การเติบโตของ Fintech กับโอกาสการสร้างเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างทั่วถึง

Page 1

การเติบโตของ Fintech กับโอกาสการสร้างเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างทั่วถึง (The Growth of Financial Technology and Its Potential for Inclusive Economy) รายงานนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “การจัดทาและเผยแพร่ชุดงานวิจัยเพื่อ ส่งเสริมการพัฒนา “การธนาคารที่ยั่งยืน”” สนับสนุนโดย มูลนิธิมนั่ พัฒนา

สิงหาคม 2560

โดย คณะวิจัย บริษัท ป่าสาละ จากัด สฤณี อาชวานันทกุล หัวหน้าโครงการ เสรี ปวีณชนา นักวิจยั จินต์ หวังตระกูลดี นักวิจัย ธิติมา อุรพีพัฒนพงศ์ นักวิจัย


สารบัญ บทสรุปสาหรับผู้บริหาร .................................................................................................................................................... 1 ความหมาย พัฒนาการ มาตรฐานสากล และความท้าทาย............................................................................................... 8 ความหมายของ ‘ฟินเทค’ ....................................................................................................................................8 ลักษณะของบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินเกิดใหม่ (‘Fintech Startup’) .............................................................9 พัฒนาการ ......................................................................................................................................................... 11 ความท้าทายของฟินเทคต่อธนาคาร ................................................................................................................. 16 ฟินเทคกับการเข้าถึงบริการทางการเงิน.......................................................................................................................... 19 ความหมายของการเข้าถึงบริการทางการเงิน .................................................................................................... 19 การเข้าถึงบริการทางการเงินกับการสร้างเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างทั่วถึง............................................................ 19 สถานการณ์การเข้าถึงบริการทางการเงินในระดับโลกและในประเทศไทย ........................................................ 21 สถานการณ์การเข้าถึงบริการทางการเงินในระดับโลก................................................................................ 21 สถานการณ์การเข้าถึงบริการทางการเงินในประเทศไทย ........................................................................... 21 พฤติกรรมทางการเงินของคนไทย............................................................................................................... 26 ฟินเทคกับการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน............................................................................................. 29 ศักยภาพของฟินเทคในการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน .................................................................. 30 ความท้าทายในการใช้ฟินเทคเพื่อขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน......................................................... 32 บทบาทของหน่วยงานกากับดูแลในการเพิ่มระดับการเข้าถึงบริการทางการเงินด้วยฟินเทค ............................. 33 รูปแบบการให้บริการของธุรกิจฟินเทคที่สามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน .......................................... 34 กลุ่มชาระเงินและโอนเงิน (Payments and Transfers) ........................................................................... 34 กลุ่มธุรกรรมการให้สินเชื่อและเงินทุน (Lending & Financing) ............................................................... 39 กรณีศึกษาต่างประเทศที่น่าสนใจ ................................................................................................................................... 42 กรณีศึกษา: M-Pesa ......................................................................................................................................... 42 กรณีศึกษา: Lending Club .............................................................................................................................. 47 การสารวจมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของบริการธนาคารออนไลน์ ..................................... 55 ขอบเขตการประเมิน ......................................................................................................................................... 55 วิธีการประเมิน .................................................................................................................................................. 56


การรวบรวมข้อมูล............................................................................................................................................. 57 ตัวชี้วัดในการประเมิน ....................................................................................................................................... 57 ธนาคารผ่านเว็บไซต์ ................................................................................................................................... 57 แอพพลิเคชั่น .............................................................................................................................................. 61 สรุปผลการประเมิน........................................................................................................................................... 64 ข้อสังเกต........................................................................................................................................................... 65 ฟินเทคในประเทศไทย: สถานการณ์ปัจจุบัน ................................................................................................................... 67 กฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง..................................................................................................................... 67 1.

Regulatory Sandbox .................................................................................................................... 67

2.

Crowdfunding (ก.ล.ต., 2559) ....................................................................................................... 70

‘ผู้เล่น’ ฟินเทคในประเทศไทย ......................................................................................................................... 72 โอกาสและความท้าทายของฟินเทคในบริบทการเข้าถึงบริการทางการเงินของประเทศไทย ........................................... 78 บรรณานุกรม.................................................................................................................................................................. 85


บทสรุปสาหรับผู้บริหาร ‘ฟินเทค 3.0’ - ยุคที่ทุกคนจะเข้าถึงบริการทางการเงิน (democratization of finance) ปัจจุบัน ‘ฟินเทค’ หรือ ‘FinTech’ ย่อจาก Financial Technology (เทคโนโลยีทางการเงิน) ถูกใช้ในความหมาย กว้างๆ ว่า นวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยีในการออกแบบและนาเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ฟินเทคได้ถูกนาไปใช้ใน แทบทุกมิติของธุรกิจการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการชาระเงิน การกู้ยืมเงิน การให้บริการที่ปรึกษา และการบริหารการลงทุน โดยพบว่า การให้กู้ยืม (Lending) และการชาระเงิน (Payments) เป็นหมวดหมู่ของบริษัทฟินเทคสตาร์ทอัพที่ ดึงดูดเม็ดเงิน ลงทุนจาก กองทุนและนักลงทุนที่ลงทุนในกิจการเกิดใหม่ (Venture Funding) สูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 73 ของเงินลงทุนทั้งหมด และมี จานวนบริษัทคิดเป็นร้อยละ 43 ของบริษัทฟินเทคเกิดใหม่หรือสตาร์ทอัพกว่า 1,913 บริษัท ใน 58 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันมีการนิยามว่า เรากาลังอยู่ในยุค ‘ฟินเทค 3.0’ ซึ่งมีชนวนมาจากวิกฤตการเงินขนานใหญ่ในปี ค.ศ. 2008 ซึ่ง ส่งผลลุกลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ ประการแรก จากการที่สาเหตุของวิกฤตเป็นที่รับรู้โดยแพร่หลาย ความเชื่อมั่นของคนทั่วไปต่อ สถาบันการเงินกระแสหลักก็เสื่อมถอยลง และประการที่สอง จากการที่วิกฤตการเงินได้ลุกลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ แรงงานของ สหรัฐจานวนประมาณ 8.7 ล้านคนต้องตกงาน ในด้านหนึ่งสาธารณชนได้สูญเสียความเชื่อมั่นในระบบธนาคาร และในอีกด้านหนึ่ง ผู้ประกอบอาชีพทางการเงินก็ตกงาน หรือได้รับค่าตอบแทนที่ลดลง ทั้งสองเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการถือกาเนิดของอุตสาหกรรม ฟินเทค 3.0 ซึ่งดูดซับนักการเงินที่ตกงานจากสถาบันการเงินกระแสหลัก นอกจากนี้ยังมีคนกลุ่มใหม่ซึ่งมีการศึกษาสูงที่เพิ่งจบ การศึกษามาเผชิญกับสภาพตลาดแรงงานที่หางานได้ลาบาก พื้นฐานทางการศึกษาของพวกเขาเอื้อให้พร้อมที่จะเข้าใจตลาด การเงิน และมีทักษะที่สามารถนามาใช้ได้กับยุคฟินเทค 3.0 เมื่อหันมาดูการเติบโตของตลาดฟินเทคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบว่าได้แรงหนุนจากปัจจัยหลายประการซึ่งแตกต่าง จากอเมริกาและยุโรป ในแง่อุตสาหกรรม การใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมเดินตามหลังระดับ การใช้จ่ายของสถาบันการเงินในยุโรปและสหรัฐอเมริกา เหตุการณ์นี้สามารถอธิบายได้จากการแข่งขันที่น้อยกว่าในตลาดภูมิภาค นี้ ประกอบกับการที่ตลาดอยู่ภายใต้การควบคุมค่อนข้างสูงจากภาครัฐ รวมถึงการบิดเบือนจากธนาคารที่รัฐเป็นเจ้าของ การที่ ประชาชนบางประเทศไม่เชื่อมั่นในระบบธนาคารที่รัฐเป็นเจ้าของ เนื่องจากปัญหาคอร์รัปชั่นและความไร้ประสิทธิภาพ ทาให้มี ความตื่นตัวที่จะยอมรับบริการทางเลือกใหม่ๆ จากผู้เล่นที่มิใช่ธนาคาร ในแง่โครงสร้าง การกระจายตัวของสาขาธนาคารใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นมีน้อยกว่าในภูมิภาคยุโรปและสหรัฐอเมริกามาก ในยุโรปมีสาขาธนาคาร 62.5 สาขา ต่อประชากร 100,000 คน ขณะที่ในเอเชียแปซิฟิกมีเพียง 12.5 สาขา ต่อประชากร 100,000 คน ผลของปัจจัยเหล่านี้คือ ผลิตภัณฑ์และบริการ ทางการเงินบนพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือสร้างความน่าสนใจที่มากกว่าแก่ผู้บริโภค กล่าวโดยสรุป ฟินเทคในทวีปเอเชีย ได้แรงหนุนจากปัจจัยที่แข็งแกร่งหลายประการ อาทิ 1) ประชากรรุ่นเยาว์ที่มีความรู้ความช่าชองด้านดิจิตอล และมีอุปกรณ์มือถือ 2) การเติบโตอย่างรวดเร็วของชนชั้นกลาง ซึ่งร้อยละ 60 ของชนชั้นกลางในโลกนี้จะอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียภายในปี ค.ศ. 2030 3) ความไร้ประสิทธิภาพในตลาดเงินและตลาดทุน เสริมสร้างโอกาสของทางเลือกที่ไม่เป็นทางการ 4) การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของธนาคาร 5) พฤติกรรมที่ชื่นชอบความสะดวกสบายเหนือความน่าเชื่อถือ

1


6) โอกาสของตลาดที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินกระแสหลัก ซึ่งทั้งทวีปเอเชียมีประชากรถึง 1,200 ล้านคนที่ยังไม่มี บัญชีธนาคาร 7) ความเข้มงวดที่น้อยกว่าในด้านการคุ้มครองข้อมูลและการแข่งขัน นอกจากนี้ ในประเทศอินเดียและจีนซึ่งเป็นประเทศขนาดใหญ่ มีผู้จบการศึกษาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีเป็น จานวนมาก แนวโน้มดังกล่าวข้างต้นได้แรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากการเคลื่อนไหวของภาคเอกชนที่มองหาโอกาสในการขยายบริการ ทางการเงิน และภาครัฐที่ยินดีต่อการปฏิรูปและการสร้างความหลากหลายของตลาดเพื่อที่จะผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ แปลว่าพัฒนาการของฟินเทคในภูมิภาคเอเชียมิได้เกิดจากกระบวนทัศน์ใหม่หลังวิกฤตเฉกเช่นกรณีของ ยุโรปและสหรัฐอเมริกา แต่เกิดจากผลรวมของแรงผลักและแรงดึงจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเอง

ธนาคารเผชิญความท้าทายพร้อมโอกาส สาหรับธนาคาร การเพิ่มขึ้นของการแข่งขันกับฟินเทคนัน้ นับเป็นความท้าทาย จากการคานวณของ McKinsey ธนาคาร สามารถสูญเสียรายได้ประมาณร้อยละ 29-35 ต่อคู่แข่งรายใหม่จากการลดลงของกลุ่มลูกค้าและส่วนต่างรายได้ หากธนาคารไม่ ดาเนินการใดๆ ในทางกลับกัน หากธนาคารดาเนินการเปลี่ยนแปลงการทางานให้เป็นรูปแบบดิจิตอลตลอดห่วงโซ่คุณค่า ในกรณีที่ ดีที่สุด ธนาคารจะสามารถเพิ่มผลตอบแทนได้ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ต้องอาศัยการเปลีย่ นแปลงตั้งแต่ระดับฐานคิด โดย นวัตกรรมต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ DNA ธนาคาร และผสานเป็นเนื้อเดียวกับการดาเนินธุรกิจทุกมิติ (Drummer , et al., 2016) ธนาคารดั้งเดิมนับว่าอยู่ในสถานะที่ดีต่อการรักษาสถานภาพการแข่งขันกับคู่แข่ง ฐานลูกค้าที่ใหญ่ของธนาคารทาให้ สามารถที่จะขยายขนาด เสนอคาตอบดิจิตอลใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ธนาคารจานวนมากยังมีชุด ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่กว้างและแข็งแกร่ง มีแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ และธนาคารโดยส่วนใหญ่มีเงินทุน มากเพียงพอที่จะแข่งขันใน การสร้างนวัตกรรมขนาดใหญ่ ลงทุนซื้อหรือควบรวมกิจการอื่น และสามารถเอาชนะอุปสรรคด้านเทคโนโลยีและกฎเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม ธนาคารบางแห่งยังไม่มีความพร้อมเพียงพอต่อสถานการณ์การแข่งขัน ธนาคารเหล่านี้เคยชินกับการได้ผล กาไรมาอย่างยาวนาน และมีแรงจูงใจเพียงเล็กน้อยที่จะสร้างนวัตกรรมหรือธุรกิจใหม่ที่มองว่าอาจแย่งส่วนแบ่งตลาดหรือกลืนกิน (cannibalize) ธุ ร กิ จ ของตนเอง ถึ งแม้ ว่ า การสร้ า งนวั ต กรรมจะอยู่ ใ นวาระ แต่ ก็ มิ ไ ด้ ด าเนิ น การอย่ า งเป็ น ระบบเนื่ อ งจาก ความขัดแย้งในวัตถุประสงค์ ตรงข้ามกับบริษัทฟินเทคที่มักจะเน้นให้บริการด้านใดด้านหนึ่ง ธนาคารมักไม่ได้ดาเนินธุรกิจด้วย เป้าประสงค์ที่จะสร้างผลลัพธ์บางอย่างโดยเฉพาะ แต่มักจะหวังผลหลายด้านพร้อมกัน จุดอ่อนอีกประการของธนาคารคือการขาด ทัศนคติที่มุ่งเน้นด้านการให้บริการลูกค้าเป็นหลัก (customer-centric) การดาเนินธุรกิจในระยะต่อไป การเปลี่ยนแปลงทาง ดิจิตอลต้องเป็นหัวใจสาคัญ ทาอย่างไรที่ผู้เล่นในตลาด ทั้งธนาคารและคู่แข่งรายใหม่ จะสามารถปรับตัวได้ดีที่สุดต่อการแข่งขัน สิ่งที่จาเป็นที่สุดคือ การจับจ้องพัฒนาการใหม่ๆ ที่สาคัญ สิ่งใดที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างมีนัยสาคัญ สิ่งใดที่จะช่วยพัฒนาปฏิบัติการใน ปัจจุบัน การสารวจตลาดอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจาเป็น แต่การแข่งขันก็เป็นสิ่งที่มีพลวัตระหว่างผู้เล่นฟินเทคด้วยกันเช่นกัน มิใช่ สตาร์ทอัพทุกรายที่จะประสบความสาเร็จในระยะยาว ในสถานการณ์การแข่งขันเช่นนี้ ธนาคารและคู่แข่งควรที่จะระบุและมองหา ผู้เล่นที่จะร่วมมือกันสร้างประโยชน์ได้ ตัวอย่างเช่น การตกลงเข้าหุ้นเป็นกิจการร่วมทุน หรือจับมือเป็นพันธมิตรในการให้บริการ

2


ในมุมมองของธนาคาร การซื้อกิจการเพื่อจ้างคน หรือที่เรียกชื่อเล่นว่า ‘Acqui-hire’ อาจเป็นสิ่งที่คุ้ม ค่า กล่าวคือ การเข้าไปซื้อกิจการฟินเทค เพื่อที่จะได้เข้าถึงทักษะและความสามารถของลูกจ้างที่สาคัญ การร่วมมือกั นในขั้นต่อไปอาจเป็นใน รูปแบบกองทุนร่วมลงทุนในกิจการเกิดใหม่ (Corporate Venture Fund) และการปลุกปั้นกิจการเกิดใหม่ตงั้ แต่แรก (Incubator) ยกตัวอย่างเช่น ธนาคาร Deutsche Bank ได้ลงทุนมากกว่าหนึ่งพันล้านยูโรในเทคโนโลยีดิจิตอล ขยาย innovation lab ของตน ใน ลอนดอน เบอร์ลิน และนิวยอร์ก และจับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัทฟินเทคต่างๆ

ศักยภาพของฟินเทคในการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน ปั จ จุ บั น ปั ญ หาความยากจนและความเหลื่อ มล้าทางรายได้ยั งคงเป็ นอุ ป สรรคสาคั ญต่ อ การพั ฒ นาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในประเทศด้อยหรือกาลังพัฒนา ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีความซับซ้อน และเกี่ยวข้อง กับปัจจัยหลายประการ หนึ่งในนั้นคือการขาดการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึง (สานักงานเศรษฐกิจการคลัง, 2558) สาเหตุที่คนยากจนจานวนมากไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นค่าบริการ ของธนาคารที่แพงเกินไป สาขาธนาคารหรือตู้เอทีเอ็มที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรืออยู่ห่างไกลจากชุมชน การที่ธนาคารมี แนวโน้มปฏิเสธการให้บริการคนยากจนมากกว่าลูกค้ากลุ่มอื่น เนื่องจากไม่คุ้มค่ากับต้นทุน การบริการ รวมทั้งทัศนคติของคน ยากจนเองทีม่ องว่า ตนมีเงินน้อยเกินกว่าที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้บริการทางการเงินในระบบ (Life SREDA VC, 2016) การขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน เป็นจุดเริ่มต้นสาคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้าทาง รายได้ (IMF, 2016) ที่ผ่านมาผลการศึกษาจานวนมากชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินส่งผลกระทบเชิงบวกต่อ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับจุลภาคและระดับมหภาค โดยในระดับจุลภาค พบว่าการเข้าถึงบริการทางการเงิน ช่วย ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของครัวเรือน โดยการทาให้คนยากจนและผู้ด้อยโอกาสสามารถทาธุรกรรมการเงินพื้นฐาน ได้ ด้ ว ยต้ น ทุ น ที่ ส มเหตุ ส มผล เปิ ด โอกาสให้ พ วกเขามี เ งิ น ออมเพื่ อ ส ารองเป็ น ค่ า ใช้ จ่ า ยในอนาคต เช่ น ค่ า ใช้ จ่ า ยใน การรักษาพยาบาล ค่าการศึกษา หรือใช้เป็นเงินทุนในการประกอบและขยายธุ รกิจ รวมถึงลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ ฉุกเฉินต่างๆ (Robert, et al., 2014) เนื่องจากจุดเด่นของฟินเทคคือการลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับบริการทางการเงิน ด้วยเหตุนี้ฟินเทคจึงเป็น เครื่องมือที่มีศักยภาพสูงมากในการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน โดยปัจจุบันฟินเทคได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางการเงินเกือบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงบริการทางการเงิน ความรวดเร็วในการให้บริการ ความปลอดภัยและความโปร่งใสในการทาธุรกรรม รวมไปถึงเปิดโอกาสให้เกิด โมเดลธุรกิจทาง การเงิ น รู ป แบบใหม่ ๆ ที่ ท าให้ ก ลุ่ ม คนยากจนหรื อ คนรากหญ้ า สามารถเลื อ กใช้ บ ริ ก ารทางการเงิ น ที่ มี คุ ณ ภาพ ในราคาที่ สมเหตุสมผล และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อนาไปใช้ยกระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขาได้ ในขณะเดียวกัน ผู้ให้บริ การก็ สามารถส่งมอบบริการทีต่ อบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ในอัตราต้นทุนที่ต่าลง และสามารถขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่ม คนรากหญ้าอันเป็นโอกาสทางธุรกิจอย่างมหาศาล (FI2020, 2016) ศักยภาพของฟินเทคในการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินสามารถสรุปได้ดังนี้

3


• • • • •

ฟินเทคทาให้กระบวนการตรวจสอบและยืนยันตัวตนลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น ฟินเทคช่วยขยายขอบเขตการให้บริการ โดยการขจัดปัญหา “ไมล์สุดท้าย” ฟินเทคทาให้ระบบธุรกรรมชาระและโอนเงินมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ฟินเทคทาให้กลุ่มลูกค้าฐานรากสามารถฝาก-ออมเงินได้โดยมีต้นทุนต่าและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ฟินเทคเปลี่ยนแปลงแนวทางในการพิจารณาสินเชื่อให้เอื้อต่อการเข้าถึงกลุ่มผู้มีรายได้น้อยมากขึ้น

อุปสรรคสาคัญประการหนึ่งที่ทาให้ผู้มีรายได้น้อยมักไม่สามารถขอสินเชื่อจากการเงินในระบบได้คือ การขาดประวัติทาง การเงินที่น่าเชื่อถือซึ่งเป็นปัจจัยสาคัญในการพิจารณาสินเชื่อ ด้วยเหตุนี้ ฟินเทคจึงมีส่วนช่วยขยายการเข้าถึงบริการสินเชื่อได้โดย การเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการทางการเงินเข้าถึงฐานข้อมูลดิจิตอลของลูกค้าได้จากหลากหลายแหล่ง และนาข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ใน การประเมินสินเชื่อ เช่น ข้อมูลธุรกรรมการชาระเงินในอดีต ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากแบบทดสอบเชิงจิตวิทยา (Psychometric Test) ข้อมูลจากบริษัทให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และข้อมูลระบุพิกัดตาแหน่งของผู้ใช้งาน เป็นต้น ความสามารถในการ เข้าถึงแหล่งข้อมูลมหาศาลนี้ส่งผลให้ผู้ให้บริการสามารถประเมินสินเชื่อกลุ่มลูกค้าที่ ขาดข้อมูลหรือประวัติทางการเงิน ได้ ใน ขณะเดียวกัน ฟินเทคก็เพิ่มช่องทางการปล่อยสินเชื่อ โดยอาศัยนวัตกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบใหม่ๆ รวมถึงนวัตกรรมอื่นๆ เช่น เทคโนโลยีจ่ายเมื่อใช้งานจริง (Pay-as-you-go) หรือการให้สินเชื่อแบบบุคคลต่อบุคคล (Peer-to-peer Lending) ที่ทาให้ ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถขยายตลาดสินเชื่อไปยังกลุ่มลูกค้าฐานรากได้มากขึ้น และคิดดอกเบี้ยในอัตราทีต่ ่าลงได้ ฟิ น เทคยั ง ช่ ว ยลดความเสี่ ย งจากการปล่ อ ยสิ น เชื่ อ โดยการท าให้ ร ะบบการตรวจจั บ การทุ จ ริ ต ท างานได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ และทาให้ผู้ให้บริการสามารถตรวจสอบตัวตนลูกค้าระหว่างแหล่งข้อมูลได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การจัดตั้งศูนย์ รวบรวมการทุจริตในประเทศอินเดีย ที่เปิดให้ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถบันทึกและแบ่งปั นข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการทุจริต ต่างๆ และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้ รวมทั้งช่วยให้ผู้ปล่อยสินเชื่อมองเห็นความเคลื่อนไหวของธุรกรรมการเงินได้ตลอดเวลา และ ตรวจจับพฤติกรรมการทุจริตได้ง่ายยิ่งขึ้น ที่ผ่านมา รูปแบบการให้บริการของธุรกิจฟินเทคที่แพร่หลายมากที่ สุดคือ กลุ่มการชาระและโอนเงิน (Payments/ Transfers) สาเหตุที่ผู้ให้บริการหลายรายเลือกที่จะเจาะตลาดลูกค้าฐานล่างโดยเริ่มจากบริการชาระและโอนเงินนั้น เป็นเพราะ บริการดังกล่าวมีข้อได้เปรียบกว่าบริการแบบดั้งเดิมอย่างชัดเจน กล่าวคือ ลูกค้าไม่จาเป็นต้องเดินทางระยะไกลเพื่อรับ-ส่งเงินหรือ ชาระค่าสินค้า ทาให้พวกเขาประหยัดต้นทุนในการเดินทางและเวลาได้อย่างมีนัยสาคัญ นอกจากนี้ ลูกค้าสามารถทราบได้ทันทีว่า ธุรกรรมทางการเงิน ที่ตนทานั้นสาเร็จด้วยดีหรือไม่ การเริ่มต้นจากระบบการชาระและโอนเงินจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้าง ความเชื่อใจของลูกค้าต่อฟินเทค จากนั้น ผู้ให้บริการก็อาจขยายการให้บริการที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น การทาประกันภัย การปล่อยสินเชื่อ ฯลฯ

ผลการสารวจมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของบริการธนาคารออนไลน์ ฟินเทคจะสามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินในประเทศได้อย่างยั่งยืนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน รวมถึงความโปร่งใส การกากับดูแลที่ได้ ‘สมดุล’ ระหว่างการกากับมิให้ผู้ให้บริการฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้มีรายได้น้อย และเปิด พื้นที่ให้เกิดนวัตกรรมและการทดลองใหม่ๆ เพื่อยกระดับบริการทางการเงิน นอกจากนี้ ยิ่งฟินเทคเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการ ให้บริการ ผู้ให้บริการเก็บข้อมูลดิจิตอลจากผู้ใช้มากเพียงใด ระดับความปลอดภัยและมาตรการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวก็จะยิ่ง ทวีความสาคัญเพียงนั้น

4


ปัจจุบันบริการธนาคารออนไลน์ในไทยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก รวมถึงการส่งเสริมจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่า จะเป็นธนาคาร ภาคเอกชนและภาครัฐ จากการสารวจของบริษัทนีลเส็นผ่านยอดการใช้ข้อมูล (Data Consumption) ในช่วง ไตรมาส 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2559) พบว่า นอกจากอัตราการเติบโตของการทาธุรกรรมธนาคารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังมีการจัด อันดับของการใช้งานแอพพลิเคชั่นธนาคาร (Mobile Banking) 10 อันดับแรกพบว่า มีผู้ใช้ธนาคารกสิกรไทยมากที่สุด คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 22 รองลงมาคือธนาคารไทยพาณิชย์ มีสัดส่วนร้อยละ 11 อันดับที่ 3 คือ ธนาคารกรุงเทพ สัดส่วนร้อยละ 9 และ อันดับที่ 4 คือ ธนาคารกรุงไทย มีสัดส่วนร้อยละ 8 เบื้องต้นอาจดูเหมือนว่าการทาธุรกรรมออนไลน์ช่วยลดขั้นตอนในการทาธุรกรรมที่ธนาคารด้วยตนเองเท่านั้น แต่ความจริง แล้วธุรกรรมออนไลน์ยังเกี่ยวข้องกับอีกหลายส่วน โดยเฉพาะการส่งต่อข้อมูลส่วนบุคคลจานวนมาก ตัวอย่างเช่ น ผู้ให้บริการ เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ ซึ่งต่างส่งผลต่อการทาธุร กรรม รวมถึงระดับความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายด้วย อย่างไรก็ตามสาหรับผู้ใช้โดยทั่วไป การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ไม่ง่ายนัก ซึ่งอาจมี สาเหตุมาจากวิธีการเปิดเผยข้อมูลของผู้ให้บริการและข้อจากัดเกี่ยวกับความรู้ทางเทคนิค ทั้งที่เป็นข้อมูลสาคัญ งานวิจัยนี้จึงมุ่งสารวจมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของบริการธนาคารออนไลน์ ซึ่งได้แก่ บริการธุรกรรมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ (E-banking) และผ่านแอพพลิเคชั่น (Mobile Banking) เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นแก่ผู้ใช้ทั่วไป ได้พิจารณาว่าธนาคารปกป้องความปลอดภัยพื้นฐานของลูกค้าอย่างไร พร้อมกับแสดงให้เห็นถึงประเด็นความปลอดภั ยและ ความเป็นส่วนตัวที่สาคัญ ซึ่งผู้ใช้ธนาคารออนไลน์ควรคานึงถึงในการใช้งาน โดยเป็นการสารวจบริการออนไลน์ทั้งการให้บริการ ผ่านเว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่นของธนาคารพาณิชย์ไทยจานวน 12 แห่งจากทั้งหมด 14 แห่งตามประกาศของธนาคารแห่ง ประเทศไทย โดยไม่ได้ประเมินธนาคาร 2 แห่งคือ ธนาคารทิสโก้ เนื่องจากไม่มีการทาธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ และธนาคาร ไอซีบีซี ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าในวงจากัด ดังนี้ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12.

ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ธนาคารกรุงไทย (KTB) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (Krungsri) ธนาคารกสิกรไทย (Kbank) ธนาคารเกียรตินาคิน (KK) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย (CIMB) ธนาคารทหารไทย (TMB) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ธนาคารธนชาต (Thanachart) ธนาคารยูโอบี (UOB) ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH Bank) ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) (Standard Chartered)

สรุปข้อสังเกตของคณะวิจัยจากผลการประเมินได้ดังต่อไปนี้ 1. แอพพลิเคชั่นของธนาคารมีการเปลี่ยนแปลงวิธีตรวจสอบตัวตนเพื่อให้ทันต่อภัยคุกคาม นอกจากวิธีการพื้นฐานที่ใช้ร่วมกัน กับธนาคารอื่นๆ ่ แล้ว แต่ละธนาคารมีวิธีการของตนเอง เช่น ธนาคารทหารไทยใช้รหัสลับ 8 ตัวเพิ่มขึ้นจากรหัสผ่าน 6 หลัก การกาหนดให้ใช้บริการเฉพาะโทรศัพท์มือถือและหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนไว้กับธนาคารเท่านั้น ต่างกับบริการ

5


ธนาคารผ่านเว็บไซต์ที่ขั้นตอนการตรวจสอบตัวตนที่ไม่มีการพัฒนาให้รัดกุมขึ้นมากนัก ส่วนใหญ่เป็นการปรับปรุงทางเทคนิค เช่น การเข้ารหัสการเชื่อมต่อ 2. บริการแจ้งเตือนอัตโนมัติผ่านอีเมล์และข้ อความทางโทรศัพท์มือถือเมื่อมีการทารายการบัญชีเป็นวิธีการที่หลายธนาคารใช้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวในบัญชีได้ เช่น ธนาคารกรุงเทพ อย่างไรก็ดี ธนาคารส่วนใหญ่ไม่มีการแจ้งเตือน 3. ในกรณีที่เกิดความเสี่ยงว่าข้อมูลของผู้ใช้บริการอาจรั่วไหลได้ ซึ่งผู้ใ ช้บริการโดยทั่วไปไม่สามารถตรวจสอบสาเหตุของ ความผิดพลาดได้ การประกาศว่าธนาคารจะไม่รับผิดชอบในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ธนาคารไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งรวมถึง การรบกวนจากไวรัสคอมพิวเตอร์ การกระทาไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งความบกพร่องที่เกิดจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ ต สะท้อนให้เห็นว่าผู้ใช้บริการไม่สามารถมั่นใจว่าจะมีผู้รับผิดชอบ เมื่อมีการรั่วไหลของข้อมูลตลอดการทาธุรกรรม ขณะที่ ความเสี่ยงจากภัยคุกคามระบบอินเทอร์เน็ตทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ 4. ขณะที่ธนาคารเรียกร้องให้ลูกค้าต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของตนเองหลายประการ แต่การให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะมาตรการคุ้ มครองความปลอดภัย และข้ อ มูลส่ ว นบุ ค คลของลูก ค้ า กลั บไม่ชัด เจนนั ก เช่ น หน้ า เว็ บ เกี่ ย วกับ ความปลอดภั ย เข้ า ถึ งไม่ ได้ ธนาคารไม่ ใ ห้ ข้อ มู ลเกี่ ยวกั บ การดาเนิ นการความปลอดภัย ของธนาคารมากพอหรื อ ไม่ให้ ความสาคัญมากนัก เช่น การเข้ารหัส ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ แต่มักใช้ถ้อยคาเพื่อโน้มน้าวใจแบบกว้างๆ เช่น ง่าย ปลอดภัย 5. ธนาคารพยายามให้ลูกมีค้าความตระหนักด้านความปลอดภัยมากขึ้นในการใช้บริการ ดังเห็นได้จากการที่หลายธนาคารมี ค าแนะน าด้ านความปลอดภัย แก่ ผู้ใ ช้ บริ การ อย่ า งไรก็ ตามธนาคารสามารถมีม าตรการบังคั บเพื่ อ ให้ก ารท าธุรกรรมมี ความปลอดภัยมากขึ้นได้แทนแนวทางสมัครใจ เช่น บังคับให้การตั้งรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบซับซ้อนมากขึ้น 6. แม้ทุกธนาคารจะจัดให้มีช่องทางติดต่อกับธนาคารหลายรูปแบบ เช่น โทรศัพท์ อีเมล์ แต่ในทางปฏิบัติพบว่ามีลูกค้าจานวน มากไม่ได้รับการบริการที่เหมาะสมจากธนาคาร เช่น ขณะที่ผู้ใช้บริการรายหนึ่งกาลังโทรศัพท์เพื่อแจ้งให้ธนาคารทราบว่ามี ความผิดปกติขึ้นในบัญชีของตน แต่ต้องผ่านระบบตอบรับอัตโนมัติทาให้ไม่สามารถพูดคุยกับพนักงานได้ทันที ระหว่างที่รอ การติดต่อนี้มีการถอนเงินออกจากบัญชีไปแล้ว โดยที่ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการตัวจริง 7. มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยของธนาคารหลายอย่างอาจไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของธนาคารออนไลน์ในด้านการ ข้ามพ้นข้อจากัดด้านเวลาและสถานที่ของการทาธุรกรรมทางการเงิน เช่น การยืนยันตัวตนด้วยการส่งรหัสผ่านทาง SMS ทา ให้ลูกค้าไม่สามารถดาเนินธุรกรรมได้ หากไม่สามารถเข้าถึงสัญญาณโทรศัพท์มือถือได้ หรือการยืนยันตัวตนเพื่อขอรหัสผ่าน ใหม่ที่ธนาคารด้วยตนเอง

โอกาสและความท้าทายของฟินเทคในการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินในไทย ในบรรดาผู้เล่นฟินเทคทั้งหมดในไทยที่รวบรวมได้ 66 ราย ยังไม่มีรายใดที่ประกาศเจตจานงอย่างชัดเจนว่ามีเป้าหมาย เป็นตลาดผู้มีรายได้น้อยซึ่งยังเข้าไม่ถึงการเงินในระบบ ผู้เล่นเกินกึ่งหนึ่งหรือ 41 ราย (ร้อยละ 62) ไม่น่าจะมีส่วนในการขยาย บริการทางการเงิน เนื่องจากประกอบธุรกิจที่อยู่ห่างไกลจากความต้องการของตลาดผู้มีรายได้น้อย อาทิ การลงทุนรายย่อย (ตลาดหลักทรัพย์), การชาระเงินหรือโครงสร้างการชาระเงิน หรือเครื่องมือทางธุรกิจของ SMEs เป็นต้น ที่เหลืออีก 25 ราย เป็นไปได้ว่าจะคิดค้นบริการบางส่วนที่มุ่งเน้นตลาดผู้มีรายได้น้อย เนื่องจากประกอบธุรกิจที่สามารถมีส่วนสัมพันธ์กับหรือ ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดนี้ อาทิ การเงินส่วนบุคคล การให้กู้ยืมรายย่อย และ Crowdfunding เป็นต้น

6


อย่างไรก็ดี ณ ปลายเดือนมิถุนายน 2560 เมื่อผู้เล่นส่วนใหญ่ยังมีอายุไม่ถึง 1-2 ปี นับว่ายังเร็วเกินไปที่จะประเมินหรือ ระบุอย่างจาเพาะเจาะจงว่าผู้เล่นเหล่านี้จะมีส่วนขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินในไทยหรือไม่ เพียงใด ฟินเทควันนี้ไม่เพียงแต่เป็นกุญแจสาคัญที่จะขยายบริการทางการเงินในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะประเทศกาลังพัฒนา อย่างไทยเท่านั้น หากแต่การใช้ฟินเทคในการขยายบริการทางการเงินยังเป็น ‘โอกาสทางธุรกิจ’ ที่มีมูลค่ามหาศาลสาหรับทั้ง สถาบันการเงินดั้งเดิม และผู้ประกอบการรายใหม่ โดยสามารถสรุปโอกาสทางธุรกิจและความท้าทายในไทยได้ดังต่อไปนี้ โอกาส • ความพร้อมใช้เทคโนโลยีและความเชื่อมั่นต่อ ธนาคาร ขณะที่อตั ราการใช้ธนาคารผ่านมือถือยัง ต่าในกลุ่มฐานราก • พฤติกรรมการใช้สื่อสังคม (โซเชียลมีเดีย) อย่าง เข้มข้น • ความต้องการบริการทางการเงินพื้นฐานยังไม่ได้รับ การเติมเต็ม และขนาดของตลาดที่น่าดึงดูด • ฟินเทคเอื้อต่อการเสริมสร้างความรู้ทางการเงิน สาหรับกลุ่มฐานราก • โอกาสจากช่องว่างการปล่อยสินเชือ่ ของธนาคาร พาณิชย์ • โอกาสของฟินเทคในการร่วมมือกับองค์กรการเงิน ฐานราก

ความท้าทาย • การคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของลูกค้าและ ความปลอดภัยของข้อมูล • ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน • ความกระจัดกระจายของหน่วยงานกากับดูแล • การบิดเบือนกลไกตลาดของรัฐ และการดาเนิน นโยบายที่ขัดแย้งกันเอง • ความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการรายใหม่

7


ความหมาย พัฒนาการ มาตรฐานสากล และความท้าทาย ความหมายของ ‘ฟินเทค’ คาว่า ‘ฟินเทค’ เริ่มเข้าสู่กระแสนิยมอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 เปิดฉากเป็นต้นมา โดยสามารถรวบรวมนิยาม จากแหล่งต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้

Oxford Dictionary ฟินเทค หรือ “Fintech” ย่อจาก Financial Technology (เทคโนโลยีทางการเงิน) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งใช้ในการสนับสนุนหรือทาให้การธนาคารหรือการบริการทางการเงินเกิดขึ้นได้ World Economic Forum (WEF) (Blake, et al., 2016) FinTech หรื อ Financial Technology เป็ น ค าที่ มี ค วามหมายค่ อ นข้ า งกว้ า ง หมายรวมถึ ง นวั ต กรรมและการใช้ เทคโนโลยีในการออกแบบและนาเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ฟินเทคได้ถูกนาไปใช้ในหลายภาคส่วนของธุรกิจการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการชาระเงิน การกู้ยืมเงิน การให้บริการที่ปรึกษา และการบริหารการลงทุน เป็นต้น โดยบริษัทฟินเทคส่วนมากนั้นได้ นาเทคโนโลยีมือถือ big data และการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหนือกว่าในอดีตไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้เหมาะสม กับลูกค้ากลุ่มต่างๆ ฟินเทคได้ผลักดันให้เทคโนโลยีเป็นหัวใจหลักของการให้บริการทางการเงิน ซึ่งเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของปฏิ สัมพันธ์ ระหว่างผู้ให้บริการทางการเงินกับ ลูกค้า การเติบโตอย่างรวดเร็วของฟินเทคโดยรวมถือว่าส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมเป็น อย่างมาก ประโยชน์ดังกล่าวมีอาทิ การเพิ่มขีดการแข่งขัน การลดลงของต้นทุนธุรกรรมและราคาที่ลูกค้าต้องจ่าย และการขยาย การเข้าถึงบริการทางการเงินของผู้ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ ทั้งนี้ วิวัฒนาการของฟินเทคปัจจุบันยังนับว่าอยูใ่ น ระยะเริ่มต้นเท่านั้น PricewaterhouseCoopers (PwC) (PwC’s Financial Services Institute, 2016) ฟินเทค คือคาที่หมายถึงพัฒนาการที่เคลื่อนไหวมาบรรจบกันระหว่างการให้บริการทางการเงิน และเทคโนโลยี คาว่า ‘ฟินเทค’ สามารถหมายรวมถึงบริษัทเกิดใหม่ (สตาร์ทอัพ) บริษัทเทคโนโลยี หรือแม้แต่ผู้ให้บริการทางการเงินดั้งเดิม ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทสตาร์ทอัพอาจใช้เทคโนโลยีเพื่อนาเสนอบริการทางการเงินที่มีอยู่เดิมในต้นทุนที่ต่าลง และนาเสนอคาตอบทางการเงิน ใหม่ที่นาโดยเทคโนโลยี สถาบันการเงินดั้งเดิมหลายแห่งได้เริ่มควบรวมกิจการหรือร่วมลงทุนกับบริษัทสตาร์ทอัพเพื่อเสริมสร้าง นวัตกรรม ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Federal Reserve: FED) (Ancri, 2016) ฟินเทค คือกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งประกอบไปด้วยบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างระบบการเงินและการนาเสนอบริการทาง การเงินอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งนวัตกรรมของฟินเทคสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านบริการทางการเงินสาหรับทั้ ง ผู้บริโภครายย่อยและภาคธุรกิจ

8


ลักษณะของบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินเกิดใหม่ (‘Fintech Startup’) ลั ก ษณะของบริษั ท ฟิ น เทคเกิด ใหม่ หรื อ ‘ฟิ น เทคสตาร์ท อั พ ’ สามารถอธิ บายได้ ด้ว ยกรอบค าอธิ บ ายแบบทฤษฎี บริหารธุรกิจกระแสหลัก (Classic Framework) ดังตารางดังต่อไปนี้ (Ernst & Young, 2016) ลักษณะร่วม Customer-centric: ยึดความ ต้องการของลูกค้าเป็นที่ตั้ง

• •

L

Legacy-free: ปราศจาก โครงสร้างการทางานเก่าแก่

• • •

A

Asset light: มีสินทรัพย์น้อย

S

Scalable: มีความสามารถใน การขยายขนาดธุรกิจ

S

Simple: ใช้ง่าย

I

Innovative: มีนวัตกรรม

C

Compliance light : กระบวนการตรวจสอบต่า

C

คาอธิบาย ผลิตภัณฑ์และบริการง่ายต่อการใช้งาน และมีความสะดวกสูง การออกแบบบริการทางการเงินเน้นตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าเป็นหลัก ระดับการมีส่วนร่วมจากลูกค้า (customer engagement) สูง ระบบถูกออกแบบโดยเจตนาให้อยู่ในรูปแบบดิจติ อล มีความล่าช้าต่า เนื่องจากแทบไม่มีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์เก่าทีม่ ี การใช้งานต่า การควบรวมกิจการ หรือภาระด้านการกากับดูแล

• มีสินทรัพย์ถาวรต่า ทาให้สร้าง operating leverage ได้สูง • สินทรัพย์เกิดจากการเช่ายืม หรือจ้างจากภายนอก (outsource) • ความสามารถในการขยายธุรกิจถูกฝังในโมเดลธุรกิจโดยการใช้ ประโยชน์จากความสัมพันธ์ทางธุรกิจ การจัดจาหน่าย และความง่าย • เงินลงทุนตามข้อกาหนดทางกฎหมายต่า • นาเสนอคุณค่าต่อลูกค้าที่เข้าใจง่ายและเป็นความต้องการพื้นฐาน • กระบวนการทางานมีโฟกัสและความโปร่งใสสูง • มีนวัตกรรมครอบคลุมตลอดการดาเนินงาน เช่น โมเดลธุรกิจ ผลิตภัณฑ์และบริการ และรูปแบบการส่งมอบบริการ • โมเดลได้ถูกออกแบบมาให้ง่ายและหลีกเลี่ยงกระบวนการอนุมตั ิที่ ซับซ้อน

9


รูป 1 ประเภทของบริษัทฟินเทคสตาร์ทอัพ

ในปี ค.ศ. 2016 บริษัท Venture Scanner ได้ทาการเก็บข้อมูลของบริษัท ฟินเทคสตาร์ทอัพ จานวน 1,913 บริษัท จาก 58 ประเทศ และได้จาแนกประเภทของบริษัท ฟินเทคสตาร์ทอัพออกเป็น 16 ประเภท ซึ่งพบว่าครอบคลุมธุรกิจการเงินทุก รูปแบบและทั้งระบบ ได้แก่ธุรกิจต่อไปนี้ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16.

