สื่อสาร ธมอ. ปีที่ 37 ฉบับที่ 34

Page 1



ระหว่างการเข้าเงียบประจ�ำปี รุ่นที่ 1 พร้อมกับ สมาชิก ธมอ. คนอืน่ ๆ ในหัวข้อ “พระเจ้าข้า โปรดประทาน น�ำ้ นีใ้ ห้ลกู ด้วยเถิด” (ยน. 4,15) ซึง่ จัดขึน้ ระหว่างวันที่ 4-11 เมษายน 2018 โดยมีซิสเตอร์มาเรีย โก ธมอ. อาจารย์ ประจ�ำมหาวิทยาลัยเอาซีลีอุม โรม อิตาลี เป็นผู้เทศน์ หั ว ขั อ หนึ่ ง ของพิ ธี ก รรมเชื้ อ เชิ ญ ให้ ไ ตร่ ต รอง และภาวนาเป็นพิเศษส�ำหรับสันติภาพ ผู้เขียนสะดุดใจกับ บทน�ำในตอนเริ่มการภาวนาท�ำวัตรเช้า ตอนหนึ่งที่ว่า “แม้ ผื น ดิ น จะถู ก เผาผลาญด้ ว ยเปลวไฟแห่ ง สงคราม และการรบสู้ ความรุนแรงและความแตกร้าวคืบคลาน ครอบคลุม แต่..สายธารแห่งพระพรและความรักเมตตา ยังคงหล่อเลี้ยง มิลืมเลือน” ซึ่งคัดมาจาก “สายธาร” โดย น.สาราจิตต์ และยังอีกตอนหนึ่งว่า ในวันนั้น...วันแห่ง ความสงบสุข สันติ และมิตรภาพ วันที่เราทุกคนปรารถนา ให้ เ กิ ด ขึ้ น ในโลก ในสั ง คมและในหมู ่ ค ณะของเรา

เป็นวันที่...“สุนัขป่าจะอยู่กับลูกแกะ เสือดาวจะนอนอยู่กับ ลูกแพะ ลูกโคและลูกสิงโตจะหากินอยู่ด้วยกัน ...ทารกที่ ยั ง ไม่ ห ย่ า นมจะเล่ น อยู ่ ที่ ป ากรู งู เ ห่ า เด็ ก ที่ ห ย่ า นมแล้ ว จะเอามือวางที่รังของงูพิษจะไม่มีผู้ใดท�ำร้ายหรือท�ำลาย ทั่ ว ภู เขาศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข องเรา เพราะแผ่ น ดิ น จะรู ้ จั ก องค์ พระผูเ้ ป็นเจ้าอย่างสมบูรณ์ ดัง่ นํา้ ปกคลุมทะเล” (อสย 11 : 1-10)… ช่างเป็นภาพที่งดงามเสียนี่กระไร! สันติสุขเป็นของประทานจากพระเจ้า เป็นพระพร แห่งความรักเมตตาของพระองค์ทปี่ ระทานให้แก่เรา ผ่านทาง องค์พระคริสตเจ้า ท�ำให้เรารู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย แต่.. การเจริญชีวิตอย่างมีความสุขและอยู่ในสันติท่ีแท้จริงนั้น จ�ำเป็นที่เราจะต้องคุ้นเคยและเข้าใจความหมายแท้ของ “สันติภาพ” และอะไรคือความหมายแท้จริงของสันติภาพ... “เรามอบสันติสุขให้ท่านทั้งหลาย เราให้สันติของเรา กับท่าน เราให้สนั ติสขุ กับท่าน ไม่เหมือนทีโ่ ลกให้ ใจของท่าน อย่าหวั่นไหว หรือมีความกลัวเลย”(เทียบ ยอห์น 14 : 27) ท่านผู้อ่านที่รัก สันติสุขที่พระเจ้าประทานให้นี้ เป็น ทางเลือกที่ต้องสร้างขึ้นทุกวัน ต้องเกิดจากภายในและส่งผล ออกมาภายนอก ดังนั้นการไตร่ตรองและค้นพบแนวทางใน การร่วมมือกับพระองค์ในการสร้างสันติสขุ และการมีมติ รภาพ ที่ แ ท้ จ ริ ง จึ ง เป็ น เรื่ อ งเร่ ง ด่ ว นของทุ ก คน...และนี่ เ อง สันติภาพจะกลับเป็นดัง“น�้ำ...” ที่ให้ชีวิต ให้ความสุข และมอบความยินดีแก่ทุกชีวิตบนเส้นทางเดินของเรา... เช่นเดียวกัน ผูเ้ ขียนปรารถนาให้ขา่ วคราวและเรือ่ งราว ต่าง ๆ ของทุกคอลัมนิสต์ ทีร่ อ้ ยเรียงเรือ่ งราวผ่านตัวอักษร อย่างตั้งใจลงในสื่อสาร ธมอ. ฉบับนี้นั้น เป็นเครื่องมือ สือ่ สันติ ทีเ่ ติมเต็มความสุข ความยินดี และความดีงามทีไ่ ม่รจู้ บ ในชีวิตของท่าน...ตลอดไป ขอองค์ พ ระคริ ส ตเจ้ า ผู ้ ท รง กลั บ คื น พระชนมชีพประทานพระพรแด่ท่านอย่างอุดม บก.


สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เราพบกันอีกครั้งในสื่อสาร ธมอ. ช่วงฤดูพักร้อนจากไอความร้อนที่แผ่คลุมทั่วในอากาศ และในทุก ๆ เรื่องที่โลกของเรา ก�ำลังประสบแม้จากภัยธรรมชาติด้วย การพักผ่อนวันหยุดภาคฤดูร้อนนี้ จึงท�ำให้ชีวิตของเราไม่สามารถแน่นิ่งได้ และท�ำให้เรา คิดถึงค�ำขวัญประจ�ำปี 2018 ของคุณพ่ออังเฮิล แฟร์นันเดซ อาร์ตีเม อัคราธิการคณะซาเลเซียน ที่ว่า “พระเจ้าข้า โปรดประทานน�้ำนี้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด” (ยน 4, 15) ซึ่งเชิญชวนเราทุกคนในครอบครัวซาเลเซียนให้ปลูกฝังศิลปะการฟัง และการเดินไปด้วยกัน เรา ธมอ. คงต้องยกระดับความเป็น ธมอ. ของเราอย่างจริงจัง ฟื้นฟูพลังกายใจใหม่ เพื่อเริ่มต้นกับ หน้าที่ที่เราได้รับมอบหมายในอีกปีการศึกษาหนึ่งด้วยใจพร้อมในการท�ำภารกิจเยี่ยงนักอบรมซาเลเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการอยู่เคียงข้างเยาวชน ร่วมมือร่วมใจกับพวกเขาเพื่อน�ำพาพวกเขาไปถึงสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์ ส�ำหรับชีวิตของ พวกเขาแต่ละคน และแนะน�ำพวกเขาให้เรียนรู้ท่ีจะแบ่งปันกับผู้ที่มีความต้องการมากกว่าตนเอง มิใช่เพียงด้วยสิ่งของวัตถุ ทว่าด้วยการ “รู้จักรับฟัง” โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานดังนี้ - การเปิดใจ ตั้งใจฟังกันและกันด้วยดวงตา ด้วยใจ ด้วยหัวใจ ด้วยตัวตนของเรา - ความตั้งใจ ฟังด้วยความใส่ใจในสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งก�ำลังสื่อกับเรา พึงพยายามเข้าใจว่า อีกฝ่ายต้องการสื่ออะไร เพราะพื้นฐานของการฟังอยู่ในความเคารพกันและกัน - การฟังเป็นศิลปะทีเ่ รียกร้องให้มีความสนใจทีแ่ ท้จริง อย่าจ�ำกัดตัวเราแค่ฟงั อะไรบางอย่าง แต่เราก�ำลังฟังใครบางคน - การฟังเรียกร้องให้มีความเงียบภายในซึ่งมีจุดเริ่มต้นในการยอมรับผู้คนอย่างที่เป็น ในสถานการณ์ที่พวกเขาก�ำลัง ด�ำเนินชีวิตอยู่ (เทียบ คุณพ่ออังเฮิล แฟร์นันเดซ อาร์ตีเม : ค�ำขวัญประจ�ำปี 2018) นอกจากนั้น ปีนี้คณะของเราเฉลิมฉลองครบรอบ 150 ปี ของการอภิเษก “มหาวิหารพระนางมารีย์องค์อุปถัมภ์” ที่กรุงตูริน ซึ่งคงมิใช่เป็นเพียง เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ส�ำหรับเราเท่านั้น แต่เหนือสิ่งอื่นใด ต้องเรียกร้องให้ค้นพบเหตุผลที่คุณพ่อบอสโก ต้องการให้คณะของเราเป็นวิหารที่มีชีวิต และอนุสาวรีย์แห่งความกตัญญูของท่านต่อพระนาง ดังนั้น พร้อมกับบรรดาเยาวชน เราจะท�ำให้เส้นสายชีวิตของเรา สะท้อนก้องกังวานด้วยความสุขยินดีในการติดตาม พระคริสตเจ้า ความสุขยินดีทมี่ าจากความมัน่ ใจในการรับรูว้ า่ “พระเจ้าทรงรักเรา” เฉกเช่นสายพิณทีถ่ กู กรีดเกลาจนเกิดท�ำนอง ดนตรีไพเราะฉันใด เรานักอบรมซาเลเซียนจักต้องรู้จักฟังและอยู่เคียงข้างเยาวชน เพื่อช่วยเขาให้ค้นพบโครงการ “รักของ พระเจ้า” โดยด�ำเนินชีวิตตามพระวาจาของพระเยซูเจ้าที่ตรัสว่า “จงด�ำรงอยู่ในความรักของเราเถิด” (ยน 15, 9) ฉันนั้น ขอพระมารดามารีย์องค์อุปถัมภ์ “สตรีผู้ทรงรู้รับฟัง” ทรงเป็นเพื่อนร่วมทาง ประทับอยู่เคียงข้างการด�ำเนินชีวิต ของพวกเรา เพื่อน�ำความสุขยินดีให้กับทุกบุคคลที่อยู่รอบข้างด้วยปรีชาญาณแห่งการฟัง ด้วยความรักยิ่งในพระมารดา ซิสเตอร์อักเนส นิภา ระงับพิษ

อธิการิณีเจ้าคณะแขวง คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์แห่งประเทศไทย


STAR 2018

ระหว่างวันที่ 18-21 มกราคม 2018 ฝ่ายอภิบาลคณะธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ จัดการ ชุมนุมเยาวชนผู้น�ำ STAR 2018 ณ บ้านธารพระพร สามพราน ในหัวข้อ “กล้าก้าว...ด้วยใจ ยินดี” มีผู้เข้าร่วมชุมนุมจ�ำนวน 152 คน จากทุกสถาบันในเครือฯ

วันครอบครัวซาเลเซียน 2018

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2018 สมาชิกคณะ ธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ ประมาณ 20 คน ได้ ร่ ว มงานวั น ครอบครั ว ซาเลเซี ย น ที่ จั ด ขึ้ น ที ่ บ้านศูนย์กลางของสถาบันธิดาพระราชินีมาเรีย ผู ้ นิ ร มล สาทร กรุงเทพฯ โดยมีคุณพ่อบรรจง สันติสขุ นิรนั ดร์ ซดบ. เป็นผู้บรรยายและขยาย ความหมายค�ำขวัญของคุณพ่อ Angel Fernandez Artime SDB อัคราธิการคณะซาเลเซียน

Welcome sr.Alaide Deretti

สมาชิกคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ เขตภาคกลาง จาก 5 บ้าน จ�ำนวนกว่า 30 คน ร่วมให้การต้อนรับ Sr.Alaide Deretti ผู้รับผิดชอบฝ่ายงานแพร่ธรรมของคณะ ที่บ้านธารพระพร สามพราน และรับฟังการแบ่งปันข้อคิดด้านธรรมทูต จากท่าน

5


ธมอ. เข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส… “เวลาแห่งพระพร ...” เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2018 นับเป็นพระพรยิ่งใหญ่ที่ไม่คาดฝันของ ซิสเตอร์นิตยา เยาวสังข์ ซิสเตอร์มาลัย วิสิทธิ์ศิลป์ ซิสเตอร์ทองอยู่ กิจสกุล และซิสเตอร์สายสวาท ระดมกิจ ในโอกาสเข้าร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณโดย สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ณ วัดนักบุญมาร์ธา พร้อมกับ ดร.สมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล และคุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ผู้มีพระคุณของคณะ และพวกเราขอขอบพระคุณท่านทัง้ สอง ส�ำหรับความใจดีทไี่ ด้มอบแก่พวกเรา อย่างมากมาย โอกาสนี้ ซิ ส เตอร์ ทั้ ง สี่ ท ่ า นได้ รั บ พรพิ เ ศษส่ ว นตั ว จากสมเด็ จ พระสันตะปาปาด้วยความรู้สึกซาบซึ้งในพระทัยดีและความเรียบง่ายของ พระองค์ ใช่แล้ว...นีค่ อื ผูแ้ ทนของพระเยซูเจ้าซึง่ ปกพระหัตถ์อวยพรลูก ๆ ของ พระองค์ด้วยความรักและเปี่ยมด้วยพระทัยกรุณา และจะตราตรึง “เวลาแห่ง พระพร” นี้ไว้ในความทรงจ�ำของบรรดาซิสเตอร์ทั้งสี่ท่านตราบนานเท่านาน

6


ธมอ. ไทย เฉลิมฉลองวันแห่งการขอบคุณ คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์แห่งประเทศไทย จัดเฉลิมฉลองวันแห่งการ ขอบคุณ แด่ซิสเตอร์นิภา ระงับพิษ อธิการิณีเจ้าคณะแขวง และแก่สมาชิกทุกคน เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2018 ที่บ้านธารพระพร สามพราน ในบรรยากาศแห่ง ความยินดีและความเป็นครอบครัว โดยมีคุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ คุณพ่อเจ้าคณะ แขวงซาเลเซียนแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ

7


ธมอ. ประเมินผล-วางแผนประจ�ำปี ระหว่างวันที่ 10-12 มีนาคม 2018 คณะ ธิดาแม่พระองค์องค์อุปถัมภ์แห่งประเทศไทย ได้จัดการประชุมประเมินผล-วางแผนประจ�ำปี ที่บ้านธารพระพร สามพราน โดยมีซิสเตอร์นิภา ระงับพิษ อธิการิณีเจ้าคณะแขวง เป็นประธาน ในการประชุม มีสมาชิกเข้าร่วม จ�ำนวน 49 คน การประชุมประเมินผล-วางแผน เป็นอีกหนึ่งช่วง เวลาที่ ส� ำ คั ญ ที่ เ อื้ อ ต่ อ การพบกั บ ความหมาย และพลังใหม่ที่จะก้าวหน้าต่อไปในพระพรพิเศษ ของคณะ

ด้วยอาลัยรัก...ซิสเตอร์อีวา เทเรซา อันเดรออตตี 8

เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2018 ซิสเตอร์คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ ได้รว่ มพิธปี ลงศพของซิสเตอร์เทเรซีนา อันเดรออตตี ธรรมทูตชาวอิตาเลียน โดยมีพระสังฆราชยอห์นบอสโก ปัญญา กฤษเจริ ญ เป็ น ประธานในพิ ธี บู ช า ขอบพระคุ ณ ปลงศพ ที่ วั ด นั ก บุ ญ ยอแซฟ บ้านโป่ง ราชบุรี


เข้าเงียบประจ�ำปีรุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 4 - 11 เมษายน 2018 คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ ได้จัดเข้าเงียบ ประจ�ำปี รุ่นที่ 1 ให้กับสมาชิก จ�ำนวน 41 คน ณ บ้านธารพระพร สามพราน นครปฐม ในหัวข้อ “Signore dammi di quest’acqua (Gv 4, 15)” โดยมีซิสเตอร์มาเรีย โก ธมอ. อาจารย์ผู้สอนวิชาพระคัมภีร์จากมหาวิทยาลัยเอาซีลีอุม โรม อิตาลี เป็นผู้เทศน์

Progetto Gerusalemme 2018 ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 6 เมษายน 2018 ซิสเตอร์สุภาวรรณ โชติผล และซิสเตอร์ นิ ต ยา ยอแซฟ ได้ เข้ า ร่ ว มโครงการจาริ ก แสวงบุ ญ เยรู ซ าแลม ซึ่ ง จั ด โดยคณะธิ ด า แม่พระองค์อุปถัมภ์ มีสมาชิกธิดาแม่พระองค์ อุปถัมภ์จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จ�ำนวน 21 คน เข้าร่วม ในบรรยากาศที่ศักดิ์สิทธิ์และการ ร�ำพึงภาวนาถึงชีวิตอันน่าทึ่ง และเปี่ยมด้วย ความรักต่อมนุษยชาติขององค์พระเยซูเจ้า นับ เป็ น ช่ ว งเวลาแห่ ง พระพรและความยิ น ดี ที่ มากมายจริง ๆ

9


หัวหมาก พระสมณทูตประจ�ำประเทศไทย… เยี่ยมเยียนหมู่คณะ โอกาสวันตรุษจีน พระอัครสังฆราช พอล ชาง อิน-นัม พระสมณทูตประจ�ำประเทศไทยกัมพูชา พม่าและลาว ได้มา เยี่ยมหมู่คณะมารีย์นิรมล หัวหมาก เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2018 โดยท่านได้สนทนาพูดคุยในบรรยากาศที่เรียบง่าย เป็นกันเอง ประดุจบิดาท่ามกลางบุตร …

แสดงความยินดี

เมื่ อ วั น ที่ 20 มี น าคม 2018 นั ก เรี ย น ในโครงการ S@P ร่วมกันแสดงความขอบคุณแด่ คณะซิสเตอร์ของหมู่คณะมารีย์นิรมล หัวหมาก โอกาสจบปีการศึกษาระดับ ปวช. ปี 3 ขอบคุณ ส�ำหรับการอบรม การช่วยเหลือ การติดตามพวกเขา ในด้านต่าง ๆ ขอพระมารดาอวยพร ให้พวกเขา ก้าวหน้าต่อไปในการงานอาชีพและการเรียนเสมอ

ศาลาแดง ร่วมแสดงความยินดี.. 10

หมู่คณะศาลาแดงร่วมยินดีกับนางสาว โยเซฟิ น อรประภา พนาศานติ ซึ่ ง ได้ รั บ ศี ล ล้ า งบาป ศี ล มหาสนิ ท ครั้ ง แรก และศี ล ก� ำ ลั ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2018 โดยคุณพ่อศักดิ์ชัย ตรีว่าอุดม ซดบ. เป็นประธานในพิธี ในบรรยากาศของความยินดี ท่ามกลางบรรดาซิสเตอร์ และเพื่อนพี่น้องที่มาร่วมยินดีขอบพระคุณ พระเจ้าส�ำหรับพระคุณยิ่งใหญ่นี้

อัลเลลูยา...พระคริสต์ทรงกลับคืนชีพ

วันที่ 1 เมษายน 2018 หมูค่ ณะชาวอิตาเลียน ร่วมพิธี บู ช าขอบพระคุ ณ สรรเสริ ญ พระเจ้ า โอกาสฉลองการ กลับคืนชีพของพระคริสตเจ้า หลังพิธเี ด็ก ๆ ต่างขับร้องเพลง ส่งความสุขปาสกาแด่คุณพ่อชาร์ล เวลาร์โด และผู้ปกครอง ของพวกเขา ในบรรยากาศที่ซื่อ ๆ เต็มด้วยชีวิตชีวา


เซนต์เมรี่

Congratulations!

โรงเรียนเซนต์เมรี่ อุดรธานี ได้จัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศ ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2018 โอกาสนี้ พวกเขาได้แสดงความกตัญญูรู้คุณต่อพระเจ้า ต่อแม่พระ ต่อคณะซิสเตอร์ และต่อคณะครู ส�ำหรับความดีงามต่าง ๆ ที่ได้รับ ตลอดมา และร่วมรับประทานอาหารเย็นพร้อมกัน ในบรรยากาศของ ครอบครัว ทีเ่ ต็มไปด้วยความรัก ความผูกพันและห่วงใยทีม่ ใี ห้กัน...

“Jesus is my light”

หมู ่ ค ณะเซนต์ เ มรี่ อุ ด รธานี ได้ร่วมกันจัดค่ายปัสกาให้แก่นักเรียน คาทอลิกในโรงเรียน หัวข้อ “Jesus is my light” ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม– 1 เมษายน 2018 เพือ่ เป็นการเตรียมจิตใจร่วมฉลองสมโภชปัสกาอย่างดี โดยเฉพาะในสัปดาห์ศกั ดิส์ ทิ ธิน์ ี้ ในบรรยากาศทีจ่ ริงจัง ที่จะเรียนรู้ข้อความเชื่อและพิธีกรรมช่วงสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์

เชียงใหม่ ด้วยรักและขอบคุณ…

เยี่ยมเยียน...เติมความหวัง

หลังจากปิดภาคเรียนในช่วงเดือนมีนาคม หมูค่ ณะนักบุญยอแซฟ จอมทอง ได้ออกไปเยี่ยมเยียนครอบครัวของเยาวชนธิดารักษ์ตามหมู่บ้านของพวกเขา นอกจากนี้ ยังได้เยีย่ มเยียน ชาวบ้าน รวมถึงผู้อาวุโส บรรดาผู้เจ็บป่วย และบ้าน ข อ ง เ ย า ว ช น ธิ ด า รั ก ษ ์ ในหมู่บ้านใกล้เคียง ที่จะ เข้าในปีการศึกษาใหม่ด้วย

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2018 หมู่คณะนักบุญยอแซฟ จอมทอง ได้ ร ่ ว มกั น ฉลองวั น กตั ญ ญู ร ะดั บ หมู่คณะ เพื่อเปิดโอกาสให้บรรดา เยาวชนธิดารักษ์ ได้แสดงออกถึง ความรั ก รู ้ คุ ณ ต่ อ คณะซิ ส เตอร์ และต่อผู้มีพระคุณในทุกด้าน

11


สามพราน

“รู้รักสามัคคี ร่วมกีฬาสี รู้อภัย” เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2018 ซิสเตอร์เทเรซา น�้ำสมบูรณ์ รองอธิการิณีบ้านมารีย์อุปถัมภ์ สามพราน ได้เป็นประธาน ในพิธีเปิดกีฬาสีประจ�ำปีของศูนย์เยาวชน ดอนบอสโก สามพราน ในหัวข้อ “รู้รักสามัคคี ร่วมกีฬาสี รู้อภัย”

ประชุมผู้ประสานงานค�ำสอน

ซิสเตอร์พรพิรุณ จันทร์เด่นดวง และครูสาลิณี หอมมณี รั ต นชั ย เข้ า ร่ ว มประชุ ม ผู ้ ป ระสานงานค� ำ สอน ที่บ้านผู้หว่าน สามพราน ระหว่างวันที่ 8-9 มีนาคม 2018 และพร้ อ มกั น นี ้ ได้ รั บ การอบรมการใช้ หลักสูตร super book ด้วย

มารีย์นิรมล- สามพราน 12

พระพรแห่งกระแสเรียกใหม่ …

วันที่ 17 มีนาคม 2018 ในบรรยากาศของ ความชื่นชมยินดีและการขอบพระคุณพระเจ้า หมู่คณะมารีย์นิรมลทิน สามพราน ได้ต้อนรับ เยาวชนผู้สนใจกระแสเรียกจ�ำนวน 5 คน พวกเขาเป็นประหนึ่งเมล็ดพันธุ์ดีที่ค่อย ๆ เจริญเติบโต เพื่อแสวงหาพระประสงค์ ของพระเจ้าผู้ทรงรักและทรงเรียกเขาแต่ละคนให้ติดตามพระคริสตเจ้าอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น

อวยพรวันสงกรานต์–ค�ำขอบคุณจากใจกตัญญู

เยาวชนธิดารักษ์ เยาวชนผู้สนใจกระแสเรียก คุณครูผู้ดูแลและคณะซิสเตอร์ในหมู่คณะมารีย์นิรมลทิน สามพราน ได้รดน�ำ้ ด�ำหัวตามประเพณีไทย เมือ่ วันที่ 13 เมษายน 2018 เพือ่ อวยพรและขอพรผูใ้ หญ่ดว้ ยความรักเคารพและรูค้ ณ ุ โอกาสนี้ เยาวชนธิ ด ารั ก ษ์ไ ด้ก ล่าวขอบคุณ ซิสเตอร์สายสมร ศิ ริ รั ต นกู ล ผู ้ เ ป็ นประดุ จมารดาที่ ให้ ก ารดู แ ลเอาใจใส่ พวกเขา ตลอดระยะเวลา 3 ปี


หาดใหญ่ CENTRAL GREEN Project

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2018 โรงเรียน ธิดานุเคราะห์ หาดใหญ่ ร่วมกับเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ กลุ่มเทศบาลนครหาดใหญ่ และชาวชุมชน หาดใหญ่ ร่วมท�ำกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในหัวข้อ “CENTRAL GREEN Project”

ค่ายค�ำสอนภาคฤดูร้อนเยาวชนดาวดาราแห่งความหวัง ความรักและความเชื่อ โรงเรี ย นธิ ด านุ เ คราะห์ หาดใหญ่ เข้าร่วมท�ำกิจกรรมค่าย ค� ำ สอนภาคฤดู ร ้ อ นเยาวชน ดาวดาราแห่งความหวัง ความรัก และความเชื่ อ ในช่ ว งสั ป ดาห์ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ถึ ง การสมโภชปั ส กา ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม ถึง 1 เมษายน 2018 ณ วัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด หาดใหญ่

ท่านอยู่เราดีใจ ท่านไปเราคิดถึง..

วิสุทธิวงศ์

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2018 คณะครูและนักเรียน โรงเรียนวิสุทธิวงศ์ โพนสูง ได้ท�ำพิธีอ�ำลาซิสเตอร์นิพา กู้ทรัพย์ และซิสเตอร์นิรมล เจียมศิริ ด้วยความกตัญญู รู ้ คุ ณ ส� ำ หรั บ การอุ ทิ ศ ตนประกอบภารกิ จ ด้ ว ยความรั ก และเสี ย สละเสมอมา และขอร่วมเป็นก�ำลังใจส�ำหรับภารกิจใหม่ที่ทั้งสองท่านได้รับมอบหมาย

พรวันปีใหม่ ไทย...

