Music Journal March 2019

Page 1


สวัสดีผู้อ่านเพลงดนตรีทุกท่าน ขอต้อนรับผู้อ่านในเดือนมีนาคม ๒๕๖๒ ด้วยภาพบรรยากาศจากงาน Popular Music & Culture Festival ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๖-๑๗ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งในงานได้รวบรวมศิลปินชื่อ ดังหลากหลายวงมาให้ความรู้กันอย่าง เต็มที่ ทัง้ งานเบือ้ งหน้าและงานเบือ้ งหลัง การเขียนเพลง การผลิตงานเพลง โดย วงที่มา ได้แก่ The Richman Toy, Slot Machine, Retrospect, ธีร์ ไชยเดช และ อีกหลากหลายวง เชิญพลิกไปอ่านแนวคิด การจัดงานในครั้งนี้จากหัวหน้าสาขาวิชา ดนตรีสมัยนิยม ความคิดสร้างสรรค์ในการ จัดงาน และแนวทางในการจัดงานครัง้ ต่อ ไปได้ในเรื่องจากปก บทความด้านดนตรีไทย จะพาผูอ้ า่ น มารูจ้ กั กับวงปีพ่ าทย์มอญ คณะ ช. ศิษย์

Volume 24 No. 7 March 2019

เจ้าของ

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

บรรณาธิการ

ฝ่ายภาพ

ฝ่ายสมาชิก

ฝ่ายศิลป์

ส�ำนักงาน

คนึงนิจ ทองใบอ่อน

ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ

จรูญ กะการดี นรเศรษฐ์ รังหอม

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

พิสูจน์อักษรและรูปเล่ม

ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ

เว็บมาสเตอร์

นิธิมา ชัยชิต

สนอง คลังพระศรี Kyle Fyr

ธัญญวรรณ รัตนภพ

ภรณ์ทิพย์ สายพานทอง

ชวนบรรเลง ซึ่งเป็นวงดนตรีที่มีชื่อเสียง ของจังหวัดราชบุรี ผูอ้ า่ นจะได้เรียนรูก้ าร ถ่ายทอดความรูท้ างดนตรี พร้อมทัง้ ประวัติ ความเป็นมาของวง ซึ่งถือเป็นรากฐาน ส�ำคัญของวัฒนธรรมทางดนตรีไทย ส�ำหรับผูอ้ า่ นทีส่ นใจด้านเทคโนโลยี ดนตรี พลิกไปอ่านบทความ Sound Synthesis Tutorial: Ambient Worship Pad ซึง่ จะอธิบายเกีย่ วกับ ambient music และวิธีในการสร้าง ambient synth pad นอกจากนีบ้ ทความสาระทางดนตรีที่ หลากหลายจากนักเขียนประจ�ำ ทัง้ Music Entertainment, Voice Performance และ The Bach Journey พร้อมให้ผู้ อ่านติดตามเช่นเคยค่ะ

สุพรรษา ม้าห้วย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (วารสารเพลงดนตรี) ๒๕/๒๕ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ต�ำบลศาลายา อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๓๑๑๓ โทรสาร ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๓๐ musicmujournal@gmail.com

ดวงฤทัย โพคะรัตน์ศิริ

พิมพ์ที่

หยินหยางการพิมพ์ โทรศัพท์ ๐ ๒๙๐๓ ๘๖๓๖ ๐ ๒๔๔๓ ๖๗๐๗

จัดจ�ำหน่าย

ร้านค้าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๕๒๕-๓๔ ต่อ ๒๕๐๔, ๒๕๐๕

กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ส�ำหรับข้อเขียนที่ได้รับการ พิจารณา กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะปรับปรุงเพื่อความเหมาะสม โดยรักษาหลักการและแนวคิดของผู้เขียนแต่ละท่านไว้ ข้อเขียน และบทความที่ตีพิมพ์ ถือเป็นทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ขอรับผิดชอบบทความนั้น


สารบั ญ Contents Dean’s Vision

Music Entertainment

16

Review

เพลงไทยสากลที่มาจาก เพลงไทย (ของ) เดิม (ตอนที่ ๔) กิตติ ศรีเปารยะ (Kitti Sripaurya)

04

Thai and Oriental Music

ณรงค์ ปรางค์เจริญ (Narong Prangcharoen)

ปี่พาทย์มอญ คณะ ช.ศิษย์ชวนบรรเลง

ประสบการณ์จากการเดินทาง

Cover Story

26

ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน (Dhanyaporn Phothikawin)

Voice Performance

52

Children’s Day Concert “PETER AND THE WOLF” (๑๑-๑๒ มกราคม ๒๕๖๒) นิอร เตรัตนชัย (Ni-on Tayrattanachai)

30

Solitude Chapter 4

08

Popular Music & Culture Festival ครั้งที่ ๒ อัคราวิชญ์ พิริโยดม (Akarawit Piriyodom)

Getting Ready

14

Pedagogy Tools for Applied Music Teachers: Excelling at “The Other Stuff”

Haruna Tsuchiya (ฮารุนะ ซึชิยะ)

Music Technology

34

Sound Synthesis Tutorial: Ambient Worship Pad Michael David Brice (ไมเคิล เดวิด ไบรซ์)

The Bach Journey

Joseph Bowman (โจเซฟ โบว์แมน)

42

ตามรอยเส้นทาง Bach (ตอนที่ ๒๓) ฮิโรชิ มะซึชิม่า (Hiroshi Matsushima)

58

โรงละคร La Scala: บทบาทของพิพิธภัณฑ์ศิลปะ กับการเรียนรู้ของมนุษย์ ณัฐชยา นัจจนาวากุล (Nachaya Natchanawakul)


04

คณบดีพร้อมคณะศึกษาดูงานหน้าห้องแสดงผลงานของ Robert Rauschenberg


DEAN’S VISION

ประสบการณ์จากการเดินทาง เรื่อง: ณรงค์ ปรางค์เจริญ (Narong Prangcharoen) คณบดีวท ิ ยาลัยดุรย ิ างคศิลป์ ​มหาวิทยาลัยมหิดล

