จิตสัมผัส ไหว้ครูดนตรีไทย-นาฏศิลไทย

Page 1

จิ ต สั ม ผั ส ไหวคร�ดนตรี - นาฏศิลปไทย

Intangible Culture on Paying Homage to The Thai Musical and Thai Dramatic Arts Teachers

ศูนยศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยราชพฤกษ Ratchaphruek Cultural Centre



พระพุทธสิหิงค์มิ่งมงคลชัยราชพฤกษ์ พระพุทธรูปประจำ�วิทยาลัยราชพฤกษ์


ข้อมูลสำ�หรับบรรณารักษ์ห้องสมุด ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยราชพฤกษ์ จิตสัมผัส ไหว้ครูดนตรี - นาฏศิลป์ไทย ,โรงพิมพ์ บริษัท คัลเลอร์ไอเดีย อินโนเวชั่น จำ�กัด, กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. ๒๕๕๕ จำ�นวน ๑๕๖ หน้า ออกแบบปก หน้า/หลัง ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยราชพฤกษ์


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ องค์อัครศิลปิน พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน


คำ�นำ� หนังสือเรือ่ ง จิตสัมผัส การไหว้ครูแบบโบราณประเพณี ประกอบพิธไี หว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย เล่มนี้ ศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรม วิทยาลัยราชพฤกษ์ จัดพิมพ์เพือ่ เป็นเอกสารทางวิชาการแจก ไปตามสถาบันการศึกษา ทั่วประเทศ โดยพิจารณาเห็นว่า ประเพณีการไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย เป็นประเพณีที่บรรดานักเรียน นักศึกษาและผู้ที่ประกอบอาชีพด้านศิลปะการแสดงในสาขาต่างๆ ยึดถือเป็นสิ่งสำ�คัญต่อวิชาชีพของตน ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ทีม่ ศี นู ย์ศลิ ปวัฒนธรรมและมีการเรียนการสอนดนตรีนาฏศิลป์ไทย ก็จะถือเป็น ภารกิจสำ�คัญที่จะต้องมีการประกอบพิธีไหว้ครู อาจจะปีละครั้งหรือตามความเหมาะสม เช่นเดียวกับที่ วิทยาลัยราชพฤกษ์ ได้จดั ประกอบพิธไี หว้ครูขนึ้ เป็นครัง้ แรก ตามเหตุผลในเบือ้ งต้น และเป็นภารกิจหลักของ สถาบันอุดมศึกษาในการทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม หนังสือเรื่อง จิตสัมผัส จึงมีเนื้อหาสาระ และ องค์ประกอบทีส่ �ำ คัญๆ ของพิธไี หว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย ตลอดจนส่วนปลีกย่อยต่างๆ ทีส่ มบูรณ์ในระดับหนึง่ วิทยาลัยราชพฤกษ์ จึงขอขอบคุณผู้เขียนบทความ ในเอกสารทางวิชาการต่างๆ ที่เผยแพร่อยู่ใน ขณะนี้ โดยกองบรรณาธิการได้คัดตัดตอนนำ�มาลงไว้ให้เป็นข้อมูลที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้อ่านและขอขอบคุณ อาจารย์ยงยุทธ ธีรศิลป ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม ผู้ให้การสนับสนุนข้อมูล ตลอดจน website ต่างๆ ที่เป็นข้อมูลสาธารณะ อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดทำ�หนังสือ จิตสัมผัส การไหว้ครูแบบโบราณ ประเพณี (Intangible Culture on Paying Homage to The Thai Musical and Thai Dramatic Arts Teachers) เล่มนี้ โดยไม่มีการจำ�หน่ายหรือมีผลประโยชน์อื่นใด คงไว้แต่คุณค่าทางวิชาการให้ปรากฏไว้ในแผ่นดิน และ ยังประโยชน์ต่องานวิชาการ ในเชิงทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรมให้ยั่งยืนและมั่นคงสืบไป

(ดร.อณาวุฒิ ชูทรัพย์) อธิการบดี ธันวาคม ๒๕๕๔

4 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


คำ�นิยม ผมได้สนทนากับผู้จัดทำ�หนังสือ เรื่อง จิตสัมผัสการไหว้ครูแบบโบราณประเพณี เล่มนี้แล้ว จึงได้ ทราบถึงเจตนาอันบริสุทธิ์ ที่จะยังขนบธรรมเนียมประเพณีของการไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย ซึ่งเป็นการ แสดงถึงความกตัญญูกตเวทิตา อันเป็นสิง่ ประเสริฐของการแสดงความเคารพต่อครู อาจารย์ผอู้ บรมสัง่ สอน ศิษย์ให้เป็นผู้มีศิลปะวิทยาการ เป็นมรดกที่งดงามของชาติ และยึดถือว่าเป็นศิลปะของเทพ ดังที่ได้ปรากฏ อยู่ในหนังสือเล่มนี้ เนื้อหาและบทความต่างๆก็ล้วนแล้วแต่เป็นของปรามาจารย์ศาสตร์ด้านดนตรี และนาฏศิลป์ทั้งสิ้นทั้งปวง ควรแก่การให้คำ�นิยมว่าเป็นหนังสือที่ดีมีคุณค่า เหมาะสำ�หรับการศึกษาค้นคว้า ในสถาบันการศึกษาทุกระดับ ผมจึงขอให้คำ�นิยมและอำ�นวยพรให้วิทยาลัยราชพฤกษ์ อันเป็นมงคลนาม จงสถิตย์สถาพร และ เจริญก้าวหน้าต่อไปเป็นนิจนิรันดร์

(หม่อมราชวงค์จักรรถ จิตรพงษ์)* วังปลายเนิน คลองเตย กรุงเทพมหานคร

*อดีต เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ *อดีต ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ลำ�ดับที่ ๑ จิตสัมผัส 5


สารบาญ • คำ�นำ� โดย ดร.อณาวุฒิ ชูทรัพย์ อธิการบดี ๔ • คำ�นิยม โดย หม่อมราชวงค์จักรรถ จิตรพงษ์ ๕ • ดอกไม้บูชาครู โดย ครูมนตรี ตราโมท ๙ • พระราชพิธีพระราชทานครอบ และทรงพระกรุณาธิคุณเป็นองค์ประธานประกอบพิธีไหว้ครู และพิธีต่อท่ารำ�เพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ จาก www.ohmsaya.com ๑๑ • การไหว้ครู โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ๑๗ • การไหว้ครูนาฏศิลป์ไทย โดย ครูมนตรี ตราโมท ๒๑ • ดุริยเทพ โดย ครูมนตรี ตราโมท ๒๔ • การไหว้ครูดนตรีไทย โดย ครูมนตรี ตราโมท ๓๒ • ไหว้ครู โดย ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำ�รูญ ๓๙ • แบบแผนพิธีไหว้ครู โขน-ละคร ของวิทยาลัยนาฏศิลป์ โดย อาจารย์วีระชัย มีบ่อทรัพย์ ๔๓ • เพลงหน้าพาทย์และเศียรครู เอกสารประกอบการไหว้ครู โดย อาจารย์วิเชียร อ่อนละมูล ๔๖ • เพลงหน้าพาทย์ จาก www.edaat.bpi.ac.th ๕๖ • ประวัติเศียรครู ๙ พระองค์ โดย อาจารย์วิไลวรรณ จันทร์แป้น ๖๙ • ภาพศีรษะโขน (บางส่วน) ๗๑ • ระบำ� รำ� ฟ้อน จาก www.nsru.ac.th ๘๓ • นาฏยศัพท์ จาก www.nsru.ac.th ๘๙ • ดุริยศัพท์ เทคนิคดนตรีไทย จาก www.thaicontem.com ๙๓ • ประวัติดนตรีไทย จาก www.oknation.net ๑๐๕ • ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีไทย นาฏศิลป์ไทย พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๕๓ ๑๑๓ • บรรณานุกรม ๑๑๔

6 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


ภาคผนวก • ประวัติ นายสมบัติ แก้วสุจริต ผู้อ่านโองการพิธีไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยราชพฤกษ์ • ลำ�ดับเพลงหน้าพาทย์ในพิธีไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย ของวิทยาลัยนาฏศิลป์ โดย อาจารย์สัจจะ ภู่แพ่งสุทธิ์ • ลักษณะการตั้งเศียรครูแบบต่างๆ ในพิธีไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย จาก www.phradunk.com • พระฤาษี (พ่อแก่) • การไหว้ครูสำ�หรับดุริยางค์ไทย บ้านศิลปบรรเลง • ลักษณะกิจพิธี ตั้งเครื่องสักการบูชา โดย นิ่ม โพธิ์เอี่ยม • เครื่องสังเวยในพิธีไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย ของวิทยาลัยนาฏศิลป์ • กำ�หนดการพิธีไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย ของวิทยาลัยราชพฤกษ์ • คำ�สั่ง วรพ.๖๕๘ / ๒๕๕๔ วิทยาลัยราชพฤกษ์ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการ พิธีไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย

๑๑๙ ๑๒๓ ๑๒๕ ๑๒๗ ๑๓๑ ๑๓๓ ๑๔๗ ๑๕๐ ๑๕๑

จิตสัมผัส 7


มาลัยข้อมือบนพานมุก บูชาครู 8 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


ดอกไม้บูชาครู นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทย ดอกมะลิอัญชลีด้วยสีขาว ผู้สั่งสอนแรกเริ่มประเดิมวิชา

ซึ่งเปรียบราวดวงจิตเสน่หา คือบิดรมารดาบุพาจารย์

อันดอกเข็มหมายเข็มที่เย็บผ้า ทุกปัญหาแทงทะลุปรุโปร่งญาณ

ขอปัญญาข้าแหลมคมสมเข็มขาน ให้เชี่ยวชาญเห็นแจ้งแห่งวิชา

ดอกมะเขือโชติช่วงม่วงฉวี ให้ข้าเรียนเร็วรวดกวดวิชา

เป็นมาลีที่บานเร็วนักหนา เหมือนดอกไม้อุปมาบูชานี้

อันดอกบานไม่รู้โรยไม่โชยชื่น ขอปัญญาข้าจดจำ�แม่นยำ�ดี

ไร้กลิ่นรื่นแต่มั่นคงดำ�รงฉวี ดังมาลีไม่รู้โรยโดยประมาณ

ดอกดาวเรืองหมายนามอร่ามเรือง รู้กว้างขวางสร้างสรรค์อันชำ�นาญ

ให้การเรียนทุกเรื่องเปรื่องแตกฉาน เกริกตระการรุ่งเรืองเฟื่องขจร

อันดอกรักเปรียบจิตคิดสมัคร รักครูบาอาจารย์นิรันดร

รักสำ�นึกศึกษาอนุสรณ์ รักคำ�สอนร่ำ�แถลงชี้แจงเอย

จิตสัมผัส 9


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ถวายมาลัยบูชาเศียรครู โดย ครูมนตรี ตราโมท อัญเชิญพานมาลัย 10 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


พระราชพิธีพระราชทานครอบ และทรงเป็นประธานประกอบพิธีไหว้ครู และพิธีต่อท่ารำ�เพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ พิธีไหว้ครูโขน ละคร พิธีครอบ และพิธีต่อ ท่ารำ�เพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ เป็นพิธีที่มี ความสำ�คัญสูงสุดสำ�หรับผู้เป็นศิลปิน กล่าวคือพิธี ไหว้ครูเป็นการแสดงคารวะกรรมต่อครูผู้ประสิทธิ์ ประสาทศิลปวิทยาการให้ ส่วนพิธคี รอบหมายความ ว่าผูร้ บั ครอบได้เริม่ ความเป็นศิลปินโดยสมบูรณ์ ส่วน พิธีต่อท่ารำ�เพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ซึ่งเป็น เพลงหน้าพาทย์สงู สุด และศักดิส์ ทิ ธิน์ นั้ จะต้องมีพธิ ี มอบให้เฉพาะแก่ศิลปินที่ได้เลือกสรรแล้ว พิธีครอบมี ๓ ระดับคือ รับครอบเข้าเป็น เครือของศิลปิน และรับพรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัว รับครอบเพือ่ ประสิทธิป์ ระสาทความเป็นครูแก่ผทู้ จี่ ะ นำ�วิชาการไปสั่งสอนศิษย์ และรับครอบให้เป็นผู้ทำ� พิธคี รอบสืบต่อไป ผูท้ ไี่ ด้รบั ครอบให้ท�ำ พิธคี รอบสืบ ต่ อ ไปนั้ น เปรี ย บเสมื อ นได้ เ ป็ น สมมติ เ ทพผู้ จ ะ ประกอบพิธีไหว้ครูเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ผู้ศึกษาวิชา นาฏศิลป และดุริยางคศิลปนั่นเอง ผู้ที่จะประกอบพิธีครอบโขน ละครได้มี ๒ ประเภท ประเภทที่ ๑ คื อ ผู้ ที่ พ ระบาทสมเด็ จ

พระเจ้าอยูห่ วั ทรงครอบพระราชทาน ด้วยประเพณี ไทยถือเป็นหลักสืบมาแต่โบราณว่า พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นเอกอัครอุปถัมภ์ของศิลปนานาชนิด เมื่อ ไม่มตี วั ครูในสาขานัน้ ๆ แล้ว พระมหากษัตริยจ์ ะทรง มอบหรือครอบพระราชทานผูใ้ ดให้ปฏิบตั หิ น้าทีก่ ไ็ ด้ และผู้ที่ได้รับพระราชทานครอบแล้วสามารถทำ�พิธี ครอบผู้อื่นต่อไปได้ ส่วนประเภทที่ ๒ คือผู้ที่ได้รับ ประสิทธิป์ ระสาทจากครูผปู้ ระกอบพิธคี รอบเดิม โดย จะต้องเป็นศิลปินชาย และเป็นผู้แสดงเป็นตัวพระ อายุไม่ต่ำ�กว่า ๓๐ ปี เคยบวชเรียนมาแล้ว มีความ ประพฤติดีอยู่ในศีลธรรม เป็นที่เคารพนับถือของ ศิษย์ทั้งปวง ผู้ประกอบพิธีครอบโขน ละคร ที่สำ�คัญ ในสมัยรัตนโกสินทร์มีอยู่ ๔ ท่าน คือ ๑. ครูเกษ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ถึงต้นรัชกาล ที่ ๔ ๒. ครูแผน ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ ๓. พระยานัฏกานุรกั ษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลที่ ๖ ๔. หลวงวิลาศวงงาม (หร่ำ� อินทรนัฎ) ใน สมัยรัชกาลที่ ๘ ถึงรัชกาลปัจจุบัน ๕. นายอาคม สายาคม ในรัชกาลปัจจุบัน จิตสัมผัส 11


สำ�หรับการต่อท่ารำ�เพลงหน้าพาทย์องค์ พระพิราพ ผูเ้ ป็นอสูรเทพผูท้ รงอิทธิฤทธิซ์ ง่ึ ศิลปินโขน ละครไทยเคารพสักการะในฐานะเป็นปรมาจารย์ใน วิชานาฏยศาสตร์ เพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ถือเป็นหน้าพาทย์ที่สูงสุด และศักดิ์สิทธิ์ ในการต่อ ท่ารำ�เพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพจะต้องมีพิธี มอบให้ แ ก่ ศิ ล ปิ น ที่ ไ ด้ เ ลื อ กสรรแล้ ว คือ ต้อ งเป็ น ศิลปินอาวุโสที่ได้รับการฝึกหัด และมีความสามารถ เป็นทีย่ อมรับในวงการศิลปิน พระราชพิธพี ระราชทาน ครอบประธานประกอบพิธไี หว้ครูโขน ละคร และพิธี ต่อท่ารำ�เพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ในครัง้ นี้ สืบ เนือ่ งจากครูผไู้ ด้รบั พระราชทานครอบ และต่อท่ารำ� องค์พระพิราพไว้ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๖ คือ นาย อาคม สายาคม นายอร่าม อินทรนัฎ นายยอแสง ภักดีเทวา และนายหยัด ช้างทอง ได้ถึงแก่กรรมไป เหลือเพียงนายหยัด ช้างทอง เพียงท่านเดียว โดย เฉพาะครูผเู้ ป็นประธานประกอบพิธไี หว้ครูโขน ละคร นั้น หลังจากมรณกรรมของนายอาคม สายาคม เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๒๕ เป็นต้น มา กรมศิลปากรก็ว่างตัวครูผู้เป็นประธานประกอบ พิธี เนื่องจากนายอาคมถึงแก่กรรมโดย กระทันหัน ยังมิได้มอบหมายหน้าที่ประธานในพิธีไหว้ครูให้กับ ผู้ใดไว้ ตามประเพณีแต่ดั้งเดิมนั้น หากครูเดิมมิได้มี การมอบหมายให้ใครคนใดคนหนึ่งรับรับหน้าที่เป็น ประธานประกอบพิธไี หว้ครูโขน ละคร แล้ว ก็จะต้องขอรับ พระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯแต่งตั้งประธานประกอบพิธีไหว้ครูเสีย ก่อน จากนัน้ จะพระราชทานครอบประธานฯ บุคคล ดังกล่าวจึงจะสามารถประกอบพิธีไหว้ครูโขน ละคร ได้ เมือ่ ความทราบฝ่าละอองธุลพี ระบาท จึงทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรดำ�เนินการคัด เลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่นี้ แล้ ว นำ � ความกราบบั ง คมทู ล เพื่ อ มี พ ระบรมราช วินิจฉัย ก่อนที่จะประกอบพระราชพิธีพระราชทาน ครอบให้ต่อไป ในเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช 12 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

๒๕๒๖ คุณหญิงอารี กุลตัณฑ์ อธิบดีกรมศิลปากร ขณะนัน้ ได้มคี �ำ สัง่ ตัง้ คณะกรรมการสรรหาผูท้ เี่ หมาะ สม โดยพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติด้วย หลักเกณฑ์ตามคตินิยมแต่โบราณ คือ ๑. เป็นบุรุษ ๒. เป็นผู้มีภูมิความรู้ทางวิชานาฏศิลป์ทั้ง ภาคทฤษฎี และปฏิบัติ ๓. เคยผ่านการแสดงเป็นตัวนายโรงในการ แสดงโขน คื อ ตั ว พระรามหรื อ พระ ลักษณ์ มีชอื่ เสียงในการแสดงโขน ละคร จนคนทั่วไปยกย่องเป็นครูอาจารย์ ๔. เป็นผู้มีบุคลิกภาพ จริยาวัตร อุปนิสัย ใจคอ มนุษยสัมพันธ์ และคุณธรรมเป็น ทีเ่ คารพยกย่องศรัทธาเชือ่ ถือของสังคม ผู้เข้าร่วมในพิธีไหว้ครูนั้นๆ และต้อง บวชเรียนแล้ว ๕. เป็นผูท้ ไี่ ด้รบั มอบหมายสิทธิ และหน้าที่ ให้เป็นประธานประกอบพิธีไหว้ครูโดย พระบรมราชโองการ หรื อ จากการ ประสิ ท ธิ์ ป ระสาทจากครู ผู้ เ คยเป็ น ประธานประกอบพิ ธี มาแล้ ว ให้ เ ป็ น ผู้ สื บ ทอด โดยได้ รั บ มอบตำ � ราไหว้ ค รู (สมุดข่อย) เครื่องโรง และได้รับการ ครอบครูนาฏศิลปจากครูผู้ใหญ่ คณะกรรมการฯ คัดเลือกศิลปินผูม้ คี ณ ุ สมบัติ เหมาะสมได้ ๖ คน คือนายธีรยุทธ ยวงศรี นายราฆพ โพธิเวส นายธงไชย โพธยารมย์ นายทองสุก ทอง หลิม นายอุดม อังศุธร และนายสมบัติ แก้วสุจริต ต่อมานายราฆพ โพธิเวส ได้ขอถอนตัวจากการรับ ครอบเป็นประธานประกอบพิธไี หว้ครูโขน ละคร โดย ขอเป็นผูร้ บั ครอบองค์พระพิราพเพียงอย่างเดียว คง เหลือผูร้ บั ครอบเป็นประธานเพียง ๕ คน คณะกรรม การฯได้ท�ำ หนังสือถึงศิลปินทัง้ ห้าเพือ่ สอบถามความ สมัครใจ แล้วจึงนำ�รายชื่อพร้อมประวัติ และผลงาน


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานครอบองค์พระพิราพให้ ครูมนตรี ตราโมท

ขึ้ น กราบบั ง คมทู ล พระกรุ ณ าทราบฝ่ า ละอองธุ ลี พระบาทเพื่อมีพระบรมราชวินิจฉัย ซึ่งพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรด เกล้าฯ แต่งตัง้ ประธานประกอบพิธไี หว้ครูโขน ละคร ให้ตามที่กราบบังคมทูล ทั้งยังทรงมีพระราชกระแส เพิ่มเติมว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำ�คัญสมควรจะจัดเป็น พิธี เพื่อให้ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นหลักฐานปรากฏ โดย ควรทีจ่ ะมีศลิ ปินโขน ละครผูเ้ ฒ่าผูใ้ หญ่ทเี่ คยเป็นโขน ละครหลวงหรือศิลปินภายนอกผู้ที่ศิลปินด้วยกัน ยกย่องนับถือ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีด้วย ทั้งนี้ให้ กรมศิลปากรกับสำ�นักพระราชวังร่วมปรึกษาดำ�เนิน งานให้รอบคอบถ้วนถี่ ต่ อ มาคณะกรรมการฯ ได้ พิ จ ารณาเห็ น สมควรให้มีการต่อท่ารำ�หน้าพาทย์องค์พระพิราพ

และรับพระราชทานครอบองค์พระพิราพเสียพร้อม กันในพระราชพิธนี ดี้ ว้ ย เนือ่ งจากศิลปินผูไ้ ด้รบั ครอบ และรับมอบท่ารำ�จากนายรงภักดีเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๖ จำ�นวน ๔ คน คือ นายอาคม สายาคม นาย อร่าม อินทรนัฎ นายหยัด ช้างทอง และนายยอแสง ภักดีเทวา นัน้ ปัจจุบนั คงเหลือแต่นายหยัด ช้างทอง นอกนัน้ ได้ถงึ แก่กรรมไปหมดดังกล่าวแล้ว ทัง้ นายรง ภักดีกม็ อี ายุมากถึง ๘๖ ปีในขณะนัน้ สมควรทีจ่ ะได้ ต่อท่ารำ�ให้แก่ศิลปินที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อไป คณะกรรมการฯจึงมอบหมายให้นายราฆพ โพธิเวส ไปพบนายรงภักดี เพื่อขอคำ�ปรึกษา ซึ่งได้รับคำ� แนะนำ � ว่ า จะต้ อ งทำ � หนั ง สื อ กราบบั ง คมทู ล ขอ พระราชทานพระบรมราชานุญาตเสียก่อน เมื่อทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯแล้ว จะต้องต่อท่ารำ�ก่อน ๒ ครั้ง แล้วจึงทำ�พิธีมอบในวันพระราชพิธี จิตสัมผัส 13


คณะกรรมการฯจึงร่วมกันพิจารณารายชื่อ ศิลปินฝ่ายยักษ์ ซึ่งมีคุณวุฒิ และวัยวุฒิเหมาะสม รวม ๗ คน คือ นายราฆพ โพธิเวส นายไชยยศ คุม้ มณี นายจตุพร รัตนวราหะ นายจุมพล โชติทตั ต์ นายสุดจิตต์ พันธ์สังข์ นายศิริพันธ์ อัฎฎะวัชระ และนายสมศักดิ์ ทัดติ เมือ่ สอบถามความสมัครใจแล้ว คณะกรรมการฯ ได้น�ำ รายชือ่ ศิลปินกราบบังคมทูลเพือ่ มีพระบรมราช วินจิ ฉัย พร้อมทัง้ ขอพระราชทานครอบองค์พระพิราพ ในโอกาสเดี ย วกั น กั บ การรั บ พระราชทานครอบ ประธานไหว้ครูดว้ ย ซึง่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงมีพระมหากรุณาธิคณ ุ โปดเกล้าฯ ตามทีข่ อไปทุก ประการ และทรงกำ�หนดวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๗ เป็นวันประกอบพระราชพิธี คณะกรรมการฯ ได้เชิญนายรงภักดี (เจียร จารุจรณ) ให้เป็นผูป้ ระสิทธิป์ ระสาทวิชาแก่นาฏศิลปิน ทั้ง ๗ และเชิญนายหยัด ช้างทอง ครูอาวุโส ผู้เคย รับมอบท่ารำ�ในพระราชพิธคี รัง้ ก่อนมาเป็นผูฝ้ กึ ซ้อม รำ�นำ�แทนนายรงคภักดี ซึ่งอายุมากแล้วไม่สามารถ ทรงตัวยืนรำ�ได้เต็มที่ ส่วนท่ารำ�นั้นให้ศึกษาจาก ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำ�ไว้เมื่อครั้งพุทธศักราช ๒๕๐๖ ประกอบคำ�อธิบายของนายรงภักดี การฝึกซ้อม ท่ารำ�ได้กระทำ� ณ พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส รวม ๖ ครั้ง การกำ�หนดรายละเอียดของพระราชพิธี

14 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

ในครั้งแรกที่ประชุมร่วมระหว่างกรมศิลปากรกับ สำ�นักพระราชวัง เสนอให้ทำ�พิธีในแบบที่เคยปฏิบัติ มาเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๐๖ คือมีการบำ�เพ็ญกุศล ทางพุทธศาสนา พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์ในตอนเย็น แล้วถวายภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นวันประกอบ พระราชพิธีครอบฯ สถานที่ประกอบพิธีคือ ศาลา ดุสิดาลัย พระตำ�หนักจิตรลดารโหฐาน ครั้นเมื่อนำ� ความกราบบังคมทูลพระกรุณาแล้ว ทรงมีพระกระแส รั บ สั่ ง ว่ า พิ ธี ส งฆ์ ค วรเป็ น เรื่ อ งภายในของกรม ศิลปากร คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้จัดพิธีสงฆ์ใน วันพุธที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๗ พระอุโบสถ วัดบวรสถานสุทธาวาส โดยให้กองการสังคีต และ กองศิลปศึกษาร่วมกันดำ�เนินงาน ส่วนการพระราช พิธีในวันรุ่งขึ้น ณ ศาลาดุสิดาลัย กรมศิลปากร และ สำ�นักพระราชวังร่วมกันจัดเตรียม อนึ่ง ในการพระ ราชพิธีครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้กำ�หนดให้มีการ บันทึกเหตุการณ์ถา่ ยภาพ และถ่ายภาพยนตร์ไว้เป็น หลักฐานเพือ่ ศึกษาต่อไป โดยให้งานบันทึกเหตุการณ์ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ งานวัฒนธรรมและจารีต ประเพณี กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ และงาน เผยแพร่ สำ�นักงานเลขานุการ กรมศิลปากร ร่วมกัน ดำ�เนินการ นอกจากนีส้ ถานีโทรทัศน์สชี อ่ ง ๙ อสมท. ได้รว่ มถ่ายภาพยนตร์ เพือ่ จัดทำ�เป็นข่าวเผยแพร่ตอ่ ไปด้วย


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี องค์อัครราชูปถัมภกดนตรีไทย ทรงซอด้วง

จิตสัมผัส 15


หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ดุริยกวีแห่งสยามสมัย 16 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


การไหว้ครู หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

การไหว้ครูดนตรีของไทย ถือเป็นประเพณี มาแต่โบราณ ท่านทีเ่ ป็นบรมครูได้ตงั้ เป็นตำ�ราไว้เพือ่ ผูท้ จี่ ะเป็นนักดนตรีในรุน่ หลังจะได้ปฏิบตั ติ าม เหตุที่ จะเกิ ด พิ ธี ไ หว้ ค รู ขึ้ น ก็ เ พราะพวกนักดนตรีเชื่อว่ า เครื่องดนตรีไทยทุกสิ่ง เช่น ตะโพน ระนาด ฆ้อง ฯลฯ มีครูประจำ�อยู่ และเชื่อว่าพระวิษณุกรรม เป็น ผูป้ ระสิทธิป์ ระสาทให้เกิดขึน้ ต้องทำ�การเคารพบูชา อยู่เสมอจึงจะเป็นความเจริญแก่ตนเอง ไทยเราถือ มัน่ ในความกตัญญูกตเวที ผูท้ มี่ อี ปุ การคุณแก่ตนรอง มาจากบิดามารดาก็คอื ครูบาอาจารย์ผใู้ ห้ความเจริญ ในวิชาการต่างๆ ฉะนั้น การเคารพนับถือครูนั้นถือ กันเคร่งครัดมั่นคงมาก จะเห็นได้ว่าศิษย์รุ่นเก่าๆ ในสมัยโบราณเคารพนับถือครูจงรักภักดีเป็นอย่าง ยิ่งทั้งต่อหน้าและลับหลัง ถ้าได้ทำ�ให้ครูโกรธเคือง แล้วจะต้องเดือดร้อน หาทางที่จะทำ�ให้ครูหายโกรธ ด้วยวิธตี า่ งๆ เป็นต้นว่าขอสมาอภัยโทษทีไ่ ด้ลว่ งเกิน หรือประมาทพลาดพลั้งไปด้วยกายวจีใจ แม้ว่าครู ล่วงลับไปแล้ว ความเคารพนับถือยังไม่เสื่อมคลาย เมื่ อ ระลึ ก ถึ ง ครู ก็ ทำ � บุ ญ ทำ � ทานไป แต่ เชื่อ กั น แน่นแฟ้นว่าครูนน้ั ถึงล่วงลับไปแล้วก็ยงั ไม่ศนู ย์ไปจาก

ความจำ�ได้ หมายรู้ ยังคงอยู่ ฉะนัน้ จึงมีการเส้นสรวง ทำ � พิ ธี บู ช าครู เ ช่ น เดี ย วกั บ บู ช าเทวดาตามพิ ธี ไสยศาสตร์ การไหว้ครูนอกจากเป็นเครื่องแสดง ความจงรักภักดีแล้ว ยังเป็นการขอขมาโทษที่ได้ ประมาทไปโดยเจตนาหรือมิโดยเจตนา และถือว่าครู ได้อภัยในความผิดนั้นๆ แล้ว การไหว้ครูตามแบบ ของไทยมีอยู่ ๓ ภาค

ภาคที่ ๑ เป็นการไหว้ครูอย่างง่ายไม่ต้อง

มีพธิ รี ตี องใช้ส�ำ หรับผูเ้ ริม่ หัดดนตรี ผูท้ จี่ ะฝากตัวเป็น ศิษย์หาดอกไม้ธูปเทียนมาเป็นเครื่องคำ�นับครู (เช่น เดี ย วกั บ ผู้ ที่ จ ะบวชนำ � ดอกไม้ ธู ป เที ย นไปให้ อุปัชฌาย์) ครูก็นำ�ธูปเทียนนั้นจุดบูชาครูที่สมมติว่า เป็นเทวดา โดยว่าคาถาให้ศิษย์ว่าตาม แล้วก็จับมือ ศิษย์ให้ตเี ครือ่ งดนตรีตามทีป่ ระสงค์จะหัดนัน้ การหัด เรียนใช้เริ่มต้นด้วยวันพฤหัสบดี หรือวันอาทิตย์ ซึ่ง ถือว่าเป็นวันครู การที่ได้จุดธูปเทียนบูชาครู เทวดา ก็เพื่อจะขอให้มีความเฉลียวฉลาดในวิชาที่จะเรียน และเป็นการปฏิญาณตนว่าจะเป็นศิษย์ที่ดี มีความ เคารพครูผู้ฝึกสอนอยู่ทุกเมื่อ

จิตสัมผัส 17


พิธีไหว้ครู เมือ่ ศิษย์ได้หดั เพลงต่าง ๆ ตามทีไ่ ด้ก�ำ หนด ไว้จนครูเห็นว่ามีฝีมือพอที่จะออกงานได้ดีแล้ว ก็จะ ต้องทำ�พิธีไหว้ครู

ภาคที่ ๒ ต่อไปภาคนี้ใช้เฉพาะผู้ที่เป็น

ดนตรีแล้วพิธีตอนนี้มากกว่าภาคหนึ่ง คือศิษย์จะ ต้องหาเครื่องกระยาบวชสังเวย เพื่อเซ่นสรวงครู เทวดาด้วย เครื่องสังเวยที่จะต้องใช้มี ๑. ศรีษะสุกร ๑ ศรีษะ ๒. เป็ดสุกทั้งตัว ๓. ไก่สุกทั้งตัว ๔. บายศรีปากชาม ๑ คู่ ๕. ขนมต้มแดง ต้มขาว คันหลาว หูช้าง กล้วยสุก มะพร้าวอ่อน และผลไม้ตา่ ง ๆ ๖. สำ�รับคาว หวาน ๗. เหล้า ๘. ข้าวตอกดอกไม้ ธูปเทียน กระแจะ ๙. ผ้าขาว ขันล้างหน้า และขันทำ�น้�ำ มนต์ครู ๑๐. ผ้าสีชมพู ทำ�เป็นผ้าหน้าโขน ๑๑. เงินกำ�นน ๖ บาท

18 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

ของเหล่านี้ต้องเตรียมให้เสร็จก่อน ๓ โมง เช้า เวลาจะไหว้ครูตอ้ งจัดตัง้ เครือ่ งดนตรีให้เรียบร้อย ปูผา้ ขาวตัง้ เครือ่ งสังเวยต่างๆ และครูผทู้ จี่ ะประกอบ พิธีไหว้ครูก็จะได้ทำ�น้ำ�มนต์ครู และแจกธูปเทียนให้ แก่ศษิ ย์ บูชาคุณพระพุทธเจ้าตามจะอธิษฐาน แล้วจึง บูชาครูตามคาถาของครูจะได้บอกนำ�ให้ คาถาในพิธี นีม้ หี ลายบท มีอา่ นโองการเชิญพระอิศวร พระนารายณ์ พระวิษณุกรรม เชิญพระฤาษี และเทวดา ทั้ง ๙ องค์ เชิญพระประคนธรรพซึ่งเป็นบรมครูใหญ่ และครู ที่ประจำ� ระนาด ฆ้อง กลอง ตะโพน ปี่ มาประชุม พร้ อ มกั น ขอศี ล ขอพรและขอขมาอภั ย ที่ ไ ด้ ผิ ด ประมาทพลาดพลั้งด้วยกายวจีใจ เสร็จจากการขอ ศีลขอพรแล้ว ก็ถวายเครื่องสังเวยที่เตรียมไว้ โดยมี คาถากำ�กับอีก เมื่อจะลาเครื่องสังเวยก็ต้องมีคาถา และต้องแบ่งเครื่องสังเวยใส่ยอดตองนำ�ไปให้แก่ พาหนะของครู ที่ อ ยู่ ตามบั น ไดของทิ ศ ต่ า งๆ อี ก ครูผอู้ า่ นโองการ โปรยข้าวตอกดอกไม้และประพรม น้�ำ มนต์ตามเครือ่ งดนตรี เจิมกระแจะและผูกผ้าหน้า โขนใหม่ และต้องประพรมน้�ำ มนต์และเจิมหน้าให้แก่ ศิษย์ดว้ ย เวลาเจิมหน้าก็มคี าถาอีกต่างหากเป็นเสร็จ พิธี (พิธีนี้ศิษย์จะรวมกันหลายคนหาเครื่องสังเวย รวมไหว้พร้อมกันทีเดียวก็ได้)

ภาคที่ ๓ เป็นพิธีขั้นสุดท้าย คือการครอบ

พิธนี ที้ �ำ เฉพาะตัวผูท้ เี่ รียนเพลงชัน้ สูงและผูท้ ตี่ อ้ งการ จะเป็นผู้ฝึกสอนศิษย์ต่อไป เป็นพิธีขอกรรมสิทธิ์ต่อ ครู ผูท้ จี่ ะขอครอบต้องจัดหาเครือ่ งสังเวยเหมือนพิธี ภาคที่ ๒ และทำ�พิธเี หมือนกัน แต่ในตอนท้ายพิธคี รู จะเรียกศิษย์มาทำ�พิธีครอบ คือให้ศิษย์ถือเครื่อง ดนตรีทุกชนิดที่ทำ�ได้เข้ามาหาครู ศิษย์กราบลง ๓ ครั้ง ครูว่าคาถาบูชาครูเทวดาให้ศิษย์ว่าตาม ครูส่ง เครือ่ งดนตรีเหล่านัน้ ให้แก่ศษิ ย์ และให้พรให้ศษิ ย์นนั้ เจริญรุ่งเรืองเป็นครูผู้อื่นได้ต่อไป ผู้ที่จะได้รับครอบ นีต้ อ้ งเป็นผูม้ อี ายุอนั สมควร (ไม่ต�่ำ กว่า ๒๕ ปี) พอที่


จะสัง่ สอนผูอ้ นื่ ได้ ครูจงึ จะครอบให้ ถ้าผูน้ นั้ ต้องการ จะเป็นหัวหน้าในการประกอบพิธีไหว้ครู ก็จะต้อง ท่องตำ�ราไหว้ครูจนขึน้ ใจ และขอกรรมสิทธิต์ อ่ ครู ครู ก็จะประสิทธิป์ ระสาทให้ แต่ศษิ ย์นนั้ จะต้องถือมัน่ ไว้ ว่าตราบใดที่ครูของตนยังมีชีวิตอยู่ สามารถจะไป ทำ�การไหว้ครูตามที่ต่างๆ ได้ ศิษย์นั้นจะไม่ยอมทำ� พิธไี หว้ครูให้แก่ผอู้ นื่ ต้องให้ครูของตนเป็นผูป้ ระกอบ พิธีนั้น เว้นไว้ แต่ครูจะอนุญาตให้ตนทำ�แทนจึงจะ ประกอบพิธีนั้นได้

อย่างมาก ศิษย์ที่ดีจะไม่กล้าทรยศต่อครูของตนเลย ๒. เป็นการขออภัยโทษในระหว่ างครูกับ ศิษย์ แม้วา่ จะมีขอ้ ผิดพ้องหมองใจ ก็เป็นอันให้อภัย ซึ่งกันและกันเมื่อศิษย์ผู้นั้นมาทำ�การเคารพในพิธี ไหว้ครู ๓. เป็นการสมานความสามัคคีในระหว่าง เพื่อนศิษย์ด้วยกัน ๔. ปลุกความเชื่อมั่น มีจิตใจเข้มแข็งเชื่อภูมิ ความรู้และความสามารถของตน ฯลฯ

การไหว้ครู อาจมีบางท่านเห็นเป็นการเชื่อ อย่างเหลวไหล แต่พวกนัดดนตรีทกุ คนทราบดีถงึ ผล ของการไหว้ครู เพราะ ๑. เป็ น การประกั น ความยึ ด มั่ น ในความ เคารพ จงรักภักดีต่อครู ได้ผลในการอบรมจรรยา

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ การไหว้ครูดนตรีไทย สำ�หรับนักดนตรีจงึ ไม่ควรละเว้น ถ้าปฏิบตั ไิ ด้เพียงปี ละครัง้ ก็จะทำ�ให้ผปู้ ฏิบตั นิ นั้ มีความสบายใจ มีความ เจริญรุ่งเรืองในกิจการงานของตนเป็นที่นิยมนับถือ ของคนทั้งหลาย

(จากซ้ายไปขวา) ๑. หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ๒. พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธ์ุ ๔. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ๕. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ๖. พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ๗. จางวางทั่ว พาทยโกศล จิตสัมผัส 19


ประธานผู้ประกอบพิธีอ่านโองการไหว้ครู ครูมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทย พุทธศักราช ๒๕๒๘ 20 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


การไหว้ครูนาฏศิลป์ไทย ครูมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทย

ในด้านนาฏศิลป์และดนตรี พิธไี หว้ครูถอื เป็น เรื่องสำ�คัญมาก เพราะนอกจากจะมีครูที่เป็นมนุษย์ ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และตายไปแล้ว เชื่อกันว่ายังมีครูที่ เป็นเทพเจ้าต่างๆ ซึ่งเป็นผู้ให้กำ�เนิดสรรพวิชาการ ต่างๆ ในอุปเวทตำ�ราขับร้องดนตรีและนาฏยศาสตร์ นั้น พระนารทฤษี (นารอท) เป็นผู้ให้กำ�เนิดและได้ แต่งตำ�ราให้ไว้เป็นแบบฉบับจึงมีพิธีกรรมบูชาพระ นารทฤษี หรือในธนุรเวทซึง่ เป็นตำ�ราว่าด้วยวิธยี งิ ธนู และยุทธศาสตร์และการใช้อาวุธต่างๆ มีพระขันธ กุมารอีกพระองค์หนึ่งในสถานปัตยเวทซึ่งกล่าวถึง วิ ช าการก่ อ สร้ า งซึ่ ง มี พ ระวิ ษ ณุ ก รรม ในตำ � นาน นาฏศิ ล ป์ พระอิ ศ วร พระพรหม พระนารายณ์ มี ค วามสั ม พั น ธ์ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การให้ กำ � เนิ ด วิ ช า นาฏศิลป์ จึงต้องมีพิธีไหว้เทพเจ้าเหล่านี้ เพราะถือ กันว่าเทพเจ้าเหล่านั้นเราบูชาท่าน ท่านก็บูชาตอบ เรานับถือท่าน ท่านก็นับถือตอบ ซึ่งการไหว้ครูนาฏศิลปและดนตรีไทยนั้น เป็นพิธใี หญ่ มีพธิ กี รรมทีผ่ ดิ แผกไปจากพิธกี รรมไหว้ ครู โ ดยทั่ ว ไป จึ ง มี ผู้ ป ระกอบพิ ธี นี้ ไ ด้ น้ อ ยท่ า น ในนาฏยศาสตร์บง่ บอกไว้วา่ ครูละครผูท้ �ำ พิธบี ชู าจะ

ต้องเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญในศาสตร์ สุภาพเรียบร้อย มีกาย ใจสะอาด มีความสงบ เพราะมีขนั้ ตอนและพิธกี รรม ทีซ่ บั ซ้อน เพือ่ ให้เกิดความศักดิส์ ทิ ธิน์ า่ เกรงขามและ เป็นที่ยอมรับอย่างจริงใจ การครอบโขนละครนั้นเป็นสิ่งที่นาฏศิลปิน ถือสำ�คัญมาก เพราะเชื่อมั่นว่าผู้ที่เป็นศิลปินโขน ละคร ถ้าใครไม่เคยผ่านพิธกี ารครอบแล้ว เมือ่ แสดง โขน-ละครก็จะเป็นเสนียดจัญไร อาจประสบภัยพิบตั ิ นานาประการ

ครูมนตรี ตราโมท จิตสัมผัส 21


ผู้เป็นศิลปินมีความศรัทธาและมีวินัยอันพึง ปฏิบตั ิ สืบทอดกันมา หากความศรัทธาเสือ่ มลงศิลปะ ก็ย่อมเสื่อมลงด้วยเป็นสัจธรรม พิธไี หว้ครูโขน-ละครและการครอบจะมีปลี ะ ครั้ง ผู้ที่จะขอเข้ารับการครอบโขนละครได้ต้องเป็น ผู้ที่ครูเห็นว่ามีความรู้พอที่จะใช้การได้ในการแสดง โขนละคร ถ้าเป็นตัวพระหรือนาง ต้องรำ�เพลงช้า เพลงเร็ว เชิด เสมอได้ และรำ�เพลงหน้าพาทย์ เช่น ตระนิมิต ตระบองกัน และอื่นๆ ได้อีกบ้าง หากเป็น ยั ก ษ์ ห รื อ ลิ ง ก็ ต้ อ งรำ � แม่ ท่ า ยั ก ษ์ ห รื อ ลิ ง ได้ อย่ า ง น้อยหนึ่งแม่ท่า เชิด เสมอ และรำ�หน้าพาทย์ เช่น คุกพาทย์ รัวสามลาได้ เป็นการครอบชั่วคราวให้ แสดงได้ในขณะนั้น หากคิดจะแสดงต่อไปอีกก็ต้อง ไปครอบในพิธีไหว้ครูใหญ่ประจำ�ปี ผู้ที่ได้ครอบโขนละครแล้วนั้นจะนับถือ บูชา ครู และระลึกถึงคุณครูไปตลอด หากได้ยนิ เสียงเพลง หน้าพาทย์ไม่ว่าจะเป็นเพลงใด ในที่ใดและครั้งใด ก็ตามจะต้องยกมือขึ้นไหว้ครูและระลึกถึงคุณครูทุก ครั้ง ครู ผู้ ที่ จ ะครอบโขนละครได้ นั้ น มี อ ยู่ ส อง ประเภท คือ ผู้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ครอบพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั้น นาฏศิลปินถือว่า ทรงอยู่ในที่สูงสุดของศิลป วิทยาการ หากทรงครอบพระราชทาน ผู้ใดแล้วก็ ถือว่าคุ้มกันได้หมดผู้ที่ได้รับครอบพระราชทานแล้ว มีสิทธิ์ครอบผู้อื่นต่อไปได้ ในสมั ย รั ช การที่ ๖ ผู้ ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวทรงครอบ คือเจ้าพระยารามราฆพ พระยาอนิรทุ ธเทวา พระยานเรนทรราชา เวลาทีท่ า่ น เหล่ า นี้ อ อกแสดงโขนหลวง จะสวมเสื้ อ ปั ก พระ

22 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

ปรมาภิไธยย่อ วปร. เต็มตัว เจ้าพระยารามราฆพได้ เคยประกอบพิธคี รอบหน้าให้ครูอาคม สายาคม เมือ่ ครั้งแสดงโขนร่วมกัน เป็นการถ่ายทอดที่ท่านได้รับ พระราชทานครอบมาจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ส่วนพระยาอนิรุทธเทวานั้น ท่านได้ ครอบโขนละครของท่านเองมาตลอด

คุณสมบัติของครูผู้เป็นประธาน ประกอบพิธีไหว้ครูโขน-ละคร

เป็นบุรุษเป็นผู้มีภูมิความรู้ในวิชานาฏศิลป์ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เคยผ่านการแสดงเป็นตัว นายโรง ในการแสดงโขน คือตัวพระราม หรือพระ ลักษณ์ มีชอื่ เสียงในการแสดงโขน-ละคร จนคนทัว่ ไป ยกย่องเป็นครูอาจารย์ หากหาไม่ได้ผู้ที่ฝึกหัดเป็น ตัวยักษ์ก็สามารถทำ�พิธีนี้ได้ส่วนตัวลิงนั้นไม่นิยม เพราะถือว่าฝึกหัดเป็นสัตว์เดรัจฉาน จะมาครอบให้ คนไม่ได้ สำ�หรับผูป้ ระกอบพิธตี อ้ งเป็นผูม้ บี คุ ลิกภาพ จริยาวัตร อุปนิสยั ใจคอ มนุษยสัมพันธ์ และคุณธรรม เป็นที่เคารพยกย่องศรัทธา เชื่อถือของสังคมผู้เข้า ร่วมในพิธีไหว้ครูนั้นๆ และต้องบวชเรียนแล้ว เป็น ผู้ที่ได้รับมอบหมายสิทธิและหน้าที่ให้เป็นประธาน ประกอบพิธไี หว้ครูโดยพระบรมราชโองการ หรือจาก การประสิ ท ธิ์ ป ระสาทจากครู ผู้ เ คยเป็ น ประธาน ประกอบพิธีมาแล้วให้เป็นผู้สืบทอด โดยได้รับมอบ ตำ�ราไหว้ครู (สมุดข่อย) เครื่องโรง และได้รับการ ครอบครูนาฏศิลป์จากครูผู้ใหญ่

รายชื่อครูผู้ทำ�หน้าที่ครอบโขน-ละคร

ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการจากพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน • ครูเกษ พระราม สมัย ร.๓ –ต้น ร.๔ • ครูแผน สมัย ร.๔-ร.๕ • พระยานัฏกานุรักษ์(ทองดี สุวรรณภารต) สมัย ร.๕-ร.๖


• หลวงวิลาศวงงาม(หร่�ำ อินทรนัฏ) สมัย ร.๘ - ร. ๙ • ครูอาคม สายาคม สมัย ปัจจุบนั (ถึงแก่ กรรม) นอกจากนีย้ งั มีศลิ ปินทีไ่ ด้รบั การถ่ายทอดจาก บรรดาครูแต่โบราณอีกมากมายหลายท่าน และยังมี ศิลปินโขนสมัครเล่นซึ่งได้รับพระราชทานครอบจาก รัชกาลที่ ๖ อีกคือ เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟือ้ พึง่ บุญ) พระยาอนิรทุ ธเทวา (ม.ล.ฟืน้ พึง่ บุญ) พระยา นเรนทราชา (ม.ล.อุรา คเนจร) พระยาสุนทรเทพระบำ� (เปลีย่ น สุนทรนัฏ)

พิธแี ต่งตัง้ ประธานประกอบพิธไี หว้ครู นาฏศิลป์โขน-ละคร

สืบเนื่องจากที่ครูอาคม สายาคม ประธาน ประกอบพิธไี หว้ครูได้ถงึ แก่กรรมโดยมิได้ท�ำ การมอบ หน้าทีใ่ ห้ผหู้ นึง่ ผูใ้ ดทำ�ให้ขาดผูเ้ ป็นประธาน ดังกล่าว เป็นเวลานานพอควร กรมศิลปากรได้ตระหนักถึง ความสำ�คัญในการนี้ท่จี ะมีผลกระทบกับศิลปินและ วงการด้านนาฏศิลป์โขน-ละครมากเนือ่ งจากขาดผูท้ ่ี จะทำ � หน้ า ที่ ค รอบแก่ บ รรดาศิ ษ ย์ น าฏศิ ล ป์ ใ ห้ ไ ด้ สืบสานศิลปวัฒนธรรมอันสูงค่านีต้ ลอดไป กรมศิลปากรจึงได้ดำ�เนินการแต่งตั้งคณะ กรรมการผูท้ รงคุณวุฒดิ า้ นนาฏศิลป์ - ดุรยิ างคศิลป์ สรรหาศิลปินของกรมศิลปากร ที่จะทำ�หน้าที่เป็น ประธานประกอบพิ ธีไ หว้ ค รู น าฏศิ ล ป์ โขน-ละคร

จำ�นวน ๕ คน แล้วกราบบังคมทูลขอพระราชทานแต่งตัง้ ผู้เป็นประธานฯ ตามโบราณราชประเพณีพระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู่หัว จึ ง ทรงพระมหากรุ ณ าธิ คุณ โปรดเกล้าฯ ให้จดั พิธพี ระราชทานครอบแต่งตัง้ ผูเ้ ป็น ประธานประกอบพิธไี หว้ครูโขน-ละคร โดยนายทวีศกั ดิ์ เสนาณรงค์ อธิบดีกรมศิลปากรนำ�บุคคลทีไ่ ด้รบั การ คัดเลือกนั้นเข้ าเผ้ ารับพระราชทานครอบแต่งตั้ง ผูเ้ ป็นประธานประกอบพิธไี หว้ครูโขน-ละคร ณ ศาลา ดุสดิ าลัย พระตำ�หนักจิตรลดารโหฐาน ในวันพฤหัสบดี ที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๒๗ ผูท้ ไี่ ด้รบั พระราชทานครอบฯ ในครัง้ นีม้ ี ๕ ท่าน คือ นายธีรยุทธ ยวงศรี นายธงไชย โพธยารมย์ นายทองสุก ทองหลิม นายอุดม อังศุธร นายสมบัติ แก้วสุจริต ต่อมานายธงไชย โพธยารมย์ ได้ท�ำ พิธคี รอบ แต่งตัง้ ผูเ้ ป็นประธานประกอบ พิธไี หว้ครู ให้แก่ นาย เผด็จ พลับกระสงค์ นาฏศิลปิน ๗ ว. กลุ่มนาฏศิลป์ ส่วนการแสดง สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ และนาย อุดม อังศุธร ได้ทำ�พิธีครอบแต่งตั้งผู้เป็นประธาน ประกอบพิ ธี ไ หว้ ค รู ใ ห้ แ ก่ ข้ า ราชการครู วิ ท ยาลั ย นาฏศิลป ๓ คน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๒ ณ โรงละครแห่งชาติกรุงเทพมหานคร คือ • นายวีระชัย มีบ่อทรัพย์ ครูชำ�นาญการ พิเศษ • นายไพฑูรย์ เข้มแข็ง ครูช�ำ นาญการพิเศษ • ผศ.ดร.ศุ ภ ชั ย จั น ทร์ สุ ว รรณ์ คณบดี คณะศิลปนาฏดุริยางค์

จิตสัมผัส 23


ดุริยเทพ

ความกตัญญูและกตเวที เป็นคุณธรรมอัน สำ�คัญอย่างหนึง่ ซึง่ ได้ฝงั แน่นอยูใ่ นจิตใจของคนไทย เป็นประจำ�มาตัง้ แต่โบราณกาลมาจนปัจจุบนั นี้ และ ต่อไปเบือ้ งหน้าก็จะไม่มวี นั เสือ่ มคลาย บุคคลใดเป็น บุพการีมีคุณมาก่อนเป็นต้นว่า บิดา มารดา ครู อาจารย์ เจ้าขุนมูลนาย หรือญาติมิตรทั้งปวง ที่ได้ กระทำ�คุณแก่ตนมาแล้ว ชาวไทยเราจะต้องระลึกถึง คุณ และเมือ่ มีโอกาสก็จะต้องตอบแทนบุณคุณเสมอ ในวันขึ้นปีใหม่เรานำ�เสื้อผ้าและน้ำ�หอมไปรดน้ำ� บิดา มารดา ญาติผใู้ หญ่ และผูท้ เ่ี คารพนับคือ อันได้ มี บุ ญ คุ ณ มาแล้ ว เพื่ อ ขอพรต่ อ ท่ า นผู้ ใ หญ่ นั้ น ๆ เป็นการกระทำ�ด้วยจิตกตัญญูและกตเวทีนั้นเอง ศิลปินไม่ว่าช่างเขียน ช่างปั้น นักดนตรี และละคร จะต้องกระทำ�พิธไี หว้ครูเป็นประจำ�ทุกๆ ปี นีก่ ด็ ว้ ย ความมัน่ คงในความกตัญญูกตเวที แต่การไหว้ครูของ ศิลปินนี้ ไหว้ทง้ั ครูทเ่ี ป็นมนุษย์ ซึง่ มีชวี ติ อยูแ่ ละครูท่ี ได้ตายไปแล้ว ตลอดจนกระทัง่ เทพเจ้าซึง่ ตามคตินยิ ม ถือว่าเป็นครูบาอาจารย์ และเป็นผู้มีอุปการะคุณ แก่ศลิ ปินทีต่ นเรียนรูน้ น้ั ด้วย การไหว้ครูทไี่ ด้ตายไปแล้วนัน้ จะเห็นได้จาก การขับเสภาเป็นตัวอย่าง ก่อนที่คนขับเสภาจะเริ่ม 24 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

