FACTS AND FIGURES 2013

Page 1

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

จัดทำโดย สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

1


2

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


คำนำ

หนังสือ Facts & Figures 2013 : ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556 เล่มนี้ เป็นฉบับที่ 4 ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549 เนื้อหาในเล่มจึงมีทั้งภาวะคุกคามที่อัพเดทข้อมูล มาจากปี ก่ อ น ๆ เช่ น โรคไข้ เ ลื อ ดออก ไข้ ม าลาเรี ย วั ณ โรค เอดส์ อนามั ย แม่ แ ละเด็ ก สุขภาพช่องปากเด็ก รวมถึงสถานการณ์ไฟใต้ ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสนใจ และเฝ้าระวัง คณะผูจ้ ดั ทำหวังเป็นอย่างยิง่ ว่า ข้อมูลเหล่านีจ้ ะเป็นประโยชน์โดยช่วยกระตุน้ ให้ประชาชน หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพ ตลอดจนเป็นเข็มทิศสำคัญสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำไปใช้ กำหนดนโยบายเสริมสร้างสุขภาวะประชาชนได้

ศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) และศาสตราจารย์อาวุโส หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

3


4

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


สารบัญ โรคมาลาเรีย โรคชิคุนกุนยา โรคไข้เลือดออก โรคเอดส์ วัณโรค อนามัยแม่และเด็ก สุขภาพช่องปากในเด็ก สถานการณ์การบริโภคยาสูบ สถานการณ์การใช้สารเสพติดในภาคใต้ สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)

1 7 13 17 21 25 29 35 43 51

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

5



โรคมาลาเรีย

ดร.ธนิษฐา ดิษสุวรรณ์*

“ในช่วงปี พ.ศ. 2552-55 ภาคใต้ มีผู้ป่วย ด้วยโรคมาลาเรียระหว่าง 2,300-6,200 ราย ต่อปี โดยมีอัตราป่วยต่อพันประชากร ระหว่าง 0.25-0.70 และพื้นที่ที่มี การแพร่เชื้อสูงส่วนใหญ่เป็นป่าเขา หรือแนวชายแดน”

แหล่งข้อมูล: - สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------* สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา E-mail: thanittha_dit@hotmail.com

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

1


สถานการณ์โรคมาลาเรีย (Malaria) จากรายงานสรุปสถานการณ์โรคมาลาเรียขององค์การอนามัยโลกในปี 2555 พบว่า มีประเทศที่มาลาเรียเป็นโรคระบาดประจำถิ่น 104 ประเทศ ในปี 2553-54 (จาก 99 ประเทศ) มีรายงานผู้ป่วยประมาณ 219 ล้านรายและเสียชีวิตประมาณ 660,000 ราย โดยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 90) ของผู้ป่วยเสียชีวิตอยู่ในทวีปแอฟริกา1 ประเทศไทย สำนักระบาดวิทยากำหนดให้รายงาน (รง.506) เฉพาะผูป้ ว่ ยทีม่ ผี ลตรวจทาง ห้องปฏิบัติการยืนยัน ปี พ.ศ. 2554 มีอัตราป่วย 0.33 ต่อพันประชากร2 (อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.05) สัดส่วนผู้ป่วยเพศหญิงต่อเพศชาย 1:1.8 กลุ่มอายุ 10-14 ปี อัตราป่วยสูงสุด โดยร้อยละ 30.32 ของผู้ป่วยเป็นนักเรียน รองลงมา คือเกษตรกร (ร้อยละ 29.20) เป็นผู้ป่วยชาวไทย ร้อยละ 62.65 รองลงมาเป็นผู้ป่วยชาวพม่า ร้อยละ 24.54 ในภาคใต้มีอัตราป่วยสูงสุดในปี พ.ศ. 2550-51 และ ปี พ.ศ. 2553 (ปี พ.ศ. 2552 และ ปี พ.ศ. 2554 ภาคเหนือมีอัตราป่วยสูงสุด) อุบัติการณ์ของโรคในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2550-54) พบผู้ป่วยได้ตลอดปี โดยมีผู้ป่วยสูงสุดฤดูฝน (ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม) ผลการตรวจเชื้อ พบ Plasmodium vivax ร้อยละ 44.17, P. falciparum ร้อยละ 39.85, P. malariae ร้อยละ 0.26, และ Mixed infection ร้อยละ 1.22 สถานการณ์โรคมาลาเรีย 14 จังหวัด ภาคใต้ ประเทศไทย คือ จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง ตรัง นราธิวาส ปัตตานี สตูล สงขลา และยะลา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-55 จากรายงานเฝ้าระวังโรคมาลาเรีย ของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค พบอัตราป่วยมาลาเรีย จำแนกตามการพบเชื้อ (รว.7) ภาคใต้3,4 พบว่า มีผู้ป่วยด้วยมาลาเรีย จำนวน 4,479, 6,183, 2,271 และ 5,355 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อพัน ประชากรเท่ากับ 0.51, 0.70, 0.25 และ 0.61 ตามลำดับ (ภาพที่ 1) เมื่อจำแนกตามจังหวัด พบว่าปี พ.ศ. 2552-53 จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ยะลา (4.33, 5.99 ต่อพันประชากร) และปี 2554-55 จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ระนอง, กระบี่ (1.94, 4.36 ต่อพันประชากร) ตามลำดับ พื้นที่ที่มีการแพร่เชื้อสูงส่วนใหญ่เป็นป่าเขาและแนวชายแดน เชื้อที่พบคือ Plasmodium falciparum, P. vivax , Mix infection และ P. malariae (ร้อยละ 55.81, 43.77, 0.31 และ 0.12) ตามลำดับ จากรายงานระบาดวิทยาปี 2555 ในเขตภาคใต้3,4 พบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 47.40 มีอาชีพเกษตรกรรม (ทำสวนยางพารา) รองลงมา คือ นักเรียนและรับจ้าง ร้อยละ 20.88 , 20.47 ตามลำดับ ผู้ป่วยมีอายุอยู่ในช่วง 25-34 ปี ร้อยละ 21.7 รองลงมาคือ 15-24 ปี และ 35-44 ปี (ร้อยละ 21.1 และ 16.9) ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นชาย (ร้อยละ 70) โรคมาลาเรียมีจำนวนผู้ป่วย สูงในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน

2

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


ภาพที่ 1 อัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรีย จำแนกรายจังหวัดในภาคใต้ ปี พ.ศ. 2552-55 ปี 2552

ปี 2553

ชุมพร

ระนอง

สุราษฎร์ธานี

สุราษฎร์ธานี พังงา

พังงา

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต

ชุมพร

ระนอง

ภูเก็ต

พัทลุง

กระบี่ ตรัง

สงขลา สตูล

ยะลา

นครศรีธรรมราช พัทลุง

กระบี่ ตรัง

ปัตตานี

สตูล

นราธิวาส

ปี 2554

ภูเก็ต

ภูเก็ต

พัทลุง ตรัง

สงขลา สตูล

อัตราส่วน : พันประชากร 0.01 - 1.51 1.52 - 3.01 3.02 - 4.51 4.52 - 6.01 ไม่มีจำนวนผู้ป่วย

สุราษฎร์ธานี พังงา

นครศรีธรรมราช กระบี่

ชุมพร

ระนอง

สุราษฎร์ธานี พังงา

นราธิวาส

ยะลา

ปี 2555

ชุมพร

ระนอง

ปัตตานี

สงขลา

ยะลา

ปัตตานี

นครศรีธรรมราช พัทลุง

กระบี่ ตรัง

นราธิวาส

สงขลา สตูล

ยะลา

ปัตตานี นราธิวาส

ที่มา: ระบบรายงาน รว. 7 (Summary of Surveillance Operation) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11-12 ปี พ.ศ. 2552-55

3, 4

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

3


ความรู้เรื่องโรคมาลาเรีย5-7

โรคมาลาเรีย มีชื่อเรียกได้หลายอย่าง เช่น ไข้จับสั่น ไข้ป่า ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็น ไข้ดอกสัก เกิดจากการติดเชือ้ โปรโตซัว ชือ่ พลาสโมเดียม (Plasmodium) ใน Class Sporozoa มี 5 Species คือ Plasmodium falciparum, P. vivax, P. ovale, P. malariae และ P. knowlesi แต่เชื้อที่ก่อโรคในคนมีอยู่ 4 Species ดังนี้ 1. Plasmodium falciparum โดยพบมากในเขตร้อนของแอฟริกา อเมริกา และเอเชีย ในประเทศไทยพบได้ทั่วประเทศโดยเฉพาะบริเวณชายแดน 2. Plasmodium vivax มีการแพร่กระจายเป็นอาณาบริเวณกว้างมากคือ จากบริเวณ เส้นรุ้งที่ 40 องศาใต้ ไปจนถึงเส้นรุ้งที่ 60 องศาเหนือแต่ที่พบมากคือ บริเวณเส้นรุ้งที่ 30 องศาใต้ ไปจนถึงเส้นรุ้งที่ 45 องศาเหนือ ในทวีปแอฟริกาพบน้อย ส่วนในประเทศไทยพบมากบริเวณ ภาคใต้ 3. Plasmodium ovale พบมากในแอฟริกาตะวันตก และมีรายงานพบในฟิลิปปินส์ บอร์เนียว เซลีเบส หมู่เกาะโมลุกกะ ออสเตรเลียเหนือหมู่เกาะโซโลมอน และนิวเฮบริดิส สำหรับประเทศไทยพบน้อยมาก มักพบบริเวณจังหวัดชายแดนซึ่งมีมาลาเรียชุกชุม 4. Plasmodium malariae เป็นเชื้อมาลาเรียที่พบค่อนข้างจำกัดในแอฟริกากลาง แอฟริกาตะวันตก ศรีลังกา บางส่วนของมาเลเซียและพบได้บ้างในบางพื้นที่ทางภาคใต้ของ ประเทศไทย

พาหะของโรคมาลาเรีย

การติดต่อโดยยุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะ เวลากัดคนจะยกก้นขึ้นทำมุม 45 องศากับ ผิวหนัง ในประเทศไทยมียงุ ก้นปล่องประมาณ 68 ชนิด และมี 6 ชนิดทีม่ คี วามสามารถในการนำเชือ้ มาลาเรียได้ไม่เท่ากัน แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้ 6 1. ยุงพาหะหลัก (Primary vector) คือ ยุงที่สามารถนำเชื้อมาลาเรียได้ดีและมีบทบาท สูงในการแพร่เชื้อมาลาเรียในท้องที่ป่าเขา สวนยางและสวนผลไม้ ได้แก่ ยุงก้นปล่องชนิด Anopheles dirus เพาะพันธุ์ตามแอ่งน้ำขังในป่า, A. minimus เพาะพันธุ์ในลำธารน้ำไหล, A. maculatus เพาะพันธุ์ในลำธารน้ำไหลและเป็นพาหะเฉพาะภาคใต้ 2. ยุงพาหะรอง (Secondary vector) เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญและความสามารถในการ นำเชื้อรองลงมา ได้แก่ ยุงก้นปล่องชนิด A. acunitus, A. sundaicus, A. pseudowillmori

4

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


วงจรชีวิตของเชื้อมาลาเรีย

เชื้อมาลาเรีย อาศัยโฮสต์ 2 ชนิด ได้แก่ ยุงก้นปล่องและคน5, 7 1. ยุงก้นปล่องพาหะตัวเมียเป็นโฮสต์จำเพาะ เชื้อมาลาเรียมีการเติบโตแบบสปอโรโกนี ในตัวยุง วงจรชีวิตของเชื้อในยุงพาหะเรียกว่าวงจรชีวิตภายนอก (Extrinsic cycle) ซึ่งแบ่งเป็น ระยะต่าง ๆ ได้แก่ แกมีตโตไซต์ (Gametocyte) ไซโกต (Zygote) โอโอไคนีต (Ookinete) โอโอซิสต์ (Oocyte) และสปอโรซอยท์ (Sporozoite) 2. คนเป็นโฮสต์ตัวกลางมีการเติบโตของเชื้อแบบชิโซโกนีหรือมัลติเปิล ฟิชชันและ แกมีโตโกนี วงจรชีวิตในคนเรียกวงจรชีวิตภายใน (Intrinsic cycle) แบ่งเป็น 5 ระยะ ได้แก่ สปอโรซอยท์ (Sporozoite) โทรโฟ-ซอยท์ (Trophozoite) ชิซอนต์ (Schizont) เมอ-โรซอยท์ (Merozoite) และแกมีโตไซท์ (Gametocyte)

ลักษณะทางคลินิก5

ระยะตั้งแต่ถูกยุงกัดจนผู้ป่วยเริ่มมีอาการป่วยเรียกว่า ระยะฟักตัว แตกต่างตามชนิดเชื้อ และภูมิคุ้มกัน หรือการได้รับยามาก่อนของผู้ป่วย อาจหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนได้ อาการ ระยะแรก เริ่มมีไข้ไม่เป็นเวลา คล้ายไข้หวัด ระยะสั้น หลังจากนั้นเริ่มไข้เป็นเวลา เนื่องจากเชื้อ แตกจากตับเข้าสู่วงจรในเม็ดโลหิตแดงเริ่มจัดตัวให้เจริญพร้อมกัน เมื่อเจริญเต็มที่กลายเป็น Mature schizont แล้วแตกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะหนาว นาน 15-60 นาที ระยะร้อน ประมาณ 2 ชั่วโมง ไข้ขึ้นสูง 39-40 องศาเซลเซียส ถ้าเป็นเด็กอาจชักระยะนี้ ระยะเหงื่อออก ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วเข้าสู่ระยะพัก คือไม่จับไข้ ประมาณ 1-2 วันแล้วแต่ชนิดเชื้อแล้วจึงจับไข้อีก มาลาเรียร้ายแรงที่มีภาวะแทรกซ้อนพบใน P. falciparum เท่านั้น คือมาลาเรียขึ้นสมอง ภาวะซีดมาก และ hemoglobinuria