คณบดีพร้อมคณะศึกษาดูงานกับ ผลงานชือ่ Collection (1954/1955) ของ Robert Rauschenberg

ารเดินทาง เป็นเสมือนส่วน ส�ำคัญส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ เมื่อได้เดินทางมาก ก็จะเห็นโลกที่ กว้างขีน้ เห็นการพัฒนาของสถานที่ ต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วในยุคปัจจุบัน หลายคนไม่ เห็นคุณค่าของเวลาที่ได้เดินทาง เพราะไม่อยากเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ของตนเอง เนื่องจากการเดินทาง ท�ำให้ตารางเวลาทีเ่ ราคุน้ เคย สถานที่ ที่เราคุ้นเคย และคนรอบตัวของ เราเปลี่ยนไป ท�ำให้เราต้องปรับตัว ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เราจะได้พบ เจอ ต้องปรับตัวกับเหตุการณ์ที่เรา คาดเดาไม่ได้ ท�ำให้หลายคนไม่ชอบ การเดินทาง โดยเฉพาะการเดินทาง ไปต่างประเทศ ทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลง

ทั้งภาษาและวัฒนธรรม แต่อย่างที่ ได้กล่าวไปแล้ว การเดินทางจะท�ำให้ คนที่เดินทางได้เรียนรู้ประสบการณ์ ใหม่ๆ เรียนรู้การปรับตัวที่จะเกิด ขึ้น และได้เห็นการด�ำเนินการและ การบริหารจัดการขององค์กรอื่น เรียนรูจ้ ากตัวอย่างของคนอืน่ ซึง่ ใน ที่สุดจะช่วยให้สามารถน�ำมาพัฒนา ตนเองให้ดีขึ้น เมื่อวันที่ ๖-๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ ผมได้มีโอกาสร่วม เดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา กับทีมงานและกลุ่ม ศิลปินรุ่นใหม่ที่ชนะรางวัล Young Thai Artist Award (รางวัลถ้วย พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) ซึง่ 05


เด็กนักเรียนมาทัศนศึกษาที่พิพิธภัณฑ์ SFMOMA

เป็นรางวัลทีไ่ ด้รบั ความร่วมมือจาก สถาบันชั้นน�ำต่างๆ และได้รับการ สนับสนุนหลักจากมูลนิธเิ อสซีจี ทัง้ ด้านการจัดการประกวดแข่งขัน และ ด้านการเดินทางในครั้งนี้ ซึ่งบุคคล ที่ร่วมเดินทางประกอบด้วยบุคคล จากหลายสาขาคือ สาขาศิลปะ ๒ มิติ สาขาศิลปะ ๓ มิติ สาขาการ ประพันธ์ดนตรี สาขาภาพถ่าย สาขา ภาพยนตร์ และสาขาวรรณกรรม ท�ำให้การเดินทางครั้งนี้เต็มไปด้วย บุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ทางศิลปะหลายด้านที่สามารถ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อเก็บ เกี่ยวเป็นแรงในการสร้างผลงาน ทางด้านศิลปะในแง่มุมที่กว้างขึ้น เนือ่ งจากได้มกี ารสร้างแรงบันดาลใจ ให้กันและกัน ผ่านการสนทนา และผ่านการอธิบายจากผลงาน ตามพิพธิ ภัณฑ์ทไี่ ด้ไปดูงานและสถานที่ ต่างๆ ท�ำให้เกิดองค์ความรูท้ ผี่ สมผสาน กันมากขึน้ เพือ่ สร้างงานทีม่ รี ปู แบบ ใหม่ในอนาคต การเดินทางครัง้ นี้ คณะเดินทาง ได้เริ่มจากการเรียนรู้สถานที่ต่างๆ ที่เมืองซานฟรานซิสโกและเมือง ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย คณะ 06

เดินทางได้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ใหญ่ รวมไปถึง SFMOMA, LACMA และ Bower Museum เป็นต้น ซึ่ง แต่ละพิพิธภัณฑ์มีทั้ง collection ที่เหมือนและแตกต่างกัน ที่เป็นจุด เด่นคือ การได้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ พร้อมกับศิลปินทีเ่ ข้าใจงานเหล่านัน้ เป็นอย่างดีเยีย่ ม ท�ำให้การเข้าชมมี สีสนั และองค์ความรูท้ คี่ รบถ้วน เมือ่ เดินพร้อมฟังการอธิบายถึงการสร้าง งานต่างๆ ท�ำให้เกิดแรงบันดาลใจ ไม่ น่าเบือ่ และท�ำให้เวลาทัง้ วันของการ ชมศิลปะไม่พอเพียงกับการเข้าชม ผลงานทีม่ ากมาย จุดทีน่ า่ สังเกตคือ เมือ่ มองงานศิลปะเหล่านัน้ ด้วยการ ให้เวลาทีม่ ากพอ จะเห็นความลึกซึง้ ของผลงานเหล่านัน้ ทีไ่ ม่สามารถหาได้ จากเพียงการชมภาพถ่ายของผลงาน เหล่านั้น ทีผ่ มชืน่ ชอบมากๆ คือ ผลงาน ของมาร์ค รอธโก (Mark Rothko) และผลงานของโรเบิรต์ เราเชนเบิรก์ (Robert Rauschenberg) ที่ SFMOMA ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจ เป็นอย่างมาก งานที่ดูเหมือนไม่ ซับซ้อนแต่แสดงอารมณ์ที่ซับซ้อน ของมาร์ค รอธโก เมื่อยิ่งมองยิ่ง

