Weekly Brief_15 Nov - 21 Nov 11_Issue 42

Page 1

TFPA Trade & Technical

WEEKLY BRIEF

Vol. 2

issue 42

15 Nov - 21 Nov 2011

Thai Food Processors’ Association Pineapple

RASFF (Rapid Alerts System for Food and Feed) Week46 : 14-20 Nov 2011

Sweet Corn

แนวโน้ ม การส่ ง ออกอาหารทะเล เวี ย ดนามปี 2554

Tuna Seafood Fruits&Vegetables

คลอด5แผนฟื ้ น เกษตรกรน�้ ำ ท่ ว ม ยั น ข่ า วเหตุ น�้ ำ ท่ ว มท� ำ อี ยู แ ละสหรั ฐ ฯ เข้ ม งวดสิ น ค้ า อาหารจากไทยโคมลอย ธปท.เตื อ นรั บ มื อ บาทผั น ผวนหนั ก เงิ น เคลมน�้ ำ ท่ ว มไหลเข้ า พาณิ ช ย์ เ ร่ ง ฟื ้ น ฟู ส ่ ง ออก

Food Ingredient&Ready-to-Eat

www.thaifood.org


Contents Contents

TFPA Trade & Technical

WEEKLY BRIEF 15 Nov - 21 Nov 2011

ด้านมาตรฐานและความปลอดภัยอาหาร 03 3 สถานการณ์ • RASFF (Rapid Alerts System for Food and Feed) Week46 : 14-20 Nov 2011 4• 4• 5• 5• 6• 7•

ค�ำแปลไม่เป็นทางการของร่างมาตรฐานการตรวจจุลชีพและฆ่าเชื้อเชิงการค้าในอาหารกระป๋องของจีน มะกันยกเลิกก�ำหนดค่า MRL ของสาร Psuedomonas fluorescens Strain CL145A อียูก�ำหนดค่า MRL EFSA ชี้ พบสารฆ่าแมลงผิดกฎหมายในอาหารอียูน้อยลง อียูไฟเขียวสารให้ความหวาน stevia อียูแก้ไขระเบียบ MRLs สาร PAHs ในอาหาร

ด้านประมง 08 8 สถานการณ์ • แนวโน้มการส่งออกอาหารทะเลเวียดนามปี 2554

WEEKLY BRIEF

Vol. 2 Issue 42

สถานการณ์ด้านมาตรฐานและความปลอดภัยอาหาร RASFF (Rapid Alerts System for Food and Feed) Week46 : 14-20 Nov 2011 จากการแจ้งเตือน RASFF week 46 พบสินค้าที่มีปัญหาจากไทย 3 รายการ ได้แก่ 1) พบปัญหาเรื่องสุขลักษณะ ในสินค้า chicken kebub 2) พบเชื้อ Samonella ในสินค้า morning glory 3) พบเชื้อ Samonella corvallis ในสินค้าผักชีสด

10 • 10 อันดับอาหารทะเลได้รับความนิยมสูงสุดในสหรัฐฯ

ด้านเกษตร 11 11 สถานการณ์ • คาดปริมาณผลิตน�้ำตาลจีนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

12 • เกษตรฯวอนซื้อนมUHTบริจาค ช่วยเกษตรกรระบายน�้ำนมโค 12 • คลอด5แผนฟื้นเกษตรกรน�้ำท่วม 14 • จี้รัฐแก้ปัญหาราคายาง เกษตรกรโอดราคาลดลงกว่า100%ขายได้จริงกก.ละ60บาท

นโยบายครม.ชุดใหม่ และประเด็นน�้ำท่วม 15 15 สถานการณ์ • กู้แฟคตอรี่แลนด์ข่าวดี 12 โรงงานเริ่มผลิต โรจนะ-บางปะอิน-ไฮเทค เดินเครื่องสูบน�้ำ 25 พ.ย. 16 • ชงชะลอขึ้นค่าแรง 300 บาท สภาตลาดทุนเสนอโรดแมปแก้ปัญหาน�้ำซัด 18 • ยันข่าวเหตุน�้ำท่วมท�ำอียูและสหรัฐฯ เข้มงวดสินค้าอาหารจากไทยโคมลอย 18 • บางชัน-ลาดกระบังรอด กระทรวงอุตฯไม่หวั่นทะลักอีกก้อน 20 • คลังเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ 4.5 หมื่นล. 7 กระทรวงเสนอ 21 พ.ย.นี้พาณิชย์นัดถก 169 สมาคม

ที่มา : https://webgate.ec.europa.eu/rasff-window/portal/index.cfm?event=searchResultList

ด้านการค้า 22 22 สถานการณ์ • คลังอนุมัติเอกชน ตั้งกองทุนฟื้นฟูฯ

22 • ธปท.เตือนรับมือบาทผันผวนหนัก เงินเคลมน�้ำท่วมไหลเข้า พาณิชย์เร่งฟื้นฟูส่งออก

24 อัตราแลกเปลี่ยน

2

3


TFPA Trade & Technical

WEEKLY BRIEF 15 Nov - 21 Nov 2011

ค�ำแปลไม่เป็นทางการของร่างมาตรฐาน การตรวจจุ ล ชี พ และฆ่ า เชื้ อ เชิ ง การค้ า ใน อาหารกระป๋องของจีน

มะกันยกเลิกก�ำหนดค่า MRL ของสาร Psuedomonas fluorescens Strain CL145A

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2554 จีนแจ้งเวียนสมาชิก องค์ ก ารการค้ า โลก เรื่ อ งค� ำ แปลภาษาอั ง กฤษอย่ า ง ไม่ เ ป็ น ทางการของประกาศเปลี่ ย นแปลงร่ า งมาตรฐาน การตรวจจุ ล ชี พ และฆ่ า เชื้ อ เชิ ง การค้ า ในอาหารกระป๋ อ ง (G/SPS/N/CHN/471)

Vol. 2 Issue 42 อียูก�ำหนดค่า MRL เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2554 สหภาพยุโรปประกาศ ใช้ค่า MRL ตามระเบียบ Commission Regulation No.508/2011 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2554 โดยแก้ไข ภาคผนวก 2 และ 3 ของ Regulation No. 396/2005 ของค่ า สารต่ อ ไปนี้ abamectin, acetamiprid, cyprodinil, difenoconazole, dimethomorph, fenhexamid, proquinazid, prothioconazole, pyraclostrobin, spirotetramat, thiacloprid, thiamethoxam และ trifloxystrobin ในผลิตภัณฑ์บาง รายการ

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 สหรัฐฯ ประกาศยกเลิก ก�ำหนดค่า MRL ของสาร Psuedomonas fluorescens Strain CL145A ในอาหารทุกชนิด เมื่อใช้เป็นสารเคมี ก�ำจัดหอย (molluscicide)

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://members.wto.org/crnattachments/2011/sps/ CHN/11_3149_00_et.pdf ที่มา : มกอช.(15/11/54)

EFSA ชี้ พบสารฆ่าแมลงผิดกฎหมายใน อาหารอียูน้อยลง เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 ส�ำนักงานความ ปลอดภัยด้านอาหารประจ�ำสหภาพยุโรป (EFSA) ระบุว่า พบอาหารที่มีสารฆ่าแมลงเกินกว่ามาตรฐานที่ก�ำหนดไว้ ในของปี 2552 ลดน้อยลงเมื่อเทียบกับปี 2549 โดยใน ปี 2549 ลดลงจาก 4.4% เหลือเพียง 1.4% ในปี 2552 EFSA ใช้ ตั ว อย่ า งอาหารในประเทศสมาชิ ก สหภาพ ยุโรป ในไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์ จ�ำนวน 67,000 ตัวอย่าง เกือบ 300 ชนิด เพื่อตรวจสอบอาหารที่มีปริมาณค่า MRL เกินกว่าที่ก�ำหนดในปี 2552 รายงานระบุ ว ่ า จ� ำ นวนสารฆ่ า แมลงที่ เ กิ น กว่ า มาตรฐานลดลงโดยสาเหตุ ส ่ ว นหนึ่ ง เกิ ด จากการ เปลี่ ย นแปลงกฎหมายในสหภาพยุ โ รปในปี 2551 ซึ่ ง เป็นการเปลี่ยนแปลงการอนุญาตการใช้และวิธีการใช้สาร ฆ่าแมลง การปรับปรุงระบบรายงานข้อมูล และการ บังคับใช้บทบัญญัติทั่วไปของกฎหมายอาหารสหภาพยุโรป

มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2554 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://www.gpo.gov/fdsys/pkg/FR-2011-08-24/html/2011-21249.htm ที่มา : มกอช.(15/11/54)

มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2554 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://members.wto.org/crnattachments/2011/sps/ EEC/11_3047_00_e.pdf ที่มา : มกอช.(15/11/54)

อาหารที่มีเปอร์เซ็นต์ค่า MRL เกินมาตรฐานสูงสุด คือ ผักและผลไม้ เช่น องุ่นทานสด (2.8 %) พริกไทย (1.8 %) มะเขือม่วง (aubergine) ข้าวสาลี (0.8 %) โดยรวม จ�ำนวนสารฆ่าแมลงที่พบในผลไม้ ถั่ว และผัก มีมากกว่าที่พบในธัญพืช ทั้งนี้ สารที่พบมากที่สุดคือ HCH alpha และ dimethoate และ ปริมาณสารฆ่าแมลงที่พบในพริกไทยอาจ เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคมากที่สุด ที่มา : Food Production Daily (15/11/54)

4

5


TFPA Trade & Technical

WEEKLY BRIEF 15 Nov - 21 Nov 2011

อียูไฟเขียวสารให้ความหวาน stevia สหภาพยุโรปอนุญาตให้ใช้สาร steviol glycosides ใน อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นสารให้ความหวานธรรมชาติ ที่ ม าจากต้ น stevia คาดว่ า จะมี ผ ลบั ง คั บ ใช้ วั น ที่ 3 ธันวาคม 2554

