การดูแลสุขภาพแบบไทย ด้วยลูกประคบสมุนไพร

Page 1

การดูแลสุขภาพแบบไทย ดวยลูกประคบสมุนไพร ผศ.ดร.สุดารัตน หอมหวล

การประคบสมุนไพร จัดเปนวิธกี ารดูแลสุขภาพแบบไทย ทีน่ ําองคความรูจากภูมิปญญาดาน การแพทยแผนไทยมาใชเพือ่ ดูแลสุขภาพของตนเองหรือครอบครัว ซึ่งคนไทยสมัยกอนใชในการดูแลรักษา สุขภาพกันมายาวนาน พบวาไดผลดีและมีความปลอดภัย โดยการนําสมุนไพรหลายชนิดทั้งสดหรือแหง มา โขลกพอแหลกและนํามาคลุกรวมกัน หอดวยผาเปนลูกกลม เรียกวา “ลูกประคบ” สมุนไพรที่ใชสว นใหญจะ มีน้ํามันหอมระเหย เมื่อนําลูกประคบมานึ่งใหรอนน้ํามันหอมระเหยถูกความรอนจะระเหยออกมาแลวนําไป ประคบบริเวณที่ตองการ และยังมีสารสําคัญจากสมุนไพรบางชนิดที่ซึมเขาทางผิวหนัง ชวยรักษาอาการ เคล็ดขัดยอก และลดอาการปวด บวม อักเสบ ของกลามเนื้อ ขอตอ ภายหลัง 24-48 ชั่วโมง ลดอาการเกร็ง ของกลามเนื้อ ชวยใหกลามเนื้อ พังผืด ยืดตัวออก ลดอาการติดขัดของขอตอ ในการประคบนัน้ ความรอน จากลูกประคบจะชวยกระตุน ระบบไหลเวียนเลือดแลวยังชวยเปดรูขุมขนทําใหตัวยาจากสมุนไพรแทรกซึม ผานเขาสูช ั้นผิวหนังไดดีขึ้น นอกจากนีเ้ มื่อนึ่งใหรอนตัวยาจะออกมากับไอน้ําและความชื้น ทําใหมกี ลิ่นหอมสดชืน่ ชวยใหผอน คลาย และทําใหผิวหนังเกิดความชุม ชืน้ ขึ้นอีกดวย อาจนําลูกประคบมาใชรวมกับการนวด ซึ่งเปนอีก ทางเลือกหนึง่ ในการลดการใชสารเคมีจากยาแผนปจจุบัน และยังใชกับการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดได อีกดวย


ภายในลูกประคบประกอบดวย พืชสมุนไพรและแรธาตุ ตามสัดสวนดังนี้ 1. เหงาไพล 500 กรัม แกปวดเมื่อย ลดอาการอักเสบขอตอและกลามเนื้อฟกช้ํา 2. เหงาขมิน้ ชัน 100 กรัม ตานเชื้อแบคทีเรีย แกโรคผิวหนังลดอาการอักเสบ ทําใหผิวสดใส 3. ลําตนตะไครแกง 200 กรัม ทําความสะอาดผิวหนัง ทําใหผิวกระชับ แตงกลิ่นใหหอมสดชื่น 4.ใบมะขามเปรี้ยว 100 กรัม แกอาการคันตามรางกาย ชวยบํารุงผิว 5. ผิวหรือใบมะกรูด 100 กรัม กระตุนการไหลเวียนของโลหิต แกลมวิงเวียน 6. ใบสมปอย 50 กรัม บํารุงผิว แกโรคผิวหนัง ลดความดันโลหิต 7.พิมเสน 30 กรัม แตงกลิ่น แกพพุ อง ผดผืน่ บํารุงหัวใจ 8.การบูร 30 กรัม ฆาเชื้อ และทําความสะอาดบริเวณผิว แกพุพอง แตงกลิน่ 9. เกลือ 60 กรัม ชวยดูดความรอน และพาตัวยาซึมผานผิวหนัง ในบางสูตร เชน ตํารับลูกประคบลานนา มีใบเปลาใหญ 10% และใบหนาด 5% เปนองคประกอบดวย

วิธีทาํ ลูกประคบสด ขัน้ แรกใหคลุกเกลือ การบูร และพิมเสน ที่บดเปนผงละเอียดทั้งหมดแลว ใหเขากัน จากนั้นหั่นสมุนไพรที่ลา งสะอาดแลวเปนชิน้ เล็ก โขลกพอแหลก นําไปผสมกับผงเกลือ การบูรและพิมเสน แลวคลุกเคลาใหทวั่ กัน ใสผา หอเปนลูกประคบ รัดดวยเชือกใหแนน