การให้กู้ยืมแก่ลูกค้ารายย่อย (Consumer Lending) โครงสร้างการชาระเงิน (Payments Backend) การให้กู้ยืมแก่ลูกค้าธุรกิจ (Business Lending) การชาระเงินของผู้บริโภค (Consumer Payments) การชาระเงิน ณ จุดขาย (Point of Sale (POS) Payments) เครื่ อ งมื อ ทางธุ ร กิจ สาหรับ ผู้ป ระกอบการขนาดเล็ก และขนาดกลาง (Small and Medium Business (SMB) Tools) การเงินส่วนบุคคล (Personal Finance) การลงทุนรายย่อย (Retail Investing) ความปลอดภัยด้านการเงิน (Financial Security) โครงสร้างพื้นฐานการธนาคาร (Banking Infrastructure) ธนาคารดิจิตอล (Digital Banking) บริการเงินโอน (Remittances) การวิจัยและข้อมูล (Research and Data) การลงทุนของนักลงทุนสถาบัน (Institutional Investing) การระดมทุนตราสารทุน (Equity Financing) การระดมทุนจากมวลชนผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (Crowdfunding)

10


รูป 2 ประเมินเม็ดเงินลงทุนในบริษัทฟินเทคสตาร์ทอัพทั่วโลก ปี ค.ศ. 2016

ที่มา: Venture Scanner, 2016. โดยการให้กู้ยืม (Lending) และการชาระเงิน (Payments) เป็นหมวดหมู่ของบริษัทฟินเทคสตาร์ทอัพที่ดึงดูดเม็ดเงิน ลงทุนจากกองทุนและนักลงทุนที่ลงทุนในกิจการแรกเกิด (Venture Funding) สูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 73 ของเงินลงทุนทั้งหมด และมีจานวนบริษัทคิดเป็นร้อยละ 43 ของบริษัทฟินเทคเกิดใหม่หรือสตาร์ทอัพทั้งหมด

พัฒนาการ (Arner, et al., 2015) คาว่าฟินเทคถูกนามาใช้ครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 1990 โดยกลุ่มบริษัท Citigroup ในโครงการ “Financial Services Technology Consortium” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีของธนาคารกับบุคคลภายนอก วิวัฒนาการของฟินเทคสามารถแบ่งได้เป็น 3 ยุคหลัก ยุคแรกคือจากช่วงประมาณปี ค.ศ. 1866 ถึง 1967 เป็นช่วงที่ อุตสาหกรรมบริการทางการเงินแม้จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก แต่ยังคงอยู่ในรูปแบบของอุตสาหกรรมแบบแอนะล็อก ช่วงนี้สามารถเรียกได้ว่าเป็นยุคฟินเทค 1.0 ยุคที่สองเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1967 พัฒนาการของดิจิตอลเทคโนโลยีของการสื่อสารและ การประมวลผลของธุรกรรม ได้เปลี่ยนแปลงการเงินจากรูปแบบของอุตสาหกรรมแอนะล็อกเป็นดิจิตอลเพิ่มสูงขึ้น และในปี ค.ศ 1987 ถึง 2008 การบริการทางการเงินอย่างน้อยในประเทศพัฒนาแล้ว ได้ใช้ประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัตน์เป็นอย่างสูง และมีการพัฒนาเป็นรูปแบบดิจิตอลสูงขึ้นเช่นกัน ในช่วงระยะเวลาดั งกล่าวสามารถนิยามได้ว่าเป็นยุค ‘ฟินเทค 2.0’ ในยุคนี้ ฟินเทคได้ถูกครอบงาโดยผู้ให้บริการทางการเงินดั้งเดิมซึ่งใช้เทคโนโลยีเพื่อนาเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 เป็นต้นมาซึ่งนิยามได้ว่าเป็นยุค ฟินเทค 3.0 การนาเทคโนโลยีทางการเงินมาใช้มิได้ถูกจากัดเฉพาะสถาบัน การเงินดั้งเดิม บริษัทสตาร์ทอัพที่เกิดขึ้นใหม่และบริษัทเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงได้เริ่มที่จะนาเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินและบริการ สู่ภาคธุรกิจและบุคคลทั่วไป โดยสรุป พัฒนาการของฟินเทคสามารถจาแนกออกเป็น 4 ยุคได้ดังนี้

11


• ฟินเทค 1.0 (ค.ศ. 1866 - 1967): จากแอนะล็อกสู่ดิจิตอล ในปี ค.ศ. 1838 เทคโนโลยีโทรเลข (Telegraph) ได้ถูกนามาใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก และตามมาด้วยในปี ค.ศ. 1866 ที่เกิดการวางเคเบิลใต้น้าข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก (Trans-Atlantic Cable) นับเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานครั้งแรกๆ ของ กระแสโลกาภิวัตน์ทางการเงิน (Financial Globalization) ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 การรวมตัวกันของการเงินและเทคโนโลยี ได้นามาซึ่งยุคแรกของโลกาภิวัตน์ทางการเงิน ซึ่งดาเนินมาถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ในช่วงระยะเวลานี้เทคโนโลยีอย่างเช่น โทรเลข รางรถไฟ คลอง และเรือไอน้า ได้เป็นหมุดหมายหลักของการเชื่อมโยงภาคการเงินข้ามประเทศ นามาซึ่งการไหลเวียนของ ข้อมูลทางการเงิน ธุรกรรม และการชาระเงินไปทั่วโลก และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ภาคการเงินก็ได้สนับสนุนทรัพยากรที่สาคัญต่อ การพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้ เช่น ผ่านการปล่อยสินเชื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองสงบลง โลกาภิวัตน์ทางการเงินได้ถูกจากัดเป็นเวลาหลายทศวรรษ แต่พัฒนาการด้าน เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในช่วงระยะสงครามได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและสารสนเทศ สาหรับ เทคโนโลยี ส ารสนเทศนั้ น เครื่ อ งมื อ การถอดรหั ส (Code-breaking Tools) ได้ ถู ก พั ฒ นาอย่ า งเชิ ง พาณิ ชย์ ใ นรู ป แบบของ คอมพิวเตอร์ยุคแรกโดยบริษัทเช่น International Business Machines (IBM) และเครื่องคิดเลขทางการเงินแบบพกพาได้ผลิต ขึ้นครั้งแรกโดย Texas Instruments ในปี ค.ศ. 1967 ในทศวรรษที่ 1950 เป็นครั้งแรกที่บัตรเครดิตได้ถือกาเนิด (Diners’ Club ในปี ค.ศ. 1950, Bank of America และ American Express ในปี ค.ศ. 1958) ในปี ค.ศ. 1966 Global Telex Network1 ได้ถือกาเนิดขึ้น นามาซึ่งพื้นฐานที่สาคัญใน การสื่ อ สารส าหรั บ การเกิ ด ขึ้ น ของพั ฒ นาการฟิ น เทคในยุ ค ถั ด มา และในปี ค.ศ. 1967 การน าเครื่ อ งกดเงิ น อั ต โนมั ติ ห รื อ Automatic Teller Machine (ATM) มาใช้เป็นครั้งแรกก็ได้ถือกาเนิดขึ้น จากการพัฒนาโดยธนาคาร Barclays พัฒนาการทางเทคโนโลยีทั้งหลายเหล่านี้ โดยเฉพาะการกาเนิดขึ้นของ ATM นับว่าเป็นหมุดหมายซึ่งนามาสู่จุดกาเนิด ของยุคฟินเทค 2.0 • ฟินเทค 2.0 (ค.ศ. 1967 - 2008): พัฒนาการของบริการทางการเงินรูปแบบดิจิตอลดั้งเดิม การเริ่มต้นนาเครื่องคิดเลขและเครื่อง ATM มาใช้ในปี ค.ศ. 1967 เป็นจุดเริ่มต้นของฟินเทค 2.0 สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 จนถึงปี ค.ศ. 1987 การให้บริการทางการเงินได้เปลี่ยนจากอุตสาหกรรมแบบแอนะล็อกสู่รูปแบบดิจิตอล พัฒนาการที่ สาคัญหลายประการได้เป็นพื้นฐานสาหรับยุคที่ 2 ของโลกาภิวัตน์ทางการเงิน ซึ่งเป็นหมุดหมายสาคัญของปฏิกิ ริยาของโลกต่อ การล่ ม สลายของตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ส หรั ฐ ในปี ค.ศ. 1987 (ในเหตุ ก ารณ์ หุ้ น ตกระเนระนาดซึ่ งต่ อ มาเป็ น ที่ รู้ จั ก ในชื่ อ Black Monday) ในด้ า นการชาระเงิ น The Inter-Computer Bureau ได้ ถู ก จั ด ตั้ งขึ้ น ในสหราชอาณาจั ก ร ในปี ค.ศ. 1968 ซึ่ งเป็ น พื้ น ฐานของ Bankers’ Automated Clearing Services (BACS) 2 ในปั จ จุ บั น ส่ ว นในสหรั ฐ อเมริ ก าก็ มี ก ารจั ด ตั้ ง Clearing House Interbank Payment System (CHIPS) ขึ้นในปี ค.ศ. 1970 และ Fedwire Funds Service ซึ่งถือกาเนิดขึ้นครั้งแรกใน ปี ค.ศ. 1918 ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบโทรเลขเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ต่อมาในปี ค.ศ. 1973 Telex เป็นโครงข่าย (Network) การส่งสารด้วยตัวอักษร (Text Message) คล้ายคลึงกับระบบโทรศัพท์ แต่แยกออกจากระบบโทรศัพท์โดยสิ้นเชิง เทเล็กส์เป็นสื่อโทรคมนาคมลงบันทึก (Record Communication) ที่ใช้ร่วมกันระหว่างประเทศระบบแรกของโลก 2 BACS คือองค์กรที่รับผิดชอบด้านระบบเบื้องหลังการให้บริการหักบัญชีและชาระดุล (Clearing and Settlement) ของการชาระเงินอัตโนมัติ Direct Debit และ Bacs Direct Credit ในสหราชอาณาจักร ตั้งแต่เริ่มดาเนินการในปี ค.ศ. 1968 ได้มีธุรกรรมเกิดขึ้นกว่า 120,000 ล้านรายการ และในปี ค.ศ. 2016 มีธุรกรรมผ่าน Bacs กว่า 6,250 ล้านรายการ 1

12


Society of Worldwide Interbank Financial Telecommunications (SWIFT)3 ได้ถือกาเนิดขึ้นเพื่อสะท้อนความต้องการใน การเชื่อมโยงระบบการชาระเงินภายในระหว่างประเทศ ในด้ า นธุ ร กิ จ หลั ก ทรั พ ย์ National Association of Securities Dealers Automated Quotations (NASDAQ) ถู ก จัดตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1971 ส่วนในด้านของผู้บริโภค ธนาคารออนไลน์ (Online Banking) ได้ถูกนามาใช้ครั้งแรกใน ปี ค.ศ. 1980 ในสหรัฐอเมริกา แต่ถูกยกเลิกการใช้งานในปี ค.ศ. 1983 เนื่องจากไม่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค และได้นามาใช้ ในสหราชอาณาจักรครั้งแรกในปี ค .ศ.1983 โดย Nottingham Building Society (NBS) ตลอดช่วงทศวรรษ 1980 เมื่อการทางานผ่านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการจัดการความเสี่ยงได้ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อ การจัดการความเสี่ยงภายใน สถาบันทางการเงิน ก็เพิ่มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศสาหรับปฏิบัติการภายใน เพื่อค่อยๆ ทดแทนปฏิบัติการรูปแบบกระดาษทั้งหลาย ตั วอย่างรูปแบบแรกเริ่มของนวัต กรรมฟินเทคที่ใกล้เคียงกับในปัจจุบันถือกาเนิดขึ้น ในยุคนี้เช่นกัน โดย ไมเคิล บลูมเบิร์ก (Michael Bloomberg) ได้พัฒนานวัตกรรม Innovation Market Solutions (IMS) ขึ้นใน ปี ค.ศ. 1981 และในปี ค.ศ. 1984 จอมอนิเตอร์บลูมเบิร์กหรือ Bloomberg terminals ซึ่งรวบรวมข้อมูล มหาศาลในตลาด การเงินและเอื้อต่อการวิเคราะห์ ก็ได้ถูกนามาใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มสถาบันการเงิน ในปี ค.ศ. 1987 ได้เกิดเหตุการณ์สาคัญซึ่งพลิกโฉมความสนใจของหน่วยงานกากับดูแลต่อความเสี่ยงจากการเชื่อมโยง ระบบการเงินระหว่างประเทศ และความเกี่ยวพันกับพัฒนาการของเทคโนโลยี เหตุการณ์ “Black Monday” หรือการตกลงอย่าง ฮวบฮาบกะทันหันของหลักทรัพย์จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกาได้ส่งผลต่อตลาดการเงินทั่วโลก แสดงให้เห็นระดับการเชื่อมโยงของ ตลาดการเงินผ่านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นรูปแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นนับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงในปี ค.ศ. 1929 ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 การบริการทางการเงินได้กลายเป็นรูปแบบดิจิ ตอลเป็นส่วนใหญ่ ธุรกรรมระหว่างสถาบัน ทางการเงิน ผู้เล่นในตลาดการเงิน และลูกค้าทั่วโลก ได้กระทาผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมกับที่เทคโนโลยีโทรสาร (Fax) ได้ เข้ามาแทนทีเ่ ทเล็กซ์ (Telex) และต่อมาในปี ค.ศ. 1998 การบริการทางการเงินก็ดาเนินผ่านดิจิตอลแทบทั้งหมด การกาเนิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตนับเป็นจุดที่ยกพัฒนาการขึ้นมาอีกระดับ เริ่มจากในปี ค.ศ. 1995 ธนาคาร Wells Fargo ได้ใช้ World Wide Web (WWW) ให้บริการตรวจสอบบัญชีแบบออนไลน์ พอถึงปี ค.ศ. 2001 ธนาคารขนาดใหญ่ 8 แห่งใน สหรัฐอเมริกาก็มีลูกค้าออนไลน์หลักล้านราย พัฒนาการในลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ได้เกิดขึ้นในภูมิภาคหลักต่างๆ ทั่วโลก พร้อมกับ กรอบการกากับดูแลที่เกี่ยวข้องในการระบุ และจัดการความเสี่ยง ต่อมาในปี ค.ศ. 2005 ธนาคารทางตรง (Direct bank) ที่ไม่มี สาขาที่เป็นกายภาพเลย ก็ได้กาเนิดขึ้นในสหราชอาณาจักร เช่น ธนาคาร ING Direct และ HSBC Direct เป็นต้น นับจากช่วงต้นศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา กระบวนการภายในของธนาคาร การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก และ การเพิ่มขึ้นของการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้ารายย่อยได้กลายมาเป็นรูปแบบดิจิ ตอลอย่างเต็มรูปแบบ โดยเห็นได้จากการลงทุนและใช้ จ่ายจานวนมากในระบบสารสนเทศของอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน นอกจากนี้ หน่วยงานกากับดูแล ได้เพิ่มการใช้งาน เทคโนโลยี โดยเฉพาะในส่วนของการกากับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์

SWIFT ให้บริการโครงสร้าง (Platform) การสื่อสารข้อความทางการเงิน (Financial Message) ช่วยให้สถาบันการเงินทั่วโลกสามารถรับเละส่งข้อมูล เกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินได้อย่างปลอดภัยและมีมาตรฐาน ปัจจุบันมีสถาบันการเงิน 11,000 แห่ง ใน 200 ประเทศ ได้ใช้บริการเละผลิตภัณฑ์ของ SWIFT 3

13


• ฟินเทค 3.0 (ค.ศ. 2008 – ปัจจุบัน): ยุคที่ทุกคนจะเข้าถึงบริการทางการเงิน (democratization) ในยุคนี้ ทัศนคติของลูกค้าสถาบันการเงินได้มีการเปลี่ยนแปลงต่อประเด็นที่ว่า ใครคือผู้ที่มีทรัพยากรและความชอบทาง กฎหมายที่จะให้บริการทางการเงิน ยากยิ่งที่จะระบุว่าแนวโน้มนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่โดยรวมเราอาจกล่าวว่าวิกฤตการเงินขนานใหญ่ ในปี ค.ศ. 2008 คือจุดเปลี่ยนและเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเติบโตของฟินเทคยุค 3.0 ภายหลังปี ค.ศ. 2008 ปัจจัยหลายประการได้เป็นเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดผู้เล่นในตลาดที่มีนวัตกรรมใหม่ในอุตสาหกรรม บริการทางการเงิน ปัจจัยเหล่านี้ประกอบไปด้วย การรับรู้ของสาธารณชน ข้อสงสัยต่อการกากับดูแลภาคการเงิน แรงกดดันทาง การเมือง และเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ แต่ละปัจจัยนี้จะถูกกล่าวต่อไปในรายละเอียดเพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าปี ค.ศ. 2008 นับเป็น จุดเปลี่ยนที่สร้างให้เกิดกลุ่มผู้เล่นที่นาเทคโนโลยีมาปรับใช้กับบริการทางการเงิน วิกฤตการเงินได้ก่อให้เกิดผลกระทบใหญ่สองประการคือ การรับรู้ของสาธารณชน และทรัพยากรมนุษย์ ในประการแรก จากการที่สาเหตุของวิกฤติเป็นที่รับรู้โดยแพร่หลาย ความเชื่อมั่นของคนทั่วไปต่อสถาบันการเงินกระแสหลักก็เสื่อมถอยลง ประการที่สอง จากการที่วิกฤตการเงินได้ลุกลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ แรงงานของสหรัฐจานวนประมาณ 8.7 ล้านคนต้องตกงาน ในด้านหนึ่งสาธารณชนได้สูญเสียความเชื่อมั่นในระบบการธนาคาร และในอีกด้านหนึ่ง ผู้ประกอบอาชีพทางการเงินก็ตกงาน หรือ ได้รับค่าตอบแทนที่ลดลง ทั้งสองเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการถือกาเนิดของอุตสาหกรรมฟินเทค 3.0 ซึ่งดูดซับนักการเงินที่ตกงานจาก สถาบันการเงินกระแสหลัก นอกจากนี้ยังมีคนกลุ่มใหม่ซึ่งมีการศึกษาสูงที่เพิ่งจบการศึกษามาเผชิญกับสภาพตลาดแรงงานที่หา งานได้ลาบาก พื้นฐานทางการศึกษาของพวกเขาเอื้อให้พร้อมที่จะเข้าใจตลาดการเงิน และมีทักษะที่สามารถนามาใช้ได้กับ ยุค ฟินเทค 3.0 กฎเกณฑ์การกากับดูแลและกฎหมายใหม่ ๆ ก็เกิดขึ้นในช่วงนี้ เช่น Dodd Frank Act4 และ Basel 35 ภายหลังจาก วิกฤตการเงิน การปฏิรูปภายหลังวิกฤตนี้ได้ก่อให้เกิดผลต่อเนื่องที่ ผู้กากับมิได้ตั้งใจตามมา นั่นคือ การเติบโตของเหล่าผู้เล่น เทคโนโลยีใหม่ และการจากัดขีดความสามารถในการแข่งขันของธนาคาร ยกตัวอย่างเช่น เกณฑ์ Basel 3 ได้กาหนดให้ธนาคารต้องเพิ่มทุนสารองทางกฎหมาย แม้ว่า เกณฑ์ชุดนี้จะช่วยเพิ่ม เสถียรภาพของตลาด และเพิ่มความสามารถของธนาคารในการรองรับความเสี่ยง แต่กส็ ่งผลให้เกิดการเบี่ยงเบนการปล่อยสินเชื่อ แก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และลูกค้ารายย่อยน้อยลง เนื่องจากธนาคารมองว่าบุคคลเหล่านี้มีความเสี่ยง สูงเมื่อเทียบกับลูกค้ารายใหญ่หรือช่องทางการลงทุนอื่นๆ ส่งผลให้บุคคลเหล่านี้อาจหันไปใช้บริการการกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลต่อ บุคคล (peer-to-peer Lending) หรือนวัตกรรมอื่นที่สามารถตอบสนองความต้องการสินเชื่อของตนได้ ในแง่มุมทางการเมือง การเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงาน และการลดลงของความสามารถในการให้สินเชื่อนั้น เป็น ความท้าทายโดยตรงต่อการเป็นที่ยอมรับของผู้แทนจากการเลือกตั้ง สิ่งนี้คือแรงจูงใจทางการเมืองเบื้องหลัง การออกกฎหมาย the Jump Start Our Business Startups (JOBS) Act ในสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 2012 กฎหมายฉบับนีม้ ีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหา

Dodd-Frank Act หรือ Dodd-Frank Wall Street Reform and Consumer Protection Act คือกฎหมายปฏิรูปภาคการเงินของสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้นามาออกใช้เมื่อปี ค.ศ. 2010 เพื่อมุ่งหวังที่จะป้องกันระบบการเงินมิให้เกิดวิกฤตการเงินอีกครั้ง และมุ่งเน้นการให้ความคุ้มครองผู้บริโภค โดย กฎหมายฉบับนี้มีการกาหนดขอบเขตธุรกรรมของสถาบันการเงิน ปรับปรุงกฎเกณฑ์เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือ 5 Basel III คือ หลักเกณฑ์การกากับดูแลสถาบันการเงินของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) ซึง่ ครอบคลุมเรื่องการดารง เงินกองทุนและการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง โดยมีเป้าหมายหลักในการเพิ่มความสามารถของสถาบันการเงินในการต้านทานภาวะวิกฤตใน ระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจ และลดการส่งต่อความเสี่ยงจากระบบการเงินไปยังภาคเศรษฐกิจจริง 4

14


การว่างงานและอุปทานของสินเชื่อ ในด้านการสร้างงาน JOBS Act มุ่งที่จะส่งเสริมการเพิ่มสตาร์ทอัพโดยการให้ทางเลือกเพิ่มเติม ในการจัดหาเงินทุนของธุรกิจ ในด้านการจัดหาเงินทุน JOBS Act ได้ช่วยสตาร์ทอัพในการเข้าถึงสินเชื่อที่ลดลงจากการที่ธนาคารเพิ่มต้นทุนและจากัด ความสามารถในการที่จะให้สินเชื่อ โดยการช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถเข้าถึงเงินทุนเพื่อสนับสนุนกิจการตนเองได้ โดยตรงใน รูปแบบการกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลต่อบุคคล JOBS Act นั้นมิได้มีจุดมุ่งหมายเฉพาะที่จะสนับสนุนฟินเทค 3.0 เพราะใช้ได้กับบริษัทสตาร์ทอัพโดยทั่วไป ทางเลือก ใหม่ในการที่จะจัดหาเงินทุนนี้เกิดขึ้นในภาวะที่เกิดการเพิ่มแรงกดดันภาครัฐให้กากับดูแลธนาคารอย่างเข้มข้นกว่าเดิม และอีก ด้านหนึ่งคือการรับรู้ของสาธารณชนต่อธนาคารแบบดั้งเดิม ตลอดจนภาวะ “สมองไหล” ของผู้ที่มีความสามารถไปยังธุรกิจ สตาร์ทอัพ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้สร้างตลาดและความรู้ที่สาคัญสาหรับกาเนิดของฟินเทคสตาร์ทอัพ โดยสรุปแล้วอุตสาหกรรมบริการทางการเงินตั้ งแต่ปี ค.ศ. 2008 นั้น ได้รับผลกระทบขนาดใหญ่จากด้า นการเงิ น การเมือง และการรับรู้ของสาธารณชน นามาซึ่งผู้เล่นในตลาดยุคใหม่ ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่ซึ่งรู้จักกันในวันนี้ว่าฟินเทค • ฟินเทค 3.5 ในตลาดกาลังพัฒนา: ตัวอย่างของเอเชียและแอฟริกา ฟิ น เทค 3.0 ในโลกตะวั น ตกเกิ ด จากปฏิ กิ ริ ย าต่ อ วิ ก ฤตการเงิ น ดั งสรุ ป ข้ า งต้ น แต่ ใ นภู มิ ภ าคเอเชี ย และแอฟริ ก า พัฒนาการของฟินเทคเกิดขึ้นจากสาเหตุหลักคือพัฒนาการทางเศรษฐกิจ เราอาจจาแนกพัฒนาการที่เกิดขึ้นในสองภูมิภาคนี้ว่า เป็นยุค ‘ฟินเทค 3.5’ การเติบโตของตลาดฟินเทคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นเกิดจากปัจจัยหลายประการ ในแง่อุตสาหกรรม การใช้จ่ายด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม เดินตามหลังระดับการใช้จ่ายของสถาบัน การเงินในยุโรปและสหรัฐอเมริกา เหตุการณ์นี้สามารถอธิบายได้จากการแข่งขันที่น้อยกว่าในตลาดภูมิภาคนี้ ประกอบกับการที่ตลาดอยู่ภายใต้การควบคุมค่อนข้าง สูงจากภาครัฐ รวมถึงการบิดเบือนจากธนาคารที่รัฐเป็นเจ้าของ การที่ประชาชนบางประเทศไม่เชื่อมั่นในระบบธนาคารที่รัฐเป็น เจ้าของ เนื่องจากปัญหาคอร์รัปชั่นและความไร้ประสิทธิภาพ ทาให้มีความตื่นตัวที่จะยอมรับบริการทางเลือกใหม่ๆ จากผู้เล่นที่ มิใช่ธนาคาร ในแง่โครงสร้าง การกระจายตัวของสาขาธนาคารในภูมิภ าคเอเชีย แปซิ ฟิกนั้ นมีน้ อยกว่าในภูมิภาคยุโรปและ สหรัฐอเมริกามาก ในยุโรปมีสาขาธนาคาร 62.5 สาขา ต่อประชากร 100,000 คน ขณะที่ในเอเชียแปซิฟิกมีเพียง 12.5 สาขา ต่อ ประชากร 100,000 คน ผลของปั จ จั ย เหล่ า นี้ คื อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละบริ ก ารทางการเงิ น บนพื้ น ฐานของโทรศั พ ท์ มื อ ถื อ สร้ า ง ความน่าสนใจที่มากกว่าแก่ผู้บริโภค ฟินเทค 3.5 ในประเทศกาลังพัฒนาในทวีปเอเชีย ได้แรงหนุนจากปัจจัยที่แข็งแกร่งหลายประการ อาทิ 1) ประชากรรุ่นเยาว์ที่มีความรู้ความช่าชองด้านดิจิตอล และมีอุปกรณ์มือถือ 2) การเติบโตอย่างรวดเร็วของชนชั้นกลาง ซึ่งร้อยละ 60 ของชนชั้นกลางในโลกนี้จะอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียภายในปี ค.ศ. 2030 3) ความไร้ประสิทธิภาพในตลาดเงินและตลาดทุน เสริมสร้างโอกาสของทางเลือกที่ไม่เป็นทางการ 4) การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของธนาคาร 5) พฤติกรรมที่ชื่นชอบความสะดวกสบายเหนือความน่าเชื่อถือ 6) โอกาสของตลาดที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินกระแสหลัก ซึ่งทั้งทวีปเอเชียมีประชากรถึง 1,200 ล้านคนที่ยังไม่มี บัญชีธนาคาร 7) ความเข้มงวดที่น้อยกว่าในด้านการคุ้มครองข้อมูลและการแข่งขัน

15


นอกจากนี้ ในประเทศอินเดียและจีนซึ่งเป็นประเทศขนาดใหญ่ มีผู้จบการศึกษาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีเป็น จานวนมาก แนวโน้มดังกล่าวข้างต้นได้แรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากการเคลื่อนไหวของภาคเอกชนที่มองหาโอกาสในการขยายบริการ ทางการเงิน และภาครัฐที่ยินดีต่อการปฏิรูปและการสร้างความหลากหลายของตลาดเพื่อที่จะผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ แปลว่าพัฒนาการของฟินเทคในภูมิภาคเอเชียมิได้เกิดจากกระบวนทัศน์ใหม่หลังวิกฤต แต่เกิดจาก ผลรวมของแรงผลักและแรงดึงจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเอง แอฟริกามีลักษณะร่วมหลายประการกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในแง่ของพัฒนาการด้านฟินเทค อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติ และทิศทางของพัฒนาการเริ่มแรกในแอฟริกานี้แตกต่างออกไปจากเอเชีย ชาวแอฟริกันเข้าถึงบริการธนาคารอย่างจากัดกว่าชาว เอเชียมาก โดยครัวเรือนของแอฟริกามีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงบริการทางเงินอย่างเป็นทางการหรือกึ่งทางการ เปรียบเทียบกับประมาณร้อยละ 60 สาหรับครัวเรือนในเอเชีย ผลก็คือผู้ที่มีแนวโน้ มที่จะเป็นผู้นาทางด้านพัฒนาการฟินเทคคือ บริษัทโทรคมนาคม แทนที่จะเป็นธนาคารสาหรับภูมิภาคนี้ พัฒนาการฟินเทคในแอฟริกาจนถึงปัจจุบันนี้ส่วนมากประกอบไปด้วย การให้บริการธนาคารผ่านมือถือหรือ mobile banking ซึ่งสามารถทาให้ประชาชนเข้าถึงบริการชาระเงินและออมเงิน และยัง รวมไปถึงบริการอื่นๆ อย่างสินเชื่อและประกันขนาดจิ๋ว

ความท้าทายของฟินเทคต่อธนาคาร ลูกค้าปัจจุบันมีความคาดหวังเพิ่มสูงขึ้นในการที่จะบริหารจัดการทางการเงินของตัวเองได้อย่างยืดหยุ่นทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นการส่งเงินข้ามประเทศโดยการใช้เบอร์โทรศัพท์ ถึงการสมัครสินเชื่อบ้านผ่านลิงค์วีดีโอ ผู้ให้บริการทางการเงินดั้งเดิม ได้เริ่มลงทุนในเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อหวังที่จะดึงดูดลูกค้า ลดต้นทุน และเพิ่มผลกาไร (Dunkley, 2016) อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการทางการเงินดั้งเดิมถูกกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ จากบริษัทสตาร์ทอัพจานวนมากซึ่งมีความคล่องตัว สูงกว่า บริษัทฟินเทคทีเ่ น้นดิจิตอลได้ดึงดูดเงินลงทุนจานวนหลายพันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ บริษัท KPMG รายงานตัวเลขเงิน ลงทุนในบริษัทฟินเทคทั่วโลกในไตรมาสที่ 2 ปี 2559 ว่ามีขนาดสูงถึง 9,400 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ บริษัทสตาร์ทอัพมีข้อได้เปรียบจากการที่ไม่ต้องยึดติดกับระบบเทคโนโลยีที่เก่าแก่ และระเบียบกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด ซึ่ง ทั้งสองข้อเป็นสิ่งที่จากัดการพัฒนาด้านดิจิ ตอลของผู้ให้บริการทางการเงินดั้งเดิม ผลก็คือบริษัทสตาร์ทอัพสามารถสร้างบริการ ด้านมือถือได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า หรือนาเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นภัยคุกคามต่อ สถาบันการเงินดั้งเดิม เช่น มีธนาคารที่อยู่ บนพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือ (mobile-based banks) จานวนมาก เช่น Atom, Tandem, Starling และ Monzo ที่กาเนิด ในช่วงปี ค.ศ. 2016 เป็นต้นมา บริการเหล่านี้มุ่งเน้นการนาเสนอบัญชีกระแสรายวันเพื่อช่วยให้ลูกค้าบริหารเงินของตนเองและ รูปแบบการดาเนินชีวิต บริษัทฟินเทคสตาร์ทอัพบางรายได้สร้างภัยคุกคามโดยตรงโดยใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนและช่องว่างของผู้ให้บริการ ทางการเงินดั้งเดิม เช่น Funding Circle ให้บริการการกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลต่อบุคคล โดย เจมส์ มีคิงส์ (James Meekings) ผู้ร่วมก่อตั้ง ให้สัมภาษณ์ว่า “เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2010 ที่ผู้ดาเนินธุรกิจขนาดย่อม สามารถทาการสมัครกู้เงินแบบออนไลน์ ” “ปราศจากความไร้ประสิทธิภาพที่ยึดติดกับภาคธนาคาร เช่น ต้นทุนการดาเนินงานที่สูงของธนาคารสาขา และระบบสารสนเทศ เก่าแก่ แพลตฟอร์มสามารถให้บริการในระดับเดียวกั นในด้านการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของลูกหนี้ (เครดิต) ด้วยเศษเสี้ยวของ เวลาและต้นทุน”

16


อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางรายมองว่า บริษัทฟินเทคหลายแห่งแม้จะสามารถนาเสนอการบริการที่ดีกว่า แต่ก็มักจะ ขาดความสามารถด้านการประหยัดจากขนาด แบรนด์หรือความน่าเชื่อถือ และช่องทางการจัดจาหน่าย ในการที่จะแข่งขันกับผู้ให้ บริการดั้งเดิมในระยะยาว การเข้าถึงลูกค้าเป็นสิ่งที่ยากมากและมีต้นทุนสูง ดังนั้น บริษัทฟินเทคจานวนมากจึงหันหน้าเข้าหา ธนาคารเพื่อที่จะเป็นพันธมิตร ด้วยเหตุนี้ ผู้เชี่ยวชาญบางรายจึงมองว่าในระยะยาวบริษัทฟินเทคไม่น่าจะสามารถครอบครองส่วน แบ่งตลาดเหนือบรรดาธนาคารกระแสหลักได้ แต่น่าจะเป็นในลักษณะถูกควบรวมกิจการมากกว่า

ธนาคารเผชิญความท้าทายพร้อมโอกาส สาหรับธนาคาร การเพิ่มขึ้นของการแข่งขันกับฟินเทคนั้นนับเป็นความท้าทาย จากการคานวนของ McKinsey ธนาคาร สามารถสูญเสียรายได้ประมาณร้อยละ 29-35 ต่อคู่แข่งรายใหม่จากการลดลงของกลุ่มลูกค้าและส่วนต่างรายได้ หากธนาคารไม่ ดาเนินการใดๆ ในทางกลับกัน หากธนาคารดาเนินการเปลี่ยนแปลงการทางานให้เป็นรูปแบบดิจิตอลตลอดห่วงโซ่คุณค่า ในกรณีที่ ดีที่สุด ธนาคารจะสามารถเพิ่มผลตอบแทนได้ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ต้องอาศัยการเปลีย่ นแปลงตั้งแต่ระดับฐานคิด โดย นวัตกรรมต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ DNA ธนาคาร และผสานเป็นเนื้อเดียวกับการดาเนินธุรกิจ ในทุกมิติ (Drummer , et al., 2016) ธนาคารดั้งเดิมนับว่าอยู่ในสถานะที่ดีต่อการรักษาสถานภาพการแข่งขันกับคู่แข่ง ฐานลูกค้าที่ใหญ่ของธนาคารทาให้ สามารถที่จะขยายขนาด เสนอคาตอบดิจิตอลใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ธนาคารจานวนมากยังมีชุด ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่กว้างและแข็งแกร่ง มีแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ และธนาคารโดยส่วนใหญ่มีเงินทุนมากเพียงพอที่จะแข่งขันใน การสร้างนวัตกรรมขนาดใหญ่ ลงทุนซื้อหรือควบรวมกิจการอื่น และสามารถเอาชนะอุปสรรคด้านเทคโนโลยีและกฎเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม ธนาคารบางแห่งยังไม่มีความพร้อมเพียงพอต่อสถานการณ์การแข่งขัน ธนาคารเหล่านี้เคยชินกับการได้ผล กาไรมาอย่างยาวนาน และมีแรงจูงใจเพียงเล็กน้อยที่จะสร้างนวัตกรรมหรือธุรกิจใหม่ที่มองว่าอาจแย่งส่วนแบ่งตลาดหรือกลืนกิน (cannibalize) ธุ ร กิ จ ของตนเอง ถึ งแม้ ว่ า การสร้ า งนวั ต กรรมจะอยู่ ใ นวาระ แต่ ก็ มิ ไ ด้ ด าเนิ น การอย่ า งเป็ น ระบบเนื่ อ งจาก ความขัดแย้งในวัตถุประสงค์ ตรงข้ ามกับบริษัทฟินเทคที่มักจะเน้นบริการด้านใดด้านหนึ่ง ธนาคารมักไม่ได้ดาเนิน ธุรกิจด้ วย เป้าประสงค์ที่จะสร้างผลลัพธ์บางอย่างโดยเฉพาะ แต่มักจะหวังผลหลายด้านพร้อมกัน จุดอ่อนอีกประการของธนาคารคือการขาด ทัศนคติที่มุ่งเน้นด้านการให้บริการลูกค้าเป็นหลัก (customer-centric) การดาเนินธุรกิจในระยะต่อไป การเปลี่ยนแปลงทาง ดิจิตอลต้องเป็นหัวใจสาคัญ ทาอย่างไรที่ผู้เล่นในตลาด ทั้งธนาคารและคู่แข่งรายใหม่ จะสามารถปรับตัวได้ดีที่สุดต่อการแข่งขัน สิ่งที่จาเป็นที่สุดคือ การจับจ้องพัฒนาการใหม่ๆ ที่สาคัญ สิ่งใดที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างมีนัยสาคัญ สิ่งใดที่จะช่วยพัฒนาปฏิบัติการใน ปัจจุบัน การสารวจตลาดอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจาเป็น แต่การแข่งขันก็เป็นสิ่งที่มีพลวัตระหว่างผู้เล่นฟินเทคด้วยกันเช่นกัน มิใช่ สตาร์ทอัพทุกรายที่จะประสบความสาเร็จในระยะยาว ในสถานการณ์การแข่งขันเช่นนี้ ธนาคารและคู่แข่งควรที่จะระบุและมองหา ผู้เล่นที่จะร่วมมือกันสร้างประโยชน์ได้ ตัวอย่างอาจเป็นในกรอบของการตกลงเข้าหุ้นเป็นกิจการร่วมทุน หรือจับมือเป็นพันธมิตร ในการให้บริการ ในมุมมองของธนาคาร การซื้อกิจการเพื่อจ้างคน หรือที่เรียกชื่อเล่นว่า ‘Acqui-hire’ อาจเป็นสิ่งที่คุ้ม ค่า กล่าวคือ การเข้าไปซื้อกิจการฟินเทค เพื่อที่จะได้เข้าถึงทักษะและความสามารถของลูกจ้างที่สาคัญ การร่วมมือกั นในขั้นต่อไปอาจเป็นใน รูปแบบกองทุนร่วมลงทุนในกิจการแรกเกิด (Corporate Venture Fund) และการปลุกปั้นกิจการแรกเกิดตั้งแต่ต้น (Incubator)

17


ยกตัวอย่างเช่น ธนาคาร Deutsche Bank ได้ลงทุนมากกว่าหนึ่งพันล้านยูโรในเทคโนโลยีดิจิตอล ขยาย innovation lab ของตน ใน ลอนดอน เบอร์ลิน และนิวยอร์ก และจับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัทฟินเทคต่างๆ

18


ฟินเทคกับการเข้าถึงบริการทางการเงิน ความหมายของการเข้าถึงบริการทางการเงิน ตลอดระยะเวลาเกือบสิบปีที่ผ่านมา ภาครัฐและผู้กาหนดนโยบายทั้งระดับประเทศและสากลทั่วโลกต่างตระหนักถึง ความสาคัญของการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชน ในฐานะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ให้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างนิยาม ‘การเข้าถึงบริการทางการเงิน ’ (Financial Access) ที่องค์กรหรือหน่วยงานระดับโลกได้ให้คาจากัด ความไว้ มีอาทิ “การเข้าถึงการบริการทางการเงินประเภทต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย การออม การให้สินเชื่อ การประกัน การโอนเงินและการ บริการธนาคาร/การชาระเงินในรูปแบบต่าง ๆ แก่ทุกครัวเรือนหรือผู้ประกอบการ ที่สามารถรับบริการได้ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม และเป็นธรรม” - Centre for Global Development (CGD) – “ครัวเรือนและหน่วยธุรกิจต่างๆ สามารถเข้าถึงและใช้บริการทางการเงินที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบ และยั่งยืน โดยมีการกากับดูแลที่เหมาะสม” - Consultative Group to Assist the Poor (CGAP) “ภาคการเงินที่ให้บริการสินเชื่อแก่คนและธุรกิจที่สามารถกู้ได้ ให้บริการประกันภัยแก่คนและธุรกิจที่รับประกั นได้ ให้บริการรับ ฝากเงินและการชาระเงินแก่ คนทุกคน ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการไม่จาเป็นต้องใช้บริการแต่ละประเภทข้างต้น แต่ต้องสามารถเลือกใช้ บริการตามความต้องการของตนได้” - United Nation (UN) “การให้บริการทางการเงินอย่างกว้างขวางโดยปราศจากข้อกีดกันหรืออุปสรรคทางด้านราคา และที่ไม่ใช่ราคา” - World Bank “กระบวนการสร้างความมั่นใจให้แก่กลุ่มคนเปราะบาง และกลุ่มที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่เหมาะสมและ จาเป็นต่อกลุ่มคนดังกล่าว ด้วยต้นทุนที่เป็นธรรม โปร่งใส และสามารถจ่ายได้ โดยสถาบันการเงินในกระแสหลัก” - Reserve Bank of India จากนิยามต่างๆ ข้างต้น อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า การเข้าถึงบริการทางการเงินหมายถึง “การที่ปัจเจกบุคคล ครัวเรือน และหน่วยธุรกิจต่าง ๆ มีโอกาสเข้าถึงและสามารถใช้ผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการทางการเงินที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ รับผิดชอบ และยั่งยืนด้วยต้นทุนที่เป็นธรรม โปร่งใส และสามารถจ่ายได้ ภายใต้การกากับดูแลที่เหมาะสม”

การเข้าถึงบริการทางการเงินกับการสร้างเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างทั่วถึง ปั จ จุ บั น ปั ญ หาความยากจนและความเหลื่อ มล้าทางรายได้ ยั งคงเป็ นอุ ป สรรคสาคั ญต่ อ การพั ฒ นาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในประเทศด้อยหรือกาลังพัฒนา ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีความซับซ้อน และเกี่ยวข้อง กับปัจจัยหลายประการ หนึ่งในนั้นคือการขาดการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึง (สานักงานเศรษฐกิจการคลัง, 2558)

