Music Jounal October 2017

Page 1


Volume 23 No. 2 October 2017 วารสารเพลงดนตรี MUSIC JOURNAL

ISSN 0858-9038

Volume 23 No. 2 October 2017

ศาลายาน่าอยู่

คณบดีคนใหม่

ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ A Bright Shining Light on the Hill Volume 23 No. 2 October 2017

Meeting

the New Dean

สวัสดีทา่ นผูอ้ า่ น เพลงดนตรีเดินทางมาถึงฉบับ เดือนตุลาคม ๒๕๖๐ ครบหนึง่ ปีแห่งความสูญเสีย อันยิ่งใหญ่ของประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ ใน เดือนนีจ้ ะมีพระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ท�ำให้บรรยากาศแห่งความโศกเศร้ากลับมาอีกครัง้ ในฐานะประชาชนชาวไทย ขอเชิญชวนผูอ้ า่ นน้อม ส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ โดยน้อมน�ำพระราช ด�ำรัสของพระองค์มาปฏิบตั ิ เพือ่ ให้ประเทศพัฒนา อย่างยั่งยืนต่อไป ในห้วงของบรรยากาศแสดงความอาลัย ยัง มีเรื่องที่น่ายินดีเกิดขึ้นในวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เนื่องจากทางวิทยาลัยได้ต้อนรับคณบดีท่านใหม่ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ ขอเชิญผูอ้ า่ นท�ำความรูจ้ กั กับอาจารย์ณรงค์ ทัง้ ในฐานะนักประพันธ์เพลงและ คณบดี ผ่านบทสัมภาษณ์ในเรื่องจากปก ส�ำหรับบทความด้าน Pedagogy Tool ใน เดือนนี้ อาจารย์ Joseph Bowman ได้เปลี่ยน บรรยากาศจากการแนะน�ำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยด้าน

เจ้าของ

กองบรรณาธิการ

บรรณาธิการบริหาร

ฝ่ายภาพ

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล สุกรี เจริญสุข

ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ สนอง คลังพระศรี

ผู้ช่วยบรรณาธิการ ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ Kyle Fyr นิธิมา ชัยชิต

นพีสี เรเยส พงศ์สิต การย์เกรียงไกร คนึงนิจ ทองใบอ่อน

ฝ่ายศิลป์

จรูญ กะการดี นรเศรษฐ์ รังหอม

พิสูจน์อักษรและรูปเล่ม ธัญญวรรณ รัตนภพ

การสอน มาเป็นการกล่าวถึงรองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข ในฐานะนักการศึกษาและผูพ้ ฒ ั นา วงการดนตรีในประเทศไทย ขอแนะน�ำคอลัมน์ใหม่ “ศาลายาน่าอยู่” โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข ที่จะมา บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนา ชุมชนศาลายาให้เติบโตอย่างยัง่ ยืนไปพร้อมๆ กับ มหาวิทยาลัยมหิดล และพลาดไม่ได้กับบทความจากนักเขียน ประจ�ำที่ให้สาระความรู้ด้านดนตรีในแง่มุมต่างๆ พร้อมทัง้ บทความรีววิ กิจกรรมและการแสดงด้าน ดนตรีในรอบเดือนที่ผ่านมา

เว็บมาสเตอร์

ภรณ์ทิพย์ สายพานทอง

ฝ่ายสมาชิก

สุพรรษา ม้าห้วย

ส�ำนักงาน

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (วารสารเพลงดนตรี) ๒๕/๒๕ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ต�ำบลศาลายา อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐

ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ

โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๓๑๑๓ โทรสาร ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๓๐ musicmujournal@gmail.com

พิมพ์ที่

หยินหยางการพิมพ์ โทรศัพท์ ๐ ๒๙๐๓ ๘๖๓๖

จัดจ�ำหน่าย

ร้านค้าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๒๕๐๔, ๒๕๐๕

กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ส� ำหรับข้อเขียนที่ได้รับการพิจารณา กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่ จะปรับปรุงเพื่อความเหมาะสม โดยรักษาหลักการและแนวคิดของผู้เขียนแต่ละท่านไว้ ข้อเขียนและบทความที่ตีพิมพ์ ถือเป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการ ไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ขอรับผิดชอบบทความนั้น


สารบั ญ Contents ศาลายาน่าอยู่

Music Entertainment

The Bach Journey

52

ตามรอยเส้นทาง Bach (ตอนที่ ๙) ฮิโรชิ มะซึชิม่า (Hiroshi Matsushima)

04

ศาลายาน่าอยู่

สุกรี เจริญสุข (Sugree Charoensook)

Cover Story

14

คณบดีคนใหม่ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ

นิธิมา ชัยชิต (Nitima Chaichit) ณัฐมน จารุเมธาวิทย์ (Nattamon Jarumethavit)

Jazz Studies

22

แจ๊สล้วนๆ

ดริน พันธุมโกมล (Darin Pantoomkomol)

26

ข้อสรุปจากการสร้างสรรค์ ผลงานบันทึกเสียงโดย Mahidol University Jazz Orchestra: กรณีศึกษาจากการบันทึกเสียง บทเพลงของมหาวิทยาลัย มหิดล (ตอนที่ ๒) ทวีศักดิ์ บูรณพานิชพันธุ์ (Taweesak Booranapanitpan)

Getting Ready

30

Pedagogy Tools for Applied Music Teachers: A Bright Shining Light on the Hill Joseph Bowman (โจเซฟ โบว์แมน)

32

วิเคราะห์/วิจารณ์ สกอร์เพลง วง Big Band ที่น่าสนใจ (ตอนที่ ๕)

กิตติ ศรีเปารยะ (Kitti Sripaurya)

38

ผลศึกษาจากการสร้างงาน แนวโปรเกรสซีฟร็อก เพลง “ดอกไม้” โดย Otth Project (ตอนที่ ๒) กริชพล อินทนิน (Krichapol Inthanin)

Review

58

ยุติบทบาทนักอนุรักษ์ สื่อโสตสยามคนส�ำคัญ: อาจารย์พฤฒิพล ประชุมผล จิตร์ กาวี (Jit Gavee)

60

สาระและความบันเทิงจาก การบรรยายเชิงสร้างสรรค์ ประกอบการแสดง “ประสานเสียงส�ำเนียงไทย” จิตร์ กาวี (Jit Gavee)

Voice Performance

42

Stamp, Suay, Suay Haruna Tsuchiya (ฮารุนะ ซึชิยะ)

Music Technology

46

Introduction to Microphones: Stereo Microphone Techniques Michael David Brice (ไมเคิล เดวิด ไบรซ์)

International Relations

50

Two Weeks in Southern China Tyler Avis Capp (ไทเลอร์ เอวิส แคปป์)

64

The 5th Jean-Marie Londeix International Saxophone Competition วิศุวัฒน์ พฤกษวานิช (Wisuwat Pruksavanich)

70

Thailand International Composition Festival (TICF) 2017

ปวัตน์ชัย สุวรรณคังคะ (Pawatchai Suwankangka)


ศาลายาน่าอยู่

ศาลายาน่าอยู่ เรื่อง: สุ กรี เจริญสุ ข (Sugree Charoensook) ผู้อ�ำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เมืองมหาวิทยาลัย

ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองมหาวิทยาลัย แล้ว หมายถึงเมืองที่น่าอยู่ เป็นเมือง ที่มีความเจริญ มีความพร้อมสะดวก สบาย ส�ำหรับประเทศทีเ่ จริญแล้ว เมือง มหาวิทยาลัยเป็นเมืองในอุดมคติ ทีน่ า่ อยู่ น่าเรียน เพราะว่ามีมหาวิทยาลัยอยู่ใน พื้นที่ มหาวิทยาลัยหมายถึงพื้นที่ของ ความมีระเบียบ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีพื้นฐาน ของความเจริญ มหาวิทยาลัยเป็นพืน้ ทีข่ อง ความสะอาด ซึ่งหมายถึง “ความเจริญ”

04

มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ของคนมี ปัญญา เป็นพื้นที่ของปัญญาชน เป็น พื้นที่ของนักปราชญ์ เป็นพื้นที่ของผู้รู้ เป็นพื้นที่ของคนที่มีความสามารถ เป็น พื้นที่ของผู้มีการศึกษา เป็นพื้นที่ของผู้มี วัฒนธรรม เป็นเมืองแบบอย่าง เพราะ มหาวิทยาลัยเป็นพืน้ ทีข่ องผูม้ รี สนิยมสูง เข้าใจคุณค่าและรูค้ ณ ุ ค่า เป็นพืน้ ทีข่ องผูม้ ี อันจะกิน ทีส่ ำ� คัญมากก็คอื มหาวิทยาลัย เป็นพื้นที่ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งมี ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ

ทุกคน เมืองมหาวิทยาลัยจึงเป็นเมือง ที่สุดยอดของความปรารถนา ส�ำหรับมหาวิทยาลัยในสังคมไทย นั้น ก็จะมีภาพลักษณ์ที่แตกต่างออกไป จากมหาวิทยาลัยในโลกทีห่ นึง่ ยังอยูห่ า่ ง ไกลความเจริญ หากจะว่ากันตรงๆ แล้ว ประเทศไทยนัน้ ยังเป็นสังคมของประเทศ โลกทีส่ ามหรือด้อยพัฒนา ทัง้ ในด้านการ ศึกษา คุณภาพชีวติ และความมีสทิ ธิข์ อง การด�ำรงอยูใ่ นสังคม จึงมีการดิน้ รนทีจ่ ะ ผลักดันให้สังคมไทยออกมาจากสภาพ


