จุลสารก ค ก

Page 1

ยูหัวภูมิพลอดุลยเ ดช

3 ประสบการณการทําวิจัยและสรางสรรค

ของ รศ.ดร.ธีรศักดิ์ โรจนราธา คณะเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

9 เกษตรลุงคิม อีกทางรอดหนึง่ ของ เกษตรกรไทย

12 เสนใยธรรมชาติภายในประเทศใน การออกแบบเครื่องเรือนและ ผลิตภัณฑเพื่อลดภาวะโลกรอน

20 ขาวสารความเคลื่อนไหว

ปณิธาน ส่งเสริมการพัฒนาและเผยแพร่การวิจัยและงานสร้างสรรค์ ทุกทานสามารถแสดงความคิดเห็นในการใหบริการของสถาบันวิจัยและพัฒนาได 5 ชองทาง คือ n โทรศัพท 0-3425-5808 o โทรสาร 0-3421-9013 p E-mail : research.inst54@gmail.com q Facebook : http://www.facebook.com/Research.Development r แบบสอบถามความพึงพอใจในการใหบริการของสถาบันวิจัยฯ


ที่ปรึกษา

บทบรรณาธิการ ฉบับนี้ขอเริ่มต้นด้วยคอลัมน์เปิดโลกกว้าง เรื่อง“ประสบการณ์ การทํ า วิ จั ย และสร้ า งสรรค์ ” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ธี ร ศั ก ดิ์ โรจนราธา จากคณะเภสั ช ศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร และ จาก...ชุมชน ขอนําเสนอเรื่อง “เกษตรลุงคิม อีกทางรอดหนึ่งของ เกษตรกรไทย” โดย นายสุพรชัย มั่ง มีสิทธิ์ นัก วิจั ยเชี่ยวชาญจาก สถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร ส่ ว นงานวิ จั ย ขอ แนะนําผลงานวิจัย เรื่อง “เส้นใยธรรมชาติภายในประเทศ ในการ ออกแบบเครื่ อ งเรื อ นและผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ พื่ อ ลดภาวะโลกร้ อ น” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ร.ต.อ. อนุ ช า แพ่ ง เกษร และคณะ คณะ มั ณ ฑนศิ ล ป์ มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร พร้ อ มด้ ว ยข่ า วสารความ เคลื่อนไหวของสถาบันวิจัยและพัฒนา ขอเชิญท่านติดตามอ่านในเล่ม นะค่ะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา

สารบัญ

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 0-3425-5808, 0-3421-9013 โทรสาร 0-3421-9013 E-mail : research.inst54@gmail.com Website : http://www.surdi.su.ac.th

เปิดโลกกว้าง 3 ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์ ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ โรจนราธา

จาก...ชุมชน 9 เกษตรลุงคิม อีกทางรอดหนึ่งของเกษตรกรไทย ผลงานวิจัย 12 เส้นใยธรรมชาติภายในประเทศ ในการออกแบบเครื่องเรือน และผลิตภัณฑ์เพือ่ ลดภาวะโลกร้อน

ข่าวสารความเคลื่อนไหว 20 การอบรมเชิงปฏิบตั ิการเรื่อง “การบริหารงานวิจัย (NRPM) เพื่อเสนอของบประมาณประจําปี 2558” 21 งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2556 23 งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ 2556 24 การบรรยายและร่วมอภิปรายหัวข้อ จากผลงานวิจัยสูก่ ิจการ เพื่อสังคม 25 แถลงข่าวจากการจัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2556 26 ประชุมหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยของคณะวิชา 28 รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นประจําปี 2556 29 Road Show เพื่อประชาสัมพันธ์และชี้แจงข้อมูลการขอทุนวิจัย 31 การอบรมเชิงปฏิบตั ิการและแลกเปลีย่ นเรียนรู้เรื่อง การใช้งาน ระบบฐานข้อมูลงานวิจัยและสร้างสรรค์มหาวิทยาลัยศิลปากร 32 โครงการพัฒนาข้อเสนอการวิจัยเชิงบูรณาการการท่องเที่ยว

บรรณาธิการ นางอารีย์วรรณ นวมนาคะ

กองบรรณาธิการ นายสุพรชัย นางสาววัชรี นางสาวตปนีย์

มั่งมีสิทธิ์ น้อยพิทักษ์ พรหมภัทร

เผยแพร่โดย

วัตถุประสงค์ จุล สารสถาบันวิจัยและพัฒ นา เป็นจุล สารอิเล็กทรอนิก ส์ (e-journal) ราย 3 เดือน/ฉบับ จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เผยแพร่ ข่ า วสาร กิ จ กรรมต่ า งๆ ของสถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา ตลอดจนความรู้ จ ากบทความวิ ช าการ และผลงานวิ จั ย ของ บุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยและพัฒนายินดี เป็น สื่อกลางในการเผยแพร่ผ ลงานวิจัย บทความทางวิช าการ และเกร็ดความรู้ต่างๆ ของชาวศิลปากรทุกท่าน

[2] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


เปดโลกกวาง

ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์ ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ โรจนราธา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจําปี 2556) สัมภาษณ์โดย อารียว์ รรณ นวมนาคะ สถาบันวิจัยและพัฒนา

1. ผลงานวิ จั ย เรื่ อ ง “ทางเลื อ กใหม่ ข องการ วิ เคราะห์ย าซึ่ งปลอดภั ยต่ อผู้ป ฏิ บั ติ งานและเป็ น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม”ที่ได้รับรางวัลมีความเป็นมา อย่างไร งานวิจัยเป็นลักษณะไหน สามารถนําไปใช้ ประโยชน์ในด้านใด เนื่ อ งจากในอดี ต การพั ฒ นาหรื อ เลื อ กใช้ วิ ธี วิเคราะห์ยามักมุ่งไปที่วิธีการซึ่งให้ผลการวิเคราะห์ที่ ถูกต้อง แม่นยํา มีความไว และจําเพาะต่อสารที่สนใจ แต่อาจมองข้ามหรือให้ความสําคัญน้อยในเรื่องความ ปลอดภั ย ของคนทํ า งานและผลกระทบที่ ต ามมาต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม งานวิ จั ย นี้ จึ ง มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ พั ฒ นา ทางเลือกใหม่ของการวิเคราะห์ยาซึ่งมีประสิทธิภาพใน การวิ เ คราะห์ ดี ควบคู่ ไ ปกั บ ความใส่ ใ จในความ ปลอดภั ย ของผู้ ป ฏิ บั ติ ง านและความเป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม โดยงานวิ จั ย เรื่ อ งแรกเป็ น การนํ า เอา หลักการเคมีแบบย่อส่วน (microscale chemistry) ซึ่ง โดยปกติใช้ลดขนาดของปฏิบัติการทางเคมีที่ใช้เพื่อการ เรี ย นการสอนในห้ อ งเรี ย น มาประยุ ก ต์ ใ ช้ กั บ การ วิเคราะห์ปริมาณโซเดียมคลอไรด์ในวัตถุดิบและเภสัช ภัณฑ์ประเภทน้ําเกลือ โดยผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า วิธีไทเทรตแบบย่อส่วนที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้องและ แม่นยําเทียบเท่ากับวิธีปกติ ซึ่งทําในสเกลขนาดใหญ่ แต่ช่วยลดปริมาณสารเคมีที่ใช้และของเสียที่เกิดขึ้นได้

ถึง 25 - 215 เท่ า นอกจากนี้ ยังสามารถประยุกต์ใช้ หลักการย่อส่วนดังกล่าวสําหรับการไทเทรตตัวยาชนิด อื่น ซึ่งอยู่ในรูปเกลือไฮโดรคลอไรด์ เช่น เมทฟอร์มิน ไฮโดรคลอไรด์ ได้อีกด้วย

งานวิจัยเรื่องที่ 2 เป็นการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ โดยการสกัดในสเกลขนาดเล็ก แทนการสกัดแบบปกติ ในกรวยแยกขนาดใหญ่ ร่วมกับการนําเทคนิคการวัดค่า การดูดกลืนแสง โดยใช้สารตัวอย่างในปริมาณน้อยมาก เพียงหยดเดียวมาใช้ วิเคราะห์หาปริมาณตัวยาแก้แพ้ คลอเฟนิรามีนมาลีเอตในเภสัชภัณฑ์ ซึ่งในปัจจุบันยังคง ใช้ วิ ธี ก ารสกั ด ด้ ว ยตั ว ทํ า ละลายอิ น ทรี ย์ ซึ่ ง เป็ น สาร อันตรายหรืออาจก่อมะเร็งในปริมาณมาก เช่น เฮกเซน คลอโรฟอร์ม โดยผลการวิ จัยพบว่ า วิ ธี การใหม่ น้ี ลด การใช้ ตัวทําละลายอินทรี ย์ลงได้ประมาณ 200-400 เท่าจากวิธีเดิม และเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว ใช้พื้นที่ใน การทํ า ปฏิ บั ติ ก ารน้ อ ย มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง และยั ง ปลอดภัยต่ อผู้ปฏิ บัติ งานและเป็ นมิตรต่อสิ่ งแวดล้ อม

[3] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


เนื่องจากใช้บิวทิลอะซีเตท ซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่า เป็นตัวทําละลายในการสกัดแทนตัวทําละลายแบบเดิม

ส่วนงานวิจัยเรื่องที่ 3 เป็นการนําสารเจนิพิน ซึ่ ง ได้ จ ากผลของต้ น พุ ด ไม้ ม งคลดอกหอมที่ ค นไทย คุ้นเคย มาใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณยากาบาเพนติน เนื่องจากสารเจนิพินสามารถทําปฏิกิริยาอย่างจําเพาะ กับโครงสร้างทางเคมีของกาบาเพนตินเกิดเป็นสารสี ม่วง แล้วนําไปวัดความเข้มของสีที่เกิดขึ้น ซึ่งสัมพันธ์ กับปริมาณตัวยาที่มีอยู่ในตํารับโดยใช้เครื่องวัดค่าการ ดู ดกลื นแสง ทํ าให้ ไ ด้ วิ ธี ก ารใหม่ ซึ่ งมี ค่ าใช้ จ่ ายน้ อย และทําได้ง่าย แทนการวิเคราะห์ในปัจจุบันด้วยเทคนิค high performance liquid chromatography (HPLC) ที่ แม้ว่าจะเป็นเทคนิคซึ่งมีประสิทธิภาพดี แต่ต้องอาศัย อุปกรณ์ที่มีราคาแพง และยังมักใช้ตัวทําละลายอินทรีย์ เช่น เมทานอล หรืออะซีโตรไนไตรล์ เป็นส่วนผสมใน วัฏภาคเคลื่อนที่

นอกจากนี้ในงานวิจัยยังได้ ออกแบบกระบวน การจัดการของเสียที่เกิดขึ้นจากปฏิบัติการ พร้อมทั้ง ตรวจสอบยืนยั นความปลอดภั ยของของเสี ยหลังจาก ผ่านการบําบัดก่อนปลดปล่อยไปสู่สิ่งแวดล้อมควบคู่ไป ด้วยตามแนวคิดใหม่ ซึ่งให้ความใส่ใจในความปลอดภัย ในทุ ก ขั้ น ตอน ตั้ ง แต่ เ ริ่ ม ต้ น จนสิ้ น สุ ด กระบวนการ วิเคราะห์ ซึ่งเราได้เรียกแนวทางนี้ว่า “from safe source to safe sink”

