MOOM Magazine Vol. 2 No.9

Page 1

นิตยสารธรรมะ : มุม : Vol.2 No.9 : ISSN 1906-2613 เดือนกันยายน 2554 : Lao Issue : ดวงเดือน บุนยาวง Vs. พระอาจารย์บุนส่วน แก้วพิล ม การศึกษาสมัยใหม่ ในลาวจะเข้า ไปหาพระสงฆ์ได้จริงหรือ : ดารา กัลยา : ในกลิ่นเจ้าหอม : Made in Chiang Mai : แจกฟรี !!


อาภรณ์หรูเลิศงามหลามล้นตู้ สวมใส่ดูพิเคราะห์เหมาะสถาน เพียงหนึ่งชุดเท่านั้นก็พอสะคราญ ส่อประมาณไม่เต็มเต็งเก่งหลายชุด วิมล เจือสันติกุลชัย


มูลนิธิหยดธรรม เจ้าของ www.facebook.com/mymoommag พระถนอมสิงห์ สุโกสโล ประธานมูลนิธิ พระมหาไกรวรรณ ชินทตฺติโย รองประธานมูลนิธิ ประวิทย์ เยี่ยมแสนสุข ที่ปรึกษามูลนิธิ พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชญฺญู กรรมการ พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป กรรมการ คุณวิชัย ชาติแดง กรรมการ คุณอลิชา ตรีโรจนานนท์ กรรมการ คุณศิริพร ดุรงค์พิสิษฐุ์กุล กรรมการ คุณวีรยา ทองน้อย กรรมการ คุณดนิตา ศักดาวิษรักษ์ กรรมการ พระถนอมสิงห์ สุโกสโล บรรณาธิการ อลิชา ตรีโรจนานนท์ บรรณาธิการที่ปรึกษา พระถนอมสิงห์ สุโกสโล บรรณาธิการผูพ ้ ิมพ์โฆษณา วรวรรณ กิติศักดิ์ กองบรรณาธิการ ตู้ป.ณ. 54 ปณ.แม่ริม เชียงใหม่ 50180 ที่อยู่มูลนิธิ โทร : 053-044-220 www.dhammadrops.org Rabbithood Studio บรรณาธิการศิลปะ พัชราภา อินทร์ช่าง ฝ่ายศิลป์ ศิริโชค เลิศยะโส / ภานุวัฒน์ จิตติวุฒิการ ช่างภาพ พรชัย บริบูรณ์ตระกูล / ชยพัทธ แก้วกมล ตะวัน พงศ์แพทย์ / วัชรพงษ์ บุญเรือง พระมหาวิเชียร วชิรเมธี พิสูจน์อักษร บริษัท เคล็ดไทย จำ�กัด 117-119 ร่วมบุญจัดส่ง ถ.เฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพนะนคร กรุงเทพฯ 10200 www.kledthaishopping.com บริษัท ดอคคิวเมนนท์ พาเซล เอ็กซ์เพรส จำ�กัด (DPEX) ร่วมบุญจัดส่ง 60 ซอยอารีย์ 5 เหนือ ต่างประเทศ ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 (www.dpex.com) พระพรหมคุณากรณ์ ป.อ.ปยุตโต/ Special thanks พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร/ พระมาโนช ธมฺมครุโก/ สุลักษณ์ ศิวรักษ์/ สุรสีห์ โกศลนาวิน/ ถนอมวรรณ โกศลนาวิน/ อุดม แต้พานิช/ ชาลี ประจงกิจกุล รบฮ. ออกแบบปก ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด กู๊ด-พริ้นท์ พริ้นติ้ง พิมพ์ที่ 4/6 ซอย 5 ถ. ช้างเผือก ต.ศรีภูมิ อ.เมือง เชียงใหม่ 50200 โทร : 053-412556 แฟกซ์ : 053-217264

Lao Issue การได้มีโอกาสเดินทางไปในที่ต่างๆ ถือเป็นทุกขลาภ (ขอแปลว่า ลาภที่เกิดจากความทุกข์ วิเคราะห์ศัพท์ตามหลัก ภาษาบาลีว่า ทุกขฺ า (ชาโต) ลาโภ เป็นสมาสอะไรก็ไปศึกษากันเอาเองก็แล้วกัน) อย่างหนึ่ง ของอาตมา เพราะเนื่องจากจะเป็นคนที่เ มารถอยู่ เป็นประจำ�แล้ว ยังเป็นคนที่ท้องเสียบ่อยๆ ในเวลาเดินทาง อีกด้วย แต่ที่ถือว่าเป็นลาภก็เพราะอาการเหล่านี้จะหายไปทันที ที่ได้พักหลังจากลงรถ และหากได้พักสักวันหนึ่งแล้วล่ะก็ ความ กระชุ่มกระชวยก็จะกลับมาอย่างเต็มเปี่ยมเลยทีเดียว จึงจำ�เป็น ต้อ งหาโอกาสเดินทางอยู่เนือ งๆ แม้จะต้องแลกด้วยการป่วย บ้างก็ตาม แต่บางทีการเดินทางก็ไม่ใช่ทางออกเสมอไป เพราะ เมื่อ โอกาสและจังหวะไม่ให้เราก็ต้องใช้วิธีอื่น แทน และวิธีอื่น ที่ว่าก็คือดูสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะอ่านหนังสือ ดูหนัง ดูสารคดี ถ้าดูดีๆ ก็มีประโยชน์มากเหมือนกัน ยิ่งระยะหลังๆ ได้เห็นหนังไทย หลายเรื่องนิยมอนุรักษ์ภาษาถิ่น ไม่ว่าจะเป็นภาษาเหนือ ภาษาอีส าน หรือ ภาษาใต้ ทำ�ให้คิดอยากจะลองทำ�มุมสักเล่ม เป็นภาษาถิ่นมั่ง เลยตัดสินใจข้ามการอู้กำ�เมือ ง (ภาษาเหนือ) ไปเว่าลาวแทน โดยสังเกตเห็นว่าภาษาเหนือคล้ายกับภาษาลาว อยู่ห ลายจุด ทีมงานชาวเหนือของเราน่าจะฟังรู้เรื่องได้ง่า ย แต่ สุดท้ายแล้ว เราก็พบว่า....การแลกเปลี่ยนวัฒ นธรรมทางหู เป็นประสบการณ์ที่สุดยอดจริงๆ พระถนอมสิงห์ สุโกสโล บรรณาธิการ


7

4 7 8

16

8 16 22 32 34 36 38 40

Buddhist’s Mystery : พระธาตุ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รอคำ�ตอบ คน-ทำ�-มะ-ดา : เกษียณทั้งทีต้องมี ความสุข มุมส่วนตัว : ดารา กัลยา : ในกลิ่นเจ้าหอม มุมพิเศษ : พิธฮี ดสรง VS. : ดวงเดือน บุนยาวง Vs. พระอาจารย์ บุนส่วน แก้วพิลม การศึกษาสมัยใหม่ ในลาวจะเข้าไปหาพระสงฆ์ได้จริงหรือ ธรรมไมล์ : แม่โขง Hidden tips : ท่านอนนั้นสำ�คัญไฉน ผ้าเหลืองเปื้อนยิ้ม : สืบจากความเชื่อ Time for ทำ� ธรรมะ(อีก)บท : เลือกดีย่อมได้ดี

22

M Mental O Optimum O Orientation M Magazine

สารบัญ


เรื่อง : กองบรรณาธิการ

เนปาลสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่นพุทธประวัติ Tulsi Ghimire ผู้อำ�นวยการสร้างภาพยนตร์ชาวเนปาลวัย 60 ปี กำ�ลังสร้าง “Gautam Buddha” ภาพยนตร์แอนิเมชัน่ พุทประวัติ เรื่องแรกของประเทศเนปาล เพื่อสนับสนุนการเป็นแหล่งกำ�เนิด ของพุท ธศาสนา เพราะยังมีห ลายคนสับสนว่าพระพุทธเจ้า ประสูติในอินเดียหรือเนปาลกันแน่ ซึ่งจากซากปรักหักพัง ทาง โบราณคดีพิสูจน์ได้ว่า กบิลพัสดุ์อยู่ท างตอนใต้ข องเนปาล ภาพยนตร์เรื่องนี้จะจัดทำ�เป็น 7 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฮินดี สิงหล เกาหลี จีน ญี่ปุ่น และเยอรมัน คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ ในปี 2013 โดยเนื้อหาภาพยนตร์จะเปิดเผยถึงเรื่องราวต่างๆ ที่ คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า และเรื่องราวความรักระหว่าง พระพุทธเจ้ากับ “พระนางยโสธรา” พระชายาของพระพุทธเจ้า ซึ่งไม่เคยมีใครทำ�มาก่อนอีกด้วย http://sikkimnews.blogspot.com

เรียนปฏิบัติธรรมออนไลน์ กันดีกว่า ในวันที่ 28 - 30 ตุลาคมที่จะถึงนี้ Pema Chödrön แม่ชีสายธิเบต สัญชาติอเมริกัน ลูกศิษย์ท่าน เชอเกียม ตรุง ปะ รินโปเช ผู้เขีย น หนังสือเรื่อง Smile at fear จะลองใช้ วิธีอันทันสมัย ในการสอนปฏิบัติ ธรรมผ่านเว็บไซท์ในหัวข้อ Living Beautifully with Uncertainty and Change สดจากนิวยอร์ค ซึ่งการสอนครั้งนี้ท่านกำ�หนดไว้ว่าจะเป็นการสอนครั้งสุดท้าย จนกว่าจะถึงปี 2013 เลยทีเดียว ฉะนัน้ ใครสนใจโปรดอย่าพลาด http://shop.shambhala.com/living-beautifully *หมายเหตุ การสอนจะเป็นภาษาอังกฤษนะจ๊ะ

มุมใหม่

5

สำ�นักพุทธเตรียมสร้างวัดไทยแห่งแรกที่ “นครเทียนจิน” ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยว่า กระทรวงการต่างประเทศมีนโยบายส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี ระหว่างไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้จัดทำ�โครงการ ก่อสร้างวัดไทยในบริเวณวัด พระหยกในนครเทียนจิน ซึ่งวัด ยินดีจะมอบที่ดินภายในวัดประมาณ 20 ไร่ เพื่อสร้างวัดและ อัญเชิญพระพุทธรูปแบบเถรวาทตามคติของไทยไปประดิษฐาน ทั้งนี้รัฐบาลกลางของจีนและรัฐบาลนครเทียนจินได้อนุมัติให้ ก่อสร้างอาคารวัดไทยภายในบริเวณของวัดแล้ว www.tnews.co.th

Oakland สลักรูปเหมือนท่าน ติช นัท ฮัน ไว้กลางเมือง เมือง Oakland ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้เปิดแผนการที่จะนำ�รูปแกะสลัก 25 บุค คลสำ�คัญสำ�หรับ มวล มนุษ ยชาติ ปั้น โดยศิลปินที่ชื่อว่า Mario Chiodo ไปตั้งไว้ที่ Fox Square กลางเมือง Oakland โดย หวังว่าผู้คนที่ผ่า นไปมาจะได้สนใจบุคคลผู้เปลี่ยนโลกเหล่านี้ ซึ่งในจำ�นวน 25 ท่านนี้มี อับราฮัม ลินคอร์น แม่ชีเทเรซ่า และ มหาตมะคานที รวมอยู่ด้วย www.remember-them.org


6

Buddhist’s Mystery

เรื่อง : กองบรรณาธิการ I ภาพประกอบ : รบฮ.

พระธาตุสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รอคำ�ตอบ

เวลาเดินทางไปบนถนนหนทางต่างๆ เราจะเห็นป้าย เชิญชวนไปนมัสการพระธาตุมากมายถูกติดไว้ตามเสาไฟฟ้า ดูทา่ ทางขลังจนหลายคนยกมือไหว้ปา้ ยงานพระธาตุแทนไปเรียบร้อย แต่มีใครเคยสงสัยไหมว่าพระธาตุคืออะไร และสำ�คัญอย่างไร ตามความเชื่อ “พระธาตุ” คือ ชิ้นส่วนร่างกายของ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันต์ต่างๆ ที่อาจอยู่ ในยุคสมัยใดก็ได้ แตกต่างกันก็ได้ขอให้มีผู้เชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ ขึ้นไป ชิ้นส่วนของท่านจะถูกมองเป็นพระธาตุไปทันที ถ้าเป็น ชิ้นส่วนของพระพุทธเจ้า จะเรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุ หรือ พระบรมธาตุ ถ้าเป็นของพระอรหันต์ จะเรียกว่า พระธาตุ แต่โดย ทั่วไปแล้วมักจะได้ยินคนเรียกรวมๆ กันว่า “พระธาตุ” ซึ่งชิ้นส่วน ที่กลายเป็นพระธาตุและถูกนำ�เอามาบูชานั้นมีหลายส่วน ไม่ว่า จะเป็นพระทันตธาตุ (ฟัน), พระเกศาธาตุ (เส้นผม) หรือ พระอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก) เป็นต้น ดูเผินๆ จะมีลักษณะคล้าย ก้อนกรวดเล็กๆ แต่ในบางชนิดก็มีลักษณะใสๆ คล้ายแก้ว บางชนิด ก็ดูไปคล้ายพลอย พระพุทธเจ้าเคยพูดถึงพระธาตุทั้งหลายไว้ในลักษณะ ทีว่ า่ หากผูใ้ ดเลือ่ มใสในพระสถูป (สถานทีเ่ ก็บพระธาตุ )ของพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระสาวกแล้วได้กราบไหว้บูชา ถึงแม้

ตายไปก็จะไปสู่สุคติอย่างแน่นอน ซึ่งในความหมายนี้ พระองค์ ไม่ได้หมายความว่าถ้าเก็บกระดูกพระองค์ไว้แล้วลูบไล้ทั้งวันทั้งคืน จะไปสู่สวรรค์ แต่พระองค์สอนให้มองทะลุกระดูกและสถูปเหล่านั้น ไปถึงปฏิปทาของพระองค์ อันมีบารมีที่ได้สะสมมาเป็นต้นแบบ ความดี เหมือนกับตอนที่พระราชาจากเมืองต่างๆ จะแย่ง พระบรมสารีริกธาตุกันหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน แต่ได้สติขึ้น มาจากคำ�พูดของโทณพราหมณ์ว่าพระพุทธเจ้าเป็นตัวแทนแห่ง ความดี หากคนที่เลื่อมใสมารบกันเพื่อแย่งสรีระของท่านก็คงจะ ไม่เหมาะแน่ๆ ทำ�ให้ในที่สุดก็มีการจัดสรรปันส่วนกันไปแต่โดยดี ฉะนั้นการมีพระธาตุอยู่ในวิสัยหรือในครอบครองนั้น ไม่ว่าจะเป็นพระธาตุของใคร จะเป็นของแท้หรือไม่ ก็ถือเป็นโอกาส อันดีที่จะได้มีสิ่งเตือนใจไม่ให้ทำ�ในสิ่งที่ไม่สมควร หากชาวพุทธ มองได้อย่างนี้พระธาตุก็จะมีประโยชน์ แต่หากต้องการให้พระธาตุ เป็นวัตถุที่รอการแสดงอภินิหารให้เห็นเท่านั้น ก็แสดงว่าชาวพุทธใน ปัจจุบันได้ลดคุณค่าของพระธาตุลงไปด้วยตัวเองเสียแล้ว และมัน คงจะแย่ยิ่งกว่าหากเอาเวลาไปนั่งรอพระธาตุเสด็จ โดยไม่คิด จะปรับปรุงตัวเองให้เป็นคนมีศีลมีธรรม ซึ่งอาจให้ผลเหนือกว่าการมีพระธาตุอยู่ใน ครอบครองด้วยซ้ำ�


www.WANGDEX.co.th


8

Book Corner

เรื่อง : กองบรรณาธิการ

สู่อิสรภาพที่แท้: Hidden Mind of Freedom ผู้แต่ง: ตาร์ธาง ตุลกู / ผู้แปล: นัยนา นาควัชระ สำ�นักพิมพ์: โกมลคีมทอง ผลงานใหม่ล่าสุดจากสำ�นักพิมพ์โกมลคีมทอง ที่ชื่อว่า “สู่อิสรภาพที่แท้” วิถีสู่การภาวนาและ การตระหนักรู้ เหมาะสำ�หรับคนที่กำ�ลังต้องการหาทางออกให้กับชีวิต หลายๆ คนที่ปฏิบัติธรรม เจริญศีล ภาวนาอยู่เป็นนิจ แต่ก็ยังหาคำ�ตอบให้กับตัวเองไม่ได้ว่าทำ�ไปเพื่ออะไร และทำ�แล้ว ได้อะไร หนังสือเล่มนี้จะทำ�ให้เรามองลึกเข้าไปในจิตใจของตัวเองได้อย่างน่าทึ่ง ให้เราสามารถ เข้าใจธรรมชาติและความยืดหยุ่นของจิต และนำ�ทางให้เราได้เจอคำ�ตอบทีเ่ ราค้นหา ว่าแท้จริงแล้ว ทางออกและบทสรุปของจิตใจของเราอยู่ตรงไหนกันแน่ บันไดกระจก ผู้แต่ง: วัฒน์ ยวงแก้ว สำ�นักพิมพ์: มติชน ผลงานของหนึ่งในผู้ท้าชิงรางวัลซีไรต์ปี 2554 ที่น่าจับตามอง เจ้าของรางวัลวรรณกรรมการเมือง พานแว่นฟ้า, รางวัลช่อการะเกดยอดเยี่ยม, รางวัลนายอินทร์อวอร์ด และ รางวัลปรีดี พนมยงค์ “บันไดกระจก” เป็นการรวบรวมเรื่องสั้น 10 เรื่อง อาทิ กระสุนนัดสองกับข้อต่อสุดท้าย, ช่องว่าง, เรื่องเล่าแสงตะเกียง (เรื่องเล่าแสนสุข), ฯลฯ โดยผู้แต่งสามารถสอดแทรกความสัมพันธ์ของ แต่ละเรื่องได้อย่างแยบยล เหมือนการเดินขึ้นบนบันไดกระจกอันน่าตื่นเต้น สะท้อนให้เห็นแง่มุม ต่างๆ ในสังคมมากมายระหว่างที่เราเดินไปทีละขั้น A Buddhist Approach to Patient Care ผู้แต่ง: พระไพศาล วิสาโล ร่วมกับ พระอาจารย์ชยสาโร สำ�นักพิมพ์: Lithira, Srilanka เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่อ งธรรมชาติของทุกชีวิตบนโลกใบนี้ และไม่มีใ ครสามารถหนีพ้นได้ หากแต่การที่จะเผชิญหน้ากับความตายอย่างสงบนั้นอาจทำ�ได้ยากยิ่ง ไม่ว่า จะเป็นตัวผู้ป่วยเอง หรือญาติพี่น้องก็ตามแต่ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเหมือน How to คู่มือการใช้พระพุทธศาสนาในการ ช่วยเยียวยาจิตใจ ให้พร้อมที่จะรับมือกับเหตุการณ์ที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นอย่างมีสติ และสามารถ ทำ�ตามแนวทางได้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อนำ�พาผู้ป่วยไปสู่การจากไปอย่า งสงบได้อย่างแท้จริง