โลกทีส่ าม ดังนัน้ เมืองมหาวิทยาลัยของ ไทยจึงไม่ตา่ งจากสลัมเกิดใหม่แต่อย่างใด เมืองมหาวิทยาลัยของไทยนัน้ สภาพ ประกอบด้วยพื้นที่สลัมใหม่ เป็นแหล่ง ซ่องสุมใหม่ เป็นแหล่งอบายมุขใหม่ เป็น แหล่งสถานบันเทิงใหม่ เป็นแหล่งมั่วสุม ใหม่ เป็นแหล่งทีม่ วี ฒ ั นธรรมใต้สะดือใหม่ จึงท�ำให้เมืองมหาวิทยาลัยของไทยพัฒนาได้ ยาก เพราะจะไปกระทบกับพืน้ ทีเ่ ศรษฐกิจ พื้นที่ผลประโยชน์ การใช้พื้นที่เหล่านี้ใน การประกอบธุรกิจ การใช้อบายมุข ง่าย กว่าที่จะเป็นพื้นที่ประกอบกรรมดี เมือง มหาวิทยาลัยของไทยเป็นลูกค้าใหม่ของ ชุมชน ลูกค้าที่เป็นละอ่อนในสังคม แถม เป็นลูกค้าทีไ่ ด้รบั เงินจากพ่อแม่ผปู้ กครอง ง่าย เพราะไม่ได้มาด้วยน�ำ้ พักน�ำ้ แรงของ ตัวเอง จึงจ่ายง่ายได้คล่อง เมืองมหาวิทยาลัยในอุดมคติ ต้อง เป็นพื้นที่ที่เรียกว่า “สัปปายสถาน” ซึ่ง แปลว่าเป็นพื้นที่ส�ำหรับประกอบกรรมดี เมื่อมหาวิทยาลัยมหิดลมาตั้งอยู่ในพื้นที่ ต�ำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม ชาว บ้านก็ขายที่นาเพื่อให้ได้เงิน คนซื้อที่นา

ก็นำ� ไปพัฒนาเปลีย่ นเป็นพืน้ ทีธ่ รุ กิจ เป็น ตลาด เป็นหอพัก เป็นที่อยู่อาศัย เป็น ร้านอาหาร เป็นสถานที่ให้ความบันเทิง เป็นพืน้ ทีส่ ำ� หรับการค้าขาย ซึง่ ใช้วธิ กี าร “ใครใคร่ค้าค้า ใครใคร่ซื้อซื้อ” ศาลายาเป็นพื้นที่ของคนจร เมื่อ ครัง้ ยังไม่เป็นเมืองมหาวิทยาลัย ศาลายา เป็นเมืองที่เงียบสงบ ไม่มีอะไรน่าสนใจ พอกลายเป็นเมืองมหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นเมืองพุทธสถานของ พุทธศาสนา ทีร่ ฐั บาลสร้างขึน้ เป็นทีร่ ะลึก ๒,๕๐๐ ปีพุทธศาสนา ท�ำให้ศาลายาได้ เปลีย่ นโฉมหน้าไปเป็นเมืองของคนจร คน ที่มาเรียนหนังสือเพื่อให้ได้ความรู้และให้ ได้ใบปริญญา เมื่อได้ดังใจปรารถนาแล้ว ก็ลาจากไป เป็นเมืองที่ผู้คนเข้ามากราบ ไหว้สกั การะพุทธสถานเป็นครัง้ เป็นคราว ศาลายาจึงมีคนจรอาศัยอยู่จ�ำนวนมาก คนทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีเ่ ดิมนัน้ มีเพียง ๙,๐๐๐ คนเศษ แต่เมื่อเป็นเมืองมหาวิทยาลัย ศาลายาได้กลายเป็นเมืองที่มีประชากร แฝง ๓-๔ หมื่นคน มีหอพักมากขึ้น มี ขยะเพิ่มมากขึ้น มีธุรกิจด้านต่างๆ เพิ่ม

มากขึน้ มีทอ่ี ยูช่ วั่ คราวเพิม่ มากขึน้ มีรา้ น อาหารเพิม่ มากขึน้ มีความต้องการทีจ่ อด รถเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ถนนส�ำหรับรถ วิ่งยังรองรับประชากรเพียง ๙,๐๐๐ คน

ท� ำ ศาลายาให้ เ ป็ น เมื อ ง มหาวิทยาลัย

ศาลายายังไม่ได้มแี ผนในการพัฒนา เมืองแต่อย่างใด ในขณะเดียวกัน การที่ ศาลายาได้กลายเป็นเมืองมหาวิทยาลัยไป แล้ว แต่เมืองศาลายาก็ไม่ได้เจริญและไม่ น่าอยู่ตามตัวอย่างเมืองมหาวิทยาลัยใน โลกที่เจริญแล้วแต่อย่างใด ที่ส�ำคัญก็คือ ศาลายาก็ยังเติบโตต่อไปอย่างยถากรรม โตแบบตามมีตามเกิด มหาวิทยาลัยมหิดล ตัง้ อยูใ่ นต�ำบล ศาลายา จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นชุมชน ขนาดเล็ก มีประชากรไม่ถงึ หมืน่ คน ในขณะ ทีม่ หาวิทยาลัยมหิดลน�ำเอาประชากรแฝง เข้ามาในชุมชนจ�ำนวนมาก แต่ประชากร แฝงไม่ได้ท�ำประโยชน์ให้ชุมชนดั้งเดิม มากนัก อย่างเก่งชาวบ้านก็ได้ท�ำงานใน มหาวิทยาลัย เป็นยาม เป็นคนสวน เป็น

05


แม่บา้ น เป็นแม่คา้ ขายของหรือขายทีด่ นิ แล้วย้ายไปอยู่ที่อื่น มหาวิทยาลัยมหิดล ควรพัฒนา ให้ศาลายาเป็นเมืองที่น่าอยู่ ช่วยใน การพัฒนาโรงเรียน วัด พื้นที่สาธารณะ ของศาลายา เพื่อที่จะสร้างความเจริญ ตอบแทนกลับสู่ชุมชน โดยเฉพาะด้าน การศึกษา ความสะอาด ความสะดวก ความปลอดภัย และความเจริญ เมื่อ มหาวิทยาลัยมหิดลมีความเจริญทั้งทาง ด้านกายภาพ ด้านสวัสดิภาพ พืน้ ทีเ่ ต็มไป ด้วยความรูแ้ ละปัญญา ก็จะเป็นตัวอย่าง เมืองมหาวิทยาลัยของไทย

ร่วมกันพัฒนาพุ ทธมณฑล

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ตัง้ อยู่ ในพืน้ ทีอ่ ำ� เภอพุทธมณฑล อยูต่ รงกันข้าม กับพุทธมณฑล ซึ่งเป็นพุทธศาสนสถาน ที่ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก ๒,๕๐๐ ปี พุทธศาสนา พุทธมณฑลจึงมีความส�ำคัญ ต่อพุทธศาสนาในประเทศไทย หากจะใช้ โอกาสช่วยพัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นสวน

06

สาธารณะของประชาชน เป็นสวนพระ ศาสนาทีม่ คี วามสะอาด มีระเบียบ มีความ ร่มรื่น เรียบง่าย สงบเย็น เป็นมิตร และ มีความปลอดภัย ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ การน�ำธรรมชาติมาใช้บ�ำบัด มอบให้แก่ ประชาชนผู้แสวงหาความสงบ บริเวณพุทธมณฑล มีถนนรอบๆ ยาว ๘ กิโลเมตร มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถที่ จะช่วยพัฒนาถนนรอบพุทธมณฑลให้เป็น ถนนจักรยาน ส�ำหรับการออกก�ำลังกาย ช่วยแบ่งปันความสุขให้แก่ประชาชนและ ผูท้ สี่ มั ผัส ซึง่ จะเป็นตัวอย่างให้สว่ นงานอืน่ ๆ ได้นำ� ไปพัฒนาสิง่ แวดล้อม นอกเหนือจาก ส่วนงานของตนเอง

ตั้งโรงทานในพุ ทธมณฑล

พุทธมณฑลเป็นพุทธศาสนสถาน ควรจะมีโรงทานซึง่ เป็นแหล่งบ�ำบัดจิตใจคน ในการจัดตัง้ โรงทานโดยการสนับสนุนจาก มหาวิทยาลัยมหิดล โรงทานประกอบด้วย การรับสิง่ ของเพือ่ ทีจ่ ะเหลือใช้ผอู้ นื่ บุคคล ทัว่ ไปสามารถทีจ่ ะเอาสิง่ ของมาบริจาคให้