19


สาเหตุที่คนยากจนจานวนมากไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นค่าบริการ ของธนาคารที่แพงเกินไป สาขาธนาคารหรือตู้เอทีเอ็มที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรืออยู่ห่างไกลจากชุมชน การที่ธนาคารมี แนวโน้มปฏิเสธการให้บริการคนยากจนมากกว่าลูกค้ากลุ่มอื่น เนื่องจากไม่คุ้มค่ากับต้นทุนการบริการ รวมทั้งทัศนคติของคน ยากจนเองทีม่ องว่า ตนมีเงินน้อยเกินกว่าที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้บริการทางการเงินในระบบ (Life SREDA VC, 2016) เมื่อไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ คนจนจึงมักมีศักยภาพในการรับ มือกับความเสี่ยงและความผันผวนทาง เศรษฐกิจได้อย่างจากัด พวกเขาส่วนใหญ่ยังคงดารงชีวิตประจาวันโดยอาศัย “เงินสด” เป็นหลัก ขณะเดียวกันก็จาต้องหันไปใช้ บริการทางการเงิน “นอกระบบ” ที่มักไร้ประสิทธิภาพ (Life SREDA VC, 2016) ผู้ที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงินในระบบจานวน มากยังคงเก็บออมเงินไว้ในบ้าน และถือเงินสดติดตัวเพื่อใช้จ่ายประจาวัน ต้องเดินทางเป็นเวลาหลายวันเพียงเพื่อส่งเงินให้สมาชิก ครอบครัวที่อาศัยในต่างเมือง และถ้าหากต้องการเงินกู้ พวกเขาก็มักต้องเผชิญกับเจ้าหนี้นอกระบบที่คิดดอกเบี้ยสูงลิ่ว ซึ่งแน่นอน ว่าสถานการณ์เหล่านี้ทาให้การดารงชีวิตของพวกเขายากลาบากยิ่งขึ้น อีกทั้งธุรกรรมทางการเงินนอกระบบมักมีต้นทุน และ ความเสี่ยงสูง รวมถึงบริการก็ อาจมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นเมื่อ เกิดเหตุการณ์ที่ ไม่คาดฝัน หรือส่งผลกระทบต่อ ความสามารถในการหารายได้ คนกลุ่มนี้จึงไม่มีทางเลือกและถูกบีบบังคับให้อยู่ในวัฏจักรแห่งความยากจนต่อไปโดยปริยาย (Bill & Melinda Gates Foundation, 2012) ด้ ว ยเหตุ นี้ การขยายการเข้ า ถึ ง บริ ก ารทางการเงิ น จึ งเป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ส าคั ญ ในการแก้ ไ ขปั ญ หาความยากจนและ ความเหลื่อมล้าทางรายได้ (IMF, 2016) ที่ผ่านมาผลการศึกษาจานวนมากชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินส่งผล กระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับจุลภาคและระดับมหภาค โดยในระดับจุลภาค พบว่าการเข้าถึงบริการทาง การเงินช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของครัวเรือน โดยการทาให้คนยากจนและผู้ด้อยโอกาสสามารถทาธุรกรรม การเงินพื้นฐานได้ด้วยต้นทุนที่สมเหตุสมผล เปิดโอกาสให้พวกเขามีเงินออมเพื่อสารองเป็นค่าใช้จ่ายในอนาคต เช่น ค่าใช้จ่ายใน การรักษาพยาบาล ค่าการศึกษา หรือใช้เป็นเงินทุนในการประกอบและขยายธุรกิจ รวมถึงลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ ฉุกเฉินต่างๆ (Robert, et al., 2014) ในส่วนของเศรษฐกิจระดับมหภาค พบว่า การเข้าถึงบริการทางการเงินจะส่งผลให้ประชากรในภาพรวมมีคุณภาพชีวิตที่ ดีขึ้น รวมถึงทาให้ภาครัฐสามารถดาเนินนโยบายเชิงสังคมอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การใช้ระบบการชาระเงินจากภาครัฐสู่รายบุคคล (government-to-person) ทาให้ภาครัฐสามารถให้ความช่วยเหลือแก่ กลุ่ม ผู้มีรายได้น้อยได้มากขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่าลง เช่น โครงการให้เงินช่วยเหลือแบบมีเงื่อนไขที่ภาครัฐจะสนับสนุน เงินช่วยเหลือแก่ ผู้ปกครองที่พาบุตรหลานไปรับวัคซีนครบถ้วน หรือส่งบุตรหลานไปโรงเรียน นอกจากนี้ การเข้าถึงบริการทางการเงินยังเป็นปัจจัย ที่ส่งเสริมให้ภาคเอกชนสามารถคิดค้นโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ ที่ช่วยพัฒนาสังคมในมิติอื่นๆ ได้ในอัตราต้นทุนที่ต่าลง แต่เข้าถึง ประชากรได้มากขึ้น เช่น M-Pesa ในประเทศเคนยา (Robert, et al., 2014) (ดูกรณีศึกษา M-Pesa ได้ในส่วนถัดไป) จากปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้น การส่งเสริมให้ประชาชนระดับฐานรากมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้นจึงเป็น แนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้าทางรายได้ ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของ ประชาชนระดับฐานราก ลดช่องว่างความยากจน และความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงเป็นพื้นฐานสาคัญในการมุ่ง สู่เศรษฐกิจที่มีการพัฒนาอย่างทั่วถึง (inclusive economy)

20


สถานการณ์การเข้าถึงบริการทางการเงินในระดับโลกและในประเทศไทย สถานการณ์การเข้าถึงบริการทางการเงินในระดับโลก จากรายงานของธนาคารโลก พบว่าในปี 2557 ประชากรกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลกไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน ในระบบ คิดเป็นร้อยละ 38 ของประชากรวัยโตเต็มวัยทั่วโลก คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศเศรษฐกิจกาลังพัฒนา และ มากกว่าครึ่งอาศัยในภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกและแปซิฟิก และแอฟริกาใต้สะฮารา โดยกว่าร้อยละ 40 อาศัยอยู่ใน ประเทศอินเดีย จีน และอินโดนีเซีย นอกจากนี้ พบว่ากลุ่มครัวเรือนที่ยากจนที่สุดร้อยละ 40 คิดเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรที่ไม่ สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ หรือเป็นจานวนราว 1 พันล้านคนทั่วโลก (World Bank Group, 2015) หากพิจารณาตามเพศ พบว่าประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินร้อยละ 55 เป็นผู้หญิง โดยร้อยละ 42 ของ ผู้หญิงทั่วโลกไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน เปรียบเทียบกับผู้ชายที่ร้อยละ 35 โดยความแตกต่างของสัดส่วนดังกล่าวจะยิ่ง เพิ่มมากขึ้นหากเป็นประเทศกาลังพัฒนา จากการสารวจ6 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 59 แจ้งว่าตนเองไม่มีบัญชีธนาคาร เนื่องจากไม่มีเงินมากพอ ส่วน สาเหตุอื่นๆ ได้แก่ ไม่มีความจาเป็นต้องใช้บัญชีธนาคาร สมาชิกในครอบครัวมีบัญชีอยู่แล้ว การมีบัญชี ธนาคารมีต้นทุนสูงเกินไป สถาบันการเงินอยู่ไกลเกินไป ขาดเอกสารที่จาเป็นต่อการเปิดบัญชี ขาดความเชื่อมั่นในสถาบันการเงิน และเหตุผลทางศาสนา

สถานการณ์การเข้าถึงบริการทางการเงินในประเทศไทย 1. การเข้าถึงบริการทางการเงิน: ภาคเอกชนยังคงไม่ให้ความสาคัญกับการเข้าถึงบริการทางการเงินมากนัก จากรายงานของ The Economist’s Global Microscope 2014 ที่ประเมินสภาพแวดล้อมด้านการกากับดูแลของ การเข้าถึงบริการทางการเงิน โดยใช้ดัชนีชี้วัดจานวน 12 ดัชนีใน 55 ประเทศทั่วโลก พบว่าประเทศไทยได้คะแนน 48 คะแนนจาก 100 คะแนน เป็นอันดับที่ 23 ของโลก เท่ากับเอกวาดอร์ , สาธารณรัฐโดมินิกัน, เอลซัลวาดอร์ และบอสเนีย รายงานดังกล่าวได้ บรรยายภาพรวมของสถานการณ์การเข้าถึงบริการทางการเงินในประเทศ ดังนี้ “การเข้ า ถึ ง บริ ก ารทางการเงิ น ในประเทศไทยนั้ น ในภาพรวมพบว่ า จะถู ก ก าหนดโดยสถาบั น การเงิ น ที่ ไ ด้ รั บ การสนับสนุนจากภาครัฐ ผู้ที่มีบทบาทหลักในการให้บริการทางการเงินแก่กลุ่มคนยากจน ได้แก่ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และ กองทุนหมู่บ้าน สถาบันการเงินเฉพาะกิจหมายถึง สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น โดยมีสองแห่งที่มีบทบาท สาคัญต่อการเข้าถึงบริการทางการเงิน ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งให้บริการทางการเงินแก่ เกษตรกรในชนบท และธนาคารออมสิน ซึ่งให้บริการทางการเงินแก่ผู้ยากจนในชนบท ส่วนกองทุนหมู่บ้านก็ถือเป็นหนึ่งใน โครงการไมโครเครดิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และมีบทบาทสาคัญในการให้บริการสินเชื่อขนาดย่อมในระดับหมู่บ้านทั่วประเทศ ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยยังไม่มีบริการทางการเงินสาหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยโดยเฉพาะ นอกจากนี้ การกากับดูแล ด้านการเข้าถึงบริการทางการเงินก็ยังไม่ได้มีการพัฒนาอย่างกว้างขวางนัก โดยปัจจุบันประเทศไทยยังคงไม่มีแผนการส่งเสริม การเข้าถึงบริการทางการเงินที่ถูกนามาใช้ในทางปฏิบัติ อีกทั้งรูปแบบและแนวทางการกากับดูแลด้านการเข้าถึงบริการทาง การเงินก็มักขึ้นอยู่กับแต่ละหน่วยงานกากับดูแลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความกระจัดกระจายค่อนข้างสูง”

6

เป็นการสารวจประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยจัดสารวจในปี 2557 จานวนตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 150,000 คน จาก 143 ประเทศทั่วโลก

21


รูป 3 ระดับการเข้าถึงบริการทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย ปี ค.ศ. 2014

ที่มา: The Economist, Global Microscope 2014

ประเทศไทยเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์อยู่ในอันดับกลางๆ (อันดับที่ 93 จาก 188 ประเทศทั่วโลกในปี ค.ศ. 2014) รวมทั้งมีโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่พัฒนาแล้ว และสามารถเข้าถึงประชากรส่วนใหญ่ได้ โดยมีเพียงประมาณร้อยละ 10 ของประชากรทั่วประเทศเท่านั้นที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน (ดู รูป 3) ซึ่งสัดส่วน ดังกล่าวค่อนข้างใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกาและประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึง ความเหลื่อมล้าระหว่างภาคและผลิตภัณฑ์ทางการเงินแต่อย่างใด ในปี 2556 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับสานักงานสถิติแห่งชาติได้สารวจระดับการเข้าถึงบริการทางการเงิน ของภาคครัวเรือน จากกลุ่มตัวอย่างตัวแทนครัวเรือนจานวน 10,613 ราย ที่อาศัยอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ทั้ งในเขต เมืองและนอกเขตเมือง โดยสารวจการใช้บริการทางการเงิน 9 บริการ ผลการสารวจพบว่าครัวเรือนร้อยละ 87.99 ใช้บริการทาง การเงินอย่างน้อยหนึ่งประเภท ในขณะที่ร้อยละ 12.01 ไม่มีการใช้บริการทางการเงินใดๆ โดยครัวเรือนที่ไม่ใช้บริการทางการเงิน สามารถแบ่งเป็นครัวเรือนที่เลือกที่จะไม่ใช้บริการทางการเงิน (ไม่ต้องการและไม่มีการใช้บริการ) ร้อยละ 7.78 และครัวเรือนที่ไม่ สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน (ต้องการใช้แต่ไม่สามารถใช้บริการได้) ร้อยละ 4.23 ผลการสารวจนี้ชี้ให้เห็นว่า ครัวเรือนที่เลือกที่จะไม่ใช้บริการทางการเงิน มีสัดส่วนลดลงจากเดิมที่ร้อยละ 11.92 ในปี 2553 ซึ่งสามารถตีความได้ว่า ครัวเรือนมีความต้ องการใช้บริการทางการเงินเพิ่มขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยหากพิจารณา การเพิ่มขึ้นของการใช้บริการจากผู้ให้บริการกลุ่มต่างๆ พบว่าครัวเรือนใช้บริการจากผู้ให้บริการในระบบเพิ่มขึ้นสูงสุด (เพิ่มขึ้นร้อย ละ 3.41) รองลงมาเป็นผู้ให้บริการนอกระบบ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.02) จึงอาจสรุปได้ว่าความต้องการใช้บริการทางการเงินที่เพิ่มขึ้น

22


นี้ได้รับการตอบสนองจากผู้ให้บริการในระบบเป็นส่วนใหญ่ แต่ยังมีความต้องการบางส่วนที่หันไปใช้บริการจากผู้ให้บริการ นอกระบบ ในส่วนของครัวเรือนที่มีการใช้บริการทางการเงิน พบว่าส่วนใหญ่ใช้บริการจากผู้ให้บริการทางการเงิน ที่เป็นธนาคาร พาณิชย์ (ร้อยละ 59.27 ของครัวเรือน) รองลงมาเป็นการใช้บริการสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ร้อยละ 20.22) ส่วนที่เหลือใช้บริการ ทางการเงินจากผู้ให้บริการกึ่งในระบบ และนอกระบบ โดยสัดส่วนการใช้บริการนอกระบบเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.51 เป็นร้อยละ 3.53

รูป 4 ผลการสารวจการเข้าถึงบริการทางการเงินของครัวเรือนไทย ปี 2556

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

สาหรับครัวเรือนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นนั้น จากการสารวจพบว่ามาจากเกือบทุก กลุ่มระดับรายได้และแหล่งที่อยู่อาศัย โดยสาเหตุของการเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งอาจมาจากความต้องการใช้บริการทางการเงินที่สูงขึ้น แต่บางส่วนยังไม่ได้รับการตอบสนอง นอกจากนี้ ผลการสารวจพบว่า ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยสุด และครัวเรือนที่อาศัยในภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินสูงที่สุด (ดูรูป 5)

23


รูป 5 อัตราส่วนของผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน จาแนกตามระดับรายได้และแหล่งที่อยู่อาศัย ปี 2556

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย สาหรับปัญหาจากการใช้บริการทางการเงิน ในภาพรวม พบว่า ครัวเรือนมีความพึงพอใจจากการใช้บริการมากขึ้น อย่างไรก็ดี การเดินทางไปสาขาธนาคารที่ไม่สะดวกและไกล ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่สูงเกินไป วงเงินกู้ที่ได้รับไม่เพียงพอ ตลอดจนเงื่อนไขและขั้นตอนที่ยุ่งยากยังเป็นปัญหาหลักของครัวเรือนที่มาใช้ บริการพื้นฐาน (เงินฝาก สินเชื่อ และโอนเงินและ ชาระเงิน) ในส่วนของการเข้าถึงบริการหลัก พบว่าครัวเรือนใช้บริการเงินฝากมากที่สุด โดยมีสัดส่วนการใช้บริการร้อยละ 80.72 ขณะที่ ค รั ว เรื อ นที่ เ ข้ า ไม่ ถึ ง บริ ก ารส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ครั ว เรื อ นที่ มี ร ายได้ น้ อ ยและต่ าที่ สุ ด อาศั ย อยู่ น อกเมื อ ง หรื อ ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย หรือเดินทางไปใช้บริการไม่สะดวก สาหรับ บริการด้านสินเชื่อ (ไม่รวมบัตรเครดิต) พบว่า มีครัวเรือนใช้บริการน้อยที่สุดใน 3 บริการหลัก โดยมีสัดส่วนการใช้บริการร้อยละ 39.50 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการใช้บริการจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ตามลาดับ ครัวเรือนที่ไม่สามารถเข้าถึง บริการด้านสินเชื่อพบว่าเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ปานกลาง อาศัยอยู่ในเขตเมือง ในกรุงเทพและปริมณฑล และภาคกลาง อาจเนื่องมาจากครัวเรือนกลุ่มนี้จาเป็นต้องพึ่งพาผู้ให้บริการในระบบ ซึ่งมีเงื่อนไขในการให้สินเชื่อที่ค่อนข้างเข้มงวดกว่ากลุ่ม ผู้ให้บริการอื่นๆ ที่อยู่นอกเมือง ส่วนบริการด้านโอนเงินและชาระเงิน พบว่าครัวเรือนมีการใช้บริการเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มผู้ให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพิ่มขึ้นจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อย่างไรก็ดี ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย และที่อยู่ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการโอนเงินและชาระเงินอีกเป็นจานวนมาก และหันไปใช้บริการจากผู้ให้บริการ นอกระบบมากขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากความคุ้นเคยและความเชื่อใจจากการใช้บริการจากผู้ให้บริการนอกระบบมานาน ประกอบกับ สาขาของผู้ให้บริการในระบบอยู่ห่างไกล และไม่คุ้นเคยกับการใช้บริการ สถิติที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นยังมิได้สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้าในหลายประเด็น ซึ่งรวมถึงการถูกกีดกันจากและ การขาดแคลนบริการทางการเงินในระดับท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) รายงาน ว่าครัวเรือนรายได้น้อยในประเทศไทยร้อยละ 38 ใช้บริการทางการเงินหนึ่งหรือสองประเภท และร้อยละ 16 ไม่ใช้บริการทาง การเงินใดๆ ในขณะที่ครัวเรือนรายได้ปานกลางถึงสูงเกือบร้อยละ 80 ใช้บริการทางการเงินอย่ างน้อยสามประเภท ครัวเรือน

24


รายได้น้อยเกือบครึ่งหนึ่งไม่มีการกู้ยืมเงิน เปรียบเทียบกับครัวเรือนรายได้ปานกลางถึงสูงที่ร้อยละ 27 ครัวเรือนรายได้น้อยร้อยละ 28 ไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เงินออม ขณะที่ครัวเรือนรายได้ปานกลางถึงสูงอยู่ที่ร้อยละ 6 (Asian Development Bank, 2011) โดยข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับผลการศึกษาของ Demirguc-Kunt and Klapper (2012) ที่ระบุว่าครัวเรือนรายได้น้อย ร้อยละ 40 และครัวเรือนรายได้ปานกลางถึงสูงร้อยละ 20 ไม่มีบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินในระบบ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแล้ว พบว่าแหล่งเงินทุนในกรุงเทพมหานครและเมืองที่ประชากรมีรายได้สูงนั้ น แตกต่างจากแหล่งเงินทุนในพื้นที่ชนบทของประเทศไทยอย่างชัดเจน โดยประชากรไทยวัยผู้ใหญ่ร้อยละ 77 มีบัญชีเงินฝาก ในขณะที่เพียงร้อยละ 36 สามารถขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ได้ (สอดคล้องกับตัวเลขเงินฝากร้อยละ 80 และสินเชื่อร้อยละ 39 ของการสารวจ ธปท.) ซึ่งหมายความว่าประชากรไทยกว่า 28 ล้านคนต้องไปขอสินเชื่อจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ จากการสารวจของ FinScope ในปี ค.ศ. 2013 พบว่าคนไทยกว่า 7.1 ล้านคนขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งให้บริการทางการเงินแก่เกษตรกรในชนบท และธนาคารออมสิน ในขณะที่คนไทยเพียง 2.1 ล้านคน หรือร้อยละ 4.7 ของประชากรผู้ใหญ่ทั้งหมด 45 ล้านคนขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ รายได้ เฉลี่ยของผู้ที่ขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์สูงกว่ารายได้ของกลุ่มที่ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ กว่าสองเท่า ตัวเลขนี้ แสดงให้เห็นว่าธนาคารพาณิชย์ยังคง “ละเลย” ตลาดผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท ในขณะที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หน่วยงานกึ่งทางการเช่นกองทุนหมู่บ้านที่อยู่ภายใต้การดูแลของภาครัฐ และสถาบัน ที่อยู่นอกระบบทางการเช่นกลุ่มออมทรัพย์ระดับหมู่บ้าน จะมีบทบาทหลักในตลาดผู้มีรายได้น้อยมากกว่า

25


รูป 6 ยอดหนี้คงค้างเฉลี่ย และรายได้ส่วนบุคคลเฉลีย่ จาแนกตามแหล่งเงินทุน

ที่มา: FinScope Thailand 2013 และการสัมภาษณ์ผู้ให้บริการทางการเงิน พฤติกรรมทางการเงินของคนไทย การสารวจของ The FinScope ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยของธนาคารพัฒนาเอเชียในปี ค.ศ. 2011 ได้เผยให้เห็น พฤติกรรมทางการเงินที่น่าสนใจหลายประการด้วยกันของคนไทยจากหลากหลายภูมิภาคและลักษณะทางเศรษฐกิจ-สังคม โดย สามารถสรุปได้โดยสังเขปดังต่อไปนี้

1. คนไทยมีความรู้เพียงพอในการคานวณเลขขั้นพื้นฐาน และเข้าใจความหมายของอานาจต่อรอง จากการสั ม ภาษณ์ ก ลุ่ ม พบว่ า ผู้ ที่ มี ร ายได้ น้ อ ยสามารถค านวณเลขขั้ น พื้ น ฐานได้ โดยกลุ่ ม ตั ว อย่ า งจากการวิ จั ย เชิงคุณภาพ 5 จังหวัด ที่สามารถทาโจทย์การหารเลขได้ถูกต้องน้อยที่สุดคือ กลุ่มแรงงานรายได้น้อยในจังหวัดเชียงราย ซึ่งมี สัดส่วนผู้ตอบถูกร้อยละ 64 ในขณะที่สัดส่วนผู้ตอบถูกในพื้นที่อื่นๆ มีตั้งแต่ร้อยละ 83 (กลุ่มเกษตรกรรายได้น้อยในจังหวัด ชัยนาท) ไปจนถึงร้อยละ 100 (กลุ่มเกษตรกรรายได้ปานกลางในจังหวัดเชียงราย และผู้ที่อาศัยในเมืองเกือบทุกจังหวัด)

26


นอกจากนี้ พบว่าคนส่วนใหญ่ไม่เคยได้ยินคาว่า “เงินเฟ้อ” มาก่อน แต่ในภาพรวมแล้ว เกือบทุกคนสามารถตอบได้ ถูกต้องว่าหากราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นในปีถัดไป พวกเขาก็จะสามารถซื้อของได้น้อยลง กลุ่มที่สับสนเรื่องเงินเฟ้อและไม่เข้าใจ ผลกระทบของราคาที่มีต่ออานาจการต่อรองคือ กลุ่มแรงงานรายได้น้อยในเชียงราย ซึ่งมีเพียงร้อยละ 2.8 เท่านั้นที่ตอบคาถามได้ ถูกต้อง 2. คนไทยมักรู้สึก ‘เครียด’ เมื่อต้องบริหารจัดการเงิน ผลการสารวจของ FinScope ชี้ว่าคนไทยกว่าร้อยละ 80 ทราบว่าการวางแผนทางการเงินช่วยให้พวกเขาบริหารจัด การเงินของตนเองได้ อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยชี้ว่ามีเพียงหนึ่งในสามของกลุ่มตัวอย่างเท่านั้นที่บันทึกรายรับและรายจ่ายราย เดือน ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพของธนาคารพัฒนาเอเชียที่เผยว่าน้อยกว่าร้อยละ 15 ของผู้ตอบแบบสอบถามตอบ ว่าตนเองมีการบันทึกรายรับรายจ่าย รวมถึงกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางด้วย จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างใน 5 จังหวัด พบว่ากลุ่มตัวอย่างน้อยกว่าร้อยละ 5 มีการทาบัญชีครัวเรือนเป็นประจา ประมาณร้อยละ 20 แจ้งว่าเคยทาบัญชีครัวเรือนในอดีต แต่ทาได้ไม่นานก็เลิก เนื่องจากรู้สึกเครียดเมื่อเห็นรายจ่ายมากกว่า รายรับ, รายได้ไม่แน่นอนเกินกว่าที่จะบันทึกได้ , ไม่เห็นประโยชน์ของการทาบัญชี, และ/หรือขี้เกียจที่จะทาต่อ โดยสาเหตุหลักที่ พบมากที่สุดคือ “รู้สึกเครียด” เกือบทุกคนที่บันทึกบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างสม่าเสมอแจ้งว่าจุดประสงค์หลักที่บันทึกก็เพื่อลด ค่าใช้จ่ายที่ไม่จาเป็น โดยประมาณครึ่งหนึ่งบอกว่าตนเองจะใช้บันทึกเหล่านี้ในการวางงบประมาณสาหรับเดือนถัดไป ผลการวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพดั ง กล่ า วสอดคล้ อ งกั บ ผลส ารวจของ FinScope ที่ เ ผยว่ า คนไทยกว่ า ร้ อ ยละ 60 รู้ สึ ก ว่ า การบริหารจัดการเงินเป็น “ภาระ” และทาให้ “เครียด” ผลการศึกษานี้จึงชี้ให้เห็นว่า การสร้างแรงจูงใจเพื่อให้คนสามารถจัดการ กับความเครียดดังกล่าวได้เป็นพื้นฐานสาคัญของการเพิ่มทักษะทางการเงิน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การให้เครื่องมือให้ความรู้ทางการ เงินเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ แต่จาเป็นต้องมีการฝังคาแนะนาที่สร้างสรรค์ เชื้อเชิญและให้ข้อมูลผู้ใช้ (feedback) อย่าง ต่อเนื่อง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนใช้เครื่องมือจริง 3. คนไทยไม่ค่อยให้ความสาคัญกับการออมระยะยาว ผู้ตอบแบบสอบถาม FinScope เพียงร้อยละ 42 แจ้งว่าพวกเขาออมเงินได้เพียงพอสาหรับค่าใช้จ่ายในครัวเรือนแต่ละ เดือน โดยเหตุผลในการออมเงินที่มีผตู้ อบแบบสอบถามเกินครึง่ นั้นล้วนเกี่ยวข้องกับความต้องการระยะสัน้ หรือเหตุฉุกเฉิน ในขณะ ที่ความต้องการออมเงินระยะยาว เช่น สาหรับเป็นค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณหรือยามชรา และค่าใช้จ่ายการศึกษานั้น พบว่ามีผู้ตอบ น้อยกว่าร้อยละ 30 ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพในรายงานของธนาคารพัฒนาเอเชีย ผลการสัมภาษณ์กลุ่มพบว่ามีผู้เข้าร่วมไม่ถึง 10 รายที่มีแผนสารองกรณีเกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้คาดคิดล่วงหน้าหรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น การซื้อประกันชีวิต และการออมเงินเพื่อ การดังกล่าวโดยเฉพาะ ค่าใช้จ่ายหลักอื่นๆ ที่ต้องอาศัยการวางแผนระยะยาว เช่น การสร้างที่อยู่อาศัย การจัดงานแต่งงาน และงานบวช อย่างไรก็ดี ผู้ร่วมการสัมภาษณ์กลุ่มที่มี รายได้น้อยมองว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ได้เป็นเรื่องเร่งด่ว น และสามารถปรับขนาดและ รูปแบบให้เข้ากับฐานะทางการเงินได้ ยกตัวอย่างเช่น รอให้เก็บเงินได้มากพอก่อนจึงจะไปสู่ขอ หรือออกบวช หรือเวลาสร้างบ้านก็ ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ใช้แรงงานตัวเองแทนการจ้างผู้รับเหมา เป็นต้น ความยืดหยุ่นดังกล่าวทาให้พวกเขามีแรงจูงใจที่จะ วางแผนล่วงหน้าน้อยลง ผลการศึกษานี้จึงชี้ให้เห็นว่าคนไทยยังไม่ได้ให้ความสาคัญกับการออมเงินในระยะยาวมากนัก และยังไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ เงินออมระยะยาวเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงยังมีโอกาสทางตลาดสูงมากสาหรับผลิตภัณฑ์เงินออม

27


ระยะยาว โดยผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นของภาคเอกชนหรือรัฐ ควรบูรณาการการให้ความรู้ทางการเงินเข้าไปในกระบวนการ ออกแบบ การตลาด และการส่งมอบผลิตภัณฑ์เหล่านี้ด้วย 4. ความกลัวหนี้และการขาดความเข้าใจเป็นอุปสรรคต่อการกู้ยืมอย่างรับผิดชอบ หนี้ครัวเรือนประเทศไทยนับว่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่ากังวลเมื่อเปรียบเทียบกับจีดีพี โดยสิ้นปี 2559 หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 83 ของจีดีพี จากร้อยละ 51 ในปี 2550 ในขณะที่รายได้ครัวเรือนที่ใช้จ่ายได้จริงเทียบจีดีพีค่อนข้างคงตัวอยู่ที่ร้อยละ 53-54 ชี้ว่าความสามารถในการชาระหนี้ไม่ได้เพิ่มตามภาระหนี้สิน ในภาวะเช่นนี้ ความเข้าใจในเรื่องหนี้และผลกระทบของหนี้จึง เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สาหรับโครงการส่งเสริมทักษะทางการเงินระดับชาติทุกโครงการ จากการศึกษาของธนาคารพัฒนาเอเชียพบว่า แรงงานในชนบทน้อยกว่าร้อยละ 30 ใน 5 จังหวัดตัวอย่างสามารถคานวณดอกเบี้ยที่ต้องชาระได้เมื่อทราบอัตราดอกเบี้ยและ เงินต้น นอกจากนี้ ผู้ร่วมสัมภาษณ์กลุ่มกว่าครึ่งหนึ่งไม่ทราบอัตราดอกเบี้ยของยอดหนี้ที่ตนค้างชาระในปัจจุบัน โดยพวกเขาเพียง แค่ชาระเงินตามที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้จากธนาคารและสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร จากผลการสัมภาษณ์กลุ่มพบว่า “ยอดผ่อนชาระหนี้รายเดือนต่า” เป็นหนึ่งในสองคุณสมบัติของสินเชื่อที่คนชอบมาก ที่สุด แสดงให้เห็นว่าโดยรวมแล้ว ลูกหนี้ไทยไม่สามารถเปรียบเทียบข้อตกลงการให้สินเชื่อได้ดีเท่าไรนัก และอาจมีความเสี่ยงที่จะ เข้าใจผิด หรือตกอยู่ในภาวะหนี้เกินตัวโดยไม่ได้ตั้งใจได้ ยกตัวอย่างเช่น ลูกหนี้อาจเลือกขอปรับโครงสร้างหนี้ที่ช่วยลดยอดผ่อน ชาระรายเดือนเพียงเล็กน้อย โดยไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วการทาเช่นนี้จะทาให้ภาระหนี้สินโดยรวมเพิ่มสูงขึ้น (โดยเฉพาะหนี้ที่ไม่ได้ อยู่ภายใต้การควบคุมจากทางการ เช่น หนี้นอกระบบที่คิดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่และไม่มีการลดเงินต้น) 5. คนไทยขาดความตระหนักเรื่องสิทธิผู้บริโภคและช่องทางการร้องเรียน จากการส ารวจของ FinScope พบว่ า มี ผู้ ต อบแบบสอบถามเพี ย งร้ อ ยละ 2 เท่ า นั้ น ที่ มี ปั ญ หาหรื อ ข้ อ ขั ด แย้ งกั บ ผู้ให้บริการทางการเงิน โดยปัญหาหลักคือ ไม่สามารถชาระหนี้ได้ตามกาหนด รองลงมาคือ มองว่าดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมสูง เกินไป ซึ่งเป็นเช่นเดียวกันในทุกภาค ยกเว้นเขตเทศบาลในภาคเหนือที่ปัญหาอันดับสองคือ การติดตามทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสม ผู้ตอบแบบสารวจกว่าร้อยละ 47 ชี้แจงว่าพวกเขาจะไม่ทาอะไรเมื่อเผชิญกับปัญหา ในขณะที่ ร้อยละ 42 จะติดต่อ ผู้ให้บริการทางการเงินโดยตรง และน้อยกว่าร้อยละ 5 จะติดต่อธนาคารแห่งประเทศไทยหรือหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค

28


ตาราง 1 ความตระหนักเรื่องสิทธิผู้บริโภคจาแนกตามภาค

กรุงเทพฯ ภาคกลาง

ภาคเหนือ

ภาค ตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคใต้

ค่าเฉลี่ย

เขตเทศบาล เขตเทศบาล นอกเขต เทศบาล เขตเทศบาล นอกเขต เทศบาล เขตเทศบาล นอกเขต เทศบาล เขตเทศบาล นอกเขต เทศบาล

ไม่สามารถ ชาระหนี้ได้ ตามกาหนด 28% 50% 55%

การติดตาม ทวงถามหนี้ ไม่เหมาะสม 10% 11% 0%

เข้าใจ สัญญา สินเชื่อผิด 16% 11% 10%

การโฆษณา ที่อาจทาให้ เข้าใจผิด 16% 11% 5%

ดอกเบี้ย/ ค่าธรรมเนียม แพงเกินไป 26% 17% 25%

ข้อมูลส่วน บุคคลถูก นาไปใช้ 0% 0% 5%

ข้อร้องเรียน ไม่ได้รับการ แก้ไข 3% 0% 0%

50% 46%

30% 8%

0% 8%

0% 8%

20% 31%

0% 0%

0% 0%

60% 67%

5% 0%

10% 0%

5% 0%

10% 33%

5% 0%

5% 0%

48% 80%

5% 0%

14% 0%

5% 0%

24% 20%

5% 0%

0% 0%

44%

8%

12%

9%

23%

2%

2%

ที่มา: Achavanuntakul and Diaz, 2013

ฟินเทคกับการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน เนื่องจากจุดเด่นของฟินเทคคือการลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับบริการทางการเงิน ด้วยเหตุนี้ฟินเทคจึงเป็น เครื่องมือที่มีศักยภาพสูงมากในการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน โดยปัจจุบันฟินเทคได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางการเงิน แทบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงบริการทางการเงิน ความรวดเร็วในการให้บริการ ความปลอดภัยและความโปร่งใสในการทาธุรกรรม รวมไปถึง เปิดโอกาสให้เกิด โมเดลธุรกิจทาง การเงิ น รู ป แบบใหม่ ๆ ที่ ท าให้ ก ลุ่ ม คนยากจนหรื อ คนรากหญ้ า สามารถเลื อ กใช้ บ ริ ก ารทางการเงิ น ที่ มี คุ ณ ภาพ ในราคาที่ สมเหตุสมผล และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อนาไปใช้ยกระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขาได้ ในขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการก็ สามารถส่งมอบบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ในอัตราต้นทุนที่ต่าลง และสามารถขยายฐานลูกค้า ไปสู่กลุ่มคนรากหญ้าอันเป็นโอกาสทางธุรกิจอย่างมหาศาล (FI2020, 2016)

29


ศักยภาพของฟินเทคในการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน ศักยภาพของฟินเทคในการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ฟินเทคทาให้กระบวนการตรวจสอบและยืนยันตัวตนลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น ในกระบวนการทาความรู้จักกับลูกค้า หรือ Know-your-customer - KYC7 แบบดั้งเดิม ลูกค้ามักต้องเดินทางไปที่ ธนาคารเพื่อยื่นเอกสารยืนยันตัวตน ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนในการเดินทาง รวมถึงต้องรอการพิจารณาเอกสารนานถึงสองหรือสาม สัปดาห์ ฟินเทคมีบทบาทในการพัฒนากระบวนการ KYC ได้ โดยทาให้กระบวนการดังกล่าวดาเนินงานอย่าง “อัตโนมัติ” มากขึ้น เช่น การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลยืนยันตัวตนของลูกค้าผ่านระบบดิจิตอล ที่สามารถประมวลผลและเปรียบเทียบกับฐานข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ให้บริการมีอยู่ ทาให้สามารถลดต้นทุนและเวลาในการดาเนินการได้อย่างมีนัยสาคัญ ในขณะเดียวกัน ฟินเทคก็ สามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยและความโปร่งใสในการทาธุรกรรมการเงิน และทาให้ลูกค้าสามารถยืนยันตัวตนได้ง่ายและสะดวก ขึ้น เช่น การยืนยันตัวตนโดยใช้ข้อมูลทางชีวภาพ (Biometric Identification System) ที่แม้ลูกค้าผู้ไม่รู้หนังสือก็ สามารถส่ง หลักฐานการยืนยันตัวตน เช่น ลายนิ้วมือ ให้กับผู้ให้บริการจากระยะไกลได้ ทาให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและเวลาใน การเตรียมเอกสารได้อย่างมาก 2. ฟินเทคช่วยขยายขอบเขตการให้บริการ โดยการขจัด “ปัญหาไมล์สุดท้าย” สาเหตุหลักประการหนึ่งที่ กลุ่มฐานรากจานวนมากถูกกีดกันจากการเงินในระบบ เป็นเพราะไม่สามารถเข้าถึงสาขา ธนาคารหรือตู้เอทีเอ็มเพื่อทาธุรกรรมการเงินขั้น พื้นฐานได้ หรือสามารถเข้าถึงได้แต่ ต้องแบกรับต้นทุนการเดินทางและค่าเสีย โอกาสสูง ในขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการก็มักเผชิญกับ “ปัญหาไมล์สุดท้าย” (last-mile problem) ซึ่งหมายถึงปัญหาในการส่งเงิน สดให้ถึงมือผู้รับปลายทางในขั้นตอนสุดท้าย ที่มักหาตัวแทนส่งเงินได้ยาก และเสี่ยงต่อการถูกยักยอกเงิน ทาให้ผู้ให้บริการต้อง แบกรับต้นทุนสูงจนบางครั้งมองว่าไม่คุ้มค่าที่จะให้บริการกลุ่มคนดังกล่าว ฟินเทคสามารถช่วยแก้ปัญหานี้โดยการสร้าง “จุดบริการ” อิเล็กทรอนิกส์ ที่ลูกค้าสามารถทาธุรกรรมการเงินขั้นพื้นฐาน ได้ ตัวอย่างจุดบริการ เช่น แอพพลิเคชั่นบนมือถือ จุดบริการ ณ จุดขาย (point-of-sale) และเครือข่ายตัวแทนของผู้ให้บริการ เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะทาให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้นและสะดวกสบายยิ่งขึ้นแล้ว จุดบริการอิเล็กทรอนิกส์ยังช่วยให้ผู้ ให้บริการสามารถขยายขอบเขตการให้บริการไปยังพื้นที่ห่างไกล หรือพื้นที่ที่การจัดตั้งสาขาธนาคารหรือตู้เอทีเอ็มไม่ คุ้มค่าเชิง เศรษฐกิจ และช่วยลดต้นทุนการให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าฐานรากอีกด้วย 3. ฟินเทคทาให้ระบบธุรกรรมการชาระและโอนเงินมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ฟินเทคมีบทบาทสาคัญในการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของการทาธุรกรรมชาระและโอนเงิน ตัวอย่างเช่น API ระบบเปิด หรือ Open API ที่ทาให้ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แล้ว ในการนาเสนอ ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ เช่น การเก็บข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าจากสื่อสังคม (โซเชียลมีเดีย) การให้บริการสินเชื่อรายย่อยผ่าน แพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น 8

Know-your-customer - KYC เป็นกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องและยืนยันตัวตนลูกค้าที่สถาบันการเงินจะต้องปฏิบัติ เพื่อป้องกันการฟอก เงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ก่อการร้าย 8 API หรือ Application Programming Interface คือช่องทางการเชื่อมต่อเพือ ่ แลกเปลี่ยนข้อมูลจากระบบหนึ่งไปสู่ระบบอื่นๆ โดยผ่าน Library (Code) ของผู้สร้างหรือผูใ้ ห้บริการ API เพื่อให้ผู้พัฒนาระบบอื่นๆ สามารถเชื่อมต่อกับ API ของผู้ที่เปิดให้บริการได้ 7

30


ฟินเทคยังเป็นฐานสาคัญสาหรับการพัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถทางานร่วมกับระบบอื่นได้ (Interoperability) โดย แพลตฟอร์มดังกล่าวเปิดโอกาสให้ผู้เล่นในตลาดการเงินสามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน และทาให้การถ่ายโอนข้อมูลและการทาธุรกรรม ระหว่างธนาคาร, ธนาคาร-ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ , และระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยกัน เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยลดการทางานทีท่ ับซ้อน และลดต้นทุนในการดาเนินงานของผู้ให้บริการได้อย่างมีนัยสาคัญ การนาฟินเทคมาพัฒนาระบบการชาระและโอนเงินส่งผลให้ลูกค้าโดยเฉพาะกลุ่มฐานรากมีทางเลือกในการใช้บริก าร มากขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการทาธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบดิจิตอลเพิ่มขึ้น โดยฟินเทคได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทา ธุรกรรมทางการเงินของคนจน จากการใช้เงินสดไปสู่การเงินในระบบดิจิตอล ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุน ทั้งฝั่งลูกค้าและ ผู้ให้บริการแล้ว ฟินเทคยังทาให้ลูกค้าสามารถทาธุรกรรมทางการเงินในจานวน ขนาด และความถีท่ ตี่ นต้องการได้ แม้ธุรกรรมแต่ ละครั้งอาจมีมูลค่าไม่สูงมากนัก รวมถึงช่วยลดปัญหาและความเสี่ยงจากการถือเงินสดอีกด้วย นอกจากนี้ การนาฟินเทคมาพัฒนาระบบการชาระและโอนเงินยังส่งผลให้ภาครัฐ ดาเนินนโยบายเชิงสังคมได้อย่างมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยรัฐบาลสามารถใช้ฟินเทคในการจัดสรรและส่งเงินช่วยเหลือให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ลดต้นทุนและโอกาสในการฉ้อโกง และเพิ่มความโปร่งใสในการดาเนินงาน ยกตัวอย่างเช่น ในแอฟริกาใต้ พบว่า การส่ งเงิ น ช่ ว ยเหลื อ จากรั ฐ บาลผ่ า นระบบอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ช่ว ยประหยั ดต้ น ทุ น ในการด าเนิ น การได้ มากถึ งร้ อ ยละ 60 เมื่ อ เปรียบเทียบกับการจ่ายเป็นเงินสด รวมถึงเงินช่วยเหลือก็สามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่เคยถูกกีดกันจากการเงินในระบบได้มากขึ้น 4. ฟินเทคทาให้กลุ่มลูกค้าฐานรากสามารถฝาก-ออมเงินได้โดยมีต้นทุนต่าและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถใช้ประโยชน์จากฟินเทคในการนาเสนอช่องทางบริการเงินฝากรูปแบบใหม่แก่ลูกค้า เช่น ผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารอาจเชื่ อ มต่ อ บั ญ ชี เ งิ น ฝากของลู ก ค้ า เข้ า กั บ ระบบธุ ร กรรมการเงิ น บนโทรศั พ ท์ เ คลื่ อ นที่ หรื อ กั บ กระเป๋ า เงิ น อิเล็กทรอนิกส์ โดยลูกค้าสามารถฝากเงินสดได้ที่ตัวแทนผู้ ได้รับอนุญาต หรือโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์เข้าบัญชีเงินฝากได้ผ่าน แอพพลิเคชั่นบนมือถือ ทาให้ลูกค้ามีต้นทุนในการฝากเงินลดลง และฝากเงินได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ผู้ให้บริการทางการเงินยังสามารถใช้ฟินเทคในการเพิ่มจุดบริการฝาก-ถอนเงินสด เช่น การสร้างเครือข่ายตัวแทนของ ผู้ให้บริการที่ทาหน้าที่รับเงินสดจากลูกค้าแล้วแปลงเป็นเงิน สกุลดิจิตอลเข้าบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้า และในทางกลับกันก็ สามารถให้ลูกค้าถอนเงินสดโดยหักยอดออกจากบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ได้ ทาให้ลูกค้าฐานรากที่อาศัยห่างไกลจากธนาคารหรือ ตู้เอทีเอ็มสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เงินฝากได้มากยิ่งขึ้น ประโยชน์อีกประการหนึ่งคือ ฟินเทคช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถออกแบบและนาเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ตอบสนองต่อ ความต้องการของลูกค้าเป็นรายบุคคลได้ดียิ่งขึ้น เช่น การวางแผนเงินออมแบบมีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง หรือการออมเงินครั้งละ น้อยแต่ถี่ครั้ง ที่อาจสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพฤติกรรมการใช้เงินของกลุ่มลูกค้าฐานราก และส่งผลให้ลูกค้ากลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะ ใช้ผลิตภัณฑ์เงินฝากเพิ่มขึ้น 5. ฟินเทคเปลี่ยนแปลงกระบวนการพิจารณาสินเชื่อให้เอื้อต่อการเข้าถึงกลุ่มฐานรากยิ่งขึ้น อุปสรรคสาคัญประการหนึ่งที่ทาให้กลุ่มฐานรากมักไม่สามารถขอสินเชื่อจากการเงินในระบบได้คือ การขาดประวัติทาง การเงินที่น่าเชื่อถือซึ่งเป็นปัจจัยสาคัญในการพิจารณาสินเชื่อ ด้วยเหตุนี้ ฟินเทคจึงมีส่วนช่วยขยายการเข้าถึงบริการสินเชื่อได้โดย การเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการทางการเงินเข้าถึงฐานข้อมูลดิจิตอลของลูกค้าได้จากหลากหลายแหล่ง และนาข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ใน การประเมินความสามารถในการชาระหนี้ เช่น ข้อมูลธุรกรรมการชาระเงินในอดีต ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากแบบทดสอบเชิงจิตวิทยา (Psychometric Test) ข้อมูลจากบริษัทให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และข้อมูลระบุพิกัดตาแหน่งของผู้ใช้งาน เป็นต้น ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล มหาศาลนี้ส่งผลให้ผู้ให้บริการสามารถประเมิน ความสามารถในการชาระหนี้สาหรับ กลุ่ม