เรียบเรียง : เอก ปทุมณี I ภาพ : วรวรรณ กิติศักดิ์

คน-ทำ�-มะ-ดา

9

เกษียณทั้งทีต้องมีความสุข

หากกล่าวถึงการเกษียณ หลายคนก็คงจะนึกไปถึง การใช้เงินที่สะสมมาทั้งชีวิตเพื่อพักผ่อนในบั้นปลาย หรือหาก เป็นข้าราชการก็จะพูดถึงเงินบำ�นาญ บ้างก็ยังไม่รู้จะทำ�อะไร จากที่เคยออกไปทำ�งานอยู่ทุกวัน แต่มาวันหนึ่งตื่นขึ้นมากลับ เคว้งคว้างไม่มอี ะไรจะทำ� ด้วยความเคยชินกับการทำ�งานมาตลอด ทำ�ให้บางคนเริ่มเหงาเริ่มเบื่อหน่ายกับสิ่งที่เป็นอยู่ หรือบ้างก็มี ความสุขอยู่กับการทำ�ตามสิ่งที่ตัวเองได้วางแผนวัยเกษียณเอาไว้ ป้าบัวจันทร์ คันธรส อดีตพยาบาลประจำ�แผนกสูติ นารีเวช โรงพยาบาลแมคคอร์มิค ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นคนวัยเกษียณ ที่หมดคุณค่า เพราะหลังเกษียณป้าบัวจันทร์ได้จัดตั้งชมรมผู้ สูงอายุหมู่ที่ 7 ตำ�บลสารภีอำ�เภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ ปี 2548 เพื่อมุ่งหวังให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้านได้มีสุขภาพที่ดี และ มีกิจกรรมทำ� อาทิเช่น ออกกำ�ลังกายยามเย็น ทำ�น้ำ�ยาล้างจาน เพื่อหารายได้ แนะนำ�การเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อ ดูแลสุขภาพ ให้ความรู้แก่ลูกหลานในบ้านที่มีผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย

ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่แต่เพียงแค่นั้นยังเป็นหมออาสาประจำ� ตำ�บลสารภี ออกตรวจสุขภาพทุกวันอาทิตย์ที่สองและสามของ เดือนอาทิเช่น การวัดความดันโลหิต การตรวจระดับน้ำ�ตาลใน เลือด เป็นต้น อีกทั้งยังทำ�หน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญมะเร็งปากมดลูก และเต้านมร่วมกับองค์กรของประเทศญี่ปุ่น และยังทำ�หน้าที่รอง ประธานสวัสดิการชุมชนตำ�บลสารภีอีกด้วย ทุกวันนี้ป้าบัวจันทร์บอกว่าตัวเองมีความสุข รู้สึกว่า ตนเองยังมีคุณค่า และยังอยากที่จะทำ�สิ่งเหล่านี้ต่อไป เพราะว่า ความรู้ความสามารถที่มีนั้น นำ�มาใช้จะเกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นดี กว่าที่จะอยู่เฉยๆ หลายครั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวงหน้า บ้านของแก เราจะได้เห็นผู้หญิงคนหนึ่งพร้อมกระเป๋าพยาบาล ออกมายังทีเ่ กิดเหตุเพือ่ ปฐมพยาบาลเบือ้ งต้นก่อนทีห่ น่วยกูช้ พี จะ มาถึง ทัง้ ๆ ทีแ่ กจะทำ�แค่เพียงนอนอยูใ่ นบ้านหรือยืนดูเฉยๆ ก็ได้ แต่กลับบอกเราด้วยแววตามุ่งมั่นว่า “ทำ�ไมเราต้อง หยุดอยู่เฉยๆ ในเมื่อตัวเรายังมีประโยชน์อยู่”


10

มุมส่วนตัว

เรียบเรียง : พรชัย บริบูรณ์ตระกูล I ภาพ : ดวงแข บุนยาวง

ดารา กัลยา : ในกลิ่นเจ้าหอม



12

ดารา กัลยา นักเขียนอาวุโสแห่งเมืองลาวนามปากกา “ดวงจำ�ปา” เธอสร้างงานเขียนและเป็นคณะริเริ่มทำ� วารสารด้านวรรณกรรมในสังคมลาว ชื่อ ไผ่หนาม และ วรรณศิลป์ จนนามปากกาของเธอส่งกลิ่นหอมไปทั่วดินแดน อีกทั้งได้ทำ�งานโครงการปกปักรักษาหนังสือใบลานลาว ทำ�ให้เธอได้กลับไปใกล้ชิดติดพันกับรากฐานภูมิปัญญาของ สังคม และยังมีส่วนสำ�คัญช่วยผลักดันงานด้านพุทธศาสนาเพื่อสังคมอีกด้วย และในปี 2008 เธอได้รับรางวัลนักเขียน ลาวช่อการะเกดเกียรติยศ ปี 2010 ได้รับรางวัลกวีซีไรต์ ในรวมบทกวี “ฮักดอก...จึงบอกมา” ปี 2011 ได้รับประกาศ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม นับเป็นการให้รางวัลระดับสูงครั้งแรกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว (สปป. ลาว) จากย่างก้าวที่ย่ำ�ผ่านโลกและชีวิตทั้งในการเป็นนักเขียนและการทำ�งานทางสังคม ครั้งนี้จึงนับเป็น โอกาสให้เราที่เป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดจะได้สัมผัสถึงเรื่องราวในกลิ่นเจ้าหอมของเธอ มุม : สิ่งที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจให้นั่งลงทำ�งานเขียนคืออะไร เสน่ห์ที่ดึงดูดที่กระตุ้นให้เฮาเขียนด้านนึงคือความงามของชีวิตที่เฮาได้พบเห็นเรื่องดีๆ ของคน พบเห็นเรื่องที่เขามีความผูกพันอาทร เป็นแง่หนึ่งที่เฮาอยากเขียนซึ่งเรื่องความดีความงามของคนยังเห็นอยู่ในสังคมที่วุ่นวาย มักจะได้เห็นได้ยินผู้ที่เขาทำ�ความดี ผู้ที่มีจิตใจ งามมันยังมีให้เห็นอยู่ นี่ก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่อยากเขียน อีกอย่างหนึ่งคือปัญหาสังคม อันนี้ก็ยังมีอยู่ร่ำ�ไป ปัญหาแบบใหม่ๆ เข้ามา คือปัจจุบันปัญหาพ่อแม่กับลูก การดูแลลูกในยุคสมัยใหม่ยากกว่าสมัยก่อน บางอย่างเป็นปัญหาของพ่อแม่ บ่แม่นปัญหาของเด็ก ก็ เป็นสิ่งท้าทายให้เฮาต้องเขียนจับมาเป็นประเด็น มุม : ชีวิตช่วงไหนบ้างที่เกิดความรู้สึกดีๆ ขึ้นในการทำ�งานเขียน เริ่มต้นด้วยความมักแท้ๆ ในการมาเฮ็ด จากที่เฮาอ่านหลายๆ ก็คิดอยากเขียนขึ้นมา เขียนเพื่อเอาอะไรที่อยู่ในใจออกมาแบ่งบัน เริ่ม ตั้งแต่ตอนเป็นครูนั่นแหละ พอเข้าเป็นครูก็มีโอกาสได้สัมผัสกับวัยรุ่นบ่าวสาวสมัยนั้น มีเรื่องแลกเปลี่ยนกันก็เกิดแนวคิดที่จะเขียนขึ้น มาให้วัยนั้นอ่าน เวลาต่อมาอายุมากขึ้นการเขียนก็จะเปลี่ยนไป จะเกี่ยวไปถึงเรื่องปัญหาสังคม ครอบครัว เอาปัญหาสังคมออกมา วิเคราะห์และสะท้อนออกมาให้คนอ่าน เพราะว่าปัญหาสังคมมันมีมาก ปี 1963-1967 สภาพบ้านเมืองเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ตอนนั้นก็เริ่มสนุกกับการเขียนเห็นปัญหามากเข้า ก็อยากเขียนสะท้อนออกมา และก็มีปัจจัยอยู่ในครอบครัวที่อำ�นวย คือมีพ่อมีน้อง หลายๆ คนที่ตามรอยกันมา เฮ็ดให้เกิดกลุ่มขึ้นในปี 1972 คนในครอบครัว 3-4 คนก็เริ่มตั้งกลุ่มกันขึ้น ออกวารสารรายเดือนของเฮา เอง ชื่อไผ่หนาม เปิดโอกาสให้คนหนุ่มคนน้อยเขียนเข้ามา คล้ายๆ กับว่าสร้างเป็นเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดความเห็นประกอบ ส่วนกัน อันนี้เฮ็ดให้ไผ่หนามมีชื่อเสียง มีมหาสิลา วีระวงส์ คือพ่อเป็นที่ปรึกษา เฮาเองเป็นหัวหน้า บก. และก็มีน้องๆ ช่วยกัน จนถึงขั้น มีการตั้งรางวัลให้นักเขียนชื่อว่ารางวัลเหรียญคำ�ไผ่หนาม (คำ� ในภาษาลาว หมายถึง ทองคำ� – ผู้แปล) ในปี 1974 ซึ่งนักเขียนเหล่านั้น ปัจจุบันกลายเป็นคนโด่งดังหลายคน มุม : การที่ได้เขียนมาต่อเนื่องและเกิดกลุ่มในครอบครัวโดยมีมหาสิลาเป็นแกนหลัก มีส่วนพัฒนาการคิดการเขียนอย่างไร มีส่วนๆ เฮาจะคุยกันเรื่อย เจอกันเรื่อย ทำ�ให้เป็นงานเขียนแบบอาชีพขึ้นมาเลย เพราะว่าแต่ก่อน เฮาเขียนแบบเฮา เห็นเอง เฮาคิด


ซึ่งเรื่องความดีความงาม ของคนยังเห็นอยู่ ในสังคมที่วุ่นวาย มักจะได้เห็นได้ยิน ผู้ที่เขาทำ�ความดี ผู้ที่มีจิตใจ งามมันยังมีให้เห็นอยู่ นี่ก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง ที่อยากเขียน


14 เอง และก็ไปเขียนออกมา ตอนมีวารสารและกลุ่มเฮาจะคุยกัน จะมีคนยกขึ้นมาว่าเรื่องนั้นบ้างเรื่องนี้บ้าง ที่เฮายังบ่ได้เขียน เอ๊ะ มีเรื่อง แบบนี้นะในสังคม เฮาจะคุยกันขึ้นมา และมีคนบอกว่าเรื่องนี้ข่อยจะเขียน เกิดเป็นแรงกระตุ้นให้เขียนได้ไวขึ้นและเขียนอย่าง มีความเข้าใจจากการวิเคราะห์นำ�กัน เฮ็ดให้เฮาทำ�งานได้เร็วมากในระยะ 2-3 ปีนั้น สามารถจัดทำ�ไผ่หนาม ได้ 36 ฉบับ และยังออก หนังสือรวมเรื่องสั้นได้อีก 7 เล่ม และสิ่งที่เขียนออกไปนั้น ลุงคำ�สิงห์ ศรีนอก นามปากกาลาว คำ�หอม เวลาได้มาอ่านได้ให้คำ�นิยามว่า พวกเจ้านี่แม่นผู้บันทึกประวัติศาสตร์ของสังคมลาว คือเอาความเป็นจริงที่เกิดขึ้นมาสะท้อน ซึ่งในเวลานั้นสังคมทั่วไปเขาก็ตั้งชื่อให้ว่า เป็นนักเขียนแบบสังคมวิจารณ์ (Social criticism) แต่หลังๆ ต่อมาแนวการเขียนจะเปลี่ยนไปตามกาลเทศะ มุม : แนวการเขียนที่ว่าเปลี่ยนไปมีการเปลี่ยนไปอย่างไร ก่อนการปลดปล่อยจะเขียนแบบสังคมวิจารณ์ก็มีอิสระ แต่ก็มีขอบเขตอยู่ เช่นว่า ถ้าเขียนแตะต้องทหารไป แตะต้องอำ�นาจของผู้ใหญ่ จะมีการข่มขู่ หมายถึงการพูด พูดให้กลัว อย่างเฮาไปเขียนว่าอยู่บ้านนายพลมีการเล่นการพนันเหมือนกัน ทำ�ไมไม่จับ ไปจับแต่ข้าง นอก พูดแค่นี้กลายเป็นเรื่องอันตรายไปแล้ว ปี 1975 พอปลดปล่อยก็เปลี่ยนไป ทุกกิจกรรมที่เป็นของเอกชนเป็นอันยุติ เป็นนโยบาย ของรัฐบาลใหม่ ทุกอย่างรัฐเป็นคนทำ� เพิ่นก็ระดมเอามาหมดทุกคนที่เป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ รวมกันเข้ามาและมีการจัดสัมมนา กัน หลายๆ คนก็ให้เข้ามาทำ�งาน บ่ได้เป็นนักเขียนเอกชนเสรีอีกต่อไป เข้ามาเป็นคนของรัฐบาลหมด เฮาเองก็เข้ามาฮ่วมคือกัน เข้ามา ร่วมในกรมพิมพ์จำ�หน่ายที่ดูแลเรื่องการพิมพ์ต่างๆ ปี 1979 รัฐบาลจึงมีนโยบายสร้างหนังสือพิมพ์ขึ้นหลายฉบับ หนังสือพิมพ์รายวันก็ มีเสียงประชาชน วารสารรายเดือนก็ตั้งหนังสือพิมพ์หนุ่มลาว แม่หญิงลาว และก็มีวรรณศิลป์ ซึ่งเฮาก็ได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการผลัก ดันงานและแต่งตั้งกันเป็นคณะบรรณาธิการ และเลือกเอาวันบุญธาตุหลวงในปี 79 เป็นวันที่ถือกำ�เนิดของวรรณศิลป์ ตอนนั้นเป็นผล งานที่เฮาทำ�กันแบบมันมือและก็เต็มไปด้วยอุดมคติและมีไฟ ทำ�ผลงานออกมาได้หลาย ทุกคนในวงการนักเขียนตื่นตัวกันหมด แต่ แนวการเขียนก็เริ่มเปลี่ยนเป็นการให้เขียนแนว “สัจทรรศน์สังคมนิยม” หมายความว่าต้องเบิ่งสังคมโดยความจริง แต่ว่าต้องมีแนวคิด สังคมนิยมแทรกซ้อนเข้าไป เฮาจะยกย่องคนทีท่ �ำ คุณงามความดีให้หลาย ส่วนสิ่งที่มันบ่ดีจะต้องมีวิธีพูด พูดบ่ให้เห็นเป็นแง่ลบ มุม : วรรณศิลป์ดูมีพลังมาก มันส่งผลต่อแวดวงทางสังคมอย่างไรบ้าง ตอนแรกพิมพ์อยู่ 2,000 ฉบับ ราคาขายต่ำ�เพราะรัฐเป็นผู้ออกทุน มันส่งผลเพราะในโรงเรียนมัธยมอ่านกันมาก และเห็นผลทันตา เพราะมีคนวัยหนุ่มสาวเขียนเข้ามาหาเฮา แสดงถึงการอ่านที่มีการตอบรับ และดีหลายเพราะราคาถูก คนก็ซื้อได้และอ่านได้ รัฐบาล ส่งไปทั่วทุกแขวง ซึ่งมีร้านหนังสือของรัฐอยู่ทุกแขวงคอยบริการ ต่อมาได้ขยายจำ�นวนพิมพ์ขึ้นไปถึง 7,500 ฉบับต่อเดือน ถือเป็น หนังสือพิมพ์ที่พิมพ์หลายที่สุด สมัยนั้นมีคอลัมน์ “เวียกดีคนเด่น” หมายถึงเฮาไปสัมภาษณ์คนที่มีผลงานเด่นๆ อย่างเช่นหมอที่เก่งๆ เวลามีปัญหาใหญ่ๆ จำ�ได้ว่ามีเรื่องไปสัมภาษณ์หมอที่ดูแลเด็กน้อยที่เป็นไข้เลือดออก เป็นครั้งแรกที่เมืองลาวรู้จักไข้ยุงลาย เพราะ ปีนั้นระบาดมาก เด็กเล็กตายกันเป็นร้อยๆ เป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลทำ�งานกันอย่างหนัก พวกเราชาววรรณศิลป์ก็เข้าไปในโรงหมอ ทำ� สารคดีเกี่ยวกับคนที่ดูแลเด็กน้อยเหล่านี้ อย่างเฮาถนัดเรื่องสั้นก็ไปหาประวัติหมอที่ดูแลเด็ก เขียนเป็นเรื่องอุดมคติว่าอยากให้มีหมอ อย่างนี้ แต่เฮาก็บอกว่ามันมีแล้วบุคคลอย่างนี้มีแล้วอยู่ในสังคมและก็เขียนให้สังคมอ่าน ก็เกิดเสียงพูดคุยขึ้นว่า โอ้ ใครกันหนอคน นี้น่ะ หมอผู้นี้คือใคร หมอทุกคนก็ต่างคิดว่าเป็นตัวเอง (หัวเราะเสียงดัง) ก็เลยได้ผล เป็นการกระตุ้นให้คนทำ�ความดี ยุคนี้ทำ�งาน ก็สนุก เฮ็ดอยู่วรรณศิลป์ 13 ปี เป็นคณะบรรณาธิการอยู่ 3 ปี และก็มาเริ่มเป็นรองหัวหน้า บก. คนที่หนึ่งรับดูแลงานทั้งหมด ต่อมา ก็เป็นหัวหน้าบรรณาธิการ ถือว่าได้เฮ็ดเวียกงานนี้อย่างเต็มไม้เต็มมือ สร้างกำ�ลังสร้างคนขึ้นจากที่มี 5-6 คน กลายเป็น 27-28 คน และนอกจากวรรณศิลป์ออกเป็นรายเดือนแล้วยังพิมพ์เป็นเล่มก็รวบรวมเอาเรื่องที่เคยออกมารวมพิมพ์


