สารจากเรือนจำแห่งความหวัง

Page 1


‫إن يف الدنيا جنة من مل يدخلها مل يدخل جنة اآلخرة‬

“แน่นอนในโลกดุนยาแห่งนี้มีสวนสวรรค์ ใครก็ตามที่ไม่ได้เข้าสวนสวรรค์ในดุนยา เขาก็จะไม่ได้เข้าสวนสวรรค์ในอาคิเราะฮฺ” – อิบนฺ ตัยมียะฮฺ -


สารจากเรือนจำ�แห่งความหวัง แปล | มิฟตาหุลอิสลาม พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤษภาคม 2556 (ส�ำนักพิมพ์มิรอาต)

ราคา 100 บาท

ตรวจวิชาการ | อบูตัยมียะฮฺ บรรณาธิการ | มัรยัม อ. ศิลปกรรม | ซัลสะบีล ออกแบบปก | คอนซาอฺ พิสูจน์อักษร | ญันนะฮฺ, อัลอัยนฺ จัดพิมพ์โดย : ส�ำนักพิมพ์มิรอาต 61 ซ.เทอดไท11 ถ.เทอดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 Email: mirat.books@gmail.com Website: http://miratbooks.wordpress.com www.facebook.com/miratbook พิมพ์ที่ : บริษัท นัตวิดาการพิมพ์ จ�ำกัด ตรอกวัดจันทร์ใน (เจริญกรุง 107) 457/202-203 ถนนเจริญกรุง บางคอแหลม กรุงเทพมหานคร 10120 โทร 02-2916530 rr_f2011@hotmail.com

จัดจำ�หน่ายโดย : ร้านอาลีพาณิชย์ 1579 ถ.เพชรเกษม ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทร 074266277, 0898767511 Fax. 074258487 ติดตามผลงานได้ที่ facebook.com/AliBookshop ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่โดยไม่มีเจตนาแสวงหาผลกำ�ไร หากพบหนังสือชำ�รุดหรือมีข้อผิดพลาดด้านการพิมพ์ โปรดส่งมาเปลี่ยนเล่มใหม่ตามที่อยู่สำ�นักพิมพ์ มิรอาตด้านบน โดยสำ�นักพิมพ์จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด



เกณฑ์การสะกดคำ�ทับศัพท์ภาษาอาหรับที่ใช้ในเล่ม • พยัญชนะ ตัวอย่าง

เทียบ

พยัญชนะ คำ�อ่าน พยัญชนะ อาหรับ ไทย

หมายเหตุ

อาหรับ

ไทย

‫القرآن‬

อัลกุรอาน

‫َس َبأ‬

อิบรอฮีม สะบะอ์

‫ا‬

อะลิฟ

‫ء‬

ฮัมซะฮฺ

อ อ์

‫ب‬

บาอ์

‫َباب‬

บาบ

‫ت‬

ตาอ์

‫َت َي ُّمم‬

ตะยัมมุม

‫ث‬

ษาอ์

‫ثمود‬

ษะมูด

ญีม

ญ จญ์

กรณีเป็นตัวอ่านให้ใช้ “ญ” กรณีเป็นตัวสะกดให้ใช้ “จญ์” มีคำ�ยกเว้น ๒ กรณี ที่ใช้เป็น ฮ คือ -หาอ์-กัสเราะฮฺ–ยาอ์ (‫ِ)حي‬ -หาอ์-ฟัตหะฮฺ-มีม (‫َ)ح ْم‬

‫حج‬

ญิบรีล หัจญ์

‫ج‬

กรณีเป็นตัวอ่านให้ใช้ "อ" กรณีเป็นตัวสะกดให้ใช้ “อ์”

‫إبراهيم‬

‫ِج رْ ِبيل‬ ‫رمحة‬ ‫َص ِحيْح‬ ‫م َّمد‬ َ ُ‫ح‬

เราะหฺมะฮฺ เศาะฮีหฺ มุฮัมมัด

‫ح‬

หาอ์

‫خ‬

คออ์

‫خالد‬

คอลิด

‫د‬

ดาล

‫ُدنْيا‬

ดุนยา

‫ذ‬

ซาล

‫ر‬

รออ์

‫َر َمضان‬

เราะ มะฎอน

ِ ‫ذو‬ ‫الق ْعدة‬ ซุลกิอฺดะฮฺ


ตัวอย่าง

เทียบ

พยัญชนะ คำ�อ่าน พยัญชนะ อาหรับ ไทย

หมายเหตุ

อาหรับ

ไทย

‫ز‬

ซาย

‫َز ْيتون‬

ซัยตูน

‫س‬

สีน

‫ُس ْورة‬

สูเราะฮฺ

‫ش‬

ชีน

‫َش ْعبان‬

ชะอฺบาน

‫ص‬

ศอด

‫َصدَ قة‬

เศาะดะ เกาะฮฺ

‫ض‬

ฎอด

‫ُضحى‬

ฎุหา

‫ط‬

ฏออ์

‫طاغوت‬

ฏอฆูต

‫ظ‬

ซออ์

‫ظال‬

ซอลิม

‫ع‬

อัยนฺ

‫غ‬

ฆ็อยนฺ

อฺ ฆ

‫ف‬

ฟาอ์

‫ق‬

กรณีเป็นตัวอ่านให้ใช้ “อ” กรณีเป็นตัวสะกดให้ใช้ “อฺ”

‫عقيقة‬

‫اعتكاف‬

อะกีเกาะฮฺ อิอฺติกาฟ

‫َغنيمة‬

เฆาะนีมะฮฺ

ِ‫ح‬ ‫فاتة‬

ฟาติหะฮฺ

กอฟ

‫قارون‬

กอรูน

‫ك‬

กาฟ

‫كتاب‬

กิตาบ

‫ل‬

ลาม

‫َليْىل‬

ลัยลา

‫م‬

มีม

‫مصعب‬

มุศอับ

‫ن‬

นูน

‫نَبيل‬

นะบีล


ตัวอย่าง

เทียบ

พยัญชนะ คำ�อ่าน พยัญชนะ อาหรับ ไทย ‫و‬

วาว

‫هـ‬

ฮาอ์

ฮ ฮฺ

‫ي‬

ยาอ์

หมายเหตุ

กรณีเป็นตัวอ่านให้ใช้ “ฮ” กรณีเป็นตัวสะกดให้ใช้ “ฮฺ”

อาหรับ

ไทย

‫وليمة‬

วะลีมะฮฺ

‫َق ْه َوة‬

ฮารูน เกาะฮฺวะฮฺ

‫هارون‬ ‫ييى‬ َْ‫ح‬

ยะหฺยา

• สระ สระภาษา คำ�อ่าน อาหรับ

หมายเหตุ

-ะ (ฟัตหะฮฺ) เ - าะ ใช้กับพยัญชนะ

-ِ (กัสเราะฮฺ)

-

‫ غ‬،‫ ق‬،‫ خ‬،‫ ر‬،‫ ص‬،‫ ض‬،‫ ط‬،‫ظ‬

ตัวอย่าง อาหรับ

ไทย

‫ َح ِديث‬หะดีษ ‫ َر َم َضان‬เราะมะฎอน

-ิ

‫ِربا‬

ริบา

-ُ (ฎ็อมมะฮฺ)

-ุ

‫ُركوع‬

รุกูอฺ

_َ ‫ا‬

-า -อ -ี

‫ِميْزان‬

มาลิก ศอลิหฺ

-ِ ‫ي‬

‫َمالك‬ ‫صالح‬

-ُ ‫و‬

-ู

‫ُر ْوح‬

-َ ‫ْي‬

ใช้กับพยัญชนะ

-ั ย -็ อย ใช้กับพยัญชนะ

-

‫ غ‬،‫ ق‬،‫ خ‬،‫ ر‬،‫ ص‬،‫ ض‬،‫ ط‬،‫ظ‬

-

‫ غ‬،‫ ق‬،‫ خ‬،‫ ر‬،‫ ص‬،‫ ض‬،‫ ط‬،‫ظ‬

มีซาน รูหฺ

‫ ُس َليْامن‬สุลัยมาน ‫ َقيْنُقاع‬ก็อยนุกออฺ


หมายเหตุ การเทียบพยัญชนะและสระข้างต้นปรับเปลีย่ นจากหลักการเทียบพยัญชนะ และสระที่เรียบเรียงโดยห้องสมุดอิกเราะอ์ โดยอ้างอิงจากหนังสือคำ�เขียน เทียบศัพท์อิสลามศึกษา โดยกระทรวงศึกษาธิการ เพิ่มเติมส่วนที่ปรับเปลี่ยนจากหนังสืออ้างอิงดังกล่าว นอกเหนือจาก ตารางข้างต้น 1.ไม่ใช้ – หลัง อัล ทั้งกรณีลามเกาะมะรียะฮฺ และลามชัมสียะฮฺ เช่น อัลบะเกาะเราะฮฺ อัชชัมสฺ 2.ไม่ใช้ -ย์ ในคำ�ที่ลงท้ายด้วย -ِ ‫ ي‬เช่น นะบี อัลบุคอรี 3.ไม่ใช้ รฺ ในค�ำที่สะกดด้วย ‫ ر‬เช่น อุมัร อัลเกาะมัร แต่จะใช้ รฺ ในค�ำที่มี ‫ ر‬เป็นตัวสะกดตัวที่สอง บัดรฺ (‫ )بدر‬อบูบักรฺ (‫)أبوبكر‬