31


ลูกค้าที่ขาดข้อมูล หรือประวัติทางการเงิ น ได้ ในขณะเดียวกัน ฟินเทคก็เพิ่มช่องทางการปล่ อยสินเชื่อ โดยอาศัยนวัตกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบใหม่ๆ รวมถึงนวัตกรรมอื่นๆ เช่น เทคโนโลยีจ่ายเมื่อใช้งานจริง (Pay-as-you-go) หรือการให้สินเชื่อ แบบบุคคลต่อบุคคล (Peer-to-peer Lending) ที่ทาให้ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถขยายตลาดสินเชื่อไปยังกลุ่มลูกค้าฐานราก ได้มากขึ้น และคิดดอกเบี้ยในอัตราทีต่ ่าลงได้ ฟิ น เทคยั ง ช่ ว ยลดความเสี่ ย งจากการปล่ อ ยสิ น เชื่ อ โดยการท าให้ ร ะบบการตรวจจั บ การทุ จ ริ ต ท างานได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ และทาให้ผู้ให้บริการสามารถตรวจสอบตัวตนลูกค้าระหว่างแหล่งข้อมูลได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การจัดตั้งศูนย์ รวบรวมข้อมูลการทุจริตในประเทศอินเดีย ที่เปิดให้ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถบันทึกและแบ่งปั นข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบ การทุจริต ต่างๆ และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้ รวมทั้งช่วยให้ผู้ปล่อยสินเชื่อมองเห็นความเคลื่อนไหวของธุรกรรมการเงินได้ ตลอดเวลา และตรวจจับพฤติกรรมการทุจริตได้ง่ายยิ่งขึ้น ที่ผ่านมา รูปแบบการให้บริการของธุรกิจฟินเทคที่แพร่หลายมากที่สุดคือ กลุ่มการชาระและโอนเงิน (Payments/Transfers) สาเหตุที่ผู้ให้บริการหลายรายเลือกที่จะเจาะตลาดลูกค้าฐานล่างโดยเริ่มจากบริการชาระและโอนเงินนั้น เป็นเพราะบริการดังกล่าว มีข้อได้เปรียบกว่าบริการแบบดั้งเดิมอย่างชัดเจน กล่าวคือ ลูกค้าไม่จาเป็นต้องเดินทางระยะไกลเพื่อรับ-ส่งเงินหรือชาระค่าสินค้า ทาให้พวกเขาประหยัดต้นทุนในการเดินทางและเวลาได้อย่างมีนัยสาคัญ นอกจากนี้ ลูกค้าสามารถทราบได้ทันที ว่าธุรกรรม ทางการเงินที่ตนทานั้นสาเร็จด้วยดีหรือไม่ การเริ่มจากระบบการชาระและโอนเงินจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างความเชื่อใจของ ลูกค้าต่อฟินเทค จากนั้นผู้ให้บริการก็อาจขยายการให้บริการที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น การทาประกันภัย การปล่อยสินเชื่อ ฯลฯ

ความท้าทายในการใช้ฟินเทคเพื่อขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน แม้สถิติจะชี้ให้เห็นว่าจานวนผู้ที่มีบัญชีธนาคารทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 51 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 62 ในปี 2557 (World Bank Group, 2015) ซึ่งบ่งบอกโดยนัยว่ามีผู้ที่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี ความท้าทายขั้น ถัดไปคือการจูงใจให้คนเหล่านั้น “ใช้บริการ” ทางการเงินอย่างต่อเนื่อง รวมถึงใช้บริการทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อที่ พวกเขาจะสามารถนาไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขาได้อย่างยั่งยืน (Bill & Melinda Gates Foundation, 2012) โดยปัจจุบัน พบว่ามีผู้ใหญ่ร้อยละ 18 เท่านั้นที่รับเงินเดือนหรือชาระค่าสาธารณูปโภคผ่านบัญชีธนาคาร และเพียงร้อยละ 11 ที่ขอสินเชื่อจาก บริการทางการเงินในระบบ (ADB; Oliver Wyman; MicroSave, 2017) นอกจากนี้ การที่ฟินเทคจะช่วยขยายการเข้าถึง บริการทางการเงิน ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จาเป็นจะต้องอาศัย ความร่วมมือจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานกากับดูแลที่เกี่ยวข้อง ผู้กาหนดนโยบาย หรือผู้ให้บริการทางการเงิน ซึ่งปัจจุบัน พบว่ายังมีอุปสรรคบางประการ เช่น ผู้ให้บริการทางการเงินบางกลุ่มยังมองไม่เห็นถึงเหตุผลทางธุรกิจ หรือขาดแรงจูงใจใน การให้บริการกลุ่มลูกค้าฐานราก เนื่องจากมองว่า “ไม่คุ้มค่า” ทางการเงิน ในขณะเดียวกัน หน่วยงานกากับดูแลก็อาจมีความท้าทาย ในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากฟินเทคได้ปฏิวัติรูปแบบการบริหารจัดการข้อมูลทางการเงิน ทาให้หน่วยงาน กากับดูแลต้องเผชิญกับข้อมูลปริมาณมหาศาล มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และทวีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นหน่วยงาน ดังกล่าวจึงจาเป็นต้องสร้างกลไกและกาหนดแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น การตรวจสอบคุณภาพ การกาหนดระดับการเข้าถึง รวมไปถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

32


บทบาทของหน่วยงานกากับดูแลในการเพิ่มระดับการเข้าถึงบริการทางการเงินด้วยฟินเทค แนวทางหนึ่งที่หน่วยงานกากับดูแลระบบการเงินระดับประเทศสามารถใช้เพื่อขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินคือ การสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและกาหนดกฎเกณฑ์ที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจฟินเทค ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันบังคลาเทศ มีความพยายามที่จะรวมธุรกิจบริการทางการเงินผ่านระบบมือถือเข้ากับภาคธนาคาร เพื่อขยายการให้บริการทางการเงินแก่กลุ่ม คนยากจนในชนบท ปัจจุบันประชากรบังคลาเทศกว่า 157 ล้านคนนิยมโอนเงินผ่านมือถือมากกว่าที่จะทาผ่านบัญชีธนาคาร ในขณะเดียวกันเครือข่ายมือถือก็ครอบคลุม กว่าร้อยละ 99 ของประชากรทั่วประเทศ ด้วยเหตุนี้ ธนาคารกลางจึง สนับสนุนให้ ธุรกิจรายย่อยที่ให้บริการธุรกรรมการเงินบนมือถือรวมตัวกัน และเชื่อมต่อการให้บริการเข้ากับธนาคารพาณิชย์ในประเทศ เพื่อให้ เกิดการทางานอย่างบูรณาการ และสามารถเข้าถึง กลุ่มลูกค้าที่มีรายได้น้อยหรือกลุ่มคนรากหญ้าได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกเหนือจาก บริการชาระและโอนเงินแล้ว บริษัทที่เกิดจากรวมตัวกันนี้ก็สามารถให้บริการทางการเงินอื่นๆ เพิ่มเติมได้ เช่น การฝากเงิน การทา ประกัน และการปล่อยสินเชื่อ (Bloomberg Technology, 2015) อย่างไรก็ดี แม้ธนาคารกลางบังคลาเทศจะต้องการให้ธุรกิจบริการทางการเงินผ่านระบบมือถือมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ภาคธนาคารโดยตรง แต่ธนาคารกลางก็เปิดโอกาสให้บริษัทอย่าง Bkash สามารถมีพันธกิจของตนเองและดาเนินงานได้อย่าง อิสระ โดยมี BRAC ธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของบังคลาเทศทาหน้าที่กากับดูแลให้การดาเนินงานของ Bkash เป็นไป ตามกฎข้อบังคับอีกทีหนึ่ง นอกจากนี้ ธนาคารกลางยังสนับสนุนให้ Bkash และบริษัทให้บริการทางการเงินผ่านมือถืออื่นๆ สามารถเข้าถึงช่องทาง USSD9 ของบริษัทโทรคมนาคมได้ ซึ่งเท่ากับเปิดช่องทางให้บริษัทเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือได้ เช่นในกรณีของ Bkash ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับร้อยละ 98 ของผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือทั่วประเทศ และส่งผลให้ธุรกิจเติบโต อย่างก้าวกระโดด อีกแนวทางหนึ่งที่หน่วยงานกากับดูแลอาจใช้ในการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินคือ การสร้างและสนับสนุนให้เกิด ระบบนิเวศที่เอื้อต่อการแข่งขันและก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการทางการเงินเดิม และผู้เล่นรายใหม่ เช่น ผู้ให้บริการ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อให้ธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ในภาคธนาคารแต่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทในการ ให้บริการทางการเงินภายใต้การกากับดูแลที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการสร้าง “เขตปลอดภัย” หรือ regulatory sandbox (ดูตัวอย่างของประเทศไทยได้ในบทถัดไป) ทีส่ นับสนุนให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ทดสอบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ฟินเทคภายใต้กรอบ การกากับดูแล เพื่อให้ผู้ประกอบการเกิดกระบวนการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง และมีโอกาสได้ทางานร่วมกับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไนจีเรียซึ่งมีอัตราการเติบโตของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสูง ธนาคารกลางแห่งไนจีเรียเล็งเห็นว่า การทาธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มื อถือนั้นจะเป็นเครื่องมือสาคัญในการเพิ่มระดับการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนใน ประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประชากรที่ถูกกีดกันจากการเงินในระบบ ด้วยเหตุนี้ ในปี 2558 ธนาคารกลางจึงได้ประกาศให้ผใู้ ห้บริการ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Network Operator: MNO) สามารถให้บริการทางการเงินผ่านมือถือได้ รวมทั้งได้กาหนด แนวปฏิบัติในการให้บริการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้อต่อการพัฒนาและการแข่งขันของ ธุรกิจบริการทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ และสร้างกรอบแนวทางในการกากับดูแลกิจการของธุรกิจ ดังกล่าว เพื่อคุ้มครองให้ ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด (Central Bank of Nigeria, 2015)

USSD ย่อมาจาก Unstructured Supplementary Services Data เป็นบริการที่คล้ายกับบริการส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ (SMS) แต่ข้อความ ที่ได้รับจากระบบ USSD จะไม่ถูกบันทึกลงบนอุปกรณ์มือถือ 9

33


รูปแบบการให้บริการของธุรกิจฟินเทคที่สามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน ผู้ให้บริการทางการเงินทั่วโลกได้เริ่มเล็งเห็นถึงช่องว่างระหว่างการให้บริการในรูปแบบดั้งเดิมกับเทคโนโลยีทางการเงินที่ ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาจึงมีผู้ประกอบการจานวนมากที่นาช่องว่างดังกล่าวมาเป็นโอกาสใน การทาธุรกิจ และก่อเกิดเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่สามารถแก้ไขปัญหาและตอบโจทย์ผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคน ด้อยโอกาสหรือผู้ที่เคยถูกกีดกันออกจากการเงินในระบบ โดยตัวอย่างรูปแบบการให้บริการของธุรกิจฟินเทคที่สามารถเพิ่ม การเข้าถึงบริการทางการเงินมีดังต่อไปนี้

กลุ่มชาระเงินและโอนเงิน (Payments and Transfers) การชาระและโอนเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Payment and Transfer) หมายถึงการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือในการโอนเงิน และชาระค่าสินค้าหรือบริการต่างๆ อาจแบ่งออกเป็น ประเภทย่อย เช่น mCommerce ซึ่งคล้ายการซื้อของทางเว็บไซต์แต่ทาบนมือถือ mWallet ที่ผู้ใช้บริการสามารถแลกและเติม เงินอิเล็กทรอนิกส์ใส่ในกระเป๋า และใช้เงินนั้นชาระค่าสินค้าและบริการได้ หรือ mPayment ที่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือสแกนที่ จุดขาย (Point-of-sale) ตามร้านค้าที่รองรับระบบดังกล่าว เพื่อชาระสินค้าและบริการแทนการใช้เงินสดหรือบัตรเครดิต เป็นต้น การทาธุรกรรมชาระและโอนเงินผ่านโทรศัพท์มือถือมีข้อดีคือ สามารถทาธุรกรรมทันที สะดวกรวดเร็ว และลดต้นทุนใน การทาธุรกรรมแบบเงินสดได้อย่างมีนัยสาคัญ นอกจากนี้ ผู้ให้บริการจะสามารถบันทึกและรวบรวมข้อมูลการทาธุรกรรมการเงิน ของลูกค้าได้ แล้วนาไปใช้วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางเครดิตของลูกค้ารายบุคคล เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงิน อื่นๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น ระบบการชาระและโอนเงินผ่านโทรศัพท์มือถือมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในอนาคต สาเหตุหนึ่งเป็น เพราะอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันสามารถผลิตสมาร์ทโฟนได้ด้วยต้นทุนต่า ทาให้คนทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟน ได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้พวกเขาสามารถเข้าถึง อินเทอร์เน็ตได้มากขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ถึงแม้จ ะมีผู้ที่ยังเข้า ไม่ถึงบริการทางการเงินในระบบเป็นจานวนมาก แต่ช่วงสองสามปีที่ผ่านมา คนกลุ่มดังกล่าวก็เริ่มหันมาใช้จ่ายผ่านช่องทาง ออนไลน์มากขึ้น แนวโน้มของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ชี้ ให้เห็นถึงโอกาสในการเติบโตของระบบการชาระและโอนเงินผ่าน โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ รวมถึ ง ศั ก ยภาพที่ ร ะบบดั ง กล่ า วจะช่ ว ยขยายการเข้ า ถึ ง บริ ก ารทางการเงิ น ได้ ใ นอนาคต (Asia Outlook Magazine, 2017) อย่างไรก็ดี การชาระและโอนเงินผ่า นโทรศัพ ท์มื อถื อนี้ จะสามารถเพิ่มการเข้ าถึ งบริ การทางการเงิ นได้ดีก็ต่ อ เมื่ อ การพัฒนาฟินเทคของประเทศนั้นๆ อยู่บนพื้นฐานของการเป็น “Open architecture” หรือก็คือ การให้บริการทางการเงินเพื่อ ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า โดยไม่มีข้อจากัดว่าจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ของสถาบันการเงินเพียงอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอินเดียที่มุ่งพัฒนาฟินเทคและแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนที่สามารถทางานร่วมกันกับระบบอื่นได้ (Interoperability) ระบบจึงสามารถเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสี ยหลายฝ่ายเข้าด้วยกัน และทาให้ บริการเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ในขณะที่ภูมิภาคลาตินอเมริกา พบว่าฟินเทคด้านการชาระและโอนเงินผ่านโทรศัพท์มือถือยังไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนรากหญ้าได้ เท่าไรนัก เนื่องจากกฎระเบียบต่างๆ ไม่เอื้ออานวยให้บริษัทโทรคมนาคมสามารถเข้ามามีบทบาทสาคัญในการให้บริการทาง การเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ

34


ตัวอย่างธุรกิจที่ให้บริการการชาระและโอนเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ มีดังนี้ - bKash บริษัทสัญชาติบังคลาเทศที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2554 ทาธุรกิจให้บริการทางการเงินบนโทรศัพท์มือถือแก่คนทั่วไป ซึ่งหมาย รวมถึงกลุ่มคนยากจนและคนรากหญ้า โดย bKash ถือเป็นหนึ่งในบริษัทที่เติบโตเร็วที่สุดในแวดวงธุรกิจชาระและโอนเงินผ่าน มือถือ ปัจจุบันมีชาวบังคลาเทศกว่า 17 ล้านคนใช้บริการของ bKash และมีธุรกรรมทางการเงินเกิดขึ้นกว่า 70 ล้านธุรกรรม ต่อวัน โดยผู้ใช้บริการสามารถใช้มือถือเสมือนเป็นบัญชีธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการฝาก ถอน หรือโอนเงิน รวมถึงสามารถใช้ชาระค่า สาธารณูปโภคและสินค้าบางประเภท เติมเงินมือถือ และโอนเงินระหว่างประเทศได้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกใน ชุมชนก็สามารถทาหน้าที่เป็น “ตัวแทน” (Agent) ในการทาธุรกรรมทางการเงินให้ลูกค้าที่ ไม่มีบัญชีหรือโทรศัพท์มือถือได้ โดยลูกค้าจะจ่ายค่าธรรมเนียมให้ในอัตราร้อยละ 2 ของยอดธุรกรรม ปัจจัยที่ส่งผลให้ bKash สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วคือ โครงสร้างไมโครไฟแนนซ์ที่แข็งแกร่งและสามารถเข้าถึง ประชากรในประเทศได้อย่างกว้างขวาง ด้วยเหตุนี้ บริการของ bKash จึงเปรียบเสมือนส่วน “เติมเต็ม ” ความต้องการของ ผู้ใช้บริการไมโครไฟแนนซ์ ที่สามารถผ่อนชาระและโอนเงินผ่านมือถือได้อย่างสะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเชิงโครงสร้าง อื่นๆ ที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของบริษัท เช่น การที่ bKash ไม่ได้เป็นธนาคารหรือ บริษัทเทคโนโลยี แต่ ก่อตั้งขึ้นเพื่อดาเนิน พันธกิจให้บริการทางการเงินผ่านมือถือโดยเฉพาะ แม้ bKash จะเป็นบริษัทย่อยของธนาคาร BRAC แต่พนักงานในบริษัทส่วนใหญ่ ก็เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่นที่ไม่ใช่การธนาคาร อีกทั้งบริษัทก็แยกการดาเนินงานออกจากธนาคาร BRAC อย่างชัดเจน ส่งผลให้ บริษัทให้ความสาคัญกับธุรกิจหลักได้เต็มที่ ปัจจัยแห่งความสาเร็จอีกประการหนึ่งของ bKash คือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ประกอบการร้านค้าปลีกใน พื้นที่ชุมชน เพื่อให้คนเหล่านั้นทาหน้าที่เป็นตัวแทนให้บริการลูกค้าที่ไม่มีบัญชีธนาคารหรือโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นกลยุทธ์เดียวกับ Wing ธุรกิจให้บริการธนาคารทางโทรศัพท์มือถือในกัมพูชา ที่ ให้ความสาคัญกับการสร้างเครือข่ายตัวแทนที่ ทาหน้าที่เป็ นจุด ให้บริการรับและจ่ายเงินสด หรือเปรียบเสมือนเป็น “เอทีเอ็มมนุษย์ (ATM Human Network)” โดยนอกจากโมเดลธุรกิจนี้จะ สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าฐานรากได้ในวงกว้าง และใช้ต้นทุนต่ากว่าการเปิดสาขาแล้ว ยังมีข้อได้เปรียบในแง่ของการสร้างความไว้ เนื้อเชื่อใจที่ทาได้ง่ายกว่า โดยมีผู้ประกอบการในชุมชนจะทาหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับบริษัท - Ayannah เป็นธุรกิจที่ให้บริการการเงินบนระบบดิจิตอลในประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือคนชนชั้นกลาง คนที่ถูก กีดกันจากการเงินในระบบ และผู้อพยพข้ามแดน โดยบริการของ Ayannah สามารถแบ่งออกเป็นสามส่วน ได้แก่ 1) Sendah Direct เป็นแพลตฟอร์มบริการชาระและโอนเงินแบบ SaaS10 ที่มีลูกค้าเป้าหมายเป็นหน่วยธุรกิจ (B2B) โดยบริษัทเป็นพันธมิตรกับร้านค้ารายย่อยในชุมชนกว่า 7,000 รายทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นจุดให้บริการต่างๆ แก่ ลูกค้า เช่น บริการเติมเงินมือถือ และโอนเงินภายในประเทศ 2) Sendah เป็นบริการสาหรับลูกค้าที่เป็นผู้บริโภค (B2C) โดยเน้นให้บริการการโอนเงินออนไลน์แก่ผู้อพยพข้ามแดน และกลุ่มฐานราก ปัจจุบัน Sendah มีฐานลูกค้ามากกว่า 50,000 ราย และเริ่มขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มผู้อพยพ ข้ามแดนในภูมิภาคเอเชียใต้ ลาตินอเมริกา และตลาดอื่นๆ

SaaS หรือ Software-as-a-service เป็นรูปแบบการขายซอฟต์แวร์ที่ให้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้บริการจะชาระค่าใช้บริการตามการใช้ งานจริง และเข้าใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้บริการจึงไม่ต้องรับภาระต้นทุนด้านฮาร์ดแวร์ 10

35


3) Sendah Remit เป็น SaaS ที่สามารถทางานร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ ในการโอนเงินทั้งภายในและระหว่างประเทศ ทั้ ง นี้ Sendah Remit กั บ Sendah Direct จะร่ ว มมื อ กั น ในอนาคตเพื่ อ จั บ ฐานลู ก ค้ า กลุ่ ม คนอพยพและกลุ่ ม ฐานรากมากขึ้น - Kashmi เป็นแอพพลิเคชั่นชาระและโอนเงินระหว่างบุคคลต่อบุคคลบนมือถือ (Peer-to-peer Mobile Payment) ในประเทศ สิงคโปร์ โดย Kashmi ทาหน้าที่เสมือนกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถเติมเงินได้ผ่านบัตรเดบิต บัตรเครดิต หรือโอนเงิน จากธนาคาร/เอทีเอ็มเข้าบัญชีตนเองได้ สาหรับการชาระเงินนั้น ผู้ใช้เพียงต้องทราบหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรืออีเมล์ของผู้รับเงิน ก็สามารถโอนหรือชาระเงินผ่านแอพพลิเคชั่นได้ จุ ด เด่ น ของ Kashmi คื อ การสร้ า ง “เครื อ ข่ า ยสั งคม” โดยการเปิ ด พื้ น ที่ ใ ห้ ผู้ ใ ช้ บ ริ ก ารสามารถติ ด ต่ อ สื่ อ สารและ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทาธุรกรรมทางการเงินได้ รวมถึงผู้ใช้บริการสามารถแจ้งเตือนเพื่อนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันให้ชาระ หรือโอนเงินได้อีกด้วย Kashmi จึงเป็นบริการที่ผสมผสานระหว่างระบบการชาระและโอนเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ และระบบ การชาระและโอนเงินผ่านสื่อสังคม (โปรดดูรายละเอียดระบบการชาระและโอนเงินผ่านสื่อสังคมในหัวข้อถัดไป)

ในอนาคต Rakhil Fernado ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Kashmi มองว่าธุรกิจการชาระและโอนเงินผ่านมือถือ จะเติบโตและเข้าถึงกลุ่มคนที่ถูกกีดกันจากบริการทางการเงิน ในระบบได้มากขึ้น โดยการเป็นพันธมิตรกับ ผู้ประกอบการร้านค้า รายย่อยในพื้นที่ เพื่อที่ธุรกิจจะประยุกต์ใช้เป็น “หน้าร้าน” ที่ผู้ใช้บริการสามารถเติมหรือถอนเงินจากกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ได้ การปรับโครงสร้างของเครือข่ายที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ชุมชนให้ กลายเป็นจุดบริการทางการเงินนั้นมีข้อได้เปรียบกว่าการสร้าง สาขาบริการขึ้นใหม่ ทั้งในแง่ของการประหยัดต้นทุนของผู้ให้บริการ และประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าฐานราก ยกตัวอย่าง เช่น การที่ Kashmi เข้าไปเป็นพันธมิตรกับ 7-11 ในประเทศอินโดนีเซีย ส่งผลให้บริษัทสามารถเพิ่มการเข้าถึงลูกค้าได้อย่าง กว้างขวางและรวดเร็ว โดยที่ใช้ต้นทุนไม่สูงมากนัก ทั้งนี้ Fernado เห็นว่าการขยายการเข้าถึงทางการเงินนั้นไม่เพียงแต่ “เป็นไป ได้” แต่ยังถือเป็น “โอกาสงาม” สาหรับธุรกิจฟินเทคในการเข้าถึงตลาดคนรากหญ้า ซึ่งเป็นฐานลูกค้าขนาดใหญ่ยักษ์ได้อีกด้วย (Tech in Asia, 2015) - Coins เป็นแพลตฟอร์มธุรกรรมการเงินบนมือถือที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูก ค้าที่มีอุปสรรคใน การเข้าถึงการเงินในระบบ ปัจจุบันดาเนินการอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์และไทย โดยลูกค้าที่ใช้ Coins จะมี “กระเป๋าเงินมือถือ

36


(Mobile Wallet)” สาหรับใช้ซื้อและขายบิทคอยน์11 เติมเงินมือถือ และรับชาระเงินออนไลน์ได้ ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถถอนเงินสด ออกจากกระเป๋าเงิน Coins ได้ที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารที่ร่วมโครงการ โดยผู้ใช้บริการจะได้รับรหัสในการถอนเงินผ่านข้อความ โทรศัพท์มือถือและอีเมล์ ลูกค้าจึงไม่จาเป็นต้องมีบัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม หรือบัญชีธนาคาร นอกจากบริการกระเป๋าเงินมือถือแล้ว Coins.ph ในประเทศฟิลิปปินส์ยัง พัฒนาระบบเครือข่าย “เอทีเอ็มมนุษย์ ” ซึ่งมีหลักการทางานคล้ายคลึงกับ Uber กล่ า วคื อ ระบบจะจั บ คู่ ลู ก ค้ า (ผู้ ที่ ต้ อ งการส่ งหรื อ โอนเงิ น ไปปลายทาง) เข้ า กั บ เจ้าหน้าที่ที่เรียกว่า “Teller” โดยลูกค้าสามารถแจ้งความต้องการโอนเงินผ่านทาง แอพพลิเคชั่น ระบบจะค้นหา Teller ในพื้นที่ใกล้เคียง และมอบหมายงานให้ Teller คนดั ง กล่ า วเดิ น ทางไปรั บ เงิ น สดจากลู ก ค้ า จากนั้ น Teller จะแปลงเงิ น สดให้ กลายเป็นเงินอิเล็กทรอนิกส์ในมูลค่าที่เท่ากันเข้ากระเป๋าเงิน Coins ของลูกค้า โดย Teller จะได้รับค่าธรรมเนียมเล็กน้อยจาก กระบวนการดังกล่าว ส่วนลูกค้าก็สามารถใช้เงินใน Coins ทาธุรกรรมทางการเงินได้ การทาเช่นนี้นอกจากผู้ให้บริการจะใช้ต้นทุน น้อยกว่าการเปิดสาขาธนาคาร และมีความคล่องตัวในการดาเนินงานสูงแล้ว ยังเป็นการช่วยลดภาระต้นทุนและ เวลาในการ เดิ น ทางของลูก ค้า รวมทั้ ง กลุ่ มคนรากหญ้า ได้ ก็ สามารถเข้ าถึ งบริการทางการเงิ น ขั้น พื้ นฐานได้ม ากยิ่งขึ้ น ทั้ งนี้ ปั จ จั ย แห่ง ความสาเร็จของโมเดลดังกล่าวขึ้นอยู่กับความครอบคลุมของเครือข่าย Teller ว่าสามารถกระจายตัวได้ทั่วถึงในทุกพื้นที่หรือไม่ (Entrepreneurs 27, 2015) - 2Kuze (Mastercard) มาสเตอร์การ์ด ภายใต้การสนับสนุนจากมูลนิธิ Bill & Melinda Gates ได้นาเสนอแอพพลิเคชั่นใหม่ที่มีชื่อว่า 2Kuze (ภาษาสวาฮิ ลีแปลว่ า เติ บ โตไปด้ว ยกั น) ที่ มุ่ ง ให้ บ ริ ก ารเกษตรกรรายย่อ ยในประเทศเคนยา อู กั น ดา และแทนซาเนี ย โดย แอพพลิเคชั่นดังกล่าวสามารถทางานบนมือถือทั่วไป สมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ ลักษณะการทาการเกษตรในภูมิภาคแอฟริกาส่วนใหญ่เป็นการเกษตรขนาดเล็กที่ มีการกระจายตัวสูง เกษตรกรจึงมัก ต้องเผชิญกับความยุ่งยากในการจาหน่ายและรับชาระเงิน รวมถึงบางครั้งก็อาจถูกพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบและไม่ได้ราคาที่เป็น ธรรม ด้วยเหตุนี้ 2Kuze จึงสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้โดยทาหน้าที่เปรียบเสมือนช่องทางในการ เชื่อมต่อเกษตรกรรายย่อย พ่อค้าคนกลาง และผู้บริโภคเข้าด้วยกันผ่านระบบออนไลน์แทนการทา ธุรกรรมเงินสด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายผลผลิตทางการเกษตรและเพิ่มความโปร่งใสใน การตั้งราคา หลักการทางานของ 2Kuze คือ เมื่อผู้บริโภคมีคาสั่งซื้อผลผลิตเข้ามา ระบบจะส่งข้อความไปยังกลุ่มเกษตรกร ซึ่งมีสิทธิ เลือกว่าจะขายผลผลิต ในปริมาณเท่าไร จากนั้นพ่อค้าคนกลางที่ทางานร่วมกับมาสเตอร์การ์ด แลบส์จะทาหน้าที่ตกลงราคา ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เมื่อได้ราคาที่ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจแล้ว ระบบก็จะทาการซื้อขายและเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ ปัจจุบัน มาสเตอร์การ์ดได้ให้บริการนาร่อง 2Kuze ในประเทศเคนยา และมีแผนจะขยายไปประเทศอื่นในภูมิภาคแอฟริกาในอนาคต โดย นั บ ตั้ งแต่ เ ริ่ ม ให้ บ ริ ก ารเมื่ อ เดื อ นมกราคม 2560 พบว่ า มี เ กษตรกรชาวเคนยากว่ า 2,000 คนที่ ใ ช้ บ ริ ก ารดั งกล่ า ว (Crunch Network - TechCrunch, 2017)

บิทคอยน์ (Bitcoin) คือเงินตราเสมือน (Virtual currency) ในโลกดิจิตอล ที่ไม่ได้ออกโดยธนาคารกลางใดๆ แต่ได้รับความนิยมสูงเนื่องจากทาให้ การชาระและโอนเงินในโลกอินเทอร์เน็ตมีความสะดวกรวดเร็ว และมีต้นทุนถูกลงอย่างมาก 11

37


การชาระและโอนเงินผ่านสื่อสังคม (Social Media Payment and Transfer Platform) ปัจจุบันแนวโน้มการใช้แพลตฟอร์ม สื่อสังคมยังคงขยายตัวอย่างรวดเร็วทั่วโลก โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2560 จะมี ผู้ใช้บริการสื่อสังคมกว่า 2,550 ล้านคน ด้วยความสามารถในการเข้าถึงและเชื่อมโยงผู้คนได้อย่างมหาศาล ประกอบกับข้อดีของ สื่อสังคมที่เสมือนแหล่งรวบรวมข้อมูลเชิงลึกของผู้ใช้บริการ ซึ่งเอื้อต่อการนาไปประมวลผลพฤติกรรมและใช้วิเคราะห์ ค วาม ต้ อ งการของลู ก ค้ า ได้ อ ย่ า งแม่ น ย าและรวดเร็ ว จึ ง ส่ ง ผลให้ สื่ อ สั ง คมเริ่ ม มี บ ทบาทมากขึ้ น อย่ า งต่ อ เนื่ อ งในแวดวงธุ ร กิ จ ฟินเทคที่ให้บริการชาระและโอนเงิน (Life SREDA VC, 2016) ตัวอย่างแพลตฟอร์ม สื่อสังคมที่ให้บริการโอนและชาระเงิน เช่น Dwolla, Azimo และ Wrapp ที่เปิดให้ผู้ใช้บริการ สามารถโอนเงินให้เพื่อนหรือคนรู้จัก ผ่านทางแอพพลิเคชั่นสื่อสังคมได้ ในขณะที่ Facebook ก็มีการพัฒนาระบบการชาระเงิน “ระหว่างบุคคลต่อบุคคล” ในแอพพลิเคชั่น Messenger เป็นต้น ระบบการชาระและโอนเงินผ่านสื่อสังคมนอกจากจะทาให้การทาธุรกรรมมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นแล้ว ยัง มีส่วน ช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินได้ อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น MyPAY บริษัทที่ให้บริการชาระเงินทางโทรศัพท์มือถือในพม่า โดย MyPAY เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ MySQUAR แพลตฟอร์มสื่อสังคมทีม่ ีฐานผู้ใช้บริการชาวพม่ากว่า 1.5 ล้านคน จนกระทั่ง ปี 2558 Fastacash แพลตฟอร์มสัญชาติสิงคโปร์ที่ทาระบบการชาระและโอนเงินผ่านสื่อสังคม ได้มาร่วมลงทุนและเป็นพันธมิตร ทางเทคโนโลยีกับ MyPAY เพื่อให้ผู้ใช้บริการ MyPAY สามารถโอนเงินระหว่างกันได้แทนการชาระด้วยเงินสด นอกจากนี้ MyPAY ยังพัฒนาระบบการชาระและโอนเงินแบบ “บุคคลสู่พ่อค้า (person-to-merchant)” โดยบริษัทได้ร่วมมือกับ Fastacash ในการ พัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือที่ทาให้ผู้ใช้บริการ MyPAY สามารถชาระและโอนเงินตามร้านค้าปลีกที่ร่วมโครงการในประเทศได้ อีกช่องทางหนึ่ง ลูกค้าที่ไม่มีบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิตจึงสามารถใช้บริการของ MyPAY ในการทาธุรกรรมการเงินขั้นพื้นฐานได้ (Deal Street Asia, 2015)

การชาระและโอนเงินในรูปแบบอื่นๆ ธุรกิจฟินเทคที่ให้บริการการชาระและโอนเงินในรูปแบบอื่นๆ เช่น Dopay ซึ่งเป็นบริการระบบการจ่ายเงินเดือนที่อาศัย การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud-based payroll service) ที่ทาให้เจ้าของกิจการสามารถคานวณเงินเดือนของพนักงาน และจ่ายเงินเดือนพนักงานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยพนักงานที่รับเงินเดือนไม่จาเป็นต้องมี บัญชีธนาคาร แต่เงินเดือนดังกล่าวจะถูกส่งตรงไปยังบัญชี Dopay ซึ่งมาพร้อมกับบัตรเดบิต ที่ พนักงานสามารถใช้ถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็มได้ ทั้งนี้ พนักงานสามารถติดตามการเคลื่อนไหว ของเงินในบัญชี Dopay ได้ตลอดเวลาผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ รวมทั้งสามารถใช้บริการ อื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การวางแผนทางการเงิน การขอสินเชื่อขนาดเล็ก การเติมเงินมือถือ ฯลฯ บริการของ Dopay จึงมีส่วนทาให้กลุ่มคนที่ไม่มีบัญชีธนาคารสามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน ต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น (Dopay, 2017)

38


กลุ่มธุรกรรมการให้สินเชื่อและเงินทุน (Lending & Financing) ฟินเทคที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมการให้สินเชื่อและเงินทุน สามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้ การระดมทุนสาธารณะ (Crowdfunding) เป็นการระดมทุนจากประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่นักลงทุนโดยตรง และอยากลงทุนในจานวนน้อยผ่านช่องทางออนไลน์ การ ระดมทุนรูปแบบนี้เหมาะสาหรับผู้ที่ต้องการเงินทุนไปประกอบธุร กิจขนาดย่อม กิจการเพื่อสังคม โครงการนวัตกรรมสร้างสรรค์ หรือโครงการระดับชุมชน ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้ฟินเทคในการระดมทุนสาธารณะ เช่น - Kiva Kiva เป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่เปิดพื้นที่ให้บุคคลทั่วไปสามารถปล่อยไมโครเครดิต ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศ กาลังพัฒนาทั่วโลก โดยผู้ปล่อยสินเชื่อเพียงต้องมีอินเทอร์เน็ต บัตรเครดิต และยินดี ให้ผู้อื่นยืมเงิน 25 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้ ผู้ประกอบการเหล่านั้นนาไปลงทุนและยกตนเองให้หลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งความยากจน กระบวนการปล่อยสินเชื่อบน Kiva มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อนเพียง 2 ขั้นตอน โดยขั้นแรกผู้ให้เงินทุนสามารถศึกษาประวัติ โดยสังเขปของผู้ประกอบการแต่ละรายบนเว็บไซต์ Kiva ซึ่งมีข้อมูลชื่อของผู้กู้ ประเทศที่อยู่อาศัย วัตถุประสงค์ของเงินกู้ จานวน เงินกู้ที่ต้องการ ประวัติการชาระคืนของผู้กู้ และเงื่อนไขในการชาระคืน รวมไปถึงพันธมิตรภาคสนาม 12 ของ Kiva ที่คัดเลือก ผู้ประกอบการรายนี้ จากนั้น ในขั้นที่สองผู้ให้เงินทุนจะเลือกกิจการที่ต้องการปล่อยกู้ แล้ว โอนเงิน 25 ดอลลาร์สหรัฐ ให้กับ ผู้ประกอบการผ่านบัญชีเพย์พาล (Paypal) เป็นอันจบกระบวนการ Kiva นับเป็นธุรกิจประเภทระดมทุนสาธารณะที่ประสบความสาเร็จอย่างงดงามแห่งหนึ่ง ทั้งในแง่ของผลการดาเนินงาน ของธุรกิจ และผลลัพธ์เชิงสังคมในการขยายการเข้าถึงสินเชื่อของกลุ่มคนรากหญ้า โดยให้พวกเขายกตัวเองออกจากความยากจน ได้ โดยตั้งแต่ดาเนินกิจการมาเป็นเวลา 12 ปี มีผู้ให้เงินทุนกว่า 1.6 ล้านราย ปล่อยสินเชื่อรวมกันไปแล้วกว่า 933.5 ล้านดอลลาร์ สหรัฐให้ผู้ประกอบการรายย่อย 2.3 ล้านราย ใน 82 ประเทศกาลังพัฒนาทั่วโลก นอกจากนี้ เงินกู้ที่ปล่อยผ่าน Kiva ก็มีอัตราการ ผิดนัดชาระหนี้ต่ามาก หรือเพียงร้อยละ 2.8 เท่านั้น (Kiva, 2017) - Zidisha เป็นแพลตฟอร์มการกู้ยืมเงินแบบไม่แสวงกาไร โดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ผู้ประกอบการรายย่อยที่มี รายได้น้อยใน ประเทศกาลังพัฒนา เช่น อินโดนีเซีย กานา เคนยา ฯลฯ โดยผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการเงินทุนสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ Zidisha แล้วเขียนข้อความแนะนาตนเอง รวมถึงแจ้งวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ และ จานวนเงินที่ต้องการ จากนั้นนักลงทุนที่สนใจจากทั่วโลกสามารถสนับสนุนเงินทุนผ่านทาง ออนไลน์ โดยผู้ ลงทุน สามารถเลือ กจานวนเงิ นที่ ต้อ งการสนั บสนุน และอั ตราดอกเบี้ยที่ ต้องการได้ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการกว่า 60,000 ที่ขอสินเชื่อผ่าน Zidisha มีผู้ให้เงินทุนรวม กว่า 8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่โครงการกว่า 40,000 โครงการ (Wierd, 2015)

พันธมิตรภาคสนาม (Field partner) ทาหน้าที่เป็น "นายหน้าคนกลาง" ในการเสาะหาและกลั่นกรองผู้ประกอบการในประเทศของตัวเองที่เชื่อถือได้ ให้แก่ Kiva 12

39


- Skolafund เป็นบริษัทให้บริการสินเชื่อแก่นักเรียนในภูมิภาคเอเชียที่ขาดแคลนเงินทุนการศึกษาผ่านการระดม ทุนสาธารณะ โดย Skolafund จะเป็นตัวกลางในการจับคู่นักเรียน/นักศึกษาที่ด้อยโอกาสเข้ากับผู้สนับสนุน เงินทุน ผู้ที่ต้องการทุนการศึกษาสามารถเริ่มเรื่องรณรงค์แล้วส่งให้ Skolafund พิจารณา จากนั้นบริษัทจะตรวจสอบประวัติของ นักเรียน/นักศึกษา และตัดสินว่าจะอนุมัติการรณรงค์นั้นๆ หรือไม่ เมื่อได้รับการอนุมัติ Skolafund จะนาประวัติของผู้ขอทุนขึ้น เว็บไซต์ และให้นักลงทุนในเครือข่ายเลือกสนับสนุนเงินทุนได้อย่างอิสระ ซึ่งหากการรณรงค์ใดได้รับการสนับสนุนเงินทุนครบ จานวน Skolafund ก็จะออกเช็คให้แก่สถานศึกษาและนักเรียน/นักศึกษาที่ขอทุนต่อไป (Skolafund, 2017) สินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล (Peer – to – Peer (P2P) Lending) ธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลเป็นการกู้ยืมเงินระหว่างผู้กู้และนักลงทุนโดยตรง ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งอาจเป็นแอพพลิ เคชั่นบนมือถือหรือเว็บไซต์ ผู้ดาเนินการแพลตฟอร์ม (Platform Operator) จะ เสมือนตัวกลางในการทาธุรกรรม และให้ข้อมูลแก่ผู้ขอกู้และนักลงทุน โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จาเป็นต้องทาเรื่องผ่านสถาบันการเงิน หรือธนาคารอีกต่อไป ธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลนี้มีความสาคัญในการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินในแง่ที่หากเป็นในอดีต ถ้าผู้ต้องการเงินทุน โดยเฉพาะกลุ่มคนด้อยโอกาสหรือ กลุ่มฐานรากไม่สามารถเข้าถึงธนาคารหรือสถาบั นการเงินในระบบได้ คนกลุ่มนี้มักต้องไปขอกู้เงินจากคนรู้จัก หรือพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ สินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลจึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งทีช่ ่วยให้ ผู้คนเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น เพราะระบบจะทาหน้าที่ “จับคู่” และเชื่อมต่อคนที่มีเงินเหลือกับคนที่ต้องการเงินทุนเข้า ด้วยกันผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งนอกจากเป็นการอานวยความสะดวกต่อผู้กู้และนักลงทุนแล้ว ระบบดังกล่าวยังช่วยประหยัด ต้นทุนดาเนินการได้อย่างมหาศาล รวมทั้งทาให้อัตราดอกเบี้ยเงินกูล้ ดลงอย่างมีนัยสาคัญอีกด้วย ตัวอย่างธุรกิจที่ให้บริการการสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล เช่น Zopa จากประเทศอังกฤษ โดยผู้กู้สามารถเข้าไปที่ เว็บไซต์แล้วแจ้งจานวนเงินที่ต้องการกู้ ระยะเวลาผ่อนชาระ และวัตถุประสงค์ในการใช้เงินกู้ รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ เช่น อาชีพ อสังหาริมทรัพย์ในครอบครอง ฯลฯ จากนั้นระบบจะคานวณอั ตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เหมาะสม และช่วยจับคู่ ให้กับนักลงทุนที่ ต้องการปล่อยกู้ตามเงื่อนไขดังกล่าว ที่ผ่านมา Zopa ได้ปล่อยกู้ให้กับคนกว่า 2 แสนคน เป็นจานวนยอดสินเชื่อกว่า 1.97 ล้าน ปอนด์ (Zopa, 2017)

40


นอกจาก Zopa แล้ว ยังมีธุรกิจอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน เช่น Kubo.Financiero ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสินเชื่อระหว่าง บุคคลกับบุคคลที่ให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายย่อยในเม็กซิโก เพื่อนาไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ลงทุนในสินทรัพย์ และลงทุน ในการศึกษาของบุตรหลาน หรือ LoanSolutions ในประเทศฟิลิปปินส์ เว็บไซต์จับคู่ระหว่างผู้ต้องการเงินทุน ซึ่งมักเป็นลูกค้า ปัจเจกบุคคลหรือวิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อม กับสถาบันการเงินในระบบ โดยผู้ต้องการเงิน ทุนสามารถเลือกขอสินเชื่อได้ หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อรายบุคคล สินเชื่อเพื่อการลงทุนทางธุรกิจ สินเชื่อรถยนต์ หรือสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ร้านจานาออนไลน์ (Online Pawnshop) PawnHero.ph เป็นร้านจานาออนไลน์แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่ม กิจการในปี 2558 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ PawnHero.ph มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการเงินด่วน แต่ไม่มีบัญชี ธนาคารและบัตรเครดิต โดยบริษัทจะคิดดอกเบี้ยรายเดือนในอัตราคงที่ และรับจานาของหลากหลายประเภท ตั้งแต่ของใช้ส่วนตัว เครื่องใช้ไฟฟ้า มือถือ และอื่นๆ นอกจากนี้ บริษัทได้เป็นพันธมิตรกับบริษัทโลจิสติกส์ 2GO เพื่ออานวยความสะดวกในการรับส่ง ของให้ลูกค้า และเพิ่มอัตราการเข้าถึงกลุ่มคนผู้ด้อยโอกาสทางการเงิน ให้มากขึ้น โดยในอนาคตบริษัทมีแผนให้บริการการชาระ และโอนเงินทางออนไลน์ และจะร่วมมือกับ LoanSolutions เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกในการขอเงินทุนเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ ลูกค้า สามารถเลือกจานาของ หรือเลือกขอสินเชื่อ ผ่านเว็บไซต์ของบริษัท โดยหากเลือกขอสินเชื่อ เว็บไซต์ก็จะจับคู่ลูกค้ากับสถาบัน การเงินที่มีสินเชื่อที่เหมาะสมให้ รวมถึงลูกค้าสามารถใช้สินทรัพย์ที่มีอยูไ่ ปค้าประกันสินเชื่อแทนการจานากับบริษัทได้ ทั้งนี้เพื่อให้ ลูกค้าได้รับสินเชื่อที่มีเงื่อนไขดีและตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด (PawnHero Philippines Pte Ltd, 2017)