น่าหลงใหล มาร์ค รอธโก พูดว่า “สัมผัสของความเศร้าสลดอยู่กับ ผมตลอดเวลาที่เขียนภาพ” เขา พยายามสือ่ ความรูส้ กึ เหล่านัน้ ออก มาได้อย่างซับซ้อนจากภาพทีเ่ ขาวาด ในท้ายทีส่ ดุ เขาได้ฆา่ ตัวตาย ทัง้ ๆ ที่ ประสบความส�ำเร็จในการเป็นศิลปิน อย่างมาก ผลงานของเขาเน้นความ ส�ำคัญของประสบการณ์สว่ นตัวของ ผู้ชม ที่จะถูกดึงดูดเข้าไปให้สัมผัส กับความสัมพันธ์อันซับซ้อน ผ่าน สีที่เข้มข้นแต่แสดงให้เห็นถึงความ เคลื่อนไหวบนผืนผ้าใบ ที่แสดง ให้เห็นความอ่อนแอทางอารมณ์ ความงดงามไม่ได้บง่ บอกด้วยความ สวยงาม แต่ถูกสร้างสรรค์ผ่านการ ใช้สี ซึ่งเป็นแนวคิดที่เปิดให้ผู้ชมได้ มีโอกาสค้นหาความเป็นตัวตนและ อารมณ์ของตนเอง แสดงให้เห็นถึง สัจธรรมว่า แม้กระทั่งสีด�ำ ก็ไม่มีสี ด�ำแท้ สีด�ำยังมีความแตกต่าง ยัง สามารถเปรียบเทียบได้ สร้างแรง บันดาลใจให้ผมเข้าใจในการมอง หลายๆ สิ่งในชีวิต ท�ำให้เข้าใจว่า เรื่องที่ร้าย หรือเรื่องที่ดี มันไม่มี จริง ทั้งหมดมีแต่เรื่องที่มันเกิดขึ้น จิตใจของเราเป็นคนสั่งและจ�ำแนก เรื่องต่างๆ ว่า เรื่องที่เราชอบเป็น เรื่องดี เรื่องที่เราไม่ชอบเป็นเรื่อง ไม่ดี แต่เราเองจะสามารถแน่ใจได้ อย่างไรว่า เราสามารถแยก จ�ำแนก เรือ่ งดีหรือไม่ดไี ด้อย่างถ่องแท้ เมือ่ แม้กระทั่งตัวเราเองยังมีความรู้สึก ที่ดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับอารมณ์และ ความรูส้ กึ ของเราและสิง่ ต่างๆ รอบๆ ตัวเรา ยกตัวอย่างเช่น วันที่เราไม่ ค่อยยุง่ เมือ่ มีนดั หมายแล้วคนทีน่ ดั มาสาย เราอาจจะรู้สึกอารมณ์เสีย ที่ผู้ที่นัดมาสาย ท�ำให้เสียเวลาใน การรอ แต่ในทางกลับกัน เราอาจ จะรู้สึกอารมณ์ดีและดีใจที่บุคคลที่ เรานัดหมายมาสายในวันทีย่ งุ่ เหยิง เพียงเพราะเราได้มีเวลาพักเพียง


ไม่กี่นาที ก่อนที่นัดหมายนั้นจะมา จากการเยี่ยมชมงานเหล่านี้ สร้าง แรงบันดาลใจให้ผมมองเรื่องต่างๆ ในชีวิต และเข้าใจความซับซ้อน ของเรื่องต่างๆ ได้ดีขึ้น ท�ำให้เข้าใจ ว่า งานศิลปะเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ เป็นเรื่องที่ต้องอยู่คู่กับมนุษย์ต่อไป เพราะสามารถสร้างแรงบันดาลใจที่ ยิ่งใหญ่ให้แก่มนุษย์อย่างมากจริงๆ ในระหว่างการเดินชม ก็มผี ทู้ จี่ ดั กิจกรรมต่างๆ พาขบวนของเด็กทีม่ า ทัศนศึกษาทีพ่ พิ ธิ ภัณฑ์ ซึง่ เป็นกิจกรรม

ทีส่ ร้างสรรค์อย่างมาก เพราะท�ำให้ เด็กๆ ได้มโี อกาสสัมผัสกับงานศิลปะ ทีม่ ชี อื่ เสียง และเกิดการเรียนรูจ้ าก การเข้าชมศิลปะเหล่านั้น ผู้น�ำการ ชมได้สร้างกิจกรรมต่างๆ ประกอบ กับการบรรยาย เพือ่ ให้เด็กเข้าใจว่า ต้องมองงานศิลปะเหล่านั้นอย่างไร เพือ่ จะได้สร้างความเข้าใจและสร้าง แรงบันดาลใจให้แก่ตนเองและน�ำไป ใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน ซึง่ สิง่ เหล่านีอ้ าจ จะเป็นเรื่องที่ขาดหายไปในสังคม ไทย เนื่องจากคนไทยไม่ค่อยสนใจ

คณบดีกับผลงานชื่อ No. 14, 1960 (1960) ของ Mark Rothko

ในการเดินชมพิพิธภัณฑ์ เพราะคิด ว่าเป็นเรื่องเก่า แต่ถ้ามองให้ดี เรา จะเข้าใจว่า อดีตเหล่านัน้ ไม่เคยเก่า และยังสามารถกลับมาย้อนใช้เตือน สติและสอนเราได้เสมอ อยู่ทวี่ ่าเรา จะมองเห็นเรือ่ งเหล่านัน้ หรือไม่ ถ้าไม่ ศึกษาเรือ่ งราวของอดีต เราคงไม่รจู้ กั ความส�ำเร็จและความผิดพลาดที่ คนอื่นท�ำ เราอาจจะสร้างความผิด ซ�้ำเดิมเพราะไม่ได้เรียนรู้จากคนรุ่น เก่า ท�ำให้เสียเวลาที่จะสร้างความ ส�ำเร็จได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม จากการสังเกตกิจกรรมของเด็กที่ เข้ามาเยี่ยมชม ท�ำให้ผมเข้าใจว่า เด็กๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีความกล้าในการแสดงออกและน�ำ เสนอความคิดสร้างสรรค์ เพราะได้ มีการฝึกฝนและฝึกหัดตัง้ แต่อายุยงั น้อย และมีการฝึกฝนอย่างต่อเนือ่ ง ท�ำให้พฒ ั นาความเป็นตัวของตัวเอง ได้อย่างดี มันคือภาพสะท้อนของการ ศึกษาทีน่ ำ� ศิลปะเข้ามาแทรกในการ เรียนรู้ เพือ่ สร้างความคิดสร้างสรรค์ และการเรียนรู้ที่เหมาะสมส�ำหรับ เยาวชน ซึ่งเป็นเรื่องส�ำคัญที่ใน หลายๆ สังคมอาจจะไม่ได้ให้ความ ส�ำคัญ เราอาจจะมีค�ำถามว่า แล้ว จะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กบั เด็ก จ�ำนวนเท่าไหร่ จึงจะสามารถกระตุน้ การเรียนรู้ และต้องให้มีส่วนร่วม จากเด็กจ�ำนวนเท่าไหร่ ในแง่การส่ง เสริมการเรียนรู้ ผมคิดว่าจ�ำนวนของ เด็กที่ได้รับการสร้างแรงบันดาลใจ ไม่สำ� คัญเท่ากับการจุดประกายความ ฝันให้แก่เยาวชนเหล่านัน้ เพราะเรา ไม่สามารถรู้อนาคตได้ว่า เด็กและ เยาวชนเหล่านัน้ จะเติบโตเป็นผูใ้ หญ่ ทีส่ ร้างสรรค์สงิ่ ต่างๆ ทีย่ งิ่ ใหญ่ให้แก่ โลกของเราหรือไม่ แต่เราสามารถ มั่นใจได้ว่า เราจะสร้างผู้ใหญ่ที่มี คุณภาพที่ดี เพื่อสร้างสังคมที่ดีใน อนาคตได้อย่างแน่นอน 07