ดังนั้น ในภาพรวมจึงกล่าวได้ว่างานวิจัยเหล่านี้ ได้สร้างต้นแบบของการวิเคราะห์ยาซึ่งมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลด การใช้สารเคมีและการเกิดของเสีย จึงช่วยประหยัด ต้นทุนของการวิเคราะห์ และลดค่าใช้จ่ายในการกําจัด ของเสีย อีกทั้งยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับโรงงานยา ในการดําเนินธุรกิจโดยรับผิดชอบต่อสังคม (corporate social responsibility หรือ CSR) ด้วย 2. ประสบการณ์ ก ารทํ า งานวิ จั ย ที่ ผ่ า นมาและ โครงการวิจัยที่ทําอยู่ในปัจจุบัน โดยส่ ว นตั ว มี ค วามสนใจในงานวิ จั ย ที่ มี ก าร บูรณาการและประยุกต์ศาสตร์ในแขนงวิชาต่างๆ เข้า ด้ วยกั น เพื่ อให้ ได้ งานวิ จั ยที่ แตกต่ างและสร้ างสรรค์ รวมทั้งงานวิจัยและนวัตกรรมที่ยึดหลักเคมีสีเขียวและ ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยที่ผ่านมา ได้แก่ การประยุกต์ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพหรือเอนไซม์ ในการสั ง เคราะห์ สกั ด และวิ เ คราะห์ ตั ว ยาหรื อ สารสําคัญ การประยุกต์ใช้ไคโตซานซึ่งเป็นพอลิเมอร์ จากธรรมชาติ ที่ ไ ด้ จ ากวั สดุ เ หลื อใช้ ใ นอุ ต สาหกรรม อาหารทะเลสําหรับเป็นตัวพาในการนําส่งกรดนิวคลีอิก ซึ่ ง เป็ น สารพั น ธุ ก รรมเข้ าสู่ เ ซลล์ และการพั ฒ นาวิ ธี วิ เ คราะห์ แ บบใหม่ ๆ เช่ น การค้ น พบวิ ธี ก ารที่ ทํ า ให้ สารประกอบในกลุ่มอะมิโนไทออลทําปฏิกิริยากับนิน ไฮดรินรีเอเจนต์บนวัฏภาคของแข็ง ซึ่งมีหมู่ฟังก์ชันชนิด ซัลฟ์ไฮดริล เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งมีสีม่วงเข้ม สามารถ นํ า หลั ก การนี้ ไ ปพั ฒ นาเป็ น วิ ธี วิ เ คราะห์ ป ริ ม าณยา เพนิซิลลามีนโดยใช้เทคนิคสเปกโตรโฟโตเมตรี รวมไป ถึ ง การพั ฒ นาเทคนิ ค ที่ ง่ า ยและปลอดภั ย ในการ

[4] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


ตรวจสอบการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนที่สมบูรณ์ระหว่าง กรดนิ วคลี อิ กกั บพอลิ เมอร์ เพื่ อใช้ ในการนํ าส่ งยี นเข้ าสู่ เซลล์เพื่ อยีนบําบัด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ ตอบโจทย์ ตามความต้ อ งการของชุ ม ชนและให้ บ ริ ก าร วิชาการแก่สังคม อาทิ การศึกษาวิจัยความคงสภาพของ ตํารับยาที่เตรียมขึ้นในโรงพยาบาล เพื่อใช้เป็นข้อมูลใน การตั้ งตํ ารั บ เตรี ยมยา และเก็ บรั กษายาอย่ างถู กต้ อง เป็นต้น 3. ทุนวิจัยที่ได้รับและเทคนิคการหาทุนเพื่อใช้ในการ สนับสนุนการทําวิจัย ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันได้รับการสนับสนุนทุ น วิ จั ย จากทุ น พั ฒ นาศั ก ยภาพในการทํ า งานวิ จั ย ของ อาจารย์รุ่นใหม่ จาก สกว. ทุนงบประมาณแผ่นดินจาก วช. ทุ น ช่ ว ยเหลื อ การวิ จั ย ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยี จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ทุ น สนั บ สนุ น การวิ จั ย จากกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม ทุ น สนั บ สนุ น การวิ จั ย จากคณะ เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และทุนปริญญาเอก กาญจนาภิ เ ษก ของ สกว. ซึ่ ง ทุ น เหล่ า นี้ นั บ ว่ า เป็ น ประโยชน์อย่างมาก เพราะนอกจากจะสร้างงานวิจัยแล้ว ยังผลิตดุษฎีบัณฑิตรุ่นใหม่ที่เน้นการทําวิจัยอีกด้วย สํ า หรั บ เทคนิคการหาทุ น เพื่ อ ใช้ ใ นการ สนับสนุนการทําวิจัยนั้น คงต้องเริ่มต้นจากการที่ตัวเรา ต้องคิดหัวข้อของงานวิจัยที่น่าสนใจและมีคุณค่าก่อน เพราะในปั จ จุ บั น การขอรั บ ทุ น วิ จั ย มี ก ารแข่ ง ขั น สู ง นอกจากนี้ ยั ง ควรติ ด ตามประกาศการให้ ทุ น จาก แหล่งข้อมูลต่างๆ อย่างสม่ําเสมอ เพื่อเพิ่มโอกาสใน การขอรับทุนสนับสนุน

4. ประสบการณ์การสร้างทีมวิจัย อย่างที่กล่าวมาแล้วในตอนแรกว่า โดยส่วนตัว มี ความสนใจในงานวิ จั ย เกิ ด จากการบู ร ณาการและ ประยุกต์ศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ดังนั้น “การทํางาน เป็ น ที ม ” ซึ่ ง ประกอบไปด้ ว ยผู้ เ ชี่ ย วชาญในสาขาที่

แตกต่ างกั น แต่ มีใ จรั ก ในงานวิ จั ย เหมื อนกั น จึ ง เป็ น แรงผลักดันที่มีความสําคัญอย่างมาก ปัจจุบันจึงได้มี การรวมกลุ่ ม นั ก วิ จั ย ในแขนงวิ ช าต่ า งๆ ทางเภสั ช ศ า ส ต ร์ จั ด ตั้ ง เ ป็ น ก ลุ่ ม วิ จั ย “Pharmaceutical Development of Green Innovations Group (PDGIG)” ขึ้ น ในคณะเภสัช ศาสตร์ มหาวิ ท ยาลัย ศิ ล ปากร เพื่ อ สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมโดยยึดหลักเคมีสีเขียวและ ความเป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม รวมทั้ ง ทางกลุ่ ม ยั ง มี ค ว า ม ร่ ว ม มื อ กั บ อ า จ า ร ย์ นั ก วิ จั ย ภ า ย น อ ก มหาวิทยาลัยอีกด้วย ผลที่ได้รับตามมา ก็คือ เกิดการ แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ร ะหว่ า งกั น ทํ า ให้ ส ามารถสร้ า ง งานวิจัย ทั้งที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐาน และงานวิจัยเชิง ประยุกต์ได้อย่างครบวงจรและประสบความสําเร็จ 5. ความคาดหวังต่อการส่งเสริมและสนับสนุนการ ทํางานวิจัย จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ในด้ า นความคาดหวั ง ต่ อ การส่ ง เสริ ม และ สนับสนุนการทํางานวิจัยนั้น ผมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่ ว นแรกคื อ การส่ ง เสริ ม และผลั ก ดั น จากภายนอก ได้ แ ก่ จากมหาวิ ท ยาลั ย ซึ่ ง ผมก็ มี ค วามพอใจ เนื่ อ งจากสถาบั น วิ จั ย สามารถดํ า เนิ น งานและจั ด กิจกรรมต่างๆ เพื่อเอื้อให้เกิดบรรยากาศแห่งการวิจัย เช่ น ทํ า หน้ า ที่ ใ ห้ ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ แหล่ ง ทุ น วิ จั ย จั ด บรรยายและให้ความรู้เกี่ยวกับการทําวิจัย การขอทุน ให้กับอาจารย์และบุคลากร จัดเวทีนําเสนอผลงานวิจัย ในงาน “ศิลปากรวิจัย” อย่ างต่อเนื่องทุก ปี ไปจนถึ ง การให้ ร างวั ล แก่ ผ ลงานวิ จั ย และนั ก วิ จัย ที่ มี คุณ ภาพ เป็ น ต้ น แต่ อี ก ส่ ว นหนึ่ ง ซึ่ ง ผมเห็ น ว่ า มี ค วามสํ า คั ญ อย่างมาก คือ แรงผลักดันจากภายในตัวนักวิจัยเอง ซึ่ง เกิ ด จากความตระหนั ก ในบทบาทและหน้ า ที่ ข อง อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะต้องสร้างผลงานวิจัย/ สร้างสรรค์ หากขาดส่วนนี้ไปแล้ว แม้จะมีการส่งเสริม และสนับสนุนการทํางานวิจัยที่ดีจากมหาวิทยาลัยทุก อย่างก็คงไร้ผล

[5] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


ประวัติและผลงาน

รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ โรจนราธา การศึกษา

- เภสัชศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม อันดับหนึ่ง เหรียญทอง) พ.ศ.2538 จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(จุลชีววิทยา) ถ้วยรางวัลเกียรติยศผู้สําเร็จการศึกษาที่มีผลการศึกษา ดีเยี่ยม (Dean’s List) พ.ศ.2547 จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันดํารงตําแหน่ง รองศาสตราจารย์ประจําภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผลงานด้านวิชาการ - ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ 40 เรื่อง - บทคัดย่อและรายงานวิจัยตีพิมพ์ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการทั้งในและ ต่างประเทศมากกว่า 60 เรื่อง - บทความวิชาการ 9 เรื่อง - หนังสือ 1 เล่ม รางวัลด้านการวิจัย ได้แก่ - รางวัลการเสนอผลงานวิจัยดีเด่นในการประชุมวิชาการโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (2547) - รางวัลการเสนอผลงานวิจัยดีเยี่ยมในการประชุมนักวิจัยรุ่นใหม่พบเมธีวิจยั อาวุโส สกว. (2552) - รางวัลผลงานวิจัย สภาวิจัยแห่งชาติ (2552) - รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และ นักวิจัยดีเด่น (2553) มหาวิทยาลัยศิลปากร - รางวัลรองชนะเลิศการประกวดข้อเสนอโครงการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2554) - รางวัลดุษฎีบัณฑิต โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สกว. (2554) - รางวัลผลงานวิจัยตีพิมพ์ดีเด่นทางด้านเภสัชศาสตร์ (Nagai Award Thailand) Nagai Foundation Tokyo (2554) - รางวัล "เงินทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ครั้งที่ 18 จากมูลนิธิโทเร เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย (2555) - รางวัลผลงานวิจัยดีด้านการคุ้มครองผู้บริโภค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับมูลนิธิ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (2555) [6] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


ภาพการได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจําปี 2554 ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจําปี 2554 แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ โรจนราธา จากคณะเภสัชศาสตร์ ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ยา ปฏิชีวนะอะม็อกซิซิลินในเภสัชภัณฑ์ โดยใช้เอนไซม์” สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยได้รับเงิน รางวัลจํานวน 30,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2553 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ ภาพการได้รับรางวัลผลงานวิจัย

รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสองจากการประกวดข้อเสนอโครงการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้บริบท “การพัฒนาที่ยงั่ ยืน” ในงานวันสิ่งแวดล้อมโลก วันที่ 5 มิถุนายน 2554 พร้อมกับนักศึกษาในโครงการวิจัย

[7] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


รับรางวัล "เงินทุนช่วยเหลือทางด้านวิจยั วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ครั้งที่ 18 จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 โดยมี ฯพณฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี

รับรางวัลผลงานวิจัยตีพิมพ์ดีเด่นประจําปี 2554 (Nagai Award Thailand 2011) ในสาขา Pharmaceutical Sciences จาก The Nagai Foundation Tokyo จากเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์ประจําปี 2554 (ครั้งที่ 28) ที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รับรางวัลผลงานวิจัยดี ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จากนายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 20 ประจําปี 2555 จัดโดย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ มูลนิธิกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (2555) [8] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


จาก...ชุมชน

เกษตรลุงคิม...อีกทางรอดหนึ่งของ เกษตรกรไทย สุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นักวิจัยเชี่ยวชาญ สถาบันวิจัยและพัฒนา

ท่า นผู้อ่ า นอาจจะยัง ไม่มี ข้ อมู ล เกี่ ย วกั บ เกษตร ลุงคิม ว่าคืออะไร ก่อนที่จะนําเสนอรายละเอียด กระผม ขอแนะนําให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักบุคคลที่ทํางานอยู่เบื้องหลัง การสร้างแนวคิด วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่ค่อนข้าง แปลกแหวกแนว แต่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการทาง การเกษตรสาขาต่างๆ เช่น การปรับปรุงบํารุงดิน ธาตุ อาหารสําหรับพืชในการให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ระบบการ ให้น้ําให้ปุ๋ยที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อลดภาระเรื่อง การขาดแคลนแรงงาน ความสิ้ นเปลืองพลั งงานไฟฟ้ า สํ า หรั บ ใช้ เ ดิ น ปั๊ ม น้ํ า หรื อ ประหยั ด น้ํ า มั น เชื้ อ เพลิ ง ซึ่ ง เรื่ อ งราวต่ า งๆ เหล่ า นี้ น ายทหารนอกราชการแห่ ง กองทั พ บกไทย เป็ น ผู้ นํ า ในการคิ ด ค้ น เผยแพร่ ม ากว่ า 20 ปี

คิม ซา กัซ เป็นนามแฝงที่ใช้ในการเขียนหนังสือนวนิยายที่มี เนื้ อ หาเกี่ ย วกับ ชี วิ ต ทหารในสมรภูมิ ต่ า งๆ ที่ ดั งในอดี ต เช่ น ในเวียตนาม เกาหลี หรือแม้กระทั่งสมรภู มิเลือด

ภายในประเทศ ที่มีการสู้รบกับคอมมิวนิสต์ในอดีต ท่าน ได้ เ ขี ย นหนั ง สื อ ออกมาหลายเรื่ อ ง ท่ า นเล่ า ให้ ฟั ง ว่ า นามปากกาของลุงคิม เป็นชื่อนักร้องเกาหลีที่ดังมากใน เวลานั้นช่วงที่ท่านไปรบในเกาหลี ก็เลยยืมเขามาใช้เป็น นามปากกาสําหรับการเขียนหนังสือ ไม่น่าเชื่อว่าชีวิตของนายทหารผู้นี้คลุกคลีอยู่แต่ กับปืนมาทั้งชีวิต จะพลิกผลันตัวเองมาเป็นนักส่งเสริม การเกษตรที่ ห าตั ว จั บ ยาก แม้ ก ระทั่ ง นั ก วิ ช าการด้ า น การเกษตรที่เรียนจบระดับด๊อกเตอร์ยังทําไม่ได้เหมือนกับ ลุ ง คิ ม เลย งานวิ จั ย ด้ า นการเกษตร ตํ า รา เอกสาร ที่ เกี่ยวข้องกับการเกษตรลุงคิมจะนํามาศึกษาทําความเข้าใจ แล้วนําไปสู่การทดลอง ผ่านการสังเกตผลที่เกิดขึ้น และ ดัดแปลง สุดท้ายนํามาสรุปเป็นแนวทางของตนเอง ท่าน บอกว่าอย่าทําตัวเป็นน้ําเต็มแก้ว จะทําให้เสียโอกาสใน การพั ฒ นาตนเอง นั ก วิ ช าการคนไหนเก่ ง ท่ า นจะหา โอกาสไปสอบถามหรือหาตํารับตําราท่านเหล่านั้นมาอ่าน มาศึกษา ลุงคิมบอกว่าไม่ได้เรียนมาทางนี้เราต้องอ่าน ฟัง ให้มาก แล้วนํามาวิเคราะห์ ทดลอง สังเกต ดัดแปลง และ สรุ ป เป็ น แนวทางที่ เ หมาะสมกั บ สภาพแวดล้ อ มนั้ น ๆ ลุงคิมให้ข้อคิดอย่างหนึ่งว่าการ COPPY ไม่รุ่ง แต่หาก นํามา APPLY เจริญแน่ หากท่านผู้อ่านลองพินิจพิจารณา ข้ อ คิ ด ของลุ ง คิ ม จะพบว่ า เป็ น เรื่ อ งจริ ง เพราะสภาวะ แวดล้อมในแต่ละพื้นที่ย่อมมีความแตกต่างกัน มันอาจจะ ไ ด้ ผ ล ดี ใ น ที่ แ ห่ งห นึ่ ง แ ต่ อี ก แ ห่ ง ห นึ่ ง อ า จ ไ ม่ เ ป็ น

[9] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


เช่นเดียวกับที่แรก ดังนั้นวิธีคิดของลุงคิมสามารถนําไป ประยุกต์ใช้ในหลายอาชีพ ลุงคิมทําการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จนเข้าถึง แก่ น แท้ ข องการทํ า เกษตรกรรม เพื่ อ ให้ ไ ด้ ผ ลผลิ ต ตาม ความต้ อ งการของตลาด มี ค วามปลอดภัยต่อ ผู้บริ โ ภค หรือที่ผู้คนยุคนี้ได้ยินได้ฟังกันเสมอ คือ อาหารปลอดภัย ยศครั้ ง สุ ด ท้ า ยก่ อ นเกษี ย ณราชการทหาร คื อ พั น โท ขณะนี้ท่านอายุกว่า 70 ปีแล้ว แต่ยังดูคล่องแคล่ว ทหาร เกษตรผู้นี้คือ พันโทวีระ ใจหนักแน่น ผู้มีวิธีการพูดจา โผงผางเสียงดังสไตล์ทหาร หากยังไม่คุ้นกับท่าน ก็จะรู้สึก ว่า แหมตาแก่ นี่ ดุจั ง แต่ จ ริ ง ๆ แล้ ว ท่ า นเป็ น คนใจดี ม าก ตรงไปตรงมา มีความจริงใจ ให้โดยไม่เสียดายหรือกลัวจะ มีคู่แข่ง ยุยงส่งเสริมให้ทําเพื่อจําหน่ายในกลุ่มในชุมชน และผลิตเพื่อใช้เอง ติดขัดอะไรสอบถามได้โดยไม่ปิดบัง พร้อมให้คําแนะนําและช่วยเหลือหากมีเวลาวิ่งเข้ามาหา ท่ า นโดยตรง กระผมได้ ติ ด ตามเรี ย นรู้ ก ารทํ า เกษตร สมัยใหม่จากลุงคิมผ่านทางคาราวานเกษตรซึ่งในแต่ละ เดือนจะมีการสัญจรไปยังพื้นที่ต่างๆ ในภาคตะวันตก เพื่อ นําสินค้าจําพวกสมุนไพร ปุ๋ยเคมีที่หาได้ยากในท้องตลาด ทั่วไปมาจําหน่ายให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจแนวทางการ ทํ า เกษตรแบบ “อิ น ทรี ย์ นํ า เคมี เ สริ ม ตามความ เหมาะสม” เป็นเวลากว่า 10 ปีมาแล้ว แต่เมื่อได้พบกับ ลุงคิมอีกครั้งหนึ่งเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ไร่ของ ลุงคิม ที่อําเภอท่ามะกา จั งหวัดกาญจนบุ รี กระผมได้ เรียนรู้เทคนิค ใหม่ ๆ ในการทําเกษตรในแบบลุงคิม ซึ่ง ข้อมูลดังกล่าวน่าจะยังประโยชน์แก่ผู้สนใจแนวทางใหม่ ๆ ในการทําการเกษตรผลิตอาหารปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและ ผู้บริโภค จึงขอนําเสนอเทคนิคการทําเกษตรแบบลุงคิม อินทรีย์นํา เคมีเสริม ตามความเหมาะสม เป็ น รูป แบบหนึ่ งของการทํ า เกษตรกรรมในยุ ค ปั จ จุ บั น ที่ นํ า ส่ ว นดี ของการทําเกษตรแต่ ละประเภทมา ผสมผสานกั น ไม่ ใ ช่ “เกษตรอิ น ทรี ย์ ต ก ข อ บ ” คื อ ต่ อ ต้ า น หรื อ ไม่ ย อมใช้ ธ าตุ อาหารพืชที่ได้จากการ สังเคราะห์ทางเคมี (เพราะในธรรมชาติมีไม่พอ) แต่ดันทุรัง

ใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียว จริงอยู่ในรอบแรกๆของ การหันมาทําเกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีที่ตกค้างอยู่ในดินยัง ถูกนํามาใช้เป็นธาตุอาหารของพืชได้ โดยเฉพาะเมื่อใสปุ๋ย อินทรีย์ที่มีกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายปุ๋ยเคมีให้พืช นํ า มาใช้ ไ ด้ ล งในดิ น ที่ ทํ า การเกษตร จึ ง ทํ า ให้ เ กิ ด ความ เข้าใจคลาดเคลื่อนว่าปุ๋ยอินทรีย์ดีกว่าปุ๋ยเคมี แต่ถ้าทํา เกษตรไปเรื่อยๆ จะพบว่าผลผลิตจะลดลงและคุณภาพก็ ลดตามไปด้วย เนื่องจากธาตุอาหารมีไม่พอเพียงแม้จะใส่ ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้นก็ตาม อย่าลืมว่าในปุ๋ยอินทรีย์นั้นธาตุ อาหารหลักแม้จะมีครบทั้ง 3 ตัวแต่ก็มีปริมาณน้อย หาก จะให้ได้ปริมาณตามที่พืชต้องการก็ต้องใส่จํานวนมาก ซึ่ง ในโลกของความเป็นจริงหาเกษตรกรทําได้ยากมาก และ หากจะคิดเปรียบเทียบต้นทุนกับการใช้ปุ๋ยเคมีแล้ว ยิ่งทํา ให้เห็นชัดว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีต้นทุนสูงพอๆกับการใช้ ปุ๋ยเคมี หรือสูงกว่าด้วยซ้ํา ด้วยเหตุนี้เกษตรไทยจึงไม่นิยม ทําเกษตรอินทรีย์กันมากนัก แต่สนใจทํา “เกษตรเคมีบ้า เลื อ ด” หมายถึ ง การใช้ เ คมี เ กษตรเต็ ม ที่ โดยไม่ คํ า นึ ง ความต้องการของพืช ระยะเวลาที่เหมาะสมในการสะสม อาหาร แต่จะเชื่อร้านขายปุ๋ยขายยาว่าปุ๋ยนี่ดี ฮอร์โมนตัว นั้นเพิ่มผลผลิต แม้จะแพงหรือไม่มีเงินซื้อก็จะเชื่อเขามาใช้ ก่อนแพงก็ไม่กลัว เพราะคิดว่าจะทําให้ได้ผลผลิตมากขึ้น แล้วค่อยไปสะสางกันภายหลัง สิ่งเหล่านี้ยังเวียนว่ายอยู่ ในวงจรขี วิ ต ของเกษตรกรไทย ปั ญ หาหนี้ สิ น จึ ง ปลด เปลื้องไม่ได้ซักที