• อื่นๆ - การอ้างอิงอายะฮฺอลั กุรอานจะระบุในรูป (ชือ่ สูเราะฮฺ ล�ำดับทีข่ องสูเราะฮฺ : ล�ำดับ ที่ ข องอายะฮฺ ) เช่ น หากน� ำ มาจากสู เราะฮฺ อั ล ฟาติ ห ะฮฺ อายะฮฺ ที่ ห นึ่ ง จะเขี ย นว่ า (อัลฟาติหะฮฺ 1 : 1) - อ่านว่า ซุบหานะฮูวะตะอาลา แปลว่า มหาบริสทุ ธิแ์ ด่พระองค์และพระองค์ ทรงสูงส่งยิ่ง (ใช้หลังพระนามของอัลลอฮฺ) - อ่านว่า ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แปลว่า ขอการสรรเสริญและความ สันติจงประสบแด่ท่าน (ใช้หลังชื่อของท่านนะบีมุฮัมมัด) อ่านว่า เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ แปลว่า ขออัลลอฮฺพึงพอพระทัยในตัวท่าน (ใช้หลังชื่อของเศาะหาบะฮฺ) - อ่านว่า เราะหิมะฮุลลอฮฺ แปลว่า ขออัลลอฮฺเมตตาท่าน (ใช้หลังชื่อของ สะลัฟ อุละมาอ์ คนศอลิหฺ หรือพี่น้องมุสลิมที่เคารพที่ได้เสียชีวิตลงไปแล้ว)


ส า ร จ า ก สำ � นั ก พิ ม พ์ แ ห่ ง ค ว า ม ห วั ง “สวรรค์บนดิน” มีจริงหรือ? คำ�ถามข้างต้นดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้เลยสำ�หรับผู้ศรัทธา เพราะในเมื่อความน่าอึดอัดของโลกใบนี้ถูกจับยัดไว้ในหะดีษสั้นๆ คุ้น หูบทหนึ่งที่ว่า “ดุนยาคือคุกของมุอ์มิน” ไว้เสร็จสรรพเป็นที่เรียบร้อย แล้ว จากหะดีษบทนี้ หากนิยามหนึง่ ของดุนยาคือ “คุก” มุอม์ นิ หรือ มนุษย์ผู้ศรัทธา จึงไม่อาจหลีกหนีจากการถูกนิยามว่าเป็น “นักโทษ” ไปได้เลย ............................. สารจากเรือนจำ�แห่งความหวัง เป็นหนังสือทีร่ วบรวมจดหมาย* ของอดีตนักโทษในเรือนจำ� (ทีม่ ีลกู กรงจริงๆ) คนหนึง่ ซึง่ ผ่านร้อนผ่าน หนาวกับประสบการณ์ชวี ติ ในสถานะนัน้ มาแล้วหลายหนและหลายแห่ง ชื่อของท่านคือ อะหฺมัด อิบนฺ ตัยมียะฮฺ หรือที่ผู้ศรัทธาต่างยกย่องท่าน ว่าเป็น ชัยคุลอิสลาม อิบนฺตัยมียะฮฺ อิมามของบรรดาศรัทธาชน

*บทนำ�ของหนังสือและเนื้อหาในจดหมายแต่ละฉบับเรียบเรียงมาจากหนังสือ Letters From Prison โดย ชัยคฺมุฮัม มัด สุลัยมาน อัลอับดะฮฺ ส่วนประวัติของชัยคุลอิสลามและบทนำ�ของจดหมายแต่ละฉบับนั้นเป็นเนื้อหาที่กอง บรรณาธิการได้เพิ่มเติมเข้ามา โดยหวังว่าจะช่วยให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจมากขึ้น


สำ�หรับคนทีว่ นเวียนอยูใ่ นวงการแสวงหาความรู้ ชือ่ ของบุคคล ข้างต้นน่าจะพอคุ้นหูคุ้นตาอยู่บ้าง เพราะมันมักจะปรากฏตัวอยู่ตาม บรรยายและงานเขียนของผู้รู้ทั้งเก่าและใหม่ที่มักจะหยิบยกงานของ ท่านมาอ้างอิงอยู่บ่อยๆ นอกจากความโดดเด่นไม่เหมือนใครในเรื่องความรู้ ถ้าจะให้ กล่าวกันตรงนีใ้ ห้หมดก็คงไม่หมดและไม่เหมาะสำ�หรับสำ�หรับความไม่ ธรรมดาในเรื่องอื่นๆ ของชัยคุลอิสลาม อิบนฺตัยมียะฮฺ แต่เรื่องหนึ่งที่ เราอดจะกล่าวถึงท่านไม่ได้เลยในวาระและย่อหน้านี้กค็ ือ การทีท่ ่านดู จะเป็นบุรษุ ทีม่ คี วามสุขทีส่ ดุ คนหนึง่ บนโลกใบนี้ ไม่วา่ จะในฐานะนักโทษ เรือนจำ�ก็ดี หรือนักโทษดุนยาก็ตาม หนังสือเล่มนีน้ า่ จะเป็นเครือ่ งยืนยัน ได้เป็นอย่างดี ............................. ความหวังมักจะอยู่คู่กับมนุษย์ที่มีความสุขเสมอ ในชีวิตของอิบนฺตัยมียะฮฺ แม้ว่าท่านจะผ่านการต่อสู้ทั้งใน สนามรบและสนามความคิดอย่างหนักหนาสาหัส พบเจอบททดสอบ แบบจัดหนักจัดเต็มจนกระทัง่ ลมหายใจสุดท้ายของชีวติ หมดลงในเรือน จำ� แปลกทีเ่ รากลับไม่พบแม้สกั ละอองแห่งความท้อแท้สิ้นหวังปรากฏ อยู่ในปากคำ�ของชัยคุลอิสลามในหนังสือเล่มนี้ แต่เรือ่ งทีเ่ ราจะได้ยนิ ท่านพูดถึงอยูเ่ สมอคือ “ความโปรดปราน จากอัลลอฮฺ” ที่ท่านได้รับจากพระองค์ในช่วงเวลาต่างๆ ของชีวิต ด้วยเหตุนี้เองคงไม่ใช่เรื่องเกินจริงจนเกินไปถ้าเราจะบอกว่า สิ่งที่เราได้รับจากการศึกษาชีวิตของชัยคุลอิสลามในหนังสือเล่มนี้ คือ บทเรียนที่ว่า ไม่ว่า “นักโทษ” อย่างเราจะถูกจองจำ�อยู่ที่ “เรือนจำ�” พิกัดไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร ก็จงพกพาความหวังติดใจเราไปด้วย เสมอ


และพร้อมกันนั้นเอง บทเรียนนี้ก็ทำ�ให้เราต้องกลับไปคิดว่า แม้เราจะมีชะฮาดะฮฺเดียวกับท่าน แต่ในสักช่วงชีวิตของเรานั้น เราเคย ได้สมั ผัสความสุขจาก “ความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ” เหมือนทีท่ า่ น ได้สัมผัสบ้างหรือเปล่าในชีวิต ............................. ผู้บันดาลความหวังได้สอนเราไว้ว่า ِ

ِ َ ‫َو‬ ‫الل‬ ّ‫ال َتيْ َأ ُسواْ من َّر ْو ِح ه‬

“และจงอย่าสิ้นหวังในความเมตตาของอัลลอฮฺ” (ยูสุฟ 12 : 87)

ในเมื่อโลกนี้ไม่ได้มีไว้ให้เราหมดหวังแล้ว แม้เราจะต้องอยู่ใน สถานที่ที่ไม่น่าอยู่อย่าง “เรือนจำ�” เราก็ไม่จำ�เป็นต้องอยู่อย่างจำ�ใจ (แม้จะจำ�เจบ้างก็ตาม) แต่เราต้องอยู่ด้วยความหวังที่ชัดเจนแจ่มใส ด้วยความรูล้ กึ ซึง้ ถึงความเมตตาของผูบ้ นั ดาลความหวังในทุกประสาท สัมผัสของเรา ด้วยความพอใจต่อเจ้าของความเมตตานั้น และด้วย ความเชื่อแบบมั่นๆ ในพระองค์อย่างแท้จริงต่างหาก เพราะด้วยความเชื่อแบบนี้แหละ ที่ทำ�ให้คุกแห่งนี้มีสวรรค์

สำ�นักพิมพ์มิรอาต เราะญับ 1434 | พฤษภาคม 2556


บทนำ� ม ว ล ก า ร ส ร ร เ ส ริ ญ เ ป็ น สิ ท ธิ ข อ ง อั ล ล อ ฮฺ เราสรรเสริญพระองค์ เราขอความช่วยเหลือจากพระองค์ เราขออภั ย โทษต่ อ พระองค์ เราขอความคุ้ ม ครองต่ อ พระองค์ให้พน้ จากความชัว่ ร้ายทีม่ าจากตัวเราเองและจาก ความผิดบาปของเรา ใครที่อัลลอฮฺทรงนำ�ทางเขาก็ไม่มีผู้ ใดทำ�ให้เขาหลงทางได้ และใครทีอ่ ลั ลอฮฺทรงให้เขาหลงทาง ก็ไม่มีผู้ใดนำ�ทางเขาได้ เราขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่น ใดที่คู่ควรแก่การเคารพภักดีนอกจากอัลลอฮฺ และมุฮัมมัด เป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์ มนุษย์เรามักจะมองย้อนกลับไปยังอดีตเพื่อค้นหา บุคคลตัวอย่างในยุคสมัยที่ผ่านไปแล้ว พวกเขาหวังที่จะ ฟืน้ ฟูวถิ ขี องวีรบุรษุ ผูย้ งิ่ ใหญ่ ผูท้ รงเกียรติเหล่านี้ บุรษุ เหล่า นี้คือผู้ที่ใช้ความรู้ สติปัญญา และความหาญกล้าของพวก เขาเพือ่ ช่วยเหลืออุมมะฮฺนอี้ ย่างมากมาย กล่าวกันว่ามนุษย์ เรามักจะเป็นทุกข์หากไม่สามารถหาใครที่จะมาเป็นแบบ อย่างให้เจริญรอยตามได้ โชคดีที่ในสังคมเรานั้นไม่ได้มีแต่ คนเป็นที่หายใจเข้าออกอยู่เท่านั้น แต่คนตายก็ถือเป็นส่วน หนึ่งของสังคมมนุษย์ด้วยเหมือนกัน บรรดาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ที่ได้สิ้นลมหายใจไปแล้วนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ร่วมกับพวกเรา ในสังคมเสมอ หนึ่ ง ในบุ รุ ษ ที่ โ ดดเด่ น อยู่ บ นหน้ า ประวั ติ ศ าสตร์ อิสลาม คือผูร้ ผู้ ทู้ รงเกียรติและมุญาฮิดผูก้ ล้าหาญท่านหนึง่