COVER STORY

Popular Music & Culture Festival ครั้งที่ ๒ เรื่อง: อัคราวิชญ์ พิริโยดม (Akarawit Piriyodom) หัวหน้าสาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

08


“วิชาการ” และ “ศิลปะ” สองค�ำ นี้ เป็นค�ำทีผ่ มและทีมงาน Popular Music & Culture Festival (PMCF) พยายามผสมผสานให้เข้ากัน จน เป็นงานเทศกาลดนตรีที่มีหลักทาง วิชาการสอดแทรกอยู่ในทุกช่วง ของงาน อันที่จริงส่วนตัวผมเองก็ยัง หาคําตอบมาโดยตลอดว่า ศิลปะ มันสามารถอยู่ร่วมกันกับวิชาการ ได้หรือไม่ และยังจะหาคําตอบต่อไป ผมเจอทางตันในหลายๆ ครัง้ เวลา ทีว่ ชิ าการเองไม่สามารถควบคุมหรือ สัง่ ให้ความคิดสร้างสรรค์และอารมณ์ อันหลากหลายของมนุษย์หลั่งออก มาตามหลักการทางวิชาการได้ มัน เป็นช่วงจังหวะที่สําคัญมาก ที่จะ เห็นศิลปินสักกลุ่มได้แสดงและสั่ง ให้ความคิดสร้างสรรค์ได้ประจักษ์ตอ่ หน้าทุกคน แล้วผมเองก็จะเตรียมตัว นําหลักการที่จะนําเข้าสู่ความเป็น วิชาการประกบคู่ไปพร้อมกับความ คิดสร้างสรรค์ที่หลั่งมาไม่หยุดจาก

ศิลปินทีผ่ มเชิญมา และนํามาพัฒนา ต่อในงานครั้งต่อไป แต่จะเป็นการเสียเวลา ถ้าเรามัว หาคําตอบ แต่ไม่ทําหรือสร้างอะไร สักที พวกเราทีมงานเจอประเด็นที่ สาํ คัญเป็นอย่างมากส�ำหรับสายอาชีพ ของศิลปิน นัน่ ก็คอื “เบือ้ งหลัง” ของ งานทั้งหมด ก่อนที่จะมาเป็นเพลง ให้ทุกคนได้ยิน หรือการแสดงโชว์ที่ มันส์สุดเหวี่ยง จนทําให้ใครหลาย คนต้องออกแรงเต้น โยกหัว ส่าย เอวกันได้นานถึง ๒-๓ ชั่วโมง งาน เบื้องหลังหรืองานหลังบ้านจึงเป็น concept ที่สําคัญของงาน PMCF ครั้งที่ ๒ เป็นอย่างมาก เบือ้ งหลังในช่วงแรกของงาน เรา จัดหอแสดงดนตรีให้เป็นห้องอัดและให้ วง The Richman Toy โดยมี วีรณัฐ ทิพยมณฑล (แจ๊ป) และ พีระนัต สุขสําราญ (เงาะ) ทํา workshop และเขียนเนื้อเพลงและทํานองให้ วง Slot Machine เราให้วง Slot Machine ซึง่ มี คาริญญ์ยวัฒ ดุรงค์

จิรกานต์ (เฟิร์ส) อธิราช ปิ่นทอง (แก๊ก) เจนวิทย์ จันทร์ปัญญาวงศ์ (วิทย์) นาํ เนือ้ เพลงและทาํ นองทีแ่ จ๊ป และเงาะได้เขียนขึ้น มาเรียบเรียง ต่อให้ผู้คนดูกันสดๆ อันที่จริง จะไม่มีทางได้เห็น ลักษณะการทํางานแบบนี้ จากศิลปิน อย่างแน่นอน และมันก็ค่อนข้างจะ เป็นความลับ ผมเป็นกังวลมาก เพราะรูปแบบของงานมันเป็นการ ไปล้วงความลับบางอย่างของศิลปิน ถ้าศิลปินไม่พร้อมที่จะให้ งานนี้คง จบไม่สวยอย่างแน่นอน ช่วงเวลาในการเขียนเนื้อเพลง และเรียบเรียง เราได้เห็นขัน้ ตอนใน การเขียนเนือ้ การวิเคราะห์นสิ ยั วิถี ชีวติ ในเชิงลึก การเห็นนัยทีแ่ อบซ่อน ไว้ในบทเพลงอย่างละเอียดของวง The Richman Toy ความคิดสร้างสรรค์ ที่หลุดลอย กับไอเดียที่บรรเจิดไป พร้อมๆ กับอินเนอร์ที่น่าทึ่งของวง Slot Machine ตลอดการเรียบเรียง ทําให้ผมเองรู้สึกลึกซึ้งกับบทเพลง 09