15

มุม: ได้ยินว่าเคยทำ�โครงการปกปักรักษาตำ�ราใบลาน ซึ่งถือเป็นแหล่งเก็บภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่สำ�คัญของลาว เป็นมาอย่างไร ถึงได้เข้าไปทำ�งานด้านนี้ ที่จริงเฮาเป็นคนที่สนใจวรรณคดีโบราณมาแต่ยังน้อย เนื่องจากพ่อเป็นคนทำ� เฮาเป็นคนอ่านก็ซึมซับเข้ามา แต่ซึมซับในระดับผู้อ่าน ที่ประทับใจ และฟังท่านเล่าเวลาอธิบายให้คนนั้นคนนี้ฟัง พ่อมักจะอธิบายเรื่องศาสนาพุทธ อธิบายเกี่ยวกับเรื่องวรรณคดีที่เขียนไว้ใน ใบลาน เฮาจะได้ยินมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย จะชอบฟังเวลาผู้ใหญ่คุยกัน นอกจากนั้นหนังสือที่พ่อเขียนออกมาอยู่หน้าโต๊ะ ยังไม่ทันได้เข้า พิมพ์ เฮาจะได้อ่านก่อนใครๆ ที่นี้มันก็มาโดยบังเอิญ พอดีที่วรรณศิลป์ขึ้นกับกรมพิมพ์จำ�หน่าย เพิ่นก็เลยตั้งเป็นรองหัวหน้า อนุกรรมการยูเนสโก้ (UNESCO) ที่นี้เกิดขบวนการของยูเนสโก้มีนโยบายทศวรรษวัฒนธรรมขึ้น ระยะสิบปี จากปี 1987 ถึง 1996 เลย ได้เข้ามาเป็นคณะทำ�งาน ก็เริ่มมีการจัดสัมมนารวมทั่วประเทศ เอาพระเอาสงฆ์จากทุกๆ แขวงมาประชุมถามกัน เวลานั้นพระสงฆ์ ก็ไม่ค่อยรู้ว่า เฮามีหนังสือใบลานมากเท่าไหร่ ความรู้ทางภาษาบาลีก็ลดลงในระยะ 6 ปีหลังจากการปลดปล่อย บ่ได้มีการศึกษาทาง ด้านธรรมะ หลังจากสัมมนาไปแล้วในปีแรก ทางกระทรวงวัฒนธรรมเลยบอกให้เฮาเป็นคนเฮ็ดต่อ และตั้งคณะทำ�งานขึ้นมา ความจริงเมื่อไปสำ�รวจใบลานแล้วมีมากกว่าที่คิดเอาไว้ เพราะว่าสมัยปลดปล่อยใหม่ๆ มีความหวาดกลัวคิดว่าคอมมิวนิตส์เข้ามา แล้วจะเอาไปทำ�ลายเลยเอาไปซ่อน ไม่บอกให้รู้ ชาวบ้านยังบ่ไว้ใจ 2-3 ปีแรกเป็นงานที่ท้าทายมาก แต่ว่าการเป็นลูกของมหาสิลา ก็ช่วยนะ พอออกชื่อมาเท่านั้นแหละ พระสงฆ์องค์เจ้า ผู้เฒ่าผู้แก่ยังจำ�ชื่อของพ่ออยู่ ก็เลยได้รับความสะดวกมาก จากโครงการใบลาน 3 ปี ก็เฮ็ดต่อมาๆ กลายเป็น 14 ปี ซึ่งเป็นงานที่ขยายใหญ่กว้างไปทั่วประเทศ หลังจากงานได้ลงตัวดีแล้ว เฮาก็เปลี่ยนไปเป็นที่ปรึกษา ด้านการบริหารจนปี 2004 มุม: การได้ทำ�งานโครงการใบลานถือเป็นโอกาสได้เข้าไปใกล้ชิดรากฐานทางภูมิปัญญาของลาว มีผลต่อมุมมองความคิดตัวเอง อย่างไร ใช่เลย ในเวลาเฮ็ดเวียกเฮาต้องศึกษาไปด้วย ได้ไปศึกษาทบทวนเรียนในเรื่องตัวธรรมและภาษาบาลี ซึ่งเรียนตั้งแต่สมัยมัธยมและ ลืมๆ ไปหมดแล้ว ก็ได้เรียนจากอาจารย์และจากการทำ�งานจริง และก็ไปเห็นรายชื่อวรรณคดีเก่าแก่จนเกิดแรงบันดาลใจคิดว่าอันนี้ จะต้องเกิดการค้นคว้าต่อ ซึ่งสมัยที่พ่อทำ�ช่วงแรก ท่านจะเป็นคนลงไปค้นหาเอกสารที่ตีราคาว่าสำ�คัญ ท่านจะไปด้วยตัวเองไปอ่านๆ หรือไม่ท่านก็จะบอกลูกศิษย์ลูกหาไปค้นดู นำ�มารจนาและนำ�มาดูแลค้นคว้า และพิมพ์ออกเป็นเล่มเพื่อเผยแพร่ให้คนอ่านจนถึงเอา เข้าหลักสูตรชั้นมัธยม ในสมัยนั้นเฮายังเคยได้เรียนเลย นี่ก็เฮ็ดให้เฮากลับคืนไปสู่การอ่าน เฮ็ดให้เฮาเห็นถึงคุณค่าของเรื่องที่พ่อเคย ยกย่องเอาไว้ว่าเป็นเรื่องที่ดี เช่น ท้าวฮุ่งท้าวเจืองกับสังข์สินไซ ซึ่งเป็นเรื่องที่เก่าแก่หลายร้อยปี ส่วนวรรณคดีที่เป็นสำ�นวนใหม่ที่เขียน ขึ้นช่วง 60-70 ปีหลังนี้ เห็นเลยว่าอันใหม่คัดลอกมาแบบไม่ได้ยกเอาคุณธรรมของแก่นพระพุทธศาสนาเข้ามาพูด เป็นเพียงแต่แต่ง ม่วนๆ ไปอย่างนั้นก็มี เฮาได้มาเข้าใจเรื่องพวกนี้และซึมซับเข้ามาคล้ายๆ กับว่าสิบกว่าปีที่เข้ามาเฮ็ดโครงการใบลานมันเป็นการเข้า เรียนในมหาวิทยาลัยอีกครั้งนึง และเฮาก็มีอาจารย์ที่มีความสามารถเป็นขั้นปรมาจารย์คอยชี้แนะและได้เฮ็ดเวียกกับเพิ่นถือเป็นโชคดี เช่น ศจ. ดร. ฮรัน ฮันดิอุส (Harald Hundius), รศ. สมหมาย เปรมจิต, อาจารย์ ดร. ม.ร.ว. รุจยา อาภากร จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, อาจารย์มหา สัมฤทธิ์ บัวศรีสวัสดิ์ และอาจารย์มหา บุนยก แสนสุนทอน จากกระทรวงแถลงข่าว และวัฒนธรรม สปป.ลาว มุม : เคยคิดอยากทำ�งานเขียนหรืองานที่ถ่ายทอดสิ่งที่เป็นภูมิปัญญาของสังคมลาวที่เราได้เข้าไปสัมผัส เช่นงานวรรณคดี ให้ออกไปสู่ สังคมหรือไม่อย่างไร ส่วนใหญ่เฮาจะได้ใช้ในโอกาสไปปาฐกถาและซ่วงที่ลงไปทำ�โครงการใบลาน เวลาไปอยู่ไหนก็จะยกในด้านวรรณคดีและเอาเรื่อง สังข์สินไซ คอยดึงอันนั้นอันนี้มาเว่าๆ จนอาจเรียกว่าเฮาเข้าใจแตกฉานเรื่องนี้ จะเว่าแบบไหนก็ได้ เว่าถึงคำ�ศัพท์ ภาษา เรื่องคำ�ม่วนๆ


16 เรื่องคำ�สอนคุณธรรมก็ยกออกมา ตลอดซ่วงที่อยู่กับโครงการใบลานจะไปหาซาวบ้านต้องมีกองประซุม กองประซุมระดับแขวง กองประซุมระดับบ้านจะมีซาวบ้านมานั่งฟังบางเทื่อก็ถึงร้อย เฮาก็เอาเรื่องนี้แหละไปเว่า ข้าเจ้าก็จะม่วนและก็เข้าใจ อยู่นั่น 2-3 มื้อ บ่ได้เซาหรอก เพราะฉะนั้นเวลาที่ทำ�โครงการใบลานเป็นระยะที่เอิ่นว่าได้ฝึกฝนตนเองให้เข้าสู่วรรณคดีหลาย โดยเฉพาะเรื่องสังข์สิน ไซ เฮาเอาสังข์สินไซไปใช้สิบกว่าปีจนถือว่าได้ไปขยายเผยแพร่ไปในตัว แต่ว่าบ่ได้เขียนนั่นเขียนนี่ออกมา ฉะนั้นมาฮอดมื้อนึงก็อยาก สอนเด็กน้อยให้ขับลำ�สินไซ เป็นความคึดที่มีมาหลายปี จนถึงประกาศเอาเด็กน้อยมาเฮียนกลอนลำ�และจ้างเอาอาจารย์ให้มาสอน ก็ได้มาสอน 2 เทื่อ แต่เห็นว่าเด็กน้อยยังบ่ได้กลอนเขาจึงลำ�บ่ได้ เอากลอนสั้นๆ ให้ท่องเขาก็ท่องบ่ได้ เขาบ่มีทักษะในการจดจำ�กลอนก็ เลยเลิกล้มกันไป ต่อมาวิกกี้ (ลูกชายชื่อดาราวง กัลยา) เขาไปทำ�กิจกรรมกับกลุ่มเด็กๆ เฮาก็คุยว่าอยากให้เด็กอ่านกลอนได้ลำ�ได้ เคย เฮ็ดให้เขาเบิ่งว่าสันไซนั้นลำ�แบบนั้นแบบนี้ วิกกี้ก็สนใจบอกว่าจะลองเอาไปเฮ็ดไปทำ�เอง เขาก็ศึกษาเองไปทีละน้อยมาถามทีละน้อย มีความคิดของเขาเพิ่มขึ้นๆ เอง จึงถือว่าเปลี่ยนเป็นวิกกี้เป็นคนไปเฮ็ดภารกิจนี้จึงมีผู้ฮับช่วงไป (หัวเราะ) มุม : การได้เข้าไปเรียนรู้ถึงเนื้อตัวธรรมะที่เป็นอยู่ในสังคมลาวจริงๆ ส่งผลถึงงานเขียนรวมถึงการใช้ชีวิตอย่างไร ในเรื่องงานเขียน เฮ็ดให้ระยะหลังเปลี่ยนเป็นทรรศนะที่เบิ่งสังคมเบิ่งโลกอย่างมีความเข้าใจและก็เห็นใจชาวบ้านประชาชน แต่ก่อน เฮาจะเบิ่งแบบสายตาคนที่อยู่สูงซักหน่อยเนอะ คล้ายๆ ว่าเฮามีความฮู้ก็จะตินู่นตินี่ ติไปหมดอย่างที่เรียกว่าเป็นนักวิจารณ์ ตอนหลัง เฮาก็มาใกล้ชิด ก็มาเห็น มาเบิ่งก็ทำ�ให้เข้าใจว่าชาวพุทธลาว โดยแท้จริงแล้วเขานับถือศาสนาพุทธแบบใด ชาวบ้านยังมีความเชื่อ ยังมีความศรัทธาแบบบริสุทธิ์จริงๆ มีการอุทิศให้แก่ศาสนาแก่วัดอย่างจริงจัง เฮาได้ไปคุยกับเขาและก็เห็นว่าศรัทธาของเขาลึกซึ้ง ที่ไหนมีพระมีเจ้าพระสงฆ์ผู้เฒ่าผู้แก่เป็นหลักของหมู่บ้านนั้น มีผู้นำ�ทางศาสนาหรือทางจิตวิญญาณของเขาอยู่ เห็นว่าชาวบ้านจะไป ด้วยกันอย่างมีเอกภาพและก็บ่มีปัญหา เฮาก็จึงมาเปรียบเทียบและค่อยๆ เปลี่ยนไปด้วย ดำ�รงชีวิตแบบง่ายดายตามธรรมชาติเกื้อกูล กัน ครั้นจะพูดว่าเริ่มแบบสายกลางก็ถือว่าใช่ คือเฮาบ่อยากได้อยากเป็นนั่นเป็นนี่มากเกินไป และเฮาก็ไปเพียงๆ (เสมอกัน) กับชาวบ้านนั่นเอง เมื่อเข้ากันได้ดีแล้ว ชาวบ้านก็จะยอมรับฟังเฮา

อธิบายศัพท์ เฮา, ข้อย : เรา, ฉัน เพิ่น : เขา ใผ : คนไหน เป็นหยัง,เพราะว่าหยัง : เพราะอะไร เทื่อนึง : ครั้งนึง นำ�กัน : ร่วมกัน ทำ�อิด : ครั้งแรก, ครั้งเริ่มต้น บ่ : ไม่

แม่น ฮอด เฮ็ด เบิ่ง เว่า คึด เอิ่น ยั้วะ ทิ้ม

: ใช่,ถูกต้อง : ถึง, ไปถึง : ทำ�, ได้ทำ� : มอง : พูด : คิด : เรียก, เรียกว่า : ล้อหลอก : ทิ้ง

