SAVE SEED

Page 1

ยึดครองเมล็ดพันธุ์ ยึดครองชีวติ ศ อ ก ก ลั บ นั ก ล่ า อ า ณ า นิ ค ม ยุ ค ใ ห ม่ โ ด ย เ ด ช า ศิ ริ ภั ท ร & โ จ น จั น ไ ด


บทนำ เ ป ส โ ล ภิ ก ขุ

ราวสิบปีที่แล้ว หลังเข้าร่วมคอร์สล้างพิษและธรรมชาติบำบัดด้วยหวังขจัดโรคภูมิแพ้ ฉันตุหรัดตุเหร่ไปตามแปลงเกษตรอินทรีย์หลายแห่งจึงทำให้ทราบว่า แม้ไม่ใช้สารเคมีทุกขั้นตอนการผลิต แต่เมื่อลงมือปลูกชาวสวนยังต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ ชั่วเคี้ยวหมากแหลกตัวอักษร GMO พลันดีดผาง! นี่คือจุดเริ่มต้นของการตามหา “เมล็ดพันธุ์แท้” ซึ่งผู้บริโภคไม่คลางแคลงในความปลอดภัย ตลอดจนเก็บไว้ปลูกและแจกจ่ายได้ การเดินทางนำฉันไปปะทะกับนโยบายอธรรมของนักล่าอาณานิคมยุคใหม่ “หากต้องการยึดครองประเทศ จงยึดครองประชาชน หากต้องการยึดครองประชาชน จงยึดครองอาหาร หากต้องการยึดครองอาหาร จงยึดครองเมล็ดพันธุ์” เนื้อหาติดดินในอีบุ๊คส์ฉบับนี้ชี้ช่องว่า เราจะต่อกรกับแนวคิดวิปริตข้างต้นอย่างไร ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓

* เรียบเรียงจากการเสวนา CPTPP & UPOV 1991 (15/05/2020) รับชมอย่างจุใจได้ทาง YOUTUBE


จั ด ทำ ใ ห้ อ่ า น ง่ า ย สำ ห รั บ ป ว ง ช น ช า ว ไ ท ย ที่ ห่ ว ง ใ ย สุ ข ภ า พ แ ล ะ อิ ส ร ภ า พ ผู้ อ่ า น ไ ม่ จำ เ ป็ น ต้ อ ง มี ค ว า ม รู้ ด้ า น ก า ร เ ก ษ ต ร ห รื อ ข้ อ ก ฏ ห ม า ย ร ะ ห ว่ า ง ป ร ะ เ ท ศ

อ.เดชา ศิริภัทร: เทพเจ้าของชาวนา ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ ผู้บุกเบิกน้ำมันกัญชาในประเทศไทย อ.โจน จันได: ศาสดาของเด็กอินดี้ ผู้ก่อตั้งสวนพันพรรณ ศูนย์การเรียนรู้ การพึ่งตนเองและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์

UPOV คืออนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ เกิดจากแรงผลักดันของบริษัทเมล็ดพันธุ์เพื่อคุ้มครองพันธุ์พืชที่พวกเขาพัฒนาขึ้น UPOV 1978 ให้สิทธิ์ในการเก็บรักษาพันธุ์ไว้ปลูกต่อหรือแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของเกษตรกร UPOV 1991 ตัดสิทธิ์ในการเก็บรักษาพันธุ์ไว้ปลูกต่อหรือแลกเปลี่ยน หากผู้ใดล่วงละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย ที่มา https://thepeople.co/witoon-lianchamroon-biothai-cptpp-upov-1991/


๑. การปรับปรุงพันธุ์คือการเพิ่มจำนวนพืชจากฐานเดิมที่มีอยู่ จาก ๑๐๐ ชนิดเป็น ๑๐๑ ชนิด น่าจะเป็นผลดีกับความหลากหลายมิใช่หรือ

UPOV คือกลไกครอบงำชีวิตคนทั้งโลก แต่หลอกลวงว่าเป็นแค่เรื่องเมล็ดพันธุ์ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี - อ.เดชา UPOV หรือระบบสิทธิบัตร มันเป็นความเชื่อ เชื่อว่าการผลิตโดยคนกลุ่มน้อยเพื่อคนทั้งโลกที่เรียกว่า Mass production มันจะได้ผล ซึ่งผมไม่เชื่อ เพราะมันทำให้พันธุ์พื้นบ้านหายไปเกือบหมด ผมผสมพันธุ์ข้าว คัดพันธุ์ข้าวมา ๓๑ ปี มีความหลากหลายกว่ากรมการข้าว ที่มีไม่ถึงร้อยสายพันธุ์ แต่ของผมมีกว่าสองร้อยสายพันธุ์ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณของราชการสักบาทเดียว Mass production มันไม่ได้ผลสำหรับเกษตรกร มหาตมคานธีบอกว่าต้อง Production from the mass คนส่วนใหญ่ทำเอง เกษตรกรทำเอง สมมติว่ามี ๗๐,๐๐๐ หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านมีสภาพแวดล้อม ไม่เหมือนกัน แต่เอาข้าวเพียงพันธุ์เดียวไปให้เกษตรกรปลูก มันไม่ปรับตัว บริษัทผลิตเมล็ดพันธ์ุออกมาชนิดเดียว แล้วขายไปทั้งโลก ซึ่งสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกัน จึงต้องใส่ปุ๋ย ใส่สารเคมีเพื่อช่วยให้พันธุ์นั้นอยู่ได้


แต่ถ้าชุมชนทำกันเอง จะมีพันธุ์ที่เหมาะกับสภาพแวดล้อม แต่ละแห่ง ไม่ต้องใช้ปุ๋ยใช้สารเคมี หมู่บ้านอื่นๆ ก็ต้องทำพันธุ์ของเขาเอง ฉะนั้น ๗๐,๐๐๐ หมู่บ้าน ต้องใช้ ๗๐,๐๐๐ สายพันธุ์จึงจะพอ Mass production ทำให้เกิดพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่เยอะๆ ซึ่งมันไม่ปรับตัว พืชแบบนี้มาจากบริษัทซึ่งควบคุม ทั้งปุ๋ย-สารเคมี-เมล็ดพันธุ์-การตลาด-อาหาร-ค้าปลีก ครบวงจร ผลประโยชน์ตกอยู่กับคนๆเดียว แต่ถ้า Production from the mass ชาวบ้านผลิตพันธุ์เอง ไม่ต้องใช้ปุ๋ยหรือสารเคมี ปลูกแล้วกินเอง หรือขายเป็น OTOP เกิดผลกำไรในท้องถิ่น เป็นจุดแข็ง ของแต่ละชุมชน นี่คือความหลากหลายที่แท้จริง การเกษตรเป็นระบบที่ซับซ้อนมาก คุณจะพูดแต่เรื่อง เศรษฐกิจ หรือการเมืองไม่ได้ คุณต้องพูดถึงศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อ จิตวิญญาณ วิถีชีวิต สุขภาพ เพราะอาหาร คือชีวิตของคน การผูกขาดอาหารคือการผูกขาดชีวิต หนำซ้ำคุณยังผูกขาดยาด้วย อาหารและยาคือชีวิต คุณจะปล่อยให้บริษัทเหล่านี้ผูกขาดอาหารและยาได้ยังไง เราเอาชีวิตไปฝากในมือมัน เอากฏหมายไปใส่มือมัน ทำให้ประชาชนอ่อนแอลง ประชาชนก็เป็นทาสมัน

คุณต้องมองทั้งโลก มองระบบใหญ่ลงมา จะเห็นว่า มันเกิดอะไรขึ้น จะไปมองแค่จุดเล็กๆ แล้วขยายไปใหญ่ไม่ได้ เข้าป่าต้องเห็นป่า อย่าเห็นแต่ต้นไม้ มองภาพรวมให้เห็น UPOV คือกลไกที่ครอบงำชีวิตคนทั้งโลก ไม่ใช่เฉพาะ เรื่องเมล็ดพันธุ์หรือเทคโนโลยี เป็นเรื่องชีวิตคน ซึ่งบริษัทพวกนี้ผูกขาด ถ้าผูกขาดได้ทุกคนต้อง ถวายหัวให้มัน เพราะชีวิตสำคัญกว่าทุกอย่าง เขาไม่ได้บอกว่ามันเกี่ยวข้องชีวิต แต่บอกว่าเป็นแค่ เมล็ดพันธุ์หรือความก้าวหน้า มันหลอกครับ ไม่ใช่แค่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบแต่รวมถึงผู้บริโภคด้วย เพราะทุกคนต้องพึ่งอาหารกับยา


