




ชื่อวิทยานิพนธ์
ชื่อผู้ทำวิทยานิพนธ์
อาจารย์ที่ปรึกษา
โรงเรียนศิลปะการเเสดงเกาหลี กรุงเทพ
นางสาวสิริยากร บุญด้วง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยนันท์ พรหมเพ็ญ สาขาวิชา สถาปัตยกรรม
ปีการศึกษา 2566 บทคัดย่อ
ปัจจุบันวัฒนธรรมเกาหลีได้เข้ามาในประเทศไทยอย่างแพร่หลายผ่านสื่อ เช่น ซีรีย์เกาหลี เพลง และ ภาพยนตร์ แฟชั่น อาหาร มีความนิยมมากในประเทศไทย คนไทยจำนวนมากชื่นชอบและติดตามวัฒนธรรม เกาหลี มีคนไทยที่หลายคนเป็นนักร้อง ไอดอลในเกาหลี ทำให้เด็กไทยมีแรงบันดาลใจที่อยากจะฝึกฝนเป็น ไอดอล เพื่อตอบสนองความต้องการของเยาวชน ทางโครงการโรงเรียนศิลปะการเเสดงเกาหลี กรุงเทพ จึงได้ ถูกเสนอขึ้นโดยนำหลักสูตร โรงเรียนศิลปะการแสดง, โซล (SOPA) มาใช้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ โรงเรียนนานาชาติที่มีการเรียนการสอนแบบพิเศษสำหรับฝึกฝนการเป็นไอดอลในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนและหลักสูตรของโรงเรียน ศิลปะการแสดง, โซล (SOPA) และกิจกรรมต่าง ๆ การจัดสภาพแวดล้อม นำมาวิเคราะห์หาข้อมูลในการ ออกแบบเพื่อแนวทางในการออกแบบสถาปัตยกรรมให้สอดคล้องและเหมาะสมกับโครงการ ผลการออกแบบสถาปัตยกรรมอาคาร โรงเรียนศิลปะการเเสดงเกาหลี กรุงเทพ มีรายละเอียด ดังนี้
1. ลักษณะโครงการเป็นอาคารเรียนและกิจกรรมเกี่ยวกับการซ้อมการแสดง การเต้น การเล่นดนตรี ศิลปะ พื้นที่นั่งดูการแสดง พื้นที่ลานกิจกรรมกลางแจ้ง พื้นที่ทำกิจกรรมในร่ม พื้นที่ทำงานศิลปะ โครงการมีพื้นที่
ใช้สอยรวมประมาณ 16,520 ตารางเมตร
2. ที่ตั้ง ถนนศรีนครินทร์ ตำบลพัฒนาการ อำเภอสวนหลวง จังหวัดกรุงเทพมหานคร ขนาดที่ดิน 8 ไร่ 2 งาน 9 ตารางวา
3. โครงการเป็นโรงเรียนนานาชาติศิลปะการแสดงดนตรี ที่มีพื้นที่ที่ผู้อื่นสามารถมองเห็นได้ระหว่างทำกิจกรรม เป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้นักเรียน และมีเเรงกระตุ้นที่จะทำให้นักเรียนตั้งใจในการฝึกฝน ความทะลุ ปรุโปร่งของอาคาร เกิดการเชื่อมต่อทางมุมมอง ทำให้มองเห็นกิจกรรมต่าง ๆ ภายในโครงการ
4. รูปแบบอาคาร ภาพรวมเป็นอาคาร 5 ชั้น มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมรอบโครงการ นำเอาธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมมาใช้ในอาคาร การใช้ชุดสีศิลปะสไตล์เกาหลีดันชอง ที่มีความโดนเด่นและมีความนิยมใน สถาปัตยกรรมเกาหลี ใช้มีพื้นผิวไม้มาเป็นวัสดุภายนอก เพื่อความสบายตา ใช้หลังคาจั่วโครงสร้าง
เคเบิลทรัส เพื่อความโล่งและโปร่งเบา
เนื่องจากการฝึกซ้อมในโครงการเป็นสิ่งที่สำคัญ การออกแบบการวางผังอาคาร พื้นที่ภายในห้องที่ เหมาะสมกับการฝึกฝนและกระตุ้นให้นักเรียนมีแรงผลักดันในการซ้อม โดยให้รูปแบบห้องของแต่ละสาขา สามารถมองเห็นการซ้อม การแสดง ทำคอนเทนต์ และโชว์ความสามารถ มีการแบ่งโซนกิจกรรมตามระดับ เสียง แสง การเคลื่อนไหว และวัสดุโครงสร้างห้อง เพื่อลดการรบกวนในแต่ละกิจกรรมให้มากที่สุด
กิตติกรรมประกาศ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ และความช่วยเหลือจากอาจารย์และคณะกรรมการ ทุกท่าน ที่ได้ให้คำปรึกษา คำแนะนำและติชม พร้อมมอบความรู้เรื่องข้อมูลและช่วยเหลือให้แนวทางในการ แก้ไขในส่วนที่บกพร่องและส่วนที่มีปัญหา และคอยให้กำลังใจ ผู้จัดทำขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ชัยนันท์ พรหมเพ็ญ อาจารย์ที่ปรึกษาที่คอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา เป็นแสงสว่างระหว่างที่เดินบนทางมืด คอยสั่งสอนในเรื่องที่ไม่มีความรู้ และช่วยมี แรงผลักดันในการทำงานจนผ่านมาได้ กระทั่งการทำวิทยานิพนธ์สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ขอขอบคุณจากใจจริง ค่ะ สุดท้ายขอบคุณครอบครัวที่คอยสนับสนุนในทุก ๆ เรื่อง ทั้งด้านกำลังใจ ด้านงบประมาณในการทำงาน และทุกๆด้าน และขอบคุณเพื่อนๆ ที่อยู่ด้วยกันคอยช่วยเหลือกันขอขอบคุณตัวเองที่พยายามจนสามารถผ่าน งานต่าง ๆ มาได้อย่างลำบาก แม้มันจะเป็นเพียงการเริ่มต้น ผู้เขียนหวังว่าวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะมีประโยชน์ต่อ ผู้ค้นคว้าและก่อเกิดคุณค่าทางการศึกษาต่อไป
สิริยากร บุญด้วง
ผู้จัดทำวิทยานิพนธ์
2.2.1 หลักการสร้างสตูดิโอเต้น................................................................................. ...................9
2.2.2 หลักการจัดห้องเรียนศิลปะ...................................................................................... .....10 2.2.3 หลักการจัดห้องแสดงผลงานนักเรียน..................................................................
ตารางที่ 1 แสดงองค์ประกอบโครงการ
ตารางที่ 2 แสดงระยะเวลาในการทำงาน
ตารางที่
ตารางที่ 4 การวิเคราะห์สรุปผลกรณีที่นำมาใช้
สารบัญตาราง
สารบัญภาพ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ภาพที่ 1 ศิลปินเคป๊อปเกาหลี
ที่มา: ดัดแปลงโดยผู้จัดทำ
ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศได้มีการรับอิทธิพลและ
เปิดรับวัฒนธรรมต่าง ๆ ในประเทศโดยมีการเปิดรับทั้งวัฒนธรรม
จากตะวันตกและจากตะวันออกจนกระทั่งมาถึงกระแส คลื่นความ
นิยมเกาหลี Korean Wav หรือ Hallyu หมายถึง ปรากฏการณ์การ
แพร่กระจายของวัฒนธรรมร่วมสมัยของเกาหลีใต้ K-pop ได้แก่ ไม่
ว่าจะเป็น นักแสดง นักร้อง แฟชั่น อาหาร เครื่องสำอาง และที่ได้รับ
ความนิยมมากที่สุดคือ ละครเกาหลีหรือ ซีรี่ย์เกาหลี เพลง และ
ภาพยนตร์ออกไปทั่วโลก ทำให้เกิดกระแส คลื่นความนิยมเกาหลี
แพร่กระจายเข้าไปสู่ทุกมุมโลกรวมถึงประเทศไทยด้วยกัน กระแส
คลื่นความนิยมเกาหลี ในปัจจุบันมีผลต่อการเกิดความนิยมในวัยรุ่น
ไทยและ ทำให้พวกเขาเริ่มสนใจและ ติดตามวัฒนธรรมเกาหลีอย่าง มากขึ้น จากกระแสเกาหลีที่เข้ามานั้น ทำให้คนไทยสนใจอยากเป็น
ศิลปินเกาหลี K-pop Idol Star ซึ่งจะต้องผ่านการฝึกฝน ใช้เวลา หลายเดือน หรือนานถึงหลายปีในการฝึกอาจจะทำให้ต้องพักจาก
เรียน ซึ่งโอกาสที่จะได้เดบิวต์ ไม่มีความแน่นอน และจะมีค่าใช้จ่ายที่
เกิดขึ้นระหว่างการฝึกสูง และมีการแข่งขันที่สูงมาก
ซึ่งในที่เกาหลีนั้นก็มีโรงเรียนสอนสอนศิลปะการแสดงสำหรับ
คนที่อยากเป็นไอดอลหลายแห่งมาก และบางโรงเรียนสอนสอน
ศิลปะการแสดงก็ดำเนินการจากค่ายโดยตรง ถือเป็นอีกเส้นทางที่
สามารถเป็นไอดอลได้ ซึ่ง School of Performing Art Seoul เป็น โรงเรียนเอกชนศิลปะการแสดงดนตรี ที่มีชื่อเสียงและได้สร้างศิลปิน k- pop เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษา 4 - 6 จำนวนนักเรียนไม่เกิน 800 คน