นามว่า อะหฺมัด บินอับดุลหะลีม บินตัยมียะฮฺ ท่านเป็นหนึ่งในผู้รู้ที่ สามารถวิเคราะห์หลักการและหลักคิดของอิสลามได้อย่างตรงไปตรง มาและมีวาทศิลป์ ทุกวันนี้ ผลงานของชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺถูกตีพิมพ์ไป แล้วมากมาย แต่เพือ่ ทีเ่ ราจะได้เข้าใจผลงานของท่านมากขึน้ จึงสมควร ที่เราจะต้องศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ ตลอดจน เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นด้วย และที่สำ�คัญไม่แพ้กันเลยก็ คือ การศึกษาทีม่ าทีไ่ ปของจดหมายแต่ละฉบับทีช่ ยั คุลอิสลามเคยเขียน ไว้ ซึ่งนั่นก็คือเนื้อหาหลักของหนังสือเล่มนี้ โดยปกติแล้ว ผูค้ นมักจะเห็นอิบนฺตยั มียะฮฺเป็นคนทีส่ จั จริง เด็ด เดี่ยว ไม่ประนีประนอมใคร และบางครั้งพวกเขาก็มองว่าท่านเป็นคน ทีช่ อบตอบโต้อย่างแข็งกร้าว อย่างไรก็ตาม ท่านก็มีบคุ ลิกอีกด้านหนึง่ ซึง่ จะสะท้อนให้เห็นในจดหมายฉบับต่างๆ ทีไ่ ด้น�ำ เสนอไว้ในหนังสือเล่ม นี้


จด

จด ห ในด มาย 60 าม จา ัสก กเร ัส ือน (1 จ�ำ ) ิตร

าย 48 ถึง มว ลม

หม าย จา ึงพ

4 กน 2 ้อง ชา ยถ

ิสเต

์คร

70 ัตริย กษ

ถึง

าย

หม

จด ห ในด มาย 64 าม จา ัสก กเร ัส ือน (2 จ�ำ )

จด

กัส

ึงม

าร ด

มัส ่ดี า 4 2 ี่น้องท

ึงพ

ถ าย

หม

หม

จด

จด

ชัย คุล อิส ป 14 ลา ระ ม วตั อิบ ิ นฺ ตัย จด มีย หม 3 ะฮ าย 6 ฺ ถ

สารบัญ

ี่ชา ย

ียน


ะฮ

มีย

อิส ป ลา ระ ม วัต อิบ ิ นฺ ตัย

คุล

ชัย


ประวัติชัยคุลอิสลาม อิบนฺ ตัยมียะฮฺ โดยสังเขป ตะกี ยุ ด ดี น อั บ ดุ ล อั บ บาส อะหฺ มั ด อิ บ นฺ อับดุลหะลีม อิบนฺ อับดุสสะลาม อิบนฺ ตัยมียะฮฺ อัลหัร รอนี อัลฮัมบาลี เกิดเมือ่ วันจันทร์ที่ 10 เราะบีอลุ เอาวัล ฮ.ศ. 661 (22 มกราคม ค.ศ. 1263) ที่เมืองหัรรอน ทาง ตอนเหนือของอิรัก ครอบครัวของท่านได้ชื่อว่าเป็น ครอบครัวของผู้รู้ ปู่ของท่าน คืออะบู อัลบัรกัต มัจญุด ดีน อิบนฺ ตัยมียะฮฺ (เสียชีวติ เมื่อปีฮ.ศ. 653/ค.ศ. 1255) เป็ น ผู ้ รู ้ ใ นสายฮั ม บาลี ที่ มี ชื่ อ เสี ย ง ท่ า นเป็ น ผู ้ แ ต่ ง มุนตะกอ อัลอัคบารฺ 1 หนังสือทีร่ วบรวมหะดีษของท่าน นะบี ซึง่ ยังคงทรงคุณค่าจนถึงปัจจุบนั ส่วนบิดาของ ท่าน คือ ชิฮาบุดดีน อับดุลหะลีม อิบนฺ ตัยมียะฮฺ (เสีย ชีวิตเมื่อปีฮ.ศ. 682/ ค.ศ. 1284) ก็เป็นผู้รู้ที่มีชื่อเสียง เช่นเดียวกัน ประวัตศิ าสตร์ในยุคทีท่ ่านอิบนฺ ตัยมียะฮฺมชี วี ติ อยู่นั้นเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พวกตาตาร์ ซึ่งน�ำโดย 1

ตำ�ราที่มีชื่อเสียงซึ่งอิมามอัชเชากานีเคยเขียนอรรถาธิบายไว้ในหนังสือชื่อ นัยลฺ อัลเอาฏอร ของท่าน


ฮูลากู คาน ก�ำลังรุกรานแผ่นดินมุสลิมอย่างป่าเถื่อน โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งบริเวณเมโสโปเตเมีย ตอนที่เมืองหัรรอนถูกโจมตีนั้น ชัยคุลอิสลาม มีอายุเพียง 7 ปี ผลจากการรุกรานท�ำให้ประชาชนในหัรรอนพากัน อพยพหนีเอาตัวรอดไปอยู่ในดินแดนอื่น ครอบครัวของชัยคุลอิสลาม อพยพไปยังดามัสกัสในปี ฮ.ศ. 667/ ค.ศ. 1268 ซึ่งในขณะนั้นอยู่ใต้ การปกครองของราชวงศ์มัมลูกแห่งอิยิปต์

การศึกษา

เนือ่ งจากเกิดในครอบครัวของผูร้ ู้ ชัยคุลอิสลาม อิบนฺ ตัยมียะฮฺ จึงได้รับการศึกษาจากบิดาตั้งแต่ครั้งยังเล็ก นอกเหนือจากบิดาของ ท่านแล้ว ชัยคุลอิสลามยังได้รบั การศึกษาจากอุละมาอ์อกี มากกว่า 200 ท่าน ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นผู้รู้สตรีนามว่า ซัยนับ บินตฺ มักกี อิบนฺ ตัยมียะฮฺเป็นคนที่รักความรู้และขยันหมั่นเพียรในการ แสวงหาความรู้ตั้งแต่เด็กๆ นอกจากนี้ท่านยังมีความจ�ำเป็นเลิศด้วย ท่านศึกษาหาความรูท้ งั้ ในเรือ่ งศาสนาและศาสตร์สามัญในยุคของท่าน จนกระทัง่ ท่านมีความรูใ้ นศาสตร์เหล่านัน้ อย่างลึกซึง้ บรรดาผูท้ อี่ ยูร่ ว่ ม ยุคสมัยเดียวกับชัยคุลอิสลามต่างก็ประจักษ์ในคุณสมบัติเรื่องความ รอบรู้ของท่านเป็นอย่างดี ท่านอัลกอฎี อัซซัมละกานี เคยกล่าวว่า “อัลลอฮฺทรงท�ำให้เหล็กกล้าอ่อนตัวลงเพื่อดาวูด และพระองค์ทรง ท�ำให้ศาสตร์ตา่ งๆ ง่ายขึน้ เพือ่ ให้อบิ นตัยมียะฮฺเข้าใจมันได้อย่างลึกซึง้ ” อย่างไรก็ดี ศาสตร์ที่ชัยคุลอิสลามรักและให้ความส�ำคัญเป็น พิเศษคือการตัฟสีร (อรรถาธิบายอัลกุรอาน) ท่านเคยกล่าวไว้ว่า “ใน อายะฮฺหนึ่ง ฉันอาจได้อ่านการตีความของคนนับร้อย แต่ฉันก็ยังต้อง - 16 -


ขอทางน�ำจากอัลลอฮฺให้เข้าใจอายะฮฺนนั้ อยูด่ ี ฉันจะขอว่า ‘โอ้ ผูเ้ ป็นครู ของอาดัมและอิบรอฮีม โปรดสอนข้าพระองค์ด้วยเถิด’ ฉันจะไปที่ มัสญิดร้างที่อยู่ไกลออกไปและขอต่ออัลลอฮฺว่า ‘โอ้ ผู้เป็นครูของ อิบรอฮีม โปรดท�ำให้ข้าพระองค์เข้าใจด้วยเถิด’” ด้วยความสามารถที่โดดเด่นเช่นนี้ ชัยคุลอิสลามจึงได้รับมอบ หมายให้สอนผู้คนตั้งแต่อายุ 19 ปี และแม้ว่าท่านจะคุ้นเคยกับส�ำนัก ฟิกฮฺฮมั บาลี แต่ทา่ นก็ไม่ได้วนิ จิ ฉัยประเด็นต่างๆ ทางศาสนาตามมัซฮับ ใดเป็นการเฉพาะ ท่านจะชี้แจงฟัตวาของท่านด้วยหลักฐานต่างๆ ที่มา จากอัลกุรอานและหะดีษ ถึงแม้วา่ นีอ่ าจฟังดูเป็นเรือ่ งธรรมดาของผูค้ น ในยุคปัจจุบนั แต่ในสมัยนัน้ การกระท�ำเช่นนีถ้ อื เป็นเรือ่ งใหม่และแปลก มาก และด้วยเหตุนเี้ อง ท่านจึงถูกผู้ร้ใู นมัซฮับต่างๆ โจมตี โดยพวกเขา กล่าวหาว่าท่านเป็นผู้ริเริ่มบิดอะฮฺต่างๆ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วสิ่งที่ท่านท�ำ นัน้ คือการเรียกร้องไปสูแ่ นวทางของอะฮฺลสุ สุนนะฮฺวลั ญะมาอะฮฺอย่าง แท้จริง เมื่อบิดาของท่านเสียชีวิตในปีฮ.ศ. 682 /ค.ศ. 1283 อิบนฺ ตั ย มีย ะฮฺ ใ นวั ย 22 ปี ก็ ไ ด้ รั บ มอบหมายให้ ท�ำการสอนแทนบิด าที่ อัสสะกุรรียะฮฺ ท่านเริ่มสอนตัฟสีรที่มัสญิดอัลอะมะวี และในปีฮ.ศ. 695/ ค.ศ. 1296 ท่านเริ่มสอนที่ฮัมบาลียะฮฺในดามัสกัส ไม่นานหลัง จากนัน้ ท่านก็เป็นผู้ร้ทู โี่ ดดเด่นในบรรดาผู้ร้รู ะดับแนวหน้าในซีเรีย และ เป็นผู้รู้ที่เป็นที่รู้จักของมวลชนทั่วไป

