ตัวเล่มฉบับสมบูรณ์มะเร็งเต้านมnew

Page 1

รู้ทันภัยมะเร็งเต้านม

กลุ่มทฤษฎี 02 เจนจิรา

แจ้งสว่าง

542289

ชัดชฎา

เต็มศรี

542880

มินตรา

ดอนลาดบัตร 542896

อภิชญา

อ่วมแสง

542787

อภิญญา

จันทร์มาลา

542238

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาการเขียนรายงานเชิงวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2555



รู้ทันภัยมะเร็งเต้านม

กลุ่มทฤษฎี 02 เจนจิรา

แจ้งสว่าง

542289

ชัดชฎา

เต็มศรี

542880

มินตรา

ดอนลาดบัตร 542896

อภิชญา

อ่วมแสง

542787

อภิญญา

จันทร์มาลา

542238

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาการเขียนรายงานเชิงวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2555


คานา รายงานฉบับนี้จัดทาขึ้นเพื่อฝึกปฏิบัติการเขียนรายงานที่ถูกวิธีอย่างเป็นระบบอันเป็นส่วน หนึ่งของการศึกษารายวิชา HU 2073 การเขียนรายงานเชิงวิชาการ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ของการเรียนวิชาการเขียนรายงานเชิงวิชาการ อันจะเป็นแนวทางในการเขียนรายงานสาหรับวิชา อื่นๆ ต่อไปได้อีก การที่ผู้จัดทาเลือกเรื่องรู้ทันภัยมะเร็งเต้านมเนื่องจากปัจจุบันเป็นสาเหตุหลักที่ เกิดขึ้นส่วนมากกับผู้หญิงไทย อย่างไรก็ตาม เนื้อหาในรายงานฉบับนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ได้นามา ให้ศึกษากันไว้ในรายงานฉบับนี้ เนื้อหาของรายงานประกอบด้วย ความหมายของของมะเร็งเต้านม สาเหตุของการเกิด มะเร็งเต้านม กลุ่มเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม อาการการเกิดมะเร็งเต้านม การตรวจรักษามะเร็ง เต้านม และแนวทางป้องกัน ขอขอบคุณ อาจารย์ รัชนีพร ศรีรักษา ที่กรุณาให้ความรู้และข้อแนะนาโดยตลอด และ ท่านเจ้าของหนังสือและบทความที่ผู้เขียนใช้อ้างอิงทุกท่าน สุดท้ายนี้หากมีข้อผิดพลาดหรือ บกพร่องประการใด ผู้เขียนขอน้อมรับไว้เพื่อนาไปปรับปรุงต่อไป

คณะผู้จัดทา 15 พฤษภาคม 2556


สารบัญ หน้า คานา

สารบัญ

สารบัญภาพประกอบ

บทนา

1

1. ความหมายของมะเร็ง

1

2. สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านม

2

3. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม 3.1 อายุ 3.2 การได้รับรังสี 3.3 อาหารที่อาจเสริมเป็นมะเร็งเต้านม 3.4 เหล้ากับมะเร็งเต้านม 3.5 ขนาดของร่างกายกับมะเร็งเต้านม 3.6 การออกกาลังกายกับมะเร็งเต้านม 3.7 มะเร็งเต้านมกับพันธุกรรม 4. กลุ่มเสี่ยง

2 2 3 4 4 4 5 5 5

4.1 อายุวัย

5

4.2 ความตึงเครียด

6

4.3 โภชนาการ

6

4.4 พันธุกรรม

7

4.5 สถิติการเป็นมะเร็งเต้านมในเมืองไทย

8

4. อาการ

9

4.1 มะเร็งเต้านมระยะ 0

10

4.2 มะเร็งเต้านมระยะ 1

10

4.3 มะเร็งเต้านมระยะ 2

11


สารบัญ(ต่อ) หน้า 4.4 มะเร็งเต้านมระยะ 3

11

4.5 มะเร็งเต้านมระยะ 4

12

5. การตรวจ

13

5.1 การตรวจด้วยตนเอง

13

5.2 การตรวจด้วยแพทย์

15

6. การรักษา

17

6.1 การผ่าตัด

17

6.2 การฉายแสงหรือการฉายรังสี

18

6.3 การใช้ยาเคมีบาบัด 6.4 การรักษาด้วยฮอร์โมน 6.5 การรักษาที่เป้าหมายของการเกิดมะเร็ง 7. การป้องกัน

19 20 21 22

บทสรุป

25

รายการอ้างอิง

26


สารบัญภาพประกอบ หน้า ภาพที่ 1 เต้านม ภาพที่ 2 สาเหตุของการเกิดมะเร็ง ภาพที่ 3 สถิติการเกิดมะเร็งเต้านมตามระยะและเพศในประเทศไทย ภาพที่ 4 ระยะของมะเร็งเต้านม ภาพที่ 5 การตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

1 2 9 9 13

ภาพที่ 6 การคล่า

14

ภาพที่ 7 การตรวจด้วยแมมโมแกรม ภาพที่ 8 การตรวจด้วย MRI ภาพที่ 9 การฉายรังสี ภาพที่ 10 เคมีบาบัด ภาพที่ 11 การใช้ฮอร์โมน

15 16 18 20 21


รู้ทันภัยมะเร็งเต้านม บทนา ปัจจุบันมะเร็งเต้านมถือว่าเป็นภัยเงียบต่อผู้หญิงไทยที่ส่งผลให้ผู้หญิงไทยสูญเสียอวัยวะ นั้นก็คือเต้านม บางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิต เพราะมีการรักษาที่ไม่ทันท่วงที เนื่องจากผู้หญิงไทย เขินอายที่จะเข้ารับการตรวจและการรักษาที่ถูกต้องตามขั้นตอน คณะผู้จัดทาจึงต้องการให้ผู้ หญิงไทยตระหนักถึงอันตรายของภัยเงียบที่ใกล้ตัว ภาพที่ 1 เต้านม

ที่มา : http://welovebreast.wordpress.com/ ความหมายของมะเร็งเต้านม มะเร็งเต้านม เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในเต้านมเติบโตเหนือความควบคุมของร่างกาย และแผ่ลาม ไปถึงเนื้อเยื่อโดยรอบและอาจแพร่กระจายไปถึงส่วนอื่นๆ ทั้งร่างกายได้ด้วยการจับกลุ่มรวมตัวกัน ของเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ทาให้เกิดเป็นก้อนเนื้อในเต้านม เรียกว่า ก้อนเนื้องอก ซึ่งอาจไม่ใช่เนื้อร้าย เสมอไป เนื่องจากมีเซลล์ที่เกาะกลุ่มกันเป็นก้อนแล้วไม่ได้ลามไปถึงส่วนอื่น และไม่ทาอันตราย ถึงชีวิต ก้อนเนื้อพวกนี้จัดว่าเป็นก้อนเนื้องอกไม่ร้ายแรง ส่วนก้อนที่แผ่ลามไปถึงเนื้ อเยื่อรอบข้าง หรืออาจจะแพร่ไปทั่วร่างกายเป็นเซลล์มะเร็ง และก้อนที่ก่อตัวจากเซลล์เหล่านี้เป็นก้อนเนื้อร้าย ทางทฤษฎีแล้วพบว่าไม่ว่าจะเป็นเนื้อเยื่อชนิดใดในเต้านมก็อาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ แต่


2

โดยทั่วไปพบว่ามะเร็งในเต้านมมักเกิดที่ท่อ และกระเปาะน้านมในเต้า (กองบรรณาธิการใกล้ หมอ. (2551) : 104) ดังภาพที่ 2 ภาพที่ 2 สาเหตุของการเกิดมะเร็ง

ที่มา : http://www.thaihealth.net/h/article606.html สาเหตุการเกิดมะเร็งเต้านม สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน จึงจัดว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นเอง อย่างไรก็ดีพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งเตานมหลายประการทั้งปัจจัยภายใน ปัจจัย ภายนอกร่างกาย เช่น ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ การทางานของฮอร์โมนในร่างกาย รวมถึง สิ่งแวดล้อมต่างๆ(กองบรรณาธิการใกล้หมอ. (2551) : 105) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม 1. อายุ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สาคัญมากที่สุด อัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมนั้นจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ซึ่งจะเพิ่มขึ้น 2 เท่าของทุก ๆ ระยะอายุที่เพิ่มขึ้น 10 ปี จนกระทั่งถึงวัยหมดประจาเดือนหลังจาก นั้นก็คงที่หรือจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดังนั้นในคนอายุ 70 ปีขึ้นไป จะมีอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง สูงสุด 1.1 การให้ฮอร์โมนในสตรีวัยหมดประจาเดือน( Hormone replacement therapy )