คณะครูและนักเรียน โรงเรียนวิสุทธิวงศ์ โพนสูง ได้จัดพิธีรดน�้ำด�ำหัว “ชุ่มฉ�่ำเบิกบาน สงกรานต์ วส.”เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2018 โดยได้รับพรจาก คณะซิสเตอร์ คณะครูอาวุโส ในบรรยากาศแห่งความสุขยินดี ปีนนี้ บั เป็นปีทพี่ เิ ศษ ที่ได้มีการจัดอุโมงค์น�้ำพิเศษเป็นของขวัญให้ทุกคน เด็ก ๆ มีความสุขก่อนจบ การเรียนปรับพื้นฐาน ที่เต็มด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ

13


บ้านโป่ง

พิธีรับศีลศักดิ์สิทธิ์…

สู่เหย้าชาว NV…

วันที่ 24 มีนาคม 2018 ชมรมศิษย์เก่า โรงเรียนนารีวุฒิ บ้านโป่ง โดยการน�ำของคุณพรทิพย์ ทนุผล ประธานชมรมฯ จัดงานสังสรรค์ศิษย์เก่า "สู่เหย้าชาว NV" เพื่อเป็นการแสดง กตเวทิตาจิตแด่คณะซิสเตอร์ คุณครูอาวุโส และพบปะสังสรรค์ ระหว่างเพื่อน ๆ โอกาสนี้ ซิสเตอร์นิภา ระงับพิษ อธิการิณีแขวง ได้เป็นประธานเปิดงาน โดยมีคณ ุ พ่อยอห์น ลิสซันดริน เจ้าอาวาส วัดนักบุญโยเซฟ คณะซิสเตอร์จากหมู่คณะต่าง ๆ ที่เคยเป็นศิษย์ โรงเรี ย นนารี วุ ฒิ บรรดาศิ ษ ย์ เ ก่ า ศิ ษ ย์ ป ั จ จุ บั น จ� ำ นวนมาก ให้เกียรติมาร่วมงาน

14

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2018 มีพิธีศีลสมรสของ นายอุดร วงศ์พิมพ์ กับ มารีอา สุพรรณี พลเยี่ยม พนักงานของโรงเรียน และในวันที่ 3 มีนาคม 2018 มีพิธีศีลล้างบาปให้กับนักเรียนนารีวุฒิและสารสิทธิ์ จ�ำนวน 9 คน และรับศีลมหาสนิทครัง้ แรก จ�ำนวน 6 คน โดยคุ ณ พ่ อ เจ้ า อาวาส ยอห์ น เลสซั น ดริ น ณ วัดพระหฤทัย นารีวุฒิ


l

โดยซิสเตอร์กาญจนา เดชาเลิศ

คงไม่มใี ครไม่ได้ตดิ ตามข่าวความเคลือ่ นไหวครัง้ ยิง่ ใหญ่ทงั้ ในรูปแบบการเตรียมการ ประชุม และการให้ขอ้ มูล ส�ำหรับการประชุมสมัชชาซีนอ็ ดของบรรดาพระสังฆราช สมัยสามัญ ครั้งที่ 15 ในหัวข้อ “เยาวชน ความเชื่อและการไตร่ตรองกระแสเรียก” โดยได้มีการเตรียม ในทุกระดับ และเป็นการแสดงถึงความต้องการขยายการมีส่วนร่วมที่พระศาสนจักรได้ท�ำให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชนเอง ซึ่งระหว่างวันที่ 19-24 มีนาคม 2018 ที่ผ่านมา ณ กรุงโรม ได้มีการประชุมกลุ่มเยาวชนทั่วโลกกับพระสันตะปาปาฟรังซิส เป็นภาพประวัติศาสตร์โดยแท้จริง ฝ่ายอภิบาลจึงขอน�ำเอกสารเตรียมประชุมในช่วงนี้ มาแบ่งปันความเคลือ่ นไหว และประชาสัมพันธ์ให้ผทู้ สี่ นใจ ได้รับทราบ และน�ำไปแบ่งปันต่อไปในวงกว้าง เพื่อความดีมากมายที่จะเกิดขึ้นในยุคสมัยของเรา ซึ่งในสื่อสาร ธมอ. ฉบับนี้ จะน�ำเสนอเพียงภาคที่ 1 คือ การท้าทายและโอกาสของเยาวชนในโลกทุกวันนี้

การท้าทายและโอกาสของเยาวชนในโลกทุกวันนี้

1. การอบรมบุคลิกภาพ เยาวชนตามหาความหมายของตนเองโดยการ แสวงหาชุมชนที่จะคอยให้การสนับสนุน จรรโลงใจ แท้จริง และจริงใจ พร้อมกับการทีจ่ ะเข้าถึงได้งา่ ย ซึง่ เป็นชุมชนทีจ่ ะ ช่วยสร้างพลังและความสามารถให้กบั พวกเขา เราตระหนักดี ถึงสถานที่ซึ่งจะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของพวกเขา นั่นคือ ครอบครัว ซึ่งเป็นสถานที่แรกที่มีอภิสิทธิ์พิเศษ ในหลาย ภูมิภาคของโลก บทบาทของผู้สูงวัยและความเคารพต่อ บรรพบุ รุ ษ เป็ น องค์ประกอบช่วยหล่อหลอมความเป็ น อัตลักษณ์ของพวกเขา แต่ว่าประเด็นนี้ไม่ใช่เป็นสิ่งสากล เนื่ อ งจากรู ป แบบที่ เ ป็ น ขนบธรรมเนี ย มประเพณี ข อง ครอบครัวในบางภูมภิ าคโลกเสือ่ มลง ประเด็นนีท้ ำ� ให้เยาวชน ต้องรับเคราะห์ไปด้วย เยาวชนบางคนทิ้งธรรมเนียมที่ดี ของครอบครัว หวังทีจ่ ะได้พบกับของใหม่กว่าสิง่ ทีต่ นมองถึง “แต่การยึดติดอยู่กับอดีต” และ “ความล้าสมัย” ในอีก มุมมองหนึ่งในบางภูมิภาคโลก เยาวชนพยายามแสวงหา อัตลักษณ์ของตนเองด้วยการยึดติดอยู่กับขนบธรรมเนียม

ของครอบครัวและพยายามทีจ่ ะเจริญชีวติ ด้วยความสัตย์ซอื่ ต่อวิถีที่ตนได้รับการเลี้ยงดูเติบโตขึ้นมา เพราะฉะนัน้ พระศาสนจักรจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องสนับสนุน ครอบครัวและการอบรมลูกหลานดีกว่า โดยเฉพาะเหมาะสม อย่างยิ่งในบางประเทศที่เยาวชนโดยเฉพาะผู้เยาว์ถูกกีดกัน มิให้ไปวัด และเมือ่ เป็นเช่นนีจ้ งึ ต้องได้รบั การอบรมความเชือ่ ที่บ้านโดยพ่อแม่ผู้ปกครอง การตระหนักว่าตน มีต้นสังกัดเป็นองค์ประกอบ ส�ำคัญในการหล่อหลอมความเป็นอัตลักษณ์ของคน การ ตัดขาดจากสังคมมีส่วนท�ำให้สูญเสียคุณค่าและความเป็น อั ต ลั ก ษ ณ ์ ต น เ อ ง ซึ่ ง ห ล า ย ค น มี ป ร ะ ส บ ก า ร ณ ์ ในตะวันออกกลางเยาวชนหลายคนรู้สึกว่า ตนต้องเปลี่ยน ไปนับถือศาสนาอืน่ เพือ่ ทีต่ นจะได้เป็นทีย่ อมรับของเพือ่ นฝูง และวัฒนธรรมรวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่ครอบง�ำอยู่ในขณะนั้น ความรูส้ กึ เช่นนีเ้ กิดขึน้ อย่างรุนแรงเช่นเดียวกันในหมูผ่ อู้ พยพ ย้ายถิน่ ในทวีปยุโรปซึง่ พวกเขารูส้ กึ ถูกกดดันให้อยูน่ อกสังคม ถูกบีบมิให้แสดงความเป็นอัตลักษณ์ของตน และไม่มีพื้นที่

15


16

ส� ำ หรั บ ก า ร เ ยี ย ว ย า ใ ห ้ ครอบครัวมิให้ตอบโต้ต่อประเด็นนี้ โดยการแสดงว่าควรมีที่ยืนส�ำหรับทุกคน นี่เป็นที่น่าสังเกตว่า อัตลักษณ์ของเยาวชนยังถูก หล่อหลอมด้วยการมีปฏิกริ ยิ าสัมพันธ์จากภายนอก การเป็น สมาชิ ก ภายในกลุ ่ ม พิ เ ศษ สมาคม หรื อ กระบวนการ ขั บ เ ค ลื่ อ น อื่ น ๆ ซี่ ง ก ร ะ ท� ำ ก า ร อ ย ่ า ง เข ้ ม แข็ ง นอกพระศาสนจักรด้วย บางครัง้ พระศาสนจักรและวัดไม่ได้ เป็นสถานที่เชื่อมโยงอีกต่อ่ไป เรายังตระหนักดีว่าบทบาท ของนักอบรมและเพื่อน เช่นผู้น�ำกลุ่มเยาวชนซึ่งอาจเป็น แบบฉบับที่ดีได้ เราจ�ำเป็นต้องหาต้นแบบที่ดี ที่สามารถ ดึงดูดใจผู้อื่น และสร้างความเป็นปึกแผ่น เราจ�ำเป็นต้องมี ค�ำอธิบายที่มีเหตุมีผลและแบบถึงลูกถึงคนส�ำหรับปัญหา ที่ยุ่งยากซับซ้อน – ค�ำตอบง่าย ๆ แบบก�ำปั้นทุบดินนั้น ไม่เพียงพอ ส�ำหรับบางคน บัดนี้ความศรัทธาในศาสนาถือว่า เป็นเรื่องส่วนบุคคล บางครั้งเรารู้สึกว่าอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์ ดูเหมือนจะเป็นอะไรทีแ่ ยกออกไปจากชีวติ ประจ�ำวันของเรา บางครั้งพระศาสนจักรดูออกจะเคร่งเกินไปและบ่อยครั้งแก่ ธรรมะเกินไป บางครั้งในพระศาสนจักรก็พบความยากที่จะ เอาชนะต่ อ ตรรกะที่ ว ่ า “เรื่ อ งนี้ เ คยท� ำ กั น อย่ า งนี้ ม า ก่อนแล้ว” เราต้องการพระศาสนจักรทีใ่ ห้การต้อนรับและมี เมตตา ซึ่งยึดติดอยู่กับรากเหง้าดั้งเดิมของตน มีความ เอื้ อ อาทร และมี ค วามรั ก ต่ อ ทุ ก คน แม้ ค นที่ ไ ม่ ถื อ ตาม มาตรฐานทีท่ กุ คนยอมรับ พวกเขาเหล่านัน้ หลายคนแสวงหา ชีวิตที่มีสันติสุข แต่ลงเอยด้วยการอุทิศตนเองให้กับหลัก ปรัชญาและประสบการณ์ที่เป็นอย่างอื่น สถานที่อื่น ๆ ของการอยู่ในสังกัดได้แก่ กลุ่มต่าง ๆ เช่นกลุ่มเครือข่ายสังคม มิตรสหาย เพื่อนร่วมชั้นเรียน รวมถึงสิง่ แวดล้อมทางสังคมและตามธรรมชาติตา่ ง ๆ มีบาง สถานที่ ซึง่ เราส่วนใหญ่ใช้เวลากันมากทีส่ ดุ บ่อยครัง้ โรงเรียน ไม่ได้สอนให้เรารู้จักคิดแบบมีเหตุมีผล เวลาส�ำคัญที่จะช่วยพัฒนาอัตลักษณ์ของเราได้แก่: การเลือกวิชาเรียน เลือกอาชีพ ตัดสินใจว่าจะเลือกเอา ความเชือ่ แบบไหน การค้นให้พบความหมายด้านเพศสัมพันธ์ และการตั้งปณิธานที่จะเปลี่ยนชีวิต สิ่งอื่นที่สามารถหล่อหลอมและมีผลต่อการอบรม

ความเป็นอัตลักษณ์และบุคลิกภาพของเราคือ ประสบการณ์ของตัวเรากับพระศาสนจักร เยาวชนมักจะคิด และหมกมุ่นอยู่กับเรื่องราวต่าง ๆ เช่น เรื่องเพศ ยาเสพติด การแต่งงานทีล่ ม้ เหลว ครอบครัวทีแ่ ตกแยก รวมไปถึงปัญหา ใหญ่ ๆ ของสังคม เช่น กลุ่มก่ออาชญากรรม การค้ามนุษย์ การใช้ความรุนแรง การฉ้อราษฎร์บังหลวง การเอารัด เอาเปรียบ การฆ่าทารกหญิง การเบียดเบียนทุกรูปแบบ และการเสือ่ มโทรมของธรรมชาติ สิง่ เหล่านีเ้ ป็นความห่วงใยหลัก ส�ำหรับชุมชนที่มีความเสี่ยงทั่วโลก เรามีความกลัวเพราะว่า ในหลายประเทศไม่ มี ค วามปลอดภั ย ในเรื่ อ งของสั ง คม การเมือง และเศรษฐกิจ เมื่อเราต้องเผชิญกับการท้าทายเหล่านี้ จ�ำเป็นต้องมี การรวมตัวกัน ให้การต้อนรับ มีความเมตตาและมีความ อ่ อ นโยนจากพระศาสนจั ก ร ทั้ ง ในฐานะที่ เ ป็ น สถาบั น

และเป็นชุมชนแห่งความเชื่อ

2. ความสัมพันธ์กับผู้อื่น

เยาวชนพยายามหาความหมายของโลกทีส่ ลับซับซ้อน และมีความแตกต่างหลากหลาย เราสามารถเข้าถึงความ เป็นไปได้ที่จะเอาชนะต่อความแตกต่างและการแตกแยก ในโลกได้ แต่ประเด็นนี้จะเป็นไปได้ก็ต้องแล้วแต่ความจริงที่ แตกต่างกันและมากน้อยเท่าใด เยาวชนจ�ำนวนไม่น้อย ที่มองว่าความแตกต่างเป็นความมั่งคั่งและเขาสามารถพบ โอกาสได้ในโลกที่มีความหลากหลายนี้ วัฒนธรรมหลาก หลายคือศักยภาพที่เอื้ออ�ำนวยต่อสิ่งแวดล้อมส�ำหรับการ เสวนาและมี ใจเป็ น กลางหรื อ อหิ ง สา เราให้ คุ ณ ค่ า แก่ ความคิดที่หลากหลายในโลกยุคโลกาภิวัตน์ของเรา เราให้ ความเคารพต่อความคิดและเสรีภาพในการแสดงออกของ ผูอ้ นื่ แต่เราก็ยงั ใคร่ทจี่ ะรักษาวัฒนธรรมทีเ่ ป็นอัตลักษณ์ของ เรา เราหลีกเลี่ยงที่จะท�ำให้วัฒนธรรมทุกวัฒนธรรมเหมือน กันหมดรวมทั้งสิ่งที่เราเรียกกันว่า การละทิ้งวัฒนธรรมด้วย เราไม่ควรทีจ่ ะกลัวความแตกต่าง แต่ชนื่ ชมกับความแตกต่าง ของเราและสิ่งที่ท�ำให้เราเป็นตัวเรา บางครั้งเรารู้สึกว่า


เราถูกตัดออกจากสังคม เพราะเราเป็นคาทอลิกในสังคมที่ เป็นปฏิปกั ษ์ตอ่ ศาสนา เราตระหนักดีวา่ เราจ�ำเป็นต้องเผชิญหน้า กับตัวเราเองและกับผู้อื่น เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ล�้ำลึก ในบางประเทศ คริสตชนเป็นชนส่วนน้อย ในขณะที่ ศาสนาอื่ น มี ช นเป็นส่วนใหญ่ ประเทศที่มีร ากเหง้ า เป็ น คาทอลิกบัดนี้ ก�ำลังค่อย ๆ ปฏิเสธพระศาสนจักรและศาสนา เยาวชนบางคนใช้ความหมายแห่งความเชือ่ ให้เป็นประโยชน์ ต่อโลกยิ่งนับวันยิ่งจะมีความเป็นโลกียวิสัยมากขึ้น ซึ่งทั้ง เสรีภาพ มโนธรรม และศาสนาถูกโจมตี การแบ่งเชื้อชาติ ในระดับต่าง ๆ มีผลกระทบต่อเยาวชนในภูมภิ าคต่าง ๆ ของ โลก แต่พระศาสนจักรก็ยังมีโอกาสที่จะเสนอ“ทางเลือก” ส�ำหรับเยาวชนในการด�ำเนินชีวิต แต่ประเด็นนี้จ�ำเป็นต้อง กระท�ำไปในกรอบสังคม ทีบ่ อ่ ยครัง้ ยุง่ ยาก สลับซับซ้อนมาก ด้วยเหตุนี้บ่อยครั้งจึงยากมากส�ำหรับเยาวชนที่จะ ได้ ยิ น แม้ แ ต่ ส าส์ น แห่ ง พระวรสาร สิ่ ง นี้ มั ก จะเกิ ด ขึ้ น ใน สถานที่ซึ่งความตึงเครียดระหว่างประชาชน ซึ่งอาจกลาย เป็นเรื่องธรรมดา แม้ว่าผู้คนส่วนใหญ่จะนิยมชมชอบความ หลากหลาย ต้องใส่ใจเป็นพิเศษต่อบรรดาพี่น้องชายหญิง ชาวคริสตชนของเราทีก่ ำ� ลังถูกเบียดเบียนอยูท่ วั่ โลก เราร�ำลึก ถึงรากเหง้าความเป็นคริสตชนของเราด้วยเลือดของมรณะ สักขี ในขณะที่เราอธิษฐานภาวนาเพื่อให้การเบียดเบียน จบสิ้นไป เรารู้สึกกตัญญูต่อการเป็นประจักษ์พยานแห่ง ความเชื่อของพวกเขาต่อโลก ยิ่งไปกว่านั้นอีก ยังไม่มีการ ตกลงร่ ว มกั น เกี่ ย วกั บ ปั ญ หาการให้ ก ารต้ อ นรั บ ผู ้ ลี้ ภั ย และผู้อพยพย้ายถิ่นหรือเกี่ยวกับประเด็นที่เป็นเหตุให้เกิดมี การย้ายถิ่นเป็นอันดับแรก แม้จะมีการรับรู้ถึงการเรียกร้อง สากลทั่วโลกให้เราเอาใจใส่กับศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคน ในโลกยุคโลกาภิวตั น์และมีการเสวนาระหว่างศาสนา พระศาสนจักรจ�ำเป็นต้องไม่เพียงแต่วางรูปแบบ แต่จะต้อง อธิบายการชีน้ ำ� ด้านเทวศาสตร์ซงึ่ มีอยูแ่ ล้ว เพือ่ การเสวนาที่ สร้างสันติสุขที่สร้างสรรค์ กับชนทุกความเชื่อทุกวัฒนธรรม

พวกเขา ในหลายท้องที่ ทั่วโลกนี่หมายถึง การหา ความปลอดภัยฝ่ายกาย ส�ำหรับ คนอีกจ�ำพวกหนึ่งนี่หมายถึง การ ได้งานที่ดีหรือการมีชีวิตในรูปแบบ พิเศษ ความฝันทัว่ ไปของคนทัง้ โลกหมาย ถึงการได้พบกับสถานที่ซึ่งเยาวชนสามารถ รู้สึกว่า ตนมีที่สังกัด เราคาดหวังทีจ่ ะมีโอกาสมากกว่าทีจ่ ะเห็น สังคมเป็นปึกแผ่นและให้ความไว้ใจเรา เราอยากให้ ผูค้ นฟังเรา ไม่อยากให้ผคู้ นเป็นแค่ยนื ดูสงั คม แต่เป็น ผู ้ ที่ ใ ห้ ค วามร่ ว มมื อ อย่ า งแข็ ง ขั น เราแสวงหา พระศาสนจักรซึ่งช่วยให้เราพบกับกระแสเรียกของเรา ในความหมายทีแ่ ท้จริง แต่เป็นทีน่ า่ เสียดายไม่ใช่เราทุกคน ที่เชื่อว่าการเป็นนักบุญเป็นสิ่งที่ท�ำให้ส�ำเร็จได้และนี่คือ หนทางแห่งความสุข เราจ�ำเป็นต้องรื้อฟื้นจิตส�ำนึกแห่งการ อยูร่ ว่ มเป็นหมูค่ ณะ เป็นชุมชนซึง่ จะน�ำเราไปสูจ่ ติ ส�ำนึกแห่ง การมีที่สังกัด ความห่วงใยบางประการท�ำให้ชีวิตของเราล�ำบาก เยาวชนหลายคนมีประสบการณ์กบั การฝันร้ายในหลากหลาย รูปแบบ หลายคนยังคงทนทุกข์อยู่ภายใต้ความหนักหน่วง ทางจิตและความพิการฝ่ายร่างกาย พระศาสนจักรควรให้ การสนับสนุนพวกเราให้ดกี ว่านี้ โดยหาหนทางทีจ่ ะช่วยเหลือ เยียวยาพวกเขา ในบางภูมิภาคของโลก หนทางเดียวที่จะมี อนาคตคื อ มี ก ารศึ ก ษาที่ สู ง กว่ า หรื อ ต้ อ งท� ำ งานหนั ก หามรุ่งหามค�่ำ ในขณะที่สิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งก็ ยังไม่อาจเป็นไปได้เสมอไป เนื่องจากสิ่งแวดล้อมมากมาย หลายอย่าง ซึ่งเยาวชนตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อ อ�ำนวย ข้อเท็จจริงนีเ้ ป็นทีท่ ราบกันดีทว่ั ไป จึงเป็นผลกระทบ ต่ อ ความเข้ า ใจในเรื่ อ งการท� ำ งานของเขา แม้ นี่ จ ะเป็ น ความจริง เยาวชนก็ยงั ใคร่ขอยืนยันถึงศักดิศ์ รีภายในของการ ท�ำงาน เรากลัวเกินไปและเราบางคนก็เลิกทีจ่ ะฝัน เราจะพบ ประเด็นนี้ได้จากการความกดดันทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งดูดจิตตารมณ์แห่งความหวังอย่างรุนแรงในหมู่เยาวชน บางครั้งเราไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะฝันด้วยซ�้ำไป ด้วยเหตุนี้เยาวชนจึงพยายามที่จะหาทางจัดการกับ 3. เยาวชนกับอนาคต ประเด็นความยุตธิ รรมในสังคมในยุคของเรา เราพยายามหา เยาวชนใฝ่ฝันถึงความปลอดภัย ความมั่นคง ความ โอกาสท�ำงานเพื่อสร้างโลกที่ดีกว่า ในบริบทนี้ค�ำสอนด้าน ส�ำเร็จ หลายคนหวังว่า จะมีชวี ติ ทีด่ กี ว่าส�ำหรับครอบครัวของ สังคมของพระศาสนจักรเป็นเครื่องมือที่จะให้ความรู้ได้เป็น

17


18

อย่ า งดี ส�ำหรับเยาวชนซึง่ ใคร่ที่ จะติดตามกระแสเรียก เราต้องการโลก ที่มีสันติสุข โลกที่สร้างความสมดุลให้กับระบบ นิเวศน์ควบคู่ไปกับความยั่งยืนแห่งเศรษฐกิจโลก ส�ำหรับ เยาวชนทีม่ ชี วี ติ อยูใ่ นภูมภิ าคโลกทีไ่ ม่มคี วามมัน่ คงและมีแต่ ความเสี่ยง ยังมีความหวังและความคาดหวังว่า จะมีการ กระท� ำ ที่ เ ป็ น รู ป ธรรมจากภาครั ฐ และจากภาคสั ง คม กล่าวคือ การยุติสงครามและการคอรัปชั่น จัดการเรื่องการ เปลี่ยนแปรของสภาพภูมิอากาศ ความไม่เท่าเทียมในสังคม และความปลอดภัย สิ่งส�ำคัญที่ควรตั้งข้อสังเกตคือ ไม่ว่า สังคมจะเป็นอย่างไร ทุกคนต่างมีความปรารถนาภายใน อันเดียวกันเพือ่ อุดมการณ์ทดี่ กี ว่า ซึง่ ได้แก่ สันติสขุ ความรัก ความไว้ใจ ความเท่าเทียม เสรีภาพ และความยุติธรรม เยาวชนใฝ่ฝนั ทีจ่ ะมีชวี ติ ทีด่ กี ว่า แต่หลายคนถูกบังคับ ให้ตอ้ งอพยพเพือ่ หาสภาพเศรษฐกิจและสิง่ แวดล้อมทีด่ กี ว่า พวกเขาหวังทีจ่ ะมีสนั ติสขุ หรือหลงใหลเป็นพิเศษกับ “ความ เจริญของโลกตะวันตก” ซึง่ ถูกวาดไว้โดยสือ่ สารสังคม ความ ใฝ่ฝนั ของเยาวชนอาฟริกนั คือใฝ่ฝนั ทีจ่ ะเห็นพระศาสนจักร ท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองได้ พระศาสนจักรที่ไม่ต้องการ ความช่ ว ยเหลื อ เพื่ อ ช่ ว ยให้ ต นเองอยู ่ ไ ด้ แต่ เ ป็ น พระศาสนจั ก รที่ ม อบชี วิ ต ให้ กั บ ชุ ม ชน แม้ จ ะมี ก ารใช้ ความรุนแรงแทบจะไม่หยุดหย่อน เยาวชนก็ยังมีความหวัง ในตะวันตกหลายประเทศความฝันของพวกเขามีศูนย์กลาง อยู่ที่การพัฒนาส่วนตัวและความส�ำเร็จของตน ในสถานทีต่ า่ ง ๆ หลายแห่ง ยังมีชอ่ งว่างมากระหว่าง ความปรารถนาของเยาวชนและความสามารถของพวกเขา ที่จะท�ำการตัดสินใจระยะยาว

4. ความสัมพันธ์กับเทคโนโลยี เมือ่ พูดถึงเทคโนโลยีเราต้องเข้าใจว่า นีค่ อื ดาบสองคม ขณะที่ความเจริญก้าวหน้าสมัยใหม่ของเทคโนโลยีก้าวไกล และช่วยให้ชวี ติ ของเราอยูด่ ขี นึ้ เราต้องฉลาดทีจ่ ะใช้เครือ่ งมือ

เหล่านี้ นีก่ เ็ หมือนกันกับทุกสิง่ ถ้าการใช้สงิ่ เหล่านี้ แบบไม่ลืมหูลืมตาอาจมีผลร้ายได้ ส�ำหรับบางคนเทคโนโลยี ช่วยสร้างความสัมพันธ์ แต่ส�ำหรับอีกบางคนมันท�ำให้เกิด การเสพติด เพราะหลายคนน�ำอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้แทน ความสัมพันธ์กบั เพือ่ นมนุษย์หรือแม้แต่กบั พระเจ้า อย่างไรก็ตาม บัดนี้เทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเยาวชนไปแล้ว เราต้องเข้าใจว่า เป็นเช่นนั้นจริง แต่เป็นเรื่องเหลือเชื่อ เหมือนกันทีใ่ นบางประเทศเทคโนโลยีโดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต เข้าถึงง่ายมาก ในขณะทีค่ วามจ�ำเป็นขัน้ พืน้ ฐานทีส่ ดุ ในชีวติ กลับขาดหายไป ผลกระทบของสื่อสารสังคมในชีวิตเยาวชน ไม่อาจ ทีจ่ ะมองข้ามไปได้ สือ่ สารสังคมคือส่วนส�ำคัญแห่งความเป็น อัตลักษณ์และวิถีชีวิตของเยาวชน สิ่งแวดล้อมดิจิตอลมี ศักยภาพยิ่งใหญ่มากในการรวบรวมเยาวชนทั่วโลกให้เป็น หนึง่ เดียวกันชนิดทีไ่ ม่เคยปรากฏมาก่อนไม่วา่ จะอยูห่ า่ งไกล กันแค่ไหนในเชิงภูมศิ าสตร์ การแลกเปลีย่ นข้อมูล อุดมการณ์ คุณค่า และผลประโยชน์รว่ มกันบัดนีเ้ ป็นไปได้ทงั้ สิน้ การเข้า ถึงเครื่องมือการเรียนรู้ออนไลน์เปิดโอกาสให้กับการศึกษา หาความรู ้ ส� ำ หรั บ เยาวชนที่ อ ยู ่ ห ่ า งไกลจนท� ำ ให้ ค วามรู ้ ทั้งหมดของโลกอยู่แค่ปลายนิ้ว แต่ว่าการเป็นดาบสองคมของเทคโนโลยีจะปรากฏ ชั ด เจนเมื่ อ น� ำ ไปสู ่ ก ารพั ฒ นาความชั่ ว ร้ า ยบางอย่ า งที่ อันตรายนี้จะปรากฏให้เห็นโดยการอยู่อย่างสันโดษ ความ เกียจคร้าน ความหมดอาลัยตายอยาก และความเบื่อหน่าย ปรากฏชั ด เจนว่ า เยาวชนทั่ ว โลกเสพสื่ อ กั น มากเกิ น ไป แม้ส�ำหรับผู้ที่อยู่ในโลกแห่งสังคมชั้นสูง การสื่อสารระหว่าง เยาวชนก็ ยั ง มี ขี ด จ� ำ กั ด ส� ำ หรั บ ผู ้ ที่ มี ค วามคล้ า ยคลึ ง กั บ พวกเขา ยังขาดพืน้ ทีแ่ ละโอกาสทีจ่ ะเผชิญกับความแตกต่าง วั ฒ นธรรมแห่ ง สื่ อ สารสั ง คมยั ง มี อิ ท ธิ พ ลมากต่ อ ชี วิ ต และอุดมการณ์ของเยาวชน บทบาทสื่อสารสังคมน�ำไปสู่ การท้าทายใหม่ถงึ ขัน้ ทีว่ า่ บริษทั สือ่ สารสังคมยุคใหม่มอี ำ� นาจ กระทั่งเหนือชีวิตเยาวชน บ่อยครัง้ เยาวชนพยายามทีจ่ ะแยกพฤติกรรมของตน ในสังคมออนไลน์และสังคมนอกออนไลน์ จ�ำเป็นต้องอบรม ให้เยาวชนรู้จักด�ำเนินชีวิตดิจิตอลของตน ความสัมพันธ์ ออนไลน์อาจเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่เป็นแบบมนุษย์ พื้นที่ ดิ จิ ต อลท� ำ ให้ เราตาบอดมองไม่ เ ห็ น พิ ษ ภั ย ของมนุ ษ ย์ อีกคนหนึ่ง และกีดกั้นไม่ให้เราพิจารณาตนเอง ปัญหาเช่น ภาพเปลือยกายจะท�ำให้ความเข้าใจด้านเพศสัมพันธ์ของ


