วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1

Page 1


ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม - ธันวาคม 2554 Vol. 3 No. 1 July - December 2011 ISSN 1906-7658

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแหล่งน�ำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ศิลปศาสตร์ นิเทศศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

ที่ปรึกษา

รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี อาจารย์พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร รองศาสตราจารย์ ดร.สมโรตม์ โกมลวนิช ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร.เรืองศักดิ์ แก้วธรรมชัย คณบดีคณะบริหารธุรกิจ รองศาสตราจารย์ ดร.พิสิษฐ์ ชาญเกียรติก้อง คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ยุวดี ไวทยะโชติ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล คณบดีคณะนิเทศศาสตร์

บรรณาธิการผู้ทรงคุณวุฒิ

ศาสตราจารย์ ดร.วรเดช ศาสตราจารย์ ดร.กมลชนก ศาสตราจารย์ ดร.พรชัย ศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธาชัย

จันทรศร สุทธิวาทนฤพุฒิ ชุนหจินดา อดุลพันธุ์ ยิ้มประเสริฐ


วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจ�ำเดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2554

บรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประยูร โตสงวน

กองบรรณาธิการ

Prof.Dr.Tang ผศ.ดร.ไพฑูรย์ ดร.ดัชกรณ์ ดร.ธัญญา ดร.สาธิมา อาจารย์จินตนา อาจารย์ธงชัย อาจารย์วิเชศ นายประพล นางสาวรุจิราภา

ZhiMin ศิริโอฬาร ตันเจริญ สุพรประดิษฐ์ชัย ปฐมวิริยะวงศ์ สีหาพงษ์ สัญญาอริยาภรณ์ ค�ำบุญรัตน์ สันติลินนท์ บุญเจือ

ผศ.ดร.จิรวรรณ ผศ.ดร.สุภาวดี ดร.โดม ดร.วสุธาน อาจารย์กิจปฏิภาณ อาจารย์คทาเทพ อาจารย์นิธิภัทร อาจารย์สุพิชญา นางสาวสาทิพย์

ดีประเสริฐ อร่ามวิทย์ ไกรปกรณ์ ตันบุญเฮง วัฒนประจักษ์ พงศ์ทอง กมลสุข ชัยโชติรานันท์ ธรรมชีวีวงศ์

ก�ำหนดพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 กรกฎาคม - ธันวาคม และ ฉบับที่ 2 มกราคม - มิถุนายน

ติดต่อกองบรรณาธิการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ต�ำบลบางตลาด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์: 0 2832 0225 โทรสาร: 0 2832 0392 เว็บไซต์: http://journal.pim.ac.th อีเมล์: research@pim.ac.th

ออกแบบและจัดพิมพ์

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ข้อความที่ปรากฏในบทความซึ่งตีพิมพ์ในวารสารนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์แต่อย่างใด


รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ประเมินบทความ (Peer review) ประจ�ำฉบับ รศ.ดร.พงศา รศ.ดร.อัมพร รศ.ดร.เฉลิมพงศ์ รศ.ดร.อรุณี รศ.พงศ์สัณห์ รศ.อรรฆย์คณา รศ.ฉัตรชัย รศ.ยุทธนา รศ.ประภาศรี ผศ.ดร.ชลวิท ผศ.ดร.เขมมารี ผศ.ดร.กนกพร ผศ.ดร.นวลฉวี ผศ.ดร.ชาญณรงค์ ผศ.ดร.ฉัฐวีณ์ ผศ.วรพิมพ์ ดร.วรากร ดร.สมบูรณ์ ดร.สุรสิทธิ์ ดร.เอมม่า ดร.สาธิมา ดร.ธัญญา

พรชัยวิเศษกุล ธ�ำรงลักษณ์ มีสมนัย อินทรไพโรจน์ ศรีสมทรัพย์ แย้มนวล ลอยฤทธิวุฒิไกร ธรรมเจริญ พงศ์ธนาพาณิช นัทธี รักษ์ชูชีพ พุ่มทอง ประเสริฐสุข บุญหนุน สิทธิ์ศิรอรรถ ถิระวัฒน์ ศรีเชวงทรัพย์ วัฒนะ อมรวณิชศักดิ์ อาสนจินดา ปฐมวิริยะวงศ์ สุพรประดิษฐ์ชัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา นักวิจัยอิสระ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์


บทบรรณาธิการ

จากวิกฤติการณ์แฮมเบอร์เกอร์ มาถึงวิกฤติหนี้สาธารณะโซนเงินยูโร ในฐานะบรรณาธิการใหม่ จึงอยากจะมีส่วนในการ แบ่งปันข้อคิดทีส่ ะท้อนเหตุการณ์ดา้ นเศรษฐกิจระดับโลก ทีส่ ำ� คัญซึง่ ประเทศทัว่ โลกรวมทัง้ ประเทศไทยก�ำลังเผชิญ กับปัญหาและผลกระทบที่ก�ำลังคืบคลานมารอบด้าน แน่นอนก�ำลังมุง่ ความสนใจไปทีป่ ญ ั หาทางด้านเศรษฐกิจ ของหลายประเทศในยุโรปทีใ่ ช้เงินสกุล Euro โดยจะเริม่ จากประเทศกรีซที่ใช้จ่ายเกินตัวจนหนี้สินสาธารณะ มีจ�ำนวนถึง Euro 340 พันล้าน หรือประมาณ 150% ของ GDP และต้องพึง่ เงินกูฉ้ กุ เฉินจาก IMF และประเทศ ที่ร�่ำรวยในยุโรปเป็นจ�ำนวน Euro 110 พันล้านหรือ ประมาณครึ่งหนึ่งของ GDP ในเดือนพฤษภาคม 2010 และต้องพึง่ เงินกูฉ้ กุ เฉินครัง้ ที่ 2 อีก Euro 109 พันล้าน ในเดือนกรกฎาคม 2011 โดยบังคับให้ธนาคารพาณิชย์ ที่ถือพันธบัตรของกรีซตัดหนี้สูญ 50% ของมูลค่าหนี้ ซึ่งสามารถลดหนี้สินของกรีซเหลือเพียง 120% ของ GDP เท่านั้น แต่ยังไม่มีทางออกในการลดการใช้จ่าย ภายในประเทศทีช่ ดั เจนจนต้องเปลีย่ นรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ในการนี้เยอรมันซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด ในยุโรปและมีเศรษฐกิจที่เจริญเติบโตดีตรงกันข้ามกับ เศรษฐกิจของประเทศอื่นในยุโรป อาจจะไม่มีทางเลือก ต้องสนับสนุนกรีซและเงินสกุล Euro เต็มความสามารถ เพือ่ ไม่ให้เกิดผลร้ายท�ำให้เงินสกุล Euro ขาดเสถียรภาพ ในสายตาของประชาคมตลาดโลก และล่าสุดเยอรมัน ต้องการให้มีการรวมอ�ำนาจการบริหารนโยบายการเงิน และการคลังของทุกประเทศใน Euro เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เงิน Euro อยู่รอดได้โดยจะมีการประชุมกันใน วันที่ 9 ธันวาคม 2011 นี้ นอกจากนั้นประเทศอิตาลีที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็น อันดับ 3 ของยุโรปแต่ไม่สามารถแข่งขันกับคู่ต่อสู้จาก เอเซียได้จงึ สะสมหนีส้ นิ สาธารณะทีถ่ อื ครองโดยต่างชาติ มากขึ้นจนถึงจ�ำนวน Euro 800 พันล้าน ซึ่งมากกว่า หนี้สาธารณะของ Greece, Ireland และ Portugal

รวมกัน และอิตาลีมีหนี้สินสาธารณะรวมถึงประมาณ Euro 1.7 ล้านล้าน หรือ 120% ของ GDP ก็กำ� ลังเผชิญ กับปัญหาทางด้านการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและ อั ต ราดอกเบี้ ย หนี้ ส าธารณะเพิ่ ม สู ง ขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว โดยในปัจจุบันดอกเบี้ยพันธบัตรของอิตาลีอยู่ในระดับ 6-7% สูงกว่าพันธบัตรของเยอรมันกว่า 5% จนอิตาลี ต้องใช้มาตรการรัดเข็มขัดการใช้จา่ ยของรัฐบาล จนเป็น เหตุให้นายกรัฐมนตรีที่มีชื่อเสียงด้านความสัมพันธ์กับ หญิงสาววัยรุ่น ต้องลาออกและมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เป็นนักวิชาการ เช่นเดียวกับกรีซ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่โลกก�ำลังเผชิญอยู่ใน ปัจจุบนั ส่วนหนึง่ เป็นผลมาจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ อันเกิดจาก Sub-prime Crisis ทีเ่ กิดขึน้ ในสหรัฐอเมริกา และมีผลกระทบมาถึงประเทศในยุโรป ยังรวมถึงประเทศ Ireland ซึง่ เป็นเด็กดีของยุโรปและเคยใช้นโยบายรัฐบาล ที่ลดภาษีเงินได้ของธุรกิจ ลดภาษีน�ำเข้า และส่งเสริม การลงทุนจากต่างประเทศจนเป็นเศรษฐกิจที่เปิดและ เติบโตมาก แต่เมื่อฟองสบู่ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ แตกสลายและอั ต ราดอกเบี้ ย ขยั บ ตั ว สู ง ขึ้ น ตลอด ธนาคารซึ่งเสี่ยงปล่อยสินเชื่อให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ กว่า 60% ของสินเชื่อทั้งหมดจึงมีปัญหาหนี้เสียทันที เศรษฐกิจของ Ireland จึงถึงจุดล่มสลายและต้องรับ ความช่วยเหลือเป็นเงินกู้ฉุกเฉินเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2010 จ�ำนวน Euro 85 พันล้านจาก IMF และประเทศ ร�ำ่ รวยในยุโรปโดยมีเงินของรัฐบาล Ireland เองจ�ำนวน Euro 17.5 พันล้านรวมอยู่ด้วย ล่าสุด Ireland เริ่ม ฟื้นตัวเล็กน้อยแต่อาจได้รับผลกระทบจากคลื่นลูกที่ 2 จาก Recession ในยุโรปทีเ่ กิดจากปัญหาหนีส้ าธารณะ ประเทศ Portugal ซึ่งเป็นประเทศที่ยากจนที่สุด ในยุโรปตะวันตก มีปัญหาเรื่องหนี้สาธารณะที่เริ่มต้น มาจากประเทศกรีซ จนต้องน�ำมาตรการลดการใช้จ่าย ของรัฐบาลมาใช้หลายครั้งเพื่อลดการใช้จ่ายขาดดุล แต่


กระนัน้ อัตราดอกเบีย้ หนีส้ าธารณะยังคงอยูใ่ นอัตราสูง1 จนในที่สุดต้องใช้เงินกู้ฉุกเฉินจาก EU จ�ำนวน Euro 78 พันล้านในเดือนพฤษภาคม 2011 เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบนั Portugal มีอตั ราดอกเบีย้ สูงถึง 7% อัตราการ ว่างงานถึง 12% และ GDP จะติดลบ 2% ในปี 2011 และปี 2012 ในขณะที่ตั้งแต่ปี 2010 ประเทศ Spain มีปัญหา เรื่ อ งงบประมาณขาดดุ ล และมี บั ญ ชี เ ดิ น สะพั ด หรื อ กระแสเงินเข้าออกขาดดุลอีกด้วย ซึ่งรวมกันแล้วเป็น การขาดดุ ล สู ง ที่ สุ ด ในโลกยกเว้ น ประเทศ Iceland เท่ากับว่าต้องพึง่ พาเงินลงทุนจากต่างประเทศเป็นอันมาก ประเทศ Spain เติบโตจากอัตราดอกเบี้ยต�่ำหลังจาก เข้าร่วมเป็น EU จนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็น อันดับที่ 5 ของยุโรป แต่ในปี 2010 Spain มีหนีส้ าธารณะ สูงถึง Euro 225 พันล้านซึ่งเท่ากับขนาดเศรษฐกิจของ กรีซ Spain จึงต้องมีมาตรการลดการขาดดุลให้เหลือ 6% ของ GDP ในปี 2011 และในปีนี้ Spain มีอัตรา การว่างงานถึง 21% ซึ่งสูงเป็นสองเท่าของอัตราเฉลี่ย ในยุโรปแต่ Spain ยังได้รบั การสนับสนุนจาก European Central Bank หรือ ECB ซึง่ ประกาศในเดือน สิงหาคม 2011 ว่ า เข้ า ซื้ อ พั น ธบั ต รหนี้ ส าธารณะของ Spain เพื่อป้องกันไม่ให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของ Spain มีอตั ราสูงขึน้ มากเกินไป อย่างไรก็ตาม การเลือกตัง้ ของ Spain เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2011 นี้ท�ำให้พรรค Center-right Popular Party ชนะการเลือกตั้งอย่าง ยิ่งใหญ่จากพรรค Socialists หรือพรรครัฐบาลปัจจุบัน แต่พันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาล Spain ที่ออกขาย ล่าสุดปลายเดือนพฤศจิกายนทีผ่ า่ นมาก็ยงั มีอตั ราดอกเบีย้ อยู่ที่เกือบ 7% ซึ่งเป็นสถิติใหม่ จนท�ำให้ ECB ต้อง เข้าซื้อพันธบัตรนี้ในตลาดรองเพราะ ECB ซื้อพันธบัตร ตรงจากรัฐบาลไม่ได้และท�ำให้อัตราดอกเบี้ยลดต�่ำลง ในระดับ 6.3% ณ วันที่ 22 พ.ย. 2011 นักลงทุนทั่วโลกจากญี่ปุ่น จากอเมริกา และในยุโรปเอง เทขายพันธบัตรหนีส้ าธารณะ และพันธบัตรธนาคารของประเทศใน EU อย่างหนัก

แม้แต่พันธบัตรของธนาคารที่มี AAA credit rating ในเนเทอร์แลนด์ก็ไม่สามารถต่ออายุได้ จึงอาจจะท�ำให้ เกิดการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงใน EU ได้ จะเห็นว่า มีแรงกดดันต่อ ECB ที่จะต้องด�ำเนินการใช้เงินกองทุน เพื่อกู้สถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อแก้ปัญหา โดยทาง ECB ยังไม่ยอมเข้าไปอุ้มรับหนี้ทั้งหมดใน EU แต่ Professor Paul Krugman จากมหาวิทยาลัย Princeton เถียงว่า การใช้มาตรการรัดเข็มขัดเพื่อลดงบประมาณขาดดุล ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องเพราะจะท�ำให้เศรษฐกิจ ไม่เติบโตและมีปญ ั หาอัตราการว่างงานทีส่ งู อยูแ่ ล้วจะยิง่ สูงขึ้นไปอีก ทางที่จะหยุดปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะใน ยุโรปได้กค็ อื ECB ต้องเข้าไปรับซือ้ หนีส้ าธารณะทัง้ หมด Professor Krugman เห็นว่าประเทศในยุโรปที่มีหนี้ สาธารณะสูงและด�ำเนินมาตรการลดงบประมาณขาดดุล จะเป็นการสร้างปัญหาให้ตนเอง และก็เป็นเหตุผลที่ ก่อให้เกิดการเรียกร้องจากประเทศต่างๆใน EU รวมถึง รัฐมนตรีคลังของฝรั่งเศส ที่เรียกร้องให้ ECB เข้ามา สนับสนุนปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะซึ่งแสดงให้เห็นว่ามี ความแตกต่ า งด้ า นการยอมรั บ นโยบายการด� ำ เนิ น มาตรการลดงบประมาณขาดดุลทีเ่ ยอรมันเป็นผูเ้ รียกร้อง ให้ทุกประเทศต้องด�ำเนินเพราะเยอรมันมีฐานะทาง เศรษฐกิจทีด่ ที สี่ ดุ ใน EU การสนับสนุนนโยบายมาตรการ ลดงบประมาณขาดดุลซึง่ เรียกร้องโดยเยอรมันนีจ้ ะได้รบั การพิสูจน์ในวันที่ 9 ธันวาคม 2011 เมื่อเยอรมันจะ เสนอให้ EU รวมอ�ำนาจการตัดสินใจด้านนโยบายการเงิน และการคลังไว้ที่ส่วนกลางโดยการแก้ไขสนธิสัญญา EU ในขณะที่ทาง European Commission ซึ่งเป็น EU’s executive arm ได้เสนอใช้มาตรการเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2011นีเ้ พือ่ ให้มอี ำ� นาจบังคับให้ประเทศใน EU ต้องส่งและแก้ไขงบประมาณรายได้และการใช้จ่าย ให้ EU ก่อนทีจ่ ะขออนุมตั ผิ า่ นสภาผูแ้ ทนแห่งชาติ โดยจะ ให้แต่ละประเทศใน EU ตัดสินใจเรื่องงบประมาณเอง แต่อาจมีความจ�ำเป็นต้องบังคับให้ประเทศใน EU ท�ำตาม กฎระเบียบและข้อตกลงทีใ่ ห้ไว้กบั EU ในขณะทีฝ่ รัง่ เศส ต้องการสร้างกฎระเบียบเรือ่ งงบประมาณขึน้ ใหม่เพราะ


การแก้สนธิสญ ั ญา EU ต้องใช้เวลาและขัน้ ตอนทีย่ าวนาน แต่ก็อาจเป็นข่าวดีว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยให้ EU สามารถออก Eurozone Bonds เพือ่ แก้ไขปัญหาวิกฤติ หนี้สาธารณะในยุโรปได้ ล่าสุดในการประชุมของ EU เมื่อวันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2554 ปรากฎว่าประเทศใน EU บางประเทศโดยเฉพาะอังกฤษไม่เห็นด้วยทีจ่ ะแก้ไข EU Treaty และมีประเทศส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการท�ำ Fiscal Treaty เพื่อเป็นการบังคับด้านวินัยการใช้จ่าย ขาดดุลและรักษาอัตราการขาดดุลงบประมาณต่อ GDP ให้อยู่ในเกณฑ์ ในขณะเดียวกันเอเซียผ่านพ้นวิกฤติตม้ ย�ำกุง้ มาแล้ว และได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์แฮมเบอร์เกอร์ น้อยมาก เอเซียจึงมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจมากขึ้น อย่างเด่นชัดโดยมีจนี และญีป่ นุ่ เป็นประเทศทีม่ เี ศรษฐกิจ ใหญ่เป็นอันดับสองและอันดับสามของโลกตามหลัง สหรัฐอเมริกา ประเทศในกลุ่ม ASEAN ก็จะมีอ�ำนาจ ทางเศรษฐกิจมากขึ้น และก�ำลังรวมตัวเปิดเสรีการค้า อาเซียนตลาดเดี่ยวท�ำให้เป็นเขตเศรษฐกิจเดี่ยวและมี ฐานการผลิตเดี่ยวหรือมีชื่อเรียกว่า AEC หรือ Asian Economic Community ในปี 2015 แม้ว่าการเตรียม ความพร้อมของประเทศใน ASEAN เพื่อเผชิญกับผล กระทบจากมาตรการต่างๆและการแข่งขันทีจ่ ะเพิม่ สูงขึน้ อาจจะท�ำให้การรวมตัวเป็น AEC ต้องชะลอออกไป หลังปี 2015 ในวารสารปั ญ ญาภิ วั ฒ น์ ฉ บั บ ต่ อ ไปจะขอน� ำ เหตุการณ์ส�ำคัญของโลกมาน�ำเสนอเป็นประจ�ำ และ ในขณะเดียวกันขอให้ความมั่นใจในฐานะบรรณาธิการ ว่านโยบายของวารสารปัญญาภิวัฒน์มีเป้าหมายชัดเจน ที่จะสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการและมีความทันสมัย ทางด้านเศรษฐกิจและธุรกิจอุตสาหกรรมโดยเฉพาะด้าน ธุรกิจค้าปลีก วารสารปัญญาภิวัฒน์มีกองบรรณาธิการ บริหารประกอบด้วย ดร. ดัชกรณ์ ตันเจริญ รองคณบดี ฝ่ายบริหารและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และ เทคโนโลยี Professor Dr. Tang ZhiMin รองคณบดี ฝ่ า ยกิ จ การต่ า งประเทศและผู ้ อ� ำ นวยการหลั ก สู ต ร

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตภาษาจีน คณะบริหารธุรกิจ ข้าพเจ้าเองในฐานะบรรณาธิการวารสารฯ มีเป้าหมาย การรับบทความทีม่ คี ณ ุ ภาพสูงเพือ่ ลงตีพมิ พ์และเผยแพร่ บทความทางวิชาการ บทความวิจยั และบทความทีเ่ ป็น สมัยนิยมและทันต่อเหตุการณ์ทงั้ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจี น นอกจากนั้ น คุ ณ ประพล สั น ติ ลิ น นท์ ผู้อ�ำนวยการศูนย์ศึกษาตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งเป็นท่านหนึ่งในกองบรรณาธิการวิชาการ มีบทบาท เริม่ กระบวนการพัฒนาให้วารสารปัญญาภิวฒ ั น์มเี นือ้ หา ครอบคลุมด้านการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค และมี รูปลักษณ์ที่มีมาตรฐานสมัยใหม่ระดับสูงและน่าสนใจ ในฉบับที่จะตามมา วารสารปัญญาภิวฒ ั น์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 นี้ มีบทความ ทางวิชาการทีน่ า่ สนใจและมีเนือ้ หาทีท่ นั สมัยประกอบด้วย เรื่อง ความรู้เรื่องตลาดการค้าคาร์บอนเครดิต เรื่อง เทคโนโลยีการตรวจจับการเคลือ่ นไหวและการประยุกต์ ใช้งาน เรื่อง Entrepreneurial Management in Government and Business as a Path toward Innovation and Democracy และ เรื่องแนวคิดเรื่อง สิทธิ์ในพระพุทธศาสนา ในด้านบทความทางวิจัย มีบทความที่มีเอกลักษณ์ ของตั ว เอง ประกอบด้ ว ยเรื่ อ ง ห่ ว งโซ่ อุ ป ทานของ อุตสาหกรรมยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางในภาคเหนือ ของไทย เรื่ อ งการพั ฒ นารู ป แบบจิ ต ส� ำ นึ ก ทางด้ า น การรักษาความปลอดภัยส�ำหรับองค์การรักษาความ ปลอดภัย: กรณีศึกษาส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ เรื่อง พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต ชั้นปีที่ 1 เรื่องลักษณะเว็บไซต์ และ แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com เรือ่ งปัจจัยทีม่ ผี ลต่อการตัดสินใจ เลือกท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ – ปุย จังหวัดเชียงใหม่ และมีบทความภาษาจีน เป็นครั้งแรกในวารสารปัญญาภิวัฒน์เรื่อง การศึกษา เปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่อง “บ้าน” “ฤดูใบไม้ร่วง” ของปาจิน และ “ผจญบาป” ของศรีบูรพา


ในโอกาสที่เข้ามารับงานสืบทอดจาก ดร. โดม ไกรปกรณ์ ขอแสดงความขอบพระคุณผู้เขียนบทความ ทุ ก ท่ า นที่ ไ ด้ ใ ห้ ค วามไว้ ว างใจวารสารปั ญ ญาภิ วั ฒ น์ ได้ถ่ายทอดความรู้สู่ผู้อ่านทั้งในวารสารเล่มนี้ และเล่ม ก่อนหน้านี้ และขอขอบพระคุณ Peer Reviewers ทุ ก ท่ า นที่ ใ ห้ เ กี ย รติ ส นั บ สนุ น และให้ ค วามเชื่ อ มั่ น ใน วารสารปัญญาภิวฒ ั น์ดว้ ยดีตลอดมา ทางกองบรรณาธิการ มีความมั่นใจว่ามีแผนงานและเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้ วารสารปัญญาภิวัฒน์มีคุณภาพและได้รับการยอมรับ จากวงการวิชาการและสังคมส่วนรวมยิง่ ๆขึน้ ไป สุดท้ายนี้ ทางกองบรรณาธิการบริหารได้จดั ท�ำ Website ส�ำหรับ วารสารปัญญาภิวฒ ั น์ โดยท่านสามารถเข้าเยีย่ มชมได้ที่ Website: http://journal.pim.ac.th/ บรรณาธิการ ผศ.ดร. ประยูร โตสงวน prayoontos@pim.ac.th prayoont@hotmail.com


สารบัญ บทความวิจัย

วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในภาคเหนือของไทย • ห่ประยู ร โตสงวน ฒนารูปแบบจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยส�ำหรับองค์การรักษาความปลอดภัย: • การพั กรณีศึกษาส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี พฤติกรรมการเล่มเกมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ชั้นปีที่ 1 สายสุดา ปั้นตระกูล ลักษณะเว็บไซต์ และแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com นรวรรณ บริสุทธิ์ และ พนิต กุลศิริ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ นิภาพร นิลรัตน์ ศึกษาเปรียบเทียบภาพลักษณ์สตรีในวรรณกรรมเรื่อง “บ้าน” “ฤดูใบไม้ผลิ” “ฤดูใบไม้ร่วง” (ภาษาจีน) ของปาจิน และ “ผจญบาป” ของศรีบูรพา ภัทรวดี ตรัยที่พึ่ง

• •

1 26 47 60

72

81

บทความวิชาการ

Management in Government and Business as a Path • Entrepreneurial toward Innovation and Democracy Winaicharn Sapparojpattana เทคโนโลยีการตรวจจับการเคลื่อนไหวและการประยุกต์ใช้งาน ดัชกรณ์ ตันเจริญ ความรู้เรื่องตลาดการค้าคาร์บอนเครดิต กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ พระพุทธศาสนากับแนวคิดเรื่องสิทธิ ณัชปภา วาสิงหน

• • •

90 113 123 134


ห่

วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในภาคเหนือของไทย Supply Chain of Rubber Industry and Rubber Products in Northern Thailand ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประยูร โตสงวน อาจารย์ประจ�ำคณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ E-mail: prayoont@hotmail.com

บทคัดย่อ

ยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมที่มีความส�ำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เพราะเป็นแหล่งผลิตหลักและมีการเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างต่อเนือ่ ง ในขณะเดียวกันความต้องการยางพาราของตลาดโลกเพิ่มขึ้นในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะประเทศจีนมีความต้องการยางพาราสูงขึ้นเกือบเท่าตัวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การศึกษา วิจยั เชิงคุณภาพนีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ พัฒนารูปแบบการพัฒนา Supply Chain และ Value Chain ของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในภาคเหนือของประเทศไทยและเพื่อให้ผู้ประกอบการ สามารถน�ำไปใช้วดั ประสิทธิภาพและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนือ่ ง เพราะภาคเหนือเป็นพืน้ ทีป่ ลูกยางใหม่ และอยูใ่ นช่วงเริม่ ต้นของอุตสาหกรรมต้นน�ำ้ และกลางน�ำ้ ในห่วงโซ่อปุ ทาน อีกทัง้ สนับสนุนยุทธศาสตร์ การพัฒนาอุตสาหกรรมยางและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางทีไ่ ด้มาตรฐานสากล การศึกษาวิจยั เริม่ จาก การส�ำรวจการปลูกยางพารา พืน้ ทีป่ ลูกยางพารา และผลพลอยได้ของเกษตรกรในอุตสาหกรรมต้นน�ำ้ ในอุตสาหกรรมกลางน�ำ้ ศึกษาส�ำรวจการแปรรูปยางเบือ้ งต้น อุตสาหกรรมน�ำ้ ยางข้นและผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมไม้ยางพารา ระบบโลจิสติกส์ยางพารา นวัตกรรมการเพิม่ มูลค่ายางพารา การสัมมนา เผยแพร่ความรู้และรับฟังข้อเสนอแนะปัญหาอุปสรรคการพัฒนาระบบ Supply chain ของ อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง และการน�ำเสนอรูปแบบการพัฒนา Supply chain และ Value chain ของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในภาคเหนือของไทย โดยมุ่งการพัฒนา สหกรณ์เกษตรกรสวนยางพารา ตลาดกลางยางพาราในภาคเหนือ ผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์จากน�ำ้ ยางข้น และผลิตภัณฑ์ไม้ยางพารา ในภาพรวม ในปี 2550 ปริมาณการผลิตยางพาราทั่วโลกสูงถึง 9.801 ล้านตัน โดยมีประเทศไทยเป็นผู้ผลิต รายใหญ่ที่สุด 3.056 ล้านตัน ส่งออกยางพาราสูงสุดของโลกจ�ำนวน 2.704 ล้านตัน โดยส่งออก

1


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ให้ประเทศจีนมากที่สุดจ�ำนวน 0.827 ล้านตัน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางพารา 15.362 ล้านไร่ ข้อมูลในปี 2551 ระบุว่า ไทยยังเป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่งที่ 3.090 ล้านตันจากยอดการผลิตของโลก ทีเ่ พิม่ ขึน้ ถึง 10.031 ล้านตัน ส่งออกรายใหญ่ทสี่ ดุ ที่ 2.675 ล้านตันและส่งออกให้จนี สูงสุดที่ 0.825 ล้านตัน พืน้ ทีป่ ลูกยางพาราเพิม่ เป็น 16.890 ล้านไร่ พืน้ ทีป่ ลูกเพิม่ ขึน้ เป็นผลจากนโยบายรัฐบาลไทย ส่งเสริมการปลูกยางพาราในช่วงปี 2547-2549 จ�ำนวน 1,000,000 ไร่ โดยปลูกในภาคเหนือ ร้อยละ 30 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 70 พันธุย์ าง RRIM 600 เป็นทีน่ ยิ มในภาคเหนือ เพราะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณน�้ำยางสูงถึง 250-280 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี โดยเกษตรกร ใช้ระบบกรีดครึ่งต้น 2 วันเว้น 1 วัน ผลจากการสัมมนาส่วนใหญ่เกษตรกรชาวสวนยางต้องการให้ ตั้งโรงงานรับซื้อน�้ำยางในจังหวัดเชียงราย การอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ด้านสวนยางและการกรีดยาง ทีเ่ พียงพอ การจัดหาพันธุย์ างทีด่ มี คี ณ ุ ภาพจากรัฐและแผนการพัฒนาการแปรรูปยางพาราตามความ ต้องการของตลาด ค�ำส�ำคัญ: ห่วงโซ่อุปทาน อุตสาหกรรมยาง ผลิตภัณฑ์ยาง ภาคเหนือของไทย

Abstract

2

Natural rubber is a highly important product in the agricultural and industrial sectors of the ASEAN countries’ economy as ASEAN is the major sources, with continuing strong growth rate, of world production of natural rubber. The world demand of natural rubber continues at the consistently high pace, especially China’s demand of natural rubber grew almost double in the past 10 years. This descriptive research is aimed at the development of supply chain and value chain of rubber industry and rubber products in Northern Thailand and the Northern rubber farmers and manufacturers throughout the whole supply chain on the sustainable manner, as Northern Thailand is the new rubber planting areas and in the early stage of upstream and mid-stream supply chain developments, in addition to promoting the strategies of raising the rubber industry and rubber products standards, to the international level. This research study focuses on the survey of rubber cultivation, rubber planting area, and the extra income to the rubber farmers in the upstream rubber supply chain. In the mid-stream supply chain, the study discusses the basic rubber sheets and STR rubber production, concentrated latex and rubber products industry, rubber-wood industry, rubber industry logistics system, innovations and value chain in rubber industry and rubber products, seminar on knowledge management and related problems of supply chain system developments in rubber industry and rubber products, and proposal on key development programs of supply chain and value chain systems for rubber industry and rubber products


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

in Northern Thailand, with the suggestions to create rubber farmers co-operatives, Northern rubber products trading markets, rubber products for automobile industry, rubber products for construction industry, rubber products from concentrated latex, and rubber-wood products. In total, in 2550, the world production of natural rubber was at 9.801 million tons, with Thailand as the largest producer at 3.056 million tons, the biggest rubber exporter at 2.704 million tons, and the highestranked exporter to China at 0.827 million tons. Thailand’s rubber planting area was at 15.362 million rais. Thailand registered continued satisfactory growth in 2551, with Thailand as the largest producer at 3.090 million tons of the increased total world production of 10.031 million tons, as the top-ranked exporter at 2.675 million tons, and as the biggest exporter to China at 0.825 million tons. Thailand’s rubber planting area was up at 16.890 million rais. Strong growth in the planting area was due to Thai government policy on new planting area of 1,000,000 rais (160,000 ha.) during 2547-2549, with 30 percent of new planting area in the Northern provinces and 70 percent in the North-Eastern provinces. The most popular rubber seedlings type is RRIM 600 due to its high latex yield of 250-280 kilograms per rai per annum. The rubber trees are mostly tapped on the double cut tapping or the 2 days out of 3 (d1 2d/3) tapping system. The results from the seminar showed that the rubber farmers request the concentrated latex plant to be set up in Chiang Rai, proper trainings on rubber tapping methods and plantations, quality and high-latex-yield rubber clones, and rubber products development plan in response to customers’ needs. Keywords: Supply Chain, Rubber Industry, Rubber Products, Northern Thailand บทน�ำ ยางพาราถูกค้นพบโดยชาวแอซแทคส์ (Aztecs) ชาวอินคาส์ (Incas) และชนเผ่าในเขตลุ่มน�้ำอเมซอน ในทวีปอเมริกา คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสพบเห็นประโยชน์ ของยางพาราจึงน�ำยางพารากลับไปยุโรป ผลดีที่ส�ำคัญ คือในช่วงปี 1800 ยางพาราถูกน�ำมาใช้ในการผลิตสินค้า อุปโภคบริโภค เช่น ขวดน�ำ้ ชุดด�ำน�ำ้ และความต้องการ ใช้ยางพาราทีส่ งู กว่าปริมาณยางดิบทีผ่ ลิตได้เป็นผลให้มี ความจ�ำเป็นต้องมีการบริหารจัดการและควบคุมปริมาณ ของต้นยางพารา ต่อมาในช่วงปี 1900 เมล็ดยางพารา

จากลุ่มน�้ำอเมซอน ถูกจัดส่งไปประเทศอังกฤษ เพื่อ ท�ำการแตกหน่อ และขยายพันธ์ไปแถบเอเซียใต้และ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มตั้งแต่ประเทศศรีลังกา ในปัจจุบันและคาบแหลมสมุทรมลายู สวนยางพาราจึง เริม่ ต้นในประเทศมาเลเซียโดยชาวอังกฤษ และประเทศ อินโดนีเซียโดยชาวฮอลแลนต์ ความเจริญรุ่งเรืองของ ยางพาราเพิม่ ขึน้ รวดเร็วมากเมือ่ มีการคิดค้นยางรถยนต์ และการใช้รถยนต์ในช่วงปลายปี 1900 การลงทุน ขนาดใหญ่ในสวนยางพาราเริม่ ตอนต้นของศตวรรษที่ 20 โดยบริษัทผลิตยางรถยนต์เช่น Goodyear, Dunlop,

3


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

และ Michelin. ปัจจุบนั ศูนย์การผลิตยางพาราธรรมชาติ ย้ายจากทวีปอเมริกา มาที่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีประเทศไทย อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย เป็นผูผ้ ลิต 3 อันดับแรกของโลกตามล�ำดับ ยางพาราเป็ น พื ช ที่ มี ค วามส� ำ คั ญ ทางเศรษฐกิ จ และสามารถท�ำรายได้เข้าสูป่ ระเทศได้สงู เพราะยางพารา เป็นพืชทีส่ ามารถปลูกได้ในภูมปิ ระเทศทีม่ ลี กั ษณะเฉพาะ เท่านั้น โดยต้องมีปริมาณฝนตกมาก มีอุณหภูมิร้อนชื้น มีความชื้นสูง มีปริมาณแสงแดดมาก และไม่มีลมพายุ รุนแรง การผลิตยางธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ทที่ ำ� จากยาง มีความส�ำคัญทั้งในแง่ของการสร้างมูลค่าเพิ่มและการ จ้างงาน ประเทศไทยเป็นผูผ้ ลิตและส่งออกยางธรรมชาติ อันดับหนึง่ ของโลกโดยมีสดั ส่วนการผลิตเป็นร้อยละ 34 ของปริมาณการผลิตของโลกและส่งออกร้อยละ 47 ของ ปริมาณการส่งออกยางของโลก ร้อยละ 89 ส่งออกในรูป ของวัตถุดบิ อันเป็นผลมาจากความต้องการยางธรรมชาติ เพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ งตามความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ยาง ทัว่ โลก ในปี 2550 ประเทศไทยเป็นผูผ้ ลิตยางธรรมชาติ ใหญ่ที่สุดของโลกที่ 3.056 ล้านตันจากการผลิตรวม ของโลกที่ 9.801 ล้านตัน และส่งออกยางธรรมชาติ สูงสุดของโลกจ�ำนวน 2.704 ล้านตัน โดยส่งออกให้ ประเทศจีน 0.827 ล้านตัน ญี่ปุ่น 0.406 ล้านตัน มาเลเซีย 0.413 ล้านตัน สหรัฐอเมริกา 0.213 ล้านตัน และเกาหลีใต้ 0.152 ล้านตัน ประเทศไทยส่งออก ยางธรรมชาติในรูปยางแผ่นรมควัน 0.861 ล้านตัน ยางแท่ง STR 0.963 ล้านตัน น�ำ้ ยางข้น 0.510 ล้านตัน และส่ ง ออกยางธรรมชาติ ใ นรู ป อื่ น 0.369 ล้ า นตั น ในปี 2551 ไทยยังเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับหนึ่ง ที่ 3.090 ล้านตันจากยอดการผลิตของโลกที่เพิ่มขึ้นถึง 10.031 ล้านตัน และยังส่งออกสูงสุดที่ 2.675 ล้านตัน โดยส่งออกให้จีน 0.825 ล้านตัน ญี่ปุ่น 0.395 ล้านตัน มาเลเซีย 0.398 ล้านตัน สหรัฐอเมริกา 0.220 ล้านตัน และเกาหลีใต้ 0.154 ล้านตัน และส่งออกในรูปยางแผ่น รมควัน 0.797 ล้านตัน ยางแท่ง STR 1.132 ล้านตัน น�้ำยางข้น 0.509 ล้านตัน และรูปอื่น 0.237 ล้านตัน

4

(สถาบันวิจัยยาง, 2553: 9-17) โดยในช่วงที่ผ่านมา ยางแผ่นรมควันมียอดการส่งออกน้อยลงอย่างต่อเนื่อง ยางแท่ง STR มียอดการส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และ น�ำ้ ยางข้นมียอดการส่งออกสูงขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ผลิตภัณฑ์ ยางที่ ส� ำ คั ญ ในการใช้ ย างธรรมชาติ คื อ ยางที่ ใช้ ใ น อุตสาหกรรมรถยนต์ซึ่งมีปริมาณการใช้ยางธรรมชาติ ประมาณ ร้อยละ 60 และอุตสาหกรรมอืน่ เช่น ถุงมือยาง ฟองน�้ำ รองเท้า และสายพาน เป็นต้น ประเทศไทยต้องการรักษาความเป็นผูน้ ำ� ในการผลิต และการส่งออกให้มกี ารเจริญเติบโตสูงขึน้ กว่าในปัจจุบนั และสามารถแข่งขันต่อไปได้ในอนาคต ด้วยการเพิม่ การ ปลูกยางพาราในระหว่างปี 2547-2549 อีกจ�ำนวน 1,000,000 ไร่ โดยเพิม่ การปลูกในภาคเหนือร้อยละ 30 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 70 และก�ำหนด นโยบายเพิม่ พืน้ ทีป่ ลูกยางรอบที่ 3 อีกจ�ำนวน 800,000 ไร่ในช่วงต้นปี 2554 ท�ำให้ในปี 2552 ประเทศไทยมี พืน้ ทีป่ ลูกยางพารารวม 16.890 ล้านไร่เพิม่ จากปี 2550 จ�ำนวน 14.313 ล้านไร่ และเพื่อให้ได้ผลผลิตยางสูง สม�่ำเสมอและน�้ำยางมีคุณภาพดี เกษตรกรผู้ปลูกยาง ควรมี ค วามรู ้ แ ละมี ก ารปฏิ บั ติ ดู แ ลสวนยางให้ ไ ด้ มาตรฐานสู ง นอกจากนั้ น การศึ ก ษาโลจิ ส ติ ก ส์ แ ละ ซัพพลายเชนยางพาราไทย จะช่วยให้สามารถลดต้นทุน ด้านโลจิสติกส์ และสร้างแนวทางการเพิม่ มูลค่าและคุณค่า ในห่วงโซ่อปุ ทานยางพาราไทย โดยเฉพาะอย่างยิง่ การหา รูปแบบการพัฒนาซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมยาง และผลิ ต ภั ณ ฑ์ ย าง ตั้ ง แต่ อุ ต สาหกรรมต้ น น�้ ำ ถึ ง อุตสาหกรรมปลายน�ำ้ ซึง่ จะเป็นประโยชน์ตอ่ การส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ผู ้ ป ระกอบการในห่ ว งโซ่ อุ ป ทานอุ ต สาหกรรม การผลิตยาง ยังพบปัญหาอุปสรรคในหลายรูปแบบ เช่น ปัญหาด้านราคายางซึ่งผันผวนสูงอย่างต่อเนื่อง ปัญหา ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางโดยใช้นวัตกรรมทีท่ นั สมัย ตามความต้องการของการแข่งขันในตลาดโลก ปัญหา ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ได้ตามมาตรฐานในระดับ ที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมต่างๆ และปัจจุบันเป็น


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ประเด็นที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคอย่างมาก และ ยุทธศาสตร์การส่งเสริมประสิทธิภาพของอุตสาหกรรม ยางพาราของประเทศ การศึกษาวิจัยรูปแบบการพัฒนา Supply chain และ Value chain ตลอดห่วงโซ่อปุ ทานของอุตสาหกรรม ยางและผลิตภัณฑ์ยางในภาคเหนือในเชิงคุณภาพ เป็น แนวทางหนึ่ ง ที่ จ ะสนั บ สนุ น ยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นา อุ ต สาหกรรมยางและการพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ย างที่ ไ ด้ มาตรฐานสากล เพราะเป็นพื้นที่ปลูกยางใหม่และอยู่ใน ช่วงเริม่ ต้นของอุตสาหกรรมต้นน�ำ้ และกลางน�ำ้ ในห่วงโซ่ อุปทาน โดยศึกษาจากรูปแบบการพัฒนาในภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบน และจะเป็นเครื่องมือส่งเสริมให้ ผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานสามารถพัฒนาการผลิต และผลิตภัณฑ์บนพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนของ อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบ Supply chain และ Value chain ของยางพาราทั้งระบบ โดยศึกษา การใช้ทรัพยากรและการเกิดผลกระทบต่อห่วงโซ่อปุ ทาน ของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในภาคเหนือ เพื่อน�ำไปสู่รูปแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมยางและ ผลิตภัณฑ์ยางทีม่ คี วามชัดเจนและเป็นระบบทีเ่ หมาะสม 2. เพือ่ ศึกษารูปแบบระบบโลจิสติกส์ของยางพารา และนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่ายางพาราให้มีมูลค่าการ ส่งออกเพิม่ ขึน้ เพือ่ ให้ผปู้ ระกอบการสามารถน�ำไปใช้วดั ประสิ ท ธิ ภ าพและพั ฒ นาตนเองอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง และ วิเคราะห์ต้นเหตุและพัฒนา แนวทางการจัดการเพื่อให้ เกิดผลดีและความร่วมมือภายในห่วงโซ่อุปทานของ อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง วิธีการศึกษา การศึกษาครัง้ นีเ้ ป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยศึกษา ในภาคเหนื อ ของไทยซึ่ ง เป็ น พื้ น ที่ ใ หม่ ใ นการปลู ก ยางพาราและต้องการการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา

ในรูปแบบที่ยั่งยืนเพื่อสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยาง โดยใช้ ข ้ อ มู ล ทุ ติ ย ภู มิ เ กี่ ย วกั บ การปลู ก ยางพารา การแปรรู ป ยางพารา อุ ต สาหกรรมน�้ ำ ยางข้ น และ ผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมไม้ยางพารา การเพิ่มมูลค่า ยางพาราและผลพลอยได้จากข้อมูลที่ได้มีการรวบรวม ไว้แล้ว โดยสถาบันวิจยั ยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ และใช้ขอ้ มูลปฐมภูมจิ ากการสัมมนา เผยแพร่ความรูใ้ ห้เกษตรกรชาวสวนยางและการสัมภาษณ์ เกษตรกรชาวสวนยาง เจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัด และ เจ้าหน้าทีข่ องส�ำนักงานกองทุนสงเคราะห์การท�ำสวนยาง (สกย.) ในจังหวัดภาคเหนือเพือ่ น�ำมาพัฒนาอุตสาหกรรม ยางและผลิตภัณฑ์ยางในภาคเหนือ ทบทวนวรรณกรรม การทบทวนข้อมูล ทุติยภูมิพบว่าการศึกษาและ พัฒนารูปแบบ Supply Chain และ Value Chain ของ ยางพาราในภาคเหนือยังมิได้มีการด�ำเนินการ โดยพบ ผลงานและผลการศึกษาของภูมิภาคอื่นในด้านการผลิต และการใช้งานผลิตภัณฑ์ยางในอุตสาหกรรม ต้นน�้ำ กลางน�้ำและปลายน�้ำ เกี่ยวข้องกับวัฏจักรชีวิตการผลิต และการใช้ผลิตภัณฑ์ยาง โดยรวบรวมข้อมูลด้านโลจิสติกส์ และห่วงโซ่อปุ ทาน และการออกแบบระบบการตัดสินใจ เลือกเส้นทางการส่งออก ศักยภาพการผลิตน�้ำยางข้น นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยาง การเพิม่ มูลค่าและผลพลอยได้ จากยางพารา และการบ�ำรุงรักษาแหล่งผลิตยางพารา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแหล่ง ปลูกยางใหม่สำ� หรับประเทศไทยและมีปริมาณผลิตภัณฑ์ ยางขัน้ ต้นออกสูต่ ลาดแล้ว ค�ำถามทีส่ ำ� คัญคือการขนส่ง ยางพาราเพื่ อ ส่ ง ออก วิ รั ช ญา จั น พายเพ็ ช ร และ ดวงพรรณ กริชชาญชัย (2552) ศึกษาการออกแบบ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการเลือกเส้นทางส�ำหรับ การส่งออกยางพาราของประเทศไทยโดยน�ำเทคนิค การวิเคราะห์เชิงล�ำดับชั้นแบบฟัซซี่ (Fuzzy Analytic Hierarchy Process: FAHP) มาเป็นเครื่องมือช่วย ตัดสินใจคัดเลือกระบบการขนส่งต่อเนื่องส�ำหรับการ

5


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ส่งออกยางพาราไทย โดยมีปัจจัยหลักในการพิจารณา 4 ด้านประกอบด้วย ด้านการขนส่ง ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านท่าเรือและด้านการค้าชายแดน และด้านสิง่ แวดล้อม อื่นๆ เพื่อให้ผู้ส่งออกยางพาราได้ข้อมูลสนับสนุนการ ตัดสินใจเลือกช่องทางการส่งออกที่เหมาะสม ในด้าน โลจิ ส ติ กส์ ข องภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส�ำนัก งาน เศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 (2550) ท�ำการศึกษาโลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทานยางพารา มันส�ำปะหลัง อ้อยโรงงาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนซึ่งประกอบด้วย จังหวัดอุดรธานี หนองคาย หนองบัวล�ำภู เลย สกลนคร นครพนม และจังหวัดมุกดาหาร พบว่าห่วงโซ่การผลิต ยางพารา เริม่ จากผลผลิตต้นน�ำ้ จากเกษตรกรคือ น�ำ้ ยางสด ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย และเศษยาง เป็นวัตถุดิบ ในการผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปขัน้ ต้นเช่น น�ำ้ ยางข้น ยางสกิม ยางแผ่นรมควัน ยางผึ่งแห้ง ที่จังหวัดอุดรธานี รวม 2 โรงงาน จังหวัดหนองคายรวม 4 โรงงาน และ จังหวัดมุกดาหาร 1 โรงงาน ผลผลิตในอุตสาหกรรม ขั้นต้นส่วนหนึ่งน�ำไปส่งออก ที่ท่าเรือคลองเตยและ แหลมฉบัง อีกส่วนหนึง่ เป็นวัตถุดบิ ในอุตสาหกรรมแปรรูป ขัน้ กลางและขัน้ สุดท้ายในภาคกลางและภาคตะวันออก การเปิดสะพานข้ามแม่นำ�้ โขงแห่งที่ 2 ทีจ่ งั หวัดมุกดาหาร ท�ำให้เกิดโอกาสด้านการส่งออก ยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน ของอุตสาหกรรมแปรรูปขั้นต้นผ่านจังหวัดมุกดาหาร ข้ามสะพานแม่น�้ำโขงแห่งที่ 2 ผ่านแขวงสะหวันนะเขต ไปยังท่าเรือดานัง ประเทศเวียดนาม เพือ่ ขนส่งทางทะเล ไปยังประเทศจีนและญี่ปุ่น ท�ำให้ระยะทางลดลงและ ต้นทุนการขนส่งถูกลง เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาค ทั้งเส้นทางเชื่อม East-West Economic Corridor และ เส้นทางเชื่อมมุกดาหารและแหลมฉบัง (Eastern Seaboard) เพิ่มโอกาสในการเปิดเส้นทางส่งออกและ โอกาสการพัฒนาจังหวัดมุกดาหารให้เป็นศูนย์กลาง การค้าขายและกระจายสินค้า (Hub Distribution) ของ ภูมิภาค ในอุตสาหกรรมปลายน�้ำสามารถน�ำนวัตกรรมมา เพิ่มมูลค่าได้ ประชาสันติ ไตรยสุทธิ์ และคณะ (2550)

6

ศึกษาวิธกี ารและหาสภาวะทีเ่ หมาะสมในการผลิตน�ำ้ มัน ไบโอดีเซลจากเมล็ดยางพารา เพือ่ ให้ได้น�้ำมันไบโอดีเซล ปริมาณมากที่สุดต่อหนึ่งรอบการผลิต โดยมีวิธีการผลิต 2 ขั้นตอนคือการลดกรดไขมันอิสระ และการท�ำน�้ำมัน ไบโอดีเซลด้วยกระบวนการทรานเอสเทอร์ริฟิเคชั่น โดยการน�ำน�้ำมันดิบที่สกัดได้จากเมล็ดยางพารามาให้ ความร้อนที่ 120 °C เป็นเวลา 5 นาที เพื่อไล่ความชื้น ออกจากน�้ำมันดิบ จากนั้นท�ำการลดกรดไขมันอิสระ โดยเติมกรดซัลฟิวริกร้อยละ 2.5 โดยมวล และเมทานอล ในอัตราส่วน 6:1 โดยมวล อุณหภูมิขณะท�ำปฏิกิริยา 60 °C เป็นเวลา 30 นาที หลังจากนัน้ น�ำมาท�ำปฏิกริ ยิ า ทางเคมีทเี่ รียกว่า “กระบวนการทรานส์เอสเทอร์รฟิ เิ คชัน่ ” โดยมี เมทานอลเป็นตัวท�ำปฏิกิริยาในอัตราส่วน 3:1 โดยมวล และใช้โปรแตสเซียมไฮดรอกไซด์เป็นตัวเร่ง ปฏิกิริยา อุณหภูมิขณะท�ำปฏิกิริยา 60 °C จากการ ทดลองพบว่า ปริมาณน�ำ้ มันไบโอดีเซลทีผ่ ลิตได้มากทีส่ ดุ คือร้อยละ 89 จากการน�ำน�้ำมันไบโอดีเซลไปทดสอบที่ ภาระสูงสุด ความเร็วรอบ 1300-2300 รอบต่อนาทีกับ เครือ่ งยนต์หนึง่ กระบอกสูบพบว่า เครือ่ งยนต์เดินได้ปกติ ไม่มปี ญ ั หาเครือ่ งยนต์เดินสะดุด สมรรถนะมีคา่ ใกล้เคียง กับน�้ำมันดีเซลมาตรฐาน โดยค่าแรงบิดไบโอดีเซลจะ ต�ำ่ กว่าดีเซลประมาณร้อยละ 15 ก�ำลังม้าจะต�ำ่ กว่าดีเซล ประมาณร้อยละ 17 และการสิน้ เปลืองเชือ้ เพลิงจ�ำเพาะ สูงกว่าดีเซลประมาณร้อยละ 22 และค่าของควันด�ำ ต�่ำกว่าดีเซลร้อยละ 22.13 ในอุตสาหกรรมกลางน�ำ้ การผลิตน�ำ้ ยางข้นเพือ่ เป็น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ย างขั้ น ต้ น ส� ำ หรั บ อุ ต สาหกรรมปลายน�้ ำ มีปริมาณสูง โดยจักรี เลือ่ นรามและคณะ (2537) ศึกษา ศักยภาพการผลิตน�ำ้ ยางข้นโดยวิธกี ารออกแบบสอบถาม สัมภาษณ์ผู้ประกอบการใน 3 ภาค พบว่าปัจจุบันมี ผูผ้ ลิตน�ำ้ ยางข้นทีด่ ำ� เนินการอย่างต่อเนือ่ ง รวม 48 ราย ใน 3 ภาคคือ ภาคใต้ตอนบน 15 ราย จ�ำนวนเครือ่ งปัน่ 207 เครื่อง ภาคใต้ตอนล่าง 22 ราย จ�ำนวนเครื่องปั่น 278 เครือ่ ง ภาคตะวันออก 11 ราย เครือ่ งปัน่ 140 เครือ่ ง รวมปริมาณการผลิตน�ำ้ ยางข้นในไทย ปี 2536 ประมาณ


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

166,378 ตัน ปัญหาในการผลิตคือ ปริมาณน�้ ำยาง ไม่สม�่ำเสมอจากสาเหตุฤดูกาล และการแข่งขัน แต่ ร้อยละ 66 ของผู้ประกอบการยังมีความต้องการขยาย ก�ำลังผลิต นอกจากนั้นชัชมณฑ์ แดงกนิษฐ์ และคณะ (2543) ศึ ก ษาการใช้ ส ารเคมี รั ก ษาสภาพน�้ ำ ยางสด เพือ่ ลดปริมาณไนโตรซามีนในยาง เนือ่ งจากสารประกอบ อินทรียใ์ นกลุม่ ไนโตรซามีนเป็นสารก่อมะเร็ง ผลิตภัณฑ์ จากยางธรรมชาติที่ตรวจพบไนโตรซามีน ได้แก่ ยางล้อ ท่อยาง ของเล่น ถุงมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น หั วนมยางส� ำ หรั บ เด็ก ยางดัดฟัน ซึ่ง มีไ นโตรซามีน ปนเปื ้ อ นอยู ่ เ พราะการใช้ ส ารเคมี ที่ มี amine เป็ น องค์ประกอบในการวัลคาไนซ์และการรักษาสภาพน�้ำยาง โดยเฉพาะสารเคมีใ นกลุ่ม Tetramethylthiuram disulfide (TMTD) ในปั จ จุ บั น จึ ง มี ก ารน� ำ สารเคมี ชนิดใหม่ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติปลอด amine มาใช้ในการ วัลคาไนซ์ และการรักษาสภาพน�ำ้ ยาง ส�ำหรับการทดลอง ครั้งนี้ ใช้สารเคมีรักษาสภาพน�้ำยางสดชนิดใหม่ และ พบว่ามีค่าไม่เกินขีดจ�ำกัดของมาตรฐานการทดสอบ มีการศึกษาด้านการเพิม่ มูลค่าและผลพลอยได้จาก ยางพารา โดยสมมาตรา แสงประดับ และคณะ (2536) ศึกษาสภาวะเศรษฐกิจการปลูกพืชแซมยางของชาว สวนยางในเขตภาคใต้ตอนบน ส�ำรวจและเก็บข้อมูลจาก ชาวสวนยางที่ประสบวาตภัยในจังหวัดชุมพร จ�ำนวน 76 ตัวอย่าง ระยะเวลาเก็บข้อมูลอยูร่ ะหว่างปีเพาะปลูก 2533/2534 ถึ ง ปี เ พาะปลู ก 2534/2535 พบว่ า เกษตรกรใช้พื้นที่ปลูกพืชแซมยางร้อยละ 39 ของพื้นที่ ปลูกยางทั้งหมด ชนิดของพืชแซมยางคือปลูกข้าวโพด ร้อยละ 35 สับปะรดร้อยละ 17 ฟักทองร้อยละ 17 และมะละกอร้อยละ 9 พืชอื่นที่ปลูก ได้แก่ กล้วย พริก แตงโม ถั่วลิสง ฟักแฟง และข้าวไร่ การศึกษาต้นทุน การผลิตพืชแซมยางชนิดต่างๆ พบว่าสับปะรดมีต้นทุน สูงสุด ที่มีต้นทุนรองลงมาได้แก่ พริก กล้วย มะละกอ ฟักทอง แตงโม ข้าวโพด และฟักแฟง ผลตอบแทนของ พืชแซมยางคิดจากรายได้สทุ ธิเหนือต้นทุนผันแปรทัง้ พืช อายุยาวและพืชอายุสนั้ พบว่า สับปะรดให้รายได้สงู ทีส่ ดุ

รองลงมาได้แก่ มะละกอ พริก แตงโม กล้วย ฟักแฟง และฟักทอง ส่วนข้าวโพดเป็นพืชชนิดเดียวที่ขาดทุน ส่วนจรินทร์ การะนัด และคณะ (2539) ศึกษาการทดลอง เลี้ยงแกะในสวนยาง เพื่อควบคุมวัชพืชและเสริมรายได้ ด� ำ เนิ น การที่ ศู น ย์ วิ จั ย ยางสุ ร าษฎร์ ธ านี อ.ท่ า ชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ระยะเวลาด�ำเนินการปี 2535-2539 โดยเริ่มเลี้ยงแกะจ�ำนวน 58 ตัวเป็นเพศเมีย 54 ตัว เพศผู้ 4 ตัว เลี้ยงแกะโดยปล่อยให้เข้าแทะเล็มวัชพืช ในสวนยางก่อนเปิดกรีด (ยางอายุ 6 ปี) และสวนยาง หลังเปิดกรีด (ยางอายุ 13 ปี) ในอัตรา 2 ตัวต่อไร่ โดยให้อาหารข้นวันละครั้ง ผลปรากฏว่าแกะสามารถ ควบคุมวัชพืชในสวนยางก่อนเปิดกรีดได้ร้อยละ 38.2 และสวนยางหลังเปิดกรีดร้อยละ 37.6 ในสวนยาง ก่อนเปิดกรีดแกะสามารถกินวัชพืชได้เกือบทุกชนิด ส่วนในสวนยางหลังเปิดกรีดจะมีปริมาณหญ้ามาเลเซีย มากทีส่ ดุ รองลงมาคือหญ้าใบไผ่ และพืชคลุมดินตระกูลถัว่ แกะไม่กินหญ้ามาเลเซีย จึงมีปริมาณวัชพืชไม่เพียงพอ ต้องตัดหญ้าเสริมให้แกะกิน ในระยะเวลาการเลี้ยงแกะ 3 ปี มีแกะเกิดใหม่จำ� นวน 99 ตัว แกะตายจ�ำนวน 82 ตัว จากแกะเป็นโรคดีซ่าน ซึ่งสันนิษฐานว่าสาเหตุเกิดจาก วัชพืชบางชนิดทีแ่ กะกินเข้าไป ค่าใช้จา่ ยในการเลีย้ งแกะ ซึ่งเป็นค่าอาหารข้น เกลือแร่ และยาป้องกันรักษาโรค เป็นเงินเฉลี่ย 144.39 บาทต่อตัวต่อปี นอกจากนั้นมีการศึกษาเรื่องยางพาราด้านอื่นๆ เป็นต้นว่า พรรษา อดุลยธรรม และคณะ (2541) ศึกษา เกณฑ์คณ ุ ภาพยางแผ่นดิบทีก่ �ำหนดโดยสถาบันวิจยั ยาง เป็นคุณภาพ 1, 2 และ 3 โดยวิธีการคัดด้วยสายตา เพื่อวิเคราะห์ว่าเกณฑ์ที่ก�ำหนดเหมาะสมเพียงใด โดย ศึกษาคุณสมบัติทางเทคนิคและทางกายภาพของยางที่ คั ด ตามวิ ธี ก ารคั ด ยางแผ่ น ดิ บ ที่ จ� ำ หน่ า ยผ่ า นตลาด ยางพารา หาดใหญ่ ระหว่างปี 2538-2539 พบว่า ยางแผ่นดิบคุณภาพ 1, 2 และ 3 มีแนวโน้มว่าคุณสมบัติ ทางเทคนิคทั้งคุณสมบัติยางดิบ คุณสมบัติการคงรูป และคุณสมบัติยางคงรูปแล้วใกล้เคียงกัน อยู่ในระดับ ดี-ดีมาก

7


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

บุญอาจ กฤษณทรัพย์ และ สมเกียรติ ทองรักษ์ (2536) ติดตามศึกษาสภาพการบ�ำรุงรักษาสวนยาง ปลูกใหม่ของโครงการส�ำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ในท้องที่จังหวัด ฉะเชิงเทรา จ�ำนวน 60 ราย ตั้งแต่ปี 2529 จนถึงสิ้นปี 2535 โดยใช้แบบสอบถามออกส�ำรวจทุกปี พบว่าโดยภาพรวม ชาวสวนยางให้ความเอาใจใส่ในการขจัดวัชพืชและการ ใส่ปุ๋ยอยู่ในระดับดี ก�ำจัดวัชพืชโดยมีดจอบแล้ว พ่นยา ก�ำจัดวัชพืช 1-2 ครั้งต่อปี และใส่ปุ๋ยบ�ำรุงสม�่ำเสมอ เกือบทุกราย ปริมาณปุ๋ยที่ใส่น้อยกว่าข้อก�ำหนดทาง วิชาการประมาณร้อยละ 30-40 แต่สูงกว่าชาวสวนยาง ในแหล่งปลูกยางเดิม การเจริญเติบโตของต้นยางเมื่อ สิ้นปีที่ 6 มีขนาดเส้นรอบต้นเฉลี่ย 36.78 ซม. ต�่ำกว่า มาตรฐานในแหล่งปลูกยางเดิมประมาณร้อยละ 22 เนือ่ งจากข้อเสียเปรียบทางด้านดินฟ้าอากาศของแหล่งใหม่ ในภาคตะวันออก และ สุธี อินทรสกุล และคณะ (2536) ศึกษา ความสัมพันธ์ของต้นทุนการผลิตและการก�ำหนดราคา ยางแผ่นรมควันชั้นต่างๆของโรงรมควันภาคตะวันออก ประเทศไทยเปลีย่ นบทบาทจากเดิมทีเ่ ป็นผูผ้ ลิตรายใหญ่ แต่อยูใ่ นสถานะผูร้ บั ราคา มาเป็นผูก้ ำ� หนดราคาส�ำหรับ ราคายางภายในประเทศและราคาส่งออก ช่วยให้ราคายาง ภายในมั่ น คงและมี เ สถี ย รภาพมากขึ้ น และช่ ว ยให้ การก�ำหนดคุณภาพยางมีความเหมาะสม นอกจากนั้น ยังเสริมสร้างความคล่องตัวในทางการค้าและอ�ำนาจ ต่อรองในการขนส่งและค่าระวางเรือได้ ผลการศึกษา จะช่วยให้สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ต่อการปรับปรุง ราคาประกาศยางให้มีความถูกต้องเที่ยงตรงและสร้าง ความเป็นธรรมให้กับผู้เกี่ยวข้อง

8

ผลการวิจัย การส�ำรวจกระบวนการและปริมาณการปลูก การผลิต และผลพลอยได้ของเกษตรกรที่น�ำมาปฏิบัติในพื้นที่ ภาคเหนือ การปลูกยางพารา การปลูกยางพาราให้ประสบความส�ำเร็จต้องเตรียมพืน้ ที่ อย่างเหมาะสม เตรียมวัสดุปลูกทีม่ คี ณ ุ ภาพและมาตรฐาน และใช้วิธีการปลูกที่ถูกต้อง เพื่อให้ต้นยางพาราเจริญ เติบโตอย่างสมบูรณ์และสามารถเปิดกรีดได้เร็ว การปรับ สภาพพืน้ ทีป่ ลูกยางจ�ำเป็นต้องมีการวางแผนการใช้พนื้ ที่ ที่เหมาะสมทั้งในด้านการปฏิบัติงานในสวนยางและ การอนุรกั ษ์ดนิ และน�ำ้ ซึง่ จะช่วยเพิม่ ความสะดวกในการ ดูแลรักษารวมถึงการได้ผลผลิตที่คุ้มค่าในระยะยาว การปรับพืน้ ทีส่ วนยางจะพิจารณาถึงการชะล้างพังทลาย ของดินและการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และปัจจุบัน ไม้ยางมีราคาสูง ในกรณีที่เป็นการปลูกแทนรอบใหม่ เกษตรกรส่วนใหญ่นยิ มโค่นต้นยางชิดพืน้ ดินและปล่อยให้ ต้นยาง ผุพงั ตามธรรมชาติซงึ่ จะช่วยให้สงิ่ แวดล้อมดียงิ่ ขึน้ และมีผลท�ำให้ปริมาณอินทรียว์ ตั ถุและปริมาณธาตุอาหาร ในดินเพิ่มขึ้น ส�ำหรับพื้นที่ที่เคยเป็นแหล่งระบาดของ โรครากอาจจ�ำเป็นต้องเผาเศษกิง่ ไม้เพือ่ ลดปัญหาแหล่ง ระบาด การก�ำหนดทิศทางการปลูกยางมีความส�ำคัญอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับต้นยาง รวมถึง ความสะดวกในการกรีดและเก็บน�้ำยาง โดยการวาง แถวหลักของต้นยางให้ขวางทางการไหลของน�้ำเพื่อลด การชะล้างผิวหน้าดินและการพังทลายของดิน แถวหลัก ห่างจากแนวเขตสวนเก่าไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร ต้นยาง จะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดต้องมีพื้นที่ต่อต้นไม่น้อยกว่า 20 ตารางเมตร เพื่อป้องกันการแย่งธาตุอาหารและให้ ต้นยางมีการเจริญเติบโตทางด้านข้างอย่างเหมาะสม ในพื้นที่ราบ เขตปลูกยางเดิมระยะการปลูกที่เหมาะสม ควรเป็น 2.5 x 8 เมตร หรือ 3 x 7 เมตร โดยมีจ�ำนวน ต้นยาง 80 ต้น หรือ 76 ต้นต่อไร่ ส�ำหรับเขตปลูก ยางใหม่ ควรเป็นระยะ 2.5 x 7 เมตร หรือ 3 x 6 เมตร


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

หรือ 3 x 7 เมตร โดยมีจ�ำนวนต้นยาง 91 ต้น หรือ 88 ต้น หรือ 76 ต้นต่อไร่ ตามล�ำดับ ส�ำหรับระยะปลูก ในพืน้ ทีล่ าดเทควรเป็น 3 x 8 เมตร ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั ความ อุดมสมบูรณ์ของดิน การขุดหลุมตามระยะปลูกทีก่ ำ� หนดไว้โดยหลุมทีข่ ดุ ต้องมีขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ดินทีข่ ดุ ควรแบ่ง เป็น 2 ชัน้ น�ำดินชัน้ บนใส่ไว้กน้ หลุมและดินชัน้ ล่างผสม ปุ๋ยหินฟอสเฟต (สูตร 0-3-0) อัตรา 170-200 กรัม และปุย๋ อินทรียป์ ระมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุมโดยใส่ไว้ ด้านบน การปลูกยางท�ำได้โดย วิธีแรกเป็นการปลูกด้วย ต้นตอตายาง ซึ่งหมายถึงต้นกล้ายางที่ติดตาด้วยยาง พันธุ์ดีไว้เรียบร้อยแล้วแต่ตายังไม่แตกเป็นกิ่งออกมา เห็นเป็นต้นกล้าที่มีแผ่นตาแตกเป็นตุ่มติดอยู่เท่านั้น วิธีนี้ได้รับความนิยมมากที่สุดเพราะง่ายต่อการปฏิบัติ แต่ไม่แนะน�ำส�ำหรับการปลูกยางในเขตปลูกยางใหม่ทมี่ ี ปริมาณน�ำ้ ฝนและจ�ำนวนวันฝนตกน้อยกว่าทางเขตปลูก ยางเดิมในภาคใต้ อีกวิธีหนึ่งคือการปลูกโดยการติดตา ในแปลงต้นยางที่ปลูกเพราะมีระบบรากที่แข็งแรงดี มีความเจริญเติบโตสม�ำ่ เสมอ และจะประสบความส�ำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับ ความสมบูรณ์ของต้นกล้ายาง ความสมบูรณ์ ของกิ่ ง ตายาง และความสามารถของคนติ ด ตายาง จะติดตาเมื่อต้นกล้ายางอายุ 6-8 เดือน หรือมีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางของล�ำต้น ไม่ต�่ำกว่า 1 เซนติเมตร ที่ระดับสูงจากพื้นดิน 10 เซนติเมตร และเก็บรักษา ต้นกล้ายางที่ตาของต้นที่ติดตาแตกออกแล้วให้เจริญ เติบโตต่อไป วิธีที่สามเป็นการปลูกด้วยต้นยางช�ำถุง โดยเอาต้นยางตอตาปลูกในถุง ใช้เวลาช�ำในถุงประมาณ 2-3 เดือนจนได้ตน้ ยางช�ำถุงขนาด 1-2 เมตร ขนาดของ ถุงที่ใช้ช�ำประมาณ 4.5-5 x 14-15 นิ้ว เจาะรูให้น�้ำ ระบายออก ดินที่ใช้บรรจุถุงจะต้องมีลักษณะค่อนข้าง เหนียว หรือใช้วิธีติดตาในถุงโดยการเพาะเมล็ดในถุง จนได้ขนาดติดตา การปลูกด้วยต้นยางช�ำถุงเป็นวิธีที่ ประสบความส�ำเร็จสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น ต้นยางเจริญเติบโตสม�ำ่ เสมอ ช่วยลดช่วงระยะเวลาดูแล

รักษาต้นยางอ่อนให้สั้นลง สามารถกรีดยางได้เร็วกว่า การปลูกด้วยต้นตอตาและการติดตาในแปลง ต้นยาง ช�ำถุงยังเหมาะสมใช้เป็นต้นปลูกซ่อมได้ดีที่สุดอีกด้วย (สถาบันวิจัยยาง, 2553: 51) การบ�ำรุงรักษาต้นยางหลังการปลูกมีกิจกรรมหลัก คือการให้ปยุ๋ และการก�ำจัดวัชพืชหรือศัตรูพชื การใส่ปยุ๋ ต้นยางเป็นปัจจัยทีส่ ำ� คัญและจ�ำเป็นต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตยางพารา การกรีดยางจะมีธาตุอาหาร บางส่วนสูญเสียไปกับน�้ำยาง โดยน�้ำยาง 1 ตัน จะเสีย ธาตุในโตรเจน 20 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 5 กิโลกรัม โพแทสเซียม 25 กิโลกรัม และแมกนีเซียม 5 กิโลกรัม และธาตุอาหารอื่นเช่น แคลเซียม เหล็ก แมงกานิส สังกะสี และทองแดง (สถาบันวิจัยยาง, 2553: 58) จึงมีความจ�ำเป็นต้องใส่ปยุ๋ เพือ่ ชดเชยธาตุอาหารทีส่ ญ ู เสีย ไปกับน�ำ้ ยางและการสลายตัวของอินทรียวัตถุตามธรรมชาติ ทั้งในรูปของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ การใส่ปุ๋ยควรเริ่ม ตั้งแต่เริ่มปลูกคือใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต (สูตร 0-3-0) รอง ก้นหลุมก่อนปลูกเพื่อเร่งให้รากงอกและแผ่ขยายเร็ว ในอัตรา 170 กรัมต่อหลุม หลังจากนัน้ จะเป็นการใส่ปยุ๋ ช่วงก่อนเปิดกรีด เพือ่ เร่งให้ตน้ ยางมีการเจริญเติบโตเร็ว สามารถเปิดกรีดได้ภายใน 6 ปี ส�ำหรับเขตปลูกยางเดิม ใส่ปยุ๋ สูตร 20-8-20 และส�ำหรับเขตปลูกยางใหม่ใส่สตู ร 20-10-12 เมื่อต้นยางเปิดกรีดได้แล้วยังมีความจ�ำเป็น ต้องใส่ปุ๋ยต่อไปทุกปี เพื่อให้ผลผลิตสูงสม�่ำเสมอ โดยใส่ ปุย๋ สูตร 30-5-18 ในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปีแบ่งใส่ ในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน การส่งเสริมการใช้ ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ ได้ผลผลิตที่ดี นอกจากช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินแล้ว ยังเป็นแนวทางลดต้นทุนให้เกษตรกรอีกด้วย โดยเฉพาะ ดิ น ในพื้ น ที่ เขตปลู ก ยางใหม่ ใ นภาคตะวั น ออก และ ภาคเหนือปุย๋ อินทรียจ์ ะช่วยในการปรับสภาพดินได้มาก แต่ไม่ควรใช้ปยุ๋ อินทรียแ์ ทนปุย๋ เคมีทงั้ หมด เพราะปริมาณ ธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์มีน้อยจึงต้องใช้ปุ๋ยทั้งสองชนิด ร่วมกันเพื่อให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพและเพียงพอกับ ความต้องการของยางพารา

9


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

การก�ำจัดวัชพืชในสวนยางมีความจ�ำเป็นเพื่อไม่ให้ ขัดขวางการเจริญเติบโตของต้นยาง หรือเป็นทีอ่ ยูอ่ าศัย ของเชื้อโรคหรือแมลงศัตรู แต่ต้นทุน การก�ำจัดวัชพืช เป็นค่าใช้จ่ายในอัตราสูงถึง ร้อยละ 23.5 ของต้นทุน การท�ำสวนยางทัง้ หมด (มหาวิทยาลัยแม่ฟา้ หลวง, 2551) ฉะนั้นการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนนี้อาจท�ำได้ในรูป การไถและพรวนดิน การปลูกพืชคลุมดิน หรือการใช้วสั ดุ คลุมดิน การกรีดยางเป็นการน�ำผลผลิตในรูปของน�้ำยาง มาแปรรูป วิธีกรีดยางที่ถูกต้องสามารถเพิ่มผลผลิตได้ มากขึ้นและยั่งยืน และมีปัจจัยต่างๆที่ต้องพิจารณาคือ พันธุ์ยาง อายุต้นยาง ฤดูกาล การเปิดกรีด วิธีการกรีด ระบบการกรีด วิธีการใช้สารเคมีเร่งน�้ำยาง และความ ช�ำนาญของคนกรีดยาง ที่ส�ำคัญคือปัจจัยของการกรีด ที่มีผลต่อผลผลิตประกอบด้วย ความลึกของการกรีด เวลาทีเ่ หมาะสมส�ำหรับกรีดยาง ความสิน้ เปลืองเปลือกยาง และความคมของมีดกรีด ต้นยางเปิดกรีดได้เมื่ออายุ ประมาณ 7 ปีครึ่ง (มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 2551) ขนาดเส้นรอบต้นไม่ต�่ำกว่า 50 เซนติเมตร ณ ระดับ ความสูง 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน และต้นยางในสวน สามารถเปิดกรีดได้มากกว่า ร้อยละ 70 ของยางทัง้ หมด เปิดกรีดครึ่งล�ำต้นที่ระดับความสูง 150 เซนติเมตร จากพื้นดิน รอยกรีดท�ำมุม 30 องศากับแนวระนาบ และเอียงจากซ้ายบนลงมาขวาล่าง ติดรางรองรับน�ำ้ ยาง ห่างจากรอยกรีดด้านหน้าลงมาประมาณ 30 เซนติเมตร และติดลวดรับถ้วยน�ำ้ ยางให้หา่ งจากรางรับน�ำ้ ยางลงมา ประมาณ 10 เซนติเมตร ปริมาณน�้ำยางที่ได้ขึ้นอยู่กับ การบ�ำรุงรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมและปัจจัย ด้านวิธีการกรีด พันธุ์ยาง และอายุต้นยาง การกรีดยาง ในระยะ 3 ปีแรก ส่วนใหญ่เป็นการกรีดครึ่งต้นวันเว้น สองวัน (1/2S d/3) ส�ำหรับยางทุกพันธุ์ หรือระบบการ กรีดอืน่ ในบางกรณี การกรีดยางหลังจาก 3 ปี ส่วนใหญ่ เป็นการกรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน (1/2S d/2) ส�ำหรับยาง ทุกพันธุ์และบางกรณีใช้ระบบการกรีดอื่น การกรีดยาง เปลือกงอกใหม่ ส่วนใหญ่เป็นการกรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน

10

(1/2S d/2) ใช้กับยางทุกพันธุ์โดยบางกรณีกรีดยาง ระบบอื่น แต่สวนยางไทยเป็นสวนขนาดเล็กแต่ละราย มีเนื้อที่น้อยกว่า 10 ไร่ จึงอนุโลมการกรีดระบบครึ่งต้น กรีดสองวันเว้นวัน (1/2S d1 2d/3) แต่จ�ำนวนวันกรีด ไม่ควรเกิน 160 วันต่อปีและไม่ควรกรีดยางทุกวันเพราะ มีผลกระทบต่อสภาพต้นยางและผลผลิตในระยะยาว พันธุ์ยางที่แนะน�ำก�ำหนดไว้ทุกๆ 4 ปีเพื่อพิจารณา พันธุย์ างพันธุใ์ หม่ทผี่ า่ นการคัดเลือกในการปรับปรุงพันธุ์ ให้มีลักษณะที่ดีในด้านผลผลิต การเจริญเติบโต และ การต้านทานโรค สถาบันวิจัยยางแนะน�ำพันธุ์ยางของ ปี 2546 และปี 2550 (สถาบันวิจัยยาง, 2553: 44) เป็น 3 กลุม่ คือ 1) พันธุย์ างทีใ่ ห้ผลผลิตน�ำ้ ยางสูง โดยมี พันธุ์ยางหลักคือ สถาบันวิจัยยาง 251 สถาบันวิจัยยาง 226 BPM 24 และ RRIM 600, 2) พันธุย์ างทีใ่ ห้ผลผลิต น�้ำยางและเนื้อไม้สูง ซึ่งมีพันธุ์ยางหลักคือ PB 235 PB 255 PB 260 และ RRIC 110 และ 3) พันธุ์ยางที่ ให้ ผ ลผลิ ต เนื้ อ ไม้ สู ง ประกอบด้ ว ยพั น ธุ ์ ย างหลั ก คื อ ฉะเชิงเทรา 50 AVROS 2037 และ BPM 1 การเลือก พันธุ์ยางส�ำหรับพื้นที่การปลูกยางใหม่ในเขตส่งเสริม ภาคเหนือ 17 จังหวัด และเขตส่งเสริมภาคตะวันออก เฉี ย งเหนื อ 19 จั ง หวั ด ซึ่ ง จะมี พื้ น ที่ ที่ มี ป ริ ม าณฝน มากกว่า 1,600 มิลลิเมตรต่อปี และพื้นที่ปริมาณฝน ต�่ำกว่า 1,600 มิลลิเมตรต่อปี สามารถปลูกทุกพันธุ์ยาง ที่แนะน�ำได้ แต่ไม่ควรปลูกพันธุ์ สถาบันวิจัยยาง 226 และ PB 235 ในเขตทีม่ กี ารระบาดของโรคราแป้งรุนแรง และไม่ควรปลูกพันธุ์ สถาบันวิจัยยาง 251 BPM 24 และ BPM 1 ในพี้นที่สภาพดินมีความสมบูรณ์ต�่ำ พื้นที่ปลูกยางพารา ยางพาราเป็นพืชทีม่ อี ายุมากกว่า 20 ปี ประเทศไทย เริ่มปลูกยางพาราเป็นครั้งแรกในปี 2444 และมีการ ขยายพื้นที่ปลูกอย่างแพร่หลายจนเป็นพืชที่ส�ำคัญต่อ เศรษฐกิจและครองความเป็นผู้น�ำในการผลิตและการ ส่งออกยางธรรมชาติของโลกตั้งแต่ปี 2534 ในปี 2550 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกทั่วประเทศ 15.362 ล้านไร่


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

โดยกว่าร้อยละ 90 ของสวนยางทั้งหมด เป็นสวนยาง ขนาดเล็กทีม่ พี นื้ ทีร่ ะหว่าง 2-50 ไร่ โดยแบ่งเป็นภาคใต้ จ�ำนวน 11.113 ล้านไร่ ภาคตะวันออกและภาคกลาง จ�ำนวน 1.706 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจ�ำนวน 2.143 ล้านไร่ และภาคเหนือจ�ำนวน 0.399 ล้านไร่ ในปี 2551 พืน้ ทีป่ ลูกยางทัว่ ประเทศเพิม่ ขึน้ ถึง 16.889 ล้านไร่ และมีพื้นที่ปลูกยางในภาคใต้เพิ่มเป็น 11.340 ล้านไร่ ภาคตะวันออกและภาคกลาง 2.104 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2.846 ล้านไร่ และภาคเหนือ 0.601 ล้านไร่ พื้นที่ที่กรีดยางได้ในปี 2551 รวมทั้ง ประเทศจ�ำนวน 11.773 ล้านไร่ โดยแบ่งเป็นภาคใต้ 9.51 ล้านไร่ ภาคตะวันออกและภาคกลาง 1.455 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0.789 ล้านไร่ และภาคเหนือ 0.015 ล้านไร่ (สถาบันวิจัยยาง, 2553: 31-33) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยเหมาะต่อ การปลูกยางพารา ในประเทศบราซิลปลูกยางระดับ ละติจูดที่ 20-21 องศาลิบดาใต้ มณฑลยูนนานของ สาธารณรัฐประชาชนจีนปลูกยางในระดับละติจดู 24-59 องศาลิบดาเหนือ บังคลาเทศปลูกยางระดับละติจูด 23-24 องศาลิบดาเหนือ ประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ระหว่าง ละติจูด 6-20 องศาลิบดาเหนือจึงสามารถปลูกยางได้ ทั้ ง ประเทศตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้ อ ม โดยเฉพาะทางภาคใต้และบางจังหวัดของภาคตะวันออก ต่อมาได้ขยายพืน้ ทีป่ ลูกยางไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือซึง่ มีขอ้ จ�ำกัดการปลูกยางเฉพาะบางพืน้ ที่ เช่นความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปริมาณน�้ำฝน และการ กระจายของฝน ระดับความสูงจากน�้ำทะเลที่เหมาะสม ต่อการปลูกยางไม่ควรเกิน 800 เมตร ถ้าความสูงระดับ น�้ำทะเลเกินกว่า 200 เมตร ทุกๆ 100 เมตรต้นยาง จะเจริญเติบโตช้าลงท�ำให้ตอ้ งเลือ่ นเวลากรีดยางออกไป อีก 6 เดือน อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกยางช่วง 26-27 องศาเซลเซียสเป็นช่วงที่ต้นยางเจริญเติบโตได้ดี ที่สุด อุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส เป็นช่วงที่ต้นยาง เจริญเติบโตได้ดีและการไหลของน�้ำยางปกติ ปริมาณ น�้ำฝนมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยางอย่างส�ำคัญ