มนตรี ตราโมท

ขับเป็นเรือ่ งราวผูข้ บั ก็จะต้องขับไหว้ครูเสียก่อน และ ในคำ�ไหว้ครูนเี้ อง เมือ่ ได้กล่าวนมัสการพระรัตนตรัย อันเป็นที่เคารพสูงสุดของพวกเราชาวพุทธมามกะ แล้ว ก็ขับคำ�กล่าวไหว้ครูต่าง ๆ ซึ่งเป็นมนุษย์และ ได้ตายไปแล้วบ้าง ยังมีชีวิตอยู่บ้ างดังบทไหว้ครู ของเก่าซึ่งแต่งในสมัยรัชกาลที่ ๒ ว่าดังนี้ ที่นี้จะไหว้ครูตาสน เป็นนายประตูครูคนทุกแหล่งหล้า ไหว้ครูมีช่างประทัดถัดลงมา ครูเพ็งเก่งว่าข้างสุพรรณ จะไหว้ครูตาเหล่ชอบเฮฮา พันรักษาราตรีดีขยัน ตาทองอยู่ครูละคอนกลอนสำ�คัญ ตาหลวงสุวรรณรองศรีที่บรรลัย กลอนทีก่ ล่าวมานี้ เป็นการไหว้ครูทช่ี �ำ นิช�ำ นาญ ในการขับเสภาโดยตรง แต่การขับเสภาย่อมต้องมี ปีพ่ าทย์เป็นอุปกรณ์ทสี่ �ำ คัญ จึงได้ไหว้ตลอดไปจนถึง ครูปี่พาทย์ที่มีชื่อเสียง และในขณะที่แต่งกลอนนี้ ก็คงจะยังมีชีวิตอยู่ โดยมากกลอนไว้ครูทางปี่พาทย์ นั้น ว่าดังนี้


ที่นี้จะไหว้ครูปี่พาทย์ ฆ้องระนาดลือดีปี่ไฉน ทั้งครูแก้วครูพักเป็นหลักชัย ครูทองอินนั่นแหละใครไม่เทียมทัน มือก็ตอดหนอดหนักขยักขย่อน ตาพูนมอญมิใช่ชั่วตัวขยัน ครูมีแขกคนนี้เขาดีครัน เป่าทะยอยลอยลั่นบรรเลงลือ รับตาเกดปรอดยอดเสภา ทั้งครูน้อยเจรจาตนนับถือ อีกครูแจ้วแต่งอักษรขจรลือ ครูอ่อนว่าพิมพ์ระบือชื่อขจร ส่ ว นการไหว้ เ ทพเจ้ า นั้ น ศิ ล ปิ น ทั้ ง หลาย เคารพนับถือเทพเจ้าผูท้ ป่ี รากฏตามตำ�นาน หรือคัมภีร์ ใดคัมภีร์หนึ่งซึ่งกล่าวไว้ว่าเป็นผู้สร้าง หรือเป็นผู้มี อุปการคุณแก่ศิลปะที่ตนเรียน โดยถือเสมือนว่า เป็นบุพการีอย่างแท้จริง ด้วยเหมือนกัน จะอย่างไรก็ตาม การทีจ่ ะไหว้เทพเจ้าองค์ใด ก็ดี หรือจะเคารพนับถือว่าผูใ้ ดเป็นบุพการีบคุ คลก็ดี ก็ควรที่จะได้รู้เรื่องราวของเทพเจ้าหรือบุคคลนั้น ๆ ให้ถอ่ งแท้วา่ มีพฤติการณ์อนั เป็นอุปการคุณอย่างใด บ้าง เราจึงได้เคารพนับถือว่าเป็นบุพการีของเราเมือ่ ได้ ท ราบประวั ติ ห รื อ ตำ � นานของท่ า นแล้ ว ความ เคารพนับถือที่จะน้อมไหว้ก็จะแน่นแฟ้น ความรู้สึก กตัญญู และการทีจ่ ะกระทำ�กตเวทีกจ็ ะได้มดี วงใจอัน ใสบริสุทธิ์ แต่ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะเทพเจ้าแห่งดุริ ยางคดนตรีตามที่ได้ให้เป็นชื่อเรื่องไว้ว่า “ดุริยเทพ” เท่านั้น การไหว้ครูของดุริย างคศิลปินนั้น ทำ�กัน อย่างมีพิธีการมากมาย มีทั้งที่ตั้งพระพุทธรูป ตั้ง เครื่องดุริยางคดนตรี และเครื่องกระยาบวชสังเวย

พร้อมมูล พิธีการที่สำ�คัญ ก็คือ ต้องมีครูบาอาจารย์ ผูท้ รงคุณวุฒเิ ป็นประธานประกอบพิธี กล่าวนำ�บูชา พระรัตนตรัย และโองการบูชาเทพเจ้าผู้เป็นบรมครู ในทางดุริยางคศิลป ซึ่งในโองการคำ�ไหว้ครูนี้ มีอยู่ ตอนหนึ่งกล่าวนามเทพเจ้าว่า “พระวิศุกรรมผู้ทรง ฤทธิ์ ท่านประสิทธิ์สาปสรรค์ เครื่องเล่นสิ่งสารพัน ในใต้หล้า* อีกทัง้ ท่านเทวดาปัญจสีขร พระกรเธอถือ พิ ณ ดี ด ดั ง เสนาะสนั่ น พระปรคนธรรพพระครู เฒ่า......ฯ” นอกจากนี้ ก็มกี ล่าวถึงพระอิศวรและพระ นารายณ์ ซึ่งเป็นพระผู้เป็นเจ้ าที่มักจะได้รับการ เคารพบูชาไม่ว่าในพิธีใด เพราะฉะนัน้ เมือ่ ดูตามโองการไหว้ครูนแี้ ล้ว ก็จะเห็นได้ว่า ดุริยเทพ หรือเทพเจ้าแห่งดุริยางค ดนตรีนี้ มีอยู่ ๓องค์ คือ พระวิศกุ รรม พระปัญจสีขร และพระปรคนธรรพ

พระวิศุกรรม

พระวิศุกรรมนี้ เราเรียกกันต่างๆ เช่น พระ วิศวกรรมบ้าง พระวิษณุกรรมบ้าง พระพิษณุกรรม บ้าง พระเพชรฉลูกรรมบ้าง แต่จะเรียกอย่างไรนั้น ไม่เป็นสิ่งสำ�คัญในเมื่อเรามีจิตมุ่งที่จะไหว้เทพเจ้า แห่งดุริยางค์องค์นั้น เทพเจ้าองค์นี้ ตามคติของพราหมณ์ ถือว่า เป็นนายช่างใหญ่ของเทวดา แต่ถ้าจะกล่าวตาม นิยายทีไ่ ด้เล่าสืบกันมาก็มอี ยูว่ า่ ในครัง้ กระโน้น พวก ชาวเมืองมนุษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะร้องจะเล่นหัว อะไรกั น ก็ ไ ม่ เ ป็ น ระเบี ย บ มี ถ้ อ ยคำ � หยาบโลน ปราศจากจังหวะจะโคนทุกประการ เหตุอนั นี้ ได้รอ้ น ขึน้ ไปถึงพระอินทร์ ต้องมีเทวโองการสัง่ ให้พระวิษณุ กรรมลงมาจัดการ เมื่อพระวิษณุกรรมได้รับเทว โองการแล้ว จึงแปลงกายเป็นคนชรา ลงมาสั่งสอน เด็กๆ และชาวเมือง ให้รู้จักร้อง รู้จักเล่นอย่างเป็น

*คำ�ว่า หล้า ซึ่งแปลว่า แผ่นดิน ในสมัยโบราณ บางแห่งก็ใช้หมายถึงฟ้า อย่างในกรณีนี้ จิตสัมผัส 25


ระเบียบเรียบร้อย เสร็จแล้วจึงกลับไปสู่สวรรค์ ฝ่าย ข้างเมืองมนุษย์ ก็ได้ถือเอาแบบแผนอันได้จากพระ วิษณุกรรมนั้น เป็นหลักสืบต่อกันมา นิ ย ายเรื่ อ งนี้ เปโมราได้ แ ต่ ง เป็ น บทร้ อ ย กรองไว้ ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเป็นกาพย์ อย่างหนึ่ง เป็นกลอนบทละครเปโมราผู้นี้เป็นกวีรุ่นเก่า ชอบ แต่งหนังสือชนิดที่ขบขันโลดโผน มีปฏิภาณว่องไว การที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า เปโมรานี้ก็เนื่องมาจาก ท่านผูน้ ชี้ อื่ ว่าโมรา เป็นทหารมหาดเล็ก มียศ เป็นเป ซายัน (เทียบชั้นจ่านายสิบ) บทร้อยกรองเรื่องพระ วิษณุกรรมสอนเด็กชาวเมืองมนุษย์นี้ปรากฏตาม โคลงบางแผนกว่า แต่งเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๑ ค่ำ� เดือน ๘ ปีวอกฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖ ซึ่งตรงกับวัน ที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ ดังจะได้คัดบทร้อย กรองทีเ่ ป็นกาพย์มาให้ทา่ นเห็นฝีปากของเปโมราต่อ ไปนี้ ๑๔

ปางอินทรเทพยสถิต ดุสิตมิ่งพิมานสวรรค์ เคยอาสนทิพยบคัน ก็ระคายธุลีเคือง จึงจักษุส่องอุปติเหตุ ก็ประจักษ์ประชาเมือง ฝูงชนประกอบพจนเนือง ปะหระถ้อยบถูกทาง เล่นโขนกระโจนประดุจลิง ก็สนุกนิไปพลาง ร้องลำ�บทมีเสนาะระคาง คติเพลงบกินกัน ทารกจะเล่นก็สบั ประตน บมิกลจะกล่าวขัน รำ�เล่นบเป็นธรรม์ ดำ�ริแล้วก็ตรัสหา สั่งเทวท้าววิษณุกรรม์ ประสิทธิ์ประสาทมา ท่านจงจรัลนฤมิกา ยคะคล้ายชราชน สงเคราะห์มนุษย์บรุ ษุ โล- กยเหล่าตรุณสกล สอนให้ประดิษฐ์พจนชน เสนาะชอบประกอบเพลง สั่งเสร็จเสด็จทิพพิมาณ ทวารหับผทมเขลง กับองค์มเหสิวรเพ็ง สิริพักตรพึงชม บัดนัน้ พระพิษณุกรรมสดับ ก็ประนตประนมคม

26 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

สำ�แดงระเห็จประดุจลม สีร่ ม่ พระไทรรุกขประเทศ ร่ายเวทย์ประสิทธิวรมนต์ เป็นคนชราพิรุธร่าง เห็นเด็กบเลี้ยงนิกรควาย จึงกล่าวภิปรายพจนถาม ฤาชอบคะนองดุจทโมน มาลุงจะเล่นอุตริร้อง ทำ�นองเสนาะก็อลเวง กูเคยคะนองขณะครุณ เพลงใดจะเล่นตละระบำ� ๒๘

ก็ตระบัดไผทดล พนแนวนิคมชน นฤมิตสกนธ์กลาย กรกุมคทาผาย ปะหระเล่นสนุกโลน นินะเจ้าจะออกโขน ก็จะช่วยประดิษฐ์เพลง ก็สนุกนิคื้นเครง ผิจะเต้นจะร้องรำ� และประดิษฐ์ประดับลำ� ก็เสนาะสนุกดี

บัดนั้นฝูงเด็ก ใหญ่น้อยจ้อยเล็ก ฟังเฒ่าพาที ต่างวิ่งชิงแย่ง แข่งขันจรลี คุณตามานี่ ข้าเล่นด้วยคน จะเล่นเป็นไฉน จะช่วยสอนให้ ช้าก่อนตามกล ยัดเยียดเบียดมา ลุงตาปู่ป่น ชุลมุนวุ่นวน ล้อมรอบชอบใจ ฝ่ายท่านครูเฒ่า เห็นเด็กรุกเร้า รายเรืองเคียงไสว เด็กเอ๋ยจงจำ� ถ้อยคำ�กูไป หลายอย่างทางไข ทำ�นองคล้องกัน มีทั้งเต้นรำ� ไล่หาท่าทำ� ต่างต่างทางขัน ร้องเร่เห่กล่อม นั่งล้อมแจจัน เพลงขับรับพัน หลายลำ�ทำ�นอง ครูเฒ่าจึงสอน เด็กเล็กสลอน เล่นตามลำ�พอง ที่มันชอบโลน โลดโผนตามคลอง ช่วงชัยไล่จ้อง จับคว้าหากัน บ้างเข้าแม่ศรี เล่นซุ่มมรตี จ้ำ�จี้คำ�ขัน บ้างร้องจิงโจ้ เล่นโล้หลายพรรค์ กล่อมขับรับพลัน หลายรอบชอบที ต่างทำ�จำ�ได้ พร้อมพรักรักใคร่ เล่นสนุกคลุกคลี ท่านครูผู้เฒ่า บอกเล่าตามมี จบสิ้นยินดี ตามคำ�อัมรินทร์


จึงว่าเด็กเอ๋ย เองอย่างลืมเลย ลืมไว้ใจถวิล สอนต่อกันไป จำ�ใจอาจินต์ จำ�นงจงยิน เยี่ยงอย่างทางซน สำ�หรับทารก ผู้ใหญ่ไม่รก ชูเชิดเกิดผล ใช่เป็นประโยชน์ ใช่โทษจักปน เล่นเป็นกังวล แก้รำ�คาญใจ พระพิษณุกรรม์ สอนเด็กทุกพรรค์ ทุกสิ่งคำ�ไข สืบข้อต่อกัน ทุวันนี้ไป ถ้าใครสงสัย ไปถามท่านดู ท่านสอนเด็กเล็ก ยูรยาตร์คลาดแคล้ว เหาะไปสิงสู่ พิมานไกรลาศ ปราสาทเฟื่องฟู เดิมท่านเป็นครู เท็จจริงช่างเอย ส่วนบทร้อยกรองที่เป็นกลอนบทละครนั้น เปโมราได้แต่งอย่างตลบขบขันโลดโผนมาก แต่ถา้ จะ คัดมาไว้ในที่นี้ด้วย ก็จะทำ�ให้เยิ่นเย้อยืดยาดไป จึงได้เว้นเสียและในทีน่ กี้ ม็ คี วามประสงค์แต่เพียงจะ อ้างนิยาย ทีว่ า่ พระวิศกุ รรมมาสัง่ สอนชาวเมืองมนุษย์ ให้ รู้ จั ก ร้ อ งรำ � ทำ � เพลงให้ ถู ก ต้ อ งและมี ร ะเบี ย บ อันเป็นต้นทางให้เจริญวัฒนาการต่อ ๆ มาเท่านั้น นิยายเรือ่ งพระวิศกุ รรม หรือพระวิษณุกรรม มาสอนชาวเมืองมนุษย์ ให้รู้จักร้องรำ�ทำ�เพลงนี้ คล้ายคลึงกับเรือ่ งในพงศาวดารลานช้างตอนหนึง่ ใน หนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑ พงศาวดารลาน ช้าง ตอนพระยาแถนหลวง ให้ขนุ บรมราชาลงมาเป็น ท้าวพระยาในกลุ่มฟ้า กล่าวไว้ว่า “เมื่อนั้น พระยาแถนเล่าถามว่า เครื่องอัน จักเล่นจักหัว แลเสพรำ�คำ�ขับทั้งมวลนั้นยังได้แต่ง แปงไว้แก่เขาไปยามนั้นแถนแพนจึงว่า เครื่องฝูงนั้น ข้อยไป่ได้แต่แปงกายเมือ่ นัน้ พระยาแถนหลวงจึงให้ ศรีคันธัพพเทวดา ลาลงมาบอกสอนคนทั้งหลายให้

เฮ็ดฆ้องกลองกรับเจแวงปี่พาทย์พิณ เพียะ เพลง กลอน ได้สอนให้ดนตรีทั้งมวล แลเล่าบอกส่วนครู อันขับฟ้อนฮ่อนนะสิ่งสว่าง ระเมงระมางทั้งมวล ถ้วนแล้ว ก็จึงมื้อเล่าเมื้อไหว้แก่พระยาแถนหลวง ชุ ประการหั้นแล” พระยามแถน หรือแถนหลวงนี้ บางท่านก็ หมายถึงพระอินทร์ ก่อนที่คำ�บาลีสันสกฤตจะแพร่ หลายเข้ามาในภาษาไทย อย่างไรก็ตาม เรือ่ งพระยา แถนหลวงในพงศาวดารลานช้างนี้ กับนิยายเรื่อง พระวิษณุกรรมสอนชาวเมืองมนุษย์ดังได้ยกเอาบท ร้อยกรองของเปโมรามากล่าวไว้ข้างต้น ดูจะเป็น เรื่องเดียวกันแท้ ๆ รวมความแล้วคงได้ความหมาย ว่า พระวิศุกรรม หรือพระวิษณุกรรม ได้เป็นผู้เริ่ม สอนการร้องรำ�ทำ�เพลงให้เป็นระเบียบแบบแผน อัน เป็นต้นทางแห่งความเจริญของดุริยางคศิลปสืบมา สมกับคำ�ไหว้ครูทวี่ า่ “ท่านประสิทธิส์ าปสรรค์ เครือ่ ง เล่นสิ่งสารพันในใต้หล้า” แต่ถา้ จะพิจารณาอีกด้านหนึง่ ว่า พระวิศกุ รรม หรือพระวิศวกรรมเป็นนายช่างใหญ่ของเทวดา ซึ่ง นับได้ว่าเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปการช่าง และก็เครื่อง ดุริยางค์ดนตรีต่างๆ ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นใช้บรรเลง กันนี้ ก็ย่อมเป็นที่ประจักษ์กันอยู่อย่างแน่นอนแล้ว ว่าจะต้องสำ�เร็จขึ้นด้วยใช้วิชาการช่างเป็นสำ�คัญ ก็ ควรทีจ่ ะถือได้วา่ การทีส่ ร้างเครือ่ งบรรเลงได้ลกั ษณะ สมตามความประสงค์ ก็ เ พราะอำ � นาจแห่ ง พระ วิศวกรรมผูเ้ ป็นเทพเจ้าแห่งการช่าง ได้ดลบันดาลให้ เป็นไป จึงได้มีลักษณะถูกต้อง และบังเกิดเสียงอัน ไพเราะขึน้ ได้ ก็เข้ากันสนิทกับคำ�ทีว่ า่ “ท่านประสิทธิ์ สาปสรรค์” ด้วยเหตุทั้ง ๒ ประการดังกล่าวแล้ว ดุรยิ างค์ศลิ ปินจึงได้ยกย่องพระวิศกุ รรมว่า เป็นดุรยิ เทพองค์หนึ่ง

จิตสัมผัส 27


พระปัญจสีขร

พระปัญจสีขรนั้น ในบาลีเรียกว่า ปัญจสิขะ เดิมเป็นเด็กเลี้ยงโคไว้ผม ๕ แหยม มีใจเลื่อมใส ศรั ท ธาในทางกุ ศ ลอย่ า งยิ่ ง ได้ ส ร้ า งสิ่ ง ซึ่ ง เป็ น สาธารณะประโยชน์หลายอย่างเช่น ศาลา สระน้ำ� ถนน และยานพาหนะเป็นต้น แต่ได้ตายจากมนุษย์ โลกตัง้ แต่ยงั อยูใ่ นวัยหนุม่ ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรใน ชัน้ จาตุมหาราช มีชอื่ ว่า “ปัญจสิขคนธัพพเทพบุตร” มีมงกุฎ ๕ ยอด ร่างกายเป็นสีทอง มีกุณฑล ทรง อาภรณ์แล้วไปด้วยนิลรัตน์ ทรงภูษาสีแดง มีความ สามารถในเชิงดีดพิณและขับลำ�เป็นอย่างเลิศ เรือ่ งของปัญจสีขรเทพบุตร ตามทีม่ มี าในสัก กปั ญ หสู ต ร์ ใ นที ฆ นิ ก ายมหาวรรคกล่ า วไว้ เ ป็ น ใจ ความว่า ครั้งหนึ่ง สมเด็จสมณโคดมพุทธเจ้า เสด็จ ประทับอยู่ ณ ถ้ำ�อินทศาลคูหา(ถ้ำ�ช้างน้าว) หว่าง เขาเวทิยกบรรพตเหนือหมู่บ้านพราหมณ์ซึ่งชื่อว่า อัมพสัณฑคาม (บ้านป่ามะม่วง) ตั้งอยู่ทางทิศตะวัน ออกของกรุงราชคฤห์ ในการนัน้ สมเด็จอมรินทรเทว ราช บังเกิดความหวั่นหวาดในพระหทัยอันเกิดจาก มรณภัยคุกคาม บังเกิดบุพพนิมติ ซึง่ เป็นมรณเหตุ ๕ ประการ คือ กายทิพย์อันเคยปราศจากเหงื่อ ก็ บันดาลเหงือ่ ไหลออกแต่พาหาทัง้ สอง ผิวพรรณแห่ง วรกายก็เศร้าหมอง พวงดอกไม้ทิพย์ที่ทรง มิเคย เหี่ ย วก็ เ หี่ ย วแห้ ง หายหอมทิ พ ยอาภรณ์ ทั้ ง ปวงก็ ปราศจากรัศมี และทิพอาสน์ที่เคยไสยาสน์ก็แข็ง ระคายไม่เป็นสุข ก็รู้สึกพระองค์ว่าจะต้องจุติ จึง กระวนกระวายพระทัยใคร่จะไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้า เพื่ อ จะได้ ทู ลถามปัญหาดับศรโศกที่ เสียดแทนอยู่ในพระหฤทัยแต่มาทวนคิดในพระทัย ได้วา่ ครัง้ ก่อน เมือ่ พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าไม้ สน ได้เคยพยายามที่จะเฝ้าฟังพระธรรมเทศนาครั้ง หนึง่ แล้ว ก็มไิ ด้ส�ำ เร็จความปารถนา เกรงว่าพระองค์ 28 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

เองจะไม่มีบุพพนิสัยพอที่ควรจะฟังพระสัทธรรม เทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงใคร่จะชวน เทพยดาทั้งชั้นดาวดึงส์ และจาตุมหาราชทั้งหมดไป เผ้ า พระพุ ท ธองค์ ด้ ว ยกั น อย่ า งน้ อ ยก็ ค งจะมี เทพยดาองค์ใดองค์หนึ่ง ที่มีบุพพนิสัยอันควรแก่ พระธรรมเทศนาบ้าง และพระองค์กจ็ ะพลอยได้สดับ พระธรรมเทศนานัน้ ไปด้วย เมือ่ ทรงคิดดังนัน้ แล้ว จึง ทรงชักชวนเทพบุตรเทพธิดาทั้ง ๒ ชั้นฟ้าลงไปเฝ้า พระพุทธเจ้า ณ ถ้ำ�อินทศาลคูหา แต่แล้วก็ทรงพระ ดำ�ริว่าถ้าเราจะพาเทพบริษัทใน ๒ ชั้นฟ้านี้พรั่งพรูจู่ เข้าไปเผ้าพระบาทยุคลในขณะเดียวกัน ดูจะมิบงั ควร ควรเราจะให้เทพยดาองค์ใดองค์หนึ่งเข้าไปทูลขอ โอกาสเสียก่อน จึงจะสมควร และเทพยดาที่เหมาะ สมในการนี้ ก็ ไ ม่ มี ผู้ ใ ดนอกจากปั ญ จสิ ข เทพบุ ต ร เท่านัน้ เพราะปัญจสิขเทพบุตรเคยเป็นพุทธอุปฏั ฐาก ที่คุ้นเคยสนิทสนมในพระพุทธบาทยุคล คิดจะทำ� อันใดก็กระทำ�ได้ แม้ทูลถามปฤษณาแล้วก็ขอฟัง พระธรรมเทศนาอีกได้ปัญจสิขอาจทำ�ได้ทงั้ ใน ขณะ ที่พระองค์ปรารถนาและมิปรารถนา เทพยดาองค์ อืน่ ๆ ไม่มผี ใู้ ดคุน้ เคยในพระพุทธองค์เหมือนปัญจสิขร จึงมีเทวโองการให้หาปัญจสิขคนธัพพเทพบุตร และ สั่งให้เป็นผู้นำ�ทูลขอโอกาสต่อพระพุทธเจ้าในการที่ จะเข้าเฝ้าฟังพระธรรมเทศนาดังกล่าวแล้ว เมื่ อ ปั ญ จสิ ข รคนธั พ พเทพบุ ต รได้ รั บ เทว บัญชาแล้วจึงจับพิณอันมีพรรณเลื่อมเหลืองดุจผล มะตูมสุก ตระพองพิณนัน้ แล้วด้วยทองทิพย์ คันพิณ แล้วแก้วอินทนิลสายนัน้ แล้วด้วยเงินงาม ลูกบิดแล้ว ด้วยแก้วประพาฬ พลางขึ้นสายทั้ง ๕๐ ให้ได้เสียง แล้วก็ดดี ละเวงเพลงอันไพเราะ เพือ่ จะยังเทพบริษทั ให้รู้ว่าสมเด็จพระอมรินทร์จะเสด็จครั้นฝูงเทพนิกร ทั้ง ๒ ชั้นฟ้าได้สดับศัพท์สัญญาณแห่งเสียงพิณแล้ว ก็มาสโมสรสันนิบาตอยูพ่ ร้อมกัน ครัน้ ได้เวลาสมเด็จ พระอมรินทราธิราชจึงเสด็จไป โดยนภากาศมีเทพ บริวารห้อมล้อมและปัญจสิขะเทพบุตรเป็นมัคคุเทศก์


จวบจนถึงภูเขาเวทิยกบรรพต ซึ่งกระทำ�ให้บริเวณ เขาเวทิยกบรรพตและบ้านอัมพสัณฑคามรุ่งโรจน์ แจ่ ม จรั ส ไปด้ ว ยรั ศ มี แ ห่ ง เทพยดาทั้ ง หลาย แล้ ว สมเด็จพระอมรินทร์จงึ ดำ�รัสสัง่ ให้ปญ ั จสิขรคนธรรพ เทพบุตรเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระศาสดา ทูลของโอกาส ให้ก่อน ปัญจสิขรเทพบุตรรับเทวโองการแล้วจึงตรง เข้าไปในถ้ำ�อินทศาลคูหา นั่งอยู่ ณ ที่อันสมควร ไม่ ไกลไม่ใกล้จากสมเด็จพระพุทธองค์นกั พลางจับพิณ ขึ้นดีดและขับลำ�เป็นทำ�นองพรรณาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณเป็นข้ออุปมาเปรียบเทียบ ด้วยกามคุณ อันเคยได้ขับประโลมนางสุริยวัจฉสา ธิดาพระเจ้าติมพรุคนธัพพเทวราชมาแล้วดังใจความ โดยย่อว่า ดูก่อนเจ้ าสุริยวัจฉสา เจ้ามีลักษณะนิมิต ด้วยรัศมีผุดขึ้นมาแต่ปลายเท้าถึงปลายผมช่วงโชติ ดังดวงอรุโณทัยในตอนเช้า เจ้าจึงมีนามสุริยวัจฉสา เจ้ามีกุศลอันสร้างไว้ด้วยดีแล้ว จึงได้มาบังเกิดเป็น เบญจกัลยาณีธิดาคนธรรพเทวราชโฉมอันงามแช่ม ช้ อ ยของน้ อ งเป็ น ที่ เจริ ญ ใจและปรารถนาแห่ ง พี่ เหมือนดังลมอันเป็นที่ปรารถนาของผู้มีกายเต็มไป ด้ ว ยเหงื่ อ หรื อ น้ำ � อั น เย็ น เป็ น ที่ ป รารถนาของคน กระหาย หรื อ เปรี ย บดั ง พระนวโลกุ ต รธรรม ๙ ประการ มี พ ระนิ พ พานเป็ น ที่ สุ ด อั น เป็ น ที่ รั ก ที่ เจริญใจ เป็นทีป่ รารถนาของพระขีณาสพอรหันต์ทงั้

หลาย หรือเปรียบดังยาหอมอันอุดมด้วยสรรพคุณ เป็นทีป่ รารถนาของคนไข้ผรู้ ะส่�ำ ระสาย หรือเปรียบ ดังโภชนาหารย่อมเป็นทีป่ รารถนาของคนหิว เจ้าสุรยิ วั จ ฉสาผู้ มี พั ก ตร์ อั น เจริ ญ จงช่ ว ยระงั บ ความ กระวนกระวายแห่งพี่ด้วยมีเมตตาต่อประหนึ่งดับ เพลิงด้วยน้ำ�ทำ�ให้สิ้นถ่านและเปลวเพลิง เมื่อไรเลย ที่จะได้ซึ่งความสุขอันเกิดด้วยร่วมอภิรมย์สมสวาท ดั ง ช้ า งพลายต้ อ งร้ อ นในคิ ม หั น ต์ ถ้า ได้ ล งแช่ ชุ่ ม กระพองผุดดำ�ชูแต่ปลายงวงท่ามกลางสระอันเย็นใส ทีช่ า้ งอันซับมันเมาอาละวาดวิง่ ถลันโดยมิเข็ดแก่คม ขอ ความรักของพีไ่ ม่สามารถจะปลดเปลีอ้ งให้ใจเป็น ปกติได้ ดุจปลาที่กลืนเบ็ดเข้าไปติดแล้วในลำ�คอ ความงามในสรีรร่างแห่งน้องทำ�ให้ความรักของพี่มี มากมาย ดุจไทยธรรมทักขิณาทานอันบุคคลถวาย แก่พระอรหันต์ แล้วบังเกิดผลสนองเป็นเอนกอนันต์ อนึง่ สมเด็จพระสรรเพชญพุทธเจ้า มีพระกมลดำ�ริเร่ง อุตสาหะแสวงหาห้องปรินิพานธรรมฉันใด พี่ก็ตั้งใจ เสาะแสวงหาน้องฉันนั้นเมื่อสมเด็จพระพุทธองค์ ทรงนั่งเหนือโพธิบัลลังก์ขจัดหมู่มารที่แทรกแตก กระจายไปแล้ว ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทปัจจยา การภาวจักร์กอร์ปด้วยองค์ ๑๒ โดยอนุโลมปฏิโลม ล่วงถึงเวลาอรุโณทัย ก็ได้สำ�เร็จพุทธาภิเษกเสวย วิโมกขสุข ทรงพระเกษมศานติภ์ ริ มย์ยนิ ดีฉนั ใด หาก พี่มีกุศลได้น้องเป็นคู่ครองสนิทเสน่หา ดวงใจแห่งพี่ ก็จะผ่องใสเกษมศานติย์ นิ ดีฉนั นัน้ แม้สมเด็จพระเจ้า จอมดาวดึ ง ส์ จ ะให้ พี่ เ ลื อ กพรพิ เ ศษระหว่ า งทิ พ ย สมบัตโิ ภไคศูรย์ในสุรโลกทัง้ สรวงสวรรค์ กับนางทิพย์ สุรยิ วัจฉสา พีก่ เ็ ลือกนางทิยส์ รุ ยวัจฉสาทีร่ กั และจูงใจ เท่านั้นเป็นมั่งคง เมือ่ เพลงพิณของปัญจสิขะจบลงแล้ว สมเด็จ พระผูม้ พี ระภาคเจ้าทรงพระมหากรุณาตรัสสรรเสริญ ว่า “เสียงพิณและเสียงขับของท่านละมุนละม่อม กลมกล่อมสนิทสนม เสียงพิณก็เข้ากับเสียงขับ เสียง ขับกับเสียงพิณมีลลี าประสมประสานไพเราะดียงิ่ นัก” จิตสัมผัส 29


พระปรคนธรรพ

ครั้นตรัสสรรเสริญการดีดพิณและขับลำ�ของปัญจ สิขะแล้ว ก็รับสั่งสนทนาด้วยปัญจสิขะตามสมควร เมื่อปัญจสิขะเทพบุตรเห็นเป็นโอกาสแล้วจึงทูลขอ พุทธานุญาตว่า “สมเด็จพระอมรินทร์เทวาธิราชพร้อม ด้วยเทพบริษัทจะขอเข้ามาเผ้าเบื้องพุทธบาทยุคล สมเด็จพระผูม้ พี ระภาคเจ้าก็ทรงประทานอนุญาต

เทพเจ้าองค์นี้ ศิลปินมักจะเรียกว่า “พระ ประโคนธรรพ” ซึ่ ง ที่ ถู ก ควรจะเรี ย กว่ า “พระปร คนธรรพ” การที่เรียกว่าพระปรคนธรรพนี้ เป็นการ เรี ย กโดยยกย่ อ งเกี ย รติ คุ ณ ซึ่ ง แปลว่ า ยอดของ คนธรรพ ส่วนนามที่แท้จริงนั้นชื่อว่า “พระนารท”

ครัน้ สมเด็จพระอมรินทราธิราชได้ทรงทราบ ว่าได้รบั พุทธานุญาตแล้ว จึงพาเทพบริวารเข้าไปเฝ้า พระพุทธองค์ในถ้ำ�อินทศาลคูหา ทูลถามปัญหาซึ่ง ข้องพระหฤทัยสงสัยอยู่พระพุทธเจ้าก็ตรัสเทศนา ธิ บ ายให้ สิ้ น กั ง วลสงสั ย ทุ ก ประการในระหว่ า งที่ พระอินทร์สดับพระธรรมเทศนาอยูน่ ี้ ได้ถงึ ขณะทีจ่ ะ ต้องจุติ ก็จุติจามอาตมะ แต่ด้วยกุศลแห่งการฟัง ธรรมเทศนาได้บรรลุโสดา จึงได้กำ�เนิดในร่างเดิมใน ขณะนั้น และฟังธรรมเทศนาต่อไป เมื่อท้าวโกสีย์ได้ สดับพระธรรมเทศนาเป็นที่พอพระทัยแล้ว ก็ทูล ลากลับยังดาวดึงส์ภพ พลางระลึกถึงบุณคุณปัณจ สิขรคนธัพพเทวบุตรที่เป็นผู้ทูลขอโอกาสให้ได้เฝ้า พระพุทธเจ้า จึงตรัสแก่ปญ ั จสิขรว่า “เจ้านีม้ คี ณ ุ ปู การ แก่ เรานั ก หนา เจ้ า ยั ง สมเด็ จ พระผู้ มี พ ระภาคให้ เลือ่ มใสก่อนแล้ว เราจึงได้เข้าเฝ้านมัสการทรงให้พระ กรุณาโปรดเราต่อภายหลัง เราจะตั้งเจ้าไว้ในที่อัน เป็นบิดา เจ้าจงเป็นสมเด็จพระเจ้าปัญจสิขรคนธัพพ เทพบุตรราช เราประสาทซึ่งนางสุริยวัฉสาอันเป็น เทวธิดาผูเ้ ลอโฉม ซึง่ ท่านได้ผกู รักมาช้านานแล้ว ให้ เป็นมเหสีสำ�หรับยศแห่งท่าน”

พวกคนธรรพหรือคนธรรพ์นั้นเป็นภูษณ (ผู้ กำ�เนิด) จำ�พวกหนึ่งซึ่งเข้าพวกเทวดาก็ได้ เข้าพวก มนุษย์ก็ได้เพราะมีทั้งที่อยู่สวรรค์และมนุษย์โลก หรื อ อี ก นั ย หนึ่ ง ว่ า มี โ ลกอั น หนึ่ ง ต่ า งหากเรี ย กว่ า “คนธรรพโลก” อยูร่ ะหว่างสวรรค์กบั โลกมนุษย์ พวก คนธรรพ (เขียนตามรูปบาลีเป็นคนธัพพ) นี้ มีหน้าที่ เป็นผู้รักษาโสม ชำ�นิชำ�นาญในการปรุงโอสถ เป็นผู้ อำ�นวยการนักษัตร์ ทั้งเป็นหมอดูรู้กิจการในอดีต ปัจจุบันและอนาคตอภินิหารที่สำ�คัญอีกอย่างหนึ่ง ของพวกคนธรรพ์ ก็คือเป็นผู้ชำ�นาญในการขับร้อง และบรรเลงดุริยางคดนตรี เป็นพนักงานขับร้องและ บรรเลงดนตรีกล่อมพระเป็นเจ้าและเทพยนิกร ผู้ที่ เป็นครูใหญ่ในวิชาขับร้องและดุรยิ างค์ดนตรีของพวก คนธรรพนี้ก็คือพระนารทมุนี ซึ่งเป็นผู้คิดประดิษฐ์ สร้างพิณขึ้นเป็นอันแรกเนื่องด้วยพระนารทมุนีเป็น ครูเฒ่าของพวกคนธรรพ์ หรือเป็นครูใหญ่ในวิชา สำ�คัญของคนธรรพ์ อันนับว่าเป็นยอดของคนธรรพ์ หรือยอดในคนธรรพ์ศาสตร์ จึงได้สมัญญานามว่า พระปรคนธรรพ์ บางทีก็เรียกว่า มหาคนธรรพ์ เทพ คนธรรพ์ และคนธรรพ์ราช

อั น คุ ณ วุ ฒิ ข องปั ญ จสิ ข คนธั พ พเทพบุ ต ร หรือพระปัญจสีขร ซึ่งเลอเลิศในทางดีดพิณ และ ปรีชาสามารถในทางขับลำ�ดังกล่าวมาแล้ว ก็สมกับ ที่โองการไหว้ครูของดุริยางค์ศิลปินกล่าวว่า “พระ ปัญจสีขร พระกรเธอถือพิณดีดดังเสนาะสนั่น” อัน เป็นสิ่งสมควรอย่างยิ่งที่ได้ยกย่องเป็นดุริยเทพองค์ หนึ่ง

พระนารทมุนีผู้นี้ เก็บความตามพระราช นิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ความว่า เป็นพรหมฤษี เป็นประชาบดี (ผู้เป็น ใหญ่เหนือประชา) หรือมหาฤษี นัยว่าเกิดจากพระ นลาตของพระพรหมา ส่วนวิษณุปรุ าณะว่าเป็นโอรส พระกั ส ยปประชาบดี แต่ ถ้ า จะพิ จ ารณาว่ า เป็ น ประชาบดีแล้ว บางตำ�รับได้กล่าวว่า พระมนูสวยัมภู

30 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


การไหว้ครูดนตรีไทย เป็นผู้ให้ประชาบดีมีกำ�เนิดขึ้น เช่นในคัมภีร์มานว ธรรมศาสตร์กล่าวไว้ว่า เมื่อพระอาตมภู (ผู้เกิดเอง) มีพระหฤทัยจำ�นงทีจ่ ะสร้างสิง่ ทัง้ ปวงได้ทรงสร้างน้�ำ ขึน้ ก่อนแล้วทรงเอาพืชหว่านในน้�ำ จากพืชนัน้ ได้เกิด เป็นไข่ทอง และอาตมภูเองได้เข้ากำ�เนิดในไข่ฟองนัน้ เป็นพรหมาปิตามหาแห่งโลกพระพรหมาอยูใ่ นไข่นนั้ ปีหนึง่ แล้วจึงแบ่งไข่นนั้ ออกเป็น ๒ ภาคด้วยอำ�นาจ พระมโน เมือ่ ออกจากไข่แล้วจึงสร้างโลกต่อไป คัมภีร์ พรหมาปุราณะกล่าวว่า เมื่อได้ออกจากไข่ทองแล้ว พระพรหมแบ่งพระองค์ออกเป็น ๒ ภาค เป็นชาย ภาคหนึ่ ง หญิ ง ภาคหนึ่ ง ช่ ว ยกั น สร้ า งพระวิ ษ ณุ เป็นเจ้า แล้วพระวิษณุจึงได้ทรงสร้างบุรุษที่หนึ่งชื่อ วิราธ และวิราธสร้างพระมนูสวยัมภูว แต่คัมภีร์ มัตสยะปุราณะว่า พระพรหมาสร้างนางขึน้ องค์หนึง่ ชื่อ สตะรูปา (หรือสรัสวดี) และตรัสชวนให้ช่วยกัน สร้างภูตะ (สัตว์มีชีวิต) ทุกชนิด คือมนุษย์ สุระ และ อสุระ สององค์จึงไปสำ�ราญในที่รโหฐานด้วยกัน ๑๐๐ ปีสวรรค์ แล้วจึงได้กำ�เนิดพระมนูองค์ที่ ๑ ซึ่ง เรียกว่าสวายัมภูวและวิราธ พระมนูสวายัมภูวองค์นี้ เป็นผูท้ ไี่ ด้รบั ธุระสร้างคน ฉะนัน้ คนจึงได้ชอื่ ว่ามนุษย์ เพราะเกิดจากมนู พระมนูได้สร้างประชาบดีขึ้น ๑๐

ตน คือ ๑. มรีจิ ๒. อัตริ ๓. อังคีรส ๔. บุลัสสตยะ ๕. ปุลหะ ๖. กระตุ ๗. วสิฐ ๘. ประเจตัส หรือทักษะ ๙. ภฤคุ และ ๑๐. นารท จะอย่างไรก็ตาม เมื่อได้พิจารณาเกียรติคุณ ของพระนารทมุนี ซึ่งเป็นผู้สร้างพิณอันแรกขึ้น เป็น ครูใหญ่ในวิชาขับร้องและดนตรีอันเป็นวิชาสำ�คัญ ของพวกคนธรรพ์จนได้ชื่อว่า พระปรคนธรรพ ก็สม กับทีโ่ องการไหว้ครูได้กล่าวอย่างยกย่องว่า “พระปร คนธรรพพระครูเฒ่า” อันศิลปินได้เทิดไว้เป็นดุริย เทพองค์หนึ่ง เรือ่ งดุรยิ เทพหรือเทพเจ้าแห่งดุรยิ างค์ดนตรี ทั้ ง สามตามที่ ดุ ริ ย างค์ ศิ ล ปิ น และนาฏศิ ล ปิ น ได้ เคารพนบไหว้ดว้ ยความกตัญญูกตเวที ดังปรากฏใน โองการไหว้ครูดังกล่าวมาแล้ว ก็นับว่าได้เล่ามาพอ เป็ น เครื่ อ งประดั บ ความรู้ ต ามสมควรขอความ กตัญญูกตเวทีอันเป็นคุณธรรมที่สำ�คัญของพวกเรา ชาวไทย จงมั่นคงอยู่ในดวงใจ เชิดชูวัฒนธรรมของ ไทยให้วัฒนาถาวรต่อไปชั่วกาลนานเทอญ

จิตสัมผัส 31


การไหว้ครูดนตรีไทย Paying Homage to the Musical Teachers นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทย By Montri Tramote National Artist in Thai Classical Music

การไหว้ ค รู นั้ น ไทยเรามั ก จะปฏิ บั ติ กั น ทุ ก อย่าง ไม่วา่ จะประกอบกิจกรรมกันอย่างไหนคนไทย เรา มั่นในความกตัญญูกตเวทีต่อบุพพการีเป็นนิสัย โดยเฉพาะครูบาอาจารย์ไม่วา่ วิชาใดเรามักจะเคารพ บูชาระลึกถึงคุณานุคณ ุ ถ้ามีโอกาสทีจ่ ะตอบแทนบุญ คุ ณ ได้ ก็ มั ก จะกระทำ � เสมอการกระทำ � ที่ เ ป็ น การ สนองพระคุณนัน้ อาจกระทำ�ได้ตา่ งๆ ตามฐานะและ โอกาสอาจช่ ว ยเหลื อ ด้ ว ยเงิ น ทองช่ ว ยเหลื อ การ ทำ�งานหรือปฏิบัติหากครูได้สิ้นชีพไปแล้วก็ทำ�บุญ อุทิศส่วนกุศลไปให้หรือเชิดชูเกียรติคุณในสิ่งที่ครูได้ กระทำ�ไว้ให้แพร่หลายเป็นต้นทีก่ ล่าวมานีเ้ ป็นกตเวทิคณ ุ ที่ศิษย์กระทำ�ด้วยความกตัญญูในวิชาทั่วๆ ไปแต่ โดยเฉพาะวิชาทีเ่ ป็นศิลป์การกระทำ�กตเวทิคณ ุ ยังแผ่ ออกไปถึงเทพเจ้าที่วิชานั้นถือว่าเป็นครูบาอาจารย์ และเป็นผูม้ อี ปุ การะคุณต่อวิชานัน้ ด้วย เพราะฉะนัน้ ศิษย์ที่เรียนวิชาศิลปจึงยังมีกตเวทิคุณอีกอย่างหนึ่ง ทีเ่ รียกกันว่า “ไหว้ครู” พิธไี หว้ครูนี้ ศิลปประเภทหนึง่ ก็มีพิธีการไปอย่างหนึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะ ศิลปวิทยาการนัน้ ๆ แต่ในทีน่ จี้ ะกล่าวเฉพาะการไหว้ ครูของวิชาดนตรีไทยเท่านั้น

32 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

The rite of paying homage to the teachers or wai khru ceremonies are performed to a greater or lesser degree, by all Thais as it is characteristic for them to be gratitude to their benefactors. In Thai schools, paying homage is a way in which students can show respect to their teachers and thank them for what they have learned in the past. It is also a form of insurance for what they hope to learn in the future. The grateful action can be expressed in different forms either a financial support or work assistance in accordance with status and opportunity. Citation of the teachers’ outstanding contribution and transferring of the merit earning to the late teachers are also included in the long list of paying gratitude to the teachers. In many cases, the ceremonies are no more elaborate than the rite of paying homage to art teachers which also extents to the deities who encourage branches of art and learning. Each ceremony to teachers of certain branch of art and learning has its own mass.


การไหว้ครูของดนตรีไทยนัน้ ก็มหี ลายอย่าง เวลาก่อนนอน เราสวดมนต์ไหว้พระแล้วก็ไหว้ครูบา อาจารย์ดว้ ย นีก่ เ็ ป็นการไหว้ครูโดยปกติวสิ ยั เราไหว้ ทุกวันจะเป็นวันไหนก็ได้ แต่ถ้าเป็นการประกอบพิธี ไหว้ครูที่เป็นพิธีรีตอง มีเครื่องสังเวย มีครูผู้เป็น หัวหน้าอ่านโองการตามแบบแผนอย่างนี้จะต้องทำ� ในวันพฤหัสบดีเท่านั้น เพราะถือว่าพระพฤหัสบดี เป็นครูทวั่ ทุกวิชา บ้านใดมีเครือ่ งปีพ่ าทย์มผี บู้ รรเลง เป็นหมู่คณะมักจะประกอบพิธีไหว้ครูเป็นประจำ� ทุกๆ ปี ส่วนคณะที่เป็นอดิเรก เช่น มหาวิทยาลัย หรือธนาคาร หรือสถาบันใดๆ ก็ตาม มักจะเลือกทำ� ตามโอกาสที่อำ�นวยนอกจากนี้มักกระทำ�พิธีไหว้ครู เมื่อจะเริ่มเรียน เป็นการกระทำ�อย่างย่อเพียงแต่ เคารพกฎหรือถวายตัวเป็นสานุศิษย์แห่งเทพเจ้า ผู้เป็นครู ส่วนการไหว้ครูประจำ�ปีนั้น โดยมากจะทำ� กันเป็นพิธีใหญ่ การไหว้ครูดุริยางคดนตรีนี้ น่าจะเนื่องมา โดยชาติไทยแต่โบราณคงจะนับถือเจ้ากันอยู่บ้าง แล้ว เมื่อมาได้คติทางศาสนาพราหมณ์ของอินเดีย พร้อมๆ กับการเริม่ ระเบียบแห่งการดนตรีขนึ้ ใหม่ใน แดนสุวรรณภูมินี้ จึงได้ถือเป็นแบบอย่างสืบกันมาที เดียว ไม่มีปัญหาอะไรที่จะกล่าวว่า พิธีไหว้ครูของ เราเอาแบบอินเดียมาใช้ เพราะชือ่ เทพเจ้าทุกๆ องค์ ตรงตามตำ�ราแห่งศาสนาพราหมณ์ทั้งสิ้น แต่คงจะ ดำ�เนินตามคัมภีรจ์ �ำ พวกปุราณะนิกายใดนิกายหนึง่ เป็นแน่ เพราะในโองการคำ�ไหว้ครูตอนไหว้พระเป็น เจ้ามิได้ไหว้พระพรหม กล่าวนามแต่พระอิศวรกับ พระนารายณ์และเทพเจ้าอื่นๆ เท่านั้น เนื่องจากไทยเราเป็นพุทธมามะกะ พิธีไหว้ ครูจึงมักจะเริ่มด้วยพิธีสงฆ์ก่อน คือในวันพุธตอน เย็นก็จะมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ รุ่งเช้าวัน พฤหัสบดีถวายอาหารบิณฑบาตร เมือ่ พระสงฆ์เสร็จ ภัตรกิจแล้ว จึงจะเริม่ พิธไี หว้ครู แต่พธิ สี งฆ์นไี้ ม่ได้อยู่ ในระเบียบว่าจะต้องมี บ้านใดหรือคณะใดไม่สะดวก จะไม่มีก็ได้ คือเริ่มด้วยการไหว้ครูในวันพฤหัสบดีที

Paying respect to the musical teachers may be performed every day at bedtime while praying to the Triple Gems. Yet, with offerings and the Grand Guru of classical music to call out the names of the gods and men to be worshipped at the official wai khru ceremonies, only on Thursday that the function can take place as Thursday god, Phra Pharue hassabodhi, is considered the traditional Teachers day upon which most rites are held. In any residence with a professional Pi Paat ensemble, a performance of the wai khru ceremonies can manifest itself annually. The amateur ensemble attached to institutions such as universities or banks may choose to perform the ceremonies as deemed appropriate. As for those who start to learn classical music, the concise wai khru rite can be organized to observe the rules and regulations and dedicate services to the deities. The annual wai khru ceremonies are customarily performed in a grand scale. The custom and rite of paying homage to musical teachers may derive from the animistic beliefs from time immorial. Influenced by Brahmanism from India, along with the introduction of musical order in Mainland Southeast Asia. The so-called ceremonies have been transmitted through generations. It is without arguments to have said that the wai khru ceremonies were adopted from India since the names of the deities remain the same as denoted in the textbook of Brahmanism. However, this must have followed the ancient textbook of a sect of Brahmanism in which (Phra Phrom) (Brahma) has disappeared. For in the invocations to gods, only Phra Isuan (Isvara) and Phra Narai (Narayana) Together with other deities, are mentioned. จิตสัมผัส 33


เดียว ซึ่งจะต้องทำ�ในตอนเช้าสถานที่ประกอบพิธี ไหว้ครูควรให้มที กี่ ว้างพอทีศ่ ษิ ยานุศษิ ย์และผูร้ ว่ มพิธี จะนั่ง สิ่งที่จะตั้งสำ�หรับไหว้จะต้องมีที่ตั้งพระพุทธ รูปและเครือ่ งบูชาพร้อมไว้ทางหนึง่ ส่วนอีกทางหนึง่ จัดตั้งเครื่องดนตรีไทยต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบและ สวยงามโดยไม่ตอ้ งจัดเป็นวง และจะต้องมีตะโพนลูก หนึง่ ตัง้ อยูด่ ว้ ยโดยตัง้ สูงกว่าสิง่ อืน่ เพราะในทางดนตรี ไทยถือว่าตะโพนสมมติแทนองค์พระปรคนธรรพ แต่ถ้าจะมีหน้าโขนตั้งด้วยก็ได้ หน้าโขนทีค่ วรตัง้ ก็คอื หน้าฤาษี พระปรคนธรรพ พระวิสสุกรรม พระปัญจสีขร พระพิราพ แต่ถา้ จะเพิม่ หน้าพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระพิฆเนศ อีกด้วยก็ยิ่งดี ส่วนเครื่องบูชากระยาบวช ก็มีดอกไม้ ธูป เทียน หัวหมู ไก่ เป็ด กุ้ง ปลา บายศรีปากชาม ขนม ต้มแดง ต้มขาว ผลไม้ต่างๆ หากว่าในพิธีนั้นไหว้ พระพิ ร าพด้ ว ย ก็ จ ะต้ อ งมี เ ครื่ อ งดิ บ อี ก ชุ ด หนึ่ ง เหมือนกับเครื่องสุกดังที่ได้กล่าวแล้ว เครื่องสังเวย เหล่านี้จะเป็นคู่หรือเพิ่มเติมอย่างไรก็ได้ อีกอย่างหนึง่ ก็คอื ขันกำ�นล ซึง่ มีขนั ล้างหน้า ใส่ดอกไม้ธูปเทียน ผ้าขาวหรือผ้าเช็ดหน้า และเงิน กำ�นล ซึ่งโบราณใช้ ๖ บาท ถ้าจะมีปี่พาทย์บรรเลง เพลงหน้าพาทย์ ประกอบด้วยก็ได้ แต่จะต้องมีขัน กำ�นลเช่นเดียวกันให้ผู้บรรเลงปี่พาทย์ครบทุกๆ คน ทั้งวง ครูผู้ทำ�พิธีจะต้องนุ่งขาวห่มขาว เมื่อได้จุดธูป เทียนบูชาครูเสร็จแล้ว ครูกจ็ ะทำ�น้�ำ มนต์ ในขณะนัน้ ศิษย์และผู้ร่วมพิธีจุดธูปเทียนบูชา อธิษฐานตามแต่ จะประสงค์ แล้วครูผทู้ �ำ พิธจี ะเริม่ กล่าวโองการนำ�ให้ ผูร้ ว่ มพิธวี า่ ตาม ซึง่ เริม่ ด้วยบูชาพระรัตนตรัยและไหว้ ครูบาอาจารย์ บิดามารดา ขอพรต่างๆ ตามแบบแผน ซึง่ แต่ละครูแต่ละอาจารย์อาจผิดแผกแตกต่างกันไป บ้างแล้วปี่พาทย์ก็จะบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ ตามที่ ผู้ ก ระทำ � พิ ธี นั้ น จะเรี ย ก ต่ อ จากนั้ น ก็ ก ล่ า วถวาย เครื่องสังเวยแล้วเว้นระยะสักครู่หนึ่ง จึงได้กล่าวลา เครื่ อ งสั ง เวย ต่ อ จากนั้ น ครู ผู้ เ ป็ น ประธานก็ จ ะ 34 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

As the Thais are mostly Buddhists, the wai khru ceremonies conventionally begin with the Buddhist rite. In the evening of Wednesday, monks are invited to chant prayers. The morning of thursday ordinarily starts with an offering of food to monks and blessings by monks before furthering to the actual wai khru ceremonies. Nevertheless, this Buddhist rite can be omitted if it is inconvenient. A place to perform the ceremonies should be large enough for all the disciples and participants to be seated. A Buddhist altar with offerings is put on one side and on the other side is a set of musical instruments placed in an orderly manner. The tapone (bulging drum) is positioned in a higher place as it represents Phra Porakhontap (Bod of Drums). Khon Masks representing the gods may also be present. The teachers masks are those of Phra Khru Ruesi (Rishi Bharatamuni, the prime teacher of dramatic arts) Phra Porakhontap (Bod of Drums) Phra Vissukam (architect and builder, creator of musical instruments) Phra Panjasikorn (player of the vina) Phra Phirab (Yaksha dancer). Phra Isuan (Shiva), Phra Narai (Vishnu), Phra Phrom (Brahma) and Phra Khanes (Ganesha, protector of the liberal arts) could also be included. A table of offerings dedicated to the gods and spirits who will be invited to assemble is composed of flowers, incense sticks, candles, Baisri Pak Charm (a folded Banana leaf rice container, often dedicated with florwers topped with a boiled egg) and a cooked set of the following items: hog heads, duck, chicken, shrimp, fish,Khanom Tom Khao and Khanom Tom Bang (white and red kinds of dessert consisting of boiled palm sugar, coconut meat and sticky rice) and