มติ ข องสภายุ โ รปซึ่ ง ผลั ก ดั น จากหน่ ว ยงานความ ปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรป (EFSA) ยืนยันจุดยืน อันยาวนานของคณะผู้เชี่ยวชาญด้านสารปรุงแต่งอาหาร ขององค์การ อนามัยโลก (JECFA) ที่ระบุว่า steviol glycocides ปลอดภั ย ทุ ก คนสามารถบริ โ ภคได้ และ เหมาะส�ำหรับเป็นทางเลือกของผู้เป็นเบาหวาน นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังมีข้อสรุปว่าสารให้ความหวานชนิดนี้ไม่เป็น สารก่อ มะเร็ง และไม่เป็นสารก่อพิษในระดับพันธุกรรม การสืบพันธุ์ และการเจริญเติบโต

Vol. 2 Issue 42 อี ยู แ ก้ ไ ขระเบี ย บ MRLs สาร PAHs ในอาหาร เมื่อ วันที่ 20 สิงหาคม 2554 สหภาพยุโรปออก ระเบียบ Commission Regulation (EU) No 835/2011 แก้ไข MRLs ของสาร Polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) เพื่อให้สอดคล้องกับผลงานวิจัยทาง วิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย และผลการประเมินความเสี่ยงใน ส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการยกระดับการควบคุมความ ปลอดภัยห่วงโซ่อาหารและสุขอนามัยของผู้ บริโภคสหภาพ ยุโรปให้มีความรัดกุมกว่าเดิม การปรับค่า MRLs ครั้งนี้ ครอบคลุมสินค้า 12 รายการ ได้แก่

ในปี 2552 สหภาพยุ โ รปอนุ ญ าตชั่ ว คราวให้ ฝรั่งเศสจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ stevia เป็นเวลา 2 ปี

Steviol glycosidesได้รับการพิจารณาว่าเป็นกลุ่มส ารให้ความหวานที่มีความเข้มข้นสูง (250-300 เท่าของ ซูโครส) มีการใช้สารให้ความหวานดังกล่าวในอาหารใน หลายประเทศ เช่นออสเตรเลีย และมีความส�ำคัญต่อผู้ บริโภคที่สนใจอาหารเพื่อสุขภาพเนื่องจากมีปริมาณแค ล อรี่ต�่ำและมีค่าดัชนีน�้ำตาล (glycemic load) เป็น 0

ทั้งนี้ในปี 2551 steviol glycosides สามารถใช้ได้ใน ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และในปีเดียวกับสารให้ความ หวานดังกล่าวได้รับการยอมรับว่าปลอดภัย (GRAS) ใน สหรัฐฯ นับแต่นั้นเป็นต้นมาอาหารและเครื่องดื่มในหลาย ประเทศเริ่ ม ปรั บ ปรุ ง สู ต รให้ มี ส่ ว นประกอบของสารให้ ความหวานดังกล่าวโดยมีปริมาณแครอลี่เป็น 0 หรือลด ลงกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการใช้ steviol glycoside ใน บริษัทผู้น�ำน�้ำอัดลมที่จ�ำหน่ายทั่วโลกได้แก่ Coca-cola และ PepsiCo ซึ่ง ยิ่ง ท�ำ ให้สารให้ความหวานดั ง กล่ า ว เป็นที่ยอมรับ ที่มา : Australian Food News(16/11/54)

• สาร Benzo(a)pyrene, Benz(a)anthracene, benzo(b)fluoranthene และ chrysene • น�้ำมันและไขมัน ยกเว้นเนยโกโก้และน�้ำมันมะพร้าว ส�ำหรับมนุษย์บริโภคโดยหรือเป็นส่วนประกอบอาหาร

• น�้ำมันมะพร้าวส�ำหรับมนุษย์บริโภคโดยตรงหรือเป็น ส่วนประกอบอาหาร • เนื้อสัตว์รมควันและสินค้าเนื้อสัตว์รมควัน • เนื้อส่วนกล้ามเนื้อของปลารมควันและสินค้าปลารม ควัน ยกเว้นสินค้าประมงที่ระบุในข้อ 6.1.6 และ 6.1.7 ค่า MRLs ส�ำหรับอาหารทะเลรมควันปรับใช้กับเนื้อส่วน กล้ามเนื้อจากส่วนก้ามและขาและ ส่วนท้อง ส�ำหรับใน กรณีปูรมควันและสินค้าอาหารทะเลประเภทปู (Brachyura และAnomura) ปรับใช้กับเนื้อส่วนกล้ามเนื้อจาก ส่วนก้ามและขา ทั้งนี้ PAHs สามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติจากระ บวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสาร อินทรีย์ พบได้ทั้งใน น�้ำ ดิน ดินตะกอน อากาศ น�้ำใต้ดิน และบริเวณริมถนน ไอเสียจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ การปนเปื้อนของ น�้ำมัน กระบวนการแปรรูปและปรุงอาหาร โดยการอบ ปิ้ง ย่าง ท�ำให้มี PAHs ปนเปื้อนในอาหารได้ โดยทั่วไปเป็น สารเคมีที่มีความเป็นพิษเฉียบพลันต�่ำ ความเป็นพิษเรื้อรัง สามารถก่อมะเร็งในอวัยวะ PAHs เข้าสู่ร่างกายหลายวิธี ทั้งโดยการกินอาหารปนเปื้อน PAHs สูดดมไอระเหยหรือ เขม่าควันไฟที่มี PAHs ผสมอยู่ หรือสัมผัสทางผิวหนัง ที่มา : ส�ำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจ�ำสหภาพยุโรป (22/11/54)

• เมล็ดโกโก้และสินค้าท�ำจากเมล็ดโกโก้

6

7


TFPA Trade & Technical

WEEKLY BRIEF 15 Nov - 21 Nov 2011

Vol. 2 Issue 42

สถานการณ์ด้านประมง แนวโน้มการส่งออกอาหารทะเลเวียดนาม ปี 2554 แนวโน้ ม การส่ ง ออกอาหารทะเลเวี ย ดนามปี 2554 สรุปประเด็นส�ำคัญได้ ดังนี้ 1. สมาคมผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลของเวียดนาม (The Vietnam Association of Seafood Exporters and Producers: VASEP ) คาดการณ์ตัวเลขการส่ง อาหารทะเลปี 2554 ไว้ว่าอาจมีแนวโน้มสูงถึง 5,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับปี 2553 ซึ่งเป็นผลมาจากราคาส่งออกเพิ่มขึ้น และความต้องการซื้อสูงจากต่างประเทศ ส�ำหรับตัวเลข การส่งออกในช่วงมกราคม – สิงหาคม 2554 มียอด ส่งออกรวมทั้งหมดเกือบ 3,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ เพิ่มขึ้น 24.4 % เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยส่งออกไป ยังตลาดที่ส�ำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ จีน และอิตาลี เพิ่มขึ้น 42.7, 57.3 และ 45.1 ตามล�ำดับ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอาหารทะเลของเวียดนาม ก�ำลังเผชิญภาวะขาดแคลนวัตถุดิบในเขตที่ราบ ลุ่มปาก แม่น�้ำโขง (ปลา Tra) ประกอบกับความต้องการซื้อที่ เพิ่มขึ้นจากผู้แปรรูปอาหารทะเลภายในประเทศ น่าจะ ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบ (ปลา) ในปีนี้คงอยู่ในระดับสูงต่อ ไปหรืออาจมีผลต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี 2555 การที่ราคา สูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการส่งออกปลาของ เวียดนาม

8

2. จากการที่ ก ารเพาะเลี้ ย งกุ ้ ง ของเวี ย ดนามที่ ต ้ อ ง เผชิ ญ ปั ญ หาโรคระบาดนานหลายปี ท� ำ ให้ ผ ลผลิ ต กุ ้ ง กุลาด�ำของประเทศลดลง ฟาร์มเลี้ยงกุ้งจ�ำนวนมากจึงได้ หันมาเพาะเลี้ยงกุ้งขาว (white shrimp) แทน เนื่องจาก แข็ ง แรง เลี้ ย งง่ า ยและมี ร ะยะเวลาเพาะเลี้ ย งสั้ น กว่ า กุ ้ ง กุลาด�ำ ท�ำให้สัดส่วนการส่งออกกุ้งเปลี่ยนแปลง โดยคาด การณ์ว่าการส่งออกุ้งขาวอาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 มาอยู่ ที่ 200,000 ตัน ส่วนการส่งออกกุ้งกุลาด�ำมีแนวโน้มลด ลงจาก 350,000 ตันในปี 2553 มาอยู่ที่ 300,000 ตัน ในปี 2554 จากการที่ราคากุ้งอยู่ในระดับ สูง ประกอบกั บความ ต้องการซื้อที่รุนแรงจากตลาดต่างประเทศ และการเพาะ เลี้ยงกุ้งในประเทศผู้ผลิตที่ส�ำคัญหลายแห่งได้รับความเสีย หาย ส่งผลให้การส่งออกกุ้งของเวียดนามในช่วงครึ่งปีแรก มีอัตราเติบโตสูง นอกจากนี้ การส่งออกกุ้งของเวียดนาม อาจมี แ นวโน้ ม ดี ขึ้ น อี ก เนื่ อ งจากเมื่ อ ต้ น เดื อ นกั น ยายน 2554 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (DOC) ประกาศผลการ ทบทวนภาษีทุ่มตลาด (AD) ครั้งที่ 5 ขั้นสุดท้ายส�ำหรับ กุ้งที่สหรัฐฯ น�ำเข้าจากเวียดนาม โดยจะปรับอัตราภาษี AD จากบริษัทผู้ส่งออกของเวียดนามได้แก่ Minh Phu, Nha Trang Seafood และ Camimex ลดลง และ ผู้ ส่งออกอีก 28 รายของเวียดนามจะลดลงจาก 3.92 % เหลือ 1.04 โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 12 กันยายน 2554 เป็นต้นไป (อัตราภาษี AD ดังกล่าวค�ำนวณจากกุ้งที่ น�ำเข้าระหว่างวันที่ 1 ก.พ. 52 – 31 ม.ค. 53) การ ปรับลดภาษี AD น่าจะส่งผลให้เวียดนามส่งออกกุ้งไปยัง สหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น