หลั ง การปลู ก ยาง ต้ น ยางควรได้ รั บ น�้ ำ ฝนติ ด ต่ อ กั น ไม่น้อยกว่า 5 เดือน ปริมาณน�้ำฝนเฉลี่ยของภาคใต้ จ�ำนวน 2,070-2,630 มม. ต่อปี จ�ำนวนฝนตกเฉลี่ย 179-183 วันต่อปี ภาคตะวันออกฝนตกเฉลีย่ 2,533 มม. ต่อปี จ�ำนวนวันฝนตกเฉลีย่ 174 วันต่อปี ภาคตะวันออก เฉียงเหนือฝนตกเฉลีย่ 1,400 มม.ต่อปี จ�ำนวนวันฝนตก เฉลีย่ 116 วันต่อปี และภาคเหนือฝนตกเฉลีย่ 1,351 มม. ต่อปี จ�ำนวนฝนตกเฉลี่ย 120 วันต่อปี เมื่อเทียบกับ เกณฑ์ของสถาบันวิจยั ยางซึง่ ก�ำหนดว่าสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมควรมีปริมาณน�ำ้ ฝนไม่ตำ�่ กว่า 1,250 มม. ต่อปี และมีจ�ำนวนวันฝนตก 120-150 วันต่อปี (สถาบัน วิจยั ยาง, 2553: 35) โดยเฉลีย่ พืน้ ทีป่ ระเทศไทยส่วนใหญ่ รวมถึงพืน้ ทีแ่ หล่งปลูกยางใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ มีสภาพแวดล้อมทีเ่ หมาะสมต่อการปลูกยาง กระบวนการแปรรูป ปริมาณและชนิดการแปรรูป ยางพาราเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพื้นที่ภาคเหนือ การแปรรูปยางขั้นต้น อุตสาหกรรมการแปรรูปยางพาราขั้นต้นที่น�ำเอา น�้ ำ ยางที่ ก รี ด ได้ ม าแปรรู ป เป็ น วั ต ถุ ดิ บ ของการผลิ ต ผลิตภัณฑ์ยาง จ�ำแนกยางพาราที่แปรรูปได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางเครป ยางผึ่งแห้ง และน�้ำยางข้น โดยจะน�ำไปผลิตผลิตภัณฑ์ส�ำเร็จรูป ตามความต้องการของตลาดเช่น ยางรถยนต์ ยางรถ จักรยานยนต์ ยางรถจักรยาน ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ยางรัดของ และท่อยางต่างๆ ในการผลิตยางรถยนต์ ต้องใช้ผลิตภัณฑ์การแปรรูปยางขั้นต้นจาก ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน และยางแท่ง ยางแผ่นดิบเป็นผลิตภัณฑ์กลางน�้ำ น�ำมาแปรรูป ต่อเป็น ยางแผ่นผึ่งแห้ง หรือยางแผ่นรมควัน ราคายาง แผ่นดิบขึ้นอยู่กับคุณภาพของแผ่นยาง การท�ำยางแผ่น คุณภาพดีตอ้ งท�ำยางให้สะอาด รีดแผ่นยางให้บาง สีของ แผ่นยางสม�ำ่ เสมอ ใช้นำ�้ และน�ำ้ กรดถูกอัตราส่วน สวนยาง ขนาดเล็กจะผลิตยางแผ่นดิบเอง แต่สวนขนาดใหญ่อาจ ขายน�ำ้ ยางให้โรงงานท�ำยางแผ่นดิบเพือ่ ผลิตยางแผ่นดิบ

11


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ป้อนโรงผลิตยางรมควัน ในกระบวนการผลิตยางแผ่นดิบ อุปกรณ์การเก็บรวบรวมน�้ำยางประกอบด้วย ถังส�ำหรับ ใส่น�้ำยาง ใบพายส�ำหรับกวาดน�้ำยางจากถ้วยโดยต้อง ไม่ให้นำ�้ ยาง มีสงิ่ สกปรกเจือปน อุปกรณ์การท�ำยางแผ่น ประกอบด้วยเครื่องกรองลวดเบอร์ 40 และ 60 ถัง รวมน�้ำยาง ตะกง ใบพาย จักรรีดยางทั้งรีดเรียบและ รีดดอก น�้ำสะอาด และกรดฟอร์มิคชนิดความเข้มข้น 90 เปอร์เซนต์ โดยควรผสมกรดฟอร์มิคในอัตราส่วน 30 มิลลิลติ รผสมน�ำ้ สะอาด 1,170 มิลลิลติ ร หรือเตรียม กรดฟอร์มิคในอัตราส่วนน�้ำหนัก 0.2-0.5 กรัม ผสม น�้ำสะอาด 100 มิลลิลิตร ผสมกรดฟอร์มิคกับน�้ำยาง ที่กรองสองชั้นด้วยเครื่องกรองลวดเบอร์ 40 และ 60 โดยวางเครือ่ งกรองลวดเบอร์ 60 ไว้ดา้ นล่าง ตวงน�ำ้ ยาง ทีก่ รองแล้วใส่ตะกงทีส่ ะอาด 3 ลิตร เติมน�ำ้ สะอาด 2 ลิตร และเติมน�ำ้ กรดทีผ่ สมแล้ว 390 มิลลิลติ ร ขณะเทน�ำ้ กรด ใช้ใบพายกวนน�้ำยางประมาณ 6 เที่ยวและกวาดฟอง จากการกวนน�้ำยางออก เมื่อผสมเสร็จแล้วให้ปิดตะกง เพื่ อ ป้ อ งกั น ฝุ ่ น ละอองทิ้ ง ไว้ ใ ห้ แข็ ง ตั ว 30-45 นาที ก่อนน�ำยางไปนวดควรรินน�้ำสะอาดหล่อไว้ทุกตะกง เพือ่ สะดวกในการเทแท่งยางออกจากตะกง การนวดยาง ควรนวดแผ่นยางบนโต๊ะที่สะอาดซึ่งปูด้วยอลูมิเนียม หรือแผ่นสังกะสี นวดด้วยมือหรือไม้กลมตามความถนัด นวดยางให้หนาประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วน�ำเข้าเครือ่ ง รีดลื่น 3-4 ครั้งให้บางประมาณ 3-4 มิลลิเมตร แล้วน�ำ เข้าเครือ่ งรีดดอกเพือ่ ช่วยให้แผ่นยางแห้งเร็วขึน้ แผ่นยาง ที่รีดดอกแล้วควรล้างด้วยน�้ำสะอาดเพื่อล้างน�้ำกรด และสิง่ สกปรกออกให้หมดและน�ำไปผึง่ ไว้ในทีร่ ม่ ไม่ควร น�ำไปผึ่งกลางแดดเพราะจะท�ำให้เสื่อมคุณภาพได้ง่าย หลังจากผึง่ ไว้ประมาณ 6 ชัว่ โมง ให้เก็บรวบรวมยางแผ่น โดยพาดไว้บนราวในโรงเรือนเพื่อรอจ�ำหน่าย ถ้าน�ำเข้า รมควันหรืออบยางในโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ยางแผ่น จะแห้งเป็นการป้องกันเชื้อราและสามารถเก็บไว้ได้นาน เกษตรกรจะขายยางได้ในราคาสูงต้องท�ำยางแผ่นให้มี คุณภาพดีและรวมกลุ่มกันขายยางร่วมกันจ�ำนวนมาก ยางแผ่นทีม่ คี ณ ุ ภาพดีตอ้ งเป็นยางแผ่นทีส่ ะอาด แผ่นบาง

12

เนื้อยางแห้งใส สีของแผ่นยางสม�่ำเสมอ และแผ่นยาง มีลายดอกนูนเด่นชัดและมีความยืดหยุน่ การซึอ้ ขายยาง แผ่นดิบจะผ่านตลาด 3 ระบบคือ ระบบตลาดท้องถิ่น ระบบตลาดกลางยางพารา และระบบตลาดซื้อขาย ล่วงหน้า ยางแผ่นดิบผลิตโดยเกษตรกรสวนยางขนาดเล็ก ซึ่งมีจ�ำนวนกว่า 1 ล้านรายกระจายในภาคใต้ประมาณ ร้อยละ 90 ที่เหลือร้อยละ 10 อยู่ในภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ สวนยาง ขนาดเล็กมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 95 ของสวนยางทั้งหมด ในประเทศไทย ยางแผ่ น รมควั น สามารถท� ำ ได้ โ ดยรวบรวมยาง แผ่นดิบจากชาวสวนขนาดเล็กและผลิตยางแผ่นรมควัน โดยโรงงานของเอกชน หรือสวนยางขนาดใหญ่ผลิต ยางแผ่นดิบแล้วผลิตยางแผ่นรมควันโดยโรงรมควันของ ตนเอง ขัน้ ตอนในการผลิตยางแผ่นรมควันประกอบด้วย การท�ำความสะอาดยางแผ่นดิบในบ่อน�้ำและผึ่งให้แห้ง การรมควันทีอ่ ณ ุ หภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส ระยะเวลา ประมาณ 4-12 วัน การคีบสิ่งแปลกปลอมออกจาก แผ่นยางรมควัน และการอัดก้อนเป็นแท่งสี่เหลี่ยมที่มี น�ำ้ หนักประมาณ 111 กิโลกรัมต่อก้อน ยางแผ่นรมควัน เป็นผลิตภัณฑ์กลางน�้ำที่น�ำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาง ต่ า งๆได้ ในปี 2548 มี ก ารผลิ ต ยางแผ่ น รมควั น 1,028,015 ตัน มีการส่งออกประมาณร้อยละ 90 หรือ 920,972 ตัน ในปี 2549 มีโรงงานรมควันเอกชนจ�ำนวน 73 โรงงาน มีก�ำลังการผลิตรวมทั้งหมด 148,218 ตัน ต่อเดือนซึ่งเป็นผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดใหญ่ และ มีโรงรมควันขนาดเล็กและโรงรมควันสหกรณ์กองทุน สวนยางอีกจ�ำนวน 669 โรงงานทั่วประเทศ ยางแท่ง STR 20 เป็นยางแท่งชนิดที่มีการส่งออก มากที่สุดประมาณร้อยละ 70 ของปริมาณการส่งออก ยางแท่ ง ทั้ ง หมด การผลิ ต ยางแท่ ง มี ค วามส� ำ คั ญ ต่ อ อุตสาหกรรมยางในประเทศไทยมากเพราะในปัจจุบัน อุตสาหกรรมยางใช้ยางแท่งและยางก้อน เป็นวัตถุดิบ ในการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง แทนยางแผ่น และยางเครพ เพราะมี ก ารจั ด ชั้ น ยางที่ ไ ด้ ผ ลทดสอบคุ ณ ภาพยาง


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

สม�ำ่ เสมอแน่นอนกว่า การผลิตยางแท่งของประเทศไทย ครั้งแรกในปี 2511 โดยมีชื่อเรียกว่ายางแท่ง ที ที อาร์ (TTR – Thai Tested Rubber) ต่อมาสถาบันวิจัยยาง ได้ แ ก้ ไขและปรั บ ปรุ ง วิ ธี ป ฏิ บั ติ ข องการบรรจุ หี บ ห่ อ การควบคุมคุณภาพ และได้ตัดชั้นยางบางชั้นและเพิ่ม ชั้นยาง CV (Constant Viscosity) และเปลี่ยนชื่อเป็น ยางแท่ง เอส ที อาร์ (STR – Standard Thai Rubber) เมือ่ วันที่ 1 มกราคม 2539 และก�ำหนดเป็นชัน้ ยาง 8 ชัน้ ประกอบด้วย STR XL, STR 5L, STR 5, STR 5 CV, STR 10, STR 10 CV, STR 20 และ STR 20 CV (สถาบันวิจยั ยาง ข้อมูลวิชาการยางพารา 2553, pp. 85) ประเภทของวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ในการผลิตแตกต่างกัน ยางแท่ง ที่ผลิตจากน�้ำยางสดคือ STR XL, STR 5L ยางแท่ง ที่ผลิตจากน�้ำยางและยางแผ่นคือ STR 5, STR 5 CV และยางแท่งผลิตจากยางก้อนและยางแผ่นคือ STR 10, STR 10 CV, STR 20 และ STR 20 CV ในการศึกษา วิจัยนี้ ศึกษาเฉพาะการผลิตยางแท่ง STR 20 เท่านั้น การผลิ ต ยางแท่ ง STR 20 ใช้ วั ต ถุ ดิ บ หลั ก ประกอบด้วย ยางก้นถ้วย (Cup Lump) เศษยางตาม รอบกรีด ยางแห้งตามเปลือกยาง ยางแห้งตามพื้นดิน และยางแผ่นดิบ มาผสมกันตามเกณฑ์คณ ุ ภาพมาตรฐาน ของ STR (Standard Thai Rubber Specification) กระบวนการผลิตยางแท่ง STR 20 มี 3 ขัน้ ตอนหลักคือ การท�ำความสะอาด (Pre-cleaning Line) การผสม เศษยางกับยางแผ่นดิบทีม่ คี ณ ุ ภาพดีกว่าและการตัดย่อย (STR Line) และการอบยางและอัดแท่ง การท�ำความ สะอาดขัน้ แรกมีการท�ำงานหลายขัน้ ตอน โดยต้องคัดแยก สิ่งไม่พึงประสงค์เช่น ยางที่คงรูปแล้วหรือยางวัลคาไนซ์ (Vulcanized rubber) เศษหิน เศษโลหะต่างๆ และ เศษพลาสติกออก เพื่อเตรียมวัตถุดิบชนิดยางก้นถ้วย และเศษยางเข้ากระบวนการตัดหยาบที่เครื่องตัดหยาบ (Pre-Breaker) หลังจากนั้นน�ำไปแช่ล้างครั้งแรกที่บ่อ กวนล้าง (Circulating tank) ก่อนที่จะน�ำมารีดเพื่อ ท�ำความสะอาดและส่งไปตัดหยาบครัง้ ที่ 2 แล้วจึงน�ำมา แยกน�้ำและตัวเนื้อยางที่ตะแกรงแยกยาง (Vibrating

screen) และผ่านการท�ำความสะอาดอีกครัง้ ก่อนส่งผ่าน การรีดด้วยเครือ่ งเครพ (Crepe machine) และจะน�ำไป เก็บรวบรวมเพือ่ รอการเข้าสูก่ ระบวนการผสมกับยางแห้ง คุณภาพดีกว่าและตัดย่อยต่อไป ในการผสมเศษยางกับ ยางคุณภาพดีกว่าและการตัดย่อยเริม่ ต้นจากการผสมยาง ที่ผ่านการท�ำความสะอาดขั้นแรกแล้วกับยางแผ่นดิบ ในสัดส่วนต่างๆ เพื่อให้ได้คุณภาพมาตรฐาน และน�ำ ผ่านการรีดด้วยเครื่องเครพ (Crepe machine) และ ตั ด หยาบอี ก ครั้ ง เพื่ อ ลงบ่ อ กวนให้ เ ป็ น เนื้ อ เดี ย วกั น ก่อนส่งผ่านไปเครือ่ งตัดย่อย (Size reduction machine เช่น shredder และ pelletizer) ยางทีไ่ ด้จะเป็นชิน้ ยาง เม็ดเล็กๆขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร (Crumb rubber) น�ำไปบรรจุในกระบะเพือ่ รอการอบยางในขัน้ ตอนต่อไป ในการอบยางน�ำยางที่บรรจุในกระบะเข้าเตาอบให้แห้ง โดยการเป่าลมร้อนเพือ่ การอบและไล่ความชืน้ ทีอ่ ณ ุ หภูมิ ประมาณ 100-120 องศาเซลเซียส เพือ่ ให้ยางแห้งภายใน ระยะเวลาสัน้ และปราศจากผลกระทบต่อคุณสมบัตขิ องยาง เครือ่ งอบยางมีการท�ำงานขัน้ ตอนหลักคือ การปรับอุณหภูมิ ของตัวเนือ้ ยาง การอบยางโดยอุณหภูมภิ ายในเตาจะตัง้ สูงที่สุดเพื่อให้ยางได้รับความร้อนและแห้งอย่างทั่วถึง ทัง้ ผิวหน้าและภายในเม็ดยาง การปรับลดอุณภูมเิ พือ่ ให้ เวลาในการถ่ายเทความร้อนให้ทวั่ ถึงหน้ายางแต่ไม่มกี าร ไหม้เยิ้มที่ผิวหน้ายาง และการดูดกลิ่นและไล่ความชื้น ในเตาอบยางซึ่งจะต้องมีการออกแบบระบบการถ่ายเท ความร้อนภายในเตาอบทีด่ ี การอัดแท่งและบรรจุหบี ห่อ เป็นขัน้ ตอนสุดท้ายโดยต้องการให้เกิดความสะดวกในการ ขนย้ายและประหยัดพื้นที่ในการบรรจุหีบห่อ ยางเม็ดที่ ผ่านการอบแล้วจะน�ำไปอัดแท่งด้วยเครือ่ งอัดไฮดรอลิก ที่มีขนาดแรงอัดประมาณ 30-70 ตัน โดยใช้ระยะเวลา ในการอัดประมาณ 1-4 นาที ยางอัดแท่งขนาดมาตรฐาน มีขนาดประมาณ 675 x 330 x 190 มิลลิเมตรและ มีน�้ำหนัก 33.33 กิโลกรัมต่อแท่ง ยางที่อัดแท่งได้ มาตรฐานแล้วจะน�ำไปบรรจุหบี ห่อพลาสติกโพลีเอททีลนี ก่อนบรรจุหบี ห่อยางแท่งต้องมีอณ ุ หภูมติ ำ�่ กว่า 60 องศา เซลเซียส และมีการระบุชนิดและชัน้ ยางแท่งตามผลการ

13


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ทดสอบคุณภาพยางแท่งบนหีบห่อ ในปี 2547 มีโรงงาน ผลิตภัณฑ์ยางแท่งจ�ำนวน 62 โรงงานและมีการใช้แรงงาน ระดับไร้ฝีมือค่อนข้างสูง (มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 2551) ผู้ผลิตจึงให้ความส�ำคัญของการฝึกอบรมฝีมือ แรงงานโดยเฉพาะผูผ้ ลิตขนาดใหญ่ ผูผ้ ลิตต่างชาติ และ ผู้ผลิตไทย การผลิตและการส่งออกยางแท่งมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2548 มีปริมาณการผลิต 1,240,265 เมตริกตัน มีการส่งออกจ�ำนวน 1,109,327 เมตริกตัน ในปี 2551 ปริมาณการผลิตยางแท่ง 1,282,036 เมตริกตัน และปริมาณการส่งออก 1,132,135 เมตริกตัน แต่ ใ นปี 2552 ปริ ม าณการผลิ ต ยางแท่ ง ลดลงเป็ น 1,058,892 เมตริ ก ตั น และการส่ ง ออกลดลงเหลื อ 950,574 เมตริกตัน เนือ่ งจากมีการผลิตและการส่งออก ยาง Compound สูงขึ้นจากปี 2551 ประมาณร้อยละ 250-310 (สถาบันวิจยั ยาง, 2553: 6-7) เนือ่ งจากความ ต้องการของตลาดในประเทศจีน อุตสาหกรรมน�้ำยางข้นและผลิตภัณฑ์ยาง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ย างอาจผลิ ต จากยางธรรมชาติ หรื อ ยางสังเคราะห์ชนิดใดชนิดหนึง่ หรือใช้ยางธรรมชาติและ ยางสั ง เคราะห์ ผ สมกั น ยางธรรมชาติ ใช้ ไ ด้ ทั้ ง ในรู ป ยางแห้งเช่น ยางแผ่น และยางแท่ง และในรูปน�้ำยางข้น ยางสังเคราะห์เป็นยางที่สังเคราะห์ขึ้นโดยปฏิกิริยา พอลิเมอไรเซชัน่ ของสารตัง้ ต้น ยางสังเคราะห์ใช้กนั มาก ในประเทศอุตสาหกรรมและเป็นกลุ่มเดียวกับประเทศ ผูผ้ ลิต และเลือกใช้ตามคุณสมบัตทิ างกายภาพทีต่ อ้ งการ เช่น ทนต่อน�ำ้ มัน ทนต่ออุณหภูมสิ งู และสามารถกักเก็บ ลมได้ดี ในปี 2552 จีนเป็นผู้ใช้ยางสังเคราะห์มากที่สุด จ�ำนวน 4.266 ล้านตัน สหรัฐอเมริกา 1.448 ล้านตัน ญี่ ปุ ่ น 834 ล้ า นตั น และเยอรมั น 450 ล้ า นตั น (สถาบันวิจัยยาง, 2553: 7) ผลิตภัณฑ์ที่ใช้น�้ำยางข้นประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ จุม่ แบบพิมพ์ (Dipping) ได้แก่ ถุงมือยาง ลูกโป่ง ถุงยาง อนามัย หัวนมยาง และท่อสวนปัสสาวะ (Catheters) ผลิตภัณฑ์การตีฟอง (Foaming) เช่นผลิตภัณฑ์ฟองน�้ำ

14

หลังพรม ผลิตภัณฑ์ยางฟองน�ำ้ ทีน่ อนยางพารา ผลิตภัณฑ์ อัดผ่านแม่แบบ (Extrusion) ประกอบด้วย สายยางยืด ส�ำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ ท่อยางเช่นสายน�้ำเกลือ ผลิตภัณฑ์หล่อเบ้าพิมพ์ (Casting) เช่นหน้ากาก หุ่น ต่างๆ และผลิตภัณฑ์อนื่ เช่น กาวน�ำ้ ยางในอุตสาหกรรม รองเท้าและเสื้อฝน ผลิตภัณฑ์จากยางแห้งเป็นการผลิตในอุตสาหกรรม ที่ มี ก ารออกแบบสู ต รโดยพิ จ ารณาจากคุ ณ ภาพของ ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ และเทคนิคการผลิตซึ่งขึ้นอยู่กับ รู ป แบบผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละการเลื อ กใช้ เ ครื่ อ งจั ก รขึ้ น รู ป อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางแห้งกลางน�ำ้ ทีส่ ำ� คัญ ประกอบด้วย การใช้เบ้าพิมพ์ (Moulding) เป็นการท�ำให้ ยางเกิดรูปร่างของผลิตภัณฑ์ทตี่ อ้ งการพร้อมกับการเกิด ปฏิกิริยายางคงรูปโดยใช้ความร้อนและแรงอัดยางที่อยู่ ในสภาพทีอ่ อ่ นตัวและไหลได้ โดยเบ้าพิมพ์จำ� แนกได้เป็น 3 แบบคือ พิมพ์อดั (Compression mould) เป็นพิมพ์ ที่ออกแบบในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ยางทั่วไปอย่างง่าย พิมพ์กงึ่ ฉีด (Transfer mould) เป็นการท�ำให้ยางอ่อนตัว จากส่วนหนึ่งของเบ้าพิมพ์และกระจายไปที่เบ้าพิมพ์ รูปร่างผลิตภัณฑ์ และพิมพ์ฉีด (Injection mould) เป็นการฉีดยางที่ถูกหลอมด้วยความร้อนเข้าเบ้าพิมพ์ ผลิตภัณฑ์ เทคนิคการผลิตจากยางแห้งอื่นคือ การอัด ผ่านแม่แบบ (Extrusion) เป็นการผลิตแบบต่อเนื่อง โดยใช้เครือ่ งเอกซ์ทรูด (Extruder) เช่น การผลิตท่อยาง ยางขอบกระจก และ ยางหุ้มสายไฟ และการใช้เครื่อง รีดเรียบ (Calendering) เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มี ลักษณะเป็นแผ่นโดยเครือ่ งมือรีดยางทีม่ ลี กู กลิง้ 3-5 ลูก เช่น สายพาน เป็นต้น อุตสาหกรรมไม้ยางพารา อุตสาหกรรมไม้ยางพารา (Rubberwood Industry) เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับไม้ยางพาราทั้งระบบ ตั้งแต่การเลือกสรรพันธุ์ต้นยางพารา การปลูก การน�ำ ไม้ยางพารามาใช้ประโยขน์ ทัง้ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานโยบายภาครัฐ


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

มุง่ เน้นการใช้ประโยชน์จากน�ำ้ ยางเป็นหลัก มีการควบคุม การขยายพืน้ ทีก่ ารปลูกยางพาราโดยมิได้มองถึงประโยชน์ จากไม้ ย างพาราเป็ น ส� ำ คั ญ เพราะไม่ มี ยุ ท ธศาสตร์ การพัฒนาทีช่ ดั เจน จึงมีความส�ำคัญทีจ่ ะน�ำอุตสาหกรรม ไม้ยางพาราทัง้ ระบบตัง้ แต่ตน้ น�้ำถึงปลายน�้ำและโอกาส ในการพั ฒ นา มาจั ด ท� ำ ยุ ท ธศาสตร์ อุ ต สาหกรรมไม้ ยางพาราเพื่อสร้างความชัดเจนและความส�ำคัญของ ไม้ยางพาราทัง้ ระบบ ในปัจจุบนั การใช้ไม้ยางพาราแม้ไม่มี ยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนได้มีการพัฒนาไปแล้วในระดับหนึ่ง ไม้ยางพารายังคงมีศกั ยภาพทีจ่ ะสามารถสร้างมูลค่าเพิม่ ได้อีกหลายด้านโดยใช้ฐานศักยภาพในการผลิตจากการ ให้ ก ารสงเคราะห์ ก ารตั ด โค่ น เพื่ อ ปลู ก ทดแทนสวน ยางพารา ไม้ยางพาราที่เป็นผลจากการตัดโค่นต้นยางเก่า เพื่อปลูกทดแทน เป็นแหล่งรายได้ที่ดีของเกษตรกร เพราะไม้ยางพาราได้รับความนิยมน�ำไปท�ำผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ ของเล่นส�ำหรับเด็ก กรอบรูป แผ่นชิ้นไม้อัดแผ่นใยอัดแข็งความหนาแน่นปานกลาง (MDF) พื้นไม้ปาร์เก้ ปริมาตรไม้ยางพาราขนาด 1 ไร่ สามารถน�ำมาใช้เป็นไม้ยางพาราท่อนได้โดยเฉลี่ย 40 ลูกบาศก์เมตร ไม้ยางพาราท่อนทีม่ ขี นาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ใหญ่กว่า 6 นิ้วเหมาะส�ำหรับผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ ของเด็กเล่น และของใช้ในครัวเรือน ในขณะทีไ่ ม้ยางพารา ท่อนที่มีขนาดต�่ำกว่า 6 นิ้ว เหมาะกับการผลิตไม้แผ่น MDF และ ไม้ Particle Board โดยเฉลี่ยในการโค่น ต้ น ยาง 200,000 ไร่ ต ่ อ ปี จะได้ ไ ม้ ย างพาราท่ อ น (อุตสาหกรรมต้นน�้ำ) เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้วขึ้นไป ปริมาตร 5.0 ล้านลูกบาตก์เมตร (4 ล้านตัน) และ ขนาด 6 นิว้ และต�ำ่ กว่า ประมาณ 3.0 ล้านลูกบาศก์เมตร (2.4 ล้านตัน) และจะได้ไม้ยางพาราแปรรูป (อุตสาหกรรม กลางน�้ำ) ประมาณ 1.60 ล้านลบ.เมตร ปีกไม้ 2.10 ล้านลบ.เมตร (1.365 ล้านตัน) ขี้เลื่อย 0.90 ล้าน ลบ.เมตร (0.585 ล้านตัน) ไม้ MDF 0.85 ล้านลบ.เมตร ไม้ Particle Board 0.88 ล้านลบ.เมตร ไม้ Veneer 0.20 ล้านลบ.เมตร และไม้ยางเชือ้ เพลิงยางแผ่นรมควัน

0.15 ล้านลบ.เมตร มูลค่าการโค่นยางพารา 200,000 ไร่ในอุตสาหกรรมยางพาราต้นน�้ำ ณ ราคาไม้ยางพารา ท่อนเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้วขึ้นไปที่ 1,150 บาทต่อตัน และราคาไม้ยางพาราท่อนขนาด 6 นิ้วและต�่ำกว่าที่ 600 บาทต่อตัน ค�ำนวณได้ 5,440 ล้านบาท มูลค่า การโค่นยางพารา 200,000 ไร่เดียวกันในอุตสาหกรรม ยางพารากลางน�้ ำ ณ.ราคาไม้ แ ปรรู ป 7,000 บาท ต่อลบ.เมตร ปีกไม้ 250 บาทต่อตัน ขี้เลื่อย 150 บาท ต่อตัน ไม้ Particle Board 5,000 บาทต่อลบ.เมตร ไม้ MDF 7,000 บาทต่อลบ.เมตร ไม้ Veneer 10,000 บาทต่อลบ.เมตร และไม้ยางเชื้อเพลิง 500 บาทต่อ ลบ.เมตร ค�ำนวณได้ 23,704 ล้านบาท พื้นที่ขอทุน สงเคราะห์ปลูกยางแทนในปี 2552 มีจำ� นวน 184,526 ไร่ แบ่งเป็นภาคใต้ 161,957 ไร่ ภาคตะวันออก 22,569 ไร่ คาดว่าจะได้ปริมาตรไม้ยางพาราทีพ่ ร้อมตัดโค่น จ�ำนวน 7,011,988 ลูกบาศก์เมตร (จากปริมาตรไม้ยาง 65 ต้น หรือ 38 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่) (สถาบันวิจยั ยาง, 2553: 101) จะมีมูลค่าไม้ยางพาราในจ�ำนวนสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ในปี 2552 ประเทศไทยมีโรงงานอบไม้ประมาณ 55 แห่ง และมีโรงงานแปรรูปไม้ประมาณ 540 แห่ง สามารถผลิตไม้ยางพาราแปรรูปได้ประมาณ 3 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี มีปริมาตรไม้ยางพาราทีพ่ ร้อมตัดโค่น ประมาณ 7.01 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีการส่งออก ไม้ยางพาราแปรรูปประมาณ 2.03 ล้านลูกบาศก์เมตร (สถาบันวิจัยยาง, 2553: 99-102) โรงงานแปรรูป ขนาดเล็กส่วนใหญ่ไม่มเี ตาอบและไม่มอี ปุ กรณ์อดั น�ำ้ ยาไม้ ของตนเอง ท�ำให้ไม้แปรรูปที่ได้ด้อยคุณภาพ ในขณะที่ โรงงานแปรรูปขนาดใหญ่มีอุปกรณ์เครื่องอัดน�้ำยาไม้ และเตาอบไม้ทันสมัย ในการส�ำรวจโรงงานแปรรูปไม้ ยางพาราภาคตะวันออกจ�ำนวน 4 โรงงานและภาคใต้ จ�ำนวน 9 โรงงาน พบว่า โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา มีเครื่องอัดน�้ำยาไม้และเตาอบไม้ จ�ำนวน 11 โรงงาน และมีเพียง 2 โรงงานเท่านัน้ ทีแ่ ปรรูปไม้เพียงอย่างเดียว เครื่ อ งอั ด น�้ ำ ยาไม้ ย างพาราใช้ ตั ว ยา Timbor หรื อ Boric+Borax หรือ Cellbor โดยใช้ความดัน 150-200

15


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ปอนด์ตอ่ ตารางนิว้ เตาอบไม้ยางพาราจะอบไม้หลังจาก ผ่านการอัดน�้ำยาไม้แล้วโดยเป็นการอบไม้แบบใช้ไอน�้ำ อบไม้ยางพาราให้มคี วามชืน้ ร้อยละ 8-12 เวลาในการอบ แต่ละเตาประมาณ 7-15 วัน โรงงานแปรรูปไม้ยางพารา จะมีเตาอบไม้ตั้งแต่ 5-50 เตา ณ ความจุ 13.0-45.0 ลบ.เมตรต่อเตา โดยมีการตรวจสอบคุณภาพไม้ยางพารา หลังการอัดน�ำ้ ยาและการอบไม้ และการทดสอบความชืน้ ของไม้ยางพาราอย่างเหมาะสม อุ ต สาหกรรมเฟอร์ นิ เจอร์ ไ ม้ ข องไทย ผลิ ต จาก ไม้ยางพาราร้อยละ 60 ผลิตจากไม้เนื้อแข็งร้อยละ 10 และร้อยละ 30 ผลิตจากไม้แผ่นเรียบอืน่ ๆ เช่น Particle Board และไม้อัดซึ่งผลิตจากไม้ยางพาราร้อยละ 90 ตลาดการส่ ง ออกเฟอร์ นิ เจอร์ ที่ ส� ำ คั ญ ได้ แ ก่ ญี่ ปุ ่ น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร และเป็นตลาดที่มี มู ล ค่ า กว่ า 20,000 ล้ า นบาทต่ อ ปี การศึ ก ษาและ วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคของการผลิตเฟอร์นิเจอร์จาก ยางพาราเป็นปัญหาเกี่ยวข้องโดยตรงกับอุตสาหกรรม ผลิ ต น�้ ำ ยางซึ่ ง มี ผ ลกระทบต่ อ การผลิ ต และแปรรู ป ไม้ยางพาราอันประกอบด้วย การขาดแคลนวัตถุดิบใน การผลิต คุณภาพวัตถุดบิ ไม่สม�ำ่ เสมอและมีสงิ่ ปลอมปน ขาดแคลนแรงงานการผลิต ขาดความรู้ความเข้าใจและ เทคโนโลยีการผลิต และน�้ำมันซึ่งเป็นวัตถุดิบส�ำคัญ ในการผลิตมีราคาสูง โดยองค์รวมปัญหาส�ำคัญของ อุตสาหกรรมไม้ยางพาราประกอบด้วย การขาดแคลน วัตถุดิบไม้ยางพารา ปัญหาเทคโนโลยีการแปรรูป และ ปัญหาการขัดแย้งทางนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ยางพาราครบวงจรและโครงการส่งเสริมการปลูกไม้ เศรษฐกิจ การศึกษาและส�ำรวจด้านโลจิสติกส์ยางพารา ระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานยางพาราใน ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การน�ำผลผลิตยางพาราในภาคเหนือและภาคตะวันออก เฉียงเหนือออกสู่ตลาดมีความคล้ายคลึงกันเพราะเป็น พืน้ ทีป่ ลูกยางพาราใหม่เช่นกัน โดยเส้นทางการน�ำผลผลิต

16

ยางพาราเช่น ยางแผ่นดิบ เศษยาง และยางก้อนถ้วย ของเกษตรกรของจังหวัดต่างๆในภาคเหนือ ออกสูต่ ลาด จนถึงโรงงานแปรรูปขั้นต้น ผ่านตลาดต่างๆดังนี้ พ่อค้า ท้องถิ่นรายย่อยเป็นผู้รับซื้อผลผลิตยางในแหล่งผลิต ในพื้นที่ทั้ง ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย และเศษยางจาก พืน้ ทีป่ ลูกยางของเกษตรกร และรวบรวมจนได้ปริมาณมาก จึงส่งต่อให้พ่อค้าท้องถิ่นรายใหญ่ ส่วนพ่อค้าท้องถิ่น รายใหญ่จะรับซือ้ ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย และเศษยาง จากเกษตรกรโดยตรงหรือจากพ่อค้าท้องถิ่นรายย่อย จนมีปริมาณมากพอ จึงส่งต่อไปยังตลาดกลางยางพารา ที่จังหวัดระยอง ราคายางแผ่นดิบที่ซื้อจากเกษตรกร ในท้องทีแ่ หล่งผลิตจะต�ำ่ กว่าราคากลางประมาณกิโลกรัม ละ 1-2 บาท ส่วนเศษยางและยางก้อนถ้วยจะรับซื้อ ในราคาต�ำ่ กว่าราคากลางเช่นกัน (มหาวิทยาลัยแม่ฟา้ หลวง, 2551) การขนส่งผลผลิตยางพาราจากเกษตรกรในภาคเหนือ สู่ตลาดกลางยางพาราภาคตะวันออก จังหวัดระยอง ใช้รถบรรทุกเป็นส่วนใหญ่ ผ่านจังหวัดเชียงราย พะเยา ล�ำปาง และตาก จนถึงจังหวัดระยอง เพื่อส่งให้โรงงาน แปรรูปอุตสาหกรรมยางขัน้ กลางน�้ำและขัน้ ปลายน�ำ้ ผ่าน ตลาดกลางเพือ่ น�ำไปแปรรูปต่อ หรือบริษทั ทีร่ บั ส่งสินค้า ส่งออกจะรับส่งสินค้าเพื่อส่งออกประเทศจีนผ่านทาง ด่านทีอ่ ำ� เภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยใช้รถบรรทุก จากจังหวัดระยองผ่านภาคกลางขึ้นมาจังหวัดเชียงราย ผลผลิตยางจากเกษตรกรสวนยางในภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบนจะเป็นยางแผ่นดิบประมาณร้อยละ 70 ยางก้อนถ้วย (Cup Lump) ประมาณร้อยละ 20 และ น�้ำยางสดประมาณร้อยละ 10 ยางก้อนถ้วยและ ยางแผ่นดิบเป็นวัตถุดิบในการผลิตยางแท่ง เกษตรกร ในจังหวัดหนองคายและมุกดาหารนิยมผลิตยางก้อนถ้วย มากขึน้ เพราะขัน้ ตอนการท�ำไม่ยงุ่ ยาก มีตน้ ทุนในการผลิต ต�่ำกว่ายางแผ่นดิบและราคายางก้อนถ้วยใกล้เคียงกับ ยางแผ่นดิบ เกษตรกรในจังหวัดอื่นของภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบนยังนิยมผลิตยางแผ่นดิบเป็นส่วนใหญ่


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตยางในภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบนเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปกลางน�ำ้ ขัน้ ต้น ท�ำการผลิตจากวัตถุดิบของเกษตรกรให้เป็น น�้ำยางข้น ยางแผ่นแห้ง ยางแผ่นรมควัน ยางแผ่นรมควันอัดก้อน และยางแท่ง แล้วจึงใช้สว่ นหนึง่ เป็นวัตถุดบิ ในอุตสาหกรรม กลางน�ำ้ ขัน้ กลางและอุตสาหกรรมปลายน�ำ้ ในภาคกลาง และภาคตะวั น ออก อี ก ส่ ว นหนึ่ ง ส่ ง ออกทางท่ า เรื อ แหลมฉบังไปยังตลาดในประเทศอุตสาหกรรม ระบบ โลจิสติกส์ยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เริม่ จากผลผลิตยางพาราในรูปของน�้ำยางสด ยางแผ่นดิบ และยางก้อนถ้วยของเกษตรกรประมาณร้อยละ 80 ถูกน�ำมาเปิดประมูลในตลาดประมูลยางท้องถิ่นในรูป กลุ่มสหกรณ์ด�ำเนินการเปิดประมูลยางเดือนละ 1 ครั้ง ณ สถานที่จัดประมูลใกล้แหล่งผลิตอ�ำเภอละ 1 ตลาด พ่อค้าท้องถิน่ จะเป็นผูป้ ระมูลได้เป็นส่วนใหญ่ ส่วนทีเ่ หลือ เกษตรกรขายผลผลิตยางให้พอ่ ค้าท้องถิน่ โดยตรง พ่อค้า ท้องถิน่ รวบรวมผลผลิตยางจนมีจำ� นวนมาก แล้วส่งขาย ให้โรงงานแปรรูปในพืน้ ทีจ่ งั หวัดอุดรธานี จ�ำนวน 2 โรงงาน (ไทยฮัว้ ยางพารา และ มหากิจรับเบอร์) จังหวัดหนองคาย 4 โรงงาน (ไทยฮั้ ว ยางพารา ไทยรั บ เบอร์ ล าเท๊ ก ซ์ รุง่ เรืองยางพารา และ ไทยอีสเทิรน์ รับเบอร์) และจังหวัด มุกดาหาร 1 โรงงาน (พุทธรักษาไทยรับเบอร์) ในช่วง ผลผลิตยางขาดแคลนและราคาสูง พ่อค้าท้องถิน่ จะขาย ผลผลิตยางโดยตรงให้โรงงานแปรรูปในจังหวัดระยอง และชลบุรีเพราะท�ำราคาที่ดีกว่า โรงงานแปรรูปในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน รับซื้อผลผลิตยางจาก เกษตรกรโดยตรงที่ อ ยู ่ ใ นบริ เวณใกล้ เ คี ย งประมาณ ร้อยละ 5 ประมูลผลผลิตยางจากตลาดประมูลยางท้องถิน่ ประมาณร้อยละ 5 และที่เหลือรับซื้อจากพ่อค้าท้องถิ่น ผลผลิตแปรรูปในรูปของน�้ำยางข้น ยางแผ่นรมควัน ยางแผ่นรมควันอัดก้อน และยางแท่ง ซึง่ ร้อยละ 70 เป็น ยางแผ่นรมควันและยางแท่งส่งออกผ่านท่าเรือแหลมฉบัง ไปยังประเทศคู่ค้าเช่น จีนและญี่ปุ่น ส่วนที่เหลือส่งเป็น วัตถุดบิ ในอุตสาหกรรมกลางน�ำ้ และปลายน�ำ้ ในภาคกลาง และภาคตะวันออก โรงงานแปรรูปผลผลิตยางต้นน�้ำ

นอกภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในจังหวัดระยอง และชลบุรี รับซือ้ ผลผลิตยางขัน้ ต้นจากเกษตรกรในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนผ่านพ่อค้าท้องถิน่ ประมาณ ร้อยละ 20 การศึ ก ษาและส� ำ รวจนวั ต กรรมการเพิ่ ม มู ล ค่ า ยางพาราไทยและผลพลอยได้ การเพิ่มคุณภาพยางแผ่นดิบด้วยพลังงานแสง อาทิตย์ การท�ำให้ยางแผ่นดิบแห้งส่วนมากใช้การผึง่ ในทีร่ ม่ ก่อนท�ำเป็นยางแผ่นรมควัน หรือยางแผ่นอบแห้งโดยการ ผ่านลมร้อนในห้องอบ ตามความต้องการของตลาด หรือการผลิตยางแท่งหลังจากย่อยยางเป็นชิ้นเล็กๆด้วย เครือ่ งเชรดเดอร์แล้วต้องน�ำยางไปผ่านเครือ่ งอบไดรเออร์ เพือ่ ท�ำให้ยางแห้งแล้วจึงอัดเป็นแท่ง โรงอบยางพลังงาน แสงอาทิ ต ย์ ต ้ น แบบเป็ น โรงอบยางโครงเหล็ ก ขนาด 2.0 เมตร x 2.5 เมตร x สูง 3.0 เมตร ผนังและหลังคา บุด้วยสังกะสีทาสีด�ำเพื่อรับความร้อนจากแสงอาทิตย์ และป้องกันแสงอัลตราไวโอเลต (UV) ทีจ่ ะสัมผัสผิวยาง เป็นการป้องกันยางเสือ่ มสภาพ มีปล่องระบายความชืน้ บริเวณหลังคา โรงอบมีประตูเข้าออก 2 ด้านเพื่อความ สะดวกในการเคลื่อนย้ายยางที่แห้งแล้ว ด้านในมีรถ ตากยางท�ำด้วยโครงเหล็กขนาด 1.80 เมตร x 2.00 เมตร x 2.20 เมตร ประกอบด้วยราวตากยาง 4 ชัน้ วางราวได้ 124 ท่อน ราว 1 ท่อนตากยางได้ 3 แผ่น เพื่อตากยาง ได้ทั้งสิ้น 372 แผ่น เหมาะส�ำหรับเกษตรกรที่มีสวน ยางพาราขนาด 25-60 ไร่ หลังจากรีดยางแผ่นดิบแล้ว ผึง่ ให้แห้งน�ำ้ ประมาณ 15-30 นาที แล้วน�ำยางเข้าอบใน โรงอบโดยใช้ระยะเวลาอบนาน 2-3 วัน ในสภาพแดดจัด อุณหภูมิในโรงอบจะอยุ่ที่ระดับ 42-49 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิภายในสูงกว่าภายนอกประมาณ 7-10 องศาเซลเซียส ปริมาณความชื้นในยางแผ่นดิบที่ได้ จะน้อยกว่าร้อยละ 1 โรงอบยางพลังงานแสงอาทิตย์ ช่ ว ยลดระยะเวลาการรมควั น ยางดิ บ และลดต้ น ทุ น การผลิต

17


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

การปลูกพืชแซมยาง เจ้าของสวนยางหลังปลูกยางจนกระทั่งยางพารา เปิดกรีดได้ สามารถปลูกพืชแซมยางประเภทที่ต้องการ แสงมากประกอบด้วยพืชไร่ต่างๆ เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด กล้วย มะละกอ สับปะรด พืชผักต่างๆ และพืชประเภทถัว่ เพื่อเป็นรายได้เสริม โดยปลูกห่างจากแถวยางพารา ประมาณ 1 เมตร อ้อยท�ำน�้ำตาลและอ้อยคั้นน�้ำไม่ควร ปลู ก ในสวนยางพาราในภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ เพราะมีผลกระทบต่อต้นยางพาราและปัญหาไฟไหม้ สวนยางพารา ส่วนอ้อยคั้นน�้ำสามารถปลูกได้ในสวน ยางพาราในภาคใต้และภาคตะวันออกเพราะฤดูร้อน ไม่แห้งแล้งมาก ไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของ ยางพารา และปัญหาด้านเป็นเชื้อไฟมีน้อยเนื่องจาก อายุสนั้ มันส�ำปะหลังไม่ควรปลูกในภาคใต้ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเพราะมีศักยภาพในการ ใช้ปยุ๋ สูงจึงมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของยางพารา ถ้าเกษตรกรต้องการปลูกมันส�ำปะหลังเพราะความ ต้องการของตลาดและการบ�ำรุงรักษาง่าย สามารถปลูก ห่างจากแถวยางพาราประมาณ 2 เมตรและไถตัดราก ห่ า งจากแถวมั น ส� ำ ปะหลั ง ที่ อ ยู ่ ใ กล้ แ ถวยางพารา ประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อลดปัญหาการแย่งปุ๋ยและ ความชืน้ จากยางพารา ในกรณีการปลูกละหุง่ ไม่ควรปลูก ในภาคใต้และภาคตะวันออกเพราะมีผลกระทบต่อการ เจริญเติบโตของยางพารา ฝักละหุ่งมักเป็นเชื้อราจาก ความชื้น การปลูกละหุ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อนุโลมให้ปลูกได้และควรปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูก มันส�ำปะหลัง นอกจากนั้น เมื่อต้นยางให้ผลผลิตแล้ว เจ้าของสวนยางยังสามารถปลูกพืชร่วมยางเพือ่ เพิม่ รายได้ นอกเหนือจากรายได้จากสวนยางอย่างเดียวโดยการ ปลูกพืชแซมยางทีท่ นต่อสภาพร่มเงา ได้แก่ ขิง ข่า ขมิน้ ไม้ดอกบางชนิดเช่นดาหลา หน้าวัว ผักพืน้ บ้านบางชนิด เช่น ผักกูด และเฟิร์นชนิดต่างๆ

18

การเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง การเพิม่ รายได้ของเกษตรกรเจ้าของสวนยางจากการ เลีย้ งสัตว์ในสวนยางสามารถท�ำได้ในรูปของการปลูกหญ้า เพือ่ เลีย้ งสัตว์ในสวนยางอ่อน และการปล่อยสัตว์กนิ หญ้า ในสวนยางเช่น แกะ แพะ สัตว์ปีก และผึ้ง ในกรณี การเลี้ยงแพะในสวนยางสามารถท�ำได้เพราะมีปริมาณ หญ้าเพียงพอทัง้ ในสวนยางอ่อนและสวนยางทีใ่ ห้ผลผลิต แล้วแต่ตอ้ งมีการบริหารจัดการทีเ่ หมาะสมรวมถึง การให้ แพะได้รบั แสงแดดเพียงพอ การสร้างโรงเรือนให้แพะพัก การล้อมรั้วแนวต้นยางไม่ให้แพะกินใบยาง การจัดน�้ำ สะอาดและเกลือแร่ให้แพะตลอดเวลา และการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย การเลี้ยงผึ้งในสวนยาง ต้องใช้ผงึ้ พันธุ์ Apis mellifera เพือ่ เก็บน�ำ้ หวานโดยวิธี ย้ายรังและเริ่มวางรังผึ้งในสวนยางในช่วงยางผลัดใบ ยางพารา 1.4 ไร่ สามารถเลี้ยงผึ้งได้ 1 รัง การสัมมนาเผยแพร่ความรูร้ ปู แบบการพัฒนา Supply Chain ของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง การจัดสัมมนาในหัวข้อ “อนาคตเกษตรกรกับการ พั ฒ นาอุ ต สาหกรรมยางและผลิ ต ภั ณ ฑ์ ย าง” โดย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2551 เวลา 09.30-15.30 น. ณ. จังหวัดเชียงราย เพือ่ เผยแพร่ ความรูแ้ ละส่งเสริมและพัฒนากลุม่ อุตสาหกรรมให้ได้รบั ข้อมูลความรู้ โดยก�ำหนดวัตถุประสงค์เพือ่ เผยแพร่ความรู้ ในการพัฒนาระบบ Supply Chain ของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางตั้งแต่ต้นน�้ำ กลางน�้ำและปลายน�้ำ เผยแพร่ความรู้และส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ยางพาราเพื่ออนาคต เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจการ พัฒนากระบวนการแปรรูปยางพาราให้แก่กลุม่ เกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องกับระบบยางพารา ผลักดันและพัฒนา กลุ่มเกษตรกรตลอดจนระบบ Supply Chain ของ อุตสาหกรรมยางพาราให้สามารถสร้างรายได้และพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และรับฟัง ข้อเสนอแนะปัญหาอุปสรรคต่างๆของระบบ Supply Chain ในอุตสาหกรรมยางพารา โดยมีสาระส�ำคัญ ในการสัมมนาดังนี้


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

เทคโนโลยีทคี่ วรใช้ในการปลูกยาง (โดยคุณมังกร นาคปทุมสวัสดิ์) เกษตรกรสวนยางภาคเหนือและภาคตะวันออก เฉียงเหนือมีอาชีพท�ำไร่มาก่อนและจะใช้วธิ กี ารเตรียมการ ปลูกยางพาราเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่โดยการไถดิน เพือ่ เตรียมพืน้ ทีป่ ลูกและก�ำจัดวัชพืช การฉีดยาฆ่าหญ้า เพือ่ ก�ำจัดวัชพืช และการเผาซากตอซังหลังการเก็บเกีย่ ว ซึ่งทั้งหมดเป็นการท�ำลายดิน การไถท�ำให้ดินร่วนจะถูก น�ำ้ ฝนชะล้างตะกอนดินออกไปโดยง่าย การฉีดยาฆ่าหญ้า ท�ำให้จลุ นิ ทรียใ์ นดินและไส้เดือนตาย ท�ำให้หญ้าทีร่ กั ษา หน้าดินรักษาความชุ่มชื้นตาย การเผาเป็นการท�ำลาย ปุ๋ยอินทรีย์เพราะซากพืชจะย่อยสลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เกษตรกรไถไกล้ต้นยางมากและไถในฤดูแล้งท�ำให้ รากยางขาด ยางขาดน�้ำและเหี่ยวเฉาเกษตรกรบางราย น�ำรถแทรคเตอร์ไปไถในสวนยางใหญ่ที่เปิดกรีดแล้ว ท�ำให้รากยางขาดท�ำให้ได้ผลผลิตต�่ำ การไถวิธีที่ถูก ควรห่างจากแถวยางข้างละ 2-3 เมตรและไถเฉพาะ สวนยางเล็กอายุไม่เกิน 3 ปี การฉีดยาฆ่าหญ้าจะท�ำให้ต้นยางใบเหลืองชะงัก การเจริญเติบโต การฉีดยาฆ่าหญ้าทีถ่ กู ต้องควรฉีดเฉพาะ สวนยางที่มีอายุไม่เกิน 3 ปี เมื่อสวนยางอายุเกิน 3 ปี สวนยางเริม่ มีรม่ เงาหญ้าจะน้อยลงและควรใช้วธิ ตี ดั หญ้า หรือถากหญ้าเท่านั้น การฉีดยาฆ่าหญ้าในสวนยางที่ เปิดกรีดแล้วมีผลท�ำให้น�้ำยางลดลงและยางเป็นโรค มากขึ้น เพราะหญ้าจะช่วยรักษาหน้าดิน รักษาความ ชุม่ ชืน้ เพิม่ ปุย๋ อินทรียด์ นิ และลดเชือ้ ราทีเ่ ป็นสาเหตุของ โรคยางต่างๆ การปลูกพืชเชิงเดีย่ วหรือปลูกยางอย่างเดียวเต็มพืน้ ที่ สวนยางจะเป็นโรคระบาดมากขึ้นจากเชื้อราจากการ ปลูกยางอย่างเดียว ไม่มเี ชือ้ ราจากพืชอืน่ มาถ่วงดุลจึงควร ปลูกไม้ผลหรือไม้ป่าแซมในสวนยางจะช่วยป้องกันโรค ป้องกันลมและรักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์ การใส่ปยุ๋ ต้นยางต้องใส่ปยุ๋ ปลายราก หรือปลายพุม่ ใบ เพราะยางเป็นพืชขนาดใหญ่รากแผ่ขยายไปไกล ยางจึง จะได้รับปุ๋ยอย่างเต็มที่

ยุทธศาสตร์แนวใหม่ในการพัฒนาการแปรรูป ยางพารา (โดยคุณอุทัย สอนหลักทรัพย์ และคุณชโย ตรังอดิศัยกุล) ศักยภาพการพัฒนาของกลุ่มโรงงานแปรรูปยาง โดยเฉพาะน�ำ้ ยางข้นและยางแท่งมีศกั ยภาพทีจ่ ะแข่งขัน ได้สงู เพราะการแปรรูปมีคา่ สูงและใช้พลังงานต่อพืน้ ทีต่ �่ำ ส่วนยางแผ่นรมควันและยางเครพใช้พลังงานต�ำ่ แต่รายได้ ของโรงงานเฉลี่ยต่อหัวของแรงงานต�่ำ จึงมีศักยภาพ ปานกลาง จะเพิ่ ม ขี ด ความสามารถได้ ก็ ต ้ อ งเปลี่ ย น กรรมวิธีการผลิตให้ใช้แรงงานน้อยลงหรือต้องท�ำให้ สินค้ามีคุณภาพดีกว่าเดิมเพื่อจะได้มูลค่าสูงขึ้น ปั จ จั ย หลั ก ที่ จ ะมี ผ ลกระทบและเกี่ ย วข้ อ งกั บ อุตสาหกรรมยางในอนาคตคือ สิง่ ทดแทนยางธรรมชาติ ราคาน�้ำมัน เทคโนโลยีการน�ำกลับมาใช้ (Recycle) การพัฒนาระบบขนส่ง ปริมาณการใช้ยางล้อ และ มาตรฐานอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นผลบ่งชี้แนวทางการ พัฒนาอุตสาหกรรมยางในรูปแบบของการส่งเสริมและ สนับสนุนให้เกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนผลิตผลิตภัณฑ์ ยางที่มีคุณภาพมากขึ้น การสร้างขีดความสามารถของ เกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนในด้านการผลิตและการตลาด การสร้างเครือข่ายผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรมยางพาราไปสู่ ระดับรากหญ้า การกระจายงานไปสูห่ มูบ่ า้ นเพือ่ แปรรูป ผลิตภัณฑ์ยางในเชิงพาณิชย์ การสร้างแหล่งผลิตยาง คอมปาวด์หรือน�ำ้ ยางข้นผสมสารเคมีเพือ่ ผลิตผลิตภัณฑ์ ยางและสร้างแม่พิมพ์ตามผลิตภัณฑ์ที่ตลาดต้องการ และการสร้ า งแหล่ ง เรี ย นรู ้ แ ละถ่ า ยทอดเทคโนโลยี ขบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง การตลาดและการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางปลายน�้ำ (โดยคุณวรเทพ วงศาสุทธิกุล) การตลาดและการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางมีความส�ำคัญ ต่อเศรษฐกิจของประเทศมากโดยพิจารณาจาก พื้นที่ ปลูกยางพาราในโลกปัจจุบันในปี 2550 ประกอบด้วย โซนเอเซี ย มี พื้ น ที่ ป ลู ก ยางร้ อ ยละ 94 โซนแอฟริ ก า ร้อยละ 4 และโซนลาตินอเมริการ้อยละ 2 พืน้ ทีป่ ลูกยาง

19


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ในแต่ละประเทศพบว่าอินโดนีเซียมีพื้นที่ปลูกยาง 20 ล้านไร่ ไทย 14 ล้านไร่ มาเลเซีย 7.6 ล้านไร่ จีน 5 ล้านไร่ อินเดีย 4 ล้านไร่ เวียตนาม 3 ล้านไร่ และประเทศอื่นๆ ประมาณ 6.4 ล้านไร่ การผลิตยางพาราและผลิตภัณฑ์ ยางพาราในแต่ละประเทศปรากฏว่าประเทศไทยผลิต ยางพารามากที่สุดคือ 3.05 ล้านตัน อินโดนีเซีย 2.60 ล้านตัน มาเลเซีย 1.20 ล้านตัน อินเดีย 0.80 ล้านตัน จีน 0.60 ล้านตัน เวียดนาม 0.50 ล้านตัน และประเทศ อื่นๆ 0.95 ล้านตัน และความต้องการใช้ยางพารา ในแต่ละประเทศ แน่นอนประเทศจีนมีความต้องการใช้ ยางพารามากทีส่ ดุ คือ 2.89 ล้านตัน อเมริกา 1.02 ล้านตัน ญีป่ นุ่ 0.89 ล้านตัน อินเดีย 0.85 ล้านตัน และประเทศ อื่นๆรวม 4.43 ล้านตัน ในอุตสาหกรรมน�ำ้ ยางข้น ประเทศไทยผลิตน�ำ้ ยางข้น มากที่สุด รองลงมาคือ มาเลเซีย อินโดนิเซีย จีน และ อินเดีย ตามล�ำดับ สภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรม น�้ำยางข้นของไทยปรากฏว่าน�้ำยางข้นมีส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 10 ในขณะที่ยางแผ่นรมควันและยางแท่งมี ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 90 โรงงานน�ำ้ ยางข้นมีอยูใ่ นหลาย จังหวัดในภาคใต้ ภาคตะวันออก และ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และพบว่ายังไม่มโี รงงานน�ำ้ ยางข้นในภาคเหนือ แนวโน้มราคายางในช่วง 10 ปีย้อนหลังพบว่า ราคายางเพิ่ ม ขึ้ น อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง จากราคาประมาณ 22.50 บาทในปี 2544 สูงขึน้ เป็น ประมาณ 85.00 บาท ในปี 2551 (และ ในช่วงต้นปี 2554 ราคายางสูงขึ้นถึง ประมาณ 150 บาท) ราคายางจะมีแนวโน้มสูง ขึ้น เนื่องจากปัจจัยอื่น รวมถึงยางไม่พอต่อความต้องการ เนื่องจากประชากรโลกจะมีมากถึง 9,000 ล้านคนใน 40 ปีขา้ งหน้า และเมือ่ ปริมาณน�ำ้ มันหมดไป ความต้องการ ยางพาราก็จะยิ่งสูงมากขึ้น ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนา เป้ า หมายหนึ่ ง ของการสั ม มนาคื อ เพื่ อ รั บ ฟั ง ข้ อ เสนอแนะปัญหาอุปสรรคต่างๆในระบบ Supply Chain ในอุตสาหกรรมยางพาราจากเกษตรกรและผูม้ สี ว่ นได้เสีย

20

ซึ่งมีรายละเอียดประกอบด้วย มีความต้องการให้ตั้ง โรงงานรับซือ้ น�ำ้ ยางพาราของภาคเหนือทีจ่ งั หวัดเชียงราย ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า ชาวสวนยางต้องการให้ทุกกลุ่ม ได้ศึกษาดูงานการกรีดยางพาราอย่างถูกวิธีเพื่อน�ำมา ปฏิบตั ดิ ว้ ยตนเอง สวนยางในภาคเหนือเปิดกรีดยางได้ชา้ และชาวสวนยางมีทนุ น้อยจึงต้องการทุนอุดหนุนเพือ่ การ ดูแลสวนยางก่อนเปิดกรีดยาง จัดการอบรมการกรีดยาง ให้ชาวสวนยางอย่างทั่วถึง ส่งเสริมให้เกษตรกรชาว สวนยางรวมตัวกันแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางเองเพื่อเพิ่ม มูลค่า การจัดหาสายพันธุย์ างทีด่ มี คี ณ ุ ภาพเพือ่ เตรียมให้ เกษตรกรปลูกรอบ 2 เพราะพันธุ์กล้ายางจากรัฐใน รอบแรกไม่แน่นอน เกษตรกรภาคเหนือยังมีความประสงค์ จะปลูกสวนยางจ�ำนวนมากและต้องการให้ภาครัฐได้ ส่งเสริมแจกกล้ายางพาราให้เกษตรกรรอบที่ 2 ต้องการ ให้ภาครัฐท�ำแผนงานระยะสั้น กลาง และยาวอย่าง ต่อเนื่องในด้านการดูแลบ�ำรุงรักษาต้นยางในช่วงปี 1-7 การวิจยั ปัญหาทีแ่ ท้จริงด้านการปลูกและการบ�ำรุงรักษา จัดหาเจ้าหน้าทีใ่ นหน่วยงานส�ำนักงานกองทุนสงเคราะห์ การท�ำสวนยางเพื่อให้ความรู้เรื่องสวนยางพาราอย่าง เพียงพอ จัดท�ำแผนเร่งด่วนด้านแรงงานการกรีดยาง ส่งเสริมการผลิดผลิตภัณฑ์ยางในระดับกลุ่มเกษตรกร หรื อ สหกรณ์ ส วนยางระดั บ อ� ำ เภอ และการจั ด เงิ น กองทุนสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต�่ำให้แก่เกษตรกรระดับ รากหญ้าในช่วงการปลูกยางระยะ 1-7 ปี การพัฒนา Supply Chain และ Value Chainของ อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง แม้วา่ ประเทศไทยจะเป็นผูผ้ ลิตและส่งออกยางพารา รายใหญ่ที่สุดของโลก แต่ผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกส่วนใหญ่ เป็นวัตถุดิบแปรรูปขั้นต้น เช่นยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน�้ำยางข้น การใช้วัตถุดิบแปรรูปขั้นต้นในประเทศ เพือ่ ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางทีม่ มี ลู ค่าเพิม่ สูงเป็นการสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราได้มากกว่าการส่งออกในรูป วัตถุดบิ แปรรูปขัน้ ต้นเป็นอย่างมาก ประเทศไทยจึงควร ปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

จากประเทศที่ผลิตมากได้น้อย (More for Less) ไปสู่ การผลิตมากได้มาก (More for More) โดยการยกระดับ จากการเป็นผู้ผลิตยางพาราอันดับหนึ่งของโลกไปสู่ การเป็นศูนย์กลางของโลกด้านผลิตภัณฑ์ยาง (World Center of Rubber Products) เพื่อสร้างศักยภาพ ในการแข่งขันโดยเป็นฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ยางพารา ครบวงจรและเป็นผูน้ ำ� ในการสร้างนวัตกรรมจากยางพารา (ดูรปู ที่ 2 รูปแบบสายโซ่การผลิต (Value Chains) ของ อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง หน้า 20) การพัฒนา Supply Chain และ Value Chain ของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในโครงสร้างของ ตลาดยางพาราในภาคเหนือ (ดูรายละเอียดตามรูปที่ 1 รูปแบบการพัฒนา Supply Chain ของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยาง หน้า 19) เป็นการน�ำรูปแบบการพัฒนา Supply Chain ของตลาดยางพาราในภาคตะวันออก และภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ มาใช้ ใ นภาคเหนื อ เพื่อต้องการสนับสนุนเกษตรกรสวนยางพาราส่วนใหญ่

เกษตรกรในจังหวัด เชียงราย พะเยา ล�ำพูน เชียงใหม่ ตาก ก�ำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก อุทัยธานี

พ่อค้าท้องถิ่นรายย่อย และพ่อค้าท้องถิ่น รายใหญ่

ที่น�ำน�้ำยางที่ได้จากการกรีดยางไปขายต่อให้กับพ่อค้า คนกลางซึง่ ท�ำให้เกษตรกรถูกพ่อค้าคนกลางกดราคายาง ถ้าเกษตรกรสามารถแปรรูปยางขัน้ ต้นได้เองก็จะสามารถ เพิม่ รายได้ให้เกษตรกรมากขึน้ และเนือ่ งจากในภาคเหนือ ของไทยมีสหกรณ์ยางพาราไม่เพียงพอกับความต้องการ ของเกษตรกร จึงควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ ยางพาราเพิม่ ขึน้ เพือ่ ช่วยให้เกษตรกรสามารถด�ำเนินการ แปรรูปยางพาราและประกอบธุรกิจขนส่งยางพาราขัน้ ต้น และควรมีการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราในภาคเหนือ เนื่องจากในภาคเหนือเริ่มมีการขยายพื้นที่เพาะปลูก ยางพารามากขึ้นเกือบทุกพื้นที่แต่ยังขาดตลาดกลาง ยางพารา ท� ำ ให้ ภ าคเหนื อ ต้ อ งส่ ง ยางแผ่ น ดิ บ ไปยั ง ตลาดกลางยางพาราภาคตะวันออก ที่จังหวัดระยอง แล้วส่งออกกลับมายังท่าเรือเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ท�ำให้การส่งออกทางจังหวัดเชียงรายไปประเทศจีน ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุด มีต้นทุนการขนส่งมากขึ้น

อุตสาหกรรมแปรรูป ขั้นต้น ตลาดกลาง ยางพารา ในภาคเหนือ

อุตสาหกรรมแปรรูป ขั้นกลาง

สหกรณ์ อุตสาหกรรมแปรรูป ขั้นสุดท้าย

จีน

ส่งออกหน้าด่านท่าเรือ เชียงแสน จังหวัด เชียงราย

รูปที่ 1: รูปแบบการพัฒนา Supply Chain ของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

21


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

การสร้างรูปแบบ Value Chain ของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในภาคเหนือมีกรอบแนวทางพัฒนา ในประเด็นส�ำคัญคือ ผลิตภัณฑ์แปรรูปขั้นต้นต้องเร่ง เพิ่มผลิตภาพ (Productivity) และมาตรฐานการผลิต ที่ เ ป็ น มาตรฐานสากล ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ป ลายน�้ ำ ต้ อ งเน้ น การสร้างเครือข่ายวิสาหกิจโดยมีผลิตภัณฑ์เป้าหมาย

(Product Champion) เช่นยางล้อยานยนต์และผลิตภัณฑ์ จากน�้ำยางข้น ผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ยางธรรมชาติ ทดแทนได้ต้องได้รับการส่งเสริม เช่น งานชลประทาน และผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีศักยภาพต้องเร่งงานวิจัยเพื่อ อนาคตเช่น ไบโอเทคและวัสดุวิศวกรรม ตามโครงสร้าง การพัฒนา Value Chain ในรูปที่ 2

ที่มา: แผนแม่บทอุตสาหกรรมยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพารา กระทรวงอุตสาหกรรม รูปที่ 2: รูปแบบการพัฒนา Value Chain ในสายโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง

บทสรุปและข้อเสนอแนะ การศึกษาวิจัยการพัฒนารูปแบบ Supply Chain ของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในภาคเหนือ ในปี 2551 เริม่ จากอุตสาหกรรมต้นน�ำ้ โดยท�ำการส�ำรวจ การปลูกยางพารา พื้นที่ปลูกยางพารา และผลพลอยได้ ของเกษตรกร อุตสาหกรรมกลางน�ำ้ โดยส�ำรวจการแปรรูป

22

ยางเบื้องต้น อุตสาหกรรมน�้ำยางข้นและผลิตภัณฑ์ยาง อุตสาหกรรมไม้ยางพารา ระบบโลจิสติกส์ยางพารา นวัตกรรมการเพิ่มมูลค่ายางพารา การสัมมนาเผยแพร่ ความรูแ้ ละรับฟังข้อเสนอแนะปัญหาอุปสรรคในรูปแบบ การพัฒนาระบบ Supply Chain ของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยาง และการน�ำเสนอรูปแบบการพัฒนา


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

Supply Chain และ Value Chain ของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในภาคเหนือของไทย เพื่อให้รูปแบบ การพัฒนาอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางมีความ ชัดเจนและเป็นระบบมากขึ้น การศึ ก ษาวิ จั ย ระบุ ว ่ า ในปี 2550 ประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกยางพารา 15.362 ล้านไร่ แบ่งเป็นภาคใต้ 11.113 ล้านไร่ ภาคตะวันออกและภาคกลาง 1.706 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2.143 ล้านไร่ และ ภาคเหนือ 0.399 ล้านไร่ พื้นที่ปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น ในอัตราสูงจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและการส่งออก และปัจจัยนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมให้เพิ่มพื้นที่ปลูก ยางพาราจ� ำ นวน 1,000,000 ไร่ โ ดยปลู ก ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 70 และภาคเหนือร้อยละ 30 ในช่วงปี 2547-2549 เป็นผลให้ในปี 2551 พืน้ ทีก่ ารปลูก ยางพาราทั้งประเทศเป็น 16.890 ล้านไร่ แยกเป็น ภาคใต้ 11.340 ล้านไร่ ภาคตะวันออกและภาคกลาง 2.104 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2.846 ล้านไร่ และภาคเหนือ 0.601 ล้านไร่ โดยภาคเหนือมีพื้นที่ กรีดยางได้ในปี 2551 ประมาณ 15,000 ไร่ การแปรรูป ยางพาราขั้นต้นเป็นการน�ำเอาน�้ำยางสดที่กรีดได้จาก ต้นยางพารามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยาง ประกอบด้วย ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางเครป ยางผึ่งแห้ง และ น�้ำยางข้น การพั ฒ นาห่ ว งโซ่ อุ ป ทานของอุ ต สาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในภาคเหนืออยู่ในช่วงเริ่มต้นของ อุตสาหกรรมต้นน�้ำและอุตสาหกรรมกลางน�้ำ โดยพื้นที่ ปลู ก ได้ ข ยายเพิ่ ม ขึ้ น อี ก จากปั จ จั ย นโยบายส่ ง เสริ ม การปลูกรอบที่ 3 อีก 800,000 ไร่ในตอนต้นปี 2554 จึงมีความจ�ำเป็นที่จะต้องสร้างความแข็งแกร่งในห่วงโซ่ อุปทานในภาคเหนือเพื่อให้เป็นฐานการส่งออกด้าน จังหวัดเชียงรายไปประเทศจีนที่มีต้นทุนต�่ำ เนือ่ งจากภาคเหนือเป็นพืน้ ทีป่ ลูกยางพาราใหม่และ มีการวิจยั ด้านยางพาราในพืน้ ทีน่ อ้ ย การศึกษาวิจยั ทีจ่ ะ ช่วยสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราในขัน้ ตอน ต่อไปควรเป็นการศึกษาหลักเกณฑ์และความคุม้ ทุนของ การพัฒนาอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมกลางน�้ำเช่น

การศึกษาการลงทุนในโรงรมควันและโรงงานแปรรูป น�้ำยางข้น อีกทั้งควรจะมีการศึกษาส�ำรวจพื้นที่ปลูก ยางพาราในภาคเหนือเพิ่มเติมด้านพันธุ์ยางที่ใช้และ ผลผลิตเพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่ทันสมัยที่สุด พร้อมทั้ง ศึกษาและรับฟังข้อเสนอแนะปัญหาอุปสรรคต่างๆใน ระบบ Supply Chain ในอุตสาหกรรมยางพาราจาก เกษตรกรและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้การพัฒนาห่วงโซ่ อุปทานของอุตสาหกรรมยางมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

บรรณานุกรม

จรินทร์ การะนัด สมศักดิ์ กาณจนมูสกิ และอมรศักดิ์ จูท้ นิ่ . (2539). ทดสอบการควบคุมวัชพืชในสวนยางโดย วิธีการเลี้ยงแกะในเขตภาคใต้ตอนบน (รายงานผล การวิจัยยางพารา, ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร. จักรี เลื่อนราม สุรศักดิ์ สุทธิสงค์ กฤษณา คงศิลป์ พรรษา อดุลยธรรม และหรรษา อเนกชัย. (2537). การศึกษาส�ำรวจศักยภาพการผลิตน�้ำยางข้นของ ประเทศ (รายงานผลการวิจยั ยางพารา). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร. ชัชมณฑ์ แดงกนิษฐ์ และนุชนาฎ ณ ระนอง. (2543). การใช้สารเคมีรกั ษาสภาพน�ำ้ ยางสด เพือ่ ลดปริมาณ ไนโตรซามี น (รายงานผลการวิ จั ย ยางพารา). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร. บุญอาจ กฤษณทรัพย์ และสมเกียรติ ทองรักษ์. (2536). การศึกษาสภาพการบ�ำรุงรักษาสวนยางปลูกใหม่ ในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา (รายงานผลการวิจัย ยางพารา, ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร. ประชาสันติ ไตรยสุทธิ์ กุลเชษฐ์ เพียรทอง พิสิษฐ์ เตชะรุ่งไพศาล ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์ และอิทธิพล วรพันธ์. (2550). การผลิตไบโอดีเซลจากน�้ำมัน เมล็ดยางพาราโดยวิธี กรด-เอสเตอร์ริฟิเคชั่นและ ด่าง-ทรานเอสเตอร์รฟิ เิ คชัน่ . การประชุมเชิงวิชาการ เครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทย ครัง้ ที่ 3, โรงแรม ใบหยกสกาย กรุงเทพฯ 23-25 พฤษภาคม 2550.

23


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

พรรษา อดุลยธรรม กฤษณา คงศิลป์ หรรษา เอนกชัย จักรี เลื่อนราม และปรีดิ์เปรม ทัศนกุล. (2541). ศึกษาสมบัติทางเทคนิคยางแผ่นดิบคุณภาพชั้น ต่างๆ จากตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ (รายงาน ผลการวิจัยยางพารา).กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร. มหาวิทยาลัยแม่ฟา้ หลวง. (2541). กิจกรรมศึกษารูปแบบ การพัฒนา Supply Chain ของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยาง ปีงบประมาณ 2551. รายงาน สรุปผลการด�ำเนินงานฉบับสมบูรณ์เสนอส�ำนักพัฒนา อุตสาหกรรมเป้าหมาย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. วิรัชญา จันพายเพ็ชร และดวงพรรณ กริชชาญชัย. (2552). การออกแบบระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ในการเลือกเส้นทางส�ำหรับการส่งออกยางพารา ของประเทศไทย. การประชุม สัมมนาวิชาการ ด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ครั้งที่ 9 (Thai VCML 2009), 19-21 พฤศจิกายน 2552. สมมาตร แสงประดับ สมพร กฤษณะทรัพย์ และขจร รอดแก้ว. (2536). เศรษฐกิจการปลูกพืชแซมยาง ในสวนยางปลูกแทนขนาดเล็ก ในเขตภาคใต้ตอนบน (รายงานผลการวิ จั ย ยางพารา, ศู น ย์ วิ จั ย ยาง สุราษฎร์ธานี). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยยาง กรม วิชาการเกษตร. สถาบันวิจัยยาง. (2553). ข้อมูลวิชาการยางพารา. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตร และสหกรณ์. สุ ธี อิ น ทรสกุ ล เพื่ อ ม วุ ่ น ชิ้ ว สมเกี ย รติ ทองรั ก ษ์ เสมอ สมนาค สมบัติ พิงกุศล และอรัญ แจ้งชัด. (2536). ความสัมพันธ์ของต้นทุนการผลิตและการ ก�ำหนดราคายางแผ่นรมควันชั้นต่างๆ ของโรงงาน ภาคตะวั น ออก (รายงานผลการวิ จั ย ยางพารา, ศูนย์วจิ ยั ยางฉะเชิงเทรา). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจยั ยาง กรมวิชาการเกษตร.

24

Association of Natural Rubber Producing Countries (ANRPC). (2010). Global NR supply likely to remain tight. The Joint Presentation at The Annual Rubber Conference 2010 organized by ANRPC in Kochi, India, published in Rubber Asia, November-December 2010, pp. 75-80 Jitjan, Suwat, Ieamvijarn, Subunn and Rittidech, Prasopsuk. (2009). Internal migration and development of labor for rubber plant growing in Isan for community economic development. European Journal of Social Sciences, 11(3): 441-452. Ouseph, Thomas. (2010). Asia’s leads, erratic supply makes market frenetic. Rubber Asia Margma Special 2010, pp. 59-62. Smit, Hdde and Thi Thuy Hoa, Tran. (2011). NR production in Vietnam: Prospects are extremely bright. Rubber Asia, JanuaryFebruary 2011, pp. 28-32. Thailand. Department of Agriculture. Rubber Research Institute. (2010). Thailand Rubber Statistics, Volume 39, No. 3. Bangkok: Rubber Research Institute, Department of Agriculture.


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

Prayoon Tosanguan received his Ph.D. in Business in 1983 from Graduate School of Business, Indiana University, Bloomington, IN, USA. He also earned his Master of Business Administration in 1976 from Indiana University, Bloomington, IN, USA and Bachelor of Accounting in 1972 from Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University, Thailand. Prayoon Tosanguan is currently the assistant professor of Faculty of Business Administration, Panyapiwat Institute of Management, Thailand. His research interest covers macroeconomics, corporate finance, capital and securities markets, risk management, logistics and supply chain management, communities-base development, and other related business fields.