รูปแบบที่ลุงคิมได้ทดลองและนํามาสู่การปรับใช้ จริงในพื้นที่เสมือนหนึ่งแปลงทดลองของลุงในพื้นที่เกือบ 20 ไร่ ปลูกไม้ผลกว่า 20 ชนิด แบ่งออกเป็นโซนๆ พร้อม กับวางระบบน้ําโดยใช้สปริงเกอร์พร้อมดัดแปลงระบบท่อ ผสมปุ๋ยแบบเวนจูลี่เพื่อให้ปุ๋ยไปกับระบบน้ําพร้อมๆกันไป เลย ซึ่งเป็นระบบน้ําที่แม้กระทั่งวิศวกรระบบน้ํายังทึ่งกับ เทคนิคที่ลุงคิมคิดขึ้นมาใช้ในพื้นที่เพาะปลูกของลุง ซึ่งมี

[ 10 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


ประสิทธิภาพสูงมากเมื่อเทียบกับระบบที่มีจําหน่ายกันอยู่ ในท้องตลาด โดยหลั กการของการทําเกษตรแบบอินทรีย์นํ า เคมีเสริม ตามความเหมาะสม คือ นําข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์ มาใช้ คือปุ๋ยอินทรีย์มีจุดเด่นคือการช่วยให้ลักษณะทาง กายภาพของดินดีเหมาะแก่การเพาะปลูก มีธาตุอาหาร หลั ก แต่ มี น้ อ ย จุ ด ด้ อ ยคื อ ต้ อ งใช้ ใ นปริ ม าณมากถึ ง จะ เพี ย งพอกั บ ความต้ อ งการของพื ช การขนส่ ง ไม่ ส ะดวก วัตถุดิบในการทําปุ๋ยมีราคาสูงเพิ่มขึ้นทําให้ต้นทุนการผลิต สู ง ตาม ส่ ว นปุ๋ ย เคมี ข้ อ ดี คื อ มี ธ าตุ อ าหารพื ช อย่ า ง พอเพี ย ง การขนส่ ง สะดวก การนํ า ไปใช้ ส ะดวก แต่ มี ข้อจํากัดคือ ไม่สามารถปรับปรุงกายภาพของดินได้หากใช้ ต่ อ เนื่ อ งเป็ น เวลานานจะทํ า ให้ ดิ น เป็ น กรด ผลผลิ ต จะ ลดลง และต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือปั ญ หาต้ นทุ น การทํา นาของชาวนาในปั จจุ บัน จะมี ต้นทุนอยู่ที่ประมาณไร่ละ 8,000 บาท ดังนั้น รัฐจะลด ราคาการจํานําข้าวลงมาก็บอกว่าขาดทุนแน่ ขณะเดียวกัน ชาวนาหัวก้าวหน้าในจังหวัดสุพรรณบุรีกลับมีต้นทุนการ ทํานาต่อไร่เพียง 2,000 บาท/ไร่ ดังนั้นเขาจึงไม่วิตกกังวล กับราคาข้าวที่จะขายเพราะ ณ ราคาข้าวปัจจุบันนี้เขาไม่ ขาดทุนอยู่แล้ว ชาวนารายดังกล่าวเขาใช้แนวทางการทํา นาแบบ อินทรีย์นํา เคมีเสริม ตามความเหมาะสม ทํา ให้ต้นทุนต่ําและได้ผลผลิตสูง จะเห็นได้ว่าเกษตรกรส่วน ใหญ่ของประเทศไทยยังขาดแนวทางที่เหมาะสมหรือองค์ ความรู้ที่จะทําให้ต้นทุนการผลิตต่ํา เพื่อจะแข่งขันได้ใน เรื่ อ งราคา ขณะเดี ย วกั น ภาครั ฐ ก็ แ ก้ ไ ขปั ญ หาของ เกษตรกรที่ปลายเหตุ ใช้งบประมาณไปจัดทําโครงการ ไม่ ว่ า จะรู ป แบบจํ า นํ า หรื อ ประกั น ราคาก็ ต าม ไม่ ไ ด้ แก้ปัญหาที่ต้นเหตุของอาชีพเกษตรกรรมเลย ดิน น้ํา ปัจจัยสําคัญสําหรับทุกชีวิต หากจะดู ว งจร ข อ ง ส ร ร พ สิ่ ง ที่ มี ชี วิ ต ทั้ ง หลาย ล้ ว นแต่ ต้ อ ง อาศั ย สองสิ่ ง ดั ง กล่ า ว ข้า งต้ น เป็ น แหล่ ง ก่ อ เกิ ด ทั้ ง นั้ น ยิ่ ง เ มื่ อ พู ด ถึ ง ก า ร เ ก ษ ต ร ยิ่ งต้ อ ง ใ ห้ ความสํ า คั ญ กั บ สองสิ่ ง นี้ ให้ มาก หากดิ นมีส มบัติทางกายภาพเหมาะสมแก่ การ

เพลาะปลู ก ก็ จ ะทํ า ให้ ผ ลผลิ ต เป็ น ไปตามที่ เ กษตรกร ต้ อ งการ หากไม่ เ ข้ า ใจหรื อ ไม่ ใ ห้ ค วามสํ า คั ญ แต่ ไ ปให้ ความสําคัญกับปัจจัยอื่น เช่น ปุ๋ย หรือสารเร่งความเจริญ ก็จ ะทําให้ก ารทํ า เกษตรประสบปัญ หาต่ าง ๆ มากมาย ตามมา ปัจจัยหนึ่งที่มีความสําคัญต่อความสําเร็จหรือ ความล้มเหลวของการทําเกษตรกรรมคื อ ทัศ นคติ หรือ ปัจจุบันนิยมใช้คําว่า เจตคติ ของเกษตรกร หากเขายัง ขาดความรู้ หรือที่ปรึกษาที่รู้จริงในปัญหาที่เขากําลังเผชิญ อยู่ เขาก็จะแก้ปัญหาหรือกระทําผิดซ้ําๆ หรือทําตามๆกัน มา โดยขาดการคิดวิเคราะห์ หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา หรื อคนที่ เกี่ ย วข้อ งกับ เกษตรกรไม่ว่ า จะเป็ น หน่ว ยงาน ภาครัฐหรือเอกชนให้ความรู้หรือข้อคิดเห็นที่ไม่ถูกต้อง ก็ ยิ่งจะเป็นการซ้ําเติมเกษตรกรมากขึ้น ปัจจุบันองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน มากที่สุดน่าจะมองเห็นปัญหาและหาทางช่วยเหลือชุมชน เท่าที่พบเห็น มีหน่วยงานหรือผู้บริหารองค์กรเหล่านี้น้อย มากจนถึงน้อยที่สุด ที่จะนําพาเอาใจใสอย่างจริงจัง ใน การให้ความรู้ที่ถูกต้องในการทําเกษตรกรรมที่สามารถลด ต้ น ทุ น ได้ ม ากที่ สุ ด ขณะเดี ย วกั น ก็ ใ ห้ ผ ลผลิ ต สู ง และ ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ซึ่งเทคนิคหรือแนวทางดังกล่าวใช่ ว่าไม่มี แต่มีมาไม่น้อยกว่า 20 ปี ที่ลุงคิม หรือพันโทวีระ ใจหนักแน่น นายทหารนอกราชการได้จัดทํารายการวิทยุ ให้ความรู้ ตอบปัญหาข้อข้องใจของเกษตรกรที่ต้องการทํา เกษตรแบบ อิ น ทรี ย์นํา เคมีเ สริ ม ตามความเหมาะสม ปัจจุบันก็ยังดําเนินการอยู่ ถ้า ท้ อ งถิ่ น มี แ นวทางการทํ า เกษตรด้ ว ยความรู้ ความเข้ า ใจตามแนวทางของลุ ง คิ ม ปั ญ หาเรื่ อ งราคา ผลผลิต ต้ นทุ น การผลิ ต ก็ จ ะไม่ ใ ช่ ปัญ หาที่ ส ร้า งความ ยากจนให้กับผู้ทําอาชีพเกษตรกรรมทั่วประเทศอีกต่อไป เพี ย งเปิ ด ใจรั บ กล้ า ที่ จ ะทดลองเรี ย นรู้ ก็ จ ะนํ า ไปสู่ ทางออกของการแก้ปัญหาของชุมชนได้ ----------------------------------หมายเหตุ หากท่านสนใจติดต่อขอดูงานในไร่ลุงคิดโปรด โทรนั ด หมายกั บ ท่ า นก่ อ นตามเบอร์ นี้ 081 9134968 รายการวิทยุที่จัดคือ กองทัพบกเพื่อประชาชน รายการ สีสันชีวิตไทย วิทยุเพื่อการเกษตรและอาชีพเสริมเคลื่อน AM 594 เวลา 08.10-09.00 น. และ 20.05-20.30 น. ทุกวัน FM 91.0 เวลา 07.00-08.00 น. วันอาทิตย์

[ 11 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


งานวิจัย

เส้นใยธรรมชาติภายในประเทศ ในการออกแบบเครือ่ งเรือน และผลิตภัณฑ์ เพือ่ ลดภาวะโลกร้อน The Domestic Natural Fiber, which is Appropriate for Furniture and Product Design in the Reduction of Global Warming รองศาสตราจารย์ ดร. ร.ต.อ. อนุชา แพ่งเกษร คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ ดร.ปูริดา กล้าประเสริฐ (ผู้ร่วมวิจัย) นายวีระพงษ์ แย้มยินดี นายวุฒิ คงรักษา

1. บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา (1) ระดับของ ทัศนคติที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถด้านการ ผลิต ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติ และการลดภาวะโลกร้อน (2) อิทธิพลของความคิดสร้างสรรค์ความสามารถด้านการผลิต และผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติที่มีต่อการลดภาวะโลกร้อน (3) การออกแบบ และรูปแบบที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์จาก เส้นใยธรรมชาติ ในการวิจัยครั้งนี้ใช้แนวทางการวิจัยและพัฒนา โดย การวิ จั ย เชิ ง ปริ ม าณให้ ป ระชาชนที่ อ าศั ย อยู่ ใ นพื้ น ที่ กรุ งเทพ มหานครและปริมณฑล จํานวน 100 คน ภาคเหนือ จํานวน 100 คน ภาคตะวั นออกเฉี ยงเหนื อ จํ า นวน 100 คน และภาคใต้ จํานวน 100 คน รวมจํานวนทั้งสิ้น 400 คน ซึ่งเป็นพื้นที่ เป้าหมายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ตอบแบบสอบถาม ด้วยตนเอง และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเป็นขั้นตอนการ ประชุมกลุ่ม และการสัมภาษณ์เจาะลึกบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และผู้ผลิต จํานวน 12 คน การวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล เชิ ง ปริ ม าณด้ ว ยสถิ ติ พ รรณนา (descriptive statistics / frequency) และการวิเคราะห์ เส้นทางความสัมพันธ์ (path analysis) เพื่อชี้แจงคุณลักษณะ และความสัมพันธ์ของตัวแปรทุกตัว และนําการวิเคราะห์ไปสู่ ขั้นตอนการพัฒนา ผลการศึกษาพบว่า (ก) ความคิ ด สร้ า งสรรค์ นํ า ไปสู่ ก ารพั ฒ นาและผลิ ต เครื่องเรือนและผลิตภัณฑ์ ทําให้มีความน่าสนใจ และผลิตภัณฑ์ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และแสดงความเป็นพื้นถิ่น ด้านของ รูปแบบ การใช้วัสดุ และภูมิปัญญา จะได้รับการตอบรับจาก ตลาดและผู้ใช้สินค้าเป็นอย่างดี