ภาพที่ 2 นักเรียนในเครื่องแบบ Sopa
ที่มา: ดัดแปลงโดยผู้จัดทำ
เพื่อตอบสนองความต้องการ รองรับนักเรียน ที่มีความ ต้องการที่จะฝึกฝนเป็นศิลปิน ในระดับชั้นมัธยมศึกษา 4 - 6 ใน หลักสูตร School of Performing Art Seoul เพื่อเตรียมความ พร้อมในการเป็นศิลปิน K-pop และฝึกฝนศิลปะการแสดงเพื่อเข้าสู่ มหาลัย จึงเป็นที่มาของ Korean Performing Arts School, Bangkok เพื่อตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมาย ที่ชื่นชอบหรือมี
ความสามารถทางด้านศิลปะการแสดงดนตรี หรือสนใจที่อยากจะ ฝึกฝนเป็นไอดอล KPOP
1.2 วัตถุประสงค์โครงการ
1 โรงเรียนนานาชาติที่เน้นการสอน ศิลปะการแสดง ดนตรี เเละภาษาเกาหลี ใช้หลักสูตร School of Performing Art Seoul (SOPA)
2. เป็นพื้นที่ในการฝึกฝนทักษะที่จะมุ่งเน้นไปที่การ พัฒนาทักษะศิลปะการแสดงดนตรีสไตล์เกาหลี
3. เพื่อเป็นพื้นที่เเสดงความสามารถนักเรียนในโครงการ
1.3 วัตถุประสงค์การศึกษา
1. ศึกษาเพื่อออกแบบสถาปัตยกรรม พื้นที่การเรียน และพื้นที่ฝึกซ้อม
2. ศึกษาวิเคราะห์หาข้อมูล องค์ประกอบและพื้นที่ใช้ สอย
3. ศึกษากลุ่มเป้าหมายและพฤติกรรมของผู้ใช้โครงการ
โครงการโรงเรียนสอนศิลปะการแสดงเกาหลี กรุงเทพ เป็นสถาบันเอกชน ระดับชั้นมัธยมศึกษา เพื่อตอบสนองการของผู้ที่ต้องการฝึกฝน ศิลปะการแสดง ตารางที่ 1 แสดงองค์ประกอบหลักของโครงการ
1. ส่วนห้องฝึกซ้อมทักษะ
และห้องเรียน
สาขาวิชาการละครและภาพยนตร์
- ห้องซ้อมการแสดง
- ห้องตัดต่อ
- ห้องประชุม
- ห้องเก็บฉาก
สาขาวิชาดนตรีประยุกต์
- ห้องเรียนดนตรี
- ห้องซ้อมเดี่ยว
- ห้องซ้อมกลอง
- ห้องซ้อมรวมวงใหญ่
- ห้องอัดสตูดิโอ
- ห้องกระจายเสียง
- ห้องเก็บเครื่องดนตรี
สาขาวิชาการเต้น
- ห้องเรียน
- ห้องซ้อมเต้น 4 ประเภท
- ห้องเก็บของ
2. ส่วนสาธารณะ
3. ส่วนสนับสนุนโครงการ
- ห้องแกลอรี่
- โถงต้อนรับ
- ลานกิจกรรม
- หอประชุม
- สนามกีฬา
- ร้านขายของ
- โรงอาหาร
- โรงอาหารครู
- ห้องพยาบาล
- ห้องโสด
- ห้องกระจายเสียง
- ห้องประชาสัมพันธ์
- ห้องเเนะเเนว - ห้องน้ำนักเรียน/ครู
4. ส่วนบริหาร
- ห้องผู้บริหาร
- ห้องรองผู้บริหาร
- ห้องเลขานุการ
- ห้องฝ่ายบุคคล
- ห้องฝ่ายบัญชี
- ห้องฝ่ายต้อนรับ
- ห้องฝ่ายการเงิน สาขาวิชาศิลปะ
5. ส่วนบริการ
- ห้องเรียน
- ห้องศิลปะ
- เก็บอุปกรณ์
- ห้องเก็บผลงาน
ส่วนเรียนวิชาการ
- ห้องเรียนประจำ
- ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
- ห้องคอมพิวเตอร์
- ห้องสมุด
-
- ส่วนห้องเครื่อง
- ส่วนซ่อมบำรุง
- ส่วนทำอาหาร
- ส่วนเเม่บ้าน
- ส่วนสถานที่
- ส่วนบริการส่วนกลาง
- จอดรถรถยนต์คนพิการ
- จอดรถยนต์บุคลากร
- จอดรถจักรยานยนต์
1.5
ขอบเขตการศึกษา
1.5.1 เพื่อศึกษารูปแบบการเรียน การสอนหลักสูตรการ
สอนศิลปะการดนตรีของ School of Performing Art
,Seoul (SOPA)
1.5.2 สถาปัตยกรรม และแนวทางการรูปแบบการวางผัง
ของอาคารเพื่อศึกษามาตรฐานการออกแบบสถานศึกษา
และกฎหมายอาคาร
1.6 ระเบียบวิธี และขั้นตอนการดำเนินการ
รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการ โดยการ
อ่านจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เพื่อ
ทำความ เข้าใจโครงการที่จะทำ คิดวิเคราะห์ปัญหา
เพื่อที่จะนำมาจัดทำเป็นรายละเอียดโครงการและที่ตั้ง ที่
ใช้ในการออกแบบ
1.7 ระยะเวลาในการทำงาน ตารางที่ 2 แสดงระยะเวลาในการทำงาน ขั้นตอนในการดำเนินงาน
1. เก็บข้อมูล
2. ส่งข้อเสนอโครงการ
3. ตรวจบทที่ 1-3
4. นําเสนอบทที่ 1-3
5. แก้ไขและตรวจแบบ
6. นําเสนอบทที่ 1-5
7. แก้ไขและร่างเล่มโครงการ
8. จัดทำรูปเล่ม บทที่1-5
9. แก้ไขและตรวจแบบ
10. นําเสนอบทที่ 6-7
1.8 ข้อจำกัดในการศึกษา
- เนื่องจากเป็นโครงการที่อยู่ต่างประเทศจึงทำให้ไม่
สามารถเดินทางไปสำรวจโครงการที่ประเทศเกาหลีได้
- เข้าถึงข้อมูลได้ยาก เนื่องจากเป็นโครงการต่างประเทศ
และมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล
1.9 นิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
- เคป๊อป (K-pop) หมายถึง แนวเพลงและวงการเพลงที่
กำเนิดขึ้นในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นย่อมาจากคำว่าคอ
เรียนป็อป (Korean Pop)
1.5.1 ขั้นตอนการเสนอแนะและออกแบบ
1) กำหนดแนวคิดในการออกแบบโครงการ
2) แนวคิดในการวางผังบริเวณ
3) แนวคิดในการออกแบบอาคาร
4) ข้อกฎหมายพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
5) ลำดับขั้นตอนในการออกแบบ
6) สรุปและนำเสนอ
1.5 2 สรุปผลการออกแบบและนำเสนอ
1) กระบวนการการออกแบบ
2) ผังบริเวณ ( plan )
3) ผังพื้น ( Floor plan )
4) รูปด้าน ( Elevation )
5) รูปตัด ( section )
6) ทัศนียภาพ ( perspective )
7) หุ่นจำลอง ( Model )
- ไอดอล (Idol) หมายถึง คนหรือสิ่งที่ได้รับความ ชื่นชมคลั่งไคล้
- เดบิวต์ (debut) การปรากฏตัวเป็นครั้ง
แรกต่อสาธารณะชน
- คลื่นความนิยมเกาหลี Korean Wav) หรือ
- Hallyu หมายถึง ปรากฏการณ์ความนิยม
วัฒนธรรมเกาหลีที่ มาจาก อิทธิพลของสินค้า
วัฒนธรรม K-popได้แก่ภาพยนตร์ ละคร เพลง
เกม นิยาย การ์ตูน
วรรณกรรมและกรณีศึกษา
การศึกษาทฤษฎี และหลักการ ที่เกี่ยวข้องกับการ
ออกแบบโครงการ โดยการทำการศึกษาค้นคว้าเอกสารและทฤษฎีที่ เกี่ยวข้องดังหัวข้อต่อไปนี้
2.1 ข้อมูลของ School of Performing Art,Seoul (SOPA)
2.1.1 หลักสูตร SOPA
โรงเรียนสอนศิลปะการแสดงโด่งดังของโซล หรือ SOPA ได้
ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1966 เป็นโรงเรียนมัธยมปลายที่มุ่งเน้นการ
พัฒนาทักษะทางด้านศิลปะและการแสดง เช่น ดนตรี เต้นรำ และ ศิลปะต่าง ๆ โดยเป็นโรงเรียนเอกชนแบบสหศึกษา และเปิดสอน
ระดับชั้นมัธยมปลายระหว่างม.4-ม.6 มีนักเรียนจำนวนประมาณ
800 คน ในปีการศึกษา 2564 นี้ มีนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว
ทั้งหมด 266 คน และผู้สำเร็จการศึกษาทั้งหมดเป็นจำนวน 13,265
คนเปิดสอนทั้งหมด 4 สาขา

ภาพที่ 3 การละครและภาพยนตร์
ที่มา: ดัดแปลงโดยผู้จัดทำ
1. วิชาการละครและภาพยนตร์
วิชาการละคร ฝึกการแสดง การร้องเพลง และการเต้น
อย่างเป็นระบบที่จำเป็นในด้านต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์และละคร
ละครและการแสดงดนตรี วิชาภาพยนต์ Film Major