ของ Slot Machine มากขึ้น ผม เชื่อว่าผู้ร่วมงานในวันนั้นก็คงรู้สึก เช่นเดียวกับผม การได้เห็นมุมมอง ต่างๆ ที่แปลกไปจากการได้ยิน มัน ช่างเพิม่ อรรถรสในการเสพงานศิลปะ เสียเหลือเกิน นี่คือส่วนหนึ่งในการ พัฒนาความเป็นเลิศในการฟัง ถ้าเราพัฒนาสิง่ เหล่านีไ้ ปให้ไกล ทัว่ ถึงทัง้ ประเทศได้ ผมเชือ่ ว่าผลงาน เพลงของคนไทยที่จะผลิตขึ้นมาใน อนาคต จะมีความหลากหลายและ มีคณ ุ ภาพเพิม่ ขึน้ อย่างแน่นอน มัน เป็นการพัฒนาสังคมอย่างหนึ่ง และเบื้องหลังอีกช่วงหนึ่งใน งานนี้คือ เรานําช่วงที่ดูเหมือนจะ น่าเบื่อที่สุด นั่นคือ ช่วงซาวด์เช็ค เรานํามาเป็นโชว์ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ เราจะได้อธิบายถึงรายละเอียดของ อุปกรณ์ตา่ งๆ ในการแสดงโชว์อย่าง ละเอียด พร้อมสไลด์ความรู้ ทีม่ ตี วั QR code สามารถโหลดไปศึกษาต่อ 10

ทีบ่ า้ นได้ งานนีต้ อ้ งขอบคุณ อาจารย์ กฤตธรรม ขาวแจ้ง (บรูซ) ที่มา ช่วยให้ความรู้เชิงลึกในหัวข้อนี้ และเราหวังเหลือเกินว่า ความรู้ เรื่องอุปกรณ์และเทคโนโลยีจะช่วย สร้างความเข้าใจให้แก่ศิลปิน เพื่อ ต่อยอดเรื่องการสื่อสารและสร้าง ความเข้าใจในการทาํ งานร่วมกันกับ

sound engineer และ technician เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ต่อไป วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เป็น สถาบันการศึกษาทีส่ อนดนตรี และ ผลิตเด็กออกไปหลายรุน่ ออกไปเป็น นักดนตรี Backup ให้ศลิ ปินก็มากพอ สมควร แต่นนั่ ก็เป็นแค่ผลพลอยได้ สิ่งที่ทางสาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม


11


ต้องการก็คอื “เราจะผลิตศิลปินทีค่ ดิ งานเองได้” โดยงาน PMCF จะเป็น ศูนย์รวมแห่งศิลปะแขนง popular ที่ รวมเอาศิลปินชัน้ นาํ ในระดับสากลมา แสดงในงานทุกๆ ปี และสอดแทรก ความรู้ไว้ให้ไม่มีที่สิ้นสุด นอกเหนือจากที่พูดมาแล้ว 12

นั้น ยังมีโชว์เต็มๆ จากศิลปิน ชั้นนํา เช่น Somkiat, Penguin Villa, Retrospec, Slot Machine, Thee Chaiyadej, Ebola, Whal & Dolph, Earth Patravee รวมทั้ง วงของนักศึกษาและศิษย์เก่า อย่าง Apollo13, Genesis, ข้าวฟ่าง และ

Markmywords สิง่ หนึง่ ทีผ่ มได้ประโยชน์จากงาน นี้อย่างเป็นรูปธรรมก็คือ เรื่องของ การดึงหรือสร้างสภาวะของความ คิดสร้างสรรค์ ถ้าสังเกตในวันนัน้ ใน ช่วง Workshop วง Slot Machine แทบจะไม่ได้จบั เครือ่ งมือหรืออุปกรณ์


เลย วงถ่ายทอดแต่สิ่งที่ตนได้ยิน หรืออยากจะให้เป็น ลักษณะในวัน นั้น ทําให้ผมและคนดูแทบอึ้ง นั่น คือ เราเห็นมือเบส (แก๊ก) ผู้ออก ไอเดียเป็นหลัก เดินรอบเวที คิดไป สนุกไป งานเกิด เดินวนรอบเวที นัง่ พัก เต้นไป ร้องไป แสดงไอเดีย จับ อารมณ์ เต้นไป ร้องไป แสดงไอเดีย ไป นัง่ พัก แสดงไอเดีย วนไปเรือ่ ยๆ

จนงานเสร็จ มันแสดงให้เห็นว่า เรา ควรแบ่งหน้าทีก่ นั ให้ชดั เจน คือ คน คิดก็คดิ ไป คนตัดต่อโปรแกรมก็ทาํ ไป คนหาซาวด์กห็ าไป และเราไม่คดิ ไม่ ฝันเลยว่า วงอย่าง Slot Machine ซึ่งดูจากภายนอกผ่าน mv หรือ ภาพโปรโมต และตามงานโชว์ ดู เหมือนจะเป็นวงทีเ่ ข้าถึงยาก มีมาด ทีเ่ คร่งขรึม น่ากลัว แต่กลับมีความ

ร่าเริง สนุกสนาน อารมณ์ดี ไม่มี ความเก๊กใดๆ นั่นเป็นสิ่งที่ผมเชื่อ ว่า คือประตูแห่งความคิดสร้างสรรค์ จบงานในครั้งนี้ ผมเห็นเรื่อง หนึ่งที่สําคัญจากศิลปินทุกคน นั่น คือ การแบ่งหน้าที่ การเลือกใช้ อัตตาตัวตน (อีโก้) ในทางทีถ่ กู การ รักษาภาพพจน์หรือห่วงหล่อผิดทีผ่ ดิ ทาง อาจปิดกั้นความสร้างสรรค์ไม่ ให้บังเกิดขึ้นได้ หน้าทีข่ องเราในฐานะของอาจารย์ ซึง่ เป็นบุคคลทีม่ หี น้าทีโ่ ดยตรงทีจ่ ะ ช่วยพัฒนาสังคมและหลักสูตร เรา ต้องแฝงอิสระและประตูแห่งความคิด สร้างสรรค์ไว้ตามจุดต่างๆ ในหลัก แห่งวิชาการ ถึงแม้ตายไป คนทาํ ต่อ จะต้องสนุกที่จะทําต่อ และพัฒนา ต่อได้ นั่นเป็นสิ่งที่สําคัญอย่างยิ่ง