(ข) ประเภท/รูปแบบของเครื่องเรือนและผลิตภัณฑ์ที่ ผลิ ต จากวั ส ดุ ธ รรมชาติ จะมี ค วามหลากหลายในด้ า นของ รู ป แบบ ประเภท และวั ส ดุ ธ รรมชาติ ขึ้ น อยู่ กั บ ความคิ ด สร้างสรรค์ จะได้รับความนิยมเป็นสินค้าที่ผลิตจากวัสดุหรือ วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น (ค) ความสามารถ หรือศักยภาพในการผลิต ผู้ผลิตมี ความสามารถเฉพาะสู ง มีฝี มือ มี ความชํ านาญ และมีทั ก ษะ เฉพาะทาง โดยสิ น ค้ า ต้ อ งการความประณี ต และละเอี ย ด อย่ า งไรก็ ต ามต้ อ งการสนั บ สนุ น เกี่ ย วกั บ การตลาด และการ วางแผนเกี่ยวกับการบริหารการผลิต (ง) การลดภาวะโลกร้อน โดยเครื่องเรือนและ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุหรือเส้นใยธรรมชาติล้วนๆ หรือเป็น เพียงส่วนผสมกับวัสดุอื่น มีส่วนช่วยในการลดภาวะโลกร้อนได้ดี อีกประการหนึ่งควรมีการรณรงค์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มี การส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การใช้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ทํ า จากเส้ น ใย ธรรมชาติอย่างจริงจัง คําสําคัญ: 1. เส้นใยธรรมชาติภายในประเทศ 2. การออกแบบเครื่องเรือนและผลิตภัณฑ์ 3. การลดภาวะโลกร้อน Abstract This research aimed at investigating (1) Hierarchy of fiber production creation, manufacturing, and global warming. (2) Environmental goals influences to creativity, manufacturing, and product. (3) Appropriate for Furniture and Product Design. The research and development methods of data analysis were complete by descriptive statistics/

[ 12 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


frequency and path analysis, The 100 peoples who live in Bangkok Metropolis, The 100 peoples who live in the north, The 100 peoples who live in northeast, and The 100 peoples who live in the south are participated in the survey by questionnaire, and 12 the member are select for in-dept interview. The analysis revealed following to the resources (a) Possibility of local to global need creation, (b) Varieties of subjective depends on creative and unique techniques, (c) Expertise and profession must meet management, and (d) The area of study meets global warming in various of use and manufactory. Keyword: The Domestic Natural Fiber, Furniture and Product Design, Reduction of Global Warming 2. คํานํา หรือบทนํา (Introduction) สภาวะโลกร้อน เป็นผลพวงมาจากกระบวนการผลิตที่ ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างไม่รู้คุณค่าและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็วจึงทําให้เกิดปัญหา สภาวะโลกร้อน ปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ตระหนักถึง สภาพอากาศที่แปรปรวน ฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไปว่าเป็นภัย คุ ก คามโลกอยู่ ใ นขณะนี้ ดั ง นั้ น ภาคอุ ต สาหกรรมต่ า งๆ เช่ น อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมการก่อสร้าง ฯลฯ จึงได้ ขานรับแนวความคิดการผลิตที่เน้นการใช้วัสดุที่ได้มาจากพืช และธรรมชาติมากขึ้นและก้าวสู่การดําเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดสี เขียว (Green Concept) ประกอบกับให้มีการวางแผนด้านการ ฟื้นฟูธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏให้เห็นในหลากหลาย รูปแบบ อาทิ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยการปลูกป่า ปลูกต้นไม้ ทดแทนเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรม เป็นต้น จากการที่ทั่วโลกต้องปรับตัว เพื่อรับมือกับผลกระทบ จากภาวะโลกร้อนดังสิ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทําให้วิถีชีวิตของ คนในสังคมก้าวไปสู่การมีวิถีการดําเนินชีวิต (life style) ที่มี ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับความเป็น ประเทศเกษตรกรรมของไทยที่ มี ท รั พ ยากรประเภทเส้ น ใย ธรรมชาติอยู่เป็นจํานวนมาก โดยบางชนิดเป็นเศษเหลือทิ้งจาก ภาคเกษตรกรรม หรืออุตสาหกรรม (สํานักวิจัยการจัดการป่าไม้ และผลิตผลป่าไม้, 2549) ดังนั้นแนวคิดการทําธุรกิจที่นําเอา เส้นใยจากเศษเหลือใช้ของวัสดุทางการเกษตรมาประยุกต์ใช้ใน

การผลิตสินค้าจึงได้รับความนิยม ทั้งนี้เนื่องจากเส้นใยธรรมชาติ มีข้อดีหลายประการดังนี้ (1) หาง่าย เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มี ใช้ไม่หมดสิ้น และมีให้เลือกมากมายหลายชนิด (2) เส้นใยบาง ชนิดเป็นของเหลือทิ้ง หรือเป็นวัชพืช มีราคาถูก ทําให้สามารถ ใช้ ล ดต้ น ทุ น การผลิ ต (3) เส้ น ใยมี ส มบั ติ เ ชิ ง กลดี บางชนิ ด มี ความแข็ ง แรง ความหนาแน่ น ต่ํ า ทํ า ให้ มี น้ํ า หนั ก เบา (4) สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ไม่เป็นปัญหาในการกําจัด และ (5) การช่วยกําจัดและลดกากของเสียจากเกษตรกรรมและ อุตสาหกรรม เส้นใยธรรมชาติ (natural fibers) เป็นเส้นใยที่มี คุ ณ สมบั ติ ที่ ดี ห ลายประการ โดยเฉพาะในด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม สามารถ หาได้ง่ายภายในประเทศ ต้นทุนการผลิตต่ํา และราคา ถูกเมื่อเปรียบเทียบกับเส้นใยสังเคราะห์ รวมทั้งเส้นใยธรรมชาติ ยังลดการขีดข่วนและลดความเสียหายของเครื่องจักรที่ใช้ในการ ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ทําให้เกิดความสนใจนําเส้นใยจากธรรมชาติมา ใช้ประโยชน์มากขึ้น ทั้งนี้เส้นใยธรรมชาติสามารถหาได้จากส่วน ต่างๆ ของพืช เช่น เส้นใยลินิน ปอป่านศรนารายณ์ มะพร้าว ฝ้าย นุ่น และกล้วย (มณฑา ไก่หิรัญ, 2550) ปัจจุบันได้มีงานวิจัย จํานวนมากซึ่งพยายามที่จะนําเส้นใยธรรมชาติประเภทต่างๆ มาใช้ประโยชน์ เช่น เส้นใยอ้อย เส้นใยมะพร้าว เส้นใยไผ่ ป่าน ศรนารายณ์ กล้วย ฯลฯ และเส้นใยจากพืชพรรณในท้องนา ท้องทุ่ง และป่าเขา สู่งานสร้างสรรค์อย่างมีศิลปะ สรรค์สร้าง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ โดยให้ มี คุ ณ ค่ า ทางจิ ต ใจ และประโยชน์ ใ ช้ ส อยที่ หลากหลายทั้งในแง่ของการออกแบบ รูปแบบ และประโยชน์ใช้ สอย การเลือ กใช้ วัส ดุ เ ส้น ใยธรรมชาติ ภ ายในประเทศ ที่ เหมาะสมต่อการผลิตเครื่องเรือนและผลิตภัณฑ์ภายในบ้าน เป็น อี ก ทางเลื อ กหนึ่ ง ที่ จ ะแก้ แ ละลดปั ญ หาโลกร้ อ นได้ ซึ่ ง จะ พิจารณาจากปริมาณเส้นใยธรรมชาติที่มีอยู่ และคุณสมบัติของ วัสดุเส้นใยธรรมชาติ ที่คาดว่าจะลดภาวะโลกร้อน โดยศึกษา ขั้ น ตอนการผลิ ต วั ส ดุ เ ส้ น ใยธรรมชาติ ที่ ไ ด้ ทํ า การเลื อ กใช้ กรรมวิ ธี ผ ลิ ต และส่ ง เสริ ม การผลิ ต วั ส ดุ เ ส้ น ใยธรรมชาติ ภายในประเทศที่เหมาะสม เพื่อทดแทนวัสดุเส้นใยนําเข้าจาก ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังทําให้เกิดแนวคิดในการอยู่อาศัยและ พึ่งพิงกันของชุมชนและทรัพยากรซึ่งจะใช้เป็นวัตถุดิบในการ สร้างงาน และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน อนึ่งวงจรของการผลิต สินค้าประเภทต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่การส่งเสริม ให้มีการผลิต การปลูกวัตถุซึ่งถือเป็นต้นน้ําของกระบวนการ ผลิ ต และถู ก ส่ ง ต่ อ วั ส ดุ แ ละวั ต ถุ ดิ บ ไปยั ง ผู้ ผ ลิ ต ด้ ว ยการคิ ด สร้างสรรค์ และผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ สวยงาม และประโยชน์ ใช้สอย ซึ่งถือเป็นกระบวนการกลางน้ํา และสิ้นสุดที่ปลายน้ํา

[ 13 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


คือการที่ผลิตภัณฑ์หรือสินค้านั้นได้ถูกกระจายและนําออกไป จํ า หน่ า ยให้ แ ก่ ผู้ บ ริ โ ภค หมุ น เวี ย นกั น เป็ น วั ฏ จั ก รการผลิ ต ที่ สมบูรณ์และยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ชุมชนอย่างแท้จริง ดังนั้น การฟื้นฟูและหันกลับมาใช้วัสดุธรรมชาติในการ ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้ในชีวิตประจําวันจึงเป็นรูปแบบ หนึ่งของความพยายามที่จะลดภาวะโลกร้อน และยังเป็นการ ช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาที่เกิดจากการผลิตสินค้าและ ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เคยผ่านมาในอดีต จากเหตุผลดังกล่าว ข้างต้น คณะผู้วิจัยมีความเชื่อมั่นว่าการใช้วัสดุเส้นใยธรรมชาติ ภายในประเทศที่ เ หมาะสมต่ อ การผลิ ต เครื่ อ งเรื อ นและ ผลิตภัณฑ์ภายในบ้านจะเป็นวิธีการหนึ่งที่มีส่วนช่วยทําให้ลด ภาวะโลกร้ อ นลงได้ คณะผู้ วิ จั ย คาดหวั ง ผลการวิ จั ย จะถู ก นําไปใช้เพื่อรณรงค์ให้มีการใช้สินค้าที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ประเภทต่างๆ รวมถึงการส่งเสริมภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ซึ่งมี การผลิตสินค้าจากวัสดุธรรมชาติให้มีอาชีพ รายได้ และความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากนี้แล้ววัสดุธรรมชาติที่มีอยู่เป็นจํานวน มากก็จะถูกนําไปใช้เพื่อผลิตสินค้าและต่อยอดให้มีมูลค่าเพิ่มใน เชิงพาณิชย์ต่อไป 3. วัตถุประสงค์ของการวิจยั /สร้างสรรค์ (Objective) 3.1 ระดับของทัศคติที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถด้านการผลิต ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติ และ การลดภาวะโลกร้อน 3.2 อิทธิพลของความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถ ด้านการผลิต และผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติที่มีต่อการลด ภาวะโลกร้อน 3.3 การออกแบบ และรู ป แบบที่ เ หมาะสมของ ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติ 4. วิธีดําเนินการวิจัย/สร้างสรรค์ 4.1 ขอบเขตการศึกษาการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ ผู้วิจัย กําหนดขอบเขตของศึกษาไว้ 2 ประเด็น ดังนี้ 4.1.1 แนวทางการวิจัย สําหรับการศึกษาครั้งนี้ ใช้แนวทางการวิจัยและพัฒนา (R & D) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ และ การคิดค้น เพื่อที่จะมุ่งหวังให้เกิดการค้นพบความรู้ความเข้าใจ ในเทคนิคหรือวิธีการใหม่ๆ อย่างมีเหตุมีผลและเป็นระบบ รวมทั้งการนําสิ่งที่ได้มีการคิดค้นหรือค้นพบมาแล้วมาทําการ ออกแบบ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพื่อให้ตัวผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต มีลักษณะรูปแบบใหม่ๆ หรือการปรับปรุงให้ดี ยิ่งขึ้น