ประพรมน้ำ�มนต์และเจิมเครื่องดนตรีและหน้าโขน ต่าง ๆ จนครบถ้วน หลังจากนัน้ ก็จะประพรมน้�ำ มนต์ และเจิมให้แก่ศิษย์ และผู้ร่วมพิธี เป็นอันเสร็จการ ไหว้ครู หลังจากพิธีไหว้ครูแล้ว จึงจะถึงพิธี “ครอบ” ซึ่งจะทำ�ติดต่อกันไป คำ�ว่า ครอบ นี้ มิได้หมายว่านำ�วัตถุอย่าง หนึ่งมาครอบเหมือนอย่างเอาฝาชีมาครอบอาหาร กั น แมลงวั น ครอบในที่ นี้ ห มายถึ ง การประสิ ท ธิ ประสาทวิทยาการหรืออนุมัติให้เริ่มเรียนวิชาในชั้น นัน้ ๆ ได้ วิธกี ารครอบย่อมแล้วแต่กรณีของศิลปนัน้ ซึ่งอาจไม่เหมือนกันส่วนในศิลปดนตรีไทยถือว่าปี่ พาทย์เป็นหลักสำ�คัญของดนตรีทั้งหลายจึงครอบ ด้วยเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ การครอบของการเรียนปี่พาทย์นั้น มีขั้น ตอนเป็นลำ�ดับไป เหมือนการเรียนวิชาสามัญ เป็น ประถม มัธยม และอุดม ๑. ขั้นแรกทีเดียวนั้นเป็นครอบอย่างย่อ ผู้เรียนนำ�ดอกไม้ธูปเทียน และเงินกำ�นลมามอบให้ แก่ ค รู ด้ ว ยคารวะ แล้ ว ครู ก็ จั บ มื อ ศิ ษ ย์ ผู้ นั้ น ให้ ตี ฆ้องวงใหญ่ ขึ้นต้นเพลงสาธุการ ๓ ครั้ง ก็เป็นอัน เสร็จ ถือว่าศิษย์ผู้นั้นเป็นอันเริ่มเรียนปี่พาทย์ต่อไป ได้ โดยต่อเพลงสาธุการต่อไปจากผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้จน จบ แล้วก็เรียนเพลงในชุดโหมโรงเย็น ซึง่ ยกเว้นเพลง ตระไว้เพลงหนึ่ง และเรียนเพลงอื่นๆ ต่อไปตามแต่ ครูจะเห็นสมควร ๒. การครอบอันดับที่สอง ก็คือเมื่อศิษย์ เรียนเพลงโหมโรงเย็นเสร็จแล้ว และเริ่มเรียนเพลง ตระโหมโรง ซึ่งได้เว้นไว้เมื่อเริ่มเรียนขั้นแรก โดยครู จับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่ขึ้นต้นเพลงตระ ๓ ครั้ง ๓. ครอบอั น ดั บ สาม เป็ น การเริ่ ม เรี ย น เพลงโหมโรงกลางวัน ซึ่งครูก็จะจับมือให้ตีเพลง ตระบองกัน ๔. อันดับที่สี่ เริ่มเรียนการบรรเลงหน้ า พาทย์ชั้นสูง ในขั้นนี้ครูมักจะจับมือให้ตีเพลงบาท สกุณี

fruit. If Phra Phirab is incorporated in the long list of paying homage, an uncooked set of the abovementioned should also be prepared. These offerings can be in pairs or more as deemed appropriate. Mention must also be made to Kan Kamnon, a small bowl putting together flowers, incense sticks, candles, white cloth or handkerchief and a six baht fee, followed by an orchestra playing Ha Paat melody. The presiding teacher at wai khru ceremonies must dress in the traditional white shirt and white Panung for this special occasion. He will commence the ceremonies by lighting candles and incense sticks then preparing lustral water while the followers and participants are also lighting their candles and incense sticks to invite the Triple Gems and deities to bestow the blessings according to their wishes. The officiating teacher leads the invocations for the blessings of the Triple Gems, teachers and parents. Different presiding teachers will vary the words. The musicians are then instructed to play Na Paat, a piece of music reserved for the most formal occasions for the purpose of worshipping the Triple Gems and to confirm deep respect to teachers. The presiding teacher later raises the food offering for a while before removing them. Afterwards, the presiding teacher Sprinkles lustral water and applies jerm (a white paste) to musical instruments and different teachers’heads. Lustral water is of course sprinkled over and a white paste is also applied to the followers and participants. With that action, the rite of wai khru is concluded to bring in the rite of Piti Krob or initiation rite. Krob means initiation of knowledge in a certain branch. The Pito Krob rite is varied in accordance with branches of art. As for the Thai classical music, จิตสัมผัส 35


๕. อันดับที่ห้า เมื่อเริ่มเรียนเพลงองค์พระ พิราพ ซึ่งถือว่าเป็นเพลงสูงสุด วิธกี าร ครอบ เมือ่ ได้ประกอบการพิธไี หว้ครู เสร็ จ แล้ ว ศิ ษ ย์ ผู้ ป ระสงค์ จ ะครอบก็ นำ � ขั น กำ � นล ดอกไม้ธปู เทียน ผ้าเช็ดหน้า และเงินกำ�นล เข้าไปหา ครูผทู้ �ำ พิธี ส่งขันกำ�นลให้ครูและถือไว้กอ่ นจนกว่าครู จะว่าคำ�ประสิทธิ์ประสาทจบจึงปล่อยมือ แล้วครูจึง ทำ�พิธีครอบตามขั้นตอนที่จะเรียนดังนี้ - เรียนเพลงตระโหมโรง ครูก็จะจับมือให้ตี ฆ้องวงใหญ่ ขึ้นต้นตีเพลงตระโหมโรง สาม ครั้ง - เรียนเพลงโหมโรงกลางวัน ครูจะจับมือให้ ตีฆ้องวงใหญ่ขึ้นต้นเพลงตระบองกัน ๓ ครั้ง เพราะ เพลงในชุดโหมโรงกลางวันถือว่าเพลงตระบองกัน เป็นเพลงสำ�คัญ - เรียนหน้าพาทย์ชั้นสูง ครูจะจับมือให้ตี ฆ้องวงใหญ่ ขึ้นต้นเพลงบาทสกุณี ๓ ครั้ง เพราะ ถือว่าเพลงบาทสกุณเี ป็นเพลงสำ�คัญในประเภทหน้า พาทย์ชั้นสูง - เรียนเพลงองค์พระพิราพ ครูจะจับมือให้ ตีฆ้องวงใหญ่ทำ�นองเพลงตอนขึ้นต้นองค์พระสาม ครั้ง เมือ่ ได้จบั มือตีฆอ้ งวงใหญ่ขนั้ ใดแล้ว ก็จะต่อ เพลงในขั้ น นั้ น กั บ ผู้ ใ ดก็ ไ ด้ ไ ปจนจบเพลง และ สามารถจะไปปฏิบัติเครื่องดนตรีอย่างอื่นได้ทั่วๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นระนาด ปี่ ตะโพน กลอง ได้ทั้งนั้น แต่ผู้เรียนตะโพนครูจะจับมือให้ตีตะโพนแทนฆ้อง ก็ได้ ส่วนการครอบเครื่องดนตรีอย่างอื่น เช่น สีซอ ดีดจะเข้ เป่าปี่ เป่าขลุ่ย เหล่านี้ ตลอดจนการ ขับร้องด้วย ซึ่งมิได้บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ต่างๆ เหมือนปีพ่ าทย์ สิง่ ใดทีพ่ อจะจับมือได้ เช่น ซอ จะเข้ ครูอาจจับมือให้สี หรือดีดก็ได้ แต่ใช้เพลงประเภทที่ เครือ่ งดนตรีนนั้ ใช้บรรเลง หรือจะใช้ฉงิ่ ครอบทีศ่ รี ษะ ของศิษย์ผู้นั้นก็ได้ การใช้ฉง่ิ ครอบทีศ่ รี ษะนี้ ใช้ได้แก่ การครอบเรียนดนตรีทกุ อย่างทีไ่ ม่สะดวกในการจับมือ 36 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

Pi Paat (woodwind and percussion instruments) are considered fundamental to all music. As such, all musical instruments (oboe,gong, xylophone, drum and cymbol) are used in the Piti Krob rite. The rite of initiation for learning Pi Paat can be categorized in primary, secondary and higher stages. 1. The first stage is a concise ceremony for asking permission to enter the musical world. The presiding teacher receives the offerings composed of candles, incense sticks and a six baht fee from a pupil and hold his hands guiding him to play Gong Wong Yai (big circle of gong) the first stanza of one tune thrice of Satukarn song, master tunes to pay homage to the Triple Gems and to express deep respect to teachers. This marks the initial step of learning Pi Paat. The pupil may practice the rest of the song with somebody else. In addition, the pupil is to learn songs in Home Rong Yen series except for Tra song. He is also allowed to learn other songs as recommended by the teacher. 2. The second stage takes place after finishing the Home Rong Yen series. The pupil is now beginning to learn how to play Tra Home Rong song which was omitted in the first stage. The teacher holds the pupil’s hands to play Gong Wong Yai the first stanza of one tune thrice of Tra song. 3. The third stage begins with Home Rong Klang one song. Again, the teacher holds the pupil’s hands to play Krabong Gun song. 4. The next stage is to play higher Na Paat. The teacher generally holds the pupil’s hands to play the Baht Sakuni song. 5. The final stage is the highest stage while learning the supreme song of all-Phra Phirab’s song.


อนึ่งการครอบที่จะเรียนปี่พาทย์เพลงองค์ พระพิราพนั้น ยังมีแบบแผนประเพณีบัญญัติไว้อีก อย่ า งหนึ่ ง คื อ ผู้ ที่ จ ะเรี ย นเพลงองค์ พ ระพิ ราพ จะต้องมีอายุไม่ต่ำ�กว่า ๓๐ ปี หรือได้อุปสมบทเป็น พระภิกษุสงฆ์แล้ว หรือมิฉะนัน้ จะต้องได้รบั พระบรม ราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั จึงจะ ได้รับการครอบให้เรียนได้

ประโยชน์ของการไหว้ครู

การที่ได้ประกอบพิธีไหว้ครูตามประเพณีที่ ถูกต้องย่อมบังเกิดประโยชน์ได้หลายประการ คือ ๑. ได้รักษาประเพณีอันเป็นวัฒนธรรมอัน ดีของไทยไว้ให้ยืนยงต่อไป ๒. ได้แสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีอัน เป็นเครือ่ งหมายของคนดีเป็นแบบอย่าง ส่งเสริมให้ศิษย์รุ่นต่อ ๆ ไปรู้สึกกตัญญู กตเวทีต่อครูบาอาจารย์ ๓. เป็นการบำ�รุงขวัญของผู้ที่ได้ร่วมในการ พิธไี หว้ครูและครอบ เพราะว่าได้กระทำ� พิธีต่าง ๆ ครบถ้วนตามแบบแผนแล้ว เวลาทีจ่ ะปฏิบตั กิ จ็ ะมีจติ ใจมัน่ คง และมี ขวัญดี ๔. เป็ น การเสริ ม ความสามั ค คี ร ะหว่ า ง ดุริยางคศิลปินด้วยกัน เพราะในการ ประกอบพิธีไหว้นั้น บรรดานักดนตรีทั้ง หลายแม้นจะอยู่คนละคณะก็มักจะมา ร่ ว มในพิ ธี ไ หว้ ค รู ด้ ว ยกั น ได้ พ บปะ สังสรรค์กนั เป็นอันดี เป็นการเชือ่ มความ สามัคคีในหมู่ดุริยางคศิลปินด้วยกันให้ แน่นแฟ้น

The pupil will customarily resume the rest of the songs with somebody else. The above-mentioned practice can be applied to other musical instruments as ranad (xylophone) Pi (oboe) Tapone and Klong (drums) As for the Piti Krob rite of other kinds of instruments i.e. Saw (fiddle),Jakay(zither) and Klui (flute) including singing, actually not for Na Paat playing, the teacher can also hold the hands of the pupil to play the special tune of that type of instrument. Otherwise, cymbols may be placed on the head of the pupil to symbolize the initiation rite. As a rule, the Pito Krob rite for those who learn Phra Phirab’s song must be at least 30 years old or have already been ordained or granted. His Majesty the King’s royal permission to play. Advantages of paying homage to the musical teachers 1) Preservation of good old tradition of Thai culture. 2) An opportunity for the pupils to pay respect and gratitude to their teachers which represents an exemplary expression of being grateful to the teachers. 3) An act of boosting a morale of the pupils to play well their music. 4) Strengthening warmth, companionship and a sense of togetherness as well as compassion.

คัดลอกมาจากหนังสือไหว้ครูดนตรีไทย จัดพิมพ์โดยสำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เนื่องในการจัดสัมมนา ดนตรีไทย-กัมพูชา วันที่ ๙-๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๗

จิตสัมผัส 37


เศียรครู โขน - ละคร 38 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


ไหว้ครู ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำ�รูญ *

ความหมายของไหว้ครู

คำ�ว่า “ไหว้ครู” ในพจนานุกรมฉบับราช บัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายไว้วา่ “ไหว้ครู คื อ การทำ � พิ ธี ไ หว้ ค รู บ าอาจารย์ ” ครู บ าอาจารย์ หมายถึง “ความเป็นผูร้ ทู้ สี่ ามารถถ่ายทอดความรูใ้ ห้ แก่ศิษย์ และสามารถดูแลศิษย์ได้” การไหว้ครู คือการทีศ่ ษิ ย์แสดงความคารวะ ยอมรับนับถือครูบาอาจารย์อย่างจริงใจว่า ท่าน เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ความรู้ ศิษย์ในฐานะผู้ สืบทอดมรดกทางวิชาการจึงพร้อมใจกันปวารณาตน รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากครูด้วยความวิริยะ อุตสาหะ มานะ อดทน เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลาย ทางของการศึกษาตามทีต่ งั้ ใจไว้ โดยทัว่ ไปแล้วจะพบ ว่ามีการไหว้ครูประเภทต่างๆ เช่น ไหว้ครูดนตรี ไหว้ ครูช่าง ไหว้ครูนาฏศิลป์ แม้มวยไทย ก็มีการไหว้ครู จะเห็นว่าวิชาการต่างๆ ของคนไทยนั่นย่อมมีครูทั้ง สิน้ ส่วนใหญ่จะทำ�การไหว้ครูปลี ะครัง้ การทีศ่ ษิ ย์ตอ้ ง เรียนกับครูนั้น จึงได้ชื่อว่า ศิษย์มีครู และคนไทยก็ เป็นคนกตัญญูกตเวทีตอ่ ผูม้ พี ระคุณจึงคิดถึงครูและ

มีพธิ ไี หว้ครู นอกจากจะแสดงถึงความกตัญญูกตเวที ที่มีต่อครูแล้วศิษย์อาจจะกระทำ�การอะไรบางอย่าง ด้วยความคิดของตนเองที่นอกเหนือจากการสอน ของครู แม้ว่าการกระทำ�นี้จะเป็นการสร้างสรรค์ดี หรือไม่ดกี ต็ ามก็คอื ว่าเป็นการผิดครู ทำ�ให้เกิดความ ไม่สบายใจ ฉะนัน้ การไหว้ครูจงึ เป็นโอกาสให้ศษิ ย์ได้ ขอขมาลาโทษต่อครู และมีโอกาสบอกกล่าวครูบา อาจารย์ ด้ ว ยว่ า สิ่ ง ใดที่ คิ ด แล้ ว เกิ ด ความเจริ ญ สร้างสรรค์สงิ่ ทีด่ กี ข็ อให้เจริญก้าวหน้าเป็นประโยชน์ ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป แต่ถ้าสิ่งใดคิดแล้ว เป็นสิ่งไม่ดี มีการผิดพลาดก็ขอน้อมรับไว้ การบอก กล่าวเช่นนีเ้ ท่ากับเป็นการไหว้ครูชว่ ยเป็นพยาน และ ให้อภัยต่อศิษย์ การไหว้ครูนนั้ มีการปฏิบตั สิ บื ทอด ต่อกันมาตามประเพณีของศิษย์มีครู ในสังคมไทย วันทีจ่ ะทำ�พิธถี อื หลักว่าต้องเป็นวันพฤหัสบดี เพราะ เชือ่ ว่า พระพฤหัสบดีเป็นเทพฤษี วันพฤหัสบดีจงึ ถือ เป็นวันครู

* ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำ�รูญ (๒๕๔๖).ดุริยางคศิลป์ไทย.กรุงเทพ:สถาบันไทยศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จิตสัมผัส 39


ความสำ�คัญของพิธีไหว้ครู

คำ � ว่ า “ครู ” นั้ น หมายถึ ง พระรั ต นตรั ย เทพเจ้า ครูบาอาจารย์ทลี่ ว่ งลับไปแล้ว และท่านทีย่ งั มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เพื่อ เป็นการระลึกถึงพระคุณ เพือ่ เป็นการขอขมาลาโทษ ในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว ซึ่งเมื่อได้ทำ�พิธีไหว้ครูแล้ว จะทำ�ให้ศษิ ย์มคี วามสบายใจ และมีความมัน่ ใจในตัว เองมากขึ้น ตั้งใจมั่นคงที่จะประกอบคุณความดี ศึกษาเล่าเรียนให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายต่อไป เครื่องสักการะที่ศิษย์จะต้องทำ�มามอบแก่ ครูในวันไหว้ครู ได้แก่ พานดอกไม้ ธูป เทียนดอกไม้ ในพานที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการไหว้ครูซึ่งถือ ปฏิบัติกันมาช้านานแต่โบราณคือดอกมะเขือ หญ้า แพรก ดอกเข็ม รวมทั้งข้าวตอก ซึ่งรวมอยู่ในพาน ด้วย ซึง่ ดอกไม้แต่ละชนิดและข้าวตอกมีความหมาย ต่างกันคือ ดอกมะเขือ เป็นสัญลักษณ์ของความเคารพ ความอ่อนน้อมถ่อมตน เนือ่ งจากโดยธรรมชาติของ ต้นมะเขือ เมื่อมีดอก ดอกที่จะให้ผลมะเขือได้ต้อง โน้มลง เหมือนผูอ้ ยูใ่ นอาการแสดงความเคารพ หรือ คารวะบุคคลที่ตนเคารพบูชายกย่อง หญ้าแพรก เป็นสัญลักษณ์ของความอดทน คุณสมบัติของหญ้าแพรก คือความอดทน หญ้า แพรกจะงอกงามในทุกฤดูกาล ซึง่ ถ้าบุคคลใดมีความ

40 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

อดทนเหมือนหญ้าแพรก บุคคลนั้นก็จะ เป็นศิษย์ที่ มีคุณสมบัติที่ดีและเป็นผู้ที่สามารถเรียนได้สำ�เร็จ ตามหลักสูตรที่กำ�หนด ข้าวตอก เป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบ วินยั อยูใ่ นกรอบและควบคุมตัวเองได้เปรียบกับการ คั่วข้าวเปลือกให้เป็นข้าวตอก ถ้าเมล็ดข้าวเปลือก เมล็ ด ใดกระเด็ น ออกจากภาชนะที่ ค รอบไว้ ไ ม่ มี โอกาสได้เป็นข้าวตอกฉันใด เปรียบได้กับนักศึกษา ที่ตามใจตนเองไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ก็จะ กระเด็นออกไปนอกกรอบของระเบียบวินยั ซึง่ ทำ�ให้ ไม่มีโอกาสได้ความรู้ ฉันนั้น จึงต้องมีครูเป็นเสมือน ภาชนะคัว่ ข้าวเปลือก และข้าวตอกมิให้กระเด็นออก ไป อี ก ความความหนึ่ ง ก็ คื อ ให้ ค วามรู้ แ ตกพอง สวยงามดุจข้าวตอก ดอกเข็ ม เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องความมี ส ติ ปัญญาเฉียบแหลมประดุจดังเข็ม ดอกไม้และข้าว ตอกเป็นเครือ่ งสักการะในพิธไี หว้ครูดงั กล่าวนัน้ เป็น สัญลักษณ์ทใี่ ห้ความหมายของการแสดงออกถึงการ เป็นศิษย์ทดี่ ขี องครูได้ครบถ้วน ทัง้ ในด้านการฝากตัว เป็นศิษย์ การให้ค�ำ มัน่ สัญญาว่าจะเป็นลูกศิษย์ทดี่ มี ี ความกตั ญ ญู ก ตเวที แ ละเป็ น การขอพรให้ เจริ ญ รุ่งเรืองด้วย


การประกอบพิธีไหว้ครู

ในการประกอบพิธีไหว้นั้น บรรดานักดนตรีทั้งหลาย แม้นจะอยู่คนละคณะก็มักจะมาร่วมในพิธีไหว้ครูด้วยกัน ได้พบปะสังสรรค์กันเป็นอันดี เป็นการเชื่อมความสามัคคี ในหมู่ดุริยางคศิลปินด้วยกันให้แน่นแฟ้น จิตสัมผัส 41


ภาพโขน เรื่องรามเกียรติ์ 42 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


แบบแผนพิธีไหว้ครูโขน-ละคร ของวิทยาลัยนาฏศิลป์ อาจารย์วีระชัย มีบ่อทรัพย์

“ครู ” เป็ น ปู ช ะนี ย ะบุ ค คลที่ ค วรแก่ ก าร เคารพบูชารองจากบิดามารดา ครูมีหน้าที่ในการ อบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนดี มีความสามารถ มี ศิลปวิทยาเพื่อใช้เลี้ยงชีพ และรู้จักดำ�รงตนให้อยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุข ครูจึงต้องเป็นผู้นำ�แบบ อย่างทีด่ แี ก่ศษิ ย์และเป็นผูร้ บั ภาระหน้าทีอ่ นั หนักยิง่ ของสังคม การไหว้ครู คือ การแสดงความเคารพบูชา ครู ผู้ ป ระสิ ท ธิ์ ป ระสาทความรู้ ใ ห้ แ ก่ ศิ ษ ย์ เป็ น ธรรมเนียมปฏิบตั ทิ ดี่ งี ามสืบทอดกันมาตามประเพณี ของสังคมไทย แต่เดิมผู้ใหญ่จะนำ�เด็กพร้อมด้วย ดอกไม้ ธูป เทียนไปไหว้ครูผสู้ อนก่อนจะฝากเข้าเรียน เป็นการแนะนำ�ให้รจู้ กั เคารพครูอาจารย์เป็นประเดิม วิทยาลัยนาฏศิลป์ ยังคงรักษาธรรมเนียมปฏิบตั นิ กี้ บั นักเรียนที่มาเข้าเรียนใหม่ เรียกว่า “พิธีคำ�นับครู” วิ ท ยาลั ย นาฏศิ ล ป์ เป็ น สถาบั น ที่ ใ ห้ ก าร ศึกษาทั้งทางด้านศิลปะและวิชาการ ในการจัดพิธี

ไหว้ครูประจำ�ปี จึงจัดทั้งพิธีไหว้ครูสามัญและพิธีไว้ ครูศิลปะ โดยเฉพาะพิธีไหว้ครูโขน-ละครถือเป็น จารีตประเพณีที่ปฏิบัติกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ตามแบบพิธีหลวง พิธีไหว้ครูโขน-ละคร ถือเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วยพิธีกรรมทั้งพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ นิยมประกอบพิธีในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้เพราะความ เชื่อในเรื่องเทพเจ้ าในศาสนาพราหมณ์ว่า “พระ พฤหัสบดีเป็นเทพฤษี จึงเป็นครูของเทวดา” ในศาสนาพราหมณ์กล่าวว่าพระพฤหัสบดีมี กำ�เนิดมาจากฤษี ๑๙ องค์ และโดยที่ฤษีมีหน้าที่ใน การสั่งสอน เป็นครูของมนุษย์และเทวดา จึงถือเอา วันพฤหัสบดีเป็นวันประกอบพิธีไหว้ครู พิธไี หว้ครูโขน-ละครของวิทยาลัยนาฏศิลป์ ประกอบด้วยพิธีสำ�คัญ ๓ ภาค คือ ๑. ภาคพิธีสงฆ์ พิธีไหว้ครูของวิทยาลัย

* อาจารย์วรี ะชัย มีบอ่ ทรัพย์. ครูชำ�นาญการพิเศษ วิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม จิตสัมผัส 43


นาฏศิลป์ จะเริ่มในตอนเย็นวันพุธก่อนวันประกอบ พิธี โดยนิมนต์พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และใน ตอนเช้ า วั น พฤหั ส บดี เ ป็ น วั น ประกอบพิ ธี ไ หว้ ค รู นิมนต์พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา ฉันภัตตาหารเช้า และประพรมน้ำ�พระพุทธมนต์เมื่อเสร็จสิ้นพิธีสงฆ์ แล้วจึงเริ่มประกอบพิธีไหว้ครู ๒. ภาคพิธไี หว้ครู พิธไี หว้ครูโขน-ละคร เป็น พิธพี ราหมณ์โดยการบูชาเทพเจ้าและเซ่นสรวงสังเวย กล่าวคือ เป็นการทำ�พิธบี ชู าอันเป็นทีน่ บั ถือของกลุม่ ศิลปินทางด้านนาฏศิลป์และดนตรี ได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระพิฆเนศ พระปรคนธรรพ พระภรตฤษี พระพิราพ ครูโขนละคร ครูมนุษย์ ครู ยักษ์ ครูลงิ ครูพระ-นาง ผูซ้ งึ่ ได้ประสิทธิป์ ระสาทวิชา ต่อกันมาตัง้ แต่อดีตถึงปัจจุบนั นอกจากบูชาเทพเจ้า แล้วยังมีการเซ่นสรวงเครื่องสังเวย ได้แก่ เครื่อง กระยาบวช หัวหมู เป็ด ไก่ กุ้ง ปู ปลา ทั้งสุก-ดิบ ผลไม้ น้ำ� เหล้า บุหรี่ ฯลฯ ต่อไปนี้

พิธีกรรมในการไหว้ครูโขน-ละคร มีขั้นตอน

๑. บูชาพระรัตนตรัย เริม่ ด้วยประธานในพิธี จุดธูป เทียนบูชาพระรัตนตรัยและเคารพพระบรม ฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปี่พาทย์ บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ “สาธุการ” ๒. บูชาครู เริ่มด้วยประธานผู้ประกอบพิธี บู ช าพระรั ต นตรั ย จากนั้ น รำ � เพลงหน้ า พาทย์ “พราหมณ์เข้า” เข้าสู่มณฑลพิธี ประธานในพิธจี ดุ เทียนชัย เทียนทอง เทียนเงิน และธูปบูชาครูในพิธี ปีพ่ าทย์บรรเลงเพลง “มหาฤกษ์” ประธานผู้ ป ระกอบพิ ธี ก ล่ า วคำ � บู ช าพระ รัตนตรัย ชุมนุมเทวดาทำ�น้ำ�มนต์ เรียกเพลงหน้า พาทย์ “เพลงโหมโรง” แล้วเริม่ อ่านโองการเชิญเทพเจ้า ขณะประกอบพิธไี หว้ครู ผูป้ ระกอบพิธจี ะให้ 44 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

ศิษย์จุดธูปเทียนบูชาครู และกล่าวนำ�ให้ศิษย์กล่าว บูชาครูตามลำ�ดับดังนี้ จุดธูปเทียน ครั้งที่ ๑ ประธานผู้ประกอบพิธี กล่ า วนำ�โองการบูช าครูปัธยายได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ เทพและเทวดา โดยผู้ประกอบพิธีจะ เรียกเพลงหน้าพาทย์ประจำ�องค์เทพเจ้า จุดเทียน ครั้งที่ ๒ ประธานผู้ประกอบพิธี กล่าวนำ�โองการบูชาเทพเจ้าแห่งดนตรี หมายถึง องค์ดุริยเทพ ได้แก่ พระปรคนธรรพ พระวิษณุกรรม พระปัญจสิงขรประธานผูป้ ระกอบพิธเี รียกเพลงหน้า พาทย์ “ตระพระปรคนธรรพ” จุดธูปเทียน ครั้งที่ ๓ ประธานผู้ประกอบพิธี กล่าวนำ�โองการบูชาเชิญองค์พระพิราพ ผู้ประกอบ พิธีเรียกเพลงหน้าพาทย์ “พระพิราพเต็มองค์” ๓. พิ ธี ส รงน้ำ � พระเทวกรรม ประธานผู้ ประกอบพิธีเชิญพระเทวกรรม (เทวรูปต่างๆ) ลงใน พาน แล้วสรงน้�ำ ด้วยสังข์การสรงน้�ำ พระเทวกรรมจะ ให้ประธานในพิธี และครูอาวุโสเข้าสรงน้ำ� ประธาน ผูป้ ระกอบพิธเี รียกเพลงหน้าพาทย์ “ลงสรง” เมือ่ สรง น้ำ�เสร็จจึงเชิญพระเทวกรรมกลับขึ้นประดิษฐานที่ เดิม ผู้ประกอบพิธีกล่าวเชิญเทพเจ้า เทวดา ครูโขน ครูละคร ครูดนตรี ครูช่าง ครูศิลปะศาสตร์ทั้งหลาย ครูพกั ลักจำ� ครูปธั ยาย เจ้าของสถานที่ พระเสือ้ เมือง พระทรงเมือง พระสยามเทวาธิราช ประทับตามที่ ที่จัดไว้ ประธานผู้ประกอบพิธีเรียกเพลงหน้าพาทย์ “เสมอเข้าที่” ๔. พิธถี วายเครือ่ งสังเวย ประธานผูป้ ระกอบ พิ ธี นำ � ศิ ษ ย์ ถื อ เครื่ อ งสั ง เวยรำ � ถวายเครื่ อ งสั ง เวย ประธานผู้ประกอบพิธีเรียกเพลงหน้าพาทย์ “เชิด” จบเพลงวางเครื่องสังเวยลงที่เดิม


ลำ�ดับสุดท้าย ประธานผู้ประกอบพิธีกล่าว นำ�ถวายเครื่องสังเวย แล้วเรียกเพลงหน้ าพาทย์ “นั่งกินและเซ่นเหล้า” ๓. ภาคพิธีครอบ ประธานผู้ประกอบพิธี สวมศีรษะพระภรตฤษี เรียกเพลงหน้าพาทย์ “เสมอ เถร” แล้วรำ�เพลงเสมอเถรเข้าสู่มณฑลพิธี จากนั้น นั่งบนขันสาคร จึงเริ่มพิธีครอบและรับมอบศิษย์ ผู้เข้าทำ�พิธีครอบและรับมอบจะต้องนำ�ขันกำ�นลมา มอบให้ครูพระภรตฤษี ครูพระภรตฤษีน�ำ ศีรษะพระภรตฤษี (พ่อแก่) พระพิราพ และเทริด มาสวมศีรษะให้แก่ศิษย์ตาม ลำ�ดับ จากนั้นจึงประพรมน้ำ�เทพมนต์ เจิมหน้าผาก สวมด้ายมงคลมอบใบไม้มงคลทัดหู

พิธีรับมอบ

สำ � หรั บ ผู้ ที่ รั บ มอบจะทำ � ต่ อ เนื่ อ งจากพิ ธี ครอบ โดยครูพระภรตฤษีจะมอบ เครือ่ งโรงหมายถึง อาวุธต่างๆ ที่ใช้ประกอบการแสดงซึ่งมัดรวมกันไว้ ให้แก่ศิษย์ ศิษย์ผู้รับมอบจะรับและยกเดินออกจาก มณฑลพิธี ต่อจากนั้นจึงรำ�ถวายมือและต่อท่ารำ� หน้าพาทย์ให้แก่ศิษย์ เมือ่ เสร็จสิน้ พิธคี รอบแล้วจะเป็นพิธสี ง่ ครู ครู พระภรตฤษีให้พรแก่บรรดาศิษย์ จากนั้นจะเรียก เพลงหน้าพาทย์ “เสมอสามลา” ประธานผูป้ ระกอบพิธเี รียกเพลงหน้าพาทย์ “พระเจ้าลอยถาด” ประธานผูป้ ระกอบพิธเี รียกเพลงหน้าพาทย์ “พราหมณ์ออก”

พิธีครอบครู ลำ�ดับสุดท้ายประธานผู้ประกอบพิธี จะรำ� นำ�ศิษย์ในเพลงหน้าพาทย์ “โปรยข้าวตอก-กราว รำ�-เชิด” เป็นการเสร็จสิ้นพิธีไหว้ครูโขน-ละคร นอกจากมี พิ ธี ม อบอนุ ญ าตให้ เ ป็ น ครู ถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้แล้ว ยังมีพิธีรับมอบเพื่อให้ เป็นผูป้ ระกอบพิธตี อ่ ไป นิยมประกอบพิธรี บั มอบใน พิธีไหว้ครูครั้งใหญ่ประจำ�ปี เมื่อเสร็จสิ้นพิธีครอบ และรั บ ครู ผู้ ใ หญ่ จ ะเรี ย กศิ ษ ย์ ที่ มี ค วามรู้ ความ สามารถ มีคุณสมบัติครบถ้วนตามบทบัญญัติให้เข้า มารับมอบพระตำ�รา เครือ่ งโรง และศีรษะครูทสี่ �ำ คัญ พร้อมทัง้ ประสิทธิป์ ระสาทกรรมสิทธิแ์ ละพรมงคลให้ ในท่ามกลางครูผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน เมื่อศิษย์ได้รับ การประสิทธิ์ประสาทเรียบร้อยแล้ว จะต้องปฏิบัติ ตนให้ตงั้ อยูใ่ นพรหมวิหารอย่างครบถ้วน และจะถือ เสมอว่าถ้าครูผู้ประกอบพิธีผู้มอบให้ยังมีชีวิตอยู่ สามารถประกอบพิธไี ด้ตนเองจะไม่ประกอบพิธเี ป็น อันขาด นอกจากครูจะอนุญาตเท่านั้น

จิตสัมผัส 45


เพลงหน้าพาทย์และเศียรครู* วิเชียร อ่อนละมูล*

ในปัจจุบันนี้ตามสถาบันการศึกษาทุกระดับ และสถานประกอบอาชีพทำ�เครือ่ งดนตรี หรือจัดการ เรียนการสอนดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ และช่างฝีมือ จะจัดกิจกรรมสำ�คัญขึ้นสำ�หรับให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจมาร่วมกันแสดงความ กตัญญูต่อครูบาอาจารย์ นั้นคือ พิธีไหว้ครู ซึ่งจะ ปฏิบัติกันเป็นประจำ�ทุกๆ ปี พิธกี รหรือพราหมณ์ทที่ �ำ หน้าทีอ่ ่านโองการ ก็จะต้องประกอบพิธกี ล่าวอัญเชิญเทพเจ้าในศาสนา พราหมณ์ทเี่ กีย่ วข้องกับวิชาต่าง ๆ เข้ามาประทับใน พิธไี หว้ครูครบทุกสาขาวิชาและจะอัญเชิญเทพเจ้าที่ สำ�คัญ ๙ องค์ดังนี้ ๑. พระอิศวร เทพเจ้าผูเ้ ป็นใหญ่ใน ทวยเทพทั้งปวง ๒. พระนารายณ์ เทพเจ้ า ผู้ ป กป้ อ ง คุ้มครองรักษา ๓. พระพรหม เทพเจ้าผู้สร้างโลก

๔. พระพิฆเนศวร เทพเจ้ า แห่ ง ศิ ล ปะ ศาสตร์วิทยา ๕. พระปัญจสีขร เทพเจ้าแห่งวิชาการ ดนตรี ๖. พระวิษณุกรรม เทพเจ้าแห่งช่างศิลปะ ทุกแขนง ๗. พระปรคนธรรพ เทพเจ้าแห่งครูปพ่ี าทย์ ๘. พระภรตฤาษี เทพเจ้าแห่งนาฏศิลป์ โขน ละคร ๙. พระพิราพ เทพเจ้าแห่งความสำ�เร็จ ในพิธีไหว้ครูทุกๆ ครั้ง จะจัดวงปี่พาทย์ไม้ แข็งสำ�หรับบรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู เมือ่ พิธกี รอ่าน โองการอัญเชิญแต่ละองค์ ปี่พาทย์ก็จะบรรเลงรับ เสด็จแต่ละพระองค์เสมือนหนึง่ เทพเจ้าได้เสด็จลงมา สู่มณฑลพิธีสร้างความศักดิ์สิทธิ์ ความเป็นสิริมงคล ให้แก่สถาบันหรือสถานที่นั้นๆ และเกิดความปีติ ยินดีแก่เจ้าภาพและผู้ที่ได้มาร่วมงานโดยทั่วทุกคน

* เอกสารประกอบการไหว้ครู ของโรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เขตห้วยขวาง กทม. (๒๕๕๔) * อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

46 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


ความหมายของเพลงหน้าพาทย์ ๒๙ เพลง และความสำ�คัญของเศียรครู ๙ เศียร ในพิธีไหว้ครู มีดังนี้ ๑. สาธุการ หน้าทับ อัตราจังหวะชั้นเดียว ใช้ เฉพาะฉิ่ ง แต่ อ นุ โ ลมใช้ จั ง หวะ ๒ ชั้ น ได้ เช่ น เดียวกัน โอกาสที่ใช้ บรรเลงในพิ ธี ก รรมทาง ศ าส น พิ ธี พิ ธี ไ ห ว้ ค รู นาฏศิลป์ ศิลปะ และครู ช่าง ความหมาย ก า ร น้ อ ม ก า ย น้ อ ม ใจ อภิวันทาแด่พระรัตนตรัย และทวยเทพเจ้าผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิ์ ด้วยความเคารพ ๒. สาธุการกลอง หน้าทับ สาธุการกลอง รัวลาเดียว โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบในพิธไี หว้ ครู,นาฏศิลป์,ศิลปะ ความหมาย การบู ช าระลึ ก พระพุ ท ธ คุณ พระธรรมคุณ พระ สังฆคุณ คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ และสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ ๓. โหมโรง หน้าทับ เพลงชุ ด ใช้ ต ะโพนไทย กลองทัด ประกอบหน้าทับ โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธใี นงาน มงคลต่ า งๆ พิ ธี ไ หว้ ค รู ดนตรี น าฏศิ ล ป์ ศิ ล ปะ และครูช่าง

ความหมาย อัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพ เจ้าทุกๆ องค์ ตลอดจน สาธยายทำ�น้ำ�เทพมนต์, แป้งกระแจะจุลเจิม ข้าว ตอกดอกไม้ ผ้ารัตนตรัย และช่อไชยพฤกษ์ ๔. ตระอัญเชิญ หน้าทับ ตระ ๒ ชั้น ๔ ไม้ลา รัวลา เดียว โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ ความหมาย อัญเชิญพระอิศวรเทพเจ้า ผู้ เ ป็ น ใ ห ญ่ เ ส ด็ จ ม า สู่ มณฑลพิธี เทพเจ้าผู้สร้างโลกตามตำ�นานกล่าวว่า พระ อิศวรทรงสร้างพระองค์เองมี ๓ ตา ตาที่สามอยู่ที่ พระนลาฏ มีประคำ�หัวกะโหลกคน คล้องพระศอ มี สังวาลเป็นงู พระศอสีนิล นุ่งหนังเสือ หนังช้าง หรือ หนังกวาง สถิตย์บนยอดเขาไกรลาศ ลักษณะศีรษะครู หน้าสีขาว มงกุฎยอดน้ำ� เต้ากาบ มี ๑ หน้า ๔ มือ ๕. ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ อัญเชิญพระนารายณ์ หน้าทับ ตระ ๒ ชั้น ๔ ไม้ลา รัวลา เดียว โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ ความหมาย อัญเชิญพระนารายณ์ใน ปางเกษียรสมุทรเสด็จมา สู่มณฑลพิธี

จิตสัมผัส 47


ผูส้ ร้างโลกหรือโปรดสัตว์ให้พน้ ทุกข์ อันเป็น ผลแห่งอกุศลกรรม หรือความประพฤติบาลแห่ง มนุษย์ พระอิศวรส่งพระนารายณ์มาโปรดให้เป็น ผู้สอนศิลปะศาสตร์ ลักษณะศีรษะครู หน้าสีดอกตะแบก (สีมว่ ง) ทรงมงกุฎชัย ๑ หน้า ๔ มือ ๖. กลม อัญเชิญพระพรหม หน้าทับ กลม รัวลาเดียว โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ ความหมาย อัญเชิญพระพรหม เสด็จ มาสู่มณฑลพิธี พระเป็นเจ้าองค์หนึ่งในหมู่พระเป็นเจ้าทั้ง สามในศาสนาพราหมณ์นบั ถือว่าเป็นผูส้ ร้างสรรพสิง่ ทัง้ ปวงในโลกา เป็นเทพเจ้าผูส้ ร้างโลก เป็นมหาปชาบดี ยอดแห่งฤาษีทั้งหลาย ลักษณะศีรษะครู หน้าสีขาว ทรงมงกุฎชัย ๒ ชั้น ๔ หน้า ๔ มือ ๗. ตระอัญเชิญพระพิฆเนศวร หน้าทับ ตระ ๒ ชั้น ๘ ไม้ลา รัว ๓ ลา,ต้นเข้าม่าน,รัวลาเดียว โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ ความหมาย อั ญ เชิ ญ พระพิ ฆ เนศวร เทพเจ้าแห่งความสำ�เร็จ แห่งศิลปะ แห่งโภคทรัพย์ และความอุ ด มสมบู ร ณ์ เข้าสู่มณฑลพิธี เทพเจ้าแห่งศิลปะศาสตร์ทงั้ หลาย กายสีแดง ร่างมนุษย์ อ้วนเตีย้ ท้องพลุย้ หูยาน มีเศียรเป็นช้าง มีงาข้างเดียว มี ๔ กร เป็นโอรสพระอิศวรกับพระอุมา 48 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

ลักษณะศีรษะครู หน้าเป็นช้างสีแดง (สีส�ำ ริด) มงกุฎยอดน้ำ�เต้ากลม ๘. โคมเวียน หน้าทับ เหาะ รัวลาเดียว โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ ความหมาย การเสด็จเป็นขบวนของ หมูเ่ ทวดา นางฟ้า มาสูย่ งั มณฑลพิธี ๙. เสมอข้ามสมุทร หน้าทับ เสมอ ๙ ไม้ลา ๔ ไม้ลา ๔ ไม้ลา ๙ ไม้ลา รัวลาเดียว โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ ความหมาย การเสด็จเป็นขบวนของ หมู่เทวดา นางฟ้า ทาง มหาสมุทรหรือทางน้ำ�มา สู่มณฑลพิธี ๑๐. บาทสกุณี (เสมอตีนนก) อัญเชิญพระปัญจสีขร หน้าทับ บาทสกุณี รัวเฉพาะ โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ ความหมาย อัญเชิญเทพเจ้า และพระ ปั ญ จสี ข ร เสด็ จ มาทาง อากาศ โดยมีปักษาหรือ นกเป็ น พาหนะ มาสู่ มณฑลพิธี เป็นเทพเจ้าแห่งวิชาการดนตรี มือถือบัณเฑาะว์ พิณ กระจับปี่ เป็นนักดนตรี (ดีดพิณ) พระปัญจสีขร มีความสามารถในการดีดพิณและขับลำ�นำ� เป็นเลิศ เคยดีดพิณและขับลำ�นำ�ถวายพระพุทธเจ้า


ในตำ�นานพุทธประวัติกล่าวว่านำ�หน้าขบวนเสด็จ พระพุทธเจ้า เมื่อคราวเสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลก ลักษณะศีรษะครู หน้าสีขาว มงกุฎน้ำ�เต้า ๕ ยอด ๑ หน้า ๔ มือ ๑๑. เสมอ ๓ ลา อัญเชิญพระวิษณุกรรม หน้าทับ เสมอ ๑๕ ไม้ลา รัวลา เดียว โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ และครูช่างฝีมือ ความหมาย อั ญ เชิ ญ พระวิ ษ ณุ ก รรม เสด็จสู่มณฑลพิธี เทพเจ้าแห่งช่างศิลปะทุกชนิด เป็นผูป้ ระดิษฐ์ เครือ่ งดนตรี เทพเจ้าแห่งดุริยางค์ดนตรีองค์นี้ ได้รับ เทวบัญชาจากพระอินทร์ให้มาสั่งสอนเด็กและชาว เมืองให้รู้จักเล่นเป็นระเบียบเรียบร้อยและเป็นผู้ สร้างเครื่องดนตรีให้เกิดมีขึ้นในโลก ลักษณะศีรษะครู หน้าสีเขียว มงกุฎยอด เทริดน้ำ�เต้าหรือหัวโล้น ๑ หน้า ๒ มือ ๑๒. ตระอัญเชิญพระปรคนธรรพ หน้าทับ ตระ ๒ ชั้น ๔ ไม้ลา รัวลา เดียว โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ความหมาย อัญเชิญพระปรคนธรรพ ดุ ริ ย เ ท พ ด น ต รี ม า สู่ มณฑลพิธี เทพเจ้าแห่งวิชาการดนตรี ขับร้อง ดีด สี ตี เป่า เป็นผู้ประดิษฐ์พิณขึ้นเป็นอันดับแรก เนื่องด้วย พระนารถมุนีเป็นผู้เฒ่าของคนธรรพ์หรือเป็นครูใน

วิชาสำ�คัญของคนธรรพ์นบั เป็นยอด จึงได้ชอื่ ว่าพระ ปรคนธรรพ ผู้เป็นเจ้าแห่งการดนตรี ถือว่าเป็นครูปี่ พาทย์ ลักษณะศีรษะครู หน้าสีเขียว (เขียวใบแค) มงกุฎยอดฤาษี ๑ หน้า หน้า ๒ มือ ๑๓. ดำ�เนินพราหมณ์ หน้าทับ เสมอ ๔ ไม้ ลา ๘ ไม้ลา รัวลาเดียว โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ ความหมาย อั ญ เชิ ญ พระนารถฤาษี เทพเจ้ า ทางดนตรี เ ข้ า สู่พิธี ๑๔. เสมอเถร หน้าทับ เสมอ ๕ ไม้ลา รัวลาเดียว โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี, นาฏศิลป์, ศิลปะ ความหมาย อั ญ เชิ ญ พ ร ะ ภ ร ต มุ นี เทพเจ้าทางนาฏศิลป์ โขน ละคร มาสู่มณฑลพิธี ๑๕. พราหมณ์เข้าอัญเชิญพระภรตฤาษี หน้าทับ ๒๐ ไม้ลารัวเฉพาะ โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ ช่าง ความหมาย อัญเชิญพระครูฤาษีทกุ ตน มาสู่มณฑลพิธี เป็นผู้รจนาตำ�ราฟ้อนรำ�ขึ้นและเป็นผู้จำ�ท่า รำ�จากพระอิศวร ซึง่ ฟ้อนรำ� ณ สรวงสวรรค์ พระภรต ฤาษี ทรงนำ�มาถ่ายทอดแก่มนุษย์โลก ลักษณะศีรษะครู หน้าฤาษีสีทองหรือสีชมพู จิตสัมผัส 49


๑๖. เสมอผี หน้าทับ โอกาสที่ใช้

เสมอ ๕ ไม้ลา รัวลาเดียว บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ ความหมาย อั ญ เชิ ญ ครู ม นุ ษ ย์ ฝ่ า ย ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ ที่ ล่วงลับไปแล้วมาสูม่ ณฑล พิธี

๑๗. เพลงช้าเพลงเร็ว หน้าทับ ปรบไก่ ๒ ชั้น รัวลาเดียว โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ความหมาย อัญเชิญครูพระ ครูนาง ครู มนุษย์ สู่มณฑลพิธี ๑๘. เสมอมาร หน้าทับ เสมอ ๕ ไม้ลา รัวลาเดียว โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ความหมาย อัญเชิญเทพเจ้าฝ่ายอสูร เข้าสู่มณฑลพิธี ๑๙. ตระอัญเชิญองค์พระพิราพเต็มองค์ หน้าทับ รัวเฉพาะตามทำ�นองเพลง เสมอ ๑๖ ไม้ลา พัน ฉิง่ รัว ปฐมลา รัวลาเดียว โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ความหมาย อัญเชิญพระพิราพ เข้าสู่ มณฑลพิธี เป็นปางหนึง่ ของพระอิศวร (ในเรือ่ งรามเกียรติ์ เป็นยักษ์ตนหนึ่ง) อสูรเทพบุตรหัวโล้นกายเป็นวง ทักษิณาวรรต พระอิศวรเอากำ�ลังพระสมุทรและพระ 50 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

เพลิงแบ่งประทานกำ�หนดเขตให้อยู่ในเชิงอัศกรรณ ถ้าสัตว์ผ่านพลัดเข้าไปจึ่งจะจับกินได้ พระพิราพมี สวนซึ่งปลูกต้นพะวา (สารภี) ครั้งพระรามเดินผ่าน เข้าไปพลยักษ์ต่างๆ ที่เฝ้าสวนรุมกันจับแต่ถูกพระ ลักษณ์ฆ่าตาย เมื่อพระรามผ่านไปแล้ว พระพิราพ ทราบข่าว ก็ติดตามจะออกไปจับพระรามและใน ที่สุดต้องศรพระรามตาย ลั ก ษณ์ ศี ร ษะครู หน้ า ยั ก ษ์ ปากแสยะ ตาจระเข้ สีน้ำ�รัก หัวโล้น ๒๐. รำ�ดาบ รัวเชือดหมู หน้าทับ รำ�ดาบ รัวเชือดหมู โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ ความหมาย การจัดเตรียมเฉือนหัวหมู เป็ด ไก่ รินน้ำ� รินสุราจุด ธู ป ปั ก เครื่ อ งสั ง เวยเพื่ อ เตรียมถวายแต่เทพเจ้าที่ อัญเชิญมา ๒๑. นั่งกิน หน้าทับ นั่งกิน โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ และครูช่าง ความหมาย ถวายเครื่ อ งสั ง เวยและ เครื่องกระยาบวช ๒๒. เซ่นเหล้า หน้าทับ เซ่นเหล้า โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ และครูช่าง ความหมาย ถวายเครื่ อ งสั ง เวย แต่ เทพเจ้าทางฝ่ายอสูร


๒๓. พระเจ้าลอยถาด หน้าทับ พระเจ้าลอยถาด โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ และครูช่าง ความหมาย การลาเครือ่ งสังเวย เครือ่ ง กระยาบวช เครื่ อ งบู ช า และ อนุโมทนาในพิธีไหว้ ครู ๒๔.โปรดข้าวตอกดอกไม้ หน้าทับ ตระบองกัน รัวลาเดียว โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ และครูช่าง ความหมาย การบวงสรวงเพื่อให้เกิด ความเป็ น สิ ริ ม งคลแก่ สถานที่และผู้ร่วมพิธีไหว้ ครู ๒๕. มหาชัย หน้าทับ ปรบไก่ ๒ ขั้น โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ และครูช่าง ความหมาย ให้ประสบความสำ�เร็จตาม ที่ใจปรารถนา ๒๖. พราหมณ์ออก หน้าทับ เสมอ ๘ ไม้ลา รัวเฉพาะ โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ และครูช่าง ความหมาย อัญเชิญเทพเจ้า สิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ออกจากมณฑลพิธี

๒๗. เสมอเข้าที่ หน้าทับ เสมอ ๕ ไม้ลา รัวลาเดียว โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ และครูช่าง ความหมาย การบวงสรวงเพื่อให้เกิด ความเป็ น สิ ริ ม งคลแก่ สถานที่และผู้เข้าร่วมพิธี ไหว้ครู ๒๘. เชิด หน้าทับ เชิดกลองชั้นเดียว โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ และครูช่าง ความหมาย อั ญ เชิ ญ ขบวนเทพบุ ต ร นางฟ้า อสุรา ครูฤาษี ครู มนุษย์ กลับสู่ที่สิงสถิตย์ บนสรวงสวรรค์ ๒๙. กราวรำ� หน้าทับ กราวรำ� โอกาสที่ใช้ บรรเลงประกอบพิธไี หว้ครู ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ และครูช่าง ความหมาย การแสดงความยินดี ความ สำ�เร็จในพิธีไหว้ครู ปัจจุบันนี้มีการแต่งเพลงหน้าพาทย์ใหม่ๆ แปลกๆ ขึ้นมากมาย พิธีกรแต่ละคนก็อาจจะเรียก มากกว่าหรือน้อยกว่าตามแบบแผนประเพณีนิยม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรับมอบอ่านโองการจากครูของ แต่ละคน ในการแต่งตัวของพิธีกร บางคนก็จะสวม ผ้ามงคลไว้บนศีรษะ (ไหว้ครูโขน ละคร น่าจะใช้ สำ�หรับรองเศียรฤาษีให้แน่น เพื่อรำ�เพลงพราหมณ์ เข้า พราหมณ์ออก) บางคนก็ไม่สวมผ้ามงคลไว้บน ศีรษะ (ไหว้ครูดนตรีไทย)ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรับมอบ จิตสัมผัส 51


ของแต่ละคน สำ�หรับขั้นตอนในการทำ�พิธีอาจจะ แบ่งเป็น ๒ ตอน คือพิธีไหว้ครู เมื่อพิธีกรกล่าว อัญเชิญครูเสด็จกลับที่สถิตย์ ก็จะให้ดนตรีบรรเลง เพลงเชิด กราวรำ� เสร็จพิธีในตอนแรก ตอนที่ ๒ พิธี ครอบครู จับมือ ให้แก่ลูกศิษย์จนครบทุกคนต่อไป แต่บางคนก็จะทำ�ติดต่อกันไป คือพิธีไหว้ครู ครอบ

ครู จับมือ โดยให้ดนตรีรอคอยจนถึงคนสุดท้ายก็ให้ บรรเลงเพลงเชิด,กราวรำ� เป็นขัน้ สุดท้าย ทัง้ นีข้ นึ้ อยู่ กับขั้นตอนในการทำ�พิธีของแต่ละคน ที่รับมอบสืบ ต่อกันมานัน่ เอง (พิธกี รบางท่านจะเรียก กราวรำ� เชิด เหมือนการแสดงโขน ละคร ก็ถูกต้องตามพิธีกรรม เช่นเดียวกัน)

รายนามผู้ ได้รับมอบอ่านโองการไหว้ครูดนตรีไทย “บ้านศิลปบรรเลง”

พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) มอบให้ ครูสิน ศิลปบรรเลง มอบให้ หลวงประดิษฐไพเราะ มอบให้ พระยาภูมีเสวิน มอบให้ อาจารย์มนตรี ตราโมท มอบให้

52 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

ครูสิน ศิลปบรรเลง หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) อาจารย์มนตรี ตราโมท คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ครูโชติ ดุริยประณีต ครูสกล แก้วเพ็ญกาศ ครูพิมพ์ นักระนาด ร.อ. โองการ กลีบชื่น ศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ครูรวม พรหมบุรี ครูวัน จันทร์อ่อน ครูสำ�รวย แก้วส่วาง ศาสตราจารย์อุดม อรุณรัตน์ ครูจำ�เนียร ศรีไทยพันธ์ ครูจิตร เพิ่มกุศล ครูประสิทธิ์ ถาวร ครูศิลปี ตราโมท ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำ�รูญ


คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง มอบให้ ครูโชติ ดุริยประณีต มอบให้ ครูสกล แก้วเพ็ญกาศ มอบให้ ครูพิมพ์ นักระนาด มอบให้ ร.อ.โองการ กลีบชื่น มอบให้ ครูจำ�เนียร ศรีไทยพันธ์ มอบให้ ครูฟัก โตสง่า มอบให้ ครูอุทัย แก้วละเอียด มอบให้

ครูอุทัย แก้วละเอียด ครูสมภพ ขำ�ประเสร็ฐ ครูสุบิน จันทร์แก้ว อาจารย์สวิต ทับทิมศรี ผศ.ประทีป เล้ารัตนอารีย์ อาจารย์ชนก สาคริก ดร.สุรพล จันทราปัตย์ ครูสืบสุด ดุริยประณีต ครูสวาท มั่นศรีจันทร์ ครูเชื้อ ดนตรีรส ครูฟัก โตสง่า ครูสุพจน์ โตสง่า ครูศิริ วิชเวช อาจารย์จิรัส อาจณรงค์ รศ.วิเชียร อ่อนละมูล

หมายเหตุ สำ�รวจครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ ขออภัยหากมีรายชื่อครูท่านใดที่ได้รับมอบแล้วไม่ได้ใส่ชื่อไว้ในการสำ�รวจครั้งนี้ โปรดแจ้งที่มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ

จิตสัมผัส 53


เครื่องสังเวย

เครือ่ งสังเวย คือ สิง่ ของทีเ่ ป็นอาหารทัง้ คาว และของหวาน ซึ่งนำ�มาเซ่นสรวงบูชาครูเทพเจ้า ครู เทวดา ครูฝ่ายอสูร และครูมนุษย์ ประกอบด้วย ๓ กลุ่ม ดังนี้ ๑. เครื่องกระยาบวช คืออาหารที่ไม่ปะปน ด้วยของสด คาว ๒. เครือ่ งมัจฉะมังสาหาร คือ อาหารทีเ่ ป็น ของสดคาว ๓. เครื่องผลาหาร คือ ลูกไม้และผลไม้ ๑. เครื่องกระยาบวช ประกอบด้วย มะพร้าวอ่อน,บายศรี,บายศรี ปากชาม กล้วยน้ำ�ไท ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมต้ม แดง ขนมต้มขาว ขนมคันหลาว ขนมหูช้าง แกงบวด ต่างๆ ขนมเล็บมือนาง เผือก มัน ถั่ว งา อ้อย นม เนย หมากพลู และน้�ำ เปล่า เป็นอาหารทีใ่ ช้เซ่นสรวง บูชาครูเทวดา เทพเจ้าชั้นสูงและผู้ทรงศีล ๒. เครื่องมัจฉะมังสาหาร ประกอบด้วย หัวหมู เป็ดไก่ กุง้ หอย ปู ปลา ไข่ ไข่เค็ม ยำ�สลัดไข่ ข้าว เหล้า น้ำ�ขวดและน้ำ�เปล่า เป็นอาหารที่ใช้เซ่นสรวงบูชาครูเทวดา ครูอสูรและ ครูมนุษย์ ๓. เครื่องผลาหาร ประกอบด้วยผลไม้ ๗ อย่างได้แก่ ขนุน ส้ม โอ ทุเรียน สัปปะรด กล้วยหอม กล้วยไข่ และอ้อย หรืออนุโลมให้น�ำ ผลไม้ทมี่ ตี ามฤดูกาลหรือตามท้อง ถิ่นนั้นๆ ได้เป็นอาหารที่ใช้เซ่นสรวงครูฤาษี และ ผู้ทรงศีล ในพิธีไหว้ครูจะต้องจัดอย่างน้อย ๓ ชุด คือ เครื่องสุก ๒ ชุด กับเครื่องดิบ ๑ ชุด

54 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

เครื่องสุก เพือ่ ถวายเทพเจ้า เทวดา ครูฤษี

๑ ชุด และครูมนุษย์ ๑ ชุด เครื่องดิบ เพือ่ ถวายครูพระพิราพและเทพ ฝ่ายอสูร ๑ ชุด

ขันกำ�นล

ขันกำ�นล คือ ขันล้างหน้าทีเ่ ป็นโลหะหรือขัน อลูมิเนียม ใช้สำ�หรับศิษย์ นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่เข้า ร่วมพิธนี �ำ มามอบให้ครูเพือ่ ฝากตัวเป็นลูกศิษย์เรียน ดนตรี ศิลปะ นาฏศิลป์ ช่างฝีมือ ภายในขันจะใส่ ดอกไม้ ธูป เทียน ผ้าขาว และเงินกำ�นล ๑๒ บาท (บางสถาบันจะกำ�หนดไว้ที่ ๒๙ บาท หรือ ๓๙ บาท ตามคำ�แนะนำ�ของครูผู้สอน) ในสมัยโบราณกำ�หนดไว้ว่าเงินกำ�นลนี้จะ ต้องนำ�ไปซื้ออาหารใส่บาตรพระสงฆ์ได้ ๑ ชุด เพื่อ อุทิศส่วนกุศลให้กับครู หรือจะรวบรวมทำ�สังฆทาน อุทศิ ส่วนกุศลให้กบั ครูกไ็ ด้ แต่ห้ามนำ�เงินกำ�นลนีไ้ ป ใช้ ใ นทางที่ ไ ม่ ค วร หรื อ นำ � ไปใช้ ส่ ว นตั ว ในทาง อบายมุขเด็ดขาด สำ�หรับในการจับมือหรือจะครอบครูขั้นสูง ขึ้น ครูไม่ควรเรียกร้องให้ศิษย์ใส่เงินกำ�นลมากเกิน ควร แต่ ค วรให้ จั ด ตามความเหมาะสมหรื อ เห็ น สมควร ในการจั บ มื อ เพื่ อ เรี ย นดนตรี ไ ทย ตาม ขนบประเพณี ด นตรี ไ ทยหรื อ ตามโบราณนิ ย ม แบ่งเป็น ๕ ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ จับมือเพลงสาธุการ (เพลงชุด โหมโรงเย็น) ขั้นตอนที่ ๒ จับมือเพลงตระหญ้าปากคอก (เพลงชุดโหมโรงเย็น)


ขั้นตอนที่ ๓ จับมือเพลงตระบองกัน (เพลง ชุดโหมโรงกลางวัน) ขั้นตอนที่ ๔ จับมือเพลงบาทสกุณี (เพลง หน้าพาทย์ชั้นสูง) ขั้นตอนที่ ๕ จับมือเพลงองค์พระพิราพ ผู้ ที่จะเรียนจะต้องมีความรู้ขั้น พื้นฐานทางด้านปี่พาทย์เป็น อย่างดี มีคุณธรรม หรือไม่ ประพฤติผดิ ศีลธรรมทัง้ ๕ ข้อ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุมา แล้ว ควรมีอายุไม่ต�ำ่ กว่า ๓๐ ปี หรือได้รบั พระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว

องค์ประกอบพิธีไหว้ครู

๑. พิธกี ร เจ้าพิธหี รือพราหมณ์ อ่านโองการ ควรเป็นผูท้ มี่ วี ยั วุฒ,ิ คุณวุฒิ มีคณ ุ ธรรมและจริยธรรม เป็นที่เคารพนับถือของบรรดาศิษย์ และได้รับการ ยกย่อง ชื่นชมจากบรรดาครูด้วยกัน ๒. ผูช้ ว่ ยพิธกี ร ควรมีอย่างน้อย ๒ คน เพือ่ คอยช่วยเหลือพิธกี ร,จุดธูป,เทียน,เฉือนเครือ่ งสังเวย และจั ด ขั้ น ตอนขณะครอบครู จ นกว่ า จะเสร็ จ สิ้ น พิธีกรรม

๓. วงปีพ ่ าทย์ไม้แข็งเครือ่ งคูส่ �ำ หรับบรรเลง เพลงหน้าพาทย์ ประกอบพิธใี นการอัญเชิญเทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงมาประทับในมณฑลพิธี ๔. การรำ�ถวายมือ โดยทางฝ่ายการแสดง และนาฏศิลป์ จะจัดเตรียมการแสดงการรำ�ถวายมือ ไว้ ๒-๓ ชุด ใช้เวลาประมาณ ๑๐-๒๐ นาที ในช่วงที่ ถวายเครื่องสังเวยแต่เทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ๕. การบรรเลงถวายมือ หลังจากเสร็จสิ้น การทำ�พิธีไหว้ครู อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กลับไปสูท่ สี่ งิ สถิตย์ บรรดาศิษย์เก่าและศิษย์ปจั จุบนั จะจัดผลัดเปลี่ยนการบรรเลงถวายมือ เพื่อเป็นการ แสดงความเคารพ และบูชาครูตอ่ ไป สำ�หรับในเพลง สุดท้ายหรือเพลงลา จะนิยมให้นักดนตรีทั้งศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบันมาบรรเลงร่วมกัน และร้องว่าดอก อวยพรความรักความสามัคคีที่มีต่อกัน ๖. อุปกรณ์รับมอบการเป็นครู สำ�หรับ นักเรียนชั้นปีที่ ๔ หรือผู้ที่จบการศึกษา จะต้องจัด เตรียมดังนี้ ครูสายดนตรีจะต้องจัดไม้ตีทุกประเภท เครือ่ งจังหวะใส่พานตัง้ ไว้ในพิธี ส่วนครูนาฏศิลป์การ แสดงจะจัดอาวุธทุกประเภทใส่พานเตรียมไว้ตั้งแต่ เริ่มพิธีจนถึงพิธี รับมอบความเป็นครูในขั้นสุดท้าย

จิตสัมผัส 55


เพลงหน้าพาทย์ จาก http://cdaat.bpi.at.th

ความหมายของเพลงหน้าพาทย์

เพลงหน้าพาทย์ หรือเพลงครู เป็นเพลง ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะครูอาจารย์ และ ศิลปินด้านนาฏศิลป์ดนตรีให้ความเคารพบูชาอย่าง สูง เมือ่ ได้ยนิ เพลงหน้าพาทย์คราวใด ก็จะยกมือขึน้ ไหว้ เพื่อรำ�ลึกถึงคุณครูบาอาจารย์ผู้ถ่ายทอด ประสิทธิป์ ระสาทความรูด้ า้ นท่ารำ�ทำ�นองเพลง แก่ ตน และไม่กล้าทำ�สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่แสดงว่าเป็นการ ลบหลู่ หรือขาดความเคารพทั้งกาย วาจา ใจ ไม่ว่า จะเป็นในการเรียนหรือการฝึกซ้อม สำ�หรับความ หมายของเพลงหน้าพาทย์นนั้ มีผใู้ ห้ คำ�จำ�กัดความ ไว้ในทีต่ า่ งๆ มากมาย ซึง่ มีความหมายใกล้เคียงกัน ดังนี้ พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. ๒๕๓๐ (๒๕๓๑: ๕๕๖) ได้ให้ความหมายของเพลง หน้าพาทย์ดงั นี้ “หน้าพาทย์ น. เพลงทีใ่ ช้แสดงกิรยิ า อาการเคลื่อนไหวของตัวละคร” จากหนังสือศัพท์สังคีต ซึ่งกรมศิลปากรจัด พิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ หมายถึง เพลงที่บรรเลง 56 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

ประกอบกิริยา ไม่ว่าจะเป็นกิริยาของมนุษย์ สัตว์ วัตถุ หรือธรรมชาติ ทั้งกิริยาที่มีตัวตน หรือกิริยา สมมุติ และตลอดทั้งกิริยาที่เป็นปัจจุบันหรืออดีต เพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาทั้งหลายเหล่านี้ถือว่า เป็นเพลงหน้าพาทย์ทั้งสิ้น ธนิต อยู่โพธิ์ (๒๕๑๑: ๒๑๑) ได้อธิบายไว้ ในหนังสือโขนว่า “รำ�หน้าพาทย์ ได้แก่ การรำ�ตาม ทำ�นองดนตรีปี่พาทย์ ที่บรรเลงประกอบเพลงหน้า พาทย์ต้องทำ�ตามรสนิยม และจังหวะทำ�นองเพลง ดนตรี เพลงหน้าพาทย์ จึงอาจอธิบายได้ว่า เป็น เพลงที่มีปี่พาทย์เป็นหลัก เป็นประธาน” มนตรี ตราโมท (๒๕๔๓: ๓๙๖) ได้อธิบาย ความหมายของเพลงหน้ า พาทย์ ไว้ ใ นหนั ง สื อ สารานุกรมไทยสำ�หรับเยาวชน เล่มที่ ๑ ว่า “ เพลง หน้าพาทย์ เป็นเพลงที่บรรเลงประกอบกิริยา เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งของมนุษย์ สัตว์ วัตถุต่างๆ และอื่นๆ เช่น เดิน นอน วิ่ง กลาย ร่าง เกิดขึ้น สูญไป เป็นต้น ไม่ว่ากิริยานั้นจะแล เห็นตัวตน เช่น การแสดงโขน ละคร หรือกิรยิ าสมมุติ


แลไม่เห็นตัวตน เช่น การเชิญเทวดาให้เสด็จมา ถ้า เป็นการบรรเลงประกอบกิรยิ านัน้ แล้วก็เรียกว่าหน้า พาทย์ทั้งสิ้น” เสรี หวังในธรรม (๒๕๒๑ - ๒๕๒๕: ๒๔๐) อธิบายไว้ว่า “เพลงหน้าพาทย์หมายถึงเพลงที่ใช้ บรรเลงประกอบอารมณ์และกิริยาอาการของตัว แสดงว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะทำ�นองและจังหวะ จะจำ�กัดอยู่ในแบบแผนที่กำ�หนดไว้เป็นแบบแผน แน่นอน มิบังควรที่จะปรับปรุงแก้ไขเป็นอันขาด” จตุพร รัตนวราหะ (๒๕๑๙: ๙) ผู้เชี่ยวชาญ ด้านนาฏศิลป์โขน (ยักษ์) ให้ความหมายของเพลง หน้าพาทย์ไว้ว่า “เพลงหน้าพาทย์บรรเลงสำ�หรับ ประกอบกริยาเคลื่อนไหวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ เคลื่อนไหวของมนุษย์ สัตว์ หรือวัตถุธรรมชาติใดๆ ก็ตาม เพลงที่ใช้ประกอบกิริยาอาการเหล่านี้เป็น เพลงหน้าพาทย์ทั้งสิ้น” สิริชัยชาญ ฟักจำ�รูญ (๒๕๓๘: ๑๘) ได้ให้ ความหมายเพลงหน้าพาทย์ไว้หลายนัย ได้แก่ - เพลงครูทวี่ งการศิลปินด้านนาฏศิลป์ดนตรี เคารพนับถือ - เพลงทีใ่ ช้กบั การแสดงโขน ละคร หนังใหญ่ หุ่นกระบอก และการแสดงอื่นๆ อีกหลายอย่าง รวมทั้งการแสดงลิเก - เพลงที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ทั้งพิธีหลวง พิธีราษฎร์ รวมทั้งพิธีสงฆ์อีกด้วย สมศักดิ์ ทัดติ (๒๕๔๐: ๒๖๖) ครูเชี่ยวชาญ ด้านการสอนนาฏศิลป์โขน (ยักษ์) ให้ความเห็นเกี่ยว กับเพลงหน้าพาทย์ไว้ ดังนี้ “เป็นเพลงทีบ่ รรเลงประกอบอิรยิ าบถต่าง ๆ ของตัวโขน ละครนั้น ถ้าไม่มีบทร้องแล้วย่อมถือว่า เป็นเพลงหน้าพาทย์ได้ทั้งสิ้น และเพลงหน้าพาทย์

มีความสำ�คัญศิลปินจะเคารพกันว่าเป็นเพลงครู การถ่ายทอดและการร่ายรำ�ต้องกระทำ�ด้วยความ เคารพอย่างสูง ถ้าเกิดผิดพลาดก็จะถือว่าเป็นโทษ แก่ตน จะต้องมีพิธีกรรมเพื่อขอสมาลาโทษกับครู ด้วยวิธีต่างๆ แต่เดิมจึงมีการแบ่งแยกประเภทของ เพลงร้องและเพลงหน้าพาทย์ไว้ชัดเจน ปัจจุบันนำ� เพลงหน้าพาทย์บางเพลงมาใส่ท�ำ นองร้องด้วย เช่น ตระนิมติ ตระบองกัน และชำ�นาญ ซึง่ บางครัง้ ใส่เนือ้ ร้องไว้หนึ่งเที่ยวและรำ� อีกหนึ่งเที่ยว” ประเมษฐ์ บุณยะชัย (ม.ป.ป: ๖๓) ได้กล่าว ถึงเพลงหน้าพาทย์ไว้ในเอกสารประกอบการสอน จารีตนาฏศิลป์ไทยว่า “เพลงหน้าพาทย์ หมายถึง เพลงที่ใช้ประกอบกิริยาอาการของ ตัวละครหรือ ประกอบการสมมุติภาพเหตุการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ลมพายุพัด ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ฝนตกหนัก เป็นต้น” นฤมล ขันสัมฤทธิ์ (๒๕๔๕: ๓) อธิบายความ หมายของเพลงหน้าพาทย์ไว้ว่า หมายถึงเพลงที่ใช้ บรรเลงประกอบกิรยิ าอาการเคลือ่ นไหวของตัวแสดง ทัง้ ทีเ่ ป็นตัวตน และกิรยิ าสมมุตแิ ลไม่เห็นตัวตน ทัง้ ทีเ่ ป็นอดีตและปัจจุบนั โดยกำ�หนดท่วงทำ�นองและ จังหวะไว้อย่างมีแบบแผน เพลงหน้าพาทย์ทวั่ ไปไม่มี บทร้อง ดังนั้นท่ารำ�จึงไม่มีความหมายเกี่ยวกับการ ตีบท หรือแสดงอารมณ์อย่างตรงไปตรงมา แต่ใน ปัจจุบันได้มีการบรรจุเพลงหน้าพาทย์ลงในบทร้อง บ้าง ได้แก่ บทถวายพระพร บทอวยพรประเภท ต่างๆ เพื่อให้เกิดความสุขสวัสดิมงคล ประสพผล สำ�เร็จ แก่ผมู้ าร่วมงาน เช่น เพลงตระนิมติ ตระบอง กัน ชำ�นาญ บางครั้งบรรจุเนื้อร้องไว้หนึ่งเที่ยวรำ� หน้าพาทย์อีกหนึ่งเที่ยว รวมทั้งการบรรจุเพลงหน้า พาทย์ลงในบทร้องประกอบการแสดงโขน ละครบาง ตอน เพื่อเป็นการแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ การ นิรมิตแปลงกาย เป็นต้น นอกจากนั้น เพลงหน้า จิตสัมผัส 57


พาทย์ยงั ใช้บรรเลงประกอบพระราชพิธี รัฐพิธี และ ราษฎร์พิธีต่างๆ การเทศน์มหาชาติ ตลอดจนใช้ บรรเลงประกอบพิธีไหว้ครูอีกด้วย สรุปได้วา่ เพลงหน้าพาทย์ หมายถึง เพลง ที่ มี ปี่ พาทย์ เ ป็ น หลั ก เป็ น ประธาน จำ � กั ด อยู่ ใ น แบบแผนที่กำ�หนดไว้เป็นแบบแผนแน่นอน ใช้ บรรเลงประกอบกิริยาเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลง ต่างๆ ทั้งของมนุษย์ สัตว์ วัตถุ หรือ ธรรมชาติ ทั้ง กิรยิ าทีม่ ตี วั ตน หรือกิรยิ าสมมุตแิ ลไม่เห็นตัวตน ทัง้ กิรยิ าทีเ่ ป็นอดีตและปัจจุบนั และในปัจจุบนั ได้มกี าร บรรจุเพลงหน้าพาทย์ลงในบทร้อง อาทิ บทร้อง ประกอบการแสดงโขน ละคร บทถวายพระพร บท อวยพรประเภทต่างๆ เป็นต้น

เรียกกันว่า “ไม้เดิน” และ “ไม้ลา” “ไม้เดิน” หมายถึง จังหวะการตีกลองทัดที่ ดังสม่�ำ เสมอต่อเนือ่ งกันไปเช่นเพลงกราวใน เชิดปฐม “ไม้ลา” หมายถึง จังหวะการตีกลองทัดที่ ดำ�เนินการยักเยือ้ ง ไม่สม่�ำ เสมอ มักตีตอ่ จากไม้เดิน เพลงหน้าพาทย์ที่ประกอบด้วยไม้เดินและ ไม้ลานี้ ได้แก่ เพลงประเภทเสมอต่างๆ ตัวอย่าง เช่น เพลงเสมอธรรมดา ประกอบด้วยไม้เดิน ๕ ไม้ แล้ว ลงลาซึง่ ครูทางนาฏศิลป์เรียกว่า ๔ ไม้ เมือ่ รวมเป็น รำ�แล้วเสมอจะมี ๙ ไม้ หรือ ๙ จังหวะ เรียกกัน ว่า ขึ้นห้าลงสี่ คือ ท่ารำ�ที่ก้าวสืบเท้าไปข้างหน้า ๕ ก้าว และถอยหลัง ๔ ก้าว ฉะนั้น การรำ�เพลง ประเภทเสมอจะกำ�หนดนับจากไม้กลอง และใช้ จังหวะในการรำ�ให้ลงกับไม้กลองเป็นสำ�คัญเฉพาะ จังหวะของไม้เดิน ซึ่งแต่ละเพลงเสมออาจแตกต่าง กันไปบ้าง เช่น เสมอธรรมดาและเสมอมารมี ๕ ไม้ ลา เสมอเถรมี ๙ ไม้ลา บาทสกุณีมี ๑๔ ไม้ลา เป็นต้น มีข้อสังเกตว่าส่วนที่เรียกว่า “ลา” นั้นมี จังหวะการตีกลองทัดที่ยักเยื้องถึง ๑๒ ครั้ง แต่ผู้รำ� มิได้ใช้จงั หวะกลองทีต่ เี ป็นเครือ่ งกำ�หนดท่ารำ� คงจะ ใช้จังหวะสามัญหรือจังหวะฉิ่งซึ่งมีอยู่ ๔ จังหวะ แทน แต่ก็นับและเข้าใจกันว่ามี ๔ ไม้

สมศักดิ์ ทัดติ (๒๕๔๐: ๒๗-๒๗๓) กล่าว ถึงวิธีการต่อท่ารำ�เพลงหน้าพาทย์ไว้ว่า การแบ่ง ประเภทของเพลงหน้า พาทย์ แ บ่ ง ออกเป็ น ๓ ประเภท ได้แก่ หน้าพาทย์ธรรมดา หน้าพาทย์ชั้น กลาง และหน้าพาทย์ชั้นสูง ในการศึกษาท่ารำ�ของ เพลงหน้าพาทย์ก็จะมีขั้นตอนการต่อท่ารำ�ไปตาม ลำ�ดับความสำ�คัญของเพลงหน้าพาทย์ ซึ่งดำ�เนิน ไปลักษณะเดียวกัน แต่กอ่ นกล่าวถึงวิธกี ารต่อท่ารำ� ลักษณะที่สอง การกำ�หนดท่ารำ�ฟังจาก เพลงหน้าพาทย์แต่ละประเภท ควรได้ท�ำ ความเข้าใจ ลักษณะจังหวะของเพลงหน้าพาทย์เสียก่อน การ จังหวะสามัญรวมทัง้ ท่วงทำ�นองของเพลง เพลงหน้า กำ�หนดจังหวะในการร่ายรำ�เพลงหน้าพาทย์นั้น พาทย์บางเพลงไม่ใช้ตะโพนและกลองทัดบรรเลง กระทำ�ได้สองลักษณะ เช่น เชิดฉิง่ สาธุการ คุกพาทย์ รัวสามลา การรำ� ลักษณะแรก คือ การฟังจากจังหวะของ เพลงลักษณะนี้ให้ลงจังหวะงดงาม อาจต้องมีทักษะ กลองและตะโพน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประกอบ ในการฟังประโยคของเพลงหรือท่อนเพลงประกอบ จังหวะหลักของปี่พาทย์ที่บรรเลงควบคู่กัน การ ด้วย แม้ผู้รำ�จะรำ�จังหวะฉิ่ง แต่ถา้ คล่อมกับท่อน กำ � หนดหรื อ จั บ จั ง หวะของเพลงในลั ก ษณะนี้ เพลง ความงามและคุ ณค่าของท่ารำ�ก็จะลดลง มักได้แก่เพลงหน้าพาทย์ธรรมดาที่เป็นท่าพื้นฐาน นอกจากนัน้ เพลงหน้าพาทย์ประเภทตระจะมีจงั หวะ ของท่ารำ� เช่น เพลงกราวใน เชิด ปฐม เสมอ ของไม้เดินและไม้ลา แต่ทา่ รำ�ก็มไิ ด้ยดึ ถือตามจังหวะ รัว โอด เสียงตะโพนและกลองทัดทีใ่ ช้ในการกำ�หนด ไม้กลองดังกล่าว ตัวอย่างเช่น เพลงตระนิมิต จังหวะของท่ารำ�นั้น ครูอาจารย์ทางนาฏศิลป์โขน ซึ่งประกอบด้วยไม้เดิน ๔ ไม้ และลงลา บรรเลง ๒ 58 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


เที่ยวต่อเนื่องกันไป ในการต่อท่ารำ�ครูอาจารย์ทาง นาฏศิลป์ก็มิได้บอกศิษย์ ลงไม้เดินและลงลาของ เพลงตระนิมิต ทั้งนี้เพราะการรำ�ตระนิมิตมิได้ กำ�หนดท่ารำ�ตามไม้กลองนั่นเอง แต่กำ�หนดจาก จังหวะสามัญหรือจังหวะฉิ่งเป็นสำ�คัญ ส่วนเพลงหน้าพาทย์ชำ�นาญ เป็นเพลงที่ใช้ หน้าทับเฉพาะ เรียกว่าหน้าทับชำ�นาญซึ่งดำ�เนิน ทำ�นองเพลงซ้ำ� ๒ เที่ยวต่อเนื่องจนจบ นอกจากนี้ ก่อนการถ่ายทอดท่ารำ�เพลงหน้าพาทย์ช�ำ นาญ ครู ผู้สอนแนะนำ�ให้ผู้เรียนฝึกสังเกตทำ�นองเพลง ฟัง เสียงจังหวะไม้กลอง คือ ตะโพน และกลองทัด รวม ทั้งฟังจังหวะสามัญ หรือเรียกว่าจังหวะฉิ่งที่บรรเลง ประกอบให้เข้าใจชัดเจนก่อน จากนัน้ ครูจงึ ถ่ายทอด ท่ารำ�ให้ผเู้ รียน โดยมิได้ก�ำ หนดท่ารำ�ตามจังหวะหน้า ทับ แต่เป็นการกำ�หนดจากจังหวะท่ารำ�ซึ่งหมายถึง กำ�หนดตามจังหวะการใช้ตวั ของท่ารำ�เป็นหลัก เช่น ท่าไหว้ เยื้องตัวมี ๒ จังหวะ ท่าไหว้ยักตัวมี ๘ จังหวะ เป็นต้น ทั้งนี้ โดยฟังจากทำ�นองเพลง จังหวะตะโพน กลองทัดที่ตีดัง เท่ง - ทิ้ง - ต้อม ต้อม ๆ ๆ ๆ จนหมดจังหวะท่ารำ� นอกจากนั้นผู้รำ� ต้องกำ�หนดท่ารำ�จากการฟังจังหวะสามัญ หรือ จังหวะฉิ่งซึ่งมีหน้าที่ควบคุมจังหวะทั้งหมดอีกด้วย จะเห็นได้วา่ ผูเ้ ชีย่ วชาญทางด้านนาฏศิลป์ไทย ได้ให้ความสำ�คัญเกี่ยวกับลักษณะของจังหวะและ ทำ�นองเพลงโดยให้ผู้เรียนฝึกทักษะในการสังเกต และกำ�หนดจังหวะท่ารำ�ว่าท่ารำ�แต่ละท่ามีจำ�นวน จังหวะเท่าใด ต้องให้สอดคล้องกับทำ�นองเพลง จังหวะไม้กลอง ตลอดจนจังหวะสามัญ หรือทีเ่ รียกว่า จังหวะฉิ่ง ผู้เรียนต้องจดจำ�ให้แม่นยำ� เพื่อป้องกัน การรำ�คล่อมจังหวะ หรือคล่อมกับทำ�นองเพลง และ เมื่อรำ�ได้ถูกต้องตรงตามจังหวะและทำ�นองเพลง แล้ว คุณค่าและความงดงามของกระบวนท่ารำ�ก็ยิ่ง ทวีเพิ่มขึ้นด้วย

วิธีการถ่ายทอดท่ารำ�เพลงหน้าพาทย์ ตามลำ�ดับความสำ�คัญ คือ

๑. วิธีการถ่ายทอดท่ารำ�เพลงหน้าพาทย์ ธรรมดา ๒. วิธีการถ่ายทอดท่ารำ�เพลงหน้าพาทย์ ชั้นกลาง ๓. วิธีการถ่ายทอดท่ารำ�เพลงหน้าพาทย์ ชั้นสูง ๑. วิธีการถ่ายทอดท่ารำ�เพลงหน้าพาทย์ ธรรมดา เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ส่วนใหญ่มีจังหวะไม้ กลองได้ชดั เจน เช่น กราวใน เชิด ปฐม ครูสามารถ ต่อท่ารำ�ให้ผเู้ รียนได้โดยปกติ โดยการเรียงลำ�ดับไป ตามท่ารำ�ในขั้นแรกอาจต่อท่าโดยใช้ไม้เคาะจังหวะ ก่อน เมือ่ ฝึกฝนจนเกิดความชำ�นาญแล้วครูจงึ ให้ร�ำ เข้ากับดนตรี ซึง่ ในระยะแรกครูอาจใช้ไม้เคาะจังหวะ ตีควบคูไ่ ปด้วย เพือ่ ช่วยเน้นการใช้จงั หวะต่างๆ ต่อ มาเมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจและแม่นยำ�ในจังหวะ เพลงแล้วจึงให้ปฏิบัติด้วยตนเอง ๒. วิธกี ารถ่ายทอดท่ารำ�เพลงหน้าพาทย์ ชั้นกลาง หน้าพาทย์ในขั้นนี้เริ่มตั้งแต่เพลงตระนิมิต ขึ้นไป โดยผู้เรียนต้องผ่านพิธีครอบครูเสียก่อน และเพลงหน้ า พาทย์ ใ นระดั บ นี้ ก็ ถื อ ว่ า มี ค วาม ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ และมี ค วามสำ � คั ญ มากใช้ สำ � หรั บ นักแสดงครูอาจารย์ทางนาฏศิลป์มักจะเรียกกันว่า “เพลงครู” การต่อเพลงครูจะต้องอธิบายให้ผเู้ รียนได้ ทราบว่าเพลงนั้นมีความสำ�คัญความศักดิ์สิทธิ์และ ความหมายอย่างไร สามารถนำ�ไปใช้ในโอกาสใดบ้าง การต่อท่าจะต่อท่าให้ทลี่ ะท่าเรียกกันว่า “ต่อท่าดิบ” ครูจะกวดขันท่าทางและท่วงทีให้สวยงามมากที่สุด แล้วจึงให้ร�ำ เข้ากับเพลง ครูจะขัดเกลาท่ารำ�ให้ผเู้ รียน จนเป็นที่พอใจ โดยเน้นเรื่องจังหวะและการออกท่า จิตสัมผัส 59


ให้ครบถ้วน ท่ารำ�และจังหวะต้องพอดีกัน ในสมัย โบราณเพลงหน้าพาทย์เป็นสิ่งที่ครูหวงแหน และ ถือว่ามีความสำ�คัญสูงมิได้ถ่ายทอดกันได้อย่าง พร่ำ�เพรื่อ ผู้ที่มีโอกาสต่อท่ารำ� ผู้นั้นจะต้องมีหน้า ที่แสดงในตอนที่ใช้เพลงหน้าพาทย์นั้น และการต่อ ท่าก็มจี ารีตอยูว่ ่าผูท้ มี่ โี อกาสต่อท่ารำ� ผูน้ นั้ จะต้อง มีหน้าที่แสดงในตอนที่ใช้เพลงหน้าพาทย์ และการ ถ่ายทอดท่ารำ�ในสมัยโบราณ ครูจะต่อท่ารำ�เพลง หน้าพาทย์โดยครูร�ำ นำ�หน้าแล้วผูเ้ รียนรำ�ตามให้ครบ สามครั้ง เพื่อสร้างศรัทธาและความเชื่อมั่น อีกทั้ง ทำ�ให้ผู้เรียนสามารถจดจำ�ท่ารำ�และปฏิบัติตามได้ จากนัน้ จึงเป็นการประเมินความสามารถของผูเ้ รียน ว่ามีความสามารถในการปฏิบัติท่ารำ�และการฟัง จังหวะดนตรีได้ในระดับใด

โอกาสที่ใช้เพลงหน้าพาทย์ประกอบการ แสดง

การเรียงลำ�ดับเพลงหน้าพาทย์ ความหมาย ตลอดจนจำ�นวนของเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลง ประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์โขน ละคร และดนตรี ไทยมีความแตกต่างและมีจ�ำ นวนเพลงหน้าพาทย์ไม่ เท่ากัน ลำ�ดับการบรรเลงและความหมายของเพลง หน้าพาทย์ประกอบพิธี ไหว้ครูดนตรีไทย มีจำ�นวน หน้าพาทย์ ๑๙ เพลง เพลงที่มีความแตกต่างจาก พิธีไหว้ครูโขน ละคร ได้แก่ ลำ�ดับที่ ๓ เพลง พราหมณ์เข้า หมายถึงผู้ประกอบพิธีกล่าวนำ�ถวาย ดอกไม้ธปู เทียน ๓ จบ ทางฝ่ายโขน ละคร ใช้บรรเลง เมื่อผู้ประกอบพิธีถือสังข์รำ�เข้ามาในพิธี และขอ อนุญาตให้มณฑลพิธีนั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ใช้ ประกอบพิธีเพื่อเป็นสิริมงคล ส่วนลำ�ดับที่ ๙ ของ ๓. วิธีการถ่ายทอดท่ารำ�เพลงหน้าพาทย์ การบรรเลงและความหมายของเพลงหน้าพาทย์ ประกอบพิธไี หว้ครูดนตรีไทย เพลงเสมอเถร หมายถึง ชั้นสูง มีความพิถีพิถันและละเอียดอ่อนมากกว่า การบูชา พระวิสสุกรรม พระปัญจสีขร พระปรคนธรรพ การถ่ายทอดท่ารำ�เพลงหน้าพาทย์ในระดับทีผ่ า่ นมา ลำ�ดับที่ ๑๗ เพลงมหาชัย หมายถึง ผู้ประกอบพิธี โดยพิจารณาคุณสมบัติของผู้รับถ่ายทอดเพิ่มขึ้น ประพรมน้�ำ มนต์สกั การะบูชาเศียรเทพพร้อมทัง้ เจิม เช่น ฝีมือรำ� วัยวุฒิ คุณวุฒิ และความจำ�เป็นใน แป้งกระแจะที่เศียรเทพ ตะโพน และเครื่องดนตรี การนำ�ไปใช้ เพลงหน้าพาทย์สำ�คัญ เช่น พราหมณ์ ต่างๆ ซึ่งทั้งสองเพลงนี้ไม่มีปรากฏในตำ�ราพิธีไหว้ ครูโขน ละครของนายอาคม สายาคม แต่ผปู้ ระกอบ เข้า พราหมณ์ออก ศิษย์อาจต้องมอบขันกำ�นลเพือ่ บูชาคุณครูอกี ครัง้ หนึง่ ส่วนเพลงหน้าพาทย์องค์พระ พิธีโขน ละคร ในปัจจุบัน ได้มีการบรรจุเพลงหน้า พิราพนั้นเป็นเพลงหน้าพาทย์สูงสุดซึ่งศิลปินให้ พาทย์ทั้งสองเพลงนี้ลงในขั้นตอนการประกอบพิธี ความเคารพและยำ�เกรงกันอย่างมาก แม้การแสดง ไหว้ครูด้วย นอกจากนั้น ลำ�ดับการบรรเลงและความ เพลงหน้าพาทย์นกี้ จ็ ะต้องหาโอกาสทีเ่ หมาะสมและ ต้องตั้งเครื่องสังเวยทุกครั้ง การต่อเพลงหน้าพาทย์ หมายของเพลงหน้าพาทย์ มีทใี่ ช้ตา่ งกัน เช่น เพลง องค์พระพิราพครัง้ สุดท้ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั โหมโรง เพลงสาธุการกลอง เพลงตระนารายณ์ ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าให้ต่อท่าในพระที่น่งั บรรทมสินธุ์ ฯลฯ มีการเรียงลำ�ดับต่างกัน ส่วนเพลง เสมอเถร ฝ่ายโขน ละครไม่มที ใี่ ช้ แต่ฝา่ ยดนตรีไทย ดุสติ าลัย เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๒๗ ใช้บรรเลงเพือ่ บวงสรวงบูชาพระวิสสุกรรม พระปัญจ สีขร และพระปรคนธรรพ เพลงตระเชิญ ฝ่ายโขน ละครเป็นการบรรเลงเชิญพระอิศวร ฝ่ายดนตรีไทย เป็นการบรรเลงเชิญเทพยดาทั้งปวง ให้เสด็จมายัง 60 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


มณฑลพิธีก่อนที่จะเชิญองค์พระพิราพ เพลงเสมอ บรรเลงประกอบการแสดง โขน ละคร ก. ใช้สำ�หรับการโลดไล่จับกันของตัวละคร เข้าทีฝ่ า่ ยโขน ละคร บรรเลงเชิญครูและเทพทัง้ หลาย เข้าที่ประทับที่จัดไว้ เพื่อเตรียมถวายเครื่องสังเวย ที่มิใช่มนุษย์ เช่น การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด ต่างกับฝ่ายดนตรีไทยที่บรรเลงเพื่อเชิญเทพยดา หนุ ม านจั บ นางสุพรรณมัจฉา - เชิดฉาน ใช้สำ�หรับการโลดไล่จับกันของ ทั้งปวงกลับยังเทวสถาน ส่วนเพลงพราหมณ์ออก ฝ่ายโขน ละครบรรเลงเพือ่ ส่งเสด็จพระภรตฤษี ทาง ตัวละครที่เป็นมนุษย์และสัตว์ เช่น การแสดงโขน ฝ่ายดนตรีไทยบรรเลงเพื่อลาเครื่องสังเวย สำ�หรับ เรื่องรามเกียรติ์ ชุดพระรามตามกวาง ทางฝ่ายโขน ละครมีการถวายเครื่องสังเวยโดยใช้ เพลงนั่งกินและเซ่นเหล้า ส่วนการลาเครื่องสังเวย กิริยาการจัดทัพตรวจพล - ปฐม ใช้สำ�หรับการจัดทัพของบรรดา นั้นไม่มีเพลงบรรเลงปรากฏชัดเจน เข้าใจว่าการลา เครื่องสังเวยนั้นจะอยู่ในช่วงการกล่าวโองการต่อ แม่ทพั นายกอง เช่น ฝ่ายพลับพลาพระราม ตัวแสดง คือสุครีพแม่ทพั ใหญ่เป็นผูร้ �ำ ส่วนฝ่ายลงกาทศกัณฐ์ จากเพลงนั่งกินและเซ่นเหล้า ตัวแสดง คือมโหทรเป็นผู้รำ� - กราวนอก ใช้สำ�หรับการตรวจพลยกทัพ เพลงกราวรำ� และเพลงเชิด ทางฝ่ายโขน ละคร บรรเลงเพื่อแสดงความยินดีในความสำ�เร็จ ของมนุษย์ และวานร เช่น การแสดงโขนเรื่อง ของพิธีอันเป็นมงคล พร้อมทั้งส่งเสด็จครูอาจารย์ รามเกียรติ์ ชุดทศกัณฐ์ยกรบ - กราวกลาง ใช้สำ�หรับการตรวจพลยกทัพ และทวยเทพกลับยังเทวสถาน ส่วนฝ่ายดนตรีไทย จะบรรเลงเพลงเชิดก่อนเพื่อส่งเสด็จครู แล้วจึง ของมนุษย์ ในการแสดงละคร เช่น การแสดงละคร บรรเลงเพลงกราวรำ� เพือ่ แสดงความยินดีในภายหลัง นอกเรือ่ งพระสุธน มโนราห์ ตอนพระสุธนตรวจพล ซึ่งทั้งสองเพลงนี้เดิมไม่มีที่ใช้ แต่ในปัจจุบันนำ�มา ยกทัพ - กราวใน ใช้ส�ำ หรับการตรวจพลยกทัพของ บรรเลงในช่วงท้ายสุดของพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ฝ่ายยักษ์ เช่น การแสดงโขนเรือ่ งรามเกียรติ์ ชุดทศกัณฐ์ เช่นเดียวกับฝ่ายโขน ละคร ยกรบ ข้อสังเกต ในการจัดลำ�ดับการบรรเลง และ ความหมายเพลงหน้าพาทย์ ประกอบพิธีไหว้ครู กิริยาการแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ - ตระการแสดงแต่ละประเภททีก่ ล่าวมาแล้ว นาฏศิลป์โขน ละคร และดนตรีไทย มีความแตกต่าง กัน รวมทัง้ จำ�นวนเพลงหน้าพาทย์ทใี่ ช้บรรเลงไม่เท่า นอกจากจะใช้ดนตรีทมี่ เี นือ้ ร้อง บทพากย์ บทเจรจา กัน ทั้งนี้ เนื่องมาจากการกล่าวโองการ การกล่าว เพื่อเป็นการเจรจาโต้ตอบ การกล่าวถึงบุคคล การ คาถาบูชาครู และเทพเจ้าต่างๆ มีลำ�ดับการกล่าว คิดคำ�นึง ตลอดจนเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ผู้ชมได้รู้ แตกต่างกัน รวมทั้งพิธีไหว้ครูโขน ละคร มีจำ�นวน และเข้าใจแล้ว บทบาททีแ่ สดงออกซึง่ อารมณ์ ความ ครู และเทพยดาที่ต้องกล่าวโองการ อัญเชิญเสด็จ รูส้ กึ อากัปกิรยิ า และฐานะของตัวแสดง ล้วนต้องอาศัย เพลงหน้าพาทย์บรรเลงประกอบทั้งสิ้น ยกตัวอย่าง มาสู่มณฑลพิธีมากกว่าฝ่ายดนตรีไทย บทบาทการแสดงของเทวดา มนุษย์ ยักษ์ ลิง และ สัตว์ต่างๆ จะใช้เพลงหน้าพาทย์ที่หลากหลายแตก ต่างกันไป จิตสัมผัส 61


เพลงหน้าพาทย์เหล่านั้นสามารถเป็นสื่อให้ จะเห็นได้ว่าการบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ ผู้ชมเกิดความเข้าใจ ประทับใจ และซาบซึ้งใน ประกอบการแสดงนั ้น ต้องคำ�นึงถึงองค์ประกอบ สุนทรียรสของการแสดงนั้นๆ ได้ เช่น บทรักของผู้ หลาย ๆ ด้าน ดังนัน้ จึงได้แบ่งการบรรเลงเพลงหน้า แสดงที่เป็นตัวเอกใช้เพลงหน้าพาทย์โอ้โลม โลม พาทย์ตามโอกาสที่ใช้ประกอบการแสดงโขน ละคร และจบลงด้วย เพลงตระนอน ถ้าอยูใ่ นป่ามีพลับพลา ออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ อาศัยใช้เพลงตระบรรทมไพร

การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์แสดงอารมณ์

ได้แก่ บทโศกเศร้าเสียใจใช้เพลงทยอยโอด โอดชัน้ เดี ย ว โอดสองชั้ น ถ้ า ผู้ แ สดงเป็ น เจ้ า นายมี บรรดาศักดิ์เกิดความโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก เช่น พระรามพบเบญกายแปลงเป็นสีดาตายลอยน้�ำ มา ปี่พาทย์บรรเลงเพลงโอดสองชั้น เป็นต้น บทโกรธส่วนใหญ่เป็นของยักษ์ เป็นการ แสดงสืบเนื่องมาจากเพลงที่แสดงอารมณ์เกรี้ยว กราด เช่น เพลงสมิงทองมอญ หรือเพลงลิงโลด แล้วจึงต่อด้วยเพลงคุกพาทย์

- อารมณ์รัก - อารมณ์รื่นเริง สนุกสนาน ดีใจ ภูมิใจ - อารมณ์โศกเศร้า เสียใจ - อารมณ์โกรธ

การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์แสดง อากัปกิริยา ได้แก่

- กิริยาการกิน อาบน้ำ� นอน - กิริยา ไป มา ในระยะใกล้ ไกล - กิริยาการต่อสู้ ติดตาม บทกิริยาไป มาของมนุษย์สูงศักดิ์ เช่น - กิริยาการจัดทัพ ตรวจพล พระรามเสด็จเข้าห้องสรงแต่งตัวหรือไปยังที่ประชุม พลใช้เพลงบาทสกุณี เสด็จออกท้องพระโรงใกล้ ๆ กิริยาอาการแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบการ ใช้เพลงเสมอ แสดงอารมณ์และแสดงอากัปกิริยามีรายละเอียด บทกริยาไป มาของยักษ์ใช้เพลงเสมอมาร ดังนี้ บทกริยาไป มาของฤษีใช้เพลงเสมอเถร บทกิรยิ าไป มาของสัตว์ตา่ งๆ เช่น พญาครุฑ พญานกใช้ เ พลงแผละ ชมพู ห มี ใช้ เ พลงต้ น เข้าม่าน เป็นต้น บทกิรยิ าแผลงอิทธิฤทธิป์ าฏิหาริยใ์ ช้เพลงคุก พาทย์ รัวสามลา

62 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์แสดงอารมณ์

ได้แก่

อารมณ์รัก - โลม ใช้สำ�หรับเกี้ยวพาราสี เล้าโลมด้วย ความรักความเสน่หา นิยมใช้คู่กับเพลงตระนอน เช่น การแสดงละครในเรื่องอิเหนา ตอนอิเหนา ลักพาตัวนางบุษบาไปไว้ในถ้ำ�มีการเล้าโลมด้วย ความรัก ใช้เพลงโลมต่อด้วยเพลงตระนอน เป็นต้น


อารมณ์รื่นเริง สนุกสนาน ดีใจ ภูมิใจ - กราวรำ� ใช้ในความหมายเยาะเย้ย ฉลอง ความสำ�เร็จหรือสนุกสนาน ได้ชยั ชนะ เช่น การแสดง ละครเรื่องพระลอตามไก่ เมื่อพระลอตามไปทัน ไก่กลับมาแสดงท่าเยาะเย้ย ดนตรีใช้เพลงกราวรำ� - เพลงช้า เพลงเร็ว ใช้แสดงความยินดี เบิกบานใจในการไป มาอย่างงดงาม แช่มช้อย เมื่อไปถึงที่หมายจะใช้เพลงลา เช่น การแสดงละคร เรื่องเงาะป่า ตอนนางลำ�หับและเพื่อนๆ ไปเก็บ ดอกไม้ในป่า เป็นต้น - สีนวล ใช้ส�ำ หรับท่วงทีเยือ้ งยาตรนาดกราย หรือความรื่นเริงบันเทิงใจของอิสตรี อารมณ์โศกเศร้า เสียใจ - ทยอย ใช้แสดงความเศร้าโศก เสียใจ เป็น อย่างยิ่ง ด้วยการร้องไห้ เช่น การแสดงละครเรื่อง พระเวสสันดรชาดก ตอนพระนางมัทรีเดินร้องไห้ ตามหาพระกุมาร ทั้งสอง - โอด ใช้แสดงความเศร้าโศก เสียใจ ร้องไห้ มีทงั้ โอดชัน้ เดียว โอดสองชัน้ เช่น การแสดงโขนเรือ่ ง รามเกียรติช์ ดุ นางลอย ตอนเบญกายแปลงเป็นสีดา ตายลอยน้ำ� เมื่อพระรามมาพบเกิดความเศร้าโศก รำ�พึงรำ�พัน ดนตรีบรรเลงเพลงโอดสองชัน้ ส่วนเพลง โอดเอม ใช้แสดงความดีใจจนน้�ำ ตาไหล เช่น การแสดง ละครในเรื่องสังข์ทอง ตอนนางมณฑาลงกระท่อม นางรจนาเมื่อรู้ว่านางมณฑาผู้เป็นมารดามาหา จึงรีบออกไปรับด้วยความดีใจ ดนตรีบรรเลงเพลง โอดเอม

ตัดจมูก ตัดมือ ตัดเท้าขาด นางสำ�มนักขาไปฟ้อง ทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์ตกใจและโกรธมากดนตรีจะ บรรเลงเพลงคุกพาทย์ หรือการแสดงละครเรื่อง ตำ�นานสงกรานต์ ตอนปริศนากบิลพรหม เมือ่ กบิล พรหมลงมาจากวิมานเพื่อมาหาธรรมบาล ดนตรี บรรเลงเพลงคุกพาทย์

การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์แสดง อากัปกิริยา ได้แก่

- กิริยาการกิน อาบน้ำ� นอน - นัง่ กิน โดยทัว่ ไปใช้ในพิธไี หว้ครู เมือ่ เชิญ ครู หรือเทพยดามาพร้อมกันในพิธแี ล้วได้เวลาถวาย เครื่องกระยาบวชสังเวย - เซ่นเหล้า ใช้ประกอบการกินอาหาร ดืม่ สุรา ใช้ในพิธไี หว้ครูโขน ละคร หรือใช้บรรเลงตอน ภูตผีปีศาจออก เช่น การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนทศกัณฐ์น�ำ น้�ำ ทิพย์ไปประพรมยักษ์ทตี่ ายให้ฟนื้ ขึน้ เป็นปีศาจแล้วมาเฝ้าทีห่ น้ากองทัพ ดนตรีบรรเลง เพลงเซ่นเหล้าประกอบ - ลงสรง ใช้ประกอบกิริยาอาบน้ำ� เช่น การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดสำ�มนักขาหึง พระรามสัง่ ให้นางสีดาและพระลักษณ์อยูใ่ นกุฏิ ส่วน พระรามเสด็จมาสรงน้ำ�องค์เดียว - ลงสรงโทน ใช้บรรเลงเมื่ออาบน้ำ�เสร็จ และนำ�เครือ่ งหอม เครือ่ งแต่งตัวขึน้ มาแต่ง เช่น การ แสดงละครในเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง - ตระนอน ใช้ประกอบการนอนจะเป็นนอน คนเดียว นอนสองคน หรือนอนสามคนก็ได้ ใช้กับ ตัวแสดงพระ นาง ยักษ์ ลิง เช่น การแสดงละครใน อารมณ์โกรธ เรือ่ งอุณรุท ตอนอุม้ สม พระอุณรุทนอนในป่า ดนตรี - คุกพาทย์ และรัวสามลา ใช้แสดงอารมณ์ บรรเลงเพลงตระนอน โกรธ ดุดนั น่าเกรงขาม หรือใช้ในการแผลงอิทธิฤทธิ ์ - ตระบรรทมไพร ใช้ประกอบการนอนขณะ สำ�แดงเดช เช่น การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ชุดลัก ทีค่ า้ งในป่า เช่น การแสดงโขนเรือ่ งรามเกียรติ ์ ตอน สีดา ตอนทีน่ างสำ�มนักขาน้องสาวทศกัณฐ์เข้าไป พระรามเดินทางไปตามหานางสีดาที่กรุงลงกา เกีย้ วพาราสีพระราม แล้วถูกพระลักษมณ์ใช้พระขรรค์ ระหว่างทางต้องนอนค้างกลางป่า จิตสัมผัส 63