3. การส่งออกปลา Pangasius ไปยังตลาดสหภาพ ยุโรปซึ่งเป็นตลาดส�ำคัญที่สุด โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 32 % ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2554 เวียดนามส่งออก ปลา Pangasius ไปยังตลาดสหภาพยุโรป รวมทั้งหมด 113,064 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่า 308 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปริมาณลดลง 9.7 % แต่มูลค่าเพิ่มขึ้น 6 % เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) การส่งออกที่ลดลงเป็น ผลมาจากตรวจพบปั ญ หาสุ ข อนามั ย หรื อ สารตกค้ า งใน อาหารทะเล เวียดนามบ่อยครั้ง ท�ำให้ผู้น�ำเข้าของสหภาพ ยุโรปไม่มั่นใจหรือยกเลิกการน�ำเข้า ประกอบกับเศรษฐกิจ ภายในสหภาพยุโรปไม่ดีนักในปีนี้ การส่งออกปลา Pangasius ไปยังสหรัฐฯ กลับมีแนว โน้มสดใสมากกว่า โดยการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรก มี ปริมาณรวมทั้งหมดเกือบ 39,000 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่า ราว 135 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้น 85.5 % และมี มูลค่าเพิ่ม 105.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) ปัจจัยส�ำคัญที่ส่งผลให้การส่งออกปลา Pangasius ไปยัง สหรัฐฯ เติบโตอย่างรวดเร็วเนื่องจาก การเพาะเลี้ยงปลา catfish ในสหรัฐฯ มีผลผลิตลดลง อีกทั้งผู้เลี้ยงปลามี ต้นทุนสูงขึ้น ท�ำให้สหรัฐฯ หันมาน�ำเข้าปลา Pangasius จากเวียดนามเพิ่มขึ้นแทน ที่มา : ส�ำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจ�ำสหภาพยุโรป (17/11/54)

9


TFPA Trade & Technical

WEEKLY BRIEF 15 Nov - 21 Nov 2011

10 อันดับอาหารทะเลได้รับความนิยมสูงสุดในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2554 สถาบันประมงแห่งชาติสหรัฐฯ (National Fisheries Institute; NFI) ประกาศ 10 อันดับผลิตภัณฑ์สินค้าประมงและอาหารทะเลที่ได้ความนิยมสูงสุดในสหรัฐฯ ประจ�ำปี 2553 มีดังต่อไปนี้

Vol. 2 Issue 42

สถานการณ์ด้านเกษตร คาดปริมาณผลิตน�้ำตาลจีนมีแนวโน้มเพิ่ม สูงขึ้น ส�ำนักข่าวซินหัว-เขตฯ กว่างซีจ้วงรายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า ฤดูกาลผลิตปี 2554-2555 ปริมาณการผลิตน�้ำตาลในจีนจะเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกใน รอบ 4 ฤดูกาลผลิต ปัจจัยจากสภาพภูมิอากาศแปรปรวนส่งผลให้ สถานการณ์ผลผลิตน�้ำตาลภายในประเทศลดลง ต่อเนื่องนับตั้งแต่ฤดูกาลผลิต 2551-2552 เป็นต้นมา ฤดูกาลผลิต 2553-2554 จีนมีปริมาณการผลิต น�้ำตาล 10.4542 ล้านตัน ท�ำให้น�้ำตาลขาดตลาด 2.5 – 3 ล้านตัน ซึ่งส่งผลให้ราคาน�้ำตาลภายใน ประเทศพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ โดยราคาเสนอขายใน พื้นที่ผลิตจากตันละ 2,800 หยวนในเดือนตุลาคม 2551 ไต่ระดับสูงถึงตันละ 7,800 หยวนเมื่อเดือนสิงหาคม 2554 (ปัจจุบันราคาเสนอขายในพื้นที่ผลิตผันผวนอยู่ ที่ตันละ 7,200 – 7,300 หยวน) ส่วนราคานอกพื้นที่ ผลิตทะลุตันละ 8,000 หยวนไปแล้ว ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงน�้ำตาลคาดการณ์ว่า ในฤดูกาลผลิตปี 2554-2555 ปริมาณการผลิตน�้ำตาล ในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

เจ้าหน้าที่จากสมาคมน�้ำตาลในพื้นที่ผลิตหลักของ ประเทศได้ร่วมรายงานผลการคาด การณ์ปริมาณการ ผลิตน�้ำตาลในฤดูกาลผลิตนี้ (2554-2555) พบว่าแต่ละ พื้นที่ได้ประมาณการณ์ปริมาณการผลิตในพื้นที่ตนเอง เพิ่มขึ้นในระดับที่แตกต่างกัน อาทิ เขตฯ กว่างซีจ้วง คาดการณ์เพิ่มขึ้นมากกว่า 7 ล้านตัน มณฑลยูนนาน เพิ่มขึ้นมากกว่า 2.1 ล้าน ตัน มณฑลกว่างตง เพิ่มขึ้นประมาณ 1 ล้านตัน และมณฑลไห่หนานมีหวังเพิ่มขึ้น 3 แสนตัน ท�ำให้ปีนี้ จีนน่าจะมีปริมาณการผลิตน�้ำตาลเพิ่มขึ้น 12 ล้านตัน บวกลบไม่เกิน 1 ล้านตัน นายหวัง เจ๋อ นักวิเคราะห์ตลาดสินค้าล่วงหน้าจาก มณฑลเจ้อเจียง แสดงความเห็นว่าแนวโน้มการผลิต น�้ำตาลที่เพิ่มขึ้น และการปล่อยน�้ำตาลส�ำรองของรัฐบาล กลาง (9 ครั้ง ปริมาณกว่า 1.86 ล้านตัน) จะช่วยลด ช่องว่างของตลาดบริโภคภายในประเทศได้เป็นอย่างดี “ในฤดูกาลผลิตใหม่ ปริมาณอุปสงค์อุปทานน�้ำตาล ในตลาดจะเกิดภาวะสมดุล และตลาดน�้ำตาลภายใน ประเทศจะมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น “ นายหวังกล่าว ที่มา : ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง(17/11/54)

จากการจัดอันดับดังกล่าวพบว่า ในปี 2554 ประชากรอเมริกันมีดัชนีบริโภคผลิตภัณฑ์สินค้าประมงและอาหารทะเล ที่ 16.8 ปอนด์ต่อหัวลดลงจากปี 2551 และ 2552 ซึ่งมีดัชนีบริโภคอยู่ที่ 16 ปอนด์ต่อหัวจากตัวเลขปี 2550 ถึงปี 2553 โดยดัชนีบริโภคผลิตภัณฑ์สินค้าประมงและอาหารทะเลมีแนวโน้มคงตัวตามอัตราเติบโตของประชากร ที่มา : มกอช. วันที่ 22/11/54

10

11


TFPA Trade & Technical

WEEKLY BRIEF 15 Nov - 21 Nov 2011

เกษต รฯวอ นซื้ อ น ม UHT บ ริ จา คช่ ว ย เกษตรกรระบายน�้ำนมโค น.ส.สุพัตรา ธนเสนีย์วัฒน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เผยภายหลังเป็นประธาน รับมอบนมพร้อมดื่ม UHT จากชุมนุมสหกรณ์ ผู้เลี้ยงโคนมและแปรรูปผลิตภัณฑ์ นม (2010) จ�ำกัด และบริษัทเชียงใหม่เฟรสมิลด์ จ�ำกัด เพื่ อ น� ำ ไปช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ป ระสบอุ ท กภั ย ว่ า กระทรวง เกษตรฯ ก�ำลังเร่งแก้ปัญหาน�้ำนมโคของสหกรณ์ ที่ไม่มี แหล่งจ�ำหน่ายเนื่องจากอุทกภัยปี 2554 โดยรับซื้อนมจาก สหกรณ์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบ อุทกภัยและสนับสนุน ให้สหกรณ์ติดตั้งเครื่องบรรจุนม ยู เอช ที แปรรูปน�ำ ไปจ�ำหน่าย รวมถึงขอความอนุเคราะห์จากจิตอาสาและ รั ฐ บาลในการรั บ ซื้ อ นม UHT เพื่ อ น� ำ ไปใส่ ใ นถุ ง ยั ง ชี พ เพราะ นอกจากจะสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้วยัง เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรโคนมด้วย ส�ำหรับในส่วนของนมพร้อมดื่ม UHT ที่น�ำมามอบให้ ครั้งนี้ เกิดขึ้นมาจากชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมและแปรรูป ผลิตภัณฑ์นม (2010) จ�ำกัด ได้ร่วมกับชมรมสหกรณ์ โคนม ภาคเหนือ จัดงานเทศกาลโคนม ครั้งที่ 2 เมื่อวัน ที่ 1-14 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยบริษัทเชียงใหม่เฟรช มิลด์ จ�ำกัด ได้ให้การสนับสนุน แม่โคสาวท้อง จ�ำนวน 3 แม่ เพื่อท�ำการประมูล และน�ำรายได้มอบให้กระทร วงเกษตรฯ น�ำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ดังนั้น กระ ทรวงเกษตรฯ จึงได้น�ำเงินจ�ำนวน 256,000 บาทที่ได้รับ จากการประมูล มาจัดซื้อนมพร้อมดื่ม UHT ของบริษัท เชียงใหม่เฟรชมิลด์ จ�ำกัด มาช่วยเหลือเพื่อประสบอุทกภัย แทน เนื่องจาก ที่ผ่านมาบริษัท ได้ให้ความร่วมมือกับ สหกรณ์ โคนมต่างๆ รับน�้ำนมโคช่วงเกิดอุทกภัยไปผลิต เพราะมีโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมในนิคมอุตสาหกรรม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี โดย เฉพาะ 3 บริษัทใหญ่ ได้แก่ เนสท์เล่ มะลิ และ F& N ที่ต้องหยุดการผลิต ด้วยเหตุอุทกภัยด้วย