ศึกษาทฤษฎีเชิงลึกและระบบเกี่ยวกับภาพยนตร์และวิดีโอโดยรวม เช่น การวางแผน สถานการณ์ การกำกับ การถ่ายทำ การผลิต การตัดต่อ และการวิจารณ์ และพัฒนาความสามารถในทางปฏิบัติ ภาพที่ 4 เกี่ยวกับดนตรี ที่มา: ดัดแปลงโดยผู้จัดทำ
2. สาขาวิชาดนตรีประยุกต์
ฝึกการให้เป็นนักดนตรี นักร้อง นักแต่งเพลง นักวางแผน เพลง ผู้กำกับเพลง ผู้กำกับเพลง วิศวกร ฯลฯ สอนเทคนิคการแสดง หลากหลาย

3. สาขาวิชาการเต้น
การฝึกฝนนักเต้นมืออาชีพที่มีความสามารถ ผ่านการเต้น เชิงปฏิบัติ (popping,locking,waacking,soul,hip-hop,house, b-boy, dance sports ฯลฯ) และการเต้น (สมัยใหม่ เต้นรำ, แจ๊ส)
ในการฝึกเต้นประเภทต่าง ๆ และ การศึกษาภาคทฤษฎีเพื่อฝึกฝน
นักเต้นมืออาชีพให้มี ความคิดสร้างสรรค์และมีไหวพริบ

ภาพที่ 6 ศิลปะ
ที่มา: ดัดแปลงดัดแปลงโดยผู้จัดทำ
4. สาขาวิชาศิลปะ
- สาขาวิชาการออกแบบ
พัฒนาขั้นพื้นฐาน เรียนรู้ความรู้สึกในการ
ออกแบบเชิงสุนทรีย์ ประโยชน์ใช้สอย การปฏิบัติ และ
ความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาการออกแบบ
- สาขาวิชาการออกแบบเวที
เป็นการเรียนรู้และการฝึกฝนวิชาชีพด้าน
ศิลปะการแสดงบนเวที เช่น ละคร ภาพยนตร์ การแสดง
และได้รับทักษะการปฏิบัติวิชาชีพด้านศิลปะบนเวทีด้วย
งานศิลปะแขนงต่าง ๆ
- สาขาวิชาจิตรกรรมตะวันตก
ใช้อารมณ์ความรู้สึกในการเป็นศิลปินที่มี
ความคิดสร้างสรรค์และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยการ
ผ่านความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการ
แสดงออกผ่านการโดยการวาดภาพ
- สาขาวิชาจิตรกรรมเกาหลี
เรียนพื้นฐานของการวาดภาพภาษาเกาหลีและ ความเข้าใจในวัสดุ จะได้เรียนรู้การแสดงออกอย่างอิสระ
ของศิลปะ และเตรียมพื้นฐานสำหรับศิลปินที่มีความคิด
สร้างสรรค์
2.1.2 วิเคราะห์อาคาร ภาพที่ 7 จาก Google map

ที่มา : https://www.google.com/maps/@37.49
1. ที่ตั้ง : โซล, เกาหลีใต้ มีทั้งหมด 7 ชั้น บริบทรอบอาคาร จะ รอบ ล้อมไปด้วยอาคารพักอาศัยเป็น ส่วนมากและอยู่ ติดกับภูเขา

ภาพที่ 8 วิเคราะห์โซนอาคาร
ที่มาภาพ : https://twitter.com/th_haruto/status /1366530761076006915
2. วิเคราะห์พื้นที่ใช้สอยของอาคาร
ทางเข้าอาคารจะอยู่วบริเวณส่วนของหอประชุม ซึ่งจะอยู่
ติดกับส่วนของสำนักงาน และโรงอาหาร นอกจากนั้นยังเชื่อมต่อ
กับสนามกีฬาส่วนที่อยู่ถัดจากสนามกีฬาคือโรงยิม โรงยิมจะอยู่
เชื่อมต่อกับทางขึ้นอาคารที่ติดกับส่วนฝึกซ้อม

ภาพที่ 9 อาคารเรียนของ School of Performing Arts
Seoul (SOPA)
ที่มา: https://twitter.com/th_haruto/status/1366530761076006915
3. รูปแบบอาคาร
เอกลักษณ์ของอาคารที่เป็นได้ชัด ตกเเต่งผนังโดยการใช้อิฐ การ
วางอาคารโดยตัวอาคารจะหันน้าไปทางทิศเหนือวางทางเข้าหลักที่ด้านหน้า ออกเเบบเป็นอาคาร 7 ชั้น ที่มีชั้นใต้ดินมีการวางรูปเเบบ ที่จะเเบ่งในส่วน ของการเเสดง ห้องเรียน ในชั้นที่ใต้ดิน ชั้น 1ชั้น 2 จะค่อนข้างเป็นส่วนที่
เข้าถึงได้ง่าย โดยเเต่ละพื้นที่จะมีความเป็นสาธารณะ เเละมองเห็นกันได้
ง่ายเเละการเข้าถึงของเเสงค่อนข้าง เนื่องจากการวางรูปเเบบอาคาร เเบ่ง
เป็น 2 ฝั่งตรงข้ามกัน เเละเป็นร่มเงาให้กับพื้นที่ตรงกลางได้ ชั้น 3-6 จะมี ความเป็นส่วนตัว เพราะเป็นชั้นที่มีห้องเรียนซึ่งระเบียงทางเดินข้างหน้าที่ อยู่ทิศเหนือนั้นก็เพราะป้องกันเเสงเเดดจากทิศใต้

ภาพที่ 10 วิเคราะห์ทางสัญจรของ SOPA
ที่มา : https://www.google.com/maps/@37.49
วิเคราะห์ด้านการเข้าถึง School of Performing Arts Seoul (SOPA) เส้นทางสัญจร ของผู้ใช้อาคาร สีเเดงคือทางเข้าหลักของอาคาร
จะพบกับพื้นที่โถงทางเข้าเเละบันไดหลัก ในชั้นเเรกจะเริ่มจากทางเข้า หลัก สองทาง เเยกย่อยเข้าสู่พื้นที่ของอาคาร สีเขียวจะเป็นเส้นทางสัญจร ของนักเรียน จะมีความเป็นกึ่งสาธารณะ ส่วนสีน้ำเงินจะเป็นทางสัญจร
ของ คุณครู , พนักงานของอาคารเรียน ซึ่งอาจจะเป็นคนทำอาหาร ผู้ดูเเล
อาคาร จะมีความเป็นส่วนตัว

ภาพที่ 11 อาคารเรียนของ SOPA
ที่มา : https://www.sopa.hs.kr/sub01_08.php



การวิเคราะห์ผังพื้นชั้นใต้ดิน
ผังพื้นชั้นใต้ดิน
จะเเยกส่วนของพื้นที่ใช้สอยอย่างเห็นได้ ชัดของพนักงานเเละ
นักเรียน ทางเข้าของนักเรียน จะลงบันไดมาจากชั้น 1 ซึ่งเป็นบันได
สำหรับลงมาออดิทอเรียมโดยเฉพาะ ซึ่งในชั้นนี้ส่วนมากเป็นงาน ระบบ
ภาพที่ 12 วิเคราะห์ผังพื้นชั้นใต้ดิน
ที่มา : ดัดแปลงโดยผู้จัดทำ
ภาพจาก https://www.sopa.hs.kr/sub01_08.php
ผังพื้นชั้น 1
มีพื้นที่ 3 ส่วน ซึ่งจุดแรกที่พบคือพื้นที่สำนักงานส่วนสีแดง ที่มีช่องเปิดตรงกลางที่เป็นพื้นที่กั้น ซ่งตรงข้ามพื้นที่สำนักงานครูเป็น พื้นที่โรงอาหารมีโรงอาหารนักเรียน,โรงอาหารครูและมีส่วนของโถง ทางเดินที่สามารถเชื่อมต่อกับกับโรมยิมได้
ภาพที่ 13 วิเคราะห์ผังพื้นชั้น 1
ที่มา : ดัดแปลงโดยผู้จัดทำ
ภาพจาก https://www.sopa.hs.kr/sub01_08.php

ผังพื้นชั้น 2
ขึ้นมาจากชั้น 1
สามารถขึ้นมาได้สามจุด จุดแรกขึ้นมา จะอยู่ตรงข้ามลิฟต์จะเจอห้องพักครูและเชื่อมไปโรงอาหารได้จุด ที่สองขึ้นมาจากที่จอดรถจะเจอสำนักงานและเชื่อมกับโรงอาหาร ครูได้ และจุดที่สามเดินขึ้นมาเจอโรงยิมที่อยู่บนที่จอดรถ
ภาพที่ 14 วิเคราะห์ผังพื้นชั้น 2
ที่มา : ดัดแปลงโดยผู้จัดทำ
ภาพจาก https://www.sopa.hs.kr/sub01_08.php