UPOV คือกฏหมายคุ้มครองเจ้าของเมล็ดพันธุ์ แต่เขาใช้คำอ้อมๆเพื่อให้คนเข้าใจผิด ว่าเป็นกฏหมายคุ้มครองพันธุ์พืช - อ.โจน ถ้าต้องการความหลากหลายไม่จำเป็นต้องพึ่งบริษัท เพราะกว่าจะผลิตอะไรได้ ใช้ระยะเวลานาน ใช้เงินหลายสิบล้าน เขาจะปล่อยสินค้าออกมาทีละน้อย จนกว่าจะถอนทุนคืนจึงปล่อยตัวใหม่ออกมา วิธีนี้ทำให้เกิดความไม่หลากหลาย เพราะเขาส่งเสริมให้คนปลูก-ซื้อ-กินเฉพาะพันธุ์ของเขา ส่วนพันธุ์ของชาวบ้าน จะสู้ไม่ได้เพราะไม่มีสื่อโฆษณา ทางออกของเรื่องนี้คือส่งเสริมให้ประชาชน หรือเกษตรกรเป็นผู้พัฒนาพันธุ์ ชาวบ้านเขาทำอยู่แล้วเพราะมันเป็นวิถีชีวิตของเขา เขาปลูกเอง พัฒนาเองตลอดเวลาและไม่ได้ใช้เงินมาก มันจะเกิดความหลากหลาย ทางพันธุกรรม เขาไม่ได้ทำเพื่อหวังกำไรสูงสุด เขาทำเพราะความชอบ ทำเพราะเป็นวิถีชีวิต ทำด้วยจิตใจที่เป็นบุญกุศล ถ้าต้องการความหลากหลาย ทางพันธุกรรม ต้องส่งเสริมชาวบ้าน แต่ UPOV ไม่ได้ส่งเสริมชาวบ้าน พูดตรงๆ UPOV คือกฏหมายคุ้มครองเจ้าของเมล็ดพันธุ์ แต่เขาใช้คำอ้อมๆ เพื่อให้คนเข้าใจผิด ว่าเป็นกฏหมายคุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งแสดงถึงความไม่จริงใจ


๒ . เ ร า จ ะ ต่ อ สู้ กั บ U P O V ใ ห้ สำ เ ร็ จ เ ป็ น รู ป ธ ร ร ม ไ ด้ อ ย่ า ง ไ ร

เศรษฐกิจของประเทศไทย โตขึ้นทุกปี แต่ทำไมคนส่วนใหญ่ ยังยากจน เพราะเงินที่เข้ามา ไปอยู่ในกระเป๋าของคนไม่กี่คน - อ.เดชา

ช่วงที่เราพยายามแบนสารพิษ ๓ ชนิด ผู้ที่ออกมาคัดค้านการแบนคือ กรมวิชาการเกษตร ที่เป็นแบบนี้ มีหลายสาเหตุ (๑) เขาเชื่อโดย สุจริตใจว่าทำแบบนี้แล้วดี (๒) เขารู้ว่าไม่ดีแต่มีผลประโยชน์ (๓) หรือทั้งสองอย่างรวมกัน การต่อสู้มันยากเพราะเราต้องสู้กับ ความเชื่อ ความรู้สึก หรือผลประโยชน์ของคน

มันไม่ได้เอาความจริงมาพูดกัน เหมือนนักการเมืองพูดกัน เรื่องผลประโยชน์หรืออุดมการณ์ ถ้าอุดมการณ์ต่างกัน ก็คุยกันไม่รู้เรื่องแล้ว ต้องมองมิตินี้ด้วย ไม่ใช่มองแต่ เทคโนโลยีอย่างเดียว เทคโนโลยีพิสูจน์ไม่ยาก เอามาพิสูจน์กันทางกายภาพเดี๋ยวก็รู้ แต่มันซับซ้อนกว่านั้น


ถ้าเรามองมิติเดียวมันแก้ปัญหาไม่ได้ ถ้าคิดเป็นตัวเงินเราอาจได้มากกว่าเสีย เช่นเราเซ็น FTA กับออสเตรเลีย เขาส่งนมวัวมาขาย แต่ละปีมูลค่าน้อยกว่าอะไหล่รถยนต์ที่เราส่งไปขายให้เขา แต่เกษตรกรที่ล้มละลายจากการขายนมวัวไม่ได้มีกี่คน คนที่ร่ำรวยจากการขายอะไหล่รถยนต์มีกี่คน ถ้าพูดถึงตัวเงินมันจริง แต่คนที่ได้รับผลกระทบ มันต่างกันเยอะ ถ้าดูประเทศไทย เศรษฐกิจโตขึ้นทุกปี ปีละ ๓-๔% ก็น่าจะรวย แต่ทำไมคนส่วนใหญ่ยังยากจน เพราะเงินที่เข้ามามันไม่ได้กระจายไปทั่วทุกคน มันไปเข้ากระเป๋าคนไม่กี่คน คนส่วนใหญ่ไม่ได้เงินส่วนนี้เลย แล้วคนส่วนใหญ่ก็ควักกระเป๋าให้บริษัทพวกนี้ บริษัทจึงโตขึ้น บริษัทแห่งหนึ่งโตขึ้นจาก ๖ แสนล้าน เป็น ๙ แสนล้าน แต่ประชาชนทั้งประเทศมีหนี้สินเพิ่มขึ้น หลายแสนล้าน ความเหลื่อมล้ำของเราเป็นที่หนึ่งในโลก คุณจะดูมิติไหน เอาความเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือการกระจายรายได้ ถ้ามองสนธิสัญญาต่างๆ เงินเข้าประเทศอาจมากกว่าที่เราเสียไป

แต่คนที่ได้รับผลกระทบคือใคร อยู่ที่ไหน ทุกข์ยากแค่ไหน แล้วใครได้ผลประโยชน์ ต้องมองภาพรวมแบบนี้ นักวิชาการเขาอยู่บนหอคอยงาช้าง เขาไม่ได้มาสัมผัสประชาชนแบบพวกเรา ไม่ได้มาใช้ชีวิตอยู่กับชาวบ้าน ๓๐ ปี เขาจินตนาการเอาเอง เขามองตามที่เขาเรียนมา จะไปโทษเขาก็ลำบาก เพราะคนมันเห็นแบบนั้นจริงๆ มันเชื่อแบบนั้นจริงๆ มันมองแคบๆ เพราะเขาศึกษามาแคบ ยิ่งเรียนสูงยิ่งมองแคบ


คนผลิตอาหารไม่มีเมล็ดพันธุ์เป็นของตัวเอง เป็นเรื่องผิดปรกติมาก - อ.โจน ทางออกคือส่งเสริมให้เกษตรกรเป็นผู้ผลิต และพัฒนาเมล็ดพันธุ์ด้วยตัวเองมากขึ้น มันเป็นวิธีที่ง่ายและราคาถูกที่สุด อีกด้านหนึ่งคือคอยเป็นหูเป็นตาไม่ให้กฏหมาย มาสร้างกรอบให้ชาวบ้านขยับตัวไม่ได้ ในการส่งเสริมเกษตรกร ภาครัฐอาจช่วยได้ถ้ามีน้ำใจ แต่โดยทั่วไปเป็นไปได้ยาก เพราะภาครัฐคือส่วนหนึ่งของบริษัท ฉะนั้นเกษตรกรต้องหันมาพึ่งตนเองและช่วยเหลือตัวเองมากขึ้น ผมเห็นว่าเมล็ดพันธุ์ต้องอยู่ในมือของคนปลูก คนผลิตอาหารไม่มีเมล็ดพันธุ์เป็นของตัวเอง เป็นเรื่องผิดปรกติมาก เราต้องส่งเสริมเกษตรกรให้ผลิต และพัฒนาเมล็ดพันธ์ุให้ได้ รวมทั้งปกป้องไม่ให้อำนาจ กฏหมาย นโยบาย มาเบียดเบียนเกษตรกร เพราะเขาไม่ถนัดเรื่องเชิงนโยบาย แต่เขาถนัดเรื่องการพัฒนาพันธุ์หรือการสร้างพันธุ์