3

ในสตรีวัยหมดประจาเดือน อาจจะเกิดกระดูกพรุน(osteoporosis ) ซึ่งจะทาให้เกิด กระดูกหักง่าย เช่น hip fracture หรือ vertebral fracture แล้วเกิดโรคแทรกซ้อนทาให้เสียชีวิตได้ ในบางคนเกิดอาการ postmenopausal symptoms ทาให้ไม่มีสุขภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นการให้ ฮอร์โมน( เอสโตรเจน และ/หรือ โปรเจสเตอร์โรน ) จึงมีความจาเป็นในสตรีวัยหมดประจาเดือน ส่วนมาก แต่การให้ฮอร์โมนอาจจะเพิ่มอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้ เช่น ถ้าใช้เอสโตร เจน เป็นระยะเวลา 10 – 15 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 50% การเปรี ย บเที ย บระหว่ า สงประโยชน์ แ ละโทษจากการให้ ฮ อร์ โ มนในวั ย หมด ประจาเดือน พบว่ามีประโยชน์มากกว่าโทษพอสมควร เช่น จากการศึกษาของ Steinburg KK. พบว่าถ้าใช้เอสโตรเจน เป็นเวลา 25 ปี จะลดอัตราการตายจากโรคหัวใจ( coronary heart disease ) 48% ลดการตายจากกระดูกสะโพกหัก ( hip fracture ) 49% แต่จะตายจากมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 21% ตายจากมะเร็งมดลูก 2.07% เมื่อสรุปอัตราการตายที่เพิ่มขึ้นและลดลงมาเฉลี่ย จะพบว่าเมื่อ ใช้เอสโตรเจนไป 25 ปีแล้วจะป้องกันการตายได้ 38% 1.2 อายุที่เริ่มมีประจาเดือนและหมดประจาเดือน( Age menarche and menopause ) ทั้งสองระยะมีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม คนที่มีประจาเดือนครั้งแรกเมื่ออายุยัง น้อย เช่น น้อยกว่า 11 ปี หรือหมดประจาเดือนช้า เช่น หลังอายุ 54 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็ง เต้านมเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น หญิงที่หมดประจาเดือนหลังอายุ 55 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้า นมมากกว่าคนที่หมดประจาเดือนอายุ 45 ปี 2 เท่า ในคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดรังไข่ออก( bilateral oophorectomy)ก่อนอายุ 35 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมเพียง 40% ของคนที่หมดประจาเดือน ไปตามธรรมชาติ 1.3 อายุเมื่อคลอดบุตรคนแรก( Age of first pregnancy ) ในคนไม่เคยมีบุตรเลยหรือมีเมื่ออายุมากแล้วจะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น เช่น ในคนที่คลอดลูกคนแรกเมื่ออายุ 30 ปี จะมีอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านมเป็นสองเท่าของคนที่ คลอดลูกคนแรกเมื่ออายุ 20 ปี พวกที่มีอัตราเสี่ยงสูงมากก็คือคลอดบุตรคนแรกหลังอายุ 35 ปีไป แล้ว ซึ่งจะเป็นมากกว่าผู้ที่ไม่เคยมีลูกเลบเสียด้วยซ้า การมีลูกคนที่สองเมื่ออายุยังน้อยก็ยังช่วยลด การเกิดมะเร็งเต้านมลงอีก 2. การได้รับรังสี ( Radiation ) หญิงที่ได้รับรังสีมากพอ และติดตามเป็นเวลานานพอ จะพบว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม มากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับรังสี จากการติดตามหญิงวัยรุ่น ( teenage ) ที่ได้รับรังสีในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่สองพบว่า ต่อไปจะเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าคนที่ไม่ได้รับสองเท่า


4

อายุในขณะที่รับรังสีนั้นก็เป็นส่วนสาคัญในการที่จะทาให้การเกิดเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น เช่น ถ้าได้รับรังสีเมื่ออายุน้อยกว่า 9 ปี จะมีอัตราเสี่ยงสูงสุด ถ้าได้รับระหว่างอายุ 10-30 ปี จะมี อัตราเสี่ยงพอสมควร แต่หลังจากอายุ 40 ปีขึ้นไปแล้วจะมีอัตราเสี่ยงน้อยมาก ระยะเวลาที่หลังจากได้รับรังสีแล้วเกิดเป็นมะเร็งเต้านม ( talent period ) โดยทั่วไปแล้ว อยู่ประมาณ 10-15 ปี แต่จากรายงานหลายแห่งพบว่าคนที่รับรังสีจะเป็นมะเร็งเต้านมในอายุ เท่าๆกับคนที่ไม่ได้รับรังสี คือประมาณ 40-50 ปี ดังนั้นรังสีย่าจะทาให้เกิ ดการเปลี่ยนแปลง ระยะแรกของการเริ่มมีมะเร็งเต้านม( carcinogenesis ) ส่วนในระยะหลังนั้นน่าจะมีสาเหตุอื่นๆมา เสริมทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นมะเร็งเต้านมได้ หลังจากได้รับรังสีเป็นครั้งแรกแล้ว จะเกิด การเปลี่ยนแปลงในเซลล์ซึ่งจะมีอยู่ตลอดไปหรืออย่างน้อยไม่ต่ากว่า 35 ปี 3. อาหารที่อาจเสริมเป็นมะเร็งเต้านม 3.1 อาหารที่มีไขมันสูงโดยเฉพาะไขมันสัตว์( saturated fat ) 3.2 อาหารเนิ้อสัตว์( red meat ) เมื่อทาให้สุกแล้วจะได้ carsinogen เช่น heterocyclic amines และ polycyclic aromatic hydrocarbons ทาให้เกิดเป็นมะเร็งเต้านมในสัตว์ทดลอง และ ยังพบว่าคนที่กินเนื้อสะเต็ก แฮมเบอร์เกอร์ เบคอน ที่ทาให้สุกมาก ( well done ) จะมีอัตราเสี่ยง เป็นมะเร็งเต้านม( odds ratios ) มากกว่าคนทั่วไป 4.62 เท่า 3.3 นมชนิดต่างๆ( dairy product ) 4. เหล้ากับมะเร็งเต้านม เหล้าก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่มีแนวโน้มทาให้เกิดมะเร็งเต้านม คนที่ดื่มเหล้าจะมีอัตรา เสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าคนธรรมดา 41% และมีความเสี่ยงจะมากขึ้นเรื่อยๆจนถึง ประมาณ 60 กรัม ของแอลกอฮอล์ ต่อวัน นอกจากนี้อัตราเสี่ย งก็ไ ม่สมารถทาให้เกิ ดการ เปลี่ยนแปลงได้จากสาเหตุอื่นๆ แอลกอฮอล์จะไปลดการทาลายหรือเพิ่มการสร้างเอสโตรเจนในร่างกายมีบางรายงานพบว่า เอสโตรเจนในเลื อ ดสู ง และเอสโตรเจนในปั ส สาวะสู ง ในกลุ่ ม คนที่ ดื่ ม เหล้ า นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังมีคุณสมบัติเป็น cocarcinogen โดยทาให้สารก่อให้เกิดมะเร็ง ( carcinogen ) ผ่าน ผนังของเซลล์ได้ง่ายขึ้น( improving permeability ) ปกป้องการทาลายสารที่ก่อมะเร็งหรือกระตุ้น สารที่กลายไปเป็นสารก่อมะเร็ง( procarcinogen)มะเร็งเต้านมที่เกิดขึ้นในคนที่ดื่มเหล้าค่อนข้างมาก นั้น( moderate to heavy drinker ) มักจะมีระยะลุกลาม( staging ) มากกว่าในคนที่ไม่ดื่มหรือ ดื่มน้อย 5. ขนาดของร่างกายกับมะเร็งเต้านม


