kratuake-ex1

Page 1

เลขที่ ...................... ประโยคนักธรรมศึกษาชั้น ............... วิชา ............................................................ สอบในสนาหลวง วันที่ ................. เดือน .........................................พ.ศ. ................... สพฺเพ ตสนฺติ ทนฺฑสฺ ส สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา น หเนยฺย น ฆาตเย. สัตว์ท้ งั ปวงหวาดต่ออาชญา ล้วนกลัวต่อความตาย ควรทำาตนให้เป็ นอุปมาแล้ว ไม่ควรฆ่าเขาเอง ไม่พึง ให้ผอู้ ื่นฆ่า (ผูอ้ ื่น). บัดนี้ จะได้อธิบายขยายความกระทูธ้ รรม ตามนัยพระพุทธภาษิตที่ลิขิตเป็ นอุเทศบท ณ เบื้องต้นนั้น พอเป็ น แนวทางแห่งการศึกษาและปฏิปทาในแนวทางห่งการปฏิบตั ิตามหลักพุทธธรรมเป็ นลำาดับไป ตามนัยแห่งพุทธภาษิตนี้ มีใจความสำาคัญเป็ น ๒ ประเด็นใหญ่ ประเด็นที่ ๑ พึงทราบว่าสัตว์ทุกชีวิตล้วนรักตัว กลัวอันตราย ไม่มีใครอยากได้ทุกข์ มีแต่รักความสุ ข สงบกายใจ ประเด็นที่ ๒ มองไปที่การประพฤติปฏิบตั ิต่อกัน ระหว่างบุคคลโดยให้ทาำ ตนให้เป็ นอุปมา คือ เอาใจเขามาใส่ ใจเรา เอาใจเราไปใส่ ใจเขา เมื่อรู้วา่ เขาก็เหมือนกับเราและเราก็ เหมือนกับเขา โดยความรักสุ ขเกลียดทุกข์แล้ว เราไม่ควรฆ่าเขา ทั้งไม่ควรให้ผอู้ ื่นฆ่าผูอ้ ื่น เพื่อความกระจ่างชัดในอรรถ ปัญหา จะได้สังวรรณนาตามแนวทางแห่งพระบาลีอุทเทศนั้นเป็ นลำาดับไปว่า ธรรมดาของสัตว์ท้ งั หลายย่อมรักตัวกลัวตาย แหนงหน่ายต่อทุกข์เสมอเหมือนกัน ย่อมประหวัน่ คร้ามต่อความเดือดร้อนตามพระบาลีขา้ งต้นที่วา่ สพฺเพ ตสนฺ ติ ทนฺ ฑสฺ ส สพฺเพ ภายนฺ ติ มจฺจุโน นั้น ซึ่ งมีคาำ แปรเป็ นสาระสำาคัญว่า “สัตว์ท้ งั ปวงย่อมหวาดต่ออาชญา ล้วนกลัวต่อความตาย” นี้ มิใช่คาำ ทำานาย หากแต่พระพุทธองค์ทรงเปิ ดเผยความจริ ง ขึ้นชื่อว่า อาชญา ย่อมทราบกันโดยทัว่ ไปว่า เป็ นสิ่ งนำามาซึ่ งทุกข์แก่สัตว์ผลู้ งอาชญานั้น ๆ ต่างว่า การปรับ สิ นไหม การถูกจองจำา ตลอดถึงการถูกเข่นฆ่า การประหารชีวิต จะเป็ นอาชญาที่เป็ นไปตากฎหมาย หรื อเป็ นไปเพราะ สัตว์เบียดเบียนกันเอง ก็ยอ่ มก่อให้เกิดความกลัวเกรงหวาดสะดุง้ แม้ความตายที่เป็ นไปตามธรรมดาของสังขารที่มี กระบวนการเกิด แก่ เจ็บ ตาย สัตว์ท้ งั หลายก็ยงั สะดุง้ หวาดกลัว พยายามพาตัวหลีกหลบมุ่งจะให้ประสบความสวัสดี พระบรมศาสดาจารย์ทรงทราบประพฤติการณ์เช่นนี้ จึงทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ให้มาประพฤติปฏิบตั ิเมตตา กรุ ณาต่อกัน พร้อมกันนั้นก็ได้ตรัสเตือนให้สาธุชนประกอบคุณงามความดี ตามนัยพระบาลีคาถาที่มาในขุททกนิกาย ธรรมบทว่า สุ ขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเ ฑน วิหึสติ อตฺตโน สุ ขเมสาโน เปจฺจ โส น ลภเต สุ ขํ. สัตว์ท้ งั หลายอยากได้ความสุข ผูใ้ ดเบียดเบียนผูอ้ ื่น ด้วยอาชญาแสวงหาความสุขเพื่อตน เขาผูน้ ้ นั ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไม่ได้ความสุ ข. จากความตามพระบาลีน้ ี ชี้ให้เห็นว่า สัตว์อยากได้สุขเหมือนกันหมด แต่ผใู้ ดแสวงหาสุขเพื่อตนโดยทำาความเดือด ร้อนให้ผอู้ ื่น เขาผูน้ ้ นั แม้จะสุ ขใจบ้างในปัจจุบนั แต่ในอนาคตกาลภายภาคหน้า หรื อในสัมปรายภพ อันได้แก่ สภาวะหลัง จากละโลกนี้ไปแล้ว เขาย่อมไม่ได้สุข เพราะกรรมที่เขาเบียดเบียนผูอ้ ื่นไว้ในชาติน้ี นนั่ เอง