- ตระบรรทมสินธุ์ ใช้สำ�หรับพระนารายณ์ จึงได้กล่าวถึงการใช้เพลงบาทสกุณีของทศกัณฐ์ไว้ บรรทมองค์เดียวเท่านั้น เรียกเพลงนี้อย่างเต็มว่า ด้วย ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เพลงบาทสกุณีกับพญา “ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์” เป็นการแสดงกิริยาการ ยักษ์ทั้งหลาย แต่มักนิยมใช้เฉพาะพระและนาง บรรทมของ พระนารายณ์ อยูบ่ นหลังพญานาคราช เท่านั้น เนื่องด้วยเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง และ เป็น สุดยอดของเพลงหน้าพาทย์เสมอ ทัง้ ด้านความ กลางเกษียรสมุทร เช่น การแสดงโขนเรือ่ งรามเกียรติ ์ ตอนพระนารายณ์ทรงปราบหิรันตยักษ์เสร็จก็เสด็จ ไพเราะของท่วงทำ�นองเพลง และจังหวะไม้เดินที่ กลับเข้าที่บรรทม ณ เกษียรสมุทร ค่อนข้างยาวกว่าเพลงเสมอทัว่ ๆ ไป ตลอดจนความ สง่างามของกระบวนท่ารำ� เช่น การแสดงโขนเรื่อง กิริยาไป มา ในระยะใกล้ ไกล รามเกียรติ์ ชุดยกรบ ตอนพระราม พระลักษณ์จะ - เสมอ ใช้ประกอบกิรยิ าไป มาใกล้ ๆ เช่น ยกทัพไปรบกับศัตรู ก่อนยกทัพออกไปจะต้องสรง เดินออกจากท้องพระโรง เข้าฉากแบ่งออกเป็น ๒ น้ำ� แต่งตัว เมื่อเสร็จแล้วปี่พาทย์บรรเลงเพลงบาท ประเภท คือ สกุณีเพื่อเดินออกมายังที่ประชุมพล ๕) เสมอเข้าที่ เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง - เสมอตามลักษณะตัวละคร หมายถึง เพลง ใช้สำ�หรับเชิญฤษี ครู อาจารย์ หรือใช้ในพิธีไหว้ครู เสมอที่มีชื่อตามลักษณะผู้แสดง ได้แก่ ๑) เสมอมาร ใช้สำ�หรับพญายักษ์ที่มียศ เช่น เชิญครูทั้งหลายเข้าประทับตามที่ ๆ จัดไว้เพื่อ ศักดิ์สูง เช่น สหัสสเดชะ ทศกัณฐ์ และที่มีตำ�แหน่ง รับเครื่องสังเวย รองๆ ลงมา เป็ น ต้ น เช่ น การแสดงโขนเรื่ อ ง ๖) เสมอข้ามสมุทร เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ รามเกียรติ ์ ชุดนารายณ์ปราบนนทุก ตอนนนทุกขึน้ แสดงให้เห็นถึงการเดินทางทัง้ กองทัพ เช่น การแสดง เฝ้าพระอิศวร โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดจองถนน เมื่อพระรามยก ๒) เสมอสามลา ใช้สำ�หรับพญายักษ์ใหญ่ กองทัพข้ามมหาสมุทรไปกรุงลงกา หรือตัวละครที่มียศศักดิ์สูง แสดงถึงการไปมาด้วย ๗) เสมอผี ใช้สำ�หรับพญายม ภูตผีปีศาจ ความสง่างามและภาคภูมิ เช่น การแสดงโขนเรื่อง หรือพิธีไหว้ครู เช่น การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ รามเกียรติ์ ชุดศึกสามทัพ ทศกัณฐ์เชิญสหัสสเดชะ ตอนนางมณโฑตั้งพิธีหุงน้ำ�ทิพย์ เมื่อทศกัณฐ์นำ� และมูลพลัมมาช่วยรบกับพระราม เมื่อได้เจรจา น้ำ�ทิพย์ไปประพรมบรรดาซากศพยักษ์ให้ฟื้นขึ้นมา ชักชวนกันเรียบร้อย ปีพ่ าทย์บรรเลงเพลงเสมอสาม ต่อสู้กับกองทัพพระรามได้อีก ลา พญายักษ์ทั้งสามรำ�เข้าโรง นอกจากนั้น เพลงเสมอยังมีที่ใช้ในชื่ออื่นๆ ๓) เสมอเถร ใช้สำ�หรับฤษีและนักพรต อีก แต่จัดอยู่ในประเภทเพลงเสมอเช่นกัน ได้แก่ ผู้ทรงศีล เช่น การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดลัก ๘) พราหมณ์เข้า ใช้สำ�หรับพิธีไหว้ครูการ สีดา ทศกัณฐ์แปลงเป็นนักพรตชื่อสุธรรมฤษีเข้าไป เข้าสู่พิธี เพื่อที่จะทำ�พิธีเกี่ยวกับเวทมนต์คาถา หานางสีดาซึ่งอยู่ในอาศรมเพียงผู้เดียว ใช้สำ�หรับฤษี พระ และยักษ์ ผู้สูงศักดิ์ ส่วนมากยักษ์ ๔) เสมอตีนนก หรือ บาทสกุณ ี ใช้ส�ำ หรับ เป็นผูร้ �ำ นำ� เช่นการแสดงโขนเรือ่ งรามเกียรติ ์ ชุดศึก ตัวแสดงที่เป็นท้าวพระยา มหากษัตริย์มีฐานะ พุ่งหอกกบิลพัท สูงศักดิ์ ใช้ได้ทั้งพระ นาง และยักษ์ ได้แก่ พระราม ๙) พราหมณ์ออก ใช้สำ�หรับพิธีไหว้ครูเมื่อ พระลักษมณ์ อิเหนา สีดา และทศกัณฐ์เพราะถือว่า เสร็จสิ้นการประกอบพิธี แล้วจะออกจากสถานที่ เป็นพญายักษ์ทอี่ ยูใ่ นวงศ์พรหม ดังนัน้ บทโขนเก่าๆ ประกอบพิธนี นั้ ๆ สำ�หรับใช้ประกอบการแสดง เช่น 64 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาสตร์ - เชิดฉาน ใช้ในการติดตามจับระหว่าง ตอนอินทรชิตออกจากโรงพิธีที่ใช้ชุบศรพรหมาสตร์ มนุษย์กับสัตว์ เช่น พระรามตามกวาง ย่าหรันตาม ๑๐) ดำ�เนินพราหมณ์ ใช้ในการไป มา ระยะ นกยูง ใกล้ของฤษีชพี ราหมณ์ เช่น ในพิธไี หว้ครูโขน ละคร - เชิดนอก ใช้ในการติดตามจับระหว่างสัตว์ ผูป้ ระกอบพิธจี ะใช้เพลงนีเ้ พือ่ แสดงอาการสมมุตวิ ่า กับสัตว์ เช่นหนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา พระครูฤษีได้เสด็จมาร่วมในพิธีแล้ว - เชิดจีน ใช้ในการหลอกล่อ เลี้ยวไล่ไปมา - เสมอตามสัญชาติตัวละคร หมายถึง ในการติดตามจับ เช่น เมขลา รามสูร พระลอตาม เพลงเสมอที่มีลีลา ท่วงทำ�นองของเพลงล้อเลียน ไก่ ย่าหรันตามนกยูง สำ�เนียงภาษาของชาติต่างๆ เช่น มอญ ลาว พม่า - ฉะเชิ ด ใช้ บ รรเลงประกอบท่า รำ � โดย และแขก เป็นต้น โดยบรรเลงประกอบกิริยาไป มา เฉพาะของเจ้าเงาะ ในเรื่องสังข์ทองเมื่อต้องการไป ของตัวละครตามสัญชาตินั้นๆ ได้แก่ เสมอมอญ มาในระยะทางไกล เสมอลาว เสมอพม่า เสมอแขก เป็นต้น - เหาะ ใช้สำ�หรับเทวดา นางฟ้าไปมาในที่ - เชิด ใช้สำ�หรับตัวละครที่ไป มาในระยะ ต่างๆ ด้วยกิริยารวดเร็ว จะเป็นเดี่ยวหรือหมู่ก็ได้ ทางไกล หรือรีบด่วน การโลดไล่ ติดตาม ตลอด เช่น ระบำ�ดาวดึงส์ ระบำ�นันทอุทยาน จนการต่อสู้ รบราฆ่าฟันกัน เพลงเชิดนี้แบ่งออก - โคมเวียน ใช้สำ�หรับเทวดา นางฟ้าไปมา เป็นหลายประเภท ได้แก่ เป็นหมวดหมู่ มีระเบียบ เช่น ระบำ�สี่บท - เชิดชัน้ เดียว ใช้บรรเลงประกอบการโลดไล่ - กลองโยน ใช้ส�ำ หรับขบวนแห่ หรือขบวน ติดตาม ต่อสู้ รบราฆ่าฟัน เนื่องจากทำ�นองดนตรี ทัพของพระมหากษัตริย์ที่เคลื่อนไปมาอย่างช้าๆ อยู่ในอัตราชั้นเดียว จังหวะของกลองเป็นไปอย่าง เช่น ระบำ�พรหมาสตร์ กระชั้ น ชิ ด สม่ำ � เสมอ ช่ ว ยให้ ผู้ ดู เ กิ ด อารมณ์ - พญาเดิน ใช้สำ�หรับการไปมาของตัวเอก สนุกสนาน ตื่นเต้น ชวนให้ติดตาม ตัวแสดงผู้สูงศักดิ์ หรือพระมหากษัตริย์ในลักษณะ - เชิดสองชั้น ใช้บรรเลงประกอบการแสดง เดีย่ ว หรือหมู่ เช่น การแสดงละครนอกเรือ่ งสังข์ทอง โขน ละครเช่นเดียวกับเชิดอัตราชัน้ เดียว แต่จงั หวะ ตอนตีคลี นอกจากนั้นใช้บรรเลงประกอบการรำ� ของเพลงจะช้ากว่าเล็กน้อย เพื่อให้ตัวละครแสดง อาวุธได้ด้วย ลีลาท่ารำ�ได้อย่างสง่าผ่าเผยว่าจะไปยังทีต่ า่ งๆ ตาม - กลม ใช้ส�ำ หรับการไปมาของเทพเจ้า เช่น บทบาท หลังจากนั้นดนตรีจะทำ�การถอนจังหวะ พระนารายณ์ พระวิษณุกรรม พระอรชุน สำ�หรับ ตามศัพท์เรียกว่า “ถอนชั้นเดียว” โดย มนุษย์ทใี่ ช้เพลงกลม ได้แก่ เจ้าเงาะในเรือ่ งสังข์ทอง ผูบ้ รรเลงจะเร่งจังหวะตอนท้ายของเชิดสองชัน้ ให้เร็ว เพราะเหาะเหินเดินอากาศได้อย่างเทวดา ขึ้นตามลำ�ดับ เมื่อได้ที่แล้วจึงถอนจังหวะบรรเลง - เข้าม่าน ใช้สำ�หรับการเข้า ออกในสถาน เพลงเชิดชั้นเดียวต่อไปจนจบการแสดง เช่น ที่ใดสถานที่หนึ่งของตัวเอก หรือท้าวพระยามหา การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดพระราม กษัตริย์ ถ้าตัวละครมีบทบาทจะต้องเดินออกมา ตามกวาง เมื่อทศกัณฐ์สั่งกวางให้ไปลวงพระราม แสดงบนเวที ใ ช้เพลง “ต้นเข้าม่าน” แต่เมื่อตัวละคร ออกจากอาศรม ดนตรีจะบรรเลงเพลงเชิดสองชั้น จบบทบาทการแสดงแล้วจะเดินเข้าในโรง ใช้เพลง ก่อน และต่อด้วยเชิดชั้นเดียว กวางก็จะแสดงท่า “ปลายเข้าม่าน” เช่น การแสดงละครในเรือ่ งอิเหนา รับคำ�สั่งแล้ววิ่งหายเข้าหลังเวทีไป เป็นต้น ตอนวิหยาสะกำ�คลั่ง จิตสัมผัส 65


- ชุบ ใช้ส�ำ หรับนางกำ�นัล คนรับใช้ เช่น การ แสดงโขนเรือ่ งรามเกียรติ ์ ชุดศึกกุมภกรรณ ทศกัณฐ์ ใช้นางกำ�นัลไปเชิญกุมภกรรณ นางกำ�นัลใช้เพลงชุบ ในการเดินทาง - โล้ ใช้สำ�หรับการเดินทางไป มาทางน้ำ� เช่น การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดนางลอย - แผละ ใช้สำ�หรับการไป มาของสัตว์มีปีก เช่น ครุฑ นก กา นกยูง เป็นต้น - เพลงช้า ใช้สำ�หรับการไป มาอย่างปกติ ไม่เร่งรีบเป็นการแสดงลีลาการเดินทางอย่างสง่างาม รำ�ถวายครู ในลักษณะเดี่ยวหรือหมู่ก็ได้ เช่น การแสดงละคร - ตระสันนิบาต ใช้สำ�หรับประกอบพิธี ในเรื่องอิเหนาตอนเชิดหนังและศึกชี สำ�คัญต่างๆ และเชิญเทพยดามาชุมนุมเพื่อความ เป็นสิริมงคล เช่น พิธีไหว้ครู นอกจากนั้นยังใช้ กิริยาการต่อสู้ติดตาม - เชิด หรือ เชิดกลอง ใช้ส�ำ หรับการต่อสู ้ ยก ประกอบการแสดงเกี่ยวกับการแปลงกายได้อีกด้วย - คุกพาทย์ และรัวสามลา ใช้สำ�หรับแผลง ทัพ เช่น การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดทศกัณฐ์ อิทธิฤทธิป์ ระกอบกิรยิ าโกรธเคือง เกรีย้ วกราด ดุดนั ยกรบ - เชิดฉิ่ง ใช้สำ�หรับการค้นหา การลอบเข้า หรือใช้ประกอบสภาพดินฟ้าอากาศทีว่ ปิ ริต น่าสะพรึง ออกในสถานที่ใดที่หนึ่ง การไล่หนีจับกัน การเหาะ กลัว เช่นการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดหนุมาน ลอยในอากาศ การใช้อาวุธแผลงศร ขว้างจักร พบมัจฉานุ ตอนหนุมานแผลงฤทธิห์ าวเป็นดาวเป็น เป็นต้น เช่น การแสดงละครในเรื่องอุณรุท ตอน เดือนเพื่อให้มัจฉานุเชื่อว่าตนคือบิดา อุ้มสม จะเห็นได้ว่า ลักษณะของเพลงหน้าพาทย์ - ตระนิมิต ใช้สำ�หรับการแปลงกาย หรือ เนรมิตด้วยอิทธิฤทธิ์เวทมนตร์ ใช้ได้ทั้งพระ นาง ที่ใช้บรรเลงในโอกาสต่างๆ นั้นมีความหมาย และ ยักษ์ ลิง เช่น การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด โอกาสทีใ่ ช้แตกต่างกันไป โดยเฉพาะเพลงหน้าพาทย์ ทีบ่ รรเลงประกอบ การแสดงโขน ละคร ผูแ้ สดงต้อง นางลอย ตอน เบญกายแปลงเป็นสีดา - ตระบองกัน ใช้สำ�หรับเนรมิต ประสิทธิ์ รำ�ให้ถกู ต้องตรงตามเพลง ซึง่ ยึดหลักคือจังหวะและ ประสาทพร หรือแปลงตัว เช่น มารีศแปลงกายเป็น ทำ�นองเพลงเป็นสำ�คัญ จะขาดเกินสัน้ ยาวกว่าไม่ได้ กวางทอง ในการแสดงโขนเรื่ อ งรามเกี ย รติ์ เพราะถือว่าดนตรีปี่พาทย์นั้นเป็นหลักเป็นประธาน ในการรำ�หน้าพาทย์ นอกจากนั้นโอกาสที่ใช้เพลง ชุดพระรามตามกวาง - ชำ � นาญ ใช้ สำ � หรั บ เนรมิ ต ประสิ ท ธิ์ หน้าพาทย์ตอ้ งนำ�มาใช้ให้ถกู ต้องตรงกับความหมาย ประสาทพร หรือแปลงตัวเช่นเดียวกับเพลงตระบอง ของบทบาท กิริยาอาการและอารมณ์ของผู้แสดง กัน เช่น การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดหนุมาน เพื่อให้การแสดงนั้นๆ ดำ�เนินไปอย่างสอดคล้อง ออกบวช ใช้เมือ่ หนุมานแปลงเป็นฤษีเพือ่ ออกบวช กลมกลืน บรรลุวตั ถุประสงค์ในการแสดงได้อย่างดียง่ิ

66 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


เพลงหน้าพาทย์ เป็นเพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาเคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งของมนุษย์ สัตว์ วัตถุต่างๆ และอื่นๆ เช่น เดิน นอน วิ่ง กลายร่าง เกิดขึ้น สูญไป เป็นต้น ไม่ว่ากิริยานั้นจะแลเห็นตัวตน เช่น การแสดงโขน ละคร หรือกิริยาสมมุติแลไม่เห็นตัวตน เช่น การเชิญเทวดาให้ เสด็จมา ถ้าเป็นการบรรเลงประกอบกิริยานั้นแล้วก็เรียกว่า หน้าพาทย์ทั้งสิ้น จิตสัมผัส 67


เศียรครู ๙ พระองค์ 68 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


ประวัติเศียรครู ๙ พระองค์ โดย อาจารย์ วิไลวรรณ จันทร์แป้น http://km.secondary42.com

๑. พระอิศวร

เป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลก มี ๑ พักตร์ ๓ เนตร ๔ กร กายสีขาว มงกุฎน้ำ�เต้าหรือมงกุฎทรงเทริด น้ำ � เต้ า กาบ เกศามุ่น เป็ น ชฎารุ ง รั ง มี ป ระคำ � หั ว กระโหลก คนคล้องพระศอ มีสังวาลเป็นงู พระศอ สี นิ ล นุ่ ง หนั ง เสื อ หนั ง ช้ า ง หรื อ หนั ง กวาง โค เป็นพาหนะ สถิตบนเขาไกรลาศ มีพระมเหสีทรงนาม ว่า พระอุมามีเทวโอรส ๒ องค์ คือ พระขันทกุมาร และ พระคเณศร์ ลักษณะเศียร สีขาว มงกุฎน้ำ�เต้า หรือ มงกุฎเทริดน้ำ�เต้ากาบ

๒. พระนารายณ์

เป็ น เทพเจ้ า ผู้ รั ก ษาความดี กายสี ด อก ตะแบก (ชมพูอมม่วง) มี ๑ พักตร์ ๔ กร ยอดมงกุฎ ชั ย มี ค รุ ฑ เป็ น พาหนะ สถิ ต ณ เกษี ย รสมุ ท ร มีพระลักษมี เทพเจ้าแห่งลาภและความดีเป็นพระ มเหสี ลักษณะเศียร สีดอกตะแบก ทรงมงกุฎชัย

๓. พระพรหม

เป็นเทพเจ้าแห่งพรหมวิหาร มีสีขาว มี ๔ พักตร์ ๘ กร ทรงมงกุฎชัย ๒ ชั้น หรือ มงกุฎเทริด

น้ำ�เต้ากลม มีหงส์ เป็นพาหนะ สถิต ณ พรหม พฤนทา มีพระมเหสีนามว่า พระสุรสั วดี เทพเจ้าแห่ง การศึกษา ลักษณะเศียร สีขาว หน้า ๒ ชั้น มงกุฎชัย หรือมงกุฎเทริดน้ำ�เต้ากลม

๔. พระวิสสุกรรม (วิษณุกรรม วิศวกรรม เวสสุกรรม พิษณุกรรม พระเพชรฉลู กรรม)

มีกายสีเขียว ๑ พักตร์ ๒ กร ทรงมงกุฎ น้�ำ เต้า บางตำ�ราว่า หัวโล้น (หรือโผกผ้า) ซึง่ เป็นเทวดา นายช่ า งของพระอิ น ทร์ เป็ น เจ้ า แห่ ง ช่ า งทุ ก ช่ า ง ไม่ ว่ า จะเป็ น ปั้ น หล่ อ ก่ อ สร้ า ง นอกจากนี้ ยั ง ดลบันดาลให้เครื่องดนตรีมี ลักษณะถูกต้อง และมี เสียงอันไพเราะ ลักษณะเศียร สีเขียว ทรงมงกุฎน้�ำ เต้า

๕. พระปัญจสิงขร

เทพเจ้าองค์นี้เดิมเคยเป็นมนุษย์ เป็นเด็ก เลี้ยงโคไว้ผม ๕ แหยม เป็นผู้ที่มีใจเลื่อมใสศรัทธา ในทางกุศล สร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ เมื่อ ตายจึงเกิดเป็นเทพบุตรในชั้นจาตุมหาราชมีชื่อว่า “ปัญจสิขคนธัพเทพบุตร” มีมงกุฎ ๕ ยอด มีกายเป็น จิตสัมผัส 69


สีทอง มีกุณฑล มี ๑ พักตร์ ๔ กร ทรงอาภรณ์ไป ด้วยนิลรัตน์ ทรงภูษาสีแดง มีความสามารถในเชิง ดีดพิณ และขับลำ�นำ�เป็นเลิศ จนเป็นที่โปรดปราน ของพระสมณโคดมพุทธเจ้า ถึงกับทรงอนุญาตให้เฝ้า ได้ทุกเวลา ลักษณะเศียร สีขาวมงกุฎน้ำ�เต้า ๕ ยอด

๖. พระปรคนธรรพ

เป็นยอดของเทพคนธรรพ์ ร่างกายมีขนวน เป็นขดวนทักษิณาวัฏรอบตัว มงกุฎชฎายอดฤาษี หรือยอดกะตาปาสีเขียวใบแค มี ๑ พักตร์ ๒ กร เป็น เทพเจ้าแห่งวิชาการดนตรี ขับร้อง ดีด สี ตี เป่า โดย ยกย่องว่าเป็น ผู้ที่ประดิษฐ์พิณขึ้นมา

๗. พระฤาษี

มีทั้งหมด ๓๕ ตน ซึ่งมีชื่อต่างๆ กัน ในด้าน ดนตรีไทยแล้วฤาษีนนั้ มีชอื่ ว่า “พระภรตฤาษี” ผูซ้ งึ่ ได้ รับ เทวโองการจากพระพรหม ให้นำ�ศิลปการร่ายรำ� ท่าศิวนาฏราชมาบังเกิดในโลกมนุษย์

๙. พระพิราพ

เป็นอสูรเทพบุตร อยู่เชิงเขาอัศกรรณ พระ อิศวรเอากำ�ลังพระสมุทร และพระเพลิงแบ่งประทาน และทรงกำ�หนดเขตป่า ให้อยู่ ถ้ามีสัตว์พลัดหลงมา ในป่าให้จับกินได้ มีกายสีม่วงแก่ ๑ พักตร์ ๑ กร มี หอกเป็นอาวุธ มูลเหตุที่ศิลปินเคารพบูชาเพราะว่า มีผู้ค้นคว้าไว้ว่า ๑. พระพิราพ องค์นี้เป็นปางหนึ่งของพระ อิศวร ๒. ชื่อ พิราพ นี้ไปพ้องกับชื่อวิราวณะ ของ ฮินดู อันเป็นเทพเจ้าแห่งการฟ้อนรำ� ๓. ชื่อ พิราพ อันเป็นนามเทพเจ้าแห่งคุณ งามความดี ลักษณะเศียรโล้น สีม่วงแก่ (พิราพเดิน ป่า) สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้

๘. พระคเณศร์ (พระพิฆเณศวร)

เป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ ศิลปวิทยาการทั้ง ปวง มีกายสีแดงสัมฤทธิ์ ร่างมนุษย์ อ้วนเตี้ย พลุ้ย หูยาน มีเศียรเป็นช้าง มีงาข้างเดียว มี ๔ กร มงกุฎทรงเทริดยอดน้ำ�เต้า ทรงหนูเป็นพาหนะ เป็นโอรสของ พระอิศวรและพระอุมา ลักษณะเศียร สีแดง มงกุฎเทริดน้ำ�เต้า

มังกรกัณฐ์

70 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


ภาพศีรษะครูและศรีษะโขน

* ได้รับความอนุเคราะห์จาก ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสยาม ให้ถ่ายภาพศรีษะครูและศรีษะโขน จิตสัมผัส 71


72 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

เศียรครู


เศียรครู

จิตสัมผัส 73


74 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

เศียรครู


เศียรครู

จิตสัมผัส 75


76 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

เศียรครู


เศียรครู

จิตสัมผัส 77


78 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

เศียรครู


เศียรครู

จิตสัมผัส 79


80 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

เศียรครู


จิตสัมผัส 81


82 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


“ระบำ� รำ� ฟ้อน” จาก www.nsru.ac.th

ความหมาย

ระบำ� หมายถึง การแสดงทีต่ อ้ งใช้คนจำ�นวน มากกว่า ๒ คนขึ้นไป ซึ่งการแสดงนั้นๆจะใช้เพลง บรรเลงโดยมีเนือ้ ร้องหรือไม่มเี นือ้ ร้องก็ได้ ระบำ�นัน้ เป็นศิลปะของการร่ายรำ�ที่เป็นชุด ไม่ดำ�เนินเป็น เรื่องราว ผู้รำ�แต่งกายงดงาม จุดมุ่งหมายเพื่อแสดง ความงดงามของศิลปะการรำ� รำ� หมายถึง แสดงท่าเคลื่อนไหวคนเดียว หรื อ หลายคน โดยมี ลี ล า และแบบท่ า ของการ เคลือ่ นไหว และมีจงั หวะลีลาเข้ากับเสียงทีท่ �ำ จังหวะ เพลงร้องหรือเพลงดนตรี ฟ้อน หมายถึง การแสดงกริยาเดียวกับระบำ� หรือการรำ� ซึง่ ใช้เรียก การรำ�ของภาคเหนือ และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มี ลักษณะการร่ายรำ� ทีผ่ แู้ สดง ต้องแสดงให้ประณีตงดงาม ตามภูมิภาคนั้นๆ

ประเภทของระบำ� มี ๒ ประเภท คือ

ระบำ�มาตรฐาน เป็นระบำ�แบบดั้งเดิมที่มี มาแต่โบราณกาล ไม่สามารถนำ�มาเปลี่ยนแปลงท่า

รำ�ได้ เพราะถือว่าเป็นการร่ายรำ�ที่เป็นแบบฉบับ ซึ่ง ครูนาฏศิลป์ได้คิดประดิษฐ์ไว้ และนิยมนำ�มาเป็น แบบแผนในการรำ�ทีเ่ คร่งครัด การแต่งกายของระบำ� ประเภทนี้ แต่งกายในลักษณะที่เรียกว่า “ยืนเครื่อง” ระบำ�ทีป่ รับปรุงขึน้ ใหม่ เป็นลักษณะระบำ� ที่ปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยคำ�นึงถึงความ เหมาะสมของผู้แสดง และการนำ�ไปใช้ในโอกาส ต่างๆ กัน ดังนี้ ๑. ปรั บ ปรุ ง มาจากการรำ � พื้ น บ้ า น เป็ น ระบำ�ทีค่ ดิ ประดิษฐ์สร้างสรรค์ขนึ้ มาจาก แนวทางความเป็นอยู่ของคนพื้นบ้าน การทำ�มาหากิน เกษตรกรรม ขนบธรรมเนี ย มประเพณี ใ นแต่ ล ะท้ อ งถิ่ น ออกมาในรูประบำ� เพื่อเป็นเอกลักษณ์ ประจำ�ถิน่ ของตน เช่น เซิง้ บัง้ ไฟ รำ�เกีย่ ว ข้าว ระบำ�งอบ ระบำ�กะลา เข้าทรงแม่ ศรี ฯลฯ ๒. ปรับปรุงมาจากท่าทางของสัตว์ ระบำ�ที่ คิ ด ประดิ ษ ฐ์ ขึ้ น ใหม่ ต ามลั ก ษณะลี ล า ท่าทางของสัตว์ชนิดต่างๆ บางครั้งอาจ นำ�มาใช้ประกอบการแสดงโขน - ละคร จิตสัมผัส 83


บางครั้ ง ก็ นำ � มาใช้ เ ป็ น การแสดง เบ็ดเตล็ด เช่น ระบำ�นกยูง ระบำ�นกเขา ระบำ�มฤครำ�เริง ระบำ�ตั๊กแตน ระบำ�ไก่ ฯลฯ ๓. ปรับปรุงมาจากตามเหตุการณ์ หมายถึง ระบำ�ที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้ตามโอกาสที่ เหมาะสม เช่น ระบำ�พระประทีป ระบำ� โคมไฟ ประดิษฐ์ขึ้นรำ�ในวันนักขัตฤกษ์ ลอยกระทงในเดือนสิบสอง ระบำ�ทีเ่ กีย่ ว กับการอวยพรผู้ใหญ่ แขกเมือง และ สำ�หรับเป็นการต้อนรับ หรือ แสดงความ ยินดี ๔. ปรับปรุงขึ้นใช้เป็นสื่อการเรียน ระบำ� ประเภทนี้ เ ป็ น ระบำ � ประดิ ษ ฐ์ และ สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสื่อนำ�สู่ บทเรียน เหมาะสำ�หรับเด็กๆ เป็นระบำ� ง่ายๆ เพื่อเร้าความสนใจประกอบบท เรียนต่างๆ เช่น ระบำ�สูตรคูณ ระบำ� วรรณยุกต์ ระบำ�เลขไทย ฯลฯ ระบำ�ประเภทปรับปรุงขึ้นใหม่นี้ ลักษณะ ท่าทางจะไม่ตายตัว มีการเปลี่ยนแปลง และขึ้นอยู่ กับความสามารถของผู้สอน และตัวนักเรียนเอง

ประเภทของการรำ�

การรำ�จะแบ่งออกเป็น ๒

ประเภท คือ แบ่ ง ตามลั ก ษณะของการแสดงโขน ละคร ได้แก่ ๑. การรำ�หน้าพาทย์ เป็นการรำ�ประกอบ เพลงแบบหนึ่ง ซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายของคำ�ว่า “หน้าพาทย์” ไว้ดังนี้ “การรำ�หน้าพาทย์ คือ การรำ�ตามทำ�นอง เพลงดนตรีปี่พาทย์ บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และอื่นๆ ผู้แสดงจะต้องเต้นหรือรำ�ไปตาม จังหวะ และทำ�นองเพลงทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้โดยเฉพาะหรือ 84 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

ถือหลักการบรรเลงเป็นสำ�คัญ” ในการแสดงโขน - ละคร ตามท้องเรื่องผู้ แสดงจะต้องใช้เพลงหน้าพาทย์ให้เหมาะสม ตาม บัญญัติ และวิธีใช้ดังนี้ หน้าพาทย์ที่ใช้กับกิริยาไป - มาใกล้ และ ไกล เช่น เสมอ ใช้ส�ำ หรับการไป - มาในระยะ ใกล้ๆของตัวละครโขนทั่วไป เสมอมาร ใช้สำ�หรับพญายักษ์ เสมอสามลา ใ ช้ สำ � หรั บ พญายั ก ษ์ ใ หญ่ แสดงถึงความไป - มาด้วย ความโอ่อา่ สง่างาม และภาค ภูมิ เช่น ทศกัณฐ์ หรือการ แสดงโขนตอนสามทัพ ซึ่งมี ตัวละคร คือ ทศกัณฐ์ สหัส เดชะ และมูลพลัม เป็นต้น เสมอเถร ใช้สำ�หรับฤาษี และนักพรต เสมอตีนนก (บาทสกุณี) ใช้สำ�หรับตัวแสดงที่เป็นท้าว พญากษั ต ริ ย์ ไ ป - มาด้ ว ย ความสง่างาม เช่น พระราม พระลักษณ์ อิเหนา เป็นต้น เสมอเข้าที่ ใช้ สำ � หรั บ เชิ ญ พระฤาษี ครู อาจารย์ หรือใช้ในพิธีไหว้ครู เสมอข้ามสมุทร ใช้สำ�หรับพระรามยกกองทัพ ข้ามมหาสมุทรไปกรุงลงกา เสมอผี ใช้ส�ำ หรับพญายม ภูตผิ ปี ศี าจ หรือพิธีไหว้ครู เสมอตาม เพลงเสมอที มี ลี ล า และ ทำ�นองเป็นสำ�เนียงภาษา เช่น มอญ(เสมอมอญ) ลาว(เสมอ ลาว) แขก (เสมอแขก) พม่า (เสมอพม่ า ) เป็ น ต้ น ใช้ ประกอบกิรยิ าไป - มาของตัว


ละครที่สมมุติเป็นชาติต่างๆ เชิด ใช้สำ�หรับตัวละครทั่วไปที่ไป - มาในระยะทางไกลๆอย่าง รีบด่วน เชิดฉาน ใช้ ใ นการติ ด ตามสั ต ว์ เช่ น พระรามตามกวาง ย่ า หรั น ตามนกยูง เชิดจีน แสดงถึงลักษณะการเลี้ยวไล่ หลอกล่ อ ในการติ ด ตามจั บ เช่น รามสูร - เมขลา พระลอ ตามไก่ ฉะเชิด เป็นลีลาท่ารำ�เฉพาะของตัว แสดงเป็นเจ้าเงาะในกิริยาไป - มาในระยะทางไกลเช่นเดียว กับเชิด เหาะ ใช้สำ�หรับเทวดา นางฟ้า ใน การไป - มาในที่ต่างๆด้วย กิริยารวดเร็ว โคมเวียน ใช้สำ�หรับเทวดา นางฟ้า ใน การไป - มาเป็นหมวดหมู่มี ระเบียบ กลองโยน ใช้ในขบวนแห่หรือการเดินทัพ ของกษั ต ริ ย์ โดยเคลื่ อ นไป อย่างช้าๆ พญาเดิน ใช้ สำ � หรั บ การไป - มาของ ตัวเอกหรือกษัตริย์ กลม ใช้ สำ � หรั บ การไป - มาของ เทพเจ้า เช่น พระนารายณ์ พระอิศวร สำ�หรับมนุษย์ที่ใช้ เพลงกลมคือเจ้าเงาะ เพราะ เหาะเหินเดินอากาศได้อย่าง เทวดา ชุบ ใช้สำ�หรับนางกำ�นัล คนรับใช้ โล้ ใช้ส�ำ หรับการเดินทางไป - มา ทางน้ำ�

แผละ

เช่น

ใช้ส�ำ หรับการเดินทางไป - มา ของสัตว์ปีก เช่น ครุฑ

หน้าพาทย์ทใ่ี ช้ส�ำ หรับการรืน่ เริง สนุกสนาน กราวรำ� สีนวล เพลงช้า เพลงเร็ว เพลงลา

ใช้สำ�หรับการแสดงในความ หมายเยาะเย้ ย หรื อ ฉลอง ความสำ�เร็จ ใช้ สำ � หรั บ ท่ ว งที เ ยื้ อ งยาตร นาฏกราย หรือความรื่นเริง บันเทิงใจของอิสตรี ใช้สำ�หรับความเบิกบานใจใน การไป - มาอย่ า งสุ ภ าพ งดงาม แช่มช้อย และเมื่อไป ถึ ง ที่ ห มายแล้ ว จะบรรเลง เพลงลา ปกติเพลงเร็ว - เพลง ลา มักบรรเลงหรือรำ�ติดต่อ กัน ใช้ประกอบการแสดงตอน ขึ้นเฝ้า เป็นต้น

หน้าพาทย์ที่ใช้สำ�หรับการจัดทัพ และ การตรวจพล เช่น กราวนอก ใช้ส�ำ หรับการตรวจพลยกทัพ ของมนุษย์ และวานร กราวใน ใช้สำ�หรับการตรวจพลยกทัพ ของฝ่ายยักษ์ กราวกลาง ใช้สำ�หรับการตรวจพลยกทัพ ของมนุษย์ในการแสดงละคร ปฐม ใช้สำ�หรับการตรวจพลยกทัพ ของแม่ ทั พ นายกองฝ่ า ย พระราม คือ สุครีพ และฝ่าย ลงกา คือ มโหทร

จิตสัมผัส 85


หน้าพาทย์ทใ่ี ช้ในการต่อสู้ และติดตาม เช่น เชิดกลอง ใช้ในการยกทัพ หรือการต่อสู้ ทั่วๆ ไป เชิดฉิ่ง ใช้ในการค้นหา การลอบเข้า ออกในสถานทีใ่ ดสถานทีห่ นึง่ การเหาะลอยไปในอากาศ การใช้อาวุธ เชิดนอก ใช้ ป ระกอบกิ ริ ยาตั ว ละครที่ มิใช่มนุษย์โลดไล่จับกัน เช่น หนุ ม านจั บ นางเบญกาย เป็นต้น หน้าพาทย์ทใ่ี ช้ส�ำ หรับการนอน การอาบน้�ำ การกิน เช่น ตระนอน ใช้สำ�หรับการนอน ตระบรรทมสินธุ ์ ใช้ สำ�หรับการนอนของพระ นารายณ์ ตระบรรทมไพร ใช้สำ�หรับการนอนของตัว ละครที่ค้างแรมในป่า และใช้ สำ�หรับพิธีไหว้ครูโขน - ละคร ลงสรง ใช้สำ�หรับการอาบน้ำ� เซ่นเหล้า ใช้ สำ � หรั บ ประกอบการกิ น อาหาร ดื่มสุรา และใช้ในพิธี ไหว้ครูโขน - ละคร หน้าพาทย์ทใี่ ช้ในการเล้าโลมแสดงความ รักใคร่ และเสียใจ เช่น โลม ใช้ สำ � หรั บ บทเกี้ ย วพาราสี เล้าโลมด้วยความรัก ทยอย ใช้ส�ำ หรับการแสดงความเศร้า โศกเสียใจด้วยการร้องไห้ โอดชั้นเดียว ใช้สำ�หรับแสดงกิริย าร้องไห้ เมื่อเสียใจไม่มาก หรือใช้กับ การร้องไห้ทั่วไป โอดสองชั้น ใช้สำ�หรับแสดงกิริย าร้องไห้ 86 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

โอดเอม

เมือ่ เสียใจมาก และนิยมใช้ใน การแสดงละครใน ใช้สำ�หรับแสดงกิริย าร้องไห้ เมื่อดีใจ

หน้าพาทย์ทใ่ี ช้แสดงอิทธิฤทธิป์ าฏิหารย์ เช่น ตระนิมิต ใช้สำ�หรับการแปลงกาย หรือ เนรมิตขึ้นด้วยเวทมนตร์ ชำ � นาญ, ตระบองกั น ใช้ สำ � หรั บ เนรมิ ต ประสิ ท ธิ์ ป ระสาทพร หรื อ แปลงตัว (ใช้สำ�หรับตัวพระ ตัวนาง และตัวยักษ์) ตระสันนิบาต ใช้ประกอบพิธีชุมนุม กระทำ� พิธีสำ�คัญๆ เช่น พิธีไหว้ครู คุกพากย์และรัว สามลา ใช้สำ�หรับการแผลงอิทธิฤทธิ์ โอดเอม ใช้สำ�หรับแสดงกิริย าร้องไห้ เมื่อดีใจ ๒. การรำ�บท เป็นการรำ�อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายต่างๆ ดังนี้ • การรำ�บท คือ การแสดงท่าทางแทนคำ� พูดให้มีความหมายต่างไป รวมทั้งแสดง อารมณ์ด้วย • การรำ�บท คือ การแสดงท่าทางไปตาม บท และไม่ใช้เสียงประกอบการพูด ฉะนัน้ จึงหมายถึงการแสดงในความหมายของ นาฏศิลป์ โดยใช้ภาษาท่าทางสื่อความ หมาย

ประเภทที่แบ่งตามลักษณะของการรำ�

๑. รำ�เดี่ยว คือ การแสดงการรำ�ที่ใช้ผู้แสดง เพียงคนเดียว ได้แก่ การรำ�ฉุยฉายต่างๆ เช่น ฉุยฉาย วันทอง ฉุยฉายเบญกาย เป็นต้น ๒. รำ�คู่ คือการแสดงทีน่ ยิ มใช้เบิกโรงอาจจะ


เกีย่ วข้องกับการแสดงหรือไม่กไ็ ด้ เช่น รำ�ประเลง รำ� แม่บท รำ�อวยพร หรือเป็นการรำ�คู่ที่ตัดตอนมาจาก การแสดงละคร เช่นพระลอตามไก่จากเรื่องพระลอ ๓. รำ�หมู่ คือ การแสดงที่ใช้ผู้แสดงมากกว่า ๒ คนขึ้นไป มุ่งความงามของท่ารำ� และความพร้อม เพรียงของผูแ้ สดง เช่น รำ�วงมาตรฐาน รำ�พัด รำ�โคม รำ�สีนวล

ประเภทของการฟ้อน

ศิ ล ปการแสดง “ฟ้ อ น” ในล้ า นนานั้ น มีลักษณะเป็นศิลปะที่ผสมกันโดยสืบทอดมาจาก ศิลปะของชนชาติต่างๆ ที่มีการก่อตั้งชุมชนอาศัย อยู่ในอาณาเขตล้านนานี้มาช้านาน นอกจากนี้ยังมี ลักษณะของการรับอิทธิพลจากศิลปะของชนชาติที่ อยูใ่ กล้เคียงกันด้วย จากการพิจารณาศิลปะการฟ้อน ที่ปรากฎในล้านนายุคปัจจุบัน อาจารย์ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล อาจารย์ประจำ�ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แบ่ง การฟ้อนออกเป็น ๕ ประเภท ดังนี้ ๑. ฟ้ อ นที่ สื บ เนื่ อ งมาจากการนั บ ถื อ ผี เป็ น การฟ้ อ นที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งกั บ ความ เชื่อถือ และพิธีกรรม ได้แก่ ฟ้อนผีมด ผีเม็ง ฟ้อนผีบ้านผีเมือง เป็นต้น ๒. ฟ้อนแบบเมือง หมายถึงศิลปะการฟ้อน ทีม่ ลี ลี าแสดงลักษณะเป็นแบบฉบับของ “คนเมือง” หรือ “ชาวไทยยวน” ซึ่งเป็น ชนกลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่เป็นปึกแผ่นใน แว่นแคว้น “ล้านนา” นี้ การฟ้อนประเภท

นี้ ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนสาวไหม ฟ้อน เจิง ฟ้อนดาบ เป็นต้น ๓. ฟ้อนแบบม่าน คำ�ว่า “ม่าน” ในภาษา ล้ า นนา หมายถึ ง “พม่ า ” การฟ้ อ น ประเภทนีเ้ ป็นการผสมผสานกันระหว่าง ศิ ล ปะการฟ้ อ นของพม่ า กั บ ของไทย ล้านนา ได้แก่ ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ๔. ฟ้อนแบบเงี้ยวหรือไทยใหญ่ หมายถึง การฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะ การแสดงของชาวไทยใหญ่ (คนไทยลาน นามักเรียกชาวไทยใหญ่ว่า “เงี้ยว” ใน ขณะที่ชาวไทยใหญ่มักเรียกตนเองว่า “ไต”) ได้แก่ การฟ้อนไต ฟ้อนเงี้ยว กิ่ง กะหร่า (กินราหรือฟ้อนนางนก) เป็นต้น ๕. ฟ้อนที่ปรากฎในการแสดงละคร การ ฟ้ อ นประเภทนี้ เ ป็ น การฟ้ อ นที่ มี ผู้ คิ ด สร้างสรรค์ขึ้นในการแสดงละครพันทาง ซึ่งนิยมกันในราวสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้แก่ ฟ้อนน้อยใจยา ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนม่าน มงคล เป็นต้น

การแสดงเบ็ดเตล็ด

เป็นการแสดงทีค่ ดิ ประดิษฐ์ขนึ้ ใหม่ โดยอาจ ปรับปรุงจากการแสดงแบบมาตรฐาน คือ ยึดแบบ และลีลา ตลอดจนความสวยงามในด้านท่ารำ�ไว้ ลีลา ท่าทางที่สำ�คัญยังคงไว้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงบาง อย่างเพื่อให้งามขึ้น หรือเพื่อความเหมาะสมกับ สถานที่ที่นำ�ไปแสดง

จิตสัมผัส 87


การแต่งกายยืนเครื่อง พระ - นาง 88 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


นาฏยศัพท์

การศึกษาด้านนาฏศิลป์ไทย เช่น การแสดง โขน ละคร หรือระบำ�เบ็ดเตล็ดต่างๆ ท่าทางทีผ่ แู้ สดง แสดงออกมานั้นย่อมมีความหมายเฉพาะ สิ่งที่เข้า มาประกอบเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยนัน้ คือ เรียกว่า นาฏยศัพท์ ซึ่งแยกออกได้ ดังนี้ นาฏย หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ� เกี่ยว กับการแสดงละคร ศัพท์ หมายถึง เสียง คำ� คำ�ยากที่ต้องแปล เรื่องทำ�ให้ได้ความหมายขึ้นมา ซึ่งมีผู้กล่าวไว้ดังนี้ นาฏยศัพท์ จึงหมายถึง ศัพท์ทเี่ กีย่ วข้องกับ ลักษณะท่ารำ�ที่ใช้ในการฝึกหัด เพื่อใช้ในการแสดง โขน ละคร เป็ น คำ � ที่ ใช้ ใ นวงการนาฏศิ ล ป์ ไ ทย สามารถสื่อความหมายกันได้กับผู้ชม

นาฏยศัพท์แบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ

๑. นามศัพท์ หมายถึง ศัพท์ทเี่ รียกชือ่ ท่ารำ� หรือชือ่ ท่าทีบ่ อกอาการกระทำ�ของผูน้ นั้ เช่น วง จีบ สลัดมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมือ กระทบ กระดก ยกเท้า ก้ า วเท้ า ประเท้ า ตบเท้ า กระทุ้ ง

จาก http://www.nsru.ac.th

กระเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่ ๒. กิริยาศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกใน การปฏิบตั บิ อกอาการกิรยิ า ซึง่ แบ่งออก เป็น • ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อ ปรับปรุงท่าทีให้ถกู ต้องสวยงาม เช่น กัน วง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ดึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว หลบเข่า ถีบเข่า แข็งเข่า กันเข่า เปิดส้น ชักส้น • ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อ ท่ารำ�หรือท่วงทีของผูร้ �ำ ทีไ่ ม่ถกู ต้องตาม มาตรฐาน เพือ่ ให้ผรู้ �ำ รูต้ วั และแก้ไขท่าที ของตนให้ ดี ขึ้ น เช่ น วงล้ า วงคว่ำ � วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คางไก่ ฟาดคอ เกร็ ง คอ หอบไหล่ ทรุ ด ตั ว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า รำ�แอ้ รำ�ลน รำ�เลื้อย รำ�ล้ำ�จังหวะ รำ�หน่วงจังหวะ จิตสัมผัส 89


๓. นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด หมายถึง ศัพท์ ต่างๆที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์ นอก เหนือไปจากนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียง ทางวง คืนตัว อ่อนเหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ทา ท่า-ที ขึ้นท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่ - พระน้อย นาง กษัตริย์ นางตลาด ผูเ้ มีย ยืนเครือ่ ง ศัพท์ แทน

การรำ�ตีบท

การรำ�ตีบทคือ การนำ�เอานาฏยศัพท์มาใช้ ในการร่ายรำ� เพื่อเป็นการบอกความหมาย และ แสดงอารมณ์ หลักสำ�คัญในการรำ�ตีบทคือ • ตัดท่าย่อยออกไป • คำ�นึงถึงความสวยงาม และสื่อความ หมายให้เด่นชัด

ท่าแสดงความรัก

90 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

• • • •

อย่าให้ท่าเหลื่อมกับคำ�พูด พยายามเลี่ยงท่าซ้ำ� ท่าวรรคติดๆกัน อย่าทำ�มือซ้ำ�เพียงท่าเดียว การออกท่าควรคำ�นึงถึงบุคลิกของตัว ละคร • คำ�นึงถึงการเอียงศีรษะ

ลักษณะการรำ�ตีบทของไทยจะมี ๓ ลักษณะ คือ เกี่ยวกับกิริยามือแบ เกี่ยวกับกิริยามือจีบ และ เกี่ยวกับกิริยามือชี้ นอกจากนี้ในการแสดงโขน ละคร ยังมีการรำ�ตีบทเกีย่ วกับการเลียนแบบสัตว์เข้า มาเกี่ยวข้อง ซึ่งกิริยาของการเลียนแบบสัตว์ที่มีมัก จะเป็นลักษณะของสัตว์เหล่านี้ เช่น ท่านก ท่าไก่ ท่า เป็ด ท่าปลา ท่ากุ้ง ท่าปู ท่าหอย ท่างู ท่ากบ ท่า กระต่าย ท่าเต่า ท่าจระเข้ ท่าช้าง ท่าม้า ท่าวัว ท่า ควาย ท่ากวาง ท่าเสือ ท่าชะนี และท่าลิง เป็นต้น

ส่งจีบหลัง


จิตสัมผัส 91


เครื่องดนตรีไทย (ระนาด) 92 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


ดุริยศัพท์ เทคนิคดนตรีไทย โดย http://thaicontem.com

กรอ

กวาด

เป็นวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทตี (เช่น ระนาด ฆ้องวง) อย่างหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีตี ๒ มือสลับกัน ถีๆ ่ เหมือนรัวเสียงเดียว หากแต่วธิ ตี ที เี่ รียกว่า “กรอ” นี้ มือทั้งสองมิได้ตีอยู่ที่ลูกเดียวกัน โดยปรกติมักจะ ตีเป็นคู่ ๒ คู่ ๓ คู่ ๔ - ๕ - ๖ และ ๘ ฯลฯ นอกจาก นี้ยังเป็นคำ�เรียกทางของการดำ�เนินทำ�นองเพลง อย่างหนึ่ง ที่ดำ�เนินไปโดยใช้เสียงยาวๆ ช้าๆ เพลง ทีด่ �ำ เนินทำ�นองอย่างนีเ้ รียกว่า “ทางกรอ” ทีเ่ รียกว่า อย่างนี้ ก็ด้วยเหตุเพลงที่มีเสียงยาวๆ นั้น เครื่อง ดนตรีประเภทตีไม่สามารถจะทำ�เสียงให้ยาวได้ จึง ต้องกรอ ให้ได้ความยาวเท่ากับความประสงค์ของ ทำ�นองเพลง

คือ วิธีปฏิบัติอย่ างหนึ่งของเครื่องดนตรี ประเภทตี (เช่น ระนาด ฆ้องวง) โดยใช้ไม้ตีลากไป บนเครือ่ งดนตรี (ลูกระนาดหรือลูกฆ้อง) การกวาดนี้ จะกวาดจากเสียงสูงมาหาเสียงต่ำ� หรือจากเสียงต่ำ� ไปหาเสียงสูงก็ได้

กรอด

ขยี้

เป็นคำ�เรียกการตีเครือ่ งดนตรีวธิ หี นึง่ ทีเ่ มือ่ ตีลงไปทำ�ให้ไม้ตสี นั่ สะเทือนไปทัง้ ตัว และกดให้เสียง ขาดไป การตีที่เรียกว่ากรอดนี้ ก็คือทำ�เสียงเครื่อง ดนตรีนนั้ ให้ดงั คล้ายคำ�พูดทีว่ ่า “กรอด” ซึง่ เป็นวิธใี ช้ ของฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็กโดยมาก เครือ่ งดนตรี ชนิดอื่นก็มีใช้บ้างเพียงเล็กน้อย

เก็บ

ได้แก่การบรรเลงทีเ่ พิม่ เติมเสียงสอดแทรกให้ มีพยางค์ถี่ขึ้นกว่าเนื้อเพลงธรรมดา อธิบาย : การบรรเลงที่เรียกว่าเก็บนี้ เป็นวิธี การบรรเลงของระนาดเอกและฆ้องวงเล็ก ส่วน เครื่องดนตรีอื่น ๆ ใช้เป็นตอน ๆ เป็นการบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงแทรกให้มี พยางค์ถี่ขึ้นไปมากกว่าการตี “เก็บ” อีก ๑ เท่า อธิบาย : การบรรเลงที่เรียกว่าขยี้นี้ จะ บรรเลงตลอดทั้งประโยคของเพลง หรือจะบรรเลง สั้นยาวเพียงใด แล้วแต่ผู้บรรเลงจะเห็นสมควร วิธี บรรเลงอย่างนี้ บางท่านก็เรียกว่า “เก็บ ๖ ชั้น” จิตสัมผัส 93


ขับ

คร่อม

คือ การเปล่งเสียงออกไปอย่างเดียวกับร้อง แต่การขับมักใช้ในทำ�นองที่มีความยาวไม่แน่นอน การเดินทำ�นองเป็นเพียงแนวทางเท่านั้น และถือ ถ้อยคำ�เป็นสำ�คัญ ทำ�นองต้องน้อมเข้าหาถ้อยคำ� เช่น ขั บเสภา เป็ น ต้ น การขับกับร้องมีวิธีการที่ คล้ายคลึงและมักจะปนกันอยู่ จึงมักจะเรียกรวม ๆ กันว่า “ขับร้อง”

คือ การบรรเลงทำ�นองหรือบรรเลงเครื่อง ประกอบจังหวะหรือร้องดำ�เนินไปโดยไม่ตอ้ งตรงกับ จังหวะทีถ่ กู ต้อง เสียงทีค่ วรจะตกลงตรงจังหวะกลาย เป็นตกลงในระหว่างจังหวะ ซึ่งกระทำ�ไปโดยไม่มี เจตนา และถือว่าเป็นการกระทำ�ทีผ่ ดิ เรียกอย่างเต็ม ว่า “คร่อมจังหวะ”

ไขว้

เป็นวิธที ที่ �ำ ให้เสียงสะดุดสะเทือนเพือ่ ความ ไพเราะเหมาะสมกับทำ�นองเพลงบางตอน อธิบาย : การทำ�เสียงให้สะดุดและสะเทือน ที่เรียกว่าครั่นนี้ใช้เฉพาะกับการขับร้อง หรือเครื่อง ดนตรีประเภทเป่า เช่น ปี่ ขลุ่ย และเครื่องดนตรี ประเภทสี เช่น ซอต่าง ๆ เท่านั้น

ครั่น

อธิบาย : โดยปรกติการตีเครื่องดนตรีทุก ๆ อย่าง มือซ้ายย่อมอยู่ทางเสียงต่ำ� และมือขวาอยู่ ทางเสียงสูง เพราะฉะนัน้ เมือ่ ต้องการให้มอื ขวาตีลกู ที่มีเสียงต่ำ�กว่าที่มือซ้ายตีอยู่ ก็ต้องใช้มือขวาไขว้ ข้ามมาตีหรือโดยตรงกันข้าม ต้องการให้มอื ซ้ายตีลกู ทีม่ เี สียงสูงกว่าทีม่ อื ขวาตีอยู่ ก็ตอ้ งใช้มอื ซ้ายไขว้ขา้ ม มือขวาไปตี วิธีตีเครื่องดนตรีที่เรียกว่า “ไขว้” นี้ใช้ เป็นประจำ�กับการบรรเลงเดีย่ วของฆ้องวงใหญ่และ ฆ้องวงเล็ก ส่วนเครือ่ งดนตรีชนิดอืน่ เช่น ระนาดเอก ก็มีใช้อยู่บ้างในบางโอกาส

เป็นคำ�ทีบ่ ญ ั ญัตกิ นั ขึน้ ใหม่ โดยใช้เรียกอัตรา ของเพลงที่ได้ตัดลงจากเพลงอัตราชั้นเดียวอีกครึ่ง หนึ่ง

ครวญ

คลอ

เป็ น วิ ธี ร้ อ งอย่ า งหนึ่ ง ซึ่ ง สอดแทรกเสี ย ง เอื้อนยาวๆ ให้มีสำ�เนียงครวญคร่ำ�รำ�พัน และเสียง เอื้อนที่สอดแทรกนี้มักจะขยายให้ทำ�นองเพลงยาว ออกไปจากปรกติ เพลงที่จะแทรกทำ�นองครวญเข้ามานี้ ใช้ เฉพาะแต่เพลงทีแ่ สดงอารมณ์โศกเศร้า เช่น เพลงโอ้ ปี่ และเพลงร่าย (ในบทโศก) และบทร้องจะร้อง ทำ�นองครวญจะต้องเป็นคำ�กลอนสุดท้ายของบทนัน้ ซึง่ เมือ่ ร้องจบคำ�นีแ้ ล้ว ปีพ่ าทย์กจ็ ะบรรเลงเพลงโอด ประกอบกิริยาร้องไห้ติดต่อกันไป

94 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

ครึ่งชั้น

เป็นการบรรเลงดนตรีไปพร้อมๆ กับการร้อง เพลง โดยดำ�เนินทำ�นองเป็นอย่างเดียวกัน คือ บรรเลงไปตามทางร้อง เช่น ซอสามสายสีคลอไปกับ เสียงร้องเป็นต้น เปรียบเทียบก็เหมือนคน ๒ คน เดินคลอกันไป