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

5


การป้องกันโรค ควบคุมโรค5

1. ป้องกันยุงกัดโดยลดการสัมผัสระหว่างคนกับยุงพาหะ โดยการนอนในมุ้ง สวมเสื้อผ้า ปกปิดร่างกาย ใช้ยาทากันยุง หรืออื่นๆ 2. การจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน (Integrated vector management) โดย การจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อมิให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงพาหะ ใช้สารฆ่าลูกน้ำ หรือ ควบคุม ทางชีววิธี เช่นใช้การปล่อยปลากินลูกน้ำ เป็นต้น 3. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ โดยรับการพ่นสารเคมีชนิดมีฤทธิ์ตกค้างบนพื้นผิว อาคาร บ้านเรือน และใช้มุ้งชุบสารเคมี 1-2 รอบต่อปี ซึ่งนิยมใช้ในพื้นที่มีการแพร่เชื้อสูง 4. ท่านที่เดินทางไปในพื้นที่แพร่เชื้อมาลาเรีย ประมาณ 2-4 สัปดาห์ หรือมีอาการสงสัย โรคมาลาเรียให้รีบไปรับการเจาะโลหิตเพื่อตรวจหาเชื้อมาลาเรีย ณ มาลาเรียคลินิก หรือ สถานพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และให้ประวัติการค้างแรมที่แท้จริงแก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อประโยชน์ในการป้องกันควบคุมโรค

อ้างอิง 1. World Health Organization. World malaria report 2012. 17 December 2012: World Health Organization; 2012. p. 1-2. 2. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงาน 506 ประจำปี 2552-2555. สำนักระบาดวิทยา. นนทบุรี; 2555. 3. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช. รว.7 Summary of Surveillance Operations: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11. นครศรีธรรมราช; 2555. 4. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา. รว.7 Summary of Surveillance Operations สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12. สงขลา; 2555. 5. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. แนวทางการปฏิบัติงานควบคุมโรคมาลาเรีย สำหรับ บุคลากรสาธารณสุข พ.ศ. 2552. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: เรดิเอชั่น; 2552. 6. นันทวดี เนียมนุ้ย. โรคมาลาเรีย (Malaria). วารสารเทคนิคการแพทย์ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3 ธันวาคม 2555. 2555; 40(3): 4289-99. 7. Centers for Disease Control & Prevention. Laboratory Identification of Parasites of Public Health Concern 2013 [cited 2013 1 March]; Available from: http://dpd.cdc.gov/dpdx/Default.htm

6

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


โรคชิคุนกุนยา

ดร.ธนิษฐา ดิษสุวรรณ์* พัชนี นัครา**

“ชิคุนกุนยาเป็นโรคอุบัติซ้ำ ไม่สามารถทำนายช่วงเวลาของการระบาดได้ ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคใต้ มีการระบาดหนักในปี พ.ศ. 2552-53 โดยเป็นสายพันธุ์ Central/East African ซึ่งแตกต่างจากที่เคยระบาดก่อนหน้านี้ และสถานการณ์ของการระบาดลดลง ในช่วงปี พ.ศ. 2554-55”

แหล่งข้อมูล: - สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข - สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------*,** สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา E-mail: thanittha_dit@hotmail.com, pnakkhara@gmail.com FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

7


สถานการณ์โรคชิคุนกุนยา การแยกเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya) ครั้งแรกเกิดขึ้นระหว่างการระบาดของ การเจ็บป่วยที่มีอาการคล้ายไข้เลือดออก บนที่ราบสูง Makonde พรมแดนระหว่างประเทศ Tanzania และ Mozambique ทวี ป แอฟริ ก าในปี พ.ศ. 2495 (คศ. 1952) 1 ส่วน การระบาดครั้งใหญ่เกิดปี พ.ศ. 2548-50 (ค.ศ. 2005-7) ในประเทศอินเดียมีผู้ป่วยประมาณ 1.5-6.4 ล้านคน/ปี ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน มีผู้ป่วยประมาณ 236,000 คน ในเกาะ Reunion ซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในแอฟริกา มีผู้ป่วยสองในห้าของประชากรทั้งเกาะ1 และมีผู้เสียชีวิต 181 คน2-4 และปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) มีการระบาดครัง้ แรกในประเทศอิตาลีหลังจากมีผปู้ ว่ ย รายแรกเดินทางมาจากประเทศอินเดีย5 ปัจจุบนั มีการพบผูป้ ว่ ยในหลายประเทศของทวีปแอฟริกา เอเชียและบางส่วนของยุโรป1 ชิคุนกุนยาเป็นโรคอุบัติซ้ำ (Re-emerging disease) การระบาดไม่สามารถทำนายช่วง เวลาของการระบาดได้6,7 ในประเทศไทยมีการรายงานผู้ป่วยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ.1958) ในกรุงเทพมหานคร ต่อมาพบผู้ป่วยประปรายในปี พ.ศ. 2519, 2531, 2534-36 และ 2538 (ค.ศ. 1976, 1988, 1991-93 และ 1995) และไม่มีรายงานผู้ป่วยอยู่ช่วงระยะหนึ่ง8, 9 สาเหตุที่มีรายงาน การระบาดในประเทศไทยมีน้อยเนื่องจากโรคมีอาการคล้ายคลึงกับไข้เลือดออก ไข้ไม่ทราบสาเหตุ และหัดเยอรมัน1, 10 โดยมีการระบาดครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2551-52 (ค.ศ. 2008-9)11-16 โดย เริ่มพบผู้ป่วยในจังหวัดนราธิวาสซึ่งเป็นพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย17 อุบัติการณ์ 138/ ประชากรแสนคน9 ถือเป็นการระบาดครั้งใหญ่ในพื้นที่และของประเทศ17 และเป็นจุดเริ่มต้นที่ หน่วยงานต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญกับโรคนี้อีกครั้งในประเทศไทย รายงานโรคชิคุนกุนยา จากสำนักระบาดวิทยา พ.ศ. 2554 พบว่า ประเทศไทย มีอัตราป่วย 0.26 ต่อประชากรแสนคน ลดลงจากปีที่ผ่านมาโดย พ.ศ. 2552 ได้รับรายงานผู้ป่วยสูงสุด ผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าชาย กลุ่มอายุ 35-44 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด 0.43 ต่อประชากรแสนคน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 31.95 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 66.27 อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล โดยร้อยละ 51.2 ของผู้ป่วยเป็นการรายงานจากโรงพยาบาลชุมชนและส่วนใหญ่ 10 ลำดับแรกของประเทศ มาจากจังหวัดในภาคใต้ คือ จังหวัดภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง และนราธิวาส (อัตราป่วย 9.73, 4.82, 3.08, 1.97, 1.83, 1.64 และ 0.81 ต่อประชากรแสนคน) ตามลำดับ

8

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


สถานการณ์โรคชิคุนกุนยาปี พ.ศ. 2552-55 ใน 14 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย (ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง ตรัง นราธิวาส ปัตตานี สตูล สงขลา และยะลา) พบว่า ภาคใต้มีอัตราป่วยลดลง คือ 562, 15.33, 1.66 และ 0.82 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ (ดังภาพที่ 1) โดยปี พ.ศ. 2552 จังหวัดนราธิวาส มีอัตราป่วยสูงสุด รองลงมา คือ ภูเก็ต พัทลุง และสงขลา (1,126, 1,014, 773, 731 ต่อประชากรแสนคน) ตามลำดับ ปี พ.ศ. 2553 จังหวัดพัทลุง มีอัตราป่วยสูงสุด รองลงมาคือ นครศรีธรรมราช ชุมพร และภูเก็ต (46, 33, 24, 21 ต่อประชากรแสนคน) ตามลำดับ ปีพ.ศ. 2554-55 จังหวัดภูเก็ต มีอัตราป่วยสูงสุด (9.73 และ 5.65 ต่อประชากรแสนคน) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 25-34 ปี รองลงมา คือ 35-44 ปี และ 45-54 ปี (ร้อยละ 31, 20 และ 14) ตามลำดับ โดยร้อยละ 24 มีอาชีพรับจ้าง และจากการศึกษาภาคใต้ตอนล่าง ในปี พ.ศ. 2552-53 พบผู้ป่วยส่วนใหญ่ ร้อยละ 59 เป็นหญิง อายุเฉลี่ย 35.4 (SD 18.6) ปี ร้อยละ 87 อาศัยอยู่เขตชนบทและร้อยละ 93 เป็นผู้ป่วยนอก การระบาดชิคุนกุนยาในครั้งนี้เป็นสายพันธุ์ Central/East African ซึ่งแตกต่างจากที่เคยระบาด ในประเทศไทยมาก่อนคือสายพันธุ์ Asian ภาพที่ 1 อัตราป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยา จำแนกรายจังหวัดในภาคใต้ ปี 2552-55 ปี 2552

ชุมพร

ระนอง

ภูเก็ต

พัทลุง ตรัง

สงขลา

ปี 2554

ยะลา

นราธิวาส

ปี 2555

สุราษฎร์ธานี

สงขลา สตูล

ปัตตานี

อัตรา : แสนประชากร ปี 2553-55 พังงา

ยะลา

ปัตตานี นราธิวาส

> 20 10-20 5-10 <=5

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

พัทลุง ตรัง

ชุมพร

ระนอง

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

สงขลา สตูล

สุราษฎร์ธานี พังงา

พัทลุง ตรัง

นราธิวาส

ยะลา ชุมพร

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

ปัตตานี

สตูล

ระนอง

พังงา

> 1,000 600-100 <600

นครศรีธรรมราช กระบี่

สุราษฎร์ธานี

อัตรา : แสนประชากร ปี 2552

สุราษฎร์ธานี พังงา

ปี 2553

ชุมพร

ระนอง

พัทลุง ตรัง

สงขลา สตูล

ยะลา

ปัตตานี นราธิวาส

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

9


ความรู้โรคชิคุนกุนยา18

โรคชิคนุ กุนยา หรือ ไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคติดต่อเกิดจากไวรัส (Alphavirus) Family Togaviridae โดยมียุงลายเป็นพาหะ

การวินิจฉัย

มีหลายวิธีในการวินิจฉัยโรคโดยใช้การตรวจทางน้ำเหลืองวิทยา (Serological tests) เช่น Enzyme-Linked Immunosorbent Assays (ELISA) และตรวจยืนยันโดย IgM และ IgG anti-chikungunya antibodies โดย IgM จะขึ้นสูงสุดใน 3-5 สัปดาห์หลังจากไข้ จนประมาณ 2 เดือน หรือวิธีอื่น เช่น Reverse Transcriptase–Polymerase Chain Reaction (RT–PCR)

อาการและอาการแสดง

ไข้สูงทันทีทันใดตามด้วยปวดข้อรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่น อาการปวดข้อจะหายไปหลังไข้ลดภายใน 2-3 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดข้อ อาจคงอยู่นานเป็นเดือน หรือปี การเสียชีวิตอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย โดยเฉพาะ ในพื้นที่ที่ไม่ค่อยพบโรค หรือ อาจทำให้วินิจฉัยพลาดได้โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีไข้เด็งกี่เป็นโรคประจำ ถิ่น เนื่องจากอาการคล้ายเด็งกี่

การรักษา วัคซีน

ยังไม่มียารักษาจำเพาะ จึงรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาพาราเซตามอล ลดไข้ และยังไม่มี

การติดต่อ

เชื้อไวรัสถ่ายทอดจากคนสู่คนโดยยุงลายพาหะสำคัญทำให้เกิดการระบาดใหญ่ของโรค ชิคุนกุนยา คือ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และยุงลายสวน (Aedes albopictus) ซึ่งหากินเวลา กลางวันโดยเฉพาะเวลาเช้าและเย็น ยุงทั้งสองชนิดสามารถหากินนอกบ้านได้ ส่วนใหญ่ A. aegypti หากินในบ้าน พบในเขตร้อน (Tropics and sub-tropics) ส่วน A. albopictus พบทั่วไปในเขตร้อน หรือในเขตหนาว ในทศวรรษที่ผ่านมาพบว่าแพร่อยู่ในทวีป Asia, Africa, Europe and the Americas หลังจากโดนยุงเพศเมียที่มีเชื้อกัดแล้วแสดงอาการไข้โดยมีระยะฟักตัว ประมาณ 4-8 วัน อาจนานถึง 12 วัน