12

น.ส.สุพัตรา เปิดเผยว่า นอกจากกระทรวง เกษตรฯ จะเป็ น หน่ ว ยงานกลางอี ก แห่ ง หนึ่ ง ที่ จ ะรั บ มอบสิ่ ง ของ บริ จ าคเพื่ อ ส่ ง ผ่ า นไปยั ง ผู ้ ป ระสบภั ย ให้ ทั่ ว ถึ ง แล้ ว กระทรวงเกษตรฯ ยั ง ได้ ด� ำ เนิ น การให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ผู้ประสบอุทกภัย ที่กระทรวงเกษตรฯ โดยได้จัดตั้งโรง ครั ว เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ป ระสบอุ ท กภั ย ขึ้ น ที่ ส� ำ นั ก งานปลั ด กระทรวงเกษตรฯ ถนนราชด� ำ เนิ น นอก เพื่ อ ผลิ ต และ กระจายอาหารกล่องผ่านไปยังหน่วยงาน และชุมชนต่างๆ เฉลี่ยวันละ 2,000 กล่องอีกด้วย แนวหน้า : วันที่ 21/11/2011

คลอด5แผนฟื้นเกษตรกรน�้ำท่วม นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการส�ำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร(สศก.) ในฐษนะโฆษกกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯเตรียมแผนการ ด�ำเนินงานช่วยเหลือและแนวทางการฟื้นฟูเกษตรกรภาย หลังน�้ำลดให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว แบ่งเป็นแผนการ ด�ำเนินงาน 5 แผนดังนี้ 1.การฟื้นฟูด้านอาชีพประกอบด้วย (1) เกษตรกรที่ปลูกข้าวที่เสียหายเกิน 50% จะได้รับ การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวตามที่เสียหายจริง แต่ไม่เกิน 10 ไร่ อัตราไร่ละ 10 กิโลกรัม (2) เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ที่ได้รับความเสียหาย จะได้รับ การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชไร่และพืชอายุสั้น (3) เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลยืนไม้ยืนต้นและพืชผักที่ได้รับ ความเสียหาย จะได้รับการสนับสนุนพันธุ์ไม้ หรือเป็น เมล็ดพันธุ์ผัก (4) เกษตรกรทั้งหมดที่ได้รับความเสียหาย ได้รับค่าใช้ จ่ายในการปรับพื้นที่ท�ำการเพาะปลูก รายละไม่เกิน5 ไร่ ไร่ละ 400 บาท คิดเป็นมูลค่า รายละ 2,000 บาท (5) สนับสนุนเกษตรกรปลูกพืชอาหารเพื่อการยังชีพ

Vol. 2 Issue 42 2.การช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกร ซึ่งจะด�ำเนินการให้ความช่วยเหลือด้าน หนี้สินของสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ผู้ประสบ อุทกภัย พร้อมยืดอายุเวลาการช�ำระหนี้เก่าออกไปสามปี กู้ใหม่วงเงินไม่เกินรายละ 100,000 บาท รัฐชดเชยให้ ร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี ส�ำหรับเกษตรกรที่เสีย ชีวิตจะจ�ำหน่ายหนี้ออกโดยรัฐรับภาระช�ำระหนี้แทน 3.โครงการช่วยเหลือเกษตรกรในภาพรวม แบ่งเป็น 4 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการพื้นฟูสุขภาพสัตว์และป้องกันโรคระบาด สัตว์หลังน�้ำลด โดยจัดหายาและอุปกรณ์ในการดูแล รักษา (2) โครงการเตรียมความพร้อมด้านเสบียงอาหารสัตว์ โดยผลิตเสบียงอาหารสัตว์ หญ้าแห้งและอาหารข้น (3) โครงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ราบลุ่มหลังน�้ำท่วมเพื่อ ขยายพันธุ์สัตว์น�้ำจืด ไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านตัวต่อ ปี ท�ำให้เกษตรกรมีรายได้เสริมจากการจับสัตว์น�้ำและมี อาหารไว้บริโภคในครัวเรือน และ (4) โครงการป้องกันและฟื้นฟูพื้นที่ดินถล่ม จ.อุตรดิตถ์ และ จ.เชียงใหม่

4.การฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม โดยจัดท�ำโครงการ บ�ำบัดน�้ำเสียและบรรเทาปัญหาน�้ำเน่าจากเหตุอุทกภัย โดยใช้สารเร่ง พด. 6 และ 5.การซ่อมแซมสิ่งก่อสร้าง แบ่งเป็น การส�ำรวจความเสียหายและซ่อมแซมระบบ ชลประทาน 19 จังหวัดและจัดท�ำโครงการช่วยเหลือ ด้านทรัพย์สินของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เสียหายจาก อุทกภัยจ�ำนวน 786 แห่ง ใน 30 จังหวัดการซ่อมแซม เครื่องจักรกลเกษตรที่ประสบปัญหาจากอุทกภัย แนวหน้า : วันที่ 18/11/2011

13


TFPA Trade & Technical

WEEKLY BRIEF 15 Nov - 21 Nov 2011

จี้รัฐแก้ปัญหาราคายาง เกษตรกรโอดราคา ลดลงกว่า100%ขายได้จริงกก.ละ60บาท นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาการยางพารา แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคายางแผ่นดิบในประเทศปรับลดลงเกือบ 100% จาก กิโลกรัมละ 120 บาท เหลือกิโลกรัมละ 70 บาท ขณะที่ เกษตรกรขายได้จริงเพียงกิโลกรัมละ 60 เท่านั้น ที่ส�ำคัญ ราคายางแผ่นดิบมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้ ประกอบการทั้งในและนอกประเทศหยุดรับซื้อผลผลิตอย่าง ไม่มีก�ำหนด จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งด�ำเนินการแก้ไข ให้กับเกษตรกร

ทั้งนี้ราคาน�้ำยางดิบที่ลดลงเกิดจากหลายปัจจัย อาทิ ภาวะเศรษฐกิ จ ของสหภาพยุ โ รปที่ ช ะงั ก งั น และความ พยายามของรัฐบาลสหรัฐที่กดดันให้รัฐบาลขึ้นค่าเงินหยวน ควบคู่ไปกับการขึ้นภาษีรถบรรทุกที่น�ำเข้าจากประเทศจีน สูงขึ้นถึง 200% ท�ำให้ความต้องการใช้ยางธรรมชาติชะลอ ตัวลง ประกอบกับในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

14

บริ เ วณท่ า เรื อ จิ น เต่ า ประเทศจี น เกิ ด ปั ญ หาผู ้ ประกอบการจีนปฏิเสธรับ ซื้อผลิตภัณฑ์ยางที่ ส ่ ง ออกจาก ประเทศไทยจ�ำนวนกว่า 2.8 แสนตัน ท�ำให้ราคายาง ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) ควรเร่งตรวจสอบ ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกรณีผลิตภัณฑ์ยางที่ค้างอยู่ ที่ท่าเรือจินเต่า เพื่อรายงานให้รัฐบาลทราบเพื่อก�ำหนด มาตรการแก้ไขต่อไป “ขณะนี้หลายพื้นที่ของประเทศไทย ได้รับผลกระทบ อย่างหนักจากปัญหาน�้ำท่วมที่เกิดขึ้น แต่รัฐบาลก็ไม่ควร ละเลยต่อความเดือดร้อนของชาวสวนยาง เพราะแต่ละ ปียางพาราท�ำรายได้เข้าประเทศกว่า 4 แสนล้านบาท รัฐบาลจึงควรตรวจสอบที่มาของปัญหาโดยเฉพาะกรณีผู้ ประกอบการจีนไม่น�ำเข้า สินค้า พร้อมกับเร่งเจรจากับ รัฐบาลจีนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยเร็ว ขณะเดียวกัน รัฐบาลชุดปัจจุบันต้องมีความชัดเจนว่า จะยังคงนโยบาย การแทรกแซงราคายางที่ กก.ละ 80 บาทหรือไม่ หรือ รัฐบาลจะมีมาตรการสร้างหลักประกันด้านราคายางพารา ในรูปแบบใด เช่นเดียวกับที่รัฐบาลด�ำเนินการในส่วนของ ข้าวและปาล์มน�้ำมัน” นายอุทัยกล่าวอีกว่า นอกจากนี้รัฐบาลต้องมีนโยบาย ที่ชัดเจนในเรื่องส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ยางที่หลาก หลาย เพื่อ สร้างมูลค่าเพิ่มและขยายช่องทางการตลาด ควบคู่ไปกับการสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ยางในประเทศ เพิ่มขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปยังต่างประเทศ แนวหน้า : วันที่ 18/11/2011

Vol. 2 Issue 42

สถานการณ์นโยบายครม.ใหม่ และประเด็นน�้ำท่วม

กู้แฟคตอรี่แลนด์ข่าวดี 12 โรงงานเริ่มผลิต โรจนะ-บางปะอิน-ไฮเทค เดินเครื่องสูบน�้ำ 25 พ.ย.