- 17 -


ปรากฏการทางการเมืองที่ส�ำคัญในช่วงชีวิตของอิบนฺ ตัยมียะฮฺ ในช่ ว งเวลาที่ อิ บ นฺ ตั ย มี ย ะฮฺ เ ริ่ ม อาชี พ การสอนหนั ง สื อ ที่ ดามัสกัส ขณะนั้น อิรัก อิหร่าน และคุรอซานก็ยังถูกพวกตาตาร์กดขี่ ต่อไป ราชวงศ์มัมลูกที่ปกครองอิยิปต์ ซีเรีย และหิญาซ (คาบสมุทร อาหรับ) อยู่ตอนนั้นได้พยายามหลายครั้งที่จะยึดเอาอิรักกลับคืนมา แต่ทุกครั้งก็คว้าน�ำ้ เหลว เมื่อพวกตาตาร์วางแผนที่จะพิชิตกรุงดามัสกัส สุลตานอันนา ศิร มุฮัมมัด บินเกาะลาวูน ซึ่งครองอ�ำนาจอยู่ในสมัยนั้นก็ยกทัพออก จากอิยิปต์ ทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากันในปีฮ.ศ. 699/ ค.ศ. 1299 ผลปรากฏว่าสุลตานเป็นฝ่ายพ่ายแพ้จึงเดินทางยกทัพกลับอิยิปต์ ดามัสกัสในตอนนัน้ จึงไม่มกี องก�ำลังคุม้ กันจากกองทัพของพวกตาตาร์ ซึง่ น�ำโดยฆอซาน (หรือทีร่ ้จู กั กันในอีกชือ่ หนึง่ หลังจากทีเ่ ข้ารับอิสลาม ว่า มะหฺมูด) เหลนของเจงกิสข่าน ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ที่อยู่ในดามัสกัส ไม่วา่ จะเป็นผูร้ ู้ ผูพ้ พิ ากษา ผูป้ กครอง พ่อค้าจึงอพยพหนีออกจากเมือง ในช่วงเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานเช่นนี้ อิบนฺ ตัยมียะฮฺ พร้อมกับผู้ ศรัทธาอีกจ�ำนวนหนึง่ ทีไ่ ม่ยอมถอยหนี ตัดสินใจน�ำคณะเข้าพบฆอซาน เพื่อเจรจาสงบศึก คณะเจรจาที่น�ำโดยอิบนฺ ตัยมียะฮฺได้พบฆอซานที่ นะบัก (ใกล้ดามัสกัส) ท่านกล่าวแก่ฆอซานว่า “ท่านบอกว่าท่านเป็น มุสลิม ท่านมีมุอัซซิน กอฎี อิมาม ชัยคฺมากับท่านด้วย แต่ท่านกลับ บุกรุกพวกเราเพื่ออะไรกันหรือ? ในขณะที่บิดาและฮูลากู ปู่ของท่าน นั้นไม่ใช่ผู้ศรัทธา แต่พวกเขาก็ไม่โจมตีแผ่นดินมุสลิม พวกเขาสัญญา ว่าจะไม่รุกรานและพวกเขาก็รักษาสัญญา ส่วนท่านสัญญา แต่กลับ ผิดสัญญา” ผลการเจรจาในครั้งนี้ปรากกฏว่า ฆอซานยอมที่จะไม่เข้า - 18 -


ยึดครองกรุงดามัสกัส อย่างไรก็ตาม ในปี ฮ.ศ. 702/ ค.ศ. 1303 มีข่าวว่ากองทัพของ พวกตาตาร์ก�ำลังมุง่ หน้ามาบุกดามัสกัสอีกครัง้ สุลตานเกาะลาวูนลังเล ที่จะยกทัพจากอิยิปต์เพื่อคุ้มครองดามัสกัส ด้วยเหตุนี้ ประชาชนจึง หวาดผวาและเริ่ ม ละทิ้ ง บ้ า นช่ อ งไปหาที่ อ ยู ่ ใ หม่ ที่ ป ลอดภั ย กว่ า เมื่ออิบนฺ ตัยมียะฮฺเห็นเช่นนี้ ท่านก็กระตุ้นให้ผู้คนอยู่ต่อสู้เพื่อปกป้อง ตัวเองและบ้านเรือนของตน นอกจากนี้ ท่านยังเดินทางไปหาสุลตาน ด้วยตัวเองเพื่อเร่งเร้าให้เขาส่งกองทัพมาปกป้องดามัสกัสด้วย ในทีส่ ดุ สุลตานก็ยอมยกทัพมาปกป้องดามัสกัส กองทัพมุสลิม จากอิยปิ ต์และซีเรียประจัญหน้ากับกองทัพของพวกตาตาร์ทชี่ กั หับใน เดือนเราะมะฎอน ฮ.ศ. 702/ ค.ศ. 1303 อิบนฺ ตัยมียะฮฺเองก็เข้าร่วม ญิฮาดในสงครามครั้งนี้ด้วย ในสงครามครั้งนี้ ท่านได้ออกฟัตวาหนึ่งที่ มีชื่อเสียงมาก คือฟัตวาที่ระบุว่าทหารสามารถที่จะละศีลอดเพื่อต่อสู้ กับศัตรูได้ ดังเช่นที่ท่านนะบี เคยปฏิบัติในสงครามพิชิตมักกะฮฺ ผลของสงครามในครัง้ นีป้ รากฏว่าฝ่ายมุสลิมสามารถก�ำชัยชนะและขับ ไล่พวกตาตาร์ออกไปได้ส�ำเร็จ ด้วยความช่วยเหลือของอัลลอฮฺ ปรากฏการทางสังคมที่ส�ำคัญในช่วงชีวิตของอิบนฺ ตัยมียะฮฺ นอกจากภัยภายนอกดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ช่วงเวลานี้ ประชาชาติมสุ ลิมก็ยังประสบกับปัญหาภายในเองอีกด้วย ภัยภายในที่ ว่านี้ก็คือลัทธิความเชื่อนอกรีตที่เกิดขึ้นมาอย่างมากมาย ที่มาของ ความเชื่อเหล่านี้คือการผสมผสานระหว่างหลักการของพวกบูชาไฟ และหลักคิดแบบเพลโต ความซับซ้อนของลัทธิความเชื่อที่ผิดแผก - 19 -


แปลกใหม่เหล่านี้สามารถหลอกประชาชนคนทั่วไปให้หลงผิดได้มาก เลยทีเดียว นอกจากนีแ้ ล้วก็ยงั มีกลุม่ มุสลิมทีร่ บั เอาความเชือ่ และประเพณี ของพวกมุ ช ริ ก มายึ ด ถื อ ปฏิ บั ติ ด ้ ว ย คนกลุ ่ ม นี้ เ คารพบู ช าคนดี มี คุ ณ ธรรมที่ ล ่ ว งลั บ ไปแล้ ว ซึ่ ง พวกเขาเชื่ อ ว่ า คนดี เ หล่ า นี้ คื อ “วะลียุลลอฮฺ” หรือบุคคลที่อัลลอฮฺทรงรัก ซึ่งจะช่วยขอชะฟาอะฮฺต่อ อัลลอฮฺให้แก่พวกเขาได้ การกระท�ำเช่นนีเ้ ป็นการกระท�ำทีพ่ วกยิวและ คริสเตียนเคยปฏิบัติมาก่อน และนีก่ ค็ อื สภาพสังคมทีอ่ บิ นฺ ตัยมียะฮฺใช้ชวี ติ อยู่และต่อสู้ด้วย ท่ า นและบรรดาลู ก ศิ ษ ย์ ลู ก หาช่ ว ยกั น ฟื ้ น ฟู สั ง คมด้ ว ยการก�ำจั ด ประเพณีวัฒนธรรมของพวกมุชริกและการกระท�ำอื่นๆ ที่ไม่ได้มาจาก อิสลามให้ออกไปจากชีวิตของมุสลิม ความกระตือรือร้นของท่านใน การปฏิรูปสังคม ในการจัดการกับความเชื่อที่หลงผิด-สิ่งอุตริกรรม ต่างๆ และการห้ามผู้คนไม่ให้เดินทางไปเยี่ยมเยียนหลุมฝังศพของคน ดีๆ เป็นการเฉพาะนั้น ส่งผลให้คนจ�ำนวนหนึ่งไม่พอใจท่านเป็นอย่าง มาก แต่ในขณะเดียวกันนั้น ชื่อเสียงอันดีงามของท่านก็เพิ่มมากขึ้น เรื่อยๆ ในหมู่มุสลิม

ชีวิตหลังลูกกรง

ชื่อเสียงที่โด่งดังขึ้นเรื่อยๆ ของชัยคุลอิสลาม อิบนฺตัยมียะฮฺ ท�ำให้ท่านกลายเป็นเป้าโจมตีของผู้อิจฉาริษยาท่าน นอกจากนี้ ท่าทีที่ ไม่ประนีประนอมกับบรรดาผู้ที่ประดิษฐ์สิ่งอุตริกรรมในศาสนาขึ้นมา ใหม่ก็ท�ำให้ท่านมีศัตรูเพิ่มมากขึ้นด้วย คนสองกลุ่มนี้พยายามหาช่อง - 20 -