10

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


การแผ่กระจายของโรคชิคุนกุนยาในด้านสิ่งแวดล้อม

จากการระบาดใหญ่ของโรคชิคุนกุนยาครั้งล่าสุดในหลายประเทศที่ผ่านมา พบว่าปัจจัย สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้การแพร่กระจายของโรคเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและในวงกว้าง คือ ปัจจัย ด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศวิทยาที่เอื้อต่อการ กระจายหรือการระบาดของโรคมากขึ้น เช่น ความชุกชุม การเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาและชีวนิสัย ของยุงลาย โดยเฉพาะในภาคใต้ของประเทศไทยพบการระบาดของโรคไปยังพื้นที่ใหม่ได้ อย่างรวดเร็วมากกว่าภาคอื่นๆ ของประเทศ เนื่องจากภูมิประเทศของภาคใต้ ประมาณร้อยละ 80 เป็นสวนยางพารา มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ซึ่งเหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัย การเจริญเติบโตและ เพิ่มจำนวนของยุงลายสวน19 นอกจากนี้ยุงลายมีการปรับตัวในการวางไข่ได้ทั้งในภาชนะที่เป็น วัสดุธรรมชาติ เช่น กาบใบของต้นไม้ ง่ามต้นไม้ ใบไม้ที่ร่วงตามพื้นดิน และวัสดุไม่ใช่ธรรมชาติ เช่น จานรองกระถางต้นไม้ แจกันดอกไม้ แก้วพลาสติก ยางรถยนต์ ทำให้สิ่งแวดล้อมทั้งในและบริเวณ นอกบ้านเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการแพร่กระจายของโรคได้อย่างรวดเร็วอีกทางหนึ่ง ดังนั้น การทิ้งภาชนะที่ไม่ใช้แล้วนอกบ้าน การเปิดฝาภาชนะใส่น้ำ การไม่คว่ำจอกยางหลังจากเก็บน้ำยาง การไม่ดแู ลสวนให้โล่งเตียน มีกองขยะบริเวณบ้าน เป็นต้น20 สิง่ เหล่านีส้ ามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลายที่สำคัญ เห็นได้ว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ควรเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้อง ร่วมมือกันในการรักษาสิง่ แวดล้อม ทัง้ ในและนอกบ้านให้สะอาดถูกสุขลักษณะและกำจัดขยะมูลฝอย ให้ถูกวิธี

การป้องกันโรค ควบคุมโรคสำหรับประชาชน

1. ป้องกันยุงกัดโดยลดการสัมผัสระหว่างคนกับยุงพาหะ โดยการนอนในมุ้ง สวมเสื้อผ้า ปกปิดร่างกาย ใช้ยาทากันยุง หรืออื่นๆ 2. การจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน (Integrated vector management) โดยการจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อมิให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงพาหะ ใช้สารฆ่าลูกน้ำ หรือควบคุม ทางชีววิธี เช่น ใช้การปล่อยปลากินลูกน้ำ เป็นต้น 3. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา หากเลี่ยงไม่ได้ต้อง ป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด 4. หากมีข้อสงสัย สามารถรับคำปรึกษาได้ที่ สำนักงานป้องกันควบคุมโรค โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุข ทุกแห่งใกล้บ้านท่าน

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

11


อ้างอิง 1. Devaux CA. Emerging and re-emerging viruses: A global challenge illustrated by Chikungunya virus outbreaks. World Journal of Virology. 2012; 12(1): 11-22. 2. Lahariya C, Pradhan S. Emergence of chikungunya virus in Indian subcontinent after 32 years: a review. Journal of vector borne diseases. 2006; 43(4): 151. 3. Massad E, Ma S, Burattini MN, Tun Y, Coutinho FAB, Ang LW. The Risk of Chikungunya Fever in a Dengue Endemic Area. Journal of travel medicine. 2008; 15(3): 147-55. 4. Powers AM, Logue CH. Changing patterns of chikungunya virus: re-emergence of a zoonotic arbovirus. Journal of General Virology. 2007; 88(9): 2363-77. 5. Rezza G, Nicoletti L, Angelini R, Romi R, Finarelli AC, Panning M, et al. Infection with chikungunya virus in Italy: an outbreak in a temperate region. The Lancet. 2007; 370(9602): 1840-6. 6. Kyle JL, Harris E. Global spread and persistence of dengue. Annu Rev Microbiol. 2008; 62: 71-92. 7. Lahariya C, Pradhan SK. Emergence of chikungunya virus in Indian subcontinent after 32 years: a review. Journal of vector borne diseases. 2006; 43(4): 151-60. 8. Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health Thailand. Chikungunya Surveillance in Thailand. [pdf] 2009 25 April 2010 [cited; Available from: http://epid.moph.go.th/chikun/doc/chikun_0910281234.pdf 9. Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health Thailand. Chikungunya. Annual surveillance report 2012. Thailand: Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control,Ministry of Public Health Thailand; 2012. 10. Charrel RN, de Lamballerie X, Raoult D. Chikungunya outbreaks—the globalization of vectorborne diseases. New England Journal of Medicine. 2007; 356(8): 769-71. 11. Thaikruea L, Charearnsook O, Reanphumkarnkit S, Dissomboon P, Phonjan R, and Ratchbud S, et al. Chikungunya in Thailand: a re-emerging disease? Southeast Asian J Trop Med Public Health. 1997; 28(2): 359-64. 12. Kantachuvessiri A. Dengue hemorrhagic fever in Thai society. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2002; 33(1): 56-62. 13. Hammon WM, Rudnick A, Sather GE. Viruses associated with epidemic hemorrhagic fevers of the Philippines and Thailand. Science. 1960; 131: 1102-3. 14. Sudeep A, Parashar D. Chikungunya: an overview. J Biosci. 2008; 33(4): 443-9. 15. Theamboonlers A, Rianthavorn P, Praianantathavorn K, Wuttirattanakowit N, Poovorawan Y. Clinical and molecular characterization of chikungunya virus in South Thailand. Japanese journal of infectious diseases. 2009; 62(4): 303-5. 16. Lam SK, Chua KB, Hooi PS, Rahimah MA, Kumari S, Tharmaratnam M, et al. Chikungunya infection-an emerging disease in Malaysia. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2001; 32(3): 447-51. 17. Ditsuwan T, Liabsuetrakul T, Chongsuvivatwong V, Thammapalo S, McNeil E. Assessing the preading patterns sof dengue infection and chikungunya fever outbreaks in lower southern Thailand using a geographic information system. Annals of epidemiology. 2011; 21(4): 253-61. 18. World Health Organization. Chikungunya. 2008 [cited 2013 14 March,]; Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs327/en/ 19. Hapuarachchi HC, Bandara KBA, Sumanadasa SD, Hapugoda MD, Lai Y-L, Lee K-S, et al. Re-emergence of Chikungunya virus in South-east Asia: virological evidence from Sri Lanka and Singapore. J Gen Virol. 2010; 91: 1067-76. 20. Vijayakumar K, Anish T, Sreekala K, Ramachandran R, Philip RR. Environmental factors of households in five districts of Kerala affected by the epidemic of chikungunya fever in 2007. Natl Med J India. 2010; 23: 82-4.

12

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


โรคไข้เลือดออก

ดร.ฐปนรรฆ์ ประทีปเกาะ*

“ในช่วง 4 ปี ที่ผ่านมา “………………………………………………..” พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสูง ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง”

แหล่งข้อมูล: - กลุ่มโรคไข้เลือดออก สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------* คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี E-mail: ksawa98@hotmail.com

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

13


สถานการณ์โรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออก (Dengue) เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ของประเทศในเขตร้อนและกึ่งร้อนของโลก รวมทั้งประเทศไทย เป็นโรคที่แพร่กระจายได้ อย่างรวดเร็ว ผ่านทางยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเด็งกี่ (Dengue virus) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคนี้กัด อุบัติการณ์หรือการเกิดของโรคนี้พบว่าได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 30 เท่า ในช่วงระยะเวลา 50 ปี ที่ผ่านมา ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการว่าในแต่ละปีมีผู้ติดเชื้อหรือป่วยเป็น โรคไข้เลือดออก ประมาณ 50 - 100 ล้านคน ซึ่งจำนวนนี้ถือได้ว่าเป็นจำนวนประชากรเกือบ ครึ่งหนึ่งของประชากรโลกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่โรคนี้เป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) การระบาดของโรคไข้เลือดออกนำมาซึ่งความทุกข์ทรมานของผู้ที่เจ็บป่วย ทำให้การ บริ ก ารด้ า นสาธารณสุ ข ต้ อ งเพิ่ ม ภาระมากขึ้ น และก่ อ ให้ เ กิ ด ความสู ญ เสี ย ทางด้ า นเศรษฐกิ จ เป็นจำนวนมาก ภาพที่ 1 แสดงอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในภาคใต้ เปรียบเทียบกับประเทศไทย ปี 2548-55

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยในช่วงระยะ 8 ปี ที่ผ่านมา (พ.ศ. 2548 - 55) พบว่า อุบัติการณ์หรือการเกิดของโรคนี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้น สำหรับอัตราป่วยหรือ การเจ็บป่วยต่อประชากรแสนคนในพื้นที่ภาคใต้ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน พบว่า มีลักษณะคล้าย กับอุบตั กิ ารณ์ของโรคในภาพรวมของประเทศ ซึง่ มีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ เช่นกันโดยพบว่ามีการระบาดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2553 ลักษณะการเกิดหรือการระบาดของโรคนี้พบว่ามีการเกิดหรือการระบาดของโรค ได้ในทุกปี ไม่มีรูบแบบหรือลักษณะของการระบาดที่จำเพาะแน่นอน

14

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


ภาพที่ 2 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำแนกรายจังหวัดในภาคใต้ ปี 2552-55 ปี 2552

ปี 2553

สุราษฎร์ธานี

สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต

ชุมพร

ระนอง

ชุมพร

ระนอง

พังงา

นครศรีธรรมราช พัทลุง

กระบี่ ตรัง

พัทลุง

กระบี่ ตรัง

ปัตตานี

สงขลา สตูล

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต

สงขลา สตูล

ปี 2554

สุราษฎร์ธานี พังงา

นครศรีธรรมราช

นครศรีธรรมราช ภูเก็ต

พัทลุง

กระบี่ ตรัง

สงขลา สตูล

êøć� ðø�ßćÖø อัตĂĆ ราป่ ว:ย�:ÿîแสนประชากร 23.39 - 117.32 117.33 - 211.25 211.26 - 305.18 305.19 - 399.11 399.12 - 493.04

ชุมพร

ระนอง

สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต

ปี 2555

ชุมพร

ระนอง

นราธิวาส

ยะลา

นราธิวาส

ยะลา

ปัตตานี

ยะลา

ปัตตานี นราธิวาส

พัทลุง

กระบี่ ตรัง

สงขลา สตูล

ยะลา

ปัตตานี นราธิวาส

ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ ในช่วงระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2552 - 55) พบว่ามี ผู้ป่วยทุกปีและในทุกจังหวัด โดยมีอัตราป่วยหรือการเกิดของโรคมากน้อยแตกต่างกันไปใน แต่ละปีในแต่ละจังหวัด ในปี พ.ศ. 2553 พบว่ามีการระบาดใหญ่ของโรคนี้ในพื้นที่ภาคใต้ โดยพบอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดในภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส สงขลา พัทลุง กระบี่ นครศรีธรรมราช และสตูล (493.03, 479.49, 450.02, 406.08, 394.09, 391.89 และ 362.33 ตามลำดับ) ในภาพรวมทั้ง 4 ปี จังหวัดที่มี อัตราป่วยของโรคนี้สูงในหลายๆ ปี ได้แก่ กระบี่ พัทลุง และสงขลา FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

15


16

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


โรคเอดส์

ดร.ฐปนรรฆ์ ประทีปเกาะ*

“ร้อยละ 85 ของการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ พบผู้ป่วยเป็นวัยแรงงาน”

แหล่งข้อมูล: - ศูนย์ข้อมูลทางระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค - ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค - กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักระบาดวิทยา

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------* คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี E-mail: ksawa98@hotmail.com FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

17


สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์และ การติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในประเทศไทยเกิดขึ้นในประชาชนวัยแรงงานซึ่งเป็น ทรัพยากรหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ประมาณร้อยละ 85 ของผู้ป่วย โรคเอดส์ มีอายุระหว่าง 15-45 ปี ซึ่งเป็นวัยแรงงาน และเพศหญิงมีสัดส่วนใกล้เคียงกับชาย มากขึ้น อัตราส่วน 1.5:1 ภาวะการเจ็บป่วยเรื้อรังของโรคเอดส์ก่อให้เกิดการสูญเสียสมรรถภาพ ในการทำงานทั้งทางร่างกายและจิตใจ ที่สำคัญคือการสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากการคาดประมาณโดยทีมนักวิชาการของประเทศไทย ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี มากกว่า 1.2 ล้านคนโดยที่ไม่มีอาการ และสำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานผู้ป่วยเอดส์จาก โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 จนถึงเดือนกันยายน 2555 มียอด ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 276,947 ราย โดยในจำนวนนี้ มีร้อยละ 65 อยู่ในกลุ่มอายุระหว่าง 30-44 ปี และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 45.6 มีปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวีจาก เพศสัมพันธ์ร้อยละ 85 เมื่อสิ้นเดือนกันยายน 2554 มีผู้ป่วยที่กินยาต้านไวรัสเอชไอวีภายใต้ระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ จำนวนสะสม 247,253 ราย โดยมีผู้ป่วยที่รับยาใหม่จำนวนเพิ่มขึ้นจาก ปี 2553 จำนวน 24,257 ราย จากการเฝ้าระวังการติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับพฤติกรรมทางเพศ กลุ่มประชากรที่ได้รับ ผลกระทบจากการติดเชื้อเอชไอวี บางกลุ่มที่สำคัญโดยเน้นประชากรที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ได้แก่ 1. ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย มีอัตราการติดเชื้อ ร้อยละ 8.83 มีการใช้ถุงยางอนามัย เมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด ร้อยละ 80 2. พนักงานบริการหญิงมีอัตราการติดเชื้อ ร้อยละ 2.31 มีการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมี เพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุดกับลูกค้า ร้อยละ 89.2 3. ผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด มีอัตราการติดเชื้อ ร้อยละ 21.52 มีการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อ มีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด ร้อยละ 33 4. แรงงานข้ามชาติ มีอตั ราการติดเชือ้ ร้อยละ 0.8 มีการใช้ถงุ ยางอนามัยเมือ่ มีเพศสัมพันธ์ ครั้งล่าสุด ร้อยละ 78.8

