่ชุนดูฮวานได้ มาเป็นหัวหน้าหน่วยข่าวกรองกลางเกาหลี (KCIA) พร้อมกับควบต�ำแหน่งหัวหน้า กองอ�ำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเดิมด้วยเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน นักศึกษา ทีเ่ คลือ่ นไหวก็เริม่ ถกเถียงหารือถึงการต่อสูท้ างการเมืองยกใหม่อย่างจริงจังมากขึน้ ขณะเดียวกัน วันที่ ๒๑ เมษายน คนงานเหมืองถ่านหินดองวอน เขต ซาบุก จังหวัดกังวอน ๓๐ คนได้นั่งประท้วงคัดค้านข้อเสนอเรื่องค่าแรงของ สหภาพแรงงานฝ่ายนายจ้าง ต�ำรวจได้บุกเข้าสลายการประท้วงจึงสร้างความโกรธ แค้นให้กบั คนงานและครอบครัว จนน�ำไปสูก่ ารชุมนุมประท้วงบนถนนและใจกลาง เมือง ตกกลางคืนคนงานทีป่ ระท้วงได้บกุ โจมตีบา้ นของผูบ้ ริหารบริษทั และเจ้าหน้าที่ สหภาพ การประท้วงขยายตัวใหญ่ขึ้นในวันต่อมามีผู้ชุมนุมถึง ๕,๐๐๐ คน การ ปะทะอย่างรุนแรงท�ำให้ต�ำรวจเสียชีวิตไป ๑ รายและบาดเจ็บอีก ๗๐ คน วันที่ ๒๔ เมษายน คนงานยอมสลายการชุมนุมทีใ่ จกลางเมืองหลังจากตกลงกับทางการได้ แต่ ทว่าในวันที่ ๗ พฤษภาคมคณะกรรมการสอบสวนของทหาร อัยการและต�ำรวจได้ จับกุมตัวผู้ร่วมประท้วงไป ๗๐ คนและน�ำขึ้นฟ้องศาลทหาร ๒๕ คน แม้จะถูกปราบปรามอย่างไรแต่การเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิของคน งานกรรมกรก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ องค์การจัดตั้งของคนงานที่เป็นอิสระซึ่งเริ่มมีขึ้น ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ ๑๙๗๐ พยายามต่อสู้อย่างจริงจังเพื่อให้มีสภาพแรงงานที่เป็น ประชาธิปไตย เรียกร้องการรับคนงานที่ถูกไล่ออกกลับเข้าท�ำงาน และปรับปรุง สภาพแวดล้อมการท�ำงานให้ดีขึ้น สหภาพแรงงานอิสระจ�ำนวนมากได้ถูกจัดตั้งขึ้น ท�ำให้ขบวนการแรงงานซึ่งถูกกดทับไว้ภายใต้ระบอบยูชินเติบโตอย่างรวดเร็ว การเข้ารับต�ำแหน่งหัวหน้าหน่วยข่าวกรองกลางเกาหลีของชุนดูฮวาน ท�ำให้แนวโน้มที่จะเกิดการปะทะแตกหักใกล้จะเป็นจริงขึ้น เมื่อนักศึกษาได้หัน ความสนใจจากเรื่องภายในมหาวิทยาลัยมาสู่การต่อสู้ทางการเมือง เรียกร้องให้มี การลงโทษเจ้าหน้าที่ของระบอบยูชิน ยกเลิกกฎอัยการศึก และเร่งท�ำการปฏิรูป การเมืองที่หยุดชะงักลง ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 89
วันที่ ๒ พฤษภาคม นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซล ๑๐,๐๐๐ คน ได้บอยคอตไม่เข้าเรียนวิชาทหาร และประกาศเริ่มต้นการรณรงค์ทางการเมือง วันต่อมาผู้แทนของสภาองค์การนักศึกษาที่ตั้งขึ้นใหม่ได้ประชุมหารือแผนการต่อสู้ ร่วมกัน สหภาพแรงงานอิสระก็เริ่มหาทางจัดตั้งองค์กรพันธมิตรระดับชาติเพื่อ ยกระดับขบวนการแรงงานไปสู่การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงการเมืองสังคมขั้น พื้ น ฐานวั น ที่ ๔ พฤษภาคม พั น ธมิ ต รเพื่ อ ประชาธิ ป ไตยและความเป็ น อั น หนึ่งอันเดียวกันแห่งฃาติได้ประกาศเข้าร่วมการเคลื่อนไหวโดยเรียกร้องให้มี ประชาธิ ป ไตยในมหาวิ ท ยาลั ย ยกเลิ ก กฎอั ย การศึ ก ซึ่ ง บั ง คั บ ใช้ ม าตั้ ง แต่ เ มื่ อ เกิ ด การสั ง หารปั ก จุ ง ฮี ใ นเดื อ นตุ ล าคม ความตึ ง เครี ย ดมาถึ ง จุ ด สู ง สุ ด ในวั น ที่ ๑๒ พฤษภาคมเมื่อมีข่าวลือว่าทหารก�ำลังจะก่อรัฐประหารและแนวโน้มของ การรุกรานจากเกาหลีเหนือซึ่งกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ช่วยโหมกระพือ มากขึ้ น จากข่ า วมี ก ารยิ ง ปื น ข้ า มพรมแดน ซึ่ ง วั น ต่ อ มากลั บ กลายเป็ น เรื่ อ ง หลอกลวง วันพุธที่ ๑๔ พฤษภาคม นักศึกษาประมาณ ๖๐,๐๐๐ คนได้เดิน ขบวนตามท้องถนนทั่วประเทศ ผู้น�ำสภาองค์การนักศึกษา ๒๗ แห่งได้ออก แถลงการณ์ร่วมวันเดียวกันนั้นประกาศว่า นักศึกษาจะไม่อยู่แต่ในมหาวิทยาลัยอีก ต่อไปแล้ว แต่จะเคลื่อนไหวออกมาบนท้องถนนอย่างสงบสันติและมีมนุษยธรรม วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ พฤษภาคม การประท้วงบนท้องถนนลุกลามมากขึ้นในเมือง ใหญ่หลายเมือง เฉพาะกรุงโซลมีนักศึกษากว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน เดินขบวนไปตาม ถนนสายส�ำคัญหลายสายโดยมีประชาชนกลุม่ ใหญ่เข้าร่วมทีส่ ถานีรถไฟกรุงโซลเมือ่ เวลาประมาณ ๑ ทุ่ม อย่างไรก็ดี ด้วยความกลัวว่าจะเกิดการปะทะกับทหารท�ำให้ ผู้น�ำนักศึกษาตัดสินใจสลายการชุมนุมในตอนกลางคืนและกลับไปยังมหาวิทยาลัย ผู้น�ำนักศึกษาสังเกตเห็นสัญญานไม่ปรกติในฝ่ายทหารจึงได้ระงับการชุมนุมเดิน ขบวนบนท้องถนนในวันศุกร์ที่ ๑๖ พฤษภาคม ผู้แทนสภาองค์การนักศึกษาได้ ประชุมกันที่มหาวิทยาลัยสตรีเอ้หวาเพื่อหารือถึงแนวทางการเคลื่อนไหวต่อไป ทว่าในขณะนั้นก�ำลังทหารได้เข้าประจ�ำการณ์ตามจุดส�ำคัญๆ แล้วรอเวลาที่จะก่อ รัฐประหารครั้งใหม่ เดือนพฤษภาคมชุนดูฮวานและคณะทหารชุดใหม่ได้จัดท�ำแผนการ ยึดอ�ำนาจครั้งใหม่อย่างลับๆ ส�ำเร็จแล้วและเริ่มด�ำเนินการตามแผน วันที่ ๑๔ 90 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
พฤษภาคมกองพลเคลื่อนที่ทางอากาศที่สามได้เคลื่อนก�ำลังมาอยู่ที่อนุสรณ์สถาน แห่งชาติทางตะวันออกของกรุงโซล วันที่ ๑๕ พฤษภาคมกองพลที่ยี่สิบซึ่งมีฐานที่ ตั้งอยู่ท่ียังเปียงใกล้กับกรุงโซลก็เคลื่อนก�ำลังมาอยู่ที่สนามกีฬาจัมซิลและเฮียวชัง ในเมืองหลวง วันอาทิตย์ที่ ๑๗ พฤษภาคม เวลา ๑๑.๐๐ น. ผู้บัญชาการหน่วยรบ ๔๔ คนได้ประชุมกันที่กระทรวงกลาโหมแล้วตัดสินใจที่จะขยายการประกาศ กฎอัยการศึกให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ จัดตั้งศูนย์อ�ำนวยการบริหารราชการ ในภาวะฉุกเฉิน และยุบเลิกรัฐสภาแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติรับรองมาตรการ ดังกล่าวเมื่อเวลา ๒๑.๓๐ น.วันนั้น
คณะทหารที่ก่อรัฐประหาร ๑๒ ธันวาคม ๒๕๒๒ คนที่ ๔ จากซ้ายมือแถวหน้าคือชุนดูฮวาน ด้านขวามือของเขาคือโรแตวู
เป็นที่รับรู้อย่างแพร่หลายว่า การรัฐประหารไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ถ้าหาก ไม่ได้รบั ความเห็นชอบจากสหรัฐอเมริกาซึง่ เชือ่ ว่ารัฐบาลทหารทีน่ ยิ มสหรัฐฯ จะเป็น ผลดีต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ประเทศญี่ปุ่นก็ให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อ คณะทหาร ในระหว่างช่วงเวลาตัง้ แต่การก่อกบฏยึดอ�ำนาจของคณะทหารเมือ่ วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๒๒ จนถึงการรัฐประหาร ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๒๓ ทางการโตเกียว ได้ป้อนข้อมูลข่าวกรองให้กับคณะทหารเกาหลีเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเชิงรุกของ เกาหลีเหนือซึง่ มาจากแหล่งข่าวทีน่ า่ สงสัย ญีป่ นุ่ ยังมีความเชือ่ ด้วยว่ารัฐบาลทหารที่ ต่อต้านคอมมิวนิสต์ของเกาหลีจะเป็นประโยชน์ตอ่ ญีป่ นุ่ ยิง่ กว่ารัฐบาลประชาธิปไตย ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 91
การลุกขึ้นสู้ของประชาชนเมืองกวางจู
นักศึกษายึดอาวุธจากต�ำรวจระหว่างการลุกขึ้นสู้ที่กวางจู
ในขณะที่ ก ารประท้ ว งก� ำ ลั ง ด� ำ เนิ น ไปในกรุ ง โซลและที่ อื่ น ๆ การ เคลื่อนไหวอย่างเร่าร้อนก็เกิดขึ้นในเมืองกวางจูทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของ เกาหลี วันพุธที่ ๑๔ พฤษภาคมนักศึกษาประมาณ ๖,๐๐๐ คนจากมหาวิทยาลัย แห่งชาติชอนนัมได้เดินขบวนไปตามถนนและไปชุมนุมกันที่หน้าศาลากลางจังหวัด โดยมีประชาชนส่งเสียงสนับสนุน วันต่อมาผู้ประท้วงเพิ่มขึ้นเป็น ๑๕,๐๐๐ คน เมื่อนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ มาเข้าร่วม วันศุกร์ที่ ๑๖ พฤษภาคมนักศึกษา จ�ำนวน ๓๐,๐๐๐ คน จาก ๙ มหาวิทยาลัยในเมืองกวางจูได้ชมุ นุมในวาระครบรอบ การรัฐประหารและยังได้เผาหุน่ ของผูน้ ำ� คณะทหารทีก่ อ่ กบฏ ก่อนจะยุตกิ ารชุมนุม นักศึกษาได้ให้สญ ั ญาแก่กนั ว่า ถ้ามี “เหตุการณ์ไม่ปรกติ” เกิดขึน้ พวกเขาจะกลับมา เจอกันอีกที่ประตูหน้าของมหาวิทยาลัยแห่งชาติชอนนัมในวันรุ่งขึ้น สิ่งที่พวกเขาเกรงกลัวได้กลายเป็นความจริง เมื่อเที่ยงคืนวันที่ ๑๗ พฤษภาคมกฎอัยการศึกได้ประกาศใช้ทั่วประเทศ กลุ่มฝ่ายค้านและผู้น�ำการ ประท้วงหลายร้อยคนถูกจับกุมรวมทั้งคิมแดจุงผู้น�ำฝ่ายค้านที่มาจากบริเวณ ใกล้เคียงเมืองกวางจู ทหารพลร่มเคลือ่ นก�ำลังเข้ามาประจ�ำการทีม่ หาวิทยาลัยในเมือง กวางจู เช้าวันอาทิตย์ที่ ๑๘ พฤษภาคม นักศึกษาเริม่ จับกลุม่ ชุมนุมกันทีม่ หาวิทยาลัย 92 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
เมื่อจ�ำนวนเพิ่มขึ้นเป็น ๒-๓๐๐ คน พวกเขาก็พากันร้องตะโกน “เลิกกฎอัยการ ศึก” “ชุนดูฮวานออกไป” แล้วทหารพลร่มพิเศษก็บกุ เข้าทุบตีนกั ศึกษาอย่างทารุณ นักศึกษาแตกหนีกระจายไปตามตรอกซอกซอยและปาก้อนหินใส่ทหาร ซึ่งทหาร ก็ตอบโต้ด้วยการฟันแทงด้วยไม้กระบองปลายโลหะแหลมจนนักศึกษาล้มลงแล้ว ลากร่างที่โชกไปด้วยเลือดไปตามทาง นักศึกษาได้รวมตัวกันใหม่เดินขบวนไปยัง ถนนกืมนัมใจกลางเมืองแล้วนั่งประท้วง รถทหารขนทหารมาเพิ่มยังที่เกิดเหตุแล้ว ใช้ดาบปลายปืนและกระบองทุบตีฟันแทงผู้ประท้วงและผู้ยืนดูอย่างไม่เลือกหน้า เช้ า วั น รุ ่ ง ขึ้ น ประชาชนพลเมื อ งต่ า งโกรธแค้ น เมื่ อ ทราบข่ า วความ โหดเหี้ยมทารุณของทหาร ชาวเมืองกวางจู ๔,๐๐๐ คนได้ชุมนุมกันที่ถนนกืมนัม ในเวลา ๑๐ โมงเช้า เมื่อทหารหน่วยรบพิเศษบุกเข้ามาทุบตีทำ� ร้ายอีก ผู้ประท้วงก็ แตกกระจายกันไป ทหารรุกต่อโดยเข้าตรวจค้นบ้านเรือนบริเวณใกล้เคียงและลาก ดึงคนหนุม่ สาวออกมากองบนถนน จับถอดเสือ้ ผ้าจนเหลือแต่ชดุ ชัน้ ในและบังคับให้ คลานไปในขณะที่สองมือถูกมัดด้วยเชือก ประชาชนพยายามต่อสู้ด้วยไม้กระบอง และท่อนไม้ เมือ่ การต่อสูล้ กุ ลามไปพลเมืองจากหลายสาขาอาชีพได้เข้าร่วมมากขึน้ ประชาชนพลเมืองไม่ได้ยนื ดูอยูเ่ ฉยๆ อีกต่อไป แต่ได้เข้าร่วมต่อสูต้ อ่ ต้านอย่างแข็งขัน วันต่อมา วันอังคารที่ ๒๐ พฤษภาคม ร้านค้าต่างๆ ได้ปิดตัวเองลงและ เจ้าของร้านได้เข้าร่วมการประท้วงด้วย การชุมนุมของชาวเมืองกวางจูได้เพิม่ ขึน้ เป็น ๑๐๐,๐๐๐ คน และเพื่อตอบโต้กับการโฆษณาบิดเบือนของสื่อของรัฐ ผู้ประท้วง ได้พิมพ์ใบปลิวและจดหมายข่าวแจกจ่ายไปทั่วเมือง คนขับรถแท็กซี่ ๒๐๐ คัน ได้เข้าร่วมการประท้วงโดยการเปิดไฟหน้าและบีบแตรเป็นสัญญาน ผู้ประท้วง ใช้ท่อเหล็กและระเบิดเพลิงเป็นอาวุธต่อสู้กับต�ำรวจและทหารที่ยิงก๊าซน�้ำตาใส่ คื น นั้ น ประชาชนกว่ า ๒๐๐,๐๐๐ คน ไปรวมตั ว กั น เต็ ม ถนนกื ม นั ม และเข้ า ครอบครองบางส่วนของศาลากลางจังหวัดเมื่อเวลา ๓ ทุ่ม จากนั้นในเวลา ๔ ทุ่ม ผูป้ ระท้วงได้เข้ายึดสถานีตำ� รวจ ๒ แห่ง และจุดไฟเผาสถานีวทิ ยุโทรทัศน์เอ็มบีซซี งึ่ เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์ท้องถิ่นที่ชาวเมืองเกลียดชังเพราะเผยแพร่แต่ข่าวโคมลอย ที่ไม่เป็นความจริง การต่อสูอ้ ย่างดุเดือดรุนแรงเกิดขึน้ ทีห่ น้าสถานีรถไฟกวางจูในอีกชัว่ โมง ต่อมา ทหารพลร่มยิงปืนใส่รถยนต์ของผู้ประท้วงที่ขับฝ่าด่านเข้ามายังกลุ่มทหาร ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 93
เสียงปืนของทหารดังต่อเนื่องเป็นชั่วโมงในบริเวณต่างๆ หลายที่ท�ำให้มีประชาชน เสียชีวติ และบาดเจ็บเป็นจ�ำนวนมาก พอถึงเวลาตีสองทหารเริม่ สูญเสียการควบคุมพืน้ ที่ จุดส�ำคัญหลายแห่ง คงเหลือแต่ศาลากลางจังหวัด สถานีรถไฟกวางจู มหาวิทยาลัย ชอนนัม มหาวิทยาลัยโชซุน และเรือนจ�ำจังหวัด บ่ายวันที่ ๒๐ พฤษภาคมคณะ รัฐมนตรีลาออกทั้งคณะเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์กวางจู ในวันพุธที่ ๒๑ พฤษภาคมผู้ประท้วงได้จัดตั้งคณะกรรมการเจรจาหาข้อยุติและเรียกร้องให้ รัฐบาลขอโทษต่อเหตุการณ์รนุ แรงทีเ่ กิดขึน้ และถอนทหารออกไปภายในเวลาเทีย่ งวัน ทหารตอบกลับโดยการยิงปืนใส่ฝงู ชนเมือ่ เวลาบ่ายโมงสังหารชีวติ ประชาชนไป ๕๐ คน โรงพยาบาลเต็มไปด้วยผูบ้ าดเจ็บ พอถึงเวลา ๑๖.๐๐ น. ทหารพลร่มก็ถอนก�ำลัง ออกจากเมืองและพลเมืองกวางจูก็เข้าควบคุมอาคารศาลากลางจังหวัดได้ทั้งหมด วันรุ่งขึ้นเป็นวันพฤหัสบดี พลเมืองกวางจูช่วยกันท�ำความสะอาดถนน และฟื้นคืนความสงบเรียบร้อย ผู้นำ� กลุ่มพลังประชาธิปไตยท้องถิ่นได้ร่วมกันจัดตั้ง คณะกรรมการเจรจาหาข้อยุติและเสนอขอเจรจากับทางฝ่ายทหาร นักศึกษาก็จัด ตั้งองค์การของตนเองเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย วันเดียวกันนั้นกองบัญชาการ กฎอัยการศึกแถลงสิ่งที่เรียกว่าเป็นผลการสอบสวนคิมแดจุงในข้อหา “พยายาม ก่อกบฏ” โดยกล่าวหาว่าคิมแดจุงเป็นผู้บงการเบื้องหลังการลุกขึ้นสู้ซึ่งยิ่งสร้าง ความโกรธแค้นให้กับพลเมืองกวางจูมากขึ้นไปอีก แม้ว่าทหารจะสั่งห้ามการเสนอ ข่าวโดยสิ้นเชิงและปิดล้อมเมืองกวางจู แต่ข่าวคราวเหตุการณ์ความรุนแรงของ ทหารก็ไปถึงเมืองมอกโป นาจู และเมืองอื่นที่อยู่ใกล้เคียงในจังหวัดเจิลลาใต้ ทหาร ปิดล้อมสั่งห้ามคนเข้าออกเมืองกวางจูเพื่อป้องกันมิให้การประท้วงลุกลามไปยังที่ อืน่ ๆ และได้สงั หารคนทีฝ่ า่ ฝืนด้วย ความสูญเสียจ�ำนวนมากเกิดขึน้ ทีบ่ ริเวณเรือนจ�ำ จังหวัด และที่ร้ายแรงคือการที่ทหารยิงปืนใส่รถโดยสารอย่างไม่ยั้งที่ชานเมืองยัง ผลให้มีผู้โดยสารเสียชีวิต ๑๕ คน วันศุกร์ที่ ๒๓ พฤษภาคมพลเมืองชาวกวางจูกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน ได้ชุมนุมใหญ่ที่หน้าศาลากลางจังหวัด คณะกรรมการเจรจาหา ข้อยุติได้เก็บรวบรวมอาวุธปืนกว่า ๒,๕๐๐ กระบอก ซึ่งเป็นจ�ำนวนครึ่งหนึ่งของ อาวุธที่กองทัพประชาชนมีในครอบครองขณะนั้น ในขณะที่ทหารปฏิเสธการเจรจาและตระเตรียมปฏิบัติการกวาดล้าง ใหญ่ พลเมืองชาวกวางจูเริ่มเสียขวัญหมดก�ำลังใจ วันที่ ๒๕ พฤษภาคมนักศึกษา 94 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ซึ่งยืนยันจะต่อสู้จนถึงที่สุดได้จัดตั้งกลุ่มแกนน�ำใหม่ขึ้น แม้กระนั้นในระหว่างวันที่ ๒๒ ถึง ๒๕ พฤษภาคม พลเมืองชาวกวางจูก็ได้ชื่นชมกับ “การปลดแอก” ชั่วคราว นี้ พวกเขาสามัคคีกันเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวด้วยตัวเอง และแสดงให้เห็นจิตใจกล้า เสียสละเพื่อปกป้องชีวิตและศักดิ์ศรีของประชาชน ชาวกวางจูจำ� นวนมากเข้าแถว รอคอยทีจ่ ะบริจาคโลหิตเพือ่ ช่วยผูบ้ าดเจ็บและยังแบ่งปันของกินของใช้ใหักนั และกัน ไม่มใี ครก่อความวุน่ วายในเมืองหรือท�ำร้ายผูอ้ นื่ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม เวลา ๑๘.๐๐ น. ประธานาธิบดีโชเกียวฮาพร้อมกับรัฐมนตรีกลาโหมได้เดินทางมายังเมืองกวางจู ประธานาธิบดีเดินทางกลับกรุงโซลทันทีหลังจากรับฟังการบรรยายสรุป สัน้ ๆ จากผูบ้ ญ ั ชาการกฎอัยการศึกในพืน้ ที่ เวลา ๑๗.๓๐ น. ของวันที่ ๒๖ พฤษภาคม กองพลทีย่ สี่ บิ ได้เคลือ่ นก�ำลังทหารทีน่ ำ� โดยรถถังเข้าประจ�ำทีช่ านเมืองหลายจุด ใน เวลา ๑ ทุ่มของวันที่ ๒๕ เมื่อเห็นสัญญานว่าทหารก�ำลังเตรียมจะบุกเข้าเมือง ผู้นำ� การลุกขึน้ สูไ้ ด้บอกให้นกั เรียนมัธยมและผูห้ ญิงออกจากศาลากลางจังหวัดซึง่ ใช้เป็น กองบัญชาการของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล เช้ามืดวันที่ ๒๖ พฤษภาคมทหารเปิดฉากการ บุกโจมตีเมือ่ เวลา ๐๓.๐๐ น. และเข้าล้อมศาลากลางจังหวัดเมือ่ เวลา ๐๔.๐๐ น. แล้ว
ชาวเมืองกวางจูนับแสนชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสหน้าศาลากลางจังหวัด ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 95
ยิงถล่มใส่นักศึกษาประชาชนที่พยายามต่อสู้ด้วยอาวุธที่ยึดมาได้ซึ่งใช้ศาลากลาง จังหวัดเป็นที่มั่น การปะทะกันสิ้นสุดลงภายในเวลา ๑ ชั่วโมงครึ่ง ระหว่างการต่อสู้ นี้มีประชาชนตายเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย ๑๔ คน ผู้ที่รอดชีวิตก็ถูกจับกุมไปคุมขังใน ค่ายทหารด้วยข้อหาว่ามีอาวุธต้องห้ามในครอบครองและก่อการกบฏ ฉะนี้ การลุกขึน้ สูท้ เี่ มืองกวางจูจงึ ยุตลิ งอย่างน่าเศร้าด้วยการปราบปราม อย่างโหดเหี้ยมทารุณของกลุ่มผู้น�ำทหารชุดใหม่ โดยที่เมืองกวางจูถูกปิดล้อมให้ โดดเดี่ ย วและข้ อ เท็ จ จริ ง ถู ก ปิ ด บั ง กลบเกลื่ อ นโดยสิ้ น เชิ ง รายงานข่ า วของ หนังสือพิมพ์ถูกทางการเซ็นเซอร์อย่างเข้มงวด และรัฐบาลให้ข่าวรายละเอียดของ เหตุการณ์นอ้ ยมาก โดยกล่าวหาว่าการลุกขึน้ สูข้ องประชาชนเป็นการก่อจลาจลของ พวกอันธพาลซึง่ ถูกยุยงบงการจาก “สายลับเกาหลีเหนือ” และ “พวกคอมมิวนิสต์” อีกหลายปีต่อมากว่าที่ชาวเกาหลีจะรู้ความจริงของเหตุการณ์นองเลือดครั้งนี้ ในที่สุดเมื่อมีรัฐบาลประชาธิปไตยแล้วจึงได้มีการสอบสวนข้อเท็จจริงอย่างเป็น ทางการถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากรายงานการสอบสวนของทางการทีแ่ ถลงเมือ่ เดือนธันวาคม ๒๕๔๔ มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น ๑๙๕ ราย เป็นพลเรือน ๑๖๘ คน ทหาร ๒๓ คน
96 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 97