เยาวชนบิดเบือนไปได้ การใช้เทคโนโลยีท�ำนองนี้สร้างภาพ หลอกลวงที่ไม่ค�ำนึงถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ นอกนั้นยังมีความเสี่ยงอย่างอื่นอีก : การสูญเสีย อัตลักษณ์ทเี่ ชือ่ มโยงกับการแสดงอัตลักษณ์ของปัจเจกบุคคล อย่างบิดเบือน การสร้างบุคลิกภาพของบุคคลแบบฉาบฉวย ผิวเผิน และการสูญเสียมิติของการอยู่ในสังคมอย่างถูกต้อง ยิ่งไปกว่านั้นยังมีความเสี่ยงระยะยาวอีก : การสูญเสีย ความจ�ำ วัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์ต่อการเข้าถึง ข่าวสารข้อมูล และการสูญเสียสมาธิที่เชื่อมโยงกับเรื่องราว ที่ ไ ม่ เ ป็ น เรื่ อ ง นอกจากนี้ แ ล้ ว ยั ง มี เรื่ อ งของวั ฒ นธรรม และเผด็จการแห่งสิ่งที่ปรากฏภายนอกอีกด้วย การสนทนาโดยอาศัยเทคโนโลยีไม่ได้จ�ำกัดอยู่แค่ อินเทอร์เน็ตเท่ า นั้ น ในโลกชี ว ะศาสตร์ เ ทคโนโลยี ก็ เ ปิ ด การท้าทายใหม่ซึ่งมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิต มนุษย์ในทุกขัน้ ตอน การเข้ามาของสิง่ ประดิษฐ์ทเี่ ป็นปัญญา นวั ต กรรมใหม่ และเทคโนโลยี ใ หม่ ๆ เช่ น หุ ่ น ยนต์ และเครื่องจักรอัตโนมัติสร้างความเสี่ยงให้กับโอกาสการ ท�ำงานส�ำหรับกลุ่มชั้นกรรมาชน เทคโนโลยีอาจเป็นภัยต่อ ศักดิศ์ รีของความเป็นมนุษย์ หากใช้อย่างปราศจากมโนธรรม และความระมัดระวังหากไม่ค�ำนึงว่า ศักดิ์ศรีของความเป็น มนุษย์ต้องเป็นศูนย์กลางเสมอ เราขอเสนอ 2 ประการที่ เ ป็ น รู ป ธรรมส� ำ หรั บ เทคโนโลยี ประการแรก ต้ อ งมี ก ารเสวนากั บ เยาวชน พระศาสนจักรควรทบทวนเทคโนโลยีเพื่อช่วยเราในการ แยกแยะการใช้ ป ระโยชน์ จ ากสิ่ ง เหล่ า นั้ น นอกจากนี้ พระศาสนจักรควรมองเทคโนโลยีโดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตว่า เป็นเครือ่ งมือทีเ่ หมาะสมมากส�ำหรับการประกาศพระวรสาร ใหม่ ผลของการไตร่ตรองเหล่านี้ควรน�ำมารวบรวมให้เป็น เอกสารของพระศาสนจักร ประการทีส่ อง พระศาสนจักรควร จัดการกับวิกฤตที่ขยายกว้างเกี่ยวกับรูปภาพที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการล่วงละเมิดเพศผู้เยาว์แบบออนไลน์ การข่มขู่กัน ทางไซเบอร์ และความเสียหายที่เกิดกับมนุษยชาติของเรา

จะไม่สร้างการเชือ่ มโยง กันระหว่างชีวติ กับสิง่ เหนือ ธรรมชาติ เยาวชนจ�ำนวนมาก เมื่อสูญเสียความไว้ใจในสถาบัน แล้ ว ก็ เ ลยกลายเป็ น บุ ค คลไร้ สั ง กั ด กั บ ศาสนาและจะไม่ ม องตนเองว่ า เป็นคนมี “ศาสนา” ถึงกระนัน้ เยาวชนหลาย คนก็ยังเปิดใจให้กับเรื่องราวฝ่ายจิตวิญญาณ เราพบว่ามีหลายคนเหมือนกันที่บ่นว่า เยาวชนแสวงหาค� ำ ตอบความหมายของชี วิ ต ในบริบทของความเชื่อและพระศาสนจักรน้อยมาก ในหลายภู มิ ภ าคทั่ ว โลกเยาวชนให้ ค วามหมายชี วิ ต ทีก่ ารท�ำงานและความส�ำเร็จส่วนตัว การยากทีจ่ ะพบกับ ความมั่ น คงในบริ บ ทเหล่ า นี้ สร้ า งความไม่ ป ลอดภั ย และความกังวลร้อนใจ หลายคนต้องอพยพแสวงหาที่ใหม่ เพื่อท�ำงาน ส่วนคนอื่น ๆ เป็นเพราะความไม่มั่นคงทาง เศรษฐกิจ จึงละทิ้งครอบครัวและวัฒนธรรมของตนไป ในที่สุด คนอื่น ๆ พากันตั้งข้อสังเกตว่า ในขณะที่ เยาวชนถามเกี่ยวกับความหมายชีวิต นั่นไม่ได้หมายความ เสมอไปว่า พวกเขาพร้อมทีจ่ ะปวารณาตนเองอย่างเด็ดเดีย่ ว ต่อพระเยซูคริสตเจ้าหรือต่อพระศาสนจักร ทุกวันนี้ศาสนา ไม่ได้เป็นจุดใหญ่ที่เยาวชนใช้แสวงหาความหมาย บ่อยครั้ง พวกเขาหันไปหาเหตุการณ์หรืออุดมการณ์ใหม่ ๆ การเป็น ทีส่ ะดุดทีบ่ อกว่า มาจากพระศาสนจักรทัง้ เป็นสิง่ จริงและสิง่ ที่คิดว่าจริง ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อความเชื่อมั่นของ เยาวชนต่อพระศาสนจักรและสถาบันต่าง ๆ ทีเ่ ป็นหน่วยงาน ของพระศาสนจักร พระศาสนจักรสามารถมีบทบาทที่ส�ำคัญมากในการ สร้างหลักประกันว่า เยาวชนเหล่านี้ไม่ได้ถูกทอดทิ้งแต่ให้ พวกเขารูส้ กึ ว่า ตนได้รบั การยอมรับ สิง่ นีจ้ ะเกิดขึน้ ได้เมือ่ เรา ส่งเสริมศักดิ์ศรีของสตรีทั้งในพระศาสนจักรและในสังคม วงกว้าง ทุกวันนี้มีปัญหาทั่วไปในสังคมที่ว่า สตรียังไม่ได้รับ ความเท่าเทียม ประเด็นนี้เป็นความจริง ประเด็นนี้เป็น ความจริงเช่นเดียวกันในพระศาสนจักร ซึง่ มีตวั อย่างมากมาย ทีส่ ตรีรบั ใช้ในคณะนักบวชผูถ้ วายตนและมีบทบาทเป็นผูน้ ำ� สตรีในบรรดาฆราวาส กระนั้นส�ำหรับสตรีบางคน เรามอง 5. การแสวงหาความหมายของชีวิต ไม่เห็นตัวอย่างเหล่านี้ ค�ำถามส�ำคัญประการหนึ่งเกิดจาก เมื่อถามเยาวชนหลายคนว่า “ความหมายแห่งชีวิต การไตร่ตรองเหล่านี้ : ยังมีสถานทีใ่ ดบ้างทีส่ ตรีสามารถแสดง ของเธอคืออะไร?” พวกเขาไม่รวู้ า่ จะตอบอย่างไร พวกเขามัก บทบาทส�ำคัญในพระศาสนจักรและในสังคม? พระศาสนจักร

19


สามารถเข้าถึง ป ั ญ ห า นี้ ไ ด ้ ด ้ ว ย ก า ร อภิปรายกันอย่างจริงจังและเปิดใจกว้าง ให้กับความคิดและประสบการณ์ต่าง ๆ บ่อยครัง้ จะมีความขัดแย้งกันในหมูเ่ ยาวชนทัง้ ภายใน พระศาสนจักรและในโลกอันกว้างใหญ่เกี่ยวกับค�ำสอนบาง ประการของพระศาสนจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่ก�ำลัง มีการถกเถียงกันอยู่ในทุกวันนี้ ยกตัวอย่าง การคุมก�ำเนิด การท�ำแท้ง การรักเพศเดียวกัน การอยูด่ ว้ ยกันก่อนแต่งงาน ชีวติ ครอบครัว และความเป็นพระสงฆ์ถกู มองในความจริงที่ แตกต่างกันอย่างไรในพระศาสนจักร สิ่งส�ำคัญที่ต้องตั้งข้อ สังเกตคือ ความเข้าใจในค�ำสอนของพระศาสจักรทุกระดับ ชีวิตไม่ว่าจะมากน้อยเท่าใด ก็ยังมีความเห็นพ้องไม่ตรงกัน และมีการโต้เถียงและอภิปรายกันต่อไปในหมู่เยาวชนเกี่ยว กับประเด็นเหล่านี้ ผลที่ตามมาคือ พวกเขาอาจต้องการให้ พระศาสนจักรเปลี่ยนแปลงค�ำสอนหรืออย่างน้อยก็ขอให้มี ค�ำอธิบายที่ดีกว่าและให้มีการอบรมกันมากขึ้นในประเด็น เหล่านี้ แม้วา่ จะมีการโต้เถียงกันภายในเยาวชนคาทอลิกทีม่ ี ความเชื่อขัดแย้งกับค�ำสอนทางการ พวกเขาก็ยังคงอยาก ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของพระศาสนจักร เยาวชนคาทอลิก หลายคนยอมรับค�ำสอนเหล่านี้และพวกเขาได้พบกับแหล่ง

20

แห่งความชืน่ ชมยินดี พวกเขาไม่เพียงแต่ตอ้ งการ ให้พระศาสนจักรยึดมั่นอยู่กับค�ำสอนเหล่านี้ ท่ามกลาง ความไม่เป็นทีน่ ยิ มเท่านัน้ แต่อยากให้มกี ารประกาศออกมา ด้วยค�ำสอนที่มีความล�้ำลึกเข้าใจได้มากกว่าเดิม บรรยากาศทั่วทั้งโลก ความสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ ์ ดูคอ่ นข้างจะซับซ้อน คริสตศาสนาคาทอลิกบ่อยครัง้ ถูกมองว่า เป็นอะไรทีเ่ ป็นเรือ่ งราวของอดีต และคุณค่าหรือความเหมาะสม ต่อชีวิตของเราไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ ในขณะเดียวกันใน ชุ ม ชนบางแห่ ง ความส� ำ คั ญ อั น ดั บ แรกถู ก มอบให้ กั บ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะชีวิตประจ�ำวันถูกสานทอติดกับเรื่องราว ทางศาสนา ในบางบริบทแห่งทวีปเอเชียความหมายของชีวติ สามารถเชื่อมโยงติดกับปรัชญาตะวันออก สุดท้าย พวกเราหลายคนมีความต้องการอย่างรุนแรง ที่จะรู้จักพระเยซูคริสต์ แต่บ่อยครั้งเราต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อที่ จะทราบว่า มีแต่พระองค์ผู้เดียวที่เป็นต้นตอแห่งการค้นพบ ตนเองที่แท้จริง เพราะนี่เป็นความสัมพันธ์กับพระองค์ ซึ่ง ในทีส่ ดุ แล้ว มนุษย์จะสามารถค้นพบตนเอง ดังนัน้ เราจึงพบว่า เยาวชนต้ อ งการเห็ น ประจั ก ษ์ พ ยานชี วิ ต ที่ แ ท้ จ ริ ง คื อ หนุ่มสาวชายหญิง ที่แสดงความเชื่อของตนอย่างกล้าหาญ และมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ พระเยซู ค ริ ส ต์ ในขณะเดี ย วกั น พวกเขาก็สนับสนุนให้ผู้อื่นเข้าหา พบปะ และตอบตกลงใน ความรักกับพระเยซูคริสต์ด้วยตัวของพวกเขาเอง...


l

โดยซิสเตอร์วิรินทิพย์ อินทรแย้ม

เยาวชนกับสื่อ... จากข้อมูลจาก The Media Literacy Projects of Songkhla Youths : เยาวชนสงขลาเท่าทันสื่อได้กล่าวถึง ความส�ำคัญของสื่อที่มีต่อชีวิตของเยาวชน ไว้ว่า “ไม่มีใคร ปฏิเสธว่า สื่อเป็นปัจจัยหนึ่งที่อยู่ในวิถีชีวิตของเยาวชน และส่งผลต่อความคิดและพฤติกรรมจริง ๆ เราไม่สามารถ ป้ อ งกั น สื่ อ ที่ ส ร้ า งผลกระทบด้ า นลบกั บ ชี วิ ต เยาวชนได้ ขณะเดียวกัน สื่อก็เป็นเครื่องมือในการเปิดโลกทัศน์ เข้าถึง ข้อมูลและให้การรับรูถ้ งึ สิง่ ต่าง ๆ ในโลกใบนีไ้ ด้ อิทธิพลของ สื่อจึงมีผลกับชีวิตในระดับเซลล์สมอง ในระดับจิตวิญญาณ แต่ปรากฏการณ์ที่ผ่านมานั้น เยาวชนส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ ผู้เสพสื่อ สื่อจึงเป็นส่วนหนึ่งของเยาวชน และเยาวชนเป็น ส่วนหนึ่งของสื่อ เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับเยาวชน แน่นแฟ้นอย่างนีแ้ ล้ว พลังของสือ่ ย่อมมีอำ� นาจเหนือกว่าพลัง ของเยาวชนเป็นแน่ หากย้อนกลับไปในยุคแรกของการศึกษาทฤษฎีทาง ด้านสื่อมวลชนพบว่า นักคิดส่วนใหญ่เชื่อในพลังอ�ำนาจ ของสื่อ ซึ่งมีทฤษฎีอธิบายได้คือ ทฤษฎีกระสุนปืน (Magic Bullet Theory) ต้นก�ำเนิดของทฤษฎีกระสุนปืนนัน้ มาจาก ภาคปฏิบตั กิ ารพิเศษชนิดหนึง่ ทีเ่ รียกว่า “การโฆษณาชวนเชือ่ ” (Propaganda) ในบริบทพิเศษช่วงหนึง่ ในภาวะสงครามของ สังคมตะวันตก แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับทฤษฎีนี้เชื่อว่า “สื่อมี อิทธิพลอย่างมหาศาล” ต่อผู้รับสาร สิ่งใดที่ใส่ไว้ในสื่อ จะ สามารถพุ่งเข้าใส่ผู้รับสารได้อย่างได้ผลทันทีทันใด แล้วยังมี ทฤษฎี ท างด้ า นสั ง คมศาสตร์ ที่ ห นุ น หลั ง แนวคิ ด “การ โฆษณาชวนเชื่อ” คือ Behaviorism ทฤษฎีนี้มีชื่อเรียกอีก อย่างหนึง่ ว่า Stimulus Response Theory (หรือ S-R Theory) เรื่ อ งสิ่ ง เร้ า -ตอบสนองที่ อ ธิ บ ายพฤติ ก รรมของสั ต ว์ นั้ น สามารถน�ำมาใช้อธิบายกับมนุษย์ได้เช่นกัน นักทฤษฎีสอื่ สาร

มวลชนจะพิจารณาว่า ตัวสื่อนั้นจะท�ำหน้าที่ประดุจ สิ่งเร้าภายนอก (Stimulus) ที่สามารถกระตุ้นให้เกิด ปฏิกริยาตอบสนองแบบต่าง ๆ ได้ และอีกทฤษฎีที่ส�ำคัญ คือ Freudianism โดย Freud เชือ่ ว่า การกระท�ำต่าง ๆ ของ มนุษย์ มีผลมาจากกระบวนการท�ำงานทางจิตของมนุษย์ซึ่ง ประกอบด้วย 3 ระบบ คือ Id เป็นตัวแทนของสัญชาตญาณ ทีเ่ ป็นความต้องการทีไ่ ร้เหตุผลของมนุษย์ Superego ซึง่ เป็น ตัวแทนของกฏระเบียบทางสังคม และ Ego ซึง่ เป็นผูป้ ระสาน ความต้องการระหว่าง 2 ฝ่าย จากแนวคิดดังกล่าว นักทฤษฎี ด้านการโฆษณาชวนเชื่อได้น�ำเอาทฤษฎี Freudian มาใช้ อธิบายผลในทางลบที่เกิดจากอิทธิพลของสื่อมวลชนว่า งานโฆษณาชวนเชื่ อ ที่ จ ะใช้ ใ ห้ ไ ด้ ผ ลก็ คื อ งานโฆษณา ที่สามารถจะกระตุ้นพลังจาก Id ให้ตื่นตัวขึ้นมาจน Ego ไม่อาจควบคุมได้…”

21


22

พระสันตะปาปา ฟรั ง ซิ ส ได้ ท รงตรั ส เกี่ ย วกั บ ความสั ม พั น ธ์ ข องเยาวชนกั บ เทคโนโลยี ในเอกสารการประชุมก่อนการประชุมสมัชชาซีน็อด ณ กรุงโรม วันที่19-24 มีนาคม ค.ศ.2018 ว่าดังนี้ “...เมื่อ พูดถึงเทคโนโลยีเราต้องเข้าใจว่า นี่คือดาบสองคม ขณะที่ ความเจริ ญ ก้ า วหน้ า สมั ย ใหม่ ข องเทคโนโลยี ก ้ า วไกล และช่วยให้ชวี ติ ของเราอยูด่ ขี น้ึ เราต้องฉลาดทีจ่ ะใช้เครือ่ งมือ เหล่ านี้นี่ก็เหมื อนกันกับทุกสิ่ง ถ้าการใช้สิ่งเหล่านี้แ บบ ไม่ลืมหูลืมตา อาจมีผลร้ายได้ส�ำหรับบางคนเทคโนโลยี ช่วยสร้างความสัมพันธ์ แต่ส�ำหรับอีกบางคนมันท�ำให้เกิด การเสพติด เพราะหลายคนน�ำอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้แทน ความสัมพันธ์กบั เพือ่ นมนุษย์หรือแม้แต่กบั พระเจ้า อย่างไรก็ตาม บัดนี้เทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเยาวชนไปแล้ว เราต้ อ งเข้ า ใจว่ า เป็ น เช่ น นั้ น จริ ง แต่ เ ป็ น เรื่ อ งเหลื อ เชื่ อ เหมือนกันทีใ่ นบางประเทศเทคโนโลยีโดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต เข้าถึงง่ายมาก ในขณะทีค่ วามจ�ำเป็นขัน้ พืน้ ฐานทีส่ ดุ ในชีวติ กลับขาดหายไป ผลกระทบของสื่อสารสังคมในชีวิตเยาวชน ไม่อาจ ทีจ่ ะมองข้ามไปได้ สือ่ สารสังคมคือส่วนส�ำคัญแห่งความเป็น อั ต ลั ก ษณ์ แ ละวิ ถี ชี วิ ต ของเยาวชน สิ่ ง แวดล้ อ มดิ จิ ต อล มีศกั ยภาพยิง่ ใหญ่มากในการรวบรวมเยาวชนทัว่ โลกให้เป็น หนึง่ เดียวกันชนิดทีไ่ ม่เคยปรากฏมาก่อนไม่วา่ จะอยูห่ า่ งไกล กันแค่ไหนในเชิงภูมศิ าสตร์ การแลกเปลีย่ นข้อมูล อุดมการณ์ คุ ณ ค่ า และผลประโยชน์ ร ่ ว มกั น บั ด นี้ เ ป็ น ไปได้ ทั้ ง สิ้ น การเข้าถึงเครื่องมือการเรียนรู้ออนไลน์ เปิดโอกาสให้กับ การศึกษาหาความรู้ส�ำหรับเยาวชนที่อยู่ห่างไกลจนท�ำให้ ความรู้ทั้งหมดของโลกอยู่แค่ปลายนิ้ว…” (ข้อ 4)

จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเราทุกคนต่าง เผชิ ญ หน้ า กั น อยู ่ นี้ ข ้ อ มู ล ของ ธาม เชื้ อ สถาปนศิ ริ นักวิชาการ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) ซึ่งเขียนถึง การเปิด 5 แนวคิดรู้เท่าทันสื่อ-รู้ทันตัวเอง ก่อนโพสต์ ไลค์ แชร์ คงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็นอ้ ย ต่อท่านผูอ้ า่ นทุกท่าน และต่อผู้อบรมทุกคนที่ท�ำงานท่ามกลางเยาวชน ณ ยุค ปั จ จุ บั น ในการอยู ่ เ คี ย งข้ า งและช่ ว ยพวกเขาให้ พั ฒ นา ศักยภาพ บรรลุถึงโครงการชีวิตที่พระเจ้าทรงมีต่อเขา การรูเ้ ท่าทันสือ่ ในยุคสือ่ เก่า มักพูดถึงการรูเ้ ท่าทันสือ่ ในแบบ "เท่าทันผลกระทบ จิตวิทยา การถูกครอบครอง ครอบง�ำ" และการตั้งค�ำถามว่า สื่อนั้นต้องการอะไรจากเรา ทว่าการรู้เท่าทันสื่อใหม่ในยุคคอนเวอร์เจ๊นซ์นั้น "แตกต่าง กัน" เพราะสื่อใหม่นั้นก้าวเข้าสู่ความเป็น "โลกของผู้ใช้สื่อ" (user generated content) ซึ่งหมายความว่า เราเป็นทั้ง ผู้ชม ผู้อ่าน ผู้ฟัง และกลายเป็นผู้คิด เขียน บอก เล่า แชร์ ส่งต่อออกไปด้วย

ดังนั้นการรู้เท่าทันสื่อในยุคปัจจุบัน จึงควรพูดถึง การรู้เท่าทัน "ตัวเราเอง" มากกกว่า คุณธาม ได้แบ่งการ รู้เท่าทันสื่อ ในยุคสื่อใหม่ ที่เราควรจะเท่าทัน ดังนี้

1. มิติพื้นที่ (space) : เราใช้มันบนพื้นที่แบบไหน? คือความตระหนักว่า พื้นที่ของสื่อใหม่นั้น มิใช่พื้นที่ส่วนตัวหรือสาธารณะอย่างใด อย่างหนึง่ แต่มนั คือ "พืน้ ทีส่ ว่ นตัวบนพืน้ ทีส่ าธารณะ" เหมือนเรา นั่งร้านกาแฟในห้างสรรพสินค้า หรือทานอาหารในร้าน อาหาร สถานทีแ่ ห่งนัน้ "เราแค่มคี วามรูส้ กึ ว่าเป็นส่วนตัวของ เรา" ทว่าที่จริงแล้วไม่ใช่ พื้นที่นั้นมีคนสร้างขึ้นมาให้เราใช้ ต่างหาก เราเพียงแค่รู้สึกเป็นเจ้าของเท่านั้น เพราะฉะนั้น ทุก ๆ อย่างที่เราคิด โพสต์ขึ้นไป จึงไม่ใช่ในขอบเขตพื้นที่ ส่วนตัว แต่เป็นพื้นที่สาธารณะ มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก เจ้าของเฟซบุ๊ก เคยเขียนไว้ว่า "ตอนที่ผมสร้างเฟซบุ๊กขึ้นใหม่ ๆ ก็คิดว่าใครจะมาพูดเรื่อง


ส่วนตัวบนเฟซบุ๊ก แต่ในภายหลังก็เข้าใจได้ว่า ผู้คนต้องการ พูดเรื่องส่วนตัวนั้น ๆ ให้คนทั้งโลก หรืออย่างน้อยก็เพื่อน ๆ ในสังคมเขาได้ยินกัน มิเช่นนั้น เขาก็คงไม่เขียน และโพสต์ มันหรอก"

2. มิติเวลา (time) :

กายเนื้อ กายจิต" เรา วางต� ำ แหน่ ง แห่ ง ที่ มั น ไว้ ตรงไหนอย่างไร? (2) เรามี ตั ว ตนเดี ย ว หรื อ หลาย ๆ ตั ว ตน? วั ย รุ ่ น สมั ย นี้ หรือผู้ใหญ่บางคนรู้สึกว่า ตนเองสามารถ สร้างตัวตนจ�ำลอง ร่างอวตารได้หลาย ๆ ตัว นัน่ อาจเป็นข้อดีและข้อแย่ เพราะคนในปัจจุบนั จะมีอัตลักษณ์บุคคลหลากหลายมากขึน้ ซึง่ มัน แย่แน่ ๆ ถ้าคุณเริม่ ทีจ่ ะ"สับสน" กับการสร้างอัตลักษณ์ ของคุณในเฟซบุก๊ ถ้ามันแตกต่างกันมาก มันก็ย่อม ส่งผลเชิงจิตวิทยาอัตลักษณ์ตวั ตนของคุณ (3) เรามีความสับสนเรื่องอัตลักษณ์ตัวตนหรือไม่ ระหว่าง ตัวตนที่เราอยากจะเป็น ตัวตนที่คนอื่นมองเรา จริง ๆ ตัวตนทีเ่ ราอยากให้คนอืน่ มองและตัวตนทีเ่ ราเป็นจริง ๆ ที่ผู้คนในโลกปัจจุบันให้ความส�ำคัญว่า "การสร้างอัตลักษณ์ และการสร้างชื่อเสียง และสถานะ" นั้นกลายเป็นเรื่อง เดียวกัน อันตรายจึงอยูท่ วี่ า่ "ตัวตนและชือ่ เสียง สถานะทาง สังคมในโลกสือ่ ใหม่นนั้ อาจกร่อนท�ำลายอัตลักษณ์ทแี่ ท้จริง ของความเป็นคุณ" คนทีไ่ ม่ระมัดระวังเพียงพอ จะถูก"ผูค้ นในโลกสือ่ ใหม่/ สื่อสังคมครอบง�ำ" และคุณอาจจะพยายามท�ำทุกอย่าง เพื่อให้ "คนอื่น ๆ ที่คุณไม่รู้จักชื่นชอบ" น่าเสียดายที่ตัวคุณ จะโดนครอบง�ำจากคนอื่น คนที่พวกเขาเหล่านั้นก็พยายาม สร้างตัวตนหลอก ๆ จ�ำลองขึ้นมาเหมือนกัน ปัญหานีย้ งั มีเรือ่ งง่าย ๆ เช่น ผูค้ น "ใช้อตั ลักษณ์บคุ คล เทียม/นิรนาม" เพือ่ หวังผลก่อการร้าย ล่อลวง และอาชญากร อื่ น ๆ ซึ่ ง เป็ น สิ่ ง ที่ คุ ณ ควรจะรู ้ ว ่ า "เห็ น หน้ า ไม่ รู ้ จั ก ชื่ อ เจอกันไม่รู้จักใจ" ไว้ใจใคร ๆ ก็ล�ำบากในโลกออนไลน์!