18

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


ภาพที่ 1 อัตราป่วยโรคเอดส์ต่อประชากรแสนคน จำแนกรายภาคของประเทศไทย ปี 2554

จากศู น ย์ ข ้ อ มู ลทางระบาดวิทยา สำนัก ระบาดวิ ท ยา ในปี พ.ศ. 2552-54 พบว่ า ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย มีแนวโน้มอัตราผู้ป่วยเอดส์ที่ลดลงเรื่อยๆ (การเปลี่ยนแปลง ของอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ. 2552 และ 2553 ภาคกลาง เท่ากับ 23.35, 15.55 ภาคเหนือ เท่ากับ 15.34, 8.18 ภาคใต้ เท่ากับ 13.37, 6.98 และภาคอีสาน เท่ากับ 11.04, 7.30 ตามลำดับ) จากภาพแสดงอัตราป่วยโรคเอดส์ต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ. 2554 พบว่าภาคกลาง มีอัตราผู้ป่วยสูงที่สุด คือ 4.06 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือ ภาคเหนือ 1.85 ภาคใต้ 1.39 และภาคกลาง 1.27 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอัตราป่วยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

19


ภาพที่ 2 อัตราป่วยต่อแสนประชากรแสนคนของโรคเอดส์ จำแนกรายจังหวัดในภาคใต้ ปี พ.ศ. 2552-54 ปี 2552

ชุมพร

ระนอง

พังงา

นครศรีธรรมราช

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต

ภูเก็ต

พัทลุง

กระบี่ ตรัง

สงขลา สตูล

ชุมพร

ระนอง

ยะลา

ภูเก็ต

นราธิวาส

สงขลา สตูล

สตูล

ปัตตานี

ยะลา

นราธิวาส

อัตราป่วย : แสนประชากร 0.21 - 17.63 17.64 - 35.05 35.06 - 52.47 52.48 - 69.89

พัทลุง ตรัง

สงขลา

ปี 2554

นครศรีธรรมราช กระบี่

พัทลุง

กระบี่ ตรัง

ปัตตานี

สุราษฎร์ธานี พังงา

ปี 2553

สุราษฎร์ธานี

สุราษฎร์ธานี พังงา

ชุมพร

ระนอง

ยะลา

ปัตตานี นราธิวาส

สถานการณ์ของโรคเอดส์ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2552 - 54) พบว่ายังคงพบผู้ป่วยโรคเอดส์ในทุกจังหวัด อัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ในภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 0.21-17.63 ต่อประชากรแสนคน และในหลายจังหวัดพบว่าอัตรา ป่วยลดลง ได้แก่ ระนอง ภูเก็ต และตรัง

20

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


วัณโรค

ดร.เพชรวรรณ พึ่งรัศมี* กมลวรรณ อิ่มด้วง** ทวีพร บุญกิจเจริญ***

“ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ มีจำนวนประมาณ 7,000-8,000 รายต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น”

แหล่งข้อมูล: - สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช - สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------* สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข E-mail: petchawanp@yahoo.com ** สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช E-mail:imduang@yahoo.com *** สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา E-mail:btaveeporn@yahoo.com FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

21


สรุปสถานการณ์วัณโรค ในภาคใต้ ปี 2550 - 2554

การวินิจฉัยวัณโรคและขึ้นทะเบียนรักษา ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในภาคใต้ระหว่างปี 25502554 มีจำนวนประมาณ 7,000-8,000 รายต่อปี และมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ จังหวัดทีม่ จี ำนวนผูป้ ว่ ยสูงสุด ในภาคใต้ตอนบนคือนครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี (เฉพาะปี 2551) ส่วนในภาคใต้ตอนล่าง คือ สงขลา ภาพที่ 1 อัตราผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทุกประเภทที่ขึ้นทะเบียนรักษา จำแนกรายจังหวัดในภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2550-2554

ปี 2550

ชุมพร

ระนอง

พังงา

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

พัทลุง ตรัง

สงขลา สตูล

สงขลา สตูล

นราธิวาส

ปี 2553 ชุมพร

ระนอง

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

สงขลา สตูล

ปี 2554

ปัตตานี

ยะลา

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

นราธิวาส

พัทลุง ตรัง

สงขลา สตูล

ยะลา

ปัตตานี

ยะลา

อัตราส่วน : แสนประชากร

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

พัทลุง ตรัง

22

พังงา

สงขลา สตูล

นราธิวาส

สุราษฎร์ธานี

สุราษฎร์ธานี พังงา

พัทลุง ตรัง

ปัตตานี

ยะลา

ชุมพร

ระนอง

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

พัทลุง ตรัง

ปัตตานี

ยะลา

สุราษฎร์ธานี พังงา

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

ปี 2552

ชุมพร

ระนอง

สุราษฎร์ธานี

สุราษฎร์ธานี พังงา

ปี 2551

ชุมพร

ระนอง

ปัตตานี นราธิวาส

นราธิวาส


อัตราป่วยด้วยวัณโรครายใหม่ทุกประเภท อยู่ระหว่าง 76-89 คนต่อประชากรแสนคน จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุดในภาคใต้ตอนบน คือ ภูเก็ต สำหรับภาคใต้ตอนล่าง คือ ยะลา (ปี 2550 และ 2553) สงขลา (ปี 2551) และพัทลุง (ปี 2552 และ 2554) ภาพที่ 2 อัตราผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เสมหะพบเชื้อที่ขึ้นทะเบียนรักษา จำแนกรายจังหวัดในภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2550-2554 ปี 2550

ชุมพร

ระนอง

ระนอง

สุราษฎร์ธานี พังงา

สงขลา สตูล

ชุมพร

ระนอง

ยะลา

ปี 2553

สงขลา สตูล

สงขลา สตูล

นราธิวาส

ปัตตานี

ยะลา

นราธิวาส

ปี 2554 อัตราส่วน : แสนประชากร

สุราษฎร์ธานี พังงา

ยะลา

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

พัทลุง ตรัง

พัทลุง ตรัง

ปัตตานี

ยะลา

ชุมพร

ระนอง

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

สงขลา สตูล

นราธิวาส

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

พัทลุง ตรัง

ปัตตานี

พังงา

นครศรีธรรมราช

สุราษฎร์ธานี พังงา

สุราษฎร์ธานี

ภูเก็ต กระบี่

พัทลุง ตรัง

ปี 2552

ชุมพร

ระนอง

สุราษฎร์ธานี พังงา

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

ปี 2551

ชุมพร

ปัตตานี นราธิวาส

พัทลุง ตรัง

สงขลา สตูล

ยะลา

ปัตตานี นราธิวาส

อั ต ราป่ ว ยด้ ว ยวัณโรคปอดรายใหม่ระยะแพร่เชื้อ อยู ่ ร ะหว่ า ง 46-50 คน ต่อ ประชากรแสนคน จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุดในภาคใต้ตอนบน คือ ภูเก็ต สำหรับภาคใต้ตอนล่าง คือ ยะลา (ปี 2550) ปัตตานี (ปี 2551) พัทลุง (ปี 2552) และ นราธิวาส (ปี 2553-2554) FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

23


ผลการรักษาวัณโรค

ผลการรักษาในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ระยะแพร่เชื้อมีแนวโน้มดีขึ้น อัตราการรักษา สำเร็จอยู่ระหว่างร้อยละ 80-85 อัตราการรักษาล้มเหลวอยู่ระหว่างร้อยละ 1-2 อัตราตาย อยู่ระหว่างร้อยละ 8-9 อัตราการขาดยาอยู่ระหว่างร้อยละ 3-7 จังหวัดที่มีอัตราการรักษาสำเร็จ สูงสุดในภาคใต้ตอนบน คือ สุราษฎร์ธานี (ปี 2550, 2551, 2553) กระบี่ (ปี 2551, 2554) และ ชุมพร (ปี 2552) สำหรับภาคใต้ตอนล่าง คือ พัทลุง (ปี 2550) สตูล (ปี 2551, 2552, 2554) และ ตรัง (ปี 2553) จังหวัดที่มีอัตราการรักษาล้มเหลวสูงสุดในภาคใต้ตอนบน คือ ระนอง (ปี 2550-2554) นครศรีธรรมราช (ปี 2550-2551) และกระบี่ (ปี 2550) สำหรับภาคใต้ตอนล่าง คือ สตูล (ปี 2550) พัทลุง (ปี 2551, 2553, 2554) สงขลา (ปี 2552) และตรัง (ปี 2553) จังหวัดที่ มีอัตราตายระหว่างการรักษาสูงสุดในภาคใต้ตอนบน คือ ระนอง (ปี 2550, 2553, 2554) ภูเก็ต (ปี 2551-2552) และนครศรีธรรมราช (ปี 2552, 2554) สำหรับภาคใต้ตอนล่าง คือ สงขลา (ปี 2550-2551) และพัทลุง (ปี 2552-2554) จังหวัดที่มีอัตราการขาดยาสูงสุดในภาคใต้ตอนบน คือ นครศรีธรรมราช (ปี 2550-2551) และภูเก็ต (ปี 2552-2554) สำหรับภาคใต้ตอนล่าง คือ นราธิวาส (ปี 2550-2554) การค้นหาผู้ป่วยให้พบในระยะแรกและการรักษาผู้ป่วยทุกรายให้สำเร็จ คือวิธีการ ควบคุมการแพร่กระจายเชือ้ วัณโรคทีด่ ที สี่ ดุ ผูป้ ว่ ยจำเป็นต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอทุกมือ้ (บางกรณี ต้องฉีดยาร่วมด้วย) จนครบกำหนด จึงจะหายจากโรค การกินยาไม่สม่ำเสมอเป็นสาเหตุของ วัณโรคดื้อยา ซึ่งหากเกิดเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) หรือวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ชนิดรุนแรง (XDR-TB) โอกาสที่รักษาหายจะลดลงมาก ยาที่ใช้รักษามีราคาแพงและมีผลข้างเคียง มาก ผู้ป่วย ญาติ ชุมชน ควรตระหนักว่าการมีวินัยในการกินยาเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของ ผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชน ในขณะที่ผู้ให้การรักษา นอกจากจะต้องรักษาตามมาตรฐาน แล้วยังมีความรับผิดชอบในการกำกับการกินยาและสนับสนุนผู้ป่วย ให้สามารถรับการรักษา อย่างต่อเนื่องจนครบกำหนดอีกด้วย

24

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


อนามัยแม่และเด็ก รศ.ดร.ทิพวรรณ เลียบสื่อตระกูล*

“ภาคใต้พบหลายจังหวัดยังคงมี อัตราของทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน”

แหล่งข้อมูล: - ศูนย์อนามัยที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช - ศูนย์อนามัยที่ 12 จังหวัดยะลา

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------* หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ E-mail: tippawan.l@psu.ac.th FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

25


สถานการณ์อนามัยแม่และเด็ก ในภาคใต้ ภาพที่ 1 อัตราส่วนการตายของมารดาต่อแสนการเกิดมีชีพ จำแนกรายจังหวัดในภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2551-2555 ชุมพร

ระนอง

ปี 2551

สุราษฎร์ธานี พังงา

พัทลุง ตรัง

สงขลา สตูล

ชุมพร

ระนอง

สงขลา สตูล

นราธิวาส

ปี 2554

พัทลุง ตรัง

ปัตตานี

สงขลา สตูล

นราธิวาส

ยะลา

ปัตตานี

ยะลา

นราธิวาส

ปี 2555

ชุมพร

ระนอง

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

พัทลุง ตรัง

ปัตตานี

ยะลา

สุราษฎร์ธานี พังงา

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

ปี 2553

ชุมพร

ระนอง

สุราษฎร์ธานี พังงา

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

ปี 2552

ชุมพร

ระนอง

อัตราส่วน : แสนประชากร สุราษฎร์ธานี พังงา

พังงา

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

สงขลา สตูล

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

พัทลุง ตรัง

<= 18 18.1 - 38.0 38.1 - 58.0 58.1 - 78.0

สุราษฎร์ธานี

ปัตตานี

ยะลา

นราธิวาส

พัทลุง ตรัง

สงขลา สตูล

ยะลา

ปัตตานี นราธิวาส

อัตราส่วนการตายของมารดา ต่อ 100,000 การเกิดมีชีพ เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของ เป้าหมายหลักของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goal) ข้อที่ 5 ทีเ่ กีย่ วกับการพัฒนาสุขภาพของมารดาในภาคใต้ของประเทศไทย แบ่งส่วนการรับผิดชอบ อนามัยแม่และเด็กออกเป็นสองเขต คือ จังหวัดระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ และนครศรีธรรมราช โดยศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช และ จังหวัดตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา

26

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


รายงานอัตราส่วนการตายของมารดา ในเขตของศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2551-2555 เท่ากับ 30.0, 14.3, 13.8, 4.7 และ 13.2 ตามลำดับ และรายงาน อัตราส่วนการตายของมารดา ในเขตของศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา ในปี พ.ศ. 2551-2555 เท่ากับ 38.2, 37.3, 46.8, 35.2 และ 30.1 ตามลำดับ จากภาพแสดงถึงอัตราส่วนการตายของมารดา รายจังหวัด ใน 14 จังหวัดภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2555 พบว่าอัตราส่วนการตาย มารดา ต่อ 100,000 การเกิดมีชีพ มีความหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีมารดาเสียชีวิตเลยในจังหวัดนั้นๆ เมื่อคำนึงถึงเป้าหมายของประเทศไทยที่ตั้งไว้ว่า อัตราส่วนการตายมารดาไม่ควรเกิน 18 ต่อแสนการเกิดมีชีพ พบว่า ในปี พ.ศ. 2555 มีห้าจังหวัด คือ จังหวัดชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต พัทลุงและยะลาได้ตามเกณฑ์ แต่การพิจารณาอัตราส่วนการตายของมารดาหลายจังหวัด จำเป็นต้อง คำนึงถึงข้อเท็จจริงของการมีสถานบริการที่เป็นแหล่งรับการส่งต่อในจังหวัดนั้นๆ ร่วมด้วย ที่สำคัญการมองเพียงแต่จำนวนหรืออัตราส่วนการตายของมารดาเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องพิจารณาถึงสาเหตุการตายว่าเกิดจากสาเหตุใด และสามารถป้องกันด้วยวิธีใด ภาพที่ 2 อัตราส่วนทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำแนกรายจังหวัดในภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2551-2555 ปี 2551

ชุมพร

ระนอง

สุราษฎร์ธานี พังงา

พัทลุง ตรัง

สงขลา สตูล

ชุมพร

ระนอง

สงขลา สตูล

นราธิวาส

ปี 2554

พังงา

สงขลา สตูล

พังงา

ยะลา

นราธิวาส

<= 7 7.1 - 9.5 9.6 - 11.5 11.6 - 13.5

พัทลุง ตรัง

สงขลา สตูล

นราธิวาส

อัตราส่วน : แสนประชากร

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่ ปัตตานี

ยะลา

ปัตตานี

ปี 2555

สุราษฎร์ธานี

พัทลุง ตรัง

ชุมพร

สงขลา สตูล

นราธิวาส

ระนอง

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

พัทลุง ตรัง

ปัตตานี

ยะลา

สุราษฎร์ธานี

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

พัทลุง ตรัง

ปัตตานี

ยะลา

สุราษฎร์ธานี พังงา

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

ปี 2553

ชุมพร

ระนอง

สุราษฎร์ธานี พังงา

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

ปี 2552

ชุมพร

ระนอง

ยะลา

ปัตตานี นราธิวาส

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

27


รายงานอัตราของทารกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คือ 2,500 กรัม (2.5 กิโลกรัม) ในเขตของศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2551-2555 เท่ากับ 8.2, 7.4, 7.5, 7.1 และ 7.5 ตามลำดับ และในเขตของศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา ในปี พ.ศ. 2551-2555 เท่ากับ 8.6, 8.6, 8.5, 8.3 และ 6.9 ตามลำดับ จากภาพแสดงถึงอัตราของทารกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำแนกรายจังหวัดในภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2555 พบว่า อัตราของทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม พบว่าหลายจังหวัดยังคงมีอัตราที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้ไม่เกินร้อยละ 7 ในปี พ.ศ. 2555 พบว่าจังหวัดที่ได้ตามเกณฑ์ คือ จังหวัดพังงา สงขลา นราธิวาส และพัทลุง มีอัตราของทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม เท่ากับร้อยละ 2.4, 5.1, 6.8 และ 7.0 ตามลำดับ อัตราของทารกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คือ 2,500 กรัม เป็นอีกดัชนีหนึ่งที่ สามารถบ่งชี้ถึงคุณภาพในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากหากสุขภาพของมารดาไม่ดี จะส่งผล ถึงการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ทำให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย

28

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


สุขภาพช่องปากในเด็ก ผศ.ดร.อังคณา เธียรมนตรี*

“เด็ก 3 ปีในภาคใต้ตอนล่าง มีฟันผุมากกว่าภาคใต้ตอนบน โดยจังหวัดในภาคใต้ที่มีสัดส่วน เด็กฟันผุสูงสุดคือจังหวัดนราธิวาส (80.5%) และต่ำสุดคือจังหวัดภูเก็ต (42.7%) ”

แหล่งข้อมูล: - กลุ่มงานทันตสาธารณสุขสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------* ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ E-mail: angkana.dent@gmail.com FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

29


สถานการณ์ฟันผุในเด็ก จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพในเด็กระดับชาติที่ทำทุก 5 ปีมาอย่างต่อเนื่อง ผลการสำรวจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520-2550 พบว่าแม้แนวโน้มฟันผุในเด็ก 3 ปีจะดีขึ้นในหลายภูมิภาค รวมทั้งภาคใต้ อย่างไรก็ตามกลับพบว่าเด็กอายุ 12 ปี ที่มีฟันแท้ผุในทุกภูมิภาคยกเว้นภาคใต้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แม้ภาคใต้จะมีแนวโน้มฟันผุลดลง แต่สัดส่วนเด็กที่มีฟันผุในภาคใต้ก็ยังสูงเป็น อันดับต้นๆ ของประเทศอยู่ (Facts and Figures 2008) ใน Facts and Figures ฉบับนี้นำเสนอ ผลการสำรวจทันตสุขภาพในเด็กอายุ 3 และ 12 ปี ระดับจังหวัดในภาคใต้ที่ทำทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2555 ภาพที่ 1 ร้อยละของเด็กอายุ 3 ปี ที่มีฟันผุจำแนกรายเขตพื้นที่ในภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2551-2555

ภาพที่ 1 แสดงร้อยละเด็กอายุ 3 ปี ที่มีฟันผุตั้งแต่ปี 2551-2555 พบว่า เด็ก 3 ปีที่มี ฟันผุในภาคใต้มีแนวโน้มลดลงเกือบทุกจังหวัด ยกเว้นจังหวัดพังงาที่สัดส่วนเด็กฟันผุตั้งแต่ปี 2551 ลดลงเรื่อยๆ แต่กลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนในปี 2555 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็ก 3 ปีในภาคใต้ ตอนล่างมีฟันผุมากกว่าภาคใต้ตอนบน โดยจังหวัดในภาคใต้ที่มีสัดส่วนเด็กฟันผุสูงสุดคือจังหวัด นราธิวาส (80.5%) และต่ำสุดคือจังหวัดภูเก็ต (42.7%)

30

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


ภาพที่ 2 ร้อยละของเด็กอายุ 12 ปี ที่มีฟันผุจำแนกรายเขตพื้นที่ในภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2551-2555

ในเด็กอายุ 12 ปีแนวโน้มการเกิดฟันผุจะคล้ายคลึงกับเด็กอายุ 3 ปีกล่าวคือเด็ก ในจังหวัดในภาคใต้ตอนล่าง จะมีฟันผุมากกว่าเด็กในภาคใต้ตอนบน โดยจังหวัดในภาคใต้ที่มี สัดส่วนเด็ก 12 ปีที่มีฟันผุสูงสุดคือจังหวัดนราธิวาส (83.3%) และต่ำสุดคือจังหวัดภูเก็ต (38.4%) เช่นเดียวกับในเด็กอายุ 3 ปี อย่างไรก็ตามในเด็กอายุ 12 ปี มีหลายจังหวัดที่สัดส่วนการเกิดฟันผุ ในปีล่าสุด (พ.ศ. 2555) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นซึ่งได้แก่ จังหวัดพังงา ชุมพร สตูล ปัตตานี และนราธิวาส   ปัญหาฟันผุในเด็กไทยยังเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องการการดูแลและป้องกัน เนื่องจาก เด็กที่มีปัญหาฟันผุรุนแรงจนเกิดอาการปวด จะส่งผลกระทบต่อภาวะโภชนาการ จิตใจและ อารมณ์ พัฒนาการเรียนรู้และพัฒนาการด้านบุคลิกภาพในวัยปฐมวัยเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอีกมาก อาจทำให้ลิ้นหัวใจอักเสบถึงขั้นหัวใจรั่วจากการติดเชื้อ และยังลามไปอวัยวะอื่นอีก ผลจากอาการปวดฟันเคี้ยวอาหารไม่สะดวกไม่ละเอียดทำให้ขาด สารอาหาร เจ็บปวด นอนไม่หลับ ผลคือเด็กจะมีความสูงและน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานซึ่งหากเด็ก มีฟันผุจนต้องสูญเสียฟันอาจส่งผลให้พูดไม่ชัดทำให้ถูกล้อเลียน มีปัญหาทางด้านจิตใจอีกด้วย สาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรคฟันผุในเด็กคือการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน โดยเฉพาะลูกอม น้ำอัดลม หรือน้ำหวานและน้ำตาล

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

31


น้ำตาลกับสุขภาพ

โดยข้อมูลที่รายงานโดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล พบว่า ในปี 2552 อัตราการใช้น้ำตาลเพื่อผลิตลูกอมและลูกกวาด สูงมากขึ้นกว่า ปี 2551 ถึง 3 เท่า จาก 2.2 ล้านกิโลกรัม เป็น 6.1 ล้านกิโลกรัม ภาพเหล่านี้สะท้อนอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม ลูกอมและลูกกวาดอย่างมาก นอกจากนี้เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานร่วมกับเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทำการสำรวจเด็กวัยเรียนและหนุ่มสาววัยทำงานในกรุงเทพมหานคร และ 4 จังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และสงขลา รวมทั้งสิ้น2,238 ตัวอย่าง โดยพบว่า ตัวอย่าง 2 ใน 3 ยังไม่ลดหรือควบคุมการกินหวาน เกือบ 1 ใน 4 ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำทุกวัน/เกือบทุกวัน บางรายยังดื่มมากกว่า 1 ขวด/กระป๋องต่อวัน และ คนทีด่ ม่ื น้ำอัดลมเกือบครึง่ หนึง่ มักทานขนมขบเคีย้ วกรุบกรอบควบคูไ่ ปด้วยทุกครัง้ หรือทีม่ โี อกาส ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า คนไทยรับประทานน้ำตาลสูง กลุ่มเด็กและวัยรุ่นนิยมดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำผลไม้ แม้จะมีความรู้ว่าการกินหวานมากเกินไปนั้นทำให้เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ โดยโรคที่มีผลเนื่องมาจากน้ำตาลได้แก่ • โรคอ้วน เมื่อกินน้ำตาลเข้าไป ร่างกายจะทำการย่อยเพื่อใช้เป็นพลังงานถ้าเหลือก็จะ เก็บสะสมไว้อยู่ในตับและกล้ามเนื้อในสภาพของสารเคมีที่เรียกว่าไกลโคเจน ถ้ายังเหลืออีกก็จะ กลายสภาพเป็นไขมัน ซึ่งจะสะสมพอกพูนมากขึ้นได้ง่ายและโอกาสจะลดลงเนื่องจากการดึงไปใช้ ก็มีน้อยมาก • ไขมันในเลือดสูง เมื่อกินอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลมาก ร่างกายจะนำไขมัน ไปเปลีย่ นเป็นพลังงานไม่ทนั จึงเกิดการสะสมไตรกลีเซอไรด์ (ซึง่ เป็นไขมันในเลือดทีส่ ำคัญชนิดหนึง่ ของคน) ขึ้นในร่างกายก่อให้เกิดไขมันในเลือดสูงได้ • โรคความดันเลือดสูง อันเป็นผลมาจากโรคอ้วน • โรคเบาหวาน อันเป็นผลมาจากโรคอ้วน • โรคหัวใจขาดเลือด เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไปจนก่อให้เกิดไขมันในเลือดสูง ไขมันที่เป็นส่วนเกินจะไปอยู่ที่หลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดตีบการไหลเวียนเลือดไม่สะดวก

32

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


• โรคฟันผุ เมือ่ กินของหวานชนิดทีต่ ดิ ฟันได้งา่ ยเข้าไป และไม่ได้แปรงฟันทำความสะอาด เชือ้ แบคทีเรียทีช่ อ่ื ว่า Streptococcus mutans ซึง่ อยูใ่ นปากจะเปลีย่ นน้ำตาลเป็นกรดแล็กติกซึง่ กรดนี้จะทำลายเคลือบฟันจนเกิดเป็นรูเล็กๆ และขยายใหญ่ขึ้นได้ถ้าไม่ทำการรักษา