ควง

หมายถึง การปฏิบัติอย่างหนึ่งของเครื่อง ดนตรีจำ�พวกที่ใช้นิ้วเช่น ปี่ ขลุ่ย และซอต่างๆ โดย ทำ�ให้เกิดเสียงเป็นเสียงเดียวกัน แต่ใช้นิ้วไม่เหมือน กัน และจะต้องทำ�เสียงทีใ่ ช้นวิ้ คนละอย่างนัน้ ติดต่อ กัน ตั้งแต่ ๒ พยางค์ขึ้นไป วิธีเช่นนี้บางทีก็เรียกกว่า “ควงนิ้ว”


คาบลูกคาบดอก

เป็นคำ�เรียกวิธดี �ำ เนินทำ�นองเพลงแบบหนึง่ ที่ปฏิบัติพลิกแพลงให้มีวิธีบรรเลงเป็น ๒ อย่างสลับ กัน โดยปรกติใช้เรียกทางเดีย่ วของระนาดเอกทีม่ ที งั้ “เก็บ” และ “รัว” (เป็นทำ�นอง) สลับกัน ที่เรียกว่า คาบลูกคาบดอก ก็เป็นการสมมุติว่า “เก็บ” นั้นเป็น ลูก และ “รัว” เป็นดอก เมื่อบรรเลงโดยใช้วิธีทั้ง ๒ อย่างสลับกันจึงเป็นคาบลูกคาบดอก

คู่

หมายถึง ๒ เสียง และเสียงทั้ง ๒ นี้ อาจ บรรเลงให้ดงั พร้อมกันก็ได้ หรือดังคนละทีกไ็ ด้ เสียง ทั้ง ๒ นี้ห่างกันเท่าใดก็เรียกว่าคู่เท่านั้น

เคล้า

เป็นการบรรเลงดนตรีไปพร้อมๆ กับการร้อง เพลง โดยเพลงเดียวกัน แต่ต่างก็ดำ�เนินทำ�นองไป ตามทางของตน คือ ร้องก็ดำ�เนินไปตามทางร้อง ดนตรีก็ดำ�เนินไปตามทางดนตรี ยึดถือแต่เนื้อเพลง จังหวะและเสียงที่ตกจังหวะ (หน้าทับ) เท่านั้น

จน

หมายถึง การที่นักดนตรีบรรเลงเพลงที่เขา ต้องการไม่ได้ เพลงที่นักดนตรีจำ�จะต้องบรรเลงให้ ถู ก ต้ อ งตามความประสงค์ นั้ น มี อ ยู่ ห ลายอย่ า ง เป็นต้นว่า นักร้องเขาร้องส่งเพลงอะไร นักดนตรีก็ ต้ อ งบรรเลงรั บ ด้ ว ยเพลงนั้ น หรื อ เมื่ อ คนพากย์ เจรจา หรือคนบอกบท เขาบอกให้บรรเลงเพลงหน้า พาทย์อะไร นักดนตรีก็ต้องบรรเลงเพลงนั้น ถ้าหาก นักดนตรีบรรเลงเพลงให้ตรงกับที่นักร้องเขาร้องไม่ ได้ หรื อ บรรเลงเพลงหน้า พาทย์ ต ามที่ ค นพากย์ เจรจา หรือคนบอกบทเขาบอกไม่ได้จะเป็นนิ่งเงียบ อยู่หรือบรรเลงไปโดยกล้อมแกล้ม หรือบรรเลงไป เป็นเพลงอื่นก็ตาม ถือว่า “จน” ทั้งสิ้น

จังหวะ

หมายถึง การแบ่งส่วนย่อยของทำ�นองเพลง ซึง่ ดำ�เนินไปด้วยเวลาอันสม่�ำ เสมอ ทุก ๆ ระยะของ ส่วนที่แบ่งนี้คือจังหวะ จังหวะทีใ่ ช้ในการดนตรีไทย แยกออกได้เป็น ๓ อย่าง คือ จังหวะสามัญ หมายถึง จังหวะทั่วไปที่จะ ต้ อ งยึ ด ถื อ เป็ น หลั ก สำ � คั ญ ของการขั บ ร้ อ งและ บรรเลง แม้จะไม่มสี งิ่ ใดเป็นเครือ่ งให้สญ ั ญาณจังหวะ ก็ต้องมีความรู้สึกอยู่ในใจตลอดเวลา จังหวะสามัญ นีอ้ าจแบ่งซอยลงไปได้เป็นขัน้ ๆ แต่ละขัน้ จะใช้เวลา สัน้ ลงครึง่ หนึง่ เสมอไป และเมือ่ จังหวะสัน้ ลงครึง่ หนึง่ จำ�นวนจังหวะก็มากขึ้นอีกเท่าตัว จังหวะฉิ่ง เป็นการแบ่งจังหวะด้วยเสียงที่ตี ฉิ่ง เพื่อให้รู้จังหวะเบาและจังหวะหนัก โดย ปรกติ ฉิ่งจะตีสลับกันเป็น “ฉิ่ง” ทีหนึ่ง “ฉับ” ทีหนึ่ง ฉิ่งเป็น จังหวะเบาและฉับเป็นจังหวะหนัก ส่วนจะใช้จังหวะ ถี่หรือห่างอย่างไร ก็แล้วแต่ลักษณะของเพลง เพลงพิเศษบางเพลงอาจตีแต่เสียงที่ดังฉิ่ง ล้วนๆ หรือฉับล้วนๆ ก็ได้ เพลงสำ�เนียงจีนหรือญวน มักตีเป็น “ฉิ่งฉิ่งฉับ” แต่นี่เป็นการแทรกเสียงฉิ่ง พยางค์ที่ ๒ เข้ามาอีกพยางค์หนึ่งเท่านั้นมิได้เป็น จังหวะพิเศษอย่างใด ส่วนเพลงจังหวะพิเศษ เช่น เพลงจำ�พวกโอ้โลม ชมตลาด และญาณี การตีฉิ่งมี จังหวะกระชั้นในตอนท้ายประโยค เพราะเป็นเพลง ประเภทประโยคละ ๗ จังหวะ จังหวะหน้าทับ คือ การถือหน้าทับ เป็น เกณฑ์นบั จังหวะ หมายความว่า เมือ่ หน้าทับตีจบไป เที่ยวหนึ่งก็นับเป็น ๑ จังหวะ ตีจบไป ๒ เที่ยวก็เป็น ๒ จังหวะ แต่หน้าทับที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการกำ�หนด จังหวะนี้ โดยปรกติใช้แต่หน้าทับที่เป็นประเภทของ เพลงนัน้ ๆ เช่น ปรบไก่ หรือสองไม้ กับอัตราชัน้ ของ เพลง เช่น ๓ ชั้น ๒ ชั้น และชั้นเดียว ส่วนเพลงที่ มีหน้าทับพิเศษซึ่งมีความยาวมา ก็มิได้ถือเอาหน้า ทับประจำ�เพลงเช่นนั้นมาเป็นเกณฑ์กำ�หนดจังหวะ จิตสัมผัส 95


จับ

เป็นคำ�เรียกแทนคำ�ว่ าท่อนของเพลงเชิด นอก โดยปรกติเพลงเชิด เช่น เชิดใน เชิดฉิง่ เชิดฉาน หรือเชิดจีน เรียกการแบ่งส่วนเป็นท่อนหนึ่งๆ ว่า “ตัว” ทั้งนั้น เพลงเชิดนอกเพลงเดียวเท่านั้น ที่เรียก การแบ่งส่วนท่อนหนึ่งว่า “จับ” ที่เป็นดังนี้ก็เนื่องมา จากการบรรเลงประกอบการแสดงหนังใหญ่ในสมัย โบราณ ในตอนทีแ่ สดงเบิกโรงด้วยชุดจับลิงหัวค่�ำ ซึง่ มีลงิ ขาวกับลิงดำ�รบกัน การแสดงหนังใหญ่ตอนนี้ ปี่ จะต้องเป่าเดีย่ วเพลงเชิดนอก และเมือ่ ผูเ้ ชิดหนังนำ� หนังที่มีภาพต่อสู้กันด้วยท่าต่างๆ ซึ่งเรียกว่า “หนัง จับ” ออกมาปี่ก็จะต้องเป่าให้เป็นเสียง “จับให้ติดตี ให้ตาย” หรือ “ฉวยตัวให้ตดิ ตีให้แทบตาย” หรืออืน่ ๆ ทำ�นองนี้ เรียกกันว่า เป่าจับและประเพณีการแสดง หนังใหญ่ในตอนนี้ จะต้องนำ�หนังจับออกมา ๓ ครัง้ (ครั้งหนึ่งๆ มีท่าต่างๆ กัน) ปี่ก็ต้องเป่าจับ ๓ หน และถื อ กั น เป็ น แบบแผนมาว่ า เพลงเชิ ด นอกที่ บริ บู ร ณ์ จ ะต้ อ งมี ๓ จั บ ท่ อ นหรื อ ตั ว ของเพลง เชิดนอก จึงเรียนว่า “จับ” สืบมาจนปัจจุบันนี้

ชั้นเดียว

เป็นคำ�กำ�หนดอัตราของหน้าทับและเพลง ซึ่งมีประโยคและจังหวะหน้าทับสั้นๆ และมักจะ ดำ�เนินจังหวะเร็ว

เดี่ยว

เป็นวิธีบรรเลงอย่างหนึ่งที่ใช้เครื่องดนตรี จำ�พวกดำ�เนินทำ�นอง เช่น ระนาด ฆ้อง จะเข้ ซอ บรรเลงแต่อย่างเดียว การบรรเลงเครื่องดำ�เนิน ทำ�นองเพียงคนเดียวที่เรียกว่า “เดี่ยว” อาจมีเครื่อง ประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง โทน รำ�มะนา สองหน้าหรือกลองแขก บรรเลงไปด้วยก็ได้ การ บรรเลงเดีย่ วอาจบรรเลงตลอดทัง้ เพลงหรือแทรกอยู่ ในเพลงใดเพลงหนึ่งเป็นบางตอนก็ได้

96 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

การบรรเลงเดีย่ วมีวตั ถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑. เพื่ออวดทาง คือ วิธีดำ�เนินทำ�นองของ เครื่องดนตรีชนิดนั้น ๒. เพื่ออวดความแม่นยำ� ๓. เพื่ออวดฝีมือ

ตับ

หมายถึง เพลงหลายๆ เพลงนำ�มาร้องและ บรรเลงติดต่อกันไปซึ่งแยกออกได้เป็น ๒ ชนิดคือ ๑. ตับเรือ่ ง เพลงทีน่ �ำ มารวมร้องและบรรเลง ติ ด ต่ อ กั นนั้ น มี บ ทร้ อ งที่ เ ป็ น เรื่ อ งเดีย วกั น และ ดำ�เนินไปโดยลำ�ดับ ฟังได้ตดิ ต่อกันเป็นเรือ่ งราว เช่น ตับนางลอย ตับนาคบาศ เป็นต้น ๒. ตับเพลง เป็นเพลงที่นำ�มารวมร้องและ บรรเลงติดต่อกันนั้น มีสำ�นวนทำ�นองสอดคล้อง ติดต่อกัน ส่วนบทร้องจะมีเนื้อเรื่องอย่างไร เรื่อง เดียวกันหรือไม่ ไม่ถือเป็นสำ�คัญ เช่น ตับลมพัด ชายเขา ตับเพลงยาว เป็นต้น

ตัว

เป็นคำ�ทีใ่ ช้เรียกแทนคำ�ว่าท่อนของเพลงบาง ประเภท เพลงทีเ่ รียก “ตัว” แทนคำ�ว่า “ท่อน” ก็ได้เช่น เพลงจำ�พวกตระและเชิดต่างๆ นอกจากเชิดนอก

ถอน

เป็ น การบรรเลงตอนหั ว ต่ อ ระหว่ า งที่ หั ก จังหวะลง หรือ เป็นการเร่งจังหวะให้เร็วขึ้น แล้วลด พยางค์ของการดำ�เนินทำ�นองลงครึ่งหนึ่ง

เถา

เป็นเพลงๆ เดียวกัน แต่มีอัตราการบรรเลง ลดหลั่นกันลงไปตามลำ�ดับไม่น้อยกว่า ๓ ขั้น นำ�มา ร้องหรือบรรเลงติดต่อกัน การที่ จ ะเรี ย กว่ า เป็ น เถา ต้ อ งเป็ น เพลง


ที่จะต้องร้องหรือบรรเลงติดต่อกันโดยไม่ขาดระยะ หรือมีเพลงอื่นมาแทรก เช่น บรรเลงเพลงราตรี ประดับดาว ๓ ชั้น ๒ ชั้น และชั้นเดียวติดเป็นพืด กันไป ก็เรียกว่าเพลงราตรีประดับดาวเถา

จะหยุดให้เจรจา การร้องนี้จะต้องแทรกเอื้อน (ดูคำ� ว่า เอื้อน) เล็กน้อย ซึ่งมีอยู่ ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเรียก ว่า “ทอดเต็ม”

ทวน

เป็นการ กำ�หนดส่วนใหญ่สว่ นหนึง่ ๆ ซึง่ แบ่ง ออกจากเพลง โดยปรกติเมือ่ บรรเลงเพลงใดก็ตาม หากจบ ท่อนหนึง่ ๆ แล้วมักจะกลับต้นบรรเลงซ้�ำ ท่อนนัน้ อีก ครั้ ง หนึ่ ง ที่ ก ล่ า วนี้ มิ ใช้ ว่ า เพลงทุ ก เพลงจะต้ อ งมี หลายๆ ท่อนเสมอไป บางเพลงอาจมีท่อนเดียวจบ หรือมี ๒ ท่อน หรือหลายๆ ท่อนจึงจบก็ได้

ก. เป็นชื่อเรียกส่วนหนึ่งของคันซอ ซึ่งแยก ออกเป็นทวนบนและทวนล่าง ถ้าเป็นซออู้ หรือซอ สามสาย ตั้งแต่ใต้ลูกบิดขึ้นไปจนปลายคัน เรียกว่า ทวนบน แต่ซอด้วงซึ่งคันซอตอนนี้ขึ้นไปจนสุดยอด เป็น ๔ เหลีย่ ม จึงเรียกว่า โขน ไม่เรียกว่าทวน เพราะ มีรูปร่างคล้ายโขนท้ายเรือ และคันตอนล่างทั้งซออู้ ซอสามสาย และซอด้วง นับตัง้ แต่เหนือกะโหลก (ถ้า ซอด้วงก็เหนือกระบอก) ซึง่ มักทำ�เป็นรูปบัวคว่�ำ และ ลวดลายต่างๆ ขึ้นไปจนถึงส่วนกลางของคัน เรียก ว่า ทวนล่าง ข. เป็นชื่อส่วนประกอบเสริมต่อของปี่ใน หรือปี่อื่นๆ ที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ส่วนที่ เสริม ต่อตอนบนสำ�หรับเสียบลิ้นปี่ซึ่งมักทำ�ด้วยงา หรือ ไม้เนือ้ แข็ง หรือวัตถุอนื่ เรียกว่า ทวนบน ส่วนทีเ่ สริม ต่อตอนปลายล่าง เพื่อให้เสียงต่ำ�ลง ซึ่งมักทำ�ด้วย ครั่งหรือขี้ผึ้ง หรือวัตถุอื่นเรียกว่า ทวนล่าง ค. หมายถึง การร้องหรือบรรเลงซ้ำ�อีกครั้ง หนึ่ง อาจซ้ำ�เฉพาะตอน หรือทั้งท่อน หรือตลอด ทัง้ เพลง เรียกว่า ทวนได้ทง้ั สิน้ การร้องหรือบรรเลงซ้�ำ นี้ บางทีกเ็ รียกว่า “กลับ” และบางทีกเ็ รียกว่า “ย้อน”

ทอด

ก. หมายถึงการผ่อนจังหวะให้ชา้ ลง โดยมาก ใช้กบั การบรรเลงก่อนทีจ่ ะจบเพลงหรือจบ ท่อน เพือ่ ความเรียบร้อยพร้อมเพรียงเช่น ทอดให้รอ้ ง ก็หมาย ถึงผ่อนจังหวะให้ช้าลงเพื่อสะดวกแก่การร้อง ข. หมายถึงการร้องเพลงละคอนอย่างหนึ่ง เช่น เพลงร่าย หรือเพลงชมตลาด เป็นต้น ในตอนที่

ท่อน

ทาง

คำ�นีม้ คี วามหมายแยกได้เป็น ๓ ประการ คือ ๑. หมายถึงวิธดี �ำ เนินทำ�นองโดยเฉพาะของ เครื่องดนตรีแต่ละอย่าง เช่น ทางระนาดเอก ทาง ระนาดทุ้ม และทางซอ ซึ่งแต่ละอย่างต่างก็มีวิธี ดำ�เนินทำ�นองของตนแตกต่างกัน ๒. หมายถึงวิธีดำ�เนินทำ�นองของเพลงที่ ประดิษฐ์ขน้ึ โดยเฉพาะ เช่น ทางของครู คนใดคนหนึง่ หรือทางเดีย่ ว และทางหมู่ ซึง่ แม้จะบรรเลงด้วยเครือ่ ง ดนตรีอย่างเดียวกันก็ด�ำ เนินทำ�นองไม่เหมือนกัน ๓. หมายถึงระดับเสียงของเพลงที่บรรเลง

ทำ�นอง

คือ เสียงสูงๆ ต่ำ� ซึ่งสลับกัน จะมีความสั้น ยาวเบาแรงอย่างไร ก็แล้วแต่ความประสงค์ของผูแ้ ต่ง

เท่า

เป็นทำ�นองเพลงพิเศษตอนหนึ่ง แต่มีความ ประสงค์อยู่อย่างเดียวเพียงให้ทำ�นองนั้นยืนอยู่ ณ เสียงใดเสียงหนึ่งแต่เพียงเสียงเดียว เท่า หรือ ลูก เท่า นีจ้ ะต้องอยูใ่ นกำ�หนดบังคับของจังหวะหน้าทับ

จิตสัมผัส 97


โดยมีความยาวเพียงครึ่งจังหวะหน้าทับ และโดย ปรกติมีแทรกอยู่ในเพลงประเภทหน้าทับปรบไก่

เนื้อ

ใช้เรียกบทประพันธ์ซึ่งเป็นถ้อยคำ�ที่ใช้ขับ ร้อง หรือเรียกว่า “เนื้อร้อง”

แนว

๑. ขนาดหรื อ กำ � ลั ง ความช้ า เร็ ว ของการ ดำ�เนินจังหวะ ที่พูดกันว่า แนวดี ก็คือ ในขณะ บรรเลงหรือขับร้องได้รกั ษาขนาดหรือกำ�ลังความช้า เร็วของจังหวะไว้ได้โดยเรียบร้อยสม่ำ�เสมอ และ เหมาะสมกับทำ�นองเพลงนั้นๆ เพลงใด ตรงไหน ควรช้าเร็วเพียงใด ก็ปฏิบัติอย่างนั้น ๒. การดำ�เนินทำ�นองของเครือ่ งดนตรีแต่ละ อย่างหรือการขับร้อง ซึ่งตรงกับคำ�ว่าทาง เช่น แนว ปี่ แนวระนาดและแนวร้อง เป็นต้น

ปรบไก่

เป็ น ชื่ อ ของหน้ า ทั บ ประเภทหนึ่ ง ซึ่ ง มี สัดส่วนค่อนข้างยาว สำ�หรับตีประกอบกับเพลงที่มี ทำ�นองดำ�เนินประโยค วรรคตอนเป็นระเบียบ

ประ

เป็ น วิ ธี ป ฏิ บั ติ อ ย่ า งหนึ่ ง ของเครื่ อ งดนตรี ประเภทที่ใช้นิ้วบังคับเสียงสูงต่ำ� (เช่นซอ) ในเมื่อ ทำ�นองเพลงตอนนั้นเป็นเสียงยาวจึงใช้ กลางนิ้ว แตะเร็วๆ ก็จะบังเกิดเป็นเสียงที่สูงขึ้นไปสลับกับ เสียงเดิมถี่ๆ

ประคบ

หมายถึง การบรรเลงทีท่ �ำ ให้เสียงดนตรีนน้ั ดัง ชัดเจนถูกต้องตามความเหมาะสมของทำ�นองเพลง การบรรเลงดนตรีไม่วา่ จะเป็นประเภท ดีด สี 98 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

ตี หรือ เป่า นอกจากทำ�เสียงสูงต่ำ�ถูกทำ�นองแล้ว จะต้องให้เสียงดังเหมาะสมกับทำ�นองด้วย เช่น ตี ฆ้องวงใหญ่ แม้เป็นฆ้องลูกเดียวกัน บางครั้งก็ต้อง ตีให้ดัง “หนอด” บางครั้งก็ต้องตีให้ดัง “หน่ง” การสี ซอบางครัง้ ก็ตอ้ งการให้หวานให้เพราะให้ดดุ นั ซึง่ จะ ชัดเจนได้ก็ด้วยการประคบทั้งนั้น และเครื่องดนตรี ชนิดอื่นๆ ก็เป็นเช่นเดียวกัน เปรียบให้เห็นง่ายๆ ก็ เหมือนกับการพูดอักษร ร. และ ล. ก็ต้องกำ�หนดให้ รู้ว่าคำ�ไหนควรทำ�ปากอย่างไร และลิ้นจดตรงไหน อย่างไร ซึ่งในภาษาของดนตรีเรียกว่าประคบทั้งสิ้น

ประสาน

เป็นการบรรเลงหรือร้องคนละทางในเพลง เดียวกันและพร้อมๆ กัน อาจเป็นเครื่องดนตรีกับ เครื่องดนตรี หรือร้องกับร้อง หรือดนตรีกับร้องก็ได้ เสียงของดนตรีหรือร้องทีแ่ ยกกันเป็นคนละทางย่อม มีเสียงทีต่ กจังหวะเป็นคนละเสียงบ้าง รวมเป็นเสียง เดียวกันบ้าง เช่นเดียวกับหลักการประสานเสียง ของ ดนตรีสากล

ปริบ

เป็ น วิ ธี ก ารบรรเลงอย่ า งหนึ่ ง ที่ ทำ � ให้ เ กิ ด เสียงเต้นระริกไปในตัวเล็กน้อย เครื่องดนตรีจำ�พวก ที่ใช้นิ้ว (เช่นปี่หรือซอ) ก็ขยับนิ้วให้สั่นสะเทือนขึ้น คล้ายกับทำ�ให้เสียงนั้นรั่วปริบออกมา ส่วนเครื่อง ดนตรีประเภทตี (เช่น ฆ้องวง) ก็ตีลงไปโดยทำ�ให้ไม้ ตีสั่นสะเทือนสะท้อนขึ้นมานิดหน่อย

พรม

เป็ น วิ ธี ป ฏิ บั ติ อ ย่ า งหนึ่ ง ของเครื่ อ งดนตรี ประเภทที่ใช้นิ้วบังคับเสียงสูงต่ำ� (เช่นซอ) ในเมื่อ ทำ�นองเพลงตอนนั้นมีเสียงยาวพอควร จึงใช้ปลาย นิ้วแตะเร็วๆ ก็จะบังเกิดเป็นเสียงที่สูงขึ้นไปสลับกับ เสียงเดิมถี่ๆ ความประสงค์ของ “พรม” นีก้ เ็ ป็นอย่างเดียว


กับ “ประ” แต่เสียงทีเ่ กิดขึน้ นัน้ พรมละเอียดกว่าประ ส่วนที่จะใช้ก็แล้วแต่ความสมควรของทำ�นองเพลง ตอนนั้น

พัน

ก. เป็นชือ่ เรียกเพลงตอนหลังของเพลงองค์ พระพิราพ ข. หมายถึงการ ดำ�เนินทำ�นองเพลงอย่าง หนึ่ง ซึ่งดำ�เนินไปโดยการแทรกเสียงให้ถี่ ดังที่เรียก ว่าเก็บ โดยให้ท�ำ นองเกีย่ วพันไปกับเนือ้ เพลงเหมือน เถาวัลย์พันไม้ บางท่านก็ว่าเป็นการดำ�เนินทำ�นอง ไปในระดับเสียงต่ำ�

เพลง

คือ ทำ�นองที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีส่วนสัด มี จังหวะ วรรคตอน และสัมผัสถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ของดุรยิ างคศิลป์ เช่นเดียวกับบทกวีทแี่ ต่งขึน้ โดยใช้ ถ้อยคำ� เสียง อักษร สระ และวรรณยุกต์ตามกฎแห่ง ฉันทลักษณ์ เพลงหนึ่งจะมีกี่จงั หวะ กีท่ ่อน ไม่บังคับ แต่แบบแผนของเพลงไทยที่มีมาแต่โบราณ ท่อน หนึ่งๆ ไม่เคยมีน้อยกว่า ๒ จังหวะ เลย สมัยโบราณ บางทีก็เรียกว่า “ลำ�”

เพี้ยน

คือ เสียงที่ไม่ตรงกับระดับที่ถูกต้อง

ไม้

เป็ น กำ � หนดนั บ จำ � นวนการตี กลองทั ด ทีเ่ รียกว่า “ไม้เดิน” แต่ละที การตีไม้เดินทีหนึง่ ก็เรียก ว่า ๑ ไม้ ๒ ที ก็เรียกว่า ๒ ไม้

ไม้กลอง

ได้แก่การตี กลองทัด ตามแบบแผนทีบ่ ญ ั ญัติ ไว้เป็นประจำ�กับทำ�นองเพลงนั้นๆ

ไม้เดิน

เป็นการตี กลองทัด ทีด่ �ำ เนินเรือ่ ย ๆ ไปตาม จังหวะ โดยมิได้มีการตีสอดแทรกให้กระชั้นเข้าไป เป็นการตีด�ำ เนินไปตามจังหวะอันสม่�ำ เสมอ ซึง่ จะถี่ หรือห่างเท่าใดนั้น แล้วแต่ลักษณะของทำ�นองเพลง

ย้อย

หมายถึง การร้องหรือบรรเลงอย่างหนึ่ง ซึ่ง ประดิษฐ์ท�ำ นองให้เสียงทีค่ วรจะตกลงตรงจังหวะไป ตกลงภายหลังจังหวะ เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำ�นองของ ประโยคนั้นก็จำ�จะต้องยาวกว่าประโยคธรรมดา

โยน

บางทีก็เรียกว่า “ลูกโยน” เป็นทำ�นองเพลง พิเศษตอนหนึ่งซึ่งไม่มีความหมายในตัว หากแต่มี ความประสงค์อยูอ่ ย่างเดียวเพียงให้ท�ำ นองตอนนัน้ ยืนอยู่ ณ เสียงใดเสียงหนึ่ง แต่เสียงเดียว ประโยชน์ของ “โยน” มีไว้เพื่อเป็นที่พักของ เพลงบางตอน และเพือ่ เปิดโอกาสให้ผรู้ อง ผูบ้ รรเลง หรือผู้แต่งเพลง ได้ประดิษฐ์ทำ�นองดัดแปลงออกไป ได้ความพอใจ จะสั้นยาวเท่าใดก็ได้ เพียงแต่เมื่อ สุดท้ายของการพลิกแพลงไปแล้ว ให้มาตกอยูท่ เี่ สียง อันเป็นความประสงค์ของโยนตอนนั้นเท่านั้น

ร้อง

คือ การเปล่งเสียงออกไปให้เป็นทำ�นอง (ดูคำ�ว่า ทำ�นอง) จะมีถ้อยคำ�หรือไม่มี หรือมีแต่สระ อะไรก็ได้ แต่ต้องถือทำ�นองเป็นสำ�คัญ ถ้อยคำ�ต้อง น้อมเข้าหาทำ�นอง เช่น ร้องเพลงต่างๆ เป็นต้น

รัว

คำ�นี้มีความหมาย ๒ ประการคือ ๑. หมายถึ ง ชื่ อ เพลงไทยเพลงหนึ่ ง ซึ่ ง ทำ�นองเพลงบางตอนยืนอยู่เสียงเดียวนานๆ แต่ ซอยลงเป็นหลายๆ พยางค์ และเร่งให้ค่อยๆ ถี่ขึ้น จิตสัมผัส 99


ไปโดยไม่จำ�กัด เพราะในตอนที่ยืนเสียงอยู่ ณ เสียง ใดเสียงหนึ่งนี้ไม่มีจังหวะควบคุม เพลงรัวมีทั้งลา เดียวและ ๓ ลา มักใช้เป็นหน้าพาทย์ประกอบการ แสดงอภินิหารต่าง ๆ กับใช้เป็นเพลงต่อท้ายเพลง เสมอ เพลงตระ และเพลงบรรเลงในการไหว้ครูเกือบ ทุกเพลง ๒. หมายถึง วิธีบรรเลงที่ทำ�เสียงหลายๆ พยางค์ให้สนั้ และถีท่ สี่ ดุ ถ้าเป็นเครือ่ งดนตรีประเภท ตี (เช่น ระนาด) ก็ใช้ตีสลับกัน ๒ มือ เครื่องดนตรี ประเภทสี (เช่น ซอ) ก็ใช้คันชักสีสั้นๆ เร็วๆ เครื่อง ดนตรีประเภทดีด (เช่น จะเข้) ก็ใช้ไม้ดีด ดีดเข้าออก สลับกันเร็วๆ และเครื่องดนตรีประเภทเป่ า (เช่น ขลุ่ ย ) ก็ รั ว ด้ ว ยนิ้ ว ปิ ด เปิ ด ให้ ถี่ แ ละเร็ ว ที่ สุ ด รั ว ใน ประการที่ ๒ นี้ ถ้าเป็นวิธีบรรเลงของระนาดเอก ยัง แยกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือ รัวเสียงเดียว อย่าง หนึ่ง กับรัวเป็นทำ�นอง อีกอย่างหนึ่ง ก. รัวเสียงเดียว คือ ใช้ไม้ตีสลับกัน ๒ มือ ลงบนลูกระนาดลูกเดียวกัน ให้ถี่ที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ โดยไม่ต้องคำ�นึงว่าทุกๆ พยางค์จะต้องย่อยส่วนลง ตามจังหวะ การตีรวั เสียงเดียวนีอ้ าจย้ายเสียงไปตาม ทำ�นองเพลงได้ตามพอใจ แต่ทั้ง ๒ มือจะต้องตีอยู่ ที่ลูกระนาดลูกเดียวกันเสมอ ข. รัวเป็นทำ�นอง คือ การตีสลับกัน ๒ มือ ให้ถี่ๆ และดำ�เนินเป็นทำ�นองไปด้วย เพราะฉะนั้น ทั้ง ๒ มือที่ตีลงบนลูกระนาด จึงเป็นคนละลูกโดย มาก และพยางค์ของเสียงจะต้องย่อยลงตามจังหวะ ให้ถเี่ ป็น ๒ เท่าของ “เก็บ” เช่นเดียวกับ “ขยี”้ แต่การ ปฏิบัติของระนาดเอก เวลา “ขยี้” อยู่ในเวลาดำ�เนิน จังหวะค่อนข้างช้า แต่เวลา “รัว” (เป็นทำ�นอง) อยู่ ในเวลาดำ�เนินจังหวะเร็ว นอกจากนั้น เวลา “ขยี้” ระนาดตี ๒ มือเป็นคู่ ๘ ทุกเสียง แต่เวลา “รัว” ตี ด้ ว ยมื อ ซ้ า ยและขวาสลั บ มื อ ละเสี ย งต่ อ กั น เป็ น ทำ�นอง

100 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

รื้อ

เป็นทำ�นองร้องอย่างหนึง่ ทีใ่ ช้ในตอนขึน้ ต้น ของเพลงร่าย ซึง่ มีเอือ้ นและทอดเสียงให้ภาคภูมิ มัก จะใช้เฉพาะในบทที่ขึ้นข้อความสำ�คัญ ๆ เท่านั้น

เรื่อง

คือ เพลงหลายๆ เพลง นำ�มาจัดรวมบรรเลง ติดต่อกันไป เพลงทัง้ หมดนีร้ วมเรียกว่า “เพลงเรือ่ ง” และตั้งชื่อเรื่องต่างๆ กันแล้วแต่กรณี

ล่วงหน้า

หมายถึงการร้องหรือบรรเลงอย่างหนึ่ง ซึ่ง อาจเป็นเครื่องดนตรีอย่างใดอย่างหนึ่งพลิกแพลง ทำ�นองบรรเลงโดยตัดทำ�นองให้สนั้ เพือ่ ไปถึงเสียงที่ ตกจังหวะให้ตกก่อนเครือ่ งดนตรีอนื่ ๆ คือบรรเลงขึน้ ต้ น ประโยคพร้ อ มกั บ เครื่ อ งดนตรี อื่ น แต่ ใ ห้ สุ ด ประโยคก่อน อธิบาย : วิธีการบรรเลงแบบนี้ มักเป็นการ บรรเลงประจำ�ของระนาดทุ้มไม้ ทุ้มเหล็ก และซออู้ แต่เครื่องดนตรีอื่นๆ เช่น ระนาดเอก และซอด้วง ก็มีใช้อยู่บ้างบางโอกาส ถ้าจะเปรียบเทียบกับคำ�ว่า เหลื่อม จะเห็นว่าผิดกันตรงที่เหลื่อมแบ่งผู้บรรเลง เป็นพวกหน้าพวกหลัง ขนาดของประโยคบรรเลง ยาวเท่ากัน พวกที่จะเหลื่อมต้องบรรเลงขึ้นมาก่อน และเป็นการบรรเลงตามทีท่ า่ นผูแ้ ต่งเพลงได้ก�ำ หนด ไว้แล้ว

ล้วง

ได้แก่การบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอย่างใด อย่างหนึง่ โดยเพิม่ ทำ�นองบรรเลงล้�ำ เข้ามาก่อนทีจ่ ะ ถึงหน้าที่บรรเลงตามปรกติ อธิบาย : วิธีการอย่างนี้มักจะมีในตอนที่ บรรเลงลูกล้อลูกขัดหรือเวลาที่จะรับจากล้วง คือ


ก่อนที่จะถึงหน้าที่บรรเลงตามปรกติของตน ก็หา ทำ�นองอย่างใดอย่างหนึ่งบรรเลงขึ้นมาก่อนที่อีก ฝ่ายหนึ่งจะจบ

ล่อน

ได้แก่การปฏิบตั ใิ นวิธที เี่ รียกว่า สะบัด ขยี้ รัว หรือกวาด ได้ชัดเจนทุกเสียงไม่กล้อมแกล้มหรือ กระทบเสียงอื่นที่ไม่ต้องการ

ละเอียด

เป็นคำ�เรียกการบรรเลงรัวหรือกรอ ทีบ่ รรเลง ได้โดยมีพยางค์ของเสียงถี่มาก ซึ่งถือว่าการรัวหรือ กรอไม้ละเอียดนั้น เป็นการปฏิบัติที่ดี

ลัก

หรื อ “ลั ก จั ง หวะ” หมายถึงการร้องหรือ บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีทั้งเครื่องทำ�ทำ�นองและ เครื่องประกอบจังหวะ ซึ่งดำ�เนินไปโดยไม่ตรงกับ จังหวะ เสียงที่หนักหรือน่าจะลงตรงจังหวะก็ทำ�ให้ ตกลงในที่ อื่ น ซึ่ ง ไม่ ต รงจั ง หวะ แต่ ก ารกระทำ � นี้ เป็นการกระทำ�โดยเจตนา เพื่อที่จะให้เกิดความ ไพเราะหรือเร้าอารมณ์ไปอีกทางหนึง่ ซึง่ ไม่ถอื ว่าผิด ลักหรือลักจังหวะนี้ แบ่งออกไปได้เป็น ๓ อย่างคือ เหลื่อม ล่วงหน้า และย้อย ซึ่งมีลักษณะต่างๆ กัน ทั้งนั้น

ลา

ก. เป็นชือ่ เพลงทีบ่ รรเลงเพือ่ แสดงว่า “จบ” หรือ “จบภาค” ของการบรรเลงในตอนนั้น ข. ไม้กลองที่ตีสอดแทรกแซงให้กระชั้นกัน ซึ่งเป็นไปตามแบบบัญญัติ มิใช่เล่นไม้ เพื่อให้ทราบ ว่าจบตอนของเพลงหรือจบเพลง เช่น เพลงเสมอ จะ ตี ไ ม้ เ ดิ น ๕ ไม้ แ ล้ ว จึ ง ถึ ง ลาเรี ย กว่ า “๕ ไม้ ล า” หมายความว่าดำ�เนินเรื่อยๆ มา ๕ จังหวะ แล้วก็ถึง ตอนจบ

ลำ�

ในสมัยโบราณใช้เรียกแทนคำ�ว่าเพลง เช่น เพลงนางนาค เรียกว่าลำ�นางนาค การละเล่นอย่าง หนึ่งทางภาคอีสาน ที่ร้องเคล้าไปกับแคน เรียกว่า “ลำ�แคน” คนร้องเรียกว่า “หมอลำ�” และคนเป่าแคน เรียกว่า “หมอแคน” ในสมั ย ปั จ จุ บั น มั ก จะแยกความหมาย ระหว่าง “เพลง” กับ “ลำ�” เป็นคนละอย่าง เพลง หมายถึงทำ�นองทีม่ กี �ำ หนดความสัน้ ยาวแน่นอน แม้ เพลงบางเพลงที่มีโยนซึ่งไม่กำ�หนดจำ�นวนจังหวะ แต่เมื่อถึงเนื้อเพลงก็มีทำ�นองอันแน่นอนหากจะมี บทร้องก็ตอ้ งถือทำ�นองเพลงเป็นใหญ่ ส่วนลำ�นัน้ ถือ ถ้อยคำ�อันเป็นบทร้องเป็นสำ�คัญ ต้องน้อมทำ�นอง เข้าหาถ้อยคำ�และความสั้นยาวไม่มีกำ�หนดแน่นอน เช่น การลำ�ของหมอลำ�เป็นต้น

ลำ�นำ�

เสียงที่สั้นยาวเบาแรงของการขับร้องหรือ เครื่องดนตรีต่างๆ อธิ บ าย : ไม่ ว่ า การเปล่ ง เสี ย งหรื อ การ บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี ทั้งที่ดำ�เนินทำ�นองและ ประกอบจังหวะ ย่อมมีส่วนสัดความสั้นยาวเบาแรง ของเสียง แม้แต่การอ่านโคลงฉันท์กาพย์กลอน ก็ ย่อมมีความสั้นยาวเบาแรง

ลีลา

ได้แก่ส่วนสัดและลักษณะความเคลื่อนไหว ของการดำ�เนินทำ�นองและลำ�นำ� อธิบาย : อันส่วนสัดและลักษณะของความ เคลือ่ นไหวทีด่ �ำ เนินไปนัน้ ย่อมมีแก่ศลิ ปะทุกแขนงๆ แต่ ใ นที่ นี้ เ ป็ น เรื่ อ งของการร้ อ งเพลงและบรรเลง ดนตรี จึงกำ�หนดของคำ�ว่า “ลีลา” หมายถึงส่วนสัด และลักษณะความเคลือ่ นไหวของการดำ�เนินทำ�นอง และลำ�นำ� อันส่วนสัดความเคลื่อนไหวการดำ�เนิน ทำ�นองและลำ�นำ�ของเพลงนั้นย่อมดำ�เนินไปโดย จิตสัมผัส 101


ลักษณะต่างๆ กัน ซึง่ จะสังเกตได้จากเสียงสูงต่�ำ และ สัน้ ยาวเบาแรงทีผ่ แู้ ต่งหรือผูบ้ รรเลงได้ประดิษฐ์เรียบ เรียงขึ้น เมื่อเวลาทำ�นองเพลงดำ�เนินไปเราอาจคิด เปรียบเทียบวาดเป็นรูปร่างขึ้นในความรู้สึกได้ ถ้า ทำ�นองเรียบๆ พื้นๆ ก็เป็นเสมือนเส้นตรง ถ้ามีการ เคลื่อนไหวให้ทำ�นองพลิกแพลงออกไปก็อาจคล้าย กับรูปเส้นคดไปคดมา ลักษณะของส่วนสัดความ เคลือ่ นไหวเหล่านีเ้ รียกว่า “ลีลา” เพลงจะไพเราะหรือ ไม่อย่างไรก็อยู่ที่ลีลาเป็นสำ�คัญ

บรรเลงต่อท้ายนี้แหละคือเพลงที่เรียกว่า “ลูกบท” แต่เกณฑ์อันนี้อาจเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องมีเพลง ลูกหมดคั่นกลางก็ได้ คือพอจบเพลง ๓ ชั้นซึ่งเป็น ประธานหรือแม่บทแล้วก็บรรเลงเพลงเล็ก ๆ ซึง่ เป็น ลู ก บทติ ด ต่ อ ไปที เ ดี ย ว และจะจบลงโดยมี เ พลง ลูกหมดหรือไม่มกี ไ็ ด้ แล้วแต่ผปู้ ระดิษฐ์และผูบ้ รรเลง จะเห็นสมควรเป็นเพลงๆ ไป และเพลงลูกบทนี้ จะ มีร้องด้วยก็ได้ หรืออาจมีหลายๆ เพลงต่อกันก็ได้ แต่ต้องมีอัตราต่ำ�กว่าเพลงที่เป็นแม่บท

ลูกขัด

ลูกล้อ

เป็นวิธีการบรรเลงทำ�นองอย่างหนึ่งที่แบ่ง เครื่องดนตรี (หรือร้อง) ออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่ง เรียกว่าพวกหน้า (บรรเลงก่อน) อีกพวกหนึ่งเรียกว่า พวกหลัง (บรรเลงทีหลัง) ทัง้ ๒ พวกนีผ้ ลัดกันบรรเลง คนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้ว พวกหลังจึงจะบรรเลงบ้าง แต่ทจี่ ะเรียกได้วา่ “ลูกขัด” นี้ เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทำ�นองอย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทำ�นองให้ผดิ แผกแตกต่างไปอีก อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนกับทำ�นองของพวกหน้า ทำ � นองที่ ผ ลั ด กั น บรรเลงนี้ ไ ม่ บั ง คั บ ว่า จะสั้ น ยาว เท่าใด ทั้งนี้แล้วแต่ผู้แต่งจะประดิษฐ์ขึ้น อย่างสั้น ที่สุดอาจผลัดกันทำ�เพียงพวกละพยางค์เดียวก็ได้

ลูกบท

ได้แก่เพลงเล็กๆ ทีบ่ รรเลงต่อจากเพลงใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็น แม่บท เพลงเล็กๆ ที่เรียกว่าลูกบทนี้ อาจเป็นเพลงในอัตรา ๒ ชั้น ชั้นเดียว ครึ่งชั้น หรือ เพลงภาษาต่างๆ ก็ได้ วิธีบรรเลงในสมัยโบราณนั้น เมื่อได้บรรเลง เพลงอัตรา ๓ ชั้น เพลงใดเพลงหนึ่งจบลงแล้ว ก็ บรรเลงเพลง ลูกหมด แสดงว่าจบ แล้วบรรเลงเพลง เล็กๆ (๒ ชั้น หรือชั้นเดียว ฯลฯ) อีกเพลงหนึ่ง และ บรรเลงเพลงลูกหมดปิดท้ายให้เห็นว่าจบจริงๆ อีก ครั้งหนึ่ง เพลงเล็กๆ (๒ ชั้นหรือชั้นเดียว ฯลฯ) ที่ 102 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

เป็นวิธีการบรรเลงทำ�นองอย่างหนึ่งที่แบ่ง เครื่องดนตรี (หรือร้อง) ออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่ง เรียกว่าพวกหน้า อีกพวกหนึ่งเรียกว่าพวกหลัง ทั้ง ๒ พวกนี้ ผ ลั ด กั น บรรเลงคนละที เมื่ อ พวกหน้ า บรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้ว พวกหลังจึงจะบรรเลง บ้าง แต่ที่จะเรียกได้วา่ “ลูกล้อ” นี้ เมื่อพวกหน้า บรรเลงไปเป็นทำ�นองอย่างใด พวกหลังก็จะบรรเลง เป็ น ทำ � นองซ้ำ � อย่ า งเดี ย วกั น กั บ พวกหน้ า และ ทำ�นองทีผ่ ลัดกันบรรเลงนี้ ก็แล้วแต่ผแู้ ต่จะประดิษฐ์ ขึ้น จะสั้นยาวเท่าใดหรือเพียงพยางค์เดียวก็ได้

ลูกหมด

เป็นชื่อเพลงประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นเพลงสั้นๆ มีจังหวะเร็ว เทียบเท่ากับจังหวะหน้าทับสองไม้ชั้น เดียวหรือครึ่งชั้น สำ�หรับบรรเลงต่อท้ายเพลงต่างๆ เพื่อแสดงว่าจบ

เล่นไม้

การตีกลองทัดพลิกแพลงสอดแทรกให้ผดิ ไป จากแบบแผนไม้กลองเดิม (ดูคำ�ว่าไม้กลอง) แต่จะ ต้องยึดถือไม้กลองอันเป็นเนือ้ แท้ของเดิมไว้เป็นหลัก ทั้งนี้ก็เพื่อแก้เบื่ออย่างหนึ่งกับเพื่อให้เหมาะสมกับ ท่ารำ�ของตัวโขนละคอนที่บรรเลงประกอบ


ส่ง

แยกออกได้เป็น ๒ อย่าง ๑. เป็นการบรรเลงนำ�ทางให้คนร้องที่จะ ร้องต่อไปได้สะดวกและถูกต้อง เหมือนกับผู้ที่พ้น ตำ�แหน่งแล้ว ก็ตอ้ งส่งหน้าทีแ่ ละแนะนำ�ให้ผทู้ จี่ ะรับ ตำ�แหน่งต่อไปได้ทราบแนวทางเพื่อประโยชน์และ ความเรียบร้อยของส่วนรวม การบรรเลงนำ�ให้คน ร้องนี้ เรียกเต็มๆ ว่า “ส่งหางเสียง” ๒. การร้องทีม่ ดี นตรีรบั ก็เรียกว่าส่งเหมือน กัน แต่มักจะเรียกว่า “ร้องส่ง”

สวม

ได้แก่การบรรเลงซึ่งอาจเป็นเครื่องดนตรีทั้ง วงหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียว ได้บรรเลงเหลื่อม ล้ำ � เข้ า มาในตอนท้ า ยก่ อ นจบของผู้ อื่ น ที่ จ ะต้ อ ง บรรเลงติดต่อ เพื่อความสนิทสนมกลมกลืนกัน การบรรเลงสวมนีท้ ปี่ ฏิบตั กิ นั เป็นปรกติกค็ อื เวลาร้องก่อนจะจบ ดนตรีกบ็ รรเลงสวมตอนท้ายเข้า มา หรือระหว่างเครื่องดนตรีที่บรรเลงเดี่ยวด้วยกัน เครื่องดนตรีที่จะบรรเลงต่อก็บรรเลงสวมตอนท้าย ก่อนจะจบของเครื่องที่บรรเลงก่อน

สองชั้น

เป็นคำ�กำ�หนดอัตราของหน้าทับและเพลง ซึ่ ง มี ป ระโยคและจั ง หวะหน้ า ทับขนาดปานกลาง มีความยาวมากกว่าอัตราชั้นเดียวอีกเท่าตัว

สองไม้

เป็นการบรรเลงชนิดหนึ่ง ที่แทรกเข้ามาใน ระหว่างทีก่ ารร้องหรือเครือ่ งดนตรีอย่างอืน่ เขาหยุด วิ ธี บ รรเลงสอดแทรกเข้ า มานี้ บางที ก็ เป็นการบรรเลงตามที่ผู้แต่งเพลงนั้นได้กำ�หนดไว้ เช่น บรรเลงสอดเวลาร้องเพลงสาริกาเป็นต้น แต่ บางที ก็ เ ป็ น การสอดแทรกขึ้ น มาเองซึ่ ง เป็ น นอก หน้าทีเ่ หมือนกับการพูดสอดขึน้ กลางคัน การกระทำ�

อย่างนี้ถ้าถูกส่วนก็เป็นของดีไปได้

สอด

ได้แก่การบรรเลงที่แทรกเสียงเข้ามาในเวลา บรรเลงทำ�นอง “เก็บ” อีก ๑ พยางค์ ซึ่งแล้วแต่ผู้ บรรเลงจะเห็นสมควรว่าจะแทรกตรงไหน ทำ�นอง ตรงที่แทรกนั้นก็เรียกว่า สอด

สะบัด

ได้แก่การบรรเลงที่แทรกเสียงเข้ามาในเวลา บรรเลงทำ�นอง “เก็บ” อีก ๑ พยางค์ ซึ่งแล้วแต่ผู้ บรรเลงจะเห็นสมควรว่าจะแทรกตรงไหน ทำ�นอง ตรงที่แทรกนั้นก็เรียกว่า “สะบัด” การแทรกเสียงที่จะให้เป็นสะบัด ต้องแทรก เพียงแห่งละพยางค์เดียว ถ้าแทรกเป็นพืดไปก็กลาย เป็น “ขยี้”

สามชั้น

เป็นคำ�กำ�หนดอัตราของหน้าทับและเพลง ซึ่งมีประโยคและจังหวะหน้าทับค่อนข้างยาวทุกๆ ประโยคและจังหวะหน้าทับมีความยาวกว่าอัตรา ๒ ชั้นอีกเท่าตัว จิตสัมผัส 103


โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูป เศียรครู และเครื่องดนตรีไทยที่สำ�คัญ (ตะโพนไทย ระนาดเอก) 104 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


ประวัติดนตรีไทย จาก http://www.oknation.net

สมัยสุโขทัย (ราว พ.ศ. ๑๘๑๑ ๑๙๑๑)

ในหลักศิลาจารึกสมัยสุโขทัยกล่าวถึงเครื่อง ดนตรีไทยไว้มากมาย เช่น พิณ (อาจหมายถึง กระจับปี่หรือพิณน้ำ�เต้า) ฆ้อง ระฆัง กังสดาล มโหระทึก กลองใหญ่ กลองรวม กลองเล็ก ฉิ่ง บัณเฑาะว์ ซอพุงตอ (สันนิษฐานว่าเป็นซอสามสาย) แตร สังข์ ปีไ่ ฉน เขาสัตว์ ฯลฯ มีเรียกวงดนตรีประเภท หนึ่งว่า “พาทย์” น่าจะเป็นเครื่องตีทำ�จังหวะและ ทำ�นองไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับบทเพลงที่ใช้บรรเลง

สมัยทวารวดี (พ.ศ. ๑๒๑๑ - ๑๖๑๑)

ปรากฎหลั ก ฐานในภาพปู น ปั้ น ที่ เ มื อ ง โบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี เป็นภาพผู้หญิงห้าคน สี่ คนมีเครื่องดนตรีประจำ�ตัว ได้แก่ พิณห้าสาย พิณ น้ำ�เต้า กรับ และฉิ่ง อีกคนหนึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะ เป็นนักร้อง

สมัยอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๓๑๑)

เครื่องดนตรีมีครบถ้วนทั้งดีด สี ตี เป่า ชาว บ้านนิยมเล่นกันมาก จนในสมัยสมเด็จพระบรม

ไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑ - ๒๑๓๑) ต้องออกกฎ มณเฑียรบาล ห้ามเป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีโทนทับ ในเขตพระราชฐาน - มีวงปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วยปี่ ระนาด ฆ้องวง ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ใช้บรรเลงใน งานพิธีกรรมทางศาสนา งานบุญ และงานแสดง นาฏกรรม เช่น โขน หนังใหญ่ - มีวงมโหรีเครือ่ งสีซงึ่ ประกอบด้วย ซอสาม สาย กระจับปี่ โทน กรับพวง และผู้ขับร้องลำ�นำ� ต่อ มาได้เพิม่ รำ�มะนาและขลุย่ เข้ามาเป็นวงมโหรีเครือ่ ง หก มีการผูกคำ�กลอนเป็นบทมโหรีใช้ร้องส่งกัน ใน ภายหลังได้นำ�จะเข้มาบรรเลงแทนกระจับปี่ - บทเพลงมี ทั้ ง เพลงขั บ ร้ อ งและเพลง บรรเลง บทร้องเพลงเป็นกาพย์คล้ายบทกลอนกล่อม เด็ก ต่อมาพัฒนาเป็นบทดอกสร้อย และกลอนแปด มีเพลงเสภาเป็นการเล่านิทานหรือเล่าเรื่องที่เรียก ว่าการขับเสภา ส่วนบทเพลงบรรเลงมีทั้งเพลงเกร็ด เพลงเรือ่ ง เพลงหน้าพาทย์ เพลงภาษา อัตราจังหวะ ส่วนใหญ่เป็นสองชั้น

จิตสัมผัส 105


สมัยธนบุรี (พ.ศ. ๒๓๑๑ - ๒๓๒๕)

เมื่อคราวสมโภชพระแก้วมรกตซึ่งอัญเชิญ มาจากเวียงจันทร์ มีการบันทึกว่ามีการบรรเลงวง ดนตรีต่างๆ ได้แก่ พิณพาทย์ ไทย พิณพาทย์รามัญ มโหรีไทย มโหรีแขก มโหรีฝรั่ง มโหรีญวน และมโหรี เขมร สลับผลัดเปลี่ยนกันเป็นเวลาถึง ๒ เดือน กับ ๑๒ วัน

สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒)

มีการเพิ่มกลองทัดในวงปี่พาทย์ขึ้นอีกหนึ่ง ลูก รวมเป็นสองลูก เสียงสูงลูกหนึ่งเรียกว่า “ตัวผู้” เสียงต่ำ�ลูกหนึ่งเรียกว่า “ตัวเมีย”

รัชกาลที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๕๒ - ๒๓๖๗)

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นทั้งนักกวีและดุริยกวี ทรงส่งเสริมด้าน วรรณคดีและการละคร พระองค์ทรงซอสามสายได้ ไพเราะยิง่ (ซอสามสายของพระองค์ชอื่ ว่า ซอสายฟ้า ฟาด) พระองค์ทรงแต่งบทละครให้เข้ากับบทรำ�และ ทำ�นองดนตรี นับเป็นสมัยที่ดนตรีไทยเจริญรุ่งเรือง อย่างมาก สมัยนีก้ ารขับเสภาเล่านิทานเฟือ่ งฟูมากโดย เฉพาะวรรณคดีพนื้ บ้านเรือ่ ง ขุนช้างขุนแผน แต่เดิม การขับเสภามีเพียงกรับเสภาคู่หนึ่ง และผู้ขับเสภา ต้องใช้เสียงขับและขยับกรับตลอดไม่มีโอกาสพัก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรด เกล้าฯให้นำ�วงปี่พาทย์มาประกอบการขับเสภา เริ่ม แรกเป็นการบรรเลง สอดแทรกการขับเล่าเรื่อง ต่อ มา คงเหลือแต่การร้องส่งเป็นบทเพลง แต่เนื่องจาก เสียงของตะโพนนั้นดังมาก ไม่เหมาะกับการร้อง จึง นำ�เปิงมางมาถ่วงด้วยขีเ้ ถ้าบดกับข้าวสุกเพือ่ ให้เสียง ต่ำ�ลง เกิดเป็นกลองสองหน้า ใช้ตีหน้าทับแทน 106 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