ข่ า วดี นิ ค มอุ ต สาหกรรม แฟคเตอรี่ แ ลนด์ สู บ น�้ ำ ออกแล้ ว มี พื้ น ที่ แ ห้ ง ประมาณ 80% ผู ้ ป ระกอบการ เข้ า มาฟื ้ น ฟู โ รงงานแล้ ว 70 ราย เริ่ ม ประกอบการ แล้ ว 12 ราย ส่ ว นโรจนะ บางปะอิ น ไฮเทค นว นคร ล้ ว นดี ขึ้ น เร่ ง สู บ น�้ ำ ออก ส่ ว นบางกะดี เ ริ่ ม สู บ น�้ ำ ได้ ห ลั ง สุ ด 25 พ.ย. นี้ ขณะที่ ผ ลการตรวจสอบ คุ ณ ภาพน�้ ำ ในและนอกนิ ค มเป็ น ไปตามเกรดมาตรฐาน เกษตรกรสามารถน� ำน�้ ำไปใช้ ได้ ยั ง ไม่ พบสารปนเปื ้ อน น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรม กล่าวภายหลังประชุมร่วมระหว่างกระทรวง อุ ต สาหกรรม กระทรวงวิ ท ยาศาสตร์ และกระทรวง สาธารณสุ ข เรื่ อ งการตรวจสอบคุ ณ ภาพน�้ ำ ทั้ ง ในนิ ค ม อุตสาหกรรมและนอกนิคมอุตสาหกรรม ว่า ขณะนี้ 5 นิคม โรงงานอุตสาหกรรมได้เริ่มมีการสูบน�้ำออก ซึ่งจากการ เก็บคุณภาพน�้ำมาตรวจสอบพบว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ กรมควบคุมมลพิษ ก�ำหนดโดยเป็นเกรดมาตรฐานน�้ำเพื่อ การเกษตร ยังไม่พบโลหะหนัก สารพิษปนเปื้อนแต่อย่าง ใด ทั้งนี้หากพบว่ ามีสารพิษหรือคุณภาพน�้ำต�่ำก็จะต้องมี การบ�ำบัดด้วยอีเอ็ม เพื่อให้ได้ตามค่ามาตรฐานของกรม ควบคุมมลพิษ จึงมีการปล่อยลงสู่ล�ำคลอง เพื่อไม่ให้มี ผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามได้มีการเฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างน�้ำมาตรวจ สอบทุกวัน เพื่อให้คุณภาพน�้ำทั้งในเขตนิคมและนอกเขต นิคมเป็นไปตามมาตรฐาน โดยต้องมีตัวแทนจากทุกฝ่าย รวมทั้งชุมชนรับรู้ด้วยความโปร่งใส

น.พ.วรรณรั ต น์ กล่ า วว่าส่ว นความคืบ หน้าในการกู้ นิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน�้ำท่วม เริ่มจากแฟคเตอรี่แลนด์ เริ่ ม สู บ น�้ ำ ออกแล้ ว มี พื้ น ที่ แ ห้ ง ประมาณ 80% โดยมี ผู ้ ประกอบการเข้ามาฟื้นฟูโรงงานแล้ว 70 ราย เริ่มประกอบ การแล้ว 12 ราย นิคมฯ โรจนะเริ่มสูบน�้ำออกแล้วเช่น เดียวกัน โดยระดับน�้ำลงประมาณ 10 เซนติเมตร และ คุณภาพน�้ำเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน นิคมฯ บางปะอิน เริ่มมีการสูบน�้ำออก น�้ำลดประมาณ 20 เซนติเมตร มี คราบน�้ำมัน จึงได้มีการน�ำอีเอ็มมาย่อยสลายคราบน�้ำมัน แต่ระดับน�้ำเป็นไปตามมาตรฐาน นิคมฯ ไฮเทคระดับน�้ำ ลดลงประมาณ 15 เซนติเมตร แต่น�้ำภายนอกยังคงสูง คาดว่าต้นเดือนธันวาคมสถานการณ์น�้ำนิคมฯ ไฮเทคจะ ดีขึ้น ขณะที่ นิ ค มฯนวนคร ระดั บ น�้ ำ ลดลงค่ อ นข้ า งช้ า ยั ง ท่ ว มเหนื อ คั น ดิ น อี ก 10 เซนติ เ มตร ท� ำ ให้ ก ารสู บ น�้ำออกต้องเลื่อนจากวันที่ 15 พฤศจิก ายน เป็น 18 พฤศจิกายน แต่จากการตรวจสอบคุณภาพน�้ำก็ยังอยู่ใน เกณฑ์มาตรฐาน และนิคมฯ บางกะดีปริมาณน�้ำยังสูงกว่า คันดิน 30 เซนติเมตร คาดว่าจะเริ่มสูบน�้ำในวันที่ 25 พฤศจิกายน โดยต้องรอให้ระดับน�้ำภายนอกลดลงจึงจะ เริ่มสูบน�้ำออกได้ จากหนังสือพิมพ์บ้านเมือง ฉบับวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554

15


TFPA Trade & Technical

WEEKLY BRIEF 15 Nov - 21 Nov 2011

ชงชะลอขึ้นค่าแรง 300 บาท สภาตลาดทุน เสนอโรดแมปแก้ปัญหาน�้ำซัด 7 สมาคมแห่งสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เสนอโรดแมป ส่งถึงมือ “ยิ่งลักษณ์” ชง สร้างความเชื่อมั่นคืนสู่รัฐบาล ย�้ำขอลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% ถึง 20% เช่นเดิม แต่ ควรชะลอขึ้นค่าแรงขั้นต�่ำ 300 บาทออกไปก่อน พร้อม ชง ธปท.ลดดอกเบี้ยนโยบายลงทันที 0.5% นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภา ธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยหลังการหารือร่วมกับสมาชิก ทั้ง 7 สมาคมในตลาดทุน ถึงแนวทางการฟื้นฟูความ เชื่อมั่นจากวิกฤติน�้ำท่วมว่า สภาฯ มีความเป็นห่วงต่อ ผลกระทบจากวิ ก ฤติ น�้ ำ ท่ ว มที่ เ กิ ด ขึ้ น ต่ อ ผู ้ ป ระกอบการ และ เศรษฐกิจไทยในระยะยาว จึงเห็นว่ารัฐบาลควรเร่ง ประเมินผลกระทบ รวมทั้งเร่งสรุปแนวทางป้องกันน�้ำท่วม ในอนาคตที่เป็นรูปธรรมภายใน 3 เดือน เพื่อเป็นข้อมูล ให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในการตัดสินใจลงทุนและ วางแผน การด�ำเนินงานต่อไป ดังนั้นสภาฯ จึงน�ำเสนอแผนแม่บทหรือ Roadmap 3 ระยะ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ไทย สร้ า งภู มิ คุ ้ ม กั น และเป็ น แนวทางในการส่ ง เสริ ม ให้ ตลาดทุ น และเศรษฐกิ จ ไทยสามารถ เติ บ โตได้ อ ย่ า งมี เสถียรภาพ ดังนี้ มาตรการระยะสั้น เพื่อเป็นการสร้าง ความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจ นักลงทุน และสนับ สนุน ให้ ภ าคอุตสาหกรรมสามารถกลับเข้าสู่กระบวนการผลิต ได้ อย่างมีประสิทธิภาพโดยเร็ว สภาฯขอเสนอให้รัฐบาล พิจารณาเร่งด�ำเนินการดังนี้

16

1. คงมาตรการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% ให้ เหลือ 20% ไว้ตามเดิม แต่ขอให้ชะลอเวลาการขึ้นค่าแรง ขั้นต�่ำ 300 บาท และให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงทันที 0.5% เพื่อแบ่งเบาภาระ ภาคธุรกิจ กระตุ้นการบริโภคและการลงทุน 2. มาตรการภาษีเพื่อการฟื้นฟูภาคธุรกิจ เช่น การ ยกเว้ น ภาษี ก ารน� ำ เข้ า เครื่ อ งจั ก รและอุ ป กรณ์ ที่ น� ำ มา ทดแทนของเดิม ส�ำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ จากวิ ก ฤติ น�้ ำ ท่ ว ม รวมทั้ ง การยกเว้ น การน� ำ ส่ ง เงิ น เข้ า กองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ ทั้งในส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อบรรเทาปัญหาทางการเงินให้กับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ 3. สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต�่ำ (Soft Loan) หรือ สนับสนุนทางการเงินให้กับบริษัทจดทะเบียน อุตสาหกรรม หรือ SME ที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้มีทุนหมุนเวียนและ สามารถฟื้นตัวได้โดยเร็วยิ่งขึ้น 4. ชะลอหรือเลื่อนก�ำหนดเวลาการส่งมอบงานให้กับ ภาครั ฐ กรณี อุ ต สาหกรรมและธุ ร กิ จ ที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบ และไม่ ส ามารถส่ ง มอบงานได้ ต ามสั ญ ญา โดยร่ ว มกั บ ภาคเอกชนในการพิจารณาระยะเวลาการส่งมอบงานตาม ความเหมาะสม 5. เร่งออกมาตรการช่วยเหลือลูกจ้างที่ตกงาน เช่น การรักษาสภาพการจ้างงาน โดยรัฐบาลอาจจะช่วยจ่าย ค่าแรงบางส่วนแทนนายจ้าง รวมทั้งจัดการฝึกอบรมและ จัดหาอาชีพเสริมให้ลูกจ้างที่ต้องหยุดงาน เป็นต้น