25


ารพัฒนารูปแบบจิตส�ำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัยส�ำหรับองค์การรักษาความปลอดภัย: กรณีศึกษาส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ Development of Security Awareness Model for Public Security Agency: A Case Study of National Intelligence Agency ดร.ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี อาจารย์ประจ�ำหลักสูตร MBA คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร E-mail: chaiyaset_promsri@yahoo.com

บทคัดย่อ

26

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยส�ำหรับองค์การรักษา ความปลอดภัย: กรณีศึกษาส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน จากการท�ำวิจัย เชิงคุณภาพ และวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบจิตส�ำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัยส�ำหรับส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญทางด้าน การรักษาความปลอดภัย การสัมภาษณ์บคุ ลากรทางด้านการรักษาความปลอดภัยทัง้ ภายในภายนอก ส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ และการเก็บรวมรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิจากบุคลากรภายใน ส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติจำ� นวน 210 คน โดยน�ำข้อมูลทัง้ หมดมาวิเคราะห์เนือ้ หา หาความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า จิตส�ำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัย หมายถึง “ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคลที่มีต่อความส�ำคัญทางด้านการรักษา ความปลอดภัยที่ครอบคลุมเรื่องบุคคล เอกสาร สถานที่ ถูกสั่งสมมาจากการถ่ายทอด การเรียนรู้ การฝึกอบรม และประสบการณ์ เพื่อด�ำเนินการในการป้องกันหรือรับมือจากสถานการณ์ที่เป็น ภยันตรายได้โดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ” ส�ำหรับองค์ประกอบในการพัฒนาจิตส�ำนึก ทางด้านการรักษาความปลอดภัย มีทงั้ หมด 10 องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดกิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับ การรักษาความปลอดภัย การสร้างความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย บทบาทผู้น�ำต่อการ พัฒนาจิตส�ำนึกในการรักษาความปลอดภัย การสร้างความผูกพันเพื่อการอยู่ร่วมกันของบุคลากร


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ในองค์การ การประเมินผลการปฏิบตั งิ าน การประชาสัมพันธ์เพือ่ สร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัย การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการท�ำงาน การน�ำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ การสร้างสถานการณ์จ�ำลองที่เป็นวิกฤติ และการสร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรเพื่อการสร้างจิตส�ำนึก โดยองค์ประกอบทัง้ หมดถูกน�ำมาพัฒนารูปแบบการสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย และถูกก�ำหนดชื่อว่า “Chaiyaset’s Security Awareness Model” ค�ำส�ำคัญ: จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย การบริหาร การรักษาความปลอดภัย ส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ

Abstract

The main objective of this research was to develop the security awareness model for National Intelligence Agency (NIA). This study was used the mixed research methodology including both qualitative and quantitative methods to gathering data from the key informants and samples. The key informants were purposively selected from the experts in a security field from both internal and external National Intelligence Agency. A 52-item questionnaire was distributed to a sample of 210 employees working at National Intelligence Agency by using stratified sampling technique. Data were analyzed by using content analysis, the matrix analysis, and exploratory factor analysis methods. The results of this study found that security awareness was defined as “Individual thought and feeling to the importance of security aspects of personnel, information, and physical that has been accumulated from teaching, learning, training, and acquired experience in order to be able to prevent or handle the harmful situations automatically.” For the security awareness factors, this study explored that there were ten important security awareness factors including Security Activity, Knowledge Development, Leader Roles, Commitment, Performance Appraisal, Public Relations, Environmental Improvement, Information System Implementation, (Crisis) Simulation, and Motivation. Thereafter analysis of these ten factors, the model was developed and named as “Chaiyaset’s Security Awareness Model.” Recommendations for findings implementation to support security awareness development in National Intelligence Agency were also discussed. Keywords: Security Awareness, Administration, Security, National Intelligence Agency

27


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

บทน�ำ ในปัจจุบันองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนใหญ่ ให้ความส�ำคัญกับเรือ่ งของมาตรการรักษาความปลอดภัย มากยิง่ ขึน้ โดยครอบคลุมในเรือ่ ง บุคคล ข้อมูลข่าวสารลับ สถานที่ และการประชุมลับ ซึง่ ปัจจัยทีส่ ำ� คัญทีส่ ง่ ผลต่อ การสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัยให้เข้มแข็งและ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด คือ การสร้าง จิตส�ำนึกของบุคลากรในองค์การ อย่างไรก็ดถี งึ แม้จะมีการ กล่าวถึงค�ำว่าจิตส�ำนึกในเรือ่ งของการรักษาความปลอดภัย หรือความมั่นคงปลอดภัยอย่างแพร่หลาย แต่ไม่มีการ ระบุถึงความหมายที่ชัดเจนหรือเป็นลายลักษณ์อักษร จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย นอกจากนี้ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การ วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงทางด้านความมั่นคง ปลอดภัย” ให้แก่เจ้าหน้าทีผ่ ปู้ ฏิบตั ทิ างด้านการเผยแพร่ มาตรฐานทางด้านการรักษาความปลอดภัยของส�ำนัก ข่ า วกรองแห่ ง ชาติ จ� ำ นวน 30 คน เมื่ อ วั น ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 พบว่า ปัจจัยทีบ่ คุ ลากรให้นำ�้ หนัก คะแนนมากเป็นอันดับแรก อันเป็นผลมาจากการระบุคา่ โอกาสทีจ่ ะเกิดความเสีย่ ง (Likelihood) และผลกระทบ ของความเสี่ยง (Impact) ได้แก่ การละเมิดการรักษา ความปลอดภัย ซึ่งสาเหตุของปัจจัยเสี่ยงมาจาก การที่ บุคลากรในองค์การขาดจิตส�ำนึกการรักษาความปลอดภัย การไม่เข้าใจในระเบียบ และวิธกี ารปฏิบตั ไิ ม่มบี ทลงโทษ ทั้ ง นี้ สื บ เนื่ อ งมาจากวั ฒ นธรรมขององค์ ก ารที่ เ น้ น การท�ำงานร่วมกันฉันท์พี่น้อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อ การ ปฏิบตั ติ นต่อระเบียบขององค์การอย่างเคร่งครัด อันอาจ น�ำไปสู่ความเสียหายต่อมาตรการทางด้านการรักษา ความปลอดภัยของหน่วยงานได้ ถึงแม้ว่าส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติจะได้มี การออก มาตรการหรือแนวทางในการพัฒนาฝึกอบรมเพื่อเสริม สร้างจิตส�ำนึกของบุคลากร แต่ปัญหานี้ยังคงปรากฏอยู่ และยังไม่ได้รบั การแก้ไขอย่างเหมาะสม ทัง้ นีเ้ ป็นเพราะว่า หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องขาดความชัดเจนว่า อะไรเป็นปัจจัย ที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างและพัฒนาจิตส�ำนึกของ บุคลากรในหน่วยงาน ซึง่ สะท้อนให้เห็นในระดับประเทศว่า

28

ถ้ารัฐบาลต้องการสร้างและพัฒนาจิตส�ำนึกให้เกิดขึน้ แก่ ประชาชนภายในประเทศ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องกับความ มั่นคงหรือองค์การทางด้านรักษาความปลอดภัย ต้องมี ความชั ด เจนในเรื่ อ งของแนวทางในการพั ฒ นาเรื่ อ ง จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยแก่บุคลากร ภายในหน่ ว ยงานเสี ย ก่ อ น เพื่ อ สร้ า งความแน่ ใจว่ า บุคลากรมีประสิทธิภาพมากเพียงพอที่จะปฏิบัติงาน และสามารถเป็นแบบอย่างในการสร้างจิตส�ำนึกทางด้าน ความมัน่ คงปลอดภัยให้เกิดขึน้ อย่างแพร่หลายในวงกว้างได้ ด้วยเหตุนี้การพัฒนารูปแบบการสร้างจิตส�ำนึก ทางด้านการรักษาความปลอดภัยแก่หน่วยงานทางด้าน การรักษาความปลอดภัยของภาครัฐจึง มีความส�ำคัญ เป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะค้นหาว่า อะไรเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ ช่วยสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยแก่ บุคลากรในองค์การ และสามารถน�ำไปสู่การพัฒนา แนวทางการท�ำงาน กิจกรรมและโครงการที่ช่วยพัฒนา จิ ต ส� ำ นึ ก ทางด้ า นการรั ก ษาความปลอดภั ย ได้ อ ย่ า ง เหมาะสม วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อก�ำหนดความหมายของค�ำว่า “จิตส�ำนึก ทางด้านการรักษาความปลอดภัย” 2. เพื่อก�ำหนดองค์ประกอบที่ส�ำคัญของการสร้าง จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงาน ทางด้านการรักษาความปลอดภัยภาครัฐ (ส�ำนักข่าวกรอง แห่งชาติ) 3. เพื่อพัฒนารูปแบบจิตส�ำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัย ค�ำถามในการวิจัย 1. จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยคือ อะไร 2. องค์ประกอบที่ส�ำคัญในการพัฒนาและสร้าง จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยประกอบด้วย อะไรบ้าง


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

กรอบแนวคิดในการวิจัย การหาค�ำจ�ำกัดความจิตส�ำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัย (ทบทวนเอกสาร/การเก็บรวบรวม ข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิด/การสัมภาษณ์ เชิงลึก/การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม) องค์ประกอบของจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภัย (ทบทวนเอกสาร/การเก็บรวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถามปลายเปิด/การสัมภาษณ์เชิงลึก/ การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม) ท�ำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ (EFA) การพัฒนารูปแบบจิตส�ำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัย ทบทวนวรรณกรรม นักวิชาการได้ให้ความหมายของจิตส�ำนึก ทีส่ มั พันธ์ กับการรักษาความปลอดภัย ว่าหมายถึง ความคุ้นเคย กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การให้ความสนใจ มีส�ำนึกและได้รับ การบอกกล่าวหรือแจ้งในเรื่องที่เฉพาะเจาะจง ท�ำให้ สามารถประยุกต์ความรู้และความเข้าใจในเรื่องนั้นได้ และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม (Wulgaert, 2005) Wulgaert (2005) ได้กล่าวว่า การสร้างจิตส�ำนึก เกี่ยวข้องมากกว่าการให้ข้อมูลหรือสื่อสารข้อมูลถึง บุคคลในองค์การเท่านัน้ แต่ตอ้ งมีความเข้าใจ การเรียนรู้ และการได้ รั บ ทั กษะและการน�ำความรู้ที่ไ ด้มาไปใช้ ให้เกิดผลจริง ซึง่ ถือเป็นส่วนทีม่ คี วามส�ำคัญต่อการสร้าง จิตส�ำนึกภายในองค์การ หรืออาจกล่าวได้ว่า การสร้าง จิตส�ำนึกในองค์การทีป่ ระสบความส�ำเร็จได้นนั้ ขึน้ อยูก่ บั การเปลีย่ นแปลงพฤติกรรมของคนในองค์การ ด้วยเหตุนี้ การฝึกอบรมจึงเป็นวิธีการที่นิยมใช้เพื่อสอนบุคลากร เกี่ ย วกั บ ทั ก ษะทางด้ า นการรั ก ษาความปลอดภั ย ที่

องค์การต้องการให้บุคลากรได้เรียนรู้และสามารถน�ำไป ประยุกต์ใช้ เพราะถึงแม้ว่าบุคคลจะมีความตระหนักใน บางสิ่ง แต่พวกเขาอาจไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จุดมุ่งหมายส�ำคัญของการสร้างจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัย คือ การที่คนในองค์การมีการ แสดงออกอย่างระมัดระวังและปลอดภัย ที่สะท้อนให้ เห็นถึงจิตส�ำนึกทีเ่ กิดขึ้นจากข้างในใจ โดยจิตส�ำนึกทาง ด้านการรักษาความปลอดภัยควรน�ำไปสู่สถานการณ์ที่ พฤติกรรมมีความปลอดภัยและเกิดการหยัง่ รูข้ นึ้ ในจิตใจ ในรูปแบบทีบ่ คุ คลมีการตอบสนองอย่างอัตโนมัตใิ นการ รับมือกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยพฤติกรรมที่ปลอดภัย ด้วยเหตุนี้ จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย ควรที่จะกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ที่ เฉพาะเจาะจงของพฤติกรรมความปลอดภัย ไปสู่การ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง และค่ อ ยๆ ก� ำ จั ด พฤติ ก รรมที่ ไ ม่ ป ลอดภั ย ให้ ค ่ อ ยๆ หมดไปให้มากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะเป็นไปได้ (Wulgaert, 2005) นอกจากนี้ บริษัท Cisco ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการ สร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย ไว้ว่า เป็นความรับผิดชอบของพนักงานในองค์การทุกคน ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงพนักงานระดับปฏิบัติงาน ในการวางเรือ่ งการรักษาความปลอดภัยเป็นสิง่ แรกในใจ ไม่ว่าพนักงานในองค์การจะมีการประชุมกันที่เกี่ยวข้อง กับเรือ่ งกลยุทธ์ขององค์การ การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ การมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า หรือการซ่อมบ� ำรุงอาคาร สถานที่ภายในองค์การ พนักงานต้องให้ความส�ำคัญต่อ เรื่องของการรักษาความปลอดภัยขององค์การ เพราะ การเปลีย่ นแปลงเพียงเล็กน้อยของพนักงานช่วยท�ำให้เกิด ผลกระทบในเชิงบวกทีส่ ำ� คัญในการสร้างความปลอดภัย ต่ อ ทรั พ ย์ สิ น และข้ อ มู ล สารสนเทศขององค์ ก ารได้ ซึ่งบริษัท Cisco ได้ตระหนักถึงจุดนี้ และได้ด�ำเนินการ สร้างหลักสูตรจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยขึน้ โดยมีการน�ำเอาหลักสูตรขึ้นมาเพื่อให้การรักษาความ ปลอดภัยถูกน�ำไปปฏิบัติอย่างแพร่หลายและอย่างมี ประสิทธิภาพ ในองค์การแห่งนี้ได้มีการสร้างวัฒนธรรม

29


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

แห่งการรักษาความปลอดภัยขึ้นเพื่อช่วยในการจัดการ แนวทางปฏิ บั ติ ใ นการท� ำ ธุ ร กิ จ และส่ ง เสริ ม การ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพนักงานในการที่จะปกปิด ความลับ มีความซื่อสัตย์ และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ ทรัพย์สนิ และข้อมูลสารสนเทศขององค์การ ซึง่ วัฒนธรรม นี้ไม่ได้ท�ำเฉพาะภายในบริษัทเท่านั้น แต่ส่งต่อไปยัง พันธมิตร ผู้จัดส่งวัตถุดิบ และลูกค้าของบริษัทอีกด้วย ซึ่งบริษัท Cisco ใช้การฝึกอบรมและการให้รางวัล เป็น แนวทางที่ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาเรื่องการสร้าง จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยภายในองค์การ ไปสูก่ ารสร้างความแตกต่างทางธุรกิจ ซึง่ สะท้อนให้เห็น จากผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีของบริษัทที่แสดงให้เห็น ถึงระดับของความน่าเชือ่ ถือและคุณภาพของการบริการ บริษัท Cisco ได้ด�ำเนินการสร้างจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัยผ่านบุคลากร กระบวนการ และ เทคโนโลยี เพราะการท�ำให้เรือ่ งการรักษาความปลอดภัย เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์การได้ ต้องเริ่มต้นจาก การสร้างความตระหนักหรือจิตส�ำนึกเสียก่อน ซึ่งต้อง อาศัยปัจจัยที่ส�ำคัญ 3 ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลากร เพราะองค์ประกอบทั้ง 3 ช่วยสร้างพื้นฐาน แห่งการรักษาความปลอดภัยขึน้ ภายในองค์การได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ดังนี้ • คน – ต้องสร้างความตระหนักหรือจิตส�ำนึกขึ้น แก่บุคลากร เพื่อท�ำให้บุคลากรทั่วทั้งองค์การทราบว่า ตนเองจะสามารถยับยั้งเหตุแห่งความไม่ปลอดภัยได้ อย่างไร • กระบวนการ – ต้องสร้างความแน่ใจว่าการรักษา ความปลอดภัยถูกผนวกเข้าไปอยู่ในระบบและแนวทาง ในการด�ำเนินงานขององค์การ • เทคโนโลยี – แนะน� ำ เทคโนโลยี แ ละระบบ สารสนเทศที่ ช ่ ว ยสนั บ สนุ น การปฏิ บั ติ ง านทางด้ า น การรั ก ษาความปลอดภั ย ได้ อ ย่ า งชาญฉลาดและมี ประสิทธิภาพ นอกจากนี้บริษัท Cisco ยังได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับ การสร้างวัฒนธรรมแห่งการรักษาความปลอดภัยไว้

30

ดังต่อไปนี้ 1) การเข้ามีส่วนร่วมของผู้บริหาร โดย ผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนทั้งทาง ด้านความคิดและ งบประมาณ 2) แต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมเพื่อน�ำทีม 3) ท�ำการวิจัยที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายในองค์การ เพื่ อ ท� ำ ความเข้ า ใจบุ ค ลากรเหล่ า นั้ น ให้ ม ากยิ่ ง ขึ้ น 4) สร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคลากร 5) แต่งตัง้ ทูตแห่ง การรั ก ษาความปลอดภั ย (ตั ว แทน) ที่ น� ำ ไปสู ่ ก าร เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 6) มองหาโอกาสที่เหมาะสม ในการแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับงานด้านการรักษาความ ปลอดภัย 7) ใช้ขอ้ มูลทีเ่ ชือ่ ถือได้เพือ่ สนับสนุนการสร้าง วัฒนธรรมทางด้านการรักษาความปลอดภัย 8) สื่อสาร ให้กระชับแต่ได้ใจความ 9) ให้รางวัลและจดจ�ำบุคลากร ที่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก และ 10) จัดการฝึกอบรม ทั่วทั้งองค์การ วิธีการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิง คุณภาพและเชิงปริมาณ ซึ่งมีขั้นตอนในการด�ำเนินการ ดังต่อไปนี้ 1. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามเรื่อง จิ ต ส� ำ นึ ก ทางด้ า นการรั ก ษาความปลอดภั ย จ� ำ นวน ทั้งหมด 32 ชุด ที่ถูกส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการ รักษาความปลอดภัย โดยใช้วิธีการสุ่มจากกลุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเลือกจาก ผู้เชี่ยวชาญทางด้านความมั่นคงที่เคยท�ำงานหรือก�ำลัง ท�ำงานอยูม่ ตี ำ� แหน่งระดับบริหารชัน้ สูง มีประสบการณ์ ในสายงานไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือนักวิชาการทางด้าน ความมัน่ คงซึง่ มีวฒ ุ ไิ ม่ตำ�่ กว่าปริญญาเอกหรือมีตำ� แหน่ง ระดั บ รองศาสตราจารย์ ขึ้ น ไป (โดยไม่ ร ะบุ ชื่ อ ใน แบบสอบถามที่ตอบกลับ) โดยให้เขียนค�ำนิยามลงใน แบบสอบถามทีม่ คี ำ� ถามปลายเปิดทีถ่ ามว่า “ความหมาย ของค�ำว่าจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย ในทัศนะของท่านเป็นอย่างไร” และให้ระบุถงึ องค์ประกอบ ทีส่ ำ� คัญของการสร้างและพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้านความ มัน่ คงปลอดภัย และระบุหน่วยงานทัง้ ภาครัฐหรือเอกชน


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ที่มีแนวการปฏิบัติที่ดีเลิศ (Best Practice) ทางด้าน การรักษาความปลอดภัย อย่างน้อย 2 หน่วยงาน 2. การสั ม ภาษณ์ บุ ค ลากรที่ เ กี่ ย วข้ อ งทางด้ า น การรักษาความปลอดภัยของหน่วยงานทีไ่ ด้รบั เลือกจาก ผู้ทรงคุณวุฒิว่าเป็นหน่วยงานที่มีแนวปฏิบัติทางด้าน การรั ก ษาความปลอดภั ย ที่ ดี เ ลิ ศ (Best Practice) 2 อันดับแรก 3. การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้บริหารระดับสูงของส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติจ�ำนวน 2 ท่าน ได้แก่ ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ และ รองผู้อ�ำนวยการส�ำนกข่าวกรองแห่งชาติ ฝ่ายบริหาร โดยใช้การสัมภาษณ์กงึ่ โครงสร้าง (Semi – Structured Interview) โดยครอบคลุมประเด็นการสัมภาษณ์ เพื่อ ตอบวัตถุประสงค์และค�ำถามของการวิจัย 4. การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Focus Group) จาก บุคลากรระดับผู้บริหารของส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ จ�ำนวนทั้งหมด 11 ท่าน โดยเน้นการตอบประเด็น ค�ำถามที่เกี่ยวข้องกับนิยามของค�ำว่าจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัย และองค์ประกอบทีส่ ำ� คัญของ การสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย 5. น�ำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ เอกสาร การสอบถามและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่ เกี่ยวข้องในงานด้านการรักษาความปลอดภัย มาสรุป องค์ประกอบทีส่ �ำคัญส�ำหรับการสร้างจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัยแก่บุคลากรในองค์การ โดย พิจารณาจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (The Matrix Analysis) และสอดคล้องของแหล่งข้อมูลตัง้ แต่ 3 แหล่ง ข้อมูลขึ้นไปถือว่าใช้ได้ ซึ่งสามารถได้ทั้งหมดจ�ำนวน 20 องค์ประกอบ โดยผูว้ จิ ยั ได้นำ� เอาองค์ประกอบทัง้ หมด มาสร้างเครือ่ งมือเพือ่ ใช้ในการวิจยั ซึง่ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตรประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จ�ำแนก ตามองค์ประกอบทั้ง 20 องค์ประกอบ จ�ำนวนทั้งหมด 54 ข้ อ เพื่ อ ใช้ ส อบถามความคิ ด เห็ น จากบุ ค ลากร ของส� ำ นั กข่ า วกรองแห่ ง ชาติ โดยท� ำการตรวจสอบ ความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) โดยให้

ผูเ้ ชีย่ วชาญรวม 5 ท่าน ตรวจสอบโดยใช้การหาค่าความ สอดคล้องระหว่างข้อค�ำถามกับวัตถุประสงค์ หรือเนือ้ หา (IOC: Index of Item Objective Congruence) ซึ่ ง จากการตรวจสอบความตรงของเนื้ อ หา พบว่ า มี ข้อค�ำถาม 2 ข้อ จากทัง้ หมด 54 ข้อ ทีม่ คี า่ น้อยกว่า 0.5 ท�ำให้ได้แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ทมี่ ขี อ้ ค�ำถามทัง้ หมด 52 ข้อ 6. น�ำแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ท�ำการส�ำรวจกับ บุคลากรภายในส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ จ�ำนวน 210 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ซึ่งจ�ำนวนกลุ่มตัวอย่าง มีความเหมาะสมส�ำหรับการน�ำไปวิเคราะห์องค์ประกอบ เพราะกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามต้องมีจ�ำนวน มากกว่ า 150 คน (Pullant, 2001) ท� ำ การตอบ แบบสอบถามเพื่อถามความเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบ ต่างๆ จากนั้นจึงน�ำมาแบบสอบถาม มาทดสอบเพื่อหา ค่าความเชื่อถือได้ (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ ครอนบาค เท่ากับ 0.97 7. น� ำ ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ ม าวิ เ คราะห์ โ ดยใช้ โ ปรแกรม คอมพิวเตอร์ส�ำเร็จรูปเพื่อหาค่าสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ผลการวิจัย ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ใช้ค�ำถาม ปลายเปิด (Open-ended questions) ทีต่ อบโดยผูท้ รง คุณวุฒิ พบว่า ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามส่งกลับคืน จ�ำนวนทั้งสิ้น 10 ชุด จากทั้งหมด 32 ชุด คิดเป็น ร้อยละ 31.25 จากการวิเคราะห์ข้อมูลจาก การตอบ แบบสอบถามของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้วิจัยได้ท�ำ การสรุป นิยามและองค์ประกอบที่ส�ำคัญของจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัย (ดูตารางที่ 1) รวมทั้งรายชื่อ

31


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

หน่วยงานทีม่ แี นวปฏิบตั ทิ างด้านการรักษาความปลอดภัย ที่ดีเลิศ ส�ำหรับรายชือ่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือภาคเอกชน ทีม่ แี นวปฏิบตั ทิ างด้านการรักษา ความปลอดภัยทีด่ เี ลิศ (Best Practice) อย่างน้อย 2 หน่วยงานตามความ คิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ การท่าอากาศยานแห่ง ประเทศไทย ได้ รั บ เลื อ กจากผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ คิ ด เป็ น ร้อยละ 27.3 รองลงมาคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต คิดเป็น ร้อยละ 18.2 ส�ำหรับธนาคารแห่งประเทศไทย และ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้รับเลือกว่าเป็น หน่ ว ยงานที่ ดี เ ลิ ศ ในด้ า นการรั ก ษาความปลอดภั ย ในล�ำดับเดียวกันคืออันดับ 3 โดยคิดเป็นร้อยละ 9.1 และหน่วยงานอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 36.3 ส�ำหรับการวิเคราะห์ขอ้ มูลจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านการรักษาความปลอดภัย ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีเจ้าหน้าที่ กองวิชาการและรักษาความปลอดภัย และคณะเป็นผูใ้ ห้ ข้อมูล ส�ำหรับบริษทั ท่าอากาศยานไทย จ�ำกัด (มหาชน) รองผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายรักษาความปลอดภัย และคณะเป็น ผู้ให้ข้อมูล โดยใช้กรอบการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อตอบค�ำถาม ที่ส�ำคัญ 2 ข้อ ได้แก่ ความหมายของ ค�ำว่าจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย และ องค์ประกอบ ที่ส�ำคัญในการพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัย ซึง่ ผูว้ จิ ยั ได้ทำ� การสรุปค�ำนิยาม ของจิตส�ำนึกด้านการรักษาความปลอดภัย (ตารางที่ 1) และองค์ประกอบของจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภัย (ตารางที่ 2) การวิเคราะห์การสัมภาษณ์เชิงลึกผูบ้ ริหารระดับสูง ของส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้วิจัยได้ท�ำการสัมภาษณ์ เชิ ง ลึ ก (In-depth interview) ผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ของส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติจ�ำนวน 2 ท่าน ได้แก่ ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ และรองผูอ้ ำ� นวยการ ส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติฝา่ ยบริหาร โดยใช้การสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง (Semi – Structured Interview) เมื่อ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2553 โดยครอบคลุมประเด็น

32

การสัมภาษณ์ เพือ่ ตอบวัตถุประสงค์และค�ำถามของการ วิจัย จากการวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล การสั ม ภาษณ์ ผู ้ บ ริ ห าร ระดับสูงของส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ ทั้ง 2 ท่าน ผู้วิจัย สามารถสรุปค�ำนิยามของค�ำว่า จิตส�ำนึกด้านการรักษา ความปลอดภัย และองค์ประกอบของจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัย จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ระดับสูงของส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ ได้ดังปรากฏใน ตารางที่ 1 และ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์แบบกลุ่มจาก บุคลากรภายในหน่วยงาน จ�ำนวนทั้งหมด 11 ท่าน เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2553 ณ โรงแรมริชมอนด์ ถนนงามวงศ์วาน กรุงเทพมหานคร โดยเน้นการตอบ ประเด็นค�ำถามที่เกี่ยวข้องกับนิยามของค�ำว่าจิตส�ำนึก ทางด้านการรักษาความปลอดภัย และองค์ประกอบที่ ส�ำคัญของการสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภัย ซึ่งสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้ ดังปรากฏในตารางที่ 1 และ 2 หลั ง จากที่ ผู ้ วิ จั ย ได้ ท� ำ การวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล และ สรุปความหมายของค�ำว่าจิตส�ำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัย รวมถึงองค์ประกอบที่ส�ำคัญของการ สร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย จาก แบบสอบถามที่ ต อบโดยผู ้ เชี่ ย วชาญ การสั ม ภาษณ์ หน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติงานทางด้านการรักษาความ ปลอดภัยดีเลิศ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารระดับสูง ของส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ และการสัมภาษณ์กลุ่ม ผู้บริหารของส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้วิจัยขอสรุป ความหมายของค�ำว่าจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภัย เพือ่ ตอบวัตถุประสงค์และค�ำถามของการวิจยั ข้อที่ 1 ดังนี้ “จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย คือ ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคลที่มีต่อความส�ำคัญ ทางด้านการรักษาความปลอดภัยทีค่ รอบคลุมเรือ่ งบุคคล เอกสาร สถานที่ ถูกสัง่ สมมาจากการถ่ายทอด การเรียนรู้ การฝึกอบรม และประสบการณ์ เพื่อด�ำเนินการในการ


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ป้องกันหรือรับมือจากสถานการณ์ที่เป็นภยันตรายได้ โดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ” (ผู้วิจัย) ส� ำ หรั บ องค์ ป ระกอบที่ ส� ำ คั ญ ของการพั ฒ นา จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย ผู้วิจัยได้ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทีไ่ ด้จากการเก็บ รวบรวมข้อมูลทัง้ จากแบบสอบถามทีต่ อบ โดยผูเ้ ชีย่ วชาญ การสัมภาษณ์หน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติงานทางด้าน การรักษาความปลอดภัยดีเลิศ การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารระดับสูงของส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ และ การสัมภาษณ์กลุม่ ผูบ้ ริหารของส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 2 โดยพิจารณาจาก การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (The Matrix Analysis) และสอดคล้องของแหล่งข้อมูลตัง้ แต่ 3 แหล่งข้อมูลขึน้ ไป ถือว่าใช้ได้ (ตารางที่ 2) โดยสามารถสรุปองค์ประกอบ ที่ส�ำคัญเพื่อตอบวัตถุประสงค์และค�ำถามในการวิจัย ข้อที่ 2 ได้ทั้งหมด 20 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเข้าใจ

ในเรือ่ งระเบียบในการปฏิบตั งิ าน การฝึกอบรมและการ ให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยแก่บุคลากร ในองค์การ การสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรในองค์การ การมี บ ทลงโทษ ภาวะผู ้ น� ำ การให้ ค วามรู ้ พื้ น ฐาน เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคม การสร้างความผูกพัน ให้กับบุคลากรในองค์การ การสร้างวัฒนธรรมองค์การ การให้การฝึกฝน ฝึกปฏิบตั ิ ทบทวนให้ความรูแ้ ก่บคุ ลากร ทางด้านการรักษาความปลอดภัย การสร้างเครือข่าย การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย การสร้างบุคลากรต้นแบบทีด่ ี การจัดให้มรี ะบบสารสนเทศ เข้ามาใช้ในการสร้างจิตส�ำนึกด้านการรักษาความปลอดภัย การสร้างสือ่ เพือ่ ประชาสัมพันธ์ นโยบายผูบ้ ริหาร ขัน้ ตอน ในการคัดเลือกคนเข้าท�ำงาน สภาพแวดล้อม การสร้าง สถานการณ์ที่เป็นวิกฤตหรือเป็นภัย การตรวจตราตาม สถานการณ์ และการก� ำ กั บ ดู แ ล และการประเมิ น สมรรถนะ

33


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ตารางที่ 1: สรุปนิยามจิตส�ำนึกด้านการรักษาความปลอดภัย นิยามจิตส�ำนึกของ Wulgaert (2005)

นิยามของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

นิยามของ บริษัทท่าอากาศยานไทย จ�ำกัด

จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย หมายถึ ง “ขอบเขตที่ ส มาชิ ก ทุ ก คนใน องค์ ก ารที่ ส ามารถเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ของ องค์ ก ารได้ มี ค วามเข้ า ใจถึ ง การรั ก ษา ความปลอดภั ย และระดั บ การรั ก ษา ความปลอดภัยที่เหมาะสมขององค์การ ความส�ำคัญของการรักษาความปลอดภัย และผลลัพธ์ของการขาดการรักษาความ ปลอดภัย และความรับผิดชอบของตนที่ เกีย่ วข้องกับการรักษาความปลอดภัย และ ปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม”

จิตส�ำนึกในการรักษาความปลอดภัย คือ “การน�ำเอาวัฒนธรรมองค์การ แบบพี่ สอนน้ อ งเข้ า ไปดู แ ลและปลู ก จิ ต ส� ำ นึ ก ให้พนักงานขององค์การมีความรู้สึกรัก องค์การ เมือ่ เขาเกิดความรักองค์การแล้ว เขาจะดูแลองค์การ เหมือนดูแลบ้านของเขา วิธีการปลูกจิตส�ำนึกก็มีด้วยกันหลายวิธี เช่น การฝึกอบรม การน�ำกิจกรรมเข้ามา เสริมสร้างให้เขาท�ำแล้วรู้สึกรักและเข้าใจ ถึงองค์การ ให้เขารู้วัฒนธรรมที่องค์การ มีอยู่ และสอนงานให้เขารู้สึกซึมซับเอา วัฒนธรรมต่างๆ เข้าไป นอกจากนี้ยังต้อง มีการกระตุ้นและเสริมแรงจูงใจ มีการให้ รางวัล กระตุ้นให้เกิด Innovation และ มอบรางวัลให้กับการความพยายามและ สร้างความส�ำเร็จ ความภาคภูมิใจให้กับ พนักงาน โดยสิง่ ทีพ่ นักงานแสดงออกได้ชดั ได้แก่ การเดินเข้า กฟผ. พนักงานจะติด บัตรแสดงตน ท�ำให้เห็นได้ชดั เจน เป็นต้น”

จิตส�ำนึกในการรักษาความปลอดภัย คือ “การให้บุคลากรตระหนักถึง การรักษา ความปลอดภัย ซึ่งโดยความหมายของ ความปลอดภั ย หรื อ การรั ก ษาความ ปลอดภัยแล้วจะมีลักษณะที่ขัดแย้งกับ ความหมายของค�ำว่าอ�ำนวยความสะดวก จะหันหลังชนกัน คือกล่าวได้วา่ ถ้าต้องการ ความสะดวกก็ จ ะไม่ ป ลอดภั ย แต่ ถ ้ า ต้องการความปลอดภัยก็จะไม่สะดวก”

นิยามของผู้บริหารระดับสูงของ ส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ

นิยามของ ผู้บริหารจากการท�ำ Focus Group

จิตส�ำนึกในการรักษาความปลอดภัย คือ “เรือ่ งนามธรรม หมายความว่า บุคคลต้อง มีการตระหนักรู้ ในสิง่ ทีค่ วรท�ำทีเ่ กีย่ วข้อง กับเรือ่ งการรักษาความปลอดภัยโดยไม่ตอ้ ง ให้ใครมาบอก โดยเกิดความรู้สึกนึกคิด ในการพิ ทั ก ษ์ รั ก ษาหรื อ หวงแหนสิ่ ง ใด สิ่งหนึ่ง ซึ่งต้องถูกปลูกฝังตั้งแต่เริ่มเข้า ท�ำงาน และสร้างให้เห็นความส�ำคัญหรือ สร้างประโยชน์ร่วมกัน”

จิตส�ำนึกในการรักษาความปลอดภัย คือ “ความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับเรือ่ งการรักษา ความปลอดภัยของแต่ละปัจเจกบุคคล ที่สั่งสมจากการถ่ายทอด การฝึกอบรม การกระตุ้นเตือนให้เห็นถึงประโยชน์และ ความส�ำคัญในการปฏิบัติให้เกิดขึ้นในใจ ตลอดเวลา ท� ำ ให้ บุ ค คลเกิ ด ความคิ ด ความรูส้ กึ และเห็นถึงความส�ำคัญของการ ระวังภัยอยู่เสมอ และสามารถด�ำเนินการ แก้ไขเพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดขึ้น กับบุคคล เอกสาร สถานที่ ได้โดยอัตโนมัติ โดยไม่มีใครมาบังคับ”

นิยามของผู้เชี่ยวชาญ จิตส�ำนึกในการรักษาความปลอดภัย คือ “ภาวะความตืน่ ตัวทีฝ่ งั อยูภ่ ายในโดยผ่าน กระบวนการเรี ย นรู ้ การฝึ ก ฝนมาเป็ น อย่างดี และผลักดันให้กระท�ำการหรือ ตอบโต้แก้ไขภยันตรายได้อย่างอัตโนมัติ เพื่อปกป้องคุ้มครองบุคคล สถานที่ หรือ สิง่ ของขององค์การให้ได้รบั ความปลอดภัย”

34


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

Wulgaert (2005)

การไฟฟ้าฝ่ายผลิต

ท่าอากาศยานไทย

ผู้เชี่ยวชาญ

ผู้บริหารระดับสูง

บุคลากรภายใน

ตารางที่ 2: วิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่ส�ำคัญต่อการสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย

1. ความเข้าใจในเรื่องระเบียบในการปฏิบัติงาน

2. การฝึกอบรม และการให้ความรูเ้ กีย่ วกับการรักษาความปลอดภัยแก่บคุ ลากร ในองค์การ

3. การสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรในองค์การ

4. การมีบทลงโทษ

5. ภาวะผู้น�ำ

องค์ประกอบที่ส�ำคัญต่อการสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย

6. การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคม

7. การสร้างความผูกพันให้กับบุคลากรในองค์การ

8. การสร้างวัฒนธรรมองค์การ

9. การให้การฝึกฝน ฝึกปฏิบตั ิ ทบทวนให้ความรูแ้ ก่บคุ ลากรทางด้านการรักษา ความปลอดภัย

10. การสร้างเครือข่าย

11. การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย

12. การสร้างบุคลากรต้นแบบที่ดี

13. การจัดให้มีระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในการสร้างจิตส�ำนึกด้านการรักษา ความปลอดภัย

✓ ✓

✓ ✓

15. นโยบายผู้บริหาร

14. การสร้างสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์

✓ ✓

✓ ✓

✓ ✓

16. ขั้นตอนในการคัดเลือกคนเข้าท�ำงาน

17. สภาพแวดล้อม

19. การตรวจตราตามสถานการณ์ และการก�ำกับดูแล

20. การประเมินสมรรถนะ

18. การสร้างสถานการณ์ที่เป็นวิกฤตหรือเป็นภัย

✓ ✓

35


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ผลการวิจัยเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยบุคลากร ของส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผูว้ จิ ยั ได้แจกแบบสอบถาม ฉบับสมบูรณ์จำ� นวน 52 ข้อ ให้กบั บุคลากรภายในส�ำนัก ข่าวกรองแห่งชาติ จ�ำนวน 210 คน เพื่อท�ำการตอบ แบบสอบถามเกีย่ วกับองค์ประกอบทีส่ ำ� คัญต่อการสร้าง จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย โดยได้รับ แบบสอบถามกลับคืนมาเป็นจ�ำนวนทั้งหมด 208 ชุด คิดเป็นร้อยละ 99.05 ซึง่ ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลพบว่า บุคลากรของส�ำนัก ข่าวกรองแห่งชาติทตี่ อบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นหญิง 105 คน คิดเป็นร้อยละ 50.50 มีช่วงอายุ อยู่ระหว่าง 41-50 ปี จ�ำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 37.0 ส่วนใหญ่ มีสถานภาพสมรส จ�ำนวน 131 คน คิดเป็นร้อยละ 63.0 และส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จ�ำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 59.60 เมื่อจ�ำแนกตามต�ำแหน่ง พบว่า เกินครึ่งของบุคลากรที่ตอบแบบสอบถามมีต�ำแหน่ง ช�ำนาญการ จ�ำนวน 106 คน คิดเป็นร้อยละ 51.00 มีรายได้ตั้งแต่ 10,000-25,000 บาท จ�ำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 48.1 และระยะเวลาการท�ำงาน (จ�ำนวนปี) พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่มอี ายุการท�ำงาน ตัง้ แต่ 21-30 ปี จ�ำนวน 81 คน คิดเป็นร้อยละ 38.90 การวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า บุคลากรของส�ำนักงาน ข่าวกรองแห่งชาติมคี วามเห็นด้วยอย่างยิง่ ต่อองค์ประกอบ ที่ส�ำคัญในการสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภัยจ�ำนวน 13 ข้อ มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.22-4.64 และเห็ น ด้ ว ยต่ อ องค์ ป ระกอบที่ ส� ำ คั ญ ในการสร้ า ง จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยจ�ำนวน 39 ข้อ มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.84-4.20 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส�ำรวจเพือ่ สร้างรูปแบบ การพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย ผูว้ จิ ยั ได้ทำ� การทดสอบข้อก�ำหนดเบือ้ งต้นในการวิเคราะห์ องค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามต้องมากกว่า 150 คน (Pullant, 2001) จากข้อก� ำหนดนี้พบว่า การวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มตัวอย่างจ�ำนวน 208 คน

36

2. ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) เบื้องต้นระหว่าง ตัวแปรสูงกว่า 0.3 ขึ้นไป (Wiersma, 1991) ซึ่งจาก การทดสอบข้อมูลพบ ค่าสหสัมพันธ์เบื้องต้นระหว่าง ตัวแปรของข้อมูลที่สูงกว่า 0.3 3. ตรวจสอบความเหมาะสมของกลุ ่ ม ตั ว อย่ า ง โดยพิจารณาค่า KMO ว่าสูงกว่า 0.5 หรือไม่ และค่า Bartlett’s test of Sphericity มีค่านัยส�ำคัญทางสถิติ (Significance) หรือไม่ (Burns, 1990) ซึ่งผลการทดสอบพบว่า ค่า KMO เท่ากับ 0.919 แสดงว่าข้อมูลทีม่ อี ยูเ่ หมาะสมทีจ่ ะใช้เทคนิคการวิเคราะห์ องค์ประกอบ (Factor Analysis) และค่า Bartlett’s test of Sphericity ที่ใช้ตรวจสอบเมตริกสหสัมพันธ์ ของประชากรว่าเป็นเมตริกเอกลักษณ์หรือไม่ ถ้าเป็น หมายความว่าตัวแปร แต่ละตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน (ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเข้าใกล้ 0) และตัวแปร มีความเป็นอิสระต่อกันอย่างสมบูรณ์ดังนั้นการจัดกลุ่ม ตัวแปรเพือ่ ให้ เกิดองค์ประกอบจะไม่เกิดขึน้ จากข้อมูล พบว่า ค่า Chi-Square = 8,706.886 และค่า p = .000 หมายความว่าเมติกสหสัมพันธ์ไม่เป็นเมตริกเอกลักษณ์ เพราะค่า Bartlett’s test of Sphericity มีคา่ นัยส�ำคัญ ทางสถิติน้อยกว่า 0.05 ดังนั้นผลการทดสอบข้อตกลง เบื้องต้นทั้ง 3 ข้อ ท�ำให้ได้ข้อสรุปว่าข้อมูลที่ได้จากการ เก็บรวบรวมข้อมูล มีความเหมาะสมในการใช้เทคนิค วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ ขั้ น ต่ อ มา คื อ การสกั ด องค์ ป ระกอบ (Factor extraction) เพื่อพิจารณาจิตส�ำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัย สามารถจ�ำแนกได้กี่องค์ประกอบ โดย วิธกี ารวิเคราะห์ตวั ประกอบหลัก (Principal component analysis) และก� ำ หนดให้ แ ต่ ล ะองค์ ป ระกอบไม่ มี ความสัมพันธ์กัน จึงเลือกการหมุนแกนแบบมุมฉาก (Orthogonal) ด้วยวิธี Varimax ที่จ�ำนวนรอบในการ สกัดองค์ประกอบ 25 รอบ แสดงค่าไอเกน (Eigen values) มีค่าสูงกว่า 1 และไม่แสดงค่าสหสัมพันธ์ที่ น้อยกว่า 0.3 และพบว่าค่าไอเกน (Eigen values) ทีไ่ ด้ มากกว่า 1 มีเพียง 10 องค์ประกอบ และซึง่ องค์ประกอบ ทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 70.532 ของค่าความแปรปรวน


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ทัง้ หมด โดยองค์ประกอบตัวแรกสามารถอธิบายตัวแปร ได้มากที่สุดถึงร้อยละ 40.663 และจากการวิเคราะห์ ตัวแปรที่มีค่า Factor loading น้อยกว่า 0.3 เพื่อน�ำ ตัวแปรมาจ�ำแนกเป็นองค์ประกอบพบว่าไม่มีตัวแปรใด ที่มีค่า Factor loading น้อยกว่า 0.3 และเมื่อมีการ จัดการองค์ประกอบของปัจจัยที่สร้างจิตส�ำนึกในการ รักษาความปลอดภัย ผู้วิจัยสามารถจัดองค์ประกอบได้ 10 องค์ประกอบดังต่อไปนี้ องค์ประกอบที่ 1 มีค่า Eigenvalues เท่ากับ 21.145 และค่า Factor Loading อยู่ในช่วงระหว่าง 0.792-0.640 องค์ประกอบนี้ประกอบด้วย 11 ปัจจัย ได้แก่ 1) การพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภัยสามารถกระท�ำได้โดยผ่านการจัดกิจกรรมที่ เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย 2) การให้ชุมชน โดยรอบหน่วยงานมีส่วนร่วมในมาตรการรักษาความ ปลอดภัยจะช่วยกระตุ้นจิตส�ำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัยของบุคลากร 3) ในแต่ละเดือนหรือ แต่ละปีองค์การควรจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการรักษา ความปลอดภัยเพราะช่วยในการพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัย 4) การท�ำกิจกรรมและความ ร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกทีเ่ กีย่ วข้องกับงานทางด้าน การรักษาความปลอดภัยช่วยส่งเสริมการพัฒนาจิตส�ำนึก ทางด้านการรักษาความปลอดภัยแก่บคุ ลากร 5) เมือ่ บุคคล แจ้งเบาะแสหรือพบเห็นการกระท�ำการที่ไม่เหมาะสม เกี่ยวกับแนวปฏิบัติทางด้านการรักษาความปลอดภัย ควรได้รับรางวัล 6) บุคคลจะสร้างจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัยขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อมีความรู้และ ความเข้ า ใจพื้ น ฐานเกี่ ย วกั บ การอยู ่ ร ่ ว มกั น ในสั ง คม 7) การจัดกิจกรรมรณรงค์ให้เห็นความส�ำคัญของการ รักษาความปลอดภัยภายในองค์การช่วยสร้างจิตส�ำนึก ทางด้านการรักษาความปลอดภัย 8) การหาบุคคล ต้นแบบที่ปฏิบัติตนตามแนวทางด้านการรักษาความ ปลอดภัยได้ดชี ว่ ยสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภัยแก่บุคลากร 9) การพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัยให้เกิดขึ้น บุคลากรต้องได้รับ

การฝึกฝนและฝึกปฏิบตั เิ กีย่ วกับงานทางด้านรักษาความ ปลอดภัยอย่างสม�่ำเสมอ 10) การทบทวนแนวปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยอย่างสม�่ำเสมอ ช่วยกระตุ้นการสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภั ย และ 11) การยกย่ อ งหรื อ เชิ ด ชู บุ ค คลที่ ประพฤติตนตามแนวทางการรักษาความปลอดภัยเป็น วิธกี ารหนึง่ ทีช่ ว่ ยสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภัยได้ ผูว้ จิ ยั จึงได้ตงั้ ชือ่ องค์ประกอบนีว้ า่ “การจัด กิจกรรมที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย” โดย ก�ำหนดชือ่ องค์ประกอบเป็นภาษาอังกฤษว่า “Security Activity” องค์ประกอบที่ 2 มีคา่ Eigenvalues เท่ากับ 3.305 และค่า Loading Factor อยูใ่ นช่วงระหว่าง 0.765-0.422 องค์ประกอบนีป้ ระกอบด้วย 10 ปัจจัย ได้แก่ 1) ความรู้ ความเข้าใจในระเบียบการรักษาความปลอดภัยช่วย ส่งเสริมการสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย 2) ความชัดเจนในข้อบังคับ แนวทางการปฏิบัติงาน ช่วยสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย 3) การฝึกอบรมที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย มีความส�ำคัญต่อการพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัยแก่บคุ ลากรในองค์การ 4) การให้ความรู้ เกีย่ วกับการรักษาความปลอดภัยแก่บคุ ลากรในองค์การ ช่วยส่งเสริมการพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภัยแก่บุคลากร 5) การสร้างจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัยท�ำได้โดยการที่บุคคลได้รับ ความรูแ้ ละการฝึกอบรมเกีย่ วกับการรักษาความปลอดภัย อย่างต่อเนื่อง 6) ความเข้าใจในระเบียบการปฏิบัติงาน เป็ น พื้ น ฐานส� ำ คั ญ ของการพั ฒ นาจิ ต ส� ำ นึ ก ทางด้ า น การรักษาความปลอดภัย 7) การถ่ายทอดประสบการณ์ ค่านิยมและแนวปฏิบตั ทิ พี่ งึ ปรารถนาทางด้านการรักษา ความปลอดภัยจากผู้บังคับบัญชาช่วยพัฒนาการสร้าง จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย 8) การถ่ายทอด ค่านิยมเกีย่ วกับการรักษาความปลอดภัยจากรุน่ พีส่ รู่ นุ่ น้อง ในองค์การช่วยสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภัย 9) การทบทวนความรูแ้ ก่บคุ ลากรช่วยส่งเสริม

37


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

การสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย และ 10) การปลูกฝังค่านิยมขององค์การที่สะท้อนให้เห็นถึง ความส� ำ คั ญ ของการรั ก ษาความปลอดภั ย ช่ ว ยสร้ า ง จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยแก่บุคลากร ในองค์การ ผูว้ จิ ยั จึงได้ตงั้ ชือ่ องค์ประกอบนีว้ า่ “การสร้าง ความรูเ้ กีย่ วกับการรักษาความปลอดภัย” โดยก�ำหนด ชื่อองค์ประกอบเป็นภาษาอังกฤษว่า “Knowledge Development” องค์ประกอบที่ 3 มีคา่ Eigenvalues เท่ากับ 2.663 และค่า Loading Factor อยูใ่ นช่วงระหว่าง 0.769-0.438 องค์ประกอบนี้ประกอบด้วย 7 ปัจจัย ได้แก่ 1) ผู้น�ำ องค์การต้องแสดงตนเป็นแบบอย่างในการสร้างจิตส�ำนึก ทางด้านการรักษาความปลอดภัยอย่างสม�ำ่ เสมอ 2) ผูน้ ำ� ทุกระดับต้องเอาใจใส่ต้องการพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัย 3) ผู้น�ำองค์การถือเป็นหัวใจ ส�ำคัญในการพัฒนาการสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัยของบุคลากรในองค์การ 4) ผู้บริหาร ทุกระดับควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้าน การรั ก ษาความปลอดภั ย แก่ บุ ค ลากรในองค์ ก าร 5) ผู้บริหารต้องมีการก� ำหนดนโยบายและแนวทาง ปฏิบตั ทิ ชี่ ดั เจนต่อการพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัยของบุคลากรภายในองค์การ 6) ควรมี บทลงโทษแก่ผู้ที่ไม่ประพฤติปฏิบัติตามข้อบังคับหรือ ระเบียบในเรือ่ งของการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และ 7) การตักเตือนบุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการ การรักษาความปลอดภัยอย่างสม�่ำเสมอช่วยกระตุ้น การสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยได้ ผูว้ จิ ยั จึงได้ตงั้ ชือ่ องค์ประกอบนีว้ า่ “บทบาทผูน้ ำ� ต่อการ พัฒนาจิตส�ำนึกในการรักษาความปลอดภัย” โดย ก�ำหนดชื่อองค์ประกอบเป็นภาษาอังกฤษว่า “Leader Roles” องค์ประกอบที่ 4 มีคา่ Eigenvalues เท่ากับ 1.809 และค่า Loading Factor อยูใ่ นช่วงระหว่าง 0.815-0.539 องค์ประกอบนี้ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) การให้ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคมมีความ

38

ส�ำคัญต่อการพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภัย 2) บุคคลที่ได้มีความเข้าใจเพียงพอเกี่ยวกับ การอยู่ร่วมกันในสังคมสามารถสร้างจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัยได้อย่างเหมาะสม 3) ความ ผูกพันของบุคลากรในองค์การเป็นพืน้ ฐานส�ำคัญต่อการ สร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย และ 4) เมื่ อ บุ ค คลในองค์ ก ารมี ค วามผู ก พั น บุ ค คลจะ ตระหนักถึงความปลอดภัยต่อองค์การ ผูว้ จิ ยั จึงได้ตงั้ ชือ่ องค์ประกอบนี้ว่า “การสร้างความผูกพันเพื่อการอยู่ ร่ ว มกั น ของบุ ค ลากรในองค์ ก าร” โดยก� ำ หนดชื่ อ องค์ประกอบเป็นภาษาอังกฤษว่า “Commitment” องค์ประกอบที่ 5 มีคา่ Eigenvalues เท่ากับ 1.594 และค่า Loading Factor อยูใ่ นช่วงระหว่าง 0.778-0.648 องค์ประกอบนี้ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ควรท�ำ การประเมินจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย ของบุคลากรเพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงต่อไป 2) หลังจากให้การฝึกอบรมและความรูเ้ กีย่ วกับการรักษา ความปลอดภัยและการสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัยแล้ว ควรมีการก�ำกับดูแลและติดตาม พฤติกรรมของบุคลากรอย่างสม�่ำเสมอ 3) การติดตาม ผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารที่มีต่อบุคลากรเกี่ยวกับ แนวทางการรักษาความปลอดภัยช่วยส่งเสริมการพัฒนา จิ ต ส� ำ นึ ก ทางด้ า นการรั ก ษาความปลอดภั ย ได้ และ 4) ควรน�ำเอาเรื่องจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภัยมาเป็นสมรรถนะหลักในการท�ำงานขององค์การ ผู้วิจัยจึงได้ตั้งชื่อองค์ประกอบนี้ว่า “การประเมินผล การปฏิบตั งิ าน” โดยก�ำหนดชือ่ องค์ประกอบเป็นภาษา อังกฤษว่า “Performance Appraisal” องค์ประกอบที่ 6 มีคา่ Eigenvalues เท่ากับ 1.474 และค่า Loading Factor อยูใ่ นช่วงระหว่าง 0.620-0.401 องค์ประกอบนี้ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) ควรมี ค�ำขวัญที่แสดงให้เห็นถึงความส�ำคัญของการมีจิตส�ำนึก ทางด้านการรักษาความปลอดภัยติดตามบริเวณต่างๆ ในองค์การ 2) ควรมีปา้ ยเตือนเกีย่ วกับแนวทางการปฏิบตั ิ เพื่อการรักษาความปลอดภัยอย่างชัดเจน เช่น การติด


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ป้ายประจ�ำตัว และ 3) ควรมีข้อค�ำถามเจาะจงในการ สัมภาษณ์ที่เป็นมาตรฐานเพื่อวัดระดับจิตส�ำนึกของ บุคคลที่จะเข้ามาท�ำงานในองค์การ ผู้วิจัยจึงได้ตั้งชื่อ องค์ประกอบนีว้ า่ “การประชาสัมพันธ์เพือ่ สร้างจิตส�ำนึก ทางด้านการรักษาความปลอดภัย” โดยก�ำหนดชื่อ องค์ประกอบเป็นภาษาอังกฤษว่า “Public Relations” องค์ประกอบที่ 7 มีคา่ Eigenvalues เท่ากับ 1.386 และค่า Loading Factor อยูใ่ นช่วงระหว่าง 0.710-0.443 องค์ประกอบนี้ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) สภาพ แวดล้อมในการท�ำงานมีส่วนช่วยในการพัฒนาจิตส�ำนึก ทางด้านการรักษาความปลอดภัย 2) การคัดเลือกคน เข้ามาท�ำงานควรให้ความส�ำคัญกับประเด็นทางด้าน จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย และ 3) การ ปรับปรุงพื้นที่ในการท�ำงานหรือบริเวณโดยรอบในการ ท�ำงานให้เหมาะสมกับมาตรการรักษาความปลอดภัย ช่วยกระตุ้นการสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภัยได้ ผู้วิจัยจึงได้ตั้งชื่อองค์ประกอบนี้ว่า “การ ปรับปรุงสภาพแวดล้อม ในการท�ำงาน” โดยก�ำหนด ชือ่ องค์ประกอบเป็นภาษาอังกฤษว่า “Environmental Improvement ” องค์ประกอบที่ 8 มีคา่ Eigenvalues เท่ากับ 1.159 และค่า Loading Factor อยูใ่ นช่วงระหว่าง 0.480-0.441 องค์ประกอบนี้ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) การ ลงโทษผูท้ ไี่ ม่ปฏิบตั ติ ามมาตรการการรักษาความปลอดภัย อย่างเข้มงวดช่วยกระตุ้นการสร้างจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัย 2) การเผยแพร่ขอ้ มูลข่าวสาร ทีเ่ กีย่ วกับการรักษาความปลอดภัยให้กบั บุคลากรทราบ ผ่ า นระบบเทคโนโลยี ส ารสนเทศช่ ว ยสร้ า งจิ ต ส� ำ นึ ก ทางด้านการรักษาความปลอดภัย และ 3) การเผยแพร่ กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยผ่าน ระบบอินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ตช่วยกระตุน้ การพัฒนา จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยของบุคลากร ผู ้ วิ จั ย จึ ง ได้ ตั้ ง ชื่ อ องค์ ป ระกอบนี้ ว ่ า “การน� ำ ระบบ สารสนเทศเข้ามาใช้” โดยก�ำหนดชื่อองค์ประกอบ เป็ น ภาษาอั ง กฤษว่ า “Information System

Implementation” องค์ประกอบที่ 9 มีคา่ Eigenvalues เท่ากับ 1.136 และค่า Loading Factor อยูใ่ นช่วงระหว่าง 0.645-0.514 องค์ประกอบนีป้ ระกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) องค์การ ควรมีการสร้างสถานการณ์จำ� ลอง เช่น การก่อวินาศกรรม การจลาจล หรือการโจรกรรม เพื่อกระตุ้นการสร้าง จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยของบุคลากร และ 2) การซักซ้อมแนวการปฏิบัติตนในยามวิกฤติ หรือเมือ่ เผชิญภัยช่วยกระตุน้ การสร้างจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัย ผูว้ จิ ยั จึงได้ตงั้ ชือ่ องค์ประกอบนี้ ว่า “การสร้างสถานการณ์จ�ำลองที่เป็นวิกฤติ” โดย ก�ำหนดชื่อองค์ประกอบเป็นภาษาอังกฤษว่า “Crisis Simulation” องค์ประกอบที่ 10 มีคา่ Eigenvalues เท่ากับ 1.007 และค่า Loading Factor อยูใ่ นช่วงระหว่าง 0.717-0.688 องค์ประกอบนี้ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) การ ยกย่องชมเชยบุคคลที่มีความระแวดระวังภัยต่อตนเอง และองค์การช่วยส่งเสริม และพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัย และ 2) การให้รางวัลหรือ ผลตอบแทนช่วยกระตุ้นการพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัยของบุคลากรในองค์การ ผูว้ จิ ยั จึงได้ตั้งชื่อองค์ประกอบนี้ว่า “การสร้างแรงจูงใจแก่ บุ ค ลากรเพื่ อ การสร้ า งจิ ต ส� ำ นึ ก ” โดยก� ำ หนดชื่ อ องค์ประกอบเป็นภาษาอังกฤษว่า “Motivation” จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทีเ่ กีย่ วข้องกับการสร้าง จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย เพื่อน�ำมา สร้างรูปแบบการพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภัย พบว่า มีองค์ประกอบทีส่ ำ� คัญ 10 องค์ประกอบ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัย โดยผู้วิจัยได้น�ำพยัญชนะภาษาอังกฤษ ตัวแรกขององค์ประกอบแต่ละตัวโดยไม่เรียงตามล�ำดับ ความส�ำคัญ (ก�ำหนดระดับความส�ำคัญจากค่าไอเกน ทีไ่ ด้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบ) ซึง่ สามารถก�ำหนด ชื่อรูปแบบการพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภัยได้วา่ “KCP2 SMILES Model” และก�ำหนดชือ่

39


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ตามผูพ้ ฒ ั นารูปแบบได้ชอื่ ว่า “Chaiyaset’s Security Awareness Model” ซึ่งชื่อของรูปแบบหรือโมเดล สามารถจ�ำแนกได้ดังนี้ (ภาพที่ 1) K = Knowledge Development C = Commitment P = Performance Appraisal P = Public Relations S = Security Activity M = Motivation I = Information System Implementation L = Leader Roles E = Environmental Improvement S = (Crisis) Simulation โดยผูว้ จิ ยั ได้กำ� หนดนิยามขององค์ประกอบแต่ละด้าน เพือ่ ใช้ในการพัฒนาการสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภัยไว้ดังต่อไปนี้ K = Knowledge Development หรือ “การสร้าง ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย” หมายถึง การให้ความรู้ความเข้าใจและความชัดเจน ในเรื่อง ระเบียบการรักษาความปลอดภัย และแนวทางการ ปฏิบัติงานทางด้านการรักษาความปลอดภัย ผ่านการ ฝึกอบรม การปลูกฝังค่านิยม การถ่ายทอดประสบการณ์ และแนวปฏิบตั ทิ พี่ งึ ปรารถนาจากผูบ้ งั คับบัญชาและจาก รุ่นพี่สู่รุ่นน้องในองค์การ C = Commitment หรือ “การสร้างความผูกพัน เพื่อการอยู่ร่วมกันของบุคลากรในองค์การ” หมายถึง การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อให้บุคคลมีความเข้าใจที่ดีเพียงพอเกี่ยวกับการอยู่ ร่วมกัน เพื่อน�ำไปสู่การสร้างความผูกพันของบุคลากร P = Performance Appraisal หรือ “การ ประเมินผลการปฏิบัติงาน” หมายถึง การติดตามผล การปฏิบตั งิ านของบุคลากรและท�ำการประเมินพฤติกรรม ที่สะท้อนให้เห็นถึงจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความ ปลอดภัยเพื่อน�ำไปสู่การพัฒนา และปรับปรุงอย่าง ต่อเนื่อง

40

P = Public Relations หรือ “การประชาสัมพันธ์ เพื่ อ การสร้ า งจิ ต ส� ำ นึ ก ทางด้ า นการรั ก ษาความ ปลอดภัย” หมายถึง การจัดท�ำค�ำขวัญและป้ายเตือน ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติทางด้านการรักษาความ ปลอดภัย ที่แสดงให้เห็นความส�ำคัญของการมีจิตส�ำนึก ทางด้านการรักษาความปลอดภัยติดตามบริเวณต่างๆ ในองค์การ S = Security Activity หรือ “การจัดกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย” หมายถึง การจัดกิจกรรมทั้งภายในองค์การ และโดยการร่วมมือ กับหน่วยงานภายนอกเพื่อกระตุ้นบุคลากรให้เห็นถึง ความส�ำคัญของการรักษาความปลอดภัยอย่างสม�ำ่ เสมอ M = Motivation หรือ “การสร้างแรงจูงใจแก่ บุคลากรเพื่อสร้างจิตส�ำนึก” หมายถึง การให้รางวัล หรือผลตอบแทน และการยกย่องชมเชยบุคคลทีม่ คี วาม ระแวดระวังภัยต่อตนเองและองค์การเพื่อช่วยกระตุ้น การพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย ของบุคลากรในองค์การ I = Information System Implementation หรือ “การน�ำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้” หมายถึง การเผยแพร่ขอ้ มูลข่าวสารและกรณีศกึ ษาทีเ่ กีย่ วข้องกับ การรักษาความปลอดภัยผ่านระบบอินทราเน็ต หรือ อินเทอร์เน็ตเพือ่ ช่วยกระตุน้ การพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัยของบุคลากร L = Leader Roles หรือ “บทบาทของผู้น�ำ ต่อการพัฒนาจิตส�ำนึกในการรักษาความปลอดภัย” หมายถึง การที่ผู้น�ำหรือผู้บริหารทุกระดับขององค์การ แสดงตนเป็นแบบอย่างและให้การเอาใจใส่ในการพัฒนา จิ ต ส� ำ นึ ก ทางด้ า นการรั ก ษาความปลอดภั ย รวมทั้ ง ก�ำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนต่อการ พัฒนาจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย E = Environmental Improvement หรือ “การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการท�ำงาน” หมายถึง การปรับปรุงพื้นที่ในการท�ำงานหรือบริเวณโดยรอบ ในการท� ำ งานให้ เ หมาะสมกั บ มาตรการรั ก ษาความ


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ปลอดภัย ช่วยในกระตุน้ การสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการ รักษาความปลอดภัย S = (Crisis) Simulation หรือ “การสร้าง สถานการณ์จ�ำลองที่เป็นวิกฤติ” หมายถึง การพัฒนา สถานการณ์จ�ำลอง เช่น การก่อวินาศกรรม การจลาจล หรือ การโจรกรรม และการซักซ้อมแนวการปฏิบัติตน ในยามวิ กฤติ ห รื อเมื่อเผชิญ ภัยเพื่อกระตุ้นการสร้า ง จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยของบุคลากร สรุปและอภิปรายผล จากการวิเคราะห์ผลการวิจยั พบว่า จิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัย หมายถึง “ความรู้สึกนึกคิด ของแต่ละบุคคลที่มีต่อความส�ำคัญทางด้านการรักษา ความปลอดภัยทีค่ รอบคลุมเรือ่ งบุคคล เอกสาร สถานที่ ถูกสั่งสมมาจากการถ่ายทอด การเรียนรู้ การฝึกอบรม และประสบการณ์ เพื่อด�ำเนินการในการป้องกันหรือ รับมือจากสถานการณ์ที่เป็นภยันตรายได้โดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ” ส�ำหรับองค์ประกอบของ การพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย ของส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ ที่ได้จากการวิเคราะห์ องค์ประกอบ มีทั้งหมด 10 องค์ประกอบ ที่ช่วยในการ พัฒนาจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย ดังนี้ 1. การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความ ปลอดภัย (Security Activity) การจัดกิจกรรมทัง้ ภายใน องค์ ก ารและโดยการร่ ว มมื อ กั บ หน่ ว ยงานภายนอก เพือ่ กระตุน้ บุคลากรให้เห็นถึงความส�ำคัญของการรักษา ความปลอดภัยอย่างสม�่ำเสมอ สามารถช่วยกระตุ้น การพัฒนาการสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภัยได้ เพราะเป็นเหมือนการเน้นย�้ำให้เห็นถึง ความส�ำคัญของการรักษาความปลอดภัย และผลลัพธ์ ที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น ถ้ า ขาดการรั ก ษาความปลอดภั ย ที่ มี ประสิทธิภาพ อันสะท้อนให้เห็นการขาดจิตส�ำนึกของ บุคลากรในหน่วยงาน 2. การสร้างความรูเ้ กีย่ วกับการรักษาความปลอดภัย (Knowledge Development) สอดคล้องกับแนวคิด

ของ Roper, Grau และ Fischer (2005) ที่ว่า สิ่งที่ กระตุน้ ผลการปฏิบตั งิ านของบุคลากรมีดว้ ยกัน 3 ประการ ซึ่ง ได้แก่ 1) สภาพแวดล้อม 2) ทักษะ ความรู้ และ ความสามารถ และ 3) การจูงใจ ทัศนคติ และ สิ่งจูงใจ โดยการพัฒนางานทางด้านการรักษาความปลอดภัย ให้ประสบความส�ำเร็จบุคลากรต้องทราบว่างานใดเป็น สิ่งที่ต้องท�ำให้ส�ำเร็จ และต้องท�ำอะไรบ้าง ภายใต้ สถานการณ์หรือเงื่อนไขใดที่ต้องท�ำให้ส�ำเร็จ ท�ำที่ไหน และท�ำงานให้เหมาะสมอย่างไร นั่นคือการให้ความรู้ ความเข้าใจเกีย่ วกับงานทางด้านการรักษาความปลอดภัย ซึ่งต้องมีการท�ำเป็นประจ�ำอย่างต่อเนื่อง หรือมีการ ตอกย�้ำซ�้ำทวน และเมื่อบุคลากรเข้าใจก็จะเห็นความ ส�ำคัญและอยากประพฤติปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับ แนวปฏิบตั ทิ างด้านการรักษาความปลอดภัย นอกจากนี้ องค์ประกอบนีย้ งั สอดคล้องกับแนวคิดการสร้างวัฒนธรรม แห่งการรักษาความปลอดภัยของบริษัท Cisco ในเรื่อง ของการจัดการอบรมทั่วทั้งองค์การอีกด้วย 3. บทบาทผูน้ ำ� ต่อการพัฒนาจิตส�ำนึกในการรักษา ความปลอดภัย (Leader Roles) สอดคล้องกับแนวคิด ของ Sennewald (2003) ที่ว่าผลการปฏิบัติงานของ ผู้น�ำเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้ บั ง คั บ บั ญ ชา ถ้ า ผู ้ น� ำ อยากเห็ น การพั ฒ นาจิ ต ส� ำ นึ ก ทางด้านการรักษาความปลอดภัยเกิดขึน้ ในองค์การ ผูน้ ำ� ต้องมุ่งมั่นและปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง เพราะงาน ทางด้านการรักษาความปลอดภัยขององค์การ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์เป็นเรื่องของผู้น�ำ ดังนั้นผู้น�ำจึงมีความ ส�ำคัญอย่างยิ่งต่องานทางด้านรักษาความปลอดภัย (เดชน์ จรูญเรืองฤทธิ,์ 2549) นอกจากนีอ้ งค์ประกอบนี้ ยังสอดคล้องกับแนวคิดการสร้างวัฒนธรรมแห่งการ รักษาความปลอดภัยของบริษัท Cisco ในเรื่องการ สนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงอีกด้วย 4. การสร้างความผูกพันเพื่อการอยู่ร่วมกันของ บุคลากรในองค์การ (Commitment) สอดคล้องกับ เดชน์ จรูญเรืองฤทธิ์ (2549) ทีก่ ล่าวถึงความรับผิดชอบ ของผูบ้ ริหารทีเ่ กีย่ วกับการรักษาความปลอดภัย ในเรือ่ ง

41


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ของปัจจัยทีจ่ ะท�ำให้การรักษาความปลอดภัยในหน่วยงาน มีประสิทธิผล โดยต้องอาศัยองค์ประกอบในเรื่องของ ความร่วมมือของบุคลากรทุกคน ทุกระดับขององค์การ ในการปฏิบัติตามระเบียบการรักษาความปลอดภัยของ หน่วยทีว่ างไว้ดว้ ยทัศนคติทถี่ กู ต้องว่าเป็นการปฏิบตั เิ พือ่ ประโยชน์สว่ นรวมขององค์การนอกจากนี้ องค์ประกอบนี้ ยังสอดคล้องกับแนวคิดการสร้างวัฒนธรรมแห่งการ รักษาความปลอดภัยของบริษัท Cisco อีกด้วย 5. การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal) สอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด ของ Ortimeier (2009) ทีก่ ล่าวว่าถ้าต้องการให้บคุ ลากรแสดงพฤติกรรม ที่สะท้อนให้เห็นถึงจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความ ปลอดภัย ต้องมีการก�ำหนดแนวทางในการประเมิน ซึง่ ต้องใช้มาตรฐานทีจ่ บั ต้องไม่ได้ (Intangible standards) ซึง่ เกีย่ วข้องกับคุณลักษณะของบุคคลทีค่ วามยากในการวัด ซึ่งเรื่องของจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ทัศนคติที่พึงปรารถนา การให้ ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎระเบียบทางด้านการ

รักษาความปลอดภัย เป็นต้น 6. การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัย (Public Relations) การจัดท�ำ ค�ำขวัญและป้ายเตือน ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติ ทางด้านการรักษาความปลอดภัย ที่แสดงให้เห็นความ ส�ำคัญของการมีจติ ส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย ติดตามบริเวณต่างๆ ในองค์การ เป็นการสะท้อนให้เห็น วัฒนธรรมหรือค่านิยมขององค์การทีส่ ง่ เสริม การตระหนัก ถึงความส�ำคัญของการรักษาความปลอดภัย ท�ำให้บคุ ลากร ไม่ลืมที่จะปฏิบัติ และพยายามเตือนตนเองอยู่เสมอว่า ต้องปฏิบตั ติ นอย่างไร และเมือ่ เห็นข้อความหรือป้ายเตือน เหล่านี้ซ�้ำๆ เป็นประจ�ำก็จะท�ำให้เกิดการประทับรอย เข้าสู่ความทรงจ�ำ และจะแสดงพฤติกรรมที่แสดงถึง ความมีจติ ส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยออกมา โดยอัตโนมัติ นอกจากนีอ้ งค์ประกอบนีย้ งั สอดคล้องกับ แนวคิดการสร้างวัฒนธรรมแห่งการรักษาความปลอดภัย ของบริษัท Cisco อีกด้วย

รูปที่ 1: รูปแบบการพัฒนาจิตส�ำนึก Chaiyaset’s Security Awareness Model (KCP2 SMILES Model)

42


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

7. การปรั บ ปรุ ง สภาพแวดล้ อ มในการท� ำ งาน (Environmental Improvement) สอดคล้องกับ แนวคิดของ Roper, Grau และ Fischer (2005) สภาพแวดล้อมมีผลต่อความส�ำเร็จหรือล้มเหลวต่อการ ท�ำภารกิจทีเ่ กีย่ วข้องกับงานด้านการรักษาความปลอดภัย การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมบางประการที่ส่งผลต่อ การบรรลุเป้าหมายของงานด้านการรักษาความปลอดภัย จึงเป็นเรือ่ งทีส่ ำ� คัญ เพราะโดยธรรมชาติ ถ้าสภาพแวดล้อม ไม่เอือ้ อ�ำนวยต่อการปฏิบตั อิ าจท�ำให้บคุ ลากรหลีกเลีย่ ง หรือหาข้อยกเว้นเพือ่ ไม่แสดงพฤติกรรมทีส่ ะท้อนให้เห็น ถึงจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัย เช่น การมี มาตรการควบคุมผู้ผ่านเข้าออกบริเวณหน้าหน่วยงาน ถ้าหน่วยงานอยูใ่ นพืน้ ทีท่ มี่ กี ารจราจรติดขัด อาจส่งผลให้ ผูป้ ฏิบตั ไิ ม่เคร่งครัดต่อการควบคุมยานพาหนะทีเ่ ข้าออก ในพื้นที่ เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อการจราจร บริเวณโดยรอบได้ 8. การน�ำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ (Information System Implementation) สถานการณ์ปัจจุบัน การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและกรณีศึกษา ที่เกี่ยวข้อง กับการรักษาความปลอดภัยผ่านระบบอินทราเน็ตหรือ อินเทอร์เน็ตเพือ่ ช่วยกระตุน้ การพัฒนาจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัยของบุคลากร เป็นเรือ่ งทีจ่ ำ� เป็น และต้องด�ำเนินการอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้เพราะบุคลากร ในองค์ ก ารสมั ย ใหม่ ท� ำ งานผ่ า นระบบคอมพิ ว เตอร์ แทบจะทัง้ หมด ดังนั้นการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เกีย่ วข้อง อย่างรวดเร็วและทันสมัย จึงเป็นเรื่องที่ส�ำคัญและต้อง ด�ำเนินการเพื่อสร้างความตระหนักถึงความส�ำคัญของ การรักษาความปลอดภัย รวมทัง้ ยังใช้เป็นช่องทางในการ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ หรือการกระจายความรู้สู่บุคลากร ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานอีกด้วย นอกจากนี้ องค์ประกอบนีย้ งั สอดคล้องกับแนวคิดการสร้างวัฒนธรรม แห่งการรักษาความปลอดภัยของบริษัท Cisco ในเรื่อง ของการแบ่งปันเรือ่ งราวทางด้านการรักษาความปลอดภัย อีกด้วย

9. การสร้างสถานการณ์จ�ำลองที่เป็นวิกฤติ (Crisis Simulation) การสร้างสถานการณ์จำ� ลองในรูปแบบต่างๆ เช่น การก่อวินาศกรรม การจลาจล หรือ การโจรกรรม และการซักซ้อมแนวการปฏิบตั ติ นในยามวิกฤติหรือเมือ่ เผชิญภัยสามารถช่วยกระตุน้ การสร้างจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัยของบุคลากรได้ เพราะบุคลากร ได้เรียนรู้และตระหนักถึงความส�ำคัญในการรับมือกับ ภยันตรายในหลากหลายรูปแบบที่อาจเกิดขึ้น หรือเป็น ความเสีย่ งทีอ่ าจเกิดขึน้ ในองค์การ การเตรียมความพร้อม จากรูปแบบสถานการณ์ทหี่ ลากหลายเป็นแนวทางทีช่ ว่ ย ให้บุคลากรเข้าใจแนวปฏิบัติและทราบถึงผลลัพธ์และ ผลกระทบของเหตุการณ์ทอี่ าจเกิดขึน้ ถ้าปราศจากการ รับมือที่มีประสิทธิภาพ 10. การสร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรเพื่อการสร้าง จิตส�ำนึก (Motivation) การสร้างแรงจูงใจถือเป็น หัวใจส�ำคัญของงานทางด้านการรักษาความปลอดภัย สอดคล้องกับ เดชน์ จรูญเรืองฤทธิ์ (2549, หน้า 396) ที่กล่าวว่า สวัสดิการเป็นเครื่องมือที่ส�ำคัญในการรักษา ความปลอดภัย เพราะการท�ำให้พนักงานมีความสุข และ รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าต่อองค์การ เป็นแนวทางที่ส�ำคัญ ที่ช่วยลดแรงจูงใจในการประพฤติปฏิบัติตนอันน�ำไปสู่ ปัญหาทางด้านการรักษาความปลอดภัย นอกจากนี้ ข้อค้นพบที่เกี่ยวกับองค์ประกอบนี้ยังสอดคล้องกับ Sennewald (2003, p. 108) ทีว่ า่ ความเข้าใจในความ ต้องการขั้นพื้นฐานของบุคลากรช่วยลดแรงต่อต้านหรือ ความเป็นปฏิปกั ษ์ของบุคลากรได้ โดยปัจจัยทีส่ ำ� คัญคือ การจดจ�ำความแตกต่างของบุคคลของบุคลากรในองค์การ และพยายามด�ำเนินการเพือ่ ท�ำให้เกิดแรงสนับสนุน และ จูงใจบุคลากรให้บรรลุความส�ำเร็จในการด�ำเนินงานทางด้าน การรักษาความปลอดภัย นอกจากนี้องค์ประกอบนี้ยัง สอดคล้องกับแนวคิดการสร้างวัฒนธรรมแห่งการรักษา ความปลอดภัยของบริษทั Cisco ในเรือ่ งของการให้รางวัล เพื่อการจูงใจในการเปลี่ยนพฤติกรรมอีกด้วย

43


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ข้อเสนอแนะ ผลการวิ จั ย เรื่ อ ง “การพั ฒ นารู ป แบบจิ ต ส� ำ นึ ก ทางด้านการรักษาความปลอดภัยส�ำหรับองค์การรักษา ความปลอดภัย: กรณีศึกษาส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ” น�ำไปสูข่ อ้ เสนอแนะเพือ่ การน�ำผลการวิจยั ไปใช้ โดยผูว้ จิ ยั ได้ให้ข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ 1. ส� ำ นั ก ข่ า วกรองแห่ ง ชาติ ค วรจั ด กิ จ กรรม ที่ เกีย่ วข้องกับการรักษาความปลอดภัยขึน้ ภายในหน่วยงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยอาจก�ำหนดเป็นชื่องานว่า “วันแห่งการรักษาความปลอดภัย” หรือ จัดกิจกรรม “สัปดาห์แห่งการรักษาความปลอดภัย” โดยให้ความรู้ ความเข้าใจเกีย่ วกับบุคคลทัง้ ภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งชุมชนบริเวณโดยรอบขององค์การ นอกจากนี้ ส�ำนักข่าวกรองควรจัดตัง้ “รางวัล” ให้แก่บคุ คลทีป่ ระพฤติ ปฏิบตั ติ นตามแนวทางการรักษาความปลอดภัย โดยอาจ ใช้ชื่อว่า “รางวัลบุคคลต้นแบบทางด้านการรักษาความ ปลอดภัย” 2. ส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติต้องด�ำเนินการพัฒนา หลั ก สู ต รที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การรั ก ษาความปลอดภั ย ที่ สอดคล้ อ งกั บ หน้ า ที่ ความรั บ ผิ ด ชอบของบุ ค ลากร แต่ละคน แต่ละหน่วย โดยพิจารณาจากลักษณะงาน (Job Description) โดยส�ำนักข่าวกรองต้องด�ำเนินการ จัดท�ำแผนพัฒนาเส้นทางฝึกอบรม (Training Roadmap) และ แผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan) โดยก�ำหนดหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ความปลอดภัยและการสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษา ความปลอดภั ย และท� ำ การฝึ ก อบรมทั้ ง ในรู ป แบบ On-the-job training และ Off-the-job training อย่างต่อเนื่องสม�่ำเสมอเป็นประจ�ำ 3. บทบาทผูน้ ำ� ต่อการพัฒนาจิตส�ำนึกในการรักษา ความปลอดภัย (Leader Roles) ส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ ควรด�ำเนินการจัดอบรมให้แก่ผู้บริหารทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง โดยมุง่ เน้นให้เห็นถึง ความส�ำคัญของความเป็นผูน้ ำ� ในการขับเคลือ่ นบุคลากร และองค์การไปสู่การสร้างจิตส�ำนึกทางด้านการรักษา

44

ความปลอดภัย การแสดงตนเองเป็นแบบอย่างที่ดีต่อ ผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งต่อหน้าและลับหลัง นอกจากนี้ ผู้บริหารทุกระดับควรเข้าร่วมในการวางแผนกิจกรรมที่ เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย และอาจจัดเวที เสวนาแบบกลุ่มย่อยเดือนละครั้งเพื่อให้ผู้น�ำได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนประสบการณ์และท�ำการทบทวนแนวทาง การปฏิบตั งิ านกับผูใ้ ต้บงั คับบัญชาในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องกับ การรักษาความปลอดภัย นอกจากนีผ้ บู้ ริหารต้องร่วมกัน สร้างค่านิยมที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย ให้ เ กิ ด ขึ้ น ในส� ำ นั ก ข่ า วกรอง รวมทั้ ง ท� ำ การก� ำ หนด นโยบายและแนวทางปฏิ บั ติ ที่ ชั ด เจนต่ อ การพั ฒ นา จิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยของบุคลากร ภายในส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ 4. การสร้างความผูกพันเพื่อการอยู่ร่วมกันของ บุคลากรในองค์การ (Commitment) ส�ำนักข่าวกรอง แห่งชาติควรจัดกิจกรรมทีส่ ะท้อนให้เห็นความเข้าใจของ การอยูร่ ว่ มกันของบุคลากร และแสดงให้เห็นความส�ำคัญ ของการอยู่ร่วมกัน เช่น การจัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ ได้แก่ กีฬาสี หรือ กิจกรรม Walk Rally เป็นต้น 5. การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal) ส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติควรมีการน�ำเอา เรื่องระบบสมรรถนะมาใช้เพื่อการจัดการทรัพยากร บุคคลในหน่วยงาน โดยก�ำหนดเรื่องจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัยเป็นหนึ่งในสมรรถนะหลัก ในการท�ำงาน (Core Competency) ซึง่ เป็นสิง่ ทีบ่ คุ ลากร ทุกคนในองค์การต้องมี เพื่อก�ำหนดระดับของจิตส�ำนึก ทางด้านการรักษาความปลอดภัยและสามารถท�ำการ ประเมินระดับของบุคลากรแต่ละคนเพือ่ หาช่องว่างและ น�ำไปสูก่ ารพัฒนาฝึกอบรม โดยทางส�ำนักข่าวกรองต้อง มีการบูรณาการแผนการฝึกอบรม เข้ากับการประเมินผล การปฏิบัติให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และทางส�ำนัก ข่าวกรองแห่งชาติควรด�ำเนินการจัดท�ำเกณฑ์ทใี่ ช้ในการ ประเมินจิตส�ำนึกทางด้านการรักษาความปลอดภัยของ บุคลากร เพือ่ น�ำไปเชือ่ มโยงกับแผนการฝึกอบรมในการ พัฒนาบุคลากรได้อย่างเหมาะสม


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

6. การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างจิตส�ำนึกทางด้าน การรักษาความปลอดภัย (Public Relations) ส�ำนัก ข่าวกรองแห่งชาติควรมีการจัดท�ำค�ำขวัญและป้ายเตือน ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติทางด้านการรักษาความ ปลอดภัย ที่แสดงให้เห็นความส�ำคัญของการมีจิตส�ำนึก ทางด้านการรักษาความปลอดภัยติดตามบริเวณต่างๆ ในองค์การ นอกจากนี้ทางส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติ อาจด�ำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านทาง ระบบอินเทอร์เน็ตหรือระบบอินทราเน็ตด้วยก็ได้ หรือ อาจจัดท�ำค�ำขวัญที่เกี่ยวกับแนวปฏิบัติทางด้านการ รักษาความปลอดภัยเป็น Screen Saver บนหน้าจอ คอมพิวเตอร์ด้วยก็ได้ 7. การปรั บ ปรุ ง สภาพแวดล้ อ มในการท� ำ งาน (Environmental Improvement) ส�ำนักข่าวกรอง แห่งชาติอาจท�ำการส�ำรวจบริเวณหรือพื้นที่ ที่อาจมี ความเป็นไปได้ตอ่ การลดระดับความเอาใจใส่ตอ่ มาตรการ การรักษาความปลอดภัย เพื่อท�ำการปรับปรุงแก้ไขให้มี ความเหมาะสม เช่น การน�ำเอาระบบควบคุมการเข้าออก และระบบกล้องวงจรปิดมาใช้ในส�ำนักงานให้ครอบคลุม ทุกพืน้ ที่ และอาจมีการน�ำเอาฉากกัน้ มาใช้เพือ่ แบ่งพืน้ ที่ ในการท�ำงานของบุคลากรทีป่ อ้ งกันไม่ให้เข้าถึงชัน้ ความลับ ที่ไม่เกี่ยวข้องได้ด้วย 8. การน�ำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ (Information System Implementation) ส� ำ นั ก ข่ า วกรองควร ด�ำเนินการจัดท�ำฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และกรณีศกึ ษาทีเ่ กีย่ วการรักษาความปลอดภัย ผ่านระบบอินทราเน็ตและระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีการ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรเข้าไปใช้บริการและ อาจจูงใจโดยการให้รางวัล เป็นต้น นอกจากนีท้ างส�ำนัก ข่าวกรองแห่งชาติอาจมีการส่งข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้องกับความรู้ ทางด้านการรักษาความปลอดภัย ผ่านการส่งข้อความ (SMS) ทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมทั้งใช้เป็นช่องทาง ในการประสานงานเมื่อเผชิญกับสภาวะวิกฤติได้ 9. การสร้างสถานการณ์จ�ำลองที่เป็นวิกฤติ (Crisis Simulation) ส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติควรจัดท�ำแผน

ในการสร้างสถานการณ์จำ� ลองทีเ่ ป็นวิกฤติ ไม่วา่ จะเป็น เหตุการณ์ไฟไหม้ โจรกรรม จลาจล วินาศกรรม หรือ การก่อการร้าย เพื่อให้สมาชิกในองค์การเตรียมพร้อม ในการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม และมีการซักซ้อมแผนเป็นประจ�ำอย่างน้อยปีละ 2 ครัง้ และท�ำการทบทวนแผนและปรับปรุงอย่างสม�่ำเสมอ เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบัน 10. การสร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรเพื่อการสร้าง จิตส�ำนึก (Motivation) ส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติควรมี การจัดท�ำรางวัล “บุคคลแห่งปี” ซึ่งเป็นรางวัลที่ได้จาก การลงคะแนนและการรวบรวมคะแนนจากการติดตาม พฤติกรรมและประเมินผลการท�ำงานของบุคคลทีม่ คี วาม ระแวดระวังภัยต่อตนเองและองค์การ โดยอาจมีการให้ ถ้วยรางวัล โล่ และเงินรางวัล เป็นต้น กิตติกรรมประกาศ ผู้วิจัยขอขอบคุณส�ำนักข่าวกรองแห่งชาติที่ให้การ สนับสนุนงบประมาณส�ำหรับการท�ำวิจัยในครั้งนี้ และ ขอขอบคุณ อาจารย์ขจัดภัย บุรุษพัฒน์ และ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร. อมรา รัตตากร ทีไ่ ด้ให้คำ� ปรึกษาและ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ส�ำหรับการท�ำวิจัย

บรรณานุกรม

เดชน์ จรูญเรืองฤทธิ์. (2549). ความรู้พื้นฐานเรื่องการ รักษาความปลอดภัยส�ำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Burns, R. (1990). Introduction to research methods. Melbourne: Longman Chesire. Cisco. (2007). Cisco security awareness: Creating an effective security culture through awareness. Retrieved July, 20, 2010, from Cisco Systems, Inc. Website : http://www. cisco.com/web/about/security/cspo/docs/ SecurityAwarenessProgram.pdf

45


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

Demkin, J. A. (2003). Security planning and design: a guide for architects and buiding design professionals. Hoboken, NJ: John Wiley. Fay, J. J. (2006). Contemporary security management. 2 nd ed. Burlington, MA: Elsevier Butterworth-Heinemann. Ficher, R. J., Halibozek, E., & Green, G. (2008). Introduction to security. 8th ed. Burlington, MA: Elsevier Butterworth-Heinemann. Ortmeier, P.J. (2009). Introduction to security: Operations and management. 3 rd ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall. Pallant, J. (2001). SPSS survival manual: A stepby-step guide to data analysis. Buckingham: Open University Press.