ทางที่จะก�ำจัดท่านอยู่เรื่อยๆ และช่องทางที่พวกเขามักจะใช้โจมตี อิบนฺ ตัยมียะฮฺ ก็คือการใส่ร้ายหรือไม่ก็บิดเบือนงานเขียนของท่าน อิบนฺ ตัยมียะฮฺถูกจับขังครั้งแรกในปีฮ.ศ. 705/ ค.ศ. 1305 สาเหตุที่ท่านถูกจับกุมในครั้งนี้เนื่องจากงานเขียนของท่านที่ชื่อ อัลอะ กีดะฮฺ อัลวาสิฏยี ะฮฺ ศัตรูของท่านโจมตีงานชิน้ นีว้ า่ ประกอบด้วยเนือ้ หา ที่มีอะกีดะฮฺผิดเพี้ยนเกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลลอฮฺ ด้วยเหตุนี้ ผู้แทนสุลตานในกรุงดามัสกัสจึงเรียกตัวท่านมาสอบสวน เมื่อคณะ กรรมการซึ่งประกอบด้วยบรรดาผู้รู้ตรวจสอบเนื้อหาของหนังสือเล่ม นี้แล้วก็ได้ผลสรุปที่ตรงกันว่า งานเขียนชิ้นนี้ไม่มีอะไรสวนทางกับ อัลกุรอานและสุนนะฮฺของท่านนะบี อย่างไรก็ดี เรื่องก็ไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้เมื่ออิบนฺ ตัยมียะฮฺถูก เรียกตัวไปสอบสวนอีกครั้งในปีเดียวกัน แต่ครั้งนี้ท่านถูกสุลตานเรียก ตัวไปสอบสวนถึงที่อิยิปต์ และเนื่องจากผู้ที่ท�ำการตัดสินในครั้งนี้เป็น ศัตรูของท่าน ท่านจึงไม่สามารถพูดแก้ตา่ งอะไรได้เลย และผลของการ ตัดสินในครั้งนี้ก็คือการที่ท่านต้องถูกจองจ�ำอยู่ในอิยิปต์เป็นเวลา ประมาณ 16 เดือน อิบนฺ ตัยมียะฮฺได้รับอิสรภาพในปีฮ.ศ. 707/ ค.ศ. 1307 หลัง จากที่ท่านออกจากเรือนจ�ำแล้ว ท่านตัดสินใจที่จะพ�ำนักอยู่ที่อิยิปต์ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้คนที่นั่นต่อไป แต่ไม่นานนัก คนบางกลุ่มก็เริ่มไม่ พอใจท่าน เนือ่ งจากการทีท่ า่ นยืนหยัดมัน่ คงในเตาฮีดและต่อสูส้ ดุ ก�ำลัง เพือ่ แนวทางอันบริสทุ ธิด์ งั กล่าว คนกลุม่ นีค้ อื พวกศูฟที ปี่ ระกอบบิดอะฮฺ ต่างๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจ�ำนวนมากในอิยิปต์ พวกเขาเริ่มสร้างเรื่องให้ อิบ นฺ ตั ย มีย ะฮฺต้ องถูก จับกุมตัวอีก ครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากสุลตาน - 21 -


เกาะลาวูนทีป่ กครองอยูต่ อนนัน้ ตามเกมการเมืองของคนกลุม่ นีท้ นั และ รู้สึกเหนื่อยหน่ายกับคดีต่างๆ ที่พวกเขากุขึ้นเพื่อใส่ร้ายอิบนฺ ตัยมียะฮฺ ท่านจึงถูกกักตัวไว้เพียงเวลาสั้นๆ เท่านั้น แต่หลังจากนั้นไม่นาน ในปี ฮ.ศ. 709 สุลตานเกาะลาวูนก็ วางมือจากอ�ำนาจและปล่อยให้อุปราชที่มีนามว่า บัยบัรสฺ อัลญาชัน กีร กุมอ�ำนาจแทน บัยบัรสฺ ออกค�ำสั่งให้เนรเทศอิบนฺ ตัยมียะฮฺไปยัง อเล็กซานเดรีย และจองจ�ำท่ า นไว้ ที่นั่น แต่ ต่อมาไม่นาน สุลตาน เกาะลาวูนก็กลับขึน้ ครองราชย์อกี ครัง้ และออกค�ำสัง่ ให้ปล่อยตัวอิบนฺ ตัยมียะฮฺและน�ำท่านกลับมายังไคโร หลังจากทีใ่ ช้ชวี ติ อยูใ่ นไคโรระยะเวลาหนึง่ อิบนฺ ตัยมียะฮฺกเ็ ดิน ทางกลับดามัสกัสในปีฮ.ศ. 713/ ค.ศ. 1313 ท่านใช้เวลาในช่วงนี้ไปกับ การให้ความรู้แก่ประชาชน จนกระทั่งในปีฮ.ศ. 718/ ค.ศ. 1318 ท่าน ถูกห้ามไม่ให้ออกฟัตวา ทั้งนี้เนื่องจากฟัตวาเกี่ยวกับการหย่าของท่าน ก่อนหน้านี้ที่ผิดแผกแตกต่างไปจากความเห็นของคนทั่วไปในสมัยนั้น อิบนฺ ตัยมียะฮฺยอมท�ำตามค�ำสั่งดังกล่าวในเบื้องต้น แต่ต่อมาท่านก็ กลับไปให้ฟตั วาต่ออีกครัง้ เนือ่ งจากท่านตระหนักว่าไม่เป็นการสมควร ที่ท่านจะเกรงกลัวผู้ถูกสร้างมากกว่าผู้สร้าง ด้วยเหตุนี้เอง ในปี ฮ.ศ. 720/ ค.ศ. 1320 ท่านจึงถูกทางการจับกุมตัวไปขังในป้อมปราการแห่ง ดามัสกัสเป็นระยะเวลา 5 เดือนก่อนที่จะได้รับอิสรภาพ ในระหว่างปีฮ.ศ. 721/ ค.ศ. 1321- ฮ.ศ. 726/ ค.ศ. 1326 ชัยคุลอิสลามอุทศิ ตนไปกับการสอนหนังสือทีมี่ ดั เราะสะฮฺของท่านเอง แต่แล้วศัตรูของท่านก็วางแผนก�ำจัดท่านอีกครั้ง พวกเขาบิดเบือน ฟัตวาของท่านที่ห้ามไม่ให้เดินทางไปเยี่ยมเยียนหลุมฝังศพเป็นการ - 22 -


เฉพาะว่าเป็นฟัตวาทีส่ วนทางกับอัลกุรอานและหะดีษของท่านนะบี ผลก็คือท่านถูกจ�ำคุกอีกครั้งในปี ฮ.ศ.726/ ค.ศ.1326 ที่เรือนจ�ำใน ดามัสกัส และที่นี่ก็เป็นสถานที่ที่ท่านได้กลับไปพบพระผู้อภิบาลของ ท่านเอง อิมามอิบนฺ ตัยมียะฮฺเสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 728/ ค.ศ.1328 ในวัย 67 ปี ร่างของท่านถูกฝังไว้ที่สุสานของพวกศูฟีในดามัสกัส มีผู้มาร่วม งานศพของท่านมากมาย ทั้งผู้ที่ชื่นชมท่านและผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับท่าน กล่าวกันว่าเป็นชายประมาณ 200,000 คน และอีก 15,000 เป็นสตรี

- 23 -


ที่ อ้ ง พนี่ ถงึ ัส าย ัสก หม าม จด ด


………………………………… จดหมายฉบับแรก เป็นจดหมายที่ ชัยคุลอิสลามเขียนถึงเพื่อนฝูงและลูกศิษย์ ของท่านในดามัสกัสเป็นการเฉพาะ ท่าน เขียนจดหมายฉบับนี้ขณะอยู่ที่อิยิปต์ สาเหตุ การมาเยื อ นอิ ยิ ป ต์ ข องท่ า นในครั้ ง นี้ เนื่องจากผู้ที่อิจฉาริษยาท่านบางคนกล่าว โจมตีว่างานเขียนของท่านมีเนื้อหาผิดเพี้ยน ออกไปจากแนวทางทีถ่ กู ต้อง ด้วยเหตุนี้ ท่าน จึงถูกทางการเรียกตัวไปสอบสวนที่อิยิปต์ และถูกจ�ำคุกอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 16 เดือน อย่างไรก็ดี ทัศนคติท่ที ่านมีต่อบททดสอบ ในครัง้ นีก้ ลับเป็นไปในทางบวก ท่านกล่าวถึง บททดสอบนี้ ว ่ า เป็ น “ความโปรดปราน จากอัลลอฮฺ” นอกจากนี้ ท่านก็ไม่โกรธแค้น บรรดาผู้ที่อิจฉาริษยาท่านซึ่งเป็นต้นเหตุ ท�ำให้ทา่ นต้องถูกคุมขังด้วย ในจดหมายฉบับ นีท้ า่ นระบุไว้อย่างชัดเจนว่าท่านได้ให้อภัยแก่ พวกเขา และท่านยังก�ำชับพี่น้องที่รักใคร่ ท่านด้วยว่าไม่ให้โกรธแค้นและคิดแก้แค้น พวกเขาแทนท่าน …………………………………


ِ‫ب ْسمِ اهلل الرَّمْحن الرَّ ِحيم‬ ِ ِ ِ

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงยิ่งด้วยความเมตตา ผู้ทรงยิ่งด้วยความกรุณา

แท้จริงแล้ว อัลลอฮฺผู้ทรงคู่ควรแก่การสรรเสริญทั้งมวลนั้น ทรงประทานรางวัลและความโปรดปรานให้แก่ฉันอย่างมากมาย ด้วย เหตุนี้ ฉันจึงต้องขอบคุณพระองค์ ยืนหยัดในการอิบาดะฮฺต่อพระองค์ และอดทนในการปฏิบัติสิ่งที่เป็นวาญิบให้ได้อยู่ตลอดเวลา การอดทน เป็นวาญิบในตัวของมันเองอยู่แล้ว และอัลลอฮฺทรงสั่งใช้ให้เราอดทน ในช่วงเวลาแห่งความสุขสบายมากกว่าในช่วงเวลาแห่งความทุกข์ระทม เสียอีก อัลลอฮฺ ตรัสไว้ว่า