Vol. 2 Issue 42

ส�ำหรับมาตรการระยะกลาง นายไพบูลย์ กล่าวว่า การ ฟื้นฟูประเทศจากวิกฤติครั้งนี้ ควรให้ตลาดทุนเป็นกลไก ส�ำคัญในการระดมทุนเพื่อการฟื้นฟู เพราะการระดมทุนใน ตลาดทุนมีต้นทุนที่ต�่ำ ด้วยการระดมทุนผ่านรูปแบบต่างๆ เช่น การระดมทุนผ่านตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน การ ระดมทุนผ่านกองทุนรวม ตามมาตรการต่อไปนี้ 1. เร่ ง จั ด ตั้ ง กองทุ น รวมโครงสร้ า งพื้ น ฐาน (Infrastructure Fund) เพื่ อ ระดมทุ น จากนั ก ลงทุ น ทั้ ง ใน และต่ า งประเทศเพื่ อ การพั ฒ นากิ จ การสาธารณู ป โภคที่ เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรคมนาคม ทางพิเศษ ท่าอากาศยาน ท่าเรือน�้ำลึก ระบบขนส่งทางราง เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐบาลควรส่ง เสริมการจัดตั้งกองทุนรวมร่วมทุน หรือ Venture Capital Fund เพื่อเป็นแหล่งระดมทุนอีกทางหนึ่งให้กับภาคธุรกิจ 2. เสนอให้ จั ด ตั้ ง ที ม เจรจาทางการค้ า และที่ ป รึ ก ษา เพื่อการฟื้นฟู เนื่องจากในระหว่างที่ภาคอุตสาหกรรมต้อง หยุดการด�ำเนินงานอาจท�ำให้คู่ค้ายก เลิกการสั่งซื้อสินค้า 3. ให้รัฐบาลใช้กลยุทธ์การสื่อสารเชิงรุก เพื่อสร้าง ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในและต่าง ประเทศ

ส� ำ หรั บ มาตรการระยะยาวนั้ น องค์ ก รในตลาดทุ น และสมาชิ กสภาธุ ร กิ จตลาดทุ น ไทยขอน� ำ เสนอมาตรการ ต่อรัฐบาลดังนี้ 1. รัฐบาลควรมีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำ และภัยพิบัติที่ชัดเจนและเป็น รูปธรรม สภาฯเสนอให้ รั ฐ บาลน้ อ มน� ำ แนวพระราชด� ำ รั ส เรื่ อ งการจั ด การน�้ ำ ของ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติ และศึกษาข้อผิด พลาดจากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เพื่อเตรียม แนวทางในการแก้ ไ ขต่ อ ไป เนื่ อ งจากภาคธุ ร กิ จ และนั ก ลงทุ นต่ า งประเทศต้ องการความมั่น ใจว่าเหตุการณ์แบบ เดียวกันนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต 2. สภาฯ ขอเสนอให้รัฐบาลเร่งรัดการด�ำเนินนโยบาย การลงทุ น ในโครงสร้ า งพื้ น ฐาน เช่ น การสร้ า งถนน ปรับปรุงระบบขนส่งสินค้าทางรถไฟ การสร้างเขื่อนและ คันกั้นน�้ำถาวร การขุดคลองระบายน�้ำขนาดใหญ่ เป็นต้น 3. รั ฐ บาลควรวางแผนการจั ด ท� ำ Zoning นิ ค ม อุ ต สาหกรรมใหม่ โ ดยให้ มี ก ารกระจายไปอยู ่ ใ นภู มิ ภ าค ต่างๆ ที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาอุทกภัย เพื่อลด ความเสี่ยงกรณีเกิดภัยพิบัติในบางพื้นที่ “สภาธุรกิจตลาด ทุ น ไทยมี แ ผนที่ จ ะน� ำ คณะกรรมการและผู ้ แ ทนองค์ ก รที่ เกี่ ย วข้ อ งในตลาดทุ น เข้ า พบนายกรั ฐ มนตรี เ พื่ อ หารื อ ใน รายละเอียดต่อไป”. จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554

17


TFPA Trade & Technical

WEEKLY BRIEF 15 Nov - 21 Nov 2011

ยั น ข่ า วเหตุ น�้ ำ ท่ ว มท� ำ อี ยู แ ละสหรั ฐ ฯ เข้มงวดสินค้าอาหารจากไทยโคมลอย

อนึ่ ง มี ข ่ า วจากหนั ง สื อ พิ ม พ์ ม ติ ช นออนไลน์ เมื่ อ วั น ที่ 9 พฤศจิกายน 2554 ว่า USFDA ขอเพิ่มความเข้ม งวดตรวจสอบอาหารจากไทยเป็น 100% เพราะอาจปน เปื้อนจากเหตุปัญหาน�้ำเน่าเสียนั้น จากข้อเท็จจริงปรากฎ ว่า การเพิ่มการสุ่มตรวจสอบสินค้าประมงที่น�ำเข้าสหรัฐฯ นั้น เป็นการด�ำเนินการตามกฎหมายความปลอดภัยอาหาร ฉบับใหม่จากสหรัฐฯ และด�ำเนินการกับประเทศคู่ค้าทุก ประเทศ ที่มา: ส�ำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) วันที่ 21/11/54

บางชั น -ลาดกระบั ง รอด กระทรวงอุ ต ฯ ไม่หวั่นทะลักอีกก้อน

ตามที่มีข่าวสอบถามว่าได้รับทราบจากกระทรวง การต่ า งประเทศว่ า รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงการต่ า ง ประเทศได้รับข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ว่าสหภาพยุโรปจะ ห้ามน�ำเข้าอาหารไทยอันเนื่องมาจากสาเหตุน�้ำท่วม ท�ำให้ ไม่ มั่ น ใจในคุ ณ ภาพที่ น�้ ำ ประปาไทยที่ น� ำ ไปผลิ ต อาหาร เพื่ อ การส่ง ออกนั้น ในการประชุมทีมประเทศไทย อัน ประกอบด้วยหน่วยราชการไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ต่างๆ เช่น ส�ำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรฯ ส�ำนักงานที่ปรึกษา การพาณิชย์ฯ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 สรุปได้ ว่าไม่พบว่าสหภาพยุโรปแสดงความกังวลในเรื่องนี้

18

“วรรณรัตน์” มั่นใจนิคมฯบางชันและลาดกระบังน�้ำ ไม่ท่วม แต่ยังต้องเฝ้าระวังอีกวันสองวัน หลังชาวบ้าน รื้ อ แนวคั น กั้ น น�้ ำ ในเขตสายไหมและคลองหกวาสายล่ า ง โดยที่นิคมฯบางชัน ยกเลิกประกาศเหตุฉุกเฉินระดับ 1 แล้ว โรงงานเกือบทั้งหมดเริ่มเปิดการผลิต ส่วนนิคมฯ ลาดกระบังยังเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนูกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรม เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากปริมาณ น�้ำที่ลดลงจนเกือบแห้งในบริเวณรอบๆ นิคมอุตสาหกรรม บางชันและนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ส่งผลให้ปริมาณ น�้ำไม่ไหลเข้าท่วมนิคมทั้ง 2 แห่ง ซึ่งหากสถานการณ์ ยังเป็นเช่นนี้ และไม่มีปริมาณน�้ำใหม่เข้ามา รวมถึงไม่มี การรื้ อแนวคั นกั้ นน�้ ำ จะท� ำให้ ภ ายในนิ ค มอุ ต สาหกรรม ไม่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากน�้ ำ ท่ ว มแต่ อ ย่ า งใด โดยในส่ ว น ของนิคมฯบางชัน เวลานี้ผู้ประกอบการได้เปิดด�ำเนินการ ผลิตเกือบทั้งหมดแล้ว จากจ�ำนวน 93 โรงงาน ขณะที่ นิคมฯลาดกระบังมีการเปิดด�ำเนินการบางส่วนจากที่มีอยู่ 231 แห่ง

Vol. 2 Issue 42 ทั้ ง นี้ เ มื่ อ วั น ที่ 16 พฤศจิ ก ายน 2554 ที่ ผ ่ า นมา ได้ให้ทางนิคมฯบางชันประกาศยกเลิกเหตุฉุกเฉิน ระดับ ที่ 1 ที่ให้ผู้ประกอบการทั้งหมดขนย้ายทรัพย์สินและสาร เคมี ไ ว้ ใ นที่ ป ลอดภั ย หลั ง จากที่ ไ ด้ ป ระกาศมาตั้ ง แต่ วั น ที่ 9 พฤศจิกายน 2554 ส่วนที่นิคมฯลาดกระบัง ขณะนี้ ปริมาณน�้ำยังทรงตัวอยู่ แม้ว่าจะมีการรื้อคันกั้นน�้ำบริเวณ เขตสายไหม และคลองหกวาสายล่ า ง รวมถึ ง การเปิ ด ประตูน�้ำพระยาสุเรนทร์ขึ้นเป็น 1 เมตรก็ตาม แต่อย่างไร ก็ตาม ในช่วงหนึ่งหรือสองวันนี้ จะต้องจับตาเฝ้าระวัง มวลน�้ำที่ไหลมาว่าจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใด ซึ่งจาก การประเมิ นสถานการณ์ เวลานี้ ห ากไม่ มี ตัว แปรอื่ นๆเพิ่ ม ขึ้นอีก การรับมือน�้ำท่วมที่จะเข้านิคมฯลาดกระบังไม่น่า มีปัญหา ซึ่งในช่วง 1-2 วันนี้ก็น่าจะประกาศยกเลิกเหตุ ฉุกเฉินระดับที่ 1 ได้ นายยงยุทธ ทองสุข รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหัวหน้าคณะท�ำงานป้องกันและลดผลกระทบจาก อุทกภัยในนิคมอุตสาหกรรมบางชัน เปิดเผยกับ “ฐาน เศรษฐกิจ” ว่า ในช่วงที่ผ่านมา ระดับน�้ำรอบนิคม ได้ ทยอยลดลงวันละ 1-2 เซนติเมตร ท�ำให้คณะท�ำงานมี ความหวั ง ว่ า สถานการณ์ น่ า จะเป็ นไปในทิ ศ ทางที่ ดี แต่ อย่างไรก็ตาม จากรณีที่มีกลุ่มชาวบ้านเข้าไปรื้อกระสอบ ทรายบริเวณคลองหกวาสายล่างบางส่วน และให้ส�ำนัก การระบายน�้ำเปิดประตูระบายน�้ำพระยาสุเรนทร์เป็น 1 เมตร จากเดิมเปิดอยู่ที่ระดับ 40 เซนติเมตร เพื่อบรรเทา ปัญหาน�้ำท่วมขังสูงในพื้นที่ล�ำลูกกา ซึ่งการระบายน�้ำดัง กล่ า วอาจส่ ง ผลกระทบต่ อ นิ ค มอุ ต สาหกรรมบางชั น ได้ โดยประเมินว่ามวลน�้ำจะมาถึงบริเวณนิคมในเย็นวันที่ 18 พฤศจิกายนนี้