ทาน อาทิ อาหาร เสือ้ ผ้า สิง่ ของทีเ่ หลือ ใช้ หรือให้แรงกายเป็นทาน ประชาชนก็ เอาสิ่งของมาบริจาคเป็นทานเพื่อช�ำระ จิตใจตนให้สะอาด โรงทานบริหารจัดการโดยวิทยาลัย การจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย น�ำความรู้ความสามารถในการบริหาร จัดการ น�ำเทคโนโลยีและจิตใจทีเ่ ป็นทาน เพื่อจัดการเรื่องรับสิ่งของที่เป็นทาน จัด แบ่งแยกทาน ส่งสิ่งของที่เป็นทาน เพื่อ ให้ทานแก่ผู้ที่ต้องการ อย่างน้อยทานก็ จะช่วยขจัดความยากจนของจิตใจได้บา้ ง การให้ทานเป็นความศรัทธาทีส่ งู ส่ง ของชาวพุทธ มหาวิทยาลัยมหิดลตั้งอยู่ ติดอยูก่ บั พุทธศาสนสถาน ซึง่ เป็นต้นทุน ทีส่ ำ� คัญมาก มหาวิทยาลัยมหิดลจะต้อง ใช้ประโยชน์จากต้นทุนเหล่านี้ เพือ่ ให้ทาน การศึกษาทีเ่ ป็นจริงแก่สงั คม โดยน�ำความรู้ น�ำการบริหาร น�ำเทคโนโลยี น�ำความ คิดสร้างสรรค์ มาใช้ในการบริหาร “ทาน และศรัทธา” เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อสังคมไทย


โดยไม่มใี ครดูแลรักษา ในแม่นำ�้ ล�ำคลองมี สร้างรถไฟฟ้ ารอบเมือง พัฒนาแม่น้ำ� ล�ำคลอง ศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา อยู่ วัชพืช ขยะ ผักตบชวาเต็มล�ำน�้ำ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่ในเมือง ศาลายา ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ มีประชากร น้อย มีประชากรที่แฝงอยู่จ�ำนวนมาก มหาวิทยาลัยมหิดล จ�ำเป็นที่จะต้อง พัฒนาเมืองศาลายาให้เป็นเมืองน่าอยู่ เป็นมหาวิทยาลัยในอุดมคติ และเป็น เมืองตัวอย่างของสังคมไทย สังคมเมือง ของไทยเติบโตโดยไม่มีการวางแผน ทุก ฝ่ายปล่อยให้เมืองเติบโตอย่างยถากรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ควรวางแผน ร่วมกับรัฐบาลโดยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ศาสตร์ เพือ่ สร้างการขนส่งของเมืองศาลายา ใหม่ โดยการสร้างรถไฟฟ้ารอบเมือง สร้างรถขนคน ไม่ต้องสร้างถนนขนรถ เพื่ออ�ำนวยความสะดวกสบาย ให้ความ ปลอดภัยส�ำหรับทุกคน ให้โอกาสกับคนขี่ จักรยานยนต์รบั จ้าง หันมาแต่งตัวดี สร้าง บุคลิกที่สะอาด ขับรถไฟฟ้าแทน

ในพื้นที่ที่มีแม่น�้ำล�ำคลองใกล้ๆ โดยรอบ อาทิ คลองโยง คลองทวีวัฒนา คลอง มหาสวัสดิ์ แม่น�้ำนครชัยศรี เป็นต้น แต่ แม่นำ�้ ล�ำคลองเหล่านัน้ ไม่ได้พฒ ั นา แม่นำ�้ ล�ำคลองถูกใช้อย่างทารุณ การรุกล�ำ้ ทางน�ำ้

มหาวิทยาลัยมหิดล มีคณะสิง่ แวดล้อม และทรัพยากรศาสตร์ ซึ่งควรน�ำความรู้ สมัยใหม่ไปพัฒนาแม่น�้ำล�ำคลองรอบๆ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สะอาด สะดวก ร่มรืน่ สวยงาม ส่วนวัชพืช ขยะ ผักตบชวา

07


ทีอ่ ยูใ่ นทางน�ำ้ ควรได้รบั การดูแล โดยน�ำ ไปท�ำผลผลิตทีส่ ร้างรายได้ให้คนในชุมชน อาทิ ท�ำปุ๋ย ท�ำขยะแปรรูป ท�ำเครื่องใช้ หัตถกรรม เป็นต้น

รถไฟฟ้ าชานเมืองตลิ่งชัน นครปฐม

มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่ในเขต ชานเมืองตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นชานเมืองที่เหลือดูดีมีสีเขียว เป็น พืน้ ทีม่ มี ลพิษน้อย เหลือเพียงพืน้ ทีส่ ดุ ท้าย หากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เจรจากับ รัฐบาลเพือ่ ต่อการคมนาคมด้วยรถไฟฟ้า สายสีแดง จากศิริราช ตลิ่งชัน ศาลายา นครปฐม เพือ่ เปิดโอกาสให้ผทู้ อี่ ยูช่ านเมือง เดินทางเข้าเมืองใหญ่ได้สะดวกและรวดเร็ว โดยทีป่ ระชาชนชานเมืองไม่ตอ้ งขับรถหรือ เข้าไปอยู่อย่างแออัดในกรุงเทพมหานคร จั ง หวั ด นครปฐมเป็ น เมื อ ง ประวัตศิ าสตร์ มีมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัย นาฏศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สถาบัน วิชาการทหารเรือชั้นสูง มหาวิทยาลัย

08

มหิดล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โรงเรียนนายร้อยต�ำรวจ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏ ราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ก็คอื เป็นที่ตั้งพระปฐมเจดีย์และพุทธมณฑล ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา หากให้นกั ท่องเทีย่ วจ�ำนวน ๒๕-๓๐ ล้าน คน ได้มีโอกาสไปไหว้พระเสียก่อน ก่อน ที่จะไปเที่ยวแหล่งอื่นๆ ก็จะช่วยสร้างให้

ประเทศไทยเจริญขึน้ โดยการได้อมุ้ ชูพระ ศาสนาไปในตัวด้วย

มหาวิทยาลัยเป็นพื้นทีส ่ ี เขียว มีต้นไม้

มหาวิทยาลัยมหิดล ควรเป็นพื้นที่ สีเขียวที่มีต้นไม้ร่มรื่น ต้นไม้หนึ่งต้นคือ ครูผู้ยิ่งใหญ่ ป่าทั้งป่าก็คือมหาวิทยาลัย ต้นไม้คือครูผู้ที่จะสอนนักศึกษา สอนทุก คนที่อยู่กับต้นไม้ ซึ่งนักปราชญ์ทั้งหลาย


โดยเฉพาะในโลกตะวันออกต้องเดินทางเข้า ป่า มีชวี ติ อยูใ่ นป่าเพือ่ แสวงหาธรรมชาติ แสวงหาความสงบ แสวงหาตัวตน เรียนรู้ ศึกษาจากธรรมชาติ อยู่กับธรรมชาติ เคารพธรรมชาติ เพราะธรรมชาติสอนให้ มนุษย์ได้เห็นสัจธรรม สอนให้มนุษย์พบ กับความจริง สอนให้มนุษย์ไม่เห็นแก่ตัว รู้จักการให้ เสียสละ อุทิศ และมีเมตตา

ประทับใจในความดีความงามของคนอื่น รวมทัง้ มหาวิทยาลัยจะต้องสร้างบริบทที่ มีบรรยากาศ เพื่อเข้าถึงรสนิยมได้ วิถชี วี ติ ของนักศึกษา ประชากรของ มหาวิทยาลัยมหิดล จะต้องมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ี ท�ำงานอยูใ่ นบรรยากาศและสิง่ แวดล้อม ที่ดี ซึ่งจะท�ำให้ทุกคนมีจิตใจที่ดีด้วย

มหาวิทยาลัยมหิดล จะต้องสร้าง บรรยากาศที่น่าอยู่ สร้างรสนิยมที่ดีให้ แก่นักศึกษาและบุคลากร รวมทั้งเป็น ตัวอย่างทีด่ ขี องสังคมด้วย ส�ำหรับรสนิยม นั้น เป็นคุณสมบัติของ “ผู้ดีและผู้เจริญ” มหาวิทยาลัยจึงต้องเป็นแหล่งเรียนรู้ รสนิยม เพื่อผลิตบุคลากรออกไปรับใช้ สังคมอย่างมีรสนิยม รสนิยมสามารถที่จะพัฒนาได้ ซึ่ง ต้องอาศัยผ่านระบบการศึกษา การอยู่ ร่วมกันในสังคม การให้เกียรติผู้อื่น การ เคารพผู้อื่น การเข้าถึงความรู้สึกของคน อื่น การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และความ

มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ปัญหาทีจ่ อดรถได้ กลายเป็นปัญหาหลักไปแล้ว มหาวิทยาลัย มหิดลก็มปี ญ ั หาเรือ่ งทีจ่ อดรถเหมือนกับ มหาวิทยาลัยอื่น แต่ก็ไม่มีใครกล้าหาญ ลงทุนสร้างที่จอดรถเพื่อให้เป็น “ชุมชน ตัวอย่าง” เพือ่ พัฒนาให้เป็นชุมชนทีน่ า่ อยู่ “สะดวกสบาย” ที่จอดรถได้กลายเป็น ปัญหาและเป็นเรื่องวิสัยทัศน์ของการ จัดการสังคมสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขต ศาลายา ได้กอ่ สร้างทีจ่ อดรถเพิม่ ส�ำหรับ จอดรถได้ ๑,๐๐๐ คัน เริม่ ก่อสร้างเดือน เมษายน ๒๕๖๐ ในแบบแปลนประกอบ