และต�ำรวจ ๔ คน ในขณะที่มีประชาชนได้รับบาดเจ็บ ๔,๗๘๒ คน ทางการยังได้ รับรายงานว่ามีผู้สูญหาย ๔๐๖ คน แต่ในจ�ำนวนนี้รัฐบาลยอมรับว่ามีเพียง ๗๐ คน ที่ยืนยันได้ว่าเป็นเหยื่อของเหตุการณ์ปราบปรามประชาชน การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๓ นั้น เกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศ แต่ทำ� ไมมีแต่เมืองกวางจูที่ลุกลามกลายเป็นการลุกขึ้นสู้ของ ประชาชน ในวันที่ ๑๘ พฤษภาคมนักศึกษาได้รวมตัวกันหน้ามหาวิทยาลัยชอนนัม ตามทีไ่ ด้ประกาศ และทหารพลร่มได้ใช้กำ� ลังปราบปรามอย่างรุนแรงท�ำให้นกั ศึกษา เคลือ่ นออกมาบนท้องถนนก่อให้เกิดการลุกขึน้ สูข้ องคนทัง้ เมือง ก่อนหน้าการจับกุม คิมแดจุงซึง่ จะท�ำให้เกิดการประท้วงต่อต้านอย่างรุนแรง ชุนดูฮวานและคณะทหาร ได้วางก�ำลังทหารพลร่มทีฝ่ กึ มาอย่างดีไว้ทเี่ มืองกวางจู กองก�ำลังหน่วยรบพิเศษนีไ้ ด้ ใช้กระบองพิเศษและดาบปลายปืนท�ำร้ายนักศึกษาและประชาชนคนธรรมดาอย่าง รุนแรงด้วยหวังจะสลายการชุมนุมต่อต้านตั้งแต่ตอนเริ่มต้น แต่การใช้ก�ำลังอย่าง โหดเหีย้ มกลับส่งผลย้อนกลับ พลเมืองชาวกวางจูกลับลุกขึน้ ต่อสูเ้ พือ่ ปกป้องชุมชน ของเขา ในท�ำนองเดียวกับการคุกคามปราบปรามคิมยังซัมที่ทำ� ให้เกิดการลุกขึ้นสู้ ทีเ่ มืองปูซาน-มาซาน การจับกุมคิมแดจุงก็ทำ� ให้ความโกรธแค้นของชาวเมืองกวางจู
98 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ซึ่งถูกแบ่งแยกกีดกันทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจมาเป็นเวลานานระเบิดออกมา เป็นที่น่าสังเกตว่าการลุกขึ้นสู้ของชาวเมืองกวางจูด�ำเนินมาเป็นเวลา ๑๐ วัน โดยปราศจากผู้น�ำที่เด่นชัดแน่นอน เมื่อเหตุการณ์ขยายตัวไปจึงมีการ จัดตั้งคณะกรรมการเจรจาหาข้อยุติแต่ก็ไม่อาจจะพูดได้ว่า คณะกรรมการชุดนี้ เป็นผู้น�ำประชาชนตลอดทั้งเหตุการณ์ สิ่งที่น่าทึ่งคือมีการแบ่งงานกันท�ำอย่างดี ระดับหนึ่ง แม้แต่การจัดพิธีศพ การประชาสัมพันธ์ การจัดหายานพาหนะ พลเมือง ทุกคนช่วยกันรักษาความสงบเรียบร้อยและมีความเป็นน�ำ้ หนึง่ ใจเดียวกันอย่างมาก คณะทหารชุดใหม่ที่ครองอ�ำนาจเฉลิมฉลองชัยชนะในการปราบปราม ประชาชนโดยการมอบเหรียญกล้าหาญสดุดแี ก่ทหาร ๖๖ คน พวกเขาไม่ได้ตระหนัก เลยว่านี่เป็นความพ่ายแพ้ทางการเมืองในระยะยาว บทเรียนอันเจ็บปวดจาก เหตุการณ์กวางจูได้สร้างความเข้มแข็งขึ้นอย่างมากให้กับขบวนการประชาธิปไตย ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ ต่อมา ความโหดเหี้ยมทารุณของฝ่ายทหารกลายเป็น เสี้ยนต�ำเท้ารัฐบาลชุนดูฮวานที่ถอนไม่ออก ท�ำให้รัฐบาลทหารไม่สามารถหา การสนับสนุนที่กว้างขวางกว่าเดิมได้ นอกจากนี้สาธารณชนยังกังขาต่อบทบาท ของสหรัฐอเมริกาในเหตุการณ์ปราบปรามการลุกขึ้นสู้เมืองกวางจูท�ำให้กลุ่ม พลังประชาธิปไตยในเวลาต่อมาได้หยิบยกประเด็น “ความเป็นเอกราช” ขึน้ มาเป็น ข้อเรียกร้องด้วย
การขึ้นครองอ�ำนาจของรัฐบาลชุนดูฮวาน
หลังจากปราบปรามการลุกขึ้นสู้ที่เมืองกวางจูลงได้คณะผู้น�ำทหารชุด ใหม่ก็ได้เร่งด�ำเนินการเพื่อยึดอ�ำนาจ พวกเขาเพิ่มการควบคุมรัฐบาลอย่างเข้มงวด ระงับกระบวนการทางการเมืองโดยปกติ เข้าควบคุมครอบง�ำสื่อมวลชน และ ข่มขู่คุกคามกลุ่มประชาสังคม วันที่ ๒๖ พฤษภาคมคณะทหารเสนอให้จัดตั้ง คณะกรรมการพิเศษเพื่อใช้มาตรการเพื่อความมั่นคงของชาติ และชักจูงให้คณะ รัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามนี้ในวันถัดมา คณะกรรมการที่ชุนดูฮวานเป็นประธาน นีจ้ งึ เริม่ ปฏิบตั งิ านในวันที่ ๓๑ พฤษภาคมและยืนยันอีกครัง้ ว่า คิมแดจุงและพรรคพวก เป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์กวางจู วันที่ ๔ กรกฎาคมคณะกรรมการนี้ได้ยื่น ฟ้องต่อศาลบุคคล ๓๖ คน ซึ่งรวมทั้งคิมแดจุงและมุนอิกฮวานในข้อหาวางแผน ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 99
ก่อกบฏและละเมิดกฎหมายความมั่นคงของชาติและกฎหมายป้องกันปราบปราม คอมมิวนิสต์ คณะทหารเดินหน้าเข้าควบคุมการเมืองโดยการยุบพรรคการเมืองและ ห้ามการเคลือ่ นไหวของนักการเมืองหลายคน บุคคลทีม่ บี ทบาทส�ำคัญในระบอบยูชนิ บางคน เช่น คิมจองปิลถูกกดดันให้หายไปจากวงการการเมือง คิมยังซัมได้ลาออกจาก การเป็นผู้นำ� พรรคประชาธิปไตยใหม่ฝ่ายค้านและประกาศวางมือจากการเมือง ถัดจากนัน้ คณะทหารก็เริม่ ด�ำเนินการปิดปากสือ่ มวลชนทีว่ พิ ากษ์วจิ ารณ์ นักหนังสือพิมพ์ ๙ คน ซึ่งพยายามจะเปิดเผยข้อเท็จจริงของเหตุการณ์กวางจูก็ ถูกจับกุมในข้อหาเผยแพร่ข่าวลือ นิตยสาร ๑๗๒ ฉบับรวมทั้งวารสารสร้างสรรค์ และวิจารณ์ถูกสั่งปิด คณะท�ำงานฝ่ายควบคุมหนังสือพิมพ์ในคณะกรรมการของ ชุนดูฮวานได้บีบบังคับเจ้าของหนังสือพิมพ์ให้ปลดนักข่าวออกจากงาน ๒๙๘ ราย กองอ�ำนวยการรักษาความมั่นคงได้เข้าควบคุมสถานีวิทยุโทรทัศน์ของเอกชนทั้ง สถานีโทรทัศน์ทีบีซี และสถานีวิทยุดีบีเอส ซึ่งเป็นสื่อมวลชนระดับชาติและบังคับ ให้ควบรวมกิจการ ตลอดจนสั่งปิดบริษัทกระจายเสียงและสิ่งพิมพ์จ�ำนวนมาก นักหนังสือพิมพ์หลายร้อยคนต้องตกงานจากการกระท�ำนี้ คณะกรรมการของชุนดูฮวาน ยังได้กระชับควบคุมสังคมอย่างเข้มงวดโดยกระบวนการที่เรียกว่า “ขับออก” และ “ช�ำระล้าง” มาตรการที่เรียกว่า “การปฏิรูปการศึกษา ๓๐ กรกฎาคม” ได้ยกเลิก การสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ด�ำเนินการโดยมหาวิทยาลัยแล้วใช้ระบบโควต้ารับ นักศึกษาแทน นักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยกว่า ๑ พันคนถูกขับออกจาก มหาวิทยาลัย คณะทหารได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงโดยใช้ข้ออ้างการ ก�ำจัดอันธพาลและภัยสังคมทัง้ สัง่ ให้สถานีตำ� รวจท�ำการจับกุมให้ได้ตามจ�ำนวนทีส่ งั่ มา ประชาชนกว่า ๖ พันคนถูกจับกุม และถูกกักตัวไว้สอบสวนกว่า ๓ พันคน ผู้ถูก จับกุมกว่า ๔ พันคนถูกส่งไปค่ายทหารที่ห่างไกลเพื่อรับการอบรมที่เรียกว่า “การ ให้การศึกษาแบบซัมเชิง (แปลว่า ความบริสุทธิ์ ๓ ประการ)” ประชาชนผู้บริสุทธิ์ จ�ำนวนมากต้องทนทุกข์ทรมานจากการคุกคามท�ำร้ายและการทรมาน ผู้ถูกจับกุม คุมขังหลายคนที่ไม่ยอมสยบก็ถูกทุบตีหรือยิงทิ้ง มีประชาชนเกือบ ๓ พันคนที่ได้ รับความเจ็บปวดยาวนานและที่เสียชีวิตไปมีถึง ๓๓๙ คน นักกิจกรรมจ�ำนวนมาก ถูกไล่ออกเนื่องจากมีส่วนร่วมกับการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานและสหพันธ์ ชาวนาชาวไร่แล้วถูกส่งไปเข้าค่ายอบรมของทหาร 100 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ประธานาธิบดีโชเกียวฮาลาออกจากต�ำแหน่งเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม และในวันที่ ๒๗ สิงหาคมชุนดูฮวานก็ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีจากสมัชชา แห่ ง ชาติ เ พื่ อ การรวมประเทศด้ ว ยคะแนนเสี ย ง ๙๙.๙ เปอร์ เซ็ น ต์ โดยเป็ น ผู้สมัครเพียงคนเดียว หลังจากพิธีรับต�ำแหน่งประธานาธิบดีชุนดูฮวานก็ประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งมีเค้าโครงเหมือนกับรัฐธรรมนูญยูชินและได้ผ่านการ ลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ภายใต้รัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่นี้ประธานาธิบดีในอนาคตจะถูกเลือก โดยคณะผู้เลือกตั้งจ�ำนวนกว่า ๕ พันคน ประธานาธิบดีมีสิทธิประกาศใช้มาตรการ ภาวะฉุกเฉินและยุบรัฐสภาแห่งชาติได้ ประธานาธิบดีจะอยู่ในต�ำแหน่งได้เพียง วาระเดียว ๗ ปี จะลงสมัครรับเลือกตั้งอีกไม่ได้ การจ�ำกัดวาระการด�ำรงต�ำแหน่ง ประธานาธิบดีเพียงสมัยเดียวส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้องการล้างภาพความไม่ชอบ ธรรมของชุนดูฮวาน สมาชิกรัฐสภาแห่งชาติจ�ำนวนสองในสามมาจากการเลือกตั้ง ของประชาชนซึ่งแต่ละหน่วยเลือกตั้งมีผู้แทนได้ ๒ คน สมาชิกรัฐสภาอีกหนึ่งใน สามมาจากพรรคการเมืองตามสัดส่วนที่ค�ำนวณจากที่นั่งในรัฐสภาที่ได้จากการ
ชาวเมืองกวางจูแบกร่างผู้เสียชีวิตจากการปราบปราม ไปยังจัตุรัสกลางเมืองเพื่อท�ำพิธีไว้อาลัย ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 101
102 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
เลือกตั้ง พรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้งได้ที่นั่งมากที่สุดจะได้ที่นั่งของสมาชิกแบบ สัดส่วนจ�ำนวนสองในสาม สภาร่างกฎหมายเพื่อความมั่นคงแห่งชาติซึ่งจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ได้ผ่านกฎหมายเลวทรามหลายฉบับรวมทั้งกฎหมายปกป้อง สังคม ซึง่ ให้อ�ำนาจคุมขังผูก้ ระท�ำผิดซ�ำ้ โดยไม่มกี �ำหนด กฎหมายสือ่ มวลชนพืน้ ฐาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมสื่อมวลชน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ซึ่งควบคุมจ�ำกัด การเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงาน ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ชุนดูฮวานได้รับ เลือกเป็นประธานาธิบดีอกี ครัง้ หนึง่ โดยเป็นผูส้ มัครเพียงคนเดียวเช่นเดิมโดยคณะผู้ เลือกตัง้ ชุดใหม่จำ� นวน ๕,๒๗๘ คน ทีเ่ ป็นตรายางให้ในวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔
การฟื้นตัวของขบวนการประชาธิปไตย
การต่อต้านชุนดูฮวานและคณะทหารเริ่มปะทุขึ้นทันทีหลังจากการลุก ขึน้ สูท้ กี่ วางจูถกู ปราบลง ในขณะทีก่ ารต่อสูข้ องชาวกวางจูกำ� ลังด�ำเนินไปนักศึกษา ในกรุงโซลพยายามทีจ่ ะเผยแพร่ขอ้ เท็จจริงโดยใช้ใบปลิว แต่ความพยายามดังกล่าว ก็ถูกปิดกั้นอย่างสิ้นเชิงโดยทางการกฎอัยการศึก วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๓ คิมอุยกี (Kim Eui-gi) นักศึกษามหาวิทยาลัยโซกังได้กระท�ำอัตวินิจบาตกรรมโดย กระโดดลงมาจากตึกในกรุงโซล ทิง้ จดหมายลาตายทีม่ ขี อ้ ความประท้วงการปราบปราม ชาวเมืองกวางจู วันที่ ๙ มิถุนายน คิมจองแต (Kim Jong-tae) อดีตทหาร นักเคลื่อนไหวแรงงานได้เผาตัวตายในกรุงโซลหลังจากแจกใบปลิวมีข้อความ ประณามการสังหารประชาชนกวางจูและเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมือง วันที่ ๒๔ มิถุนายนประชาชน ๖ คน ถูกจับกุมเนื่องจากพยายามเข้ายึดเวทีประกวด นางงามจักรวาลเพื่อประท้วงการสังหารหมู่ประชาชนของคณะทหาร หลังจาก มหาวิทยาลัยเปิดเทอมภาคฤดูใบไม้ร่วงเริ่มขึ้นในเดือนกันยายน ๒๕๒๓ มีการ แจกจ่ายใบปลิวในมหาวิทยาลัยหลายแห่งในกรุงโซลเรียกร้องให้มีการสอบสวน การสังหารประชาชนเมืองกวางจู และคัดค้านการยึดอ�ำนาจของคณะทหาร วันที่ ๑๗ ตุลาคมนักศึกษามหาวิทยาลัยเกาหลีได้ชุมนุมเรียกร้องให้นักศึกษาประชาชน ต่อสู้คัดค้านเผด็จการ มหาวิทยาลัยถูกสั่งปิดชั่วคราวและนักศึกษาจ�ำนวนหนึ่งถูก จับกุมตัว วันรุ่งขึ้นนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซลได้เดินขบวนประท้วง ถัดจากนัน้ วันที่ ๑๑ ธันวาคม นักกิจกรรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซล ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 103
กลุ่มหนึ่งได้แจกจ่ายแถลงการณ์ประกาศการต่อสู้กับจักรพรรดินิยมและเผด็จการ ฟาสซิสต์ รัฐบาลใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในการกวาดล้างจับกุมขนานใหญ่ ทางการ กล่าวหานักศึกษาว่าเป็นพวกฝ่ายซ้ายและจับกุมสมาชิกองค์การนักศึกษาใต้ดินนี้ ไปคุมขังหรือบังคับไปเป็นทหารเกณฑ์ นักกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติ กรุงโซลกลุ่มใหม่ซึ่งจัดตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ ได้ออกมาประณามการ กวาดล้างจับกุมครัง้ ก่อน พอเดือนมิถนุ ายนพวกเขาก็ถกู จับกุมด้วย ในช่วงปี ๒๕๒๓ นักศึกษากลุม่ ต่างๆ ได้เริม่ ถกเถียงทางทฤษฎีกนั อย่างเผ็ดร้อนยังผลให้เกิดการเติบโต ทางคุณภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็กลายเป็นข้ออ้างทีร่ ฐั บาลใช้สร้างความชอบธรรม ในการปราบปรามขบวนการนักศึกษา ปี ๒๕๒๔ การประท้วงของนักศึกษาคงด�ำเนินต่อไปแต่อ่อนก�ำลังลง เนือ่ งจากนักกิจกรรมนักศึกษาจ�ำนวนมากในมหาวิทยาลัยต่างๆ ถูกไล่ออก วันที่ ๑๒ พฤษภาคมนักศึกษามหาวิทยาลัยซังยุนกวานในกรุงโซล ได้ก่อการชุมนุมประท้วง บนถนนเป็นหนแรกหลังจากการลุกขึน้ สูท้ กี่ วางจู และผูน้ ำ� นักศึกษา ๖ คนถูกจับกุม ในระหว่างการท�ำพิธีไว้อาลัยผู้สูญเสียชีวิตที่เมืองกวางจูที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติ กรุงโซล ในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม นักศึกษาชือ่ คิมแตฮุน (Kim Tae-hoon) ได้กระโดด ตึกฆ่าตัวตายหลังจากตะโกน “ชุนดูฮวานออกไป” ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ (๒๕๒๓๒๕๓๒) มีนกั ศึกษาและประชาชนหลายคนได้กระท�ำอัตวินจิ บาตกรรมเพือ่ เป็นการ ประท้วงแสดงถึงความโกรธแค้นต่อผูส้ งั่ ฆ่าสัง่ ปราบปรามประชาชนชาวเมืองกวางจู และความผิดหวังอย่างรุนแรงกับความพ่ายแพ้ของการลุกขึ้นสู้ของประชาชน เดือนมิถุนายน ๒๕๒๔ รัฐบาลได้ปราบปรามท�ำลายองค์การนักศึกษา และองค์การแรงงานระดับชาติสองแห่ง ผู้นำ� หลายคนถูกต�ำรวจจับกุมและทรมาน อีก ๓๐ คนถูกจับกุมคุมขัง ระหว่างปี ๒๕๒๔ ถึง ๒๕๒๖ รัฐบาลชุนดูฮวานได้บังคับ ให้นักกิจกรรมนักศึกษา ๔๔๗ คนไปเป็นทหาร กองอ�ำนวยการรักษาความมั่นคงได้ เริ่มโครงการที่เรียกว่า การปลูกป่า ในปี ๒๕๒๖ เพื่อใช้บังหน้าการอบรมล้างสมอง ผู้ที่ถูกบังคับเกณฑ์มาเป็นทหารเพื่อให้เป็นสายลับคอยส่งข่าวการเคลื่อนไหวของ นักศึกษาให้รัฐบาล ในระหว่างการอบรมนี้มีนักศึกษาจ�ำนวนหนึ่งเสียชีวิตโดยไม่ ทราบสาเหตุ ในปี ๒๕๒๗ การบังคับเกณฑ์ทหารนี้ก็ได้ยุติลงเนื่องจากข่าวการเสีย ชีวิตอย่างมีเงื่อนง�ำได้ถูกเผยแพร่ออกไป หลังจากรัฐบาลอนุญาตให้นักศึกษาที่ถูก 104 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ไล่ออกกลับเข้าเรียนตามเดิม วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๒๕ นักศึกษาจ�ำนวนหนึ่งได้จุดไฟเผาตึกส�ำนัก ข่าวสารอเมริกันในเมืองปูซานสร้างความตื่นตระหนกไปทั่วประเทศ รัฐบาลได้เคย ปกปิ ด ข่ า วการลอบวางเพลิงอาคาร ส�ำนักข่าวสารอเมริกันในเมืองกวางจู เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๒๓ แต่กรณี วางเพลิงทีเ่ มืองปูซานนีร้ า้ ยแรงเกินกว่า จะปกปิ ด ได้ แ ละรั ฐ บาลก็ ตั ด สิ น ใจใช้ มาตรการรุนแรงปราบปรามการกระท�ำ นี้ ผู ้ ป ระท้ ว งอ้ า งว่ า สหรั ฐ อเมริ ก า ให้การสนับสนุนคณะทหารทีป่ ราบปราม ประชาชน เมื อ งกวางจู จึ ง ประกาศ การต่อสู้ต่อต้านอเมริกา รัฐบาลได้ จับกุมมุนบูชิก (Mun Bu-shik) และ คนอืน่ ๆ ทีเ่ ป็นผูน้ ำ� การเคลือ่ นไหว รวมทัง้ บาทหลวงโชกีชกิ (Choe Ki-shik) แห่ง โบสถ์คาธอลิกเขตวอนจูซึ่งเป็นผู้ให้ ที่พักพิงแก่ผู้ประท้วงเหล่านี้ ซึ่งท�ำให้วงการศาสนาพากันประท้วงคัดค้านในทันที วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๒๕ นักศึกษามหาวิทยาลัยกังวอนประมาณ ๑๐๐ คน ได้ ชุมนุมต่อต้านอเมริกาและเผาธงชาติสหรัฐฯ ในเดือนกันยายนปี ๒๕๒๖ ได้เกิด ระเบิดลึกลับขึน้ ทีห่ น้าส�ำนักข่าวสารอเมริกนั ในเมืองแดกู ขณะเดียวกันกรณีพพิ าท แรงงานหลายครัง้ ก็เกิดขึน้ ทีบ่ ริษทั คอนโทรลดาต้า โรงงานทอผ้าขนสัตว์วอนพูง และ บริษทั อืน่ ๆ คนงานทีเ่ คลือ่ นไหวเรียกร้องถูกคุกคามท�ำร้ายโดยต�ำรวจและอันธพาล ทีบ่ ริษทั จ้างมา คนงานจ�ำนวนมากถูกไล่ออกจากงานและถูกจับกุม กลุม่ ศาสนาและ นักศึกษาได้เข้าร่วมสนับสนุนการเคลื่อนไหวของคนงานด้วย คิมยังซัม ซึ่งเก็บตัวเงียบมาตลอดเวลาที่ถูกสั่งกักบริเวณในบ้านได้เริ่ม อดอาหารประท้วงในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๒๖ ซึง่ เป็นวันครบรอบสามปีของการ ลุกขึ้นสู้ของประชาชนชาวเมืองกวางจู การอดอาหารประท้วงของคิมยังซัมด�ำเนิน ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 105
ไปได้ ๒๖ วันจนถึงวันที่ ๙ มิถุนายน คิมแดจุงซึ่งได้รับการผ่อนปรนไม่ดำ� เนินคดี และไปลี้ภัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๒๕ ได้ออกแถลงการณ์ สนับสนุนการต่อสู้ของคิมยังซัม ผู้น�ำฝ่ายประชาธิปไตยที่มีชื่อเสียง ๕ คนรวมทั้ง ฮัมซอกเฮิน (Ham Seok-heon) ฮองนัมซุน (Hong Num-sun) และมุนอิกฮวาน (Mun Ik-hwan) ก็เริ่มการอดอาหารประท้วงตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม วันที่ ๑๕ สิงหาคมอันเป็นวันครบรอบการปลดแอกจากการปกครองอาณานิคมของญี่ปุ่น คิมยังซัมและคิมแดจุงได้ออกแถลงการณ์ร่วมเรียกร้องประชาธิปไตย ความร่วมมือ ของทั้งสองผู้น� ำ ประชาธิปไตยน� ำไปสู่การจัดตั้งสภาส่งเสริมประชาธิปไตยใน วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๒๗ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๒๖ อดีตนักกิจกรรมนักศึกษาในยุคทศวรรษ ที่ ๑๙๗๐ (๒๕๑๓-๒๕๒๒) ได้ ร ่ ว มกั น จั ด ตั้ ง องค์ ก ารเยาวชนเพื่ อ ขบวนการ ประชาธิปไตย อันถือเป็นความก้าวหน้าส�ำคัญทางด้านการจัดตั้งของขบวนการ ประชาธิปไตย ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มเยาวชนอื่นๆ ในยุคทศวรรษที่ ๑๙๗๐ องค์การ นี้มีสมาชิกที่เป็นนักกิจกรรมนักศึกษาจ�ำนวนไม่น้อยและมีการบริหารจัดการที่มี ประสิทธิภาพท�ำให้สามารถด�ำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง องค์การนี้มีบทบาท น�ำและสนับสนุนกลุม่ เคลือ่ นไหวเพือ่ ประชาธิปไตยอืน่ ๆ หลังจากการจัดตัง้ องค์การ เยาวชนเพื่อขบวนการประชาธิปไตยไม่นานประธานองค์การคือ คิมกึนแต (Kim Guen-tae) และกรรมการบริหารคนอื่นก็ถูกต�ำรวจจับกุมแต่ไม่นานนักก็ได้รับ การปล่อยตัว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในท่าทีของฝ่ายรัฐบาลใน การจัดการกับฝ่ายค้าน หลังจากนั้นไม่นานรัฐบาลชุนดูฮวานก็หันไปใช้นโยบาย ประนีประนอมโดยถอนก�ำลังต�ำรวจออกจากมหาวิทยาลัย ยินยอมให้อาจารย์และ นักศึกษาที่ถูกไล่ออกกลับเข้าเรียนและสอนตามปกติ และระงับยับยั้งการจับกุม ผู้ประท้วง