ไพล

ขมิ้นชัน ตะไครแกง


ขั้นตอนการประคบ 1 นําลูกประคบไปนึ่งดวยไอน้ําใหรอน อยางนอย 5 นาที หรือวางบนบริเวณปากหมอน้ํารอน 2 ทดสอบความรอนโดยแตะที่ทองแขนหรือหลังมือของผูประคบกอน 3 ชวงแรกเมื่อวางลูกประคบบนผิวหนังผูถกู ประคบ ตองทําดวยความเร็ว อยาวางแชนานๆ เพื่อปองกัน ผิวหนังถูกลวก ไหม พอง จากความรอน 4 เมื่อความรอนลดลงพอเหมาะแลวนําไปประคบบริเวณที่ตองการบริเวณละประมาณ 30 วินาที ถึง 1 นาที 5 เมื่อลูกประคบคลายความรอนลง ใหเปลี่ยนลูกประคบสลับกับลูกทีน่ ึ่งไวในหมอนึง่ (นําลูกประคบเดิมไป นึง่ ตอใหรอน เพื่อรอการใชสลับกัน) 6 ทําซ้าํ ตามขอ 1-5 จนกวาอาการจะดีขนึ้ ขอควรระวัง 1 ไมควรประคบบริเวณใบหนา หรือผิวหนังที่ออนบาง หรือบริเวณที่เปนแผล 2 ไมควรใชลูกประคบในชวง 24 ชั่วโมงแรกที่มีแผลอักเสบ(ปวดบวมแดงรอน) เพราะอาจทําใหบวมมากขึ้น 3 ควรระวังเปนพิเศษในผูปว ยเบาหวาน อัมพาต เด็ก และผูสูงอายุ เนื่องจากกลุม บุคคลดังกลาวมีการ ตอบสนองตอความรอนขา อาจทําใหผิวหนังไหมพองไดงาย ถาจะใช ควรใช “ลูกประคบที่อุนๆ” หรือใช ผาขนหนูรองกอน 4 หลังจากประคบสมุนไพรแลว ไมควรอาบน้ําทันที เพราะจะไปชะตัวยาออกจากผิวหนัง และอุณหภูมิของ รางกายปรับเปลี่ยนไมทนั อาจจะทําใหเปนไขได วิธีเก็บรักษา 1 ลูกประคบสมุนไพรทีท่ าํ ในแตละครั้ง สามารถเก็บไวใชซ้ําได 3-5 วัน 2 ควรเก็บลูกประคบไวในตูเย็น จะทําใหเก็บไดนานขึ้น (ถามีกลิน่ บูดหรือเหม็นเปรีย้ วไมควรเก็บไว) 3 ถาลูกประคบแหง กอนใชควรพรมดวยน้ํา หรือเหลาขาว 4 ถาลูกประคบที่ใชไมมีสีเหลือง หรือสีเหลืองออนลง (คุณภาพนอยลง) ควรเปลี่ยนลูกประคบใหม สําหรับการทําลูกประคบไวใชเอง หากไมสามารถหาสมุนไพรไดทั้งหมด ก็ขอใหมีไพล ขมิ้นชัน และ ตะไคร ก็เปนใชได สําหรับเรื่องคุณภาพนัน้ มีการทําวิจัยพบวาลูกประคบที่มีคณ ุ ภาพดีควรมีองคประกอบ หลักของน้ํามันหอมระเหยจากไพล ขมิน้ ชัน และตะไคร การตรวจสอบปริมาณสารองคประกอบสําคัญจะใช เครื่องมือ GC-MS ตรวจสอบโครมาโทแกรม และปริมาณสารสําคัญที่พบในไพล ขมิน้ และตะไคร โดยเฉพาะสาร terpinene-4-ol, DMPBD, α-terpinene, sabinene, β-pinene, γ-terpinene, αtumerone ซึ่งเปนสารสําคัญ หากเราไมมีเวลาทําลูกประคบสมุนไพรไวใชเอง ปจจุบันก็มีผลิตภัณฑลูกประคบจําหนายกัน หลากหลาย โดยเฉพาะสถานบริการเพือ่ สุขภาพตางๆ หรือผลิตภัณฑชุมชน ดังนัน้ สํานักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑอุตสาหกรรมชุมชน (ฉบับที่ ๑๖๒๘ พ.ศ. ๒๕๕๓) ไดใหความหมาย และกําหนดคุณภาพของ ลูก ประคบสมุนไพร ไวดังนี้