การพิจารณาคะแนนเครดิต (Credit Scoring) ธุรกิจฟินเทคในกลุ่มนี้ไม่ได้ให้บริการสินเชื่ อหรือเงินทุนโดยตรง แต่เสมือนตัวกลางที่ทาหน้า ที่ วิเคราะห์ประวัติและประเมินความสามารถในการชาระหนี้ ของผู้กู้ เพื่อเป็นข้อมูลสาหรับใช้พิจารณาสินเชื่อ ต่อไป ตัวอย่างธุรกิจฟินเทคกลุ่มนี้ เช่น Lenddo ในประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีจุดริเริ่มมาจากการเห็นโอกาสของตลาดสินเชื่อสาหรับ คนชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มที่เข้าถึงสินเชื่อของสถาบันการเงินในระบบได้ ยาก บริษัทจึงเริ่มจากการพัฒนาแพลตฟอร์มและ อัลกอริทึมที่สามารถรวบรวมข้อมูลและทานายความน่าเชื่อถือทางเครดิตของลูกค้ารายย่อยได้ ปัจจุบันบริษัทพัฒนาและจาหน่าย แพลตฟอร์มวิเคราะห์ความสามารถในการชาระหนี้ ให้แก่องค์กรอื่น ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร บริษัทโทรคมนาคม ธุรกิจพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ หรือธุรกิจบัตรเครดิต จุดเด่นอย่างหนึ่งของ Lenddo คือ การนาข้อมูลในมิติอื่นๆ ที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงินมาวิเคราะห์ความสามารถในการ ชาระหนี้ โดยรวบรวมจากพฤติกรรมการใช้สื่อสั งคมของผู้กู้ การทาเช่นนี้ส่งผลให้ ผู้ใ ห้บริ การทางการเงิ นสามารถประเมิ น ความสามารถในการชาระหนี้ของกลุ่มลูกค้ายากจนได้ เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว ลูกค้ากลุ่มนี้มักไม่มีข้อมูลทางการเงินมากนัก (เช่น ประวัติการฝาก-ออมเงิน เครดิตบูโร ฯลฯ) การใช้ข้อมูลมิติอื่น ในการพิจารณาสินเชื่อจึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนยากจนสามารถ เข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น นอกจากนี้ ข้อมูลเหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปดิจิตอล ซึ่งระบบสามารถดึงมาประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว และทาให้กระบวนการวิเคราะห์สินเชื่อมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนในการดาเนินงาน เพิ่มคุณภาพในการให้บริ การแก่ลูกค้า รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการขยายขอบเขตการให้บริการได้มากยิ่งขึ้น (GlobeNewswire, Inc., 2017)

41


กรณีศึกษาต่างประเทศที่น่าสนใจ กรณีศึกษา: M-Pesa จากที่ ไ ด้ ก ล่า วไปในบทก่ อนหน้า การขยายการเข้ าถึ ง บริก ารทางการเงิ น เป็ น จุด เริ่ม ต้น สาคัญในการแก้ ไขปัญหา ความยากจนและความเหลื่อมล้าทางรายได้ ซึ่งจะนาไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส ด้วยเหตุนี้ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจทั่วโลกจึงเริ่มให้ความสาคัญกับการพัฒนาบริการทางการเงินเพื่อให้คนกลุ่มดังกล่าวสามารถเข้าถึงบริการ ได้มากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้ว่าปัจจุบันสถาบันการเงินหรือธนาคารบางแห่งร่วมมือกับพันธมิตรในการขยายช่องทางให้บริการ ในขณะที่กลุ่มธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินก็เริ่มเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดบริการทางการเงินมากขึ้น หนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่เริ่มมีบทบาทสาคัญในการให้บริการทางการเงินคือ ธุรกิจบริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยพลัง ของโครงสร้างเครือข่ายโทรคมนาคมที่สามารถครอบคลุมได้ทั่วประเทศ การให้บริการทางการเงินผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่น่าสนใจ และมีศักยภาพสูงมากในการขยายการเข้าถึง บริการทางการเงิน ดังกรณีของ M-Pesa ที่จะ กล่าวถึงต่อไป

รู้จักกับ M-Pesa ในปี 2550 สองผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ ได้แก่ Vodafone จากอังกฤษ และ Safaricom จาก เคนยา ได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรและสร้างแพลตฟอร์มมือถือทางการเงินที่ มีชื่อว่า “M-Pesa” โดย M มาจาก Mobile ที่แปลว่ามือ ถือ และ Pesa ที่แปลว่าเงินในภาษาสวาฮิลี M-Pesa เป็นโครงข่ายธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการนี้มีวัตถุประสงค์ดั้งเดิมเพื่อให้ผู้กู้ยืมไมโครไฟแนนซ์ สามารถรับและผ่อนชาระหนี้ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยทาผ่านเครือข่ายผู้จาหน่ายเงินเติมมือถือของ Safaricom ที่กระจายอยู่ทั่ว ประเทศเคนยา อย่างไรก็ดี หลังจากเปิดให้บริการไม่นานนัก ลูกค้าก็เริ่มมอง M-Pesa เป็น “ช่องทาง” ในการรับส่งเงินทั่วไป และ ใช้ บ ริ ก าร M-Pesa เพื่ อ ส่ ง เงิ น กลั บ ไปให้ ค รอบครั ว ที่ อ ยู่ ใ นชนบทมากขึ้ น ปั จ จุ บั น กลุ่ ม ลู ก ค้ า หลั ก ของ M-Pesa คื อ ผู้ ที่ มี โทรศัพท์มือถือแต่ไม่มีบัญชีธนาคาร หรือผู้ที่เข้าถึงบริการทางการเงินในระบบได้อย่างจากัด โดยลูกค้าสามารถโอนและรับเงิน เติม เงินมือถือ และชาระค่าสินค้าและบริการพื้นฐานผ่าน M-Pesa ลูกค้าสามารถสมัครใช้บริการ M-Pesa ได้ที่ “ตัวแทน” (agent) ที่ได้รับอนุญาตจากบริษัท ซึ่งส่วนมากคือผู้ประกอบการ รายย่ อ ยหรื อ ตั ว แทนให้ บ ริ ก ารโทรศั พ ท์ เ คลื่ อ นที่ ใ นท้ อ งถิ่ น หลั งจากที่ ลู ก ค้ า แจ้ งเลขประจ าตั ว ประชาชน และส่ งเอกสาร ประกอบการสมัครครบถ้วนแล้ว ลูกค้าสามารถฝากเงินสดกับตัวแทนเพื่อแลกเป็นสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์และโอนให้ผู้อื่นได้ โดยใน การทาธุรกรรมจะต้องใช้รหัส PIN ของลูกค้า และเมื่อธุรกรรมเสร็จสิ้นแล้ว จะมีข้อความยืนยันส่งไปยังผู้ทาธุรกรรมและผู้รับเงิน ปลายทาง ทั้ งนี้ ผู้ รั บ เงิ น ปลายทางไม่ จ าเป็ น ต้ อ งใช้ เ ครื อ ข่ า ยโทรศั พ ท์ เ คลื่ อ นที่ เ ดี ย วกั บ ผู้ ท าธุ ร กรรม และสามารถรั บ เงิ น อิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที ซึ่งผู้รับสามารถเลือกได้ว่าจะเก็บเงินให้คงอยู่ในบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ หรือนาไปแลกเป็นเงินสดได้จากตัวแทน ในพื้นที่ ค่าใช้บริการของ M-Pesa เป็นแบบ “จ่ายเมื่อใช้งาน (pay-as-you-go)” ดังนั้น ลูกค้าจึงไม่ต้องกังวลว่าตนจะถูกคิด ค่าบริการอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้งาน ในแง่ของความปลอดภัย การดาเนินงานของ M-Pesa จะอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานกากับ

42


ดูแลของแต่ละประเทศที่ M-Pesa ให้บริการอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ รวมถึงทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้น ผ่าน M-Pesa จะถูกบันทึกในรูปอิเล็กทรอนิกส์และอยู่ภายใต้การเฝ้าสังเกตของ Vodafone เพื่อป้องกันมิให้เกิดการฟอกเงิน ด้วยธุรกรรมทางการเงินที่สามารถทาได้ทุกที่ทุกเวลา มีต้นทุนต่า ปลอดภัย และที่สาคัญคือเข้าถึงได้ง่าย M-Pesa จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มลูกค้าฐานราก และทาให้ลูกค้าจานวนมากสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินขั้นพื้นฐานได้ ปัจจุบัน M-Pesa มีสมาชิกที่เป็นลูกค้ากว่า 25.3 ล้านคน และตัวแทนกว่า 261,000 คนใน 10 ประเทศ 13 ในช่วงปี 2558-2559 M-Pesa ได้ทา ธุรกรรมการเงินไปกว่า 4,500 ล้านธุรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศเคนยา ที่พบว่าธุรกรรมบน M-Pesa คิดเป็นมูลค่าถึงร้อยละ 25 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP)

บริการของ M-Pesa บริการของ M-Pesa ได้แก่ - การโอนเงิน ลูกค้าสามารถโอนเงินจากมือถือของตนไปยังมือถือของผู้รับ หรือเข้าบัญชีธนาคารโดยตรง - การถอน-รับเงิน ลูกค้าสามารถถอนเงินสดได้จากตัวแทน M-Pesa ในพื้นที่ หรือถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มได้โดยตรง รวมถึงสามารถรับเงินโอนจากต่างประเทศ หรือรับค่าจ้างผ่านโทรศัพท์มือถือ - เติมเงินค่าโทรศัพท์มือถือ - ชาระค่าโทรศัพท์ ค่าน้า ค่าไฟ ค่าน้า ค่าโทรทัศน์ และค่าการศึกษา - ชาระค่าสินค้าและบริการของร้านค้าที่ร่วมโครงการ

M-Pesa คือ “วิธีการ” ไม่ใช่ “ผลลัพธ์” หากย้อนกลับไปปี 2549 ช่วงก่อนที่ M-Pesa จะเปิดให้บริการ ประชากรวัยทางานในประเทศเคนยาเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบได้ อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวก็กระโดดขึ้นไปเป็นร้อยละ 67 ในปี 2556 แม้บริการของ M-Pesa อาจไม่ได้มีค่าเท่ากับ “การเข้าถึงบริการทางการเงิน” เนื่องจากลาพังเพียงการฝากและโอนเงิน คงไม่อาจช่วยให้กลุ่มฐานรากหลุดพ้นจากวัฏจักรความยากจนได้ หากแต่พวกเขาจาเป็นต้องได้รับบริการทางการเงินที่หลากหลาย เช่น สินเชื่อ ประกัน ฯลฯ เพื่อนาไปเป็นทุนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ M-Pesa สามารถทา ได้ (และทาได้ดี) คือ การสร้างช่องทางในการเข้าถึงบริการทางการเงินขั้นพื้นฐาน ด้วยเหตุนี้ M-Pesa จึงเป็นเพียง “วิธีการ” หรือ “เครื่องมือ” หนึ่งที่นาไปสู่การขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินเท่านั้น ไม่ใช่ “ผลลัพธ์” แต่อย่างใด จากที่กล่าวมา ความท้าทายต่อไปของ M-Pesa จึงเป็นการร่วมมือกับพันธมิตรในการขยายขอบเขตการให้บริการ ให้มี ความหลากหลาย ครอบคลุม และสามารถเข้าถึงกลุ่มคนรากหญ้าได้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา M-Pesa ก็ได้รับการพิสูจน์ แล้วว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มีศักยภาพในการขยายการเข้าถึงทางการเงิน และก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกในด้านต่างๆ ดังนี้

ปัจจุบัน M-Pesa ให้บริการในประเทศอินเดีย เคนยา เลโซโท โมซัมบิก โรมาเนีย แทนซาเนีย อัลบาเนีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก อียิปต์ และ กานา 13

43


อัตราการบริโภคของครัวเรือนสูงขึ้น จากการศึกษาในประเทศเคนยาช่ว งปี 2551 – 2557 พบว่าการใช้บริการ M-Pesa ช่วยเพิ่มระดับการบริโภคของ ครัวเรือนอย่างมีนัยสาคัญ และส่งผลให้ประมาณ 186,000 ครัวเรือน หรือร้อยละ 2 ของครัวเรือนทั่วประเทศสามารถหลุดพ้นจาก ความยากจนได้ ทั้งนี้ พบว่าหากหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้หญิงแล้ว ระดับการบริโภคก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น รายได้ครัวเรือนและอัตราการออมเงินเพิ่มสูงขึ้น ก่อนหน้าที่จะมี M-Pesa พบว่ากว่าหนึ่งในสี่ของประชากรเคนยามีแหล่งรายได้หลักคือ เงินโอนที่ได้รับจากสมาชิกใน ครอบครัวและผู้อื่น และเนื่องจากประชากรจานวนมากไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบ การโอนเงินส่วนใหญ่จึงต้อง ทาผ่านกลไกนอกระบบ เช่น การส่งเงินไปกับรถโดยสาร หรือส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งมักเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพต่า และอาจถูกโกงได้ โดยง่าย อย่างไรก็ดี หลังจากที่ M-Pesa เปิดให้บริการ พบว่าภายในปี 2552 M-Pesa ก็สามารถเข้ามาทดแทนกลไกการโอนเงิน แบบดั้ งเดิ ม ได้ อ ย่า งมี นั ย สาคัญ โดยมี ผู้ โ อนเงิ น กว่ า ร้ อ ยละ 40 ที่ หั น มาใช้ บ ริ ก าร M-Pesa ท าให้ ก ารโอนเงิ น มี ต้ น ทุ นต่าลง สะดวกสบาย และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น จากการที่ผู้ใช้บริการ M-Pesa สามารถโอนเงินได้ทุกที่ทุกเวลา และมีต้นทุนในการโอนเงินต่า ลูกค้าของ M-Pesa จึงมี พฤติกรรมการโอนเงินเปลี่ยนไปจากเดิมที่จะส่งเงินให้ครอบครัวเป็นรายเดือนหรือทุกสองเดือน กลายเป็นการโอนเงินทีละน้อยแต่ บ่อยครั้งมากขึ้น เช่น รายสัปดาห์ ซึ่งพฤติกรรมการโอนเงินที่เปลี่ ยนแปลงไปนี้ส่งผลให้ระดับรายได้ของครัวเรือนในชนบทเพิ่ม สูงขึ้น โดยจากการศึกษาพบว่ารายได้ของครัวเรือนที่ใช้บริการ M-Pesa เพิ่มขึ้นร้อยละ 5-30 ทั้งนี้เป็นเพราะการโอนเงินครั้งละ น้อยแต่ถี่ครั้งนั้นทาให้จานวนเงินรวมสุทธิที่หัวหน้าครอบครัวส่งให้สมาชิกในชนบทมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากรายได้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นแล้ว ผู้ใช้บริการ M-Pesa ยังมีแนวโน้มออมเงินมากขึ้นด้วย เนื่องจากไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปธนาคารหรือตู้เอทีเอ็มที่อยู่ห่างไกล ทาให้พวกเขามีเงินเหลือออมเพิ่มขึ้น ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ครัวเรือนที่ใช้บริการ M-Pesa ออมเงินมากกว่าครัวเรือนที่ไม่ได้ใช้บริการร้อยละ 22 โดยเฉลี่ย ผลิตภาพของประชากรและภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น ผู้ใช้บริการ M-Pesa สามารถรับและโอนเงินได้ทุกที่ทุกเวลา ด้วยเหตุนี้ ลูกค้าจึงสามารถใช้ชีวิตประจาวัน รวมทั้งทา ธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น แม่บ้านในเคนยาไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการ เดินทางเพื่อไปถอนเงินจากสาขาธนาคารหรือตู้เอทีเอ็ม ทาให้พวกเขาสามารถไปประกอบอาชีพเสริมเพื่อหารายได้เพิ่มเติม หรือใน ประเทศในอินเดีย ผู้บริโภคสามารถใช้ M-Pesa ในการซื้อของทาง Ebay ชาระค่าแท็กซี่ หรือแม้แต่จองตั๋วรถไฟได้ ในขณะภาค ธุรกิจอย่าง Walmart ก็ใช้ M-Pesa มาพัฒนาการบริหารจัดการเงินสดและเพิ่มประสิทธิภาพในการดาเนินธุรกิจได้ ความสามารถในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เนื่องจากครัวเรือนที่ใช้บริการ M-Pesa มีแนวโน้มได้รับเงินจากหัวหน้าครอบครัวอย่างสม่าเสมอ และมักได้จานวนเงิน รวมสุทธิมากกว่า ครัวเรือนดังกล่าวจึงสามารถรับมื อกั บผลกระทบที่เกิด จากการเปลี่ย นแปลงของปัจจัยภายนอกได้ ดี ก ว่ า จากการศึกษาพบว่าเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง (Economic shocks) ครัวเรือนที่ใช้บริการ M-Pesa จะมี อัตราการบริโภคต่อหัวสูงกว่าครัวเรือนที่ไม่ได้ใช้บริการโดยเฉลี่ย และจะยิ่งมีค่าสูงขึ้นหากครัวเรือนนั้นอาศัยอยู่ใกล้ตัวแทนของ M-Pesa

44


การพัฒนาบทบาทสตรี การที่ผู้หญิงในชนบทสามารถรับเงินที่ส่งมาจากหัวหน้าครอบครัว และฝากไว้ในบัญชีของ M-Pesa ได้ ส่งผลให้พวกเธอ มีอานาจและอิสระในการบริหารจัดการเงินมากขึ้น นอกจากนี้ พบว่าผู้หญิงในครัวเรือนที่ใช้บริการ M-Pesa มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยน อาชีพจากการทาเกษตรไปสู่การทาธุรกิจมากขึ้น ทาให้เกิดการจัดสรรแรงงานที่มีประสิทธิภาพและผลิตภาพมากขึ้น การสนับสนุนการดาเนินนโยบายภาครัฐ ที่ ผ่ า นมา M-Pesa มี ส่ ว นช่ ว ยให้ ภ าครั ฐ ด าเนิ น นโยบายอุ ด หนุ น หรื อ ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ แก่ ป ระชาชนได้ อ ย่ า งมี ประสิ ทธิ ภาพยิ่งขึ้ น ยกตั ว อย่า งเช่น Vodafone ได้ เ ป็ น พัน ธมิต รกับ กระทรวงการพัฒ นาสังคมในเลโซโท เพื่ อ พั ฒ นาระบบ การจ่ายเงินสวัสดิการแบบให้เปล่าผ่าน M-Pesa ส่วนกระทรวงการเกษตรของเคนยาก็ใช้ M-Pesa เป็นช่องทางให้เงินสนับสนุน สาหรับซื้อปุ๋ยแก่เกษตรกรในประเทศ ในขณะที่โครงการอาหารโลก (World Food Programme) ในเคนยาได้ใช้ M-Pesa ใน การส่งเงินค่าช่วยเหลือด้านอาหารไปยังค่ายผู้ลี้ภัยที่อยู่ห่างจากตัวเมือง การส่งเสริมระบบสาธารณสุข ที่ประเทศเลโซโท Vodafone ได้พัฒนาบริการให้ลูกค้าสามารถแปลงยอดค่าโทรศัพท์มือถือเป็นเครดิต M-Pesa เพื่อ สารองเป็นค่าใช้จ่ายในยามฉุกเฉินได้ นอกจากนี้ ชุมชนแรงงานสาธารณสุขกว่าร้อยชุมชนในเครือข่ายโรงพยาบาลและคลินิกก็ ได้รับเงินเดือนผ่าน M-Pesa ทาให้พวกเขาไม่ต้องเสียเวลาในการทางานเพื่อเดินทางไปรับเงิน ในประเทศเคนยา Safaricom ได้ เป็นพันธมิตรกับมูลนิธิ PharmAccess และ Carepay ในการให้บริการ “M-Tiba” ซึ่งเป็นกระเป๋าเงินสุขภาพบนมือถือที่ทาหน้าที่ เป็นช่องทางรับเงินบริจาคด้านสาธารณสุขจากผู้บริจาคและภาครัฐ และโอนเงินนั้นให้ผู้รับบริจาค ทั้งนี้ ผู้รับบริจาคสามารถนาเงิน ใน M-Tiba ไปใช้ชาระค่ารักษาพยาบาลที่คลินิกหรือร้านขายยาที่ร่วมโครงการทั่วประเทศ โดยไม่ต้องแลกเป็นเงินสด การสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด ระบบการผ่อนชาระเงินผ่าน M-Pesa มีส่วนช่วยให้คนยากจนในชนบทสามารถเข้าถึงพลังงานสะอาดได้มากขึ้น ซึ่งจะ ส่งผลดีต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของพวกเขาในระยะยาว ตัวอย่างเช่น ธุรกิจพลังงานสะอาดในแทนซาเนีย เช่น Mobisol, OffGrid Electric และ M-kopa ได้ใช้ M-Pesa ในการให้บริการพลังงานสะอาดแก่คนในชนบทที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง โดยลูกค้าสามารถซือ้ บริการพลังงานสะอาด เช่น อุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ และผ่อนชาระรายเดือนให้บริษัทพลังงานผ่าน M-Pesa แทนการจ่ายงวด เดียว เมื่อลูกค้าชาระเงินรายเดือนแล้ว การ์ด SIM มือถือจะส่งสัญญาณให้อุปกรณ์นั้นๆ ทางาน และจะตัดการทางานโดยอัตโนมัติ เมื่อครบเวลาการใช้งาน

ปัจจัยแห่งความสาเร็จของ M-Pesa กว่าระยะเวลา 10 ที่ผ่านมา M-Pesa ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นโครงข่ายธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ ประสบความสาเร็จมากที่สุดแห่งหนึ่ง ปัจจัยที่ส่งผลให้ M-Pesa ในเคนยาประสบผลสาเร็จสามารถสรุปได้ ดังนี้ อัตราการเข้าถึงโทรศัพท์ และการกระจายตัวของสมาชิกครอบครัว สาเหตุหนึ่งที่บริการธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ประสบผลสาเร็จในการเข้าถึงคนรากหญ้าในประเทศเคนยาได้ นั้น เป็นเพราะเคนยามีโครงสร้างเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ค่อนข้างครอบคลุม และประชากรมีอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์สูง

45


ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและประชากรดังกล่าวจึงทาให้ M-Pesa สามารถเจาะตลาดลูกค้าฐานรากได้อย่างรวดเร็วและ มหาศาล อี ก ปั จ จั ย หนึ่ งคื อ ลั ก ษณะครอบครัว ของชาวเคนยาที่ ส มาชิ กมั กอาศัย อยู่อ ย่ างกระจัดกระจาย กล่ า วคื อ หั ว หน้ า ครอบครัวมักประกอบอาชีพในเมือง ขณะที่สมาชิกคนอื่นจะอาศัยในชนบท ทาให้มีความต้องการโอนเงินภายในประเทศสูง ซึ่ง M-Pesa เล็งเห็นตลาดดังกล่าว และสามารถพัฒนาบริการที่ตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี สังคมที่ตั้งอยู่บน “ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล” การที่ M-Pesa ประสบความสาเร็จอย่างงดงามในเคนยาส่วนหนึ่งเป็นเพราะสังคมในภูมิภาคแอฟริกาเป็นสังคมที่ ขับเคลื่อนด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีคนจานวนหนึ่งใช้บริการ M-Pesa แล้วพึงพอใจ คนกลุ่มนี้ก็ จะแนะนาต่อและเกิดการตลาดแบบ “ปากต่อปาก (Word of mouth)” ทาให้คนที่รับรู้และใช้บริการขยายวงกว้างขึ้นจนเกิดเป็น เครือข่ายของผู้ใช้บริการ และส่งผลให้บริการของ M-Pesa น่าดึงดูดยิ่งขึ้น เนื่องจากยิ่งมีผู้ใช้บริการจานวนมากเท่าไร ก็จะยิ่งมี การเชื่อมต่อกันมากขึ้นเท่านั้น และทาให้ลูกค้าสามารถทาธุรกรรมทางการเงินผ่าน M-Pesa ได้อย่างทั่วถึง สภาพแวดล้อมของการกากับดูแล ธนาคารกลางเคนยามีบทบาทสาคัญในการสนับสนุน และผลักดันให้ M-Pesa สามารถออกสู่ตลาดได้จริง รวมถึงช่วย สร้างความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการที่มีต่อระบบ ธนาคารกลางเคนยาได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังตั้งแต่ช่วงนาร่องการใช้บริการ M-Pesa ในปี 2547 โดยธนาคารฯ กาหนดให้ M-Pesa ฝากกองทุนของลูกค้าไว้ที่สถาบันการเงิ นที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น รวมทั้ง ทบทวนระบบรักษาความปลอดภัยของแพลตฟอร์ม และกาหนดยอดสูงสุดในการทาธุรกรรมเพื่อป้องกันปัญหาการฟอกเงิน การที่ หน่วยงานกากับดูแลเข้ามามีส่วนร่วมดังกล่าวจึงทาให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นที่จะใช้บริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ๆ เครือข่ายของตัวแทน M-Pesa เครือข่ายตัวแทนของ M-Pesa มีบทบาทสาคัญในการทาให้ลูกค้าเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างแท้จริง เนื่องจาก ตัวแทนของ M-Pesa ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในพื้นที่ ซึ่งมีจานวนมากและ กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ การมีเครือข่ายตัวแทนที่หนาแน่นและครอบคลุมนี้ทาให้บริการรับและโอนเงินของ M-Pesa ไม่เกิด ปัญหา “ไมล์สุดท้าย” (ปัญหาที่บุคคลปลายทาง โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยในชนบท ไม่สามารถหรือมีความลาบากในการแปลงเงิน อิเล็กทรอนิกส์ให้กลายเป็นสดเพื่อนาไปใช้ต่อได้) โดยปัจจุบันเครือข่ ายตัวแทนในเคนยามีจานวนกว่า 110,000 คน ซึ่งมากกว่า จานวนตู้เอทีเอ็มถึง 40 เท่า

46


กรณีศึกษา: Lending Club นวัตกรรมฟินเทคอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน คือ แพลตฟอร์มธุรกรรมสินเชื่อระหว่าง บุคคลกับบุคคลผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (Peer-to-Peer (P2P) lending) เนื่องจากแพลตฟอร์มดังกล่าวจะทาให้ปัจเจกบุคคล และผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและขอสินเชื่อได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มช่องทางในการ ลงทุนให้แก่นักลงทุนอีกด้วย รูปแบบของแพลตฟอร์มธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุ คคลกับบุคคลที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปสามารถจาแนกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. ผู้จับคู่ (Matchmaker) เป็นรูปแบบที่ผู้ดาเนินการแพลตฟอร์มทาหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อผู้กู้และนักลงทุน โดยถือเป็นช่องทางที่ให้การสนับสนุนหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่ได้เป็นผู้ให้สินเชื่อเองโดยตรง ตัวอย่างผู้ให้บริการในรูปแบบ นี้ เช่น Funding Circle ในประเทศอังกฤษ 2. โมเดลตั๋วเงิน (Notary Model) รูปแบบนี้ผู้ดาเนินการแพลตฟอร์มมักเป็นพันธมิตรกับธนาคารพาณิชย์ โดยผู้กู้จะทา เรื่องขอสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ผู้ดาเนินการแพลตฟอร์มจะส่งต่อให้ธนาคารพันธมิตรออกเอกสารอนุมัติสินเชื่อ จากนั้น ผู้ดาเนินการแพลตฟอร์มจะรับซื้อสัญญาสินเชื่อดังกล่าวในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) แล้วขายต่อให้กับนักลงทุน อีกทีหนึ่ง ตัวอย่างผู้ที่ให้บริการในรูปแบบนี้ เช่น Lending Club ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยบริษัทเป็นพันธมิตรกับ WebBank ซึ่งเป็นสมาชิกของ FDIC14 สาหรับกรณีศึกษาครั้งนี้ จะยกตัวอย่าง “Lending Club” ซึ่งปัจจุบันเป็นแพลตฟอร์มธุรกรรมสินเชื่อแบบบุคคลต่อ บุคคลรายใหญ่ที่สุดในโลก

รู้จักกับ Lending Club Lending Club เป็ น แพลตฟอร์ม ธุ ร กรรมสิ นเชื่ อ แบบบุค คลต่อ บุ คคลที่ ท าหน้ าที่ เ ชื่ อ มโยงผู้ต้อ งการเงิ นทุ น เข้ ากับ นักลงทุนอิสระผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งนี้ บริษัทดาเนินธุรกิจโดยไม่มีสานักงานหรือสาขา ทาให้บริษัทมีต้นทุนในการ ดาเนินงานต่า และสามารถกาหนดอัตราดอกเบี้ยที่จูงใจทั้งผู้กู้และนักลงทุนได้ นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2550 ในซานแฟรนซิสโก สหรัฐอเมริกา Lending Club ได้อนุมัติสินเชื่อให้ลูกค้ารวมเป็นจานวน กว่า 1.5 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าเกือบ 22,660 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยลูกค้าที่ขอกู้ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อเพื่อ นาไปรีไฟแนนซ์สินเชื่อ และจ่ายหนี้บัตรเครดิต คิดเป็นร้อยละ 60.98 ของผู้กู้ทั้งหมด

บริการของ Lending Club ประเภทสินเชื่อหลักๆ ที่ Lending Club ให้บริการ มีดังนี้

FDIC หรือ Federal Deposit Insurance Corporation หมายถึงสถาบันประกันเงินฝาก เมื่อสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของ FDIC ประสบปัญหา จนถูกปิดกิจการ FDIC ฝากจะทาหน้าทีเ่ ป็นผู้พิทักษ์ทรัพย์ และดาเนินการกับสถาบันการเงินดังกล่าว ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ FDIC จะดาเนินการทา ข้อตกลงในการซื้อและครอบครองสินทรัพย์ (Purchase and Assumption Agreement) กับสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ 14

47


สินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loans) บุคคลทั่วไปสามารถสมัครขอสินเชื่อได้ผ่านเว็บไซต์ของ Lending Club โดยบริษัทกาหนดวงสินเชื่ออยู่ที่ 1,000 – 40,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน ผู้ขอกู้จะต้องกรอกประวัติตนเอง (ชื่อ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ), วัตถุประสงค์ในการกู้ , รายได้ต่อเดือน รวมทั้งต้องระบุระดับคะแนนเครดิตของตนเอง ซึ่งจะอ้างอิงจากคะแนน FICO15 โดยมีทั้งหมด 5 ระดับ ได้แก่ ดีเลิศ (720 คะแนน ขึ้ น ไป) ดี (660 – 720 คะแนน) ปานกลาง (600 – 660 คะแนน) ต่ า (น้ อ ยกว่ า 600 คะแนน) และไม่ ทราบ และเมื่อ กรอก รายละเอียดครบถ้วน ระบบจะประเมินอัตราดอกเบี้ยคร่าวๆ ที่ผู้กู้ต้องจ่ายได้ในทันที ทั้งนี้ ที่ผ่านมา Lending Club คิดอัตรา ดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 5.99 - 35.89 ต่อปี และให้ระยะเวลาในการผ่อนชาระหนี้อย่างน้อย 36 เดือน สินเชื่อเพื่อรีไฟแนนซ์รถยนต์ (Auto Refinancing) คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อประเภทนี้คือ ต้องขอกู้เพื่อนาไปรีไฟแนนซ์รถยนต์เท่านั้น รวมทั้งต้องผ่านเกณฑ์อื่นๆ เช่น รถยนต์ใช้งานยังไม่เกิน 9 ปี และวิ่งไม่ถึง 10,000 ไมล์ ต้องเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล สินเชื่อรถยนต์ปัจจุบันต้องมียอดสินเชื่อคงค้าง ระหว่าง 5,000 – 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ ได้รับอนุมัติสินเชื่อมาแล้วไม่ต่ากว่า 3 เดือน และมีเวลาผ่อนชาระหนี้คงเหลืออย่างน้อย 24 เดือน โดยบริษัทจะคิดอัตราดอกเบี้ยในช่วงร้อยละ 2.24 - 19.99 ต่อปี สินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจ (Business Loans) เป็นสินเชื่อสาหรับผู้ประกอบการรายย่อย Lending Club กาหนดวงสินเชื่ออยู่ที่ 5,000 – 300,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อ คน และให้ระยะเวลาผ่อนชาระหนี้ 1-5 ปี โดยบริษัทจะคิดค่าธรรมเนียมการทาสัญญากู้ฉบับใหม่ (Origination Fee) ในอัตรา ร้อยละ 0.99 - 6.99 ของยอดเงินกู้ และคิดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ร้อยละ 7.77 - 35.11 คุณสมบัติผู้กู้คือ ดาเนินกิจการเป็น ระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี มีรายได้ต่อปีอย่างน้อย 75,000 ดอลลาร์สหรัฐ ไม่มีประวัติเพิ่งล้มละลายหรือถูกสิทธิยึดหน่วงทางภาษี ถือหุ้นกิจการอย่างน้อยร้อยละ 20 และมีคะแนนเครดิตระดับปานกลางขึ้นไป ทั้งนี้ หากเป็นการขอกู้ที่มียอดไม่เกิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ผู้กู้ไม่จาเป็นต้องมีหลักค้าประกัน และไม่ต้องนาเสนอแผนธุรกิจ

หลักการทางานของ Lending Club หลักการทางานของ Lending Club สามารถแยกพิจารณาออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ฝั่งผู้กู้ และฝั่งนักลงทุน ซึ่งมี รายละเอียดดังนี้ ฝั่งผู้กู้ ผู้กู้สามารถทาเรื่องขอสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของ Lending Club ได้ โดยคุณสมบัติพื้นฐานของผู้กู้คือ ต้อง เป็นพลเมืองสหรัฐอเมริกา หรือผู้พานักถาวร หรือผู้อาศัยระยะยาวในสหรัฐอเมริกาที่มีวีซ่ารับรอง มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีบัญชี ธนาคาร ทั้งนี้ Lending Club จะรวบรวมข้อมูลของผู้กู้เพื่อนาเข้าสู่กระบวนการพิจารณาสินเชื่อ (Underwriting) โดยยึดตาม หลักเกณฑ์ที่ได้ตกลงร่วมกันกับธนาคารพาณิชย์พันธมิตร หรือในที่นี้คือ WebBank บริษัทจะพิจารณาจาก - ข้อมูลในการสมัครขอสินเชื่อ (เช่น จานวนเงินที่ขอกู้ วัตถุประสงค์ในการกู้ เงินเดือน ฯลฯ)

FICO Scoring เป็นการคานวณคะแนนเครดิตรูปแบบหนึ่งที่จัดทาโดย Fair Isaac Corporation Credit Bureau ซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับ EQUIFAX หนึ่ง ในเครดิตบูโรที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยคะแนน FICO จะอยู่ในช่วง 350 (มีโอกาสชาระคืนต่ามาก) ถึง 850 (มีโอกาสชาระคืนสูงมาก) 15

48


-

ข้อมูลจากเครดิตบูโร คะแนนเครดิต อัตราส่วนหนี้ต่อรายได้ของผู้กู้ ประวัติระยะเวลาการใช้เครดิต, จานวนบัญชีธนาคารที่ยังใช้งาน และประวัติการใช้งานบัญชีดังกล่าว ประวัติกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขอสินเชื่อในช่วงระยะเวลานี้ รวมถึงประวัติการขอสินเชื่อในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

จากนั้น WebBank จะออกเอกสารการอนุมัติสินเชื่อ แล้วขายสัญญาสินเชื่อให้กับ Lending Club โดยบริษัทจะนา สัญญาสินเชื่อหลายๆ ฉบับมาแปลงเป็นตั๋วเงิน (Note) เพื่อนาไปเสนอขายนักลงทุนต่อไป ทั้งนี้ เงินกู้จะถูกโอนเข้าบัญชีธนาคาร ของผู้กู้เมื่อสินเชื่อได้รับการอนุมัติและมีนักลงทุนอิสระรองรับแล้ว โดยกระบวนการตั้งแต่การสมัครขอสินเชื่อจนกระทั่งได้รับเงินกู้ จะใช้เวลาประมาณ 7 วันทาการ ฝั่งนักลงทุน นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนตั๋วเงินประเภทต่างๆ ได้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของ Lending Club โดยหลังจากที่มีผู้ยนื่ ขอสินเชื่อ และผ่านกระบวนการพิจารณาสินเชื่อแล้ว บริษัทจะแปลงสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติให้กลายเป็นตั๋วเงิน (Securitization) และแบ่งออกเป็นระดับชั้นต่างๆ ตั้งแต่ A ถึง G (A คือตั๋วเงินสินเชื่อคุณภาพสูงสุด ในขณะที่ G คือคุณภาพต่าสุด) ซึ่งนักลงทุน สามารถเลือกลงทุนตั๋วเงินตามระดับความเสี่ยงที่เหมาะกับความต้องการของตน เมื่อผู้กู้ผ่ อนชาระหนี้ในแต่ละเดือน นักลงทุนจะ ทยอยได้ รั บ เงิ น สดคื น ผ่า นทางบั ญ ชี ธ นาคารที่ ไ ด้ผู ก ไว้ นอกจากนี้ ผู้ ที่ ล งทุ น ในตั๋ ว เงิ น ของ Lending Club สามารถซื้ อ ขาย แลกเปลี่ยนตั๋วเงินดังกล่าวได้บนแพลตฟอร์ม Note Trading โดยที่ผ่านมาตั๋วเงินของ Lending Club ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ย ร้อยละ 5-7 ต่อปี

อาวุธหลักของ Lending Club: ฟินเทคกับโลกใหม่ของระบบสินเชื่อ อาวุธอันทรงพลังที่สุดที่ทาให้ Lending Club ก้าวขึ้นมาเป็นธุรกิจการปล่อยสินเชื่อแบบบุคคลต่อบุคคลอันดับหนึ่งของ โลกคือ อัลกอริทึมที่สามารถประเมินคะแนนเครดิตและระดับสินเชื่ อของผู้กู้ได้อย่างรวดเร็ว และร่นเวลากระบวนการตั้งแต่สมัคร ขอสินเชื่อจนกระทั่งได้รับเงินกู้ให้เหลือเพียง 7 วันทาการเท่านั้น โดยที่ผู้กู้ไม่เป็นต้องเดินทางไปธนาคาร หรือจัดเตรียมเอกสาร จานวนมหาศาลอีกต่อไป การคานวณดอกเบี้ยเงินกู้ของ Lending Club จะประกอบไปด้วยสองส่วนหลัก ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยกรณีฐานของ Lending Club และการปรับ ค่ าชดเชยความเสี่ยงและความผั นผวน (โปรดดูต ารางที่ 1 ในภาคผนวกท้ ายกรณีศึก ษา) โดย ค่าชดเชยความเสี่ยงและความผันผวนนี้จะสะท้อนความเสี่ยงที่ผู้กู้อาจบิดพลิ้ว ซึ่งแบ่ง ในภาคผนวกท้ายกรณีศึกษาออกเป็นระดับ A1 ถึง G5 ทั้งนี้ ค่าดังกล่าวจะถูกคานวณจากคะแนนเครดิตของผู้กู้ และดัชนีความเสี่ยงทางเครดิตที่ปรากฏในรายงานเครดิตของผู้กู้ หลังจากที่ผู้กู้ผ่านเกณฑ์การคัดกรองสินเชื่อเบื้องต้นแล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาสินเชื่อโดยใช้แบบจาลอง คะแนนสินเชื่อที่ Lending Club พัฒนาขึ้น แบบจาลองดังกล่าวจะวิเคราะห์ผลประกอบการของผู้กู้ ประกอบกับคะแนน FICO ข้อมูลของผู้กู้ที่ได้จากตอนสมัครขอสินเชื่อ และอื่นๆ เพื่อประเมินเป็นคะแนนในช่วง 1 ถึง 25 และจาแนกออกเป็นสินเชื่อระดับ ต่างๆ (โปรดดูตารางที่ 2 ในภาคผนวกท้ายกรณีศึกษา) จากนั้น ระบบจะปรับระดับสินเชื่อโดยอ้างอิงจากดัชนีที่บ่งบอกถึงความ เสี่ยงทางเครดิต ได้แก่ วงสินเชื่อ และอายุสินเชื่อ (36 หรือ 60 เดือน) เพื่อประเมินระดับสินเชื่อในขั้นตอนสุดท้าย (โปรดดูตารางที่ 3 และ 4 ในภาคผนวกท้ายกรณีศึกษา)

49


นอกจากการประเมินระดับสินเชื่อที่สามารถทาได้อย่า งแม่นยาและรวดเร็วแล้ว Lending Club ยังมีข้อได้เปรีย บ ทางการแข่งขันจากการนาฟินเทคมาใช้อีกหลายประการ เช่น การที่บริษัทมีความยืดหยุ่นสูงในการดึงฐานข้อมูลลูกค้ามาใช้พัฒนา กลยุทธ์ของกิจการ เนื่องจากบริษัทมีการดาเนินงานเกือบทั้งหมดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ บริษั ทจึงมีข้อมูลลูกค้าที่บันทึกอยู่ใน รูปดิจิตอลปริมาณมหาศาล ทาให้สามารถดึงมาใช้ประมวลผลเพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่าง เช่น ในปี 2557 Lending Club ได้นาเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อแบบพิเศษสาหรับลูกค้าที่มีประวัติเครดิตดีเลิศ โดยคิดอัตราดอกเบี้ย เพียงร้อยละ 4.99 ซึ่งถูกกว่าอัตราดอกเบี้ยขั้นต่าของบริษัทที่ร้อยละ 5.99 หรือในปี 2558 Lending Club ได้เพิ่มช่องทางการขอ สินเชื่อสาหรับคู่สามีภรรยาซึ่งจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อง่ายกว่าผู้กู้ทั่วไป เนื่องจากฐานข้อมูลของบริษัทชี้ให้เห็นว่าคู่แต่งงานมี โอกาสชาระหนี้สูงกว่าปัจเจกบุคคลทั่วไป ในแง่ของต้นทุน การใช้ฟินเทคมาเป็นแก่นในการดาเนินธุรกิจทาให้ Lending Club ไม่จาเป็นต้องมีสานักงานหรือสาขา รวมถึงไม่ต้องเผชิญกับข้อจากัดในการดารงทุนสารองเหมือนกับธนาคาร (Reserve Requirements) ทาให้บริษัทมีต้นทุนในการ ดาเนินงานเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของต้นทุนของผู้ให้บริการแบบดั้งเดิม หรือคิดเป็นร้อยละ 5-7 ของมูลค่ายอดสินเชื่อคงค้าง เท่านั้น นอกจากนี้ การใช้ฟินเทคยังส่งผลให้ Lending Club ได้รับผลประโยชน์จาก “พลังของเครือข่าย” (Network Effect) ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่คุณค่าหลักของสินค้าหรือบริการไม่ได้อยู่ที่คุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นเพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่จานวน ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ด้วย โดยหากมีจานวนผู้ใช้มาก คุณค่าของผลิตภัณฑ์ก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น ในกรณีของ Lending Club การใช้ฟินเทค เป็นช่องทางปล่อยสินเชื่อส่งผลให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงผู้คนได้ในวงกว้างและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นฝั่งผู้กู้หรือนักลงทุนก็ตาม ด้วย เหตุนี้ เมื่อธุรกิจมีฐานลูกค้ามากระดับหนึ่งก็จะดึงดูดให้ทั้งผูก้ ู้และนักลงทุนรายอื่นๆ มาใช้บริการของ Lending Club ส่งผลให้ฐาน ลูกค้าขยายตัวมากยิ่งขึ้น และสามารถลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ได้ ซึ่งจะแตกต่างจากโมเดลธุรกิจของธนาคาร ที่ผู้กู้กับผู้ฝากเงิน (เสมือนผู้ให้เงินลงทุน) ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันหรือแรงดึงดูดในลักษณะดังกล่าว ด้วยพลังและศักยภาพของฟินเทคในการยกระดับการให้บริการสินเชื่อดังที่ได้กล่าวไป จึงไม่น่าแปลกใจมากนักที่ แพลตฟอร์มธุรกรรมสินเชื่อแบบบุคคลต่อบุคคลอย่าง Lending Club จะได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ สักวันหนึ่งก็อาจเป็นทางเลือกในการขอสินเชื่อที่มีบทบาททัดเทียมกับการธนาคารกระแสหลักได้