การเติบใหญ่ของขบวนการประชาธิปไตย และการเลือกตั้งรัฐสภาปี ๒๕๓๐
ปลายปี ๒๕๒๖ รัฐบาลเริม่ คิดได้วา่ ไม่อาจใช้นโยบายแข็งกร้าวเพือ่ รักษา อ�ำนาจได้อีกต่อไป เมื่อมีก�ำหนดการเยือนกรุงโซลของประธานาธิบดีโรนัลด์รีแกน 106 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
แห่งสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน ทั้งกระแสการต่อต้านอเมริกาก็มีมากขึ้น และ ก�ำลังจะมีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาตอนต้นปี ๒๕๒๘ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจใน ช่วงที่ชุนดูฮวานเป็นประธานาธิบดีได้สร้างความมั่นใจให้กับรัฐบาลว่าจะควบคุม อ�ำนาจทางการเมืองต่อไปได้ แม้หากจะเปิดพืน้ ทีท่ างการเมืองให้กบั ฝ่ายค้านบ้างเล็กน้อย ที่ส�ำคัญกว่านั้นก็คือ การใช้นโยบายผ่อนปรนดูเหมือนเป็นการประนีประนอม ชั่วคราวของฝ่ายรัฐบาลจะช่วยทดแทนความชอบธรรมทางประชาธิปไตยที่รัฐบาล ขาดแคลนได้บ้าง ขบวนการประชาธิปไตยใช้โอกาสที่รัฐบาลผ่อนปรนการปราบปรามลง ขยายตัวเติบใหญ่อย่างเห็นได้ชัด ในปี ๒๕๒๗ นักศึกษาได้จัดตั้งองค์กรเคลื่อนไหว เรียกร้องความเป็นอิสระของสถาบันการศึกษาและยกเลิกมาตรการควบคุมนานา ชนิดของรัฐบาลที่ท�ำให้มหาวิทยาลัยไม่มีเสรีภาพ ก่อนหน้านี้ขบวนการนักศึกษา จะมีจ�ำกัดอยู่แต่ในมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ และเน้นแต่เรื่องเกี่ยวข้องกับการศึกษา มาถึงตอนนีข้ บวนการนักศึกษาได้ขยายตัวไปทัว่ ประเทศและยกระดับการเรียกร้อง ไปสู่ปัญหาการเมืองและสังคมอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะนักศึกษาได้เริ่มเข้าไปมี ส่วนร่วมกับการเรียกร้องชีวติ ความเป็นอยูท่ ดี่ ขี นึ้ ของผูใ้ ช้แรงงาน และพยายามก่อตัง้ องค์กรระดับประเทศเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพของขบวนการให้มากขึ้นกว่าการ ร่วมมือกันท�ำกิจกรรมในประเด็นเฉพาะเรื่องเท่านั้น ขบวนการทางสังคมก็เริ่มมี การเคลื่อนไหวมากขึ้น เริ่มต้นจากองค์การเยาวชนเพื่อขบวนการประชาธิปไตยมา สู่กลุ่มแรงงาน วัฒนธรรม ศิลปิน สื่อมวลชน และกลุ่มกิจกรรมอื่นๆ ได้ผนึกก�ำลัง กันเป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่นขึ้น นอกจากนีย้ งั มีการเคลือ่ นไหวของกลุม่ ต่างๆ ในภูมภิ าคอืน่ ๆ ทัว่ ประเทศ ความเติบใหญ่ขยายตัวนี้เป็นผลมาจากอดีตนักกิจกรรมนักศึกษายุคทศวรรษที่ ๑๙๖๐ และ ๑๙๗๐ ที่อุทิศตนให้กับการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเคลื่อนไหว ในภูมิภาค เดือนมีนาคม ๒๕๒๗ มีการจัดตั้งสภาเพื่อสวัสดิการแรงงานแห่งชาติ เกาหลี โดยนักกิจกรรมแรงงานและอดีตนักกิจกรรมนักศึกษาเพือ่ เป็นองค์กรน�ำของ ขบวนการแรงงาน เดือนเมษายนคนงานและนักศึกษาได้รว่ มกันเคลือ่ นไหวต่อสูเ้ พือ่ ฟืน้ คืนสหภาพแรงงานสิง่ ทอเชิงกี (Cheonggye Textile Labor Union) ขบวนการ แรงงานพยายามที่จะจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้นใหม่และปฏิรูปสหภาพแรงงานที่ ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 107
ควบคุมโดยนายทุนเสียใหม่ ในปี ๒๕๒๗ จ�ำนวนสหภาพแรงงานที่ตั้งขึ้นใหม่ใน ปีนั้นมีมากกว่าจ�ำนวนสหภาพแรงงานที่ตั้งขึ้นในช่วงสี่ปีก่อนหน้านั้น กลุ่มกิจกรรม ต่างๆ เหล่านี้ต่างตระหนักถึงความจ�ำเป็นที่จะต้องมีองค์กรที่จะประสานงานและ สร้างความเป็นเอกภาพให้กับขบวนการต่างๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดย การน�ำขององค์การเยาวชนเพื่อขบวนการประชาธิปไตยจึงมีการประกาศจัดตั้ง สภาแห่งขบวนการเพื่อประชาธิปไตยของประชาชนเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๒๗ นับเป็นการจับมือเป็นพันธมิตรของกลุ่มกิจกรรมต่างๆ เป็นครั้งแรกโดยมีจุด มุ่งหมายที่จะสร้างขบวนการเคลื่อนไหวมวลชนที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นระบบ ใน ขณะเดียวกันกลุม่ ประชาสังคมอืน่ ๆ ทีไ่ ด้รว่ มมือกับขบวนการประชาธิปไตยคัดค้าน การเยือนญี่ปุ่นของชุนดูฮวานเมื่อเดือนกันยายน ก็ได้ร่วมกันจัดตั้งสมัชชาแห่งชาติ เพือ่ ประชาธิปไตยและการรวมประเทศในเดือนตุลาคมโดยมีผนู้ ำ� กลุม่ ประชาสังคม ที่มีชื่อเสียงหลายคนเข้าร่วม ส่วนในภาคการเมือง นักการเมืองฝ่ายค้านที่เคยถูกสั่งห้ามเคลื่อนไหว ทางการเมืองก็มีอิสระที่จะท�ำกิจกรรมทางการเมืองอีกครั้งหนึ่งได้ร่วมกันก่อตั้ง สภาส่งเสริมประชาธิปไตย (Council for Promotion of Democracy) ใน เดือนพฤษภาคม ๒๕๒๗ อันเป็นพลังการเมืองที่เข้มแข็งที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่ง น�ำโดยคิมยังซัมและคิมแดจุง กลุม่ ฝ่ายค้านนีม้ แี นวโน้มทีจ่ ะสัน่ คลอนฐานะครอบง�ำ ทางการเมืองของพรรคประชาธิปไตยยุติธรรม ( Democratic Justice Party) ของ ชุนดูฮวาน พรรครัฐบาลยังมีบทบาทครอบง�ำพรรคฝ่ายค้านอีกสองพรรคคือพรรค ประชาธิปไตยเกาหลีและพรรคชาตินิยมเกาหลี แต่นับจากนี้พรรคประชาธิปไตย ยุติธรรม จักต้องเผชิญกับการท้าทายที่น่าเกรงขามจากกลุ่มฝ่ายค้านใหม่ในขณะที่ ก�ำลังจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ ในช่วงครึ่งหลังของปี ๒๕๒๗ ในขณะที่กลุ่มขบวนการประชาธิปไตย ก�ำลังเติบใหญ่ขยายตัว รัฐบาลก็หันกลับไปด�ำเนินนโยบายแข็งกร้าวอีก หลังจากที่ นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซลได้ทำ� ร้ายและคุมตัวชายคนหนึง่ ทีเ่ ชือ่ ว่าเป็น สายลับต�ำรวจ ในวันที่ ๑๗ กันยายนรัฐบาลก็เริ่มกวาดล้างจับกุมผู้นำ� นักศึกษาอีก และยังส่งก�ำลังต�ำรวจปราบจลาจลเข้าไปประจ�ำในมหาวิทยาลัยและปราบปรามการ ชุมนุมของนักศึกษาอย่างรุนแรง แต่ขบวนการประชาธิปไตยมีความเข้มแข็งมากขึน้ 108 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
แล้วจากการท�ำกิจกรรมร่วมกันระหว่างกลุม่ เคลือ่ นไหวต่างๆ ซึง่ ได้รบั การสนับสนุน จากสาธารณชนกว้างขวางขึน้ ยิง่ สร้างความกดดันต่อรัฐบาล นักศึกษามีการจัดตัง้ ที่ เข้มแข็งและสร้างพันธมิตรอย่างกว้างขวางกับกลุม่ องค์กรอืน่ ๆ วันที่ ๓ พฤศจิกายน มีการประกาศจัดตั้งสหพันธ์นักศึกษาแห่งชาติเพื่อต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และใน วันที่ ๑๓ พฤศจิกายนซึง่ เป็นวันครบรอบ ๑๔ ปีการเสียชีวติ ของชุนแตอิล นักศึกษา และคนงานได้ร่วมกันเคลื่อนไหวประท้วงทั้งที่ย่านกลางเมืองและย่านโรงงานใน กรุงโซล วันที่ ๑๔ พฤศจิกายนนักศึกษาได้บุกเข้ายึดครองส�ำนักงานใหญ่ของพรรค ประชาธิปไตยยุติธรรม (DJP) ฝ่ายรัฐบาล ในช่วงที่ใกล้จะมีการเลือกตั้งทั่วไปกลุ่มเคลื่อนไหวฝ่ายประชาธิปไตย ต่างถกเถียงกันหนักว่าควรจะมีท่าทีและการเคลื่อนไหวอย่างไรดี สภาส่งเสริม ประชาธิปไตยเกิดความแตกแยกในหมูส่ มาชิกในเรือ่ งท่าทีตอ่ การเลือกตัง้ ฝ่ายหนึง่ เรียกร้องให้เคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ในเวทีเลือกตั้ง เพราะเห็นว่าเป็นโอกาสส�ำคัญยิ่ง ที่จะก้าวเดินไปบนหนทางประชาธิปไตย อีกฝ่ายหนึ่งแย้งว่าการเข้าร่วมการ เลือกตั้งของสภาส่งเสริมประชาธิปไตยจะเป็นการช่วยให้ฝ่ายเผด็จการทหารมี ความชอบธรรมทางการเมืองและสามารถครองอ�ำนาจต่อไปอีก ในที่สุดสภา ส่งเสริมประชาธิปไตยก็มมี ติเข้าร่วมการเลือกตัง้ และจัดตัง้ พรรคประชาธิปไตยใหม่ขนึ้ (New Democratic Party) ซึ่งเป็นชื่อพรรคฝ่ายค้านส�ำคัญในอดีตในวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๒๘ ซึ่งเป็นเวลาก่อนวันเลือกตั้งทั่วไปเพียงสามสัปดาห์เท่านั้น กลุม่ เคลือ่ นไหวเพือ่ ประชาธิปไตยบางกลุม่ มีความสงสัยไม่แน่ใจการเลือกตัง้ จึงเรียกร้องให้บอยคอตการเลือกตัง้ แต่เมือ่ เห็นสาธารณชนมีความสนใจการเลือกตัง้ เพิ่ ม ขึ้ น กลุ ่ ม ประชาธิ ป ไตยจึ ง ตั ด สิ น ใจใช้ โ อกาสนี้ เ พื่ อ ผลั ก ดั น ให้ มี ค วามเป็ น ประชาธิปไตยมากขึ้น วันที่ ๑๔ มกราคมนักศึกษาได้ร่วมมือกันสร้างแนวร่วมกับ กลุ่มองค์กรต่างๆ เพื่อน�ำการเคลื่อนไหวในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง วันที่ ๕ กุมภาพันธ์นักศึกษาประชาชนพลเมืองและคนงานได้ชุมนุมประท้วงบนถนนหน้า สวนสาธารณะเจดีย์ (Pagoda Park) ในกรุงโซลหลังจากที่ต�ำรวจได้ขัดขวางการ เดินขบวนทีน่ ำ� โดยสมัชชาแห่งชาติเพือ่ ประชาธิปไตยและการรวมประเทศ นักศึกษา โห่ไล่ผสู้ มัครพรรคประชาธิปไตยยุตธิ รรมของรัฐบาล (DJP) และพรรคประชาธิปไตย เกาหลี สิง่ ทีส่ ะท้อนความปรารถนาจะเห็นประชาธิปไตยของประชาชนเกาหลีอย่าง ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 109
ชัดเจนคือ จ�ำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาฟังการปราศรัยหาเสียงในย่านจองโนกลาง กรุงโซลมีถึง ๑๐๐,๐๐๐ คน ความสนใจต่อการเลือกตั้งของสาธารณชนเพิ่ม มากขึ้นไปอีกเมื่อคิมแดจุงกลับมาจากการลี้ภัยในสหรัฐฯ ในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ หลังจากการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์พรรคประชาธิปไตยใหม่ (New Democratic Party) ได้เกิดเป็นกลุม่ ฝ่ายค้านใหญ่ทสี่ ดุ ในรัฐสภา แม้วา่ พรรคประชาธิปไตย ยุตธิ รรม (DJP) จะได้เสียงข้างมาก แต่ผลการเลือกตัง้ ครัง้ นีช้ ชี้ ดั ว่าเป็นความพ่ายแพ้ ของฝ่ า ยรั ฐ บาล ผลการเลื อ กตั้ ง สะท้ อ นถึ ง ความปรารถนาอย่ า งแรงกล้ า ของชาวเกาหลีที่จะมีประชาธิปไตยแม้จะอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการ
พัฒนาการของการต่อสู้อย่างมีแนวร่วม
หลังจากความถดถอยในการเลือกตั้ง ชุนดูฮวานได้แต่งตั้งผู้ร่วมท�ำ รัฐประหารคือ นายพลโรแตวู (Roh Tae-woo) ให้เป็นผู้น�ำพรรครัฐบาลเหมือนกับ จะบอกเป็นนัยๆ ว่าเขาคือทายาททางการเมือง ประธานาธิบดีชุนดูฮวานประกาศ รับรองว่า “ปัญหาการเมืองทุกอย่างจะแก้ไขด้วยการเจรจาถกเถียงกันภายใต้ ขอบเขตของรัฐธรรมนูญและหลักการการเมืองระบบรัฐสภาและพรรคการเมืองโดย
110 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ปราศจากความรุนแรงของการเมืองข้างถนน” ค�ำแถลงนี้แสดงถึงความตั้งใจของ ชุนดูฮวานที่จะขัดขวางความร่วมมือระหว่างพรรคฝ่ายค้านใหญ่กับกลุ่มองค์กร ประชาสังคมฝ่ายประชาธิปไตยทั้งหลาย อย่างไรก็ตามพรรคประชาธิปไตยใหม่ซึ่ง ได้กำ� ลังใจจากการสนับสนุนของสาธารณชนได้ตงั้ เป้าหมายทีจ่ ะใช้บทบาทในรัฐสภา เพือ่ รณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญเพือ่ น�ำการเลือกตัง้ ประธานาธิบดีโดยตรงกลับมาใช้อกี กลุ่มสิทธิพลเมืองต่างๆ ได้ผนึกก�ำลังกันร่วมต่อสู้เพื่อให้ความปรารถนา ของประชาชนที่แสดงออกในระหว่างการเลือกตั้งกลายเป็นขบวนการมวลชนที่ กว้างขวาง สภาแห่งขบวนการประชาธิปไตยประชาชน และสมัชชาพือ่ ประชาธิปไตย และการรวมประเทศได้ผนึกรวมกันจัดตั้งเป็นองค์กรชื่อ พันธมิตรเพื่อการรวม ประเทศทีเ่ ป็นประชาธิปไตยและขบวนการประชาชน (Coalition for Democratic Reunification and the People’s Movement) และประกาศว่าจะเป็นองค์กรน�ำ ที่รวมเอากลุ่มพลังประชาธิปไตยทั้งหมดเข้ามาอยู่ภายใต้ร่มธงอันเดียวกันคือ โค่นล้มเผด็จการทหารลงให้จงได้ องค์กรใหม่นี้ทั้งร่วมมือและโต้แย้งกับพรรค ประชาธิปไตยใหม่ฝ่ายค้าน และพยายามทุ่มเทสรรพก�ำลังไปที่การต่อสู้เรียกร้อง ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญและขับไล่เผด็จการทหารออกไป วันที่ ๑๗ เมษายนผู้น�ำนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ก่อตั้งองค์กร นักศึกษาระดับชาติขึ้นใหม่เรียกว่า สมาคมนักศึกษาแห่งชาติ (National Student Association) โดยมีองค์กรในสังกัดที่ท�ำหน้าที่เคลื่อนไหวจัดตั้งการชุมนุมเดิน ขบวนเรียกว่า คณะกรรมการต่อสู้เพื่อการรวมประเทศประชาธิปไตยและปลด ปล่อยประชาชน ในเดือนพฤษภาคมขบวนการประชาธิปไตยได้เน้นการเคลือ่ นไหว ไปที่การเปิดเผยข้อเท็จจริงเบื้องหลังการสังหารหมู่ประชาชนเมืองกวางจู การ ประท้วงของนักศึกษาก็เกิดขึน้ ทัว่ ประเทศ ผูน้ ำ� พันธมิตรเพือ่ การรวมประเทศทีเ่ ป็น ประชาธิปไตยและขบวนการประชาชนจ�ำนวน ๔๐ คน ได้เริ่มต้นการนั่งประท้วง วันที่ ๒๓ พฤษภาคมนักศึกษาที่สังกัดคณะกรรมการต่อสู้เพื่อการรวมประเทศ ประชาธิปไตยและปลดปล่อยประชาชนจ�ำนวน ๗๓ คนได้บกุ เข้าไปยึดครองทีท่ ำ� การ ส�ำนักข่าวสารอเมริกันในกรุงโซล โดยประกาศในแถลงการณ์ว่า นักศึกษาจาก ๕ มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซล มหาวิทยาลัยเกาหลี มหาวิทยาลัย ยอนเซ มหาวิทยาลัยโซกัง และมหาวิทยาลัยซังเกียนกวาน) ขอเรียกร้องให้ทางการ ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 111
สหรัฐฯ ประกาศขอโทษอย่างเป็นทางการที่ได้ให้การสนับสนุนการสังหารหมู่ ประชาชนเมืองกวางจู หยุดยั้งการสนับสนุนเผด็จการทหารชุนดูฮวาน และมีความ จริงใจที่จะสถาปนาความสัมพันธ์ที่ถูกต้องระหว่างเกาหลีกับสหรัฐฯ นักการเมืองฝ่ายค้านรวมทั้งคิมยังซัมและคิมแดจุงและสภาเพื่อส่งเสริม ประชาธิปไตย ประกาศว่าเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของนักศึกษาแต่ไม่สนับสนุนวิธี การต่อสู้ของนักศึกษา ในขณะที่พันธมิตรเพื่อการรวมประเทศที่เป็นประชาธิปไตย และขบวนการประชาชนร่วมกับกลุม่ ประชาสังคมแสดงการสนับสนุนนักศึกษาอย่าง เต็มที่และเริ่มการเคลื่อนไหวประท้วงอย่างสอดคล้องประสาน เจ้าหน้าที่ทางการ สหรัฐฯ ได้บอกกับนักศึกษาว่าทางการวอชิงตันเพิง่ รับรูส้ ถานการณ์ของเมืองกวางจู หลังจากเกิดเหตุการณ์ผา่ นไปแล้วและผูบ้ ญ ั ชาการกองก�ำลังผสมได้สงั่ ให้ถอนก�ำลัง จากเมืองกวางจูในตอนนั้นด้วย ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่สหรัฐฯ จะต้องขอโทษ เมื่อ นักศึกษาได้ยุติการนั่งประท้วงโดยสมัครใจหลังจากครบสี่วัน ผู้น�ำนักศึกษา ๒๕ คนถูกจับกุมด�ำเนินคดีส่วนที่เหลือได้รับการปล่อยตัวหลังจากถูกคุมขังอยู่หลายวัน การบุกเข้ายึดครองส�ำนักงานข่าวสารอเมริกัน ได้สร้างความสนใจในหมู่สื่อมวลชน ในประเทศและต่างประเทศและเผยให้เห็นธาตุแท้ของรัฐบาลชุนดูฮวานที่กดขี่ ข่มเหงประชาชนและความไม่รับผิดชอบของทางการสหรัฐฯ ต่อเหตุการณ์สังหาร หมู่ประชาชนเมืองกวางจู วันที่ ๑๘ กรกฎาคม รัฐบาลได้กล่าวหาสมาคมนักศึกษาแห่งชาติและ คณะกรรมการต่อสู้ ซึง่ เป็นองค์กรในสังกัดว่าอยูเ่ บือ้ งหลังการบุกยึดส�ำนักข่าวสารสหรัฐฯ และไล่ล่าจับกุมผู้น�ำองค์กรทั้งสองขนานใหญ่ ในระหว่างปิดเทอมภาคฤดูร้อน รัฐบาลยังพยายามที่จะออกกฎหมายที่เรียกว่า กฎหมายสร้างความสงบในสถาบัน การศึกษา ซึง่ จะมีบทลงโทษต่อนักศึกษาทีก่ อ่ การประท้วงทีร่ นุ แรงยิง่ กว่ากฎหมาย ว่าด้วยการชุมนุมและเดินขบวนที่มีอยู่แล้ว กฎหมายฉบับนี้ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคมนั้นระบุว่านักศึกษาที่เข้าร่วมการประท้วงอาจถูกจ�ำคุกถึง ๑๐ ปี และ ทางการยังสามารถจับผู้ที่มีแนวโน้มจะก่อการประท้วงไปเข้าค่ายอบรมพิเศษนาน ถึง ๓ เดือนได้ และรัฐมนตรีศกึ ษายังมีอำ� นาจทีจ่ ะสัง่ ปิดมหาวิทยาลัยทีอ่ าจเกิดการ ประท้วงได้ด้วย ร่างกฎหมายนี้มีมาตรการปราบปรามที่รุนแรงเหมือนกับมาตรการ ภาวะฉุกเฉินในระบอบยูชนิ กลุม่ พลังประชาธิปไตยรวมทัง้ พรรคการเมืองฝ่ายค้านได้ 112 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ร่วมมือกันอย่างเหนียวแน่นมั่นคงเคลื่อนไหวต่อต้านกฎหมายนี้ วันที่ ๑๒ สิงหาคม กลุ่มพลังประชาธิปไตย ๓๙ กลุ่ม ได้ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อคัดค้าน การออกกฎหมายนี้ เมื่อเผชิญกับการต่อต้านอย่างหนักหน่วงรัฐบาลจึงประกาศใน วันที่ ๑๗ สิงหาคมว่าจะระงับการออกกฎหมายนีไ้ ปก่อนซึง่ ความจริงก็คอื ยกเลิกไป นัน่ เอง ประสบการณ์จากการร่วมมือกันเป็นพันธมิตรระหว่างกลุม่ พลังประชาธิปไตย ต่างๆ จนสามารถหยุดยัง้ ความพยายามทีจ่ ะใช้นโยบายรุนแรงของรัฐบาลได้ให้บทเรียน ส�ำคัญส�ำหรับการต่อสู้ในอนาคตซึ่งน�ำไปสู่การลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายน ๒๕๓๐ ในช่วงเวลานี้ขบวนการแรงงานก็พัฒนายกระดับการต่อสู้ประสานกับ กลุ่มประชาธิปไตยอื่นๆ อย่างไม่เคยมีมาก่อน ภายใต้นโยบายผ่อนปรนของรัฐบาล การเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานได้ขยายตัวไปอย่างมาก รัฐบาลจึงเริ่มคุกคาม ปราบปรามผู้น�ำแรงงานในเขตอุตสาหกรรมกูโรในกรุงโซล ในขณะที่ก�ำลังเตรียม การเคลื่อนไหวร่วมกันในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ๒๕๒๘ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ต�ำรวจได้จับกุมเจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานเสื้อผ้าแดวูสามคน ในข้อหาเคลื่อนไหว เรียกร้องค่าแรงอย่างผิดกฎหมาย วันที่ ๒๔ มิถุนายนคนงานโรงงานแดวูได้เริ่มต้น การนั่งประท้วงเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้น�ำสหภาพแรงงานทั้งสามคน ขณะเดียวกัน สมาชิกสหภาพแรงงานอื่นๆ เช่น เฮียวซังเทรดดิ้ง การิบองอิเลคโทรนิคส์ และ ซูนิลเท็กซ์ไทล์กไ็ ด้นดั หยุดงานเพื่อแสดงการสนับสนุน วันที่ ๒๕ และ ๒๖ มิถุนายน สหภาพแรงงานอื่นๆ ในเขตอุตสาหกรรมก็เข้าร่วมการเคลื่อนไหวนั่งประท้วง เรียกร้องสิทธิแรงงานมากขึ้น นับเป็นการเคลื่อนไหวนัดหยุดงานอย่างกว้างขวาง เป็นครัง้ แรกนับแต่ปี ๒๕๐๓ กลุม่ ประชาสังคม กลุม่ ศาสนา กลุม่ สิทธิมนุษยชน และ องค์กรนักศึกษาต่างแสดงการสนับสนุนขบวนการแรงงาน นักศึกษาได้ปนี ขึน้ ไปบน ปล่องโรงงานและตะโกนค�ำขวัญประท้วงการปราบปรามของรัฐบาล สหภาพแรงงาน อิสระในเขตภูมิภาคก็แสดงการสนับสนุน ต�ำรวจได้จับกุมผู้น�ำสหภาพแรงงาน ตอนกิลอุตสาหกรรมในเมืองชังวอน ในขณะเตรียมการเคลื่อนไหวสนับสนุน เมื่อ คลื่นการนัดหยุดงานได้ยุติลงหลังจากผ่านไปหนึ่งสัปดาห์มีคนงานถูกจับกุมไป ๔๔ คนและอีก ๑,๓๐๐ คนถูกไล่ออกจากงาน การเคลื่อนไหวนัดหยุดงานอย่างเป็น เอกภาพนีไ้ ด้สร้างความตืน่ ตัวส�ำนึกทางการเมืองให้แก่คนงานทีเ่ ป็นสมาชิกสหภาพ วันที่ ๒๕ สิงหาคมคนงานที่ถูกไล่ออกได้รวมตัวกันก่อตั้งสหพันธ์สหภาพแรงงาน ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 113