5

มีหลายรายงานแสดงว่าความสูง และน้าหนัก มีความสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม พบว่ากลุ่ม คนที่มี body mass index ( BMI ) สูงเมื่อเปรียบเทียบกับ BMI ต่า จะเพิ่มอัตราเสี่ยงของการ เป็นมะเร็งเต้านม 2.08 เท่า ในวัยหลังหมดประจาเดือน นอกจากนี้การเพิ่ม BMI มากๆ ตั้งแต่ อายุ 20 ปีขึ้นไป ก็เพิ่มการเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น แต่สาหรับในวัยก่อนหมดประจาเดือนจะ ไม่มีความเสี่ยง ลักษณะรูปร่างก็มีส่วนในการเป็นมะเร็งเต้านม พบว่าอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมใน คนผอมสูง จะมากกว่าในคนอ้วนเตี้ยประมาณ 2 เท่า 6. การออกกาลังกายกับมะเร็งเต้านม การออกก าลั ง กายจะท าให้ จ านวนครั้ ง ของประจ าเดือ นที่ มี ไ ข่ ต กลดลง ( ovulatary menstrual cycle ) ดังนั้นจานวนโปรเจสเทอโรน และเอสโตรเจนที่อยู่ในร่างกายก็อาจจะลดน้อยลง ทาให้อัตราดารเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมก็อาจจะลดลงด้วย ในผู้หญิงอายุน้อยกว่า 40 ปี ถ้า ได้ออกกาลังกาย 4 ชั่วโมงต่อ 1 อาทิตย์ จะลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็งมะเร็งเต้านม 37% เชื่อว่าการออกกาลังกายจะเพิ่มความสามารถของระบบภูมิคุ้มกัน ( immune system ) ในการ ป้องกันมะเร็งเต้านม และในคนออกกาลังกายนั้นจานวนไขมันจะน้อย ซึ่งไขมันเป็นต้นกาเนิด เอสโตรเจน และเป็นส่วนสาคัญที่ทาให้เกิดมะเร็งเต้านม ดังนั้นเมื่อไขมันน้อยลงก็จะลดอัตราเสี่ยง ของการเป็นมะเร็งเต้านมลงได้ 7. มะเร็งเต้านมกับพันธุกรรม ส่วนใหญ่ของมะเร็งเต้านมไม่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแต่มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่ถ่ายทอดทาง พันธุกรรมได้ ได้มีการแบ่งมะเร็งเต้านมออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้ 7.1 Sporadic breat cancer ( SCB ) คนที่เป็นมะเร็งเต้านมไม่มีประวัติว่าญาติเป็นมะเร็ง เต้านม ในสองชั่วอายุคน ( generation ) เช่น พี่ น้อง ลูก ป้า น้า ลุง ปู่ ย่า ตา ยาย 7.2 Familial breast cancer ( FBC ) มีญาติตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปเป็นมะเร็งเต้านม แต่ยังไม่ มีลักษณะของพันธุกรรมที่แท้จริง ( hereditary breast cancer ) 7.3 Hereditary breast cancer ( HBC ) มีญาติเป็นมะเร็งเต้านมซึ่งมีลักษณะของการ ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่แท้จริง โดยจะเป็นมะเร็งตั้งแต่อายุยังน้อย มักเป็นสองข้าง และมักมี มะเร็งอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น มะเร็งรังไข่และลาไส้ใหญ่ ส่วนใหญ่มะเร็งเต้านมที่เป็นพันธุกรรมมัก เป็นก่อนอายุ 65 ปี (มะเร็งเต้านม. 2543 : 44)


6

กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม 1. อายุวัย อายุเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุด เมื่อเราอายุมากขึ้น วิถีการดาเนินชิวีต ในแต่ละวันจะเป็นตัวการในการเพิ่มโอกาสให้ตัวกาหนดลักษณะพันธุกรรมหรือยีนที่อยู่ในเซลล์มี การเติบโตผิดปกติ หรือมีความผิดพลาดทางพันธุกรรมเกิดขึ้น ซึ่งความผิดพลาดดังกล่าวจะ พัฒนาขึ้นอย่างเงียบๆในขณะที่ร่างกายไม่รู้ตัวและไม่สามารถรักษาความผิดพลาดนั้นได้มีการพบว่า ผู้หญิงมีอายุมากขึ้นเท่าใด ความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมก็จะยิ่งมีมากเท่านั้น แต่นั่นก็ไม่ได้ หมายความว่าผู้หญิงที่มีอายุมากเท่านั้นถึงจะเป็นมะเร็งเต้านม จากการศึกษาทางการแพทย์พบข้อมูลดังนี้ 1. ผู้หญิงอายุระหว่าง 0 (แรกเกิด) - 39 ปี 1 ใน 231 จะเป็นมะเร็งเต้านม หรือมีความ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมน้อยกว่าร้อยละ 0.5 2. ผู้หญิงอายุระหว่าง 40-59 ปี 1 ใน 25 คนจะเป็นมะเร็งเต้านมหรือมีความเสี่ยงต่อการ เป็นร้อยละ 4 3. ในขณะที่ผู้หญิงอายุระหว่าง 60-79 ปี 1 ใน 15 คน จะเป็นมะเร็งเต้านม หรือมีความ เสี่ยงต่อการเป็นโรคร้อยละ 7 และเช่นเดียวกัน หากมีอายุยืนจะมีโออกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น โดยการศึกษาพบว่า ผู้หญิง 1 ใน 7 ที่มีอายุระหว่าง 80-90 ปี จะเป็นโรคหรือความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมอยู่ที่ ร้อยละ 14.3 การศึกษาชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่ามะเร็งเต้านมสามารถเกิดได้กับผู้หญิงไทยทุกวัย และอัตรา เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมจะยิ่งขึ้นเพิ่มขึ้นเมื่อเราอายุมากขึ้น (รพีพรรณ สุรศักดิ์วรกุล. 2551 : 18-20) 2. ความตึงเครียด ยังไม่มีการยืนยังอย่างแน่ชัดถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างความตึงเครียดกับการเสี่ยของการ เกิดมะเร็งเต้านม แต่อย่างไรก็ตาม เราก็มั่นใจว่าการอยู่ในภาวะเครียดเป็นเวลานานไม่ก่อให้เกิด ผลดีต่อสุขภาพโดยรวมอย่างแน่นอน แม้ว่าจะมีการรายงานทางการแพทย์ยืนยันในสิ่งนี้ เราก็ยัง สามารถรับรู้ในตัวเองว่า ความเครียดทาให้เรารู้สึกไม่ดี นอนไม่หลับ ท้องไส้ปั่นป่วน ระบบ


7

ขับถ่ายทางานไม่เป็นปกติ และอาจจะล้มป่วยได้ในที่สุด ซึ่งนั่นก็น่าจะเพียงพอที่จะทาให้เรา ตระหนักได้ว่า ความเครียดที่นานและมากเกินไปไม่ก่อให้เกิดผลดีกับร่างกายอย่างแท้จริง (รพีพรรณ สุรศักดิ์วรกุล. 2551 : 20) 3. โภชนาการ อาหารการกินเป็นหนึ่งในปัจจัยสาคัญที่ทาให้ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเพิ่มมากขึ้น รายงานจานวนมากระบุว่ามะเร็งร้อยละ 30 เกิดจากโภชนาการที่ไม่ดี หรือการได้รับสารอาหารที่ ไม่พอต่อความต้องการของร่างกาย และมีการศึกษาทางการแพทย์หลายชิ้น รายงานเกี่ยวกับการ เกี่ยวข้องกันระหว่างการกินอาหารไขมันสูง กับการเพิ่มขึ้นของการเกิดมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตาม แม้รายงานทางการแพทย์จานวนมากจะมีความเห็นที่คล้ายคลึงกัน แต่เรายังไม่ทราบแน่ชัดว่า อาหารมีความเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้จริงหรือไม่ แต่ในขณะนี้นักวิจัยกาลัง ทาการศึกษาถึงความสาพันธ์นี้อย่างเคร่งเครียด อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งเต้านม มากน้อยเพียงใด และอาหารไขมันสูงมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมจริงหรือไม่แต่สิ่งทีได้รับ การยืนยันที่แน่ชัดก็คือ การกินไขมันสูงไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ และการลดปริมาณอาหาร ไขมันสูงให้น้อยลงจะทาให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยจะช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว (Bad Cholesteral หรือ Low-density Lipoproteins) ให้น้อยลง ในขณะที่จะช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอล ชนิดดี (Good Cholesteral หรือ High-density Lipoproteins) ให้มากขึ้น ช่วยรักษาน้าหนักให้อยู่ ในระดับที่ปลอดภัย นอกจากนี้เรายังพบอีกว่า ความอ้วนหรือการมีน้าหนักที่เกินพิกัด เป็นหนึ่ง ในปัจจับสาคัญที่ทาให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้น (รพีพรรณ สุรศักดิ์วรกุล. 2551 : 23-24) 4. พันธุกรรม นักวิจับพบว่า ผู้หญิงที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน จะมี ความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าผู้หญิงที่มีสมาชิกในครอบครัวมีสุขภาพปกติทั่วไป ไม่ว่า สมาชิกในครอบครัวคนนั้นจะมาจากฝ่ายของพ่อหรือของแม่ก็ตาม และยิ่งจะมีความเสี่ยงต่อการ เป็นโรคมากขึ้นหากสมาชิกหญิงในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 30 ปี