เราใชั มั น มากน้ อ ยเพี ย งใด? มนุ ษ ย์ ใ นยุ ค สั ง คม สารสนเทศใช้เวลากับสื่อมากขึ้น ทั้งในพฤติกรรรมการใช้สื่อ หลากหลายช่ อ งทางในเวลาเดี ย วกั น และท� ำ กิ จ กรรม หลายอย่างพร้อม ๆ กัน (multi-platform & multi-tasking) ดังนั้น การรู้เท่าทันสื่อใหม่จึงหมายความว่า "คุณรู้ว่าใช้เวลา กับมันมากเกินไป หรือควรรู้ว่าเวลาใดควรใช้หรือควรใส่ใจ กับกิจกรรมอื่น ๆ บ้าง" ผู ้ ค นในโลกสื่ อ ใหม่ ห ลายล้ า นคนเป็ น โรคเสพติ ด อินเทอร์เน็ต ติดเกมส์ ติดแชท และติดเครือข่ายสังคม พวกเขา "ใช้เวลามากเกินไป" และ "ใช้มันอย่างพร�่ำเพรื่อ" จนลดทอนความส�ำคัญของกิจกรรมอื่น ๆ ในชีวิตไปมาก ไม่ใช่แค่นั้น แต่เรายังต้องรู้เท่าทัน "มิติเชิงเวลา" ของ มั น ด้ ว ย เพราะสื่ อ ใหม่ ไ ด้ เ ข้ า มาก� ำ หนดความเร็ ว และการแข่งขันให้ผู้คน "ตกหลุมพรางความเร็ว/ช้า" เช่น รีบกดแชร์ กดไลค์หรือปล่อยข่าวลือไปเร็ว เพราะต้องการแข่ง กับสื่ออื่นๆ หรือเพราะเราอยากจะเป็นส่วนหนึ่งของการ ส่งต่อข่าวที่เราเชื่อว่ามันจริง บางครัง้ ผูค้ นก็ชา้ ทีร่ บั รูข้ า่ วสารหนึง่ ทีเ่ กิดขึน้ มานานแล้ว ยุคสมัยปัจจุบันจึงเป็นยุคที่ "เวลากลายเป็นปัจจุบัน" (now) ที่เวลาของผู้คนไม่เท่ากัน และเป็นปัจจุบันกันทั้งหมด เราจึง ควรรู ้ เ ท่ า ทั น ว่ า เส้ น แบ่ ง เวลา และกั บ ดั ก ความเร็ ว นั้ น เหล่านี้มาก�ำหนดปัจจัยส�ำคัญของความถูกต้องของข่าวสาร และความเร่งรีบ กลัวตกข่าวของเรา ให้เรากระวนกระวายใจ เหมือนที่เขาเรียกว่าเป็นโรค "FOMO" ที่แปลว่า "Fear Of 4. มิติความเป็นจริง (reality) : Missing Out" หรือ "โรคกลัวตกข่าว/พาดข่าว" คุ ณ รู ้ แน่ ใจหรื อ ว่ า ที่ คุ ณ รั บ รู ้ นั้ น คื อ ความจริ ง ข้อเท็จจริง หรือความเป็นจริง? 3. มิติตัวตน (self) : ในโลกของสือ่ เก่า 3 ค�ำข้างต้นคือ สิง่ ทีน่ กั รูเ้ ท่าทันสือ่ เราใช้ มอง สร้าง ปฏิบตั ิ และวางกรอบตัวตนเราอย่างไร? ต้องเร่งเรียนรูเ้ ท่าทัน เพราะสือ่ เก่านัน้ มีอำ� นาจประกอบสร้าง หมายความว่า: ความจริงได้อย่างร้ายกาจ สิ่งที่คุณรู้นั้น อาจไม่ใช่ความจริง (1) เรารู้สึกว่าตัวตนที่แท้จริงของเรานั้นคือตัวไหน? เแต่เป็นข้อเท็จจริงบางส่วนทีป่ ระกอบสร้างความเป็นจริงขึน้ มา ระหว่างในโลกออนไลน์ ในเกมออนไลน์ ในเฟซบุ๊ก หรือ กล่อมเกลาคุณ ให้หลงเชื่อ เช่น ข่าวหรือโฆษณาต่าง ๆ ตัวเราที่เป็นตัวเนื้อร่างกายที่แท้จริง อันนี้หมายถึง "ตัวตน นั่นเอง

23


แต่ ใ นโลกของ สื่อใหม่ ธามบอกว่า "มันยาก ยิง่ ขึน้ ไปอีก" เพราะความจริงในโลกคอมพิวเต อร์ คือ ความจริงเสมือนแบบหนึ่ง (virtuality) เช่น ภาพ กราฟิกจ�ำลองคอมพิวเตอร์ หรือเกมส์โลกออนไลน์ต่าง ๆ ที่พาคุณเข้าไปสู่จินตนาการเหลือเชื่อหรือมากไปกว่า เราก็ จะอยู่ในโลก "ความจริงเพิ่มขยาย" (augmented reality) เช่น แว่นตากูเกิ้ล หรือกล้องโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มเติมข้อมูล จากภาพหน้าจอเข้าทับซ้อนกับโลกจริง ๆ เข้าด้วยกันและ มากไปกว่ า นั้ น ลองนึ ก ถึ ง โลกของ ความจริ ง เหนื อ จริ ง (surrealism) เช่น เราเป็น "นีโอ" ในหนังเดอะเมทริกซ์ ทีเ่ รา อาจจะตายจริง ๆ ถ้าเราตายในเกมส์ หรือ โลกภาพยนตร์ "inception" ทีเ่ ราเข้าไปสูโ่ ลกแห่งความฝัน ผจญภัย ล้วงลึก ก่อความรักและอาชญากรรม กระทั่งสร้างความฝัน ปม ขัดแย้งในชีวิตสู่โลกของตัวคุณจริง ๆ สื่ อ ใหม่ ไ ด้ ท� ำ ให้ ค วามจริ ง มี ห ลายชั้ น ซั บ ซ้ อ น และเป็นความจริงเสมือนจริงทับกันวุ่นวายไปหมด ปัญหา ก็คือ คุณเสพติดความจริงแบบไหน ระดับใดอยู่ และที่มาก กว่านั้น คุณกลับอาจคิดว่า ความเป็นจริงในโลกออนไลน์ คือ ความจริงที่คุณมีชีวิตอยู่ด้วยซ�้ำไป

24

5. มิติสังคม (social) : เรารู้หรือไม่ว่า เรามีส่วนสร้างและส่งผลกระทบต่อ สังคมอย่างไรบ้าง? ในโลกยุคอิทธิพล อ�ำนาจสื่อเก่า สื่อนั้นมีผล ส่งผล กระทบมากมายต่ อ ชี วิ ต ทั ศ นคติ ความรู ้ พฤติ ก รรม และจิตวิญญาณของเรา กลายเป็นผู้ตั้งรับ รอกระบวนการ กล่อมเกลาประกอบสร้าง แต่ในสื่อใหม่ผู้คนมีอ�ำนาจที่จะ สื่อสารกับโลก ทุกคนหันมาพูดเรื่องตัวเองมากขึ้น ไม่มีใคร ใส่ใจจะฟังเรื่องของคนอื่น ๆ ทั้งความโกรธ อวดเก่ง ขี้อิจฉา ความรุนแรง อคติ ความเกลียดชัง ต่างถูกโยนทึ้งลงมาที่ เครือข่ายสังคมออนไลน์ แน่ว่ามีพลังทั้งด้านบวกด้านลบ มีพลังสร้างสรรค์และท�ำลาย เราทุกคนเป็นผู้ท่ีสามารถสร้างผลกระทบต่อสังคม ได้ ทั้ ง หมด ด้ ว ยเนื้ อ หา เวลาและสถานการณ์ แวดล้ อ ม ที่เอื้ออ�ำนวยค�ำด่า ค�ำชม ข่าวลือ ข่าวจริง ความรัก ความ เกลียดชัง สันติและสงคราม เกิดขึ้นได้ด้วยการใช้สื่อของเรา

ทุก ๆ คน โดยรู้ตวั หรือไม่กต็ าม นีค่ ือโลกทีผ่ คู้ นทุก ๆ คนเริ่ม ที่จะมีส่วนร่วมสร้างพร้อม ๆ กันไม่มีใครเป็นผู้มีอ�ำนาจ ก�ำหนดความรู้ ความจริง และผูกขาดอ�ำนาจอีกต่อไปเรา ทุกคนได้กลายมาเป็นนักปฏิวัติ และนักโฆษณาชวนเชื่อไป พร้อม ๆ กัน การรูเ้ ท่าทันสือ่ ในแง่นจี้ งึ หมายถึงว่า คุณแคร์ ใส่ใจคน รอบข้าง เพื่อนคุณ สังคมคุณเพียงพอหรือเปล่า คุณเข้าใจ กฎเกณฑ์ กติกาการอยู่ร่วมกันในโลกออนไลน์หรือไม่ ถ้าสื่อ ใหม่เป็นที่ ๆ ทุกคนเอาระเบิดมาวางใส่ โลกก็จะไม่นา่ อยู่ แต่ ถ้าทุกคนเอาสติ เอาปัญญาความรู้ ความจริง และเจตนาดี หวังดีต่อกัน โลกก็จะน่าอยู่มากขึ้น ทั้งหมดทั้งปวงนี้ เป็นสิ่งที่ธามคิดว่า "เราทุกคน" ในฐานะเป็นผู้ใช้สื่อสังคม ข้อมูลข่าวสารควรที่จะ "รู้เท่าทัน อ�ำนาจของตัวเอง" ธามชอบประโยคที่ โทนี่ ปาร์คเกอร์ (สไปเดอร์แมน) พูดว่า "อ�ำนาจอันยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับความรับผิดชอบอัน ยิ่งใหญ่" และส�ำหรับการรูเ้ ท่าทันสือ่ ในยุคปัจจุบนั โลกสือ่ ใหม่ ผมว่า ถ้าเรารู้เท่าทันตัวเราเอง เราก็จะใช้สื่อและอยู่ร่วมกับ สื่ออย่างมีความสุข! รู้เท่าทันสื่อใหม่ จึงเท่ากับ รู้เท่าทันตัว เราเองคิดทุกครั้ง ก่อนโพสต์ ก่อนไลค์ ก่อนแชร์! (https:// www.isranews.org/isranews/27634-media_27634.html)

ในช่วงท้ายของสาส์นสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส โอกาสวันสื่อมวลชนสากลครั้งที่ 52 หัวข้อ “ความจริงจะ ท�ำให้ท่านเป็นอิสระ (ยน. 8, 32) ข่าวเท็จและการสื่อข่าว เพื่ อ สั น ติ ภ าพ พระองค์ ท รงเชื้ อ เชิ ญ ให้ ทุ ก คนช่ ว ยกั น สนับสนุนการสื่อข่าวเพื่อสันติ ด้วยความตั้งใจที่ว่า ... “ฉันคิดทุกครั้ง ก่อนโพสต์ คิดทุกครั้ง ก่อนไลค์ คิดทุกครั้ง ก่อนแชร์!...เป็นสื่อสร้างสันติ” เพื่อสันตินั้นจะได้สามารถ เปลี่ยนเป็นความจริงในตัวเรา...และเด่นชัดยิ่งขึ้นในสังคม ของเรา!


บทภาวนาของนักบุญฟรังซิส อัสซีซี พระเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงกระท�ำให้พวกลูกทั้งหลายเป็นเครื่องมือของพระองค์ เพื่อสร้างสันติ โปรดทรงช่วยให้พวกลูกตระหนักถึงความชัว่ ร้ายทีแ่ ฝงอยูใ่ นการสือ่ สารทีไ่ ม่ได้สร้างความเป็นหนึง่ เดียวกัน โปรดทรงช่วยพวกลูกได้ก�ำจัดพิษร้ายออกจากการตัดสินใจของพวกลูก โปรดทรงช่วยให้พวกลูกได้พูดจากับผู้อื่น ดั่งพวกเขาเป็นพี่น้องของพวกลูก พระองค์ทรงสัตย์ซื่อและทรงเป็นผู้ไว้วางใจของพวกลูก โปรดให้วาจาของพวกลูกได้เป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงามส�ำหรับโลกใบนี้

ที่ใดมีแต่เสียงตะโกน ที่ใดมีความสับสน ที่ใดมีความคลุมเครือ ที่ใดมีความแบ่งแยกกัน ที่ใดมีความรู้สึกอ่อนไหว ที่ใดมีความผิวเผิน ที่ใดมีอคติ ที่ใดมีความเกลียดชัง ที่ใดมีเรื่องเท็จ

ขอโปรดให้พวกลูกรู้จักฝึกที่จะรับฟัง ขอโปรดให้พวกลูกได้สร้างแรงบันดาลใจในความร่วมมือกัน ขอโปรดให้พวกลูกได้น�ำความชัดเจน ขอโปรดให้พวกลูกได้น�ำความสมัครสมานสามัคคี ขอโปรดให้พวกลูกได้มอบความสุขและการมีสันติ ขอโปรดให้พวกลูกได้น�ำมาสู่ค�ำถามที่แท้จริง ขอโปรดให้พวกลูกได้ปลุกความไว้วางใจ ขอโปรดให้พวกลูกได้เป็นผู้น�ำความเคารพนับถือ ขอโปรดให้พวกลูกได้เป็นผู้น�ำความจริง อาแมน

25


26

นักบุญยอห์น บอสโก ผูม้ คี วามรักความศรัทธาต่อพระมารดามารียอ์ งค์อปุ ถัมภ์ เป็นอย่างมาก ด้วยความศรัทธาและความรักจากหัวใจของท่านนี้เอง ท่านได้เริ่มงาน ก่อสร้างพระวิหารที่ดูเหมือนว่าไม่น่าที่จะก่อสร้างเป็นรูปเป็นร่างได้ส�ำเร็จ ทว่าหาเป็น เช่นนั้นไม่ เพราะมหาวิหารพระนางมารีย์องค์อุปถัมภ์แห่งนี้ ได้ก่อสร้างอย่างส�ำเร็จ สง่า สวยงาม และโดดเด่น มีความหมายกับทุกผู้คนที่ได้มีโอกาสเห็นและสัมผัสกับ พระวิหารนี้ กล่าวได้ว่าพระวิหารแม่พระองค์อุปถัมภ์แห่งตูรินนี้ เป็นอัศจรรย์แห่ง ความรัก ความศรัทธาภักดี และความไว้เนื้อเชื่อใจของ คุณพ่อบอสโก คุณพ่อบอสโกได้ทำ� พิธเี ปิดและอภิเษกมหาวิหารพระนาง มารียอ์ งค์อปุ ถัมภ์นอี้ ย่างเป็นทางการ เมือ่ วันที่ 9 มิถนุ ายน ค.ศ. 1868 ด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้าทีจ่ ะให้มหาวิหารแห่งนีเ้ ป็น มรดกของทุกคน มิใช่เฉพาะเพียงแต่ซาเลเซียนเท่านั้น แต่รวมถึง บรรดาเยาวชนและผู ้ อื่ น ให้ ไ ด้ รู ้ จั ก และรั ก พระมารดามารี ย ์ องค์อุปถัมภ์ เช่นเดียวกันกับท่าน และไม่เฉพาะเพียงศาสนิกชนที่อาศัยอยู่รายล้อม พระวิหาร หรือเฉพาะคริสตชนเท่านั้น แต่รวมถึงทุกคนทั่วโลก… ตราบวันนั้น วันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ.1868 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ.2018 ครบ 150 ปี แห่งการอภิเษกมหาวิหารพระนางมารีย์องค์อุปถัมภ์ มหาวิหารแห่ง ความรักและรูค้ ณ ุ ของคุณพ่อบอสโกต่อพระมารดามารียอ์ งค์อปุ ถัมภ์ ผูเ้ ขียนปรารถนา ให้ช่วงเวลาในวันข้างหน้า เป็นช่วงเวลาแห่งพระพรที่เราแต่ละคนจะได้ตักตวง ทั้งนี้ ผ่านทางการเสนอวิงวอนของพระนาง ทั้งจะเป็นช่วงเวลาแห่งการตระเตรียมใจ ของเรา เพื่อการเฉลิมฉลอง 150 ปี อย่างมีความหมายและมีคุณค่าอย่างที่สุด หนึ่งวิธีที่ผู้เขียนขอเชิญชวนท่านผู้อ่านร่วมเตรียมฉลองส�ำคัญนี้ ด้วยการ มารู้จักกับ “พระมารดามารีย์องค์อุปถัมภ์” อีกครั้งหนึ่งว่า พระนางเป็นใคร มี ค วามส� ำ คั ญ อย่ า งไรกั บ ประวั ติ ศ าสตร์ แ ห่ ง พระศาสนจั ก รโรมั น คาทอลิ ก และบทภาวนาสั้น ๆ ที่จะสามารถเป็นสื่อกลางอย่างหนึ่งในการติดต่อ วอนขอ ความช่วยเหลือคุ้มครองจากพระมารดามารีย์องค์อุปถัมภ์อีกทางหนึ่ง


พระมารดามารีย์องค์อุปถัมภ์ ความศรัทธาต่อแม่พระในนามมารีย์องค์อุปถัมภ์ ของคริสตชนนี้ เป็นความศรัทธาที่แพร่หลายมาช้านานแล้ว อย่ า งน้ อ ยก็ ใ นประเทศอิ ต าลี นั บ ตั้ ง แต่ ส มั ย สมเด็ จ พระสันตะปาปาปีโอที่ 5 เป็นต้นมา เหตุที่มีการเผยแพร่ต่อ พระมารดามารีย์องค์อุปถัมภ์อย่างกว้างขวางเช่นนี้ก็เพราะ แม่พระได้ทรงช่วยเหลือกองทัพคริสตชนในสมัยทีท่ ำ� สงคราม อยู่กับพวกตุรกี ให้ได้รับชัยชนะที่เลปันโต เมื่อ ค.ศ.1571 และอีกครั้งหนึ่งที่เวียนนา เมื่อ ค.ศ. 1683 ความช่วยเหลือที่ได้รับจากแม่พระทั้งสองครั้งนั้น เป็นสาเหตุที่ท�ำให้เกิดการฉลองแม่พระ “มารีย์แห่งชัยชนะ และมารี ย ์ องค์ อุ ปถัมภ์” ที่โมนาโคในประเทศบาเวี ย รา ต่อมาพระสันตะปาปาปีโอที่ 7 ได้ประกาศให้วันที่ 24 พฤษภาคม เป็นวันฉลองแม่พระองค์อุปถัมภ์ หลังจากที่ พระองค์ได้รบั การปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากจักรพรรดิน์ โป เลียน เมื่อ ค.ศ. 1815-1888 เพราะพระองค์เชื่อแน่ว่า เป็นแม่พระองค์อุปถัมภ์ที่ได้คุ้มครองท่าน

ระหว่างปี 1815 1888 เป็นปีที่พระศาสนจักร ต้องประสบความยุง่ ยากเป็นพิเศษ ในช่ ว งเวลานั้ น คุ ณ พ่ อ บอสโกได้ ถือก�ำเนิดมาและท่านได้เชื่อถึงแม่พระ ในพระนามองค์อปุ ถัมภ์ของคริสตชน ท่านได้ เผยแผ่ความศรัทธาต่ อแม่พระไปทุกมุม โลก โดยอาศัยบุตรของท่าน คือสงฆ์ และซิสเตอร์ ซาเลเซียน ท่านได้พิมพ์หนังสือมากมาย เพื่อเผยแผ่ ความเชื่ อ นี้ และที่ ส� ำ คั ญ ท่ า นได้ ส ร้ า งพระวิ ห าร แม่พระองค์อุปถัมภ์ขึ้นที่กรุงตูรินในปี ค.ศ. 1868 ต่อมา ในปี ค.ศ. 1869 ท่านได้ตั้งชมรมส�ำหรับผู้ที่มีความศรัทธา ต่อแม่พระองค์อุปถัมภ์ขึ้นด้วย พระวิหารทีส่ ร้างขึน้ ในกรุงตูรนิ เป็นประจักษ์พยานว่า แม่พระทรงพิทกั ษ์รกั ษากิจการของคณะ ของพระศาสนจักร ของประชาชาติทกุ ชาติในโลก โดยเฉพาะส�ำหรับผูท้ ถี่ วายตน ให้อยูใ่ นความอารักขาของพระนาง ไม่วา่ เขาจะอยูใ่ นสถานะ ใดในโลก การทีแ่ ม่พระได้รบั พระนามองค์อปุ ถัมภ์แห่งคริสตชนนัน้ หมายความว่าแม่พระคือผู้อุปถัมภ์ และผู้ปกป้องคุ้มครอง สมเด็จพระสันตะปาปาและคริสตชนทุกคนในขณะที่โลก ก� ำ ลั ง อยู ่ ใ นอั น ตรายอั น ใหญ่ ห ลวงนั้ น และปั จ จุ บั น ภั ย ที่ พ ระศาสนจั ก รก� ำ ลั ง อยู ่ ใ นความยากล� ำ บากภั ย ที่พระศาสนจักรก�ำลังเผชิญหน้าอยู่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าภัยที่ได้ รับจากผู้ที่ประกาศตนเองเป็นผู้ไม่มีศาสนาอย่างเปิดเผย ดั ง นั้ น ในปั จ จุ บั น นี้ จึ ง เป็ น เวลาที่ เ หมาะสมที่ สุ ด ที่ จ ะให้ แ ม่ พ ระกลั บ มามี ชั ย เหนื อ จิ ต ใจของเราเสี ย ใหม่ ด้ ว ยการรื้ อ ฟื ้ น ความศรั ท ธาต่ อ พระนางอย่ า งจริ ง ใจ และเผยแผ่ความศรัทธาด้วยความมั่นคง ให้ความศรัทธาต่อ แม่พระสามารถเปลี่ยนแปลงเราให้กลับกลายเป็นสาวกของ พระนาง ได้เหมือนทีค่ ณ ุ พ่อบอสโกต้องการความบรรเทาจาก พระมารดา

27


ค�ำภาวนาของเยาวชน

โดยองค์พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2

ข้าแต่พระแม่มารีย์ พระราชินีแห่งสวรรค์ ขอโปรดปกปักรักษาพวกลูก และเยาวชนทุกคน โปรดอย่าให้พวกลูกท้อแท้ ที่จะท�ำความดี เป็นต้น ในเวลาที่พวกลูกพบกับความยากล�ำบาก และอุปสรรคในชีวิต แต่ด้วยพละก�ำลังจากพระเจ้า โปรดให้พวกลูกต่อสู้กับสิ่งชั่วร้าย ด้วยอาวุธแห่งสันติภาพ ความยุติธรรม ความรัก และการให้อภัย ด้วยเทอญ มารีย์องค์อุปถัมภ์ของเรา ช่วยวิงวอนเทอญ

บทถวายบ้านและครอบครัว

28 28

ข้าแต่พรหมจารีมารีย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง พระเจ้าได้ทรงแต่งตั้ง พระแม่ให้เป็นที่พึ่งของมนุษย์ทุกคน พวกลูกขอ ยึดเอาพระแม่เป็นมารดา และเป็นผู้พิทักษ์รักษา บ้านและครอบครัวของลูก โดยอาศัย อานุ ภ าพอั น ทรงฤทธิ์ ข องพระแม่ ขอทรงคุ ้ ม ครองป้ อ งกั น บ้ า น และครอบครัวของลูก ให้พ้นจากภยันตรายทั้งปวง เช่น ไฟไหม้ น�ำ้ ท่วม ฟ้าผ่า พายุรา้ ย แผ่นดินไหว โจรผูร้ า้ ย อันธพาล และภัยอืน่ ๆ โปรดอวยพร โปรดดูแลรักษา และป้องกันทุกคนในบ้านนี้ ดั ง หนึ่ ง เป็ น ของพระแม่ เ อง โปรดช่ ว ยลู ก ให้ พ ้ น จากอุ บั ติ เ หตุ และเคราะห์ร้ายทั้งมวล แต่เหนือสิ่งอื่นใด โปรดวอนขอหรรษทาน อันจ�ำเป็น เพื่อพวกลูกจะได้พ้นจากบาป ข้าแต่พระแม่มารีอาองค์อปุ ถัมภ์ของเรา โปรดภาวนาส�ำหรับ ทุกคนที่อาศัยในบ้านนี้ ซึ่งได้ยกถวายแด่พระแม่ ตลอดไปด้วยเถิด อาแมน

บทภาวนาขอพระคุณที่ต้องการ (ใช้ส�ำหรับภาวนาส่วนตัว)

ข้าแต่พระมารดาผู้ทรงอานุภาพ องค์อุปถัมภ์และพระทัย เอือ้ อารี ลูกวิงวอนขอความช่วยเหลือจากพระมารดา ในความจ�ำเป็นนี้ ด้วยความไว้วางใจ ลูกทราบดีว่า พระมารดาทรงประทานพระคุณ แก่ผทู้ วี่ างใจเสมอ ลูกขอมอบความไว้ใจทัง้ สิน้ ในพระแม่ ลูกมากราบ แทบพระบาทพระแม่ เพื่อวอนขอพระคุณ (อธิษฐานขอพระคุณ ที่ต้องการ) ลูกทราบดีว่า ลูกไม่สมควรที่จะรับพระคุณนี้ ลูกจึงขอ พระแม่ เพือ่ วิงวอนพระเจ้าพร้อมกับลูก ข้าแต่พระมารดาผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิ์ โปรดช่วยลูกให้เอาชนะพยศชั่วในตัว เพื่อลูกจะได้รับใช้พระบุตร ของพระแม่ด้วยความซื่อสัตย์ และดังนี้ ลูกก็จะมีโอกาส ได้รับ ความช่วยเหลือที่ลูกวอนขอ โดยอาศัยค�ำเสนออันทรงฤทธิ์ของ พระแม่ด้วยเทอญ อาแมน


l

โดยซิสเตอร์พรพิรุณ จันทร์เด่นดวง

ปีพิธีกรรม : เส้นทางเดินความเชื่อของประชากร สวัสดีทา่ นผูอ้ า่ นทีร่ กั ทุกท่าน กลับมาพบกันอีกครัง้ นะคะ ในระเบียงค�ำสอน ก่อนอื่นขอส่งความสุขปาสกามายังท่านผู้อ่าน ที่รักทุกท่าน ขอพระพรแห่งการกลับคืนชีพขององค์พระคริสตเจ้า ประทานพระพรแห่งความรักและความชื่นชมยินดีมาสู่ท่านอย่างอุดม คิดหวังสิ่งใดขอให้ท่านได้รับพระพรตามที่ท่านได้ปรารถนานะคะ ฉบับที่แล้วได้พูดถึงปีพิธีกรรม พระศาสนจักรก�ำหนดให้ในรอบปี หนึ่ง ๆ มีช่วงเวลาหรือที่เรียกว่า “เทศกาล” ปีพิธีกรรม จึงประกอบด้วย เทศกาล 4 เทศกาล เราได้รบั ความรูเ้ กีย่ วกับเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า เทศกาลพระคริสตสมภพไปแล้ว ฉบับนี้จึงขอน�ำท่านได้รับความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับเทศกาลมหาพรต เทศกาลปัสกา เทศกาลธรรมดา

29

เทศกาลมหาพรต Lent

คือช่วงเวลา 40 วันนับตั้งแต่วันพุธรับเถ้าจนถึงวันสมโภชปัสกา เป็นเวลาของการถือศีลอดอาหาร เช่นเดียวกับที่ พระเยซูคริสตเจ้าทรงอยูใ่ นทีเ่ ปลีย่ ว ทรงจ�ำศีล อดอาหาร สวดภาวนา และถูกประจญจากปีศาจ ตลอดระยะเวลา ในเทศกาล มหาพรตนี้ พระศาสนจักรเชือ้ เชิญให้เรากระท�ำกิจการส�ำคัญสองอย่าง คือ รูจ้ กั บังคับตัวเอง มีชวี ติ เรียบง่าย พยายามเอาชนะ ความอ่อนแอตามประสามนุษย์ที่มีอยู่ในตัวเรา คือ โลภ โกรธ หลง และในเวลาเดียวกัน ก็ให้รู้จักการอยู่กับเพื่อนมนุษย์ด้วย ความรัก ความเมตตา ช่วยเหลือผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก และผู้ด้อยโอกาสในสังคม พูดง่าย ๆ ก็คือ ให้รู้จักแบ่ง ปันนั่นเอง