กรุงโซลประกาศว่าจะเป็นองค์กรทางการเมืองของผู้ใช้แรงงานแห่งแรก ในช่วงครึ่งปีหลังของปี ๒๕๒๘ รัฐบาลชุนดูฮวานได้ท�ำการกวาดล้าง ปราบปรามผู้ต่อต้านคัดค้านรัฐบาลขนานใหญ่ วันที่ ๔ กันยายน คิมกึนแต (Kim Geun-tae) ประธานสหพันธ์เยาวชนเพื่อขบวนการประชาธิปไตยได้ถูกจับกุม ไปไว้ที่กองบังคับการต�ำรวจในข้อหาฝ่าฝืนกฎหมายความมั่นคงของชาติ ต่อมา ในระหว่างการพิจารณาคดีคิมกึนแตได้เปิดเผยถึงความทุกข์ทรมานจากการถูก ทรมานในระหว่างการสอบสวนที่ส�ำนักงานสืบสวนการกระท�ำที่เป็นคอมมิวนิสต์ วันที่ ๑๗ ตุลาคมพันธมิตรเพื่อการรวมประเทศที่เป็นประชาธิปไตยและขบวนการ ประชาชนและสภาเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย ผู้น�ำศาสนาคริสต์ ญาติพี่น้องของ นักโทษการเมือง และกลุ่มประชาสังคมอื่นๆ ได้ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อ คัดค้านการทรมานและสร้างข้อกล่าวหาเท็จที่รัฐบาลใช้ด�ำเนินคดีกับผู้เคลื่อนไหว เพือ่ ประชาธิปไตย องค์กรนีม้ บี ทบาทเป็นสะพานเชือ่ มต่อนักการเมืองฝ่ายค้าน กลุม่ ประชาสังคมและขบวนการนักศึกษา ทัง้ ยังมีบทบาทส�ำคัญในการเคลือ่ นไหวทีน่ ำ� ไป สู่การลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายน ๒๕๓๐ เมื่อถึงปลายปี ๒๕๒๘ กลุ่มพลังประชาธิปไตย ได้กระชับความร่วมมือและผนึกก�ำลังกันอย่างแน่นแฟ้นเพื่อเตรียมการต่อสู้อย่าง สุดตัวเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
114 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
การเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ และวิกฤตในขบวนการประชาธิปไตย
พรรคการเมืองฝ่ายค้านคือพรรคประชาธิปไตยใหม่ (NDP) เป็นกลุ่ม แรกที่เสนอประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเห็นว่ารัฐบาลก�ำลังใช้วิธีการ แข็งกร้าว เช่น ร่างกฎหมายสร้างความสงบในสถาบันการศึกษา การปราบปรามการ นัดหยุดงานของคนงานกูโรอย่างรุนแรง การกวาดล้างจับกุมผู้น�ำสหพันธ์เยาวชน เพื่อขบวนการประชาธิปไตย เหล่านี้เพื่อเตรียมรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี ๒๕๓๐ พรรคประชาธิปไตยใหม่พยายามที่จะผลักดันให้เกิดกระแสเรียกร้องให้มี การเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง และจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภา เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลังจากที่พรรคประชาธิปไตยใหม่แสดงเจตนารมณ์ชัดเจนที่จะแก้ไข รัฐธรรมนูญโดยผ่านการเจรจาต่อรองทางการเมือง แต่กลุ่มพลังประชาธิปไตยอื่นๆ ต่างก็มีแนวทางเคลื่อนไหวของตนเองซึ่งต่างกันลิบลับ บางกลุ่มตั้งเป้าหมายที่จะ ปฏิรปู ระบบเลือกตัง้ แต่สว่ นใหญ่ในขบวนการประชาธิปไตยตัง้ เป้าหมายทีก่ ว้างกว่า คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึง่ ไม่เพียงแต่จะน�ำเอาการเลือกตัง้ ประธานาธิบดีโดยตรงมา ใช้เท่านัน้ แต่ยงั รวมถึงประเด็นเรือ่ งความเป็นอิสระ ประชาธิปไตย การรวมประเทศ และการมีประชาชนเป็นศูนย์กลางอีกด้วย ความขัดแย้งนี้ขยายตัวใหญ่ขึ้นในอีก หลายเดือนถัดมาก่อให้เกิดความแตกแยกและสับสนภายในฝ่ายพลังประชาธิปไตย นักศึกษาประกาศว่า จะต่อสู้เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญเผด็จการฟาสซิสต์ แล้วแทนที่ด้วยรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย เพื่อประชาชนและความเป็น เอกราชของชาติ กลุ่มผู้ใช้แรงงานซึ่งได้ร่วมกันจัดตั้งเป็นสหพันธ์สหภาพแรงงาน กรุงโซล เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๒๘ ได้ประกาศแนวทางการเมืองที่ต่างจากพรรค ประชาธิปไตยใหม่ โดยเห็นว่าข้อเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง ของพรรคประชาธิปไตยใหม่เป็นไปเพื่อประชาธิปไตยของนายทุน กลุ่มประชา สังคมส่วนใหญ่มีความสงสัยไม่แน่ใจข้อเรียกร้องของพรรคประชาธิปไตยใหม่จึงคง เน้นเป้าหมายที่การโค่นล้มเผด็จการทหาร ซึ่งจะเปิดทางให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เป็นประชาธิปไตยและจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยขึ้นได้ ในวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พันธมิตรเพื่อการรวมประเทศที่เป็นประชาธิปไตยและขบวนการประชาชนได้จัด ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 115
ตั้งองค์กรที่จะน�ำการต่อสู้เพื่อโค่นล้มเผด็จการและสถาปนารัฐธรรมนูญที่เป็น ประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม การชุมนุมเดินขบวนครัง้ แรกทีก่ ำ� หนดให้มใี นวันที่ ๒๐ ธันวาคมต้องล้มเหลวลงเมื่อถูกต�ำรวจปิดกั้น เมื่ อ รั ฐ บาลเมิ น ข้ อ เสนอของพรรคประชาธิ ป ไตยใหม่ ที่ ใ ห้ มี ค ณะ กรรมาธิการวิสามัญรัฐสภาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เดือนธันวาคมพรรคจึงตัดสินใจ เคลื่อนไหวรณรงค์ขนานใหญ่ เรียกร้องต่อสาธารณชนให้มีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ รัฐบาลชุนดูฮวานตอบโต้ดว้ ยการประกาศในวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๒๙ ว่าจะยุตกิ าร ถกเถียงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนจนกว่าจะถึงปี ๒๕๓๒ นอกจากนี้ยังข่มขู่ คุกคามประชาชนอีกว่า “ถ้ามีการลุกขึ้นสู้ด้วยก�ำลังอาวุธเมื่อใด ประชาชนจะตก เป็นเหยื่อ” แต่ทว่าท่าทีแข็งกร้าวกลับส่งผลร้ายต่อรัฐบาล ประชาชนส่วนใหญ่เห็น ว่าท่าทีของรัฐบาลแสดงถึงความไม่ใยดีตอ่ ความปรารถนาทีจ่ ะเห็นประชาธิปไตยที่ แสดงออกในช่วงการเลือกตัง้ ทัว่ ไปสมาชิกรัฐสภาทีผ่ า่ นมา พวกเขาจึงเริม่ เข้าร่วมกับ การรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันกลุ่มศาสนาคริสต์ก็ได้เริ่มการรณรงค์ใน วันที่ ๒๐ มกราคม เรียกร้องให้ประชาชนพลเมืองปฏิเสธไม่จา่ ยค่าธรรมเนียมสมาชิก สถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐบาล (KBS-TV) สื่อมวลชนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ รัฐบาลก็ได้โฆษณาชวนเชื่อตามที่รัฐบาลสั่งโดยเฉพาะเคบีเอสท�ำได้แย่ที่สุด ในที่สุดการเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูปธรรมนูญอย่างใหญ่โตมีพลังก็เกิดขึ้น โดยนักศึกษา ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์นักศึกษาจากห้ามหาวิทยาลัยประมาณพัน คน ได้ชุมนุมกันที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซล รัฐบาลจับกุมผู้ประท้วงไป ๑๘๙ คน แต่การปราบปรามก็ไม่สามารถหยุดยั้งการประท้วงที่ขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว ได้ พรรคประชาธิปไตยใหม่เริ่มการรณรงค์เรียกร้องปฏิรูปรัฐธรรมนูญในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ต่อมากลุ่มประชาสังคม กลุ่มโปรแตสแตนท์ กลุ่มแคธอลิก กลุ่ม พุทธ และกลุ่มผู้หญิงก็เข้าร่วมรณรงค์ล่ารายชื่อผู้เรียกร้องนี้ เดือนมีนาคมอาจารย์ มหาวิทยาลัย ๗๘๓ คนจากมหาวิทยาลัย ๒๙ แห่งได้ออกแถลงการณ์หลายฉบับ เรียกร้องการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ปลายเดือนมีนาคมพรรคประชาธิปไตยใหม่ได้จัด งานเปิดทีท่ ำ� การส�ำนักงานรณรงค์ลา่ รายชือ่ ในเมืองต่างๆ มีประชาชนเข้าร่วมอย่าง คึกคัก วันที่ ๑๗ มีนาคมพรรคประชาธิปไตยใหม่ร่วมกับกลุ่มประชาสังคมต่างๆ จัด ตั้งส�ำนักงานประสานงานเพื่อให้การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างสอดคล้องมีพลัง แล้ว 116 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
พรรคประชาธิปไตยใหม่ก็เริ่มจัดการชุมนุมใหญ่ที่เมืองปูซานในวันที่ ๒๓ มีนาคม ครั้งต่อมาในวันที่ ๓๐ มีนาคมเป็นการจัดงานเปิดส�ำนักงานรณรงค์ที่เมืองกวางจู ภายหลังการชุมนุมใหญ่ ๒ ครั้งนี้ ส�ำนักงานสาขาในภูมิภาคต่างๆ ของพันธมิตร เพื่อการรวมประเทศที่เป็นประชาธิปไตยและขบวนการประชาชนก็เคลื่อนไหวเข้า ร่วมกับกิจกรรมของพรรคประชาธิปไตยใหม่อย่างแข็งขันมากขึ้น รวมทั้งเมืองแดกู แดเจือน และเชิงจู ก็มีการชุมนุมเดินขบวนเกิดขึ้น การชุมนุมทีน่ ำ� โดยพรรคประชาธิปไตยใหม่ทขี่ ยายไปทัว่ ประเทศ ตลอด จนการรณรงค์เลือกตัง้ สมาชิกรัฐสภาปี ๒๕๒๘ ได้สร้างความตืน่ ตัวทางการเมืองใน หมูป่ ระชาชนทีส่ นับสนุนการโค่นล้มเผด็จการและจัดตัง้ รัฐบาลประชาธิปไตย ในช่วง ทีก่ ารเคลือ่ นไหวเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญขึน้ สูก่ ระแสสูงสุด พรรคประชาธิปไตย ใหม่ ว างแผนที่ จ ะจั ด งานเปิ ด ส� ำ นั ก งานใหญ่ ข องการเคลื่ อ นไหวรณรงค์ ใ น เมืองอินชอนในวันที่ ๓ พฤษภาคม กลุม่ พลังประชาธิปไตยทีม่ ฐี านอยูใ่ นกรุงโซลและ บริเวณใกล้เคียงทัง้ หมดก็จะไปชุมนุมพร้อมกันทีน่ นั่ แต่ในกลุม่ พวกเขายังคงมีความ เห็นแตกต่างกันต่อการรณรงค์ของพรรคประชาธิปไตยใหม่และกลายเป็นความขัดแย้ง เมื่อส�ำนักงานประสานงานของพรรคฝ่ายค้านและกลุ่มประชาสังคมบางกลุ่มแสดง ความไม่เห็นด้วยกับท่าทีต่อต้านอเมริกัน นิยมคอมมิวนิสต์ และการใช้ความรุนแรง หลังจากที่นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซลสองคนคือ ลีแจโฮ (Lee Jae-ho) และ คิมเซจิน (Kim Se-jin) ได้กระท�ำอัตวินจิ บาตกรรมในระหว่างการประท้วงการ บังคับนักศึกษาเข้าอบรมวิชาทหารในวันที่ ๒๘ เมษายน ระหว่างนัน้ รัฐบาลพยายาม ที่สร้างความแตกแยกระหว่างพรรคประชาธิปไตยใหม่กับขบวนการประชาธิปไตย โดยการยอมรับข้อเสนอของพรรคฝ่ายค้านที่ให้จัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญของ รัฐสภา ผู้น�ำพรรคประชาธิปไตยใหม่เวลานั้นคือ ลีมินวู (Lee Min-woo) แสดง ความยินดีต่อท่าทีของรัฐบาลและต�ำหนิการเคลื่อนไหวของนักศึกษาที่มีลักษณะ รุนแรง วันที่ ๑ พฤษภาคมพันธมิตรเพื่อการรวมประเทศที่เป็นประชาธิปไตยและ ขบวนการประชาชนประกาศถอนตัวจากส�ำนักงานประสานงานและวิพากษ์วจิ ารณ์ พรรคประชาธิปไตยใหม่ที่หันไปเอียงข้างกลุ่มอนุรักษ์นิยม อย่างไรก็ตามเมื่อกลุ่ม พลังประชาธิปไตยได้เตรียมการเคลื่อนไหวในวันที่ ๓ พฤษภาคมทั้งที่ยังไม่มีจุดยืน ร่วมกันทีเ่ ป็นเอกภาพและมีความไม่ไว้วางใจพรรคการเมืองฝ่ายค้านพวกเขาทัง้ หมด ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 117
ก็เข้าร่วม
ในระหว่างงานพิธีนี้ กลุ่มพลังประชาธิปไตยได้ชูค�ำขวัญที่แตกต่างกัน รวมทั้งการเรียกร้องความเป็นอิสระจากการครอบง�ำของอเมริกา คัดค้านการ แก้ไขรัฐธรรมนูญที่ยอมตามเงื่อนไขของฝ่ายอนุรักษ์นิยม บ้างก็เรียกร้องให้จัด ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และบางกลุ่มก็เรียกร้องสิทธิและผลประโยชน์ของ ผู้ใช้แรงงาน รัฐบาลได้ฉวยโอกาสที่เกิดความแตกแยกระหว่างพรรคฝ่ายค้านกับ กลุ่มพลังประชาธิปไตยท�ำการกวาดล้างใหญ่โดยพุ่งเป้าไปที่พันธมิตรเพื่อการรวม ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยและขบวนการประชาชนซึ่งเป็นสะพานเชื่อมระหว่าง พรรคฝ่ายค้านกับขบวนการประชาธิปไตย การกวาดล้างจับกุมของรัฐบาลยังมุ่งไป ที่ขบวนการนักศึกษาซึ่งสามารถจะเคลื่อนไหวชุมนุมขนาดใหญ่ได้ รัฐบาลกล่าวหา การชุมนุมที่เมืองอินชอนว่าเป็นความพยายามบ่อนท�ำลายระบบกลไกรัฐ และสั่ง จับกุมผู้น�ำนักศึกษาและกลุ่มประชาสังคมโดยเฉพาะผู้ที่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่ม ก้าวหน้าประชาธิปไตยของประชาชน ต�ำรวจจับกุมนักศึกษาและคนงาน ๑๕๙ คน ด้วยข้อหาว่าป้ายค�ำขวัญที่พวกเขาชูในระหว่างชุมนุมคล้ายคลึงกับค�ำขวัญโฆษณา ของเกาหลีเหนือ รัฐบาลพยายามจะใช้กรณีนี้ให้เป็นประโยชน์ทางการเมือง แม้ว่า กลุ่มศาสนาและสภาส่งเสริมประชาธิปไตยพยายามอย่างยิ่งที่จะระงับยับยั้งการ ปราบปรามที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่สามารถทัดทานกระแสการโฆษณาชวนเชื่อ ขนานใหญ่ของรัฐบาลได้ เหตุการณ์อินชอนเป็นเครื่องยืนยันถึงความก้าวหน้า เติบใหญ่อย่างรวดเร็วของขบวนการประชาธิปไตย ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็น อย่างน่าเศร้าว่า เมื่อใดที่ในฝ่ายประชาธิปไตยเกิดความสับสนแตกแยกแบ่งเป็น ฝักเป็นฝ่ายก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะถูกโดดเดี่ยวจากประชาชน นักเคลื่อนไหวเพื่อ ประชาธิปไตยยังได้เรียนรู้ถึงอันตรายของการเคลื่อนไหวอย่างไร้ทิศทาง มีแต่การ ชูค�ำขวัญที่สาธารณชนไม่ยอมรับและโจมตีนักการเมืองฝ่ายค้าน ไม่ว่าอย่างไร ขบวนการประชาธิปไตยจะสามารถข้ามพ้นข้อจ�ำกัดต่างๆ โดยผ่านการปฏิบัติและ สรุปบทเรียนครั้งแล้วครั้งเล่าได้ในที่สุดเมื่อถึงการลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายน ๒๕๓๐ ในขณะที่ขบวนการประชาธิปไตยก�ำลังเพลี่ยงพล�้ำเสียหายจากการ ปราบปราม ในวันที่ ๒๗ พฤษภาคมคิมแดจุงกับคิมยังซัมยอมรับข้อเสนอทีจ่ ะจัดตัง้ คณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภา พอถึงวันที่ ๒๔ มิถนุ ายนพรรครัฐบาลกับพรรค 118 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ฝ่ายค้านก็บรรลุข้อตกลงรายละเอียดการจัดตั้งได้ อย่างไรก็ดีในวันที่ ๑๗ สิงหาคม รัฐบาลกับพรรคประชาธิปไตยยุติธรรมได้ยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อน�ำระบบ คณะรัฐมนตรีที่มาจากรัฐสภามาใช้ แต่พรรคฝ่ายค้านยังยืนยันให้มีการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีโดยตรง ในขณะที่คณะกรรมาธิการวิสามัญก็ไม่มีความก้าวหน้าและ ไม่เคยมีการประชุมอย่างเป็นทางการอีกเลย ระหว่างทีเ่ กิดความชะงักงันนีก้ ม็ กี ารเปิดเผยในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๒๙ ว่า ควอนอินซุก (Kwan In-suk) นักศึกษาหญิงผู้ผันตัวเองมาเป็นนักกิจกรรมแรงงาน ได้ถูกต�ำรวจกระท�ำทารุณกรรมทางเพศในระหว่างการสอบสวนที่เมืองบูเชิน (Bucheon) กลุ่มประชาสังคมและพรรคฝ่ายค้านได้หันมาจับมือร่วมกันอีกครั้ง หนึ่งรื้อฟื้นคณะกรรมการต่อต้านการทรมานและจัดการชุมนุมประท้วงร่วมกับ กลุ่มสิทธิสตรี เหตุการณ์นี้ได้น�ำพรรคฝ่ายค้านและกลุ่มพลังประชาธิปไตยกลับมา ร่วมกันต่อสูเ้ พือ่ ประชาธิปไตยอีกครัง้ หนึง่ แม้วา่ กลุม่ พลังประชาธิปไตยจะอ่อนก�ำลัง ลงเนือ่ งจากถูกจับกุมกวาดล้างใหญ่ในช่วงครึง่ หลังของปี ๒๕๒๙ แต่คณะกรรมการ ต่อต้านการทรมานก็ท�ำงานอย่างเต็มที่สร้างช่องทางความร่วมมือระหว่างพรรค ฝ่ายค้านกับขบวนการประชาธิปไตย วันที่ ๖ กันยายน วารสารของสภาการหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตยชือ่ มัล (Mal) ได้ตพี มิ พ์คำ� สัง่ ของรัฐบาลทีเ่ รียกว่า “แนวทางการเสนอข่าว” ซึง่ แสดงให้เห็น อย่ า งชั ด เจนว่ า รั ฐ บาลควบคุ ม การรายงานข่ า วอย่ า งไร รั ฐ บาลได้ จั บ กุ ม อดี ต นักหนังสือพิมพ์ทเี่ กีย่ วข้องกับการเปิดเผยข่าวนี้ หลังจากสิน้ สุดกีฬาเอเชีย่ นเกมส์ใน เดือนธันวาคมรัฐบาลก็ทวีการปราบปรามเพิ่มขึ้น ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน สมาชิกของกลุ่มองค์กรหัวก้าวหน้าหลายคนโดนจับกุมและพันธมิตรเพื่อการรวม ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยและขบวนการประชาชนได้รับค�ำสั่งให้ยุบเลิก การ ปราบปรามยังส่งผลกระทบต่อพรรคฝ่ายค้าน ในวันที่ ๑๓ ตุลาคมสมาชิกรัฐสภา พรรคประชาธิปไตยใหม่คนหนึง่ ถูกจับกุมหลังจากปราศรัยในทีป่ ระชุมรัฐสภาว่า การ รวมประเทศควรจะเป็นวาระส�ำคัญของชาติยิ่งกว่าการต่อต้านคอมมิวนิสต์ วันที่ ๕ พฤศจิกายนโฆษกของสภาส่งเสริมประชาธิปไตยถูกจับกุมในข้อหาฝ่าฝืนกฎหมาย ความมั่นคงของชาติ เมื่อเขากล่าวสนับสนุนนักศึกษาที่ถูกคุมขังในข้อหาก่อความ ไม่สงบโดยการชุมนุมประท้วงเมื่อปลายเดือนตุลาคม ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 119
