วิจัยในชั้นเรียน_Network

Page 1

การวิจยั ในชั้นเรียน เรื่อง ความพึงพอใจในการเรียนด้วยระบบ E-Learning ของนักเรียนกับการจัดการเรียนการสอน รายวิชา การจัดการระบบเครือข่าย รหัสวิชา ง32108

โดย

นายสุรินทร์ สุรรัตนากร

โรงเรียนเบญจมานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


คํานํา รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง “ความพึงพอใจในการเรียนด้วยระบบ E-Learning ของ นักเรียนกับการจัดการเรียนการสอน รายวิชา การจัดการระบบเครือข่าย รหัสวิชา ง32108” ผู้วิจัยมี ความมุ่งหวังที่จะนํามาเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบาย การศึกษาของชาติ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ โดยได้จัดการเรียนการสอนให้เกิดความสนใจต่อผู้เรียน ให้ ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีความสนุกสนานระหว่างเรียน ไม่รู้สึกเบือ่ หน่ายในเนื้อหาวิชาที่ครูผู้สอน ได้กําหนดไว้ในแผนการเรียนรู้ และสามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ ด้วยระบบ E-Learning ซึ่งผลที่ พบปรากฏว่า นักเรียนให้ความสนใจในการเรียน และในการทํากิจกรรมเป็นอย่างมาก แต่ผลสัมฤทธิท์ ี่ได้ หลังจากวัดผลประเมินแล้ว ยังไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้ ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัย จึงต้องการทราบถึงสาเหตุที่เกิดขึ้น กับการเรียนการสอนในรายวิชา การจัดการ ระบบเครือข่าย รหัสวิชา ง32108 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเบญจมานุสรณ์ จังหวัด จันทบุรี โดยการวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาที่นักเรียน ได้เรียนแล้ว ปัจจัยที่อาจเกิดปัญหาได้คือ ลักษณะของการจัดกิจกรรม กระบวนการจัดการเรียนการสอน การใช้งานระบบใหม่ แหล่งเรียนรู้ การมีปฏิสัมพันธ์ การช่วยเหลือและการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของผู้เรียน จึงได้ทําการวิจัย ด้วยใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจ โดยใช้แบบสอบถามประเมิน ความพึงพอใจในการเรียนด้วย ระบบ E-Learning ของนักเรียนกับการจัดการเรียนการสอน รายวิชา การจัดการระบบเครือข่าย รหัสวิชา ง32108

เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการนําไปปรับปรุงการจัดกิจกรรม และนําผลการวิจัยที่ได้ไปเป็นแนวทางในการ พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนต่อไป การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยเห็นว่าควรจะนํามาเป็นกรณีศึกษา ซึ่งผู้วิจัยพร้อมที่จะยอมรับผลของการสอบถามที่เกิดขึ้นอย่างเต็มใจ

(นายสุรินทร์ สุรรัตนากร) ครู โรงเรียนเบญจมานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี


รายงานการวิจัยในชัน้ เรียน เรื่อง ความพึงพอใจในการเรียนด้วยระบบ E-Learning ของนักเรียน กับการจัดการเรียนการสอนรายวิชา การจัดการระบบเครือข่าย รหัสวิชา ง32108 ความสําคัญของปัญหาการวิจัย การจัดการเรียนการสอนรายวิชา การจัดการระบบเครือข่าย รหัสวิชา ง32108 ในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นวิชาหนึ่งในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้ระบบ E-Learning ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนเป็นครั้งแรก เป็นการเรียนการสอนในแนวใหม่ กล่าวคือ เป็นการเรียนที่มี เนื้อหาความรู้ และกิจกรรม เช่น แบบฝึกหัด หรือแบบทดสอบ รวมถึงการวัดผล การติดตามผลการเรียน ผ่าน ระบบ Internet เรียกได้ว่า เป็นการปรับวิธีเรียนของนักเรียน และเปลี่ยนวิธีสอนของครู ซึ่งผลจากการจัดการ เรียนการสอนในลักษณะนี้ ปรากฏว่า นักเรียนให้ความสนใจ กระตือรือร้น ในการเรียน นับว่าเป็นนิมิตที่ดีอีก รูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบ E-Learning แต่เมื่อวิเคราะห์ผลแล้วพบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้ ปัญหาการวิจัย จากการศึกษาการจัดการเรียนการสอนรายวิชา การจัดการระบบเครือข่าย รหัสวิชา ง32108 พบว่ามี หลายปัญหาที่เป็นสาเหตุทําให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่สูงตามที่ตั้งไว้และนักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาของ นักเรียนไม่ค่อยดีนักสูง ซึ่งปัญหาที่น่าจะเป็นสาเหตุ ได้แก่ ตัวผู้สอน ผู้เรียน และกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้น ผู้วิจัยจึง จัดทําการวิจัย โดยใช้การวิจัยเชิงสํารวจ เพื่อแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติที่ดีของนักเรียนต่อ รายวิชา การจัดการระบบเครือข่าย รหัสวิชา ง32108 โดยการศึกษาความพึงพอใจในการเรียนด้วยระบบ ELearning ของนักเรียนกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชา การจัดการระบบเครือข่าย รหัสวิชา ง32108 ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนด้วยระบบ E-Learning ของนักเรียนกับการจัดการเรียนการ สอนรายวิชา การจัดการระบบเครือข่าย รหัสวิชา ง32108 ของครู 2. เพื่อนําผลการวิจัยไปปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชา การจัดการระบบ เครือข่าย รหัสวิชา ง32108 ของผู้วิจัยในภาคเรียนต่อไป 2. เพื่อฝึกให้นักเรียนได้รู้จักการประเมิน และการแสดงความคิดเห็นอย่างถูกต้องเป็นจริง


วิธีการดําเนินการวิจัย 1. รูปแบบการวิจัย ใช้การวิจัยเชิงสํารวจ 2. ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเบญจมานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จํานวน 42 คน 3. ระยะเวลาที่ทําการวิจัย 3 สัปดาห์ คือ 3.1 สร้างแบบสํารวจ 1 สัปดาห์ 3.2 เก็บข้อมูลจากผู้เรียน 1 สัปดาห์ (ก่อนวัดผลปลายภาคเรียน) 3.3 รวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และทํารายงานวิจัย 1 สัปดาห์ 4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน ความพึงพอใจในการเรียนด้วยระบบ E-Learning ของ นั กเรี ยนกับ การจั ดการเรี ย นการสอนรายวิชา การจั ด การระบบเครื อข่า ย รหั ส วิ ช า ง32108 จํานวน 42 ชุด มีขั้นตอนการสร้างแบบประเมิน ดังนี้ 4.1 ศึกษาหนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครื่องมือ 4.2 สร้างแบบประเมิน 4.3 จัดพิมพ์แบบประเมิน การเก็บรวบรวมข้อมูล นําแบบประเมินไปให้นักเรียนที่เรียนรายวิชา การจัดการระบบเครือข่าย รหัสวิชา ง32108 กับผู้วิจัย เพื่อกรอกแบบประเมิน และเก็บแบบประเมินทั้งหมดมาวิเคราะห์ข้อมูล


ผลสํารวจ ความพึงพอใจในการเรียนด้วยระบบ E-Learning ของนักเรียน กับการจัดการเรียนการสอนรายวิชา การจัดการระบบเครือข่าย รหัสวิชา ง32108 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ข้อมูลผู้วิจัย นายสุรินทร์ สุรรัตนากร รายวิชา การจัดการระบบเครือข่าย รหัสวิชา ง31208 ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จํานวน 42 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเบญจมานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี ระดับความคิดเห็น จําแนกเป็น 5 ระดับ คือ ระดับ 5 หมายถึง ดีมากหรือตรงกับความพึงพอใจของนักเรียนในระดับ ดีมาก ระดับ 4 หมายถึง มากหรือตรงกับความพึงพอใจของนักเรียนในระดับ มาก ระดับ 3 หมายถึง ปานกลางหรือตรงกับความพึงพอใจของนักเรียนในระดับ ปานกลาง ระดับ 2 หมายถึง พอใช้หรือตรงกับความคิดเห็นของนักเรียนในระดับ พอใช้ ระดับ 1 หมายถึง แก้ไขหรือตรงกับความพึงพอใจของนักเรียนในระดับ แก้ไข ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย 9 ลงในช่องระดับความคิดเห็นที่ต้องการ ข้อ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