๓ . ก ร ม เ จ ร จ า ก า ร ค้ า ร ะ ห ว่ า ง ป ร ะ เ ท ศ แ จ้ ง ว่ า ไ ด้ ทำ ค ว า ม เ ข้ า ใ จ กั บ เ ก ษ ต ร ม า แ ล้ ว ๓ , ๐ ๐ ๐ ร า ย แ ล ะ อ้ า ง ว่ า U P O V เ ป็ น เ ค รื่ อ ง มื อ ใ น ก า ร ล ด ก า ร ผู ก ข า ด

ประชาธิปไตยไม่ใช่ของเลว ถ้าประชาชนมีคุณภาพ แต่ถ้าประชาชนไม่มีคุณภาพ มันจะเลวมาก - อ.เดชา ถ้าอ้างเกษตรกร พวกเขาได้รับข่าวสารมาจากไหน เช่นกรณีการแบนสารพิษ ๓ ชนิด ถ้าให้ลงประชามติโดยเกษตรกรทั้งประเทศ ๘๐-๙๐% เอาอยู่แล้ว ฉะนั้นสนธิสัญญาพวกนี้เกษตรกรก็เอา เพราะเขาได้ข้อมูลและมีความคิดเดียวกับนักวิชาการ เราจะเอาเสียงส่วนใหญ่มาตัดสินไม่ได้ ประชาธิปไตยอยู่กับเสียงส่วนใหญ่ แล้วนักการเมืองที่เราเลือกมามีดีๆบ้างไหม มี ส.ส. คนไหนดีบ้าง เพราะ ส.ส. กับคนเลือกมันก็พอๆกัน ที่จริงประชาธิปไตยไม่ใช่ของเลวนะ ถ้าประชาชนมีคุณภาพ แต่ถ้าประชาชนไม่มีคุณภาพมันจะเลวมาก เพราะไปเชื่อแบบผิดๆ ไปเลือกแบบผิดๆ คนชอบประชานิยมเพราะอยากได้ของฟรี ตัวระบบมันต้องดูคนใช้ด้วยว่าเหมาะสมกันไหม ไม่ใช่ว่าระบบไม่ดี แต่มันเหมาะสมหรือเปล่า ระบบสนธิสัญญาแบบนี้ มันอาจจะเหมาะกับประเทศที่เจริญแล้ว แต่เกษตรกรในประเทศไทยเป็นแบบนี้ การศึกษาเป็นแบบนี้ วิถีชีวิตเป็นแบบนี้ ความคิดเป็นแบบนี้ มันเหมาะไหม จะให้ข้าราชการหรือนักวิชาการมาตัดสินใจแทนคนกลุ่มใหญ่ มันเหมาะไหม ทั้งๆที่ไม่รู้จักคนกลุ่มใหญ่แต่ไปตัดสินใจแทนเขา ไปชี้นำความคิดของเขา แล้วเอาไปอ้างว่าพวกนั้นเห็นด้วย มันจะถูกหรือ


๔ . U P O V 1 9 9 1 มี ไ ว้ คุ้ ม ค ร อ ง พั น ธุ์ พื ช ที่ พั ฒ น า ขึ้ น ม า ใ ห ม่ ถ้ า ไ ม่ มี ก า ร คุ้ ม ค ร อ ง ค น จ ะ ไ ม่ มี แ ร ง จู ง ใ จ ใ น ก า ร พั ฒ น า เ ร า จ ะ แ ก้ ปั ญ ห า นี้ อ ย่ า ง ไ ร

เศรษฐกิจแบบทุนนิยม ใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม ซับซ้อน ราคาแพง ผูกขาด คนเข้าถึงยาก เศรษฐกิจแบบพอเพียง ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เรียบง่าย ราคาถูก ไม่ผูกขาด คนเข้าถึงง่าย - อ.เดชา ผมเป็นหมอพื้นบ้านผลิตยาจากกัญชา มีตำรับยาเป็นของตัวเอง เรียก “น้ำมันเดชา” ผมจดทะเบียน ถูกต้องตามกฏหมายกับกระทรวง สาธารณสุข แล้วยกให้เป็นสมบัติ ของชาติ เขาทำแจกประชาชน ตอนนี้เกิน ๓๐,๐๐๐ คนแล้ว แจกทุกวันที่กระทรวงฯ

ผมไม่เห็นเดือดร้อน เพราะฉะนั้นอย่าไปบอกว่า ถ้าไม่มีผลประโยชน์ทางการค้า คนจะไม่ทำ ไม่จริงครับ เราทำอะไรขึ้นมาใหม่ มันมีสองทางคือ ให้กับขาย ถ้า “ขาย” ก็ไปทางทุนนิยม เขาขายเพราะต้องการเงิน ต้องการ ผลประโยชน์ พุทธศาสนาเรียกว่าโลภ


แต่ถ้า “ให้” เรียกว่าทาน บุญประกอบด้วยทาน ศีล ภาวนา แต่บาปหรือกิเลสประกอบด้วยโลภ โกรธ หลง คนมีศาสนาไม่ได้มองผลประโยชน์เป็นหลัก แต่มองบุญกุศล มองเรื่องการช่วยเหลือ สิ่งนี้ยังมีในจิตใจของคนทั่วโลก ไม่ใช่มีแต่ทุนนิยม คนที่คิดว่าไม่มีผลประโยชน์แล้วไม่ทำ คือคนไม่มีศาสนา คนที่ต้องการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เขาได้บุญ ได้สิ่งที่มากกว่าเงินทอง ที่บอกว่า ถ้าไม่มีผลประโยชน์ที่ผูกขาดได้ คนจะไม่ทำ มันไม่จริง ถ้าทำแบบ UPOV มันจะผูกขาดแล้วนำไปสู่ความโลภ ระบบผูกขาดไม่ใช่สิ่งดี ทุนนิยมเองยังไม่ยอม เขาจึงมีกฏหมายต่อต้านการผูกขาด แต่ UPOV ส่งเสริมการผูกขาด ซึ่งมันผิด เราไม่ใช่ทุนนิยม เราจะไปผูกขาดทำไม เราเป็นพุทธแท้ๆ เรามีศาสนา คนที่ทำเพื่อไม่หวังผลประโยชน์มีเยอะ ซึ่งควรส่งเสริม เพราะความสามารถของคนไม่เท่ากัน คนมีความสามารถ หรือโอกาสมากกว่า ต้องช่วยเหลือคนมีโอกาสน้อยกว่า นี่เป็นสิ่งที่ควรจะทำ คนมีอำนาจมากกว่าหรือร่ำรวยกว่า ยังไปเอาผลประโยชน์กับคนด้อยกว่า สังคมจะอยู่ยังไง เราอย่าไปส่งเสริมระบบแบบนี้ ระบบที่ทำให้เกิด ความเหลื่อมล้ำมากขึ้น เกิดความยากจน เอารัดเอาเปรียบ เอาตัวรอด แข่งขันโดยไม่มีเหตุผล คุณต้องดึงกลับมาสู่

การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน พึ่งพาอาศัยกัน มันจึงจะเกิดความร่มเย็น เศรษฐกิจพอเพียงที่ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงส่งเสริม มันมาแนวนี้ แต่เศรษฐกิจแบบตลาด ที่บริษัทต่างๆผูกขาดมันสวนทาง มันไปไม่ไหว องค์การ สหประชาชาติยังยอมรับเศรษฐกิจพอเพียง แต่ UPOV ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง มันเป็นการผูกขาด เทคโนโลยี พวกนี้เป็นเทคโนโลยีที่ผูกขาด การอ้างว่าถ้าไม่ขาย คุณจะไม่มีพืชพันธุ์ใหม่ คุณจะอยู่ไม่ได้ นั่นเป็นเพราะคุณ ใช้เทคโนโลยีราคาแพง ยุ่งยาก ซับซ้อน ถ้าใช้เทคโนโลยี ที่เหมาะสม มันง่าย ราคาถูก แจกฟรียังได้เลย แล้วคุณจะ ไปส่งเสริม GMO ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ผูกขาด ราคาแพงทำไม ถ้าเป็นการผสมแบบธรรมชาติ มันมีการปรับตัว ไม่ต้องใช้ปุ๋ยหรือสารเคมี มันง่าย แต่คุณทำคนเดียวไม่ได้ ต้องให้ชุมชน ที่อยู่แต่ละท้องถิ่นทำ มันทำได้แน่ๆเพราะธรรมชาติ เป็นผู้คัดเลือก แต่ถ้าคุณใช้ห้องแล็บคัดเลือก มันปรับตัวไม่ได้ มันแพง ต้องเติมปุ๋ยเติมสารเคมี เศรษฐกิจแบบทุนนิยมใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม ถ้าเอามาส่งเสริมจะเกิดการผูกขาดเพราะมันแพง ยุ่งยาก ซับซ้อน คนเข้าไม่ถึง แต่เศรษฐกิจพอเพียง ทุกคนเข้าถึงได้ ถ้าคุณเอาเทคโนโลยีที่เหมาะสม ราคาถูก เรียบง่ายไปส่งเสริม ทุกคนก็พึ่งตัวเองได้


เรื่องเมล็ดพันธุ์ก็เหมือนกัน ถ้าคุณเอาเมล็ดพันธุ์ที่มันพัฒนาง่ายๆ ให้มันปรับตัวเข้ากับธรรมชาติ ให้ธรรมชาติคัดเลือก แทบไม่ต้องลงทุน ได้มาก็แจกฟรี แต่คุณไปลงทุนกับห้องแล็บ ลงทุนกับการตัดต่อพันธุกรรม ลงทุนกับการซื้อสิทธิบัตร คุณแจกไม่ได้เพราะมันแพงเกินไป คุณต้องเลือกระบบสิ ระบบของบริษัทมันลงทุนสูง ใช้เงินหลายสิบล้านกว่าจะได้แต่ละสายพันธุ์ มันจึงแจกไม่ได้ แล้วคุณจะไปส่งเสริมทำไม คุณส่งเสริมระบบที่มันง่าย ราคาถูก ระบบที่คนพึ่งตัวเองได้ และทุกคนมีส่วนร่วมไม่ดีกว่าหรือ การส่งเสริมให้บริษัทผูกขาด แล้วหวังพึ่งบริษัทพวกนั้น มันผิดตั้งแต่ต้น ปัญหามันซับซ้อน คุณต้องมองให้เห็นภาพใหญ่ ถ้าแก้ปัญหาจากส่วนเล็กๆ จากข้างล่าง มันแก้ไม่สำเร็จ คุณต้องมองจากข้างบนลงมา มองถึงเป้าหมายชีวิต โครงสร้างของสังคม ระบบเศรษฐกิจ เทคโนโลยี ศาสนา คุณต้องมองให้ครบ มองให้เห็นว่านี่เป็นชีวิตๆหนึ่ง อย่างคุณโจน จันได ไม่ได้เรียนเกษตร ทำไมต้องมาทำเมล็ดพันธุ์ ทำบ้านดินอยู่เอง เพราะมันเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต จะไปฝากไว้กับคนอื่นได้ยังไง คุณโจนก็เล่าให้ฟังแล้วว่าแกทำงานแทบตาย กินอย่างกะหมูกะหมา แต่ทุกวันนี้ทำงานแค่ไม่กี่นาทีกินอย่างราชา เพราะว่ามันเป็นคนละระบบ ไม่ต้องไปพึ่งคนอื่น อันนี้เรามองให้เห็นว่า ชีวิตอย่างคุณโจน มันออกจากกรอบสังคมที่ผูกขาด แต่ปัจจุบันเราไปยัดเยียด ให้เกษตรกรอยู่ในสังคมที่ผูกขาด แล้วบอกว่ามันเหมาะกับเขา มันไม่ถูก เราต้องมองให้เห็นว่าชีวิตของเกษตรกรแย่มาก เพราะเราส่งเขาเข้าไป อยู่ในระบบทุนนิยมที่ผูกขาดและใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม ถ้าเราออกจากระบบนั้นมาอยู่อย่างคุณโจน มันง่ายมาก ชีวิตมันง่าย


ชาวบ้านไม่ได้คิดถึงเรื่องเงิน เขาพัฒนาพันธุ์มายาวนาน เพราะมันเป็นวิถีชีวิต เป็นความชอบ เป็นจิตวิญญาณ เป็นจิตใจที่อยากให้ เขาถือว่าเขาทำเพื่อให้ทุกคนได้มีอยู่มีกิน - อ.โจน แรงจูงใจในการพัฒนาพันธุ์ โดยทั่วไปคนมักคิดถึงแต่เรื่องเงิน ถ้าพัฒนาพันธุ์แล้ว จดสิทธิบัตรเป็นของตัวเองได้ จะทำให้คนอยากทำมากขึ้นเพราะได้ผลประโยชน์มากขึ้น วิธีคิดแบบนี้มันไม่จริง โดยธรรมชาติชาวบ้านไม่ได้คิดถึงเรื่องเงิน เพราะมันเป็นวิถีชีวิต เป็นความชอบ เป็นจิตวิญญาณ เป็นจิตใจที่อยากให้ ทุกวันนี้มีคนพัฒนาอยู่ตลอด แต่ไม่ถูกนำมาเผยแพร่ในสื่อ บางกรณียังมีการขโมยพันธุ์ของเขาไปใช้ประโยชน์ แต่เขาถือว่าเขาทำเพื่อมนุษยชาติ เพื่อให้ทุกคนได้มีอยู่มีกิน แรงจูงใจที่ทำให้เกิด การพัฒนาพันธุ์ มันอยู่ในสายเลือดของเขาอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องกังวลว่า ถ้าไม่มีกฏหมาย มาคุ้มครอง แล้วจะไม่มีใครพัฒนาพันธุ์ เป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ แต่ตอนนี้ เราไม่มีระบบที่จะยกย่องเชิดชู หรือเอาผลงานของคนเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ นี่คือปัญหาใหญ่ เรามองข้ามประเด็นนี้ แล้วไปมองประเด็นใหม่ด้วยการส่งเสริมบริษัท งานบุญในหมู่บ้านแต่ก่อนคนมาช่วยกันล้างถ้วยชามด้วยความสนุกสนาน มันเป็นวิถีชีวิตของเขา แต่จู่ๆมีคนคิดว่าตัวเองร่ำรวย ไปจ้างบริษัทมาทำอาหาร จ้างล้างถ้วยล้างจาน มันจึงเกิดเป็นประเพณีใหม่ขึ้นมา ทำให้ทุกคนต้องจ้าง การช่วยเหลือกันเหมือนแต่ก่อนจึงลดลงหรือหายไป เราต้องเอาแนวความคิดเรื่องบุญกุศล จิตวิญญาณ วัฒนธรรมหรือคุณธรรมกลับมาใช้ สิ่งเหล่านี้ไม่เคยล้าสมัย มันอยู่ในจิตวิญญาณของคนทุกคน แค่เข้าไปยกย่องเชิดชูหรือให้บทบาท ให้ความสำคัญกับคนที่ทำ มันจะเกิดความหลากหลายอย่างมหาศาล


๕ . สั ง ค ม ไ ท ย อ ยู่ ใ น ร ะ บ บ ทุ น นิ ย ม ภ า ค รั ฐ ก็ ว า ง น โ ย บ า ย ใ น ก ร อ บ ข อ ง ทุ น นิ ย ม เ ร า จ ะ ทำ ใ ห้ เ กิ ด ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ไ ด้ อ ย่ า ง ไ ร