ลูกประคบสมุนไพร หมายถึง ผลิตภัณฑทไี่ ดจากการนําสมุนไพรหลายชนิด มาผานกระบวนการทํา ความสะอาดแลว นํามาหัน่ หรือสับใหเปนชิ้นตามขนาดที่ตองการ ทําใหแหง แลวนํามาหอหรือบรรจุรวมกัน ในผา ใหไดรปู ทรงตามตองการ สําหรับใชนาบหรือกดประคบตามสวนตางๆ ของรางกาย เพื่อทําใหผอน คลายโดยกอนใชตองนํามาพรมน้าํ แลวทําใหรอนดวยการนึ่งหรือใสในเตาไมโครเวฟ สําหรับผูใชกอนซื้อลูกประคบก็ใหพจิ ารณา วามีการหุม หอเรียบรอย ชิ้นสวนภายในไมหลุดรวง ออกมา ผาหอสมุนไพรตองเปนผาฝายหรือผาดิบ ที่มีเนื้อผาแนนพอที่จะปองกันไมใหสมุนไพรหลุดรวง ออกมา สมุนไพรตองเปนชิน้ เล็ก แหง ไมมีราปรากฏใหเห็น มีกลิ่นของสมุนไพรทีใ่ ช และไมมีกลิ่นที่ไมพึง ประสงค เชน กลิ่นอับ กลิ่นหืน ไมพบสิ่งแปลกปลอมที่ไมใชสวนประกอบที่ใช เชน เสนผม ดิน ทราย กรวด ชิ้นสวนหรือสิง่ ปฏิกูลจากสัตว นอกจากนีม้ าตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรมชุมชน ยังกําหนดความชืน้ ตอง ไมเกินรอยละ ๑๔ โดยน้าํ หนัก การตรวจพบเชื้อแบคทีเรียที่เจริญเติบโตโดยใชอากาศ ตองไมเกิน ๕ × ๑๐๗ โคโลนีตอตัวอยาง ๑ กรัม ยีสตและรา ตองไมเกิน ๕ × ๑๐๔ โคโลนีตอตัวอยาง ๑ กรัม จะเห็นไดวา ลูกประคบสมุนไพรที่จาํ หนายจะเปนแบบลูกประคบแหง แตถาเราทําใชเองก็สามารถ ทําไดทงั้ ลูกประคบสมุนไพรสด และแหงนะคะ เอกสารอางอิง 1.กรมพัฒนาการแพทยแผนไทยและการแพทยทางเลือก. 2552. องคความรูการแพทยแผนไทยสําหรับประชาชน. โรงพิมพองคการสงเคราะห ทหารผานศึก:กรุงเทพมหานคร. 2. กันยารัตน ชลสิทธิ์. สุวรรณา เวชอภิกุล. ปราโมทย ทิพยดวงตา, พาณี ศิริสะอาด, วีรศักดิ์ เชื้อมโนชาญ, สุนีย จันทรสกาว. การประเมินลูก ประคบลานนา ดวยเทคนิคทางโครมาโทกราฟ. 2552. วารสารอาหารและยา. 16(2):58-65. 3.ธนภัทร ทรงศักดิ์. ใน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตรการแพทย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. 2548. สิทธิการิยะ รวมบทความอาศรมความคิด ยาจาก สมุนไพรกับการแพทยทางเลือก เรื่อง สปา. โรงพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย:กรุงเทพมหานคร. 4.พรทิพย เติมวิเศษ และคณะ. 2552. พิมพครังที่ 10. การแพทยแผนไทยกับการดูแลสุขภาพ. โรงพิมพสํานักพระพุทธศาสนาแหงชาติ: กรุงเทพมหานคร. 5.เพ็ญนภา ทรัพยเจริญ. กัญจนา ดีวิเศษ. วัชรีพร คงวิลาด. 2548. พิมพครั้งที่ 5. คูมืออบรมการนวดเทาเพื่อสุขภาพ. สามเจริญพาณิชย: กรุงเทพมหานคร 6.สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม http://app.tisi.go.th/otop/standard/standards.html รายชื่อมาตรฐาน ผลิตภัณฑชุมชนที่ประกาศใชแลว. Accessed 7 เมษายน 2555.




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.