8

นักวิจับพบว่า มะเร็งเต้านมที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะเกี่ยวข้องกับยีน 2 ตัว ที่มีความผิดปกติ ได้แก่ ยีน BRCA1 (Breast CAncer gene one) และยีน BRCA2 (Breast CAncer gene two) หน้าที่ของยีนทั้งสองคือการควบคุมให้เซลล์เต้านมเติบโตอย่างปกติ และ ป้องกันมิให้เซลล์มะเร็งเติบโตขึ้น แต่เมื่อใดก้ตามที่เซลล์เหล่านี้เกิดการผิดปกติ หรือเกิดการกลาย พันธุ์ขึ้น พวกมันจะทาให้ความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้น โดยยีน BRCA1 และ BRCA2 จะทาให้ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 10 นอกจากนั้นยังมี การพบอีกว่า ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมที่มียีนใดยีนหนึ่ง หรือทั้งสองยีนผิดปกติ จะมาจาก ครอบครัวที่มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งทั้ง 2 อย่างมาก่อน (รพีพรรณ สุรศักดิ์วรกุล. 2551 : 41-42) 5. สถิติการเป็นมะเร็งเต้านมในเมืองไทย “มะเร็งเต้านมโรคอันดับ 1 ของหญิงไทย” “ไม่กี่ปีสถิติเพิ่มขึ้นอื้อเตือนวัยใสกิน "ยาคุม"แต่วัยเยาว์เพิ่มอัตราเสี่ยง” นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์เปิดเผยถึงอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งในคนไทยว่า ปัจจุบัน มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งสูงถึงเดือนละกว่า 5,000 คน โดยโรคมะเร็งในผู้หญิง 5 อันดับแรก คือมะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งปอดและมะเร็งลาไส้ใหญ่ เฉพาะ มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก มีผู้เสียชีวิตรวมกันถึงปีละ กว่า1 หมื่นราย จากการออกหน่วย แพทย์เคลื่อนที่เพื่อบูรณาการให้บริการเชิงรุกแก่ประชาชน โดยกรมการแพทย์ กระทรวง สาธารณสุขพบว่าสถิติการเกิดมะเร็งเต้านมในช่วงระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ข้อมูลสถิติทะเบียนมะเร็งจากฐานประชากรไทยปี 2553 ระบุว่า หากประเทศไทยไม่มีมาตรการควบคุมป้องกันโรคมะเร็งที่ดีพอ จะมีผู้หญิงป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้า นมสูงถึงปีละ 13,184 คน ในจานวนนี้จะเสียชีวิตประมาณ 4,665 คน และป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก ปีละประมาณ10,465 คน และเสียชีวิตประมาณ 5,517 คนต่อปี นพ.เรวัตกล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจว่า การใช้ฮอร์โมนในเพศหญิง เช่น การ กินยาคุมกาเนิดตั้งแต่อายุยังน้อยเป็นเวลานานๆ อาจเพิ่มอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งเต้านม รวมทั้งการให้ฮอร์โมนทดแทนในหญิงวัยทองด้วย ขณะเดียวกันยังพบอีกว่า ผู้หญิงที่อ้วน โดยเฉพาะในช่วงหลังหมดประจาเดือน จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าคนปกติมาก ถึง1.5-2 เท่า (กิตติยา ธนกาลมารวย. 26 ตุลาคม 2553 : ออนไลน์) ดังภาพที่ 3


9

ภาพที่ 3 สถิติการเกิดมะเร็งเต้านมตามระยะและเพศในประเทศไทย

ที่มา : http://www.nci.go.th/File_download/Nci%20Cancer%20Registry/hospital%20based% 20cancer%20registry.pdf อาการ หลังจากที่มีการวินิจฉัยว่าผู้ป่ายเป็นมะเร็งเต้านมแล้ว แพทย์ก็จะพิจารณาด้วยว่ามะเร็งนั้น ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายหรือไม่เพียงใด นั่นคือระยะของโรคซึ่งเป็นขั้นตอนที่สาคัญต่อ การวางแผนรักษาต่อไป สาหรับระยะต่างๆ ของมะเร็งเต้านมสามารถสรุปได้ดังนี้ (จุฑามาศ แอน เนียน. 2550 : 116) ดังภาพที่ 4 ภาพที่ 4 ระยะของมะเร็งเต้านม

ที่มา : http://kvamsook.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0% B9%87%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E 0%B8%A1-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3% E0%B8%82


10

1. มะเร็งเต้านมระยะ 0 หรืออาจเรียกว่าเป็น carcinoma in situ หรือมะเร็งเฉพาะที่ไม่ลามไปที่อื่นแบ่งออกได้ เป็น 2 แบบ ตามตาแหน่งที่พบ นั่นคือ Lobular carcinoman in situ เป็นเซลล์ที่ผิดปกติที่พบในเยื่อบุกระเปาะนานมและแทบไม่ พบว่าเป็นมะเร็งเต้านมที่ลามไปถึงส่วนอื่นได้ อย่างไรก็ตาม การพบก้อนนีเป็นสัญญาณเตือนว่า ผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึน และความเสี่ยงนีนเพิ่มสูงในเต้านมทังสองข้าง Ductal carcinoma in situ เป็นเซลล์มะเร็งที่พบในเนือเยื่อผิดปกติของเยื่อบุด้านในท่อ นานมที่ยังไม่ลุกลามไปถึงเนือเยื่อส่วนอื่น อย่างไรก็ตาม หากทิงไว้โดยไม่รักษาเซลล์มะเร็งนัน อาจหลุดจากท่อลามไปยังเนือเยื่อข้างเคียงได้ และกลายเป็นมะเร็งเต้านมที่มีก ารลุกลามต่อไป (จุฑามาศ แอนเนียน. 2550 : 116) เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยังไม่ลุกลามไปยังเนือเยื่อเต้านม (“มะเร็งเต้านม” 2555 : ออนไลน์) 2. มะเร็งเต้านมระยะที่ 1 เป็นระยะต้นของมะเร็งเต้านม และเริ่มลามถึงเนื้อเยื่อข้างเคียง แต่ยังไม่กระจายออกนอก เต้านม ขนาดก้อนเนื้อในระยะนี้ใหญ่ไม่เกิน 2 ซม. หรือประมาณ 1 นิ้ว (จุฑามาศ แอนเนียน. 2550 : 117) ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กกว่า 2 ซม. และยังไม่มีการแพร่ กระจายไปยังต่อม น้าเหลืองที่รักแร้ (กริช โพธิสุวรรณ. 2552 : ออนไลน์) ระยะที่ 1 ขนาดของก้อนเล็กกว่าหรือเท่ากับ 2 cm.และยังไม่มีการกระจายออกนอกบริเวณ เต้านม (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์. ม.ป.ป. : ออนไลน์) 3. มะเร็งเต้านมระยะที่ 2 มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ - ก้อนมะเร็งขนาดไม่เกิน 2 ซม. แต่มีการแพร่กระจายไปถึงต่อมน้าเหลืองใต้รักแร้ - ก้อนมะเร็งขนาดประมาณ 2-5 ซม. (หรือ 1-2 นิ้ว)อาจมีหรือไม่มีการ แพร่กระจายไปถึงต่อมน้าเหลืองใต้รักแร้ - ก้อนมะเร็งขนาดใหญ่เกิน 5 ซม. แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายไปถึงต่อมน้าเหลือง ใต้รักแร้ (จุฑามาศ แอนเนียน. 2550 : 117) ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2-5 ซม. และ/หรือมีการแพร่กระจายของเซลมะเร็งไป ยังต่อมน้าเหลืองที่รักแร้ของข้างเดียวกัน (กริช โพธิสุวรรณ. 2552 : ออนไลน์)


11

ระยะ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2-5 เซนติเมตร ซึ่งอาจจะลุกลามไปยังต่อมน้าเหลือง บริเวณรักแร้หรือไม่ก็ได้ หรือมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และลุกลามเข้าต่อมน้าเหลืองบริเวณ รักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น (“มะเร็งเต้านม” 2555 : ออนไลน์) ระยะ 2A มี 3 ภาวะ ได้แก่ - ไม่มีก้อนที่เต้านม แต่พบมะเร็งที่ต่อมน้าเหลืองใต้รักแร้ - ก้อนมีขนาดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2ซม. และมีการแพร่ไปยังต่อมน้าเหลืองใต้รักแร้ - ก้อนมีขนาด 2-5 ซม.แต่ไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้าเหลือง ระยะ 2B มี 2 ภาวะ ได้แก่ - ก้อนมีขนาด 2-5 ซม.และมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้าเหลืองใต้รักแร้ - ก้อนใหญ่กว่า 5 ซม.แต่ไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้าเหลือง (จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์. ม.ป.ป. : ออนไลน์) 4. มะเร็งเต้านมระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. หรือ 2 นิ้ว และเซลล์มะเร็งแผ่ลามไปถึงต่อม น้าเหลืองใต้รักแร้ รวมทั้งต่อมน้าเหลืองและเนื้อเยื่ออื่นๆ บริเวณใกล้เคียงเต้านม (จุฑามาศ แอน เนียน. 2550 : 117) ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. ลุกลามลงไปติดกับกล้ามเนื้อหน้าอก มีการ แพร่กระจายไปยังต่อมน้าเหลืองที่รักแร้อย่างมาก จนทาให้ต่อมน้าเหลืองเหล่านั้นมารวมติดกันเป็น ก้อนใหญ่หรือติดแน่นกับอวัยวะข้างเคียง (กริช โพธิสุวรรณ. 2552 : ออนไลน์) ระยะ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร และรุกรามเข้าต่อมน้าเหลืองบริเวณรักแร้ แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น (“มะเร็งเต้านม” 2555 : ออนไลน์) ระยะ 3A มี 4 ภาวะ ได้แก่ - ไม่มีก้อนที่เต้านม แต่มีมะเร็งที่ต่อมน้าเหลืองที่อยู่ใกล้บริเวณใกล้เคียงเต้านมและ บริเวณรักแร้ - เนื้องอกมีขนาดน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ซม. และมีมะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อม น้าเหลืองบริเวณรักแร้และบริเวณใกล้เคียงเต้านม - เนื้องอกมีขนาด 2-5 ซม. และมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้าเหลืองบริเวณรักแร้ และบริเวณใกล้เคียงเต้านม - เนื้องอกมีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. และแพร่ไปยังต่อมน้าเหลืองบริเวณรักแร้และ บริเวณใกล้เคียงเต้านม ระยะ 3B ก้อนมะเร็งมีขนาดเท่าไรก็ได้ร่วมกับ