ซ่ำ�นี้ เปิ้มตำ�รา เวียก บ่อน แขวง มื้อ

: เพียงแค่นี้ : หนังสือเรียน : งาน : แห่ง, สถานที่, แหล่งที่ : จังหวัด : วัน

นอกจากนี้คำ�ลาวบางครั้งจะออกเสียงแตกต่าง จากคำ�ไทย เช่น “ร” เปลี่ยนเป็น “ฮ” เช่น โฮงเฮียน, เฮียนฮู้, ฮ่วม “ช” เปลี่ยนเป็น “ซ” เช่น ซุมซน, ใซ้



18

มุมพิเศษ

เรื่อง l ภาพ : พรชัย บริบูรณ์ตระกูล

พิธีฮด


ดสรง


20

“ลาว” ศัพท์คำ�หนึ่งที่คนไทยได้ยินบ่อยมาก เพราะเป็นทั้งเชื้อชาติ ภาษา ประเทศ วัฒนธรรม จนถึงคำ�ด่า และเนื่องจากลาวเป็นประเทศที่อยู่ติดกับไทยเหมือนเมืองพี่เมืองน้อง มีความเกี่ยวพันทางการปกครองอยู่นาน เป็นร้อยปี ภาษาในภาคอีสานก็เรียกว่าภาษาลาว แต่ในขณะเดียวกันอะไรที่ไม่ค่อยดีก็โยนไปที่ลาวหมด โดยคนทั่วไป ที่พูดถึงลาวในทางเสื่อมเสียอาจจะไม่รู้จักวัฒนธรรม และประเพณีความเชื่อของประชาชนลาวเลยก็ได้ ซึ่งอาจเป็น ไปได้ว่าท่ามกลางสังคมที่ไม่สลับซับซ้อนเท่าไรนักได้ซ่อนอะไรดีๆ ไว้มากกว่าที่เรานึกคิดเอาเอง ดังนั้น มุม ฉบับนี้จึง พาศึกษาระบบการปกครองคณะสงฆ์ดว้ ยพิธกี รรมในทางพุทธศาสนาทีน่ �ำ มาสูค่ วามเข้าใจระบบปกครองนัน้ เลยทีเดียว

คณะสงฆ์ลาวนับแต่ปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ.1975) หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ได้มีการยกเลิกระบบสมณะศักดิ์ของคณะสงฆ์ จากเดิมที่มีการถวายนามยศเป็นลำ�ดับชั้นต่างๆ กลับมาสู่การใช้ธรรมะวินัย เป็นหลักพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันด้วยความเสมอภาพภายในคณะสงฆ์ หากแต่รูปแบบประเพณีวัฒนธรรมในการยกย่องศรัทธาพระภิกษุ สามเณร ที่เรียนรู้ปฏิบัติดีหรือสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่ชุมชนยังคงอยู่ โดยชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามาเป็นหลักสำ�คัญในการน�ำ้ จุนพระศาสนา และคอยสอดส่องดูแลการประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุสามเณร หากองค์ใดมีคุณสมบัติสมควรเหมาะสมจนเป็นที่เคารพศรัทธา ก็จะจัด พิธกี าร “ฮดสรง” หรือ การรดน�ำ้ สรงน�ำ้ เพือ่ เป็นการยกย่องชูเกียรติคณ ุ ให้ปรากฏ และเป็นการถวายกำ�ลังใจแด่พระสงฆ์สามเณรผูป้ ระพฤติ ปฏิบตั ดิ ใี ห้ได้ท�ำ ดียง่ิ ๆ ขึน้ ไป และยังเป็นการชักจูงให้ทา่ นอืน่ ๆ ได้เห็นถึงผลการกระทำ�ดีจะได้ประพฤติปฏิบตั ติ ามแบบอย่างอีกด้วย นับว่าการใช้ธรรมะวินัยเป็นหลักพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันด้วยความเสมอภาพภายในคณะสงฆ์โดยไม่มีระบบสมณะศักดิ์ ได้มีส่วนทำ�ให้ชุมชนท้องถิ่นยังคงวิถีแห่งความเป็นชุมชนชาวพุทธที่พุทธบริษัทคือพระภิกษุสงฆ์สามเณร (วัด) และบ้านได้มีความใกล้ชิด ช่วยเหลือเกื้อหนุนกัน ชาวพุทธลาวยังคงเข้าวัดเพราะมีวัดเป็นศูนย์กลางผูกโยงในทางประเพณีวัฒนธรรม คนเฒ่าคนแก่เข้าวัดทำ�บุญ เพราะมีวัดเป็นที่พึ่งช่วงท้ายของชีวิต ส่วนวิถีชีวิตของพระภิกษุสงฆ์สามเณรโดยรวมก็มีความเรียบง่ายไม่ได้แตกต่างกัน ชาวบ้านธรรมดาๆ สามารถเข้าถึงพระผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาหรือแม้ท่านที่มีตำ�แหน่งในทางการปกครองสงฆ์สูงๆ และหากพระภิกษุสงฆ์สามเณรองค์ใด ประพฤติปฏิบัติไม่เหมาะสม ก็จะถูกชุมชนท้องถิ่นคอยสะกิดเตือนจนถึงขั้นขับออกจากวัดหากกระทำ�ผิดร้ายแรง ถือเป็นการค้ำ�จุนให้ พระพุทธศาสนาในประเทศลาวยังคงมั่นคงอยู่ในธรรมะวินัย และอาจเป็นส่วนสำ�คัญที่ช่วยรับมือกับความทันสมัยที่กำ�ลังรุกคืบเข้า เปลี่ยนแปลงสังคมลาวอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นกระแสที่ดูดกลืนให้สังคมเข้าสู่บริโภคนิยมโดยหลงเห็นความอยากมีอยากเป็นคือความสุข ซึ่งทำ�ให้พระศาสนาในหลายๆ ประเทศเกิดความผิดเพี้ยนไป เช่น ปรากฏการณ์จตุคามรามเทพที่เคยสะท้อนขึ้นในสังคมไทย แต่เดิมการ “ฮดสรง” หรือ “เถราภิเษก” ให้กับพระภิกษุสามเณรผู้มีคุณสมบัติ เป็นพิธีการที่จัดขึ้นเพื่อเลื่อนนามยศซึ่งเป็นระบบ สมณะศักดิ์ในคณะสงฆ์ลาว โดยอาจเป็นพิธีการในระดับพระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งโดยพระองค์เอง หรือเป็นระดับเจ้าแขวง (เจ้าคณะ จังหวัดไทย) พร้อมด้วยระดับต่างๆ รองลงมาจนถึงระดับชาวบ้านร่วมจัดพิธีขึ้น ทั้งนี้การจะได้รับถวายนามยศชั้นใดจะต้องได้รับการศึกษา เป็นบันไดไต่ขึ้นเป็นชั้นๆ การเรียนส่วนใหญ่มีการท่องจำ�ตามลำ�ดับ หรืออาจเรียนท่องต่อปากอาจารย์หรือในหนังสือที่จารในใบลาน เป็น อักษร “ตัวธรรม” หรือ “อักษรธรรม” ที่เรียกเช่นนี้อาจเนื่องจากใช้เป็นอักษรจารึกพระธรรมวินัย และเมื่อจบหลักสูตรชั้นนั้นๆ ก็ดี ถือว่าเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิเฉียบแหลมทางพระปริยัติธรรมมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป ถือว่ามีบุญวาสนาดี ต่างได้รับเกียรติ ยกย่องสรรเสริญและจะได้รับการถวายนามยศ ทั้งนี้แนวสังเขปของเนื้อหาที่เรียนมี 3 ขั้นๆ หนึ่งๆ เรียกว่า “บั้น” โดยยืดหยุ่นแตกต่างกันไป แต่ละพื้นที่ดังนี้ บั้นต้น

1. สูตรมนต์น้อย คือ ตั้งมุงคุลน้อย ได้แก่ 7 ตำ�นาน สูตรมนต์หลวง คือ ตั้งมุงคุลหลวง (มงคลหลวง) ได้แก่ 12 ตำ�นาน ไชยน้อย ไชยใหญ่ จบบริบูรณ์ 2. สูตรมนต์กลาง คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มหาสมยสูตร อนัตตลักขณสูตร อาทิตตยปริยายสูตร มาติกา แจง อภิธรรม 7 คัมภีร์ พระวินัย พระสูตร 3. สูตรมนต์ปลาย คือ สัททนีติปกรณ์ (บาลีมูลกัจจายนสูตร) อภิธัมมัตถสังคหบาลี ปาฏิโมกข์บาลีต้องท่องให้ได้


21

บั้นกลาง 1. เรียนสูตรมูลกัจจายน์ เริ่มสมัญญาภิกธาน-สนธิ เป็นต้นไป เหมือนกับการเรียนบาลีในปัจจุบัน 2. แปลคัมภีร์บาลีอัฏฐกถาทั้ง 5 คือ พระวินัย อัฏฐากถาอาทิกรรม อัฏฐาถาปาจิตตีย อัฏฐกถาจุลลวรรค อัฏฐานกถามหาวรรค อัฏฐกถาปริวารวรรค 3. อัฏฐกถาธรรมบทบาลี 8 ภาค บั้นปลาย 1. คัมภีร์ทสชาติบาลี 2. มังคลัตทีปนีบาลี 3. อัฏฐกถาวิสุทธิมรรคบาลี 4. อัฏฐกถาอภิธรรมสังคหะบาลี


22 ส่วนการเลื่อนนามยศลำ�ดับตามแบบอย่างในสมัยนครหลวงเวียงจันทร์ แบ่งเป็นชั้นๆ ได้ดังนี้ ชั้นสำ�เร็จหรือสมเด็จ ผู้ที่จะได้นามยศเป็นชั้นสำ�เร็จ จะต้องเรียนจบหลักสูตรบั้นต้นก่อน ชั้นซา คำ�ว่า “ซา” คงหมายถึงปรีชา นั่นเองแต่ตัดคำ�ต้นออก หมายถึง ฉลาด รอบรู้ หรือคงแก่เรียน ผู้ที่จะได้นามยศชั้นนี้จะต้อง ผ่านชั้นสำ�เร็จมาก่อน แล้วพยายามเล่าเรียนจบหลักสูตรบั้นกลาง ชั้นคู ผู้ที่จะได้ชั้นนี้ จะต้องมีคุณสมบัติ 2 อย่างคือ 1. อายุพรรษาจะต้องพ้นนวกภูมิและมัชฌิมภูมิ ตั้งอยู่ในเถรภูมิ เรียกว่ามี วัยสมบัติอย่างหนึ่ง และ 2. เรื่องคุณวุฒิ จะต้องผ่านชั้นสำ�เร็จและชั้นซามาแล้ว มีอุตสาหะวิริยะ เล่าเรียนจบหลักสูตรบั้นปลายและค้นคว้า ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น อยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่า พหูสูต สมควรเป็นครูบาอาจารย์ได้ ชั้นราชคู คือผู้ที่ได้รับนิมนต์มาให้เป็นครูอาจารย์สอนลูกเจ้านาย จึงจะได้รับชั้นนี้ ทั้ง 4 ชั้นเป็นนามยศยกย่องฝ่ายปริยัติธรรมหรือฝ่ายการศึกษา ต่อไปเป็นนามยศฝ่ายบริหาร ซึ่งผู้จะได้ตำ�แหน่งเหล่านี้ตามปรกติ จะต้องมีคุณสมบัติต่อจากฝ่ายปริยัติดังกล่าว แต่อาจมีข้อยกเว้นสำ�หรับพระภิกษุผู้มีคุณธรรมสูง เป็นที่เชื่อถือและเคารพนับถือของ พระภิกษุสามเณรและประชาชนโดยทั่วไป คูฝ่ายหรือเจ้าหัวคูฝ่าย ผู้จะได้รับตำ�แหน่งนี้จะต้องเป็นเจ้าหัวคูมาแล้ว ซึ่งมีความรู้ความสามารถพอที่จะอบรมสั่งสอน และ ปกครองคณะสงฆ์ตลอดประชาชนให้ประพฤติปฏิบัติไปตามฮีตคลองอันดีงาม (จารีตประเพณี) ตำ�แหน่งนี้อาจเทียบได้กับเจ้าคณะ กลุ่มบ้านหรือตาแสง (เทียบเท่าเจ้าคณะตำ�บลไทย) คูค้านหรือเจ้าหัวคูค้าน เป็นตำ�แหน่งปกครองหมู่สงฆ์ ส่วนหนึ่งจะมีอำ�นาจที่ต่างกับคูฝ่ายอย่างไรยังคลุมเครือไม่ชัดเจน บาง ท่านกล่าวว่าคูค้านเทียบได้กับเจ้าคณะเมือง (เทียบเท่าเจ้าคณะอำ�เภอไทย) คูหลักคำ� เป็นตำ�แหน่งนามยศปกครองคณะสงฆ์ในเขตกว้าง เป็นผู้มั่นคงในพระธรรมเป็นหลักในการประกอบศาสนกิจเทียบได้ กับหลักหล่อด้วยทองคำ� บางทีเรียกว่า เจ้าหัวคูหลวง คงจะเนื่องจากได้รับแต่งตั้งจากหลวงหรือพระมหากษัตริย์ ตำ�แหน่งนี้เทียบได้กับ คณะแขวง (เทียบเท่าเจ้าคณะจังหวัดไทย) เพราะเมืองหนึ่งมีได้เพียงรูปเดียว คูลูกแก้ว การแต่งตั้งคูลูกแก้วส่วนมากคงมีเฉพาะเวียงจันทร์และหลวงพระบางซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงสถาปนา มีหน้าที่ช่วย ราชกิจบริหารของคูยอดแก้ว หรือคอยรับภาระบริหารด้านฝ่ายซ้ายของราชคูหลวง คูยอดแก้วนั้นรับบริหารฝ่ายขวา คูยอดแก้ว เป็นตำ�แหน่งรับสนองพระบัญชา ดุจตำ�แหน่งบัญชาการคณะสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสังฆราช เท่ากับตำ�แหน่ง สังฆนายก ผู้จะได้รับตำ�แหน่งนี้จะต้องมีคุณสมบัติเป็นที่เคารพยำ�เกรง ตำ�แหน่งนี้สำ�คัญเท่ากับเป็นรองสมเด็จพระสังฆราช และคงจะเป็น ตำ�แหน่งที่พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาเถราภิเษกด้วยพระองค์เอง ราชคูหลวง เป็นตำ�แหน่งพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ซึ่งเป็นตำ�แหน่งสูงสุดทางคณะสงฆ์และมีแต่เฉพาะในเมืองหลวง เท่านั้น ในพิธีการ “ฮดสรง” จะมีการถวาย “บริขารเครื่องยศ” เป็นบริขารเครื่องครองและมีธรรมเนียมในการถวาย “หลาบเงิน หลาบทอง” คำ�ว่า หลาบ เป็นศัพท์เก่าแก่หมายถึง ทรวดทรง สัณฐาน ความสวยงาม เช่น “คนนี้ได้หลาบลายดี หรือมีหลาบหลาย” หมายถึง เป็นคนที่มี ทรวดทรงเหมาะสม สวยงาม “ฮางฮด” (รางรดน้ำ�สรง) เป็นรางทำ�ด้วยไม้เป็นรูปพญานาค มีลวดลายสวยงาม ตรงคอนาคเจาะเป็นรูกลมสำ�หรับให้น้ำ�ไหลลง ไปรดพระที่นั่งอยู่ในประรำ�พิธี มีการสมมติผู้เฒ่าสี่คนยืนอยู่ในทิศทั้งสี่ของบริเวณพิธีฮดสรง เปรียบเหมือนท้าวมหาพรหมทั้ง 4 คอยปกป้อง หมู่มารที่จะมาทำ�อันตรายแก่พระสงฆ์เลยทีเดียว พระสงฆ์ที่ได้รับชั้นยศเหล่านี้ถูกยกย่องให้เป็นที่ปรึกษาของชาวบ้าน เป็นผู้นำ�ทางด้านจิตใจได้อยู่เสมอ เป็นที่เคารพรักของ ประชาชนอย่างแท้จริง อาจมองได้ว่าพิธีฮดสรงนี้ชาวบ้านต่างพากันมาเพื่อแสดงความยินดีต่อพระรูปนั้นๆ อย่างจริงใจ ทั้งที่วัดหรือ ตัวพระเองก็ไม่ได้จัดพิธีใหญ่โต กล่าวได้ว่าไม่มีค่าใช้จ่ายสูงเหมือนการฉลองพัดยศพระครูในประเทศไทยแน่นอน ผลที่ได้มานอกจาก ศรัทธาคือพระไม่หลงมัวเมาในตำ�แหน่ง ไม่แข่งขันกันประจบพระผู้ใหญ่ ประชาชนจึงได้พระดีอยู่คู่วัดต่อไป



VS.