• โรคปวดท้อง ท้องอืด การที่มีน้ำตาลหมักหมมในกระเพาะอาหารมาก มีส่วนทำให้ แบคทีเรียกลุ่มแล็กติกที่อยู่ในทางเดินอาหารผลิตกรดและแก๊สขึ้น ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่บริโภคอาหารหวานกันจนเกินความพอดี โดยพบว่าคนไทย รับประทานน้ำตาลสูงกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำถึง 3 เท่า การศึกษายังพบว่า แหล่งอาหารที่ให้น้ำตาลเป็นหลัก คือ เครื่องดื่ม โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นซึ่งก่อให้เกิด ปัญหาต่อสุขภาพ โดยร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลส่วนเกินไปสะสมไว้ในรูปของไขมันและตัวไขมัน นี่เอง ที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอ้วนขึ้น ความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมามากมาย เช่น โรคข้อเสื่อม โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ผลเสียของ การบริโภคน้ำตาลที่มีต่อสุขภาพนั้นเห็นได้ชัดตั้งแต่วัยเด็กคือ ฟันผุ ปัจจุบันค่าเฉลี่ยของอายุที่เด็ก เริ่มฟันผุจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ พบว่าเด็กอายุเพียง 2 ขวบกว่าๆ ก็มีฟันผุและฟันหลุดกันแล้ว ผลเสียทางอ้อมที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ คือเมื่อเด็กติดใจในรสหวานแล้ว ก็จะเรียกร้องหาแต่ ขนมหวานโดยปฏิเสธไม่ยอมกินอาหารหลัก (คือ ข้าว ผัก และผลไม้) ที่ควรจะต้องกินในแต่ละมื้อ แต่ละวัน ซึ่งในระยะยาวจะทำให้เด็กๆ เหล่านี้ขาดสารอาหารและมีปัญหาเรื่องการเจริญเติบโต และพัฒนาการต่างๆ รวมทั้งระบบการสร้างภูมิคุ้มกัน องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ปริมาณน้ำตาลไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของปริมาณ พลังงานที่ได้รับใน 1 วัน ข้อแนะนำการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีระบุไว้ชัดเจนว่าน้ำมัน เกลือ น้ำตาล ให้กินแต่น้อยเท่าที่จำเป็นทั้งนี้ได้มีการกำหนดปริมาณน้ำตาลว่าไม่ควรเกิน 4, 6 และ 8 ช้อนชา สำหรับผู้ต้องการพลังงาน 1,600 2,000 และ 2,400 กิโลแคลอรี ตามข้อปฏิบัติการบริโภค อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีจึงแนะนำว่าถ้าหากเป็นผู้ใหญ่ควรรับประทานไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา ส่วนเด็กเล็กไม่เกินวันละ 4 ช้อนชา โดยเราสามารถคำนวณปริมาณน้ำตาลได้ในการบริโภคของเรา ได้เองด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้ FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

33


ปริมาณน้ำตาล 1 ช้อนชามี 4 กรัม ให้เราอ่านฉลากโภชนาการเช่น ถ้าฉลากระบุน้ำตาล 12 กรัม เท่ากับมีน้ำตาล 3 ช้อนชา แต่อาหารบางชนิดไม่มีข้อมูลโภชนาการ บอกเป็นค่าร้อยละ เช่น น้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มอื่นๆ ถ้าระบุว่ามีน้ำตาล 10 เปอร์เซ็นต์หมายความว่า 100 มิลลิลิตร มีน้ำตาล 10 กรัม เมื่อดื่มเครื่องดื่ม 1 แก้ว (200 มล.) มีน้ำตาล 20 กรัม หรือเท่ากับ 5 ช้อนชา แค่น ี ้ก ็สามารถคำนวณน้ำตาลในแต่ละวันที่เราจะรับประทานได้แล้ว ปัจจุบ ันพบว่า คนไทย บริโภคน้ำตาลเฉลี่ยประมาณวันละ 23 ช้อนชา (จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการอ้อย และน้ำตาลทราย ปี 2550 คนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยประมาณ 33.2 กิโลกรัมต่อคนต่อปี) ถือเป็นปริมาณที่มากเกินกว่าที่แนะนำถึงเกือบ 4 เท่า เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงน้ำตาลหรือลดจำนวนน้ำตาลลง จึงควรดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำหวาน หรือน้ำอัดลม ไม่เติมน้ำตาลในอาหาร การลดปริมาณน้ำตาลให้ได้รบั น้อยลงจากเดิมใน 1 วัน โดยอาจ เริ่มจากการลดการเติมน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่มจากปริมาณเดิมสักครึ่งช้อนชา และค่อยๆ ลดลงในวันต่อๆ มา สำหรับผู้ที่ไม่สามารถควบคุมการรับประทานหวานได้หรือเป็นโรคเบาหวาน อาจใช้นำ้ ตาลเทียมแทนเนือ่ งจากมีพลังงานน้อยแต่ให้ความหวานใกล้เคียงน้ำตาล ควรรับประทาน ผักผลไม้เพิ่มขึ้น เช่น ฝรั่ง มะละกอ และส้ม หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานมาก ๆ เช่น ทุเรียน และขนุน เหนือสิ่งอื่นใดเราควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอและหลากหลาย

อ้างอิง 1. “แพทย์เผยเด็ก 3 ปี เสี่ยงฟันผุ”http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/16909. cited 19 march 2013. 2. “รสหวาน....ความอร่อยที่พึงประเมิน” http://www.doctor.or.th/article/detail/2613. cited 19 march 2013. 3. “บริโภคน้ำตาลอย่างไรห่างไกลโรค” http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=1170. cited 19 march 2013. 4. “น้ำตาล” http://www.doctor.or.th/article/detail/1147. cited 19 march 2013. 5. “คนไทยติดกินหวาน ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ” http://www.thaihealth.or.th/partner/partner_stor/33029. cited 19 march 2013.

34

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


สถานการณ์การบริโภคยาสูบ ผศ.ดร.รัศมี สังข์ทอง* นิรันดร์ อินทรัตน์**

“ภาคใต้พบแนวโน้ม การบริโภคยาสูบมากขึ้นในกลุ่มเด็ก และวัยรุ่นชายอายุ 11-20 ปี”

แหล่งข้อมูล: - สำนักงานสถิติแห่งชาติ - ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------*,**หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ E-mail: rsangthong@yahoo.com, nirunserv@gmail.com FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

35


สถานการณ์การบริโภคยาสูบ ของประเทศไทยและภาคใต้ อัตราการบริโภคยาสูบของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีการลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังแสดงในภาพที่ 1 อย่างไรก็ตามการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุราล่าสุดในปี พ.ศ. 2554 รายงานการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ของอัตราการบริโภคยาสูบเป็น ร้อยละ 21.4 (เพศชายร้อยละ 41.7 เพศหญิงร้อยละ 2.1) คิดเป็นผู้บริโภคยาสูบจำนวน 11.5 ล้านคน ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นดังกล่าว เกิดในทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นผู้สูงอายุ โดยเพศชายกลุ่มอายุ 19-59 ปี มีการบริโภคยาสูบสูงถึงร้อยละ 40 นอกจากนี้ยังพบแนวโน้มการบริโภคยาสูบมากขึ้นในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นชายอายุ 11-20 ปี ในการสำรวจปี พ.ศ. 2550 และเพศหญิงอายุ 15-24 ปี ตั้งแต่การสำรวจปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน (ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์ และคณะ, 2555) เมื่ อ จำแนกตามภู มิ ภ าคพบว่ า ภาคใต้ มี อั ต ราการบริ โ ภคยาสู บ สู ง ที่ สุ ด ในประเทศ อย่างต่อเนือ่ ง และการสำรวจครัง้ ล่าสุดในปี พ.ศ. 2554 พบอัตราการบริโภคยาสูบในภาคใต้รอ้ ยละ 25.6 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศคือ ร้อยละ 21.4 อัตราการบริโภคยาสูบรองลงมาตามลำดับคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร มีอัตราการบริโภคยาสูบ ต่ำสุดในประเทศอย่างต่อเนื่อง รายงาน 10 จังหวัดแรกที่มีอัตราการบริโภคยาสูบสูงสุดในประเทศปี พ.ศ. 2554 เรียงตามลำดับ ได้แก่ แม่ฮ่องสอน สตูล ปัตตานี ระนอง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ขอนแก่น กาญจนบุรี ตรัง และหนองบัวลําภู ดังจะเห็นว่ามีถึง 6 ใน 10 จังหวัดที่อยู่ในภาคใต้ ภาพที่ 1 อัตราการสูบบุหรี่ของประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2544-2554 จำแนกตามภูมิภาค 35.0 30.0

ร้อยละ

25.0 20.0 15.0 10.0 5.0 0.0

36

2544 2545

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

2546

2547 2548 2549

2550

ปี พ.ศ. ในการสำรวจ

2551 2552

2553

2554


รายงานการบริโภคยาสูบของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปใน 14 จังหวัดภาคใต้ ปี พ.ศ. 2554 พบว่ามี 13 จังหวัด (ยกเว้น จ.ภูเก็ต) ที่มีอัตราการบริโภคยาสูบสูงกว่าอัตรา การบริโภคยาสูบเฉลี่ยของประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจปี พ.ศ. 2550 ดังภาพที่ 2 พบว่าจังหวัดปัตตานีครองอัตราการบริโภคยาสูบสูงสุดในปี พ.ศ. 2550 และจังหวัดสตูลครองอัตรา การบริโภคยาสูบสูงสุดในปี พ.ศ. 2554 ขณะที่จังหวัดภูเก็ตครองอัตราการบริโภคยาสูบต่ำสุด ในภาคใต้ในการสำรวจทั้งสองครั้ง จังหวัดที่มีอัตราการบริโภคยาสูบสูงขึ้นมี 7 จังหวัดได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล ยะลา นครศรีธรรมราช และนราธิวาส โดยจังหวัดนราธิวาสมีอัตราการเพิ่มขึ้น สูงสุดจากร้อยละ 19.7 ในปี พ.ศ. 2550 เป็นร้อยละ 25.6 ในปี พ.ศ. 2554 จังหวัดที่มีอัตรา การบริโภคยาสูบลดลงมี 7 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร กระบี่ ตรัง สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา และปัตตานี โดยจังหวัดปัตตานีมีอัตราการลดลงสูงสุดจากร้อยละ 32.3 เป็น 29.1 ภาพที่ 2 เปรียบเทียบอัตราการบริโภคยาสูบของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ใน 14 จังหวัดภาคใต้ ปี 2550 และ 2554 ปี 2550

ปี 2554

ชุมพร

ระนอง

สุราษฎร์ธานี พังงา

สงขลา สตูล

ยะลา

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

พัทลุง ตรัง

20.1 - 23.0 23.1 - 26.0 26.1 - 29.0 29.1 - 32.0

สุราษฎร์ธานี พังงา

นครศรีธรรมราช

ภูเก็ต กระบี่

ร้อยละ

ชุมพร

ระนอง

ปัตตานี นราธิวาส

พัทลุง ตรัง

สงขลา สตูล

ยะลา

ปัตตานี นราธิวาส

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

37


การสำรวจ Global Adult Tobacco Survey ปี พ.ศ. 2552 (Benjakul S และคณะ, 2013) รายงานชนิดยาสูบที่คนไทยนิยมบริโภคดังนี้ เพศชายบริโภคบุหรี่ซองอย่างเดียวร้อยละ 18.4 ยาสูบมวนเองอย่างเดียวร้อยละ 15.8 และบริโภคทั้งสองอย่างร้อยละ 11.2 เพศหญิงบริโภค บุหรี่ซองอย่างเดียวร้อยละ 1 ยาสูบมวนเองอย่างเดียวร้อยละ 1.7 และบริโภคทั้งสองอย่างร้อยละ 0.1 ผู้บริโภคยาสูบมวนเองส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และอาศัยในชนบท แผนภูมิแท่งในภาพที่ 3 และ 4 แสดงประเภทยาสูบที่นิยมมากที่สุดในเพศชายและหญิง แบ่งตามภูมิภาคจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ ปี พ.ศ. 2552 เพศชายอาศัยในเขต ภูมิภาคต่างๆ นิยมบุหรี่ซองผลิตในประเทศและยาสูบมวนเอง เพศชายในภาคกลางนิยมบุหรี่ซอง ผลิตในประเทศมากกว่าบุหรี่มวนเอง ขณะที่เพศชายในกรุงเทพฯ นิยมบุหรี่ซองผลิตในประเทศ มากที่สุด เพศหญิงอาศัยในภูมิภาคต่างๆ นิยมยาสูบมวนเองมากกว่าบุหรี่ซองผลิตในประเทศ เพศหญิงอาศัยในกรุงเทพนิยมบุหรี่ซองผลิตในประเทศมากกว่ายาสูบมวนเอง ภาพที่ 3 ประเภทยาสูบที่นิยมมากที่สุดของเพศชาย ในแต่ละภาค ปี 2552

38

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


ภาพที่ 4 ประเภทของยาสูบที่นิยมมากที่สุดของเพศหญิง ในแต่ละภาค ปี 2552

การวิจัยศึกษาพฤติกรรมการบริโภคยาสูบในพื้นที่ภาคใต้ ติดชายแดนมาเลเซีย (Ketchoo C และคณะ, 2011) รายงานว่ามีผลิตภัณฑ์ยาสูบผิดกฎหมายลักลอบจากประเทศ เพื่อนบ้าน เข้าสู่ชายแดนไทยในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาและแพร่กระจายเข้าไปในพื้นที่อื่นๆ ในภาคใต้ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นบุหรี่ซองผลิตจากต่างประเทศ มีรสชาติและรูปแบบหลากหลาย สวยงาม หาซื้อได้ง่ายทั้งจากร้านค้าในพื้นที่และตัวแทนจำหน่าย เป็นที่ยอมรับและนิยมของ คนในพื้นที่ สาเหตุสำคัญที่ใช้เพราะต้องการลดค่าใช้จ่าย และทำให้มีภาพลักษณ์ดีกว่าการบริโภค ยาสูบมวนเอง โดยสรุปการบริโภคยาสูบยังเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศและภาคใต้ โดยภาคใต้ครอง อัตราการบริโภคยาสูบสูงสุดในประเทศต่อเนื่องมานานนับทศวรรษ เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม ภาษา ความเชื่อ และยังมีผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมายแพร่ระบาดในพื้นที่ ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้สถานการณ์การบริโภคยาสูบในภาคใต้มีความซับซ้อนและแตกต่างเฉพาะตัว การป้องกัน และแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระดับประเทศและระดับภูมภิ าค จึงจำเป็นต้องปรับให้มคี วามสอดคล้อง กับบริบทในพื้นที่ด้วย