รายการ การเรียนด้วยระบบ E-Learning ความสะดวกในการใช้ระบบ E-Learning การเข้าถึงข้อมูลแหล่ง การเตรียมเอกสาร หรือใบความรู้ การจัดกิจกรรมในระหว่างเรียน การมีปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร ติดตามผลการเรียนได้สะดวกรวดเร็ว การดูแลเอาใจใส่นักเรียน การช่วยเหลือนักเรียน การแก้ปัญหาการเรียนการสอนของผู้เรียน

5 38 14 0 18 0 11 35 10 12 17

ระดับความพึงพอใจ 4 3 2 3 1 0 10 4 6 14 24 4 23 1 0 0 5 25 21 10 0 5 2 0 27 5 0 20 9 1 19 6 0

1 0 8 0 0 12 0 0 0 0 0


ตาราง ประมวลผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน เป็นร้อยละ ข้อ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

รายการ การเรียนด้วยระบบ E-Learning ความสะดวกในการใช้ระบบ E-Learning การเข้าถึงข้อมูลแหล่ง การเตรียมเอกสาร หรือใบความรู้ การจัดกิจกรรมในระหว่างเรียน การมีปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร ติดตามผลการเรียนได้สะดวกรวดเร็ว การดูแลเอาใจใส่นักเรียน การช่วยเหลือนักเรียน การแก้ปัญหาการเรียนการสอนของนักเรียน

มากที่สุด 90.48 33.33 0 42.86 0 26.19 83.33 23.81 28.57 40.48

ระดับความคิดเห็น มาก ปานกลาง น้อย 7.14 23.81 33.33 54.76 0 50 11.9 64.29 47.62 45.24

2.38 9.52 57.14 2.38 11.9 23.81 4.76 11.9 21.43 14.29

0 14.29 9.52 0 59.52 0 0 0 2.38 0

น้อยที่สุด 0 19.05 0 0 28.57 0 0 0 0 0

ตาราง ประมวลผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน คิดเป็นค่าเฉลี่ย ข้อ

รายการ

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

การเรียนด้วยระบบ E-Learning ความสะดวกในการใช้ระบบ E-Learning การเข้าถึงข้อมูลแหล่ง การเตรียมเอกสาร หรือใบความรู้ การจัดกิจกรรมในระหว่างเรียน การมีปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร ติดตามผลการเรียนได้สะดวกรวดเร็ว การดูแลเอาใจใส่นักเรียน การช่วยเหลือนักเรียน การแก้ปัญหาการเรียนการสอนของนักเรียน

รวม

ความเห็น ค่าเฉลี่ย 4.88 3.38 3.24 4.4 1.83 4.02 4.79 4.12 4.02 4.26 4.22

ระดับความเห็น มากที่สุด ปานกลาง ปานกลาง มากที่สุด น้อยที่สุด มาก มากที่สุด มาก มาก มาก มาก


เกณฑ์ประเมินระดับความคิดเห็น

ค่าเฉลี่ย 4.50 - 5.00 3.50 - 4.49 2.50 - 3.49 1.50 - 2.49 1.00 – 1.49

ระดับความคิดเห็น เห็นด้วยมากที่สุด เห็นด้วยมาก เห็นด้วยปานกลาง เห็นด้วยน้อย เห็นด้วยน้อยที่สุด