ِ ‫ان ِمنَّا رحمْ َ ًة ُثم نَز ْعن‬ ِ ‫َو َل ِئ ْن َأ َذ ْقنَا ا‬ ‫﴾و َل ِئ ْن َأ َذ ْقنَا ُه نَعْماَ َء‬٩﴿ ‫ور‬ َ َ َّ َ ٌ ‫َاها من ْ ُه إِ َّن ُه َل َي ُئ‬ ٌ ‫وس َك ُف‬ َ َ ‫نس‬ َ ‫إل‬ ‫﴾إِلاَّ ا َّل ِذي َن َص رَُبوا‬١٠﴿ ‫ور‬ ُ ‫الس ِّي َئ‬ َ ‫ضا َء َم َّستْ ُه َل َي ُقو َل َّن َذ َه‬ ٌ ُ‫ات َعنِّي إِ َّن ُه َل َف ِر ٌح َفخ‬ َّ ‫ب‬ َّ َ‫َب ْعدَ ر‬ ِ ‫ال‬ ِ ِ‫ح‬ ﴾ ١١﴿ ‫ات ُأو َلـ ِٰئ َك لهَُم َّم ْغ ِف َر ٌة َو َأ ْج ٌر كَبِ ٌري‬ َّ ‫َو َعم ُلوا‬ َ ‫الص‬

“และถ้าเราได้ให้มนุษย์ลมิ้ รสความเมตตาจากเรา แล้วเราได้ดงึ มันกลับ มาจากเขา แท้จริงเขานั้นเป็นผู้หมดหวังและสิ้นศรัทธา และถ้าเราได้ ให้เขาลิ้มรสความโปรดปรานหลังจากความทุกข์ยากได้ประสบกับเขา แน่นอนเขาจะกล่าวว่า “ความชั่วร้ายต่างๆ ได้ผ่านพ้นจากฉันไปแล้ว” แท้จริง เขานั้นเป็นผู้คึกคะนองหยิ่งยโส เว้นแต่บรรดาผู้อดทนและ บรรดาผู้ปฏิบัติความดีทั้งหลาย ชนเหล่านั้นแหละ ส�ำหรับพวกเขาจะ ได้รับการอภัยโทษและรางวัลอันยิ่งใหญ่” (ฮูด 11:9-11)

- 26 -


พีน่ อ้ งของฉัน ท่านเองก็ทราบดีอยูแ่ ล้วว่า อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล ทรงประทานความโปรดปรานให้แก่ฉันผ่านเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ 2 ความโปรดปรานที่ว่าเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงสงวนไว้เพื่อ ช่วยเหลือทหารของพระองค์ในการเชิดชูค�ำด�ำรัสของพระองค์ ในการ ปกป้องศาสนาของพระองค์ ในการผนึกก�ำลังของอะฮฺลุสสุนนะฮฺวัล ญะมาอะฮฺ และในการท�ำลายเกียรติของพวกอุตริกรรมและหลงผิด3 สิง่ ทีเ่ ป็นสุนนะฮฺลว้ นมาจากตัวบทหลักฐานอันชัดแจ้ง เป็นสิง่ ทีจ่ ะน�ำพา ใครต่อใครไปสู่สจั ธรรม และพาพวกเขากลับไปยังแนวทางของอะฮฺลสุ สุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ พีน่ อ้ งของฉัน ท่านควรทีจ่ ะทราบว่าหลักการส�ำคัญของศาสนา นี้คือการรวมหัวใจของพี่น้องมุสลิมเข้าไว้ด้วยกัน และท�ำให้พวกเขา สมัครสมานสามัคคีกัน อัลลอฮฺตรัสไว้ว่า ‫ات َبيْنِ ُك ْم‬ َ ‫َفا َّت ُقوا ال َّلـ َه َو َأ ْص ِل ُحوا َذ‬

“ดังนั้นพวกท่านจงย�ำเกรงอัลลอฮฺเถิด และจงปรับปรุงความสัมพันธ์ ระหว่างพวกท่านเถิด” (อัลอันฟาล 8:1)

2 ความโปรดปรานที่ว่านี้ หมายถึงบททดสอบเรื่องที่ท่านถูกจองจำ�ในอิยิปต์ แม้ว่าสาเหตุที่ทำ�ให้ท่านถูกส่งตัวไปอิยิปต์

ในครั้งนี้จะเป็นฝีมือของคนที่อิจฉาริษยาท่าน แต่เหตุการณ์นี้กลับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำ�ให้ท่านเป็นที่รู้จักของคนที่นั่น ดังนั้น ถึงแม้ท่านจะถูกทดสอบและถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวอยู่ในเรือนจำ� แต่หลังลูกกรงที่ท่านถูกขังอยู่นั้นกลับเปี่ยมไป ด้วยเรื่องที่ดีงาม และการดะอฺวะฮฺของท่านก็เริ่มเป็นที่รู้จักในอิยิปต์ด้วยเหตุนี้เอง 3 อิบนฺ ตัยมียะฮฺเรียกพวกเขาว่า อะฮฺลุลบิดอะฮฺ วัลฟิรเกาะฮฺ ซึ่งในสมัยนั้นมีอยู่มากมายหลายพวกด้วยกัน

- 27 -


َ ‫َوا ْع َت ِص ُموا بِ َحبْ ِل ال َّل ِـه مَجِي ًعا َو‬ ‫ال َت َف َّر ُقوا‬

“และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮฺโดยพร้อมกันทั้งหมดและจง อย่าแตกแยกกัน” (อาละอิมรอน 3:103) ِ ‫َات‬ ُ ‫اخ َت َل ُفوا ِمن َب ْع ِد َما َجا َء ُه ُم ا ْل َب ِّين‬ ْ ‫َولاَ َتكُونُوا كَا َّلذي َن َت َف َّر ُقوا َو‬ ِ ِ ‫يم‬ ٌ ‫َو ُأو َلـٰئ َك لهَُ ْم َع َذ‬ ٌ ‫اب َعظ‬

“และพวกเจ้าจงอย่าเป็นเช่นบรรดาผูท้ แี่ ตกแยกกัน และขัดแย้งกันหลัง จากที่บรรดาหลักฐานอันชัดแจ้งได้มายังพวกเขาแล้ว และชนเหล่านี้ แหละส�ำหรับพวกเขา คือการลงโทษอันใหญ่หลวง” (อาละอิมรอน 3:105) และก็เช่นเดียวกัน หนึ่งในเรื่องหลักๆ ของสุนนะฮฺนั้น คือการ เชื่อฟังท่านเราะสูลุลลอฮฺ ด้วยเหตุนี้ ท่านนะบี จึงกล่าวไว้ใน หะดีษที่บันทึกโดยมุสลิม รายงานจากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ ว่า ِ ْ‫ال ت ر‬ َّ َ ‫ َي ْر ىَض َل ُك ْم َأ ْن َت ْع ُبدُ و ُه َو‬... ‫َث‬ ‫ُشكُوا بِ ِه َشيْ ًئا َو َأ ْن َت ْع َت ِص ُموا‬ ً ‫الل َي ْر ىَض َل ُك ْم َثال‬ َ َّ‫إن ه‬ ِ َ ‫اللِ مَجِي ًعا َو‬ ‫الل َأ ْم َر ُك ْم‬ َّ‫بِ َحبْ ِل ه‬ َُّ‫ال َت َف َّر ُقوا َو َأ ْن ُتنَاص ُحوا َم ْن َوال ُه ه‬

“อัลลอฮฺจะทรงพอพระทัยท่านในสามเวลาด้วยกัน (หนึ่ง) ตอนที่ท่าน อิบาดะฮฺต่อพระองค์และไม่ตั้งภาคีอื่นใดเสมอพระองค์ (สอง) ตอนที่ ท่านยืนหยัดร่วมกันเพื่ออัลลอฮฺและไม่แตกแยกกัน (สาม) ตอนที่ท่าน ตักเตือนผู้น�ำที่อัลลอฮฺทรงส่งมาปกครองท่าน” (บันทึกโดยมุสลิม หะดี ษ หมายเลข 1715 และอะหฺ มั ด หะดี ษ หมายเลข 8581 โดยส�ำนวนนี้เป็นของอะหฺมัด) - 28 -


นอกจากนี้ ยังมีหะดีษของซซัยดฺ บิน ษาบิต และอิบนฺ มัสอูด ซึ่งทั้งสองเป็นเศาะหาบะฮฺที่เป็นผู้รู้ ท่านทั้งสองได้กล่าวว่า ท่าน เราะสูลุลลอฮฺ กล่าวว่า “ขออัลลอฮฺทรงท�ำให้ใบหน้าของคนที่ได้ยินฉันแล้วบอกให้คน อื่นรู้ต่อสว่างไสวด้วยเถิด เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ถ่ายทอดความรู้จะไม่มี ความรูน้ นั้ อยูใ่ นตัว หรือไม่ผทู้ ถี่ า่ ยทอดความรูก้ จ็ ะส่งผ่านความรูน้ นั้ ให้ แก่คนที่มีความรู้มากกว่าเขา สามประการที่จะท�ำให้หัวใจของมุสลิม บริสทุ ธิ์ คือความบริสทุ ธิใ์ จในการท�ำงานเพือ่ อัลลอฮฺ การแบกรับหน้าที่ ในการตักเตือนผู้น�ำ และการไม่ปลีกตัวออกจากมวลมุสลิม” (บันทึก โดยอะหฺมัด หะดีษหมายเลข 21630, อิบนฺ หิบบาน หะดีษหมายเลข 680) เพื่อเป็นการปฏิบัติตามหลักการต่างๆ ที่ฉันได้ยกมาไว้ใน จดหมายฉบับนี้ ฉันขอประกาศว่า ฉันไม่ปรารถนาทีจ่ ะให้มสุ ลิมคนไหน ได้รับอันตรายเพราะตัวฉันเลย ฉันขอบอกเรื่องนี้กับมุสลิมทุกคน โดย เฉพาะกับบรรดามิตรสหายและคนใกล้ชดิ ของฉัน ฉันไม่ตอ้ งการให้พวก เขาถูกต�ำหนิหรือถูกประนาม เพราะพวกเขายังสมควรทีจ่ ะได้รบั เกียรติ และความเคารพต่อไป แท้จริง มนุษย์นนั้ ไม่สามารถหนีจากการตกเป็นคนหนึง่ ในบุคคล สามประเภทต่อไปนี้ได้เลย คือ (๑) มุจญ์ตะฮิดที่วินิจฉัยถูกต้อง (๒) มุจญ์ตะฮิดที่วินิจฉัยผิด และ (๓) คนบาป บุคคลประเภทแรกจะได้รับ รางวัลและค�ำสรรเสริญ บุคคลประเภทที่สองจะได้รับรางวัลและการ อภัยโทษส�ำหรับความผิดพลาดของเขา ส่วนบุคคลประเภทที่สามนั้น - 29 -