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

39


ภัยจากบุหรี่ที่เราไม่ได้สูบ (ควันบุหรี่มือสอง) (สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ, 2551)

นอกเหนือจากการได้รับควันบุหรี่จากการบริโภคยาสูบโดยตรงแล้ว การรับควันบุหรี่ ขณะที่ผู้อื่นสูบ (ควันบุหรี่มือสอง) และควันบุหรี่ที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม (ควันบุหรี่มือสาม) ยังมีพษิ ภัยต่อสุขภาพเช่นกัน ดังมีรายงานว่าสาเหตุสำคัญอันดับสองของการเสียชีวติ ทัว่ โลกเกิดจาก การได้รับควันบุหรี่มือสอง ควันบุหรี่มือสอง (ควันบุหรี่ในบรรยากาศ) เกิดขึ้นจาก 2 แหล่งด้วยกัน คือ ควันบุหรี่ที่ผู้สูบบุหรี่พ่นออกมา และควันบุหรี่ที่ลอยจากปลายมวนบุหรี่ พบว่ามีสารพิษมากกว่า 250 ชนิด และกว่า 50 ชนิด ที่เป็นสารก่อมะเร็ง ตัวอย่างสารพิษจากควันยาสูบ 1. นิโคติน เป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติดและทำให้เกิดโรคหัวใจ 2. ทาร์ ประกอบด้วยสารหลายชนิด สารก่อมะเร็งส่วนใหญ่จะอยู่ในสารทาร์นี้ 3. คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นก๊าซชนิดเดียวกับที่พ่นออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์ จะทำหน้าที่ในการขัดขวางการลำเลียงออกซิเจนของเม็ดเลือดแดงในร่างกาย 4. ไฮโดรเจนไซยาไนด์ เป็นก๊าซที่ทำลายเยื่อบุหลอดลม และถุงลม ทำให้เกิดอาการไอ มีเสมหะ และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง 5. ไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นก๊าซที่ทำลายเยื่อบุหลอดลม และถุงลม ทำให้เป็นโรค ถุงลมโป่งพอง เป็นต้น ผลของควันบุหรี่มือสองต่อสุขภาพของผู้ที่ได้รับควันบุหรี่ ผู้ใหญ่ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านหรือที่ทำงานวันละ 3 ชั่วโมงขึ้นไป จะเสี่ยงต่อการ เป็นโรคหัวใจ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น และจะมีอัตราการเป็นโรคมะเร็งที่ลำคอมากกว่า ผู้ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ 3 เท่า โดยควันบุหรี่มือสองก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบเลือดหัวใจทันทีที่ ได้รับควันบุหรี่มือสองอีกด้วย หญิงตั้งครรภ์และทารกที่ได้รับควันบุหรี่มือสองอย่างต่อเนื่อง จะมีโอกาสเกิดโรค แทรกซ้อนได้ เช่น อาการครรภ์เป็นพิษ แท้ง คลอดก่อนกำหนด และเกิดอาการไหลตายในเด็กสูงขึ้น เด็กเล็กที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง จะก่อให้เกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบและปอดบวม สูงกว่าเด็กทั่วไป มีอัตราการเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้น และเด็กที่ได้รับ ควันบุหรี่มือสองจะมีพัฒนาการของปอดน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ ผลการวิจัยรายงานว่า เด็ก ๆ ได้รับควันบุหรี่มือสองมากกว่าผู้ใหญ่ที่ไม่สูบบุหรี่ โดยเฉพาะการได้รับควันบุหรี่ในบ้าน ที่มีผู้ใหญ่สูบ ดังนั้นวิธีเดียวที่จะปกป้องครอบครัวจากควันบุหรี่มือสองได้ คือ การเลิกสูบบุหรี่

40

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการเลิกบุหรี่ 1. ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ เบอร์โทร 1600, เว็บไซต์: http://www.thailandquitline.or.th/index.php 2. มูลนิธิรณรงค์ช่วยให้เลิกบุหรี่และสารเสพติด เบอร์โทร 02-8076477, เว็บไซต์: http://www.saf.or.th/tha/home.html 3. โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลที่ใกล้บ้านท่าน

อ้างอิง 1. สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ.(2551). ควันบุหรี่มือสอง ภัยจากบุหรี่ที่เราไม่ได้สูบ (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.thaihealth.or.th/node/4303 [8 เมษายน 2556] 2. ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ Current manufactured cigarette smoking and roll-your-own cigarette smoking in Thailand: findings from the 2009 global adult tobacco survey.BMC Public Health. Mar 27; 13(1):277. 3. Ketchoo C, Sangthong R, Chongsuvivatwong V, Geater A, McNeil E.(2011 ).Smoking behaviour and associated factors of illicit cigarette consumption in a border province of southern Thailand.Tob Control. Dec 15. 4. Sangthong R, Chongsuvivatwong V, Geater AF, Jitpiboon W. (2011). Dcreasing trends of smoking and smoking cessation in successive Thai birth cohorts: age-period-cohort analysis from 1991-2007 national surveys. Asian Pac J Cancer Prev. 12(11):3081-5.

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

41


42

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


สถานการณ์การใช้สารเสพติดในภาคใต้ รศ.ดร.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย*

“ภาคใต้มีอัตราการใช้สารเสพติด สูงที่สุดในประเทศ พบอัตราการใช้สารเสพติด ทุกชนิดในผู้ชายสูงกว่าในผู้หญิง”

แหล่งข้อมูล: - รายงานผลโครงการประมาณการจำนวนผู้เกี่ยวข้องกับสารเสพติดในประเทศไทย 2554 -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------* หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ E-mail: savitree.a@psu.ac.th FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

43


สถานการณ์การใช้สารเสพติดในภาคใต้ การสำรวจจำนวนและความชุกของผู้ใช้สารเสพติดในภาคใต้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ สำรวจครัวเรือนระดับประเทศเพื่อประมาณการจำนวนผู้ใช้สารเสพติดและผู้ที่ดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ โดยคณะกรรมการบริหารเครือข่ายองค์กรวิชาการสารเสพติด ได้ดำเนินการมาแล้ว 4 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2544, 2546, 2550 และ 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณการจำนวนและ อัตราความชุกของผู้ใช้สารเสพติดในภาคใต้ จำแนกตามชนิดยาหรือสารเสพติดที่ใช้ กลุ่มประชากร เพศ และวัยต่าง ๆ ในแต่ละปีของการสำรวจ รายงานฉบับนี้เป็นผลของการศึกษาในภาคใต้ ในปีล่าสุด คือ พ.ศ. 2554 เก็บข้อมูลจากพื้นที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) ภาค 8 หรือภาคใต้ตอนบน และ ปปส. ภาค 9 หรือภาคใต้ตอนล่าง ภาคละ 3 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ยะลา และนราธิวาส รวม 1,339 ครัวเรือน สุ่มเลือกประชากรที่มีอายุระหว่าง 12-65 ปี มาครัวเรือนละ 2 คน ผู้เข้าร่วมในการศึกษาทั้งสิ้น 2,363 คน จากภาค 8 จำนวน 1,352 คน (ร้อยละ 57.2) และจาก ภาค 9 จำนวน 1,011 คน (ร้อยละ 42.8) เพศหญิงมากกว่าเพศชายคิดเป็น ร้อยละ 60.2 และ 39.8 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างอยู่ในช่วงอายุ 25-44 ปี และ 45-65 ปี จำนวนพอๆ กัน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีเพียงร้อยละ 13 จบปริญญาตรีขึ้นไปและแต่งงานแล้ว เป็นเกษตรกรมากที่สุด รองลงมาเป็นผู้ใช้แรงงานร้อยละ 29 และ 24 ตามลำดับ ภาพที่ 1 ร้อยละการเคยใช้สารเสพติดตัวใดตัวหนึ่ง ในช่วงปี พ.ศ. 2544 - 2554

44

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


ความชุกของการใช้สารเสพติดในภาคใต้จำแนกตามชนิดสารเสพติด พืชกระท่อม เป็นสารเสพติดที่ประชากรในภาคใต้ใช้มากที่สุด ในแต่ละปีของการสำรวจ เป็นจำนวนประมาณสี่ถึงห้าแสนกว่าคนในแต่ละปี (ร้อยละ 4.7 ถึง 9.3 ของประชากรภาคใต้) โดยประชากรที่เคยใช้สารเสพติดตัวใดตัวหนึ่งอย่างน้อยร้อยละ 80 เป็นผู้ที่เคยใช้พืชกระท่อม ดังนั้นเมื่อดูภาพเปรียบเทียบอัตราความชุกของการใช้พืชกระท่อมทั้งสามกรอบเวลา (ภาพที่ 2) จะเห็นภาพที่คล้ายคลึงกับภาพอัตราการใช้สารตัวใดตัวหนึ่ง (ภาพที่ 1) นั่นคือความชุกต่ำสุด ในปี 2546 และสูงสุดในปี 2551 กระท่อมเป็นสารฯ ตัวเดียวที่มีผู้ใช้ทั้งในหนึ่งปีและใน 30 วัน ครบทั้ง 5 ปี กัญชา เป็นสารเสพติดที่มีอัตราการใช้รองลงมา โดยมีอัตราการใช้สูงสุดในปี 2544 (ร้อยละ 4.2 ของประชากรในภาคใต้) จากนั้นการใช้มีแนวโน้มลดลงทุกปี จนกระทั่งในปี 2554 ถึงแม้ว่าอัตราการเคยใช้ในชีวิตจะเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2551 ก็ตาม แต่อัตราการใช้ในหนึ่งปี และ ใน 30 วันที่ผ่านมากลับลดลงและไม่มีผู้รายงานว่าใช้กัญชาใน 30 วันที่ผ่านมาเลย (ภาพที่ 3) ยาบ้า อัตราการใช้สูงที่สุดในการสำรวจครั้งแรกปี 2544 (ร้อยละ 1.1 ของ ประชากรในภาคใต้) จากนั้นอัตราลดลงเรื่อยๆ จนถึงปี 2551 เหลือเพียงร้อยละ 0.1 แต่กลับเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยในปี 2554 เป็นร้อยละ 0.4 และเป็นที่น่าสังเกตว่า ตั้งแต่การสำรวจ ในปี 2546 เป็นต้นมา เกือบจะไม่มีผู้ตอบว่าใช้ยาบ้าในหนึ่งปีหรือใน 30 วันที่ผ่านมาเลย (ตารางที่ 1), (ภาพที่ 4) ยาอี/ยาเลิฟ การใช้สูงสุดในปี 2544 โดยมีทั้งผู้เคยใช้ในชีวิต ในหนึ่งปี และใน 30 วันที่ผ่านมา หลังจากนั้นผู้ที่รายงานว่าเคยใช้ยาอี/ยาเลิฟน้อยมากในภาคใต้ โดยเกือบไม่พบในปี 2546 และไม่พบเลยในปี 2551 ประชากรภาคใต้รู้จักและเคยใช้ยาเคและโคเคนมาตั้งแต่ปี 2544 โดยพบผู้ที่รายงานว่าเคยใช้ยาเคและโคเคนประมาณสามพันและเจ็ดพันกว่าคน และมีผู้ที่ยังใช้อยู่ ในปัจจุบันประมาณสามร้อยคนแต่ในปีต่อๆ มา กลับพบผู้ใช้ยาเคและโคเคนน้อยมาก ไอซ์ เป็นสารที่เกิดใหม่ในช่วงปี 2550-2554 โดยประชากรภาคใต้ประมาณห้าถึงหกพัน คน หรือร้อยละ 0.1 รายงานว่าเคยใช้ไอซ์ในชีวิต ในปี 2550, 2551 และ 2554

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

45


ฝิ่นและผงขาว อัตราการใช้ค่อนข้างคงที่ในการสำรวจทั้งห้าครั้ง คืออัตราการเคยใช้ ในชีวิตประมาณร้อยละ 0.1-0.2 และไม่มีผู้ตอบว่าใช้สารทั้งสองชนิดใน 30 วันที่ผ่านมาเลย และในปี 2551 ซึ่งเป็นการสำรวจที่ใช้จำนวนตัวอย่างน้อยประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนตัวอย่าง ที่ใช้ในปีอื่น ๆ ก็พบว่าไม่มีผู้ที่รายงานว่าเคยใช้ฝิ่นหรือเฮโรอีน/ผงขาวเลย จึงอาจเป็นไปได้ว่า เมื่อขนาดตัวอย่างของการสำรวจต่ำ ก็อาจจะไม่สามารถ “ดักจับ” ผู้ที่ใช้สารเสพติดชนิดที่รุนแรง (hard core) และหายากได้เลย โดยสรุป แบบแผนการใช้สารเสพติดในภาคใต้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนักในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ถึง 2554 กระท่อมเป็นสารเสพติดที่มีผู้นิยมใช้เป็น อันดับหนึ่ง มีอัตราความชุกของการเคยใช้ในชีวิตประมาณร้อยละ 5-9 รองลงมาคือกัญชา ซึ่งมีแนวโน้มการใช้ลดลงเรื่อยๆ จนเหลือเพียงร้อยละ 2.4 ในปี 2554 ยาบ้าเป็นสารที่มีผู้เคยใช้ เป็นอันดับสามซึ่งมีความชุกสูงสุดในปี 2544 ก่อนที่จะมีแผนปฏิบัติการสงครามต่อสู้ยาเสพติด หลังจากนั้นอัตราความชุกของการใช้ยาบ้าลดลงอย่างชัดเจน ไอซ์เป็นสารเกิดใหม่ในปี 2550 ซึ่งหลังจากปีนั้นมา อัตราความชุกของการใช้ไอซ์ เท่าเดิมมาตลอดคือ ร้อยละ 0.1 ในปี 2550, 2551 และ 2554 นอกจากนั้น สารเสพติดตัวอื่น ได้แก่ ฝิ่น ผงขาว/เฮโรอีน ยาเค โคเคน สารระเหย และยาอี/ยาเลิฟ จะมีผู้ใช้น้อยมากในภาคใต้ในแต่ละปี