คนลอยตามกระแส GMO เพราะไม่มีราก ต้นไม้ที่ไม่มีราก เมื่อกระแสนำ้พัดมามันก็ลอยไป ต้นไม้ที่ลอยตามน้ำ เขาเรียกว่า “สวะ” - อ.เดชา

เราเข้าสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ ๑ ตั้งแต่ปี ๒๕๐๔ โดยมีธนาคารโลก เป็นผู้ผลักดัน เบื้องหลังธนาคารโลก คืออเมริกา ตั้งแต่นั้นมาเราอยู่ใน ระบบการพัฒนาแบบตะวันตก มาโดยตลอด ปัจจุบันเราอยู่ใน แผนพัฒนาฯฉบับที่ ๑๒ แต่มันผิดทาง เพราะเขามองว่าเศรษฐกิจต้องโต

จีดีพีต้องโตก่อนแล้วทุกอย่างจะดี ต่อมาจึงเพิ่มเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม แต่ก็อ้างสังคม ไปอย่างนั้นเอง เขาดูการเติบโตของ เศรษฐกิจอย่างเดียว เอาเศรษฐกิจ เป็นตัวตั้ง ดูการโตของจีดีพี อันนี้คือปัญหา ภาคเกษตรถูกมองว่า มันต้องโต


ไม่ได้มองเกี่ยวกับชีวิตของผู้ผลิตหรือผู้บริโภค ต้องผลิต ให้ได้มากๆ นี่คือเป้าหมายของเขา ซึ่งมันผิดตั้งแต่ต้น ดินจะเสีย น้ำจะเสีย ชาวบ้านจะยากจนก็ไม่สนใจ มันโตก็โอเคแล้ว กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตร คณะเกษตร มาทางเดียวกันหมด ผมก็อยู่ในระบบนั้น ผมเรียนเกษตรในช่วงต้นของแผนพัฒนาฯฉบับที่ ๑ ตรงกับการเกิดปฏิวัติเขียว มีการเปลี่ยนแปลงพันธุ์พืช ให้เป็นพันธุ์สมัยใหม่ เริ่มจากข้าวสาลี ข้าวโพด มันฝรั่ง มันเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเพื่อให้ผลผลิตสูง จากข้าว ๓๐ ถัง เป็น ๑๐๐ ถัง จากปลูกปีละหนเดียวเป็นปีละสามครั้ง ต้องใช้ปุ๋ย ใช้สารเคมี ใช้เครื่องจักร แค่เปลี่ยนแปลง เมล็ดพันธ์ุอย่างเดียวต้องเปลี่ยนเทคโนโลยีทั้งหมด เปลี่ยนวิธีการผลิต การขาย การบริโภค เปลี่ยนความคิด เกี่ยวกับธรรมชาติ มนุษย์เข้าควบคุมทุกอย่าง กระทรวงเกษตรไม่สนใจความคิดเชิงวัฒนธรรม เช่นเรื่องแม่โพสพ เขาตั้งชื่อข้าวให้มีเบอร์ เพราะไม่ได้คิดว่า ข้าวเป็นเทวดา เป็นสิ่งที่นับถือกันมาแต่เดิม เขามองว่า ข้าวเป็นสินค้า ผลิตได้เยอะๆก็พอแล้ว เมื่อความเชื่อหมดไป ชาวบ้านไม่เหลือรากเหง้า เขาก็ไปตามกระแส ใส่ปุ๋ยเคมีก็ได้ ทำลายดินก็ได้ ฉีดยาฆ่าแมลงก็ได้ ฆ่าหนู ฆ่าทุกอย่าง ก็ไม่บาป เพราะมันไม่เกี่ยวกับความเชื่อ

มันเป็นธุรกิจ เป็นสินค้า เปลี่ยนข้าวจากของศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นปัจจัยอันดับแรก ให้กลายเป็นสินค้า มันเปลี่ยนจิตวิญญาณของคน ชาวนาเดี๋ยวนี้ไม่มีบาปกรรม ไม่มีแม่โพสพ แม่ธรณี แม่คงคา มีแต่เงิน แล้วผลเป็นยังไง ยากจนลงทุกวัน เพราะปลูกข้าวแต่ไม่กล้ากินข้าวของตัวเอง มันไม่อร่อย มันมีแต่สารเคมี เขาจะขายอย่างเดียว ขายข้าวถูกๆแล้วซื้อข้าวแพงๆมากิน ไปซื้อข้าวทางอีสาน ที่ปลูกแบบนาปีมากิน มันก็ขาดทุน มันสาหัสขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเราไม่กลับไปสู้รากเหง้า มันจะรอดไหม ผมเคยพูดแรงๆ คนที่ลอยตามกระแส กระแสปุ๋ย กระแส GMO เพราะไม่มีราก รากมันลอย พอกระแสน้ำมามันก็ลอยตามน้ำ ต้นไม้ที่ลอยตามน้ำเขาเรียกว่า “สวะ” คนมีรากต้องมีวัฒนธรรม มีศาสนา มีความเชื่อ มีบุญกุศล คนที่ไปตามกระแสเพราะอยากได้แต่เงินก็เป็นสวะ สวะไปที่ไหน ลอยลงทะเลไปตายหมด ชาวนาถึงได้ตาย เพราะไม่มีรากเหง้า ถูกเขาดึงไปไม่เหลือ มีแต่หนี้ รัฐบาลไม่จ่ายก็ตาย เรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๐๔ มันเกิดจากปฏิวัติเขียว เกิดจากการทำลายความเชื่อ วิธีเปลี่ยนแปลงคือกลับไปสู่รากเหง้า มีแม่โพสพ แม่ธรณี แม่คงคา ชาวนาเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ แต่ต้องเอาเทคโนโลยี ที่ดีกว่าเดิมไปประกอบ


ผมพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ ไม่ต้องใช้สารเคมี ปลูกได้สบาย ผลผลิตดี คุณภาพดี ราคาดี เหลือกินค่อยขายก็ได้ แจกยังได้เลย เราพิสูจน์มาแล้ว แต่ยังเป็นจำนวนน้อย การเปลี่ยนแปลงเริ่มจากจำนวนน้อยก่อน จากคุณภาพไม่ใช่จากปริมาณ จะรอให้รัฐบาลเปลี่ยนมันเป็นไปไม่ได้ ทำจากบนลงล่างไม่ได้ ต้องทำจากล่างขึ้นบน ทุกคนมีสิทธิจะเปลี่ยนแปลงโลกได้ ยุค 5G ไม่มีใครปิดบังใครได้ อะไรเกิดที่ไหน มันกระทบไปทั่วโลก ผีเสื้อบินที่นี่ทำให้เกิดเฮอริเคนที่อเมริกายังได้เลย Butterfly Effect มันมีจริง โควิดอย่างเดียวโลกยังเปลี่ยนไปขนาดนี้ แค่ไวรัสตัวเล็กๆ เราจะไม่ดีกว่าไวรัสหรือ ถ้าเราเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ มันส่งผลกระทบไปหมด ฉะนั้นไม่ต้องไปรอใคร เปลี่ยนแปลงเดี๋ยวนี้ เปลี่ยนได้ทุกคน ผมไม่เคยทำยา ผมก็ทำ ทำกัญชาผิดกฏหมายด้วยซ้ำ แต่เขาก็ให้ผมเป็นหมอ เอายาไปแจกทั่วประเทศ เรื่องพวกนี้ผมยังทำได้ ใครจะทำไม่ได้ ผมไม่มีอะไรสักอย่าง มีแต่ความกล้ากับรากเหง้าของบรรพบุรุษที่ยังอยู่กับผม ผมเชื่อในความเปลี่ยนแปลง แต่ต้องเริ่มจากตัวคุณเองก่อน เริ่มจากเล็กๆก่อน เอาคุณภาพไม่ต้องเอาปริมาณ คุณต้องกล้ายืนหยัดในสิ่งที่คุณคิดว่าดี กฏหมายไม่ต้องกลัวหรอก คุณต้องอารยขัดขืน เราต้องกล้าขัดขืนกฏหมายที่ไม่เป็นธรรม เราต้องปฏิบัติตัวตามที่เราเห็นชอบ แล้วแสดงให้ดูว่ามันดีจริง เดี๋ยวสังคมก็เปลี่ยน ทุกคนต้องทำ อย่าไปรอใคร