จากตาราง ประมวลผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน พบว่า 1. ประเด็นแรก คือ การจัดกิจกรรมในระหว่างเรียน นักเรียนมีความพึงพอใจน้อยที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 1.83 ซึ่งสอดคล้องและมีผลต่อกันกับด้านความสะดวกในการใช้ระบบ E-Learning และการเข้าถึง แหล่งข้อมูล มีความพึงพอใจในระดับ ปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย 3.38 และ 3.24 ตามลําดับ โดย เมื่อพิจารณาข้อเสนอแนะของนักเรียนแล้วสรุปได้ว่า มีนักเรียนบางคนไม่มีระบบ Internet ใช้งาน ที่บ้าน ทําให้ไม่สามารถใช้งานนอกเวลา จึงส่งผลให้ในสองประเด็นหลังมีค่าเฉลี่ยไม่สูง แต่ก็มีเพียง ส่วนน้อยเท่านั้น 2. สําหรับด้านที่นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด ถึงสองประเด็น คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้วยระบบ E-Learning และด้านการติดตามผลการเรียนได้สะดวกรวดเร็ว มีค่าเฉลี่ย 4.88 และ 4.79 ตามลําดับ จากการวิเคราะห์และสังเกตการณ์เรียนในแต่ละชั่วโมงพบว่า การเรียนด้วยระบบ E-Learning นักเรียนมีความสุข สนุกในการเรียน ไม่เบื่อหน่าย เพราะเป็นการเรียนที่เปลี่ยนวิธี หรือกระบวนการเรียนไปจากเดิม นอกจากนี้ นักเรียนยังได้รับทราบผลการเรียน และตรวจสอบ การส่งงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ทันทีที่ครูตรวจงานเสร็จ 3. เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับ มาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.22 ซึ่งก็จัด ได้ว่า ครูผู้สอนได้จัดการเรียนการสอนรายวิชา การจัดการระบบเครือข่าย รหัสวิชา ง32108 ใน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยระบบ E-Learning ได้ดี โดยแก้ไขปรับปรุงในข้อที่ 1 เพิ่มจะทําให้ ในภาพรวมสูงขึ้นด้วย สรุปผลการวิจัย จากข้อมูลที่ปรากฏ ทําให้ผู้วจิ ัยได้ทราบข้อมูลและแนวทางพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ของ ตนเอง อันจะส่งผลการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ และตอบสนองวัตถุประสงค์ของการเรียนในปัจจุบัน ที่มุ่งเน้นให้ครูปฏิรูปการสอนของตนเอง เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นทั้งคนเก่ง คนดี และมีความสุข ผลการวิจัยนี้ จะได้นําไปสู่การพัฒนา อันจะเป็นผลดีต่อการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น


ภาคผนวก


แบบสํารวจความพึงพอใจ ฯ


แบบประเมิน ความพึงพอใจในการเรียนด้วยระบบ E-Learning ของนักเรียน กับการจัดการเรียนการสอนรายวิชา การจัดการระบบเครือข่าย รหัสวิชา ง32108 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ----------------------------------------------------------------------------------คําชี้แจง

1. ขอความกรุณาให้ข้อมูลตามความเป็นจริง 2. การให้ข้อมูลไม่มีผลกระทบต่อตัวผู้รับการประเมินแต่อย่างใด 3. ข้อมูลที่ได้จากแบบประเมินนี้ จะนําไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนต่อไป

ข้อที่

รายการประเมิน

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

การเรียนด้วยระบบ E-Learning ความสะดวกในการใช้ระบบ E-Learning การเข้าถึงข้อมูลแหล่ง การเตรียมเอกสาร หรือใบความรู้ การจัดกิจกรรมในระหว่างเรียน ความมีปฏิสัมพันธ์และการสือ่ สาร ติดตามผลการเรียนได้สะดวกรวดเร็ว การดูแลเอาใจใส่นักเรียน การช่วยเหลือนักเรียน การแก้ปัญหาการเรียนการสอนของผู้เรียน

ดีมาก

ระดับการประเมิน ดี ปานกลาง พอใช้

แก้ไข

หมายเหตุ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ……………………………………………………….……………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… ขอขอบคุณนักเรียนทุกคนที่ให้ข้อมูลตามความจริง …


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.