ผังพื้นชั้น 3
แบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็น 3 ส่วน โดยมีส่วนฝั่งสีม่วงคือส่วน
ของพื้นที่ห้องเรียนประจำ ฝั่งสีเหลืองคือส่วนของห้องสตูดิโอ และ
ส่วนชมพูเป็นส่วนของห้องสภานักเรียน ชุมนุมต่าง ๆ ถัดจากส่วน
นี้สามารถเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ส่วนของโรงยิมได้
ภาพที่ 15 วิเคราะห์ผังพื้นชั้น 3
ที่มา : ดัดแปลงโดยผู้จัดทำ
ภาพจาก https://www.sopa.hs.kr/sub01_08.php
ผังพื้นชั้น 4
แบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็น 3 ส่วน โดยมีส่วนฝั่งสีม่วงคือส่วน ของพื้นที่ห้องเรียนประจำ ฝั่งสีเหลืองคือส่วนของห้องสตูดิโอ และ ส่วนของห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์กับห้องสมุดที่อยู่ติดกันภายใน ห้องสมุดเป็นทางเชื่อมต่อไปยังพื้นที่ของชั้นดาดาฟ้าได้
ภาพที่ 16 วิเคราะห์ผังพื้นชั้น 4
ที่มา : ดัดแปลงโดยผู้จัดทำ
ภาพจาก https://www.sopa.hs.kr/sub01_08.php
ผังพื้นชั้น 5
แบ่งเป็น 2 ส่วน มีส่วนห้องเรียนประจำสี
ม่วงและส่วนห้องซ้อมภาควิชาดนตรีสีเหลือง
ภาพที่ 17 ผังพื้นชั้น 5
ที่มา : วดัดแปลงโดยผู้จัดทำ
ภาพจาก https://www.sopa.hs.kr/sub01_08.php
ผังพื้นชั้น 6
เป็น2 ส่วนมีห้องซ้อมอเนกประสงค์และ ภาควิชาศิลปะ
ส่วนนี้มีชั้นดาดฟ้าที่เป็นจุดเชื่อมกัน
ภาพที่ 18 ผังพื้นชั้น 6
ที่มา : ดัดแปลงโดยผู้จัดทำ
ภาพจาก https://www.sopa.hs.kr/sub01_08.php

ห้องซ้อมเต้น ที่มา
:https://images.adsttc.com/media/images/647f/70f6/ 2e6d/e247/5622/1161/slideshow/sandi-simoncenter-for-dance-at-chapman-university-lorcanoherlihy-architects_1.jpg?1686073608
- พื้นที่ : ความสูงของเพดานควร เหมาะสมสำหรับการฝึกซ้อม
- พื้น : พื้นไม้ปาร์เก้ หรือ พื้นไม้ พื้นไม้แบบสปริง
-กระจกเงา : ควรติดตั้งให้แนบเนียน ผู้ใช้งานควรสามารถ
มองเห็นรูปร่างของตนเองในกระจกได้ทั่วถึง
-ราวจับไร้รอยต่อ : ควรเป็นราวจับไม้เพราะจะไม่เย็นเกินไป
ไม่สบายในการจับราวหากอุณหภูมิในห้องโถงต่ำ
-ระบบเสียงและเครื่องขยายเสียง :ควรมีเครื่องเสียงที่
ทันสมัยเเละมีคุณภาพนอกจากนี้ควรมีโปรเจคเตอร์
ที่มา : https://www.wazzadu.com/article/6059
2.2.2 หลักการจัดห้องเรียนศิลปะ

ภาพที่ 20 ห้องศิลปะ
ที่มา : Neufert Architects Data
นักเรียนมีจุดโฟกัสเพียงจุดเดียว โต๊ะติดกันทำให้
ประหยัดพื้นที่
2.2.3 หลักการออกแบบห้องแสดงผลงานนักเรียน

ภาพที่ 21 เส้นทางสัญจรแบบ Rectilinear Circuit
ที่มา : https://www.wazzadu.com/article/6059
1) เส้นทางสัญจรแบบ Rectilinear Circuit
Rectilinear Circuit คือ การเคลื่อนที่ชมงานศิลปะ หรือ นิทรรศการเป็นแนวเส้นตรง ผลงานมักจัดแสดงอยู่สอง
ข้างทาง เหมาะกับการจัดช่วงเดินในระยะสั้น ๆ เพราะ อาจทำให้รู้สึกเบื่อขณะชมผลงาน
- จัดแสดงผลงาน และแสงไฟได้ง่าย - ประหยัดพื้นที่ สามารถวางผลงานได้ทั้งสองข้างทาง
- ผู้ชมอาจรู้สึกเบื่อหากเป็นเส้นทางตรงที่ยาวเกินไป

ภาพที่ 22 ทางสัญจรแบบChain Lay out
ที่มา : https://www.wazzadu.com/article/6059
2) เส้นทางสัญจรแบบ Chain Lay out
- Chain Lay out
เป็นการวางผังแบบต่อเนื่อง จัดโดยจุดแสดง ที่แตกต่างกันมาเชื่อมต่อกันมักมีทางสัญจรไหลเวียนเป็นวงกลม โดยไล่ดูไปเป็นลำดับ
- ทำให้มีพื้นที่จัดแสดงที่หลากหลาย สามารถแบ่งโซนผลงาน แต่ละประเภทได้ ผู้ชมสามารถเลือกดูผลงานแต่ละพื้นที่ได้
- เนื่องจากมีหลายพื้นที่จัดแสดงอาจทำให้ผู้ชม ชมผลงานได้ไม่ ครบ

ภาพที่ 23 ทางสัญจรแบบ Decentralized System of Access
ที่มา : https://www.wazzadu.com/article/6059
3) ทางสัญจรแบบ Decentralized System of Access
มีทางออก และทางเข้าสองทางหรือมากกว่า ผู้ชมอาจไม่ได้ไป
ตามเส้นทางที่กําหนดสามารถเดินไปมาอย่างอิสระ - มีความน่าสนใจต่อการจัดแสดง - สามารถแบ่งกั้นห้องทําให้เกิดพื้นที่จัดแสดงมากขึ้น - เกิดการกระตุ้นให้เดินดูการแสดงอย่างรวดเร็วมากขึ้น
2.2.4
หลักการออกแบบห้องประชุม (Auditorium Design)
องค์ประกอบที่สำคัญของห้องประชุมขนาดใหญ่
- จำนวนและขนาด ควรกำหนดจำนวนผู้เข้าใช้งานเหมาะสม
กับการเข้าใช้งานห้องประชุม
- ระยะห่างที่นั่ง ควรคำนึงถึงระยะห่างระหว่างที่นั่งกับเวทีให้
เหมาะสม เพื่อให้ผู้เข้าห้องประชุมสามารถเข้าถึงสิ่งที่จะสื่อได้
- ตำแหน่งทางเข้าและทาง ออกควรคำนึงถึงการออกแบบ
Universal Design ตำแหน่ง ทางเข้า-ออกเป็นสิ่งที่สำคัญ
เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ในการใช้งานห้องประชุม ควร
สามารถสัญจรได้อย่างทั่วห้อง ควรมีประตูเข้า-ออก หลายทาง
เพื่อสามารถป้องกันกรณีฉุกเฉินได้ - การเลือกวัสดุตกแต่ง ของห้องประชุมเป็นภาพลักษณ์ของ
องค์กร การเลือกใช้วัสดุนั้นควรสื่อถึงภาพลักษณ์องค์กร
ที่มา: https://avl.co.th/blogs/elements-of-a-largeconference-room/

ภาพที่ 24 รูปแบบหอประชุมที่สามารถเก็บที่นั่งได้ และ แบบหอประชุม
ที่มา : Neufert Architects Data
- เวทีแบบโพรซีเนียม (Proscenium) เป็นรูปแบบ
ที่สามารถทำกิจกรรมได้หลากหลายแบบ ทั้งการ
สัมมนา และการแสดงละครเวที โดยจะมีพื้นที่กั้น ระหว่างเวทีกับผู้ชม ที่แบ่งระยะระหว่างเวทีกับผู้ชม
2.2.5 หลักการจัดรูปแบบห้องวิทยาศาสตร์

ภาพที่ 25 ห้องวิทยาศาสตร์
ที่มา : Architects Data
- ห้องวิทยาศาสตร์
จะแบ่งที่นั่งเป็นกลุ่ม เพื่อให้
เหมาะกับการทำงานเป็นกลุ่ม เช่นทำการทดลอง
2.2.6 เเนวทางในการออกเเบบสตูดิโอ
แนวทางในการเลือกใช้วัสดุ
1. TALK & DRAMA STUDIO จำเป็นต้องมีเสียง ECHO
เพี่อมิให้เสียงตาย ECHO จะทำให้เสียงทุ้มเพราะกังวานขึ้น
2. MUSIC. STUDIO. จำเป็นต้องทำให้เสียงตาย DEAD การออกแบบให้ระวังเสียงทุ้ม (LOW. FREQUENCY). หรือ เสียงแหลม (IHGH. FREQUENCY). โดยการเลือกบ่รับผนัง

ภาพที่ 26 แนวทางในการเลือกใช้วัสดุ
ที่มา : http://old-book.ru.ac.th/ebook/a/AV413/av413-7.pdf
TECHNICAL GROUPING ในส่วนของ STUDIO.
ประกอบด้วยส่วน
1. SOUND IOCK
- เป็นห้องที่ผู้ใช้งานใช้เป็นทางเข้าที่เชื่อมกับห้อง
CONTROL และ STUDIO
2. CONTROL.
- เป็นห้องที่ใช้ในการควบคุมดนตรี และทำเพลง
3. STUDIO
- เป็นห้องที่ใช้อัดเพลง หรือทำการเล่นดนตรี

ภาพที่ 27 ประกอบส่วน STUDIO
ที่มา : http://old-book.ru.ac.th/ebook/a/AV413/av413-7.pdf
2.2.7 รูปแบบการจัดห้องเรียน