ในทางกลับกัน ผูแ้ สวงหาสุ ขเพื่อตนโดยไม่เบียดเบียนผูอ้ ื่นด้วยอาชญา ไม่ขวนขวายทำาผูอ้ ื่นให้เดือดร้อน สมเด็จ พระชินวรศาสดาทรงรับรองว่า แม้ในอนาคตกาลเขาผูน้ ้ นั ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมจะได้ความสุข โดยพระองค์ผทู้ รงเป็ น นิรทุกข์ได้แสดงไว้ในบาลีขทุ ทกนิกาย ธรรมบทนัน่ เองว่า สุ ขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน วิหึสติ อตฺตโน สุ ขเมสาโน เปจฺจ โส สัตว์ท้ งั หลายเป็ นผูใ้ คร่ สุข ผูใ้ ดแสวงหาสุ ขเพื่อตน

ลภเต สุ ขํ.

ไม่เบียดเบียนคนอื่น เขาผูน้ ้ นั (หลังจาก) ละโลกนี้ไปแล้วย่อมได้สุข. นี้คือความต่างระหว่างคนที่แสวงหาสุ ขเพื่อตนโดยเบียดเบียนคนอื่นและไม่เบียดเบียนคนอื่น อันเป็ นเครื่ องยืนยันแจ้ง ชัดว่า พระบรมศาสดาทรงสั่งสอนให้เวไนยนิกรละกรรมชัว่ ประกอบกรรมดี เพราะกรรมทั้งสองอย่างให้ผลต่างกัน ผู้ ทำากรรมชัว่ เช่น การฆ่า เบียดเบียนผูอ้ ื่นนั้นให้ผลเป็ นทุกข์ ส่วนกรรมดี มีไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียนผูอ้ ื่น เป็ นต้น ให้ผลเป็ น ความสุ ข ยิง่ ไปกว่านั้น พระพุทธศาสนายังแสดงไว้อีกว่า ผูเ้ บียดเบียนทำาร้ายเข่นฆ่าผูอ้ ื่นด้วยอาชญา แม้วา่ จะได้รับชัยชนะ แต่การกระทำาของเขาเป็ นการก่อเวร ทำาให้ผพู้ า่ ยแพ้ประสบทุกข์ มนุษยชนควรมีความสุ ขเป็ นผลประโยชน์ร่วมกัน สมด้วย นัยพระบาลีพจนะประพันธ์ที่มาในพระบาลี สังยุตตนิกาย สคาถวรรคว่า สพฺพทา เว สุ ขํ เสติ พฺราหฺมโณ ปรินิพฺพุโต โย น ลิมฺปติ กาเมสุ สี ตภิ ูโต นิรูปธิ. ผูใ้ ดเป็ นผูเ้ ยือกเย็น ไม่มีอุปธิ ไม่ติดในกาม ผูน้ ้ นั เป็ นพรามณ์ เป็ นผูด้ บั สนิท ย่อมอยูเ่ ป็ นสุ ขทุกเมื่อ. มีอรรถาธิบายเป็ นอัตโนมติขยายความว่า ผูท้ ี่จะมีความสุขทุกเมื่อได้ จะต้องเป็ นผูม้ ีกายใจไม่เปื้ อนด้วยกิเลส ต้อง ไม่มีอุปธิ ไม่ติดอยูใ่ นกาม เพราะกิเลสเหล่านี้เป็ นตัวกระตุน้ ให้ก่อกรรมทำาชัว่ มีการฆ่าการเบียดเบียน ทำาร้ายผูอ้ ื่นเป็ นต้น แต่สาธุชนจะเป็ นผูเ้ ยือกเย็น ไม่มีอุปธิ ไม่ติดในกามได้ ต้องอาศัยการปฏิบตั ิตามหลักศีลธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ ศีล ำ สมาธิ ปัญญา ที่พระบรมศาสดาได้ทรงแนะนำาพร่ าสอนไว้ แล้ว ศีล ทำาให้กายสงบเย็น สมาธิ ทำาให้ใจสงบเย็น ปัญญาเป็ นตัวกำาจัดกิเลสและอาสวะให้หมดสิ้ นไป จึงทำาให้กาย และใจสงบเย็นอย่างยิง่ ฉะนั้น พุทธศาสนิกชนจึงควรฝึ กฝนเพิ่มพูนปัญญา พัฒนาปัญญาให้แก่กล้า โดยเริ่ มต้นแต่ปัญญา อันเป็ นสัมมาทิฏฐิ ดำาริ เห็นเด่นชัดว่า การเบียดเบียนเข่นฆ่าเป็ นบาป เป็ นความชัว่ เป็ นการก่อกรรมก่อเวร จนเห็นบาปเป็ น บาป เห็นบุญเป็ นบุญ แล้วเพิ่มพูนปัญญาให้มีกาำ ลังแก่กล้าจนสามารถกำาจัดกิเลสภายในภายนอกเสี ยได้ ไม่มีจิตอาลัยกับความ ชนะ ก็จะพบกับความสุ ขสงบร่ มเย็น ทั้งชาติชีวิตปัจจุบนั ทั้งไม่ตอ้ งหวาดหวัน่ กับโทษทุกข์ในสัมปรายภพ สรุปความว่า พระพุทธศาสนาสอนเน้นให้เลิกละการเบียดเบียนทำาร้ายกันแต่ให้แบ่งปันความสุ ขแก่กนั เพราะสัตว์ ทั้งหลายต่างก็อยากได้ความสุ ข สะดุง้ หวาดหวัน่ ต่อความสุขการเบียดเบียนทำาร้ายกันอันเป็ นการก่อทุกข์ก่อเวร เมื่อเห็นเช่นนี้ ควรจะประกอบคุณความดีตามแนวแห่งศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อนำาพาตนข้ามพ้นทุกข์ประสบความสุ ขในการทุกเมื่อ เพื่อไม่ ต้องหวาดต่ออาชญาเป็ นต้น สมตามนัยกระทูพ้ ทุ ธภาษิตที่ได้ลิขิตไว้เป็ นนิกเขปบท ณ เบื้องต้นว่า สพฺเพ ตสนฺติ ทนฺฑสฺ ส สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา น หเนยฺย น ฆาตเย. สัตว์ท้ งั ปวงหวาดต่ออาชญา ล้วนกลัวต่อความตาย ควรทำาตนให้เป็ นอุปมาแล้ว ไม่ควรฆ่าเขาเอง ไม่พึง ให้ผอู้ ื่นฆ่า (ผูอ้ ื่น). ตามลำาดับแล้วนั้น ก็จบลงด้วยประการฉะนี้


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.