12

- เนื้องอกมีการแพร่ไปยังอวัยวะใกล้เคียง เช่นกล้ามเนื้อหรือผิวหนังบริเวณหน้าอก และมีการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้าเหลือง ระยะ 3C - เนื้องอกมีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้าเหลืองบริเวณเหนือไหปลาร้าและอาจจะพบ ร่วมกับการแพร่กระจายไปยังต่อมน้าเหลืองบริเวณรักแร้และบริเวณใกล้เคียงเต้านม (จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์. ม.ป.ป. : ออนไลน์) 5. มะเร็งเต้านมระยะที่ 4 ในระยะนี้ เซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปถึงอวัยวะส่วนอื่นของร่างกายที่พบบ่อยได้แก่ กระดูก ปอด ตับและสมอง (จุฑามาศ แอนเนียน. 2550 : 117) ระยะ 4 ก้อนมะเร็งมีขนาดโตเท่าไหร่ก็ได้แต่แตกทะลุผิวหนังออกมา ลุกลามลงไปติดกับ กระดูกซี่โครง, มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้าเหลืองที่บริเวณเหนือไหปลาร้าของข้างเดียวกัน หรือ มีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายที่อยู่ไกลออกไป เช่น กระดูก , ปอด, ตับ, สมอง เป็น ต้น (กริช โพธิสุวรรณ. 2552 : ออนไลน์) ระยะ 4 มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ แล้ว (“มะเร็งเต้านม” 2555 : ออนไลน์) ระยะ 4 มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นของร่างกายส่วนมากพบที่กระดูก , ปอด, ตับ หรือสมอง (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์. ม.ป.ป. : ออนไลน์) การตรวจเต้านม 1. การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรตรวจเต้านมเดือนละ1ครั้งในช่วงก่อนมีประจาเดือนและหลังหมดประจาเดือนไปแล้ว 7-8วันเนื่องจากระยะเวลาที่ใกล้หมดประจาเดือนอาจมีอาการคัดตึง เจ็บเต้านม และคลาพบก้อนได้ จากสาเหตุมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในร่างกายทาให้ไม่สามารถแยกความผิดปกติได้ วิธีการตรวจ ดังภาพที่ 5


13

ภาพที่ 5 การตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

ที่มา : http://www.bungkan.com/webboard/show.php?Category=alumni&No=908 1.1 การดู 1.1.1 ให้ยืนตรงหน้ากระจกแขนแนบกับลาตัวสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของเต้านม ทั้งสองข้าง ดูทั้งขนาด รูปร่างและผิวหนังว่าผิดปกติหรือไม่ 1.1.2

ประสานมือทั้งสองข้างไว้เหนือศีรษะ สังเกตการณ์เคลื่อนไหวขึ้นลงของเต้า

นม 1.1.3 ยกมือเท้าเอว เกร็งกล้ามเนื้อหน้าอก ดูเต้านมด้านข้างซ้าย-ขวา ดูความเรียบนูน 1.2 การคลา


14

การคลาเต้านมมีหลายแบบจะเลือกแบบใดแบบหนึ่งก็ได้ที่คุ้นเคยและสะดวก และไม่ว่า คลาแบบใดต้องใช้นิ้วกดเป็นวงกลมวนตามเข็มนาฬิกาไปทั่วเต้านม ดังภาพที่ 6 ภาพที่ 6 การคล่า

ที่มา : http://www.si.mahidol.ac.th/th/department/cancer/dept_KC_8.asp 1.3 ตรวจเต้านมในขณะอาบน้า การคลาในขณะอาบน้า น้าและสบู่ทาให้การสัมผัสของนิ้วมือชัดเจนขึ้นจะให้ความแม่นยา มากกว่าการเปลี่ยนแปลงภายในเต้านม 1.4 การตรวจบริเวณรักแร้ การตรวจบริเวณรักแร้ด้านขวาใช้ปลายนิ้วทั้งสามของมือซ้ายสอดเข้าใต้รักแร้ขวาลึกๆ คลา ให้ทั่วบริเวณรักแร้ด้านซ้ายเช่นเดียวกัน 1.5 การตรวจเต้านมในท่านอน การตรวจเต้านมด้านขวา ให้นอนราบใช้หมอนเล็กๆหนุนใต้ไหล่ขวา วางแขนขวาไว้เหนือ ศีรษะ วิธีคลาทาเช่นเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้น ส่วนการตรวจเต้านมด้านซ้ายทาเช่นเดียวกับด้านขวา (พรศิริ พันธสี. 2555 : 44-45) 2. การตรวจเต้านมด้วยแพทย์ การตรวจเต้านมด้วยแพทย์ ในการตรวจร่างกายเป็นประจาปี แพทย์ที่ตรวจจะคลาเต้านมทั้ง สองข้างเพื่อตรวจหาก้อนเนื้อด้วยรวมทั้งในผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจด้วยตัวเองก็ต้อง มาให้แพทย์ตรวจร่างกายอีกครั้ง ถ้าแพทย์ตรวจแล้วมีความสงสัยก็จะส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติมต่อไป ได้แก่ 2.1 แมมโมแกรม (Mammogram): เป็นการตรวจเต้านมโดยใช้เครื่องเอกซ์เรย์พิเศษเฉพาะ


15

ถือเป็นการตรวจมาตรฐานในการตรวจหามะเร็งเต้านม เนื่องจากเป็นการตรวจหาความผิดปกติ ระยะเริ่มแรกได้ดี ความผิดปกติที่อาจพบจากการตรวจนี้ เช่น ก้อนเนื้อ, ก้อนมะเร็ง, หินปูนขนาด ใหญ่และขนาดเล็ก, เนื้อเต้านมที่ถูกดึงรั้ง (distortion), ต่อมน้าเหลืองที่รักแร้ รวมทั้งหัวนมและ ผิวหนังที่หนาตัว หรือถูกดึงรั้งผิดปกติ ถ้าพบความผิดปกติจากการตรวจแมมโมแกรม รังสีแพทย์ผู้ แปลผลอาจทาการถ่ายภาพแมมโมแกรม เพิ่มเติมจากมาตรฐาน 4 เท่า และจะทาการตรวจด้วยเครื่อง อัลตร้าซาวน์เพิ่มเติมด้วย เพื่อวินิจฉัยแยกโรคต่อไป เนื่องจากเต้านมเป็นอวัยวะที่มีความหนาและ ต้องตรวจหาเนื้องอกที่ซ่อนอยู่ภายในต่อมน้านม จึงต้องใช้แผ่นกดให้เนื้อเต้านมบางลง และใช้ เทคนิคเฉพาะทางรังสีเพื่อให้ได้เห็นความผิดปกติได้ชัดเจน (โรงพยาบาลวิชัยยุทธ. ม.ป.ป. : ออนไลน์)ดังภาพที่ 7 ภาพที่ 7 การตรวจด้วยแมมโมแกรม

ที่มา : http://members.tripod.com/4_shes/htm/Di/cancer.htm

2.2 การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (Biopsy): การนาเซลล์หรือเนื้อเยื่อไปตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดยพยาธิแพทย์เพื่อตรวจหา ลักษณะของมะเร็ง การตัดชิ้นเนื้อมี 4 ชนิด คือ การตัดชิ้นเนื้อจากภายนอก (Excisional biopsy) คือการนาก้อนเนื้อเยื่อทั้งหมดออกไป ตรวจ 2.2.1 การตัดชิ้นเนื้อภายใน (Incisional biopsy) คือการนาบางส่วนของก้อนหรือเนื้อเยื่อ ไปตรวจ