13


REVIEW

Children’s Day Concert “PETER AND THE WOLF” (๑๑-๑๒ มกราคม ๒๕๖๒)

เรื่อง: นิอร เตรัตนชัย (Ni-on Tayrattanachai) อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาดนตรีศึกษา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เมื่

อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่ง ประเทศไทย หรือวงทีพีโอ ได้จัด คอนเสิรต์ เนือ่ งในโอกาสวันเด็ก ในชือ่ คอนเสิร์ต “Peter and the Wolf” ความยาวในการแสดง ๑ ชัว่ โมง ๔๐ นาที ซึง่ โปรแกรมทีเ่ ลือกมาใช้ในการ แสดงได้ถูกจัดเรียงไว้อย่างลงตัว ภายใต้การควบคุมวงของ ดร.ธนพล 52

เศตะพราหมณ์ (Dr. Thanapol Setabrahmana) ผู้ที่ประสบความ ส�ำเร็จในการร่วมแสดงกับวงดุรยิ างค์ ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยมาแล้ว หลายครั้ง โดยมีผู้บรรยายรับเชิญ อาจารย์ Ben Dooley และคณะหุ่น สายเสมา (Sema Thai Marionette) ที่มาร่วมสร้างสีสันให้แก่การแสดง ในครั้งนี้

ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งที่ แตกต่างจากการแสดงอื่นๆ ของวง ดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยที่ ผ่านมา คือ การเล่านิทานประกอบการ แสดง รวมไปถึงการบรรยายเกีย่ วกับ เครือ่ งดนตรีตา่ งๆ ทีใ่ ช้ในวงออร์เคสตรา ซึ่งบทเพลงที่ถูกเลือกมาแสดงนั้น ส่วนมากเป็นบทเพลงคลาสสิกที่ มีความน่าสนใจ เหมาะกับกลุ่มผู้


ฟังส่วนใหญ่ที่เป็นเด็กและเยาวชน เพราะบทเพลงต่างๆ ที่ถูกเลือก มานั้น เป็นบทเพลงที่ฟังง่ายและ สนุกสนาน นอกจากจะได้ความรู้ เรื่องเครื่องดนตรีในวงออร์เคสตรา แล้ว ผูช้ มทัง้ เด็กและผูใ้ หญ่ยงั ได้รบั ความเพลิดเพลินจากนิทานทีน่ ำ� มา เล่าในงานคอนเสิรต์ นี้ ถึงแม้การแสดง ดังกล่าวจะจัดโปรแกรมมาเพือ่ ให้ตรง กับกลุ่มผู้ฟังในวัยเด็กก็ตาม แต่วง ดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย ก็ยังคงเปี่ยมไปด้วยคุณภาพและ ความเป็นมืออาชีพได้เหมือนทุกครัง้ ในการถ่ายทอดบทเพลง ซึ่งก่อให้ เกิดความประทับใจ สังเกตได้จาก เสียงหัวเราะของเด็กๆ การจัดการ แสดงในครัง้ นี้ ถือได้วา่ เป็นการมอบ ของขวัญทีย่ อดเยีย่ มชิน้ หนึง่ ให้แก่ผู้ ฟังตัวน้อยส�ำหรับงานวันเด็กในปีนี้ ก่อนการแสดงจะเริม่ ต้นขึน้ ตาม ธรรมเนียมการแสดงของวงทีพีโอ จะมีการให้ความรู้แก่ผู้ฟังที่อาจจะ ยังไม่คุ้นเคยกับบทเพลงที่ใช้ในการ

แสดง หรือส�ำหรับผู้ฟังที่ต้องการ ความลึกซึ้งในการฟังและอรรถรส ในการฟังมากยิง่ ขึน้ (Pre-concert talk) โดยผูท้ มี่ าให้ความรูใ้ นรายการนี้ คือ วาทยกรผูค้ วบคุมวง ดร.ธนพล เศตะพราหมณ์ ซึง่ กล่าวถึงความเป็น มาของบทเพลง ผูแ้ ต่ง เนือ้ หา รวม ทัง้ แนะน�ำให้ผฟู้ งั ได้รจู้ กั กับคณะหุน่ สายเสมา (Sema Thai Marionette) หุน่ เชิดทีจ่ ะมาสร้างสีสนั และน�ำเด็กๆ ร่วมผจญภัยไปกับการแสดง Peter and the Wolf ส�ำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับการฟัง คอนเสิรต์ ของวงดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิก แห่งประเทศไทยจะทราบดีวา่ บทเพลง ทีใ่ ช้บรรเลงเพือ่ เปิดคอนเสิรต์ ส่วนใหญ่ จะเป็นเพลงไทยทีถ่ กู น�ำมาเรียบเรียง ใหม่ การแสดงครั้งนี้ได้น�ำบทเพลง “พม่าเขว” ซึง่ ภายหลังได้นำ� ท�ำนอง เดิมมาแต่งเนือ้ เพลงใหม่ และเป็นที่ รู้จักกันในนามเพลง “ช้าง” ที่เด็กๆ มักจะร้องติดปากว่า “ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง น้องเคยเห็นช้างรึเปล่าฯ”