สร้างที่จอดรถให้เพี ยงพอ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นพื้นที่ และทันสมัย ของผู้มีรสนิยม ปัจจุบันในสังคมเมืองและเมือง

ด้วย ตลาดพืชผัก ร้านอาหารปลอด สารพิษ ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารทาง เลือก เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของ บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ซึง่ พืน้ ทีช่ นั้ สาม สามารถทีจ่ ะจัดเป็นศูนย์การค้า เป็น ทีป่ ระชุมสัมมนา จัดงานแต่งงาน และจัด งานสังสรรค์รื่นเริงได้ อาคารจอดรถสามารถรองรับรถของ นักศึกษาและบุคลากรระหว่างสัปดาห์ และ ยังใช้เป็นที่จอดรถของประชาชนที่มาฟัง การแสดงดนตรีทอี่ าคารมหิดลสิทธาคาร หรือเป็นทีจ่ อดรถของประชาชนทีต่ อ้ งการ ออกก�ำลังกายรอบพืน้ ที่ ทัง้ ในมหาวิทยาลัย มหิดลหรือในสวนพุทธมณฑล ในวันหยุด ได้ด้วย

พัฒนาศู นย์การแพทย์ฯ ให้ เป็นที่พ่ ึงของชุมชน

การพัฒนาศูนย์การแพทย์กาญจนา ภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็นโรงพยาบาล ในอุดมคติและเป็นทีพ่ งึ่ ของชุมชน สามารถ ที่จะรองรับความเจ็บป่วย รองรับความ ต้องการของสังคม และเป็นทีพ่ งึ่ ของสังคม ได้อย่างอุน่ ใจ เมือ่ มีผปู้ ว่ ย ๒๔ ชัว่ โมงต่อวัน

09


การรักษาพยาบาลก็ควรเพิม่ เวลารักษา ๒๔ ชั่วโมงด้วย เพื่อจะได้ตามความเจ็บป่วย ได้ทัน ในปัจจุบนั ศูนย์การแพทย์กาญจนา ภิเษก ด�ำเนินกิจการไม่คุ้มทุน ไม่คุ้มค่า ไม่คมุ้ เวลาสูญเสีย ไม่คมุ้ ในความรูส้ กึ ของ ประชาชน เพราะศูนย์การแพทย์กาญจนา ภิเษกมีศกั ยภาพในการรับรักษาพยาบาล ได้ที่จ�ำกัดมาก ไม่สามารถที่จะรองรับ ผู้ป่วยได้ครบวงจร การพัฒนาศูนย์การแพทย์กาญจนา ภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็นโรงพยาบาล หลักระดับภูมิภาค เพื่อรองรับผู้ป่วยทุก รูปแบบ จากจังหวัดใกล้เคียง อาทิ นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี โดย ช่วยแบ่งเบาภาระ ไม่ให้ผู้ป่วยไปท่วมใน โรงพยาบาลหลัก ทัง้ โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลศิริราช

จัดระเบียบการจราจรใน มหาวิทยาลัย

เครือ่ งกีดขวางจราจรเป็นสัญลักษณ์ ของอ�ำนาจนิยม การเอาเครื่องกีดขวาง ทางจราจรมาตัง้ ไว้บนพืน้ ทีจ่ ราจร เป็นการ แสดงออกทางอ�ำนาจ ไม่คุ้มค่ากับการที่

10

ได้สร้างถนนเอาไว้ การจัดระเบียบรถตู้ บริการของหอพักภายนอกมหาวิทยาลัย จัดจราจรรถจักรยานยนต์ไม่ให้ขับรถ ย้อนศร การจัดระเบียบรถแท็กซี่ ซึ่งจะ เป็นการให้ความรูโ้ ดยตรงให้กบั สาธารณะ และประชาชน บนพื้นที่ถนนของมหาวิทยาลัย มหิดล มีเครื่องกีดขวางการจราจรอยู่ เป็นอันมาก อาทิ ป้ายประกาศ กรวย ตะแกรง กันชน เชือกฟาง ฯลฯ ท�ำให้ การจราจรภายในติดขัด เปลืองพืน้ ทีโ่ ดย ไม่จำ� เป็น นอกจากนีย้ งั ท�ำให้ภาพลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยสกปรก เกะกะ ไม่เจริญ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัย ที่ล้าหลัง ด้อยพัฒนา จึงต้องเอาเครื่อง กีดขวางออกจากพื้นผิวจราจร มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประกาศ ตัวเป็นมหาวิทยาลัยชั้นน�ำของประเทศ เป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก และเป็น มหาวิทยาลัยหนึง่ ในร้อย จ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีต่ อ้ งจัดระเบียบการเดินทาง การขับขีข่ อง รถจักรยานยนต์รบั จ้างทีว่ งิ่ รับส่งนักศึกษา และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่ารถจักรยานยนต์รบั จ้างขับขีไ่ ม่สวม หมวกกันน็อก วิง่ รถสวนทางจราจร จอด

รถบนทางเท้า ขับรถผิดกฎหมายจราจร แต่งกายไม่สะอาด นักศึกษาและบุคลากร นั่งซ้อน ๓ แม้จะมีอุบัติเหตุสูญเสียชีวิต และทรัพย์สิน ก็ไม่ได้เปลี่ยนวิถีชีวิต แต่อย่างใด มหาวิทยาลัยมหิดล ควรจะน�ำเอา เทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารแทน ลดคน ท�ำงาน เพราะแม่นย�ำและทันสมัยกว่า เป็นการสร้างองค์ความรูใ้ หม่ให้สงั คม สร้าง สังคมความสะอาดและความปลอดภัย เพือ่ คุณภาพชีวติ ของนักศึกษาและบุคลากรใน มหาวิทยาลัยมหิดล การจัดพืน้ ทีจ่ อดรถ จักรยานยนต์รบั จ้าง ให้การสนับสนุนเสือ้ ผ้า ความสะอาด ห้องน�ำ้ ช่วยเหลือเรือ่ งการ ประกันสุขภาพ ให้ความรู้เรื่องกฎหมาย จราจร ท�ำที่พักคอยส�ำหรับผู้สัญจร เป็นต้น

สร้างสะพานเชื่อมต่อกับฝั่ ง ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เป็น พืน้ ทีอ่ กแตก มีถนนบรมราชชนนีสายหลัก ตัดผ่ากลาง ท�ำให้พนื้ ทีข่ องมหาวิทยาลัย มหิดลแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน (ส่วนใหญ่ และส่วนเล็ก) การสัญจรไปมาท�ำได้ยาก


ล�ำบาก มีถนนและสะพาน ทีแ่ ม้จะติดต่อ ถึงกันได้แต่กไ็ ม่สะดวกนัก ซึง่ ยังไม่มแี ผน จะเชื่อมทั้ง ๒ ฝั่งให้สะดวกขึ้น ปล่อยให้ คนท�ำงานเสี่ยงชีวิตเอาเองว่าจะข้ามไป มากันอย่างไร การสร้างสะพานเชือ่ มระหว่างศูนย์ การแพทย์กาญจนาภิเษกและวิทยาลัย ราชสุดา (ส�ำหรับคนพิการ) กับส�ำนักงาน กลางมหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ทางฝั่งอาคาร มหิดลสิทธาคาร ทั้งนี้ต้องเป็นสะพานที่ กว้างเพียงพอ เพือ่ ความปลอดภัยส�ำหรับ ผูใ้ ช้เส้นทางสัญจร เพือ่ ให้รถจักรยาน รถ จักรยานยนต์ รถกอล์ฟ ซึ่งสามารถที่จะ ขนคนไปโรงพยาบาล วิทยาลัยราชสุดา และไปยังพุทธมณฑลได้สะดวกขึ้น

พัฒนาพื้นที่วัฒนธรรมของ มหาวิทยาลัย (Cultural Zone)

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สร้างเรือนไทย (พ.ศ. ๒๕๒๘) เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของ ความเป็นไทย และน�ำเสนอวัฒนธรรมไทย ให้คนทัว่ ไปได้รจู้ กั เรือนไทย มหาวิทยาลัย มหิดล ได้สร้างเรือนไทยโดยมีวตั ถุประสงค์ ทีแ่ ตกต่างไปจากมหาวิทยาลัยอืน่ นอกจาก จะเป็นการอวดวัฒนธรรมไทย อวดฐานะ