ภาพที่ 28 รูปแบบการจัดห้องเรียน
ที่มา : www.phanrakwork.com
1) จัดแบบ Theatre การจัดห้องประชุมแบบ
Theatre
ข้อดีของการจัดห้องประชุมแบบนี้คือ ผู้อนักเรียนมีจุดโฟกัส
เพียงจุดเดียว ทำให้ความสนใจทั้งหมดจะถูกส่งไปที่ครูด้านหน้า
เวทีเพียงจุดเดียว
2) จัดแบบ Class room การจัดแบบนี้ไม่ต่างจาก
แบบ นักเรียนมีจุดโฟกัสเพียงจุดเดียว ทำให้ความสนใจ
3) จัดแบบ U-Shape การจัดห้องประชุมรูปแบบนี้ไม่ ว่าจะ เหมาะสำหรับการบรรยายที่ครูต้องการความใกล้ชิดกับ นักเรียน เพราะสามารถถือไมค์เดินเข้าหา พูดคุย สอบถามจได้
สะดวก
4) จัดแบบ Conference การจัดห้องประชุมแบบนี้
เหมาะสำหรับการเรียนที่ต้องการการระดมสมอง เพื่อแก้ปัญหา
เพื่อหาข้อสรุป หรือเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม เหมาะสำหรับการ
ประชุมกลุ่มย่อย ๆ
5) จัดแบบ Banquet เป็นการจัดห้องในรูปแบบ
ลักษณะนี้ในที่ประชุมที่ต้อง Workshop ระดมสมอง แต่ห้องมี
ลักษณะแคบและยาว
6) จัดแบบ Banquet Rounds การเรียนที่มีการจัด
workshop หรือมีการระดมความคิดเช่นเดียวกับการจัดแบบ Banquet ทั่วไป แต่การจัดโต๊ะเป็นวงกลม
2.3 กรณีศึกษา
2.3.1
เกณฑ์การคัดเลือกกรณีศึกษา
1 มีรูปแบบการสอนเกี่ยวกับศิลปะการแสดงหรือดนตรี
2. เป็นโรงเรียนมัธยมปลาย และ มหาวิทยาลัยที่มีการสอนดนตรี
2.3.2
ตารางแสดงเกณฑ์การวิเคราะห์กรณีศึกษาตามวัตถุประสงค์
ตารางที่ 3 แสดงเกณฑ์กรณีศึกษา
กรณีศึกษา ภายในประเทศ ต่างประเทศ
วิเคราะห์กรณีศึกษา
โรงเรียน เตรียมอุดม
ดนตรี
วิทยาลัยดุริยางค ศิลป์
มหาวิทยาลัยมหิดล
โรงเรียน นานาชาติ
บางกอกเพรพ
โรงเรียนมัธยม
ศิลปะ ลูมิท
โรงเรียนมัธยม เคอร์โร เดอร์บัน
วิลล์
1. การวางผังทางสัญจร / / /
2. องค์ประกอบ
โครงการที่เกี่ยวข้อง / /
3. เเนวความคิดการ
ออกแบบ / / / / /
4.วิเคราะห์พื้นที่ใช้สอย
และงานระบบ / / / / /
5. การนำมาปรับใช้งาน
ในโครงการ
1)โรงเรียนเตรียมอุดมดนตรี Young Artist Music Program (YAMP)
สถานที่ตั้งโครงการ : ตำบล ศาลายา อำเภอพุทธมณฑล
นครปฐม 7 ตั้งอยู่ใน : วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
มหาวิทยาลัยมหิดล
สถาปนิก : ต้นศิลป์ สตูดิโอ, สถาบันอาศรมศิลป์, สถาปนิก 49
แนวคิดในการออกแบบ
เป้าหมายภายโดยรวม มีลักษณะที่เกี่ยวพัน
ใกล้ชิดกับงานศิลปะ โดยมีบุคลิกภาพของการเป็นชุมชน
ทางดนตรีที่อบอุ่นมีชีวิตชีวา ในขณะเดียวกันก็มุ่งหวังให้

กลไกในการแสดงออกของ องค์ประกอบทางด้าน สถาปัตยกรรมได้สื่อถึงวิธีคิดของสถาปัตยกรรมตะวันออก ภาพที่ 29
ที่มา : https://www-music-mahidol-acth.translate.goog/yamp/facilities/?_x_tr_sl=en&_x_tr_tl=th&_x_ tr_hl=th&_x_tr_pto=wapp#

ภาพที่
30 ทัศนียภาพโรงเรียนเตรียมอุดมดนตรี ที่มา : https://www-music-mahidol-acth.translate.goog/yamp/facilities/?_x_tr_sl=en&_x_tr_tl=th&_x_ tr_hl=th&_x_tr_pto=wapp#
วิเคราะห์พื้นที่ใช้สอยและตัวอาคาร
เป็นอาคารสมัยใหม่สูง 9 ชั้น มีลักษณะคล้าย กลุ่มของอาคาร 3 หลังโดยเชื่อมไว้ด้วยส่วนกลางอันเป็น ส่วนกึ่งภายในและภายนอกที่นี้เป็นระบบ boarding school หรือโรงเรียนประจำมีหอพักอยู่ชั้นบนและใน อาคารแต่ละส่วนมีการสัญจรแบบทางเดินยาวแจกสู่ห้อง ต่าง ๆ ตัวอาคารมีลักษณะทั่วไปเป็นคอนกรีตฉาบเรียบ ทาสีเทา โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลักษณะกึ่งภายในภายนอก ด้วยรูปแบบโถงที่เปิดสู่ธรรมชาติ และทางเดินระเบียงแจก สู่ห้องต่าง ๆ สรุปการนำมาใช้
นำเอาการออกแบบพื้นที่เน้นการ เชื่อมโยง ทางการมองเห็นและความเปิดกว้าง แต่ยังมีความสามารถ
มองเห็น มาใช้ในพื้นที่กิจกรรมภายในโครงการ และความ ใกล้ชิดกับศิลปะ

ภาพที่ 31 ทัศนียภาพโรงเรียนเตรียมอุดมดนตรี
ที่มา : https://www-music-mahidol-ac-th.translate.goog/yamp/facilities/?_x_tr_sl=en&_x_tr_tl=th&_x_tr_hl=th&_x_tr_pto=wapp#
2) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล
สถานที่ตั้งโครงการ : 25/25 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ศาลายา
อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
สถาปนิก : ต้นศิลป์ สตูดิโอ, สถาบันอาศรมศิลป์, สถาปนิก 49

ภาพที่ 32 ทัศนียภาพวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล
ที่มา : https://gotarch.com/archive/projects/2012/Mahidol/CMMU09_1.jpg
แนวคิดในการออกแบบ
โครงการตั้งอยู่ริมบึงน้ำซึ่งเป็นต้านมุมมองหลักทำให้ สามารถมองเห็นอาคารผ่านบึงน้ำขณะเข้ามาสู่อาคารตามถนน ซึ่งองค์ประกอบหลักคือ ห้องซ้อมใหญ่และห้องจัดแสดง เอนกประสงค์ ค่อนข้างมีรูปทรงที่น่าสนใจ ให้มีรูปทรงที่ น่าสนใจ ขณะที่ทางเข้าด้านหน้าซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกนั้น ให้ออกแบบให้มีความทึบตัน เรียบง่าย แต่น่าค้นหา และต้อง อ้อมไปจอดรถและเข้าทางด้านหลังในลักษณะย้อนกลับ ซึ่ง คนขับรถส่วนใหญ่จะเข้าทางทิศนั้นทางเข้าทั้ง 3 จึงมีในการ ออกแบบที่ต่างกัน ที่ว่างและรูปทรงจากความเรียบง่ายแต่หยุด นิ่ง ไปสู่ความเคลื่อนไหว



ภาพที่ 33 ทัศนียภาพวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล ที่มา:https://gotarch.com/archive/projects/2012/Mahidol_University_Archite cture.html
วิเคราะห์พื้นที่ใช้สอยและตัวอาคาร
อาคารภูมิพลสังคีต อาคารหลัก เป็นอาคารสมัยใหม่
สูง 5 ชั้น มีลักษณะคล้ายกลุ่มของอาคาร 3 หลังโดยเชื่อมไว้
ด้วยส่วนกลางอันเป็นส่วนกึ่งภายในและภายนอกชั้น G ถึงชั้น
2 และเป็นลักษณะห้องปิดทึบซ้อนในเปลือกอาคาร 2 ชั้น ใน
ชั้น 3 ถึงชั้น 4 ในอาคารแต่ละส่วนมีการสัญจรแบบทางเดิน
ยาวแจกสู่ห้องต่าง ๆ

ภาพที่ 34 ทัศนียภาพวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล
ที่มา:https://gotarch.com/archive/projects/2012/Mahidol_University_Archite cture.html
สรุปการนำมาใช้
นำเอาการออกแบบความเปิดกว้าง การเชื่อมต่อของ
อาคาร ที่เชื่อมได้ทุกอาคาร และรูปแบบการวางองค์ประกอบ ที่
มีความเป็นสัดส่วนนำเอามาใช้ และการวางงานระบบ
องค์ประกอบโครงการที่เกี่ยวข้อง
1. ห้องบรรยาย 7. ห้องซ้อมกลอง
2. ห้องซ้อมดนตรี 8. ห้องเก็บเครื่องดนตรี
3. ห้องซ้อมเต้น 9. หอประชุม
4 ห้องซ้อมรวมวง 10. ห้องอัดเพลง
5. ห้องคอมพิวเตอร์ 11. ห้องซ้อมเดี่ยว