Roper, C. A., Grau, J. A., & Fischer, L. F. (2005). Security education awareness, and training: From theory to practice. Burlington, MA: Elsevier Butterworth-Heinemann. Sennewald, C. A. (2003). Effective security management. 3rd ed. Burlington, MA: Elsevier Butterworth-Heinemann. Wiersma, W. (1991). Research methods in education. 5th ed. Sydney: Allyn and Bacon. Wulgaert, T. (2005). Security awareness: Best practices to serve your enterprise. Rolling Meadows, IL: Information System Audit and Control Association.

Dr. Chaiyaset Promsri received his Ph.D. in Global Leadership with specialization in Corporate and Organizational Management from Lynn University, U.S.A., and Master of Arts in Management from Bellevue University, U.S.A. He currently serves as a Director of MBA program at Rajamangala University of Technology Phra Nakon.

46


ฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ชั้นปีที่ 1 On-line Game Playing Behavior of the First Year Students of Suan Dusit Rajabhat University ผู้ช่วยศาสตราจารย์สายสุดา ปั้นตระกูล อาจารย์ประจ�ำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต E-mail: saisuda_pan@dusit.ac.th

บทคัดย่อ

การวิจยั ในครั้งนี้ มีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม ประโยชน์ ปัญหาและผลกระทบของการเล่น เกมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ชั้นปีที่ 1 และเพื่อเปรียบเทียบปัญหา และผลกระทบของการเล่นเกมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ชั้นปีที่ 1 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตชั้นปีที่ 1 ใน ปีการศึกษา 2553 จ�ำนวน 400 คน ก�ำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane ที่ระดับ ความคลาดเคลือ่ น .05 จากนัน้ ใช้วธิ สี มุ่ แบบ จัดชัน้ (Stratified Random Sampling) ตามสัดส่วน ประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จ�ำนวน 4 ตอน ลักษณะ แบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ มาตราส่วนประมาณค่าและปลายเปิด มีสัมประสิทธิ์ ความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.703 ซึ่งผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้สถานที่เล่นเกมคือ ที่บ้านของตนเอง ใช้เวลาเล่นเกมในวันเสาร์-อาทิตย์ ประเภทของเกมที่ชอบเล่นเป็นเกมประเภทต่อสู้ เกมที่เล่นประจ�ำจะเป็นเกมใน Facebook วัตถุประสงค์ในการเล่นเกมคือพักผ่อนยามว่างเป็นส่วนใหญ่ ประโยชน์ของการเล่นเกมออนไลน์คอื ฝึกให้เป็นคนเสียสละ ฝึกการขอโทษและให้อภัยผูอ้ นื่ ฝึกมารยาทในการอดกลัน้ ฝึกทักษะในการค้า และฝึกที่จะเป็นผู้มีน�้ำใจและให้ความช่วยเหลือผู้เล่นใหม่ ปัญหาและผลกระทบที่พบมากที่สุดคือ ด้านสังคม คือ ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและชอบอยู่ตัวคนเดียว ด้านที่รองลงคือ ด้านอารมณ์ คือ ความคิดอยู่ในโลกจินตนาการมากกว่าโลกของความเป็นจริง และด้านการเรียน คือ ขาดความรับผิดชอบในการเรียน การทดสอบสมมุติฐานพบว่า นักศึกษาที่มีเพศและอายุ

47


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

แตกต่างกันมีปญ ั หาและผลกระทบในการเล่นเกมออนไลน์แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่านักศึกษาชาย กับหญิงมีปัญหาและผลกระทบในการเล่นเกมออนไลน์ด้านอารมณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักศึกษาที่มีอายุต�่ำกว่า 18 ปี กับนักศึกษาที่มีอายุ 18 ปี มีปัญหา และผลกระทบในการเล่นเกมออนไลน์ดา้ นสังคมแตกต่างกันอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ 0.05 ส่วนนักศึกษาทีม่ รี ายได้ตอ่ เดือน สังกัดคณะและมีประสบการณ์ในการเล่นเกมออนไลน์แตกต่างกัน มีปัญหาและผลกระทบในการเล่นเกมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน ค�ำส�ำคัญ: พฤติกรรม เกมออนไลน์ นักศึกษา

Abstract

The purpose of this research is to study the student’s behavior, the advantage, the problems and impact of online game and to compare problems and impact of online game of the first year students of Suan Dusit Rajabhat University. The samples of this research are 400 students in the first academic year 2010 at Suan Dusit Rajabhat University who play online game. Research tool is questionnaires survey that has reliability coefficients equals to 0.703. From the study, we found that most of students play online game at home. The time that these students play online game is Saturday and Sunday. Types of games played are actions games. Games that the students often play are those from the Facebook. The objective of playing games is to take a rest when they have a free time. The advantages of playing games are to practice in the sacrifice, apology and forgiveness, endurance, commercial skills and offering help to the new players. The most serious problem and social impact of game playing is the lack of contact with family members and isolation. The secondary problem is emotional problem where students have their own fantasy more than real life. The other serious problem is the academic performance problem because students are lack of responsibility on revision and assignments. The result of hypothesis testing found that the impact of the problems and impact of online games is different between gender and age groups of under 18 years old and 18 years old and above, at the statistically significant level of 0.05. On the other hand, the impact of problems and impact of online games is not statistically different among the student income levels, students in different faculties, and the experience of game playing. Keywords: Behavior, On-line Game, Students

48


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

บทน�ำ ในสังคมปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามี บทบาทในการสือ่ สารข้อมูล รูปแบบของสือ่ ต่างๆ ได้รบั การพัฒนาให้สอดคล้องกับยุคสมัยมากขึน้ เกมออนไลน์ ก็เป็นหนึง่ ในนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่ ในอดีต “เกม” อาจมีแต่เกมกด วิดโี อเกม แต่ในปัจจุบนั มีเกมที่เด็กสามารถเลือกเล่นได้มากมาย โดยเฉพาะ เกมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มเด็กและเยาวชน เพราะเกมออนไลน์มีรูปแบบใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอ ทั้ ง เกมแบบกี ฬ า เกมต่ อ สู ้ เกมที่ ใช้ ค วามคิ ด ในการ วางแผน เกมแนวสงคราม ซึ่งในท้องตลาดส่วนใหญ่ จะเป็นแนวสูร้ บ ฆ่ากัน แย่งชิงกัน ซึง่ จะส่งผลต่อการเล่น ของเด็กปลูกฝังความคิดให้เด็กเข้าใจผิดคิดว่าการต่อสู้ เป็ น สิ่ ง ที่ ดี นอกจากนั้ น ยั ง เป็ น การบ่ ม เพาะนิ สั ย ใช้ ความรุนแรงในการตัดสินปัญหาต่างๆ ในชีวติ ประจ�ำวัน (สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์, 2550) การเล่ น เกมออนไลน์ ต ้ อ งเล่ น ผ่ า นเครื อ ข่ า ย อินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ (Server) ที่ให้ บริการเกมนั้นๆ โดยผู้เล่นจะต้องเสียค่าบริการในการ เล่นเกมตามอัตราทีผ่ ใู้ ห้บริการก�ำหนด เช่น บัตรเล่นเกม คิดเป็นรายชั่วโมง รายวันหรือรายเดือนเช่นกัน เกม ออนไลน์มีจุดเด่นที่แตกต่างจากเกมคอมพิวเตอร์หรือ วิ ดี โ อเกมที่ ผ ่ า นมา คือเป็นการเล่นเกมผ่านหน้าจอ คอมพิวเตอร์ทเี่ ชือ่ มต่อกับอินเตอร์เน็ตท�ำให้มโี อกาสรูจ้ กั กับผูเ้ ล่นอืน่ ๆ จ�ำนวนมากเป็นเสมือนอีกโลกหนึง่ ทีท่ ำ� ให้ ผูเ้ ข้าไปอยูใ่ นโลกเสมือนจริงได้มาพบปะ มีปฏิสมั พันธ์กนั บางเกมถึงขั้นที่ตัวละครในเกมสามารถแต่งงานกันได้ อีกทัง้ ทุกคนสามารถเป็นผูช้ นะได้ ซึง่ ในชีวติ จริงไม่สามารถ ท�ำได้ การตกอยู่ในโลกเสมือนจริงและค่อยห่างจาก โลกแห่งความเป็นจริงมีผลกระทบต่อพฤติกรรมและ การแสดงออกของเด็กและเยาวชน บัณฑิต ศรไพศาล (2548 : 5) กล่าวว่า การติดเกมของเด็กเกิดจากสมอง ส่วนที่เป็นความต้องการของเด็กถูกควบคุมโดยสมองที่ ท�ำหน้าที่คิด การเล่นเกมจะไปกระตุ้นสมองส่วนที่เป็น ความต้องการอยูต่ ลอดเวลา ถ้าไม่มกี ารฝึกให้เด็กเรียนรู้

น� ำ สมองที่ ท� ำ หน้ า ที่ คิ ด มาควบคุ ม ส่ ว นที่ เ ป็ น ความ ต้องการได้ เพราะไม่เช่นนัน้ เด็กจะเกิดการติดเกมวันไหน ไม่ได้เล่นจะเกิดการต่อต้านมีผลกระทบต่อกลุม่ เด็กและ เยาวชน ทีเ่ ป็นนักเรียน นักศึกษาในด้านสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคมรวมถึงคุณภาพชีวิต สถาบันสุขภาพจิตและวัยรุ่นราชนครินทร์ (2550) ระบุว่า การติดเกมของเด็กเกิดจากเกมมีภาพสี เสียงที่ น่าสนใจ เนื้อเรื่องและการเล่นมีการพัฒนาให้มีรูปแบบ ใหม่ๆ อยูต่ ลอดเวลา สามารถดึงดูดความสนใจจากผูเ้ ล่น ให้อยากติดตาม อยากเล่น อยากลอง จนเกิดความสนุก ท�ำให้เด็กติดเกมโดยไม่รู้ตัว ท�ำให้ไม่สามารถเลิกเล่นได้ เด็กและเยาวชนไทยจ�ำนวนมาก ใช้เวลาว่างอยู่หน้าจอ คอมพิวเตอร์ เล่นอินเตอร์เน็ตหรือเกมออนไลน์วันละ หลายชัว่ โมง โดยไม่ยอมท�ำกิจกรรมอืน่ ๆ ทัง้ ยังมีพฤติกรรม ที่เปลี่ยนไปเช่น อารมณ์ฉุนเฉียว ใช้ความรุนแรงมาก เกินไป มีผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย และน�ำมาซึ่งปัญหา ด้านการเรียนและความสัมพันธ์กบั บุคคลรอบข้าง การก่อ อาชญากรรมโดยเด็กเลียนแบบพฤติกรรมจากตัวละคร ในเกมหลายต่อหลายครั้ง ท�ำให้สังคมปฏิเสธไม่ได้ว่า เกมออนไลน์ ได้เข้าไปมีอทิ ธิพลต่อความคิดของเด็กและ เยาวชนไทยซึ่งสอดคล้องกับผลส�ำรวจของส�ำนักวิจัย เอแบคโพล (2548) ทีศ่ กึ ษาพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ ในกลุม่ เด็กและเยาวชนทีม่ อี ายุ 12 ปีขนึ้ ไป จากจ�ำนวน กลุม่ ตัวอย่าง 1,882 คน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่าเด็กร้อยละ 70.9 ติดเกมออนไลน์ โดยเล่นเกม จากที่บ้านมากที่สุด เนื่องจากครอบครัวไทยส่วนใหญ่มี เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ที่บ้านท�ำให้เด็ก สามารถเข้าถึง เกมได้งา่ ย และผูใ้ หญ่ไม่มเี วลาให้ค�ำชีแ้ นะทีถ่ กู ต้องก็อาจ ท�ำให้เด็กกลายเป็นคนติดเกมได้ อย่างไรก็ตามในการ เล่นเกมไม่ใช่จะมีผลเสียอย่างเดียว เพราะถ้าเด็กรู้จัก แบ่งเวลาควบคุมตัวเอง การเล่นเกมก่อให้เกิดประโยชน์ ได้เช่นกัน ส่วนสาเหตุทที่ ำ� ให้เกิดการติดเกมนัน้ ส่วนใหญ่ เด็กผูช้ ายชอบความท้าทาย ชอบการแข่งขัน การเอาชนะ มากกว่าเด็กผู้หญิง

49


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

จากเหตุผลดังกล่าว ผูว้ จิ ยั จึงมีความสนใจทีจ่ ะศึกษา ถึงพฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนปัญหาและ ผลกระทบของการเล่ น เกมออนไลน์ ข องนั ก ศึ ก ษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เพื่อหาแนวทางส�ำหรับ ผูป้ กครองหรือบุคคลอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ร่วมมือกันหาวิธี ป้องกันและแก้ไขปัญหาจากเกมออนไลน์ได้ เพื่อให้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและ สังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ ของ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 2. เพือ่ ศึกษาประโยชน์ของการเล่นเกมของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 3. เพือ่ ศึกษาปัญหาและผลกระทบของการเล่นเกม ออนไลน์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต 4. เพื่อเปรียบเทียบปัญหาและผลกระทบของการ เล่ น เกมออนไลน์ ข องนั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ สวนดุสิต ชั้นปีที่ 1 ทบทวนวรรณกรรม เกมออนไลน์คอื เกมทีต่ อ้ งเล่น ผ่านระบบอินเทอร์เ น็ต (Internet) โดยผูเ้ ลน (Client) จะต้องทําการลงโปรแกรม เกมในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองและจะต้องเลน เกมออนไลน์ผ า่ น server โดยข้อมูล ต่า งๆ ของผูเ้ ล่นจะ ถูกเก็บไว้ ณ server ซึ่งในการเลน เกมออนไลน์นี้ผู้เล่น จะต้องเสียค่าบริการการเล่นเกมตามอัตราทีผ่ ใู้ ห้บ ริการ ได้กําหนดไว้ ประเภทของเกมออนไลน์ ในปัจจุบนั ซอฟต์แวร์เกมถูกพัฒนาขึน้ ตามกาลเวลา หลายเกมทีใ่ ช้แนวคิดในการเล่น หรือน�ำเกมหลายประเภท มารวมกันจนเกิดเป็นรูปแบบใหม่ขนึ้ สามารถแบ่งประเภท ของเกมออนไลน์ตามประเภทของซอฟต์แวร์เกมได้ 10 ประเภทดังนี้ (ดรุตร์ ชูจันทร์, 2548 : 6-7)

50

1) ประเภทเกมแอคชั่น (Action Game) เกม ประเภทนีม้ กั ได้รบั ความนิยมสูงในกลุม่ คนทัว่ ไป เนือ่ งจาก เป็นประเภทของเกมทีเ่ ล่นได้งา่ ยทีส่ ดุ ใช้การบังคับทิศทาง และการกระท�ำของตัวละครในเกมเพื่อผ่านด่านต่างๆ มีตั้งแต่เกมที่มีรูปแบบง่ายๆ เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย ไปจนถึงเกมแอคชั่นที่มีเนื้อหารุนแรงไม่เหมาะกับเด็ก บางเกมมีการใส่ลกู เล่นต่างๆ เข้ามาเพิม่ ความสนุกของเกม จนกลายเป็นเกมแนวใหม่ ไม่เน้นการบุกตะลุย แต่ใช้การ หลอกฝ่ายศัตรูเพื่อผ่านอุปสรรคไปให้ได้ Simulation Action คือเกมแอคชัน่ ทีส่ ร้างสถานการณ์ขนึ้ มา แล้วให้ ผูเ้ ล่นหาทางผ่านโดยใช้การควบคุมทีม่ อี ยู่ ส่วน Platform Action เป็นเกมแอคชั่นพื้นฐานที่วางฉากไว้บนพื้นที่ ขนาดหนึ่งและให้ผู้เล่นผ่านเกมไปให้ได้ทีละด้าน 2) ประเภทเกมแนวภาษา หรือ สวมบทบาทของ ตัวละคร (RPG: Role-Playing Game) เนื่องจากใน ช่วงแรกเกมอาร์พีจีที่ออกมาจะเป็นภาษาอังกฤษหรือ ญี่ปุ่นซึ่งต้องใช้ความรู้ด้านภาษานั้นๆ ในการเล่นเกม ประเภทนี้จะก�ำหนดตัวผู้เล่นอยู่ในโลกที่สมมติขึ้น และ ให้ผเู้ ล่นสวมบทบาทเป็นตัวละครหนึง่ ในโลกนัน้ ๆ ผจญภัย ไปตามเนือ้ เรือ่ งทีก่ ำ� หนด โดยมีจดุ เด่นทางด้านการพัฒนา ระดับประสบการณ์ของตัวละคร (Experience) เมื่อ ผจญภัยไปมากขึ้น และเอาชนะศัตรูตัวร้ายที่สุดในเกม ให้ได้ ตัวเกมไม่เน้นการบังคับแต่จะให้ผู้เล่นสัมผัสกับ เรื่องราวภายในเกม 3) ประเภทเกมการยิง (Shooting game) เกม ประเภทนี้จะเน้นการยิงศัตรูเป็นหลักตัวผู้เล่นในเกม มักจะมีอปุ กรณ์ประเภทปืนหรือเครือ่ งบินทีย่ งิ กระสุนได้ ไม่มีวันหมด ท�ำการฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อไปสู่ฉากต่อไป ด้ว ยการยิงท�ำลายเป้าหมายภายในเกมในสมัยก่อน เกมประเภทนี้มักจะพบในรูปแบบของยานอวกาศหรือ เครือ่ งบิน โดยความสนุกอยูท่ กี่ ารท�ำลายศัตรูดว้ ยอาวุธปืน และในขณะเดี ย วกั น ก็ ต ้ อ งคอยหลบกระสุ น ปื น ของ ฝ่ายศัตรูด้วย 4) ประเภทเกมผจญภัย (Adventure Game) เกม ประเภทนี้จะเน้นเรื่องราวของเกมแต่ต่างจากเกม RPG


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ที่ไม่มีการเพิ่มระดับของตัวละครได้ และในการเล่น ไม่จ�ำเป็นต้องใช้การบังคับแต่สิ่งส�ำคัญคือ การเปิดเผย เรือ่ งราวทีช่ วนติดตามไปทีละน้อย จนกระทัง่ ถึงตอนจบ เนื้อเรื่องมักจะอิงเรื่องที่เกี่ยวกับความลึกลับหรือการ ผจญภัยที่น่าตื่นเต้น 5) ประเภทเกมต่ อ สู ้ (Fighting Game) เกม ประเภทนี้ต่างจากเกมแอคชั่นตรงที่ไม่มีการผ่านด่าน ระดับสูงขึ้น แต่จะเน้นการต่อสู้ตัวต่อตัวบางครั้งก็เป็น การสู้เป็นทีม มีการเตะ ต่อย และใช้ศิลปะการต่อสู้ ประเภทต่ า งๆ รวมถึ ง มี ก ารท� ำ ท่ า ชุ ด หรื อ ที่ เรี ย กว่ า คอมโบ (combo) เพราะการเล่นขึ้นอยู่กับฝีมือของ ผู้ควบคุมเป็นหลัก ไม่ใช่ตัวละครในเกม ซึ่งเกมแนวนี้ ก็มกั จะท�ำให้ตวั ละครในเกมมีความสามารถแตกต่างกัน ผู้เล่นมักจะเลือกใช้ตัวละครที่ตนถนัดหรือใช้ประจ�ำ ในการต่อสู้กับผู้เล่นอื่น 6) ประเภทเกมเสมือนจริง (Simulator Game) หรือเกมการจ�ำลองสถานการณ์ (Simulation Game) เป็นเกมประเภทที่จ�ำลองสถานการณ์ต่างๆ ขึ้นมา เพื่อ ให้ผู้เล่นได้สวมบทบาทเป็นผู้ที่อยู่ในสถานการณ์นั้น เหตุการณ์ต่างๆ อาจจะน�ำมาจากสถานการณ์จริงหรือ สมมติขึ้น 7) ประเภทเกมกลยุทธ์การวางแผนรบ (Real Time Strategies game) เกมประเภทนี้แยกมาจากเกมแนว Simulation เนื่องจากในระยะหลังเกมประเภทนี้มี แนวทางของตัวเองทีช่ ดั เจนขึน้ คือเกม ทีเ่ น้นการควบคุม กองทัพซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยทหารท�ำการสู้รบกัน และยังสามารถเล่นร่วมกันได้หลายคนอีกด้วย เนื้อเรื่อง ในเกมมีตงั้ แต่ เวทย์มนต์คาถา พ่อมด กองทหารยุคกลาง ไปจนถึงสงครามระหว่างดวงดาว เกมวางแผนการรบ แบ่งออกเป็นสองประเภทตามการเล่นคือประเภทการ ตอบสนองแบบทันกาล (Real time) ผู้เล่นทุกฝ่าย จะต้องแข่งกับเวลา เนือ่ งจากไม่มกี ารหยุดพักระหว่างรบ เกมจะด�ำเนินเวลาไปตลอด ประเภททีละรอบ (Turn base) ประเภทนี้ผู้เล่นมีโอกาสคิดมากกว่า เพราะจะใช้ วิธผี ลัดกันสัง่ การทหารของตัวเอง คล้ายการเล่นหมากรุก เป็นเกมแนววางแผนการรบ

8) ประเภทเกมกีฬา (Sport game) เป็นเกมทีจ่ ำ� ลอง การเล่นกีฬาชนิดต่างๆ ให้เล่นกันในรูปแบบของวีดโิ อเกม นิยมเล่นกันในกลุม่ เพือ่ นเนือ่ งจากเข้าใจง่าย ใช้กติกาหลัก เหมือนกีฬาจริง และใช้ฝมี อื ของ ผูเ้ ล่นเองในการเอาชนะ ไม่มีตัวช่วยในเกมมากนัก ปัจจุบันมีเกมกีฬาออกมา หลายประเภทตั้ ง แต่ เ กมฟุ ต บอล เกมบาสเก็ ต บอล เกมกอล์ฟ และเกมชกมวย 9) ประเภทเกมแข่งความเร็ว (Racing Game) ในอดีตจะเข้าใจกันว่าเป็นเกมแนวแข่งรถเนือ่ งจากมักจะ ใช้รถแข่งหรือรถจักรยานยนต์มาแข่งขันกัน แต่ปัจจุบัน มีหลากหลายการแข่งความเร็วมากมายเช่นแข่งวิ่งเร็ว เหนือมนุษย์ แข่งขี่ม้า แข่งรถโกคาร์ท เป็นต้น 10) ประเภทเกมเข้าจังหวะ (Rhythm action game) ในช่วงทีผ่ า่ นมามีเกมอีกประเภทหนึง่ ทีถ่ กู คิดค้น ขึ้นและได้รับความนิยมมากที่สุดนั่นก็คือเกมประเภท เข้าจังหวะ จุดเด่นของเกมประเภทนี้คือเสียงดนตรีและ แนวการเล่นที่ให้ผู้เล่นกดปุ่มหรือเคาะจังหวะบนเครื่อง ควบคุมเพื่อสร้างเสียงต่างๆ ในเกม โดยที่ตัวเกมจะ ก�ำหนดเครือ่ งดนตรีมาให้ เป็นเกมประเภท simulation อย่างหนึ่งที่แยกออกมาเป็นเกมแนวเข้าจังหวะ สังคมเกมออนไลน์ เกมออนไลน์ถือเป็นสื่อที่สามารถท�ำหน้าที่แพร่ กระจายวัฒนธรรมได้อย่างมีพลังมหาศาล ตัวละครในเกม เสียงดนตรีในเกมออนไลน์ทเี่ ป็นภาษาทีผ่ เู้ ล่นเกมออนไลน์ ทัว่ โลกสามารถเข้าใจได้ตรงกันและแพร่กระจายไปอย่าง กว้างขวาง จึงถือว่าเกมออนไลน์เป็น “สื่อ” ชนิดหนึ่งที่ ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการสือ่ สารของเยาวชนทีเ่ ลือก เล่นเกมออนไลน์ได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งเกมออนไลน์ ยังสามารถด�ำเนินการเล่นเกมได้ครั้งละหลายๆ คนใน เวลาเดียวกัน ผู้เล่นแต่ละคนจะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอยู่ ตลอดเวลา มีความจ�ำเป็นที่จะต้องแลกเปลี่ยนข้อมูล สือ่ สารกันเพือ่ ให้เนือ้ หาในเกมพัฒนาต่อไป รูปแบบการ สือ่ สารทีใ่ ช้ในเกมออนไลน์ในปัจจุบนั นัน้ มีหลายรูปแบบ สังคมเกมออนไลน์ก็เปรียบเสมือนกับสังคมปัจจุบันที่ ประชาชนอาศัยอยู่ เพียงแต่เป็นการแทนทีโ่ ดยใช้ตวั ละคร และเนื้อหาของเกมเป็นตัวด�ำเนินเรื่องเอง

51


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

เมือ่ ชุมชนเกมออนไลน์ขยายตัว จุดขายของเกม คือ การสร้างความเสมือนจริงและดึงผู้เล่นเข้าไปมีส่วนร่วม ในเกมหรือเข้าไปอยู่ในเกมให้มากที่สุด ในแง่ทางสังคม เกมออนไลน์นำ� สูไ่ ปโอกาสทีม่ นุษย์จะสร้างชุมชนใหม่ขนึ้ ในระหว่างกัน ชุมชนทีเ่ กิดขึน้ มีจำ� นวนมหาศาลโดยไม่อาจ นับจ�ำนวนได้ และมีความแนบแน่นทางจิตใจระหว่างกัน เพราะศูนย์กลางแห่งจิตใจเป็นหนึง่ เดียวคือเกมออนไลน์ ที่ตนลุ่มหลง โดยจะสร้างอาณาจักรทางความคิดผ่าน ต�ำนานหรือเรือ่ งราวเบือ้ งหลังของเกมทีม่ ลี กั ษณะแฟนตาซี ผูเ้ ล่นเกมถือเป็นส่วนหนึง่ ของเรือ่ งราวนัน้ ในมุมมองด้าน เทคโนโลยี รูปแบบเกมออนไลน์ในอนาคตจะมิใช่เพียง การเล่นผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น หากจะยัง พัฒนารูปแบบให้เป็นสามมิติที่เป็นสามมิติอย่างแท้จริง ผู้เล่นจะถูกสร้างความรู้สึกว่าก�ำลังอยู่ในเกมนั้นจริงๆ ด้วยอุปกรณ์พิเศษที่ออกแบบและสร้างขึ้นโดยเฉพาะ ส�ำหรับผูเ้ ล่น ซึง่ ล้วนแล้วแต่มาจากผูผ้ ลิตอุปกรณ์ดจิ ติ อล ในตลาดปัจจุบัน เกมจะกลายเป็นอีกหนึ่งความบันเทิง สามัญประจ�ำบ้าน นอกเหนือจากรายการโทรทัศน์ที่ คุ้นเคย ผลจากการเพิ่มขึ้นของประชากรเกมออนไลน์ จะก่อให้เกิดชุมชนใหม่ คือ Game Community ซึ่งมี อยู่แล้วในปัจจุบันเกมออนไลน์สามารถน�ำพาให้มนุษย์ ก้าวข้ามจากโลกแห่งความเป็นจริงไปสู่โลกแห่งความ เสมือนจริง กล่าวคือ เกมออนไลน์ได้กลายเป็น “ชุมชน ของมนุษย์บนอินเทอร์เน็ต” (Human Community on Internet) ซึง่ เรียกกันโดยทัว่ ไปว่า E-society เป็นชุมชน ของมนุษย์ในโลกเสมือนจริง (Virtual World) ทั้งนี้ เพราะเหตุวา่ การเล่นเกมออนไลน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เปิดโอกาสให้มนุษย์คนหนึ่งสามารถเล่นเกมกับมนุษย์ อีกคนหนึ่งหรือหลายคนในอีกสถานที่หนึ่ง และโดยที่ ไม่รู้จักกันมาก่อน ตัวตนของผู้เล่นเกมอาจถูกสร้างขึ้น ให้แตกต่างจากความเป็นจริง จะเห็นว่าเกมคอมพิวเตอร์ ทีเ่ ล่นกันขึน้ มาจึงเป็นพฤติกรรมของมนุษย์จริงๆ แต่ความ รับรู้ของมนุษย์ที่มีต่อกันและกันอาจมิใช่สิ่งที่เป็นจริง ปรากฏการณ์ดงั กล่าวนีอ้ าจจะส่งผลทางบวกหรือลบก็ได้

52

การเล่นเกมออนไลน์เป็นการตอบโต้และต่อต้าน โลกแห่งความเป็นจริง เมื่อเข้าไปอยู่กับ แนวคิดในการ สร้างสังคมมนุษย์ในรูปแบบมนุษย์ที่ เรียกว่า สังคม เสมือนจริง (Virtual Community) ซึ่งเปรียบเสมือน โครงการสร้างสังคมในอุดมคติ (Utopia Project) อันเป็น ทางเลือกใหม่ของมนุษย์ทอี่ าศัยอยูโ่ ลกแห่งความเป็นจริง อันทุกข์ยากและเต็มไปด้วยอันตราย (Kevin Robbins, 1996 : 19) โดยการที่มนุษย์สามารถสร้างตัวตนใหม่ (Disembodiment) เข้าไปมีตวั ตนใหม่ในสังคมเสมือนจริง ซึ่งเป็นเหมือนโลกอีกใบหนึ่งที่แตกต่างจากโลกที่เรา อาศัยอยู่ โดยเฉพาะในเรื่องราวการสร้างตัวตนในโลกที่ ความเป็นจริงเป็นสิง่ ทีถ่ กู สร้างขึน้ อัตลักษณ์ (Identity) จึงกลายเป็นสิ่งที่เต็มไปด้วยเสรีภาพ และทางเลือกที่ ผูเ้ ล่นเกมออนไลน์สามารถเลือกเอาเองได้วา่ ตนเองอยาก มีรปู ร่างหน้าตาเป็นอย่างไร มีอาชีพอะไร เป็นบุคคลทีม่ ี ความสามารถทางด้านใด และมีเป้าหมายเช่นใดในชีวิต เป็นต้น สังคมเสมือนจริงในโลกของเกมออนไลน์จึงเป็น สถานที่แห่งใหม่ที่อัตลักษณ์และการสร้างตัวตน เป็นสิ่ง ที่สามารถเลือกได้อย่างอิสระ ตามแบบฉบับและความ ต้องการตนเอง สั ง คมในเกมออนไลน์ นั้ น ก็ เ ปรี ย บเสมื อ นสั ง คม โดยทั่วไปในแต่ละชุมชน เพียงแต่สังคมในโลกของเกม ออนไลน์นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สมมติขึ้นมาให้เหมือนกับว่า มีอยู่จริง ซึ่งผู้เล่นแต่ละคนก็จะมีบทบาท หน้าที่ของตน ในสังคมเกมออนไลน์ทคี่ ล้ายกับหน้าทีข่ องตนในสังคมจริง แต่เป็นเพียงบทบาททีถ่ กู ตัง้ ขึน้ มาตามของความต้องการ ของผู้เล่นเท่านั้นเอง จ�ำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารกับ ผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เกมออนไลน์ จึงนับว่าเป็น ปรากฏการณ์ในทางสังคม ไม่ใช่แค่เกมอีกต่อไป เป็น วัฒนธรรมใหม่ที่ค่อนข้างมาแรง ถ้าไม่สามารถควบคุม ได้รับสังคมต่างชาติเข้ามาตลอดเวลา เด็กรุ่นใหม่จะมี พฤติกรรมทีเ่ ปลีย่ นไป จึงสามารถชีช้ ดั ได้วา่ ช่วงเวลาหนึง่ ของเยาวชนในยุคปัจจุบนั จะใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับ การอยูใ่ นโลกแห่งเกมออนไลน์ รูจ้ กั คนผ่านเกมมากยิง่ ขึน้ นั่นเอง


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

พฤติกรรมการสือ่ สารของวัยรุน่ ขณะเล่นเกมออนไลน์ ของวัยรุน่ ในปัจจุบนั ได้พฒ ั นากลายเป็น “สังคมออนไลน์” ขึน้ จริงๆ แล้วในประเทศไทย จากตัวเลขทีแ่ สดงให้เห็นว่า ในวันหนึ่งวัยรุ่นเหล่านี้ให้เวลากับการเล่นเกมออนไลน์ เป็นอย่างมาก ซึ่งมีแรงจูงใจในหลายๆ ด้าน อาทิ เรื่อง ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สภาพแวดล้อมทาง สังคมทีเ่ ปลีย่ นไปตามสภาพความสัมพันธ์ของครอบครัว เป็นต้น วิธีการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรทีใ่ ช้ในการวิจยั ครัง้ นี้ คือ นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ชั้นปีที่1จ�ำนวนทั้งหมด 4,392 คน 1.2 กลุ ่ ม ตั ว อย่ า งที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นี้ คื อ นั ก ศึ ก ษาในมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ สวนดุ สิ ต ชั้ น ปี ที่ 1 จ�ำนวน 400 คน ก�ำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ สูตร Yamane ที่ระดับความคลาดเคลื่อน .05 จากนั้น ใช้วิธีสุ่มแบบจัดชั้น (Stratified Random Sampling) ตามสัดส่วนประชากร ดังรายละเอียดในตารางที่ 1 ตารางที่ 1: ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คณะ 1. ครุศาสตร์ 2. พยาบาลศาสตร์ 3. มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 4. โรงเรียนการท่องเที่ยวและ อุตสาหกรรมบริการ 5. โรงเรียนการเรือน 6. วิทยาการจัดการ 7. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวม

236 106 651 1,440

กลุ่ม ตัวอย่าง 21 10 59 131

734 836 389 4,392

67 76 36 400

ประชากร

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เกี่ยวกับพฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเล่น เกมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสติ ชัน้ ปีที่ 1 ซึง่ ผูว้ จิ ยั สร้างขึน้ เพือ่ ใช้ในการวิจยั ครัง้ นี้ ลักษณะ แบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และแบบปลายเปิด (The opened form) จ�ำนวน 4 ตอน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ต่อเดือน คณะที่สังกัด และ ประสบการณ์การเล่นเกม ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบ ตรวจสอบรายการ ตอนที่ 2 พฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ การเล่นเกมออนไลน์ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบ ตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด จ�ำนวน 8 ข้อ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) ด้านพฤติกรรม จ�ำนวน 6 ข้อ คือ สถานทีเ่ ล่น เกมออนไลน์ ระยะเวลาในการเล่นแต่ละครั้ง ช่วงเวลา ทีเ่ ล่นเกมออนไลน์ ประเภทเกมออนไลน์ทสี่ นใจ เกมทีเ่ ล่น เป็นประจ�ำและค่าใช้จา่ ยในการเล่นเกมเฉลีย่ ต่อสัปดาห์ 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง จ�ำนวน 2 ข้อใหญ่ คือ ประโยชน์ในการเล่นเกมออนไลน์ จ�ำนวน 18 ข้อ และ วัตถุประสงค์ในการเล่นเกมออนไลน์ จ�ำนวน 8 ข้อ ตอนที่ 3 ปัญหาและผลกระทบของการเล่น ออนไลน์ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ จ�ำนวน 19 ข้อ จ�ำแนกเป็น ปัญหา และผลกระทบของการเล่นออนไลน์ดา้ นอารมณ์ จ�ำนวน 7 ข้อ ด้านสังคม จ�ำนวน 6 ข้อ และด้านการเรียน จ�ำนวน 6 ข้อ ตอนที่ 4 ข้ อ เสนอแนะเพิ่ ม เติ ม ลั ก ษณะ แบบสอบถามเป็นแบบปลายเปิด

53


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

3. การสร้างเครือ่ งมือและหาประสิทธิภาพเครือ่ งมือ 3.1 ศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ การเล่นเกมออนไลน์ของนักศึกษาชัน้ ปีที่ 1 มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต จากต�ำรา เอกสาร และงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง 3.2 ก�ำหนดกรอบแนวคิดของการวิจยั ซึง่ ได้แก่ แบบสอบถามการศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้อง กั บ การเล่ น เกมออนไลน์ ข องนั ก ศึ ก ษาชั้ น ปี ที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 3.3 ก�ำหนดประเด็น เนือ้ หา และโครงสร้างของ แบบสอบถาม 3.4 ก�ำหนดรูปแบบของค�ำถาม 3.5 สร้างแบบสอบถามเขียนข้อค�ำถามแบ่งเป็น ตอนเสนอที่ปรึกษาภาควิทยานิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิ จ�ำนวน 3 ท่านเพื่อพิจารณาตรวจสอบความถูกต้อง ความตรง (Validity) เชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยเน้นตามประเด็นทีถ่ กู ต้องและตรงตามวัตถุประสงค์ ความชัดเจน และความถูกต้องของส�ำนวนค�ำศัพท์ที่ใช้ ในแบบสอบถาม เพื่อน�ำมาปรับปรุงแก้ไข 3.6 ปรั บ ปรุ ง แบบสอบถามที่ ส ร้ า งขึ้ น ตาม ค�ำแนะน�ำของอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิและ น�ำไปทดลองใช้ (Try out) เพื่อหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) กับนักศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จ�ำนวน 30 คน เพื่ อ สถิ ติ ที่ ใช้ ห าคุ ณ ภาพของแบบสอบถาม เพือ่ น�ำมาค�ำนวณความเชือ่ มัน่ ของแบบสอบถาม โดยใช้ วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Coeff‌icient ของ ครอนบัค Cronbach) ดังนี้ 1) หาค่าอ�ำนาจจ�ำแนกของแบบสอบถาม โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างรายข้อกับทั้งฉบับ (Itemtotal Correlation) จากสูตรสัมประสิทธิ์อย่างง่ายของ เพียร์สัน (Pearson) ได้ข้อค�ำถามที่ใช้ได้จ�ำนวน 37 ข้อ 2) หาค่ า ความเชื่ อ มั่ น ของแบบสอบถาม ทั้งฉบับ โดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟ่า ตามวิธี ของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.703

54

4. การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยด�ำเนินการเก็บ รวบรวมข้อมูลตามขั้นตอน ดังนี้ 4.1 จัดท�ำหนังสือเพื่อขออนุญาตเก็บรวบรวม ข้อมูลจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างใน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสติ เพือ่ ขอความร่วมมือในการ ตอบแบบสอบถาม 4.2 ผูว้ จิ ยั ด�ำเนินการแจกแบบสอบถาม ให้กลุม่ ตัวอย่างด้วยตนเอง พร้อมทั้งก�ำหนดระยะเวลาในการ เก็บแบบสอบถามคืนจากกลุ่มตัวอย่าง ระหว่างเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม 2553 โดยได้รับแบบสอบถามคืน ทั้งสิ้น 400 ฉบับ 4.3 คัดเลือกเฉพาะแบบสอบถามที่สมบูรณ์ได้ จ�ำนวน 385 ฉบับ จาก 400 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 96.25 แล้วน�ำมาวิเคราะห์และสรุปผล 5. การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ขอ้ มูลโดยใช้โปรแกรมส�ำเร็จรูปส�ำหรับ วิเคราะห์ข้อมูล ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ ตอนที่ 1 สถานภาพส่ ว นตั ว ของผู ้ ต อบแบบ สอบถาม เป็นแบบตรวจรายการ วิเคราะห์ โดยการ แจกแจงความถี่และค�ำนวณหาค่าร้อยละ ตอนที่ 2 พฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ การเล่นเกมออนไลน์ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบ ตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ โดยการแจกแจงความถี่ ค�ำนวณหาค่าร้อยละ หาค่าเฉลีย่ เลขคณิต (X¯ ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) แล้ว อภิปรายผลในรูปความเรียงประกอบตาราง ตอนที่ 3 ปั ญ หาและผลกระทบของการเล่ น ออนไลน์ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X¯ ) และส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน (S.D) แล้วอภิปรายผลในรูป ความเรียงประกอบตาราง ตอนที่ 4 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม อ่านและสรุป ใจความจั ด เข้ า หั ว ข้ อ ใช้ ก ารจั ด ล� ำ ดั บ ตามเนื้ อ หา หาความถี่ เวลาจัดล�ำดับ


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ผลการวิจัย 1. ข้อมูลทัว่ ไป พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นผูช้ าย คิดเป็นร้อยละ 58.25 อายุเฉลีย่ ระหว่าง 18 ปี ร้อยละ 51.5 มีรายได้เฉลีย่ ต่อเดือน 5,001-6000 บาท ร้อยละ 59.25 สั ง กั ด คณะวิ ท ยาการจัดการ ร้อยละ 31.25 และมี ประสบการณ์ในการเล่นเกมออนไลน์อยู่ระหว่าง 3-5 ปี ร้อยละ 60.65 2. พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ พบว่า นักศึกษา ส่วนใหญ่มักเล่นเกมออนไลน์อยู่ที่บ้าน ช่วงเวลาในการ เล่นเกมออนไลน์ของนักศึกษาในวันเสาร์-วันอาทิตย์ ส่วนมากอยู่ระหว่าง 3-4 ชั่วโมง ส่วนวันจันทร์-วันศุกร์ ช่วงเวลาในการเล่นเกมออนไลน์อยู่ระหว่าง 2-3 ชั่วโมง ประเภทของเกมออนไลน์ที่นักศึกษาเล่นส่วนมากคือ ประเภทเกมต่อสู้ เกมที่เล่นประจ�ำของนักศึกษาคือเกม ใน Facebook ค่าใช่จ่ายในการเล่นเกมของนักศึกษา ส่วนใหญ่จะไม่เสียค่าใช้จา่ ย ส่วนนักศึกษาทีเ่ สียค่าใช้จา่ ย มี ค ่ า ใช้ จ ่ า ยในการเล่นเกมออนไลน์เ ฉลี่ยต่อสัป ดาห์ คือ ต�่ำกว่า 100 บาท และวัตถุประสงค์ในการเล่นเกม ออนไลน์ของนักศึกษาส่วนใหญ่คือ พักผ่อนยามว่าง 2.1 ประโยชน์ในการเล่นเกมออนไลน์ พบว่า นักศึกษาเห็นประโยชน์ในการเล่นเกมออนไลน์โดยรวม อยูใ่ นระดับปานกลาง โดยข้อทีม่ คี า่ เฉลีย่ มากอันดับแรก คือ การฝึกให้เป็นคนเสียสละ ดังแสดงในตารางที่ 2 ตารางที่ 2: ประโยชน์ในการเล่นเกมออนไลน์ ประโยชน์ 1. การฝึกให้เป็นคนเสียสละ 2. ฝึกการขอโทษและให้อภัยผู้อื่น 3. ฝึกมารยาทและการอดกลั้น รวม

X¯ 2.79 2.77 2.58 2.56

SD 0.93 1.07 0.92 0.86

ระดับ ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง

2.2 วัตถุประสงค์ในการเล่นเกมออนไลน์ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการเล่นเกมเพื่อ พักผ่อนยามว่างมากทีส่ ดุ รองลงมา คือ พบปะพูดคุยกับ บุคคลอื่น และเพื่อแข่งขันท้าประลองกับผู้อื่น

3. ปัญหาและผลกระทบของการเล่นเกมออนไลน์ อยูใ่ นระดับปานกลางทัง้ ในภาพรวมและรายด้าน โดยข้อ ที่มีค่าเฉลี่ยมากอันดับแรก คือ ด้านสังคม ดังแสดงใน ตารางที่ 3 ตารางที่ 3: ปัญหาและผลกระทบของการเล่นเกมออนไลน์ ปัญหาและผลกระทบ ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านการเรียน

SD 2.89 1.23 3.01 1.26 2.82 1.19

ระดับ ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง

4. ข้อเสนอแนะเพิม่ เติม พบว่า นักศึกษา ส่วนใหญ่ เห็นว่า การเล่นเกมช่วยผ่อนคลายความเครียด รองลงมา คือ ขาดความรับผิดชอบในการเรียนและมีการหลอกลวง กันในอินเทอร์เน็ต 5. ผลทดสอบสมมุติฐาน พบว่า 5.1 นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกันมีปัญหาและ ผลกระทบในการเล่นเกมออนไลน์ที่แตกต่างกัน 5.2 นักศึกษาที่มีอายุแตกต่างกันมีปัญหาและ ผลกระทบในการเล่นเกมออนไลน์ที่แตกต่างกัน 5.3 นักศึกษาที่มีรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีปัญหาและผลกระทบในการเล่นเกมออนไลน์ที่ไม่ แตกต่างกัน 5.4 นักศึกษาที่สังกัดคณะแตกต่างกันมีปัญหา และผลกระทบในการเล่นเกมออนไลน์ที่ไม่แตกต่างกัน 5.5 นั ก ศึ ก ษาที่ มี ป ระสบการณ์ แ ตกต่ า งกั น มีปัญหาและผลกระทบในการเล่นเกมออนไลน์ที่ไม่ แตกต่างกัน สรุปและอภิปรายผล การศึ ก ษาพฤติ ก รรมการเล่ น เกมออนไลน์ ข อง นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสติ ชัน้ ปีที่ 1 พบว่า สถานที่เล่นเกมออนไลน์ส่วนใหญ่นักศึกษาเล่นที่บ้าน โดยใช้เวลาในการเล่นเกมออนไลน์ เฉลีย่ ประมาณ 3 ชัว่ โมง อาจเป็นเพราะนักศึกษามีเวลาว่างมากในแต่ละวัน เมื่อ

55


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

กลับถึงบ้านไม่มีกิจกรรมอื่นๆ ให้ท�ำรวมกับครอบครัว หรื อ บางคนใช้ การเล่ นเกมเป็นการพัก ผ่อนยอมว่าง ใช้ฆ่าเวลาระหว่างการเดินทางในแต่ละวัน รวมถึงการ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตท�ำได้ง่ายโดยผ่านทางคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มอื ถือ สามารถเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือเลือกเล่นเกม ใน Facebook ได้ตลอดเวลาซึ่งเมื่อเล่นเกมมากๆ ก็จะ เกิดพฤติกรรมความเคยชินเล่นเกมทุกครั้งที่มีเวลาว่าง รู้สึกสนุกเมื่อเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์ ท�ำให้ไม่สนใจท�ำ กิจกรรมอื่นๆ สอดคล้องกับที่ Skinner (1998 : 2) กล่าวว่า เมื่อสิ่งมีชีวิตได้แสดงพฤติกรรมใดแล้วได้รับ ผลกระทบทีพ่ งึ พอใจ พฤติกรรมนัน้ ย่อมเกิดขึน้ บ่อย แต่ถา้ พฤติกรรมใดที่ท�ำแล้วได้ผลที่ไม่พึงพอใจพฤติกรรมนั้น ก็จะลดลงหรือหายไป ประโยชน์ของการเล่นเกมออนไลน์ พบว่านักศึกษา ส่วนใหญ่คิดว่าเกมออนไลน์มีประโยชน์มากที่สุด คือ ฝึกให้เป็นคนเสียสละ ผลการวิจยั ปรากฏเช่นนีอ้ าจเนือ่ ง มาจากการเล่นเกมออนไลน์จำ� เป็นต้องมีกลุม่ เพือ่ นสนิท ซึง่ ภายในเกมออนไลน์แต่ละเกมจะมีการเก็บสะสมไอเท็ม หรือการพัฒนาทักษะ และสถานะตัวละครด้วยวิธตี า่ งๆ ซึ่งส่วนใหญ่เกมออนไลน์จะใช้กลยุทธ์ในการดึงผู้เล่นให้ มาใช้บริการ ด้วยการท�ำให้ผเู้ ล่นมีปฏิสมั พันธ์ระหว่างกัน และเป็นการเพิ่มอรรถรสในการเล่นเกม การเสียสละ ไอเท็มหรือเสียสละเวลาในการช่วยเหลือให้เพือ่ นเพือ่ เพิม่ ค่าสถานะของตัวละครให้ดกี ว่าตน หรือเท่าเทียมกับตน เพือ่ ทีจ่ ะสามารถเล่นเกมออนไลน์นนั้ ๆ ในระดับเดียวกันได้ ทั้งยังท�ำให้เป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อนอีกด้วย เช่นการ ปฏิบตั ภิ ารกิจต่างๆ ทีม่ เี งือ่ นไขว่าตัวละครจะต้องมีสถานะ มากเท่าใด และต้องมีผรู้ ว่ มท�ำภารกิจจะต้องมีกคี่ นขึน้ ไป ถึงจะท�ำภารกิจได้ การสละเวลาของตนมาช่วยเพิม่ ทักษะ สถานะ ตัวละครของเพือ่ นจึงจ�ำเป็นในการเล่นเกมออนไลน์ สอดคล้องกับแนวคิดของภีรวัฒน์ นนทะโชติ (2553 : บทคัดย่อ) ที่พบว่าเกมออนไลน์ มีจุดเด่นที่น่าสนใจอยู่ มากมาย ด้วยรูปแบบทีเ่ ป็นการเล่นแบบออนไลน์ ท�ำให้ สามารถมีเพื่อนใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา หรือจะเล่นเกมไป

56

พร้อมกับกลุม่ เพือ่ นๆ รวมตัวกันสร้างเป็นกิลด์ เป็นแคลน หรือเป็นปาร์ตี้ ท�ำให้ไม่เกิดความซ�้ำซากจ�ำเจ จากการ เล่นเกมคนเดียว เพราะจะมีเพือ่ นมาคอยพูดคุยและร่วม ผจญภัยไปด้วยกันตลอดเวลาขณะที่อยู่ในโลกของเกม ออนไลน์ อีกทั้งระบบ กิลด์วอร์ หรือแคลนวอร์ ที่เป็น การต่อสูก้ นั ระหว่างกลุม่ ผูเ้ ล่นด้วยกันเองก็ยงั เป็นสิง่ ดึงดูด ให้ตัวเกมมีความสนุก ท้าทายและน่าติดตาม ปัญหาและผลกระทบของการเล่นเกมออนไลน์ ในด้านอารมณ์ด้านสังคมและด้านการเรียน โดยรวมอยู่ ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 1. ด้านอารมณ์ พบว่า ปัญหาและผลกระทบที่พบ มากทีส่ ดุ คือ ความคิดอยูใ่ นโลกของจินตนาการมากกว่า โลกของความเป็นจริง ผลการวิจัยปรากฏเช่นนี้แสดงให้ เห็นว่า เกมออนไลน์จัดเป็นโลกแห่งจินตนาการเพราะ ผู้เล่นสามารถให้ตัวละครของตนซึ่งเป็นเหมือนตัวแทน ท�ำอะไรก็ได้ในเกมโดยไม่มีการลงโทษเมื่อท�ำผิด เช่น เมื่อเอาชนะคู่ต่อสู้จะได้รับรางวัลทันที หรือการฆ่าสัตว์ ประหลาด การฆ่าตัวละครของผูเ้ ล่นอืน่ ๆ ท�ำได้ตลอดเวลา โดยไม่มีความผิด แตกต่างจากโลกแห่งความจริงที่มี กฎเกณฑ์ของสังคมมีการลงโทษเมือ่ กระท�ำผิด สอดคล้อง กับแนวคิดของทวีศลิ ป์ วิศณุโยธิน (2553 : 3) ทีก่ ล่าวว่า การที่ บุ ค คลมี โ ลกส่ ว นตั ว ควบคุ ม สิ่ ง ต่ า งๆ ได้ ต าม ความต้องการ สามารถแสดงจินตนาการ ความเพ้อฝัน ปลดปล่อยความต้องการไม่วา่ จะเป็นความก้าวร้าว หรือ ความต้องการทางเพศ โดยปกปิดข้อมูลบางอย่างของ ตนเอง ไม่ต้องกลัวการจับผิดหรือถูกตรวจสอบ ท�ำให้ ผูใ้ ช้ระบบอินเทอร์เน็ตรูส้ กึ ปลอดภัย และการตอบสนอง ต่อบุคลิกภาพบางส่วน อินเทอร์เน็ตเป็นหนทางหลีกหนี การติดต่อในสังคมจริง ให้อิสรภาพในการติดต่อสื่อสาร ทางความคิด ซึง่ เปิดกว้างรับทุกคนเข้ามาอย่างเท่าเทียม กัน โดยไม่ต้องเปิดเผยสถานะภาพทางสังคม 2. ด้านสังคม พบว่าปัญหาและผลกระทบมากทีส่ ดุ คือ ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว และชอบอยู่ ตัวคนเดียว ผลการวิจัยปรากฏเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า นั ก ศึ ก ษาที่ เ ล่ น เกมออนไลน์ จ ะมี โ ลกส่ ว นตั ว สู ง ขึ้ น


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

มีความสนใจอยูแ่ ต่กบั เกมออนไลน์ ก่อให้เกิดผลกระทบ ด้านอื่นๆ ตามมาได้ ด้วยสาเหตุที่นักศึกษาไม่สนใจกับ สิ่งที่เกิดขึ้นรอบข้างเท่าที่ควร การตระหนักในบทบาท และหน้าที่ของตนเองลดน้อยลง ซึ่งภีรวัฒน์ นนทะโชติ (2553 : บทคัดย่อ) ได้ให้กลยุทธ์ในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนจากปัญหา สัมพันธภาพในครอบครัว คือ จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริม และสนับสนุนศักยภาพของนักเรียนในด้านการส่งเสริม การสร้างมนุษยสัมพันธภาพทีด่ ภี ายในครอบครัว ส่งเสริม การสร้างต้นแบบทีด่ ใี นครอบครัว การรับรูแ้ ละมีสว่ นร่วม ในการแก้ไขปัญหาร่วมกันภายในครอบครัว ฝึกระเบียบ วินัยและความรับผิดชอบตั้งแต่ยังเด็ก สร้างกฎเกณฑ์ และกติกาการอยู่ร่วมกันภายในครอบครัว จัดกิจกรรม เสริมทักษะให้กับเด็กอย่างต่อเนื่อง พัฒนาสุนทรียภาพ ด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา สนับสนุนกิจกรรม/ชมรมให้เด็ก และเยาวชนสามารถเลือกกิจกรรมเสริมหลักสูตรได้ เหมาะสมตามวัย ส่งเสริมความรู้และทักษะในการใช้ คอมพิวเตอร์ของพ่อแม่ผปู้ กครองครอบคลุมทัง้ คอมพิวเตอร์ และเกม 3. ด้านการเรียน พบว่า ปัญหาและผลกระทบ มากทีส่ ดุ คือ ขาดความรับผิดชอบในการเรียน ผลการวิจยั ปรากฏเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาขาดการเอาใจใส่ และไม่เห็นความส�ำคัญของการเรียน อาจเนื่องมาจาก นักศึกษาใช้เวลาว่างในการเข้าไปในเครือข่ายสังคม (Social network) มาก เวลาเรียนก็เล่นเกมใน Facebook ท�ำให้ไม่สนใจสิ่งที่ผู้สอนอธิบาย ไม่เอาใจใส่บทเรียน ส่งผลให้การเรียนแย่ลง สัมพันธ์กับที่ ทิพาพร สุจารี (2553 : 40) กล่าวว่าผลกระทบจากการติดเกมคอมพิวเตอร์ หมกมุ่นแต่เรื่องเกม ไม่มีสมาธิในการเรียน ซึ่งบัณฑิต ศรไพศาล (2548 : 5) เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา เช่น ควรสนับสนุนใหเ ด็กมีโอกาสทาํ กิจกรรมสรา งสรรค ทางเลือก เนื่องจากมนุษยทุกคนตองการความสุขความ สําเร็จความภาคภูมิใจ เชน การเรียนและการเลนเกม ดังนั้นหากเด็กไมประสบความสําเร็จในการเรียน หรือ รูปแบบวิธีการเรียนไมสามารถดึงดูดความสนใจใหมี

ความสนุกสนานกับการเรียนได การเลนเกมจึงเปน ทางออกหนึง่ ทีท่ าํ ใหเด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ทาทายใหพิชิตความยากของเกม และรูสึกภาคภูมิใจ เมือ่ ตนทาํ ไดส าํ เร็จ ดังนัน้ พอ แม ผูป กครองตอ งใหโ อกาส เด็กในการมีกจิ กรรม สรางสรรคอยางอืน่ รวมกับครอบครัว การทดสอบการทดสอบสมมุติฐานพบว่า นักศึกษา ที่ มี เ พศและอายุ แ ตกต่ า งกั น มี ป ั ญ หาและผลกระทบ ในการเล่นเกมออนไลน์แตกต่างกัน อาจเป็นเพราะผูห้ ญิง และผู้ชายมีความแตกต่างกันในด้านความคิด ค่านิยม และทัศนคติเนือ่ งมาจากวัฒนธรรมและสังคมได้กำ� หนด บทบาทของคนทั้งสองเพศไว้ ส่วนปัจจัยด้านอายุท�ำให้ คนมี ค วามแตกต่ า งกั น ด้ า นความคิ ด และพฤติ ก รรม เนือ่ งจากผูท้ มี่ อี ายุมากกว่าจะมีประสบการณ์จากการใช้ ชีวิตมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย ส่วนนักศึกษาที่มีรายได้ต่อเดือน สังกัดคณะและมี ประสบการณ์ในการเล่นเกมออนไลน์แตกต่างกันมีปญ ั หา และผลกระทบในการเล่นเกมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน เป็นเพราะนักศึกษาส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-6000 บาท ใช้เงินในการเล่นเกมออนไลน์เฉลี่ย ต่อสัปดาห์คือ ต�่ำกว่า 100 บาท ท�ำให้ไม่มีผลกระทบ ต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจ�ำวัน ส่วนคณะที่สังกัดไม่มี ความแตกต่างกัน อาจเนื่องมาจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ส่วนมากเรียนวิชาพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อ เข้าสู่วิชาเอก ส่วนประสบการณ์ในการเล่นเกมออนไลน์ ไม่แตกต่างกันอาจเป็นเพราะการเล่นเกมมีวธิ กี ารเล่นทีง่ า่ ย ไม่จ�ำเป็นต้องมีการฝึกฝนประสบการณ์ ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย 1) นักศึกษาควรมีการแบ่งเวลาในการเล่นเกม ออนไลน์ให้เหมาะสม และควรใช้เวลาในด้านการเรียน และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากบริการระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตไร้สายในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ใช้ประโยชน์ ในการเรียนและเป็นการรู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ มีให้บริการในปัจจุบัน

57


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

2) การเล่นเกมออนไลน์มีประโยชน์ต่อผู้เล่นใน ระดับหนึง่ ซึง่ ขึน้ อยูก่ บั ลักษณะการเล่นเกมออนไลน์ของ ผู้เล่นเอง ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการเล่น ประเภท เนื้อหาและความรุนแรงของเกมออนไลน์ ค่าใช้จ่ายหรือ สถานที่ในการเล่นเกม มีส่วนที่จะท�ำให้ประโยชน์ของ เกมออนไลน์ที่มีอยู่น้อยให้ลดลงอีก บุคลิกและทักษะของผู้เล่นเกมจะอยู่ในด้านลบ หากเล่นเกมออนไลน์ที่เป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ความสามารถในการท�ำงานกับผู้อื่น ทักษะการวางแผน ความรอบคอบการตะหนั ก ในหน้ า ที่ ก ารเรี ย นจะลด น้อยลง และมีอารมณ์รุนแรงฉุนเฉียวมากขึ้น มีความ ต้องการเอาชนะผู้อื่น ซึ่งอาจเนื่องมาจากสาเหตุที่ว่า ในโลกของเกมออนไลน์ผเู้ ล่นเกมมีอสิ ระสูง สามารถบังคับ ตัวละครของตนซึง่ เปรียบเสมือนตนเองกระท�ำสิง่ ใดก็ได้ โดยไม่เกิดโทษต่อผู้เล่นเอง 2. ข้อเสนอแนะในการท�ำการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบกลุม่ ตัวอย่างนักศึกษา ในทุกชั้นปี โดยเฉพาะในเรื่องผลการเรียน เพื่อที่จะได้ ข้อมูลที่หลากหลายและตรงกับความเป็นจริง

บรรณานุกรม

ดรุตร์ ชูจนั ทร์. (2548). พฤติกรรมของผูเ้ สพเกมออนไลน์. ปริญญานิพนธ์ศกึ ษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. ทวีศิลป์ วิศณุโยธิน. (2553). การสัมมนา วช: ทางออก ปัญหาการติดเกม. กรุงเทพฯ: บีทีเอสเพรส. ทิพาพร สุจารี. (2553). อิทธิพลและผลกระทบการติดเกม ของเยาวชน ตามสถานศึกษาในระดับการศึกษา ขัน้ พืน้ ฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. บัณฑิต ศรไพศาล. (2548). คู่มือพ่อแม่ดูแลลูกยุค ไซเบอร์. กรุงเทพฯ: สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุน่ ราชนครินทร์.

58

ประกายทิพย์ นิยมรัฐ. (2547). ปัจจัยทางจิตสังคมและ ความรู้สึกแสวงหาสิ่งตื่นเต้นเร้าใจที่สัมพันธ์กับ พฤติ ก รรมการเล่ น เกมออนไลน์ ข องนั ก เรี ย น มัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร. ปริญญา นิ พ นธ์ วิ ท ยาศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต , จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ภีรวัฒน์ นนทะโชติ. (2553). ยุทธศาสตร์การป้องกัน และแก้ไขปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์นักเรียน โรงเรี ย นมั ธ ยมศึ ก ษา สั ง กั ด เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา จังหวัดนนทบุรี. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา บัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. ส�ำนักวิจยั เอแบคโพลล์. (2548). พฤติ ก รรมการติ ด เกมออนไลน์ ใ นกลุ ่ ม เด็ ก และ เยาวชนไทย กรณีศกึ ษาตัวอย่างประชาชนอายุ 12 ปี ขึน้ ไป ทีพ่ กั อาศัยอยูก่ รุงเทพมหานครและปริมณฑล. สืบค้นเมือ่ 5 พฤษภาคม 2553, จาก มหาวิทยาลัย ขอนแก่น เว็บไซต์: http://std.kku.ac.th สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2550). เกมออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2553, จาก สถาบั น สุ ข ภาพจิ ต เด็ ก และวั ย รุ ่ น ราชนคริ น ทร์ . เว็บไซต์: http://www.cgap.Icamtalk.com Kevin, R. (1996). The Disembodiment of man. Edmonton: Alberta University. Rowe, DC. (1994). Genetic and cultural explanations of adolescent risk taking and problem behavior. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates. Skinner, BF. (1998). The behavior of organisms: An experimental analysis. Englewood-Clif, NJ: Prentice-Hall.


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

Saisuda Pantrakool received her Master of Library and Information Science in 2001 from the Mahasarakham University, Thailand. Saisuda Pantrakool is currently the assistant professor of Faculty of Humanitles and Socaial Sciences, Suan Dusit Rajabhat University, Thailand. Her research interest covers Library Science and Information Science.

59


ลั

กษณะเว็บไซต์ และแรงจูงใจทีม่ อี ทิ ธิพลต่อพฤติกรรม การซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com The Influence of Website Attributes and Motivation on Purchasing Behavior from www.nananaka.com นรวรรณ บริสุทธิ์ นิสิตหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ E-mail: kiwad41@hotmail.com ดร.พนิต กุลศิริ อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ E-mail: panidkul@yahoo.com

บทคัดย่อ

60

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (2) ศึกษาความคิดเห็นต่อลักษณะเว็บไซต์และ ปัจจัยทางด้านแรงจูงใจในการซือ้ สินค้าของผูบ้ ริโภคทีซ่ อื้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com (3) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าในเว็บไซต์ www.nananaka.com (4) ศึกษาความสัมพันธ์ ของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com (5) ศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะเว็บไซต์และปัจจัยจูงใจกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่าน เว็บไซต์ www.nananaka.com กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เคยซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com ที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลลูกค้าของเว็บไซต์ จ�ำนวน 150 คน และผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต ทีเ่ คยเข้ามาเยีย่ มชมและซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com จ�ำนวน 201 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิตทิ ใี่ ช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูลคือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ การทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26-36 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้ต่อเดือน 15,001-25,000 บาท (2) ผู้บริโภคมีระดับ


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ความคิดเห็นเกีย่ วกับลักษณะเว็บไซต์ดา้ นองค์ประกอบ (Context Factor) ด้านเนือ้ หา (Content Factor) ด้านชุมชน (Community Factor) ด้านความเชื่อมโยง (Connection Factor) ด้านการค้า (Commerce Factor) อยูใ่ นระดับปานกลาง และมีระดับความคิดเห็นด้านการสือ่ สาร (Communication Factor) อยู่ในระดับมาก ส่วนแรงจูงใจด้านเหตุผลและแรงจูงใจด้านอารมณ์ อยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการใช้ www.nananaka.com พบว่า ผู้บริโภคส่วนมากมีความถี่ ในการซือ้ 1 ครัง้ ภายใน 3 เดือนทีผ่ า่ นมา และซือ้ สินค้าเป็นเงิน 1,001-2,000 บาทต่อครัง้ ผูบ้ ริโภค ส่วนมากจะแนะน�ำให้บคุ คลอืน่ ซือ้ และจะกลับเข้าไปซือ้ สินค้าทางเว็บไซต์ www.nananaka.com ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า (1) อาชีพปัจจุบัน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com ในทุกด้าน (2) ลักษณะเว็บไซต์ ด้านเนื้อหา (Content Factor) ด้านการสื่อสาร (Communication Factor) และด้านการค้า (Commerce Factor) มีความสัมพันธ์กบั พฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com ในทุกด้าน ส่วนลักษณะเว็บไซต์ด้านองค์ประกอบ (Context Factor) ด้านชุมชน (Community Factor) และด้านความเชือ่ มโยง (Connection Factor) มีความสัมพันธ์กบั พฤติกรรมการซือ้ สินค้า ผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com ในด้านมูลค่าการซื้อต่อครั้ง (3) แรงจูงใจด้านเหตุผลมีความ สัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com ในทุกด้าน ส่วนแรงจูงใจ ด้านอารมณ์มคี วามสัมพันธ์กบั พฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com ในด้าน มูลค่าการซื้อต่อครั้ง ค�ำส�ำคัญ: พฤติกรรมการซื้อสินค้าในเว็บไซต์ ลักษณะเว็บไซต์ แรงจูงใจในการซื้อสินค้าผ่าน เว็บไซต์

Abstract

The objective of this research is to (1) Study the relationships between demographic factor comprising; gender, age, education, occupation, average income per month. (2) Website attributes motivation to buy products through www.nananaka.com. (3) Study buying behavior on www.nananaka.com website. (4) Study the relationships between demographic factor and purchasing behavior from www.nananaka.com. (5) Study the relationships between website attributes and motivation factors on purchasing behavior from www.nananaka.com. The samples are internet users who have bought goods via www.nananaka.com website. These internet users include 150 website members and 201 website non-members who used to visit and buy products through www.nananaka.com website. The data were gathered by using the questionnaire survey. The statistics methods were frequency, percentage, mean, and standard deviation. Chi-Square was used for hypothesis testing. The results of the research showed that (1) Most respondents were female, aged between

61


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

26-36 years old, held a bachelor’s degree, employed in private companies, and had income of 15,001-25,000 baht per month. (2) The respondents rated the attributes of website at moderate level in terms of context factor, content factor, community factor, connection factor, commerce factor, rational motivation and emotional motivation. Meanwhile, communication factor was rated at a very high level. It was found that most consumers purchased once in the past three months from the website and spent 1,001-2,000 baht per time. Most of them would suggest others to buy from the website and meanwhile, they themselves would also repurchase the product from www.nananaka.com website. Results of hypothesis testing are as follows: (1) Occupation and average income per month had relationship with purchasing behavior on www.nananaka.com website in all aspects. (2) Content factor, communication factor, and commerce factor had relationship with purchasing behavior on www.nananaka.com website in all aspects. Context factor, community factor, and connection factor had relationship with purchasing behavior on www.nananaka.com website in terms of the amount of purchase per time. (3) Rational motivation had relationship with purchasing behavior via www.nananaka.com website in all aspects, whereas, emotional motivation had relationship with purchasing motivation via www.nananaka.com website in terms of value of purchase per time. Keywords: Buying Behavior on Website, Website Attributes, Motivation to Buying on Website บทน�ำ ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 18 ล้านคน โดย 4 ใน 5 ใช้อนิ เทอร์เน็ตค้นหาข้อมูลสินค้าหรือร้านค้า โดยใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตมากกว่าสื่อโทรทัศน์ 2 เท่า และมากกว่าสือ่ สิง่ พิมพ์ถงึ 5 เท่า จากผลการส�ำรวจพบว่า คนไทยใช้เวลากับสือ่ ออนไลน์เกือบ 34 ชัว่ โมงต่อสัปดาห์ ไม่ว่าการท�ำงานหรือชีวิตประจ�ำวัน อินเทอร์เน็ตเป็น เหมือนช่องทางแรก ในการค้นหาข้อมูล เปรียบเทียบ สินค้าและราคา ซื้อสินค้าและบริการต่างๆ การค้นหา ธุรกิจในท้องถิ่นค่อนข้างเป็นที่นิยมมาก ซึ่งในความเป็น จริงแล้ว ผู้บริโภคชาวไทยยังชอบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ ร้านอาหาร ร้านดอกไม้ รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย

62

จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ซื้อสินค้าชาวไทยถึงร้อยละ 72 ค้นหาข้อมูลบนออนไลน์ก่อนเดินทางไปซื้อจริงที่ร้าน หรือสั่งซื้อออนไลน์ (ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, 2553) จากแนวโน้มดังกล่าวส่งผลให้ การเปิดร้านค้าออนไลน์ การประกาศซื้อ-ขายสินค้า จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทาง สร้างเงินที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องท�ำเล หรือขาดเงินทุนในการเปิดร้าน จึงท�ำให้ธุรกิจร้านค้า ออนไลน์เกิดขึ้นเป็นจ�ำนวนมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แม้จะไม่มคี วามรูท้ างด้านการเขียนโปรแกรม ก็สามารถ พัฒนาร้านออนไลน์ของตนเองได้ เพราะมีโปรแกรม ส�ำเร็จรูปและมีผู้ให้บริการด้านนี้คอยรองรับอยู่เป็น จ�ำนวนมาก อาทิเช่น เว็บไซต์ Weloveshopping.com,


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

Tarad.com เป็นต้น ซึ่งเป็นเว็บไซต์ผู้ให้บริการที่ได้รับ ความนิยมเป็นอันดับต้นของประเทศไทย และมีผเู้ ข้ามา เปิดร้านค้าเป็นจ�ำนวนมาก เจ้าของธุรกิจเว็บไซต์ www.nananaka.com จึงมี ความสนใจที่จะท�ำธุรกิจร้านค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยเป็นร้านค้าออนไลน์ที่จ�ำหน่ายอาหารเสริมจ�ำพวก วิตามินน�ำเข้าจากอเมริกา ซึง่ สาเหตุในการเลือกจ�ำหน่าย วิตามิน เนื่องจากกระแสรักสุขภาพ และพฤติกรรมการ บริ โ ภควิ ต ามิ น ก� ำ ลั ง ได้ รั บ ความนิ ย มเป็ น อย่ า งมาก ส�ำหรับการด�ำเนินชีวติ ในปัจจุบนั ดังจะเห็นได้จากผลการ ส�ำรวจพฤติกรรมการบริโภควิตามินและอาหารเสริม ของคนกรุ ง เทพฯ ของที ม ส� ำ รวจและผู ้ เชี่ ย วชาญ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (ข่าวสด, 2553) พบว่า ประชาชนในกรุงเทพฯ ร้อยละ 60 เคยรับประทาน วิตามินและอาหารเสริม โดยในส่วนของวิตามิน ร้อยละ 66.2 บริ โ ภควิ ต ามิ น ซี และร้ อ ยละ 73.8 บริ โ ภค อาหารเสริมเพือ่ บ�ำรุงร่างกาย นอกจากนัน้ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 38.6 ทานอาหารเสริมหรือวิตามินอย่างน้อย สั ป ดาห์ ล ะ 1 ครั้ ง หรื อ มากกว่ า และร้ อ ยละ 30.7 รับประทาน เป็นประจ�ำทุกวัน ในเรือ่ งค่าใช้จา่ ย ร้อยละ 60.8 มีค่าใช้จ่ายเดือนละไม่เกิน 1,000 บาท และ ผลส�ำรวจทัศนคติทมี่ ตี อ่ วิตามินและอาหารเสริม ผูบ้ ริโภค ร้อยละ 54.2 คิดว่าการทานวิตามินและอาหารเสริม เป็นสิ่งมีประโยชน์ เพราะร่างกายอาจได้รับสารอาหาร ไม่ครบทุกประเภท โดยเหตุผลทีค่ นส่วนใหญ่เลือกบริโภค “วิ ต ามิ น ซี ” มากเป็ น พิ เ ศษน่ า จะเกิ ด ขึ้ น เพราะว่ า ประเทศไทยอยู่ในเขตอากาศร้อนชื้น มีความผันแปร ของอากาศอยู่ตลอดเวลา ท�ำให้คนเป็นหวัดบ่อยครั้ง คนส่วนมากทราบคุณประโยชน์ของวิตามินซีวา่ สามารถ ช่ ว ยเสริ ม ภู มิ คุ ้ ม กั นโรคภูมิแพ้ และป้องกันการเป็น โรคหวัดได้ ร่างกายไม่สามารถสร้างวิตามินซีขึ้นเองได้ จึงต้องรับประทานเสริม วิตามินซีสามารถรักษาอาการ อักเสบอันเนื่องมาจากแบคทีเรียและไวรัสได้ด้วย “แต่ การป้องกันโรคใดๆ ต้องใช้หลายวิธีการร่วมกัน และเรา สามารถรับวิตามินซีได้จากอาหารประเภทผักและผลไม้”

นอกจากนี้ยังให้ความเห็นเรื่องตลาดของอาหารเสริม ในอนาคตว่า น่าจะมีการเจริญเติบโตในระดับทีส่ งู เนือ่ งจาก ปัจจุบนั ประชาชนหันมาใส่ใจกับเรือ่ งของสุขภาพมากขึน้ ไม่วา่ สภาพเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ผคู้ นยังคง ต้องการมีสุขภาพที่ดี และ “โฆษณา” ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ ท�ำให้ตลาดอาหารเสริมยังอยูไ่ ด้และมีแนวโน้มการเติบโต สูงขึ้น (ข่าวสด, 2553) อย่างไรก็ตามการที่วิตามินและ อาหารเสริ ม ได้ รั บ ความนิ ย มสู ง นั้ น ย่ อ มท� ำ ให้ เ ป็ น ที่ ต้ อ งการเข้ า มาในตลาดของผู ้ ค ้ า เป็ น จ� ำ นวนมาก ประกอบกั บ ช่ อ งทางการจ� ำ หน่ า ยผ่ า นทางระบบ อินเทอร์เน็ต เข้ามามีบทบาทในปัจจุบนั ซึง่ ท�ำได้งา่ ยและ ตรวจสอบได้ยากจากหน่วยงานรัฐบาล จึงส่งผลให้ เว็บไซต์ www.nananaka.com มีคู่แข่งเพิ่มขึ้นเป็น จ�ำนวนมาก และสินค้าจ�ำพวกวิตามินและอาหารเสริมนี้ แม้จะมีประโยชน์ต่อผู้รับประทานแต่ในทางกลับกัน ก็อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้หากไม่มีความรู้ หรือซื้อ สินค้าปลอมทีม่ ขี ายอย่างแพร่ระบาดตามเว็บไซต์รา้ นค้า ออนไลน์ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลให้ผู้วิจัยสนใจ ที่จะศึกษาวิจัยถึงทัศนคติ รูปแบบการด�ำเนินชีวิต และ แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่าน เว็บไซต์ www.nananaka.com เพื่อให้ทราบถึงปัจจัย ต่างๆ ทีส่ นับสนุนแนวโน้มพฤติกรรมการตัดสินใจซือ้ ของ ผูบ้ ริโภคทีม่ ตี อ่ สินค้าวิตามินทีม่ ที งั้ ประโยชน์และอันตราย หากผูบ้ ริโภคขาดความรูค้ วามเข้าใจ ซึง่ ผลงานวิจยั จะเป็น ประโยชน์ต่อผู้ประกอบการและสามารถน�ำไปปรับปรุง พัฒนาก�ำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดเพือ่ ให้สอดคล้องกับ ทัศนคติ รูปแบบการด�ำเนินชีวิตของผู้บริโภค รวมถึง พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลา ความมุ่งหมายของงานวิจัย ในการวิจยั ในครัง้ นีผ้ วู้ จิ ยั ได้ตงั้ ความมุง่ หมายไว้ดงั นี้ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ประกอบ ด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ย ต่อเดือนทีม่ คี วามสัมพันธ์กบั พฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่าน เว็บไซต์ www.nananaka.com