ทางสังคม อวดความน่าเชื่อถือ อวด ฐานะทางเศรษฐกิจแล้ว เรือนไทยยังได้ ท�ำหน้าที่แสดงการรักษาศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของชาติเอาไว้ด้วย เมื่อก่อน ได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ที่สะสมเครื่องมือ ของใช้ตา่ งๆ เท่าทีเ่ ก็บได้หรือมีคนบริจาค ต่อมาก็เก็บดูแลรักษาไม่ไหว จึงไม่เป็น พิพิธภัณฑ์ที่ถาวร การสร้างกิจกรรม “พิธแี ต่งงานตาม ประเพณีไทย” ที่เรือนไทย เพื่อน�ำเสนอ นักท่องเทีย่ ว โดยใช้พธิ กี รรมแต่งงานแบบ อย่างประเพณีไทย ใช้ดนตรีไทยบรรเลง เจ้าบ่าวเจ้าสาวแต่งกายแบบไทย จัดเลีย้ ง ด้วยอาหารไทย จดทะเบียนสมรสขึน้ โดย อ�ำเภอพุทธมณฑล ทีป่ ระเทศไทย โดยให้ ใช้เวลาพิธีกรรมเสร็จภายใน ๑ ชั่วโมง เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวมาสมัครเข้า พิธี ด�ำเนินการจัดการโดยที่ส่วนงานที่ มีศักยภาพ พิพธิ ภัณฑ์ดนตรีอษุ าคเนย์จะเป็นหัว แหวน เป็นหน้าตาของพืน้ ทีท่ างวัฒนธรรม ในมหาวิทยาลัย พิพธิ ภัณฑ์ดนตรีอษุ าคเนย์ (Music Museum of South East Asian) เป็นอาคารสูง ๗ ชั้น มีพื้นที่ ๓.๒ หมื่น ตารางเมตร ได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี

พ.ศ. ๒๕๕๒ พิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ สร้างขึน้ เพือ่ รองรับการศึกษาดนตรีพนื้ บ้าน ดนตรีของท้องถิน่ ดนตรีของภูมภิ าค โดย การค้นคว้า การเก็บรักษา การเผยแพร่ และการสร้างสรรค์ดนตรีของแต่ละท้องถิน่ ในภูมภิ าคอาเซียนให้เจริญงอกงามต่อไป พิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ เป็น พื้นที่รองรับและสามารถที่จะรับรอง นักวิจัยดนตรีจากทั่วโลก ผู้สนใจศึกษา ดนตรีอุษาคเนย์ ทั้งดนตรีในท้องถิ่นและ ในภูมิภาคอาเซียน โดยเปิดพื้นที่รองรับ การท�ำงาน เป็นห้องปฏิบัติการของนัก วิจยั ดนตรี การจัดกิจกรรมดนตรี การจัด สัมมนา จัดนิทรรศการ ประชุมวิชาการ เรือ่ งพิพธิ ภัณฑ์ดนตรีอษุ าคเนย์ ซึง่ จะท�ำให้ ประเทศไทยเป็นศูนย์ในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้เรื่องดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์ และเป็นบทบาททีส่ ำ� คัญของอาเซียนด้วย สร้างวงขับร้องประสานเสียงของ มหาวิทยาลัยมหิดล เพือ่ ออกไปเผยแพร่ และสร้างชือ่ เสียงให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ซึ่ง เป็นการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้อย่างแนบเนียน ทัง้ นี้ ดนตรีสร้างความ สามัคคีของปวงชน

11


น�ำเสาไฟฟ้ าลงใต้ดิน

มหิดลสิ ทธาคารเป็นพื้ นที่ ก็เป็นความเสียหายและเสียโอกาสอย่าง ยิง่ วงดนตรีระดับโลกจะต้องมีโอกาสมา เสาไฟฟ้ า และอุ ป กรณ์ ไ ฟฟ้ า ใน ดนตรีโลก

พื้นที่ในมหาวิทยาลัยมหิดล และรอบๆ มหาวิทยาลัยมหิดล ท�ำให้ทัศนียภาพ ของมหาวิทยาลัยมหิดลไม่สวยงาม ไม่ ปลอดภัย เพราะว่าพื้นที่ศาลายาเป็น ทางลมผ่าน ทางฝนผ่าน และทางฟ้าผ่าน ซึ่งเกิดฟ้าผ่าบ่อยครั้งในพื้นที่ศาลายา นอกจากนี้ เสาไฟฟ้าเป็นทัศนียภาพที่ อุจาดตา แต่ก็ไม่มีใครอยากลงทุนกับ การเอาเสาไฟฟ้าลงดิน เพราะราคาสูง เสาไฟฟ้าที่อยู่บนดินก็ไม่มีใครเดือดร้อน เสาไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็น เครื่ อ งหมายของความล้ า หลั ง ของ มหาวิทยาลัย ที่ส�ำคัญก็คือ เป็นความ ล้มเหลวของการศึกษา เพราะมหาวิทยาลัย มหิดลมีคณะวิศวกรรมศาสตร์และมีคณะ สิง่ แวดล้อม การทีม่ หาวิทยาลัยมหิดลไม่ เจริญ จึงเข้าข่าย “ความรู้ท่วมหัว เอา ตัวไม่รอด” เมื่อเอาเสาไฟฟ้าลงดิน ก็จะท�ำให้ ต้นไม้ในมหาวิทยาลัยมหิดลสามารถเติบโต ได้เต็มที่ มีทวิ ทัศน์ทสี่ วยงาม มีความร่มรืน่ และร่มเย็น ดูแล้วเจริญขึ้นทันที

12

อาคารมหิดลสิทธาคาร (Prince Mahidol Hall) เป็นอาคารที่ได้ก่อสร้าง ขึน้ (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๗) บนพืน้ ที่ ๔๕ ไร่ มีวตั ถุประสงค์คอื (๑) เพือ่ เป็นสถานที่ ใช้ในงานรับพระราชทานปริญญาบัตร (๒) เพื่อเป็นสถานที่ใช้แสดงดนตรีของ วงดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย (๓) เพือ่ เป็นสถานทีร่ องรับการแสดงของ วงดนตรีระดับนานาชาติ (๔) เพื่อเป็น สถานทีร่ องรับการประชุมระดับนานาชาติ อาคารมหิดลสิทธาคาร เป็นอาคารที่ มีระบบเสียงดีทสี่ ดุ ในประเทศไทย ทุกทีน่ งั่ มีเสียงทีด่ ที สี่ ดุ ฟังเสียงได้ชดั เจนทุกเก้าอี้ จ�ำนวน ๒,๐๑๖ ที่นั่ง มีอาคารจอดรถ จ�ำนวน ๑,๐๐๐ คันรองรับ ทูตานุทตู นิยม ใช้วงดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย เล่นเพลงประจ�ำชาติของเขา ทูตจึงนิยม มาชมการแสดงดนตรี ปัจจุบัน อาคารมหิดลสิทธาคาร สามารถทีจ่ ะรองรับการแสดงดนตรีระดับโลก ได้ จ�ำเป็นทีจ่ ะต้องบริหารจัดการให้คมุ้ ค่า กับการลงทุน หากการจัดการไม่คุ้มทุน

แสดงทีอ่ าคารมหิดลสิทธาคาร ซึง่ จะเป็น ชื่อเสียงของประเทศไทย จุดคุ้มทุนของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ แค่เงินเท่านัน้ แต่ตน้ ทุนของมหาวิทยาลัย มหิดล ประกอบด้วยชือ่ เสียง คุณภาพชีวติ การบริการสังคม รสนิยมทีส่ มั ผัสได้ และ เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่สังคมไทยด้วย

สนับสนุนให้มรี า้ นอาหารเพื่อ สุ ขภาพ

มหาวิทยาลัยมหิดล มีประชากร ที่เป็นบุคลากร นักศึกษา อาจารย์ และ ยังมีบุคคลภายนอกที่มาใช้บริการร้าน อาหารในมหาวิทยาลัยมหิดล อาหารถือ เป็นเรื่องที่ส�ำคัญของทุกคน “กินอย่างไร ก็จะเป็นอย่างนั้น” สภาพโดยทั่วไปแล้ว มหาวิทยาลัยมหิดลไม่ได้ใส่ใจเรือ่ งอาหาร ที่จัดจ�ำหน่ายในมหาวิทยาลัยเท่าใดนัก อาหาร นอกจากจะต้องกินเพือ่ มีชวี ติ แล้ว อาหารยังเป็นเรื่องของรสนิยมด้วย ซึ่งวิถีชีวิตของคนในมหาวิทยาลัยมหิดล จะต้องให้ความส�ำคัญเรื่องสุขภาพผ่าน


การกินอาหาร “อาหารสุขภาพ” โดยกิน อาหารเป็นยา แทนทีจ่ ะกินยาเป็นอาหาร เพือ่ ให้รา่ งกายแข็งแรง อาหารทีล่ ดน�ำ้ ตาล (หวาน) ลดไขมัน (มัน) ลดเกลือ (เค็ม) เพื่อช่วยให้ความรู้แก่ประชาชนผ่านการ กิน พัฒนาให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี และ ลดการไปหาหมอหรือการพึ่งยา