การกากับดูแลกิจการและความโปร่งใส: เมื่อความเชื่อมั่นใน Lending Club สั่นคลอน ถึงแม้ว่า Lending Club จะขึ้นชื่อว่าเป็นแพลตฟอร์มต้นแบบของบริการสินเชื่อแบบบุคคลต่อบุคคล อย่างไรก็ดี บริษัท มูลค่าระดับกว่า 2,500 ดอลลาร์สหรัฐนี้ก็เคยประสบปัญหาเรื่องการกากับดูแลกิจการ และความโปร่งใสในการดาเนินงานจนถึง ขั้นซวนเซไปบ้างเช่นกัน สาเหตุที่สาคัญที่สุดประการหนึ่งของ Lending Club คือความ “คลุมเครือ” ของโมเดลธุรกิจของบริษัท เนื่องจาก Lending Club เป็นแพลตฟอร์มการปล่อยสินเชื่อที่มีลักษณะเป็นทั้ง “ตัวกลาง” ในการจับคู่ผู้กู้และนักลงทุน, “ธนาคารพาณิชย์” และ “บริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์ ” ผสมกัน โดยทั่วไป ธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีบริการฝากเงินและใช้เงินทุนนั้นในการปล่อย สินเชื่อต่อ ด้วยเหตุนี้ ธนาคารจึงเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นโดยตรง และเป็นเหตุให้การดาเนินงานของธนาคารพาณิชย์

50


ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกากับดู แลสถาบันการเงิน เช่น Basel III16 ในขณะที่บริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์ซึ่งมีหน้าที่นา เงินทุนของลูกค้ามาบริหารเพื่อให้ได้ผลตอบแทน ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ต่างๆ ในฐานะที่เป็นผู้ให้คาปรึกษาทางการเงินเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก Lending Club ไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจเป็นธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์ บริษัทจึง ไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งจุดนี้เองที่นาไปสู่ประเด็นปัญหาว่าด้วยการกากับดูแลกิจการ และความโปร่งใสในการ ดาเนินงานของ Lending Club แม้ เ รื่ อ งอื้ อ ฉาวของบริ ษั ท จะถู ก เปิ ด เผยต่ อ สาธารณะในช่ ว งกลางปี 2559 ที่ ผ่ า นมา แต่ แ ท้ จ ริ ง แล้ ว ปั ญ หาเรื่ อ ง ความโปร่งใสในการดาเนินงานและการเปิดเผยข้อมูลต่อนักลงทุนของ Lending Club เริ่มสะสมมาตั้งแต่ปลายปี 2552 ที่อดีต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท Renaud Laplanche ออกมายอมรับในภายหลังว่าตนเองและสมาชิกในครอบครัวอีกสามคน ได้ทาเรื่องขอกู้เงินจาก Lending Club เป็นจานวน 32 สัญญา คิดเป็นมูลค่า 722,800 ดอลลาร์สหรัฐในปลายเดือนธันวาคม เพียง เพื่อที่จะ “เพิ่มตัวเลขยอดสินเชื่อที่บริษัทปล่อยกู้” แล้วเหตุใด Laplanche จึงต้องทาเช่นนั้น เนื่องจากเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อของ Lending Club ส่วนหนึ่งพิจารณาจาก คะแนน FICO ของผู้กู้ ที่มักต้องได้มากกว่า 660 คะแนนจึงจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อ ด้วยเหตุนี้ ปริมาณสินเชื่อที่บริษัทปล่อยกู้ จริงจึงค่อนข้างมีจากัด จนกระทั่งในปี 2552 - 2553 Lending Club เริ่มมีปัญหาจากการที่ลูกค้ามีความต้องการลงทุนในตั๋วเงิน มากกว่าอัตราการปล่อยกู้ของบริษัท ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงพยายามเพิ่มยอดการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งนอกจากจะใช้วิธีสร้างความ ต้องการสินเชื่อแบบปลอมๆ แล้ว บริษัทยังเริ่ม “ผ่อน” กฎเกณฑ์ในการปล่อยกู้อีกด้วย เช่น ยกเลิกการตรวจสอบระดับรายได้ของ ผู้กู้ รวมทั้งอนุญาต (แบบลับๆ) ให้ผู้กู้ที่ขอสินเชื่อได้ไม่ครบจานวนในครั้งแรก สามารถแบ่งสินเชื่อเดิมออกเป็นหลายส่วน และขอกู้ ใหม่ได้ เพื่อให้สินเชื่อ “แลดู” มีการกระจายความเสี่ยง และดึงดูดนักลงทุนได้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริงแล้วสินเชื่อ นั้นๆ ไม่ได้มีความเสีย่ งลดลงแต่อย่างใด เนื่องจากสินเชื่อทั้งหมดนั้นยังคงถูกผูกไว้กับลูกหนี้คนเดียวกัน นอกจากนี้ Lending Club ก็ไม่เคยประกาศตัวเลขที่บ่งบอกว่าผู้กู้คนหนึ่งๆ มีการขอกู้ซ้าหรือไม่และเท่าไร ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความสาคัญต่อนักลงทุนมาก เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวจะบอกได้ว่าผู้กู้มีการกู้เกินตัวมากน้อยเพียงใด และส่งผลต่อการประเมินความเสี่ยงในการผิดชาระหนี้ของ ลูกหนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยสถานะอันคลุมเครือของ Lending Club ที่ไม่ใช่ทั้งธนาคารและบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์ ทาให้ บริษัทสามารถแปลงสินเชื่อให้เป็นหลักทรัพย์ (ตั๋วเงิน ) แล้วจาหน่ายให้แก่นักลงทุนโดยที่ตัวบริษัทเองไม่ได้แบกรับความเสี่ยง (Skin in the game) ว่าผู้กู้จะมีความสามารถในการชาระหนี้และดอกเบี้ยได้หรือไม่ แต่ความเสี่ยงจะตกอยู่กับนักลงทุนรายย่อย ด้วยเหตุนี้เป้าหมายของบริษัทจึงเป็นการเน้น ปล่อยกู้แบบนักล่า (Predatory Lending) หรือก็คือการระดมเงินกู้ให้ได้มากที่สุด โดยไม่สนใจคุณภาพเครดิตของผู้กู้ยืมมากนัก นอกจากนี้ Lending Club ยังมีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารอีกด้วย โดยในช่วง มีนาคมถึงเมษายน ปี 2559 บริษัทได้ขายพอร์ตสินเชื่อมูลค่ากว่า 22,000 พันล้านให้แก่บริษัทวาณิชธนกิจ Jefferies แต่ภายหลัง พบว่าพนักงานของ Lending Club ได้มีการบิดเบือนข้อมูลสินเชื่อดังกล่าวเพื่อให้พอร์ตผ่านเกณฑ์การพิจารณา ในขณะเดียวกัน Laplanche ก็ได้โน้มน้าวให้ Lending Club ลงทุนในกองทุน Cirrix Capital ซึ่งเป็นกองทุนที่เขาได้ลงทุนโดยส่วนตัวอยู่ โดยที่ Laplanche ก็ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลนี้ให้คณะกรรมการบริษัททราบแต่อย่างใด

Basel III คือ หลักเกณฑ์การกากับดูแลสถาบันการเงินของ Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) ซึง่ ครอบคลุมเรื่องการดารง เงินกองทุนและการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้สถาบันการเงินสามารถต้านทานภาวะวิกฤตในระบบ การเงินและระบบเศรษฐกิจได้ดีขึ้น พร้อมทั้งลดการส่งต่อความเสี่ยงจากระบบการเงินไปยังภาคเศรษฐกิจจริง 16

51


จากปัญหานานัปการที่เกิดขึ้น ในที่สุด Laplanche ก็ถูกบีบบังคับให้ลาออกจากตาแหน่งในเดือนพฤษภาคม 2559 มูลค่าหุ้นของบริษัทตกฮวบพร้อมกับความเชื่อมั่นของลูกค้าและนั กลงทุน หลังจากนั้นบริษัทก็ถูกตรวจสอบการดาเนินงานโดย คณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และมีการแต่งตั้ง Scott Sanborn ให้เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ แม้บริษัทประกาศว่าจะเรียกความเชื่อมั่นของลูกค้าและนักลงทุนกลับคืนมาโดยเร็ว อย่างไรก็ดี การฟื้น ฟูความเชื่อมั่นของตลาดก็ มิน่าใช่เรื่องง่ายนัก และคงต้องติดตามกันต่อไปว่า Lending Club จะสามารถฟื้นตัวจากวิกฤตที่เกิดขึ้นได้อย่างไร

52


ภาคผนวกประกอบกรณีศึกษา ตารางที่ 1 อัตราดอกเบีย้ ของแต่ละระดับสินเชื่อ ระดับสินเชื่อ

ระดับย่อย

A

1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5

B

C

D

E

F

G

อัตราดอกเบีย้ กรณีฐานของ Lending Club 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05% 5.05%

การปรับค่าชดเชยความเสีย่ งและ ความผันผวน 0.27% 1.94% 2.19% 2.44% 2.94% 3.19% 5.44% 6.34% 6.39% 6.44% 7.69% 8.44% 8.94% 9.94% 10.94% 11.94% 12.94% 13.94% 14.94% 16.44% 17.69% 18.94% 19.69% 20.44% 21.19% 23.64% 24.44% 24.94% 25.44% 25.69% 25.74% 25.79% 25.84% 25.89% 25.94%

อัตราดอกเบีย้ 5.32% 6.99% 7.24% 7.49% 7.99% 8.24% 10.49% 11.39% 11.44% 11.49% 12.74% 13.49% 13.99% 14.99% 15.99% 16.99% 17.99% 18.99% 19.99% 21.49% 22.74% 23.99% 24.74% 25.49% 26.24% 28.69% 29.49% 29.99% 30.49% 30.74% 30.79% 30.84% 30.89% 30.94% 30.99%

53


ตารางที่ 2 การแปลงคะแนนทีไ่ ด้จากแบบจาลองเป็นระดับสินเชื่อ คะแนนที่ได้จากแบบจาลอง 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25

ระดับสินเชื่อ A1 A2 A3 A4 A5 B1 B2 B3 B4 B5 C1 C2 C3 C4 C5 D1 D2 D3 D4 D5 E1 E2 E3 E4 E5

ตารางที่ 3 การปรับระดับสินเชื่อตามวงสินเชื่อที่ขอกู้ วงสินเชื่อที่ขอกู้ <$5,000 $5,000 - <$25,000 $25,000 - <$30,000 $30,000 - <$35,000 $35,000

A -1 0 0 -2 -3

การปรับระดับสินเชื่อ B -1 0 -2 -2 -4

C-E -1 0 -2 -3 -4

ตารางที่ 4 การปรับระดับสินเชื่อตามอายุสินเชื่อ อายุสินเชื่อ 36 เดือน 60 เดือน

ระดับสินเชื่อ A-G A-G

การปรับระดับสินเชื่อ 0 -8 ถึง -4

54


การสารวจมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของบริการธนาคารออนไลน์ บทก่อนๆ และกรณีศึกษา Lending Club และ M-Pesa สะท้อนว่า ฟินเทคจะสามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการทาง การเงินในประเทศได้อย่างยั่งยืนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน รวมถึงความโปร่งใส การกากับดูแลที่ได้ ‘สมดุล’ ระหว่าง การกากับมิให้ผู้ให้บริการฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้มีรายได้น้อย และเปิดพื้นที่ให้เกิดนวัตกรรมและการทดลองใหม่ๆ เพื่อยกระดับ บริการทางการเงิน นอกจากนี้ ยิ่งฟินเทคเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการ ผู้ให้บริการเก็บข้อมูลดิจิตอลจากผู้ใช้มากเพียงใด ระดับความปลอดภัยและมาตรการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวก็จะยิ่งทวีความสาคัญเพียงนั้น ปัจจุบันบริการธนาคารออนไลน์ในไทยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก รวมถึงการส่งเสริมจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่า จะเป็นธนาคาร ภาคเอกชนและภาครัฐ จากการสารวจของบริษัทนีลเส็น 17 ผ่านยอดการใช้ข้อมูล (Data Consumption) ในช่วง ไตรมาส 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2559) พบว่า นอกจากอัตราการเติบโตของการทาธุรกรรมธนาคารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังมีการ จัดอันดับของการใช้งานแอพพลิเคชั่นธนาคาร (Mobile Banking) 10 อันดับแรกพบว่า มีผู้ใช้ธนาคารกสิกรไทยมากที่สุด คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 22 รองลงมาคือธนาคารไทยพาณิชย์ มีสัดส่วนร้อยละ 11 อันดับที่ 3 คือ ธนาคารกรุงเทพ สัดส่วนร้อยละ 9 และ อันดับที่ 4 คือ ธนาคารกรุงไทย มีสัดส่วนร้อยละ 8 เบื้องต้นอาจดูเหมือนว่าการทาธุรกรรมออนไลน์ช่วยลดขั้นตอนในการทาธุรกรรมที่ธนาคารด้วยตนเองเท่านั้น แต่ความจริง แล้วธุรกรรมออนไลน์ยังเกี่ยวข้องกับอีกหลายส่วน โดยเฉพาะการส่งต่อข้อมูลส่วนบุคคลจานวนมาก ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการ เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ ซึ่งต่างส่งผลต่อการทาธุร กรรม รวมถึงระดับความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายด้วย อย่างไรก็ตามสาหรับผู้ใช้โดยทั่วไป การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ไม่ง่ายนัก ซึ่ง อาจมี สาเหตุมาจากวิธีการเปิดเผยข้อมูลของผู้ให้บริการและข้อจากัดเกี่ยวกับความรู้ทางเทคนิค ทั้งที่เป็นข้อมูลสาคัญ งานวิจัยบทนี้จึงมุ่งสารวจมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของบริการธนาคารออนไลน์ ซึ่งได้แก่ บริการธุรกรรมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ (E-banking) และผ่านแอพพลิเคชั่น (Mobile Banking) เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นแก่ผู้ใช้ทั่วไป ได้พิจารณาว่าธนาคารปกป้องความปลอดภัยพื้นฐานของลูกค้าอย่างไร พร้อมกับแสดงให้เห็นถึงประเด็นความปลอดภั ยและ ความเป็นส่วนตัวที่สาคัญ ซึ่งผู้ใช้ธนาคารออนไลน์ควรคานึงถึงในการใช้งาน

ขอบเขตการประเมิน การประเมินนี้เป็นการสารวจบริการออนไลน์ทั้ งการให้บริการผ่านเว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่นของธนาคารพาณิชย์ไทย จานวน 12 แห่งจากทั้งหมด 14 แห่งตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยไม่ได้ประเมินธนาคาร 2 แห่งคือ ธนาคาร ทิสโก้ เนื่องจากไม่มีการทาธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ และธนาคารไอซีบีซี ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าในวงจากัด ดังนี้ 1. 2. 3. 4. 17

ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ธนาคารกรุงไทย (KTB) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (Krungsri) ธนาคารกสิกรไทย (Kbank)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://positioningmag.com/1109690

55


5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12.

ธนาคารเกียรตินาคิน (KK) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย (CIMB) ธนาคารทหารไทย (TMB) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ธนาคารธนชาต (Thanachart) ธนาคารยูโอบี (UOB) ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH Bank) ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) (Standard Chartered)

วิธีการประเมิน รายงานประเมินนี้เป็นการตรวจสอบมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของธนาคารไทยในฐานะ ผู้บริโภค เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริโภคสามารถใช้ประเมินความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง ดังนั้นจึงเป็น การประเมินระดับหน้าเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นที่ผู้บริโภคทั่วไปสามารถดาเนินการเองได้เท่านั้น แนวทางการประเมินยึดหลักการความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวออนไลน์ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ซึ่งสาหรับ ธนาคารมี ป ระเด็ น ส าคั ญ ที่ ต้ อ งค านึ งถึ ง 4 ประการคื อ การเข้ า รหั ส ข้ อ มู ล ตั้ งแต่ ต้ น ทางจนถึ ง ปลายทาง การพิ สู จ น์ ตั ว ตน (Authentication) นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศ ไทย ที่สนส. 26/2551 เรื่องการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2551 ซึ่ง กาหนดแนวปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในประกาศได้ระบุว่า ธนาคารพาณิชย์จาเป็นต้องมีกระบวนการรักษาความปลอดภัยที่ดีและเลือกใช้เทคโนโลยีสาหรับ การรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ดังนี้ กระบวนการหลักของการรักษาความปลอดภัยระบบได้แก่ 1) การควบคุมการเข้าถึงระบบให้บริการและข้อมูล (Access Control) ตัวอย่างเทคโนโลยีที่ใช้ในการป้องกันการลักลอบเข้าถึง เช่น Firewall ทั้งในระดับเครือข่ายและโปรแกรมระบบงาน (Application) โปรแกรมป้ อ งกั น ไวรั ส คอมพิ ว เตอร์ 2) การตรวจสอบตั ว ตนลู ก ค้ า และการป้ อ งกั น การปฏิ เ สธความรั บ ผิ ด (Authentication & Non-repudiation) ตัวอย่างเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจสอบตัวตนและป้องกันการปฏิเสธความรับผิด เช่น รหัสผ่าน เลขประจาตัว เทคโนโลยีกุญแจสาธารณะ (Public Key Infrastructure) เทคโนโลยีการเข้ารหัสลับ การใช้ช่องทางที่มี ความปลอดภัยสูงในการรับส่งข้อมูลการตรวจสอบตัวตน (Secure Sockets Layer - SSL) 3) การรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ ของระบบให้บริการและข้อมูล 4) การรักษาความลับของข้อมูล (Data Confidentiality) 5) การรักษาความพร้อมใช้ของระบบ ให้ บ ริ ก าร (System Availability) 6) การติ ด ตามตรวจสอบความผิด ปกติ และความล่อ แหลมของระบบให้บ ริ การ (System Detection) และ 7) การแก้ ไ ขปั ญ หาและการรายงานกรณี ร ะบบให้ บ ริ ก ารได้ รั บ ความเสี ย หายจากภั ย คุ ก คาม (Incident Response & Report) ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ควรเปิดเผยข้อตกลงและเงื่อนไขในการให้บริการให้ลูกค้าทราบ และมีวิธีการให้ลูกค้าแสดง การยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขดังกล่าวก่อนตัดสินใจใช้บริการ โดยในการให้บริการโอนเงิน ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตาม ประกาศฉบับนี้

56


การรวบรวมข้อมูล การประเมินนี้รวบรวมข้ อมูลจากผู้ใ ช้ บริก ารธนาคารออนไลน์ และข้อมูลที่ธนาคารประกาศผ่านเว็ บไซต์ระหว่ า ง ธันวาคม 2559 - มกราคม 2560

ตัวชี้วัดในการประเมิน ตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินระดับความคุ้มครองความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในรายงานส่วนนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ธนาคารผ่านเว็บไซต์และผ่านแอพพลิเคชั่น ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ธนาคารผ่านเว็บไซต์ 1. ความปลอดภัยในการเชื่อมต่อหน้าเว็บไซต์ ในการประเมินนี้จะตรวจสอบการเข้ารหัสการเชื่อมต่อหน้าเว็บไซต์ของธนาคารออนไลน์ ด้วยการทดสอบผ่านเว็บไซต์ SSL Server Test (https://www.ssllabs.com/ssltest) ซึ่งเป็นบริการวิเคราะห์โครงสร้างของเว็บที่เข้ารหัส SSL ทุกประเภท บนอินเทอร์เน็ต และเป็นโครงการวิจัยที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า และการอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้ารหัสจาก เบราว์เซอร์ ร่วมกับการตรวจสอบผ่านหน้าเว็บไซต์ด้วยเบราว์เซอร์กูเกิลโครม (Chrome) ซึ่งผู้ใช้สามารถตรวจสอบการเชื่อมต่อ ของเว็บไซต์ได้ด้วยการกดเครื่องหมายรูปกุญแจที่แถบ URL ได้ว่ามีการเข้ารหัสลักษณะใด และใช้ใบรับรองใด เนื่องจากเว็บไซต์ของธนาคารทั้งหมดมีการใช้โปรโตคอลความปลอดภัย TLS (Transport Layer Security) รุ่นล่าสุด แล้ว TLS พัฒนามาจาก Secure Sockets Layer (SSL) ที่จะเข้ารหัสให้การเชื่อมต่อปลอดภัย และยืนยันตัวตนด้วยการตรวจสอบ ว่าเซิร์ฟเวอร์ที่เราส่งข้อมูลไปนั้นมีอยู่จริง และมีการเข้ารหัส 256 บิต ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้กันในอุตสาหกรรม การประเมินครั้งนี้ จึงพิจารณา Forward Secrecy ซึ่งเป็นกระบวนการรักษาความปลอดภัยในอนาคตว่าเว็บไซต์จะเข้ารหัสและถอดรหัสใหม่ทุกครั้ง ของการเชื่อมต่อ แม้ว่าในอนาคตจะหากมีกรณีที่กุญแจสาธารณะ (Public Key) รั่วไหล ก็ไม่สามารถถอดรหัสผ่านได้ เกณฑ์ในการประเมิน • 1 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่มีกระบวนการ Forward Secrecy • 0.5 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ใช้โปรโตคอล TLS 1.2 เข้ารหัสแบบ 256 บิต • 0 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ไม่มีการเข้ารหัส 2. ความปลอดภัยในการยืนยันตัวตน การยืนยันตัวตนว่าผู้ทาธุรกรรมทางการเงินและเจ้าของบัญชีเป็นบุคคลเดียวกันเป็นหัวใจสาคัญของความปลอดภัย เนื่องจากการเข้าสู่ระบบที่ใช้เพียงชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านมีความเสี่ยงที่จะถูกแฮกได้ ถ้าคนอื่นได้ข้อมูล (หรือคาดเดา) ชื่อผู้ใช้และ รหัสผ่านได้ ดังนั้นจึงมีการใช้การตรวจสอบ 2 ปัจจัย (Two-factor Authentication) ซึ่งเป็นวิธีรับรองความถูกต้องที่กาหนดให้ ผู้ใช้ต้องยืนยันแยกต่างหากว่าเป็นผู้ใช้งานตัวจริง นอกจากรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านแล้ว ปัจจัยที่สองอาจเป็นรหัสลับแบบครั้งเดียว One-Time Password (OTP) ซึ่งเป็นตัวเลขที่โปรแกรมบนอุปกรณ์มือถือสร้างขึ้นหรือเป็นอุปกรณ์พกพา ธนาคารออนไลน์ไทยใน ปัจจุบันใช้วิธีเข้าสู่ระบบด้วยการใช้บัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน ร่วมกับการกรอกรหัสลับแบบครั้งเดียวที่จะส่งมาทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่ง ผู้ใช้ต้องดาเนินการถูกต้องทั้งสองปัจจัย

57


อย่างไรก็ตาม เมื่อสิงหาคม 2559 สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Institute of Standards and Technology – NIST) ได้เผยแพร่ร่างว่าด้วยแนวทางการจัดทาระบบยืนยันตัวตนแบบดิจิตอล 18 ว่าการยืนยัน ตัวตนสองขั้นตอนด้วยการส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถือ (SMS) ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป เนื่องจากไม่รู้ว่าผู้เข้าถึง SMS ได้เป็นผู้ใช้ ตัวจริงหรือไม่ จึงสมควรถูกห้ามใช้ในอนาคต ส่วนการพิสูจน์ตัวตนเมื่อลูกค้าลืมรหัสผ่าน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกแนวปฏิบัติเรื่อง แนวปฏิบัติในการตั้ง รหัสผ่านใหม่ผ่านทาง Call Center เมื่อ 24 สิงหาคม 2559 โดยเสนอให้เปลี่ยนคาถามเพื่อการพิสูจน์ตัวตนให้ยากต่อการคาดเดา และสะท้อนพฤติกรรมของลูกค้า เช่น คาถามพฤติกรรมการใช้เงิน รวมทั้งควรใช้ข้อมูลประเภทอื่นร่วมด้วย เช่น ใช้เทคโนโลยีทาง ชีวภาพ ในการประเมินนี้จะตรวจสอบการพิสูจน์ตัวตน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ก่อนเข้าใช้งาน (ขั้นตอนการสมัคร) ระหว่างใช้งาน และ เข้าใช้งานใหม่กรณีลืมรหัสผ่าน 2.1. เงื่อนไขรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา พิจารณาจากเกณฑ์การตั้งชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน โดยธนาคารต้องกาหนดให้ รหัสผ่านมีความยาวไม่ต่ากว่า 8 ตัวอักษร และบังคับให้ใช้พยัญชนะตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวเลข เป็นส่วนประกอบของรหัสผ่าน ด้วย เกณฑ์ในการประเมิน • 1 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่กาหนดให้มีความยาวรหัสผ่าน 8 ตัวอักษรขึ้นไป ต้องมีพยัญชนะตัวพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ เล็ก และตัวเลข • 0.5 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่กาหนดให้มีความยาวรหัสผ่าน 8 ตัวอักษรขึ้นไป แต่ไม่บังคับให้ต้องประกอบด้วย พยัญชนะตัวพิมพ์ใหญ่และตัวเลข • 0 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่กาหนดให้ความยาวของรหัสผ่านต่ากว่า 8 ตัวอักษร 2.2. ธนาคารใช้วิธีตรวจสอบอื่นหรือไม่ นอกจากรหัส OTP ที่ส่งทางโทรศัพท์มือถือ เกณฑ์ในการประเมิน • 1 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ไม่ใช้ OTP ในการยืนยันตัวตน • 0 คะแนน หมายถึง ธนาคารยังใช้ OTP ในการยืนยันตัวตน 2.3. กรณีที่ลืมรหัสผ่าน พิจารณาจากข้อมูลที่ต้องใช้เพื่อพิสูจน์ตัวตนว่ามีความรัดกุมมากเพียงพอหรือไม่ โดยประเมินว่าเป็น ข้อมูลที่เข้าถึงได้ทั่วไปหรือไม่ เกณฑ์ในการประเมิน • 1 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ผู้ใช้บริการต้องแสดงตนที่ธนาคารเมื่อลืมรหัสผ่าน • 0.5 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ผู้ใช้บริการต้องใช้รหัสผ่านบัตรเอทีเอ็มประกอบการยืนยันตัวตน • 0 คะแนน หมายถึง ธนาคารผู้ใช้บริการใช้ข้อมูลส่วนตัวที่เข้าถึงได้ง่ายในการยืนยันตัวตน เช่น วันเกิด เลขประจาตัว ประชาชน

18

อ่านร่างแนวปฏิบัติได้ที่ https://pages.nist.gov/800-63-3/sp800-63b.html

58


3. ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากข้อมูลเกี่ยวกับการทาธุรกรรมทางการเงินแล้ว รายงานนี้ยังประเมินระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ ธนาคาร เนื่องจากระหว่างการใช้งานผ่านเว็บไซต์ ลูกค้าต้องมอบข้อมูลส่วนบุคคลแก่ธนาคารหลายประเภท อาทิ เลขประจาตัว ประชาชน ที่อยู่ โดยพิจารณาจากนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลของธนาคารว่าได้ให้ข้อมูลที่จาเป็นหรือไม่ ดังนี้ 3.1. นโยบายด้านข้อมูลส่วนบุคคลเข้าถึงได้ง่ายหรือไม่ โดยพิจารณาจากตาแหน่งที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ ซึ่งควรอยู่ที่หน้าแรก ของเว็บไซต์หรือหน้าแรกของการเข้าสู่ระบบธนาคารออนไลน์อย่างชัดเจนและเป็นภาษาไทย เกณฑ์ในการประเมิน • 1 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่แจ้งนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลภาษาไทยไว้ในหน้าแรกของเว็บไซต์อย่างชัดเจน • 0.5 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่แจ้งนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล โดยเขียนเป็นภาษาอังกฤษไว้ที่หน้าแรกของเว็บไซต์ • 0 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ไม่ประกาศนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลไว้บนเว็บไซต์ หรือลิงก์ใช้งานไม่ได้ 3.2. การแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบว่าธนาคารเก็บข้อมูลใดบ้าง เกณฑ์ในการประเมิน • 1 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ให้รายละเอียดอย่างเฉพาะเจาะจงว่าเก็บข้อมูลใดบ้าง • 0.5 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ระบุว่าเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะเท่าที่จาเป็น • 0 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ไม่ระบุว่าเก็บข้อมูลใดบ้าง 3.3. การแจ้งวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอย่างชัดเจน เกณฑ์ในการประเมิน • 1 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่แจ้งวัตถุประสงค์ของการรวบรวมข้อมูลโดยละเอียด • 0.5 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่แจ้งวัตถุประสงค์ของการรวบรวมข้อมูลกว้างๆ เช่น ใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ ธนาคาร • 0 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ไม่แจ้งวัตถุประสงค์ของการรวบรวมข้อมูล 3.4. การระบุระยะเวลาในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอย่างชัดเจน เช่น อธิบายการเก็บข้อมูลในกรณีที่ไม่ได้เป็นลูกค้าของ ธนาคารแล้ว เกณฑ์ในการประเมิน • 1 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ระบุระยะเวลาในการเก็บข้อมูล • 0 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ไม่ระบุระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 3.5. การระบุแนวปฏิบัติของธนาคารในการเปิดเผยข้อมูลกับบุคคลที่สาม เกณฑ์ในการประเมิน • 1 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ระบุแนวทางการส่งต่อข้อมูลไปยังบุคคลที่สามโดยละเอียด • 0.5 คะแนน หมายถึง ธนาคารทีร่ ะบุแนวทางการส่งต่อข้อมูลไปยังบุคคลที่สามกว้างๆ เช่น ใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของธนาคาร • 0 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ไม่แจ้งนโยบายเกี่ยวกับการส่งต่อข้อมูลไปยังบุคคลที่สาม

59


3.6. การยินยอมให้ผู้ใช้บริการ “เลือกไม่รับ (opt-out)” การส่งต่อข้อมูลให้กับบุคคลที่สามได้โดยที่ยังสามารถใช้บริการอื่นๆ ของธนาคารได้ เกณฑ์ในการประเมิน • 1 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ยินยอมให้ลูกค้าเลือกไม่ยอมรับเงื่อนไขการส่งต่อข้อมูลให้กับบุคคลที่สามได้ • 0 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ไม่มีนโยบายให้เลือกไม่ยอมรับเงื่อนไขการส่งต่อข้อมูลให้กับบุคคลที่สามได้ 4. ความรับผิดชอบของธนาคาร การประเมินนี้ตรวจสอบข้อความที่ระบุไว้ในนโยบายความรับผิดชอบของธนาคารต่อลูกค้าเกี่ยวกับการดาเนินการของ ธนาคารในกรณีที่มีความเสียหายในระบบคอมพิวเตอร์ 2 ด้าน ได้แก่ ความรับผิดเมื่อข้อมูลที่จัดเก็บไว้รั่วไหล และความรับผิดเมื่อ ข้อมูลรั่วไหลระหว่างการเชื่อมต่อ โดยมาจากสมมติฐานที่ว่าเนื่องจากปัจจุบันความเสี่ยงจากการคุกคามระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่ม มากขึ้นและซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ และเกิดขึ้นได้หลายจุดในการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้บริก ารและผู้ให้บริการ จึงไม่ควรเป็นภาระของ ผู้ใช้บริการซึ่งไม่มีความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีในการตรวจสอบความผิดพลาดทางเทคนิคที่เกิดขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศที่ สนส. 26/2551 เรื่องการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการการเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2551 ระบุความรับผิดของธนาคารพาณิชย์ต่อผู้ใช้บริการดังนี้ “(1) ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติตามคาสั่งโอนเงินจนเป็นเหตุให้ผู้ใช้บริการไม่ได้รับเงินจากการโอนเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์โดยเสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามระยะเวลาที่ได้กาหนดไว้ใน 2.1.3 เว้นแต่ (1.1) ผู้ใช้บริการมีเงินในบัญชีไม่พอ (1.2) ผู้ใช้บริการไม่มีหรือถูกระงับการใช้วงเงินสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์ (1.3) การโอนเงินจะเป็นผลให้ยอดเงินในบัญชีเกินกว่าวงเงินสินเชื่อที่ตกลงไว้กับธนาคารพาณิชย์ (1.4) อยู่ระหว่างดาเนินการทางกฎหมาย (1.5) ธนาคารได้แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบถึงความขัดข้องของการโอนเงินอยู่ก่อนแล้ว หรือขณะที่ทารายการ โอนเงิน (1.6) ผู้ใช้บริการปฏิบัติผิดเงื่อนไขหรือข้อตกลงกับธนาคาร (1.7) เป็นเหตุสุดวิสัย (2) ธนาคารพาณิชย์มิได้ปฏิบัติตามคาสั่งระงับการโอนเงินที่มีข้อตกลงล่วงหน้าตามข้อ 2.1.6 หรืออายัดเครื่องมือโอน เงินของผู้ใช้บริการตามข้อ 2.6 และต่อมาเกิดรายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น (3) ธนาคารพาณิชย์ยังไม่ได้ส่งมอบเครื่องมือโอนเงินให้แก่ผู้ใช้บริการและเกิดรายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยมิ ชอบขึ้น (4) เกิดรายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยมิชอบ และมิใช่ความผิดของผู้ใช้บริการ” และ

60


“2.5 ในกรณี ที่ ธ นาคารพาณิ ช ย์ ม อบหมายให้ บุ ค คลอื่ น กระท าการหรื อ ร่ ว มกระท าการให้ บ ริ ก ารโอนเงิ น ทาง อิเล็กทรอนิกส์ หรือกระทาหน้าที่อื่นใดที่เกี่ ยวเนื่อง หรือเอื้อประโยชน์ต่อการเงินโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารพาณิชย์ จะต้องรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการเสมือนหนึ่งตนเป็นผู้ให้บริการนั้นเอง และจะต้องกาหนดให้บุคคลที่ได้รับมอบหมายนั้นจัดเก็บ ข้อมูลในรูปแบบที่ระบุไว้ในข้อ 2.4 ด้วย” 4.1. ธนาคารรับผิดชอบเมื่อข้อมูลที่จัดเก็บไว้รั่วไหลหรือไม่ เกณฑ์ในการประเมิน • 1 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ระบุว่าจะรับผิดชอบกรณีที่ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในระบบของธนาคารรั่วไหล • 0 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ไม่รับผิดชอบกรณีที่ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในระบบของธนาคารรั่วไหล 4.2. ธนาคารรับผิดชอบเมื่อข้อมูลรั่วไหลระหว่างการเชื่อมต่อ เกณฑ์ในการประเมิน • 1 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ระบุว่าจะรับผิดชอบกรณีที่ข้อมูลรั่วไหลระหว่างการเชื่อมต่อ • 0 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ไม่รับผิดชอบกรณีที่ข้อมูลรั่วไหลระหว่างการเชื่อมต่อ 4.3. นโยบายการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลให้กับบุคคลที่สาม เกณฑ์ในการประเมิน • 1 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ระบุแนวทางการส่งต่อข้อมูลไปยังบุคคลที่สามโดยละเอียด • 0.5 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ระบุแนวทางการส่งต่อข้อมูลไปยังบุคคลที่สามกว้างๆ เช่น ใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของธนาคาร • 0 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ไม่แจ้งนโยบายเกี่ยวกับการส่งต่อข้อมูลไปยังบุคคลที่สาม

แอพพลิเคชั่น แนวทางการประเมินแอพพลิเคชั่นของธนาคารเป็นแนวทางเดียวกับการประเมินเว็บไซต์คือ การประเมินความปลอดภัย ในการเชื่อมต่อ การยืนยันตัวตน นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวและความรับผิดของธนาคาร อย่างไรก็ตาม ในส่วนนี้จะมี ตัวชี้วัดเฉพาะการเชื่อมต่อและการยืนยันตัวตนเท่านั้น เนื่องจากใช้นโยบายส่วนบุคคลและความรับผิดของธนาคารเดียวกัน 1. ความปลอดภัยในการเชื่อมต่อ โดยปกติแล้ว การสื่อสารระหว่างต้นทางไปจนถึงปลายทางของแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือเป็นเรื่องยากเกินกว่าผู้ใช้ โดยทั่วไปจะสามารถตรวจสอบได้เอง การประเมินนี้จึงใช้การตรวจสอบว่า แอพพลิเคชั่นธนาคารบังคับให้ใช้งานผ่านเครือข่าย โทรศัพท์มือถือ ซึ่งโดยปกติจะมีการเข้ารหัสข้อมูลเท่านั้นหรือไม่ ในกรณีที่ธนาคารอนุญาตให้ใช้งานได้ผ่านเครือข่ายสัญญาณไร้ สาย (wi-fi) ธนาคารมีมาตรการป้องกันอย่างไร เกณฑ์ในการประเมิน •

1 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ไม่ยินยอมให้ผู้ใช้ทาธุรกรรมผ่านเครือข่ายสัญญาณไร้สายเลย • 0.5 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ยินยอมให้ทาธุรกรรมผ่านเครือข่ายสัญญาณไร้สาย แต่มีการแจ้งเตือนหรือทาได้บางรายการ เท่านั้น • 0 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ยินยอมให้ผู้ใช้ทาธุรกรรมผ่านเครือข่ายสัญญาณไร้สายโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ

61


2. ความปลอดภัยในการพิสูจน์ตัวตน การประเมินนี้พิจารณาจากวิธีการที่ธนาคารเลือกใช้ว่ามีขั้นตอนการยืนยันตัวตนที่แข็งแรงมากพอหรือไม่ มาตรฐานขั้น ต่าที่สุดคือ การตรวจสอบ 2 ปัจจัย (Two-factor Authentication) และขั้นตอนการพิสูจน์ตัวตนเมื่อผู้ใช้ลืมรหัสผ่าน การประเมินนี้แบ่งระดับความแข็งแรงในการยืนยันตัวตนออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 2.1. การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (Biometric) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้บริการได้แม่นยาที่สุดในปัจจุบัน เช่น ลายนิ้วมือ ใบหน้า ตรวจสอบว่าธนาคารมีบริการนี้หรือไม่ เกณฑ์ในการประเมิน •

1 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่มีบริการตรวจสอบตัวตนด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ • 0 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ไม่มีบริการตรวจสอบตัวตนด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ 2.2. รหัสผ่าน 6 หลัก (Mobile PIN) เป็นเครื่องมือที่เปลี่ยนจากรหัสผ่านครั้งเดียวที่จะส่งข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือที่เดิม ธนาคารส่วนใหญ่เลือกใช้ เป็นการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอนในครั้งแรกของแรกของการใช้งาน และลงทะเบียนเครื่อง โทรศัพท์มือถือเท่านั้น เมื่อดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นของธนาคารแล้ว ผู้ใช้ต้องใส่หมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนไว้ กับธนาคารและรหัส 6 หลักที่ได้จากการสมัครในช่องทางต่างๆ ซึ่งต้องพิสูจน์ว่าเป็นผู้ใช้บริการจริงจากข้อมูลส่วนตัว อาทิ เลขบัญชี เลขบัตรเอทีเอ็ม เลขประจาตัวประชาชน เกณฑ์ในการประเมิน •

1 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ใช้รหัสผ่าน 6 หลักแทน OTP • 0 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ยังใช้ระบบ OTP 2.3. การตรวจสอบตัวตนเมื่อขอรหัสผ่านใหม่เป็นการพิจารณาว่าข้อมูลที่ต้องใช้เพื่อยืนยันตัวตนมีความสลับซับซ้อนมาก เพียงใด เกณฑ์ในการประเมิน •

1 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่บังคับให้ผู้ใช้ต้องแสดงตนเองที่ธนาคารเท่านั้น • 0.5 คะแนน หมายถึง ธนาคารที่ผู้ใช้บริการต้องใช้รหัสผ่านบัตรเอทีเอ็มประกอบการยืนยันตัวตน • 0 คะแนน หมายถึ ง ธนาคารผู้ใ ช้ บ ริ ก ารใช้ ข้ อ มู ล ส่ว นตั วที่ เ ข้ า ถึง ได้ ง่ ายในการยื นยั นตั ว ตน เช่ น วั น เกิ ด เลข ประจาตัวประชาชน

62


BBL

KTB

Krungsri

Kbank

KK

CIMB Thai

TMB

SCB

Thanachart

UOB

L&H

ตัวชี้วัด

Standard Chartered

ผลการประเมิน

1

1

1

1

1

1

1

1

1

0.5

0.5

0.5

1

1

0.5

0.5

ไม่มี ข้อมูล

0.5

1

0.5

1

0.5

ไม่มี ข้อมูล

0

การยืนยันตัวตนด้วย OTP

0

0

0

0

0

0

0

0

0

0

0

0

ขั้นตอนการขอรหัสผ่านใหม่ รัดกุม

1

1

0.5

1

0.5

1

1

1

1

0.5

0.5

1

นโยบายข้อมูลเข้าถึงได้ง่าย

1

0.5

0.5

1

1

1

1

0.5

1

0.5

1

1

แจ้งขอบเขตการเก็บข้อมูล อย่างละเอียด

0.5

1

1

1

1

1

1

0.5

1

0.5

0.5

1

แจ้งวัตถุประสงค์ของการ รวบรวมข้อมูลโดยละเอียด

0.5

0.5

0.5

0.5

0.5

0.5

0.5

0.5

0.5

0.5

0.5

1

ระบุระยะเวลาในการเก็บ ข้อมูล

0

0

0

0

0

0

0

0

0

0

0

1

ระบุแนวทางการส่งต่อ ข้อมูลไปยังบุคคลที่สาม

1

1

1

1

1

1

1

1

1

0.5

1

1

ยอมรับเมื่อผู้ใช้ไม่ยินยอมให้ ส่งต่อข้อมูลให้กับบุคคลที่ สาม (opt-out)

0

0

0

0

0

1

0

0

0

0

0

1

0

0

0

0

0

0

0

0

0

0

0

0

ธนาคารผ่านเว็บไซต์ การเข้ารหัสการเชื่อมต่อ เงื่อนไขรหัสผ่าน

ข้อมูลส่วนบุคคล

ความรับผิดของธนาคาร ธนาคารรับผิดชอบเมื่อ ข้อมูลที่จัดเก็บไว้รั่วไหล

63


KTB

Krungsri

Kbank

KK

CIMB Thai

TMB

SCB

Thanachart

UOB

L&H

Standard Chartered

BBL

ตัวชี้วัด

0

0

0

0

0

0

0

0

0

0

0

0

ไม่ยินยอมให้ทาธุรกรรมผ่าน สัญญาณไวไฟ

0

0

ไม่มี ข้อมูล

0.5

ไม่มี ข้อมูล

ไม่มี ข้อมูล

0.5

0.5

0

ไม่มี ข้อมูล

ไม่มี ข้อมูล

-

มีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อยืนยันตัวตนหรือไม่

0

0

1

1

ไม่มี ข้อมูล

ไม่มี ข้อมูล

1

0

0

ไม่มี ข้อมูล

ไม่มี ข้อมูล

-

ใช้การยืนยันตัวตนอื่น แทน OTP หรือไม่

1

1

1

1

ไม่มี ข้อมูล

ไม่มี ข้อมูล

1

1

0

0

1

-

ขั้นตอนการสร้างรหัสผ่าน ใหม่รัดกุมหรือไม่

0.5

0.5

ไม่มี ข้อมูล

1

0

ไม่มี ข้อมูล

0.5

0.5

0.5

ไม่มี ข้อมูล

0.5

-

7.5

7.5

ข้อมูล ไม่พอ

9.5

ข้อมูล ไม่พอ

ข้อมูล ไม่พอ

9.5

7.0

7.0

ข้อมูล ไม่พอ

5.5

7.5*

ธนาคารรับผิดชอบเมื่อ ข้อมูลรั่วไหลระหว่างการ เชื่อมต่อ แอพพลิเคชั่น

รวม

*หมายเหตุ: คะแนนเฉพาะ e-banking (ธนาคารผ่านเว็บ) เนื่องจากธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดไม่มีแอพพลิเคชั่นของ ธนาคารที่ลูกค้าสามารถทาธุรกรรมที่สาคัญได้ เช่น การโอนเงิน จึงไม่มีการประเมิน