63


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

2. เพื่อศึกษาลักษณะเว็บไซต์ที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com 3. เพือ่ ศึกษาปัจจัยทางด้านแรงจูงใจในการซือ้ สินค้า ของผูบ้ ริโภคทีม่ คี วามสัมพันธ์กบั พฤติกรรมการซือ้ สินค้า ในเว็บไซต์ www.nananaka.com ความส�ำคัญของงานวิจัย การวิจยั ในครัง้ นีม้ คี วามส�ำคัญของการศึกษาค้นคว้า ดังนี้ 1. เพื่อประโยชน์ต่อผู้ประกอบอาชีพขายสินค้าใน อินเทอร์เน็ต น�ำไปพัฒนาการน�ำเสนอสินค้าและให้ บริการแก่ลกู ค้าได้อย่างตรงความต้องการและเหมาะสม และสามารถก�ำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 2. เพื่อประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจที่จะด�ำเนินธุรกิจการ ค้ า อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ใ ห้ ส ามารถวางแผนการตลาดให้ สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค 3. เพื่อประโยชน์ต่อนักวิจัยนักวิชาการได้น�ำข้อมูล เพื่อการอ้างอิงและการศึกษาเพื่อขยายองค์ความรู้ใน สาขาวิชาการตลาดต่อไป ทบทวนวรรณกรรม การศึกษาลักษณะเว็บไซต์และแรงจูงใจทีม่ อี ทิ ธิพลต่อ พฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com ผูว้ จิ ยั ได้มกี ารค้นคว้างานวิจยั เอกสาร และทฤษฎีตา่ งๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้ ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติ ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับแรงจูงใจ ทฤษฎีและแนวคิด เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ทฤษฎีพฤติกรรมการ ตัดสินใจซื้อ และข้อมูลเกี่ยวกับการค้าอิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พุทธิ ศุภโชคพาณิชย์ (2544: บทคัดย่อ) ศึกษา พฤติกรรมการบริโภควิตามินและปัจจัยทางการตลาด ที่มีต่อการเลือกซื้อวิตามิน พบว่าเพศหญิงมีจ�ำนวน มากกว่าเพศชาย โดยคิดเป็นร้อยละ 57.50 และ 42.50 ตามล�ำดับ ซึง่ ช่วงอายุของกลุม่ ตัวอย่างส่วนใหญ่อยูใ่ นช่วง

64

20-29 ปี โดยมีจ�ำนวนถึงหนึ่ง ในสามของกลุ่มตัวอย่าง ทัง้ หมด รองลงมาคือช่วง 30-39 ปี ในส่วนของอาชีพนัน้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานธุรกิจเอกชนมากที่สุด รองลงมาคื อ ข้ า ราชการ ระดั บ การศึ ก ษาส่ ว นใหญ่ ประมาณร้อยละ 59 จะมีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ในส่วนของรายได้ต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 50 อยู่ในช่วง 10,000-30,000 บาท รองลงมาได้แก่กลุ่มที่มีรายได้ต�่ำกว่า 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 21 จากการศึกษาถึงพฤติกรรมในการ บริโภควิตามินพบว่า ความถีใ่ นการบริโภควิตามินส�ำหรับ กลุ่มตัวอย่างเพศชายโดยมากบริโภควิตามิน 3 เดือน ต่อ 1 ครัง้ ในขณะทีเ่ พศหญิงโดยมากบริโภควิตามินเป็น ประจ�ำทุกวัน สถานทีผ่ บู้ ริโภคนิยมซือ้ วิตามินมากทีส่ ดุ คือ ร้านขายยา รองลงมาได้แก่หา้ งสรรพสินค้าและโรงพยาบาล ตามล�ำดับ เมื่อจ�ำแนกตามช่วงอายุผู้บริโภคในช่วงอายุ 20-60 ปี นิยมซื้อวิตามินจากร้านขายยา ในขณะที่ ผูบ้ ริโภคทีม่ อี ายุ 60 ปีขนึ้ ไปซือ้ จากโรงพยาบาล รูปแบบ ของวิตามินที่นิยมกันมากคือชนิดเม็ด และวิตามินที่ บริโภคกันมากได้แก่วติ ามินซีและวิตามินอี สาเหตุในการ บริโภควิตามินของกลุ่มตัวอย่างพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ มีอายุในช่วง 20-60 ปีนั้น จะบริโภควิตามินเพื่อบ�ำรุง ร่างกาย มีมากเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนอายุ 60 ปีขึ้นไปนั้น จะบริโภควิตามินเพือ่ รักษาอาการเจ็บป่วย จากการศึกษา ถึงปัจจัยทางการตลาด พบว่ากลุม่ ตัวอย่างให้ความส�ำคัญ กับการพิจารณาถึงปัจจัยทางการตลาดต่อการเลือกซื้อ วิตามินคือ ด้านผลิตภัณฑ์พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความ ส� ำ คั ญ ต่ อ การพิ จ ารณาวั น ที่ ผ ลิ ต วั น ที่ ห มดอายุ บ น ผลิตภัณฑ์ และในการซือ้ วิตามินจะพิจารณาถึงคุณภาพ รูปแบบ ฉลากและบรรจุภัณฑ์ ด้านราคาพบว่า ควรมี ป้ายบอกราคาอย่างชัดเจนและควรก�ำหนดราคาขาย ให้สมั พันธ์กบั คุณภาพวิตามิน แต่กลุม่ ตัวอย่างแสดงความ ไม่แน่ใจเกีย่ วกับวิตามินทีม่ จี ำ� หน่ายในท้องตลาดมีราคา เหมาะสมแล้ว เมือ่ พิจารณาถึงการลดราคา กลุม่ ตัวอย่าง โดยมากแสดงความเห็นด้วยเกีย่ วกับ การลดราคาวิตามิน ด้านช่องทางการจัดจ�ำหน่าย พบว่าช่องทางการจ�ำหน่าย


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ผ่านร้านขายยาได้รับ ความนิยมมากที่สุดรองลงมาคือ โรงพยาบาลและห้างสรรพสินค้า ตามล�ำดับ ในขณะที่ การซื้อผ่านพนักงานขายตรงได้รับความสนใจน้อยที่สุด ด้านการส่งเสริมการขาย พบว่ากลุ่มตัวอย่างเห็นด้วย ต่อการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ค�ำปรึกษาและ การอ่าน แผ่นพับ เอกสารให้ความรู้ต่างๆ ที่ผู้ผลิตจัดเตรียมไว้ให้ รองลงมาเป็นการจัดนิทรรศการเพือ่ สุขภาพและการลด ราคา ไพบูลย์ สูงกิจบูลย์ (2545: บทคัดย่อ) ศึกษา ปัจจัย ทีม่ อี ทิ ธิพลต่อการใช้บริการเว็บไซต์แต่ละประเภท ในทัศนะ ของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย พบว่า ผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 16-30 ปี มีการ ศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ใช้อินเทอร์เน็ต มากว่า 3 ปี ผลการวิจยั สรุปว่า ผูใ้ ช้บริการเว็บไซต์แต่ละ ประเภทให้ความส�ำคัญกับปัจจัยหลักๆ คือ ความทันสมัย ของข้อมูล ความครบถ้วนของข้อมูลการเข้าถึงได้รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ ถูกต้องแม่นย�ำ ลักษณะการใช้งาน จึงต้องง่ายและเข้าถึงได้รวดเร็วไม่จ�ำเป็นต้องเรียนรู้ และจากการทดสอบสมมติฐานพบว่า มีปจั จัยหลายอย่าง ที่มีผลต่อปริมาณการใช้บริการเว็บไซต์แต่ละประเภท ความถีใ่ นการใช้ตอ่ สัปดาห์ และความทันสมัยของข้อมูล ปารียา เรียกบุญใหม่ (2553: บทคัดย่อ) ศึกษา ปั จ จั ย ที่ มี ผ ลต่ อ พฤติ ก รรมการใช้ บ ริ ก ารเว็ บ ไซต์ www.freestylegifts.com ผลการศึ ก ษาสรุ ป ว่ า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 26-33 ปี อาชีพพนักงานเอกชน รายได้ 20,001-25,000 บาท มีการศึกษาระดับปริญญาตรีอาศัยอยูใ่ นกรุงเทพมหานคร และมีประสบการณ์ใช้อินเทอร์เน็ต 5 ปี มีแรงจูงใจ ในการใช้บริการเว็บไซต์ www.freestylegifts.com ด้านเหตุผลและด้านอารมณ์อยูใ่ นระดับเฉยๆ มีทศั นคติ ต่อเว็บไซต์อยูใ่ นระดับดี ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า แรงจูงใจในการใช้บริการเว็บไซต์ www.freestylegifts.com ด้านเหตุผลและด้านอารมณ์ มีความสัมพันธ์กบั พฤติกรรม การใช้บริการเว็บไซต์ www.freestylegifts.com ด้าน

ความถี่ในการใช้บริการ ด้านช่วงเวลาในการใช้บริการ และด้านสมัครสมาชิกเว็บไซต์ ระเบียบวิธีการวิจัย 1. ขอบเขตของเนื้อหา การวิ จั ย นี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ศึ ก ษาลั ก ษณะ เว็บไซต์และแรงจูงใจที่มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมการซื้อ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com 2. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประชากรที่ ใช้ ใ นการศึ ก ษาและวิ จั ย ครั้ ง นี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุม่ คือ ลูกค้าทีเ่ ป็นสมาชิกของเว็บไซต์ www.nananaka.com จ�ำนวน 150 คน และกลุม่ ลูกค้า ทีไ่ ม่ได้เป็นสมาชิกกับทางเว็บไซต์ www.nananaka.com จ�ำนวน 423 คน (เว็บไซต์นานานะคะ, 2553) 3. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ส�ำหรับการวิจยั ครัง้ นี้ แบ่งออก เป็น 2 กลุ่ม คือ 3.1 กลุ่มที่เป็นสมาชิกกับทางเว็บไซต์ คือ ผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตทีเ่ คยซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com โดยใช้กลุม่ ผูบ้ ริโภคทีม่ รี ายชือ่ อยูใ่ นฐานข้อมูลลูกค้าของ ทางเว็บไซต์ จ�ำนวน 150 คน 3.2 กลุม่ ลูกค้าทีไ่ ม่ได้เป็นสมาชิกกับทางเว็บไซต์ คือ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เคยเข้ามาเยี่ยมชมและซื้อสินค้า ผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com จ�ำนวน 423 คน จึ ง ก� ำ หนดขนาดตั ว อย่ า งโดยใช้ ต ารางส� ำ เร็ จ รู ป ของ Krejcie; & Morgan (1970: 608) ได้กลุม่ ตัวอย่าง จ�ำนวน 201 คน ดังนัน้ กลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ในการวิจยั ในครัง้ นี้ ทั้งหมดเท่ากับ 351 คน 4. ตัวแปรที่ศึกษา 4.1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) แบ่งเป็นดังนี้ 1. ลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน

65


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

2. ลักษณะเว็บไซต์ www.nananaka.com แบ่งเป็น 6 ตัวแปร ดังนี้ 2.1 ด้านองค์ประกอบ (Context Factor) 2.2 ด้านเนื้อหา (Content Factor) 2.3 ด้านชุมชน (Community Factor) 2.4 ด้านการสือ่ สาร (Communication Factor) 2.5 ด้านความเชื่อมโยง (Connection Factor) 2.6 ด้านการค้า (Commerce Factor) 3. แรงจู ง ใจในการใช้ เว็ บ ไซต์ แบ่ ง เป็ น 2 ตัวแปร ดังนี้ แรงจูงใจด้านเหตุผล และแรงจูงใจ ด้านอารมณ์ 4.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) ได้แก่ พฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com 5. การเลือกกลุ่มตัวอย่าง วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive Sampling) ให้แก่กลุม่ ตัวอย่าง โดยแจกแบบสอบถามผ่านทางอีเมล์และหน้าเว็บบอร์ด ของเว็บไซต์ www.nananaka.com 6. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่ อ งมื อ ที่ ใช้ ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นี้ ผู ้ วิ จั ย ได้ ใช้ แบบสอบถาม เป็นเครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเนื้อหาของแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ตอนที่ 1 เป็ น แบบสอบถามเกี่ ย วกั บ ข้ อ มู ล ส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพปัจจุบัน รายได้ต่อเดือน ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับ ลักษณะเว็บไซต์ www.nananaka.com ของผู้ตอบ แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้าน องค์ ป ระกอบ (Context Factor) 2. ด้ า นเนื้ อ หา (Content Factor) 3. ด้านชุมชน (Community Factor) 4. ด้านการสือ่ สาร (Communication Factor)

66

5. ด้านความเชื่อมโยง (Connection Factor) 6. ด้าน การค้า (Commerce Factor) ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกีย่ วกับแรงจูงใจในการ ซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com ของผูต้ อบ แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 แรงจูงใจด้านเหตุผล และส่วนที่ 2 แรงจูงใจด้านอารมณ์ ตอนที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการ ซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com จ�ำนวน 4 ข้อ ได้แก่ ความถี่ในการซื้อ มูลค่าในการซื้อต่อครั้ง การแนะน�ำบุคคลอื่น และการกลับมาซื้อในครั้งต่อไป 7. การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ด�ำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจาก กลุม่ ตัวอย่าง คือ ผูบ้ ริโภคทีเ่ คยซือ้ สินค้ากับทางเว็บไซต์ www.nananaka.com จ�ำนวน 351 คน ซึง่ ได้ดำ� เนินการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างตามที่ได้ก�ำหนดไว้ จนครบตามจ�ำนวน และเรียบเรียงแบบสอบถามเพื่อใช้ ในการลงรหัสและประมวลผลข้อมูล ข้อมูลทีล่ งรหัสแล้ว ได้ น� ำ มาบั น ทึ ก เข้ า ไฟล์ (File) โดยใช้ ค อมพิ ว เตอร์ เพื่อท�ำการประมวลผล ในการค�ำนวณค่าสถิติโดยใช้ โปรแกรมส�ำเร็จรูป วิเคราะห์ขอ้ มูลโดยใช้สถิตเิ ชิงพรรณา (Descriptive Statistic) โดยใช้ตารางแจกแจงร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic mean) และค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน (Inferential Statistic) วิเคราะห์ ถึงทัศนคติ และแรงจูงใจทีม่ อี ทิ ธิพลต่อพฤติกรรม การซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com โดยใช้ วิธีทดสอบการใช้ไคสแควร์ (Chi-Square) (χ2 - test) ซอมเมอร์ดี (Somer’s D) และแครมเมอร์วี (Crammer’s V) ผลการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้น�ำเสนอผลตามความ มุ่งหมายของการวิจัย โดยแบ่งการน�ำเสนอออกเป็น 5 ตอน ตามล�ำดับ ดังนี้


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ตอนที่ 1 การวิเคราะห์เกีย่ วกับข้อมูลส่วนตัวของ ผูต้ อบแบบสอบถาม ในด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน จากกลุ่มตัวอย่าง จ�ำนวน 351 คน พบว่า ผู้ตอบ แบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มากกว่าเพศชาย มีอายุ 26-36 ปี รองลงมาคือ 37 ปีขึ้นไป และมีอายุ ระหว่าง 15-25 ปี ตามล�ำดับ ส่วนใหญ่มกี ารศึกษาระดับ ปริญญาตรี และประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รองลงมาคือ ธุรกิจส่วนตัว/เจ้าของกิจการ ข้าราชการ/ พนั ก งานรั ฐ วิ ส าหกิ จ และนั ก เรี ย น/นิ สิ ต /นั ก ศึ ก ษา ตามล�ำดับ ซึง่ ส่วนใหญ่มรี ายได้ตอ่ เดือน 15,001-25,000 บาท ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะ เว็ บ ไซต์ www.nananaka.com ของผู ้ ต อบ แบบสอบถาม ผู ้ บ ริ โ ภคมี ร ะดั บ ความคิ ด เห็ น ด้ า นการสื่ อ สาร (Communication Factor) อยู่ในระดับมาก และมี ระดับความคิดเห็นด้านการองค์ประกอบ (Context Factor) ด้านเนื้อหา (Content Factor) ด้านชุมชน (Community Factor) ด้านความเชือ่ มโยง (Connection Factor) และด้านการค้า (Commerce Factor) อยู่ใน ระดับปานกลาง ตอนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับแรงจูงใจ ในการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com ผู้บริโภคมีระดับแรงจูงใจด้านเหตุผล และแรงจูงใจ ด้านอารมณ์ อยู่ในระดับปานกลาง ตอนที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรม การซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com ความถี่ ใ นการซื้ อ สิ น ค้ า กั บ ทางเว็ บ ไซต์ www. nananaka.com ภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ผูบ้ ริโภคส่วนมากมีความถีใ่ นการซือ้ 1 ครัง้ รองลงมาคือ 2 ครัง้ และมากกว่า 2 ครัง้ ตามล�ำดับ และมีมลู ค่าการซือ้ สินค้ากับทางเว็บไซต์ www.nananaka.com ต่อครั้ง เป็นเงิน 1,001-2,000 บาท รองลงมาคือ 3,001 บาท

ขึ้นไป โดยผู้บริโภคส่วนมากจะแนะน�ำให้บุคคลอื่นซื้อ สินค้าและจะกลับเข้าไปซื้อสินค้าทางเว็บไซต์ www. nananaka.com อีก ตอนที่ 5 ผลการทดสอบสมมติฐาน ผลการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า สมมติ ฐ านข้ อ ที่ 1 เพศไม่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ พฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com สมมติ ฐ านข้ อ ที่ 2 อายุ ไ ม่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ พฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com สมมติฐานข้อที่ 3 ระดับการศึกษาไม่มคี วามสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com สมมติ ฐ านข้ อ ที่ 4 อาชี พ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ พฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลาง อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมมติฐานข้อที่ 5 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความ สั ม พั น ธ์ กั บ พฤติ ก รรมการซื้ อ สิ น ค้ า ผ่ า นเว็ บ ไซต์ www.nananaka.com โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวกันในระดับปานกลาง อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 สมมติฐานข้อที่ 6 ลักษณะเว็บไซต์ดา้ นองค์ประกอบ (Context Factor) มีความสัมพันธ์กบั พฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com ในด้านมูลค่า การซื้ อ สิ น ค้ า ต่ อ ครั้ ง โดยมี ค วามสั ม พั น ธ์ ใ นทิ ศ ทาง เดียวกันในระดับปานกลาง อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 สมมติฐานข้อที่ 7 ลักษณะเว็บไซต์ด้านเนื้อหา (Content Factor) มีความสัมพันธ์กบั พฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com โดยมีความ สัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลาง อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมมติฐานข้อที่ 8 ลักษณะเว็บไซต์ด้านชุมชน (Community Factor) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การซื้ อ สิ น ค้ า ผ่ า นเว็ บ ไซต์ www.nananaka.com

67


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ในด้านมูลค่าการซื้อสินค้าต่อครั้ง โดยมีความสัมพันธ์ ในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลาง อย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 สมมติฐานข้อที่ 9 ลักษณะเว็บไซต์ดา้ นการสือ่ สาร (Communication Factor) มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ พฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลาง อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมมติฐานข้อที่ 10 ลักษณะเว็บไซต์ด้านความ เชื่อมโยง (Connection Factor) มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com ในด้านมูลค่าการซื้อสินค้าต่อครั้ง โดยมีความสัมพันธ์ ในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลาง อย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 สมมติฐานข้อที่ 11 ลักษณะเว็บไซต์ด้านการค้า (Commerce Factor) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com โดยมี ความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลาง อย่างมี นัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมมติฐานข้อที่ 12 แรงจูงใจด้านเหตุผลมีความ สั ม พั น ธ์ กั บ พฤติ ก รรมการซื้ อ สิ น ค้ า ผ่ า นเว็ บ ไซต์ www.nananaka.com โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวกันในระดับปานกลาง อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 สมมติฐานข้อที่ 13 แรงจูงใจด้านอารมณ์มีความ สั ม พั น ธ์ กั บ พฤติ ก รรมการซื้ อ สิ น ค้ า ผ่ า นเว็ บ ไซต์ www.nananaka.com ในด้านมูลค่าการซือ้ สินค้าต่อครัง้ โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันในระดับปานกลาง อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปและอภิปรายผลการวิจัย การวิจยั นีม้ งุ่ ศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะเว็บไซต์ และแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่าน เว็บไซต์ www.nananaka.com จากผลการศึกษาผูว้ จิ ยั ขออภิปรายผลดังนี้

68

1. ผลการศึกษาข้อมูลประชากรศาสตร์ พบว่า ผู้ที่ ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26-36 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพ พนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้ต่อเดือน 15,00125,000 บาท สอดคล้องกับงานวิจยั ของ พุทธิ ศุภโชคพาณิชย์ (2544 : บทคัดย่อ) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภควิตามิน และปัจจัยทางการตลาดทีม่ ตี อ่ การเลือกซือ้ วิตามิน พบว่า เพศหญิงมีจ�ำนวนมากกว่าเพศชาย ซึ่งช่วงอายุของ กลุม่ ตัวอย่างส่วนใหญ่อยูใ่ นช่วง 20-29 ปี โดยมีจ�ำนวน ถึงหนึง่ ในสามของกลุม่ ตัวอย่างทัง้ หมด รองลงมาคือช่วง 30-39 ปี กลุม่ ตัวอย่างเป็นพนักงานธุรกิจเอกชนมากทีส่ ดุ รองลงมาคือข้าราชการ ประมาณร้อยละ 59 จะมีการศึกษา ในระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่คดิ เป็นร้อยละ 50 อยูใ่ นช่วง 10,000-30,000 บาท รองลงมาได้แก่กลุม่ ทีม่ รี ายได้ตำ�่ กว่า 10,000 บาท คิดเป็น ร้อยละ 21 2. ผลการศึกษาลักษณะส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อ พฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com พบว่า อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com ในด้านความถี่ในการซื้อสินค้าภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา และด้านมูลค่าการซือ้ สินค้าต่อครัง้ สอดคล้องกับงานวิจยั ของ ปริย วงศ์วานชาตรี (2544) ศึกษาพฤติกรรมของ ผู ้ ใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต และปั จ จั ย ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ พาณิ ช ย์ อิเล็กทรอนิคส์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อ การซื้อสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตคือ อายุ อาชีพ รายได้ เนือ่ งจากการซือ้ สินค้าทางอินเทอร์เน็ต สะดวก และราคาถูก 3. ผลการศึกษาลักษณะเว็บไซต์ www.nananaka.com พบว่า ลักษณะเว็บไซต์มคี วามสัมพันธ์พฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com ในด้านมูลค่า การซื้อสินค้าต่อครั้ง ส่วนลักษณะเว็บไซต์ด้านเนื้อหา (Content Factor) ด้านการสือ่ สาร (Communication Factor) และด้านการค้า (Commerce Factor) มีความ สั ม พั น ธ์ พ ฤติ ก รรมการซื้ อ สิ น ค้ า ผ่ า นเว็ บ ไซต์


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

www.nananaka.com ในด้านความถี่ในการซื้อสินค้า ภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา สอดคล้องกับงานวิจัยของ ไพบู ล ย์ สู ง กิ จ บู ล ย์ (2545) ศึ ก ษาปั จ จั ย ที่ มี ผ ล ต่อปริมาณการใช้บริการเว็บไซต์แต่ละประเภท ในทัศนะ ของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ผลการวิจัย สรุปว่า ผูใ้ ช้บริการเว็บไซต์แต่ละประเภทให้ความส�ำคัญกับ ปัจจัยหลักๆ คือ ความทันสมัยของข้อมูล ความครบถ้วน ของข้อมูลการเข้าถึงได้รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ ถูกต้อง แม่นย�ำ ลักษณะการใช้งาน จึงต้องง่ายและเข้าถึงได้ รวดเร็วไม่จำ� เป็นต้องเรียนรู้ และจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า มีปจั จัยหลายอย่างทีม่ ผี ลต่อปริมาณการใช้บริการ เว็บไซต์แต่ละประเภท ความถี่ในการใช้ต่อสัปดาห์ และ ความทันสมัยของข้อมูล 4. ผลการศึกษาแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com พบว่า แรงจู ง ใจด้ า นเหตุ ผ ล มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ พฤติ ก รรม การซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com ในด้าน ความถี่ในการซื้อสินค้าภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา และ ด้านมูลค่าการซือ้ สินค้าต่อครัง้ และแรงจูงใจด้านอารมณ์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com ในด้านความถี่ในการซื้อสินค้า ภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา สอดคล้องกับงานวิจัยของ ปารียา เรียกบุญใหม่ (2553) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ พฤติกรรมการใช้บริการเว็บไซต์ www.freestylegifts.com ผลการศึกษาสรุปว่า แรงจูงใจในการใช้บริการเว็บไซต์ www.freestylegifts.com ด้านเหตุผลและด้านอารมณ์ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ พฤติ ก รรมการใช้ บ ริ ก ารเว็ บ ไซต์ www.freestylegifts.com ด้านความถีใ่ นการใช้บริการ ด้านช่วงเวลาในการใช้บริการ และด้านสมัครสมาชิก เว็บไซต์ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย 1. จากการศึกษาพบว่า ลักษณะส่วนบุคคลได้แก่ อาชีพ รายได้เฉลีย่ ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กบั พฤติกรรม การซื้ อ สิ น ค้ า ผ่ า นเว็ บ ไซต์ www.nananaka.com

เนือ่ งจากสินค้าของเว็บไซต์ www.nananaka.com เป็น สินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูง แม้ว่าจะไม่มีวางจ�ำหน่ายอยู่ ทัว่ ไปก็ตาม แต่ผบู้ ริโภคส่วนใหญ่ยงั จัดว่าเป็นกลุม่ เฉพาะ ที่ใส่ใจสุขภาพ อีกทั้งผู้บริโภคยังมีรายได้แตกต่างกันไป ในแต่ละอาชีพ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อก�ำลังในการซื้อ สินค้า ดังนัน้ ควรมีการน�ำเสนอผลิตภัณฑ์หรือการส่งเสริม การตลาดที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ในแต่ละกลุม่ อาชีพหรือกลุม่ รายได้ของผูบ้ ริโภคได้อย่าง เหมาะสม เช่น การจัดโปรโมชัน่ ราคาพิเศษในช่วงเทศกาล ส�ำหรับผู้ที่มีรายได้หรือก�ำลังซื้อต�่ำ เป็นต้น ซึ่งการจัด ส่งเสริมการตลาดจะท�ำให้ผบู้ ริโภคมีการตัดสินใจได้งา่ ย ยิ่งขึ้น 2. จากการศึกษาพบว่า ลักษณะเว็บไซต์มีความ สัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ www. nananaka.com โดยผู้บริโภคมีระดับลักษณะเว็บไซต์ ด้านการสื่อสาร (Communication Factor) มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการค้า (Commerce Factor) ด้าน ความเชือ่ มโยง (Connection Factor) ด้านองค์ประกอบ (Context Factor) ด้านชุมชน (Community Factor) และด้านเนื้อหา (Content Factor) ตามล�ำดับ ดังนั้น ควรมีการปรับปรุงและพัฒนาลักษณะเว็บไซต์อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ด้านเนือ้ หา (Content Factor) ซึง่ มี ระดับน้อยที่สุด หมายความว่า ผู้บริโภคเห็นว่าเว็บไซต์ www.nananaka.com มีลกั ษณะด้านเนือ้ หา (Content Factor)น้อย จึงจ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องปรับปรุงลักษณะ เว็บไซต์โดยการสร้างความหลากหลายในด้านเนื้อหาให้ ครอบคลุมเกี่ยวกับสินค้าภายในเว็บไซต์ ใช้ตัวหนังสือ และสีที่อ่านง่าย ดูสวยงามดึงดูดให้คนเข้ามาใช้บริการ มีการจัดหมวดหมู่สินค้าแยกประเภทชัดเจน รวมถึง รักษามาตรฐานด้านการสือ่ สารกับผูบ้ ริโภค โดยมีชอ่ งทาง ให้ผู้บริโภคติดต่อสอบถามได้หลายทาง มีระบบการค้า ทีง่ า่ ยต่อการใช้งาน เพือ่ เป็นการอ�ำนวยความสะดวกแก่ ผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด 3. จากการศึกษาพบว่า ระดับลักษณะเว็บไซต์ดา้ น ชุมชน (Community Factor) อยู่ในระดับปานกลาง

69


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ค่อนไปทางต�่ำ ซึ่งลักษณะเว็บไซต์ด้านชุมชนถือเป็น ปัจจัยที่ส�ำคัญอีกอย่างหนึ่งของการค้าอิเล็กทรอนิกส์ ดังนัน้ จึงควรมีการสร้างระบบชุมชนภายในเว็บไซต์ให้กบั กลุ่มลูกค้าได้เข้ามามีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับผ่านหน้าเว็บไซต์ของ www.nananaka.com โดย อาจมีระบบเว็บบอร์ดเพือ่ เปิดกว้างให้ลกู ค้าเข้ามาพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลของสินค้ากัน รวมถึงสอบถามข้อมูล สินค้ากับทางร้านโดยผ่านระบบชุมชนออนไลน์นี้ อีกทัง้ เจ้าของเว็บไซต์ควรมีการตอบค�ำถามข้อมูลลูกค้าอย่าง รวดเร็วเพื่อสร้างความประทับใจแก่ลูกค้าอีกทางหนึ่ง 4. จากการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการซื้อสินค้า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com โดยมีแรงจูงใจด้านเหตุผล และ แรงจูงใจด้านอารมณ์ ในระดับปานกลาง ซึ่งถือว่ายังอยู่ ในระดับไม่เป็นที่น่าพอใจ ดังนั้น ควรมีการน�ำเสนอถึง คุณประโยชน์ของสินค้าในเว็บไซต์ รวมถึงข้อดีหรือ ข้ อ ได้ เ ปรี ย บในการสั่ ง ซื้ อ สิ น ค้ า กั บ ทางเว็ บ ไซต์ www.nananaka.com ให้ผู้บริโภครับรู้มากยิ่งขึ้น เช่น การน�ำเสนอจุดเด่นว่าเป็นสินค้าทีไ่ ม่มจี ำ� หน่ายในประเทศ และสามารถสั่งซื้อจากทางเว็บไซต์ได้ในราคาที่ถูกกว่า การสั่ ง ซื้ อ จากต่ า งประเทศโดยตรง เป็ น ต้ น เพื่ อ ที่ ผู้บริโภคจะเกิดความรู้สึกหรือมีแรงจูงใจด้านเหตุผล ในการตัดสินใจซือ้ มากยิง่ ขึน้ จนเกิดความรูส้ กึ คุม้ ค่ากับ เงินที่ต้องเสียไป 5. จากการศึกษาพบว่า แรงจูงใจด้านอารมณ์มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com ในด้านมูลค่าการซื้อต่อครั้ง หมายความว่าหากผู้บริโภคมีแรงจูงใจด้านอารมณ์สูง ก็จะท�ำให้ผู้บริโภคมีมูลค่าการซื้อต่อครั้งสูงตามไปด้วย ดังนั้น เว็บไซต์ www.nananaka.com ควรมีการสร้าง ให้ผบู้ ริโภคเกิดแรงจูงใจด้านอารมณ์มากขึน้ โดยการจัด กิจกรรมร่วมสนุกในเว็บไซต์ เพื่อให้ลูกค้าเดิมรวมถึงผู้ที่ เข้ า มาเยี่ ย มชมเว็ บ ไซต์ ส นใจเข้ า มาซื้ อ สิ น ค้ า กั บ ทาง เว็บไซต์ www.nananaka.com มากยิ่งขึ้น

70

6. จากการศึกษา พฤติกรรมการซือ้ สินค้าผ่านเว็บไซต์ www.nananaka.com พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะ แนะน�ำให้บคุ คลอืน่ ซือ้ และการกลับเข้าไปซือ้ สินค้าทาง เว็บไซต์ www.nananaka.com อีก แต่ก็ยังมีผู้บริโภค บางส่วนทีไ่ ม่แนะน�ำและไม่กลับมาซือ้ อีก ถึงจะเป็นส่วนน้อย แต่ก็หมายความว่า เว็บไซต์ www.nananaka.com ยังมีข้อบกพร่องที่ท�ำให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้เกิดความไม่ พึงพอใจต่อการเข้ามาใช้บริการภายในเว็บไซต์ ดังนั้น ควรมีการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้บริโภคให้เกิด ความภักดีกบั เว็บไซต์ โดยการให้บริการทีร่ วดเร็ว ถูกต้อง ในการจัดส่งสินค้า รวมถึงการตอบข้อสงสัยต่างๆของ ผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว มีการติดตามผลหลังการขาย เนื่องจากเป็นสินค้าประเภทวิตามิน ที่หากผู้บริโภคเกิด ความพึ ง พอใจในตั ว สิ น ค้ า ก็ ต ้ อ งการที่ จ ะซื้ อ ไป รับประทานอีก แต่ถา้ หากการบริการของเว็บไซต์ไม่สร้าง ความประทับใจให้แก่ผบู้ ริโภคก็อาจส่งผลให้เสียลูกค้าได้ ข้อเสนอแนะในการท�ำวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยด้านอื่นๆที่มีอิทธิพล ต่อการเข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ www.nananaka.com ที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อที่จะได้ทราบข้อมูลที่มากขึ้น ทีจ่ ะสามารถน�ำไปพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ให้สามารถ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้ได้มาก ที่สุด 2. ค ว ร มี ก า ร ศึ ก ษ า เ ป รี ย บ เ ที ย บ เว็ บ ไซ ต ์ www.nananaka.com กับเว็บไซต์อนื่ ๆทีจ่ ำ� หน่ายสินค้า ในลั ก ษณะเดี ย วกั น เพื่ อ เป็ น ประโยชน์ ใ นการที่ จ ะ ประเมินถึงความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ที่นับวันจะแข่งขันกันสูงขึ้น 3. ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยด้านการให้บริการเกีย่ วกับ การขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต เนือ่ งจากการบริการเป็น ปัจจัยส�ำคัญทีจ่ ะท�ำให้ผบู้ ริโภคเกิดความพึงพอใจต่อผูข้ าย ไม่ว่าจะอยู่ในช่องทางจัดจ�ำหน่ายช่องทางใดก็ตาม


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

บรรณานุกรม

ข่าวสด. (2553). “หัวเฉียว” เผยคนกรุง ชอบกินวิตามินอาหารเสริม. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2553, จาก กระปุก เว็บไซต์: http://health.kapook.com/ view6840.html ปริ ย วงศ์ ว านชาตรี . (2544). พฤติ ก รรมของผู ้ ใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต และปั จ จั ย ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ พาณิ ช ย์ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ . ปริ ญ ญานิ พ นธ์ เ ศรษฐศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2553). การใช้อินเทอร์เน็ต ของผูบ้ ริโภคไทย. สืบค้นเมือ่ 25 พฤศจิกายน 2553, จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ เว็บไซต์: http:// www. matichon.co.th/ prachachart ปารียา เรียกบุญใหม่. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การใช้บริการเว็บไซต์ www.freestylegifts. com. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

พุทธิ ศุภโชคพาณิชย์. (2544). การศึกษาพฤติกรรม การบริโภควิตามินและปัจจัยทางการตลาดที่มีต่อ การเลือกซื้อวิตามินของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย. ไพบูลย์ สูงกิจบูลย์. (2545). ปัจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลต่อการใช้ บริการเว็บไซต์แต่ละประเภท ในทัศนะของผูใ้ ช้บริการ อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เว็บไซต์นานานะคะ. (2553). สืบค้นเมือ่ 27 พฤศจิกายน 2553, จากเว็บไซต์: http://www.nananaka.com Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and measurement, 30, 607-610.

Norawan  Burisuit. She earned Master of Bussiness Administration degree in Marketing at Srinakharinwirot University in 2011. Now, she is a Managing Director of Nanacenter Design Co.,Ltd., responsible for design and customer relationship in Thailand and abroad. Dr. Panid  Kulsiri received her Doctoral degree from Chulalongkorn University in the field of International Business. She is a full-time lecturer at Srinakharinwirot University. Her research primarily focuses on consumer behavior and marketing mix factors.

71


ปั

จจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ของคนไทยในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ Factors Affecting Thai People’s Decision Making On Ecotourism in Doi Suthep-Pui National Park Chiang Mai Province นิภาพร นิลรัตน์ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี E-Mail: amp_sapphire@hotmail.com

บทคัดย่อ

72

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ใช้ในการเลือก ท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ (2) เปรียบเทียบ ปัจจัยส่วนบุคคล ที่ใช้ในการเลือกท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ โดยจ�ำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ย ต่อเดือน และภูมลิ ำ� เนา และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการท่องเทีย่ วกับปัจจัยทีใ่ ช้ ในการเลือกท่องเทีย่ วเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ จ�ำนวน 400 คน โดยอาศัยวิธกี ารเก็บรวบรวมข้อมูลโดยก�ำหนดโควตา อาศัยแบบสอบถามทีผ่ า่ นผูเ้ ชีย่ วชาญ ตรวจความเที่ยงตรง และมีค่าความเชื่อมั่น 0.9203 และท�ำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม ส�ำเร็จรูปเพื่อหาค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน (standard deviation) ค่าสถิตทิ ดสอบที (t-test) ค่าทดสอบเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจ�ำแนกทางเดียว (one-way ANOVA) และทดสอบความ แตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s test) การหาค่าความสัมพันธ์ (correlation coefficient) ระหว่างพฤติกรรมการท่องเทีย่ วกับปัจจัยทีม่ ผี ลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเทีย่ วเชิงนิเวศ ของคนไทยในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความ คิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้านเรียงจาก มากไปหาน้อย คือ ด้านสถานที่ท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย ด้านการคมนาคม ด้านสถานที่พัก และด้านข้อมูลข่าวสารตามล�ำดับ (2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือก


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ท่องเทีย่ วเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ เมือ่ จ�ำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ และภูมิล�ำเนา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมือ่ จ�ำแนกตามระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ 0.05 และรายได้เฉลีย่ ต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมการท่องเทีย่ วกับปัจจัยทีม่ ผี ลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเทีย่ วเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยาน แห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า วัตถุประสงค์หลักของการเดินทางมาท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และโอกาสในอนาคตทีจ่ ะกลับมาท่องเทีย่ ว ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ ในทิศทางเดียวกัน โดยที่ จ�ำนวนครั้งของการเดินทางมาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย บุคคลผูร้ ว่ มเดินทางมาท่องเทีย่ ว ระยะเวลาในการท่องเทีย่ ว ช่วงเวลาในการเดินทางท่องเทีย่ ว และ งบประมาณที่ใช้ในการท่องเที่ยว ในภาพรวมไม่มีความสัมพันธ์กัน ค�ำส�ำคัญ: ปัจจัยที่มีผล การตัดสินใจ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คนไทย อุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่

Abstract

The objectives of this research were to (1) study factors affecting Thai people’s decision making on ecotourism in Doi Suthap-Pui National Park, (2) compare the aforementioned factors when the sample was classified with gender, age, marital status, education, occupation, average monthly income and hometown and (3) study a relationship between the tourists’ travelling behavior and the affecting factors on their decision. The sample drawn using a quota sampling was 400 Thai tourists in Doi Suthep-Pui Natinal Park. The instrument used in this research was a questionnaire approved by experts to a reliability of 0.9203. The data were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, one-way ANOVA. Scheffe’s test was used to find a pair comparison and correlation coefficient was used to find a relationship between the tourists’ travelling behavior and the affecting factors on their decision. The findings were as the followings: (1) in overall, the level of factors affecting Thai people’s decision making on ecotourism in Doi Suthep-Pui National Park were rated at a high level. Individually considered, the mean values of factors were ranged in descending order as follows: tourism attraction, safety, transportation, accommodation and information. (2) comparison of the factors affecting Thai people’s decision making showed that their decision was not different at a significance level of .05 when they were different in gender, age, marital status, occupation and hometown. Being different in education and average monthly income, they had different decisions at a significance level of .01 and .001, respectively. (3) Analysis of relationship between the tourists’ travelling

73


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

behavior and the affecting factors on their decision showed that the aspects of ‘main purpose for travelling’ and ‘future opportunity to come again’ were positively related. However, these aspects - number of travelling, number of person travelling together, travelling duration, travelling period, and travelling budget – had no relationship among one another. Keywords: Factors Affecting, Decision Making, Ecotourism, Thai People, National Park Doi Suthep-Pui, Chiang Mai Province บทน�ำ กระแสการท่ อ งเที่ ย วในปั จ จุ บั น ทั่ ว โลกได้ มุ ่ ง สู ่ การท่ อ งเที่ ย วอย่ า งยั่ ง ยื น ที่ ต ระหนั ก ถึ ง การอนุ รั ก ษ์ ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละรั ก ษาสภาพแวดล้ อ ม ซึ่ ง การท่องเทีย่ วเชิงนิเวศ (ecotourism) เป็นการท่องเทีย่ ว ทางเลือกอย่างหนึ่งให้การศึกษาความรู้ควบคู่ไปกับการ พักผ่อน ตลอดจนช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ ชุมชน และกระตุน้ ให้เกิดการอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม ทัง้ ทาง ธรรมชาติ วัฒนธรรมและประเพณีไปพร้อมกันด้วย ซึ่งการจัดงานการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัยใน ภาคเหนือ 2552 (Northern & Adventure Travel Mart 2009) เป็นโอกาสดีของจังหวัดเชียงใหม่ในการที่ จะได้แสดงศักยภาพการเป็นศูนย์กลางของการท่องเทีย่ ว เชิงนิเวศและผจญภัยของภาคเหนือ (วันเสด็จ ถาวรสุข, 2552: 1) การเปลีย่ นแปลงและการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก่อให้เกิดผลกระทบ ด้านลบต่อแหล่งท่องเทีย่ ว ดังจะเห็นได้จากสภาพปัญหา ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยว ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความ นิยมสูงติดอันดับต้นๆ ของประเทศทั้งแหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดย ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ได้แก่ มลภาวะ ขยะ น�ำ้ เสีย ความไม่เป็น ระเบียบต่างๆ การบุกรุกท�ำลายสภาพแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาที่มุ่งผลตอบแทนทางด้าน เศรษฐกิจที่มากเกินไป จึงท�ำให้ขาดความสมดุลในการ พัฒนาทางเศรษฐกิจกับการอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม โดยส่งผล

74

ให้เกิดการพัฒนาทีไ่ ม่ยงั่ ยืน (ฤทัยวัลค์ มโนสา, 2548: 1) การท่องเทีย่ วเชิงนิเวศเป็นรูปแบบหนึง่ ของการท่องเทีย่ ว แบบยัง่ ยืนทีม่ งุ่ เน้นการจัดการรักษาสิง่ แวดล้อมเป็นส�ำคัญ และก� ำ ลั ง เป็ น ที่ นิ ย มกั น อย่ า งแพร่ ห ลายในปั จ จุ บั น เพราะถือเป็นการท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ (alternative tourism) ทีก่ อ่ ให้เกิดความสมดุลแห่งกระแสการพัฒนา การท่องเที่ยวและกระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใน แหล่งท่องเที่ยวควบคู่กันไป จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้อง ช่วยกันสนับสนุนส่งเสริมให้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศนี้ ก่อประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ดังนัน้ การท่องเทีย่ วเชิงนิเวศจึงเป็นสิง่ หนึง่ ที่ น�ำมาใช้เพือ่ พัฒนา ฟืน้ ฟูทรัพยากรท่องเทีย่ วทีเ่ สือ่ มโทรม และรักษาทรัพยากรให้เป็นไปอย่างยัง่ ยืน รวมไปถึงการ ไม่ละเลยศักยภาพของระบบนิเวศ วิถชี วี ติ ภายในท้องถิน่ และพัฒนาท้องถิน่ ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉ บั บ ที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลาย ทางชีวภาพและการสร้างความมัน่ คงของฐานทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม โดยแนวคิดการบริหารจัดการมุ่งสู่การ พัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติทสี่ ำ� คัญ การจัดการสิง่ แวดล้อมและ ควบคุมมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ เพื่อให้ ฐานทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจ�ำกัดยังคงเป็นปัจจัยส�ำคัญ ต่อการด�ำรงชีวติ เป็นพืน้ ฐานของการพึง่ ตนเองและรักษา ขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศเพือ่ การพัฒนา ที่สมดุลและยั่งยืน (บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา, 2548: 269)


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

จังหวัดเชียงใหม่ถูกเลือกให้เป็นเมืองหลักในการ พัฒนาภาคเหนือตอนบน ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ท�ำให้เกิด การขยายตัวอย่างรวดเร็วในด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม การท่องเทีย่ ว ฯลฯ จนกลายเป็นศูนย์กลางความเจริญของ ภาคเหนือ และเป็นจังหวัดทีม่ คี วามส�ำคัญเป็นอันดับสอง รองจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่มีสถานที่ ท่ อ งเที่ ย วที่ น ่ า สนใจมากมาย ซึ่ ง เป็ น ศู น ย์ ร วมของ สถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม ชุมชนเก่าแก่ ตลาดท้องถิน่ (ศุลมี าศ อุปรักขิตานนท์, 2552: 13-14) เชียงใหม่จดั ได้วา่ เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่ส�ำคัญที่สุดของภาคเหนือ และเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ประกอบกับแผนพัฒนา การท่องเทีย่ วของประเทศได้ก�ำหนดให้จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองหลักของการท่องเที่ยวในภาคเหนือ เนื่องจาก เป็ น จั ง หวั ด ที่ มี ค วามอุ ด มสมบู ร ณ์ ไ ปด้ ว ยทรั พ ยากร ทางด้านการท่องเทีย่ วและมีศกั ยภาพด้านการท่องเทีย่ วสูง ทั้งทรัพยากรท่องเที่ยวทางด้านธรรมชาติ ศิลปะและ วัฒนธรรม ที่เป็นจุดดึงดูดให้จ�ำนวนนักท่องเที่ยวของ จังหวัดเชียงใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่จังหวัด เชียงใหม่อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางด้าน ทรัพยากรท่องเที่ยวส่งผลให้จังหวัดเชียงใหม่มีศักยภาพ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศสูงตามไปด้วยเช่นกัน (ชไมพร พรเพ็ญพิพัฒน์, 2548: 118) อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เป็นอุทยานแห่งชาติ ทีจ่ ดั ตัง้ และประกาศตามกฎหมายในปี พ.ศ. 2524 เป็น อุทยานแห่งชาติล�ำดับที่ 24 ของประเทศไทยนับตั้งแต่ รัฐบาลได้เริ่มท�ำการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติตาม กฎหมายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา และจัดได้ว่า เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีคุณค่าและความส�ำคัญต่อชาว เชียงใหม่ เนือ่ งจากตัง้ อยูใ่ กล้ตวั เมืองมากทีส่ ดุ และมีประวัติ ความผูกพันกับเมืองเชียงใหม่มาตัง้ แต่เริม่ ท�ำการเลือกตัง้ พืน้ ทีแ่ ละท�ำการก่อตัง้ เมืองเชียงใหม่มาตัง้ แต่ 700 ปีกอ่ น นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และ เป็นที่เคารพสักการะของคนเชียงใหม่และของคนไทย

ทั้ ง ประเทศ (ชไมพร พรเพ็ ญ พิ พั ฒ น์ , 2548:119) ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ กล่าวว่า สถานการณ์ท่องเที่ยว ช่วงวันหยุดปีใหม่ทผี่ า่ นมา โดยตลอด 4 วัน (31 ธันวาคม 2552 - 3 มกราคม 2553) มีจำ� นวนนักท่องเทีย่ วโทรศัพท์ ถามข้อมูลท่องเที่ยวมากถึง 1 หมื่นราย โดยทุกแหล่ง ท่องเทีย่ วยอดนิยม อาทิ เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต สมุย เป็นต้น จ�ำนวนนักท่องเทีย่ วหนาแน่น อัตราเข้าพักโรงแรม เฉลี่ย ร้อยละ 90 คาดว่า เฉพาะช่วง 4 วัน เงินสะพัด มากถึง 3.2 พันล้านบาท แบ่งเป็น จากนักท่องเที่ยว ต่างชาติ 1.1 พันล้านบาท และ นักท่องเที่ยวคนไทย 2.1 พันล้านบาท ทัง้ นี้ จากจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วทัง้ คนไทย และชาวต่างชาติ ในช่วงเดือนธันวาคม 2552 ทีท่ กุ พืน้ ที่ มีจ�ำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงคาดว่าตลอดปีนักท่องเที่ยว ต่างชาติจะได้ 14 ล้านคน สร้างรายได้เข้าประเทศ 5.05 แสนล้านบาท ส�ำหรับปี 2553 ไม่มีสถานการณ์รุนแรง ที่จะเข้ามากระทบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวคาดว่าจะ สามารถท�ำตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติได้สูงถึง 15.5 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ราวร้อยละ 5 สร้างรายได้ 6 แสนล้านบาท เพิ่มจากเป้าหมายที่การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย (ททท.) ก�ำหนดไว้ในแผนว่าปี 2553 จะมี นักท่องเทีย่ วต่างชาติ 14 ล้านคน รายได้ 5.3 แสนล้านบาท ส่วนตลาดในประเทศ ยังคงเป้าหมายเดิม คือ 90 ล้านคน สร้างรายได้ 4.3 แสนล้านบาท สถานการณ์ด้านการ ท่องเทีย่ วทัง้ ในระดับประเทศในระดับภูมภิ าคนัน้ อยูใ่ นขัน้ ทีไ่ ม่สง่ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมากนัก ถึงแม้จะมีปัจจัยต่างๆ เช่น ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก โรคระบาดจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุใ์ หม่ 2009 ภัยธรรมชาติ และสถานการณ์ทางการเมือง แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบ ต่อการท่องเที่ยวมากนัก และในส่วนของสถานการณ์ การท่ อ งเที่ ย วของจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ แ ม้ ป ั จ จั ย ด้ า น สถานการณ์ทางการเมืองจะส่งผลให้นกั ท่องเทีย่ วต่างชาติ ไม่มั่นใจต่อความปลอดภัย แต่ในส่วนงานทุกภาคส่วน ก็ได้มีการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเพื่อเรียกความเชื่อมั่น จากนักท่องเทีย่ วกลับมา ซึง่ จะเห็นได้จากจ�ำนวนตัวเลข ของนั ก ท่ อ งเที่ ย วทั้ ง ชาวไทยและชาวต่ า งประเทศที่

75


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

เดินทางท่องเที่ยวที่ผ่านมาซึ่งมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ ดีขึ้น (ศูนย์ข่าวเชียงใหม่, 2552: 1) ประเด็นปัญหาต่างๆ ได้แก่ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ โรคระบาดจากไข้ ห วั ด ใหญ่ ส ายพั น ธุ ์ ใ หม่ 2009 ภัยธรรมชาติ และสถานการณ์ทางการเมืองแม้ว่าใน ภาพรวมจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทย มากนัก แต่ได้กระทบให้พฤติกรรมและความต้องการ ของนักท่องเทีย่ วเปลีย่ นไปทัว่ โลกโดยมุง่ สูก่ ารท่องเทีย่ ว เชิงนิเวศ ซึ่งกระแสความนิยมในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตามสภาพแวดล้ อ มอย่ า งธรรมชาติ ที่ เ ห็ น ถึ ง ความ สวยงามและประโยชน์ทไี่ ด้รบั จากธรรมชาติ ซึง่ เกิดจาก สภาพแวดล้ อมตามธรรมชาติ ประกอบด้วย สภาพ ภูมอิ ากาศ ทิวทัศน์ทสี่ วยงามและสัตว์ปา่ ซึง่ นับได้วา่ เป็น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วที่ ป ระสบความส� ำ เร็ จ ในการดึ ง ดู ด นักท่องเที่ยวได้มากที่สุด แต่แหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว เหล่านี้จะต้องได้รับการดูแลและบ�ำรุงรักษาเป็นอย่างดี จากทุกๆ ฝ่าย เนื่องจากนักท่องเที่ยวที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ อาจท�ำลายความสวยงามอันทรงคุณค่าเหล่านี้ลงได้ ท�ำให้ผู้วิจัยมีความสนใจในการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อ การตัดสินใจเลือกท่องเทีย่ วอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ซึ่งจะท�ำให้ทราบถึงความต้องการของนักท่องเที่ยวและ การมีสว่ นร่วมในการรักษาสภาพแวดล้อมในเขตอุทยาน แห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย โดยข้อมูลเหล่านี้สามารถน�ำไป เป็นประโยชน์ต่อการก�ำหนดนโยบายการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืนต่อไป และยังสามารถน�ำไป ปรับใช้กบั อุทยานแห่งชาติอนื่ เช่น เพือ่ ใช้ในการประเมิน ขีดความสามารถของอุทยานแห่งชาติในการรองรับ นักท่องเทีย่ ว การจัดการด้านสถานทีพ่ กั ด้านการให้บริการ ของอุทยาน ด้านความปลอดภัยของนักท่องเทีย่ ว เป็นต้น วิธีด�ำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็น แบบสอบถาม (questionnaire) ประเภทค�ำถามปลายปิด (closed form) ผูว้ จิ ยั ได้สร้างขึน้ มาเพือ่ น�ำไปใช้สำ� หรับ

76

สอบถามเกี่ ย วกั บ ปั จ จั ย ที่ มี ผ ลต่ อ การตั ด สิ น ใจเลื อ ก ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง นิ เวศของคนไทยในอุ ท ยานแห่ ง ชาติ ดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ 1. ผูว้ จิ ยั ได้ศกึ ษาเอกสาร ต�ำรา ทฤษฎี และงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้องภายในประเทศและต่างประเทศ เพือ่ ก�ำหนด ขอบข่ายในการสร้างเครือ่ งมือให้สอดคล้องกับตัวแปรที่ ศึกษา 2. ศึกษาวิธกี ารสร้างแบบสอบถามแบบประมาณค่า (rating scale) จากเอกสารการวิจัยเบื้องต้น 3. สร้ า งแบบสอบถามมาตราส่ ว นประมาณค่ า ฉบับร่างของข้อค�ำถามตามกรอบแนวคิดที่ใช้ในการ ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือก ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง นิ เวศของคนไทยในอุ ท ยานแห่ ง ชาติ ดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ และน�ำไปให้อาจารย์ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะ การหาคุณภาพของเครื่องมือ 1. ขอค�ำแนะน�ำจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ตรวจสอบเครือ่ งมือทีส่ ร้างไว้ และน�ำเสนอเพือ่ พิจารณา ตรวจสอบขั้นต้นจากผู้เชี่ยวชาญ 2. หาความเทีย่ งตรง (validity) โดยน�ำแบบสอบถาม ทีส่ ร้างเสร็จแล้วเสนอต่อประธานและกรรมการทีป่ รึกษา วิ ท ยานิ พ นธ์ เพื่ อ ขอความเห็ น ชอบ และเสนอต่ อ ผูเ้ ชีย่ วชาญจ�ำนวน 3 คน พิจารณาทัง้ ในด้านเนือ้ หาสาระ และโครงสร้างของค�ำถาม ตลอดจนภาษาที่ใช้ และ ตรวจสอบคุณภาพของเครือ่ งมือ จากนัน้ น�ำมาหาค่าดัชนี ความสอดคล้องระหว่างข้อค�ำถามกับเนื้อหา (IOC) (สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์, 2546: 243-244) โดยค่าดัชนี ที่ได้จะต้องมีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.5 ถึง 1.0 3. การหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (reliability) น� ำ แบบสอบถามที่ ป รั บ ปรุ ง แก้ ไขแล้ ว ไปทดสอบใช้ (try out) กับประชาชนที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเขต อุทยานแห่งชาติ ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จ�ำนวน 30 คน ได้ค่าความเชื่อมั่น .9203


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

4. น�ำแบบสอบถามที่ได้รับคืนจากการทดลองใช้ ทุกฉบับมาหาค่าความเชือ่ มัน่ ด้วยวิธกี ารหาค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟ่า (alpha coefficient) ของครอนบาค (สุวรีย์ ศิรโิ ภคาภิรมย์, 2546: 234-235) จะต้องได้คา่ ความเชือ่ มัน่ ไม่ต�่ำกว่าร้อยละ 0.7 และ 5. น�ำแบบสอบถามทีไ่ ด้รบั การปรับปรุงแก้ไข เสนอต่อ อาจารย์ทปี่ รึกษาวิทยานิพนธ์ เพือ่ ขอความเห็นชอบและ จัดพิมพ์แบบสอบถามเป็นฉบับสมบูรณ์ สรุปผลการวิจัย 1. ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพและพฤติกรรมการ ตัดสินใจท่องเทีย่ วของผูต้ อบแบบสอบถาม/กลุม่ ตัวอย่าง 400 คน แบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ ใช้การวิเคราะห์โดยใช้ความถี่ และร้อยละจ�ำแนกข้อมูล ทัว่ ไป พบว่า นักท่องเทีย่ วส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็น ร้อยละ 54.25 ในด้านอายุ พบว่า นักท่องเทีย่ วส่วนใหญ่ มีอายุ 20-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 44.25 โดยที่ด้าน สถานภาพสมรสส่วนใหญ่นกั ท่องเทีย่ วมีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 55.00 ส่วนในด้านระดับการศึกษา นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษา ตอนปลาย/ปวช. คิดเป็นร้อยละ 24.50 ซึง่ นักท่องเทีย่ ว ส่วนใหญ่มอี าชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ คิดเป็น ร้อยละ 42.50 ในขณะที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีรายได้ เฉลีย่ ต่อเดือน 15,001-30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 48.25 และนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีภูมิล�ำเนาอยู่ในภาคเหนือ คิดเป็นร้อยละ 38.25 และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่มวี ตั ถุประสงค์หลักของการเดินทางมาท่องเทีย่ ว อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยเพื่อพักผ่อน คิดเป็น ร้อยละ 69.25 จ�ำนวนครัง้ ของการเดินทางมาท่องเทีย่ ว อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เคยมาแล้ว 2-3 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 43.75 บุคคลผู้ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยว มากับครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 57.50 ระยะเวลาในการ ท่องเที่ยว 2-3 วัน คิดเป็นร้อยละ 56.75 ช่วงเวลา ในการเดินทางท่องเทีย่ ว วันหยุดราชการ (เสาร์-อาทิตย์) คิดเป็นร้อยละ 50.50 โอกาสในอนาคตที่จะกลับมา

ท่องเที่ยวกลับมาแน่นอน คิดเป็นร้อยละ 82.25 และ งบประมาณทีใ่ ช้ในการท่องเทีย่ วจ�ำนวน 5,001-10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 48.25 ตามล�ำดับ 2. ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นปัจจัยที่ใช้ ในการเลือกท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยาน แห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ จ�ำนวน 5 ด้าน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีปัจจัยรายด้าน ซึ่งเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ด้านสถานที่ท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย ด้านการคมนาคม ด้านสถานที่พัก ภาพรวมอยูใ่ นระดับมาก และด้านข้อมูลข่าวสาร ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 2.1 ด้านสถานที่ท่องเที่ยว พบว่า โดยภาพรวม อยูใ่ น ระดับมาก ได้แก่ สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วมีความสวยงาม ทางธรรมชาติและมีบรรยากาศดี มีความหลากหลายของ พืชพรรณและสัตว์ป่า และ บริเวณสถานที่ท่องเที่ยว มีความสะอาด ซึง่ เหมาะกับนักท่องเทีย่ วทีช่ อบธรรมชาติ ในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2.2 ด้านการคมนาคม พบว่า โดยภาพรวมอยูใ่ น ระดับมาก ได้แก่ การเดินทางสะดวกสบาย มีป้าย บอกทางชัดเจน และระยะเวลาในการเดินทางมีความ เหมาะสม 2.3 ด้านความปลอดภัย พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ได้แก่ มาตรการรักษาความปลอดภัย ทีม่ ปี ระสิทธิภาพ มีความปลอดภัยต่อชีวติ และทรัพย์สนิ และมีศูนย์ช่วยเหลือและให้บริการนักท่องเที่ยว 2.4 ด้านสถานที่พัก พบว่า โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ได้แก่ สถานที่พักหาง่าย สถานที่พักมีความ สะอาด และ สถานที่พักมีราคาที่เหมาะสม 2.5 ด้านข้อมูลข่าวสาร พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับ ปานกลาง ได้แก่ ได้รับข้อมูลข่าวสารด้าน การท่องเที่ยวโดยการแนะน�ำจากบุคคลที่เคยไปเที่ยว ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวจากอินเทอร์เน็ต และได้รบั ข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเทีย่ วจากแผ่นพับ/ ป้ายโฆษณา ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวจาก ส�ำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

77


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

3. การเปรียบเทียบความแตกต่าง ค่าเฉลี่ยปัจจัย ส่วนบุคคลทีม่ ผี ลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเทีย่ วเชิงนิเวศ ของคนไทยในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัด เชียงใหม่ ตามสถานภาพทั่วไปของนักท่องเที่ยว โดย จ�ำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชี พ รายได้ เ ฉลี่ ย ต่ อ เดื อ น และภู มิ ล� ำ เนา ได้ ผ ล การศึกษาดังต่อไปนี้ 3.1 จ�ำแนกตามเพศ จ�ำแนกตามอายุ จ�ำแนกตาม สถานภาพสมรส จ�ำแนกตามอาชีพ จ�ำแนกตามภูมลิ ำ� เนา พบว่า ในภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 จึงไม่สอดคล้องกับสมมติฐานตั้งไว้ และ 3.2 จ�ำแนกตามระดับการศึกษา จ�ำแนกตาม รายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ในภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ 0.05 จึงสอดคล้องกับ สมมติฐานตั้งไว้ 4. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม การท่ อ งเที่ ย วกั บ ปั จ จั ย ที่ มี ผ ลต่ อ การตั ด สิ น ใจเลื อ ก ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง นิ เวศของคนไทยในอุ ท ยานแห่ ง ชาติ ดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า วัตถุประสงค์หลัก ของการเดินทางมาท่องเทีย่ วอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย พบว่า ด้านภาพรวม โดยมีความสัมพันธ์กันต�่ำ และใน ทิศทางตรงกันข้าม ไม่มคี วามสัมพันธ์กนั ทีร่ ะดับนัยส�ำคัญ ทางสถิติ และโอกาสในอนาคตที่จะกลับมาท่องเที่ยว พบว่า มีความสัมพันธ์กันต�่ำ และในทิศทางตรงกันข้าม มีความสัมพันธ์กนั ทีร่ ะดับนัยส�ำคัญทางสถิติ 0.05 โดยที่ จ�ำนวนครัง้ ของการเดินทางมาท่องเทีย่ วอุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย พบว่า มีความสัมพันธ์กนั ต�ำ่ และในทิศทาง เดียวกัน มีความสัมพันธ์กนั ทีร่ ะดับนัยส�ำคัญทางสถิติ 0.05 บุคคลผูร้ ว่ มเดินทางมาท่องเทีย่ ว พบว่า มีความสัมพันธ์ กันต�่ำ และในทิศทางเดียวกัน ไม่มีความสัมพันธ์กัน ที่ระดับนัยส�ำคัญทางสถิติ ระยะเวลาในการท่องเที่ยว พบว่า มีความสัมพันธ์กนั ต�ำ่ และในทิศทางเดียวกัน ไม่มี ความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยส�ำคัญทางสถิติ ช่วงเวลา ในการเดินทางท่องเที่ยว พบว่า มีความสัมพันธ์กันต�่ำ และในทิศทางเดียวกัน ไม่มีความสัมพันธ์กันที่ระดับ

78

นัยส�ำคัญทางสถิติ และงบประมาณทีใ่ ช้ในการท่องเทีย่ ว พบว่า มีความสัมพันธ์กนั ต�ำ่ และในทิศทางเดียวกัน ไม่มี ความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยส�ำคัญทางสถิติ อภิปรายผล 1. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ใช้ในการ เลือกท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคนไทยในอุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ จ�ำนวน 5 ด้าน พบว่า ในภาพรวมนั ก ท่ อ งเที่ ย วมี ค วามสนใจและตั ด สิ น ใจ มาเทีย่ วเป็นจ�ำนวนมากโดยมีองค์ประกอบในหลายๆ ด้าน เช่น สถานที่ท่องเที่ยว การคมนาคม ความปลอดภัย ในการท่องเที่ยว สถานที่พักแรม และข้อมูลข่าวสาร ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ (ธิดารัตน์ คีรี, 2548: 54) ได้ศกึ ษาเรือ่ ง ปัจจัยทีม่ ผี ลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเทีย่ ว อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พบว่า นักท่องเที่ยวให้ระดับ การตัดสินใจอยูใ่ นระดับมาก ระดับความคิดเห็นเกีย่ วกับ ปัจจัยที่ใช้ในการเลือกท่องเที่ยวเชิงนิเวศของคนไทย ในอุ ท ยานแห่ ง ชาติ ด อยสุ เ ทพ-ปุ ย จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1.1 ด้านสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว พบว่า สถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว มีความสวยงามทางธรรมชาติและมีบรรยากาศดี มีความ หลากหลายของพืชพรรณและสัตว์ปา่ และ บริเวณสถานที่ ท่องเทีย่ วมีความสะอาดซึง่ เหมาะกับนักท่องเทีย่ วทีช่ อบ ธรรมชาติในการท่องเทีย่ วเชิงนิเวศ ซึง่ มีความหลากหลาย ของพืชพรรณและสัตว์ป่าที่หาดูได้ยาก ท�ำให้มีความ เพลิดเพลินในการชื่นชมพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่มีความสมบูรณ์ 1.2 ด้ า นการคมนาคม พบว่ า การเดิ น ทาง สะดวกสบาย มีป้ายบอกทางชัดเจน และระยะเวลา ในการเดินทางมีความเหมาะสมซึ่งมีเส้นทางการศึกษา ธรรมชาติของนักท่องเทีย่ ว ณ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพปุย มีเส้นทางเดินป่า และเส้นทางขับรถ เพื่อใช้ในการ ศึกษาและชื่นชมความงามธรรมชาติอยู่มากมาย ท�ำให้ มีความสะดวกต่อการเดินทางท่องเทีย่ วของนักท่องเทีย่ ว 1.3 ด้านความปลอดภัย พบว่า การมีมาตรการ รักษาความปลอดภัยของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ทีม่ ปี ระสิทธิภาพ มีความปลอดภัยต่อชีวติ ทรัพย์สนิ และ


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

มีศูนย์ช่วยเหลือและให้บริการนักท่องเที่ยว จึงท�ำให้ นักท่องเที่ยวมีความมั่นใจต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทางธรรมชาติที่มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ท�ำให้นกั ท่องเทีย่ วตัดสินใจมาท่องเทีย่ วอุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ-ปุย 1.4 ด้านสถานที่พัก พบว่า บริเวณของอุทยาน แห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย สถานที่พักหาง่าย สถานที่พักมี ความสะอาด และสถานทีพ่ กั มีราคาทีเ่ หมาะสม สถานทีพ่ กั เป็นปัจจัยที่ส�ำคัญต่อการท่องเที่ยวซึ่งนักท่องเที่ยวมา เที่ยวชมธรรมชาตินนั้ มีความต้องการค้างคืน เพือ่ ชืน่ ชม ธรรมชาติยามเช้า และสถานที่พักในการมาท่องเที่ยว เชิงนิเวศนัน้ มีเป็นจ�ำนวนมากและเพียงพอต่อการรองรับ นักท่องเที่ยว ท�ำให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเดินทางมา เที่ยวกันเป็นจ�ำนวนมาก 1.5 ด้านข้อมูลข่าวสาร พบว่า การได้รับข้อมูล ข่าวสารด้านการท่องเที่ยวโดยการแนะน�ำจากบุคคลที่ เคยไปเที่ยว ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวจาก อินเทอร์เน็ต และได้รบั ข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเทีย่ ว จากแผ่นพับ/ป้ายโฆษณา ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการ ท่องเที่ยวจากส�ำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ด้านข้อมูลข่าวสารอยูใ่ นระดับปานกลางเนือ่ งจากข้อมูล ข่าวสารในการประชาสัมพันธ์ในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จาก วิทยุ โทรทัศน์ยังมี น้อยมาก ท�ำให้นกั ท่องเทีย่ วได้รบั ข้อมูลข่าวสารไม่เพียงพอ 2. การเปรียบเทียบความแตกต่าง ค่าเฉลีย่ ปัจจัยที่ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเทีย่ วเชิงนิเวศของคนไทย ในอุ ท ยานแห่ ง ชาติ ด อยสุ เ ทพ-ปุ ย จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ โดยจ� ำ แนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดั บ การศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และภูมิล�ำเนา ได้ผลการศึกษาดังต่อไปนี้ เพศ พบว่า เพศชายและ เพศหญิงมีการตัดสินใจท่องเที่ยวไม่แตกต่างกันอย่างมี นัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อายุ พบว่า ช่วงอายุ ในแต่ละช่วงมีการตัดสินใจท่องเที่ยวไม่แตกต่างกัน อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ 0.05 สถานภาพสมรส พบว่า สถานภาพแต่ละสถานภาพมีการตัดสินใจท่องเทีย่ ว ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

อาชีพ พบว่า อาชีพในหลายๆ อาชีพมีการตัดสินใจ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และตามภูมิล�ำเนา พบว่า ภูมิล�ำเนาของนักท่องเที่ยว ท�ำให้การตัดสินใจท่องเทีย่ วไม่แตกต่างกันอย่างมีนยั ส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระดับการศึกษา พบว่า ระดับ การศึกษาท�ำให้นกั ท่องเทีย่ วตัดสินใจแตกต่างกันอย่างมี นัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า รายได้ของนักท่องเที่ยวมีส่วนในการตัดสินใจ ท่องเที่ยวแตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม การท่ อ งเที่ ย วกั บ ปั จ จั ย ที่ มี ผ ลต่ อ การตั ด สิ น ใจเลื อ ก ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง นิ เวศของคนไทยในอุ ท ยานแห่ ง ชาติ ดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า วัตถุประสงค์หลัก ของการเดินทางมาท่องเทีย่ วอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย พบว่า ด้านภาพรวม (r=-0.097) โดยมีความสัมพันธ์กนั ต�ำ่ และในทิศทางตรงกันข้าม ไม่มีความสัมพันธ์กันที่ระดับ นัยส�ำคัญทางสถิติ และโอกาสในอนาคตที่จะกลับมา ท่องเที่ยว พบว่า ด้านภาพรวม (r=-0.189) โดยมีความ สัมพันธ์กนั ต�ำ่ และในทิศทางตรงกันข้าม มีความสัมพันธ์ กันทีร่ ะดับนัยส�ำคัญทางสถิติ 0.05 โดยทีจ่ ำ� นวนครัง้ ของ การเดินทางมาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย พบว่า ด้านภาพรวม (r=0.124) โดยมีความสัมพันธ์กนั ต�่ำ และในทิศทางเดียวกัน มีความสัมพันธ์กนั ทีร่ ะดับนัยส�ำคัญ ทางสถิติ 0.05 บุคคลผู้ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยว พบว่า ด้านภาพรวม (r=0.005) โดยมีความสัมพันธ์กนั ต�ำ่ และ ในทิศทางเดียวกัน ไม่มคี วามสัมพันธ์กนั ทีร่ ะดับนัยส�ำคัญ ทางสถิติ ระยะเวลาในการท่องเทีย่ ว พบว่า ด้านภาพรวม (r=0.079) โดยมีความสัมพันธ์กันต�่ำ และในทิศทาง เดียวกัน ไม่มคี วามสัมพันธ์กนั ทีร่ ะดับนัยส�ำคัญทางสถิติ ช่วงเวลาในการเดินทางท่องเที่ยว พบว่า ด้านภาพรวม (r=0.019) โดยมีความสัมพันธ์กันต�่ำ และในทิศทาง เดียวกัน ไม่มคี วามสัมพันธ์กนั ทีร่ ะดับนัยส�ำคัญทางสถิติ และงบประมาณทีใ่ ช้ในการท่องเทีย่ ว พบว่า ด้านภาพรวม (r=0.066) โดยมีความสัมพันธ์กันต�่ำ และในทิศทาง เดียวกัน ไม่มคี วามสัมพันธ์กนั ทีร่ ะดับนัยส�ำคัญทางสถิติ

79


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ซึง่ สอดคล้องกับงานวิจยั ของ (นงลักษณ์ อยูเ่ ย็นดี, 2546: บทคัดย่อ) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความขอบ ในการเข้าร่วมกิจกรรมโฮมสเตย์ ของนักท่องเทีย่ วชาวไทย ผลการวิจัยพบว่า มีความสัมพันธ์กับความชอบของ นักท่องเที่ยวชาวไทยในการเข้าร่วมกิจกรรมโฮมสเตย์ คือแรงจูงใจทางด้านความสะดวกสบายในการเดินทาง เข้าถึงแหล่งท่องเทีย่ ว แรงจูงใจทางด้านการศึกษาวิถชี วี ติ และวัฒนธรรม แรงจูงใจทางด้านความปลอดภัยของ แหล่งท่องเทีย่ ว กิจกรรมท่องเทีย่ วและแรงจูงใจทางด้าน ความสะดวกสบายของทีพ่ กั และสิง่ อ�ำนวยความสะดวก โดยแรงจูงใจทัง้ หมดก่อให้เกิดความผันแปรในตัวแปรตาม คือความชอบของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเข้าร่วม กิจกรรมโฮมสเตย์ ร้อยละ 24.8 และแรงจูงใจทีม่ อี ทิ ธิพล มากที่สุดคือแรงจูงใจทางด้านการศึกษาวิถีชีวิตและ วัฒนธรรม ด้วยค่าสัมประสิทธิก์ ารถดถอยทีป่ รับเป็นค่า มาตรฐานแล้ว (beta) เท่ากับ .246

บรรณานุกรม

ชไมพร พรเพ็ญพิพัฒน์. (2548). พระธาตุดอยสุเทพ มรดกไทยล้านนา. กรุงเทพฯ: ที เจ เจ. ธิดารัตน์ คีร.ี (2548). ปัจจัยทีม่ ผี ลต่อการตัดสินใจเลือก ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ เทพสตรี.

นงลักษณ์ อยูเ่ ย็นดี. (2546). ปัจจัยทีม่ คี วามสัมพันธ์กบั ความชอบในการเข้าร่วมกิจกรรมโฮมสเตย์ของ นักท่องเที่ยวชาวไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยว แบบยั่งยืน . กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย. ฤทัยวัลค์ มโนสา. (2548). แนวความคิดในการจัดการ การท่องเทีย่ วเชิงอนุรกั ษ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วันเสด็จ ถาวรสุข. (2552). สถานการณ์ทอ่ งเทีย่ วเชียงใหม่. สืบค้นเมือ่ 30 ธันวาคม 2552, จาก ผูจ้ ดั การออนไลน์ เว็บไซต์: http://www.manger.co.th/Local/ ViewNewsaspx?NewsID=9520000107164 ศุลมี าศ อุปรักขิตานนท์. (2552). welove chiangmai เที่ยวเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: คอมฟอร์ม. ศูนย์ข่าวเชียงใหม่. (2552). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยว เชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2552, จาก Thaiblog เว็บไซต์: http://www. thaiblognews. com สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

Nipaporn Nilrat earned Master of Business Administration in 2011 and Bachelor of Business Administration in 2007 from Thepsatri Rajabhat University, Thailand.