พื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างพระกับโยมในศตวรรษที่ 21

การศึกษา สมัยใหม่ ในลาว จะเข้าไปหา พระสงฆ์ ได้จริงหรือ


VS. ดวงเดือน บุนยาวง Vs. พระอาจารย์ บุนส่วน แก้วพิลม

เรียบเรียง I ภาพ : พรชัย บริบูรณ์ตระกูล

25


26

ประเทศเมืองพุทธเกือบทุกประเทศได้สร้างสถาบันการศึกษาสงฆ์ขึ้น โดยหวังเป็นแหล่งบ่มเพาะการเรียนรู้ สร้างนักบวชผู้นำ�รุ่นใหม่ทส่ี ามารถเชือ่ มโยงกับสังคม นำ�ธรรมะมาใช้ได้อย่างสมสมัย เป็นการสืบทอดพระศาสนาให้เกิด ความยั่งยืนได้ต่อไป แต่สิ่งที่เกิดขึน้ จริง พระสงฆ์ผู้เรียนจบส่วนใหญ่พากันสึกออกเป็นฆราวาส ส่วนที่ยังคงบวชเหลืออยู่ โดยมากก็อาจได้เพียงความรู้ความเข้าใจและทักษะทางโลก ไม่สามารถกลับไปนำ�พาชุมชน ท้องถิ่น หรือเป็นสติ ปัญญาชี้นำ�ให้สังคมดำ�เนินตามหลักทางพุทธศาสนา จะมีก็ส่วนน้อยนิดจริงๆ ที่ได้รับการบ่มเพาะตนเองขึ้นเป็นผู้นำ� กล้าคิด กล้าริเริ่ม และลงมือทำ� ซึ่งโดยมากเกิดขึ้นจากออกไปขวนขวายเรียนรู้กับครูอาจารย์ที่เป็นแบบอย่างในการ ประพฤติปฏิบัติที่อยู่นอกสถาบัน นี่อาจเป็นโจทย์ใหญ่ที่ถูกถามกันมานานในสังคมไทย ซึ่งยังคงซ้ำ�รอยเดิมหรืออาจ พอใจแล้วกับการเป็นโอกาสทางการศึกษาให้กับลูกชาวไร่ชาวนาได้เรียนรู้ และปฏิบัติตัวเป็นคนดี และกำ�ลังเป็นโจทย์ คำ�ถามใหม่ของสถาบันการศึกษาสงฆ์ในลาว ที่กำ�ลังพัฒนาหลักสูตรเพื่อก้าวขึ้นเป็นระดับอุดมศึกษา “มุม” ฉบับนี้ จึงเดินทางไปฟังความคิดความเห็นของบุคคลสองท่านที่มีส่วน และมีประสบการณ์ทางด้านการศึกษาของสงฆ์ โดย ได้เชิญอาจารย์ดวงเดือน บุนยาวง รองประธานโครงการพุทธศาสนาเพือ่ การพัฒนา คณะทำ�งานฝึกอบรมและวิชาการ เพื่อส่งเสริมบทบาทชาวพุทธในการเป็นผู้นำ�ทางสังคม และสร้างความเข้มแข็งขึ้นในท้องถิ่น อีกทั้งเป็นหัวหน้า หน่วยงานสื่อและประชาสัมพันธ์ของโครงการ ได้มาสนทนากับ พระอาจารย์บุนส่วน แก้วพิลม ผู้อำ�นวยการวิทยาลัย สงฆ์องค์ตื้อ ซึ่งเป็นผู้นำ�รุ่นใหม่ที่เข้ารับตำ�แหน่งในปี 2010 ว่าวันนี้สถาบันการศึกษาสงฆ์ของลาวจะสร้างพระผู้นำ� รุ่นใหม่ได้จริงหรือ? พระบุนส่วน : สภาพโดยรวม หากจะมองในเชิงปริมาณก็มีการขยายขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเมืองใหญ่และต่างแขวง พระเณรหันมาสนใจเฮียน มากขึ้น ทั้งในทางปริยัติและปฏิบัติ เพราะมีโครงการช่วยหลายอย่าง และทางภาครัฐก็มีความเอาใจใส่สนองอย่างเต็มที่ทั้งในทางวิซาการ และบุคลากร ทางครูบาอาจารย์ และ อ.พ.ส. (องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว) ก็ช่วยหลายแนว อีกกรรมาธิการเผยแผ่ฯ ซึ่งมีหน่วยงาน อย่างธรรมะสัญจรและโครงการเมตตาธรรม อันนี้เฮาก็เสริมเข้าไปสร้างให้พระหนุ่มเณรน้อยมีเวียกเฮ็ด ทำ�ให้เกิดความห้าวหัน เพราะฝึก อบฮมเขาให้ไปช่วยเหลือสังคมไปช่วยเหลือเด็กน้อย เมื่อเขามีเวียกเฮ็ดเขาก็กระตือรือร้นขึ้นมา การศึกษาของพระสงฆ์เป็นสายทางธรรม ส่วนใหญ่เริ่มจากระดับโฮงเฮียนสามัญ เพราะว่าอิงตามผู้จบประถมอายุสิบกว่าปีแล้วจึงได้เข้ามาบวช ฉะนั้น จึงเริ่มแต่ ม.1 ไปจนถึง ม.5 และตอนนี้สายทางโลกมีไปถึง ม.7 ทางสงฆ์ก็มีไปถึง ม.7 เหมือนกัน ปีนี้เส็งจบกันหลาย 2,000 กว่ารูป มีตามแขวงใหญ่ๆ อย่างภาคใต้มีที่ อัตตะปือ สาละวัน สะหวันนะเขด และจำ�ปาสัก แขวงทางเหนือมี ไซยะบุรี อุดมไซ หลวงพระบาง ปริมาณของนักศึกษาสงฆ์ก็เพิ่มขึ้นหลาย เพราะขยายมัธยมต้นไปหลาย ฉะนั้นสภาพรวมๆ ถือว่าดีขึ้น หลังจากจบแล้วจะเฮียนต่อสูงขึ้นคือระดับวิทยาลัย มีอยู่ 2 แห่งคือที่วิทยาลัย สงฆ์องค์ตื้อ นครหลวงเวียงจันทน์ และวิทยาลัยที่จำ�ปาสัก เตรียมจะเปิดเพิ่มที่สะหวันนะเขด และหลวงพระบาง เฮาพยายามจะเปิดที่ ภาคเหนือให้ได้เป็น 2 แห่ง เพราะอยากระบายไม่ให้พระเข้ามาแออัดอยู่ในเมือง และอยากให้มีพระในท้องถิ่นหลายขึ้น เพราะส่วนหลายมี แต่พระแก่ๆ และเณรน้อยเฝ้าวัด พระหนุ่มบวชเข้ามาเพื่อศึกษา จะต่างกับแต่ก่อนที่จะศึกษากันในวัดและเขียนคำ�ภีร์ใบลาน มาสมัยนี้เฮา ศึกษาคู่ไปกับทางโลก ฉะนั้นในแขวงใดบ่มีแหล่งการศึกษาพระเณรจะแตกมาเมืองใหญ่ ดังนั้นองค์ตื้อจะผลักดันต่างแขวงให้สร้างวิทยาลัย ขึ้นมา ส่วนทางองค์ตื้อในนามเป็นวิทยาลัยแม่จะสร้างเป็นระดับปริญญาตรี คาดว่าเปิดเป็นทางการท้ายเดือนนี้ และ 2015 หรือ 2016 จะ เปิดปริญญาโทรับนักศึกษาที่เฮียนจาก 4 ปีนี้ โดยเฉพาะสายพุทธศาสตร์ จุดหลักต้องการสร้างให้ครูบาอาจารย์เฮาเก่งในทางธรรมะและ บาลีออกไปสอน เพราะว่าโฮงเฮียนแต่ละแห่งต้องการครูสอนธรรมะและบาลีหลายที่สุด แต่ละปีที่จบเฮาส่งไปได้น้อยเพราะพระมาเฮียน น้อยแค่สิบกว่าองค์ ไม่พอกับความต้องการ เฮาจึงต้องเร่งสร้างบุคลากร นี่เป็นจุดที่กำ�ลังเร่งปรับปรุง ในการสร้างบุคลากรพระสงฆ์สาย พุทธศาสนาคือครูสอนธรรมะและบาลี สอนเกี่ยวกับอภิธรรม ผ่านมาเฮาสร้างได้น้อย จึงขาดครูด้านนี้ มีแต่ครูวรรณคดี ครูภาษาลาว ครูวิซาเลข ครูสอนธรรมะและบาลีนี้ในต่างแขวงเอาอาจารย์ผู้เฒ่าแต่เก่ามาซ่วยสอน ก็ลำ�บากคือว่าเพิ่นเกษียณแล้วบำ�นาญแล้ว แต่เฮาให้ มาซ่วยสอน ก็มีค่านิตยภัตเป็นเงินอุปถัมภ์ที่พอจะแก้ไขไปซื่อๆ เพิ่นก็เต็มใจ ที่นี้บางบ่อนผู้เฒ่าหลายก็ไปยาก จะสอนหลายก็เมื่อย


จุดหลักต้องการสร้าง ให้ครูบาอาจารย์เฮา เก่งในทางธรรมะ และบาลีออกไปสอน เพราะว่าโฮงเฮียน แต่ละแห่งต้องการ ครูสอนธรรมะและ บาลีหลายที่สุด


28 ตัวนี้ซิได้แก้ไขคือการสร้างครูพระทางพุทธศาสนาให้หลายขึ้น แล้วถ้าซิก้าวต่อไปตอนนี้เฮามีนักศึกษาหลายนะ มีที่ไปเฮียนอยู่ต่างประเทศ ก็มีไทย อินเดีย พม่า และส่งไปที่กัมพูชาด้วย จะอาศัยบุคลากรเหล่านี้มาซ่วยสอน เมื่อเขาจบมาแล้ว ที่จริงเป็นพระหรือเป็นโยมก็สอนได้ แต่เว่าเรื่องศรัทธาของญาติโยมเวลาเฮาไปเผยแผ่ ครูพระสงฆ์มีจุดพิเศษอีกอย่างนอกจากไปลงสอนแล้วยังลงเผยแผ่อบฮมเทศน์ญาติโยม ได้ด้วย เพราะความศรัทธาจะต่างกันกับความเป็นโยมตรงนี้แหละ เฮาจึงอยากสร้างครูพระสงฆ์ให้หลายที่สุดในแต่ละบ่อน จะเป็นการ สร้างความเข้มแข็งให้กับวงการสงฆ์ด้วย และพยายามต่อพัวพันกับมหา’ลัย คือ ตอนนี้อยู่มหา’ลัยแห่งชาติ คณะศึกษาศาสตร์ก็อยากให้ เฮาเชื่อมต่อ เพราะว่าเมื่อจบทางเฮาแล้วบางสายยังบ่ทันได้ป.ตรี เป็นแค่ซั้นสูง จบจากทางนี้ก็ไปเชื่อมต่อในฐานะที่ยังเป็นพระได้ และทาง อ.พ.ส. ก็กำ�ลังปรับปรุงเอาใจใส่เวียกงานการศึกษาและการเผยแผ่ฯ ก็จะมีท่าแฮงหลาย และทางกระทรวงศึกษาก็ให้เต็มที่ ให้ทุนซ่วยเหลือ ให้อุปกรณ์ต่างๆ คึดว่าจะมีบาทก้าวดีขึ้น ดวงเดือน : ก็เห็นความเข้มแข็งของวงการศาสนาพุทธในลาวโดยรวมแม่นสังคมประชาชนเอง ด้านสองมาการสนับสนุนจากภาครัฐก็ฮู้สึกว่า ไปนำ�กันได้ดี และฮู้สึกว่าพระสงฆ์หันมาสนใจการเฮียน แง่หนึ่งการขยายอย่างที่พระอาจารย์ว่า ก็เห็นขบวนที่เพิ่มขึ้นดี แต่ตัวจริงในวงการ ศึกษาหรือในวงการสงฆ์เองก็เห็นว่าการขยายตัวซ่ำ�นี้ก็ยังบ่ทันตอบสนองได้กับความต้องการของสังคม มาเบิ่งในด้านคุณภาพหรือในด้าน การปฏิบัติทุกคนก็เห็นนำ�กันว่านี้แหละจะต้องได้ปรับปรุง ที่จริงพระเณรส่วนใหญ่ที่บวชแม่นเพื่อได้เข้ามาเฮียนหนังสือ ฉะนั้นเฮ็ดให้เกิด สภาพอยู่ในท้องถิ่นบางบ่อนมีวัด แต่บ่มีพระ เพราะว่าความตื่นตัวที่จะศึกษาอยู่ในระบบสูงซึ่งตรงนี้บางเทื่อกลายเป็นจุดอ่อน ในขณะที่ บางบ่อนบางบ้านมีวัด แต่บ่สามารถตอบสนองให้พระได้เฮียน วัดก็เลยฮ้างไป ตรงนี้น่าจะเบิ่งคืน ถ้าอนุญาตให้พระสงฆ์เฮียนตามประเพณี ในวัด แทนที่จะมีโฮงเฮียนสงฆ์โดยเฉพาะ อาจจะซ่วยให้มีพระสงฆ์อยู่ในวัด จุดนี้แหละยังบ่สามารถแก้ไขได้ เฮ็ดให้เกิดการบวชและเข้ามา อยู่ในเมืองตามบ่อนที่มีโฮงเฮียน อีกจุดหนึ่งข้าน้อยอยากถามพระอาจารย์ว่า วิทยาลัยสงฆ์องค์ตื้อเป็นระดับซั้นสูงบ่ ยังมีระดับปริญญาตรี ฉะนั้นก็เลยเฮ็ดให้พระสงฆ์จำ�นวนหนึ่งที่เฮียนอยู่ในวิทยาลัยต้องออกไปขวนขวายหาวิซาในสถาบันอื่น อันนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่คล้ายๆ กับว่า เฮียนอยู่ในวิทยาลัยสงฆ์ก็ยังบ่พอ เบิ่งในแง่บวกก็คือดีอยู่ว่าพระสงฆ์ต้องการเฮียนฮู้ในวิซาทางโลกหลายขึ้น เบิ่งอีกแง่หนึ่งก็เฮ็ดให้ภาค ปฏิบัติธรรมะวินัยของเพิ่นอาจจะบ่เพียงพอบ่ เพราะเอาเวลาไปใส่อันนั้นหลาย ก็กล้ำ�กึ่งกันอยู่เดี๋ยวนี้ อันนี้สังคมก็ต้องเป็นผู้ดูแลคือกัน พระบุนส่วน : ตรงนี้ล่ะกำ�ลังมองกันอยู่เพราะปะกันมาหลายปีแล้ว มาเบิ่งดูอย่างที่แม่ออกดวงเดือนว่า ส่วนใหญ่การกระตือรือร้นไปเฮียนก็ ดีอยู่หรอก ทีนี้มันซิเฮ็ดให้ธรรมะวินัยทางพระสงฆ์มันซิหลวมๆ ครั้นซิมองอดีตอย่างมหา’ลัยนาลันทาเป็นหยังจึงล่มสลาย ย้อนว่าพระสงฆ์ สามเณรเฮียนแต่ปรัชญาต่อๆ กัน ม่วนนำ�ทางปรัชญาและลืมพระธรรมะวินัย เลยปล่อยให้เขามาโจมตีได้ง่าย อันนี้แหละที่ครูบาอาจารย์ ผู้ใหญ่มองเห็นตรงนี้อยู่ จึงพยายามสร้างโฮงเฮียนสงฆ์ให้มีแต่ละแขวง เฮาสร้างครูให้มีในสี่แขวงให้ลงไปสอนและขยายโฮงเฮียนประถม และมัธยมในเขตนอก ถ้าขยายตัวนี้แล้วจะได้ทั้งสองอย่างทั้งการศึกษาแบบประเพณีท้องถิ่นและการเผยแผ่ไปนำ�กัน ซิเฮ็ดให้ครูพระสงฆ์ที่ เฮามีอยู่หลายบ่อยากสึก เพราะมีหน้าที่ให้ลงสอนและปฏิบัติ ซิบ่ทำ�ให้หลงไปตามเทคโนโลยีหลาย ก็กำ�ลังซิหันปรับตัวนี้แหละเห็นว่ากำ�ลัง ซิไป ดวงเดือน : หมายความว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้อยากให้พระสงฆ์กลับคืนสู่ท้องถิ่น ฉะนั้นนอกจากการขยายโฮงเฮียนไปให้ท้องถิ่นแล้ว ก็น่าจะ เป็นไปในทำ�นองว่า วัดของบ้าน ของซุมซนนั้นกลับมามีบทบาทสมบูรณ์ขึ้น บ่อยากให้เป็น “โฮงเฮียน” ที่สอนตามหลักสูตรของศูนย์กลาง ทั้งหมดอย่างเดียว ควรจะเป็นโฮงเฮียนวัดตามภูมิปัญญาของซาวบ้าน เป็นแหล่งสืบสานปัญญาความฮู้ของท้องถิ่นไว้ จึงจะเป็นแหล่ง พึ่งพาของซาวบ้าน บทเฮียนจากการฝึกอบฮมของ ค.พ.พ.(โครงการพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนา) ที่วัดป่านาคูนซึ่งอยู่กลางซุมซนใหญ่พอ สมควร ทั้งมีบารมีของเจ้าอธิการวัด (พระอาจารย์สีทน ไซยะวงสอน และพระอาจารย์ใหญ่ซาลี กันตะสีโล) เป็นทุนเดิม บวกกับศรัทธา ของซาวบ้านอยู่แล้ว ก็ต้องได้นำ�ใซ้ต้นทุนเหล่านี้เข้ามาสมทบ สนับสนุนการศึกษาอบฮมของพระสงฆ์ บ่ว่าในรูปการใด จะเป็นการเข้าฝึก วิปัสสนากรรมฐาน การเผยแผ่ศีลธรรม การบวชเณร การทำ�บุญตามประเพณีต่างๆ สิ่งสำ�คัญควรให้ซาวบ้านได้เข้ามาฮ่วมอย่างเป็นปกติ เช่น มารับฟังวิทยากรจากสถาบัน หรือจากต่างประเทศ พร้อมทั้งเข้าฮ่วมเฮ็ดกิจกรรมบางอันด้วย เช่น เมื่อท่านหมอจาค็อบจากอินเดียมา ฝึกอบฮมให้ในเรื่องธรรมชาติบำ�บัดทำ�ให้สามารถดูแลรักษาสุขภาพตนเองได้ ซาวบ้านก็ได้เข้าฮ่วมฝึกไปนำ� หรือแม้เรื่องใกล้ตัว อย่างการ ผลิตน้ำ�ยาล้างถ้วยจานหรือการเฮ็ดยาสระผมใซ้ขึ้นเอง การทำ�ฝุ่นบ่มและการเกษตรแบบธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ทั้งสำ�หรับออก