นั่นเอง เพลงพม่าเขว เป็นเพลง ท�ำนองเก่า ส�ำเนียงพม่า ในอัตรา จังหวะชั้นเดียว จัดอยู่ในประเภท เพลงเกร็ด ภายหลังครูบญุ ยงค์ เกตุคง น�ำท�ำนองไปแต่งเป็นเพลงเถา เรียก ชื่อใหม่ว่า เพลง “ชเวดากอง” แต่ บทเพลงทีน่ ำ� มาบรรเลงในครัง้ นี้ ถูก เรียบเรียงเสียงประสานขึ้นใหม่โดย พันเอก ประทีป สุพรรณโรจน์ ซึง่ วง ทีพโี อบรรเลงเพลงนีไ้ ด้อย่างสง่างาม สนุกสนาน และมีสสี นั (Tone color) ที่แตกต่างกันในแต่ละท่อน โดย ระหว่างแสดงนัน้ มีกลุม่ ผูฟ้ งั ตัวน้อย ร้องเพลงช้างคลอไปกับเสียงเพลงที่ บรรเลง การน�ำเพลงช้างมาเป็นเพลง เปิดงาน ถือเป็นการจัดโปรแกรมที่ ชาญฉลาด เพราะเป็นบทเพลงทีท่ กุ คนรูจ้ กั ท�ำให้บทเพลงนีส้ ามารถดึงดูด กลุม่ ผูฟ้ งั ทุกเพศทุกวัยให้จบั จ้องไป ที่หน้าเวที และรอคอยฟังบทเพลง ต่อไปอย่างใจจดใจจ่อ หลังสิน้ เสียงปรบมือจากผูช้ มทีม่ า กันเต็มหอแสดง ผูอ้ ำ� นวยเพลงก็นำ�

53


เด็กๆ และผูช้ มเข้าสูบ่ ทเพลงในล�ำดับ การแสดงถัดไป ซึ่งรายการแสดงนี้ ก็ถอื ว่าเป็นรายการทีน่ า่ สนใจไม่แพ้ บทเพลงแรกเลยทีเดียว บทเพลง “The Young Person’s Guide to the Orchestra” ถูกประพันธ์โดย Benjamin Britten (ค.ศ. ๑๙๑๓๑๙๗๖) ถือเป็นบทเพลงทีส่ ร้างความ ประทับใจให้แก่เด็กๆ และกลุม่ ผูช้ ม ทุกคนเป็นอย่างมาก เนือ่ งจากเป็น บทเพลงทีแ่ นะน�ำให้กลุม่ ผูฟ้ งั ได้รจู้ กั เครื่องดนตรีในวงออร์เคสตรา The Young Person’s Guide to the Orchestra เริ่มต้นด้วยการใช้วง ออร์เคสตราทั้งวงน�ำเสนอ Theme หลักของ Purcell จากนั้นค่อย แนะน�ำผู้ชมให้รู้จักเสียงและสีสัน ของเครื่องดนตรีในวงทีละกลุ่มและ ทีละเครือ่ งตามล�ำดับ โดยเริม่ ต้นจาก กลุม่ เครือ่ งดนตรี ได้แก่ เครือ่ งลมไม้ เครื่องสาย เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องกระทบ จากนั้นในแต่ละ 54

variations เครื่องดนตรีแต่ละชนิด จะสลับเข้ามาบรรเลงท�ำนองของ ตนเอง เช่น ฟลุต พิกโคโล โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน เป็นต้น โดย มีผู้บรรยายเป็นผู้บอกชื่อเครื่อง ดนตรี และแนะน�ำให้ผู้ฟังได้รู้จัก กับเครื่องดนตรีที่อาจจะไม่ค่อยคุ้น เคย เช่น castanet และอื่นๆ จน

ครบ บทเพลงนี้จบลงด้วย Fugue ซึ่งเป็นเทคนิคการประพันธ์ที่ค่อยๆ น�ำแนวท�ำนองต่างๆ สอดแทรกเข้า มาทีละแนวจนถึงจุด Climax หลัง จากนัน้ Theme หลักของ Purcell ก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง และจบลง อย่างสง่างาม บทเพลงนี้ถือว่าเป็น บทเพลงทีท่ ำ� ให้เด็กๆ ได้รจู้ กั กลุม่ ของ


เครื่องดนตรี และเครื่องดนตรีในวง ออร์เคสตรา ไม่เพียงแต่การเรียน จากรูปภาพเท่านั้น แต่เป็นการ สัมผัสได้ด้วยหู ผ่านเสียงเพลงและ การบรรยาย ท�ำให้เกิดประสบการณ์ ในการฟัง การมองเห็น การเรียนรู้ และจดจ�ำได้ในอนาคต ต้องยอมรับว่า การเลือกโปรแกรมให้เข้ากับ theme งานและกลุ่มผู้ฟังของวงดุริยางค์ ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยนั้น ไม่เคยท�ำให้ผู้ชมผิดหวังเลยจริงๆ หลังจากบทเพลง “The Young Person’s Guide to the Orchestra” จบลง เสียงปรบมือก็ดังก้องขึ้นอีก ครัง้ ในหอแสดงดนตรี นอกจากเสียง ปรบมือแล้ว ยังมีเสียงเล็กๆ ทีแ่ ทรก มากับเสียงปรบมืออยูต่ ลอดเวลา นัน่ ก็คอื เสียงเด็กๆ ทีห่ นั ไปหาผูป้ กครอง และคุยกันเรือ่ งเครือ่ งดนตรีทไี่ ด้เห็น และได้ยินตลอดทั้งการแสดง ซึ่ง หลังจากการแสดงนี้จบลง ก็มีการ พักการแสดง เพื่อรอชมการแสดง

ในช่วงต่อไป หลังจากทีผ่ ฟู้ งั ทุกท่านกลับเข้า หอแสดงดนตรีอกี ครัง้ ไฟในหอแสดง ก็ดับลง และแล้วก็มาถึงไฮไลต์ของ งานทีท่ กุ คนรอคอย นัน่ ก็คอื นิทาน เพลง เรือ่ ง “Peter and the Wolf” ผลงานการประพันธ์ของนักประพันธ์ เพลงทีม่ ชี อื่ เสียงชาวรัสเซีย-โซเวียต

นั่นก็คือ Sergei Prokofiev (ค.ศ. ๑๘๙๑-๑๙๕๓) Prokofiev ได้รับ ว่าจ้างจาก Central Children’s Theater ในกรุงมอสโก ให้ประพันธ์ ดนตรีสำ� หรับวงออร์เคสตรา โดยมีจดุ มุง่ หมายในการเสริมสร้างรสนิยมการ ฟังดนตรีให้แก่เด็กปฐมวัย เป็นเหตุ ให้ผลงาน “Peter and the Wolf”