พิธรี บั เถ้า เป็นพิธที เี่ ตือนให้เราตระหนักว่า วันหนึ่งเราต้องตาย และเมื่อตายไปแล้วร่างกายของเราก็สลาย เน่าเปื่อยกลายเป็นดิน ดังนั้น ให้รู้จักกลับใจ สะสมคุณธรรมความดีเอาไว้ให้มาก ๆ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ คือ ระยะเวลา 7 วันนับตั้งแต่วันอาทิตย์ใบลานจนถึงวันอาทิตย์สมโภชปัสกา เริ่มต้นด้วยวันอาทิตย์ใบลาน เตือนให้เราคิดถึงการเสด็จเข้าสู่กรุงเยรูซาเล็มอย่างสง่า ประหนึ่งแม่ทัพที่กลับจาก การท�ำศึกสงครามพร้อมกับชัยชนะ ประชาชนทุกคนชืน่ ชมยินดีตอ้ นรับด้วยการน�ำใบปาล์มมาโบกต้อนรับ... แต่ทแี่ ท้แล้ว การเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็ม คือ การเดินเข้าสู่มหาทรมานความตายและบรรลุถึงชัยชนะที่แท้จริงด้วยการเสด็จกลับคืน พระชนมชีพนัน่ เองทีเ่ รียกว่า สัปดาห์ศกั ดิส์ ทิ ธิ์ เพราะว่าระหว่างสัปดาห์นมี้ กี ารระลึกถึงเหตุการณ์ทสี่ ำ� คัญของพระเยซูคริสตเจ้า คือ วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ เป็นวันที่บ่งบอกถึงพระเมตตาและความรักของพระองค์ที่มีต่อมนุษย์ ด้วยการตั้งศีลมหาสนิท และศีลบวชเป็น พระสงฆ์พิธีกรรมพิเศษในวันนี้ คือ การล้างเท้าบรรดาอัครสาวกของพระเยซูเจ้า นั่นหมายถึง การถ่อม พระองค์ลงเป็นผูร้ บั ใช้ของพระองค์ทมี่ อบให้เราทุกคนกระท�ำตามด้วย และหลังจากพิธมี สิ ซาในวันนีย้ งั มีการเฝ้าศีลมหาสนิท เพราะเป็นวันที่พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิท อันเป็นศีลแห่งความรักอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงประทับในเรา เป็นเลือด เป็นเนื้อของเราเพื่ออยู่กับเราเสมอไป วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ วันนี้ถือเป็นวันที่พระองค์ทรงรับมหาทรมาน ถูกจับเฆี่ยนตี ถูกสวมมงกุฎหนาม ต้องแบกกางเขน ไปตามเขากัลป์วาริโอ และที่สุดทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาปของเรา วันนี้จะไม่มีพิธีบูชามิสซา แต่มีการระลึก ถึงพระมหาทรมานของพระองค์และการนมัสการกางเขนร่วมพระทรมานพร้อมกับพระองค์ วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นวันแห่งการระลึกถึงพระศพของพระองค์ที่ถูกฝังอยู่ในพระคูหา และในภาคค�่ำจะมีพิธีตื่นเฝ้า รอคอยการเสด็จกลับเป็นขึ้นมาของพระองค์ มีพิธีเสกไฟ เสกน�้ำ มีการจุดเทียนปัสกา ซึ่งหมายถึงการเสด็จกลับเป็นขึ้นมา ของพระองค์ และตามธรรมเนียมทั่วไปก็จะมีพิธีบูชามิสซาเฉลิมฉลองการกลับเป็นขึ้นมาของพระองค์ เพราะตั้งแต่เวลาค�่ำ ของวันเสาร์เป็นต้นไป ถือเป็นวันอาทิตย์แล้ว นั่นคือ เป็นการฉลองปัสกาแล้ว

เทศกาลปัสกา Easter 30

ปัสกาถือเป็นวันสมโภชที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปี ทั้งนี้เพราะเป็นการฉลองการเสด็จกลับคืนพระชนม์ชีพขององค์ พระเยซูคริสตเจ้า อันหมายถึง การชนะต่อความตายต่อบาป ค�ำว่า “ปัสกา” หมายถึง การข้ามหรือ การผ่านไป จึงมี ความหมายถึงการผ่านหรือข้ามจากความตายไปสู่ชีวิต จากบาปไปสู่บุญ ดังนั้น ประชากรของพระเจ้าคือ พวกเราจะได้รับ ผลแห่งการเสด็จกลับคืนพระชนม์ชีพของพระองค์ เราทุกคนจะรอดพ้นจากบาปและความตายด้วยเช่นเดียวกัน ถ้าหากเรา ด�ำเนินชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ด้วยการปฏิบัติตามจิตตารมณ์ของพระองค์ สีประจ�ำเทศกาลคือ สีขาวต่อจากนั้นอีก 40 วันเราจะมีการเฉลิมฉลองการเสด็จสู่สวรรค์อย่างผู้มีชัยชนะขององค์พระเยซูคริสตเจ้า กล่าวคือ พระองค์ทรงกระท�ำ พระภารกิจของพระองค์ที่ทรงได้รับมอบหมายจากพระบิดานั้นได้ส�ำเร็จสมบูรณ์แล้ว ที่เหลือใครจะได้รับความรอดหรือไม่ จึงเป็นหน้าทีข่ องแต่ละคนทีจ่ ะต้องมีสว่ นร่วมในแผนการแห่งความรอดนี้ ด้วยการปฏิบตั ติ ามจิตตารมณ์ของพระองค์ตอ่ จาก นั้นอีก 1 สัปดาห์ เราเฉลิมฉลองการเสด็จลงมาขององค์พระจิตเจ้า อันหมายถึงการประทับอยู่ของพระเป็นเจ้าเพื่อประทาน พระพรแห่งความช่วยเหลือเราในการมีชีวิตประจ�ำวัน ซึ่งเราเรียกว่าพระคุณของพระจิต 7 ประการ เทศกาลธรรมดา เป็น ระยะเวลาประมาณ 27 สัปดาห์ ซึ่งถือเป็นช่วงที่ยาวที่สุด เราเรียกว่า • เทศกาลธรรมดา Ordinary Time จะแทรกระหว่างเทศกาลพระคริสตสมภพกับเทศกาลมหาพรต และระหว่าง เทศกาลปัสกา กับเทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ในปีพิธีกรรมถัดไป เทศกาลธรรมดา สีประจ�ำเทศกาลนี้ใช้สีเขียว ในช่วงเทศกาลธรรมดานี้ อยู่หลังสมโภชพระจิตเจ้าซึ่งมีวันฉลองส�ำคัญอยู่หลายวัน คือ ก. วันฉลองพระตรีเอกภาพ คือ วันฉลององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงเป็นพระเจ้าองค์เดียวที่ประกอบด้วย สามพระบุคคลเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังข้อความเชื่อที่เราได้ทราบแล้วในภาคที่ 1


ข. วันฉลองพระกายและพระโลหิตของพระเยซูเจ้า คือ การฉลอง ความรั ก อั น ยิ่ ง ใหญ่ ที่ พ ระเยซู เจ้ า ทรงมอบพระกายและพระโลหิ ต ของพระองค์ เป็นอาหารเลี้ยงวิญญาณของเราทางศีลมหาสนิท ค. วันฉลองพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า เพื่อให้มนุษย์ได้แสดงความกตัญญูรู้คุณต่อ ความรักอันยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้ที่ทรงมีต่อมนุษย์และเพื่อชดเชยบาปมากมายที่เรา ได้ท�ำเคืองพระหฤทัยของพระองค์ ง. วันฉลองนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล ซึ่งพระศาสนจักรให้ความส�ำคัญในฐานะที่ท่าน ทั้งสองเป็นรากฐานของพระศาสนจักรตั้งแต่แรกเริ่ม

31


สนุกกับการเรียนรู้เส้นทางเดิน ของความเชื่อในปีพิธีกรรมปฏิทินปีพิธีกรรม การแบ่งปฏิทินปีพิธีกรรมออกเป็น 3 ปี คือ ปี A ปี B และ ปี C นั้น ใช้การหารปีคริสตศักราชด้วยตัวเลข 3 ถ้าเหลือเศษ 1 เป็นปี A เช่น 2017 หารด้วย 3 จะเหลือเศษ 1 แสดงว่าเป็นปี A ถ้าเหลือเศษ 2 เป็นปี B เช่น 2018 หารด้วย 3 จะเหลือเศษ 2 แสดงว่าเป็นปี B ถ้าหารลงตัว เป็นปี C เช่น 2019 หารด้วย 3 จะลงตัว แสดงว่าเป็นปี C การจัดแบ่งปฏิทินปีพิธีกรรมออกเป็น 3 ปี เช่นนี้ มีผลเกี่ยวข้องกับบทอ่านจากพระวรสารวันอาทิตย์ ในเทศกาลธรรมดา โดย ปี A บทอ่านจะเดินตามพระวรสารนักบุญมัทธิว (ทางเดินของศีลล้างบาป) ปี B บทอ่านจะเดินตามพระวรสารนักบุญมาระโก และยอห์น (ทางเดินของการอพยพ) ปี C บทอ่านจะเดินตามพระวรสารนักบุญลูกา (ทางเดินของการเป็นประชากร) ส�ำหรับบทอ่านในมิสซาวันธรรมดา จะแบ่งออกเป็น ปีคู่ และปีคี่ "ปีคู่" คือปีคริสตศักราชที่ลงท้ายด้วย "เลขคู่" "ปีคี่" คือปีคริสตศักราชที่ลงท้ายด้วย "เลขคี่"

มุมนี้มีรางวัล 32

ผู้ใดที่ตอบค�ำถามมุมนี้มีรางวัล แล้วส่งกลับมาตามที่อยู่นี้ 5 ท่านแรกจะได้รับรางวัลนะคะ pchandenduang@gmail.com หรือid line : nokfma 1. พระคัมภีร์ Bible มีทั้งหมดที่เล่ม มีกี่ภาค อะไรบ้าง 2. พันธสัญญาเดิม Old Testament มี่ทั้งหมดที่เล่ม 3. พันธสัญญาใหม่ New Testament มีทั้งหมดกี่เล่ม 4. ปีพิธีกรรม เริ่มเมื่อไร และสิ้นสุดเมื่อใด 5. เทศกาลมหาพรต เริ่มต้นวันไหน และมีระยะเวลานานเท่าใด 6. เทศกาลปาสกา ภาษาอังกฤษ เขียนอย่างไร 7. เทศกาลใดที่พระสงฆ์สวมอาภรณ์สีเขียว 8. บทอ่านในปี 2018 วันอาทิตย์ จะใช้พระวรสารจากนักบุญใด 9. พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิท และล้างเท้าอัครสาวก ตรงกับเหตุการณ์ในวันใด 10. พระสันตะปาปาองค์ปัจจุบัน ชื่ออะไร และเป็นองค์ที่เท่าไร


l

โดยรัฏฏิการ์ สุทธิรัตนากร

เป็นผู้ใหญ่....ท�ำไมยากจัง? ตอนที่คุณยังเป็นเด็ก เคยคิดไหมว่า “เมื่อไรเราจะโต เป็นผู้ใหญ่สักที” หรือ “อยากเป็นผู้ใหญ่บ้างจัง จะท�ำอะไร ก็ได้ไม่มีข้อจ�ำกัด” เพราะตอนที่เรายังเป็นเด็ก บรรดาเหล่า พ่อแม่ลุงป้าน้าอาทั้งหลายมักจะมีข้อห้ามหรือกฎระเบียบ ใด ๆ ก็ตามที่มาวางไว้ ท�ำให้เราไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่าง ผู้ใหญ่ ในทางกลับกัน เมื่อเราโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ แน่นอนว่า ความคิดหลาย ๆ อย่างเปลี่ยนไป การใช้ชีวิตที่แตกต่าง ความรั บ ผิ ด ชอบนานั ป ประการ ความสั ม พั น ธ์ กั บ คน หลากหลายรูปแบบ ทีนี้เราถึงได้รู้ซึ้งว่า การเป็นผู้ใหญ่มัน ไม่ง่ายเลย ชีวิตมีอะไรต้องให้คิดมากกว่าการต้องไปเรียน หนังสือ ท�ำการบ้าน ออกไปวิ่งเล่น นอนตีพุงในวันหยุด และกินขนมอย่างเอร็ดอร่อยอย่างไร้ความกังวลใด ๆ ในชีวติ

การเป็นผู้ใหญ่ไม่มีกฎตายตัวใดๆ ก็เหมือนกับการ เป็นเด็ก เพียงแต่เมื่อเราเป็นผู้ใหญ่ เราต้องใช้เหตุผลในการ คิดมากขึน้ กว่าเดิม เพราะไม่มคี นคอยมาคิด ชีน้ ำ � หรือตัดสิน ใจให้เราอย่างเคย เราต้องคิดอย่างรอบคอบ ระแวดระวังเรือ่ ง ต่าง ๆ ผู้ใหญ่บางคนไม่เพียงต้องดูแลตัวเองเท่านั้น เขายัง มีหน้าทีต่ อ้ งดูแลคนอืน่ ด้วย ซึง่ การดูแลคนอืน่ ก็ไม่ใช่เรือ่ งง่าย เลย เพราะมันมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามามีบทบาทอย่างเช่น เงิน ในเกือบจะทุก ๆ สังคม “เงิน” มีบทบาทมากที่สุด มันสามารถซือ้ ชีวติ และท�ำลายชีวติ คนได้ในเวลาเดียวกัน ทีนี้ ก็ท�ำให้เงินทองกลายเป็นเรื่องส�ำคัญต่อผู้ใหญ่มากขึ้นไปอีก ตอนเป็นเด็กเราอาจจะยังไม่เคยคิดถึงเรื่องความส�ำคัญของ

เงินมากขนาดเท่าผูใ้ หญ่ ความคิดทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ของเหล่า เด็ก ๆ อาจจะเป็นเรื่องเอาเงินเหรียญหยอดกระปุก ทุกวัน สะสมวันละเล็กวันละน้อย เพือ่ ว่าวันหนึง่ จะน�ำเงิน มาใช้ซื้อของที่อยากได้ แต่ความเพียรพยายามในแบบ วัยเด็กก็ใช้ไม่ได้กับสังคมของผู้ใหญ่ เมื่อมูลค่าของสิ่งต่าง ๆ ที่ผใู้ หญ่ตอ้ งซือ้ ต้องหามาครอบครอง มันมหาศาลกว่าทีเ่ ด็ก ๆ คิดเสียอีก การหยอดกระปุกวันละเล็กวันละน้อยก็คงไม่ ทันแน่ เพราะผู้ใหญ่มักมีความต้องการสิ่งต่าง ๆ มากกว่า เด็ก ๆ เขาอาจจะไม่ได้ต้องการครอบครองเอง แต่อาจจะ ต้องหามาให้คนอื่น เพื่อให้ชีวิตอื่นสุขสบายและมีความสุข และการจะได้เงินและทรัพย์สินมาครอบครองนั้น ผู้ใหญ่ก็ต้องท�ำงานหาเลี้ยงชีพ หาเลี้ยงครอบครัว แต่การ ท�ำงานก็ไม่เหมือนกับการเรียนเลย มันไม่เคยมีหลักสูตร ตายตัวในชีวิตการท�ำงาน เราต้องเจอกับสถานการณ์ที่ แตกต่างกันไป น่าปวดหัวบ้าง ชวนสับสน หรืออาจมีเรื่องที่ ชวนหั ว เราะและชื่ น ใจสลั บ กั น ไป แต่ ชี วิ ต มั ก มี เรื่ อ งให้ คิดเสมอ คิดแล้วคิดอีก จนคิดอยากย้อนเวลากลับไปเป็นเด็ก ที่ไม่ต้องคิดอะไรเลย

33


34

ตอนเป็นเด็กเรามักไม่คอ่ ยได้นกึ ถึงความรูส้ กึ ของผูค้ น มากมาย เด็ก ๆ ไม่ได้คิดอะไรมากเลยเกี่ยวกับรู้สึก ความ สัมพันธ์และความรักระหว่างตัวเองและผู้คนรอบข้าง เด็ก ๆ แสดงออกอย่างที่ใจต้องการ แสดงความรู้สึกออกมาชัดเจน ไม่ซบั ซ้อน แต่เมือ่ เป็นผูใ้ หญ่ ความรูส้ กึ กลับเป็นเรือ่ งซับซ้อน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนเป็นเรื่องวุ่นวาย ผู้ใหญ่ต้องเก็บ

บางความรู้สึกเอาไว้ แสดงออกมาให้ใครเห็น ไม่ได้ และเรื่องความรักก็มีหลากหลายรูปแบบ แต่นี่ก็อาจ เป็นวิธีหนึ่งของมนุษย์เมื่อต้องเติบโตและอยู่ร่วมกับสังคม คนหมู่มาก แต่อย่างไรเสีย เด็ก ๆ คงไม่เข้าใจเรื่องนี้แน่ ๆ ตอนเป็นเด็ก เรามีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ ไร้ซงึ่ กรอบความคิด ไม่มคี ำ� ว่า “เป็นไปไม่ได้” ในจินตนาการ ของเด็ ก ๆ แต่ เ มื่ อ โตเป็ น ผู ้ ใ หญ่ เรากลั บ ตี ก รอบ ความสร้างสรรค์ด้วยความคิดของเราเอง ก�ำแพงที่ปิดกั้น อาจจะถูกสร้างขึ้นด้วยความรู้และประสบการณ์ที่มี หลาย ครั้งเรามักได้ยินค�ำว่า “เป็นไปไม่ได้หรอก นั่นมันความคิด แบบเด็ก ๆ” หรือ “บ้าน่า ไม่มใี ครเขาท�ำอย่างนัน้ กันหรอก” ผู้ใหญ่เพียงแต่คิดว่า เพราะคนอื่น ๆ เขาไม่ท�ำแบบนี้กัน เราจึงไม่ควรท�ำ เนือ่ งจากกลัวว่าตัวเองจะแปลกแยกจากคน อืน่ กลัวค�ำวิจารณ์จากคนรอบข้าง ซึง่ แท้ทจี่ ริงแล้วกลับไม่มี ใครมาสนใจชีวิตเราจริง ๆ คนเราต่างสนใจในชีวิตตัวเองกัน ทัง้ นัน้ เรือ่ งราวเกิดขึน้ กลายเป็นข่าว แล้วไม่นานผูค้ นก็ลมื มันไป เหล่าเด็ก ๆ มักไม่กลัวค�ำนินทา ไม่กลัวค�ำวิจารณ์ พวกเขาไม่ได้ สนใจข่าวมากนัก ในแต่ละวันพวกเขาสนใจในเรือ่ งของตัวเอง และคนรอบข้างอีกเล็กน้อย โดยเฉพาะคนทีส่ ำ� คัญในชีวติ การเป็นผู้ใหญ่มันอาจจะยากในบางครั้ง แต่การเป็น ผู้ใหญ่ก็ท�ำให้เรารู้ว่า ชีวิตในวัยเด็กมันมีค่ามากแค่ไหน การเป็นเด็กมันสามารถสอนอะไรหลาย ๆ อย่างให้กับเรา ดังนัน้ อย่าพึง่ ท้อใจไปเลยผูใ้ หญ่ทงั้ หลาย จงสดใสร่าเริงอย่าง เด็ก ๆ จงรักอย่างสุดใจอย่างเด็ก ๆ จงคิดสร้างสรรค์อย่าง เด็ก ๆ เพราะเชือ่ ว่าผูใ้ หญ่ทกุ คนยังคงมีความเป็นเด็กน้อย ๆ อยู่ในหัวใจ ....


Genova e Don Bosco

By Alberto Rinaldini

l

โดยซิสเตอร์พันธ์ทิพย์ คิ้มแหน ถอดความ...

สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านคอลัมน์“วันวาน” ฉบับนี้ ขอน�ำ เสนอ เมืองเจโนวา (Genova) ประเทศอิตาลี สถานทีส่ ำ� คัญ แห่ ง หนึ่ ง ในประวั ติ ศ าสตร์ ข องคณะของเรา และมี ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคุณพ่อบอสโก เมืองเจโนวาใน มุมมองของนักบุญของเยาวชน ก็คือคุณพ่อบอสโกนั่นเอง ท่ า นเป็ น ผู ้ น� ำ พระพรพิ เ ศษในด้ า นการอบรมเยาวชน โดยเฉพาะเยาวชนที่ “ยากจน” และ “ถูกทอดทิ้ง” เป็น พระพรพิเศษทีต่ อบสนองต่อปัญหาของชาวอิตาเลียนในสมัย นั้น หลังจากการรวมรัฐต่าง ๆ เข้าด้วยกัน คุณพ่อเข้าใจและ เห็นความจ�ำเป็นของความต้องการของเยาวชนและเพื่อ เยาวชน ท่านได้อทุ ศิ ชีวติ ของตนเพือ่ พวกเขา ให้เรามองย้อน ดูเยาวชนที่กรุงตูรินในยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม ปี 1841 กันสักหน่อย อาศัยการอบรมนีเ้ ท่านัน้ การเป็นคริสตชน ที่ดี และพลเมืองที่สุจริตที่เป็นการเตรียมพวกเขาสู่สังคม การเป็นคริสตชนที่ดีช่วยให้เป็นพลเมืองที่สุจริต นั่นถือเป็น

ช่ วงเวลาที่ บรรดาเยาวชนยุ คนั้ นให้ ความสนใจ มิ ฉ ะนั้ น พวกเขาต้องเข้าคุกถ้าก่อความวุ่นวาย ความฝั น ของคุ ณ พ่ อ บอสโกกลั บ เป็ น จริ ง ในชี วิ ต ทุกคนยังจ�ำได้ดีถึงฝัน 9 ขวบของคุณพ่อที่เบ่งบานในดวงใจ ของสงฆ์หนุ่ม เมื่อเดินทางไปเยี่ยมคุกที่กรุงตูริน ท่านได้เล่า ให้ฟังว่า “พ่อเห็นเยาวชนวัยรุ่นมากมาย อายุประมาณ 12-18 ปี มีสุขภาพดี แข็งแรง คล่องแคล่ว ฉลาด แต่พวกเขา ไม่ได้ท�ำอะไรเลย มีแมลงไต่ตอม ขาดอาหารฝ่ายจิต สิ่งหนึ่ง ซึ่ ง ท� ำ ให้ พ ่ อ ตกใจ คื อ การถู ก ประณามจากถิ่ น ก� ำ เนิ ด พวกเขาไม่ได้รบั ความเคารพและการให้เกียรติจากครอบครัว ของเขา ความอับอายขายหน้า ท�ำให้พวกเขาไม่มีความสุข แต่มนั ไม่ได้ทำ� ให้พอ่ พิศวงใจเลย เพราะเมือ่ พวกเขาออกจาก คุกด้วยความตั้งใจอันดี แต่ภายในไม่กี่วันทุกอย่างก็กลับ เหมือนเดิม”

35


36

พ่ อ ได้ เริ่ ม หาหนทาง เพื่ อ ช่ ว ยพวกเขาจะได้ ไ ม่ ต ้ อ ง กลับมาอยูใ่ นคุกอีก “เด็กส่วนใหญ่ถกู ทอดทิง้ ใครจะรู้บ้าง ถ้าพวกเขามีเพื่อนสักคนซึ่งเอาใจใส่ดูแล อบรมสั่งสอนพวกเขา ใครจะรู้พวกเขาคงจะอยู่ห่างจาก หายนะ” เมื่อพ่อคิดดังนี้ พ่อก็ได้ปรึกษาเรื่องนี้กับคุณพ่อ กาฟัสโซและศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่พ่อคิดว่าคงมี ประสิทธิภาพเพียงพอที่จะช่วยพวกเขาได้ พ่อยังเสริมอีกว่า “พ่อได้สัมผัสโดยตรงว่า เยาวชน รุ ่ น ๆ เหล่ า นี้ อ อกจากคุ ก ถ้ า พวกเขาพบกั บ ผู ้ ใ ห้ ค วาม ช่วยเหลือ เรียนรู้ที่จะท�ำงานกับเจ้านายที่มีความซื่อสัตย์ ซึ่ ง ไปเยี่ ย มพวกเขาขณะที่ พ วกเขาท� ำ งานตลอดสั ป ดาห์ เยาวชนเหล่ า นี้ ก็ จ ะได้ รั บ เกี ย รติ เขาจะลื ม เหตุ ก ารณ์ ที่ผ่านมาจะกลับเป็นคริสตชนที่ดีและพลเมืองที่สุจริต” ศู น ย์ เ ยาวชนกลับเป็นแนวคิดของคุณพ่อบอสโก เป็นบ้านแห่งการต้อนรับ เป็นสนามเล่น เพื่อพบปะกับ บรรดาเพื่อน ๆ ด�ำเนินชีวิตในความร่าเริง เป็นโรงเรียนที่มี ชีวติ เป็นวัดทีป่ ระกาศข่าวดีแห่งพระวรสาร เป็นทีส่ ดู อากาศ บริสุทธิ์แห่งคุณค่าชีวิตและความยินดีที่จะกระท�ำความดี นี่คือ “ระบบป้องกัน” ในตัวของคุณพ่อบอสโก นอกเหนือจากความเป็น มนุษย์แล้ว ยังมีพระญาณเอือ้ อาทรจากสวรรค์ซงึ่ น�ำสูบ่ รรดา เยาวชน เราพบการประทับอยูข่ องพระนับครัง้ ไม่ถว้ นในชีวติ ของคุณพ่อบอสโก บางครั้งดูเหมือนว่าพระญาณเอื้ออาทร ของพระก็มีให้กับเขา บางทีก็จะอาจจะกล่าวได้ว่า คุณพ่อ บ อ ส โ ก พ บ ป ะ กั บ พ ร ะ เ ย ซู ซึ่ ง เ ป ็ น ก า ร ส ะ ท ้ อ น องค์ พระอาจารย์เจ้าสวรรค์ และการน�ำพาของพระมารดา มารีย์ ผู้ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งชี้หนทางแก่ท่าน ในสายตาของคุณพ่อ บอสโกท�ำให้เรามองเห็นความอ่อนโยนของพระเจ้า สามารถ พบปะกับดวงตาของชาวเจโนวา : ความเป็นสงฆ์ ความเป็น ผู้ดีมีตระกูลของผู้คน ทุกคนมองเห็นคุณพ่อเป็นคนของ พระเจ้า เราสามารถกล่าวได้ว่านักบุญผู้นี้น�ำผู้คนให้ค้นพบ สิ่ ง งดงามในดวงใจของมนุ ษ ย์ สามารถถ่ า ยทอดความ ปรารถนาด้านการอบรมที่เอาชนะใจผู้ร�่ำรวย ให้พร้อมสละ บางอย่างเพื่อผู้ยากจนขัดสน พ่อบอสโกสามารถที่จะอ่าน สถานการณ์ในสมัยนั้นและเข้าใจถึงสภาพสังคม ความเป็น จิตหนึ่งใจเดียวกัน ท่านปฏิเสธความขัดแย้งของกลุ่มชน นี่ คือวิสัยทัศน์ด้านสังคมที่มีในดวงใจของท่าน

ตั้งแต่ปี 1841 ก่อนที่พระสันตะปาปาเลโอที่ 13 ได้ ออกเอกพระสมณสาส์นด้านสังคมทีช่ อื่ ว่า Rerum Novarum หรือ Rights and Duties of Capital and Labor เสียอีก สายตาของชาวเจโนวากั บ สายตาของคุ ณ พ่ อ บอสโกได้ ประสานสอดคล้ อ งต้ อ งกั น : เยาวชนในยุ ค ปั จ จุ บั น และในอนาคต จะได้รับการเอาใจใส่ดูแลเพื่อเตรียมสู่สังคม ในอนาคตได้ อ ย่ า งไร ส� ำ หรั บ ชาวเจโนวาพวกเขาได้ ใ ห้ ความช่วยเหลือคุณพ่อบอสโกทางด้านเศรษฐกิจ ช่วยใน กิจการซาเลเซียนเพือ่ เด็กและเยาวชนยากจนและถูกทอดทิง้ คุณพ่อบอสโกได้นำ� จิตตารมณ์ครอบครัว การต้อนรับเยาวชน ช่วยให้พวกเขาเติบโต ได้รบั การอบรม นีค่ อื สิง่ ซึง่ ชาวเจโนวา ให้คุณค่า พระคาร์ดินัลซิรี (Siri) ได้กล่าวไว้ว่า “สไตน์ของ แผ่นดินลีกูเร (Ligure) และสิ่งดีงามต่าง ๆ ความใจกว้าง การเอาจริงเอาจังและการเป็นคริสตชน” เป็นคุณพ่อบอสโก ที่ช่วยให้เราค้นพบความจริงอันลึกซึ้งของชาวเจโนวานี้ …อ่านต่อฉบับหน้า...


การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นมนุษย์ l

ช่วงเวลานี้ส�ำหรับนักเรียนมัธยมปลาย คงเป็นช่วง เวลาที่ว้าวุ่นวายใจไม่น้อย โดยเฉพาะส�ำหรับผู้ที่ยังไม่มีที่นั่ง ในคณะและมหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝัน ในขณะที่บางคนอาจจะมี ทีเ่ รียนแล้ว จากการยืน่ ผลงานตามโควตา หลายคนก็ยงั ไม่รวู้ า่ จะเลือกเรียนในคณะใดดี ทั้งด้วยไม่รู้ว่าชอบอะไร ทั้งด้วย คะแนนสอบทั้งหลายอาจะไม่ได้เลิศเลอพอที่จะเลือกได้ หลาย ๆ คนอาจจะมองสาขาวิชาทีจ่ ะสร้างอาชีพและรายได้งาม เมื่ อ ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาแต่ ก็ อ ย่ า งที่ มี ง านวิ จั ย และเป็ น ที่ รูก้ นั มา การศึกษาไทยไม่ได้สอดคล้องกับความเป็นจริงเท่าใดนัก หลายสาขาวิชาจบมาก็ไม่มงี านรองรับ หลายคนจบมาก็ไม่ได้ อยากจะท�ำงานตามสาขาวิชาทีเ่ รียน เพราะเพิง่ มารูต้ อนหลัง ว่ า ไม่ ใช่ ค วามใฝ่ ฝ ั น และสิ่ ง ที่ อ ยากจะใช้ ชี วิ ต อยู ่ ด ้ ว ย ขณะที่บางสาขาที่ดีแต่ก็มีผู้สนใจเรียนน้อย ทั้งก็ไม่ค่อย ประชาสัมพันธ์ ก็เลยท�ำให้คนรู้จักน้อยลงไปอีก ในขณะที่ บางสาขาตอนประชาสัมพันธ์กว็ าดฝันให้สวยหรูวา่ จะมีงานท�ำ รายได้ดี แต่เมื่อจบมา สถานการณ์เปลี่ยนไปกลายเป็นสาขา ที่ไม่มีงานรองรับไปแล้วก็เป็นได้ อย่างในปัจจุบันที่รัฐบาล พยายามจะประชาสัมพันธ์ให้หนั ไปสนใจสาขาวิชาชีพแทนที่ จะเข้าสูร่ วั้ มหาวิทยาลัย พร้อมทัง้ โฆษณาว่าจบแล้วมีงานท�ำ แน่นอน...ผู้เขียนไม่ได้คัดค้านว่าการศึกษาสายอาชีพไม่ด ี แต่อย่างไร แต่ผู้เขียนยังสงสัยและไม่อยากให้การศึกษาท�ำ หน้าทีเ่ ป็นเพียงให้วชิ าความรูท้ ที่ ำ� มาหากินเลีย้ งชีพได้เท่านัน้ 1

พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์1

หากยังต้องการเห็นการศึกษาท�ำหน้าทีส่ ง่ เสริมความ เป็นมนุษย์ที่มีชีวิตด้านอื่น ๆ ด้วย หลายคนคงไม่ ทั น ฉุ ก คิ ด ว่ า แท้ จ ริ ง แล้ ว “การศึกษา” เป็น “เครื่องมือ” ทางการเมืองของผู้มี อ�ำนาจปกครอง! แต่เป็นข้อเท็จจริงที่เป็นความจริงอย่างไม่ต้องสงสัย ไม่ว่าจะในสังคมการเมืองใดก็ตาม ผู้มีอ�ำนาจปกครองต่างก็ ใช้ ร ะบบและสถาบั น การศึ ก ษาเป็ น เครื่ อ งมื อ การเมื อ ง2 ในการปลูกฝังอุดมการณ์และความเชือ่ บางอย่างเพือ่ ให้ผเู้ รียน ซึมซับรับเอาความคิด ความเชื่อ และความรู้ที่ผู้ปกครอง ต้องการจะก�ำหนดให้ จึงไม่แปลกอะไรที่การศึกษาของ ประเทศสั ง คมนิ ย มคอมมิ ว นิ ส ต์ ก็ จ ะไม่ ส อนให้ พ ลเมื อ ง ของตนได้เรียนรู้อุดมการณ์ และหลักการที่ว่าด้วยการเมือง การปกครองที่มีเสรีภาพและอิสรภาพที่จะก�ำหนดเลือกวิถี ชีวิตได้ตามที่ตนปรารถนา หากแต่จะก�ำหนดให้การศึกษา ต้องหล่อหลอมให้พลเมืองนั้นเชื่อฟังและศรัทธาในผู้น�ำ และระบอบสังคมนิยมว่า เป็นระบอบที่ดีที่สุด และการ เชือ่ ฟังผูน้ ำ� ก็เป็นสิง่ ทีด่ ที สี่ ดุ และเป็นหน้าทีข่ องพลเมือง ตรง กันข้ามกับการศึกษาในสังคมการเมืองระบอบประชาธิปไตย ก็จะพยายามปลูกฝังให้ผู้คนยึดมั่นในระบอบการเมืองที่มุ่ง เน้นการเคารพสิทธิ เสรีภาพ และการรับฟังความคิดเห็นของ กันและกัน ขณะที่สังคมที่เน้นเรื่องรัฐสวัสดิการเช่นประเทศ

อาจารย์ประจ�ำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา บรรณาธิการวารสารวิชาการสิทธิและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิชาการเครือข่ายการศึกษาเพื่อ สร้างพลเมืองประชาธิปไตย (Thai Civic Education) 2 มีงานที่วิเคราะห์ถึงการใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือทางการเมืองของผู้ปกครองไว้หลายมิติ โดยเฉพาะแง่ของการใช้เพื่อรักษาอ�ำนาจของผู้น�ำให้คงอยู่ยาวนาน ในขณะที่นักปรัชญาการศึกษาสายสันติภาพหลายคนพยายามจะชี้ให้เห็นว่า การศึกษาควรเป็นเครื่องมือสร้างความเป็นมนุษย์เพื่อมนุษย์เหล่านั้นจะได้ช่วยกัน สร้างสังคมที่ทุกคนจะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

37


ในแถบ สแกนดิเนเวียก็ปลูกฝัง ให้นักเรียนของตนเห็นคุณค่าและช่วย กันบ�ำรุงรักษาระบบรัฐสวัสดิการด้วยการท�ำงาน หนักและมีหน้าที่จ่ายภาษีอย่างตรงไปตรงมาเพื่อน�ำรายได้ ไปบริหารจัดการระบบรัฐสวัสดิการให้กับพลเมืองทุกคน อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน และเมื่อรัฐไม่จัดสวัสดิการที่ดี เพียงพอ พวกเขาก็จะลุกขึ้นมาทวงถาม ขณะที่ประเทศที ่ มุ่งเน้นเรื่องการผลิตเพื่อส่งออกหรือการค้าเพื่อก�ำไรสูง ๆ ก็จะเน้นการศึกษาที่ท�ำให้คนสามารถผลิตอะไรก็ตามที่ต้อง ขายได้ สร้างมูลค่าเพิม่ ได้ ท้ายทีส่ ดุ คนก็กลายเป็นสินค้า หรือ เป็นเพียงเครื่องจักรที่ต้องท�ำงานหนักตลอดเวลา ผลก็คือ ความเครียด การฆ่าตัวตาย ปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพจิต ตามมา ดูตวั อย่างสิงคโปร์ เกาหลีใต้ เป็นต้น หลายคนอาจจะ เคยชมภาพยนตร์ใบ้ ตอน Modern Times ที่ชาร์ลีย์ แชปลิ น นั ก แสดงที่ ไ ม่ ไ ด้ พู ด อะไรเลยแต่ แ สดงให้ เ ห็ น ความเป็นมนุษย์ทไี่ ม่ตา่ งจากเครือ่ งจักรทีถ่ กู ติดตัง้ ค�ำสัง่ ให้ทำ� แต่งาน(ดังภาพ) ไม่มสี ทิ ธิทจี่ ะได้ใช้ความเป็นมนุษย์ไปกับการ ดืม่ ด�ำ่ ความสุนทรียใ์ ด ๆ ท้ายทีส่ ดุ ความเป็นมนุษย์กล็ ดน้อย ถอยลงทุกที ๆ

38

ค�ำถามที่น่าสนใจคือ การศึกษาไทยเป็นเครื่องมือ ทางการเมืองแบบใด? และมีจุดประสงค์เพื่อผลิตผู้เรียน แบบใด? จะส่งออกมนุษย์ชนิดใดสู่สังคม? ที่ผ่านมาเราคงเห็นกันมากว่า ระบบการศึกษาไทย มุ่งเน้นการแข่งขันแบบคัดออก กล่าวคือ สร้างระบบการ แข่งขันที่จะคัดเอาเด็กที่สามารถท่องจ�ำท�ำคะแนนได้สูง ๆ

ดังที่ตั้งเกณฑ์ไว้ไปอยู่ด้วยกัน และคัดทิ้งเด็กที่ไม่ ถึงเกณฑ์ ซึ่งมีเป็นจ�ำนวนมากกว่าหลายเท่าตัวไปไว้ที่อื่น และสายอาชีพก็ถูกมองเห็นเพียงแค่เป็นสายที่ต้องใช้ทักษะ แรงงานมากกว่ า ที่ จ ะใช้ ป ั ญ ญาในการประดิ ษ ฐ์ คิ ด ค้ น สิ่งใหม่ ๆ นักเรียนสายอาชีพถูกกักขังไว้กับภาพลักษณ์ ที่ด้อยค่ากว่าสายอุดมศึกษาอื่น ๆ ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ว่า จะสายอาชีพใดก็ตาม ควรจะพัฒนาศักยภาพความเป็น มนุษย์ในด้านอื่น ๆ ให้ออกมาให้ได้มากทีส่ ดุ และส่งเสริมให้ เห็นคุณค่าความส�ำคัญทีม่ ากกว่าแค่อาชีพ เมือ่ พิจารณาทิศทางการก�ำหนดนโยบายการศึกษาไทย ที่เน้นจะตอบโจทย์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจเป็นหลักตาม ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 4.0 ในอีก 20 ปีข้างหน้ายิ่ง สะท้อนใจและหวนคิดถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติของไทยที่ประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา ซึ่ ง ก็ มุ ่ ง เน้ นที่ ก ารพั ฒ นาคนไปตอบโจทย์ ก ารพั ฒนาทาง ด้านวัตถุ เช่น ถนนหนทาง โรงงานอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมาย เพื่อเศรษฐกิจและการค้า จนลืมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไป กว่าจะคิดได้กเ็ ดินมาถึงแผน 8 นัน่ หมายความว่าผ่านเวลามา กว่า 35 ปี ถึงจะคิดได้ว่าต้องพัฒนาคน ผลที่เกิดขึ้นตามมา คือ ประเทศไทยมีแรงงานไร้ฝมี อื อยูม่ ากทีข่ าดความช�ำนาญการ แรงงานมีฝมี อื และมันสมองทีจ่ ะคิดค้นอะไรใหม่ ๆ มีนอ้ ยมาก การศึกษาถูกก�ำหนดให้รับใช้การพัฒนาเศรษฐกิจและการ ส่งออกเป็นหลัก ศักยภาพลึก ๆ ของคนการศึกษาไทยไม่ได้ สนใจให้น�้ำหนัก ดังนั้น จึงไม่แปลกอะไรที่การศึกษาไทยจะ ผลิตแต่คนที่จะออกไปเป็นเครื่องจักรในสายพานการผลิต เพื่อการส่งออกและการค้าแบบเดิม ๆ ไม่ค่อยมีอะไรใหม่ ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กเก่ง ๆ ที่ถูกคัดไว้ก็ไม่พ้นวัฎจักรนี้ เมื่อ เรียนจบระดับสูงส่วนใหญ่ ก็กลับมาอยู่ในระบบราชการ ซึ่งก็ไม่ได้ใช้ความรู้ความสามารถที่ร�่ำเรียนมาอย่างแท้จริง หากแต่ถกู ระบบอาวุโส ถูกระบบอุปถัมภ์ การเล่นพรรคพวก และถู ก กฎระเบี ย บอั น ล้ า สมั ย ของราชการกดทั บ ไว้ อีกชัน้ หนึง่ หั น มองรอบ ๆ ตั ว จะพบว่ า ผู ้ ค นในสั ง คมไทย ยิง่ นับวันจะฉาบเคลือบด้วยความเห็นแก่ตวั ฉาบฉวย คิดแต่ จะเอาเปรียบกัน มองทุกอย่างเป็นก�ำไรขาดทุน ตีค่าน�้ำใจ เป็นผลประโยชน์ตอบแทน มีอะไรนิดหน่อยก็ลุกขึ้นมาใช้


ความรุนแรงด่าทอตบตี ไม่เว้นแม้กระทั่งที่เราเคยถูกท�ำให้ เชือ่ ว่า ผูช้ ายชาตรีโดยเฉพาะทีเ่ รียกว่า “ชายชาติทหาร” จะ ไม่ตบตีผู้หญิง แต่เราก็ได้เห็นผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ยิ่งกว่านั้น นโยบายของรัฐบาลที่ออกมายิ่งดูจะสวนทาง และย้อนแย้งในตัวไม่น้อย เป็นต้น ปัจจุบนั ดูเหมือนการศึกษาไทยยิง่ ปฏิรปู ยิง่ มองไม่คอ่ ย จะเห็นทิศทางว่าจะช่วยยกระดับการพัฒนาศักยภาพของคน ได้มากขึ้นเท่าไรนัก โดยเฉพาะในมิติการศึกษาเพื่อสร้าง ความเป็นมนุษย์ทมี่ หี วั จิตหัวใจ มีความสามารถในการเข้าถึง ซึ่งความดี ความงาม และการเคารพกันและกันในฐานะเป็น มนุษย์ มีภมู คิ มุ้ กันตนเองเมือ่ ต้องเผชิญกับภาวะทีย่ ากล�ำบาก และมีความสามารถในการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง หรือความหุนหันพลันแล่น กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ การศึกษา

ที่เน้นจิตวิญญาณความ เป็นมนุษย์ที่มิใช่เรื่องของ การศาสนา หากแต่ เ ป็ น การ ศึกษาที่เน้นคุณธรรมความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ การคิดถึงสายสัมพันธ์ที่เกาะ เกีย่ วเชือ่ มโยงและเป็นพีเ่ ป็นน้องร่วมสังคม เ ดี ย ว กั น เ น ้ น ก า ร เ ค า ร พ ใ ห ้ เ กี ย ร ติ และเห็นคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งต่าง ๆ มีความ ละเมี ย ดละไมในการใช้ ชี วิต คิ ด ถึ ง ส่ วนร่ วมว่ า ส�ำคัญต่อการด�ำรงอยูข่ องตนด้วย นัน่ จึงควรเป็นเป้า หมายของการปฏิรูปการศึกษาที่นอกจากจะยกระดับ คุณภาพชีวิตจากการมีงานท�ำหลังส�ำเร็จการศึกษาแล้ว ต้องส่งผ่านระบบคิดไปให้ถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์

39


จากบทเทศน์เข้าเงียบ ประจ�ำปี 2006 โดยซิสเตอร์แอร์ตา ชิโกเลีย ธมอ.

40

โดยทัว่ ๆ ไป ผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิ์ หมายถึงผูท้ ถี่ วายแด่พระเจ้าแล้วและได้รบั แต่งตัง้ ให้เป็นผูร้ บั ใช้พระองค์ นอกจากนัน้ ยังหมายถึงผู้มีความเชื่อในพระคริสตเจ้าทุกคนซึ่งได้รับความรอดพ้น เข้ามามีส่วนร่วมชีวิตเหนือธรรมชาติกับ พระตรีเอกภาพโดยทางความเชื่อและศีลล้างบาปไม่ว่าเขาจะเติบโตในด้านอุปนิสัยและด้านจิตใจมากน้อยเพียงใด ก็ตาม...(http://www.thaicatholicbible.com) บรรดาซิสเตอร์ผศู้ กั ดิส์ ทิ ธิข์ องคณะธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ ก็เช่นเดียวกัน เป็นผูท้ มี่ คี วามเชือ่ ในพระคริสตเจ้า อย่างแน้นแฟ้น มีคณ ุ ธรรมสูงเด่น ดังทีซ่ สิ เตอร์แอร์ตา ชิโกเลีย ธมอ. ได้เขียนไว้วา่ “...พวกเขาเป็นสตรีแห่งพระคัมภีร์ ในความหมายทีว่ า่ พวกเขาท�ำให้ชวี ติ ของตนเป็นการตอบรับองค์พระเจ้าด้วยความนอบน้อม ด้วยใจสุภาพ ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงกลับเป็นผูน้ ำ� ความรอดพ้นโดยไม่รตู้ วั ได้มสี ว่ นร่วมในการท�ำให้เมล็ดพันธุเ์ ล็ก ๆ ทีพ่ ระเยซูเจ้าพูดถึงให้กลับ เป็นต้นไม้ใหญ่โตพอที่นกทั้งหลายจะมาพักอาศัยได้…” สื่อสาร ธมอ. ในฉบับนี้จึงขอน�ำเสนอชีวประวัติย่อ ๆ ของ ซิสเตอร์เอมีเลีย โมสกา...ผูท้ ไี่ ด้เคยเจริญชีวติ พร้อมกับมารดาผูก้ อ่ ตัง้ คณะ นัน่ คือ “นักบุญมาเรีย โดมินกิ า มัสซาแรลโล”

ซิสเตอร์ เอมีเลีย โมสกา (Emilia Mosca) เกิดที่ อีเวรอา (Ivrea) วันที่ 1 เมษายน 1852 มาถึงที่มอร์เนเซ (Mornese) ปี 1872 เสียชีวิตที่ อาลาสซีโอ (Alassio) วันที่ 2 ตุลาคม 1900 เอมีเลีย “...ดิฉันกลัวน�้ำใจอันอ่อนแอของดิฉัน” พ่อบอสโก “เราจะตรึงมันที่ไม้กางเขนและที่นั่นมันจะมั่นคง” เธอมาจากตระกูลสูง มารดาเป็นเชือ้ สายจากท่านเคาน์เบลเลกราร์เด เด เซนต์ ลารี่ (Bellegrarde de Saint Lary) บิดาเป็นหลานของคาร์โล แบร์นาร์ดโี น โมสกา (Carlo Bernardino Mosca) สถาปนิกผูอ้ อกแบบสะพาน ข้ามแม่น�้ำโดรา (Dora) ที่ใกล้กรุงตุริน การล้มละลายบังคับครอบครัวให้น�ำ เอมีเลียไปอยู่กับคุณย่าที่อาโอสตา (Aosta) เอมีเลียเจริญชีวิตในวัยเด็กในความทุกข์


“ฉันไม่ได้ร้องไห้ ได้แต่เงียบ” ท่าทีนี้กลับเป็นบุคลิก ของเธอ ปิดตัว ไม่สุงสิงกับใครง่าย ๆ เมื่อกลับมาอยู่กับ ครอบครัว เธอถูกส่งเข้าในโรงเรียนประจ�ำและอยูท่ นี่ นั่ ตัง้ แต่ อายุ 13-17 ปี และได้รับวุฒิบัตรด้านภาษาฝรั่งเศสจาก มหาวิทยาลัยแห่งราชวงศ์ที่กรุงตุรินในปี 1870 เธอพูดอย่าง เด็ดขาดกับบิดาผูเ้ ป็นห่วงในการหาคนช่วยฝากเธอเข้าท�ำงาน ว่า “บุคคลแรกทีจ่ ะรับรองลูกคือตัวของลูกเอง” เป็นค�ำพูด ที่กล้ามากส�ำหรับสมัยนั้น บ่งบอกลักษณะของการเป็นสตรี ที่เ ป็ น ตั ว ของตั ว เอง แสดงถึงพลังที่เ ธอเคยใช้เ พื่ อ บรรลุ ความส�ำเร็จในการเรียนและเวลานี้เธอต้องการใช้ความรู้นั้น เพื่อท�ำงาน การตัดสินใจเกี่ยวกับการท�ำงานชัดเจนขึ้นหลังจาก ได้ พ บกั บ คุ ณ พ่ อ บอสโก ท่ า นเสนอให้ เ ธอไปที่ ม อร์ เ นเซ “เธอเต็มใจไปที่นั่นใช่ไหม?....ที่นั่นมีลมแรง.....พยายาม เตรียมตัวดี ๆ นะ” ดังนั้นท่ามกลางความหนาวเย็นของ เดือนธันวาคม ปี 1872 เอมีเลีย โมสกา ได้มาถึงมอร์เนเซ เธอปฏิญาณตนเป็นนักบวชครัง้ แรกในปี 1874 และปฏิญาณตน ตลอดชีพในปี 1875

การชี้น�ำของมาเดอร์มัสซาแรลโล

ทีม่ อเนร์เซมีทสี่ ำ� หรับทุกคน และโดยมากมักจะมีการ ก้าวกระโดด มาเดอร์มัสซาแรลโลมีศิลปะในการสัมผัส และเข้าลึกถึงจิตใจ ที่มอเนร์เซ เอมีเลีย โมสกาพบตนเองอยู่ต่อหน้าสตรี ที่มีความสุขยินดี สุภาพ พากเพียร อ่อนโยน สุขุม รอบคอบ หนั ก แน่ น มั่ น คง เปิ ด เผย จริ ง ใจ พู ด และเรี ย กร้ อ ง ด้วยความชัดเจนที่สร้างความประหลาดใจ ทิ้งให้เก็บไปคิด เปิดทางให้เลือกและตัดสินใจ ข้อเสนอของมาเดอร์มสั ซาแรลโลไม่ได้ปดิ บังทีจ่ ะต้อง ผ่านรหัสธรรมปาสกา การเข้าในรหัสธรรมนี้เท่านั้นที่ท�ำให้ ชี วิ ต การติ ด ตามพระคริ ส ตเจ้ า พบความหมาย “เธอจะ สามารถรั บ ความทุ ก ข์ ม ากมายเช่ น นี้ ห รื อ ? ...” “ด้วยความช่วยเหลือของพระเจ้า” คุ ณ พ่ อ บอสโกได้ ชี้ ห นทางแห่ ง พระวรสารโดยใช้ พระวาจาที่ว่า “อาหารของเราคือการท�ำตามพระประสงค์ ของพระบิดา”(ยน. 4, 34) จ�ำเป็นจะต้องตรึงน�ำ้ ใจกับกางเขน นี่เป็นลักษณะพื้นฐานอย่างหนึ่งของจิตตารมณ์มอร์เนเซ ก่อนสิ้นใจมาเดอร์มัสซาแรลโลก�ำชับบรรดาลูก ๆ อย่าง แข็งขันว่า “ลด! ความต้องการที่จะออกค�ำสั่งลง”

ซิสเตอร์เอมีเลีย มีโชคดีที่ได้อยู่เฝ้ามาเดอร์ มั ส ซาแรลโลในระยะสุ ด ท้ า ย ของท่ า น ได้ ยิ น การสนทนากั บ พระเยซูเจ้า ค�ำพูดเหล่านัน้ ฝังลึกในใจ ของเธอ ค�ำพูดที่บ่งบอกถึงความรักต่อ ไม้กางเขน เป็นความรักทีอ่ อ่ นโยนและลึกซึง้ ทีส่ ดุ “...ลูกรักพระองค์มากมายจริง ๆ พระเยซูเจ้า ของลู ก ถ้ า ลู ก ได้ พ บพระองค์ บ นทางสู ่ เขา กัลวารีโอ ลูกปรารถนาที่จะไม่เป็นเหมือนคนที่ เฆี่ ย นตี พ ระองค์ โอ ถ้ า ลู ก สามารถพบพระองค์ สวมกอดพระองค์ แ ละรั บ การทรมานทั้ ง หมดของ พระองค์ . ...พระเยซู ข องลู ก ...ท� ำ ไมลู ก ไม่ ส ามารถรั ก พระองค์อย่างที่ทรงสมควร?” นีเ่ ป็นความหมายของความรักต่อไม้กางเขน ความรัก ที่หนักแน่น เต็มไปด้วยชีวิต ต่อพระเจ้าผู้ทรงมอบชีวิตของ พระองค์ แ ก่ ฉั น เป็ นสิ่ ง ที่ ซิ ส เตอร์ เ อมี เ ลี ย เห็ นในตั ว ของ มาเดอร์ และในความรักแบบนีท้ เี่ ธอสามารถตรึงน�ำ้ ใจไว้โดย ไม่กลัวที่จะสูญเสียอิสรภาพ เธอเป็ น เลขาส่ ว นตั ว ของมาเดอร์ เ ป็ น เวลา 9 ปี จากนัน้ ได้รบั แต่งตัง้ เป็นผูร้ บั ผิดชอบด้านการศึกษาของคณะ เธอเป็นศิษย์และเพือ่ นสนิทของมาเดอร์มสั ซาแรลโล ทัง้ สอง มีความต่างกันมากตามภูมิหลังที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม ทัง้ สองได้บรรลุถงึ เอกภาพ อันเป็นผลของการ รู้จักสดับฟังด้วยความอ่อนน้อมต่อองค์พระจิตเจ้า แรงจู ง ใจที่ น� ำ เอมี เ ลี ย ให้ เข้ า เป็ น ธิ ด าแม่ พ ระ องค์อุปถัมภ์นั้นน่าสนใจ หนังสือบันทึกเหตุการณ์เล่าว่า เอมีเลียถูกดึงดูดจาก บรรยากาศครอบครั ว และจากจิ ต ตารมณ์ อั น ลึ ก ซึ้ ง ที่มอร์เนเซมีความเป็นอยู่เรียบง่าย มีงานมาก แต่มีชีวิต จิตลึกซึง้ เป็นชีวติ ทีบ่ งั เกิดผล สิง่ เหล่านีด้ งึ ดูดใจเธอ หลังจาก ทีเ่ ข้าไปอยูใ่ นบ้านมอร์เนเซเพียงเวลา 1 เดือน เธอก็ได้ขอเข้า เป็นโปสตูลันต์ ถึงกระนัน้ มาเดอร์มสั ซาแรลโลก็ไม่ได้ละเว้นทีจ่ ะช่วย เธอให้เรียนรู้การถ่อมตน ท่านได้ให้เธอเดินบนหนทางเส้นนี้ ตั้งแต่แรกทีเดียว เธอได้รับหน้าที่เป็นครูผู้สอน พร้อมกับ หน้าที่ที่จะท�ำตนเป็นทุกสิ่งส�ำหรับทุกคน เธอเป็ น ศิ ษ ย์ ผู ้ ซื่ อ สั ต ย์ จ นถึ ง วาระสุ ด ท้ า ยของ มาเดอร์มัสซาแรลโล “เธออยู่ข้างเตียงของท่านเสมอ เพื่อ

41


เก็บรวบรวมทุกค�ำพูด และทุกตัวอย่าง.... เธอผู้เข้มแข็ง และเคยเป็นนายเหนือตนเองเสมอกลับร้องไห้ คร�่ำครวญด้วยความทุกข์ระทม “ฉันจะท�ำอย่างไร ถ้ามาเดอร์เสียชีวติ ” จนซิสเตอร์มกั ดาเลนา โมราโนต้องช่วย เตื อ นสติ แ ละท� ำ ให้ เ ธอได้ คิ ด บนเตี ย งแห่ ง ความตาย มาเดอร์มัสซาแรลโลได้ก�ำชับเธอว่า “จงใส่ใจ ให้พวกเธอรัก ซึ่งกันและกัน”

ในห้องเล็กแห่งดวงใจ ...