29

ตนญาติโยมและนักบวช ซึ่งแน่นอนว่าแรกเริ่มก็มีบางอย่างที่ซาวบ้านบ่เห็นดีด้วย เช่น การลงเก็บขยะตามตลาดของพระสงฆ์ตอนลงฝึก ปฏิบัติจริง หรือแม้แต่การทำ�ฝุ่นบ่ม การปลูกเห็ด ในบางท้องถิ่นก็ยังเห็นว่าบ่สมควรที่จะเป็นกิจกรรมของสงฆ์ บทเฮียนการฝึกอบฮมของ ค.พ.พ. ระยะต้นๆ สิ่งหนึ่งที่แตกต่างกับระบบการศึกษาทั่วไปในสถาบัน แม่นการที่เฮาบ่ได้จำ�กัดหรือจำ�แนกอายุ เพศ วัย พื้นฐานการศึกษาของผู้เข้าฮ่วมอย่างเคร่งครัดเกินไป เอาความตั้งใจ ความสนใจเป็นอันตัดสินหลายกว่า อีกอย่างหนึ่ง การที่พระ ลูกวัดอื่นๆ และแม้แต่จัวน้อยเณรน้อย แม่ชีแม่ขาว ก็ได้เข้ามาฟังมาฮ่วมกิจกรรมนั้น ก็เห็นว่าซ่วยให้การอบฮมนั้นมีบรรยากาศเป็นแบบ สบายๆ ค่อยๆ เฮียนฮู้ไปด้วยกัน บ่มีลักษณะเส็งสอบเอาคะแนนที่หนึ่งที่สองกัน ก็เลยสามารถแลกเปลี่ยนกันได้หลาย เฮ็ดให้มีเนื้อหาหลาก หลาย มีสาระที่เป็นประโยชน์ติดแทดความเป็นจริง (สอดคล้องกับความเป็นจริง-ผู้แปล) เป็นการเฮียนฮู้ประสบการณ์ของกันและกัน สิ่งที่นับว่าแตกต่างกับการเฮียนในสถาบัน หรือโฮงเฮียนสงฆ์โดยทั่วไป ซึ่งทางพวกเฮาบ่มีให้ก็คือการไปเฮียนเพิ่มภาษาอังกฤษในเวลา ว่าง แต่สิ่งหนึ่งที่ผลักดันส่งเสริมกันก็คือการอ่าน และเขียนสรุปสิ่งที่ฮับฮู้ฮับฟังมา และความเข้าใจของตนจากบทเฮียน ตัวนี้เลยทำ�ให้พระ เณรในกลุ่มศิษย์รุ่นที่หนึ่งอยากเขียนอยากเล่าประสบการณ์ขึ้นมา และอยากเฮ็ดเป็นหนังสือ ซึ่งก็ได้ทำ�จริงมาจนถึงปัจจุบันนี้และกลายมา เป็นหน่วยงานสื่อ มีการออก “จดหมายข่าวซาวพุทธ” รายสะดวก (3-5 เดือน) เป็นเวทีให้ศิษย์เก่าทุกๆ รุ่นได้เขียนมาบอกเล่าบทเฮียนของ ตน และลงข่าวการเคลื่อนไหวต่างๆ ในวงการพุทธศาสนาในลาว มาฮอดนี้ จะเห็นว่าวิธีการสร้างพระสงฆ์กับซาวพุทธที่จะไปเป็นผู้นำ�ในซุม ซนมีความท้าทายหลาย ทั้งรูปแบบ ขบวนการการจัด และเนื้อหาของหลักสูตร ด้วยว่าอยากให้พระสงฆ์เข้าใจ ฮู้ทันโลก ฮู้ทันสภาพสังคม ที่เป็นอยู่ล้อมรอบตัวเพิ่น ในบ้านเพิ่นเมืองเพิ่น ประเทศอื่นในโลกจึงต้องปรับแปลงหลักสูตรวิธีการไปด้วยเรื่อยๆ จื่อได้ว่าครั้งหนึ่งได้ถก เถียงสนทนากันเรื่องบทบาทหญิงชาย (gender issue) เพศสภาพ/เพศวิถี การเป็นเกย์ เป็นเลสเบี้ยน เป็นโฮโม ทั้งที่เป็นมาโดยกำ�เนิดหรือ เป็นจากการปรุงแต่ง ก็ได้เชิญวิทยากรทั้งลาวและไทยมาถวายความฮู้แก่พระสงฆ์ ก็เห็นว่าน่าสนใจ ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในวิทยาลัยสงฆ์คงไม่กล้า เอ่ยถึง เป็นการเปิดกว้างทางโลกธรรมของพระสงฆ์ และลึกซึ้งหลายขึ้น ความฮู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมภูมิศาสตร์ ธรรมชาติ ศิลปหัตถกรรม วัฒนธรรมท้องถิ่น วรรณคดี ทศชาติชาดกต่างๆ ก็ได้ถูกยกขึ้นมาสนทนากัน ใผสนใจหนักทางใดก็สามารถหามาเสริมเติมได้ แม้แต่เทคนิค การแหล่ ซึ่งเรื่องนี้ก็อาจมีการสอนอยู่ในสถาบันการศึกษา แต่ทาง ค.พ.พ. ได้เพิ่มหลักสูตรนี้เข้า นำ�เอาทศชาติชาดกมาวิเคราะห์ กิจกรรม หลากหลายใซ้เวลาฝึกอบฮมยาวเป็นปีหรือเป็นเดือน บวกการปฏิบัติตัวจริง มีการลงไปทัศนศึกษาพบพ้อผู้เฮ็ดเวียกตัวจริง จากนั้นก็มี การนำ�เอาสภาพมาสนทนาวิเคราะห์กัน โดยใส่หลักอริยสัจสี่ เป็นต้นในระยะหลังยังได้ เมื่อจบไปแล้ว ได้ริเริ่มส่งเสริมให้มีการปรับปรุงบท เทศนาให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยขึ้น ปรับปรุงบทสวดต่างๆ ซึ่งทำ�อย่างนี้ก็ยังบ่ทันเพียงพอ ยังจะต้องปรับปรุงอีก ส่วนอยู่ในสถาบันล่ะ พระอาจารย์เห็นว่าแนวใด หลักสูตรที่ใซ้อยู่สมบูรณ์เพียงพอหรือยัง พระบุนส่วน : ยังบ่พอ จึ่งซิดึงเอาโครงการดีๆ ของพระอาจารย์ใหญ่ซาลี ที่มีการฝึกอบฮมหลายแนวเข้ามา จะเป็นความฮู้หนึ่งนำ�ไปใซ้ เผยแผ่ได้ดีในซนบท เป็นทักษะเพิ่มสำ�หรับไปนำ�การพัฒนาท้องถิ่น ดวงเดือน : หมายความว่าทางวิทยาลัยกำ�ลังพิจารณาสร้างหลักสูตรหรืออย่างไร พระบุนส่วน : แม่นล่ะ กำ�ลัง แล้วในปีนี้สร้างหลักสูตรใหม่ให้เคียงคู่กับทางรัฐ บ่ให้ปะทางในเฮาหลาย ปีนี้กำ�ลังจะทดลองสอน ดวงเดือน : อันที่ปรับหลายแม่นจังใด แต่ก่อนข้าน้อยฮู้สึกว่าเอาวิซาทางโลกครึ่งต่อครึ่งเลย เดี๋ยวนี้เป็นอย่างใด พระบุนส่วน : แม่นแล้วแต่ก่อนครึ่งต่อครึ่ง เดี๋ยวนี้แบ่งสายกันเลย ใผมักสายใดไปสายนั้น มักสายพุทธศาสนาไปทางพุทธศาสนา บ่มีทาง โลกเลย พุทธศาสนาจะมีเฮียนพระไตรปิฎก ธรรมะวินัย บาลี ส่วนหลายจะลงลึกบาลี ใผมักสายธรรมชาติก็ไปสายธรรมชาติ สายวรรณคดี จะเป็นครูสอนภาษาลาว และก็เฮียนธรรมะไปด้วยแต่บ่ลงลึก แต่เฮาบ่ปะคือภาคปฏิบัติมีไปสมาธิ ไปกัมมัฏฐาน 15 วัน เป็นภาคบังคับ สายไหนก็ต้องมี จะแยกให้ฟังนะ แต่ก่อนวิทยาลัยสงฆ์บ่ได้แยก เฮียนหมดทุกวิซาทั้งทางโลกและทางธรรมเคียงคู่กันห้าสิบๆ บ่ได้จำ�เพาะ ซิเอาดีสายใด คืออักษรศาสตร์บ่ ภาษาลาวบ่ ภาษาบาลีบ่ ธรรมะการเผยแผ่บ่ การเผยแผ่หรือวาทศิลป์บ่ ให้เฮียนฮู้กันซื่อๆ เป็นพื้นฐาน ทฤษฎี ถ้าใผเฮียนบ่เก่ง บ่มีพรสวรรค์ บ่แสวงหา ก็จะบ่ได้จบไปแบบประถมประฐาน แต่เดี๋ยวนี้เป็นสายบาลีพุทธศาสตร์จะเก่งการเทศน์


30 จะเก่งภาษาบาลี เฮ็ดคือแบบแต่เก่าอย่างยาพ่อมหาสิลา วีระวงศ์ กำ�ลังนั่งเฮ็ดแบบนั้น ก็น่าจะดี มีแต่ว่าวางเป้าหมายจำ�นวนผู้เฮียนพุทธ ศาสตร์ในปีทำ�อิดไว้ 35 รูป หลายกว่านั้นก็บ่เอา สายอื่นจะหลายก็อย่าจะสร้างเท่านี้ก่อน บ่ได้เอาปริมาณจะเอาคุณภาพ ตอนนี้กำ�ลังเฮ็ด แล้วกำ�ลังจะทดลองสอนในปีนี้เพราะว่าเห็นมาหลายปีแล้ว จึงมาระดมความคิดครูบาอาจารย์กันใหม่ เอาครูที่จบมาแต่นอก เอาครูจบแต่ ภายในและผู้หลักผู้ใหญ่มาเยืองใส่กันจนได้รูปแบบจั่งซี้ แต่เฮาบ่ปะหลักสูตรของแต่ละวิทยาลัยต่างๆ นะก็ไปเคียงคู่กัน และมองหลักสูตร แต่ละประเทศอ้อมข้าง เพราะจบไปแล้วแน่นอนต้องไปเป็นครูสอนให้ได้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ และถ้าอยากไปต่อโทประเทศอ้อมข้างได้บ่ ก็ได้ เพราะเบิ่งหลักสูตรดูใกล้เคียงกันสามารถไปต่อได้ ฉะนั้นซิไปท้องถิ่นคิดว่าได้หลายนะ เพราะเฮามีระเบียบคือให้โควต้าไปเฮียนอิงตามแขวง น้อยแขวงใหญ่ บางแขวงใหญ่ก็ให้ 7-8 แขวงน้อยก็ให้ 3 โคต้าไปเฮียน ให้ท้องถิ่นทำ�สัญญาเฮียนจบแล้วผู้เอาทุนแล้วต้องสมัครใจกลับ มาฮับใซ้ท้องถิ่น 2 ปีเป็นอย่างน้อย ดวงเดือน : ก็ดี ครูบาอาจารย์บวชมาแล้ว ก็คงมีสัจจะหลายกว่าฆราวาส แต่สนใจว่าส่วนไหนที่จะมาเสริมสร้างให้ครูบาอาจารย์เฮามี พัฒนาการทางภายใน นอกจากว่าเฮียนไปตามระบบจนฮอดปริญญาตรี สิ่งไหนที่มาสร้างเพิ่นมาจูงใจให้ศึกษาลึกซึ้งเข้าไปถึงขั้นเกิด จิตสำ�นึกทางสังคม กว่าจะดึงความสนใจให้มาสนใจและเข้าใจว่าเวียกงานทางสังคมแม่นแนวใด และเฮาก็สามารถเฮ็ดได้นั้น ต้องใซ้หลาย วิธีการควบคู่กันไป โดยอิงใส่การภาวนากรรมฐานเสียก่อน จากนั้นก็หาตัวอย่างอันดีเด่นของต่างประเทศ เอาบทเรื่องดีๆ มาให้อ่านให้ วิเคราะห์ เช่น ประสบการณ์การช่วยเหลือคนพิการแม่นแนวใด การซ่วยคนด้อยโอกาสแม่นแนวใด จากนั้นก็ลงไปเยี่ยมยามศูนย์คนพิการ ไปเฮ็ดกิจกรรมกับเด็กน้อย ไปศูนย์ฟื้นฟูคนติดยา ไปเว่าลมฮู้จักกับเขา เข้าใจปัญหาของเขา หลังจากฝึกอบฮมแล้วศิษย์ ค.พ.พ. ก็มีโอกาส พิสูจน์ตนเองด้วยการลงฝึกหัด เท่ากับว่าฝึกวิซาซีพไปเลย ไปกันเป็นคณะเลือกเอาว่าอยากเฮ็ดเวียกแนวใด เช่น ไปเผยแผ่ธรรมะกับเด็กนัก เฮียน (ธรรมะสัญจร) ไปหาเด็กพิการหรือเด็กติดยา ไปโฮงเฮียนประถมหรือมัธยม ไปอยู่ในซุมซนและกินนอนในวัดเลย เฮ็ดหลายกิจกรรม ทั้งฝุ่นบ่ม ปลูกผักปลอดสารพิษ ธรรมชาติบำ�บัด ทั้งนำ�พาเด็กฝึกสมาธิไหว้พระฮับศีล ทั้งฆราวาส จัว พระในคณะต้องเฮ็ดเวียกนำ�กัน แค่ วางแผนกันก็ใซ้เวลาเป็นเดือน กลับมาถอดถอนบทเฮียน ซึ่งจุดนี้เห็นว่าเป็นท่าแฮงในการสร้างคนได้จริง ศิษย์แต่ละรุ่นที่ออกไปส่วนหนึ่งไป เคลื่อนไหวได้ดี บำ�เพ็ญประโยชน์ให้สังคมได้ ซึ่งทางวิทยาลัยสงฆ์ก็คงจะสามารถจูงใจอีกแบบหนึ่งในนามสถาบัน แต่สำ�หรับ ค.พ.พ. เห็น ว่าวิธีนี้ช่วยให้พระสงฆ์อยากลงไปเฮ็ดเวียกในซุมซนหลายขึ้น บ่ย่านว่าจะบ่มีคนมาวัด บ่ย่านว่าจะบ่ได้ศึกษาต่อเฮียนต่อ เพราะ ค.พ.พ. จะ มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับเวียกงานทางสังคมให้ศิษย์เก่าอย่างต่อเนื่อง ติดขัดอยู่ว่าบ่สามารถออกใบประกาศระดับการศึกษาให้ ซึ่งอันนี้พระ สงฆ์หลายรูปก็ขัดข้อง แต่ ค.พ.พ. ก็ยั่งยืนว่าได้ผ่านการฝึกอบฮมซึ่งจำ�นวนหนึ่งก็ไปนำ�ใซ้ได้ พระบุนส่วน : แฮงจูงใจหรือ คือหลักสูตรเสริมกำ�ลังไปร่างๆ กับงานธรรมะสัญจร และโครงการเมตตาธรรม ดวงเดือน : คือว่าจะเอาภาคปฏิบัติในทางสังคมเข้ามา พระบุนส่วน : มีหลักสูตรตัวหนึ่งจะเอาเข้ามาเป็นการเสริมสร้างทักษะ เพราะถึงเฮาจะเฮียนสูงก็อย่าแต่บ่มีทักษะก็ยากนะ คือกำ�ลังไปร่าง หลักสูตรนำ�กันกับโครงการเมตตาธรรมเพิ่นเฮ็ดมาหลายปีแล้ว ตอนนี้กำ�ลังร่างอย่างจริงๆ จังๆ และที่เฮ็ดแล้วยังจะเขียนเป็นเปิ้มตำ�รา คิด ว่าตรงนี้จะเอามาเสริมเฮียนในปี 1,2,3 คือเฮียนเป็นการประกอบทักษะในการเฮ็ดลงตัวจริงกับสังคม โดยจะสร้างบุคลากรให้มีจิตสำ�นึกใน ทางสังคม ดวงเดือน : อยากให้พระอาจารย์อธิบายว่าขนวนการสร้างทักษะเพิ่มเฮ็ดแนวใด พระบุนส่วน : ขนวนการสร้างทักษะเป็นขบวนการแบบใหม่เห็นโครงการเมตตาธรรมเอามาทดลอง แต่ละเทื่อเพิ่นก็เอามาใซ้กับนักเฮียนมัธ ยมต้นมัธยมปลายและวิทยาลัยเฮาบางส่วน เห็นว่าดีนะ มีการฝึกอบฮมให้ลงไปสอนเด็กน้อยตามโฮงเฮียนต่างๆ ที่เพิ่นเฮ็ดมาแล้ว ครั้นเพิ่น ได้เข้าไปอบฮมและลงไปสอน เพิ่นจะมักและติดตัวนี้เพราะเป็นเวียกที่อาสาสมัครเข้ามา ซึ่งการลงไปสอนในทางสังคมต้องค้นคว้า ครั้นไป ค้นเพิ่นซิฮู้หลาย ฮู้ธรรมะหลาย