มหาวิทยาลัยด�ำรงไว้ซ่ ึงศิลป วัฒนธรรม

มหาวิทยาลัยมหิดล มีต้นทุนทาง วัฒนธรรมทีส่ งู มาก เป็นพืน้ ทีร่ วบรวมศิลป วัฒนธรรมที่เป็นรากฐานส�ำคัญของชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลต้องสนับสนุนกิจกรรม ทางวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ ศึกษาและน�ำเอาอดีตมารับใช้ปจั จุบนั เพือ่ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ให้ศิลปวัฒนธรรมเกิด ขึ้นในบรรยากาศของมหาวิทยาลัย สังคมเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา สังคมที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็อยู่ไม่ได้ สังคม พัฒนาและน�ำสิง่ ใหม่ๆ เข้ามาใช้ปะปนกับ ของเก่าทีม่ อี ยูเ่ ดิม ศิลปวัฒนธรรมใหม่ใน รูปของสินค้า ในรูปของเครื่องใช้ เพื่อน�ำ มาใช้ในวิถชี วี ติ ประจ�ำวัน ศิลปวัฒนธรรม เป็นหุ้นส่วนที่ส�ำคัญของชีวิต ส่วนหนึง่ ศิลปวัฒนธรรมก็ตอ้ งตาย ไป ศิลปวัฒนธรรมอีกส่วนหนึง่ ก็มสี งิ่ ใหม่ พัฒนามาทดแทน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการ ยอมรับของสังคมด้วย มหาวิทยาลัยมี บทบาทหน้าทีร่ กั ษาศิลปวัฒนธรรมของชาติ เอาไว้ ส่วนสังคมจะเลือกน�ำไปใช้อย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับการศึกษาของสังคมนั้นๆ มหาวิทยาลัยรักษาศิลปวัฒนธรรม ของชาติเอาไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา สืบทอด และเผยแพร่เป็นความรู้ด้าน ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของ สังคม เมืองศาลายาน่าจะมีคำ� ขวัญประจ�ำ เมือง ดังนี้ “พุทธมณฑลเป็นเมืองศาสนา ศาลายาเป็นเมืองดนตรี นครชัยศรีเป็น เมืองส้มโอ”

ต้อนรับคณบดีคนใหม่

ในโอกาสที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้คณบดีคนใหม่ชอื่ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ ซึง่ ใช้เวลาในการ ติดต่อกันร่วม ๗ ปี โดยเริ่มจากการจัด เทศกาลดนตรี การประพันธ์เพลง โดยที่ มอบหมายให้ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ เป็นผู้อ�ำนวยการจัดงาน เพื่อที่จะเรียนรู้ และรู้จักกันมากขึ้นทั้งประชาคม ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ ได้ไปอยูต่ า่ ง ประเทศ (อเมริกา) นานถึง ๑๗ ปี ได้ สร้างผลงานและสร้างชือ่ เสียงจนเป็นทีร่ จู้ กั แพร่หลาย เป็นคนไทยคนแรกที่สามารถ ขายเพลงที่ประพันธ์ส�ำหรับวงดนตรี คลาสสิกเป็นอาชีพได้ การที่จะชักชวน กลับมาอยูใ่ นประเทศไทย บรรยากาศแบบ ไทยๆ เข้ามาอยู่ในระบบที่ล้าหลังอย่าง ในมหาวิทยาลัยไทย ก็กลายเป็นเรื่องที่ ยาก เงินเดือนก็เป็นเรื่องหนึ่ง วิถีชีวิต ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพื่อนร่วมงานก็เป็น อีกเรื่องหนึ่งที่ส�ำคัญ ส� ำ หรั บ วิ ท ยาลั ย ดุ ริ ย างคศิ ล ป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อที่ จะเป็นสถาบันดนตรีในระดับนานาชาตินนั้ เติบโตขึน้ ในระบบการศึกษาไทย แต่ไม่ได้ ด�ำเนินวิธกี ารแบบไทยๆ แต่อย่างใด เพราะ คุณภาพของคนที่ท�ำงาน ระบบที่ท�ำงาน ก็แตกต่างไปจากระบบราชการทั่วไป ซึ่ง ก็เป็นเรื่องยากที่จะจัดให้ลงตัว เมือ่ บุคลากรในวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เห็นชอบ จึงได้คอ่ ยๆ ทาบทาม ในทีส่ ดุ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ ก็ตกลงปลงใจว่า ยินดีที่จะย้ายถิ่นฐาน กลับมาท�ำงานในประเทศไทย โดยรับ ต�ำแหน่งเป็นอาจารย์ไปก่อน เมือ่ ถึงเวลา แล้วค่อยเตรียมตัวและผลักดันให้ด�ำรง ต�ำแหน่งคณบดี ท�ำไมต้องเป็น ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ เนือ่ งจากวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล ก้าวขึน้ สูส่ ถาบันดนตรีคณ ุ ภาพใน ระดับนานาชาติแล้ว จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่ง ทีจ่ ะต้องหาผูน้ ำ� ทีเ่ ป็นไทยและอยูใ่ นระดับ นานาชาติด้วย ส�ำหรับนักดนตรีที่เก่ง วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย

มหิดล มีอยูม่ ากแล้ว นักวิชาการดนตรีใน ระดับนานาชาติ ทีว่ ทิ ยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ไม่ได้น้อยหน้า ใคร แต่ผู้น�ำที่เป็นคนไทยและมีวิสัยทัศน์ นั้นหายาก ซึ่งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะต้องก้าวหน้าต่อ ไปในระดับนานาชาติให้ได้ วั น นี้ วิ ท ยาลั ย ดุ ริ ย างคศิ ล ป์ มหาวิทยาลัยมหิดล หมดยุคไถนา สร้าง ถนน สร้างตึก สิ้นสุดการงอนง้อหาคน ให้มาท�ำงาน ต้องวิงวอนไหว้วานให้คน ช่วย แต่กอ่ นจะไปหาใครก็ตอ้ งจ่ายเงินไป หาเขา ใครจะมาหาก็ตอ้ งจ่ายค่าเดินทาง ค่าทีพ่ กั ค่าเบีย้ เลีย้ งให้กบั เขา เขายินยอม มาก็เกรงใจเขามากแล้ว ต่อไปนี้เป็นยุคที่ใครๆ ก็อยากมา ที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล นักศึกษาก็อยากมาเรียน คนก็ อยากมาท�ำงาน อาจารย์ก็อยากมาสอน เพราะวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล มีความพร้อมและมีกจิ กรรมดนตรี ที่อยู่ในแผนที่โลกดนตรีไปแล้ว ซึง่ ก็เชือ่ ว่า ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ จะน�ำพาวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล ไปสู่ความเป็นเลิศในล�ำดับต่อไป

13


Review

The 5th Jean-Marie Londeix International Saxophone Competition เรื่อง: วิศุวัฒน์ พฤกษวานิช (Wisuwat Pruksavanich) อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาเครื่องเป่ าลมไม้ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วัสดีครับ ในบทความต่อไปนีผ้ มจะมา พูดถึงกิจกรรม The 5th Jean-Marie Londeix International Saxophone Competition ซึ่งเป็นรายการแข่งขัน แซกโซโฟนส�ำคัญส�ำหรับนักแซกโซโฟน เปรียบได้กับโอลิมปิกของทางกีฬาก็ ว่าได้ การแข่งนั้นจะจัดขึ้นทุกๆ ๓ ปี โดยการแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นที่เมือง บอร์โด (Bordeaux) ประเทศฝรั่งเศส ใน

64

ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ หลังจากนั้น เริ่มครั้งที่ ๒ ถึงครั้งที่ ๕ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑, พ.ศ. ๒๕๕๔, พ.ศ. ๒๕๕๗ และ พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามล�ำดับ โดยใน ๔ ครั้งหลังนั้น จัดขึ้น ที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัย มหิดล มาโดยตลอด อย่างทีท่ ราบกันว่าเพลงแซกโซโฟน ค่อนข้างฟังยาก เพราะแซกโซโฟนเป็น เครื่องที่เกิดขึ้นมายังไม่ถึง ๒๐๐ ปี นัก

แซกโซโฟนจึงไม่มเี พลงของคนแต่งเพลงยุค ก่อนๆ อย่าง Ludwig van Beethoven, Wolfgang Amadeus Mozart หรือ Frédéric Chopin เป็นต้น เพลงส่วน ใหญ่จึงเป็นเพลงร่วมสมัย เช่น เพลงที่ บรรเลงร่วมกับเครือ่ งดนตรีไฟฟ้าหรือดนตรี อิเล็กทรอนิกส์ เพลงทีใ่ ช้เทคนิคใหม่ๆ ของ แซกโซโฟน เพลงทีเ่ ล่นกับซาวด์ประกอบ และอีกหลายๆ แบบ แล้วแต่ผู้ประพันธ์


จะสรรหามา ซึ่งเพลงเหล่านี้เพิ่งแต่งมาได้ไม่นาน อายุของคนแต่งเรียกได้ว่าห่างกับคนเล่นไม่ มากนัก บางครัง้ ยังอายุนอ้ ยกว่าคนเล่นด้วยซ�ำ้ ไป ข้อดีของการเล่นเพลงทีเ่ พิง่ แต่งใหม่ คือ ผูเ้ ล่น สามารถทักเฟซบุ๊กไปถามคนแต่งเพลงได้ว่า ควรเป่าอย่างไร คิดอย่างไร เพราะอะไรถึงแต่งขึ้น และอีกหลายรายละเอียดทีน่ กั ดนตรีสามารถท�ำความเข้าใจเกีย่ วกับเพลงจากตัวคนแต่งได้โดยตรง เช่นเดียวกับเพลงที่ใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ ผมเชื่อว่าผู้เข้าแข่งขันน่าจะมีการติดต่อสอบถามกับ ผู้ประพันธ์เพลงโดยตรงเกี่ยวกับบทเพลงผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก ส่วนตัวผมเองก็มีประสบการณ์ ที่ว่านี้ในรายการแข่งขันเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๗ เช่นกัน การแข่งขันจะมีทั้งหมด ๓ รอบด้วยกัน โดยเพลงทั้งหมดถูกก�ำหนดมา และผู้เล่นสามารถ เลือกเพลงทีถ่ นัดจากรายชือ่ เพลงของแต่ละรอบ รอบแรกจะเป็นการบรรเลงเดีย่ ว ในรายชือ่ แรกก็ จะเป็นแบบฝึกหัด “Twenty-Five Caprices” ประพันธ์โดย Sigfrid Karg-Elert ในแบบฝึกหัดนี้ ผู้เข้าแข่งขันต้องเลือกเล่น ๒ บทด้วยกัน ตัวอย่างเช่น แบบฝึกหัดที่ ๕ “Giga”