80


金的《家》《春》《秋》与西巫拉帕的《以罪斗争》 女性形象比较研究

ศึกษาเปรียบเทียบภาพลักษณ์สตรีในวรรณกรรม เรือ่ ง “บ้าน”“ฤดูใบไม้ผลิ” “ฤดูใบไม้รว่ ง” ของปาจิน และ “ผจญบาป” ของศรีบูรพา A Comparative Study Images of Women Literature Among “The Family” “Spring” “Autumn” and “Struggle Amidst Sins” ภัทรวดี ตรัยที่พึ่ง อาจารย์ประจำ�สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม E-mail: naylovephan@hotmail.com 摘要 中国现代作家巴金《家》、《春》、《秋》与泰国现代文学奠基人、作家西巫拉 帕(古腊·柿巴立的笔名)《以罪斗争》中同样塑造了悲剧女性形象。这些女性 形象,让读者在为其感到惋惜哀痛的同时,更能深入地揭示造成这些悲剧的社会 环境,家族势力,身份地位以及人物性格对作品中悲剧女性的多重影响因素。 本文把巴金的《家》、《春》、《秋》与西巫拉帕的《以罪斗争》的不同的女性 形象进行对比分析,并从中分析小说中的女性形象的共性与特性,从文学作品中 把握这几个女性 的文学形象,揭示文学作品中这几个女性悲剧形象反映的思想意 识,伦理道德,传统思想和 封建礼教对她们人生命运的影响。 关键词:巴金;西巫拉帕;家;以罪斗争;春天;秋天

81


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

บทคัดย่อ

ปาจินนักเขียนสมัยใหม่ของจีนและศรีบูรพานักเขียนผู้วางรากฐานวรรณคดีสมัยใหม่ของไทย ต่างได้สร้างภาพลักษณ์สตรีแนวโศกนาฏกรรมทีเ่ หมือนกัน กล่าวคือภาพลักษณ์สตรีในเรือ่ ง “บ้าน” “ฤดูใบไม้ผลิ” “ฤดูใบไม้รว่ ง” และภาพลักษณ์สตรีในเรือ่ ง “ผจญบาป” ภาพลักษณ์ของสตรีเหล่านี้ ได้สร้างความสะเทือนใจอย่างมากแก่ผู้อ่าน อีกทั้งยังสามารถเผยให้เห็นปัจจัยส�ำคัญที่ส่งผลต่อ โศกนาฏกรรมของตัวละครหญิงนัน้ ได้อย่างลึกซึง้ เช่น สภาพแวดล้อมทางสังคม อิทธิพลจากครอบครัว ฐานะทางสังคมและลักษณะนิสัยของตัวละครเป็นต้น บทวิจัยนี้เป็นการน�ำวรรณกรรมเรื่อง “บ้าน” “ฤดูใบไม้ผลิ” “ฤดูใบไม้ร่วง” ของปาจิน และ “ผจญบาป” ของศรีบูรพา มาวิเคราะห์เปรียบเทียบภาพลักษณ์สตรี วิเคราะห์ความเหมือนและ ข้อเด่นของภาพลักษณ์สตรีในนวนิยายดังกล่าวโดยหยิบยกภาพลักษณ์ทางวรรณคดีของสตรีจากผลงาน เผยให้เห็นถึงโศกนาฏกรรมของตัวละครหญิงที่สะท้อนแนวคิด จริยธรรม คตินิยม ศีลธรรมจรรยา ทางชนชั้น ค�ำส�ำคัญ: ปาจิน ศรีบูรพา บ้าน ผจญบาป ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูใบไม้ร่วง

Abstract

Bajin’s writers of modern China and Sriburapha’s writers who laid the foundation of modern Thai literature. Women have a different look along the same tragedy. Is the image of women in the “The Family” , “Spring” , “Autumn” and the image of women in “Struggle Amidst Sins” image of these women had contributed greatly to the reader side. It also can reveal important factors affecting the tragedy of the female characters have depth, such as the social environment. Influenced by family Social position and habits of the characters and so on. This research is the literature on “The Family” “Spring” “Autumn” by Bajin’s, and “Struggle Amidst Sins” is a comparative analysis of Sriburapha’s image. Analyze the similarities and the predominance of women in the novel image, the image put forward by the literature of women’s work. Reveals the tragic episode of the female character that reflects the concept of ideology, ethics and morality classes. Keywords: Bajin, Sriburapha, The Family, Struggle Amidst Sins, Spring, Autumn

82


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

绪论 本文将对中国现代作家巴金与泰国现代文 学奠基人、作家西巫拉帕(古腊·柿巴立)以 及他们的作品《家》、《春》、《秋》与《以 罪斗争》中的悲剧女性形象进行比较。 在《家》、《春》、《秋》中,巴金成功 地塑造了三种不同类型的悲剧女性形象。以琴 为代表的知识女性,为了追求自己的爱情与幸 福,毅然与封建家庭和封建社会决裂,离家出 走,走上了革命道路;以瑞珏、梅为代表的大 家闺秀,忍辱负重,不思反抗,成了封建家庭 和封建社会的牺牲品;以鸣凤为代表的下层奴 婢女性,在大胆追求理想爱情与幸福时,反抗 不彻底,成了封建社会的陪葬品。 而在《以罪斗争》中,西巫拉帕用抒情的 手法刻画了泰国悲剧女性的形象。西巫拉帕 成功地塑造了两种不同类型的悲剧女性形象。 以婉鹏为代表的知识女性,虽然她生活在封建 的家庭中,但为了追求自己的爱情与幸福,她 敢与命运做出抗争;以妍为代表的下层奴婢女 性,在大胆追求理想爱情与幸福时,她与爱的 人属于两个截然不 同的阶级,成了封建社会 的陪葬品。 本文的目的和意义在于比较分析这两部作 品中女性悲剧命运的异同,揭示在不同文化 和社会的背景下,在封建礼教,传统思想和旧 的社会伦理道德的束缚和影响下这两个不同女 性的不同遭遇,以及产生悲剧性的社会种种原 因。 “五四”风暴,使巴金的思想受到震动和 鼓舞,同时激发了他对于新文学的兴趣。1931 年,巴金把全部精力贡献在文学创作上,正式 献身文学创作。此时的巴金已抛弃了无政府主 义信仰,以自己生活过近二十年的封建大家庭 为素材,把多年来积蓄已久的对于不合理的制 度的愤怒在《家》这部作品中表现出来。《 家》之后还有两个续篇:《春》和《秋》,共 三部,内容是通过一个大家庭的没落和分化来 写封建宗法制度的崩溃和革命潮流在青年一代 中的激荡。作者以很大的激情对封建势力进行 揭露,歌颂了青年知识分子的觉醒、抗争、以 及与这种家庭的决裂。对题材的熟悉和作者感 受的深切,使这部作品获得强烈的感染力量。 在对青年进行反封建的启蒙教育方面。同一时 期的泰国1932年资产阶级维新政变的前夕,泰 国文坛上出现了一批倾向现实主义和浪漫主义

的青年作家。西巫拉帕受西方作家的影响,努 力打破传统的旧形象,摒弃以王公贵族的生活 为题材的传统,直接取材于现实生活,这种反 映现实,从不同角度反映泰国社会新思想与旧 思想、新一代与老一代,表达自己明确的思想 的政治理想。1934年,发表了《以罪斗争》, 他用笔写出了他所看到的黑暗现实,也倾泄了 他不平的心声,围绕着反封建斗争的主题,深 刻地揭露了封建社会和婚姻制度的腐败与黑 暗。

《家》、《春》、《秋》与 《以罪斗争》中女性形象的比较 一、女性人物的命运 中国作家巴金的代表作是《激流三部曲》, 包括《家》、《春》、《秋》三部。《激流 三部曲》表现出了“五四”运动后中国社会、 政治的巨大变化和各阶层人物的思想面貌。在 《家》中,巴金以自己生活过十九年的封建大 家庭为素材,围绕着反封建斗争的主题,通过 以觉慧为代表的新一代青年与以高老太爷为代 表的封建腐朽旧势力的激烈斗争,反映了当时 的社会面貌,深刻地揭露了封建社会和家族制 度的腐败与黑暗,控诉和揭示了封建大家族和 封建旧礼教、旧道德的罪恶以及吃人本质,并 且揭示了其必然灭亡的历史命运。在巴金的作 品中,他在以悲戚的笔触把真、善、美处以无 情的否定与毁灭的同时,也把伟大的悲剧之精 神呈现出来,《家》便是这种典型之作。作者 正是通过梅、瑞珏、鸣凤等青年女性的悲剧命 运, 来深究到广阔的社会人生, 从而揭示社会 的黑暗,他曾经说过: “我写梅,写瑞珏,写鸣凤,我心里充 满了同情、悲愤和怜惜。”1 在《家》中,阴柔忧郁的梅,只得放弃了 她以前的理想与追求,承认了自己的苦难是 命中注定的,在感伤与泪眼中死去;善良贤 惠的瑞珏,却成为了封建大家庭中勾心斗角与 封建迷信“避血光之灾”的牺牲品;而美丽、 可爱的鸣凤,由于已伸向自己的封建魔爪无力 1 巴金,巴金选集

第十卷[M],人民文学出版社,145页。

83


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

回天,只能以投湖自尽来表明自己的清白与抗 争。梅、瑞珏、鸣凤仅是在那一时代中女性的 一个缩影。她们的悲剧命运,也只是那个时代 中国女性悲剧命运的一个代表。从她们缩影式 的悲剧中所反映出来的正是一部封建礼制对妇 女残害的血泪史,也是这种礼教必将趋向衰亡 的泯灭史。 在《家》中,梅是一个美丽善良的才女及 富家小姐,与觉新从小青竹马,两情相说。 本来她与觉新的婚事是可以有幸福美满的结果 的,但因封建家长内部在“父母之命,媒妁之 言”的封建婚姻制度迫害下,她开始了悲剧的 命运,小说中梅跟瑞珏表白地说: “大表嫂,你误会了。”梅说着又马上 更正道:“其实我何必瞒你。……是我们 的母亲把我们分开的。这大概是命中注定 的罢,我跟他的缘分竟是这样浅。……你 走开,又有什么用?我同他今生是不能在 一起的了。……你还年轻,而我在心情上 已经衰老了。……你不看见我额上的皱 纹?它会告诉你我经历了多少人世的酸 辛。……我已经走上了飘落的路。你还是 在开花结果的时节。2 梅的母亲把她嫁给了别人,可一年之后,她 又丧了配偶,成为“青年居孀”。于是,她又 只好回到了曾经扼杀了她幸福的母亲家中。过 着“尼姑庵式”的贞洁守寡生活,她整日以泪 洗脸,忧郁成疾,身子一日不如一日,“从一 而终”地在封建礼教中死去。 瑞珏与梅一样,都是出生在封建大户人 家。她与觉新的婚姻,是属于父母之命,媒 妁之言的门当户对式封建传统婚姻。瑞珏如 同高明的《琵琶记》中的赵五娘一样,是一位 传统的封建妇女的楷模,她是典型的贤妻良母 型的女性。她关心体贴觉新,对于觉新与梅之 间的感情悲剧,她能理解与忍让,并对这一对 曾经沧海的恋人表现出极大的同情。同时,瑞 珏对于高家的老老少少,表现出极大的和睦与 友善。她不嫉妒,不怨恨,处处为他人着想, 有自我牺牲精神,从而赢得高家老少的欢心。 瑞珏可以说是按照封建礼教的俗套调教出来的 传统的妇女,她是传统美德的象征。按理说, 2 巴金,家[M],人民文学出版社,198页。

84

这种封建“妇德妇容”的规格下调教出来的产 品,在封建的大家庭是最应得到尊敬的。然 而,事与愿违,黑暗的罪恶的魔爪同样狠毒 的伸向她,把她无情的毁灭了。她是长房长 她是长房长孙觉新的妻子。“长房长孙”的地 位早已被陈姨太等人所嫉恨,加之觉新的母亲 周氏与四房的王氏、五房的沈氏关系不好,所 以,这一切的怨恨都落到了觉新的身上。当“ 山雨欲来风满楼”时期来临时,他们便以“避 血光之灾”,借口瑞珏的“生产”会与高老太 爷的刚刚死去产生冲突,把瑞珏赶到城外的一 间破房子去生产,结果由于生产的环境条件太 差,而使瑞珏难产而死。瑞珏的死看似是偶然 的,实际上是早已注定了的。她的过分善良与 贤惠,放松了对陈姨太等卑鄙小人的防范。古 云“人善被欺,马善被骑”。她的善良倒给她 的悲剧结局增加了几分重量。“避血光之灾” 只是一个封建迷信的借口而已。实质上,她的 死是封建家庭内部相互斗争、勾心斗角的牺牲 品。即使没有“避血光之灾”的借口,陈姨太 他们也会伺机找其它借口,向她伸向罪恶的魔 爪。瑞珏的死是一种传统美德被毁灭的悲剧, 她的死较之梅的死,更具有控诉性与讽刺性, 起到了强烈的批判效果。 作者还描写了鸣凤的悲剧命运,鸣凤出生 在一个贫苦的家庭,她一落地就注定了她的阶 级地位与被欺凌压迫的地位。她在九岁那年, 便被一个面目凶恶的中年妇女带到高公馆当了 丫头。从此,她便成为高公馆里的一个婢女, 开始了她备受欺凌的生活。她在与三少爷觉慧 的接触中,萌发了爱情。她发自内心的爱着高 觉慧。然而,她与觉慧属于两个截然不同的阶 级,一个是公子,一个是婢女。这种跨越阶级 的爱,本身就是一种对自己身份与地位的叛 逆,注定了是要毁灭的,也注定了此种爱的本 身就是一种悲剧。布拉德曾在《黑格尔悲剧理 论》中说:悲剧是“一个不幸的事件或苦难的 故事”。这种事件与故事是有价值、有意义或 进步的。然而他们的结局都是不幸与苦难的。 在这里,鸣凤能大胆突破阶级地位的界线,勇 敢地爱上高家三少爷,无疑是值得我们赞扬 的,可她的这种叛逆的爱又是如何的徒劳与多 余。在那种封建等级观念深重的社会中,达官 贵人的婚姻,都要讲究门当户对,或是高攀而 上。而绝对不会允许觉慧对阶级地位不顾的爱 情,更不要谈有什么婚姻结果。鸣凤被高老太


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

爷送给老朽冯乐山当老婆,鸣凤的悲惨意识日 益加深,鸣凤自我表白地说: “我的生存就是这样地孤寂吗?”她想 着,她的心里充满着无处倾诉的哀怨。泪 珠又一次迷糊了她的眼睛。她觉得自己没 有力量支持了,便坐下去,坐在地上。3 作为一个叛逆者,她的思想中有强烈的反 抗意识与斗争精神,可作为一个十六岁的少 女,无论凭学识还是个人力量,都无力抗击这 种剥夺她与觉慧爱情之恶毒的进攻。找不到一 条与之抗争或自我解救的道路,而为了使自己 神圣的爱情不被玷污,为了自己做人的尊严, 她别无选择,第一次以平等的身份呼唤着“觉 慧”的名字而投湖自尽。只有这样,才能表达 她对爱情的忠诚。 可见,鸣凤的悲剧命运更具有深刻的意 义,她是一个作为圣洁美丽的审美主体遭到无 情毁灭的悲剧;她是一个忧郁苦闷的灵魂得不 到解脱。在巴金《家》中所塑造的女性形象除 了梅、瑞珏及鸣凤以外,还有婉儿悲剧命运。 众所周知,《春》是《家》的继续,继高公馆 三少爷觉慧逃离大家庭,追求自由之后,又掀 起了一场二小姐淑英反抗不自主婚姻的战争, 当然这都是在暗地里进行的。《春》的主线索 是淑英的父亲高克明——继高老太爷之后高家 的大家长即封建家长制的代表,一个道学家, 决定与陈家结亲,将女儿许给陈家二少爷,并 不顾其道德品行如何。淑英从此对人生绝望, 甚至出现了走鸣凤一样的道路的念头,小说中 是这样描写的: 她想:做父亲的心就这么狠?她又是 恨,又是悲。她再想到自己的前途,便看 见阴云满天,连一线阳光也没有。觉民昨 天说的那些话这时渐渐地在褪色。代替它 们的却是一些疑问。她仿佛看见了横在自 己前面的那许多障碍。她绝望了。她觉得 自己只是一只笼中的小鸟,永远没有希望 飞到自由的天空中去。她愈往下想,愈感 到没有办法。她并不哭,她的眼泪似乎已 经干枯了。4 3 巴金,家[M],人民文学出版社,231页。 4 巴金,春[M],人民文学出版社,228页。

但又在大哥觉新,二哥觉民,堂姐琴—— 她的启蒙者与家庭教师陈剑云——她的爱慕 者等的帮助下,成功逃到上海三哥处,进入新 式学堂学习,感受新的春天。副线则是周家大 小姐蕙的婚姻悲剧,她被迂腐的父亲许配给郑 家,从此在高门大宅内走上了生命的绝路,陨 殁在婚后的第一个寒冬里,至死也没有唤起父 亲的悔悟。文中主线与副线形成鲜明的对比, 喜剧与悲剧的对比,淑英的命运与蕙的命运的 对比,同为大家闺秀,在压迫面前,选择不同 的态度与方法对待,就有了不同的结局。当 然,蕙是孤立无援的,而淑英有着众多的支持 者,这才有了最后的胜利。蕙的死亡给了淑英 强烈的刺激,更激起了她的反抗之心,她绝不 愿自己步蕙的后尘,因此饥渴的接受新思想, 学习新知识,为日后的离开做准备。主线与副 线相互交替推进情节的发展。 然而《以罪斗争》在结构上却与《家》、 《春》、《秋》有着非常大的差异,《家》、 《春》、《秋》塑造了众多的女性形象,而《 以罪斗争》主要的形象只有两个人。《家》、 《春》、《秋》是以简单明快、环环相扣的讲 故事方式进行叙事,《以罪斗争》虽然也有叙 事,但情节却没有《家》、《春》、《秋》的 复杂,而且运用了大量的议论和说明来进行描 写。在《以罪斗争》中,西巫拉帕叙事内容在 于揭露社会的黑暗面,描写了两个不幸的女子 形象——婉鹏和妍。这两个女子虽然社会地位 不同,性格也有很大的差异,但在封建思想的 迫害下却遭遇到了相同的悲剧命运。通过对这 两个女子的悲惨遭遇的描写,进一步控诉了对 贵族阶层以及包办婚姻的痛恨、对自由幸福生 活的渴望,以及一些不幸的丫环的命运。 婉鹏是一个美丽的有钱人家小姐,忧郁的 人,因为父母的命令只得放弃了她以前的理 想与追求,不得不承认了自己的苦难是命中注 定的。婉鹏与梅一样,婉鹏与玛怒,在感情的 触须中,互相有着爱慕之情。他们更是大胆相 爱,追求“恋爱自由”、“婚姻自由”,他们 双双倾吐了自己的爱慕。可这一切,都因为婉 鹏的母亲不喜欢玛怒,而把他们童贞圣洁的爱 情扼杀了。婉鹏的母亲把她嫁给了玛纳(玛怒 的哥哥),是属于父母之命,媒妁之言的门当 户对式封建传统婚姻。婚后她“总算没有一点 应得的幸福,更没有得到爱情”,小说中是这 样描写的:

85


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

她想,“我该在玛怒的拥抱,而不是 在这位哲人的无情的视线里”,这样的前 景让她想到很多,但爱玛纳是绝对不可能 的,然而玛纳却说:“虽然互相没有爱 情,却还是有一点幸福的”,这样的生活 让婉鹏感到很复杂,她对这样的生活很疲 惫。她两人的生活半害怕半怀疑,终于对 生活感到了绝望。5 婚后她整日以泪洗脸,她关心体贴玛纳, 但心里却只有玛怒。幸运的是一年之后她的配 偶离家出走了,让玛怒和婉鹏在了一起。 作者还描写了妍的悲剧命运,妍出生在一 个贫苦的家庭,她一落地就注定了她的阶级与 被欺凌压迫的地位。她在十一岁那年,便被一 个中年妇女带到马哈沙漠迪家庭当了丫头。妍 这个可爱的少女,虽然聪明、美丽、善良,但 她是个丫头,这就注定了她那全部悲剧性的命 运。她爱玛纳,但在他们中间有一堵不可逾越 的高墙,这就是那个封建家庭,玛纳所出身的 那个阶级。本身就是一种对自己身份与地位的 叛逆,注定了是要毁灭的,也注定了此种爱的 本身就是一种悲剧。后来妍跟玛纳有孕,但她 很爱玛纳,为了使自己神圣的爱情不被玷污, 不想给玛纳一个不良的形象,小说中是这样描 写的: “请不要骂我,我很爱你,我可以为你 做每一件事情,我的爱情不需要你任何报 答,无论你爱不爱我,甚至是讨厌我,我 都无所谓,我只是想让你知道我深爱着你 的心。”6

而终”得在遭受封建礼教中死去,然而婉鹏; 作者给她安排了一个比较顺利的遭遇,使她胜 利地得到爱情,最后她可以跟玛怒在一起。还 有鸣凤的命运与妍的命运也有相似,她们是丫 头,她们出生在一个贫苦的家庭,她们一落地 就注定了她们的阶级地位与被欺凌压迫的地 位。她们对截然不同阶级的公子有着爱慕之 情,她们遭受不幸的命运,遭遇到了相同的悲 剧,她们有着相同的结局不能与爱的人结婚, 在她们思想上,只要爱的人幸福,她们就满足 了,在《家》与《以罪斗争》中是这样描写 的: 他是不能够到她这里来的。永远有 一堵墙隔开他们两个人。他是属于另一 个环境的。他有他的前途,他有他的事 业。她不能够拉住他,她不能够妨碍 他,她不能够把他永远拉在她的身边。 她应该放弃他。他的存在比她的更重 要。她不能让他牺牲他的一切来救她。 她应该去了,在他的生活里她应该永久 地去了。她这样想 着,就定下了最后的 决心。她又感到一阵心痛。她紧紧地按 住了胸膛。她依旧坐在那里,她用留恋 的眼光看着黑暗中的一切。她还在想。 她所想的只是他一个人。她想着,脸上 时时浮出凄凉的微笑,但是眼睛里还有 泪珠。最后她懒洋洋地站起来,用极其 温柔而凄楚的声音叫了两声:“三少 爷,觉慧”便纵身往湖里一跳。7 “请不要骂我,我很爱你,我可以为你 做每一件事情,我的爱情不需要你任何报 答,无论你爱不爱我,甚至是讨厌我,我 都无所谓,我只是想让你知道我深爱着你 的心”8

她不想玛纳被社会责骂,所以她撒谎说跟 她有孕的是玛怒。她说的谎话造成了她内心的 痛苦,让她整日以泪洗脸。 在《家》、《春》、《秋》与《以罪斗 争》中女性人物的命运,梅的命运与婉鹏的 命运有多多少少的相似,她们两个被父亲许 给她们不爱的人,她们极力想挣脱不幸的命 运。她们遭受到了不幸的命运,遭遇到了相同 的悲剧,让她们绝望。但两个人有着不同的结 局。梅忧郁成疾,身子一日不如一日,“从一

对巴金笔下的梅和西巫拉帕笔下的婉鹏来 说,是两个悲剧命运相同的女性,不管是生 活在20世纪30年代深受中国儒家传统思想的影 响,还是生活在泰国深受佛教思想影响,她们 在自己的爱情和婚姻中都有着一种悲情意识。 这种悲情意识是她们生活上的悲情,家庭上的 悲情,爱情上的悲情和婚姻上的悲情在其人生

5 西巫拉帕,以罪斗争[M],民意出版社,166页。

7 巴金,家[M],人民文学出版社,231页。

6 西巫拉帕,以罪斗争[M],民意出版社,140页。

8 西巫拉帕,以罪斗争[M],民意出版社,140页。

86


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

中的一个集中反映。 从当时中国封建社会和泰国君主立宪社会 这个大环境来看,封建礼教,包办婚姻,传 统思想,伦理道德,等级观念,是造成小说中 所反映的梅和婉鹏在爱情和婚姻上悲剧的多种 因素。这些社会因素是笼罩在梅和婉鹏头上的 一个不可摆脱的精神枷锁。梅的悲情是在当时 封建礼教,不平等的社会制度,封建传统思想 等多种因素下产生的。梅的母亲把她嫁给了别 人,没有自由恋爱和婚姻自由,可一年之后, 她又丧了配偶,成为“青年居孀”,这是她在 恋爱婚姻上的悲情。于是,她又只好回到了 曾经扼杀了她幸福的母亲家中。过着“尼姑庵 式”的贞洁守寡生活,她整日以泪洗脸,忧郁 成疾,身子一日不如一日,“从一而终”地在 遭受封建礼教中死去。婉鹏也跟梅一样,她与 玛怒,在感情的触须中,互相有着爱慕之情。 他们更是大胆相爱,追求“恋爱自由”、“婚 姻自由”,他们双双倾吐了自己的爱慕。可这 一切,都因为婉鹏的母亲不喜欢玛怒,而把他 们童贞圣洁的爱情扼杀了。婉鹏的母亲把她嫁 给了玛纳(玛怒的哥哥),是属于父母之命, 媒妁之言的门当户对式封建传统婚姻。婚后 她“总算没有一点应得的幸福,更没有得到 爱情”,这是她在恋爱婚姻上的悲情。可见婉 鹏与梅的悲情命运是相同的。对生活在泰国的 婉鹏来说,婚后她的悲情命运与梅不同,如果 说婉鹏在婚后多少还是带着对爱情的追求和一 点“喜情”嫁到玛纳家的话,那么梅嫁给别人 不是觉新,可以说没有一点“喜情”,而是充 满了无奈的悲情。她们的结局也不同,在西巫 拉帕笔下的女性角色,她可以争夺自由结局可 以跟她爱的人在一起,但是梅遭受封建礼教中 死去。最大的婚姻悲剧都集中在了“梅”的身 上,从她身上,我们可以看到封建婚姻制度对 青年一代婚姻自由的压迫与扼杀。 而巴金笔下的鸣凤和西巫拉帕笔下的妍, 也是两个悲剧命运相同的女性。在小说中, 她们出生在一个贫苦的家庭,她们一落地就 注定了她们的阶级地位与被欺凌压迫的地位。 鸣凤,她的悲剧命运是她被高老太爷送给老朽 冯乐山当老婆,她不想去,因为她很爱觉慧, 然而他们的结局都是不幸与苦难的,她投湖自 杀。妍,她爱玛纳,但在他们中间有一堵不可 逾越的高墙,这就是那个封建家庭,玛纳所出 身的那个阶级。她与玛纳属于两个截然不同的

阶级,一个是公子,一个是婢女,不可以让他 们一起在。她们的悲剧命运都是对封建家庭夺 取了爱情自由。虽然最后她们没有跟爱的人在 一起,但是她们找到了真正的爱情,有了她们 爱的人。 所以不论是在中国还是泰国,巴金笔下与 西巫拉帕笔下的女性角色都充满了悲情命运的 色彩。两地的封建主义制度都毫不留情的摧残 着这个时代女性的身心思想,造就了一出出惨 痛人心的生活悲剧。让人们不禁为这些美丽的 女性感到惋惜哀痛的同时,更激发起这个时代 有良知的人们对黑暗制度的奋勇反抗。

二、家族势力与女性地位 在巴金的《激流三部曲》中,女性的地位 可以分开两种的地位,一个是高贵的女性,另 一个是下层的女性。在小说中,女性的悲剧同 样也发生在处于高贵女性与下层女性地位的小 姐们的身上。在人类社会的历史进程中,女性 的地位远不及男性,中国封建社会更是一个男 尊女卑的社会。这种社会制度下,女性的命运 是逃脱不了封建礼教制度的魔掌的。女人只是 性感的尤物,男人的附属品,这不仅成为几千 年封建专制的法定法规,而且作为传统文化意 识的积淀,也渗透在女性的深层意识中,成为女 性心理定势,铸成女性人格的深层意识。 在小说中,梅是一个高贵的女性,她出生 在一个有钱的封建家庭,她对封建家庭夺取了 爱情自由,在小说描写的是梅与表兄觉新的爱 情纠葛,几乎贯穿《家》的始终,梅同觉新自幼 青梅竹马,早就心心相印地相爱着,即使用旧的 婚姻标准来衡量,他们也是非常合适的一对。 但因为双方母亲在牌桌上闹了意见,两个年轻 人的爱情便轻而易举地被断送了。这绝非仅仅 指两位母亲的意气相争,它体现着几千年来“ 父母之命,媒妁之言”的强大威力。梅后来正 是按照“天经地义”的旧礼教嫁给了一个不认 识的男人,更为不幸的是她又青年居孀,最后只 好回到亲手扼杀了自己的青春和爱情、顽固的 母亲身边,过着尼姑庵式的孤寂生活。最终她 忧郁成疾,凄惨地死去。小说中表现了她没有 追求爱的权利的地位。 在小说描写瑞珏是出生在封建大户人家。 她也对封建家庭夺取了爱情自由,她与觉新的 婚姻,是属于父母之命,媒妁之言的门当户对 式封建传统婚姻。瑞珏可以说是按照封建礼教

87


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

的俗套调教出来的传统的妇女,她是传统美德 的象征。按理说,这种封建“妇德妇容”的规 格下调教出来的产品,在封建的大家庭是最应 得到敬的。然而,事与愿违,黑暗的罪恶的魔 爪同样狠毒的伸向她,把她无情的毁灭了。她 是长房长孙“觉新”的妻子。“长房长孙”的 地位早已被陈姨太等人所嫉恨。加之觉新的母 亲周氏与四房的王氏、五房的沈氏关系不好, 所以,这一切的怨恨都落到了觉新的身上。 当“山雨欲来风满楼”时期来临时,他们便 以“避血光之灾”,借口瑞珏的“生产”会与 高老太爷的刚刚死去产生冲突,把瑞珏赶到城 外的一间破房子去生产,结果由于生产的环境 条件太差,而使瑞珏难产而死。瑞珏的死看似 是偶然的,实际上是早已注定了的。她的过份 善良与贤惠,其放松了对陈姨太等卑鄙小人的 防范。古云“人善被欺,马善被骑”。她的善 良倒给她的悲剧结局增加了几分重量。“避血 光之灾”只是一个封建迷信的借口而已。实质 上,她的死是封建家庭内部相互斗争、勾心斗 角的牺牲品。小说中表现了她没有婚姻自由的 权利的地位,也被封建家庭的迷信让她死去。 小说中作者把琴塑造成一位才女及富家小 姐、因为她接受教育、接受新思想就敢于反抗 封建礼教,她还自己主动要求到觉慧的学校去 学习。她向往自由平等、大胆追求个性解放。 她主张男女应同校,男女应平等。虽然遭到母 亲等的反对,但她还是成功了。她与觉民大胆 恋爱,努力追求婚姻自由。 作者还描写鸣凤,鸣凤出生在一个贫苦的 家庭,她一落地就注定了她的阶级地位与被 欺凌压迫的地位。她在与三少爷觉慧的接触 中,萌发了爱情。她发自内心的爱着高觉慧。 然而,她与觉慧属于两个截然不同的阶级,一 个是公子,一个是婢女。这种跨越阶级的爱, 本身就是一种对自己身份与地位的叛逆,注定 了是要毁灭的,也注定了此种爱的本身就是一 种悲剧。鸣凤被高老太爷送给老朽冯乐山当老 婆,鸣凤的悲惨意识日益加深,她的思想中有 强烈的反抗意识与斗争精神,可作为一个十六 岁的少女,无论凭学识还是个人力量,都无力 抗击这种剥夺她与觉慧爱情之恶毒的进攻。找 不到一条与之抗争或自我解救的道路,而为了 使自己神圣的爱情不被玷污,为了自己做人的 尊严,她别无选择,第一次以平等的身份呼唤 着“觉慧”的名字而投湖自尽。小说中表现了

88

她没有恋爱自由的权利的地位,也被封建家庭 的压迫让她死去。 在西巫拉帕的《以罪斗争》中,女性的地 位可以分开两种的地位,一个是高贵的女性, 另一个是下层的女性。在小说中,女性的悲剧 同样也发生在处于高贵女性与下层女性地位的 小姐们的身上。她们对封建家庭夺取了自由婚 姻、自由爱情。婉鹏是一个美丽的有钱人家小 姐,因为父母的命令只得放弃了她以前的理想 与追求,不得不承认了自己的苦难是命中注定 的。婉鹏与梅一样,婉鹏与玛怒,在感情的触 须中,互相有着爱慕之情。他们更是大胆相 爱,追求“恋爱自由”、“婚姻自由”,他们 双双倾吐了自己的爱慕。可这一切,都因为婉 鹏的母亲不喜欢玛怒,而把他们童贞圣洁的爱 情扼杀了。婉鹏的母亲把她嫁给了玛纳(玛怒 的哥哥),是属于父母之命,媒妁之言的门当 户对式封建传统婚姻。婚后她“总算没有一点 应得的幸福,更没有得到爱情”。因为她接受 教育、教授新思想就敢于对命运做出抗争,寻 找自己的幸福,跟玛怒重新开始。小说中表现 了她没有婚姻自由的权利的地位,也对封建家 庭夺取了自己的幸福。 妍出生在一个贫苦的家庭,她一落地就注 定了她的阶级地位与被欺凌压迫的地位。她爱 玛纳,但在他们中间有一堵不可逾越的高墙, 这就是那个封建家庭,玛纳所出身的那个阶 级。本身就是一种对自己身份与地位的叛逆, 注定了是要毁灭的,也注定了此种爱的本身就 是一种悲剧。她没有接受教育因为他是一个丫 头,是下层的女性就被封建家庭欺凌压迫的地 位。 通过以上,我们看到巴金笔下和西巫拉帕 笔下的家族势力与女性地位的相同。在他们 笔下女性的地位可以分开两种的地位,一个是 高贵的女性,另一个是下层的女性。可见女性 的地位远不及男性中国封建社会更是一个男尊 女卑的社会。在小说中,高贵的女性能够接受 教育,但是在下层的女性没有能够接受教育。 而且不论是高贵的女性还是下层的女性都对封 建家庭夺取了恋爱自由和婚姻自由,也被封建 家庭欺凌压迫的地位。家族势力对她们很大影 响,鸣凤被封建家庭压迫地死去、梅被忧郁成 疾,凄惨地死去、瑞珏被封建家庭的迷信地死 去,全部都是家族势力的行动。


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

结语 巴金的《家》、《春》、《秋》和西巫拉 帕的《以罪斗争》是两部反映女性文学的佳 作。一部出自中国作家巴金之手,一部是出自 泰国作家西巫拉帕之笔。在他们的小说中各自 反映了中国和泰国三十年代的悲情女性形象。 由于巴金与西巫拉帕所处的不同社会环境,不 同语言特色,不同文化背景和各自的人生经 历,使他们在文学作品中展现出不同的创作背 景。巴金的《家》、《春》、《秋》和西巫拉 帕的《以罪斗争》,分别向读者展示作品中女 性形象。她们的形象主要表现以下两个方面: ——女性人物的命运 ——家族势力与女性地位 从巴金三部小说的整个故事来看,女性的悲剧 命运可以大致可分为三个: 一是在饱受封建礼教的摧残中死去。 二是被“父母之命,媒妁之言”的封建婚 姻制度迫害下。 三是人们截然不同的阶级。 在巴金的小说中读者可以看到,梅、瑞 珏、鸣凤仅是在那一时代中女性的一个缩影。 她们的悲剧命运,也只是那个时代中国女性悲 剧命运的一个代表。与西巫拉帕相同,在西巫 拉帕的小说中读者也可以看到,婉鹏和妍的悲 剧命运,婉鹏被“父母之命,媒妁之言”的封 建婚姻制度迫害下。妍出生在一个贫苦的 家庭,她一落地就注定了她的阶级地位与被欺 凌压迫的地位。她对截然不同阶级的公子有着

爱慕之情,她遭受不幸的命运,遭遇到了悲剧 命运。 所以不论是在中国还是泰国,巴金笔下与 西巫拉帕笔下的女性角色都充满了悲情命运的 色彩。两地的封建主义制度都毫不留情的摧残 着这个时代女性的身心思想。 从巴金三部小说的整个故事来看,女性的 地位可以大致可分为两种: 一是高贵的女性。 二是下层的女性。 在巴金的小说中,女性的悲剧同样也发生 在处于高贵女性与下层女性地位的小姐们的身 上。在人类社会的历史进程中,女性的地位远 不及男性,中国封建社会更是一个男尊女卑的 社会。与西巫拉帕相同,在他们笔下女性的地 位可以分开两种的地位,一个是高贵的女性, 另一个是下层的女性,高贵的女性能够接受教 育,但是在下层的女性没有能够接受教育。而 且不论是高贵的女性还是下层的女性都对封建 家庭夺取了恋爱自由和婚姻自由。也被封建家 庭欺凌压迫的地位。

参考文献 1. 巴金.家[M].北京:人民文学出版社,2009. 2. 巴金.春[M].北京:人民文学出版社,2010. 3. 巴金.巴金选集 第十卷[M].北京:人民文学出社,2009. 4. 西巫拉帕.以罪斗争[M].曼谷:民意出版社,2005. 5. 孙 云 宽 . 黑 格 尔 悲 剧 理 论 研 究 [ M ] . 上 海 : 上 海 三 联 书 店,2010

Pattarawadee Traiteephung received her Master of Arts (Modern and Contemporary Chinese Literature) in 2011 from Huachiew Chalermprakiet University, Thailand and Bachelor of Arts (Chinese) in 2009 from Suan Sunandha Rajabhat University, Thailand. Pattarawadee Traiteephung is currently a Chinese Teacher of Faculty of Humanities and Social Sciences, Chandrakasem Rajabhat University. Her research interest covers Chinese and Modern and Contemporary Chinese Literature.

89


E

ntrepreneurial Management in Government and Business as a Path toward Innovation and Democracy. การจัดการอย่างเป็นผู้ประกอบการในภาครัฐและ ภาคเอกชนกับเส้นทางสู่การพัฒนานวัตกรรมและ ประชาธิปไตย Winaicharn Sapparojpattana Lecturer in Faculty of Business Administration Panyapiwat Institute of Management E-Mail: winaicharnsap@pim.ac.th

Abstract

Public and private organizations alike are social institutions under the same economic dynamism and the current of globalization. Public sector has learned how to do things right from private counterpart while business administration is learning how to do right things from public administration. From historical, economic and behavioral perspectives, this paper explores entrepreneurial management enacted in large corporations and in governments worldwide in the context of process, structure, culture and leadership. Its distinctive limitations and possible improvements within both sectors are then examined. The key sustainable success factors found from several theoretical frameworks to this managerial and structural convergence of entrepreneurship in public and private organizations include the similar path of accountability and transparency in their new social architectures. Keywords: Entrepreneurial Spirit, Economic Value, Public Value, Accountability, Transparency, Sustainability, Leadership.

90


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

บทคัดย่อ

องค์การของรัฐและของเอกชนต่างก็เป็นสถาบันทางสังคมภายใต้พลวัตทางเศรษฐกิจและกระแส โลกาภิวัตน์ องค์การในภาครัฐได้เรียนรู้แนวการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานจากองค์การ ในภาคเอกชน ซึ่งก็ก�ำลังศึกษาการสร้างประโยชน์เพื่อส่วนรวมจากการบริหารรัฐกิจเช่นเดียวกัน บทความนีอ้ าศัยการวิเคราะห์เชิงประวัตศิ าสตร์ เศรษฐศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์ ท�ำความเข้าใจ กระบวนการ โครงสร้างองค์กร วัฒนธรรม และภาวะผู้น�ำในการบริหารอย่างเป็นผู้ประกอบการ ที่ด�ำรงคงอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่และในหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลทั่วโลก โดยมุ่งตรวจสอบถึง ข้อจ�ำกัดของแนวคิดทางทฤษฎีและความเป็นไปได้ที่จะปรับปรุงการปฏิบัติตามรูปแบบของการ จัดการอย่างเป็นผูป้ ระกอบการในภาครัฐและภาคเอกชนจากการทบทวนวรรณกรรมทีห่ ลากหลาย ได้คน้ พบว่า แนวทางร่วมกันในการบริหารงานและการจัดองค์การตามอย่างการเป็นผูป้ ระกอบการ ในองค์การของรัฐและของเอกชนนั้นสามารถมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้ ทั้งนี้ด้วยการวางรูปแบบ ความสัมพันธ์ทางสังคมใหม่ภายในองค์กรที่มีความพร้อมรับผิดชอบและมีความโปร่งใสอยู่เสมอ ค�ำส�ำคัญ: จิตวิญญาณของผู้ประกอบการ มูลค่าทางเศรษฐกิจ คุณค่าเพื่อส่วนรวม ความพร้อมรับผิดชอบ ความโปร่งใส ความยั่งยืน ภาวะผู้น�ำ

This paper is my comprehensive literature review on entrepreneurial management. I am going to examine three main conceptual skeptics. First, if entrepreneurship can be adapted fruitfully and systematically in large public and private organizations. Second, if the ultimate purpose of public and private organizations may be shared practically. And finally, and most importantly, if this shared purpose will be achieved strategically and operationally by entrepreneurial management. The beginning is devoted to the evolution of entrepreneurship in human history so that the grass root development of entrepreneurship will be understood. Understanding enterprise The enterprising practices were already developed as early as the second millennium BC. Scholars believe that Assyrian and Babylonian

tamkarum “merchants” created novel commercial strategies to manage estates and provision the palace and its armed forces. Most enterprising individuals were drawn from the bottom ranks of the social scale. They were able to accumulate fortunes of their own, they aspired to high status and prestige by sinking their money into land and obtaining public office. [Landes et. al., 2010, pages 9-10]. The trade was clearly organized via a great number of large kinship-based groups, called ‘houses,’ as similar to ‘firms.’ These houses ‘venturing’, i.e. all shipments were sent aboard without the sender being guaranteed a certain price for them in advance, far-flung trade with Asia Minor in the nineteenth century BC. The individualistic spirit of Greece and Rome was primarily a military and increasingly oligarchic ethic of status and prestige. It relied on conquest and

91


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

moneylending as the main sources of gain, disdaining profit-seeking commerce. [Ibid, pages 30-31]. By the third and fourth centuries AD; all fortunes dependent on loans, notes, mortgages, and such forms of investment were practically wiped out. Entrepreneurial ventures mainly from commerce are both economic and social driven growth. According to Max Weber’s The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism (initially published in 1904-5 in German) and Richard Tawney’s (1880-1962) Religion and the Rise of Capitalism (published in 1926), the precedent change in both religion and social ethos itself had been proved to be a socioeconomic revolution in making highly individualistic and intensely competitive capitalist entrepreneurship, successful entrepreneurs, not just socially acceptable, but socially meritorious certainly by the mid-seventeenth century with the establishment of the Church of England. [Ibid, page 136]. This implies whether the supply of entrepreneurship was exogenous culturally. In the opposite, the entrepreneurship responds to incentives and opportunities and is thus endogenous to other factors particularly some social and political institutions. In case of Britain in the eighteenth century, the institutional developments were on the whole more conductive to entrepreneurship than elsewhere. Britain provided opportunities for successful entrepreneurs to have a better chance at reaching financial and social success, and was able to attract a number of highly creative and successful entrepreneurs from abroad to

92

complement the supply of local talent. [Ibid, pages 183 – 185]. Therefore, the financial and political supporting factors encouraged the growing supply entrepreneurship into the world with the different demands of new economic resources from every land on earth. However, sustained economic growth proper did not start until the second quarter of the nineteenth century. In Britain, more than anywhere else, technological innovation was mostly confined to the private sector, with the state remaining more in the background than elsewhere in Europe. The high quality of workmanship available to support grand ideas, both local and imported, helped create the Industrial Revolution. The result was, above all, the growth of a small but significant economic elite that carried the Industrial Revolution. [Ibid, pages 186-187]. On one hand, the supply of these entrepreneurs was in part determined by the payoffs to various alternative activities. What is significant in the decades before the Industrial Revolution is the growth of a set of social norms that, beyond the formal ‘rule of law’ and explicit penalties for opportunistic behavior, made entrepreneurial activities in Britain more attractive. These norms may be called the culture of the gentleman-entrepreneur. The word gentleman has taken on two rather inconsistent meanings. One of them is a member of the landowning gentry, a person of leisure and civic duties, with no mercenary interests, without an occupation, and therefore honorable and believable. It used to be


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

thought that a ‘gentleman’s mentality’ was anti-entrepreneurial, that economic activities were looked at with disdain and discouraged, that nouveaux riches (the new rich people) were a butt of derision by the real aristocrats. The other meaning at first blush means the reverse. By 1700, the concept of gentility was becoming less one of class than one wealth, acquired by commercial and industrial means as much as form landownership. By the middle of the eighteenth century, before the Industrial Revolution, the idea of a gentleman implies certain behavioral codes that signaled that a person was trustworthy. The economics of the culture of gentleman-entrepreneurs has in the past decade been formalized with ‘social capital,’ the cooperation between two mutually trusting agents produces not only a private good, but also an externality or network effect for the entire population. [Ibid, pages 188-189]. This led entrepreneurship spread out on various informal endeavors in society, and so set entrepreneurial culture even engrained deeper in these private lives. Britain witnessed an unprecedented blossoming of voluntary organizations, from scientific academies to drinking clubs, which created networks that supported market activity. In addition, recent scholars contend that the British entrepreneurs in this era diversified networks to some noncore ventures and various informal institutions. Businessmen of different religious backgrounds and political convictions were working together in the boardrooms. They had no problem cooperating in developing

local infrastructures, and contributed to charitable works, cultural patronage and voluntary subscriptions. Such social networks were essential if markets were to exist and contracts to be honored. For one thing, it reduced risk. [Ibid, page 191-192]. With stronger establishment of both formal public and private institutions, the pace of the growth of entrepreneurship was rigid and rapid during the eighteenth and the nineteenth centuries. As the nineteenth century progressed, formal law and third-party enforcement slowly but certainly replaced reputation mechanisms and gentlemanly codes of behavior. It was the price of progress. The new industrialists needed to deal with an ever-growing number of people at arm’s length in a market context: suppliers, creditors, subcontractors, employees, customers, and consultants. Access to useful knowledge and best-practice technology became increasingly important, and contracts became more and more complex. [Ibid, page 193]. If the logic of the 1930s had been focused on science-based innovation - to invent new products that would get the economy going again, the logic of the period after World War II was to optimize output from existing plants. Process modification were required to meet unforeseen levels of demand and to bring costs down, especially in consumer goods, and product invention took a back seat to process development. Exceptions in the civilian economy were for products that were funded by government programs aimed at improving living standards for, and the productivity of, returning

93


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

servicemen. For two decades (1950-70) 70 percent of the U.S. workforce was employed by large enterprises serving the relatively predictable needs of other large corporations and the mass consumers. When so much existed for existing products, there was no risk-averse condition to invest new ones, an irrational phenomenon known as self-obsolescence. However, the market for innovation was inexhaustible for federal government and especially military. The co-evolution of administrative government, university and private industry during World War II came together through a newly funded system of organized intermediaries in peacetime. [Ibid, pages 412-413]. In the context of continuous defense preparedness and the rapidly expanding federal government of the Cold War, the nature of government procurement created narrower, more technology-focused opportunities for individuals and corporate entrepreneurship than had in the earlier part of the century. Among the designated technologies, computers and computer-based technologies, collectively known as information technology, extended across all boundaries. While early uses of computers were primarily for missile development, within a decade computer technology had found broader and more mundane uses, filling data centers in government bureaus and large enterprises alike, as well as providing automated controls for manufacturing processes. This ultimately led to a vast web of technologies, systems, and practices as called systematic management that had developed in the first

94

half of the twentieth century. [Ibid, page 415]. Peter F. Drucker declared in Innovation and Entrepreneurship (first published in 1985) that “Management is the new technology that is making the American economy into an entrepreneurial economy.” [Drucker, 1993, page 17]. He contended that roots of the practice of management line in the time around World War I. By late 1930s, there were a few major enterprises around – at the time mostly businesses – that practices management in the U.S. But the management as a discipline originated during and right after World War II. Beginning around 1955, the entire developed world experienced a management boom. The social technology we call management was first presented to the general public some forty years ago, and then rapidly became a discipline with every single developed nation becoming a society of organizations. The emergence of the entrepreneurial economy worldwide is as much a cultural and psychological as it is an economic or technological event. Yet whatever the causes, the effects are above all economic ones. He further argued that the vehicle of this profound change in attitudes, values, and above all in behavior is a technology. [Ibid, pages 14-15]. Innovation, to Drucker, is “the specific tool of entrepreneurs, the means by which they exploit change as an organization for a different business or a different service. It is capable of being presented as a discipline, capable of being learned, capable of being practiced. Entrepreneurs need to search purposefully for


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

the sources of innovation, the changes and their symptoms that include opportunities for successful innovation. And they need to know and to apply the principles of successful innovation.” [Ibid, page 19]. Founding entrepreneurs in the first place systemize the technical information to increase performance and later systemize the process for speed and standard. [Ibid, page 22]. With the assertion that innovation, indeed, creates a resource, Drucker referred to Joseph Schumpeter’s The Theory of Economic Dynamics (published in 1911) and supported the notion that dynamic disequilibrium brought on by the innovating entrepreneur, rather than equilibrium and optimization, is the ‘norm’ of a healthy economy and the central reality for economic theory and economic practice. [Ibid, pages 30, 27]. In this regard, he strongly argued that entrepreneurship was considerably less risky than optimization and that nothing could be risky as optimizing resources in areas where the proper and profitable course is innovation that is where the opportunities for innovation already exist. To him, “entrepreneurship is ‘risky’ mainly because so few of the so-called entrepreneurs know what they are doing.” “They lack the methodology. They violate elementary and well-known rules. It does indeed, however, to be systematic. It needs to be managed. Above all, it needs to be based on purposeful innovation.” [Ibid, pages 28-29]. In practice, Drucker proposed, “the entrepreneurial requires different management from the existing. But like the existing it requires

systematic, organized, purposeful management. And while the ground rules are the same for every entrepreneurial organization, the existing business, the public-service institution, and the new venture present different challenges, have different problems, and have to guard against different degenerative tendencies. There is need also for individual entrepreneurs to face up to decisions regarding their own roles and their own commitments.” [Ibid, page 141]. Just as entrepreneurship requires entrepreneurial management, that is, practices and policies within the enterprise, so it requires practices and policies outside, in the marketplace. It requires entrepreneurial strategies. [Ibid, page 206]. Regardless of what entrepreneurial organizations are, Drucker pointed out four core entrepreneurial strategies as: - Being fustest with the mostest; - Hitting them where they ain’t; - Finding and occupying a specialized “ecology niche”; and - Changing the economic characteristics of a product, a market, or an industry. He further guided that one and the same entrepreneurs often combined, sometimes even elements of three, in one strategy. They are also always sharply differentiated. Each fits certain kinds of innovation and does not fit others. Each requires specific behavior on the part of entrepreneur. Finally, each has its own limitations and carries its own risks. [Ibid, page 209]. Entrepreneurship is not only an affair of small incubated enterprise but it also is an

95


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

affluence of larger and more complex business organization. This notion is supported by Kumar and Haran (2006, pages 1-3) as: in medium and large organizations, entrepreneurial style and practice get reflected in organizational structure, decision-making process, and management. Small business entrepreneurs find economic values in existing or newly explored sources. With limited resources they seek to innovate and to survive in marketplace and sooner or later in competition. Entrepreneurs of larger businesses have to prioritize their strategic resources to maintain market share and position. Although the resources are literally not limited, their strategic position and some strong rivalries restrict the way the large firm exploits them. In other words, large corporation needs to innovate relentlessly to left up profitability rate so fast that it covers up a greater rate of financial obligations. “No longer does company size mater; being resource rich is hardly a guarantee of marketplace performance.” [Morris et. al., 2008, page 7.] Hence, the intrapreneurship with a high contribution of personal efforts and individual initiatives is an essence in managing strategies and operations of any larger businesses. Both small and larger business companies require entrepreneurial spirit cultivated among their managers and all employees. Entrepreneurial spirit is far from those of bossy characters or those living luxuriously with lots of slave labor. Instead entrepreneurial spirit is within a person’s courageous heart in doing all good deeds, never giving up easily, relentless

96

without an utter of complaining; honesty soul in every accountable act personally and socially [Winaicharn Sapparojapattana, 2007, page 30.]; and open mind for life-long learning and all criticisms for continuous improvement. Entrepreneurs live and act purposefully. They do not like risk but learn to go through unavoidable risk. To do something new, entrepreneurs cannot run away from uncertainties and so have to innovate for new economic and social value: new products, new markets and new resources. “Entrepreneurship is the process of creating value by bringing together a unique combination of resources to exploit opportunities,” (Joarillo-Mossi (1986) in Morris et. al., 2008, page 10.) rather than only defending against threats. Kao et. al. (2006, page 22) supported to notion of entrepreneurship as a process. According to them, “entrepreneurship is the process of doing something new (creative) and/or something different (innovative) for the purpose of creating wealth for the individual and adding value to society. The world, without entrepreneurs, could be different today. Corporate entrepreneurship In the twenty-first century corporate entrepreneurship has increasingly been recognized as a legitimate path to high levels of organizational performance. As Morris et. al. contended, this is because “companies are experiencing a general lack of long-run control over their external environment.” Continuous innovation and an ability to continuously redefine the competitive marketplace are among personal


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

skills and corporate capabilities that enhance higher economic performance and achieve sustainable competitive advantage. Such competitive edge must derive from the five core capabilities: adaptability, flexibility, speed, proactiveness, and innovativeness. These five company capabilities come down to one – entrepreneurship. (Ibid, page 6-9.)

Morris et. al. further identified the distinct functions between entrepreneurship and management. For them, “management is the process of setting objectives and coordinating resources, including people, in order to attain those objectives.” [Ibid, page 12]. The figure below compares managers and entrepreneurs and combines them into the so-called entrepreneurial manager.

Source: Morris et. al. (2008), page 13. Figure 1: Comparing and Combining Key Roles of Managers and Entrepreneurs

Here, a manager seeks, arranges and controls the utilization of economic resources: land, labor, capital, entrepreneurship and information, so that profitability can be achieved while an entrepreneur strives for new opportunities and creates new economic values out of all existing resources and processes so that profitability can be grown and sustained. There are several aspects of the practices of entrepreneurship as: process and control, structure and culture, and innovation and leadership.

Process and control Entrepreneurship involves six stages (adapted from ibid, pages 30-32) as: identifying opportunity, defining business creativity, assessing resource requirements, acquiring necessary resources and capabilities, developing and managing innovation and re-assess the marketplace. Entrepreneurship; therefore, is a process that persistently creates new economic values from external business environment and with flexible internal capabilities. From scope of

97


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

entrepreneurship as a process, it is clear that changes, externally and internally, are inevitable. Further, the changes are both path and goal in themselves. Entrepreneurial manager who is the person who is to identify those ways of changes and to pursue how they could be advantageous and sustained as results. Kumar and Haran contends that ‘creating

an entrepreneurial organization will not only require a focus on managing change with an understanding of the future, but also the process of empowering people in managing such change.’ The entrepreneurship can be organized into systematic activities within a large company as modeled below. (Kumar and Haran, 2006, pages 56-57).

Source: Kumar and Haran, 2006, page 57. Figure 2: Model of Corporate Entrepreneurism

Without empowerments in the process, new opportunities cannot be naturally and collectively seized against speed of changing circumstances. A powerful and influential implantation of strategy will be willingly driven because the owner-like empowerment and decision-making in the tandem of the achievement of ‘creating something new’. (Kumar and Haran, 2006, pages 31-33 & Morris et. al., 2008, pages 235-236.) In addition, corporate entrepreneurs must have a ‘sense of internal locus of control, emphasizing the belief in control over destiny.’ (Burns, 2008, page 92). The process of entrepreneurship gives direction and

98

empowerment whilst still maintaining control. To drive competitive growth, the organization must become more formal but must avoid becoming too bureaucratic. (Burns, 2008, page 58.) Long-term performance goal is empirically proved to be increased within the entrepreneurial organizations. (Kumar and Haran, 2006, pages 31-33.) Structure and culture Morris et. al. (2008) and Burns (2008) characterizes the entrepreneurial structure to include: - Organic/flexible, few layers, broader spans of control;


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

- simplicity and smallness, pseudo-autonomous units with empowered team; - cross-functional interaction and cooperation at all levels; - loose, informal controls with an emphasis on team-working atmosphere; - dependent/ independent networks and socially embedded structure. With larger and expanded structure of large organization, the culture of entrepreneurship is as crucial as that of structure. As Kumar and Karan (2006) asserted that corporate entrepreneurship is of positive mindset that enriches the way of managing and leading enterprise. They further argue that an organization creates an environment in which all its members attach themselves to it like its owner and contribute to the entrepreneurial functions. Their entrepreneurial activity is judged from innovation, creativity, risk taking, and project management approach. (Kumar and Karan, 2006, page II.) “An entrepreneurial organization is an empowered learning organization.” (Burns, 2008, page 92.) For large organizations to flourish, entrepreneurial workers must be encouraged to expand the spirit of corporate entrepreneurship. (Kumar and Haran, 2006, page 24.) Schien (2010, page 385) argued that “in the learning organization, everyone have to learn how to learn.” In his words (Ibid, page 368): “A learning culture must contain the shared assumption that solutions to problems derive from a deep belief in inquiry and a pragmatic search for truth. The inquiry process itself must

be flexible and reflect the nature of the environmental changes encountered. What must be avoided in the learning culture is the automatic assumption that wisdom and truth reside in any one source or method.” According to Schien (1995, pages 12-15), there are eight elements of learning culture that must be shared mentally within organization as: 1) Equal concern for all stakeholders; 2) A belief that people can and will learn and that learning and change are valued in its own right; 3) Empower people and make them believe they can change their environment; 4) Avail time for generative learning; 5) Enough diversity in the people; 6) A shared commitment to open and extensive communication; 7) A shared commitment to learning to think systematically; 8) Shared beliefs that teams can and will work. Also there are eight conditions of learning (Ibid, pages 6-9) as to reduce learning anxiety among people in organization as: 1) Psychological safety; 2) A vision of better future; 3) A practice field to learn from mistakes; 4) Some sense of direction; 5) Group learning process; 6) Coaching and help; 7) Reward even the smallest steps in learning; 8) Embrace errors.

99


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

Here Burns (2008, pages 123-124) describe entrepreneurial culture in organizations with the follow characteristics: people and empowerment; focus; commitment and personal responsibility; ‘doing the right thing’; value creation through innovation and change; hands-on management; freedom to grow and to fail; attention to basics; and emphasis on the future and a sense of urgency. Innovation and leadership Entrepreneurs bring life to innovation. Pinchot and Pellman (1999, pages 11-14) offers that the big gap in the innovation process is the systematic capability to transform ideas

Source: Pinchot and Pellman,1999, page 13. Figure 3: How Innovation Actually Happen

100

rapidly and cost-effectively. In larger organization, this requires entrepreneurs to convert concept into reality. Leader plays an essential role in developing intrapreneurship and so enhancing innovation by collective efforts from all levels. Further, creating environment for intrapreneurship and learning cultures requires great skill in leading change. Kumar and Haran (2006, page 58) argues that ‘entrepreneurial leadership requires the ability to make changes all the times to see an opportunity; identify the change that is required, take risks yourself, and get other people to take risks and move in the same direction.’ Without leaders, people cannot perpetually be inspired to innovate.


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

McGrath and MacMillan (2000, pages 323-330) outlines vital responsibilities of entrepreneurial leadership so that a continual search for new opportunities and a continual letting go of less productive activities as: - Framing organizational challenges to be overcome; - Absorbing uncertainty by circumscribing some perceived risks; - Defining gravity from unsought opportunities where others see as barriers; - Path clearing by properly allocating strategic resources; - Underwriting innovation so as to ensure customer value and supplier relationship. Morris et. al. (2008, 302-320) proposes that entrepreneurial behavior by managers and non-managerial employees at all levels of larger organization is a function of the value each and every one places the entrepreneurial activities and the perceived context of the entrepreneurial organization. They identify entrepreneurial roles of leaders at various levels as: Strategic managers must balance the needs of current business with the needs of future business; Executive managers must seek and develop the utilization of resources to pursue entrepreneurial opportunities; Operational managers and non-managerial personnel must continuously recognize and engage in the transformational work of the organization.

Entrepreneurial Government Osborne and Gaebler (1993, xix-xxi) goes along with Drucker’s notion that the entrepreneurial organizations require systematic, organized, purposeful management and asserts further that the entrepreneurial model of government is referred to as public sector institutions that habitually use their resources in new ways to heighten both efficiency and their effectiveness. They argued that the primal cause of failed government is of means, not ends. For them, bureaucratic institutions are out-dated and hardly adaptable to today rapidly changing environments, with customers who want quality and choice. (Obsborne and Gaebler, 1993, pages 14-16). However, an environment in which risks and rewards to public employees is very differently than to private employees. To reduce waste in government bureaucracy is neither to raise taxes nor to cut spending but it is, instead, to change the basic incentives that drive the administrative agencies. He asserted that “we must turn bureaucratic institutions into entrepreneurial institutions, ready to kill off obsolete initiatives, willing to do more with less, eager to absorb new ideas.” (Ibid, pages 16-13). According to Osborne and Gaebler (1993), entrepreneurial spirit may transform the public sector by steering, empowering, developing competitiveness and decentralizing public service deliveries. The ultimate result of such entrepreneurial government will be the organization that is cultural-driven, market-focused, performance-based, change-friendly and profitcentered.

101


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

This fundamental conception of entrepreneurial government had been carried out into one of the major U.S. government’s systematic reform during Clinton Administration. Under the primal assumption that “Washington is filled with organizations designed for an environment that no longer exists – bureaucracies so big and wasteful they can no longer serve the American people,” the reinventing U.S. federal and local governments embarked in 1993 commits four changes in administrative organizations for the long-term endeavor [Gore, 1993, pages xxiii-xliv] as: - Cutting red tape; - Putting customer first; - Empowering employees to get results; and - Producing better government for less. Later Osborne co-authored with Plastrick (1997) Banishing Bureaucracy that revised various lessons learned from inventing experiences of American local and federal agencies and cases of British, Australian, New Zealander and Canadian governments. They discussed some analogies resulted from Thatcher’s Administration in choosing significant three change targets as (Osborne and Plastrick, 1997, pages 27-36) as: - Uncoupling rowing organizations from steering organizations, so each could focus on its primary mission; - Giving rowing organizations control over most of their own decisions, so they could make the changes necessary to improve their operations; and

102

- Creating consequences for their performance, so they would have incentives to improve. This implies that the public sector system, which is geared for more efficient and effective, needs to be reinvented fundamentally at national, state, provincial and local levels. “Because these are the levers that change the framework within which organizations and people work.” (Ibid, page 37). Accordingly, they contended that five administrative system components: purpose; incentives; accountability; power; and culture, must be transformed by five respective strategies: core strategy; consequence strategy; customer strategy; control strategy; and culture strategy. In practice, they argued, these multiple strategies were often joined so as to yield maximum leverage power. Moreover, there are four basic types of public organizations: policy, regulatory, service and compliance. But the differences in reinventing these organizations are only the maters of tactics, the coherent strategy can narrow any isolated innovations in the reformed system. (Ibid, page 38-48) It is clearly observed that public service organizations which had internalized entrepreneurial management aim at turning around administrative system by re-configuring formal and informal relationship within as well as outside its day-to-day circumstances to extended stakeholders, more particularly to its clientele. Still theoretical and practical critiques have recently more concerned about its purpose,


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

strategy and control. And the discrepancies between private-sector and public-sector values hinder democratic accountability that may be disregarded by the entrepreneurial management. The newly reformed management system decentralizes decisions and responsiveness for the changing markets. Nonetheless, the public entrepreneurial organizations hold even more firmly on performance measures of all public managers and officials. (Pollitt, 1993, 130-134). Pollitt and a growing number of scholars [as referred in Hodges, ed. (2005) and Peters & Savoie, Eds. (2000)] are skeptical about neoTaylorism constructed in the entrepreneurial government system for its ‘generic’ approach. Pollitt [ibid, pages 111 – 146] described four critical variants in this Managerialism as: - Coherence: Performance and fairness were not necessarily complement. - Realism: Accountability was in conflicts with multiple goals and market relationships. - Politics: Outsourcing activities, privatization and professional consultants were tied to political groups inside the governments. - Value: Managerialism was rooted by efficiency and individualism, the values that underpin entrepreneurship and its innovation. ollitt; therefore, sought out solutions and found more wider values than neo-Taylorism criticized above in Public-Service Orientation (PSO) approach. This theoretical package includes: collective choice in the polity, need for resources, openness for public action, the

equity of need, the search for justice, citizenship, collective action as the instrument of the polity and voice as the condition. (Ibid, page 155). In same token, Denhardt and Denhardt (2007, pages 25-43) outlined the conceptual tenets of the New Public Service from four core Public Administration ideals of democratic citizenship, civil society, organizational humanism and postmodernism. The New Public Service framework covers the following ideas as: 1) Serve citizens, not customers. 2) Seek the public interest. 3) Value citizenship over entrepreneurship. 4) Think strategically, act democratically. 5) Recognize that accountability isn’t simple. 6) Serve rather than steer. 7) Value people, not just productivity. Here we may notice that Osborne & Plastrik, Pollitt and Dehardt & Denhardt agreed upon more strategic perspectives of public administration. Still they differently focused on system and process, values and culture, and citizens and governance. It is worth now to examine the strongly emerged idea of strategic management in government for some missing links so that these differences can be refined integrally. According to More (1995, pages 18-23), public operatives must act upon two challenges at the same time. They must become strategists rather than technicians by looking out the value of what they are producing as well as down to the effectiveness of deploying resources. Public service-minded bureaucrats should understand political manifestos of the

103


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

democratically elected executives and, at the same time, seek opportunities to redefine and create public value of fellow citizens. Strategic management in public is; therefore, constrained politically, legislatively and financially. (Lane and Wallis, 2009, pages 103-105). Moreover, strategic management in public and private sectors deems the distinctive value of service due to a fundamental lack in public service of a demand revelation mechanism. It is the outcome measures and their interpretation that should guide strategic management in the public sector. Only then it can tell what the citizen and other people really get in terms of utility from the operation of the public services. (Ibid, page 106). Along with strategic management, control system is inevitable. In order to ensure the satisfaction of citizen’s needs and the creation of the meaningful public value, public sector organizations have to implement a management control system which enables them to achieve the organizational goals and outcomes. In turn, this requires coherence along the decision making process based on institutional, political and corporate relationship, which set forth in corporate planning related to the government program. (Spano, 2009, pages 340-345). Nonetheless, such a control system of delivering public services which themselves require a lot of people working somehow contracted to contribute to the output a daily basis. And so teamwork and team leadership in public services are the utmost demands. The governance of the teams involves a number

104

of tasks, which the leaders should provide along other things as: shared information, public preferences, organizational values, and tough decisions making. (Lane and Wallis, ibid, pages 106-108). Public managers are eventually accountable to the best interest of the democratic legislators and the citizens they represented. The questions about public accountability in public sector, though, elicit from the entrepreneur-like style and system of government. (Cooper et al., 2008, and Diller, 2000). Welfare Administration and various local governments call for public participation and fair treatment from wider opportunities of public input rather than merely the achievements of particular outcomes. Public Managers shall include a broader base of individuals and points of view in the management process through direct participation, greater representation, and the consideration of alternative sources of information. A more inclusive management process means more democratic values closer aligned to the needs of the citizens. [Feldman and Khademian, 2001]. The truly collaborative model of public management requires facilitating rules, process and leadership. (Diller, 2000, and Feldman & Khademian, ibid ,2001). Public, according to Frederickson (1997, pages 52-53), is not the same as government – that it is indeed every much more than government. “The public lives independently of government, and government is only one of its manifestations. … Elections, legislative decisions, executive policy implementations, court decisions,


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

and the continual pattern of interaction between public officials and the public are all expressions of public preferences. We must nurture and protect these forms of interaction to come as close as possible to an evolving creation of the public, an evolving definition of the public will, and evolving spirit of public administration.” A Shred Path of Innovation and Democracy Both private and public organizations need survivals of their systems where their members live. However, there are warnings of our economic risks in 1997 and once again in 2007 that are accustomed to our own social imbalance – consumerism. It is a (big) question about the relationship between consumer choices and their impacts. Business people are interested in understanding consumer’s decision making and the relevant uncertain factors affecting such decisions. (Besanko et al., 2007, page 2). Business and individual use everything that can be produced. And we produced from almost all resources in the environment. Actually the individual demand of more and more food and the business demand of higher-ever returns on investment have never sufficient. Borrowings, replacing savings, are always foremost sources growing businesses. Fierce competitions and changing customer choices are argued to the triggers of the fast-pace growth beyond owner presently held equity. Their purpose of maximization must be replaced with a creation of social and economic balance for their fellow citizens.

At the same time, government has a dilemma: to create economic growth or to ensure social equality. (Sapparojpattana and Kangsawad, 2010). Economic engines require creating business-friendly and investmentsupporting policies with diminishing roles of government in economic enterprises while it is the prime purpose of the government to create better public services to achieve sustained public value. On the other hand, fair distribution of living resources and human security must be assured. In this case, government must be administered much more efficiently and even more transparent. Under globalization and big-business dominated economy, Thai government must co-opt with large companies and, at the same time, collaborate with all citizens. In public organization, the purpose of a creation of social and economic balance for their fellow citizens must be strategically efficient and democratically administered. With a holistic perspective which, I may argue, it is urgently required for businessmen as well as for government in sharing and co-operating this purpose so as to bring about sustainability to their organizations, economy, society and nature. They simply take more accountable and more transparent ways of running their organizations. The business organization must be accountable to the impacts of business operations to the long-term economic stability, not only short-sighted profit. They must also take into account of social order from fair and just commercial practices. And finally their practices should be scrutinized

105


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

with reasonable measures by the public. The public organization must be accountable to better quality of services with flexible and economical implementation of public policies. How long does it refer to as sustainable? A survey by MIT Sloan Management and Boston Consulting Group find that ‘it is easy to assert that sustainability is about taking a long-term view’ and that ‘the first challenge is forecasting and planning beyond the oneto-five-year time horizon typical of most investment frameworks.’ (Berns et al, 2009, page 25). The traditional economic approaches are therefore obsolete for managing sustainability. Within the context of capitalistic economy, Hart (2007) a business firm should become indigenous, not alien, more to its fringe stakeholders and their local knowledge. In particular, the enterprise must go beyond green, i.e. the base of Pyramid and clean technology, by ‘boarding the corporate bandwidth’ and co-develop native capabilities. (Hart, 2007, page 21-23). Because major realistic obstacles of sustainability ahead all of us, including that of the economic entities, are pollution, depletion and poverty. The business opportunity is to create more sustainable environment, economic and social impacts onto the marketplace. [Hart, 2007, and Nidumolu et al, 2009]. Sustainability, as an ultimate purpose of business, can change existing paradigms and so lead to viable next-practice platforms. [Nidumolu et al, 2009, pages 8 – 9]. Within the context of democracy, individual citizens have rights protected, and must be

106

allowed to the highest possible choice in the public service they use, and that choice will act as the lever to maintaining and improving public service quality and efficiency. (Walsh, 1995, pages xiii-xv). By linking individual performance, agency accomplishments and social goals, the government can create public value and innovate for larger public interests. By collaboration and participation from all citizens, the government can ensure equality and transparency. The shared purpose of private and public organization of creating social and economic balance for their fellow citizens is practically pursued by His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s Philosophical Model of Sufficiency Economy. Sufficiency here is characterized with combination of dynamic optimum, reasonableness and self-immunity, or the Middle Path in short. (National Board of Economic and Social Development, www.sufficiencyeconomy.org). Organization and its people should consume, operate and invest moderately. The degree of moderation is not universal, rather it is dynamic, and depends largely on its size, change and urgency of circumstances. The execution capabilities (Lubin and Esty, 2010) of an organization determine how much or less to invest or which source of capital. Next, reasonableness implies that the firm’s decision should take into account of all-round cause-effects, information and their expected consequences. The final aspect of the middle path is a well-developed immunity from external risks and internal dynamics in


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

the future under the present conditions of bounded rationality (Simon, 1997) and inactive set of knowledge. The consolidated middle

path of business management is built on the foundation of two intangible resources as: active set of knowledge and ethical qualifications.

Figure 4: King Bhumibol Adulyadej’s Sufficiency Economy

First, on-going accumulated stock of knowledge regarding technical know-hows, successful stories, failure lessons, customer survey, process improvements, etc. must be thoroughly connected and mined organizationwide with careful and accountable utilizations. Only this way, the organized base of knowledge can be activated. Last but not the least; the mentally and behaviorally sound conducts must be undertaken as a desired organizational norm. All deeds within the firm must be valued, recognized and rewarded from the basis of the wholeness of organizational and social orders. In sum, the adoption of Sufficiency Economy requires the commitment and the perseverance

from all stakeholders – major and minor; direct and indirect. Labin and Esty (2010) further improve the execution part out of the five-stage process of sustainability for an innovation (Nidumolu et al, 2009). They calls for establishing and integrating the “execution capabilities” in five areas: evaluating leadership, systemizing methods and models, aligning strategy and deployment, integrating management and systemizing reporting and communication. With these capabilities as tools, economic organizations aiming at the living balance, and economic, social and environmental sustainability must be well prosper along into Sufficiency Economy of the more pleasant and secured future.

107


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

With the reality of economic and environmental uncertainty, the profit-driven organizations must swift their purpose, strategy and operations onto the long-term social accountable and transparent behaviors. All economic and financial activities should be more responsive to changing customer choice and more capable of executing the sustainability imperative. On the other hand, public managers shall include a broader base of individuals and points of view in the management process through direct participation, greater representation, and the consideration of alternative sources of information. A more inclusive management process means more democratic values closer aligned to the needs of the citizens. (Feldman and Khademian, 2001). The truly collaborative model of public management requires facilitating rules, process and leadership. (Diller, 2000, and Feldman & Khademian, ibid, 2001). With Sufficiency Economy Model, private and public organizations will find sustainability an attainable goal. They may harmoniously live together and with nature. They may co-operate and co-invest with all stakeholders in enhancing a balanced society. They may connect what they have learned morally to reduce environmental pollution, nature deployment and

108

bottom-of-pyramid poverty. And only with Sufficiency Economy Model, the bridge from public and private sectors is established. More public accountability powered by collaborative public management can ensure citizen inputs in the policy, implementation, and evaluation process with fair treatment and equal opportunities as outcomes, which may be passed on to our new generations. Social architectures in organization I am so far proposing the actualization of the betterment of society from merging the ultimate reasons to survive of private and public organizations into a shared purpose of creating of social and economic balance for their all citizens which are clients to both organizations. And it is possible through the practical lens of the Philosophy of Sufficiency Economy. My final argument left is to outline a new social architectural framework of managing complex organizations: in this case corporation and government. Such an organizational architecture is derived from the notions of learning organization culture and systematic entrepreneurship as elaborated earlier. The influences on this managerial locus are levered within and outside the organization as shown in figure 5:


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

Source: Burns, 2008, page 74. Figure 5: General influences on organizational architecture

New social architecture for sustainable organizations must be committed and developed transformation leaders at strategic level, the entrepreneurial managers whose vision is clearly communicated to all level in the organization. The new social architecture is inclusive for all stakeholders, responsive to their sustainable living and open to their scrutiny at any time. I leave the four interrelated configuration of the new social architecture in public or private organization for further research as: 1) Entrepreneurial culture: people at all levels in organization must share entrepreneurial spirit and prepare for changes; 2) Collaborative management: decisions must be made upon consent of some sort of team-working arrangement from all various stakeholders as possible. The consequent actions and results shall be accountable altogether; 3) Transformative leadership: strategic leader must commit to innovate and to support all innovative act. Organization should develop succeeding strategic leaders;

4) Democratic governance: information regarding changes and their effects must be readily accessed. Open and two-way communication must be practiced. Conclusion Entrepreneurship has just been clearly conceptualized and evident to be adapted systematically in large public and private organizations worldwide. Yet the net advantages of the entrepreneurial management are subject to future accumulated experiences. Nonetheless, it is essentially practical that public and private organizations share the ultimate purpose of existence in creating sustainability for themselves and their service users, i.e. the fellow citizens. And more importantly, such a shared purpose can be achieved strategically and operationally configured with a new social architecture, which is extended from the entrepreneurial management, in democratic world.

109


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

Bibliography

Bensanko, David, Dranove, David, Shanley, Mark and Schaefer, Scoott. (2007). Economics of strategy. 4th ed. New Jersey: John Wiley. Berns, Maurice, Townend, Andrew, Khayat, Zayna, Balagopal, Balu, Reeves, Martin, Hopkins, Michael S. and Kruschwitz, Nina. (2009). Sustainability and competitive advantage. MIT Sloan Management Review, 51(1), 18-26. Burns, Paul. (2008). Corporate entrepreneurship: Building the entrepreneurial organization. 2nd ed. New York: Palgrave Macmillan. Cooper, Terry L. et al. (2008). Outcomes achieved through citizen-centered collaborative public management, pp. 211-229 in Bingham, Lisa B. and O’Leary Rosemary, Editors. (2008). Big ideas in collaborative public management. New York: M.E. Sharpe. Denhardt, Janet V. and Denhard, Robert B. (2007). The new public service: Serving, not steering. Expanded ed. New York: M.E. Sharpe. Diller, Matthew. (2000). The revolution in welfare administration: Rules, discretion and entrepreneurial government. New York University Law Review, 75(5). Drucker, Peter F. (1995). Innovation and entrepreneurship. New York: Harper Business. Frederickson, H. George. (1997). The spirit of public administration. San Francisco: Jossey-Bass Publishers. Feldman, Martha S. and Khademian, Anne. (2001). Principles of public management practice: From dichotomies to interdependence.

110

Governance: An International Journal of Policy and Administration, 14(3), 339-361. Gore, Al. (1993). Creating a government that works better and cost less: The report of the national performance review. New York: Plume Printing. Hart, Stuart L. (2007). Capitalism at the crossroads: Aligning business, earth and humanity. New Jersey: Pearson Education. Hodges, Ron, Editor. (2005). Governance and the public sector. Cheltenham, UK: Edward Elgar Publishing. Kao, Raymond W., Kao, Rowland R. and Jing, Yang. (2006). An entrepreneurial approach to corporate management. 2nd ed. Singapore: Prentice Hall. Kumar, Ashok and Haran, Hari. (2006). Corporate Entrepreneurship: Strategic Imperative for Growth. Hyderabad, India: ICFAI University Press. Landes, David S., Mokyr, Joel and Baumol, William J., Editors. (2010). The invention of enterprise: Entrepreneurship from ancient Mesopotamia to modern times. New Jersey: Princeton University Press. Lane, Jan-Erik and Wallis, Joseph. (2009). Strategic management and public leadership. Public Management Review, 11(1), 101-120. Lubin, David and Esty Daniel C. (2010). The Sustainability Imperative. Harvard Business Review, May. McGrath, Rita Gunther and MacMillan, Ian. (2000). The entrepreneurial mindset: Stretegies of continuously creating opportunity in an age of uncertainty. Massachusetts: Harvard Business School Press.


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

Moore, Mark H. (1995). Creating public value: strategic management in government. Massachusettes: Harvard University Press. Morris, Michael H., Kuratko, Donal F. and Covin, Jeffrey G. (2008). Corporate entrepreneurship and innovation. 2nd ed. Ohio: Thomson South-Western. Thailand. National Economic and Social Development Board. Economic concepts in sufficiency economy. (www.sufficiencyeconomy.org) Nidumolu, Ram, Prahalad, C.K. and Rangaswami, M.R. (2009). Why sustainability is now the key driver of innovation. Harvard Business Review, September. Osborne, David and Gaebler, Ted. (1993). Reinventing government: How the entrepreneurial spirit is transforming the public sector. New York: Plume. Osborne, David and Plastrik, Peter. (1997). Banishing bureaucracy: The five strategies for reinventing government. New York: Plume. Peters, B. Guy and Savoie, Donald, Editors. (2000). Governance in the twenty-first century: Revitalizing the public service. Quebec, Canada: Canadian Centre for Management Development. Pinchot, Gifford and Pellman, Ron. (1999). Intrapreneuring in action: A handbook for business innovation. San Francisco: BerrettKoehler Publishers. Pollitt, Christopher. (1993). Managerialism and the public services: Cuts or cultural change in the 1990s. 2nd ed. Oxford, UK: Blackwell Publishers.

Sapparojpattana, Winaicharn. (2007). Roo Jing Tum Jing: Business and entrepreneurship. 2nd Reprinting. Bangkok: Mac Publishing. (in Thai). Sapparojpattana, Winaicharn and Kangsawad, Varisa. (2010). Sustainable business management: A new paradigm for the purpose of economic entities. A Preceding in the 10th International Conference on Industrial Management, Beijing, on September 16. Schein, Edgar H. (1995). Organizational and managerial culture as a facilitator or inhibitor of organizational transformation, presented to the Inaugural Assemble of Chief Executive and Employers in Singapore on June 29. Schein, Edgar H. (2010). Organizational culture and leadership. 4th ed. San Franscisco: Jossey-Bass. Simon, Hertbert A. (1997). Administrative behavior: A study of decision-making processes in administrative organizations. 4th ed. New York: Free Press. Spano, Alessandro. (2009). Public value creation and management control systems. International Journal of Public Administration, 32, 328-348. Walsh, Kieron. (1995). Public services and market mechanisms: Competition, contracting and the new public management. London: Macmillan Press.

111


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

Winaicharn Sapparojpattana is a Ph.D. candidate in Public Administration at Ramkhamhaeng University. He graduated a Master of Business Administration from University of East London, U.K. His prior higher education includes Bachelor of Business Administration, Assumption University, and Bachelor of Political Science, Sokhothai Thammatitrat Open University. His present tenure is Chairperson of Department of Retail Business Management, Faculty of Business Administration, Panyapiwat Institute of Management. He earnestly emphasizes researches on sustainable management in both private and public service-like organization.