“ช่วง 2 วันที่ผ่านมาคิดว่าน�้ำจะหยุดอยู่ในภาวะทรงตัว แล้ว เพราะระดับน�้ำเริ่มทยอยลดลง แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ ท�ำให้มีการระบายน�้ำลงมามากขึ้นก็ต้องติดตามผล กระทบ ต่อไป อย่างไรก็ตาม คาดว่าสถานการณ์ไม่น่าจะรุนแรง เพราะประเมิ น ว่ า น�้ ำ จากล� ำ ลู ก กาบางส่ ว นจะไหลไปทาง สุขาภิบาล 5 และมีบางส่วนเท่านั้นที่ระบายมาทางบางชัน ทั้งนี้ มั่นใจว่าแผนการป้องกันที่ได้ด�ำเนินการมาก่อนหน้า นี้จะพร้อมรับกับสถานการณ์ ได้” ด้านนายโสภณ ผลประสิทธิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง อุตสาหกรรม ในฐานะหัวหน้าคณะท�ำงานป้องกันและลด ผลกระทบจากอุทกภัยในนิคมอุตสาหกรรม ลาดกระบัง เปิ ด เผยว่ า สถานการณ์ น�้ ำ รอบนิ ค มอุ ต สาหกรรม ลาดกระบังล่าสุด (18 พฤศจิกายน 2554) ระดับน�้ำต�่ำ กว่าคันดินกั้นน�้ำประมาณ 50 เซนติเมตร และน�้ำได้ลด ระดับลงเรื่อยๆ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี แม้ว่าจะยังมีน�้ำรั่ว ซึมผ่านคันดินเข้ามาบ้าง แต่ก็สามารถดูแลและซ่อมแซม ได้ ดั ง นั้ น หากสถานการณ์ ยั ง ทรงตั ว ในระดั บ นี้ นิ ค ม อุตสาหกรรมลาดกระบังก็น่าจะปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 20 พฤศจิกายน 2554

19


TFPA Trade & Technical

WEEKLY BRIEF 15 Nov - 21 Nov 2011

คลั ง เร่ ง ฟื ้ น ฟู เ ศรษฐกิ จ 4.5 หมื่ น ล. 7 กระทรวงเสนอ 21 พ.ย.นี้พาณิชย์นัดถก 169 สมาคม คลังเร่งกลั่นกรองโครงการฟื้นน�้ำท่วมด้านเศรษฐกิจ 4.5 หมื่นล้าน ลั่นต้องเป็นโครงการเร่งด่วน-จ�ำเป็นเท่านั้น จับตา 7 กระทรวงหลักเสนอโปรเจ็กต์ 21 พ.ย.นี้ ด้าน “พาณิชย์” เชิญ 169 สมาคมธุรกิจ ร่วมถกแผนฟื้นฟู ดึงแบงก์แจงหลักเกณฑ์ให้สินเชื่อ ดึงบีโอไอร่วมให้ข้อมูล ลงทุน

นายสุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักงาน บริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ ผ่านมานายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ได้ ประชุ ม คณะกรรมการกลั่ น กรองโครงการเร่ ง ด่ ว นที่ จ ะ ขอรับการอนุมัติงบประมาณ ไปใช้เพื่อฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจ จากผลกระทบอุทกภัย ซึ่งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รอง นายกรั ฐมนตรีแ ละรมว.พาณิช ย์ ในฐานะประธานคณะ กรรมการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และความ เป็นอยู่ของประชาชน

20

ทั้ ง นี้ ค ณะกรรมการฯ ชุ ด นี้ จ ะรั บ ผิ ด ชอบกลั่ น กรอง โครงการของ 7 กระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูด้าน เศรษฐกิจ ได้แก่ กระทรวงแรงงาน กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการ ท่ อ งเที่ ย วและกี ฬ า กระทรวงวิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระทรวงการคลั ง และกระทรวงการต่ า งประเทศ โดย รัฐบาลได้ตั้งวงเงินงบประมาณที่จะต้องใช้ไว้ 45,850 ล้าน บาท

Vol. 2 Issue 42 ด้ า นนายศิ ริ วั ฒ น์ ขจรประศาสน์ รมช.พาณิ ช ย์ กล่ า วว่ า ในวั น ที่ 22 พ.ย. กระทรวงพาณิ ช ย์ ไ ด้ เ ชิ ญ ผู ้ ประกอบธุรกิจ ผู้ส่งออก และตัวแทนสมาคมการค้าต่างๆ รวม 169 สมาคม มาเข้าร่วมประชุมหารือผลกระทบที่ได้ รับจากอุทกภัยและแนวทางความช่วยเหลือที่ ต้องการให้ ภาครัฐสนับสนุน ซึ่งแนวทางการหารือจะเป็นการชี้แจงถึง มาตรการความช่วยเหลือของภาครัฐที่จะน�ำ มาช่วยเหลือ แผนงานที่กระทรวงพาณิชย์จะด�ำเนินการ เพื่อร่วมกันจัด ท�ำเป็นแผนกอบกู้ทั้งภาคการผลิต ภาคการส่งออกและ ภาคธุรกิจในประเทศ

“รองนายกฯ กิตติรัตน์ มอบให้ปลัดคลังมาดูแลเรื่อง กลั่นกรองโครงการ ในส่วนของ 7 กระทรวง ซึ่งปลัดคลัง ได้มอบหมายให้ สบน.รับผิดชอบดูรายละเอียด เพราะมี ประสบการณ์จากการกลั่นกรองโครงการไทยเข้ ม แข็ ง มา แล้ว ทั้งนี้ เป็นการขอใช้งบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2554 ไปก่อน เพราะงบปี 2555 ยังไม่ผ่านรัฐสภา โดย จะดู ต ามความจ� ำ เป็ น เร่ ง ด่ ว น และทุ ก โครงการต้ อ ง เสร็จภายในเดือน เม.ย. 2555 ถ้าไม่เสร็จจะตัดทันที” นายสุวิชญ กล่าว

ทั้ ง นี้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ด้ า นการเงิ น จะเป็ น การชี้ แ จง รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือของภาค รัฐตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ได้อนุมัติให้มีวงเงิน สิ น เชื่ อ ในการฟื ้ น ฟู กิ จ การให้ กั บ ภาคธุ ร กิ จ โดยจะเชิ ญ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารออมสิน, บรรษัทประกันสินเชื่อ อุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.), ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SMEs Bank), ธนาคารเพื่อการส่งออกและน�ำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) และสมาคมธนาคารไทย มาให้ข้อมูลรายละเอียด การปล่อยสินเชื่อของแต่ละธนาคาร

นายสุวิชญกล่าวว่า ภายในสัปดาห์นี้ จะต้องสามารถ สรุปทุกโครงการที่จะได้รับอนุมัติงบประมาณได้ โดยใน วันที่ 21 พ.ย. จะมีการให้ทั้ง 7 กระทรวง เสนอราย ละเอียดโครงการมาให้พิจารณา ซึ่งมีเงื่อ นไขว่ า จะต้ อง เสนอโครงการที่เป็นการฟื้นฟูจากกรณีน�้ำท่วมเท่านั้น

น อ ก จ า ก นี้ จ ะ มี ผู ้ แ ท น จ า ก ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร ค ลั ง และส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มาร่วมให้ข้อมูลมาตรการส่งเสริมการลงทุน สิทธิประโยชน์ ในการลงทุน และมาตรการความช่วยเหลือด้านศุลกากร ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย. จากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554

21


TFPA Trade & Technical

WEEKLY BRIEF 15 Nov - 21 Nov 2011

สถานการณ์ด้านการค้า คลังอนุมัติเอกชน ตั้งกองทุนฟื้นฟูฯ

เพื่ อ ให้ ส� ำ เร็ จ ลุ ล ่ ว งตามเจตนารมณ์ ที่ ภ าคเอกชนได้ ตั้งใจไว้” นายอารี พ งศ์ ภู ่ ช อุ ่ ม ปลั ด กระทรวงการคลั ง เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2555 คลังมั่นใจว่าจะจัด เก็บรายได้รัฐบาลได้ตามประมาณการที่ตั้งไว้ตามเอกสาร งบ ประมาณ 1.98 ล้ า นล้ า นบาท เนื่ อ งจากการตั้ ง ประมาณการรายได้ ใ นปี นี้ เ พิ่ ม ขึ้ น ในอั ต ราที่ ค ่ อ นข้ า งต�่ ำ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2553 และ 2554. จากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554

รายงานข่ า วจากกระทรวงการคลั ง เปิ ด เผยว่ า นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ได้ท�ำหนังสือ ถึ ง ภาคเอกชน สภาหอการค้ า แห่ ง ประเทศไทย สภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สมาคมธนาคาร ไทย และบริ ษั ท จดทะเบี ย นในตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย เพื่ อ แจ้ ง ว่ า คลั ง พร้ อ มสนั บ สนุ น การจั ด ตั้ ง กองทุ น เพื่ อ ฟื ้ น ฟู ป ระเทศขึ้ น ในสภา หอการค้ า ฯ หรื อ ส.อ.ท. หรือสมาคมธนาคารไทย แล้วแต่กรณี ทั้งนี้การตั้งกองทุนฯ ดังกล่าวจะมาจากการรวบรวม เงิ น ส่ ว นต่ า งระหว่ า งจ� ำ นวนภาระภาษี เ งิ น ได้ นิ ติ บุ ค คล ที่ต้องช�ำระในอัตราภาษีส�ำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบัน ที่ 30% และอัตราที่ต้องช�ำระในรอบบัญชีถัดไปที่จะมีการ ลดเหลือ 23% ตามนโยบายรัฐบาล “พร้ อ มให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ให้ ก ารก� ำ หนดกรอบการ ด�ำเนินงานของกองทุน โดยยินดีจะอ�ำนวยความสะดวกใน การปรับปรุง หรือแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งเป็นอุปสรรค ในการจัดตั้งและด�ำเนินงานของกองทุนดังกล่าว