ตะโพนและกลองทัด วงปี่พาทย์เสภาจึงประกอบ ด้วย ปี่ใน ระนาด ฆ้องวง กลองสองหน้า และฉิ่ง ถือ เป็นประเพณีต่อมาจนถึงปัจจุบัน

รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔)

พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงให้ ยกเลิกละครหลวง การละครและดนตรีจึงไปเจริญ รุ่งเรืองอยู่ตามวังของเจ้านาย ซึ่งส่งผลให้ดนตรีไทย แพร่หลายมาถึงปัจจุบัน - เกิดเครื่องดนตรีขึ้นอีกสองชนิดในวงปี่ พาทย์ คือระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็ก - มีการนำ�ปี่นอกซึ่งเดิมใช้ในการแสดงหนัง ใหญ่ มาประสมในวงปี่พาทย์อีกอย่างหนึ่ง วงปี่ พาทย์จึงพัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ - ครูมแี ขกแต่งเพลงโดยขยายจากเพลงสอง ชั้น เดิมเป็นอัตราสามชั้นสำ�หรับใช้ในการบรรเลง และขับร้อง เช่น เพลงแขกมอญ เพลงการเวก เพลง สารถี แต่ยังไม่เป็นที่นิยม - เกิดเพลงสำ�เนียงภาษาต่างๆมากมายเกิด ขึน้ เนือ่ งจากเริม่ มีชาวต่างชาติเข้ามาค้าขายมากขึน้ - เครื่องดนตรีตะวันตกเข้ามาในเมืองไทย พร้อมกับการฝึกแถวทหารแบบตะวันตก คนไทย เรียกว่า “กลองมะริกัน” (Bass Drum)

รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑)

พ.ศ. ๒๓๙๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกพระราชกำ�หนด ห้ามมิให้ผู้ใดมีละครหญิง นอกจากพระมหากษัตริย์ ทำ � ให้ เจ้ า ของละครต่ า งฝึ ก ผู้ ห ญิ ง ขึ้ น เป็ น ละคร ประชาชนก็นิยม ละครชายจึงซบเซาลง ตามวังเจ้า นายหรือบ้านใดทีม่ ขี า้ ทาสบริวารทีเ่ ป็นผูช้ ายก็หนั ไป ฝึกหัดปี่พาทย์กัน ทำ�ให้เกิดวงปี่พาทย์เพิ่มขึ้น - เจ้านายชั้นสูง พระราชวงศ์ ตลอดจน ขุนนาง ต่างนิยมชมชอบดนตรี และมีวงดนตรีประจำ� วังของตน มีการประกวดประชันวงกัน เช่น วงปี่


พาทย์ของพระบาทสมเด็จพระปิน่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั วง กรมหลวงเทเวศร์วชั ริน วงกรมหลวงสรรพศิลปปรีชา วงกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ฯลฯ - พระบาทสมเด็จพระปิน่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรง สนับสนุนการดนตรีทั้งแบบแผนและพื้นบ้านอีสาน วงปีพ่ าทย์วงั หน้าของพระองค์มคี รูแขกเป็นผูค้ วบคุม ฝึกสอน พระราชทานยศแต่งตั้งครูมีแขกซึ่งเป็น สามัญชน ให้มบี รรดาศักดิเ์ ป็น หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ภายหลัง ครูมีแขกแต่งเพลง “เชิดจีน” ซึ่งถือว่าเป็น เพลงที่มีความงดงามเป็นอย่างมาก และเป็นความ ก้าวหน้าใหม่ของวงการดนตรี พระองค์จึงโปรด เกล้าฯ เลือ่ นบรรดาศักดิใ์ ห้เป็น พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) - ครูมแี ขกแต่งเพลงอัตราสามชัน้ สำ�หรับให้ วงปี่พาทย์วังหน้าบรรเลงไว้จำ�นวนมาก และเป็นที่ แพร่หลายวงอื่นๆ จึงคิดเพลงสามชั้นมาประกวด ประชันกัน ทำ�ให้เกิดทำ�นองที่มีลูกล้อลูกขัดหรือ เพลงทยอยขึ้น จนครูมีแขกได้รับสมญานามว่า “เจ้า แห่งเพลงทยอย” - ครูมีแขกแต่งเพลงทยอยเดี่ยว ซึ่งถือ เป็นต้นตำ�รับของการประดิษฐ์ทางเดี่ยวสำ�หรับ เครื่องดนตรีต่างๆในสมัยต่อมา - ครูเพ็งแต่งเพลงทยอยใน เถา ขึ้น นับเป็น เพลงเถาเพลงแรก - เปลี่ยนการบรรเลงเพลงโหมโรงเสภาจาก เดิมที่ใช้เพลงสองชั้น มาเป็นเพลงสามชั้น แต่ต้อง ลงท้ายตอนจบ เหมือนทำ�นองเพลงวา ซึ่งถือเป็น ประเพณีมาจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างเพลงโหมโรงใน ยุคนี้คือ โหมโรงพม่าวัด โหมโรงขวัญเมือง โหมโรง ครอบจักรวาล - พระบาทสมเด็จพระปิน่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรง เพิม่ ระนาดเอกเหล็กและระนาดทุม้ เหล็กเข้าประสม เป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เพื่อประกอบเสภาและ ร้องส่ง ส่วนวงปีพ่ าทย์ประกอบละครยังเป็นวงเครือ่ ง ห้าหรือเครื่องคู่

- เกิดการประสมวงกลองแขกกับวงเครื่อง สาย เรียกว่า วงกลองแขกเครื่องใหญ่ ภายหลังเรียก ว่า วงเครื่องสายปี่ชวา - เกิดวงบัวลอย ที่ใช้ประโคมศพ - วงเครื่องเป่าของดนตรีตะวันตกเข้ามามี บทบาทในการฝึกหัดแถวทหารเพือ่ การสวนสนาม มี ครูฝึกดนตรีฝรั่งเข้ามาฝึกสอน

รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓)

- เกิดรูปแบบของทำ�นองที่เรียกว่า “ทาง กรอ” หรือ “เพลงบังคับทาง” มีเพลงเขมรไทรโยค เป็นเพลงทางกรอเพลงแรก นับเป็นเพลงที่มีความ ไพเราะและเป็นเพลงอมตะมาจนถึงปัจจุบัน สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวดั ติ วงศ์ เป็นผู้ทรงพระนิพนธ์ทั้งบทร้องและทำ�นอง - มีการนำ�ตัวละครมาแสดงประกอบการขับ เสภา เรียกว่า เสภารำ� หรือละครเสภา ต่อมากลาย เป็นเสภาตลก - อิทธิพลของตะวันตกทำ�ให้เกิดละครไทย รูปแบบใหม่ๆ เช่น ละครดึกดำ�บรรพ์ ละครพันทาง ละครร้อง และละครพูด จึงมีการปรับปรุงดนตรีให้ สัมพันธ์กันด้วย - สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ ปรับปรุง วงปี่พาทย์ให้มีเสียงนุ่มนวลขึ้นเพื่อประกอบการ แสดงละครรูปแบบใหม่ โดยนำ�เครือ่ งดนตรีทมี่ เี สียง เหมาะสม เช่น ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ ขลุ่ย อู้ มาแทนเครือ่ งดนตรีทมี่ เี สียงดังหรือเสียงเล็กแหลม เรียกวงปี่พาทย์นี้ว่า “วงปี่พาทย์ดึกดำ�บรรพ์” - เกิดความนิยมใช้วงปี่พาทย์มอญบรรเลง ในงานพระศพเจ้านายชั้นผู้ใหญ่และมีการประพันธ์ เพลงสำ�เนียงมอญด้วย - เริ่มมีการบันทึกแผ่นเสียงครั่ง เพลงไทย - นักดนตรีและดุริยางค์กวีที่โดดเด่นใน รัชกาลนี้ เช่น พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) หรือ ครูมีแขก ถึงแก่กรรมในรัชกาลนี้ พระเสนาะ จิตสัมผัส 107


ดุริยางค์ (ทองดี ทองพิรุฬห์) ครูช้อย สุนทรวาทิน หลวงกัลยาณมิตาวาส (ทับ พาทยโกศล) ขุนประสาน ดุริยศัพท์ (แปล ประสานศัพท์) เป็นต้น - พ.ศ. ๒๔๕๒ วงดนตรีอังกะลุงออกแสดง ครั้งแรกในงานกฐินพระราชทาน ณ วัดราชาธิราช โดยจางวางศร (ภายหลังเป็นหลวงประดิษฐ์ไพเราะ) และ ครู เอื้อน ดิษฐ์เชย เป็นผู้ดัดแปลงเครื่องดนตรี อุงคลุงทีไ่ ด้จากเกาะชวามาเป็น “อังกะลุง” ทีค่ นไทย รู้จักกันในทุกวันนี้

รัชกาลที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๔๖๘)

- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดการดนตรีและการละคร ทรงพระราชนิพนธ์ หนังสือ บทละครชนิดต่างๆ รวมทั้งบทละครแบบ ตะวันตก ทรงจัดตั้งกรมมหรสพแยกจากกรมโขน หลวง ทรงจัดตั้งกรมพิณพาทย์หลวงดูแลเรื่องของปี่ พาทย์ เครื่องสาย และกลองแขก ปี่ชวา เพื่อใช้ บรรเลงประกอบพระราชพิธีต่างๆ โดยมีวงปี่พาทย์ วงหนึ่งสำ�หรับตามเสด็จฯ เรียกว่า “วงข้าหลวงเดิม” ต่อมาเรียกว่า “วงตามเสด็จ” - เป็ น สมั ย ที่ ก ารละครและดนตรี เจริ ญ รุง่ เรืองมาก ถือได้วา่ เป็นยุคทองของดนตรีไทย ตาม วังเจ้านายและคหบดี ต่างมีวงปีพ่ าทย์และครูทมี่ ภี มู ิ รู้ประจำ�วง เกิดการพัฒนาด้านวิชาการดนตรีทั้ง แนวคิด หลักการ วิธีการ ตลอดจนเทคนิคการ ประพันธ์ มีการวางระบบการบรรเลงหลากหลายวิธี ทั้งแบบพื้นฐาน การบรรเลงชั้นสูง และการบรรเลง เดี่ยว - เกิดรูปแบบการประสมวงดนตรีไทยกับ เครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น เครื่องสายประสมขิม เครื่องสายประสมเปียโนของตะวันตก เป็นต้น นับ เป็นแบบแผนทีเ่ อือ้ ให้ดนตรีไทยสามารถปรับตัวและ สืบทอดต่อไปโดยไม่เสียเอกลักษณ์ - เกิดกลุ่มนักดนตรีในราชสำ�นัก กลุ่มนัก ดนตรีอาชีพ และกลุ่มนักดนตรีสมัครเล่น พระบาท 108 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำ�นุบำ�รุง บรรดาครูดนตรีฝีมือดีให้กินอยู่ดีมีสุข พร้อมทั้ง พระราชทานนามสกุล บรรดาศักดิ์ให้ด้วย - นักดนตรีและดุรยิ างค์กวีทโ่ี ดดเด่นในรัชกาล นี้ เช่น สมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระ นครสวรรค์วรพินิต (ทูลกระหม่อมบริพัตร) หลวง ประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) จางวางทัว่ พาทย โกศล พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสาน ศัพท์) พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต) เป็นต้น - มีการตัง้ กองเครือ่ งสายฝรัง่ หลวงซึง่ เป็นวง ดนตรีสากล โดยผูว้ างรากฐานสำ�คัญของการพัฒนา ดนตรีสากลในราชการนี้ก็คือ พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยากร)

รัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๗)

- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรง สนพระทัยดนตรีเป็นพิเศษ ทรงดนตรีและทรงพระ ราชนิพนธ์เพลงได้ - หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) แต่งเพลงไว้เป็นจำ�นวนร้อยๆเพลง มีชนิดที่ทำ� แนวทางบรรเลงเปลีย่ นไปจากของเก่า เรียกว่า “ทาง เปลี่ยน” ทำ�ให้เกิดความหลากหลายในทำ�นองเพลง ไทย สำ�หรับนักดนตรีบ้านบาตรของท่านเป็นสถาน ที่ชุมนุมของนักดนตรีไทยจากทุกสารทิศที่มาศึกษา หาความรู้ - สำ�นักดนตรีทมี่ ชี อื่ เสียงอืน่ ๆในสมัยนี้ เช่น สำ�นักดนตรีวดั กัลยาณ์ของครูจางวางทัว่ พาทยโกศล สำ�นักดนตรีของครูจางวางสวน ชิตท้วม พระประแดง สำ�นักครูพุ่ม โตสง่า บางลำ�พู สำ�นักครูหรั่ง พุ่มทอง สุข ภาษีเจริญ ประตูน้ำ� และสำ�นักครูเพชร จรรย์ นาฎย์ พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น - พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพทรงริเริม่ การบันทึกโน๊ต เพลงไทยเป็นโน๊ตสากล โดยบันทึกเป็นทางของวงปี่ พาทย์ มีแนวปีใ่ น ระนาดเอก ระนาดทุม้ ฆ้องวงใหญ่


ฆ้องวงเล็ก ระนาดเอกเหล็ก ตะโพน กลอง และฉิ่ง - มีการนำ�ออร์แกนลมมาปรับปรุงให้ได้ ระดับเสียงใกล้เคียงกับเครื่องดนตรีไทย รวมทั้ง ไวโอลิน หีบเพลงชัก และขิม และปรับปรุงวิธีการจัด วงดนตรีเทคนิคการบรรเลง เพื่อแสดงประกอบ ภาพยนต์เงียบตามโรงภาพยนต์ จนวงเครื่องสาย ประสมออร์แกนเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป - มีการบันทึกแผ่นเสียงครั่งเพลงไทยฝีมือ การบรรเลงของนักดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงขณะนั้น ออกมาจำ�นวนมาก เช่น หลวงกล่อมโกศลศัพท์ (จอน สุนทรเกศ), หลวงเพราะสำ�เนียง (ศุข ศุขวาที) ,วงพิณ พาทย์วังบางขุนพรหม, แผ่นเสียงเศรณี, แผ่นเสียง ต.เง็กชวน ฯลฯ ได้รับความนิยมแพร่หลาย - สถานีวิทยุอัมพรสถาน สถานีวิทยุพี.เจ ศาลาแดง พระราชวังพญาไท เผยแพร่เพลงไทยจาก วิทยุสผู้ ฟู้ งั เพลงไทยทางบ้าน เป็นมหรสพทีม่ าแทนที่ การชมการฟังการแสดงสด

รัชกาลที่ ๘ (พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๒๔๘๙)

- เกิดโรงเรียนสอนดนตรีและนาฏศิลป์ไทย ของราชการแห่งแรกคือ โรงเรียนนาฏดุรยิ างคศาสตร์ ขึ้นกับ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบัน คือวิทยาลัยนาฏศิลป์) ก่อตั้งโดย พลตรี หลวงวิจิตร วาทการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ - กรมศิลปากรตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ บทเพลงเพื่อบันทึกโน๊ตเพลงไทยเป็นโน๊ตสากล ต่อ จากที่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงฯ ทรงทำ�ไว้ - เกิดนโยบายรัฐนิยม ปรับปรุงประเทศไทย ไปสูอ่ ารยะ มีการควบคุมการบรรเลงดนตรีไทย และ นักดนตรีต้องมีใบสำ�คัญศิลปิน

รัชกาลที่ ๙ (พ.ศ. ๒๔๘๙ - ปัจจุบัน)

- มีการนำ�ทำ�นองเพลงพื้นเมืองหรือเพลง ไทยสองชัน้ ชัน้ เดียว มาใส่เนือ้ ร้องใหม่แบบเนือ้ เต็ม ตามทำ�นอง เกิดเป็นเพลงลูกทุ่ง เพลงลูกกรุง

- พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ภู มิ พ ล อดุลยเดช ทรงให้วงดนตรีไทยทีม่ ชี อื่ เสียงมาบรรเลง บันทึกเสียงออกอากาศผ่านทางสถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิตเป็นประจำ� เช่น คณะศรทองของ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) คณะพาท ยโกศล วงของคุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง และวงของ นายมนตรี ตราโมท เป็นต้น บางครั้งพระองค์ทรง บันทึกเสียงกับวงดนตรีไทยด้วย เช่น วงของข้าราช บริพาร และวงเครื่องสายผสมของคณะแพทย์ สมาคม (แพทย์อาวุโส) เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรจัดพิมพ์สมุดโน๊ตเพลงไทยออกเผย แพร่เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ - พ.ศ. ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั โปรดเกล้าฯ ให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย วัดความถี่ของเสียงดนตรีไทยเพื่อให้ เป็นมาตรฐาน - การสอนดนตรีไทยได้รับการส่งเสริมเข้าสู่ โรงเรียนและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ทั้งใน ระดับประถมฯ มัธยมฯ จนถึงอุดมศึกษา มีการก่อ ตั้งชุมนุมดนตรีไทยในสถาบันการศึกษาต่างๆ และ มีการจัดประกวดวงดนตรีไทยในระดับต่างๆโดยภาค รัฐและเอกชน - พ.ศ. ๒๕๒๘ สำ�นักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ เริม่ ต้นการประกาศยกย่องศิลปิน แห่งชาติเป็นปีแรก โดนนายมนตรี ตราโมท ได้รับ การยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง ดนตรีไทย - ศิลปินรุน่ ใหม่พฒ ั นาดนตรีไทยในแนวทาง ร่วมสมัย เช่น การประสมวงที่มีเครื่องดนตรีไทยกับ เครื่องดนตรีตะวันตก การใช้เทคโนโลยีการบันทึก เสียงสร้างมิติเสียงใหม่ๆในดนตรีไทย - ดนตรีไทยได้รับการเผยแพร่ผ่านทางสื่อ รูปแบบใหม่ ทัง้ แถบบันทึกเสียง และซีดี รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ และเว็บไซต์ จิตสัมผัส 109


- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ทรงเป็นองค์อปุ ถัมภ์ศลิ ปวัฒนธรรมดนตรี ที่สำ�คัญยิ่ง พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถใน ทางการบรรเลงดนตรีไทยและขับร้องตลอดจนพระ ราชนิพนธ์เนือ้ ร้องสำ�หรับนำ�ไปบรรจุเพลงต่างๆ ผล งานเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียง เช่น เพลง ไทยดำ�เนินดอย เพลงเต่าเห่ เพลงชื่นชุมนุมกลุ่ม ดนตรีไทย เป็นต้น เสด็จไปร่วมงานมหกรรมดนตรี ไทยต่างๆ งานแสดงดนตรีไทยครั้งสำ�คัญๆ งานพิธี ไหว้ครูดนตรีไทย และงานพระราชทานรางวัลศิลปิน แห่งชาติ ให้แก่ศลิ ปินดนตรีไทยและศิลปินด้านอืน่ ๆ

ดนตรีไทยเบื้องต้น

การประสมวงดนตรีไทยการประสมวงดนตรี ไทยมีหลากหลายรูปแบบ ขึน้ อยูก่ บั จุดมุง่ หมายของ การนำ�ไปใช้ประโยชน์ ซึ่งวงดนตรีแต่ละประเภทจะ มีหลักการผสมเครื่องดนตรีที่แตกกันไป บางวงเน้น เครื่องตีและเครื่องเป่ามาก บางวงเน้นเครื่องดีดสี มาก หรือบางวงมีการขับร้องประกอบด้วย แต่ เ ดิ ม การประสมวงดนตรี ไ ทยไม่ มี ก ฎ เกณฑ์ที่แน่นอนในการระบุจำ�นวนเครื่องดนตรี ขึ้น อยูก่ บั ความเหมาะสมและความสนุกสนานพอใจของ ผู้เล่นเป็นหลักต่อมาในภายหลังจึงมีการจัดระบบ ระเบียบถึงชือ่ เครือ่ งดนตรี รายละเอียดเครือ่ งดนตรี จำ�นวนเครือ่ งดนตรี หลักการใช้งาน และการให้ความ สำ�คัญในเชิงสังคมวัฒนธรรม การประสมวงดนตรีไทย แบบฉบับประเภท ต่างๆ และหน้าที่การใช้งาน อาจแบ่งได้ดังนี้ • วงดนตรี โ บราณ เพื่ อ การขั บ กล่ อ ม บันเทิง เช่น วงขับไม้ วงบรรเลงพิณ • วงเครื่องประโคม เพื่อกิจกรรมของราช สำ�นัก เช่น วงแตรสังข์มโหระทึก • วงปี่พาทย์ เพื่อประกอบพิธีกรรม การ แสดงโขนละคร การขับกล่อมบันเทิง

110 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

• • • •

เช่น วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เครื่องใหญ่ วงปี่พาทย์มอญ วงปี่พาทย์นางหงส์ ฯลฯ วงเครื่องสาย เพื่อการขับกล่อมบันเทิง เช่น วงเครื่องสายไทย วงเครื่องสายปี่ ชวา ฯลฯ วงมโหรี เพือ่ การขับกล่อม - บันเทิง เช่น วงมโหรีเครื่องหก วงที่เกิดจากการผสมผสานพิเศษ เพื่อ การขับกล่อม - บันเทิง เช่น วงมหา ดุริยางค์ วงอังกะลุง แตรวง

ประเภทของเครื่องดนตรีไทย แบ่งเป็น ๔ ประเภทตามกิริยา เครื่องเป่า • ปี่นอก • ปี่ใน • ขลุ่ย • ปี่ชวา • ปี่มอญ เครื่องดีด • จะเข้ • กระจับปี่ เครื่องสี • ซอด้วง • ซออู้ • ซอสามสาย เครื่องตี • ระนาดเอก • ระนาดทุ้ม • ระนาดเอกเหล็ก • ระนาดเอกทุ้ม


• • • • • • • • • • • • • •

ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก โทน รำ�มะนา ตะโพน กลองทัด กลองแขก โหม่งสามใบ เปิงมาง ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับพวง กรับ กรับคู่

วงดนตรีไทย ประกอบด้วย • วงขับไม้ • วงปี่ชวากลองแขก • วงบัวลอย • วงประโคมในงานพระราชพิธี • วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ไม้นวม • วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เครื่องใหญ่ • วงปี่พาทย์เสภา • วงปี่พาทย์นางหงส์ • วงปี่พาทย์มอญ • วงเครื่องสายไทย • วงเครื่องสายปี่ชวา • วงเครื่องสายประสม • วงมโหรีโบราณ • วงมโหรีปัจจุบัน • วงอังกะลุง • วงมหาดุริยางค์ไทย • วงแตรวง - โยธวาทิต

เพลงไทย ประกอบด้วย • เพลงโหมโรง • เพลงหน้าพาทย์ • เพลงเรื่อง • เพลงเถา • เพลงเสภา • เพลงตับ • เพลงเกร็ด • เพลงทยอย / เพลงมีโยน • เพลงลา • เพลงเดี่ยว • เพลงออกภาษา • เพลงอาวุธ / เพลงสระหม่า • เพลงเพื่อการระบำ�รำ�ฟ้อน • เพลงในพระราชพิธีหลวง • เพลงปี่พาทย์มอญ ดุริยกวีที่มีชื่อเสียง • ครูมีแขกหรือพระประดิษฐ์ไพเราะ • พระยาประสานดุริยศัพท์ • พระยาเสนาะดุริยางค์ • สมเด็ จ ฯ เจ้ า ฟ้ า บริ พั ต รสุ ขุ ม พั น ธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต • จางวางทั่ว พาทยโกศล • หลวงประดิษฐ์ไพเราะ • ครูมนตรี ตราโมท • ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ • ครูบุญยงค์ เกตุคง

จิตสัมผัส 111


งานไหว้ครูดนตรีไทย บ้านนายอู๋ ระนาดเอก นายพิชัย เทียมสมัย ปี่ใน นายเหรียญ ฉุยฉาย ระนาดทุ้ม จ่านายสิบตำ�รวจมาลัย ฆ้องวงใหญ่ นายชิต สุกใส กลองทัด นายสังเวียน ทองคำ� ราวพุทธศักราช ๒๔๙๓

112 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


รายนามศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประเภท (ดนตรีไทย-นาฏศิลป์ไทย) ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๘-๒๕๕๓ ๒๕๒๘ นายมนตรี ตราโมท (ดนตรีไทย) ท่านผูห้ ญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี (นาฏศิลป์ไทย) ๒๕๒๙ คุณหญิงไพฑูรย์ กติวรรณ (ดนตรีไทย) นายเฉลิม บัวทั่ง (ดนตรีไทย) นายรงภักดี (เจียร จารุวรรณ)(นาฏศิลป์ไทย) ๒๕๓๐ คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง (ดนตรีไทย) นางเฉลย ศุขะวณิช (นาฏศิลป์ไทย) ๒๕๓๑

นายประสิทธิ์ ถาวร (ดนตรีไทย) นายบุญยงค์ เกตุคง (ดนตรีไทย) นายเสรี หวังในธรรม (ศิลปะการแสดง) นางสาวจำ�เรียง พุทธประดับ (นาฏศิลป์-ละคร) นายกวี วรสะริน (นาฏศิลป์-โขน)

๒๕๓๒ นายประเวศ กุมุท (ดนตรีไทย) นายหยัด ช้างทอง (นาฏศิลป์-โขน) ๒๕๓๓ นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ (นาฏศิลป์-ละคร)

๒๕๓๕ นางส่องชาติ ชื่นสิริ (นาฏศิลป์-ละคร) นายเตือน พาทยกุล (ดนตรีไทย) ๒๕๓๖ นายจำ�เนียร ศรีไทยพันธุ์ (ดนตรีไทย) ๒๕๔๑ นางสิริวัฒน์ ดิษยนันท์ (นาฏศิลป์ไทย) ๒๕๔๒ นางสัมพันธุ์ พันธ์มณี (นาฏศิลป์ไทย) นายเชือ้ ดนตรีรส (ดนตรีไทย) ๒๕๔๕ นายจิรัส อาจณรงค์ (ดนตรีไทย) ๒๕๔๗ นายราฆพ โพธิเวส (นาฏศิลป์-ไทย) ๒๕๔๘ นายสำ�ราญ เกิดผล (ดนตรีไทย) นายศุภชัย จันทร์สุวรรณ (นาฏศิลป์ไทย) ๒๕๔๙ ร.ต.ต.กาหลง พึ่งทองคำ� (ดนตรีไทย) ๒๕๕๑ นายประสิทธิ์ ปิ่นแก้ว (นาฏศิลป์-โขน) ๒๕๕๒ นายจตุพร รัตนวราหะ (นาฏศิลป์-โขน) นายอุทยั แก้วละเอียด (ดนตรีไทย)

จิตสัมผัส 113


บรรณานุกรม เกษตรศาสตร์,มหาวิทยาลัย, “พิธีไหว้ครูดนตรีไทย” กรุงเทพ. ๒๕๔๑ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ พิธีไหว้ครูดนตรีไทย สำ�นักนายกรัฐมนตรี กรุงเทพ. ๒๕๒๔ จันทรเกษม,มหาวิทยาลัยราชภัฏ “ขนบประเพณีของดนตรีไทย” กรุงเทพ.๒๕๔๔ นิ่ม โพธิ์เอี่ยม ประมวลภาพประวัติ-พุทธประวัติ กรุงเทพ. ๒๕๒๓ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา,มหาวิทยาลัยราชภัฏ “เพลงหน้าพาทย์ไหว้ครู” กรุงเทพ.๒๕๒๕ มนตรี ตราโมท.ความรู้บางประการเกี่ยวกับการไหว้ครูดนตรีไทย เอกสารเผยแพร่ ส่วนส่งเสริม วัฒนธรรมไทย สำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กรุงเทพ.๒๕๓๗ มนตรี ตราโมท ชุมนุมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพ.มปพ. วิชาการ,กรม. “คู่มือศิลปศึกษา ปี่พาทย์” กรุงเทพ. ๒๕๒๔ วิเชียร อ่อนละมูล “หน้าทับดนตรีไทย” มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. กรุงเทพ.๒๕๔๘ วิเชียร อ่อนละมูล “งานวิจัยเรื่องกระบวนการผลิตปี่ในไม้ไผ่เพื่อเปรียบเทียบกับไม้เนื้อแข็ง” กรุงเทพ.๒๕๔๙ วีระชัย มีบ่อทรัพย์ แบบแผนพิธีไหว้ครูโขน-ละคร วิทยาลัยนาฏศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพ.๒๕๔๖ วิไลวรรณ จันทร์แป้น ประวัติเศียรครู ๙ พระองค์ กรุงเทพ.๒๕๕๔ ศร ศิลปะบรรเลง (๒๔๘๒) การไหว้ครู คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำ�นักนายกรัฐมนตรี กรุงเทพ. ๒๕๒๔ สิ ริ ชั ย ชาญ ฟั ก จำ � รู ญ ,ดร. ดุ ริ ย างค์ ศิ ล ป์ ไ ทย สถาบั น ไทยศึ ก ษา จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย กรุงเทพ.๒๕๔๖ เอกสารประกอบการไหว้ครู เพลงหน้าพาทย์และเศียรครู โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก (นพดล มานนท์ ผู้อำ�นวยการ)กรุงเทพ.๒๕๕๔

114 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


Bibliography Website สาธารณะเพื่อการเผยแพร่ 1. www.banramthai.com 2. www.cdaat.bpi.ac.th 3. www.dontrithai.com 4. www.eatcha.com 5. www.km.secondary42.com 6. www.lks.ac.th/thaidance 7. www.madoo.com 8. www.meeboard.com 9. www.nsru.ac.th 10. www.oknation.net 11. www.phradunk.com 12. www.saim.to/tcmlibrary/.com 13. www.sanook.com 14. www.saim.to/anurakthai/.com 15. www.thaiartnet.com 16. www.thaigraphic.com 17. www.thaidance.com 18. www.thaikids.com 19. www.thaicontemp.com

จิตสัมผัส 115


ภาคผนวก

116 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


ภาคผนวก • ประวัติ นายสมบัติ แก้วสุจริต ผู้อ่านโองการพิธีไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยราชพฤกษ์ • ลำ�ดับเพลงหน้าพาทย์ในพิธีไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย ของวิทยาลัยนาฏศิลป์ โดย อาจารย์ สัจจะ ภู่แพ่งสุทธิ์ • ลักษณะการตัง้ เศียรครูแบบต่างๆ ในพธีไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย (จาก www.meeboard.com) • พระฤาษี (พ่อแก่) (จาก www.phradunk.com) • การไหว้ครู โดย หลวงประดิษฐ์ไพเราะ • การไหว้ครูสำ�หรับดุริยางค์ไทย บ้านศิลปบรรเลง • ดุริยเทพ โดย นายมนตรี ตราโมท • ลักษณะกิจพิธี ตั้งเครื่องสักการบูชา โดย นิ่ม โพธิ์เอี่ยม • เครื่องสังเวยในพิธีไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย ของวิทยาลัยนาฏศิลป์ • กำ�หนดการพิธีไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย ของวิทยาลัยราชพฤกษ์ • คำ�สัง่ ที่ ๖๕๘ / ๒๕๕๔ วิทยาลัยราชพฤกษ์ เรือ่ ง แต่งตัง้ คณะกรรมการพิธไี หว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย • คณะผู้จัดทำ�หนังสือ จิตสัมผัส

จิตสัมผัส 117


นายสมบัติ แก้วสุจริต ประธานผู้ประกอบพิธีครอบ

118 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


นายสมบัติ แก้วสุจริต

๑. ประวัติ

ชื่อ-สกุล วัน เดือน ปีเกิด ชื่อบิดา-มารดา ที่อยู่ปัจจุบัน อาชีพ

นายสมบัติ แก้วสุจริต วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๔๘๙ นายเติม นางลิ้นจี่ แก้วสุจริต ๖๑ หมู่ ๗ ตำ�บล สามพราน อ.สามพราน จ.นครปฐม ข้าราชการบำ�นาญ

๒. การศึกษา

๒.๑ ประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนษรีอุลัย ๒.๒ ประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชน้ั สูง วิชาเอกนาฏศิลป์โขน (พระ) จากวิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร ๒.๓ การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

๓. การรับการฝึกอบรม/สัมมนา

๓.๑ หลักสูตรผู้บริหารการศึกษา จัดโดยสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ๓.๒ หลักสูตรเพือ่ ความมัน่ คงของชาติ รุน่ ที่ ๑/๓๒ จัดโดย กองอำ�นวยการรักษาความมัน่ คงภายใน ๓.๓ 4 th INNOTECH TRAINING PROGRAM ON EDUCATIONAL MANAGEMENT AND SUPER-VISION FOR HIGHER LEVEL MANAGERS OF SOUTHEAST ASIA จัดโดย SOUTHEAST ASIAN MINISTERS OF EDUCATION ORGANIZATION REGIONAL CENTER FOR EDUCATIONAL INNOVATION AND TECHNOLOGY ประเทศพิลิปปินส์ ๓.๔ หลักสูตรนักบริหารระดับสูง นบส. รุ่น ๓๔ จัดโดยสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน

จิตสัมผัส 119


๓.๕ ประชุมคณะกรรมการอาเซียน ว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ (ZASEAN-COCI) ครั้งที่ ๓๙ จัด โดยสำ�นักเลขาธิการอาเซียน ๓.๖ หลักสูตร “การนำ� SIX SIGMA บริการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ” สำ�หรับผู้บริหารหน่วยงาน ราชการและรัฐวิสาหกิจ จัดโดย กระทรวงวัฒนธรรม ๓.๗ หลักสูตรการบริหารจัดการความรู้ระดับผู้บริหาร (Knowledge Management: Pre-Knowledge Audit) จัดโดย กระทรวงวัฒนธรรม ๓.๘ ประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำ�ยุทธศาสตร์” และคำ�รับรองการปฏิบัติราชการ ประจำ� ปีงบประมาณ ๒๕๔๘ จัดโดย สำ�นักงาน ก.พ.ร. ๓.๙ การจัดการปฏิรูปการศึกษา จัดโดย กระทรวงศึกษาธิการ ๓.๑๐ การพัฒนาระบบการตรวจราชการ จัดโดย สำ�นักนายกรัฐมนตรี ๓.๑๑ เรื่องศิราภรณ์และเครื่องแต่งกายโขน จัดโดย กรมศิลปากร ๓.๑๒ เรื่องท่ารำ�โขน พระ ยักษ์ ลิง จัดโดย กรมศิลปากร ๓.๑๓ เรื่องลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สำ�เร็จการศึกษาศิลปะ จัดโดย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

๔. ประวัติการรับราชการ ๒๕๑๐-๒๕๒๐ ๒๕๒๑-๒๕๒๔ ๒๕๒๔-๒๕๒๖ ๒๕๒๗ ๒๕๒๗-๒๕๓๐ ๒๕๓๑-๒๕๓๒ ๒๕๓๒-๒๕๓๖ ๒๕๓๗-๒๕๔๐ ๒๕๔๑-๒๕๔๓ ๒๕๔๓-๒๕๔๕ ๒๕๔๖-๒๕๔๗ ๒๕๔๗-๒๕๔๙

ครูตรี วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร อาจารย์ ๑ ระดับ ๔ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย รักษาการผู้อำ�นวยการ วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี ผู้อำ�นวยการ วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ผู้อำ�นวยการ วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ผู้อำ�นวยการ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ผู้อำ�นวยการ วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง เจ้าหน้าที่บริหารงานศิลปิน ๘ (ผู้อำ�นวยการส่วนการแสดง) สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ กรมศิลปากร ผู้อำ�นวยการสถาบันนาฏดุริยางคศิลป์ (ระดับ ๙) รองอธิบดีกรมศิลปากร ผู้ตรวจราชการ ๑๐ กระทรวงวัฒนธรรม

๕. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ • เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย • จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย • ตริตาภรณ์มงกุฎไทย • ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย • ปถมาภรณ์มงกุฎไทย • มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

120 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

• เบญจมาภรณ์ช้างเผือก • จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก • ตริตาภรณ์ช้างเผือก • ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก • ปถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)


๖. เกียรติคุณที่ได้รับ

• รับพระราชการครอบแต่งตั้งเป็นประธานผู้ประกอบพิธีไหว้ครูโขน-ละคร จากพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิดาลัยพระราชวังสวนจิตรลดา เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๒๗ • รับรางวัล “เพชรสยาม” สาขาดนตรี-นาฏศิลป์ ด้านนาฏดุริยางคศิลป์ จากสำ�นักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎจันทรเกษมในปี ๒๕๔๕ • รับพระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์ สาขานาฏศิลป์ไทย คณะนาฏศิลป์และดุริยางค์ สถาบัน เทคโนโลยี ราชมงคลปี พ.ศ.๒๕๔๗ • รับรางวัลนริศรานุวัดติวงศ์ (รางวัลแมวมอง) ปี พ.ศ.๒๕๕๑

๗. ประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านศิลปะและวิชาการ

• เป็นประธานผูป้ ระกอบพิธไี หว้ครูโขน- ละคร ให้ศลิ ปิน นักเรียน นักศึกษา ให้องค์กรภาครัฐ และ เอกชน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๐ จนถึงปัจจุบัน • เป็นผู้สอน และผู้แสดง ผู้พากย์-เจรจา ขับร้อง โขน ละคร ระบำ� โนรา ลิเก ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ • เป็นผู้กำ�หนดรูปแบบรายการ เป็นหัวหน้าคณะการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในประเทศ และต่าง ประเทศ • เป็นหัวหน้าผู้ประดิษฐ์การแสดงชุด “ศิลปะทักษินาคร” ของวิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช • เป็นหัวหน้าผู้ประดิษฐ์การแสดงชุด “หมากกั๊บแก๊บ” ของวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด • เป็นหัวหน้าผู้ประดิษฐ์การแสดงชุด “รำ�ร้องจากท้องทุ่งเข้าสู่ยุ้งฉาง” ของวิทยาลัยนาฏศิลป อ่างทอง • เป็นผู้ประพันธ์บทร้อง ประกอบการแสดงในโอกาสต่าง ๆ • เป็นกรรมการร่างหลักสูตรประกาศนียบัตรนาฏศิลป์ชั้นสูง ชั้นกลาง และชั้นต้น • เป็นอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค. กรมศิลปากร • เป็นกรรมการประเมินข้าราชการครูที่ขอเลื่อนระดับตั้งแต่ระดับ ๓ ถึงระดับ ๑๐ • เป็นกรรมการประเมินข้าราชการพลเรือนที่ขอเลื่อนระดับตั้งแต่ระดับ ๓ ถึงระดับ ๙ • เป็นที่ปรึกษางานด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

๘. ความสามารถพิเศษ

การจัดกิจกรรม พิธีกรรม ทางพุทธศาสนา และตามจารีตประเพณีท้องถิ่น

จิตสัมผัส 121


การบรรเลงดนตรีไทย โดยชุมนุมดนตรีไทยคุรุสภา แพร่ภาพที่สถานีโทรทัศน์ ช่อง ๔ บางขุนพรหม ระนาดเอก ครูอุทัย แก้วละเอียด ซอสามสาย พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ระนาดทุ้ม ครูวิจักษ์ เย็นเปี่ยม ฆ้องวง ครูปิฎก นิลวงษ์ ซออู้ ครูเสริม วรศรี

122 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


ลำ�ดับเพลงหน้าพาทย์ ที่ใช้ ในพิธีไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร โดย อาจารย์ สัจจะ ภู่แพ่งสุทธิ์ *

๑. เพลงสาธุการกลอง ๒. เพลงมหาฤกษ์ ๓. เพลงพราหมณ์เข้า ๔. เพลงโหมโรง ๕. เพลงตระเชิญ ๖. เพลงตระสันนิบาต ๗. เพลงเหาะ ๘. เพลงตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ๙. เพลงตระพระปรคนธรรพ ๑๐. เพลงกลม ๑๑. เพลงบาทสกุณี(เสมอตีนนก) ๑๒. เพลงเชิดฉิ่ง ๑๓. เพลงช้า-เร็ว ๑๔. เพลงรุกร้น ๑๕. เพลงเสมอข้ามสมุทร

๑๖. เพลงกราวนอก ๑๗. เพลงกราวใน ๑๘. เพลงดำ�เนินพราหมณ์ ๑๙. เพลงเสมอมาร ๒๐. เพลงเสมอผี ๒๑. เพลงตระองค์พระพิราพเต็มองค์ ๒๒. เพลงเสมอเข้าที่ ๒๓. เพลงนั่งกิน ๒๔. เพลงเช่นหล้า ๒๕. เพลงมหาชัย หรือตระพระประสิทธิ ๒๖. เพลงพราหมณ์ออก ๒๗. เพลงพระเจ้าลอยถาด ๒๘. เพลงโปรยข้าวตอก ๒๙. เพลงกราวรำ� ๓๐. เพลงเชิด

* ครูชำ�นาญการ วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร จิตสัมผัส 123


ดนตรีและเพลงทีใ่ ช้ประกอบในพิธไี หว้ครู โขน-ละคร

ดนตรีทใี่ ช้บรรเลงนิยมใช้วงปีพ่ าทย์เครือ่ งห้า ส่ ว นเพลงที่ บ รรเลงประกอบในพิ ธี ไ หว้ ค รู เ ป็ น สิ่ ง สำ�คัญยิ่ง ต้องบรรเลงเพลงหน้าพาทย์อันเป็นเพลง ที่ในวงการศิลปินให้ความเคารพ ผู้ที่บรรเลงได้จะ ๑. เพลงเหาะ ๒. เพลงกลม ๓. เพลงโคมเวียน ๔. เพลงบาทสกุณี ๕. เพลงตระพระปรคนธรรพ ๖. เพลงตระองค์พระพิราพเต็มองค์ ๗. เพลงคุกพาทย์ ๘. เพลงดำ�เนินพราหมณ์ ๙. เพลงช้า-เพลงเร็ว ๑๐. เพลงเชิดฉิ่ง ๑๑. เพลงกราวนอก ๑๒. เพลงกราวใน ๑๓. เพลงกราวตะลุง ๑๔. เพลงโล้ ๑๕. เพลงเสมอเถร ๑๖. เพลงเสมอมาร ๑๗. เพลงเสมอเข้าที่ ๑๘. เพลงเสมอผี ๑๙. เพลงแผละ ๒๐. เพลงลงสรง ๒๑. เพลงนั่งกิน ๒๒. เพลงเซ่นเหล้า ๒๓. เพลงช้า-เพลงเร็ว ๒๔. เพลงกราวรำ� ๒๕. เพลงพระเจ้าลอยถาด ๒๖. เพลงมหาชัย

124 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

ต้องเป็นบุคคลที่มีฝีมือเป็นอย่างดี เพราะถ้าเกิด ความผิดพลาดอาจจะมีผลถึงตนเอง ทีเ่ รียกว่า “ผิดครู” ซึ่งเพลงดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับพิธีไหว้ครูเป็น อย่างมาก เป็นเพลงที่จะกำ�หนดอัญเชิญครูปัธยาย (ครูเทพเจ้าต่างๆ) มาร่วมในพิธี ซึง่ แต่ละสถานทีอ่ าจมี การกำ�หนดเพลงเรียงตามลำ�ดับไม่เหมือนกัน เช่น

เชิญพระอิศวร เชิญเทพเจ้า เชิญเทวดาทั่วๆ ไป เชิญพระนารายณ์ เชิญพระปรคนธรรพ (ครูดนตรี) เชิญองค์พระพิราพ เชิญครูยักษ์ใหญ่ทั่วไป เชิญผู้ทรงศีล เชิญครูมนุษย์ เชิญครูนาง เชิญครูวานรหรือพานร เชิญครูยักษ์ทั่วไป เชิญครูแขก เชิญครูที่เดินทางน้ำ� เชิญครูฤษีขึ้นสู่ที่ประทับ เชิญครูยักษ์ขึ้นสู่ที่ประทับ เชิญครูที่มิได้เจาะจงว่าเป็นใครสู่ที่ประทับ เชิญวิญญาณทีเ่ กีย่ วข้องด้านนาฏศิลป์ดนตรีขนึ้ สูท่ ปี่ ระทับ เชิญสัตว์ปีกใหญ่ เช่น ครุฑ มาในพิธี เชิญครูที่มาทุกองค์ลงสรงน้ำ� เชิญครูที่มาประชุมทุกองค์กินเครื่องเสวย เชิญครูที่มาประชุมทุกองค์ดื่มสุรา เชิญทุกคนที่มาร่วมพิธีรำ�ถวาย เชิญศิษย์ทุกคนรำ�เพื่อเป็นสิริมงคลและส่งครูกลับ ส่งครูกลับ บรรเลงส่งท้ายเพื่อความสามัคคี


ลักษณะการตั้งหัวโขนแบบต่างๆ ในพิธีไหว้ครู โดย www.meebord.com

๑. แบบตั้งรวมกับพระพุทธรูป

๑.๑ แบบ ๑๒ หน้า จะมีหัวโขนดังนี้ พระ อิ ศ วร พระนารายณ์ พระพรหม พระอินทร์ พระขันธกุมาร พระคเณศ พระปรโคนธรรพ พระปัญจสีขร พระ ภรตฤาษี พระพิราพ พระวิษณุกรรม เทริด ๑.๒ แบบ ๑๐ หน้า จะมีหัวโขนดังนี้ พระ อิศวร พระนารายณ์ พระขันธกุมาร พระคเณศ พระปรโคนธรรพ พระ ปัญจสิงขร พระภรตฤาษี พระพิราพ พระวิษณุกรรม เทริด ๑.๓ แบบ ๘ หน้า จะมีหัวโขนดังนี้ พระ อิศวร พระนารายณ์ พระขันธกุมาร พระคเณศ พระปรโคนธรรพ พระ ปัญจสีขร พระภรตฤาษี พระพิราพ ๑.๔ แบบ ๖ หน้า จะมีหวั โขนดังนี้ พระอิศวร พระนารายณ์ พระปรโคนธรรพ พระ ภรตฤาษี พระพิราพ พระวิษณุกรรม ๑.๕ แบบ ๔ หน้า จะมีหัวโขนดังนี้ พระ อิศวร พระนารายณ์ พระภรตฤาษี พระพิราพ

๑.๖ แบบ ๒ หน้า จะมีหัวโขนดังนี้ พระภรต ฤาษี พระพิราพ

๒. แบบพระพุทธรูปอยู่ต่างหาก

มักจะจัดเป็นชั้นลดหลั่นลงมา ชัน้ สูงสุด เป็นพระมหาเทพทัง้ สาม มีพระอิศวร อยู่ตรงกลาง พระนารายณ์อยู่ด้านขวา พระพรหม อยูด่ า้ นซ้าย ชั้นที่สอง เป็นเทพสำ�คัญ มีพระภรตฤาษี พระฤาษีกไลยโกฎ พระคเณศ พระปรโคนธรรพ พระ ปัญจสีขร พระวิษณุกรรม พระอินทร์ พระพิราพ เทพนพเคราะห์ต่าง ๆ ชั้นที่สาม ด้านขวามี พระราม พระลักษณ์ พระพรต พระสัตรุด พญาวานร วานรสิบแปดมงกุฎ วานรบริวาร ตรงกลาง นรสิงห์ เงาะ ช้างเอราวัณ ชฎา มงกุฎ เครือ่ งประดับศีรษะต่างๆ อาวุธต่างๆ ทีใ่ ช้ใน การแสดงและสำ�หรับมอบ ด้านซ้ายมี อสูรพรหมพงศ์ อสูรพงศ์ อสูร เทพบุตร สัมพันธมิตรกรุงลงกา อสูรบริวาร หมายเหตุ ด้านซ้าย-ขวานีใ้ ห้ถือเอาทิศด้าน หน้าที่บูชาโดยหันหน้าออก จิตสัมผัส 125


พระฤาษี (พ่อแก่) ของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยราชพฤกษ์ 126 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


พระฤาษี (พ่อแก่)

พ่อแก่ หรือพระฤาษี เป็นสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ คี่ นใน วงการศิ ล ปะแขนงต่ า งๆ เคารพนั บ ถื อ และบู ช า เนื่องจากความเชื่อว่า ในอดีต พ่อแก่หรือพระฤาษี เป็นผู้นำ�เอาศิลปะ แขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขับ ร้อง หรือการร่ายรำ� นาฏศิลป์ต่างๆ นำ�มาถ่ายทอด ให้แก่มนุษย์ได้รับรู้ความงาม ความอ่อนช้อย ความ อ่อนโยน รู้จักรัก รู้จักเมตตา และการให้อภัย ก่อให้ เกิดความสุขแก่มวลมนุษยชาติ สุดยอดเมื่อได้บูชา แล้วจะก่อให้เกิดศิริมงคล มีความเจริญก้าวหน้าใน ด้านการงาน มีเสน่ห์ เมตตามหานิยมในตัว พ่อแก่, พระฤาษี ตามตำ�นานกล่าวไว้วา่ พระ ฤาษีมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๑๐๘ องค์ ปางเสมอเถร เป็นปางทีม่ ฤี ทธิม์ ากทีส่ ดุ ในบรรดาทัง้ ๑๐๘ องค์ คำ� ว่า ฤาษี มาจากคำ�ว่า ฤาษิ แปลว่า ผู้เห็นด้วยความ รู้ พิ เ ศษอั น เกิ ด จากฌาน ซึ่ ง สามารถแลเห็ น อดี ต ปัจจุบัน และอนาคตได้ จึงเรียกพ่อแก่หรือฤาษีว่า “ตฺริกาลชฺญ” แปลว่า ผู้รู้กาลทั้งสาม นอกจากนี้พระ ฤาษียงั ถือว่าเป็นผูป้ ระทานสรรพวิชาความรู้ ทัง้ มวล แก่มนุษยชาติ ตำ�ราทางโหราศาสตร์ และตำ�ราทาง

เทววิทยา กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า พระพฤหัสบดีถกู สร้างขึน้ มาเพือ่ ให้เป็นอาจารย์แห่งสรรพวิชาความรู้ ทั้งมวล โดยพระอิศวรมหาเทพ ร่ายพระเวทให้ฤาษี ๑๙ ตน ป่นเป็นธุลี แล้วห่อด้วยผ้าสีแก้วไพฑูรย์ ประพรมด้วยน้ำ�อมฤต บังเกิดเป็นเทวราช มีสีกาย ดั่งแก้วไพฑูรย์ มีวิมานบุษราคัม ทรงกวางทองเป็น พาหนะ รั ก ษาเขาพระสุ เ มรุ ด้ า นทิ ศ ตะวั น ตก มีร่างกายแสดงด้วยสัญลักษณ์ของฤาษีจึงมีปัญญา บริสุทธิ์ เฉลียวฉลาด พูดจาไพเราะเสนาะหู เป็น อาจารย์แห่งสรรพวิช าความรู้ทั้งมวลรวมถึงเป็น อาจารย์ของเหล่าเทพเทวดา จึงให้ถอื ว่าวันพฤหัสบดี อันแสดงด้วยสัญลักษณ์ของฤาษีเป็นวันครูจึงมีการ ไหว้ครูกันในวันนี้ ซึ่งมีสืบทอดมาจนถึงยุคปัจจุบัน นักบวชทีเ่ รียกว่า “ฤาษี” จะเป็นพวกบำ�เพ็ญ พรต จนมีอทิ ธิฤทธิท์ นี่ อกเหนือชนสามัญ ฤาษีจงึ เป็น สัญลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์ โดยจัดแบ่งฤาษีออก เป็น ๓ ชัน้ คือพรหมฤาษี-ผูม้ คี วามเพียรเป็นเลิศ ข่ม จิตนิวรณ์ได้บรรลุญาณชั้นสูง มหาฤาษี-ผู้มีตบะข่ม กามคุณ ราชฤาษี-สำ�เร็จฌาณสมาบัติชั้นต้น

จิตสัมผัส 127


บรรดาฤาษีผสู้ �ำ เร็จทีป่ รากฏในคำ�ไหว้ครู ไทย นั้นมีหลายท่านที่ปรากฏอยู่สามตนคือ พระฤาษี นารอด พระฤาษีตาวัวและพระฤาษีตาไฟ ซึ่งทั้งสาม ท่านนี้จะเป็นที่รู้จักกันทั่วไปมาแต่โบราณ สำ�หรับ ประวั ติ พ ระฤาษี ต าไฟ ท่ า นมี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ พระฤาษีตาวัวมีเรื่องเล่าว่า ฤาษีตาวัวเดิมท่านเป็น สงฆ์ ตาบอดทั้ ง สองข้ า งแต่ ช อบเล่ น แร่ แ ปรธาตุ จนสามารถทำ�ปรอทแข็งได้ แต่ยังไม่ได้ทำ�ให้เกิด ประโยชน์อันใด คราวหนึ่งท่านไปถาน(ส้วม)แล้ว เผอิญทำ�ปรอทสำ�เร็จตกทีจ่ ะหยิบเอาก็มไิ ด้ดว้ ยตาม องไม่เห็น จึงเงียบไม่บอกใคร เลยแกล้งบอกให้ศิษย์ ไปหาที่ถานว่าหากเห็นเรืองแสงเป็นสิ่งใดให้เก็บมา ให้ ครั้นศิษย์กลั้นใจทำ�ตามท่านดีใจนัก ได้ปรอทมา ก็ลา้ งให้สะอาดแล้วใส่โถน้�ำ ผึง้ เอาไว้ฉนั เป็นยาไม่เอา ติดตัวอีกเพราะเกรงหาย ต่อมาท่านรำ�พึงว่า เราจะ มัวมานัง่ ตาบอดไปใย มีของดีวเิ ศษอยู(่ ปรอทสำ�เร็จ) จึงให้ศษิ ย์ไปหาคนตายใหม่ๆ เพือ่ ควักลูกตาแต่ศษิ ย์ หาศพคนตายไม่ได้ได้แต่พบวัวนอนตายอยู่จึงควัก