46

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


ตารางที่ 1 จำนวนประชากรในภาคใต้ X 100,000 คน และอัตรา (ร้อยละ) ที่ใช้สารเสพติด จำแนกตามปี พ.ศ. ชนิดของสารเสพติดและประสบการณ์การใช้

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

47


ภาพที่ 2 ร้อยละของผู้ใช้กระท่อมในภาคใต้เปรียบเทียบในช่วงปี พ.ศ. 2544 - 2554

ภาพที่ 3 ร้อยละของผู้ใช้กัญชาในภาคใต้ เปรียบเทียบในช่วงปี พ.ศ. 2544 - 2554

48

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


ภาพที่ 4 จำนวนผู้เคยใช้สารเสพติดรายชนิดในภาคใต้ เปรียบเทียบในช่วงปี พ.ศ. 2544 - 2554

ในการสำรวจปี 2554 มีข้อค้นพบที่น่าสนใจสรุปได้ดังนี้ • ประชากรภาคใต้มีอัตราการใช้สารเสพติดสูงที่สุดในประเทศ คือ 94.94 คนต่อพันคน หรือคิดเป็นจำนวนคนทั้งหมดประมาณหกแสนกว่าคน • สารเสพติดที่ประชากรในภาคใต้เคยใช้มากที่สุดได้แก่ กระท่อม กัญชา ยาบ้า ผงขาว/ เฮโรอีน ไอซ์ สารระเหย ยาเค โคเคน และยาอี/ยาเลิฟ เรียงตามลำดับ • สารเสพติดที่มีอัตราการใช้สูงที่สุดในภาคใต้ เมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ ได้แก่ กระท่อม • ประชากรภาคใต้ประมาณห้าแสนกว่าคนเคยใช้กระท่อม (อัตรา 86.04 ต่อพันคน) และประมาณสองแสนคนยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน (อัตรา 32.98 ต่อพันคน) • อัตราการใช้สารเสพติดทุกชนิดในผู้ชายสูงกว่าในผู้หญิง และในผู้ใหญ่สูงกว่าในเยาวชน ยกเว้นน้ำต้มใบกระท่อมที่มีอัตราการใช้ในวัยรุ่นและเยาวชนสูงกว่าในวัยผู้ใหญ่

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

49


50

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


สถานการณ์ความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

(สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ดร.เมตตา กูนิง* ดร.นิตยา แม็คเนล* ผศ.ดร.อภิรดี แซ่ลิ่ม** มายือนิง อิสอ***

“การสำรวจข้อมูลครอบครัว ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วง 9 ปี ที่ผ่านมา พบหญิงหม้ายและเด็กกำพร้า เป็นจำนวนมาก”

แหล่งข้อมูล: - ศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศวชต.)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------*,*** ทีมฐานข้อมูล E-mail: kmetta@bunga.pn.psu.ac.th, nittaya@bung.pn.psu.ac.th, mayening@hotmail.com ** ทีมภาคสนาม E-mail: lapirade@bunga.pn.psu.ac.th FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

51


สถานการณ์ความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนใต้ พ.ศ. 2547 - 2555 ความรุ น แรงในพื้น ที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ท ี ่ เ กิ ด ขึ ้ น อย่ า งต่ อ เนื ่ อ ง ตั ้ ง แต่ ว ั น ที ่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 มีเหตุการณ์เกิดขึ้นทั้งสิ้น 17,654 ครั้ง จำแนกเป็นเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 13,317 ครั้ง (ร้อยละ 77.7) อยู่ระหว่างการตรวจสอบจำนวน 2,193 ครั้ง (ร้อยละ 12.8) และเรื่องส่วนตัว จำนวน 1,632 ครั้ง (ร้อยละ 9.5) (ภาพที่ 1) ภาพที่ 1 ประเภทเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2555 เรื่องส่วนตัว 9.5% อยู่ระหว่างการตรวจสอบ 12.8% เหตุการณ์ความไม่สงบฯ 77.7%

เหตุการณ์ความไม่สงบเกิดเหตุมากที่สุดในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จำนวน 4,618 ครั้ง (ร้อยละ 34.7) ปัตตานี จำนวน 4,297 ครั้ง (ร้อยละ 32.3) ยะลา จำนวน 3,864 ครั้ง (ร้อยละ 29.0) และสงขลา จำนวน 538 ครั้ง (ร้อยละ 4.0) (ภาพที่ 2) ภาพที่ 2 ประเภทเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ พ.ศ. 2547 - 2555 จำนวน(ครั้ง) 5,000 4,618

4,297

4,000

ความไม่สงบฯ อยู่ระหว่างตรวจสอบ เรื่องส่วนตัว

3,864

3,000 2,000 1,000 0

52

FACTS AND FIGURES 2013

916

661

นราธิวาส

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

705 477 ปัตตานี

426 477 ยะลา

จังหวัดที่เกิดเหตุ

538

146 150

สงขลา


เหตุการณ์ความไม่สงบฯ รวม 13,317 ครัง้ ส่งผลให้มผี ไู้ ด้รบั ผลกระทบจำนวน 16,143 คน ซึ่งได้รับผลกระทบทางร่างกายรวมทั้งสิ้น 15,131 คน (ร้อยละ 93.7) ในจำนวนนี้เสียชีวิต 4,334 คน (ร้อยละ 23.6) และทรัพย์สินเสียหาย 1,012 คน (ร้อยละ 6.3) (ภาพที่ 3) ภาพที่ 3 ผู้ได้รับผลกระทบจำแนกตามประเภทเหตุการณ์ความรุนแรง พ.ศ. 2547 - 2555 จำนวน (คน) 12,000

บาดเจ็บ

10,797

เสียชีวิต ทรัพย์สินเสียหาย

10,000 8,000 6,000

4,334

4,000 2,000

1,012

0 ความไม่สงบฯ

812 1,074 216 อยู่ระหว่างตรวจสอบ

774 953

102

เรื่องส่วนตัว

ประเภทเหตุการณ์

ความรุนแรงของเหตุการณ์ (ผู้เสียชีวิต (คน) X 10 / เหตุการณ์ (ครั้ง) เฉลี่ยในช่วง 9 ปี พบว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นทุก ๆ 10 ครั้งจะมีคนเสียชีวิต 3.25 คน และเหตุการณ์ความไม่สงบ มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ภาพที่ 4) ภาพที่ 4 ความรุนแรงของเหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ. 2547 - 2555 คนเสียชีวิต : เหตุการณ์ 10 ครั้ง

เดือน

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

53


ภาพที่ 5 ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบ พ.ศ. 2547 - 2555 จำแนกตามอาชีพ อาชีพ

อาสาสมัคร อพปร. สจ(อบจ) สส เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แพทย์ พยาบาล อสม. อาสาสมัครรักษาหมู่บ้าน (อนบ.) ประมงและการเดินเรือ ผู้นำศาสนาอิสลาม พระ กำนัน อบต. แม่บ้าน ไม่มีอาชีพ ผู้ใหญ่บ้าน ครู ผู้่วยผู้ใหญ่บ้าน ลูกจ้างบริษัท พนักงานเอกชน ชรบ. ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว อื่น ๆ อส. อาสาสมัครทหารพราน ข้าราชการพนักงานของรัฐ นักเรียน นักศึกษา ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว รับจ้างทั่วไป กรรมกร เกษตรกร ตำรวจ ทหาร ไม่ระบุ

บาดเจ็บ เสียชีวิต ทรัพย์สินเสียหาย

0

500

1,000

1,500

2,000

2,500

3,000

3,500

จำนวน (คน)

ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบส่วนใหญ่เป็นทหาร (ร้อยละ 16.3) รองลงมาคือ ตำรวจ (ร้อยละ 12.8) และเกษตรกร (ร้อยละ 9.3) ตามลำดับ (ดังภาพที่ 5) โดยผู้ได้รับผลกระทบ ทางร่างกายนับถือศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 39.4) และนับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 60.6) ดังภาพที่ 6 ภาพที่ 6 ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบ พ.ศ. 2547 - 2555 จำแนกตามศาสนา จำนวน(คน) บาดเจ็บ เสียชีวิต ทรัพย์สินเสียหาย

7,252

8,000 6,000 4,000 2,000

3,545 2,432

1,902 378

634

0 อิสลาม

พุทธและอื่นๆ ศาสนา

54

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


นอกจากนี้พบว่าผู้ได้รับผลกระทบเป็นเพศชาย (ร้อยละ 83.4) ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 20-29 ปี และอายุเฉลีย่ ประมาณ 37.0 ผูไ้ ด้รบั ผลกระทบทีเ่ ป็นเด็กอายุตำ่ กว่า 19 ปี จำนวน 1,128 คน (ร้อยละ 8.5) เด็กจากเหตุการณ์ปลอดภัย 97 คน (ร้อยละ 7.9) (ดังภาพที่ 7) ภาพที่ 7 ปิระมิดประชากรผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบฯ พ.ศ. 2547 - 2555 ช่วงอายุ (ปี) >=80 75-79 70-74 65-69 60-64 55-59 50-54 45-49 40-44 35-39 30-34 25-29 20-24 15-19 10-14 5-9 0-4 400

200 ผู้หญิง

0

0

บาดเจ็บ เสียชีวิต ทรัพย์สินเสียหาย

200 400 600 800 1,000 1,200 1,400 1,600 1,800 2,000 ผู้ชาย

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

55


การสำรวจข้อมูลครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบฯ ในช่วง 9 ปี พบว่า หญิงหม้ายในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา (อำเภอ จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) จำนวน 1,702 คน ดังตารางที่ 1 และเด็กกำพร้าทั้งสิ้น 2,073 คน ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 1 หญิงหม้ายจากเหตุการณ์ความไม่สงบฯ พ.ศ. 2547 - 2555 หญิงหม้าย เหตุการณ์ความไม่สงบฯ (1,702 คน) ศาสนา ไม่ระบุ 3 พุทธ 648 อิสลาม 1,051 จังหวัดที่เกิดเหตุ นราธิวาส 351 ปัตตานี 649 ยะลา 633 สงขลา 69 ภูมิลำเนาสามี ไม่ระบุ 2 นราธิวาส 335 ปัตตานี 610 ยะลา 604 สงขลา 79 ภาคใต้ 26 ภาคกลาง 7 ภาคตะวันตก 3 ภาคตะวันออก 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 25 ภาคเหนือ 9

56

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


ตารางที่ 2 เด็กกำพร้าจากเหตุการณ์ความไม่สงบฯ พ.ศ. 2547 - 2555 เด็กกำพร้า เหตุการณ์ความไม่สงบฯ (2,073คน) เพศ ไม่ระบุ 4 ชาย 1,062 หญิง 1,007 ศาสนา พุทธ 588 อิสลาม 1,480 ไม่ระบุ 5 จังหวัดที่เกิดเหตุ นราธิวาส 579 ปัตตานี 776 ยะลา 618 สงขลา 100 ภูมิลำเนาบิดา ไม่ระบุ 8 นราธิวาส 532 สงขลา 96 ปัตตานี 736 ยะลา 631 ภาคใต้ 25 ภาคกลาง 8 ภาคตะวันตก 7 ภาคตะวันออก 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 21 ภาคเหนือ 5

FACTS AND FIGURES 2013

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556

57



คณะทำงาน

Facts & Figures 2013 ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556 คณะทำงานวิชาการ ศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ รองศาสตราจารย์ ดร.สาวิตรี รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังคณา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัศมี ดร.เพชรวรรณ ดร.เมตตา ดร.นิตยา ดร.อภิรดี ดร.ฐปนรรฆ์ ดร.ธนิษฐา พัชนี นิรันดร์ กมลวรรณ ทวีพร มายือนิง กองบรรณาธิการ ศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังคณา รัตติกาล นิพนธ์

จงสู่วิวัฒน์วงศ์ อัษณางค์กรชัย เลียบสื่อตระกูล เธียรมนตรี สังข์ทอง พึ่งรัศมี กูนิง แม็คเนล แซ่ลิ่ม ประทีปเกาะ ดิษสุวรรณ์ นัครา อินทรัตน์ อิ่มด้วง บุญกิจเจริญ อิสอ

ประธานอนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ อนุกรรมการ

จงสู่วิวัฒน์วงศ์ เธียรมนตรี ขนานแก้ว รัตนาคม

สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) ชั้น 6 อาคารบริหาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทรศัพท์/โทรสาร : 0-7445-5150 มือถือสำนักงาน : 08-1542-7006 Website: www.rdh.psu.ac.th Facebook:www.facebook.com/southern.rdh E-mail: southern.rdh@gmail.com




สนับสนุนโดย

62

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) สำนักงานกองทุ​ุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นวิจ2013 ัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) FACTSสถาบั AND FIGURES

ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้ 2556


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.