16

2.2.2 Core Biopsy คือการนาเนื้อเยื่อไปตรวจโดยใช้เข็มขนาดใหญ่ 2.2.3 Fine-needle aspiration (FNA) biopsy คือการนาเนื้อเยื่อหรือสารน้าไปตรวจโดย ใช้เข็มขนาดเล็ก 2.3 การตรวจหาตัวรับฮอร์โมน (Estrogen and Progesterone receptor)เป็นการตรวจสอบเพื่อวั ดปริมาณของตัวรับฮอร์โมนทั้งสองชนิดในเนื้อเยื่อมะเร็ง เพื่อประเมินว่าการรักษาด้วยฮอร์โมนจะ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้หรือไม่ 2.4 MRI (Magnetic resonance imaging) เป็นการตรวจโดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าในการ สร้างภาพของส่วนต่างๆ ในร่างกาย วิธีการนี้เรียกว่า Nuclear magnetic resonance imaging (NMRI) (Chulacancer. ม.ป.ป. : ออนไลน์) ดังภาพที่ 8 ภาพที่ 8 การตรวจด้วย MRI

ที่มา : http://www.mrithailand.com/service_breast.html 2.5 การตรวจเต้านมด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงและใช้ หัวตรวจเฉพาะสาหรับเต้านมที่มีความละเอียดสูง การตรวจนี้ใช้ได้ดีในการดูลักษณะของก้อนที่ ตรวจพบจากการคลาหรือแมมโมแกรมว่า เป็นก้อนเนื้อเต้านมชนิดต่อมน้านมแน่นถึงแน่นมาก ซึ่ง ถ้าตรวจด้วยแมมโมแกรมเพียงอย่างเดียว อาจไม่พบก้อนเนื้อ ซึ่งถูกบดบังด้วยต่อมน้านมที่ หนาแน่นนั้นได้ (โรงพยาบาลวิชัยยุทธ. ม.ป.ป. : ออนไลน์)


17

การรักษามะเร็งเต้านม การรักษามะเร็งเต้านมเป็นการรักษาผสมผสานกันระหว่างการผ่าตัด การฉายรังสีรักษา และการให้ยาเคมีบาบัด การรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมสาหรับผู้ป่วยแต่ละรายทาให้ผลการรักษา ดี ผู้ป่วยมีอายุยืนยาว แพทย์ผู้รักษาจาเป็นต้องเลือกวิธีการและลาดับการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย แต่ละคนเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด (รอบรู้เรื่องมะเร็ง. 19 มกราคม 2552 : ออนไลน์) โดยทั่วไปการรักษามะเร็งเต้านมจะประกอบด้วยกันทั้งหมด 5 วิธี (“การรักษามะเร็งเต้านม”. 25 มกราคม 2553 : ออนไลน์)ได้แก่ 1. การผ่าตัด 2. การฉายแสง 3. การให้ยาเคมีบาบัด 4. การให้ยาต้านฮอร์โมน 5. การรักษาที่เป้าหมายของการเกิดมะเร็ง (targeted therapy) 1. การผ่าตัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะได้รับการผ่าตัดเพื่อนาเนื้องอกออกจากหน้าอกร่วมกับต่อมน้าเหลือง บางส่วนเพื่อดูว่ามีเซลล์มะเร็งอยู่หรือไม่การผ่าตัดหลักๆ มีอยู่ 4 วิธี ได้แก่ 1.1 การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม เป็นการผ่าตัดที่นาเอาเนื้องอกออกซึ่งประกอบไปด้วยวิธี ต่าง ๆ ดังนี้ 1.1.1 การตัดเฉพาะตัวเนื้องอกออก เป็นการผ่าตัดนาเอาเนื้องอกและเนื้อเยื่อที่ปกติ รอบ ๆ เนื้องอกออก 1.1.2 การตัดเอาเต้านมบางส่วนออก เป็นการผ่าตัดนาเอาเต้านมที่มีเนื้องอกออก บางส่วนร่วมกับเนื้อเยื่อที่ผิดปกติรอบ ๆ นอกจากนี้ยังมีการนาเอาต่อมน้าเหลืองที่บริเวณใต้รักแร้ออกมาตรวจพร้อมกับการผ่าตัด เต้านมอีกด้วย 1.2 การผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งข้าง เป็นการผ่าตัดที่นาเอาเต้านมข้างที่มีเนื้องอกออก ทั้งหมดร่วมกับต่อมน้าเหลืองใต้รักแร้เพื่อการตรวจวินิจฉัย 1.3 การผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งข้างแบบปรับปรุง (Modified radical mastectomy) เป็นการ ผ่าตัดที่นาเอาเต้านมข้างที่มีเนื้องอกออกทั้งหมดร่วมกับต่อมน้าเหลืองใต้รักแร้, ต่อมน้าเหลืองใต้ ผนังหน้าอกและกล้ามเนื้อผนังหน้าอก 1.4 การผ่าตัดเต้านมแบบกว้าง (Radical mastectomy) เป็นการผ่าตัดที่นาเอาเต้านมข้างที่มี เนื้องอก, กล้ามเนื้อใต้หน้าอก และต่อมน้าเหลืองทั้งหมดที่รักแร้ออก


18

2. การฉายแสงหรือการฉายรังสี ดังภาพที่ 9 ภาพที่ 9 การฉายรังสี

ที่มา : http://www.lampangcancer.com/lpccWebnew/index.php?option=com_content&task=view&id=99 &Itemid=1 เป็นการใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อกาจัดเซลล์มะเร็งหรือป้องกันเซลล์มะเร็งเติบโตแบ่งได้เป็น 2 ชนิด 2.1 การฉายแสงภายนอก เป็นการใช้เครื่องฉายรังสีส่งรังสีไปยังบริเวณก้อนเนื้องอก ผนัง หน้าอก หรือต่อมน้าเหลือง มักใช้ภายหลังได้รับการผ่าตัด และได้ยาเคมีบาบัดแล้ว ในผู้ป่วยที่มี ก้อนมะเร็งขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. มีการลุกลามที่ต่อมน้าเหลืองหรือผ่าตัดก้อนมะเร็งได้ขอบเขตไม่ เพียงพอ และกรณีผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบสงวนเต้านม 2.2 การฉายแสงภายในหรือการฝังแร่ เป็นการใช้สารกัมมันตรังสีติดกับอุปกรณ์บางชนิด เช่น เข็ม, ลวด จากนั้นนาไปวางไว้ในบริเวณที่เป็นเนื้องอกหรือบริเวณข้างเคียง


19

3. การใช้ยาเคมีบาบัด เป็นการใช้ยาเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเนื้องอกโดยการกาจัดหรือหยุดเนื้องอกจากการ แบ่งตัววิธีการให้ยามีทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดหรือฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อ วิธีการให้ยาขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค ยาเคมีบาบัดเมื่อให้เข้าสู่ร่างกายจะไปทาลายเซลมะเร็ง เเละทาลายเซลล์ปกติบางส่วน ด้วย ทาให้เกิดอาการข้างเคียงขึ้น ยาเคมีบาบัดจะเข้าไปขัดขวางขบวนการเจริญเติบโตของวงจรชีวิต เซลล์ทาให้ เซลล์ตาย ยาแต่ละตัวออกฤทธิ์แตกต่างกันในการรักษา บางแผนการรักษาประกอบด้วย ยาหลายชนิด ที่ให้ร่วมกัน อาการข้างเคียง ยาเคมีบาบัดมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติด้วย โดยเฉพาะเซลล์ที่มีการเจริญ และ แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร, เส้นผม, เม็ดเลือด ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุของ อาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ระยะหนึ่งในระหว่างการ ให้ยาแต่ละชุด เพื่อให้ร่างกายได้ มีเวลาสร้างเซลล์ปกติขึ้นมาทดแทน (“มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะพยาบาลศาสตร์” มกราคมเมษายน 2554 : 110-111) - อาการไม่พึงประสงค์ที่ต้องปรึกษาแพทย์ 1. มีเลือดออกหรือเป็นแผลในปากมาก 2. มีผื่นหรืออาการแพ้ 3. มีไข้ หนาวสั่น 4. ปวดมากบริเวณที่ฉีด 5. หายใจลาบาก 6. ท้องเดินหรือท้องผูกอย่างรุนแรง 7. ปัสสาวะหรืออุจจาระมีเลือดปน - อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย 1. คลื่นไส้อาเจียน 2. ผมร่วง 3. แผลในปาก 4. ปริมาณเม็ดเลือดลดลง อย่างไรก็ตาม อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจะหายไปเมื่อสิ้นสุดการให้ยาเคมีบาบัด ซึ่ง อาการไม่พึงประสงค์จะขึ้นกับชนิดของยาเคมีบาบัดที่ได้รับ และปฏิกิริยาตอบสนองต่อยา ของ ร่างกายผู้ได้รับยาเคมีบาบัดนั้น ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ ที่จะเกิด ขึ้นจากการ ได้รับยา เพื่อบรรเทาอาการให้น้อยลงหรืออาจพิจารณาปรับแผนการรักษา ถ้าเกิด มีอาการรุนแรง


20

อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดไม่ได้หมายความว่า อาการของโรคมะเร็งเป็นมาก ขึ้น และความรุนแรง ของอาการไม่พึงประสงค์ก็ไม่มีความสัมพันธ์กับผลของยาเคมีบาบัดต่อเซลล์มะเร็ง(พัฒน์พงศ์ นาวี เจริญ. 2551 : 104) ดังภาพที่ 10 ภาพที่ 10 เคมีบาบัด