4.1.2 เนื้อหา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติของ ประชาชนที่มีต่อปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการผลิตผลิตภัณฑ์จาก เส้นธรรมชาติเพื่อลดภาวะโลกร้อน ซึ่งประกอบด้วย ความคิด สร้างสรรค์ ความสามารถด้านการผลิต และผลิตภัณฑ์จากเส้น ใยธรรมชาติ 4.1.3 ประชากรเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่าง ก) การวิ จั ย ภาคสนาม ประชากรเป้ า หมาย ได้ แ ก่ ประชาชนที่ อ าศั ย อยู่ ใ น(1) กรุ ง เทพมหานครและ ปริมณฑล (2) ภาคเหนือ (3) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ (4) ภาคใต้ โดยทั้ง 4 แห่ง ถือว่าเป็นพื้นที่เป้าหมายของการพัฒนา โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ดังกล่าว ข้างต้น เนื่องจากมีวิถีชีวิตและความคิดเห็นที่หลากหลายปะปน กันของผู้คนที่มีนิสัยการบริโภคนิยมในเขตเมือง ชานเมือง และ ในพื้นที่เฉพาะ ทั้งนี้คณะผู้วิจัยได้กําหนดขนาดของตัวอย่างแบบ โควต้า (Quota Sampling) พื้นที่ละ 100 คน รวมทั้งสิ้น 400 คน ข) การพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ต้ น แบบ ประชากร เป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มอาชีพที่ทําการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องเรือน และเครื่องใช้ภายในบ้านด้วยวัสดุจากธรรมชาติในพื้นที่บ้านค่าย รวมมิตร ตําบลทุ่งนุ้ย อําเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล เนื่องจาก เป็นพื้นที่ที่มีประชาชนและกลุ่มอาชีพผลิตสินค้าและเครื่องใช้ที่ ทําจากวัสดุและเส้นใยธรรมชาติ โดยยืนหยัดที่จะผลิตสินค้าด้วย วัสดุและเส้นใยธรรมชาติต่อไปท่ามกลางกระแสบริโภคนิยมที่ให้ ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ ซึ่งความ โดดเด่นในการยืนหยัดในเป้าหมายการผลิตดังกล่าว ทําให้พื้นที่ และกลุ่ ม ตั ว อย่ า งมี ค วามน่ า สนใจเกี่ ย วกั บ ประเด็ น ตั ว แปรที่ คณะผู้วิจัยต้องการที่จะศึกษา 4.1.4 ระยะเวลา ดําเนินการวิจัยระหว่างเดือน ตุลาคม 2553 – กันยายน 2554 รวมทัง้ สิ้น 12 เดือน 4.2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4.2.1 กลุ่มอาชีพสามารถผลิตเครื่องเรือนและ เครื่องใช้ภายในบ้านจากเส้นใยธรรมชาติเพื่อทดแทนวัสดุเส้นใย สังเคราะห์ซึ่งต้องนําเข้าจากต่างประเทศ 4.2.2 ค ณ ะ มั ณ ฑ น ศิ ล ป์ ทํ า ก า ร ถ่ า ย ท อ ด เทคโนโลยีด้านการออกแบบเพื่อเป็นการบริการความรู้แก่ชุมชน ให้สามารถนําผลงานวิจัยไปใช้ในชีวิตจริงและนําไปสู่การผลิตใน เชิงพาณิชย์ 4.2.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการออกแบบ และการเพิ่มผลผลิตแห่งชาตินําผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ในการผลิต ผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ากเส้ น ใยธรรมชาติ เพื่ อ ประเมิ น คุ ณ สมบั ติ ท าง กายภาพวัสดุเส้นใยธรรมชาติภายในประเทศต่อไป

[ 14 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


4.2.4 นั ก วิ ช าการ ผู้ ส นใจทั่ ว ไป และกลุ่ ม อาชี พ สามารถใช้ ค วามรู้ ที่ ไ ด้ เ ป็ น พื้ น ฐานความรู้ ก ารวิ จั ย ในการ ประยุกต์ใช้กับเส้นใยธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตนเองชนิดอื่นๆ ได้ 4.2.5 สํานักงานพัฒนาชุมชนใช้เป็นแนวปฏิบัติในการจัดการและส่งเสริมการผลิตเครื่องเรือนและผลิตภัณฑ์จาก เส้นใยธรรมชาติเพื่อลดภาวะโลกร้อน 4.3 วิธีการ และขั้นตอนการดําเนินการวิจัย โดยขั้นตอนการวิจัยจะได้นําเสนอดังต่อไปนี้ ขัน ้ ที่ 1 การวิจัย :

การสํารวจทัศนคติและ วิเคราะห์อิทธิพลของ ปัจจัยที่มีต่อความคิด สร้างสรรค์ ความสามารถด้านการ ผลิต ผลิตภัณฑ์จาก เส้นใยธรรมชาติ และ การลดภาวะโลกร้อน

ขั้นที่ 2 การยืนยัน ข้อมูล : การประชุมกลุ่ม และการสัมภาษณ์ เจาะลึกบุคคลทีม่ ี ส่วนเกี่ยวข้องทั้ง ภาครัฐ และผู้ผลิต

ขั้นที่ 3 กระบวนการ ออกแบบและพัฒนา ผลิตภัณฑ์: แนวคิดและวิธีการในการ ออกแบบ โดย นักศึกษา (การประกวด, การสอน ในชั้นเรียน) และ กลุ่ม อาชีพ ทําการคัดเลือก แบบที่สนใจ

ขั้นที่ 4 การถ่ายทอด องค์ความรู้,เทคโนโลยี : 1) วิธีการ (การนําเสนอ, การทบทวน,การวิพากษ์ , เอกสารประกอบคํา บรรยายของวิทยากร) 2) บุคคล (นักศึกษา, ประชาชน,กลุ่มอาชีพ, ชุมชน และคณะผู้วิจัย)

ขั้นที่ 5 การเผยแพร่ ผลการวิจัย : รายงานการวิจัย, เอกสารเผยแพร่ ต้นแบบผลิตภัณฑ์, บทความ, นิทรรศการ , การนําเสนอ ผลการวิจัยในงาน สัมมนาทางวิชาการ

ระดับชาติ

จากแผนภาพ 4.3 คือขั้นตอนการวิจัยและพัฒนางานที่นาํ มาใช้ในการศึกษาครัง้ นี้ โดยประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขัน้ ที่ 1 การวิจัย ขั้นที่ 2 การยืนยันข้อมูล ขั้นที่ 3 กระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขั้นที่ 4 การถ่ายทอด องค์ความรู้ และ ขั้นที่ 5 การเผยแพร่ผลการวิจยั 5. สรุปข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย 5.1 ข้อค้นพบเกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นด้านคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิง คิดเป็นร้อยละ 63.8 สถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 49.2 และจบการศึกษาระดับปริญ ญา ตรี ร้อยละ 58.5 อายุประมาณ 34 ปี รายได้ต่อเดือนประมาณ 13,800 บาท และส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทํา จากวัสดุหรือเส้นใยธรรมชาติประเภทไม้กวาดมากกว่าสินค้าอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 65.8 รองลงมาได้แก่ เสื่อ ตะกร้า เครื่องเรือน และ กระเป๋า คิดเป็นร้อยละ 56.2, 45.3, 42.3, และ 41.5 ตามลําดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่ถูกเลือกน้อยที่สุดในการสํารวจครั้งนี้ คือ ถ้วย/จาน คิดเป็นร้อยละ 15.7 เท่านั้น 5.2 ข้อค้นพบตามวัตถุประสงค์การวิจัย การสรุปข้อค้นพบที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์ในการวิจัยทั้ง 3 ข้อ จะได้นําเสนอรายละเอียดดังต่อไปนี้ วัตถุประสงค์ข้อ 1 ระดับของทัศคติที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถด้านการผลิต ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติ และการลดภาวะโลกร้อน จากวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น คณะผู้วิจัยได้ทําการสํารวจข้อมูลเพื่อให้ได้คําตอบที่สามารถนํามาตอบวัตถุประสงค์ เกี่ยวกับทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถด้านการผลิต ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติ และการลด ภาวะโลกร้อน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ การสํารวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจํานวนทั้งสิ้น 400 คน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ของ ผู้ผลิตในการนําวัสดุและเส้นใยธรรมชาติมาใช้ในการผลิตสินค้าต่างๆ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนประเด็นในเรื่องของการซื้อ สินค้าที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติโดยคํานึงถึงความแปลกใหม่เท่านั้น และปัจจุบันการใช้สินค้าที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติกําลังได้รับความ นิยมอย่างกว้างขวาง ถ้าไม่ใช้จะทําให้รู้สึกว่าตัวเองเชย กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง [ 15 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อความสามารถของผู้ผลิตในการนําวัสดุหรือเส้นใยธรรมชาติมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า เครื่องเรือนหรือเครื่องใช้ภายในบ้านที่เป็นวัสดุธรรมชาติ สามารถนําไปทําลายได้ง่ายกว่าพลาสติกเมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมองว่าเป็นความสามารถของผู้ผลิตที่รู้จักการ นําเอาวัสดุธรรมชาติมาดัดแปลงให้เป็นสินค้า ในทํานองเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่าเครื่องเรือนที่ผลิตจากวัสดุ ธรรมชาติมีคุณภาพดีไม่แพ้สินค้าที่ทําจากพลาสติกและไม่เกี่ยงที่จะซื้อสินค้าที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติหรือจากพลาสติก แต่ขอเพียงให้ สามารถนําไปใช้งานได้อย่างคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับเงินที่จ่ายไป อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการซื้อสินค้าที่ผลิตจากวัสดุ ธรรมชาติโดยไม่ได้มีการต่อรองราคาเพราะรู้ว่าการผลิตยุ่งยากและซับซ้อนนั้นอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในภาพรวมต่อสินค้าที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าตนเองจะซื้อสินค้าที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติโดยให้ความสําคัญกับประโยชน์ใช้สอยเป็นอันดับแรก รองลงมา ได้แก่ ความต้องการที่จะซื้อเครื่องใช้ภายในบ้าน อาทิ การซื้อไม้กวาดที่ทําจากหญ้ามากกว่าไม้กวาดที่ทําจากเส้นใยพลาสติก และเห็น ด้วยที่ผู้ผลิตได้มีการนําเอาวัชพืชและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าประเภทต่างๆ ในขณะที่กลุ่ม ตัวอย่างระบุว่าสินค้าประเภทตะกร้า กระเป๋า และกระจาดที่ทําจากวัสดุธรรมชาติ หากมีราคาแพงก็จะซื้อและความต้องการที่จะซื้อ เครื่องเรือนชิ้นใหม่ที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติเท่านั้น ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าในภาพรวมแล้วผลิตภัณฑ์ที่ทําจากวัสดุหรือเส้นใยธรรมชาติมีส่วนช่วยในการลดภาวะโลกร้อนได้ในระดับ มาก หากพิจารณาเป็นรายข้อจะพบว่าผัก ผลไม้ หมู ไก่ ปลา ที่ห่อด้วยพลาสติกและกล่องโฟมทําให้เกิดขยะจํานวนมากและยากต่อ การทํางาน อยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย (ก) การใช้สินค้าที่ผลิตจากไม้ไผ่หรือหวายทําให้ง่ายต่อการทําลายและการย่อยสลาย (ข) การรณรงค์ให้ประชาชนใช้สินค้าที่ผลิตจากไม้ไผ่ หรือหวายเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อน (ค) การปลูกต้นไผ่เป็นรั้วบ้าน ทําให้ได้รั้วธรรมชาติที่สวยงามและนําไม้ไผ่ไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่าง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างแสดงความคิดเห็นอยู่ในระดับปาน กลางเกี่ยวกับประเด็นที่ว่าหากจะซื้อตะกร้า กระจาดใส่ผลไม้จากไม้ไผ่เท่านั้น และซื้อเฟอร์นิเจอร์ชิ้นต่อไปที่ทําจากหวายเท่านั้น ซึ่ง แสดงให้เห็นว่าอะไรก็ตามที่เป็นวัสดุธรรมชาติ จะได้รับความสนใจจากกลุ่มตัวอย่างไม่เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทําจากหวายหรือไม้ไผ่เท่านั้น วัตถุประสงค์ข้อ 2 อิทธิพลของความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถด้านการผลิต และผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติที่มีต่อ การลดภาวะโลกร้อน จากวัตถุประสงค์ที่ต้องการทราบอิทธิพลของตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการลดภาวะโลกร้อน คณะผู้วิจัยได้ทําการวิเคราะห์ ข้อมูลแล้ว ผลการศึกษาพบว่า อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาภาพรวมพบว่าความคิดสร้างสรรค์มีค่าอิทธิพลต่อการลดภาวะโลกร้อนได้ สูงกว่าความสามารถด้านการผลิตและผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการลดภาวะโลกร้อนมีหลากหลายวิธี ไม่ เฉพาะการผลิตหรือใช้สินค้าที่ผลิตจากเส้นธรรมชาติเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ที่จะนําเอาวัสดุต่างๆ รวมถึงวิธีการใช้ วัสดุที่มีอยู่เดิมมาสร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดความสิ้นเปลือง และ กระบวนการผลิตที่มีส่วนในการเพิ่มมลภาวะในรูปแบบต่างๆ ให้แก่โลก สําหรับผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติ ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าความสามารถด้านการผลิต สาเหตุเนื่องมาจากความคิดสร้างสรรค์เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการนําทรัพยากร วัสดุต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทําให้เกิดมูลค่าเพิ่มใน รูปแบบต่างๆ นั่นเอง ส่ ว นความสามารถด้ า นการผลิ ต ได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจากความคิ ด สร้ า งสรรค์ ข องผู้ ผ ลิ ต โดยแสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ศั ก ยภาพและ ความสามารถในการวางแผน และการบริหารจัดการทรัพยากร กระบวนการผลิต การเพิ่มมูลค่า และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า รวมถึงการปลูกวัตถุดิบเพื่อทดแทนและการวางแผนการใช้วัตถุดิบในอนาคต อันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพของคนในสังคม ชุมชน และนําไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี และยั่งยืนด้วยการพึ่งตนเองได้ วัตถุประสงค์ข้อ 3 การออกแบบ และรูปแบบที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติ แนวทางการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีรูปแบบที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาตินั้น จะต้อง คํานึงถึงสิ่งต่อไปนี้ (1) ศักยภาพ หรือความสามารถในการผลิต ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ ความชอบ และจินตนาการของกลุ่มอาชีพ (2) การออกแบบต้ อ งเริ่ ม จากการปรั บ เปลี่ ย น แก้ ไ ข หรื อ พั ฒ นาความคิ ด จากสิ่ ง รอบตั ว โดยใช้ ค วามสนใจส่ ว นบุ ค คลรวมถึ ง จินตนาการที่เกิดจากสิ่งใกล้ตัวเป็นแรงบันดาลใจ (3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพื่อให้สามารถสื่อสาร [ 16 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