จากที่เห็นในรูป โน้ตที่ดูเรียบง่าย แต่ซ่อนอะไรไว้มากมาย ตั้งแต่ชื่อเพลง สไตล์การเล่น การตัดลิ้นแบบต่างๆ การแบ่งส่วนจังหวะ ที่บางห้องนั้นนับไม่เหมือนกับห้องอื่นๆ และความ ดัง-เบา ทั้งหมดนี้ดูแล้วไม่น่าจะยากส�ำหรับนักแซกโซโฟนที่มีทักษะอยู่บ้าง แต่ที่ยากคือ การที่ มีผเู้ ข้าแข่งขันอีกหลายคนเลือกบทนีม้ าแข่งเหมือนๆ กัน และจะท�ำอย่างไรให้สงิ่ ทีเ่ ราเล่นออกไป นั้น ฟังดูโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ นั่นแหละคือสิ่งที่ผู้เข้าแข่งขันต้องตีความออกมาให้ได้ ส่วนรายชื่อที่สอง ก็จะเป็นบทประพันธ์ร่วมสมัย รายชื่อเพลงทั้งหมด มีดังนี้ - One of 9 Études for solo saxophone by Christian LAUBA or - Partyta (soprano saxophone) by Christian LAUBA or - Oxyton (baritone saxophone) by Christophe HAVEL or - Strata (tenor saxophone) by Colin LABADIE or - Discoïdal (tenor saxophone) Thierry ALLA or - Mysterious Morning for soprano saxophone by Fuminori TANADA or - The Angel of despair by Hiroyuki ITOH for alto saxophone เพลงในส่วนทีส่ องจะต่างจากส่วนแรกโดยสิน้ เชิง โดยเพลงทัง้ หมดจะเป็นเพลงทีร่ วมเทคนิค ต่างๆ ของแซกโซโฟนไว้ เช่น Slap Tongue, Multiphonic, Flutter Tongue เป็นต้น ตัวอย่าง เช่น เพลง Oxyton ประพันธ์โดย Christophe HAVEL

65


จากโน้ตตัวอย่าง อย่าเพิง่ คิดว่าโน้ต พิมพ์ผิดนะครับ ที่เห็นนั่นถูกแล้ว และผู้ เล่นต้องเล่นตามนั้นจริงๆ เพลงในหมวด นี้จะถูกเรียกว่าคอนเทมโพรารีหรือเพลง ร่วมสมัย เป็นเพลงที่ฟังยาก ใช้ทักษะที่ สูงในการบรรเลงและควบคุมเครือ่ ง จะไม่ ค่อยมีทำ� นองเพราะๆ ทีจ่ บั ต้องได้ แต่จะ มีเสียงที่ฟังดูแปลกๆ ไอเดียใหม่ๆ เสียง ใหม่ๆ เกิดขึ้นในเพลงอยู่บ่อยครั้ง โน้ต ส่วนใหญ่จะดูวุ่นวาย เห็นโน้ตครั้งแรกก็ คิดว่านีเ่ ครือ่ งพิมพ์เสียหรือเปล่า เรียกได้ ว่ากว่าผูเ้ ล่นจะผ่านไปแต่ละหน้า มันช่าง ยากล�ำบาก ต้องนัง่ ท�ำความเข้าใจทีละจุด ทั้งค�ำศัพท์ ความดัง-เบา โน้ตแปลกๆ เทคนิคต่างๆ ทีม่ าคูก่ บั โน้ต และนิว้ ทีใ่ ห้มา ซึง่ จะเป็นนิว้ ส�ำหรับเทคนิค Multiphonic (การเป่าหลายเสียงพร้อมๆ กัน ดังเช่น กลุม่ โน้ตตัวแรกของเพลง) ความยากคือ ผู้เล่นจะต้องจ�ำนิ้วเหล่านั้นให้ได้ เพราะ มันไม่ใช่ระบบนิ้วที่ปกติเหมือนโน้ตใน สเกล เชื่อว่ากว่าผู้เข้าแข่งขันจะซ้อมจน จบเพลงและเตรียมพร้อมส�ำหรับการ

66

แข่งขัน แต่ละคนต้องซ้อมกันมายาวนาน แทบจะเป็นเดือนหรือมากกว่านั้น เพียง เพือ่ ให้การบรรเลงในการแข่งขันเป็นไปได้ อย่างราบรื่น ซึ่งในการแข่งจริงใช้เวลาไม่ เกิน ๑๐ นาที การแข่งรอบแรกนี้ มีเวลาให้ไม่เกิน ๒๐ นาที ถ้าเวลาไม่เกิน กรรมการก็จะ ฟังตั้งแต่ต้นจนจบเพลงโดยไม่มีการตัด ส�ำหรับผม รอบนี้เป็นรอบที่เรียกว่าหิน สุดๆ ก็ว่าได้ เพราะจะคัดจากผู้เข้าร่วม ทั้งหมดให้เหลือเพียง ๒๐ คน และทุกๆ คนต่างก็ซอ้ มเพลงรอบแรกมาเรียกได้วา่ ดีทุกคน และอีกอย่างรอบนี้จะเป็นการ แข่งแบบที่กรรมการไม่เห็นหน้าตาของผู้ เข้าแข่งขัน จะมีม่านกั้นอยู่ระหว่างผู้เล่น กับกรรมการ เพื่อป้องกันไม่ให้กรรมการ เห็นนักเรียนของตัวเอง ทุกอย่างจะตัดสิน กันจากเสียงที่ได้ยินอย่างเดียว เรียกได้ ว่าถ้าเก้าอีก้ รรมการหมุนกลับหลังได้กไ็ ม่ ต่างอะไรกับรายการ The Voice หลังจาก การแข่งขันรอบแรกจบลง ผู้เข้าแข่งขัน จะถูกคัดเหลือเพียง ๒๐ คน เพื่อเข้าไป

สู่ในรอบต่อไป รอบสองก็จะแบ่งเพลงออกเป็น สองส่วนเช่นเดียวกับรอบแรก ส่วนแรก จะเป็นการบรรเลงร่วมกับนักเปียโน ดังนี้ - Légende (version for alto saxophone and piano) by André CAPLET or - Légende op. 66 (alto saxophone) by Florent SCHMITT or - Sonate (alto saxophone, with Finale by Jean Marie LONDEIX), by Paul HINDEMITH or - Sonate (alto saxophone) by Pierre-Phillipe BAUZIN or - Sonate (alto saxophone) by Edison DENISOV or - Chant Premier (tenor saxophone) by Marcel MIHALOVICI or - Music for tenor saxophone by William KARLINS ผูเ้ ข้าแข่งขันจะมีเวลาซ้อมร่วมกับนัก เปียโน ๑ ครัง้ ก่อนถึงการแข่งขันจริง ซึง่


ถือว่าไม่มากนักส�ำหรับการเตรียมตัวแข่ง ผูเ้ ข้าแข่งขันต้องท�ำการบ้านโดยการศึกษาโน้ตเปียโนมา ด้วย เพือ่ ให้รวู้ า่ ระหว่างทีบ่ รรเลงหรือหยุดนัน้ ต้องฟังอะไร และจะฟังเปียโนอย่างไร ตรงไหนของ เพลงที่ควรจะให้สัญญาณแก่นักเปียโน ซึ่งเป็นสิ่งส�ำคัญส�ำหรับการแข่งขันไม่น้อย ที่กรรมการจะ ดูการสื่อสารกันระหว่างนักแซกโซโฟนกับนักเปียโน ไม่ใช่แค่ท่าทางอย่างเดียว แต่เป็นเสียงและ ความเข้ากันที่ได้ยินด้วย รายชื่อเพลงส่วนที่สองนั้น จะเป็นการบรรเลงคู่กับอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้ - Mixtion by Pierre JODLOWSKI for tenor saxophone and electronics - Dissidence Ib by Christophe HAVEL, for soprano saxophone and electronics - L’Air d’ailleurs by Fabien LEVY, for alto saxophone and electronics - Chymisch by Hector PARRA, for baritone saxophone and electronics ในการแข่งขันครัง้ นีจ้ ะต่างจากครัง้ ทีผ่ า่ นๆ มา เพราะรอบสองทีร่ วมเอาเพลงอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาในรายการแข่งขัน ตัวอย่างเช่นเพลง Dissidence Ib ประพันธ์โดย Christophe HAVEL