๖ . ถ้ า นั ก ป รั บ ป รุ ง พั น ธุ์ ถู ก ชิ ง สิ ท ธิ์ ไ ป ก่ อ น จ ะ จ ด สิ ท ธิ บั ต ร เ ร า มี ท า ง อ อ ก ใ ห้ เ ข า ไ ห ม

UPOV หรือกฏหมายสิทธิบัตร คือการทำให้การปล้นเป็นสิ่งถูกต้องตามกฏหมาย - อ.โจน สิ่งมีชีวิตไม่ควรถูกใครครอบครอง นี่คือสิ่งที่ผมเชื่อและคิดว่าต้องเป็นแบบนี้ เพราะทุกชีวิตเชื่อมโยงกันทั้งหมด มันคือวงจร แต่ละชีวิต แต่ละพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ พันธุ์จุลินทรีย์ มันตัดขาดจากโลกนี้ไม่ได้ ใครยึดครองแค่จุดเดียว มันยึดครองได้ทั้งระบบ เพราะระบบมันเชื่อมต่อกัน ผมจึงไม่เห็นด้วยกับการจดสิทธิบัตรของสิ่งมีชีวิต แต่การจดลิขสิทธิ์ซอฟแวร์ เครื่องบิน รถยนต์ ไม่ว่ากัน เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลจากคำว่าชีวิต แต่อาหารมันคือชีวิต ทุกชีวิตเกิดมาเสรี เราควรเคารพในชีวิตเหล่านั้นเท่ากับเคารพตัวเอง การไม่ยึดครองชีวิตคือสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง ไม่ว่ายุคสมัยใด เพราะมันทำให้ทุกชีวิตมีค่าเท่ากัน ถ้าใครยึดครองอันหนึ่ง หมายถึงเขายึดครองได้ทั้งหมด นั่นคือการเอาเปรียบ นั่นคือการผูกขาด นั่นคือสิ่งที่ไม่ชอบธรรม


UPOV หรือกฏหมายสิทธิบัตร คือการทำให้การปล้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฏหมาย คือการทำให้การแย่งชิง คนที่อ่อนแอกว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฏหมาย ทั้งที่คนอื่นๆก็คิดค้นสิ่งต่างๆขึ้นมานับไม่ถ้วนบนโลกใบนี้ แต่คนเหล่านั้นไม่ได้จดสิทธิบัตร เช่นภาษาที่เราพูด อาหารที่เรากิน วัฒนธรรมที่เรามี พืชพันธุ์ สิ่งของใช้สอย มีคนพัฒนาต่อยอดมาหลายชั่วโคตร เรามีชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้เพราะบุญคุณของคนเหล่านั้น แต่จู่ๆก็มีคนสร้างกฏขึ้นมาใหม่ว่า ถ้าฉันเอาอันนี้มาตัดแต่งแล้วเป็นของฉันคนเดียว ใครจะเอาไปกินไปใช้ไม่ได้ ต้องจ่ายเงินตลอดเวลา นี่คือสิ่งที่ผมรู้สึกว่าไม่ถูกต้อง ผมจึงไม่เห็นด้วย กับกฏหมายสิทธิบัตรที่อนุญาตให้ครอบครองชีวิต


๗ . แ ม้ เ ร า จ ะ ไ ม่ เ ห็ น ด้ ว ย กั บ U P O V 1 9 9 1 แ ต่ ก็ มี ก ลุ่ ม อื่ น ที่ เ ห็ น ด้ ว ย เ ร า ค ว ร ห า ท า ง อ อ ก ร่ ว ม กั น อ ย่ า ง ไ ร ใ น เ ชิ ง น โ ย บ า ย ที่ ทำ ใ ห้ เ ก ษ ต ร ก ร ทุ ก ก ลุ่ ม พ อ ใ จ แ ล ะ ส า ม า ร ถ ใ ช้ ก ฏ ห ม า ย ร่ ว ม กั น ไ ด้ ทั่ ว ป ร ะ เ ท ศ

ต้องคิดให้เป็นธรรม กับทั้งสองฝ่าย ว่าจะอยู่ด้วยกันได้อย่างไร ต้องคิดถึงคนที่มี จำนวนประชากรเยอะ แต่ไม่มีปากไม่มีเสียง - อ.โจน

กฏหมายฉบับนี้ไม่มีความชัดเจน ในการปกป้องผลประโยชน์ ของประชาชน แต่มีความชัดเจน ในการปกป้องผลประโยชน์ ของเจ้าของสิทธิบัตร สมมติว่า ผมปลูกข้าวโพด แต่เพื่อนบ้าน เอาพันธุ์ GMO มาปลูก

เกสรของเขาปลิวมาผสมกับของผม ผมจะได้รับการคุ้มครองไหม บทเรียนในต่างประเทศมันเกิดขึ้น หลายต่อหลายครั้ง ผมจะต้องไปพิสูจน์ในศาล ว่าผมไม่ได้ขโมย


ทั้งๆที่ผมไม่อยากได้ ไม่มีเจตนาจะขโมย แต่ผมต้องขายที่ดินเพื่อไปขึ้นศาล แล้วผมก็ต้องแพ้ เพราะผมมีเงินน้อยกว่าบริษัท ซึ่งในศาล คนที่มีเงินมากจะชนะเสมอหรือไม่ผิด มันเป็นอย่างนี้ทั้งในอเมริกา แคนาดา หรือแม้แต่ประเทศไทย ใครจะเป็นคนปกป้องคนเล็กคนน้อย มันไม่มีในพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พระราชบัญญัติฯต้องคุ้มครองเกษตรกรและพันธุ์พืชที่เขาทำขึ้นมา ในฐานะที่เขาอ่อนแอที่สุดในสังคม จะให้เขาไปแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติมันเป็นไปไม่ได้ ต้องคิดให้เป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย ว่าจะอยู่ด้วยกันได้อย่างไร ต้องคิดถึงคนที่มีจำนวนประชากรเยอะ แต่ไม่มีปากไม่มีเสียง


๘ . ทำ อ ย่ า ง ไ ร ใ ห้ ร ะ บ บ รั ฐ ส ภ า ซึ่ ง เ ป็ น ตั ว แ ท น ข อ ง ป ร ะ ช า ช น ต อ บ เ สี ย ง ข อ ง ป ร ะ ช า ช น

ทุกครั้งที่ฟังเสียงนักการเมือง นักวิชาการ หรือนักกิจกรรม มันต้องคิดแล้วคิดอีก สืบค้นแล้วสืบค้นอีกว่าใครอยู่เบื้องหลัง ใครให้ทุนนักวิชาการคนนี้ ใครให้ทุนนักการเมืองคนนี้ มันต้องสืบอย่างมากเพื่อที่จะรู้ว่า ใครตัดสินใจอยู่เบื้องหลังคนเหล่านั้น - อ.โจน รัฐสภาตอบเสียงของประชาชนไม่ได้ เพราะโครงสร้างของรัฐสภา ออกแบบโดยระบบทุน เพื่อให้ ส.ส. หรือนักการเมืองเป็นพนักงานของบริษัท คนเหล่านี้แค่อ้างว่าทำงานเพื่อประชาชน แต่เท่าที่เห็นมันเข้าทางบริษัททั้งหมด มันทำให้ไม่มีศรัทธาเหลืออยู่ในระบบของรัฐ ทำให้รู้สึกว่าเราไม่มีที่พึ่ง แม้แต่กฏหมายที่ออกมาก็ทำให้มันซับซ้อน เพื่อไม่ให้เราเข้าใจ เพราะเราเรียนน้อย ความรู้น้อย การศึกษาน้อย เข้าใจกฏหมายได้ยาก แต่เขาก็ทำให้มันยากขึ้นๆ เขียนกฏหมายว่าคุณเก็บเมล็ดพันธุ์พืชใหม่ไปปลูกได้ แต่ไปซ่อนไว้อีกที่หนึ่งว่า จะเก็บได้หรือไม่ได้ต้องอยู่ที่คณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช จะอนุญาตให้รัฐมนตรีประกาศว่าอนุญาตให้เก็บได้มากน้อยแค่ไหน