ที่มา : http://www.siamca.com/knowledge-id60.html 4. การรักษาด้วยฮอร์โมน เป็นการรักษาโดยการนาเอาฮอร์โมนหรือหยุดการทางานของฮอร์โมนเป็นผลทาให เซลล์มะเร็งหยุดการเจริญเติบโต ถ้าตรวจพบว่าเซลล์มะเร็งมีตัวรับการตอบสนองต่อฮอร์โมน (receptors) อาจเลือกวิธีการรักษาเพื่อลดการทางานของฮอร์โมนได้หลายวิธีดังนี้ การใช้ยาการ ผ่าตัดและการฉายรังสี เช่น มะเร็งเต้านมซึ่งตอบสนองต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนและเอสโตรเจนสร้าง มาจากรังไข่ อาจใช้วิธีการผ่าตัดรังไข่ออกเพื่อหยุดการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือการรักษาด้วย ยา Tamoxifen ซึ่งใช้รักษามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น และระยะลุกลาม แต่มีข้อพึงระวังเนื่องจาก การกินยา Tamoxifen สามารถออกฤทธิ์ได้กับเซลล์ทั่วร่างกายทาให้อาจเพิ่มโอกาสในการเป็น มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้หรือการรักษาด้วยยา Aromatase Inhibitor ซึ่งให้ในผู้หญิงวัยหมดระดูที่ เป็นมะเร็งชนิดที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยฮอร์โมน โดยยาชนิดนี้จะไปยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมน


21

แอนโดนเจนไปเป็นเอสโตรเจน ซึ่งยาชนิดนี้สามารถใช้ในระยะต้นของโรคมะเร็งเต้านมโดยเป็น การรักษาเสริมแทนยา Tamoxifen หรือหลังจากสองปี หรือมากกว่าของการใช้ยา Tamoxifen (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา. 17 มิถุนายน 2553 : ออนไลน์)ดังภาพที่ 11 ภาพที่ 11 การใช้ฮอร์โมน

ที่มา : http://hpe4.anamai.moph.go.th/hpe/breast/breastCancerRx.php 5. การรักษาที่เป้าหมายของการเกิดมะเร็ง เป็นยาซึ่งออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วยที่มีตัวรับของ HER-2 ในปริมาณมาก โดยยานี้จะ ปิดกั้นตัวรับชนิดนี้ แต่ยานี้มีราคายาแพงมาก การเลือกใช้ยา (“การรักษามะเร็งเต้านม”. 25 มกราคม 2553 : ออนไลน์) การรักษาแบบใหม่ที่ยังอยู่ในขั้นทดลอง - Sentinel Lymph node biopsy followed by surgery เป็นการนาต่อมน้าเหลืองต่อมแรกที่มี การแพร่กระจายจากเนื้องอกออก โดยใช้สารกัมมันตรังสีฉีดเข้าใกล้กับเนื้องอก ซึ่งต่อมน้าเหลือง ต่อมแรกที่ได้รับสารกัมมันตรังสีจะถูกตัดออก แพทย์ จะทาการตรวจเพื่อหาเซลล์มะเร็ง ถ้าไม่พบ เซลล์มะเร็งก็ไม่มีความจาเป็นที่จะต้องนาต่อมน้าเหลืองอื่น ๆ ออกหลังจากนั้นศัลยแพทย์จะผ่าตัด เนื้องอกออกตามวิธีข้างต้น - High dose chemotherapy with stem cell transplant เป็นการให้ยาเคมีบาบัดขนาดสูง ร่วมกับการให้เซลล์ต้นกาเนิดเม็ดเลือดทดแทนเซลล์เดิมที่ถูกทาลายจากการรักษามะเร็งซึ่งมีวิธีการ ดังนี้


22

1. นาเซลล์ต้นกาเนิดเม็ดเลือดออกจากไขกระดูกของผู้ป่วยหรือผู้บริจาคแล้วแช่แข็งเก็บไว้ 2. หลังจากให้ยาเคมีบาบัดเสร็จสิ้นนาเอาเซลล์ต้นกาเนิดกลับไปให้ผู้ป่วยอีกครั้ง การศึกษานี้พบว่าผลการรักษาไม่แตกต่างจากการรักษาด้วยยาเคมีบาบัดเพียงอย่างเดียว - Monoclonal Antibodies as adjuvant therapy เป็นการรักษาโดยการใช้ Antibodies โดย Antibodies เหล่านี้ จะไปจับกับสารที่ทาให้ตัวเนื้องอกเจริญเติบโต ผลโดยรวมจะทาให้เซลล์มะเร็ง ตาย หยุดการเจริญเติบโตหรือหยุดการแพร่กระจาย การรักษาด้วยวิธีนี้สามารถให้ร่วมกับการรักษา ด้วยยาเคมีบาบัดได้ด้วย ตัวอย่างเช่น ยา Trastuzumab (Herceptin) ซึ่งมีผลในการยับยั้งการทางาน ของโปรตีน HER-2 ซึ่งโปรตีน HER-2 เป็นตัวเร่งการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านม - Tyrosine kinase inhibitors as adjuvant therapy เป็นการยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อ งอกอย่างเฉพาะเจาะจง (Targeted therapy) สามารถใช้ร่วมกับยากต้านมะเร็งตัวอื่นเป็นการรักษา เสริมได้ ตัวอย่างเช่น Lapatinib ซึ่งยับยั้งการทางานของ HER-2 สามารถใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้า นมที่มีผล HER-2 receptor เป็นบวกในรายที่ได้รับการรักษาด้วย Trastuzumab แล้วไม่ได้ผล (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา. 17 มิถุนายน 2553 : ออนไลน์) การป้องกันมะเร็งเต้านม เนื่องจากการดาเนินของโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจาเป็นและสาคัญอย่างที่ต้องทาการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น การ รักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น สามารถรักษาให้หายขาดได้ และการรักษาอาจทาได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จาเป็นต้อง ผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม โดยรอจนกระทั่งมีอาการ ผิดปกติมะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้(รอบรู้ เรื่องมะเร็ง. 19 มกราคม 2552 : ออนไลน์) 1. การออกกาลังกาย การออกกาลังกายมีส่วนช่วยในการป้องกันมะเร็งเต้านม โดยพบว่าการออกกาลังกายมี ผลดีกับผู้ป่วย โดยนอกจากจะให้ผลในการป้องกันและรักษามะเร็งแล้วยังอาจจะมีผลป้องกันการ กลับมาเป็นใหม่อีกด้วย อย่างไรก็ตามก่อนที่จะเริ่มต้นออกกาลังกาย ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจ ร่างกาย และขอคาแนะนาว่าจะออกกาลังกายแบบไหนและอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับตนเอง


23

การออกกาลังกายเป็นประจาจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลาไส้ใหญ่ โรคหลอด เลือดหัวใจตีบ โรคกระดูกพรุน เบาหวาน มะเร็งเต้านม และโรคอื่นๆ อีกหลายชนิด แต่การออก กาลังกายจะช่วยลดการกลับเป็นใหม่ หรือลดการแพร่กระจายของมะเร็งหรือไม่นั้น ยังไม่มีข้อมูล ชัดเจน ประโยชน์ของการออกกาลังกาย 1. ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดความอ่อนเพลีย กังวลและเพิ่มพลังชีวิต 2. เพิ่มความแข็งแรงของหัวใจ ลดน้าหนัก หายใจให้เต็มปอด ควรออกกาลังกายอย่างไร ? ให้ออกกาลังกายแต่พอประมาณทุกวัน วันละ 30 นาที เช่น ว่ายน้า ขี่จักรยาน เดินเร็ว ถูบ้าน ทาสวน เป็นต้น แต่ระวังอย่าให้ขาดน้าและเกลือแร่ในขณะออกกาลังกาย - ถ้ามีกระดูกบาง กระดูกพรุน หรือมะเร็งเข้ากระดูกจะต้องไม่กระโดดหรือบิดสะโพก เพราะกระดูกอาจหักได้ - ในช่วงที่ได้รับยาเคมีบาบัดต้องระวังการออกกาลังกาย เพราะการทรงตัวไม่ดีอาจล้ม - การปรับการดาเนินชีวิตให้เป็นการออกกาลังกายไปในตัว เช่น จอดรถให้ไกลจากที่ ทางานซึ่งเป็นการบังคับตนเองให้เดินไปางาน ไม่ใช้ลิฟท์แต่ให้เดินขึ้นลงบันไดแทน 2. การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม ยังเป็นสาเหตุของมะเร็งอีกหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก และโรคถุงลมโป่งพอง นอกจากนี้คนรอบข้างยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งอีก ด้วย 3. ความอ้วน เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมและทาให้มะเร็งเต้านมร้ายแรงขึ้น ดังนั้นควรลดน้าหนักให้ อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมโดยการออกกาลังกายเพื่อลดไขมันส่วนเกิน อย่างไรก็ตามไม่ควรลดน้าหนัก ในช่วงให้ยาเคมีบาบัด และควรลดน้าหนักลงประมาณ 1-2 ปอนด์ต่อสัปดาห์ (“อยู่อย่างไรหลังการรักษามะเร็งเต้านมครบ 5ปี”. 28 กุมภาพันธ์ 2553 : ออนไลน์) 4. การรับประทานอาหารให้เหมาะ ช่วยป้องกันมะเร็งได้หลายชนิดรวมทั้งมะเร็งเต้านม และสาหรับคนที่เป็นมะเร็งอยู่แล้ว อาจจะลดการกลับมาเป็นใหม่ได้ สมาคมแพทย์มะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้ข้อแนะนาอาหารใน การป้องกันมะเร็งไว้ดังนี้ - เลือกรับประทานอาหารที่มาจากพืชเป็นส่วนใหญ่ เช่น ผัก ผลไม้ วันละ 5 มื้อ