ไปยังบุคคลภายนอก ผู้ซื้อ หรือแม้แต่ใช้ในการสื่อสารทางการตลาดในเชิงธุรกิจได้ (4) ผลิตภัณฑ์ต้องมีอรรถประโยชน์ หรือประโยชน์ ใช้สอยมากกว่า 1 ประการ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า (5) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องคํานึงถึงการเก็บรักษา การเคลื่อนย้าย การ ขนส่ง ความสวยงาม และความทันสมัย (6) รูปแบบของผลิตภัณฑ์ต้องมีความเหมาะสมกับวัตถุดิบที่นํามาใช้โดยให้สามารถตอบสนอง ความต้องการของผู้ซื้อให้ได้มากที่สุด 3.1 หุ่นจําลองผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติของนักศึกษา จัดแสดงกับลวดลายไม้ไผ่สานของกลุ่มสานฝาไม้ไผ่

THAI TEXT

BELINEE

3.2 การออกแบบและผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติ โดยกลุ่มสานฝาไม้ไผ่ บ้านค่ายรวมมิตร

เก้าอี้

โต๊ะสามเหลี่ยม

โต๊ะกลาง

3.3 บรรยากาศในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และนิทรรศการ

การนําเสนอของวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ

บรรยากาศโดยรวมของการจัดนิทรรศการ

[ 17 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


6. ข้อเสนอแนะในการนําผลวิจัย/สร้างสรรค์ไปใช้ 6.1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาชีพ อาทิ กรมการพัฒนาชุมชนควรบูรณาการทรัพยากรทางด้านการบริหาร งบประมาณ รวมถึงบุคลากรกับสถาบันการศึกษาหรือสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเพื่อให้มีการส่งเสริมกลุ่มอาชีพแบบองค์รวม และให้ มีศักยภาพสูงสุดในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 2) การส่งเสริมอาชีพของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรให้เหมาะสมกับศักยภาพของกลุ่มอาชีพ วัสดุอุปกรณ์ วิถี ชีวิต และทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น 3) การสนับสนุน และส่งเสริมกลุ่มอาชีพของหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีส่วนได้เสีย ควรกระทําอย่าง ต่อเนื่อง และให้เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มอาชีพ 6.2 ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ 1) การวิจัยในครั้งต่อไปควรได้ทดลองใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทั้ง นี้เพื่อจะได้เปรียบเทียบ ผลการวิจัยที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างของระเบียบวิธีการวิจัย 2) การศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตของผู้ผลิตสินค้าจากเส้นใยธรรมชาติ 3) การศึกษาตามแนวทางเดิม แต่เปลี่ยนพื้นที่เป้าหมาย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเปรียบเทียบศักยภาพ และความสามารถ ของกลุ่มอาชีพในพื้นที่ต่างๆ 4) การศึกษาถึงศักยภาพของเส้นใยพืชชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากไม้ไผ่ 6.3 ข้อเสนอแนะเพื่อการนําไปปฏิบัติ 1) ถ่ายทอดความรู้ในด้านความรู้เรื่องเกี่ยวกับศิลปะการออกแบบกับชุมชน ในรูปแบบการเรียนการสอนระยะสั้น จัดการอบรม ประมาณ 1 อาทิตย์ซึ่งเนื้อหาว่าด้วยเรื่องทฤษฎี องค์ประกอบศิลป์ ความงาม ศิลปะประโยชน์ใช้สอย ทางศิลปะกับ งานออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้ ปัจจัยในการออกแบบ สามารถนําเรื่องราวที่พบเจอมาสร้างสรรค์งานได้อย่างมีขอบเขต และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังจะสามารถประยุกต์ พัฒนารูปแบบให้เกิดการต่อยอดการผลิตสินค้า การประยุกต์ให้ร่วมสมัยนิยม พัฒนาผลงานสู่สากลได้อย่างเหมาะสมและกว้างไกล 2) สร้างสรรค์การผลิตให้เป็นอาชีพในชุมชนที่สามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว เพิ่มศักยภาพให้ครอบครัวใน ชุมชนในการสร้างสรรค์ เทคนิค วิธีการ ในการผลิตผลิตภัณฑ์ รวมถึงการบริหารการจัดการธุรกิจขนาดย่อม SMEs การตลาด สร้าง ผู้ประกอบการภายในชุมชนให้มีคุณภาพ เพื่อเสริมสร้างอาชีพและรายได้แก่ชุมชน 3) สร้างศูนย์กลางชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวม เป็นแหล่งเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม ค่านิยม และเอกลักษณ์ของชุมชนเป็นศูนย์ประสาน และบูรณาการการทํางานภายในชุมชน อีกทั้งเป็นแหล่งบริการชุมชนด้านต่าง ๆ มีการส่งเสริมเยาวชนในท้องถิ่น 4) พั ฒ นาชุ ม ชนให้ เ กิ ด เป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว รู ป แบบการพั ฒ นาหมู่ บ้ า นเพื่ อ การท่ อ งเที่ ย ว ฝึ ก ปฏิ บั ติ จั ด ทํ า แผนพัฒนาหมู่บ้าน การออกแบบและตกแต่งสถานท่องเที่ยวให้มีความสวยงาม สะอาด และปลอดภัย การตลาด ที่คนในชุมชนจะ สามารถ ดึ ง ดู ดนั กท่ อ งเที่ย วได้ มีแผนบริ ห ารจัด การ การบริ ก าร ที่ค นในชุ ม ชนสามารถนํา ภูมิ ปัญ ญาชาวบ้า นมาให้บ ริก ารแก่ นักท่องเที่ยว อาทิ นวดแผนไทย อบสมุนไพร อาหารพื้นเมือง ที่พักลักษณะโฮมเสต์ เป็นต้น 7. บรรณานุกรม (เฉพาะที่สําคัญ) ภาษาไทย เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงบูรณาการ = Integrative thinking. พิมพ์ครั้งที่ 6 . กรุงเทพฯ : ซัคเซส มีเดีย บุษบา สร้อยระย้า. (2551). การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์จากสิ่งประดิษฐ์เครื่องแยกเส้นใยละเอียดจากเส้นใยกล้วยสู่ชุมชน ในเขตนครสวรรค์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประเสริฐสุข จามรมาน. (2550). ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม. ปรินดา แตรวิจิตรศิลป์.(2550). อุตสาหกรรมไม้อัดหญ้าแฝก ใน อยู่ได้ภายใต้วิกฤติถ้าใช้ชีวิตแบบพอเพียง. กรุงเทพฯ [ 18 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


ปิยะฉัตร ตั้งพิษฐานสกุล, ชื่นจิตร เชี่ยวศิลปะธรรม และพีระประภา นันต๊ะโส. (2550). กล้วยกับวิถีชีวิตของคนไทย. กรุงเทพฯ : โรงเรียน ปรินส์รอแยลวิทยาลัย พรรณนุช ชัยปินชนะ, นงคราญ ไชยเมือง และเอนก ชิตเกสร. (2550). รายงานวิจัยเรื่อง โครงการวิจัยเพื่อพัฒนา เอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์กลุ่ม หัตถกรรมจากเส้นใยพืชจังหวัดพะเยา = The research for developing product identity in the group of fiber form plants handicraft in Phayao Province. กรุงเทพฯ : เครือข่ายบริหารวิจัยภาคเหนือตอนบน สํานักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา. วรธรรม อุ่นจิตติชัย. (2550). ผลิตภัณฑ์วัสดุทนแทนไม้จากเศษไม้และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา และลิขิต หาญจางสิทธิ์.(2535). การศึกษาการใช้ประโยชน์จากเส้นใยกล้วย. ปทุมธานี : ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สุภา จุฬคุปต์ และคณะ. (2552). การพัฒนาดอกบัวสดอบแห้ง. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะเทคโนโลยีคหกรรม ศาสตร์, สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. สิริรัตน์ สีสมบัติ. (2552). แหล่งการเรียนรู้ชุมชนกับการฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวชอง. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, (2550). ผู้อํานวยการเครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัย และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ อารี รังสินันท์. (2537). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ธนะการพิมพ์. ภาษาต่างประเทศ Arens, E., and A. Baughman. (1996). Indoor Humidity and Human Health -- Part II: Buildings and their Systems. ASHRAE Transactions Vol. 101, Pt. 1, 1996, 9 pp. De Bono, E. (1986). Six Thinking Hats. New York: Little Brown and Company. H. Igor Ansoff. (1965). Corporate strategy: an analytic approach to business policy for growth and expansion. McGraw-Hill. Guilford, J.P. (1954). Psychometric Methods. McGraw-Hill Education . (1967). The Nature of Human Intelligence. McGraw-Hill, Book Company. Porter, M.E. (1990). The competitive advantage of nations. New York: Free Press. . (1980). Competitive Strategy, New York: Free Press Torrance, E. P. (1962). Guiding creative talent. NJ: Prentice-Hall.