นั่นหมายความว่าไม่อนุญาตให้เก็บก็ได้ นี่คือความไม่จริงใจในการเขียนกฏหมาย ถ้าจริงใจทำไมไม่เขียนง่ายๆ เพราะกฏหมายทุกฉบับประกาศออกมาแล้ว ถือว่าทุกคนต้องรู้ต้องเข้าใจ แต่เขาทำกฏหมายให้คนเข้าใจไม่ได้เพื่อซ่อนอะไรไว้ มันทำให้เราขาดศรัทธาในระบบที่มีอยู่ เราจึงเชื่อระบบรัฐสภาหรือระบบอื่นๆได้ยากขึ้นๆ ทุกครั้งที่ฟังเสียงนักการเมือง นักวิชาการ หรือนักเคลื่อนไหวด้านต่างๆ มันต้องคิดแล้วคิดอีก สืบค้นแล้วสืบค้นอีกว่าใครอยู่เบื้องหลัง ใครให้ทุนนักวิชาการคนนี้ ใครให้ทุนนักการเมืองคนนี้ มันต้องสืบอย่างมากเพื่อที่จะรู้ว่า ใครตัดสินใจอยู่เบื้องหลังคนเหล่านั้น


๙ . ทุ น นิ ย ม ม า พ ร้ อ ม ก า ร ผู ก ข า ด ถ้ า ป ฏิ เ ส ธ ก า ร ผู ก ข า ด ต้ อ ง ป ฏิ เ ส ธ ทุ น นิ ย ม ถ้ า ไ ม่ ใ ช้ ทุ น นิ ย ม จ ะ ใ ช้ อ ะ ไ ร

ผมทำน้ำมันกัญชาแจกฟรี ทั้งที่มีค่าใช้จ่าย และผมไม่มีเงินเดือน ผมบอกว่าใครอยากบริจาค ก็ทำได้ตามศรัทธา บางคนไม่รับสักขวด แต่กลับบริจาคเป็นแสน เพราะเขาอยากทำบุญ ระบบนี้มันเหมาะกับประเทศไทย - อ.เดชา ก่อนจะเข้าเรื่องทุน ขอพูดเรื่องการผูกขาดก่อน อย่าไปเชื่อว่าถ้าเราป้องกันการผูกขาด โดยให้มีการแข่งขัน แล้วมันจะไม่ผูกขาด คุณเคยได้ยิน คำว่า “ฮั้ว” ไหม แม้ตามกฏหมาย ต้องมีหลายบริษัทมาแข่งกัน แต่บริษัทพวกนี้มีไม่เยอะ สมมติว่า มี ๒๐ บริษัท เขาจะตกลงกันว่า

เรายอมให้บริษัทคุณได้งานนี้ แต่คุณต้องจ่ายเราเท่านี้ๆ นี่เป็นเรื่องปรกติในระบบทุนนิยม เมื่อก่อนบ้านผมมีโรงสี แต่ตอนนี้เลิกแล้ว แถวบ้านผมมีโรงสี ๑๐ แห่ง เราคิดว่าดีใช่ไหม ถ้าเกษตรกรเอาข้าวมาโรงสีนี้ แล้วถูกกดราคา เขาก็ไปที่ใหม่ เพื่อจะได้ราคาที่ดีกว่า


แต่ไม่มีทางเป็นอย่างนั้น เพราะเขามีผลประโยชน์ร่วมกัน คนไม่กี่คนร่วมมือกันเอาเปรียบชาวนาเป็นหมื่นเป็นแสน ไม่ดีกว่าหรือ เจ้าของโรงสีจะมาตีกันเองทำไม ระบบทุนนิยมไม่มีการแข่งขันที่แท้จริง มันผูกขาดแบบอ้อมๆ ใครจะไปยอมเสียผลประโยชน์ ถ้าเราเป็นประชาธิปไตยจริง มีเสรีจริง ทางออกมันมีเยอะ มันดีกว่าเผด็จการ หรือสังคมนิยมด้วยซ้ำ ถ้ารัฐบาลดีจริง เพราะเราสามารถเลือกวิธีที่เหมาะกับเราได้ อันที่จริงทุนนิยมไม่จำเป็นต้องเอากำไรเป็นตัวตั้ง ส่วนประชาธิปไตยก็ไม่จำเป็นต้องเป็นทุนนิยม ทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยหรือสังคมนิยม เป็นระบอบการปกครอง การปกครองระบอบสังคมนิยม ที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมก็มี เช่นประเทศรัสเซีย ถ้าการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยจริงๆ เราสามารถเลือกระบบเศรษฐกิจที่เหมาะกับเราได้ ตอนนี้ผมเป็นหมอ ทำน้ำมันกัญชาถูกกฏหมาย เพราะจดทะเบียนแล้ว ยาของผมไม่เคยขาย แจกฟรีเท่านั้น ผมแจกเป็นหมื่นๆ ทุกวันนี้ก็ยังแจก ทำไมผมมีเงินทำแจกฟรี ทั้งที่มีค่าใช้จ่ายและผมไม่มีเงินเดือน ผมแจกแล้วบอกว่า ใครอยากบริจาคก็ทำได้ตามศรัทธา คุณมีน้อยก็บริจาคน้อย คุณไม่มีสักบาทก็ไม่ต้องบริจาค บางคนไม่รับสักขวด

เขาเห็นว่าดี เขาบริจาคครั้งละเป็นแสน คนรวยที่ไม่ต้องการผลประโยชน์ยังมีอยู่ เขาอยากทำบุญ บริจาคเป็นแสนเป็นล้านได้ ระบบนี้มันเหมาะกับประเทศไทย คนไทยยังทำได้ ไม่จำเป็นต้องขายก็ได้ ผมไม่เห็นเดือดร้อน คนบริจาคมากกว่าที่ผมแจกไปตั้งเยอะ เราต้องเลือกระบบ ที่เหมาะกับเรา ดูว่าศิลปวัฒนธรรมของเราเป็นแบบไหน เอาให้มันเหมาะสม ทุกประเทศมีอัตลักษณ์ของตัวเอง ไม่ต้องไปตามใคร วิธีของเราก็เหมาะกับเรา วิธีของเขาก็เหมาะกับเขา หาวิธีที่ดีที่สุดที่เหมาะกับเรา คุณโจนก็หาวิธีของภาคเหนือ ผมหาวิธีของภาคกลาง ภาคใต้ก็มีวิธีของเขา ทุกหมู่บ้านหาวิธีของตัวเอง แบบนี้มันหลากหลาย และเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรเป๊ะๆ เอาแบบฝรั่งบ้างก็ได้ถ้ามันถูกต้อง เอาแบบจีนก็ได้ หรือแบบไทยก็ได้ อะไรที่มันเหมาะสมมันดีทั้งนั้น อย่าไปเอารัดเอาเปรียบหรือเบียดเบียนกัน มันไม่ถูกต้อง เราต้องช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันและกัน มันเป็นหลักใหญ่ แล้ววิธีการค่อยไปเลือกเอาก็ได้ อย่าไปคิดอะไรที่มันเป๊ะๆ มันไม่มีกรอบหรอก อะไรที่ไม่มีกรอบมันอิสระ


ถ้ามีกรอบมันขีดเส้นไว้ ออกไปไหนไม่ได้ สมัยนี้การเปลี่ยนแปลงมันเร็ว ต้องไม่มีกรอบ มีแต่ความคิดใหญ่ๆ แล้วคุณมีอิสระในการทำตามเป้าหมายของคุณโดยไม่ต้องจำกัดวิธีการ แต่อย่าให้มันผิดกฏหมายหรือผิดศีลธรรมก็แล้วกัน ผมว่ามันไม่มีข้อจำกัดหรอกสมัยนี้ ทางเลือกมันมากกว่าเดิมเป็นร้อยเป็นพันเท่า