6. ห้องพักอาจารย์ ภาพที่ 35 แปลนวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล ที่มา:http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/bachelor/d52546001/d52546001.pdf?fbclid=IwAR1189n4YyalROIZB2jXiLWRychjGZI4JI8Gjjqfo7sGQBLd1-bTiYbaqg
3) โรงเรียนนานาชาติบางกอกเพรพ วิทยาเขตรอง
สถาปนิก Plan Architect
พื้นที่ใช้สอย 19,200 ตารางเมตร
สถานที่ตั้งโครงการ 77 ซอย ปรีดี พนมยงค์ 2 แขวง พระโขนง
เหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
องค์ประกอบโครงการที่เกี่ยวข้อง
1. ห้องเรียน 5.ห้องซ้อมเต้น
2. ห้องซ้อมดนตรี 6.ห้องคอมพิวเตอร์
3. สตูดิโออัดเพลง 7.ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
4 ห้องปฏิบัติศิลปะ 8. โรงละคร

ภาพที่ 36 ทัศนียภาพภายนอกโครงการ
ที่มา: https://www.archdaily.com/889208/bangkok-internationalpreparatory-and-secondary-school-ii-plan-architect
แนวคิดในการออกแบบ
อาคารหลัก 3 หลัง แต่ละหลังมีหน้าที่เฉพาะของ
ตัวเอง โดยแต่ละอาคารจะอยู่แยกกัน ไม่มีทางเชื่อมบนอาคาร
แต่จะเชื่อมการโดยชั้นล่างสุดโดยสนามกีฬา โดยลักษณะ
อาคารจะเป็น สีขาวและด้านหน้าตัดด้ายไม้ทำให้มีความอ่อน
อาคารไม่ดูแข็งมากเกินไป แต่ละอาคารจะมีฟังก์ชั่นการใช้งาน
ที่ต่างกันโดยจะแยกตามตัวอาคาร



ภาพที่ 37 รูปตัดและรูปด้านทั้งสามอาคาร
ที่มา: https://www.archdaily.com/889208/bangkok-internationalpreparatory-and-secondary-school-ii-plan-architect
วิเคราะห์พื้นที่ใช้สอยและตัวอาคาร
อาคารแรกคือ อาคารบริหารที่มีช่องเปิดกว้าง สร้างพื้นที่ต้อนรับ ในอาคารเดียวกันด้านบนเป็นศูนย์กีฬาที่มี อุปกรณ์ครบครันซึ่งประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สระว่ายน้ำ ขนาดโอลิมปิก สนามบาสเก็ตบอล ขนาดเต็ม สนาม ห้องยิมนาสติก ฟิตเนส สตูดิโอเต้นรำ เป็นต้น ตรงกลางของอาคารทั้งสองคือ Creative Art Center
ซึ่งเป็นศูนย์รวมศิลปะและดนตรี ประกอบด้วยสตูดิโอ บันทึกเสียง ห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์ เวิร์คชอปไม้
หอประชุม ฯลฯ บันไดทรงกลมหลักตั้งอยู่กลางอาคารเพื่อเชื่อม
แต่ละพื้นที่เข้าด้วยกันตั้งแต่ชั้น 1 ไปจนถึงด้านบน
อาคารที่ 3 เป็นอาคารเรียนสูง 6 ชั้น แต่ละชั้นมีพื้นที่
ส่วนกลางที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และห้องสมุดตั้งอยู่ที่ชั้น
ล่างพร้อมการออกแบบเพดานสูง ทำให้ห้องสมุดสะดวกสบาย
และผ่อนคลายยิ่งขึ้น

ภาพที่ 38 ผังพื้นชั้นหนึ่งทั้งสามอาคาร
ที่มา: https://www.archdaily.com/889208/bangkok-internationalpreparatory-and-secondary-school-ii-plan-architect

ภาพที่ 39 ผังบริเวณโรงเรียน
ที่มา: https://www.archdaily.com/889208/bangkok-internationalpreparatory-and-secondary-school-ii-plan-architect
สรุปการนำมาใช้
นำเอาการออกแบบภายในอาคาร และการวางผัง
อาคาร ที่มีความเป็นระบบการจัดวางที่มีความเป็นสัดส่วนมาใช้
และองค์ประกอบอาคารที่มีความน่าสนใจ
4)โรงเรียนมัธยมศิลปะลูมิท Lumit
มัธยมควอปีออ, ฟินแลนด์
สถาปนิก : สถาปนิก Lukkaroinen Architects
พื้นที่: 9550 ตรม



ภาพที่ 40 ทัศนียภาพโรงเรียนมัธยมศิลปะลูมิท
ที่มา: https://www-archdaily-com.translate.goog/998030/lumit-art-high-schoollukkairoinen-architects?_x_tr_sl=en&_x_tr_tl=th&_x_tr_hl=th&_x_tr_pto=wapp
แนวคิดในการออกแบบ
การออกแบบของ Lumit ซึ่งสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้น
จะสมดุลกับธรรมชาติโดยรอบ จุดมุ่งหมายคือเพื่อสร้าง
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่จะจัดให้ผู้ใช้สอนศิลปะการแสดง
และเรียนอย่างมืออาชีพ Lumit เป็นการออกแบบเชิงพื้นที่เน้น
การเชื่อมโยงทางการมองเห็นและความเปิดกว้าง แต่ยังมีความ
เป็นไปได้ที่จะพักผ่อนและผ่อนคลายอีกด้วย คุณสามารถสัมผัส
ได้ถึงชีพจรของอาคารวัฒนธรรมแห่งใหม่จากถนนและจัตุรัส
โดยรอบ เนื่องจากสามารถมองเห็นและได้ยินกิจกรรมตลอด
24 ชั่วโมงทุกวันจากภายนอก

ภาพที่
ที่มา: https://www-archdaily-com.translate.goog/998030/lumit-art-high-schoollukkairoinen-architects?_x_tr_sl=en&_x_tr_tl=th&_x_tr_hl=th&_x_tr_pto=wapp

ที่มา: https://www-archdaily-com.translate.goog/998030/lumit-art-high-schoollukkairoinen-architects?_x_tr_sl=en&_x_tr_tl=th&_x_tr_hl=th&_x_tr_pto=wapp
วิเคราะห์พื้นที่ใช้สอยและตัวอาคาร
การออกแบบของ Lumit มีทางเข้าหลักสามทางไปยัง ห้องโถงหลักและบริเวณล็อบบี้ งานสาธารณะและห้องโถงส่วน
ใหญ่ตั้งอยู่ที่ระดับถนน ติดกับล็อบบี้ ทำให้เข้าถึงได้ง่าย
โดยเฉพาะสำหรับการใช้งานในกิจกรรม ห้องเรียนดนตรีและ
เต้นรำตั้งอยู่ใกล้กับห้องโถงเพื่อให้สามารถมองเห็น (และได้ยิน)
กิจกรรมต่าง ๆ ได้ที่ด้านหน้าอาคาร พื้นที่ภายในคือเวที่การ แสดงหลายทิศทางซึ่งสามารถเปิดออกได้เป็น 3 ทิศทางพร้อม
ๆ กันด้วยผนังบานเลื่อน ได้แก่ ห้องกีฬา ร้านอาหาร และ หอประชุมกลาง กลุ่มของพื้นที่จะจัดเรียงเป็นชั้นรอบ ๆ
บันไดอัฒจรรย์และล็อบบี้ โซลูชั้นนี้ทำให้เกิดลำดับชั้นแบบโซน โดยมีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบเปิดที่เน้นการทำงานกลุ่มที่ อยู่ติดกับล็อบบี้ และพื้นที่การเรียนรู้ที่เน้นมากขึ้นที่ขอบด้าน นอกของพื้น สรุปการนำมาใช้ นำเอาการออกแบบเชิงพื้นที่เน้นการเชื่อมโยงทางการ มองเห็นและความเปิดกว้าง แต่ยังมีความสามารถมองเห็นและ ได้ยินกิจกรรมตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันจากภายนอกมาใช้ใน พื้นที่กิจกรรมภายในโครงการ
5) โรงเรียนมัธยม เคอร์โร เดอร์บันวิลล์
มัธยมเคปทาวน์แอฟริกาใต้
สถาปนิก: สถาปนิก BPAS
พื้นที่: 8865 ตร ม
ปี: 2022

ภาพที่ 43 ทัศนียภาพโรงเรียนเคอร์โรเดอร์บันวิลล์
ที่มา: https://www.archdaily.com/987988/curro-durbanville-highschoolbpas-architects?ad_source=search&ad_medium=projects_tab
แนวคิดในการออกแบบ
สถานที่นี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ
เดอร์บานวิลล์ในเวสเทิร์นเคป เป็นส่วนหนึ่งของผังเมือง
ขนาดใหญ่สำหรับพื้นที่ฟีซันเทคราลบทสรุปเรียกร้องให้มี
โรงเรียนนวัตกรรม คุณภาพสูงพร้อมสิ่งอำนวยความ
สะดวก ด้านวัฒนธรรม และการกีฬาอันหลากหลาย สิ่ง
สำคัญคือต้องไม่แยกกระบวนการออกแบบโดยผู้เขียนคน
เดียว โครงการนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือกับผู้เรียน ครู
และที่ปรึกษาอื่น ๆ แรงบันดาลใจได้มาจากภูมิทัศน์
โดยรอบและภูเขาที่อยู่ห่างไกลสีสันของทุ่งคาโนลา
ความสำคัญของโครงสร้างที่มีอยู่ซึ่งอยู่ภายในและ
ภายนอกสถานที่


ผังพื้นชั้น 1 ผังพื้นชั้น 2

ภาพที่ 45 ผังพื้นโรงเรียนเคอร์โรเดอร์บันวิลล์
ที่มา: https://www.archdaily.com/987988/curro-durbanville-highschoolbpas-architects?ad_source=search&ad_medium=projects_tab