ขออัลลอฮฺ ทรงอภัยให้แก่เขาด้วยเถิด และขอพระองค์ทรงอภัยให้ แก่เรา และบรรดามุสลิมทั้งหมดด้วย ดังนั้น ฉันขอร้องให้คนที่ไม่คิดจะปฏิบัติตามหลักการที่ว่านี้จง หยุดการกระท�ำของพวกเขาเสีย แม้วา่ ฉันจะรูว้ า่ จะมีบางคนทีย่ งั พูดว่า “คนนี้ผิด” และ “คนนี้ไม่ได้ท�ำสิ่งที่เขาควรจะท�ำ” หรือ “ชัยคฺได้รับ อันตรายเพราะคนๆ นี้” อยู่ก็ตาม ถ้อยค�ำที่ท�ำร้ายพี่น้องของฉันเช่นนี้ต่างหากที่ฉันจะไม่อภัยให้ และฉันก็จะไม่ยกโทษให้คนที่พูดเช่นนั้นด้วย นอกจากนี้ พวกท่านควรทราบไว้ด้วยว่า การที่พวกเราได้มา รวมตัวอยู่ด้วยกันนัน้ ก็เพือ่ ทีเ่ ราจะได้ช่วยเหลือกันและกัน เป็นหน้าทีท่ ี่ เราจะต้องช่วยเหลือเกือ้ กูลกัน ยิง่ ในปัจจุบนั ด้วยแล้ว เราต้องพยายาม ช่วยเหลือกันให้มากขึน้ กว่าแต่กอ่ น ดังนัน้ ใครทีค่ ดิ ว่าการแก้แค้นพีน่ อ้ ง ที่เป็นต้นเหตุท�ำให้พวกเขาต้องตกระก�ำล�ำบากอยู่ในดามัสกัสและใน อิยิปต์เป็นเรื่องที่ถูกต้องชอบธรรมแล้วนั้น เขาคือคนที่คิดผิด จริงอยู่ที่ผู้ศรัทธากับผู้ศรัทธานั้นเปรียบเสมือนมือสองข้าง มือแต่ละข้างต่างก็ต้องคอยท�ำความสะอาดมืออีกข้างหนึ่ง และก็เป็น ความจริงที่ว่าสิ่งสกปรกบางชนิดนั้นต้องอาศัยการขัดถูแรงๆ เท่านั้น ถึงจะออก แต่กระนัน้ เราก็ควรใช้วธิ กี ารเช่นนีเ้ ฉพาะตอนทีเ่ ราแน่ใจว่า ผลลัพธ์ของมันคือการกลับคืนมาซึง่ ความรักฉันท์พนี่ อ้ งเท่านัน้ ขออย่า ให้มใี ครคิดเลยว่าผูศ้ รัทธาจะกล้าตระหนีใ่ นการช่วยเหลือเกือ้ กูลพีน่ อ้ ง ของเขาได้ลงคอ หากมิตรสหายของพวกเราบางคนทอดทิ้งพวกเราไป แต่แล้ว เขาก็กลับมาหาเราอีกครั้ง เช่นนั้นสถานะของพวกเขาก็จะสูงส่งยิ่งขึ้น - 30 -


กว่าเดิม พวกท่านเอง - ขออัลลอฮฺทรงพึงพอพระทัยพวกท่านด้วย – ก็ อาจทราบดีอยู่แล้วว่า เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ เพราะความเห็นที่ แตกต่างกันของพวกเรา แม้แต่คนที่มีอีมานเองก็อาจจะพลั้งเผลอท�ำ ผิดในเรื่องนี้เข้า เนื่องจากการกระซิบกระซาบของชัยฏอน อัลลอฮฺ ตรัสไว้ว่า ِ ‫إِنَّا َعر ْضنَا الأْ َما َن َة َعلىَ الس و‬ ِ ‫ال َب‬ ِ ‫ات َواألَ ْر‬ ِ ْ‫ض َو ج‬ ‫ي ِم ْلن َ​َها َو َأ ْش َف ْق َن ِمن َْها‬ َ ْ‫ال َف َأ َب ن‬ َ َ‫َّ ما‬ َ َْ‫ي َأن ح‬ َ ِ‫َاف َقات‬ ِ ‫ني والن‬ ِ ِ ِ َ ‫ان إ َّن ُه ك‬ ُ ‫نس‬ ً ‫َان َظ ُلو ًما َج ُهو‬ ُْ‫﴾ ِّل ُي َع ِّذ َب ال َّلـ ُه المُْنَافق َ َ م‬٧٢﴿ ‫ال‬ َ ‫َوحمَ َ َل َها ا ِإل‬ ِ ‫ني وال ْؤ ِمن‬ ِ​ِ ِ ِ ْ‫ني وال ر‬ ِ ِ ْ‫وال ر‬ ‫َات‬ ُْ‫وب ال َّلـ ُه َعلىَ المُْ ْؤمن َ َ م‬ َ ‫شكَات َو َي ُت‬ ُْ‫شك َ َ م‬ ُْ‫َ م‬ َ ‫َوك‬ ﴾ ٧٣﴿ ً‫ورا َّر ِحيما‬ ً ‫َان ال َّلـ ُه َغ ُف‬

“แท้จริงเราได้เสนอการอะมานะฮฺแก่ชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และ ขุ น เขาทั้ ง หลาย แต่ พ วกมั น ปฏิ เ สธจะแบกรั บ มั น และกลั ว ต่ อ มั น (คือภาระอันหนักอึ้ง) และมนุษย์ได้แบกรับมัน แท้จริงเขา (มนุษย์) เป็น ผู้อธรรม งมงายยิ่ง เพื่ออัลลอฮฺจะได้ทรงลงโทษแก่พวกมุนาฟิกีนชาย และพวกมุนาฟิกนี หญิง และบรรดาผูต้ งั้ ภาคีชาย (มุชริกนี ) และบรรดา ผู้ตั้งภาคีหญิง (มุชริกาต) และเพื่ออัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษแก่บรรดาผู้ ศรัทธาชาย และบรรดาผูศ้ รัทธาหญิง และอัลลอฮฺเป็นผูท้ รงอภัย ผูท้ รง เมตตาเสมอ” (อัลอะหฺซาบ 33:72-73) และแม้แต่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นจากเรื่องนี้ 4 เช่น การผิดใจกัน เรื่องที่มาจากนัฟซูของทั้งสองฝ่าย และการโกหกมดเท็จ ทั้งหลายนั้น ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องดีทั้งสิ้น อัลลอฮฺ ตรัสไว้ 4 หมายถึงการที่ท่านถูกกล่าวหาว่ามีอะกีดะฮฺที่ผิดเพี้ยน และการที่ชัยคฺบางคนอิจฉาท่านและปฏิบัติไม่ดีต่อท่าน ซึ่ง นี่เองที่เป็นเหตุทำ�ให้ท่านถูกจำ�คุก แม้ว่าความจริงแล้วความคิดเห็นของท่านจะถูกต้องก็ตาม

- 31 -


ว่า

َ ‫إِ َّن ا َّل ِذي َن َجا ُءوا بِا ِإل ْف ِك ُع ْص َب ٌة ِّمن ُك ْم‬ ‫شا َّل ُكم َب ْل ُه َو َخ رْ ٌي َّل ُك ْم لِ ُك ِّل‬ َْ‫ال ح‬ ًّ َ‫ت َس ُبو ُه ر‬ ِ ِ ِ ِ ِ ‫ب ِم َن ا‬ ﴾١١﴿ ‫يم‬ ٌ ‫إل ْث ِم َوا َّلذي ت َ​َو ىَّ ٰل ك رْ َب ُه من ُْه ْم َل ُه َع َذ‬ َ ‫ا ْم ِر ٍئ ِّمن ُْهم َّما ا ْك َت َس‬ ٌ ‫اب َعظ‬

“แท้จริงบรรดาผู้น�ำข่าวเท็จมานั้น เป็นบุคคลกลุ่มหนึ่งจากพวกเจ้า พวกเจ้าอย่าได้คิดว่ามันเป็นการชั่วแก่พวกเจ้า แต่ว่ามันเป็นการดีแก่ พวกเจ้า ส�ำหรับทุกคนในพวกเขานั้น คือสิ่งที่เขาได้ขวนขวายไว้จาก การท�ำบาป ส่วนผู้ที่มีบทบาทมากในเรื่องนี้ในหมู่พวกเขานั้น เขาผู้นั้น จะได้รับการลงโทษอย่างมหันต์” (อันนูร 24:11) ใครที่เคยอธรรมต่อฉัน ฉันได้อภัยให้แก่เขาแล้ว ใครที่เคย ละเมิดสิทธิของอัลลอฮฺ ขอให้เขากลับเนื้อกลับตัวเสีย แล้วอัลลอฮฺ จะทรงอภัยให้แก่เขา แต่ถา้ เขาไม่ยอมท�ำอย่างทีว่ า่ นี้ เขาก็ควรทีจ่ ะ ได้รับโทษตามที่อัลลอฮฺทรงก�ำหนดไว้ ถ้าหากว่ามนุษย์จะได้รับการขอบคุณส�ำหรับความผิดของเขา แล้ว ฉันขอขอบคุณทุกคนทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้องกับเรือ่ งนี้ พวกเขาท�ำให้เกิด ความดีงามขึ้นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า อย่างไรก็ดี อัลลอฮฺ ทรง เป็นผู้ที่คู่ควรแก่การสรรเสริญมากที่สุด ผูศ้ รัทธาจะแสวงหาความดีงามในทุกๆ ก�ำหนดของอัลลอฮฺ ในท�ำนองเดียวกัน คนที่เจตนาดีก็จะได้รับการขอบคุณ ส่วนคนที่ท�ำดี ก็จะได้รับการสรรเสริญส�ำหรับการงานนั้นๆ แต่คนที่กระท�ำความผิด บาปนี่สิ เราขอให้อัลลอฮฺ ทรงอภัยให้พวกเขาด้วยเถิด