สรุปผลการประเมิน 1. บริการธนาคารผ่านเว็บไซต์ทุกธนาคารให้ความสาคัญกับการเข้ารหัสการเชื่อมต่อ (Encryption) เห็นได้จากการใช้ ใบรับรองและการเข้ารหัสรุ่นล่าสุด อย่างไรก็ตามบางธนาคารยังไม่ได้คานึงถึงการป้องกันในกรณีที่กุญแจสาธารณะ (Public Key) รั่วไหลในอนาคต 2. ความปลอดภั ย ในการยื น ยั น ตั ว ตนของบริ ก ารผ่ า นเว็ บ ไซต์ ธนาคารหลายแห่ งจะก าหนดให้ รหั ส ผ่า นเข้ า สู่ร ะบบมี ความซับซ้อนระดับหนึ่งคือ มีความยาวมากกว่า 8 ตัวอักษรและต้องประกอบด้วยตัวพิมพ์ใหญ่และตัวเลข แต่ธนาคาร ทั้งหมดใช้ OTP ร่วมกับโทรศัพท์มือถือ ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ปลอดภัยแล้ว 3. ในการขอรหัสผ่านใหม่ ธนาคารส่วนใหญ่กาหนดให้ลูกค้าต้องยืนยันตัวตนผ่านบัตรเอทีเอ็มของธนาคาร ซึ่งถือว่าเป็น การตรวจสอบอีกขั้นหนึ่ง นอกจากการกรอกข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ และหมายเลขโทรศัพท์มือถือ อย่างไรก็ตามในกรณีของ ธนาคารที่ผู้ใช้ต้องไปยืนยันตัวตนที่ธนาคาร แม้จะเป็นวิธีการที่ปลอดภัยที่สุด แต่ก็สร้างความไม่สะดวกให้กับผู้ใช้บริการ

64


ด้วยเช่นกัน ส่วนธนาคารที่ตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้ด้วยคาถามผ่านทางโทรศัพท์ มีข้อกังวลว่าคาถามที่ใช้นั้นอาจจะเป็น ข้อมูลที่ไม่เฉพาะเจาะจงมากพอ 4. เกือบทุกธนาคารทั้งบริการผ่านเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นใช้นโยบายส่วนบุคคลเดียวกัน ทุกธนาคารประกาศนโยบาย การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้ที่เว็บไซต์ แม้จะกล่าวถึงหลักการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลพื้นฐาน เช่น ประเภทของข้อมูลที่ รวบรวม การเผยแพร่ให้กับบุคคลที่สาม แต่ละธนาคารแสดงรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงต่างกัน เช่น บางธนาคารไม่ เพียงแต่อธิบายว่า มีการเก็บข้อมูลส่วนตัว แต่ระบุว่ารวบรวมชื่อ โทรศัพท์ ข้อมูลโซเชีย ลมีเดีย เป็นต้น หรือบางธนาคาร ระบุว่า พนักงานระดับใดบ้างที่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าได้ 5. ธนาคารเกือบทั้งหมดไม่ได้ให้ความสาคัญต่อการแจ้งระยะเวลาของการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า โดยเฉพาะในกรณี ที่ผู้ใช้บริการเลิกใช้บริการจากธนาคารไปแล้ว มีเพียงธนาคารแสตนดาร์ดชาร์เตอร์ดที่ระบุว่าจะเก็บไว้เป็นระยะเวลา เท่าใด 6. แอพพลิเคชั่นของธนาคารส่วนใหญ่ยินยอมให้มีการใช้ทารายการโอนเงินเมื่อใช้บริการผ่านเครือข่ายสัญญาณไร้สายได้ แต่มีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป เช่น บางธนาคารแจ้งเตือนให้ลูกค้าระมัดระวังเป็นพิ เศษ เช่น ธนาคารกสิกรไทย บางธนาคารอนุญาตให้ดาเนินการเฉพาะบางรายการ เช่น ธนาคารทหารไทย บางธนาคารไม่มีการแจ้งเตือนพิเศษ เช่น ธนาคารกรุงไทย 7. การยืนยันตัวตนของการใช้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นในการเข้าสู่ระบบ ธนาคารส่วนใหญ่เลิกใช้การยืนยันตัวตนด้วย รหั ส ผ่ า นแบบใช้ ค รั้ งเดี ยว (OTP) แต่ ใ ช้ ร หั ส 6 หลั ก ที่ ลู ก ค้ าตั้ งเอง หลั งจากลงทะเบีย นเข้ าใช้ งานครั้งแรกแล้ว ซึ่ ง ผู้ ใ ช้ บ ริ ก ารต้ อ งลงทะเบี ย นหมายเลขโทรศั พ ท์ นอกจากนี้ บ างธนาคารเริ่ ม ใช้ ก ารยื น ยั น ตั ว ตนด้ ว ยข้ อ มู ล ชี ว ภาพ (Biometric) ซึ่งธนาคารไม่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการจัดเก็บลายนิ้วมือของลูกค้า 8. ความรับผิดชอบของธนาคารถูกระบุไว้ในเงื่อนไขการใช้บริการ ทุกธนาคารแจ้งให้ทราบว่าธนาคารจะรับผิดชอบในกรณี ใดบ้าง และกรณีใดลูกค้าต้องรับผิดชอบ ซึ่งใจความหลักของเนื้อหาส่วนใหญ่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น “ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบการติดต่อสื่อสารของธนาคาร/บริษัทในเครือ หรือของผู้ใช้บริการหรือ ของผู้ให้บริการระบบอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) หรือของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Operator) ระบบไฟฟ้า ระบบการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม หรือระบบอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการกรุง ศรีออนไลน์ชารุดขัดข้อง อยู่ระหว่างการซ่อมแซม หรือปิดระบบชั่วคราวเพื่อบารุงรักษา เป็นเหตุให้ผู้ใช้บริการไม่สามารถ ใช้กรุงศรีออนไลน์ได้ ผู้ใช้บริการตกลงจะไม่ยกเอาเหตุขัดข้องดังกล่าวมาเป็นข้อเรียกร้องให้ธนาคาร /บริษัทในเครือ รับผิดชอบแต่ประการใด” ยกเว้นธนาคารกสิกรไทย ที่มีประกาศสาหรับแอพพลิเคชั่นโดยเฉพาะระบุว่า ธนาคารจะไม่ร่วมรับผิดชอบกับ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ในกรณีที่ความผิดพลาดเกิดจากกระบวนการรับ -ส่งข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการ โทรศัพท์มือถือ

ข้อสังเกต 1. แอพพลิเคชั่นของธนาคารมีการเปลี่ยนแปลงวิธีตรวจสอบตัวตนเพื่อให้ทันต่อภัยคุกคาม นอกจากวิธีการพื้นฐานที่ ใช้ ร่วมกันกับธนาคารอื่นๆ ่ แล้ว แต่ละธนาคารมีวิธีการของตนเอง เช่น ธนาคารทหารไทยใช้รหัสลับ 8 ตัวเพิ่มขึ้นจาก

65


รหัสผ่าน 6 หลัก การกาหนดให้ใช้บริการเฉพาะโทรศัพท์มือถือและหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนไว้กั บธนาคาร เท่านั้น ต่างกับบริการธนาคารผ่านเว็บไซต์ที่ขั้นตอนการตรวจสอบตัวตนที่ไม่มีการพัฒนาให้รัดกุมขึ้นมากนัก ส่วนใหญ่ เป็นการปรับปรุงทางเทคนิค เช่น การเข้ารหัสการเชื่อมต่อ 2. บริการแจ้งเตือนอัตโนมัติผ่านอีเมล์และข้อความทางโทรศัพท์มือถือเมื่อมีการทารายการบัญชี เป็นวิธีการที่หลายธนาคาร ใช้เพื่อให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวในบัญชีได้ เช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารส่วนใหญ่ไม่มีการแจ้งเตือน 3. ในกรณีที่เกิดความเสี่ยงว่าข้อมูลของผู้ใช้บริการอาจรั่วไหลได้ ซึ่งผู้ใช้บริการโดยทั่วไปไม่สามารถตรวจสอบสาเหตุของ ความผิดพลาดได้ การประกาศว่าธนาคารจะไม่รับผิดชอบในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ธนาคารไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งรวมถึง การรบกวนจากไวรั ส คอมพิ ว เตอร์ การกระท าไม่ ช อบด้ ว ยกฎหมาย รวมทั้ ง ความบกพร่ อ งที่ เ กิ ด จากผู้ ใ ห้ บ ริ ก าร อินเทอร์เน็ต สะท้อนให้เห็นว่าผู้ใช้บริการไม่สามารถมั่นใจได้ว่าจะมีผู้รับผิดชอบ เมื่อมีการรั่วไหลของข้อมูลตลอดการทา ธุรกรรม ขณะที่ความเสี่ยงจากภัยคุกคามระบบอินเทอร์เน็ตทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ 4. ขณะที่ธนาคารเรียกร้องให้ลูกค้าต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของตนเองหลายประการ แต่การให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยและข้อมูลส่ว นบุค คลของลูก ค้า ยั งไม่ชัดเจนนั ก เช่น หน้าเว็บเกี่ยวกั บ ความปลอดภัยเข้าถึงไม่ได้ ธนาคารไม่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดาเนินการความปลอดภัยของธนาคารมากพอหรือไม่ให้ ความสาคัญมากนัก เช่น การเข้ารหัส ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ แต่มักใช้ถ้อยคาเพื่อโน้มน้าวใจแบบกว้างๆ เช่น ง่าย ปลอดภัย 5. ธนาคารพยายามให้ลูกมีค้าความตระหนักด้านความปลอดภัยมากขึ้นในการใช้บริการ ดังเห็นได้จากการที่หลายธนาคารมี คาแนะนาด้านความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ อย่างไรก็ตามธนาคารสามารถมีมาตรการบังคับเพื่อให้การทาธุรกรรมมี ความปลอดภัยมากขึ้นได้แทนแนวทางสมัครใจ เช่น บังคับให้การตั้งรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบซับซ้อนมากขึ้น 6. แม้ทุกธนาคารจะจัดให้มีช่องทางติดต่อกับธนาคารหลายรูปแบบ เช่น โทรศัพท์ อีเมล์ แต่ในทางปฏิบัติพบว่ามีลูกค้า จานวนมากไม่ได้รับการบริการที่เหมาะสมจากธนาคาร เช่น ขณะที่ผู้ใช้บริ การรายหนึ่งกาลังโทรศัพท์เพื่อแจ้งให้ธนาคาร ทราบว่ามีความผิดปกติขึ้นในบัญชีของตน แต่ต้องผ่านระบบตอบรับอัตโนมัติทาให้ไม่สามารถพูดคุยกับพนักงานได้ทันที ระหว่างที่รอการติดต่อนี้มีการถอนเงินออกจากบัญชีไปแล้ว โดยที่ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการตัวจริง 7. มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยของธนาคารหลายอย่างอาจไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของธนาคารออนไลน์ในด้าน การข้ามพ้นข้อจากัดด้านเวลาและสถานที่ของการทาธุรกรรมทางการเงิน เช่น การยืนยันตัวตนด้วยการส่งรหัสผ่านทาง SMS ทาให้ลูกค้าไม่สามารถดาเนินธุรกรรมได้ หากไม่สามารถเข้าถึงสัญญาณโทรศัพท์มือถือได้ หรือการยืนยันตัวตนเพื่อ ขอรหัสผ่านใหม่ที่ธนาคารด้วยตนเอง

66


ฟินเทคในประเทศไทย: สถานการณ์ปัจจุบัน กฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 1. Regulatory Sandbox ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสานักงานคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มี แนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาฟินเทคด้วยกลไก Regulatory Sandbox โดยประเภทธุรกรรมทางการเงินและนวัตกรรมที่ อยู่ในขอบเขตการกากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ธุรกรรมการกู้ยืมเงิน และการชาระเงิน ขณะที่ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า อยู่ในความดูแลของ ก.ล.ต. 1.1 หนังสือเวียนธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง นาส่งแนวปฏิบัติ เรื่อง แนวทางการเข้าร่วมทดสอบและพัฒนา นวัตกรรมที่นาเทคโนโลยีใหม่มาสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน (Regulatory Sandbox) (ธปท., 2559) Regulatory Sandbox เป็นกลไกช่วยให้ผู้เข้าร่วมทดสอบได้นาเสนอนวัตกรรมทางการเงินแก่ผู้บริโภคจริง ภายใต้ สภาพแวดล้อมที่จากัด และมีกรอบหลักเกณฑ์ที่ยืดหยุ่น โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนให้ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถ พัฒนานวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการให้บริการ ทาให้ตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าได้หลากหลาย สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวก รวดเร็ว และมีค่าใช้บริการที่ต่าลง ทั้งนี้หลักการสาคัญของ Regulatory Sandbox คือส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางการเงิน คุ้มครองผู้บริโภคอย่างเหมาะสม คานึงถึงสิทธิผู้บริ โภคเป็น สาคัญ และดูแลความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่รับได้ วัตถุประสงค์ 1) ส่ งเสริมการพัฒ นานวั ตกรรมการให้ บริก ารทางการเงิน ซึ่ งท าให้ ผู้ใ ช้ บริ การมีช่อ งทางและตัว เลื อ กเพิ่ม ขึ้น และเพิ่ม ประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการให้บริการทางการเงิน 2) ส่งเสริมการทดลองใช้นวัตกรรม ฟินเทค ในสภาพแวดล้อม และการให้บริการผู้บริโภคเหมือนการใช้งานจริง เพื่อช่วยให้ใช้ เวลาในการนาผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดสั้นลง และเพิ่มโอกาสในการให้บริการในวงกว้าง 3) ลดความเสี่ยงจากนวัตกรรมใหม่ 4) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ระหว่างผู้สมัครและ ธปท. เพื่อประกอบการพิจารณากาหนดนโยบายการกากับ ดูแลที่เหมาะสม หลักการ หลักเกณฑ์ที่ผู้สมัครต้องปฏิบัติตามเพื่อการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค 1) 2) 3) 4) 5)

ธรรมาภิบาลของผู้มีอานาจในการจัดการ การรักษาข้อมูลและความลับลูกค้า การจัดการดูแลเงินหรือสินทรัพย์ของลูกค้า การรักษาความปลอดภัย ความถูกต้องเชื่อถือได้ และความพร้อมใช้ของระบบงานและข้อมูล การป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนผู้ก่อการร้าย

67


กลุ่มเป้าหมายของผู้สมัคร 1) สถาบันการเงิน บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ การกากับของธนาคารแห่งประเทศไทย (Non-Bank) 2) ผู้ ป ระกอบธุ ร กิ จ ฟิ น เทค (FinTech Firms) หรื อ ผู้ ช านาญด้ า นเทคโนโลยี (Technology Firms) ที่ ต้ อ งการน าเสนอ นวัตกรรมทางการเงินใหม่ ประเภทของธุรกรรมทางการเงิน และนวัตกรรมใน Regulatory Sandbox 1) ธุรกรรมการกู้ยืมเงิน 2) ธุรกรรมการชาระเงิน 3) ธุรกรรมทางการเงินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน หรือนวัตกรรมที่เกี่ยวเนื่องหรือเกี่ยวกับธุรกรรมตามข้อ (1) และ (2) 4) ธุรกรรมทางการเงินอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาเห็นชอบ คุณสมบัติผู้สมัคร 1) เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทยที่มีทรัพยากรมากพอ รองรับการให้บริการหรือผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้น 2) นวัตกรรมที่นามาทดสอบ ต้องเป็นบริการที่ไม่เคยมี หรือมีความต่างกับบริการทางการเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งต้องช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพสิ่งที่มีอยู่เดิม 3) นวัตกรรมใหม่ที่นามาทดลองใน Regulatory Sandbox เมื่อผ่านการทดสอบแล้ว ต้องนามาใช้ในวงกว้างกับผู้บริโภค 4) มีการศึกษาความเป็นไปได้ของนวัตกรรม และความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการทดสอบนวัตกรรม พร้อมทั้งเข้าใจกฎเกณฑ์ การกากับ เพื่อนาเสนอข้อจากัดต่อ ธปท. ในการพิจารณาให้ความยืดหยุ่น ขั้นตอนการสมัครและกรอบระยะเวลาการพิจารณา 1) ผู้สมัครต้องให้ข้อมูลแผนการทดสอบ กระบวนการขั้นตอน สภาพแวดล้อมของนวัตกรรมใหม่ที่จะนามาทดสอบ 2) ระยะเวลาการทดสอบไม่เกิน 1 ปี 3) เปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอต่อการพิจารณาให้กับผู้บริโภค 4) มีกระบวนการดูแลและรักษาความลับของผู้บริโภค 5) มีแผนที่ชัดเจนในการรองรับการออกจาก Regulatory Sandbox และช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งมีทั้งกรณีที่เสนอผลิตภัณฑ์หรือ การให้บริการเป็นการทั่วไป หรือกรณียุติการให้บริการ โดยเฉพาะเรื่องการดูแลและสื่อสารกับลูกค้า 1.2 ประกาศคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การกาหนดดลักษณะการให้บริการทาง การเงินของบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกกรม เพื่อสนับสนุนการ ให้บริการเกี่ยวกับตลาดทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ต้อง ได้รับใบอนุญาต (ก.ล.ต., 2017) และ 1.3 ประกาศคณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับ ใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบการเป็นสานักหักบัญชีหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และการ ให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ตามโครงการทดสอบและพัฒนานวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการให้บริการ เกี่ยวกับตลาดทุน (ก.ล.ต., 2017)

68


ผู้ที่สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ 1) ธุรกิจหลักทรัพย์ ได้แก่ (1) ที่ปรึกษาการลงทุน และ (2) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล 2) ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ได้แก่ (1) ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (3) ที่ปรึกษา สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (4) ผู้จัดการเงินทุนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 3) บริการเป็นสานักหักบัญชี ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และนายทะเบียนหลักทรัพย์ คุณสมบัติของผู้สมัครในการเข้าร่วมโครงการ 1) บริการทางการเงินที่ต้องการนามาทดสอบต้องเป็นนวัตกรรม (Innovative Financial Services) ซึ่งสามารถนามาช่วย แก้ปัญหาในการให้บริการในตลาดทุนไทยในปัจจุบัน หรือเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนไทย 2) มีการกาหนดกรอบและขอบเขตในการให้บริการในวงจากัดเพื่อลดผลกระทบหรือความเสียหายต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนใน วงกว้าง 3) แสดงผลการศึกษาหรือผลงานการวิจัยที่แสดงถึงความเป็นไปได้ของนวัตกรรมที่ต้องการทดสอบ และการศึกษาความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นจากการทดสอบนวัตกรรมนั้น 4) มีความพร้อมด้านเงินทุน ระบบงาน และบุคลากร ที่จะสามารถรองรับการให้บริการได้อย่างเหมาะสม 5) มีการประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น 6) มีกระบวนการดูแลลูกค้าที่เหมาะสม รวมทั้งกระบวนการรักษาความลับของลูกค้า 7) มีการกาหนดระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการทดสอบไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ 8) มีแผนรองรับการออกจากการทดสอบ ทั้งในกรณีที่ครบอายุการทดสอบ หรือการออกจากโครงการทดสอบ เมื่อครบ กาหนดเวลา หรือก่อนครบกาหนดเวลาที่ชัดเจน (Exit Strategy) การดาเนินการระหว่างทดสอบ ผู้สมัครต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้ 1) มีการรวบรวมและประเมินข้อมูลลูกค้า ตามรูปแบบการประกอบธุรกิจ 2) มีกระบวนการดูแลลูกค้า 3) มีการบริหารและจัดการความเสี่ยงที่เพียงพอ ซึ่งรวมถึงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Security) 4) จัดส่งรายงานผลการทดสอบต่อสานักงานตามรูปแบบและระยะเวลา หรือความถี่ที่ตกลงร่วมกัน ทั้งในระหว่างการทดสอบ และหลังการทดสอบเสร็จสิ้น 5) เปิดเผยข้อมูลที่จาเป็นต่อการตัดสินใจเลือกใช้ บริการหรือตัดสินใจลงทุนอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ สอดคล้องกับ ลักษณะของการให้บริการ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบว่าการให้บริการที่ผู้ลงทุนจะได้รับเป็นการทดสอบในโครงการ Regulatory Sandbox พร้อมทั้งชี้แจงข้อจากัด ความเสี่ยง และเงื่อนไขในการให้บริการระหว่างที่ อยู่ในช่วงทดสอบ และ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าในการทดสอบด้วย 6) มีข้อตกลงสาหรับกรณีที่ลูกค้าได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทดสอบ หากการทดสอบไม่เป็นไปตามเงื่อนไข 7) ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การสิ้นสุดการทดสอบ 1) เมื่อครบระยะเวลาการทดสอบตามที่ตกลงร่วมกันกับสานักงาน ให้ถือว่าสิ้นสุด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสานักงาน ให้ยุติ การให้บริการก่อนครบกาหนดระยะเวลา หรือได้รับการผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาการให้บริการออกไป 2) สานักงาน ก.ล.ต. สั่งเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ เมื่อ (1) การให้บริการไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการให้บริการ ในตลาดทุนไทย หรือไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนไทยหรือตลาดทุนไทย (2) ผู้สมัครไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับ

69


สานักงานในระหว่างการทดสอบ หรือ (3) นวัตกรรมที่นามาใช้ในการให้บริการก่อให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายอย่าง มีนัยสาคัญต่อผู้ลงทุนหรือตลาดทุนในวงกว้าง 2. Crowdfunding (ก.ล.ต., 2559) การระดมทุนผ่านผู้ให้บริการระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (Crowdfunding) Crowdfunding เป็นการระดมทุนผ่านเว็บไซต์ตัวกลาง (Funding Portal) จากประชาชน (The Crowd) ซึ่งนัก ลงทุนแต่ละรายจะลงทุนเป็นจานวนไม่สูง โดยได้รับหุ้นเป็นผลตอบแทน การระดมทุนชนิดนี้เป็นทางเลือกหนึ่งสาหรับธุรกิจ ขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) หรือบริษัทสตาร์ทอัพ ขั้นตอนการระดมทุนด้วยวิธี Equity Crowdfunding 1) บริษัทที่สนใจทา Crowdfunding จะนาเสนอแผนธุรกิจต่อ Funding Portal และ Funding Portal จะทาการคัด กรองและเปิดเผยข้อมูลบริษัทต่อผู้ลงทุน 2) ผู้ลงทุนจะจ่ายเงินค่าจองซื้อ และในช่วงระยะก่อนการปิดเสนอขายสามารถทาการยกเลิกการจองซื้อได้ ประกอบกับ ผู้ลงทุนสามารถสอบถามข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบริษัทได้ผ่านทาง Webboard ซึ่งเป็นการช่วย ตรวจสอบบริษัท 3) หากบริษัทผู้ระดมทุนสามารถระดมทุนได้ตามเป้าที่วางไว้ ผู้ลงทุนจะได้รับหุ้นในสัดส่วนที่ลงทุน หรือหากบริษัทไม่ สามารถระดมทุนได้ตามเป้า ผู้ลงทุนจะได้รับเงินคืน ซึ่งมีลักษณะเป็นการระดมทุนแบบ “All-or-nothing” หลักการกากับดูแลของสานักงาน การระดมทุนแบบ Crowdfunding ถือเป็นการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน จึงอยู่ภายใต้ พรบ.หลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งกากับดูแลโดย ก.ล.ต. ทั้งนี้บริษัทผู้ระดมทุนอาจอยู่ในระยะแรกเริ่มทาธุรกิจ จึงมีความเสี่ยงที่สูง การกากับดูแลต้องไม่สร้างภาระต้นทุนที่มากเกินไป แต่ยังคานึงถึงกลไกคุ้มครองผู้ลงทุน ก.ล.ต. จึงให้ความสาคัญกับประเด็น ดังนี้ 1) การคัดกรองคุณสมบัติของบริษัท และการเปิดเผยข้อมูล Funding Portal ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. ซึ่งจะมีหน้าที่ในการ คัดกรองบริษัทที่นาเสนอขาย สอบทาน ความมีตัวตน และคุณสมบัติตามที่ประกาศกาหนด เปิดเผยข้อมูลการเสนอขาย และให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงแก่ผู้ลงทุน และ Funding Portal จะมีการจัดประเภทสมาชิกเป็น (1) ผู้ลงทุนรายบุคคล (retail investor) และ (2) ผู้ลงทุนที่ไม่ ใ ช่ รายบุ ค คล (Non-retail Investor) ได้ แ ก่ ผู้ ล งทุ น รายสถาบั น Venture Capital, Private Equity trust และผู้ ล งทุ น ที่ มี ลักษณะเฉพาะ (Qualified Investor) 2) การคุ้มครองผู้ลงทุน มาตรการคุ้มครองผู้ลงทุนตามความสามารถในการรับความเสี่ยง หรือความเข้าใจในการลงทุน

70


• การจากัดความเสียหายจากการลงทุน ประเภทผู้ลงทุน

วงเงินระดมทุน

จานวนเงินลงทุน

(1) Retail Investor

บริษัทสามารถระดมทุนจาก retail investor ได้ไม่เกิน 20 ล้านบาทใน รอบ 12 เดือนแรก และวงเงินการ ระดมทุนรวมไม่เกิน 40 ล้านบาท

ลงทุนได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อ 1 บริษัท และมูลค่าเงินลงทุนรวม ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี

(2) Non-retail Investor

ไม่จากัดวงเงิน

ไม่จากัดวงเงิน

• การสร้างความเข้าใจความเสี่ยงในการลงทุน การลงทุนใน Equity Crowdfunding มีความเสี่ยงที่แตกต่างจากการลงทุนในหลักทรัพย์ทั่วไป ผู้ลงทุนประเภท Retail Investor ต้องผ่านการทดสอบ (Knowledge Test) ก่อนการลงทุน เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจและสามารถประเมินระดับความ เสี่ยง เนื่องจาก Equity Crowdfunding ก.ล.ต. ได้กากับดูแลแบบผ่อนคลาย 3) การให้ความเห็นชอบ Funding Portal Funding portal ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. เนื่องจากมีบทบาทสาคัญในการทาหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่าง บริษัทและผู้ลงทุน และสร้างความน่าเชื่อถือให้การระดมทุน โดยพิจารณาคุณสมบัติและความพร้อมของระบบงานที่สาคัญดังนี้ -

เป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง มีทุนจดทะเบียนชาระแล้วไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท กรรมการบริษัทต้องไม่มีคณ ุ ลักษณะต้องห้าม มีระบบงานที่พร้อมจะประกอบธุรกิจตามที่ประกาศกาหนด เช่น ระบบตรวจสอบตัวตน คุณสมบัติ ทดสอบความ เข้าใจการลงทุนของสมาชิก (knowledge test) ระบบการจัดการเก็บรักษาเงินค่าจองซื้อ และระบบป้องกันการ เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายจากผู้อื่น เป็นต้น

71


ตารางสรุปความแตกต่างของการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน (IPO) และการเสนอขายหุ้นผ่าน Equity Crowdfunding หุ้น IPO ผู้เสนอขาย (Issuer)

หุ้น ECF

ธุ ร กิ จ ในช่ ว งที่ mature ต้ อ งการขยาย กิจการ

ธุรกิจขนาดไม่ใหญ่ต้องการเงินไม่สูง

มีระบบบัญชี การเปิดเผยข้อมูลได้ มาตรฐาน

มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน

ผู้พิจารณา คุณสมบัติ Issuer

ก.ล.ต.

Funding Portal ที่ได้รบั ความเห็นชอบจาก ก.ล.ต.

เกณฑ์พิจารณา

ตามเกณฑ์การกากับดูแลกิจการทีด่ ี

อนุญาตทั่วไป

การเปิดเผยข้อมูล

ตาม พรบ.หลักทรัพย์

เพียงพอตามที่ FP กาหนด (ตาม Guideline ของ ก.ล.ต.)

- ขณะขาย

- หนังสือชี้ชวน

- ข้อมูลบริษัท รายละเอียดโครงการ - รายงานการใช้เงิน

- หลังขาย

- แบบ 56-1 / งบการเงิน

- ช่องทางการสื่อสาร ของ FP เช่น Webboard

ความเสี่ยงในการลงทุน

น้อยกว่า

สูงกว่า

สภาพคล่อง

มีตลาดรอง

มีแนวทางในการจัดทาตลาดรอง

เงินปันผล

จ่ายตามทีร่ ะบุในหนังสือชี้ชวน

จะจ่ายหรือไม่กไ็ ด้ตามที่ระบุในข้อบังคับของ บริษัท

‘ผู้เล่น’ ฟินเทคในประเทศไทย สมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทยแรกเริ่มได้ก่อตั้ งโดยมีส ถานะเป็น ชมรมฟินเทคแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2559 ต่อมากิจกรรมของชมรมมีเพิ่มขึ้นมาก เพื่อความเหมาะสมในการดาเนินงาน จึงแปรสภาพชมรมให้เป็น “สมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย – Thai FinTech Association (TFTA)” เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2559 โดยมีคุณกรณ์ จาติกวาณิช เป็นประธานสมาคม ดร.การดี เลียวไพโรจน์ เป็นรองประธานสมาคม และคุณเจษฎา สุขทิศ เป็นเลขาธิการ สมาคม สมาคมได้กาหนดพันธกิจหลักคือ 1. 2. 3. 4.

การลดต้นทุนทางการเงิน และการทาธุรกรรมทางการเงินของไทย ช่วยให้คนไทยเข้าถึงบริการทางการเงินกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมการแข่งขันอย่างโปร่งใสและยุติธรรมต่อลูกค้ารายย่อย สนับสนุนให้ฟินเทคสตาร์ทอัพของไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก

72


และกาหนดเป้าหมาย ได้แก่ 1. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้งศูนย์ทดสอบและพัฒนาฟินเทคแห่งชาติ (National FinTech Sandbox) เพื่อเป็นตัวเร่ง สาหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมฟินเทค และเป็นศูนย์บ่มเพาะหลักสาหรับผู้ประกอบการ 2. เป็นหน่วยงานหลักในการสร้างระบบนิเวศฟินเทค (FinTech Ecosystem) ในประเทศไทย อันประกอบด้วยฟินเทค สตาร์ทอัพ สถาบันการเงิน หน่วยงานกากับดูแล ศูนย์บ่มเพาะ นักลงทุน และคู่ค้าทางธุรกิจอื่น ๆ 3. จัดทาแผนพัฒนาฟินเทคแห่งชาติ (National FinTech Roadmap) ร่วมกับหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแผนงาน หลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมฟินเทคของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก การดาเนินงานที่ผ่านมาของสมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทยตั้งแต่ต้นปี 2559 คือ การเปิดตัว National FinTech Sandbox (NFS) ศูนย์ทดสอบและพัฒนาฟินเทคแห่งชาติ เพื่อทางานร่วมกับ Regulatory Sandbox ของหน่วยงานรัฐคือ ก.ล.ต. และ ธปท. โดยมีการจัดเทคโนโลยีแพลตฟอร์มให้ผู้ประกอบการได้มีพื้นที่ทดลองนวัตกรรม และนาเสนอบริการแก่ ลูกค้าจริง เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีองค์ความรู้จากการทดลองใช้งานจริง พร้อมทั้งมีการสนับสนุนการจัดหาลูกค้าเพื่อเข้าร่วม ทดสอบ และร่วมมือกับสถาบันการเงินต่างๆ ในการขยายฐานลูกค้า ประกอบกับมีการจัด NFS Forum ทุก 4 – 6 สัปดาห์ เพื่อสร้างองค์ความรู้และข้อตกลงร่วมกันในประเด็นการพัฒนาธุรกิจฟินเทคแต่ละกลุ่มชนิด และมีการจัด NFS Competition เพื่อหาผู้ประกอบการเข้าร่วมโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ (Incubator) เป็นระยะเวลา 6-12 เดือน โดยผู้เข้าร่วมจะมีโอกาสใน การร่วมมือกับสถาบันการเงินชั้นนา เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรโดยมีคู่ค้าทางธุรกิ จสนับสนุน ประกอบกับได้รับ ความช่วยเหลือในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานกากับดูแล • ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB, 2016; Techsauce, 2016; Techsauce, 2017) ธนาคารไทยพาณิชย์ได้เปิดตัวบริษัทในเครือ ชื่อ บริษัท ดิจิตอล เวนเจอร์ส จากัด (Digital Ventures) เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2559 โดยมีภารกิจคือการมีส่วนร่วมในธุรกิจฟินเทคเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ และผลักดันผู้ประกอบการรายใหม่ให้ มี ส่ ว นร่ ว มกั บ ทางธนาคารในการพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ โดยดิ จิ ต อล เวนเจอร์ ส จะด าเนิ น งานผ่ า นสามส่ ว นธุ ร กิ จ หลั ก คื อ 1) หน่ ว ยงานสนั บ สนุ น ธุ ร กิ จ เกิ ด ใหม่ (Corporate Venture Capital) 2) หน่ ว ยงานพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ดิ จิ ต อล (Digital Products) และ 3) หน่วยงานศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพ (Accelerator) หน่วยงานสนับสนุนธุรกิจเกิดใหม่ (Corporate Venture Capital) มีหน้าที่ศึกษาเทคโนโลยี และตัดสินใจในการ ลงทุน มีเงินทุนเริ่มต้นสาหรับการลงทุนประมาณ 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยได้เริ่มการลงทุนครั้งแรกในกองทุน โกลเดนเกต เวนเจอร์ส (Golden Gate Ventures) กองทุนสตาร์ทอัพ และได้มีการลงทุนในกองทุนไนกา ฟันด์ II (Nyca Fund II) กองทุน พัฒนาฟินเทค และได้ลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพรายแรกคือบริษัท Ripple ผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านการชาระเงินด้วยเทคโนโลยี บล็อกเชน นอกจากนี้ ได้เข้าลงนามบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU ร่วมกับ Life.SREDA บริษัท Venture Capital หน่วยงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิ ตอล (Digital Products) มีหน้าที่วิจัย ทดลอง พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้าน ฟินเทค โดยได้มีการเปิดตัว Bank Simulation Platform ให้ผู้ประกอบการที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ทดลองในระบบเสมือนจริง เพื่อช่วยให้เข้าใจกลไกของธนาคาร และมีการเปิด API ให้ผู้ประกอบการใช้ข้อมูลบางส่ว นของธนาคารในการพัฒนาทดลอง ผลิตภัณฑ์ใหม่ หน่วยงานศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพ หรือ "Accelerator" มีหน้าที่ให้ความรู้ คาปรึกษา พร้อมให้เงินทุนกับกลุ่มฟินเทค สตาร์ทอัพในไทยและในภูมิภาค

73


• ธนาคารกสิกรไทย (Techsauce, 2016) ธนาคารกสิกรไทยได้ประกาศตั้งบริษัทในเครือ ชื่อ KASIKORN Business-Technology Group (KBTG) เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2559 โดย KBTG มีหน้าที่ในการคิดค้นนวัตกรรม สร้างพันธมิตรทางเทคโนโลยี และร่วมมือกับฟินเทค ทั้งนี้บริษัท มีงบประมานในการดาเนินการประมาณ 5,000 ล้านบาทต่อปี แบ่งเป็นงบพัฒนาไอที 4,000 ล้านต่อปี และงบพัฒนานวัตกรรม ใหม่ 1,000 ล้านบาท กลุ่มบริษัท KBTG ประกอบด้วย 5 บริษัท ได้แก่ 1. บริษัท กสิกร เทคโนโลยี กรุ๊ป เซเครเทเรียต จากัด ดูแลการวางแผน ติดตาม และสนับสนุนการจัดการด้านการเงินและ บุคลากรของ KBTG รวมถึงประสานการทางานระหว่าง KBTG และธนาคารกสิกรไทย 2. บริษัท กสิกร แล็บส์ จากัด ค้นคว้าทดลองเทคโนโลยีและรูปแบบการดาเนินธุรกิจใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อระบบดิจิ ตอล แบงกิ้ง และระบบเศรษฐกิจดิจิ ตอล รวมถึงการสร้างและทดลองระบบต้นแบบก่อนประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ของธนาคาร กสิกรไทย 3. บริษัท กสิกร ซอฟต์ จากัด ออกแบบและสร้างระบบไอทีเพื่อรองรับความต้องการทางธุรกิจและรองรับการนานวัตกรรมมา ใช้ในธนาคาร 4. บริษัท กสิกร โปร จากัด ดูแลการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและระบบไอทีของธนาคาร 5. บริ ษั ท กสิ ก ร เซิ ร์ ฟ จ ากั ด ท าหน้ า ที่ ส นั บ สนุ น การท างานของกลุ่ ม บริ ษั ท ทั้ งทางด้ า นการพั ฒ นา การทดสอบ และ การปฏิบัติการระบบไอที ในเบื้องต้น KBTG มุ่งหวังจะคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ในห้องแลปร่วมกับบริษัทไอทีขนาดใหญ่ และตั้งเป้าจะมีบทบาท สาคัญในการตอบสนองธุรกิจฟินเทค และ Tech Startup ที่มีไอเดีย และความสามารถในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในรูปแบบ ต่างๆ ให้เข้าถึงเทคโนโลยีและตลาด ในปี 2560 ธนาคารกสิกรไทยจะทาการลงทุนผ่านบริษัท Venture Capital โดยมีงบประมาณลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท ทั้งการลงทุนโดยตรง (Direct Investment) และการลงทุนผ่านกองทุนเพื่อการระดมทุน (Fund of Fund) โดย ธุ ร กิ จ ที่ เ ป็ น เป้ า หมายการลงทุ น คื อ ธุ ร กิ จ เทคโนโลยี ก ารเงิ น (Financial Technology) ธุ ร กิ จ ที่ ส ร้ า งความผู ก พั น และ ประสบการณ์ กั บ ลู ก ค้ า (Customer Engagement & Experience) ธุ ร กิ จ ที่ ใ ช้ เ ทคโนโลยี ปั ญ ญาประดิ ษ ฐ์ (AI/Machine Learning) ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี Big Data & Analytics และการลงทุนเพื่อการพัฒนาไอทีสาหรับองค์กร โครงสร้างพื้นฐาน และความปลอดภัย • ธนาคารกรุงเทพ (Kaohoon, 2016; Nation, 2016) ธนาคารกรุงเทพได้จัดตั้งบริษัทกองทุนร่วมลงทุนในกิจการแรกเกิด (Venture Capital) ชื่อ บัวหลวงเวนเจอร์ส จากัด เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2559 โดยมีทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2560 บริษัทยังมิได้มี การลงทุ น ในบริ ษั ท ใด นอกจากนี้ ท างธนาคารได้เ ข้ าร่ ว มกลุ่ ม R3 Consortium ซึ่ งน าโดยบริ ษั ท R3 ผู้ พั ฒ นานวั ต กรรม Distributed Ledger โดย R3 Consortium ประกอบไปด้วย สถาบันการเงินชั้นนา 55 แห่งของโลก ผ่านความร่วมมือของ กลุ่มสมาชิก Consortium ได้พัฒนานวัตกรรมชั้นนาเชิงพาณิชย์สาหรับอุตสาหกรรมทางการเงินโดยใช้เทคโนโลยี Distributed and Shared Ledger

74


• ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (กรุงเทพธุรกิจ, 2560; Krungsri, 2016) ธนาคารกรุงศรีอยุธยาวางแผนจัดตั้งบริษัทลูกในลักษณะกองทุนร่วมทุน (Venture Capital) ชื่อว่า กรุงศรี ฟินโนเวท (Krungsri Finnovate) โดยมีเป้าหมายเพื่อลงทุนในกองทุนทั้งในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ในภู มิภาคเอเชีย ปัจจุบัน กรุงศรี ฟินโนเวท อยู่ในกระบวนการขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และในระยะ 3 ปีแรก กองทุนจะมีวงเงิน ตั้งต้นเพื่อการร่วมลงทุนทั้งสิ้น 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ธนาคารกรุงศรีฯ ยังจับมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจสตาร์ทอัพ RISE เพื่อดาเนินโครงการพัฒนาด้าน ดิจิตอลและนวัตกรรมฟินเทคสตาร์ทอัพ โดยธนาคารกรุงศรีฯ มีบทบาทในการสนับสนุนด้านทรัพยากร องค์ความรู้ รวมทั้ง ความเชี่ยวชาญ เพื่อให้สตาร์ตอัพด้านฟินเทคสามารถเริ่มธุรกิจได้อย่างมั่นใจ พร้อมทั้งมีโอกาสในการขยายธุรกิจร่วมกับ ธนาคารอีกด้วย จากข้อมูลของธนาคารต่างๆ และสมาคมฟินเทคฯ สามารถสรุ ปผู้เล่นในไทยได้โดยสังเขป โดยเปรียบเทียบประเภท ธุรกิจ กับแนวโน้มที่บริษัทนั้นๆ จะมุ่งเป้าไปที่การขยายบริการทางการเงินของกลุ่มฐานรากในไทย โดยเฉพาะบริการ เงินโอน และ สินเชื่อ ซึ่งเป็นบริการทีเ่ ป็นที่ต้องการมากที่สุด แสดงผลดังตาราง 2

ตาราง 2 สรุปผู้เล่นฟินเทคไทยในปัจจุบัน บริษัท (1) ธนาคารพาณิชย์ - บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จากัด - กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป - บริษัท บัวหลวงเวนเจอร์ส จากัด (2) บริษัท IT (การสื่อสาร โทรคมนาคม) - Ascend money - AIS The Startup CONNECT - DTAC Accelerate (3) สตาร์ทอัพ - Digio - StockRadars - Finnomena - Omise - Refinn - Aborrow - Piggipo - iTAX - 2c2p

ประเภทธุรกิจ

ปีก่อตั้ง

ขยายการเข้าถึง บริการทางการเงิน?