วิธีการสร้างพระสงฆ์กับ ซาวพุทธที่จะไปเป็นผู้นำ�ในซุมซน มีความท้าทายหลาย ทั้งรูปแบบ ขบวนการการจัด และเนื้อหา ของหลักสูตร ด้วยว่าอยากให้ พระสงฆ์เข้าใจ ฮู้ทันโลก ฮู้ทันสภาพ สังคมที่เป็นอยู่ล้อมรอบตัวเพิ่น


32 ดวงเดือน : ขบวนการสร้างทักษะตามที่ข้าน้อยเข้าใจอย่างที่พระอาจารย์ว่า เป็นการสร้างโอกาส สร้างเงื่อนไขให้เกิดความใกล้ซิดกับสังคม หลายขึ้น ให้ได้ฮับใซ้สังคมแท้ๆ เพื่อให้เกิดความฮู้สึกในทางสังคม ฉะนั้นเวลาอาจารย์สร้างหลักสูตรเอาตรงนี้ใส่ในหลักสูตรหลายแค่ไหน จั๊กเปอร์เซ็นต์หรือจัดเวลาอย่างไร พระบุนส่วน : ใส่เวลาไว้ 30 ซั่วโมง ยังบ่ได้หลาย คือให้ได้มีความใกล้ชิดคลุกคลีกับสังคมหลายขึ้น ฉะนั้นเพิ่นมาแต่ละแขวงมาอยู่ใน กำ�แพงนคร ครั้นได้ฝึกตัวนี้ไปแล้วเวลาจบกลับไปนอกจากไปสอนแล้วยังไปลงในท้องถิ่นอีก จะเป็นอีกบทบาทหนึ่งกระตุ้นจูงใจให้เพิ่น ดวงเดือน : หลักสูตรที่ว่ามา ก็พอเป็นไปได้อย่างน้อยตอนนี้ครูบาอาจารย์ก็มีความตั้งใจแล้ว อีกอย่างก็มีการเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ซอก ซ่องทางด้วยตัวเอง พระบุนส่วน : ที่คิดว่าเป็นไปได้เพราะว่ามีการให้โอกาส จะคิดว่าแม่นเป็นการยั้วะก็ซิแม่น นอกจากจิตสำ�นึกแล้วก็มาจากการยั้วะ และเมื่อ กลับไปอยู่ที่บ้าน 2-3 ปีแล้วเพิ่นมีสิทธิ์ขอว่าเพิ่นจะเสนอไปเฮียนต่อใสก็ได้ เพราะฉะนั้นทำ�อิดจึงบ่เอาจำ�นวนหลายด้วยจิตสำ�นึกหรือด้วยจำ� ใจก็อย่าแต่ขอให้มันมี ก็มีอยู่ที่มีแววอยากไปพัฒนาบ้านเจ้าของแท้ๆ เห็นมาเฮียนมาสร้างทักษะการพัฒนาได้แล้วจะกลับเมื่อลงไปเฮ็ด ก็มี ความหวังอยู่ ดวงเดือน : ฟังพระอาจารย์เว่าคึดว่าวิธีการนี้จะเป็นไปได้ แต่ก็จะไปเฮียกฮ้องให้คณะสงฆ์หลายภาคส่วนเบิ่งคืนนำ�กันเรื่องหลักสูตรการฝึก อบฮม และจะต้องได้ทบทวนคืน เบิ่งบทเฮียนของประเทศนั้นประเทศนี้หลายๆและภายในประเทศก็บ่ให้ทิ้มกัน คืออาจารย์เว่าว่ากำ�ลังซิ เปลี่ยนภายในองค์ตื้อในระบบเก่า ข้าน้อยอยากเว่าว่า เฮาติดอยู่ในสถาบันหลาย พระบุนส่วน : ก็แม่นๆ ดวงเดือน : อยากยึดติดอยู่ในสถาบัน ต้องเฮียนในนี้ ทีนี้อาจารย์เว่าถึงการสร้างทักษะ ข้าน้อยเข้าใจว่าจะลงไปหาซุมซนโดยตรง ถ้าว่า ขบวนการตัวนี้เป็นไปได้ผลคงซิได้พอควร เฮ็ดให้พระสงฆ์ออกจากตัวเมืองกลับคืนสู่ท้องถิ่นตนเอง พระบุนส่วน : ความหมายคือตรงนี้แหละ อยากให้เพิ่นออกจากตัวเมือง ดวงเดือน : กลับคืนพร้อมด้วยความตั้งอกตั้งใจก็ต้องมีการสร้างให้เพิ่นเกิดอุดมคติ แต่ว่าทักษะตัวนี้จะต้องเอาจริงจังนะข้าน้อยว่า อธิบายศัพท์ เฮา,ข้อย : เรา, ฉัน เพิ่น : เขา ใผ : คนไหน เป็นหยัง, เพราะว่าหยัง : เพราะอะไร เทื่อนึง : ครั้งนึง นำ�กัน : ร่วมกัน ทำ�อิด : ครั้งแรก, ครั้งเริ่มต้น บ่ : ไม่

แม่น ฮอด เฮ็ด เบิ่ง เว่า คึด เอิ่น ยั้วะ ทิ้ม

: ใช่,ถูกต้อง : ถึง, ไปถึง : ทำ�, ได้ทำ� : มอง : พูด : คิด : เรียก, เรียกว่า : ล้อหลอก : ทิ้ง

ซ่ำ�นี้ เปิ้มตำ�รา เวียก บ่อน แขวง มื้อ ห้าวหัน เส็ง

: เพียงแค่นี้,ได้แค่นี้ : หนังสือเรียน : งาน : แห่ง, สถานที่, แหล่งที่ : จังหวัด : วัน : กระตือรือร้น : สอบ

จื่อ ท่าแฮง

: จำ�,จดจำ� : ความสามารถ, ศักยภาพซ่อนเร้น

นอกจากนี้คำ�ลาวบางครั้งจะออกเสียงแตกต่าง จากคำ�ไทย เช่น “ร” เปลี่ยนเป็น “ฮ” เช่น โฮงเฮียน, เฮียนฮู้, ฮ่วม “ช” เปลี่ยนเป็น “ซ” เช่น ซุมซน, ใซ้



34

ธรรมไมล์

เรื่อง I ภาพ : ภาณุวัฒน์ จิตตวุฒิการ


แม่โขง ทรัพยากรถูกทำ�ลาย น้ำ�โขงกำ�ลังจะหายไป แต่ไม่รู้ว่าอะไรถูกทำ�ลาย น้ำ�ใจถึงแห้งด้วย


36

hidden tips

เรื่อง : กองบรรณาธิการ I ภาพประกอบ : เพลง

ท่านอนนั้นสำ�คัญไฉน

การนอนเป็นสิ่งที่เราทุกคนจำ�เป็นต้องทำ�เพื่อพักผ่อน ร่างกายที่เหน็ดเหนื่อยจากกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ซึ่ง บางคนก็หลับน้อยแต่มีแรง กลับกันเสียอีกบางคนหลับทั้งวันแล้ว ยังบ่นว่าง่วงต่อได้ทั้งวัน แต่ไม่ว่าใครจะนอนนานแค่ไหนอย่างไร ก็ตาม เคยสังเกตบ้างไหมว่าโดยปกติใครนอนกันท่าไหนอย่างไร ซึ่ง พระพุทธเจ้าเคยจำ�แนกการนอนไว้เป็น 4 ลักษณะคือ 1. การนอนแบบผู้เสพกาม(กามโภคีเสยฺยา) เป็นการนอน แบบตะแคงซ้าย ซึ่งทางการแพทย์บอกว่าอาจจะทำ�ให้ขาชาและ อาหารย่อยไม่หมดได้ เนื่องจากอวัยวะบางส่วนไปกดทับเส้นเลือด 2. การนอนแบบเปรต (เปตเสยฺยา) หรือการนอนแบบ คนตาย คือการนอนหงาย เพราะศพมีเลือดน้อย มีกระดูกที่ขัดกัน แต่ในทางการแพทย์กลับบอกว่า จะเป็นท่านอนที่ไม่เบียดเบียน สุขภาพ เพราะการนอนแบบนี้จะทำ�ให้หลังไม่ถูกกดทับ 3. การนอนแบบราชสีห์ (สีหเสยฺยา) เป็นการนอน

ตะแคงขวา สองแขนวางไว้หนุนหัว สองขาวางสลับให้เหลื่อมกัน เป็นท่าที่พร้อมจะตื่นไปทำ�กิจได้ทุกเวลา เพราะท่านอนทำ�ให้ กระฉับกระเฉง ไม่งัวเงีย ทางการแพทย์บอกว่าจะทำ�ให้หัวใจเต้น สะดวก ช่วยระบบย่อยและยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังอีกด้วย 4. การนอนแบบพระพุทธเจ้า (ตถาคตเสยฺยา) เป็นการ นอนโดยเข้าฌาณ 4 เป็นการพักกายพักจิตไปในตัว เพราะสัตว์อื่น ถึงจะนอนอย่างไรใจก็ยังปรุงแต่งอยู่ดี แต่การอยู่ในฌาณจะทำ�ให้ ร่างกายและจิตใจพักอย่างเต็มที่ แต่ในบางคนคืนหนึง่ อาจจะนอนได้หลายท่าเปลีย่ นไป เปลีย่ นมา อาจจะเป็นได้วา่ เป็นเปรตบ้าง เสพกามบ้าง มีอ�ำ นาจบ้าง สลับกันไป ฉะนัน้ ใครอยากรูว้ า่ ตัวเองนอนแบบไหน ควรปรับลักษณะ อย่างไร ก็ลองตัง้ กล้องถ่ายคลิปตัวเองในขณะนอนหลับดูกไ็ ด้นะ หลังจากดูคลิปของตัวเองแล้วจะทำ�อย่างไรต่อไปก็ ตัดสินกันเอาเอง



38

ผ้าเหลืองเปื้อนยิ้ม ภาคพิเศษ ตอนเณรน้อยนักสืบ

คดีที่ ๑๖ : “สืบจากความเชื่อ”

เรื่อง : กิตติเมธี I ภาพประกอบ : บุคลิกลุงป้า bookalicloongpa@gmail.com


39

ความเชื่อที่ ๑ ผ้าแพรหลากสีถูกนำ�มาผูกมัดเข้าด้วยกัน เพื่อประดับต้นไม้อายุหลายร้อยปี ตามคำ�บอกเล่าของหลวงตาที่จำ�พรรษาวัดนี้มานาน มักจะพูดเสมอว่า “ต้นไม้ต้นนี้น่าจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับสร้างวัดเลยทีเดียว ซึ่งไม่น่าต่ำ�กว่าร้อยปีมาแล้ว” และไม่มีใครแย้งแกได้ เพราะ ส่วนใหญ่ไม่มีพระภิกษุสามเณรคนไหนเกิดก่อนแกสักคน แต่ก็มีบ้างที่เกิดข้อสงสัยจึงถามขึ้น “หลวงตาเขาเอาผ้ามาผูกทำ�ไมครับ” ซึ่งคนถามก็ไม่ใช่ใครอื่น นั่นคือสามเณรน้อย “ก็เป็นความเชื่อของเขา เห็นเขาบอกว่ามาบนไว้ เลยเอาผ้าสีมาผูกแก้บน” หลวงตาอธิบาย “ขอแล้วได้จริงๆ หรือครับ อย่างนั้นคราวหน้าผมจะได้บนบ้าง” สามเณรปุ้ยสงสัย “ก็ถ้าเชื่อก็ได้ หรือบุญบารมีดีพอก็น่าจะได้นา” หลวงตาอธิบาย “แล้วคำ�สอนนี้มาจากไหนครับ” สามเณรน้อยถามต่อ “ก็คนโบราณเขาทำ�กันมาเรียกว่าอธิษฐานจิตก็ได้ คือปรารถนาสิ่งที่ดีงาม แต่เอาผ้ามาผูกนี่น่าจะเป็นการแสดงความเคารพกัน มากกว่านะ แม้พระพุทธเจ้าก็สอนว่าคนจะข้ามทุกข์ได้ด้วยศรัทธา ถ้าเณรเชื่อแล้วนำ�ไปสู่การทำ�ความดีความเชื่อนั้นก็ดี อย่างเชื่อผู้ใหญ่ ที่ให้เราทำ�ดี สุภาษิตเขาก็ว่าไว้เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด เคยได้ยินไหม” หลวงตาอธิบายต่อ สามเณรปุ้ยได้ยินประโยคนี้เข้าจึงรีบพูดทันที “ได้ยินครับ เร็วๆ นี้เลย” “เป็นยังไง” หลวงตาสงสัย “ก็เมื่อวันก่อนผมเดินบิณฑบาตกับพระอาจารย์แก้ว ก็ไปเจอหมายืน แยกเขี้ยวใส่ พระอาจารย์ก็พูดอย่างนี้เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัดหรอก แต่พอพระอาจารย์เดินนำ�หน้าไป หมาก็วิ่งมากัดผมซะสบงเป็นรูเลย สงสัยเดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัดผู้ใหญ่มากัดเด็กแทนละซิ” สามเณรชี้ให้ดูรูที่สบงเป็นหลักฐาน “อ้อ สงสัยหมาจรจัด ไม่มีเจ้าของแน่ๆ” สามเณรน้อยอธิบายแทน “ทำ�ไมเณรรู้ละว่ามันไม่มีเจ้าของละครับ” “อ้าว ก็หมาจรจัดนะไม่มีการศึกษาหรอก เลยไม่เคยเรียนสุภาษิตโบราณมา เห็นใครก็กัดหมดละ จริงไหมละ” สามเณรน้อยอธิบายขณะที่หลวงตาก็พยักหน้าในความฉลาดพูดของสามเณร ความเชื่อที่ ๒ “จริงหรือเปล่าเณรปุ้ย ที่ว่าถ้าเราคิดถึงใครมากๆ เขาจะรู้สึกได้อย่างเดียวกัน” สามเณรปุ้ยถามขึ้น “เณรเอามาจากไหน” สามเณรน้อยสงสัย “ก็วันก่อนมีโยมใส่บาตรบอกว่าไม่ค่อยเห็นเณรบิณฑบาตผ่านมาทางนี้เลย เลยบ่นกับคนในบ้านทุกวัน จนเมื่อเช้า ผมเดินไปทางนั้นพอดี โยมก็ดีใจมากเลยเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง และบอกว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกนะ ครั้งก่อนเวลาบ่นคิดถึงใครอย่างนี้เขาก็จะมาหาเลย เชื่อไหมละว่าถ้าคิดถึงใครแล้วเขาจะมาหา” สามเณรปุย้ ทำ�ท่าขนลุกประกอบ “น่าขนลุกมากกว่านะผมว่า คิดถึงกันแล้วมาหานี่ เหมือนผีเลย หรือผีเหมือนปุ้ย” สามเณรน้อยหัวเราะแล้วพูดต่อ “ผมว่าเรื่องนั้นไม่เท่าไร แต่ผมนี่ซิน่าเชื่อกว่า คือถ้าผมอยากกินอะไรแค่นึกก็ได้กินแล้ว และลองพิสูจน์มาหลายครั้งแล้ว” สามเณรปุ้ยโน้มตัวเข้ามาด้วยความอยากรู้ “อย่างผมนึกอยากกินกล้วยแขก พระอาจารย์ก็มายื่นแบ่งให้บอกโยมเอามาถวาย วันก่อนร้อนมากอยากฉันเป็ปซี่ ไม่รู้โยมที่ไหน เดินมาถวายอีก และเรื่องนี้ไม่มีทางเป็นไปได้แน่ คือวันก่อนเดินไปเห็นผัดไทย แต่เขาจะขายกันตอนกลางคืน เราคงไม่มีทางได้กินใช่ไหม” สามเณรน้อยถามขึ้น สามเณรปุ้ยได้แต่พยักหน้า “แต่เมื่อวานโยมมาทำ�ถวายทั้งวัดเลยเห็นไหม น่าเชื่อไหมละอย่างนี้” “แล้วมีที่อยากกิน แล้วไม่สำ�เร็จไหม” สามเณรปุ้ยถาม “ไม่มีหรอก แต่ล่าสุดยิ่งกว่านั้นอีก คือไม่ได้อยากกินหรอก แค่ผมนั่งอ่านข่าวว่าเขาฆ่าไก่ทิ้งเพราะ เป็นโรค แล้วเกิดเสียดายถ้ามาถวายนะจะฉันให้หมดเลย” สามเณรน้อยทำ�ท่าไม่อยากเล่า “แล้วเกิดอะไรขึ้น” เณรปุ้ยพยายามซักต่อ “โยมในตลาดก็เอาไก่มาทอดถวายเลย เขาบอกไก่ไม่มีใครซื้อกินเลยช่วงนี้ เลยถวายพระเณรดีกว่าได้บุญและไม่เสียของด้วย แต่ไม่รู้ว่า โยมอยากถวายจริง หรืออยากให้พระเณรพิสูจน์ว่ากินแล้วไม่เป็นไรก็ไม่รู้ เพราะพอคนรู้ว่าพระเณรฉันแล้วไม่เป็นไรอาจมีคนกลับมาซื้อ ก็ได้” สามเณรน้อยพูดต่อ “พระอาจารย์ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องบุญบารมีที่สั่งสมมานะเณร ถ้าเราสั่งสมมาทางนี้ ทำ�ทานมาเยอะก็ได้ผลแห่งทานนั้น แต่ถ้าใคร ไม่เคยให้เลยก็อย่านึกว่าจะได้รับผลจากใครเลยเช่นกัน” พระอาจารย์อธิบายต่อหลังจากฟังอยู่นาน “ถ้าอย่างนั้นก็คงจะจริงละครับว่า ผมอาจทำ�บุญมาเรื่องทาน แต่คงไม่มีบุญเรื่องนอนแน่ๆ เลยครับ” “ทำ�ไมละเณร” สามเณรปุ้ยถามขึ้น “ก็เวลาผมจะนอนทีไรก็งานเข้าทุกทีเลย ไม่ถูกปลุกก็ฝันว่านอนไม่หลับนะซิ” สามเณรน้อยตอบด้วยใบหน้าสลดทันตา