ภาพที่ 46 ทัศนียภาพโรงเรียนเคอร์โรเดอร์บันวิลล์
ที่มา: https://www.archdaily.com/987988/curro-durbanville-highschool-bpasarchitects?ad_source=search&ad_medium=projects_tab
วิเคราะห์พื้นที่ใช้สอยและตัวอาคาร
อาคารรูปตัว U วางกรอบมุมด้านใต้ของพื้นที่ ซึ่งกำหนด ลานหน้าบ้านที่กำหนดโดยหอประชุมและห้องโถงทั้งสองด้าน โดย จะ 'โอบรับ' ผู้เรียนและผู้เยี่ยมชมเมื่อพวกเขาเข้ามา ขณะเดียวกันก็ ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันจากองค์ประกอบต่าง ๆ การเชื่อมต่อ ด้วยภาพโดยตรงกับ ทางเข้าหลักทำให้ผู้ใช้ค้นหาเส้นทางได้ง่ายขึ้น 'ประเภทของโรงเรียน' แบบดั้งเดิมที่ประกอบด้วยห้องเรียนที่ ล้อมรอบด้วยกำแพงทั้งสี่ด้านถูกท้าทาย ด้วยแนวคิดเรื่องการมี ปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างช่องว่าง สามารถซึมเข้าไปได้และ ปรับเปลี่ยนได้ด้วยเฟอร์นิเจอร์ เช่น โต๊ะรวม ซึ่งออกแบบมา โดยเฉพาะ สำหรับการใช้งานแต่ละพื้นที่แบบผสมผสานและยืดหยุ่น ความหลากหลายได้รับการเน้นย้ำผ่านคอลัมน์และ สีที่เอียงวางชิด กันในพื้นที่การเรียนรู้เอเทรียมแบบไดนามิก ภาพที่ 44 ทัศนียภาพภายในโรงเรียน ที่มา: https://www.archdaily.com/987988/curro-durbanville-highschool-bpasarchitects?ad_source=search&ad_medium=projects_tab
สรุปการนำมาใช้
นำมาใช้ในเรื่องของการทำทางเชื่อมต่อกัน ระหว่าง outdoor และ indoor ให้มีความต่อเนื่องกันทั้ง
ตารางที่ 4 สรุปการวิเคราะห์กรณีศึกษา
สรุปการวิเคราะห์กรณีศึกษา
ภายในประเทศ ภากนอกประเทศ
โรงเรียนเตรียมอุดมดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
มหาวิทยาลัยมหิดล
กรณีศึกษา
ที่ตั้งโครงการ


พุทธมณฑลสาย 4 พุทธ มณฑล นครปฐม ถนนพุทธมณฑล สาย 4
โรงเรียนนานาชาติ
บางกอกเพรพ

โรงเรียนมัธยมศิลปะ Lumit

โรงเรียนมัธยม เคอร์โร
เดอร์บันวิลล์

1.การวางผังทาง สัญจร ทางเข้า เข้าไปสู่โถงใหญ่
2. องค์ประกอบ
โครงการที่ เกี่ยวข้อง
3. เเนวความคิด
การออกแบบ
และแจกจ่ายไปสู่ห้องต่าง
ๆ
และสามารถมองเห็นได้
ง่ายไม่ซับซ้อน
มีลานกิจกรรมที่ เป็นพื้นที่
มีทางเข้าหลายทางและ
สามารถเชื่อมต่อไปยัง
อาคารต่าง ๆ ได้
ทางสัญจรของอาคาร จะ
เดินไปยังอาคารต่าง ๆ
เป็นรูปตัว L โดยจะเชื่อม
โดยสนามกีฬา
ทางสัญจรทางภายใน
อาคาร จะค่อนข่อน มองเห็นได้ยาก เนื่องจาก
จะต้องเดินอ้อมแต่ละห้อง
เส้นทางการสัญจร จะ สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีการ ใช้ทางที่ไม่ซับซ้อน
4.วิเคราะห์พื้นที่
ใช้สอยและงาน
ระบบ
5. การนำมา
ปรับใช้งานใน
โครงการ
เป้าหมายภายโดยรวมมี
ลักษณะที่เกี่ยวพันใกล้ชิด
กับงานศิลปะ โดยมี
บุคลิกภาพของการเป็น
ชุมชนทางดนตรีที่อบอุ่นมี
ชีวิตชีวา
งานระบบอยู่ชั้นหนึ่งและ
ชั้นบนดาดฟ้า
นำเอาการออกแบบพื้นที่
เน้นการเชื่อมโยงทางการ
มองเห็นและความเปิด
กว้าง แต่ยังมีความสามารถ
มองเห็น มาใช้ในพื้นที่
กิจกรรมภายในโครงการ
และความใกล้ชิดกับศิลปะ
พื้นที่ในส่วนของการ
ในส่วนของการแสดง มีลานกิจกรรมที่ เป็น
แสดง และหอประชุม
การออกแบบอาคารที่
สามารถเชื่อมต่อกันได้
และ มีความเป็นศิลปะ
ความสงบความร่มรื่น
มีโถงดนตรีที่ใช้ทำ
กิจกรรมทางดนตรีและ ศิลปะ มีห้องทำการแสดงที่ สามารถมองเห็นได้ทั่วถึง มีพื้นที่เป็นลานกิจกรรม
อาคารหลัก 3 หลัง แต่ละ
หลังมีหน้าที่อาคารจะ
เป็น สีขาวและด้านหน้า
ตัดด้ายไม้ทำให้มีความ
อ่อน อาคารไม่ดูแข็งมาก
เกินไป แต่ละอาคารจะมี
ฟังชั่นการใช้งานที่ต่างกัน
โดยจะแยกตามตัวอาคาร
มีการวางงานระบบอยู่ที่
ชั้นใต้ดิน มีการแยกอยู่ใน
ส่วนที่เป็นพื้นที่ของ
พนักงานโดยเฉพาะ
นำเอาการออกแบบความ
เปิดกว้าง การเชื่อมต่อ
ของอาคาร ที่เชื่อมได้ทุก
อาคาร และรูปแบบการ
วางองค์ประกอบ ที่มี
ความเป็นสัดส่วนนำเอา
มาใช้
ตัวอาคารจะแยกเป็นงาน
ระบบอยู่แยกไปในแต่ละ
อาคาร โดยส่วนมากอยู่ที่
ด้านหลังของโครงการ
นำเอาการออกแบบ
ภายในอาคาร และการ
วางผังอาคาร ที่มีความ
เป็นระบบการจัดวางที่มี
ความเป็นสัดส่วนมาใช้
และองค์ประกอบอาคาร
ที่มีความน่าสนใจ
Lumit เป็นการออกแบบ
เชิงพื้นที่เน้นการเชื่อมโยง
ทางการมองเห็นและความ
เปิดกว้าง
การก่ออิฐที่มีลวดลายทำ
หน้าที่เป็นวิธีการหาทาง
เข้า-ทางออก ใน
ขณะเดียวกันก็ช่วยรักษา
ความสวยงามของตัว
อาคารด้วย หอประชุมหุ้ม ด้วยแผ่นโลหะซึ่งเป็นจุดที่
โดดเด่น
มีการวางงานระบบอยู่ที่ชั้น
ใต้ดินทั้งหมด
งานระบบอยู่ชั้นหนึ่งและ ชั้นบนดาดฟ้า
นำเอาการออกแบบเชิง
พื้นที่เน้นการเชื่อมโยง
ทางการมองเห็นและความ
เปิดกว้าง แต่ยังมี
ความสามารถมองเห็นและ
ได้ยิน
นำมาใช้ในเรื่องของการ
ทำทางเชื่อมต่อกันระหว่าง
outdoor และ indoor ให้
มีความต่อเนื่องกันทั้ง
ภายนอกสู่ภายในโดยใช้
เส้นโค้งที่ลื่นไหลจาก
ภายนอกเข้ามายังภายใน
บทที่ 3
ความเป็นไปได้โครงการ
3.1 ความเป็นไปได้ด้านนโยบายและแผน
นโยบายของ SOPA คือการจัดให้มีการศึกษาแบบองค์รวมที่
ครอบคลุมในด้านศิลปะการแสดง ครอบคลุมสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น
ดนตรี การเต้นรำ การละคร และทัศนศิลป์ โรงเรียนมีเป้าหมายที่จะ
ปลูกฝังความคิดสร้างสรรค์ ระเบียบวินัย และความเป็นมืออาชีพให้กับ
นักเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอาชีพที่ประสบความสำเร็จใน วงการบันเทิง
นโยบายการศึกษาประเทศเกาหลีใต้
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนมัธยมศึกษา
ตอนปลายในเกาหลีใต้ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 3 ปี ตั้งแต่เกรดที่ 1 (อายุ
15–16 ปี) ถึงเกรดที่ 3 (อายุ 17–18 ปี) และมักจะจบการศึกษาเมื่อ
อายุ 17 หรือ 18 ปี ยังแบ่งออกเป็นหลักสูตรวิชาชีพที่สอดคล้องกับ
ความสนใจและเส้นทาง อาชีพของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาตอน
ปลายที่มีวัตถุประสงค์พิเศษแบ่งออกเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา ด้าน
วิทยาศาสตร์โรงเรียนมัธยมศึกษาภาษาต่างประเทศ โรงเรียน
มัธยมศึกษานานาชาติโรงเรียนมัธยมศึกษา ศิลปะ โรงเรียนมัธยมศึกษา
พลศึกษา และโรงเรียนมัธยมศึกษาอุตสาหกรรม การคัดกรองในการรับ
สมัครขึ้นอยู่กับ ใบรับรองผลการเรียน จดหมายแนะนำตัวจากครู การ
สัมภาษณ์ รายงานผลการปฏิบัติงาน และการประเมิน การเรียนรู้ด้วย
ตนเอง ซึ่งนักเรียนสามารถเข้าเรียนได้โดยผ่านการสอบเข้าซึ่งจะมีการ
แข่งขันสูง โรงเรียน มัธยมศึกษาเอกชนในกำกับของรัฐค่อนข้างเป็น
อิสระจากนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
School of Performing Art Seoul (SOPA) มีการเปิดการ
เรียนการสอน ภาควิชาละครและภาพยนตร์ ดนตรีประยุกต์
สาขาวิชาการเต้น สาชาศิลปะ และได้จัดตั้งแต่ชมรมดนตรีและเต้นรำ
ชมรมละครและภาพยนตร์ เพื่อเป็นการฝึกฝนทักษะ ที่เลือกไว้นอก
ห้องเรียน
ที่มา: นโยบายการศึกษาประเทศเกาหลีใต้ (กระทรวงศึกษาธิการ
ประเทศไทย, 2565)