[ 19 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


ขาวสารความเคลื่อนไหว

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การใช้โปรแกรมระบบบริหารงานวิจัย (NRPM) เพื่อเสนอของบประมาณประจําปี 2558”

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การใช้โปรแกรมระบบบริหารงานวิจัย (NRPM) เพื่อเสนอของบประมาณประจําปี 2558” เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2556 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้อง ปฏิบัติการศูนย์คอมพิวเตอร์ 2301 ชั้น 3 อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ผู้เข้าร่วมการอบรมฯประกอบด้วย คณาจารย์ ผู้ประสานงานคณะวิชาและ หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น จํานวน 45 คน

[ 20 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


สถาบันวิจัยและพัฒนาได้รับรางวัล Gold Award จากการจัดนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2556 (Thailand Research Expo 2013)

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้รับรางวัล Gold Award จากการจัดนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ ในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2556 (Thailand Research Expo 2013) เมื่อวันที่ 23 - 27 สิงหาคม 2556 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ สถาบันวิจัยและพัฒนา ขอขอบคุณทีมงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ทุก ท่าน ที่ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

[ 21 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์

การบรรยายของคณะผู้วิจัยของมหาวิทยาลัยศิลปากร ณ ห้อง Lotus Suite 5-6 ชั้น 22

[ 22 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ประจําปี 2556

สถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ประจําปี 2556 จํานวน 2 โครงการ ดังนี้ 1. โครงการ Creative Inspiration Zone เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2556 เวลา 9.00-16.30 น. ณ ลานหน้าสถาบันวิจัยและพัฒนา ภายในงานได้จัดกิจกรรมการปั้นเซรามิกส์ และการปั้นดินญี่ปุ่น และแป้งโดว์ ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย นักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ และผู้สนใจทั่วไปรวมจํานวน 70 คน

2. การนําเสนอผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก เมื่อวันที่ 21-23 สิงหาคม 2556 เวลา 8.30 -16.30 น. ณ ลาน หน้าสถาบันวิจัยและพัฒนา นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์จําหน่ายจากชุมชน เช่น ยาสระผม สบู่ อีเอ็มบอล น้ําส้มควันไม้ และ ยาหม่องสมุนไพร ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย นักเรียน นักศึกษา บุคลากร และผู้สนใจทั่วไป รวมประมาณ 150 คน [ 23 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


การบรรยายและร่วมอภิปรายในหัวข้อ “จากผลงานวิจัยสู่กิจการเพื่อสังคม”

เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดการ บรรยายพิเศษ เรื่อง “มหาวิทยาลัยกับการส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม” โดย นายณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์ ผู้อํานวยการสํานักงานสร้างเสริมกิจการเพือ่ สังคมแห่งชาติ (สกส.) และเรื่อง “กรณีศึกษา : การนําผลงานวิจัย มาต่อยอดเป็นกิจการเพื่อสังคม” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุศรากรณ์ มหาโยธี ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันพุธที่ 7 สิงหาคม 2556 เวลา 10.00-13.00 น. ณ ห้อง 1302 ชั้น 3 สํานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนาม จันทร์ นครปฐม และถ่ายทอดผ่านระบบ VDO Conference ณ ห้องประชุม บ 1313 ชั้น 3 สํานักงาน อธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ผู้เข้าร่วมฟังบรรยาย ประกอบด้วย คณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง และผูส้ นใจทั่วไปรวม 40 คน

[ 24 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


แถลงข่าวการจัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2556

มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2556 (Thailand Research Expo 2013) โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็น ผู้แถลงข่าวการจัดงานดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2556 เวลา 14.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมโลตัส 1-4 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ โดยในการแถลงข่าว ครั้งนี้ มีผลงานสร้างสรรค์เรื่อง “การสร้างสรรค์งานทอมัดหมี่ร่วมสมัย” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภากร สุคนธมณี จากคณะมัณฑนศิลป์เข้าร่วมในนิทรรศการด้วย

[ 25 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


การประชุมหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยของคณะวิชา ผู้บริหารสถาบันวิจัยและพัฒนาได้ประชุมหารือร่วมกับผู้รับผิดชอบงานวิจัยของคณะวิชาต่างๆ เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยของคณะวิชา รวมถึงการวิจัยเชิงบูรณาการร่วมกับคณะวิชาอื่นๆ ณ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ วังท่าพระ และวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2556 เวลา 9.30 น. - 12.00 น. ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

[ 26 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


วังท่าพระ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2556 เวลา 9.30 น. - 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้นบน ตําหนักพรรณราย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2556 เวลา 10.00 น. - 12.00 น. ณ ห้องประชุม บ 1313 ชั้น 3 อาคารบริหาร สํานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี [ 27 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจําปี 2556

รองศาสตราจารย์ ดร.มานี เหลืองธนะอนันต์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.สนทยา ลิ้มมัทวาภิรัติ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจําปี 2556 เรื่อง “ผลของสาร พอลิเอทิลนี ไกลคอลต่อคุณสมบัติทางกายภาพและความคงตัวของฟิล์มเชลแล็ก” สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยได้รับเงินรางวัลจํานวน 30,000 บาท พร้อมใบประกาศเกียรติคุณในวัน พระราชทานปริญญาบัตรประจําปีของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2556 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

[ 28 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


Road Show สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัด Road Show เพื่อประชาสัมพันธ์และชี้แจงข้อมูลการขอทุนอุดหนุน การวิจัย ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2558 (1 ตุลาคม 2557 - 30 กันยายน 2558) ณ วิทยาเขตพระราชวัง สนามจันทร์ วังท่าพระ และวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากรที่ประสงค์ จะขอทุนอุดหนุนการวิจัยได้รับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย

วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เมื่อวันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม 2556 เวลา 9.30 น. - 12.00 น. ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

[ 29 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


วังท่าพระ เน้นทุนสร้างสรรค์ เมื่อวันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2556 เวลา 9.30 น. - 12.00 น. ณ ห้องประชุม ศร.3203 มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2556 เวลา 10.00 น. - 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 สํานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี [ 30 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง "การใช้งานระบบฐานข้อมูลงานวิจัยและสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร"

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “การใช้งาน ระบบฐานข้อมูลงานวิจัยและสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจระบบฐานข้อมูล ให้แก่บุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง จํานวน 15 คน โดยมีวิทยากรจากบริษัท วิชั่นเน็ต จํากัด เป็นผู้ให้การอบรม เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 เวลา 9.00-16.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

[ 31 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


โครงการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเชิงบูรณาการ ภายใต้หัวข้อ การท่องเที่ยว

สถาบั นวิจั ยและพัฒนาได้จัดโครงการพั ฒนาข้อเสนอโครงการวิจั ยเชิงบูรณาการ ภายใต้ หั วข้ อ การท่องเที่ยว โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี โพธิยะราช (ผู้ประสานงานโครงการวิจัยอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยวและบริการ สกว.) เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “แนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับ การท่องเที่ยว” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม 2556 เวลา 9.30-12.00 น. ณ ห้องประชุม อธ 1302 สํานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ผู้เข้าร่วมฟังการ บรรยายประกอบด้วย คณาจารย์ นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไป รวม 30 คน

[ 32 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยเชิงบูรณาการด้านการท่องเที่ยว

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยเชิงบูรณาการ ด้านการท่องเที่ยว โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ ศิริวงศ์ (คณบดีคณะวิทยาการจัดการ) ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.อภิเศก ปั้นสุวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุศรากรณ์ มหาโยธี และ อาจารย์ตะวัน วรรณรัตน์ เป็นวิทยากรประจํากลุ่ม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2556 เวลา 13.00-16.30 น. ณ ห้องประชุม สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย คณาจารย์ นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไป รวม 35 คน

[ 33 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


และจัดให้มี การประชุ มกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็ นเกี่ยวกับการวิจั ยเชิงบูรณาการด้ านการ ท่องเที่ยวอีกครั้ง เมื่อวันที่ 11 กรกฏาคม 2556 เวลา 15.00-16.30 น. ณ ห้องระเบียงวิจัย สถาบันวิจัย และพัฒนา มหาวิ ทยาลัยศิ ลปากร วิท ยาเขตพระราชวั งสนามจันทร์ นครปฐม ผู้เข้ าร่วมประชุ ม ประกอบด้วย คณาจารย์ นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไป รวม 10 คน .

[ 34 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


การประชุมเพื่อพิจารณา Concept Paper โครงการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเชิงบูรณาการภายใต้หัวข้อ การท่องเที่ยว

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดการประชุมเพื่อพิจารณา concept paper โครงการพัฒนาข้อเสนอ โครงการวิจัยเชิงบูรณาการภายใต้หัวข้อ การท่องเที่ยว โดยมี คุณภราเดช พยัฆวิเชียร (ที่ปรึกษาโครงการ และ กรรมการสภามหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากรประเภทผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ) และ ผู้ ช่ ว ยศาสตราจารย์ จิ ต ศั ก ดิ์ พุ ฒ จร (อนุกรรมาธิการ ท่องเที่ยววุฒิสภา) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา concept paper เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2556 เวลา 12.00 - 15.30 น. ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวัง สนามจันทร์

[ 35 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


การประชุมหารือเพื่อพัฒนา concept paper โครงการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเชิงบูรณาการภายใต้หัวข้อ การท่องเที่ยว

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดการประชุมหารือเพื่อพัฒนา concept paper โครงการพัฒนาข้อเสนอ โครงการวิจัยเชิงบูรณาการภายใต้หัวข้อ การท่องเที่ยว โดยมี คุณภราเดช พยัฆวิเชียร (ที่ปรึกษาโครงการ และ กรรมการสภามหาวิทยาลัยศิลปากรประเภทผู้ทรงคุณวุฒ)ิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตศักดิ์ พุฒจร (อนุกรรมาธิการ ท่องเที่ยววุฒิสภา) และ Mr.Peter Richards เป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้คําแนะนําในการพัฒนา concept paper เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2556 เวลา 12.00 - 17.00 น. ณ ห้องประชุม 401 ชั้น 4 สํานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน

[ 36 ] จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 22 ฉบับที่ 3 เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2556


สถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร นครปฐม 73000 e-mail: research.inst54@gmail.com , http://www.surdi.su.ac.th โทรศัพท 0-3425-5808 โทรสาร 0-3421-9013


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.