112


ทคโนโลยีการตรวจจับการเคลื่อนไหว และการประยุกต์ใช้งาน Motion Capture Technology and Its Applications ดร.ดัชกรณ์ ตันเจริญ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ E-mail: datchakorntan@pim.ac.th

บทคัดย่อ

เทคโนโลยีการสร้างภาพยนตร์ในปัจจุบัน มีการน�ำเอาเทคโนโลยีในการสร้างตัวละครแอนิเมชัน ให้มคี วามสมจริงยิง่ ขึน้ ด้วยเทคโนโลยีทเี่ รียกว่า Motion Capture ซึง่ เป็นการใช้นกั แสดงจริงมาใส่ ชุด Body Suit ที่มีเซนเซอร์ ติดไว้เพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวของนักแสดง ดังจะเห็นได้จาก ตัวละครในภาพยนตร์ชื่อดัง เช่น The Lord of The Rings หรือ Pirates of the Caribbean เป็นต้น นอกจากนี้เทคโนโลยี Motion Capture ยังถูกน�ำมาประยุกต์ใช้งานอีกหลากหลาย ในบทความนีจ้ ะกล่าวถึงเทคนิคในการตรวจจับการเคลือ่ นไหว ประเภทหลักของ Motion Capture ที่น�ำมาใช้ อุปกรณ์และขั้นตอนการใช้งาน รวมถึงตัวอย่างภาพยนตร์ที่ใช้เทคโนโลยีนี้ในการสร้าง ตัวละคร นอกจากจะใช้ในการสร้างตัวละครแอนิเมชันส�ำหรับภาพยนตร์แล้ว ยังมีการประยุกต์ใช้ ในการสร้างเกม และการน�ำมาใช้เพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประจ�ำชาติ ซึ่งได้ยกตัวอย่างของ การน�ำมาประยุกต์ใช้เพือ่ การอนุรกั ษ์ศลิ ปะดาบไทย หรือกระบีก่ ระบอง ซึง่ เป็นเอกลักษณ์ประจ�ำชาติ ของไทยอีกด้วย ค�ำส�ำคัญ: การตรวจจับการเคลื่อนไหว แอนิเมชัน การสร้างภาพยนตร์ การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม

113


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

Abstract

Currently, motion capture technology is a fantastic technology that plays an important role in producing realistic animations. The purpose of this technology is to capture the motion of the actors who wear the body suit with sensors. We can see the examples from the famous movies such as The Lord of The Rings, Pirates of the Caribbean, etc. In addition, motion capture technology is also applied in many applications. In this article, motion capture technique is explained including types, equipments and processes. The movie examples and game applications are also presented. The main example is to apply motion capture technology for the national cultural conservation as Thai Sword or Krabi Krabong which is the identity of Thailand. Keywords: Motion Capture, Animation, Movie Creation, Cultural Conservation

บทน�ำ ปัจจุบันงานสร้างสรรค์หลากหลายด้านมีการใช้ เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ท�ำให้สงิ่ ต่างๆ ทีเ่ คยอยูใ่ นความฝัน สามารถแสดงออกมาให้เ ห็นเป็นจริง ได้ เทคโนโลยี การตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Capture) เป็น อีกเทคโนโลยีหนึ่ง ที่ช่วยให้ผู้ก�ำกับภาพยนตร์สามารถ เนรมิตรคิดค้นตัวละครต่างๆ ให้ออกมาแสดงในภาพยนตร์ ได้อย่างมหัศจรรย์ ตัวอย่างเช่น ตัวละครกอลลัมที่รู้จัก กันดีในเรื่อง The Lord of the Rings ก็ได้ใช้เทคนิคนี้ เทคนิค Motion Capture มีการน�ำไปประยุกต์ใช้ ในการทหาร งานบันเทิง การกีฬา งานทางการแพทย์ คอมพิวเตอร์วิชัน และการสร้างตัวละครหุ่นยนต์ใน ภาพยนตร์ ซึง่ จะใช้การบันทึกการแสดงของนักแสดงจริง ที่สามารถน�ำมาสร้างตัวละครที่เคลื่อนไหวแบบดิจิทัล ได้ จ ริ ง บนคอมพิ ว เตอร์ ทั้ ง แบบ 2 มิ ติ หรื อ 3 มิ ติ ซึ่ ง สามารถแสดงการเคลื่ อ นไหวที่ ล ะเอี ย ดอ่ อ นและ ให้ภาพออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากการสร้าง ตัวละครแล้วยังสามารถสร้างฉากสภาพแวดล้อมได้อกี ด้วย โดยมีมุมมองจากกล้องแต่ละกล้องที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถเลือกการแสดงผลได้จากการใช้คอมพิวเตอร์

114

มาประมวลผลข้อมูลในแต่ละกล้องและน�ำการเคลือ่ นไหว ของนักแสดงมาแสดงผลให้ถกู ต้องตามต�ำแหน่งทีส่ มจริง เทคโนโลยี Motion Capture เทคโนโลยี Motion Capture หรือเรียกโดยย่อว่า MoCap เป็นเทคนิคที่ใช้ในการตรวจจับการเคลื่อนไหว ของนักแสดงที่อยู่ในชุดแนบเนื้อ (Body Suit) สีเดียว กับบลูสกรีน (Blue Screen) ซึ่งมีเซนเซอร์ (Sensor) ติดอยู่ ข้อมูลที่บันทึกโดยเทคโนโลยีนี้ได้ ถูกน�ำมาใช้ ในการสร้างภาพยนตร์ การ์ตูน 3 มิติ หรือเกม 3 มิติ โดยใช้เซนเซอร์ติดตามร่างกายของนักแสดง เพื่ออ่าน และแปรค่าการเคลื่อนไหวของนักแสดงเข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์ ท�ำให้ตวั ละครทีส่ ร้างขึน้ เป็น 3 มิติ สามารถ แสดงท่าทางได้อย่างสมจริง มีอิริยาบถหลากหลาย ทัง้ ใบหน้าและร่างกาย เทคนิคนีช้ ว่ ยเติมแต่งจินตนาการ ของผู้สร้างงาน 3 มิติหรือแอนิเมชัน เหมือนอย่างหนัง หลายเรื่ อ ง ซึ่ ง ท� ำ ให้ เ กิ ด ความสมจริ ง ของตั ว ละคร แอนิเมชันมากขึน้ ในภาพยนตร์ตา่ งๆ เช่น The Lord of the Rings, King Kong, Final Fantasy, I-Robot เป็นต้น


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

วิธีการถ่ายท�ำหนังด้วยเทคนิค Motion Capture คือ การใช้กล้องหลายตัวจับภาพนักแสดงที่อยู่ในชุด Body Suit แล้วตรวจจับข้อมูลที่ได้ไปประมวลผลด้วย โปรแกรม 3 มิตใิ นคอมพิวเตอร์ ซึง่ ผูก้ ำ� กับและช่างภาพ จะเลือกฉาก และการเคลือ่ นไหวทีต่ อ้ งการมาตัดต่อให้เสร็จ หลังจากนัน้ นักสร้างแอนิเมชัน (Animator) ก็จะออกแบบ หน้าตาตัวละครและเรนเดอร์ (Render) ภาพตัวละคร กับสภาพแวดล้อมรอบข้าง ก่อนจะน�ำทัง้ สองส่วนมารวม เป็นตัวละครเดียวกัน ซึง่ จะได้ตวั ละครทีแ่ สดงได้เหมือน คนจริง ทีม่ สี ภาพแวดล้อมรอบข้างเต็มไปด้วยจินตนาการ และความสมจริงในขณะเดียวกัน องค์ประกอบในการสร้างงานแอนิเมชันโดยใช้เทคนิค Motion Capture จะมีกล้องถ่ายการเคลื่อนไหวของ นักแสดงที่ใส่ชุด Body Suit ที่ติด Retro-Reflective Marker หรือเซนเซอร์ไว้ตามต�ำแหน่งต่างๆ ทั่วร่างกาย ทีต่ อ้ งการจับการเคลือ่ นไหว กล้องถ่ายการเคลือ่ นไหวนี้ ใช้จำ� นวนหลายตัว เพือ่ เก็บภาพให้ได้สมบูรณ์ทสี่ ดุ ในการ สร้างภาพ 3 มิติ ซึ่ง Marker นี้จะเป็นลูกกลมๆ สีขาว คล้ายลูกปิงปอง ส่วนกล้องจะท�ำหน้าที่ถ่ายภาพโดยยิง สัญญาณไปตามจุดเซนเซอร์ทตี่ ดิ อยูท่ นี่ กั แสดงเป็นจังหวะ ซึง่ กล้องจะมองเห็นเพียงจุดสีขาวบนตัวนักแสดงเท่านัน้ แล้วบันทึกภาพสะท้อนที่ได้จาก Marker ไว้ ข้อมูล จากกล้องก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์ เพือ่ ไปเทียบเคียงกับ ภาพจ�ำลอง (Skeleton) ที่เป็นเหมือนโครงกระดูกของ ตัวละคร จึงได้การเคลื่อนไหวของภาพจ�ำลองที่เหมือน มนุษย์ สามารถใช้แทนตัวละครได้อย่างสมจริง ประเภทของ Motion Capture เทคโนโลยี Motion Capture มีการศึกษาและ พัฒนามาตั้งแต่ช่วงปี 1970 โดยน�ำมาใช้ทางการทหาร (Military) และได้ถูกน�ำมาใช้ทางการแสดงเพื่อความ บันเทิง (Entertainment) ตัง้ แต่ชว่ งปี 1980 (Matzer, Maria, 1997) หลายปีที่ผ่านมามีการพัฒนา Motion Capture หลากหลายประเภททีม่ ขี อ้ ได้เปรียบแตกต่างกัน สามารถสรุปการประยุกต์ใช้ได้เป็น 3 ประเภทหลัก ด้วยกัน (Coco, Donna, 1997) ดังนี้

1. ประเภทเชิงกล (Mechanical) ผู้แสดงจะสวมใส่ชุดที่ประกอบจากโลหะเป็น ชิ้นๆ ที่ติดอยู่รอบตัว โดยมีเซนเซอร์ติดตั้งอยู่ในชิ้นส่วน ต่างๆ รอบตัวเพือ่ ตรวจจับการเคลือ่ นไหวของส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยส่วนต่างๆ ประกอบด้วยถุงมือ แขน ขา เป็นต้น ข้อดี คือ ไม่มีการรบกวนจากแสงหรือสนาม แม่เหล็ก ส่วนข้อเสีย คือ เทคโนโลยีนไี้ ม่สามารถตรวจจับ ระยะทีส่ งู จากพืน้ ได้ จึงไม่สามารถตรวจจับการกระโดดได้ นอกจากนั้นอุปกรณ์ต่างๆ จ�ำเป็นต้องมีการปรับแต่ง (Calibration) บ่อยครัง้ และไม่สามารถรูต้ ำ� แหน่งแน่ชดั ได้ เนื่องจากเป็นการค�ำนวณจากการหมุนของเซนเซอร์ 2. ประเภทเชิงแสง (Optical) ผู้แสดงจะใส่ชุดที่มีจุดสะท้อนแสง (Reflective Dots) ที่มีกล้องจับภาพอยู่โดยรอบ ซึ่งจุดสะท้อนแสง จะใช้เพือ่ ดูวเิ คราะห์การเคลือ่ นไหวของผูแ้ สดง ตัวอย่างที่ น�ำมาใช้ในงานด้านดนตรี เช่น การตรวจจับการเคลือ่ นไหว ของคอนดักเตอร์ (Conductor) และได้พัฒนามาใช้ เพือ่ งานทางการแพทย์ (Biomedical) เช่น การตรวจจับ การบาดเจ็บในการกีฬา หรือการวิเคราะห์สมรรถภาพ ของนักกีฬา เป็นต้น ข้อดี คือ ผูแ้ สดงจะสามารถเคลือ่ นที่ ได้อย่างอิสระ เพราะไม่มีการใช้สายมาโยงกับอุปกรณ์ สามารถใช้กับวัตถุขนาดใหญ่หรือวัตถุหลายชิ้นได้ และ ยังได้ขอ้ มูลทีม่ คี วามละเอียดด้วย ส่วนข้อเสีย คือ อาจเกิด การรบกวนของแสงจากภายนอก จุดสะท้อนแสงอาจจะ แตกหักได้เนือ่ งจากผลกระทบของการแสดง ท�ำให้สญ ู เสีย ข้อมูลบางส่วน ซึ่งสามารถเพิ่มเติมแก้ไขชดเชยข้อมูลได้ โดยการประมาณต�ำแหน่งจุดที่หายไป นอกจากนั้น นักแสดงจะต้องใส่ชุดที่มีจุดสะท้อนแสง และใช้เวลา ในการประมวลผลค่อนข้างนาน 3. ประเภทเชิงแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic) ผูแ้ สดงจะใส่ชดุ ทีม่ แี ถวของตัวรับสนามแม่เหล็ก ทีจ่ ะก�ำหนดต�ำแหน่งเทียบกับตัวส่งสัญญาณ ซึง่ วิธกี ารนี้ น�ำมาใช้ครัง้ แรกในการทหาร เพือ่ ตรวจจับการเคลือ่ นไหว ของศีรษะนักบินในเครือ่ งบิน ข้อดี คือ ตรวจจับต�ำแหน่ง ทีช่ ดั เจนได้ สามารถวัดการหมุนได้ ท�ำงานได้แบบ Real Time และราคาถูกกว่าแบบ Optical ส่วนข้อเสีย คือ

115


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ถ้าระยะทางของตัวส่งกับตัวรับสัญญาณเพิ่มขึ้น จะเกิด การบิดเบือนของสนามแม่เหล็ก ข้อมูลทีไ่ ด้จะไม่ดเี ท่าแบบ Optical และมีการรบกวนจากสนามแม่เหล็ก เมื่ออยู่ บนพืน้ ปูนซีเมนต์ซงึ่ มักมีสว่ นผสมของโลหะอยูด่ ว้ ย และ มีความเร็วในการสุม่ ข้อมูลต�ำ่ เกินไปส�ำหรับการประยุกต์ใช้ ในทางการกีฬา อุปกรณ์ของระบบ Motion Capture เทคนิค Motion Capture ที่จะน�ำมาใช้กันมาก จะเป็นรูปแบบ Optical ทีใ่ ช้แสงสะท้อนจุดของเซนเซอร์ โดยมีหลักการท�ำงานของระบบ Motion Capture และ อุปกรณ์หลักดังนี้ 1. กล้อง Optical Motion Capture แบบ Eagle Digital Camera 2. จุดมาร์กเกอร์ (Maker) 3. ฮับเชื่อมต่ออีเทอร์เน็ต (Hub Ethernet) 4. ซอฟต์แวร์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง เช่น โปรแกรม EVaRT 5.0 (บริษัท Motion Analysis) 5. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงรองรับ กราฟิก OpenGL ได้ นอกจากนั้นจะต้องใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ 3 มิติ เช่น Maya, 3DS Max, Softimage XSI, Light Wave หรือ Motion Builder ซึง่ เป็นโปรแกรมทีใ่ ช้สำ� หรับสร้าง โมเดลและแอนิเมชัน โดยสามารถสร้างโมเดลแล้วใส่ โครงกระดูกให้กับตัวโมเดลได้ด้วย เพื่อเตรียมข้อมูล เข้ากับแบบจ�ำลองภาพที่ได้ แล้วผ่านการแก้ไขด้วย โปรแกรม EVaRT 5.0 จากนั้นจึงส่งออก (Export) มาเป็นไฟล์ แล้วน�ำไปท�ำแอนิเมชันด้วยการจัดรวม องค์ประกอบของภาพ (Composition) ขั้นตอนการใช้ระบบ Motion Capture วิธีการใช้ระบบ Motion Capture มีขั้นตอนดังนี้ (สุวิชัย พรรษา, 2552) 1. ขัน้ Project Initialization คือ การเริม่ ติดตัง้ กล้อง เชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์

116

2. ขั้น System Calibration คือ การปรับระยะ และขนาดพื้นที่ส�ำหรับการแสดง โดยการปรับทิศทาง และโฟกัสของกล้องให้อยูใ่ นพืน้ ทีท่ กี่ ำ� หนด โดยพิจารณา ความกว้าง ความยาว และความสูง หรือแกน X, Y, Z รวมถึ ง การก� ำ หนดขอบเขตของพื้ น ที่ ไว้ ใ ห้ ผู ้ แ สดง เคลื่อนไหวด้วย 3. ขัน้ Marker Placement หรือการติดตัง้ Marker ไว้ตามชุดผู้แสดง ซึ่งปกติจะติดไว้ 42 จุด หรือมากกว่า เพื่อจะได้เก็บข้อมูลที่มีความละเอียดมากขึ้น โดยกล้อง จะตรวจจั บ การเคลื่ อ นไหวของจุ ด Maker ที่ ติ ด ไว้ บนตัวผู้แสดง 4. ขัน้ Data Capture จะให้ผแู้ สดงท�ำท่าทางต่างๆ ตามบท โดยมีการบันทึกข้อมูลท่าทางต่างๆ ไว้ โดยก่อน เริ่มการแสดงและตอนจบการแสดงจะต้องกลับมาที่ ท่ายืนและกางแขนตรงเสมอ เรียกว่า ท่า T-Post เพื่อ เป็นต�ำแหน่งไว้ส�ำหรับอ้างอิง 5. ขั้น Model Edit คือ การแก้กราฟของแกน X, Y, Z จากข้อมูลที่ได้จากตัว Marker ทั้ง 42 จุด ในกรณีที่มี Marker บางจุดที่กล้องไม่สามารถจับการ เคลือ่ นไหวได้ จะใช้วธิ กี ารชดเชยข้อมูลด้วยการเชือ่ มกราฟ เพื่อท�ำให้จุดต่างๆ เชื่อมต่อกันได้อย่างสมบูรณ์ 6. ขั้น User Application คือ การเขียนสคริปต์ และเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆ เช่น การตั้งชื่อแบบจ�ำลอง โครงกระดูก (Skeleton) เป็นต้น 7. ขั้น Skeleton Type คือ การเลือกปรับขนาด ของโครงกระดูก ให้เข้ากับโมเดลของผู้แสดง เพื่อน�ำไป ใช้กับโปรแกรม 3 มิติ โดยการส่งออกข้อมูลมาเป็นไฟล์ ขั้นตอนเหล่านี้เป็นวิธีใช้เทคนิค Motion Capture เพือ่ ช่วยให้งานแอนิเมชันท�ำได้อย่างรวดเร็วสมจริงมากขึน้ ผ่านการเคลือ่ นไหวของผูแ้ สดงทีแ่ สดงท่าทางต่างๆ แทน ตัว ละครในเรื่องให้เหมือนมีชีวิตจริง โดยมีตัว อย่าง ภาพยนตร์แอนิเมชันหลายเรื่องที่ใช้เทคนิคนี้


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

การประยุกต์ใช้ในการสร้างภาพยนตร์ (Movie Creation) ส� ำ หรั บ วงการภาพยนตร์ ผลงานที่ ส ร้ า งจาก คอมพิวเตอร์กราฟิก นอกจากจะมีความสวยงามของ ตัวละครแล้ว ในส่วนของการเคลื่อนไหวก็เป็นสิ่งส�ำคัญ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้อย่างดี โดยผู้สร้างงาน แอนิเมชันได้พยายามพัฒนาเทคนิคเพื่อสร้างตัวละคร คอมพิ ว เตอร์ ก ราฟิ ก ให้ ส ามารถเคลื่ อ นไหวได้ อ ย่ า ง สมจริงที่สุด ซึ่งเทคนิค Motion Capture เป็นเทคนิค ที่ ไ ด้ รั บ การยอมรั บนิยมใช้กันในการผลิตภาพยนตร์ คุณภาพหลายเรือ่ ง ส�ำหรับประเทศไทยยังมีการใช้งานกัน อยู่น้อย เนื่องจากอุปกรณ์ยังมีราคาแพง และมีเพียง เฉพาะบางองค์กรเท่านั้น ภาพยนตร์ที่ใช้เทคนิค Motion Capture เครื่อง Motion Capture เป็นอุปกรณ์ที่ส�ำคัญ อย่างหนึ่งในการสร้างภาพยนตร์หรือเกมแอนิเมชัน ให้น่าดูยิ่งขึ้น โดยในภาพยนตร์เรื่อง King Kong ผู้ชม จะได้ดลู ลี าการปีนตึกทีส่ มจริงของเจ้าคิงคองยักษ์ทลี่ ลี า การปีนตึกได้อย่างสมจริง หรือภาพยนตร์เรือ่ ง The Lord of The Rings ก็จะเห็นเจ้ากอลลัมแสดงได้เหมือนมี ชีวิตจริง ซึ่งเป็นผลงานที่ใช้เทคนิค Motion Capture เช่ น กั น ส� ำ หรั บ ผู ้ แ สดงเป็ น คิ ง คองและกอลลั ม เป็ น นักแสดงคนเดียวกัน คือ แอนดี้ เซอร์กิส ดังแสดงในรูป ที่ 1 การสร้างภาพยนตร์เรือ่ ง Avatar ก็ใช้เทคนิคนีส้ ร้าง ชีวิตและสีสันให้กับตัวละคร ดังแสดงในรูปที่ 2

ที่มา: http://www.bf-thailand.net รูปที่ 1: ภาพยนตร์เรื่อง The Lord of The Rings โดยใช้ เทคนิค Motion Capture

ที่มา: http://www.bf-thailand.net รูปที่ 2: ภาพยนตร์เรื่อง Avatar โดยใช้เทคนิค Motion Capture

ที่มา: http://www.wara.com/article-304.html รูปที่ 3: ภาพยนตร์เรือ่ ง The Polar Express โดยใช้เทคนิค Motion Capture

ที่มา: http://pirun.ku.ac.th รูปที่ 4: ภาพยนตร์เรือ่ ง Pirates of the Caribbean โดยใช้ เทคนิค Motion Capture

117


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ส�ำหรับภาพยนตร์เรือ่ ง The Polar Express น�ำแสดง โดย Tom Hank ในบทตัวละคร The Conductor ดังแสดงในรูปที่ 3 จะใช้การเล่าเรื่องราว และเทคนิค การถ่ายภาพแบบ Performance Capture ทั้งเรื่อง ซึ่งเป็นเทคนิคการสร้างภาพยนตร์ชั้นสูง ส่วนเรื่อง Pirates of the Caribbean ตัวละครที่ เห็นได้ชัดกับการใช้เทคนิค Motion Capture คือ กัปตันปลาหมึก Davy Jones ดังแสดงในรูปที่ 4 การประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเกม (Game Development) การพัฒนาเกมที่ใช้เทคนิค Motion Capture มี จุดประสงค์เพือ่ ใส่ชวี ติ ให้กบั ตัวละคร ตัวอย่าง ในปัจจุบนั เช่น เกม Battlefield 3 ซึง่ เป็นการแสดงของกลุม่ นักแสดง จากประเทศกรีกที่ร่วมงานกับ เกม Battlefield 3 เกมสงครามยิ ง ปื น ภาคใหม่ข องบริษัท DICE โดยมี สตัน้ ท์แมน (Stunt Man) ท�ำหน้าทีใ่ ส่ชดุ เพือ่ ท�ำ Motion Capture ในเกม และมี Lo Wall Mo และ Tom Keegan เป็นผู้ก�ำกับ (Battlefield Thailand, 2011) โดยมี นักแสดงต่างๆ รับบทเป็นนาวิกโยธินอเมริกนั เจ้าหน้าที่ พิเศษรัสเซีย และโฆษกชาวเปอร์เซีย เกม Battlefield 3 ได้ถูกพัฒนาโดยการใช้เทคนิค Motion Capture เพื่อให้การเคลื่อนที่ของตัวละคร เป็นไปอย่างสมจริงและเหมือนกับมนุษย์มากขึน้ ดังแสดง ในรูปที่ 5 โดยเกมนี้มีก�ำหนดจ�ำหน่ายในปี 2011 นี้ ส�ำหรับเครื่อง PC, XBOX และ PlayStation 3

ที่มา: http://www.bf-thailand.net รูปที่ 5: การใช้เทคนิค Motion Capture ในเกม

118

การประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม (Cultural Conservation) การประยุกต์ใช้ Motion Capture ส�ำหรับการ อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมในประเทศไทย ได้มีใช้ในวงการ ต่างๆ และเกิดผลลัพธ์ทเี่ ห็นได้ เช่น การอนุรกั ษ์ ภูมปิ ญั ญา ท่าฤาษีดัดตน ศิลปะการแสดงโขน ศิลปะมวยไทย และ ศิลปะดาบไทย เป็นต้น ซึง่ ทางศูนย์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติได้จดั ท�ำโครงการ Digitized Thailand เพื่อวัตถุประสงค์นี้ (วิรัช ศรเลิศล�้ำวาณิชม, 2553) โปรแกรมฝึกฝนท่าฤาษีดัดตนแสดงดังรูปที่ 6

รูปที่ 6: ผลงานแอนิเมชันส�ำหรับฝึกฝนท่าฤาษีดดั ตน ทีเ่ ก็บ ข้อมูลโดยเทคนิค Motion Capture

การประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์ศิลปะดาบไทย ดาบไทยหรือกระบี่กระบองเป็นศิลปะการป้องกัน ประจ�ำชาติไทยอีกอย่างหนึ่งที่มีความสวยงามและน่า อนุรกั ษ์ไว้เป็นเอกลักษณ์ของชาติ โดยการแสดงดาบไทย หรือกระบีก่ ระบองจะมีรปู แบบการแสดงทีค่ ล้ายคลึงกัน โดยวงจรของการแสดงเริ่มด้วยการถวายบังคมไหว้ครู ต่อด้วยการร�ำดาบ แล้วมีการเดินร�ำดาบคู่ มีจดจ้องดู จังหวะของคู่ต่อสู้ เมื่อได้จังหวะแล้วจึงเริ่มการต่อสู้ แลกเปลี่ยนลูกไม้ศิลปะดาบไทย สุดท้ายจบลงด้วยการ แพ้ชนะของคู่ต่อสู้ เมื่อจบการแสดงแล้ว นักแสดงจึงมา เคารพกันอีกครั้ง ดังแสดงให้เห็นวงจรของการแสดง ดังรูปที่ 7 อย่างไรก็ตามแม้รูปแบบจะมีการแสดงจะ คล้ายคลึงกัน แต่รายละเอียดของแต่ละช่วงการแสดง จะมีความแตกต่างกัน ตามประสบการณ์การฝึกฝน และ ความสามารถของผู้แสดง


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

รูปที่ 9: ผูแ้ สดงในชุด Body Suit และการประมวลผลภาพ ด้วยซอฟต์แวร์ Motion Analysis รูปที่ 7: วงจรของการแสดงดาบไทยประเภทกระบี่

การตรวจจับการเคลือ่ นไหวของผูแ้ สดงจะใช้เทคนิค Motion Capture โดยใช้เซนเซอร์ติดตามร่างกาย หรือ ชุดของผู้แสดง (Body Suit) เพื่ออ่านและแปรค่าความ เคลือ่ นไหวเข้าสูร่ ะบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลและค่าทีไ่ ด้ จะน�ำมาสร้างเป็นตัวละคร 3 มิตทิ สี่ ามารถแสดงท่าทาง ต่างๆ ได้เสมือนจริง และมีความหลากหลายของอิรยิ าบถ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจาก Motion Capture แสดงได้ดงั รูปที่ 8 ซึง่ มีการติดตัง้ กล้องไว้ทงั้ ด้านบนและ ระดับพื้นเดียวกัน

รูปที่ 8: อุปกรณ์กล้องตรวจจับท่าทางการเคลื่อนไหว

การสร้างแอนิเมชันจากข้อมูลการเคลื่อนไหว ศิลปะการต่อสูป้ อ้ งกันตัว อย่างการร�ำดาบไทยและ กระบี่กระบอง ได้ถูกบันทึกและถ่ายทอดจากโลกแห่ง ความจริงเข้าสู่โลกเสมือน โดยผู้ใช้จากทั่วโลกสามารถ ร่วมเรียนรู้และสืบสานศิลปะอันงดงามผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยี Motion Capture ที่ใช้ในการ ตรวจจับการเคลื่อนไหวจากเซนเซอร์ที่ติดตามร่างกาย และเข้ามามีบทบาทส�ำคัญในการถ่ายทอดศิลปะการแสดง ดาบไทย โดยจะใช้การตรวจจับภาพเคลื่อนไหวจากจุด Marker จ�ำนวน 42 จุดทีต่ ดิ ไว้ตามร่างกาย หรือชุดของ ผู้แสดง (Body Suit) รูปที่ 10 แสดงขั้นตอนการบันทึกท่าร�ำดาบไทย ทั้งร�ำเดี่ยว ซึ่งร�ำเพียงคนเดียว และการร�ำคู่ ซึ่งจะร�ำ พร้อมกันสองคนในฉากเดียวกัน ก่อนอืน่ นักแสดงจะต้อง ปรับสมดุลเซนเซอร์ทตี่ ดิ อยูก่ บั ชุดให้เข้ากับกล้อง โดยยืน กางแขนทั้งสองข้าง แล้วจึงเริ่มการร่ายร�ำดาบไทยตาม รูปแบบการแสดงดาบไทย

ส�ำหรับนักแสดงจะใช้ชุด Body Suit ที่มีเซนเซอร์ ติดอยูต่ ามส่วนทีม่ กี ารเคลือ่ นไหว และใช้หลักของกล้อง Optical ในการเก็บข้อมูลของแสงสะท้อนตามจุดต่างๆ เพื่ อ บั น ทึ ก การเคลื่ อ นไหวและประมวลผลภาพด้ ว ย ซอฟต์แวร์วเิ คราะห์การเคลือ่ นไหว (Motion Analysis) ดังแสดงในรูปที่ 9

119


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

รูปที่ 10: การบันทึกท่าร�ำดาบไทยในชุด Body Suit

การรับสัญญาณการเคลือ่ นไหวของเซนเซอร์ จะผ่าน กล้อง Optical Motion Capture ซึ่งแสงจากตัวกล้อง จะส่องไปกระทบกับ Marker เพื่ออ่านและแปรค่า การเคลื่ อ นไหวจากผู ้ แ สดงเข้ า สู ่ ร ะบบคอมพิ ว เตอร์ เมือ่ ต้องการรายละเอียดของข้อมูลเพิม่ ขึน้ สามารถเพิม่ จุด Marker เพื่อบันทึกข้อมูลให้สมบูรณ์ขึ้นได้ จากนั้น ระบบจะน�ำค่าต�ำแหน่งของ Marker ทีไ่ ด้ไปเชือ่ มโยงกับ แบบจ�ำลองของตัวละครที่สร้างไว้ ท�ำให้ตัวละคร 3 มิติ (3D Model) ทีส่ ร้างขึน้ สามารถแสดงท่าทางเคลือ่ นไหว ได้สมจริงตามข้อมูลทีไ่ ด้บนั ทึกไว้ รูปที่ 11 แสดงตัวละคร 3 มิติที่สร้างจ�ำลองขึ้นเป็นตัวแทนของนักดาบ ส่วนรูป ที่ 12 เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมตามสถานที่จริง บริ เ วณสนามหลวงและวั ด พระแก้ ว ซึ่ ง เมื่ อ น� ำ มา ประกอบกันจะได้ผลงานแอนิเมชันทีน่ า่ ชม ประกอบการ เรียนรู้ฝึกฝนการร�ำดาบไทย ผลงานนี้ อ ยู ่ ใ นโครงการ Digitized Thailand (Digitized Thailand, 2009) ซึง่ ได้รบั ความร่วมมือจาก ศูนย์เทคโนโลยีอเิ ล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในการจัดท�ำแอนิเมชัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการ บันทึกข้อมูลด้วยระบบ Motion Capture และส�ำนักดาบ ศรี ไ ตรรั ต น์ ที่ ไ ด้ ใ ห้ ผู ้ เชี่ ย วชาญมาบั น ทึ ก การแสดง โครงการนีช้ ว่ ยสร้างคลังข้อมูลและอนุรกั ษ์ศลิ ปวัฒนธรรม การร�ำดาบไทยต่อไป

120

รูปที่ 11: แบบจ�ำลองของตัวละคร 3 มิติ

รูปที่ 12: แบบจ�ำลองของสภาพแวดล้อม

รูปที่ 13: การสร้างแอนิเมชันท่าร�ำดาบไทย


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

รูปที่ 14: โปรแกรมส�ำหรับการฝึกฝนร�ำดาบไทยและคลัง ข้อมูลดาบไทย

แอนิเมชันการร�ำดาบไทยได้มาจากการ Render ข้อมูล Motion Capture ของแต่ละท่า ซึ่งรูปที่ 13 แสดงแอนิเมชันของการร�ำดาบกระบี่ ส�ำหรับคลังข้อมูล ที่ได้รวบรวมเกี่ยวกับกระบี่กระบอง และการฝึกฝน การร�ำดาบไทย ได้น�ำมาท�ำเป็นโปรแกรมส�ำหรับการ ฝึกฝนท่าร�ำดาบไทย 3 มิติ และถ่ายทอดมาไว้บนเว็บไซต์ ดังแสดงในรูปที่ 14 ซึ่งสามารถเข้าไปศึกษาได้ที่เว็บไซต์ ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ (NECTEC, 2010) โดยมีขอ้ มูลการฝึกฝนศิลปะ ป้องกันตัวเบือ้ งต้น ท่าการร่ายร�ำดาบ และข้อมูลการแสดง กระบีก่ ระบองชนิดต่างๆ จัดแบ่งตามแต่ละชนิดอุปกรณ์ ซึง่ มีครูดาบถ่ายทอดเอาไว้ รวมถึงการแสดงการร�ำดาบไทย แบบสือ่ แอนิเมชันทีม่ าจากข้อมูลของเทคโนโลยี Motion Capture เพือ่ ให้เยาวชนรุน่ หลังมีความสนใจศึกษาเรียนรู้ ต่อไป บทสรุป บทความนี้กล่าวถึงเทคโนโลยีในการตรวจจับการ เคลื่อนไหวของนักแสดง (Motion Capture) ที่ใช้ใน ภาพยนตร์ชื่อดังต่างๆ ประเภทของ Motion Capture ทีม่ ใี ช้แบบต่างๆ โดยเน้นที่ Optical Motion Capture ซึง่ มีขอ้ ดีหลายอย่างและถูกน�ำมาประยุกต์ใช้งานในปัจจุบนั รวมถึงอธิบายอุปกรณ์และขั้นตอนที่จ�ำเป็นในการเก็บ

ข้อมูลด้วย Motion Capture นอกจากนั้นยังแสดง ตัวอย่างภาพยนตร์ทใี่ ช้เทคโนโลยีนใี้ นการสร้างตัวละคร การประยุกต์ใช้ในการสร้างเกม และการน�ำมาใช้เพื่อ อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประจ�ำชาติ ซึ่งมีตัวอย่างของ การน�ำมาประยุกต์ใช้เพื่ออนุรักษ์ศิลปะการร�ำดาบไทย และการแสดงกระบีก่ ระบอง ซึง่ เป็นเอกลักษณ์ประจ�ำชาติ ของไทยอีกด้วย ซึ่งได้เป็นหนึ่งในโครงการ Digitized Thailand ของศู น ย์ เ ทคโนโลยี อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แ ละ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ และยังได้น�ำไปเผยแพร่เพื่อสอน ให้ผทู้ สี่ นใจได้ฝกึ ฝนศิลปะดาบไทยอย่างต่อเนือ่ งในรูปแบบ ของแอนิเมชัน ปัจจุบันประเทศไทยมีความตื่นตัวมากขึ้นในด้าน แอนิเมชัน และสื่อมัลติมีเดียต่างๆ รวมทั้งมีเยาวชน สนใจด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกมากขึ้น มีหลักสูตรที่น�ำ เทคโนโลยี Motion Capture มาใช้ในการเรียนการสอน เกิดขึ้น จึงมีแนวโน้มที่ประเทศไทยจะมีบุคลากรด้านนี้ และสามารถยกระดั บ อุ ต สาหกรรมด้ า นแอนิ เ มชั น มัลติมิเดีย และเกมให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้ ในอนาคต

บรรณานุกรม

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2554). ตัวอย่างภาพยนตร์ และตัวละครทีใ่ ช้เทคนิค Motion Capture. สืบค้น เมื่ อ 12 มี น าคม 2554, จาก มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ เว็บไซต์: http://pirun.ku.ac.th วิรัช ศรเลิศล�้ำวาณิช และคณะ. (2553). เทคโนโลยี ระบบการแปลงข้อมูลดิจิทัล Motion Capture. Digitized Thailand. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. สุวชิ ยั พรรษา. (2552). Motion Capture จินตนาการ ที่สัมผัสได้. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2554 จาก newmedia เว็บไซต์: http://suwichai.blogspot. com/motion-capture.html

121


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

Battlefield Thailand. (2011). Battlefield 3 ใช้ เ ทคนิ ค ใส่ ชี วิ ต ตั ว ละคร Motion Capture พัฒนาเกม. Retrieved June, 6, 2011 from Battlefield Thailand Website: http://www. bf-thailand.net Coco, Donna. (1997). Motion capture advances. Computer Graphics World, November, 37-42. Digitized Thailand. (2009). ท่วงท่าลีลา. Retrieved April 19, 2011, from Digitized Thailand Website: http://www.digitized-thailand.org La Trobe University. (1997). Applications of motion capture. Retrieved April 20, 2011, from La Trobe University Website: http:// farben.latrobe.edu.au/motion Matzer, Maria. (1997). Animation’s new toon advances mean motion capture is about to make a splash. Los Angeles Times.

NECTEC. (2010). Thai Sword. Digitized Thailand. Retrieved April 10, 2011, from National Electronics and Computer Technology Center Website: http://malayu.nectec.or.th/dml/ thaisword/thaisword.html Northern Animation Studio-NAS. (2011). Motion Capture ใส่ชีวิตให้ตัวละคร CG. Retrieved April 10, 2011, from Wara.com Website: http://www.wara.com/article-304.html Phunsa, Suwichai, Potisarn, Nawuttagorn, Tirakoat, Suwich. (2009). Edutainment - Thai art of self-defense and boxing by motion capture technique. International Conference on Computer Modeling and Simulation. 152-155. Tancharoen, Datchakorn. (2011). Thai sword martial arts Krabi Krabong cultural modeling. Workshop on Social Computing and Cultural Modeling (SCCM).

Dr.Datchakorn Tancharoen received the B.Eng. and M.Eng. in Electrical Engineering from Chulalongkorn University. After he graduated, he got the scholarship from Toshiba Foundation to join the Toshiba CMC as a research engineer in Yokohama, Japan. He was also awarded the Japanese Government Scholarship to study in the University of Tokyo and received the Ph.D. degree in Information and Communication Engineering, Department of Electronic Engineering in 2007. Currently, he works as the Chairperson for Department of Information Technology and Associate Dean for Administration and International Relations, Faculty of Engineering and Technology, Panyapiwat Institute of Management. His current research is about Multimedia Processing, Web Technology, Social Networking and Cultural Modeling.

122


วามรู้เรื่องตลาดการค้าคาร์บอนเครดิต Carbon Markets: the Simple Fact ดร.กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ อาจารย์ประจ�ำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ E-mail: karnjana.s@bu.ac.th

บทคัดย่อ

ปัญหาโลกร้อนหรือปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศนับว่าเป็นประเด็นที่ทั่วโลกตื่นตัว และให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยประเทศต่างๆ ได้รว่ มมือกันเพือ่ ทีจ่ ะลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ภายใต้พิธีสารเกียวโต จากจุดนี้เองจึงเป็นที่มาของการซื้อขายคาร์บอนเครดิตผ่านตลาดคาร์บอน ทั้งตลาดคาร์บอนแบบทางการและตลาดคาร์บอนแบบสมัครใจ ผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) กลไกการพัฒนาร่วมกัน (JI) และกลไกการซื้อขายก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ (ET) ทั้ ง นี้ ป ระเทศไทยเป็ น ประเทศหนึ่ ง ที่ เข้ า ร่ ว มการลดปริ ม าณก๊ า ซเรื อ นกระจกแบบสมั ค รใจ ผ่านโครงการการพัฒนากลไกทีส่ ะอาด และได้มกี ารพัฒนา Certified Emission Reductions (CERs) ที่สามารถใช้ในการค้าขายในตลาดคาร์บอน เนื่องจากเชื่อกันว่าในอนาคตตลาดคาร์บอนจะมีการ ขยายใหญ่ขึ้นโดยเฉพาะตลาดคาร์บอนแบบสมัครใจ และคาร์บอนเครดิตจะเปรียบเสมือนสินค้า ส่งออกที่สามารถน�ำรายได้ให้กับประเทศไทย รัฐบาลไทยควรจะให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ ในประเทศให้มคี วามพร้อมทัง้ ทางด้านเทคโนโลยี และทางด้านการเงิน เพือ่ ให้การพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศเป็นไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน ค�ำส�ำคัญ: ตลาดคาร์บอน คาร์บอนเครดิต กลไกการพัฒนาที่สะอาด การพัฒนาที่ยั่งยืน

Abstract

Certainly global warming and climate change issues have received tremendous attention this decade. Hence, most countries commit themselves to a reduction of greenhouse gases under the Kyoto Protocol. These emission limits initiate the concept of carbon trading through both regulated carbon market and voluntary

123


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

carbon market. Three mechanism that enable countries to achieve greenhouse gas reduction credit or carbon credit consist of Clean Development Mechanism (CDM), Joint Implementation (JI) and Emission Trading (ET). Although Thailand has no obligation to reduce greenhouse gas by the Kyoto Protocol, Thailand has adopted Clean Development Mechanism in order to reduce greenhouse gas voluntarily and receive Certified Emission Reductions (CERs). CERs are used for trading purpose in carbon markets, which have been increasing in size especially in voluntary carbon market. Since CERs can bring income to the country through emission trading, Thai government should support both technologies and finance on CDM projects in order to encourage clean technology and sustainable growth in Thailand. Keywords: Carbon Market, Carbon Credit, Clean Development Mechanism, Sustainable Growth ความส�ำคัญ นโยบายปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมอิ ากาศกันอย่างกว้างขวาง และได้กล่าวถึง แนวทางที่จะลดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโดยการ หาทางลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก และการจัดให้มีการ ทดแทนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คือหนึ่งในนั้น ทางเทคนิคแล้วเราเรียกการ ทดแทนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไซด์วา่ “คาร์บอนเครดิต” (Carbon Credit) และเรียกแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์วา่ “คาร์บอนซิงค์” (Carbon Sink) ซึง่ เราจะ สามารถเห็นค�ำเทคนิคเหล่านีม้ ากขึน้ เรือ่ ยๆ การศึกษานี้ มีจุดประสงค์ที่จะอธิบายชี้แจงความหมายคาร์บอน เครดิต รวมไปถึงความส�ำคัญและแนวทางการปฏิบัติ และแนวโน้มต่อไปในอนาคตของตลาดคาร์บอนเครดิต เพื่ อ ให้ ค วามรู ้ ความเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ คาร์ บ อนเครดิ ต ตลาดคาร์บอนเครดิต ระบบกลไกและแนวทางการปฏิบตั ิ ความเป็นมาของคาร์บอนเครดิต จุดเริม่ ต้นของคาร์บอนเครดิตเริม่ จาก พิธสี ารเกียวโต (Kyoto Protocol) ตามข้อก�ำหนด ภายใต้อนุสัญญา

124

สหประชาชาติวา่ ด้วย การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ (United Nations Framework - Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) ซึ่งก�ำหนดให้กลุ่ม ประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นสมาชิกของพิธีสารเกียวโต จ�ำนวน 41 ประเทศ มีพันธกรณีในการลดปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2012 โดยมีมาตรฐานว่าให้ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากที่ เคยปล่อยเมือ่ ปี ค.ศ.1990 ลงอย่างน้อยประมาณ 5.2% หากประเทศดั ง กล่ า วไม่ ส ามารถด� ำ เนิ น การได้ ต าม ข้อก�ำหนดจะมีบทปรับ นอกจากนัน้ กลุม่ ประเทศพัฒนา จะต้องท�ำโครงการร่วมกับกลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนา ซึ่ ง เข้ า ร่ ว มด� ำ เนิ น โครงการในการลดการปล่ อ ยก๊ า ซ เรือนกระจกโดยสมัครใจผ่านการซือ้ คาร์บอนเครดิตจาก กลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนา ข้อก�ำหนดพิธีสารเกียวโตส่งผลให้กลุ่ม ประเทศ ก�ำลังพัฒนาสามารถได้รับคาร์บอนเครดิตจากการลด ปริมาณก๊าซเรือนกระจกภายใต้โครงการ กลไกการพัฒนา ทีส่ ะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) โดยมีองค์กรกลางเป็นผูอ้ อกใบอนุญาตรับรองมาตรฐาน (Certified Emission Reduction: CER) ก่อนจึงจะ


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

สามารถนับเป็นคาร์บอนเครดิตได้ ซึ่งคาร์บอนเครดิตนี้ จะท�ำหน้าที่คล้ายกับสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถซื้อขายในตลาดคาร์บอน คาร์บอนเครดิต คืออะไร คาร์บอนเครดิตเปรียบเสมือนใบรับรองที่ แสดงถึง การลดก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศจากโครงการที่ ป้องกันหรือลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เช่น โครงการ ผลิตพลังงานสะอาด ทั้งนี้ประเทศที่สามารถลดปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกจะได้รับคาร์บอนเครดิตที่สามารถขาย ให้กับประเทศอื่นที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยผู้ซื้อ คาร์บอนเครดิตจะเป็นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่เป็น ภาคี ส มาชิ ก จ� ำ นวน 41 ประเทศ ในขณะที่ ผู ้ ข าย คาร์บอนเครดิตเป็นประเทศก�ำลังพัฒนาทีเ่ ป็นภาคีสมาชิก จ�ำนวน 150 ประเทศ ทั้งนี้แหล่งสร้างคาร์บอนเครดิต ทีส่ ำ� คัญคือ แหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทเี่ รียกว่า คาร์บอนซิงค์ (Carbon Sink) อันได้แก่ ป่าไม้ธรรมชาติ โดยปกติแล้วพื้นที่ป่าสมบูรณ์ 1 เอเคอร์ หรือประมาณ 2.5 ไร่ จะสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ประมาณ 2 ตัน (Mercheker, 2009) นอกจากนีก้ จิ กรรม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานทดแทนจะสามารถเทียบ เป็นคาร์บอนเครดิตได้ โดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แทนน�ำ้ มัน 1 หน่วย (กิโลวัตต์/ชัว่ โมง) จะได้รบั คาร์บอน เครดิตประมาณ 0.6 กิโลกรัม (UNFCCC, 2010) ตลาดคาร์บอนเครดิต ตลาดคาร์บอน (Carbon Market) เริ่มมาจาก แนวคิดทีใ่ ช้กลไกตลาดเป็นแรงจูงใจในการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก โดยเริ่มจากการให้คาร์บอนเครดิตแก่ กลุ ่ ม ประเทศก� ำ ลั ง พั ฒ นาที่ ส ามารถลดปริ ม าณก๊ า ซ เรือนกระจก จากนั้นก�ำหนดราคาของคาร์บอนเครดิต โดยใช้กลไกตลาดเป็นเครื่องมือในการซื้อขายคาร์บอน เครดิตดังกล่าว ซึง่ เชือ่ กันว่าโดยกลไกตลาดจะมีมอื ทีม่ อง ไม่เห็นเข้ามาช่วยในการก�ำหนดราคา และส่งผลให้ตน้ ทุน ของการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกต�่ำที่สุด

โดยทั่วไปแล้ว เราจะสามารถแบ่งตลาดคาร์บอน ออกเป็นสองกลุ่มหลัก ดังต่อไปนี้ 1. ตลาดแบบทางการ (Regulated Market) ตลาดแบบทางการเป็นตลาดค้าคาร์บอนเครดิตตาม พิธีสารเกียวโต ซึ่งก�ำหนดกลไกไว้ ดังนี้ 1.1 กลไกการพัฒนาทีส่ ะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) กลไกการพัฒนาทีส่ ะอาดเป็นการด�ำเนินการร่วมกัน ระหว่ า งกลุ ่ ม ประเทศอุ ต สาหกรรม หรื อ ที่ เรี ย กว่ า Annex I (ตารางที่ 1) และกลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนา หรือที่เรียกว่าประเทศ Non Annex I ที่ให้สัตยาบันต่อ พิธีการสารเกียวโต เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยหากภาคธุรกิจเอกชนลงทุนพัฒนาโครงการตามกลไก การพัฒนาทีส่ ะอาด หรือ (CDM) ในประเทศก�ำลังพัฒนา และผ่านการตรวจสอบโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องแล้วว่า สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้จริง ผู้พัฒนา โครงการนั้นได้รับคาร์บอนเครดิตที่เรียกว่า Certified Emission Reductions (CERs) ซึ่งมีหน่วยเป็นตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Ton CO2 Equivalent) CERs จะระบุปริมาณก๊าซเรือนกระจกลดลงทีต่ รวจสอบได้ และสามารถซือ้ ขายกันได้ในตลาดคาร์บอน หรือซือ้ ขาย ระหว่างผู้ร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว โดยปกติแล้วเงือ่ นไขของ CDM จะอนุญาต ให้กลุม่ ประเทศพัฒนาแล้วสามารถลงทุนพัฒนาโครงการ CDM ในกลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนาเพื่อ ลดปริมาณการปล่อย ก๊ า ซเรื อ นกระจกโดยทั้ ง สองกลุ ่ ม ประเทศจะได้ รั บ ผลประโยชน์รว่ มกัน กล่าวคือ กลุม่ ประเทศก�ำลังพัฒนา จะได้รบั เงินช่วยเหลือในรูปของเงินลงทุนจากกลุม่ ประเทศ พัฒนาแล้วในโครงการผลิตพลังงานสะอาด โครงการ ปลูกป่า หรือโครงการอนุรกั ษ์พลังงาน รวมไปถึงเงินทีไ่ ด้ จากการขายคาร์บอนเครดิตจากปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่ลดลงได้ ซึ่ ง ประเทศพั ฒ นาแล้ ว จะสามารถน� ำ คาร์ บ อน เครดิตนีร้ วมในเป้าหมายการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก

125


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ตามพันธกรณีของประเทศตน โดยหน่วยงานสูงสุดที่มี อ�ำนาจในการอนุมัติการขึ้นทะเบียนโครงการ CDM รวมไปถึงอนุมตั ปิ ริมาณคาร์บอนเครดิตของทุกโครงการ CDM ที่เสนอทั่วโลกคือ CDM Executive Board ที่ตั้ง อยู่ที่ประเทศเยอรมนี (UNFCC, 2006) ระบบการ ด�ำเนินงานของกลไก CDM สามารถแสดงอยู่ในรูปที่ 1 นอกจากประโยชน์ในรูปตัวเงินแล้ว การพัฒนา โครงการ CDM ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศก�ำลัง พัฒนาในรูปของการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา ที่ยั่งยืน มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่ง แวดล้อม รวมไปถึงการรับถ่ายทอดเทคโนโลยี ทีส่ ะอาด จากประเทศพัฒนาแล้ว เพือ่ เป็นประโยชน์ตอ่ การพัฒนา คุณภาพสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี สืบต่อไปในอนาคต ปัจจุบันมีโครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ให้เป็น โครงการ CDM จ�ำนวน 1,751 โครงการ ดังแสดงใน ตารางที่ 2

ตารางที่ 1: ประเทศในกลุ่ม Annex I

รูปที่ 1: ระบบการดำ�เนินงานของกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM)

126

ออสเตรเลีย บัลแกเรีย เดนมารค์ เยอรมัน ไอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ เนเธอร์แลนด์ โปตุเกส สโลวาเนีย ตุรกี ไซปรัส สวีเดน เบลเยียม สาธารณรัฐเชค ฝรั่งเศส

ออสเตรีย แคนาดา เอสโทเนีย กรีซ อิตาลี ลิทูเนีย นิวซีแลนด์ โรมาเนีย สเปน ยูเครน ฮังการี ลัตเวีย โมนาโค โปแลนด์ สโลวาเกีย

เบลารุส โครเอเชีย ฟินแลนด์ ฮังการี ญีปุ่น ลักเซมเบิกส์ นอร์เวย์ รัสเซีย สวีเดน สหราชอาณาจักร มัลต้า ไอซ์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา โรมาเนีย


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ตารางที่ 2: จ�ำนวนโครงการ CDM

ล�ำดับที่

ประเทศ

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11

จีน อินเดีย บราซิล เม็กซิโก มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ชิลี เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ไทย และ เปรู อาเจนตินา

จ�ำนวนโครงการ CDM (โครงการ) 600 448 160 117 58 39 34 28 27 18 15

1.2 กลไกการด�ำเนินการร่วมกัน (Joint Implementation: JI) กลไกการด�ำเนินการร่วมกันเป็นการด� ำเนินการ ร่วมกันระหว่างประเทศในกลุ่มที่มีพันธกรณีในการลด ปริมาณก๊าซเรือนกระจก หรือประเทศในกลุ่ม Annex I โดยประเทศในกลุม่ Annex I สามารถลงทุนในโครงการ ลดปริ ม าณก๊ า ซเรื อ นกระจก ในประเทศอื่ น ในกลุ ่ ม Annex I ด้วยกัน จึงเป็นที่มาของค�ำว่า “โครงการ การด�ำเนินการร่วมกัน” (Joint Implementation Projects) ซึง่ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการลงทุนในโครงการ ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ในกลุม่ ประเทศ Economic in Transition (EIT) อันได้แก่ประเทศทีใ่ ช้ตน้ ทุนในการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกค่อนข้างต�่ำ หรือ 12 ประเทศ ในกลุม่ Annex B ของพิธกี ารสารเกียวโต ซึง่ ประกอบด้วย บัลกาเรีย โครเอเชีย สาธารณรัฐเชค เอสโทเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทเู อเนีย โปแลนด์ รัสเซีย สโลวาเกีย สโลเวเนีย และยูเครน และใช้เครดิตจากปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่ลดได้รวมในเป้าหมายตามที่ได้รับจากพันธกรณี

โดยปัจจุบันยูเครนและประเทศในแถบรัสเซียเดิม เป็นประเทศที่มีโครงการ JI มากที่สุด ตัวอย่างของ โครงการ JI ได้แก่ โครงการเปลี่ยนแปลงจากโรงผลิต พลังงานถ่านหินสูโ่ รงผลิตพลังงานทีม่ ปี ระสิทธิภาพมากขึน้ หรือที่เรียกว่า Combined Heat and Power (CHP) เช่น โรงผลิตพลังงานก๊าซชีวภาพ โรงผลิตพลังงานนิวเคลียร์ โดยประเทศ Economic in Transition ดังกล่าวจะได้ ประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ส ะอาดจาก ประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากโครงการพลังงานสะอาดแล้ว การลงทุนปลูกป่าหรือฟื้นฟูป่าไม้ยังสามารถนับเป็น โครงการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถนับเป็น เครดิตได้เช่นกัน ทัง้ นีโ้ ครงการ JI มีความได้เปรียบมากกว่าโครงการ CDM ในเชิงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดได้ ทั้งหมด เนื่องว่าประเทศที่ด�ำเนินโครงการ JI เป็น ประเทศทีอ่ ยูใ่ นพันธกรณีทตี่ อ้ งลดปริมาณการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกด้วยกันทั้งหมด แต่อย่างไรก็ดีระบบเครดิต จากโครงการ JI ค่อนข้างซับซ้อน กล่าวคือ ปริมาณก๊าซ เรือนกระจกที่สามารถลดได้จะต้องผ่านการอนุมัติจาก ประเทศเจ้าบ้าน ทีด่ ำ� เนินโครงการก่อน โดยปริมาณก๊าซ เรือนกระจกที่ลดลงในกลไก JI จะเรียกว่า Emission Reduction Units (ERUs) ซึ่ง ERUs 1 หน่วยสามารถ เที ย บได้ กั บ ก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ จ� ำ นวน 1 ตั น คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เนือ่ งจากกลไก JI อนุญาต ให้ประเทศในกลุ่ม Annex I ได้รับเครดิตจากปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงจากการลงทุนในประเทศ JI ประเทศอื่นที่ต้นทุนถูกกว่า จึงเกิดการโอนย้าย ERUs ระหว่างประเทศในกลุม่ Annex I ด้วยกัน ในทางปฏิบตั ิ แล้วประเทศในกลุ่ม Annex I จะลงทุนในกลุ่มประเทศ Economic In Transition และได้รบั ERUs จากปริมาณ ก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถลดลงได้ในขณะที่ประเทศ ในกลุม่ Economic in Transition ทีด่ ำ� เนินโครงการ JI ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับ ERUs แต่จะได้รับประโยชน์จาก เทคโนโลยีทสี่ ะอาด ซึง่ เป็นโครงการทีย่ งั่ ยืนต่อการพัฒนา ประเทศต่อไปในอนาคต

127


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

1.3 กลไกการซื้อขายก๊าซเรือนกระจกระหว่าง ประเทศ (Emission Trading: ET) กลไกการซื้อขายก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ หรือที่รู้จักในชื่อของ Cap and Trade เป็นกลไกทาง การตลาดที่ใช้ในการควบคุมมลพิษโดยอาศัยแรงจูงใจ ทางเศรษฐกิจในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Steven, 2000) กลไก ET นี้จะช่วยให้เกิดการซื้อขายสิทธิการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับจัดสรรและอนุญาตให้ ปล่อยระหว่างกลุ่มประเทศที่ มีพันธสัญญาตามพิธีการ สารเกียวโตในตารางที่ 1 หรือกลุ่ม Annex I เพื่อลด ปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้าหมาย โดยปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกที่ต้องควบคุมตามกลไกนี้ถูกเรียกว่า ก๊าซเรือนกระจกทีไ่ ด้รบั การจัดสรรและอนุญาตให้ปล่อย (Assigned Amount Units (AAUs) ทั้งนี้ประเทศที่ไม่ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามที่ก�ำหนด ไว้ได้จะสามารถเข้าสูก่ ลไกการซือ้ ขาย ET นัน่ คือประเทศ ทีม่ สี ทิ ธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่ไม่ได้ใช้สทิ ธินนั้ สามารถขายแก่ประเทศทีไ่ ม่สามารถลดก๊าซเรือนกระจก ได้ตามเป้าหมายโดยสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังกล่าวอาจจะเป็นทัง้ จากโครงการ CDM หรือทีเ่ รียกว่า CERS และโครงการ JI หรือที่เรียกว่า ERUs ตัวอย่างทีส่ ำ� คัญของกลไกการซือ้ ขายก๊าซเรือนกระจก ระหว่างประเทศ คือ ตลาด EU Emission Trading Scheme (EU ETS) ของสหภาพยุโรป ซึง่ กลไก EU ETS ในช่วงแรกเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ.2005 ถึงเดือน ธันวาคม ค.ศ.2007 และในช่วงที่สองเริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม ค.ศ.2008 ถึงเดือนธันวาคม ค.ศ.2012 ซึ่ง สหภาพยุโรปมีโครงการจะขยายช่วงทีส่ ามในปี ค.ศ.2013 กลไกทางการตลาดใน EU ETS นี้จะใช้วิธีแบบ Cap and Trade โดยรัฐบาลของสหภาพยุโรปทัง้ 25 ประเทศ จะก�ำหนดปริมาณก๊าซเรือนกระจกทีอ่ นุญาตให้ปล่อยได้ (Emission Allowance) ในอุตสาหกรรมปลายน�้ำ 5 ประเภท ได้แก่ น�้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การผลิต พลังงานไฟฟ้า กระดาษและเยื่อกระดาษ ซีเมนต์และ กระจก และอุตสาหกรรมเหล็ก ในแต่ละช่วงเวลา จากนัน้

128

ประเทศที่ต้องการสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิม่ เติมสามารถซือ้ สิทธิดงั กล่าวจากประเทศอืน่ ทีม่ สี ทิ ธิ เหลือ (Oberthur & Ott, 1999) ซึ่งวิธีการนี้ผู้ซื้อสิทธิ จะเป็นคนจ่ายค่าก่อให้เกิดมลพิษ และผูข้ ายจะได้รบั เงิน รางวัลจากมลพิษทีล่ ดลง ตามหลักทฤษฎีแล้วในท้ายทีส่ ดุ ผูท้ สี่ ามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยใช้ตน้ ทุนทีต่ ำ�่ ทีส่ ดุ จะเป็นผูด้ ำ� เนินงาน ซึง่ จะส่งผลให้ตน้ ทุนทีใ่ ช้การลด ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสังคมนั้นต�่ำที่สุด (Soltau, 2009) ส�ำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกามีตลาดกลางประจ�ำ ประเทศทีท่ ำ� หน้าทีใ่ นการลดปริมาณฝนกรด และตลาด ประจ�ำพื้นที่ส�ำหรับก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ในขณะที่ ตลาดส�ำหรับมลพิษประเภทอื่นยังคงมีอยู่น้อยหรือเป็น แบบประจ�ำท้องถิ่น 2. ตลาดแบบสมัครใจ ตลาดแบบสมัครใจเป็นตลาดทีม่ กี ารซือ้ ขายปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกทีล่ ดลงแบบสมัครใจ ซึง่ หมายถึงการลด ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ไม่มีกฎบังคับ ไม่มี การก�ำหนดระยะเวลา และไม่มีการขอใบรับรองหรือ ไม่ได้ลงทะเบียนกับคณะกรรมการกลางของ UNFCCC ซึง่ ก๊าซเรือนกระจกทีล่ ดลงโดยสมัครใจนีเ้ รียกว่า Verified (หรือ Voluntary) Emission Reductions (VERs) ตลาดคาร์บอนแบบสมัครใจนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง ต่ อ เนื่ อ ง ซึ่ ง ผู ้ ที่ ซื้ อ คาร์ บ อนชดเชยส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น หน่วยงานทีต่ อ้ งการแสดงความรับผิดชอบต่อสิง่ แวดล้อม (Pure Voluntary) หรือเพื่อภาพลักษณ์ขององค์กร บางส่วนของผูซ้ อื้ คาร์บอนอาจจะเป็นเพราะว่าเป็นห่วงว่า ในอนาคตอาจจะมีการก�ำหนดข้อบังคับคาร์บอนจึงเลือก ที่ซื้อคาร์บอนชดเชยในปัจจุบัน (Pre-Compliance) ทั้งนี้ VERs จะมีราคาต้นทุนที่ต�่ำกว่า CERs VERs เป็นประเภทหนึ่งของการกระบวนการลด คาร์บอนในตลาดแบบสมัครใจหรือ Over-the-Counter (OTC) (Bayon, Hawn & Hamilton, 2007) โดยขัน้ ตอน การตรวจสอบก๊าซเรือนกระจกทีล่ ดลงจะสามารถท�ำผ่าน


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

กระบวนการตรวจวัดโดยสมัครใจ ทัง้ นี้ VER หนึง่ หน่วย มีคา่ เท่ากับ 1 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ (Passey, MacGill, Nolles, & Outhred, 2005) ทัง้ นีต้ ลาดแบบสมัครใจอีกประเภทคือตลาด Chicago Climate Exchange (CCX) ซึง่ เป็นตลาดทีส่ มาชิกสมัคร เข้าร่วมโดยสมัครใจ แต่การด�ำเนินการต่างๆ จะเป็นไป ตามข้อก�ำหนดที่มีผลบังคับทางกฎหมายในการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ตลาด CCX เริม่ ก่อตัง้ เมือ่ ปี ค.ศ. 2003 โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยสมัครใจ ทัง้ นีผ้ เู้ ข้าร่วมใน CCX ประกอบด้วยองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงสถาบันการเงินจากทั้ง 50 รัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา 8 รัฐในประเทศแคนาดา และประเทศอื่นๆ จ�ำนวน 16 ประเทศ ตลาด CCX มีเป้าหมายทีค่ วบคุมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจ�ำนวน ถึง 700 ล้านเมตริกตัน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของตลาด cap and trade ในสหภาพยุโรป หน่วยทีค่ า้ ขายกันของ ตลาด CCX คือ สัญญา Carbon Financial Instrument (CFI) ซึ่งเทียบเท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จ�ำนวน 100 เมตริกตัน สมาชิกของตลาด CCX จะมีข้อตกลงที่มีผลบังคับ ทางกฎหมายในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกประจ�ำปี ประเทศทีม่ สี ามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้ตำ�่ กว่า เป้าหมายที่บังคับไว้จะสามารถขายสิทธินั้น ในขณะที่

ประเทศที่ไม่สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกตาม เป้าหมายสามารถซื้อ CFI Contract ได้ สถานการณ์ตลาดคาร์บอนเครดิตในปัจจุบัน รูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึงตลาดการซื้อขายคาร์บอน เครดิตทัง้ ตลาดภาคบังคับและภาคสมัครใจตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1998-2008 จากรูปจะเห็นได้ว่าในช่วงปี ค.ศ.1998 มีแต่การซือ้ ขายในตลาดแบบสมัครใจ ในปริมาณน้อยมาก แต่ในเวลาเพียงไม่กปี่ หี ลังจากนัน้ ตลาดคาร์บอนเครดิต ได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยจะเห็นได้ว่าตลาด คาร์บอนเครดิตโดยกลไก CDM มีบทบาทมากขึน้ และมี การขยายตัวอย่างรวดเร็วตัง้ แต่ปี ค.ศ. 2003 เมือ่ พิจารณา ใน ปี ค.ศ. 2007 จะพบว่าปริมาณการซือ้ ขายของตลาด คาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 636 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 6 ล้านยูโร อย่างไรก็ดีในปี ค.ศ. 2008 ลดเหลือเพียง 463 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า สาเหตุของการ ลดลงของปริมาณการซือ้ ขายคาร์บอนเครดิตประกอบด้วย ผลกระทบจากความตกต�ำ่ ของเศรษฐกิจ ตลาดคาร์บอน มีปริมาณการซือ้ ขายลดต�ำ่ ลงมา อย่างเห็นได้ชดั ปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทซี่ อื้ ขายในตลาดในปี ค.ศ.2008 และความไม่แน่นอนเกีย่ วกับกฎระเบียบตามพันธสัญญา เกียวโตหลัง ปี ค.ศ. 2012

ที่มา: State and Trends of the Carbon Market, 2009 รูปที่ 2: ปริมาณการซื้อขายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยกลไกต่างๆ

129


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ถ้าพิจารณาแต่ละประเภทของกลไกใน ปี ค.ศ. 2007-2008 ปริมาณการซือ้ ขายก๊าซคาร์บอนผ่านกลไก CDM นับว่าเป็นตลาดหลักของการซือ้ ขายคาร์บอนด้วย ปริมาณการซือ้ ขายอยูท่ ี่ 389 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า ในขณะเดียวกันปริมาณการซื้อขายคาร์บอน ผ่านกลไก JI ลดต�ำ่ ลงโดยมีคา่ อยูท่ ปี่ ระมาณ 20 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 201 ล้านยูโร ซึ่งลดจากปี 2007 ประมาณกึ่งหนึ่ง นอกจากนี้ความตกต�่ำทางเศรษฐกิจยังส่งผลกระทบต่อ ตลาดคาร์บอนเครดิตแบบสมัครใจ โดยอัตราความเจริญ เติบโตของปริมาณการซือ้ ขายคาร์บอนเครดิตอยูท่ ี่ 26% หรืออัตราความเจริญเติบโตของมูลค่าการซือ้ ขายคาร์บอน เครดิตอยูท่ ี่ 51% (ประมาณ 271 ล้านยูโร) ซึง่ เป็นอัตรา การเติบโตที่ค่อนข้างต�่ำเมื่อเทียบกับช่วงปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดอี ตั ราการเติบโตของตลาดรองคาร์บอนเครดิต ส�ำหรับ CER เติบโตสูงขึ้นอย่างรวดเร็วโดย มีปริมาณ การซื้อขายอยู่ที่ประมาณ 1,072 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือคิดเป็นมูลค่า 26,277 ล้านยูโร ปริมาณและมูลค่าการซื้อขาย ในตลาดรองคาร์บอนนี้ มีค่าสูงขึ้นมากกว่า 350% นั ก วิ เ คราะห์ ค าดการณ์ ว ่ า ภายใน ค.ศ. 2012 โครงการ CDM ทั้งหมดที่ก�ำลังด�ำเนินการอยู่ทั่วโลก สามารถนับปริมาณคาร์บอนเครดิตได้ 2.9 ล้านล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าและมีความสามารถผลิต คาร์บอนเครดิตได้อีกประมาณ 7.5 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าหลังปี ค.ศ. 2012 สถานการณ์คาร์บอนเครดิตไทย เนื่องจากประเทศไทยในฐานะภาคีสมาชิกในกลุ่ม ประเทศก�ำลังพัฒนา (Non Annex I) จึงไม่มีพันธกรณี ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี ค.ศ 2012 อย่างไรก็ดีประเทศไทยเข้าร่วมโครงการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกตามความสมัครใจผ่านกลไกการพัฒนา ที่สะอาด (CDM) กล่าวคือ มีโครงการที่น�ำไปสู่การลด การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตั้งแต่การส่งเสริม

130

และพัฒนาการอนุรกั ษ์พลังงาน รวมไปถึงการใช้พลังงาน หมุนเวียนและเชื้อเพลิงชีวภาพทดแทนน�้ำมันเชื้อเพลิง เนือ่ งจากภาคพลังงานเป็นภาคหลักทีเ่ ป็นต้นก�ำเนิดก๊าซ เรือนกระจกของประเทศไทย ทั้งนี้ประเทศไทยได้จัดตั้งองค์การ บริหารจัดการ ก๊าซเรือนกระจก (Thailand Green House Gas Management Organization: TGO) เมื่อปี 2007 ภายใต้การก�ำกับดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อมเพือ่ ด�ำเนินการด้านการลดก๊าซเรือนกระจก และเป็นหน่วยงานกลางของประเทศ รวมไปถึงพิจารณา รับรองโครงการ CDM จากข้อมูลเมือ่ เดือนมิถนุ ายน 2009 ประเทศไทยได้มีการออกหนังสือให้ค�ำรับรองโครงการ CDM ทีเ่ รียกว่า Letter of Approval (LOA) ทีพ่ จิ ารณา ว่าเป็นโครงการทีช่ ว่ ยให้เกิดการพัฒนาอย่างยัง่ ยืนจ�ำนวน 100 โครงการ (โดยผ่านความเห็นชอบโดยคณะรัฐมนตรี 14 โครงการ และความเห็นชอบของ อบก. 86 โครงการ) ซึ่งโครงการดังกล่าวสามารถน�ำไปสู่การลดปริมาณก๊าซ เรือนกระจกเท่ากับ 6.32 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า โดยแบ่งเป็นโครงการผลิตไฟฟ้าและความร้อนจาก ชีวมวล 18 โครงการ โครงการผลิตไฟฟ้าและความร้อน จากก๊าซชีวภาพ 62 โครงการ โครงการผลิตไฟฟ้าจากที่ ฝังกลบขยะ 7 โครงการ โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน แสงอาทิตย์ 1 โครงการ โครงการผลิตไฟฟ้าจากลมร้อน ทัง้ 8 โครงการ โครงการเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า 2 โครงการ โครงการผลิ ต ปุ ๋ ย ชี ว มวล 1 โครงการ โครงการลดการปล่อยก๊าซ ไนตรัสออกไซด์ 1 โครงการ


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ตารางที่ 3: ปริมาณและมูลค่าคาร์บอนเครดิตในปี 2007-2008

2007

Primary CDM JI Voluntary market Sub-total Secondary CDM TOTAL

ปริมาณ (MtCO2e) 552 41 43 636 240 876

มูลค่า (MUS$) 7,433 499 263 8,195 5,451 13,646

2008

ปริมาณ (MtCO2e) 389 20 54 463 1,072 1,535

มูลค่า (MUS$) 6,519 294 397 7,210 26,277 33,487

ที่มา: State and Trends of the Carbon Market, 2009

อนาคตของตลาดคาร์บอนเครดิตไทย ในอนาคตคาดว่าประเทศไทยได้รับแรงกดดันจาก ประชาคมโลกในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกมากขึน้ ดังจะเห็นได้จากสหภาพยุโรปออกกฎเกณฑ์เกีย่ วกับก๊าซ เรือนกระจกเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ ซึง่ จะส่งผลกระทบต่อการส่ง สินค้าออกของประเทศไทยไปยุโรปในอนาคต หรือการที่ ญี่ปุ่นใช้มาตรการชักจูงผู้ประกอบการภายในประเทศ ให้สมัครใจลดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่จะ ใช้มาตรการบังคับ ให้เอกชนลดและชักชวนให้ผู้ส่งออก สินค้ามีการท�ำฉลาก Carbon Footprint หรือ Carbon Label นอกจากนี้ประเทศก�ำลังพัฒนาที่เป็นคู่แข่งในการ ส่งออกของประเทศไทย เช่น จีน อินเดีย มาเลเซีย เริม่ มี การใช้ประโยชน์จากตลาดคาร์บอนเครดิตเป็นอย่างมาก ในขณะที่ประไทยยังใช้ประโยชน์ในอัตราส่วนที่ต�่ำกว่า แรงกดดั น จากต่ า งประเทศส่ ง ผลให้ ทั้ ง ภาครั ฐ และ ภาคเอกชนของประเทศไทยต้องเตรียมตัวรับมือต่อการ เปลี่ยนแปลง ซึ่งโอกาสของการพัฒนาโครงการ CDM ในประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลัก (ก) นโยบายภาคพลังงานของรัฐบาลไทย ทางรัฐบาลไทยประกาศเป้าหมายที่จะใช้พลังงาน ทดแทนเป็นสัดส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานทัง้ หมด

ภายในปี 2022 ทัง้ นีต้ ามแผนพลังงานทดแทนฉบับ 15 ปี (ค.ศ. 2008-2012) ได้มุ่งเน้นการพัฒนาตนเองทางด้าน พลังงานในระดับชุมชน และสนับสนุนการใช้กา๊ ซธรรมชาติ ในภาคขนส่ง โดยรัฐบาลไทยได้พยายามส่งเสริมการวิจยั และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในเรือ่ ง ของพลังงานชีวภาพ และพลังงานชีวมวล เพื่อผลักดัน ให้ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกพลังงานทดแทนในอนาคต (ข) นโยบายตลาดคาร์บอนเครดิตของสหภาพ ยุโรป ปริมาณการซือ้ ขายก๊าซเรือนกระจกลดลง ในตลาด ภาคบังคับในช่วงปีที่ผ่านมากเนื่องจากความไม่แน่ใจ ในสถานการณ์ตลาดคาร์บอนหลังพิธสี ารเกียวโตสิน้ สุดลง อย่างไรก็ดลี า่ สุดสหภาพยุโรปยืนยันว่ายังรับซือ้ คาร์บอน ผ่านตลาดคาร์บอนเครดิตในสหภาพยุโรป (EU ETS) และยังสนับสนุนการพัฒนาโครงการ CDM หลังปี 2012 ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยในการพัฒนา คาร์บอนเครดิตเพือ่ ส่งออก สูต่ ลาด EU ETS ในอนาคต ทั้งนี้ในอนาคตมีแนวโน้มจะมีความต้องการ CER ที่มี คุณภาพสูงขึน้ เนือ่ งจากสหภาพยุโรปยกระดับมาตรฐาน CER แนวโน้มดังกล่าวส่งผลดีต่อประเทศไทยเพราะ องค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ค่อนข้าง รัดกุมเกี่ยวกับมาตรฐานของ CER โดยล่าสุดได้มีการ

131


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ออกมาตรฐานมงกุฎไทย (Crown Standard) ซึ่งเป็น กลไกใหม่ทใี่ ห้การรับรองคุณภาพส�ำหรับโครงการ CDM ที่สามารถท�ำประโยชน์ให้สังคมหรือสนับสนุนกิจกรรม พัฒนาสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่ ประเทศไทยได้สูงกว่ามาตรฐานปกติ จากข้อมูล ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2010 มีโครงการทีไ่ ด้รบั มาตรฐาน มงกุฎไทยทั้งสิ้น 15 โครงการ (ค) การสนับสนุนทางการเงินจากในและต่าง ประเทศ ภาครัฐบาลไทยได้ให้สิทธิพิเศษการลดหย่อนภาษี น�ำเข้าเครื่องจักร และภาษีเงินได้เป็นเวลา 8 ปีส�ำหรับ ผู้พัฒนาโครงการพลังงานทดแทน และโครงการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ซึง่ สามารถลดภาระต้นทุน การพัฒนาโครงการ CDM ได้ นอกจากนี้รัฐบาลไทย ยังอนุญาตให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือต่างๆ อาทิ กองทุน Revolving Fund หรือกองทุนหมุนเวียน ที่จะมีวงเงินจ�ำกัดไว้ให้ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต�่ำ (4%) โดยแต่ละโครงการจะสามารถกูเ้ งินได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท และระยะเวลากู้ไม่เกิน 7 ปี กองทุน ESCO Fund ซึง่ เป็นกองทุนของมูลนิธพิ ลังงานเพือ่ สิง่ แวดล้อมและมูลนิธิ อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย ส�ำหรับอุตสาหกรรม ขนาดย่อม หรือ SMEs เพือ่ ใช้ในการลงทุนในการพัฒนา โครงการพลังงานทดแทนกองทุน MFC Energy Fund ซึ่งเป็นกองทุนภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนโครงการ CDM ด้วยวงเงิน 50-500 ล้านบาทต่อโครงการกองทุน Clean Technology Fund ซึ่งเป็นกองทุนของธนาคารโลก (World Bank: WB) เพือ่ สนับสนุนการถ่ายโอนเทคโนโลยี ทีส่ ะอาดในกลุม่ ประเทศก�ำลังพัฒนาผ่านโครงการ CDM กองทุน Asia Pacific Carbon Fund ซึ่งเป็นกองทุน ของธนาคารเพือ่ การพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) เพื่อการสนับสนุนการพัฒนาด้าน เทคนิ ค ร่ ว มลงทุ น ในการพั ฒ นาโครงการ CDM ใน ประเทศสมาชิก พร้อมทัง้ รับซือ้ CER ทีเ่ กิดจากโครงการ ดังกล่าว

132

บทสรุป ในช่วงทีผ่ า่ นมาปัญหาเรือ่ งปริมาณก๊าซเรือนกระจก ในชั้นบรรยากาศจัดได้ว่าเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมหลัก ที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก เนื่องจากปริมาณก๊าซ เรือนกระจกที่สูงขึ้นนั้นส่งผลกระทบต่อุณหภูมิของโลก และระดับน�้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น รวมไปถึงภัยพิบัติทาง ธรรมชาติที่รุนแรง ประเทศต่างๆ จึงได้ร่วมมือกันหา แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึง่ เป็นทีม่ าของ พิธีสารเกียวโตที่มีข้อตกลงในการลดปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกในประเทศอุตสาหกรรมให้ลดลง ให้ได้ 5.2 เปอร์เซนต์ภายในปี ค.ศ. 2012 และเป็นที่มาของ ตลาดซื้อขายคาร์บอน และกลไกการด�ำเนินการต่างๆ ส�ำหรับประเทศไทยเองถึงแม้จะไม่ได้อยู่ใต้พันธะที่จะ ต้องลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก แต่ได้เข้าร่วมการลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจผ่านโครงการ กลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) เพื่อให้มี Certified Emission Reductions (CERs) ซึ่งสามารถน�ำไปขาย เป็นรายได้ และเป็นแรงจูงใจให้มีผู้ลงทุนในโครงการที่ มีส่วนในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เช่น โครงการ ด้านพลังงานทดแทน ทัง้ นีเ้ พือ่ ทีจ่ ะให้ประเทศไทยสามารถ แข่งขันกับตลาดโลกในอนาคตทีห่ นั มาให้ความส�ำคัญกับ สิง่ แวดล้อมมากขึน้ รัฐบาลไทยจะต้องให้ความช่วยเหลือ ทั้งทางด้านเทคโนโลยีและการเงินแก่ผู้ประกอบการ การเตรียมความพร้อมให้กบั ผูป้ ระกอบการในประเทศไทย ในการผลิตเทคโนโลยีที่สะอาดมากขึ้นจะเป็นแนวทาง ทีด่ ใี นการพัฒนาประเทศไทยอย่างยังยืนทีม่ คี วามสมดุล ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดล้อมต่อไปในอนาคต


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

บรรณานุกรม

Bayon, R., Hawn, A., & Hamilton, K. (2007). Voluntary carbon markets: An international business guide to what they are and how they work. London: Earthscan. Capoor, K. and Ambrosi, P. (2009). State and trends of the carbon market 2009. Washington DC: World Bank. Mercheker, D. (2009). The business of carbon credit trading for forest landowners. Retrieved January 10, 2011, from W217 The Business of Carbon Credit Trading for Forest Landowners, The University of Tennessee Agricultural Extension Service Website: http://trace.tennessee .edu/utk_ agexfores/42/ Oberthur, S. & Ott, H. E. (1999). The Kyoto Protocol International Climate Policy for the 21st Century. Berlin: Springer. Passey, R., MacGill, I., Nolles, K., & Outhred, H. (2005). The NSW Greenhouse Gas Abatement Scheme: An analysis of the NGAC Registry

for the 2003 Compliance Period. Discussion Paper DP_050405, Centre for Energy and Environmental Markets, University of NSW. Soltau, F. (2009). Fairness in international climate change law and policy. New York: Cambridge University Press. Steven, R. (2000). Economic analysis of global climate change policy: A primer. Working Paper Series rwp00-00. United Nations Framework Convention on Climate Change. (2006). Report of the Conference of the Parties serving as the meeting of the Parties to the Kyoto Protocol on its first session, held at Montreal from 28 November to 10 December 2005. Part One. United Nations Office, Geneva. United Nations Framework Convention on Climate Change. (2010). Report of the Conference of the Parties on Its Fifteenth Session. Retrieved January 10, 2011, from United Nations Website: http://unfccc.int/ resource /docs/2009/cop15/eng/11a01.pd

Karnjana  Sanglimsuwan, Ph.D. She obtained her Ph.D. in Natural Resources and Environmental Economics from North Carolina State University, U.S.A. in 2010, Master of Art in Economics from North Carolina State University, U.S.A. in 2004, and Bachelor’s Degree in Economics, magna cum laude from Chulalongkorn University in 1998. She has been working as a lecturer in the Department of Economics, Bangkok University since 2001.