ภาพที่ 47 นโยบายการศึกษาไทย ปี 2567
ที่มา: https://moe360.blog/2022/09/12/policy-and-focus-moe-2023/
นโยบายกระทรวงการศึกษาธิการ ประจำปี 2567
เพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยคำนึงถึงชาติ ศาสนา ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม กีฬา ความปลอดภัย ความมีโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา รวมทั้งมีสมรรถนะที่สำคัญจำเป็นสำหรับโลกยุคใหม่โดยนโยบายและ จุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
1. การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย
2. การยกระดับคุณภาพการศึกษา
3. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเที่ยมทางการศึกษา ทุกช่วงวัย
4. การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขัน
5. การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพครู บุคลากรทางการศึกษา
6. การพัฒนาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล
7. การขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษาและแผนการศึกษาแห่งชาติ ที่มา: นโยบายกระทรวงการศึกษาธิการ ประจำปี 2567, (สำนัก นโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2565)
ความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างราชอาณาจักรไทยและประเทศ เกาหลีใต้
1. ความร่วมมือด้านการศึกษา ไทยและเกาหลีใต้ได้ดำเนินความ ร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยการแลกเปลี่ยนการเยือนของ ผู้บริหาร การแลกเปลี่ยนและศึกษาดูงานของครู นักเรียน/นักศึกษา การส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาเกาหลี การส่งเสริมการ
มอบทุนการศึกษาของรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีให้แก่นักเรียนนักศึกษา
ไทยรวมถึงการจัดส่งครูอาสาสมัครชาวเกาหลีใต้เข้ามาสอน ภาษา
เกาหลีในโรงเรียนมัธยมศึกษา ของไทยเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้
กระทรวงศึกษาธิการไทยและเกาหลีใต้ได้จัดทำความตกลงเพื่อใช้เป็น กรอบแนวทางการดำเนินความร่วมมือระหว่างกัน 2 ฉบับ ได้แก่
1) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษา
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559
2) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา
ภาษาเกาหลี เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2562
2. ด้านการเรียนการสอนภาษาเกาหลี กระทรวงศึกษาธิการได้
ประสานความร่วมมือกับศูนย์การศึกษาเกาหลีประจำประเทศไทย อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเพื่อวางแผนและดำเนินงานพัฒนาและ
ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในโรงเรียนที่เปิดสอนภาษา
7
เพื่อสร้างแรงจูงใจสำหรับนักเรียนที่สนใจเรียนภาษาเกาหลีได้ อย่างทั่วถึง การจัดแข่งขันทักษะภาษาเกาหลี ตลอดจนจัดหาครูชาว เกาหลีเข้ามาสอนในโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้โดยตรง กับเจ้าของภาษา นอกจากนี้ รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ให้การสนับสนุนครู ชาวเกาหลีและจัดหาสื่อการเรียนรู้รวมทั้งตาราเรียนภาษาเกาหลีเพื่อน มาใช้ในโรงเรียนอีกด้วย
3. ความร่วมมือด้านอาชีวศึกษากับ Korean Research Institute of Vocational Education and Training (KRIVET) จัดฝึกอบรมครู
สาขาด้านวิศวกรรมจากสถาบันการอาชีวศึกษา เพื่อต่อยอดพัฒนา
ยกระดับความรู้ในด้านต่าง ๆ ได้แก่
1) ด้านนวัตกรรมไทยแลนด์ 4.0
2) ด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยียานยนต์แห่งอนาคต
3) ด้านอุตสาหกรรมเครื่องจักรแห่งอนาคตและซอฟท์แวร์
4) ด้านเมคาทรอนิกส์
5) ด้านพัฒนาโปรแกรมบนมือถือ
ที่มา: นโยบายการศึกษาประเทศเกาหลีใต้, (กระทรวงศึกษาธิการ
ประเทศไทย, 2565)
3.2 ความเป็นไปได้ด้านจำนวนผู้ใช้สอย
3.2.1 5 จังหวัดในประเทศไทยที่มีประชากรมากที่สุด
ตารางที่ 5 แสดงจำนวนประชากร 5 จังหวัดที่มากที่สุดในประเทศไทย ที่มา : http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx จังหวัด จำนวน (คน)
กรุงเทพมหานคร 5,527,948
นครราชสีมา
ชลบุรี 1,583,633 กลุ่มเป้าหมายของโรงเรียนสอนศิลปะการแสดง ( School of Performing Art Thailand ) เป็นนักเรียน
ที่มา : http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
โรงเรียน SOPA Thailand เป็นโครงการที่มีเป้าหมายที่จะฝึกฝนศิลปินไอดอล เป็นการลงทุนของภาคเอกชน ตารางที่ 7 ตารางรายละเอียดโดยประมาณ
รายได้โครงการ รายจ่ายโครงการ
- ค่าธรรมเนียมการสมัคร
- ค่าธรรมเนียมการศึกษา
- ค่าอาหารกลางวัน
- อุปกรณ์ การเรียน
- ค่ารถรับ-ส่งนักเรียน
- ค่าที่ดิน
- ค่างบประมาณการออกเเบบ
- ค่างบประมาณการก่อสร้าง
- เงินเดือนบุคลากร พนักงาน เจ้าหน้าที่
- ค่าน้ำ ค่าไฟ/เดือน
- ค่าประมาณอาหารกลางวัน
- ค่าบำรุงสถานที่
- ค่าน้ำมันรถ รับ-ส่งนักเรียน
ประมาณการค่าก่อสร้างโครงการ
ค่าก่อสร้างอาคารและสถานที่
ค่าที่ดิน 3,003.5 ตารางวา ราคา ตารางวาละ 130,000 บาทต่อตารางวา =390,455,000 บาท
พื้นที่ใช้สอยอาคารโดยประมาณ 19,688 ตารางเมตรราคา ตารางวาละ 15,000 บาท
19,688 x 15,000 = 298,320,000 บาท 390,455,000+ 298,320,000= 688,775,000 บาท
รวมงบประมาณเบี้องต้น 688,775,000 บาท
1) งานโครงสร้างมูล ประมาณ 50% ของมูลค่างานที่ก่อสร้าง 344,387,500 บาท
2) งานสถาปัตยกรรม ประมาณ 20% ของมูลค่างานที่ก่อสร้าง 137,755,000 บาท
3) งานระบบไฟฟ้า ประมาณ 15% ของมูลค่างานที่ก่อสร้าง 103,316,250 บาท
4) งานระบบสุขาภิบาล ประมาณ 5% ของมูลค่างานที่ก่อสร้างทั้งหมด 34,438,750 บาท
5) งานระบบปรับอากาศ ประมาณ 10% ของมูลค่างานก่อสร้างทั้งหมด 68,877,500 บาท

ภาพที่ 48 แผนที่ประเทศไทยอันดับประชากร
ที่มา: https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/2701496
ตารางที่ 8 แสดงเกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ
เกณฑ์การเลือกที่ตั้งโครงการ

จังหวัดในประเทศไทย A=5 , B=4 ,
จากเกณฑ์กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและ
นครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลาง
การปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการ
ธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของ ประเทศ ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำ เจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระ นครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.
ลักษณะ Sopa เป็นโรงเรียนที่สำหรับคนที่ต้องการจะฝึกฝนศิลปะการแสดงดนตรี และชื่นชอบ วัฒนธรรมเกาหลีต้องการ ที่จะออกแบบ สอดคล้องกับพฤติกรรมของนักเรียน ภายในโครงการเช่นพื้นที่ฝึกซ้อมดนตรี พื้นที่ทำการแสดงการ พื้นที่จัดกิจกรรม และดึงเอกลักษณ์ความเป็น School of Performing Art Seoul มาใช้ในโครงการด้วย 3.5.1 จิตภาพภายนอก

ภาพที่ 49 ทัศนียภาพภายนอกของฟาร์เรลล์ ฮอลล์
ที่มา : https://www.clarknexsen.com/project/alderman-libraryrenovation-expansion-uva/

of-technology-and-management-boys-hostel-block/150254462
โอบล้อม เป็นพื้นที่ตรงกลาง ที่ผสมผสานกับธรรมชาติอย่างลงตัวเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกซ้อมและทำกิจกรรม



china/565515c2e58ece15330000fa-tradition-and-modernity-come-together-in-mecanoo-and-hs-architects-longhua-art-museum-and-library-in-china-image
โดยการออกแบบพื้นที่ที่ให้นักเรียนสามารถทำกิจกรรมได้อย่างลงตัว พื้นที่ที่โล่งสบายและการโอบล้อมของตัวอาคารเพื่อป้องกัน