- 32 -


นี่ก็คือมารยาทของฉันที่พวกท่านต่างก็คุ้นเคยดีอยู่แล้ว และนี่ ก็คือสิ่งที่ฉันได้รู้มา และสิ่งที่ฉันเคยประสบมานั้นก็เลวร้ายกว่าที่พวก ท่านได้ทราบกัน สิ ท ธิ ข องมนุ ษ ย์ ค นหนึ่ ง ต่ อ มนุ ษ ย์ อี ก คนหนึ่ ง และสิ ท ธิ ของอัลลอฮฺ ต่อมวลมนุษย์นั้น ล้วนแล้วอยู่ภายใต้ข้อก�ำหนด ของอัลลอฮฺทั้งสิ้น และพระองค์ทรงเป็นผู้ตัดสินในตอนท้ายที่สุด ขอให้ พ วกเราไม่ ลื ม เรื่ อ งราวของอั ศ ศิ ด ดี ก (ผู ้ ซื่ อ สั ต ย์ ) อะบูบักรฺในช่วงที่เกิดเหตุการณ์อัลอิฟกฺ5 ขึ้น มีอายะฮฺอัลกุรอานถูก ประทานลงมาเนื่องจากเหตุการณ์นี้ และเนื่องจากเหตุการณ์นี้เอง ท่านอะบูบักรฺได้สัญญาว่าจะไม่ให้ความช่วยเหลือแก่มิสเฎาะหฺ บิน อะษาษะฮฺ ญาติของท่านอีกต่อไป เหตุผลที่ท่านตัดสินใจไม่ให้ความ ช่วยเหลือแก่มสิ เฎาะหฺเหมือนอย่างเคยนัน้ ก็เพราะเขาเข้าไปมีสว่ นร่วม ในการเผยแพร่เรื่องโกหก อัลลอฮฺ จึงตรัสว่า ِ ‫ال يأْت َِل ُأو ُلو ا ْل َف ْض ِل ِمن ُكم والسع ِة َأن ي ْؤتُوا ُأول ا ْل ُقربى وا مْلَس‬ ِ ‫ني َوالمُْ َه‬ ‫اج ِري َن ف‬ َ ‫اك‬ ُ َ َّ َ ْ َ َ ‫َو‬ َ َ ٰ َْ ِ ِ ِ ُ‫ال ح‬ ِ ِ‫َسب‬ َ ‫ت ُّب‬ َ ‫يل ال َّل ِـه َو ْل َي ْع ُفوا َو ْل َي ْص َف ُحوا َأ‬ ‫يم‬ ٌ ‫ور َّرح‬ ٌ ‫ون َأن َي ْغف َر ال َّلـ ُه َل ُك ْم َوال َّلـ ُه َغ ُف‬ 5 อัลอิฟกฺในที่นี้หมายถึงการกล่าวหาหญิงบริสุทธิ์ว่าทำ�ซินา ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตอนที่ท่านนะบี กำ�ลังเดินทาง กลับจากการรณรงค์ศึกต่อต้านบะนูอัลมุศเฏาะลิก ในปี ฮ.ศ. ที่ 5 ท่านหญิงอาอิชะฮฺได้ร่วมขบวนไปกับการเดินทางครั้ง นี้ด้วย แต่ท่านถูกทิ้งไว้ตอนที่มุสลิมแวะพักกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อบรรดามุสลิมได้รื้อถอนที่พักเพื่อเดินทางต่อ หลัง จากทีร่ ออยูน่ านหลายชัว่ โมง เศาะหาบะฮฺของท่านนะบี ท่านหนึง่ ก็พบท่านเข้าและพาท่านไปยังจุดทีพ่ กั ของทหารจุด ต่อไป เหตุการณ์นี้ทำ�ให้มีการพูดให้ร้ายว่าท่านหญิงอาอิชะฮฺ บุตรสาวของท่านอะบูบักรฺ ทำ�ผิดประเวณี ข่าวลือนี้แพร่ สะพัดได้ไม่นานโองการอัลกุรอานก็ถกู ประทานลงมาเพือ่ ประกาศความบริสทุ ธิข์ องเธอในสูเราะฮฺที่ 24 อายะฮฺที่ 11-20

- 33 -


“และผู้มีเกียรติและผู้มั่งคั่งในหมู่พวกเจ้าอย่าได้สาบานที่จะไม่ให้ (ความช่วยเหลือ) แก่ญาติมิตร และคนยากจน และผู้อพยพในหนทาง ของอัลลอฮฺ และพวกเขาจงอภัย และยกโทษ (ให้แก่พวกเขาเถิด) พวก เจ้าจะไม่ชอบหรือที่อัลลอฮฺจะทรงอภัยให้แก่พวกเจ้า และอัลลอฮฺนั้น เป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อันนูร 24:22) หลังจากที่อายะฮฺนี้ถูกประทานลงมา ท่านอะบูบักรฺก็กล่าวว่า “แน่นอน ขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ ฉันปรารถนาทีจ่ ะให้อลั ลอฮฺยกโทษให้ ฉัน” แล้วอะบูบักรฺ บิดาของผู้ถูกใส่ร้ายก็กลับไปให้ความช่วยเหลือ มิสเฎาะหฺต่อในทันที ‫الل بِ َق ْو ٍم حُيِ ُّب ُه ْم َو حُيِ ُّبو َن ُه َأ ِذ َّل ٍة‬ َ ‫َيا َأ هُّ َيا ا َّل ِذي َن آ َمنُوا َمن َي ْرتَدَّ ِمن ُك ْم َعن ِدينِ ِه َف َس ْو‬ َُّ‫ف َيأْ يِت ه‬ ِ ‫ون َلوم َة‬ ِ ‫ني َأ ِعز ٍة َعلىَ ا ْلك‬ ِ​ِ ِ ‫َاف ِرين جُي‬ ِ ِ‫ون يِف َسب‬ َ ُ‫اهد‬ َ ‫اللِ َو‬ ‫الئ ٍم َ ٰذلِ َك‬ َّ َ ‫َعلىَ المُْ ْؤمن‬ َّ‫يل ه‬ َ ْ َ ‫ال خَيَا ُف‬ َ َ ِ ِ ِ ِ ِ ِ ‫َف ْض ُل‬ ‫الل َو َر ُسو ُل ُه َوا َّل ِذي َن‬ َّ‫ه‬ ٌ ‫الل َواس ٌع َعل‬ َُّ‫﴾إِ َّنماَ َول ُّيك ُ​ُم ه‬٥٤﴿‫يم‬ َُّ‫الل ُي ْؤتيه َمن َي َشا ُء َو ه‬ ِ ِ ِ َ ‫الصالَ َة َو ُي ْؤت‬ َ ‫يم‬ َ ‫الزكَا َة َو ُه ْم َراك ُع‬ ‫الل‬ ‫ون‬ َّ ‫ُون‬ َ َّ ‫ون‬ ُ ‫آ َمنُوا ا َّلذي َن ُيق‬ َ َّ‫﴾و َمن َي َت َو َّل ه‬٥٥﴿ َ ‫َو َر ُسو َل ُه َوا َّل ِذي َن آ َمنُوا َف ِإ َّن ِح ْز َب ال َّل ِـه ُه ُم ا ْل َغالِ ُب‬ ﴾ ٥٦﴿ ‫ون‬

“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! ผู้ใดในหมู่พวกเจ้ากลับออกจากศาสนา ของพวกเขาไป อัลลอฮฺกจ็ ะทรงน�ำมาซึง่ พวกหนึง่ ทีพ่ ระองค์ทรงรักพวก เขาและพวกเขาก็รักพระองค์ เป็นผู้นอบน้อมถ่อมตนต่อบรรดามุอ์มิน ไว้เกียรติแก่บรรดาผูป้ ฏิเสธศรัทธา พวกเขาจะเสียสละและต่อสูใ้ นทาง ของอัลลอฮฺ และไม่กลัวการต�ำหนิของผู้ต�ำหนิคนใด นั่นคือความ โปรดปรานของอัลลอฮฺซึ่งพระองค์จะทรงประทานมันแก่ผู้ที่พระองค์ - 34 -


ทรงประสงค์ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงกว้างขวาง ผู้ทรงรอบรู้ แท้จริง ผู้ที่เป็นมิตรของพวกเจ้านั้นคืออัลลอฮฺ และเราะสูลของพระองค์ และ บรรดาผู้ศรัทธาที่ด�ำรงไว้ซึ่งการละหมาด และช�ำระซะกาต และขณะ เดียวกันพวกเขาก็เป็นผู้นอบน้อม และผู้ใดให้อัลลอฮฺและเราะสูลของ พระองค์ แ ละบรรดาผู ้ ที่ ศ รั ท ธาเป็ น มิ ต รแล้ ว ไซร้ แท้ จ ริ ง พรรค ของอัลลอฮฺนั้นคือพวกที่ชนะ” (อัลมาอิดะฮฺ 5:54-56) วัสสะลามุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุลลอฮฺ

- 35 -


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.