บรรทัดบนจะเป็นโซปราโนแซกโซโฟน ส่วนบรรทัดล่างจะเป็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยมี คอมพิวเตอร์เป็นแหล่งก�ำเนิดเสียง ผูเ้ ล่นจะต้องควบคุมอุปกรณ์ตา่ งๆ ด้วยตัวเอง เช่น แพดเดิล ควบคุมแทรคของเพลง หรือเอฟเฟกต์ตา่ งๆ จากโน้ตตัวอย่าง เราจะเห็นเลขในกรอบสีเ่ หลีย่ มอยู่ เหนือบรรทัดห้าเส้น เช่น 7 8 9 10 11 12 เลขเหล่านี้คือล�ำดับของเสียงอิเล็กทรอนิกส์จาก คอมพิวเตอร์ โดยผูเ้ ข้าแข่งขันจะต้องใช้เท้ากดแพดเดิลเพือ่ เปลีย่ นล�ำดับเสียงเพลงให้ตรงกับโน้ต ที่ก�ำลังเล่นอยู่ ซึ่งการที่จะท�ำให้เพลงเคลื่อนไปข้างหน้าได้โดยไม่ติดขัดนั้น จะต้องอาศัยการซ้อม และการจ�ำที่ดีอีกด้วย หลังจากการแข่งขันรอบสองจบลง ผู้เข้าแข่งขันจะถูกคัดเหลือเพียง ๕ คน เพื่อเข้าไปสู่ รอบสุดท้าย รายชื่อมีดังนี้ ๑. Carlos Ordonez de Arce จากประเทศสเปน ๒. Alastair Wright จากประเทศอังกฤษ ๓. Aiwen Zhang จากประเทศจีน ๔. Jiaqi Zhao จากประเทศจีน ๕. Evgeny Novikov จากประเทศรัสเซีย รอบสุดท้ายจะเป็นการบรรเลงร่วมกับวงออร์เคสตร้า โดยทุกคนจะต้องเล่นเพลง เดียวกัน คือเพลง “Wend’kreis - for saxophone (alto + soprano saxophone) and orchestra” ประพันธ์โดย François Rossé ความพิเศษของเพลงนี้คือ ผู้ประพันธ์แต่งเพลงนี้ ขึ้นเพื่อมอบให้แก่ Jean-Marie Londeix เพื่อใช้ส�ำหรับการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในการแข่งขัน ครั้งนี้โดยเฉพาะ เพลงนี้ต้องใช้แซกโซโฟนถึง ๒ ตัวในการบรรเลง คือ โซปราโนแซกโซโฟน และ

67


อัลโตแซกโซโฟน โดยจะสลับกันไปมาระหว่าง ๒ เครื่อง และในตอนสุดท้าย ผู้เล่นจะต้องเป่า ๒ เครื่องพร้อมกัน อีกทั้งเพลงนี้ได้รวมเทคนิคของแซกโซโฟนไว้หลายอย่างเช่นกัน

จากตัวอย่างเพลง เราจะเห็นเครื่องหมายไมโครโทน (เป็นโน้ตที่อยู่ระหว่างครึ่งเสียง เช่น โน้ตทีอ่ ยูร่ ะหว่างเสียง B กับ B-flat) การทีน่ กั แซกโซโฟนเล่นตัวโน้ตทีต่ ำ�่ และเบามากนัน้ เป็นสิง่ ทีย่ ากมากทีจ่ ะควบคุมให้เสียงออกเบาและตรงระดับเสียงทีโ่ น้ตระบุไว้ จากการฟังผูเ้ ข้ารอบทัง้ ๕ คน ทุกคนสามารถควบคุมได้เป็นอย่างดี แต่มเี พียง ๒ คนเท่านัน้ ทีค่ มุ เสียงให้เบามากได้ นัน่ ก็คอื Evgeny Novikov และ Carlos Ordonez de Arce โดยทั้ง ๒ คนสามารถเริ่มโน้ตแรกได้เบา มากๆ โดยที่หัวเสียงฟังชัดเจน อีกทั้งยังควบคุมการสไลด์ของเสียงผ่านไมโครโทนได้เป็นอย่างดี

จากตัวอย่าง เราจะเห็นกลุม่ โน้ต Multiphonic ซึง่ ถ้าอยูโ่ น้ตเดีย่ วๆ ก็ยากแล้ว แต่ในเพลงนี้ ผู้แต่งได้น�ำมาเรียงต่อกันหลายๆ ตัว ท�ำให้ยากต่อการสลับนิ้วกดที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติของ เครือ่ งดนตรี จากทีฟ่ งั ทัง้ ๕ คน ผมชอบ Evgeny Novikov เล่นมากทีส่ ดุ เพราะเขาสามารถคุม Multiphonic ออกมาได้อย่างชัดเจน โดยเขาสามารถท�ำให้โน้ตทีอ่ ยูบ่ นสุดของแต่ละ Multiphonic ได้ยินชัด อีกทั้งการท�ำให้แต่ละโน้ตฟังดูลื่นไหลไม่สะดุดเช่นกัน จึงท�ำให้การแสดงของ Evgeny Novikov ดูโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ในเรื่องของ Multiphonic มาถึงท่อนสุดท้าย ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่ได้โชว์ความสามารถของนักแซกโซโฟนที่สุด นั่นก็คือ การเป่า ๒ เครื่องพร้อมๆ กัน ทั้งโซปราโนและอัลโตแซกโซโฟน ดังโน้ตตัวอย่าง

68


จากรูป เราจะเห็นว่าในโน้ตจะมีอยู่ ๓ แนวเสียงด้วยกัน ความหมายก็คือ ผู้ ประพันธ์ให้นกั ดนตรีเลือกได้วา่ จะเล่นพร้อม กัน ๒ เครื่อง หรือว่าเครื่องเดียว ถ้านัก ดนตรีต้องการจะเล่น ๒ เครื่องพร้อมกัน ก็จะเล่น ๒ แนวบน นั่นก็คือ โซปราโน จะอยู่แนวบนสุด ส่วนอัลโต จะอยู่แนว รองลงมา แต่ถา้ นักดนตรีตอ้ งการจะเล่น เครื่องเดียวก็ให้เล่นแนวล่างสุด ซึ่งจะใช้ โซปราโน เครือ่ งเดียว จากทีเ่ ห็นในโน้ตจะ เห็นว่าโน้ตจะมีเส้นลากไปยังโน้ตทีอ่ ยูถ่ ดั ไป ซึง่ ก็คอื การสไลด์เสียงจากโน้ตก่อนหน้า ไปยังโน้ตถัดไป ซึ่งถ้าดูทั้ง ๒ แนวที่เล่น คู่กัน จะเห็นว่าโน้ตไม่ได้เปลี่ยนพร้อมๆ กัน เปลีย่ นเสียงไม่พร้อมกัน ฉะนัน้ ผูเ้ ล่น จะต้องแยกประสาทหลายๆ อย่างในขณะ

ที่บรรเลงอยู่ ทั้งโน้ตที่กดไม่เหมือนกัน ระหว่าง ๒ เครือ่ งดนตรี จังหวะทีเ่ ปลีย่ น ไม่พร้อมกัน อีกทัง้ การควบคุมแซกโซโฟน ทัง้ ๒ เครือ่ งให้ได้เสียงทีด่ แี ละไม่เพีย้ นอีก ด้วย จากที่อธิบายมาก็จะเห็นได้ว่าต้อง ใช้ทักษะที่สูงมากในการบรรเลงท่อนนี้ให้ ดี จากที่ฟังทั้ง ๕ คนเล่น ซึ่งมีอยู่ ๑ คน ที่เลือกเล่นแนวล่างสุดเพียงเครื่องเดียว คือ Alastair Wright ส่วนอีก ๔ คนที่ เหลือ เลือกที่จะเล่นพร้อมกัน ๒ เครื่อง (สามารถดูตวั อย่างท่าทางการเป่าพร้อม กัน ๒ เครื่อง ได้จากในภาพด้านล่าง) เมือ่ การแข่งขันจบลง ผูแ้ ข่งขันทีไ่ ด้ รางวัลชนะเลิศก็คือ Carlos Ordonez de Arce จากประเทศสเปน ซึง่ คือคนใน ภาพนั่นเอง

เราจะเห็นว่าการแข่งขันจะมอง ทิศทางไปข้างหน้า สังเกตได้จากเพลงใน การแข่งขัน ที่ใส่เพลงในยุคปัจจุบันลงไป ไม่วา่ จะเป็นเพลงคอนเทมโพรารี เพลงที่ ต้องใช้อิเล็กทรอนิกส์ เพลงที่น�ำเทคนิค สมัยใหม่มาใส่รวมไว้กับวงออร์เคสตร้า แบบดั้งเดิม ผมเคยได้ยินคุณ Londeix พูดไว้วา่ “ถ้าเครือ่ งแซกโซโฟนยังเล่นเพลง เดิมๆ หรือเพลงทีแ่ ปลงมาจากเครือ่ งอืน่ อีกที อีกไม่นานแซกโซโฟนก็จะหายไป จากโลกนี้ เหลือไว้เพียงเครื่องเก่าๆ ใน พิพิธภัณฑ์ เพื่อให้คนรุ่นหลังศึกษาอย่าง เดียว” นัน่ เป็นเหตุผลหลักทีค่ ณ ุ Londeix พยายามผลักดันให้วงการแซกโซโฟนมี พัฒนาการอยู่เสมอ

69


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.