133


ระพุทธศาสนากับแนวคิดเรื่องสิทธิ Buddhism and Concept of Rights ณัชปภา วาสิงหน อาจารย์ประจ�ำคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ E-mail: nachchapaphawas@pim.ac.th

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนากับแนวคิดเรื่องสิทธิ ผลการศึกษาพบว่า พระพุทธศาสนามีแนวคิดเรื่องสิทธิ โดยแนวคิดดังกล่าวปรากฏอยู่ทั้งในส่วนที่เป็นสาระค�ำอธิบาย เกี่ยวกับธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ และในส่วนที่เป็นเหตุผลว่าเหตุใดมนุษย์จึงไม่ควรละเมิดผู้อื่น แนวคิดเรื่องสิทธิในพระพุทธศาสนาหากพิจาณาจากกรอบประเภทของสิทธิ จัดเป็นสิทธิธรรมชาติ เพราะว่าเป็นสิทธิที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ ค�ำส�ำคัญ: พระพุทธศาสนา แนวคิดเรื่องสิทธิ ธรรมชาติของมนุษย์ การไม่ละเมิด

Abstract

This article aims to study Buddhism and concept of rights. The finding found that Buddhism has concept of rights. For the concept of rights in Buddhism, it appears both in the essential explanation of basic nature of human and the reason why human should not infringe the others. In term of the classification of rights, concept of rights in Buddhism is natural rights, because it really exists in nature. Keywords: Buddhism, Concept of Rights, Human Nature, Non-infringement

134


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

บทน�ำ ในยุ ค ปั จ จุ บั น โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในสั ง คม ประชาธิปไตย ค�ำว่าสิทธิดเู หมือนเป็นสิง่ ทีเ่ ราคุน้ เคยกัน พอสมควร ดังเมื่อมีใครกล่าวว่าเขามีสิทธิที่จะแสดง ความคิดเห็น ความหมายที่เข้าใจทั่วไปก็คือเขามีความ ชอบธรรมทีจ่ ะแสดงความคิดเห็น และไม่วา่ เราจะเห็นแย้ง ความคิดนั้นเพียงใด การขัดขวางไม่ให้เขาท�ำสิ่งนั้น ย่อมไม่ถกู ต้อง จะเห็นว่าโดยทัว่ ไปค�ำว่าสิทธิกค็ อื ค�ำทีเ่ รา สร้างขึน้ มาเพือ่ สือ่ ถึงลักษณะของความคิดทีม่ องว่าสิง่ ใด สิง่ หนึง่ ถูกต้อง หรือหากจะกล่าวให้ชดั เจนยิง่ ขึน้ สิทธิกค็ อื สิ่งที่ชี้หรือรับรองอ�ำนาจอันชอบธรรมของบุคคลที่จะ ท�ำการใดๆ เหนือสิง่ ทีอ่ า้ งได้วา่ เขามีสทิ ธิ กล่าวได้วา่ แนวคิด เรื่องสิทธิได้กลายเป็นแหล่งอ้างอิงความชอบธรรมใน ประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวางของผูค้ นในโลกยุคปัจจุบนั อย่างชัดเจน พระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาที่อยู่รวม กับสังคมที่มีแนวคิดดังกล่าว มีแนวคิดเรื่องสิทธิปรากฏ อยูใ่ นค�ำสอนหรือไม่ ถือเป็นประเด็นทีน่ า่ สนใจเพือ่ ความ ชัดเจนทางวิชาการ และเพือ่ เป็นพืน้ ฐานต่อการท�ำความ เข้าใจพระพุทธศาสนาให้ละเอียดยิง่ ขึน้ ประเด็นนีจ้ งึ ควร มีการพิจารณาศึกษาอย่างจริงจัง ความหมายของสิทธิ พจนานุ ก รมฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน อธิ บ ายว่ า “สิทธิ หมายถึง อ�ำนาจอันชอบธรรม, ความส�ำเร็จ” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2525: 808) จะเห็นว่าการให้ ความหมายของราชบัณฑิตยสถานนี้ สื่อถึงความหมาย ของสิทธิในลักษณะของการเพิ่มเติมสิ่งที่ควรจะเป็น เข้ามาด้วย กล่าวคือเมือ่ สิทธิคอื ความถูกต้องก็ยอ่ มกล่าว ได้วา่ เมือ่ บุคคลใดมีสทิ ธิ เขาก็ยอ่ มมีอำ� นาจอันชอบธรรม ในสิง่ ทีอ่ า้ งได้วา่ เป็นสิทธินนั้ หรือเมือ่ สิทธิคอื ความถูกต้อง การกระท�ำการใดเป็นไปตามครรลองแห่งอ�ำนาจของ ความถูกต้อง การกระท�ำนัน้ ย่อมถือเป็นความส�ำเร็จตาม กระบวนการของสิ่งที่ควรจะเป็นไป ค�ำว่าสิทธิในภาษาอังกฤษที่ใช้ค�ำว่า right นั้นก็มี ความหมายเกี่ยวกับความถูกต้องเช่นกัน ดังการใช้ค�ำว่า

right ในปัจจุบันในสถานการณ์ที่เราต้องการสื่อถึงสิ่งที่ ถูกต้องหรือสิง่ ทีต่ รงกับทีผ่ พู้ ดู ประสงค์เช่น Right./ Yes, that’s right./ All right./ Right now. เป็นต้น ในแง่ นิรุกศาสตร์ค�ำว่า right นี้มีความเป็นมาอย่างไรนั้น มีผู้ อธิบายไว้วา่ ค�ำว่า right ซึง่ เป็นภาษาอังกฤษนี้ มีรากศัพท์ มาจากภาษาละติน คือ rectus หมายถึง ตรง โดยที่ ค�ำนี้มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกอีกชั้นหนึ่งคือค�ำว่า orektos หมายถึง ตรงไป หรือ ตัง้ ตรง (Keown, Damien, 2011: online) จะเห็นว่าความหมายโดยนัยยะของ ค�ำว่า right ที่แปลว่า ตรง ก็คือการตรงไปหรือตรงต่อ สิ่งที่ใช่หรือสิ่งที่ถูกต้องนั่นเอง เมื่อว่าโดยสภาพพื้นฐาน สิทธิเป็นเพียงมโนทัศน์ อย่างหนึ่งซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องว่าสิ่งใดที่เรียกว่า สิง่ ทีถ่ กู ต้องเท่านัน้ และเมือ่ กล่าวถึงความหมายของสิทธิ ตามนัยนี้ความหมายที่ได้ก็จะเป็นดังที่กล่าวข้างต้นนั้น อย่างไรก็ตามในฐานะทีม่ นุษย์เป็นสิง่ มีชวี ติ ซึง่ มีปกติวสิ ยั ตัดสินถูกผิดดีชั่วให้กับสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ ค�ำว่าสิทธิจึง มักถูกน�ำเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ อยู่เสมอเช่นกัน ทีเ่ ห็นชัดเจนเรือ่ งหนึง่ ก็คอื เรือ่ งกฎเกณฑ์การอยูร่ ว่ มกัน ของมนุษย์ที่เรียกว่ากฎหมาย สิทธิเมื่อปรากฏร่วมกับ กฎหมาย ความหมายของสิ ท ธิ จ ะเป็ น เช่ น ใดมี ผู ้ ใ ห้ ความหมายไว้หลากหลาย อาทิ สิทธิ หมายถึงอ�ำนาจ ที่กฎหมายรับรองให้แก่บุคคลในอันที่จะกระท�ำการใด ที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สินของตนหรือ บุคคลอืน่ (วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, 2538: 16) หรือประโยชน์ ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ (หยุด แสงอุทัย, 2523: 187-188) หรือประโยชน์ในทางใดทางหนึ่งทั้งที่ เป็นรูปธรรมจับต้องได้และทีเ่ ป็นนามธรรม ถ้ากฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิง่ กฎหมายสูงสุดคือรัฐธรรมนูญคุม้ ครอง และรับรองสิทธิใดก็จะก่อให้เกิดหน้าที่แก่รัฐ หน่วยงาน ของรัฐ เจ้าหน้าทีข่ องรัฐทีจ่ ะต้องเคารพสิทธินนั้ ๆ รวมถึง ก่อให้เกิดหน้าที่แก่ประชาชนที่จะต้องเคารพสิทธิซึ่งกัน และกันด้วย (ปริญญา เทวานฤมิตรกุล, 2543: 7-8) เป็นต้น เห็นได้ว่าสิทธิเมื่อน�ำไปใช้ในบริบทของกฎหมาย สาระ ของความหมายของสิทธิก็ยังคงสะท้อนความหมายเดิม

135


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

คือความถูกต้อง อย่างไรก็ตามเพื่อให้ความหมายของ ค�ำว่าถูกต้องสามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ก็อาจใช้ค�ำอื่นแทน อาทิ อ�ำนาจ หรือประโยชน์ ทั้งนี้ ก็เพื่อจะสื่อให้เห็นว่าเมื่อสิ่งใดเป็นสิทธิ สิ่งนั้นก็ควรถือ เป็นอ�ำนาจหรือประโยชน์ที่ผู้ทรงสิทธิ์นั้นพึงจะได้รับ สิ ท ธิ เ มื่ อ ว่ า โดยความหมายตามนั ย แห่ ง อั ก ษร จะเห็นว่าสิทธิกค็ อื ค�ำๆ หนึง่ ทีม่ คี วามหมายเดียวกับค�ำว่า ถูกต้องที่เราใช้อยู่ทั่วๆ ไป อย่างไรก็ตามค�ำว่าสิทธิและ ค�ำว่าถูกต้องก็มีความแตกต่างกันบ้างในแง่ของการน�ำ ไปใช้ กล่าวคือขณะทีเ่ ราใช้คำ� ว่าถูกต้องเมือ่ ต้องการตัดสิน สิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าตรงกับที่เราประสงค์ เช่น เมื่อเราขอให้ นาย ก หยิบหนังสือให้ เมือ่ นาย ก หยิบหนังสือส่งให้เรา แล้วถามว่าเล่มนี้หรือ เมื่อหนังสือเล่มนั้นเป็นเล่มที่เรา ประสงค์เราก็ตอบว่า “ถูกต้อง” เป็นต้น ส่วนสิทธิจะใช้ เมื่อเรามองว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เช่น เมื่อเรา ต้องการจะสื่อหรือยืนยันว่าประชาชนในสังคมระบอบ ประชาธิปไตยสามารถมีสว่ นร่วมทางการเมืองในหลายๆ ช่ อ งทาง อาทิ การออกเสี ย งเลื อ กตั้ ง และถอดถอน ผูแ้ ทนราษฎร เราอาจกล่าวว่า “ในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งและถอดถอน ผูแ้ ทนราษฎร” เป็นต้น จะเห็นว่าค�ำว่าสิทธิจะไม่ใช้โดดๆ แต่จะใช้ในลักษณะที่เชื่อมโยงกับมโนทัศน์อื่นๆ เสมอ จากตัวอย่างจะเห็นว่าสิทธิได้เชือ่ มโยงกับหลายมโนทัศน์ คือ ประชาชน ระบอบประชาธิปไตย การออกเสียง เลือกตัง้ และถอดถอนผูแ้ ทนราษฎร แม้สทิ ธิจะเป็นค�ำที่ มีความหมายธรรมดาๆ ค�ำหนึง่ แต่เมือ่ ค�ำนีไ้ ด้เชือ่ มโยงกับ มโนทัศน์อนื่ ๆ มักจะก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทผี่ คู้ นในสังคม มักจะตีความหรือมีความเห็นที่แตกต่างกันไปอยู่เสมอ เช่น สิทธิมนุษยชน สิทธิสัตว์ สิทธิสตรี สิทธิเกย์ สิทธิ การจดทะเบียนสมรสของคนเพศเดียวกัน สิทธิทจี่ ะตาย เป็นต้น ประเภทของสิทธิ การจ� ำ แนกประเภทของสิ ท ธิ ก็ เช่ น เดี ย วกั บ การ จ�ำแนกสิ่งอื่นๆ ที่สามารถจ�ำแนกได้หลากหลายรูปแบบ

136

ทั้ ง นี้ ขึ้ น อยู ่ กั บ เกณฑ์ ที่ ใช้ เ ป็ น พื้ น ฐานในการจ� ำ แนก หากจ�ำแนกสิทธิโดยพิจารณาจากแหล่งก�ำเนิด สิทธิ สามารถจ�ำแนกออกได้ 2 ประเภทหลัก ดังนี้ 1) สิทธิธรรมชาติ (Natural Rights) บางครั้งอาจ เรียกว่าสิทธิทางศีลธรรม (Moral Rights) สิทธิธรรมชาติ หมายถึง สิทธิที่บุคคลมีหรือเป็นเจ้าของโดยธรรมชาติ กล่าวคือเป็นสิทธิทไี่ ม่ได้เกิดขึน้ จากกฎหมาย จารีต หรือ ความเชื่อของสังคมหรือการปกครองใด (Wikipedia, 2011: online) อาจกล่าวได้ว่าสิทธิธรรมชาติเป็นสิทธิ ทีม่ อี ยูห่ รือได้มาด้วยเหตุแห่งความเป็นมนุษย์ หรือเพียง เพราะความเป็นมนุษย์กเ็ ป็นเงือ่ นไขทีพ่ อเพียงทีจ่ ะท�ำให้ บุคคลมีสทิ ธิดงั กล่าวนีแ้ ล้ว และด้วยเหตุทคี่ วามเป็นมนุษย์ เป็นสิง่ ทีม่ ปี ระจ�ำในชีวติ ของมนุษย์แต่ละคน สิทธิธรรมชาติ ก็จงึ เป็นสิทธิทมี่ พี ร้อมกับความเป็นบุคคล มีความเสมอภาค และไม่อาจเพิกถอนท�ำลายหรือถ่ายโอนให้แก่กันได้ ในแง่ก�ำเนิดของสิทธิธรรมชาติมีค�ำอธิบายไว้ว่า สิทธิธรรมชาติมาจากกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) (ทศพล วิชัยดิษฐ์, 2545: 101) กฎหมายธรรมชาติก็คือ กฎหรือระเบียบของธรรมชาติซึ่งเป็นดั่งรูปแบบพื้นฐาน หรือสิ่งจัดระเบียบของสรรพสิ่ง เป็นสิ่งที่มีอยู่เองมนุษย์ ไม่ได้เป็นผูส้ ร้างขึน้ มา (ต้นก�ำเนิดของกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) มีการอธิบายแตกต่างกันไว้เป็น 2 อย่าง คือ เป็นกฎทีม่ อี ยูเ่ องตามธรรมชาติ และเป็นกฎทีพ่ ระเจ้า สร้างขึ้น) มนุษย์เพียงแต่ใช้สติปัญญาหรือความคิดที่ ประกอบด้วยเหตุผลก็จะค้นพบได้วา่ สิง่ นีม้ อี ยู่ มนุษย์ใน ฐานะสิ่งที่ด�ำรงอยู่ภายใต้กฎพื้นฐานเหล่านั้นก็ด�ำรงอยู่ ในสภาพหรือรูปแบบที่มีกฎหรือระเบียบซึ่งเป็นภาคย่อ ของกฎหรือระเบียบใหญ่ก�ำกับอยูอ่ กี ชัน้ เช่นกัน กฎหรือ ระเบียบดังกล่าวที่ก�ำกับมนุษย์อยู่อย่างหนึ่งก็คือแต่ละ ชีวติ มีคณ ุ สมบัตปิ ระจ�ำตัวอย่างหนึง่ ทีเ่ รียกว่าสิทธิธรรมชาติ นั่นเอง ประวัตศิ าสตร์แนวคิดสิทธิธรรมชาติสามารถสืบสาว ย้อนหลังไปได้ยาวนานนับตั้งแต่สมัยกรีก นักปราชญ์ กลุ่มสโตอิคส์ (Stoics) ได้กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ ในแง่มมุ ทีเ่ กีย่ วกับสิทธิธรรมชาติไว้วา่ “เป็นการผิดทีจ่ ะ


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

คิดว่าความเป็นทาสสามารถยึดครองความเป็นมนุษย์ ของคนๆ หนึ่งได้ทั้งหมด ส่วนที่ดีกว่าของเขาสามารถ หนีจากมันได้ แม้ร่างกายจะถูกยึดครองให้อยู่ในอ�ำนาจ ของนาย แต่ใจก็เป็นอิสระ และที่จริงเป็นอิสระและเสรี ยิ่งไม่มีอะไรสามารถกักขังมันได้แม้แต่คุกแห่งร่างกาย ทัง้ ทีก่ ายจะถูกกักกันก็ตาม” (Wikipedia, 2011: online) จากความคิดทีว่ า่ จิตวิญญาณของมนุษย์ มีธรรมชาติ เสรีทไี่ ม่อาจกักขังหรือพันธนาการได้ของกลุม่ Stoics นี้ ได้ส่งอิทธิพลแก่นักคิดรุ่นต่อๆ มาให้ก่อรูปขยายผล แนวคิดสิทธิธรรมชาติให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่ว่าในกรณีของ จอห์น ล็อค (John Locke, 1632-1704) นักปรัชญา ชาวอังกฤษในศตวรรษที่ 17 (Wikipedia, 2011: online) ที่ ป ระกาศว่ า สิ ท ธิ ธ รรมชาติ เ ป็ นสิ ท ธิ อั นชอบธรรมที่ มนุษย์พงึ มีอนั ใครๆ หรือแม้แต่รฐั ก็ละเมิดไม่ได้ โดยสิทธิ ดังกล่าวนี้ก็คือสิทธิในชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน (life liberty and estate) หรือหากจะมองในรูปของหลักฐาน ทีเ่ ป็นเอกสารทีม่ อี ทิ ธิพลต่อสังคมโลกอย่างยิง่ ในปัจจุบนั ก็คือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Right, 1948) ที่เป็นที่รู้จัก กันดี 2) สิทธิทางกฎหมาย (Legal Rights) โดยทั่วไป ความหมายของสิทธิทางกฎหมาย มักจะได้รบั การกล่าวถึง ในฐานะสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิทธิธรรมชาติ ในแง่ที่ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่โดยธรรมชาติแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (man-made character) และในการสร้างนั้นสภาพ สังคมวัฒนธรรมก็มสี ว่ นก�ำหนดรายละเอียดของสิทธินนั้ อยูพ่ อสมควร เหตุนสี้ ทิ ธิทางกฎหมายจึงเป็นสิง่ ทีส่ ามารถ ปรับเปลีย่ นได้ตามการเปลีย่ นแปลงของสังคม (Wikipedia, 2011: online) สิทธิทางกฎหมายนอกจากจะพิจาณา ในแง่ที่มาดังกล่าวนี้แล้ว อาจพิจารณาในรายละเอียด ในแง่อนื่ ๆ ได้อกี เช่น สิทธิทางกฎหมาย ได้แก่ ประโยชน์ ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้และเป็นประโยชน์ที่ กฎหมายคุม้ ครองมิให้ละเมิดสิทธิ รวมทัง้ บังคับให้เป็นไป ตามสิทธิในกรณีทมี่ กี ารละเมิด เช่น สิทธิในการเลือกตัง้ เมื่ออายุครบ 18 ปี สิทธิในการข้ามถนนในทางม้าลาย

สิทธิในการขับรถยนต์ เป็นต้น (วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์, 2011: online) โดยทัว่ ไปสิทธิทางกฎหมายอาจจ�ำแนก ออกได้เป็น 2 ลักษณะ (วิสูตร ฟอง ศิริไพบูลย์, 2011: online) คือ (1) สิทธิไม่ให้ถกู กระท�ำ (negative rights) เป็น อ�ำนาจอันชอบธรรมทีท่ กุ คนพึงมี เป็นอิสระโดยไม่สามารถ ไปแทรกแซงได้ ตัวอย่างของสิทธิประเภทดังกล่าว เช่น สิทธิตามรัฐธรรมนูญในการพูด การนับถือศาสนา สิทธิ ส่วนตัว สิทธิไม่ให้ผอู้ นื่ มาท�ำร้ายร่างกาย เป็นต้น สิง่ ทีม่ า ควบคู่กับสิทธิคือหน้าที่ที่ทุกคนไม่เข้าไปแทรกแซงผู้อื่น ในการท�ำสิ่งต่างๆ ในสิ่งที่เป็นสิทธิของผู้อื่น (2) สิทธิในอันที่จะกระท�ำได้ (positive rights) เป็นอ�ำนาจอันชอบธรรมทีม่ นุษย์เป็นอิสระในการตัดสินใจ เลือกด้วยตัวเอง เช่น สิทธิทางการศึกษา การเลือกรูปแบบ การรักษาพยาบาล เป็นต้น ปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้องในด้านหน้าที่ เช่น องค์กรต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น ด้านการศึกษา รัฐบาล จะต้องมีสว่ นช่วยให้บคุ คลแต่ละคนสามารถบรรลุถงึ การ ตัดสินใจตามต้องการได้ ในการจ�ำแนกสิทธิออกเป็น 2 ประเภทข้างต้นนี้ ในแง่หนึง่ อาจมองได้วา่ มีสทิ ธิทแี่ ตกต่างกันอยู่ 2 ประเภท แต่หากพิจารณาให้กว้างขึ้นจะเห็นว่าสิทธิ 2 ประเภทนี้ แท้จริงก็เป็นเพียงเส้นตรงเส้นเดียวกัน โดยทีส่ ว่ นต้นของ เส้นตรงเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติซึ่งคือ สิทธิธรรมชาติ และส่วนปลายของเส้นตรงเป็นการกล่าวถึง สิ่งที่มนุษย์พยายามจะดึงเอาสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั้น ออกมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมซึ่งคือสิทธิทาง กฎหมาย เหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าสิทธิ 2 ประเภทนี้อาจ มองได้ทั้ง 2 ลักษณะคือต่างกันและไม่ต่างกันก็ได้ องค์ประกอบของสิทธิ ดังกล่าวไว้ตอนต้นแล้วว่าแม้ค�ำว่าสิทธิและ ค�ำว่า ถูกต้องมีความหมายตรงหรือคล้ายกัน แต่ในแง่ของ การน�ำมาใช้ในสถานการณ์ที่เป็นจริงในชีวิต จะเห็นว่า สิทธิมกั จะเชือ่ มโยงกับสิง่ อืน่ หรือมโนทัศน์อนื่ เสมอ สิง่ ที่ สิทธิเชื่อมโยงด้วยในแง่หนึ่งก็คือองค์ประกอบของสิทธิ

137


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

นัน่ เอง องค์ประกอบของสิทธิมอี ยู่ 5 ประการ (สารานุกรม ปรัชญาออนไลน์ฉบับสังเขป, 2011: online) คือ (1) ผู้มีสิทธิ (subject of right) หรือผู้ครองสิทธิ (2) มโนทัศน์เรื่องสิทธิ (concept of right) หรือ ธรรมชาติของสิทธิ (3) กรรมของสิทธิ (object of right) หรือการ กระท�ำที่ผู้มีสิทธิสามารกระท�ำได้ (4) ผู้ตอบสนองต่อสิทธิ (respondent of right) หรือผูเ้ กีย่ วข้องทีม่ สี ว่ นท�ำให้สทิ ธิของผูม้ สี ทิ ธินนั้ สามารถ บรรลุผลส�ำเร็จ (5) พื้ น ฐานอั น เป็ น เหตุ ผ ลสนั บ สนุ น แก่ สิ ท ธิ นั้ น (justifying basis or ground of the right) หรือสิ่งที่ อธิบายว่าท�ำไมผู้มีสิทธิจึงมีสิทธิดังกล่าว เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น สารานุกรมปรัชญา ออนไลน์ฉบับสังเขปได้อธิบายโดยยกตัวอย่างประกอบ ซึ่ ง สรุ ป สาระส� ำ คั ญ ได้ ว ่ า องค์ ป ระกอบของสิ ท ธิ ทั้ ง 5 ประการนี้ สามารถพบได้ในการอ้างสิทธิทวั่ ๆ ไป เช่น “เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะได้รับเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืนจาก ลูกหนี้เพราะเป็นสิทธิที่กฎหมายได้บัญญัติไว้” ประโยค ดังกล่าวนี้สามารถเขียนในรูปประโยคทั่วไป (general form) ได้ว่า “A มีสิทธิที่จะ X ต่อ B เพราะ Y” โดย A คือ ผู้มีสิทธิ (องค์ประกอบที่ 1) สิทธิ คือมโนทัศน์ เรื่องสิทธิ (องค์ประกอบที่ 2) X คือกรรมของสิทธิ (องค์ประกอบที่ 3) B คือผูต้ อบสนองต่อสิทธิ (องค์ประกอบ ที่ 4) และ Y คือพื้นฐานอันเป็นเหตุผลสนับสนุนแก่ สิทธินั้น (องค์ประกอบที่ 5) จะเห็นว่าการอ้างสิทธิใดๆ จะมีความหมายหรือเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ก็ต่อเมื่อการอ้าง สิทธินั้นๆ ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ นี้อย่าง ครบถ้วนเท่านั้น พระพุทธศาสนากับแนวคิดเรื่องสิทธิ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน ผู้เขียน ได้ก�ำหนด ประเด็นศึกษาไว้ 2 ประเด็นหลัก คือ พระพุทธศาสนา มีแนวคิดเรือ่ งสิทธิหรือไม่ และสิง่ ใดคือข้อพิสจู น์แนวคิด เรื่องสิทธิในพระพุทธศาสนาโดยแต่ละประเด็นมีราย ละเอียดดังนี้

138

1) พระพุทธศาสนามีแนวคิดเรื่องสิทธิหรือไม่ ในปั จ จุ บั น แนวคิ ด เรื่ อ งสิ ท ธิ ใ นพระพุ ท ธศาสนา ถือเป็นประเด็นทีย่ งั มีความเห็นแตกต่างกันอยูม่ ากในหมู่ นักวิชาการ ความเห็นทีแ่ ตกต่างกันดังกล่าวมีอยู่ 2 ฝ่าย หลักๆ คือ ฝ่ายทีเ่ ห็นว่าไม่มแี นวคิดเรือ่ งสิทธิ ในพระพุทธ ศาสนา เพราะแนวคิดเรื่องสิทธิซึ่งถือว่าเป็นแนวคิด ทางการเมืองของปรัชญาตะวันตกนี้ มีเนือ้ หาขัดแย้งกับ หลักค�ำสอนส�ำคัญหลายเรื่อง ในพระพุทธศาสนา เช่น หลักอนัตตา หลักกรรม หลักปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน เป็นต้น และฝ่ายที่เห็นว่าแนวคิดเรื่องสิทธิเป็นแนวคิด สากล แม้แนวคิดนี้จะไม่ถูกเน้นมากในพระพุทธศาสนา แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มอี ยูใ่ นพระพุทธศาสนา ผูเ้ ขียน มีแนวคิดสอดคล้องกับฝ่ายหลัง เหตุใดผูเ้ ขียนจึงมีความเห็น เช่นนั้นจะขอชี้แจงเหตุผลนี้ในภายหลัง ล�ำดับนี้เราจะ ท�ำความเข้าใจแนวคิดของฝ่ายที่มองว่าพระพุทธศาสนา ไม่มีแนวคิดเรื่องสิทธิก่อน ผูท้ มี่ องว่าพระพุทธศาสนาไม่มแี นวคิดเรือ่ งสิทธิมอี ยู่ หลายท่าน อาทิ พงศ์ศิริ ศรีวรรธนะ พงศ์ศิริกล่าวว่า “ค�ำสอนในพุทธศาสนาไม่มลี กั ษณะส�ำคัญของมโนทัศน์ เรื่องสิทธิ และมโนทัศน์เรื่องสิทธิมีพื้นฐานความคิดจาก การให้ความส�ำคัญหรือความ ยึดติดในตัวบุคคลและ ปัจเจกนิยม ซึง่ เป็นลักษณะทีข่ ดั แย้งกับหลักธรรมพืน้ ฐาน ในพุทธศาสนาที่เน้นถึงความไม่ยึดติดกับตัวตน และ การมองทุกสิ่งว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นองค์รวม โดยไม่มีสิ่งใดส�ำคัญหรืออยู่ได้ด้วยตนเองเพียงผู้เดียว โดยไม่พึ่งคนอื่น ดังนั้นพุทธศาสนาจึงไม่มีมโนทัศน์เรื่อง สิทธิ” (พงศ์ศริ ิ ศรีวรรธนะ, 2546: 87-88) จากข้ออ้างนี้ สามารถสรุปสาระส�ำคัญได้วา่ พระพุทธศาสนาไม่มแี นวคิด เรื่องสิทธิ เพราะแนวคิดเรื่องสิทธิเป็นแนวคิด ที่มองว่า มนุษย์แต่ละคนมีสภาพเป็นตัวตนหรืออัตตาที่มีอิสระ ต่อกัน ด้วยเหตุนนั้ อัตตาหรือตัวตนนัน้ จึงมีความชอบธรรม ที่จะยึดติดในตัวตน ในขณะที่พระพุทธศาสนาสอนว่า มนุษย์มีธรรมชาติที่แท้จริง เป็นอนัตตาคือไม่ใช่ตัวตน โดยอนัตตาแต่ละหน่วย ก็ไม่ได้มีลักษณะที่เป็นอิสระ หากแต่ต้องอาศัยหรือเกี่ยวพันกับสิ่งต่างๆ มากมาย


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

นับแต่ตัวชีวิตเองพระพุทธศาสนาระบุไว้ชัดว่ามนุษย์คือ ส่วนบูรณาการขององค์ประกอบ 5 ประการ คือขันธ์ 5 ได้ แ ก่ รู ป เวทนา สั ญ ญา สั ง ขาร และวิ ญ ญาณ ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 5 นี้ต้องอิงอาศัยกันและกันจึงด�ำรง ความเป็นมนุษย์ได้ และมนุษย์เองก็ตอ้ งอาศัยสิง่ อืน่ เช่นกัน เพื่อความมีชีวิตอยู่ เหตุนี้จึงเป็นการไม่ชอบที่จะยึดติด ในตัวตนซึ่งไม่ใช่ตัวตนนั้น หากพิ จ ารณาจากกรอบขององค์ ป ระกอบสิ ท ธิ ประเด็นที่ข้ออ้างข้างต้นนี้ชี้ว่าที่พระพุทธศาสนาไม่มี แนวคิดเรื่องสิทธิ แม้ในเนื้อหาการอ้างผู้อ้างจะกล่าวถึง หลายเรือ่ ง แต่ประเด็นส�ำคัญก็คอื ฐานะของผูม้ สี ทิ ธิหรือ ผู้ครองสิทธิ กล่าวคือในขณะที่ฐานะของผู้มีสิทธิตาม หลักการของแนวคิดเรือ่ งสิทธิหมายถึงอัตตา แต่ในพุทธศาสนากลับเป็นอนัตตา การอ้างเหตุผลเช่นนี้แม้ผู้อ้าง จะได้อา้ งโดยยกสิง่ ทีม่ ลี กั ษณะทีข่ ดั แย้งกัน เช่น ความเป็น อัตตาและอนัตตามาแสดงให้เห็น และสองอย่างนีก้ ข็ ดั แย้ง กันจริง แต่การอ้างนีก้ ไ็ ม่ถกู ต้อง เพราะเป็นการอ้างทีข่ าด การค�ำนึงถึงระดับสัจจะของเนือ้ หาทีน่ ำ� มาอ้าง กล่าวคือ โดยทั่วไปแล้วการเปรียบเทียบใดๆ จะมีความหมายก็ ต่อเมื่อสิ่งที่น�ำมาเปรียบเทียบนั้นต้องอยู่ในประเภท เดียวกันหรือเป็นสัจจะระดับเดียวกัน สิ่งที่ต้องยอมรับ ก็คอื เนือ้ หาของแนวคิดเรือ่ งสิทธิเป็นเนือ้ หาทีอ่ ยูใ่ นระดับ โลกียะ หรือสมมุติสัจจะ เพราะเป็นเนื้อหาที่ตั้งอยู่บน พืน้ ฐานของการยอมรับในเรือ่ งตัวตนบุคคล ส่วนเนือ้ หา ของพระพุทธศาสนามีทั้งส่วนที่อยู่ในระดับโลกียะหรือ สมมุตสิ จั จะและโลกุตตระหรือปรมัตถสัจจะ สิง่ ทีข่ อ้ อ้าง นี้ท�ำก็คือน�ำเนื้อหาซึ่งเป็นเนื้อหาระดับสมมุติสัจจะที่ ว่าด้วยฐานะของผูม้ สี ทิ ธิซงึ่ มีฐานะเป็นอัตตาของแนวคิด เรือ่ งสิทธิมาเปรียบเทียบกับอนัตตาซึง่ ว่าด้วยสถานะของ บุคคลในระดับอภิปรัชญาในทัศนะ ของพระพุทธศาสนา ซึง่ เป็นเนือ้ หาระดับปรมัตถสัจจะ ซึง่ โดยหลักการถือเป็น สิ่งที่กระท�ำไม่ได้ดังที่กล่าวแล้ว หากศึกษาอย่างละเอียดจะเห็นว่าตามหลักพระพุทธศาสนาความเป็นอนัตตาของบุคคลหรือ สิง่ ทัง้ หลาย มิใช่ สิ่งที่มีไว้เพื่อใช้อ้างในการก�ำหนดความสัมพันธ์ต่อผู้อื่น

หรือมิใช่สงิ่ ทีม่ ไี ว้เพือ่ การให้ความหมายกับสถานะพืน้ ฐาน ของผูอ้ นื่ ในสังคม หากเป็นสัจจะทีพ่ ระพุทธศาสนาแสดงไว้ ในบริบท เพื่อชี้แนะให้ปัจเจกแต่ละคนพยายามเข้าถึง เพือ่ ละคลายความยึดมัน่ ในตัวตนของตน ซึง่ นัน่ เป็นเรือ่ ง ความพร้อมหรือความสมัครใจของแต่ละบุคคล กล่าวคือ ไม่วา่ จะด้วยเงือ่ นไขใดก็ตาม หากบุคคลยังไม่พร้อมหรือ ไม่สมัครใจที่จะเข้าถึงสัจจะนี้ คนอื่นก็ไม่มีสิทธิบังคับ ยัดเยียด หรือกะเกณฑ์ให้เขาต้องเข้าถึง จะเห็นว่า หากหลักอนัตตาสามารถน�ำไปใช้ได้อย่างไม่แยกแยะ การละเมิดชีวิตและทรัพย์สินกันของผู้คน ในสังคมก็คง เป็นสิ่งที่สามารถกระท�ำได้ เพราะเราคงไม่มีเหตุผลใดที่ จะเรียกร้องความรับผิดชอบกับ ผูล้ ะเมิดนัน้ ได้ เพราะทัง้ ผูล้ ะเมิดและผูถ้ กู ละเมิดก็ลว้ นเป็นอนัตตาทัง้ สิน้ ศีลหรือ วินัยพี่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นมาเพื่อเป็นหลักในการ ประพฤติ ป ฏิ บั ติ ร ะหว่ า งมนุ ษ ย์ ด ้ ว ยกั น ก็ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ไร้ ความหมาย ซึง่ ตามข้อเท็จจริงในพระพุทธศาสนาก็ไม่ได้ เป็นเช่นนัน้ เหตุนสี้ งิ่ ทีค่ วรจะเป็นก็คอื เมือ่ กล่าวถึงมนุษย์ ในมิติของสังคม แม้จะกล่าวในบริบทของพุทธศาสนา ซึ่งมีค�ำสอนเชิงอภิปรัชญาที่ว่าสิ่งทั้งหลายรวมทั้งมนุษย์ มีสภาพแท้จริงเป็นอนัตตาก็ตาม มนุษย์ที่กล่าวถึงนั้น ต้องเป็นมนุษย์ทมี่ ฐี านะเป็นสัตว์บคุ คลหรือมนุษย์ในระดับ สมมุติสัจจะเท่านั้น นอกจากข้ออ้างนี้แล้วก็มีผู้ยกข้ออ้างอื่นๆ เพื่อ สนับสนุนแนวคิดทีว่ า่ ในพระพุทธศาสนาไม่มแี นวคิดเรือ่ ง สิทธิอกี เช่น บุญธรรม พูลทรัพย์ บุญธรรมเห็นว่าแนวคิด เรือ่ งสิทธิและระบบศีลธรรมในพระพุทธศาสนาเข้ากันไม่ได้ เพราะแนวคิดเรือ่ งสิทธิเป็นแนวคิดเกีย่ วกับความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลทีค่ ำ� นึงถึงการได้ประโยชน์โดยการเรียกร้อง จากผู้อื่น ในขณะที่พระพุทธศาสนาสอนเรื่องกรรมซึ่ง สาระค�ำสอนในเรือ่ งนีไ้ ม่มกี ารเรียกร้องต่อผูอ้ นื่ บุญธรรม กล่าวว่า “...ความสัมพันธ์ในเรือ่ งสิทธิเป็นความสัมพันธ์ ที่ค�ำนึงถึงการได้ประโยชน์กับการเรียกร้องเพื่อให้ได้ ประโยชน์นั้น ตรงนี้จะต่างกับพุทธศาสนาอย่างชัดเจน อั น เนื่ อ งมาจากหลั ก การทางพุ ท ธศาสนาในเรื่ อ งกฎ แห่งกรรมได้ระบุไว้ชดั เจนว่า ผูใ้ ดหว่านพืชเช่นไร เขาผูน้ นั้

139


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ย่อมได้รบั ผลจากการหว่านนัน้ กรรมใด ใครก่อกรรมนัน้ ผู้นั้นรับ ความสัมพันธ์ที่ค�ำนึงถึงในนี้เป็นความสัมพันธ์ ระหว่างการกระท�ำของตัวผู้กระท�ำกับการรับผลของ การกระท� ำ โดยตั ว ผู ้ ก ระท� ำ ” (บุ ญ ธรรม พู ล ทรั พ ย์ , 2533: 2) จากข้ออ้างของบุญธรรมข้างต้นนีเ้ พือ่ ให้เข้าใจ ประเด็นชัดขึน้ สามารถสรุปสาระส�ำคัญของข้ออ้างได้วา่ พระพุทธศาสนาไม่มแี นวคิดเรือ่ งสิทธิ เพราะแนวคิดเรือ่ ง สิทธิเป็นแนวคิดที่มองว่ามนุษย์มีความชอบธรรมที่จะ เรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์จากผูอ้ นื่ ได้ ขณะทีพ่ ระพุทธศาสนาสอนว่ามนุษย์ไม่พงึ เรียกร้องประโยชน์ใดจากผูอ้ นื่ เพราะผู้ใดท�ำกรรมใดผู้นั้นย่อมได้รับผลเช่นนั้นอยู่แล้ว หากพิ จ ารณาจากกรอบขององค์ ป ระกอบสิ ท ธิ ประเด็นที่ข้ออ้างข้างต้นนี้ชี้ว่าที่พระพุทธศาสนาไม่มี แนวคิดเรื่องสิทธิคือประเด็นเรืองกรรมของสิทธิหรือ การกระท�ำที่ผู้มีสิทธิสามารถกระท�ำได้ ผู้เขียนเห็นว่า การมองว่าการเรียกร้องต่อผูอ้ นื่ ขัดกับค�ำสอนเรือ่ งกรรม ในพระพุทธศาสนาถือเป็นการตีความที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะตามหลักพระพุทธศาสนาการกระท�ำทีจ่ ะกล่าวได้วา่ ขัดกับค�ำสอนเรือ่ งกรรมในพระพุทธศาสนานัน้ ต้องเป็น การกระท�ำทีอ่ ธิบายได้วา่ เป็นกรรมชัว่ หรือเป็นอกุศลกรรม อย่างไรเท่านั้น ตามหลักค�ำสอนเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา การกระท� ำ สามารถจ� ำ แนกคุ ณ ค่ า ออกเป็ น สองอย่างหลักๆ คือ กรรมดี หรือกุศลกรรมและกรรมชัว่ หรืออกุศลกรรม กรรมดีหรือกรรมชัว่ ดังกล่าวนีข้ นึ้ อยูก่ บั เจตนาที่ผลักดันให้เกิดกรรมนั้นๆ กรรมที่มาจากการ ผลักดันของเจตนาทีเ่ นือ่ งมาจากกุศลมูลคือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ จัดเป็นกรรมดี ส่วนกรรมที่มาจากการผลักดัน ของเจตนาทีเ่ นือ่ งมาจากอกุศลมูลคือ โลภะ โทสะ โมหะ จัดเป็นกรรมชั่ว กรณีการเรียกร้องต่อผู้อื่น ในเบื้องต้น ต้องถือว่าเป็นกรรมทีม่ ลี กั ษณะกลางๆ ไม่ตา่ งกับการยืน เดิน นั่ง นอน พูดคุย ทักทายฯลฯ การเรียกร้องต่อผู้อื่น จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชัว่ ย่อมขึน้ อยูก่ บั เจตนาทีผ่ ลักดัน ให้มีการเรียกร้องนั้นๆ จะเห็นว่าการเรียกร้องต่อผู้อื่น เพื่ อ ให้ มี การปฏิ บั ติ อย่างถูก ต้องเป็นธรรมไม่ว่าเพื่อ ประโยชน์ที่พึงได้ส�ำหรับผู้เรียกร้องเองหรือเพื่อให้เป็น

140

บรรทัดฐานที่ถูกต้องหรือเพื่อประโยชน์ในแง่การสร้าง ระบบทีย่ ตุ ธิ รรมแก่สงั คม การเรียกร้องในลักษณะนีย้ อ่ ม กล่าวไม่ได้วา่ มาจากเจตนาทีเ่ ป็นอกุศลมูล หากพิจารณา ให้กว้างไปกว่านี้จะเห็นว่าปัจจัยส�ำคัญส่วนหนึ่งที่ท�ำให้ โลกนี้ดีขึ้นหรือมีมนุษยธรรมมากขึ้น ก็เพราะมีมนุษย์ บางคนบางกลุ่มที่ทุ่มเทชีวิตออกมาเรียกร้องให้มนุษย์ ทัง้ หลายกระท�ำในสิง่ ทีถ่ กู ต้องต่อเพือ่ นมนุษย์ดว้ ยเจตนา ให้มนุษย์ได้ปฏิบัติต่อกันอย่างเป็นธรรม หรือแม้การ ประกาศค�ำสอนของศาสดาทัง้ หลายรวมทัง้ พระพุทธเจ้า ที่ให้มนุษย์ทั้งหลายได้หันมาประพฤติปฏิบัติในแนวทาง ที่ถูกต้องในแง่หนึ่งก็คือการเรียกร้องต่อผู้อื่นเช่นกัน เรียกร้องในลักษณะที่กล่าวมานี้ย่อมไม่เป็นที่สงสัยว่า มาจากเจตนาที่เป็นกุศลอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม การเรียกร้องต่อผู้อื่นบางอย่างก็จัดเป็นกรรมชั่วหรือสิ่ง ที่ไม่ถูกต้องจริง อาทิ สามีที่เจ้าชู้แต่กลับเรียกร้องให้ ภรรยาสือ่ สัตย์ตอ่ ตนเอง รัฐบาลทีฉ่ อ้ ฉลแต่กย็ งั เรียกร้อง ให้ประชาชนสนับสนุนตนเองต่อไป หรือการเรียกร้อง ให้มีการท�ำสงครามหรือใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น กล่าวโดยสรุป การเรียกร้องต่อผูอ้ นื่ ไม่ได้มคี วามหมาย เพียงแค่เป็นการเรียกร้องเพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างใด อย่างหนึ่งเท่านั้น แท้จริงการเรียกร้องต่อผู้อื่นสามารถ มีความหมายเป็นการกระท�ำที่มีคุณค่าในตัวเองได้ด้วย กล่าวคือหากเจตนาและเนือ้ หาของการเรียกร้องต่อผูอ้ นื่ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง การกระท�ำนั้นก็มีฐานะเป็นกรรมดี เมือ่ เป็นกรรมดีกก็ ล่าวไม่ได้วา่ เป็นสิง่ ทีข่ ดั แย้งกับค�ำสอน เรือ่ งกรรมในพระพุทธศาสนา ในเชิงปฏิบตั เิ มือ่ เป็นกรรมดี ก็ไม่มเี หตุผลใดทีม่ นุษย์จะต้องหลีกเลีย่ งทีจ่ ะท�ำกรรมนัน้ เพราะบทบาทของกรรมดีในบริบทพระพุทธศาสนาก็คอื สิง่ ทีค่ วรกระท�ำ เมือ่ การเรียกร้องต่อผูอ้ นื่ มีโอกาสเป็นได้ ทัง้ กรรมดีและกรรมชัว่ เหตุนกี้ ารสรุปว่าการเรียกร้องต่อ ผูอ้ นื่ ขัดกับค�ำสอนเรือ่ งกรรมในพระพุทธศาสนาจึงไม่ชอบ ด้ ว ยเหตุ ผ ล เพราะเป็ น การสรุ ป แบบเหมารวมหรื อ ไม่แยกแยะว่าหมายถึงการเรียกร้องต่อผูอ้ นื่ ในลักษณะใด


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ในการอ้างเหตุผลเพือ่ ยืนยันว่าพระพุทธศาสนาไม่มี แนวคิดเรือ่ งสิทธิขา้ งต้นนี้ แม้ผอู้ า้ งได้อา้ งเน้นไปทีป่ ระเด็น ที่ระบุว่าเพราะค�ำสอนเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา สอนว่าผู้ใดกระท�ำกรรมเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น จึงเข้ากันไม่ได้หรือขัดแย้งกับแนวคิดเรือ่ งสิทธิซงึ่ เน้นการ เรียกร้องประโยชน์จากผูอ้ นื่ ผูเ้ ขียนเห็นว่าการอ้างเหตุผล เช่นนีก้ ย็ งั ไม่ถกู ต้องนักเช่นกัน นอกจากเหตุผลดังทีก่ ล่าว ไปแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าประเด็นที่ว่าผู้ใดท�ำกรรมเช่นใด ผูน้ นั้ ย่อมได้รบั ผลเช่นนัน้ ไม่ได้ขดั แย้งต่อการเรียกร้องต่อ ผูอ้ นื่ เพราะผูอ้ นื่ ไม่ได้อยูใ่ นฐานะทีจ่ ะก�ำหนดผลของกรรม หรือวิบากกรรมให้เกิดขึน้ กับผูก้ ระท�ำกรรม สิง่ ทีก่ ำ� หนด วิบากกรรมคือ กฎแห่งกรรมซึง่ เป็นกฎธรรมชาติชนิดหนึง่ ผู้อื่นเป็นเพียงองค์ประกอบอย่างหนึ่งในการท�ำกรรม เท่านัน้ การกล่าวถึงผูอ้ นื่ ในฐานะเทียบเท่ากับกฎแห่งกรรม จึงถือว่าไม่ถูกต้อง การอ้างเหตุผลดังกล่าวนอกจากจะไม่ถกู ต้องในแง่มมุ ต่างๆ ดังได้กล่าวแล้ว การยึดถือความเชื่อ ในลักษณะ เช่นนั้นในแง่หนึ่งยังถือว่าหมิ่นเหม่ต่อการเพิกเฉยดูดาย ต่อผู้อื่น กล่าวคือเมื่อเห็นว่าใครท�ำกรรมเช่นใดก็ได้ผล เช่นนัน้ หมายความว่ามนุษย์ควรใส่ใจเฉพาะการกระท�ำ ของตนเอง แม้ใครจะท�ำสิ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างไรก็ถือเป็น เรือ่ งของคนนัน้ ทีผ่ อู้ นื่ ไม่ควรเข้าไปเกีย่ วข้อง การตีความ เช่นนีน้ อกจากจะไม่ใช่อเุ บกขาธรรมอย่างทีม่ กั จะอ้างกัน อย่างผิดๆ แล้วยังเปิดช่องให้อกุศลธรรมคือความไม่ รับผิดชอบต่อสังคมซึ่งก็คือรูปหนึ่งของความเห็นแก่ตัว ให้เจริญงอกงามในใจด้วย ท่าทีและการตีความดังกล่าวนี้ ต้องถือเป็นคนละอย่างกับการวางเฉยที่ประกอบด้วย สติปญ ั ญาทีร่ เู้ ห็นกระแสความเป็นไปของเหตุปจั จัยอย่าง ครบถ้วน หลังจากเราได้พยายามกระท�ำสิ่งที่พึงกระท�ำ อย่างดีที่สุดแล้ว พุทธพจน์ที่ว่าผู้ใดท�ำกรรมเช่นใดย่อม ได้รับผลเช่นนั้นเป็นสัจธรรม แต่การตีความเรื่องกรรม ตามหลักพระพุทธศาสนามิใช่สิ่งที่จะพิจารณาเอาตาม ความเคยชินเท่านั้น สรุปคือประเด็นที่ชาวพุทธต้อง ระมัดระวังยิ่งกว่ารูปแบบใดๆ ของการกระท�ำก็คือสิ่งที่ ผลักดันการกระท�ำของตนเองคือกุศลมูลและอกุศลมูล

โดยเฉพาะปัญญาหรือโมหะซึง่ เป็นตัวชีข้ าดกรรมดีกรรมชัว่ อย่างแท้จริง การใช้สติและปัญญาคอยพิจารณาสืบหา ความหมายทีแ่ ท้จริงของทุกๆ การกระท�ำของตนจึงเป็น กิจที่เราต้องกระท�ำด้วยความรอบคอบอยู่เสมอ ในข้ อ เท็ จ จริ ง อาจมี ผู ้ ที่ เ ห็ น ด้ ว ยกั บ แนวคิ ด ที่ ว ่ า พระพุทธศาสนาไม่มแี นวคิดเรือ่ งสิทธิเช่นนีอ้ กี มาก และ อาจจะเห็นด้วยโดยพื้นฐานเหตุผลที่แตกต่างจากนี้ก็ได้ อย่างไรก็ตามข้ออ้างของทั้ง 2 ท่านที่ยกมานี้ถือเป็น ข้ออ้างทีพ่ อเพียง เพราะถือว่าได้อา้ งในจุดทีเ่ ป็นประเด็น ส�ำคัญพอสมควร แต่ไม่ว่าจะอ้างในจุดที่เป็นประเด็น ส�ำคัญอย่างไรแต่หากพิจารณาให้ดีก็จะพบข้อบกพร่อง ดังได้อธิบายไปแล้ว 2) ข้อพิสูจน์แนวคิดเรื่องสิทธิในพระพุทธศาสนา เพื่อให้การสืบหาข้อสรุปว่าในพระพุทธศาสนามี แนวคิดเรื่องสิทธิหรือไม่ชัดเจนยิ่งขึ้น เราควรย้อนกลับ ไปทบทวนโจทย์ส�ำคัญของปัญหานี้อีกครั้ง ปัญหาที่ว่า ในพระพุทธศาสนามีแนวคิดเรือ่ งสิทธิหรือไม่ ความหมาย อีกนัยหนึ่งก็คือในระบบค�ำสอนของพระพุทธศาสนา มีแนวคิดทีว่ า่ มนุษย์มสี ทิ ธิหรือ มีอำ� นาจอย่างชอบธรรม ในการเป็นเจ้าของสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือไม่ และเนื่องจาก การเป็นเจ้าของสิง่ หนึง่ สิง่ ใด ย่อมต้องอาศัยรากฐานทีว่ า่ มนุษย์เป็นเจ้าของชีวติ เป็นส�ำคัญ ประเด็นจึงขมวดเข้ามา ว่าในระบบค�ำสอนของพระพุทธศาสนามีแนวคิดที่ว่า มนุษย์มีสิทธิหรือมีอ�ำนาจอย่างชอบธรรมในชีวิตของ ตนเองหรือไม่ ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ กับการวินจิ ฉัยว่าในพระพุทธศาสนา มีแนวคิดเรื่องสิทธิหรือไม่ นอกจากความสับสนในการ วิเคราะห์ประเด็นค�ำสอนบางเรื่องผิดพลาดในลักษณะ ต่างๆ แล้ว สาเหตุสว่ นหนึง่ สืบเนือ่ งมาจากการไม่ปรากฏ ค�ำว่าสิทธิอย่างชัดเจนในพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม การปรากฏหรือไม่ปรากฏของถ้อยค�ำอาจเป็นเพียงข้อที่ น่าสังเกตประการหนึ่งเท่านั้น แต่สิ่งที่ควรใช้เป็นหลัก ในการตัดสินควรเป็นสาระความหมายของค�ำว่าสิทธิ มากกว่าสิ่งใด เหตุนี้จากการมองพระพุทธศาสนาโดย ภาพรวมแล้ว ผูเ้ ขียนเห็นว่าในพระพุทธศาสนามีแนวคิด

141


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

เรื่องสิทธิ สิ่งที่ท�ำให้ผู้วิจัยมีความเห็นเช่นนี้มีเหตุผล หลายประการ เช่น ประการที่ 1 ความกว้างขวางและละเอียดลึกซึ้ง ของเนื้อหาในพระพุทธศาสนา เหตุผลในข้อนี้เป็นเหตุผลในเชิงหลักการ กล่าวคือ ในฐานะทีพ่ ระพุทธศาสนาเป็นศาสนาทีม่ เี นือ้ หากว้างขวาง ครอบคลุมทั้งเรื่องที่เป็นโลกียะและโลกุตตระ กล่าวถึง สัจธรรมของโลกและชีวติ ไว้ ทุกแง่ทกุ มุมละเอียดพิสดาร ยิ่งกว่าศาสตร์ใดในโลก หากนับเป็นข้อธรรมก็นับได้ 84,000 พระธรรมขันธ์ ส่วนแนวคิดเรื่องสิทธิเป็นเพียง แนวคิดเกี่ยวกับชีวิตในสังคมแง่หนึ่ง ซึ่งถือเป็นประเด็น ทางปรัชญาสังคมเล็กๆ เรื่องหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาที่นับได้ว่า อยู่ในระดับโลกียะเท่านั้น โดยหลักความน่าจะเป็นก็คือ สิ่งที่ใหญ่หรือกว้างกว่าย่อมครอบคลุมถึงสิ่งที่เล็ก หรือ แคบกว่า หรือสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งกว่าย่อม คลุมถึงสิ่งที่ หยาบหรือตื้นกว่า เหตุนี้หากพิจารณา ในเชิงหลักการ ดังทีว่ า่ มานี้ แนวคิดเรือ่ งสิทธิจงึ มีความน่าจะเป็นทีน่ า่ จะ มีในพระพุทธศาสนา ดังกล่าวแล้วว่าข้อพิสจู น์นเี้ ป็นเพียง ข้อพิสูจน์เชิงหลักการ การจะยืนยันตามนั้นจริงคงต้อง อาศัยการพิจารณาข้อพิสูจน์เชิงเนื้อหาประกอบด้วย ซึ่งก็คือข้อพิสูจน์ที่ผู้เขียนจะกล่าวต่อไป ประการที่ 2 ค�ำสอนเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ในพระพุทธศาสนา แม้พระพุทธศาสนาจะไม่ได้กล่าวถึงแนวคิดเรื่อง สิทธิไว้โดยตรง แต่ค�ำสอนเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ในพระพุทธศาสนาก็สะท้อนว่าพระพุทธศาสนามีแนวคิด ดังกล่าว พระพุทธศาสนาอธิบายไว้วา่ มนุษย์เป็นสังขตธรรม หรือสิ่งปรุงแต่งอย่างหนึ่ง โดยปรุงแต่งจากสภาพธรรม 2 ประเภทหลักคือ รูปธรรมและนามธรรม หรือกาย กับจิต โดยกายเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อารมณ์แต่ก็เป็น ทีเ่ นือ่ งทีอ่ าศัยของจิต ส่วนจิตเป็นสภาพธรรมทีร่ อู้ ารมณ์ (อภิธรรมปิฎก.วิภังค์ (ไทย) 25/228/220) ในการรู้ อารมณ์ตา่ งๆ ของจิตนัน้ พระพุทธศาสนาอธิบายว่าจิตมี กระบวนการทีเ่ ป็นไปตามกฎปฏิจจสมุปบาท (สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค (ไทย)16/2/4-8) กล่าวคือ

142

มนุษย์ทุกคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์จะมีปกติรับรู้สิ่งต่างๆ โดยมีตัวตนของตนเป็นศูนย์กลาง ทุกครั้งที่มีการรับรู้ ไม่ว่าด้วยช่องทางใดของอายตนะทั้ง 6 ความหมายของ การรับรู้ของมนุษย์จะมีลักษณะว่าฉันรู้สิ่งนั้น ฉันรู้สิ่งนี้ การส�ำนึกในความมีอยูข่ องตนเองจึงเป็นการส�ำนึกรูพ้ นื้ ฐาน ที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน ความส�ำนึกรู้ในตนเองดังกล่าวนี้ จะมีอยู่พร้อมๆ กับความรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของชีวิต ของตนเองด้วย เหตุนี้ความหวงแหน ความยึดติดหรือ ที่เรียกว่าความรักตัว ความปรารถนาให้ตัวประสบสุข พ้นทุกข์จึงเกิดขึ้นตามมา ความจริงข้อนี้ไม่ใช่สิ่งลึกลับ เพราะเป็ น สิ่ ง ที่ มี อ ยู ่ จ ริ ง ซึ่ ง ทุ ก คนสามารถพิ สู จ น์ ไ ด้ โดยย้อนมองทีต่ นเอง เมือ่ พระพุทธศาสนาอธิบายว่าชีวติ เป็นเช่นนี้ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ทุกคนที่เป็นมนุษย์ปกติ ก็พิสูจน์ได้เช่นนี้เช่นกัน การกล่าวว่าในพระพุทธศาสนา ไม่มแี นวคิดเรือ่ งสิทธิจงึ เท่ากับเป็นการกล่าวว่าพระพุทธศาสนาปฏิเสธธรรมชาติพื้นฐานของชีวิต หากพิจารณา ให้ดีจะเห็นว่าเพราะพระพุทธศาสนาเข้าใจข้อเท็จจริง ดังกล่าวนีด้ นี นั้ เอง พระพุทธศาสนาจึงมีคำ� สอนให้มนุษย์ ออกมาจากการครอบง�ำของการยึดติดในตัวตน ในเชิง ตรรกะการออกจากสิง่ ทีไ่ ม่มี หรือออกจากความว่างเปล่า เป็นสิ่งที่เข้าใจไม่ได้ ประการที่ 3 ค�ำสอนเรื่องหลักการไม่ละเมิดผู้อื่น ในพระพุทธศาสนา ดังเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าพระพุทธศาสนา คือ ศาสนา ที่เกิดจากการตรัสรู้หรือการเข้าไปรู้แจ้ง ในกฎเกณฑ์ และกลไกความเป็นไปของธรรมชาติ อย่างรอบด้านของ พระพุทธเจ้า เหตุนี้ในค�ำสอนทุกเรื่องของพระพุทธองค์ ก็จงึ สามารถสาวหรือสืบค้นถึงเหตุผลตามธรรมชาติของ เรือ่ งนัน้ ๆ ได้ หากกล่าวว่าในพระพุทธศาสนาไม่มแี นวคิด เรื่องสิทธิ แล้วสิ่งใดจะเป็นเหตุผลที่พอเพียงที่จะใช้ อธิบายถึงเหตุ ที่เราต้องละเว้นการเบียดเบียนผู้อื่นหรือ ชีวติ อืน่ ในอัตตูปนายิกธรรมซึง่ เป็นธรรมทีเ่ ป็นทีม่ าของ การบัญญัติศีล 5 มีสาระที่ชี้ชัดว่าเหตุที่เรา ไม่ละเมิด ผู้อื่นก็เพราะผู้อื่นเขามีสิ่งบางอย่างที่ เราต้องค�ำนึง ดังมี พุทธด�ำรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทงั้ หลาย ธรรมบรรยาย


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

ที่ควรน้อมเข้ามาในตน เป็นอย่างไร คือ อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ข้อทีบ่ คุ คลพึงปลงชีวติ เรา ผูอ้ ยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์นนั้ ไม่เป็น ทีร่ กั ไม่เป็นทีพ่ อใจของเรา อนึง่ ข้อทีเ่ ราพึงปลงชีวติ ผูอ้ นื่ ผูอ้ ยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์นนั้ ก็ไม่เป็น ทีร่ กั ไม่เป็นทีพ่ อใจแม้ของผูอ้ นื่ สิง่ ใดไม่เป็นทีร่ กั ไม่เป็น ทีพ่ อใจของเรา สิง่ นัน้ ก็ไม่เป็นทีร่ กั ไม่เป็นทีพ่ อใจแม้ของ ผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะน�ำ สิง่ นัน้ ไปผูกมัดกับผูอ้ นื่ ได้อย่างไร’…ข้อทีบ่ คุ คลพึงถือเอา สิง่ ของของเราทีเ่ ราไม่ให้ดว้ ยอาการขโมยนัน้ …ข้อทีบ่ คุ คล พึงประพฤติล่วงภรรยาของเรา…ข้อที่บุคคลพึงท�ำลาย ประโยชน์ของเราด้วยการพูดเท็จนัน้ …ข้อทีบ่ คุ คลพึงยุยง เราให้แตกจากมิตรด้วยการพูดส่อเสียดนั้น…ข้อที่บุคคล พึงพูดกับเราด้วยค�ำหยาบนัน้ … ข้อทีบ่ คุ คลพึงพูดกับเรา ด้วยการพูดเพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์นั้น…สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นทีพ่ อใจของเรา สิง่ นัน้ ก็ไม่เป็นทีร่ กั ไม่เป็นทีพ่ อใจ แม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะน�ำสิง่ นัน้ ไปผูกมัดกับผูอ้ นื่ ได้อย่างไร’” (สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค (ไทย) 19/1003/502-504.) จะเห็นว่าสิง่ ทีเ่ ราต้องค�ำนึงเพือ่ จะได้ไม่ละเมิดผูอ้ นื่ นัน้ ก็เพราะผู้อื่นไม่ใช่ความว่างเปล่า ผู้อื่นเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง และความมีอยู่จริงของผู้อื่นนั้นมีอยู่อย่างมีความหมาย ความหมายหนึง่ ทีเ่ ราในฐานะมนุษย์ทมี่ สี ติปญ ั ญาสามารถ เข้าใจได้ ก็คือผู้อื่นมีความรัก สุขเกลียดทุกข์ไม่แตกต่าง จากเรา และสิง่ ทีเ่ ป็นฐานรองรับความรักสุขเกลียดทุกข์ ของเขาก็คอื อ�ำนาจของความรักในตัวตนของเขา ซึง่ ก็คอื สิ่งเดียวที่มีในเราเช่นกัน อ�ำนาจของความรักในตัวตน ของตนนี้เอง คือสิ่งที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นคุณสมบัติ เป็นสิทธิหรือเป็นคุณค่าที่ผู้อื่นต้องค�ำนึงหากสิทธิหรือ คุณค่าดังกล่าวไม่มีจริง โดยความน่าจะเป็นผลของการ ละเมิดในสิง่ นีก้ ไ็ ม่ควรมีอยูจ่ ริง แต่ตามสภาพความเป็นจริง ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น หากสืบค้นถึงเหตุผลตามธรรมชาติของการ ละเว้น การเบียดเบียนผูอ้ นื่ หรือชีวติ อืน่ ในเนือ้ หาของพระพุทธศาสนา เห็นได้วา่ ในแง่หนึง่ ก็เพราะว่าการกระท�ำเช่นนัน้

ถูกผลักดันด้วยอกุศลธรรมซึง่ จะส่งผลให้ผกู้ ระท�ำเป็นทุกข์ และเศร้าหมอง และกุศลธรรมที่ได้ชื่อว่าเป็นกุศลธรรม ก็ไม่เป็นเพียงเพราะท�ำให้ผู้ละเมิดต้องเป็นทุกข์และ เศร้าหมองเท่านัน้ ในด้านหนึง่ เป็นเพราะเป็นการละเมิด อ�ำนาจหรือสิทธิของผู้อื่นด้วย คงไม่สมเหตุสมผลหรือ สอดคล้องกับหลักการของพระพุทธศาสนา หากจะมองว่า ความเป็นทุกข์หรือเศร้าหมองที่เกิดแก่ผู้ละเมิดผู้อื่นนั้น ไม่มสี ว่ นสัมพันธ์กบั ผูท้ เี่ ขาละเมิด เพราะผูถ้ กู ละเมิดเป็น องค์ประกอบส�ำคัญของการละเมิด การปฏิเสธบทบาท ความส�ำคัญของผู้ถูกละเมิด ในแง่หนึ่งก็คือการปฏิเสธ หลักการส�ำคัญของพระพุทธศาสนา อันได้แก่หลักการ ของปฏิจจสมุปบาทที่กล่าวว่าสิ่งทั้งหลายล้วนเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กัน ดังการประพฤติต่อบุคคลที่แตกต่างกัน เช่น ประพฤติตอ่ พระอรหันต์กบั ปุถชุ น ไม่วา่ จะประพฤติสงิ่ ที่ เป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม ก็ยังมีผลต่อผู้ประพฤติ แตกต่างกันดังเป็นที่ทราบกันดี บทสรุป โดยสาระและหลั ก การของพระพุ ท ธศาสนา พระพุทธศาสนามีแนวคิดเรื่องสิทธิ เพราะแนวคิดเรื่อง สิทธิก็ คือ แนวคิดทีย่ อมรับข้อเท็จจริงในธรรมชาติมนุษย์ กล่าวคือ โดยสภาพธรรมชาติ เมือ่ มนุษย์มชี วี ติ เขาก็ยอ่ ม มีความส�ำนึกรู้ในตัวเอง การส�ำนึกรู้ในตัวเองในแง่หนึ่ง ก็คอื การรูว้ า่ ตนเองมีอยูแ่ ละอย่างน้อย ชีวติ ของเขาก็เป็น ของเขา กล่าวอีกอย่างหนึ่งการมีอยู่ของมนุษย์จะมีอยู่ พร้อมๆ กับอ�ำนาจความยึดติดในตัวตน อ�ำนาจความ ยึดติดในตัวตนหรือการมองว่าตนเองมีสทิ ธิในตัวตนจะเป็น สิ่งที่ดีหรือไม่เป็นอีกประเด็นหนึ่ง แต่นี่คือสัญชาตญาณ หรือธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ที่มีอยู่จริง นอกจากนี้ แนวคิดเรือ่ งสิทธิในพระพุทธศาสนายังปรากฏอยูใ่ นสาระ ทีเ่ ป็นเหตุผลว่าเหตุใดเราไม่ควรละเมิดผูอ้ นื่ ทีเ่ ราไม่ละเมิด ผูอ้ นื่ ก็เพราะผูอ้ นื่ มีคณ ุ ค่าหรือมีสทิ ธิในชีวติ ของเขานัน่ เอง สิทธิในชีวติ ตามหลักพระพุทธศาสนานี้ หากพิจาณาจาก กรอบประเภทของสิทธิ จัดเป็นสิทธิธรรมชาติ เพราะเหตุ ว่าเป็นสิทธิที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ และการจะเข้าใจ สิทธินี้ได้ก็โดยอาศัยการสังเกตธรรมชาติของชีวิตจริงๆ

143


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

เท่านัน้ อย่างไรก็ตามการกล่าวว่าสิง่ ใดสิง่ หนึง่ มีอยู่ ก็พงึ เข้าใจว่าเป็นการกล่าวบนพื้นฐานของสัจจะอย่างใด อย่างหนึง่ การไม่แยกแยะระดับชัน้ ของสัจจะในการกล่าว ถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด ย่อมสร้างความสับสนยุ่งเหยิงให้เกิดขึ้น อย่างแน่นอน ความคิดใดๆ ที่มองว่าสิทธิเป็นมายา เป็นสิ่งที่ไม่มี อยู่จริง แนวคิดเรื่องสิทธิเป็นเพียงเครื่องมือที่มนุษย์ ประดิษฐ์ขนึ้ เพือ่ จัดการการใช้อำ� นาจของมนุษย์ในสังคม ความคิดเช่นนี้หากเสนอขึ้นมาเพื่อหวังให้มนุษย์มีความ ระมัดระวังในการตรวจสอบการให้ความหมายเรือ่ งสิทธิ แก่ผู้คนในสังคมก็อาจนับเป็นการเตือนสติผู้คนไม่ให้ตก เป็นเหยือ่ ของการให้ความหมายเรือ่ งสิทธิอย่างผิดๆ ดังใน ประวัติศาสตร์กระทั่งแม้ในปัจจุบันที่เราเชื่อกันว่ารัฐมี สิทธิอ�ำนาจเหนือประชาชน คนขาวมีสิทธิความเป็นคน เหนือคนด�ำ ผูช้ ายมีสทิ ธิความเป็นคนเหนือผูห้ ญิง เป็นต้น กระนั้นการปฏิเสธเรื่องสิทธิก็ไม่ถูกต้อง มากกว่าการ ประกาศว่าสิทธิไม่มี การค้นหาความหมายทีแ่ ท้จริงของ สิทธิและแนวทางการจัดการเรื่องสิทธิอย่างถูกต้องและ สอดคล้องกับความเป็นจริงน่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า

บรรณานุกรม

ทศพล วิชัยดิษฐ์. (2545). สิทธิธรรมชาติ. วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. 3(6). บุญธรรม พูลทรัพย์. (2533). ศีลธรรมกับสิทธิมนุษยชน ในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์อกั ษรศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าปรั ช ญา, จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2543). เรือ่ งสิทธิและเสรีภาพ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. สารานุ ก รมรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรสุ ภา. พงศ์ศิริ ศรีวรรธน. (2546). มโนทัศน์เรื่องสิทธิในพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์อกั ษรศาสตรมหาบัญฑิต สาขา วิชาปรัชญา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

144

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบั บ มหาจุ ฬ าลงกรณราชวิ ท ยาลั ย . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน. (2525). พจนานุ ก รม ฉบั บ ราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์. วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2538). สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. วิสตู ร ฟองศิรไิ พบูลย์. (2544). สิทธิของผูป้ ว่ ย. สืบค้นเมือ่ 10 กรกฎาคม 2554, จาก E- LIB Electronic Library ห้องสมุดการแพทย์และสุขภาพ E-LIB เว็บไซต์: http://www.elib-online.com/physicians/ forensic/forensic_privilege001.html สมภาร พรมทา. (2542). พุทธศาสนากับปัญหาจริยศาสตร์ โสเภณี ท�ำแท้ง และการุณยฆาต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมภาร พรมทา. (2542). พุทธปรัชญา มนุษย์ สังคม และปั ญ หาจริ ย ธรรม. กรุ ง เทพฯ: จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สารานุกรมปรัชญาออนไลน์ฉบับสังเขป. (2554). สิทธิ. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2554, จาก สารานุกรม ปรัชญาออนไลน์ เว็บไซต์: http://www.philospedia. net/rights.html หยุด แสงอุทยั . (2523). ความรูเ้ บือ้ งต้นเกีย่ วกับกฎหมาย ทัว่ ไป. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. Keown, Damien. (1995). Are There “Human Rights” in Buddhism? Retrieved july 3rd 2011, from Urban Dharma Buddhism in America Website: http://www. urbandharma.org/ udharma/humanrights.html Wikipedia. (2008). Natural and legal rights. Retrieved july 5th 2011, from Wikipedia Website: http://en.wikipedia.org/wiki/ Natural_and_legal_rights


วารสารปัญญาภิวัฒน์ PANYAPIWAT JOURNAL

Ms. Nachchapapha Wasinghon received her Master of Arts (Philosophy) from Chiangmai University. She is currently a lecturer in faculty of Liberal Arts, Panyapiwat Institute of Management. Her main interest is in social philosophy in Buddhism.

145


รายละเอียดการเตรียมบทความเพื่อส่งตีพิมพ์ วารสารปัญญาภิวฒ ั น์เป็นวารสารวิชาการของสถาบันการจัดการปัญญาภิวฒ ั น์ มีกำ� หนดจัดพิมพ์วารสารปีละ 2 ฉบับ จึงขอเชิญเสนอบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสาร โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ข้อมูลเบื้องต้นของวารสาร 1.1 วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแหล่งน�ำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ 1.2 ประเภทผลงานทีจ่ ะตีพมิ พ์ ประกอบด้วย บทความวิชาการ (Academic article) บทความวิจยั (Research article) บทวิจารณ์หนังสือ (Book review) และบทความปริทรรศน์ (Review article) 1.3 ขอบเขตเนื้อหา ประกอบด้วย สาขาวิชาบริหารธุรกิจ ศิลปศาสตร์ นิเทศศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และ เทคโนโลยี 1.4 ก�ำหนดพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ (กรกฎาคม - ธันวาคม และ มกราคม - มิถุนายน) 2. นโยบายการพิจารณากลั่นกรองบทความ 2.1 บทความทีจ่ ะได้รบั การตีพมิ พ์ ต้องไม่เคยตีพมิ พ์เผยแพร่ทใี่ ดมาก่อน และต้องไม่อยูใ่ นกระบวนการพิจารณา ลงตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด 2.2 บทความทีจ่ ะได้รบั การตีพมิ พ์ ต้องเป็นบทความทีแ่ สดงให้เห็นถึงคุณภาพทางวิชาการ และมีประโยชน์ในเชิง ทฤษฎีหรือเชิงปฏิบตั ิ โดยผ่านการพิจารณาและให้ความเห็นชอบจากผูท้ รงคุณวุฒิ (Peer review) ซึง่ ต้องมีคณ ุ สมบัติ อย่างต�่ำ ตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ท�ำงานวิจัยและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง จ�ำนวน อย่างน้อย 2 ท่านขึ้นไปต่อบทความ 2.3 กองบรรณาธิการอาจส่งผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนแก้ไข เพิ่มเติม หรือพิมพ์ต้นฉบับใหม่ แล้วแต่กรณี 2.4 กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขรูปแบบบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ 2.5 การยอมรับเรื่องที่จะตีพิมพ์เป็นสิทธิ์ของกองบรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบในเนื้อหา หรือความถูกต้องของเรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ทุกเรื่อง 3. ข้อก�ำหนดของบทความต้นฉบับ 3.1 การจัดพิมพ์บทความ 1) ความยาวของบทความ 10-12 หน้ากระดาษ A4 พิมพ์หน้าเดียว (นับรวมรูปภาพ ตาราง เอกสารอ้างอิง และภาคผนวก) 2) รูปแบบตัวอักษร ให้จัดพิมพ์ด้วยแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK เท่านั้น 3) ชื่อเรื่องบทความ ขนาดตัวอักษร 18 pt. (ตัวหนา) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ 4) ชื่อผู้เขียนทุกคน พร้อมระบุวุฒิสูงสุด ต�ำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) ต�ำแหน่งงานและหน่วยงานที่สังกัด ขนาดตัวอักษร 16 pt. 5) ชื่อบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวหนา) จัดชิดซ้าย

146


6) เนื้อหาบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 pt. จัดชิดซ้ายขวา 7) ชื่อหัวเรื่องใหญ่ ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวหนา) จัดชิดซ้าย ไม่ใส่เลขล�ำดับที่ 8) ชื่อหัวเรื่องรอง ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวหนา) ย่อหน้าเข้ามา 9) เนื้อหาบทความ พิมพ์ 2 คอลัมน์ ในแต่ละคอลัมน์ให้ชิดขอบซ้ายขวา ขนาดตัวอักษร 15 pt. 10) เนื้อหาบทความ ย่อหน้า 1 ซม. 11) ชื่อตาราง ขนาดตัวอักษร 14 pt. (ตัวหนา) ให้ระบุไว้บนตารางจัดชิดซ้าย ใต้ตารางให้บอกแหล่งที่มา จัดชิดซ้าย 12) ชื่อรูป ชื่อแผนภูมิ ขนาดตัวอักษร 14 pt. (ตัวหนา) ให้ระบุไว้ใต้รูป แผนภูมิ จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ใต้รูปแผนภูมิให้บอกแหล่งที่มาจัดชิดซ้าย 13) ระยะขอบกระดาษ 1 นิ้ว (2.54 ซม.) เท่ากันทุกด้าน 14) หมายเลขหน้า ให้ใส่ไว้ต�ำแหน่งด้านล่างขวาตั้งแต่ต้นจนจบบทความ 15) ชื่อบรรณานุกรม ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวหนา) จัดชิดซ้าย 16) เนื้อหาบรรณานุกรม ขนาดตัวอักษร 16 pt. พิมพ์ 2 คอลัมน์ 3.2 ส่วนประกอบของบทความ 1) ชื่อเรื่องบทความ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 2) ชื่อผู้เขียนทุกคน พร้อมระบุคุณวุฒิสูงสุด ต�ำแหน่งทางวิชาการ(ถ้ามี) ต�ำแหน่งงานและหน่วยงานที่ สังกัด (ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษขึ้นอยู่กับการเขียนภาษาในบทความ) 3) บทคัดย่อ (Abstract) ความยาวไม่เกิน 200 ค�ำ และค�ำส�ำคัญ (Keyword) 3-5 ค�ำ (ทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ) 4) เนื้อเรื่อง 4.1) บทความวิชาการ ประกอบด้วย บทน�ำ เนื้อหา และบทสรุป 4.2) บทความวิจัย ประกอบด้วย บทน�ำ ทบทวนวรรณกรรม วิธีการวิจัย ผลการวิจัย อภิปราย และ สรุปผลการวิจัย 5) เอกสารอ้างอิง 6) ถ้ามีรปู ภาพ แผนภูมิ ตารางประกอบ หรืออืน่ ๆ ต้องมีหมายเลขก�ำกับในบทความ อ้างอิงแหล่งทีม่ าของ ข้อมูลให้ถูกต้อง ชัดเจน และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ใช้รูปภาพสีหรือขาว-ด�ำ ที่มีความคมชัด และส่งภาพถ่าย ต้นฉบับหรือไฟล์รูปภาพแยกต่างหาก แนบมาพร้อมกับบทความด้วย 3.3 การอ้างอิงเอกสาร 1) การอ้างอิงในเนือ้ หาเพือ่ บอกแหล่งทีม่ าของข้อความนัน้ ให้ใช้วธิ กี ารอ้างอิงแบบนาม-ปี โดยระบุชอื่ ผูเ้ ขียน ปีพิมพ์ และเลขหน้าของเอกสาร ไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังของข้อความที่ต้องการอ้างอิง เช่น สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2546: 147) ….. หรือ ..... (Newman and Cullen, 2007: 18-19) หรือ ..... (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ, 2546: 217-219) 2) การอ้างอิงท้ายบทความ ให้รวบรวมเอกสารที่ใช้อ้างอิงไว้ท้ายบทความ เรียงตามล�ำดับอักษรชื่อผู้เขียน ให้เรียงรายการเอกสารภาษาไทยไว้ก่อนภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามระบบ APA ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้

147


2.1) วารสารและนิตยสาร วารสารเรียงล�ำดับหน้าโดยขึ้นต้นหน้าหนึ่งทุกครั้งเมื่อขึ้นฉบับใหม่ให้ระบุ (ฉบับที่) รูปแบบ ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), หน้าแรก-หน้าสุดท้าย. Author(s). (Year of publication). Title of article. Title of periodical or journal, Volume(issue), First-last page. ตัวอย่าง ขวัญฤทัย ค�ำขาว และเตือนใจ สามห้วย. (2530). สีธรรมชาติ. วารสารคหเศรษฐศาสตร์, 30(2), 29-36. Acton, G. J., Irvin, B. L., & Hopkins, B. A. (1991). Theory-testing research: building the science. Advance in Nursing Science, 14(1), 52-61. วารสารเรียงล�ำดับหน้าหนึ่งถึงหน้าสุดท้ายต่อเนื่องกันตลอดปี ไม่ต้องระบุ (ฉบับที่) ตัวอย่าง ขวัญฤทัย ค�ำขาว และเตือนใจ สามห้วย. (2530). สีธรรมชาติ. วารสารคหเศรษฐศาสตร์, 30, 29-36. Dzurec, L. C., & Abraham, I. L. (1993). The nature of inquiry linking quantitative and qualitative research nursing. Journal of Advanced Nursing, 18, 298-304.

2.2) หนังสือ รูปแบบ ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. เมืองที่พิมพ์: ส�ำนักพิมพ์. ตัวอย่าง วิจารณ์ พานิช. (2551). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการ ความรู้เพื่อสังคม. Chakravarthy, B., Zaheer, A., & Zaheer, S. (1999). Knowledge sharing in organizations: A field study. Minneapolis: Strategic Management Resource Center, University of Minnesota. กรณีที่หนังสือไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งหรือบรรณาธิการ ให้ขึ้นต้นด้วยชื่อหนังสือ ตัวอย่าง Merriam-Webster’s collegiate dictionary (10th ed.). (1993). Springfield, MA: Merriam-Webster 2.3) รายงานการประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการ รูปแบบ ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อเอกสารรวมเรื่องรายงานการประชุม, วัน เดือน ปี สถานที่จัด. เมืองที่พิมพ์: ส�ำนักพิมพ์. ตัวอย่าง กรมวิชาการ. (2538). การประชุมปฏิบัติการรณรงค์เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน, 25-29 พฤศจิกายน 2528 ณ วิทยาลัยครูมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.

148


Deci, E. L., & Ryan, R. M. (1991). A motivational approach to self: Integration in personality. In R. Dienstbier (Ed.), Nebraska Symposium on Motivation: Vol. 38. Perspectives on Motivation (pp. 237-288). Lincoln: University of Nebraska Press. 2.4) บทความจากหนังสือพิมพ์ รูปแบบ ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์, เดือน วันที่). ชื่อเรื่อง. ชื่อหนังสือพิมพ์, หน้าที่น�ำมาอ้าง. ตัวอย่าง สายใจ ดวงมาลี. (2548, มิถุนายน 7). มาลาเรียลาม3จว.ใต้ตอนบน สธ.เร่งคุมเข้มกันเชื้อแพร่หนัก. คม-ชัด-ลึก, 25. Di Rado, A. (1995, March 15). Trekking through college: Classes explore modern society using the world of Star Trek. Los Angeles Time, p. A3. 2.5) วิทยานิพนธ์ รูปแบบ ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ชื่อปริญญา, สถาบันการศึกษา. ตัวอย่าง พันทิพา สังข์เจริญ. (2528). วิเคราะห์บทร้อยกรองเนือ่ งในวโรกาสวันเฉลิมพระชนม-พรรษา 5 ธันวาคม. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Darling, C. W. (1976). Giver of due regard: the poetry of Richard Wilbur. Ph.D. Thesis, University of Conecticut, USA. 2.6) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบ ชื่อผู้เขียน. (ปีที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต). ชื่อเรื่อง. สืบค้นเมื่อ......., จาก ชื่อเว็บไซต์ เว็บไซต์: URL Address ตัวอย่าง ประพนธ์ ผาสุขยืด. (2551). การจัดการความรู.้ ..สูอ่ นาคตทีใ่ ฝ่ฝนั . สืบค้นเมือ่ 27 มีนาคม 2552, จาก การจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เว็บไซต์: http://www.si.mahidol.ac.th/km/admin/add_information/ document/document_files/95_1.pdf Treeson, Lauren. (2009). Exploring a KM process for retaining critical capabilities. Retrieved February 11, 2009, from KM Edge: Where the Best in KM Come Together Website: http://kmedge.org/ 2009/03/ knowledge-management-process-retaining-critical-capabilities.html

149


4. การส่งบทความ ผู้สนใจเสนอบทความสามารถจัดส่งบทความถึงกองบรรณาธิการวารสารได้โดยช่องทาง ดังนี้ 1) จัดส่งผ่านระบบ “Paper Submission” ได้ที่เว็บไซต์ http://journal.pim.ac.th หรือ 2) จัดส่งทางอีเมล์มาที่ research@pim.ac.th หรือ 3) จัดส่งทางไปรษณีย์ถึง บรรณาธิการวารสารปัญญาภิวัฒน์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ต�ำบลบางตลาด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 การจัดส่งบทความทางอีเมล์และทางไปรษณียต์ อ้ งส่งพร้อมแบบเสนอบทความ ซึง่ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ เว็บไซต์ http://journal.pim.ac.th 5. ติดต่อสอบถามข้อมูล ติดตามรายละเอียดเพิม่ เติมได้ที่ http://journal.pim.ac.th หรือติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ ส�ำนักวิจยั และพัฒนา สถาบันการจัดการปัญญาภิวฒ ั น์ 85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ต�ำบลบางตลาด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0 2832 0225 หรืออีเมล์: research@pim.ac.th

150


แบบเสนอบทความ วารสารปัญญาภิวัฒน์ ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) : ............................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................................... ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) : ........................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................... ผู้เขียนหลัก (ชื่อที่ 1) ชื่อ-สกุล :.................................................................................................................................................................................... ต�ำแหน่งและที่อยู่หน่วยงาน : ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... โทรศัพท์.........................................................โทรสาร.................................................E-mail.................................................... ผู้เขียนหลัก (ชื่อที่ 2) ชื่อ-สกุล :.................................................................................................................................................................................... ต�ำแหน่งและที่อยู่หน่วยงาน : ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... โทรศัพท์.........................................................โทรสาร.................................................E-mail.................................................... ผู้เขียนหลัก (ชื่อที่ 3) ชื่อ-สกุล :.................................................................................................................................................................................... ต�ำแหน่งและที่อยู่หน่วยงาน : ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... โทรศัพท์.........................................................โทรสาร.................................................E-mail.................................................... ประเภทบทความที่เสนอ บทความวิชาการ (Academic article) บทความวิจัย (Research article) บทวิจารณ์หนังสือ (Book review) บทความปริทัศน์ (Review article) ถ้าบทความที่เสนอเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรืออื่นๆ โปรดระบุดังนี้ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ (เอก) วิทยานิพนธ์ (โท) อื่นๆ (ระบุ)........................................................... ค�ำรับรองจากผู้เขียน

“ข้าพเจ้าและผู้เขียนร่วม (ถ้ามี) ขอรับรองว่า บทความที่เสนอมานี้ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณา ลงตีพมิ พ์ในวารสารหรือสิง่ ตีพมิ พ์อนื่ ใด ข้าพเจ้าและผูเ้ ขียนร่วมยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาต้นฉบับ ทัง้ ยินยอมให้กองบรรณาธิการมีสทิ ธิพ์ จิ ารณา และตรวจแก้ตน้ ฉบับได้ตามทีเ่ ห็นสมควร พร้อมนีข้ อมอบลิขสิทธิบ์ ทความทีไ่ ด้รบั การตีพมิ พ์ให้แก่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวฒ ั น์ กรณีมกี ารฟ้องร้อง เรือ่ งการละเมิดลิขสิทธ์เกีย่ วกับภาพ กราฟ ข้อความส่วนใดส่วนหนึง่ และ/หรือข้อคิดเห็นทีป่ รากฏในบทความ ให้เป็นความรับผิดชอบของข้าพเจ้า และผู้เขียนร่วมแต่เพียงฝ่ายเดียว”

ลงชื่อ .......................................................................... ( ) ..................../..................../....................

151


ใบสมัครสมาชิก/สั่งซื้อ วารสารปัญญาภิวัฒน์ ชื่อ-นามสกุล/ชื่อหน่วยงาน............................................................................................................................................ ที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่................ หมู่ท.ี่ .............ต�ำบล/แขวง........................................เขต/อ�ำเภอ.................................... จังหวัด....................................................... รหัสไปรษณีย.์ .............................โทรศัพท์. ................................................ โทรศัพท์มือถือ........................................................... โทรสาร.................................. E-mail........................................ มีความประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกวารสารปัญญาภิวัฒน์

ประเภท

1 ปี 2 ฉบับ เป็นเงิน 160 บาท

2 ปี 4 ฉบับ เป็นเงิน 310 บาท

3 ปี 6 ฉบับ เป็นเงิน 450 บาท

มกราคม - มิถุนายน

เริ่มฉบับประจ�ำเดือน

กรกฎาคม - ธันวาคม

วิธีการช�ำระเงิน

เงินสด ที่ส�ำนักวิจัยและพัฒนา อาคารอ�ำนวยการ ชั้น 2

โอนเงินผ่านธนาคาร

ธนาคารกรุงเทพ สาขาสุรวงศ์ บัญชีสะสมทรัพย์

ชื่อบัญชี กองทุนวิจัย สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

เลขที่ 147-4-71631-1

ลงชื่อผู้สมัคร/สั่งซื้อ ...............................................................................

( )

..................../......................./....................

ส่งใบสมัครสมาชิก/สั่งซื้อวารสาร พร้อมหลักฐานการโอนเงิน ไปที่

ส�ำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 85/1 หมู่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ต�ำบลบางตลาด

อ� ำ เภอปากเกร็ ด จั ง หวั ด นนทบุ รี 11120 (วงเล็ บ มุ ม ซองด้ า นขวา “สมาชิ ก วารสารปั ญ ญาภิ วั ฒ น์ ” ) โทรศัพท์ 0 2832 0225 โทรสาร 0 2832 0392

152


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.