ฤาษีตาวัว

128 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

ลูกตาวัวมาแทนท่านจึงเอาปรอทแช่น้ำ�ผึ้งมาคลึงที่ ตา แล้วควักตาบอดออกเสีย เอาตาวัวใส่แทน แล้ว เอาปรอทคลึงทีห่ นังตาด้วยฤทธิป์ รอทสำ�เร็จ ตาท่าน ทีบ่ อดก็เห็นดีเหมือนธรรมดา หลวงตาท่านนัน้ จึงสึก จากพระมาถือบวชเป็นฤาษี และเรียกฤาษีตาวัวมา แต่บัดนั้น ประวัตฤา ิ ษีตาไฟ มีอยูบ่ ้างในตำ�นานเมือง ศรีเทพที่ ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังถึงบ่อน้ำ�ศักดิ์สิทธิ์ที่ บ่อหนึ่งใครอาบก็ตาย บ่อหนึ่งคนตายอาบก็กลับ เป็น ศิษย์นั้นไม่เชื่อ แล้วขอให้ท่านอาบให้ดูโดย สัญญาว่า เมื่อท่านอาบน้ำ�บ่อตายแล้วศิษย์จะนำ� น้ำ�บ่อเป็นมารดท่านให้กลับฟื้นแต่พอท่านตายไป เพราะอาบน้�ำ บ่อตายศิษย์เนรคุณก็หนีไป ต่อมาท่าน ฤาษีตาวัวทีเ่ ป็นเพือ่ นกันมาเยีย่ มเพราะไปมาหาสูก่ นั เสมอ เห็นท่านตาไฟหายไปก็ผิดสังเกตุ จึงออกตาม หา พบบ่อน้ำ�ตายนั้นเดือดก็รู้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้น เมื่อพบร่างท่านฤาษีตาไฟ จึงนำ�น้ำ�บ่อเป็นมารด ท่านตาไฟจึงฟืน้ ขึน้ มาเล่าเรือ่ งศิษย์เนรคุณให้ฟงั และ ท่านตัง้ ใจจะแก้แค้นศิษย์ลกู เจ้าเมืองทีท่ รยศนัน้ โดย ท่านเนรมิตรวัวพยนต์ เอาพิษร้ายประจุไว้ แล้วปล่อย วัวพยนต์นั้นไป วิ่งรอบเมืองทั้งกลางวัวกลางคืน แต่ เข้าเมืองไม่ได้เพราะศิษย์ทรยศนั้นปิดประตูเมืองไว้ พอวั น ที่ เจ็ ด วั ว พยนต์ ไ ด้ ห ายไป ชาวเมื อ งคิ ด ว่ า ปลอดภั ย จึ ง เปิ ด ประตู เ มื อ งวั ว พยนต์ แ อบที อ ยู่ ปรากฏตัวขึ้นแล้ววิ่งเข้าในเมือง ระเบิดท้องตัวเอง ปล่อยพิษร้ายทำ�ลายเมืองและผู้คนวอดวายไปสิ้น นับแต่นั้นมาเมือง“ศรีเทพ” ก็ร้างมาจนบัดนี้ การบูชาพระฤาษีตาไฟ นิยมนำ�น้ำ�สะอาด ตั้งบูชาไว้ด้านหน้าเสมอแบบมีเคล็ดว่าให้เกิดความ ร่มเย็นโดยถือว่ารูปท่านเป็นแก้วสารพัดนึกอำ�นวย อิทธิคุณให้สำ�เร็จดังมโนปรารถนา


จิตสัมผัส 129


ครูอาคม สายาคม ประกอบพิธีไหว้ครู ครอบครูนาฏศิลป์ไทย

130 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


การไหว้ครูสำ�หรับดุริยางค์ ไทย บ้านศิลปบรรเลง

การไหว้ครูเป็นประเพณีของนักดนตรีไทยมา ตั้งแต่ครั้งโบราณ จนกระทั่งทุกวันนี้ เพราะเหตุถือ กันว่า เครือ่ งดนตรีทกุ ชนิดมีครู การทีจ่ ะบรรเลงเป็น เพลงก็ต้องร่ำ�เรียนจากครู แม้ว่าจะมิได้มีครูเที่ยว จดจำ�เอามาก็เรียกว่า ครูพักลักจำ�เช่นเดียวกับมีครู เหมือนกัน การเรียนดนตรีแต่กอ่ นไม่มโี รงเรียนเช่นเดีย๋ ว นี้เมื่อผู้ใดจะเรียน ต้องมีดอกไม้ธูปเทียน เงินกำ�นน ไป คำ�นับครู และถ้าครูเห็นว่าผู้นั้นมีอุปนิสัย ก็สอน ให้โดยมิได้คดิ เงินทองสิง่ ของอย่างใดอีก ผูเ้ ชีย่ วชาญ ในการดนตรีมีหลายคนได้สั่งสอนสานุศิษย์ไว้มากๆ ครัน้ ท่านครูเหล่านัน้ ล่วงลับไป บรรดาศิษย์คดิ ถึงบุญ คุณของครู เมื่อมีโอกาสมาประชุมพร้อมกันเข้าจึง พร้อมใจกันกระทำ�การสิ่งหนึ่ง เพื่อเป็นเครื่องระลึก ถึงครู และคุณความดีของครู โดยทีค่ รูลว่ งลับไปแล้ว ไม่มโี อกาสแสดงความกตัญญูนนั้ ๆ ได้จงึ ทำ�เป็นพิธี บวงสรวงขึน้ เรียกว่าพิธไี หว้ครู คือสรรเสริญคุณของ ครู และขอศีลขอพรจากครูอีกด้วย

พิธไี หว้ครูมใิ ช่เพิง่ เริม่ มีขนึ้ ได้มผี นู้ บั ถือ และ กระทำ�สืบต่อๆ กันมานานแล้ว พระบาทสมเด็จพระ มงกุฏเกล้าเจ้าอยูห่ วั และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ก็ได้ทรงทำ�พิธีไหว้ครูมาแล้ว ครูใหญ่ๆ ของดนตรี สมมุติว่าเป็นเทพยดา คือพระวิศณุกรรม กล่าวว่า เป็นผู้สร้างสรรค์ดนตรีต่างๆ พระปัญจสิงขรณ์ เป็น ครูในทางเครือ่ งดีดสี พระปรคนธรรพ เป็นครูตะโพน ซึ่งถือกันว่าเป็นบรมครู พระสัพพาศรีเป็นครูระนาด พระนาคพิภพ เป็นครูฆ้อง พระศรีลมชาย (บางทีก็ เรียกพระศรีลมเฉี่อย) เป็นครูปี่และเครื่องเป่าต่างๆ พระศรีสนั่น เป็นครูกลอง เครื่องใช้ในการทำ�พิธีไหว้ครูมี หัวหมู เป็ด ไก่ ทัง้ ดิบและสุก ขนมต้มแดง ต้มขาว คันหลาว หูชา้ ง บายศรี กล้วยสุก มะพร้าวอ่อน เหล้า ผลไม้ต่าง ๆ ข้าวตอกดอกไม้ ธูปเทียน กระแจะสำ�หรับเจิม ผ้า สีชมพูเล็ก ๆ เรียกว่าผ้าหน้าโขนไว้ส�ำ หรับผูกทำ�ขวัญ เครื่อง ก่อนเริ่มพิธีต้องบูชาพระพุทธเจ้าก่อน แล้ว จึงว่าคาถาอัญเชิญพระอิศวร พระนารายณ์ และ

จิตสัมผัส 131


พระครูทั้งหลายที่อออกนามมาแล้ว กับครูอื่นๆ ที่ ล่วงลับไปมาประชุม เพื่อแสดงความเคารพ และขอ ศีลขอพรให้เป็นสิรมิ งคล ผูท้ เี่ ป็นประธานในการไหว้ ครู ต้องเป็นผู้รอบรู้ในดนตรี ซึ่งคนทั้งหลายยกย่อง ต้องเป็นผูท้ ไี่ ด้รบั ประสิทธิป์ ระสาทให้เป็นผูท้ �ำ พิธนี นั้ ได้จากครูต่อๆ กันมา มิใช่ทำ�ได้ทุกคน ผู้ที่เป็นหัวหน้าหรืออาจารย์ในการดนตรี ควรจะกระทำ�การไหว้ครูทุกปี ปีละ ๑ ครั้งในวัน พฤหั ส บดี เ ดื อ นใดก็ ไ ด้ แ ล้ ว แต่ ค วามสะดวก เพื่ อ เป็นการเคารพระลึกถึงครูที่ล่วงลับไปแล้ว และยัง

132 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

เป็นการสมานสามัคคีในหมู่นักดนตรีด้วยกันให้ได้มี โอกาสมาพบปะกัน รู้จักว่าเป็นศิษย์ครูเดียวกันอีก ด้วย ถ้าศิษย์คนใดประมาทพลาดพลัง้ ล่วงเกินครูดว้ ย กาย วาจา ใจก็ดี ได้ถือโอกาสไหว้ครูนี้ ขอขมาโทษ ต่อครูซึ่งครูก็อภัยให้ นอกจากนี้ควรมีการเลี้ยงพระ สวดมนต์บังสุกุล แผ่ส่วนกุศลไปยังครูที่ล่วงลับไป แล้ว เท่าทีส่ งั เกตุมาเป็นส่วนมาก เห็นว่าผูท้ ไี่ ด้ท�ำ พิธไี หว้ครูอยูท่ กุ ปีไม่ขาดมักจะมีความเจริญในอาชีพ ทางดนตรีดีกว่าผู้ที่ไม่เคยเข้าพิธีไหว้ครูเลย


ลักษณะกิจพิธี ตั้งเครื่องสักการะบูชา ตั้งเครื่องพลีกรรมถวายครู นิ่ม โพธิ์เอี่ยม

ลักษณะกิจพิธี ท่านมีกฎเกณฑ์ไว้ต้องมีปี่ พาทย์บรรเลงถวายในวันไหว้ครู จึงทำ�กิจพิธีครอบ ได้ ส่วนพิธีคำ�นับครู ไม่ต้องมีปี่พาทย์บรรเลง ทำ�พิธี ครอบไม่ได้ ใช้จุลเจิมหน้าเท่านั้น ส่วนกิจพิธีไหว้ครู นั้น ท่านวางกฎเกณฑ์ไว้ มีพิธีสงฆ์สวดมนต์เย็น-ฉัน เข้าแล้ว จึงทำ�กิจพิธีไหว้ครู ส่วนกิจพิธีคำ�นับครูนั้น มี ๒ อย่าง คือคำ�นับใหญ่-คำ�นับน้อย ท่านวางกฎ เกณฑ์ไว้ พิธีคำ�นับใหญ่ ต้องสวดมนต์เย็น ฉันเช้า แล้ว จึงทำ�กิจพิธีคำ�นับครู ส่วนพิธีคำ�นับครูน้อยนั้น ไม่ต้องทำ�การสวดมนต์เย็น-ฉันเช้า ให้ใส่บาตรพระ ตอนเช้าก่อน ๕ องค์ ๙ องค์ก็ได้ตอนสายจึงทำ�กิจ พิธีคำ�นับน้อยส่วนเครื่องพลีกรรมนั้นมี ๔ ชั้น พิธี ไหว้ครูชั้น ๑ เครื่องคู่พิธีคำ�นับใหญ่ใช้ชั้น ๒ เครื่อง เดียว (อนุโลมใช้ในพิธีไหว้ครูได้) พิธีคำ�นับน้อยใช้ เครื่องนอนตอง ฉะนั้น

ลักษณะการตั้งหน้าครูปริมณฑลเดียว

การตั้งหน้าครูปริมณฑลนั้น คือตั้งร่วมกับ

พระพุ ท ธรู ป ในสถานที่ ก ว้ า งพอสมควร เช่ น หอ ประชุมตามมหาวิทยาลัย - โรงเรียน - อาคาร เคหะสถานขนาดต่ า งๆ กั น ต้ อ งดู ใ ห้ พ อเหมาะ พอควรแก่สถานที่

ทำ�กิจพิธีที่หอประชุม

การจัดตั้ง พระพุทธรูป ๑ องค์ตรงกลางเป็น ประธาน แล้วหน้าครูล้อม ๒ ข้าง ๑๒ หน้าแบบปกติ ไม่ใช่แบบมโหฬารหลายสิบหน้า ๑ พระอิศวร ๒ พระ นารายณ์ ๓ พระพรหม ๔ พระอินทร์ ๕ พระขันธ กุมาร ๖ พระพิฆเณศร ๗ พระปรคนธรรพ ๘ พระ ปัญจะสิงขร ๙ พ่อแก่ ๑๐ พระพิราพ ๑๑ พระวิสวะ กรรม ๑๒ เทริด ใช้โต๊ะหมู่บูชาขนาดใหญ่ หมู่ ๙ ๒ ชุด

ทำ�กิจพิธีที่โรงเรียน

ตัง้ ตามปกติ ตัง้ พระพุทธรูป ๑ องค์ตรงกลาง แล้วตั้งหน้าครู ๑๐ หน้าบนโต๊ะหมู่ ๑ พระอิศวร ๒

*คัดตัดตอนจากหนังสือ “ประมวลพรหมประวัติ-พุทธประวัติ” ตอนสร้างมนุษย์โลก โดย ครูนิ่ม โพธิ์เอี่ยม ในงานไหว้ครู ทำ�บุญอายุพระครูสังฆรักษ์ วันที่ ๓๑ ม.ค. ๒๓ หน้า ๒๑ จิตสัมผัส 133


พระนารายณ์ ๓ พระขันธกุมาร ๔ พระพิฆเณศร ๕ พระปรคนธรรพ ๖ ประปัญจะสิงขร ๗ พ่อแก่ ๘ พระ พิราพ ๙ พระวิสวะกรรม ๑๐ เทริด ใช้โต๊ะหมู่บูชา ใหญ่ หมู่ ๙ กับหมู่ ๕ ๑ ชุด

ทำ�กิจพิธีที่อาคารปานกลาง

ตั้งตามปกติ ตั้งพระพุทธ ๑ องค์ตรงกลาง แล้วตัง้ หน้าครู ๘ หน้า ๑ พระอิศวร ๒ พระนารายณ์ ๓ พระขันธกุมาร ๔ พระพิฆเณศร ๕ พระปรคนธรรพ ๖ พระปัญจะสิงขร ๗ พ่อแก่ ๘ พระพิราพฯ ใช้โต๊ะ หมู่บูชาหมู่ ๙ ๑ ชุด

ทำ�ที่เคหะสถานปานกลาง

ตัง้ ตามปกติ ตัง้ พระพุทธรูป ๑ องค์ตรงกลาง แล้วตัง้ หน้าครู ๖ หน้า ๑ พระอิศวร ๒ พระนารายณ์ ๓ พระปรคนธรรพ ๔ พระวิสวะกรรม ๕ พ่อแก่ ๖ พระพิราพฯ ใช้โต๊ะบูชาหมู่ ๙ ๑ ชุด

ทำ�ที่อาคารเล็กๆ

ตัง้ ตามปกติ ตัง้ พระพุทธรูป ๑ องค์ตรงกลาง แล้วตัง้ หน้าครู ๔ หน้า ๑ พระอิศวร ๒ พระนารายณ์ ๓ พ่อแก่ ๔ พระพิราพ ฯ ใช้โต๊ะหมู่ ๙ บุชาพระมี โต๊ะรอง ๑ ชุด

ทำ�ที่เคหะสถานเล็กๆ

ตัง้ ตามปกติ ตัง้ พระพุทธรูป ๑ องค์ตรงกลาง แล้วหน้าครู ๒ หน้า ๑ พ่อแก่ ๒ พระพิราพฯ ใช้โต๊ะ หมู่ ๗ บูชาพระมีโต๊ะรอง ๑ ชุด ถ้าตั้งตามมาตรฐานนี้ มีสภาพสวยงามดี ถ้ามีหน้าครูผอู้ น่ื แซกก็จะหมดความสวยงามไปฉะนัน้

134 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

ลักษณะการตั้งโต๊ะปริมณฑล เครื่องพลีกรรม

ก่อนจะตัง้ โต๊ะ ต้องปูผ้าขาวให้เต็มประมาณ ๒ ฝืน หรือ ๓ ผืน เว้นผ้าขาวตอนหน้าปริมณฑล ๑ ศอก จึงตัง้ โต๊ะปริมณฑล ดูตามแผนผังวางเครือ่ งพลี กรรมทั้ง ๓ ที่ ให้ถูกต้องตามแผนผังฉะนั้น ส่วนการ จัดตั้งเครื่องพลีกรรมนั้นมี ๑ แบบ คือ ถ้ามีการร่าย รำ�ถวายครูนั้นตั้งอย่างหนึ่ง ถ้าไม่มีการร่ายรำ�ถวาย ครูตั้งอีกอย่างหนึ่งไม่เหมือนกัน ถ้าตั้งมีการร่ายรำ� วางหั ว หมู เ อาหน้ า เข้ า ปริ ม ณฑล เป็ ด -ไก่ ก็ เช่ น เดียวกันเมือ่ ร่ายรำ�ถวายแล้วตอนวางหัวหมู-เป็ด-ไก่ นัน้ ต้องหันหน้าหัวออก แก้สนิ บนทีม่ ลี ะคร-ลิเก ต้อง ไปร่ายรำ�ถวายเช่นเดียวกัน ถ้าตั้งไม่มีการร่ายรำ� ตั้ง หัวหมู-เป็ด-ไก่ เอาหน้าหัวหมู-เป็ด-ไก่หันหน้าออก อย่ า งปั จ จุ บั น นี้ เวลาถวายให้ ย กถวายเหมื อ น ประเคนของถวายพระให้ครบทุกอย่าง ดังกล่าวนีอ้ กี แบบหนึง่ ฉะนัน้ ฯ การจัดตัง้ โต๊ะ วางเครือ่ งสังเวยพิธี บวงสรวง-แก้สินบนมีศาลเพียงตา มีศาลจ้าว มีศาล พระภู มิ เ ป็ น ต้ น ต้ อ งทำ � ตามเหตุ ผ ลของพิ ธี ก ร ใช้โต๊ะขนาดใหญ่ ๔ เหลีย่ มผืนผ้ากว้าง ๑.๕๐ ม. ยาว ๒.๐๐ ม. ปูผ้าขาว ๒ ผืนเต็มโต๊ะตั้งตรงหน้าศาลทำ� พิธบี วงสรวง ก่อนจะวางเครือ่ งสังเวยให้เว้นระยะหัว โต๊ะ ๑ ศอก จึงวางเครือ่ งสังเวยเอาหน้าหัวหมู-เป็ดไก่ ออก ถ้าพิธีแก้สินบน ก็วางเช่นเดียวกัน เมื่อร่าย รำ�ถวายแล้ว วางไว้ตามเดิม ตัง้ อย่างนีเ้ ป็นแบบหนึง่ ส่วนโต๊ะเล็ก ๔ เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง ๑.๐๐ ม. ยาว ๑.๕๐ ม. ตั้งอีกแบบหนึ่งเมื่อปูผ้าขาว ๑ ผืน ตั้งตรง หน้าศาลแล้วต้องเอาเก้าอี้ ๑ ตัวปูผา้ ขาวตัง้ ท้ายโต๊ะ เอาไม้ปักกั้นร่ม ๑ คัน วางเครื่องสังเวยเช่นเดียวกัน กับโต๊ะใหญ่ฉะนั้น


อธิบายการจัดตั้งเครื่องพลีกรรม ก่อนจัดควรทบทวนคำ�อธิบายให้ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว จงจัดทำ�ตามคำ�อธิบาย ที่กลางจัดตามแผนผัง ๑-๒-๓-๔-๕ ที่กลางเป็นที่สำ�คัญลำ�ดับ ๑ ถึง ๒ มีระยะห่างกัน ๑ คืบ ถ้าทีก่ ว้างห่าง ๑ ศอก ๓-๔-๕ ใกล้ชดิ ได้ ส่วนทีพ่ ระปรคนธรรพ จัดไปตามแผนผัง ลำ�ดับ ๑-๒-๓ ตั้งกระถางธูป แผนผังที่เขียนนั้นเป็นครั้งเดียว ถ้าจัดเครื่องคู่ต้องปูผ้าอีก ๑ ผืน วางเพิม่ ขึน้ อีกเครือ่ งเป็นเครือ่ งคู่ ถ้าจัดเครือ่ งเดียว ให้ตดั ยำ�สลัดไก่กบั ลาบหมูออก เอา หมูนอนตองวางแท่น ที่พระปรคนธรรพ หมูนอนตองดิบ ที่กลาง ที่พระพิราพ หมูนอน ตองสุก จัดให้ครบ ๓ ที่ ส่วนที่กลางนั้น ควรระวังเป็นที่สำ�คัญ เพราะเป็นที่รวมบรมครูพระผู้เป็นเจ้า

จิตสัมผัส 135


โต๊ะปริมณฑล

ผ้าขาวปูลาดหน้าปริมณฑล

ที่พระปรคนธรรพ

ที่กลางรวมบรมครู

ที่พระพิราพ

ผ้าขาวปูลาดวาง

๑ ผืนเครื่องปู ๒ ผืน ๆ ละ ๔ เมตร เหมือน

ทางเดินไปจุดเทียนเงิน-เทียนทอง

เครื่องเดียวปูผ้า

ช่องทางเดิน

เครื่องพลีกรรม

กันทั้ง ๓ ที่

แผนผังปูลาดผ้าขาววางเครื่องพลีกรรม

136 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


๑. เครื่องกระยาบวช

มะพร้าวอ่อน

บายศรี

กล้วยน้ำ�ว้า

ขนมหูช้าง

ขนมต้มแดง

แกงบวช

ขนมต้มขาว

ขนม เล็บมือนาง

ถั่วคั่ว

งาขาวคั่ว

อ้อยแดง

นม

เนย

น้ำ�

หมากพลู

น้ำ�

ถวายพระพรหม พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหมธาดา พระสหัมบดีพรหมะ โสอัสพรหมา พระขันถะกุมาร พระพิฆเณศร พระพินาย

จิตสัมผัส 137


๒. เครื่องมัจฉะมังสาหาร หมาก พลู

เป็ดสุก

น้ำ�

หัวหมูสุก

น้ำ� พริก เผา

พริก น้ำ�ส้ม

กุ้งสุก

ปลาแป๊ะซ๊ะ

ไข่สุก

ยำ�สลัดไก่

ถวายเทวดา และมนุษย์

138 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

ไก่สุก

ปูทะเลสุก

ไข่เค็ม


๓. เครื่องผลาหาร

หมาก พลู

ขนุน

น้ำ�

ผลไม้ ๗ อย่าง

เผือกมันนึ่ง

ส้มโอ

ทุเรียน

สับปะรด

กล้วยหอม

อ้อย

กล้วยไข่

ถวายพระมุนี พระฤาษี สมมุติดาบสฤาษี และเทวะวานรพงษ์

จิตสัมผัส 139


๔. เครื่องอาหารอิสลามแบบไทย น้ำ�

หมาก พลู

ข้าว

ข้าว

ข้าว

แกงไก่

แกงไก่

แกงไก่

ไข่ต้ม ปอกเปลือก

น้ำ�ปลาพริก

ไข่เค็ม ผ่าซีก

โรตี

ผลไม้

แกงบวช

ถวายครูกลองแขก ปี่ชวา ครูกลองรำ�มะนา ครูลิเก

140 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


๕. ที่ทำ�กิจพิธีบูชาครู

บาตรน้ำ�มนต์

กระถางธูป

พาน ตำ�รา

กาน้ำ�ร้อน

ถ้วย

เชิงเทียน

หมอน

ที่นั่งทำ�พิธี

ปูผ้าทางเดิน ทำ�กิจพิธีครอบ ก้น ขันสาคร

ขันทำ�น้ำ�มนต์

ขัน กำ�นล

ถาดธูปเทียน

กระโถน

แผนผังนี้ เฉพาะที่กลาง

จิตสัมผัส 141


ที่พระพิราพ และ พระปรคนธรรพ ที่พระพิราพ หมาก พลู

สุรา ๒๘ ดีกรี

เป็ดดิบ

แม่โขง แก้ว รินสุรา

ไก่ดิบ

หัวหมูดิบ พริก น้ำ�ส้ม

เป็ดสุก

น้ำ�

น้ำ� พริกเผา

ตับหมูดิบ

ไก่สุก

กุ้งสุก

ลาบหมู

ปูทะเลสุก

ไข่สุก

ปลา แป๊ะซ๊ะ

ไข่ดิบ

แผนผังนี้ เฉพาะที่กลาง

142 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


ที่พระปรคนธรรพ หมาก พลู

สุรา ๒๘ ดีกรี

เป็ดสุก

แม่โขง แก้ว รินสุรา

ไก่สุก

หัวหมูสุก พริก น้ำ�ส้ม

เป็ดดิบ

น้ำ�

น้ำ� พริกเผา

ปลาแป๊ะซ๊ะ

ไก่ดิบ

กุ้งสุก

ลาบหมู

ปูทะเลสุก

ไข่สุก

น้ำ� ปลาพริก

ไข่ดิบ

การจัดที่พระปรคนธรรพ ๑.เครื่องกระยาบวช ๒.ที่พระพระปรคนธรรพ ๓.เครื่องผลาหาร

จิตสัมผัส 143


ลักษณะการสุดท้ายนี้ พิธีกรควรศึกษา อย่างยิ่ง (เพราะเป็นสิ่งสำ�คัญ)

ผู้เป็นพิธีกร ต้องรู้เรื่องประวัติของบรมครู พระผูเ้ ป็นเจ้าพระองค์ใดเป็นมาตุภมู ิ พระองค์ใดเป็น พระปิตุภูมิที่เป็นใหญ่ที่สุดในโลกนี้ ที่ทรงประทาน ศิ ล ปศาสตร์ ต่ า งๆ ทั้ ง พระเวทวิ ท ยา และสรรพ วิชาการทั้งปวงไว้ เพื่อให้เป็นวิถีทางแห่งการครอง ชีพของมนุษย์สืบเนื่องกันต่อๆ ไปตลอดกาล เพราะฉะนั้ น พิ ธี ก รจำ � เป็ น ต้ อ งศึ ก ษา หาความรูเ้ รือ่ งของบรมครูกบั ครูผเู้ ฒ่า-ผูร้ -ู้ ผูช้ �ำ นาญ ในประวัตกิ ารของบรมครูพระผูเ้ ป็นเจ้า ๓ องค์ แต่ละ องค์ทรงสร้างสรรค์ ศิลปะ - ภารกิจ - วิชาการต่างๆ ไว้ในโลกนี้ มีหลายอย่างหลายประการ ทั้ง ๓ องค์ นั้นมีพระนามอะไร ศึกษาให้รู้ชัดเป็นเบื้องต้นปฐม การ และต่อไปถึงพระบรมครูพระผู้เป็นเจ้าอีก ๒ องค์ ทรงรับหน้าที่แทนพระเนตรพระกรรณทั้ง ๒ องค์นี้เป็นพี่น้องกัน มีพระนามอะไร องค์ที่ ๑ ได้รับ หน้าที่คุ้มครองป้องกัน ชั้นพรหมโลก และเทวะโลก เป็นพี่ องค์ที่ ๒ ได้รบั หน้าทีค่ มุ้ ครองป้องกัน มนุษย์ โลกและยมโลกเป็นน้องสนองเทวะพระบัญชา ควร รู้ว่าพรมครูพระผู้เป็นเจ้ า ๕ องค์นี้มีพระคุณกับ 144 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

มนุษย์เพียงใด และต่อไปถึงพระฤาษีทแี่ บ่งภาคลงมา จุติในมนุษย์โลกเป็นต้นตระกูลพระฤาษี ตั้งสัจจะ ตะบะพิธกี รรมบำ�เพ็ญพรตพรหมจรรย์เป็นปรมาจารย์ แห่งพระฤาษี อิสีติดาบส - สมมุติดาบส และต่อไป ถึง พรหม - เทพเทวะ - เทวดา - เทพารักษ์ - อสุระ พงษ์ - พรหมพงษ์ อสุระ รากษส ครุฑฑา วาสุกรี วีร บุรุษมนุสสานํ - ครูอาจาริยํ ปฏิยายสรรพ วิชาการ ทั้งในใต้หล้าพระปฐพี ที่สั่งสอน วิชานะฏะ ศิลปะดุ ริยางคะ คีตะ หัตถะ กิจวิสวะ พระเวทวิทยาสรรพ วิชาการต่างๆ เป็นแนวทางดำ�รงชีพของมนุษย์ทวั่ ไป ทั้งชายและหญิงทุกๆ สิ่งที่กล่าวในที่นี้ พิธีกรควรศึกษาไว้บ้างตามสมควร ให้สม ศักดิ์ศรีที่เรียกกันสมัยปัจจุบันนี้ว่า พิธีกร เป็นผู้รู้ กิ จ พิ ธี เมื่ อ มี ศิ ษ ยานุ ศิ ษ ย์ ที่ เ ป็ น นั ก ศึ ก ษาขั้ น มหาวิทยาลัยมาไต่ถามประวัติการของบรมครูพระ ผูเ้ ป็นเจ้ามีความเป็นมาอย่างไร ก็ตอบให้เขารูไ้ ด้ตาม สมควร ถ้าตอบไม่ได้ก็อายเขา เราเป็นพิธีกร ซึ่งเขา เคารพนับถือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็น พิ ธี ก รควรศึ ก ษาหาความรู้ ใ นลั ก ษณะการต่ า งๆ ดังกล่าวแล้วข้างต้นจนอวสาน เป็นวิชาการภายใน เป็นหัวใจของพิธีกร


เครื่องสักการบูชาครู ๑. เทียนเงิน เทียนทอง ขี้ผึ้งแท้ ๓ คู่หนักเล่มละ ๒ บาท

๖ เล่ม

๒. เทียนชัย ขี้ผึ้งขาวแท้ งานธรรมดาหนัก ๔ บาท งานใหญ่หนัก ๑๒-๑๖ บาท

๑ เล่ม

๓. เทียนขาวขี้ผึ้งแท้ หนักเล่มละ ๑ บาท

๒๐ เล่ม

๔. ธูปหอมอย่างดี (ใช้ในพิธีงานธรรมดา ๔ มัด) พิธีครู ๔ กล่อง ๕. แป้งกระแจะเม็ดใหญ่

๑ เม็ด

๖. น้ำ�อบไทย

๑ ขวด

๗. เครื่องราชบาท ขันกำ�นล ขันล้างหน้า ๑ ลูก ผ้าเช็ดหน้าผู้ขาว ๑ ผืน

เงิน ๖ บาท ดอกไม้ ๓ สี ดอกบัวหลวง ดอกดาวเรือง ๑ ดอกมะลิ

ธูปหอม ๙ ดอก เทียนขาวขี้ผึ้งแท้ ๑ บาท ๑ เล่ม หมากพลู บุหรี่ หญ้าแพรก

ดอกมะเขือ (งานใหญ่ ๓ ชุด งานธรรมดา ๑ ชุด)

๑ ชุด

๘. สังข์รดน้ำ�

๑ ตัว

๙. โถกระแจะจุลเจิม

๑ ลูก

๑๐. ผ้ารัตนะไชย (ผ้าห้อยหน้าโขน) ให้ครบหน้าครูที่บูชา ๑๑. (ใบไม้ปริศนา) ใบเงิน ใบทอง ใบนาก ใส่ขันน้ำ�มนต์ ๑ ขัน ใบส้มป่อย ใบชัยพฤกษ์ ใบราชพฤกษ์ ใบมะตูม ใบครอบกระวาฬ หญ้าแพรก ฝักส้มป่อย ๓ ฝัก ๑๒. (ช่อชัยพฤกษ์) เอาใบเงินบ้าง ใบทองบ้าง ใบนากบ้าง เอาหญ้าแพรก

สอดกลางแล้วม้วนเหมือนจีบพลู (ให้ครบบุคคลที่มาครอบ)

๑๓. ก้านมะยม ๙ ก้าน มัดด้วยสายสิญน์ ใบหญ้าคา ๑ กำ�

๑ พาน ใส่ขัน น้ำ�มนต์ ๑ ขัน ๑ ถาด ๑ ชุด

๑๔. ผ้าขาวเนื้อดียาว ๗ เมตร

ตัดแบ่งครึ่งเป็นผ้าห่มเฉวียงบ่า ๑ ผืน เป็นผ้านุ่ง ๑ ผืน(ของพิธีกร)

๑ สำ�รับ

จิตสัมผัส 145


๑๕. ผ้าขาวธรรมดาปูลาด (ใช้ในกิจพิธี) ยาวผืนละ ๓ เมตร คัมภีร์ ๒

๕ ผืน

๑๖. ผ้าขาวธรรมดาปูลาด (ใช้ในกิจพิธี) ยาวผืนละ ๓ เมตร ใช้ในพิธีคัมภีร์ ๑

๗ ผืน

๑๗. ผ้าแพรสีทับทิม หรือสีชมพู ยาว ๓ เมตร (ผูกหน้าศาลพระภูมิ)

๑ ผืน

๑๘. เชิงเทียน

๘ คู่

๑๙. ดอกไม้พาน

๒ คู่

๒๐. แจกันปักดอกไม้

๓ คู่

๒๑. ขันใส่บาตรมีพานรอง ขันเงินลาย ๑๒ นักษัตร หรือขันลงหิน ก็ได้ ๒๒. พานแก้ว ๒๓. ทองคำ�เปลวแท้ ๒๕ แผ่น เงินเปลวแท้ ๒๕ แผ่น ๒๔. โต๊ะหมู่บูชา งานธรรมดา โต๊ะหมู่ ๙ ๒๖. กาน้ำ�ร้อน ถ้วยแก้ว ถ้วยน้ำ�ร้อน กระโถน หมอน อาสนะ

เสื่อ พรม ม่าน ถาด ถ้วย จาน ชาม หม้อข้าว หม้อแกง มีด ช้อนส้อม

๑ ลูก ๕ พาน รวม ๕๐ แผ่น ๑ ชุด ให้ครบตามต้องการ

๒๗. พวงเงิน พวงทอง เอาสายสร้อยคอทองคำ�เงินเหรียญบาท ๑ ตำ�ลึง

แหวนเพชร แหวนทอง ผูกติดกับสายสร้อย ผูกห้อยกับกิ่งชัยพฤกษ์เล็กๆ

146 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

๑ พวง


เครื่องสังเวยในพิธีไหว้ครู-นาฎศิลป์ไทย

พิธไี หว้ครูนาฏศิลป์ไทยให้จัดตัง้ โต๊ะหมู่ประดิษฐานศรีษะเทพเจ้า และศรีษะโขน-ละครอืน่ ๆ โดยจัด ให้ลดหสั่นกันลงมาให้ถูกต้องสวยงาม ตั้งโต๊ะเครื่องสังเวยคาว ๒ หวาน, สุก-ดิบ ผลไม้ บายศรีปากชามเสียบไข่ต้มสุกด้านละ ๑-๒ ที่ พาน ข้าวตอกดอกไม้ อย่างละ ๑ ที่ โดยให้จัดอาหารคาวดิบตั้งทางด้านขวา อาหารคาวสุกตั้งทางด้านซ้าย วาง พร้อมน้ำ�จิ้มอาหาร

รายการอาหารคาว

๑. หัวหมูพร้อมขา หาง ลิ้น ดิบ-สุก ๒. เป็ด พร้อมเครื่องใน ดิบ-สุก ๓. ไก่ พร้อมเครื่องใน ดิบ-สุก ๔. กุ้งใหญ่ ดิบ-สุก ๕. ปูทะเล ดิบ-สุก ๖. ปลาช่อนแป๊ะซะ (ไม่ขอดเกล็ด) ดิบ-สุก ๗. หมูนอนตอง ดิบ-สุก ๘. ไข่เป็ด หรือไข่ไก่ ดิบ-สุก ๙. ข้าวหมกไก่ ๑๐. แกงมัสมั่น ๑๑. โรตี-มะตะบะ ๑๒. ขนมปัง, นมข้น, เนยสด, น้ำ�พริกเผา ๑๓. เหล้า, น้ำ�เปล่า, ชา, กาแฟ, หมากพลู, บุหรี่

อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ จิตสัมผัส 147


รายการอาหารหวาน

๑. ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ๒. ขนมหูช้าง ขนมคันหลาว (เล็บมือนาง) ๓. ขนมชั้น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด ๔. ขนมถ้วยฟู ขนมเม็ดขนุน ขนมหม้อแกง ๕. ขนมฟักทองแกงบวช ๖. ขนมจันอับ ๗. งาขาว,งาดำ�,ถั่วเขียว

รายการผลไม้

๑. มะพร้าวอ่อน ๒. กล้วยน้ำ�ไท หรือ กล้วยน้ำ�ว้า ๓. ผลไม้ป่า เผือก-มัน ดิบ-สุก ๔. ทุเรียนผ่าซีก ๕. ขนุนผ่าซีก ๖. อ้อยไม่ปอกเปลือก ตัดเป็นท่อนเล็กๆ ๗. อ้อยปอกเปลือก ตัดเป็นท่อนเล็ก ๆ

พานผลไม้ ๙ อย่าง (ที่มีชื่อเป็นมงคลเท่านั้น) ใบไม้มลคลที่ใส่ในบาตรนำ�้มนต์ประกอบด้วย ๑. ใบทอง ใบเงิน ใบนาค ใบมะตูม ๒. ลูกมะกรูด ๓. ฝักส้มป่อย

อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ อย่างละ ๑ ที่ จำ�นวน ๓ ที่ อย่างละ ๓ ใบ จำ�นวน ๓ ผล จำ�นวน ๙ ฝัก

พานข้าวตอกดอกไม้ ๒ ที่

ประกอบด้วย ข้าวตอก ดอกมะลิ ดอกบานไม่รู้โรย ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ

เครื่องใช้ ในพธี

๑. เทียนชัยขี้ผึ้งแท้ หนัก ๙ บาท ๒. เทียนทอง เทียนเงิน หนัก ๖ บาท ๓. เทียนขี้ผึ้งแท้ หนัก ๑ บาท ๔. ธูปหอมไร้ควัน ๕. ธูปหอมห่อใหญ่ ๖. น้ำ�อบไทยขนาดใหญ่

148 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

จำ�นวน ๑ คู่ จำ�นวน ๒ คู่ จำ�นวน ๑ เล่ม จำ�นวน ๓ ห่อ จำ�นวน ๒ ห่อ จำ�นวน ๑ ขวด


๗. น้ำ�ปรุงเจ้าคุณ ๘. แป้งกระแจะอย่างดี

ผ้าที่ใช้ ในพิธี ประกอบด้วย ๑. ผ้าปูทางเดิน ๒. ผ้าปูเตียง ๓. ผ้าปูกราบ ๔. ผ้าปูนั่ง,ปูครอบ ๕. ผ้ารัดอกตะโพน ๖. ผ้าปูขันกำ�นล

ยาว ๔ เมตร ยาว ๒ เมตร ยาว ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร ยาว ๓ เมตร ยาว ๑ เมตร

จำ�นวน ๑ ขวด จำ�นวน ๖ ก้อน จำ�นวน ๑ ผืน จำ�นวน ๑ ผืน จำ�นวน ๑ ผืน จำ�นวน ๒ ผืน จำ�นวน ๑ ผืน จำ�นวน ๑ ผืน

ขันกำ�นลประธานผู้ประกอบพิธี ประกอบด้วย ๑. ขันเงินแท้ หรือขันลงหิน หรือ ขันทองเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำ�กว่า ๖ นิ้ว ๒. ผ้าเช็ดหน้าอย่างดีสีขาว ๓. ธูป-เทียน ๔. กรวยดอกไม้ ๕. พวงมาลัย (ไม้เท้าครู ๑ พวง) ๖. เงินกำ�นลประธานประกอบพิธี

ขันกำ�นลสำ�หรับผู้บรรเลง ประกอบด้วย

๑. ขันอลูมิเนียม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำ�กว่า ๖ นิ้ว ๒. ผ้าเช็ดหน้าอย่างดีสีขาว ๓. ดอกไม้-ธูปเทียน ๔. เงินกำ�นล ๒๔ บาท

จำ�นวน ๑ ใบ จำ�นวน ๑ ผืน จำ�นวน ๑ ชุด จำ�นวน ๑ ชุด จำ�นวน ๒ พวง จำ�นวน ๓๓๖ บาท จำ�นวน ๘ ใบ จำ�นวน ๘ ผืน จำ�นวน ๘ ชุด จำ�นวน ๘ ชุด

จิตสัมผัส 149


กำ�หนดการพิธีไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย

วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น ๕ ห้องประชุม ๑๕๐๓ วิทยาลัยราชพฤกษ์ ๐๗.๐๐ น. ผู้บริหาร, คณาจารย์, เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และผู้ร่วมงานพร้อมที่ห้องประชุม ๐๗.๓๐ น. พระสงฆ์เดินทางมาถึงบริเวณพิธี ๐๗.๔๕ น. เริ่มพิธีสงฆ์ ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ พิธีถวายสังฆทาน รับศีล รับพร ๐๙.๐๐ น. เริ่มพิธีไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทย กล่าวรายงานและอ่านประวัติครูผู้ประกอบพิธี โดย นายสุจริต บัวพิมพ์ ผู้อำ�นวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม กล่าวเปิดงาน โดย ดร.อณาวุฒิ ชูทรัพย์ อธิการบดีวิทยาลัยราชพฤกษ์ ดร.วิภาพรรณ ชูทรัพย์ ผู้รับใบอนุญาต ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ดร.อณาวุฒิ ชูทรัพย์ อธิการบดี จุดเทียนชัย เทียนทอง เทียนเงิน ธูป หน้าที่บูชาครู รศ.ดร.วิรัช วรรณรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สรงน้ำ�พระเทวกรรม (เทวรูป) อาจารย์สันธยา ดารารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร สรงน้ำ�พระเทวกรรม (เทวรูป) อาจารย์นันทพร ชูทรัพย์ รองอธิการบดี ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ สรงน้ำ�พระเทวกรรม (เทวรูป) อาจารย์เกียรติพงษ์ พันชนะ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา สรงน้ำ�พระเทวกรรม (เทวรูป) ๐๙.๓๐ น. นายสมบัติ แก้วสุจริต อดีตรองอธิบดี กรมศิลปากร และอดีตผู้ตรวจราชการ ระดับ ๑๐ กระทรวงวัฒนธรรม ประธานผู้ประกอบพิธีอ่านโองการไหว้ครูดนตรี-นาฏศิลป์ไทยและครอบครู ๑๔.๐๐ น. เสร็จพิธี หมายเหตุ กำ�หนดงานฯ เลื่อนไปจัดในปีการศึกษา ๒๕๕๕ เนื่องจากเกิดมหาอุทกภัย ระหว่างเดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๔ 150 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


คำ�สั่งวิทยาลัยราชพฤกษ์ ที่ วรพ.๖๕๘ / ๒๕๕๔ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดพิธีไหว้ครู ดนตรีไทย-นาฏศิลปไทย ---------------------------------------ด้วยวิทยาลัยราชพฤกษ์ โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรม จะจัดพิธีไหว้ครู ดนตรีไทย-นาฏศิลป์ไทย ในวัน พฤหัสบดีที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ จึงอาศัยความตามพระราชบัญญัติ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนพุทธศักราช ๒๕๔๖ แก้ไขเพิม่ เติม (ฉบับที่ ๒)พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๔๓ (๑)(๑๓) ว่าด้วยอำ�นาจหน้าทีข่ องอธิการบดี แต่งตัง้ บุคคลให้ปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นการจัดพิธไี หว้ครูดนตรีไทย-นาฏศิลป์ไทย ประกอบด้วยคณะกรรมการต่างๆ ดังนี้ ๑. คณะกรรมการอำ�นวยการ ๑.๑ ดร.วิภาพรรณ ชูทรัพย์ ที่ปรึกษา ๑.๒ ดร.อณาวุฒิ ชูทรัพย์ ประธานกรรมการ ๑.๓ นางสันธยา ดารารัตน์ รองประธานกรรมการ ๑.๔ นางนันทพร ชูทรัพย์ รองประธานกรรมการ ๑.๕ รศ.ดร.วิรัช วรรณรัตน์ รองประธานกรรมการ ๑.๖ นายเกียรติพงษ์ พันชนะ กรรมการ ๑.๗ นายพิเชษฐ์ ตั้งสงค์ไพบูลย์ กรรมการ ๑.๘ นายสวัสดิ์ พุ่มภักดี กรรมการ ๑.๙ รศ.อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์ กรรมการ ๑.๑๐ ดร.อรุณี สำ�เภาทอง กรรมการ ๑.๑๑ ผศ.สมศักดิ์ ถิ่นขจี กรรมการ ๑.๑๒ นายปรเมศวร์ ศิริรักษ์ กรรมการ ๑.๑๓ นางผ่องใส ถาวรจักร์ กรรมการ ๑.๑๔ นางสาวทิพย์สุดา หมื่นหาญ กรรมการ ๑.๑๕ นายสุจริต บัวพิมพ์ กรรมการและเลขานุการ ๑.๑๖ พ.อ.(พิเศษ)ประชุม ชัยจิตร์สกุล กรรมการผู้ช่วยเลขานุการ ๑.๑๗ นาวสาวกุลณัฏดา ธนบุรี กรรมการผู้ช่วยเลขานุการ ๑.๑๘ นายอชิระ ดวงหอม กรรมการผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ ให้คำ�ปรึกษาแนะนำ� อำ�นวยการและวินิจฉัยสั่งการให้การดำ�เนินงานจัดพิธีไหว้ครูดนตรี ไทยนาฏศิลป์ไทย เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

จิตสัมผัส 151


๒. คณะกรรมการดำ�เนินงาน ๒.๑ รศ.ดร.วิรัช วรรณรัตน์ ประธานกรรมการ ๒.๒ นายเกียรติพงษ์ พันชนะ รองประธานกรรมการ ๒.๓ รศ.อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์ กรรมการ ๒.๔ นายสุจริต บัวพิมพ์ กรรมการ ๒.๕ พ.อ.(พิเศษ)ประชุม ชัยจิตร์สกุล กรรมการ ๒.๖ นายสมนึก สมรรถกิจขจร กรรมการ ๒.๗ นางสาวพรพิมล สัมพัทธ์พงศ์ กรรมการ ๒.๘ นางสาวกชวรรณ เกียรติเลิศพงศา กรรมการ ๒.๙ นายภาสกร ปาละกูล กรรมการ ๒.๑๐ นางสาวจาริวัฒน์ ผลพานิช กรรมการ ๒.๑๑ นางสาวนันธิการ์ จิตรีงาม กรรมการและเลขานุการ ๒.๑๒ นางสาวกุลณัฏดา ธนบุรี กรรมการผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ บริหารจัดการ ดำ�เนินงานและอำ�นวยการความสะดวก ให้กับคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ๓. คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ๓.๑ นางสำ�ราญ จูช่วย ประธานกรรมการ ๓.๒ นายชุมพล รอดแจ่ม กรรมการ ๓.๓ นายพิทักษ์ ลีนาลาด กรรมการ ๓.๔ นางสาวสลักจิตร หิรัญสาลี กรรมการ ๓.๕ นายพฤกษ์ภูมิ ธีรนุตร กรรมการ ๓.๖ นางสาวกรกนก นิลดำ� กรรมการ ๓.๗ ดร.ต่อสิต กลีบบัว กรรมการ ๓.๘ นายจักรกฤษณ์ สุขสมทิพย์ กรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ โฆษณาประชาสัมพันธ์ ภายในและภายนอกวิทยาลัยฯ ก่อนวันพิธีจัดงาน ๔. คณะกรรมการฝ่ายลงทะเบียน และเอกสาร ๔.๑ นางสาวสิรินธร วงค์หลี ประธานกรรมการ ๔.๒ นางสาวกัญญณัฐ ธานีวรรณ กรรมการ ๔.๓ นางสาวนิตยา สุภาภรณ์ กรรมการ ๔.๔ นางสาวสมรศรี คำ�ตรง กรรมการ ๔.๕ นางสาวพิมล มากพันธ์ กรรมการ ๔.๖ นางสาวสุรีรัตน์ รักษ์พงษ์ กรรมการ ๔.๗ นางสาวพิมพ์ลภัส สุวรรณพานิช กรรมการ ๔.๘ นางสาวกุลณัฏดา ธนบุรี กรรมการและเลขานุการ ๔.๙ นายอชิระ ดวงหอม กรรมการผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ รับลงทะเบียน และแจกหนังสือที่ระลึกในงานพิธีไหว้ครูดนตรีไทย-นาฏศิลป์ไทย 152 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


๕. คณะกรรมการฝ่ายพิธีการ ๕.๑ นายชุมพล รอดแจ่ม ประธานกรรมการ ๕.๒ นายจักรกฤษณ์ สุขสมทิพย์ กรรมการ ๕.๓ นายพิทักษ์ ลีนาลาด กรรมการ ๕.๔ นายภาสกร ปาละกูล กรรมการ ๕.๕ พ.อ.(พิเศษ)ประชุม ชัยจิตร์สกุล กรรมการ ๕.๖ นางสาวสุนทรีย์ สองเมือง กรรมการและเลขานุการ ๕.๗ นางสาวกุลณัฏดา ธนบุรี กรรมการผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่ ต้อนรับประธาน ดำ�เนินการในพิธีไหว้ครูดนตรีไทย-นาฏศิลป์ไทย ตลอดจนผู้เข้าร่วมพิธีฯ ๖. คณะกรรมการฝ่ายการเงิน ๖.๑ นางสาวนัยนา ไพบูลย์ ประธานกรรมการ ๖.๒ นางสาวพัชรินทร์ เที่ยงวิริยะ กรรมการ ๖.๓ นางสาวชุติมณต์ รอดเนียม กรรมการ ๖.๔ นางสาวจินดาพร ปานนก กรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ จ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับผู้ประกอบพิธีฯ และวงปี่พาทย์ ๗. คณะกรรมการฝ่ายต้อนรับจัดอาหารและเครื่องดื่ม ๗.๑ นางสาวสมรศรี คำ�ตรง ประธานกรรมการ ๗.๒ นายพลสิทธิ์ ศรีศิริ กรรมการ ๗.๓ นางสาวกุลธิดา สุขเปรมจิตต์ กรรมการ ๗.๔ นางสาวณัฐการต์ สุทธิเชษฐ์ กรรมการ ๗.๕ นางสาวอรอุมา ชัชวาลชาติ กรรมการ ๗.๖ นางสาวกนิษฐา สงฆ์เจริญ กรรมการ ๗.๗ นางสาวมะลิวัลย์ แจ่มใส กรรมการ ๗.๘ นางสาวสุธิดา รวงผึ้ง กรรมการ ๗.๙ นายประกาศิต โสภณจรัสกุล กรรมการ ๗.๑๐ นางสาววันทิกา หิรัญเทศ กรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ ต้อนรับจัดเตรียมและบริการ จัดเลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มรับรองแขกผู้มาร่วมงานในพิธีฯ ๘. คณะกรรมการฝ่ายอาคารสถานที่ โสตทัศนูปกรณ์และยานพาหนะ ๘.๑ นายสมนึก สมรรถกิจขจร ประธานกรรมการ ๘.๒ นายประสิทธิ์ แช่มเชื้อ กรรมการ ๘.๓ นายพงษ์เทพ พงษ์ทอง กรรมการ ๘.๔ เจ้าหน้าที่-แม่บ้านของวิทยาลัย กรรมการ ๘.๕ นายอมรศักดิ์ แช่มเชื้อ กรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ จัดห้องประชุม ติดตัวอักษร บันทึกภาพและจัดอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ จิตสัมผัส 153


๙. คณะกรรมการรักษาความปลอดภัย ๙.๑ นายประสิทธิ์ แช่มเชื้อ ประธานกรรมการ ๙.๒ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของบริษัทฯ กรรมการ มีหน้าที่ รักษาความปลอดภัยและควบคุมการจราจร ๑๐. คณะกรรมการฝ่ายประเมินผล ๑๐.๑ รศ.พิศเพลิน เขียวหวาน ประธานกรรมการ ๑๐.๒ นางสมศรี อ้นประดิษฐ์ กรรมการ ๑๐.๓ นางสาวรัตนาภรณ์ ประกอบทรัพย์ กรรมการ ๑๐.๔ นางสาวสุปรียา มหาสมบัติกุล กรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ จัดทำ�เครือ่ มือ เก็บรวบรวมข้อมูล ดำ�เนินการประเมินผล วิเคราะห์ปญ ั หาอุปสรรคข้อเสนอ แนะ และสรุปผลรายงานการจัดกิจกรรมเสนอต่ออธิการบดี ๑๑. คณะจัดเตรียมเครื่องขันกำ�นลครู ๑๑.๑ นายพิทักษ์ ลีนาลาด ที่ปรึกษา ๑๑.๒ นางสาวอังคณา สังข์ทอง ประธานชมรมดนตรีนาฏศิลป์ไทย ๑๑.๓ นางสาวสมฤทัย เกื้อกูล รองประธานชมรม ๑๑.๔ นางสาววรรณธารา วงศ์สีหนาถ เลขานุการ ๑๑.๕ นางสาวณัชพิมพัช ตั้งกุลพาณิชย์ ประชาสัมพันธ์ ๑๑.๖ นางสาวสุปราณี แซ่ลิ่ม นายทะเบียน มีหน้าที่ บริหารจัดการและอำ�นวยความสะดวกให้กับผู้เข้าร่วมพิธีเกี่ยวกับเครื่องขันกำ�นลครู ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

(ดร.อณาวุฒิ ชูทรัพย์) อธิการบดี

154 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม


อาคารเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี

อาคาร ดร.กมล ชูทรัพย์ จิตสัมผัส 155


คณะผู้จัดทำ� ดร.วิภาพรรณ

ชูทรัพย์

ผู้รับใบอนุญาต

ประธานที่ปรึกษา

ดร.อณาวุฒิ

ชูทรัพย์

อธิการบดี

ที่ปรึกษา

รศ.ดร.วิรัช

วรรณรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

ที่ปรึกษา

อาจารย์สันธยา

ดารารัตน์

รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร

ที่ปรึกษา

อาจารย์นันทพร

ชูทรัพย์

รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ที่ปรึกษา

อาจารย์เกียรติพงษ์ พันชนะ

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ที่ปรึกษา

อาจารย์สำ�ราญ

หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์

จูช่วย

ประสานการจัดพิมพ์

กองบรรณาธิการ อาจารย์สุจริต บัวพิมพ์ บรรณาธิการ ผู้อำ�นวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม พ.อ.(พิเศษ) ประชุม ชัยจิตร์สกุล ผู้ช่วยบรรณาธิการ พิสูจน์อักษร และถ่ายภาพ หัวหน้างานดนตรีไทย อาจารย์กุลณัฏดา ธนบุรี หัวหน้างานนาฏศิลป์ไทย

156 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม

ผู้ช่วยบรรณาธิการอำ�นวยการ พิสูจน์อักษร และจัดต้นฉบับ



หนังสือเรื่อง จิตสัมผัส การไหวคร�แบบโบราณประเพณี ประกอบพิธีไหวคร�ดนตรี-นาฏศิลปไทย เลมนี้ ศูนยศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยราชพฤกษ จัดพิมพเพื่อเปนเอกสารทางวิชาการ แจกไปตามสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยพิจารณาเห็นวา ประเพณีการไหวคร�ดนตรี-นาฏศิลปไทย เปนประเพณีที่บรรดานักเรียน นักศึกษา และผูที่ประกอบอาชีพดานศิลปะการแสดงในสาขาตางๆ ยึดถือเปนสิ่งสำคัญตอวิชาชีพของตน บรรณาธิการ

วิทยาลัยราชพฤกษ เลขที่ ๙ หมู ๑ ถนนนครอินทร ตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๓๐ โทร. ๐-๒๔๓๒-๒๖๐๐-๕


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.