40

8 Time for ทำ�

เรื่อง : กองบรรณาธิการ

8 -16 ตุลาคม 2554 ปฏิบัติธรรมวันออกพรรษาที่วัดสุนันทนาราม ในวัน ออกพรรษาซึ่งเป็นวันสำ�คัญวันหนึ่งของพุท ธศาสนา วัดสุนันทวนารามขอเชิญ พุทธศาสนิกชนร่วมทำ�บุญปฏิบัติธ รรม และทอดกฐินสามัคคี เพื่อเป็นปัจจัย ในการก่อสร้าง อาคารอเนกประสงค์ โดยจะมีการอบรมปฏิบตั ธิ รรม อานาปานสติภาวนา ในระหว่างวันที่ 8 -16 ตุลาคม 2554 ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 100 นับตั้งแต่เริ่มโครงการครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2539 และจะมีพิธีทอดกฐินสามัคคีในวันสุดท้ายของการปฏิบัติธรรม

16 -18 ตุลาคม 2554 อาสาสร้างห้องสมุดบ้านดิน ครั้งที่ 4 กลุ่ม เยาวชนเพาะรัก จังหวัดอุบลราชธานี เชิญชวนอาสาสมัครมาร่วม โครงการ “อาสาสร้างห้องสมุดบ้านดิน ครั้งที่ 4” ที่ โรงเรียนบ้านนาผาย ต.โนนรัง อ.เขื่อนใน จ.อุบ ลราชธานี เพื่อสร้างห้องสมุดบ้านดินให้กับ โรงเรีย น และเผยแพร่ ขยาย ภูมิปัญญาการสร้างบ้านดินไปสู่ชนบท ให้ชาวบ้านมาเรียนรู้ร่วมกัน และสามารถ สร้างบ้านดินได้ด้วยตัวเอง รวมถึงมอบอุปกรณ์การเรียนการกีฬาและทุน อาหาร กลางวันให้กับนักเรียนที่ขาดแคลน สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ กลุ่มเยาวชนเพาะรัก จังหวัดอุบลราชธานี คุณน้อย 089-0234037 หรือ คุณหนุ่ม 089-6489037

21

16

21 – 25 ตุลาคม 2554 ทำ�มาหาธรรม บรรทัดแรก พักร้อนไปพบธรรม เครือข่ายอาสาอิสระ โรงบ่มอารมณ์สุข (Happy seeds together) ขอชักชวน ผู้ที่สนใจมาร่วมปฏิบัติธรรม ณ วัดห้วยกี้วนาราม บ้านห้วยกี้ ตำ�บลห้วยโรง อำ�เภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เพื่อนำ�ธรรมมาทำ�สุข ธรรมะที่ไม่มุ่งเน้นเพียง การนั่งหรือปฏิบัติ แต่ปลูกฝังให้ผู้เข้าร่วมนำ � ธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำ�วัน อย่างมีความสุข รวมถึงร่วมกันพัฒนาชุ ม ชนรอบๆ บริเวณวัดที่อ าสาได้ไป ปฏิบัติธรรม ปรับภูมิทัศรอบๆ บริเวณวัด สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ e-mail: sunday2309@hotmail.com รับสมัครทางอีเมล์เท่านั้น!

รับบริจาควิกผมไม่ใช้แล้ว ศูนย์มะเร็ง ร่วมกับศูนย์ให้ยาเคมีบำ�บัด โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ขอเชิญผู้มีวิกผมที่ไม่ใช้แล้ว ทั้งหญิงและชาย ร่วมบริจาค “วิกผม” ในโครงการธนาคารวิกผม เพื่อผู้ป่วยมะเร็งที่ผมร่วงในระหว่าง รับการรักษาด้วยยาเคมีบำ�บัด โดยผู้ป่วยหมุนเวียนกันใช้ในระหว่างที่ผมร่วง เมื่อผมงอกขึ้นใหม่ยาว ระดับหนึ่งแล้วจะนำ�ส่งคืนธนาคารวิกผม เพื่อให้ผู้ป่วยท่านอื่นๆ ได้ใช้ต่อไป สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ให้ยาเคมีบำ�บัด โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โทร. 074-451785

-


BACK ISSUE

สามารถรับหนังสือมุมได้ที่

เชียงใหม่

rabbithood studio happy hut 1 happy hut 2 ร้านกู Sweets Salad Concept แก้วก๊อ Café de Nimman คุณเชิญ มาลาเต Seescepe iberry Minimal Gallery Hatena ราชดำ�เนิน คุณนายตื่นสาย

สวนนม(นิมมาน) Toast House บะเก่า หมา อิน ซอย กาแฟสถาน hub 53 ร้านวันวาน กาแฟโสด กินเส้น สวนนม (หน้า มช.) Nova ร้านหนังสือดวงกมล ร้านหนังสือสุริวงศ์ พันธุ์ทิพย์ Bangkok Airway (ศรีดอนชัย)

6 7 8 9 10

11 12 13 14 15

สามารถติดต่อรับหนังสือมุมฉบับย้อนหลังได้ที่ มูลนิธิหยดธรรม 083-5169-888 หรือ prataa@dhammadrops.org

X X X X X X X X X X X X

12345

เชียงราย ร้านอาหารครัวป้าศรี ร้านอาหารโป่งแยงแอ่งดอย หอพักนครพิงค์ลอด์จ ธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) ถ.ช้างเผือก ธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) แม่ริม ฝ้ายเบเกอรี่ (ไลเซียม) Kru Club Lyceum สถาบันบัณฑิตวิทยา ร้านอาหาร 32 กม. ร้านกาแฟ วาวี (แม่สา) ร้านกาแฟ วาวี (four seasons) ร้านกาแฟ วาวี (แม่โจ้)

ร้านกาแฟ ดอยช้าง (แม่ริม) ริมปิง super market (กาดรวมโชค) ห้องสมุดทุกคณะใน มช. รติกา คลินิก ร้านแชร์บุ๊ค แม่ริม Annie Beauty (ศิริมังคลาจารย์) Bon Café ช้างคลาน สนามบินเชียงใหม่ วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ร้านเล่า Little cook cafe สถานีวิทยุแม่ริมเรดิโอ

ร้านเกาเหลาเลือดหมู เจ๊สหรส ร้านเครื่องปั้นดินเผา ดอยดินแดง ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง Café Hub วิทยาลัยเทคนิค เชียงราย

กรุงเทพฯ

ร้านกาแฟ คาเฟ่ ดิโอโร่ (กรุงเทพ) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ ห้องสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร วัดญาณเวศกวัน

Sweden The Royal Thai Embassy,StockKhoim Thai Studies Association


42

ธรรมะ(อีก)บท

เรื่อง : ธรรมรตา I ภาพประกอบ : Pare ID

เลือกดีย่อมได้ดี

ในสภาแห่งกบเงียบงันลงอีกครั้ง หลังจากถกเถียงกัน เรื่องผู้นำ�คนใหม่จนเกือบจะวางมวยกัน ดีที่ประธานสภาทักท้วงขึ้น ก่อนพร้อมทั้งกระตุ้นเตือนเมื่อครั้งอดีตอันยาวไกล แต่ก็เหมือนอยู่ ในใจกบทุกตัวถึงโศกนาฏกรรมแห่งความสูญเสียและช้ำ�ใจ เรื่องราวที่ถูกคนอื่นเล่าขานปนเสียดสีเกี่ยวกับ “กบเลือกนาย” “ข้าจะขอทบทวนวันเก่าให้ท่านทั้งหลายได้ฟัง เมื่อครั้ง ที่บรรพบุรุษของเรานั้นยกย่องผิดผู้ผิดตัว ทำ�ให้เสียทีให้กับนก กระยางเจ้าเล่ห์ มาวันนี้ประวัติศาสตร์จะต้องไม่ซ้ำ�รอย เพราะ หัวใจข้าคงแหลกสลายหากต้องมาเห็นผองเพื่อนพี่น้องต้องบาดเจ็บ ล้มตายกันอีก” เสียงประธานเฒ่ากล่าวต่อที่ประชุม เสียงงึมงำ�ดังอยู่อื้ออึง แต่ละฝ่ายเริ่มปรึกษาหารือกัน ขณะที่ประธานนั่งดูอยู่นิ่งๆ เพื่อให้โอกาสสมาชิกสภากบทุกๆ พรรค ได้ทบทวนจุดยืนของฝ่ายตนบ้าง อาจเป็นแนวทางที่ออกจะ ประนอมมากหน่อย แต่ถ้ามันจะช่วยให้ขั้นตอนของการแต่งตั้งผู้นำ� สำ�เร็จได้ ก็เป็นเรื่องที่ดี ในอีกฝากหนึ่งคือประชากรกบเกิดความกระวนกระวาย จนจะโกลาหล หลังจากที่โทรภาพดับไปจากจอภาพก้านบัว

เพราะถูกตัดสายบัวทำ�ให้สัญญาณภาพถ่ายทอดสด การประชุมสภากบหายไป ดีที่ไม่กี่นาทีก็มีภาพปรากฏขึ้นแต่ยังเป็นเพียงภาพสี ดอกบัวลอยไปลอยมา ทันทีที่ภาพตัดมาสู่ห้องประชุมอีกครั้งและได้ เห็นสมาชิกสภานั่งกันประจำ�ตำ�แหน่งเพื่อที่จะดำ�เนินการเลือกผู้นำ� ต่อไป เสียงโห่ร้องดีใจก็ดังขึ้นทั่วทั้งบึง ใบบัวเกิดการสั่นไหวทำ�ให้ รู้ว่ามหาประชาชนกบให้ความหวังกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มาก หลังจากต้องทนอึดอัดกับรัฐบาลกบเก่าที่เอาแต่เล่าความหลัง ฟังเสียงแมงหวี่ กับไล่ตีแมลงปอ และก็ท้าต่อยเขียดตะปาด แล้วก็ ปล่อยให้พวกเขากลายเป็นกบเหงานั่งเศร้าบนใบบัวมานาน เสียงท่านประธานดังก้องขึ้นมาอีกครั้งเมื่อเห็นกบทุกตัว พร้อมแล้ว “ข้าขอกล่าวอะไรเป็นแง่คิดอีกสักนิดหนึ่ง ก่อนที่ท่าน ทั้งหลายจะออกเสียง มิว่าชายหรือหญิงที่ท่านกำ�ลังจะออกเสียง เลือกมานี้ ข้าขอให้มีคุณสมบัติดังนี้เป็นสำ�คัญ” “ปญฺญวา พุทฺธิสมฺปนฺโน วิธานวิธิโกวิโท กาลญฺญู สมยญฺญู จ ส ราชวตี วเส คนมีปัญญา ประกอบด้วยความรู้ ฉลาดในวิธี จัดการงาน รู้จักกาล รู้จักสมัย จึงควรเข้ารับราชการ”


มูลนิธิหยดธรรม ดำ�เนินการร่วมกันระหว่างพระและฆราวาสในการสร้างสรรค์ให้สังคมเกิดความดีงามโดยการใช้ธรรมะ ในการกล่อมเกลาจิตผ่านกิจกรรม การสร้างเสริมจิตอาสา สร้างเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนให้ตระหนักถึงการอยู่ร่วมกัน อย่างเกื้อกูลเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อีกทั้งการจัดค่ายคุณธรรมตามสถานศึกษาต่างๆ ทัณฑสถาน และชุมชนที่สนใจ เพื่อให้เยาวชนและชุมชนได้ถ่ายทอดต่อไปยังคนรอบข้าง ไม่เพียงเท่านั้น ทางมูลนิธิหยดธรรมยังดำ�เนินงานในเรื่องของการจัดอบรมกรรมฐานและปฏิบัติธรรม สำ�หรับผู้สนใจ เพื่อ สุขภาวะของบุคคลและองค์รวม อีกทั้งการสร้างสรรค์สื่อธรรมะในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งนิตยสารที่ท่านถืออยู่นี้ เพื่อที่จะได้ ถ่ายทอดและเผยแผ่ธรรมะออกไปในวงกว้าง ทั้งนี้ ในทุกกิจกรรมที่ทางมูลนิธิได้ดำ�เนินการ รวมทั้งสื่อต่างๆที่ทางมูลนิธิได้จัดทำ�และเผยแพร่เป็นไปเพื่อการสาธารณะกุศล โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทางมูนิธิดำ�เนินกิจกรรมผ่านน้ำ�ใจของท่านผู้มีจิตศรัทธา ที่หวังจะให้ สังคมของเราเกิดความดีงาม ท่านผู้มีจิตศรัทธาท่านใดต้องการสนับสนุนการทำ�งานของมูลนิธิ และร่วมเครือข่ายหยดธรรม สามารถติดต่อได้ที่ prataa@dhammadrops.org กรณีประสงค์สนับสนุนทุนในการดำ�เนินกิจการของมูลนิธิ สามารถสนับสนุนได้โดยการโอนเงินมาที่ ... มูลนิธิหยดธรรม

ชื่อบัญชี มูลนิธิหยดธรรม ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หมายเลขบัญชี 667-2-69064-3 ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หมายเลขบัญชี 557-2-03369-6

โปรดแจ้งการสนับสนุนโดยการส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่โทร 085-995-9951 หรือ prataa@dhammadrops.org เพื่อที่ทางมูลนิธิสามารถออกโมทนาบัตรได้ถูกต้อง



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.