55


ชิน้ นีถ้ กู ประพันธ์ขนึ้ Prokofiev เป็น ผูแ้ ต่งทัง้ เนือ้ เรือ่ งและดนตรีดว้ ยตัว เขาเอง นิทานเพลง เรื่อง “Peter and the Wolf” เป็นเรื่องราวการ ผจญภัยของ Peter เด็กชายทีใ่ ช้ชวี ติ อยูใ่ นบ้านกลางป่า ทีห่ อ้ มล้อมไปด้วย สัตว์นานาชนิด จนวันหนึง่ มีหมาป่า ดุรา้ ยเข้ามาใกล้บริเวณพืน้ ทีข่ องเขา ซึง่ การปรากฏตัวของหมาป่านีเ่ องที่ ท�ำให้การผจญภัยของ Peter ได้เริม่ ต้นขึน้ จนท้ายทีส่ ดุ เขาก็สามารถจับ หมาป่าและส่งกลับเข้าสวนสัตว์ได้ ส�ำเร็จ ความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง ของนิทานเพลงเรื่องนี้ คือ การใช้ เครื่องดนตรีแทนเสียงสัตว์และตัว แสดงอื่นๆ ในเรื่อง โดย Prokofiev ใช้เสียงฟลุตแทนนก เสียงโอโบแทน เป็ด เสียงคลาริเน็ตแทนแมว เสียง บาสซูนแทนคุณปู่ เสียงเฟรนช์ฮอร์น ๓ ตัว แทนหมาป่า กลุม่ เครือ่ งสาย แทน Peter ทิมปานีและกลองใหญ่ แทนเสียงปืนไรเฟิล 56

นอกจากความสนุกสนานทีผ่ ฟู้ งั จะได้รับจากนิทานเพลงเรื่องนี้แล้ว การประพันธ์เพลงก็ถอื ว่าเป็นเรือ่ งที่ น่าสนใจไม่แพ้กนั เพราะ Prokofiev ใช้เทคนิคการประพันธ์เพลงที่น่า สนใจ ซึ่งรูปแบบการประพันธ์มี โครงสร้างคล้ายกับ Sonata Form โดยเริ่มท่อน Exposition ด้วยการ แนะน�ำตัวแสดงในเรือ่ ง ส�ำหรับท่อน

Development ก็จะเป็นการด�ำเนิน เรื่องราว โดยที่เนื้อหาในท่อนนี้มี ความน่าตื่นเต้น ตึงเครียด อีกทั้ง ดนตรีในท่อนนีย้ งั สามารถสือ่ ความ หมายได้อย่างกลมกลืนกับเนือ้ เรือ่ ง เช่น ตอนที่หมาป่าปรากฏตัว หรือ ตอนที่หมาป่าได้กลืนเป็ดเข้าไปทั้ง ตัวอย่างหิวโหย ในช่วงท้ายของการ แสดง ท�ำนองประจ�ำตัว Peter ที่


เล่นโดยกลุ่มเครื่องสาย ได้วนกลับ มาบรรเลงอีกครัง้ หนึง่ ซึง่ จะเปรียบ ได้กบั ท่อน Recapitulation ลักษณะ เด่นที่ผู้ประพันธ์ต้ังใจน�ำเสนอก็คือ การแนะน�ำให้ผู้ฟังได้รู้จักกับเครื่อง ดนตรีในวงออร์เคสตรา โดยต้อง ด�ำเนินทั้งเนื้อเรื่องและบทเพลงไป พร้อมๆ กัน การแสดงในค�ำ่ คืนนี้ ทัง้ ผูอ้ ำ� นวยเพลง นักดนตรี ผูบ้ รรยาย และคณะหุ่นเชิด สามารถสื่อสาร ออกมาได้อย่างไร้ที่ติ หลังจากชัยชนะและการผจญ ภัยของ Peter จบลง รอยยิม้ เสียง หัวเราะ ความประทับใจ และเสียง ปรบมือจากผู้ฟังก็ปรากฏขึ้นในหอ แสดงดนตรี ถึงแม้การแสดงในค�ำ่ คืน นีจ้ ะจบลง แต่ประสบการณ์ในการรับ ชมและรับฟังของทุกคนจะคงอยูก่ บั พวกเขาตลอดไป แม้การแสดงทั้งหมดใช้เวลาไม่ ถึง ๒ ชัว่ โมง แต่การเตรียมตัว การ ฝึกซ้อม การเลือกโปรแกรม และ

เบื้องหลังการแสดงดังกล่าว ต้อง น่าประทับใจเช่นนีไ้ ด้อกี ในการแสดง เกิดจากการศึกษาและทุม่ เทของคณะ ครัง้ ต่อๆ ไป ผูจ้ ดั งานหลายส่วน จนต้องยอมรับ ว่า Children’s Day Concert ใน ปีนขี้ องวงดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่ง ประเทศไทย ประสบความส�ำเร็จ และได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งโปรแกรมการแสดงที่ลงตัวและ เวลาในการแสดง ซึ่งตลอดทั้งการ แสดงสามารถสะกดผูฟ้ งั ตัวน้อยๆ ให้ นัง่ ฟังได้ตงั้ แต่ตน้ จนจบโดยทีไ่ ม่รสู้ กึ เบือ่ อีกทัง้ บทเพลงแต่ละบทยังสร้าง ความสนุกสนาน ตืน่ เต้นเร้าใจ รอย ยิ้ม และเสียงหัวเราะให้แก่ผู้ชมได้ เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นการต้อนรับวัน เด็กในปีนี้ด้วยรอยยิ้มควบคู่ไปกับ ความรูเ้ กีย่ วกับเครือ่ งดนตรีคลาสสิก การแสดงในครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่ง กิจกรรมที่ดีส�ำหรับครอบครัว และ เชือ่ เป็นอย่างยิง่ ว่า การแสดงของวง ดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ 57


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.