2559 2559 2559

N/A N/A N/A

การชาระเงินผู้บริโภค/การให้กู้ยืมรายย่อย

N/A N/A N/A

การชาระเงิน ณ จุดขาย การลงทุนรายย่อย การลงทุนรายย่อย โครงสร้างการชาระเงิน การให้กู้ยืมรายย่อย การให้กู้ยืมรายย่อย การเงินส่วนบุคคล การเงินส่วนบุคคล โครงสร้างการชาระเงิน

ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ N/A N/A ไม่ใช่ ไม่ใช่

75


-

PAYSBUY Mpay Cenpay rabbitLinepay Jitta Setscope SiamQuant MarketAnyware Finnista SILKSPAN Gobear Masii GluayGluay Plizz Flowaccount asiola MEEFUND dreamaker albatoz DURIAN CORP Stock2morrow Aommoney SmartContract Enter Corporation Privatechainlabs PUUN INTELLIGENT ChomCHOB Rewards Partner Amico Group AlphaPlus Accounting Advisory Group Fintech (Thailand) AppMan ASN Broker Bluedot 24 Anywhere 2 Go Iou Technologies

โครงสร้างการชาระเงิน/การชาระเงินผู้บริโภค การชาระเงินผู้บริโภค การชาระเงินผู้บริโภค การชาระเงินผู้บริโภค การลงทุนรายย่อย การลงทุนรายย่อย การลงทุนรายย่อย การลงทุนรายย่อย การลงทุนรายย่อย การเงินส่วนบุคคล การเงินส่วนบุคคล การเงินส่วนบุคคล การเงินส่วนบุคคล เครื่องมือทางธุรกิจของ SMEs เครื่องมือทางธุรกิจของ SMEs Crowdfunding Crowdfunding Crowdfunding Crowdfunding Crowdfunding การลงทุนรายย่อย การเงินส่วนบุคคล โครงสร้างการชาระเงิน โครงสร้างการชาระเงิน โครงสร้างการชาระเงิน เครื่องมือทางธุรกิจของ SMEs การเงินส่วนบุคคล เครื่องมือทางธุรกิจของ SMEs การชาระเงิน ณ จุดขาย เครื่องมือทางธุรกิจของ SMEs

ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ N/A N/A N/A N/A ไม่ใช่ ไม่ใช่ N/A N/A N/A N/A N/A ไม่ใช่ N/A ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่

การลงทุนรายย่อย อื่นๆ อื่นๆ อื่นๆ อื่นๆ การให้กู้ยืมรายย่อย

ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ N/A

76


-

Satang Dee Com การให้กู้ยืมรายย่อย Peer Power การให้กู้ยืมรายย่อย D90 Capital การให้กู้ยืมธุรกิจ MoneyTable การให้กู้ยืมรายย่อย Green Modular การให้กู้ยืมรายย่อย T2P โครงสร้างการชาระเงิน/การชาระเงินผู้บริโภค Billme (Thailand) โครงสร้างการชาระเงิน AirPay (Thailand) การชาระเงินผู้บริโภค Pay Solutions โครงสร้างการชาระเงิน Wealth Creation การเงินส่วนบุคคล International - DollarsSmart Global PTE บริการเงินโอน - Investor’s Forum การลงทุนรายย่อย - Stockquadrant การลงทุนรายย่อย - X3 การลงทุนรายย่อย - Innovative Wealth Solution การเงินส่วนบุคคล - Supertrader Thailand การลงทุนรายย่อย ที่มา: สมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย และการรวบรวมของคณะวิจัย

N/A N/A N/A N/A N/A ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่

จากข้อมูลข้างต้นพบว่า ในบรรดาผู้เล่นฟินเทคทั้งหมดในไทย 66 ราย ยังไม่มีรายใดที่ประกาศเจตจานงอย่างชัดเจน ว่ามีเป้าหมายที่ตลาดผู้มีรายได้น้อยซึ่งยังเข้าไม่ถึงการเงินในระบบ ผู้เล่นเกินกึ่งหนึ่งหรือ 41 ราย (ร้อยละ 62) ไม่น่าจะมีส่วน ในการขยายบริก ารทางการเงิ น เนื่ อ งจากประกอบธุ รกิ จที่ อ ยู่ ห่า งไกลจากความต้อ งการของตลาดผู้มี รายได้ น้อ ย อาทิ การลงทุนรายย่อย (ตลาดหลักทรัพย์), การชาระเงินหรือโครงสร้างการชาระเงิน หรือเครื่องมือทางธุรกิจของ SMEs เป็นต้น ที่ เหลืออีก 25 ราย เป็นไปได้ว่าจะคิดค้นบริการบางส่วนที่มุ่งเน้นตลาดผู้มีรายได้น้อย เนื่องจากประกอบธุรกิจที่ สามารถมีส่วน สัมพันธ์กับหรือตอบสนองต่อความต้องการของตลาดนี้ อาทิ การเงินส่วนบุคคล การให้กู้ยืมรายย่อย และ Crowdfunding เป็นต้น อย่างไรก็ดี ณ ปลายเดือนกรกฎาคม 2560 เมื่อผู้เล่นส่วนใหญ่ยังมีอายุไม่ถึง 1-2 ปี นับว่ายังเร็วเกินไปที่จะประเมิน หรือระบุอย่างจาเพาะเจาะจงว่าผู้เล่นเหล่านี้จะมีส่วนขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินในไทยหรือไม่ เพียงใด

77


โอกาสและความท้าทายของฟินเทคในบริบทการเข้าถึงบริการทางการเงินของประเทศไทย บทก่อนๆ ของรายงานฉบับนี้สะท้อนว่า ฟินเทควันนี้ไม่เพียงแต่เป็นกุญแจสาคัญที่จะขยายบริการทางการเงินใน แต่ละประเทศ โดยเฉพาะประเทศกาลังพัฒนาอย่างไทยเท่านั้น หากแต่การใช้ฟินเทคในการขยายบริการทางการเงินยังเป็น ‘โอกาสทางธุรกิจ’ ที่มีมูลค่ามหาศาลสาหรับทั้งสถาบันการเงินดั้งเดิม และผู้ประกอบการรายใหม่ โดยสามารถสรุปโอกาสทาง ธุรกิจและความท้าทายในไทยได้ดังต่อไปนี้

โอกาสทางธุรกิจของฟินเทคในการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน 1. ความพร้อมใช้เทคโนโลยีและความเชื่อมั่นต่อธนาคาร ขณะที่อัตราการใช้ธนาคารผ่านมือถือยังต่าในกลุ่มฐานราก ถึงแม้สังคมไทยจะใช้เงินสดเป็นหลัก และสมุดบัญชีธนาคารยังเป็นอุปกรณ์ประจาตัวของคนทั่วไป คนไทยโดยรวม วันนี้กใ็ ช้เทคโนโลยีอย่างแพร่หลายและมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับผู้ให้บริการทางการเงิน ยกตัวอย่างเช่น วันนีค้ นไทยเฉลี่ยมี โทรศั พ ท์ มือถื อ เฉลี่ย คนละ 1.22 เครื่ อ ง มี ห มายเลขโทรศัพ ท์ มือ ถือ เฉลี่ย คนละ 1.76 เบอร์ และใช้ อ ย่า งเข้ม ข้น (active mobile users) กว่า 34 ล้านคนทั่วประเทศ หรือราวร้อยละ 50 ของประชากร ผลการสารวจประกอบรายงานธนาคารพัฒนา เอเชียในปี ค.ศ. 2013 พบว่าแม้แต่ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่มีรายได้ไม่ถึง 3,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 83 ก็มีมือถือ คนไทยกว่า ร้อยละ 75 มีบัญชีเงินฝาก และร้อยละ 79 บอกว่า “ไว้ใจเก็บเงินไว้ที่ธนาคาร” อย่างไรก็ดี ปัจจุบันกลุ่มฐานรากมีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่ใช้บริการธนาคารผ่านมือถือ (FinScope, 2013)

2. พฤติกรรมการใช้สื่อสังคม (โซเชียลมีเดีย) อย่างเข้มข้น ดังที่ได้สรุปแนวโน้มในบทก่อนๆ ของรายงานว่า แนวโน้มการใช้แพลตฟอร์มสื่อสังคมยังคงขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั่วโลก โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2560 จะมีผู้ใช้บริการสื่อสังคมกว่า 2,550 ล้านคน ด้วยความสามารถในการเข้าถึงและ เชื่อมโยงผู้คนได้อย่า งมหาศาล ประกอบกับข้อดีของสื่อสังคมที่เสมือนแหล่งรวบรวมข้อมูลเชิงลึกของผู้ใช้บริการ ซึ่งเอื้อต่อ การนาไปประมวลผลพฤติกรรมและใช้วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยาและรวดเร็ว จึงส่งผลให้สื่อสังคมเริ่มมี บทบาทมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในแวดวงธุรกิจฟินเทคที่ให้บริการชาระและโอนเงิน ซึ่งระบบการชาระและโอนเงินผ่านสื่อสังคม นอกจากจะทาให้การทาธุรกรรมมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้นแล้ว ยังมีส่วนช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินได้อีกด้วย ปัจจุบันคนไทยใช้สื่อสังคมมากเป็นอันดับต้นๆ ในโลก โดยข้อมูลของ We Are Social บริษัทผู้รวบรวมและเผยแพร่ ข้อมูลดิจิตอลชื่อดังระบุว่า ในปี 2559 คนไทยใช้สื่อสังคมถึงร้อยละ 56 ของประชากรทั้งประเทศ จัดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก (เกาหลีใต้ซึ่งได้อันดับ 1 อยู่ที่ร้อยละ 76) โดยใช้สื่อสังคมผ่านมือถือถึงร้อยละ 50 ของประชากรอีกเช่นกัน จัดเป็นอันดับที่ 9 ของโลก หรือคิดเป็นประชากรราว 34 ล้านคน นอกจากนี้คนไทยยังใช้เวลาท่องอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือมากถึง 3 ชั่วโมง 53 นาทีโดยเฉลี่ยต่อวัน มากกว่าเวลาที่ใช้ดูโทรทัศน์ซึ่งอยู่ที่ 2 ชั่วโมง 27 นาที

78


3. ความต้องการบริการทางการเงินพื้นฐานยังไม่ได้รับการเติมเต็ม และขนาดของตลาดที่น่าดึงดูด ผลการสารวจของธนาคารแห่งประเทศไทยดังสรุปในบทก่อนๆ สะท้อนว่า ครัวเรือนไทยใช้บริการเงินฝากมากที่สุด โดยมีสัดส่วนการใช้บริการร้อยละ 80.72 ขณะที่ครัวเรือนที่เข้าไม่ถึงบริการส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนที่มี รายได้น้อยและต่าทีส่ ุด อาศัยอยู่นอกเมือง หรือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย หรือ เดินทางไปใช้บริการไม่สะดวก สาหรับบริการด้านสินเชื่อ (ไม่รวมบัตรเครดิต) พบว่ามีครัวเรือนใช้บริการน้อยที่สุดใน 3 บริการ หลัก โดยมีสัดส่วนการใช้บริการร้อยละ 39.50 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการใช้บริการจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ ตามลาดับ นอกจากนี้ ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย โดยเฉพาะที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการโอนเงิน อีกเป็นจานวนมาก ทั้งที่มีความต้องการสูงขึ้นจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป (เช่น ลูกหลานเดินทางไปทางานในเมือง ประสงค์ จะโอนเงินกลับมาให้กับบิดามารดาผู้สูงอายุในชนบท) ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) รายงานว่าครัวเรือนรายได้น้อยร้อยละ 28 ไม่สามารถเข้าถึง ผลิตภัณฑ์เงินออม ขณะที่ครัวเรือนรายได้ปานกลางถึงสูงอยู่ที่ร้อยละ 6 (Asian Development Bank, 2011) โดยข้อมูล ดังกล่าวสอดคล้องกับผลการศึกษาของ Demirguc-Kunt and Klapper (2012) ที่ระบุว่าครัวเรือนรายได้น้อยร้อยละ 40 และ ครัวเรือนรายได้ปานกลางถึงสูงร้อยละ 20 ไม่มีบัญชีธนาคารของสถาบันการเงินในระบบ กล่าวโดยสรุป โอกาสทางตลาดของฟินเทคในการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินในไทยจึงมีขนาดค่อนข้างสูงใน บริการทางการเงินระดับพื้นฐาน อันได้แก่ สินเชื่อ เงินโอน และ เงินออมระยะยาว ซึ่งต่อมาอาจพัฒนาไปสู่บริการที่ซับซ้อน มากขึ้น เช่น ประกันขนาดจิ๋วสาหรับกรณีฉุกเฉิน โดยจากตัวเลขครัวเรือนร้อยละ 12 ที่ “ไม่ใช้บริการทางการเงินใด” ในผล สารวจของ ธปท. จะเท่ากับจานวนบุคคลฐานรากที่อาจเป็นลูกค้าฟินเทค (potential clients) มากถึง 2.7 ล้านครัวเรือน จากครัวเรือนทั้งประเทศ 22.8 ล้านครัวเรือน ถ้านับรวมสัดส่วนของครัวเรือนที่ใช้บริการ “กึ่งในระบบ” (เช่น กองทุนหมู่บ้าน) และ “นอกระบบ” (เช่น กู้ยืมจากนายทุนนอกระบบ) ร้อยละ 3.39 และ 3.53 ตามลาดับ ขนาดของตลาดฐานรากก็จะใหญ่ถึง 4.3 ล้านครัวเรือน หรือเกือบ 10 ล้านคนเลยทีเดียว

4. ฟินเทคเอื้อต่อการเสริมสร้างความรู้ทางการเงินสาหรับกลุ่มฐานราก ผลการศึกษาที่ผ่านมาระบุว่า คนไทยกว่าร้อยละ 60 รู้สึกว่าการบริหารจัดการเงินเป็น “ภาระ” และทาให้ “เครียด” และภาวะดังกล่าวเป็นสาเหตุหลักที่ทาให้ล้มเลิกความตั้งใจที่จะบันทึกรายรับรายจ่าย มิใช่ว่าไม่รู้จักหรือไม่เคยบันทึกเลย ด้วยเหตุนี้ การสร้างแรงจูงใจเพื่อให้คนสามารถจัดการกับความเครียดดังกล่าวได้ จึงเป็นพื้นฐานสาคัญของการเพิ่มทักษะทาง การเงิน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การให้เครื่องมือให้ความรู้ทางการเงินเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ แต่จาเป็นต้อง มีการฝัง คาแนะนาที่สร้างสรรค์ เชื้อเชิญและให้ข้อมูลผู้ใช้ (feedback) อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึง่ ทุกมิติที่กล่าวไปนั้นฟินเทคสามารถทาได้อย่างดียิ่ง ตั้งแต่การเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้ใช้ (โดยเฉพาะผู้ใช้สื่อสังคม ซึ่งมีการ เก็บข้อมูลมหาศาลในหลากหลายมิติ) การออกแบบ interface ให้น่าใช้ และการบูรณาการคาแนะนาและองค์ความรู้เกี่ยวกับ การเงินเข้าไปในการให้บริการผ่านช่องทางดิจิตอล เช่น มือถือ

79


5. โอกาสจากช่องว่างการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ เมื่อนาสถิติสินเชื่อและบัญชีออมทรัพย์รายจังหวัดของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง รวบรวมโดยธนาคารแห่งประเทศไทย มาเปรียบเทียบกับรายได้ครัวเรือนต่อเดือน รวบรวมโดยสานักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2558 พบว่า ความเหลื่อมล้าเชิงพื้นที่ของ การปล่อยสินเชื่อและรับเงินฝากสะท้อนระดับความเหลื่อมล้าทางรายได้ของประเทศ กล่าวคือ ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อ ในกรุงเทพมหานครเพียงจังหวัดเดียวสูงถึงร้อยละ 70.2 ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ และรับเงินฝากบัญชีออมทรัพย์ (ไม่รวมฝากประจา) จากกรุงเทพมหานครมากถึงร้อยละ 57.8 ของเงินฝากบัญชีออมทรัพย์ทั้งระบบ นอกจากนี้ ยังปล่อย สินเชื่อต่อหัวสูงถึง 34.78 เท่าของรายได้ครัวเรือนต่อเดือน ในกรุงเทพมหานคร สูงกว่าจังหวัดอื่นๆ อย่างมีนัยสาคัญ โดย ค่าเฉลี่ยของสินเชื่อต่อรายได้ทั้งประเทศอยู่ที่ 2.25 เท่าเท่านั้น หากไม่นับกรุงเทพมหานครและภูเก็ต สองจังหวัดที่มีสัดส่วน ดังกล่าวสูงจนส่งผลเบี่ยงเบนค่าเฉลี่ย (outliers) รายละเอียดสินเชื่อต่อหัวและเงินฝากออมทรัพย์ต่อหัวในระบบธนาคาร พาณิชย์ รายได้ครัวเรือน และอัตราส่วนสินเชื่อต่อรายได้และออมทรัพย์ต่อรายได้ แสดงในตาราง 3 เมื่อคานึงถึงสภาพความเหลื่อมล้าดังกล่าว ฟินเทคไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ หรือโดยธนาคารดั้งเดิม จึงมี โอกาสที่จะลดช่องว่างการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ในเชิงพื้นที่ หรือพูดอีกอย่างคือ ฟินเทคน่าจะสามารถฉวยโอกาส จากแพลตฟอร์มดิจิตอล ในการรับเงินฝากและปล่อยสินเชื่อให้ กับผู้ที่ประสงค์จะฝากเงิน หรือประสงค์จะกู้เงินและสามารถ ชาระหนี้ แต่เข้าไม่ถึงบริการเพียงเพราะอาศัยอยู่บางจังหวัด ตาราง 3 สินเชื่อและเงินฝากออมทรัพย์ต่อหัวในระบบธนาคารพาณิชย์ เทียบกับรายได้ครัวเรือนรายจังหวัด ปี 2558 จังหวัด กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต ชลบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่ สมุทรสาคร ระยอง นนทบุรี ปทุมธานี สงขลา พิษณุโลก ขอนแก่น สุพรรณบุรี เชียงราย ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา สุราษฎร์ธานี นครปฐม กระบี่ สระบุรี

สินเชื่อต่อหัว รายได้ครัวเรือนต่อเดือน 1,584,889 45,572 464,086 31,500 236,313 27,257 177,758 25,457 102,137 14,950 183,695 29,347 160,414 30,315 144,688 36,884 150,645 41,057 99,982 27,660 67,519 19,235 74,364 21,337 54,093 15,786 44,201 13,497 71,668 23,523 59,070 19,590 64,097 21,952 82,776 28,379 79,385 27,555 102,799 36,466 112,642 40,347 85,968 31,012 78,774 29,413

เงินฝากออมทรัพย์ต่อหัว 648,161 179,167 157,084 178,376 64,382 123,921 107,492 222,357 163,443 55,469 33,888 32,446 34,824 32,072 56,450 45,784 31,085 66,576 54,952 53,397 95,168 36,996 54,479

สินเชื่อ/รายได้ 34.78 14.73 8.67 6.98 6.83 6.26 5.29 3.92 3.67 3.61 3.51 3.49 3.43 3.27 3.05 3.02 2.92 2.92 2.88 2.82 2.79 2.77 2.68

ออมทรัพย์/รายได้ 14.22 5.69 5.76 7.01 4.31 4.22 3.55 6.03 3.98 2.01 1.76 1.52 2.21 2.38 2.40 2.34 1.42 2.35 1.99 1.46 2.36 1.19 1.85

80


จังหวัด สมุทรสงคราม ตรัง กาแพงเพชร ลพบุรี พังงา อุบลราชธานี นครราชสีมา อุดรธานี สิงห์บุรี ชัยนาท อุตรดิตถ์ ลาปาง ระนอง ปราจีนบุรี กาญจนบุรี พะเยา ยโสธร ยะลา เลย นครศรีธรรมราช เพชรบุรี จันทบุรี ลาพูน สุรินทร์ ชุมพร หนองคาย กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ตาก มุกดาหาร มหาสารคาม เพชรบูรณ์ พิจิตร แพร่ ตราด สกลนคร บุรีรัมย์ นครพนม อ่างทอง พัทลุง อานาจเจริญ สระแก้ว สุโขทัย

สินเชื่อต่อหัว รายได้ครัวเรือนต่อเดือน 45,885 18,310 53,777 23,309 44,178 20,140 50,340 22,955 63,047 28,842 44,492 20,453 56,335 26,376 47,081 22,817 53,205 26,112 44,157 22,059 38,097 19,239 39,790 20,466 39,539 22,035 43,350 24,166 33,397 18,884 31,137 17,673 34,355 19,518 27,091 15,584 35,370 20,990 42,287 25,124 44,080 26,431 59,350 36,024 39,234 23,834 33,297 20,315 47,840 29,306 33,696 21,207 24,491 15,452 31,618 19,990 31,241 20,079 34,616 22,870 27,139 18,540 31,167 21,337 32,008 22,101 31,248 21,796 35,827 25,333 27,186 19,281 25,388 18,480 21,700 15,804 31,924 23,351 28,987 21,478 28,083 21,173 32,405 26,953 26,067 22,252

เงินฝากออมทรัพย์ต่อหัว 45,489 32,282 18,325 32,397 35,653 20,254 31,573 27,133 40,723 23,208 21,787 27,232 49,510 39,266 27,956 19,758 14,921 28,319 16,028 25,556 36,514 57,171 29,002 14,687 36,461 33,206 11,019 13,041 25,374 19,362 15,492 19,212 23,921 20,741 43,093 14,926 14,855 14,845 29,067 18,459 11,741 24,445 18,851

สินเชื่อ/รายได้ 2.51 2.31 2.19 2.19 2.19 2.18 2.14 2.06 2.04 2.00 1.98 1.94 1.79 1.79 1.77 1.76 1.76 1.74 1.69 1.68 1.67 1.65 1.65 1.64 1.63 1.59 1.59 1.58 1.56 1.51 1.46 1.46 1.45 1.43 1.41 1.41 1.37 1.37 1.37 1.35 1.33 1.20 1.17

ออมทรัพย์/รายได้ 2.48 1.38 0.91 1.41 1.24 0.99 1.20 1.19 1.56 1.05 1.13 1.33 2.25 1.62 1.48 1.12 0.76 1.82 0.76 1.02 1.38 1.59 1.22 0.72 1.24 1.57 0.71 0.65 1.26 0.85 0.84 0.90 1.08 0.95 1.70 0.77 0.80 0.94 1.24 0.86 0.55 0.91 0.85

81


จังหวัด อุทัยธานี นครนายก ปัตตานี น่าน ศรีสะเกษ หนองบัวลาภู สตูล แม่ฮ่องสอน ชัยภูมิ บึงกาฬ นราธิวาส

สินเชื่อต่อหัว รายได้ครัวเรือนต่อเดือน 22,454 20,115 26,062 23,555 18,848 17,513 18,767 17,886 19,214 18,793 22,616 22,553 22,654 23,209 14,509 15,119 20,295 23,830 18,980 23,767 10,780 19,890

เงินฝากออมทรัพย์ต่อหัว 21,450 30,981 16,491 14,955 11,148 11,671 17,887 13,997 11,504 9,830 14,374

สินเชื่อ/รายได้ 1.12 1.11 1.08 1.05 1.02 1.00 0.98 0.96 0.85 0.80 0.54

ออมทรัพย์/รายได้ 1.07 1.32 0.94 0.84 0.59 0.52 0.77 0.93 0.48 0.41 0.72

6. โอกาสของฟินเทคในการร่วมมือกับองค์กรการเงินฐานราก องค์กรการเงินระดับฐานราก หมายถึง องค์กรที่ดาเนินกิจกรรมทางการเงินที่เน้นการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน ที่อยู่ในชุมชน (มักเป็นระดับหมู่บ้านในไทย) ซึ่งมีความแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม/ประเพณีและความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น ดาเนินธุรกรรมหลักได้แก่ การรับฝากเงิน การให้สินเชื่อ และการจัดสวัสดิการชุมชน กลุ่มองค์กรการเงิน เหล่านี้จานวนมาก บริหารจัดการโดยอาศัยกติกาที่สมาชิกร่วมกันกาหนดขึ้น ใช้ความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นหลักในการบริหารจัดการโดยไม่จาเป็นต้อง มีหลักทรัพย์ค้าประกัน มีรูปแบบการบริหารจัดการที่หวังผลที่กว้างขวางกว่าผลทางการเงิน เช่น การพัฒนาคุณภาพชีวิตและ การพัฒนาคุณธรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสวัสดิการสังคมเห็นว่า องค์กรการเงินระดับฐานรากจะมีบทบาทสาคั ญ ในการบริหารจัดการสวัสดิการสาหรับแรงงานนอกระบบหรือผู้อยู่นอกภาคทางการ เป็นโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคมที่ ทาให้คนจนและผู้ด้อยโอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัจจุบันสามารถแบ่งประเภทขององค์กรการเงินระดับฐานรากในไทยออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ตามเป้าหมายและ ลักษณะการบริหารจัดการ คือ 1) กลุ่มองค์กรการเงินเพื่อการรับฝากเงินและบริการสินเชื่อ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุน หมู่บ้าน (จานวน 79,170 กองทุน) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ 2) กลุ่มองค์กรการเงินชุมชนที่เน้นการ จัดสวัสดิการ (ประกันขนาดจิ๋ว) เป็นหลัก เช่น กลุ่มสัจจะลดรายจ่ายวันละหนึ่งบาท กลุ่มกองบุญคุณธรรม เป็นต้น กลุ่ม ประเภทที่สองเป็นกลุ่มที่ออมเพื่อการจัดสวัสดิการโดยตรง ไม่ให้กู้ยืม และ 3) กลุ่มองค์การการเงินที่มีวิสาหกิจชุมชน เป็นกลุ่ม ที่พัฒนาองค์กรการเงินเชื่อมโยงกับการดาเนินวิสาหกิจชุมชน กลายเป็นกลุ่มที่ ประกอบการเพื่อสังคม (ชุมชน) หรือ social enterprise เช่น กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดไผ่ล้อม จังหวัดตราด ของพระอาจารย์สุบิน กลุ่มออมทรัพย์ของกลุ่มแม่บ้ า น ท่าทราย จังหวัดชัยนาท กลุ่มออมทรัพย์บ้านขาม จังหวัดชัยภูมิ เป็นต้น ขบวนองค์กรการเงินระดับฐานรากได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในพื้นที่ต่างๆ มีทั้งกลุ่มเข้มแข็งและกลุ่มที่ยังไม่เข้มแข็ง และหลายกลุ่มมีลักษณะที่เป็นเครือข่ายและ/หรือต้องการขยายเครือข่าย จากการศึกษาแนวทางการจัดทาเครื่องมือประเมิน ตนเองขององค์กรการเงินฐานราก (ปัทมาวดีและคณะ, 2554) พบว่า องค์กรการเงินฐานรากในไทยที่ให้บริการสินเชื่อส่วนใหญ่ จะเน้นการบริหารเพื่อความมั่งคงทางการเงินในระยะสัน้ คือได้รับคืนเงินกู้ครบถ้วน เน้นการรักษาเงินให้ “เงินไม่หาย” ไม่ได้มงุ่ ทากาไร กลุ่มที่ยังดารงอยู่จึงมีความเข้มแข็งในระดับหนึ่ง แม้กลุ่มจะใช้ความเป็นชุมชนที่มีความสัมพันธ์ รู้จักกันทาให้มีข้อมูล สมาชิกที่ดีพอสาหรับการตัดสินใจบริหารจัดการและแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีในระยะสั้น แต่จากการศึกษาพบว่า กลุ่มเหล่านี้ ต้องการเครื่องมือบางอย่างเพื่อช่วยให้สามารถดาเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องในระยะปานกลางหรือระยะยาว โดยเฉพาะเพื่อ ลดความเสี่ยงในการดาเนินกิจการ เช่น การลงบัญชีคลาดเคลื่อน ส่งผลให้ตัวเลขทางบัญชีไม่สะท้อนผลการดาเนินงานที่แท้จริง

82


หรือกองทุนที่เน้นการจัดสวัสดิการบางแห่งจ่ายเงินฌาปนกิจมากเกินควรเมื่อเปรียบเทียบกับแนวโน้มที่ผู้สงู อายุจะมีมากขึ้น ซึ่ง จะทาให้ภาระทางการเงินของกลุ่มเพิ่มขึ้นในอนาคต หรือผลักความเสี่ยงไปในอนาคต ฟิ น เทคมี ศัก ยภาพที่ จะยกระดับ การดาเนิ น งานขององค์ก รการเงิน ฐานราก เช่ น ติ ด ตั้ ง ระบบการท าบัญชีและ การบริหารจัดการความเสี่ยงให้ได้มาตรฐาน ส่วนองค์กรการเงินฐานรากเองก็สามารถสร้างประโยชน์ให้ กับฟินเทคในการ ให้บริการ เช่น รับจ้างเป็น “จุดรับฝาก/ถอนเงินสด” ของฟินเทคสาหรับธุรกรรมเงินโอน สินเชื่อ และเงินฝากผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ และมีบทบาทในการกลั่นกรองสินเชื่อขนาดจิ๋ว เนื่องจากกรรมการองค์กรการเงินฐานรากเป็นคนในชุมชน รู้จัก มักคุ้นกับสมาชิกเป็นอย่างดี ความท้าทายของฟินเทคในการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน 1. การคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของลูกค้าและความปลอดภัยของข้อมูล ผลการสารวจมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของบริการธนาคารออนไลน์ ไทยของคณะวิจัย (อ่านรายละเอียดได้ในส่วนก่อนหน้าของรายงานฉบับนี้ ) พบว่า ธนาคารโดยรวมมีการปรับปรุงระดับความปลอดภัยของการ ให้บริการ ทั้งผ่านเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นมือถือ อย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันในการแจ้งเตือน และมีสอง กรณีที่นับเป็น ‘จุดอ่อน’ สาคัญที่ควรได้รับการแก้ไข ก่อนที่จะต่อยอดบริการหรือออกบริการใหม่ด้วย ‘ฟินเทค’ ในระยะต่อไป ได้แก่ 1) ในกรณีที่เกิดความเสี่ยงว่าข้อมูลของผู้ใช้บริการอาจรั่วไหลได้ ซึ่งผู้ใช้บริการโดยทั่วไปไม่สามารถตรวจสอบ สาเหตุของความผิดพลาดได้ การประกาศว่าธนาคารจะไม่รับผิดชอบในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ธนาคารไม่สามารถ ควบคุมได้ ซึ่งรวมถึงการรบกวนจากไวรัสคอมพิวเตอร์ การกระทาไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งความบกพร่องที่ เกิดจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต สะท้อนให้เห็นว่าผู้ใช้บริการไม่สามารถมั่นใจว่าจะมีผู้รับผิดชอบ เมื่อมีการ รั่วไหลของข้อมูลตลอดการทาธุรกรรม ขณะที่ความเสี่ยงจากภัยคุกคามระบบอินเทอร์เน็ ตทวีความรุนแรงมาก ขึ้นเรื่อยๆ 2) ขณะที่ธนาคารเรียกร้องให้ลูกค้าต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของตนเองหลายประการ แต่การให้ข้อมูลแก่ ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยและข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ายังไม่ชัดเจนเพียงพอ เช่น หน้าเว็บเกี่ยวกับความปลอดภัยเข้าถึง ไม่ได้ ธนาคารไม่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดาเนินการความปลอดภัยของ ธนาคารมากพอหรือไม่ให้ความสาคัญเท่าที่ควร เช่น การเข้ารหัส ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ แต่มักใช้ถ้อยคาเพื่อ โน้มน้าวใจแบบกว้างๆ เช่น ง่าย ปลอดภัย

2. ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน อาจทาให้คนไทยบางส่วนมีทัศนคติที่เป็นอุปสรรคต่อ การลองใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ๆ ยกตัวอย่างเช่น ประกันภัยรายย่อย เป็นต้น ผลการวิจัยเชิง คุณภาพของธนาคารพัฒนาเอเชีย (2556) พบว่า ถึงแม้ผู้ให้สัมภาษณ์โดยรวมจะคุ้นเคยกับคาว่า “ประกัน” แต่ผู้ให้สัมภาษณ์ บางรายยังคงสับสนระหว่างสวัสดิการภาครัฐ โครงการการคุ้มครองทางสังคม และประกันที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงิน รวมทั้ง คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจความหมายของ “เงินเฟ้อ” และ “เบี้ยประกัน” เป็นต้น อย่างไรก็ดี ความเข้าใจผิดเหล่านี้อีกมุมหนึ่งก็

83


นับเป็นโอกาสของฟินเทคที่จะผนวกผสานการให้ความรู้ทางการเงิ น เข้าไปในการส่งมอบบริการทางการเงิน เพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นและยกระดับศักยภาพทางการเงินของลูกค้า

3. ความกระจัดกระจายของหน่วยงานกากับดูแล อานาจในการกากับดูแลบริการทางการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินปัจจุบันถูกกระจายอยู่ในหลายหน่วยงาน อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) คณะกรรมการกากับและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเลขาธิการ (คปภ.) กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สานักงานกองทุน หมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ฯลฯ ไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ และธรรมชาติของฟินเทคที่กระทบต่อ การให้บริการทางการเงินหลายมิติ อาจทาให้โครงสร้างการกากับดูแลที่กระจัดกระจายเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อ แรงจูงใจของ ฟินเทคที่จะเข้ามามีส่วนขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน เช่น เพิ่มต้นทุนการทาตามกฎเกณฑ์และขั้นตอนราชการ และใช้ เวลานานกว่าจะได้รับอนุมัติ อย่างไรก็ดี พัฒนาการใหม่ๆ อาทิ การจัดทา Regulatory Sandbox ของบางหน่วยงาน และการประสานงานกัน อย่างใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างบางหน่วยงาน เช่น ธปท. กับ ก.ล.ต. อาจทาให้สถานการณ์นี้คลี่คลายลงได้ นอกจากนี้ การออก กฎหมายส าคั ญ ๆ เช่ น พ.ร.บ. คุ้ ม ครองข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คล ให้ ไ ด้ ม าตรฐานสากล ก็ จ ะสามารถช่ ว ยสร้ า งแรงจู งใจให้ กั บ ผู้ประกอบการฟินเทค และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค รวมถึงสร้างความชัดเจนให้หน่วยงานกากับดูแลทุกหน่วยได้มี แนวปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน

4. การบิดเบือนกลไกตลาดของรัฐ และการดาเนินนโยบายที่ขัดแย้งกันเอง มีหลายประเด็นซึ่งเป็นที่ถกเถียงมาช้านานว่า กฎหมายและนโยบายบางประการของรัฐอาจเป็นอุปสรรคมากกว่าที่ จะส่งเสริมการขยายการเข้าถึงบริการทางการเงินหรือไม่ เช่น กฎหมายเพดานดอกเบี้ย นโยบายพักชาระหนี้ชั่วคราว ตลอดจน ความไม่เท่าเทียมในสนามแข่งขันระหว่างธนาคารของรัฐ กับผู้ให้บริการเอกชนในตลาดฐานราก แต่ในขณะเดียวกัน ตลาดก็เฝ้ารอผู้ประกอบการฟินเทครายใหม่ๆ ว่าจะสามารถใช้ข้อได้เปรีย บ เช่น ต้นทุนที่ถูกลง มาก และแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตมือถือที่เข้าถึงคนได้ทุกที่ทุกเวลา ในการทะลุทะลวงหรือก้าวข้ามความท้าทายเหล่านี้ไปได้ หรือไม่ เพียงใด

5. ความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการ ผู้ ป ระกอบการฟิ น เทครายใหม่ย่อ มต้อ งใช้ เวลาและความพยายามมากกว่ า สถาบั นการเงิ น ดั้ งเดิม ในการสร้าง ความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะการออกแบบบริการทางการเงินในตลาดใหม่ซึ่งยังขาดกฎเกณฑ์การกากับดูแลที่ชัดเจน โดยเฉพาะมาตรฐานการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล ยัง ขาดความโปร่งใสและบรรทัดฐานในการดาเนิน ธุรกิจ

84


บรรณานุกรม Achavanuntakul, S. & Diaz, L., 2013. Financial Literacy Findings and Recommendations Report, TA-7998 Thailand: Asian Development Bank. ADB; Oliver Wyman; MicroSave, 2017. Accelerating Financial Inclusion in South-east Asia with Digital Finance, s.l.: ABD. Ancri, C., 2016. http://pubdocs.worldbank.org. [Online] Available at: http://pubdocs.worldbank.org/en/767751477065124612/11-Fintech.pdf Arner, D., Barberis, J. & Buckley, R., 2015. The Evolution of Fintech: A new post-crisis paradigm?. University of New South Wales Law Research Series. Asia Outlook Magazine, 2017. ASIA outlook. [Online] Available at: http://www.asiaoutlookmag.com/news/the-real-fintech-capitals-of-the-world [Accessed December 2016]. Asian Development Bank and Fiscal Policy Office, n.d. Thailand: Rationalization and Corporate Governance of Specialized Financial Institutions, Bangkok: ADB and FPO. Asian Development Bank, 2011. Kingdom of Thailand: Development of a Strategic Framework for Financial Inclusion, Manila: ADB. Bill & Melinda Gates Foundation, 2012. Financial Services for the Poor, s.l.: Bill & Melinda Gates Foundation. Blake, M., Hughes, D. & Vanham, P., 2016. World Economic Forum. [Online] Available at: https://www.weforum.org/agenda/2016/04/5-things-you-need-to-know-about-fintech/ Bloomberg Technology, 2015. Bangladesh Backs Mobile Phones to Move Cash Among Rural Poor. [Online] Available at: https://www.bloomberg.com/news/articles/2015-07-24/who-needs-a-bank-bangladeshpushes-mobile-phones-to-move-money [Accessed January 2017]. Central Bank of Nigeria, 2015. Regulatory Framework for Mobile Money Services in Nigeria, s.l.: Central Bank of Nigeria. CGAP, 2016. Consultative Group to Assist the Poor (CGAP). [Online] Available at: http://www.cgap.org/about/faq [Accessed January 2017]. CGD, 2017. Center for Global Development. [Online] Available at: http://www.cgdev.org/ [Accessed November 2016].

85


Crunch Network - TechCrunch, 2017. Mastercard launches 2KUZE agtech platform in East Africa. [Online] Available at: https://techcrunch.com/2017/01/18/mastercard-launches-2kuze-agtech-platform-in-eastafrica/ [Accessed December 2016]. Deal Street Asia, 2015. Singapore’s Fastacash makes strategic investment in Myanmar payments firm MyPAY. [Online] Available at: http://www.dealstreetasia.com/stories/singapores-fastacash-makes-strategic-investment-inmyanmar-payments-firm-mypay-16243/ [Accessed January 2017]. Demirguc-Kunt, A. a. L. K., 2012. Measuring Financial Inclusion: The Global Findex Database, s.l.: World Bank Policy Research Working Paper 6025. Dopay, 2017. Dopay. [Online] Available at: https://dopay.com/about-dopay [Accessed January 2017]. Drummer , D., Jerenz, A., Siebelt, P. & Thaten, M., 2016. www.mckinseycom. [Online] Available at: http://www.mckinsey.com/industries/financial-services/our-insights/fintech-challenges-andopportunities Dunkley, E., 2016. www.ft.com. [Online] Available at: https://www.ft.com/content/ce8fa350-737f-11e6-bf48-b372cdb1043a Entrepreneurs 27, 2015. Philippine's Coins.ph launches human ATM network Teller. [Online] Available at: https://e27.co/philippines-coins-ph-launches-human-atm-network-teller-20150721/ [Accessed January 2017]. Ernst & Young, 2016. www.ey.com. [Online] Available at: http://www.ey.com/Publication/vwLUAssets/EY-UK-FinTech-On-the-cutting-edge/$FILE/EY-UKFinTech-On-the-cutting-edge.pdf FI2020, 2016. Financial Inclusion 2020 Progress Report. [Online] Available at: http://www.fi2020progressreport.org/technology/ [Accessed December 2016]. GlobeNewswire, Inc., 2017. Lenddo launches revolutionary credit risk and verification technology for mobile lenders. [Online] Available at: https://globenewswire.com/news-release/2015/07/13/751545/10141426/en/LenddoLaunches-Revolutionary-Credit-Risk-and-Verification-Technology-for-Mobile-Lenders.html [Accessed January 2017]. IMF, 2016. Leveraging Financial Technology for the Underbanked. [Online] Available at: http://www.imf.org/ [Accessed December 2016]. Kaohoon, 2016. http://www.kaohoon.com. [Online] Available at:

86


http://www.kaohoon.com/online/content/view/41775/BBL%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8 %B8%E0%B8%99100%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0% B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B 8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E Kiva, 2017. Kiva. [Online] Available at: https://www.kiva.org [Accessed January 2017]. Krungsri, 2016. https://www.krungsri.com/. [Online] Available at: https://www.krungsri.com/bank/th/NewsandActivities/Krungsri-Banking-News/2962.html Life SREDA VC, 2016. Money of the future Result of 2015 Trends for 2016, s.l.: INSEAD. Nation, 2016. http://www.nationmultimedia.com. [Online] Available at: http://www.nationmultimedia.com/news/business/EconomyAndTourism/30294083 PawnHero Philippines Pte Ltd, 2017. PawnHero. [Online] Available at: https://pawnhero.ph/ [Accessed January 2017]. PwC’s Financial Services Institute, 2016. www.pwc.com. [Online] Available at: https://www.pwc.com/us/en/financial-services/publications/viewpoints/assets/pwc-fsi-whatis-fintech.pdf RBI, 2017. Reserve Bank of India. [Online] Available at: www.rbi.org.in/ [Accessed January 2017]. Robert, C., Ehrbeck, T. & Holle, N., 2014. Financial Inclusion and Development: Recent Impact Evidence, Washington, D.C.: CGAP. SCB, 2016. www.scb.co.th. [Online] Available at: http://www.scb.co.th/th/news/2016-07-22/nws-digital-ventures-forwarding-fintech SCB, 2016. www.scb.co.th. [Online] Available at: http://www.scb.co.th/th/news/2016-06-16/nws-golden-gate-ventures Skolafund, 2017. Skolafund Beta. [Online] Available at: https://skolafund.com/ [Accessed January 2017]. Tech in Asia, 2015. Fintech can be the unbanked’s best hope for financial inclusion. [Online] Available at: https://www.techinasia.com/fintech-unbanked-financial-inclusion [Accessed December 2016]. Techsauce, 2016. https://techsauce.co. [Online] Available at: https://techsauce.co/uncategorized-th/kbtg-opening/

87


Techsauce, 2016. https://techsauce.co. [Online] Available at: https://techsauce.co/enterprise/kasikornbank-has-announced-2017-business-plan/ Techsauce, 2016. https://techsauce.co/. [Online] Available at: https://techsauce.co/fintech/scb-digitalventures-ripple/ Techsauce, 2017. https://techsauce.co. [Online] Available at: https://techsauce.co/fintech/ธนาคารกสิกรไทย-ประกาศ-digital-roadmap-2/ TFTA, 2016. https://thaifintech.org/th/. [Online] Available at: https://thaifintech.org/th/ The Economist, 2014. Global Microscope 2014. [Online] Available at: http://centerforfinancialinclusionblog.files.wordpress.com/2014/11/eiu_global_microscope_2014.pdf [Accessed 8 March 2017]. UN, 2017. Department of Economic and Social Affairs - Financing for development. [Online] Available at: http://www.un.org/esa/ffd/index.html [Accessed 2016]. United Nations Development Programme, 2015. Human Development Report 2015: Work for Human Development, New York, NY 10017, USA: UNDP. Venture Scanner, 2016. www.venturescanner.com. [Online] Available at: https://www.slideshare.net/NathanPacer/venture-scanner-fintech-overview-2016-q4 Wierd, 2015. SMS Loans Let People Skip Banks in the Developing World. [Online] Available at: https://www.wired.com/2015/07/zidisha/ [Accessed December 2016]. World Bank Group, 2015. The Global Findex Database 2014, s.l.: World Bank Group. World Bank Group, 2017. The World Bank. [Online] Available at: www.worldbank.org/ [Accessed December 2016]. Zopa, 2017. Zopa. [Online] Available at: https://www.zopa.com/ [Accessed January 2017]. ก.ล.ต., 2559. www.sec.or.th. [ออนไลน์] Available at: http://www.sec.or.th/TH/RaisingFunds/CFD/Pages/principle.aspx ก.ล.ต., 2559. www.sec.or.th. [ออนไลน์] Available at: http://capital.sec.or.th/webapp/phs/upload/phs1481169427hearing_55_2559.pdf

88


ก.ล.ต., 2560. www.sec.or.th. [ออนไลน์] Available at: http://capital.sec.or.th/webapp/phs/upload/phs1485744028hearing_02_2560.pdf กรุงเทพธุรกิจ, 2560. http://www.bangkokbiznews.com. [ออนไลน์] Available at: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/733955 ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2556. รายงานผลสารวจการเข้าถึงบริการทางการเงินภาคครัวเรือน ปี 2556, ม.ป.ท.: ธนาคารแห่งประเทศไทย. ธปท., 2559. ธนาคารแห่งประเทศไทย. [ออนไลน์] Available at: https://www.bot.or.th/Thai/FIPCS/Documents/FPG/2559/ThaiPDF/25590251.pdf สานักงานเศรษฐกิจการคลัง, 2558. นวัตกรรมในการพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน: แผนที่การเข้าถึงบริการ ทางการเงินระดับฐานราก, กรุงเทพฯ: สานักงานเศรษฐกิจการคลัง.

89


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.