22

ธปท.เตือนรับมือบาทผันผวนหนัก เงินเคลมน�้ำท่วมไหลเข้า พาณิชย์เร่ง ฟื้นฟูส่งออก

Vol. 2 Issue 42

ส่งผลให้มีเม็ดเงินการประกันภัยจากต่างประเทศ ไหล มาเพื่อชดเชยความเสียหายในไทยมากขึ้น ท�ำให้ช่วงนี้น่า จะมีความต้องการเงินบาทมากขึ้น นอกจากนั้ น มี เ งิ น ไหลออกจากการน� ำ เข้ า เครื่ อ งจั ก ร ใหม่ของภาคอุตสาหกรรมเพื่อมาชดเชย เครื่องจักรที่เสีย หายไปจากน�้ำท่วม รวมถึงเม็ดเงินจากการลงทุนในตลาด หลักทรัพย์ฯ ส่งผลให้ค่าเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐปรับ ตัวแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วและผันผวน ขณะเดียวกัน ยังประเมินไม่ได้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจ โลก โดยเฉพาะยุ โ รปจะมี ผ ลต่ อ ค่ า เงิ น บาทในระยะต่ อ ไปอย่างไร เนื่องจากขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยซึ่ง ธปท.ต้อง ติดตามอย่างใกล้ชิด

ธปท.เตื อ นธุ ร กิ จ น� ำ เข้ า -ส่ ง ออก รั บ มื อ ค่ า เงิ น บาท ผั น ผวนหนั ก เหตุ มี เ งิ น เคลมประกั น ภั ย น�้ ำ ท่ ว มไหลเข้ า จากต่างประเทศ ดันความต้องการเงินบาทมากขึ้น ขณะ ที่อีกด้านมีเงินไหลออกเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ ด้านพาณิชย์ เตรียมถกผู้ส่งออก 22 พ.ย. นี้ เร่งเยียวยาหลังน�้ำลด ดึง แบงก์ให้ข้อมูลแหล่งทุน กู้ดอกต�่ำ

ดั ง นั้ น หลั ง จากนี้ เ งิ น ทุ น เคลื่ อ นย้ า ยจะเคลื่ อ นไหว 2 ทิศทาง คือ มีทั้งไหลเข้าและไหลออก แต่ยังไม่สามารถ ประเมินได้ชัดเจนว่าจะเกิดขึ้นในช่วงใด แต่หากเงินทุน ไหลเข้าและออกเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน หรือมีปริมาณที่เท่าๆ กัน โดยไม่มีเงินด้านไหนที่มีการเคลื่อนไหวมากกว่ากัน ก็ จะไม่ส่งผลต่อเงินบาท แต่หากมีการไหลเข้าหรือไหลออก ด้านหนึ่งมากกว่า จะส่งผลต่อเงินบาทเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ ธปท.จะต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิด

นางผ่องเพ็ญ เรืองวีระยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาด การเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ค่า เงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐในระยะต่อไป จะเคลื่อนไหว ผั น ผวนอย่ า งรวดเร็ ว มากขึ้ น ซึ่ ง เป็ น ผลกระทบจาก สถานการณ์น�้ำท่วมในประเทศ ที่ได้สร้างความเสียหายให้ กับอุตสาหกรรมภาคธุรกิจเสียหายอย่างมาก

“ผู้ส่งออก-น�ำเข้า ต้องเตรียมรับมือความผันผวนจาก เงินบาทที่จะมีมากขึ้นและเร็วขึ้นในระยะต่อไป เพราะหลัง น�้ำท่วมจะมีเงินจากการประกันภัยจากต่างชาติไหลเข้ามา ชดเชยความเสีย หายมาก ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่า ดัง นั้น จึงอยากส่งสัญญาณให้ตลาดรู้ว่า จากนี้ค่าเงินบาทจะ มีความผันผวนอย่างรวดเร็ว” นางผ่องเพ็ญ ระบุ

นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่ง ออก กล่าวว่า ในวันที่ 22 พ.ย. นี้ กรมฯ จะประชุมร่วม กับผู้ส่งออกสินค้าทุกกลุ่ม พร้อมเชิญตัวแทนจากส�ำนักงาน เศรษฐกิจการคลังธปท. และธนาคารพาณิชย์เข้าร่วม เพื่อ ประเมินสถานการณ์ และก�ำหนดมาตรการช่วยเหลือผู้ส่ง ออก และขอให้ทางสถาบันการเงินให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลัก เกณฑ์การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ธนาคารอนุมัติสินเชื่อ เพื่อช่วยเหลือภาคเอกชน ฟื้นฟูกิจการหลังน�้ำท่วมลดลง ก่อนหน้านี้กรมฯ ได้หารือกับผู้ประกอบการกลุ่มอาหาร เพื่อประเมินปัญหาและผลกระทบจากภาวะน�้ำท่วมที่จะส่ง ผลกระทบต่อการส่งออก อาหาร โดยเฉพาะประเทศผู้น�ำ เข้าสินค้าอาหารจากไทยทั้งสหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) และ ญี่ปุ่น ที่ได้มีการเพิ่มความเข้มงวดการตรวจสอบมาตรฐาน สินค้าอาหารจากไทยเพิ่มมาก ขึ้น เพราะกังวลว่าสินค้า อาหารจากไทยจะไม่ปลอดภัย เนื่องจากใช้น�้ำประปาที่มีสี และกลิ่นในกระบวนการผลิต ดังนั้น กรมฯ จะน�ำส�ำเนาเอกสารใบรับรองมาตรฐาน จากการประปานครหลวง แจกไปยังส�ำนักงานส่งเสริมการ ค้าระหว่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ทั่วโลก และสถานทูต ต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าในต่างประเทศ ตามนโยบายของนายกิ ต ติรัต น์ ณ ระนอง รองนายก รัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ ที่ได้สั่งการทูตพาณิชย์ทั่วโลก ชี้ แ จงข้ อ เท็ จ จริ ง เรื่ อ งมาตรฐานความปลอดภั ย ของน�้ ำ ประปาไทย เพื่อให้ผู้น�ำเข้าสินค้าในต่างประเทศได้คลาย ความกังวล. จากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554

23


TFPA Trade & Technical

WEEKLY BRIEF 15 Nov - 21 Nov 2011

อัตราแลกเปลี่ยน

24

Vol. 2 Issue 42

อัตราแลกเปลี่ยน

25


TFPA Trade & Technical

WEEKLY BRIEF 15 Nov - 21 Nov 2011

TFPA TEAM Executive Director

วิกรานต์ โกมลบุตร E-mail:

อัตราแลกเปลี่ยน THB 70.00

40.00 30.00

61.60 53.57 48.93

47.71 36.72

32.34

34.29

4.80

5.02

Head of Trade & Technical

48.97

วิภาพร สกุลครู E-mail:

42.04

2552 THB /1 GBP

THB / 1 EUR

อัญชลี พรมมา E-mail: anchalee@thaifood.org ธณัฐยา จันทรศรี E-mail: tanatya@thaifood.org

Division-Fisheries Products

4.68

E-mail : fish@thaifood.org Year

Head of Trade & Technical

THB/CNY

Trade and Technical Officer

ชนิกานต์ ธนูพิทักษ์

2553 THB / 100 JPY

vipaporn@thaifood.org

Trade and Technical Officer

31.69

0.00 2551

supatra@thaifood.org

E-mail : fv@thaifood.org

36.12

33.31

THB / 1 USD

Division-Fruit and Vegetable Products

สมาคมผู้ผลิตอาหารส�ำเร็จรูป ขอขอบคุณเว็ปไซต์ ดังต่อไปนี้

E-mail: linda@thaifood.org

สุพัตรา ริ้วไพโรจน์ E-mail:

20.00 10.00

Trade and Technical Manager

ลินดา เปลี่ยนประเสริฐ

YEARLY MID RATES OF EXCHANGE OF COMMERCIAL BANGKOK IN BANGKOK

THAIFOODPROCESSORS’ASSOCIATION Tel : (662) 261-2684-6 Fax : (662) 261-2996-7 E-mail: thaifood@thaifood.org www.thaifood.org

Administrative Manager

60.00 50.00

vikrant@thaifood.org

Vol. 2 Issue 42

E-mail: chanikan@thaifood.org

1. http://www.thannews.th.com 2. http://www.thairath.co.th 3. http://www.bangkokbiznews.com 4. http://www.tnsc.com 5. http://www.prachachat.net 6. http://www.dailynews.co.th 7. http://www.acfs.go.th 8. http://www.posttoday.com 9. http://www.matichon.co.th 10. http://www.naewna.com

รัตนา ชูศรี E-mail: rattana@thaifood.org ธนัญญา ตั้งจินตนา E-mail: thananya@thaifood.org

IT Support Officer ปวัณรัตน์ ใจกล้า

E-mail: pawanrat@thaifood.org

Data Management Office ญดา ชินารักษ์

E-mail: yada@thaifood.org

Commercial Relation Executive กัญญาภัค ชินขุนทด

E-mail: kanyaphak@thaifood.org

Administrator

วสุ กริ่งรู้ธรรม E-mail: vasu@thaifood.org ศิริณีย์ ถิ่นประชา E-mail: sirinee@thaifood.org

Accountant

วิมล ดีแท้ E-mail:

26

26

เสนอข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ……………………………………………………… ……………………………………………………… ……………………………………………………… ……………………………………………………… ……………………………………………………… ……………......................................................

wimon@thaifood.org

27


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.