24

เนื่องจากผักและผลไม้อุดมไปด้วยสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายรวมทั้งวิตามินซึ่งมีผลในการป้องกัน มะเร็งได้ การรับประทานอาหารจาพวกผักและผลไม้เป็นประจาจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด มะเร็งลาไส้ใหญ่ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งอื่นๆ - เลือกรับประทานอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น ข้าว ขนมปัง เมล็ดพืช เป็น ต้น - ลดอาหารประเภทไขมัน โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ - รับประทานอาหารที่มีไขมันต่า พบความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่มีไขมันสูงกับ มะเร็งเต้านม มีการศึกษาพบว่าอาหารที่มีไขมันต่าอาจจะช่วยลดการกลับเป็นใหม่ของมะเร็งเต้านม โดยอาหาร ไขมันต่าจะได้พลังงานจากอาหารไขมันประมาณ 20% ไขมันที่ได้ควรเป็นไขมันจากพืช เช่น น้ามันถั่ว น้ามันมะกอก เป็นต้น(พัฒน์พงศ์ นาวีเจริญ. 2551 : 130) 5. การอดอาหารกับมะเร็ง ผู้ป่วยบางรายมีความเชื่อที่ผิดว่า หากอดอาหารแล้วจะไม่มีอาหารไปเลี้ยงมะเร็ง ทาให้ เซลล์มะเร็งตาย แต่จากการศึกษาพบว่าการอดอาหารไม่ทาให้ชีวิตยืนยาวขึ้น กลับเป็นอันตรายต่อ ผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งต้องได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน จึงมีข้อแนะนาว่า ผู้ป่วยมะเร็งควร ได้รับพลังงานจากอาหารอย่างพอเพียงทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ควรลดน้าหนักให้พอดี และมีสารอาหารเก็บไว้ในร่างกายอย่างเพียงพอ 6. อาหารมังสวิรัติกับมะเร็ง มีการศึกษาที่ติดตามผู้ป่วยนาน 17 ปี พบผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคต่างๆ ในกลุ่มที่ไม่ได้ รับประทานอาหารมังสวิรัติ อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า อาหารมังสวิรัติจะป้องกันการกลับ เป็น ใหม่ของมะเร็งเต้านมได้ 7. นม และผลิตภัณฑ์จากนม กับมะเร็ง ข้อมูลด้านมะเร็งยังขัดแย้งกันอยู่ เพราะมีทั้งการศึกษาที่พบว่านมช่วยป้องกันมะเร็งเต้า นม และเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม นมมีแคลเซียมและวิตามินดีซึ่งมีประโยชน์ต่อกระดูก ในขณะที่ไขมันในนมทาให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ มีข้อมูลว่า นมเพิ่ม growth factor คือ insulin growth factor 1 ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็ง ลาไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านมในผู้หญิงที่ยังมีประจาเดือน และมะเร็งปอด(“อยู่อย่างไรหลังการรักษา มะเร็งเต้านมครบ 5ปี”. 28 กุมภาพันธ์ 2553 : ออนไลน์)


25

บทสรุป จากเนื้อหาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่ามะเร็งเต้านมมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงที่มีปัจจัย เสี่ยงในหลายๆด้าน การดูแลของผู้หญิงจึงเป็นส่วนสาคัญในการสังเกตอาการที่ผิดปกติ ทราบถึง การดูแลรักษา และแนวทางการป้องกันเพื่อจะได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีและรู้ทันภัยจากมะเร็งเต้า นม


รายการอ้างอิง กิตติยา ธนกาลมารวย. (2553) “มะเร็งเต้านมโรคอันดับ 1 ของหญิงไทย” [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://talkaboutsex.thaihealth.or.th/news/909 (21 พฤษภาคม 2555) กริช โพธิสุวรรณ. (2552) การแบ่งระยะของมะเร็งเต้านม. [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=deco&date=05-03-2008&group=8&gblog=7 (15 พฤษภาคม 2555) กองบรรณาธิการใกล้หมอ. (2551) รอบรู้เรื่องเต้าเฝ้าระวังมะเร็ง. กรุงเทพมหานคร : ใกล้หมอ มะเร็งเต้านม. (2543) พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดี. “การรักษามะเร็งเต้านม”. (2552) [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.thaibreast.org/articles /573924/การรักษามะเร็งเต้านม.html (15 พฤษภาคม 2555). จุฑามาศ แอนเนียน. (2550) ดูแลเต้านมอย่างใส่ใจ สู้ภัยจากมะเร็ง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ส เจริญ การพิมพ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์. (ม.ป.ป.) มะเร็งเต้านม. [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.chulacancer.net/newpage/information/breast_cancer5.html (15 พฤษภาคม 2555) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา. (2553) “การรักษามะเร็งเต้านม” [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.chulacancer.net/newpage/ information/breast_cancer6.html (15 พฤษภาคม 2555) พัฒน์พงศ์ นาวีเจริญ. (2551) ก้อนในเต้านม. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะพยาบาลศาสตร์. (มกราคม – เมษายน 2554) “เคมีบาบัดกับมะเร็งเต้า นม” การพยาบาล และสุขภาพ. ปีที่ 5 (ฉบับพิเศษ) หน้า 110-111. มะเร็งเต้านม. (2555) [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1% E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%BB8%87%E0%B9% 80%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1 (15 พฤษภาคม 2555)


27

“มะเร็งเต้านม” (2552) รอบรู้เรื่องมะเร็ง. [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://medinfo2.psu.ac.th/ cancer/db/news_ca.php?newsID=3&typeID=18&form=2 (15 พฤษภาคม 2555). รพีพรรณ สุรศักดิ์วรกุล. (2551) ใช้ชีวิตอย่างไรให้ปลอดภัยและหายจากการเป็นมะเร็งเต้านม. พิมพ์ครั้ง ที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ยูแพดอินเตอร์ “อยู่อย่างไรหลังการรักษามะเร็งเต้านมครบ 5ปี”. (2553) [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.thaibreast.org/articles/591431/อยู่อย่างไรหลังการรักษามะเร็งเต้านมครบ-5-ปี. html (15 พฤษภาคม 2555).


ภาคผนวก


โครงเรื่องรู้ทันภัยมะเร็งเต้านม บทนา 1. ความหมายของมะเร็ง 2. สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านม 3. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม 3.1 อายุ 3.2 การได้รับรังสี 3.3 อาหารที่อาจเสริมเป็นมะเร็งเต้านม 3.4 เหล้ากับมะเร็งเต้านม 3.5 ขนาดของร่างกายกับมะเร็งเต้านม 3.6 การออกกาลังกายกับมะเร็งเต้านม 3.7 มะเร็งเต้านมกับพันธุกรรม 4. กลุ่มเสี่ยง 4.1 อายุวัย 4.2 ความตึงเครียด 4.3 โภชนาการ 4.4 พันธุกรรม 4.5 สถิติการเป็นมะเร็งเต้านมในเมืองไทย 4. อาการ 4.1 มะเร็งเต้านมระยะ 0 4.2 มะเร็งเต้านมระยะ 1 4.3 มะเร็งเต้านมระยะ 2 4.4 มะเร็งเต้านมระยะ 3 4.5 มะเร็งเต้านมระยะ 4


โครงเรื่องรู้ทันภัยมะเร็งเต้านม(ต่อ) 5. การตรวจ 5.1 การตรวจด้วยตนเอง 5.2 การตรวจด้วยแพทย์ 6. การรักษา 6.1 การผ่าตัด 6.2 การฉายแสงหรือการฉายรังสี 6.3 การใช้ยาเคมีบาบัด 6.4 การรักษาด้วยฮอร์โมน 6.5 การรักษาที่เป้าหมายของการเกิดมะเร็ง 7. การป้องกัน บทสรุป


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.