พรรคการเมืองฝ่ายค้านและกลุ่มประชาสังคม ได้ผนึกก�ำลังกันอีก ครั้งเมื่อเผชิญกับการปราบปรามอย่างรุนแรงเช่นนี้ ตัวแทนของสภาส่งเสริม ประชาธิปไตย พรรคประชาธิปไตยใหม่ กลุ่มศาสนาพันธมิตรเพื่อการรวมประเทศ ที่เป็นประชาธิปไตยและขบวนการประชาชน และครอบครัวของนักโทษการเมือง จ�ำนวน ๔๐ คน ได้จดั การประชุมขึน้ เมือ่ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน แล้วประกาศแผนการ ที่จะจัดการชุมนุมใหญ่ต่อต้านเผด็จการขึ้นที่กรุงโซลในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พวก เขาสัญญาว่าจะทิ้งความมไม่ลงรอยกันไว้เบื้องหลังเพื่อร่วมมือกันก้าวไปข้างหน้า พวกเขายังยืนยันว่าจะต่อสูอ้ ย่างสันติอหิงสาอีกด้วย และเรียกร้องให้นกั ศึกษาระงับ ยับยั้งการกระท�ำและค�ำพูดที่รุนแรงสุดขั้ว แต่การชุมนุมใหญ่ถูกปิดกั้นขัดขวางจน เหลือแต่เพียงการชุมนุมประท้วงอย่างประปรายทั่วทั้งเมือง เมื่อประสบความส�ำเร็จในการขัดขวางการชุมนุมใหญ่พรรครัฐบาลก็ จัดการให้กฎหมายงบประมาณผ่านรัฐสภาได้สำ� เร็จในวันที่ ๑ ธันวาคมแล้วก็เริม่ กล อุบายสร้างความแตกแยกในหมูฝ่ า่ ยค้าน วันที่ ๒๔ ธันวาคม ลีมนิ วู (Lee Min-woo) ซึ่งท�ำหน้าที่หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ในนามของคิมยังซัมและคิมแดจุงได้ ประกาศว่า เขาจะยอมรับระบบคณะรัฐมนตรีทมี่ าจากรัฐสภาตามทีฝ่ า่ ยรัฐบาลเสนอ นีเ่ ป็นผลจากจากการเคลือ่ นไหวลับๆ ของรัฐบาลและพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลใน อันที่จะกีดกันคิมยังซัมและคิมแดจุงออกจากการมีบทบาทน�ำและดึงนักการเมือง ฝ่ายค้านบางคนมาอยู่ฝ่ายรัฐบาล ค�ำประกาศของลีมินวูก่อให้เกิดการโต้เถียงอย่าง เผ็ดร้อนภายในพรรคประชาธิปไตยใหม่ซงึ่ น�ำไปสูก่ ารแยกตัว เมือ่ ถึงปลายปี ๒๕๒๙ นัน้ กลุม่ พลังประชาธิปไตยก็เผชิญกับวิกฤตการณ์ทหี่ นักหน่วง นอกจากจะแตกสลาย ไปไม่นอ้ ยจากการปราบปรามอย่างไม่ปราณีของรัฐบาลแล้วยังมีความไม่ลงรอยกัน ภายในขบวนการประชาธิปไตยซึง่ เคลือ่ นไหวได้อย่างกระท่อนระแท่นเมือ่ ใกล้จะถึง ฤดูกาลเลือกตั้งในปี ๒๕๓๐
การเสียชีวิตจากการทรมาน และค�ำปฏิเสธแก้ไขรัฐธรรมนูญของชุนดูฮวาน
หลังจากประสบผลส�ำเร็จในการแบ่งแยกและปราบปรามกลุ่มฝ่ายค้าน รัฐบาลก็มคี วามมัน่ ใจมากขึน้ ทีจ่ ะเดินหน้าแผนการครองอ�ำนาจต่อไปอีก อย่างไรก็ดี 120 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 121
การด�ำเนินมาตรการแข็งกร้าวได้ส่งผลเสียย้อนกลับ วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๓๐ ปักจองเชิล (Pak Jong-cheol) นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซลได้เสียชีวติ ลง จากการถูกทรมานในระหว่างที่ต�ำรวจท�ำการสอบสวน เหตุการณ์นี้ได้เผยให้เห็น ความโหดร้ายไร้ศีลธรรมของรัฐบาลชุนดูฮวานและท�ำให้สาธารณชนตระหนักถึง ความจ�ำเป็นต้องลุกขึน้ ต่อต้านระบอบเผด็จการ ต�ำรวจแถลงว่านักศึกษาปักจองเชิล เสียชีวิตอย่างกระทันหันเมื่อต�ำรวจที่สอบสวนทุบโต๊ะ ซึ่งต่อมาข้อกล่าวอ้างนี้ถูก พิสูจน์ว่าไม่เป็นความจริง ค�ำแถลงของต�ำรวจสร้างความโกรธแค้นให้กับประชาชน ในท�ำนองเดียวกับการค้นพบศพของคิมจูเยิลที่เมืองมาซานในปี ๒๕๐๓ มีแต่เมื่อ ผู้เชี่ยวชาญนิติเวชที่ได้ชันสูตรพลิกศพได้แถลงโดยไม่หวั่นเกรงการข่มขู่ของรัฐบาล ว่า ปักจองเชิลเสียชีวิตลงเนื่องจากขาดอากาศหายใจ ต�ำรวจจึงยอมรับว่าเขาเสีย ชีวิตเนื่องจากถูกจับกรอกน�ำ้ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์กลุ่มประชาสังคมและพรรคฝ่ายค้านได้ร่วมกันจัด พิธีไว้อาลัยปักจองเชิล และจัดการชุมนุมเดินขบวนเรียกร้องให้ยกเลิกการทรมาน ในวันที่ ๓ มีนาคม ซึ่งประชาชนจ�ำนวนมากได้เข้าร่วมเดินขบวนอย่างสงบ ตลอด การเคลือ่ นไหวนีก้ ลุม่ พลังประชาธิปไตยมีความมัน่ ใจมากขึน้ เมือ่ สามารถจัดการเดิน ขบวนอย่างพร้อมเพรียงกันในทีต่ า่ งๆ ทัว่ ประเทศแม้จะเผชิญกับการปิดกัน้ ขัดขวาง ของต�ำรวจ ในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์มกี ารชุมนุมเดินขบวนเกิดขึน้ ๑๖ แห่งทัว่ ประเทศ และมากกว่า ๔๐ แห่งในวันที่ ๓ มีนาคม นีเ่ ป็นประสบการณ์ทมี่ คี า่ ยิง่ ของขบวนการ ประชาธิปไตยก่อนที่จะเกิดการลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายน วันที่ ๑๓ เมษายน ชุนดูฮวานคิดว่ากระแสการต่อต้านก�ำลังลดลงจึง ประกาศโดยไม่คาดฝันห้ามการอภิปรายเกีย่ วกับการแก้ไขรัฐธรมนูญ และการเลือกตัง้ ประธานาธิบดีในปี ๒๕๓๐ จะมีขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน นั่นหมายความว่า ประธานาธิบดีคนใหม่กจ็ ะมาจากการเลือกตัง้ อย่างแกนๆ โดยมีผสู้ มัครเพียงคนเดียว อีก และคณะทหารของชุนดูฮวานจะยังคงครองอ�ำนาจต่อไปอีก ค�ำประกาศนี้ลบล้างความหวังของประชาชนที่จะได้เห็นประชาธิปไตย กลับฟื้นคืนมาโดยผ่านการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ชุนดูฮวานแสดงออกอย่างชัดเจน ว่าจะบดขยี้ความท้าทายใดๆ ที่ขัดขวางการสืบทอดอ�ำนาจ การปฏิเสธที่จะแก้ไข รัฐธรรมนูญท�ำให้กลุ่มพลังประชาธิปไตยทั้งหมดผนึกก�ำลังกันอย่างแน่นแฟ้น 122 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
กลุ่มต่างๆ ในวงการศาสนา กฎหมาย วิ ช าการ วรรณกรรม สาธารณสุ ข ภาพยนตร์ละคร ศิลปะ และอาชีพอืน่ ๆ ต่างส่งเสียงแสดงความไม่เห็นด้วยกับ ชุนดูฮวาน นักหนังสือพิมพ์ของหนังสือ พิ ม พ์ ใ หญ่ ๆ ฮั น กุ ก โชซุ น ดองอา และจุงอัง ได้ออกแถลงการณ์ปกป้อง เสรีภาพของหนังสือพิมพ์ พนักงาน ของสถานีโทรทัศน์เอ็มบีซที วี กี เ็ ข้าร่วม การต่อสู้ด้วย สมาชิ ก รั ฐ สภาในกลุ ่ ม ของคิ ม ยั ง ซั ม และคิ ม แดจุ ง ที่ แ ยกตั ว ออกมาจากพรรคประชาธิปไตยใหม่ เนื่องจากลีมินวูหัวหน้าพรรคไปยอม นักศึกษาประชาชนชุมนุมจุดเทียนไว้อาลัย ประนีประนอมกับรัฐบาลได้ประกาศ เพื่อประท้วงการเสียชีวิตของปักจองเชิล จากการทรมานโดยต�ำรวจ จั ด ตั้ ง พรรคประชาธิ ป ไตยที่ เ ป็ น อันหนึ่งอันเดียวกัน (Reunification Democratic Party) หรือ RDP ขึ้นในวันที่ ๘ เมษายน พรรคประชาธิปไตยที่เป็น อันหนึง่ อันเดียวกันได้เคลือ่ นไหวผลักดันในรัฐสภาเพือ่ ให้มกี ารแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ ความพยายามของพวกเขาพ่ายแพ้ต่อเสียงข้างมากในรัฐสภา ซึ่งพรรครัฐบาลครอง อยู่และยังถูกกลั่นแกล้งคุกคามอย่างโจ่งแจ้ง พรรคประชาธิปไตยที่เป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันจึงหันมาต่อสูน้ อกรัฐสภาร่วมกับกลุม่ ประชาสังคมอืน่ ๆ เพือ่ ให้ได้มาซึง่ การ เลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง การเคลือ่ นไหวต่อต้านรัฐบาลเริม่ คึกคักขึน้ เมือ่ มีขอ้ มูลใหม่กรณีการเสีย ชีวติ จากการทรมาน ต�ำรวจนายหนึง่ ทีถ่ กู จับกุมในข้อหาทรมานปักจองเชิลเปิดเผย ว่า ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตายได้ถูกปกปิดและบิดเบือน และผู้มีส่วนรับผิดชอบใน กรณีนไี้ ม่ได้ถกู ลงโทษแต่อย่างใด ถ้อยแถลงของเขาได้รบั การเปิดเผยโดยสมาคมสือ่ คาธอลิกเพือ่ ยุตธิ รรมในระหว่างพิธไี ว้อาลัยผูเ้ สียชีวติ ในเหตุการณ์กวางจู ข่าวนีส้ ร้าง ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 123
ความสัน่ สะเทือนอย่างมากแก่รฐั บาลซึง่ ตกเป็นเป้าการวิพากษ์วจิ ารณ์จากกรณีการ ทรมานคิมกึนแตและการกระท�ำทารุณกรรมทางเพศอยู่แล้ว เมื่อการเคลื่อนไหว ต่อต้านรัฐบาลก้าวหน้าไป กลุ่มพลังประชาธิปไตยก็เริ่มสร้างองค์กรใหม่ที่จะมาน�ำ การเคลื่อนไหวลุกขึ้นสู้ของประชาชนเพื่อโค่นล้มเผด็จการลงให้จงได้ กลุม่ พลังประชาธิปไตยหลายกลุม่ ยังคงระแวงสงสัยพรรคประชาธิปไตย ทีเ่ ป็นอันหนึง่ อันเดียว (RDP) ขณะทีพ่ รรคฝ่ายค้านเองก็รสู้ กึ ว่าจะเป็นภาระมากกว่า ถ้าหากผูกติดกับขบวนการประชาธิปไตย ทั้งสองฝ่ายยังมีความเห็นต่างกันใน ประเด็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง แต่ทั้งสองฝ่ายต่างก็ต้องการความเป็น เอกภาพของฝ่ายประชาธิปไตยเพื่อต้านทานการปราบปรามของรัฐบาล และเพื่อ ผนึกก�ำลังจากทุกภาคส่วนให้ได้มากทีส่ ดุ กลุม่ ประชาสังคมต่างๆ ได้ชว่ ยประสานทัง้ สองฝ่ายให้ไว้วางใจและยอมรับความแตกต่างของกันและกัน ในทีส่ ดุ พวกเขาก็ตกลง กันได้ในหลักการเกี่ยวกับการปฏิรูปการเลือกตั้งและได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการการ เคลือ่ นไหวแห่งชาติเพือ่ ให้ได้มาซึง่ รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ช่วงเวลาเดียวกันนักศึกษากลุม่ ทีเ่ น้นแสวงหาการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง จากประชาชนมากกว่าเน้นที่เป้าหมายที่ก้าวหน้ามากๆ ได้น�ำการชุมนุมใหญ่ใน กรุงโซลเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ในวาระครบรอบการลุกขึ้นสู้ที่เมืองกวางจู โดยมี ผู้เข้าร่วมกว่า ๒๐,๐๐๐ คน วันที่ ๒๙ พฤษภาคมนักกิจกรรมนักศึกษาได้ประกาศ จัดตั้งสภาผู้แทนนักศึกษามหาวิทยาลัยของกรุงโซลขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนเจตนารมณ์ ของนักศึกษาทั่วไปและผูกเป็นพันธมิตรกับศูนย์บัญชาการการเคลื่อนไหวแห่งชาติ ซึ่งต่อมาจะเป็นองค์กรที่มีบทบาทส�ำคัญในการจัดการชุมนุมใหญ่ในวันที่ ๙ และ ๑๐ มิถุนายน ครั้นถึงวันที่ ๕ มิถุนายนตัวแทนนักศึกษาจาก ๑๓ มหาวิทยาลัยได้ เริ่มต้นการอดอาหารประท้วง ระหว่างการชุมนุมประท้วงในวันที่ ๙ มิถุนายน นักศึกษามหาวิทยาลัย ยอนเซชือ่ ลีฮนั เยิล (Lee Han-yeol) ถูกกระสุนก๊าซน�ำ้ ตาทีต่ ำ� รวจยิงได้รบั บาดเจ็บ สาหัสถึงขั้นอาการโคม่า ช่างภาพคนหนึ่งได้ถ่ายรูปที่มีพลังของเพื่อนนักศึกษา ก�ำลังช่วยเหลือลีฮันเยิลซึ่งได้รับบาดเจ็บใกล้หมดสติ เมื่อลีฮันเยิลเสียชีวิตแล้ว ภาพนี้ได้ถูกน�ำมาประดิษฐานบนแผ่นป้ายขนาดใหญ่และกลายเป็นสัญลักษณ์ ของการต่ อ สู ้ เมื่ อ พรรคฝ่ า ยค้ า นเข้ า ร่ ว มการเคลื่ อ นไหวนอกสภา รั ฐ บาล 124 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ภาพลีฮันเยิลนักศึกษามหาวิทยาลัยฮอนเซถูกกระสุนก๊าซน�้ำตาที่เบ้าตา และเสียชีวิตในเวลาต่อมาซึ่งกลายมาเป็นภาพโปสเตอร์ที่มีพลังปลุกประชาชน เข้าร่วมขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจนน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 125
ก็ต้องเผชิญกับความโกรธแค้นชิงชังของประชาชนโดยตรง โดยปราศจากเกราะ ป้ อ งกั น ทางการเมื อ ง กลุ ่ ม พลั ง ประชาธิ ป ไตยวางแผนจะจั ด การชุ ม นุ ม ใหญ่ วันที่สองให้ทั่วประเทศในวันที่ ๑๐ มิถุนายน ในขณะที่พรรครัฐบาลก็ก�ำหนด จะเลือกผู้สมัครชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดีในนามของพรรคในวันเดียวกัน ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายก�ำลังเดินไปสู่จุดปะทะแตกหักพร้อมๆ กัน
การลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายน และค�ำประกาศวันที่ ๒๙ มิถุนายน
เวลา ๖ โมงเย็ น ของวั น ที่ ๑๐ มิ ถุ น ายน เมื่ อ ทราบข่ า วว่ า พรรค ประชาธิปไตยยุติธรรมได้เลือกโรแตวูเป็นผู้สมัครชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดีในการ ประชุมที่สนามกีฬากรุงโซล ถนนทุกสายในเมืองใหญ่ๆ ก็คลาคร�่ำด้วยผู้ประท้วง จ�ำนวนมากพากันหลั่งไหลออกมาเรียกร้องเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญและขับไล่ เผด็จการ ประชาชนประมาณ ๒๔๐,๐๐๐ คน ได้เข้าร่วมการประท้วงในที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ๒๒ แห่ง มีผู้ถูกต�ำรวจน�ำตัวไปสอบสวน ๓,๘๐๐ คนและมี ๒๒๐ คน รวมทัง้ ผูน้ ำ� ศูนย์กลางการเคลือ่ นไหวถูกจับกุม นักศึกษาและประชาชนจ�ำนวนหนึง่ ได้หลบเข้าไปนัง่ ประท้วงบนสนามหญ้าหน้าโบสถ์เมียงดอง ซึง่ เป็นศูนย์กลางศาสนา คาธอลิกในกรุงโซลท�ำให้กระแสการเคลือ่ นไหวในวันต่อๆ ไปไม่ลดลง เมือ่ ต�ำรวจยิง ก๊าซน�ำ้ ตาใส่ผู้ประท้วงพระคาร์ดินัลสตีเฟน คิมซูฮวาน (Stephen Kim Su-hwan) และสมาคมบาทหลวงคาธอลิกเพือ่ ยุตธิ รรมได้ออกมาปกป้องท�ำให้ตำ� รวจไม่สามารถ บุกโจมตีต่อได้ ในเวลาต่อมาเขตเมียงดองจึงได้กลายเป็นลานประชาธิปไตยที่ นักศึกษา คนงาน พนักงาน และประชาชนได้มาชุมนุมแสดงความเห็นใจทุกวัน วัน ที่ ๑๕ มิถุนายนผู้ประท้วงได้ยุติการนั่งประท้วงโดยสงบ แต่การเคลื่อนไหวต่อต้าน รัฐบาลได้ขยายตัวไปทั่วประเทศ การประท้วงด�ำเนินไปในแทบจะทุกเมืองใหญ่รวมทั้งเมืองปูซานและ กวางจู วันที่ ๑๗ มิถุนายนนักศึกษาได้ชุมนุมในสถาบันการศึกษาต่างๆ ๗๐ แห่ง ทัว่ ประเทศ ศูนย์กลางการเคลือ่ นไหวแห่งชาติได้ตระเตรียมการเดินขบวนอย่างสงบ สันติในวันที่ ๒๖ มิถนุ ายน แต่ดว้ ยกระแสความไม่พอใจรัฐบาลของประชาชนมีมาก ขึ้นเรื่อยๆ ศูนย์ฯ จึงรีบเร่งจัดการชุมนุมคู่ขนานคัดค้านการใช้ก๊าซน�ำ้ ตาในวันที่ ๑๘ 126 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
มิถนุ ายน ประเมินกันว่ามีประชาชนประมาณ ๑.๕ ล้านคนเข้าร่วมการชุมนุมประท้วง ในเมืองต่างๆ ๑๖ เมือง ที่เมืองปูซานย่านใจกลางเมืองเมื่อเวลา ๑ ทุ่ม มีประชาชน มาชุมนุมถึง ๓๐๐,๐๐๐ คน จนต�ำรวจไม่สามารถควบคุมขัดขวางได้ มีข่าวลือแพร่กระจายว่า ทหารจะเคลื่อนก�ำลังออกมาในเร็วๆ นี้ และ สหรัฐฯ ก็เคลื่อนไหวอย่างหนัก สมาชิกพรรคฝ่ายค้านบางคนแนะน�ำให้ยุติการ ประท้วงเพื่อเปิดการเจรจาทางการเมืองโดยอ้างว่ารัฐบาลก�ำลังจะประกาศใช้ มาตรการภาวะฉุกเฉิน แต่กลุ่มต่างๆ ในขบวนการประชาธิปไตยแย้งว่า การยุติ การประท้วงจะท�ำให้รัฐบาลยิ่งฮึกเหิมที่จะใช้ก�ำลังอย่างโหดเหี้ยมและขบวนการ ประชาธิปไตยไม่อาจจะหยุดยั้งการต่อสู้โดยปราศจากชัยชนะในระดับหนึ่งได้ วันที่ ๑๙ มิถุนายนคณะกรรมการบริหารศูนย์บัญชาการการเคลื่อนไหวแห่งชาติ ตัดสินใจเดินหน้าแผนการชุมนุมเดินขบวนใหญ่ในวันที่ ๒๖ มิถุนายนตามที่กำ� หนด ชุนดูฮวานได้นัดประชุมสองต่อสองกับคิมยังซัมที่ท�ำเนียบประธานาธิบดีเจิงวาแด ในวันที่ ๒๔ มิถนุ ายนแต่ปฏิเสธทีจ่ ะยอมรับแนวคิดให้เลือกตัง้ ประธานาธิบดีโดยตรง ในวันที่ ๒๖ มิถนุ ายนการประท้วงเกิดขึน้ ตามทีว่ างแผนโดยมีประชาชนเข้าร่วม ๑.๕
ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 127
ล้านคนใน ๓๓ เมืองและในอีก ๔ ประเทศ อันเป็นการชุมนุมอย่างพร้อมเพรียงกัน ทีใ่ หญ่โตทีส่ ดุ ในประวัตศิ าสตร์ของประเทศ ต�ำรวจไม่อาจทัดทานประชาชนจ�ำนวน มากในหลายท้องที่และก๊าซน�้ำตาก็ถูกใช้ไปจนหมด ผู้ประท้วงจ�ำนวน ๓,๔๖๗ คน ถูกควบคุมตัวไปสถานีตำ� รวจ และที่ท�ำการเทศบาล ๔ แห่ง ส�ำนักงานสาขาพรรค ประชาธิปไตยยุติธรรม ๔ แห่ง สถานีตำ� รวจ ๒ แห่งและป้อมต�ำรวจ ๒๙ แห่งรวม ทั้งรถต�ำรวจ ๒๐ คันถูกท�ำลายและถูกเผา รัฐบาลเหลือทางเลือกเพียง ๒ ประการ คือ ยอมตามความต้องการของ ประชาชน หรือใช้กำ� ลังทหารเข้าควบคุมสถานการณ์ แต่ทางเลือกทีจ่ ะใช้กำ� ลังทหาร นั้นไม่อาจท�ำได้ เพราะสหรัฐฯ แสดงความไม่เห็นด้วย รวมทั้งจะกระทบกระเทือน ต่อกีฬาโอลิมปิกที่จะมีขึ้นที่กรุงโซลในปี ๒๕๓๑ ในที่สุดรัฐบาลชุนดูฮวานยอม โอนอ่อนผ่อนตาม โดยให้โรแตวูผู้สมัครชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดีของรัฐบาล ประกาศเมือ่ วันที่ ๒๙ มิถนุ ายนสัญญาว่า รัฐบาลจะน�ำเอาการเลือกตัง้ ประธานาธิบดี โดยตรงมาใช้ ฟื้นคืนสิทธิทางการเมืองให้กับคิมแดจุง และปลดปล่อยนักโทษ การเมือง พลังประชาธิปไตยได้รับชัยชนะแล้ว การลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายนเป็นชัยชนะของพลังประชาชน หากแต่การ ที่รัฐบาลยอมโอนอ่อนผ่อนตามก็เนื่องจากมีความเชื่อว่า จะสามารถตอกลิ่มให้ เกิดรอยร้าวระหว่างพรรคฝ่ายค้านกับกลุ่มพลังประชาธิปไตย และสร้างความเป็น ปฏิปักษ์ระหว่างคิมยังซัมกับคิมแดจุง บางกลุ่มในขบวนการประชาธิปไตยอ้างว่า ค�ำประกาศของโรแตวูไม่มปี ระโยชน์อะไรนอกจากจะเป็นความพยายามเอาตัวรอด จากวิกฤตการณ์ และเรียกร้องให้ต่อสู้ต่อไปเพื่อล้มล้างระบอบเผด็จการให้หมดไป แต่กระนัน้ พรรคฝ่ายค้านก็เริม่ ตระเตรียมทีจ่ ะเจรจาแก้ไขรัฐธรรมนูญ และประชาชน ก็พอใจกับผลส�ำเร็จที่ได้มาจึงหันไปให้ความสนใจกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ จะมาถึง ชัยชนะของขบวนการประชาธิปไตยเกาหลีครั้งนี้กล่าวได้ว่าเป็นผลมา จากการสรุปบทเรียนจากความโดดเดี่ยวและคับแค้นของการลุกขึ้นสู้ที่เมืองกวางจู ในปี ๒๕๒๓ และความแตกแยกไร้ทศิ ทางของการชุมนุมประท้วงทีเ่ มืองอินชอนในวัน ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๒๙ และประสบการณ์ทไี่ ด้จากการสะสมชัยชนะอย่างต่อเนือ่ งใน การเคลือ่ นไหวประท้วงทัว่ ประเทศในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์และวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๓๐ 128 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ขบวนการประชาธิปไตยได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตนเองว่า ค� ำขวัญและการ กระท�ำจะต้องแตกต่างออกไปในเวลาที่ท�ำ “สงครามชิงพื้นที่” (War of Position) ในปริมณฑลต่างๆ ที่พวกเขามีส่วนเกี่ยวข้อง และเมื่อถึงเวลาชี้เป็นชี้ตายก็ต้องทุ่ม ก�ำลังทัง้ หมดเข้าต่อสูอ้ ย่างสุดตัว ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ พวกเขาได้เรียนรูจ้ ากการปฏิวตั เิ ดือน เมษายน การลุกขึน้ สูท้ เี่ มืองปูซาน-มาซาน และการลุกขึน้ สูข้ องประชาชนเมืองกวางจู ว่า มีแต่เมื่อประชาชนคนธรรมดาทั่วทั้งประเทศโดดเข้าร่วมการต่อสู้ เมื่อนั้นจึงจะ สามารถเอาชนะฝ่ายเผด็จการได้ ข้อเรียกร้องให้มกี ารเลือกตัง้ ประธานาธิบดีโดยตรง โดยประชาชนเป็นเป้าหมายที่สามารถรวมประชาชนทุกคน ซึ่งไม่เคยได้เลือกผู้น�ำ ประเทศเลยนับแต่ปี ๒๕๑๔ เป็นต้นมา เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ด้วยความหวังที่จะมีการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตย นักการเมืองที่ มีชื่อเสียงหลายคนได้แสดงบทบาทในกระบวนการทางการเมือง ในขณะที่กลุ่ม พลังประชาธิปไตยไม่ได้เตรียมพร้อมส�ำหรับการเมืองเรื่องเลือกตั้งจึงได้เป็นแค่คน ดูอีกครั้งหนึ่ง วันที่ ๙ กรกฎาคมประชาชนจ�ำนวนมากได้ชุมนุมกันทั่วประเทศเพื่อ แสดงความไว้อาลัยแก่ลีฮันเยิล นักศึกษามหาวิทยาลัยยอนเซ (กรุงโซลมีจำ� นวน ๑