เรามีทางเลือกเยอะ แต่ปัญหาคือเราไปเรียนหนังสือ การไปโรงเรียนทำให้เรามองว่า โลกนี้มันทำได้เพียงเท่านี้ - อ.โจน

จริงๆเรามีทางเลือกเยอะ แต่ปัญหาคือเราไปเรียนหนังสือ การไปโรงเรียนทำให้เรา มีทางเลือกน้อยลง มันทำให้เรามองว่า ในโลกนี้มีเท่านี้ที่จะต้องทำ ถ้าเรามองโดยไม่เอากรอบ ความคิดเก่าๆมาฝังไว้ในหัว เราจะพบว่ามีทางออกมากมาย บนโลกใบนี้ เราไม่ต้องเป็น ทุนนิยมก็ได้ ทุนโดยตัวของมันเอง

ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย มันดีเหมือนกัน แต่ปัญหาคือคนที่ใช้ทุนมีปัญหา สิ่งที่เป็นไปได้ในวันนี้ คือเราต้องมาสร้างระบบใหม่ เช่นพวกเราตั้งบริษัท “ธรรมธุรกิจ” ขึ้นมา เป็นการใช้ทุนอีกแบบหนึ่งที่เป็นธรรม อันนี้เป็นทางเลือกหนึ่ง โดยการให้คนหลายๆคนมารวมกัน เพื่อลงขัน แล้วทำอะไรที่เราอยากทำ


มันเป็นการทำให้คนเล็กคนน้อยมีบทบาท เช่นการซื้อชุมพรคาบาน่าทำให้เราเห็นว่า ถ้าชุมพรคาบาน่าถูกซื้อไปโดยตระกูลหนึ่ง มันจะเป็นธุรกิจของตระกูลเดียว เกิดผลกำไรก็ไปกองอยู่กับตระกูลเดียว แต่วันนี้มีคนถึงหกพันคนมาซื้อหุ้นอยู่ในธรรมธุรกิจ ชุมพรคาบาน่าจึงเป็นของคนหกพันคน เรานำมาบริหารเพื่อให้ทุกคนมีผลประโยชน์ร่วมกัน และเป็นธรรมกับทุกคน เช่นเราอบรมเกษตรกร ถ้าเขาไปทำการลดต้นทุนเพื่อเพิ่มผลผลิตโดยไม่ใช้สารเคมี ซึ่งขายในราคาปรกติก็อยู่ได้ แต่เราซื้อเขาในราคาที่แพงขึ้นนิดหน่อยแล้วเอามาสี การสีข้าวที่ไม่ใช่ข้าวเคมี มันหักน้อยกว่า ถึงจะขายราคาเดิมโรงสีก็ได้กำไร เราจึงขายได้ในราคาเท่ากับข้าวอินทรีย์ คนกินก็ได้ประโยชน์ ได้กินข้าวดีในราคาที่ไม่แพง เราทำได้ เราพยายามทำ หลายๆคนช่วยกันคิด มันจะมีทางออกเยอะเลย

กลุ่มสันติอโศกก็ทำเรื่องบุญนิยม นิยมการมีบุญ ไม่นิยมการสะสมทุน แต่นิยมการสะสมบุญ เขาผลิตสินค้าขึ้นมาแล้วขายในราคาทุน แต่ละปีมีงานตลาดอริยะ แข่งกันเอาสินค้ามาขายในราคาต่ำกว่าทุน นี่คือการหาทางออกของคนเล็กคนน้อย ในออสเตรเลียหรือแคนาดาก็เช่นกัน มนุษย์ยากจนได้แต่ไม่ควรอับจนปัญญา ถ้าเรายังคิดยังแสวงหาเราจะมีทางออก เราไม่ได้กังวลเรื่องทุนนิยมเพราะเราสร้างโลกของเรา สร้างระบบของเรา สร้างเส้นทางของเรา เรามีทางเลือก เพียงแต่มันยังเป็นของใหม่ ยังไม่มีคนทำ การอธิบายให้คนเข้าใจอาจจะยาก เราจึงต้องลงมือทำให้เห็นเป็นรูปธรรมก่อน


บ ท ส่ ง ท้ า ย

โลกยุคดิจิทัลทั้งรวดเร็วและรุนแรง ไม่มีอะไรเป็นข้อจำกัดอีกแล้ว คนดีมีคุณภาพเพียงคนเดียว จึงเปลี่ยนโลกได้มากกว่าคนไม่ได้เรื่องเป็นล้านๆคน - อ.เดชา ปีนี้ผมอายุ ๗๒ ปี ยิ่งอายุมากขึ้น ผมยิ่งมองโลกในแง่ดีขึ้น แต่ไม่ใช่แง่ดีแบบเพ้อฝัน ผมมองในแง่ความจริงว่า การเปลี่ยนแปลงมันเร็วขึ้นทุกทีและรุนแรงด้วย อะไรที่ไม่ดีมันเปลี่ยนได้หมด และทุกคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ได้มากกว่าแต่ก่อน เมื่อก่อนเราเป็นคนตัวเล็กตัวน้อยทำอะไรไม่ค่อยได้ แต่ตอนนี้ทำได้มหาศาล ผมมองในแง่ดีว่า ขอให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง อะไรที่เห็นว่าดีผลักดันไปเลย ถ้ามันดีจริงมันจะไปได้เร็วและง่าย ผมอายุขนาดนี้ ผมยังเชื่อว่าจะได้เห็นประเทศไทยดีกว่านี้ภายในชั่วชีวิตของผม ไม่เกินสิบปีมันจะเปลี่ยนไปในทางดีขึ้นอย่างมหาศาล ยิ่งโควิดมายิ่งเปลี่ยนแปลงเร็ว โควิดมามีอะไรดีๆเกิดขึ้นเยอะ ผมอยากให้คนมองก่อนว่าโลกยุคนี้เปลี่ยนแปลงได้จริง รวดเร็วและมหาศาลโดยคนส่วนน้อย ถ้าเราเห็นว่าอะไรดี เราผลักดันตามความคิดของเราไปเลย ถ้ามันไม่ดีจริง มันก็ไม่ไปไหน ถ้าดีจริงมันไปได้ เกิดอะไรขึ้นอย่าท้อถอย ถ้าไม่ดีเราก็สู้กับมัน เราสู้ด้วยวิธีของเรา ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีผล ผมทำแค่นิดๆหน่อยๆ แต่มันเกิดผลกระทบมากกว่าที่คิดไว้ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันเท่า


เช่นเรื่องกัญชา เขามาจับผมไม่กี่วัน คนรู้จักผมมากกว่าทำเรื่องข้าวมา ๓๐ กว่าปี เพราะโลกมันเปลี่ยนไป ถ้าผมทำเรื่องนี้เมื่อ ๓๐ ปีก่อน คงติดคุกไปแล้ว เพราะสังคมออนไลน์ไม่แรงขนาดนี้ คนจะมาช่วยผมไม่มีกำลังขนาดนี้ แต่ตอนนี้มันมีโอกาสมหาศาล เราอย่าไปคิดว่ามันแย่ลง โลกของเราจะดีขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงไปถึงทุกคน ทุกคนมีส่วนร่วมจริงๆ โดยวิธีใหม่ โดยดิจิทัล มันทำให้โลกเปลี่ยน ยุค 5G มันจะเปลี่ยนได้มากกว่า 4G เป็นพันๆเท่า ถ้า 6G ยิ่งจะมากขึ้น มันอยู่ที่คุณภาพของคน คนดีมีคุณภาพเพียงคนเดียวจะเปลี่ยนโลกได้มากกว่า คนไม่ได้เรื่องเป็นล้านๆคน ถ้าเราคิดแบบนี้ เห็นอะไรไม่ดีไม่ต้องท้อแท้ เราทำไปเลย อายุก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่มีอะไรเป็นข้อจำกัดอีกแล้วในโลกยุคนี้ ผมขอฝากไว้ ถ้าเราเห็นอะไรที่ไม่ดี เราหาอะไรที่ดีมาทำแข่งไปเลย ทุกคนมีสิทธิเลือก เขาจะเลือกเองว่าควรไปทางไหน *****


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.