42

ซิสเตอร์เอมีลีอา โมสกา ได้มีบทบาทส�ำคัญในคณะ หลังมรณภาพของมาเดอร์มัสซาแรลโล เธออยู่เคียงข้าง มาเดอร์คาทารีนา ดาเกโร ผู้มีอายุน้อยกว่าเธอ และไม่ม ี ความรู้เหมือนเธอเป็นถึงเวลา 19 ปี ในฐานะผูร้ บั ผิดชอบด้านการศึกษา เธอได้รบั มอบหมาย งานด้าน การอบรม เธอได้ท�ำงานที่หนักและยากล�ำบากนี้ เป็นเวลา 30 ปี ต้องเสียสละมิใช่น้อยเพื่อให้โรงเรียนที่นิสซา มอนเฟราโตได้รับการรับรอง เราปรารถนาอยากศึกษาอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับชีวิต ภายในของเธอ ที่ซึ่งพระหรรษทานได้ท�ำงานอย่างลึกลับ ในประสบการณ์ของมนุษย์ และท�ำให้เหตุการณ์ต่าง ๆ ของ ชีวิตประจ�ำวัน กลับเป็นหนทางแห่งความศักดิ์สิทธิ์ “........จงไปและอยู่ในห้องภายในของเธอและห้อง ภายในนั้น จะสอนเธอทุกสิ่ง ” (Abba Mose) “พระจิ ต แห่ ง ความจริ ง จะน� ำ ท่ า นไปสู ่ ค วามจริ ง ทั้งมวล” (ยน. 16,13) ห้องภายในคือมโนธรรม คือหัวใจ คือค�ำภาวนา คือ ความลึกซึ้งแห่งความเป็นทั้งหมดของเรา เป็นที่ซึ่งพระเจ้า ประทั บ อยู ่ แ ละทรงน� ำ ผู ้ ที่ แ สวงหาพระองค์ ด ้ ว ยจิ ต และความจริง “อาศัยพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า ฉันต้องการ ส�ำรวมตนภายในอย่างครบบริบูรณ์ ” เธอผู้ซึ่งมีความพร้อม ความเชี่ยวชาญและมีบุคลิก เข้มแข็ง กลับเลือกหนทางแห่งการสละตน การถ่อมตน เมื่ อ เพื่ อ นสมาชิ ก สั ง เกตเห็ น การเลื อ กของเธอและถาม เกี่ยวกับเรื่องนี้ เธอตอบว่า “ดิฉันได้เรียนรู้สิ่งนี้ที่มอร์เนเซ” ทีม่ อร์เนเซเธอได้เรียนรูค้ วามส�ำคัญของการเจริญชีวติ

ภายใน เพือ่ เพิม่ ความเข้มแข็งให้กบั ชีวติ ความเชือ่ ความเชื่อซึ่งเป็นกิจการของพระเจ้าดังที่พระเยซูเจ้าตรัสใน พระวรสาร (เทียบ ยอห์น 6, 29) เธอรับเอาความคิดของ คุ ณ พ่ อ บอสโกที่ ว ่ า ตรึ ง น�้ ำ ใจของตนไว้ กั บ ไม้ ก างเขน และฝั ง ไว้ ใ นใจเหมื อ นตะปู ที่ ฝ ั ง เข้ า ไปในเนื้ อ ไม้ ก างเขน และขณะที่ ท� ำ งานด้ า นโรงเรี ย นด้ ว ยเกี ย รติ แ ละความ เชี่ยวชาญ จิตใจของเธออยู่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าเพื่อ ถวายเครือ่ งบูชา “ท�ำหน้าทีข่ องตนในขณะทีห่ น้าทีน่ นั้ ท�ำให้ เราต้องหยดเลือดจากหัวใจเป็นคุณธรรมยิ่งใหญ่ ซึ่งไม่มีการ ตอบแทนใดของมนุษย์จะเหมาะสมกับการเสียสละนี้” จากค�ำพูดนีข้ องเธอ เราสามารถอ่านอีกด้านหนึง่ ของ ก้าวเดินฝ่ายจิตของเธอ เป็นเวลาหลายปีทเี่ ธอเป็นบุคคลทีม่ ี ความรูแ้ ละมีความพร้อมมากทีส่ ดุ ในคณะ ทีม่ อร์เนเซเธอพบ กับกลุ่มสตรีที่มีคุณธรรมขั้นสูงแต่แทบจะไม่มีความรู้เลย “ตรึงน�้ำใจของตนที่กางเขน” หมายถึงการต่อสู้กับตนเอง ต่อสู้กับการมีวิสัยทัศน์ วิธีมองสิ่งต่าง ๆ ของเธอซึ่งอาจไม่ เป็นที่เข้าใจและไม่มีใครสนับสนุนเห็นด้วย นั่นหมายถึง การต้องอยู่ในเวลาแห่งความเงียบและโดดเดี่ยว ซิ ส เตอร์ เ อมี ลี อ าได้ เจริ ญ ชี วิ ต แห่ ง ความนบนอบ ในความเชื่อ (เทียบ โรม 1, 5) ซึ่งไม่ใช่เป็นการตอบรับครั้ง เดียวตลอดไป แต่เป็น“การต่อสูก้ บั การประจญในทางโลกที่ จะไม่นบนอบ ไม่ขนึ้ กับใคร ต่อสูก้ บั ความทะนงตนแบบมนุษย์ ผู้เจริญชีวิตตามเนื้อหนัง ดังที่นักบุญเปาโลกล่าวถึง บุคคล เหล่านี้มีเหตุผลมากมายเสมอที่จะขัดสู้กับความเชื่อ” อ่านต่อฉบับหน้า...ในห้องเล็กแห่งดวงใจ...


l

โดยซิสเตอร์ศิริรัตน์ อนุวัฒน์ประกิจ

ผลมะม่วงกับมงกุฎพระราชา

ขอบคุณภาพจาก mango.org

กาลครั้ ง หนึ่ ง นานมาแล้ ว มี พ ระราชาองค์ ห นึ่ ง พระนามว่า ทรงมีพระประสงค์จะเสด็จประพาสชมธรรมชาติ นอกพระราชวังเป็นการส่วนพระองค์กบั พระนางสร้อยระย้า พระมเหสี จึงเสด็จออกจากพระราชวังแต่เช้าตรู่ ในเวลาเดียวกันนัน้ เองก็มชี ายยากจนข้นแค้นคนหนึง่ เดินเตร็ดเตร่มาใกล้ ๆ กับบริเวณที่ขบวนเสด็จของพระเจ้า พรหมจักรหยุดพักอยู่ ชายยากจนคนนั้น ก�ำลังหิวโหยมาก เขาไม่ได้กนิ อะไรมาแล้วสามวัน ไม่เพียงแค่นนั้ ลูก ๆ ของเขา ที่รอคอยอยู่ที่บ้านก็ก�ำลังจะอดตายเช่นเดียวกัน ชายยากจนทรุดตัวลงนั่งใต้ต้นไม้ใหญ่นึกถึงลูก ๆ และตัดพ้อด้วยความน้อยใจ “ท่านเทวดาอารักษ์ แม้ข้าจะ มิใช่ผทู้ ที่ ำ� ประโยชน์ให้ใครมากมาย แต่ขา้ ก็ไม่เคยเบียดเบียน ใคร ข้ายากจนก็จริงแต่ขา้ ท�ำงานหนัก ไม่เคยลักขโมยใครเลย สักครัง้ แล้วเหตุใดจึงไม่เมตตาช่วยเหลือข้าบ้างเล่า” ฉับพลัน แววตาเขาเป็นประกายเมื่อมองเห็นมะม่วงผลงามชูช่ออยู่ ไกล ๆ รูส้ กึ ขอบคุณเทวดา ทีจ่ ะได้มะม่วงไปฝากลูก ๆ ทีบ่ า้ น จะได้หายหิวกันสักที เขาจึงเก็บก้อนหินขนาดเหมาะมือ ขึ้นมาหลายก้อนแล้วปาไปที่บรรดาผลมะม่วงสุก แต่ชาย ยากจนหารู้ไม่ว่าก้อนหินก้อนหนึ่งนั้นกระเด็นไปโดนมงกุฎ ของพระเจ้าพรหมจักรเข้าด้วย ฝ่ายพระเจ้าพรหมจักรซึง่ ก�ำลังทอดพระเนตรกล้วยไม้ปา่ อย่างสนพระทัยเมื่อมีก้อนหินลึกลับกระเด็นมาโดนมงกุฎ ของพระองค์ ก็มิได้ทรงพิโรธแต่ประการใด ตรงกันข้ามกับ

เหล่ า ข้ า ราชบริ พ ารที่ ตามเสด็ จ ที่ รู ้ สึ ก โกรธ และสั่งทหารอย่างลับ ๆ ให้ไป หาตัวผู้กระท�ำผิดมาลงโทษ เมื่อ พระองค์ทรงทราบจึงห้ามมิให้ลงโทษ ชายยากจน พร้ อ มทั้ ง รั บ สั่ ง ว่ า “ลู ก ทุ ก คนมี ความหมายกับพ่อแม่ แม้แต่ลูกที่เลวที่สุด คนเป็ น พ่ อ ก็ ยั ง ตั ด ไม่ ไ ด้ พวกท่ า นเองก็ รั ก และเทิดทูนเราเพราะเรามีความรักให้กับพวกท่าน และประชาชน เสมือนความรักทีพ่ อ่ มีให้แก่ลกู มิใช่หรือ ดั ง นั้ น จะไม่ มี ช าวบ้ า นคนไหนต�่ ำ ต้ อ ยเกิ น ไป จนหาความเมตตาจากเราไม่ได้หรอก” แล้วพระองค์หนั ไปถามชายยากจนว่า “เจ้าได้มะม่วง ไปกีผ่ ล” “ข้าพระองค์ได้มะม่วงไปทัง้ หมด 10 ผลพระเจ้าค่ะ” ชายยากจนตอบเสี ย งสั่ น “เจ้ า เอามะม่ ว งไปท� ำ อะไร มากมายขนาดนั้ น ” พระเจ้ า พรหมจั ก รตรั ส ถามอี ก “ข้ า พระองค์ เ ป็ น คนยากจนแต่ มี ลู ก มากถึ ง ห้ า คน และลูก ๆ ของข้าพระองค์ก็อดอาหารมาแล้วหลายวัน ดังนั้นเมื่อเห็นมะม่วงผลงาม ข้าพระองค์ก็นึกถึงลูก ๆ จึง เก็บไปให้พวกเขาคนละสองผลพระเจ้าค่ะ” ชายยากจน ตอบอย่างตื่นกลัว พระเจ้าพรหมจักรฟังปัญหาของชายยากจนแล้วรูส้ กึ สะเทือนพระทัย ตรัสสั่งให้เสนาบดีฝ่ายพระคลังเบิกอาหาร มามอบให้เขาไปตลอดชีวิต เหล่าข้าราชบริพารไม่เข้าใจ และทูลถามว่า “ชายคนนี้เป็นผู้ท�ำร้ายพระองค์ แล้วเหตุใด พระองค์จึงพระราชทานอาหารแก่เขามากมายเช่นนั้น"

43


พระเจ้าพรหมจักรสอนว่า “ ช า ว บ ้ า น ผู ้ น ่ า ส ง ส า ร ค น นี ้ ขว้างก้อนหินเพื่อเอามะม่วงไปให้ลูก ๆ ของเขา รับประทาน และท่านเสนาบดีก็บอกเราว่า มะม่วงมีค่า ท�ำให้คนหายหิวได้หนึง่ วัน แต่เมือ่ หินก้อนนัน้ บังเอิญมาโดน เราซึ่งเป็นมนุษย์ และเป็นพระราชาด้วยแล้ว สิ่งที่ชายผู้นี้ ได้รับจึงน่าจะต้องมีค่ามากกว่ามะม่วงที่ท�ำให้เขาหายหิวได้ เพียงหนึ่งวันมิใช่หรือ ดังนั้นเราจึงมอบอาหารที่ท�ำให้เขา หายหิวได้ไปตลอดชีวิตอย่างไรเล่า”

เมื่อข้าราชบริพารได้ฟังเหตุผลดังกล่าวก็ไม่มีใครทูล คัดค้านพระองค์อีก ส่วนชายยากจนเมื่อพ้นโทษไปแล้วก็ได้ น�ำเรือ่ งนีไ้ ปเล่าให้ชาวบ้านคนอืน่ ๆ ฟังจนทัว่ ชาวบ้านทุกคน จึ ง ยิ่ ง รั ก และเทิ ด ทู น พระเจ้ า พรหมจั ก รมากขึ้ น เพราะ ความเมตตาที่ทรงมีต่อประชาชนของพระองค์นั่นเอง Credit: ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 2556

บทสอน สังคมรอบข้างเรา มีผู้คนมากมายที่ยากจน ขัดสน ขณะที่เรามีอาหาร มีบ้าน มีเครื่องอ�ำนวยความสะดวก แต่มีหลายคนที่ขาดแคลนแม้สิ่งที่จ�ำเป็นส�ำหรับชีวิต เราไม่สนับสนุนการกระท�ำผิด เราไม่ยกย่องคนที่ท�ำ ความชัว่ แต่ให้เรามี มีใจเมตตาสงสาร โดยเฉพาะกับคนทีย่ ากจนและขัดสน มีหลายคนทีท่ ำ� ผิดเพราะสถาการณ์ หรือสภาพแวดล้อมที่จ�ำเป็น เราไม่สามารถตัดสินทุกคนด้วยมาตรฐานเดียวกัน พระเยซูเจ้าสอนเราว่า “อย่า ตัดสินคนอื่น แล้วท่านจะไม่ถูกตัดสิน” “ จงมีใจเมตตาสงสารต่อคนอื่น และท่านจะได้รับความเมตตา ตอบแทน” ให้เราร่วมกันสร้างสังคมแห่งความรัก เมตตา และแบ่งปัน เพื่อรอยยิ้มและความสุขใจจะปรากฎ ในใบหน้าของผู้คนอีกมากมาย ที่พระเจ้าประทานให้เป็นเพื่อนพี่น้องของเรา

44


น�้ำกับทิฐิ

นานมาแล้วมีชายคนหนึง่ ชือ่ ว่า ทิฐิ เขาเป็นคนทีม่ นี สิ ยั อวดดือ้ ถือดีไม่ตา่ งจากชือ่ เพราะเมือ่ ได้ลองเชือ่ มัน่ ในสิง่ ใดแล้ว ทิฐคิ นนีก้ จ็ ะยึดมัน่ ถือมัน่ ในสิง่ นัน้ ไม่เปลีย่ น และจะไม่ยอมรับ ฟังข้อคิดเห็นที่ผิดไปจากความเชื่อเดิมโดยเด็ดขาด แม้ว่านี่จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นคนเอาจริงเอาจัง และเคร่งครัดกับชีวิต แต่บางครั้งเขาก็ดื้อรั้นมากเกินไป จนขาดเหตุผล และท�ำให้สูญเสียสิ่งดี ๆ ในชีวิตไปมากมาย โดยที่เขาเองก็ไม่เคยรู้มาก่อน ส�ำหรับทิฐิ เขาไม่ใช่คนร�ำ่ รวย ดังนัน้ จึงต้องท�ำงานหนัก เพือ่ หาเงินมาใช้จา่ ย กระทัง่ มีฐานะขึน้ มาในระดับหนึง่ ทิฐจิ งึ คิดที่จะหยุดพักตัวเองจากการงาน แล้วเดินทางไป เรื่อย ๆ เพือ่ เทีย่ วชมโลกกว้าง เมือ่ ตัดสินใจได้ดงั นัน้ ทิฐจิ งึ จัดการฝาก บ้านไว้กบั ญาติพนี่ อ้ ง แล้วเก็บสัมภาระออกเดินทางทันที ทิฐิ เดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ชมนั่นแลนี่ และพูดคุยกับผู้คนที่อยู่ ในที่เหล่านั้นมากมาย การท่องโลกกว้างของทิฐิน่าจะท�ำให้ เขามีความรูด้ ี ๆ หรือเกิดทัศนคติใหม่ ๆ ขึน้ มาบ้าง แต่เมือ่ ไร ก็ตามทีม่ คี นกล่าวค�ำซึง่ ผิดไปจากความรู้ หรือความเชือ่ มัน่ เดิม ของเขา ทิฐิก็จะรีบกล่าวแก่คน ๆ นั้นทันทีว่า “นั่นไม่ถูกเลยนะ ที่จริงแล้วมันต้องเป็นดังที่ข้ารู้มา ต่างหาก”

สิ่ ง นี้ เ องท� ำ ให้ ก าร เดินทางไปทัว่ โลกของเขา แทบจะ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดขึ้นใน ชีวิตของเขาเลย กระทัง่ วันหนึง่ ทิฐไิ ด้พลัดหลงเข้าไป ในดินแดนแห่งทะเลทรายอันแสนแห้งแล้ง และไร้ผู้คนสัญจร เขาหลงทางอยู่ในดินแดน แห่งนัน้ สามวันสามคืน จนกระทัง่ อาหาร และน�ำ้ ดืม่ ร่อยหรอและหมดลงในที่สุด ทิฐิจึงเดินต่อไปไม่ไหว เขาล้มลงนอนบนผืนทรายอย่างคนสิ้นเรี่ยวแรง แต่ทิฐิยังไม่อยากตายตอนนี้ ดังนั้นแม้ร่างกายจะ อ่อนระโหยโรยแรงขนาดไหน แต่เขาก็รวบรวมพลังใจของ ตนเฝ้ากล่าวค�ำภาวนาขอความเมตตาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ ช่วยเหลือเขาด้วย “ข้ า แต่ สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ทั้ ง หลาย ได้ โ ปรดเมตตาข้ า ผู ้ ซึ่ ง ไม่ เ คยเบี ย ดเบี ย นใคร ขอทรงประทานน�้ ำ มาให้ ข ้ า ได้รักษาชีวิตของตนเองไว้ แม้เพียงหนึ่งหยดก็ยังดี” แล้ว ในตอนนั้นเอง ทิฐิก็เห็นชายแปลกหน้าชาวเยอรมันคนหนึ่ง เดินตรงมาหาเขา ทิฐิดีใจสุดจะกล่าว แล้วรีบพูดขึ้นทันทีว่า “โอ…ท่านผู้เป็นความหวังของข้า โปรดแบ่งน�้ำของ ท่านให้ข้าดื่มด้วยเถิด” ชายคนนั้นยื่นถุงหนังสีน�้ำตาลในมือ ให้แก่ทิฐิ แล้วกล่าวว่า “นี่คือ วาสซ่าร์ จงดื่มเสียสิ แต่ทิฐิไม่อยากได้วาสซ่าร์ เขาอยากได้น�้ำ ดังนั้นเขา จึงปฏิเสธที่จะรับถุงหนังสีน�้ำตาลจากชายแปลกหน้าคนนั้น ชายคนนั้นจึงเดินจากไป ทิฐภิ าวนาต่อสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิอ์ กี ครัง้ คราวนีม้ ชี ายชาวจีน คนหนึ่งเดินถือถุงหนังสีแดงเข้ามายื่นให้แก่ทิฐิ “นี่คือ น�้ำ ใช่หรือไม่” ทิฐิถามชายชาวจีน “นี่คือ ซือจุ้ย จงดื่มเสียสิ” ชายชาวจีนตอบ ทิ ฐิ รู ้ สึ ก ไม่ พ อใจ ตอนนี้ เ ขากระหายน�้ ำ มาก เหลื อ เกิ น แล้ ว แต่ ท� ำ ไมชายผู ้ นี้ จึ ง น� ำ ซื อ จุ ้ ย มามอบให้ แก่ เขาเล่ า ทิ ฐิ จึ ง ปฏิ เ สธถุ ง หนั ง สี แ ดงของชายชาวจี น ชายชาวจีนจึงเดินจากไป

45


ทิฐิเริ่มภาวนาถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีก และครั้ ง นี้ มี ผู ้ ห ญิ ง ชาวอิ น เดี ย คนหนึ่ ง มาปรากฏกายตรงหน้าของเขาในแทบจะทันที “เธอผู้มีใจเมตตา ขอน�้ำให้ข้าดื่มหน่อยเถิด” ทิฐิ พึมพ�ำค�ำอ้อนวอนออกจากริมฝีปากที่แห้งผาก “นี่คือ ปานี จงดื่มเสียสิ” หญิงชาวอินเดียกล่าว พร้อมกับยืน่ ถุงหนังสีเขียวให้กบั ทิฐิ แต่นนั่ ท�ำให้ทฐิ โิ กรธมาก เขารวบรวมเรี่ยวแรงทั้งหมดที่มี ยกแขนปัดถุงหนังสีเขียวให้ พ้นหน้า แล้วพูดอย่างโกรธเคืองว่า “ข้าไม่เอาของ ๆ เจ้า ข้าจะตายเพราะขาดน�ำ้ อยูแ่ ล้ว ข้าต้องการน�้ำเท่านั้น!”

หญิงอินเดียเมื่อได้ฟังดังนั้นก็เดินจากไปอีกคน ทิฐิ เฝ้าอ้อนวอนขอสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิอ์ กี ครัง้ แต่คราวนีไ้ ม่มใี ครน�ำอะไร มายื่นให้เขาอีกแล้ว จิตของทิฐิก�ำลังหลุดลอยออกจากร่างที่ใกล้แตกดับ แล้วในตอนนั้นเอง เสียง ๆ หนึ่งก็ดังแว่ว ๆ ให้ได้ยินว่า “ทิฐคิ นถือดีเอ๋ย เราช่วยเจ้าแล้ว แต่เจ้ากลับไม่เคยให้ โอกาสตนเองเลย หากเจ้าเปิดใจให้กว้าง และยอมรับในข้อดี ของสิ่งที่ไม่คุ้นเคยเสียบ้าง เจ้าก็คงรู้ว่าสิ่งที่อยู่ในถุงหนัง ทั้งสามนั้น ต่างก็เป็นน�้ำดื่มบริสุทธิ์ทั้งสิ้น” เมื่อสิ้นเสียงแว่วนั้น ทิฐิคนถือดีก็สิ้นลมหายใจทันที

ขอบคุณนิทานน�้ำกับทิฐิจากหนังสือนิทานสีขาว โดยดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา

46


l

โดยคุณอภิรดี โกศัยกานนท์

นอนน้อย ท�ำให้อ้วนจริงหรือไม่ หลายท่านคงจะสังเกตได้ว่า มีคนหนุ่มสาวและเด็กที่ เข้าข่ายว่าเป็น “คนอ้วน” มากขึน้ เมือ่ เปรียบเทียบกับในอดีต ค� ำ เปรี ย บเปรยที่ ว ่ า “นอนจนอ้ ว นเป็ น หมู ” ไม่ ต รงกั บ ความจริ ง เสมอไป คนที่ น อนน้ อ ยมี โ อกาสอ้ ว นมากกว่ า คนนอนหลับปกติ ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งส�ำรวจในระหว่างปี ค.ศ. 2013-2014 พบว่าราว 70% ของชาวอเมริกันมีน�้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน (โดยวัดจาก ผู้ที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 ขึ้นไป) ผู้ชายที่เป็นโรคอ้วน มีจ�ำนวนมากกว่าผู้หญิง ทั้งนี้ 7.7 เปอร์เซ็นต์เข้าขั้นเป็น โรคอ้วนมาก โดยผู้หญิงที่เป็นโรคอ้วนมากมีมากกว่าผู้ชาย ในเด็กและวัยรุ่นที่มีอายุ

ภาพจาก : https://tkoala.com/images/galerie/chiens-gueule-bois/(2).jpg

ระหว่าง 2-19 ปี ประมาณ 17% เป็นโรคอ้วน และ 6% เป็นโรคอ้วนมาก ในวัยรุ่นอายุระหว่าง 12-19 ปี 20.6% เป็นโรคอ้วน และ 9% เป็นโรคอ้วนมาก ประเทศใน แถบเอเชี ย แม้ ว ่ า จะมี จ� ำ นวนคนเป็ น โรคอ้ ว นน้ อ ยกว่ า เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศทางตะวันตก แต่อัตราการเพิ่ม ของคนเป็นโรคอ้วนก็สูงขึ้นเช่นกัน จากรายงานการศึกษาวิจัยจากหลายสถาบัน พบว่า การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ และคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี เช่น หลับไม่สนิท หลับยาก ตื่นบ่อย ฯลฯ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อ การเกิดโรคอ้วน ในท�ำนองเดียวกัน คนอ้วนมักมีปัญหา

ภาพ : China Xinhua News

ในการนอนหลับมากกว่าคนน�ำ้ หนักปกติ ข้อมูลล่าสุดจาก National Sleep Foundation (NSF) ของสหรัฐอเมริกา รายงานว่า คนในช่วงวัยต่าง ๆ ควรมีระยะเวลาในการนอน ต่อวัน ดังนี้

ทารกแรกเกิด อายุ 0-3 เดือน 14-17 ชั่วโมง ทารก อายุ 4-11 เดือน 12-15 ชั่วโมง เด็กวัยหัดเดิน อายุ 1-2 ปี 11-14 ชั่วโมง เด็กก่อนวัยเรียน อายุ 3-5 ปี 10-13 ชั่วโมง เด็กวัยเรียน อายุ 6-13 ปี 9-11 ชั่วโมง วัยรุ่น อายุ 14-17 ปี 8-10 ชั่วโมง ผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี 7-9 ชั่วโมงผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป 7-8 ชั่วโมง โลกในยุ ค ปั จ จุ บั น ที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยการใช้ เ ทคโนโลยี และมีการแข่งขันสูง คนที่มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับหรือ นอนไม่พอ มีเพิ่มขึ้นกว่าในอดีต ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาด้าน สุขภาพ ภาวะทางจิตใจ เช่น มีอาการซึมเศร้า ความวิตก กังวล หรือจากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่รบกวนการนอน การดื่ม แอลกอฮอล์หรือเครือ่ งดืม่ ทีม่ คี าเฟอีน ปัจจัยอืน่ ๆ นอกเหนือ จากความผิดปกติของการนอน (sleeping disorder) แล้ว การนอนไม่หลับหรือนอนน้อยยังอาจเกิดจากคนในสังคม ยุคนี้เป็นโรคติดโซเชียล ต้องดูโทรศัพท์มือถือตลอดทั้งวัน ดูทีวี เล่นอินเทอร์เน็ต เล่นเกมหรือใช้คอมพิวเตอร์จนดึกดื่น ต้องเอางานกลับมาท�ำที่บ้าน ต้องท�ำงานล่วงเวลา หรือต้อง ท�ำงานกะกลางคืน ตลอดจนการจราจรทีต่ ดิ ขัด ท�ำให้ตอ้ งใช้

47


ภาพจาก www.thaihealth.or.th

48

เวลาเดินทางยาวนาน จนรบกวนเวลาที่ใช้พักผ่อนนอนหลับ การนอนน้อยจะท�ำให้กินมากขึ้นเพื่อให้มีแรงท�ำงาน และท�ำกิจกรรมต่าง ๆ และยังท�ำให้เกิดการต้านทานต่อ อินซูลิน การเผาผลาญกลูโคสลดลง จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรค เบาหวาน และโรคอื่น ๆ ที่จะตามมาในอนาคต เสี่ยงต่อการ เกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ นอกจากนี้ การนอนน้อยท�ำให้เกิดภาวะ หยุดหายใจในขณะนอนหลับ ฮอร์โมน ghrelin และ leptin มีบทบาทส�ำคัญต่อ ความรู้สึกหิวและความสมดุลของการใช้พลังงานในร่างกาย ghrelin กระตุน้ ให้เกิดความหิวและอยากอาหาร โดยเฉพาะ อาหารจ�ำพวกแป้ง ในขณะที่ leptin ลดความอยากอาหาร และเพิ่มการใช้พลังงานของร่างกาย ระดับของฮอร์โมน ทั้ ง สองมี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั บ การนอนหลั บ เมื่ อ ร่ า งกาย นอนหลับไม่เพียงพอ ระดับ ghrelin จะเพิ่มขึ้น และระดับ leptin จะลดลง ท�ำให้เกิดความหิวและอยากอาหาร จึงเพิ่ม ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน จากที่ ก ล่ า วมาจะเห็ น ได้ ว ่ า การนอนที่ เ พี ย งพอ มีความส�ำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ เราจึงควรให้ความส�ำคัญ กับการนอน โดยพยายามเปลีย่ นแปลงการใช้ชวี ติ ในแต่ละวัน ให้มีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ จัดห้องนอนให้มีบรรยากาศ ชวนให้นอนหลับสบาย เช่น ไม่ควรมีทีวี โทรศัพท์ หรือ

คอมพิวเตอร์ในห้องนอน ปราศจากแสงและเสียงทีจ่ ะรบกวน การนอน รับประทานอาหารเย็นที่มีแป้งและน�้ำตาลน้อย ไม่ ค วรออกก� ำ ลั ง กายอย่ า งหนั ก ก่ อ นนอนอย่ า งน้ อ ย 4-6 ชั่วโมง ท�ำจิตใจให้สงบและผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงการท�ำ กิจกรรมที่ท�ำให้ร่างกายและสมองตื่นตัว จนไม่อยากนอน หรือนอนหลับยาก ท�ำใจให้ปล่อยวาง การสวดมนต์ หรือนั่ง สมาธิอาจท�ำให้นอนหลับง่ายขึน้ แต่ทงั้ นีไ้ ม่ได้หมายความว่า ถ้าอยากลดน�ำ้ หนักก็ตอ้ งนอนให้มาก ๆ การนอนมากจนเกินไป ก็อาจท�ำให้น�้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากขาดการออกก�ำลัง การเผาผลาญพลังงานลดลง การนอนหลับได้สนิทในระยะเวลาที่เพียงพอ เป็นอีก สิ่งหนึ่งที่ช่วยให้น�้ำหนักลดลง เมื่อน�้ำหนักลด โรคภัยต่าง ๆ ก็จะลดลงด้วย


l

โดย...เก็บเบี้ยรายทาง...