ขบวนแห่ศพลีฮันเยิลนักศึกษาที่เสียชีวิตจากกระสุนก๊าซน�้ำตา มีประชาชนจ�ำนวนมากมาร่วมพิธี ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 129
ล้านคน ปูซาน ๕๐๐,๐๐๐ คน และกวางจู ๓๐๐,๐๐๐ คน) ผู้คนจ�ำนวนมากมายที่มาร่วมชุมนุมแสดงถึงพลังที่น่าเกรงขามที่รัฐบาล จะต้องเผชิญถ้าหากไม่ยอมตามความต้องการของประชาชน ขบวนการแรงงานที่ ถูกกดทับมายาวนานก็ฟื้นตัวและก่อการนัดหยุดงานเป็นระลอกๆ ระหว่างเดือน กรกฎาคมถึงสิงหาคมซึ่งเรียกขานกันว่า การต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ของคนงาน พันธมิตร เพื่อประชาธิปไตยที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและขบวนการประชาชน ตลอดจน กลุ่มประชาสังคมต่างๆ พยายามที่จะรักษาพลังฮึกห้าวเหิมหาญของการลุกขึ้นสู้ เดือนมิถุนายนไว้ และขยายประเด็นข้อเรียกร้องไปสู่การรวมประเทศ แต่เมื่อ การเลือกตัง้ ใกล้เข้ามาสมาชิกของขบวนการประชาธิปไตยเกิดความไม่ลงรอยกันใน เรือ่ งจะสนับสนุนใครเป็นประธานาธิบดี ทัง้ คิมยังซัมและคิมแดจุงไม่ยอมถอนตัวจาก การสมัครชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดีทงั้ คู่ ขบวนการประชาธิปไตยจึงมีทา่ ทีแตกต่าง กัน ๓ อย่าง หนึง่ ให้การสนับสนุนอย่างมีเงือ่ นไขต่อคิมแดจุงซึง่ ค่อนข้างจะก้าวหน้า สอง ต้องการส่งผู้สมัครของขบวนการประชาธิปไตยเพื่อให้ฝ่ายค้านมีผู้สมัครเพียง คนเดียว และ สาม เรียกร้องให้นกั การเมืองทัง้ สองตกลงและร่วมมือกันให้ได้ แต่กระ นัน้ ทัง้ คิมยังซัมและคิมแดจุงต่างก็ลงสมัครชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตัง้ เดือนธันวาคมด้วยกันทัง้ คู่ ท�ำให้เสียงสนับสนุนฝ่ายค้านแตกออกเป็นสองส่วนส่งผล ให้โรแตวู ทายาทชุนดูฮวานชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ด้วยเหตุนี้ การลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายน สามารถช่วงชิงชัยชนะที่ได้น�ำ การเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงมาใช้ แต่กลับจบลงด้วยชัยชนะเพียงครึ่งเดียว กระนัน้ ก็ตาม ตลอดช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ (๒๕๒๓-๒๕๓๒) ขบวนการประชาธิปไตย ได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมากมาย แม้จะถูกฉุดรั้งด้วยความตื่นตระหนก ความ โศกเศร้า ความโกรธแค้นจากการที่การลุกขึ้นสู้ของประชาชนเมืองกวางจูที่จบลง ด้วยความพ่ายแพ้ ในช่วงหนึ่งทศวรรษนี้ขบวนการประชาธิปไตยได้วิวัฒน์มาเป็น ขบวนการมวลชนที่เข้มแข็งในเชิงคุณภาพอย่างเห็นได้ชัด กลุ ่ ม พลั ง ประชาธิ ป ไตยโดยเฉพาะนั ก กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาได้ เ ริ่ ม กระบวนการหล่อหลอมตนเองให้ “ก้าวหน้า” และ “เป็นวิทยาศาสตร์” และ ท้าทายโจมตีระบอบเผด็จการอย่างดุเดือดรุนแรงยิ่งกว่าในอดีต ขณะเดียวกันก็ติด อาวุธทางปัญญาให้กับตนเองด้วยทฤษฎี ความคิดทางการเมือง ยุทธศาสตร์ยุทธวิธี 130 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ที่ก้าวหน้าทันสมัย นอกจากนี้ ขบวนการประชาธิปไตยยังมีขอบข่ายที่กว้างขวางขึ้น ไม่ได้ จ�ำกัดอยู่แต่เพียงนักเรียนนักศึกษาและนักกิจกรรมสังคม หากยังมีสหภาพแรงงาน และกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมอื่นๆ เข้ามาร่วมด้วย นักการเมืองฝ่ายค้านซึ่งถูกห้าม ด�ำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้รบั คืนสิทธิทางการเมืองในการเลือกตัง้ สมาชิกรัฐสภา ปี ๒๕๒๘ ก็ได้เข้าร่วมกับการเคลือ่ นไหวต่อสูค้ ดั ค้านอ�ำนาจเผด็จการด้วย ทัง้ หมดนี้ ยังผลให้นกั ศึกษา กลุม่ สิทธิพลเมือง กลุม่ กิจกรรมทางสังคมและพรรคการเมืองฝ่ายค้าน สามารถผนึกก�ำลังกันเป็นแนวร่วมเพื่อประชาธิปไตยอันกว้างใหญ่ไพศาลที่สุดได้
ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 131
132 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ภาคที่
๕
ความเติบโตและ อุปสรรคของ ประชาธิปไตยเกาหลี นับแต่การลุกขึ้นสู้ เดือนมิถุนายน
ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 133
ภาคที่
๕
ความเติบโตและอุปสรรคของประชาธิปไตยเกาหลี นับแต่การลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายน การลุกขึน้ สูเ้ ดือนมิถนุ ายนเป็นหลักหมายส�ำคัญของประชาธิปไตยเกาหลี เทียบได้กบั การปฏิวตั เิ ดือนเมษายนปี ๒๕๐๓ เป็นจุดเริม่ ต้นของจุดจบของเผด็จการ ทหารที่ครองอ�ำนาจมายาวนานถึง ๒๖ ปี และเปิดศักราชใหม่ของยุคสมัยที่การ รัฐประหารโดยคณะทหารเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคิดว่าจะเป็นไปได้ ดังนั้นในระหว่างปี ๒๕๓๐ ถึง ๒๕๔๕ ประชาธิปไตยในเกาหลีได้พัฒนาก้าวหน้าไปผ่านการเลือกตั้ง ประธานาธิบดี ๔ ครั้ง แต่ความก้าวหน้านี้มิได้เป็นเส้นตรงหากแต่มีความชะงักงัน และสับสนหลายต่อหลายครั้ง ระบบการเมืองที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๓๐ ด�ำรงอยู่มา มากกว่า ๒๐ ปี แต่ประชาธิปไตยของเกาหลียังจะต้องเผชิญกับการท้าทายที่ส�ำคัญ หลายอย่าง มีความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีและการเผชิญหน้าในภูมิภาคที่ยัง ไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งความแตกแยกทางเศรษฐกิจและสังคมรุนแรงยิ่งขึ้น
รัฐบาลโรแตวู: ช่วงเปลี่ยนผ่านการปกครองจากโดยทหารมาเป็นพลเรือน
โรแตวู อดีตนายพลและทายาทของชุนดูฮวานชนะการเลือกตั้งได้เป็น ประธานาธิบดีในวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๐ โดยใช้ประโยชน์จากความแตกแยก ระหว่างผู้น�ำฝ่ายประชาธิปไตยสองคนคือ คิมยังซัมและคิมแดจุง ชัยชนะของ โรแตวูและความแตกแยกในฝ่ายประชาธิปไตยชะลอความก้าวหน้าและสร้างความ เสือ่ มโทรมให้กบั พัฒนาการประชาธิปไตย อีกทัง้ ความแตกแยกระหว่างภาคต่างๆ ที่ 134 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
เพิม่ มากขึน้ อันเนือ่ งมาจากการหาเสียงเลือกตัง้ ก็เป็นความท้าทายใหม่ของเส้นทาง ไปสู่ประชาธิปไตยของเกาหลี สาธารณรัฐที่หกภายใต้การปกครองของโรแตวูเป็นตัวแทนของช่วง เปลี่ยนผ่านจากการปกครองของทหารมาสู่รัฐบาลพลเรือน ด้วยเหตุที่มาจากการ เลือกตัง้ ประธานาธิบดีโดยตรงของประชาชนทีเ่ กิดขึน้ ใหม่หลังจากการลุกขึน้ สูเ้ ดือน มิถุนายน โรแตวูจึงสามารถอ้างความชอบธรรมได้มากกว่ารัฐบาลทหารชุดก่อนๆ อันที่จริงในช่วงการปกครองของโรแตวูระยะแรกๆ โรแตวูพยายามแยกตัวออกจาก การเกี่ยวข้องกับสาธารณรัฐที่ห้า โดยการสอบสวนปัญหาคอรัปชั่นและการกระท�ำ ผิดที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลชุนดูฮวาน และได้ปลดเจ้าหน้าที่ระดับสูงต�ำแหน่งส�ำคัญ ที่มาจากรัฐบาลชุนดูฮวานไปหลายคน การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาสมัยที่ ๑๓ ในปี ๒๕๓๑ ยิ่งสร้างความไม่ ลงรอยกันในบรรดาพรรคการเมือง พรรคฝ่ายค้านต่างๆ ได้ที่นั่งรวมกันมากกว่า พรรคประชาธิปไตยยุติธรรมของประธานาธิบดีโรแตวู พวกเขาได้จับมือกันรวม เป็นแนวร่วมฝ่ายค้านในรัฐสภาเพือ่ คานอ�ำนาจฝ่ายบริหารและทบทวนแก้ไขยกเลิก กฎหมายทีช่ วั่ ร้ายต่างๆ เป็นทีน่ า่ สังเกตว่านับแต่เดือนพฤศจิกายนปี ๒๕๓๑ รัฐสภา ได้ทำ� การสอบสวนเหตุการณ์กวางจูและการใช้อำ� นาจอย่างฉ้อฉลในช่วงสาธารณรัฐ ที่ห้า การไต่สวนของรัฐสภานี้มีการถ่ายทอดสดทางวิทยุโทรทัศน์ส่งผลสะเทือน อย่างลึกซึ้งต่อสาธารณชน พัฒนาการของเหตุการณ์เหล่านี้ท�ำให้โรแตวูเปลี่ยน ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 135
ยุทธวิธีจับขั้วการเมืองใหม่เพื่อพลิกฐานะที่ตกเป็นรองในรัฐสภา เขาจัดการรวม พรรคประชาธิปไตยยุติธรรมเข้ากับพรรคประชาธิปไตยของคิมยังซัมและพรรค สาธารณรัฐประชาธิปไตยใหม่ของคิมจองปิลเป็นพรรคฝ่ายรัฐบาลอันใหม่ชอื่ พรรค เสรีภาพประชาธิปไตย (Democratic Liberty Party) ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ กลุม่ พันธมิตรใหม่ฝา่ ยอนุรกั ษ์นยิ มนี้ ขัดขวางการปฏิรปู ประชาธิปไตยและโดดเดีย่ ว พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าของคิมแดจุงที่ค่อนข้างก้าวหน้ากว่า ขณะเดียวกัน การลุกขึน้ สูเ้ ดือนมิถนุ ายนได้ทำ� ให้ขบวนการประชาธิปไตย ขยายประเด็นเรียกร้องไปสูเ่ รือ่ งการรวมประเทศ รัฐบาลในขณะทีพ่ ยายามจะจ�ำกัด การเคลือ่ นไหวก็ประกาศนโยบายการทูตกับเกาหลีเหนือใหม่เมือ่ วันที่ ๗ กรกฎาคม ซึ่งรวมทั้งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีนด้วย เป้าหมายของ นโยบายต่างประเทศใหม่นี้ ก็เพื่อโดดเดี่ยวเกาหลีเหนือในเวทีระหว่างประเทศ ด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศคอมมิวนิสต์ต่างๆ โดยใช้ อ�ำนาจทางเศรษฐกิจ สร้างความได้เปรียบเหนือเกาหลีเหนือในหมู่ประชาคมโลก ในปี ๒๕๓๒ มุนอิกฮวาน (Mun Ik-hwan) บาทหลวงหัวก้าวหน้าและอิมซูเกียง (Im Su-kyeong) นักกิจกรรมนักศึกษาได้เดินทางไปเยือนเกาหลีเหนือโดยไม่ได้รับ อนุญาต รัฐบาลฉวยโอกาสจากเหตุการณ์นี้ด�ำเนินการควบคุมสังคมอย่างเข้มงวด มากขึน้ อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างสองเกาหลีกด็ ขี นึ้ เมือ่ มีการเจรจาระหว่าง เจ้าหน้าที่ระดับสูงในเดือนกันยายนและตุลาคม ๒๕๓๓ ทั้งสองประเทศเกาหลีเข้า เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติพร้อมกันในวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๔ ในระหว่าง การเจรจาระดับสูงครั้งที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคมนายกรัฐมนตรีของเกาหลีใต้และ เกาหลีเหนือได้ลงนามในสนธิสญ ั ญาเหนือ-ใต้วา่ ด้วยการรวมประเทศ การไม่รกุ ราน กัน และการแลกเปลี่ยนและร่วมมือกัน ซึ่งท�ำให้สองประเทศเกาหลีตกลงยอมรับ การด�ำรงอยู่และเคารพซึ่งกันและกัน และไม่แทรกแซงกิจการภายในของทั้งสอง ประเทศ ข้อตกลงนี้ยังระบุหลักการไม่รุกรานกันและกันและการแลกเปลี่ยนและ ความร่วมมือด้านต่างๆ ในช่วงรัฐบาลโรแตวู ขบวนการประชาธิปไตยได้พัฒนาก้าวหน้าทั้งทาง ปริมาณและคุณภาพ ความส�ำเร็จที่ส�ำคัญมากคือการออกหนังสือพิมพ์ที่ก้าวหน้า ชือ่ ฮันเกียวเร (Hankyoreh) การจัดตัง้ สหภาพครูอาจารย์และนักการศึกษาเกาหลี 136 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
สามคิมที่มีบทบาททางการเมืองอย่างสูงในช่วงเปลี่ยนผ่าน : คิมจองปิล คิมแดจุง คิมยังซัม
และเดือนมกราคม ๒๕๓๓ ก็มกี ารก่อตัง้ สภาแห่งชาติสหภาพแรงงาน ซึง่ ต่อมากลาย เป็นสหพันธ์สหภาพแรงงานเกาหลี ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ๒๕๓๔ นักกิจกรรมสังคมได้จัดการ ชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่สุดนับแต่การลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายนเรียกร้องให้โรแตวู ลาออก แต่การเคลื่อนไหวนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน การปฏิรูป การเมืองและการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยท�ำให้สาธารณชนไม่ให้ความสนใจ กับการเคลือ่ นไหวทางการเมือง รวมทัง้ การไม่ได้รบั การสนับสนุนจากพรรคฝ่ายค้าน ท�ำให้พลังประชาธิปไตยอ่อนแอลง เมื่อใกล้จะถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีใน เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕ พรรครัฐบาลได้เสนอชื่อคิมยังซัมเป็นตัวแทนชิงต�ำแหน่ง ประธานาธิบดีในนามพรรคเสรีภาพประชาธิปไตย (DLP) ด้วยคะแนนเสียง ๖๖.๓ เปอร์เซ็นต์ของสมาชิกพรรค กลุ่มของคิมยังซัมในพรรคเสรีภาพประชาธิปไตยมี สมาชิกรัฐสภาในสังกัดจ�ำนวนน้อยกว่า และฐานอ�ำนาจก็เล็กกว่าคู่แข่งคนอื่นใน พรรค แต่คมิ ยังซัมได้รบั การยอมรับว่ามีแต่เขาเท่านัน้ ทีจ่ ะสามารถแข่งขันกับคิมแดจุง ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีได้ ในที่สุดคิมยังซัมอดีตผู้นำ� ฝ่ายค้านก็ชนะการเลือก ตัง้ ได้เป็นประธานาธิบดีปลายปีนนั้ ในฐานะตัวแทนพรรครัฐบาล และประชาธิปไตย เกาหลีกร็ ดุ หน้าต่อไปท่ามกลางความยากล�ำบากและการเปลีย่ นแปลงโดยไม่คาดฝัน ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 137
รัฐบาลคิมยังซัม : ผลส�ำเร็จและข้อจ�ำกัดของการปฏิรูปโดยรัฐบาลพลเรือน
การขึ้นสู่อ�ำนาจของรัฐบาลคิมยังซัมในปี ๒๕๓๖ ได้เปิดศักราชใหม่ของ การมีรัฐบาลพลเรือน หลังจากที่ปกครองโดยนายพลและทหารแทรกแซงการเมือง มาหลายทศวรรษ คิมยังซัมได้ด�ำเนินการโดยทันทีเพื่อควบคุมกองทัพให้อยู่ในร่อง ในรอย โดยยุบเลิกสมาคมอิทธิพลของนายทหารที่มีความทะเยอทะยานทางการ เมืองชื่อ ฮานาโฮ (Hanahoe) และลดทอนอ�ำนาจของกองอ�ำนวยการรักษา ความมั่นคง (Defense Security Command) คิมยังซัมประสบผลส�ำเร็จในการจ�ำกัดอิทธิพลของกลุ่มพลังการเมืองที่ มีฐานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งครอบง�ำการเมืองของประเทศมากว่า ๓๐ ปี ภายใต้การปกครองของปักจุงฮี ชุนดูฮวานและโรแตวู เขาได้แก้ไขกฎหมายว่าด้วย จริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งก�ำหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐกว่า ๙๐,๐๐๐ ต�ำแหน่ง ต้อง แจ้งรายการทรัพย์สิน และเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงต้องเปิดเผยทรัพย์สินที่แจ้งด้วย ในเดือนสิงหาคม ๒๕๓๗ ประธานาธิบดีได้ประกาศค�ำสั่งฉุกเฉินก�ำหนดให้ธุรกรรม ทางการเงินทั้งหมดต้องกระท�ำโดยใช้ชื่อ-นามสกุลจริง เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้าย เงินที่ได้มาอย่างผิดกฎหมายและธุรกรรมการเงินที่ผิดปกติซึ่งมักจะกระท�ำผ่าน ธนาคารโดยใช้ชอื่ ปลอมหรือชือ่ ผูอ้ นื่ ในปี ๒๕๓๘ อดีตประธานาธิบดีชนุ ดูฮวานและ โรแตวูถกู จับกุมในข้อหายักยอกเงินสืบราชการลับมูลค่าหลายแสนล้านวอนในขณะ ทีอ่ ยูใ่ นต�ำแหน่ง หลังจากนัน้ อดีตประธานาธิบดีทงั้ สองรวมทัง้ นายทหารอีก ๑๔ คน ที่มีส่วนร่วมในการก่อกบฏยึดอ�ำนาจในปี ๒๕๒๒ และการสังหารหมู่ประชาชน เมืองกวางจูก็ถูกด�ำเนินคดีในข้อหากบฏ แม้จะได้ดำ� เนินการปฏิรปู เพือ่ ฟืน้ ฟูประชาธิปไตยหลายประการ แต่รฐั บาล คิมยังซัมก็ยังไม่ได้ก�ำหนดทิศทางนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับเกาหลีเหนือ หลังจาก คิมอิลซุงผูน้ ำ� เกาหลีเหนือเสียชีวติ อย่างกระทันหันก่อนหน้าการประชุมสุดยอดสอง ประเทศเกาหลี ครัง้ แรกคิมยังซัมก็ดำ� เนินนโยบายแข็งกร้าวต่อทางการเปียงยาง เมือ่ เวลาผ่านไปรัฐบาลของเขาก็ถดถอยจากการปฏิรูปตามแรงกดดันของพวกอนุรักษ์ นิยม เดือนธันวาคม ๒๕๓๙พรรครัฐบาลได้ผลักดันออกกฎหมายแรงงานที่เข้มงวด สร้างความโกรธเคืองแก่กลุ่มพลังประชาธิปไตย ในปี ๒๕๔๐ คิมยังซัมกลายเป็น 138 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
รัฐบาลเป็ดง่อยท่ามกลางปัญหาคอรัปชัน่ มากมาย คนสนิทของประธานาธิบดีคมิ ยังซัม ถูกจับกุมในข้อหาพัวพันกับการกู้ยืมที่ผิดกฎหมาย เดือนพฤษภาคมลูกชายของ คิมยังซัมซึง่ ใช้อทิ ธิพลอย่างมากจนถูกขนานนามว่า “ประธานาธิบดีนอ้ ย” ก็ถกู จับกุม ในข้อหาคอรัปชัน่ เมือ่ ใกล้จะสิน้ สุดวาระการด�ำรงต�ำแหน่งประธานาธิบดีของคิมยังซัม เกาหลีก็เผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ร้ายแรงที่สุด การที่รัฐบาลมุ่งเปิดรับ กระแสโลกาภิ วั ต น์ อ ย่ า งไม่ ร ะมั ด ระวั ง เป็ น ต้ น เหตุ ข องวิ ก ฤตหนี้ สิ น ต่า งประเทศ แต่ ปัจจัยเอื้ออ� ำนวยคือโครงสร้างทางการเงินของธุรกิจเกาหลี ที่ อ ่ อ นแอและไม่ โ ปร่ ง ใสอั น เป็ น ผลจากความเกี่ ย วพั น กั บ อ� ำ นาจทาง การเมื อ งอย่ า งฉ้ อ ฉลของกลุ ่ ม แชโบล (Chaebol) อั น เป็ น กลุ ่ ม ธุ ร กิ จ ขนาดใหญที่ ค วบคุ ม เศรษฐกิ จ ประเทศ ตลอดจนการก�ำ กั บ ควบคุ ม ธนาคาร ของรั ฐ บาล ในสถานการณ์ ท่ี ป ั ่ น ป่ ว นนี้ คิ ม แดจุ ง ชนะการเลื อ กตั้ ง ประธานาธิบดีในปี ๒๕๔๐ แสดงถึงการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลอย่างสันติโดยการ เลือกตัง้ เมือ่ คิมแดจุงขึน้ สูอ่ ำ� นาจตอนต้นปี ๒๕๔๑ นัน้ เป็นครัง้ แรกในประวัตศิ าสตร์ เกาหลีที่มีการเปลี่ยนผ่านอ�ำนาจอย่างสันติจากพรรครัฐบาลมาเป็นพรรคฝ่ายค้าน
รัฐบาลคิมแดจุง : ผลส�ำเร็จและข้อจ�ำกัดของรัฐบาลของประชาชน
การเลือกตั้งคิมแดจุงมาเป็นประธานาธิบดีเป็นเหตุการณ์ส�ำคัญของ การเมืองเกาหลี เป็นการเปลีย่ นกลุม่ อ�ำนาจทางการเมืองจากเขตเยืองนัมภาคตะวันออก เฉียงใต้มาเป็นกลุ่มโฮนัมภาคตะวันตกเฉียงใต้ รัฐบาลคิมยังซัมยังเป็นรัฐบาลแรกที่ มีฐานสนับสนุนจากกลุ่มชายขอบ ทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจอีกด้วย เนื่องจากเห็นโอกาสที่จะชนะการเลือกตั้งมีน้อยถ้ายังอาศัยแต่ฐาน ผูส้ นับสนุนในเขตโฮนัมเท่านัน้ คิมแดจุงจึงจับมือเป็นพันธมิตรกับคิมจองปิลซึง่ มีฐาน ผูส้ นับสนุนในเขตชุนเชืองตอนกลางของประเทศ การรณรงค์หาเสียงของคิมแดจุงก็ ใช้ประโยชน์จากความแตกแยกในพรรครัฐบาลซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเกาหลีใหม่ (New Korea Party) จากการเสนอชื่อ ลีฮอยชาง (Lee Hoi-chang) เป็นผู้สมัคร ชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดี ท�ำให้คู่แข่งของลีฮอยชางผละออกจากพรรค แล้วลง แข่งขันเลือกตั้งในฐานะผู้สมัครอิสระ ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 139
เพือ่ ทีจ่ ะเอาตัวรอดจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโดยขอความช่วยเหลือจาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ รัฐบาลคิมแดจุงได้ดำ� เนินมาตรการปรับโครงสร้าง ธุรกิจเอกชนอย่างขนานใหญ่ แปรรูปรัฐวิสาหกิจจ�ำนวนมาก และอัดฉีดเงินจ�ำนวน มากเข้าไปพยุงธุรกิจที่ประสบปัญหา ผลก็คือประเทศฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและ สามารถใช้หนีไ้ อเอ็มเอฟได้หมดในเดือนสิงหาคม ๒๕๔๔ แต่เศรษฐกิจของชาติกไ็ ด้ รับผลกระทบจากนโยบายเสรีนยิ มใหม่รวมทัง้ การปลดคนงานออกจ�ำนวนมาก เกิด ความไม่มนั่ คงอย่างสูงในอาชีพการท�ำงาน มีการลดค่าจ้างค่าแรงทีเ่ กิดจากการปรับ โครงสร้างให้เกิดความยืดหยุ่นของแรงงาน รวมทั้งเปิดตลาดหุ้นและบริษัทมหาชน ให้กับนักลงทุนต่างชาติ ทั้งรัฐบาลยังส่งเสริมการใช้บัตรเครดิตอย่างกว้างขวางเพื่อ กระตุน้ การใช้จา่ ยในประเทศ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม และภาระหนีส้ นิ ของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นมากหลังจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ แม้คิมแดจุงจะขึ้นมามี อ�ำนาจด้วยการสนับสนุนของชนชั้นกลางและชนชั้นล่าง แต่การแก้ไขวิกฤตการณ์ เศรษฐกิจของเขายังผลให้ชนชั้นกลางต้องล้มละลายและเพิ่มช่องว่างทางสังคม มากขึ้น รัฐบาลคิมแดจุงได้ผลักดันนโยบายใหม่ทเี่ รียกว่า นโยบายตะวันสาดแสง (Sunshine Policy) เพือ่ หาทางปรองดองกับเกาหลีเหนือ กลุม่ ธุรกิจฮุนไดได้เริม่ จัด ทัวร์เที่ยวภูเขากึมกัง (Geumgang) และคิมแดจุงก็ริเริ่มการจัดประชุมสุดยอดสอง ประเทศเกาหลีครั้งแรกขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๓ แม้จะถูกกดดันจากลุ่ม อนุรกั ษ์นยิ มในประเทศ ในแถลงการณ์ ๑๕ มิถนุ ายนครัง้ ประวัตศิ าตร์นี้ ผูน้ ำ� เกาหลี ทั้งสองประเทศตกลงที่จะแก้ไขปัญหาระหว่างสองประเทศเกาหลีอย่างเป็นอิสระ และหาทางรวมประเทศอย่างสันติโดยผ่านระบบสหพันธรัฐ หลังการประชุมสุดยอด ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเกาหลีกด็ ขี นึ้ อย่างรวดเร็วโดยบางครอบครัวทีแ่ ยก กันอยู่ในสองประเทศนับแต่สงครามเกาหลีก็ได้กลับมาอยู่ร่วมกันอีก และโครงการ เชื่อมทางรถไฟข้ามพรมแดน รัฐบาลยังผ่อนปรนกฎระเบียบที่เกี่ยวกับสินค้าวัฒนธรรม ปูทางให้ กับการเฟื่องฟู ฮัลเลียว (Hallyu) หรือกระแสความนิยมเพลง ละคร ภาพยนตร์ เกาหลี โดยเฉพาะในเอเชี ย นอกจากนี้ ยั ง ส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด อุ ต สาหกรรมไอที (Information Technology) สร้างความเข้มแข็งให้กับขีดความสามารถในการ 140 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
แข่งขันของอุตสาหกรรมเกาหลีในเวลาต่อมา แต่ในด้านการปฏิรูปทางการเมืองมี ความก้าวหน้าน้อยมาก ในการเลือกตัง้ สมาชิกรัฐสภาเดือนเมษายน ๒๕๔๓ ผูส้ มัคร จ�ำนวนมากยังมาจากการเสนอชื่อของผู้มีอ�ำนาจอิทธิพลในพรรค ทั้งการแบ่งแยก เขตอิทธิพลทางการเมืองในเวลาเลือกตัง้ ตามภูมภิ าคต่างๆ ของประเทศมีมากขึน้ ใน ช่วงสุดท้ายของการด�ำรงต�ำแหน่ง คิมแดจุงสูญเสียฐานสนับสนุนทางการเมืองของ เขาไปมากเมื่อเกิดปัญหาคอรัปชั่นมากมายเกี่ยวพันกับคนสนิทและลูกชายของเขา ระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลกทีเ่ กาหลีและญีป่ นุ่ เป็นเจ้าภาพร่วมกันใน เดือนมิถนุ ายน ๒๕๔๕ ชาวเกาหลีตนื่ เต้นประทับใจกับผลงานยอดเยีย่ มของทีมชาติ เกาหลีซึ่งผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศได้ มหกรรมการกีฬาครั้งนี้มีผลสะเทือนต่อ สังคมเกาหลีอย่างมาก เสียงตะโกนเชียร์ “ปีศาจแดง” ดังกระหึ่มไปทั่วเกาหลี และ ค�ำขวัญว่า “แดฮันมินกุก” (สาธารณรัฐเกาหลี) กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ ในเดือนมิถุนายนปีที่มีการเลือกตั้งนั้น เด็กนักเรียนหญิง สองคนเสียชีวติ จากอุบตั เิ หตุรถยนต์ทหารสหรัฐฯ ขับชน ท�ำให้เกิดคลืน่ การประท้วง ด้วยแสงเทียน การชุมนุมประท้วงด้วยการจุดเทียนร�ำลึกครัง้ ใหญ่สดุ เกิดขึน้ ในวันที่ ๔ ธันวาคม ที่ตอนกลางกรุงโซลมีผู้เข้าร่วมถึง ๕๐,๐๐๐ คน ในระหว่างการแข่งขันชิงเป็นตัวแทนพรรคประชาธิปไตยแห่งสหัสวรรษ (Millennium Democratic Party) ฝ่ายรัฐบาลในการเลือกตัง้ ประธานาธิบดีปรากฏ ว่า โรมูฮยุน (Roh Moo-hyun) ผู้สมัครม้ามืดได้รับการคัดเลือกโดยไม่คาดฝัน ใน การเลือกตั้งประธานาธิบดีเดือนธันวาคมนั้น ลีฮอยชาง (Lee Hoi-chang) ตัวแทน พรรคอนุรกั ษ์นยิ มฝ่ายค้านได้รบั การคาดหมายว่าจะชนะการเลือกตัง้ แต่โอกาสของ โรมูฮยุนมีเพิ่มขึ้น เมื่อผู้สมัครอิสระถอนตัวท�ำให้โรมูฮยุนที่มีความคิดเสรีนิยมชนะ การเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดี
รัฐบาลโรมูฮยุน : ผลส�ำเร็จและข้อจ�ำกัดของรัฐบาลที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
การเลือกตัง้ ประธานาธิบดีโรมูฮยุน มีความหมายแตกต่างจากสมัยคิมแดจุง ซึ่งหลังจากที่ลงสมัครแข่งขันกับปักจุงฮีในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี ๒๕๑๔ คิมแดจุงได้กลายเป็นนัการเมืองทีท่ รงอิทธิพลมากทีส่ ดุ แต่โรมูฮยุนไม่คอ่ ยเป็นทีร่ จู้ กั ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 141
ในหมู่ประชาชน ทั้งมีฐานทางการเมืองเล็กกว่าคู่แข่งมาก เมื่อโรมูฮยุนกระโดดลง มาแข่งขันชิงเป็นตัวแทนพรรคก็มีสมาชิกรัฐสภาสนับสนุนเขาเพียงไม่กี่คน สิ่งเดียว ทีส่ าธารณชนรูจ้ กั โรมูฮยุนก็คอื กิจกรรมในฐานะนักสิทธิมนุษยชน การท�ำหน้าทีอ่ ย่าง น่าประทับใจระหว่างการไต่สวนของรัฐสภา และความมุง่ มัน่ ของเขาทีจ่ ะลบล้างการ แบ่งแยกทางการเมืองตามภูมิภาค การขึ้นสู่ต�ำแหน่งประธานาธิบดีของโรมูฮยุน แสดงถึงการเปลีย่ นย้ายกระบวนการทางการเมืองของเกาหลี เป็นการสิน้ สุดยุคสมัย ของการครอบง�ำการเมืองโดยผู้ยิ่งใหญ่ทางการเมืองที่ชื่อคิมทั้งสามคน เมื่อมีฐานทางการเมืองที่เล็กฐานะความเป็นประธานาธิบดีของโรมูฮยุน จึงถูกท้าทายและยากล�ำบากต่อการท�ำงานตั้งแต่เริ่มต้น รัฐบาลโรมูฮยุนต้องเผชิญ กับการท้าทายอย่างหนักจากพรรคอนุรักษ์นิยมฝ่ายค้าน ซึ่งขณะนั้นเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น พรรคชาติทยี่ งิ่ ใหญ่ (Grand National Party) แต่โรมูฮยุนก็สามารถด�ำเนินการ บริหารประเทศได้โดยการสนับสนุนของพรรคเล็กๆ ชือ่ พรรคยูริ (Uri Party) ซึง่ แยก ตัวออกมาจากพรรคประชาธิปไตยแห่งสหัสวรรษ พรรคฝ่ายค้านได้ยนื่ ญัตติถอดถอน ประธานาธิบดี ในข้อหาละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง แต่ผลกลับเป็นตรงกันข้ามเมื่อมี การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาครั้งที่ ๑๗ ปรากฏว่าพรรคยูริฝ่ายรัฐบาลได้รับเสียงข้าง มากอย่างไม่คาดคิด การเลือกตั้งครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นความก้าวหน้าทางการเมือง ด้วย การใช้จ่ายเงินหาเสียงเลือกตั้งอย่างผิดกฎหมายก็ลดน้อยลง พรรคการเมือง ต่างหันมาใช้การลงคะแนนเสียงในพรรคเพื่อเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งแทนที่จะเป็น ผู้น�ำพรรคไม่กี่คนเป็นผู้เลือก ในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญก็มีมติให้ยกค�ำร้องถอดถอน ประธานาธิบดี หลังจากการเลือกตั้งโรมูฮยุนและพรรคยูริได้พยายามผลักดันมาตรการ ปฏิรูปหลายอย่างรวมทั้งยกเลิกกฎหมายความมั่นคง แต่ความพยายามของพวก เขามักจะถูกขัดขวางทัง้ จากการต่อต้านของพวกอนุรกั ษ์นยิ มและการขาดความเป็น เอกภาพในพรรครัฐบาล รัฐบาลยังได้จัดตั้งคณะกรรมการค้นหาความจริงและการ ปรองดอง (Trurh and Reconciliation Commission) เพื่อสอบสวนการสังหาร หมูบ่ นเกาะเจจูทางตอนใต้หลังการปลดแอกในปี ๒๔๘๘ การสังหารพลเรือนในช่วง สงครามเกาหลี และกรณีการเสียชีวติ อย่างเป็นปริศนาและการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในช่วงรัฐบาลเผด็จการที่ผ่านมา รัฐบาลโรมูฮยุนยังได้ท�ำให้หน่วยข่าวกรองกลาง 142 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
อัยการและหน่วยงานอื่นๆ ที่ถูกเคยถูกใช้เป็นเครื่องมือค�้ำจุนอ�ำนาจทางการเมือง มีความเป็นอิสระปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง แม้จะมีความพยายาม ดังกล่าวแต่รัฐบาลโรมูฮยุนยังถูกโจมตีจากผู้สนับสนุนส่วนที่ก้าวหน้า ในกรณีการ ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามอิรัก และการท�ำสัญญาการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา เมื่อโรมูฮยุนเสนอให้มีการจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรรครัฐบาลกับพรรคฝ่ายค้าน เขากลับถูกโจมตีจากทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายก้าวหน้า รัฐบาลโรมูฮยุนได้เพิ่ม งบประมาณทางด้านสวัสดิการสังคมและให้การคุ้มครองผู้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ ได้ แต่ความแตกแยกทางสังคมกลับมีเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่เขาด�ำรงต�ำแหน่ง ในปี ๒๕๕๐ ลีเมียงบัก (Lee Myung-bak) นักธุรกิจอดีตนายกเทศมนตรีนครกรุงโซลได้ รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี และเมื่อเขาเข้ารับต�ำแหน่งตอนต้นปี ๒๕๕๑ เกาหลี ก็ได้เปลีย่ นผ่านอ�ำนาจอย่างสันติอกี ครัง้ หนึง่ จากพรรครัฐบาลมาเป็นพรรคฝ่ายค้าน และจากรัฐบาลฝ่ายก้าวหน้ามาเป็นรัฐบาลฝ่ายอนุรักษ์นิยม ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 143
144 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ภาคที่ บทสรุป
๖
ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 145
ภาคที่
๖
บทสรุป
พัฒนาการอย่างมีพลวัตรของประชาธิปไตยเกาหลี
เกาหลี ไ ด้ บ รรลุ ถึ ง ความเป็ น ประชาธิ ป ไตย โดยผ่ า นการต่ อ สู ้ ข อง ประชาชนอย่างยาวนานถึงสามทศวรรษ นับแต่การปฏิวัติเดือนเมษายน ๒๕๐๓ จนถึงการลุกขึ้นสู้เดือนเมษายน ๒๕๓๐ ในช่วงเดียวกันนี้เศรษฐกิจของประเทศก็ เติบโตก้าวหน้าอย่างใหญ่หลวง หลังการปลดแอกในปี ๒๔๘๘ เกาหลีตอ้ งเผชิญกับความทุกข์ยากล�ำบาก จากความแตกแยกในชาติ สงครามเกาหลีและการปกครองอย่างแข็งกร้าวของ เผด็จการซิงมันรี ประชาชนต้องต่อสู้ดิ้นรนในภาวะยากจนข้นแค้นและท่ามกลาง การครอบง�ำของอุดมการณ์ตอ่ ต้านคอมมิวนิสต์ ประชาชนไม่อาจจะทนอยูใ่ ต้รฐั บาล ที่ไร้ประสิทธิภาพและคอรัปชั่นในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๕๐ (๒๔๙๓-๒๕๐๒) ได้ เมื่อ ซิงมันรีพยายามที่จะยืดระยะเวลาครองอ�ำนาจต่อไปอีก โดยการโกงการเลือกตั้งปี ๒๕๐๓ ประชาชนก็ระเบิดความโกรธแค้นออกมาเป็นการลุกขึ้นสู้ของประชาชนซึ่ง ก็แสดงถึงความเหลืออดของประชาชนที่โหยหาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งไม่อาจ เป็นไปได้ด้วยความอ่อนด้อยประสิทธิภาพของรัฐบาล ความยากจนเป็นปัญหาใหญ่ของคนเกาหลีในเวลานัน้ ทัง้ รัฐบาลจังเมียน ซึ่งตั้งขึ้นภายหลังการปฏิวัติเดือนเมษายน ๒๕๐๓ และรัฐบาลปักจุงฮีซึ่งยึดอ�ำนาจ โดยการรัฐประหาร ๒๕๐๔ ได้ให้ความส�ำคัญกับนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจ การที่ รัฐบาลปักจุงฮีมเี สถียรภาพในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๖๐ (๒๕๐๓-๒๕๑๒) ก็เนือ่ งมาจาก 146 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่การพัฒนาเศรษฐกิจนี้ต้องแลก มาด้วยการเสียสละของคนงาน เกษตรกร คนจนเมือง จนกระทั่งเกิดการประท้วง ต่อต้านในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๗๐ (๒๕๑๓-๒๕๒๒) อันแสดงออกอย่างเหตุการณ์ ประท้วงการไล่ทใี่ นเมืองกวางจู และการฆ่าตัวตายประท้วงของชุนแตอิล ขบวนการ ประชาธิปไตยในทศวรรษที่ ๑๙๗๐ (๒๕๑๓-๒๕๒๒) ได้เริ่มเชื่อมโยงกับปัญหาชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนคนธรรมดาสามัญ ทั้งปัญญาชนและนักศึกษาได้จับมือ เป็นพันธมิตรกับชนชั้นคนงานเพื่อต่อสู้กับเผด็จการและบริษัทขนาดใหญ่ ภายใต้ การปกครองอย่างกดขี่ของระบอบยูชิน นักศึกษา ปัญญาชน คนงานและเกษตรกร จ�ำนวนนับไม่ถว้ นถูกจับกุมคุมขังและไล่ออก และจ�ำนวนไม่นอ้ ยก็ถกู สังหารเสียชีวติ ในขณะที่เผชิญกับการต่อต้านอย่างเข้มแข็ง รัฐบาลปักจุงฮีก็ล้มลงโดยกระทันหัน จากความขัดแย้งภายใน หากแต่สงิ่ ทีต่ ามมามิใช่เป็นประชาธิปไตย แต่เป็นเผด็จการ ทหารอีกชุดหนึ่ง ชุนดูฮวานและคณะทหารชุดใหม่ที่มีความทะเยอทะยานทางการ เมืองได้ยึดอ�ำนาจโดยการก่อกบฏในกองทัพและการสังหารหมู่ประชาชนอย่าง นองเลือดในเหตุการณ์กวางจู นับแต่วนั แรกทีด่ ำ� รงต�ำแหน่งประธานาธิบดีชนุ ดูฮวาน ก็ต้องเผชิญกับการต่อต้านคัดค้านอย่างหนักหน่วง ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ (๒๕๒๓-๒๕๓๒) ขบวนการประชาธิปไตย มีพัฒนาการที่ก้าวหน้าอย่างมาก ปริมณฑลการเคลื่อนไหวได้ขยายไปจากเรื่อง การเมืองและเศรษฐกิจสู่ประเด็นปัญหาความเป็นเอกราชของชาติ และการรวม ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 147
เป็นประเทศเดียวในคาบสมุทรเกาหลี นักกิจกรรมนักเคลือ่ นไหวเพือ่ ประชาธิปไตย ต่ างเชื่ อว่ า สหรั ฐ อเมริก าต้องรับ ผิดชอบต่อการท�ำ รัฐ ประหารของคณะทหาร และการปราบปรามประชาชนเมืองกวางจู ยังผลให้เกิดความส�ำนึกว่าความเป็น ประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปัญหาเอกราชของชาติซึ่งไม่อาจแยกออก จากความส�ำเร็จในการยุติการแบ่งแยกภายในชาติ พั ฒ นาการของขบวนการประชาธิ ป ไตยเป็ น ผลมาจากการสรุ ป บท เรียนจากความล้มเหลวของการลุกขึ้นสู้ของประชาชนเมืองกวางจู บทเรียนแรก คือ การต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวในพื้นที่เดียวไม่อาจจะเอาชนะก�ำลังอันแข็งแกร่งของ เผด็จการทหารได้ ด้วยเหตุนกี้ ารต่อสูเ้ พือ่ ประชาธิปไตยต้องด�ำเนินไปทัว่ ทัง้ ประเทศ บทเรียนที่สองคือ ประชาชนพลเมืองทุกชั้นชนต้องเข้าร่วมการต่อสู้ ดังนั้นประเด็น ข้อเรียกร้องของขบวนการประชาธิปไตยต้องเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางของ ประชาชน บทเรียนอันมีค่านี้น�ำไปสู่ชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่ในเหตุการณ์การลุกขึ้นสู้ เดือนมิถุนายน ๒๕๓๐ ด้วยกลุ่มพลังประชาธิปไตยสามารถผนึกก�ำลังประชาชน กลุ่มต่างๆ น�ำการต่อสู้โดยผ่านศูนย์บัญชาการการเคลื่อนไหวแห่งชาติ (National Movement Headquarters) ชัยชนะครั้งนี้ได้สร้างระบบการเมืองที่ไม่อาจจะมี ใครยึดอ�ำนาจได้โดยไม่ผา่ นการเลือกตัง้ ทีเ่ ป็นประชาธิปไตย และการท�ำรัฐประหาร ของทหารจะไม่มีทางประสบความส�ำเร็จอีกต่อไป นั บ แต่ ก ารลุ ก ขึ้ น สู ้ เ ดื อ นมิ ถุ น ายนเป็ น ต้ น มาได้ มี ก ารเลื อ กตั้ ง ประธานาธิบดีแล้ว ๕ ครั้ง รัฐบาลโรแตวูโดยเนื้อแท้ก็เป็นความสืบเนื่องของรัฐบาล ชุนดูฮวาน แต่กระนั้นก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะไม่ด�ำเนินมาตรการปฏิรูปบางอย่าง ได้ คิมยังซัมเข้าร่วมกับรัฐบาลโรแตวูโดยการรวมพรรคสามพรรคเข้าด้วยกันและ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี ครั้งถัดมากลายเป็นประธานาธิบดีพลเรือนคนแรก นับแต่ปี ๒๕๐๔ เป็นต้นมา เขาได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเมื่อพยายามลด อ�ำนาจกองทัพลง และผลักดันการปฏิรูปหลายอย่างรวมทั้งการก�ำหนดให้ธุรกรรม การเงินต้องใช้ชื่อจริงเท่านั้น แต่ข้อจ�ำกัดภายในของรัฐบาลคิมยังซัมซึ่งต้องพึ่งพิง การสนับสนุนของฝ่ายอนุรักษ์นิยมท�ำให้เกิดความแตกแยกภายในฝ่ายรัฐบาล ใน ช่วงครึ่งหลังของวาระการด�ำรงต�ำแหน่งประธานาธิบดีซึ่งจบลงด้วยวิกฤตการณ์ เศรษฐกิจที่ร้ายแรงที่สุด 148 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