สิ่ ง เดี ย วที่ คุ ณ ต้ อ งการ เพราะฉะนั้นถ้าสามารถไป พักร้อนได้กไ็ ปเลย! การพักร้อน และการปลีกตัวออกจากกิจกรรม เดิม ๆ จะท�ำให้คุณซาบซึ้งกับกิจวัตร ประจ�ำวันมากขึ้น และได้เติมพลังต่อสู้กับ สิ่งที่คุณไม่ค่อยซาบซึ้งเท่าไหร่ด้วย

วิธีการ ขอบคุณทุกสิ่ง… ขอบคุณสิ่งต่าง ๆ บางช่วงขณะ …ต่อจากฉบับที่แล้ว...

1. บางครั้ ง การพั ก ก็ ท� ำ ให้ คุ ณ รู ้ สึ ก เข้ า ที่ เข้ า ทาง และรู้สึกดีขึ้น ไหน ๆ คุณก็ต้องหาเรื่องให้ตัวเองได้ขอบคุณ อยู่แล้ว ถ้าอย่างนั้นก็ไปพักหน่อยดีกว่า เพราะบางครั้งการ พักก็เป็นเรื่องที่น่าขอบคุณเหมือนกัน ที่ท�ำงาน ออกไปเดิน รอบ ๆ อาคาร หรือออกไปข้างนอกสัก 15 นาที เพือ่ สูดอากาศ สดชืน่ ใช้เวลานีข้ อบคุณทีต่ วั เองมีโอกาสได้พกั ได้ยดื เส้นยืดสาย ได้สัมผัสแสงแดดคนเดียวเบา ๆ บางทีการพักร้อนอาจเป็น

2. บ่อยครั้งที่ชีวิตของเราก็ยุ่งเหยิงจนเรา ลืมบอกคนอื่นว่าเขาส�ำคัญกับเรา บอกเขาว่าเรารู้ว่า เขาท�ำอะไรและสิ่งที่เขาท�ำนั้นมีความหมายกับเรามาก คนอื่นจะระลึกถึงคุณอย่างรักใคร่มากขึ้นถ้าคุณขอบคุณ พวกเขา และสิ่ ง นี้ ก็ ค ่ อ ย ๆ สร้ า งความรู ้ สึ ก ขอบคุ ณ สิ่งรอบตัวให้เกิดขึ้นในหัวใจของคุณ พูดคุยเรื่องการขอบคุณกับครอบครัว จัดสรรเวลา เช่น ช่วงมือ้ เย็นมาพูดคุยเกีย่ วกับสิง่ ทีค่ ณ ุ รูส้ กึ ขอบคุณในวันนัน้ ให้สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนเล่าว่าตัวเองรู้สึกขอบคุณ อะไรบ้างคนละ 2 – 3 นาที เขี ย นโน้ ต ขอบคุ ณ การเขี ย นโน้ ต ขอบคุ ณ เล็ ก ๆ ให้ ใ ครบางคนสร้ า งความรู ้ สึ ก ปิ ติ ใ ห้ แ ก่ ผู ้ รั บ ได้ อ ย่ า ง น่าประหลาดใจ เพราะโน้ตขอบคุณคือการแสดงความซาบซึง้ ถึงสิ่งที่พวกเขามอบให้คุณ ทั้ง ๆ ที่พวกเขาไม่จ�ำเป็นต้องท�ำ แบบนั้น และคุณก็รู้สึกขอบคุณในสิ่งที่พวกเขาท�ำให้มาก ๆ คุณไม่ต้องเขียนโน้ตขอบคุณยาวเหยียดเป็นนิยาย เขียนแค่ ไม่ กี่ บ รรทั ด ก็ พ อ เพื่ อ ให้ พ วกเขารู ้ ว ่ า สิ่ ง ที่ พ วกเขาท� ำ และของขวัญที่พวกเขามอบให้คุณนั้น มีความหมายกับคุณ มากแค่ไหน 3. การขอบคุณสิ่งต่าง ๆ ไม่ใช่แค่การบอกใคร ๆ ว่า คุณขอบคุณพวกเขามากแค่ไหน แต่ยังรวมถึงการตอบแทน ชุมชนและเพือ่ น ๆ ด้วย การตอบแทนในทีน่ ไี้ ม่ใช่การเจ๊ากัน จะได้ไม่มีใคร "ติดหนี้" ใคร ความกตัญญูและความรู้สึก ขอบคุณไม่ได้ดำ� เนินไปแบบนัน้ ช่วยเหลือคนทีเ่ คยช่วยเหลือ คุ ณ คุ ณ ไม่ ต ้ อ งบอกว่ า คุ ณ ช่ ว ยเหลื อ เขาเพราะเขาเคย ช่วยเหลือคุณมาก่อน เพราะนัน่ จะเหมือนเป็นการท�ำเพือ่ ตัว เองมากกว่า แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเขาต้องการความช่วย เหลือ คุณก็ช่วยเหลือเขาตอบ เช่น ช่วยครอบครัวพี่สาวท�ำ

49


50

ความสะอาดบ้ า นในช่ ว ง ที่ยุ่งจริง ๆ พาคุณย่าไปหาหมอตาม ทีห่ มอนัด หรือช่วยเพือ่ น ขนของตอนเธอย้ายบ้าน ช่วยเหลือคนทีค่ ณ ุ ไม่รจู้ กั บางครัง้ ก็มคี นท�ำอะไรให้เราโดยที่ เราไม่รวู้ า่ จะตอบแทนเขาอย่างไร แน่นอนว่าคุณควรขอบคุณ เขาและบอกว่าสิง่ ทีเ่ ขาท�ำหรือของขวัญทีเ่ ขาให้สำ� คัญกับคุณ แค่ไหน แต่ถ้าไม่รู้จะขอบคุณอย่างไรคุณก็สามารถแสดง ความขอบคุณด้วยการส่งต่อความกรุณาให้ผู้อื่นได้ เช่น ถ้าศาสตราจารย์ช่วยเหลือคุณในแบบที่คุณไม่รู้จะตอบแทน อย่ า งไร คุ ณ ก็ ส ามารถตอบแทนเขาได้ ด ้ ว ยการส่ ง ต่ อ ความกรุณาและเป็นที่ปรึกษาให้กับคนอื่น 4. ดูที่เจตนา เวลาที่มีใครท�ำอะไรดี ๆ ให้ เช่น ให้ ของขวัญ เอาอาหารร้อน ๆ มาให้ เสนอตัวอ่านทวนและแก้ไข วิทยานิพนธ์ให้คณ ุ ให้นกึ ถึงว่าคน ๆ นีพ้ ยายามน�ำสิง่ ดี ๆ เข้ามา ในชี วิ ต คุ ณ มากแค่ ไ หน เขาได้ ส ละเวลาอั น มี ค ่ า เงิ น และอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือคุณ การระลึกถึงเจตนาของคนอื่น สร้ า งนิ สั ย กตั ญ ญู รู ้ คุ ณ ที่ คุ ณ จะได้ ส ่ ง ต่ อ ไปยั ง ผู ้ อื่ น ผ่ า น การกระท�ำและค�ำพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีลูก 5. แค่กล่าวขอบคุณ การกล่าวขอบคุณออกมาดัง ๆ ไม่เพียงแต่เพิม่ ความรูส้ กึ ขอบคุณให้หยัง่ รากลึกลงไปในชีวติ ของคุณเท่านั้น แต่ยังท�ำให้คนอื่นรู้ว่าคุณซาบซึ้งในสิ่งที่ พวกเขาท�ำให้กับคุณ นอกจากนี้เวลาที่คุณรู้สึกว่าโลกไม่ ยุตธิ รรมหรือกังวลใจ การขอบคุณจะดึงให้คณ ุ กลับมามีสติอกี ครัง้ ใช้คำ� ว่า "ขอบคุณ" เป็นเหมือนบทสวดหรือค�ำภาวนา คุณอาจจะขอบคุณบางอย่างเป็นพิเศษหรือแค่พดู ซ�ำ้ ไปซ�ำ้ มา คนเดี ย ว เช่ น เวลานั่งรถเมล์ไ ปท�ำงาน คุณ อาจจะเริ่ ม ขอบคุณเบา ๆ ขอบคุณอาหารที่กินเมื่อเช้านี้ ขอบคุณฝนที่ ช่วยรดน�้ำต้นไม้ทุกต้น ขอบคุณรถเมล์ที่พาฉันไปถึงที่หมาย ได้ทันที ขอบคุณเสื้อกันฝนที่ท�ำให้ฉันไม่เปียก นอกจากนี้คุณควรขอบคุณคนอื่น ๆ ที่คุณเจอใน วันนั้นด้วย ขอบคุณบาริสต้าที่ชงกาแฟให้คุณ ขอบคุณคนที่ อ้าประตูค้างให้คุณ ขอบคุณพนักงานบริการลูกค้าที่ช่วยหา ค�ำตอบว่าท�ำไมโทรศัพท์คุณถึงใช้งานไม่ได้ การขอบคุณ คนอืน่ ช่วยสร้างความรูส้ กึ ส�ำนึกบุญคุณทีจ่ ะท�ำให้วนั นัน้ ของ

คนอื่นเป็นวันที่ดีตลอดทั้งวันด้วย จ�ำไว้ว่า เราไม่สามารถ อยู่ในสภาวะกลัวและซาบซึ้งได้ ในเวลาเดียวกัน การสร้าง นิสยั กตัญญู ช่วยบรรเทาความโกรธ ความกังวล อาการซึมเศร้า และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ได้ด้วย 6. หาสิ่งที่เราขอบคุณในสถานการณ์ที่ยากล�ำบาก บางครั้งมันก็ยากที่เราจะขอบคุณชีวิต เช่นเวลาที่คนรักเลิก กับเรา ท�ำให้เราโกรธ หรือเวลาที่คุณไม่ชอบใจงานที่ท�ำเลย จริง ๆ แต่เวลาเหล่านี้เป็นเวลาส�ำคัญที่เราควรจะสร้างนิสัย ขอบคุณสิ่งต่าง ๆ มากเข้าไปอีก เพราะความรู้สึกขอบคุณ จะท�ำให้เราผ่านพ้นช่วงแย่ ๆ ได้ดีกว่าความโกรธเกรี้ยว และความไม่พอใจ ในการสร้างความรู้สึกขอบคุณสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่งาน มันหนักหรือน่าเบื่อ ให้เขียนรายการสิ่งดี ๆ เกี่ยวกับงานนี้ เช่น มันท�ำให้คณ ุ มีเงินไปซือ้ อาหารและมีทอี่ ยูอ่ าศัย มันท�ำให้ คุณได้นงั่ รถเมล์เข้าเมืองและเห็นพระอาทิตย์สาดแสงยามเช้า วันนีค้ ณ ุ เอาแซนด์วชิ แสนอร่อยมากินด้วย เริม่ ต้นคุณอาจจะ ต้องขอบคุณสิ่งเล็ก ๆ ก่อน แต่มันจะท�ำให้คุณอารมณ์ดีขึ้น และเมื่อไหร่ก็ตามที่เริ่มเศร้าหรือหดหู่ ให้หยิบรายการที่ จดไว้ออกมาแล้วเขียนเพิ่มลงไป ถ้าเป็นเรื่องการเลิกรา คุณควรปล่อยให้ตัวเองได้ เสียใจและเศร้า หลังจากปล่อยให้ตัวเองเสียใจไปแล้ว เขียน รายการสิง่ ทีค่ ณ ุ ได้เรียนรูจ้ ากการคบหากันหรือสิง่ ทีค่ ณ ุ อยาก ขอบคุณ จากนั้นเขียนสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณที่ความสัมพันธ์ ครั้งนี้จบลงได้ ตามหลักแล้ว คุณสามารถใช้เทคนิคการขอบคุณกับ สถานการณ์ ไ หนในชี วิ ต ก็ ไ ด้ เพราะเราทุ ก คนมี เรื่ อ งให้ ขอบคุณเสมอไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องเล็กแค่ไหน การหาสิ่งที่ ท�ำให้คุณรู้สึกซาบซึ้งและการตระหนักในคุณค่าของมันจะ ช่วยให้ชีวิตของคุณเติมเต็มและน่าพอใจ ….


l

โดยซิสเตอร์กาญจนา เดชาเลิศ

“สักวันหนึ่งเธอจะเข้าใจเอง...” “สั ก วั น หนึ่ ง เธอจะเข้ า ใจเอง...” หลายเรื่ อ งราวที่ เ กิ ด ขึ้ น หลายค�ำถามทีย่ งั รอค�ำตอบ วันนีฉ้ นั มายืนสูดอากาศบริสทุ ธิห์ น้าบ้าน ขอบคุณพระกับความสดชื่นเบิกบานที่มีอยู่เต็มธรรมชาติ ท้องฟ้า สวยใส ต้นไม้ยืนสง่ามั่นคงแหงนหน้ารับแสงตะวันอ่อน ๆ เสียงนก เจื้อยแจ้วประสานรับกัน ฉันหลับตาลงดื่มด�่ำกับของขวัญที่งดงาม เป็นความสุขทีม่ เี พียงพอส�ำหรับทุกคน เป็นของขวัญทีไ่ ม่อาจประเมินค่า ได้...จริง ๆ... ฉันก็เป็นส่วนหนึง่ ของพวกเขา และพวกเขาก็เป็นส่วนหนึง่ ในชีวิตของฉัน แท้จริงแล้ว ทุกชีวิตบนโลกใบนี้มีความสัมพันธ์ท ี่ เป็นหนึ่งเดียวกันเกินกว่าที่จะแยกออกจากกันได้ หลายเรื่องราวที่ ค่อย ๆ สว่างขึ้น ชัดเจนขึ้นตามกาลเวลา... “ซิสเตอร์รู้ได้ไงคะว่าพระเรียก?” ค�ำถามซื่อ ๆ จากเด็กน้อย ชั้นประถม ได้ดึงความสนใจของเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่มีความสงสัย ไม่ตา่ งกัน “ซิสเตอร์ได้ยนิ เสียงเหรอคะ?” “เสียงของพระเป็นยังไง?” “แล้วจะรูไ้ ด้ไงว่าพระเรียกให้มาเป็นซิสเตอร์” ค�ำถามมากมายผุดขึน้ มา อย่างกับสายฝนห่าใหญ่ ฉันยิ้มให้กับสายตาที่เปล่งประกายฉายแวว แห่งความกระตือรือร้นบนใบหน้าของพวกเขา “พวกเธอต้องการ ค�ำตอบแบบไหนล่ะ? เอาแบบสั้น หรือยาว?” “แบบไหนก็ได้ค่ะ เอาที่ซิสเตอร์สบายใจ”“โอเค ...เป็นค�ำถามที่ดีมาก แล้วใครจะตอบ ซิสเตอร์ได้บา้ งว่า ความเชือ่ คืออะไร?” “ความเชือ่ คือความศรัทธาค่ะ” “ความเชื่ อ คื อ สิ่ ง ที่ ม องไม่ เ ห็ น แต่ เราต้ อ งแสดงออกให้ เ ห็ น ” “ความเชื่อเป็นพระหรรษทานจากพระเจ้า” “พวกเธอเรียนค�ำสอน

51


52

มาดีจริง ๆ ใครสอนนะ” “ก็ซิสเตอร์ไง” (หัวเราะ) “ใช่ แล้วค่ะ สิ่งแรกที่เราต้องมี ก็คือความเชื่อ เมื่อ รับศีลล้างบาป เราเชื่อในพระเจ้าหนึ่งเดียวใช่ไหมคะ และยืนยันทีจ่ ะละทิง้ กิจการทีไ่ ม่ดที งั้ หมดเพือ่ จะเป็นลูกของ พระจริงไหม” “ใช่คะ่ ” “เราก็มคี วามเชือ่ ด้วยว่าพระเจ้าทรง มอบภารกิจให้แต่ละคนแตกต่างกันไป ซึ่งในภาษาทาง ศาสนาที่เราใช้กันก็คือ กระแสเรียก ทุกชีวิตมีกระแสเรียก หมายถึงแต่ละคนก็มีภารกิจพิเศษที่แตกต่าง ที่พระเจ้ามอบ ให้เรามาสานต่องานพระองค์ในโลกนี้ในรูปแบบที่แตกต่าง กันออกไป ทุกชีวิตที่ตอบสนองกระแสเรียกก็คือ ชีวิตที่ เต็มเปี่ยม เขาก็จะมีความสุข ในความเป็นตัวของตัวเองใน แบบที่พระเจ้าสร้างมา หรือพูดง่าย ๆ คือใช้พรสวรรค์ของ ตัวเองในการเจริญชีวติ เพือ่ ผูอ้ นื่ ในรูปแบบชีวติ ของตน ไม่วา่ จะเป็นแม่บ้าน นักบิน ต�ำรวจ ครู หมอ ทนาย หรือการมา เป็นพระสงฆ์ นักบวช” “แปลว่าทุกคนต้องฟังเสียงของพระ” “ฉลาดนะเนีย่ ” “แล้วเสียงของพระมายังไงคะ แม่หนูไม่เห็น พูดถึงเลย” “แล้วอยากได้ยินไหมคะ?” “อยากค่ะ อยาก” “จะบอกเคล็ดลับ ตั้งใจฟังดี ๆ นะคะ ...การที่เราจะได้ยิน ใครสักคน เราต้อง...” “ฟังค่ะ” “ถูกต้องค่ะ การฟังคือ... อะไรคะ” “ก็ฟังไงคะ แบบนี้” “ดีมากค่ะ การฟัง คือ การที่ เราเงียบ ปล่อยที่ว่างในใจ ในความคิด เพื่อที่จะได้ยิน ได้ฟัง เสียงนั้น... เสียงของพระอยู่ในความเงียบสงบของจิตใจ และไม่ใช่ฟังแค่ครั้งเดียว เราต้องฟังบ่อย ๆ เหมือนเราอยาก รูจ้ กั ใครสักคนให้มากขึน้ เราก็จะคุยกับคนนัน้ ฟังเขาทุก ๆ วัน เราก็จะสนิทและรู้จักเขามากขึ้น เช่นเดียวกัน เมื่อเราอยาก

ได้ยนิ เสียงของพระ เราก็ตอ้ งเงียบ และฟัง” “แค่นี้ เหรอคะ” “แล้วยังไงต่อคะ” “เมื่อเรามีท่าทีของการฟังที่แท้จริง เราก็ จะได้ยินเสียงของพระที่อยู่ลึก ๆ ในใจ ในความสงบนั้น เราจะสัมผัสได้เอง เหมือนเรามองไม่เห็นอากาศแต่เราหายใจ เข้าไป และสัมผัสรู้ได้เองว่าเราได้รับออกซิเจน เรารู้ได้ว่า ร่างกายของเราสบายเป็นปกติดจี ริง ๆ มันก็เป็นการสัมผัสได้ ด้วยจิตใจ” “อืม...ตกลงซิสเตอร์ได้ยนิ ใช่ไหมคะ เสียงน่ะค่ะ” “มันก็ไม่เชิงนะคะ แต่ทสี่ ำ� คัญ การตัดสินใจในครัง้ นัน้ มีฐานบน ความเชื่ อ ไว้ ใจในพระเจ้ า ซิ ส เตอร์ เชื่ อ ว่ า เมื่ อ พระองค์ ทรงเรียก และทรงช่วยซิสเตอร์หลายอย่างมาก จะทรงอยู่ เคียงข้างซิสเตอร์ตอ่ ไปตลอดชีวติ เพราะใจทีไ่ ด้สมั ผัสพระเจ้า ทุก ๆ วัน ผ่านทางเหตุการณ์ หรือแม้แต่คำ� แนะน�ำของบุคคล ทีม่ คี วามส�ำคัญในชีวติ ” “โห จะเข้าใจไหมเนีย่ ” “สักวันเธอ ก็จะเข้าใจเอง” ฉันใช้ค�ำพูดเดียวกันที่ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้ให้ ค�ำแนะน�ำแก่ฉัน ซึ่งส�ำหรับฉันมันเป็นประโยคปรีชาญาณ สั้น ๆ แต่ได้ใจความ เพราะฉันก็ค่อย ๆ ได้สัมผัสความจริง เหล่านัน้ ค�ำถามทีไ่ ม่อาจให้คำ� ตอบในทันที แต่คอ่ ย ๆ เผยออก ในกาลเวลา ชีวิตที่เป็นของขวัญให้แก่กันและกันในโลกใบนี้ งดงามเสมอ แม้ว่า บ่อยครั้ง เราได้สัมผัสถึงเรื่องราวที่ตรง ข้าม นัน่ คือ ความโหดร้าย ความทุกข์ทรมาน ความโดดเดีย่ ว ความขั ด แย้ ง สงคราม ความอยุ ติ ธ รรม... สิ่ ง ที่ ม าจาก ความมืดที่จะไม่ชนะแสงสว่างจากพระเจ้าได้ แสงสว่างนั้น เกิดขึน้ ได้...จากใจของเรา แต่ละคนนีเ่ อง มาร่วมกันสร้างโลก ให้ เ ต็ ม ด้ ว ยของขวั ญ งดงาม ที่ พ ระเจ้ า ทรงมอบให้ กั บ เราแต่ละคน...ตามกระแสเรียก...


25 ค�ำคมดี ๆ

ที่คุณอ่านแล้วต้องคิดอะไรได้หลาย ๆ อย่าง ในชีวิตของคนเรา แม้จะต้องประสบพบเจอกับเหตุการณ์ดีร้ายแตกต่างกันไป แต่ถ้าหากว่าเรา ท�ำความเข้าใจกับชีวิต และเลือกที่จะคิดและมองโลกในแง่ดีแล้ว ก็ไม่ยากเย็นเลยที่เราจะกลายเป็นคนที่ มีความสุขในชีวิตได้ และการที่ใครสักคนจะเรียนรู้ที่จะคิดให้ชีวิตมีความสุขได้นั้น ก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร อีกเช่นกันค่ะ หากคนเรารู้จักเปิดรับความคิดใหม่ ๆ และแลกเปลี่ยนมุมมองการมองโลกกับคนอื่นบ้าง เพราะ บางทีความคิดดี ๆ ของคนอืน่ นัน้ ก็อาจเป็นความจริงของชีวติ ทีท่ ำ� ให้เราได้ฉกุ คิดและน�ำมาปรับใช้ในชีวติ ของเรา ได้ด้วย... 1. คาดหวังให้สูงเข้าไว้และแน่นอนว่าต้องเตรียมใจที่จะพบกับความผิดหวังด้วย 2. ถ้าอยากจะประสบความส�ำเร็จต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง 3. ถ้าเชื่อว่าไม่แพ้ เราก็จะไม่แพ้ 4. คนเข้มแข็งเท่านั้นที่จะอยู่บนโลกใบนี้ได้ 5. อุปสรรคล้วนเป็นยาขม ไม่มีใครอยากลิ้มลอง แต่ขึ้นชื่อว่ายาขม ส่วนใหญ่มักเป็นยาดีเสมอ 6. ขอบคุณความทุกข์ที่ท�ำให้ความสุขในคราวต่อมาเป็นความสุขที่แท้จริง 7. อุปสรรคคือแบบทดสอบของชีวิต 8. ยิ่งบทเรียนยากขึ้นเท่าไหร่ ถ้าเราผ่านมันไปได้เราก็จะยิ่งเก่งขึ้นเท่านั้น 9. กุหลาบไร้หนามมีเพียงมิตรภาพเท่านั้น 10. อย่ากังวลกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง แต่ให้ค�ำนึงถึงสิ่งที่ก�ำลังท�ำ 11. แม้แต่นิ้วของคนเรายังยาวไม่เท่ากัน นับประสาอะไรกับความยั่งยืนของชีวิต 12. โลกใบนี้เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ ถ้าไม่ออกเดินทางก็ไม่มีวันค้นพบ 13. ไม่มีใครสะดุดภูเขาล้ม มีแต่สะดุดก้อนหินล้ม 14. ไม่มีใครเข้มแข็งตลอดไปและไม่มีใครอ่อนแอตลอดกาล 15. บางครั้งเราก็เหมือนคนตาบอดมีวิธีเดียวที่จะพาเรามุ่งหน้าไปได้คือการคล�ำทางเดินหน้าต่อไป 16. อย่าเกลียดน�้ำตาเพราะมันคือเพื่อนแท้ อย่าเกลียดความอ่อนแอเพียงเพราะมันไม่ใช่ความเข้มแข็ง 17. มีเพียงชีวิตที่ท�ำเพื่อคนอื่นเท่านั้นที่ควรค่าแก่การมีชีวิต 18. ทุกอย่างมีค่าเสมอ อย่างน้อยก็ท�ำให้เรารู้ว่าไม่ควรจะท�ำมันอีก 19. คนฉลาดย่อมไม่น�ำแต่ตาม ย่อมไม่พูดแต่ฟัง 20. ทุกคนได้ยินในสิ่งที่คุณพูด แต่เพื่อนที่ดีที่สุดจะได้ยินแม้ในสิ่งที่คุณไม่ได้พูด 21. แต่งหน้าด้วยเครื่องส�ำอาง แต่งใจด้วยความดี 22. ทุกคนมีคุณค่าเพียงแต่มีโอกาสแสดงคุณค่าไม่เท่ากัน 23. ปราชญ์ควรรู้ว่าเมื่อไหร่ควรหยุด 24. สิ่งร้าย ๆ จะมาพร้อมกับสิ่งดี ๆ เสมอ 25. ให้ความผิดพลาดนั้นเป็นบทเรียนในการท�ำเริ่มตั้นใหม่ …เทียบ https://www.dek-d.com/board/view/1580768/

53


54


ระหว่าง วันที่ 9-13 กุมภาพันธ์ 2018 ซิสเตอร์ คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ ฆราวาสผู้ร่วมงาน และเยาวชนในสมาพั น ธ์ แขวงระดั บ เอเชี ย ตะวั น ออก เฉียงใต้ (CIAO) จ�ำนวน 43 คน จากประเทศกัมพูชา เมียนมาร์ จีน ฮ่องกง ฟิลิปปินส์-ปาปัวนิวกีนี ญี่ปุ่น เกาหลี ไทย ติมอร์-อินโด เนเซีย และเวียดนาม เข้าร่วมประชุมประเมินผลระยะ 3 ปี หลังสมัชชา สามัญครั้งที่ 23 ในหัวข้อที่ว่า“จงเปิดมุมมองใหม่ พร้อมกับเยาวชน ในการเป็นธรรมทูตแห่งความหวังและความยินดี” ที่บ้านธารพระพร สามพราน โดยมีผใู้ หญ่จากศูนย์กลางคณะ Mother Yvnonne Reungoat อัคราธิการิณีคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ เป็นประธานในการประชุม บรรยากาศเป็นไปในความสงบ จริงจัง ตลอดระยะเวลาของการประชุมประเมินผลหลังสมัชชาระยะ 3 ปี ระดับสมาพันธ์แขวงนี้ เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่งดงามและเปี่ยมด้วย พระพรของพระเจ้ า ซึ่ ง ทุ ก ช่ ว งเวลาได้ รั บ การตระเตรี ย มอย่ า งดี และเหมาะสมยิ่ง โดยลักษณะการประชุมเป็นการไตร่ตรองส่วนตัว มีการพบปะแบ่งปันและระดมความคิดในกลุ่มย่อย น�ำเสนอใน กลุ่มใหญ่ และเสริมเติมกันจากผู้เข้าร่วมประชุม ด้วยการ แสดงความคิดเห็น ตามหัวข้อประจ�ำวันต่าง ๆ



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.