การขึน้ ด�ำรงต�ำแหน่งประธานาธิบดีของคิมแดจุง แสดงให้เห็นการเปลีย่ น ผ่านอ�ำนาจจากฝ่ายรัฐบาลมาเป็นฝ่ายค้านอย่างสันติเป็นครัง้ แรก แม้วา่ คิมแดจุงจะ จับมือเป็นพันธมิตรกับคิมจองปิลผู้น�ำส�ำคัญในการท�ำรัฐประหารปี ๒๕๐๔ เพื่อให้ สามารถช่วงชิงชัยชนะในการเลือกตั้ง แต่การเป็นประธานาธิบดีของคิมแดจุงนั้นมี ความหมายต่อประชาธิปไตยอย่างมาก รัฐบาลของเขาสามารถแก้ไขปัญหาวิกฤต เศรษฐกิจได้และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเกาหลีเหนือ เมื่อมีการประชุมสุดยอด สองผูน้ ำ� ประเทศเกาหลี แต่มาตรการนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนยิ มใหม่ของรัฐบาล ที่มุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจได้สร้างช่องว่างความแตกต่างทางสังคมมากขึ้น ตลอดจนกรณี การคอรัปชัน่ ทีเ่ กีย่ วพันกับผูใ้ กล้ชดิ ประธานาธิบดีได้บนั่ ทอนความเป็นผูน้ ำ� ของเขา ในช่วงครึ่งหลังของการด�ำรงต�ำแหน่ง รัฐบาลโรมูฮยุนที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นสัญลักษณ์ของ การสิ้นสุดยุคสมัยของสามคิม (คิมยังซัม คิมแดจุง คิมจองปิล) ซึ่งครอบง�ำการเมือง มานานหลายทศวรรษ โรมูฮยุนได้ล้มเลิกการปกครองแบบเผด็จการลงหมดและ สร้างความเป็นผูน้ ำ� แบบใหม่ทแี่ ตกต่างจากการเป็นประธานาธิบดีแบบจักรพรรดิใน ยุคสมัยของสามคิม รัฐบาลโรมูฮยุนก�ำหนดบทบาทตนเองว่าเป็นผูช้ ำ� ระล้างสิง่ ตกค้าง จากระบอบเก่าและเปิดศักราชของการเมืองแบบใหม่ แต่การรุกอย่างต่อเนื่องจาก ทัง้ ฝ่ายอนุรกั ษ์นยิ มและฝ่ายก้าวหน้าท�ำให้รฐั บาลโรมูฮยุนมีโอกาสจะท�ำตามนโยบาย ที่ประกาศได้น้อย ฝ่ายก้าวหน้ามีความโกรธแค้นกับการส่งทหารเกาหลีไปร่วมรบ ที่อิรักและการท�ำสัญญาการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ความพยายามของ รัฐบาลทีจ่ ะยกเลิกกฎหมายความมัน่ คงและสอบสวนกรณีการเสียชีวติ ทีเ่ ป็นปริศนา ในช่วงเผด็จการที่ผ่านมาก็ถูกคัดค้านต่อต้านอย่างมากจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม การ เลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ได้ ลีเมียงบัก (Lee Myung-bak) เป็นประธานาธิบดีเป็นการ แสดงให้เห็นอีกครั้งหนึ่งถึงการเปลี่ยนผ่านอ�ำนาจจากฝ่ายรัฐบาลมาเป็นฝ่ายค้าน อย่างสันติ ห้าสิบปีหลังจากการปฏิวัติเดือนเมษายนและกว่ายี่สิบปีหลังจากการ ลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายน ในที่สุดประชาธิปไตยก็หยั่งรากลึกลงในสังคมได้อย่าง มั่นคง การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐซึ่งเคยเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในสมัยรัฐบาล ปักจุงฮีและชุนดูฮวานก็ลดลงอย่างเห็นได้ชดั อิทธิพลของกลุม่ ธุรกิจใหญ่แชโบลทีเ่ คย ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 149
ครอบง�ำการเมือง โดยผ่านการบริจาคเงินให้นักการเมืองชั้นน�ำก็ลดลงในสมัยของ ประธานาธิบดีคิมยังซัม คิมแดจุงและโรมูฮยุนจนเกือบจะหมดไปในปัจจุบัน ระบบ การเมืองดัง้ เดิมทีต่ งั้ อยูบ่ นฐานของความสัมพันธ์สว่ นตัวระหว่างกลุม่ การเมือง ธุรกิจ ใหญ่ และสื่อมวลชนก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย แต่สังคมเกาหลียังคงเผชิญกับปัญหาที่ คุกคามประชาธิปไตยที่ยังแก้ไม่ตก ปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ความ สัมพันธ์อย่างสงบสันติระหว่างเกาหลีสองประเทศ และการรวมประเทศ หนทางไปสู่ ความส�ำเร็จในการสร้างประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจสังคม โดยยกระดับคุณภาพชีวติ ของคนรากหญ้ายังอีกยาวไกล ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเกาหลียงั มี ความยุง่ ยากรออยู่ เมือ่ ต่อยอดจากผลส�ำเร็จทีเ่ กิดขึน้ เกาหลีตอ้ งส่งเสริมการพัฒนา ประชาธิปไตยอย่างมีคุณภาพ ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานโดย ผสมผสานการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการกระจายรายได้อย่างสมดุล และส่งเสริม การสร้างความไว้วางใจ การแลกเปลี่ยน การร่วมมือระหว่างสองประเทศเกาหลี อันจะน�ำไปสู่การรวมประเทศ มีแต่กระท�ำเช่นนี้เกาหลีจึงจะสร้างคุณูปการต่อ สันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของทั้งโลกในฐานะที่เป็นสมาชิกของ ประชาคมโลกในศตวรรษที่ ๒๑
ความท้าทายของประชาธิปไตยเกาหลี
ขบวนการประชาธิปไตยเกาหลีก่อนจะถึงจุดเปลี่ยนไปสู่ประชาธิปไตย ในปี ๒๕๓๐ มีลักษณะดังต่อไปนี้ ประการแรก ในแง่ของการจัดตัง้ การเคลือ่ นไหวเพือ่ ประชาธิปไตยเกาหลี เกิดขึน้ จากพันธมิตรระหว่างกลุม่ องค์กรต่างๆ ทีห่ ลากหลายมากกว่าจะเป็นองค์กร เดียวหรือชนชั้นเดียว กลุ่มองค์กรที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรสามารถรักษาความเป็น เอกภาพของตนเองในระดับหนึ่งได้ ด้วยความปรารถนาและความุ่งมั่นในคุณค่า ประชาธิปไตย พันธมิตรขององค์กรประชาธิปไตยนีป้ ระกอบด้วยนักศึกษา กลุม่ สิทธิ พลเมือง กลุม่ ศาสนาและภาคประชาสังคม หลังจากการเลือกตัง้ สมาชิกรัฐสภาในปี ๒๕๒๘ พรรคการเมืองฝ่ายค้านได้มาเข้าร่วมเป็นผลให้มีการจัดตั้งองค์กรพันธมิตร ของกลุ่มพลังประชาธิปไตยที่ใหญ่โตที่สุด ก่อนหน้าการลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายน 150 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ประการที่ ส อง การเคลื่ อ นไหวที่ น� ำ โดยกลุ ่ ม พลั ง ประชาธิ ป ไตยใน สถานการณ์ปกติจะพัฒนาไปเป็นการต่อสู้ของประชาชนพลเมืองขนาดใหญ่ได้เมื่อ เกิดวิกฤตการณ์ส�ำคัญ ดังจะเห็นได้จากการปฏิวัติเดือนเมษายนปี ๒๕๐๓ และ การลุกขึ้นสู้ของประชาชนเมืองกวางจูในเหตุการณ์ ๑๘ พฤษภาคมปี ๒๕๒๓ และ การลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายนปี ๒๕๓๐ การเคลื่อนไหวต่อต้านเผด็จการของกลุ่มพลัง ประชาธิปไตยเหล่านีไ้ ด้บนั่ ทอนอ�ำนาจและน�ำไปสูก่ ารโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการหลาย ชุด แต่ชัยชนะของพลังประชาธิปไตยก็ถูกปล้นไปโดยการรัฐประหารของทหาร จนกระทั่งเมื่อมีการลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายนปี ๒๕๓๐ ซึ่งประชาชนพลเมืองหลาย ล้านคน เข้าร่วมท�ำให้สายธารประชาธิปไตยไม่อาจหวนกลับคืนอีกได้และแผ้วถาง ทางไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปเป็นประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง สภาวะแวดล้อมทางการเมืองได้เปลีย่ นแปลงอย่างส�ำคัญหลังจุดเปลีย่ น ไปสู่ประชาธิปไตยปี ๒๕๓๐ การแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี ๒๕๓๐ ได้ท�ำให้ระบอบ รัฐธรรมนูญกลับเข้าสู่ภาวะปรกติ ดังนั้นการใช้อ�ำนาจรัฐตามอ�ำเภอใจก็มีน้อยลง อย่างมาก กลุ่มสิทธิพลเมืองและประชาสังคมที่พ้นจากการกดขี่ปราบปรามของ เผด็จการก็หันไปให้ความส�ำคัญกับประเด็นการพัฒนาสังคมตามปรกติ และแม้ว่า ความคิดแบบภูมภิ าคนิยมจะยังคงหลงเหลืออยูแ่ ต่การด�ำเนินการของพรรคการเมือง โดยทั่วไปจะแสวงหาการสนับสนุนจากสาธารณชนอย่างกว้างขวาง ภาคประชา สังคมสามารถฟืน้ ความเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเองเกิดการรวมกลุม่ จัดตัง้ เป็นองค์กร และขบวนการมากมาย นับแต่เหตุการณ์ปี ๒๕๓๐ เป็นต้นมา เรามิอาจมองปัญหาความขัดแย้ง และการปะทะทางสังคมในกรอบเดียว คือประชาธิปไตยกับเผด็จการได้อีกต่อไป หากแต่ตอ้ งมองในหลายกรอบหลายมิติ ขบวนการประชาธิปไตยซึง่ สะท้อนถึงความ เปลีย่ นแปลงในสังคมก็มคี วามหลากหลายเช่นกัน ความเปลีย่ นแปลงทีเ่ ห็นได้ชดั คือ การเกิดขึ้นของกลุ่มประชาสังคมต่างๆ อย่างมากมายโดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๙๐ ซึง่ ก่อนหน้าปี ๒๕๓๐ นัน้ ไม่เคยมีในเกาหลี ในปี ๒๕๓๒ มีการจัดตัง้ แนวร่วม พลเมืองเพื่อความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ ตามมาด้วยการจัดตั้งสหพันธ์ขบวนการ สิง่ แวดล้อมเกาหลีในปี ๒๕๓๖ และขบวนการผนึกก�ำลังประชาชนเพือ่ ประชาธิปไตย แบบมีสว่ นร่วมในปี ๒๕๓๗ กลุม่ องค์กรภาคประชาสังคมขยายตัวไปทัว่ ทุกภาคส่วน ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 151
กลายเป็นพลังเกิดใหม่ที่มีชีวิตชีวาในสังคม รายงานการส�ำรวจในปี ๒๕๔๙ แสดง จ�ำนวนองค์กรภาคประชาสังคมในเกาหลีได้เพิ่มขึ้นจาก ๑,๒๓๕ แห่งในปี ๒๕๔๒ เป็น ๓,๙๓๗ แห่งในปี ๒๕๔๕ และ ๕,๕๕๖ แห่งในปี ๒๕๔๘ ขบวนการประชาชนแต่ดั้งเดิมที่น�ำโดยสหภาพแรงงานก็ขยายตัวเติบ ใหญ่ดว้ ยเช่นกัน ขบวนการแรงงานได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วภายหลังเหตุการณ์การลุก ขึน้ สูเ้ ดือนมิถนุ ายนและการเคลือ่ นไหวประท้วงต่อสูข้ องผูใ้ ช้แรงงานทีเ่ กิดขึน้ ต่อมา จ�ำนวนสหภาพแรงงานได้เพิ่มจ�ำนวนเป็นสามเท่าจาก ๒,๖๗๕ แห่งในปี ๒๕๓๙ เป็น ๗,๘๘๓ แห่งในปี ๒๕๓๒ จ�ำนวนสมาชิกสหภาพแรงงานก็เพิ่มขึ้นจาก ๑.๐๓๖ ล้านคนเป็น ๑.๙๓๒ คนในช่วงเวลาเดียวกัน แม้จะเกิดความเป็นประชาธิปไตย แล้วแต่กิจกรรมของสหภาพแรงงานก็ยังถูกจ�ำกัดควบคุมโดยรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ขบวนการสหภาพแรงงานทีก่ า้ วหน้าก็เติบโตขยายตัวจนเกิดการจัดตัง้ เป็นสมาพันธ์ สหภาพแรงงานเกาหลี (Korean Confederation of Trade Unions) ที่มีสมาชิก ๔๒๐,๐๐๐ คนในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๘ สมาพันธ์สหภาพแรงงานเกาหลี (KCTU) ทีค่ อ่ นข้างก้าวหน้า และสหพันธ์ สหภาพแรงงานเกาหลีที่เป็นสายกลาง (Federation of Korean Trade Unions) ได้กลายเป็นสองเสาหลักของขบวนการแรงงานเกาหลี ในท่ามกลางการต่อสูก้ บั การ ปราบปรามของรัฐบาล ขบวนการแรงงานได้เริ่มมีความส�ำนึกทางการเมืองมากขึ้น และเริ่มด�ำเนินการจัดตั้งพรรคการเมืองที่ก้าวหน้าที่เป็นอิสระปี ๒๕๔๓ ก็มีการ จัดตั้งพรรคแรงงานประชาธิปไตยขึ้นและได้รับเสียงสนับสนุนถึงเกือบ ๑ ล้านเสียง ในการเลือกตัง้ ประธานาธิบดีปี ๒๕๔๕ และสามารถมีทนี่ งั่ ในรัฐสภาแห่งชาติในการ เลือกตั้งปี ๒๕๔๗ ได้ ขบวนการชาวไร่ชาวนาก็มีความก้าวหน้าอย่างมากเมื่อมีการจัดตั้ง สหพันธ์สมาคมเกษตรกรแห่งชาติในเดือนเมษายนปี ๒๕๓๓ นอกจากนีก้ ลุม่ องค์กร ขบวนการทางสังคมอื่นๆ ก็เกิดขึ้นและเติบใหญ่เข้มแข็งและมีทิศทางการเมืองที่ แจ่มชัด เช่น สหภาพแรงงานครู กลุ่มคนจนในเมือง พร้อมกันนั้น กลุ่มพลังประชาธิปไตย็ได้พัฒนาเป็นขบวนการเรียก ร้องการรวมประเทศ เมื่อสงครามเย็นใกล้จะสิ้นสุดลงและรัฐบาลโรแตวูพยายาม ปรับปรุงความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ รัสเซีย และจีน กลุ่มชาตินิยมในขบวนการ 152 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ประชาธิปไตยพยายามที่จะเรียกร้องให้มีการรวมประเทศอย่างเป็นอิสระและเกิด การปรองดองกับเกาหลีเหนือ ปี ๒๕๓๒ บาทหลวงมุนอิกฮวานซึง่ เป็นผูน้ �ำขบวนการ ประชาธิปไตยคนหนึง่ ได้ไปเยือนกรุงเปียงยางเมืองหลวงของเกาหลีเหนือ และอิมซูเกียง (Im Su-kyung) นักศึกษามหาวิทยาลัยได้ไปร่วมงานเทศกาลนักศึกษาเยาวชนโลกที่ จัดขึน้ ทีเ่ มืองหลวงเกาหลีเหนือในฐานะตัวแทนของสภาผูแ้ ทนนักศึกษามหาวิทยาลัย แห่งชาติ การเดินทางไปเกาหลีเหนือโดยไม่ได้รบั อนุญาตของคนทัง้ สองก่อให้เกิดการ คุกคามจับกุมนักกิจกรรมหลายคน แต่ก็สร้างความสนใจในขบวนการเรียกร้องการ รวมประเทศและพัฒนาขบวนการสันติภาพให้ก้าวหน้าไปอีก ช่วงเวลานี้ยังเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญในขบวนการประชาธิปไตย ส่ ว นที่ เ ป็ น พลั ง น� ำ ที่ ส� ำ คั ญ คื อ นั ก กิ จ กรรมนั ก ศึ ก ษาซึ่ ง เป็ น ผู ้ น� ำ ขบวนการ ประชาธิปไตยมาตั้งแต่เริ่มต้นได้ลดบทบาทลงและเปลี่ยนมาเป็นกลุ่มองค์กรภาค ประชาสังคมและขบวนการแรงงานทีม่ บี ทบาทน�ำแทน โดยกลุม่ องค์กรภาคประชา สังคมมีบทบาทส�ำคัญในการปฏิรปู การเมืองและการเปลีย่ นผ่านมาสูป่ ระชาธิปไตย หลังปี ๒๕๓๐ และขบวนการแรงงานที่น�ำโดยคนงานและเกษตรกรเป็นพลังหลัก ในการสร้างประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคม ประชาธิปไตยของเกาหลีและขบวนการประชาธิปไตยในประเทศนีก้ ำ� ลัง จะเผชิญกับจุดเปลี่ยนส�ำคัญอีกครั้งหนึ่ง ประการแรก ขบวนการประชาธิปไตยเกาหลีมีความโดดเด่นที่ความ เข้มข้นและความต่อเนื่อง ขบวนการประชาธิปไตยได้ต่อสู้อย่างไม่หยุดยั้งนับแต่ ประเทศตกอยูภ่ ายใต้การปกครองของเผด็จการและมักจะน�ำมาซึง่ เหตุการณ์สำ� คัญ เช่น การปฏิวตั เิ ดือนเมษายน ๒๕๐๓ การลุกขึน้ สูข้ องประชาชนเมืองกวางจูในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๒๓ และการลุกขึ้นสู้เดือนมิถุนายน ๒๕๓๐ ในช่วงการปกครอง ของเผด็จการทีผ่ า่ นมานักประชาธิปไตยนับร้อยนับพันได้ถกู จับกุมทุกปีเพิง่ จะมาลด ลงเมื่อมีรัฐบาลพลเรือนประชาธิปไตยหลังปี ๒๕๓๐ แต่กระนั้นประชาชนจ�ำนวน มากยังคงถูกคุมขังด้วยเหตุที่ต่อสู้เพื่อวิถีชีวิตและสิทธิประชาธิปไตยของตน ประการทีส่ อง ขบวนการประชาธิปไตยเกาหลียดึ ถือแนวทางสันติอหิงสา โดยส่วนใหญ่ เป็นความจริงที่ว่า นักเคลื่อนไหวบางคนใช้ระเบิดเพลิงและท่อน เหล็กเพื่อต่อสู้ต้านทานการปราบปรามอย่างรุนแรงของต�ำรวจ พลเมืองชาวกวางจู ลีเมียงซิก (Myung-sik Lee) 153
ได้จับอาวุธขึ้นต่อสู้กับก�ำลังทหารอาวุธครบมือในปี ๒๕๒๓ แต่กรณีเหล่านี้เป็นข้อ ยกเว้นและเกิดขึ้นเพื่อต่อต้านการใช้ความรุนแรงอย่างโหดเหี้ยมของรัฐเผด็จการ ในสถานการณ์ทคี่ บั ขันอย่างมากบางครัง้ นักเคลือ่ นไหวเพือ่ ประชาธิปไตยเกาหลีได้ เลือกหนทางต่อสู้โดยไม่ใช้ความรุนแรง และยังใช้วิธีการเสียสละตนเอง เช่น การฆ่า ตัวตาย ประเพณีการต่อสูโ้ ดยไม่ใช้ความรุนแรงนีย้ งั คงสืบเนือ่ งมาถึงการเคลือ่ นไหว ประท้วงด้วยแสงเทียนซึ่งกลายเป็นรูปแบบการต่อสู้ที่นิยมใช้ตั้งแต่ต้นทศวรรษนี้ ประการที่ ส าม บทบาทการน� ำ ของนั ก ศึ ก ษาในการจุ ด กระแสการ เคลื่อนไหวก็เป็นลักษณะส�ำคัญของขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี ตลอดช่วงสาม ทศวรรษของประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยเกาหลีนี้ (๑๙๗๐-๒๐๐๐) ขบวนการ ประชาธิปไตยส่วนใหญ่เกิดขึ้นและน�ำโดยนักกิจกรรมนักศึกษาที่เพิ่งจะมาลดลง หลังปี ๒๕๓๐ เป็นต้นมา มีนักศึกษาที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมากกว่า ๑๔,๐๐๐ คนถูกจับกุม ประชาธิ ป ไตยเกาหลี ไ ด้ ก ้ า วหน้ า ไปอย่ า งมากเมื่ อ มี ก ารปฏิ รู ป ภาย ใต้รัฐบาลเสรีนิยมสองชุด รัฐบาลคิมแดจุงประกาศใช้นโยบายตะวันสาดแสง (Sunshine Policy) ซึง่ ไม่เพียงแต่จะช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ เกาหลีแต่ยงั ช่วยขจัดความรูส้ กึ ต่อต้านคอมมิวนิสต์ในสังคมเกาหลีให้หมดไปอีกด้วย รัฐบาลโรมูฮยุนยังได้ด�ำเนินการปฏิรูปขนานใหญ่ที่ช่วยขจัดซากเผด็จการในระบบ การเมืองและระบบราชการ ในแง่นี้ประเทศชาติได้ผ่านพ้นขั้นตอนส�ำคัญของการ พัฒนาประชาธิปไตยทั้งทางการเมืองและทางการสร้างความเป็นสถาบัน ทว่ า ประชาธิ ป ไตยทางด้ า นเศรษฐกิ จ สั ง คมยั ง คงอยู ่ ใ นขั้ น เริ่ ม ต้ น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดรับกระแสโลกาภิวัตน์อย่างไม่ลืมหูลืมตาได้เพิ่มช่องว่าง ระหว่างคนรวยกับคนจนให้มากขึ้นและน�ำไปสู่คุณภาพชีวิตของสังคมที่เลวร้ายยิ่ง ขึน้ ยิง่ เกาหลีมรี ะบบสวัสดิการทีอ่ อ่ นด้อยจึงมิใช่เรือ่ งง่ายทีจ่ ะพัฒนาประชาธิปไตย ทางเศรษฐกิจสังคมให้ก้าวหน้าได้ในเวลาอันสั้น อย่างไรก็ดีเป้าหมายนี้จะบรรลุได้ ก็ด้วยระบบการเมืองและสถาบันที่เป็นประชาธิปไตย ดังนั้นผลส�ำเร็จดังกล่าวจะ เป็นเรื่องส�ำคัญของประเทศเกาหลีที่จะต้องพยายามท�ำให้ได้ในอนาคตของการ สร้างเสริมและวางรากฐานประชาธิปไตยที่สมบูรณ์. 154 ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
“เพื่อลบรอยคราบน�ำ้ ตาประชาราษฎร์ สักพันชาติจักสู้ม้วยด้วยหฤหรรษ์ แม้นชีพใหม่มีเหมือนหวังอีกครั้งครัน จักน้อมพลีชีพนั้นเพื่อมวลชน” โดย อาเวตีก อีสากยัน (Awetik Issaakjan) กวีประชาชนชาวอาร์เมเนีย แปลโดย ศรีนาคร (จิตร ภูมิศักดิ์) “To banish the trace of a tear from eyes; A thousand deaths would I gladly die; If one more life were granted me; I’d spend that life in serving thee.” By Awetik Issaakjan
หนั ง สื อ เล่ ม นี้ จ ะฉายภาพให้ เ ห็ น ถึ ง ความจ� ำ เป็ น ทาง ประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในเกาหลี โดยล�ำดับเหตุการณ์ที่เป็นพัฒนาการส�ำคัญ ในแต่ละช่วง และข้อเท็จจริงทางประวัตศิ าสตร์ทอี่ ยู่ เบือ้ งหลังเหตุการณ์ เหล่านัน้ รวมทัง้ จะอธิบายถึงทัง้ ผลส�ำเร็จและข้อจ�ำกัดของ การพัฒนาประชาธิปไตยในช่วงก่อนปี ๒๕๓๐ ตลอดจน ความท้าทายในอนาคตทีเ่ ผชิญหน้าประชาธิปไตยในเกาหลี
จัดพิมพ์โดย สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย 273/11 ซ.พงษ์เพชรนิเวศน์ ถ.ประชาชื่น แขวง/เขต จตุจักร กทม. 10900
ประวัติขบวนการประชาธิปไตยเกาหลี
ราคา 160 บาท